ที่มา Voice TV
เพื่อไทย
Saturday, June 9, 2012
พท.ยืนยันได้ข้อสรุปลงมติวาระ 3 แก้ รธน.อังคารนี้
โวหารและความเห็นต่างกฎหมายหมิ่นฯ (1): อภิปรายโดยประวิตรและครูเบน
ที่มา ประชาไท
เมื่อวันที่ 7 มิ.ย. ที่ผ่านมา เวลา 19.00 น. ณ เรือนร้อยฉนำ
สวนเงินมีมา มีการจัดงานเสวนา "Rhetoric and Dissent: Where to next for
Thailand's lese majeste law?" (วาทกรรมและความเห็นต่าง:
อนาคตของกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพกับประเทศไทย) มีวิทยากรร่วมเสวนา
ได้แก่ เบเนดิกท์ แอนเดอร์สัน
ศาสตราจารย์ด้านเอเชียศึกษามหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ ประวิตร โรจนพฤกษ์
ผู้สื่อข่าวอาวุโสเดอะ เนชั่น สุลักษณ์ ศิวรักษ์ ปัญญาชนและนักเขียน
แอนดรูว์ แมกเกรเกอร์ มาร์แชล อดีตนักข่าวอาวุโสรอยเตอร์และผู้เขียนหนังสือ
"Thai Story" ดำเนินรายการโดยผู้สื่อข่าวอิสระ ลิซ่า การ์ดเนอร์
โดยในตอนแรก นำเสนอการอภิปรายของประวิตร โรจนพฤกษ์ และเบเนดิกท์ แอนเดอร์สัน ดังนี้
วิพากษ์สถาบันผ่านมุมมองความศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนา
ประวิตร เริ่มต้นด้วยการกล่าวว่า ที่ผ่านมา
การถกเถียงเรื่องกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพส่วนใหญ่ยังถูกจำกัดอยู่เพียง
ด้านกฎหมาย
ตนจึงอยากจะพูดถึงด้านวัฒนธรรมที่สัมพันธ์กับสถาบันกษัตริย์ซึ่งไม่ค่อยถูก
พูดถึงมากนัก
จึงอยากจะอภิปรายประเด็นของสถาบันกษัตริย์ผ่านทางมุมมองของศาสนา
เขาตั้งข้อสังเกตว่า ในแง่หนึ่ง
การเคารพนับถือสถาบันกษัตริย์ก็เหมือนกับเป็นความสบายใจด้านจิตวิทยา
โดยเป็นเสมือนเครื่องยึดเหนี่ยวด้านจิตใจโดยเฉพาะในหมู่รอยัลและอัลตร้ารอ
ยัลนิสต์ ที่ต้องการหาที่พึ่งทางจิตใจจากความเกลียดชังที่มีต่อนักการเมือง
จึงจำเป็นจะต้องมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่เหนือคำวิพากษ์วิจารณ์ไว้
และกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและพ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฯ
จึงทำหน้าที่นั้นเพื่อไม่ให้มีการวิจารณ์ต่อสถาบัน
นอกจากนี้ ในฐานะที่สถาบันกษัตริย์มีความศักดิ์สิทธิคล้ายกับศาสนา
จึงต้องมีพิธีกรรมมาประกอบ เช่น ดนตรีพระราชนิพนธ์ เพลงขับร้อง หนังสือ
และงานต่างๆ เพื่อเชิดชูเกียรติสถานะของสถาบัน
ยังรวมถึงการใส่เสื้อสีเฉพาะต่างๆ และสติ๊กเกอร์ที่แปะอยู่ตามท้ายรถ
เพื่อแสดงความจงรักภักดี
ประวิตรตั้งข้อสังเกตว่า พระสงฆ์อย่าง อย่างว.วชิรเมธี
ก็มีส่วนในการเผยแพร่คำสอนของพระมหากษัตริย์เพื่อมาเสริมให้เข้ากับคำสอนทาง
ศาสนาผ่านทางสื่อกระแสหลักได้เป็นอย่างดี และเพื่อให้พล็อตเรื่องนี้สมบูรณ์
จึงต้องมีผู้ร้ายหรือ "ซาตาน" อยู่ด้วย
ซึ่งในขณะที่สมัยก่อนผู้ร้ายคือคอมมิวเนิสต์ แต่ปัจจุบัน
"ซานตาน"?ก็จะเป็นทักษิณ และผู้สนับสนุนคือเสื้อแดงนั่นเอง
และสำหรับฝั่งที่มีทัศนคติวิพากษ์วิจารณ์ต่อสถาบันกษัตริย์ หรือเป็นฝ่าย
"สนับสนุนซาตาน" จึงมักจะเห็นว่า
ชีวิตของฝ่ายนี้จึงต้องประสบกับอุปสรรคมากเกินกว่าคนปรกติทั่วไป
นักข่าวอาวุโสผู้นี้มองว่า สิ่งที่เป็นปัญหาอีกข้อหนึ่ง ก็คือ
สื่อกระแสหลักของไทยเองก็ยังอยู่ในสภาวะที่ปฏิเสธการถกเถียงเรื่องนี้
โดยเซ็นเซอร์ตนเอง และกลุ่มคนที่ได้ประโยชน์จากเรื่องนี้
ก็ไม่ใช่ใครอื่นนอกจากชนชั้นนำที่จะได้ประโยชน์จากการขาดการตรวจสอบและความ
โปร่งใส
สุดท้าย เขาสรุปว่า
เรื่องนี้มีความสำคัญเพราะเกี่ยวกับสิทธิพื้นฐานและเสรีภาพในการแสดงออกของ
ประชาชน ซึ่งในอนาคตก็คงขึ้นอยู่กับว่าสังคมไทยจะมีวุฒิภาวะมากแค่ไหน
"เชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงของประเทศไทยในระยะ 5-6 ปีที่ผ่านมา มาถึงจุดที่ย้อนกลับไปไม่ได้แล้ว" ประวิตรกล่าว
สถาบันกษัตริย์กับความศักดิ์สิทธิ์ที่เปลี่ยนแปลง
ด้าน เบเนดิกท์ แอนเดอร์สัน
ซึ่งในขณะนี้กำลังเขียนบทความทางวิชาการเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ที่เหลือใน
โลก 27 ราชวงศ์ หรือคิดเป็นร้อยละ 15 ของประเทศในสหประชาชาติ
ตั้งข้อสังเกตว่า
ในหมู่สถาบันกษัตริย์ที่มีความเข้มแข็งและน่าจะอยู่รอดได้อย่างยืนยาว
มีการใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ หากแต่ในปัจจุบันนี้
แทบจะไม่ได้ถูกนำเอามาใช้เลย
อย่างในนิตยสารหรือ หนังสือพิมพ์ในประเทศอังกฤษ
ก็มีมุกตลกเสียดสีราชวงศ์ที่มีความแสบสันต์
แต่สถาบันกษัตริย์อังกฤษนี้ก็เข้มแข็งมากพอที่จะปล่อยคนที่อยากจะหัวเราะให้
หัวเราะไป น่าสังเกตว่า การเพิ่มขึ้นโทษของกฎหมายหมิ่น
จะสูงขึ้นเมื่อสถาบันเกิดความกลัว ตัวอย่างเช่นในยุโรป
ประเทศที่มีกฎหมายหมิ่นแรงสุดก็คือสเปน ทั้งนี้
ก็มีเหตุผลที่สืบเนื่องจากข่าวในทางลบเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์สเปน
