ที่มา ประชาไท
Fri, 2012-08-24 09:36
ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์
i,
ii
ต้องตอบด้วยวิชาประวัติศาสตร์ เพราะถ้าไม่รู้ประวัติศาสตร์ก็เหมือนตาบอดข้างหนึ่ง
แต่ถ้าเชื่อประวัติศาสตร์ฉบับกระทรวงศึกษาธิการก็ตาบอดสองข้าง
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
iii
กล่าวไว้ในเดือนพฤษภาคม 2555
ในเวลาเพียงปีเศษ หากนับจากชาตินิยมในปราสาทเขาพระวิหาร-มรดกโลก มาถึง
ชาตินิยมในเหรียญทองโอลิมปิกของไทย
ความคิดฝ่ายอนุรักษ์นิยมได้ยืดอกอย่างงามสง่าอยู่บนเวทีนานาชาติ
ยังไม่นับกับการท้าตีท้าต่อยของมวลชนไทยหัวใจรักชาติที่เข้าไปทำสงครามไซ
เบอร์ย่อยๆในเฟซบุ๊คที่ออนไลน์ไปทั่วโลก
iv
สิ่งที่ย้อนแย้งก็คือ ภายใต้อุดมการณ์ชาตินิยมที่คุกรุ่นนี้ กลับเกิดขึ้นพร้อมๆกับ กระแสประชาคมอาเซียน 2558 โดยเฉพาะในแวดวงการศึกษา
v
ที่ตื่นตัวทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติการที่มุ่งปรับรูปแบบการเรียน
การสอนให้รับกับขบวนรถไฟแห่งความฝันในอีก 3 ปีข้างหน้า
ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นก็คือ ความพยายามที่จะ “รู้เขา”
ผ่านการผลักดันให้เปิดวิชาอาเซียนศึกษาทั้งระดับประถมศึกษา
มัธยมศึกษาและอุดมศึกษา ในอีกด้านหนึ่งกลับพบว่าความพยายามที่จะ “รู้เรา”
นั้นเรียกได้ว่ามีน้อยกว่าน้อย
กลุ่มนักวิชาการฝ่ายที่ตั้งคำถามกับ “ชาตินิยม”
vi
มักมองกันว่า ปัญหามีรากอยู่ที่การเรียนการสอนในห้องเรียน
ในทางกลับกันอีกฝ่ายที่อยู่ข้าง “ชาตินิยม” เห็นว่าสังคมไทยยัง “ชาตินิยม”
ไม่มากพอก็ยังเห็นว่า
เพราะการศึกษาในห้องเรียนที่จะปลุกจิตสำนึกด้านนี้ยังน้อยไป
และวิชาสำคัญที่ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกันว่ามีปัญหาก็คือ วิชาประวัติศาสตร์
บทความนี้จึงมุ่งที่จะทำความเข้าใจการศึกษาภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียง
ใต้ ทั้งในฐานะหน่วยทางการเมืองและการรวมตัวกันในฐานะองค์กร
ผ่านความเปลี่ยนแปลงในแบบเรียนวิชาประวัติศาสตร์ที่กำลังทวีบทบาทสำคัญใน
ฐานะของรากฐานอุดมการณ์ที่ถูกกระตุ้นเร้าขึ้นมาอย่างช้าในปี 2544
หรืออาจกล่าวได้ว่าคือ ประวัติศาสตร์ของแบบเรียนวิชาประวัติศาสตร์นั่นเอง
ในเวลาและหน้ากระดาษอันจำกัด
ผู้เขียนเลือกแบบเรียนวิชาประวัติศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
เป็นตัวแบบในการทำความเข้าใจ ด้วยสาเหตุ 2 ประการนั่นคือ
การศึกษาภาคบังคับปัจจุบันนับช่วงการศึกษาอยู่ 9 ปี
vii
นั่นคือตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
นอกจากนั้นช่วงอายุนี้ยังเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อสำหรับนักเรียนที่อยู่ใน
ภาวะที่เจริญพันธุ์ที่กำลังลอกคราบสู่วัยผู้รุ่นที่กำลังเผชิญความเปลี่ยน
แปลงอย่างมากมาย ซึ่งหลังจบการศึกษาภาคบังคับนี้
ก็จะนำไปสู่หนทางชีวิตที่แตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นออกไปทำงาน,
เรียนต่อสายวิชาชีพ และเรียนต่อสายสามัญนอกจากนั้นในเชิงสถิติ ปี 2553
นักเรียนระดับมัธยมต้นมีจำนวน 2,636,288 คน
เมื่อนับจากนักเรียนในระบบตั้งแต่ชั้นเตรียมอนุบาลจนถึงระดับปริญญาเอกทั้ง
หมด 13,157,103 คน
viii นับเป็นสัดส่วนที่มากที่สุดเมื่อเทียบกับช่วงชั้นการศึกษาทั้งหมด
1. แผนการศึกษาแห่งชาติ และการปรับปรุงช่วงชั้นเรียน
ในแวดวงการศึกษาไทย นับว่าให้ความสำคัญกับแผนการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 1
ปี 2503
เป็นสำคัญเนื่องจากมันเป็นการวางนโยบายลักษณะเดียวกันกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจ
แห่งชาติที่เริ่มโดยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
พร้อมทั้งเหล่าเทคโนแครตที่ร่วมทำงานพัฒนาประเทศอย่างขะมักเขม้นในยุคนั้น
การจัดทำแผนการศึกษาแห่งชาตินี้ยังมีขึ้นอีกในปี 2512 สมัยจอมพลถนอม
กิตติขจร, ปี 2520 สมัยธานินท์ กรัยวิเชียร, ปี 2535 สมัยอานันท์ ปันยารชุน
รวมถึงปี 2542 สมัยทักษิณ ชินวัตร
ซึ่งมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการในระดับโครงสร้าง
นั่นคือ ทำให้เกิด หลักสูตรกระทรวงศึกษา พ.ศ. 2503 หลักสูตรกระทรวงศึกษา
พ.ศ.2521 หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544
ไม่เพียงเท่านั้นการเกิดขึ้นของ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.
