เพื่อไทย
Saturday, June 23, 2012
สุธาชัย ยิ่มประเสริฐ: ๘๐ ปีวันชาติไทย
ที่มา ประชาไท
“ยี่สิบสี่มิถุนา ยนมหาศรีสวัสดิ์
ปฐมฤกษ์ของรัฐ ธรรมนูญของไทย
เริ่มระบอบแบบอา -รยประชาธิปไตย
เพื่อราษฎรไทย ได้สิทธิเสรี
สำราญสำเริง บันเทิงเต็มที่
เพราะชาติเรามี เอกราชสมบูรณ์”
บทเพลง ๒๔ มิถุนายนนี้ สะท้อนถึงความสำคัญของเหตุการณ์ ๒๔ มิถุนายน
พ.ศ.๒๔๗๕ ซึ่งเป็นวันเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศไทย
เข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยสมัยใหม่ โดยคณะราษฎร ที่นำโดย
พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา
ได้ทำการยึดอำนาจดำเนินการให้ก่อเกิดรัฐธรรมนูญมาเป็นมิ่งขวัญของประชาชนชาว
ไทย และนำมาสู่คำขวัญที่ว่า “ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และ รัฐธรรมนูญ”
และอันที่จริงวันที่ ๒๔ มิถุนายน ยังมีฐานะเป็นวันชาติของไทยอีกด้วย
ดังนั้น ปี พ.ศ.๒๕๕๕ นี้ ซึ่งเป็นโอกาสครบรอบ ๘๐ ปี แห่งกรณี ๒๔ มิถุนา
จึงต้องถือเป็นปีมหามงคลสมัยของประชาชนไทยอย่างแท้จริง
การปฏิวัติในวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๗๕
ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายประการ เช่น
การยอมรับอำนาจทางการเมืองของราษฎรสามัญว่า
สามารถที่จะมีส่วนร่วมในการบริหารประเทศได้โดยผ่านการเลือกตั้ง
ให้ชาวไทยได้มีสิทธิเสรีภาพ และมีความเสมอภาคกันภายใต้กฏหมาย
ไม่ใช่เจ้าอยู่สูงกว่าราษฎร ต่อมาก็คือ การใช้รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด
อันนำมาซึ่งการปกครองโดยกฎหมาย
แทนที่การปกครองด้วยพระบรมราชโองการในแบบเดิม
การใช้หลักการแบ่งแยกอำนาจเป็นสาม
และการบริหารด้วยคณะรัฐมนตรีตามกรอบเวลาที่กำหนด ซึ่งเป็นสิ่งใหม่
ที่สำคัญคือการสิ้นสุดของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
ซึ่งหมายถึงการสิ้นสุดของการบริหารที่อำนาจอยู่ในมือของคนเดียว
บริหารประเทศแบบไม่มีกรอบเวลา
คงต้องย้อนไปอธิบายให้ชัดเจนว่า การปฏิวัติ ๒๔๗๕
เกิดขึ้นท่ามกลางวิกฤตอย่างรอบด้าน เพราะตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๗๒
เกิดปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก
และนำมาซึ่งการตกต่ำครั้งใหญ่ครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทย
รัฐบาลสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้
กรณีนี้กลายเป็นปัญหาของระบอบการปกครอง เพราะถ้าเป็นประชาธิปไตยแบบปัจจุบัน
ถ้ารัฐบาลล้มเหลวในการแก้ปัญหา
ประชาชนยังมีโอกาสในการเปลี่ยนรัฐบาลโดยผ่านกลไกรัฐสภา
หรือผ่านการเลือกตั้ง แต่ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ โอกาสเช่นนั้นไม่มี
ปัญหาของระบอบก็คือ ความผิดพลาดในการบริหารของรัฐบาล
กลายเป็นความรับผิดชอบของพระเจ้าอยู่หัวด้วย ดังนั้น
จึงมีการอธิบายกันด้วยซ้ำว่า
การปฏิวัติของคณะราษฎรเป็นการผ่อนเบาพระราชภาระ
และเป็นการรักษาเกียรติยศของพระมหากษัตริย์
และการที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯพระราชทานอำนาจอธิปไตยให้กับประชาชนมาแล้ว
นั้น เป็นการมอบในเชิงสถาบัน จึงไม่สามารถรับคืนได้
ความความพยายามในการถวายคืนพระราชอำนาจแก่พระมหากษัตริย์ที่กระทำกัน
จึงเป็นการหมิ่นพระเกียรติเป็นอย่างยิ่ง
จากนั้น วันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๗๕
จึงถือเป็นวันสำคัญที่มีความหมายแก่ประวัติศาสตร์ประชาชนไทย
และวันนี้ยิ่งสำคัญมากขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๔๘๒ รัฐบาลหลวงพิบูลสงคราม
ประกาศให้วันที่ ๒๔ มิถุนายน เป็นวันชาติของประเทศไทย โดยครั้งแรกเรียกว่า
“วันชาติและวันฉลองสนธิสัญญา” เพราะปี พ.ศ.๒๔๘๒
จะเป็นครั้งแรกที่ประเทศได้เอกราชสมบูรณ์
หลังจากที่ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขของสัญญาเสียเปรียบมาตั้งแต่สัญญาบาวริง
พ.ศ.๒๓๙๘
จากนั้น ประเทศไทยก็มีการเฉลิมฉลองวันชาติเรื่อยมา จนกระทั่ง
รัฐบาลเผด็จการสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ยกเลิกวันที่ ๒๔
มิถุนายนเป็นวันชาติ และให้ใช้วันที่ ๕ ธันวาคม เป็นวันชาติแทน
เรียกในปฏิทินว่า “วันชาติและวันเฉลิมพระชนม์พรรษา” แต่ปรากฏว่า วันที่ ๕
ธันวาคมนั้นเป็นวันสำคัญที่อุ้มเอาความหมายของสถาบันพระมหากษัตริย์
และต่อมาก็ได้มีการรณรงค์ให้เป็นวันพ่อของแผ่นดิน
ความสำคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์จึงกลบลบความสำคัญของวันชาติไป
และในปฏิทินทั่วไปก็เลิกเรียกวันชาติไปนานแล้ว
ทำให้สังคมไทยในระยะหลังไม่ได้รับรู้ถึงการมีอยู่ของวันชาติ
ยิ่งไปกว่านั้น ตั้งแต่หลัง พ.ศ.๒๔๙๐ เป็นต้นมา
เกิดการแพร่หลายของวาทกรรมฝ่ายนิยมเจ้า ที่อธิบายว่า การปฏิวัติ พ.ศ.๒๔๗๕
เป็นการชิงสุกก่อนห่าม
เพราะพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯก็จะพระราชทานรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว
บ้างก็อธิบายว่า การปฏิวัติเป็นเรื่องของคนจำนวนน้อย
ประชาชนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย
ยิ่งไปกว่านั้นก็คือการโยงประชาธิปไตยเข้ากับการพระราชทานของรัชกาลที่ ๗
แล้วโยงคณะราษฎรเข้ากับการรัฐประหารของทหาร
จึงกลายเป็นว่าคณะราษฎรเป็นตัวการในการทำลายประชาธิปไตย
ทำให้เกิดการรัฐประหารไม่จบสิ้น
คำอธิบายเหล่านี้
ล้วนเป็นวาทกรรมต้านประชาธิปไตยและพยายามทำลายคุณค่าและความหมายของการ
ปฏิวัติ พ.ศ.๒๔๗๕ และเป็นการมองข้ามข้อเท็จจริงที่ว่า
โครงร่างธรรมนูญที่รัชกาลที่ ๗ เตรียมพระราชทาน ก็เป็นธรรมนูญกษัตริย์นิยม
ยังให้อำนาจตสูงสุดที่พระมหากษัตริย์ ไม่มีการประกันเรื่องสิทธิ
และความเสมอภาคของราษฎร และยังมองข้ามหลักฐานข้อเท็จจริงว่า เมื่อวันที่ ๒๔
มิถุนายน พ.ศ.๒๔๗๕ ประชาชนชาวเมือง ชนชั้นกลาง พ่อค้า ครู ทนายความ
และผู้มีการศึกษา แสดงการตอบสนองต่อการปฏิวัติในเชิงบวก
ประชาชนต่างก็ร้องไชโย โห่ร้องแสดงความยินดีต้อนรับการปฏิวัติ
และเมื่อกระแสการปฏิวัติแพร่ไปยังหัวเมือง พ่อค้า ข้าราชการ ครู
และชาวเมืองในหัวเมืองก็ตอบรับการปฏิวัติในเชิงแสดงความยินดีเช่นกัน
ระบอบใหม่จึงเป็นที่ต้อนรับอย่างกว้างขวาง
สำหรับประชาชนระดับล่างในสมัยนั้น อาจไม่มีปฏิสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลง
เพราะการขยายบทบาทของชนชั้นล่างจะเป็นส่วนหนึ่งของกระแส ๑๔ ตุลาคม
ซึ่งมาทีหลัง แต่ก็มิได้หมายความว่า ชนชั้นล่างของสยามในขณะนั้น
จะนิยมชมชื่นระบอบเก่า ส่วนการรัฐประหารที่เกิดขึ้นจำนวนมากนั้น
ส่วนมากเป็นการสนับสนุนของฝ่ายนิยมเจ้า การรัฐประหารเหล่านี้
จึงโยงกับรัฐประหาร พ.ศ.๒๔๙๐ เสียยิ่งกว่า
เป็นที่น่าสังเกตว่า
เจตนารมย์ประชาธิปไตยของคณะราษฎรซึ่งเคยลดกระแสลงในระยะก่อนหน้านี้
กลับขึ้นสู่กระแสสูงมากขึ้น หลังจากการรัฐประหาร ๑๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๔๙
ซึ่งระบอบประชาธิปไตยรัฐสภาที่พัฒนาอย่างมาก กลับประสบความชะงักงัน
กลุ่มอำมาตยาธิปไตยที่ครอบงำด้วยแนวคิดนิยมเจ้าสุดขั้ว
ได้เข้าควบคุมการเมืองไทย
และใช้กลไกศาลเข้าทำลายหลักการปกครองแบบประชาธิปไตย
พร้อมทั้งใช้ขบวนการมวลชนฝ่ายขวามาเสนอหลักการบิดเบือนประชาธิปไตย
ขบวนการประชาชนคนเสื้อแดงจึงเห็นความจำเป็นที่จะต้องรณรงค์ให้มีการรื้อฟื้น
หลักการประชาธิปไตยของคณะราษฎร จึงมีการเคลื่อนไหวจัดงานเฉลิมฉลอง ๒๔
มิถุนายนกันทุกปี ในเงื่อนไขที่เป็นไปได้ และโดยเฉพาะในปี พ.ศ.๒๕๕๕ นี้
กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติหรือ
นปช.จะเป็นแกนกลางในการจัดงานเฉลิมฉลอง ๘๐ ปีประชาธิปไตยเสียเอง
และตามมหาวิทยาลัย ก็ได้มีการจัดงานวิชาการเฉลิมฉลอง ๘๐ ประชาธิปไตย
จึงทำให้ ๒๔ มิถุนายน ปีนี้มีบรรยากาศที่คึกคักเป็นพิเศษ
คงต้องอธิบายด้วยว่า
เจตนารมย์หนึ่งของคณะราษฎรในการสร้างระบอบการเมืองแบบใหม่หลัง พ.ศ.๒๔๗๕
แม้ว่าจะมีการแบ่งแยกอำนาจ เป็น นิติบัญญัติ บริหาร และ ตุลาการ
แต่ถือกันว่า รัฐสภามีอำนาจสูงสุด
เพราะเป็นสถาบันอันมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน
รัฐสภาจึงเป็นตัวแทนอันชอบธรรมของประเทศ และศาลซึ่งไม่ได้ยึดโยงต่อประชาชน
ต้องอยู่ภายใต้การตรวจสอบของรัฐสภา หลักการนี้จงจะต้องมีการรื้อฟื้นด้วย
เพราะควบคุมอำนาจอยุติธรรมของศาล
และจัดการที่ศาลเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมืองจนเกินเลย
นี่เป็นประเด็นสำคัญที่จะต้องพิจารณากันต่อไป
ในที่นี่อยากเสนอว่า เมื่อจะเฉลิมฉลองกันแล้ว ควรที่จะเรียกร้อง ๒๔
มิถุนายน ในฐานะของวันชาติกลับคืนมา เราต้องถือกันว่า การทำลายวันชาติ ๒๔
มิถุนายนนั้น เป็นดอกผลของเผด็จการ ถ้ารื้อฟื้น ๒๔ มิถุนายนได้
ประเทศไทยก็จะได้มีวันชาติเช่นเดียวกับประเทศอื่นเสียที
“ไทยจะต้องเป็นไทย ด้วยร่วมใจเทอดไทย ชโย”
"เจษฎ์-จาตุรนต์-พิชิต" กับมุมมองอดีตและอนาคต จาก "80 ปีประชาธิปไตย"
ที่มา ประชาไท
Sat, 2012-06-23 07:27
22 มิ.ย.55 วงเสวนา “อดีตและอนาคต จาก 80 ปีประชาธิปไตย”
ในงานสัมมนาเรื่อง “จาก 100 ปี ร.ศ.130 ถึง 80 ปี ประชาธิปไตย” จัดโดย
ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สถาบันนโยบายศึกษา โดยการสนับสนุนของมูลนิธิคอนราด อาเดนาวร์
และนิตยสารศิลปวัฒนธรรม ณ อาคารมหาจักรีสิรินธร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ดำเนินรายการโดยเวียงรัตน์ เนติโพธิ์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ
เจษฎ์
โทณะวณิก อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม กล่าวว่า
การมีประชาธิปไตยกับการมีรัฐธรรมนูญไม่ใช่เรื่องเดียวกัน
เพราะไม่ว่าจะมีหรือไม่มีประชาธิปไตย ก็มีรัฐธรรมนูญได้ทั้งนั้น
และรัฐธรรมนูญไม่ได้แสดงออกถึงความเป็นประชาธิปไตย
โดยยกตัวอย่างว่ารัฐธรรมนูญของพม่านั้นดีกว่าของไทยเสียอีก และในจีน
หรือรัสเซีย ต่างก็มีรัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ตาม
รัฐธรรมนูญเป็นเครื่องมือในการปกครองรัฐ ดังนั้น
ไม่ว่าประเทศระบอบใดก็มีรัฐธรรมนูญได้ และมักเขียนเรื่องต่างๆ
ที่ใช้ปกครองบ้านเมืองในรัฐธรรมนูญ
จึงมีความเชื่อมโยงระหว่างการปกครองและรัฐธรรมนูญขึ้น
เมื่อมองย้อนกลับไป เจษฎ์มองว่า การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475
ของคนกลุ่มหนึ่งซึ่งเรียกตัวเองว่าคณะราษฎร์ถือเป็นการกบฏ
แต่เมื่อรัฐประหารสำเร็จจึงเป็นการปฏิรูปและมีการเขียนรัฐธรรมนูญขึ้น
เขาตั้งคำถามต่อประกาศของคณะราษฎรที่เขียนถึงความอดอยากยากแค้นของราษฎรเกิด
จากรัชกาลที่ 7 ว่า ไม่รู้ว่าประกาศนั้นจริงเท็จประการใด
รวมถึงส่วนที่กล่าวถึงบรรพบุรุษของกษัตริย์ว่าไม่ได้ทำอะไรเลยนั้นว่าจริง
หรือไม่ โดยชี้ว่าการรบในอดีตนั้น
ยากที่บรรพบุรุษของฝ่ายใดจะไม่ได้ทำอะไรเลย
เพราะผู้นำและทหารจะต้องร่วมมือกัน
อาจารย์คณะนิติศาสตร์ กล่าวต่อว่า
ดังนั้นจึงไม่สามารถตอบได้ทีเดียวว่าสิ่งที่ถูกกล่าวอ้างว่าเป็นที่มาของการ
สถาปนาหรือเรียกร้องประชาธิปไตยเป็นเรื่องที่ถูกต้องนัก
และเมื่อคณะราษฎรเริ่มต้นก่อการ ไม่ดี จึงยังกระพร่องกระแพร่งอยู่ทุกวันนี้
อย่างไรก็ตาม มองว่าแทบไม่มีประเทศไหนที่เริ่มต้นดี
เพราะการล้มล้างกันไม่ว่าจะเริ่มด้วยคิดดีหรือไม่
ย่อมเป็นการเริ่มต้นที่ไม่ดี เพราะไม่ใช่สันติวิธี
อย่างไรก็ตาม เขาเสนอทางออกต่อสถานการณ์ปัจจุบันว่า
ต้องมีการพูดคุยกันว่า ปัญหาที่ผ่านมาคืออะไร รัฐธรรมนูญเป็นปัญหาอย่างไร
และมีเนื้อหาที่ไม่สอดคล้องกับหลักนิติวิทยาศาสตร์ รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์
สังคม อย่างไร รวมถึงปัญหาเชิงความเป็นประชาธิปไตย
โดยพูดคุยในรูปแบบสานเสวนา ทั้งนี้
แนะว่าอย่าคิดว่าคนที่คิดต่างเป็นคนละพวก ต้องแยกจากเรื่องการทุจริต
วงศ์ตระกูล สีเสื้อ หรือชาติพันธุ์ หากเอามารวมกันหมดจะไปไม่ถึงไหน
โดยสิ่งที่ต้องตระหนักตลอดคือประชาธิปไตยต้องอดทน
นักการเมืองติดสินบน-รัฐบาลไร้เสถียรภาพ วิวาทะเก่า 100 ปี ใช้โต้ประชาธิปไตย
จาตุรนต์
ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย หนึ่งในสมาชิกบ้านเลขที่ 111
กล่าวว่า ก่อนที่จะมีเหตุการณ์ 2475
มีคนในสังคมไทยพยายามเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไป
เป็นระบอบ limited monarchy ในเหตุการณ์ คณะ ร.ศ.130 (พ.ศ.2455)
จากวิวาทะของคณะ ร.ศ.130 เสนอหลักการเสรีนิยม ความมีเหตุและผล
