ที่มา ประชาไท
10 ตุลาคม, 2012 - 10:53 | โดย Somyot-Redpower
โดย .. จิม ยาร์ด เล (Jim Yard Ley)
ถอดความโดย สมยศ พฤกษาเกษมสุข
นักกิจกรรมแรงงานถูกสังหาร ปลุกเร้าความโหดร้ายของการเข่นฆ่าทางการเมืองที่มีมายาวนานของบังคลาเทศ
สำนักงานขนาดเล็กกระจิดริดของเขาแทบหาไม่เจอ
ท่ามกลางโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าใหญ่โต ซึ่งเป็นผู้ผลิตสินค้ากางเกง
และเสื้อผ้ายี่ห้อดังเช่น แก็ป (GAP) หรือ ทอมมี่ ฮิลฟิเกอร์ (Tommy
Hilfiger) แต่สำหรับคนงานแล้วไม่ใช่เรื่องยากเย็นที่จะไปพบกับ “อมินูล
อิสลาม” (Aminul Islam) พวกเขาเข้ามาพร้อมกับปัญหามากมาย
ไม่ว่าจะเป็นการถูกเบี้ยวค่าจ้าง นายจ้างที่กดขี่ นี่คือ “นายอิสลาม”
นักจัดตั้งแรงงาน และนักต่อสู้เพื่อสิทธิคนงาน
พวกหน่วยงานความมั่นคงก็รู้จักนายอิสลามเช่นกัน โทรศัพท์ของเขาถูกดักฟัง
ตำรวจมักจะคุกคามเขาอยู่เสมอ
และพวกสายลับท้องถิ่นเคยลักพาตัวเขาไปซ้อมทุบตี
เพื่อนของเขาคนหนึ่งเล่าให้ฟัง
หลายครังด้วยกันที่เขาถูกบอกว่าการที่เขาต่อสู้เพื่อสิทธิคนงานเป็นการทำ
ร้ายบังคลาเทศ ซึ่งเป็นประเทศส่งออกเสื้อผ้า
เป็นพลังขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจในประเทศ
หลังจากนี้ไม่นานไม่มีใครพบเห็นนายอิสลามอีกต่อไป เขาหายตัวไปเมื่อวันที่ 4
เมษายน 2555 ต่อมาทางครอบครัวจึงพบว่าเขาถูกทรมานและถูกฆ่าตายเสียแล้ว
การฆาตกรรมแบบนี้สะท้อนให้เห็นถึงความป่าเถื่อนที่มีแรงจูงใจทางการเมืองอันเป็นมรดกตกทอดกันมาช้านานแล้ว
เป็นคำถามที่หนักใจเป็นอย่างยิ่งว่า การตายของเขามาจากความพยายามจะรวมกลุ่มคนงานใช่หรือไม่ ?
หลังการตายของนายอิสลามผ่านไปแล้ว 5 เดือน ยังอยู่ในชั้นของการสอบสวน
ยังไม่มีการจับกุมคนร้าย หรือผู้ต้องสงสัย และตำรวจยังบอกอีกว่า
คดีนี้ยังไม่คืบหน้าไปถึงไหน
ในวันที่นายอิสลามหายตัวไป
เขาพยายามที่จะแก้ปัญหาของคนงานในโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้ายี่ห้อ ทอมมี่
ฮิลฟิเกอร์ (Tommy Hilfiger) อเมริกัน อีเกิ้ล (American Eagle)
และยี่ห้อดังระดับดลกอื่น ๆ
ครั้นแล้วคนที่รู้จักกันคนหนึ่งมาพร้อมกับผู้หญิงในชุดคลุมใบหน้ามุสลิม
ผู้ชายคนนี้สงสัยว่า จะมีส่วนเกี่ยวข้องกับหน่วยงานความมั่นคง
ซึ่งเข้ามาเชิญให้นายอิสลามร่วมงานแต่งงาน
นายอิสลามนั่งรถขี่สามล้อไปช่วยงาน แล้วไม่เคยกลับมาให้เห็นหน้าอีกเลย
ยังไม่ชัดเจนว่า นายอิสลามถูกฆ่าตายด้วยสาเหตุมาจากการทำงานของเขา
หรือมาจากสาเหตุอื่น แต่ว่าด้วยการให้ความช่วยเหลือ
และปกป้องสิทธิคนงานของเขาย่อมไปขัดแย้งกับผู้ทรงอิทธิพลในบังคลาเทศ
ซึ่งเป็นประเทศตัดเย็บเสื้อผ้าส่งออกเป็นอันดับที่สองรองจากประเทศจีน
ด้วยแรงงานราคาถูกเป็นปัจจัยสำคัญของการส่งออก
คนงานบังคลาเทศได้รับค่าจ้างเพียงเดือนละ 3,000 ทากา (ta ka) หรือ 37
เหรียญสหรัฐ ต่อหนึ่งเดือน (ราว 2,400 บาทต่อเดือน)
อีกทั้งยังไม่มีสหภาพแรงงานในระดับโรงงานอีกด้วย
โดยปกติการฆาตกรรมในบังคลาเทศไม่ได้ทำให้คนส่วนอื่นภายนอกประเทศให้ความ
สนใจเท่าไรนัก แต่ทว่ากรณีการตายของนายอิสลาม
เป็นแรงกระตุ้นให้เกิดการรณรงค์ขึ้นระดับโลก
ด้วยการประท้วงโดยกลุ่มแรงงานสากล และโดยประชาคมยุโรป ทูตสหรัฐ
รวมทั้งเลขานุการของฮิลลารี่ รอดแฮม คลินตัน (Hillary Rodham Clintan)
แรงกดดันจากภายนอกขยายตัวเพราะเหตุว่า
เสื้อผ้ายี่ห้อดังของโลกจ้างโรงงานผลิตในบังคลาเทศ
อีกทั้งนายอิสลามยังทำงานให้กับสภาแรงงานสหรัฐอเมริกา (A.F.L.-C.I.O.)
