WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, September 10, 2011

การเดินทางของแม่ค้าเสื้อแดง : จากตลาดสู่การเมืองบนท้องถนน

ที่มา มติชน



(ที่มา สำนักข่าวประชาธรรม)


เมื่อวันที่ 1 กันยายน ณ ห้องประชุมอาคารปฏิบัติการ 4 คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีการจัดเวทีวิชาการ "ประสบการณ์ประชาธิปไตยของชาวบ้านเชียงใหม่" โดยนายนพพล อาชามาส นักศึกษาปริญญาโท สาขาพัฒนาสังคม คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้นำเสนอผลการวิจัยเรื่อง "การเดินทางของแม่ค้าเสื้อแดง: จากตลาดสู่การเมืองบนท้องถนน" ซึ่งมีเนื้อหาตามที่เว็บไซต์ประชาธรรมได้ถอดความมา ดังนี้


งานนี้เป็นงานย่อยของโครงการวิจัยใหญ่ ซึ่งศึกษาเรื่องกลุ่มแม่ค้าเสื้อแดงที่อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ อยากจะเริ่มว่าผู้หญิงเสื้อแดงเป็นภาพต่อที่หายไปเพราะถึงแม้จะมีผู้นำหญิง แต่เรื่องของผู้หญิงก็ยังไม่มีคนพูดถึงมากนัก โดยเฉพาะ "กลุ่มผู้หญิงที่นำผู้นำหญิงขึ้นสู่ตำแหน่ง"


พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ (อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) เคยอธิบายว่า ภาพรวมของขบวนการคนเสื้อแดงนั้น 60-70% ของคนที่เข้าร่วมการเคลื่อนไหวหรือออกไปชุมนุมเป็นผู้หญิง


ภาพของผู้หญิงในขบวนการคนเสื้อแดง ถูกทำให้มองไม่เห็นในถึงสองระดับ ระดับแรก ภาพลักษณ์ของขบวนการคนเสื้อแดงจากภายนอก จะดูรุนแรง เป็นม็อบรับจ้าง-ม็อบล้มเจ้า การรวมตัวของคนชนบทที่ถูกหลอกถูกจ้าง โง่และจน จนเสพติดนโยบายประชานิยม


ระดับที่สอง การศึกษาขบวนการคนเสื้อแดงจากมุมมองภายในขบวนการ แต่ยังไม่ค่อยพูดถึงมิติความหลากหลายซับซ้อนภายในของผู้คนที่ตัดสินใจเข้า ร่วม ทั้งในมิติทางชนชั้น มิติทางชาติพันธุ์ หรือมิติทางเพศสภาพ ในเชียงใหม่เองก็จะมีกลุ่มชาติพันธ์เช่น ปะกากญอ ฯลฯ เข้าไปร่วมด้วย แต่ก็ยังไม่มีการศึกษาเรื่องนี้มากนัก กลุ่มผู้หญิง หลายกลุ่มในขบวนการเสื้อแดงจึงถูก "มองไม่เห็น" และ "เหมารวม" ให้เป็นส่วนหนึ่งของขบวนการที่เหมือนกันไปหมด มองไม่เห็นกระบวนการเรียนรู้ทางการเมือง พัฒนาการทางความคิด ความเป็นอิสระบางส่วน และความหลากหลายของผู้เข้าร่วมขบวนการคนเสื้อแดง


กลุ่มผู้หญิงเป็นกลุ่มหนึ่งที่มีจำนวนมากและเข้าไปชุมนุมและเกี่ยว ข้องกับการเคลื่อนไหวอยู่ตลอด เช่น กลุ่มเสียงสตรี กลุ่มผู้หญิงเสื้อแดงที่จ.พะเยา เป็นต้น ถ้าเราลองดูในม็อบก็จะมีกลุ่มผู้หญิงเสื้อแดงที่ดูไฮโซ ผู้หญิงที่ดูเป็นชาวบ้าน สิ่งที่น่าสนใจคือ ผู้หญิงเหล่านี้เข้าไปอยู่ในพื้นที่ทางการเมือง ซึ่งมันเป็นพื้นที่สาธารณะและผู้ชายมักมีบทบาทสำคัญได้อย่างไร


มีงานจำนวนหนึ่งที่พูดถึงบทบาทของผู้หญิงไทย อย่างานของอ.วารุณี ภูริสินสิทธิ์ ตั้งข้อสังเกตว่าบทบาทสองด้านสำคัญที่หายไปจากภาพลักษณ์ "ความเป็นผู้หญิงไทย" คือบทบาทในการเป็นแม่ค้าและบทบาททางการเมือง


งานวิชาการที่ได้รีวิว (ประมวล) มามี 4-5 ชิ้นที่พูดถึงเรื่องแม่ค้า ส่วนงานศึกษาบทบาทของผู้หญิงทางการเมืองยังมีไม่มากนัก บางส่วนศึกษากลุ่มผู้หญิงเดือนตุลาฯ


งานของอ.แคทเธอรีน บาววี่ (Katherine Bowie) มองบทบาททางการเมืองของผู้หญิงที่อยู่หลังฉากหรือในเงามืด คอยสร้างประนีประนอมและความสมานฉันท์ระหว่างเครือญาติ และเครือข่ายระหว่างหมู่บ้านหลังความขัดแย้งในการเลือกตั้ง


กรณีของแม่ค้าเสื้อแดงสะท้อนบทบาทผู้หญิงที่ต่างออกไปจากงานของบา ววี่ ผู้หญิงจำนวนมากร่วมเคลื่อนไหวอย่างเปิดเผยบนท้องถนน เดินทางออกจากบ้านหรือปริมณฑลส่วนตัวในท้องถิ่น ไปปะทะขัดแย้งในท้องถนน ซึ่งเป็นปริมณฑลสาธารณะบนโลกทางการเมืองในระดับชาติโดยตรง


ผู้หญิงจำนวนมากที่เข้าร่วมเสื้อแดง คือ กลุ่ม ผู้หญิงชายขอบในเมือง หรือผู้หญิงชนชั้นกลางระดับล่าง ซึ่งเป็นกลุ่มที่หลุดเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจตลาดไปมากแล้ว แต่ก็ไม่ได้อยู่ในภาคเศรษฐกิจที่เป็นทางการ เช่น กลุ่มแม่ค้า กลุ่มแรงงานในเมือง เป็นต้น ขบวนการเสื้อแดงสะท้อนการปรากฏตัวของผู้หญิงกลุ่มนี้ในการเคลื่อนไหวทางการ เมืองระดับชาติเป็นครั้งแรกๆ คำถามคือบริบทและเงื่อนไขแบบใดที่ทำให้คนกลุ่มที่ไม่เคยสนใจการเมืองมาก่อน นี้เข้าร่วมขบวนการเสื้อแดง และการเข้าร่วมเคลื่อนไหวทางการเมืองก่อให้เกิดผลในแง่ใดบ้างต่อพวกเธอ


จากการศึกษากลุ่มแม่ค้าในตลาดสันกำแพง ที่ใช้ชื่อว่า "กลุ่มสันกำแพงรักประชาธิปไตย" ซึ่งเริ่มตั้งขึ้นมาปลายปี พ.ศ. 2551 โดยมีคนร่วมก่อตั้ง 9 คน ใน 9 คนนี้ 7 คนเป็นแม่ค้า


มุมมองความเป็นแม่ค้ามีส่วนปลดปล่อยผู้หญิงออกจากพื้นที่ส่วนตัว ผู้หญิงคนหนึ่งพูดถึงความเป็นแม่ค้าของตนเองว่า "เหมือนเป็นแม่น้ำ มีอิสระ และขึ้นๆ ลงๆ คดเคี้ยวไปมา" ซึ่งตรงนี้อธิบายความเป็นแม่ค้าได้เป็นอย่างดี


ภาพรวมแม่ค้าในตลาดสันกำแพงอยู่ในวัย 50-60 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาในระดับประถมศึกษา และสืบทอดความเป็นแม่ค้ามาจากคนรุ่นพ่อแม่


ลักษณะสำคัญของอาชีพแม่ค้าที่หลายคนพูดตรงกันคือ "ความเป็นอิสระ" ของอาชีพตนเอง ที่ให้อิสระในการตัดสินใจทางเศรษฐกิจ ดูแลเรื่องการเงิน โอกาสในการหารายได้ด้วยตนเอง และรับผิดชอบครัวเรือนด้วยตนเอง


ด้วยความอิสระในความหมายนี้ที่ปลดปล่อย ผู้หญิงในระดับหนึ่งให้ออกจากพื้นที่ส่วนตัวหรือครัวเรือน มายังพื้นที่สาธารณะทางเศรษฐกิจอย่างตลาด และให้อิสระในการตัดสินใจหลายเรื่องของชีวิตด้วยตนเอง โลกของกลุ่มแม่ค้าจึงไม่ใช่โลกของผู้หญิงที่อยู่แต่เพียงในครัวเรือน หากเป็นโลกที่ได้เห็นชีวิตผู้คนที่หลากหลายซึ่งมาปะทะสังสรรค์กันในพื้นที่ สาธารณะมานานแล้ว หลายคนเล่าประสบการณ์ชีวิต ที่เคยเดินทางไปค้าขายต่างจังหวัด บางคนเคยไปค้าขายถึงภาคใต้ บางคนอยู่กรุงเทพฯมาระยะใหญ่ๆ ด้วยเหตุนี้จึงเห็นประสบการณ์ชีวิตที่มันอยู่ในหลายพื้นที่ คือไม่ได้อยู่ในบ้านอย่างเดียวอีกต่อไป


ความเป็นแม่ค้าหรือโลกทัศน์ของแม่ค้าถูกผูก เข้ากับเศรษฐกิจระบบตลาดหรือทุนนิยมมานานแล้ว ทำให้อยู่ภายใต้ระบบตลาดที่มีความไม่มั่นคง (unsecure) และความผันผวนของภาวะเศรษฐกิจ ที่ตัวแม่ค้าเองไม่สามารถควบคุมได้ แต่มองในภาพระยะยาว ชีวิตครอบครัวของแม่ค้าหลายคนขยับฐานะความเป็นอยู่ดีขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเทียบกับคนรุ่นพ่อรุ่นแม่ ลูกหลานของหลายคนถูกส่งเรียนจนจบปริญญาตรี และเข้าไปทำงานในตัวเมืองเชียงใหม่หรือกรุงเทพฯ ส่งเงินกลับมาช่วยครอบครัว ทำให้ภาระหน้าที่รับผิดชอบของแม่ค้าหลายคนลดลง


แม่ค้าหลายคนพูดถึงฐานะของตัวเองว่า "พอมีพอกิน" ไม่ได้เดือนร้อน หรือถึงกับ "ตุก" อะไรมาก เปรียบเทียบคล้ายกลับแม่น้ำที่ "มันขึ้นๆ ลงๆ เหมือนน้ำ แม่ค้าบางปีก็ดูจะดีๆ หาเงินง่าย บางปีก็รันทดเหลือเกิน หาเงินยาก ฐานะเราไม่ดีมาก พอมีพอกิน แต่ก็ไม่รวย"


มีคำพูดหนึ่งที่สะท้อนมุมมองของแม่ค้าต่อภาพรวมด้านเศรษฐกิจได้เป็น อย่างดี "ปีที่ลงท้ายด้วย 0 จะหาเงินยาก คือปี 10 20 30 40 50 แปลกดีเหมือนกัน ตอนช่วง 30 มาดีหลังปี 31 ดีมาถึงปี 36 จนมาปี 40 กว่าๆ ตอนที่ทักษิณเป็นจึงเริ่มดีใหม่"


อ.ชาร์ลส์ คายส์ (Charles Keyes) ได้พูดถึงประสบการณ์ของชาวบ้านว่าเป็น "ชาวบ้านผู้รู้จักโลกกว้าง" (cosmopolitan villager) มีความสามารถเชื่อมโยงโลกในท้องถิ่นของตัวเองเข้ากับเรื่องระดับชาติ และความเป็นไปของโลกกว้างได้ ซึ่งก็คล้ายๆ กับแม่ค้ากลุ่มนี้ แม้แต่ในมิติการบริโภค กลุ่มแม่ค้ามีวิถีใกล้เคียงกับชนชั้นกลางในเมืองค่อนข้างมาก และความสามารถในการเข้าถึงสื่อประเภทต่างๆ ที่ง่ายมากขึ้น


ในภาคเหนือและอีสานนั้น ฐานของระบบครอบครัวดั้งเดิมคือการสืบสกุลทางฝ่ายมารดา (Matrilineal kinship) คือผู้ชายย้ายเข้ามาอยู่บ้านฝ่ายหญิง ซึ่งทำให้อำนาจของผู้หญิงในบ้านมีค่อนข้างมาก ด้วยระบบนี้ทำให้ผู้หญิงทางภาคเหนือและอีสานค่อนข้างเป็นอิสระมากในระดับ หนึ่ง และมีรูปแบบชีวิตครอบครัวที่หลากหลายและยืดหยุ่น สร้างโอกาสให้ผู้หญิงเป็นอิสระจากครอบครัวแบบจารีตได้มากขึ้น หลายคนออกมาตั้งครอบครัวเดี่ยวของตัวเองได้ แม่ค้าคนหนึ่งเป็นโสดจึงสามารถเข้าร่วมชุมนุมอย่างต่อเนื่อง ต่างจากแม่ค้าที่มีครอบครัวที่เข้าร่วมชุมนุมได้บางครั้ง


บริบทของตลาดสันกำแพง คือเคยเป็นศูนย์กลางของตัวอำเภอ แต่ค่อยๆ หมดความสำคัญลงในปี 2540 เพราะมีตลาดย่อยๆ ตามหมู่บ้านหรือตำบลที่ทำให้คนไม่ต้องเข้ามาซื้อสินค้าในตัวอำเภออีกต่อไป พ่อค้าแม่ค้าราว 80% ในตลาดเป็นคนเสื้อแดง โดยมีกลุ่มที่กระตือรือร้นเข้าร่วมชุมนุมหรือติดตามสม่ำเสมอประมาณ 20%


จากการไปสังเกตและสอบถาม เขาจะแบ่งกลุ่มพ่อค้าแม่ค้าสองกลุ่มหลัก คือกลุ่มที่อยู่ตลาดด้านทิศเหนือ ซึ่งจำนวนมากเป็นคนจากต่างถิ่น ขายเฉพาะช่วงเช้าตรู่ (ประมาณตี3 -7 โมงเช้า) แล้วก็จะกลับบ้าน ไม่ค่อยมีการรวมกลุ่มหรือผูกพันกันมากนัก


อีกกลุ่มอยู่ตลาดด้านทิศใต้ เป็นคนพื้นที่ในละแวกเดียวกัน หลายคนเป็นเครือญาติกัน และเติบโตมาในตลาดด้วยกัน ค้าขายในช่วงกลางวันซึ่งเป็นช่วงที่คนซื้อของไม่หนาแน่นนัก


ปัจจัยในเรื่องของการทำอาชีพเดียวกันได้สะท้อน"ความเป็นชุมชน" ที่กลายมาเป็นฐานการรวมกลุ่มของกลุ่มคนเสื้อแดงในตลาดปัจจุบัน


อีกประการหนึ่งตลาดนี้เป็นบ้านเกิดของอดีตนายกฯทักษิณ และตระกูลชินวัตร พ่อค้าแม่ค้าหลายคนมักจะเล่าว่าเคยรู้จักและสนิทสนมกับอดีตนายกฯ มาตั้งแต่เด็ก เพราะสมัยก่อนทักษิณจะมาขายกาแฟ ขายหวานเย็น และก็เล่าอีกด้วยว่าสมัยทักษิณเป็นนายกฯกลับมา เขายังจำชื่อพ่อค้า แม่ค้าบางคนได้ พวกเขาก็เลยค่อนข้างชื่นชมทักษิณ มันเริ่มต้นจากความรู้สึกต่อทักษิณของชาวบ้านที่มองว่าเป็น "คนบ้านเฮา" และเป็นวีรบุรุษทางการเมืองที่ได้รับความนิยมของคนในท้องถิ่นนี้ (Local Hero)


นอกจากนี้ ในอีกมิติหนึ่ง ตลาดยังถูกใช้เป็นพื้นที่หาเสียงสำคัญของนักการเมืองมาตั้งแต่อดีต เนื่องจากมันเป็นพื้นที่สาธารณะ บริเวณใกล้ตลาดเคยเป็นที่ทำการของทั้งพรรคประชาธิปัตย์และไทยรักไทย


แม่ค้าส่วนใหญ่มีประสบการณ์ไปเลือกตั้งส.ส.มาอย่างสม่ำเสมอ ทั้งระดับชาติและท้องถิ่น แม่ค้าในตลาดจึงล้วนเคยเห็นและสัมผัสประสบการณ์เกี่ยวกับการเมืองอย่างเป็น ทางการมาอย่างต่อเนื่องก่อนหน้าเข้าร่วมขบวนการเสื้อแดงแล้ว ฉะนั้นเรื่องประสบการณ์ทางการเมืองจึงไม่ใช่เรื่องไกลตัวของกลุ่มแม่ค้า


ตลาดเลยกลายเป็นจุดประสานงานด้วยเพราะเป็นพื้นที่สาธารณะที่เปิดต่อ การพบเจอ ปะทะประสานของทั้งผู้คน สินค้า และข่าวสาร ในช่วงที่มีการเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดงจะมีใบปลิววางแจกอยู่ที่ตลาด และเป็นที่ตั้งของการรวบรวมเงินบริจาค


ตลาดแทนที่จะเป็นสถานที่แลกเปลี่ยนสินค้าทาง เศรษฐกิจเท่านั้น ได้กลับกลายไปเป็นสถานที่สำหรับแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูลทางการเมือง ในลักษณะของการเป็นศูนย์ (Node) ในการกระจายข่าวสาร ดังนั้นตลาดจึงเป็นพื้นที่ทางเศรษฐกิจที่เชื่อมต่อไปยังพื้นที่ทางการเมือง ด้วย