เสียจนกระทั่งถึงจุดที่ทำให้นักข่าวและนักการเมืองออกมาพูดว่าถึงเวลาที่
กษัตริย์ต้องสละราชย์แล้ว โดยแอนเดอร์สันมองว่า
นั่นก็เป็นวิธีที่ดีในการหาทางออกหากสถาบันมีสมาชิกและปัญหาที่น่าไม่พึ่ง
ประสงค์ แต่สำหรับวิกฤติการณ์ในปัจจุบัน
สเปนก็ยังไม่กล้าเอาคนเข้าคุกมากนัก เพราะข่าวเสียๆหายๆ มันไกลออกไปมากแล้ว
เขาเล่าว่า ปัญหาล่าสุดที่ทำให้สถาบันกษัตริย์สเปนอยู่ในภาวะนี้
คือทริปไปล่าสัตว์ป่าที่บอตสวานาของกษัตริย์ฮวน คาร์ลอสที่สอง
ในขณะที่สเปนกำลังเผชิญวิกฤติเศรษฐกิจอย่างสาหัสและมีประชาชนว่างงานจำนวน
มาก และค่าใช้จ่ายในการเดินทางครั้งนี้
ก็ยังได้รับการสนับสนุนจากเศรษฐีซีเรียผู้เป็นมือขวาของกษัตริย์ซาอุดิอาระ
เบีย
เพื่อแลกเปลี่ยนกับผลประโยชน์เรื่องการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงในกรุงเมกกะ
นอกจากนี้ การที่เขาเป็นประธานกิติมศักดิ์ของสมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่าโลก
ก็ยิ่งทำให้การขุดคุ้ยเรื่องนี้โดยสื่อมวลชนมากยิ่งขึ้นและส่งผลเสียแก่
สถาบันกษัตริย์มากขึ้น
"จะเห็นว่าไม่เพียงแต่ซาตานจะเป็นต่อมากขึ้นเท่านั้น แต่พระเจ้าเองก็ทำตัวไม่ได้ดีไปสักเท่าไร" แอนเดอร์สันกล่าว
อีกสิ่งที่ต้องจำไว้คือ
สถาบันกษัตริย์ในหลายประเทศก็ไม่ได้อยู่รอดตลอดไป
เพราะย่อมถึงเวลาที่สมาชิกในราชวงศ์จะหมดไป ช่วงหลังนี้
เหล่าราชวงศ์จึงเลยมีส่งเสริมให้ปฏิบัติตนดีเป็นพิเศษ เพราะมิเช่นนั้น
หากประสบอุปสรรคจากหลายด้าน ประเทศก็อาจต้องกลายเป็นสาธารณรัฐในที่สุด
สิ่งที่สองที่ตนอยากเน้น แต่อาจจะไม่เกี่ยวข้องกับสถาบันมากนัก
โดยหากพูดตรงไปตรงมาก็คือว่า ถ้าดูสถิติจาก นสพ. บางกอกโพสต์
จะเห็นว่าผู้ชายไทยที่บวชเป็นพระหรือเณร เมื่อสิบปีที่มีอยู่ราวหกล้านคน
แต่เมื่อปีที่แล้วเหลือเพียงหนึ่งล้านหาแสนคน
ซึ่งนับว่าเปลี่ยนไปเยอะมากในระยะสิบปี โดยเหล่านักบวชหายไปประมาณ 70%
เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านสื่อ ความเป็นเมือง (urbanization)
และปัจจัยอื่นๆ
นี่หมายความว่าพื้นที่ของความศักดิ์สิทธิ์ไม่ได้มีมากเท่าเดิมอีกต่อไป
และสำหรับสถาบันกษัตริย์ที่เมื่อก่อนมีรังสีและความศักดิ์สิทธิ์ด้านศาสนา
จึงเป็นสิ่งที่ต้องควรนำมาพิจารณาคู่กันด้วย
ศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ เล่าถึงการเดินทางผ่านเมืองต่างๆ
ในภาคใต้ของไทยเมื่อสองสามปีที่แล้ว ก่อนวันการเลือกตั้งทั่งไปหนึ่งวัน
ที่เขานั่งรถผ่านจังหวัดชุมพร เพชรบุรี และอื่นๆ
ก็หาดูป้ายข้างถนนเพื่อสำรวจว่าป้ายการหาเสียงของพรรคประชาธิปัตย์จะมีมาก
แค่ไหน แต่เขาแปลกใจมากที่หาเจอไม่มากนัก ทั้งๆ
ที่พื้นที่ตรงนี้เป็นฐานเสียงของประชาธิปัตย์ แต่ป้ายที่เขาพบเจอมาก
นอกจากป้ายโฆษณากิจกรรมของวัดต่างๆ ซึ่งคิดเป็นราวร้อยละ 30 ที่เหลือ
กลับกลายเป็นป้ายที่มีรูปภาพของสถาบันกษัตริย์เต็มไปหมด
ราวกับกำลังทำการหาเสียงอยู่ในการเลือกตั้ง โดยเขาตั้งข้อสังเกตว่า
นี่เป็นปรากฎการณ์ที่แตกต่างไปจากเมื่อราว 40 ปีก่อน
และแทบจะหาที่อื่นในโลกไม่ได้อีกแล้วที่มีปรากฏการณ์เช่นนี้
"ยิ่งมีความกลัวมากเท่าไร ไม่เพียงแต่กฎหมายหมิ่นฯ
จะรุนแรงมากขึ้นเท่านั้น แต่ยังมีอีกด้านที่ขนานกันไปด้วย
นั่นก็คือการรณรงค์ขนานใหญ่ ผมคิดว่าที่ทำโดยข้าราชการและตำรวจ
เพื่อกระหน่ำติดป้ายภาพต่างๆ ของสถาบันกษัตริย์ตามถนน และร้านค้าต่างๆ
ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ซึ่งในแง่หนึ่งมันอาจจะเข้าใจได้
แต่มันยากที่จะหาที่ไหนอื่นในโลกที่มีการทุ่มเทพลังงานมหาศาลลงสู่อะไรแบบ
นี้" แอนเดอร์สันตั้งข้อสังเกต พร้อมกับกล่าวว่า
หากว่าเป็นในอังกฤษหรือสวีเดน จะไม่มีอะไรแบบนี้ เพราะมันเยอะเกินไป
เราต้องรู้ว่าเราจะอยู่อย่างมีเหตุผลกันอย่างไร
สุดท้าย
แอนเดอร์สันเล่าเรื่องสมัยที่เขายังเป็นนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ว่า
แต่ก่อน เมื่อเขาไปดูหนังในโรงภาพยนตร์ หลังหนังฉายจบจะมีคลิปสั้นๆ
ของพระราชินีกำลังขีม้า แต่ผู้ชมก็จะไม่ชอบใจเป็นอย่างมาก
อีกสิบปีถัดมาในทศวรรษ 1960
จึงได้เปลี่ยนเอาคลิปดังกล่าวมาฉายก่อนภาพยนตร์จริง
คู่กันกับโฆษณาขายช็อคโกแลต ป๊อบคอร์น ฯลฯ
ซึ่งคนดูก็จะรอให้โฆษณาจบลงแล้วถึงเข้าไปดู แต่ในที่สุด
คนก็สามารถดูหนังได้ทุกเรื่องโดยไม่จำเป็นต้องดูหนังสั้นของสถาบัน
เพราะทางราชสำนักได้ยกเลิกการฉายหนังสั้นดังกล่าวในโรงภาพยนตร์
เพราะประชาชนตั้งคำถามมากขึ้นว่าทำไมต้องมีพิธีกรรมเหล่านี้
"คือเราก็ได้รับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับสถาบันบ้าง แต่ไม่ใช่ทุกที่
ทุกเวลาผมคิดว่าคนเราจะต้องมีความยืดหยุ่นและความเข้าใจที่มากขึ้นว่าสังคม
ไทยทุกวันนี้เป็นอย่างไรและมุ่งหวังที่จะเป็นอย่างไร" แอนเดอร์สันกล่าว
นปช. สัญจร: งาน "ปกป้องประชาธิปไตย สู้การปล้นอำนาจประชาชน"
ที่มา uddred
ทีมข่าว นปช.
