WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, October 23, 2010

สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล: พูนศุข พนมยงค์ ให้สัมภาษณ์กรณีสวรรคต พฤษภาคม 2500

ที่มา ประชาไท

คำชี้แจง: ข้อเขียนนี้ ผมเขียนในลักษณะที่ทำให้สามารถอ่านโดดๆ มีความสมบูรณ์ในตัวเองได้ แต่ถ้าต้องการทราบความเป็นมา กรุณาอ่านกระทู้นี้ก่อน

ชื่อบทความเดิม:
ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ ให้สัมภาษณ์ The Observer พฤษภาคม 2500 : "หากต้องการรู้ความจริงเกี่ยวกับกรณีสวรรคตควรไปถามพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลปัจจุบัน" - ความพยายามรื้อฟื้นคดีสวรรคตของปรีดี-จอมพล ป ที่ล้มเหลว

เดือน พฤษภาคม 2500 ทูตอังกฤษประจำสิงคโปร์ ได้รายงานไปยังลอนดอนว่า ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ได้ให้สัมภาษณ์นักข่าว นสพ The Observer ของอังกฤษที่นั่นว่า "หากนักข่าวต้องการรู้ความจริงเกี่ยวกับกรณีสวรรคตควรไปถามพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลปัจจุบัน"

(อ้าง ใน ณัฐพล ใจจริง, "การเมืองไทยสมัยรัฐบาลจอมพล ป พิบูลสงคราม ภายใต้ระเบียบโลกของสหรัฐอเมริกา (พ.ศ. 2491-2500)", วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553, หน้า 218 ผมเข้าใจว่า อันที่จริง ท่านผู้หญิงพูนศุขน่าจะให้สัมภาษณ์ The Observer ไว้ตั้งแต่ช่วงเดือนมีนาคมหรือเมษายน เพราะในต้นเดือนเมษายนนั้น เธอได้เดินทางมาถึงไทย การสัมภาษณ์น่าจะทำในช่วงที่เดินทางผ่านสิงคโปร์ คุณวิมลพรรณ ปีตธวัชชัย ได้บอกผมว่า เธอได้ค้นคว้าตรวจสอบ The Observer ในช่วงนั้น แต่ไม่พบรายงานการสัมภาษณ์นี้ เธอจึงเดาว่า ทางการอังกฤษอาจจะขอร้องให้ The Observer ยับยั้งการตีพิมพ์รายงานการสัมภาษณ์ดังกล่าวได้ทัน อย่างไรก็ตาม ดร.ณัฐพล ใจจริง บอกผมว่า รายงานของทูตอังกฤษ อ้างถึงคำสัมภาษณ์ที่ตีพิมพ์ไปใน The Observer แล้ว)

ท่านผู้หญิงพูนศุข หมายความว่าอย่างไร?

ผม ขออนุญาตไม่ตีความหรืออธิบายประโยคดังกล่าวของท่านผู้หญิงพูนศุขโดยตรง แต่จะขออธิบายว่า คำสัมภาษณ์ประโยคเดียวนี้ เกิดขึ้นภายใต้บริบทอะไร ที่สำคัญคือ จะชี้ให้เห็นว่า คำสัมภาษณ์นี้เป็นหลักฐานยืนยันอย่างชัดเจนถึงบางเรื่องอย่างไร

เช้า มืดยังไม่ทันรุ่งสางของวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2498 จำเลย 3 คนในคดีสวรรคต ได้ถูกนำตัวไปประหารชีวิต มีข่าวร่ำลือออกมาว่า ในนาทีสุดท้ายก่อนจะถูกนำตัวเข้าหลักประหารนั้น ชิต สิงหเสนี ซึ่งเป็นมหาดเล็กที่อยู่หน้าห้องบรรทมในหลวงอานันท์ และเป็นคนแรกที่ถูกตัดสินประหารชีวิตตั้งแต่ในศาลชั้นต้น (ซึ่งปล่อยอีก 2 จำเลย) ได้พูดคุยแบบสองต่อสอง กับเผ่า ศรียานนท์ อธิบดีตำรวจ มือขวาของจอมพล ป ที่ไปสังเกตการณ์การประหารชีวิต โดยที่ ชิต ได้ถือโอกาสที่ตัวเองกำลังจะถูกประหาร เล่า "ความลับ" ของ "กรณีสวรรคต" ให้เผ่าฟัง ว่าเกิดอะไรขึ้นจริงๆ ในเช้าวันนั้น มีเสียงลือว่า เผ่าได้ทำบันทึกเรื่องที่ชิตเล่าไว้ด้วย (ดูบทความของผมเรื่อง "50 ปี การประหารชีวิต 17 กุมภาพันธ์ 2498", ฟ้าเดียวกัน ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 เมษายน-มิถุนายน 2548, หน้า 78 หรือดาวน์โหลดบทความในรูป pdf จากเว็บ นิติราษฎร์ ที่นี่)

ขณะ นั้น การเมืองไทยกำลัง "ระอุ" ด้วยความขัดแย้งระหว่างผู้เป็นใหญ่ทางการเมืองแบบ "สามเส้า" (triumvirate) คือ ระหว่างจอมพล ป พิบูลสงคราม, เผ่า ศรียานนท์ และ สฤษดิ์ ธนะรัชต์ อันที่จริง ถ้าพูดอย่างเข้มงวดแล้ว จอมพล ป แม้จะไม่ถึงกับไว้วางใจ เผ่า แบบสนิทเต็มร้อย (พุฒิ บูรณะสมภพ มือขวาคนหนึ่งของเผ่า เล่าให้ผมฟังว่า เผ่า เคยเสนอจอมพล ป จะ "เก็บ" สฤษดิ์ ให้ แต่จอมพล ไม่ยอม เพราะในที่สุด ก็ต้องการสฤษดิ์ ไว้คานอำนาจเผ่าเช่นกัน) แต่โดยรวมแล้ว จอมพล ป กับ เผ่า มีลักษณะเป็นพันธมิตรใกล้ชิด เรียกได้ว่า เป็นขั้วหรือกลุ่มเดียวกัน ที่บางครั้งเรียกกันว่า กลุ่ม "พิบูล-เผ่า" ในขณะที่ สฤษดิ์ แยกออกมาเป็นอีกขั้วหนึ่ง

สฤษดิ์ ในขณะนั้น เล่นการเมืองในลักษณะ "ตีสองหน้า" คือ หน้าหนึ่ง ก็ทำตัว "ก้าวหน้า" คบหาสมาคมและสนับสนุนฝ่ายซ้าย (ที่อยู่ใต้การนำของ พคท.) ในขณะนั้น นักเขียนฝ่ายซ้ายชื่อดังอย่าง จิตร ภูมิศักดิ์ และอีกหลายคน เรียกได้ว่า เป็น "ลูกจ้าง" ให้สฤษดิ์ โดยปริยาย เพราะเป็นนักเขียนประจำของ "สารเสรี" หนังสือพิมพ์ที่สฤษดิ์ออกทุนทำ

พร้อมกันนั้น สฤษดิ์ ก็สร้างสายสัมพันธ์กับกลุ่มการเมืองที่เรียกกันในสมัยนั้นว่าพวก "ศักดินา" โดยมีพรรคประชาธิปัตย์ของควง อภัยวงศ์ และพี่น้องปราโมช (เสนีย์, คึกฤทธิ์) เป็นตัวแทน "ออกหน้า" ที่สำคัญ แต่ยังมีราชวงศ์ชั้นสูง (พวกเจ้าและขุนนางเก่าจากสมัยก่อน 2475) อีกหลายคน ที่สำคัญที่สุดคือ พระองค์เจ้าธานีนิวัต ที่เป็นประธานองคมนตรี เคลื่อนไหวแบบหลบๆ ซ่อนๆ อยู่ด้วย