2542ที่เกิดขึ้นหลังรัฐธรรมนูญ ปี 2540
ก็พยายามสร้างมาตรฐานการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบขึ้นในสภาพความเปลี่ยน
แปลงมหาศาลทั้งในเมืองและชนบท อย่างที่เราทราบกันว่า ทศวรรษ 2540
เต็มไปด้วยหมุดหมายทางประวัติศาสตร์
หลายเหตุการณ์ทำให้เราเห็นตัวละครจำนวนมากที่เผยโฉมออกมาทั้งในเมืองและชนบท
ที่ควรเข้าใจอีกประเด็นก็คือ พัฒนาการของระบบชั้นการศึกษา ระบบชั้นเรียนในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา
ix
มีการเปลี่ยนแปลงเรื่อยมาจนมามีมาตรฐานแบบเดียวกับปัจจุบันก็คือ ปี 2521
กล่าวคือ ในปี 2503 มีการใช้ระบบ 4-3-3-2 นั่นคือ ประถมต้น 4 ปี-ประถมปลาย
3 ปี-มัธยมศึกษาตอนต้น 3 ปี (ม.ศ.1, ม.ศ.2 และม.ศ.3)-มัธยมศึกษาตอนปลาย 2
ปี (ม.ศ.4 และ ม.ศ.5)
จนกระทั่งมีการเปลี่ยนไปสู่ระบบชั้นการศึกษาใหม่อันต่อเนื่องมาจนถึง
ปัจจุบันนั่นคือ 6-3-3 นั่นคือ ประถมศึกษา 6 ปี-มัธยมศึกษาตอนต้น 3
ปี-มัธยมศึกษาตอนปลาย 3 ปี
นอกจากนั้น ขณะที่มีการปฏิรูปการศึกษาในปี 2517
มีการประกาศใช้หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พ.ศ.2518 อีก 3
ปีต่อมาก็มีการประกาศใช้หลักสูตรประถมศึกษาและมัธยมศึกษาที่ปรับปรุงในปี
2521
ตารางที่ 1 แสดงการประกาศหลักสูตรและระบบชั้นการศึกษา
ปี พ.ศ. |
หลักสูตรใหม่ |
ประถมศึกษา |
มัธยมศึกษา |
2503 (4-3-3-2) |
ประถมต้น-ปลาย/ม.ศ.ต้น-ปลาย |
ป.1-ป.4 |
ป.5-ป.7 |
ม.ศ.1-ม.ศ.3 |
ม.ศ.4-ม.ศ.5 |
2518 |
มัธยมศึกษาตอนปลาย |
ป.1-ป.4 |
ป.5-ป.7 |
ม.ศ.1-ม.ศ.3 |
ม.ศ.4-ม.ศ.5 |
2521 (6-3-3) |
ประถมศึกษา/มัธยมศึกษาตอนต้น |
ป.1-ป.6 |
ม.1-ม.3 |
ม.4-ม.6 |
2524 |
มัธยมศึกษาตอนปลาย |
ป.1-ป.6 |
ม.1-ม.3 |
ม.4-ม.6 |
2533 |
ประถมศึกษา/มัธยมศึกษา |
ป.1-ป.6 |
ม.1-ม.3 |
ม.4-ม.6 |
2544 |
ประถมศึกษา/มัธยมศึกษา |
ป.1-ป.6 |
ม.1-ม.3 |
ม.4-ม.6 |
2551 |
ประถมศึกษา/มัธยมศึกษา |
ป.1-ป.6 |
ม.1-ม.3 |
ม.4-ม.6 |
จากตารางที่ 1 ทำให้เห็นว่า
ระบบการศึกษาของไทยในระดับประถมศึกษาจนถึงมัธยมศึกษานั้นพึ่งจะมาลงตัวอยู่
ในโครงสร้างมาตรฐานเดียวกันทั้งระบบชั้นการศึกษาและหลักสูตรก็ล่วงมาถึงปี
2533 แล้ว
2. พัฒนาการของหลักสูตรและแบบเรียนวิชาประวัติศาสตร์
นอกจากโครงสร้างช่วงชั้นการศึกษาแล้ว สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปด้วยนั่นก็คือ
หลักสูตรการเรียนการสอน
พัฒนาการบางอย่างในแบบเรียนประวัติศาสตร์ไม่ได้หยุดนิ่งเป็นแบบเรียนที่
“ล้าหลังคลั่งชาติ” ไปเสียทั้งหมด
ก่อนอื่นจะต้องเข้าใจพลวัตของหลักสูตรและแบบเรียนวิชาเกี่ยวกับประวัติ
ศาสตร์
ในที่นี้จะมุ่งเน้นศึกษาเฉพาะวิชาประวัติศาสตร์
ผ่านโครงสร้างหลักสูตรและแบบเรียน ที่มีสันปันน้ำสำคัญก็คือ
การแยกวิชาประวัติศาสตร์ออกมาเป็นวิชาเดียวในปี 2544
ในช่วงที่ชาตินิยมถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวาง
2.1 แบบเรียนประวัติศาสตร์ในฐานะหน่วยย่อยของวิชาสังคมศึกษา พ.ศ.2503-2544
1) หลักสูตรกระทรวงศึกษา พ.ศ. 2503
ทราบกันดีว่าทศวรรษ 2500
เป็นช่วงเวลาที่รัฐเร่งการพัฒนาของประเทศเพื่อให้สู่ความเจริญก้าวหน้าทัน
สมัยเพื่อเอาชนะทั้งคอมมิวนิสต์และยกระดับความสูงส่งของตนเอง
ดังนั้นการพัฒนาจึงยังต้องการพยุงลักษณะความเป็นไทยแบบอนุรักษ์นิยมไว้ด้วย
x
เงื่อนไขสำคัญประการหนึ่งก็คือ การให้การศึกษานั่นเอง
การศึกษาระดับประถมศึกษาเป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานที่รัฐต้องการให้ประชาชน
อ่านออกเขียนได้ เพื่อที่จะเป็นหน่วยแรงงานที่สำคัญในสังคม
หลักสูตรชั้นประถมศึกษาตอนปลาย (ป.5-7)
ในวิชาวิชาสังคมศึกษามีหัวข้อย่อยในการศึกษาคือ ศีลธรรม หน้าพลเมือง
ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ที่ว่าด้วยประวัติชนชาติไทย
ประวัติศาสตร์กรุงศรีอยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์
โดยมีเนื้อหาประวัติศาสตร์ที่สัมพันธ์กับเมืองระหว่างไทย พม่า ลาว
และกัมพูชา
xi นอกจากนั้นยังพบว่าคำว่า “เพื่อนบ้าน” นั้นถูกใช้ในแบบเรียนอย่างช้าในปี 2503
xiiแสดง
ให้เห็นถึงการตระหนักถึงการที่จะต้องสัมพันธ์กับประเทศที่มีอาณาเขตติดต่อ
กัน
ดังนั้นแบบเรียนวิชาภูมิศาสตร์จึงเป็นเครื่องมืออย่างดีที่จะทำให้เรารู้จัก
ประเทศเพื่อนบ้านเหล่านั้น ในความรู้ระดับมัธยมปลายนั่น
ใช้แบบเรียนภูมิศาสตร์ที่ตีพิมพ์มาตั้งแต่ปี 2496 โดยสำนักพิมพ์คุรุสภา
xiii
บริบททางการเมืองระหว่างประเทศและชายแดนที่เกิดขึ้นในยุคนี้ก็มีตั้งแต่ การทำรัฐประหารของนายพลเนวินในพม่าในปี 2505
xivขณะที่ลาวฝ่ายซ้ายที่ได้รับการสนับสนุนจากเวียดนามก็เริ่มเคลื่อนไหวในประเทศซึ่งทำให้รัฐบาลไทยรู้สึกว่าถูกคุกคาม
xvปัญหา
กับชายแดนทางใต้นั้น
เป็นปัญหาที่หยั่งรากลึกมานานตั้งแต่สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่ไม่สามารถจะ
กลืนให้เป็นไทยได้สำเร็จ ในขณะที่บริบทแวดล้อมทางใต้ก็กำลังมีการรวม
ชาติมาเลเซีย
xvi
รัฐก็พยายามที่จะแก้ปัญหาภายในด้วยการกลืนชาติด้วยประชาชนไทยพุทธ
ดังที่มีนโยบายอพยพประชาชนไทยพุทธไปตั้งรกรากทำมาหากินในภาคใต้ช่วงกลางถึง
ปลายทศวรรษ 2500
xviiและเรื่องใหญ่โตที่สุดอันเป็นความขัดแย้งขึ้นไปสู่ศาลโลกและเป็นมรดกความขัดแย่งส่งผลมาถึงปัจจุบันก็คือ กรณีปราสาทเขาพระวิหาร
xviii
2) การปรับเปลี่ยนหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ ครั้งแรก
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย พ.ศ. 2518
การปรับปรุงหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย มีมาก่อนหลักสูตรอื่นนั่นคือ
ตั้งแต่ปี 2518
ยังไม่ทราบเหตุผลแน่ชัดว่าเหตุใดหลักสูตรระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจึงได้รับ
การแก้ไขก่อน พบจากประวัติของหลายสถาบันพบว่า
ปีนี้เป็นหมุดหมายสำคัญที่เกิดชั้นเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายขึ้นทั่ว
ประเทศ
ช่วงนี้ความตึงเครียดทางการเมืองในภูมิภาคเริ่มเขม็งเกลียวขึ้นเรื่อยๆ
โดยเฉพาะปรากฏการณ์ที่ประเทศเพื่อนบ้านเปลี่ยนแปลงการปกครองไปสู่ระบอบ
คอมมิวนิสต์ นั่นคือ ลาวในปี 2518 กัมพูชาในปี 2519 ที่สำคัญก็คือ
ความขัดแย้งนี้ไม่ได้เป็นเพียงการเขม่นกันระหว่างประเทศ
แต่มันซึมลึกเข้าไปในเนื้อในอุดมการณ์และวิธีคิดของผู้คนในประเทศด้วย
ในไทยก็คือระหว่างรัฐกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย
โดยเฉพาะหลังเหตุการณ์ล้อมปราบในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เมื่อเช้าตรู่วันที่ 6