9 มิถุนายน 2555
'ธิดา' ขอวุฒิสภาถอดถอน ตลก. ศาล รธน. ก่อนศาล รธน. ตัดสิน
อ.ธิดา ถาวรเศรษฐ และแกนนำ นปช. ร่วมงาน "ปกป้องประชาธิปไตย สู้การปล้นอำนาจประชาชน" ณ รัฐสภา ถ.อู่ทองใน เขตดุสิต กรุงเทพ เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2555
วานนี้ (8 มิ.ย.) ที่รัฐสภา เมื่อเวลา 14.00 น. อ.ธิดา ถาวรเศรษฐ, นพ.เหวง โตจิราการ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะตัวแทนกลุ่ม นปช. นำเอกสารรายชื่อประชาชนกว่า 20,000 รายชื่อเข้ายื่นต่อประธานวุฒิสภาเพื่อดำเนินการยื่นถอดถอนตุลาการศาลรัฐ ธรรมนูญจำนวน 7 คน ตามมาตรา 270 ของรัฐธรรมนูญโดยมีนางพรทิพย์ โล่ห์วีระ จันทร์รัตนปรีดา รองประธานวุฒิสภา เป็นผู้รับหนังสือแทน
อ.ธิดา กล่าวว่า การยื่นรายชื่อในครั้งนี้เป็นการเคลื่อนไหวของภาคประชาชน และถือเป็นประวัติศาสตร์ที่ไม่เคยมีที่ไหนในโลกมาก่อนที่ประชาชนกล้ายื่นถอด ถอนตุลาการ โดยถึงแม้ว่าปรากฏการณ์เช่นนี้จะเป็นเรื่องมหัศจรรย์เชิงลบ แต่นับว่าเป็นศักดิ์ศรีของประชาชนที่กล้าลุกขึ้นมายืนหยัดต่อสู้และสร้าง ความหมายในเชิงประวัติศาสตร์มาก ทั้งนี้ ถึงการยื่นถอนถอนจะไม่มีความหวังก็ตาม แต่เมื่อใช้วิถีทางในระบบไม่ได้ผล คนเสื้อแดงก็จะต่อสู้ในวิถีทางของภาคประชาชนต่อไป โดยหลังจากการยื่นรายชื่อแล้ว กลุ่ม นปช. จะมีการเคลื่อนไหวใหญ่ในทุกทางเพื่อให้อำนาจกลับมาสู่ประชาชนให้ได้ เริ่มจากวันที่ 24 มิถุนายนนี้ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของระบอบประชาธิปไตย กลุ่ม นปช. จะจัดชุมนุมใหญ่อีกครั้งที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
นพ.เหวง กล่าวว่า การยื่นถอดถอนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้ง 7 คนนี้ เพราะเห็นว่ามีการกระทำความผิดอย่างชัดเจน หากหลังจากนี้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญยังคงดึงดัน และวินิจฉัยการแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐสภาว่าเป็นการทำลายระบอบประชาธิปไตย ก็จะทำให้บ้านเมืองกลับไปสู่วิกฤต และเชื่อว่าประชาชนจะไม่ยอมรับคำวินิจฉัยแบบนั้นอย่างแน่นอน อย่างไรก็ตาม ส่วนตัวอยากให้วุฒิสภาดำเนินการเรื่องนี้ให้แล้วเสร็จก่อนวันที่ 7 กรกฎาคม เพราะศาลจะอ่านคำวินิจฉัยในวันดังกล่าว
ก่อนหน้านี้แกนนำ นปช. ได้ร่วมกันแถลงข่าว โดย อ.ธิดา กล่าวว่า วันนี้ขอยื่นรายชื่อประชาชนจำนวน 2 หมื่นกว่ารายชื่อให้ประธานวุฒิสภาเพื่อถอดถอนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจำนวน 7 คนต่อประธานวุฒิสภาไปก่อน และจะรวบรวมให้ได้ 1 ล้านรายชื่อเพื่อเป็นเครื่องยืนยันว่าประชาชนไม่ต้องการตุลาการศาลรัฐ ธรรมนูญชุดนี้อีกต่อไป
จตุพร พรหมพันธุ์ อดีต กล่าวว่า การล่ารายชื่อถอดถอนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญครั้งนี้เป็นการกระทำตามกระบวนการ รัฐธรรมนูญ แม้ว่าท้ายที่สุดจะไม่สามารถถอดถอนได้ก็ตาม แต่ทางคนเสื้อแดงจะเดินหน้าสนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญต่อไป ฝากคนเสื้อแดงเร่งลงชื่อให้ครบ 1 ล้านรายชื่อภายในวันที่ 24 มิ.ย. นี้ ขณะเดียวกัน ถ้ากระบวนการศาลรัฐธรรมนูญเดินหน้า ไต่สวนในวันที่ 5-6 ก.ค. แล้วมีการวินิจฉัยในวันที่ 7 ก.ค. ที่เป็นผลร้ายต่อรัฐสภา เหตุการณ์นี้จะเป็นการเผาประเทศให้เกิดความหายนะและย่อยยับ จึงเห็นว่าตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 7 คนย่อยยับ ย่อมดีกว่า 64 ล้านคนย่อยยับ ดีกว่าประเทศย่อยยับ และเมื่อตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทำผิดรัฐธรรมนูญเสียเอง โทษต้องสูงกว่าคนทั่วไป และเมื่อมีการยื่นรายชื่อประชาชนต่อประธานวุฒิสภาเพื่อถอดถอนตุลาการศาลรัฐ ธรรมนูญเสร็จสิ้น ขอยุติการชุมนุมในยกนี้ไปก่อน แล้วเก็บแรงไว้ในวันที่ 24 มิ.ย. นี้ดีกว่าและขอให้ทุกคนอยู่ในความพร้อมแบบ 100 เปอร์เซ็นต์
ล้านคำบรรยาย การ์ตูนเซีย 09/06/55 มุกเก่าๆ เวอร์ชั่นอินเตอร์....
ที่มา blablabla
โดย 3บลา ประชาไท
น่าสลด ทร้วยส์แลนด์ แดนตอแหล
วิปริต บิดเบือน มิเชือนแช
ชอบกุเรื่อง สาระแน แย่เต็มที....
หวังขุดมุก เก่าๆ มาเล่าใหม่
เคยเปิดดิกชันนารีไทย ให้บัดสี
สู่อินเตอร์ เวอร์ชั่นเริ่ด ประเสริฐดี
สร้างอัปรีย์ อดสู สู่องค์กร....
เหมือนคนพาล ลุอำนาจ ขาดสติ
อุตริ มากแค่ไหน ไม่สังหรณ์
เพราะเลือกข้าง จึงเฉไฉ ไม่สังวรณ์
ต้องถอดถอน ทันที อย่ารีรอ....
รัฐประหาร หวังฉกฉวย ด้วยกฎหมาย
ไร้ยางอาย สัปดน คนหัวหมอ
ลืมถูกผิด คิดระยำ ทำสอพลอ
นี่แหละหนอ พวกอุบาทว์ ขาดคุณธรรม....
ที่นี่คือ..เมืองไทย ใช่เมืองขึ้น
อย่าแสร้งมึน ด้านชา มันน่าขำ
แต่ละเรื่อง เหมือนสิ้นคิด จิตใจดำ
หวังเหยียบย่ำ ฉกฉวย ด้วยเล่ห์กล....
๓ บลา / ๙ มิ.ย.๕๕
คลิปหายาก สารคดีดวงใจไทยทั้งชาติ:ในหลวงพระราชทานสัมภาษณ์BBCกรณีสวรรคตรัชกาลที่8
ที่มา Thai E-News
มติชนออนไลน์ รายงานว่า มี
ผู้ใช้นามว่า "yoware" ซึ่งจัดทำเว็บไซต์ storify.com
ได้นำคลิปสารคดีเทิดพระเกียรติ "Soul of a Nation"
ที่จัดทำโดยสำนักข่าวบีบีซีเมื่อหลายสิบปีก่อน มาเผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ต
โดยระบุว่า
"ตอนแรก เริ่มต้นด้วยพระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา เมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2522 นำสู่การเล่าพระราชประวัติและพระประวัติของพระบรมวงศ์ พระราชจริยาวัตร พระราชอิริยาบท การสวรรคตของพระเชษฐา รวมทั้งเรื่อง "ความรัก" จากพระโอษฐ์สมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ
เปรียบเทียบมาตรา 68 ภาษาอังกฤษและไทย เพื่อพิสูจน์ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถในการใช้ความคิดของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
ที่มา Thai E-News
ขอให้ไปดูรัฐธรรมนูญฉบับที่แปลเป็นภาษาอังกฤษจะชัดเจน-วสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธาน ตลก รธน.
(1) A person is prohibited from using the rights and liberties provided in the Constitution to overthrow the democratic rule with the King as the Head of the State as provided by this Constitution; or to acquire power to rule the country by means other than is provided in the Constitution.
มาตรา 68 บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ มิได้
(2) Where a person or political party acts under paragraph one, the witness
thereof has the right to report the matter to the Prosecutor General to
investigate facts and to submit a request to the Constitutional Court for
decision to order cessation of such act without prejudice to criminal proceedings
against the doer of the act.
ในกรณีที่บุคคลหรือพรรคการเมืองใดกระทำการตามวรรคหนึ่ง
ผู้ทราบการกระทำดังกล่าวย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าว
แต่ทั้งนี้ ไม่กระทบกระเทือนการดำเนินคดีอาญาต่อผู้กระทำการ ดังกล่าว
(3) If the Constitutional Court decides to order cessation of the said act
under paragraph two, the Constitutional Court may order dissolution of that
political party.
ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้พรรคการเมืองใดเลิกกระทำการตามวรรคสองศาลรัฐธรรมนูญอาจสั่งยุบพรรคการเมืองดังกล่าวได้
(4) In case of order dissolution of that political party by the Constitutional
Court under paragraph three, the leader of the dissolute Party and the member
of the board of the executive committee under paragraph one are prohibited the
right of election for five years from the date of order by the Constitutional
Court.