ถึงปี 2499 จอมพล ป และเผ่า เริ่มตระหนักว่า ไม่สามารถรับมือกับพันธมิตรสฤษดิ์-ศักดินา โดยเฉพาะการเข้มแข็งทางการเมืองที่มากขึ้นของกลุ่มศักดินา อันมีปัจจัยสำคัญประการหนึ่งคือ เป็นครั้งแรกในระยะประมาณ 20 ปีหลังการปฏิวัติ 2475 และการสละราชย์ของรัชกาลที่ 7 ที่ประเทศไทยมีพระมหากษัตริย์ประทับในประเทศอย่างถาวร (ในหลวงองค์ปัจจุบันทรงเสด็จกลับประเทศไทยอย่างถาวรในช่วงสิ้นปี 2494) และบทบาทที่ดูเหมือนจะเพิ่มมากขึ้นของสถาบันกษัตริย์และองค์พระมหากษัตริย์ เอง เช่น ในวันกองทัพบก 25 มกราคม 2499 ในหลวงทรงมีพระราชดำรัสวิพากษ์การที่ทหาร - คือกลุ่มของจอมพล ป - เข้ามามีบทบาททางการเมือง ซึ่งเป็นพระราชดำรัสที่ฉีกประเพณีการปกครองแบบรัฐธรรมนูญที่สร้างขึ้นจากการ ปฏิวัติ 2475 ที่พระมหากษัตริย์ต้องไม่ทรงมีพระราชดำรัสเกี่ยวกับการเมืองในที่สาธารณะ (ดร.หยุด แสงอุทัย นักกฎหมายมือหนึ่งของรัฐบาลในขณะนั้น ได้ออกปาฐกถาเชิงวิพากษ์วิจารณ์พระราชดำรัสนี้ จนถูกกล่าวหาว่า "หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ")

ในปีนั้น จอมพล ป และ เผ่า จึงตัดสินใจหาทางติดต่อกับปรีดีที่ลี้ภัยอยู่ในประเทศจีน เพื่อชักชวนให้ปรีดีกลับประเทศ เพื่อร่วมมือกันต่อสู้กับกลุ่มศักดินา โดย "อาวุธ" สำคัญที่จะร่วมกันใช้ในการต่อสู้นี้ คือ การรื้อฟื้นคดีสวรรคตขึ้นใหม่ (ซึ่งสันนิษฐานได้ว่า การบอกเล่าก่อนถูกประหารของชิต ต่อเผ่า คงจะเป็นองค์ประกอบที่สำคัญสำหรับการรื้อฟื้นนี้)

ในช่วงปี 2525 ผมได้มีโอกาสสัมภาษณ์คุณชิต เวชประสิทธิ์ ผู้ได้ชื่อว่าเป็น "ลูกศิษย์ปรีดี" คนหนึ่ง และเป็นอดีตหนึ่งในคณะทนายจำเลยคดีสวรรคต คุณชิตเล่าว่า จอมพล ป ได้ฝากข้อเสนอเรื่องร่วมมือกันสู้ศักดินา (ด้วยคดีสวรรคต) ให้เขาและ "ลูกศิษย์อาจารย์" อีกคนหนึ่งคือ ลิ่วละล่อง บุนนาค นำไปปรึกษาปรีดีที่จีน ตอนที่คุณชิตเล่าเรื่องนี้ให้ผมฟัง ข้อมูลนี้เป็นเรื่องที่แทบไม่มีคนรู้ ต่อมาในช่วงประมาณปี 2543 จึงมีผู้เผยแพร่จดหมายที่ปรีดีเขียนตอบสังข์ พัธโนทัย คนสนิทของจอมพล ป. ลงวันที่ 23 ธันวาคม 2499 (เข้าใจว่า จอมพล ป คงใช้ให้สังข์เขียนเป็นจดหมายถึงปรีดี ฝากชิตและลิ่วละล่องไปด้วย ปรีดีจึงเขียนเป็นจดหมายตอบมายังสังข์) ในจดหมาย ปรีดีกล่าวตอนหนึ่งว่า "ผม เห็นว่าคุณได้บำเพ็ญบุญกุศลอย่างแรงในการที่คุณได้แจ้งให้ผมทราบถึงบันทึก ของคุณเผ่า [ที่]ได้สอบถามปากคำคุณเฉลียว ชิต บุศย์ ก่อนถูกยิงเป้า ที่ยืนยันว่า ผู้บริสุทธิ์ทั้งสามรวมทั้่งผมไม่ได้มีส่วนพัวพันในกรณีย์สวรรคต" (ดูบทความ "50 ปี การประหารชีวิต" ของผมที่อ้างข้างต้น และ "ปรีดี พนมยงค์, จอมพล ป, กรณีสวรรคต และรัฐประหาร 2500" ใน ประวัติศาสตร์ที่เพิ่งสร้าง หน้า 30-35 ซึ่งผมได้เล่าเรื่องนี้เป็นครั้งแรกในปี 2539)

ช่วง สิ้นปี 2499 ถึงกลางปี 2500 มีข่าวลือแพร่สะพัดในพระนครเรื่องรัฐบาลจอมพล ป จะอนุญาตให้ปรีดีเดินทางกลับไทยเพื่อมาสู้คดีสวรรคต สถานทูตอเมริกันในไทยได้รายงานเรื่องนี้ไปยังวอชิงตันหลายครั้ง วอชิงตันแสดงความไม่พอใจและเตือนจอมพล ป ว่า สหรัฐไม่เห็นด้วยกับการให้ปรีดีกลับไทยเพื่อรื้อฟื้นคดีสวรรคตซึ่งจะกระทบ กระเทือนต่อสถาบันกษัตริย์และเสถียรภาพทางการเมืองของไทย อย่างเป็นทางการจอมพลบอกวอชิงตันว่ารัฐบาลของเขาไม่ได้มีแผนการดังกล่าว แต่ข่าวลือก็ยังคงมีอยู่ และเข้มข้นสูงสุดในช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2500 ทูตอเมริกันรายงานด้วยว่า แผนการจับมือกับปรีดีของจอมพลและเผ่า สร้างความไม่พอใจให้กับพระมหากษัตริย์ไทยอย่างมาก (ดูวิทยานิพนธ์ของณัฐพล ใจจริง บทที่ 8 หน้า 197-221)

เรื่องนี้มาประจวบกับความตึงเครียด ระหว่างรัฐบาลจอมพล ป กับสถาบันกษัตริย์ที่ปะทุขึ้นอย่างรุนแรงในช่วงเดือนพฤษภาคม เมื่อในหลวงภูมิพลที่เดิมทรงมีกำหนดการจะเสด็จไปในงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษที่รัฐบาลจัดขึ้นอย่างมโหฬารในเดือนนั้น ทรงงดการเสด็จอย่างกระทันหัน โดยทรงแจ้งกับรัฐบาลว่ามีพระอาการประชวร แต่ขณะเดียวกัน ทรงบอกทูตอังกฤษเป็นการส่วนพระองค์ว่า พระองค์มิได้ประชวรจนเสด็จไม่ได้ แต่ที่ไม่เสด็จเพราะไม่พอพระทัยที่รูปแบบการจัดงานของรัฐบาลออกมาในลักษณะ ที่ทำให้รัฐบาลมีความสำคัญเทียบเท่าหรือมากกว่าพระองค์ ทรงเห็นว่า รูปแบบการจัดงานควรออกมาในลักษณะที่ให้พระองค์เป็นศูนย์กลาง (ตัวบทรายงานพระราชดำรัสที่ทรงเล่าแก่ทูตอังกฤษในประเด็นนี้คือ The King … clearly resented the fact that it has been drawn up with a view to making the Government as important if not more so than the King himself around whom of course the celebration should have been centred. ดูคำแปลรายงานฉบับเต็มของทูตอังกฤษนี้ของผม พร้อมเอกสารแลกเปลี่ยนระหว่างรัฐบาลกับราชสำนักในเรื่องในหลวงทรงประชวรจริงหรือไม่ ได้ที่นี่)