ความเสมอภาค ส่วนวิวาทะของฝ่ายตรงข้ามคือเรื่องความริษยา
มีการตอบโต้ว่าหากมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแล้วจะเกิดพวกนักการเมือง
หรือในสมัยนั้นเรียกว่าโพลิทิเชียน (politician)
เป็นผู้ที่ทำมาหากินทางการเมือง มีการเลือกตั้ง เกิดการล่อใจประชาชน
ด้วยถ้อยคำ การเลี้ยงดู และติดสินบน นำมาสู่ความแตกแยก
เกิดเป็นระบบพรรคการเมือง และเป็นรัฐบาลที่ไม่มีเสถียรภาพต้องเปลี่ยนบ่อยๆ
ทั้งนี้วิวาทะเหล่านี้มีมาเมื่อ 100 ปีก่อน และถึงวันนี้
เมื่อมีคนบอกว่าต้องการเป็นประชาธิปไตย
สิ่งที่โต้กลับก็ยังคงเป็นความเห็นแบบเดิมนี้อยู่
จาตุรนต์ กล่าวด้วยว่า การเปลี่ยนแปลงในปี 2475
เป็นการยืนยันว่าระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไม่เหมาะกับสังคมไทย
และต้องการสถาปนา “ระบอบรัฐธรรมนูญ” ที่มีเรื่องการปกครองหลักนิติธรรม
มีแนวความคิดเรื่องนิติรัฐที่ว่าทุกคนต้องอยู่ภายใต้กฎหมายที่ดีอย่างเท่า
เทียมกัน ใช้อำนาจได้เท่าที่กฎหมายบัญญัติไว้ และกฎหมายต้องมีที่มา
คณะราษฎรต้องการสร้าง“ระบอบรัฐธรรมนูญ” ขึ้นมาโดยให้
“อำนาจสูงสุดเป็นของราษฎร” ซึ่งต่อมามีการใช้คำว่า
“อำนาจอธิปไตยมาจากประชาชน” และ “อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย”
“เวลาประเมินคณะราษฎร
เส้นแบ่งสำคัญอยู่ตรงเรื่องระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
กับอีกระบอบที่ไม่ใช่สมบูรณาญาสิทธิราชย์
ซึ่งในแง่นี้ถ้าเราดูจากทั่วโลกและดูจากประเทศไทยเอง
เข้าใจว่ามันเป็นความก้าวหน้าอย่างมาก
และผมคิดว่าสังคมไทยแม้จะมีคนเสนอว่าทำไมไม่เพิ่มพระราชอำนาจ
อยากให้เพิ่มอยากให้คือพระราชอำนาจในหลายสิบปีมานี้
แต่ก็ยังไม่มีใครกล้าเสนอว่าให้กลับไปเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
ก็เท่ากับเป็นความยอมรับอยู่ แต่ในความเห็นผม
ผมคิดว่าเป็นความก้าวหน้าเป็นคุณูปการในเรื่องนี้”
อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทยให้ความเห็น
ประสบการณ์สังคมไทยชี้การปกครองโดยไม่มี “รัฐธรรมนูญ” คือระบอบเผด็จการ
จากประเด็นที่ว่าการเป็นประชาธิปไตยจำเป็นหรือไม่แค่ไหนที่ต้องมีรัฐ
ธรรมนูญ จาตุรนต์ แสดงความเห็นว่า เมื่อ 80 ปีที่แล้ว
หากไม่มีรัฐธรรมนูญก็ไม่รู้ว่าอะไรคือการเปลี่ยนระบอบการปกครอง
หรือจะเปลี่ยนจากอะไรไปสู่อะไร
เพราะสิ่งที่ต้องการคือการมีกฎหมายสูงสุดขึ้นมาหนึ่งฉบับ
และด้วยแนวคิดแบบนิติรัฐที่ทุกคนต้องอยู่ภายใต้กฎหมายจึงมีรัฐธรรมนูญขึ้น
และในสภาพการณ์แบบในประเทศไทยหากไม่เขียนอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรก็จะเกิดคำ
ถามว่าจะเริ่มกันอย่างไร
ใน 80 ปี มานี้ ช่วงเวลาที่ประเทศไทยไม่มีรัฐธรรมนูญ
หรือไม่มีสิ่งที่พอจะเรียกว่ารัฐธรรมนูญได้
ก็คือช่วงที่เกิดการรัฐประหารหรือการปกครองโดยคณะรัฐประหาร
โดยจะเรียกสิ่งที่ใช้อยู่ว่าเป็นธรรมนูญการปกครอง หรือรัฐธรรมนูญชั่วคราว
แต่ความจริงทั้งธรรมนูญการปกครองและรัฐธรรมนูญชั่วคราวนั้น
คือกฎหมายสูงสุดที่คณะรัฐประหารเขียนกันเองหลังจากออกคำสั่งคณะรัฐประหาร
แล้ว
จาตุรนต์ กล่าวต่อมาว่า จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
เป็นสัญลักษณ์ที่ดีอย่างหนึ่งคือทำให้เห็นว่าความเป็นเผด็จการที่สมบูรณ์แบบ
นั้นเป็นอย่างไร คือคนๆ เดียวอยู่เหนือกฎหมาย ทำลายหลักการแบ่งแยกอำนาจ 3
อำนาจออกจากกันอย่างสิ้นเชิงโดยคนๆ เดียวที่คุมกำลังกองทัพ
มาจนสมัยจอมพลถนอม กิตติขจร แต่ในที่สุดก็จำเป็นต้องมีรัฐธรรมนูญ
หลังจากที่ทำการร่างมายาวนานตั้งแต่ปี 2500 จนมีรัฐธรรมนูญ 2511
และจัดการเลือกตั้งในปี 2512 ต่อมาในปี 2514
ก็เกิดการรัฐประหารยึดอำนาจตัวเองของจอมพลถนอม
ในส่วนสังคมไทยก็ได้เรียนรู้เช่นกันว่า
การปกครองโดยไม่มีรัฐธรรมนูญนี้ก็คือปกครองโดยระบอบเผด็จการ
หากไม่มีรัฐธรรมนูญที่บัญญัติอะไรไว้ให้ดี ก็จะกลายเป็นเผด็จการเด็ดขาด
จึงเป็นที่มาของการเรียกร้องประชาธิปไตยเมื่อเดือนตุลาปี 2516
โดยข้อเรียกร้องสำคัญในครั้งนั้นคือให้มีรัฐธรรมนูญ
แต่ต่อมาก็มีการรัฐประหารยึดอำนาจอีกครั้งในปี 2519 จะเห็นได้ว่า 80
ปีมานี้ สังคมไทยผ่านช่วงที่พยายามสถาปนาสร้างระบอบรัฐธรรมนูญ
สร้างระบบรัฐสภาให้มีพรรคการเมือง มีการเลือกตั้ง
สลับไปมากับการสู้กับความพยายามที่จะกลับคืนสู่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
มีการรัฐประหารยึดอำนาจ จนมาถึงสถานการณ์ในปัจจุบัน
อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทยกล่าวแสดงความเห็นต่อมาว่า
ในแง่ความสำเร็จในการสถาปนาระบอบรัฐธรรมนูญส่วนตัวคิดว่าไม่สำเร็จ
และถึงแม้ในปัจจุบันมีรัฐธรรมนูญก็คิดว่าไม่สำเร็จ เนื่องจากใน 80
ปีที่ผ่านมา มีการปกครองโดยที่ไม่มีรัฐธรรมนูญใช้นานมาก
หลายช่วงไม่มีรัฐธรรมนูญ ตอนที่มีรัฐธรรมนูญ
เรามีรัฐธรรมนูญที่มีเนื้อหาเป็นประชาธิปไตยมากในช่วงแรกๆ
แต่ต่อจากการไม่มีรัฐธรรมนูญ
ก็มามีรัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นประชาธิปไตยหลายครั้ง
“พูดได้ว่าเวลาที่เรามีรัฐธรรมนูญ
เรามีรัฐธรรมนูญที่เป็นเครื่องมือที่จะทำไว้ให้โลกเขาดูว่า อ้อ
ประเทศนี้ก็มีรัฐธรรมนูญ
แต่รัฐธรรมนูญของประเทศนี้ไม่ใช่เป็นรัฐธรรมนูญที่ประกันว่าประชาชนจะเป็น
ผู้กำหนดความเป็นไปของประเทศ หรือพูดอีกแบบก็คือว่า จริงๆ
แล้วอำนาจอธิปไตยไม่ใช่เป็นของปวงชน
หรือไม่ต้องพูดถึงว่าอำนาจสูงสุดเป็นของราษฎร” จาตุรนต์กล่าว
จาตุรนต์ ยกตัวอย่างว่า ในรัฐธรรมนูญฉบับหนึ่งมีการระบุห้าม
ส.ส.เป็นนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี
ซึ่งเป็นการเขียนไว้เพื่อให้ผู้ที่ยึดอำนาจได้ขึ้นเป็นรัฐบาล
ต่อมาก็มีการเขียนให้ ส.ว.มาจากการแต่ตั้งและมีอำนาจขึ้นมา
ที่แย่ไปกว่านั้นคือไทยผ่านการรัฐประหารมาหลายครั้ง
ในแต่ละครั้งเมื่อยึดอำนาจได้แล้วมีคนมาคัดค้านร้องเรียน
บ้างก็จะถูกจับติดคุก บ้างถูกปฏิเสธ
ด้วยเหตุผลจากฝ่ายตุลาการว่าผู้ที่ยึดอำนาจได้แล้วเป็นรัฏฐาธิปัตย์
“80 ปีมานี้จึงพูดได้ว่า
เราปกครองโดยระบอบที่รัฐธรรมนูญไม่ใช่กฎหมายสูงสุดจริง ในความหมายนี้คือ
ถ้ามีการรัฐประหารเมื่อไหร่ คำสั่งรัฐประหารสูงกว่ารัฐธรรมนูญ
ในระหว่างที่ไม่มีรัฐประหาร คณะรัฐประหารเลิกไปแล้วและยอมให้มีรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญนั้นเป็นกฎหมายสูงสุด
แต่ก็เป็นกฎหมายสูงสุดที่ไม่ได้มุ่งให้อำนาจประชาชน
ซึ่งตรงนี้เป็นความจริงมาจนถึงรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน”
อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย กล่าว
จวก “รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน” ออกแบบไว้ เพื่อประกันไม่ให้อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน
จาตุรนต์ วิพากษ์รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันว่า มาจากคณะยึดอำนาจเมื่อปี
2549 และถูกออกแบบไว้เพื่อที่จะประกันไม่ให้อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน
โดยเขียนไว้ในเรื่อง อำนาจขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ
ที่มาขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ อำนาจของ ส.ว.ในการถอดถอน ที่มาของ
ส.ว.จากการสรรหาที่มีอยู่ถึงครึ่งหนึ่ง
ตรงนี้เป็นระบบที่เมื่อประชาชนเลือกตั้งมา
แต่อาศัยกลไกและเนื้อหาตามรัฐธรรมนูญนี้สามารถล้มรัฐบาลได้โดยง่าย
โดยไม่ต้องเป็นไปตามหลักประชาธิปไตยหรือหลักความยุติธรรม
และที่ผ่านมาก็เกิดมาแล้วกับ 2 รัฐบาล
การเขียนรัฐธรรมนูญเช่นนี้นำมาสู่วิกฤติมากมายในช่วงเวลาที่ผ่านมา
เพราะคนส่วนหนึ่งไม่เห็นด้วยเพราะพรรคที่เขาเลือกตั้งมาถูกยุบ
และออกมาเรียกร้องให้ยุบสภาแล้วจัดการเลือกตั้งใหม่เพื่อพิสูจน์กันอีกครั้ง
แต่กลับนำมาสู่เหตุการณ์นองเลือด
และเมื่อมีการเลือกตั้งใหม่ประชาชนได้ตัดสินแล้ว
แต่จะถูกหักล้างอีกจากกลไกรัฐธรรมนูญหรือไม่
นี่เป็นเรื่องที่ต้องติดตามต่อไป
ล้ม “ร่างรัฐธรรมนูญ” ความถดถอยครั้งใหญ่จาก น้ำมือ “ศาลรัฐธรรมนูญ”
จาตุรนต์ กล่าว่า จากวิกฤติที่เกิดขึ้น
คนกลุ่มหนึ่งจึงเสนอให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้ถูกต้องและเป็นธรรม
และเกิดคำถามว่าใครจะแก้ ทำให้มีการกำหนดแก้รัฐธรรมนูญ มาตรา 291
ให้มีการเลือกตั้ง สสร.เพื่อลงประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่ถูกยับยังโดย
“ศาลรัฐธรรมนูญ”
เนื่องจากมีคนไปร้องว่ามีผู้จะล้มล้างระบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมี
พระมหากษัตริย์เป็นประมุข ซึ่งผู้ถูกร้องคือประธานรัฐสภา
ครม.พรรคการเมืองบางพรรค และส.ส.บางคน ข้อหาดังกล่าวเป็นข้อหาเดียวกันกลุ่ม
ร.ศ.130 ทั้งที่เป็นการแก้รัฐธรรมนูญในรัฐสภา
และจะมีการนำไปลงมติโดยประชาชนทั้งประเทศ
นอกจากนี้
การที่ศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องโดยตรงนั้นขัดกับรัฐธรรมนูญอย่างชัดเจน
ขัดกับบรรทัดฐานเดิม ขัดกับการตีความของนักกฎหมาย
โดยมีวินิจฉัยไปแล้วว่าสามารถรับคำร้องเองได้ และจะมีผลต่อไป
ตรงนี้เท่ากับเป็นการแก้รัฐธรรมนูญโดยการวินิจฉัยที่แตกต่างจากรัฐธรรมนูญ
เป็นการแก้รัฐธรรมนูญโดยทำผิดรัฐธรรมนูญเสียเอง อีกทั้งมีการตีความรัฐสภา
และครม.เป็นบุคคลโดยศาลรัฐธรรมนูญตีความเข้าตามมาตรา 68
และศาลรัฐธรรมนูญกำลังทำผิดต่อไปอีก จากการตรวจสอบร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ทั้งที่มีอำนาจเฉพาะการพิจารณาร่างกฎหมายว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่
แม้ศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยว่าร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้นำไปสู่การล้มการ
ปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
โดยไม่นำไปสู่การยุบพรรคการเมืองหรือมีผลบานปลายตามมา
แต่เพียงการวินิจฉัยล้มการร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้ก็ถือเป็นความเสียหายครั้ง
ใหญ่หลวงต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตย
เป็นความล้าหลังที่ไม่เหมือนกับครั้งไหนๆ เพราะกระทำโดยศาลรัฐธรรมนูญ
ไม่เหมือนการยึดอำนาจแต่ศาลรัฐธรรมนูญกำลังขยายขอบเขตอำนาจของตนเอง
ให้กลายเป็นสามารถตรวจสอบและวินิจฉัยร่างรัฐธรรมนูญเหนือกว่ารัฐสภา
ถือเป็นการทำลายหลักการแบ่งแยกอำนาจ ปิดทางการแก้รัฐธรรมนูญ
เท่ากับนำสังคมไทยสู่ทางตัน
“ภายในประมาณต้นเดือนหน้า อย่างเร็วคือต้นเดือนหน้า
ถ้าศาลรัฐธรรมนูญตัดสินเร็ว
ก็จะเกิดระบบที่ฝ่ายตุลาการในที่นี้คือศาลรัฐธรรมนูญในประเทศนี้มีอำนาจ
เหนือกว่าฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร
หมายความว่ากำหนดความเป็นไปของคณะรัฐมนตรีได้ กำหนดว่าจะให้แก้กฎหมาย
หรือไม่ให้แก้กฎหมาย หรือปฏิเสธการแก้กฎหมายที่รวมถึงรัฐธรรมนูญ
ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่มากก็คือเรากำลังบอกว่าเราจะก้าวไปสู่ระบบที่ผู้มีอำนาจ
ทางตุลาการที่ไม่มีการยึดโยงกับประชาชนแต่อย่างใดทั้งสิ้น
และตรวจสอบโดยประชาชนไม่ได้ กำลังจะมีอำนาจเหนือกว่าอำนาจอื่นๆ
ที่ยึดโยงกับประชาชน” อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย กล่าว
อย่างไรก็ตาม นายจาตุรนต์ ได้กล่าวถึงความก้าวหน้าที่เกิดขึ้นว่า
ขณะนี้ประชาชนในสังคมไทยมีความเข้าใจมากขึ้น จาก 80 ปี ที่ผ่านมา
และต่างจาก 20 ปีที่แล้วมาก กระแสโลกเปลี่ยนแปลงไป
ตรงนี้เป็นประโยชน์ต่อประชาธิปไตย
และในประเทศไทยมีความเปลี่ยนแปลงในเรื่องความเข้าใจของประชาชนต่อระบบพรรค
การเมืองและการเลือกตั้งอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในช่วงระยะ 10
กว่าปีที่ผ่านมา
นอกจากนั้นพลังประชาชนที่ไม่ใช้เฉพาะในสภาก็มีการตื่นตัวมาก
ตรงนี้เป็นข้อดีที่จะทำให้การชักคะเย่อกันต่อไปนี้จะไม่ถูกดึงจนชนะไปทางไหน
ได้ง่ายๆ
วิจารณ์นักประวัติศาสตร์ไม่ตีความ 2475 ปล่อยรัฐศาสตร์กระแสหลักคุมวาทกรรม
พิชิต
ลิขิตกิจสมบูรณ์ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า
การตีความประวัติศาสตร์นั้นอย่างน้อยขึ้นอยู่กับนักประวัติศาสตร์และนักรัฐ
ศาสตร์ แต่ที่ผ่านมา
นักประวัติศาสตร์จำกัดตัวเองอยู่ที่การรวบรวมข้อมูลและเล่าเหตุการณ์
แต่ขาดการตีความและทำความเข้าใจเชื่อมโยงอย่างเป็นตรรกะเพื่อเชื่อมโยงสู่
อนาคต ทำให้การตีความและทำความเข้าใจ 24 มิ.ย.2475
ตกเป็นลิขสิทธิ์ของนักรัฐศาสตร์ไทยกระแสหลัก
ซึ่งตีความจากกรอบของคณะนิยมเจ้าซึ่งฟื้นหลังปี 2500