สำหรับโลกทัศน์ของแม่ค้าก่อนสมัยรัฐบาลทักษิณจะเข้ามา เศรษฐกิจของตลาดยังไม่ค่อยถูกเชื่อมกับโลกทางการเมืองเท่าไรนัก แม่ค้าหลายคนไม่เคยสนใจการเมืองมาก่อน


แต่เมื่อ "นโยบายประชานิยม" ต่างๆ สมัยทักษิณได้ช่วยเอื้ออำนวยต่อสวัสดิการในชีวิตด้านต่างๆ เพิ่มอำนาจต่อรองในตลาด และเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงแหล่งทุนดอกเบี้ยต่ำ จึงกลายเป็นปัจจัยที่ช่วยเชื่อมต่อโลกทัศน์ นโยบายของพรรคการเมือง การเลือกตั้ง เข้ากับ ปากท้อง ความกินดีอยู่ดีทางเศรษฐกิจ การเลือกตั้งจึงมีนัยสำคัญต่อชาวบ้านขึ้นมา


ภาวะเศรษฐกิจในสมัยรัฐบาลไทยรักไทยที่เฟื่องฟูขึ้นมาก ทำให้มีนักท่องเที่ยวมาเที่ยวมากขึ้น คนงานเข้ามาจับจ่าย ซื้อของมากขึ้น ส่งผลสำคัญให้อาชีพพ่อค้าแม่ค้าทำมาค้าคล่องยิ่งขึ้น ผู้คนมีเงินจับจ่ายมากขึ้น


หลังรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ในมุมมองแม่ค้า รายได้ลดลงไปประมาณ 1 ใน 3 เมื่อเทียบช่วงก่อนรัฐประหาร และเพราะวิถีชีวิตของแม่ค้าอยู่กับการขึ้นลงของราคาสินค้าตลอดเวลา จึงมีความรู้สึกอ่อนไหว (sensitive) ต่อภาวะเศรษฐกิจมากกว่าคนกลุ่มอื่นๆ


สภาวะเศรษฐกิจซึ่งแย่ลงได้ค่อยๆ ถูกนำไปเชื่อมโยงกับสภาวะทางการเมืองหลังรัฐประหาร เช่นการชุมนุมเรียกร้องยุบสภาด้วยการปิดสนามบินของกลุ่มพันธมิตร การจัดตั้งรัฐบาลที่มาจากอำนาจนอกระบบ เป็นต้น จนมาสู่ความไม่พอใจ และนำไปสู่การเคลื่อนไหวในเวลาต่อมา ท้ายที่สุดนำมาสู่การตั้งกลุ่ม "กลุ่มสันกำแพงรักประชาธิปไตย" ขึ้นมา


อย่างที่ได้กล่าวไปว่า มีคนร่วมก่อตั้งกลุ่ม 9 คน ใน 9 คนนี้ บางคนเคยร่วมใน "ชมรมคนรักทักษิณ" ตั้งแต่ช่วงปี 2548 (ก่อนรัฐประหาร) ช่วงปี 2551 แม่ค้าหลายคนได้เดินทางเข้าไปในตัวเมืองเชียงใหม่เพื่อฟังปราศรัยของกลุ่ม รักเชียงใหม่ 51 จนเกิดความคิดที่จะตั้งกลุ่มขึ้นมา และเริ่มขยายสมาชิกไปยังคนกลุ่มอื่นๆ มากขึ้น เช่น นักธุรกิจท้องถิ่น สหายเก่า ข้าราชการเกษียณ เป็นต้น และได้เข้าร่วมกับ "ศูนย์ประสานงานกลางนปช.แดงเชียงใหม่" ที่ก่อตั้งในช่วงปลายปี 2552


ก่อนการชุมนุมใหญ่เมื่อปี 2553 มีการทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่องทั้งการขยายมวลชน การตั้งเวทีย่อย การจัดผ้าป่าระดมทุน จัดขายเสื้อ อุปกรณ์การชุมนุม การจัดเวทีตามหมู่บ้าน เข้าร่วมโรงเรียนนปช.

การชุมนุมในตัวเมืองเชียงใหม่และกรุงเทพฯ บทบาทของแม่ค้าในการชุมนุม ได้นำทักษะความชำนาญของตน ออกไปใช้ในพื้นที่สาธารณะทางการเมือง เช่น การทำอาหารในแต่ละมื้อระหว่างชุมนุม เป็นต้น บทบาทของแม่ค้าจึงคล้ายเป็นส่วนขยายจากบทบาทในบ้านและในตลาดของผู้หญิง ที่ออกไปทำหน้าที่ดูแลปากท้องและความเป็นอยู่ให้กับคนเสื้อแดง (care taker)


แม่ค้ามองว่าตนก็มีส่วนร่วมเท่าๆ กันกับกลุ่มผู้ชาย ที่หลายคนมีหน้าที่เข้าไปยกของหนักๆ ไปเดินตรวจตราโดยรอบ หรือไปสมัครเป็นการ์ดดูแลการชุมนุม


ในมวลชนระดับล่าง ความสัมพันธ์ระหว่างคนกลุ่มต่างๆ ค่อนข้างเป็นไปในแนวราบ หรือเท่าเทียมกันมากกว่า แต่ถ้ามองในแนวดิ่งก็อาจจะเห็นความเหลื่อมล้ำอยู่ เช่น บทบาทการตัดสินใจจะอยู่ที่แกนนำมากกว่า


แม่ค้าหลายคนมักจะเล่าว่า การเข้าไปชุมนุมในกรุงเทพฯ ได้ช่วยเปิดมิติใหม่ๆ ในการรับรู้เกี่ยวกับการเมืองและตัวตนของแม่ค้าเอง ผ่านการฟังเวทีปราศรัย และการพูดคุยกับผู้ร่วมชุมนุมซึ่งมาจากที่อื่นๆ ทั่วประเทศ โดยเฉพาะข่าวสารอื่นๆ ที่พูดบนเวทีไม่ได้ กลับไหลเวียนอยู่ด้านล่างในหมู่มวลชน


การเข้าไปมีประสบการณ์โดยตรงมีผลของการชุมนุม เป็น "การติดอาวุธทางความคิด" ให้กลุ่มผู้หญิงมากยิ่งขึ้น พร้อมกับค่อยๆ เรียนรู้และพัฒนาความคิดและการวิเคราะห์ทางการเมืองใหม่ๆ ที่ถึงรากมากขึ้น จนนำไปสู่อาการที่เรียกว่า "ตาสว่าง" ในภายหลัง


ประสบการณ์การเข้าร่วมต่อสู้โดยตรง คล้ายเป็นการเดินทางเปลี่ยนผ่านที่ช่วยขยายตัวตนในมิติอันแคบอย่างการเชียร์ ตัวบุคคล ไปสู่ความคิดและตัวตนของแม่ค้าในฐานะที่มองว่าตนเป็นพลเมืองที่เป็นสากลมาก ขึ้น (cosmopolitan citizen) ในเรื่องของประชาธิปไตยและความเท่าเทียม ดังเช่น การใช้ชุดภาษาทางการเมือง อย่าง "ประชาธิปไตย" หรือ "ความยุติธรรม" เป็นเหตุผลในการต่อสู้ ซึ่งค่อนข้างเป็นเรื่องใหม่ของคนกลุ่มนี้


การเดินทางเข้าร่วมชุมนุมยังช่วยให้กลุ่มแม่ค้าฝ่าข้ามปริมณฑลสองชั้น คือ ชั้นอำนาจที่กีดกันผู้หญิงออกจากการเมืองที่ถูกมองเป็นพื้นที่โดยตรงของผู้ชาย ซึ่งคำกล่าวแม่ค้าคนหนึ่งสะท้อนแนวคิดนี้ได้เป็นอย่างดี "แฟนใหม่ป้าเคยไป (ชุมนุม) ครั้งเดียว ร้อนอึดอัดก็กลับ ผู้หญิงอดทนกว่าผู้ชาย ผู้ดีไฮโซก็ยังมาชุมนุมกับเรา...ตอนนี้ผู้นำไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ชาย ผู้หญิงเป็นอาจดีกว่า ผู้หญิงไปช่วยสื่อสารกัน ยิ้มใส่กันรู้จักกันแล้ว ผู้ชายไม่ค่อย อย่างอ.ธิดาเก่งไหม เขารู้งาน มันเท่าเทียมกันหมดเดี๋ยวนี้ ให้สิทธิเท่าเทียมกัน ผัวเมียไม่มีการเท้าหลังเท้าหน้า" และชั้นของอำนาจทางการเมืองต่างๆ ที่ไม่เคยถูกวิพากษ์วิจารณ์กว้างขวางขนาดนี้มาก่อนในสังคมไทย


แต่การเข้าไปเคลื่อนไหวของกลุ่มแม่ค้าก็ยังมีข้อจำกัด พวกเขาไม่ได้กลายเป็นผู้ปฏิบัติการหรือว่าเป็นนักกิจกรรมอย่างเต็มตัวเพราะ อำนาจการตัดสินใจในการเคลื่อนไหวและชี้ขาดในเรื่องต่างๆ ยังคงต้องขึ้นอยู่กับแกนนำส่วนกลางหรือส่วนจังหวัด ว่าจะเคลื่อนไหวแบบไหนอย่างไร


นอกจากนี้ยังมีข้อจำกัดในการประกอบอาชีพ ที่แม่ค้ายังคงต้องทำมาค้าขาย หาเลี้ยงตนเองและครอบครัว หลายคนต้องกู้หนี้ยืมสินเพื่อเป็นค่าเดินทางเข้าไปชุมนุม กลายเป็นขีดจำกัดที่สำคัญที่ไม่ได้เปลี่ยนแม่ค้าให้เป็นผู้ลงมือปฏิบัติการ ที่คิดและทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่องด้วยตนเองทั้งหมด


กล่าวโดยสรุป แม้ว่าการเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้หญิงกลุ่มนี้จะไม่ได้ออกไปเรียกร้องประเด็น ปัญหาของผู้หญิงโดยตรง เช่น สิทธิสตรี สัดส่วนสส.ผ้หญิงในสภา แต่ การเคลื่อนไหวของผู้หญิงเสื้อแดงยังเกี่ยวพันอยู่กับการต่อสู้เพื่อความมั่น คงในครัวเรือน กลุ่มแม่ค้าเรียนรู้ว่าการทำให้ครอบครัวดีขึ้นกินดีอยู่ดี แยกไม่ออกจากนโยบายของรัฐที่ตอบสนองต่อพวกเธอ และภาพเศรษฐกิจของประเทศที่วางอยู่บนฐานของประชาธิปไตย โดยเฉพาะความเท่าเทียม หรือการนับสิทธิเสียงทางการเมืองของพวกเธอ


มุมมองสตรีนิยมที่แบ่งอย่างชัดเจนระหว่างปริมณฑลส่วนตัว/บ้าน และปริมณฑลสาธารณะ สร้างทัศนะในการมองปริมณฑลในบ้านที่ค่อนข้างเป็นลบและขาดพลวัต ละเลยการต่อสู้ของผู้หญิงหลายกลุ่มที่ต่อสู้เพื่อปกป้องปริมณฑลบ้าน ที่ไม่ได้มีแต่เพียงด้านที่ล้าหลังและขาดนัยแห่งการปลดปล่อยเชิงเสรีภาพ หากขึ้นอยู่กับบริบทและประสบการณ์เฉพาะที่ทำให้การต่อสู้เพื่อพื้นที่ส่วน ตัวเป็นการปลดปล่อยผู้หญิง


ในกรณีกลุ่มผู้หญิงเสื้อแดงที่หลุด เข้าไปในระบบตลาดแล้ว การต่อสู้เพื่อปกป้องโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากรในตลาดและปากท้อง เช่น เงินกู้ราคาถูก, ราคาสินค้าที่เป็นธรรม, สวัสดิการในชีวิตด้านต่างๆ, โอกาสในการเข้าถึงความกินดีอยู่ดี เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดวางอยู่บนฐานระบบการเมืองที่เป็น "ประชาธิปไตย" และการถูกนับรวมว่าตนก็เป็น "พลเมือง" มีสิทธิมีเสียงเท่ากับคนอื่นๆ จึงไม่อาจถูกละเลย และสามารถมีนัยยะของการปลดปล่อยผู้หญิงได้เช่นกัน

"จาตุรนต์"ยัน"ปู"บริหารตามหลักแก้ไข ไม่ใช่แก้แค้น ปัดเพื่อ"แม้ว" อ้างจังหวะทางการเมืองไม่เอื้ออำนวย

ที่มา มติชน

เมื่อวันที่ 10 กันยายน นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ปฏิเสธตั้งข้อสังเกตว่า รัฐบาลลุแก่อำนาจ หรือหวังเบิกทางให้นักการเมืองที่ถูกตัดสิทธิ รวมถึงการเอื้อประโยชน์ให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี แต่ให้เหตุผลว่า จังหวะเวลาทางการเมืองไม่เอื้ออำนวยต่อรัฐบาล ทั้งที่โดยข้อเท็จจริงทุกเรื่องเกิดขึ้นในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา เป็นไปตามกรอบเวลาที่ต้องดำเนินการแล้ว


ส่วนการแต่งตั้งโยกย้าย การขอพระราชทานอภัยโทษ และการแก้ไขรัฐธรรมนูญ นายจาตุรนต์ชี้แจงว่า งานการเมืองและงานการบ้านนั้นเป็นเรื่องที่ต้องทำคู่ขนานกัน โดยเฉพาะรัฐธรรมนูญที่ไม่ชอบด้วยระบอบประชาธิปไตย จำเป็นต้องเร่งแก้ไข และทางที่ดีที่สุดคือ การตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ ส.ส.ร.ขึ้นมา โดยขณะนี้รัฐบาลอยู่ระหว่างยกร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เพื่อเปิดทางให้มีการจัดตั้ง ส.ส.ร. คาดการณ์ว่าจะมี 99 คน ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงภาคประชาชนทุกภาคส่วน โดยทั้งหมดเป็นการเปิดรับสมัครและมีการเลือกกันเอง

1 ทศวรรษ 9/11 ช็อกโลก ความปลอดภัยกับต้นทุนที่ต้องจ่าย

ที่มา มติชน


ภาพ:AP



ภาพ:รอยเตอร์









ภาพ:รอยเตอร์



ภาพ:รอยเตอร์



ภาพ:เอเอฟพี



วันที่ 11 กันยายน 10 ปีที่แล้วผู้ก่อการร้าย 19 คน จี้เครื่องบิน 4 ลำ เพื่อโจมตีมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลก 2 ลำพุ่งเข้าเสียบอาคารแฝดเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ในย่านธุรกิจของนครนิวยอร์ก ลำที่สามทะยานเข้าหาตึกเพนตากอน ที่ทำการกระทรวงกลาโหมสหรัฐ ส่วนลำสุดท้ายซึ่งคาดว่ามีเป้าหมายที่แคปพิทอล ฮิลล์ อาคารรัฐสภามะกัน ตกในรัฐเพนซิลเวเนีย จนคนบนเครื่องเสียชีวิตทั้งหมดหลังผู้โดยสารลุกขึ้นต่อสู้กับสลัดอากาศ

การก่อการร้ายวันนั้นทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 3 พันคน ซึ่งนอกจากชาวอเมริกันแล้วยังมีพลเมืองของอีก 115 ประเทศ

หนึ่ง ทศวรรษผ่านไป รอยเตอร์ส ระบุว่า นักท่องเที่ยวยังแห่กันมายังจัตุรัสไทม์สแควร์ใจกลางเมืองนิวยอร์กเพื่อชม แสงสีและละครบรอดเวย์ แต่สิ่งหนึ่งที่แตกต่างจากก่อนเกิดเหตุการณ์วินาศกรรมครั้งเลวร้ายคือ ตำรวจถือปืนกลที่คอยลาดตระเวนไปทั่วเพื่อตรวจหาวัตถุระเบิดและบุคคลต้อง สงสัย เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดที่แสดงว่าสหรัฐกำลังพยายามรักษาสมดุลระหว่างเสรีภาพ ของประชาชนกับความปลอดภัยซึ่งผลักประเทศเข้าสู่ยุค "จับตามองทุกฝีก้าว"

ระบบ รักษาความปลอดภัยที่เข้มงวดดูจะให้ผลน่าพอใจเพราะอย่างน้อยแดนลุงแซมก็ไม่ ถูกโจมตีซ้ำอีกในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา แต่สิ่งที่สูญเสียไปเพื่อแลกความมั่นคงนี้อาจไม่คุ้มค่า ไม่ว่าจะในรูปตัวเงินหรือสิทธิเสรีภาพ นักเคลื่อนไหวด้านเสรีภาพพลเมืองวิตกว่า ยุคแห่งการถูกเฝ้าจับตามองและการเฝ้าระวังภัยจะกลายเป็นเรื่องถาวร

โจ เซฟ สติกลิทซ์ เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ กล่าวกับอัลจาซีรา ว่า การบุกอัฟกานิสถานเพื่อล้างบางกลุ่มอัล-กออิดะ หลังเหตุการณ์ 9/11 เป็นสิ่งที่พอเข้าใจได้ แต่การรุกรานอิรักไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้อย่าง สิ้นเชิง การตัดสินใจทำสงครามทั้ง 2 แห่ง กลายเป็นปฏิบัติการแพงหูฉี่ และผลาญเงินภาษีประชาชนเกิน 6 หมื่นล้านดอลลาร์ ที่จอร์จ ดับเบิลยู. บุช เคยกล่าวอ้างไว้

เพราะเกือบครึ่งของทหารที่ไปรบใน 2 สมรภูมิดังกล่าวกลับมาในสภาพที่มีสิทธิ์ได้รับเงินบำนาญทุพพลภาพ และมากกว่า 6 แสนคนยังเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลทหารผ่านศึก สติกลิทซ์จึงคาดว่ารายจ่ายช่วยเหลือทหารพิการและค่าใช้จ่ายทางการแพทย์จะ พุ่งทะลุ 6-9 แสนล้านดอลลาร์ในอนาคต