ตุลาคม 2519
3) การปรับเปลี่ยนหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ ครั้งที่ 2
ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น พ.ศ. 2521 และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย พ.ศ. 2524
หลักสูตรนี้ เป็นผลต่อเนื่องมาจากการปรับระบบการศึกษาจาก 4-3-3-2 มาเป็น
6-3-3 ในปี 2521 แต่น่าสังเกตว่า แม้หลักสูตรจะประกาศในปี 2521
แต่กว่าจะถูกนำมาใช้อย่างเป็นระบบและครบทุกชั้นปีก็ลุไปถึงปี 2526
xixการล่วงเวลาการบังคับใช้ออกไปนี้ จึงเป็นช่วงเวลาที่ครอบคลุมถึงการปรับปรุงหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายในปี 2524 ไปด้วย
ตั้งแต่ปี 2521 เป็นต้นมา
อำนาจของการกำหนดความรู้ไม่ได้กระจุกตัวอยู่ที่กระทรวงศึกษาธิการแต่อย่าง
เดียวอีกต่อไป
เนื่องจากมันได้เคลื่อนย้ายไปสู่การแต่งตำราโดยสำนักพิมพ์เอกชนที่ได้รับคัด
เลือกจากภาครัฐ
ซึ่งมีข้อแม้ว่ากระทรวงศึกษาธิการจะเป็นผู้ตรวจความถูกต้องจึงจะได้รับ
อนุญาตให้จัดจำหน่ายเป็นหนังสือเรียน
จึงถือได้ว่าช่วงนี้ทำให้เกิดตลาดการแข่งขันของตำราเรียนเอกชนเจ้าใหม่ๆขึ้น
ไม่ว่าจะเป็น อักษรเจริญทัศน์ คุรุสภา วัฒนาพานิช ขณะที่เจ้าตลาดเดิมคือ
ไทยวัฒนาพานิช
xx
สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ
ตำราเรียนบางฉบับให้ความรู้เกี่ยวกับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ครอบคลุมอย่างกว้างขวาง ได้แก่ ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ การเกษตรกรรม ทรัพยากร
แร่ธาตุต่างๆ อารยธรรม สภาพสังคม เศรษฐกิจ การปกครอง ภาษา ศาสนา
นโยบายต่างประเทศ
ตลอดจนประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่มีพัฒนาการมาจนถึงยุคปัจจุบัน
ซึ่งเป็นความรู้เกี่ยวประเทศต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น พม่า สิงคโปร์ มาเลเซีย
ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ลาว กัมพูชา เวียดนาม
xxi
ในระดับมัธยมศึกษา
ได้แยกแบบเรียนที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ชาติไทยและเพื่อนบ้านออกเป็น
ระบบ โดยจัดเป็น 3 วิชาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น นั่นคือ ประเทศของเรา
ในชั้นม.1, เพื่อนบ้านของเรา เป็นวิชาในชั้นม.2 และวิชา โลกของเรา
เป็นวิชาในชั้นม.3
xxiiที่
น่าสนใจก็คือทัศนคติในแบบเรียน เพื่อนบ้านของเรา
ที่เห็นว่าการรู้จักเพื่อนบ้านมีศักดิ์และฐานะเป็นเครื่องเปรียบเทียบให้
รู้จักประเทศให้ดีขึ้น
xxiii
ด้วยความที่ไม่ได้มุ่งเน้นประวัติศาสตร์ไปในด้านเดียว
การเรียนรู้เพื่อนบ้านผ่านแบบเรียนชุดนี้จึงให้ความสำคัญกับการสร้างความ
เข้าใจเพื่อนบ้านในมุมมองทั่วไปไม่ว่าจะเป็นภูมิศาสตร์ ประชากร ทรัพยากร
เมืองสำคัญทางด้านเศรษฐกิจ การเมืองรวมถึงประวัติศาสตร์
xxiv แม้แต่การกล่าวถึงพม่าศัตรูตัวฉกาจของไทยที่ถูกสร้างเป็นความทรงจำร่วมของสังคมตลอดมา ก็ไม่ได้ถูกกล่าวถึงในทางเลวร้ายมากนัก
xxv
แบบเรียนวิชาประเทศของเรา ส 101 สำนักพิมพ์อักษรเจริญทัศน์
4) การปรับเปลี่ยนหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ ครั้งที่ 3
หลักสูตรกระทรวงศึกษา พ.ศ.2521 (ปรับปรุง พ.ศ.2533)
การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรเกิดขึ้นขณะที่นโยบายระหว่างประเทศของรัฐบาลต่อ
เพื่อนบ้านได้พลิกจากหน้ามือเป็นหลังมือด้วยนโยบาย
“เปลี่ยนสนามรบให้เป็นสนามการค้า”
xxvi
ในสมัยพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี (2531-2534)
ซึ่งเป็นนโยบายที่ผ่อนคลายความตึงเครียดเดิมมาตั้งแต่สมัยสงครามเย็น
โดยอาศัยความสัมพันธ์พื้นฐานคือ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ
ขณะเดียวกันในยุคนี้เป็นช่วงที่เศรษฐกิจขยายตัวอย่างมากทั้งในเมือง ชนบท
รวมถึงภาคการส่งออกและการออกไปขายแรงงานยังต่างประเทศ
สิ่งที่เห็นได้ชัดในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น นั่นคือ
การเพิ่มสัดส่วนของวิชา ประเทศของเรา ให้ปรากฏในทุกปีการศึกษา
คล้ายกับว่าต้องการจะให้เป็นแบบเรียนที่สร้างความรู้จักตัวเองพร้อมๆไปกับ
ความรู้จักโลกภายนอก ในชั้นม.2 เปลี่ยนจาก เพื่อนบ้านของเรา ไปเป็น
ทวีปของเรา (ส 203) คู่กับวิชา ประเทศของเรา 3 (ส 204) ขณะที่ชั้น ม.3
เปลี่ยนแปลงและวิชา โลกของเรา เป็นวิชาในชั้นม.3
xxvii
(ดูในตารางที่ 2)
ขณะที่วิชาเพื่อนบ้านของเราถูกโยกไปเป็นวิชาในหมวดเลือกเสรี
ว่ากันว่าในช่วงนี้สำนักพิมพ์อักษรเจริญทัศน์ครองเจ้าตลาดของแบบเรียนระดับ
มัธยมศึกษาอยู่
xxviii
2.2 แบบเรียนประวัติศาสตร์ในฐานะวิชาประวัติศาสตร์ พ.ศ.2544-ปัจจุบัน
หมุดหมายสำคัญของการเปลี่ยนแปลงวิชาประวัติศาสตร์ก็คือ ในปี 2544
ได้มีการแยกวิชาประวัติศาสตร์ออกมาเป็นวิชาเดี่ยวอย่างเป็นระบบ
เหตุผลของการแยกวิชานี้ก็คือ เพื่อเสริมสร้างความเป็นไทย
ความเป็นพลเมืองดีของชาติผ่านกระบวนการการเรียนรู้สาระประวัติศาสตร์
วิชานี้กลายเป็นวิชาที่บังคับเรียนอย่างยาวนาน กล่าวคือ
ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ไปจนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
xxix
หลักสูตรดังกล่าวเกิดขึ้นท่ามกลางกระแสชาตินิยมที่ถูกโหมกระพือขึ้นด้วย
สถานการณ์การเมือง
เศรษฐกิจที่เคยถดถอยอย่างหนักอันเนื่องมาจากวิกฤตการณ์ต้มยำกุ้งต้นทศวรรษ
2540
วงการต่างๆมีความตื่นตัวที่จะกลับไปสร้างคำอธิบายต่างๆบนฐานเศรษฐกิจที่
ย่อยยับนั้น โดยเฉพาะการกลับไปหาคำอธิบายถึงตัวตน “ความเป็นไทย”
และสิ่งที่ตอบโจทย์ได้ดีและยังเป็นตัวชี้วัดที่จับต้องได้ก็คือ
กระแสวัฒนธรรมสมัยนิยม (pop culture)
ที่ความเป็นไทยถูกนำมาใช้ได้อย่างเหมาะเจาะในเชิงพาณิชย์
โดยเฉพาะวงการภาพยนตร์ไทยที่เติบโตอย่างก้าวกระโดด
ภาพยนตร์ไทยยุคนี้ทำลายสถิติกันว่าเล่น เช่น ภาพยนตร์เรื่อง นางนาก (2542 )
ทำเงินกว่า 149.6 ล้านบาท บางระจัน (2543) 151 ล้านบาท
มาถึงจุดสูงสุดก็คือ สุริโยไท (2544) ที่รายได้ 550 ล้านบาท
สูงสุดเป็นประวัติการณ์จนถึงทุกวันนี้
xxx
ภาพยนตร์ปลุกกระแสชาตินิยม ตั้งแต่ นางนาก(2542) บางระจัน(2543) และ สุริโยไท(2544)
1) การปรับเปลี่ยนหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ ครั้งที่ 4
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544
หลักสูตรดังกล่าวได้จัดโครงสร้างการเรียนรู้ขึ้นใหม่ในนามของ
