WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, October 20, 2012

เปิดหนังสือแสดงความคิดเห็นต่อรายงาน คอป. (ภาษาอังกฤษ)

ที่มา uddred





ทีมข่าว นปช.
20 ตุลาคม 2555


นปช. เปิดหนังสือแสดงความคิดเห็นต่อรายงานฉบับสมบูรณ์ของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบ และค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ ภาคภาษาอังกฤษ เพื่อส่งถึงสถานเอกอัครราชทูตต่างๆในประเทศไทย

TRCT Report from perspectives of victims

ดาวน์โหลดเอกสารได้ที่: ห้องเอกสาร

'แอปเปิลสตอร์' ที่ใหญ่สุดในเอเชียเปิดแล้วที่ปักกิ่ง

ที่มา Voice TV



แอปเปิล บริษัทผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ของสหรัฐฯ เปิดให้บริการแอปเปิลสตอร์ใหญ่ที่สุดในทวีปเอเชียแล้ว   ที่ใจกลางกรุงปักกิ่ง  โดยมีสาวกแอปเปิล ให้การต้อนรับอย่างล้นหลาม ซึ่งถือเป็นการตอกย้ำความนิยมในผลิตภัณฑ์แอปเปิลของชาวจีนได้เป็นอย่างดี
 
สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า "แอปเปิล" บริษัทผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชื่อดังของสหรัฐฯ  เปิดให้บริการร้าน "แอปเปิลสตอร์" ใหญ่ที่สุดในทวีปเอเชียแล้ววันนี้   ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ซึ่งเป็นการตอกย้ำ  ว่า จีนคือตลาดใหญ่อันดับ 2 ในโลกของแอปเปิล  รองจากสหรัฐอเมริกา
 
 
สำหรับร้านแอปเปิลสตอร์ดังกล่าว เป็นแอปเปิลสตอร์สาขาที่ 6 ในประเทศจีน ตั้งอยู่บนถนนหวังฟูจิ่ง ใจกลางกรุงปักกิ่ง   ซึ่งเป็นถนนที่เต็มไปด้วยร้านค้า และเป็นแหล่งจับจ่ายซื้อของของชาวปักกิ่ง โดยตัวอาคารมี 3 ชั้น พร้อมพื้นที่ใช้สอยที่กว้างขวางถึง 2,300 ตารางเมตร ความนิยมของชาวจีน ต่อผลิตภัณฑ์ของแอปเปิลเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ   สังเกตได้จากมีลูกค้ามายืนให้ร้านเปิดนับร้อยคน และกระแสความนิยม ยิ่งเพิ่มสูงขึ้น เมื่อแอปเปิลเปิดตัวไอโฟน 5 ที่สินค้าขาดตลาดแล้วในบางประเทศ 
 
 
ทั้งนี้ แอปเปิล ถูกวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับการผลิตของบริษัท หลังมีการเปิดเผยข้อมูลเมื่อสัปดาห์ก่อนว่า ฟ็อกซ์คอนน์ ซึ่งเป็นบริษัทผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ให้แอปเปิล มีการจ้างแรงงานเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 14 ปี  รวมไปถึงสภาพการทำงานในโรงงานที่ไม่เหมาะสม  อย่างไรก็ตาม เสียงวิพากษ์วิจารณ์ดังกล่าว ดูเหมือนว่า จะไม่ส่งผลกระทบกับยอดขายแอปเปิลในจีนแต่อย่างใด
20 ตุลาคม 2555 เวลา 15:38 น.

นายกฯลงพื้นที่เกาะเต่า - เกาะพงัน

ที่มา Voice TV



นายกรัฐมนตรี เดินทางถึงจังหวัดสุราษฎร์ธานีแล้ว และลงพื้นที่ติดตามโครงการด้านสาธารณสุขและชลประทาน ในเกาะเต่าและเกาะพงัน โดยมีประชาชนรอต้อนรับเป็นจำนวนมาก
 
นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี  เดินทางไปจังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อเตรียมเข้าร่วมการประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่อย่างเป็นทางการ หรือครม.สัญจรโดยลงพื้นที่  เพื่อติดตามปัญหาของประชาชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราชด้วย 
 
 
โดยช่วงบ่ายที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรี ได้ตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเกาะเต่า พร้อมกับทักทายประชาชนที่มาต้อนรับ   จากนั้น ได้เดินทางโดยเฮลิคอปเตอร์มายังเกาะพงัน และอุทยานแห่งชาติธารเสด็จ ตำบลบ้านใต้ อำเภอเกาะพงัน เพื่อพวงมาลา หน้าพระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 5 หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติธารเสด็จ   ได้บรรยายสรุปถึงความเป็นมาของอุทยาน  ขณะที่อธิบดีกรมทางหลวงชนบท  ได้บรรยายสรปุการก่อสร้างถนนลาดยางบ้านใต้  และโครงข่ายถนนเกาะพงัน    
 
 
เมื่อแล้วเสร็จ นายกรัฐมนตรี พร้อมคณะ  เดินทางต่อไปยังอ่างเก็บน้ำธารประพาส เกาะพงัน   เพื่อตรวจเยี่ยมจุดก่อสร้าง โดยมีเจ้าหน้าที่จากกรมชลประทานและเจ้าหน้าที่จากการประปาส่วนภูมิภาคบรรยาย สรุป
 
 
ส่วนการประชุมคณะรัฐมนตรีในวันพรุ่งนี้ หลายจังหวัดเตรียมเสนอแผนงานและโครงการต่างๆ  เช่นจังหวัดพัทลุง เตรียมเสนอ 4 โครงการ คือปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการระบายน้ำ แก้ปัญหาอุทกภัย โครงการขุดลอกคลองเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ บริเวณ 3 ลุ่มน้ำ คือ ลุ่มน้ำคลองป่าพยอม ลุ่มน้ำคลองท่าแนะ และลุ่มน้ำคลองป่าบอน โครงการปรับปรุงโครงข่ายทางหลวงชนบทเพื่อการระบายน้ำ และป้องกันการกัดเซาะของน้ำ และโครงการก่อสร้างทางคู่ขนาน ทางหลวงสายเอเชีย บริเวณบ้านหนองเจียก อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง  ซึ่งทั้งหมดนี้อยู่ในงบประมาณ 130 ล้านบาท 
 
 
นอกจากนี้ยังเตรียมเสนอแผนงานนอกกรอบวงเงิน งบประมาณ  ของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยอีก 3 โครงการ คือการพัฒนาเส้นทางเศรษฐกิจหลักของภาคใต้  พัฒนาทางหลวงชนบทริมฝั่งทะเลสาบสงขลา และจัดตั้งศูนย์การศึกษาและบริการทางการแพทย์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง  ส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี เตรียมเสนอ 9 โครงการ  ในวงเงิน176 ล้านบาท และจะเสนอนอกกรอบวงเงินอีก 25 โครงการ  เป็นเงินงบประมาณกว่า 1 หมื่น 8 พันล้านบาท 
20 ตุลาคม 2555 เวลา 15:47 น.

'โอ๊ค'โพสต์เตือนใจผู้ว่าฯกทม.'เสียชีพอย่าเสียสัตย์ '

ที่มา Voice TV

 'โอ๊ค'โพสต์เตือนใจผู้ว่าฯกทม.'เสียชีพอย่าเสียสัตย์ '



"พานทองแท้" โพสต์เฟสบุ๊ก ทวงเดิมพัน สนามฟุตซอล บางกอกอารีน่า เสร็จไม่ทันกำหนด ผู้ว่าฯกทม.จะว่าอย่างไร
 
 
ผมได้โพสต์ตั้งแต่วันพุธแล้วว่า ถ้าผู้ว่าฯกทม.ยืนยันว่า สนามฟุตซอลเสร็จได้ทันเวลาจริง ขอให้จัดพิธีเปิด ฟุตซอลโลกให้สมเกียรติที่ไทยได้เป็นเจ้าภาพ ที่สนามแห่งใหม่ 
 
ทีมผู้ว่าฯเอย // รองผู้ว่าฯเอย // สส.ปชป.เอย // ทีมโฆษกฯเอย แต่ละคนที่เคยออกมาตอบโต้ ทำไมหายเงียบเป็นเป่าสากกันหมดครับ!!
 
ครั้งที่แล้วออกมาโต้ผมกันใหญ่ แถมเหน็บผมว่าขอให้พานทองแท้ เช็คข้อมูลให้ดีก่อนออกมาพูด ผมก็ได้ไปดับเบิ้ลเช็คข้อมูลมาแล้ว พบข้อมูลเพิ่มเติมดังนี้ครับ
 
เว็ปไซต์ Thai ticket major ที่เป็นเวปขายตั๋ว ได้ลงประกาศว่าฟีฟ่าเปลี่ยนสถานที่จัดพิธีเปิดการแข่งขัน โดยให้เหตุผลว่า "สนามบางกอกฟุตซอลแห่งใหม่นี้เสร็จไม่ทัน พร้อมระบุว่าการตัดสินใจ เปลี่ยนสถานที่จัดพิธีเปิดครั้งนี้ คณะผู้จัดกับทาง กทม. ตัดสินใจร่วมกัน"
 
ดร.ศุภชัย ตันติคมน์ ที่ปรึกษาผู้ว่าฯกทม. ให้สัมภาษณ์ที่สภา ในวันที่ไปชี้แจงต่อกรรมาธิการวุฒิสภาว่า "หากสนามบางกอก ฟุตซอล อารีน่า สร้างเสร็จไม่ทัน ทางกทม. มีแผนสำรอง คือการใช้อินดอร์สเตเดียมหัวหมาก ทำพิธีเปิดการแข่งขัน แล้วใช้สนามแห่งใหม่นี้ในพิธีปิด"
 
แถมในเว็ปที่ขายตั๋วเข้าชมฟุตซอล2012 ของฟีฟ่าเองได้แก่เวป http://th.futsalwctickets.fifa.com/buyticket-th 
ก่อนหน้านี้ได้พาดหัวไว้โดยมีถ้อยคำว่า 
----------------------------------------------------
"เนื่องจาก สนามบางกอก ฟุตซอล อารีน่า ยังสร้างไม่เสร็จ
ดังนั้น จึงขอประกาศ ย้ายสนามไปที่
อินดอร์ สเตเดียม หัวหมาก(แทนชั่วคราว)"
----------------------------------------------------
ต่อมาได้แก้ไขเป็น
 
"เปลี่ยนแปลงโปรแกรมการแข่งขัน 
ซึ่งกำหนดไว้เดิมที่ สนามบางกอก ฟุตซอล อารีน่า
ให้ย้ายไปแข่งขันที่ อินดอร์ สเตเดียม หัวหมาก"
 
โดยตัดคำว่า "สนาม......ยังสร้างไม่เสร็จ" ออกไป
----------------------------------------------------
 
คนกทม.ได้ผู้ว่าฯท่านนี้ก็ดีนะครับ ท่านทำอะไร มักจะถูกต้องอยู่เสมอ ผมไม่เคยเห็นท่านทำอะไรผิดเลย
 
กล้องดัมมี่พอโดนจับได้ ก็เป็นของผู้ว่าอภิรักษ์ฯ 
 
น้ำท่วมกรุงเทพฯ ก็เป็นฝีมือของรัฐบาล
 
ถุงทรายอุดท่อ รองผู้ว่าฯอักษรย่อ ธ.ธง (ธ.ย่อมาจาก ธีระชน) ก็โยนว่าเป็นฝีมือคนอยู่ดูไบ 
พอไล่ไปไล่มา ชักจะเข้าตาจน ผู้ว่าฯค่อยมาสารภาพตอนหลังว่า ฝีมือกรูเอง
 
พอมาครั้งนี้ สนามฟุตซอลที่ยังลูกผีลูกคน ไม่รู้ว่าเป็นสนาม "ดัมมี่" อีกหรือเปล่า 
ก็ไม่ผิดอีกแล้วครับ ท่านให้สัมภาษณ์ประมาณว่า
 
"กทม.ทำเสร็จทันเวลา ส่งมอบให้ฟีฟ่าได้ตามกำหนด แต่ฟีฟ่าไม่ยอมใช้สนามเอง"
 
ผมเป็นลูกบ้านเป็นคนกทม. ท่านเป็นพ่อเมือง ท่านจะว่าอย่างไรก็ต้องเชื่อท่านนะครับ ไม่มีทางคิดเป็นอื่น ก็เลยขอโพสต์รูปนี้ไว้เตือนใจท่านผู้ว่าฯแล้วกัน
 
ลูกเสือเขาปฏิญานตนว่า "เสียชีพ อย่าเสียสัตย์" ครับ
 
 
19 ตุลาคม 2555 เวลา 20:33 น.

พุทธศาสนากับประชาธิปไตยในสังคมไทย (2): ว่าด้วยอำนาจศูนย์กลางของสังคมไทย

ที่มา ประชาไท

 