ยังไม่นับรวมความสูญเสียด้าน สังคม ซึ่งสะท้อนให้เห็นในจำนวนทหารผ่านศึกที่ฆ่าตัวตายซึ่งตัวเลขเคยพุ่งไปที่ 18 คนต่อวันเมื่อไม่กี่ปีก่อน ตลอดจนครอบครัวที่แตกสลายซึ่งล้วนประเมินค่าไม่ได้

สงครามต่อต้าน การก่อการร้ายที่รัฐบาลบุชผู้ลูกจุดไฟขึ้นนั้นเป็นการสู้รบครั้งแรกใน ประวัติศาสตร์ที่งบประมาณมาจากเงินกู้ทั้งหมด ขณะที่ทหารอเมริกันกำลังเข้าสู่สนามรบยอดขาดดุลงบประมาณของมะกันกำลังไต่ ระดับส่วนหนึ่งเป็นผลจากแผนลดภาษีในปี 2544

ปัจจุบันรัฐบาลวอชิงตัน ต้องกระเสือกกระสนหาทางลดการว่างงานและการขาดดุล ปัญหาเศรษฐกิจทั้งสองอย่างซึ่งเป็นภัยคุกคามอนาคตสหรัฐสามารถย้อนหาสาเหตุไป ถึงสงครามที่อัฟกานิสถานและอิรัก รายจ่ายด้านการป้องกันประเทศที่พุ่งกระฉูดประกอบกับแพ็กเกจหั่นภาษีให้คนรวย คือต้นตอหลักที่ผลักดันให้ฐานะการคลังแดนลุงแซมเปลี่ยนจากเกินดุลงบประมาณ 2% ของจีดีพี เป็นเมื่อบุชได้รับเลือกตั้งไปเป็นขาดดุลจำนวนมหาศาลและภูเขา หนี้สินอย่างในทุกวันนี้

ประเมินกันว่ารายจ่ายโดยตรงของรัฐที่ละลาย ไปกับไฟสงครามสูงถึง 2 ล้านล้านดอลลาร์ หรือ 1.7 หมื่นดอลลาร์ต่อครัวเรือนอเมริกัน ยังไม่รวมรายจ่ายที่ ใบเรียกเก็บเงินยังไปถึง ซึ่งอาจทำให้ตัวเลขดังกล่าวสูงขึ้นอีก 50%

ไม่ เพียงเท่านั้น ความวุ่นวายในตะวันออกกลางเป็นหนึ่งในปัจจัยที่กดดันให้ราคาน้ำมันแพงจับจิต บังคับให้อเมริกันชนต้องใช้เงินจำนวนมากไปกับการนำเข้าเชื้อเพลิง แทนที่จะนำมาใช้ซื้อสินค้าที่ผลิตภายในประเทศ

ตอนนั้นธนาคารกลาง สหรัฐพยายามปกปิดความอ่อนแอทางเศรษฐกิจด้วยการขับเคลื่อนฟองสบู่ใน ภาคอสังหาริมทรัพย์ซึ่งกระตุ้นให้การบริโภคพลอยบูมไปด้วย แต่เมื่อถึงคราวฟองสบู่แตก ทุกอย่างจึงล้มระเนระนาดอย่างที่เห็นในปัจจุบัน คาดว่าต้องใช้เวลาอีกหลายปีที่กองหนี้และซากปรักหักพังในธุรกิจก่อสร้างจะ กลับสู่ภาวะสมดุล อีกครั้ง

นอกจากด้านเศรษฐกิจแล้ว เสรีภาพการใช้ชีวิตของคนอเมริกันก็ผันแปรเช่นกัน ประธานาธิบดีและตำรวจมีอำนาจมากขึ้นในการยื่นจมูกเข้าไปสอดส่องชีวิตส่วนตัว ของพลเมืองโดยแทบไม่ต้องขออนุมัติจากศาล การโดยสารเครื่องบินต้องผ่านระบบรักษาความปลอดภัยที่ ซับซ้อนราวกับการเข้าพบบุคคลสำคัญ

รัฐบาลสหรัฐยังออกมาตรการป้องกัน ภัยคุกคามจากภายนอกด้วยการส่งตัวผู้ต้องสงสัยชาวต่างชาติที่จับได้นอกประเทศ ไปยังประเทศที่สามเพื่อกักขังและสอบสวน รวมทั้งคุมตัวผู้ต้องสงสัยที่เป็นทหารมายังอ่าวกวนตานาโมในคิวบา ซึ่งมีเสียงเล่าลือเรื่องทรมานนักโทษและละเมิดสิทธิมนุษยชนที่มะกันอ้างว่า เชิดชูและใช้เป็นประเด็นโจมตีประเทศอื่น

การละเมิดความเป็นส่วนตัว สร้างความเดือดร้อนให้คนจำนวนมาก โดยเฉพาะมุสลิมหรือผู้มีเชื้อสายตะวันออกกลาง ซึ่งต้องเผชิญกับการเลือกปฏิบัติและถูกจับกุมโดยไม่มีเหตุ อันควร

ดา วุด วาลิด หัวหน้าสภาความสัมพันธ์อเมริกัน-อิสลาม สาขามิชิแกน ชี้ว่า "สถานการณ์ทุกวันนี้เลวร้ายกว่าช่วงหลังเกิด 9/11 ได้หนึ่งปีเสียอีกผมมองไม่เห็นเลยว่าอะไร ๆ จะเปลี่ยน แปลงไปมากนักในอีก 5-7 ปีข้างหน้า"

อย่างไรก็ตาม ปีเตอร์ คิง สมาชิกสภาคองเกรสจากพรรครีพับลิกัน ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมาธิการความปลอดภัยแห่งมาตุภูมิของสภาผู้แทนฯ มองว่า "สำหรับผมไม่สงสัยเลยว่าทุกอย่างคุ้มค่า ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายรักชาติ (Patriot Act) การตรวจตราที่สนามบินหรือท่าเรือ ทั้งหมดนี้ดีกว่าการเห็นคนถูกไฟคลอก หรือต้องกระโดดหนีตายจากตึกสูง 106 ชั้นทั้งสิ้น"


(ประชาชาติธุรกิจ ฉบับ12-14 กันยายน 2554)

เปิดใจ "ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล" เพื่อไทยต้องเหยียบคันเร่ง"

ที่มา ประชาชาติธุุรกิจ




ปม ขัดแย้งระหว่างกระทรวงการคลังกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มักจะเกิดขึ้นทุกครั้งที่มีการผลัดเปลี่ยนรัฐบาล และประเด็นความขัดแย้งก็เริ่มปะทุขึ้นมา อีกครั้ง หลังจากที่ผู้บริหารของ ธปท.ออกมาให้ข่าวว่าไม่เห็นด้วยกับนโยบายประชานิยมตามที่หาเสียง ซึ่งอาจส่งผลทำให้งบประมาณปี 2555 ขาดดุลเกินกว่า 3.5 แสนล้านบาท และถ้ารัฐบาลเดินหน้ากระตุ้นเศรษฐกิจ ธปท.ก็จำเป็นที่จะต้องปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อรักษาระดับของเงินเฟ้อให้อยู่ในกรอบ เป้าหมาย เสมือนเป็นการลองของ

ทันที ที่ นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล เข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จึงได้เชิญ นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ ธปท.เข้ามาปรึกษาหารือ ปรับความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาล พร้อมกับฝากการบ้าน 4 ข้อให้ ธปท.กลับไปคิดแล้วนำกลับมาเสนอต่อที่ประชุมใหม่ภายใน 1 เดือนข้างหน้า จากนั้นจึงเกิดเหตุการณ์ปะทะเดือดระหว่างคลังกับ ธปท. ทั้งบนหน้าหนังสือพิมพ์และเฟซบุ๊ก เนื่องจากทั้ง 2 ฝ่ายมีความเห็นไม่ตรงกันเกี่ยวกับแนวทางในการแก้ไขปัญหาหนี้สินของกองทุน เพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF) การจัดตั้งกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ (SWF) และการปรับปรุงกรอบเงินเฟ้อเป้าหมาย จนทำให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ออกมาเบรกว่า เรื่องการจัดตั้งกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ ไม่ใช่นโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล

เมื่อเร็ว ๆ นี้ "ประชาชาติธุรกิจ" ได้มีโอกาสพูดคุยกับนายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จึงนำประเด็นความขัดแย้งทั้งหมดไปสอบถามขุนคลัง ตั้งแต่เรื่องของการปรับปรุงกรอบเงินเฟ้อเป้าหมาย นายธีระชัยตอบว่า มันไม่ค่อยจะเมกเซนส์เท่าไหร่ หากอีกฝ่ายหนึ่งเหยียบคันเร่ง ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งก็คอยดึงเบรกมือ กล่าวคือ รัฐบาลจัดงบฯเข้าไปกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่อีกฝั่งหนึ่งคอยขึ้นดอกเบี้ย เท่ากับสิ่งที่ทำไปสลายหมด

และล่าสุดทางคณะกรรมการนโยบายการเงิน ก็เพิ่งจะปรับดอกเบี้ยนโยบายขึ้นไปเป็น 3.5% ต่อปี หลังจากนั้นผมก็ได้ขอให้ ธปท.มาอธิบาย ทาง ธปท.ส่ง ดร.อัจนา ไวความดี รองผู้ว่าการ ธปท.มาชี้แจงให้กับสภาหอการค้าและสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โดยมีผมนั่งฟังอยู่ด้วย จึงถาม ธปท.ว่าจะให้ผมช่วยขยับกรอบเงินเฟ้อกรอบบนไหม ธปท.บอกว่าต้องคำนึงถึงปัจจัยความเสี่ยงจากต่างประเทศ ผมจึงจับสัญญาณอะไรบางอย่างได้ว่า การปรับขึ้นดอกเบี้ยรอบที่แล้ว น่าจะเป็น การปรับขึ้นครั้งสุดท้ายของปีนี้ งั้นผมจึงขอให้ไปดูกรอบล่างให้หน่อย กรอบเงินมันกว้างเกินไป ซึ่งผมก็จะต้องนำเข้าสู่ที่ประชุมเดือน ธ.ค.นี้

ส่วน แนวความคิดการจัดตั้งกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ ตอนนี้ต้องหยุดไว้ก่อน เพราะไม่ใช่นโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล แต่เป้าหมายหลักที่ฝากให้ ธปท. กลับไปช่วยคิด คือ เรื่องการแก้ไขปัญหาหนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ (FIDF) วงเงิน 1.1 ล้านล้านบาท ที่ผ่านมารัฐบาลต้องจัดงบประมาณไปจ่ายดอกเบี้ยให้กับ FIDF ปีละ 50,000-60,000 ล้านบาท ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา จัดงบฯจ่ายไปแล้ว 6.7 แสนล้านบาท ไม่เสียดายหรือเอาเงินไปลงทุนพัฒนาประเทศได้ตั้งเยอะ ผมจึงชวน ธปท.เข้ามาร่วมกันแก้ปัญหามากกว่า พูดจริง ๆ นะผมไม่ได้มีปัญหาอะไรกับผู้ว่าการ ธปท.

เรื่องแนวคิดในการจัดตั้ง กองทุนความมั่งคั่งฯนั้น เป็นแค่มาตรการหนึ่งที่จะทำให้ ธปท.มีผลประกอบการดีขึ้น เมื่อมีกำไรก็สามารถนำเงินชำระหนี้สินของกองทุนฟื้นฟูฯ ซึ่งมันมีความเกี่ยวโยงกับเรื่องการกำหนดนโยบายดอกเบี้ยสูง พอมีเงินไหลเข้าก็ต้องออกพันธบัตร ไปดูดซับสภาพคล่องในต้นทุนสูงขึ้น ทำให้เกิดผลขาดทุนในหลายด้าน จนส่วนของทุนตอนนี้ติดลบกว่า 4 แสนล้านบาท

ต่อ คำถามที่ว่า เมื่อไรรัฐบาลจะเข้าไปรับผิดชอบหนี้ดังกล่าว นายธีระชัยตอบว่า ธปท.คงไม่มาหรอก เพราะถ้ามาให้คลังรับผิดชอบ ผมก็จะต้องตั้งเงื่อนไขอะไรเยอะแยะ แบงก์ขาดทุน หรือส่วนของติดลบเป็นเรื่องธรรมดา ตราบใดที่ ธปท.ยังไปทำโน่นได้ก็ไม่มีปัญหาอะไร จนกว่าจะติดลบถึงขนาดที่ไม่มีใครค้าขายด้วย ทำสวอป ทำโน่นทำนี่ก็ติดไปหมด เมื่อถึงจุดนั้นรัฐบาลคงต้องเข้าไปช่วย เพื่อให้ ธปท.เดินหน้าต่อไปได้

"ผมยังมีอีกหลายหมาก แต่ตอนนี้ยังไม่สามารถเปิดเผยได้ ต้องรอให้ถึงเดือนหน้าก่อนถึงจะรู้ว่าผมจะทำอย่างไร"

ส่วน เรื่องนโยบายอื่น ๆ ที่พรรคได้หาเสียงไว้ ผมได้มอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังทั้ง 2 ท่านรับไปดำเนินการ ส่วนตัวผมจะดูภาพรวมของเศรษฐกิจ และเตรียมหารายได้ภาษีตัวใหม่ ๆ มาชดเชยกับรายได้ที่ สูญเสียไปจากการลดภาษีน้ำมันและภาษีเงินได้นิติบุคคล ซึ่งที่คิดไว้จะเป็นเรื่องของการปรับโครงสร้างอัตราภาษีสรรพสามิตและจะเสริม ด้วยการจัดเก็บภาษีสิ่งแวดล้อม พวกคาร์บอนเครดิต เป็นต้น ขณะเดียวกันก็จะต้องเดินหน้าทำนโยบายหาเสียงให้เกิดผลเป็น รูปธรรมโดยเร็ว ตอนนี้ต้องขอเข้าไปลุยแก้ปัญหาหนี้นอกระบบก่อน

เปิดใจขุนคลัง "ธีระชัย" ปมขัดแย้งแบงก์ชาติ เมื่อ"เพื่อไทยต้องเหยียบคันเร่ง" แต่กลับถูกดึงเบรคมือ !!

ที่มา มติชน



ปมขัดแย้งระหว่างกระทรวงการคลังกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มักจะเกิดขึ้นทุกครั้งที่มีการผลัดเปลี่ยนรัฐบาล และ 2 หน่วยงานที่กุมเศรษฐกิจ-การเงินของประเทศก็จะเริ่มตอบโต้กันไปมา

เช่นเดียวกับการผลัดเปลี่ยนรัฐบาลครั้งนี้ ทันทีที่ นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล เข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จึงได้เชิญ นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ ธปท.เข้ามาปรึกษาหารือ ปรับความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาล พร้อมกับฝากการบ้าน 4 ข้อให้ ธปท.กลับไปคิดแล้วนำกลับมาเสนอต่อที่ประชุมใหม่ภายใน 1 เดือนข้างหน้า

จากนั้นจึงเกิดเหตุการณ์ปะทะเดือดระหว่างคลังกับ ธปท. ทั้งบนหน้าหนังสือพิมพ์และเฟซบุ๊ก ซึ่งช่วงหลังโซเชี่ยลเน็ตเวิร์คยี่ห้อนี้นักการเมืองหยิบมาใช้บริหารประเทศ อยู่บ่อยครั้ง และหลายคน แทนที่จะนั่งคุยกันถกกันบนโต๊ะประชุม

ปัญหาดังกล่าว "ประชาชาติธุรกิจ" มีโอกาสพูดคุยกับนายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จึงนำประเด็นความขัดแย้งไปสอบถามขุนคลัง และนี่คือคำตอบจากปากของรมว.คลัง

คลิกอ่านรายละเอียด

เพื่อไทยสรุปเรื่องร้องเรียน รบ.อภิสิทธิ์ย้าย ขรก.ไม่เป็นธรรมเกือบพันกรณี กระทรวงมหาดไทยครองแชมป์

ที่มา มติชน

นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ รองโฆษกพรรคเพื่อไทย (พท.) แถลงเมื่อวันที่ 10 กันยายนว่า สำนักงานปราบโกงของ พท.ได้สรุปเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการโยกย้ายข้าราชการในกระทรวงต่างๆ ของรัฐบาลนายอภิสิทธ์ เวชชาชีวะ พบว่ามีการโยกย้ายอย่างไม่เป็นธรรมจำนวนมาก โดยกระทรวงมหาดไทย มีเรื่องร้องเรียนเข้ามามากที่สุด 400 กว่าเรื่อง รองลงมาเป็นกระทรวงคมนาคม 200 กว่าเรื่อง กระทรวงยุติธรรม 120 เรื่อง และกระทรวงการต่างประเทศ 56 เรื่อง ส่วนกรณีนายถวิล เปลี่ยนศรี ที่ขู่จะร้องคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) หลังถูก ครม.ย้ายพ้นเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เพราะส่วนตัวเห็นว่านายถวิลไม่ควรร้องต่อ ก.พ.ค. เพราะมีข้าราชการที่ถูกโยกย้ายไม่เป็นธรรมมากกว่านี้ อาทิ นายตำรวจรายหนึ่งในสังกัดกองบัญชาการตำรวจภูธร ภาค 2 ที่ถูกย้ายให้ไปช่วยราชการในจังหวัดชายแดนภาคใต้


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผบช.ภ.2 คนปัจจุบัน ได้แก่ พล.ต.ท.ไถง ปราศจากศัตรู สามีนางศิริวรรณ ปราศจากศัตรู ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ปชป.

