WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, June 14, 2008

เกมเช็กบิล 'เด็กดื้อ'?


จะบอกว่า ไม่มีผลต่อรูปคดีมันก็ไม่เชิงซะทีเดียว

เพราะจากเกมการต่อสู้หักล้างกันในปมของนายชัยวัฒน์ ฉางข้าวคำ พยานปากสำคัญในคดีทุจริตเลือกตั้งของนายยงยุทธ ติยะไพรัช อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร ส.ส.สัดส่วนพรรคพลังประชาชน เคยเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์

หนึ่งในปมที่ทีมทนายของนายยงยุทธยกเป็นข้อต่อสู้ในการชี้ให้เห็นถึงการมีส่วนได้ ส่วนเสียของพยานปากสำคัญ เบื้องหลังไม่มีความเป็นกลาง

เพิ่มน้ำหนักในเรื่องของการจัดฉาก สร้างเรื่องใส่ร้ายคู่แข่งทางการเมือง

กลายเป็นเรื่องเป็นเรื่องตาย ม็อบพันธมิตรฯลากไปยำใหญ่บนเวที กระเทือนกันไปทั้งตึกศรีจุลทรัพย์ รังใหญ่ 5 เสือคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)

เข้าแผนล็อกเป้า กำจัดไส้ศึกระบอบ “ทักษิณ”

ล่าสุด นายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธาน กกต. สั่งตั้งกรรมการสอบสวนการออกหนังสือของสำนักสืบสวนสอบสวนและวินิจฉัยของ กกต.ที่ออกให้กับทีมทนายของนายยงยุทธนำไปแสดงในศาล

ระบุนายชัยวัฒน์เป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์

โดยขีดเส้นให้แล้วเสร็จภายใน 7 วัน และหากปรากฏมีการปลอมแปลงลายเซ็นจริง ต้องมีโทษทางวินัยและโทษทางอาญา ฐานละเมิดอำนาจศาลที่นำหลักฐานเท็จไปแสดงต่อศาล

เงื้อดาบรอตัดหัวเลย

แต่ก็เป็นอะไรที่ต้องแยกออกจากกัน นอกเหนือจาก 5 เสือ กกต.ที่ถูกม็อบพันธมิตรฯจับเลือกข้าง แบ่งออกเป็น 2 ขั้ว

ฝ่ายหนึ่ง “เด็กดี” คือนายอภิชาต นายประพันธ์ นัยโกวิท กกต.ด้านบริหารการเลือกตั้ง และนายสุเมธ อุปนิสากร กกต.ด้านกิจการการมีส่วนร่วม

อีกฝั่ง “เด็กดื้อ” คือนายสมชัย จึงประเสริฐ กกต.ด้านสืบสวนสอบสวนและวินิจฉัย กับ “เจ๊สด” นางสดศรี สัตยธรรม กกต.ด้านกิจการพรรคการเมือง

กกต.ถูกจับแยก “เด็กดื้อ” และ “เด็กดี”

และกรณีหนังสือยืนยันความเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ของนายชัยวัฒน์ ก็ต้องแยกออกเป็น 2 ประเด็น ปมแรก เอกสารจริงหรือปลอม

ซึ่งนายสุเมธออกมาระบุเอกสารดังกล่าวเป็นหนังสือทางราชการของ กกต. แต่ลายเซ็นในเอกสารไม่ใช่ของผู้มีอำนาจคือ พ.ต.อ.ณัฐศักดิ์ นานาวัน ผู้อำนวยการสำนักสืบสวนสอบสวนและวินิจฉัย 5

ขณะที่นายสมชัยก็อธิบายแทนลูกน้อง ในวันที่ทีมทนายของนายยงยุทธขอเอกสารเพื่อนำไปแสดงต่อศาล ปรากฏว่า พ.ต.อ.ณัฐศักดิ์อยู่ที่ศาลทั้งวัน จึงประสานให้ พ.ต.ท.กฤษณ์ ณ เชียงใหม่ พนักงานสอบสวน สำนักสืบสวนฯ 5 ให้ดำเนินการโดยเร็ว

ดังนั้น พ.ต.ท.กฤษณ์จึงเซ็นเอกสารขึ้นมาเองและเซ็นแทน

“ข้อผิดพลาดคือ แทนที่จะลงนามด้วยตัวเอง กลับไปอ้างชื่อ พ.ต.อ.ณัฐศักดิ์และลงนามแทน เท่าที่เห็นก็เป็นหนังสือราชการที่ถูกต้องทุกอย่าง จะผิดก็ตรงที่ไปลงชื่อแทนคนอื่น”

ดูท่า “สารวัตรกฤษณ์” คงต้องรับมุกไป

แต่กับอีกประเด็นคือนายชัยวัฒน์เป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์หรือไม่

ปรากฏคิวนี้ นางสดศรีนำทีมแถลงยืนยันด้วยตัวเอง จากการตรวจสอบพบว่า ไม่เฉพาะนายชัยวัฒน์เท่านั้นที่เป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์

แต่ยังปรากฏชื่อของนางอรและนายเกรียงไกร ฉางข้าวคำ ภรรยาและลูกของนายชัยวัฒน์ สมัครเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2547

โดยมีสำเนารายชื่อถูกเก็บเป็นไมโครฟิล์มป้องกันการถูกแก้ไขอีกด้วย

ล่าสุดมีการเปิดฐานข้อมูลสมาชิกพรรคการเมืองของ กกต. พบว่า นายชัยวัฒน์เคยเป็นสมาชิกทั้งพรรคประชาธิปัตย์และพรรคไทยรักไทย ซึ่งตามกฎหมายเก่าสามารถทำได้ แต่เมื่อพรรคไทยรักไทยถูกยุบไป การเป็นสมาชิกของนายชัยวัฒน์ก็สิ้นสภาพไปด้วย

แต่จากบัญชีสมาชิกที่พรรคประชาธิปัตย์ส่งให้ กกต.ล่าสุด ก็ยังมีชื่อของนายชัยวัฒน์อยู่ ลงนามรับรองความถูกต้องโดยนายชินวรณ์ บุณยเกียรติ กรรมการบริหารพรรค

จุดนี้แหละที่ต้องชิงเหลี่ยมหักล้างกัน

เพราะมันจะชั่งน้ำหนักได้ว่า สิ่งที่นายชัยวัฒน์ปฏิเสธกลางศาล และถึงตอนนี้ก็ยังยืนยันกับคนภายนอกว่าไม่เคยสมัครเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์เลย

ในฐานะพยานโจทก์สำคัญ พูดแล้วเชื่อถือได้แค่ไหน.

ทีมข่าวการเมือง รายงาน



สิงห์เหลิม สั่ง ผวจ.ปิดเอเอสทีวี

ที่กระทรวงมหาดไทย ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รมว.มหาดไทย กล่าวในการประชุมกระทรวงมหาดไทย ถึงเรื่องการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยว่า การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯเข้าข่ายการผิดกฎหมายอาญา จึงขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศไปตรวจดู และให้ดำเนินการใน 2 ลักษณะ คือ 1. ใช้มาตรการทางปกครอง เรียกผู้ประกอบการโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิกในท้องถิ่น ที่รับสัญญาณของเอเอสทีวี ที่ทำหน้าที่โฆษณาให้ประชาชนกระทำผิดกฎหมาย ให้รับทราบข้อเท็จจริง และยุติการรับสัญญาณของเอเอสทีวี ที่ถ่ายทอดสดการชุมนุมไปแพร่ภาพ 2. หากไม่รับฟังก็ขอให้ไปกล่าวโทษต่อเจ้าพนักงานว่า กระทำความผิดตามมาตรา 85 ของประมวลกฎหมายอาญา สามารถกล่าวโทษต่อเจ้าพนักงานได้ทุกพื้นที่ที่มีการแพร่สัญญาณเอเอสทีวีไปถึง และทำได้ทุกวัน เพราะถือว่าเป็นการกระทำที่ต่างกรรมต่างวาระกัน

อ้างนายกฯสั่งมหาดไทยให้จัดการ

เรื่องนี้เป็นการสั่งการจากนายกฯที่เรียกไปหารือ เมื่อวันที่ 12 มิ.ย.ที่ผ่านมา ที่นายกฯต้องการใช้บริการจากกระทรวงมหาดไทย เพราะเห็นว่าจัดการงานได้รวดเร็ว หลังการประชุมกระทรวง ขอให้ดำเนินการโดยทันที โดยให้ประสานไปยังผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด เจ้าหน้าที่สามารถกล่าวโทษได้เลย ผวจ.ต้องกล่าวโทษทุกวัน เอเอสทีวีต้องถูกแจ้งจับทุกวัน ส่วนการที่ศาลปกครองคุ้มครองการออกอากาศของเอเอสทีวี เป็นคนละเรื่อง เพราะเรื่องนี้เป็นการเอาเรื่องของผู้ที่มีการกระทำความผิดไปเผยแพร่ พันธมิตรฯทำผิดฐานกีดขวางการจราจร การใช้วิธีจรยุทธ พูดจาหยาบคาย ปลุกระดมประชาชนว่าไม่ต้องเสียภาษี ขู่ตัดน้ำตัดไฟ ถือเป็นการละเมิดอำนาจรัฐ ศาลจะคุ้มครองอย่างไรก็ว่าไป ไม่ใช่หน้าที่กระทรวงมหาดไทย ที่จะไปขอให้ศาลปกครองเพิกถอนการคุ้มครองสิทธิร.ต.อ.เฉลิมกล่าว

ฉุนผู้สื่อข่าวซักถามเรื่องข้อกฎหมาย

เมื่อถามว่า จะทำให้คนเห็นใจพันธมิตรฯมากขึ้นหรือไม่ รมว.มหาดไทยตอบว่า จะไปเห็นใจได้อย่างไร อย่างนี้ก็ต้องเผาตำรากฎหมายทิ้ง แล้วปล่อยให้มีโจรเต็มบ้านเต็มเมืองไปหมด เมื่อถามว่า จะทำให้สถานการณ์การชุมนุมรุนแรงขึ้นหรือไม่ ร.ต.อ.เฉลิมตอบว่า ไม่ได้สนใจ สถานการณ์รุนแรงเรื่องอะไร ผู้สื่อข่าวถามว่า การนำกฎหมายนี้มาใช้ อาจจะทำให้มีผู้มาเข้าร่วมชุมนุมมากขึ้น เพราะมีการตัดสัญญาณเคเบิลทีวี ร.ต.อ.เฉลิมได้กล่าวด้วยความฉุนเฉียวในทันทีว่า ใครออกกฎหมาย ก็กฎหมายมันมีแล้ว ไม่ใช่ผมตอบแล้วมีอารมณ์ แต่ถ้านักข่าวสัมภาษณ์ยังขาดความเข้าใจ จากนี้ผมไม่จำเป็นต้องให้สัมภาษณ์อีกต่อไป ต้องเข้าใจว่าผมไม่ใช่เป็นคนออกกฎหมาย ถ้าพันธมิตรฯทำผิดกฎหมายไม่กล้าทำอะไร ก็ต้องยกประเทศให้พันธมิตรฯไป

อยากให้พวกคุณให้ความเป็นธรรมผมบ้าง นักการเมืองอย่างผมไม่ชั่วหรอก ถ้าไม่ให้ความเป็นธรรมในการเสนอข่าว ก็ไม่ต้องมาสัมภาษณ์ เพราะผมดังพอแล้ว ไม่ต้องออกข่าว บางครั้งพวกคุณก็มากไป ผมไม่เคยโกรธนักข่าว แต่มันมากไป เรื่องไม่เป็นเรื่องก็ไปรายงานข่าวอย่างนั้นอย่างนี้ ผมก็เสียหายตลอด ผมไม่เคยเรียกพวกคุณมาสัมภาษณ์ มีแต่พวกคุณอยากมาสัมภาษณ์ผม ถ้าคิดว่าการให้สัมภาษณ์ของผม ไม่เป็นประโยชน์ต่อสื่อและประชาชน ไม่ต้องมาสัมภาษณ์ผมอีกต่อไปรมว.มหาดไทยกล่าวในที่สุด



อ่านรายละเอียดต่อ ไทยรัฐ

ปชป.เรียกร้อง มท.1 ยกเลิกการปิดกั้น ASTV

พรรคประชาธิปัตย์ 14 มิ.ย. - กรรมการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชน พรรคประชาธิปัตย์ เรียกร้องให้ รมว.มหาดไทย ยุติการสกัดกั้นการถ่ายทอดสัญญาณ ASTV

นายบุญยอด สุขถิ่นไทย ส.ส.กทม. และกรรมการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชน พรรคประชาธิปัตย์ แถลงถึงกรณีที่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ห้ามไม่ให้เคเบิลทีวีต่างจังหวัด รับสัญญาณถ่ายทอดการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เรื่องนี้ไม่ต้องเรียนกฎหมายระดับด๊อกเตอร์ ก็ต้องรู้ว่ารัฐธรรมนูญให้สิทธิเสรีภาพในการรับรู้ หากมีการกระทำผิดกฎหมาย สิ่งที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยต้องดำเนินการ คือ การแจ้งความ ไม่เช่นนั้นจะถือว่าละเว้นการปฎิบัติหน้าที่

“แม้รัฐบาลจะปิดกั้น ASTV ได้ แต่สุดท้ายประชาชนจะโหยหาข้อมูลข่าวสาร ดังนั้น จึงอยากเรียกร้องให้ยุติการกระทำ และมุ่งหน้าไปสู่การแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น”นายบุญยอด กล่าว. -สำนักข่าวไทย


อัพเดตเมื่อ 2008-06-14 12:57:14




สมัคร โยนถาม มท.1 สั่งไม่ให้เชื่อมสัญญาณถ่ายทอดชุมนุม

เชียงใหม่ 14 มิ.ย. – “สมัคร สุนทรเวช” เดินตลาดวโรรส หาซื้ออาหาร พร้อมสอบถามราคาสินค้า เผยไม่รู้สึกกังวลกับการเดินทางมาประชุมที่ จ.เชียงใหม่ โยนให้ถาม “ร.ต.อ.เฉลิม” กรณีสั่งเคเบิลทีวีไม่ให้เชื่อมสัญญาณถ่ายทอดชุมนุม

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เวลา 07.15 น. วันนี้ (14 มิ.ย.) นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ปฏิบัติภารกิจที่ จ.เชียงใหม่ เป็นประธานการประชุมส่งเสริมปีแห่งการท่องเที่ยวไทย 2551-2552 ร่วมกับนายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ภาคเอกชน ข้าราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่โรงแรมแชงกรีล่า

โดยก่อนการประชุม นายสมัคร ถือโอกาสเดินตลาดวโรรส เพื่อซื้อหมูทอด ไส้อั่ว ซี่โครงหมูทอด ข้าวเหนียว และปาท่องโก๋ จากร้านดำรงไส้อั่ว รับประทานเป็นอาหารเช้า จากนั้นได้ทักทายแม่ค้าและสอบถามราคาอาหารและผลไม้ เช่น ส้ม แกงถุง เนื้อทอด ปลาทอด และแวะชิมน้ำยาที่ร้านขนมจีนน้ำยา ซึ่งเป็นร้านที่นายสมัครแวะมารับประทาน และจับจ่ายใช้สอยในตลาดดังกล่าวบ่อย ๆ ก่อนรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และแม่ค้ารู้สึกดีใจมากที่นายกรัฐมนตรีเดินทางมาประชุมเพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยว จ.เชียงใหม่ เพราะขณะนี้แม่ค้า-พ่อค้าในตลาดวโรรสมีกำไรลดลงกว่าครึ่ง จึงต้องการให้รัฐบาลส่งเสริมการท่องเที่ยว และเชื่อว่าการประชุมดังกล่าว จะทำให้การท่องเที่ยวใน จ.เชียงใหม่ดีขึ้น

ทั้งนี้ผู้สื่อข่าวถามว่าราคาสินค้าแพงหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวอย่างอารมณ์ดีว่า “ไม่แพงเท่าไหร่” จากนั้นเดินทางกลับโรงแรมเจดีย์ ซึ่งเป็นที่พักแรมของนายกรัฐมนตรี