ใน
กรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคการเมืองตามวรรคสาม
ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารของพรรคการ
เมืองที่ถูกยุบในขณะที่กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นระยะเวลาห้าปีนับแต่วัน
ที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งดังกล่าว ในวรรค 2 ตรงขีดเส้นใต้เป็นประเด็นที่เถียงกันว่า ต้องส่งอัยการสูงสุดหรือไม่ อ่านภาษาไทยเทียบภาษาอังกฤษท่านผู้อ่านที่เป็นคนมีความสามารถปกติ ไม่ใช่คนเสมือนไร้ความสามารถซึ่งหมายถึงคนที่ดูแลตัวเองได้แต่ไม่ควรทำงาน ควรมีผู้พิทักษ์เช่นทนายหรือผู้ปกครองดูแลความประพฤติเพื่อความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สิน
คนเสมือนไร้ความสามารถภายนอกอาจเหมือนคนปกติ แต่จำเป็นต้องมีการดูแลเป็นพิเศษตามกฎหมายแพ่งต่อไปนี้
เสียดาย ที่ไม่มีใครไปร้องให้ตุลาการทั้งหลายเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ แต่แค่ดูจากความสามารถในการตัดสินคดีความหรืออ่านหนังสือทั้งภาษาอังกฤษและ ภาษาไทยแล้วก็เห็นได้ชัดว่าขืนให้ทำงานกันต่อไปประเทศชาติล่มจมแน่นอน แต่อย่างว่า ต้องทำตามนายสั่ง สั่งแล้วก็ต้องตัดสินอย่างนั้นให้ได้เพราะรู้อยู่แล้วว่าส่งให้อัยการสูงสุด ซึ่งเป็นบุคคลปกติคงไม่เส้นตื้นเสนอให้สั่งคดีแบบผิดปกติอย่างนี้ได้ เลยต้องหาข้ออ้างสารพัดเช่นพจนานุกรมหรือภาษาอังกฤษเป็นต้น
แต่ถ้าสังคมไทยยังจะอยู่ในบรรยากาศแบบนี้อีก ก็ขอเสนอรัฐสภาไทย แก้รัฐธรรมนูญมาตรา 69 ดีกว่ามาตราอื่นๆ เสียเวลาโดยใช่เหตุโดยมาตรานี้กฎหมายเดิมบัญญัติไว้ว่า
มาตรา 69 บุคคลย่อมมีสิทธิต่อต้านโดยสันติวิธีซึ่งการกระทำใด ๆ ที่เป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้แก้วลีเดียว คือตัดคำว่าสันติวิธีออกไป เพราะ มาตรานี้มีไว้ต่อสู้กับการรัฐประหาร เมื่ออีกฝ่ายมีปืน แต่ให้ประชาชนนั่งร้องเพลงเฉยๆ มันเป็นไปไม่ได้ กฎหมายข้อนี้เป็นความลุ่มลึกของคนร่างกฎหมายที่สนับสนุนฝ่ายเผด็จการและ จำกัดขอบเขตให้ผู้ยึดอำนาจนั้นครองอำนาจได้ง่ายๆเหมือนกับที่ศาลฎีกาตีความ รับรองการยึดอำนาจได้ว่าเป็นรัฎฐาธิปัตย์ สามารถออกกฎหมายภัยโทษตัวเองได้ ซึ่งไม่มีที่ไหนในโลกเป็นเช่นนี้
ได้เวลาการเปลี่ยนแปลงใหญ่แล้ว ขอให้ฝ่ายประชาธิปไตยทุกท่าน แวะไปสักการะพระบรมสารีริกธาตุ ที่อยู่ใกล้เพื่อสะสมบุญไว้มากๆ ถือศีลห้าเคร่งครัดในช่วงเวลาสำคัญเช่นนี้ และสร้างระบบการติดต่อกันเป็นเครือข่ายมีคนจำนวน 50 คน เป็นกลุ่มย่อยๆ และติดต่อกับกลุ่มอื่นๆให้กว้างขวางออกไป
เมื่อเกิดเหตุอะไรขึ้นจะได้ช่วยเหลือกันในยามทุกข์ยากได้ แต่ขออย่างเดียว ดร.ทักษิณฯและแกนนำ อย่าชักเข้า ชักออก คราวนี้จะไม่มีใครฟังท่านแล้ว
******************
พลังประชาธิปไตยไทยในออสเตรเลียแถลงการณ์ต้านตุลาการรัฐประหาร
ที่มา Thai E-News
พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์:ตุลาการรัฐประหาร
ที่มา Thai E-News
จาก โลกวันนี้วันสุข
8 มิถุนายน 2555
นักปรัชญาเมธีท่านหนึ่งเคยกล่าวไว้ว่า “ประวัติศาสตร์ซ้ำรอยตนเองสองครั้ง ครั้งแรกเป็นโศกนาฏกรรม ครั้งที่สองเป็นละครตลกปนสมเพช”
Thursday, June 7, 2012
คณะทำงานอัยการสรุปไม่ส่งคำร้อง 'ส.ส.-ส.ว.' แก้ รธน. ให้ศาล รธน.พิจารณาตาม 'ม.68'
ที่มา ประชาไท
มติชนออนไลน์รายงาน เวลา 19.55 น. ผู้สื่อข่าวรายงานจากสำนักงานอัยการสูงสุด ศูนย์ราชการ ถนนแจ้งวัฒนะ ว่า คณะทำงานอัยการที่มีนายอรรถพล ใหญ่สว่าง รองอัยการสูงสุด เป็นประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีบุคคลและคณะบุคคล 6 ราย ยื่นหนังสือพร้อมหลักฐานให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงที่ 416 ส.ส. – ส.ว. เสนอแก้รธน. มาตรา 291 เพื่อยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการ ตาม รธน.มาตรา 68 ซึ่งนัดประชุมพิจารณากันตั้งแต่เวลา 13.00 น.วันนี้( 7 มิถุนายน ) ล่าสุดหลังการประชุมคณะกรรมการเป็นไปอย่างเคร่งเครียดนานกว่า 5 ชั่วโมงจึงเสร็จสิ้น
ต่อมา นายวินัย ดำรงค์มงคลกุล โฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด ได้แถลงข่าวภายหลังการประชุมของคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงว่าที่ประชุม คณะทำงานอัยการ สรุปความเห็นไม่ส่งคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยตามาตรา 68
หมายเหตุ
รธน. มาตรา 68 บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตาม วิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ มิได้
ในกรณีที่บุคคลหรือพรรคการเมืองใดกระทำการตามวรรคหนึ่ง ผู้ทราบการกระทำดังกล่าวย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อ เท็จจริงและยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดัง กล่าว แต่ทั้งนี้ ไม่กระทบกระเทือนการดำเนินคดีอาญาต่อผู้กระทำการดังกล่าว
ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้พรรคการเมืองใดเลิกกระทำการตามวรรคสอง ศาลรัฐธรรมนูญอาจสั่งยุบพรรคการเมืองดังกล่าวได้
ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคการเมืองตามวรรคสาม ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารของพรรคการ เมืองที่ถูกยุบ
ในขณะที่กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นระยะเวลาห้าปีนับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งดังกล่าว
ข้อเท็จจริงการรับคำร้องตามมาตรา 68
พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม และกลุ่ม 40 ส.ว., นายวันธงชัย ชำนาญกิจ, นายวิรัตน์ กัลยาศิริ, นายวรินทร์ เทียมจรัส, นายบวร ยสินทร และคณะ ยื่นหนังสือให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 กรณีคณะรัฐมนตรี (ครม.) รัฐสภา พรรคเพื่อไทย พรรคชาติไทยพัฒนา นายสุนัย จุลพงศธรและคณะ และนายภราดร ปริศนานันทกุล และคณะได้มีการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีผลทำให้เป็นการยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550
โดยคำร้องดังกล่าวขอให้ตุลาการวินิจฉัยว่าเป็นการกระทำเพื่อล้มล้างการ ปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตาม วิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญหรือไม่
1 มิ.ย. ตุลาการรัฐธรรมนูญ มีมติ 5 ต่อ 4 รับคำร้องพิจารณาว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่สภาผู้แทนราษฎรกำลังดำเนินนั้นมี ลักษณะขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ทั้งยังมีคำสั่งให้เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรแจ้งรัฐสภาระงับการดำเนินเกี่ยว กับการแก้ไขรัฐธรรมนูญไว้ก่อนจนกว่าศาลมีคำวินิจฉัยด้วย
โดยนายพิมล ธรรมพิทักษ์พงษ์ หัวหน้าคณะทีมโฆษกศาลรัฐธรรมนูญ พร้อมด้วยนายสมฤทธิ์ ไชยวงศ์ โฆษกศาลรัฐธรรมนูญ ได้ร่วมกันแถลงว่า “เพื่อประโยชน์แห่งการพิจารณา ศาลมีคำสั่งให้เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรแจ้งรัฐสภาระงับการดำเนินเกี่ยวกับ การแก้ไขรัฐธรรมนูญไว้ก่อนจนกว่าศาลมีคำวินิจฉัย นอกจากนี้ ให้ ครม. , รัฐสภา, พรรคเพื่อไทย, พรรคชาติไทยพัฒนา, นายสุนัย และนายภราดร มีหนังสือชี้แจงต่อศาลภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งสำเนาคำร้องและนัดคู่กรณีไต่สวนวันที่ 5-6 ก.ค.2555 เวลา 09.30 น. ซึ่งตุลาการจะเป็นการออกนั่งบัลลังก์ และหากไต่สวนได้ข้อเท็จจริงครบถ้วนแล้ว คณะตุลาการก็อาจนัดวันฟังคำวินิจฉัยได้เลย แต่หากข้อเท็จจริงยังไม่ครบถ้วนก็อาจไต่สวนเพิ่มเติมได้"
Wednesday, June 6, 2012
วรเจตน์ - คำนูณ ถกผ่าน "ตอบโจทย์" เรื่องคำสั่งศาล รธน.