อียิปต์ลุกเป็นไฟประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ผู้ประท้วงบุกเผา-ทำลายสถานทูตอิสราเอล เจ็บแล้วกว่า 400

ที่มา มติชน















รัฐบาลอียิปต์ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ขณะที่ผู้ประท้วงยังคงชุมนุมตามถนนสายสำคัญในกรุงไคโร หลังจากเกิดเหตุผู้ประท้วงบุกเข้าไปในอาคารสถานทูต เมื่อคืนวันศุกร์ที่ผ่านมา

ตำรวจปราบจลาจลยิงแก๊สน้ำตา และใช้ยานพาหนะหุ้มเกราะเพื่อสลายผู้ประท้วงที่ก่อเหตุรุนแรง และตอบโต้โดยการขว้างปาสิ่งของและระเบิดทำมือ ทั้งนี้ สำนักข่าวมีนาของรัฐบาลอียิปต์เปิดเผยว่า พบผู้บาดเจ็บกว่า 448 คน ล่าสุดมีผู้ประท้วง 1 คนเสียชีวิต เพราะหัวใจวายในระหว่างที่เกิดความรุนแรง ซึ่งอยู่ไม่ไกลนักจากจัตุรัสทาห์รีร์

ทหารอียิปต์หลายร้อยนายพร้อมด้วยรถหุ้มเกราะ ได้เข้ารักษาความปลอดภัยใกล้สถานทูตอิสราเอล หลังจากกลุ่มผู้ประท้วงบุกเข้าไปยังสถานทูตอสราเอลในกรุงไคโร และนำเอกสารหลายพันฉบับออกมาทิ้งบนถนน ในระหว่างเกิดเหตุมีเจ้าหน้าที่สถานที่ 6 รายติดอยู่ภายในอาคาร ก่อนที่จะได้รับการช่วยเหลือให้เป็นอิสระจากหน่วยคอมมานโดของอียิปต์ ขณะที่เอกอัครราชทูตอิสราเอลได้เดินทางกลับประเทศแล้ว โดยรัฐบาลอียิปต์เตรียมที่จะจัดการประชุมฉุกเฉินเพื่อประเมินสถานการณ์ที่ เกิดขึ้น ในช่วงเย็นวันนี้ (10 ก.ย.)


เหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้นหลังจากการสวดมนต์ในช่วงคืนวันศุกร์ เมื่อผู้ชุมนุมราว 1,000 คนได้เคลื่อนขบวนออกจากจัตุรัสทารีร์ ไปยังสถานทูตอิสราเอลที่อยู่ไกลออกไปหลายกิโลเมตร โดยเรียกร้องให้ขับไล่นักการทูต พร้อมกับเรียกร้องไปยังรัฐบาลอิสราเอลให้ขอโทษอย่างเป็นทางการและสอบสวนการ สังหารตำรวจอียิปต์ อีกทั้งเพื่อเรียกร้องให้มีการเร่งปฏิรูปทางการเมืองภายหลังจากการก้าวลงจาก อำนาจของอดีตประธานาธิบดีฮอสนี มูบารัก

เมื่อผู้ชุมนุมเดินทางไปถึงที่ตั้งสถานทูต ซึ่งเป็นอาคารสูง 21 ชั้น ได้ใช้ค้อนและแท่งโลหะทำลายกำแพงรักษาความปลอดภัยที่ตั้งอยู่นอกสถานทูต หลังจากนั้นได้ปีนป่ายขึ้นไปบนอาคารและปลดธงชาติอิสราเอล ขว้างลงมาที่ผู้ชุมนุมที่รออยู่เบื้องล่าง ผู้ประท้วงยังได้ก่อความรุนแรงด้วยการจุดไฟเผารถบรรทุกตำรวจ 2 คัน และสร้างความเสียหายแก่รถรักษาความปลอดภัยอีก 4 คันที่อยู่รอบอาคารสถานทูต รวมถึงใช้ก้อนหินขว้างปาไปยังตำรวจปราบจลาจล และบุกเข้าไปในสถานทูตนำเอกสารหลายพันฉบับที่ตีตราความลับขว้างออกมาบนถนน บางฉบับเขียนเป็นภาษาอาหรับและดูเหมือนเป็นเอกสารโต้ตอบระหว่างเจ้าหน้าที่ อิสราเอลกับอียิปต์

ความสัมพันธ์ระหว่างอียิปต์กับอิสราเอลตึงเครียดมาตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม หลังจากทหารอิสราเอลสังหารตำรวจอียิปต์ 5 นาย ในระหว่างที่ทหารอิสราเอลตามไล่ล่ากลุ่มติดอาวุธที่ชายแดนติดกับอียิปต์ เหตุการณ์ครั้งนั้นตามมาด้วยการซุ่มโจมตีทหารอิสราเอลหลายครั้งที่ทะเลทราย เนเกฟ มีชาวอิสราเอลเสียชีวิต 8 คน

นายกฯ ให้สัมภาษณ์สื่อ ก่อนออกเดินทางไปเยือนประเทศบรูไน ที่ บน.6

ที่มา มติชน



น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนก่อนที่จะเดินทางไปเยือนประเทศบูรไน ณ ท่าอากาศยานทหาร บน.6 ดอนเมือง เมื่อวันที่ 10 กันยายน

แห่ศพนปช.ไว้อาลัยรอบเมือง ครบรอบ1ปี5เดือน

ที่มา ข่าวสด


เมื่อเวลา 12.00 น. วันที่ 10 ก.ย. ภายในวัดตำหรุ ต.บางปูใหม่ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ นายกลิ่น เทียนยิ้ม สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลแพรกษาใหม่ อ.เมืองสมุทรปราการ พร้อมกลุ่มคนเสื้อแดง กว่า 300 คน พร้อมด้วย รถจักรยานยนต์หลายร้อยคัน และรถยนต์กว่า 50 คัน ได้แห่ศพนายวสันต์ ภู่ทอง อายุ 39 ปี 1 ในกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติหรือ นปช. ซึ่งเสียชีวิตจากเหตุการณ์สลายผู้ชุมนุมบริเวณสี่แยกคอกวัว เมื่อวันที่ 10 เม.ย. 2553 ที่ผ่านมา โดย นายกลิ่น ซึ่งเป็นพี่ชายของนายวสันต์ ระบุว่า เนื่องจากวันนี้เป็นวันครบรอบ 1 ปี 5 เดือน การเสียชีวิตของนายวสันต์ ภู่ทอง จากเหตุการณ์สลายผู้ชุมนุม ตนจึงพร้อมด้วยแนวร่วมกลุ่มประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติหรือ นปช. ทั้งในสมุทรปราการ และจังหวัดใกล้เคียง มาร่วมขบวนแห่เพื่อไว้อาลัยกับการจากไปของน้องชายตน

โดยจะแห่ไปรอบๆ จังหวัดสมุทรปราการ เริ่มจากวัดตำหรุ ต.บางปูใหม่ ถ.ตำหรุ-คลองเก้า อ.เมือง ใช้เส้นทางถนนตำหรุ-คลองเก้า มุ่งหน้าไปยังคลองด่าน อ.บางบ่อ แล้ว ตัดเข้าการเคหะบางพลี ถนนเทพารักษ์ แล้ววนไปตัดเข้าสุมขุมวิท มุ่งสู่วัดตำรุ บางปู ไปตั้งศพที่บริเวณเมรุลอย ที่สร้างไว้ ที่ลานวัด และทำการสวดพระอภิธรรมต่อในช่วงค่ำของวันที่ 10 ก.ย. ส่วนวันที่ 11 ก.ย. จะมีพิธีฌาปนกิจศพ ซึ่งตามกำหนดการ จะมีนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.มหาดไทย มาเป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย ส.ส.สมุทรปราการ และแกนนำกลุ่มนปช.เข้าร่วมงานด้วยต่อไป

"สุกำพล"ดันไฮสปีดเทรนนำร่องสาย"กรุงเทพฯ-โคราช"

ที่มา มติชน

"สุกำพล" เดินหน้าเต็มสูบเมกะโปรเจ็กต์คมนาคม ลั่น 6 เดือนเห็นรูปธรรมชัดเจน เซ็นรถไฟฟ้า 2 สาย ส่วนไฮสปีดเทรนทุ่มแสนล้านนำร่อง "กรุงเทพฯ-โคราช" เปิดทางทุกชาติลงทุน ตัดทิ้ง "กรุงเทพฯ-ระยอง" หลังขยายแอร์พอร์ตลิงก์ไปถึงพัทยา-ชลบุรี เดินหน้ารถไฟทางคู่เฟสแรก 5 สาย 767 ก.ม. ชง ครม.โยกย้าย 6 ตำแหน่งว่าง เปิดทางซี 9 ลงสมัครแข่งคัดเลือกขึ้นอธิบดี 3 กรมใหญ่



พล.อ.อ. สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ใน 6 เดือนนี้มีเป้าหมายจะผลักดันโครงการขนาดใหญ่ให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น เนื่องจากเป็นนโยบายหาเสียงของพรรคเพื่อไทยที่ต้องเร่งให้เสร็จใน 4 ปีนี้ เรื่องแรกคือเร่งเซ็นสัญญาก่อสร้างรถไฟฟ้า 2 สาย ส่วนที่เหลือจะทยอยให้แล้วเสร็จใน 3 ปี หรือ ปี 2557 โดยรถไฟฟ้าทั้ง 10 สายจะใช้เวลาก่อสร้าง 8 ปี พร้อมเปิดบริการ

แต่มีบางสายทางที่กำลัง ก่อสร้างจะเปิดบริการก่อน เช่น สีม่วง (บางซื่อ-บางใหญ่) เปิดปี 2557 และสีน้ำเงิน (บางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค) เปิดปี 2559 โดยสายสีน้ำเงินมองว่าเป็นส่วนสำคัญสุด เพราะเป็นเส้นวงแหวนที่ต่อเชื่อมทุกสายได้

อีกทั้งจะเร่งศึกษารถไฟ ความเร็วสูง 3-4 สายให้เสร็จ 4 ปีนี้ ได้แก่ 1.กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ 745 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 229,809 ล้านบาท 2.กรุงเทพฯ-โคราช 256 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 96,826 ล้านบาท 3.กรุงเทพฯ-หัวหิน 225 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 82,166 ล้านบาท และ 4.กรุงเทพฯ-ระยอง 221 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 72,265 ล้านบาท

"ปี 2555 จะเห็นเป็นรูปเป็นร่าง สายแรก จากกรุงเทพฯ-โคราช เป็นเส้นเดิมของสายกรุงเทพฯ-หนองคาย ที่คมนาคมศึกษาไว้ แต่จะสร้างไปแค่โคราช เพราะใช้เงินลงทุนสูง แค่โคราช ก็เกือบแสนล้านแล้ว ต้องปรับแนว เส้นทางให้สั้นลง และอยู่บนความจริงมากขึ้น" พล.อ.อ.สุกำพลกล่าวและว่า

ส่วนกรอบบันทึกข้อตกลง (MOU) กับสาธารณรัฐประชาชนจีน ที่รัฐบาลชุดที่แล้วทำไว้ ยังเป็นแค่ความร่วมมือ ไม่มีอะไรเป็นรูปธรรม ก็เดินหน้าต่อภายใต้กรอบนี้ แต่อยู่ที่ว่าจะเลือกใครมาลงทุน ล่าสุดมีทูตจากหลายประเทศเข้ามาพบ อาทิ ญี่ปุ่น สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรเลีย

พล.อ.อ.สุกำพลกล่าวต่อว่า สายที่ 2 คือกรุงเทพฯ-หัวหิน ส่วนสายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ยังเร็วเกินไปที่จะตอบ เพราะเงินลงทุนสูงกว่า 2 แสนล้านบาท ขณะที่สายกรุงเทพฯ-ระยอง กำลังดูว่ายังจำเป็นอีกหรือไม่ เพราะได้ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ศึกษาส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ไปถึงพัทยาและชลบุรี เป็นรถไฟฟ้าวิ่งด้วยความเร็ว 160 กิโลเมตร/ชั่วโมง เหมือนรถไฟไฮสปีดเทรนอยู่แล้ว

ขณะที่รถไฟทางคู่จะเดินหน้าในเฟสแรก 5 เส้นทาง 767 กิโลเมตร ได้แก่ 1.ลพบุรี-ปากน้ำโพ 2.มาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ 3.ชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น 4.นครปฐม-หนองปลาดุก-หัวหิน และ 5.ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ร.ฟ.ท.มีเงินลงทุนไว้แล้วภายใต้กรอบ 1.76 แสนล้านบาท ที่รัฐบาลชุดที่แล้วอนุมัติไว้ เพราะเป็นความจำเป็นเร่งด่วน จะหารือกับ พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก รัฐมนตรีช่วยฯ ที่กำกับดูแล และกำลังจะปรับแผนการใช้เงินก้อนนี้อยู่ ให้ยังคงแผนรถไฟทางคู่ เฟสแรกนี้ไว้ เพื่อให้มีทางคู่เพิ่มขึ้นจากปัจจุบันมีแค่ 300 กิโลเมตร

"ผม วาดภาพอนาคตรถไฟไทยไว้เลย อยากเห็นเขตทางรถไฟสองข้างทาง 80 เมตร มี 5 รางอยู่ในเส้นทางเดียวกัน เป็นทางคู่เล็ก ๆ 2 ราง มีรางขนาดมาตรฐาน 1.435 เมตร อีก 2 ราง และมีไฮสปีดเทรน 1 ราง วิ่งขนาบไปกับทางรถไฟทั้งหมด โดยที่ไม่ต้องเวนคืนเลย เพราะมีเขตทางเหลืออยู่แล้ว"

สำหรับนโยบาย การจัดตั้งสายการบินต้นทุนต่ำ "ไทย ไทเกอร์ แอร์เวยส์" พล.อ.อ.สุกำพลกล่าวว่า การบินไทยยังไม่ได้รายงานมา ยังตอบอะไรไม่ได้ แต่เรื่องของบทบาทสนามบินสุวรรณภูมิและสนามบินดอนเมืองมีนโยบายชัดเจนให้ สนามบินสุวรรณภูมิเป็นซิงเกิลแอร์พอร์ต เพราะปีหน้าจะลงทุน 6 หมื่นล้าน สร้างเฟส 2 อยู่แล้ว ต้องใช้ประโยชน์ให้เต็มที่

"หน่วยงานที่เกี่ยว กับการบิน 4 หน่วยงาน คือ ทอท. การบินไทย บพ. วิทยุการบิน ต้องมีความแน่นแฟ้น และมีบอร์ดที่เป็นชุดเดียวกัน เวลาทำงานจะได้ไปในทิศทางเดียวกัน อย่างสนามบินดอนเมือง เจ้าของคือ ทอท.จะนำมาใช้เป็นศูนย์ซ่อมไม่ได้ ผู้ที่ทำได้คือการบินไทย ต้องมาคุยกันให้เข้าใจ"

อีกเรื่องที่จะต้องเร่งโดยเร็ว คือการแต่งตั้งข้าราชการที่เกษียณอายุราชการสิ้นเดือนกันยายนนี้ กระทรวงคมนาคมมี 6 ตำแหน่ง คือผู้ตรวจราชการ 3 ตำแหน่ง กับอธิบดี 3 กรม คือกรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท และ กรมการขนส่งทางบก ปีนี้จะแตกต่างจากทุกปี คือจะเปิดรับสมัครผู้บริหารระดับ ซี 9 และซี 10 สมัครเข้ามาก่อนถึงจะมีการคัดเลือก จากเดิมจะแต่งตั้งจากระดับ ซี 10 ของแต่ละกรมได้เลย เพื่อเปิดทางข้าราชการระดับซี 9 ขึ้นมานั่งตำแหน่งระดับสูงได้ ตามระเบียบของสำนักงาน ก.พ.ที่ออกมาใหม่

อุปสรรค ขวากหนาม นโยบายค่าแรง นโยบายข้าว ผู้ใช้แรงงาน ชาวนา

ที่มา มติชน



ไม่ว่านโยบายปรับค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน ไม่ว่านโยบายรับจำนำข้าวโดยมีราคาเริ่มต้นที่ 15,000 บาทต่อเกวียน

ล้วนดำเนินไปด้วยความยากลำบาก

กล่าว สำหรับนโยบายปรับค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน ไม่เพียงแต่จะถูกต่อต้าน จากสถาบันอันเป็นตัวแทนของทุนใหญ่ อย่างเช่น สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย

หากแม้กระทั่งองค์กรอันเป็น "ตัวแทน" ของผู้ใช้แรงงาน ทั้งแรงงานทั่วไปและพนักงานรัฐวิสาหกิจ ก็มองด้วยความคลางแคลง ไม่แน่ใจ

ยิ่งนโยบายรับจำนำข้าว ยิ่งถูกประสานเสียงต่อต้านทั้งจากผู้ส่งออกและนักวิชาการ

เหตุผลที่ยกมาคัดค้าน ไม่ว่าจะมาจากนักวิชาการ ไม่ว่าจะมาจากผู้ประกอบการ แน่นหนาด้วยข้อมูลและสถิติ

แสดงให้เห็นหายนะมากกว่าจะวัฒนะ

หาก รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ไม่ยืนหยัดในแนวคิดปรับฐานค่าแรง ไม่ยืนหยัดในแนวคิดยกระดับรายได้ให้แก่ชาวนา ก็ยากเป็นอย่างยิ่งที่นโยบายเหล่านี้จะเดินหน้าต่อไปได้

การช่วยเหลือชาวนา การช่วยเหลือผู้ใช้แรงงาน ลำบากยากยิ่งในสังคมแห่งนี้



คล้ายกับว่า การนำเสนอนโยบายปรับฐานค่าแรงขั้นต่ำมาอยู่ที่ 300 บาทต่อวัน เป็นการนำเสนอในแนวทางอย่างที่เรียกว่า

"ประชานิยม"

คล้ายกับว่า การนำเสนอนโยบายตามโครงการจำนำราคาข้าวโดยเริ่มต้นที่เกวียนละ 15,000 บาท จะเป็นการนำเสนอในแนวทางอย่างที่เรียกว่า

"ประชานิยม"