ผู้สื่อข่าวถามว่ามา จ.เชียงใหม่ในครั้งนี้รู้สึกกังวลหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวด้วยรอยยิ้มว่า “จะกังวลหรือหนักใจเรื่องอะไร” เมื่อถามว่าเมื่อวานนี้มีข่าวว่านายกรัฐมนตรีไปทำบุญเนื่องในวันคล้ายวันเกิด ที่ อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า “ไปแม่กลาง ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับแม่ริม”

เมื่อถามถึงกรณีที่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย สั่งให้จังหวัดดูแลไม่ให้เคเบิลทีวีเชื่อมโยงสัญญาณเอเอสทีวีในการถ่ายทอดการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เรื่องนี้ต้องไปถาม ร.ต.อ.เฉลิม

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เวลา 09.10 น. นายกรัฐมนตรีได้เดินทางไปโรงแรมแชงกรีล่า เพื่อเป็นประธานการประชุมส่งเสริมปีแห่งการท่องเที่ยวไทย 2551-2552 โดยมีนายวีระศักดิ์ และนายวิชัย ศรีขวัญ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ให้การต้อนรับ โดยนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า “ได้ไปเดินตลาดวโรรส มีของกินน่ากินหลายอย่าง โดยเฉพาะเห็นแม่ค้านำเห็ดออรินจิ มาจี่กับกะทะ แล้วใส่พริกไทยและเกลือเล็กน้อย อร่อยมาก”

จากนั้นนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุม โดยกล่าวถึงสาเหตุเป็นประธานการประชุมส่งเสริมปีแห่งการท่องเที่ยวไทย 2551-2552 ว่า ได้เลื่อนการประชุมดังกล่าวมาเป็นวันนี้ (14 มิ.ย.) เพราะสัปดาห์ที่ผ่านมา พรรคพลังประชาชนมีการประชุมทางการเมือง ซึ่งตนไม่ได้ไปร่วมประชุม เพราะเกรงว่าจะถูกมองเป็นเรื่องการเมือง

“เดิมทีได้นัดให้คณะรัฐมนตรี 35 คนมาร่วมประชุมพร้อม ๆ กัน แต่เห็นว่าเมื่อมีการเดินทางมากันเป็นจำนวนมาก ทั้งรัฐมนตรี 35 คน ต้องมีหน่วยรักษาความปลอดภัยเต็มบ้านเต็มเมืองไปหมด และค่าใช้จ่ายก็จะสูง ผมจึงมาร่วมประชุมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวฯ ภาคเอกชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเท่านั้น เพื่อส่งเสริมและพิจารณาปัญหาเกี่ยวกับการท่องเที่ยว” นายสมัครกล่าว.-สำนักข่าวไทย


อัพเดตเมื่อ 2008-06-14 12:24:37




นายกฯ ประชุมพัฒนาท่องเที่ยวไทยที่เชียงใหม่

เชียงใหม่ 14 มิ.ย.- นายกรัฐมนตรีปฏิบัติภารกิจที่จังหวัดเชียงใหม่ เข้าร่วมประชุมกับหลายฝ่าย หาแนวทางพัฒนาการท่องเที่ยวไทย

โดยก่อนการประชุม นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ถือโอกาสเดินตลาดวโรรส จังหวัดเชียงใหม่ รับประทานอาหารเช้า และแวะทักทายพ่อค้าแม่ค้า สอบถามราคาอาหารและผลไม้ ซึ่งผู้ค้าส่วนใหญ่ ยอมรับว่า ช่วงนี้ ได้กำไรลดลงกว่าครึ่ง และต้องการให้รัฐบาลช่วยหาทางส่งเสริมการท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ด้วย

จากนั้น นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางไปที่โรงแรมแชงกรีล่า เพื่อเป็นประธานการประชุมส่งเสริมปีแห่งการท่องเที่ยวไทย ปี 2551-2552 โดยจะร่วมหารือกับนายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา รวมถึงภาคเอกชน ข้าราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาแนวทางส่งเสริมและพิจารณาปัญหาที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวของไทย หาแนวทางพัฒนาศักยภาพให้ทัดเทียมนานาชาติ.

ชมรายละเอียด สำนักข่าวไทย


อัพเดตเมื่อ 2008-06-14 12:05:52



ศาลฎีกาเรียกเจ้าหน้าที่รับถุงขนมพร้อมเงิน 2 ล้านสอบ

ศาลฎีกา 13 มิ.ย.- องค์คณะไต่สวนเงิน 2 ล้าน เรียกสอบเจ้าหน้าที่ธุรการศาลฎีกานักการเมือง ซี 7 แล้ว ยันมีเงินในถุงขนมจริง สัปดาห์หน้าพร้อมตรวจเทปวงจรปิด ก่อนเรียกบุคคลภายนอกสอบข้อเท็จจริง

ผู้สื่อข่าวรายงานจากศาลฎีกา สนามหลวง ว่า ที่ห้องประชุมเล็ก องค์คณะผู้ไต่สวนข้อเท็จจริงโดยนายมงคล ทับเที่ยง รองประธานศาลฎีกา นายวีระพล ตั้งสุวรรณ และนายอิศเรศ ชัยรัตน์ ผู้พิพากษาศาลฎีกา ได้ประชุมกรณีทนายความอดีตนักการเมืองนำถุงขนม ซึ่งมีเงินสดจำนวน 2 ล้านบาท ให้เจ้าหน้าที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยองค์คณะผู้ไต่สวนได้เรียกเจ้าหน้าที่ธุรการซี 7 ซึ่งเป็นผู้รับถุงขนมใส่เงินสด 2 ล้านบาท มาสอบถามข้อเท็จจริง ถึงการสนทนากับทนายความอดีตนักการเมืองเมื่อวันที่ 10 มิ.ย. โดยวันดังกล่าวตรงกับวันที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เดินทางมารายงานตัวต่อศาล หลังกลับจากต่างประเทศในคดีทุจริตซื้อที่ดินรัชดา โดยมีนายพิชิฏ ชื่นบาน ทนายความ เดินทางมาด้วย ซึ่งเจ้าหน้าที่ธุรการซี 7 ยืนยันว่าภายในถุงมีขนมและเงินสดจำนวนดังกล่าวจริง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังองค์คณะไต่สวนเจ้าหน้าที่แล้ว สัปดาห์หน้าจะนำภาพเทปทีวีวงจรปิดบริเวณแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองชั้นธุรการ ซึ่งเป็นสถานที่เกิดเหตุมาตรวจสอบภาพบุคคลและการสนทนาเพื่อเป็นหลักฐาน จากนั้นจะเชิญบุคคลดังกล่าวเข้ามาทำการไต่สวนความจริง ส่วนจะต้องเปิดบัลลังก์ไต่สวนอย่างเปิดเผยหรือไม่ องค์คณะผู้ไต่สวนจะมีการใช้ดุลพินิจหารือกันก่อน.- สำนักข่าวไทย


อัพเดตเมื่อ 2008-06-13 19:22:46




การก่อความไม่สงบในภาคใต้ของไทย: วิเคราะห์กลุ่มก่อความไม่สงบ

ถึงแม้ว่าปัจจัยด้านประวัติศาสตร์ ชาติพันธุ์ ศาสนา และความเชื่อ หรืออัตลักษณ์ นับเป็นองค์ประกอบที่ทำให้ประชาชนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีความแปลกแยกโดยพื้นฐานไปจากประชาชนในส่วนอื่นๆ ของประเทศ แต่ปัจจัยที่มีส่วนสำคัญที่สุดที่ทำให้พื้นที่แถบนี้ไม่มีความสงบมาโดยตลอด เกิดจากกลุ่มบุคคลที่รวมตัวกันต่อต้านอำนาจรัฐในรูปองค์การกู้ชาติปัตตานี โดยกลุ่มที่มีบทบาทสำคัญตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน ได้แก่

1.กลุ่มแนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติปัตตานี (The Barisan National Pember-Basan Pattani/ BNPP หรือ Pattani National Liberation Front)

ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.2502 โดย Tengu Abdul Jalal หรือ นายอดุลย์ ณ สายบุรี วัตถุประสงค์ของกลุ่มต้องการได้รับเอกราชอย่างสมบูรณ์จากประเทศไทย ไม่ยอมรับการปกครองตนเองหรือการเข้าไปรวมกับประเทศมาเลเซีย ขณะที่ยุทธศาสตร์ของกลุ่มเน้นการรบแบบกองโจร แต่ในปี พ.ศ.2533 กลุ่มได้ปรับเปลี่ยนวัตถุประสงค์หันไปสนับสนุนการต่อสู้ของกลุ่มแบ่งแยกดินแดนทั่วโลก

พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อกลุ่มเป็น Barisan Islam Pember-Basan Pattani (BIPP) อย่างไรก็ตาม เมื่อปี พ.ศ.2532 กลุ่มได้ยุติความเคลื่อนไหวในประเทศไทยไประยะหนึ่งแล้วกลับมาเคลื่อนไหวใหม่เมื่อปี พ.ศ.2545 ภายหลังมีการประชุมแกนนำของกลุ่ม ที่บริเวณภาคเหนือของมาเลเซีย ทั้งนี้นักวิเคราะห์ด้านความมั่นคงเชื่อว่า BIPP มีส่วนร่วมในการโจมตีหน่วยงานด้านความมั่นคงของไทยใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เมื่อปี 2545 แต่ก็ไม่อาจยืนยันได้ว่า มีส่วนร่วมในเหตุการณ์ก่อความไม่สงบในพื้นที่ดังกล่าวเมื่อปี พ.ศ.2547 หรือไม่

2.กลุ่มแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายู (The Barisan Revolusi National/BRN หรือ National Revolutionary Front)

ก่อตั้งเมื่อ 13 มีนาคม พ.ศ.2503 ผู้ร่วมก่อตั้งขบวนการมีจำนวนมาก ที่สำคัญได้แก่ นายหะยีอามีน โต๊ะมีนา เตงกูยาลาล์ นาเซร์ อดุลย์ ณ สายบุรี อุสตาซการิม หะยีการิม ฮาซัน อดีตโต๊ะครูปอเนาะในพื้นที่ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส และ นายอับดุลกายม ผู้บุกเบิกก่อตั้งกลุ่มดาวะห์ในประเทศไทย และได้ก่อตั้งหน่วยทหารขึ้นเมื่อ 10 ตุลาคม พ.ศ.2511 โดยใช้ชื่อว่า กองกำลังติดอาวุธปลดแอกปัตตานี หรือ Angkatan Bersenjata Revolusi Patani : ABRIP (เลียนแบบชื่อย่อของกองทัพอินโดนีเซีย ซึ่งใช้คำว่า ABRI : Angkatan Bersenjata Republic Indonesia) อุดมการณ์เริ่มแรกของ BRN ยึดแนวความคิดในการปกครองแบบสังคมนิยม แต่ต่อมาหันมาชูอุดมการณ์ด้านศาสนา

อย่างไรก็ตาม ได้เกิดความแตกแยกภายในขึ้นหลายครั้งตั้งแต่ปี พ.ศ.2521 จนแตกเป็น 3 กลุ่มคือ BRN Congress (สายกองกำลังติดอาวุธ) BRN ULAMA (สายศาสนา) และ BRN Coordinate (สายการเมืองและศาสนา) แต่ในปัจจุบันเชื่อว่าเหลือเพียงขบวนการเดียว และมีบทบาทมากที่สุดคือ ขบวนการ BRN Coordinate ซึ่งหลักการสำคัญของกลุ่มนี้คือ การยึดมั่นแนวคิดแบ่งแยกดินแดนไม่เจรจากับฝ่ายรัฐ และใช้วิธีการรุนแรงในการปฏิบัติการโดยไม่เลือกว่าเป็นไทยพุทธหรือไทยมุสลิมที่ให้ความร่วมมือกับรัฐ

3.องค์กรปลดปล่อยรัฐปัตตานีหรือองค์การสหปัตตานีเสรี (Pesatuan Pember-Basan Pattani Bersatu/PPPB หรือ Pattani United Liberation Organization/PULO)

ก่อตั้งเมื่อ 22 มีนาคม พ.ศ.2511 เป็นองค์กรจัดตั้งที่มีรูปแบบสมบูรณ์ที่สุด ผู้ริเริ่มก่อตั้งคือ ตนกูบีรอ กอตอนีรอ และ นายกาบีร์ อับดุลเราะห์มาน ทั้งนี้แม้ว่าได้เกิดความแตกแยกหลายครั้งภายในกลุ่ม PULO ตั้งแต่ปี พ.ศ.2528 จนเกิดการแยกตัวออกเป็น PULO เก่า และ PULO ใหม่ แต่ล่าสุดมีรายงานยืนยันว่า ขบวนการดังกล่าวได้รวมกันเป็นหนึ่งเดียวแล้วเมื่อเดือนมิถุนายน 2548 และปัจจุบัน PULO ได้เข้ารวมเป็นพันธมิตรกับแนวร่วมเพื่อเอกราชปัตตานี หรือเบอร์ซาตู (BERSATU) แต่กิจกรรมส่วนใหญ่ของ PULO ในปัจจุบันเน้นงานด้านการเมืองในเวทีการเมืองระหว่างประเทศ ส่วนกองกำลังของกลุ่มใน 3 จังหวัดชายแดนใต้มีน้อยมาก และแทบไม่พบความเคลื่อนไหวในด้านการใช้กำลังตั้งแต่ปี พ.ศ.2543 อย่างไรก็ตาม หน่วยงานด้านความมั่นคงยังคงจับตากลุ่ม PULO อย่างใกล้ชิด เนื่องจากในกลางปี พ.ศ.2549 เป็นต้นมา เริ่มปรากฏความเคลื่อนไหวของกองกำลัง PULO อีกครั้งอย่างผิดสังเกต

4.ขบวนการมูจาฮีดีนอิสลามปัตตานี (Therakan Mujahideen Islam Pattani/GMIP)

มีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มก่อความไม่สงบหลายกลุ่ม เริ่มจากการก่อตั้งแนวร่วมมูจาฮีดีนปัตตานี หรือ BBMP (Barisan Bersatu Mujahideen Patani) ขึ้นเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ.2528 โดยมีแนวคิดที่จะรวบรวมขบวนการต่างๆ เข้าด้วยกัน เพื่อให้มีเอกภาพและความเข้มแข็งในการต่อสู้ และอยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายเดียวกัน คือการปลดแอกจังหวัดชายแดนภาคใต้ ผู้ร่วมก่อตั้งมี นายหะยีอามีน โต๊ะมีนา แกนนำของ BRN Coordinate หะยีอับดุลเราะห์มาน (โต๊ะครูพ่อมิ่ง นักวิชาการทางศาสนา) ตนกูบีรอ กอตอนีรอ แกนนำ PULO นายแวหามะ แวยูโซะ แกนนำ BNPP/BIPP อุสตาซการิม บินฮาซัน แกนนำ BRN ULAMA และ นายบือราเฮง กูทาย (บือราเฮงขนส่ง) แกนนำ BNPP/BIPP

แต่ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2529 เริ่มปรากฏการเคลื่อนไหวของอีกขบวนการหนึ่งชื่อ “ขบวนการมูจาฮีดีนปัตตานี” GMP (Gerakan Mujahideen Pattani) ซึ่งเชื่อว่าแยกตัวจากขบวนการ BIPP และ BBMP โดยมีแกนนำคนสำคัญประกอบด้วย นายวันอาหมัด วันยูซุฤ/แวหามะ แวยูโซะ อดีตสมาชิก BNPP/BIPP นายอาวัง/อาแว บินอับดุลเลาะห์ กาบีร์/อาแวยะบะ นายมูฮัมหมัด/มะ โดล์/อุสตาซมะ โดล์ นายแจ๊ะกูแม กู/อับบัส บินอาหมัด ในการเคลื่อนไหวของกลุ่มนี้เน้นงานด้านการเมืองอยู่ในมาเลเซีย บทบาทสำคัญของ GMP คือ เป็นหนึ่งในแกนนำที่รวบรวมขบวนการต่างๆ ก่อตั้งเป็นขบวนการร่วมเพื่อเอกราชปัตตานี หรือเบอร์ซาตู (BERSATU) เมื่อปี พ.ศ.2532 (ยกเว้น BRN Coordinate ที่ไม่ได้เข้าร่วมขบวนการ แต่ก็อยู่ในฐานะที่เป็นพันธมิตร)