ชาญณรงค์ บุญหนุน
กลุ่มพุทธศาสน์ของราษฎร

ในบทความตอนที่ (2) นี้ ผู้เขียนจะกล่าวถึง “มโนทัศน์เรื่องอำนาจในสังคมไทยที่มีรากฐานจากคัมภีร์พุทธศาสนา” ทั้งนี้เพื่อจะชี้ให้เห็นบทบาทด้านตรงกันข้ามกับบทบาทที่ได้กล่าวไปแล้วในบท ความตอนที่ (1) ที่ว่า พุทธศาสนา (สถาบันสงฆ์) แม้จะให้ความสำคัญกับการสร้าง “คนดี” ตามอุดมคติของชาวพุทธ แต่บทบาทดังกล่าวก็ไม่ได้สอดรับกับการสร้างพลเมืองตามแนวคิดในสังคม ประชาธิปไตย
กล่าวคือพุทธศาสนาไม่ได้ให้ความสำคัญกับ “สิทธิของพลเมือง สิทธิทางการเมือง และสิทธิทางสังคม” ของพลเมืองภายในรัฐ อันจะช่วยให้เราได้ตระหนักเห็นความสำคัญพลเมืองในฐานะเจ้าของอำนาจอธิปไตย ของประเทศตามแนวคิดประชาธิปไตย  แต่อำนาจในสังคมที่พุทธศาสนากล่าวถึงและสนับสนุนให้โดดเด่นและเป็นที่ยอม รับแก่สังคมไทยเสมอมานั้น เป็นอำนาจชนิดที่ตรงกันข้ามกับอำนาจของประชาชน กล่าวคือ พุทธศาสนามีบทบาทสำคัญในการทำให้อำนาจของพระมหากษัตริย์กลายเป็นอำนาจศูนย์ กลางของสังคมไทย นี่คือประเด็นสำคัญของบทความนี้
มโนทัศน์เรื่องอำนาจในสังคมไทยที่ดำรงอยู่ในปัจจุบันนั้นได้รับอิทธิพล จากปรัชญาการเมืองของพุทธศาสนาที่ปรากฏอยู่ใน “อัคคัญญสูตร” ผสมผสานกับแนวคิดทาง “จักรวาลวิทยา” ของฮินดูซึ่งมีอิทธิพลต่อพุทธศาสนาก่อนที่จะแพร่เข้าสู่เอเชียตะวันออกเฉียง ใต้ อัคคัญญสูตรกล่าวไว้ชัดเจนว่าผู้ปกครองมาจากการสมมติของมหาชน อำนาจของผู้ปกครองเป็นอำนาจที่ได้รับจาก “การยินยอม” ของประชาคมที่รวมตัวกันจัดสรรระบบอำนาจขึ้นมา โดยที่จุดมุ่งหมายหลักของการสถานปนาผู้ปกครองก็เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ สังคมโดยทำหน้าที่“ลงโทษผู้สมควรลงโทษยกย่องผู้ที่ควรยกย่อง” ความคิดที่ดูเหมือนจะสนับสนุนหลักการแบบประชาธิปไตยนี้ก็ไม่ได้นำไปสู่การ ยอมรับการปกครองแบบประชาธิปไตย เมื่อรวมเข้ากับจักรวาลวิทยาแบบฮินดูที่เชื่อว่าอำนาจศูนย์กลางของจักรวาล อยู่ที่เขาพระสุเมรุ แนวคิดในอัคคัญญสูตรก็ถูกแปลความให้เข้ากับระบอบคิดแบบราชาธิปไตย กล่าวคือ
เมื่อแนวความคิดนี้แพร่เข้าสู่ดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ความสำคัญของผู้ปกครองได้ถูกเน้นให้โดดเด่นขึ้นเป็นพิเศษ พงศาวดารเมืองเงินยางเชียงแสน [1] ระบุไว้ใน “ประเพณีธรรม” ข้อแรกของนักปกครองไว้ว่า “บ้านเมืองหรือสังคมจะต้องมีผู้ปกครอง จะมีแต่ราษฎรโดยไม่มีผู้ปกครองไม่ได้ เพราะจะทำให้คนต่างฝ่ายต่างเบียดเบียนกัน ใช้กำลังบังคับกันเองเหมือนกับสัตว์คือ ใครมีกำลังมากกว่าแข็งแรงกว่าก็ชนะไป จะเกิดความยุ่งยากวุ่นวาย ดังนั้นการมีผู้ปกครองจึงจำเป็นเพื่อความสงบสุข ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสังคม โดยมีกฎเกณฑ์ควบคุมความประพฤติที่แน่นอน” [2] ความคิดทำนองนี้ถือว่า กษัตริย์ทรงเป็น “หัวใจแผ่นดิน” แนวคิดนี้ถือสืบทอดกันมาแม้เมื่อประเทศสยามเริ่มเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สมัยใหม่ ดังปรากฏในแนวอธิบายของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ที่ว่า “ดินแดนที่ยังไม่มีกษัตริย์นั้นมีโจรผู้ร้ายโดยไม่มีผู้ตัดสิน และมีศัตรูของคนประเทศอื่นมาย่ำยีเบียดเบียนบ้านเมือง จนไม่เป็นอันทำมาหากิน จึงต้องสมมติให้คนคนหนึ่งเป็นกษัตริย์ครอบครองทำหน้าที่รักษาความสงบทั้งภาย ในและภายนอกประเทศ มีอำนาจสิทธิ์ขาด ที่จัดสรรให้คนพวกหนึ่งทำหน้าที่ไปสงครามต่อสู้กับประเทศอื่นที่มาทำร้ายแก่ บ้านเมือง และให้คนอีกพวกหนึ่งอยู่รักษาบ้านเมือง ครอบครัว เสบียงอาหาร” [3]
การให้ความสำคัญกับผู้ปกครองในฐานะอำนาจศูนย์กลางของสังคมนั้น ส่วนหนึ่งมาจากอิทธิพลคำสอนในพระสูตร (ธัมมิกสูตรและชาดกอื่น ๆ) พระสูตรชี้ให้เห็นว่า “ผู้ได้รับสมมติเป็นพระราชา” มีความสำคัญต่อสังคมอย่างยิ่ง สังคมจะล่มสลายหรือเจริญรุ่งเรืองก็ด้วยจริยาวัตรของ “ผู้ได้รับสมมติ” นั้น แต่ความสำคัญของผู้ปกครองถูกเน้นให้โดดเด่นขึ้นอีกโดยปราชญ์โบราณของชาวพุทธ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยขยายความว่า ผู้ปกครองคนแรกของโลก (ในอัคคัญญสูตร) ก็คือพระโพธิสัตว์ หรือพระพุทธเจ้านั่นเอง เช่น คัมภีร์ โลกทีปกสาร กล่าวไว้ ดังนี้
“ในการนี้พระผู้ทรงพระภาคเจ้าพระองค์นี้แหละ ตอนนั้นยังเป็นองค์พระโพธิสัตว์ในครั้งนั้นทรงมีรูปงามกว่า น่าดูกว่า มีศักดิ์มากกว่า ในพวกสัตว์นั้น สมบูรณ์ด้วยความรู้ มีกำลังอันสามารถข่มผู้ที่ควรข่ม  ยกย่องผู้ที่ควรยกย่อง  สัตว์พวกนั้นพากันเข้าไปหาพระโพธิสัตว์นั้นอ้อนวอนแล้วสมมุติเชิดชูขึ้น พระโพธิสัตว์นั้นได้นามว่า “มหาสมมุติ” เพราะเป็นบุคคลที่มหาชนนั้นสมมุติ ได้นามว่ากษัตริย์ เพราะเป็นเจ้าใหญ่แห่งเกษตรทั้งหลาย ได้นามว่าราชา เพราะปกครองบุคคลอื่น ๆ โดยธรรม โดยเที่ยงธรรม พระโพธิสัตว์ทรงปรากฏพระนาม ๓ พระนาม ตามที่พระคันถรจนาจารย์มุ่งกล่าวไว้ว่า “พระโพธิสัตว์ทรงสมภพในสกุลแห่งอาทิตย์ เป็นบ่อเกิดแห่งคุณอันบริสุทธิ์ ทรงมีอานุภาพมาก ทรงพระนามว่า ราชา ทรงพระนามว่ามหาสมมต พระองค์ทรงเป็นดวงตาของโลก ทรงรุ่งเรืองด้วยพระรัศมี คือ พระคุณ มรรยาทที่พระมหาสมมตราชพระองค์ใดทรงตั้งไว้ ทรงกำหนดไว้ ฝูงชนไม่อาจเพื่อจะละเมิด พระมหาสมมตราชพระองค์นั้น ได้ทรงเชิดชูว่าเป็นพระมหาวีระ เป็นองค์อาทิแห่งพระราชาผู้ทรงพระยศ ผู้ตามรักษาขอบเขตของโลก”[4]
การยกสถานะ “มหาสมมติ” ในอัคคัญญสูตรขึ้นเป็นพระโพธิสัตว์ หรือ “พระพุทธเจ้า” เมื่อครั้งอดีตชาตินี้ ยังปรากฎใน “พระธรรมศาสตร” อันเป็นเสมือนบทนำของกฎหมายตราสามดวงที่ชำระในสมัยรัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ด้วย คัมภีร์เขียนโดยพระสงฆ์และนักปราชญ์ราชบัณฑิต และโดยอาศัยพระราชวินิจฉัยชี้แนะจากพระมหากษัตริย์เหล่านี้ต่างก็ชี้ไปทำนอง เดียวกันว่า สังคมมนุษย์เป็นความตกต่ำทางด้านคุณธรรม เลวทราม อันเนื่องมาจากมนุษย์ละเมิดศีลธรรม จึงจำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูคุณธรรม ต้องได้รับการชี้นำจากผู้ที่มีความรู้ความสามารถพอที่จะช่วยให้พวกเขาข้าม พ้นบาปธรรมไปได้ ในภาวะอันตกต่ำนี้  ผู้ปกครองจึงมีภาระทางธรรมที่สำคัญอย่างยิ่งในสังคมมนุษย์   กษัตริย์ในคัมภีร์ชั้นหลัง ๆ มีภารกิจในท่วงทำนองเดียวกันกับพระพุทธเจ้า ไตรภูมิโลกวินิจฉยกถา ซึ่งเขียนขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๑ ตามความในคัมภีร์โลกสัณฐาน กล่าวว่า
“. . . มหาชนทั้งหลายพร้อมเพรียงกันอาราธนาพระองค์ให้สถิตในขัตติยภูมิเสวยซึ่งมไห สุริยสมบัติอันเป็นบรมกษัตริย์อันประเสริฐ ทรงพระนามว่ามหาสมมติราช พระราชทานซึ่งโอวาทานุสาสน์สั่งสอนสัตว์โลกให้รู้ผิดและชอบ คุณแลโทษบุญแลบาป ทรงพระการุญภาพ ชี้แจงแสวงให้เห็นทางสวรรค์ทางนิพพาน เปรียบปานประดุจเป็นจักษุแห่งสัตว์โลก คุณรํสิสมุชฺชโล สมเด็จพระบรมกษัตริย์นั้น ส่องสว่างช่วงโชติด้วยพระรัศมีอันกล่าวคือพระคุณบรรเทาเสียซึ่งมืดคือโมหะ อันปกคลุมสันดานสัตว์ ขจัดมืดคือ โมหะ เปรียบประดุจดังพระสุริยเทพบุตรเสด็จอุทัยขึ้นมาเป็นคำรบสอง แลส่องสว่างกระจ่างทั่วสกลโลกธาตุ” [5]
การยกย่องพระมหากษัตริย์ว่าทรงเป็น “จักษุแห่งโลก” หรือ “ผู้ขจัดความมืดคือโมหะ” มีความหมายว่า พระองค์ต้องทรงเข้าใจสัจธรรมและจริยธรรมเพียงพอที่จะนำพาสังคมมนุษย์ไปสู่ ความดีงาม การยกให้ปฐมกษัตริย์ของโลก (ในอัคคัญญสูตร) เป็นพระโพธิสัตว์ในชั้นหลังนี้ คือความพยายามที่จะเชื่อมโยงฐานะกษัตริย์ให้เทียบเท่าพระพุทธเจ้า ดังใน ไตรภูมิโลกวินิจฉัยกถา พรรณนาว่า กษัตริย์จะเป็นผู้ชี้ทางสวรรค์และนิพพาน  ส่วนในพระราชนิพนธ์ เตภูมิกถา(ไตรภูมิพระร่วง) นั้น พระญาลิไททรงแสดงไว้ว่า ไม่เฉพาะปฐมกษัตริย์ที่เรียกว่า พระยามหาสมมติราช หรือ มหาสมมติ เท่านั้นที่มีสถานะอันศักดิ์สิทธิ์ กษัตริย์ทุกพระองค์ในโลกนี้ล้วนแต่เป็นผู้มีบุญเหมาะสมที่จะได้ฐานะเป็นผู้ นำของสังคมมนุษย์ทั้งสิ้น ยิ่งถ้าได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราชแล้ว (ซึ่งเหตุที่จะได้เป็นนั้นก็สัมพันธ์อย่างแนบสนิทกับบุญในพุทธศาสนา) จะยิ่งมีสถานภาพพิเศษในระดับอนุจักรวาลทีเดียว
“คนผู้ใดที่ได้ทำบุญแต่ก่อน คือว่าได้ปฏิบัติบูชาแก่พระศรีรัตนตรัย แลรู้จักคุณพระพุทธิเจ้า พระธรรมเจ้า แลสงฆเจ้า และให้ทานรักษาศีลเมตตาภาวนา ครั้นตายไปก็เอาตนไปเกิดในสวรรค์ ลางคาบเล่าได้เกิดเป็นท้าวเป็นพระญาผู้ใหญ่ แลมีศักดิ์มียศบริวารเป็นอเนกอนันต์ไส้ ได้ปราบทั่วทั้งจักรวาฬแล แม้ท่านว่ากล่าวถ้อยคำสิ่งใดก็ดีแล บังคับบัญชาสิ่งใดก็ดีแล เทียรย่อมชอบด้วยทรงธรรมทุกประการแล ท่านนั้นเป็นพระญา ทรงพระนามชื่อว่า พระยาจักรพรรดิราช” [6]
ดังนั้น
“ผู้ใดแลได้ไหว้นบคำรพบูชา (ธาตุของพระญามหาจักรพรรดิราช) ไส้ ผู้นั้น ผู้นั้นครั้นว่าตายไปได้เกิดในเมืองฟ้า ดุจดังไว้พระปัจเจกโพธิเจ้า พระอรหันตเจ้า อาจให้สมบัติ ๓ ประการคือ มนุษย์สมบัติ สวรรคสมบัติ นิพพานสมบัติแล ถ้าผู้ใดได้ไหว้บูชาพระญามหาจักรพรรดิราชไส้ ก็จะให้ได้สมบัติ ๒ ประการคือ มนุษย์สมบัติ แลสวรรค์สมบัติ บ่มิอาจให้นิพพานสมบัติได้ เพราะเหตุพระญามหาจักรพรรดิราชนั้นเป็นปุถุชนไส้” [7]
ความเหมือนกันระหว่าง เตภูมิกถา ของพญาลิไท กับ ไตรภูมิโลกวินิจฉยกถา ได้แก่ การเชื่อว่า “ผู้เป็นกษัตริย์คือผู้ได้บำเพ็ญบุญบารมีตามคำสอนของพุทธศาสนา”  แต่ที่แตกต่างกันคือ  เตภูมิกถา ถือว่า กษัตริย์แม้จะมีบุญญาธิการมากมายเพียงใดก็ไม่อาจช่วยให้สัตว์เข้าถึงนิพพาน สมบัติได้ ส่วน ไตรภูมิโลกวินิจฉยกถา กล่าวว่า กษัตริย์ทรงเป็นผู้ชี้ทางสวรรค์และนิพพาน การยอมรับสถานภาพอันสูงส่งของพระมหากษัตริย์นั้นปรากฏในกฎมณเฑียรบาลซึ่ง ระบุพระนามของพระองค์ไว้ว่า “สมเด็จพระรามาธิบดีบรมโตรโลกนารถมหามงกุฎเทพมนุษวิสุทธิสุริยวงษองค พุทธางกูร บรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทรงทศพีธราชธรรมถวัลราชประเวนีศรีบรมกษัตราธิราช พระบาทธำรงภูมิมณฑล สกลสีมาประชาราษฎร บรมนารถบรมบพิตร” [8] ความสำคัญนี้ปรากฏในเอกสารทางพุทธศาสนาในสมัยโบราณมาก่อนอยุธยาเป็นราชธานี
ถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาก็ได้ผนวกรวมเอาทั้งคติของพุทธศาสนาและคติของศาสนา ฮินดูไว้ด้วยกัน พระนามของพระมหากษัตริย์จึงสะท้อนทั้งทิพยภาพและธรรมราชาดังปรากฏในพระนาม ดังกล่าว เราไม่อาจทราบเจตจำนงที่แท้จริงของปราชญ์โบราณว่า เหตุใดจึงยกพระมหากษัตริย์เทียบเท่ากับพระพุทธเจ้า แต่การยกผู้ปกครองขึ้นให้มีสถานภาพพิเศษนั้น ในแง่หนึ่งก็เป็นการควบคุมอำนาจของผู้ปกครองโดยใช้แนวคิดทางศาสนาเป็น เครื่องมือ เช่น กำหนดว่าจะต้องทรงมีทศพิธราชธรรม มีพระราชกรณียกิจสำคัญคือ การทำนุบำรุงพุทธศาสนา ความเหมาะสมของผู้ปกครองต้องพิสูจน์ด้วยความสงบสุขของอาณาประชาราษฎร์และสม ณพราหมณ์ ความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ธัญญาหาร การตกต้องตามฤดูกาลของฝนฟ้าอากาศ หากไม่เช่นนั้นแล้ว พระองค์นั้นไม่เหมาะที่จะเป็นผู้ปกครอง ผู้อื่นมีสิทธิที่จะถอดพระองค์ลงจากราชบัลลังก์ได้
ข้อนี้ชี้ให้เห็นทัศนะที่ว่าอำนาจทางโลกกับทางธรรมเป็นอำนาจเดียวกันที่ แบ่งแยกมิได้ เพราะบุคคลได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินหรือผู้ปกครองถืออำนาจสูงสุดได้ก็ด้วยอำนาจ แห่งกรรมของเขาเอง เมื่อสิ้นบุญแล้วอำนาจทางธรรมย่อมทำให้เขาพ้นจากตำแหน่งไปเอง ไม่โดยวิธีใดก็โดยวิธีหนึ่ง  นอกจากนี้แม้อำนาจทางธรรมจะเป็นอำนาจใหญ่สุด แต่อำนาจธรรมไม่สามารถปรากฏให้เห็นเป็นรูปธรรมเช่นองค์กรหรือบุคคลได้ เพราะถ้าบุคคลใดหรือองค์กรใดมีอำนาจทางธรรมสูงสุด (บารมีสูงสุด) อำนาจทางโลกย่อมตกเป็นของบุคคลหรือองค์กรนั้นโดยอัตโนมัติ ฉะนั้น ภิกษุแม้จะทรงคุณแก่กล้าสักเพียงใด ก็ย่อมต้องมีอำนาจน้อยกว่าพระเจ้าแผ่นดิน เพราะภิกษุรูปนั้นย่อมมีบารมีสั่งสมมาน้อยกว่าพระเจ้าแผ่นดิน หากมีมากกว่าก็ย่อมมีเหตุต้องให้ได้กลายเป็นพระเจ้าแผ่นดินไปจนได้ การที่พระเจ้าแผ่นดินยังทรงเป็นพระเจ้าแผ่นดินอยู่ได้ จึงพิสูจน์อยู่แล้วว่าทรงมีอำนาจทางธรรมสูงสุดและจึงได้มีพระราชอำนาจสูงสุด ในทางโลกไปด้วย สถาบันพระมหากษัตริย์ของไทยจึง “ศักดิ์สิทธิ์” ทรงมีอำนาจลี้ลับ (ศักดิ์) บางอย่างที่จะจรรโลงให้โลกเป็น “ปรกติสุข” คนโบราณแสดง “ศักดิ์” เช่นนี้ด้วยเรื่องฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล พระราชพิธีเกี่ยวกับน้ำ ฝน การทำนา ฯลฯ ซึ่งปรากฏอยู่ในกฎมณเฑียรบาลครั้งอยุธยาล้วนมีรากมาจากฐานความเชื่อในเรื่อง “ศักดิ์” เช่นนี้ของพระมหากษัตริย์ทั้งสิ้น [9]