ทั้งๆ ที่หากกล่าวสำหรับการนำเสนอค่าแรงขั้นต่ำให้อยู่ที่ 300 บาทต่อวัน เป้าหมาย 1 เพื่อยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของ ผู้ใช้แรงงาน ขณะเดียวกัน เป้าหมาย 1 เพื่อนำไปสู่การปรับโครงสร้างค่าแรงให้สอดรับและใกล้เคียงกับสภาพความเป็น จริง

ประการหลังนี้ จะส่งผลสะเทือนอย่างสูงต่อโครงสร้างการผลิตภายในประเทศ

หากพิจารณาโครงการนี้อย่างสอดรับกับการปรับฐานเงินเดือนปริญญาตรีไปอยู่ที่ 15,000 บาทต่อเดือน

ทั้งหมดนี้คือการยกระดับครั้งใหญ่ภายในโครงสร้างเงินเดือนของทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน

ประชา นิยมอย่างนี้มิได้เป็นประชานิยมที่หวังสร้างและสะสมคะแนนเสียงเพียงด้าน เดียว ตรงกันข้าม คำนึงถึงโครงสร้างการผลิตของประเทศโดยองค์รวมไปด้วยในขณะเดียวกัน

นี่ก็สอดรับไปกับการยกระดับชีวิตชาวนาด้วยการปรับราคาข้าวให้สูงขึ้น



หากรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร สามารถดำเนินนโยบายตามที่ประกาศระหว่างหาเสียงได้อย่างครบถ้วน ทั้งนโยบายเฉพาะหน้าและนโยบายระยะยาว

ก็เป็นเรื่องน่ากลัว

เป็น ความน่ากลัวสำหรับพรรคการเมืองอันเป็นคู่แข่ง เพราะทั้งหมดนี้เท่ากับเป็นการต่อยอดความสำเร็จ อันพรรคไทยรักไทยได้เคยทำไว้จากการเลือกตั้งเดือนมกราคม 2544 จนถึงรัฐประหารเดือนกันยายน 2549

รูปธรรมแห่งความสำเร็จของพรรค ไทยรักไทย คือ การได้รับเลือกตั้ง 377 จากจำนวน ส.ส.ทั้งสภา 500 เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2548

นี่คือชนวนอย่างแท้จริงอันนำไปสู่การโค่นล้ม ทำลาย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

การหวนกลับมาของพรรคพลังประชาชนในการเลือกตั้งเดือนธันวาคม 2550 การหวนกลับมาของพรรคเพื่อไทยในการเลือกตั้งเดือนกรกฎาคม 2554

1 เพื่อตอกย้ำและยืนยันความล้มเหลวของรัฐประหารเดือนกันยายน 2549

ขณะเดียวกัน 1 เพื่อเดินหน้าความสำเร็จในยุคพรรคไทยรักไทยได้ปฏิบัติเอาไว้

กระแส คัดค้าน กระแสต่อต้าน ไม่ว่าต่อนโยบายอันนำเสนอเข้ามา ไม่ว่าต่อแต่ละจังหวะก้าวของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป้าหมายก็เพื่อเตะสกัดขาในทาง การเมือง

พื้นฐานมาจากความระแวง พื้นฐานมาจากความหวาดกลัว



กระนั้น จุดแข็งเป็นอย่างมากในเชิงนโยบายของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็ทรงความหมาย

ความ หมาย 1 เป็นนโยบายเพื่อคนยากคนจนทั้งที่เป็นคนจนเมือง คนจนในชนบท ความหมาย 1 เป็นนโยบายเพื่อปรับโครง สร้างของคนส่วนใหญ่ทั้งในชนบทและในเมือง

ความหมายนี้มีผลต่อพัฒนาการของประเทศ มีผลต่อคะแนนเสียงพรรคเพื่อไทย

บริหารแบบประชาธิปัตย์... ‘จังไร’ สมบูรณ์แบบ!!!

ที่มา vattavan

วาทตะวัน สุพรรณเภษัช

ผู้เขียนรู้สึกรื่นรมย์เป็นอันมาก สาเหตุก็มาจากผู้หญิงคนดังที่ชื่อ จารุวรรณ “ยัยเป็ด หัวยักษ์” เมณฑกา ซึ่งมีข่าวเมื่อต้นสัปดาห์ว่า จะต้องถูกฟ้องร้องในคดีอาญา โดยป.ป.ช.ได้จัดส่งเรื่องไปให้ทางพนักงานอัยการ เป็นผู้ดำเนินการ
ทั้งนี้ ก็เพราะตัวเองเคยเขียน เปิดโปงพฤติกรรมทุจริตของผู้หญิงคนนี้ ตั้งแต่ 9 พฤษภาคม 2552 (กว่า 2 ปี มาแล้ว) ในคอลัมน์ ชื่อ
จารุวรรณ “เป็ด หัวยักษ์” โป๊ะเชะ!!! (
http://vattavan.com/detail.php?cont_id=145)
ซึ่งมีคนเข้ามาดู เกือบ 1.6 หมื่น คน/คลิก และยังกระทุ้งต่ออีกครั้งในสองสัปดาห์ถัดมา เมื่อ 23 พฤษภาคม 2552 ด้วยคอลัมน์ชื่อ
“จารุวรรณ เมณฑกา ใสซื่อหรือ...โสโครก!?”
(
http://vattavan.com/detail.php?cont_id=149)
คอลัมน์นี้ มีแฟนๆ เข้าไปอ่านกว่าครึ่งหมื่นคน/คลิก!

การทุจริตที่ผมเปิดโปง นั้น เป็นคนละกรณีกับเรื่องที่ ป.ป.ช.มีมติไปแล้ว แต่เป็นเรื่องที่ใหญ่กว่า เกี่ยวข้องกับการเดินทางไปต่างประเทศ เลยใช้เวลามากกว่า แต่ได้ข่าวว่าใกล้เสร็จเต็มทีแล้ว
คดีที่สอบโดย ป.ป.ช.ก็ดองกันจนเป็น ‘ปลาร้าค้างปี๊บ’ อย่างนี้แหละ!
การที่ข้าราชการตัวใหญ่ ที่มักแสดงตนต่อสังคมว่า เป็นผู้มีความซื่อสัตย์สูง แต่เบื้องหลังกลับมีแผลทุจริต เหวอะหวะ เน่าเฟะ จนถูกฟ้องร้องต่อศาล ในความผิดฐานเป็นข้าราชการทุจริตคอรัปชั่น จะได้เป็นเครื่องเตือนใจพี่น้องประชาชน ว่า
คราวหน้าคราวหลัง อย่าไปเชื่อใครง่ายๆ!

ที่ดีใจมาก่อนหน้านั้น ก็เป็นคนดังอีกราย ที่ผมเคยเขียนถึงด้วยความมั่นใจว่า อย่างไรเสียนักการเมืองที่ผมหมายหัวเอาไว้ ในที่สุดก็จะต้องถูกฟ้องร้องในข้อหาทุจริต มีสิทธิไปใช้ชีวิตในเรือนจำ และก็เป็นไปตามคาด นั่นคือ
เมื่อวันที่ 24 ส.ค. 2554 ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ได้ประทับรับฟ้องคดี ที่ป.ป.ช.เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน อดีตผู้ว่าฯกทม.ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 และการกระทำผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ (ฮั้วประมูล) พ.ศ. 2542 จากกรณีการจัดซื้อรถ และเรือดับเพลิง พร้อมอุปกรณ์บรรเทาสาธารณภัย ตามโครงการพัฒนาระบบบริหารและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานสำนักป้องกันและ บรรเทาสาธารณภัยกรุงเทพมหานคร มูลค่า 6,687,489,000 บาท
นอกจากนายอภิรักษ์แล้ว ยังมีนักการเมืองอีกหลายคนที่ติดร่างแหเข้าไปด้วย มีดังต่อไปนี้

- นายโภคิน พลกุล อดีต รมว.มหาดไทย ซึ่งเป็นนักกฎหมายชื่อดัง มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย แต่ตอนนี้ขาข้างหนึ่งของเขา ได้แหย่เข้าไปในตะรางแล้ว อาจารย์ใหญ่คงได้ใช้วิชากฎหมายเพื่อปกป้องตัวเอง ไม่ให้ขาดอีกข้างหนึ่ง หลุดเข้าไปในตะรางร่วมกับขาข้างแรกให้จงได้
- คนต่อไปก็คือ นายประชา มาลีนนท์ อดีต รมช.มหาดไทย คนโตของช่อง 3 คงต้องภาวนาให้ตัวเองรอดให้จงได้ ไม่อย่างนั้นช่องอื่นๆจะตัดหน้า นายสรยุทธ์ สุทัศนะจินดา ตามไปทำข่าวตอนเจ้าตัวเยื้องย่างเข้าสู่ประตูเรือนจำ
- นักการเมืองอีกคนหนึ่ง คือ นายวัฒนา เมืองสุข อดีต รมว.พาณิชย์ ต้องดิ้นรนอย่างสุดขีด เพราะปากอย่างนายวัฒนา หากเข้าไปอยู่ในคุก หากเผลอไปพูดจาอย่างที่ตัวเองเคยกระทำ เวลาอยู่ข้างนอกคุก
จะเป็นอันตรายอย่างยิ่ง!

จำเลยทุกคน ล้วนเป็นคนดังในสังคม ผู้คนจึงให้ความสนใจอย่างมาก ถึงกับมีการเล่นพนันขันต่อกันว่า
จะ ‘ติดคุก’ กี่คน!?

เรื่องการทุจริตของนายอภิรักษ์ นั้น ผมได้เคยเขียนถึงหลายครั้งแล้ว เพราะผมมั่นใจว่า อย่างไรเสีย จะต้องมีวันนี้แน่ คือวันที่นายอภิรักษ์ฯต้องเดินขึ้นศาล ในฐานะจำเลยคดีทุจริต
นอกจากเรื่องทุจริตเรือและรถดับเพลิง นายอภิรักษ์ฯ ก็ยังถูกอดีตปลัด กทม. คือ คุณหญิง ณัฐนนท์ ทวีสิน ร้อง เรียนกล่าวหาว่าทุจริต การจัดซื้อรถโดยสารประจำทาง ชนิดใช้ก๊าซเอ็นจีวี ในโครงการรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ (บีอาร์ที) เมื่อปี 2547 ของกรุงเทพมหานคร จำนวน 45 คัน วงเงิน 368 ล้านบาท
ซื้อกันในราคา...แพงเกินจริง!
คดีนี้ ผู้อำนวยการสำนักคดีทรัพย์สินทางปัญญา กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ได้เดินไปยื่นสำนวนการไต่สวนและหลักฐานการทุจริตการจัดซื้อ ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) แล้วตั้งแต่ 3 กรกฎาคม 2552
เวลาล่วงมาเป็นเวลานานกว่า 2 ปี แต่ทาง ป.ป.ช. ยังเก็บเรื่องดองไว้ ไม่กระดิกกระเดี้ยไปถึงไหน
ทุเรศมาก!
ดัง นั้น ไอ้หน่วยงานที่ไร้สมรรถภาพอย่าง ป.ป.ช. ที่ทำให้การปราบปรามคอรัปชั่นของประเทศ ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิงนั้น ยังทำให้ผมจะต้องวิพากษ์วิจารณ์ ถึงอย่างถึงพริกถึงขิงต่อไป โดยมีทีเด็ดซ่อนไว้อีก
หากท่านอยากทราบ ขอให้ติดตามต่อไป!!

ผมอยากชี้ให้ท่านผู้อ่านเห็นว่า พรรคประชาธิปัตย์นั้น ไม่เคยสนใจใยดีว่าคนของตน จะมีเบื้องหลังจากทุจริตอย่างไร ขอเพียงให้พรรคได้ประโยชน์ พรรคดักดานก็สนับสนุนอย่างเต็มที่ ไม่ฟังเสียงวิพากษ์วิจารณ์ของผู้คนในบ้านนี้เมืองนี้
จึงไม่น่าแปลก ที่คนอย่างนายอภิรักษ์ ซึ่งมีแผลทุจริตเหวอะหวะเต็มตัวอย่างนี้ จนเจ้าตัวเองยังต้องลาออกจากตำแหน่งผู้ว่ากรุงเทพมหานคร แต่พรรคประชาธิปัตย์กลับไม่สำนึก หัวหน้าพรรคอย่างนายมาร์ค มุกควาย ยังผลักไสให้นายอภิรักษ์ไปลงเลือกตั้ง เป็น ส.ส.กทม. อีกครั้ง ในสมัยรัฐบาลที่แล้ว โดยให้ลงเลือกตั้งซ่อม
ผมทนไม่ไหว เขียนคอลัมน์ วันเสาร์ ที่ 27 พ.ย. 2553 ถามพรรคดักดานไปตรงๆว่า
ทำไมพวกมึงเอา ‘ขี้โกง’ ลงเลือกตั้ง ส.ส.กรุงเทพ!?”
(
http://www.vattavan.com/detail.php?cont_id=263)
แต่ไม่ได้ผล ไอ้พรรคเวรนี่ยังทำหน้าหนา ส่งลงเลือกตั้งอีก และเมื่อมีการยุบสภา ก็โยกเอานายคนนี้ ไปลงแบบสัดส่วนอีก
ผมได้วิพากษ์วิจารณ์ว่า นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ออกจากตำแหน่งผู้ว่าฯนั้น ไม่ได้ไปแต่ตัว แต่ได้ทิ้งภาระหนี้สินที่เป็นปัญหา ไว้ให้ กทม. แก้ไขอย่างมากมาย แถมยังเพิ่มค่าอนุญาโตฯและค่าทนายความ อีกกว่า...ค่อนพันล้านบาท
น่าตกใจจริงๆ!

ผลพวงการกระทำของนายอภิรักษ์ฯ ไม่ผิดอะไรกับการทิ้ง “ขี้กองโต” เอาไว้ให้ "สุขุมพันธุ์ไวน์" ต้องมาล้างตามเช็ด จนเวลาผ่านมาหลายปี แต่เราก็ยังมองไม่เห็น ‘จุดจบ’ ของมหากาพย์แห่งการทุจริต ที่น่าเกลียดน่าชังนี้ แต่อย่างใด

content/picdata/321/data/apirak.jpg

ที่แทงใจชาวบ้านทุกวันนี้ “ซากรถรถดับเพลิง” ที่จะกลายเศษเหล็กกองมหึมา เอาไว้ให้คนกรุงดูเป็น ‘อนุสาวรีย์’ ผลงาน “โลซก” ของพรรคดักดานต่อไป!
เงินของชาติจำนวนหลายพันล้านบาท กำลังกลายเป็นเศษเหล็กกองพะเนินเทินทึก
น่าเศร้าใจจริงๆ เพราะเงินหลายพันล้าน ต้องสูญเปล่าไปโดยไร้ประโยชน์
อยากจะเอาไปกองกันให้เป็นภูเขาเลากา ในสวนสาธารณะของ กทม. เพื่อเตือนใจพี่น้องประชาชนว่า นี่คือ
“ภูเขาแห่ง...ความอัปยศ”
เป็นผลงานอัปรีย์ของไอ้พวกกาลี ที่มันรุมกัน “แดกบ้านและผลาญเมือง” ของพวกเราคนไทยนั่นเอง

ดังนั้น การที่พรรคเพื่อไทย จะทำตามคำแนะนำของผม (หรือความเห็นมาสอดคล้องกัน) ในได้เวลา…ล้างกาลี!!! (http://vattavan.com/detail.php?cont_id=308) โดยจะตรวจสอบ172 โครงการของรัฐบาลเก่า จึงเป็นเรื่องที่ถูกต้องชอบธรรม เพราะต้องมีเรื่องราวทุจริต หมกเม็ด ซุกซ่อนอยู่มากมาย โดยเฉพาะโครงการ
ไทยเข้มแข็ง!
โครงการดังกล่าว นอกจากเรื่องที่ผมเคยวิพากษ์วิจารณ์ไปแล้ว ยังมีการใช้จ่ายที่ไร้สาระ เอาเงินไปอุดหนุนบริษัทภาพยนตร์ อย่างไม่มีเหตุผล เช่น
ให้เงินสหมงคล ที่ร่ำรวยอยู่แล้ว ไปเป็นเงินถึง 8 ล้านบาท เพื่อเอาไปสร้างหนังเรื่อง “คนโขน” ออกมา
หนังที่สร้างออกมา ก็ไม่ได้ดีเด่แต่อย่างใด เป็นหนังธรรมดาเท่านั้น ขนาดมีเงินช่วยมา 8 ล้านแล้ว
แต่...
ไม่น่าเชื่อว่า รอบที่ผมไปดู มีคนอยู่ไม่ถึง 10 คน ทั้งๆที่หนังเพิ่งเข้าแท้ๆ!
รายได้โรงใหญ่เขาบอกว่า ได้แค่ 4 ล้านบาท เท่านั้นเอง!
“คนโขน” เลยกลายเป็น “คนขำ” แต่ขำไม่ออก เพราะไม่รู้ว่ารัฐบาลจะเอาเงินไปให้บริษัทเอกชน สร้างหนังพื้นๆออกมาทำไม? ได้ประโยชน์โภคผลอันใด? และดูเหมือนจะทำให้ “ไทยเข้มแข็ง”
กลายเป็น “ไทยขี้เปี้ย” ไปเลย!!
(ใครไม่รู้ว่า “ขี้เปี้ย” แปลว่าอะไร ให้ไปถามคนเหนืออย่างนายกฯปู เอาเอง)

ขอแนะนำอีกอย่างหนึ่ง ที่เห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์ในการตรวจสอบทุจริต คือ
ให้ทางรัฐบาลพรรคเพื่อไทย นำนายตำรวจจากกองบังคับการปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ (บก.ปปป.) มาทำดำเนิน ในการค้นหาการทุจริตของโครงการต่างๆ ของพรรคประชาธิปัตย์ เพราะนายตำรวจจากกองบังคับการนี้ หลายคนมีฝีมือในทางแคะไค้เรื่องการทุจริต ดีกว่า ป.ป.ช.หลายเท่า หากทำตามผม รับรองว่า...
จะได้เห็นอะไรดีๆกันแน่!
นอกจากนั้น ขอทางชุดสืบสวนความกาลีของรัฐบาลเก่า ช่วยตีข่าวให้ประชาชนทราบ เป็นรายสัปดาห์ ตลอดระยะเวลา 4 ปี ของการบริหาร เพื่อให้ประชาชนคนบ้านเรา ได้รับรู้เรื่องราว การทุจริตของพรรคดักดานกันอย่างเต็มที่
ผู้คนจะได้ไม่เลือกพวกมัน!!!