5.กลุ่มแนวร่วมเพื่อเอกราชปัตตานี (The United Front for the Independence of Pattani/BERSATU)
ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 31 สิงหาคม พ.ศ.2532 โดยความเห็นชอบร่วมกันของแกนนำกลุ่ม BIPP BRN GMP และ PULO โดยมีจุดมุ่งหมายจะรวมขบวนการต่อสู้เป็นหนึ่งเดียว ซึ่งในระยะเริ่มต้น แกนนำของทั้ง 4 กลุ่ม ตกลงให้จัดตั้ง “องค์การร่วม” หรือ “องค์การปายง” หรือ Umbrella Organization ขึ้นเพื่อความเป็นเอกภาพ และให้การดำเนินงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยมีแนวทางในการปฏิบัติร่วมกันต่อสู้เพื่อปลดแอกปัตตานี ใช้หลักการต่อสู้เพื่อศาสนา (ญิฮาด) ด้วยกำลังติดอาวุธ ต่อต้านหลักการและนโยบายต่างๆ ของรัฐบาลไทย เรียกร้องให้ประเทศอิสลามทั้งหลายสนับสนุนการต่อสู้ แต่ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2534 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “แนวร่วมเพื่อเอกราชปัตตานี” หรือ BERSATU โดยปัจจุบันมี ดร.วัน กาเดร์ เจ๊ะมาน เป็นประธาน อย่างไรก็ตาม ตามข้อเท็จจริงที่หน่วยงานด้านความมั่นคงรับทราบ BERSATU ไม่มีอำนาจสั่งการกลุ่มต่างๆ ที่เป็นสมาชิก เพียงแต่ทำหน้าที่กำหนดนโยบาย หรือแนวทางการปฏิบัติกว้างๆ เพื่อให้การดำเนินงานของแต่ละกลุ่มเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ส่วนกลุ่มสมาชิกยังคงมีการเคลื่อนไหวเป็นเอกเทศ แต่มีการประสานความร่วมมือกันมากขึ้นเท่านั้น

6.กลุ่มเยาวชนกู้ชาติปัตตานี (Pemuda Merdeka Pattani/PMP)
ก่อตั้งโดยขบวนการ BRN Coordinate ซึ่งสมาชิกระดับแกนนำส่วนใหญ่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิทางศาสนา (Ulama) และได้พัฒนาการต่อสู้ในมิติใหม่ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2535 โดยการฝึกอบรมเยาวชนทหารตามโครงการและจัดตั้งกองกำลังติดอาวุธทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน ด้วยการปลุกกระแสการต่อสู้ในแนวทางญิฮาด (Jihad) หรือสงครามศักดิ์สิทธิ์ เพื่อเตรียมการทำสงครามประชาชน หรือการรบแบบกองโจร การดำเนินงานจะแฝงกิจกรรมอยู่ในตาดีกาและในปอเนาะ ตลอดจนในสถาบันการศึกษาของรัฐบาลบางแห่ง รวมทั้งบริเวณมัสยิดประจำหมู่บ้าน โดยได้ปฏิบัติการทางทหารที่สำคัญหลายครั้งในลักษณะการปล้นอาวุธ ลอบยิง/สังหารเจ้าหน้าที่ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2544 และเชื่อว่ากลุ่มดังกล่าวมีการเชื่อมโยงและแสวงหาแนวร่วมกับกลุ่มอื่นๆ เช่น PULO BRN Congress และ GMIP เป็นต้น

7.สภาอูลามาปัตตานีดารุสลาม (Ulama Pattani Daruslam)
เป็นกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิทางศาสนาหรือปราชญ์มุสลิม (อูลามา) ถือเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณของประชาชนมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่วนใหญ่จบการศึกษาด้านการศาสนาในระดับสูงมาจากกลุ่มประเทศตะวันออกกลางและอินโดนีเซีย แล้วกลับมาทำงานเป็นครูสอนศาสนา โต๊ะครู อิหม่าม และเจ้าของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม/ปอเนาะ แต่ละคนมีลูกศิษย์มากมาย และเป็นที่ศรัทธาเคารพของประชาชนมุสลิม

จึงเป็นตัวแปรหลักของสถานการณ์ในพื้นที่อย่างแท้จริง เพราะเป็นผู้ชี้นำและกำหนดทิศทางการต่อสู้ของมุสลิมได้โดยตรง ผู้ที่เป็นแกนหลักสำคัญในการจัดตั้งกลุ่ม Ulama คนแรกก็คือ หะยีสุหลง อัล-ฟาตอนี หรือ นายสุหลง บิน อับดุลกอเดร์ ซึ่งได้เดินทางไปศึกษาด้านการศาสนาที่เมืองเมกกะ ซาอุดิอาระเบีย นานถึง 20 ปี ภายหลังเดินทางกลับปัตตานี เมื่อปี พ.ศ.2470 ได้นำแนวความคิดมาวางรากฐานในการเปลี่ยนรูปแบบการศึกษาจากระบบปอเนาะมาเป็นระบบโรงเรียน โดยในปี พ.ศ.2476 ได้เปิดอาคารเรียนชื่อ “Madrasah Al Maarif Al Wataniah Fatani” ซึ่งปัจจุบันคือ โรงเรียนมาหะอัดดารุลมาฮาเรฟ อยู่ที่เดียวกับสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี และนับเป็นโรงเรียนสอนศาสนาอิสลามแห่งแรกในปัตตานีและในประเทศไทย

ในระยะหลายสิบปีที่ผ่านมา กลุ่ม Ulama มีบทบาทในทางเปิดลดลงไปมาก จนกระทั่งเมื่อ 24 มกราคม พ.ศ.2545 กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิทางศาสนาในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ร่วมกันก่อตั้งสภาอูลามาปัตตานีดารุสลาม ตั้งอยู่ที่โรงเรียนมูลนิธิสมบูรณ์ศาสน์ดาลอ หรือปอเนาะดาลอ อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี สมาชิกประกอบด้วยผู้นำศาสนา โต๊ะครู นักวิชาการอิสลามในพื้นที่จำนวน 29 คน โดยคัดเลือกจากผู้นำศาสนา ในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (อิหม่าม โต๊ะครู โต๊ะบิหลั่น หรือผู้จบด้านการศาสนาชั้นสูง) และในจำนวนนี้ส่วนใหญ่เป็นกรรมการอิสลามประจำจังหวัดในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

8.สมาคมนิสิตนักศึกษาชาวไทยมุสลิมในอินโดนีเซีย (Persatuan Mahasiswa Papani [Selatan Thailand] Indonesia/PMIPTL)

ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.2511 โดยกลุ่มนิสิตนักศึกษาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่สำเร็จการศึกษาด้านการศาสนาจากประเทศอินโดนีเซีย เพื่อประสานงานด้านการศึกษาและดำเนินกิจกรรมทางการเมือง แต่ภายหลังแกนนำของกลุ่มก่อความไม่สงบ โดยเฉพาะ BRN ได้แทรกซึมเข้าไปและบิดเบือนเป้าหมายขององค์กรให้หันมาดำเนินกิจกรรมการปลุกระดม การฝึกอบรมด้านการทหาร และเชื่อมโยงกับองค์กรต่อสู้ทางศาสนาในต่างประเทศหลายองค์กร เพื่อความมุ่งหมายในการต่อสู้แบ่งแยกดินแดนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

ทั้งนี้จนถึงปัจจุบันสมาคมดังกล่าวมีสมาชิกไม่ต่ำว่า 3,000 คน ส่วนใหญ่เป็นโต๊ะครู อิหม่าม คอเต็บ บิหลั่น ครูสอนศาสนา (อุสตาซ) กรรมการอิสลามระดับจังหวัด รวมทั้งบางส่วนเป็นสมาชิกกลุ่มก่อความไม่สงบด้วย หรือเป็นทายาทของสมาชิกหรือแนวร่วมกลุ่มก่อความไม่สงบ ที่บาดเจ็บหรือสูญเสียจากการต่อสู้กับเจ้าหน้าที่ และเนื่องจากประเทศอินโดนีเซีย การต่อสู้ของกลุ่มมุสลิมหัวรุนแรง เช่น ขบวนการเจมาห์ อิสลามิยาห์ (JI) และขบวนการอาเจะห์เสรี (GAM) จึงเอื้ออำนวยให้สมาคมดังกล่าวมีความเชื่อมโยงกันอย่างต่อเนื่องตลอดมา ในลักษณะการฝึกร่วม หรือพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน PMIPTI ในปัจจุบันจึงมีสถานะเป็นหนึ่งในองค์กรแนวร่วมขององค์กรกู้ชาติปัตตานี

9.ขบวนการเยาวชนแห่งชาติปัตตานี (Pattani National Youth Movement/PANYOM หรือ Gerakan Pemuda Kebangsaan Pattani)

เป็นกลุ่มที่หน่วยงานด้านความมั่นคงเชื่อว่าก่อตั้งมานานแล้ว เพียงไม่ได้ดำเนินงานอย่างเปิดเผยหรือมีชื่อเสียงมากนัก จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ.2540 เริ่มปรากฏการเคลื่อนไหวครั้งแรก โดยการทิ้งจดหมายข่มขู่กรรโชกทรัพย์ที่ จ.ปัตตานี และได้เงียบหายไประยะหนึ่ง จนกระทั่งเมื่อ 19 ธันวาคม พ.ศ.2541 ได้ปรากฏการเคลื่อนไหวอีกครั้ง ด้วยการเผยแพร่ข้อมูลผ่านทางอินเตอร์เน็ต มีเนื้อหาปลุกระดมมวลชนโฆษณาชวนเชื่อ โดยใช้ประเด็นด้านศาสนา เชื้อชาติ ประเพณี วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ปัตตานีในอดีต มาเป็นสิ่งปลุกเร้าให้ชาวไทยมุสลิมลุกขึ้นมาต่อสู้รัฐบาลไทย รวมทั้งเผยแพร่ข่าวสารการต่อสู้ของกลุ่มก่อการร้ายขบวนการต่างๆ ซึ่งนับเป็นการพัฒนาบทบาทของกลุ่มไปสู่การต่อสู้ทางการเมือง เพื่อให้เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ

10.สภาองค์กรนำ (Dewan Pimpinan Parti/DPP)
เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่กำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ และตัดสินใจ รวมทั้งเป็นเจ้าของยุทธศาสตร์/แผนการปฏิวัติ 7 ขั้นตอน หรืออาจกล่าวให้ชัด DPP มีสถานภาพเสมือนส่วนมันสมองหรือรัฐบาลของกลุ่มก่อความไม่สงบนั่นเอง โดยโครงสร้างการจัดองค์กรมีลดหลั่นกันลงไป ตั้งแต่ระดับเขต จังหวัด ถึงระดับหมู่บ้าน มีการกำหนดบทบาทหน้าที่ของสมาชิก/แนวร่วม การปฏิบัติทางยุทธวิธีของสมาชิก/แนวร่วม อีกทั้งมีการจัดแบ่งหน้าที่ในองค์กรย่อยอย่างชัดเจน ทั้งในด้านการปฏิบัติการจิตวิทยา/โฆษณาชวนเชื่อ ด้านศาสนา ด้านเศรษฐกิจ และด้านการทหาร (การใช้กำลังปฏิบัติการในรูปแบบต่างๆ) โดยมีเป้าหมายสูงสุดเมื่อการปฏิวัติตามขั้นตอนดังกล่าวสำเร็จ จะสถาปนารัฐปัตตานีขึ้นใหม่ โดยมีอาณาเขตครอบคลุม 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และบางส่วนของ จ.สงขลา และสตูล โดยมีการจัดโครงสร้างดังต่อไปนี้

10.1 โครงสร้างของรัฐปัตตานีที่จะสถาปนาขึ้นใหม่
จากข้อมูลจะพบว่า องค์กรมีการแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 3 เขต ได้แก่

1) เขตปัตตานีอูตารา (ปัตตานีตะวันออก) ประกอบด้วย พื้นที่ส่วนใหญ่ของ จ.นราธิวาส และบางส่วนของ จ.ปัตตานี โดยใช้แม่น้ำสายบุรีเป็นเส้นแบ่งเขต ตั้งแต่ อ.สายบุรี จ.ปัตตานี ไปถึง อ.สุคิริน จ.นราธิวาส

2) เขตปัตตานีตือเงาะ (ปัตตานีกลาง) ประกอบด้วย พื้นที่ส่วนใหญ่ของ จ.ปัตตานี จ.ยะลา และบางส่วนของ จ.นราธิวาส และ จ.สงขลา ตามแนวภูมิประเทศตั้งแต่ อ.เทพา จ.สงขลา ไปถึง อ.กาบัง จ.ยะลา

3) เขตปัตตานียาโต๊ะ (ปัตตานีตะวันตก) ประกอบด้วย พื้นที่ส่วนใหญ่ของ อ.เทพา อ.จะนะ อ.สะบ้าย้อย อ.นาทวี อ.สะเดา อ.ควนโดน และ อ.เมือง จ.สตูล

10.2 โครงสร้างระดับบริหาร (ส่วนกลาง)
มีประธานและรองประธาน DPP เป็นผู้นำ และมีฝ่ายที่ทำหน้าที่รับผิดชอบในเรื่องหลักๆ อีก 7 ฝ่าย ประกอบด้วย ฝ่ายต่างประเทศ ฝ่ายทหาร (งานด้านกำลังรบ) ฝ่ายเยาวชน (งานด้านกำลังพล) ฝ่ายปฏิบัติการจิตวิทยา/ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ฝ่ายศาสนา (อูลามา) ฝ่ายเศรษฐกิจ และฝ่ายเขต/พื้นที่ (ดูแลงานด้านการปกครองท้องที่) ซึ่งมีลักษณะคล้ายงานปกครองของกระทรวงมหาดไทย

10.3 โครงสร้างในระดับเขต/จังหวัด ไปจนถึงระดับกลุ่ม/หมู่บ้าน (การปกครองส่วนท้องถิ่น)
มีการจัดโครงสร้างเลียนแบบระดับบริหาร โดยระดับเขตประกอบด้วย

1.ฝ่ายปฏิบัติการจิตวิทยา ทำหน้าที่ปลุกระดมโฆษณาชวนเชื่อในรูปแบบต่างๆ ผู้ที่ทำหน้าที่ส่วนใหญ่เป็นอุสตาซ (ครูสอนศาสนา) ที่สอนอยู่ตามสถานการศึกษา/ปอเนาะ/ตาดีกา

2.ฝ่ายศาสนา ทำหน้าที่สร้างความเชื่อถือและศรัทธา โดยนำหลักการทางศาสนาอิสลามมาบิดเบือน รวมถึงการสร้างความเชื่อทางไสยศาสตร์ และการสาบานตน ซึ่งผู้ที่ทำหน้าที่ส่วนใหญ่เป็นผู้นำศาสนา

3.ฝ่ายเหรัญญิก ทำหน้าที่ด้านการเงิน ทั้งการหารายได้ และจัดทำรายการรายรับและรายจ่าย โดยมีการเรียกเก็บเงินจากสมาชิก/แนวร่วม เป็นรายวันหรือรายเดือนบ้าง และจัดตั้งกลุ่มอาชีพหรือสหกรณ์ของกลุ่มเพื่อบังหน้า

4.ฝ่ายเลขานุการ ทำหน้าที่ด้านงานธุรการ การจัดหาสมาชิก/แนวร่วม และประสานงานด้านการปลุกระดม การฝึก ในฝ่ายนี้ยังมีผู้มีความรู้หรือผู้อาวุโสซึ่งเป็นที่เคารพยำเกรง มาทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้ ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่มีอิทธิพลในพื้นที่ เช่น นายกองค์การบริหารส่วนตำบล กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้มีอิทธิพลจากธุรกิจผิดกฎหมาย

10.4 ที่ตั้งและพื้นที่อิทธิพลหรือพื้นที่เคลื่อนไหวของกลุ่มก่อความไม่สงบ
จากการวิเคราะห์เอกสารที่ทางการได้มานั้น พอจะพิสูจน์ทราบที่ตั้งและพื้นที่เคลื่อนไหวของกลุ่มก่อความไม่สงบได้ดังนี้

10.4.1 ระดับบริหาร (โครงสร้างส่วนบทของ DPP) น่าจะอยู่ในพื้นที่ จ.ปัตตานี พื้นที่หนึ่ง ระหว่างเมือง อ.ยะหริ่ง หรือ อ.หนองจิก