ใน เดือนมิถุนายน (ซึ่งเป็นทั้งช่วงครบรอบการสวรรคตของในหลวงอานันท์และการปฏิวัติ 2475) ท่ามกลางข่าวลือเรื่องปรีดีจะกลับและจะมีการรื้อฟื้นคดีสวรรคตนี้ ก็เกิดกรณที่นายสง่า เนื่องนิยม เจ้าของฉายา “ช้างงาแดง” ซึ่งขณะนั้นเป็นสมาชิกพรรค “ศรีอาริยเมตไตรย์” ของ เฉียบ ชัยสงค์ ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็น “ลูกศิษย์ปรีดี” คนหนึ่ง และเพิ่งเดินทางกลับจากการลี้ภัยในจีนร่วมกับปรีดีในปี 2499 (หมายถึงเฉียบ ไม่ใช่สง่า ตัวสง่าเองนั้น ผมไม่แน่ใจว่า เป็นพวกปรีดีแค่ไหน) ขึ้นปราศรัย หรือ “ไฮด์ปาร์ค” ที่สนามหลวง พาดพิงถึงกรณีสวรรคตอย่างล่อแหลมมากๆ ปรากฏว่า พรรคประชาธิปัตย์ได้ยกคำปราศรัยของสง่ามาโจมตีว่าหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และเรียกร้องให้รัฐบาลดำเนินการทางกฎหมายกับสง่า แต่รัฐบาลจอมพล ป และเผ่า กลับไม่ทำอะไร นอกจากปรับเรื่องการใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาตเท่านั้น

ในวันที่ 24 มิถุนายน เมื่อ ปาล พนมยงค์ ลูกชายปรีดี เข้าพบจอมพล ป ที่วัดมหาธาตุเพื่อลาบวช จอมพลได้กล่าวกับปาลว่า “บอกคุณพ่อของหลานด้วยนะว่า ลุงอยากให้กลับมาช่วยลุงทำงานให้ชาติ ลุงคนเดียวสู้ศักดินาไม่ไหวแล้ว” ในเวลาไล่เรี่ยกัน ควง อภัยวงศ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ได้บอกกับเสนีย์ ปราโมชว่า “จอมพล ป จะหาเรื่องในหลวง” (ย่อหน้านี้และย่อหน้าติดกันข้างบน เอาข้อมูลมาจาก ณัฐพล ใจจริง, หน้า 219-220 กรณีนายสง่านั้น ต่อมา เมื่อสฤษดิ์ร่วมกับกลุ่มศักดินาทำรัฐประหาร 16 กันยายน 2500 จึงเริ่มมีการดำเนินคดีฟ้องร้อง ดูคำพิพากษาหลังรัฐประหารลงโทษสง่าในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ซึ่งให้รายละเอียดว่า นายสง่าพูดหรือทำอะไรบ้างบนเวที “ไฮด์ปาร์ค” ครั้งนั้น ใน สุพจน์ ด่านตระกูล, ข้อเท็จจริงกรณีสวรรคต, ฉบับพิมพ์ปี 2517, หน้า 265-267)

คำ สัมภาษณ์ของท่านผู้หญิงพูนศุข ที่ยกมาในตอนต้นบทความ เกิดขึ้นภายใต้สถานการณ์เช่นนี้เอง ในช่วงใกล้ๆ กัน ปรีดีเองก็ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ในจีน แล้วหนังสือพิมพ์ในฮ่องกงนำมารายงานว่า เขาได้ติดต่อกับบุคคลสำคัญในไทยเพื่อการเดินทางกลับมาต่อสู้คดีสวรรคต (อ้างใน ณัฐพล ใจจริง, หน้า 220)

อย่างไรก็ตาม ผมเห็นว่า คำสัมภาษณ์ประโยคเดียวของท่านผู้หญิงพูนศุขมีความสำคัญในแง่ที่นอกจากจะเป็น การยืนยันสนับสนุนหลักฐานต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้น ถึงความพยายามร่วมมือระหว่างปรีดีกับจอมพลและเผ่าที่จะรื้อฟื้นคดีสวรรคต ยังเป็นการยืนยันเด็ดขาดอย่างที่ไม่ต้องมีข้อสงสัยอีกแล้ว ถึงประเด็นหนึ่งที่เคยเป็นปัญหาว่า ปรีดีเองมีข้อสรุปเกี่ยวกับกรณีสวรรคตหรือไม่อย่างไร ดัง ที่ผมได้อธิบายไว้ในบทความหนึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ เป็นเวลาหลายสิบปี ที่ผู้สนใจกรณีสวรรคตมักจะตั้งคำถามว่า ปรีดีเองมีความเห็นอย่างไรแน่ ในสมัยที่เขาเป็นรัฐบาล – รวมถึงรัฐบาลหลวงธำรงที่เป็น “นอมินี” ของเขา – ท่าทีอย่างเป็นทางการของเขาคือ ในหลวงอานันท์ทรงยิงพระองค์เองโดยอุบัติเหตุ ในบทความดังกล่าว ผมได้ยกหลักฐานที่เพิ่งพบใหม่ คือบันทึกการเล่ากรณีสวรรคตของหลวงธำรงต่อทูตอเมริกัน มาแสดงว่า หลวงธำรงและปรีดี (ตามที่หลวงธำรงเล่า) มีข้อสรุปกรณีสวรรคตจริงๆ ที่เก็บเงียบไว้แตกต่างจากท่าทีที่พวกเขาแสดงออกอย่างเป็นทางการ (ดู “ข้อมูลใหม่กรณีสวรรคต: หลวงธำรงระบุชัด ผลการสอบสวนใครคือผู้ต้องสงสัยที่แท้จริง”, ฟ้าเดียวกัน ปีที่ 7 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม-กันยายน 2552, หน้า 60-73 หรือดาวน์โหลดบทความในรูป pdf จากเว็บ นิติราษฎร์ ที่นี่) อันที่จริง หลักฐานที่ผมยกมาก็น่าจะเพียงพอแล้ว แต่หากใครจะยังมีข้อสงสัยว่า นั่นเป็นเพียงการเล่าหรืออ้างของหลวงธำรงว่า ปรีดีคิดอย่างไร คำสัมภาษณ์ของท่านผู้หญิงพูนศุขต่อ The Observer เป็นการยืนยันว่า ปรีดีมีข้อสรุปกรณีสวรรคตแบบเดียวกับที่หลวงธำรงบอกทูตอเมริกันจริงๆ


ความพยายามที่ล้มเหลว - ไม่ทันกาล
ใน ช่วง 2 เดือนเศษ จากเดือนกรกฎาคมถึงวันที่ 16 กันยายน 2500 เมื่อสฤษดิ์และกลุ่มศักดินาร่วมกันทำรัฐประหารโค่นจอมพล ป และเผ่าลง ข่าวลือเรื่องปรีดีจะกลับ และจะมีการรื้อฟื้นคดีสวรรคตดูจะเบาบางลง เราไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่า ได้มีการดำเนินการอย่างไรในเรื่องนี้ แต่ในช่วงไม่กี่วันก่อนรัฐประหาร ทั้งจอมพลและเผ่าได้เปิดเผยต่อผู้สื่อข่าวว่า ได้ติดต่อและพบปะกับหลวงธำรงและดิเรก ชัยนาม คนสนิทของปรีดีในไทย เผ่ายังบอกนักการทูตอเมริกันว่า ธำรงและดิเรกติดต่อกับปรีดีอยู่เสมอ เขาบอกด้วยว่า ปรีดีต้องการให้มีการพิจารณาคดีสวรรคตใหม่โดยเสนอให้รัฐบาลออกเป็นพระราช บัญญัติเพื่อให้สามารถรื้อฟื้นคดีขึ้นใหม่ได้ (ณัฐพล ใจจริง, หน้า 229-230)