จากการทำรัฐประหารของสฤษดิ์ ธนะรัตน์ โดยตีความว่า 24 มิ.ย.2475
เป็นความล้มเหลว เป็นที่มาของปัญหาความวุ่นวายและวงจรอุบาทว์
โดยในมุมของคนกลุ่มนี้ ประวัติศาสตร์มีแค่สองยุคคือ ก่อน 24 มิ.ย.2475 และ
หลัง 24 มิ.ย.2475 โดยก่อน 2475 เป็นสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และหลัง 24575
เป็นเผด็จการรัฐสภา ประชาธิปไตยครึ่งใบ ล้มลุกคลุกคลาน
ด่างดำด้วยทหารเห็นแก่ตัวและคอร์รัปชั่น สลับกับนักการเมืองซื้อเสียง
ซึ่งการมองแบบนี้มีผลต่อทัศนะในการมองเหตุการณ์ต่างๆ ที่ผ่านมา
พิชิต กล่าวต่อว่า ที่น่าสนใจ คือ การตีความ 24 มิ.ย.2475
โดยกระแสหลักของฝ่ายซ้ายไทยและพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย
ตีความคล้ายกับรัฐศาสตร์กระแสหลักไทยมาก โดยไม่ให้ความสำคัญกับ 24
มิ.ย.2475 และวิจารณ์คณะราษฎรในทางลบว่า แม้จะมีท่าทีต่อต้านจักรวรรดินิยม
ศักดินานิยม แต่ล้มเหลวในภารกิจ เพราะผูกขาดอำนาจไว้ในกลุ่มเล็กๆ
ไม่เอาอำนาจผูกโยงกับประชาชน และเป็นการรัฐประหารเช่นเดียวกัน
เขามองว่า
การตีความทั้งในแบบของนักรัฐศาสตร์กระแสหลักหรือฝ่ายซ้ายต่างครอบงำวิธีคิด
ของนักวิชาการไทยมานานมาก อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เกิดขึ้นในช่วง 4-5
ปีตั้งแต่รัฐประหาร 19 ก.ย. ก่อให้เกิดกระแสที่สาม คือ กลุ่มคนเสื้อแดง
ที่หันมามอง 24 มิ.ย.2475 ในแบบที่ต่างออกไป การตีความและมอง 24 มิ.ย.2475
ของพวกเขามีความโดดเด่น เพราะไม่ได้ถูกครอบงำโดยรัฐศาสตร์กระแสหลัก
ไม่ยอมรับว่าคณะราษฎรเป็นต้นกำเนิดของอำมาตยาธิปไตยไทย
เมื่อเปิดวิทยุในที่ต่างๆ จะเจอดีเจเอา 24 มิ.ย.2475
มาพูดในมุมที่ต่างกับที่นักวิชาการพูด
ซึ่งเป็นเรื่องดีในแง่ที่ว่าการประเมินไม่ควรอยู่ในแวดวงมหาวิทยาลัยหรือนัก
วิชาการอีกต่อไป เราทำจนเป็นพิธีกรรมไปแล้ว ไม่อาจหลุดจากการวิเคราะห์ได้
เสนอว่านักวิชาการต้องมองภายนอกและฟังมากขึ้น
ทั้งนี้ พิชิตกล่าวว่า
ปัญหาใหญ่ของคณะราษฎรซึ่งแก้ไม่ตกและล้มเหลวเป็นปัญหาจนทุกวันนี้ คือ
ความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันกษัตริย์กับประชาธิปไตย
คณะราษฎรพยายามหาสูตรสำเร็จ จัดวางสถานะของสถาบันกษัตริย์
โดยพิมพ์เขียวที่วางไว้ชัดเจน ในฉบับ 10 ธ.ค.75
ระบุชัดเจนว่าสถาบันกษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ
ซึ่งมีอำนาจที่จำกัดอย่างยิ่ง เพราะทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติผ่านรัฐสภา
และใช้อำนาจบริหารผ่านคณะรัฐมนตรีที่มาจากรัฐสภา
มีเพียงอำนาจตุลาการอำนาจเดียวที่รัฐธรรมนูญฉบับวันที่ 10 ธ.ค.75
ไม่ได้แตะต้อง อย่างไรก็ตาม การจัดวางตำแหน่งแห่งที่นี้ล้มเหลว
โดยรัฐประหารของสฤษดิ์ ธนะรัชต์
นำมาซึ่งการฟื้นคืนสถานะและพระราชอำนาจของกษัตริย์
พิชิต ตั้งข้อสังเกตด้วยว่า
หลายสิบปีมานี้มีคดีการเมืองที่ตัดสินโดยศาลจำนวนมาก อาทิ
การลงโทษกบฏบวรเดช เนรเทศนักโทษการเมือง หลังสงครามโลกครั้งที่สอง
มีการจับกุมนักเขียนฝ่ายซ้าย
หรือคำวินิจิฉัยของศาลฎีกาที่บอกว่าคำสั่งของคณะรัฐประหารเป็นกฎหมาย
แต่การใช้องค์กรตุลาการแทรกแซงอย่างเป็นระบบเพิ่งมีมาไม่กี่ปีมานี้
ดังนั้น เหตุการณ์ใน 4-5 ปีมานี้ หรือเทศกาลยุบพรรคที่อาจจะเกิดขึ้น
ก็เป็นบทเรียนที่ดีที่ทำให้เห็นว่าการแก้ไขปัญหาวิกฤตการณ์การเมืองปัจจุบัน
การแก้ไขโครงสร้างตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ถ้ายังร่างได้
(ส่วนตัวคิดว่าจบไปแล้ว)
การปฏิรูปตุลาการจะเป็นประเด็นหนึ่งที่ไม่อาจปฏิเสธ
และคงจะต้องมีการพูดถึงการเชื่อมโยงองค์กรตุลาการเข้ากับอำนาจที่มาจากการ
เลือกตั้งไม่ทางตรงก็ทางอ้อม
"ปัญหาของการใช้อำนาจทางตุลาการไปแทรกแซงปัญหาทางการเมืองอย่าง
โจ่งแจ้ง มันได้กระตุ้นให้คนคิดและเข้าใจปัญหาได้ชัดเจนมากขึ้น
และมันก็ทำให้เห็นชัดเจนด้วยว่าอำนาจที่แท้จริงในระบอบการเมืองปัจจุบันมัน
อยู่ที่ไหน
ความขัดแย้งในปัจจุบันนี้มันก็คือความขัดแย้งระหว่างอำนาจที่มาจากการเลือก
ตั้งกับอำนาจที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง
และมันแสดงออกอย่างชัดเจนและแหลมคมที่องค์กรตุลาการ
ก็คือศาลรัฐธรรมนูญที่เข้ามาก้าวก่ายและครอบงำอำนาจนิติบัญญัติ"
พิชิตกล่าวและว่า ก่อนหน้านี้ ชัดเจนว่า
องค์กรตุลาการเข้ามาครอบงำอำนาจบริหารเป็นหลัก เห็นได้จากการยุบพรรค
ถอดถอนนักการเมือง
แต่เหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นนี้สะท้อนให้เห็นชัดเจนว่าอำนาจตุลาการนั้น
อยู่เหนือรัฐธรรมนูญและอยู่เหนืออำนาจนิติบัญญัติด้วย
ประกาศคณะราษฏร
ที่มา thaifreenews
ประกาศคณะราษฎร
ราษฎรทั้งหลาย
เมื่อกษัตริย์องค์นี้ได้ครองราชย์สมบัติสืบจากพระเชษฐานั้น ในชั้นต้น ราษฎรบางคนได้หวังกันว่า กษัตริย์องค์ใหม่นี้คงจะปกครองราษฎรให้ร่มเย็น แต่การก็หาได้เป็นไปตามที่คิดหวังไม่ กษัตริย์คงทรงอำนาจเหนือกฎหมายอยู่ตามเดิม ทรงแต่งตั้งญาติวงศ์และคนสอพลอไร้คุณความรู้ให้ดำรงตำแหน่งที่สำคัญ ๆ ไม่ทรงฟังเสียงราษฎร ปล่อยให้ข้าราชการใช้อำนาจหน้าที่ในทางทุจริต มีการรับสินบนในการก่อสร้าง ซื้อของใช้ในราชการ หากำไรในการเปลี่ยนราคาเงิน ผลาญเงินของประเทศ ยกพวกเจ้าขึ้นให้สิทธิพิเศษมากกว่าราษฎร กดขี่ข่มเหงราษฎร ปกครองโดยขาดหลักวิชา ปล่อยให้บ้านเมืองเป็นไปตามยถากรรม ดั่งที่จะเห็นได้จากความตกต่ำในทางเศรษฐกิจและความฝืดเคืองในการทำมาหากิน ซึ่งพวกราษฎรได้รู้กันอยู่ทั่วไปแล้ว รัฐบาลของกษัตริย์เหนือกฎหมายมิสามารถแก้ไขให้ฟื้นขึ้นได้
การที่แก้ไขไม่ได้ ก็เพราะรัฐบาลของกษัตริย์มิได้ปกครองประเทศเพื่อราษฎร ตามที่รัฐบาลอื่น ๆ ได้กระทำกัน รัฐบาลของกษัตริย์ได้ถือเอาราษฎรเป็นทาส (ซึ่งเรียกว่า ไพร่ บ้าง ข้า บ้าง) เป็นสัตว์เดียรัจฉาน ไม่นึกว่าเป็นมนุษย์ เหตุฉะนั้น แทนที่จะช่วยราษฎร กลับพากันทำนาบนหลังราษฎร จะเห็นได้ว่า ภาษีอากรที่บีบคั้นเอามาจากราษฎรนั้น กษัตริย์ได้หักเอาไว้ใช้ส่วนตัวปีหนึ่งเป็นจำนวนหลายล้าน ส่วนราษฎรสิ กว่าจะหาได้แม้แต่เล็กน้อย เลือดตาแทบกระเด็น ถึงคราวเสียเงินราชการหรือภาษีใด ถ้าไม่มีเงิน รัฐบาลก็ยึดทรัพย์หรือใช้งานโยธา แต่พวกเจ้ากลับนอนกินกันเป็นสุข ไม่มีประเทศใดในโลกจะให้เงินเจ้ามากเช่นนี้ นอกจากพระเจ้าซาร์และพระเจ้าไกเซอร์เยอรมัน ซึ่งชนชาตินั้นก็ได้โค่นราชบัลลังก์ลงเสียแล้ว
รัฐบาลของกษัตริย์ได้ปกครองอย่างหลอกลวงไม่ซื่อตรงต่อราษฎร มีเป็นต้นว่า หลอกว่าจะบำรุงการทำมาหากินอย่างโน้นอย่างนี้ แต่ครั้นคอย ๆ ก็เหลวไป หาได้ทำจริงจังไม่ มิหนำซ้ำ กล่าวหมิ่นประมาทราษฎรผู้มีบุญคุณเสียภาษีอากรให้พวกเจ้าได้กินว่า ราษฎรยังมีเสียงทางการเมืองไม่ได้ เพราะราษฎรยังโง่ คำพูดของพวกรัฐบาลเช่นนี้ใช้ไม่ได้ ถ้าราษฎรโง่ เจ้าก็โง่ เพราะเป็นคนชาติเดียวกัน ที่ราษฎรรู้ไม่ถึงเจ้านั้น ไม่ใช่เพราะโง่ เป็นเพราะขาดการศึกษาที่พวกเจ้าปกปิดไว้ไม่ให้เรียนเต็มที่ เพราะเกรงว่าเมื่อราษฎรได้มีการศึกษา ก็จะรู้ความชั่วร้ายที่พวกเจ้าทำไว้ และคงจะไม่ยอมให้เจ้าทำนาบนหลังคน
ราษฎรทั้งหลายพึงรู้เถิดว่า ประเทศเรานี้เป็นของราษฎร ไม่ใช่ของกษัตริย์ตามที่เขาหลอกลวง บรรพบุรุษของราษฎรเป็นผู้ช่วยกันกู้ให้ประเทศมีอิสรภาพพ้นมือจากข้าศึก พวกเจ้ามีแต่ชุบมือเปิบ และกวาดรวบทรัพย์สมบัติเข้าไว้ตั้งหลายร้อยล้าน เงินเหล่านี้เอามาจากไหน? ก็เอามาจากราษฎร เพราะวิธีทำนาบนหลังคนนั้นเอง บ้านเมืองกำลังอัตคัดฝืดเคือง ชาวนาและพ่อแม่ทหารต้องทิ้งนา เพราะทำไม่ได้ผล รัฐบาลไม่บำรุง รัฐบาลไล่คนงานออกอย่างเกลื่อนกลาด นักเรียนเรียนเสร็จแล้วและทหารปลดกองหนุนแล้วไม่มีงานทำ จะต้องอดอยากไปตามยถากรรม เหล่านี้เป็นผลของรัฐบาลของกษัตริย์เหนือกฎหมาย บีบคั้นข้าราชการชั้นผู้น้อย นายสิบและเสมียนเมื่อให้ออกจากงานแล้วก็ไม่ให้เบี้ยบำนาญ ความจริงควรเอาเงินที่กวาดรวบรวมไว้มาจัดบำรุงบ้านเมือง ให้มีงานทำ จึ่งจะสมควรที่สนองคุณราษฎรซึ่งได้เสียภาษีอากรให้พวกเจ้าได้ร่ำรวยมานาน แต่พวกเจ้าก็หาได้ทำอย่างใดไม่ คงสูบเลือดกันเรื่อย ๆ ไป เงินมีเหลือเท่าใดก็เอาฝากต่างประเทศ คอยเตรียมหนีเมื่อบ้านเมืองทรุดโทรม ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก การเหล่านี้ย่อมชั่วร้าย
เหตุฉะนั้น ราษฎร ข้าราชการทหารและพลเรือน ที่รู้เท่าถึงการกระทำอันชั่วร้ายของรัฐบาลดังกล่าวแล้ว จึ่งรวมกำลังตั้งเป็นคณะราษฎรขึ้น และได้ยึดอำนาจของรัฐบาลของกษัตริย์ไว้ได้แล้ว คณะราษฎรเห็นว่า การที่จะแก้ความชั่วร้ายนี้ได้ ก็โดยที่จะต้องจัดการปกครองโดยมีสภา จะได้ช่วยกันปรึกษาหารือหลาย ๆ ความคิด ดีกว่าความคิดเดียว ส่วนผู้เป็นประมุขของประเทศนั้น คณะราษฎรไม่ประสงค์ทำการแย่งชิงราชสมบัติ ฉะนั้น จึ่งได้อัญเชิญให้กษัตริย์องค์นี้ดำรงตำแหน่งกษัตริย์ต่อไป แต่จะต้องอยู่ใต้กฎหมายธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน จะทำอะไรโดยลำพังไม่ได้ นอกจากด้วยความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร คณะราษฎรได้แจ้งความประสงค์นี้ให้กษัตริย์ทราบแล้ว เวลานี้ยังอยู่ในความรับตอบ ถ้ากษัตริย์ตอบปฏิเสธ หรือไม่ตอบภายในกำหนด โดยเห็นแก่ส่วนตนว่าจะถูกลดอำนาจลงมา ก็จะชื่อว่าทรยศต่อชาติ และก็เป็นการจำเป็นที่ประเทศจะต้องมีการปกครองแบบอย่างประชาธิปไตย กล่าวคือ ประมุขของประเทศจะเป็นบุคคลสามัญซึ่งสภาผู้แทนราษฎรได้เลือกตั้งขึ้น อยู่ในตำแหน่งตามกำหนดเวลา ตามวิธีนี้ ราษฎรพึงหวังเถิดว่า ราษฎรจะได้รับความบำรุงอย่างดีที่สุด ทุก ๆ คนจะมีงานทำ เพราะประเทศของเราเป็นประเทศที่อุดมอยู่แล้ว-ตามสภาพ เมื่อเราได้ยึดเงินที่พวกเจ้ารวบรวมไว้จากการทำนาบนหลังคนตั้งหลายร้อยล้านมาบำรุงประเทศขึ้นแล้ว ประเทศจะต้องเฟื่องฟูขึ้นเป็นแม่นมั่น การปกครองซึ่งคณะราษฎรจะพึงกระทำก็คือ จำต้องวางโครงการ อาศัยหลักวิชา ไม่ทำไปเหมือนคนตาบอด เช่นรัฐบาลที่มีกษัตริย์เหนือกฎหมายทำมาแล้ว เป็นหลักใหญ่ ๆ ที่คณะราษฎรวางไว้ มีอยู่ว่า
๑. จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย เช่น เอกราชในทางการเมือง ในทางศาล ในทางเศรษฐกิจ ฯลฯ ของประเทศไว้ให้มั่นคง
๒. จะต้องรักษาความปลอดภัยภายในประเทศ ให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มาก
๓. จะต้องบำรุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลใหม่จะจัดหางานให้ราษฎรทุกคนทำ จะวางโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ ไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก
๔. จะต้องให้ราษฎรมีสิทธิเสมอภาคกัน (ไม่ใช่พวกเจ้ามีสิทธิยิ่งกว่าราษฎรเช่นที่เป็นอยู่)
๕. จะต้องให้ราษฎรได้มีเสรีภาพ มีความเป็นอิสระ เมื่อเสรีภาพนี้ไม่ขัดต่อหลัก ๔ ประการดังกล่าวข้างต้น
๖. จะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร
ราษฎรทั้งหลายจงพร้อมใจกันช่วยคณะราษฎรให้ทำกิจอันจะคงอยู่ชั่วดินฟ้านี้ให้สำเร็จ คณะราษฎรขอให้ทุกคนที่มิได้ร่วมมือเข้ายึดอำนาจจากรัฐบาลกษัตริย์เหนือกฎหมายพึงตั้งตนอยู่ในความสงบ และตั้งหน้าทำมาหากิน อย่าทำการใด ๆ อันเป็นการขัดขวางต่อคณะราษฎร การที่ราษฎรช่วยคณะราษฎรนี้ เท่ากับราษฎรช่วยประเทศ และช่วยตัวราษฎร บุตรหลานเหลนของตนเอง ประเทศจะมีความเป็นเอกราชอย่างพร้อมบริบูรณ์ ราษฎรจะได้รับความปลอดภัย ทุกคนจะต้องมีงานทำ ไม่ต้องอดตาย ทุกคนจะมีสิทธิเสมอกัน และมีเสรีภาพพ้นจากการเป็นไพร่เป็นข้าเป็นทาสของพวกเจ้า หมดสมัยที่เจ้าจะทำนาบนหลังราษฎร สิ่งที่ทุกคนพึงปรารถนาคือความสุขความเจริญอย่างประเสริฐ ซึ่งเรียกเป็นศัพท์ว่า “ศรีอาริยะ” นั้น ก็จะพึงบังเกิดขึ้นแก่ราษฎรถ้วนหน้า
ล้านคำบรรยาย การ์ตูนเซีย 23/06/55 เรียงหน้ามาดักปล้น....
ที่มา blablabla
โดย 3บลา ประชาไท
ใช้เล่ห์กล มารยา สุดสาไถย
เพราะนี่คือ ตอแหลแลนด์ แดนจัญไร
อนาถใจ ไอ้พวกวิบัติ สัตว์นรก....
เริ่มเปิดเกมส์ โสมม หวังล้มรัฐ
มันชี้ชัด อมนุษย์ สุดสกปรก
จากพรรคเปรต เสียงข้างน้อย คอยหยิบยก
หวังเก็บตก เนื้อข้างเขียง ไล่เลียงตัว....
อำมาตยาภิวัตน์ ก็จัดให้
ผิดหรือถูก ไม่สนใจ ไอ้..พวกชั่ว
สื่อภิวัตน์ ประโคมข่าว เล่าจนนัว
เพื่อสุมหัว ปล้นอำนาจ ประชาชน....
พวกองค์กรอิสระ มันล่ะ..ใช่
แสร้งมุบมิบ ทำเฉไฉ ให้สับสน
ตอแหลการภิวัฒน์ สัตว์คราบคน
ยังสัปดน หลบเลี่ยง แล้วเบี่ยงเบน....
เตรียมมีด ขวาน ฆ้อนพร้า มาดักปล้น
เติมทุกข์ทน หม่นหมาง ไม่ว่างเว้น
นโยบาย ที่เร่งรัด ล้วนชัดเจน
พวกกากเดน กลับเตะถ่วง ทุกท่วงที....