ขอเรียนว่า

content/picdata/321/data/sticker.jpg

www.vattavan.com พร้อมจะนำข้อมูลการทุจริตเหล่านั้น มาย่อยให้แฟนๆฟัง เพื่อจะได้ช่วยกันเผยแพร่ การโกงกินกันอย่างมูมมาม แต่ผลงานห่วยแตก ให้กว้างขวางออกไป อย่างไม่มีที่สิ้นสุด
ก่อนจบบทความนี้ ผมขอทิ้งท้ายว่า
รัฐบาลนายกฯปูโชคดี สามารถมุ่งหน้าทำงาน แก้ไขปัญหาบ้านเมืองไปได้ ด้วยความสบายใจ เพราะไม่ว่าจะบริหารอย่างไรก็ตาม
ไม่มีทางจะเลวเกินไปกว่า...รัฐบาลชุดที่แล้วได้!

หากท่านอ่านบทความ ที่ผมวิพากษ์วิจารณ์พรรคดักดานนี้ ตามคอลัมน์ที่ได้แนะนำไว้ก่อนหน้านี้แล้ว จะพบว่า การบริหารของพรรคกาลีนี้

มันจังไร...สมบูรณ์แบบจริงๆ!!!

***************

***ท้ายบท ผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง ซึ่งเป็นแฟนพันธุ์แท้ของ “วาทตะวัน” มายาวนาน บอกให้ผมช่วยวิพากษ์วิจารณ์ เรื่อง “รัฐบาลเงา” ของนายมาร์ค มุกควาย สักหน่อย เพราะอยากอ่าน

เลยบอกท่านไปว่า ถ้าจะเขียน จะต้องตั้งชื่อเรื่องที่ฟังดูแล้วขึงขัง ตึงตัง เข้มแข็งสักหน่อย
ชื่อเรื่องที่คิด ได้โดยฉบับพลันทันที ในขณะนั้น คือ

“นายกฯเงา-นายกฯเงี่ยน” (เงี่ยนจะเป็น ‘นายกฯ’ อีกครั้ง!!!)

อยากอ่านไหมครับ!

จดหมายเก๊! หนังสืออ้าง สมช.ที่แท้ออกจากหน้าห้อง "ถวิล เปลี่ยนศรี"

ที่มา thaifreenews

โดย bozo

เขียนโดย JJ_Sathon



เมื่อวันที่ 9 ก.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานจากทำเนียบรัฐบาลว่า
ข้าราชการสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.)
ได้ส่งหนังสือภายใน ที่ นร พิเศษ 2554 ลงวันที่ 9 ก.ย.
เรื่องความคิดเห็นของข้าราชการ สมช. ต่อกรณี
การเปลี่ยนแปลงเลขาธิการสมช.ถึงสื่อมวลชนและสาธารณชน โดยเนื้อหาระบุว่า
การย้ายเลขาธิการ สมช.ซึ่งเป็นข้าราชการที่ทำงานในสมช.มาตั้งแต่ต้นครั้งนี้
ถือเป็นครั้งแรกที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ของสมช.
แม้ที่ผ่านมาได้เคยมีการย้ายอดีตเลขาธิการสมช. และรองเลขาธิการ สมช. ไปประจำที่อื่น
แต่ละท่านเหล่านั้นเป็นบุคคลภายนอกที่เข้ามารับตำแหน่งด้วยเหตุผลทางการเมือง
กรณีที่เกิดขึ้นจึงมีผลกระทบต่อความรู้สึกและขวัญกำลังใจของข้าราชการทุกคน
ในฐานะข้าราชการประจำและทำงานกับนายกรัฐมนตรี
ซึ่งเป็นประธานสมช.โดยตำแหน่ง
พวกเราเคารพการตัดสินใจของนายกรัฐมนตรีในการเปลี่ยนแปลงเลขาธิการสมช.

อย่างไรก็ตามพวกเราคาดหวังเป็นอย่างสูงว่า
นายกรัฐมนตรีจะรับฟังความคิดเห็นโดยบริสุทธิ์ใจของข้าราชการ
อย่างพวกเราว่าไม่เห็นด้วยกับเหตุผลของการโยกย้ายที่เกิดขึ้น
ตามที่เลขาธิการสมช.ได้ชี้แจงต่อสาธารณชนไปแล้ว
รัฐบาลได้กำหนดนโยบายความมั่นคงแห่งรัฐและนโยบายการแก้ไขความมั่นคง
เป็นวาระเร่งด่วนในแผนการบริหารราชการแผ่นดิน
ซึ่งส่วนใหญ่มีความเกี่ยวข้องกับหน้าที่รับผิดชอบของสมช.

เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วข้าราชการ สมช.จึงหวังว่า
รัฐบาลจะให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างขวัญและกำลังใจ
และสนับสนุนการทำงานของข้าราชการ สมช.
ซึ่งรับผิดชอบการทำงานด้านความมั่นคงเพื่อตอบสนองนโยบายของรัฐบาล
และประโยชน์ของประเทศชาติโดยรวม
และที่สำคัญการให้หลักประกันว่าจะไม่มีการแต่งตั้งบุคคลภายนอก
เข้ามาทำงานใน สมช.อีก อันจะเป็นการยืนยันหลักคุณธรรม
ที่นายกรัฐมนตรีกล่าวต่อสาธารณชนว่าเป็นหลักประกันที่รัฐบาลชุดนี้ยึดมั่นเป็นสำคัญ

ขอยืนยันว่าไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับพวกเราจะมุ่งมั่นรับใช้ชาติบ้านเมือง
เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน
ผดุงความยุติธรรมของสังคมและเพื่อความสงบสุขของบ้านเมือง

อย่างไรก็ตามทางผู้สื่อข่าวได้โทรศัพท์สอบถามไปยังที่สำนักงาน สมช.
ตามที่หมายเลขที่ระบุท้ายหนังสือ
ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ได้โอนสายไปยังหน้าห้องทำงานของนายถวิลและแจ้งว่า
ทาง สมช.ไม่มีออกหนังสือดังกล่าวและทางเลขา สมช.ไม่ทราบเรื่องนี้
แต่จะให้เจ้าหน้าที่รับขอเอกสารดังกล่าวไปตรวจสอบ.


http://www.go6tv.com/2011/09/blog-post_10.html

เรียกตัวเอง ด้วยชื่อตัวเอง เพื่อเป็นกันเองกับคนอื่นๆ

ที่มา มติชน



โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ

(ที่มา คอลัมน์สยามประเทศไทย หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับประจำวันที่ 9 กันยายน 2554)


เรียกตัวเอง ด้วยชื่อตัวเอง จะด้วยชื่อจริงหรือชื่อเล่นก็ตาม น่าจะมีต้นแบบอยู่ที่ละคร ทั้ง "ละครนอก" ของชาวบ้าน และ "ละครใน" ของชาววัง รวมทั้งลิเก (ก็มาจากละครด้วย)

แล้วเติบโตอยู่ใน "วัฒนธรรมหลวง" ของพวกผู้ดีก่อน ถึงลงไปสู่ไพร่สมัยหลังๆ

ละครมีเครื่องแต่งตัวที่เป็นหลักอย่างน้อย 3 แบบ คือ ตัวนาง, ตัวพระ และตัวประกอบ

ตัวนาง, ตัวพระ เมื่อแต่งตัวละครเรียก "รัดเครื่อง" เพราะต้องมีด้าย, เชือก คอยผูกมัดรัดต่างๆ ให้กระชับตัว

ตัวประกอบ เช่น จำอวด ฯลฯ แต่งตามสะดวกให้เข้ากับเรื่องที่แสดง

เครื่อง แต่งตัวของพระ, นาง โรงหนึ่งมีชุดเดียว จะเล่นละครต่างเรื่องแต่เครื่องแต่งตัวชุดเดียวกัน เพราะเสื้อผ้าเครื่องละครไม่ได้ทำง่ายๆ เหมือนปัจจุบัน

ตัวนางเล่นเป็นนางสีดา, นางมโนห์รา, นางเมรี, นางรจนา ฯลฯ ก็รัดเครื่องชุดเดิมเหมือนกันหมด คนดูไม่รู้ว่ากำลังเล่นเป็นตัวอะไร

เมื่อ คนดูแยกไม่ได้ แล้วจำไม่ได้ว่าตัวอะไรกำลังเล่นอยู่ข้างหน้า ทางแก้คือคนเล่นต้องบอกคนดูว่าตัวละครที่กำลังเล่นชื่ออะไร? บทร้องก็บอก บทเจรจาก็บอก

บทละครนอก พระราชนิพนธ์ ร.2 เรื่องสังข์ทอง ตอนรจนาเลือกคู่ แอบดูเจ้าเงาะครั้งแรก มีกลอนขึ้นต้นต้องบอกเลยว่าที่กำลังเล่นคือนางรจนาว่า

เมื่อนั้น รจนานารีศรีใส

เทวดาเดินหนดลฤทัย อยากจะใคร่ดูเงาะเจาะจง

ครั้นเจ้าเงาะพาไปอยู่กระท่อมปลายนา รจนาหุงข้าวไม่เป็น ก็มีกลอนว่า

เมื่อนั้น รจนาโศกศัลย์รำพันว่า

น้องนี้แต่กำเนิดเกิดมา จะหุงข้าวหุงปลาก็ไม่เคย

บทเจรจาของคนเล่นเป็นรจนา ก็ต้องจีบปากจีบคออย่างเสรี เรียกตัวเองทุกครั้งว่า "รจนา" อย่างโน้นอย่างนี้ เช่น

"รจนา หุงข้าวไม่เป็น ตั้งแต่เกิดมารจนาไม่เคยหุงข้าวกินเอง มีแต่พวกวิเสทในวังทำให้กิน โธ่เอ๋ย-น่าสงสารรจนาจริงๆ ใครจะช่วยรจนาหุงข้าวได้ล่ะ"

ลิเกได้แบบอย่างจากละครนอก ก็ยิ่งจีบปากจีบคออย่างเสรีมากขึ้นไปอีก จนเป็นที่รู้กัน บางทีในวงสนทนาจึงล้อเลียนลิเก

ขอ ให้สังเกตด้วยว่าการเรียกตัวเองด้วยชื่อตัวเอง มักใช้กับนางเอกเพื่อแสดงความเป็นกันเองกับคนดูละคร, ลิเก ตัวละครอื่นๆ ไม่ใช้ หรือถ้าใช้ก็ไม่มาก

แต่มีผู้ให้ข้อสังเกตว่าเจ้านายมีศักดิ์ เป็นหม่อมเจ้า, หม่อมราชวงศ์ มีคำสรรพนามว่า ท่านชาย, ท่านหญิง และคุณชาย, คุณหญิง มักได้ยินเรียกแทนตัวเองว่า "ชาย", "หญิง" ซึ่งไม่รู้ว่ามีที่มายังไงแน่? จะเกี่ยวข้องกับละคร, ลิเก หรือไม่? ไม่รู้

ถึงกระนั้นก็มีลักษณะลด "ราชาศัพท์" ลงสู่สามัญให้เป็นกันเองกับคนอื่นๆ

ไม่ พบหลักฐานหรือร่องรอยใดๆ ที่จะบอกได้ว่าประเพณีเรียกตัวเองด้วยชื่อตัวเองมีมาแต่ครั้งไหนแน่ๆ? แล้วเริ่มที่คนกลุ่มไหน? ไพร่ หรือ ผู้ดี?

แต่อย่างน้อยราว 50 กว่าปีมาแล้ว คนบ้านนอกแถวบ้านผมทางลุ่มน้ำบางปะกง ยังไม่เรียกตัวเองด้วยชื่อตัวเอง ผมไม่เคยได้ยิน

เมื่อเข้ามาเรียนต่อชั้นมัธยม จึงเริ่มได้ยินคนกรุงเทพฯเรียกตัวเองด้วยชื่อเล่นของตัวเอง คนกรุงเทพฯพวกนี้มีพ่อแม่ฐานะดีถึงดีมาก

แต่พวกรากหญ้าในกรุงเทพฯยังไม่เรียกอย่างนั้น ต้องรออีกนานหลายสิบปีถึงใช้กันแพร่หลายทั่วไปทุกระดับ

นปช.พร้อมญาติร่วมพิธีทำบุญอุทิศส่วนกุศลครั้งสุดท้ายให้กับผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ปะทะ

ที่มา มติชน



ผู้สื่อข่าวรายงานว่า แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) พร้อมญาติ ร่วมพิธีทำบุญอุทิศส่วนกุศลครั้งสุดท้ายให้กับผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ปะทะ กันขณะเจ้าหน้าที่ทหารเข้ากระชับพื้นที่การชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมคนเสื้อแดง หลายครั้งเมื่อปี 2553 ที่ผ่านมา ก่อนจะเคลื่อนศพไปทำพิธีฌาปณกิจที่เมรุวัดบำเพ็ญเหนือ มีนบุรี ในวันที่ 15-16 ตุลาคม 2554 ที่จะถึงนี้ โดยมีน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน หลังจากร่วมกันจัดพิธีทำบุญต่อเนื่องเป็นประจำทุกวันที่ 10 ของทุกเดือนที่ผ่านมา ที่วัดพลับพลาชัย เมื่อวันที่ 10 กันยายน

เปิดพิมพ์เขียวโรดแมปปรองดอง ฉบับ "ดร.คณิต ณ นคร"

ที่มา มติชน



สัมภาษณ์พิเศษ




อาจกล่าวได้ว่า มีแต่ "ดร.คณิต ณ นคร" และคณะ เท่านั้น ที่ได้รับอาณัติให้เขียน "โรดแมป-ปรองดอง"

ในฐานะอดีตอัยการสูงสุด "ดร. คณิต" บอกว่า กระบวนการยุติธรรมทั้งหมด เป็นอุปสรรคต่อการปรองดอง

ในฐานะหัวขบวนค้นคว้าความจริง "ดร.คณิต" สารภาพกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ยากที่สุด-เหนื่อยที่สุด ในชีวิต

ทุก บรรทัดจากนี้ไป คือรายงานปากเปล่าจาก "ดร.คณิต" ถึงรัฐบาล...ถึง ผู้ก่อการร้าย...ถึงผู้น้ำม็อบ และถึงทุกคนที่ต้องการ สันติ-ปรองดอง

- ขับเคลื่อน คอป.มาถึงวันนี้ เหนื่อยและยากไหมกับการค้นหาความจริง

ยาก ที่สุดในชีวิตผม (เน้นเสียง) เพราะเรื่องมันยังไม่จบ เราไม่ใช่ทำในสิ่งที่จบไปแล้ว เช่น พฤษภาทมิฬ ที่เรื่องจบไปแล้ว มันถึงยากที่สุด คุณคิดว่าผมอยากทำ เหรอ ผมไม่อยากทำหรอก แต่ผมไม่รู้ จะหนีไปไหน ในเมื่อทุกคนพุ่งมาที่ผม เพราะผมพอเชื่อถือได้มั้ง ผมเลยต้องทำ

- ภาพรวมในการหาความจริงสำเร็จไปกี่เปอร์เซ็นต์

มัน ไม่ใช่เหมือนการสร้างบ้าน เวลานี้เราเหมือนมุงหลังคาแล้ว ล่าสุดผมเพิ่มลงนามในหนังสือเพื่อส่งไปถึงผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ อัยการสูงสุด อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เพื่อให้เขาส่งข้อมูลมาให้กับเรา เพราะรัฐบาลชุดนี้สนับสนุนให้ คอป.ได้ทำงานต่อ

ที่ผ่านมาภาครัฐยังให้ความร่วมมือน้อย และเราไม่มีอำนาจในการเรียกข้อมูล รายงานที่เสนอต่อรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เช่น การปล่อยตัวชั่วคราว ห้ามตีตรวนผู้ที่ถูกคุมขังในเหตุการณ์ความไม่สงบเมื่อเดือน เม.ย.-พ.ค. 2553 แต่การตอบสนองกลับมาไม่ค่อยดีเท่าที่ควร เพราะกระบวนการยุติธรรมของเรามีความเข้าใจกฎหมายคลาดเคลื่อน

- ทำไมภาครัฐถึงไม่ให้ความร่วมมือ

ผม คิดว่าเขาคงกลัวมั้ง ความจริงถ้าภาครัฐร่วมมือก็อาจจะเสร็จไปแล้ว ผมไปพบปลัดกระทรวงกลาโหมคนก่อน ตอนนั้นท่านบอกว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมกำลังรวบรวมข้อมูลแต่จนถึง วันนี้ผมก็ยังไม่ได้อะไร

สิ่งที่เราอยากได้ เช่น แผนยุทธการของทหาร เพราะการเคลื่อนกำลังของทหารอยากจะไปไหนต้องมีแผน ถ้าเราได้แบบนั้นก็จะได้รู้ว่าใครรับผิดชอบตรงไหนบ้าง เพื่อจะได้ไปพบและขอความร่วมมือ แต่จนวันนี้ยังไม่ได้เลย

- รัฐบาลยุค น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ให้ความสำคัญกับ คอป.มากน้อยแค่ไหน

เขา เขียนไว้ในนโยบายที่แถลงต่อรัฐสภา ก็คิดว่าจะให้ความร่วมมือที่ดี ถ้าเราขอข้อมูลไปเขาก็สั่งมาหน่อยก็น่าจะได้ เราต้องอยู่ห่างจากการเมือง ถ้าผมเข้าไปใกล้การเมืองก็จะยุ่งอีก ความน่าเชื่อถือจะไม่มี