10.4.2 ระดับเขตหรือจังหวัด คาดว่า

1) ปัตตานีอูตารา (ปัตตานีตะวันออก) น่าจะอยู่ในพื้นที่ จ.นราธิวาส พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งระหว่าง อ.เมือง อ.เจาะไอร้อง หรือ อ.ระแงะ

2) ปัตตานีตือเงาะ (ปัตตานีกลาง) น่าจะอยู่ในพื้นที่ จ.ปัตตานี พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งระหว่าง อ.ยะรัง หรือ อ.มายอ

3) เขตปัตตานียาโต๊ะ (ปัตตานีตะวันตก) น่าจะอยู่ในพื้นที่ จ.ยะลา พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง ระหว่าง อ.เมือง อ.บันนังสตา หรือ อ.ยะหา

ดร.สุรชาติ บำรุงสุข



(อ)ยากจน

ในที่สุดเมื่อวานนี้ ศาลปกครองก็ยกเลิกคำสั่งคุ้มครองค่าโดยสารรถเมล์ตามที่เคยประกาศให้ระงับการขึ้นราคาชั่วคราว จนเป็นเรื่องเป็นราวให้เกิดการประท้วงกันนั่นแหละ

ผู้ประกอบการคงโล่งใจ แต่ผู้โดยสารก็หน้าเหี่ยวเพิ่มขึ้นมาอีกนิดหนึ่งละงานนี้

ทุกวันนี้ จากบ้านมาที่ทำงาน ข้าพเจ้าต้องต่อรถเมล์อย่างต่ำ 2 ต่อ ไปกลับรวม 4 ต่อ นั่นหมายความว่าวันๆ หนึ่งต้องเสียแบงก์เขียวๆ กับค่ารถเกือบ 2 ใบ นี่ถ้าวันไหนต้องขึ้นเรือด้วยก็บวกเพิ่มไปอีกนิดหน่อย

นับค่ารถที่ต้องจ่ายทั้งเดือน บวกกับช่วงนี้รัฐบาลมีโครงการช่วยเหลือคนยากจน ก็รู้สึก(อ)ยากจนขึ้นมาจริงๆ แล้วสิ

ความจนนี่เป็นปัญหาที่คู่กันมากับทุกประเทศนะขอรับ ไม่ว่าจะเป็นประเทศพัฒนาแล้ว กำลังพัฒนา หรือด้อยพัฒนา ล้วนต้องมีคนยากจนและปัญหาความยากจนให้แก้ไข ยิ่งบางประเทศก็มีความเหลื่อมล้ำทางรายได้สูง เช่น คนรวยก็รวยมากๆ ติดอันดับโลก ใช้สิบชาติก็ยังไม่หมด แต่ในขณะเดียวกัน ก็ยังมีคนยากจนที่ไม่มีแม้ข้าวจะกิน และบางคนก็เป็นคนขยันทำงาน ไม่มีวันหยุดพัก แต่ก็ไม่เคยได้ลืมตาอ้าปากกับเขาสักที

ก็อย่างที่เรารู้กันนั่นแหละว่า ความขี้เกียจหรือขยันไม่ใช่คำตอบสุดท้ายของความรวยหรือจน เพราะถ้าเป็นเช่นนั้น พ่อแม่พี่น้องเราที่ขยันสายตัวแทบขาด ก็คงร่ำรวยนอนอยู่บนกองเงินกองทองกันไปแล้วมิใช่หรือ

หลายครั้ง ความยากจนจึงเกิดจาก การกระจายรายได้ไม่เป็นธรรม รายได้หรือสวัสดิการสังคมกระจุกอยู่กับคนบางกลุ่มมากเกินไป มีระบบจัดเก็บภาษีที่เก็บคนรวยกับคนจนในสัดส่วนเท่ากัน ทั้งที่โอกาสในการสร้างรายได้ไม่เท่ากัน

แม้แต่การพัฒนาของรัฐก็มีโอกาสนำความยากจนไปสู่ชุมชนหนึ่งๆ ที่เคยอยู่อาศัยกันอย่างอยู่ดีมีสุข (ที่สมัยนี้เรียกว่าพอเพียง) เช่น ชาวบ้านแห่งหนึ่งแถบลุ่มน้ำในภาคอีสาน ที่เคยมีชีวิตพึ่งพิงกับธรรมชาติในแถบนั้น เช่น จับปลา ปลูกพืช แต่อยู่มาวันหนึ่งเมื่อรัฐบาลลงไปสร้างเขื่อน

ท่ามกลางการคัดค้านของชาวบ้าน แต่ต้องพ่ายแพ้ให้แก่รัฐ และชาวบ้านต้องย้ายออกไปอยู่ที่อื่น ปรากฏว่าชาวบ้านวัยกลางคนหรือคนแก่ กลายเป็นคนที่ไม่สามารถพึ่งพาตัวเองได้ เพราะภูมิปัญญาแต่ดั้งเดิมไม่มีพื้นที่ให้ใช้แล้ว และจะให้ไปฝึกหรือเรียนอะไรตอนนี้ก็ยากเต็มทีแล้ว ต้องรอแต่เงินเดือนของลูกหลานที่เข้าไปเป็นลูกจ้างหรือทำงานโรงงานตามหัวเมืองใหญ่ ซึ่งก็ไม่ได้มากมายเลยเมื่อเทียบกับรายจ่ายที่ต้องมีทุกเดือน

นี่ไม่ใช่นิทาน แต่เป็นเรื่องจริงที่เคยเกิดขึ้นกับหลายชุมชนในประเทศนี้ กลายเป็นปัญหาสังคมบ่มเพาะเรื้อรังสะสม และต้องให้รัฐมาดิ้นรนคิดโครงการ “สังคมสงเคราะห์” ซึ่งถ้าจะช่วยแบบนี้ ก็ต้องช่วยกันไม่จบไม่สิ้น เนื่องจากว่าชาวบ้านถูกตัดความสามารถในการพึ่งพิงตัวเองไปเสียแล้ว

คนบางคนที่ไม่(อ)ยากจน จึงต้องกลายมาเป็นยากจน ด้วยประการฉะนี้


“ที่แท้ก็ต้องการโค่นล้ม”

การเรียกร้องและชุมนุมของกลุ่มที่เรียกตนเองว่า “พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย” เพื่อคัดค้านการแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญของบรรดาสมาชิกรัฐสภา เป็นประเด็นร้อนในทางการเมืองของประเทศไทยอีกครั้งหนึ่ง บรรดาแกนนำของกลุ่ม ที่เป็น “คนหน้าเก่า คนหน้าเดิม” ก็ออกมาแสดงกำลัง ที่ไม่สนใจถึงความเดือดร้อนของประชาชนผู้สัญจรไปมาบนท้องถนน จราจรติดขัดหรือไม่ “พันธมิตรฯ” ไม่สนใจ ขอให้ได้ชุมนุม

“การปิดถนน คือ อาชีพของพวกข้า”

ด้วยท่าทีที่แข็งกร้าว ถ้าไม่ได้รับชัยชนะ พันธมิตรฯ จะไม่ยอมสลาย ไม่ยอมเจรจา ไม่ตกลงกับใครทั้งสิ้น

เมื่อสำรวจตรวจสอบ นอกจากแกนนำ 5 คน ที่เป็นคนหน้าเดิมแล้ว ยังมีบุคลากรที่สับเปลี่ยนหมุนเวียนขึ้นพูดบนเวทีของพันธมิตรฯ จำหน้าจำตากันได้เป็นอย่างดี

ถึงอย่างไรก็เป็นพวกคนหน้าเดิม กับ 5 แกนนำ ลองร่ายเรียงดูประวัติสักหน่อยคงจะดี

นายสำราญ รอดเพชร อ้างตัวเป็นผู้สื่อข่าว อดีตเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้ดิบได้ดีเพราะไปขับไล่รัฐบาลทักษิณ ทหารที่ปฏิวัติจึงปูนบำเหน็จให้เป็น สนช. กินเงินเดือน เงินภาษีประชาชนเดือนละเป็นแสนอยู่ปีกว่า ต่อมาหลังจากมีรัฐธรรมนูญและการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2550 ได้ลงสมัคร ส.ส. ในเขตกรุงเทพฯ ในนาม พรรคประชาธิปัตย์ แต่สอบตก

นายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ เคยขับไล่รัฐบาลทักษิณ มีทัศนคติทางการเมืองที่แข็งกร้าว ลงสมัคร ส.ส. ที่ จ.บุรีรัมย์ ครั้งที่แล้ว คะแนนเสียงหลุดลอย ไม่ใกล้เส้นชัยแบบต้องเอาปี๊บคลุมหัว

นางมาลีรัตน์ แก้วก่า สามีชื่อ นายธัญญา ชุนชฎาธาร สมัคร ส.ส.สกลนคร พรรคมัชฌิมาธิปไตย เคยเป็น ส.ว. ขึ้นเวทีพันธมิตรฯ คราวไล่ทักษิณ สมัคร ส.ส.สกลนคร สอบตก

นายเทอดภูมิ ใจดี สมัคร ส.ส.ศรีสะเกษ สอบตก

นายการุณ ใสงาม เป็นตัวตั้งตัวตีขับไล่ทักษิณ จนทหารปฏิวัติ สมัคร ส.ส. ครั้งที่แล้วที่ จ.บุรีรัมย์ พรรคมัชฌิมาฯ คะแนนได้มาแบบอับอาย เป็น สสร. ร่างรัฐธรรมนูญ คมช. ปี 2550 ให้มี ส.ว. มาจากการ “ลากตั้ง” สอบตก ส.ส. ยังไม่ประเมินตัวเอง ไปลงสมัคร “นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลประโคนชัย” เป็นเทศบาลเล็กๆ ที่บุรีรัมย์ ได้คะแนนประมาณ 300 คะแนน สอบตกแบบไม่เป็นท่า

นายเสกสรร แสนภูมิ พรรคพลังประชาชนไม่ส่งลงสมัคร แต่ไปสมัคร ส.ส. ในนามพรรคอื่นที่ จ.สุรินทร์ “สอบตก” จึงพกความแค้นมาจากสุรินทร์ ขึ้นเวทีจาบจ้วง หยาบคาย ด่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร แบบอกตัญญู

นายประพันธ์ คูณมี ลูกกระเดือก “ประสงค์ สุ่นศิริ” ได้ดิบได้ดีเป็น สนช. จากเผด็จการ คราวที่แล้วลง ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ ในกรุงเทพฯ “สอบตก”

ยังมีบุคคลอีกหลายคน ที่มีประวัติและพฤติกรรมดังที่ได้กล่าวมา แต่ไม่สามารถนำมากล่าวให้ครบถ้วนได้ คนเหล่านี้ ในสนามการเลือกตั้ง ประชาชนเขาปฏิเสธ ประชาชนไม่ให้เดินบนถนนการเมืองแล้ว ยังจะมีสิทธิอะไรอีกที่จะขึ้นเวที ด่าทอฝ่ายตรงข้ามที่ได้รับชัยชนะจากการเลือกตั้ง

พฤติกรรมของพวกท่าน คล้ายๆ กับ “ขี้แพ้ชวนตี” “เมื่อข้าไม่ได้ เอ็งก็ไม่ต้องอยู่” อย่างไรอย่างนั้น

การชุมนุมจะยืดเยื้อหรือไม่ ทำไปเลย แต่อย่าให้ประชาชนเขาเดือดร้อน

การชุมนุมจะชอบธรรมหรือไม่ ประชาชนเขารู้ เขาเอือมระอา

เลือกตั้งแพ้ แต่จะเอากฎหมู่มาเหนือกฎหมาย ทำทุกวิถีทางเพื่อโค่นล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง

ได้คืบจะเอาศอก ได้ศอกจะเอาวา

หน้าด้านสิ้นดี

ดร.อดิศร เพียงเกษ



การเมือง เศรษฐกิจ ชีวิตคนไทย ใครกำหนด?

“แม้กระนั้นก็เห็นได้ว่า พรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้สะท้อนให้เห็นอะไรใหม่ๆ หรือให้เห็นว่าพรรคได้พัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปมากแล้วแต่อย่างใด ตรงกันข้ามทุกอย่างยังเหมือนเดิม ไม่ว่าจะเป็นแกนนำคนสำคัญของพรรค วิธีการหาเสียง นโยบาย หรือแม้แต่ทัศนคติและแนวคิดในทางการเมือง รวมทั้งการเปิดกว้างให้นักการเมืองหน้าใหม่ๆ ได้มีโอกาสแสดงบทบาททางการเมืองอย่างเต็มที่”

สมาคมจิตวิทยาความมั่นคงแห่งประเทศไทย ซึ่งมี พล.ท.พลางกูร กล้าหาญ เป็นนายกสมาคม ได้จัดการอภิปรายทางวิชาการขึ้นที่แหล่งชุมนุมวิชาการป้องกันประเทศ (สโมสร วปอ. เดิม) ภายใต้หัวข้อเรื่อง “การเมือง เศรษฐกิจ ชีวิตคนไทย ใครกำหนด?” โดยมีผู้ร่วมอภิปรายคือ ศ.ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ รศ.ประหยัด หงษ์ทองคำ ผศ.ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย นายคณิน บุญสุวรรณ และมี นายบุญเลิศ ช้างใหญ่ เป็นผู้ดำเนินการอภิปราย การอภิปรายดังกล่าวมีขึ้นระหว่างเวลา 14.00 น.–17.00 น. ของวันศุกร์ที่ 25 เมษายน 2551

ต่อคำถามที่ว่า การเมืองไทยใครกำหนดนั้น ฟังดูเหมือนกับว่า “บุคคล” หรือ “คน” เท่านั้นที่เป็นตัวกำหนด แต่แท้ที่จริงแล้ว การกำหนดนั้นอาจเป็นได้ทั้งบุคคลและเหตุการณ์ เรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า มีทั้งปัจจัยบุคคลและปัจจัยแวดล้อม ซึ่งก็เกี่ยวข้องโยงใยกันอย่างแยกไม่ออก อย่างที่ท่านพุทธทาสได้เคยกล่าวไว้ว่า “เหตุปัจจัย” ก็คือ สิ่งที่มนุษย์ก่อขึ้น และมนุษย์ก็ต้องเป็นผู้รับผลของมันนั่นเอง

ประเทศไทยมีปัญหาซึ่งคนไทยได้ก่อขึ้นเองในช่วงระยะเวลาหลายเดือน ก่อนที่จะเกิดการปฏิวัติรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ที่ค่อนข้างวิกฤติอยู่ 3 ประการ ได้แก่ ปัญหาเสถียรภาพทางการเมือง ปัญหาความแตกแยกแบ่งฝักแบ่งฝ่ายของคนในชาติ และปัญหาความไม่สงบเรียบร้อยใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

หลังจากที่การยึดอำนาจผ่านไปเพียงไม่กี่เดือน ก็ปรากฏชัดว่า นอกจากปัญหาทั้ง 3 ประการดังกล่าวข้างต้นจะไม่คลี่คลายลงแล้ว ยังเกิดปัญหาแทรกซ้อนขึ้นมาอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาความไม่แน่นอนของอนาคตทางการเมืองของประเทศไทยว่าจะเดินไปในทิศทางใด รวมทั้งปัญหาภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือของประเทศไทยในสายตาของต่างชาติ นอกจากนั้น ปัญหาความขัดแย้งกันของคนในชาติเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญและการเลือกตั้ง ซึ่งมีทีท่าว่าจะแตกเป็นสองขั้วอย่างชัดเจน ที่ร้ายคือ ผลจากการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ที่ประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือรวมทั้งภาคเหนือส่วนใหญ่ไม่เห็นชอบ

ในขณะที่ประชาชนส่วนใหญ่ของกรุงเทพมหานคร ภาคกลาง และภาคตะวันออก ลงคะแนนเห็นชอบ อันเป็นปรากฏการณ์ที่สะท้อนออกมาในแนวทางเดียวกับผลการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2550 ซึ่งปรากฏว่า พรรคพลังประชาชนซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า ได้รับความสนับสนุนในแทบจะทุกๆ ด้านจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และพรรคไทยรักไทยเดิม ได้รับเลือกตั้งแบบถล่มทลายในแทบจะทุกจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ

ในขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า ได้รับความสนับสนุนแบบลับๆ จาก คมช. และทหาร รวมทั้งพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ก็ได้รับเลือกตั้งอย่างท่วมท้นเช่นเดียวกันในกรุงเทพมหานคร ภาคใต้ และภาคตะวันออก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จ.ชลบุรี ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์ไม่เคยได้รับเลือกตั้งเลยเป็นเวลาหลายปีเต็มทีแล้ว กลับได้รับเลือกตั้งแบบยกทีมทั้งจังหวัด เรียกว่าตกตะลึงพรึงเพริดกันไปหมดเลยทีเดียวก็ว่าได้

ปรากฏการณ์เช่นนี้ หากมองในแง่ดีอาจจะบอกว่า เป็นการส่งสัญญาณว่าการเมืองไทยต่อจากนี้ไปกำลังเข้าสู่ระบบ 2 พรรคอย่างเป็นรูปธรรมแล้ว กล่าวคือ เป็นการแข่งขันกันระหว่าง 2 พรรคใหญ่ คือ พรรคประชาธิปัตย์กับพรรคพลังประชาชน แต่ถ้าวิเคราะห์กันอย่างละเอียดถี่ถ้วนในเชิงลึกแล้ว ปรากฏการณ์เช่นว่านั้นอาจจะนำมาซึ่งวิกฤตการณ์ทางการเมืองที่อาจจะเลวร้ายกว่าที่ผ่านมาก็เป็นได้ ทั้งนี้ ด้วยเหตุผลหลายประการ ดังต่อไปนี้

ประการที่หนึ่ง การที่ผลการเลือกตั้งแบ่งเป็น 2 พรรคอย่างชัดเจน โดยที่พรรคการเมืองหนึ่งได้ที่นั่งในภาคใต้ไปเกือบทั้งหมด ในขณะที่อีกพรรคหนึ่งได้ที่นั่งในภาคอีสานไปเกือบทั้งหมดนั้น จะเรียกว่าเป็นระบบ 2 พรรคคงไม่ได้ เพราะเป็นการแบ่งภาคกันอย่างชัดเจน แทนที่จะเป็น 2 พรรคในทุกพื้นที่ อย่างเช่น ในกรุงเทพมหานคร ในทางกลับกัน การแบ่งภาคกันอย่างชัดเจนเช่นนั้นกลับยิ่งจะเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของชาติ เพราะในระยะยาวประเทศไทยอาจต้องแบ่งเป็นหลายประเทศอย่างเป็นการถาวร

อย่างไรก็ดี การแบ่งพื้นที่กันครองโดยยึดถือเอาจำนวนที่นั่ง ส.ส. เป็นตัวกำหนดอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนั้น น่าจะเป็นเพียงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเฉพาะคราว อันเป็นผลต่อเนื่องจากการต่อสู้กันระหว่างขั้วอำนาจสองขั้ว ตั้งแต่ก่อนที่จะเกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ในลักษณะสงครามตัวแทน (proxy war) เท่านั้น ประชาชนยังไม่ได้แบ่งเป็นสองฝักสองฝ่าย ซึ่งเป็นปรปักษ์ต่อกันอย่างชัดเจน และขัดแย้งกันถึงขั้นต้องห้ำหั่นกันถ้าอยู่คนละพรรคหรืออยู่คนละภาค แต่ทุกฝ่ายก็ไม่ควรประมาทหรือชะล่าใจ เพราะถ้าปล่อยให้สภาพการแยกเป็นสองขั้วสองภาคแบบนี้ดำเนินไปเรื่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทุกครั้งที่มีการเลือกตั้งแล้วละก็ มีหวังประเทศไทยต้องแตกเป็นเสี่ยงๆ แน่

ประการที่สอง พัฒนาการทางการเมืองที่จะเรียกได้ว่าเป็นระบบ 2 พรรค ต้องเป็นผลพวงของพัฒนาการของกระบวนการประชาธิปไตย โดยมีการเลือกตั้งเป็นตัวชี้วัดที่มีมาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน โดยไม่สะดุดหยุดยั้ง จนกระทั่งประชาชนรู้ได้เองว่าตนจะสนับสนุนพรรคการเมืองใดใน 2 พรรคใหญ่ที่มีอยู่

ส่วน 2 พรรคการเมืองใหญ่ที่เป็นปรากฏการณ์หลังการปฏิวัติรัฐประหาร มีรัฐธรรมนูญใหม่ และการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2550 ของประเทศไทยนั้น เป็นผลพวงของการต่อสู้กันแบบเอาเป็นเอาตาย ระหว่างฝ่ายที่ชื่นชอบ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กับฝ่ายที่ไม่เอาทักษิณ ทั้งนี้ โดยใช้รัฐธรรมนูญ ประชาชน และการเลือกตั้งเป็นอาวุธที่จะสาดใส่เข้าหากัน จึงไม่ใช่กระบวนการประชาธิปไตยที่กล่าวข้างต้น ปรากฏการณ์เช่นนี้ มิได้เป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าการเมืองไทยจะมีเสถียรภาพ ภายใต้ระบบ 2 พรรคอย่างแท้จริง

ประการที่สาม ระบบพรรคการเมืองที่จะเป็นระบบ 2 พรรคได้ ต้องประกอบด้วยพรรคการเมืองที่มีจุดยืน อุดมการณ์ และนโยบายหลักๆ ทั้งในด้านความมั่นคง เศรษฐกิจ และสังคม ค่อนข้างชัดเจนและสืบเนื่องมายาวนาน ที่สำคัญ ต้องมีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด พอที่จะเป็นทางเลือกของประชาชนว่าจะนิยมแนวทางและอุดมการณ์ของพรรคการเมืองไหน เช่น กรณีของสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีระบบ 2 พรรค ระหว่างฝ่ายอนุรักษนิยม (พรรครีพับลิกัน) กับฝ่ายเสรีนิยม (พรรคเดโมแครต) เช่นเดียวกับพรรคแรงงานของอังกฤษ ซึ่งเป็นฝ่ายเสรีนิยม

ในขณะที่พรรคคอนเซอร์เวทีฟนั้นเป็นฝ่ายอนุรักษนิยม แต่สำหรับ 2 พรรคการเมืองของไทยนั้น ถ้าจะว่ากันในเชิงอุดมการณ์ แนวทาง และนโยบายหลักแล้ว แทบจะไม่มีอะไรแตกต่างกันเลย จะมีต่างกันก็ตอนที่พรรคการเมืองหนึ่งเป็นฝ่ายรัฐบาล และอีกพรรคการเมืองหนึ่งเป็นฝ่ายค้านนั่นแหละ ส่วนจุดยืนหรืออุดมการณ์นั้น ถ้าจะบอกว่าไม่มีเลยก็คงจะไม่ผิดนัก เพราะอันที่จริงตัวละครทางการเมืองที่โลดแล่นอยู่ในเวทีการเมืองของประเทศไทยนั้น ก็เปลี่ยนพรรคไปเรื่อยๆ โดยไม่เกี่ยวกับจุดยืนหรืออุดมการณ์ใดๆ แต่เกี่ยวกับพื้นที่ในเขตเลือกตั้งและผลประโยชน์ทางธุรกิจมากกว่า

แม้แต่การที่มีนักการเมืองระดับอาวุโสในพรรคประชาธิปัตย์ทางภาคใต้ ไม่เคยเปลี่ยนพรรคเลยนั้น ก็ไม่ได้หมายความว่าพรรคประชาธิปัตย์มีจุดยืนทางการเมืองที่แน่วแน่มั่นคง แต่เป็นเพราะพื้นที่ในเขตเลือกตั้งและความนิยมในตัวบุคคลต่างหาก เพราะที่ผ่านมาพรรคประชาธิปัตย์พอเป็นฝ่ายค้านก็มีจุดยืนอย่างหนึ่ง แต่พอเป็นรัฐบาลก็เปลี่ยนจุดยืนไปโดยสิ้นเชิงเหมือนกัน เพราะฉะนั้น ปรากฏการณ์ 2 พรรคใหญ่ในประเทศไทยขณะนี้ จึงไม่เอื้อต่อกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตยอย่างเป็นรูปธรรมแต่ประการใด

ประการที่สี่ ระบบ 2 พรรคที่แท้จริง ต้องไม่มีพรรคการเมืองที่เป็นนอมินีของใคร หรือของนายทุนกลุ่มใด คือต้องเป็นพรรคการเมืองที่มีประชาชนเป็นเจ้าของอย่างแท้จริง แต่พรรคการเมืองของไทยนั้น ตกอยู่ใต้อิทธิพลและเป็นนอมินีของกลุ่มนายทุนมาตลอด ซึ่งกลุ่มนายทุนที่ว่านั้น ก็มิได้มีอุดมการณ์หรือจุดยืนทางการเมืองที่แน่วแน่มั่นคงแต่ประการใด หากแต่ยึดถือผลประโยชน์และผลกำไรทางธุรกิจที่ตนเองจะได้รับ เมื่อพรรคการเมืองที่ตนให้การสนับสนุนทางด้านการเงินได้เป็นรัฐบาล ซึ่งแสดงให้เห็นว่า พรรคการเมืองของไทย ไม่ว่าจะใหญ่หรือเล็ก ไม่ได้มีความเป็นตัวของตัวเอง หรือมีจุดยืนหรืออุดมการณ์ที่ชัดเจนแต่ประการใด จึงไม่อาจกล่าวได้ว่า ประเทศไทยมีระบบ 2 พรรคอย่างแท้จริง

ประการที่ห้า พรรคการเมืองในระบบ 2 พรรคที่แท้จริง จะต้องไม่ใช่ “พรรคเฉพาะกิจ” ซึ่งก่อตั้งและล้มไปด้วยเหตุผลเพียงแค่ว่า ได้เป็นรัฐบาลหรือไม่ได้เป็นรัฐบาล แต่สำหรับในประเทศไทยในปัจจุบัน จะเรียกว่าเป็นระบบ 2 พรรคคงไม่ได้ เพราะพรรคพลังประชาชนซึ่งได้ ส.ส. มากกว่าพรรคประชาธิปัตย์ ก็เป็นพรรคเฉพาะกิจ ที่ตั้งขึ้นมาด้วยเหตุผลเพื่อต่อสู้ให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

ซึ่งจะบอกว่าตั้งแล้วโตเพียงชั่วข้ามคืนก็คงจะได้ ดังนั้นจะพูดว่าพรรคพลังประชาชนเป็นหนึ่งในระบบ 2 พรรคของประเทศไทยแล้ว ก็คงไม่ใช่ เพราะไม่รู้ว่าพรรคพลังประชาชนจะแตกเมื่อไร เพราะที่ผ่านมา พรรคพลังประชาชนไม่ได้มีอะไรที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตัวเองเลยแม้แต่อย่างเดียว ไม่ว่าจะเป็นนโยบาย เงินสนับสนุน ผู้นำพรรค หรือแม้แต่บรรดา ส.ส. ทั้งหลาย ก็ล้วนแล้วแต่เป็นนักการเมืองหน้าเก่าจากพรรคไทยรักไทย ที่เพิ่งมาสังกัดพรรคพลังประชาชนเพียงชั่วระยะเวลาไม่กี่วัน ก่อนสมัครรับเลือกตั้ง

ส่วนพรรคประชาธิปัตย์นั้น ถึงแม้จะพอพูดได้ว่าเป็นพรรคใหญ่ที่เก่าแก่ แต่การได้รับเลือกตั้ง ส.ส. ด้วยจำนวนที่มากที่สุดเป็นประวัติการณ์นั้น ก็เป็นเพราะได้รับการสนับสนุนจาก คมช. กองทัพ สื่อมวลชน และองค์กรภาคประชาชนที่ต่อต้านระบอบทักษิณ และที่สำคัญคือ กระแสของคนในเมือง ชนชั้นกลาง คนมีการศึกษาซึ่งส่วนใหญ่กลัวการกลับมาของระบอบทักษิณ เพราะฉะนั้น จึงยังไม่ถึงขั้นที่จะเรียกว่า เป็นหนึ่งใน 2 พรรคใหญ่ในระบบ 2 พรรคได้ เพราะถ้าจะว่าไปแล้ว ในช่วงระยะเวลา 10 กว่าปีที่ผ่านมา พรรคประชาธิปัตย์เป็นฝ่ายรัฐบาลมากกว่าเป็นฝ่ายค้าน จนเมื่อเกิดเหตุการณ์ 19 กันยายน 2549 ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์ถูกมองว่าสนับสนุนและได้ประโยชน์จากการรัฐประหาร

รวมทั้งกระบวนการการเลือกตั้งและรัฐธรรมนูญ ที่ดูเหมือนจะเอื้อประโยชน์ต่อพรรคประชาธิปัตย์มากกว่าพรรคคู่ต่อสู้อยู่มาก แม้กระนั้นก็เห็นได้ว่า พรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้สะท้อนให้เห็นอะไรใหม่ๆ หรือให้เห็นว่าพรรคได้พัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปมากแล้วแต่อย่างใด ตรงกันข้าม ทุกอย่างยังเหมือนเดิม ไม่ว่าจะเป็นแกนนำคนสำคัญของพรรค วิธีการหาเสียง นโยบาย หรือแม้แต่ทัศนคติและแนวคิดในทางการเมือง รวมทั้งการเปิดกว้างให้นักการเมืองหน้าใหม่ๆ ได้มีโอกาสแสดงบทบาททางการเมืองอย่างเต็มที่ ดังนั้น จึงไม่สมควรที่จะอยู่ในฐานะเป็นหนึ่งพรรคใหญ่ในระบบ 2 พรรคในรูปแบบที่ควรจะเป็น

คณิน บุญสุวรรณ



“หมอเหวง”หนุน“สดศรี”ฟ้อง“แป๊ะลิ้ม”กล่าวหาปลอมเอกสารช่วย"ยงยุทธ"

“หมอเหวง” พร้อมหนุน “สดศรี” ฟ้องร้องหลังถูกกล่าวหาว่าปลอมเอกสารคดีใบแดงช่วย “ยงยุทธ” ซัด “สนธิ ลิ้ม” ไม่เป็นสุภาพบุรุษรังแกได้แม้แต่ผู้หญิง ระบุ ควรออกอากาศฟ้องร้องทุกช่อง ให้สาธารณชนรับรู้

นพ.เหวง โตจิราการ แกนนำคณะกรรมการประชาชนเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 (คปพร.) กล่าวถึงกรณีที่ นางสดสรี สัตยธรรม กกต..ด้านกิจการพรรคการเมืองจะยื่นฟ้องร้อง นายสนธิ ลิ้มทองกุล กล่าวหาว่า กกต.แก้ฐานข้อมูลพยานสำคัญคดีใบแดงนายยงยุทธ ติยะไพรัช ว่า ตนเห็นด้วยอย่างยิ่งกับการที่นางสดศรีจะฟ้องร้องนายสนธิ เพราะขบวนการเก็บเอกสารของทาง กกต.เป็นความรัดกุม การที่นายสนธิกล่าววหาว่า กกต.เปลี่ยนแปลงเอกสารเป็นการกล่าวหาที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งเอกสารของนายชัยวัฒน์ ฉางข้าวคำ กำนัน ต.จว้า อ.แม่จัน จ.เชียงราย เป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์จริง ดังนั้นนายสนธิต้องมีหลักฐานแสดงให้เห็นว่านางสดศรี เปลี่ยนแปลงเอกสาร

ทั้งนี้ การที่นางสดศรีได้ออกมาแถลงข่าวว่า กกต.ด้านกิจการพรรคการเมืองไม่เคยปกปิดข้อมูลแต่อย่างใด อีกทั้งได้ทำตามขั้นตอนทุกอย่าง สามารถตรวจสอบได้ และฐานข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบันมีการแก้ไขปรับปรุงแล้ว

นพ.เหวง กล่าวว่า การที่นางสดศรีจะฟ้องนายสนธิ และเปิดโปงให้ประชาชนได้รับรู้กันทั่วประเทศว่า กกต.มีความสุจริต จึงอยากให้นางสดศรีท้าให้นายสนธิเอาหลักฐานมาเผยแพร่ให้สาธารณชนได้รับทราบ อีกทั้งอยากให้นายสนธิแสดงความเป็นสุภาพบุรุษ อย่ารังแกผู้หยิงควรให้เกียรติสุภาพสตรี