๓ บลา / ๒๓ มิ.ย.๕๕
คำ ผกา กรี๊ด "คณะราษฎรที่ 2"
ที่มา Thai E-News
performance นี้กระชากใจ ในขณะเดียวกันก็ขำแบบเสียดแปล๊บเข้าไปในใจ บังเกิดความเวทนาใน "คน" ผู้ไม่เคยรู้ตัวได้ถูกกำกับบทมาตั้งแต่อ้อนแต่ออกในสังคมนี้อย่างไร
โดย คำ ผกา
ทีี่มา มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับประจำวันที่ 22-28 มิถุนายน 2555
หลัง การรัฐประหารมีกลุ่มนักศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตั้งกลุ่ม "ประชาธิปไตยไม่ใช่แค่กิ๊ก" เพื่อยืนยันศักดิ์ศรีของการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่เมื่อถูกทำให้เป็น "ไทยๆ" แล้วมันหมายถึงการปู้ยี่ปู้ยำประชาธิปไตยให้กลายเป็นผลไม้ที่ชิงสุกก่อนห่าม กินไปก็เสาะท้อง
สถานะ "กิ๊ก" ของประชาธิปไตยในสังคมไทยยังบ่งบอกถึงการห้ามเรียกร้องสิทธิอันพึงมีพึงได้ ตามกฎหมายทั้งปวงเพราะความเป็น "กิ๊ก" มิใช่ "รักแท้"
ปีนี้ นักศึกษาจากทั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยออกมาทำ กิจกรรมเกี่ยวกับประชาธิปไตยที่น่าสนใจอีกนั่นคือการ "แสดง" ของพวกเขาในนามของ "คณะราษฎรที่ 2"
มองดู อย่างผิวเผินนี่เป็นเพียงกิจกรรมของ "เด็กๆ" เพื่อสืบทอดเจตนารมณ์ของคณะราษฎร แต่มองให้ผิวเผินน้อยลงอีกนิด กิจกรรมของนักศึกษากลุ่มนี้น่าตื่นเต้นมากกว่านั้น ไม่นับว่า "เทคนิค" ในการจัดกิจกรรม หรือเราอาจใช้คำว่า "การแสดง" ของพวกเขามีความร่วมสมัยและสื่อสารกับคนร่วมยุคสมัยร่วมเจเนอเรชั่นของพวก เขาอย่างที่ฉันขอใช้คำคุณศัพท์โบราณว่ามัน "เก๋" มาก
กลุ่ม คณะราษฎรที่ 2 (แค่ชื่อก็เก๋) เปิดตัวด้วยการทำวิดีโอสั้นๆ เปิดตัวพวกเขาในชุดทหาร และมีชุดพลเรือนหนึ่งคนที่น่าจะหมายถึง ปรีดี พนมยงค์ ภาพอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เด็กหนุ่ม บุหรี่ เพลงในวิดีโอ สะพานพระราม 8 และประกาศคณะราษฎร เจตจำนงของระบอบประชาธิปไตย
ฉันอยากให้ผู้อ่านคอลัมน์ของฉันได้ดูวิดีโอนี้จริงๆ ถ้าสนใจกิจกรรมของพวกเขา เข้าไปดูที่ http://www.youtube.com/watch?v=5o8pLOSOTx8&feature=youtu.be
กิจกรรม ลำดับต่อมา คณะราษฎรที่ 2 ใน "คอสตูม" ของพวกเขาได้ไปยื่นหนังสือของยืมยุทโธปกรณ์ที่กองทัพบก เพื่อนำมาใช้ใน "กิจกรรม" ฉันดูคลิปนี้แล้วอยากจะยกให้เป็น Art Performance แห่งปี
กลุ่ม คณะราษฎรที่ 2 เปลี่ยนพื้นที่ "ทหาร" ให้กลายเป็น "เวทีการแสดง" นักข่าวกลายมาเป็น "นักแสดง" และ "ทหาร" ที่มารับหนังสือ ต่างเป็นนักแสดงที่พูดตาม "บท" เป๊ะ โดยที่ "บท" นั้นไม่จำเป็นต้องได้รับการเขียนออกมาอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ไม่ต้องมีการซ้อมการแสดง ไม่ต้องซ้อมบทพูดเพราะ "เรา" ทุกคนในสังคมไทยต่างอยู่ใน "บท" และถูก "กำกับ" มาด้วยบทเดียวกัน เราจึงรับ-ส่ง บทของการแสดงนี้โดยไม่ได้คิดว่ากำลัง "แสดง"
ส่งผล ให้ performance นี้กระชากใจ ในขณะเดียวกันก็ขำแบบเสียดแปล๊บเข้าไปในใจ บังเกิดความเวทนาใน "คน" ผู้ไม่เคยรู้ตัวได้ถูกกำกับบทมาตั้งแต่อ้อนแต่ออกในสังคมนี้อย่างไร
ขณะ ที่เขียนต้นฉบับอยู่นี้ฉันรอชมกิจกรรมของพวกเขา (ที่พวกเราไปร่วมด้วยได้-จะเรียกว่าเป็น relational art ได้ป่าวเนี่ย) ที่จะมีขึ้นในเวลาย่ำรุ่ง วันที่ 24 มิถุนายน นี้
อัน ที่จริงในศตวรรษที 21 การพูดเรื่อง "ชาติ" มันเป็นสิ่งที่เชยและล้าสมัยยิ่งในสามโลก เพราะตั้งสี่สิบปีมาแล้วกระมังที่โลกตะวันตกตั้งคำถามถึงความศักดิ์ของชาติ ว่า "เฮ้ย มันเป็น inovation and always innovative" คือมันเป็นสิ่งประดิษฐ์ทั้งประดิษฐ์แปลงร่างกลายพันธุ์กันไปตลอดเวลา มิใช่ว่า โลกหลังสมัยใหม่ของเรากำลังรื้อ "ชาติ" ทิ้งไปหรือ?
เราไป ทึ้งเอาธนบัตรมาดูว่าทำไมมันต้องเป็นรูปคนนั้นไม่เป็นคนนี้ ทำไมเป็นรูปอนุสาวรีย์นั้นไม่เป็นอนุสาวรีย์นี้ เราไปนั่งไล่เรียงดูแสตมป์ว่าในยุคไหนแสดงรูปอะไร เชิดชูอะไร ไปศึกษาเพลงชาติ เพลงปลุกใจ เพลงสดุดีต่างๆ นานา ไปนั่งสำรวจมิวเซียม ไปศึกษาประวัติศาสตร์ของประวัติศาสตร์แห่งชาติเพื่อจะบอกว่า เรื่อง "ชาติ" มันเหลวไหลทั้งเพ อย่าไปยึดติดกับมัน ที่สำคัญ "อย่าไปตายเพื่อมัน"!!!
หลัง จากยุคแห่งความเป็น "ชาติ" ที่ต้องการการอุทิศ เสียสละ ความสามัคคี ความภูมิใจ เราได้เริ่มต้นที่จะอยู่กับ "ชาติ" ในแบบที่ "ชาติอย่างเป็นทางการ" ศักดิ์สิทธิ์น้อยลง อนุสาวรีย์ต่างๆ นานา มีความน่าขบขันมากขึ้น เราสบายใจกับการล้อเลียน เย้ยหยันชาติของตน เราสนุกกับคุณค่าของสิ่งที่เคยถูก "สถาบันชาติ" เหยียดหยามว่า "ไร้ค่า" ขึ้นมาเชิดชู และเราได้ทำอะไรอีกหลายอย่างรวมถึงสิ่งที่เป็นรูปธรรมอย่างที่สุดคือการเกิด ขึ้นของกลุ่มยูโรทั้งสกุลเงินและการทำวีซ่าสำหรับการเข้ายุโรปครั้งเดียวได้ หลาย "ชาติ"
แต่ นั่นเป็นเรื่อง "ชาติ" ที่อื่น เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมไทยคือเรากลับต้องเดินย้อนรอยไปหายุคสร้าง "ชาติ" อีกครั้งแล้วบอกว่า "ช่วยกลับมาดูหน่อยว่า "ชาติ" นี้สำคัญและมีความหมายแค่ไหน"
ในขณะ ที่ โลกอื่น ชาติอื่น ให้ความสำคัญกับวันชาติน้อยลงเรื่อยๆ หากวันชาตินั้นไม่เกี่ยวกับการประกาศเอกราช อิสรภาพหรือการการปฏิวัติแตกหักกับระบอบเก่า หลายๆ ชาติๆ ไม่มีวันชาติ เช่น เดนมาร์ก มีแต่วันรัฐธรรมนูญ แต่ในสังคมไทย
พวกเรากลับต้องสะกดรอยไปค้นหาวันชาติในอดีตเพื่อจะสอบทานความถูกต้องและชาติที่เราปรารถนา
อุดมการณ์ ที่มาพร้อมกับการ "สร้างชาติ" เช่น หลัก 6 ประการของคณะราษฎร คือ "เอกราช ปลอดภัย เศรษฐกิจ เสมอภาค เสรีภาพ การศึกษา" เป็นคุณค่าที่คนเกิดหลังปี 2500 ไม่เคยได้ยินอีกต่อไปและไม่เคยรู้ว่ามันเคยเป็นคุณค่าสถาปนาให้กับ "ชาติไทย" (ชาติไทยในฐานะที่เป็นรัฐชาติสมัยใหม่) ที่เพิ่งจะถือกำเนิดขึ้นหลังปี 2475 ทั้งไม่เคยได้ยินคำว่า "หน้าที่ที่สำคัญที่สุดของประชาชนไทยคือการพิทักษ์รัฐธรรมนูญ"
จาก นั้นจึงไม่เคยรู้ว่าเราเคยมีอนุสาวรีย์ที่ชื่อ "อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ" อันประชาชนชาวไทยปัจจุบันเรียกว่าอนุสาวรีย์หลักสี่ และเกือบจะเดาเอาเองว่า อนุสาวรีย์หลักสี่นี้อาจสร้างเป็นอนุสรณ์สถานให้กับคนสร้างถนนหลักสี่หรือ เปล่าวะ?
ทำไม จึงมีอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ เพราะรัฐธรรมนูญนั้นเป็นกฎหมายสูงสุดของชาติที่มาจากสภาผู้แทนราษฎร เมื่อราษฎรหรือประชาชนสำคัญที่สุดในชาติ ใครก็ย่อมไม่มีสิทธิละเมิดอำนาจสูงสุดของราษฎร และกฎหมายที่มาจากราษฎร
กลุ่ม กบฏบวรเดชคือกลุ่มที่พยายามก่อการ "ฉีกรัฐธรรมนูญ" ของราษฎร พวกเขาจึงถูกรัฐบาลในขณะนั้นปราบปราม มีตำรวจและทหาร 17 นายเสียชีวิตในคราวปราบกบฏบวรเดช จึงมีการสร้างอนุสาวรีย์เพื่อเป็นเกียรติแก่ทหารและตำรวจที่ปกป้อง พิทักษ์รัฐธรรมนูญ
ใน ปัจจุบันสมัยของพวกเราก็อาจต้องมีการสร้างอนุสาวรีย์ให้กลุ่มคนที่ออกมาปก ป้องรัฐธรรมนูญเช่นกัน เพียงแต่รัฐธรรมนูญที่พวกเขาปกป้องนั้นเป็น "รัฐธรรมนูญปลอม" เพราะเป็นรัฐธรรมนูญที่มาจากการโค่นอำนาจของประชาชน และฉีกรัฐธรรมนูญของประชาชนทิ้ง
ประชาชน ไทยที่เกิดหลังปี 2500 จึงไม่รู้ว่าเราเคยมีวัดชื่อ "วัดประชาธิปไตย" ตั้งมันซื่อๆ โต้งๆ อย่างนี้ให้สมกับเป็นชาติใหม่ ชาติใหม่ต้องการคุณค่าแบบใหม่ และคุณค่าที่คณะราษฎรหวังจะเพาะไว้ในแผ่นดินไทยคือคุณค่าของประชาธิปไตย สิทธิ เสมอภาค เสรีภาพเป็นหลักไว้ให้ประชาชนไทยจึงสร้างวัดของระบอบการปกครองใหม่ของเราว่า "วัดประชาธิปไตย"
แต่มันคงเป็นชื่อ radical เกินไปจึงกลายเป็นวัดที่เรารู้จักกันในชื่อ "วัดพระศรีมหาธาตุบางเขน" ในปัจจุบัน
เรา ยังมีร่องรอยของชื่อถนนที่มีร่องรอยของการให้ความสำคัญกับประชาธิปไตยและ ประชาชน เช่น ประชาราษฎร์บำเพ็ญ, ประชาอุทิศ หรือในสมุดแจกตามโรงเรียนในสมัยที่รัฐบาลของฝ่ายคณะราษฎรยังไม่ถูกโค่นล้ม ทำลายนั้น บนสมุดยังเขียนว่า "สมุดนี้พิมพ์จากภาษีราษฎร" อันตรงกันข้ามกับชื่อถนน และสาธารณสถานต่างๆ ที่ถูกตั้งชื่อหลัง 2500
สาหัส กว่านั้น ล่าสุดฉันเข้าห้องน้ำที่หอประชุมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เจอป้ายเขียนว่า "กระดาษชำระเป็นทรัพย์สินของราชการ โปรดใช้อย่างประหยัด"
โอ้โห...ตกลงวันนั้น พยายามดึงชายเสื้อลงไปเช็ด ไม่กล้าแตะต้องทรัพย์สินของทางราชการเลย-ใหญ่โตเหลือกำลัง
อยู่ๆ ประชาชนก็หายไปจาก "ชาติ" เหลือแต่ "ราชการ" อยู่ๆ ทรัพย์สินของราชการก็ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับภาษีของราษฎร อยู่ๆ การสถาปนาสร้างชาติอันมีหลักยึดอยู่ประชาชนอันเรียกกันว่า ประชาธิปไตยก็หายไปจากสังคมไทย
วัน ที่ 24 มิถุนายน กลายเป็นวันธรรมดาๆ วันหนึ่งที่ไม่มีความหมายอะไรเลยมานานหลายทศวรรษ ไม่เพียงแต่กลายเป็นวันธรรมดาๆ วันหนึ่งที่ไม่สลักสำคัญอะไร ยังถูกบิดเบือนความหมายให้กลายเป็นเพียงวันที่ "คณะบุคคลคณะหนึ่งบังอาจฯ" ทั้งยังมีการตอกย้ำความรู้เรื่องว่าการสละราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระปก เกล้าเจ้าอยู่หัวนั้นเพื่อคืนอำนาจให้ปวงชนชาวไทยมิใช่ให้ "กลุ่มคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง"
การ อ้างพระราชดำรัสอย่างปราศจากบริบททำให้ คณะราษฎร กลายเป็น "ผู้ร้าย" ในประวัติศาสตร์ฉบับที่เป็น "ทางการ" และ จอมพล ป. พิบูลสงคราม อันเป็นผู้นำที่มีความเป็นประชาธิปไตยและ "รักชาติ" (ไม่ว่าจะในความหมายบวกหรือลบ) มากที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ไทย กลายเป็น ฟาสซิสต์จากปลายปากกาของนักประวัติศาสตร์ของ "ราชการ"
ประชาธิปไตย กลายเป็นสิ่งแปลกปลอม การเปลี่ยนแปลงการปกครองกลายเป็นเรื่องของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ทั้งที่ในงานวิจัยเรื่อง การปฏิวัติสยาม 2475 ของ นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ เสนอไว้ชัดเจนว่าปราศจากความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และภูมิปัญญาของชนชั้นกลางไทยที่เกิดใหม่หลายสิบปีก่อน 2475 การเปลี่ยนแปลงการปกครองจากคณะผู้ก่อการ 100 คนจะไม่มีวันสำเร็จ
ปราศจาก การเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงในวงการวรรณกรรม สิ่งพิมพ์ หนังสือพิมพ์ และสิทธิสภาพนอกอาณาเขตที่ทำให้บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิ ราชย์ล้วนแต่เป็นบุคคลในบังคับอังกฤษหรือฝรั่งเศส ทำให้พวกเขาไม่ต้องขึ้นศาลไทย เป็นเหตุให้หนังสือพิมพ์สมัยนั้นสามารถวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลได้อย่างตรงไป ตรงมาและเผ็ดร้อนอย่างยิ่ง
วัฒนธรรม การอ่าน และการวิพากษ์วิจารณ์อย่างเปิดเผยที่เกิดขึ้นนับสิบปีก่อนการเปลี่ยนแปลงการ ปกครองคือปัจจัยที่ทำให้คณะราษฎรเปลี่ยนแปลงการปกครองสำเร็จ มิใช่ด้วยความเก่งกล้าหาญของผู้นำคณะราษฎรเพียงลำพัง
แต่ความเข้าใจเช่นนี้ก็ถูกทำให้ "หาย" ไปจากสังคมไทยแล้วแทนที่ด้วยวาทกรรม "คนไทยยังโง่ ยังไม่พร้อม สำหรับประชาธิปไตย"
แม้ ว่าฉันจะอยากไม่ "รักชาติ" ให้สมกับที่เกิดมาในโลกยุคหลังสมัยใหม่ แต่การที่เราจะไม่รักชาติได้นั้นเราต้องมี "ชาติ" ให้ปรากฏเสียก่อน (หากไม่มีวัตถุใดวัตถุหนึ่งปรากฏอยู่ เราคงไม่สามารถบอกว่าเราจะรักมันหรือไม่รักมัน)
ดัง นั้น ฉันจึงดีใจที่มีการก่อตัวของคณะราษฎรที่ 2 ที่เขาจะนำความหมายของการสถาปนาชาติของคณะราษฎรเมื่อปี 2475 กลับมาสู่สังคมไทยอีกครั้ง
ป๋าส.:ปรีดีกับพระเจ้าตาก,พระราชหัตถเลขาสละราชสมบัติ และอนาคตสถาบันกษัตริย์หลังรัชกาลปัจจุบัน
ที่มา Thai E-News
ที่มา facebook Sulak Sivarak
---เมื่อ ส.ศิวรักษ์ พบ ปรีดี พนมยงค์(2)---
ขำที่ข้าพเจ้าพูดกับท่านว่า "อาจารย์เคยคิดบ้างหรือเปล่าว่า อาจารย์เหมือนพระเจ้าตากสินที่กอบกู้เอกราชมาเมื่อพระชนม์ยังน้อย แล้วเสวยราษฎร์อยู่ 15 ปีก็ถูกปลงพระชนม์ อาจารย์ก็กู้เอกราชมาและอยู่ในอำนาจ 15 ปีเท่ากัน โดยที่ตอนอาจารย์ถูกเอาออกนั้น อายุเท่ากับพระเจ้าตากสินพอดี นับว่ายังดีที่อาจารย์มีชีวิตรอดมาได้จนป่านนี้" ท่านบอกว่า "เรื่องนี้ผมไม่เคยคิดเทียบกับพระองค์ท่าน และที่คุณใช้คำว่า ผมอยู่ในอำนาจนั้นก็ออกจะใหญ่โตเกินไป ใช้คำว่าผมมีโอกาสรับใช้ชาติบ้านเมืองจะดีกว่า"
(เรื่องนายปรีดีฯ ตามทัศนะ ส.ศิวรักษ์ น.94)
ขำที่ข้าพเจ้าพูดกับท่านว่า "อาจารย์เคยคิดบ้างหรือเปล่าว่า อาจารย์เหมือนพระเจ้าตากสินที่กอบกู้เอกราชมาเมื่อพระชนม์ยังน้อย แล้วเสวยราษฎร์อยู่ 15 ปีก็ถูกปลงพระชนม์ อาจารย์ก็กู้เอกราชมาและอยู่ในอำนาจ 15 ปีเท่ากัน โดยที่ตอนอาจารย์ถูกเอาออกนั้น อายุเท่ากับพระเจ้าตากสินพอดี นับว่ายังดีที่อาจารย์มีชีวิตรอดมาได้จนป่านนี้" ท่านบอกว่า "เรื่องนี้ผมไม่เคยคิดเทียบกับพระองค์ท่าน และที่คุณใช้คำว่า ผมอยู่ในอำนาจนั้นก็ออกจะใหญ่โตเกินไป ใช้คำว่าผมมีโอกาสรับใช้ชาติบ้านเมืองจะดีกว่า"
(เรื่องนายปรีดีฯ ตามทัศนะ ส.ศิวรักษ์ น.94)
...........