- การค้นหาความจริงจะเป็นเครื่องมือสร้างความชอบธรรมให้รัฐบาล และอาจทำให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมีส่วนได้ส่วนเสีย

ความ จริงมันก็ต้องยอมรับว่ามันได้อะไร เพราะเราต้องทำงานเพื่อที่จะใช้ความจริงมาตีแผ่ให้เห็น จะได้เป็นบทเรียนไม่ให้มันเกิดขึ้นอีก ซึ่งรายงานของเราทำทั้ง 2 ภาษาไทย-อังกฤษ เพราะเราไม่อยากให้ไปแปลกันผิด ๆ ถูก ๆ ซึ่งเราจะออกรายงานฉบับที่ 2 ภายในเดือนนี้ ในรายงานจะมีข้อเสนอแนะไปให้รัฐบาลด้วย เหมือนที่เราเสนอตั้งแต่รัฐบาลชุดที่แล้วว่าให้มีการเลิกตีตรวน เรื่องประกันตัว แต่ก็ไม่ได้

- ผู้ต้องหาที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมทางการเมือง ในมุมของ คอป.จำเป็นต้องปล่อยไปหรือไม่

การ ก่อการร้ายไม่ใช่ในแบบที่เราเข้าใจ แต่ก่อการร้ายมันเป็นความผิด ที่เขาลงโทษก่อนการกระทำ เช่น คุณตั้งสมาคมอั้งยี่เพื่อจะไปทำผิด เขาลงโทษแล้ว แต่โทษอย่างนี้จะน้อย แต่ของเราโทษถึงประหารชีวิตก็ไปกันใหญ่ แต่ถ้าเขาตั้งสมาคมอั้งยี่แล้วไปทำอะไรต่อ เช่น ฆ่า ไปเผา ก็ว่ากันไป

นอก จากนี้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับก่อการร้ายของเราได้มาโดยไม่ถูกต้อง เพราะออกโดยพระราชกำหนด ไม่ได้ผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรเหมือนปกติ กฎหมายอาญามีที่ไหน เร่งด่วนขนาดนี้ ก็ในสมัยคุณทักษิณ ชินวัตร (อดีตนายกรัฐมนตรี) นั่นแหละเป็นคนทำ

- แสดงว่าสิ่งที่เรียกว่าชายชุดดำ หรือคำว่าก่อการร้าย กลายเป็นอุปสรรคในการปรองดอง

เรื่องนี้กระบวนการยุติธรรมเราไปตั้งคำว่า ก่อการร้าย เพราะเราไม่เข้าใจความผิดฐานก่อการร้ายดีพอ

- คอป.ควรจะเสนอให้รัฐบาลรื้อระบบกระบวนการยุติธรรมใหม่หรือไม่

เรา กำลังดูอยู่ โดยกระบวนการยุติธรรมของเราจะต้องมีการปฏิรูปหลาย ๆ ด้าน เรื่องหนึ่งที่เรากำลังทำอยู่คือ การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม

- ฝƒายไหนในกระบวนการยุติธรรม ที่คิดว่าเป็นอุปสรรคต่อการปรองดอง

ทั้ง หมด ทั้งตำรวจ อัยการ และศาล เช่น อัยการ ซึ่งเป็นสำนักงานเก่าของผม ผมเคยเสนอไปว่า ความผิดที่เกิดการมั่วสุมกันเกิน 10 คนที่เป็นเรื่องของการชุมนุมมันอาจจะเกินเลยไปบ้าง ถ้าจะสั่งไม่ฟ้องให้หมดมันน่าจะดีนะ

ใช้กฎหมายเถรตรงเกินไปมันก็ไม่ เกิดประโยชน์หรอก เพราะฉะนั้นในสถานการณ์อย่างนี้มันต้องมีความคิดกันบ้าง มีดุลพินิจในการไม่ฟ้องได้ เพราะเมื่อคุณใช้กฎหมายแล้วมันสร้างปัญหา คุณก็จะกลายเป็นปัญหาเสียเอง แต่ผมมองว่าที่เป็นปัญหาไม่ใช่กฎหมาย แต่คนเป็นปัญหา

เราไม่สามารถที่จะไปบังคับรัฐบาลได้ ถ้ารัฐบาลเห็นว่าสิ่งที่เราเสนอไปนำไปสู่ความสันติเขาก็เอาไปปฏิบัติ แต่ถ้าผมเป็นอัยการสูงสุดผมจะไม่สั่งฟ้องเสียเลย การเป็นอัยการไม่ยากแต่เป็นอัยการที่ดีมันไม่ใช่ง่าย เพราะคุณต้องมีความคิดช่วยให้สังคมสงบ หากเป็นอัยการเช้าชามเย็นชามจะมีประโยชน์อะไร

- อัยการทำหน้าที่ตอบโจทย์แนวทาง ปรองดองมากน้อยขนาดไหน

ไม่ ได้ทำอะไรเลย ผมเท้าความให้เห็นว่า สมัยหนึ่งครั้งหลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ฆ่ากันตายที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถูกจับไปกว่า 2 พันคน อธิบดีกรมอัยการขณะนั้นสั่งไม่ฟ้องหมดเลย เพื่อให้เกิดความรู้สึกที่ดี ต่อมาคนที่หลบหนีในป่าก็ออกมาช่วยชาติเห็นหรือเปล่า ถึงยุครัฐบาลของ พล.อ. เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ก็ออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้ผู้ทำผิดได้กลับเข้ามา พอถึงยุครัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ก็ออกคำสั่ง 66/23 ทุกอย่างก็เข้าที่เข้าทาง

- กรณีที่กลุ่มเสื้อเหลืองบุกยึดสนามบิน และกรณีเสื้อแดงปิดแยกราชประสงค์ เผาเซ็นทรัลเวิลด์ อัยการควรไม่ฟ้อง

ก็ สั่งไม่ฟ้องได้ ฟ้องไปแล้วถอนฟ้องยังได้เลย เพื่อให้เกิดความรู้สึกที่ดีต่อกัน อัยการของเราเป็นคนที่จะช่วยให้เกิดความสงบได้เยอะ แต่ศาลเนี่ยยาก เมื่อส่งฟ้องไปแล้วก็ต้องตัดสิน จะให้เจ๊าเสมอกันไม่ได้ แต่อัยการได้ โดยเฉพาะตำรวจและอัยการจะต้องทำงานร่วมกัน รวมถึงกรมสอบสวนคดีพิเศษด้วย

- ทำเช่นนี้จะพ้นจากข้อครหาว่าถูกแทรกแซงหรือไม่

แทรก แซงใคร ในเมื่อคุณมีดุลพินิจของคุณเองที่จะแก้ป้ญหาได้ แต่แน่นอนคุณก็ต้องรับผิดชอบ เมื่อมีการวิพากษ์วิจารณ์คุณก็ต้องรับผิดชอบ แต่ถ้าเราทำด้วยสุจริตก็ไม่ต้องไปกลัวอะไร สมัยที่ผมเป็นอัยการสูงสุด ผมไม่เคยกลัวนักการเมือง ผมก็ทำไปตามหน้าที่ เรื่องไหนเป็นสิ่งที่ถูกต้องก็ทำไป

- นอกจากอัยการที่จะต้องปฏิรูปตัวเองแล้ว ยังมีองค์กรไหนที่ต้องปฏิรูปเพื่อความปรองดอง

ทุก องค์กรโดยเฉพาะทหาร ผมไปอ่านเจอในรัฐธรรมนูญเยอรมนีเขากำหนดให้มีผู้ตรวจการทหาร ไม่ใช่กรรมาธิการ มีหน้าที่ดูแลทุกข์สุขทหารได้ แต่หากทหารคนไหนทำออกนอกลู่นอกทางเขาปลดเลย

- ทหารต้องปฏิรูปอย่างไรเพื่อให้เข้าสู่โหมดปรองดอง

ใคร จะคาดคิดว่าหลังปี 2540 จะมีทหารมายึดอำนาจ แล้วคนยึดอำนาจตอนนี้อยู่ไหน ก็อยู่ในสภา เห็นไหมประหลาดนะ ทั้งที่คนยึดอำนาจต้องไม่สนับสนุนประชาธิปไตย แต่ตอนนี้ก็เข้าสู่ประชาธิปไตยแล้ว นี่มันเป็นอะไรกัน ไม่เห็นมีใครพูดสักคน เรื่องแบบนี้เราต้องพูดเพื่อปราม โดยใช้ social sanction มาตรการทางสังคมกดดัน จะทำให้คนไม่ดีต้องม้วนเสื่อ

- เวลานี้ยังมีความขัดแย้งกันอยู่ ยังไม่สามารถเข้าสู่กระบวนการเยียวยาได้

สิ่ง ที่ผมพยายามทำคือ ทำให้ความเป็นธรรมเกิดขึ้น การที่จะนำคนผิดขึ้นศาลทั้งหมดอาจเป็นเรื่องไม่ดี ความผิดเล็ก ๆ น้อย ๆ ขึ้นศาลหมดมันมีประโยชน์อะไร ควรเอาแต่เรื่องใหญ่ ๆ

- แสดงว่าควรเอาโรดแมปจากเหตุ การณ์หลัง 6 ตุลาคม 2519 มาปรับใช้เพื่อให้เกิดความปรองดองในยุคปัจจุบัน

ผม เขียนไว้ในรายงาน แนะนำรัฐบาลผมเขียนไปโดยเชื่อว่าเขาไม่กล้าทำหรอก เพราะมันขี้กลัว คนที่อยู่ในสถานะเช่นนั้น เป็นอัยการสูงสุดเขาไม่ใช่ให้คุณ ไปเผยอหน้าอยู่ในสังคม แต่เขาต้องการให้มาแก้ไขปัญหาประเทศชาติ

ผม เสนอให้สั่งไม่ฟ้องทั้งหมด ไม่ว่าจะเหลือง แดง เขียว เพราะมันเป็นเรื่องของการชุมนุม อาจเกินเลยไปบ้างก็ไม่เป็นไร มันไม่ใช่เรื่องร้ายแรง แต่ถ้าไปฆ่าคนเราค่อย single out-เลือกเฉพาะบางคดีออกมา แต่เรื่องของม็อบมันต้องคิด และยิ่งสถานการณ์แบบนี้ต้องคิดให้มากเพราะมันเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ไม่อย่างงั้นจะไปแก้ปัญหาประเทศชาติได้อย่างไร อัยการประเทศอื่นมันแก้ปัญหา แต่ประเทศเรามันไม่ใช่

- หลังอัยการสั่งไม่ฟ้อง จำเป็นหรือไม่จะต้องออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรม

ไม่จำเป็น เพราะเมื่ออัยการสั่งไม่ฟ้องก็คือจบ การนิรโทษกรรมก็ไม่จำเป็น

- คดีของ พ.ต.ท.ทักษิณจำเป็นต้องมีการนิรโทษกรรมหรือไม่

คดี ของคุณทักษิณเป็นคดีการเมืองตรงไหน มันไม่ใช่การเมือง บังเอิญเป็นนักการเมือง จึงคนละเรื่องกัน นักการเมืองทำผิดไม่ได้เหรอ ก็ต้องทำผิดได้เหมือนนายกรัฐมนตรีประเทศญี่ปุ่นยังติดคุก อดีตนายกรัฐมนตรีประเทศเกาหลีใต้ยังกระโดดหน้าผาตายเลย ของไทยมันอย่างหนาไม่ทำอะไร

- แต่ พ.ต.ท.ทักษิณมักพูดว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม

ตรงไหนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม เมื่อคดีขึ้นสู่ศาลดำเนินคดีศาลก็พิพากษาแล้ว ไม่ได้รับความเป็นธรรมตรงไหน

- เมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณเป็นชนวนเหตุหนึ่งของความขัดแย้งในสังคมไทย เราจะแก้ปัญหาตรงนี้อย่างไร

บท ความที่ผมเขียนเรื่อง "หักดิบกฎหมาย" เพราะการหักดิบกฎหมายเป็นที่มาของความไม่สงบ มันเกิดขึ้นในสมัยที่คุณทักษิณซุกหุ้นภาค 1 แล้ว จริง ๆ ผมวิเคราะห์ว่าคุณทักษิณแพ้คดี แต่มันเล่นแร่แปรธาตุจนชนะเห็นไหม เขาแพ้คดี 7 ต่อ 6 แต่ตุลาการ รัฐธรรมนูญไม่พิพากษา แล้วเอาคะแนนมารวมเป็น 8 ต่อ 7 อย่างนี้จะไม่เรียกว่าหักดิบได้อย่างไร นี่คือรากเหง้าของความขัดแย้งที่เกิดขึ้น

เวลานั้นแต่ละคนเชียร์คุณ ทักษิณ สุด ๆ คือคนในบ้านเมืองเราไม่ยึดหลัก แต่มันยึดคนคิดว่าคนนี้มันดี ผมจึงบอกว่าคนมันดีไม่ได้นานหรอก ตอนไม่มีอำนาจก็ดีหรอก แต่พอมีอำนาจเต็มที่ก็ออกลาย นี่คือสาเหตุที่เกิดการฆ่ากัน

-หลังจากนี้โอกาสที่เราจะเห็นความ ปรองดองยังมีอยู่หรือไม่

ชีวิต มันต้องมีความหวัง เราหวังว่าทุกอย่างมันจะดีขึ้นแล้วนำไปสู่ความสงบในอนาคต แต่จะเมื่อไรไม่มีใครตอบได้หรอก มันจะอยู่กันอย่างนี้ได้อย่างไร

-ในประวัติศาสตร์การเมืองไทยทั้ง 14 ตุลา 16, 6 ตุลา 19, พฤษภาทมิฬ ความขัดแย้งที่กลับมาปรองดองกันได้เพราะเขายอมกัน

มันคนละอย่างนะ เหตุการณ์ 14 ตุลา, 6 ตุลา มันเป็นเรื่องของทหารกับประชาชน แต่คราวนี้เป็นเรื่องของประชาชนด้วยกัน

-ข้อเสนอ คอป.ต่อรัฐบาลเป็นโรดแมปความปรองดองที่เคยปฏิบัติสำเร็จมาแล้วในต่างชาติ เช่น แอฟริกา หรือรวันดา

บริบท ทางสังคมไม่เหมือนกัน แต่ของไทยเราอยู่กันสงบมานานแล้ว แม้ว่าเราจะมีชนกลุ่มน้อยหลายเชื้อชาติหลายภาษาแต่เราไม่เคยสู้รบปรบมือกัน นะ ผมยังมีความหวังว่าจะกลับไปแบบเดิมได้ คนไทยไม่ได้เป็นคนใจไม้ไส้ระกำเราเวลานี้นานาชาติได้ส่งนักวิชาการที่เคยทำ เรื่องปรองดองสำเร็จในแอฟริกาใต้ และรวันดาเข้ามาช่วยเรา

-บริบทบ้านเรามีวาทกรรมสองมาตรฐาน

ผม ไม่เห็นว่าสองมาตรฐานตรงไหน แต่การปฏิบัติที่ไม่มีมาตรฐานมันมี เช่น การตีตรวนมันมี การนำคนมาขังโดยไมˆมีเหตุ อย่างนี้ไม่ได้เรียกว่าสองมาตรฐาน ต้องเรียกว่าไม่มีมาตรฐาน

-ประเทศไทยต้องปฏิรูปขนานใหญ่ถึงจะปรองดองได้

ทุก ภาคส่วนช่วยกันก็จะดีขึ้น แต่คราวนี้ไม่ได้ใช้ระยะเวลาอันสั้น มันต้องใช้เวลา เพราะความขัดแย้งคราวนี้มันลงลึกมาก คณะผมไม่ได้รับผิดชอบ ต่อรัฐบาลนะ แต่ผมรับผิดชอบต่อ ประชาชน ยึดประชาชน เพราะเรารู้ว่าตอนตั้งคณะกรรมการใหม่ ๆ จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล แต่เราไม่ได้ห่วง ถ้าเราทำงานแล้วประชาชนเชื่อถือเราก็ทำงานต่อ แต่ถ้าทำงานแล้วถูกมองว่าไม่ได้เรื่องเราก็หยุด ผมไม่ติดยึดอะไร

-อีกนานแค่ไหนสังคมไทยจะได้เห็นความปรองดองเกิดขึ้น

บาง ประเทศ 20 ปีนะมันต้องค่อย ๆ แก้ แต่มันอาจจะเกิดปาฏิหาริย์ขึ้นก็ได้ใครจะไปรู้ แต่เวลานี้คำว่าปรองดองพูดกันเปรอะ ผมไม่ได้พูดเรื่องปรองดอง แต่ผมพูดว่าจะมีสันติภาพเกิดขึ้น เมื่อไรสันติจะกลับคืนมาสู่สังคมเรา คำว่าสันติมันสำคัญยิ่งกว่าปรองดอง

-นักการเมืองพูด-หากินกับเรื่องปรองดอง มันจะปรองดองได้จริงหรือ

ตอน ช่วงหาเสียงเขาก็เอาผมไปหาเสียงด้วย ไม่รู้เขาคิดอย่างไร แต่ถ้าเขาบอกว่าต้องการสันติอย่างนี้มันน่าสนใจ เพราะผมคิดว่าปรองดองคือการสันติ คือไม่ได้มาเกี้ยะเซียะกัน

-การเยียวยาที่จะเสนอต่อรัฐบาล

กำลัง คิดกันอยู่เพื่อเสนอต่อรัฐบาล ที่กลุ่มคนเสื้อแดงบอกว่าต้องเยียวยาผู้ที่เสียชีวิตรายละ 10 ล้าน มันเป็นคนละเรื่องกัน เพราะเราต้องการเยียวยาด้านจิตใจ เช่น ลูกเขาตาย เขาก็เดือดร้อน