ที่มา ประชาไท
"วรเจตน์" ชี้กรณีศาลสั่งสภาระงับการพิจารณาแก้ รธน. ตีความกว้าง
แต่เป็น "ตีความผิด" ยันรัฐสภามี "อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ" ส่วนคำนูณหวั่น
การยกร่างจะหลุดไปสู่ สสร. กลายเป็นการยกอำนาจให้พรรคการเมือง
โดยไม่สามารถมีองค์กรอะไรมาถ่วงดุลได้
เมื่อวานนี้ (5 มิ.ย. 55) รายการ
"ตอบโจทย์" ทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ดำเนินรายการโดยภิญโญ
ไตรสุริยะธรรมา มีการเชิญ รศ.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ นักวิชาการคณะนิติราษฎร์
และนายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว. ระบบสรรหา
ร่วมอภิปรายกรณีศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้รัฐสภาระงับการพิจารณาการแก้ไขรัฐ
ธรรมนูญ โดยอ้างมาตรา 68 ตามรัฐธรรมนูญ 2550 (คลิกที่นี่เพื่อชมคลิปการอภิปรายระหว่างวรเจตน์ กับคำนูณ)
โดยนายภิญโญ
เริ่มถามนายวรเจตน์ว่า ตกลงการเสนอแก้ไขกฎหมาย รธน. ม.291
เป็นการกระทำที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระ
มหากษัตริย์เป็นประมุขหรือไม่
โดยนายวรเจตน์ กล่าวว่า คงไม่ใช่
ที่ทำมา 2 วาระ เป็นแก้ไข ม.291 เพื่อเปิดทางนำไปสู่การจัดทำ
รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ คล้ายๆ กับที่ทำมาตอนแก้รัฐธรรมนูญเมื่อปี 2534
และก่อให้เกิด สสร. และรัฐธรรมนูญปี 2540
สภาพก็คือเป็นการดำเนินการไปตามกระบวนการขั้นตอน
ในส่วนที่ว่าด้วยการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญตามมาตรา 291
ทีนี้มีคนไปร้อง
ศาลรัฐธรรมนูญก็เข้ามาออกคำสั่งระงับ หรือคุ้มครองช่วยคราว
คือสั่งไม่ให้สภาลงมติในวาระ 3 ให้รอการวินิจฉัย
จึงมีข้อถกเถียงในสังคมว่าศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจไหม ที่จะสั่งได้ตามมาตรา 68
มาตรา 68 อยู่ในหมวดสิทธิเสรีภาพ
ส่วนการแก้ไขเพิ่มเติมของรัฐธรรมนูญ เป็นเรื่องการใช้อำนาจขององค์กรของรัฐ
ทีนี้มาตรา 68 กำหนดว่าถ้าใครใช้เสรีภาพ ใช้สิทธิในการล้มล้างการปกครอง
หรือให้ได้มาซึ่งอำนาจรัฐด้วยวิธีการที่ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ
ก็ให้เสนอไปที่อัยการสูงสุด ให้ตรวจสอบข้อเท็จจริง
และยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการ
เพราะฉะนั้น องค์ประกอบของมาตรา 68
มีอยู่ 2 ส่วน
อันแรกต้องมีการกระทำที่เป็นการใช้สิทธิเสรีภาพที่ล้มล้างการปกครอง
หรือให้ได้มาซึ่งอำนาจด้วยวิธีการที่ไม่เป็นตามรัฐธรรมนูญ สอง
คนที่รู้การกระทำการ ส่งเรื่องไปที่อัยการ
อัยการจะตรวจสอบว่ามีมูลหรือไม่มีมูล
พอมีมูลเขาจะส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญ แล้วศาลก็จะวินิจฉัยว่าจะระงับ
หรือสั่งห้ามกระทำ
ทีนี้การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
ไม่ใช่การใช้สิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ
เพราะไม่ได้เป็นการกระทำของบุคคลหรือพรรรคการเมือง
แต่เป็นการกระทำของรัฐสภา ซึ่งเป็นองค์กรของรัฐ อีกอย่างการเสนอเรื่อง
คนฟ้องไปร้องตรงกับศาลรัฐธรรมนูญ คือไม่ได้ผ่านอัยการ
เพราะฉะนั้นการที่ศาลรัฐธรรมนูญรับเรื่องไว้พิจารณา
ผมจึงมีความเห็นว่าไม่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ คือผิดในสองลักษณะ คือหนึ่ง
ผิดในแง่ที่ว่า มันไม่ใช่เรื่องใช้สิทธิเสรีภาพ
เพราะเป็นเรื่องสภาใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญ อีกอันหนึ่ง
ผิดที่ว่าคนยื่นก็เป็นคนธรรมดา ไม่ใช่อัยการสูงสุด
นอกจากนี้ศาลก็ไปอนุโลมเอาอำนาจที่ตัวเองไม่มี
คือไปเอากฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งไประงับการกระทำของรัฐสภา
กลายเป็นว่าเรื่องนี้ศาลรัฐธรรมนูญ กลายเป็นองค์กรซึ่งไปหยุด
หรือไปสั่งห้ามการดำเนินงานขององค์กรอื่น พูดง่ายๆ ในความเห็นผม
คำสั่งศาลรัฐธรรมนูญสั่งไม่ให้องค์กรอื่นปฏิบัติหน้าที่
ซึ่งเขามีหน้าที่ต้องปฏิบัติ
ส่วนนายคำนูญ กล่าวว่า อันที่จริง
ก็เคยคิดว่ามันจะมีทางใดที่จะทำให้มีองค์กรใด
องค์กรหนึ่งวินิจฉัยการแก้ไขรัฐธรรมนูญตามมาตรา 291 ต้องเข้าใจว่า
แก้รัฐธรรมนูญตามมาตรา 291 แก้เป็นรายมาตรา อาจจะแก้เป็น 100 มาตราก็ได้
แต่ทีนี้การแก้มาตราเดียว แต่มีผลทำให้รัฐธรรมนูญ 2550 ถูกยกเลิก
และมีองค์กรทำหน้าที่เขียนรัฐธรรมนูญใหม่เรียกว่า สสร. อันนี้
ต้องยอมรับว่ามีผู้สงสัยยาวนานมาพอสมควร
ตั้งแต่เริ่มต้นว่าทำได้หรือทำไม่ได้ประการใด
อาจจะมีการพูดถึงว่าสมัยปี 2539 ทำได้ มี สสร. 1 ทำ รัฐธรรมนูญ 2540
หรือย้อนไปถึง รัฐธรรมนูญ 2489 ซึ่งเกิดจากรัฐธรรมนูญ 2475
สรุปคือเคยมีการทำมาแล้ว 2 ครั้ง แต่รัฐธรรมนูญ 2534 หรือ 2475
ไม่มีไม่มีเนื้อหาทำนองมาตรา 68
เพราะเวลารัฐสภาลงมติวาระ 3 แล้ว
กระบวนการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญใหม่ มันหลุดลอยจากสภาเลย ไปสู่องค์กรของ สสร.
แล้วไม่กลับมาอีก ก็คือไปลงประชามติเลย
ประเด็นนี้ต้องยอมรับว่าเป็นที่สงสัยกันมาก
แล้วเนื่องจากว่ารัฐธรรมนูญก็ไม่ได้เขียนให้อำนาจองค์กรใดองค์กรหนึ่งไว้โดย
ตรงว่าจะวินิจฉัยได้หรือไม่ว่า
ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมครั้งนี้มันถูกต้องหรือไม่
ในขณะที่แม้กระทั่งร่าง พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ร่าง พรบ.ทั่วไป ถ้า สว.