แล้วที่ว่ารัชกาลที่7 บอกว่าท่านให้อำนาจแก่ราษฎรนั้น คุณต้องเข้าใจนะ
อันนั้นเป็นลายพระราชหัตถ์ ตอนสละราชสมบัติ ท่านทิ้งไพ่ใบสุดท้าย
ในเกมการเมือง อ่านหนังสือต่างๆก็ต้องใช้ความรอบคอบ ความระมัดระวัง
อย่าตีประเด็นอะไรง่ายๆ
"ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่สละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่แต่เดิมให้แก่ราษฎรโดยทั่ วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนา จทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ ผู้ใด คณะใด โดยฉะเพาะ เพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิข าด และโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริ งของประชาราษฎร"
พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว, 2 มีนาคม 2477
แถลงการณ์เรื่องพระบาทสมเด็ จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสละราชสมบัติ
ที่มา : พระราชหัตถเลขาสละราชย์ ร.7: ชีวประวัติของเอกสารฉบับหนึ่ง http:// somsakwork.blogspot.com/ 2010/03/7_03.html
Is this country ready to have some sort of representative Government ?
(ประเทศนี้พร้อมแล้วหรือยังที่จะมีการเปลี่ยนแปลงการปก ครองแบบมีผู้แทน ?)
"My personally opinion is an emphatic No."
"ตามความเห็นส่วนตัวข้าพเจ้าแล้ว ข้าพเจ้าขอย้ำว่า ไม่”
พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว, 23 July 1926
พระราชกระแสตอบคำถามพระยา กัลยาณไมตรี ที่ปรึกษากฎหมายอเมริกัน
ที่มา : “Problems of Siam”, “King Prajadhipok Memorandum to
Dr.Sayre”(23 July 1926) อ้างใน “คว่ำปฏิวัติ-โค่นคณะราษฎร การก่อตัวของ
“ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระม หากษัตริย์เป็นประมุข” นิตยสารฟ้าเดียวกัน หน้า ๑๐๘-๑๐๙ อ้างถึงใน http://www.netiwit.com/ index.php?lite=article&qid= 41968178
.............
ถาม: อ.ครับอ.มองอนาคตสถาบันพระมหากษัตริย์หลังรัชกาลปัจจุบันยังไงบ้างครับ
ส.ศิวรักษ์: อนาคตขึ้นอยู่กับปัจจุบัน ถ้าสภาพในปัจจุบันนั้น สถาบันฯเอื้ออำนวยความสุขของราษ ฎรมากเท่าไร สถาบันพระมหากษัตริย์โปร่งใสมาก เท่าไร ตรวจสอบได้มากเท่าไร มีการวิพากษ์วิจารณ์ได้มากเท่าไ ร
สถาบันนี้ก็จะสืบต่อไป อย่างรัชกาลต่อๆไป อย่างมั่นคงถาวร
แต่ถ้าเผื่อสถาบันฯในปัจจุบันนี้ ไม่โปร่งใส เปิดให้มีอภิสิทธิ์ต่างๆ
ให้มีการจับผู้คน โดยอ้างมาตรา112 เหล่านี้จะทำให้สถาบันฯสั่นคลอน อย่าง
กรณีของประเทศเยอรมันนั้น พระเจ้าไกรเซอร์ที่2 เป็นใหญ่
ใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ มากมาย จับคนมากมาย
สถาบันกษัตริย์ของเยอรมันก็ปลาศ นาการไป ดูจากอดีตแล้ว ให้มาดูปัจจุบัน ผมอยากจะเห็นสถาบันพระมหากษัตริ ย์นั้น ดำรงคงอยู่ได้ต่อไป ชั่วกาลนาน แต่จะดำรงคงอยู่ได้ก็ต้องประกอบ ไปด้วยธรรมะ ประกอบไปด้วยความยุติธรรม ประกอบไปด้วยผู้ที่ดำรงตำแหน่งพ ระมหากษัตริย์ ต้องทรงไว้ด้วยความอ่อนน้อมถ่อม ตน ทรงไว้ซึ่งเป็นสัญญลักษณ์ของประ เทศชาติ ไม่ใช่มีอภิสิทธิ์ต่างๆ
...........
ส.ศิวรักษ์: อนาคตขึ้นอยู่กับปัจจุบัน ถ้าสภาพในปัจจุบันนั้น สถาบันฯเอื้ออำนวยความสุขของราษ
...........
เส้นทางประชาธิปไตยไทย127ปี
ที่มา Thai E-News
โดย อนัตตา
1) การเรียกร้อง
ให้เปลี่ยนแปลงระบบบริหารประเทศ รศ.103 หรือพ.ศ.2428 เมื่อ127ปีก่อน ในสมัยรัชกาลที่ 5
2)
กบฎ รศ.130 หรือพ.ศ.2455 หรือ 100 ปีก่อน ในสมัยรัชกาลที่6
3) “คณะราษฎร”
ยึดอำนาจ จากกษัตริย์สำเร็จ วันที่24 มิถุนายน
2475 หรือ 80 ปีก่อน ในสมัยรัชกาลที่7 สถาปนา “ ประชารัฐ ”
“ ราษฎรทั้งหลายพึงรู้เถิดว่า
ประเทศเรานี้เป็นของราษฎร ไม่ใช่ของกษัตริย์ตามที่เขาหลอกลวง.”
สถาปนา “ อำนาจสูงสุดของประเทศนั้น เป็นของราษฎรทั้งหลาย”
4) เหตุการณ์หลังจากนั้นต่อมา จนถึงปัจจุบัน
ความพยายามทำลาย
“อำนาจสูงสุดของประเทศนั้น
เป็นของราษฎรทั้งหลาย”
เอกสารศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม :
สุพจน์ แจ้งเร็ว
: 2524
พระองค์เจ้าปฤษฎางค์
ชัยอนันต์ สมุทรวณิช
: 2523 การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไทย 2411-2475
อัจราพร กมุทพิสมัย
: 2440 กบฎรศ.130 กบฎเพื่อประชาธิปไตย แนวคิดทหารใหม่
ชาญวิทย์
เกษตรศิริ ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ :2547
ปฎิวัติ 2475
เบนจามิน
เอ บัทสัน มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ แปล : อวสานสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในสยาม
ปรีดี
พนมยงค์ :
2515 บางเรื่องเกี่ยวกับการคณะราษฎร
และระบอบประชาธิปไตย, บันทึกนักปฎิวัติไทย
สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ : 2550
สายธารประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยไทย
, แผนชิงชาติไทย
สุพจน์ ด่านตระกูล
: 2544 พระปกเกล้ากับคณะราษฎร, อนุสรณ์ สุพจน์ ด่านตระกูล
บุญร่วม
เทียมจันทร์ : คดีประวัติศาสตร์
ลอบปลงพระชนม์ ร. 8
ประกาศคณะราษฎรฉบับที่1
ลงวันที่ 24 มิถุนายน พ ศ. 2475
ความนำ
เมื่อคณะราษฎรยึดอำนาจการปกครองจากกษัตริย์ได้แล้ว
ได้ประกาศใน ประกาศคณะราษฎรฉบับที่1ว่า
“ราษฎรทั้งหลายพึงรู้เถิดว่า
ประเทศเรานี้เป็นของราษฎร ไม่ใช่ของกษัตริย์ตามที่เขาหลอกลวง”
และได้ประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองฉบับแรก
ของประชาชน ลงวันที่ 27 มิถุนายน 2475 โดยกษัตริย์เป็นผู้ลงนาม ในมาตรา1 ประกาศว่า
“ อำนาจสูงสุดของประเทศ
นั้น เป็นของราษฎรทั้งหลาย”
ชาติสยามจึงเข้าสู่ ภพใหม่ ชาติใหม่ โดยสมบูรณ์
นับแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
จนถึงปัจจุบันนี้
แต่ !! “อำนาจสูงสุดของประเทศนั้น เป็นของราษฎรทั้งหลาย.” ยังไม่สามารถเป็นจริงได้ แม้วันนี้
จะอยู่ใน
พ ศ.255 ยาวนานถึง 80 ปี หลังการประกาศสถาปนาไปแล้วก็ตาม
“.. การต่อสู้เพื่อเปลี่ยนแปลงอำนาจการปกครองชาติสยาม
เป็นสายธารที่ต่อเนื่อง เป็นสายธารเดียวกัน เป็นการส่งต่อภารกิจทางประวัติศาสตร์
จากสามัญชน สู่สามัญชน..”
ดังที่
นายปรีดี พนมยงค์ ได้กล่าวแก่
ขุนทวยหาญพิทักษ์หัวหน้าคณะผู้ก่อการ ร ศ.130 ว่า
“ผมถือว่าการปฏิวัติครั้งนี้
เป็นการกระทำต่อเนื่องกันมาจาก การกระทำเมื่อ ร ศ.130”
1
พระยาพหล
พลหยุหะเสนาหัวหน้าคณะผู้ก่อการ
พ ศ.2475
ที่กระทำการสำเร็จ ได้กล่าวแก่ขุนทวยหาญพิทักษ์หัวหน้าคณะผู้ก่อการ
ร ศ.130
ที่กระทำการไม่สำเร็จว่า “
ถ้าไม่มีคณะคุณ ก็เห็นจะไม่มีคณะผม
”
การส่งต่อภารกิจทางประวัติศาสตร์
จากสามัญชน สู่สามัญชน วันนี้ได้ส่งต่อมา
ถึงมือสามัญชนในยุคโลกไร้พรมแดนแล้ว
แต่ประชาธิปไตยยังไม่เป็นจริง ปัญหาในวันนี้
เกิดจากข้อเท็จจริง ดังต่อไปนี้
“นักการเมือง
นักวิชาการ สื่อมวลชน อดีตผู้นำมวลชน ข้าราชการ ตุลาการ
และทหาร ซึ่ง ชาติตระกูล ก็เป็นราษฎรธรรมดา และมีสถานภาพทางสังคมจากการที่ประชาชนให้ความไว้วางใจ
หรือเป็นพลังสนับสนุนถึงกับยอมเสียสละชีวิตเข้าร่วมต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในอดีต
วันนี้ กลับหลงตนเอง เห็นแก่ตัว
ขายตัว ขายวิญญาณ และหักหลังประชาชน กลับมาเป็นผู้ทำลาย“อำนาจสูงสุดของประเทศนั้น เป็นของราษฎรทั้งหลาย”เสียเอง
โดยชนชั้นสูงใช้เล่ห์กลเข้าหา ทำงานความคิด และป้อนสิ่งเสพติดให้คนกลุ่มนี้
คือ “ให้เสพติด ความเป็นอภิสิทธิ์ชน แบบชนชั้นสูง”
ซึ่งเลิกยากกว่า การเลิกเสพยาเสพติด หรือเอาผลประโยชน์มาล่อ เมื่อได้ร่วมเสพประโยชน์
จึงไปร่วมมือกับชนชั้นสูง และสะท้อนทัศนะแบบชนชั้นสูง กลับมาดูถูกเหยียดหยามประชาชน
ว่าเป็นควาย โง่ เลว และเห็นแก่เงิน โดยฝึกหัดลีลาวาทะกรรมที่หลอกลวงประชาชน เลียนแบบชนชั้นสูง
และเลยเถิดไป ถึงกับสอพลอ จินตนาการไปไกล เกินกว่าพระราชา
วันนี้ สามัญชนที่
ยังซื่อตรงต่อแนวทางประชาธิปไตย
ที่มั่นใจในอำนาจสูงสุด ของประเทศ ต้องเป็นของประชาชน จะต้อง รู้เท่าทันนักมายากลทางการเมือง
และเปิดโปงสามัญชนที่หักหลังประชาชน
โดยการทำความเข้าใจกับประวัติศาสตร์
ติดอาวุธทางความคิด และขยายความคิดให้มากที่สุด เพื่อการรับช่วงต่อ ภารกิจทางประวัติศาสตร์
มาดำเนินการให้สำเร็จลุล่วง ต่อไป ”
ต่อไปนี้ คือความรู้
เรื่อง เส้นทางประชาธิปไตยไทย 123 ปี
เส้นทางประชาธิปไตยไทย 127 ปี เพื่อ
“อำนาจสูงสุดของประเทศ
เป็นของประชาชน”
นับแต่มีการลงนามสนธิสัญญาบาวริ่งกับอังกฤษในสมัยรัชกาลที่4 เมื่อวันที่ ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๓๙๘ ชาติสยามก็อยู่ในสภาพบังคับ ให้ต้องทำสนธิสัญญากับมหาอำนาจตะวันตกอีกหลายประเทศ
โดยยึดสนธิสัญญาบาวริ่งเป็นต้นแบบ สนธิสัญญาเหล่านี้สมบูรณาญาสิทธิราชไทยเป็นฝ่ยเสียประโยชน์เพราะมีอำนาจต่อรองน้อยกว่า ในปีถัดมาชาติสยามได้ทำสนธิสัญญา แฮริส
กับสหรัฐอเมริกา และ สนธิสัญญา มอง ติญ ญี กับ ฝรั่งเศส
ต่อจากนั้นก็ได้ทำสัญญากับ เดนมาร์ก
โปรตุเกส ญี่ปุ่น รัสเซีย และประเทศยุโรปอีกหลายประเทศ
ผลที่เกิดขึ้น ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตชาวบ้านที่สำคัญ คือ การเพาะปลูกเพื่อการส่งออกขยายตัวมาก อย่างไม่เคยมีมาก่อน ที่ดินจึงมีความสำคัญต่อการสร้างความมั่งคั่ง
พวกเจ้าและขุนนางที่มีอำนาจ
ร่วมกับคหบดี ได้ใช้อำนาจและความได้เปรียบชาวบ้านที่ถูกทอดทิ้งไม่ให้มีการศึกษา
เข้ากว้านยึดครองที่ดิน
เป็นเจ้าที่ดินใหญ่ ทำให้ชาวบ้านกลายเป็นคนไร้ที่ทำกิน
ในภาคกลางราษฎรร้อยละ36ไม่มีที่ดินทำกิน มีหลายๆพื้นที่ชาวบ้านเกือบร้อยละ80ไม่มีที่ดินทำกิน
ชาวบ้าน นอกจากจะถูกมองไม่เห็นว่าเป็นคน เป็นเพียงทาส เป็นไพร่
เป็นขี้ข้า และ ถูกกดขี่ขูดรีดมาแต่โบราณแล้ว ยิ่งถูกแย่งชิงที่ทำกินหนักขึ้นไปอีก
จากสภาพการณ์ดังกล่าว และการเกิดปัญหาทางเศรษฐกิจในยุคต่อๆมา ทำให้เกิดแรงผลักดันที่จะเปลี่ยนแปลงระบบการเมืองจากภายในชาติสยามเอง คือ
1
ขุนนางเชื้อพระวงศ์เอง หลายคนรู้แล้วว่า จำเป็นต้องเปลี่ยนระบบบริหารประเทศให้ก้าวหน้า
และมีประสิทธิภาพ มากขึ้น แบบยุโรป มิฉะนั้นชาติสยามจะดำรงอยู่ได้ยาก
2
การเกิดสามัญชนขึ้นเป็นคหบดี
เป็นชนชั้นกลางยุคแรกๆ และพยายามให้ลูกหลานไต่เต้าทาง การศึกษา และเห็น
ความสำคัญของการมีอำนาจทางการเมือง
3 ชาวบ้านที่ เป็นไพร่ เป็นข้าทาส เป็นขี้ข้า ต้องเป็นผู้รับกรรม
รับความอดอยาก ยากแค้น อย่างแสนสาหัสไว้ทั้งหมด
โดยชนชั้นสูงยังสุขสบายดีอยู่ จากการผ่องถ่ายปัญหามาให้ชาวบ้าน นำมาซึ่งการดิ้นรนของ คนที่ถูกกดขี่ขูดรีด
ต้องการเปลี่ยนแปลงชาติสยามให้พันจากการ
เอารัดเอาเปรียบจากพวกชนชั้นสูง เพื่อให้อำนาจทางการเมือง
ตอบสนองชีวิตชาวบ้านให้ดีขึ้น
ให้เห็นชาวบ้านเป็นคน มิใช่สัตว์เดรัจฉาน
---------------------------------------------
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
มีดังนี้ :
เหตุการณ์ที่ 1) การเรียกร้อง
ให้เปลี่ยนแปลงระบบบริหารประเทศ รศ.103
ตรงกับพศ.2428 ในสมัยรัชกาลที่ 5
:การเรียกร้องของขุนนางเชื้อพระวงศ์ ที่เห็นปัญหา
และรู้ว่าประเทศจำเป็นต้องเปลี่ยนระบบ
ในสมัยรัชการที่5
อิทธิพลของตะวันตกส่งผลกระทบกับประเทศสยามรุนแรงขึ้น
บีบให้สยามต้องปรับระบบการบริหารประเทศที่ล้าหลังให้ทันสมัยขึ้น ซึ่งวันนั้นยังไม่มีคำว่า “ประชาชน”
ชาวบ้านจะเป็น“ ไพร่” เป็น“ข้าทาส”เป็นเพียงสมบัติของพวกเจ้าและขุนนาง มีความเป็นมนุษย์ต่ำกว่าชนชั้นสูงซึ่งมีจำนวนไม่ถึงร้อยละ1
เท่านั้น ชาวบ้านต้องทำการผลิตเลี้ยงชนชั้นสูง แต่ไม่มีสิทธิทางการเมือง เมื่อชาติสยามเกิดปัญหาเศรษฐกิจเป็นระยะๆ