“อยากเรียกร้องให้นายสนธิ กล้าๆหน่อย อย่ารังแกผู้หญิง ต้องให้เกียรติผู้หญิง นายสนธิ เป็นสุภาพบุรุษรึเปล่า อยากให้เผชิญหน้ากันเลย เพื่อจะได้ฉีกหน้ากากของนายสนธิว่าเป็นคนอย่างไร การที่จะไปเหยียบย่ำสถานที่ราชการ และกล่าวหาโดยไม่เป็นความจริงนั้นมันน่าเกียจขนาดไหน” นพ.เหวงกล่าว

อย่างไรก็ตามการฟ้องร้องต้องใช้ระยะเวลานานพอสมควร จึงอยากขอเรียกร้องให้นางสดศรีและนายสนธิออกอากาศว่าจะมีการฟ้องร้องกันจริงทุกช่อง ซึ่งสถานที่ออกอากาศจะเป็นที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) หรือหากทางนายสนธิรังเกียจ กกต.ก็ไปถ่ายทอดที่สนามหลวงก็ได้ ซึ่งตนเชื่อนางสดศรีมากกว่าเพราะว่าการเก็บเอกสารของ กกต.เป็นไปอย่างรัดกุม อีกทั้ง นายชินวร บุญเกียรติ ผู้สมัคร ส.ส.นครศรีธรรมราช และกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ เป็นคนรับรองว่าเอกสารนายชัยวัฒน์เป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2540 จริง



เปิดโปง ปชป.อยู่เบื้องหลังหนุนพันธมิตรฯเป็นมาเฟียประเทศ

นายกผู้ประกอบการแท็กซี่ เปิดโปงเล่ห์เหลี่ยมพรรคประชาธิปัตย์ บงการพันธมิตรฯก่อเรื่อง หวังใช้เป็นประเด็นโจมตีรัฐบาลในสภา เหยียบหัวประชาชนขึ้นคุมอำนาจรัฐ ทั้งกรณีกำนันฉาว กล่าวหา “ยงยุทธ” สร้างประเด็นเงิน 2 ล้าน ยัดกล่องขนมในศาลฏีกา

นายชินวัตร หาบุญพาด นายกสมาคมผู้พิทักษ์สิทธิและผลประโยชน์ผู้ประกอบการแท็กซี่ เปิดเผยบนเวทีสภาสนามหลวงช่วงหัวค่ำ (13 มิ.ย.) ว่า การที่รัฐธรรมนูญ 2550 ต้องมีบทบัญญัติตามมาตร 237 เพราะฝ่ายอำมาตยาธิปไตยต้องการบรรจุไว้เพื่อใช้เป็นเครื่องมือเล่นงานพรรคการเมืองและนักการเมือง ซึ่งได้นำไปสู่การจ้องเล่นงานนายยงยุทธ ติยะไพรัช อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่มาจากพรรคพลังประชาชน (พปช.) และเป็นกรรมการบริหารพรรคอยู่ด้วย เพื่อจะต่อเชื่อมส่งผลให้มีการยุบพรรคโดยทันที หากถูกวินิจฉัยว่าทำผิดจริง จากข้อกล่าวหาใช้เงินซื้อเสียงที่จังหวัดเชียงราย นับว่าเป็นเรื่องหนักหนาสาหัสกับนายยงยุทธ อย่างมากที่ประชาชนต้องให้กำลังใจ

ทั้งนี้ เป็นเพราะว่านายยงยุทธ สามารถดูแล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.)ในภาคเหนือได้เป๋นกลุ่มเป็นก้อน ซึ่งหากนายยงยุทธ เป็นเพียง ส.ส. ที่ไม่ได้มีบทบาทสำคัญ จะไม่โดนกระทำเช่นนี้ อย่างไรก็ตาม นายยงยุทธ กระทำความผิดจริงหรือไหนนั้น ยังเป็นที่สงสัยกันอยู่ถึงทุกวันนี้ โดยเฉพาะเมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ออกมาแฉว่า พยานที่ให้การปรักปรำนายยงยุทธคือ กำนันชัยวัฒน์ ฉางข้าวคำ กลับปรากฏเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) แต่พรรคประชาธิปัตย์ก็ยังออกมาโกหกกับสังคมอีกโดยมอบหมายให้นายศิริโชค โสภา หนึ่งใน ส.ส.ของพรรค ออกกล่าวเบี่ยงเบนประเด็น โดยการนำข้อมูลการเป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทย ที่ถูกยุบไปแล้วมากล่าวอ้างว่ากำนันชัยวัฒน์ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับพรรคประชาธิปัตย์

“เรื่องดังกล่าวนั้นเป็นไปไม่ได้เลย ก็เพราะว่าพรรคไทยรักไทยโดนยุบไปนานแล้ว ดังนั้น ในปัจจุบันนี้ กำนันชัยวัฒน์ จึงต้องเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ เพราะฉะนั้นจากการที่ กกต.นำข้อมูลมาเปิดเผยจึงส่งผลไปถึงกลุ่มพันธมิตรฯ ต้องรีบออกมาข่มขู่จะไปพบ กกต.โดยทันที จึงเห็นได้ชัดว่า กลุ่มพันธมิตรฯคือพวกมาเฟียอย่างไม่ต้องสงสัย” นายชินวัตร กล่าว

นอกจากนี้ เรื่องเงิน 2 ล้านบาท ที่เปิดประเด็นใส่กล่องขนมนำไปฝากไว้ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาฝ่ายคดีการเลือกตั้ง ก็มีนัยเป็นการกระทำของกลุ่มพันธมิตรฯสร้างเรื่องเพื่อหวังใช้เป็นการโจมตีด้วย เพราะความจริงหลายอย่างกำลังจะถูกเปิดเผย โดยให้ประชาธิปัตย์เป็นหัวเรือใหญ่หยิบยกเรื่องนี้ไปเล่นงานรัฐบาลในสภา ในการขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล จึงอยากให้พี่น้องประชาชนช่วยกันติดตามอย่างใกล้ชิด เพราะทั้งหมดนี้คือความเลวทรามของเกมการเมืองในขณะนี้

นายชินวัตร ยังกล่าวถึงกรณีที่นายสุนัย มโมมัยอุดม อดีตอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ที่ได้รับการแต่งตั้งเข้ามาจากคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ในขณะนั้น ออกมาแสดงอาการเป็นบุคคลพิเศษมีสิทธิเหนือประชาชนทั่วไป เพราะภายหลังถูกอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร แจ้งความหมิ่นประมาท เนื่องจากขณะดำรงตำแห่งอธิบดี ดีเอสไอ นั้น นายสุนัย เป็นเพียงพนักงานสอบสวน ที่ต้องค้นหาความจริง จากกรณีการสอบสวนข้อกล่าวหา พ.ต.ท.ทักษิณ ในสำนวนหุ้นบริษัท เอสซี แอสเซท แต่นายสุนัย กลับออกมาให้สัมภาษณ์โจมตีให้ร้ายเสียเอง ซึ่งเป็นการใช้อคติในการสอบสวนที่เจ้าหน้าที่ของรัฐไม่ควรกระทำ หรือละเมิดสิทธิของผู้ที่ถูกกล่าวหา เพราะยังไม่ได้รับการตัดสินจากศาลสถิตย์ยุติธรรมว่าเป็นผู้กระทำผิดจริงหรือไม่แต่อย่างใด

โดยเฉพาะ เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ ได้ออกหมายเรียกตัวมาทำการสอบสวนเพิ่มเติมถึง 3 ครั้ง แต่ก็ทำเพิกเฉย ซ้ำขณะกลับจากการเดินทางจากต่างประเทศยังร้องขอให้นายทหารยศนายพลคนหนึ่ง ที่มีภรรยาชื่อนางสุพัตรา ซึ่งเกี่ยวพันกับพรรคประชาธิปัตย์ ใช้บารมีมาคุ้มครองเพราะเกรงเจ้าหน้าที่ตำรวจจะเข้าจับกุม จนเจ้าหน้าที่ตำรวจต้องดำเนินการตามขั้นตอนขอให้ศาลพิจารณาออกหมายจับในเวลาต่อมา แต่พฤติกรรมของนายสุนัย ที่คิดว่าตัวเองอยู่เหนือกฎหมาย ก็ยังไม่จบ กลับกล่าวหาว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจ กลั่นแกล้ง และยื่นอุทธรณ์จนได้รับการเพิกถอนหมายจับในท้ายสุด

“ที่พูดเรื่องนี้ ผมอยากจะขอเปรียบเทียบกับสมัยที่แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ หรือ นปก. 9 คน ก่อนถูกควบคุมตัวเข้าเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ มีการใช้กฎหมายที่ไม่ชอบธรรม เพราะขณะแกนนำทั้งหมดเข้ารายงานตัวตามขั้นตอน แต่กลับใช้เล่ห์กลหลอกเข้าไปคุยแล้วจับกุมทันที ทั้งที่ทุกคนมีวุฒิภาวะอย่างเพียงพอที่จะไม่หลบหนีไปไหน โดยเฉพาะอาจารย์มานิตย์ จิตจันทร์กลับ ที่มีอดีตเป็นถึงผู้พิพากษาหัวคณะในศาลฎีกา ก็เข้ารายงานตัวด้วยตามขั้นตอน แต่นายสุนัย กลับทำตัวไม่ยอมรับกระบวนการตามกฎหมาย ซึ่งจะเห็นได้ว่า กฎหมายที่ใช้อยู่ในประเทศไทย ถูกใช้อย่างไม่เสมอภาค” นายชินวัตร กล่าว



Friday, June 13, 2008

ถลกหนัง....สันติอโศก

บทความ โดย ปลายอ้อกอแขม
ถลกหนัง..สันติอโศก (เนื่องจากขณะนี้คุณปลายอ้อกอแขมติดภารกิจ ดังนั้นในช่องบทความของคุณปลายอ้อกอแขมจะเป็นบทความของนักเขียนท่านอื่นแทนไปก่อนนะคะ )


ถลกหนัง....สันติอโศก

โดย……Albatross

ชุมชนสันติอโศกเป็นชุมชนของผู้ปฏิบัติธรรมที่ ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ถูกต้องตามหลักพระพุทธศาสนา ถูกจัดตั้งขึ้นโดยพระโพธิรักษ์พระนอกรีตผู้ประกาศตัวเป็นศัตรูกับมหาเถรสมาคมไทย เดิมชื่อนายมงคล รักพงษ์ (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นนาย รัก รักพงษ์) เป็นคนศรีษะเกษโดยกำเนิดมีสติปัญญาเฉลียวฉลาดและมีวาจาเป็นเลิศ อดีตเป็นผู้กำกับละครเวทีมือทองทางโทรทัศน์ผู้โด่งดังเมื่อกว่า 40 ปีที่แล้ว ในช่วงที่ยังมีอาชีพเป็นผู้กำกับนายรัก รักพงษ์ จัดว่าเป็นหนุ่มเจ้าสำราญใช้ชีวิตอย่างสุขสบายด้วยรายได้มหาศาลที่ตัวเองสามารถหามาได้โดยง่ายจากงานในวงการบันเทิงและงานสอนหนังสือถึงเดือนละ 120,000 บาท ในขณะที่เงินเดือนนายกรัฐมนตรีในขณะนั้นเท่ากับ 40,000 บาท

นายรัก รักพงษ์เสพสุขอยู่บนกองเงินกองทองได้ไม่นานก็เกิดอาการผิดเพี้ยนทางอารมณ์อย่างรุนแรง ซึ่งอาจเกิดจากการเสพสุขจนเอียน คิดว่าความสุขที่กำลังเสพอยู่นั้นยังไม่ถึงที่สุด จึงคิดหาวิธีที่จะสามารถสร้างความสุขให้ตัวเองได้มากกว่าเดิมโดยเริ่มศึกษาวิชาไสยศาสตร์อย่างจริงจังจนถึงขั้นงมงายและออกมายืนยันกับสาธารณะว่าไสยศาสตร์มีจริงและตนเองคือผู้ขมังเวทวิทยาคมไสยศาสตร์มนต์ดำ ฯ จึงถูกปฏิเสธจากวงการบันเทิงแต่ก็อ้างว่าตนเองเป็นผู้ละทิ้งวงการออกมาเอง นายรักฯ ดำรงตนเป็นผู้ขมังเวทอยู่พักใหญ่ก่อนตัดขาดจากทางโลกมาศึกษาพระธรรมได้ถึงขั้นแตกฉานและพบว่าพระพุทธศาสนาเป็นสิ่งที่ดีกว่าไสยศาสตร์ที่เคยงมงายจึงตัดสินใจออกบวชเป็นพระภิกษุภายใต้ข้อบัญญัติแห่งมหาเถรสมาคมไทย พระโพธิรักษ์บวชอยู่ได้ไม่นานก็มีเหตุให้ต้องลาออกจากการเป็นพระภิกษุของมหาเถรสมาคมด้วยเหตุผลที่ว่าตนและพวกไม่สามารถปฏิบัติตามข้อบัญญัติของมหาเถรสมาคมที่ผิดเพี้ยนไปจากคำสอนของพระพุทธเจ้าได้

ด้วยกิริยาสำรวมน่าเลื่อมใสและสีจีวรสีไม้กรักที่ไม่เหมือนพระภิกษุทั่วไปประกอบกับเป็นผู้แตกฉานในพระพุทธศาสนาและมีวาจาเป็นเลิศจึงได้รับความเลื่อมใสศรัทธาจากผู้เคร่งศาสนาในชนบทอย่างรวดเร็ว พระโพธิรักษ์จึงจัดตั้งชุมชนสันติอโศกขึ้นและขยายสาขาออกไปได้อย่างรวดเร็วในหลายจังหวัดเช่น ชุมชนปฐมอโศก จ.นครปฐม ชุมชนศรีษะอโศกที่บ้านเกิด จ.ศรีษะเกษ ชุมชนสีมาอโศก จ.นครราชสีมา เป็นต้น

นักปฏิบัติธรรมในชุมชนสันติอโศกส่วนใหญ่เป็นพวกเคร่งศาสนาและปฏิบัติดีปฏิบัติชอบอยู่แล้ว แต่เบาปัญญาเพราะการศึกษาขั้นพื้นฐานต่ำ จึงถูกชักจูงได้ง่ายและหลงเชื่ออย่างงมงายบางคนถึงขั้นสามารถตายแทนพระโพธิรักษ์ได้ วิธีการชักจูงคนเหล่านี้ให้เข้ามาปฏิบัติธรรมจะใช้วิธี ให้สาวกไปชักชวนคนใกล้ชิดด้วยวิธีและคำพูดที่ได้รับการปลูกฝังเป็นเวลานานโดยไม่รู้ตัวจากพระโพธิรักษ์ เรียกได้ว่าสามารถถอดคำพูดของพระโพธิรักษ์ออกไปได้ชนิดคำต่อคำเลยทีเดียว โดยสร้างความน่าเชื่อถือให้ชุมชนด้วยการอ้างถึงผู้มีฐานะและชื่อเสียงที่แวะเวียนเข้ามาทำบุญว่าเป็นส่วนหนึ่งของสันติอโศก ด้วยวาทะศิลป์เดียวกันอย่างไม่ผิดเพี้ยนนี้เองทำให้ชุมชนสันติอโศกเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วแบบก้าวกระโดดมีการบริหารจัดการปัจจัย 4 แบบระบอบคอมมิวนิสต์ ทุกคนในชุมชนจะร่วมกันทำงานตามความถนัดและได้รับมอบหมายด้วยความซื่อสัตย์ ผลิตผลที่ได้ทุกชนิดจะเก็บเข้าสู่ส่วนกลางแล้วดำเนินการจัดสรรปันส่วนตามที่แต่ละคนต้องการ แต่ด้วยเหตุที่ทุกคนถูกปลูกฝังอย่างฝังหัวว่าให้อยู่อย่างสมถะทุกคนจึงพร้อมใจกันแข่งกันเก่า(ใส่เสื้อผ้าเก่าไม่เอาของใหม่) แข่งกันอด(อาหาร) จึงไม่เคยมีปัญหาการทะเลาะเบาะแว๊งกันเรื่องการแบ่งผลประโยชน์เกิดขึ้นเลย นับว่าเป็นวิธีการบริหารจัดการที่แยบยลมาก