ในสมัยที่ประเทศไทยเผชิญหน้าตะวันตกก็ยังมีการผสมผสานแนวคิดใหม่กับแนว คิดของพุทธศาสนา พุทธศาสนายังถูกใช้เป็นคำอธิบายในเรื่องความจำเป็นที่ต้องมีผู้นำในการ ปกครองหมู่ชน (ประเทศ) ผู้ที่พัฒนาคำอธิบายเกี่ยวกับอำนาจของกษัตริย์ในช่วงเวลานี้ได้แก่ พระวชิรญาณภิกษุ (รัชกาลที่ ๔) สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ สมเด็จพระสังฆราช (สา) และสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส  ซึ่งล้วนแต่พยายามอธิบายอำนาจศักดิ์สิทธิ์หรือสิทธิธรรมของผู้ปกครอง โดยอาศัยแนวคิดเรื่อง กรรม บุญบารมี และคุณธรรมของพระพุทธศาสนาทั้งสิ้น สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงให้ความสำคัญต่อการมีพระมหากษัตริย์ในฐานะผู้นำของประเทศไทย โดยเปรียบเทียบว่าเป็น “เหมือนสีสะของชาติ” เป็นผู้ควบคุมกิจการต่าง ๆ ให้ดำเนินไปด้วยดี ในส่วนรัฐบาลและราษฎรเหมือนกับการที่มีศรีษะทำหน้าที่ควบคุมระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ถ้าหากขาดศรีษะแล้วร่างกายย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ เช่นเดียวกันถ้าหากขาดพระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นผู้นำของมหาชน ชนหมู่นั้นก็มิอาจตั้งอยู่ได้เช่นกัน [10]
นักรัฐศาสตร์เรียกแนวคิดทางการเมืองแบบนี้ว่า ลัทธิองค์อินทรีย์ (Organicism) แนวคิดดังกล่าวนี้ไม่แตกต่างกันกับแนวคิดของเพลโตและฮินดู ที่ยอมรับการมีระดับชนชั้นที่ไม่เท่าเทียมกันทางสังคม ในสังคมการเมืองที่ผู้ปกครองเชื่อว่าสังคมหรือรัฐหรือประเทศเปรียบได้กับ หน่วยของชีวิต (Organism) หน่วยเดียวนี้ ปัญหาเรื่องความเสมอภาค สิทธิ และเสรีภาพดูจะไม่ใช่ปัญหาสำคัญ เนื่องจากถือว่าความแตกต่างของสมาชิกทางสังคมหลีกเลี่ยงไม่ได้และเป็นสิ่งจำ เป็นด้วย ความแตกต่างทางสังคมทำให้สังคมสามารถสนองความต้องการได้หลายรูปแบบ อุดมคติของสังคมจึงไม่ใช่ทำให้ทุกคนเท่าเทียมกัน หากแต่คือการรู้จักใช้คนซึ่งมีความแตกต่างกันนั้นให้เหมาะสมแก่การงานแก่ หน้าที่ ผู้ที่จะสามามารถจัดสรรบุคคลให้เหมาะแก่หน้าที่ต่าง ๆ ได้ก็มีแต่บุคคลที่เลิศที่สุดคือผู้ปกครองเท่านั้น [11]
แนวคิดแบบนี้จะให้ความสำคัญต่อคุณสมบัติและหน้าที่ของผู้ปกครองสูง มักไม่พูดถึงคุณสมบัติของชาวบ้านหรือแทบไม่มีเลย สะท้อนถึงโลกทัศน์ของสังคมเกษตรแบบประเพณีที่วิธีการผลิตยังพึ่งพิงธรรมชาติ อยู่มาก ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองกับผู้ที่ถูกปกครองถูกตีความเข้ากับลักษณะ อย่างเป็นไปเองของธรรมชาติ   ที่เน้นความสมดุลมากกว่าความขัดแย้ง เน้นความต่อเนื่องมากกว่าความเปลี่ยนแปลง เน้นความเป็นระเบียบที่มาจากความสัมพันธ์ของสิ่งและคนตามธรรมชาติ นั่นคือเน้นความไม่เท่าเทียมกันไม่เสมอภาคกันมากกว่าความเท่าเทียมกันความ เสมอภาคกัน  เน้นหน้าที่ซึ่งเป็นของผู้ปกครองหรือผู้อยู่ในฐานะที่สูงที่จะมีต่อผู้อยู่ ในฐานะต่ำกว่า ให้ผู้ปกครองมีอภิสิทธิ์ควบคู่กันไปกับการปฏิบัติหน้าที่ ในทัศนะทางปรัชญาเช่นนี้ ความคิดและความเข้าใจเรื่อง “สิทธิ” จึงไม่ค่อยมีความสำคัญหรือความหมายเท่าไรนัก[12] ความคิดทางการเมืองที่ถูกตีความโดยผู้นำชาวพุทธและผู้ปกครองของไทยก็เช่นกัน คือ เน้นความสำคัญที่ “รัฐ” ในฐานะองค์รวมของมนุษย์  มากกว่า “ความเป็นตัวตน” ของผู้คนภายในรัฐหรืออาณาจักรเอง  
“ในความคิดและปรัชญาการเมืองดังกล่าว สิทธิและสิทธิมนุษยชนจึงไม่มีพื้นที่ในวาทกรรมการเมืองสมัยก่อนได้ ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ยังไม่ได้ถูกประดิษฐ์สร้างขึ้นมาให้เป็นวาทกรรม หนึ่งทางการเมือง มนุษย์ยังเป็นเพียงมรรคหรือหนทางสู่จุดหมายทางศาสนา . . .  การแสวงหาชีวิตที่ดีมีคุณธรรมจะได้มาต้องอาศัยรูปแบบรัฐที่ดีและผู้ปกครอง ที่มีบุญญาภินิหาร ที่จะสามารถช่วยนำพาชี้ทางสว่างให้แก่มวลมนุษย์ในสังคม” [13]
ความคิดที่ให้ความสำคัญแก่ผู้ปกครองสูงสุด โดยเชื่อว่าประเทศชาติจะไปรอดเพราะผู้นำที่มี “ทศพิธราชธรรม” หรือที่เรียกว่า “เผด็จการโดยธรรม” นี้ ยังปรากฏสืบเนื่องต่อมาจนแม้กระทั่งหลังสมัยการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็น ระบอบประชาธิปไตยโดยคณะราษฎร ดังที่ปรากฏในงานของท่านพุทธทาสภิกขุเรื่อง “ธัมมิกสังคมนิยม”  ในปัจจุบัน การแสดงธรรมเทศนาเน้นย้ำ “พระราชอำนาจ” “สถานภาพสูงส่ง” และ“คุณธรรมอันล้ำเลิศ”ของพระมหากษัตริย์ในสังคมไทย ก็ปรากฏอยู่เสมอในวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยของกรมประชาสัมพันธ์  (หรือแม้แต่ในงานเขียนเชิงวิชาการของศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัย)  การให้ความสำคัญอย่างสูงสุดแก่พระมหากษัตริย์เช่นนี้ ได้กลายเป็นวัฒนธรรมที่ฝังลึกในจิตสำนึกของคนไทย โดยที่ไม่จำเป็นต้องอาศัยบทบัญญัติทางกฎหมายใด ๆ มารองรับก็ยังได้
ดังที่นิธิ เอียวศรีวงศ์กล่าวไว้ว่า “สถาบันพระมหากษัตริย์จึงแทรก อยู่ในทุกส่วนของวัฒนธรรมของไทย จนกระทั่งเป็นการยากที่จะขาดวัฒนธรรมนี้ไป ไม่ว่าจะมีการบัญญัติไว้หรือไม่ในรัฐธรรมนูญ พระมหากษัตริย์ก็ทรงเป็นที่เคารพสักการะอันผู้ใดจะล่วงละเมิดมิได้อยู่นั่น เอง หมวดพระมหากษัตริย์ในรัฐธรรมนูญนั้นยกออกไปทั้งหมด ก็ไม่ทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์กระทบกระเทือนตรงไหน เพราะหมวดนี้อยู่ในรัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรมอย่างมั่นคงอยู่แล้ว” [14]
ที่กล่าวมานี้ไม่ได้หมายความว่า หลักคำสอนของพุทธศาสนาเองไม่เปิดช่องให้กับความคิดเรื่อง สิทธิ เสรีภาพ ความไม่เท่าเทียมกันของปัจเจกบุคคล หรือ ความยุติธรรมตามทฤษฎีการเมืองสังคมสมัยใหม่ งานร่วมสมัยจำนวนมากได้พยายามแสดงให้เห็นว่า หลักสิทธิ เสรีภาพ หรือสิทธิมนุษยชนนั้นไม่ได้ขัดกับหลักการของพุทธศาสนาเลย [15] แต่หลักปกครองของพุทธศาสนาที่พัฒนาขึ้นในสังคมไทยต่างหาก ที่แทบไม่มีช่องว่างให้กับสิทธิเสรีภาพของประชาชนพลเมือง เมื่อสังคมไทยได้จัดวางอำนาจทางสังคมระหว่างผู้ปกครองกับประชาชนไว้ในลักษณะ ที่แม้จะยอมรับหลักการว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน แต่รัฐธรรมนูญทุกฉบับก็ไม่ได้บัญญัติให้ประชาชนเป็นผู้ใช้อำนาจนั้น ผู้ใช้เป็นพระมหากษัตริย์ ดังนั้น การบริหารรัฐกิจ การนิติบัญญัติ และการตุลาการ จึงมิใช่การใช้อำนาจของประชาชน แต่เป็นการแสดงออกถึงพระราชอำนาจ อำนาจของประชาชนได้ถูกทำให้หายไปพร้อมกับการสถาปนาอำนาจกษัตริย์ผ่านคัมภีร์ พุทธศาสนาตั้งแต่ยุคเริ่มแรกของประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้ว
ลักษณะความคิดเช่นนี้ย่อมไม่เอื้อต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย เนื่องจากอำนาจของประชาชนได้ถูกทำให้หายไปจากพื้นที่ของสังคมที่ยกให้สถาบัน กษัตริย์เป็นเจ้าของแผ่นดิน และชาติก็ได้กลายเป็นพื้นที่ที่ไม่มีประชาชน การพยายามมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน เช่น การเคลื่อนไหวทางการเมืองโดยประชาชนพลเมืองจากชายขอบประเทศ ชายขอบของสังคม ได้ถูกกีดกัน บังคับ หรือแม้กระทั่งถูกทำให้กลายเป็นการก่อความไม่สงบ การไม่รักชาติ หรือการทำลายความมั่นคงของชาติ
การจัดวางอำนาจไว้ในลักษณะดังกล่าวนี้ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ง่าย เพราะได้กลายเป็นวัฒนธรรมที่ฝังลึกในสังคมไทยมานานแล้ว และยิ่งถูกเน้นย้ำให้หนักขึ้นกว่าเดิมในปัจจุบันโดยบรรดาผู้รู้ฆราวาสใน มหาวิทยาลัยที่ขึ้นมาทำหน้าที่แทนพระสงฆ์ในพุทธศาสนา ซึ่งนับวันจะถูกทำให้มีฐานะศักดิ์สิทธิ์น้อยลงเรื่อย ๆ
ความเที่ยงธรรมในการใช้อำนาจในสังคมไทยตามระบอบประชาธิปไตย จึงไม่ค่อยปรากฏให้เห็น แม้แต่ในสำนึกของประชาชนทั่วไป อำนาจของ “ผู้ใหญ่” หรือ “เจ้านาย” จะเป็นอำนาจที่ถูกอธิบายด้วยเรื่อง “กรรม” หรือ “บารมี” ที่สูงส่งกว่า และต้องยอมสยบตามเสมอ แม้คณะราษฎรจะพยายามเปลี่ยนแปลงการปกครองทำให้อำนาจของประชาชนขึ้นมาอยู่ “เหนือ” อำนาจทั้งปวงในสังคม พยายามจะกลับหัวกลับหางอำนาจเสียใหม่โดยการจัดวางรูปแบบการปกครองเสียใหม่ แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร การปรับเปลี่ยนอำนาจใหม่ไม่สามารถจะดำเนินการโดยสะดวก เพราะนอกจากจะเผชิญกับอำนาจเดิมที่ลุกขึ้นมาโต้อภิวัฒน์ ยังต้องเผชิญกับจิตสำนึกแบบเจ้าผู้ปกครองคือ “เจ้าแผ่นดิน” ซึ่งทำให้การสร้างจิตสำนึกแบบใหม่เกี่ยวกับอำนาจในสังคมไทยไม่ประสบผลสำเร็จ ทั้งนี้เห็นได้จากการปฏิวัติที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าในประวัติศาสตร์การ เมืองไทยสมัยใหม่ รวมทั้งเนื้อหาสาระในรัฐธรรมนูญฉบับต่าง ๆ กระแสความคิดที่ให้อำนาจศูนย์กลางไว้ที่ผู้ปกครองยังคงเป็นสาระสำคัญของระบบ กฎหมายของไทยและการตีความกฎหมาย อย่างเช่น ที่ปรากฎในการวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับมาตรา 112 เมื่อเร็ว ๆ นี้
ผู้เขียนคิดว่าสาเหตุที่คณะราษฎรและสังคมไทยไม่ประสบผลสำเร็จในการปรับ เปลี่ยนสำนึกเกี่ยวกับอำนาจใหม่ของสังคมนั้น เพราะอำนาจทางสังคมที่ถูกจัดวางไว้ในประวัติศาสตร์อันยาวนานของการปกครองของ ไทยนั้นวางอยู่บนฐานความเชื่อทางพุทธศาสนาที่ยก “อำนาจอันศักดิ์สิทธิ์” ขึ้นเป็นของกษัตริย์ ซึ่งสืบทอดกันมาในสังคมไทยอย่างมีพลังโดยชนชั้นปกครองและพระสงฆ์ในพุทธศาสนา รวมทั้งปฏิบัติการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในเวลาต่อมาโดยอาศัยกรอบคิดเหล่านี้เป็นฐานสำคัญ ข้อนี้ย่อมแสดงให้เห็นอิทธิพลพุทธศาสนาที่มีต่อวัฒนธรรมการเมืองการปกครอง ของไทยนับแต่อดีตจนปัจจุบัน
ตราบเท่าที่การจัดวางอำนาจไว้ในลักษณะดังกล่าวนี้ยังได้รับการสนับสนุน จากสถาบันพุทธศาสนา ตราบใดที่พุทธศาสนาในสังคมไทยไม่ปรับเปลี่ยนแนวคิดเกี่ยวกับอำนาจศูนย์กลาง ทางสังคมของตน ให้สอดคล้องกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และตราบใด กรอบคิดเรื่องความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่สถาบันสงฆ์ยึดถือยู่ ยังไม่ถูกปรับให้สอดคล้องกับมโนทัศน์เรื่องอำนาจตามระบอบประชาธิปไตย ซึ่งให้ความสำคัญต่ออำนาจที่เท่าเทียมกันของประชาชนในสังคม การที่พุทธศาสนาจะมีบทบาทในการสร้างสังคมประชาธิปไตยย่อมเป็นไปได้ยาก กล่าวอีกนัยหนึ่ง มโนทัศน์เชิงอำนาจที่สวมอยู่นั้นย่อมปิดบัง “วิสัยทัศน์” ที่จะช่วยให้พระสงฆ์คิดคำนึงถึงบทบาทของตนในสังคมประชาธิปไตยได้อย่างสอด คล้องกับระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง
พุทธศาสนาก็จึงอาจกลายเป็นอุปสรรคอย่างหนึ่งของการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยในสังคมไทย
รายการอ้างอิง
[1] องค์การค้าคุรุสภา. “พงศาวดารเมืองเงินยางเชียงแสน” ใน ประชุมพงศาวดาร เล่ม ๓๓ และ ๓๔ (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๕๙-๖๑). พระนคร : องค์การค้าของคุรุสภา, 2512.
[2] อ้างใน ชัยอนันต์ สมุทวณิช. มปป. แนวคิดทางการเมืองไทยสมัยโบราณ. กรุงเทพฯ : แผนกรัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. มปป.หน้า ๑๐๑-๑๐๓
[3] อ้างใน ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ. ความคิดทางการเมืองไพร่กระฎุมพีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน, 2549. หน้า ๑๐๙.
[4] กรมศิลปากร. พระสังฆราชเมธังกร โลกทีปกสาร. น.อ.(พิเศษ) แย้ม ประพัฒน์ทอง แปล. กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, ๒๕๒๙. หน้า ๑๖๒-๑๖๓.
[5] กรมศิลปากร กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์.วรรณกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ เล่ม ๒. (ไตรภูมิโลกวินิจฉยกถา). กรุงเทพฯ : บริษัท เอดิสัน เพรส โปรดักส์ จำกัด, ๒๕๓๕ หน้า ๕๖
[6] ไตรภูมิพระร่วงของพระญาลิไทย. กรุงเทพฯ : องค์การค้าคุรุสภา, 2506. หน้า 94
[7] เรื่องเดียวกัน, หน้า 114
[8] อ้างใน วรพร ภู่พงศ์พันธุ์. กฎมณเฑียรบาลในฐานะหลักฐานประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยาถึง พ.ศ. ๒๓๔๘. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549. หน้า 100.
[9] นิธิ เอียวศรีวงศ์. ชาติไทย, เมืองไทย, แบบเรียนและอนุสาวรีย์. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน, 2547. หน้า  ๑๓๐-๑๓๘.
[10]พลศักดิ์ จิรไกรศิริ. “รายงานวิจัยเรื่อง ความเชื่อทางการเมืองของพระสงฆ์ไทย” วารสารพุทธศาสน์ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ๑,๒. (พฤษภาคม –สิงหาคม 2537) : ๘๔-๙๕.
[11] สมภาร  พรมทา. ปรัชญาสังคมและการเมือง. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,๒๕๓๘. หน้า ๓๓-๔๐)
[12] ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ.อ้างแล้ว, หน้า 5-6
[13] เรื่องเดียวกัน, หน้า ๗๙
[14] นิธิ เอียวศรีวงศ์. อ้างแล้ว, หน้า 128.
[15] ดู เสน่ห์ จามริก. พุทธศาสนากับสิทธิมนุษยชน. กรุงเทพฯ : โครงการจัดพิมพ์คบไฟ, 2543. และวีระ  สมบูรณ์. ธรรมะกับการเมืองของพุทธทาสภิกขุ. กรุงเทพฯ : ประพันธ์สาส์น, 2550.

เลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ปี 2012

ที่มา ประชาไท



ในช่วงปลายเดือนตุลาคมจนถึงต้นเดือนพฤศจิกายนนี้ผมได้รับเชิญจากรัฐบาล สหรัฐอเมริกาให้ไปสังเกตการณ์การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาประจำปี 2012 ที่จะมีขึ้นในวันที่ 6 พฤศจิกายนนี้ ในฐานะนักวิชาการ(ที่ต้องระบุว่าในฐานะนักวิชาการก็เพราะเดี๋ยวจะมีปัญหา เหมือนกรณีคณะของรัฐสภาไทยที่ไปอังกฤษเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมาน่ะ ครับ)โดยตระเวนไปตามเมืองต่างๆที่สำคัญๆ ผมจึงถือโอกาสเขียนถึงกระบวนการการเลือกตั้งประธานาธิบดีและข่าวสารในแง่มุม ต่างๆต่อผู้อ่านจนกว่าจะได้รู้ว่าใครจะเป็นผู้ชนะระหว่างโอบามากับกับมิตต์ รอมนีย์
ระบบการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกานั้น มีขั้นตอนที่ยุ่งยากพอสมควร แม้แต่ชาวอเมริกันเองบางคนก็ยังงงๆ อยู่เหมือนกัน เมื่อถูกขอให้อธิบายระบบการเลือกตั้งประธานาธิบดีของเขา แต่ที่แน่ๆ ก็คือ คนทุกอาชีพที่สุจริต มีโอกาสได้เป็นประธานาธิบดี ตัวอย่างเช่น
นายแบบ-เจอร์รัลด์ ฟอร์ด ,คนเก็บขยะ-ลินดอน จอห์นสัน, นักธรณีวิทยา-เฮอร์เบิร์ต ฮูเวอร์ ,คนงานบนเรือเฟอร์รี-เจมส์ การ์ฟิลด์, นักสำรวจ-จอร์จ วอชิงตัน} นักแสดง-โรนัลด์ เรแกน ,ชาวไร่ชาวนา เช่น มิลเลิร์ด ฟิลมอร์ อับราฮัม ลินคอล์น ยูลิซิส เอส แกรนท์ เบนจามิน แฮริสันวอร์เรน ฮาร์ดิง แคลวิน คูลลิดจ์ แฮร์รี ทรูแมน และจิมมี คาร์เตอร์ หรือแม้กระทั่งคนผิวสีลูกครึ่งมุสลิมชาวเคนยาอย่างประธานาธิบดีบารัก โอบามา ก็มีโอกาสเป็นประธานาธิบดีด้วยเช่นกัน
คุณสมบัติของผู้สมัครประธานาธิบดี
รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ว่า ต้องอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับสัญชาติอเมริกันโดยกำเนิด (โรบินฮู้ดหรือคนไทยที่อพยพแล้วได้สัญชาติอเมริกันภายหลังนั้นหมดสิทธิ) อาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกามาไม่น้อยกว่า 14 ปี ไม่เคยเป็นประธานาธิบดีมาแล้ว 2 สมัยติดต่อกัน ฯลฯ
ขั้นตอนการหยั่งเสียง ปัจจุบันมี 3 วิธี คือ
1) primary ซึ่งหมายถึง การจัดการเลือกตั้งขั้นต้นขึ้นในมลรัฐ วิธีการแบบ primary นี้คนเสื้อแดงโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เชียงใหม่พยายามนำเสนอต่อพรรคเพื่อไทยให้ นำมาใช้ในการคัดเลือกตัวผู้สมัคร แต่ก็ยังไม่เป็นผล แต่อนาคตข้างหน้าก็อาจจะเป็นจริงได้หากพรรคเพื่อไทยเห็นความจำเป็น(เพราะ ปัจจุบันนี้แต่ละฝ่ายต่างอ้างว่าเป็นตัวแทนของพรรคจนชาวบ้านสับสนไปหมดแล้ว ว่าตกลงว่าอย่างไรกันแน่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเมืองระดับท้องถิ่น)
2) caucus คือ การประชุมกลุ่มย่อยของสมาชิกพรรคในแต่ละระดับ ตั้งแต่หน่วยเล็กสุดขึ้นมา เพื่อเสนอความคิดเห็น
3) state-covention ที่หมายถึง การประชุมใหญ่ของพรรคในระดับมลรัฐ เพื่อคัดเลือกผู้ที่ได้รับคะแนนนิยมสูงสุดเป็นตัวแทนพรรค
จาก 1 ใน 3 วิธีข้างต้น จะทำให้ได้ผู้แทน หรือที่เรียกว่า delegates จำนวนหนึ่ง เพื่อเข้าสู่กระบวนการเลือกจากที่ประชุมใหญ่ของพรรค (National Convention) ให้เหลือตัวแทนพรรคเพียงคนเดียว ถ้าสามารถเลือกผู้แข่งขันได้ในครั้งแรกของการประชุมพรรค จะเรียกว่า first ballot victory
การลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง
ตามรัฐธรรมนูญกำหนดให้ "วันอังคารหลังวันจันทร์แรกของเดือนพฤศจิกายนของปีที่มีการเลือกตั้ง"(วัน อังคารแรกอย่างเดียวยังไม่ได้นะครับต้องหลังวันจันทร์แรกเท่านั้น) เป็นวันลงคะแนนเสียงสำหรับผู้ที่ได้ลงทะเบียนไว้แล้วในเขตเลือกตั้งของตน ซึ่งครั้งนี้ตรงกับวันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน 2555 โดยคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้มีสิทธิเลือกตั้งก็คือ มีอายุครบ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป มีสัญชาติอเมริกัน มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตเลือกตั้งนั้นๆ ฯลฯ
สหรัฐอเมริกาไม่มี กกต.แบบบ้านเรา ผู้ทำหน้าที่ดำเนินการเลือกตั้งในทุกระดับคือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ รัยกว่า County และไม่มีการจัดทำบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ดังนั้น ประชาชนจะต้องลงทะเบียนก่อนจึงจะมีสิทธิเลือกตั้ง โดยจะลงทะเบียนในพื้นที่ที่ตนพำนักอยู่ หากย้ายที่อยู่ใหม่ก็ต้องลงทะเบียนใหม่ ในกฎหมายการขึ้นทะเบียนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั่วประเทศ ปี 1993(National Voter Registration Act,1993)ช่วยให้ประชาชนสามารถลงทะเบียนเพื่อออกเสียงเลือกตั้งได้ทุกครั้ง ที่ต่อใบอนุญาตขับขี่ที่รัฐออกให้อีกด้วย
ในสหรัฐอเมริกามีอุปกรณ์ลงคะแนนเลือกตั้งหลายแบบ และลักษณะของเทคโนโลยีการลงคะแนนก็เปลี่ยนไปตลอดเวลา ปัจจุบันนี้มีเพียงไม่กี่แห่งที่ยังมีการลงคะแนนเสียงด้วยการใช้บัตรกระดาษ ลงคะแนนที่ต้องทำเครื่องหมายกากบาทข้างชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งอย่างที่เคย ทำในอดีต อย่างไรก็ตามในปัจจุบันที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ก็ยังใช้บัตรกระดาษที่มีการ ระบายทึบ จากนั้นนำไปสแกนเพื่อบันทึกการลงคะแนนเสียง  ซึ่งแนวโน้มในปัจจุบันก็คือการใช้เครื่อง Direct Recording Electronic(DRE) ซึ่งเป็นเครื่องที่มีจอสัมผัสที่คล้ายกับเครื่องมือที่ใช้ในธนาคาร ซึ่งเมื่อ 4 ปีก่อนตอนที่ผมไปสังเกตการณ์ก็เริ่มมีการใช้บ้างแล้ว
ผลการเลือกตั้ง
จะมี 2 แบบ เรียกว่า popular vote กับ electoral vote เพราะการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกานั้นมิใช่การเลือกตั้งโดยตรง แต่ประชาชนจะไปเลือกผู้แทนของเขา (popular vote) เพื่อไปเลือกตั้งประธานาธิบดี (electoral vote) อีกทีหนึ่ง การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา จึงเป็นการเลือกตั้งโดยอ้อม คนที่ได้เป็นประธานาธิบดีจะต้องชนะในส่วนของ electoral vote โดยคณะผู้เลือกตั้ง (electoral college) จะมีจำนวนเท่ากับจำนวนผู้แทนราษฎรรวมกับจำนวนวุฒิสมาชิกในมลรัฐของตน ที่มีอยู่ในสภาคองเกรสของสหรัฐอเมริกา ซึ่งก็ยังเป็นประเด็นอยู่ว่าปัจจุบันนี้การสื่อสารคมนาคมทันสมัยแล้วแต่ อเมริกาก็ยังไม่ยอมเลิกวิธีการนี้
ประเด็นสำคัญที่ต้องเข้าใจเกี่ยวกับการเลือกตั้งที่ใช้คณะผู้เลือกตั้ง นี้ คือ กติกาที่ว่า ผู้ชนะได้ไปทั้งหมด (winner-take-all) ซึ่งหมายความว่า ผู้สมัครที่ได้รับคะแนนเสียงส่วนมากจากประชาชนในมลรัฐ ก็จะได้คะแนนจากคณะผู้เลือกตั้งไปทั้งหมด ดังนั้น มลรัฐที่มีจำนวนคณะผู้เลือกตั้งมากๆ ก็จะเป็นเป้าหมายสำคัญของผู้สมัคร เช่น แคลิฟอร์เนีย (55) เท็กซัส (34) นิวยอร์ก (31) ฟลอริดา (27) เพนซิลวาเนีย (21) เป็นต้น
ซึ่งก็มีหลายครั้งที่คนชนะ popular vote แต่ไปแพ้ electoral vote ก็อดเป็นประธานาธิบดี เช่น แอนดรู แจ็กสัน แพ้ต่อ จอห์น อดัมส์, แซมมวล ทิลเดน แพ้ต่อ รูเธอฟอร์ด เฮย์ กริฟเวอร์ คลีฟแลนด์ แพ้ต่อ เบนจามิน แฮริสัน และล่าสุดก็คือ อัล กอร์ ก็แพ้ต่ออดีตประธานาธิบดี จอร์จ บุช จนมีเรื่องมีราวไปถึงศาลสูง (supreme court) นั่นเอง
การรับตำแหน่ง
การรับตำแหน่งของประธานาธิบดีคนใหม่ จะรับตำแหน่งในวันที่ 20 มกราคมของปีถัดไป โดยประธานาธิบดีคนเก่าจะอยู่ในตำแหน่งจนถึงเวลาเที่ยงตรงของวันที่ 20 มกราคม
ที่กล่าวมาพอสังเขปนี้คงพอทำความเข้าใจในเบื้องต้นของการเลือก ตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาได้บ้าง อย่างน้อยก็สามารถติดตามข่าวสารการเลือกตั้งได้อย่างมีรสชาตินะครับ
------------------
หมายเหตุ เผยแพร่ครั้งแรกในกรุงเทพธุรกิจฉบับประจำวันพุธที่ 17 ตุลาคม 2555

สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ: เรื่องของคนเดือนตุลา

ที่มา ประชาไท



อาจจะให้ความหมายได้ว่า “คนเดือนตุลา” คือ คนกลุ่มหนึ่งที่มีประสบการณ์ร่วมกัน คือเคยผ่านการเคลื่อนไหวทางการเมืองในสมัย 14 ตุลา 2516 จนถึง6ตุลา 2519 และปัจจุบัน หลายคนก็ยังมีบทบาทอยู่ แม้ว่าจะเป็นที่กล่าวถึงมากเท่าในระยะก่อนหน้านี้ก็ตาม
 
และที่น่าสนใจคือ คนเดือนตุลาที่ในอดีตอาจจะเคยมีอุดมการณ์สังคมนิยมแบบเดียวกัน และเคยต่อสู้ร่วมกันมา แต่ในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา คนเดือนตุลาแตกออกเป็นสองฝ่ายอย่างชัดเจน หลายคน เช่น ธีรยุทธ บุญมี  สุรชัย จันทิมาธร พลเดช ปิ่นประทีป ประสาร มฤคพิทักษ์ ชัยวัฒน์ สุรวิชัย ประยูร อัครบวร เป็นต้น อยู่กับฝ่ายที่โน้มไปทางเสื้อเหลือง สนับสนุนสถาบันหลัก และต่อต้านคนเสื้อแดง อีกส่วนหนึ่ง เช่น จาตุรนต์ ฉายแสง สุธรรม แสงประทุม เหวง โตจิระการ พรหมินทร์ เลิศสุริยเดช อดิสร เพียงเกษ และ วิสา คัญทัพ เป็นต้น ยืนอยู่กับฝ่ายทักษิณ และโน้มไปทางคนเสื้อแดง
 
ความเป็นมาและบทบาทของคนเดือนตุลานั้น ได้มีผู้ที่ศึกษาอย่างจริงจัง และทำเป็นงานวิจัยฉบับใหญ่ คือ กนกรัตน์ เลิศชูสกุล .ในชื่อเรื่องว่า “การเติบโตของคนเดือนตุลา: อำนาจและความขัดแย้งของอดีตนักกิจกรรมปีกซ้ายในการเมืองไทยสมัยใหม่” (The Rise of the Octobrists: Power and Conflict among Former Left Wing Student Activists in Contemporary Thai Politics) เสนอต่อวิทยาลัยเศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์แห่งลอนดอน ซึ่งถือเป็นงานที่น่าสนใจมาก เพียงแต่งานชิ้นนี้ยังเป็นภาษาอังกฤษ
 
ในงานวิจัยนี้ กนกรัตน์ได้อธิบายว่า กลุ่มคนเดือนตุลาเริ่มมีบทบาททางสังคมและการเมืองอย่างชัดเจนมาตั้งแต่หลัง พ.ศ.2530 โดยมีบทบาททั้งในภาคการเมืองรัฐสภา ภาคธุรกิจ และภาคสังคม และมีกลุ่มคนเดือนตุลาบางส่วนกลับเข้ามามีบทบาทในช่วงเปลี่ยนผ่านทางการ เมือง เช่น กรณีพฤษภาประชาธรรม พ.ศ.2535 ซึ่งเป็นการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของกลุ่มชนชั้นกลางในเมือง และนำมาสู่การผลักดันการปฏิรูปการเมือง ต่อมา ในช่วงที่พรรคไทยรักไทยเริ่มก่อร่างสร้างพรรค กลุ่มคนเดือนตุลาส่วนหนึ่งก็ได้เข้าร่วมผลักดัน และมีบทบาทอย่างมากในช่วงรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร แต่เมื่อเกิดการต่อต้านรัฐบาลทักษิณเมื่อ พ.ศ.2549 คนเดือนตุลาจึงได้แยกข้าง และได้มีบทบาทในการสร้างวาทกรรมแห่งเหตุผลเพื่อยืนยันในหลักการของฝ่ายตนเอง พร้อมกับโจมตีคนเดือนตุลาที่อยู่กับอีกฝ่ายหนึ่ง
 
ในงานวิจัยนี้ ได้อธิบายต่อไปว่า กลุ่มคนเดือนตุลา เคยมีบทบาทสำคัญตั้งแต่ในในยุคของขบวนการนักศึกษา เป็นผู้รับและเผยแพร่อุดมการณ์แบบสังคมนิยม และมีบทบาทในการต่อสู้หลังเหตุการณ์ 6 ตุลา พ.ศ.2519 ด้วยการเข้าป่าจับอาวุธร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ต่อมา หลัง พ.ศ.2525ขบวนการฝ่ายซ้ายล่มสลาย แต่กลุ่มคนเดือนตุลาก็ยังสามารถรักษาบทบาท และขยายบทบาทในสังคม ส่วนหนึ่งก็มาจากการให้ความหมายและตีความประวัติศาสตร์เดือนตุลาใหม่ โดยการอธิบายให้เห็นว่า การต่อสู้ ของขบวนการเดือนตุลา เป็นการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ลดวาทกรรมของแนวทางแบบซ้ายปฏิวัติสังคม และเล่าเรื่อง 6 ตุลาในฐานะของเหยื่อที่ถูกปราบปรามด้วยความรุนแรงอย่างไม่เป็นธรรม วีรชนเดือนตุลาจึงเป็นวีรชนประชาธิปไตย ที่เสียสละเพราะต่อต้านเผด็จการ ด้วยการอธิบายในลักษณะนี้จึงประสานเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยตั้งแต่ หลัง พ.ศ.2520 ที่มีการพัฒนาไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยมากยิ่งขึ้น และการพัฒนาของประชาธิปไตยนี้เอง กลายเป็นโอกาสทางการเมืองแบบใหม่ของเหล่าคนเดือนตุลาด้วย
 
การที่คนเดือนตุลาซึ่งพ่ายแพ้ในการปฏิวัติพร้อมกับพรรคคอมมิวนิสต์ แต่ยังสามารถที่จะกลับมาสร้างที่ยืนในสังคมและมีบทบาทอันสำคัญในทางการเมือง และสังคมได้ เพราะคนเดือนตุลามีความสามารถอันพิเศษ ที่คนกลุ่มอื่นไม่มี และเป็นที่ต้องการของกลุ่มพลังทั้งหลาย นั่นคือ คนเดือนตุลามีความเข้าใจการเมืองของชนชั้นนำ และสามารถทำงานกับคนยากจนที่เป็นรากหญ้าได้ ในทางการเมือง ทุกพรรคการเมืองขณะนั้นก็ต้องการบุคลากรที่เข้าถึงประชาชนชั้นล่าง คนเดือนตุลาจึงสามารถที่จะเข้าไปมีบทบาทในพรรคการเมืองทุกพรรคและกลายเป็น นักการเมืองที่มีบทบาทหลายคน ในส่วนนอกรัฐสภา การขยายตัวของธุรกิจสมัยใหม่ การเติบโตของหนังสือพิมพ์ และการขยายตัวขององค์กรพัฒนาเอกชน หรือ เอ็นจีโอ. ก็ได้สร้างพื้นที่ให้คนเดือนตุลาเข้าไปทำงาน และกลายเป็นที่ยอมรับอย่างมาก รวมทั้งการที่คนเดือนตุลาอีกส่วนหนึ่ง ได้เข้ามาเป็นนักวิชาการและกลายเป็นนักวิชาการชั้นแนวหน้าที่มีบทบาทสำคัญ กลุ่มคนเดือนตุลาจึงกลายเป็นข้อต่อสำคัญอันหนึ่งในสังคมระหว่างภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคธุรกิจเอกชนและประชาชนชั้นล่าง และภายใต้การขยายบทบาทเช่นนี้ คนเดือนตุลาได้สร้างสิ่งสำคัญขึ้นใหม่นั่นคือ “เครือข่าย” ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไป การเป็นเครือข่ายของคนเดือนตุลากลับมีความสำคัญมากไปกว่าอุดมการณ์ร่วม ซึ่งมีความหมายลดลงทุกที
 
แต่ในที่สุด เมื่อเกิดวิกฤตไทยรักไทย ความขัดแย้งในกลุ่มคนเดือนตุลาก็เห็นได้ชัด กนกรัตน์ได้อธิบายให้เห็นว่า ความขัดแย้งในกลุ่มคนเดือนตุลาไม่ใช่เรื่องใหม่ หากแด่มีมาตั้งแต่ต้น ความเป็นคนเดือนตุลา เป็นเพียงความผูกพันแบบหลวม ที่มีความแตกต่างหลากหลายอย่างมาก เพราะการจัดตั้งอันเข้มแข็งสิ้นสุดไปตั้งแต่การสลายของขบวนการคอมมิวนิสต์ แต่ความขัดแย้งของคนเดือนตุลาก่อนหน้านี้ อาจจะประนีประนอมกันได้ เพราะสถานการณ์ยังไม่แหลมคม แต่เป็นที่สังเกตว่า ตั้งแต่เมื่อพรรคไทยรักไทยเป็นรัฐบาล ความขัดแย้งระหว่างคนเดือนตุลาในภาครัฐและนอกภาครัฐ เริ่มเห็นได้ชัดเจนแล้ว เพราะสภาพของความจำเป็นในการประนีประนอมหมดสิ้นไป และเมื่อหลังรัฐประหารกันยายน พ.ศ.2549 ความขัดแย้งของกลุ่มคนเดือนตุลาสองฝ่าย ก็ถึงจุดแตกหักที่ประนีประนอมกันไม่ได้
 
สรุปแล้ว งานของกนกรัตน์ เลิศชูสกุล เรื่องนี้ น่าจะเป็นเรื่องที่อธิบายวิเคราะห์คนเดือนตุลาได้ละเอียด ชัดเจนที่สุด แม้ว่าอาจจะมีมุมมองหลายอย่างที่ยังมีความไม่สมบูรณ์ หรือเป็นที่โต้แย้งได้ เช่น ยังไม่อธิบายชัดเจนถึงการเสื่อมสลายทางอุดมการณ์ที่ทำให้คนเดือนตุลาจำนวน หนึ่งกลายเป็นกลุ่มนิยมเจ้า เป็นต้น แต่งานชินนี้ ก็มีความน่าสนใจในตัวเอง และมีส่วนสำคัญที่จะทำให้ภาพทางการเมืองสมัยใหม่ในระยะ 36 ปีหลัง 6 ตุลา มีความชัดเจนมากขึ้น
 
 
 

สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ
 
 
 
ที่มา : นิตยสารโลกวันนี้วันสุข ปีที่ 8 ฉบับที่ 382 วันที่20 ตุลาคม พ.ศ.2555

ประมวลภาพจากพนมเปญ ในห้วงยามแห่งพิธีพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ

ที่มา ประชาไท

 

ร่วมงานสวดอภิธรรมพระศพกษัตริย์สีหนุที่ปอยเปตกัมพูชา

เจ้าของร้านกระจกในย่านการค้ากลางกรุงพนมเปญ เร่งทำกรอบรูปพระบรมฉายาลักษณ์วีรกษัตริย์สีหนุจำนวนมากตามที่ลูกค้าสั่ง (ภาพ : สงวน คุ้มรุ่งโรจน์)
ลดธงครึ่งเสา (ภาพ : สงวน คุ้มรุ่งโรจน์)



บรรยากาศหน้าพระราชวัง ในพนมเปญ (ภาพ : สงวน คุ้มรุ่งโรจน์)


นักศึกษาเขมรมากันเป็นกลุ่ม เพื่อคารวะพระบรมศพกษัตริย์สีหนุหน้าพระราชวังกรุงพนมเปญ
(ภาพ : สงวน คุ้มรุ่งโรจน์)

ทีวีเขมรฉายย้ำหลายรอบ ภายหลัง พ.ศ.2505 ศาลโลกตัดสินให้ปราสาทเขาวิหารเป็นของเขมรแล้ว กษัตริย์สีหนุเสด็จเยี่ยมชมปราสาทเขาพระวิหาร (ภาพ : สงวน คุ้มรุ่งโรจน์)
ที่พนมเปญ นอกจากมีทีวีท้องถิ่นภาษาเขมรอยู่หลายช่องแล้ว ยังมีช่องภาษาฝรั่งเศส และช่องภาษาจีนแต้จิ๋ว ซึ่งออกอากาศงิ้วแต้จิ๋วตลอดวัน เพราะคนจีนในพนมเปญส่วนใหญ่เป็นคนแต้จิ๋วเหมือนคนไทยเชื้อสายจีนในกรุงเทพฯ แต่ที่น่าแปลกใจก็คือ ที่นั่นไม่มีเทศกาลกินเจเลย !!!!
นสพ.ภาษาจีนกัมพูชา-ซินจิวยิดเป้า (ภาพ : สงวน คุ้มรุ่งโรจน์)
นสพ.ภาษาจีนกัมพูชา-ซินจิวยิดเป้าที่มาเลเซียพาดหัวหน้าหนึ่ง : ผู้เชี่ยวชาญจีนเตรียมช่วยเหลือทางเทคนิควิทยาศาสตร์ ให้พระศพของกษัตริย์สีหนุอยู่ในสภาพไม่เน่าเปื่อย เพื่อให้พสกนิกรสักการะบูชา เช่นเดียวกับศพของประธานเหมาเจ๋อตงที่อสัญกรรมตั้งแต่ ค.ศ.1976 (พ.ศ.2519) แต่ปัจจุบันสภาพศพยังสมบูรณ์ดีมาก