ขณะ เดียวกัน ความตึงเครียดระหว่างจอมพล ป และเผ่า กับสถาบันกษัตริย์ยังดำเนินต่อไป ในระหว่างการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลของพรรคฝ่ายค้าน คือประชาธิปัตย์และสหภูมิ (พรรคของสฤษดิ์) ในช่วงสิ้นเดือนสิงหาคม ส.ส.ฝ่ายค้านคนหนึ่งอ้างว่า ได้ทราบจากแหล่งข่าวว่า ระหว่างการประชุมของฝ่ายรัฐบาลเมื่อต้นเดือนมีนาคมปีนั้น เพื่อพิจารณาประกาศภาวะฉุกเฉิน โดยมีนายทหารระดับสูงเข้าประชุมด้วย ที่ประชุมมีการเสนอให้จับพระมหากษัตริย์ ส.ส.ผู้นี้ยังอ้างว่า แหล่งข่าวของเขาในพรรครัฐบาล (เสรีมนังคศิลา) รายงานว่า ในการประชุมพรรคเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2498 เผ่าได้พูดต่อหน้าจอมพลว่า ในหลวงทรงช่วยเหลือพรรคประชาธิปัตย์ (รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร, วันที่ 29 สิงหาคม 2500, หน้า 1031-1033) ในวันเดียวกับที่มีการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลนั้นเอง สฤษดิ์ได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคเสรีมนังคศิลา โดยกล่าวว่า เขา “ไม่อดทนกับแผนการต่อต้านกษัตริย์” ของจอมพลและเผ่า (ณัฐพล ใจจริง, หน้า 230)

ดัง ที่ทราบกันทั่วไป ในที่สุด สฤษดิ์ได้ทำการยึดอำนาจเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2500 ในวันยึดอำนาจ ในหลวงภูมิพลทรงมีพระบรมราชโองการในพระปรมาภิไธยของพระองค์เองโดยไม่มีผู้ รับสนองพระบรมราชโองการ (รัฐธรรมนูญปี 2495 ที่ให้พระบรมราชโองการต้องมีผู้รับสนอง ยังคงมีผลบังคับใช้อยู่) แต่งตั้งให้สฤษดิ์เป็นผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร และทรง “ขอให้ประชาชนทั้งหลายจงอยู่ในความสงบ และให้ข้าราชทุกฝ่าย ฟังคำสั่งจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์” (ดู ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 74 ตอนที่ 76 วันที่ 16 กันยายน 2500, ฉบับพิเศษ หน้า 1 หรือดาวน์โหลดได้ที่นี่) นอกจากพระบรมราชโองการนี้แล้ว การสนับสนุนของสถาบันกษัตริย์ต่อรัฐประหารของสฤษดิ์ ยังได้รับการยืนยันจากหลักฐานร่วมสมัยทั้งของไทย, อเมริกันและอังกฤษ (ผู้สนใจรายละเอียดโปรดดู ณัฐพล ใจจริง, หน้า 223-247) สาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งของการสนับสนุนนี้คือ เพื่อยับยั้งการร่วมมือระหว่างจอมพล ป-เผ่า กับปรีดีในการรื้อฟื้นคดีสวรรคตขึ้นใหม่ (รายงานซีไอเอในขณะนั้นสรุปว่า “เนื่องจากพระองค์ทรงกลัวแผนการของจอมพล ป ที่จะนำปรีดีกลับมาจากจีน”)

หมื่นรายชื่อพรึบรับเลขาUN จี้สอบคดีอำมาตย์สังหารหมู่เร่งฟื้นฟูสันติภาพ-คายประชาธิปไตย

ที่มา Thai E-News


ร่วมกันเป็นเจ้าบ้านที่ดีต้อนรับเลขาธิการUN-ขอ เชิญประชาชนชาวไทยจัดกิจกรรมเป็นเจ้าบ้านที่ดีต้อนรับนายบัน คี มูน เลขาธิการUNในโอกาสเดินทางเยือนไทย หน้าสำนักงานUNประจำกรุงเทพฯที่ถนนหลานหลวง-ราชดำเนิน วันอังคาร 26 ตุลาคม เวลา10.00โดยสงบและทรงพลัง เบื้องต้นนี้ขอเชิญร่วมกันต้อนรับระดับหมื่นคนก็พอเพราะสถานที่จำกัด หากมาเป็นแสนอาจทำให้อำมาตย์ตกใจ

ชาวเกาหลีใต้เคยถูกเผด็จการสังหาร หมู่ในเหตุการณ์ 18 พฤษภาคม 2523 ที่เมืองกวางจู ผู้ชุมนุมถูกสังหาร ที่เหลือยัดคุกข้อหากบฎผู้ก่อการร้าย สื่อกระแสหลักบิดเบือนข่าวอย่างไร้ยางอาย หลายสิบปีต่อมามีการรื้อฟื้นคดีและลงโทษจำคุกตลอดชีวิตเผด็จการชุนดูวาน สร้างอนุสาวรีย์คืนเกียรติยศแก่วีรชน (อ่านเพิ่ม Wiki - Gwangju massacre)...สำหรับ เหตุการณ์ 19 พฤษภาคม 2553 ในไทย เราชาวไทยอยากวิงวอนให้เลขาธิการUNชาวเกาหลีได้ตระหนักว่า เราถูกกระทำกดขี่ไม่ต่างจากกรณี 18 พฤษภาที่กวางจู ต่างกันเพียงแต่ ...เรายังไม่ได้รับความยุติธรรมแบบเดียวกันนั้น...


โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
23 ตุลาคม 2553

ใน โอกาสที่นายบัน คี มูน เลขาธิการสหประชาชาติ (UN)จะเดินทางเยือนไทยในวันที่ 26 ตุลาคมนี้ ประชาชนไทยที่รณรงค์ด้านประชาธิปไตยได้ติดต่อเข้าพบเพื่อยื่นหนังสือเรียก ร้องให้ UN เข้ามาสอบสวนกรณีสังหารหมู่เหตุการณ์ 19 พฤษภาคม และเร่งเข้ามาฟื้นฟูสันติภาพ จัดการเลือกตั้งใหม่ในไทย เนื่องจากประชาชนชาวไทยไม่อาจยอมรับต่อระบอบปกครองเผด็จการอำมาตย์ที่มีนาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นหุ่นเชิดอีกต่อไป

เข้าชื่อหมื่นชื่อเตรียมยื่นต่อเลขาธิการ UN

ประชาชนไทยได้ร่วมกันลงนามในหนังสือที่เรียกร้องให้ UN เร่งฟื้นฟูสันติภาพในไทยประมาณ 10,000 รายชื่อ ประกอบด้วยรายชื่อจากกลุ่มแอ็คชั่นเพื่อประชาธิปไตยในประเทศไทย มีผู้ลงนามจำนวน 9,416 รายชื่อ

นอกจากนั้นเป็นการรวบรวมรายชื่อผ่านอินเตอร์เน็ตดำเนินการโดยนายรุ่งโรจน์ วรรณศูทร มีผู้ลงนามราว1,000รายชื่อ คลิ้กดูเพิ่มเติมที่นี่

นัดหมายบัน คี มูนได้แล้ว ประสานแรงกดดันเสื้อแดงต่างประเทศพร้อมกัน

นาย จตุพร พรมพันธ์ แกนนำนปช.แดงเพื่อแผ่นดิน ซึ่งเหลือรอดไม่ถูกจับกุมได้จัดตั้งคณะทำงานเพื่อการนี้ขึ้น โดยมีการจัดทำร่างหนังสือเรียกร้องให้ สำนักสิทธิมนุษยชนของ UN เข้ามาเป็นตัวกลางในการเจรจาระหว่างประชาชนไทยกับรัฐบาล ซึ่งเป็นงานด้านสันติภาพของ UN โดยตรง นำหลักการ ICCPR ที่เป็นปฏิญญาสากล ในเรื่องสิทธิมนุษยชน ความเป็นมนุษย์เข้ามาเป็นธรรมนูญสำคัญของการปกครองประเทศ ให้เหนือกว่ากฎอื่น ประชาชนจะได้เป็นเจ้าของประเทศเสียที

ทางด้านคน ไทยในต่างประเทศก็เตรียมจะกดดันต่อสำนักสิทธิมนุษยชน UN โดยเฉพาะในยุโรป เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างงานยุติธรรมทั้งระบบ "เรามุ่งหวังจะเห็นภาพระบบความยุติธรรม ที่เน้นเรื่องความเป็นมนุษย์ ให้เหนือกว่าเผด็จการ เพื่อนำไปสู่การเตรียมพร้อมในการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างขนานใหญ่ "คณะทำงานกล่าว