-กรณีที่ทหาร ตำรวจที่เสียชีวิตในการปฏิบัติหน้าที่ หน่วยงานต้นสังกัดต้องเข้ามาช่วยเหลือครอบครัวของผู้เสียชีวิต

ก็ อาจจะจำเป็น โดยเราจะใช้หลักวิชาการในการพิจารณา สมมติว่าการเยียวยาความเสียหายด้านจิตใจควรจะเป็นอย่างไร เราก็ต้องดูกฎหมายของต่างประเทศประกอบไป เราไม่ได้มานั่งคิดว่าจะชดเชย 10 ล้าน 20 ล้านบาท

(ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 12-14กันยายน 2554)

"วีระกานต์"ชี้ทวงฎีกาไม่มีกฎหมายห้าม มั่นใจไม่ทำรัฐอายุสั้น

ที่มา มติชน

นายวีระกานต์ (วีระ) มุสิกพงศ์ อดีตประธานกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เปิดเผยถึงกรณีการทวงฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และการเตรียมพร้อมเดินทางไปกัมพูชาเพื่อเตะฟุตบอลในวันที่ 24 กันยายนนี้ ว่า ตนเองไม่สามารถไปร่วมงานนี้ได้ เพราะมีภารกิจส่วนตัว แต่ไม่ขัดข้อง ไม่ขัดขวางเพื่อนๆ ที่จะทำกิจกรรมดังกล่าว และไม่รู้ว่ามีการเชิญ พ.ต.ท.ทักษิณมาร่วมงานหรือไม่


ส่วนกรณีการทวงฎีกานั้น นายวีระกานต์กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวที่หลายคนมาวิพากษ์วิจารณ์ว่าจะเป็นการกดันรัฐบาลหรือเปล่า ว่า ไม่ได้เป็นการกดดัน ทวงมาตลอดในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เมื่อเปลี่ยนรัฐบาลก็ต้องทวง ไม่ว่าใครจะมาเป็นรัฐบาล เพราะว่ามันล่าช้ามาก และที่ผ่านมา เรื่องดังกล่าวดำเนินการผิดวิธี ไม่ตรงกับที่สำนักราชเลขาธิการ สำนักพระราชวัง ออกแถลงการณ์ เพราะตามจริงรัฐบาลแค่แสดงความเห็นว่าควรหรือไม่ มีความเห็นอย่างไรเท่านั้น ซึ่ง ณ เวลานี้ก็ได้รับความคืบหน้าแล้ว ไม่มีอะไรที่เป็นการเร่งรัดกดดันรัฐบาลแต่อย่างใด ทั้งนี้ ในกฎหมายรัฐธรรมนูญไม่ได้ห้ามการถวายฎีกา และไม่มีข้อกฎหมายใดห้ามเรื่องการไม่รับโทษมาขออภัยโทษด้วย จึงต้องรอดูการทำงานของคณะกรรมการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมตั้งมา ต่อไป และจะมีความเห็นเป็นอย่างไร ก็ว่ากันไป ไม่มีการทักท้วง หรือเรียกร้องใดๆ อีก


นายวีระกานต์กล่าวว่า ส่วนกรณีที่หลายคนมองว่าการดำเนินการทวงฎีกาจะเป็นการทำให้รัฐบาลอายุสั้น นั้น ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด เชื่อว่าไม่มีปัญหาแน่นอน แต่ละคนมีสิทธิที่จะไม่เห็นด้วย แต่ไม่มีสิทธิที่จะขัดขวาง เพราะว่าเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องของพระราชอำนาจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัวเท่านั้น

ยิ่งลักษณ์ เยือนบรูไน หวังทำชาติมุสลิมเข้าใจไทยมากขึ้น

ที่มา thaifreenews

โดย bozo



น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี หวังการเดินทางเยือนประเทศบรูไนวันนี้
จะช่วยทำให้ชาติมุสลิม เข้าใจไทยมากขึ้น...

น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงการเดินทาง
เยือนประเทศบรูไนอย่างเป็นทางการในวันนี้ (10 ก.ย.) ว่า
การเดินทางไปในครั้งนี้จะมีโอกาสได้เข้าเฝ้า สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งบรูไน
และหารือข้อราชการ
โดยจะเป็นชาติแรกที่นายกรัฐมนตรีจะเดินทางเยือนอย่างเป็นทางการ
หลังเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

และจะถือโอกาสแสดงความขอบคุณที่ทางการบรูไนได้ส่งสารแสดงความยินดีมายังตน
และเพื่อความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศที่ไทยและบรูไนมีความประสงค์ตรงกัน คือ
ในเรื่องของการแลกเปลี่ยนความรู้ทางด้านการเกษตรและอาหารฮาลาล
ที่บรูไนถือเป็นประเทศสมาชิกองค์การการประชุมอิสลามหรือ OIC
ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการส่งออกอาหารฮาลาลในกลุ่มประเทศมุสลิม

นายกรัฐมนตรียังกล่าวด้วยว่า การเดินทางเยือนครั้งนี้
จะเป็นโอกาสที่กลุ่มประเทศมุสลิมเพิ่มความสัมพันธ์และเข้าใจประเทศไทยมากขึ้น
เพราะประเทศบรูไนที่ผ่านมาในเวทีของ OIC ก็ได้แสดงเจตนา
ในการร่วมกันแก้ไขปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย
และค่อนข้างมีบทบาทใน OIC

ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี จะเดินทางออกจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิวันนี้
ในเวลาประมาณ ​15.15 น. และจะเดินทางกลับในเวลา 01.00 น. ของวันที่ 11 ก.ย.


http://www.thairath.co.th/content/pol/200693

สรุปการใช้เงินคงคลังสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ ( 2 ปี 7 เดือน)

ที่มา thaifreenews

โดย สุรชัย the Butcher

จิ๊กมาจากเพจคุณ Achilles Phoenix // FB จ๊ะ

สรุปการใช้เงินคงคลังสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ ( 2 ปี 7 เดือน )



2552 ใช้เงินคงคลังสุทธิ = -109,404 ล้านบาท
2553 ใช้เงินคงคลังสุทธิ = -152,446 ล้านบาท
2554 (ม.ค.-ก.ค.) ใช้เงินคงคลังสุทธิ = 44,483 ล้านบาท
สรุป 2 ปี 7 เดือน ใช้เงินคงคลังสุทธิ = -217,367 ล้านบาท
หมายเหตุ ถ้าตัวเลขติดลบคือ คืนเงินคงคลัง
ที่มา : รวบรวมมาจากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย
http://www2.bot.or.th/statistics/BOTWEBSTAT.aspx?reportID=38&language=TH

สรุปการกู้ยืมเงินในประเทศสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ ( 2 ปี 7 เดือน )

2552 กู้ยืมเงินในประเทศสุทธิ = 522,589 ล้านบาท
2553 กู้ยืมเงินในประเทศสุทธิ = 420,802 ล้านบาท
2554 (ม.ค.-ก.ค.) กู้ยืมเงินในประเทศสุทธิ = 16,050 ล้านบาท
สรุป 2 ปี 7 เดือน กู้ยืมเงินในประเทศสุทธิ = 959,441 ล้านบาท

หมายเหตุ ถ้าตัวเลขติดลบคือ คืนเงินที่กู้

ที่มา : รวบรวมมาจากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย
http://www2.bot.or.th/statistics/BOTWEBSTAT.aspx?reportID=38&language=TH

จากตารางข้อมูลในปี 2553 จะเห็นว่า
มีการกู้ยืมเงินจากแหล่งต่างในประเทศ 420,802 ล้านบาท
ข้อ 7 กู้ยืมในประเทศสุทธิ = 420,802 ล้านบาท

เพื่อนำไปชดเชยดุลเงนสดที่ขาดดุล 265,893 ล้านบาท
และใช้คืนหนี้ต่างประเทศ 2,463 ล้านบาท
ข้อ 6 การชดเชยดุลเงินสด 6/= 265,893 ล้านบาท
ข้อ12 กู้ยืมต่างประเทศสุทธิ = -2,463 ล้านบาท

ที่เหลือกลายเป็นเงินคงคลัง 152,446 ล้านบาท
ข้อ15 เงินคงคลังในปี 2553 = -152,446 ล้านบาท

สรุป 2 ปี 7 เดือนของรัฐบาลอภิสิทธิ์ กู้มา 959,441 ล้านบาท
เพื่อชดเชยดุลเงินสดที่ขาดดุล และใช้คืนเงินกู้ต่างประเทศอีกนิดหน่อย
ที่เหลือก็กลายเป็นเงินคงคลังโดยอัตโนมัติ
ซึ่งเงินคงคลังเพิ่มขึ้นจากตอนที่เข้ามา 217,367 ล้านบาท
ไม่ได้เกิดจากการบริหารจนเศรษฐกิจดี
ทำให้มีรายได้มากกว่ารายจ่ายอะไร
แต่เงินคงคลังเหลือเยอะ เพราะกู้มามากกว่าที่ต้องใช้ก็เลยเหลือ
เหมือนคนไปกู้เงินมา 1 ล้านบาท
แล้วใช้ไป 5 แสนบาทเหลือ 5 แสนบาท
แล้วมาคุยว่าทำงานเก่งมีเงินเหลือ 5 แสนบาท
แต่ไม่พูดถึงยอดหนี้ที่กู้มาทั้งหมด และการหาเงินใช้หนี้คืนในอนาคต

โดย คุณ มาหาอะไร

Credit: จากคุณAchilles Phoenix/ FB
http://www.prachatalk.com/board/คุณขนานแท้..ประชาไท

กฎแห่งกรรม

ที่มา ข่าวสด

คอลัมน์ เหล็กใน
มันฯ มือเสือ



เรื่องวุ่นๆ เกี่ยวกับการโยกย้ายเลขาธิการสมช.

มา ถึงจุดที่นายถวิล เปลี่ยนศรี ไม่พอใจที่ครม.มีมติโอนย้ายไปเป็นที่ปรึกษานายกฯ ฝ่ายข้าราชการประจำ เห็นว่าเป็นการลุแก่อำนาจและอคติของฝ่ายการเมือง

จึงเตรียมจะยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม หรือก.พ.ค. และยังอาจฟ้องร้องต่อศาลปกครองด้วย

ซึ่งทั้งสองช่องทางเป็นสิทธิที่ทำได้และเคยมีข้าราชการบางคนทำสำเร็จมาแล้ว กระทั่งได้ย้ายกลับตำแหน่งเดิม

แต่ ที่อยากพูดถึงคือ ช่วงก่อนถูกย้าย นายถวิลให้สัมภาษณ์ไว้ในมติชน ตอนหนึ่งถึงกรณีที่เคยทำหน้าที่เลขานุการศอฉ.ช่วงเหตุการณ์นองเลือดปี 2553

นาย ถวิลชี้แจงว่า ไม่มีทางเลี่ยง เพราะตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินกำหนดให้เลขาฯสมช.ต้องทำหน้าที่เลขาฯศอฉ. และการทำงานทุกอย่างเป็นไปตามคำสั่งการของรัฐบาล ไม่ว่ารัฐบาลใดก็ตาม ไม่ทำไม่ได้

ที่สมช.ทำไปก็ไม่มีการเลือกสี เลือกฝ่าย ตอนนั้นไม่รู้ด้วยซ้ำไปว่าคนเสื้อแดงเป็นมวลชนของใคร

ผู้สัมภาษณ์จึงถามย้ำว่า ถ้าย้อนกลับไปได้จะทำตามคำสั่งรัฐบาลเหมือนเดิมหรือไม่ นายถวิลตอบว่า "แน่นอนๆ"

จาก คำถาม-ตอบดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า นายถวิลพร้อมปฏิบัติตามคำสั่งรัฐบาลโดยไม่คัดง้าง แม้คำสั่งนั้นจะนำมาซึ่งความสูญเสียชีวิตของประชาชนและเจ้าหน้าที่กว่า 90 ศพ เจ็บอีกเป็นพัน

แต่นายถวิลอ้างว่าเมื่อรัฐบาลสั่ง สมช.ไม่ทำไม่ได้

ที นี้ต้องมาดูว่าเมื่อเป็นเช่นนั้น พอรัฐบาลชุดนี้มีคำสั่งย้ายพ้นจากเลขาฯสมช. ทำไมนายถวิลถึงไม่ยอมรับ โวยวายเอาเรื่องไปร้องต่อก.พ.ค.

หมายความว่าถ้าเป็นคำสั่งให้ลุยม็อบ ยอมรับได้ แต่คำสั่งที่กระทบต่อตำแหน่งของตัวเอง ยอมรับไม่ได้ อย่างนั้นใช่หรือไม่

ส่วน ที่บอกว่าตอนนั้นไม่รู้คนเสื้อแดงเป็นมวลชนของใครนั้น เอาเป็นว่าคนอื่นเขารู้กันทั้งบ้านทั้งเมือง แต่เลขาฯสมช.กลับไม่รู้ แบบนี้สมควรเป็นเลขาฯสมช.ต่อไปหรือไม่ คิดกันเอาเอง

จะอย่างไรก็แล้วแต่คงต้องติดตามกันต่อไปว่าผลการยื่นอุทธรณ์ต่อก.พ.ค.จะออกมาอย่างไร

สุดท้ายใครจะเป็นคนรู้ซึ้งถึงกฎแห่งกรรม

การ์ตูนเซียสี ที่ท่านไม่เคยเห็นในไทยรัฐ ๑๐ ก.ย.๕๔

ที่มา blablabla

โดย

ภาพถ่ายของฉัน


ถึงเป็นเงา..ก็เงา..อำมหิต
เงาซาดิสต์..เงาโฉด..เงาโหดร้าย
เงาของคน..สั่งล่า..ฆ่าคนตาย
เงาฉิบหาย..พวกอันธพาล..สามานย์ชน....


คนเบื้องลึก..เบื้องหลัง..ยังคลั่งแค้น
มันสุดแสน..เจ็บร้าว..คราวปี้ป่น
จึงแอบแฝง..สิ่งชั่ว..ทุกตัวตน
หวังหลอกคน..โง่เซ่อ..ให้เอออวย....


ภาพสั่งฆ่า..ย้อนยอก..ตามหลอกหลอน
ไม่สังวรณ์..แสร้งมุบมิบ..หวังหยิบฉวย
ใต้เงามืด..ภาพจัญไร..ไอ้ตัวซวย
มันฉาบด้วย..เงาแสง..แห่งมืดมน....


หรือเอากฎ..แห่งกรรม..ตอกย้ำให้
ยิ่งเฉไฉ..ใช้มารยา..พาสับสน
ยิ่งต้องรับ..โทษทัณฑ์..ในบันดล
สักกี่ล้าน..พูดวกวน..ไม่พ้นกรรม....


๓ บลา / บ่าย ๑๐ ก.ย.๕๔

ล้านคำบรรยาย การ์ตูนเซีย 10/09/54 ถึงเป็นเงา..ก็เงาอำมหิต

ที่มา blablabla



ภายใต้เงา มืดดำ แฝงอำมหิต
ยังโหดเหี้ยม วิปริต คิดชั่วชั่ว
ใช้วาจา สามานย์ สันดานตัว
หางยันหัว หวังย้ำแค้น ด้วยแผนเลว....


หรือต้องรอ กฎแห่งกรรม ย้ำคนผิด
แม้นปกปิด สิ่งชั่ว มั่วแหลกเหลว
เหมือนพวกมาร ถาโถม โหมเพลิงเปลว
พาดิ่งเหว ดับสลาย แล้วหายพลัน....


ใคร..สั่งปราบ สั่งฆ่า ประชาราษฎร์
ใคร..พิฆาต เข่นฆ่า จนอาสัญ
ใคร..ลั่นไก ตรงเป้า เข้าโรมรัน
ใคร..พวกนั้น เหตุไฉน ใยลอยนวล....


หวังสร้างเงา ถากถาง พลางเย้ยเยาะ
เสียงหัวเราะ โลดแล่น แทนกำสรวล
คนไม่ผิด ยัดห้องขัง นั่งคร่ำครวญ
ถูกตีตรวน ร่ำไห้ ในเรือนจำ....


ภายใต้เงา มืดดำ ยังอำมหิต
ถูกปกปิด ด้วยมารยา พาตอกย้ำ
เห็นแผนชั่ว พวกจัญไร ใจระยำ
ยิ่งชอกช้ำ เหน็บหนาว ร้าวอารมณ์....


๓ บลา / ๑๐ ก.ย.๕๔

มา...มาถึงคบเพลิงคนละอัน..ไล่จี้ก้น รมต.คุมสื่อกัน

ที่มา blablabla

โดย

ภาพถ่ายของฉัน



ฮู้ว..รัฐมนตรี..อยู่ไหน..ใยเงียบกริบ
ทำมุบมิบ..ฉุยฉาย..เล่นหายหัว
อย่าลืมล่ะ..อย่าลืมนะ..ธุระตัว
หรือแอบมั่ว..หลบฉาก..ไม่อยากทำ....


ร้อยปัญหา..หมักหมม..ทับถมแน่น
มันง่อนแง่น..เกินเสาะหา..คำว่า "ขำ"
หรือปล่อยพวก..ผีห่า..บ้าระยำ
พูดตอกย้ำ..ก่นด่า..ว่ารัฐบาล....


ก๊อกๆ ..รมต..คุมสื่อ..อยู่หรือเปล่า?
กี่เรื่องราว..มากมี..ที่กล่าวขาน
ปล่อยสื่อชั่ว..มั่วตีไข่..ในสันดาน
ยังงุ่นง่าน..เรื่องอะไร..ใยเงียบจัง....


เดี๋ยวจะเอา..คบเพลิงไฟ..ไปลนก้น
เลิกสับสน..เสียบ้าง. สร้างความหวัง
หากยังคิด..เงียบฉี่..ไม่อีนัง
พังกับพัง..หากเก็บตัว..มัวเฉื่อยชา....


๓ บลา / บ่าย ๙ ก.ย.๕๔