ซึ่งเป็นองค์กรแรงงานใหญ่ที่สุดในอเมริกา
ความเชื่อมโยงเช่นนี้ทำให้การตายของเขากลายเป็นประเด็นทางการเมืองสอดแทรก
ขึ้นมา
หลายปีมานี้ข้อกังขาทั้งสองฝ่ายได้กำหนดให้ความสัมพันธ์ระหว่างสหพันธ์
แรงงานสหรัฐอเมริกา และการก่อตั้งสหภาพแรงงานในบังคลาเทศ
ได้อ้างถึงการกดขี่แรงงาน
ซึ่งสภาแรงงานอเมริกาได้ส่งข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลสหรัฐให้ยกเลิกสิทธิพิเศษ
ทางการค้าของบังคลาเทศ ทำให้ผู้นำของบังคลาเศเกิดความโกรธเคือง
(Infuriating)
และโทษพวกองค์กรแรงงานที่ได้รับการเลี้ยงดูจากสหพันธ์แรงงานระหว่างประเทศ
ซึ่งรวมทั้งกลุ่มที่นายอิสลามทำงานอยู่ด้วย
พวกเขาเคยแสดงความคิดเห็นไว้ว่า
“ทำไมพวกคุณพยายามที่จะทำลายเศรษฐกิจของพวกเราด้วย” เป็นคำบอกกล่าวของ
อลอนโซ ซูซัน (Alongo Suson) ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติงานของศูนย์กลางสมานฉันท์
(Solidarity Center) ของ AEL-CIO โดยมีศูนย์ฝึกอบรมอยู่ในเมืองหลวงดากา
(Dhaka) ได้รับเงินทุนสนับสนุนจาก AFL-CIO
องค์กรนี้ถูกมองว่าไม่จงรักภักดีต่อบ้านเมือง
ในปี 2010
คนงานในบังคลาเทศลุกฮือประท้วงเรื่องค่าจ้างขั้นต่ำเป็นการสั่นสะเทือนภายใน
ประเทศ เจ้าหน้าที่รัฐได้ตั้งข้อกล่าวหานายอิสลาม และพวกอีก 2 คนว่า
เป็นผู้ทำการต่อต้านรัฐบาล ตำรวจและหน่วยงานความมั่นคง
คุกคามนายอิสลามและเจ้านายของเขามากยิ่งขึ้นเมื่อมีข่าวว่าเจ้านายของนายอิส
ลามมีการพบปะกันอย่างปิดลับกับผู้อำนวยการสายสืบภายในประเทศ
ซึ่งเป็นหน่วยงานความมั่นคงแห่งชาติ หรือ NSI (National Security
Intellegent Agenoy)
เป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาล
ได้ให้สัมภาษณ์ในกรณีนี้ปฏิเสธความเกี่ยวข้องกับการตายของนายอิสลาม
แต่ทว่าเพื่อนร่วมงานของนายอิสลามมีความกังวลว่า
ความไม่คืบหน้าของการสอบสวนในคดีนี้สะท้อนให้เห็นถึงภาวการณ์ไม่ดูแลเอาใจ
ใส่ต่อสิทธิคนงาน “ใครเล่ามีอำนาจมากมายในประเทศนี้” คาล โพนา แอกเตอร์
(Kalpona Akter) เพื่อนของเขาตั้งคำถาม “พวกเขาฆ่าอมินูล
และไม่มีใครกล้าแตะต้องพวกเขาได้”
เสียงเพื่อคนงาน (A voice for workers)
นายอิสลามมีส่วนสูง 1.63 เมตร หรือ 5 ฟุต 4 นิ้ว เป็นคนจริงจัง
และเคร่งศาสนามุสลิม ในเดือนกุมภาพันธ์ เขาใช้เวลา 40
วันในการออกชักชวนชาวบ้าน และส่งเสริมให้เป็นมุสลิมที่ดีในบังคลาเทศ
แรงศรัทธา และวิถีชีวิตในศาสนธรรมของเขาทำให้เขาเป็นที่น่าเคารพนับถือ