สำหรับการเข้าพบนายบันคีมูนนั้น คาดว่าจะส่งตัวแทนเข้าไปได้เพียง 10 คน ประชาชนที่เหลือต้องรอข้างนอก โดยอาจเป็นการจัดกิจจกรรมชุมนุมโดยสงบ หรือการประท้วงเชิงสัญลักษณ์ระหว่างรอ

โดยมีการนัดหมายเข้าพบ และชุมนุมสนับสนุนอยู่ด้านหน้าสำนักงานสหประชาชาติ ประจำกรุงเทพฯ ถนนราชดำเนิน ในเวลา 10.00 น. วันอังคารที่ 26 ตุลาคมนี้

นักวิชาการ-นักรณรงค์หลายกลุ่มเตรียมยื่นให้UNเป็นที่พึ่ง

กลุ่ม ประชาธิปไตยก้าวหน้า ซึ่งเคยจัดแรลลี่ในกรุงเทพฯตอนจัดกิจกรรม10-10-10 เมื่อวันที่ 10 ตุลาคมที่ผ่านมา เปิดเผยว่าได้เตรียมจัดทำจดหมายเปิดผนึกเรียกร้องให้สหประชาชาติรับรู้และ ช่วยเหลือเกี่ยวกับความไม่เป็นประชาธิปไตย การละเมิดสิทธิมนุษยชน และอื่นๆ ที่กำลังเกิดขึ้นในประเทศไทยเวลานี้ และเท่าที่ทราบ จะมีกลุ่มอื่นๆ และนักวิชาการไปยื่นจดหมายเปิดผนึกของกลุ่มตนให้กับเลขาธิการUN ด้วยเช่นกัน

เตรียมป้ายต้อนรับคึกทั้งภาษาเกาหลี ไทย ฝรั่ง

ผู้ ใช้ชื่อ"ลุงยิ้ม ตาสว่าง"ที่รณรงค์เคลื่อนไหวประชาธิปไตย แจ้งทางเฟซบุ๊คว่า จะนัดหมายต้อนรับเลขาธิการ UN โดยจะประกาศสถานที่ เวลาในวันที่ 24 ตุลาคมนี้ เวลา 12.00 น. โปรดเตรียมตัวโดยพร้อมเพรียงกัน จะมีขบวนรถ ออกมาด้วย ตอนนี้ขออุบไว้ก่อนจะได้ตื่นเต้น จะมาพร้อม สติ๊กเกอร์ "ม้าร์คยองฮา" ป้ายจัดเตรียมไว้ ประมาณ 200 ป้ายเป็นภาษาอังกฤษ และเกาหลี ไปแน่นอนครับ มีสองสนามบิน ที่เครื่องลงได้ คืิดอนเมือง และสุวรรณภูมิครับ


ถ้ามีคนเป็นหมื่น ๆ ขึ้นไปร่วมกันยื่นหนังสือเลขา UN พวกอำมาตย์เฮี่ยหนาวแน่

คนเสื้อแดงในโลกอินเตอร์เน็ตให้ความสนใจในกรณีนี้มากพอสมควร คุณ Bugbunny เขียนกระทู้หัวข้อ ถ้ามีคนเป็นหมื่น ๆ ขึ้นไปร่วมกันยื่นหนังสือเลขา UN พวกอำมาตย์เฮี่ยหนาวแน่ ดังนี้

มัน คงจารึกเป็นประวัติศาสตร์ของ UN เลยละ ว่าประชาชนจำนวนมากมายของประเทศหนึ่ง ร่วมใจกันแสดงให้โลกเห็นว่าเขาไม่มีที่พึ่งอีกแล้วกับทุกระบบ ระบอบ สถาบัน ฯลฯ ในประเทศของเขา ก็เลยต้องขอให้องค์กรโลกอย่าง UN ช่วย แม้จะรู้ว่าคงเป็นได้เพียงสัญลักษณ์เท่านั้นก็ตาม แต่มันก็ประจานความเป็น Fail State ของอำนาจรัฐและองค์กรรัฐในประเทศนั้นในสายตาสื่อมวลชนชาวโลกแบบล่อนจ้อนแน่ นอน แสดงด้วยว่าการกดขี่สังหารโหดประชาชนผู้รักประชาธิปไตยกลางมหานครนั้น ไม่อาจสยบพลังแห่งเสรีภาพของผู้รักประชาธิปไตยลงได้เลย

แม้แต่อำนาจ รัฐอำมาตย์เองก็ได้ประโยชน์ เอาการยอมให้ไปยื่นหนังสือเป็นหมื่น ๆ คน ไว้อ้างกับสื่อมวลชนโลกได้ว่าประเทศนี้มีเสรีภาพ จะทำอะไรก็ได้ แล้วค่อยหาทางเล่นงานทีหลังตอนเขาไปแล้ว ด้วยการกระแซะพื้นที่บ้าง ข่มขู่ว่าจะเอาเข้าคุก ไล่ยิงบ้าง กันต่อไป เพราะจะทำอะไรพวกเขาตอนเลขา UN มาก็ลำบาก แต่กูจะทำมันยังไงดีวะ มากันเยอะขนาดนี้ ทหารลูกน้องกูที่สั่งได้ก็ไม่มากขนาดนั้น

ส่วนคนเสื้อแดงนั้นผมว่า กล้าพอที่จะไปยื่นกันเป็นหมื่นคนขึ้นอยู่แล้ว แถมอยากให้แก๊งค์อำมาตย์เผด็จการโบราณและพวกทะเฮี่ยไร้ศักดิ์ศรีที่หน้าด้าน อ้างว่าม​ีเกียรติปราบพวกเขาวันนั้นเลยต่อหน้าต่อตาเลขา UN กันให้เห็นจะจะไปเลย รวมกับที่เห็นยิงกันพรุนเลือดสาดสมองไหลในยูทูปมาแล้ว จะได้รู้ว่าเฮี่ยนั้นโหดขนาดไหน

สรุปว่าได้ประโยชน์ทั้งสองข้างกับ การที่มีคนไปยื่นกับเลขา UN เรื่องที่เกิดในเมืองไทยสองสามปีมานี้ เพียงแต่การยื่นฟ้องนั้นไม่พอ ต้องแนะทางออกให้เขาด้วย โดยการเขียนป้ายภาษาต่างประเทศเรียกร้องให้เขาดำเนินการ ใครเรียนภาษาเกาหลี จีน ญี่ปุ่น อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน ฯลฯ ไว้ก็น่าจะทำป้ายไปโชว์ชาวโลกวันนั้นด้วย

สำหรับส่วนตัวขอฝากสักป้ายสองป้ายนะครับ

Re-Election in Thailand……
Under UN Supervision Now!!!

Head Junta Here……
Is Not the Military!!!

*******
เรื่องเกี่ยวเนื่อง:MAY18 กวางจู เกาหลี ถึงMAY19ราชประสงค์ เมื่อเสธ.แดง-พยาบาลน้องเกด-พระและวีรชนราชประสงค์โลดแล่นอยู่ในหนังเกาหลี...

ไม่ใช้ฝีตีน?