“กลุ่มสาระการเรียนรู้” โดยแบ่งเป็น 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้แก่ ภาษาไทย
คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สุขศึกษาและพลศึกษา
ศิลปะ การงานอาชีพและเทคโนโลยี และภาษาต่างประเทศ
วิชาประวัติศาสตร์จัดอยู่ใน “กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา
และวัฒนธรรม”
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม แบ่งเป็นสาระที่1
ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม, สาระที่ 2 หน้าที่พลเมือง
วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม, สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์, สาระที่ 4
ประวัติศาสตร์ และสาระที่ 5 ภูมิศาสตร์ จะเห็นได้ว่าสาระที่ 4 และ 5
จะเป็นวิชาที่เคยกระจัดกระจายอยู่ในวิชาประเทศของเรา เพื่อนบ้านของเรา
ทวีปของเรา โลกของเรา สาระทั้งสองได้ถูกจัดระบบใหม่
ซึ่งในที่นี้จะเน้นสาระที่ 4 ประวัติศาสตร์เป็นหลัก
มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด เครื่องมือใหม่
สิ่งที่เป็นตัวกำหนดโครงเรื่องมีโครงสร้างคือ
ทุกสาระวิชาจะต้องมีมาตรฐานการเรียนรู้ควบคุมอยู่อย่างชัดเจน
ในแบบเรียนจะต้องระบุเรื่องนี้ไว้ภายในเล่มด้วย สาระประวัติศาสตร์มี 3
มาตรฐาน นับเป็นรหัสก็คือ ส 4.1, ส 4.2 และ ส 4.3
ซึ่งแต่ละมาตรฐานก็จะมีตัวชี้วัดเพื่อขยายรายละเอียดอีกชั้น
และเพื่อตรวจทานกับเนื้อหาในแบบเรียนว่า หน่วยการเรียนรู้
(บทต่างๆในแบบเรียน) นั้นเข้าเป้า ตัวชี้วัดในมาตรฐานนั้นหรือไม่
มาตรฐานดังกล่าวแบ่งเป็น 4 ช่วงชั้น นั่นคือ ช่วงชั้นที่ 1 ป.1-3,
ช่วงชั้นที่ 2 ป.4-6, ช่วงชั้นที่ 3 ม.1-3 และช่วงชั้นที่ 4 ม.4-6
อันเป็นระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในที่นี้เราจะมุ่งเน้นไปที่ ช่วงชั้นที่ 3
เป็นหลัก
สาระประวัติศาสตร์ แบ่งหน่วยการเรียนรู้เป็น 3 หน่วย
xxxi
ได้แก่ มาตรฐาน ส 4.1
เน้นสร้างความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวแนวคิดทางประวัติศาสตร์
ความรู้เกี่ยวกับเวลา
ซึ่งน่าจะเป็นครั้งแรกในแบบเรียนที่มีการวางวิธีคิดเช่นนี้อย่างเป็นระบบใน
หลักสูตร
xxxii
ขณะที่มาตรฐาน ส 4.2
เน้นที่เนื้อหาของพัฒนาการในประวัติศาสตร์ทั้งในระดับประเทศและระดับโลก
และมาตรฐานสุดท้าย ส 4.3 คือการเน้นให้เข้าใจและภาคภูมิใจในความเป็นไทย
ซึ่งสำหรับผู้เขียนเห็นว่าเป็นส่วนที่มีปัญหา เมื่อนำเอาทั้ง 3
บทมาผสานและเชื่อมโยงกัน เนื่องจากในเชิงวิชาการประวัติศาสตร์แล้ว
ไม่เน้นการตัดสินถูกผิดโดยง่าย
ดังนั้นตามหลักการแล้วจึงหลีกเลี่ยงอคติจากความชังและความรัก
การเน้นความภาคภูมิใจในความเป็นไทยเป็นธงนำแต่ต้นนั้น
อาจขัดกันกับรากฐานของวิชานี้ โดยเฉพาะเมื่อมองเลยไปถึง
ตัวชี้วัดในระดับช่วงชั้นทั้ง 4 ที่น่าสนใจก็คือ ในช่วงชั้นที่ 4 ม.4-6
กล่าวถึงการสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางประวัติศาสตร์
อคติดังกล่าวจึงบดบังสมรรถนะในการสร้างความรู้ใหม่ไปในตัว
และในแบบเรียนที่จะกล่าวถึงต่อไป
ความภาคภูมิใจในความเป็นไทยนี้เองที่เป็นตัวปัญหาที่ทำให้ความรู้ความเข้าใจ
เพื่อนบ้านเบี่ยงเบนไปด้วย
ตัวอย่างแบบเรียน : สำนักพิมพ์อักษรเจริญทัศน์ และสำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช
แบบเรียนประวัติศาสตร์ที่ยังพอจะหาต้นฉบับได้ก็คือ
สำนักพิมพ์อักษรเจริญทัศน์ ที่มีเครดิตผู้แต่งคือ ณรงค์ พ่วงพิศ, วุฒิชัย
มูลศิลป์ และชาคริต ชุ่มวัฒนะ เท่าที่พบก็คือ แบบเรียนชั้นม.2-6
จำนวนพิมพ์อยู่ที่ 13 ครั้งเป็นอย่างต่ำ ได้รับอนุญาตมาตั้งแต่ปี 2547
จุดเด่นของแบบเรียนชุดนี้ก็คือ
เป็นแบบเรียนประวัติศาสตร์ที่ใช้ประกอบการเรียนปีละ 1 เล่ม
ซึ่งแตกต่างจากแบบเรียนก่อนหน้านี้ที่ส่วนใหญ่จะประกอบการศึกษาเทอมละ 1
เล่มแยกกันอย่างอิสระ เช่น วิชา ส 101 ประเทศของเรา 1, ส 102 ประเทศของเรา 2
ฯลฯ
สำหรับแบบเรียนชั้น ม.1 ที่หายไปนั้น ผู้เขียนได้เพิ่มเติมแบบเรียนของสำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช
xxxiiiเข้า
มา ข้อสังเกตก็คือ
แบบเรียนนี้มีลักษณะที่รวมเอาทุกสาระการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้
สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม พ.ศ.2544 ให้อยู่ในเล่มเดียว
เป็นฉบับที่ตีพิมพ์ปี 2546 พิมพ์ถึง 50,000 เล่ม มีผู้แต่งร่วมหลายคน
แต่นักวิชาการสายประวัติศาสตร์ก็คือ สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ, สาวิตรี
เจริญพงศ์
แบบเรียนวิชาประวัติศาสตร์ หลักสูตรปี 2544 ซ้ายมือสุดคือ ท.ว.พ. อีกสองเล่มคือ อจท.
2) การปรับเปลี่ยนหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ ครั้งที่ 5
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551
"แต่เสียดายตอนนี้ท่านนายกฯ
เขาไม่ให้เรียนประวัติศาสตร์แล้วนะ ฉันก็ไม่เข้าใจ
เพราะตอนที่ฉันเรียนอยู่ที่สวิตเซอร์แลนด์ ไม่มีประวัติศาสตร์อะไรเท่าไหร่
แต่เราก็ต้องเรียนประวัติศาสตร์ของสวิส แต่เมืองไทยนี่
บรรพบุรุษเลือดทาแผ่นดิน กว่าจะมาถึงที่ให้พวกเราอยู่ นั่งอยู่กันสบาย
มีประเทศชาติ เรากลับไม่ให้เรียนประวัติศาสตร์ ไม่รู้ว่าใครมาจากไหน
เป็นความคิดที่แปลกประหลาด
อย่างที่อเมริกาถามไปเขาก็สอนประวัติศาสตร์บ้านเมือง
เขา ที่ไหนประเทศไหน เขาก็สอน แต่ประเทศไทยไม่มี ไม่ทราบว่าแผ่นดินนี้
รอดไปอยู่จนบัดนี้เพราะใคร หรือว่ายังไงกัน อันนี้น่าตกใจ
ชาวต่างประเทศยังไม่ค่อยทราบว่า
นักเรียนไทยไม่มีการสอนประวัติศาสตร์ชาติเลย"
xxxiv
พระราชดำรัสสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
วันที่ 11 สิงหาคม 2551
จากพระราชเสาวนีย์ข้างต้น
ได้ทำให้เกิดการตอบสนองจากผู้รับผิดชอบอย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะเป็นสมชาย
วงศ์สวัสดิ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ที่กล่าวว่าจะเน้นดำเนินการรื้อฟื้นวิชาประวัติศาสตร์อย่างเร่งด่วน
โดยเรียกประชุมผู้เกี่ยวข้องเพื่อหารือ
และจะเสนอต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อให้นำมาสู่การเรียนการสอนประวัติศาสตร์ตามพระ
ราชเสาวนีย์
xxxv
ไม่เพียงเท่านั้นเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.),
อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ,
เลขาธิการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.),
ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการพัฒนาหลักสูตร กศน.
xxxviก็
ไม่นิ่งเฉยมีท่าทีกระตือรือล้นอย่างสูงที่จะปรับปรุงวิชาประวัติศาสตร์เป็น
อย่างยิ่ง
บุคคลเหล่านี้ล้วนเป็นคนระดับสูงที่รับผิดชอบการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับประถม
ศึกษาจนถึงมัธยมศึกษา การศึกษาระดับอุดมศึกษาบางแห่ง รวมถึงการศึกษานอกระบบ
ย้อนไปก่อนหน้านั้น ในเดือนกรกฎาคม 2551 พบว่า กระทรวงศึกษาธิการ
ได้มีหนังสือประกาศใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551
มาก่อนแล้ว
xxxvii
ในรายละเอียดพบว่าการบังคับใช้หลักสูตรใหม่นั้นไม่ได้เปลี่ยนแปลงโดยทันที
แต่ค่อยๆ ปรับเปลี่ยนไปตามความพร้อม อย่างเร็วที่สุดก็คือ
กำหนดให้บังคับใช้โรงเรียนต้นแบบในปีการศึกษาปี 2552
และอย่างช้าที่สุดก็คือ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2555 เป็นต้นไป
นั่นหมายถึงการประกาศบังคับใช้กับทุกโรงเรียนและทุกชั้นเรียนโดยทั่วกัน
ฉะนั้น
จึงไม่น่าแปลกใจอะไรที่พบการใช้หนังสือเรียนวิชาประวัติศาสตร์ในหลักสูตรปี
2544 เลยมาจนถึงปี 2554 ในหลายโรงเรียน
หลักสูตรปี 2551 ในช่วงแรกๆ
จึงยังไม่เข้ารูปเข้ารอยกับการเรียนการสอนจริงตามช่วงเวลาที่เหลื่อมล้ำ
บรรยากาศดังกล่าวเกิดขึ้นพร้อมๆกับการฉายไปพลาง
ถ่ายทำไปพลางของภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์อย่าง ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ที่เริ่มฉายตั้งแต่ปี 2550 ในภาคแรก จนล่าสุดคือ ภาคที่ 4 ปี 2554
และมีกำหนดการฉายภาคที่ 5 ตอน
ยุทธหัตถีซึ่งน่าจะเป็นจุดสุดยอดของภาพยนตร์ชาตินิยมปลายปีนี้
และที่พึ่งจบไปก็คือ ละครอิงประวัติศาสตร์ ขุนศึก(2555) ที่เผยแพร่ทางช่อง 3
นอกจากนั้น
สงครามชาตินิยมดังกล่าวยังยืนอยู่บนฐานของวิกฤตการณ์ทางการเมืองที่สุมขอนมา
ตั้งแต่รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 อีกด้วย
ความเปลี่ยนแปลงของมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด
มาตรฐานการเรียนรู้ 3 ส่วน ของสาระประวัติศาสตร์นั้น หากดูเพียงผิวเผินแทบจะไม่ต่างกัน แต่พบว่าในมาตรฐาน ส 4.1 มีการตัดคำว่า
“บนพื้นฐานของความเป็นเหตุเป็นผล”
ออกไปจากรูปประโยคซึ่งเป็นที่น่ากังขาว่า ผู้จัดทำหลักสูตร ตั้งใจจะออก
ด้วยเหตุผลว่าเป็นคำที่ฟุ่มเฟือย หรือมีความหมายตรงตามนั้นกันแน่ว่า
ความเป็นเหตุเป็นผลในวิชาประวัติศาสตร์นี้ไม่สำคัญนัก
ดูข้อความเปรียบเทียบกันระหว่างหลักสูตร 2544 และ 2551 ได้ดังนี้
“เข้าใจความหมาย ความสำคัญของเวลา และยุคสมัยของประวัติศาสตร์ สามารถใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ บนพื้นฐานของความเป็นเหตุเป็นผล มาวิเคราะห์เหตุการณ์ต่างๆ อย่างเป็นระบบ” (รูปประโยคเดิม 2544 เน้นโดยผู้เขียน ส่วนที่เน้นคือ ข้อความที่ถูกตัดออกไป)
“เข้าใจความหมาย
ความสำคัญของเวลาและยุคสมัยทางประวัติศาสตร์
สามารถใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ มาวิเคราะห์เหตุการณ์ต่างๆ
อย่างเป็นระบบ” (รูปประโยคใหม่ 2551)
นอกจากนั้นความเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างที่ชัดเจนมากอีกประการก็คือ
ในระดับช่วงชั้นที่ 1, 2 และ 3 ได้แยกมาตรฐานออกมาเป็นตัวชี้วัดระดับชั้นปี
จะเหลือเพียงช่วงชั้นที่ 4 ที่ยังคงตัวชี้วัดรวบม.4-6
ดังนั้นตัวชี้วัดจึงมีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมอยู่มาก
สิ่งที่ตรงกับบทความนี้อย่างมากก็คือ ตัวชี้วัดระดับ ม.1
ที่บรรจุเนื้อหาว่าด้วย “ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ขึ้นอีกครั้ง
หลังจากที่เคยมีเนื้อหาคล้ายกันนี้ปรากฏในวิชาเพื่อนบ้านของเรา
หัวข้อนี้ถือว่าเกี่ยวกับเรื่องอาเซียนโดยตรง แต่ที่น่าเสียดายก็คือ
ไม่มีเรื่องนี้โดยตรงอีกเลยในชั้นปีอื่นๆ
ตัวอย่างแบบเรียน : สำนักพิมพ์อักษรเจริญทัศน์ และสำนักพิมพ์สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ
ในที่นี้ได้ยกตัวอย่างแบบเรียนมา 2
แห่งเพื่อชดเชยข้อมูลที่อาจไม่ครบถ้วนทุกชั้นปี
และเพื่อเปรียบเทียบเนื้อหาระหว่างสำนักพิมพ์
จุดเด่นของแบบเรียนชุดนี้ก็คือ
เป็นแบบเรียนประวัติศาสตร์ที่ใช้ประกอบการเรียนปีละ 1 เล่ม ตั้งแต่ม.1-3
แต่ช่วงชั้นที่ 4 จะมี 2 เล่มแบ่งเป็นประวัติศาสตร์ไทยและประวัติศาสตร์สากล
และทั้งคู่ได้รับอนุญาตให้ใช้สอนได้ตั้งแต่ปี 2553-2557 จำนวน 5
ปีตามข้อกำหนดของกระทรวงศึกษาธิการ
ตัวอย่างแรกคือแบบเรียน สำนักพิมพ์อักษรเจริญทัศน์ (อจท.)
ดังทีทราบมาแล้วว่า อจท.เป็นสำนักพิมพ์เจ้าตลาดแบบเรียนมัธยมอยู่
ในเวลาอันจำกัดสามารถพบต้นฉบับคือ แบบเรียนชั้นม.1-2 (ขาดเล่ม ม.3)
จำนวนพิมพ์ขั้นต่ำอยู่ที่ 7 ครั้ง
เนื้อหาส่วนที่เป็นประวัติศาสตร์ไทยผู้แต่งคือ ณรงค์ พ่วงพิศ และวุฒิชัย
มูลศิลป์ และหากเป็นส่วนประวัติศาสตร์สากล จะมีสัญชัย สุวังบุตร, ชาคริต
ชุ่มวัฒนะ, อนันต์ชัย เลาหะพันธุ และวุฒิชัย มูลศิลป์ ซึ่งสัญชัย
สุวังบุตรและอนันต์ชัย เลาหะพันธุ
เป็นนักประวัติศาสตร์ที่เชี่ยวชาญโลกตะวันตกอย่างยุโรป ออสเตรเลีย
สำนักพิมพ์สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.) เมื่อเทียบกับ อจท.แล้ว
ถือว่าเป็นน้องใหม่ที่พึ่งเกิดขึ้นในปี 2531 ต้นฉบับที่ค้นพบก็คือ
แบบเรียนชั้นม.1-3 เรียบเรียงโดย วงเดือน นาราสัจจ์และชมพูนุท นาครักษ์
แบบเรียนวิชาประวัติศาสตร์ หลักสูตรปี 2551 สามเล่มบนคือ พว. อีกสองเล่มล่าง คือ อจท.