พระโพธิรักษ์ดื้อแพ่งเลี่ยงบาลีปฏิเสธคำขอร้องของมหาเถรสมาคมที่ขอให้พระโพธิรักษ์และนักบวชผู้ติดตามปฏิบัติให้เป็นแบบอันเดียวกันกับภิกษุอื่นๆ ด้วยการอ้างว่าตนและพวกได้ลาออกจากมหาเถรสมาคมแล้วกฎของมหาเถรสมาคมจึงไม่สามารถบังคับตนและพวกได้ มหาเถรสมาคมพิจารณาเห็นว่าพระโพธิรักษ์กำลังสร้างอาณาจักรแห่งลัทธิใหม่ขึ้นแต่ยังคงอ้างตนว่าเป็นพระภิกษุในบวรพุทธศาสนา จึงได้แจ้งความดำเนินคดีกับพระโพธิรักษ์จนถึงขั้นถูกจับกุมคุมขังและพ่ายแพ้คดี พระโพธิรักษ์ถูกสั่งบังคับตามคำพิพากษาห้ามเรียกตนเองว่าพระภิกษุและห้ามแต่งกายเลียนแบบพระสงฆ์ ตั้งแต่นั้นมาพระโพธิรักษ์จึงบัญญัติชื่อตัวเองใหม่เป็น สมณะโพธิรักษ์ แล้วนุ่งห่มชุดแขนยาวสีไม้กรักทับด้วยจีวรสีขาว จนกระทั่งคดีความเริ่มส่างซาลงจึงเปลี่ยนสีจีวรกลับไปเป็นสีไม้กรักตามเดิมแต่ยังคงใส่ชุดแขนยาวสีไม้กรักไว้ด้านในเพื่อเลี่ยงกฎหมาย มหาจัญไรเคยขอให้ พ.ต.ท.ทักษิณฯ ซึ่งกำลังมีอำนาจอยู่ในขณะนั้นช่วยเหลือเรื่องคดีความของสมณะโพธิรักษ์ในฐานะที่ตนเองเป็นผู้มีพระคุณเคยเป็นผู้ชักนำ พ.ต.ท.ทักษิณฯ เข้าสู่วงการการเมือง แต่กลับได้รับการปฏิเสธ สมณะโพธิรักษ์โกรธแค้น พ.ต.ท.ทักษิณฯ เป็นอันมากถึงกับเอ่ยปากออกมาว่า

ทักษิณฯ มันโอหัง ต้องเอามันลงจากบัลลังก์ให้รู้สำนึก

ด้วยเหตุแห่งคดีความได้สร้างรอยแค้นที่ฝังลึกให้กับสมณะโพธิรักษ์จนเกิดแรงอาฆาตอำนาจรัฐอย่างรุนแรงและเป็นช่องทางให้มหานอกรีตผู้ถูกปฏิเสธจากพี่น้องร่วมสถาบัน จปร.อันทรงเกียรติ ชักจูงเข้าสู่เวทีพันธมิตรอย่างง่ายดายและกลายเป็นกำลังหลักของพันธมิตรในวันนี้เพื่อผลประโยชน์ของตนเองที่ จ.กาญจนบุรี และผลทางการเมืองในอนาคต

เรื่องนี้มีใครเสีย.....

โพธิรักษ์?

มหาจัญไร?

พันธมาร?

.......ไม่เลย.....พวกข้างบนล้วนแต่ได้

น่าสงสารผู้ปฏิบัติชอบชาวสันติอโศกที่ถูกหลอกใช้อย่างเต็มใจ โดยไม่รู้ตัว

ไอ้พวกไม่กลัวบาปกรรมหลอกใช้คนซื่อขอให้พวกมันจงฉิบหาย......

เรื่องบ้านเรามันซับซ้อน ถ้ารู้เพียงผิวเผินยากนักที่จะเข้าใจได้ว่ากำลังเกิดอะไรขึ้นกับบ้านเมือง โปรดบริโภคสื่ออย่างมีวิจารณญาณ มิฉะนั้นท่านจะตกเป็นเหยื่อให้ผู้อื่นหลอกใช้เหมือนชาวสันติอโศกผู้ใสซื่อ


จาก thaifreenews

เมืองไทย คงไม่นองเลือด แต่คงไม่มีสันติและสงบสุข

บทความ โดย ลูกชาวนาไทย

วิกฤตการณ์การเมืองไทยครั้งนี้ หลายคนคิดว่าอาจจบลงด้วยการนองเลือดอย่างแน่นอน แต่หลังจากที่มีการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตร ที่สะพานมัฆวานฯ แล้ว แม้จะมีการปะทะกับฝ่ายตรงข้าม หัวร้างข้างแตกไปบ้าง แต่ไม่ถือว่าเป็นการนองเลือดแต่อย่างใด

ดังนั้น ผมจึงคิดว่าว่าเมืองไทย คงไม่นองเลือดแล้ว แต่การเมืองไทยจะไม่สงบ ผมเรียกว่าภาวะนี้ว่า "ภาวะที่ไม่มีสงคราม แต่ไม่มีสันติภาพ" ซึ่งก็เหมือนยุคสงครามเย็นระหว่างโลกทุนนิยมกับคอมมิวนิสต์ในทศวรรษ 1950-1990 นั่นเอง ซึ่งมหาอำนาจทั้งสหรัฐอเมริกา และสหภาพโซเวียด ต่างก็กลัวถูกทำลายไปด้วยสงความนิวเคลียร์หากรบกันเอง และก็ไม่มั่นใจในชัยชนะหากเกิดสงคราม ก็เลยอยู่ในสภาพที่ยันกันอยู่นาน จนพลังของพวกคอมมิวนิสต์อ่อนลงและล่มสลายลงในที่สุดในทศวรรษ 1990 กำแพงเบอร์ลินพังทลายลง

สงครามการเมืองไทยก็คงเป็นอย่างนั้นครับ คงไม่นองเลือด มีแต่หัวล้างข้างแตกไปบ้าง แต่ไม่สาหัสอะไร แต่ผมคิดว่าพลังอำนาจทางการเมืองของพวกอนุรักษ์นิยมนั้นจะอ่อนแอลงไปเรื่อยๆ เพราะแกนนำของคนเหล่านี้ ล้วนแต่เป็นคนแก่อายุ 70-90 ปีทั้งสิ้น เวลาจะทำลายคนแก่เหล่านี้ไปเอง แต่ในช่วงที่กาลเวลายังส่งผลไม่ทันที บ้านเมืองก็ยังคงวุ่นวายต่อไป ไม่มีสงคราม แต่ไม่มีสันติภาพ ไม่มีนองเลือด แต่ไม่มีความสงบสุข เรียกว่า ภาวะสงครามเย็นทางการเมือง

แต่อย่างไรก็ตาม วิกฤการณ์ทางการเมืองครั้งนี้ หากเราวิเคราะห์อย่างถ่องแท้แล้ว เราจะเห็นว่า มีสิ่งหนึ่งที่เปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน คือ "คนรากหญ้าตื่นขึ้นแล้ว และพวกเขาตระหนักในอำนาจของตน ดังนั้น ต่อไปนี้ใครจะยิ่งใหญ่มีบารมีแค่ไหนก็ตาม ก็ไม่พ้นต้องกลับไปหาคนรากหญ้า เพราะหากคนรากหญ้าไม่สนับสนุนเขาต่อไป อำนาจบารมีนั้นก็ไม่จีรัง

เมื่อคนรากหญ้าตื่นขึ้น สิ่งที่พวกเขาต้องการอย่างชัดเจนจากภาคการเมือง คือ "นโยบายที่เป็นรูปธรรม" ไม่ใช่อุดมการณ์ที่เลื่อนลอย คำกล่าวที่เป็นนามธรรม คนรากหญ้าใน พ.ศ.นี้ ไม่เหมือนกับคนรากหญ้าในปี
2520-2530 พวกเขาไม่ใช่ชาวนาทั่วไปอย่างที่คนกรุงเทพฯ และคนเมืองหลวงเข้าใจ และติดภาพดังเดิม

ปัจจุบันเขาคือ นักธุรกิจการเกษตรรายย่อย เพราะปัจจบันเครื่องจักรกลการเกษตรสมัยใหม่ เช่น รถไถนา รถดำนา รถเกี่ยวข้าว ทำให้ระบบการทำนาเปลี่ยนไป หากใครไปดูแถวอยุธยา สุพรรณบุรี หรือแหล่งผลิตข้าวสำคัญในภาคกลาง จะเห็นการเปลี่ยนแปลงน้อย่างชัดเจน

เมื่อชาวรากหญ้า ตระหนักถึงพลังอำนาจของพวกเขา ดังที่เราเห็นในการเลือกตั้งหลังปี 2540 หรือการเลือกตั้งใหญ่ สองสามครั้งในเวลา 5 ปีที่ผ่านมานี้ จะเห็นเสียงของชาวรากหญ้าเป็นกลุ่มก้อนและชัดเจน ดังนั้นสุดท้ายนักการเมือง พรรคการเมืองทั้งหลายหากต้องการอยู่รอด จะต้องปรับตัวเข้าหา "ตลาดการเมืองขนาดมหึมานี้" ไม่อย่างนั้นก็ไม่ชนะเลือกตั้งอย่างแน่นอน


การหาเสียงในรูปแบบเดิมของพรรคประชาธิปัตย์ เช่นการยกประเด็นเรื่อง เรื่องหมิ่นฯ เรื่องด่าคนอื่นว่าโกงโดยไม่มีหลักฐาน การหาเสียงพอเพียง จะไม่สามารถจูงใจคนรากหญ้าได้อีกต่อไป เพราะที่จริงแล้วประเด็นเหล่านี้ใช้หาเสียงได้แต่กับคนชั้นกลางเท่านั้น แต่คนชั้นกลางก็มีจำนวนไม่มากนัก จนไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงคะแนนเสียงเลือกตั้งได้ สื่อต่างๆ ก็มีผลกับคนชั้นกลางเท่านั้น แต่ไม่ส่งผลถึงคนรากหญ้าแต่อย่างใด วิถีการใช้กลยุทธทางการเมืองแบบยุคปี
2520-2540 จะไมได้ผลอีกต่อไป

สมัยก่อนปี
2540 นั้นเสียงของรากหญ้าไม่สำคัญ เพราะขึ้นกับอิทธิผลของ สส. ท้องถิ่น การแจกเงิน สิ่งของ หากรวบรวม สส. ได้ ก็จะชนะเลือกตั้ง

แต่หลังปี 2540 เป็นต้นมา ความจริงไม่เป็นเช่นนั้นแล้ว คนชั้นกลาง ที่ไม่เคยสัมผัสคนรากหญ้า จะเชื่อหรือไม่ก็ตาม จะประณามว่า รากหญ้าขายเสียงหรือไม่ก็ตาม ก็ไม่มีประโยชน์อะไร เพราะนั้นไม่ใช่ข้อเท็จจริงทั้งหมด

ปัจจุบันพรรคการเมืองที่เด่นๆ มีเพียงสองพรรคเท่านั้น จะคิดว่าคนรากหญ้าเลือก พปช.. คือการขายเสียงอย่างนั้นหรือ หากเลือก ปชป. ถือว่ามีอุดมการณ์อย่างนั้นหรือ หากคิดตื้นๆ แค่นี้วิกฤตการณ์ทางการเมืองก็ไม่มีวันจบ การพูดว่าจะต้องให้การศึกษาคนรากหญ้า นั้นหมายถึงเมื่อชาวรากหญ้ามีการศึกษาสูงขึ้นจะฉลาดและหันไปเลือกพรรคประชาธิปัตย์อย่างนั้นหรือ ซึ่งสมมุติฐานมั่วๆ แบบนี้ไม่เป็นจริงอย่างน้อยก็ผมนายลูกชาวนาไทย ที่มีการศึกษาจากต่างประเทศ ก็ไม่ได้เลือกพรรคประชาธิปัตย์ แต่ลือกพรรคพลังประชาชน

ในเมื่อนโยบายของ พปช. เอื้อต่อคนรากหญ้า แต่นโยบายของ ปชป. เอื้อต่อคนชั้นกลางสอดคล้องกับความต้องการของคนชั้นกลาง แล้วจะให้คนรากหญ้าขายวิญญาณให้พรรคของคนชั้นกลางได้อย่างไร นั่นไม่ใช่เป็นการทรยศต่อคนชั้นรากหญ้าเองไม่ใช่หรือ เขาต้องเลือกพรรคที่มีนโยบายสนับสนุนและเอื้อต่อคนรากหญ้ามากที่สุดนั่นเอง

การหาเสียงกับคนรากหญ้าปัจจุบันจะต้องมีอะไรที่หยิบยื่นให้คนรากหญ้าอย่างเป็นรูปธรรมเช่น โครงการชลประทานทางท่อ เป็นต้น

ที่จริงรากหญ้าไม่ใช่พวก Royalist แต่พวกเขาทำให้เชื่อว่าเป็น Royalist ดังนั้น ประเด็นการหาเสียงที่ทำลายสิทธิของเขา เพื่อเชิดชูสิ่งที่เป็นนามธรรม จะไม่มีทางใช้ได้ผลอีกต่อไป พวกเขาไม่ใช่ลูกเสือชาวบ้านเหมือนปี 2520 อีกต่อไปแล้ว


ในวันออกเสียงกาบัตรเลือกตั้ง นาทีที่ต้องกาบัตร คนรากหญ้าเขาจะพิจารณาว่าพรรคใด นโยบายเอื้อประโยชน์ต่อพวกเขามากที่สุด จับต้องได้มากที่สุด และเชื่อว่าจะทำได้ด้วย

ส่วนเรื่องนามธรรม ผมว่าที่บ้าๆ อยู่ก็มีแต่กลุ่มพวกขวาจัดในเมืองหลวงเท่านั้น พวกนี้ไม่มีความเดือดร้อนทางเศรษฐกิจ ประเด็นการตัดสินใจจึงไม่ใช่เรื่องปากท้อง แต่เป็นเรื่องความเชื่อทางการเมือง แต่คนกว่า 70% ของประเทศยังยากจน ประเด็นการตัดสินใจจึงเป็นเรื่องเศรษฐกิจ ไม่ใช่เรื่องนามธรรม ว่าใครจะล้มใคร เพราะจริงๆ แล้วก็ไม่มีใครต้องการล้มใคร เป็นแต่การปลุกระดมทางการเมืองเท่านั้น

ผมว่าตอนนี้คนรากหญ้าไม่สนเรื่องนามธรรมด้วยซ้ำไป แต่เขาไม่พูดเท่านั้นเอง เพราะถึงอย่างไรใช่เป็นปัจจัยที่เขาเอาไปใช้ในการลงคะแนนอยู่ดี ผลการเลือกตั้งที่ผ่านมาบอกได้อย่างชัดเจน

ในที่สุดแล้ว พวกอนุรักษ์นิยม ก็จะไม่มีทางไปรอด ภายใต้สภาวะการเลือกตั้ง ที่เสียง "รากหญ้า" ตื่นขึ้นจากหลับไหลเช่นนี้

ความวุ่นวายทางการเมือง ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศในขณะนี้นั้น หากวิเคราะห์ลึกลงไปแล้ว จะพบว่า ส่งผลกระทบต่อคนในเมืองใหญ่คือ คนชั้นกลางและคนจนในเมืองเท่านั้น ที่ค่อนข้างรุนแรง แต่คะแนนเสียงเลือกตั้งของคนกรุงเทพฯ ก็ไม่กระทบต่อโครงสร้างทางการเมืองมากนัก

ผลกระทบทางเศรษฐกิจปัจจุบันกับชาวนาชาวไร่แล้ว ส่งผลกระทบไม่มากนัก เพราะวิกฤตการณ์อาหารโลกนั้น ชาวนาไทยกลับได้ประโยชน์จากราคาข้าวที่แพงขึ้น ทำให้แรงกดดันในภาคชนบทต่อรัฐบาลน้อยกว่าที่คิด วิกฤตการณ์น้ำมันแพงก็ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อชาวนาชาวไร่ ในชนบทมากนัก เพราะอัตราการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงต่อหัว ของคนชนบทต่ำมาก ค่าใช้จ่ายในการเดินทางต่อหัวของชาวชนบทก็น้อยมาก แทบจะไม่มีนัยสำคัญ แม้ต้นทุนราคาน้ำมันจะส่งผลกระทบต่อเครื่องจักรทางการเกษตร แต่ราคาข้าวที่แพงขึ้น ก็ชดเชยค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น