สส.สงสัย ก็ยื่นไปให้ศาลรัฐธรรมนูญได้
แม้กระทั่งพระราชกำหนดก็ส่งให้ศาลตรวจสอบได้ 2 เงื่อน
ผมก็เคยทำและศาลไม่เห็นด้วย
เพราะฉะนั้นเลยสงสัยว่าถ้าร่างรัฐธรรมนูญ
มีลักษณะที่เป็นการโอนอำนาจรัฐสภาไปให้องค์กรอื่น แล้วหลุดลอยไปเลย
จะไปเขียนอย่างไรก็ได้โดยไม่ได้กำหนดกรอบเอาไว้ เราสงสัยว่ามันขัด
มันจะไปสู่องค์กรที่มีหน้าที่ชี้ขาดได้อย่างไร ประเด็นนี้เป็นที่ถกเถียงกัน
มาตรา 68 ก็มีคนพูด ด้วยความเคารพด้วยความสัตย์จริง
ทีแรกผมก็อ่านว่ามันต้องไปอัยการสูงสุดก่อน คำว่า "และ" นี่
ถ้าอัยการสูงสุดเห็นว่ามีมูลก็ส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญ
แต่เผอิญความเห็นของผมก็เป็นผม ของวรเจตน์ก็เป็นของอาจารย์วรเจตน์
ความเห็นขัดกัน ไม่สามารถบอกได้ว่าใครถูกใครผิด
องค์กรผู้มีหน้าที่ชี้ขาดคือศาลรัฐธรรมนูญ แต่คราวนี้ศาลรัฐธรรมนูญ
ท่านแปลความมาตรา 68 อย่างกว้าง อาจเรียกว่ากว้างมากพอสมควร
คือท่านมองว่าถ้าเผื่อศาลไม่มีอำนาจรับเสียเลย ก็จะผิดเจตนารมณ์ของมาตรา 68
ที่ไม่สามารถจะป้องกันหรือปัดเป่าการกระทำข้อความที่เขียนไว้ร้ายแรงตาม
มาตรา 68 ท่านจึงรับ แต่คำว่ารับของท่าน
ถ้าดูคำชี้แจงของเลขาศาลรัฐธรรมนูญก็ดี
หรือประธานศาลรัฐธรรมนูญให้สัมภาษณ์จริงๆ ก็ดี ก็ไม่ได้หมายความว่า
เมื่อถึงเวลาที่ผู้ยื่นญัตติร่างรัฐธรรมนูญทั้ง 3 ฉบับไปยื่นชี้แจงแล้ว
ผู้คัดค้านทั้ง 5 สำนวนไปชี้แจงแล้ว ท่านต้องวินิจฉัยว่ามันขัดรัฐธรรมนูญ
มันอาจจะไม่ขัดก็ได้
ทีนี้เรากำลังมาสู่ประเด็นที่ว่ารัฐสภา
จะต้องเชื่อตามคำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่
ผมเห็นว่าประเด็นนี้มันก็จะมีมุมองที่แตกต่างกันออกไป
ซึ่งผมว่านักนิติศาสตร์ ทั้งอาจารย์วรเจตน์ ทั้งใครต่อใครก็อาจคิดต่างออกไป
ที่ผมสนใจ ก็คือถ้าเผื่อรัฐสภาเดินหน้า นัดลงมติรัฐธรรมนูญวาระ 3
แล้วทำสำเร็จ อะไรจะเกิดขึ้นกับประเทศนี้
แล้วมันจะเป็นการทำร้ายหรือซ้ำเติมสถานการณ์ของประเทศนี้หรือไม่
ประธานรัฐสภาควรจะตัดสินใจอย่างไร ผมว่าประเด็นนี้สำคัฐ
นายภิญโญ ถามว่า
ขอกลับมาที่ มาตรา 68 ว่าตกลงคำว่า "และ" ในกฎหมาย หมายความว่า
คนธรรมดาไปยื่นศาลรัฐธรรมนูญได้เลย
หรือต้องผ่านอัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริง แล้วไปยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญ
นายวรเจตน์ ตอบว่า บุคคลธรรมดายื่นไม่ได้
ผมตอบเรื่องนี้ด้วยความมั่นใจอย่างเป็นที่สุด
เพราะว่าในเว็บไซต์ศาลรัฐธรรมนูญเองก็เขียนเอาไว้ว่า
เรื่องนี้คนที่จะยื่นคืออัยการสูงสุด
ไม่ได้เขียนว่าอัยการสูงสุดหรือบุคคลทั่วไป
อีกอย่างถ้ารัฐธรรมนูญให้สิทธิบุคคลทั่วไปจะเขียนไว้ชัดเจน
เพราะศาลรัฐธรรมนูญเป็นศาลที่มีอำนาจมาก มาตรา 68 เป็นการถ่วงดุลกัน
ไม่อย่างนั้นก็ยื่นกันเปรอะหมด ใครสงสัยอะไรก็ไปยื่น ศาลจะรับไว้ทุกเรื่อง
แล้วออกมาตัดสินก็วุ่นวายหมด
นายภิญโญ ถามว่า ศาลมีสิทธิตีความอย่างกว้างหรือเปล่า นายวรเจตน์ ตอบว่า ด้วยความเคารพ ผมคิดว่านี่ตีความผิดไม่ได้ตีความอย่างกว้าง
แล้วจริงๆ เวลาตีความ
ถ้อยคำมันก็ค่อนข้างชัดอยู่แล้วว่าอัยการรับเรื่องแล้วตรวจสอบว่ามีมูล
แล้วส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญท่านหนึ่งที่ตัดสินใจคดีนี้ ตอนที่เป็น สสร.
ตอนที่ประชุมกันในสภาร่างรัฐธรรมนูญ ก็เข้าใจตามนี้
เข้าใจตรงกันหมดว่าเป็นเรื่องอัยการสูงสุด ดูทางภาษาให้ใครๆ
อ่านก็เข้าใจว่า ผ่านอัยการ และไปที่ศาล
เพราะฉะนั้นเป็นไปไม่ได้ บอกตรงๆ นี่ไม่ใช่เรื่องการขยาย
แต่เป็นการที่ศาลรัฐธรรมนูญตีความผิดพลาดชัดเจน
อีกอย่างตอนนี้เราไปมุ่งเน้นที่อัยการ ผมเรียนว่าเรื่องนี้แม้ไปถึงอัยการ
อัยการก็จะส่งไปไม่ได้เหมือนกัน เพราะไม่ใช่เรื่องสิทธิเสรีภาพ
หมวดนี้อยู่ในหมวดสิทธิเสรีภาพ ความมุ่งหมาย ซึ่งเป็นเอกชน ไปทำอะไรก็ตาม
ล้มล้างการปกครอง สั่งให้มีการระงับแต่การกระทำของรัฐสภา
ใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญ ตรวจสอบ ตรวจสอบอย่างไร มาตรา 68
ที่ศาลรัฐธรรมนูญเข้ามา เข้ามาไม่ได้ ผิดหลักเกณฑ์ที่รัฐธรรมนูญกำหนดเอาไว้
นายภิญโญถามต่อว่า มีสิทธิหรือเปล่าที่รัฐสภาจะไปแก้รัฐธรรมนูญ แล้วโยนอำนาจให้สภาร่างรัฐธรรมนูญเลย
นายวรเจตน์ ตอบว่า
ในทางกฎหมายอำนาจแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
เป็นอำนาจคนละลักษณะจากอำนาจตรากฎหมาย อำนาจบริหาร หรืออำนาจตุลาการ
พูดง่ายๆ รัฐธรรมนูญเวลาทำขึ้น
ตัวรัฐธรรมนูญจะก่อตั้งอำนาจให้รัฐสภาในการออกกฎหมายพระราชบัญญัติ
ก่อตั้งอำนาจให้ฝ่ายบริหารในการบริหารราชการแผ่นดิน
ก่อตั้งอำนาจให้ศาลในการตัดสินคดี
ทีนี้รัฐธรรมนูญจะเปิดช่องให้แก้ไขตัวมันเองได้
อำนาจชนิดนี้ทางวิชาการเรียกว่า อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ
ที่รัฐธรรมนูญให้เอาไว้กับองค์กรที่มีอำนาจแก้ไข
เพราะฉะนั้นถามว่ากรณีนี้รัฐสภามีอำนาจไหม คำตอบคือ
ถ้าเขาทำตามหลักเกณฑ์รัฐธรรมนูญ หมายความว่า
ตราบเท่าที่การแก้ไขเพิ่มเติมไม่ได้เปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง
หรือไม่ได้เปลี่ยนแปลงรูปของรัฐ รัฐสภามีอำนาจทำได้
ประเด็นก็คือแล้วระบบการตรวจสอบเป็นอย่างไร คำตอบคือในระบบของเรา
ศาลรัฐธรรมนูญในบ้านเราเป็นศาลรัฐธรรมนูญที่มีอำนาจที่กำหนดไว้เป็นเรื่องๆ
เราไม่ได้มีศาลรัฐธรรมนูญที่มีอำนาจเป็นการทั่วไป
เนื่องจากจะกลายเป็นศาลรัฐธรรมนูญจะใหญ่กว่าองค์กรอื่นทั้งหมด
และศาลรัฐธรรมนูญเป็นเพียงองค์กรที่รับอำนาจมาจากรัฐธรรมนูญ
ที่เราพูดถึงรัฐสภาตอนนี้ ที่วุฒิสภาเป็นส่วนหนึ่งด้วย
ต้องเข้าใจว่ารัฐสภาในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ไม่ใช่องค์กรนิติบัญญัติที่จะเท่าๆ กับศาลรัฐธรรมนูญ
แต่เป็นองค์กรซึ่งทรงอำนาจแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญซึ่งสูงกว่า