ที่มา ข่าวสด

คอลัมน์ เหล็กใน




นาย ชวน หลีกภัย ในฐานะหัวหน้าทีมฝ่ายกฎหมายคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ ออกมาพูดหลายครั้งว่าการต่อสู้คดีจะใช้ฝีมือ ไม่ใช้ฝีตีนวิ่งเต้นอย่างเด็ดขาด

มีการระดมมือกฎหมายระดับหัวกะทิมาร่วมวางแผนแน่นปึ้ก เช่น นายบัณฑิต ศิริพันธุ์ นายสุทัศน์ เงินหมื่น นายบัญญัติ บรรทัดฐาน ฯลฯ

ยังไม่รวมมือดีระดับปฏิบัติการ อย่างนายทศพล เพ็งส้ม ส.ส.นนทบุรี และนายวิรัช ร่มเย็น ส.ส.ระนอง

ทุก ครั้งที่มีการประชุม นายชวนก็จะมานั่งหัวโต๊ะดูประเด็นด้วยตัวเอง และมักจะพูดอยู่บ่อยครั้งว่าที่กกต.มีมติยุบพรรคประชาธิปัตย์ เป็นเพราะถูกม็อบเสื้อแดงกดดัน

ขณะเดียวกันก็ตีกันคนอื่นว่าถ้าไม่มีข้อมูล ก็อย่ามาวิพากษ์วิจารณ์ เพราะจะเป็นการกดดันศาล

กรณี นี้ นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ก็เคยออกมาตั้งข้อสังเกตว่าขณะที่ห้ามคนอื่นพูด แต่พรรคประชาธิปัตย์ก็ออกมาแถลงรายวัน ในการสร้างความชอบธรรมและ แก้ต่างให้ตัวเอง

โดยเฉพาะการพูดเชื่อมโยงเพื่อทำลายน้ำหนักพยาน

ระหว่างต่อสู้คดีนั้น พรรคประชาธิปัตย์เกิดเรื่องอื้อฉาวมาแล้วครั้งหนึ่ง กรณีนายทศพรแอบไปเจอเจ้าหน้าที่ศาลรับมอบเอกสารบางอย่าง

เมื่อเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์มากๆ เข้า นายทศพล ก็ถูกเขี่ยออกไป

ล่าสุด มีคลิปอื้อฉาวกรณีนายวิรัช นัดพบพูดคุยกับเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญ

เนื้อหาที่หารือพูดคุยกันใครก็มองออกว่าเพื่ออะไร

เมื่อบานปลายเข้าเนื้อตัวเองมากๆ เข้า

บรรดาสารพัดโฆษกก็เรียงหน้าออกมาตอบโต้พัลวัน

อ้างว่านายวิรัชหลงกล ถูกจัดฉาก คลิปมีการตัดต่อ เพื่อทำลายสถาบันองคมนตรี และศาล

พร้อมอ้างว่ามีผู้อยู่เบื้องหลัง ใช้เงินลงทุนมหาศาล

อีหรอบเดียวกับวิธีการฝ่ายกฎหมายซักค้านพยานในศาลรัฐธรรมนูญ ที่มุ่งหักล้างทำลายน้ำหนักพยานเป็นสำคัญ

แทนที่จะต่อสู้ด้วยข้อเท็จจริง

กรณีนายบัณฑิตซักค้านพ.ต.อ.สุชาติ วงศ์อนันต์ชัย เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนมาก

ขณะ เดียวกัน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็ตั้งกรรมการสอบนายวิรัช ซึ่งโฆษกส่วนตัวก็ออกมาแถลงทำขึงขังขนาดว่าถ้าผิดถึงขั้นขับจากสมาชิกพรรคก็ ต้องทำ

กรรมการที่ร่วมสอบนายวิรัชนั้น บางคนก็เคยสอบกรณีทุจริตในโครงการชุมชนพอเพียงมาแล้ว

ผลสรุปออกมาก็ผิดแค่ระดับปลาซิว ปลาสร้อย และเรื่องดังกล่าวก็เงียบหายไป

สำหรับคดียุบพรรคนั้น ถ้าดูตามตารางเวลาแล้วราวกลางเดือนพ.ย.น่าจะจบได้

พรรคประชาธิปัตย์สู้ด้วยฝีมือล้วนๆ ใช้ฝีตีนหรือไม่

ข้อเท็จจริงมีให้เห็นแล้ว

เจาะ'ประเด็น'พิสูจน์คดียุบปชป.

ที่มา ข่าวสด

คอลัมน์ รายงานพิเศษ




คดี ยุบพรรคประชาธิปัตย์จากกรณีเงิน 29 ล้านบาทใกล้ได้ข้อสรุป ภายหลังศาลรัฐธรรมนูญนัดไต่สวนพยานฝ่ายผู้ถูกร้องนัดสุดท้ายเมื่อวันที่ 18 ต.ค. พร้อมนัดแถลงปิดคดีด้วยวาจาในเช้าวันที่ 29 พ.ย.

นักกฎหมายที่ติดตามการไต่สวนคดีนี้มาเป็นลำดับตั้งแต่ต้น ได้ตั้งข้อสังเกตถึงประเด็นที่พรรคประชาธิปัตย์ไม่สามารถชี้แจงหักล้างได้ พร้อมนำพยานหลักฐานมาแสดงผ่านบทความ ดังต่อไปนี้



สิ่งที่จะ นำเสนอนี้เป็นตัวอย่างพยานหลักฐานสำคัญในคดียุบพรรคประ ชาธิปัตย์ จนเป็นเหตุให้นายทะเบียนพรรค การเมืองต้องยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรม นูญมีคำสั่งยุบพรรค

เพราะมีการใช้เงินกองทุนเพื่อพัฒนา การเมือง 29 ล้านบาทผิดวัตถุประสงค์

ตัวอย่างพยานหลักฐานที่จะแสดง เป็นประเด็นข้อเท็จจริงทางการเงินที่พรรคประชาธิปัตย์ไม่ใช้โอกาสที่มีในการ ไต่ สวนพยานแต่ละนัดที่ผ่านมาเพื่อหักล้าง

หรือแสดงให้ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่าพยานหลักฐานตามคำร้องของนายทะเบียนพรรคการเมือง (ผู้ร้อง) ไม่ถูกต้อง



การละเลยไม่ชี้แจงหักล้างนี้อาจถือได้ว่าจงใจหลีกเลี่ยงไม่ตอบข้อสงสัย ของประชาชนผู้เป็นเจ้าของเงินกองทุนเพื่อพัฒนาการเมืองที่แท้จริงด้วย

จึงไม่น่าประหลาดใจที่คนในสังคมไทยให้ความสนใจกับคลิปคดียุบพรรคประชา ธิปัตย์ที่มีการเผยแพร่อย่างกว้างขวาง และกำลังจับตามองไปที่การแถลงปิดคดีเป็นลายลักษณ์อักษรที่กำลังจะมาถึงใน เดือนพ.ย.นี้ว่า

พรรคประชาธิปัตย์จะใช้โอกาสที่มีในเฮือกสุดท้าย ชี้แจงหักล้างพยานหลักฐานของนายทะเบียนพรรคการเมือง ในกรณีข้อพิรุธที่จะกล่าวต่อไปนี้อย่างไร?

หากพรรคประชาธิปัตย์สามารถชี้แจงหักล้างพยานหลักฐานเหล่านี้ได้อย่างตรงไป ตรงมา ปราศจากข้อกังขาแล้ว จะเป็นพรรคการเมืองที่บริสุทธิ์ผุดผ่อง มีสิทธิ์โดยชอบที่ดำรงอยู่ต่อไปอย่างมีศักดิ์ศรีในฐานะพรรคการเมืองหนึ่งของ ประชาชนด้วยเหตุผลอันสมควรโดยแท้

มิใช่ชนะด้วยเทคนิคข้อกฎหมายที่ขัดแย้งกับความรู้สึกโดยธรรมของประชาชน



สำหรับประเด็นที่สืบเนื่องมาจากพยานหลักฐานของนายทะเบียนพรรค การเมืองที่ยังรอการชี้แจงหักล้างจากพรรคประชาธิปัตย์ มีดังนี้

1. กรณีการจ่ายค่าจ้างทำป้ายฟีเจอร์บอร์ด (feature board) ให้บริษัท เมซไซอะ บิซิเนส แอนด์ ครีเอชั่น จำกัด จำนวน 23,314,200 บาท พรรคประชาธิปัตย์มีเช็คสั่งจ่ายวันที่ 10 ม.ค.48 แต่มีใบเสร็จรับเงินลงวันที่ 7 ม.ค.48 (ดูตัวอย่างที่ 1)

2. กรณีการจ่ายหมึกสกรีน น้ำมันพิมพ์ป้าย ให้บริษัท วินสันสกรีน จำกัด 1,013,102.23 บาท พรรคประชาธิปัตย์มีเช็คสั่งจ่ายวันที่ 12 ม.ค.48 แต่มีใบเสร็จรับเงินลงวันที่ 11 ม.ค.48 และใบส่งของทุกฉบับลงวันที่ตั้งแต่ 2-30 ธ.ค.47 (ดูตัวอย่างที่ 2)