ชนชั้นสูงผ่องถ่ายปัญหามาให้ชาวบ้าน
แต่ราชสำนักยังคงดำรงชีวิตสุขสบายดี
จนกระทั่งปลายรัชกาลที่ 5 ปัญหาเศรษฐกิจหนักหน่วงมาก และต่อเนื่องถึงรัชกาลที่6
และรัชกาลที่7 ตลอดยุคสมัย ทั้ง2 รัชกาล โดย
พวกไพร่ พวกข้าทาส
อดอยากยากแค้นแสนสาหัส ขุนนางที่ประจำอยู่ประเทศตะวันตกซึ่งเห็นระบบการปกครองที่มีประสิทธิภาพ
กว่า เห็นว่าชาติสยามต้องเปลี่ยนแปลงการปกครอง มิฉะนั้น จะดำรงอยู่ได้ลำบาก เป็นชนวนให้เกิดการโต้แย้งทางอุดมการณ์ขึ้น
@ การโต้แย้งทางอุดมการณ์ที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์
คือ “ความเป็นเจ้าของประเทศ”
เดือน
มกราคมรศ.103 ตรงกับพศ.2428 พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ อัครราชฑูตสยามประจำยุโรป รวบรวมรายชื่อ ขุนนางที่เห็นด้วย ร่างเอกสาร ยาวถึง60หน้า เสนอต่อรัชกาลที่5
ความตอนหนึ่งว่า
“แผ่นดินสยามเป็นของชาวสยามทั้งหมด ดังนั้นทุกคนต้องช่วยบำรุงชาติ มิใช่พระเจ้าอยู่หัวจะรับผิดชอบแต่เพียงพระองค์เดียว เห็นว่าระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ เป็นทางออกทางเดียวที่จะทำให้สยามพ้นจากภัยตะวันตกได้
เพราะมีการจำกัดอำนาจกษัตริย์ ทำให้การปกครองมีระเบียบแบบแผนด้วยรัฐธรรมนูญ
มีคณะรัฐมนตรีมาช่วยบริหารบ้านเมืองเช่นกษัตริย์ทั้งหลายในยุโรป …”
ขุนนางที่ร่วมเสนอคือ
กรมหมื่นนเรศร์วรฤทธิ์
พระองค์เจ้าโสณบัณฑิต
พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ
กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิธาดา กรมพระสวัสดิวัฒนวิศิษฏ์ นายนกแก้ว คชเสนี
หลวงเดชนายเวร(นามเดิม สุ่น
ศาตราภัย)
นายบุศย์ เพ็ญกุล
ขุนปฏิภาณพิจิต(นามเดิม หรุ่น) หลวงวิเสศสาลี(นามเดิม นาค) นายเปลี่ยน ซับเลฟเตอร์แนนต์
2
รัชกาลที่5 ตอบไปว่าราษฎรยังไม่พร้อมโดยอธิบายว่า
“
ในการปกครองกรุงสยามนี้ถ้าจะจัดการ อาศัยพระเจ้าแผ่นดินเป็นหลัก ให้เป็นไปตามความนิยมเก่า
จะง่ายกว่าการจัดการอย่างอื่น เพราะเป็นของพื้นเพมาแล้ว”
พระองค์เจ้าปฤษฎางค์และขุนนางที่ลงชื่อถูกเรียกตัวกลับ
และภายหลังต้องออกจากราชการ พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ต้องไปบวชเป็นพระอยู่ศรีลังกา
จนสิ้นรัชกาลที่ 5 แล้วจึงเดินทางกลับประเทศ
@ ผลที่เกิดขึ้น
รัชกาลที่5 จึงปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน สถาปนาสมบูรณาญาสิทธิราชย์ขึ้นอย่างสมบูรณ์แบบ เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ชาติไทย ตั้งคณะเสนาบดีขึ้นมาช่วยบริหารราชการ
สร้างระบบราชการรูปแบบใหม่ โดยใช้เจ้านาย และเชื้อพระวงศ์ใกล้ชิด เป็นผู้ควบคุมการบริหารงานทั้งระบบ เพื่อรวมศูนย์อำนาจทั้งสยามเข้าสู่กษัตริย์
ทำให้กษัตริย์ได้อำนาจสูงสุดของประเทศโดยสมบูรณ์
การเรียกร้องครั้งแรกจึงจบลงเพียงเท่านี้
-------------------
เหตุการณ์ที่ 2)
กบฎ
รศ.130 ตรงกับ พศ.2455 ในสมัยรัชกาลที่ 6 ห่างจากครั้งแรก 26 ปี
เกิดการต่อสู้ที่เข้มข้นขึ้นของ 2 แนวทางการต่อสู้ และ 2 อุดมการณ์
2
แนวทางคือ“แนวทาง
การร้องขอ”
ในร ศ.103 มาสู่“แนวทาง จะใช้กำลังเข้ายึดอำนาจ
จากกษัตริย์ ” ในรศ.130
2
อุดมการณ์คือ “กษัตริย์
กับ ชาติ เป็นคนละส่วนกัน” กับ “ชาติ ศาสน์ กษัตริย์” แยกจากกันไม่ได้
โดยที่รัชกาลที่6
สร้างอุดมการณ์“ชาติ ศาสน์ กษัตริย์”ขึ้นมาสู้
เพื่อปกป้อง และรักษาสถาบันกษัตริย์
โดยการเขียนบทความ บทกวี และบทละคร เผยแพร่อย่างจริงจัง จำนวนมาก เพื่อควบคุมระบบคิดของชาวบ้านและขุนนางทั้งระบบ
มีการ เผยแพร่บทความ จัดแสดงละครและบังคับให้เป็นบทเรียนในโรงเรียน
สถาบันทหาร เพื่อ ให้ขุนนาง และราษฎรรู้สึกว่า
ประเทศขาดกษัตริย์ไม่ได้ (
เป็นผลสำเร็จจนถึงปัจจุบันนี้แม้กระทั่งในหมู่นักวิชาการสามัญชนทั้งหลาย )
@ ผู้ริเริ่มก่อการใช้แนวทาง
“ ใช้กำลังเข้ายึดอำนาจสูงสุดของประเทศ จากกษัตริย์ มาเป็นของราษฎร” เป็นนายทหารชั้นผู้น้อย 3 คน
ที่เพิ่งจบจากโรงเรียนนายร้อยทหารบก ได้แก่ ร.ต.เหรียญ ศรีจันทร์ ร.ต.จรูญ
ษตะเมษ
และ
ร.ต.เนตร พูนวิวัฒน์
ต่อมาได้ชักชวนให้ ร.อ.ขุนทวยหารพิทักษ์ (เหล็ง ศรีจันทร์)
มาเป็นหัวหน้าคณะ
เป้าหมาย ของคณะทหารหนุ่มก็คือ
การมุ่งเปลี่ยนแปลงประเทศตามอุดมการณ์ประชาธิปไตย ด้วย เห็นว่าระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
ที่ให้อำนาจแก่กษัตริย์แต่เพียงผู้เดียวนั้น จะเป็นอุปสรรคเหนี่ยวรั้งการพัฒนาประเทศ
@
การเสนอแนวคิด ร.อ.ขุนทวยหารพิทักษ์
เสนอทัศนะไว้ว่า “การปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้นเป็น
วิธีที่ร้ายแรงมาก เพราะการที่กษัตริย์อยู่เหนือกฏหมาย
เอื้อให้กษัตริย์ จะทำการชั่วร้ายอย่างหนึ่งอย่างใด ก็ทำได้ ”
ร.ท. จรูญ ณ
บางช้าง เสนอทัศนะว่า “พระเจ้าแผ่นดินนั้นหาง่าย
แต่บ้านเมืองหายาก” ซึ่งเป็นการแสดงแนวคิดเกี่ยวกับชาติที่แยกจากกษัตริย์อย่างชัดเจน
คณะทหารกลุ่มนี้จึงวางแผนไว้ว่า ถ้าหากรัชกาลที่6ไม่ยินยอม ก็จะจับกุมตัวเพื่อบังคับให้มอบรัฐธรรมนูญและให้อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญหรือ
เปลี่ยนประเทศเป็นรีพลับริก (สาธารณรัฐ) นายทหารส่วนใหญ่ที่เข้าร่วมล้วนมีพื้นฐานจากสามัญชน
การชักชวนคนเข้าร่วมกระทำการหละหลวม มีคนนำความลับไปแจ้ง จนทราบถึงรัชกาลที่ 6
คณะทหารกลุ่มนี้จึงถูกจับกุมตัว
ถูกลงโทษจำคุก และโทษประหารชีวิต การต่อสู้ครั้งที่สองจึงจบลงเพียงเท่านี้
@ ผลของการก่อการ ทำให้รัชกาลที่ 6 กระชับอำนาจสมบูรณญาสิทธิราชย์มากขึ้น
โดยยังคงยืนยันว่า
ราษฏรไทยไม่พร้อมสำหรับประชาธิปไตย มีพระราชดำริว่า
“ระบอบกษัตริย์ทรงอำนาจสูงสุด
นั้นดีแล้ว เพราะมี ราชา เป็นสง่าแห่งแคว้น เป็นมิ่งขวัญของประเทศ
ประชาธิปไตยเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสมกับประเทศสยาม เพราะราษฏรไม่มีความรู้
สังคมสยามไม่คุ้นเคยกับการมีพรรคการเมืองหรือการเลือกตั้ง ”
@กรณีรัชการที่6 สร้างเมืองจำลองดุสิตธานี
นั้นเป็นเพียงการเล่นทดลองของพระองค์เพื่อสนุกกับข้าราชบริพาร มิได้ก่อให้เกิดผลกระทบใดๆ
ในทางการเมืองที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสู่ประชาธิปไตย ( ชัยอนันต์ สมุทรวณิช)
------------------------
เหตุการณ์ที่3) “คณะราษฎร” ยึดอำนาจ จากกษัตริย์สำเร็จ วันที่24 มิถุนายน 2475 ในสมัยรัชกาลที่ 7 ห่างจากเหตุการณ์
รศ.130 ราว 20 ปี
สามัญชนได้สถาปนา “ประชารัฐ” และ“อำนาจสูงสุดของประเทศนั้น เป็นของราษฎรทั้งหลาย”
จาก“แนวทาง การร้องขอ” ใน ร ศ.103
ไม่สำเร็จ ตามมาด้วย “แนวทาง จะใช้กำลังเข้ายึดอำนาจจากกษัตริย์ "ในรศ.130
แต่ไม่สำเร็จ มาสู่ “ความสำเร็จในแนวทางใช้กำลังเข้ายึดอำนาจจากกษัตริย์”
“สายธารการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองชาติสยาม เป็นสายธารที่ต่อเนื่อง เป็นสายธารเดียวกัน เป็นการส่งต่อภารกิจทางประวัติศาสตร์จากสามัญชน
สู่สามัญชน”
นาย
ปรีดี พนมยงค์
ได้กล่าวแก่ ขุนทวยหาญพิทักษ์หัวหน้าคณะผู้ก่อการรศ.130
ดังนี้
“ผมถือว่า การปฏิวัติครั้งนี้เป็นการกระทำต่อเนื่องกันมา จากการกระทำเมื่อ ร ศ.130”
พระยาพหล พลหยุหะเสนาหัวหน้าคณะผู้ก่อการ
พ ศ.2475
ที่กระทำการสำเร็จ ได้กล่าวแก่ ขุนทวยหาญพิทักษ์ หัวหน้าคณะผู้ก่อการ ร ศ.130 ที่กระทำการไม่สำเร็จ ดังนี้ “ ถ้าไม่มีคณะคุณ ก็เห็นจะไม่มีคณะผม”
@ สภาพการของชาติสยามที่นำมาสู่การยึดอำนาจจากกษัตริย์ จากระบบการเศรษฐกิจที่ล้าหลัง
ระบบการปกครองที่ล้าหลังไร้ประสิทธิภาพ และระบบสังคมที่ล้าหลังเหยียดหยามชาวบ้านว่าเป็นไพร่
เป็นข้าทาส เป็นขี้ข้า
ไม่เห็นว่าเป็นคน
และมีการับรู้ระบบการบริหารประเทศแบบตะวันตกที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า ประกอบกับปัญหาเศรษฐกิจที่กินระยะเวลายาวนาน โดยชนชั้นสูงผ่องถ่ายปัญหาทั้งหมดมาให้ราษฎร
ต้องอดอยาก ยากแค้นแสนสาหัส ทำให้เกิดกระแสความคิดเรื่องการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
มีการพูดคุยกันมากจนแทบจะเป็นเรื่องผิดปรกติ ในหมู่ผู้มีการศึกษา นักหนังสือพิมพ์
แม้ในหมู่เชื้อพระวงศ์บางคน แต่ขุนนางชั้นผู้ใหญ่เห็นว่าเป็นเรื่องของ เด็กที่ร้อนวิชา
ไม่เห็นว่าเป็นเรื่องจริงจังในระดับที่ต้องจัดการเด็ดขาด
หลายคนก็เป็นลูกของข้าทาสบริวาร แต่ความจริง
ข้าราชการชั้นผู้น้อย ทหารชั้นผู้น้อยคิดเปลี่ยนแปลงการปกครองอย่างจริงจัง และ จะทำให้สำเร็จ
@ การคิดก่อการเริ่มที่ปารีส นายปรีดี พนมยง และนายประยูร ภมรมนตรี
ที่เริ่มคิดก่อการ ได้ชักชวน รท.แปลก ขีตตะสังคะ เข้าร่วม การประชุมครั้งแรก
มีขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ 2468 ที่กรุงปารีส
โดยมีผู้เข้าร่วมอีก 4 คน คือ ร.ต.ทัศนัย มิตรภักดี นายตั้ว ลพานุกรม
นายแนบ พหลโยธิน
หลวงสิริราชไมตรี (จรูญ สิงหเสนีย์) ซึ่งเป็นนักเรียนนอก
รวม 7 คน
เมื่อกลับมารับราชการ ก็ขยายความคิด ชักชวนคนเข้าร่วม ซึ่งมีผู้เห็นด้วย
ทั้ง ทหารและพลเรือน เพราะพวกที่ไม่ใช่นักเรียนนอกนั้นก็คิดเช่นนี้เป็นจำนวนมาก
และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอยู่บ้างแล้ว โดยมีความเห็นว่าจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงการปกครอง
เพราะระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ก่อปํญหาไว้มากมาย
การชักชวนกันก่อการยึดอำนาจจนได้ผู้ร่วนขบวนการ102 คน ประกอบด้วย สายทหารบก 34นาย มีพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา
เป็นหัวหน้า สายทหารเรือ18 นาย มีนาวาตรีหลวงสินธุสงครามชัย
เป็นหัวหน้า สายพลเรือน
50นาย มีนานปรีดี พนมยง เป็นหัวหน้า คณะผู้ก่อการทุกสายได้เลือก
พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา ซึ่งอาวุโสสูงสุด คืออายุ 45 ปี เป็นหัวหน้าคณะผู้ก่อการ
@ เช้าตรู่ วันศุกร์ ที่
24 มิถุนายน 2475 ขณะที่รัชกาลที่7 ประทับอยู่ ณ.พระราชวังไกลกังวล หัวหิน คณะผู้ก่อการได้ทำการยึดอำนาจการปกครอง
โดยใช้เวลาปฏิบัติการอย่างรวดเร็วเพียง 3 ชั่งโมง ก็ควบคุมพระนครได้ทั้งหมด โดยตัดการสื่อสารทั้งหมดขององค์กรของรัฐจนเป็นอัมพาต
ที่สำคัญคือจับกุมเจ้านายเชื้อพระวงศ์
และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เป็นตัวประกัน บุคลที่สำคัญคือ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์พินิจ
ซึ่งมีตำแหน่งเป็นประธานอภิรัฐมนตรีสภา
เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยและผู้สำเร็จราชการรักษาพระนคร
มีบันทึกของชาวต่างชาติ ที่ติดตามเหตุการณ์การเมืองไทย บันทึกไว้ดังนี้
“..และการปฏิวัติก็สำเร็จเสร็จสิ้นภายในระยะเวลาไม่ถึง
24 ชั่วโมง รัชกาลที่7 กำลังเล่นกอล์ฟ
กับรำไพพรรณี และนายหน้าค้าอาวุธชาวอังกฤษในเช้าวันนั้น เมื่อได้ข่าวขณะอยู่หลุมที่แปด เขาหันไปพูดกับราชินีว่า “เห็นไหมล่ะฉันว่าแล้ว”....”
เมื่อคณะผู้ก่อการเข้ายึดอำนาจได้สำเร็จ พระยาพหลพลพยุหเสนา หัวหน้าคณะ เป็นผู้อ่าน “ประกาศคณะราษฎร”
ที่หลักหมุด หน้าพระที่นั่งอนันตสมาคม บริเวณพระบรมรูปทรงม้า ด้วย ถ้อยคำที่ดุดัน ซึ่งมีข้อความที่เป็น
การเปลี่ยนทัศนะที่สำคัญ อันดับหนึ่ง คือ
ความเป็นเจ้าของประเทศ ความตอนหนึ่งว่า
“…ราษฎรทั้งหลายพึงรู้ไว้เถิดว่า
ประเทศของเรานี้ เป็นของราษฎร
ไม่ใช่เป็นของกษัตริย์ ตามที่เขาหลอกลวง
บรรพบุรุษของราษฎรเป็นผู้กู้ให้ประเทศมีอิสระภาพ พ้นจากมือข้าศึก..” ตรงกับการเสนอของพระองค์เจ้าปฤษฎางค์และคณะ ที่เสนอต่อรัชกาลที่5 เมื่อรศ.103 ที่ว่า “..แผ่นดินสยามเป็นของชาวสยามทั้งหมด ..”