หน้าหนึ่งของ นสพ.ภาษาอังกฤษรายวันที่ออกในกรุงพนมเปญเช้าวันที่ 19 ต.ค.55 (ภาพ : สงวน คุ้มรุ่งโรจน์)
นสพ.ภาษาจีน 'เจี่ยนหัว' (ภาพ : สงวน คุ้มรุ่งโรจน์)
นสพ.ภาษาจีน 'เจี่ยนหัว' (กัมพูชาเชื้อสายจีน) นอกจากพาดหัว ไต้ปิ่งกว๋อ มนตรีแห่งรัฐจีนเข้าพบ ฮุนเซน และฮอนัมฮง เพื่อย้ำความสัมพันธ์ของสองประเทศแล้ว มุมขวาเป็นข่าวนายกยิ่งลักษณ์โทรศัพท์ถึงฮุนเซนเพื่อ 'ดับไฟ' กรณีที่เกิดกับนักข่าวสาวไทย
ภาพหายากที่ขายดีที่สุดในเขมรตอนนี้ พระมหากษัตริย์สีหนุ (ขวา) กับพระราชินีโมนิก ภาพกลางคือพระราชโอรสสีหโมนี กษัตริย์องค์ปัจจุบันของกัมพูชา (ภาพ : สงวน คุ้มรุ่งโรจน์)

พบกับ สมเด็จกรมพระนโรดม รณฤทธิ์ ที่ Almond Hotel ในพนมเปญ พระองค์ได้ยุติบทบาททางการเมืองแล้ว และยังจำผมได้ ขณะที่ในโรงแรมไม่มีใครทักทายกับพระองค์เลย

บะหมี่เกี๊ยวกวางตุ้งขนานแท้ที่ผมอุดหนุนมาตั้งแต่ยังเป็นนักข่าวประจำ กรุงพนมเปญเมื่อ 20 กว่าปีที่แล้ว นับว่าเป็นเจ้าอร่อยที่สุดสำหรับผม แม้ว่าปัจจุบันจะตกราคาชามละ 40-50 บาทแล้วก็ตาม (ภาพ : สงวน คุ้มรุ่งโรจน์)

ยิ่งลักษณ์ร่วมพิธีพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ ยันสัมพันธ์ไม่กระทบกระเทือน

ที่มา ประชาไท


ชาวเน็ตกัมพูชาพอใจนายกไทยร่วมพิธีพระบรมศพ ขณะยิ่งลักษณ์เผยยืนยันกับนายกรัฐมนตรีกัมพูชาด้วยความจริงใจในการแก้ไข สถานการณ์ ระบุฝ่ายกัมพูชาเข้าใจดีว่าเป็นเรื่องกลุ่มบุคคลที่ไม่หวังดี ต้องให้เกิดความกระทบกระเทือนต่อความสัมพันธ์ของสองประเทศ และประเด็นดังกล่าวไม่กระทบความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกัมพูชา
เดลินิวส์รายงาน ว่า วันนี้ (19 ต.ค.) ที่ท่าอาศยานทหารอากาศ กองบิน 6  น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายรัฐมนตรี พร้อมคณะ กล่าวภายหลังเดินทางกลับจากประเทศกัมพูชา เพื่อร่วมงานพระราชพิธีพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ ว่า ได้เข้าเยี่ยมสมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา โดยสมเด็จฮุนเซน ได้กล่าวแสดงความซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณ สำหรับพระราชสาส์นแสดงความเสียพระราชหฤทัยจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ รวมถึงกล่าวขอบคุณสำหรับสาส์นแสดงความเสียใจต่อการเสด็จสวรรคตของพระบาท สมเด็จพระนโรดม สีหนุ จากนายกรัฐมนตรีและประชาชนไทยด้วย
นายกฯกล่าวต่อว่า ตนได้แสดงความเสียใจในนามของรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและประชาชนไทยต่อนายก รัฐมนตรีกัมพูชา รวมทั้งได้หารือเกี่ยวกับการแสวงหาความร่วมมือ และการกระชับความสัมพันธ์ที่มีอยู่ระหว่างสองประเทศให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น พร้อมยืนยันว่าจะร่วมกันผลักดันความร่วมมือในทุกมิติในการประชุมอาเซียน ซัมมิทที่ประเทศกัมพูชาเป็นเจ้าภาพ ในช่วงเดือนพฤศจิกายนนี้ ซึ่งคาดหวังว่าการประชุมดังกล่าวจะได้รับผลสำเร็จเป็นอย่างดี รวมถึงการที่ไทยและกัมพูชาจะมีการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมในเดือนธันวาคมนี้ ที่กรุงเทพฯ ซึ่งถือเป็นกลไกสำคัญในการสร้างเสริมความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศให้ดียิ่ง ขึ้นเช่นกัน
สำหรับกรณีปัญหาของนางสาวฐปณีย์ เอียดศรีไชย ผู้สื่อข่าวไทย นายกฯกล่าวว่า ตนได้เรียนยืนยันกับนายกรัฐมนตรีกัมพูชาด้วยความจริงใจในการแก้ไขสถานการณ์ ฝ่ายกัมพูชาเข้าใจดีว่าเป็นเรื่องกลุ่มบุคคลที่ไม่หวังดี ต้องให้เกิดความกระทบกระเทือนต่อความสัมพันธ์ของสองประเทศ และรัฐบาลของทั้งสองประเทศมีความเข้าใจข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นและยืนยันว่า ประเด็นดังกล่าวไม่กระทบความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกัมพูชา
สำหรับเพจ I Love Cambodia  ซึ่ง เป็นเพจที่จุดประเด็นภาพปัญหาขึ้นมา วันนี้ ได้แชร์ภาพน.ส. ยิ่งลักษณ์ ในพิธีพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ อย่างต่อเนื่อง โดยผู้เล่นเฟซบุ๊กชาวกัมพูชาที่ติดตามเพจดังกล่าวเข้าไปแสดงความพอใจต่อการ ที่นายกรัฐมนตรีของไทยร่วมพิธีพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ และพอใจที่ผู้นำของไทยแสดงความเคารพในสถาบันกษัตริย์ของประเทศเพื่อนบ้าน

คปก.ถก นักกฎหมาย ร่างพ.ร.บ.วิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ ถกความเหมาะสมบทลงโทษ

ที่มา ประชาไท



คณะกรรมการเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ในคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย จัดการประชุมรับฟังความเห็นนักวิชาการ-ทนายความ  ร่างพ.ร.บ.วิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญถกความเหมาะสมบทลงโทษ-การละเมิดอำนาจ ศาล<--break- />
19 ตุลาคม 2555 - คณะกรรมการเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ในคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย จัดการประชุมรับฟังความเห็นเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่า ด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ…. โดยมีนายสุขุมพงศ์  โง่นคำ กรรมการปฏิรูปกฎหมายและประธานคณะกรรมการเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับการตรวจสอบการ ใช้อำนาจรัฐ เป็นประธานการประชุม ทั้งนี้มีผู้แทนจากสภาทนายความ นักวิชาการกฎหมาย และทนายความสิทธิมนุษยชน ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ซึ่งมีการอภิปรายใน 2 ประเด็นหลัก คือ 1. การละเมิดอำนาจศาลตามาตรา 16 และ 17 สมควรบัญญัติไว้หรือไม่และบทกำหนดโทษมีความเหมาะสมหรือไม่ 2. ความเหมาะสมในการบัญญัติบทบัญญัติและบทกำหนดโทษเกี่ยวกับวิธีการคุ้มครอง ชั่วคราว
สำหรับประเด็นเรื่องการละเมิดอำนาจศาลตามมาตรา 16 ที่ประชุมมีความเห็น  2 แนวทาง คือ เห็นควรที่จะบัญญัติมาตรา 16 ไว้ เนื่องจากมาตรานี้มีขึ้นเพื่อรักษาความสงบในการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ และศาลเองมิใช่คู่ความ แต่เป็นคนกลางในการตัดสินคดีจึงสมควรที่จะได้รับความคุ้มครอง ส่วนที่ไม่เห็นควรให้บัญญัติมาตรา 16 ให้เหตุผลว่าบทบัญญัติดังกล่าวจะเป็นการจำกัดเสรีภาพในการแสดงความเห็นซึ่ง เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญ และยังสามารถใช้กฎหมายเกี่ยวกับการดูหมิ่นหรือหมิ่นประมาทแล้วแต่กรณีมาปรับ ใช้ได้
ขณะเดียวกันในเรื่องความเหมาะสมในการกำหนดบทลงโทษตามมาตรา 16 ที่ประชุมยังมีความเห็นแตกต่างกันโดยส่วนใหญ่มีความเห็นเป็น 2 แนวทางคือ เห็นว่าบทกำหนดโทษนั้นไม่กำหนดโทษขั้นต่ำ ซึ่งมีความเหมาะสมแล้ว แต่ทั้งนี้ควรระบุถึงการอุทธรณ์คดีกรณีถูกตัดสินลงโทษด้วย เนื่องจากไม่ได้บัญญัติเอาไว้ ส่วนเหตุผลของผู้ที่เห็นว่าไม่ควรมีการกำหนดโทษ มีความเห็นว่า คดีที่เข้ามาสู่การพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญมีผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของคน ส่วนใหญ่แตกต่างจากคดีแบบอื่น ดังนั้น จึงควรใช้มาตรการเชิงบวกคือ การพูดคุยเจรจาจะเหมาะสมกว่า และเป็นห่วงว่าการเปิดช่องให้ตุลาการใช้ดุลยพินิจในการลงโทษอาจก่อให้เกิด การเลือกปฏิบัติได้
นอกจากนี้ที่ประชุมมีความเห็นเพิ่มเติมว่า การบัญญัติมาตรา17 มีความเหมาะสม เนื่องจากเป็นการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชน และจูงใจให้มีการวิพากษ์วิจารณ์กระบวนการของศาลรัฐธรรมนูญเป็นสำคัญมากกว่า จำกัด  อีกทั้งการวิพากษ์วิจารณ์ ยังเป็นประโยชน์ในแง่การพัฒนาการทำงานของศาล   ส่วนประเด็นการกำหนดวิธีการคุ้มครองชั่วคราวนั้น ที่ประชุมเห็นสอดคล้องว่า สมควรระบุเอาไว้เป็นกฎหมายในพ.ร.บ.ให้ชัดเจน เนื่องจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมาตรา 212 กำหนดให้ประชาชนมีสิทธิฟ้องต่อศาลรัฐธรรมนูญได้โดยตรงจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ จะกำหนดเอาไว้เพื่อเป็นการบรรเทาความเสียหายของคู่ความ และคุ้มครองประชาชนด้วย

หมายเหตุ:  ร่างพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ...
มาตรา ๑๖ ให้ศาลมีอำนาจรักษาความสงบเรียบร้อยของ การพิจารณาคดีในส่วนที่เกี่ยวกับบุคคลที่เข้ามาหรือจะเข้ามาในที่ทำการศาล หรือบริเวณที่ทำการศาล หรือเข้าฟังการไต่สวนของศาล หรือมีคำสั่งให้บุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลใดกระทำการหรืองดเว้นกระทำการ เพื่อให้การพิจารณาคดีดำเนินไปโดยสงบเรียบร้อยและรวดเร็ว รวมทั้งวางระเบียบเพิ่มเติมเพื่อให้การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลเป็นไปด้วย ความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ ผู้ใดฝ่าฝืนคำสั่งศาลหรือระเบียบตามวรรคหนึ่ง ให้ศาลมีอำนาจดังต่อไปนี้
(๑) ตักเตือน โดยจะมีคำตำหนิเป็นลายลักษณ์อักษรด้วยหรือไม่ก็ได้
(๒) ไล่ออกจากบริเวณศาล
(๓) ลงโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
การใช้อำนาจตามวรรคสอง ให้ศาลใช้อย่างระมัดระวังและเท่าที่จำเป็นตามพฤติการณ์แห่งกรณี ทั้งนี้ ให้ดำเนินการบังคับโทษตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการบังคับโทษในทางอาญา
มาตรา ๑๗ การวิจารณ์การพิจารณาคดีหรือคำวินิจฉัย ของศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเป็นวิธีการทางวิชาการ ซึ่งได้กระทำโดยสุจริต ย่อมกระทำได้ โดยไม่มีความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล
ผู้ใดวิจารณ์ที่ไม่เป็นไปตามวรรคหนึ่ง ให้ศาลมีอำนาจตักเตือน โดยจะมีคำตำหนิเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้ หรือลงโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท และให้นำมาตรา ๑๖ วรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม

ล้านคำบรรยาย (พิเศษ) การ์ตูนเซีย 20/10/55 กลัวเหงา..เราต้องหาเพื่อน

ที่มา blablabla

โดย 

 ภาพถ่ายของฉัน




ร้องไห้โฮ บีบน้ำตา น่าสมเพช
ท่าทุเรศ กว่านี้ มีอีกไหม
มึงร่วมหัว ไล่ล่า ฆ่าคนไทย
ยังสาไถย เสแสร้ง แสดงละคร....

คดีเริ่ม แจ่มชัด มัดคอแน่น
จึงเที่ยวแล่น คุ้มคลั่ง หวังถ่ายถอน
ยิ่งพูดไป เหมือนเพ้อพร่ำ คำ้อ้อนวอน
จึงร้าวรอน กระวนกระวาย ตายทั้งเป็น....

เสียงคร่ำครวญ ย้ำเตือน ถึงเพื่อนรัก
เคยประจักษ์ นักหนา ร่วมฆ่าเข่น
พ๊ม..สงสาร ทหารกล้า ทำหน้าเป็น
ภาพที่เห็น แสนมารยา มันบ้าจริง....

98 ศพ เริ่มเดินหน้า มาทวงถาม
พวกใจทราม ยังเฉไฉ ได้ทุกสิ่ง
เตรียมลากคอ คนสั่งฆ่า อย่าประวิง
แค่ละครลิง หลอกสาวก ตกม้าตาย....

๓ บลา / ๒๐ ต.ค.๕๕

Joe Gordon: จากคุกสู่เสรีภาพ

ที่มา Thai E-News

 20 ตุลาคม 2555
โดย โจ กอร์ดอน
ที่มา Joe Gordon

หลังจาก 3 เดือนที่ได้รับปล่อยตัวออกจากคุกที่ถูกคุมขังกว่าหนึ่งปีตั้งแต่ถูกจับกุม ด้วยข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเมื่อ 25 พฤษภาคม 2554 ในข้อกล่าวหาว่าแปลหนังสือ Thai King Never Smile หรือชื่อไทย กษัตริย์ที่ไม่เคยยิ้ม  วันนี้โจ กอร์ดอน เขียนเล่าถึงความรู้สึกแห่งการได้รับอิสรภาพวันแรก


สุดท้ายแล้วผมก็ได้สูดกลิ่นไอของอิสรภาพ มีชีวิตเหมือนผู้คนทั่วไปที่ปรกติธรรมดา ผมไม่ใช่และไม่ได้เป็นอาชญากร ดังนั้นผมจะใช้เวลาให้มีความหมายกับชีวิต อย่างที่ผมต้องการให้มากขึ้นเป็นสองเท่า เพื่อเอาสิ่งที่ผมสูญเสียไปกลับคืนมาให้มากที่สุด ...

ผมอยากใช้ห้องน้ำส่วนตัวที่สะอาดเช่นนี้ นั่งโถส้วมที่สบายไม่เจ็บหัวเข่า โดยที่ไม่มีใครเดินผ่านไปมาเวลานั่งถ่ายหรืออาบน้ำเหมือนอย่างในคุก ผมถอดเสื้อผ้าออก อาบน้ำสะผมชำระล้างร่างกายให้สะอาด ผมบอกกับตัวเองว่า นี่คือชีวิตที่ผมต้องการ นี่คือมาตรฐานการมีชีวิตอยู่ของผม ไม่ใช่การมีชีวิตเยี่ยงสัตว์ป่าที่สกปรกโสโครก ที่ถูกเอาไปกักขังไว้ในคุกของประเทศไทย.

 

1. คืนอิสรภาพ: 10 กรกฎาคม 2512

by Joe Gordon on Friday, 19 October 2012 at 03:37 ·



เขียนเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2012:

1. วันนี้เป็นวันที่ครบรอบ 3 เดือน ที่ผมได้รับอิสรภาพปล่อยตัวออกจากคุก โดยได้รับการพระราชทานอภัยโทษพิเศษ(คนเดียว)เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม ที่ผ่านมาในเวลากลางคืน ผมยังจำบรรยากาศตอนที่เดินออกจากประตูคุกได้ว่ามันมืด ไม่มีใครเลย ผมใส่กางเกงขาสั้นกับเสื้อยืด ในมือถือถุงพลาสติกใส่หนังสือที่ Suzy ส่งเข้าไปให้อ่าน เจ้าหน้าที่พาเดินไปยังอาคารด้านข้างที่มีไฟสว่างอยู่ เปิดประตูเข้าไปยังเห็นคนทำงานกันอยู่หลายคน ผมมองไปเห็นเจ้าหน้าที่สถานทูตอเมริกันยืนอยู่ข้างหน้าผม ทุกคนมีอาการสำรวม ผมเซ็นเอกสาร แล้วเจ้าหน้าที่สถานทูตต่างพาผมขึ้นรถตู้สีดำ ขับวิ่งออกไปสู่ถนนในยามกลางคืน ผมมีความรู้สึกมึนงง ในใจคิดว่าผมได้รับอิสระแล้วหรือ หรือว่าพวกเขาจะพาผมไปที่ไหนอีก........
แต่ก็ไม่มีคำพูดอะไรมากนักในรถคัน นั้น รถตู้สีดำของสถานทูตวิ่งฝ่าไปบนถนนในยามกลางคืน เหมือนเขารู้ดีว่าจะพาผมไปยังที่แห่งใด....