เพราะฉะนั้นทำไมถึงบอกว่าศาลรัฐธรรมนูญถึงสามารถตรวจสอบพระราชบัญญัติได้
ตรวจสอบกฎหมายอื่นได้
เป็นเพราะว่ากฎหมายเหล่านั้นตราขึ้นโดยอำนาจนิติบัญญัติ
แล้วรัฐธรรมนูญให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญชัดแจ้งว่าถ้าผ่านสภาไปแล้ว 3 วาระ
ก่อนนำขึ้นทูลเกล้า มีคนสงสัยว่าขัดรัฐธรรมนูญ
อย่างนี้ให้อำนาจศาลเข้ามาตรวจสอบ แต่กรณีของการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญไทยไม่ได้ให้อำนาจเอาไว้
เพราะว่าอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญสูงกว่าอำนาจตุลาการ
จึงเป็นเรื่องที่ให้รัฐสภาตัดสินใจในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
เว้นไว้แต่เรื่องรูปของรัฐ และรูปแบบการปกครอง
ที่ถ้าเกิดจะทำจะกลายเป็นเรื่องทางการเมือง ไม่ใช่เรื่องกฎหมาย
ด้านนายคำนูณ อภิปรายต่อว่า ในทางทฤษฎีมันคงเป็นอย่างนั้น
แต่ว่าเวลาเราจะพูดเราจะพูดถึงทฤษฎี พูดถึงตัวบทรัฐธรรมนูญ
โดยละเลยสถานการณ์ปัจจุบันมันจะเป็นไปได้ยาก ในขณะนี้เราคงได้ยินคำว่า
"เผด็จการรัฐสภา" ในที่นี้ไม่ได้ไม่ได้จงใจหมายถึงเฉพาะรัฐบาลพรรคเพื่อไทย
แต่จงใจหมายถึงรัฐบาลทุกรัฐบาล
เป็นแนวคิดที่นักนิติศาสตร์มองว่าการที่ประเทศไทยมีบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ
บังคับให้ผู้ที่สมัครผู้แทนต้องสังกัดพรรค ปฏิบัติตามมติพรรค มีวินัยพรรค
ทำให้กลายเป็นว่า
เสียงข้างมากของอำนาจนิติบัญญัติเป็นพวกเดียวกับรัฐบาลหรืออำนาจบริหาร
เพราะฉะนั้นอำนาจนิติบัญญัติ
กับอำนาจบริหารถ้าร่วมมือกันแล้วก็จะใหญ่เหนืออำนาจทั้งปวง
ก็เหมือนเรากำลังพูดว่า "เราปฏิเสธการรัฐประหาร" ใช่ ไม่มีใครยอมรับ แน่นอน
แต่ว่าในอีกด้านหนึ่ง เราก็ต้องพูดถึงการปฏิรูปประเทศโดยรวมด้วย ที่ไม่
ใช่ว่าถ้าเราปฏิเสธอำนาจการรัฐประหาร
เราก็จะกลายเป็นยกอำนาจให้กับพรรคการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง
ภายในกรอบอย่างนี้ และทำอะไรโดยที่ไม่สามารถมีองค์กรอะไรมาถ่วงดุลได้
นี่เป็นประเด็นรากฐานที่ถกเถียงมาอยู่ก่อน เพราะฉะนั้น
เราก็ต้องพูดรากฐานปัญหาด้วย และขณะนี้มันเกิดความไม่ไว้วางใจขึ้น
มาว่า เสียงข้างมากของอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร
แล้วการกระทำทุกอย่างในนามของการทำให้เป็นประชาธิปไตยขึ้น
ในนามของการล้างผลของการรัฐประหาร อะไรต่อมิอะไร
ผมไม่ได้พูดถึงนิติราษฎร์นะ ผมพูดถึงโดยรวม ว่ามันเป็นประโยชน์ต่อคุณทักษิณ
ชินวัตร ในที่สุดก็ลงมาประเด็นนี้ รัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 309
มันรองรับการกระทำของคณะรัฐประหาร และองค์กรต่างๆ ที่เกิดขึ้น
แต่ในขณะเดียวกันมันก็ไปรองรับความชอบธรรมให้องค์กรที่ตรวจสอบคุณทักษิณด้วย
ในเมื่อมันมีความไม่ไว้วางใจของสังคมในขณะนี้
ผมยังมองว่าถ้าเผื่อการแก้รัฐธรรมนูญใช้ช่องทางตามรัฐธรรมนูญ 2550 ตามมาตรา
291 ถ้าทำเข้ามาแล้วเอาให้เห็นชัดๆ เลยว่าแก้กี่ประเด็น แก้กี่มาตรา
เอาแบบนิติราษฎร์ก็ได้ จะทำให้ทุกคนเห็นว่าแก้ยังไง แต่ในขณะนี้ไม่มีใครรู้
ไม่มีใครเห็นว่าจะแก้อย่างไร เพียงแต่ว่าในกระบวนการได้มาซึ่ง สสร.
และการพิจารณาร่าง ม.291 ขณะนี้มันก็มีความระหกระเหิน
ฉายแววให้เห็นถึงความเร่งรีบ
ฉายแววให้เห็นถึงการที่คณะกรรมาธิการไม่ฟังเสียงที่คัดค้านเข้ามา
และทำให้มองเห็นว่า พอออกไปแบบนี้คนที่จะเข้ามาเป็น สสร. ทั้งประเภท 1
และประเภท 2 รวมๆ กันแล้ว 70% อย่างน้อย หรือ 80%
จะได้คนที่มีความเห็นตรงกับรัฐบาล ตรงกับพรรคเพื่อไทย ตรงกับทักษิณ ชินวัตร
และตรงกับเสียงข้างมากในฝ่ายนิติบัญญัติ เพราะฉะนั้น
ผมเห็นว่าถ้าจะพูดให้ทะลุกันจริงๆ ต้องพูดประเด็นนี้ด้วย และการที่
จะหาทางออกให้ประเทศพ้นวิกฤต ผมว่าต้องคุยกันก่อน ก่อนดำเนินการเป็นส่วนๆ
ทุกวันนี้เราดำเนินการเป็นส่วนๆ เรากำลังจะเขียนรัฐธรรมนูญใหม่
เรากำลังออกกฎหมายปรองดอง เดินไปส่วนไหนมันติดขัดปัญหาหมด
เพราะเราไม่เห็นภาพรวมว่าที่จะเอาคนที่มีความขัดแย้ง 5-6 ปีมาเลิกรากัน
แล้วเดินหน้าประเทศไทยไปใหม่ อะไรที่เรารับกันได้ อะไรที่เรารับกันไม่ได้
ทำในส่วนที่เรารับกันก่อนได้ไหม
โดยรายการตอบโจทย์จะเผยแพร่เทปการอภิปรายระหว่างวรเจตน์ และคำนูณ ในช่วงที่สองต่อในช่วงค่ำวันนี้ (6 มิ.ย.)
ล้านคำบรรยาย การ์ตูนเซีย 06/06/55 ถ่อย..รัฐมนตรีเงาหลงยุค..มาคุมสื่อ
ที่มา blablabla
โดย 3บลา ประชาไท
ไม่รามือ หาว่าเอียง เพียงหวังผล
เพราะอคติ ฝังไว้ ในใจตน
จึงสัปดน ค่อนแคะ และราวี....
นำเสนอ เรื่องจริง ทุกสิ่งเห็น
เปิดประเด็น ใครชั่วช้า น่าบัดสี
ก็พวกกัน นั่นปะไร คิดให้ดี
เคยกอดคอ สร้างอัปรีย์ ย่ำยีใคร....
ดิบ เถื่อน ถ่อย เพื่อชาติ อนาถนัก
ไม่รู้จัก ถูกผิด คิดเป็นไหม
พอมันเชียร์ ก็ชื่นชม อย่างสมใจ
ยิ่งใส่ไฟ ยิ่งดี๊ด๊า หน้าชื่นบาน....
เข้าสู่ยุค ตนเอง นักเลงสถุน
กลับว้าวุ่น วางท่า น่าสงสาร
สื่อเลือกข้าง สร้างอัปรีย์ มีมานาน
จะประจาน คุยเขื่อง เรื่องพวกมึง....
จะแทรกแซง กดดัน ทำหันเห
พวกเกเร หัวดื้อ มือไม่ถึง
ภาพคนชั่ว นั่นแหละหนา ที่ตราตรึง
เชิญฉุดดึง เพื่อนสอพลอ กอดคอตาย....
๓ บลา / ๖ มิ.ย.๕๕
อัยการสูงสุดยันเอกสารครบเสนอ 'จุลสิงห์' ทันที
ที่มา uddred
กรุงเทพธุรกิจ 6 มิถุนายน 2555 >>>
อัยการสูงสุดรอประชุมลงความเห็น กรณีศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งชะลอแก้ รธน.
พรุ่งนี้ ยันเอกสารครบถ้วนทำความเห็นเสนอ "จุลสิงห์" พร้อมแถลงข่าว 8 มิ.ย.
นายอรรถพล ใหญ่สว่าง รองอัยการสูงสุด
ในฐานะประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีบุคคลและคณะบุคคล 6 ราย
ยื่นหนังสือพร้อมหลักฐานให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงที่ 416 ส.ส. และ
ส.ว. เสนอแก้รธน. มาตรา 291
เพื่อยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการ ตาม รธน. มาตรา 68 ว่า
ในวันพรุ่งนี้ (7 มิ.ย.) เวลา 13.00 น.