@
การประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองฉบับแรก ของประชาชน
ลงวันที่ 27 มิถุนายน 2475
3 วันหลังจากวันยึดอำนาจ ซึ่งกษัตริย์ เป็นผู้ลงนาม (แต่รัชกาลที่ 7 ต่อรองเพิ่มคำว่า ชั่วคราว ลงไป
)
มาตรา 1 “
อำนาจสูงสุดของประเทศนั้น เป็นของราษฎรทั้งหลาย”
จากวันนั้น จนถึงวันนี้
อำนาจสูงสุดของประเทศ ไม่ได้เป็นของ“กษัตริย์” อีกต่อไปแล้ว
สยามจึงเข้าสู่ ภพใหม่ ชาติใหม่ โดยสมบูรณ์
นับแต่บัดนั้นเป็นต้นมา จนถึงปัจจุบันนี้
โฉนดที่ดินสยามผืนนี้ ที่ราษฎรลงชื่อ
กษัตริย์เป็นเจ้าของมาช้านาน บัดนี้ราษฎรได้ดำเนินการเปลี่ยนชื่อ เจ้าของ
โดยลงชื่อราษฎรทุกคน ลงไปในโฉนด เรียบร้อยแล้วโดยสมบูรณ์
----------------------------------
4) เหตุการณ์หลังจากการประกาศ
“ความเป็นเจ้าของประเทศ”
และ “อำนาจสูงสุดของประเทศนั้น เป็นของราษฎรทั้งหลาย” ต่อมาจนถึงปัจจุบัน คือ การพยายามทำลาย ความเป็นเจ้าของประเทศของประชาชน และทำลาย “อำนาจสูงสุดของประเทศนั้น
เป็นของราษฎรทั้งหลาย”
สองประโยคนี้ เป็นประโยคที่หลอกหลอนฝ่ายอำนาจเก่า มาโดยตลอด
จึงพยายามแย่งอำนาจสูงสุดของประทศไปจากราษฎรตลอดเวลาจนถึงปัจจุบันนี้ ความพยายามโดยการ บิด
ภาษาทางกฎหมาย ให้เกิดความพร่ามัวในการกำหนดอำนาจสูงสุดของประเทศในรัฐธรรมนูญ หรือ เข้ายึดอำนาจเอาดื้อๆ โดยใช้กำลังทหารเผด็จการ
เนื่องจากเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงประเทศใหม่ ยากที่จะหาสามัญชน
ที่มีความรู้ความสามารถพอที่จะมาเป็นรัฐมนตรี หรือ
ข้าราชการระดับสูงได้ เพราะแต่โบราณมา ศักดินาจะปิดกั้นชาวบ้านไม่ให้มีการศึกษาสูง
กลัวว่าจะยากแก่การควบคุม ต้องการให้ดำรงสภาพไพร่ ข้าทาส ขี้ข้า กดข่มไว้ว่า“อย่าใฝ่สูงให้เกินศักดิ์” “ตักน้ำใส่กะโหลกชะโงกดูเงาหัว”
ขุนนางที่มีอิทธิพล ในการบริหารงานจึงยังเป็นเชื้อพระวงศ์
และขุนนางจากระบบเก่า ได้ใช้เล่ห์กล สร้างปัญหาให้คณะราษฎร อย่างหนัก
เพื่อหาโอกาสชิงอำนาจคืนจากราษฎร
โดยพยายาม “.ยุยงให้แตก
แยก ตอก ลิ่ม บิดเบือน
ก่อกวน ต่อรอง หลอกลวง และ กระทั่ง ใช้กำลังเข้ายึดอำนาจ
”
และหาทางฉุดรั้ง ทำลาย
การพัฒนาประชาธิปไตยดลอดเวลา
นายปรีดี
พนมยงค์
ได้เตรียมการไว้แล้ว
ที่จะก่อตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมืองให้เป็นตลาดวิชา เปิดประตูให้กว้างที่สุด
เพื่อให้ “สามัญชน”ได้เข้าถึงความรู้ระดับสูง เพื่อมาใช้อำนาจการบริหารประเทศ
ซึ่งเป็นของราษฎรแล้ว สามัญชนจะบริหารประเทศด้วยตัวเองแล้ว
@ วันที่10
ธันวาคม 2475 ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับถาวร
หลังการยึดอำนาจ 6 เดือน ซึ่งอำนาจเก่าใช้เล่ห์กล
ต่อรอง จนต้องเขียนรัฐธรรมนูญว่า“อำนาจอธิปไตยมาจาก
ปวงชนชาวไทย แต่กษัตริย์ เป็นผู้ใช้อำนาจ...”
โดย ไม่ระบุความเป็นเจ้าของ นี่คือการเริ่มทำลาย ความเป็นเจ้าของอำนาจสูงสุดของประชาชนเป็นครั้งแรก โดย วิธีการ
บิดภาษาทางกฎหมาย ทำให้พร่ามัว ทั้งๆที่
เขียนง่ายๆ นี่เป็นการเริ่มต้นใช้เล่ห์ ลวงตา พรางตา
เพื่อเปิดช่องให้มีโอกาสทำลาย
“อำนาจสูงสุดของประเทศนั้น
เป็นของราษฎรทั้งหลาย”อย่างมีเจตนา
@ กบฏบวรเดช 11 ตุลาคม 2476 ฝ่ายเจ้ายังไม่สิ้นความพยายาม
พระองค์เจ้าบวรเดช รวบรวมกำลังทหารจากนครราชสีมา สระบุรี และเพชรบุรี บุกเข้าพระนครจะยึดอำนาจคืน ขณะที่รัชกาลที่7 ได้เสด็จไปตั้งหลัก
ณ.พระราชวังไกลกังวล
หัวหิน ซึ่งภายหลัง พบบันทึกว่ารัชกาลที่7 ได้จ่ายเงินสองแสนบาทให้พระองค์เจ้าบวรเดชไปก่อนหน้านั้น
ฝ่ายคณะราษฎร ยกกำลังทหารเข้าปราบปราม ฝ่ายกบฎใช้เครื่องบินทิ้งระเบิดถล่มกรุงเทพฯ
กองกำลังหลักของทั้งสองฝ่าย ปะทะกันที่ ทุ่งดอนเมืองต่อถึงทุ่งบางเขน
การสู้รบใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ กองกำลังฝ่ายคณะราษฎรจึงปราบปรามกองกำลังฝ่ายกบฎได้สำเร็จ
บวรเดชหนีไปลี้ภัยที่อินโดจีนฝรั่งเศส (เวียตนาม) พันเอก
พระยาศรีสิทธิสงคราม(ดิ่น ท่าราบ) คุณตาของสุรยุทธ จุลานนท์ รองแม่ทัพถูกยิงเสียชีวิต มีการกวาดล้างจับกุมฝ่ายเจ้าอย่างหนัก จนเกิดตำนานนักโทษบน เกาะตะรุเตา และคณะราษฎรได้สร้างอนุสาวรีย์ปราบกบฏ
ไว้ที่ ทุ่งบางเขน บริเวณใกล้วัดประชาธิปไตย (ศรีมหาธาตุ)นี่คือความพยายามของฝ่ายเจ้า ที่ใช้กำลังทหารแย่ง อำนาจสูงสุดของประเทศไปจากราษฎร แต่ล้มเหลว
@ การสละราชสมบัติของรัชกาลที่7 1 ปีหลังจาก
ล้มเหลวจากความพยายามก่อกบฏต่อรัฐบาลฝ่ายราษฎร รัชกาลที่7ได้สละราชสมบัติโดยทางจดหมาย
ในขณะที่ประทับอยู่ที่ประเทศอังกฤษ โดยมีพระราชหัตถเลขาสละราชสมบัติ ลงวันที่ 2 มีนาคม 2477 เวลา13.45น. หลังจากที่ต่อรองกับรัฐบาลอยู่หลายเดือน
โดยใช้การสละราชสมบัติมาต่อรองเรื่อง อำนาจ
สิทธิ ทรัพย์สิน ผลประโยชน์ ของกษัตริย์
และการนิรโทษกรรมแก่ผู้ก่อการกบฏ (พระปกเกล้ากับคณะราษฎร) เมื่อการต่อรองไม่เป็นที่พอพระราชหฤทัย จึงสละราชสมบัติ และแสดงพระราชประสงค์ว่า “..ไม่มีความประสงค์ที่จะบ่งนามผู้หนึ่งผู้ใดให้เป็นผู้รับสืบสันตติวงศ์ต่อไป..” และต่อมารัฐบาล
ด้วยการเห็นชอบ จากรัฐสภาจึงได้อัญเชิญ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้า
อานันทมหิดล ขึ้นครองราชย์ เป็นรัชกาลที่8
ต่อมา
@ เหตุการณ์
รัชกาลที่8 ถูกลอบปลงพระชนม์ เมื่อรัชกาลที่7
สละราชสมบัติ ในวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 คณะรัฐบาล ด้วย ความเห็นจากรัฐสภา ได้อัญเชิญ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า อานันท มหิดลขึ้นครองราชย์ ขณะที่พระชนม์มายุ 9 พรรษา ขณะนั้นศึกษาอยู่ที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เมื่อขึ้นครองราชย์แล้วก็เสด็จกลับไปศึกษาต่อ
และประทับที่สวิสเซอร์แลนด์อย่างต่อเนื่องไม่ได้อยู่ในประเทศ ระหว่าง ครองราชย์ระยะเวลา12 ปี กลับประเทศเพียง2 ครั้ง ครั้งละ2-6เดือน ในพ.ศ. 2481 และ พ.ศ. 2488 และการกลับประเทศครั้งที่สองนี้
ได้ถูกลอบปลงพระชนม์ ขณะที่ทรงบรรทม อยู่ในพระที่นั่งบรมพิมาน
ในพระบรมมหาราชวัง
@ มีเสียงปืนดังขึ้น1นัด ในเช้าตรู่วันที่
9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 เวลาประมาณ 9.30 น.และรัชกาลที่ 8สิ้นพระชนม์
ทิ้งปริศนาไว้ให้สังคมไทย และประชาชนไทยต้องสืบค้นหาคำตอบต่อไป ซึ่งปัจจุบันความเจริญทาง
นิติวิทยาศาสตร์ก้าวหน้ามาก น่าจะสามารถที่จะวิเคราะห์ประเด็นสำคัญคือ ผู้ลั่นกระสุนนัดปริศนา
ได้ไม่ยากนัก (บุญร่วม เทียมจันทร์)
@ หลังจากนั้น ประทศไทยได้สู่ ยุคสมัยของรัชกาลที่9
จนถึงปัจจุบันนี้ สถาณการณ์ การฉุดกระชาก
ลากถู เพื่อทำลาย“ประเทศของเรานี้
เป็นของราษฎร”
“อำนาจสูงสุดของประเทศนั้น เป็นของราษฎรทั้งหลาย”
มีการทำรัฐประหารประมาณ
18 ครั้ง ร่างรัฐธรรมนูญมาแล้ว18ฉบับ โดยมี
“นักมายากลทางการเมือง”
อยู่เบื้องหลังขบวนการแย่ง อำนาจสูงสุดของประเทศ ไปจากประชาชนทุกเหตุการณ์ ไม่ว่าจะเป็น การรัฐประหาร2490 เหตุการณ์ 14 ตุลา2516 เหตุการณ์อำมหิต 6 ตุลาคม 2519 พฤษภาคม 2535 และรัฐประหาร19 กันยายน 2549 แต่ที่หลอกลวงที่สุดคือ การใช้เล่ห์
ในการแย่งอำนาจสูงสุดของประชาชน
ผ่านการร่างรัฐธรรมนูญ ให้อำนาจสูงสุดไปตกอยู่แก่
อภิสิทธิ์ชน มีการกระทำอย่างเป็นขบวนการ
ปฏิบัติการอย่างเป็นระบบ
และต่อเนื่องมาตลอด 80 ปี
กลุ่มนักมายากลทางการเมืองเหล่านี้
ใช้วิธีการ กล่าวร้ายใส่ความประชาชน ว่ายังโง่
ยังไม่พร้อมที่จะมีประชาธิปไตย ซึ่งใช้เป็นเหตุผลที่อมตะ
ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่5 อ้างกันมา
127 ปีแล้ว จนถึง พ
ศ.2555 ยังแสร้งมาตั้งคำถามว่า
“ประชาธิปไตย เหมาะกับประเทศไทยหรือไม่? ” เป็นการหาเหตุ
หาเรื่อง เจตนาทั้งสิ้น เพื่อ แย่งชิง อำนาจสูงสุดของประเทศ
ไปจากประชาชน
@ ปัญหาจากการใช้ทัศนะการมอง
แบบ “ยกตัวเองออกมา
อยู่สูงกว่าประชาชน แล้วมองประชาชนต่ำกว่า” คือ
ปัญหาของฝ่ายประชาธิปไตยของประชาชนในวันนี้
นักการเมือง นักวิชาการ
สื่อมวลชน ศิลปิน อดีตผู้นำมวลชน ข้าราชการ ตุลาการ และทหาร “
ซึ่ง ชาติตระกูล
ก็เป็นราษฎรธรรมดา” และมีสถานภาพทางสังคม
จากการที่ประชาชนให้ความไว้วางใจ หรือเป็นพลังสนับสนุนถึงกับยอมเสียสละชีวิตเข้าร่วมต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในอดีต
วันนี้ กลับหลงตนเอง เห็นแก่ตัว
ขายตัวขายวิญญาน และหักหลังประชาชน
ฝึกหัด ลีลาวาทะกรรมที่หลอกลวงประชาชน แบบชนชั้นสูง เลยเถิดไปถึงกับสอพลอ
จินตนาการ
ไปไกล เกินกว่าพระราชา เสนอคืนอำนาจให้กับระบบเก่าที่ประวัติศาสตร์ได้ก้าวข้ามไปแล้ว
คนเหล่านี้หลงผิด เคลิบเคลิ้มไปว่า
คำนำหน้านาม ศาสตราจารย์ ดอกเตอร์ อาจารย์ ว่า แสดงถึงความมีความคิดก้าวหน้า พวกนี้จึงหลงในอุปาทาน ทำให้ไร้ปัญญา จนไม่รู้ว่าตนเองได้ฮุบเหยื่อที่ล่อไว้ และตนเองได้ถูกกำหนดให้เป็นเป้าหมาย
จาก“นกต่อ”
และถูกทำให้“เป็นนกต่ออีกทอดหนึ่ง”ใช้วิธีการสร้างบุญคุณและมาทวง“ข้าวแดงแกงร้อนที่ราดหัว” ทำให้เกิด“จิตสำนึกทาสไพร่”ขึ้นในตน
ทั้งๆที่คนเหล่านี้มิได้เกิดในยุคสมัยนั้น
จึงยอมกระทำอัตวินิบาตกรรมหมู่ ต่อเกียรติยศศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ของตนเอง
ปัญญามืดบอดลืมแม้กระทั่งบรรทัดที่หนึ่งของระบบประชาธิปไตย ที่เป็นคำประกาศสิทธิมนุษยชนว่า“ทุกคนเกิดมามีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เท่าทียมกัน”และไม่เคยเข้าใจ
ในความหมายของ“ประกาศของคณะราษฎรฉบับที่1”ลงวันที่
24มิถุนายนพุทธศักราช2475 เลยแม้แต่น้อย
ทรยศต่ออุดมการณ์
ของคณะราษฎร
ที่เสี่ยงชีวิตทำ เพื่ออนาคตของลูกหลาน คือทุกคนในวันนี้ ซึ่งรวมถึงคนเหล่านี้ด้วย พวกนี้กลับ เนรคุณ มาลงมือทำลาย“อำนาจสูงสุดของประเทศนั้น เป็นของราษฎรทั้งหลาย”เสียเอง
ชนชั้นสูงใช้เล่ห์กลเข้าหา
เสนอผลประโยชน์ด้านสถานภาพทางสังคม
ความมั่นคงในอาชีพ และรายได้มากมาย ทำงานความคิด หลอกใช้เป็นเครื่องมือ และป้อนสิ่งเสพติดให้คนกลุ่มนี้ คือ“ให้เสพติด ความเป็นอภิสิทธิ์ชน แบบชนชั้นสูง”
ซึ่งเลิกยากกว่า การเลิกเสพยาเสพติด
จึงไปร่วมมือกับชนชั้นสูง
และสะท้อนทัศนะแบบชนชั้นสูง คือ ดูถูกเหยียดหยามประชาชน “คนที่มีการศึกษาสูงอย่างฉันจะให้คนที่โง่กว่ามาเลือกรัฐบาลให้ได้อย่างไร”
คนเหล่านี้ไม่เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกัน หลงตนเองว่าบรรลุซึ่งคำตอบของสังคม ทึกทักเอาเองว่า ควรเป็นผู้กำหนดความเป็นไปของประเทศ และร่วมมือกับเผด็จการโบราณ
ยึดอำนาจสูงสุดของประเทศไปจากประชาชนในการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549
และเข้าร่วมผลประโยชน์ ในตำแหน่งทางการเมืองและองค์กร
ต่างๆ จากการอุ้มชูของผู้ที่ปล้นอำนาจประชาชน
โดยอิงกฎหมายที่ร่างกันขึ้นมาเอง จึงยอมร่วมมือทำลาย
“อำนาจสูงสุดของประเทศนั้น
เป็นของราษฎรทั้งหลาย”เสียเอง
สื่อมวลชนไทย ร่วมสร้างสถานการณ์ ชี้นำและปูทางให้ทหารทำรัฐประหารโค่นล้มระบอบประชาธิปไตย
จนสำเร็จ
ช่วยปกป้องความชอบธรรมให้คณะรัฐประหารและองค์กรที่คณะรัฐประหารสร้างขึ้น ผู้ดำเนินรายการทางโทรทัศน์ วิทยุและหนังสือพิมพ์
ส่วนใหญ่แสดงการพินอบพิเทา ประจบสอพลอต่อผู้ถืออาวุธ แต่แสดงกิริยาอาการเหยียดหยาม กดข่ม
ตัวแทนที่ประชาชนเลือกตั้ง ทั้งๆที่ตามสถานภาพสื่อมวลชน
ต้องอยู่ฝ่ายประชาธิปไตย ต่อต้านเผด็จการโบราณ
ผู้ดีรัตนโกสินทร์ หลงตัวจนเสียสติ เล่นลิ้นวาทะกรรม ถึงกับมาตั้งคำถาม ใน พ ศ.2551
ว่า “ประเทศไทย
เหมาะกับระบบประชาธิปไตยหรือไม่ ?”ซึ่งก่อนหน้านี้ก็เสนอแยกคนไทยว่า
ต้องเลือกข้าง ราษฎรอาวุโส ที่พร่ำบรรยายแต่คุณธรรมและอ้างตัวเป็นนักสันติวิธี มาชี้นำ การลอบสังหารนายกรัฐมนตรีที่ประชาชนเลือกมาตามระบอบประชาธิปไตย
และสนับสนุนการทำรัฐประหารอำนาจรัฐของประชาชน โดยเผด็จการทหาร เพียง แต่รัฐบาลไม่ยอมอยู่ในโอวาทของตน
@ ธรรมศาสตร์เป็นเป้าหมายทางยุทธศาสตร์ทางการเมืองที่สำคัญ
“ นายปรีดี พนมยงค์ ได้เตรียมการไว้แล้ว ที่จะก่อตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมืองให้เป็นตลาดวิชา