2. คืนอิสรภาพ: 10 กรกฎาคม 2012

by Joe Gordon on Friday, 19 October 2012 at 04:23 ·

 

2 เราคุยกันน้อยมากในรถตู้สีดำคันนั้น ซูซี่ถามผมว่าจะดื่มน้ำอัดลมกระป๋องที่แช่เย็นไว้ไหม ผมขอบคุณเธอแต่ไม่อยากดื่มอะไรทั้งสิ้น เมื่อรถวิ่งออกมาจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพแล้ว ทุกคนในรถมีความรู้สึกเหมือนยกภูเขาออกจากอก โดยเฉพาะผมที่คิดว่าพ้นเคราะห์ไปเสียที ส่วนเจ้าหน้าที่สถานทูตมีความรู้สึกเหมือนโล่งอกและเบาใจเมื่อภารกิจได้ เสร็จสิ้นลงไป 
ตั้งแต่ตอนที่เขารับตัวผมไปอยู่ในความรับผิดชอบของพวกเขา ผม เองก็รู้สึกว่ามีความปลอดภัยเช่นกัน และคิดว่าคงไม่มีเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทย จะมากลั่นแกล้งผมได้อีกในตอนนี้ เพราะผมอยู่ภายใต้ปีกของพญาอินทรีย์เหล็กแล้ว 
ทิมหันมาถามว่าผมรู้สึกอย่างไรบ้าง ผมตอบว่า ผมยังรู้สึกงงและวิงเวียนต่อทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้น ว่ามันเป็นไปได้แล้ว ผมได้รับอิสรภาพจริงๆ


คนขับรถตู้สีดำของสถานทูตอเมริกัน ขับรถมุ่งหน้าไปบนทางด่วน ผมมองดูตึกอาคารข้างทางที่มีแสงไฟระยิบระยับไปหมด ผมไม่รู้ว่าผมอยู่ที่ไหน ผมไม่รู้จักเส้นทางในกรุงเทพเลย ผมรู้ว่ามันนานมาแล้ว ที่ผมได้นั่งรถติดแอร์ที่แสนสบายอย่างนี้ ผมนั่งอยู่ที่เบาะหลังแถวที่สอง ส่วนด้านหน้าที่นั่งคู่กับคนขับรถนั้นคือกงสุลใหญ่ อลิซาเบท แพลท ผมเรียกชื่อเล่นเธอว่า ซูซี่ ส่วน ทิม สวอนสัน คือหัวหน้าฝ่ายบริการสัญชาติอเมริกัน เขานั่งข้างกับผมตรงด้านหลังคนขับ ท้ายสุดคือคุณหนุ่มเป็นเจ้าหน้าที่สถานทูต ที่คอยประสานงานกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทย คุณหนุ่มนั่งแถวสามข้างหลังสุดของรถตู้ในคืนวันนั้น


รถตู้สีดำวิ่งบนทางด่วนเริ่มชิดซ้ายแยกลงมาบนถนนในเมือง เลี้ยวไปตามทางโค้งที่มุมถนนมีสัญญาณไฟเขียวไฟแดง แล้วก็ขับตรงต่อไปเรื่อยๆ ซึ่งผมก็จำไม่ได้ว่ารถเราวิ่งผ่านสัญญาณไฟจราจรมากี่จุดแล้ว จนกระทั่งคุณหนุ่มบอกคนขับรถว่า เราใกล้จะถึงจุดหมายแล้ว 
ผมถามทิมเป็นภาษาอังกฤษว่า ตอนนี้ผมอยู่ที่ไหน ทิมตอบผมว่าไม่ไกลจากสถานทูตมากนัก และผมจะได้พบกับคนที่เขารอพบผมอยู่ 
ผมรู้สึกตื่นเต้นอยู่ในใจว่าเขาหมายถึงใคร สักครู่คุณหนุ่มกดโทรศัพท์พูดเป็นภาษาไทย บอกตำแหน่งว่ารถใกล้จะถึงจุดหมายแล้ว เตรียมตัวรับผมได้ และถามต่อไปว่า มีใครอยู่ในบริเวณนั้นบาง เพราะเขาเป็นห่วงเรื่องความปลอดภัยของผมมาก คำตอบคือทุกอย่างเรียบร้อยปลอดภัย สักครู่คุณหนุ่มบอกให้คนขับเลี้ยวรถเข้าไปจอดหน้าตึกแห่งหนึ่ง มีแสงไฟสว่าง แต่เงียบ ดูเหมือนไม่มีผู้คนจุ้นจ้านมากนัก.................
(โปรดติดตามตอนต่อไป)

3. คืนอิสรภาพ: 10 กรกฎาคม 2012

by Joe Gordon on Friday, 19 October 2012 at 19:08 ·



3. ผมมองไปที่ด้านหน้าของอาคาร มีชาวต่างชาตินั่งคุยกัน ประตูกระจกบานใหญ่เลื่อนเองได้โดยอัตโนมัติ และแล้วประตูรถตู้ก็เปิดออก ทุกคนต่างพากันลงจากรถ ผมรู้สึกประหม่าในตัวเอง เพราะผมยังใส่รองเท้าแตะ นุ่งกางเกงขาสั้น เสื้อยืด และถือถุ่งพลาสติกใส่หนังสือและเอกสาร สารรูปของผมเหมือนคนที่เพิ่งออกมาจากคุกจริงๆ ผมอายที่จะเดินเข้าไปในตัวอาคารที่สวยหรู่แบบนี้ ผมเหมือนกับคนอนาถา สกปรก น่ารังเกียจ 
ซูซี่มองดูผมถือถุงพลาสติกใส่หนังสือ เธอคงสงสัยว่า ผมยังมีสมบัติอะไรที่น่าหวงแหนถือออกมาจากคุกอีก ซูซี่ ทิมและคุณหนุ่มพากันเดินนำหน้าผม ขึ้นบันไดตรงไปที่ประตูอาคาร ผมก้าวเดินตามไปติดๆ
เมื่อประตูกระจกบานใหญ่เลื่อนเปิดออก เราพากันเดินเข้าไป ผมเห็นคนที่ผมรู้จักที่เป็นเพื่อนสนิทของผมในเมืองไทย เธอมีอาการตื่นเต้น ยืนรออยู่ด้วยความดีใจ เธอโอบกอดแสดงความดีใจกับผม และน้ำตาซึมไหลออกมา เราต่างกอดให้กับอิสรภาพ 


มันเป็นวันที่เราต่างรอคอยมาอย่างเนิ่นนาน 

ผมทักทายกับเพื่อนใหม่อีกสองคน ผมเคยเห็นเขามาก่อน เพราะเขาเคยไปเยี่ยมผมในคุก เรารู้จักกันผ่านกระจกห้องเยี่ยมเท่านั้น ผมถามพวกเขาว่า ทำไมไม่มีใครไปรับผมที่หน้าเรือนจำเลย เขาบอกผมว่า เหตุการณ์ปล่อยตัวของผมนี้ เป็นไปอย่างเงียบเชียบที่สุด ไม่มีใครคาดหมายมาก่อนว่าจะเป็นจริงได้ จนกระทั่งได้รับสัญญาณจากทางสถานทูตในช่วงบ่าย

สักครู่ เจ้าหน้าที่สถานทูตเดินเข้ามา และขออนุญาตพูดกับผมเป็นการส่วนตัว เราพากันไปนั่งที่โซฟาที่บริเวณลอบบี้ 


ซูซี่ถามทิมว่า เขาควรจะคุยธุระต่อกับผมตอนนี้เลยดีไหม แต่ทิมบอกว่า คุยกันวันพรุ่งนี้ก็ได้ ซูซี่เลยบอกว่า ถ้าอย่างนั้นเรานัดเจอกันอีกครั้งในตอนเช้าวันพรุ่งนี้ ประมาณแปดโมงครึ่งที่ร้านกาแฟด้านข้าง เธอบอกว่าที่นี่มีขนมปังหลายชนิดอร่อยให้เลือก เพราะเธอเคยแวะมานั่งกินเป็นประจำ อาหารเช้าที่นี่ใช้ได้เป็นแบบอเมริกันและนานาชาติด้วย 

ผมถือโอกาสฝากขอบคุณเจ้าหน้าที่สถาน ทูตอเมริกันทุกคนที่ช่วยเหลือผม และผมยังขอฝากขอบคุณเป็นพิเศษไปยัง คริสตี้ เคนนี่ เอกอัคราชทูตอเมริกันประจำประเทศไทยด้วย 

ต่อมาผมจับมือขอบคุณตามประเพณีอเมริกันกับ ซูซี่ ทิม และคุณหนุ่ม จากนั้นเจ้าหน้าที่สถานทูตทั้งหมดก็ขอตัวกลับ ปล่อยให้ผมได้พบคุยกับเพื่อนสนิท และพักผ่อนต่อไป



เมื่อเจ้าหน้าที่สถานทูตลากลับไปแล้ว ผมกับเพื่อนสนิทและเพื่อนใหม่อีกสองคน เราพากันเดินไปที่ร้านกาแฟ เลือกนั่งที่โต๊ะด้านนอกระเบียง มีลมพัดมาเบาๆในยามกลางคืน พนักงานผู้หญิงถือสมุดสั่งอาหารเล่มใหญ่มาแจก รายการอาหารเป็นภาษาอังกฤษ และภาษาฝรั่งเศส 
ผมเห็นราคาอาหารแต่ละอย่างแล้วตกใจ เพราะผมไปอยู่ในคุกมาเป็นเวลาปีกว่า ผมคิดว่าราคาอาหารมันแพงมากเกินไปสำหรับผม ผมเลยไม่รู้สึกหิวอะไร 
ผมสั่งเพียงเครื่องดื่มเท่านั้น ส่วนเพื่อนๆสั่งอาหารไทยรสจัดมากิน
 เราพูดคุยกันเรื่องทั่วไป ผมเหลือบมองดูถนนที่มีรถวิ่งผ่านไปมา ถอนหายใจ และบอกกับตัวเองว่า 
สุดท้ายแล้วผมก็ได้สูดกลิ่นไอของอิสรภาพ มีชีวิตเหมือนผู้คนทั่วไปที่ปรกติธรรมดา ผมไม่ใช่และไม่ได้เป็นอาชญากร ดังนั้นผมจะใช้เวลาให้มีความหมายกับชีวิต อย่างที่ผมต้องการให้มากขึ้นเป็นสองเท่า เพื่อเอาสิ่งที่ผมสูญเสียไปกลับคืนมาให้มากที่สุด

ราวสามทุ่ม เพื่อนของผมต่างขอตัวกลับบ้าน ผมขอบคุณพวกเขาอีกครั้ง ผมเดินขึ้นลิฟต์ไปยังห้องที่จัดไว้ เป็นห้องใหญ่เหมือนโรงแรมอย่างดี 
ผมเปิดประตู้ห้องเข้าไป แอร์เย็นสบาย ผมก้มมองดูพื้นไม้ ด้านข้างมีครัว ตู้เย็น เคาน์เตอร์ล้างจาน และมีโต๊ะทานอาหารวงกลม มีโซฟาใหญ่ให้นั่งเล่นพร้อมเคเบิลทีวีให้ดู มีโต๊ะเขียนหนังสือ โคมไฟบนโต๊ะและบนพื้น 
ผมเดินเลี้ยวขวาไปเป็นห้องนอน มองดูเตียงขนาดใหญ่ที่มีผ้าปูที่นอนขาวสะอาดขึงไว้ตึง และด้านข้างมีห้องน้ำที่มีพื้นที่กว้างขว้างเป็นส่วนตัว มีโถส้วมสีขาวสะอาดให้นั่ง มีที่อาบน้ำอุ่น และอ้างล้างหน้า มันเป็นสิ่งที่ผมนึกถึงตลอดเวลาที่อยู่ในคุก 
ผมอยากใช้ห้องน้ำส่วนตัวที่สะอาดเช่นนี้ นั่งโถส้วมที่สบายไม่เจ็บหัวเข่า โดยที่ไม่มีใครเดินผ่านไปมาเวลานั่งถ่ายหรืออาบน้ำเหมือนอย่างในคุก ผมถอดเสื้อผ้าออก อาบน้ำสะผมชำระล้างร่างกายให้สะอาด ผมบอกกับตัวเองว่า นี่คือชีวิตที่ผมต้องการ นี่คือมาตรฐานการมีชีวิตอยู่ของผม ไม่ใช่การมีชีวิตเยี่ยงสัตว์ป่าที่สกปรกโสโครก ที่ถูกเอาไปกักขังไว้ในคุกของประเทศไทย



เหลียวหลังแลไปข้างหน้า: ผ่าความเท็จประชาธิปัตย์

ที่มา uddred





ทีมข่าว นปช.
20 ตุลาคม 2555




รายการเหลียวหลังแลไปข้างหน้าเพื่อประชาธิปไตย (ออกอากาศทุกวันศุกร์-อาทิตย์ เวลา 21.00-22.00 น.) ตอน “ผ่าความเท็จประชาธิปัตย์” ออกอากาศวันศุกร์ที่ 19 ตุลาคม 2555 โดย อ.ธิดา  ถาวรเศรษฐ และผู้ดำเนินรายการร่วม คุณเกริกมนตรี  รุจโสตถิรพัฒน์ เลขานุการ นปช.
สืบเนื่องมาจากเวทีผ่าความจริง ใครบงการมัจจุราชชุดดำ รับจ้างฆ่าประเทศไทย ของพรรคประชาธิปัตย์เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2555 ที่สวนลุมพินีนั้น อ.ธิดา บอกว่าความจริงมันผ่าไม่ได้เพราะว่ามันเป็นหนึ่งเดียว และเมื่อได้วิเคราะห์คำพูดต่าง ๆ แล้วล้วนเป็นการบิดเบือนและพูดเท็จทั้งสิ้น
ดังนั้น อ.ธิดา จะมาผ่าความเท็จของพรรคประชาธิปัตย์ในสิ่งที่ประชาธิปัตย์พยายามแก้ตัวและ ดิ้น โดยเริ่มด้วยคลิปของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่พูดว่า “ถ้าวันนั้น ปีนั้น ไม่มีชายชุดดำ ไม่ว่าตำรวจ ทหาร ประชาชนคนธรรมดา หรือคนเสื้อแดง จะไม่มีใครเสียชีวิตเลยครับ” นี่เป็นวิธีคิดของประชาธิปัตย์ว่าจำเป็นต้องมีชายชุดดำ เพราะเมื่อมีชายชุดดำ จึงเป็นความชอบธรรมในการฆ่าประชาชนเช่นนั้นหรือ ? นอกจากนี้ในเบรกที่ 2 ยังมีคลิปของนายศิริโชค โสภา ในการพยายามจับแพะมาชนแกะนำภาพ 3 ภาพ ของชาย 3 คนมามั่วผูกเรื่องโยงให้เป็นนายวสันต์ สายรัศมี หรือเก่ง กู้ภัย ซึ่ง อ.ธิดา ได้นำคลิปของนายวสันต์ ตัวจริงมาเปิดให้ได้ชมกันด้วย
รายละเอียดต่าง ๆ ติดตามรับชมได้ในคลิปรายการเหลียวหลังแลไปข้างหน้าเพื่อประชาธิปไตยข้างต้นค่ะ.....

Friday, October 19, 2012

การปฏิวัติจำต้องรุนแรงหรือ? วิพากษ์ลัทธิปฏิวัติปีกซ้ายไร้เดียงสา

ที่มา ประชาไท

 

 
ที่มา Quote ไมเคิล ฮาร์ท(Michael Hardt) จากเพจ วิวาทะ 
ในฐานะผู้เคยทำการปฏิวัติด้วยความรุนแรง ผมใคร่บอกว่าเราต้องหาทางเจือผสมการปฏิวัติด้วยความไม่รุนแรงให้มากที่สุด เพราะเหตุใดน่ะหรือ? ก็เพราะว่าบรรดาไพร่ทาสราษฎรสามัญชนโดยทั่วไปนั้นหาได้มีอาวุธสงครามในมือ เหมือนกลไกรัฐภายใต้การบังคับควบคุมของชนชั้นปกครองไม่ เมื่อใดการปฏิวัติตัดสินชี้ขาดกันด้วยอาวุธ เมื่อนั้นคุณจะพบว่าชนชั้นปกครองได้เปรียบเสมอและราษฎรก็สูญเสียมากเสมอ ไม่เชื่อก็ลองดูประสบการณ์ปี ๒๕๕๓ ในเมืองไทย เทียบกับชัยชนะโดยไม่มีอาวุธจากการเลือกตั้งในปีถัดมาเถิด
คุณทราบหรือไม่ว่ารายจ่ายงบประมาณเพื่อรักษาความสงบภายในของจีนนั้นบัด นี้พอ ๆ กับรายจ่ายงบประมาณเพื่อป้องกันประเทศภายนอกของจีนแล้ว นั่นแปลว่าในสายตารัฐทุนนิยมอำนาจนิยมของจีนนั้น ภัยคุกคามจากประชาชนภายในประเทศร้ายแรงพอ ๆ กับภัยคุกคามจากต่างประเทศ
หากคุณคิดว่าการปฏิวัติต้องทำด้วยความรุนแรงหรือนัยหนึ่ง "อำนาจรัฐเกิดจากปากกระบอกปืน" แบบประธานเหมาเจ๋อตงแล้วละก็ คิดดูสิว่าประเทศจีนจะมีอนาคตอย่างไร?
ถ้ายึดตาม Max Weber ปรมาจารย์สังคมวิทยาเยอรมันว่าอำนาจรัฐคือการผูกขาดอำนาจการใช้ความรุนแรง โดยชอบธรรมเหนืออาณาดินแดนหนึ่ง ๆ แล้ว ก็มีองค์ประกอบ ๓ อย่างในแก่นของอำนาจรัฐ
๑) อำนาจผูกขาดความรุนแรง
๒) ความชอบธรรมที่จะใช้อำนาจรุนแรงนั้น
๓) เหนืออาณาดินแดนหนึ่ง ๆ
หากวิเคราะห์ให้ดี แนวทางปฏิวัติแบบต่าง ๆ ก็คือการเข้าโจมตีกร่อนทำลายองค์ประกอบเหล่านี้นี้เอง
-ทำลาย ๑) ด้วยแนวทางปฏิวัติแบบรัสเซีย คือสร้างกองกำลังติดอาวุธของกรรมกรขึ้นมาใต้การนำของพรรคบอลเชวิค
-ทำลาย ๒) ด้วยแนวทางปฏิวัติแบบอิหร่าน คือบ่อนทำลายความชอบธรรมของรัฐพระเจ้าชาห์ลงในด้านต่าง ๆ จนในที่สุดแม้มีกองกำลังอาวุธ แต่ก็ไม่สามารถสั่งการให้ใช้ปราบปรามประชาชนที่ต่อสู้ประท้วงอย่างมี ประสิทธิผลได้ คือมีปืนก็ยิงไม่ออก เพราะทหารตำรวจไม่ยอมทำให้
-ทำลาย ๓) ด้วยแนวทางปฏิวัติแบบเหมา สร้างเขตปลดปล่อยภายใต้อำนาจรัฐสีแดงขึ้นในอาณาดินแดนของประเทศ
คิดตรองดูเถิดว่าวิธีการไหนต้องใช้ความรุนแรงและวิธีการไหนสามารถใช้ความไม่รุนแรงได้?
 