3. กรณีการจ่ายค่าแผ่นป้ายฟีเจอร์บอร์ด ให้บริษัทป๊อปปูล่า อินเตอร์พลาส จำกัด 1,284,160.50 บาท ตามใบสำคัญรับเงินลงวันที่ 10 ม.ค.48 แต่ใบส่งของกลับระบุเป็นวันที่ 28 ธ.ค.47 และในสำเนาบัตรประชาชนของนายธาตรี ลีลุตานนท์ เพื่อรับเช็ค

ระบุว่า "...รับเงินจากคุณแอน" (ดูตัวอย่างที่ 3)

4. กรณีการจ่ายค่าซื้อแผ่นป้ายฟีเจอร์บอร์ด ให้บริษัท อุตสาหกรรมอีโค่พลาส (ประเทศไทย) จำกัด 4,697,128.80 บาท ที่พรรคประชาธิปัตย์ มีเช็คสั่งจ่ายวันที่ 10 ม.ค.48 แต่มีใบกำกับภาษี ใบส่งสินค้า และใบเสร็จรับเงินลงวันที่ 23 ธ.ค.47 (ดูตัวอย่างที่ 4)

5. กรณีการสร้างหลักฐานเพื่อใช้เป็นหลักฐานประกอบรายงานการใช้จ่ายเงิน โดยการสั่งจ่ายเช็คและใบสำคัญรับเงินจากบริษัท เกิดเมฆ แอ๊ดเวอร์ ไทซิ่ง แอนด์ กรุ๊ป จำกัด 2,093,713.04 บาท มีจำนวนไม่ถูกต้องตรงกับใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี (ดูตัวอย่างที่ 5)

เหล่านี้เป็นเพียงบางส่วนของตัวอย่างในสำนวนการไต่สวนคดียุบพรรคครั้งนี้ ยังมีอีกหลายประเด็นที่พรรคประชาธิปัตย์ มิเพียงไม่สามารถหักล้างได้เท่านั้น

แต่ยังไม่กล้าแตะต้องเลยด้วยซ้ำ

การ์ตูน เซีย 23/10/53

ที่มา ไทยรัฐ

Pic_120816

การ์ตูน เซีย 23/10/53

สปิริตประธานศาล รธน.หรือแค่"จ่าเฉย"

ที่มา มติชน


ชัช ชลวร



พสิษฐ์ ศักดาณรงค์(คนขวา)

โดย ประสงค์ วิสุทธิ์

ถึง เวลานี้ อาจจะยังไม่รู้ว่า ใครเป็นเหยื่อใคร กรณีการเผยแพร่คลิปที่พรรคเพื่อไทยอ้างว่า เป็นการต่อรองในคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญจะตัดสินภายในปลาย ปี 2553


แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้สะท้อนถึงความน่าเชื่อถือของทั้งองค์กรและผู้บริหารระดับสูงในศาลรัฐธรรมนูญได้เป็นอย่างดี


ความจริงแล้ววิกฤตที่เกิดขึ้นกับศาลรัฐธรรมนูญมิได้เพิ่งเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก ในช่วงตัดสินคดี"ซุกหุ้น"ของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2544


พฤติการณ์ของตุลาการบาง(หลาย)คนและกระบวนการในการวินิจฉัยคดีที่"ไร้มาตรฐาน"ทำลายความน่าเชื่อถือของศาลรัฐธรรมนูญมาแล้ว


แต่ น่าเสียดาย มิได้ทำให้ผู้บริหารระดับสูงของสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการบางคนสำนึก ที่ช่วยกันสร้างองค์กรให้มีเข้มแข็งน่าเชื่อถือต่อสาธารณะ


หลังจากการตัดสินคดี"ซุกหุ้น"ผ่านมา 10 ปี คนในศาลรัฐธรรมนูญได้ก่อวิกฤตขึ้นภายในองค์กรอีกครั้งหนึ่ง


การที่นายชัช ชลวร ประธานศาลรัฐธรรมนูญ สั่งปลดนายพสิษฐ์ ศักดาณรงค์ ออกจากตำแหน่งเลขานุการฯ หลังจากที่ก่อเหตุการณ์อื้อฉาวแอบอ้างตำแหน่งเลขานุการประธานศาลฯไปเจรจาต่อ รองกับ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์เรื่องคดียุบพรรค เป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว


แต่ คำถามที่เกิดขึ้นทันทีคือ นายชัชควรแสดงความรับผิดชอบ(มากกว่านี้)อย่างไร เพราะนายพสิษฐ์ เป็นบุคคลที่นายชัชแต่งตั้งให้เป็นเลขานุการตามระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการแต่งตั้งเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญพ.ศ. 2551 ซึ่งให้"เอกสิทธิ์"นายชัชที่จะแต่งตั้งใครก็ได้ เพราะต้องเป็นบุคคลที่ไว้วางใจ(สามารถปลดออกและพ้นตำแหน่งพร้อมประธานศาลฯ)


เมื่อ อยู่ในตำแหน่งเลขานุการฯ นายชัชได้มอบหมายให้นายพสิษฐ์ เป็นตัวแทนในภารกิจหลายอย่าทั้งภายในและภายนอกซึ่งนายพสิษฐ์เองก็ได้แสดง บทบาทอย่างเต็มที่ ทำให้ผู้บริหารสำนักงานศาลอย่างเลขาธิการฯเองก็ให้ความเกรงใจ และสามารถใช้อำนาจดึงสาวคนสนิทในสำนักงานมาอยู่หน้าห้องประธานศาลได้ด้วย


ดัง นั้น การที่นายพสิษฐ์อ้างตำแหน่งเลขานุการฯพูดคุยเรื่องคดียุบพรรคกับ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์(ตามเสียงในคลิป)ย่อมทำให้บุคคลภายนอกเข้าใจได้ว่า นายพสิษฐ์มาในฐานะตัวแทนประธานศาลฯได้


แต่น่าแปลกคือ ไม่ค่อยมีใครทราบประวัติความเป็นมาของนายพสิษฐ์มากนัก(ยกเว้นตามคำบอกเล่าของตัวเองซึ่งแสดงถึงความเก่งกาจ) เช่น เปลี่ยนชื่อกลับไปกลับมาถึง 6 ครั้งอย่างพิสดารจาก "กมษศักดิ์ชนะ" เป็น "ชนะ-เกษมศักดิ์ชนะ-พสิษฐ์-กันตินันทน์-พสิษฐ์ "


ที่ รู้กันทั่วไปคือ นายชัชหอบหิ้วมาทำงานที่ศาลรัฐธรรมนูญเมื่อได้รับตำแหน่งประธาน ทั้งที่นายพสิษฐ์จบมาทางด้านกายวิภาคศาสตร์จากมหาวิทยาลัยรังสิต มิใช่ด้านกฎหมายที่น่าจะช่วยงานด้านวิชาการได้มากกว่า


เมื่อนายพสิษฐ์เป็นคนสนิท"ส่วนตัว" ก่อเรื่องขึ้น แทนที่นายชัชจะออกมาแถลงชี้แจงด้วยตนเอง กลับให้ตุลการ 5 คนซึ่งมิได้เกี่ยวข้องด้วย(ยกเว้นกรณีมีการแอบถ่ายคลิปในห้องประชุม)มาแถลง ปลดนายพสิษฐ์ออกจากตำแหน่งทั้งที่อำนาจการปลดนายพสิษฐ์เป็นของนายชัชเพียงคน เดียว(ไม่เข้าใจเหมือนกันว่า ตุลาการ5คนออกมารับหน้าแทนทำไม?)