3. พงศาวดารอาเซียนในแบบเรียน
"คนลาวบ่เคยที่ไปเว้า หรือเฮ็ดอิหยังใส่ไผ
คือกับคนไทยจั่งซี้ เป๋นต้นแม่นเรื่อง เขมร เว้าเรื่องใหญ่ๆ
หรือว่าเรื่องน้อยๆ เป๋นต้นแม่นก๋ารเว้าด่า เสียดสี
ดูถูกคนลาวอยู่ตามวิดีโอ มิวสิคเพลง หนัง ฮูปภาพ เว็บไซต์ต่างๆ
สิเป๋นเฟซบุ๊คหรือไฮไฟว์"
คลิปลาวด่าคนไทย ช่วงเดือนมีนาคม 2554
xxxviii
"ผมและคณะนำประเทศไทยถอนตัวจากการเป็นสมาชิกมรดกโลกแล้วครับ"
สุวิทย์ คุณกิตติ อดีตรมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนการเจรจามรดกโลกฝ่ายไทย กรณีปราสาทเขาพระวิหาร
กล่าวผ่าน Twitter เดือนมิถุนายน 2554
xxxix
"ขอให้แรงงานพม่ารู้จักการให้เกียรติประเทศไทยและคน
ไทย อย่าได้สร้างปัญหาให้กับประเทศไทย ต้องทำงานให้ดีๆ เป็นคนดี
ถ้ามีอะไรก็ขอให้พูดคุยกับเจ้าหน้าที่ในประเทศไทย
อยู่เมืองไทยต้องรู้รักษาความสงบภายในบ้านเมืองของคนไทย
ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ขอให้รักประเทศไทยเหมือนกับรักประเทศพม่า"
อองซานซูจี กล่าวขณะที่มาเยือนมหาชัย จ.สมุทรสาคร เดือนพฤษภาคม 2555
xl
"สถานการณ์มาถึงขนาดนี้แล้ว ผมคันไม้คันมือ
ดูคลิปทหารที่โดนจ่อยิงยิงดูก็ยิงแค้น จับใครก็ไม่ได้ เป็นไปได้อย่างไร
ถ้าไม่เริ่มทำเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร ประชาชนจะตายอีกเป็นหมื่นคน
...การข่าวของผมทราบมาว่ากองกำลังติดอาวุธไปฝึกจากประเทศอินโดนีเชีย
ใช้เวลาฝึก 8 เดือน"
พัลลภ ปิ่นมณี ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี
และอดีตรองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคง ภายในราชอาณาจักร (รอง ผอ.รมน.)
กล่าวถึงการจัดการปัญหาภาคใต้ เดือนสิงหาคม 2555
xli
จากข่าวภายใน 2 ปีมานี้
เราพบว่าความตึงเครียดเกิดขึ้นบริเวณพื้นที่ชายแดน
และระหว่างประเทศในหมู่ประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยกันอย่างมาก
และแทบทั้งหมดมีประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของปัญหา
ความเข้าใจผิดในหน้าข่าวปัจจุบันดำเนินไปพร้อมๆกับ
การเรียนการสอนและนโยบายภาครัฐที่เป็นประชาคมอาเซียน 2558 เป็นเส้นชัย
ในแบบเรียนระดับมัธยมศึกษานั้น
ความรู้เกี่ยวกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ส่วนหนึ่งแฝงอยู่กับวิชา
ประวัติศาสตร์ ในนามของวิชานี้เอง
ถือว่าได้กุมอำนาจความจริงเกี่ยวกับอดีตและความเปลี่ยนแปลงคลี่คลายอันมี
ลักษณะเฉพาะต่างจากศาสตร์อื่น
ดังนั้นจึงมีโอกาสอย่างยิ่งที่ชุดความรู้เหล่านี้จะเป็นผู้สถาปนา
“ความจริง” แบบที่ไม่ต้องตั้งคำถาม แต่กลับจะสร้างปัญหาขึ้นมาได้อีก
ความจริงครึ่งๆกลางๆ
ที่อาศัยความรู้ประวัติศาสตร์แบบชาตินิยมนี้เองที่ผู้เขียนจึงขอเรียกความ
จริงเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้ว่า “พงศาวดารอาเซียน”
3.1 สิ่งที่อยู่ภายในแบบเรียน
เราอาจมองเนื้อหาของประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ 2 มิติ คือ
มิติแรกคือ เนื้อหาประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยตัวของมันเอง
และมิติที่สองคือ การตีความผ่านประวัติศาสตร์ไทย
มิติแรก : เนื้อหาประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยตัวของมันเอง
ในประเด็นนี้จะกล่าวถึง แบบเรียนประวัติศาสตร์เปรียบเทียบ 2 หลักสูตร
นั่นคือ ปี 2544 และปี 2551 ซึ่งหากมองจากหลักสูตรแล้ว ในปี 2544
ไม่ปรากฏการระบุถึงประวัติศาสตร์หรือพัฒนาการของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
แต่ในปี 2551 ระบุชัดใน มาตรฐานการเรียนรู้ ส 4.2 ในตัวชี้วัดระดับชั้น ม.1
นั่นคือ
1) อธิบายพัฒนาการทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองของประเทศต่างๆในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
2) ระบุความสำคัญของแหล่งอารยธรรมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
แต่หากเปรียบเทียบในแบบเรียนแล้ว ในแบบเรียนปี 2544
ยังคงให้ความสำคัญกับประเทศเพื่อนบ้านอยู่ ซึ่งปรากฏในหน่วยการเรียนรู้
“ประเทศรอบบ้านของไทย”
xlii
ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1แต่ก็ถือว่าเป็นสัดส่วนที่น้อยมาก นั่นคือ
มีจำนวน 12 หน้าเพียงเท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบกับ 2
สำนักพิมพ์ในหลักสูตรปี 2551 จึงถือว่าเทียบกันไม่ได้เลยกับจำนวน 45 และ 60
หน้า
ข้อสังเกตก็คือ เนื้อหาส่วนนี้อาจนับได้ว่ามีความเป็นเอกเทศ
และระแวดระวังอยู่มากในการให้คุณค่าและอคติกับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียง
ใต้ ที่น่าสนใจก็คือ การใช้แผนที่แสดงอาณาจักรโบราณของสำนักพิมพ์
สถาบันพัฒนาคุณภาพ วิชาการ (พว.)
xliiiที่
สร้างจินตนาการรัฐโบราณเข้ากับแผนที่
และใช้ในแผนที่อธิบายลักษณะทางภูมิศาสตร์บ่อยครั้ง เช่น
แผนที่แสดงเส้นทางการค้าของประเทศตะวันตก ขณะที่สำนักพิมพ์ อักษรเจริญทัศน์
(อจท.)