ดังนั้นหากคนชั้นกลาง ยังไปสนับสนุน "กลุ่มพันธมิตร" สร้างความปั่นป่วนให้กับสังคมต่อไป คนชั้นกลางจะได้รับความทุกช์ยากนั้นเอง เพราะหากรัฐบาลอยู่ได้ได้ ก็จะยุบสภา และผลการยุบสภา พรรค พปช. จะได้ที่นั่งเข้ามาอีก และหากคนชั้นกลางยังป่วนไม่หยุด ความไร้เสถียรภาพทางการเมือง จะส่งผลต่อเศรษฐกิจ และคนชั้นกลางก็จะได้รับผลจากการกระทำของพวกเขาเอง แต่พวกเขาก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้ทางการเมืองได้อย่างแน่นอน

สุดท้ายพวกเขาก็ต้องเรียนรู้ที่จะยอมรับเสียงส่วนใหญ่ เพราะมันไม่มีทางอื่น

เมื่อชาวรากหญ้าตื่นขึ้น จำนวนคนที่มากกว่า ย่อมทำให้พลังอื่นด้อยความหมายไปโดยสิ้นเชิง

จาก thaifreenews

คิดถึงรถเมล์ฟรี เชียร์แจกคูปองเงินช่วยคนจน

วันนี้ผมขอร่วมวง “เชียร์” นโยบาย “แจกคูปองเงินช่วยคนจน” เพื่อนำไปซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคแทนเงินสด ของ “หมอเลี้ยบ” นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกฯเศรษฐกิจและรัฐมนตรีคลังด้วยคนครับ

เป็นนโยบายที่แก้ปัญหาความเดือดร้อนของคนจนได้ตรงจุดที่สุด การแก้ ปัญหาวิกฤติของชาตินั้น ผู้รับผิดชอบต้องแก้ด้วยความ “จริงใจ” ไม่ควรมีอะไรแฝง เหมือนการแก้ปัญหาของ “รัฐมนตรีบางคน” ในรัฐบาลชุดนี้

ปัญหาเศรษฐกิจยามนี้ต้องยอมรับว่า คนยากจน คนที่มีรายได้ต่ำ เป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด กระทบไปถึงปากท้อง ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง

การแจกคูปองช่วยคนจน เพื่อนำไปใช้ซื้อสินค้าอาหารและเครื่องอุปโภคแทนเงินสด ช่วยลดค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน แม้จะไม่ใช่ความคิดใหม่ หลายประเทศใช้มาแล้ว และวันนี้ก็มีหลายประเทศนำมาใช้อีก เช่น สหรัฐฯ เกาหลีใต้

แต่การที่ “หมอเลี้ยบ” กล้านำมาใช้ในประเทศศรีธนญชัยอย่างประเทศไทย ต้องถือเป็นความกล้าหาญอย่างยิ่ง เพราะสังคมศรีธนญชัยแบบไทยๆ ย่อมหนีไม่พ้นที่จะต้องมี “คนขี้โกง” เข้ามาเอี่ยว ทั้ง “คนแจก” และ “คนรับแจก” ที่ไม่จนจริง คนงกและคนเห็นแก่ตัวในเมืองไทยมีเยอะมาก

แต่ผมไม่อยากให้ปัญหาเหล่านี้เป็นอุปสรรค ทำให้โครงการนี้ต้องล้มเลิกไป

การแจกคูปองซื้ออาหารช่วยคนจน ดีกว่าการเอาเงินเป็นหมื่นเป็นแสนล้านไปอุ้มราคาน้ำมัน หรืออุ้มราคาสินค้า เพราะในที่สุด คนจน คนรวย และพ่อค้านักธุรกิจ ก็เดือดร้อนกันหมดเป็นลูกโซ่ ไม่มีใครได้ ประโยชน์จริง แต่การช่วยคนจนแบบนี้ จะทำให้ทุกคนอยู่รอดหมด เพียงแต่ รัฐบาลขาดทุนกำไรไปบ้าง แต่รัฐก็ได้คืนทางอ้อมจากภาษีมูลค่าเพิ่มอยู่ดี

เดือนที่แล้ว รัฐบาลสหรัฐฯ ก็ใช้วิธีช่วยเหลือประชาชนด้วยการ จ่ายคืนภาษีแก่ประชาชนทุกคนที่เสียภาษี ในวงเงิน 110,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ประมาณ 3.63 ล้านล้านบาท โดยทยอยจ่ายทุกสัปดาห์ เพื่อกระตุ้นกำลังซื้อในสหรัฐฯที่ซบเซา

สัปดาห์ที่แล้วนี่เอง รัฐบาลเกาหลีใต้ ก็เพิ่งประกาศ คืนเงินภาษี 10.5 ล้านล้านวอน หรือ 331,545 ล้านบาท ให้แก่ประชาชนและเจ้าของธุรกิจ เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระน้ำมันแพง

คนที่มีรายได้ไม่ถึง 36 ล้านวอนต่อปี หรือ 1 ล้านบาทต่อปี จะได้คืนภาษีร้อยละ 78 เจ้าของธุรกิจที่มีรายได้ต่ำกว่า 24 ล้านวอน หรือ 780,000 บาท ก็จะได้รับภาษีคืนเช่นกัน เกษตรกร ชาวประมง ผู้มีรายได้น้อย รัฐจะอุดหนุนภาระน้ำมันให้ร้อยละ 50

เงินช่วยเหลือ 10.5 ล้านล้านวอนนี้ รัฐบาลเกาหลีใต้นำมาจากภาษีกำไรของธุรกิจเมื่อปีที่แล้ว และจากภาษีน้ำมันที่เก็บไปจากประชาชน

เขียนเรื่องการช่วยเหลือคนจนในยามนี้แล้ว ก็ทำให้ผมคิดถึงนโยบาย “รถเมล์ฟรี” ของอดีตนายกฯ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ขึ้นมาทันที

ผมว่าในยุคที่ราคาน้ำมันแพงบ้าเลือดแบบนี้ และมีแนวโน้มจะขึ้นไปเป็นบาร์เรลละ 150 เหรียญในอีก 23 เดือนข้างหน้านี้ ผมอยากให้ “หมอเลี้ยบ” ลองปัดฝุ่นโครงการ “รถเมล์ฟรี” ขึ้นมาทบทวนใหม่อีกครั้ง โดยรัฐเป็นผู้จ่ายค่ารถเมล์แทนประชาชน เพื่อให้รถเมล์สามารถอยู่ได้โดยไม่มีภาระ

รถเมล์ฟรี จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางของคนกรุงเทพฯได้ถึงวันละ กว่า 3 ล้านคน ถ้ารัฐช่วยฟรีทั้งหมดไม่ไหว จะลดค่ารถเมล์ลงมาสัก 50 เปอร์เซ็นต์ก็ยังดี แล้วรัฐบาลรับภาระแทนอีก 50 เปอร์เซ็นต์ ก็ยังช่วยได้มากทีเดียว

ถ้าทำได้ ผมเชื่อว่าคนที่ใช้รถยนต์ส่วนหนึ่งก็จะหันไปใช้รถเมล์แทน ซึ่งจะช่วยชาติประหยัดน้ำมันดิบได้อีกมาก ผมหวังว่านโยบายนี้คงไม่ถูกคัดค้านจาก กลุ่มทุนรถเมล์แอร์ 6,000 คัน ของ สันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีคมนาคม ที่กำลังจะขึ้นค่ารถเมล์เป็น 15 บาททุกสายทุกคน เพราะได้ประโยชน์เหมือนกัน.

"ลม เปลี่ยนทิศ"


มุกตื้นในเกมแหลมคม


โดยรูปการณ์และสถานที่เกิดเหตุ มันก็คงไม่หนีไปจากที่นายนาม ยิ้มแย้ม ประธานคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ในฐานะอดีตรองประธานศาลฎีกา ฟันธงเลยว่า

ต้องการทำลายความน่าเชื่อถือของสถาบันศาล

“ตั้งแต่รับราชการมายังไม่เคยเห็นการกระทำลักษณะนี้ และเหตุการณ์ดังกล่าวน่าจะทำให้สังคมตื่นตัว และตระหนักว่าเหตุการณ์บ้านเมืองขณะนี้ไม่ปกติ”

เกมยื้ออำนาจ วิกฤติการเมืองป่วนลามถึงตีนโรงตีนศาล

แต่จะเป็นเกมของฝ่ายไหน กับปริศนาล่าสุด ทนายความนักการเมืองใหญ่ที่รับผิดชอบคดีดังระดับประเทศ นำกล่องขนมบรรจุเงินสด 2 ล้านบาทไปฝากเจ้าหน้าที่ศาลฎีกา

มุกตื้นๆแต่แฝงเกมที่แหลมคม

ล่าสุด นายวิรัช ลิ้มวิชัย ประธานศาลฎีกา มีคำสั่งแต่งตั้งองค์คณะ ประกอบด้วยผู้พิพากษาชั้นผู้ใหญ่ขึ้นมาไต่สวนข้อเท็จจริง เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมาย

โทษฐานไม่ใช่แค่หมิ่นศาล แต่มันเป็นเกมทำลายเกียรติภูมิของสถาบันตุลาการ

เขย่าบัลลังก์ ทุบตาชั่งกันเลย

เบื้องต้นกับคำถามที่ว่า ใครเป็นผู้นำกล่องขนมมามอบให้ และศาลได้เก็บกล่องขนมดังกล่าวไว้เป็นหลักฐานหรือไม่

คำตอบที่ได้รับจากนายสราวุธ เบญจกุล รองเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม แถลงอย่างเป็นทางการว่า เมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจสอบพบว่าเป็นเงินสด

ได้ส่งคืนให้กับผู้นำมามอบให้ไปแล้ว

“ส่วนจะมีการถ่ายรูปหรือจดบันทึกไว้เป็นหลักฐานหรือไม่ ผมไม่ทราบ แต่จะเป็นหน้าที่ขององค์คณะที่ประธานศาลฎีกาตั้งขึ้นเป็นผู้สอบสวนข้อเท็จจริงทั้งหมด เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏแล้วว่า ผู้กระทำการเป็นใคร ชื่ออะไร จะได้ดำเนินการตามกฎหมายต่อไป”

ยังลอยๆไม่ลงลึกสักเท่าไหร่

และถ้าย้อนไปเทียบกับสินบนคดียุบพรรคไทยรักไทยที่เขย่าวงการศาลก่อนหน้านี้ มันก็มีอะไรที่คล้ายกันในรูปแบบของพัฒนาการข่าวที่ถูกจุดพลุออกมา

ลามเร็วเป็นไฟไหม้ป่า

คนที่เกี่ยวข้องกับคดีหน้าชาไปตามๆกัน

อย่างไรก็ดี ตามรูปการณ์ที่รองเลขาฯสำนักงานศาลยุติธรรมแถลงออกมา คิวนี้มันต้องมีพยานรู้เห็น อย่างน้อยก็เจ้าหน้าที่ที่รับฝากกล่องใส่เงินไว้

ไล่เรียงกันเดี๋ยวก็รู้ตัวทนายที่เอากล่องขนมใส่เงินมาวางที่ศาลฎีกา

แค่คำตอบตรงนั้น สังคมก็พอจะอนุมานได้แล้ว

และแน่นอนในฐานะเป้าแรกที่ทุกสายตาจับจ้อง นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา โฆษกประจำตัว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในฐานะอดีตผู้พิพากษา รีบออกตัวทันที

ถือเป็นเรื่องตลกและเป็นไปไม่ได้

พร้อมกับเปิดปมซักค้าน ความจริงต้องถามว่า ทีมทนายดังกล่าวเป็นของใคร แต่เท่าที่ทราบคงไม่มีใครนำเงินมากถึง 2 ล้านบาทไปให้ระดับเจ้าหน้าที่ของศาล

ซึ่งไม่มีความสำคัญที่จะเปลี่ยนแปลงรูปคดีได้

ส่วนที่มองว่า อาจเป็นการดิสเครดิตการทำงานของศาลฎีกา เพื่อให้เปลี่ยนองค์คณะของศาลฎีกานั้น การไปใส่ร้ายศาลจะเกิดผลเสียหายต่อคนที่เป็นจำเลยที่เกี่ยวกับคดีนี้

เป็นคนบ้าเท่านั้นที่จะทำ

โต้ไป ตีกรรเชียงหนีไป แต่นายพงศ์เทพคงลืมว่า คนบ้าแต่ไม่โง่

เอาเป็นว่า ตรวจสอบคดีใหญ่ๆของนักการเมืองที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้ง นาทีนี้ก็มีคดีที่ดินรัชดาของอดีตนายกฯทักษิณ คดีใบแดงของนายยงยุทธ ติยะไพรัช อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร และ ส.ส.สัดส่วน พรรคพลังประชาชน และคดีคลองด่านที่มีนายวัฒนา อัศวเหม อดีต รมช.มหาดไทย เป็นจำเลย

เดิมพันวัดดวงทั้งนั้น

แต่ที่ร้อนแรงขึ้นมาพร้อมๆกับข่าวเงิน 2 ล้าน ซุกกล่องขนมที่ศาลฎีกา

ในเวลาไล่เลี่ยๆกัน ก็มีข้อมูลปูดมาจากเวทีม็อบพันธมิตรฯ แฉคดีใบแดงของนายยงยุทธที่งวดเข้ามาทุกขณะ ล่าสุดกำนันคู่กรณีนำหลักฐานไปขอให้ศาลสอบเพิ่ม อ้างมีการตุกติกหลักฐานจาก กกต.จังหวัด โยงต่อเนื่องไปถึงเกมรุมโห่กดดันนายสมชัย จึงประเสริฐ และนางสดศรี สัตยธรรม 2 กกต.เสียงข้างน้อยในคดีใบแดงของนายยงยุทธ

ล่อเป้าทีเดียวเป็นชุดๆเลย.

ทีมข่าวการเมือง รายงาน



สมัคร เรียกแกนนำ พปช.หารือด่วน

จากการที่ ส.ว.จำนวน 61 คนยื่นญัตติขออภิปรายรัฐบาลโดยไม่มีการลงมติ รวมทั้งจากกรณีที่พรรคฝ่ายค้านได้เสนอให้รัฐบาลใช้มาตรา 179 เปิดการอภิปรายทั่วไปโดยไม่ลงมตินั้น เรื่องนี้นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ได้เรียกแกนนำพรรคพลังประชาชนและวิปรัฐบาลเพื่อฟังความเห็นว่าจะดำเนินการเรื่องนี้อย่างไร

เมื่อวันที่ 12 มิ.ย. เวลา 16.00 น. ที่รัฐสภา นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม ในฐานะหัวหน้าพรรคพลังประชาชน ได้เรียกประชุมรัฐมนตรีและแกนนำพรรคพลังประชาชน รวมทั้งคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล โดยนายสมัครเป็นผู้โทรศัพท์ นัดหมายการประชุมด่วนกับแกนนำและรัฐมนตรีด้วยตนเอง สำหรับรัฐมนตรีที่เข้าร่วมประชุม อาทิ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองนายกฯ และ รมว.ศึกษาธิการ นายชูศักดิ์ ศิรินิล รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รมว.มหาดไทย นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นายบุญลือ ประเสริฐโสภา รมช.กระทรวงศึกษาธิการ และนายสามารถ แก้วมีชัย เลขานุการวิปรัฐบาล

สมชายรอนายกฯ ตัดสินใจ

ทางด้านนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.ศึกษาธิการ รองหัวหน้าพรรคพลังประชาชนกล่าวถึงการเปิดอภิปราย 2 สภาตามรัฐธรรมนูญมาตรา 179 ว่า มีความเป็นไปได้ที่นายกรัฐมนตรีจะหารือเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในวันนี้ เมื่อถามว่า ควรเปิดอภิปราย 2 สภา ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 179 หรือไม่ นายสมชายตอบว่า เป็นเรื่องของสมาชิกสภาผู้แทนฯ เป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญ จะเอาอย่างไรก็ต้องหารือกับนายกฯ ส่วนตัวยังไม่ทราบว่าวันนี้นายกฯจะหารือเรื่องอะไรบ้าง เมื่อถามว่า นายกฯจะหารือกับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องก่อนหรือไม่

นายสมชายตอบว่ามีความเป็นไปได้ที่จะหารือเรื่องดังกล่าวจริงๆก็ต้องคุยกันว่ารัฐบาลมีปัญหาอะไรหรือไม่ในการทำงานที่ผ่านมา แต่โดยปกติเวลามาประชุมสภาก็หารือกันอยู่แล้ว


อ่านรายละเอียดต่อ ไทยรัฐ