ฮูโก ชาเวซ
บทเรียนจากการปฏิวัติโบลิวาเรียนของเวเนซุเอลา: Bullets or Ballots? Coup-makers or Voters?
ฮูโก ชาเวซเริ่มชีวิตการเมืองจากฐานะนายทหารชั้นผู้น้อย รวมแก๊งเพื่อนนายทหารชั้นผู้น้อยที่สนใจตื่นตัวทางการเมืองพยายามก่อรัฐ ประหารยึดอำนาจโค่นระบอบเลือกตั้งฉ้อฉลผูกขาดของพรรคการเมืองชนชั้นปกครอง แต่ล้มเหลว ตัวเขาเองถูกจับติดคุก
ก่อนมอบตัวยอมจำนน เขาขอเงื่อนไขออกทีวีอ่านแถลงการณ์ ทำให้เขาเป็นที่รู้จักทั่วประเทศ ประชาชนนิยมนับถือ
ออกจากคุก เขาลงสมัครรับเลือกตั้ง และได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี ๓ รอบถึงปัจจุบัน และเพิ่งชนะเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีวาระ ๔ ทำให้เขาอยู่ในตำแหน่งตั้งแต่ ๑๙๙๙ ไปจนถึง ๒๐๑๙ รวม ๒๐ ปีถ้าไม่มีอันเป็นไปเพราะโรคมะเร็งเสียก่อน
ในยุคสมัยของเขา มีความพยายามก่อรัฐประหารโค่นเข้าด้วยกำลังรุนแรง แต่ล้มเหลว เพราะแรงนิยมของประชามหาชนกดดันจนกองกำลังอาวุธกลับใจ
ตกลงการปฏิวัติโบลิวาเรียนและการรักษาอำนาจรัฐปฏิวัติของชาเวซ อาศัย bullets หรือ ballots กัน?
คิดดูให้ดี

"แต้มภาพ เขียนลวง"

ที่มา ประชาไท

 



แต้มชีวิตเติมความฝันปั้นเป็นภาพ
ปัดแปรงทาบแรงเงาหรี่สาดสีสัน
วาดตัวตนวาดเรื่องราววาดคืนวัน
วาดเส้นสั้นโค้งยาววาดวนเวีย
ระหว่างทางฝันใฝ่ตามใฝ่ฝัน
ลดช่องว่างระหว่างกันแปรผันเปลี่ยน
ใส่อารมเร้าสัมผัสสุดแนบเนียน
เติมจินตนาการจารเจียรเขียนชีวิต
แต่สุดท้ายเป็นได้แค่ปลายหมึก
ที่ลากยาวจากสำนึกล้ำลึกคิด
ไม่ต่างจากสังคมไทยเลยสักนิ
เหมือนให้สิทธิแต่วาดร่างภาพรางลวง
ลวงประชาว่ามีสิทธิเสรีภาพ
แต่ปรามปราบชีวิตถ้าล้ำล่วง
ลวงว่ามีความเป็นธรรมให้ทั้งปวง
แต่บวงสรวงชีวิตด้วยสิทธิรั
หยุดเถิดหยุดเสแสร้งแกล้งล้ำเลิศ
หยุดทูนเทิดความงามดีที่จำกัด
หยุดใช้ทุน-ราชการ-ศาล-ทหาร-วัด
เพียงประหัตเพื่อประหารประชาชน
วาดดาว




Photo by Pictuares (https://www.facebook.com/pic1610)

กสทช.ร้อง 'ปลัดคลัง' พิจารณาการกระทำของรองปลัด ที่บอกประมูล 3G มีปัญหา

ที่มา ประชาไท



กสทช. ทำหนังสือด่วนที่สุดถึงปลัดกระทรวงการคลัง ขอให้พิจารณาการกระทำของรองปลัด สุภา ปิยะจิตติ ที่ทำหนังสือ-ให้สัมภาษณ์สื่อ ว่าการประมูล 3G มีปัญหา ทำ กสทช.เสียหาย
จากกรณีนางสาวสุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานคณะกรรมการระเบียบพัสดุจัดซื้อจัดจ้าง (คกพ.) กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ได้ส่งหนังสือ "ด่วนที่สุด" ที่ กค (กพวอ) 0421.3/42301 ลงวันที่ 18 ตุลาคม 2555 ถึงประธาน กสทช. โดยอ้างถึงการประมูลไลเซ่นส์ 3G ไม่มีการแข่งขันราคาอย่างแท้จริงตามเจตนารมณ์ของการประมูลด้วยวิธีการทาง อิเล็กทรอนิกส์ และอาจมีลักษณะการสมยอมราคาตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 (พ.ร.บ.ฮั้ว) ที่จะส่งผลให้รัฐสูญเสียรายได้อย่างมหาศาล และ กสทช.อาจอยู่ในข่ายต้องรับผิดตามกฎหมาย
ล่าสุด (19 ต.ค.55) ฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. กล่าวว่า สำนักงาน กสทช. โดยความเห็นชอบของประธาน กสทช. ได้ทำหนังสือด่วนทื่สุด ที่ สทช. 5011/18583 ลงวันที่ 19 ตุลาคม ถึงปลัดกระทรวงการคลัง เรื่องขอให้พิจารณาการกระทำของ นางสาวสุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง ที่ทำหนังสือดังกล่าว รวมถึงเผยแพร่และให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนหลายแขนงทำให้ กสทช. และสำนักงาน กสทช. ได้รับความเสียหายจากการกระทำดังกล่าว เนื่องจากมีความคลาดเคลื่อนต่อข้อเท็จจริง และผิดพลาดในข้อกฎหมาย ทำให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจว่า กสทช. และสำนักงาน กสทช. ทำผิดกฎหมาย เกิดความเคลือบแคลงสงสัยในการประมูลคลื่นความถี่ 2.1GHz  รวมถึงการที่ น.ส.สุภา อ้างว่าปฏิบัติราชการแทนปลัดกระทรวงการคลังด้วยนั้นเป็นการดำเนินการที่ไม่ เหมาะสมต่อตำแหน่งหน้าที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อ กสทช. และสำนักงาน กสทช. รวมถึงสร้างความเข้าใจผิดให้เกิดกับประชาชนทั่วไป จึงขอให้ท่านพิจารณาดำเนินการกับ น.ส.สุภา ปิยะจิตติ และให้ น.ส.สุภา รับผิดชอบต่อการกระทำที่เจตนาสร้างความเสียหายต่อผู้อื่น เพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่างต่อบุคคลอื่นต่อไป

'กัมพูชา' ออกแถลงการณ์ เข้าใจ 'ฐปณีย์' ไม่เจตนาหมิ่น

ที่มา ประชาไท



เมื่อวันที่ 18 ต.ค. โฆษกหน่วยข่าวกรองและตอบโต้ด่วนของคณะรัฐมนตรีกัมพูชา ออกแถลงการณ์ กรณีมีการเผยแพร่ภาพ ฐปณีย์ เอียดศรีไชย ผู้สื่อข่าวช่อง 3 ผ่านทางเฟซบุ๊ก จนทำให้เกิดความเข้าใจผิด โดยระบุว่า ต่อกรณีดังกล่าว ทั้งตัวผู้สื่อข่าวและผู้แทนสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 ของไทย ได้แสดงความเสียใจเป็นอย่างยิ่งต่ออุบัติเหตุที่เกิดขึ้น และได้ทำการขออภัยโทษต่อรัฐบาลและประชาชนกัมพูชา นอกจากนี้ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทย ได้โทรศัพท์ถึงสมเด็จฯ ฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา แสดงความเสียใจต่ออุบัติเหตุที่เกิดขึ้น และทำความเข้าใจต่อกันแล้ว
โดยสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 ของไทยได้ออกแถลงการณ์ยืนยันว่ามิได้มีเจตนาที่จะหมิ่นพระบรมเดชานุภาพหรือ แสดงความไม่เคารพต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นที่เคารพรักของประชาชน กัมพูชา นอกจากนี้ รูปภาพที่เผยแพร่ในเฟซบุ๊กนั้นเป็นภาพที่ถ่ายจากด้านข้างเยื้องมาทางด้าน หลัง ทำให้ดูเหมือนของทั้งหมดอยู่ใกล้กับเท้า
ดังนั้น จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ประชาชนกัมพูชาที่อยู่ในช่วงเศร้าเสียใจต่อการเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระนโรดม สีหนุฯ จะเข้าใจต่อเหตุการณ์ความเป็นจริง และหลีกเลี่ยงความเข้าใจผิดที่อาจเกิดจากการยุยงส่งเสริมของผู้ไม่ประสงค์ดี ที่ประสงค์จะสร้างความไม่สงบในสังคม และสร้างความไม่มีเสถียรภาพทางการเมือง ตลอดจนการสร้างความเป็นศัตรูกับประเทศเพื่อนบ้านต่างๆ

เนื้อหาแถลงการณ์ (ถูกแปลจากภาษากัมพูชา) มีดังนี้
แถลงการณ์กองการข่าวและโต้ตอบเร็ว
เมื่อวันที่ 16 และ 17 ต.ค. 55 หลังจากมีการเผยแพร่รูปภาพพระบรมฉายาลักษณ์ของสมเด็จพระนโรดมสีหนุ ที่เคารพรักของประชาชนกัมพูชาใต้เท้าของผู้สื่อข่าวประจำสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 ของไทย น.ส.ฐปณีย์ เอียดศรีไชย และที่กลุ่มผู้ไม่หวังดี (อคติ) และกลุ่มที่ชอบสร้างกระแสบางกลุ่มได้โพสต์รูปตามเว็บไซต์สังคมออนไลน์ Facebook ซึ่งแสดงเกินความเป็นจริง อันอาจทำให้สาธารณชนเกิดความเข้าใจผิด ดังนั้น โฆษกกองการข่าวและโต้ตอบเร็วขอกราบเรียนสาธารณชนให้ทราบ ดังนี้
1.ตามแหล่งข่าวความเป็นจริง ทราบว่าในความเป็นจริงผู้สื่อข่าวคนดังกล่าวได้ขอยืมหนังสือพิมพ์ 1 ฉบับจากผู้สื่อข่าวชาวกัมพูชาเพื่อนำไปศึกษาเกี่ยวกับชีวประวัติของสมเด็จ พระนโรดมสีหนุ หลังจากนั้น ผู้สื่อข่าวไทยคนดังกล่าวได้เริ่มต้นรายงานข่าวเกี่ยวกับสถานการณ์ทั่วไปของ พระราชพิธีฯ ในขณะนั้น ผู้สื่อข่าวคนดังกล่าวได้วางหนังสือพิมพ์พร้อมกับสมุดบันทึกและโทรศัพท์ เคลื่อนที่ของตนบนพื้นเพื่อทำการรายงานข่าว หลังจากนั้น ในช่วงกลางวันได้มีข่าวรูปพระบรมฉายาลักษณ์ปรากฏใต้เท้าของผู้สื่อข่าวคนดัง กล่าวเผยแพร่ทาง Facebook
หลังจากที่ได้รับข่าวที่เผยแพร่ทาง Facebook นี้ ที่อาจกระทบจิตใจประชาชนกัมพูชาและอาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดต่อเหตุการณ์ ที่ได้เกิดขึ้น รวมทั้งโดยกังวลเกี่ยวกับผลกระทบต่อความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างทั้งสองประเทศ ผู้สื่อข่าวไทยคนดังกล่าวมีความกังวลและหวาดกลัวอย่างมาก และได้เดินทางไปกราบขอพระราชทานอภัยโทษต่อหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ฯ ที่บริเวณหน้าพระบรมมหาราชวังโดยทันที
2.เมื่อวันที่ 17 ต.ค. 55 เมื่อเดินทางกลับถึงกรุงเทพฯ ผู้สื่อข่าวไทย (คนดังกล่าว) น.ส. ฐปณีย์ เอียดศรีไชย และนายมงคล เจริญ รองผู้อำนวยการ สถานีโทรทัศน์ ช่อง 3 ของไทย ได้เดินทางไปคุกเข่ากราบขอพระราชทานอภัยโทษและขอโทษต่อประชาชนกัมพูชาเบื้อง หน้าพระบรมฉายาลักษณ์สมเด็จพระนโรดมสีหนุ ณ สถานเอกอัครราชทูตกัมพูชาประจำกรุงเทพฯ
3.ในวันเดียวกันนั้น สถานีโทรทัศน์ช่อง 3 ของไทยได้ออกแถลงการณ์ชี้แจงความเป็นจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยยืนยันว่ามิได้มีเจตนาที่จะหมิ่นพระบรมเดชานุภาพหรือแสดงความไม่เคารพต่อ สถาบันพระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นที่เคารพรักของประชาชนกัมพูชา เพราะ ณ ขณะนั้นเป็นช่วงเวลาที่ปฏิบัติหน้าที่รายงานข่าวพระราชพิธีพระบรมศพที่ผู้ สื่อข่าวคนดังกล่าวต้องวางสัมภาระส่วนตัวต่างๆ โดยมีโทรศัพท์เคลื่อนที่ สมุดบันทึก และหนังสือพิมพ์ที่มีพระบรมฉายาลักษณ์สมเด็จพระนโรดมสีหนุ ที่ตีพิมพ์หลังจากที่เสด็จสวรรคต และวางบนพื้นโดยไม่เจตนา ซึ่งได้วางห่างจากตัวพอสมควร แต่รูปภาพที่มีการเผยแพร่ทาง Facebook เป็นภาพที่ถ่ายจากด้านข้างเยื้องมาทางด้านหลัง ทำให้ดูเหมือนของทั้งหมดอยู่ใกล้กับเท้า
อย่างไรก็ดี ทั้งผู้สื่อข่าว น.ส. ฐปณีย์ฯ และผู้แทนสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 ของไทย ได้แสดงความเสียใจเป็นอย่างยิ่งต่ออุบัติเหตุที่เกิดขึ้น และได้ทำการขออภัยโทษต่อรัฐบาลและประชาชนกัมพูชา และหวังว่าเหตุการณ์นี้จะไม่กระทบต่อความสัมพันธ์ของประเทศทั้งสอง
เกี่ยวกับปัญหาที่อ่อนไหวนี้ เมื่อวันที่ 18 ต.ค. 55 ฯพณฯ น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทย ได้โทรศัพท์ถึงสมเด็จฯ ฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา แสดงความเสียใจต่ออุบัติเหตุที่มิได้เกิดจากความตั้งใจนี้ และผู้นำของประเทศทั้งสองได้ทำความเข้าใจต่อปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 16-17 ต.ค. ดังกล่าว
โฆษกกองการข่าวและโต้ตอบเร็วของสำนักนายกรัฐมนตรีหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ประชาชนกัมพูชาที่อยู่ในช่วงเศร้าเสียใจต่อการเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระนโรดม สีหนุฯ จะมีความเข้าใจต่อเหตุการณ์ความเป็นจริง และหลีกเลี่ยงความเข้าใจผิดที่อาจเกิดจากการยุยงส่งเสริมของผู้ไม่ประสงค์ดี (ผู้มีอคติ) ที่ประสงค์จะสร้างความไม่สงบในสังคม และสร้างความไม่มีเสถียรภาพทางการเมือง ตลอดจนการสร้างความเป็นศัตรูกับประเทศเพื่อนบ้านต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการทางการเมืองของคนบางกลุ่ม เพื่อหลอกลวงความเห็นของสาธารณชนและทำลายความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างประชาชน และรัฐบาลของกัมพูชาและไทย
ราชธานีพนมเปญ
18 ตุลาคม 2555


ที่มา: ครอบครัวข่าว

ดีเอสไอจัดทีมสอบชุดใหญ่พิจารณาคําสั่งศาลคดี พัน คํากอง ออกหมายเรียกคนสั่งฆ่า

ที่มา uddred

 ข่าวสด 19 ตุลาคม 2555 >>>


ผู้สื่อข่าว "ข่าวสด" รายงานว่า วันที่ 19 ต.ค. รายงานข่าวจากพนักงานสอบสวนคดี 99 ศพ เปิดเผยว่า ในส่วนของคดีของนายพัน คำกอง คนขับแท็กซี่ ที่ถูกยิงเสียชีวิตบริเวณถนนราชปรารภเมื่อเดือน พ.ค. 53 ซึ่งศาลอาญามีคำสั่งให้คดีของนายพันเป็นคดีฆาตกรรม โดยเสียชีวิตจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐที่เกิดจากการกระชับพื้นที่ โดยการยิงสกัดรถตู้ต้องสงสัยคันหนึ่งที่วิ่งบนถนนราชปรารภจนไปถูกนายพันเสีย ชีวิต ซึ่งทางพนักงานสอบสวนกำลังคัดสำนวนคดีของนายพันจากศาลอาญาอยู่ คาดว่าประมาณสิ้นเดือน ต.ค. นี้คำสั่งคดีนายพัน จะมาถึงดีเอสไอ เมื่อคำสั่งมาถึงแล้วก็จะนำเข้าหารือในที่ประชุมคณะพนักงานสอบสวนชุดใหญ่  3 ฝ่ายทันที ประกอบด้วย ดีเอสไอ ตำรวจ และอัยการ เพื่อร่วมกันตรวจสอบข้อมูลในคำสั่งดังกล่าวว่ามีใครเกี่ยวข้องกับการเสีย ชีวิตของนายพัน คำกอง บ้างเพื่อจะได้ออกหมายเรียกให้มารับทราบข้อกล่าวหา กระทำการโดยประมาททำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายโดยเจตนา ทั้งนี้หากไม่สามารถระบุถึงตัวเจ้าหน้าที่ทหารที่เป็นคนยิงนายพันได้ ก็จะต้องออกหมายเรียกคนสั่งการขณะนั้นเข้ามารับทราบข้อกล่าวหาแทน และหากออกหมายเรียก 3 ครั้งแล้วไม่มาพบก็จะออกหมายจับทันที