มีความโดดเด่นอยู่ที่การจัดทำตารางที่ย่อยข้อมูลมหาศาลให้เข้าใจได้ง่าย
เช่น ตารางบอกแหล่งอารยธรรมอินเดียที่มีผลต่อพัฒนาการของประเทศต่างๆ,
ตารางแสดงการครอบครองดินแดนของประเทศตะวันตก, ตารางบอกข้อมูลประชากร
เมืองหลวงและเศรษฐกิจ
แต่อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะเป็นหลักสูตรในปี 2544 หรือ 2551
ลักษณะร่วมกันของเนื้อหาก็คือ โครงเรื่องที่ทำให้เห็นว่า
ภูมิภาคนี้เผชิญหน้ากับการคุกคามของประเทศตะวันตกมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 21
ตั้งแต่ยุคอาณานิคมสมัยเริ่มแรก ไม่ว่าจะเป็นโปรตุเกส อังกฤษ
ในประเทศที่เป็นหมู่เกาะ
จนกระทั่งรุ่นหลังอย่างการเข้ามามีบทบาทของฝรั่งเศส ในประเทศภาคพื้นทวีป
นัยเช่นนี้ สะท้อนให้เห็นการตอกย้ำถึง
พล็อตเรื่องของประเทศใต้อาณานิคมตะวันตก
ที่ทำให้ประเทศต่างๆถูกครอบงำทางการเมือง
กลายเป็นแหล่งทรัพยากรและที่ระบายสินค้าของประเทศเจ้าอาณานิคม
และสุดท้ายสามารถปลดแอกประกาศอิสรภาพในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
ขณะที่ประวัติศาสตร์ของประเทศไทยนั้นต่างออกไป
กล่าวคือไม่ได้อยู่ในพล็อตเรื่องเช่นนี้ ลักษณะเฉพาะตัว ก็คือ
การเน้นว่าประเทศไทยไม่เคยเป็นเมืองขึ้นของจักรวรรดินิยมตะวันตก
จะมีก็เพียงการเสียดินแดนให้กับอังกฤษและฝรั่งเศส
อย่างไรก็ตามหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
มาจนถึงการเมืองร่วมสมัยไม่ปรากฏเนื้อหานี้ในหลักสูตรปี 2544
แต่ปรากฏอย่างชัดเจนในหลักสูตร 2551
ที่ทำให้เห็นสงครามที่ต่อเนื่องมาจากสงครามโลกครั้งที่ 2 นั่นคือ
สงครามเย็นและเหตุการณ์ร่วมสมัย ไม่เพียงเท่านั้นในหลักสูตรปี 2544
มีการพูดถึงอาเซียนในฐานะองค์กรน้อยมาก
ขณะที่ในหลักสูตรใหม่เรื่องอาเซียนเป็นเรื่องสำคัญโดยเฉพาะของ
อจท.ให้ความสำคัญมากที่สุด และมีการกล่าวถึงการประชุมอาเซียนครั้งที่ 14
ที่ชะอำ จ.เพชรบุรีที่นำไปสู่การจัดตั้งประชาคมอาเซียนในปี 2558
xlivในที่สุด
ตารางที่ 2 แสดงเปรียบเทียบเนื้อหาเฉพาะ ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างหลักสูตรปี 2544 และ 2551
หลักสูตรปี
|
2544
|
2551
|
2551
|
สำนักพิมพ์
|
ไทยวัฒนาพานิช
|
อักษรเจริญทัศน์
|
สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ
|
จำนวนหน้า
|
15 (หน้า 207-221)
|
46 (หน้า 125-170)
|
61 (หน้า 30-90)
|
เนื้อหาโดยตรง
|
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 ประวัติศาสตร์ เรื่องที่ 4 ประเทศรอบบ้านของไทย
1. ชุมชนดั้งเดิมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
2. การรับอิทธิพลอารยธรรมอินเดีย จีน อิสลาม
3. เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เผชิญหน้าตะวันตก
|
หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 พัฒนาการของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
1. ที่ตั้งและสภาพทางภูมิศาสตร์ที่มีผลต่อพัฒนาการในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
2. พัฒนาการของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
3. ความร่วมมือของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 แหล่งอารยธรรมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
1. แหล่งอารยธรรมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
2. แหล่งมรดกโลกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
3. อิทธิพลของอารยธรรมโบราณในดินแดนไทยที่มีผลต่อพัฒนาการของไทยในปัจจุบัน
|
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 พัฒนาการของรัฐในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
1. ปัจจัยพื้นฐานที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
2. พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
3. แหล่งอารยธรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
|
เรื่อง/หน่วยการเรียนรู้ก่อนหน้า
|
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่องที่
1. วิธีการทางประวัติศาสตร์ความเกี่ยวเนื่องของเวลา
2. ความเป็นมาของชนชาติไทย
3. อาณาจักรสุโขทัย
|
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
เวลาและการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2
วิธีการทางประวัติศาสตร์
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3
สมัยก่อนสุโขทัยในดินแดนไทย
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4
พัฒนาการของอาณาจักรสุโขทัย
|
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
ประวัติศาสตร์ กาลเวลา และวิธีการทางประวัติศาสตร์
|
เรื่อง/หน่วยการเรียนรู้ตามหลัง
|
ไม่มี
|
ไม่มี
|
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3
ความเป็นมาและการตั้งหลักแหล่งในดินแดนประเทศไทย
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4
อาณาจักรสุโขทัย
|
การแบ่งยุค
|
1. ชุมชนดั้งเดิมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
2. การรับอิทธิพลอินเดีย จีน และอิสลาม
3. เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เผชิญตะวันตก
|
1. พัฒนาการในสมัยโบราณ
2. พัฒนาการสมัยใหม่
(เริ่มพุทธศตวรรษที่ 21 นับการเข้ามาของอาณานิคมตะวันตก ที่มีผลต่อบริเวณหมู่เกาะ)
3. พัฒนาการสมัยปัจจุบัน
(นับหลังจากสงครามโลกครั้งที่2)
|
1. รัฐและอาณาจักรโบราณในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
2. ดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในสมัยอาณานิคม
(นับที่พุทธศตวรรษที่ 21 เช่นกัน)
3. รัฐในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หลังสงครามโลกครั้งที่ 2
|
ภูมิศาสตร์การเมือง
|
ก. แบ่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็น
1) คาบสมุทร
2) หมู่เกาะ
ข.แสดงแผนที่คาบสมุทร ลายเส้นเห็นประเทศง่ายๆ
|
ก.ไม่แบ่งอย่างชัดเจน ส่วนใหญ่เนื้อหาจะให้น้ำหนักกับบริเวณคาบสมุทร
ข.แสดงแผนที่ระบุตำแหน่งและเขตแดนของประเทศต่างๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ค.แสดงตารางย่อยข้อมูลที่น่าสนใจได้แก่
1) ตารางบอกแหล่งอารยธรรมอินเดียที่มีผลต่อพัฒนาการของประเทศต่างๆ
2) ตารางแสดงการครอบครองดินแดนของประเทศตะวันตก
3) ตารางบอกข้อมูลประชากร เมืองหลวงและเศรษฐกิจ
|
ก.แบ่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็น
1) คาบสมุทร
2) หมู่เกาะ
ข.แสดงแผนที่ประกอบดังนี้
1) แผนที่ทางภูมิศาสตร์แสดงความสูงชันของพื้นที่ แยกเป็นคาบสมุทรและหมู่เกาะ
2) แผนที่แสดงอาณาจักรโบราณ
(ไม่ปรากฏอาณาจักรล้านนา)
3) แผนที่เส้นทางการค้ายุคทอง
|
เรื่องอาเซียน ในฐานะองค์กรความร่วมมือ
|
1 หน้า (ประมาณ 7 บรรทัด)
|
5 หน้า
1. ความร่วมมือด้านความมั่นคง
2. ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ
3. ความร่วมมือด้านสังคมและวัฒนธรรม
4. ความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม
5. ความร่วมมือด้านการจัดการภัยพิบัติ
มีการเสริม การประชุมอาเซียนครั้งที่ 14 ปี 2552 ที่ชะอำ เพชรบุรี ลงนามปฏิญญาชะอำ-หัวหินเพื่อเป้าหมายจัดตั้งประชาคมอาเซียนปี 2558
|
2 หน้า
1. ความร่วมมือทางการเมือง
2. ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ
3. ความร่วมมือทางวัฒนธรรม
|
ผู้นำอาเซียน
|
ไม่มี
|
ไม่มี
|
ผู้นำชาตินิยม
อินโดนีเซีย ซูการ์โน
มลายู จินเป็ง
พม่า อูอองซาน
ฟิลิปปินส์ โฮเซ่ ริซาล
เวียดนาม โฮจิมินห์
ผู้นำยุคใหม่
พม่า อองซานซูจี
มาเลเซีย มหาเธร์ โมฮัมหมัด
สิงคโปร์ ลีกวนยิว
บูรไน สุลต่างโบลเกีย
กัมพูชา เจ้านโรดม สีหนุ
ฟิลิปปินส์ เฟอร์ดินาน มาร์กอส
ติมอร์ตะวันออก โจเซ รามอส
|
แผนที่ทางภูมิศาสตร์ของ พว.ที่แสดงให้เห็นการแยกภูมิภาคนี้เป็นภาคพื้นทวีปและหมู่เกาะ
ตารางแสดงการยึดครองดินแดนฯของสำนักพิมพ์ พว.