คณะกรรมการจะร่วมประชุมกันเพื่อพิจารณาเอกสารที่ได้จากคำร้อง
และที่ได้ขอเพิ่มเติมจากหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องจากสำนักงานเลขาธิการสภา
ผู้แทนราษฎร และศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งในการประชุมพรุ่งนี้
หากอัยการได้เอกสารครบถ้วน ก็สามารถมีความเห็นเสนอนายจุลสิงห์ วสันตสิงห์
อัยการสูงสุดได้ทันทีว่าจะส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยตามมาตรา 68
ได้หรือไม่
หรือคำร้องไม่มีมูลข้อเท็จจริงที่จะเกิดการกระทำที่จะให้ยื่นคำร้องได้ตาม
มาตรา 68 โดยขณะนี้ให้ฝ่ายเลขาฯ
คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงดูแลเรื่องการติดตามเอกสารจากสภาและศาลรัฐ
ธรรมนูญ
นายอรรถพล ประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง ฯ กล่าวชี้แจงว่า
เหตุที่ต้องขอเอกสารจากสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรมาเพื่อให้ได้เอกสาร
อย่างเป็นทางการที่จะตรวจสอบข้อเท็จจริงซึ่งอัพเดท
ล่าสุดว่าการเสนอแก้รัฐธรรมนูญมีจริงหรือไม่ อย่างไร
กระบวนการอยู่ขั้นตอนใด เพราะขณะนี้มีเพียงข้อเท็จจริงจากฝ่ายผู้ร้อง
ซึ่งอัยการมีหน้าที่ตามรธน.มาตรา 68 ต้องตรวจสอบข้อเท็จจริง
เช่นเดียวกับกรณีที่จะต้องขอเอกสารจากศาลรัฐธรรมนูญเพื่อจะได้ยืนยันว่าศาล
รัฐธรรมนูญรับคำร้องเรื่องนี้ไว้จริงหรือไม่
เนื่องจากที่ผ่านมาไม่มีเอกสารยืนยันจากหน่วยราชการ
อัยการเห็นเพียงข่าวจากสื่อมวลชนที่นำเสนอเท่านั้น
ซึ่งการตรวจสอบของอัยการต้องอาศัยข้อเท็จจริงไม่ใช่ข่าวที่ออกมา
ดังนั้นอัยการจึงต้องขอเอกสารมาตรวจสอบอย่างเป็นทางการ
ไม่ได้จะประวิงเวลาอะไร ซึ่งที่ผ่านมาคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง ฯ
ได้ประชุมหารือมาตลอด
ส่วนเรื่องการติดตามเอกสารจากสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรและศาลรัฐ
ธรรมนูญ นั้นนายวินัย ดำรงค์มงคลกุล โฆษกสำนักงานอัยการสูงสุดและเลขานุการ
คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง ฯ กล่าวว่า ตอนนี้ยังขาดเอกสารบางส่วนอยู่
แต่ยังเปิดเผยรายละเอียดไม่ได้ ซึ่งจะพยายามเร่งรัดให้ได้เอกสารเร็วที่สุด
ส่วนการประชุมของคณะกรรมการฯ พรุ่งนี้ (7 มิ.ย.) จะยังไม่มีการแถลงข่าว
เพราะยังไม่รู้ระยะเวลาของการประชุมแน่ชัด แต่จะพยายามแถลงข่าวเร็วที่สุด
โดยจะแจ้งให้สื่อมวลชนทราบอีกครั้งว่าเป็นวันและเวลาใด
ถ้าไม่มีอะไรขัดข้องคาดว่าจะแถลงข่าวในวันศุกร์ (8 มิ.ย.) นี้
ประชาสัมพันธ์งานเสวนา: "Rhetoric and Dissent: Where to next for Thailand's lèse majesté law?"
ที่มา Thai E-News
"Rhetoric and Dissent: Where to next for Thailand's lèse majesté law?"
7th June 2012 Thursday.7:00pm until 10:00pm
A panel discussion featuring:
PROF. BENEDICT ANDERSON
Best known for his celebrated book Imagined Communities and scholarship
which has been translated into over 20 different languages in some 400
publications globally, Prof. Anderson is widely regarded as an senior
authority on the questions of nationalism, authority and society. Prof.
Anderson serves most recently as Emeritus professor of International
Studies, Government and Asian Studies at Cornell University.
PRAVIT ROJANAPHRUK
One of Thailand's most esteemed journalists and as senior writer for The
Nation, Mr. Pravit Rojanaphruk has proved, over the course of his
long-standing career, both meticulous and prolific in his coverage of
political affairs. Mr. Rojanaphruk has often withstood great political
pressure in order to document human rights abuses across the country, no
less the plight of political prisoners and prisoners of conscience. His
work continues to set new standards in ethical and independent Thai
media coverage.
ANDREW MACGREGOR MARSHALL
Andrew MacGregor Marshall is a freelance journalist based in Asia who
work speaks to politics, human rights, political risk and media ethics.
In his long-standing career at Reuters Mr. Marshall covered political
conflicts from over thirty-six countries, in places as diverse as Iraq,
Afghanistan and the Palestinian Territories, to Cambodia, Thailand and
East Timor.
In June 2011 Mr. Marshall resigned from Reuters in order to publish what
he considered one of Thailand's most important and necessary stories.
This has since become the epic 'Thai Story: A Secret History of Modern
Thailand', an online publication since banned from publication in the
Kingdom. The material draws upon an extensive collection of diplomatic
cables ('Cablegate') released to Wikileaks in 2010, and an impressive
array of historical and contemporary sources to produce one of the
country's most illuminating - and, in some cases, condemning -
assessments of contemporary Thai political affairs.
As a result of Thailand's harsh lèse-majesté, defamation and computer
crimes laws, which criminalize the pursuit of truth regarding some of
the country's most powerful figures, Mr. Marshall will be unable to join
us in person for this discussion. Instead, he joins us via Skype from
Singapore, where he is now based.
AJARN SULAK SIVARAKSA
Sulak Sivaraksa is a prominent and outspoken Thai intellectual and
social critic. He is a teacher, a scholar, a publisher, an activist, the
founder of many organisations, and the author of more than a hundred
books and monographs in both Thai and English.
LISA GARDNER (MODERATOR)
Lisa Gardner is an Australian freelance journalist based in Bangkok. Her
extensive reports speak to key political events in light of a new and
innovative era for online media, particularly in the pursuit of free
expression and human rights. Her well-regarded reports are published
widely on Asian Correspondent, Prachatai, World Pulse, Global Voices
Online and elsewhere.
จดหมายเปิดผนึก 2 ฉบับ ถึงศาลรธน.
ที่มา Thai E-News
ความ อยุติธรรม ณ. ที่ใดก็ตาม คือภัยคุกคามต่อความ ยุติธรรม ทุกที่ไป - มาร์ติน ลูเธอร์คิง |
จาก "RED USA" เรื่อง "ขอให้ลาออกทันทีทั้งคณะ ก่อนที่ประเทศชาติจะเสียหายเพราะพวกท่านไปมากกว่านี้"
จับปชป.คาป้าย!ใส่ร้ายเพื่อไทยหมิ่นสถาบันทั่วกรุง
ที่มา เว็บไซต์go6tv
(วัน ที่ 4 มิถุนายน 2555, go6tv) เมื่อเวลา 21.00น. กองบรรณาธิการ go6TV ได้รับแจ้งจากพลเมืองดีว่า พบเห็นการลักลอบติดป้ายใส่ร้ายพรรคเพื่อไทย โดยมีการลักลอบติดป้ายดังกล่าวบน ถนนสาธุประดิษฐ์ และถนนจันทร์ และขณะได้รับรายงานนั้น ตำรวจได้ดักจับรถดังกล่าว และพาไปยังสถานีตำรวจยานนาวา
ทั้ง นี้ เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อเวลาประมาณ 21.00 น. โดยทีมงานไม่น้อยกว่า 4 คน ขับรถกระบะ หมายเลขทะเบียน ถช 906 ได้ทยอยติดป้ายริมถนนสาธุประดิษฐ์ มาเป็นระยะ นักข่าวภาคสนามได้ติดตามรถดังกล่าวอยู่ประมาณ 30 นาที และทางตำรวจได้ติดต่อวิทยุสื่อสารดักและจับคนขับพร้อมทีมงานติดป้ายในข้อหา ติดป้ายบนถนนสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาต เมื่อทีมงานลึกลับที่ติดป้ายดังกล่าวโดนจับได้โทรศัพท์ติดต่อไปยังผู้ว่า จ้างคือ นายธวัชชัย ปิยนนทยา (สก.เขตสาทร หลายสมัยติดต่อกัน)
เมื่อ ทีมงานติดป้ายได้มาถึงโรงพักสักครู่ นายธวัชชัย ปิยนนทยา ได้เดินทางมาถึง สน.ยานนาวา พร้อมแสดงตนว่าเป็นผู้ให้ติดป้ายทั้งหมดดังกล่าว โดยทางตำรวจ ได้ช่วยไกล่เกลี่ยและขอร้องให้เก็บป้ายทั้งหมดบนรถกลับไป และไม่ได้แจ้งข้อหาใดๆ
นาย ธวัชชัย ได้ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวเพียงสั้นๆว่า "ตนเป็นคนมาติดเท่านั้น เมื่อประชาชนเขตสาทรไม่ต้องการให้ติด ก็ยินดีขนป้ายกลับไปทั้งหมด แต่สำหรับเขตอื่นนั้น นายธวัชชัยบอกว่าไม่สามารถห้ามได้ และยืนยันว่า ป้ายดังกล่าวเป็นป้ายของพรรคประชาธิปัตย์จริง"
เครดิตภาพ น้องลูกปลา