หรือ นายชัช ไม่มีความกล้าหาญเพียงพอที่จะสู้หน้าสาธารณชน คิดว่า การหลบหน้าหลบตาจะทำให้เรื่องเงียบไปกับสายลม แล้วไม่ต้องรับผิดชอบใดๆ


ที่สำคัญการดำเนินการกับนายพสิษฐ์เป็นไปอย่างกล้าๆกลัวๆ เพราะมีข่าวว่า นาย พสิษฐ์เดินทางไปต่างประเทศด้วยหนังสือเดินทางของราชการ เมื่อถูกปลดจากตำแหน่งด้วยข้อกล่าวหารุนแรง ทำไมสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญไม่ทำเรื่องถึงกระทรวงการต่างประเทศให้เพิกถอน หนังสือเดินทางราชการของนายพสิษฐ์


ขณะที่นายชัชเองก็ถูกสาธารณชนตั้งคำถามถึง"ความเที่ยงธรรม"ในการตัดสินคดีจากการกระทำของนายพสิษฐ์


ดังนั้นการปลดนายพสิษฐ์ จึงไม่เพียงพอที่จะทำให้เกิดความเชื่อถือต่อตัวนายชัชได้ ตัวอย่างเช่น ถ้านายชัชตัดสินให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ ก็จะถูกกล่าวหาว่าต่อรองกับพรรคประชาธิปัตย์ไม่ลงตัว


ถ้าตัดสินว่าไม่ยุบพรรคประชาธิปัตย์ ก็จะถูกกล่าวหาว่า ต่อรองกับพรรคประชาธิปัตย์เรียบร้อยแล้ว


ดังนั้น ถามว่า ความรับผิดชอบของนายชัชควรอยู่ในระดับใด


ถ้าเอาระดับสูงสุด ควรลาออกจากตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ


ระดับรองลงมา ควรลาออกจากประธานศาลรัฐธรรมนูญ แต่ยังเป็นตุลการอยู่


ระดับต่ำสุด ควรถอนตัวจากองค์คณะคดียุบพรรค


การตัดสินใจของนายชัชจะแสดงถึงสปิริตของคนที่เป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญและนักกฎหมายดีเด่นรางวัลศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์

หรือแค่เล่นบท"จ่าเฉย"เพื่อเอาตัวรอดไปเรื่อยๆเท่านั้น

พท.เสนอรัฐออกเช็คเยียวยาน้ำท่วม ครอบครัวละ 5,000 บาท

ที่มา ข่าวสด


ภาพ : สุชาติ ธาดาธำรงเวช

วันที่ 22 ต.ค. ที่พรรคเพื่อไทย คณะทำงานด้านเศรษฐกิจพรรคเพื่อไทย
นำโดยนายสุชาติ ธาดาธำรงเวช อดีตรมว.คลัง
นายพิชัย นริพทะพันธุ์ อดีตรมช.คลังและ
นายคณวัฒน์ วศินสังวร
ร่วมแถลงข่าวโดยนายสุชาติ กล่าวว่า
พรรคเพื่อไทยขอเสนอมาตรการเพิ่มเติมต่อรัฐบาล 3 ประการ คือ

1.เพื่อช่วยเหลือครอบครัวผู้ประสบภัยเป็นการเร่งด่วนหลังน้ำลด
รัฐบาลควรออก “เช็คเงินสดฉุกเฉินช่วยผู้ประสบอุทกภัย 53”
ผ่านธนาคารของรัฐ เช่น
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.)
ธนาคารออมสิน
ให้ครอบครัวละอย่างน้อย 5,000 บาทเพื่อเป็นค่าจับจ่ายใช้สอย
หากประเมินจากตัวเลขผู้ประสบภัยประมาณ 400,000 ครอบครัว
จะเป็นเงินงบประมาณ 2,000 ล้านบาท
โดยให้รัฐบาลปรับลดงบประมาณที่ไม่จำเป็นลง เช่น
ป้ายโฆษณาประชาสัมพันธ์ของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงต่างๆ
และปรับโครงสร้างงบประมาณรัฐบาล
และรัฐวิสาหกิจในงบการก่อสร้างที่อาจไม่ได้ทำแล้ว
เนื่องจากพื้นที่หลายแห่งได้ถูกน้ำท่วม นอกจากนี้มาตรการความช่วยเหลือต่างๆ
ของหน่วยงานรัฐ เช่น การลดดอกเบี้ย พักชำระหนี้
ความช่วยเหลือเหล่านี้ต้องไม่น้อยกว่าเดิมจากที่รัฐบาลในอดีตกำหนดไว้


2. ให้รัฐบาลจัดตั้งศูนย์อำนวยการแก้ปัญหาน้ำท่วม
ที่ร่วมกำหนดแนวทางการทำงาน ลดความซ้ำซ้อน และบูรณาการร่วมกันและ

3.รัฐบาลต้องดูแลราคาสินค้าไม่ให้เกิดภาวะข้าวยากหมากแพงในช่วงหลังน้ำลด
โดยให้กระทรวงพาณิชย์เตรียมการจัดหาสินค้าที่จำเป็นให้มีความเพียงพอ
และจัดหายารักษาโรคและเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ให้เพียงพอ
เพื่อเตรียมป้องกันโรคระบาดที่จะตามมา

ภาพสายลมรัก,ลุงจุกฯลฯไปแจกของที่ลพบุรี

ที่มา thaifreenews

โดย หงส์ศาลาแดง

มาช้าไปหน่อยครับ
ต้องไปช่วยพี่สาวขนของหนีน้ำ
ตอนนี้เกือบถึงเอวแล้ว
ไปแจกของงวดนี้ ดีมากครับ
พี่น้องที่มารับของแจก
ส่วนมากๆดีใจที่รู้ว่าเป็นเสื้อแดงมาแจก
เราแจกทุกสีไม่มีแบ่งแยก
เริ่มขบวนแต่เช้า ผมรอที่แยกอ่างทอง
มีพี่เจี็ยบคนสวยอาจารน์แดงพี่กระเพราน้องมดดำและอีกท่านจำชื่อไม่ได้(ขออำภัย)
ไปกันที่ลพบุรี จุดแรกเป็นหมู่บ้านใหญ่จมหมดเกลี้ยง
บ่นชลประทานและเทศบาลไม่เตือนล่วงหน้าให้มีเวลาขนของหนีน้ำ
เสียหายกันเยอะ
จุดที่ 2 ไปที่ป่าหวาย มีบางส่วนที่ยังเข้าไปช่วยไม่ได้
เพราะกระแสน้ำแรง หวังว่าคงจะฮอ.ไปแจกของบ้าง
ไม่ไช่เอามาบินวนดูเสื้อแดงอย่างเดียว
เข้าไปถึงในหมู่บ้านได้ต้องขอบคุณ
เทศบาลลพบุรีและพนักงานดับเพลิง
ที่เอื้อเฟื้อเรือท้องแบน และบริการลากเข้าไปด้วย
ส่วนผมต้องไปช่วยพี่สาวย้ายของก่อนครับ
4 - 5 ภาพสุดท้ายคือที่อ่างทอง
ข้างบ้านพี่สาวตอนนี้พังแล้วครับ







พี่สายลมรัก บอกว่าไม่หลอไม่เท่ ห้ามลง ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม







เตรียมแจกข้าวกล่อง







ขนของลงเรือ มีมดดำตามไปแจก







ย้ายมาป่าหวาย



เป็นธรรมมดาครับคนหนุ่ม(น้อย)ค่อยๆย่อง ยิ้มกว้างๆ





ขอบคุณ พตอ.ชูเกียรติ ด้วงชนะแกนนำลพบุรีคอยช่วยประสาน(ใส่หมวก)



เสื้อแดงสวยๆทั้งนั้น






























ผมสังเกตท่ายืนพี่สายลมรัก
ประมาณว่า ไทเกอร์ วู๊ดส์กำลังเล็งกรีน ยิงฟันยิ้ม





ชนของลงเรือ ขอบคุณดับเพลิงเทศบาลลพบุรีครับ











บ้านนี้ร้องเพลงเสื้อแดง เอาไปเลย 2 ชุด























น้องคนสวยบ้านถูกตัดไฟ เลยให้เทียนพรรษาไปใช้ก่อน





ที่อ่างทอง







เราจะไม่ทิ้งกันครับ