ตอกย้ำให้เห็นความเป็นเมืองขึ้นของเพื่อนบ้าน และความเหนือกว่าของไทย
มิติที่สอง : พงศาวดารอาเซียน การตีความผ่านประวัติศาสตร์ไทย
มิติแรกปรากฏอย่างเป็นรูปธรรมในหน่วยการเรียนรู้
แต่การจะเข้าใจมิติที่สองนี้
เราต้องอ่านประวัติศาสตร์ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ผ่านความสัมพันธ์ระหว่าง
ประเทศในแบบเรียนและที่ซ่อนอยู่ในประวัติศาสตร์ไทยยุคต่างๆ
อย่างไรก็ดีข้อจำกัดก็คือ
ในประวัติศาสตร์ไทยมักจะกล่าวถึงความสัมพันธ์กับรัฐในเอเชียตะวันออกเฉียง
ใต้ที่อยู่บนพื้นทวีปแทบจะทั้งหมด และอีกประการคือ ด้วยมาตรฐานการเรียนรู้
4.3 ที่ว่า “เข้าใจความเป็นมาของชาติไทย วัฒนธรรม ภูมิปัญญาไทย
มีความภาคภูมิใจและธำรงความเป็นไทย”
ที่กล่อมเกลามาตั้งแต่ชั้นประถมศึกษายิ่งฝังลึกอคติชอบ-ชังได้อย่างแนบเนียน
โดยเฉพาะประวัติศาสตร์แบบที่ธงชัย วินิจจะกูลนำเสนอนั่นคือ
“ประวัติศาสตร์แบบราชาชาตินิยม”
การเขียนประวัติศาสตร์ชาตินิยมที่มีศูนย์กลางอยู่ที่กษัตริย์ที่กลายมาเป็น
แม่บทในการเขียนประวัติศาสตร์กระแสหลัก
xlv
การวิเคราะห์ในส่วนนี้เห็นว่าจำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจเงื่อนไขทาง
ประวัติศาสตร์ในรูปแบบรัฐที่ต่างกันไป
จึงมุ่งเน้นไปอภิปรายในประเด็นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในแบบเรียนซึ่งได้
แบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ประเภทแรกคือ ความสัมพันธ์ต่อกันแบบรัฐจารีต
และประเภทที่สองคือ ความสัมพันธ์ต่อกันแบบรัฐชาติสมัยใหม่ และประเภทที่สาม
ความสัมพันธ์ต่อกันแบบรัฐประชาชาติ-ประชาธิปไตย
ก. ความสัมพันธ์ต่อกันแบบรัฐจารีต
ความสัมพันธ์ทางการเมืองแบบรัฐจารีตของภูมิภาคนี้
ต่างก็พยายามสร้างเมืองของตนให้เป็นศูนย์กลางและแผ่อิทธิพลของตนให้เมือง
ต่างๆยอมรับอำนาจจนสามารถพัฒนาขึ้นเป็นรัฐขนาดใหญ่อิทธิพลแนวคิด
“พระเจ้าจักรพรรดิ” หรือ “พระราชาธิราชผู้ยิ่งใหญ่กว่าพระราชาทั้งปวง”
อันเป็นแนวคิดที่ปรากฏในพุทธศาสนาและฮินดู
หลักคิดนี้ก็จะผลักดันให้อาณาจักรเล่านั้นครอบงำอาณาจักรอื่นๆต่อไป
แต่อำนาจแท้จริงนั้นมิได้มีอิทธิพลครอบงำมากนัก
ต้องปล่อยให้ประเทศราชมีอิสรภาพในตัวเองอย่างสูง
xlvi และเป็นเรื่องปกติที่รัฐขนาดกลางและขนาดเล็กจะเป็นเมืองประเทศราชของรัฐใหญ่กว่ามากกว่าหนึ่ง
xlvii
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐจึงมีลักษณะที่แตกต่างไปจากปัจจุบันอย่างสิ้นเชิง
การนำเอากรอบคิดการปกครองในยุคสมัยนี้ไปเทียบเคียงแบบที่ประวัติศาสตร์ในแบบ
เรียนทำจึงผิดฝาผิดตัวอย่างยิ่ง
ความรู้ ข้อมูล หลักฐานจนถึงปัจจุบัน ระบุอย่างชัดเจนว่า พุทธศตวรรษที่
19 เป็นยุคสมัยที่อาณาจักรขนาดกลางก่อตัวขึ้นจำนวนมาก
โดยเฉพาะในดินแดนของประเทศไทยปัจจุบัน
แต่ในแบบเรียนกลับให้ความสำคัญเฉพาะอาณาจักรสุโขทัยเป็นหัวข้อหลัก
ความรู้ใหม่ที่ขัดกับภาพตัวแทนของรัฐในอุดมคติยังไม่มีพลังมากพอที่จะล้ม
ล้างความเชื่อนี้จากหลักสูตร
ด้วยโครงเรื่องเดิมที่แข็งแรงด้วยพลังการอธิบายแบบชาตินิยมที่คาบเกี่ยวกับ
เรื่องที่ว่าคนไทยถอยร่นมาจากทางเหนือเข้ามาขับไล่เขมรที่ครองครองดินแดนนี้
แล้วจึงตั้งอาณาจักรของคนไทยเป็นแห่งแรกนั่นก็คือ สุโขทัย ดังนั้น
อาณาจักรสุโขทัยจึงยังมีฐานะเป็นราชธานีแห่งแรกของสยามต่อไป
ดังที่เราพบการอ้างอาณาเขตของอาณาจักรสุโขทัยอันกว้างขวางตั้งแต่เหนือจดใต้
ในยุคทองนั่นคือ สมัยพ่อขุนรามคำแหง
xlviii นั่นคือ
ทิศเหนือ ถึงเมืองแพร่ เมืองน่าน เมืองพลั่ว (อ.ปัว จ.น่าน) เลยฝั่งโขงไปถึงเมืองชวา (หลวงพระบาง)
ทิศตะวันออกถึงเมืองสระหลวง สองแคว (พิษณุโลก) ลุมบาจาย (หล่มเก่า) สระคาถึงข้ามฝั่งแม่น้ำโขง ถึงเวียงจันทน์และเวียงคำ
ทิศตะวันตกถึงเมืองฉอด หงสาวดีจนสุดฝั่งทะเลเป็นอาณาเขต
ทิศใต้ถึงเมืองคณฑี (กำแพงเพชร) พระบาง (นครสวรรค์) แพรก (ชัยนาท) สุพรรณบุรี ราชบุรี เพชรบุรี นครศรีธรรมราชจนสุดฝั่งทะเล
ขณะที่พุทธศตวรรษที่ 20-21
ราชอาณาจักรเล็กน้อยถูกรวมเข้าสู่อาณาจักรที่ใหญ่กว่า
และเติบโตขึ้นพร้อมๆกับยุคทองแห่งการค้าขายของภูมิภาค
ความมั่งคั่งของการค้าและแสนยานุภาพในการรบที่ขยายตัว
จึงทำให้เกิดปรากฏการณ์น้อย 2 ประการ ได้แก่
การแสวงหาทรัพยากรในมิติทางเศรษฐกิจและการแข่งขันในเชิงบุญญาบารมีของพระ
เจ้าจักรพรรดิราชตามคติพุทธในมิติทางการเมือง และแน่นอนว่า
มันได้นำมาสู่ความขัดแย้งจนกลายเป็นสงครามในภูมิภาค
เป็นเรื่องปกติไปแล้วที่แบบเรียนและประวัติศาสตร์ไทย
ไม่ทำให้เราเห็นถึงเบื้องหลังและเงื่อนไขของสงครามมากไปกว่าคราบเลือดและรอย
น้ำตา อย่างไรก็ตาม
ในแบบเรียนบางฉบับเรายังพบคำอธิบายที่ถือว่าแหวกกระแสชาตินิยมอยู่บ้าง
แผนที่อาณาจักรสุโขทัยสมัยพ่อขุนรามคำแหงยังใช้อธิบายตัวตนของเรามาจนถึงทุกวันนี้
มีต่อ