เปิดประตูให้กว้างที่สุด เพื่อให้ “สามัญชน”ได้เข้าถึงความรู้ระดับสูง
เพื่อมาใช้อำนาจการบริหารประเทศ ซึ่งเป็นของราษฎรแล้ว ”
ธรรมศาสตร์จึงเป็นเป้าหมายทางยุทธศาสตร์ทางการเมืองที่สำคัญ อำนาจเก่ามุ่งคืบคลานเข้ายึดครองอย่างใจเย็น
นุ่มนวล ส่งสมุนเข้าดำรงตำแหน่งในระดับสูง ซึ่งวันนี้คือ สุเมธ ตันติเวชกุล มาเป็นประธานสภาอาจารย์ ค้นหานักวิชาการที่กระสันอยากในตำแหน่งมากๆ
และพร้อมที่จะพินอบพิเทา เป็นสมุนรับใช้ที่ซื่อสัตย์ ใช้วิธีการสร้างบุญคุณ และมาทวง“ข้าวแดงแกงร้อนที่ราดหัว”ทำให้เกิด“จิตสำนึกทาสไพร่”ขึ้นในตน
ใช้วิธีการเข้าหา และผลักดันให้ได้ดิบได้ดี
ช่วยผลักดันให้มีเกียรติยศในสังคมด้วยตำแหน่งเป็นคณะกรรมการมากมาย
มีโอกาสท่องไปทั่วโลก
ได้ทั้งเกียรติยศ
และรายได้มหาศาล วันนี้ คือ สุรพล นิติไกรภพ เจ้าของวาทกรรม “จะเรียกว่าคณะทหารหรือข้าราชการประจำ หรือจะเรียกว่าพวกอมาตยาธิปไตยก็ตาม แต่บทบาทของคนเหล่านี้ที่ถูกขับออกจากเวทีการเมืองไปในช่วง 5 ปีหลังมานี้จะกลับมาอีก
…ผมคิดว่ามันจำเป็นที่จะต้องกลับมา ผมคิดว่าคนเหล่านี้คือคนที่เป็นหลักของสังคมจะมากจะน้อยก็มีคนดี เป็นคนที่ห่วงใยประเทศชาติ” และไปเป็นสมุนรับใช้ คณะรัฐประหาร19 กันยายน2549 อย่างซื่อสัตย์ กัดไม่ปล่อย เสนอหน้าช่วยอธิบายและร่วมขบวนการทำลายหลักนิติธรรมของประเทศ
การคัดเลือกผู้บริหารระดับต่างๆในธรรมศาสตร์ จึงเป็นระบบที่ล้าหลัง
เพื่อให้ผู้ที่มีทัศนะแอบอิงระบบเก่ามีอำนาจพฤติกรรมนี้เป็นการประจานถึงความล้าหลังกว่าประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ
ในทัศนะประชาธิปไตยสากล
“สำนักธรรมศาสตร์”จึงนำเสนอ
และผลักดันแนวคิด ตุลาการภิวัฒน์
ซึ่งเป็นอำนาจที่อิงสมบูรณาญาสิทธิราชย์มากที่สุด ทำลายอำนาจของประชาชน
ไปเพิ่มอำนาจให้ตุลาการมากที่สุด นับแต่มีรัฐธรรมนูญ หลัง พ ศ.2475
เป็นต้นมา
“สำนักธรรมศาสตร์”
ชี้นำ
ปูทางให้เผด็จการทำรัฐประหาร อธิบายให้การรัฐประหารอำนาจรัฐของประชาชนมี ความชอบธรรม ประคับประครองให้คำปรึกษา และคอยหาจังหวะให้ท้ายกลุ่มที่ทำลายประชาธิปไตย
“สำนักธรรมศาสตร์”
ร่วมร่างรัฐธรรมนูญ
2550
ที่ทำลายประชาธิปไตย ทำลายหลักสิทธิมนุษยชน ทำลายหลักนิติรัฐ
นิติธรรม และผู้บริหารธรรมศาสตร์
คณาจารย์และศิษย์เก่าจำนวนมาก
ได้รับรางวัลตอบแทนในตำแหน่งต่างๆในองค์กรที่คณะรัฐประหารสร้างขึ้น ธรรมศาสตร์ในยุคสมัยที่ถูกเผด็จการครอบงำความคิดจึงหมดศักดิ์ศรีโดยสิ้นเชิง
@ สำนักธรรมศาสตร์
วันนี้เสนอถวายคืนพระราชอำนาจ นี่คือ การทรยศ หักหลังอย่างสูงสุด ต่อราษฎร ต่อผู้ประศาสน์การ ต่อจิตวิญญาณ “มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
และการเมือง” วันนี้ สำนักธรรมศาสตร์
ลงมือทำลาย“อำนาจสูงสุดของประเทศนั้น เป็นของราษฎรทั้งหลาย”ด้วยมือตนเอง
ส่วนสำนักจุฬาลงกรณ์นั้น
ถูกควบคุมโดยราชสำนักจากการอ้าง
ความเป็นเจ้าของทรัพย์สินทั้งหมด คณาจารย์ส่วนใหญ่ก็ร่วมมือกับเผด็จการเป็นปรกติวิสัยอยู่แต่เดิมแล้ว
ได้ดำเนินการตลอดเวลาหลายสิบปีมานี้ในการส่งเครือข่ายของตนไปควบคุมอำนาจในมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ
แต่ครั้งนี้กระทำยิ่งกว่าทุก ครั้ง
คือ สร้างกระแสให้นักวิชาการทั่วประเทศเห็นดีเห็นงามไปกับการรัฐประหาร
เชิดชูอำนาจสมบูรณาญาสิทธิราช ไปทั้งประเทศ
ลงไปถึงระดับโรงเรียนทุกโรงเรียน
@ เกิดกรณีการเปิดโปงตัวเอง ครั้งสำคัญที่สุด
นับแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 คือ พรรคประชาธิปัตย์ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่
6 เมษายน 2489 ตรงกับวันจักรี ได้เปิดโปงตัวเองว่า“แก่นแท้แล้วไม่ใช่พรรคการเมืองในระบอบประชาธิปไตย
แต่ เป็นองค์กรหนึ่งของสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ที่แทรกตัวเป็นยาดำอยู่ในระบบประชาธิปไตยไทย”
แต่จะมีการลวงตาให้เข้าใจผิดว่า
เป็นฝ่ายประชาธิปไตยเป็นครั้งคราว โดย ต่อสู้ เพียงใช้วาท
กรรมตอบโต้กับเผด็จการทหารเท่านั้น
แ ละกระทำเฉพาะสถานการณ์ทางการเมืองเมื่อทหารบางกลุ่มออกนอกลู่นอกทาง
ยึดครองอำนาจทางทหารและอำนาจการเมืองอย่างเบ็ดเสร็จ ที่อาจจะเป็นอันตราย
ต่ออำนาจสมบูรณาญาสิทธิราชย์เท่านั้น
การเปิดโปงตัวเองของประชาธิปัตย์
ได้ปรากฏชัดก่อนเกิดการรัฐประหาร 19 กันยายน2549
เมื่อประชาธิปัตย์ประเมินว่าจะแพ้การเลือกตั้งแน่
จึงไม่ส่งคนลงสมัครรับเลือกตั้ง โดยอ้างว่ากลัวจะถูกเอาเปรียบ
และเสนอให้ถวายคืนพระราชอำนาจ
โดยอ้างมาตรา 7 ขอนายกพระราชทาน ซ้ำแล้วซ้ำเล่า เมื่อไม่สำเร็จ จึงได้ร่วมมือกับกลุ่มพันธมิตร ชี้นำ เชิญชวน ร่วมสร้างสถานการณ์ และปูทาง ให้ทหารทำการรัฐประหารโค่นล้มระบอบประชาธิปไตย
จนสำเร็จ ยังช่วยปกป้องความชอบธรรมให้คณะรัฐประหาร
และองค์กรที่คณะรัฐประหารสร้างขึ้น ร่วมและสนับสนุนในกิจกรรมต่างๆที่คณะรัฐประหาร กระทำการ เพื่อ ทำลาย พรรคการเมืองคู่แข่ง ถึงระดับ ให้ยุบพรรค ด้วยรู้ว่าไม่สามารถ
เอาชนะฝ่ายประชาชนได้
ที่สุดแม้การเลือกตั้งโดยรัฐธรรมนูญ2550 ฝ่ายคณะรัฐประหารได้กระทำการใช้อำนาจรัฐ อำนาจทางทหาร โกงการเลือกตั้งทุกวิธีการ ทั้งการใช้งบลับดำเนินการ
เรียกผู้นำชุมชนและหัวคะแนนไปข่มขู่ในค่ายทหาร ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งช่วยเหลือเ
มื่อประชาธิปัตย์ ถูกจับซื้อเสียง และช่วยโกงคะแนนเสียงทุกวิธี แต่ประชาชนได้ตอบโต้อย่างรุนแรง ไม่เกรงกลัว โดย เลือกพรรคที่ทำให้ชีวิตประชาชนดีขึ้น
ผลการเลือกตั้ง จึงพ่ายแพ้ต่อประชาชน
อย่างยับเยิน
พรรคประชาธิปัตย์โกรธแค้นประชาชน และระบายความเคียดแค้น โดยใส่ร้ายป้ายสี ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศว่าโง่ ถูกหลอก เห็นแก่เงิน ประชาชนส่วนใหญ่จึงทอดทิ้งพรรคประชาธิปัตย์โดยสิ้นเชิง
เหตุการณ์ครั้งนี้เป็นการเปิดโปง ได้อย่างสมบูรณ์ ว่า “พรรคประชาธิปัตย์
เผด็จการทหาร
ตุลาการ แ ละสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็น องค์กร เ ดียวกัน ”
แต่
เมื่อประชาชนเห็นความจริงทั้งระบบ กลับไม่เกรงกลัว กลับให้บทเรียนอย่างเจ็บปวดที่สุดแก่องค์กรนี้ โดยใช้สิทธิ
1 หุ้นส่วนของประเทศไทยที่ตนเองมี มาจัดการจน สำเร็จ
.
บทสรุปทั้งหมดนำไปสู่การพิจารณา รัฐธรรมนูญฉบับ 2540 และ 2550
ดังนี้
@ รัฐธรรมนูญ2540
คือรัฐธรรมนูญที่ทำให้ประชาธิปไตยเข้มแข็ง ทำให้พรรคการเมืองของประชาชนเข้มแข็ง ประชาชนมีความเป็นเจ้าของพรรคการเมือง
ประชาชนควบคุมนักการเมืองได้มากขึ้น ควบคุมนโยบายพรรคได้ และทำให้ประชาธิปไตยก้าวหน้า พาประชาชนมุ่งสู่ป้าหมาย “อำนาจสูงสุดของประเทศนั้น เป็นของราษฎรทั้งหลาย”รวดเร็วอย่างไม่เคยมีมาก่อน
การก่อประโยชน์ต่อประชาชนของรัฐธรรมนูญ 2540
นี่เอง ทำให้ฝ่ายที่ต้องการให้ประชาชนอ่อนแอ
ต้องทำลายทิ้ง
@ รัฐธรรมนูญเผด็จการทหาร
2550 ฝ่ายประชาธิปไตยไม่ถือว่าเป็นกฎหมาย เป็นเพียงสมุดบันทึก
ที่เขียนระบาย ความโกรธแค้น
อาฆาต พยาบาท อิจฉาริษยา ต่อตัวบุคคล
ต่อรัฐธรรมนูญ2540 และต่อ
“ประชาชนนอกคอก” ที่ต้องการกินดีอยู่ดี และต้องการบงการชีวิตตัวเอง
รัฐธรรมนูญ2550 เป็น ผลงานของ นักวิชาการไพร่ ข้าทาสของพวกเจ้า ที่ใช้เป็นเครื่องมือทำลาย “อำนาจสูงสุดของประเทศนั้น เป็นของราษฎรทั้งหลาย”
ทำลายสิทธิ 1
หุ้นส่วนของประเทศไทย ของประชาชน ดังนี้
1 ทำลายหลักนิติปรัชญาประชาธิปไตยโดยสิ้นเชิง
เช่น ทำลายหลักกฎหมาย
ให้ “สามัญชน
can do no
wrong” เกิดสามัญชนแบบราชาและเกินกว่าราชา ให้กฎหมายย้อนหลังที่เป็นโทษได้ ฯลฯ
2 ให้ตุลาการที่เป็นส่วนหลงเหลือของสมบูรณาญาสิทธิราชย์
มีอำนาจเหนือฝ่ายการเมืองทั้งระบบ
3 สถาปนาอำนาจที่ 4
หรืออำนาจเผด็จการทหารในนาม “ฝ่ายความมั่นคง”
4 ลดความสำคัญของประชาชนผ่านการทำลายความสำคัญของพรรคการเมืองให้รู้สึกว่าไว้ใจไม่ได้
5 สถาปนาอมาตยาธิปไตยทั้งระบบ พร้อมๆกับการสถาปนาระบบ“พ่อคนรู้ดี
ของกลุ่มอภิชนาธิปไตย”
6 รองรับการทำรัฐประหารโดยทหารในอนาคต ให้ชอบธรรมตามกฎหมาย
7 เปิดโอกาสการเพิ่มงบประมาณทหารได้อย่างมากมาย
8 ยังอีกมากมายที่“กลุ่มไพร่ทาส
นักมายากลทางกฎหมาย”ซ่อนไว้เพื่อทำลายอำนาจสูงสุดของประชาชน
เผด็จการโบราณ ใชัรัฐธรรมนูญ2550เพื่อ
ยุทธศาสตร์ทางการเมืองที่สมบุรณาญาสิทธิราชต้องการบรรลุ
คือการบันทึกความทรงจำทางประวัติศาสตร์ของประเทศไทย โดยต้องการให้ประชาชนบันทึกลงไปในความทรงจำว่า
“พรรคการเมืองของประชาชนนั้นเลว
นักการเมืองนั้นเลว ประชาชนนั้นเลวและโง่ ประเทศนี้มีแต่
สมบูรณาญาสิทธิราช
เท่านั้น ที่ดีที่สุด
ประเทศนี้ too much democracy is not good”
“ราษฎรที่มีจิตใต้สำนึกทาสไพร่
ขี้ข้า ได้เลียนแบบทัศนะของชนชั้นสูง จับกลุ่มรวมตัวกันไปสัมพันธ์กับชนชั้นสูง
แยกตัวเองเป็นกลุ่มอภิสิทธิ์ชน ขายจิตวิญญาน หักหลังฝ่ายราษฎร ลงมือทำลาย “อำนาจสูงสุดของประเทศนั้น
เป็นของราษฎรทั้งหลาย ” อย่างถึงแก่นด้วยมือของตนเอง
ทั้งๆที่ ชาติตระกูล
ก็เป็นราษฎรธรรมดา”กลุ่ม
อภิชนาธิปไตยกลุ่มนี้ หลงใหลในความเป็นข้าทาส หลงไปในอภิสิทธิ์ที่ได้เสพทุกวัน
เป็นการเสพติด ทีละ น้อยๆ ทำให้หลงในอุปาทาน หลงไปว่าอุปาทาน คือสัจจะธรรม ไม่อาจเข้าถึง“สัจจะวิวัฒนาการของสังคม”
ได้อย่างแท้จริง
จึงมาอวดอุตริ จนหลงไปว่าตนเองคือผู้ทรงคุณธรรมสูงสุด
ฉลาดที่สุดกว่ามนุษย์อื่น จึงดำเนินชีวิตไปบนเส้นทางฉุดรั้งสังคม ทำลายศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกันของประชาชน
โดย ใช้ทัศนะที่ผิดคือ ยกตัวเองออกมา
อยู่สูงกว่าประชาชน แล้วมองประชาชนต่ำกว่า
รัฐธรรมนูญ2550 เป็นผลงานของ นักวิชาการทาสไพร่สมุนรับใช้ “นักมายากลทางการเมือง” ที่สร้างอิทธิพลควบคุมสังคม โดยสร้างเครือข่ายคือ
พรรคประชาธิปัตย์ ทหารพระราชา และ ตุลาการ และส่งลูกสมุนเข้าควบคุม
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สถาบันการศึกษาทั้งระบบ
นักวิชาการทาสไพร่ วงการสื่อสารมวลชน ข้าราชการทั้งระบบ
และให้ลูกสมุนสร้างองค์กรมวลชนมาล้อมรอบตน โดยใช้เจ้าเล่ห์หลอกลวง เพื่อทำลาย “อำนาจสูงสุดของประเทศนั้น
เป็นของราษฎรทั้งหลาย” ที่มีการกระทำอย่างต่อเนื่อง
อย่างมียุทธศาสตร์ และยุทธวิธี มาตลอด 76 ปี
---------------------
หลักการสำคัญ ในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน โดย พิจารณาจาก เส้นทางประชาธิปไตยไทย 123 ปี
และปัญหารากฐานที่เป็นจริงในวันนี้ของประเทศไทย
ที่ยังไปไม่ถึง
การประกาศปฏิญญา อุดมการณ์ของประเทศ
จึงนำเสนอ
หลักการสำคัญ 3 ประการ ในการร่างรัฐธรรมนูญ
ฉบับประชาชน ดังนี้
1) หลัก “ประเทศนี้เป็นของประชาชน” “อำนาจสูงสุดของประเทศเป็นของประชาชน” จะบัญญัติให้บุคคลใด
ได้อภิสิทธิ์ ในอำนาจนิติบัญญัติ
บริหาร และตุลาการ
เหนือกว่าประชาชนหรือตัวแทนประชาชนไม่ได้
2 ) หลัก “ศักดิ์ศรี
ความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกัน ”
3)
หลัก ปฏิเสธ
การสถาปนาอำนาจที่สี่ ในนามฝ่ายความมั่นคงของสมบูรณาญาสิทธิราช จะให้บุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลใด มีอำนาจ เหนือ
หรือ เทียบเท่า อำนาจของ ประชาชน จะทำไม่ได้ โดยเด็ดขาด
รัฐธรรมนูญ ต้องสถาปนาหลักการ
ของคณะราษฎร ตามประกาศคณะราษฎรฉบับที่1 และบทบัญญัติใน“ธรรมนูญการปกครองฉบับแรก
ของประชาชน ลงวันที่ 27 มิถุนายน 2475
”ที่ถูกขัดขวาง โดย สมบูรณาญาสิทธิราชจนถึงปัจจุบันนี้
โดยปฏิบัติการทำลายระบบคิดวิเคราะห์ของประชาชนด้วยการใช้ทุกเครื่องมือ
กระหน่ำโฆษณาชวนเชื่อระบบครอบครัว และให้ประชาชนเบื่อหน่ายระบบประชาธิปไตยจนรู้สึกว่า“พรรคการเมืองของประชาชนนั้นเลว นักการเมืองนั้นเลว ประชาชนนั้นเลวและโง่
สมบูรณาญาสิทธิราช
เท่านั้น ที่ดีที่สุด”เพราะเป็นผู้ให้โอวาท
ใช้การการสร้างพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ “ สาบแช่ง สาบาน ปฏิญานตน ฟังโอวาท” หากยังไม่เชื่อฟังก็จะตามมาด้วย “อาญาและอาวุธ” และประชาชนจำนวนหนึ่งฮุบเหยื่อ กลับมาขับไล่ประชาชนด้วยกันให้ไปอยู่ประเทศอื่น นี่เป็นความสำเร็จของวิธีการ “แบ่งแยก
แล้วปกครอง”
Subscribe to:
Posts (Atom)