กระทรวงการคลังทำหนังสือ 'ด่วนที่สุด!' ถึง กสทช. ชี้ประมูล 3G ส่อฮั้ว

ที่มา ประชาไท




หลังจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) โดยคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) มีมติ 4 ต่อ 1 รับรองผลการประมูลใบอนุญาตประกอบการ หรือไลเซ่นส์ คลื่นความถี่ 3G 2.1 กิกะเฮิร์ตซ์ไปเมื่อช่วงบ่ายวันนี้ (18 ต.ค.)
เว็บไซต์สำนักข่าวอิศรา รายงานว่า วันเดียวกัน คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ได้ส่งหนังสือ "ด่วนที่สุด" ที่ กค (กพวอ) 0421.3/42301 ลงวันที่ 18 ต.ค.2555 ถึงประธาน กสทช. โดยระบุว่า การประมูลคลื่นความถี่ 3G เมื่อวันที่ 16  ต.ค.ที่ผ่านมา ไม่มีการแข่งขันราคากันอย่างแท้จริง รวมถึงอาจมีความผิดตาม พ.ร.บ.ฮั้ว ซึ่งจะส่งผลให้รัฐสูญเสียรายได้มหาศาล และ กสทช.อาจต้องรับผิดตามกฎหมายดังกล่าว
โดยเนื้อหาหนังสือดังกล่าวระบุว่า การดำเนินการจัดประมูลคลื่นความถี่ 3G มีผู้ประมูล 3 ราย โดยมีการเสนอราคาเพิ่มขึ้นน้อยครั้งเมื่อเทียบกับระยะเวลาที่กำหนดให้มีการ ประมูล และคลื่นความถี่ที่ประมูลมีจำนวนพอดีกับผู้เสนอราคาที่สามารถจัดสรรได้รายละ 3 สลอต กรณีจึงถือได้ว่าการประมูลดังกล่าวไม่มีการแข่งขันราคาอย่างแท้จริงตาม เจตนารมณ์ของการประมูลด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
ประกอบกับผู้ชนะการประมูลจะได้รับประโยชน์จากการให้บริการอย่างต่อเนื่อง เป็นเวลานาน เนื่องจากคลื่นความถี่เป็นทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ดังนั้น หากการจัดสรรทรัพยากรคลื่นความถี่กรณีนี้เป็นไปอย่างไม่เหมาะสม หรืออาจมีลักษณะการสมยอมราคาตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 (พ.ร.บ.ฮั้ว) จะส่งผลให้รัฐสูญเสียรายได้อย่างมหาศาล และ กสทช.อาจอยู่ในข่ายต้องรับผิดตามกฎหมายดังกล่าว
ทั้งนี้ เอกสารดังกล่าว ลงนามโดย น.ส.สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง ปฏิบัติหน้าที่แทนปลัดกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานกรรมการว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ลงวันที่ 18 ต.ค.2555

มติบอร์ด กทค.รับรองประมูล 3G ด้วยเสียง 4-1

ที่มา ประชาไท



มติที่ประชุม กทค. รับรองผลการประมูลใบอนุญาต 3G คลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ 4-1 นพ.ประวิทย์ ไม่รับรอง เรียงหน้าตรวจสอบ "สหพันธ์องค์กรผู้บริโภค"-ประชาชนห้าหมื่นกว่า ยื่นถอด กสทช.ส่อผิดตาม พ.ร.บ.ฮั้ว ด้านสุริยะใสชะลอยื่นศาลปกครองไต่สวนเรื่อง 3G - รอฟังคำสั่งคดีก่อน ขณะที่ศาลปกครองไม่รับฟ้อง “สถาบันคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค-พล.ร.อ.ชัย”

(18 ต.ค.55) นายประเสริฐ ศีลพิพัฒน์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ด้านเศรษฐศาสตร์ ในฐานะกรรมการกิจการโทรคมนาคม หรือ บอร์ด กทค. กล่าวภายหลังการประชุมบอร์ด กทค. ว่า ในวันพรุ่งนี้ (19 ต.ค.) จะส่งหนังสือรับรองผลการประมูลใบอนุญาต 3G คลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ เมื่อวันที่ 16 ต.ค.ที่ผ่านมา ให้กับผู้ชนะประมูล 3G ทั้ง 3 ราย โดยมีบริษัท เอกชนเข้าร่วมประมูล 3 ราย ได้แก่ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค ประมูลคลื่นความถี่ได้ในราคา 14,625 ล้านบาท บริษัท ดีแทค เนควอร์ค และบริษัท เรียล ฟิวเจอร์ ประมูลคลื่นความถี่ไปในราคา 13,500 ล้านบาทเท่ากัน รวมทั้งสามรายประมูลคลื่นความถี่ไปในมูลค่า 41,625 ล้านบาท โดยผู้ชนะทั้ง 3 รายต้องจ่ายเงิน 3 งวด แบ่งเป็นปีแรก 50% และปีที่ 2 อยู่ที่ 25% และปีที่ 3 อยู่ที่ 25% ของเงินที่ประมูลได้ ภายใน 90 วัน และจะได้ใบอนุญาตครอบครองคลื่น 15 ปีทันทีใน 7 วัน
กรรมการ กทค. กล่าวต่อว่า การลงมติของบอร์ด กทค.เพื่อรับรองผลการประมูล 3G ครั้งนี้ ถือเป็นที่สิ้นสุดแล้ว ส่วนเงินที่ได้จากการจัดประมูลคลื่นความถี่ 3G จะนำส่งเข้ารัฐให้เร็วที่สุด แต่ไม่สามารถบอกได้ว่าเมื่อไร เพราะต้องรอให้เอกชน 3 ราย ส่งเงินเข้ามาทั้งหมดก่อน โดยคาดการณ์ว่าจากนั้นประมาณ 3 เดือน จะสามารถนำส่งเข้ารัฐได้ อย่างไรก็ตาม หากหักค่าใช้จ่ายในการจัดประมูลประมาณ 20 ล้านกว่าบาท
ต่อข้อถามถึงการกำกับดูแลเอกชนนั้น กรรมการ กทค.กล่าวว่า ระยะแรกในการกำกับดูแล ต้องดูว่าผู้ประกอบการมีการแข่งขันกันมากหรือไม่ และต้องดูต้นทุนของผู้ประกอบการด้วย ซึ่งขณะนี้ มีต้นทุนการประกอบกิจการอยู่แล้ว ซึ่ง กสทช. ต้องเอามาดูว่าเป็นธรรมกับผู้บริโภคหรือไม่ โดยคาดว่าหลังจากนี้ 6 เดือน จะสามารถบอกความชัดเจนได้ พร้อมยืนยันว่า การกำกับดูแลต้องถูกลงกว่าเดิม
สำหรับการประชุม กทค.ครั้งนี้ ประกอบด้วย 5 ราย ได้แก่ พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธาน กสทช. และประธาน กทค. พล.อ. สุกิจ ขมะสุนทร กสทช.ด้านการศึกษา วัฒนธรรม และพัฒนาสังคม นายสุทธิพล ทวีชัยการ กสทช.ด้านกฎหมาย นายประเสริฐ ศีลพิพัฒน์ ด้านเศรษฐศาสตร์ และ นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กสทช.ด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม
โดยการประชุมเริ่มตั้งแต่เวลา 11.00-15.00 น. ใช้เวลารวม 4 ชั่วโมง โดยสำนักงาน กสทช. ได้ถ่ายทอดเสียงให้สื่อมวลชนรับฟัง ที่ชั้น 2 อาคารหอประชุม ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ มีการแจ้งว่าจะถ่ายทอดภาพด้วยแต่เกิดขัดข้องทางเทคนิค จึงได้แค่เสียงอย่างเดียว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะที่กำลังถ่ายทอดสดเสียงการประชุมนั้น มีเนื้อหาที่ถกเถียงกันซ้ำไปซ้ำมาจนทำให้บอร์ด กทค. 2 คน ประกอบด้วย นายประเสริฐ และ พล.อ.สุกิจ วอล์กเอาต์ออกจากห้องประชุม ทำให้ พ.อ.เศรษฐพงค์ ต้องตัดบทบอกให้ที่ประชุม กทค.ลงมติรับรองผลการประมูล 3G ของ กสทช. ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 16 ต.ค.2555
ผลปรากฏว่า การลงมติรับรองผลการประมูลใบอนุญาต 3G ของ กทค. มีมติบอร์ด 4-1 โดย นพ.ประวิทย์ ไม่รับรองผล และขอดูเอกสารการเคาะราคาการประมูลทั้ง 7 ครั้งก่อน ส่งผลให้ที่ประชุมบอร์ดขอปิดเสียงถ่ายทอดสดเพื่อนำเอกสารมาอธิบายให้ นพ.ประวิทย์ ฟังประมาณ 5 นาที จึงได้เปิดเสียงถ่ายทอดสด และได้สรุปผลการลงมติรับรองการประมูล 3G ของบอร์ด กทค.
สำหรับประเด็นที่ นพ.ประวิทย์ ตั้งข้อสังเกตนั้นมีหลายเรื่อง อาทิ เรื่องราคาตั้งต้ที่ต่ำเกินไป และการออกหลักเกณฑ์ประมูลที่ไม่ทำให้เกิดการแข่งขัน รวมถึงการออกประกาศเพื่อทำประชาพิจารณ์ไม่สอดคล้องตามเวลาที่กำหนด

"สหพันธ์องค์กรผู้บริโภค" ยื่นถอด กสทช. ส่อผิดตาม พ.ร.บ.ฮั้ว
ด้าน บุญยืน ศิริธรรม ประธานสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค เข้ายื่นหนังสือถึงคณะกรรมาธิการตรวจสอบทุจริตและธรรมาภิบาลฯ วุฒิสภา โดยมี รสนา โตสิตระกูล เป็นประธาน หลังพบว่าการปฏิบัติหน้าที่ของ กสทช. เข้าข่ายกระทำผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ (พ.ร.บ.ฮั้ว)
บุญยืน กล่าวว่า รู้สึกผิดหวังมาก เพราะเคยเป็นหนึ่งในคณะกรรมการสรรหา กสทช. ในรอบ 44 คน เพื่อส่งต่อให้วุฒิสภาคัดเลือกเหลือ 11 คน ขณะที่เลือกเข้ามาแต่ละคน นับว่ามีประวัติหน้าที่การงานดี และแสดงวิสัยทัศน์ที่ดีมาก ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม แต่เมื่อเข้ามากลับเปลี่ยนไป พร้อมยืนยันว่า สหพันธ์องค์กรผู้บริโภคจะไม่หยุดตรวจสอบ กสทช.แน่นอน
นอกจากนี้ บุญยืนระบุว่า สิ่งที่รับไม่ได้คือ การทำหลักเกณฑ์ก่อนการประมูลจนสามารถเอื้อให้บริษัทที่มีอยู่ในตลาดเพียงแค่ 3 ราย ได้เข้ามาประมูล โดยมองว่า นี่ไม่ได้เรียกว่า การประมูล แต่คือการประเคน มากกว่า กสทช.กำลังเล่นลิเก หรือเล่นจำอวดหน้างานศพให้สังคมดู
ด้านรสนา ประธานคณะกรรมาธิการตรวจสอบการทุจริตและธรรมาภิบาลฯ วุฒิสภา กล่าวว่า กรรมาธิการได้รับเรื่องจากสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคไว้ตรวจสอบ เนื่องจากเป็นหน้าที่ที่ในความรับผิดชอบ ส่วนประเด็นที่ยื่นให้ตรวจสอบนั้น เป็นประเด็นเดียวกันกับที่สังคมเกิดข้อสงสัย โดยเฉพาะทำผิดตาม พ.ร.บ.ฮั้ว หรือไม่ ซึ่งหากผลสอบออกมาพบว่าผิดปกติ จะต้องดูว่าจะส่งผลสอบไปให้หน่วยงานใดเอาผิดตามความรับผิดชอบ เหมือนเช่นที่เคยส่งให้ทางคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มาแล้ว

ประชาชนห้าหมื่นกว่า ลงชื่อถอดถอน กสทช.
ตัวแทน เครือข่ายภาคประชาชน นำโดยกลุ่มลูกศิษย์หลวงตามหาบัว กว่า 50 คน นำรายชื่อประชาชนใส่ลังมาประมาณ 30 ลัง รวมทั้งหมด 57,904 รายชื่อ ยื่นต่อนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา เพื่อให้ถอดถอนกรรมการ กสทช.
นิคม กล่าวว่า ขณะนี้รับเรื่องดังกล่าวไว้แล้ว โดยหลังจากนี้จะนำไปตรวจสอบความถูกต้องของรายชื่อที่ยื่นมา จากนั้นจะส่งต่อให้ ป.ป.ช. ดำเนินการตามกระบวนการถอดถอน โดยอาจใช้เวลานานกว่า 2 เดือน นอกจากนี้ ยอมรับว่ารู้สึกผิดหวังมากในฐานะที่เป็นหนึ่งในกรรมการเลือก กสทช.ชุดนี้ โดยเฉพาะผลการจัดประมูลเมื่อวันที่ 16 ต.ค.ที่ผ่านมา ที่ราคาไม่เกิดการแข่งขันมากถึง 6 ใบ ขณะที่โดยรวมที่ได้เข้ารัฐนับว่าเป็นราคาที่ต่ำมาก

สุริยะใสชะลอยื่นศาลปกครองไต่สวนเรื่อง 3G - รอฟังคำสั่งคดีก่อน
สุริยะ ใส กตะศิลา ผู้ประสานงานกลุ่มการเมืองสีเขียว (กลุ่มกรีน) กล่าวว่า วันนี้ (18 ต.ค.) ตัดสินใจจะไม่ไปศาลปกครองกลางเพื่อยื่นคำฟ้องเพิ่มเติม กรณีที่บอร์ด กทค. จะนัดประชุมเพื่อลงมติรับรองผลการประมูลใบอนุญาตให้บริการโทรศัพท์เคลื่อน ที่ 3G โดยจะขอรอฟังคำสั่งในคดีที่ได้ยื่นฟ้องไปก่อนหน้านี้ก่อน
    
ศาลปกครองกลาง มีคำสั่งไม่รับคำฟ้องคดีประมูล 3G 2 คดี
ศาล ปกครองกลางมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องในคดีที่ฟ้องเกี่ยวกับการประมูลคลื่น 3G รวม 2 คดี คือ กรณีที่สมาคมสถาบันคุ้มครองสิทธิประโยชน์ผู้บริโภค ยื่นฟ้อง กสทช. ขอให้เพิกถอนประกาศสำนักงาน กสทช.เรื่องรายชื่อผู้เข้าร่วมการประมูลใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สากลย่าน 2100 กิกะเฮิรตซ์ เนื่องจากบริษัท ดีแทค เนทเวอร์ค จำกัด เป็นผู้มีสิทธิเข้าร่วมประมูล มี นายจอน ทราวิส เอ็ดดี้ อัลดุลลาห์ สัญชาติอเมริกัน เป็นผู้มีอำนาจลงนาม จึงเข้าลักษณะขัดต่อประกาศ กสทช.เรื่องการกำหนดข้อห้ามการกระทำที่มีลักษณะเป็นการครอบงำกิจการโดยคน ต่างด้าว
โดยเหตุที่ศาลไม่รับคำฟ้อง เพราะสมาคมฯ ไม่ใช่ผู้มีความเกี่ยวข้องกับการดำเนินการประมูล ไม่ว่าทางใดทางหนึ่งโดยตรง จึงไม่มีผู้มีส่วนได้เสียโดยตรง ที่จะโต้แย้งขอให้ศาลเพิกถอนประกาศ กสทช.ดังกล่าว
    
ส่วนที่อ้างว่า การที่ กสทช.ประกาศให้บริษัท ดีเทค เนทเวอร์ค จำกัด เป็นผู้มีสิทธิเข้าร่วมประมูล จะส่งผลทำให้การจัดสรรคลื่นความถี่อันเป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติ ตกอยู่ในความควบคุมอิทธิพลของคนต่างด้าว เป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศ เห็นว่า หากบริษัทดังกล่าวได้รับใบอนุญาต ย่อมต้องไม่ดำเนินการใดๆ อันเป็นการขัดต่อข้อห้ามตามประกาศ กสทช. เรื่องการกำหนดข้อห้ามการกระทำที่มีลักษณะเป็นการครอบงำกิจการโดยคนต่างด้าว มิเช่นนั้น บริษัทดังกล่าวจะต้องถูกดำเนินการตามข้อ 8-12 ตามประกาศดังกล่าว จึงเห็นได้ว่าเหตุการณ์ดังที่สมาคมฯ กล่าวอ้างอาจจะเกิดหรือไม่เกิดขึ้นก็ได้ในอนาคต ความเสียหายที่จะเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพของบุคคล หรือความเสียหายแก่ประโยชน์ส่วนรวม หรือสาธารณะยังไม่มีความแน่นอน และ กสทช.ก็ได้มีมาตรการควบคุมดูแลมิให้บริษัทดังกล่าวกระทำการฝ่าฝืนบทบัญญัติ ต่างๆ อยู่แล้ว นอกจากนั้น หากอนาคตเหตุการณ์เป็นไปตามที่สมาคมฯกังวลใจ คือ บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตถูกครอบงำโดยคนต่างด้าว สมาคมฯก็ย่อมเป็นผู้ถูกละเมิดสิทธิเสรีภาพ และมีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลได้ แต่ในขณะนี้สมาคมฯยังไม่ใช่เป็นผู้เดือดร้อนเสียหาย จึงไม่มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครอง
  
ส่วนคดีที่ พล.ร.อ.ชัย สุวรรณภาพ และพวกรวม 3 คนฟ้อง กสทช.ว่า ออกหลักเกณฑ์และจัดการประมูลใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทร คมนาคมเคลื่อนที่สากล ย่าน 2.1 กิกะเฮิรตซ์ โดยไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 เพราะการเรียกเก็บเงินประมูลขั้นต่ำ 4,500 ล้านบาท จากเอกชนผู้เข้าประมูล อาจทำให้ กสทช.ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคได้ตามกฎหมาย
ศาลมีคำสั่งไม่รับฟ้องโดยให้เหตุผลว่า เงินที่ได้จากการประมูลหลังหักค่าใช้จ่ายย่อมตกเป็นของแผ่นดิน กสทช.จึงหาได้เป็นเจ้าหนี้ของผู้ได้รับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับ กิจการโทรคมนาคมดังกล่าวแต่อย่างใด และหากมีกรณีที่ กสทช.จะต้องใช้สิทธิเรียกร้องเพื่อให้ผู้ได้รับใบอนุญาตชำระหนี้ ไม่ว่าจะเป็นหนี้เงินประมูลคลื่นความถี่ หรือหนี้อื่นใด ก็เป็นเพียงการดำเนินการแทนรัฐเท่านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้จึงไม่มีกรณีที่ กสทช.จะมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ของผู้ได้รับใบอนุญาตอันเป็นผลเนื่องมาจากการออก ประกาศของ กสทช.ตามที่ พล.ร.อ.ชัย กับพวก กล่าวอ้าง ดังนั้น ในกรณีนี้จึงหาได้มีความเสียหายใดๆ เกิดขึ้นแก่ประโยชน์สาธารณะตามที่ พล.ร.อ.ชัย กับพวก เข้าใจแต่อย่างใด พล.ร.อ.ชัย กับพวกจึงไม่อาจอาศัยเหตุดังกล่าวนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครอง จึงมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณาและให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ
    

ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์ 1, 2 ASTVผู้จัดการออนไลน์ 1, 2