และมีความศรัทธาในตัวเขาในฐานะที่เป็นนักจัดตั้งแรงงาน (Labour
Organinger)
เขาเริ่มต้นจากการเป็นคนงานอยู่ที่โรงงานตัดเย็บเสื้อผ้า Shasha Danim
ในย่านอุตสาหกรรมหนาแน่น เขตรอบนอกวงแหวนของเมืองทากา
รถบรรทุกวิ่งอยู่บนถนนสกปรก หรือไม่ก็บนถนนไฮเวย์ที่เป็นหลุมเป็นบ่อ
ด้วยการจราจรติดขัดอยู่หลายชั่วโมง ในช่วงการเปลี่ยนกะทำงาน
คนงานหลายพันคนหลั่งไหลเข้า – ออก อาคารโรงงานคอนกรีต
ซึ่งผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปยี่ห้อดังตามห้างสรรพสินค้าทั่วโลก
ที่โรงงานชาชาดานิม (Shasha Danim)
เพื่อนคนงานของนายอิสลามได้เลือกให้เขาเป็นคณะกรรมการรับเรื่องราวร้องทุกข์
(Grievances) ของคนงานในโรงงาน เมื่อปี 2005
ถัดมาอีกหนึ่งปีบริษัทไล่เขาออกจากงาน แล้วก็แน่นอนเขาฟ้องร้องต่อศาล
และชนะคดี
เขาเพียงแต่พบเจ้าของโรงงานให้ปฏิบัติตามกฎหมายในการจ่ายเงินเดือนให้เขา
เดือนละ 30 เหรียญสหรัฐตราบเท่าที่เขายังไม่ได้กลับเข้าทำงาน
ในการเรียนรู้สิทธิคนงาน นายอิสลามเข้ารับการอบรมกับศูนย์กลางสมานฉันท์
ซึ่งมีผู้ปฏิบัติงาน 23 คนใน 4 เขตงานของบังคลาเทศ
ในบังคลาเทศมีการจัดตั้งสหพันธ์แรงงาน ส่วนมากจะเป็นแนวร่วมกับพรรคการเมือง
และหาสมาชิกจากหลายอุตสาหกรรมในภาครัฐ
แต่ศูนย์กลางแรงงานจะรักษาระยะห่างจากสหภาพแรงงานเหล่านี้
เพราะระมัดระวังในความสัมพันธ์กับพรรคการเมือง
และยังตั้งข้อสงสัยในอิทธิพลของพรรคการเมืองในอุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้า
ศูนย์กลางสมานฉันท์แรงงานได้เน้นไปที่กลุ่มสหพันธ์แรงงานที่จัดตั้งขึ้น
มาใหม่ และกลุ่มองค์กรเอกชนไม่แสวงหากำไร ซึ่งนำโดยผู้นำแรงงานรุ่นใหม่
ในปี 2006 สองกลุ่มนี้ได้ว่าจ้างเป็นนักจัดตั้งในอาธุเลีย (Ashulia)
ซึ่งเป็นเขตอุตสาหกรรมขนาดใหญ่แห่งหนึ่งนอกรุงธากา
เขาเป็นคนที่พูดจาหนักแน่นจริงจัง และไม่มีความกลัว นางแอกเตอร์
หัวหน้าศูนย์กลางเพื่อการสมานฉันท์แรงงาน เป็นองค์กรพัฒนาเอกชน
เมื่อไรก็ตามที่คนงานมาหาเขา
เขาจุถือเป็นภารกิจที่จะต่อสู้เหมือนเป็นปัญหาของเขาเองราวกับว่านี่เป็น
ความเจ็บปวดของตัวเขาเอง
ปี 2010
นักวิเคราะห์เศรษฐกิจได้ยกย่องให้บังคลาเทศเป็นฐานการผลิตอุตสาหกรรมตัดเย็บ
เสื้อผ้ายี่ห้อดังระดับโลกให้สามารถแสวงหาความได้เปรียบจากประเทศที่มีแรง
งานราคาถูก คนงานบังคลาเทศทุกข์ยาก
เดือดร้อนเพราะได้รับค่าจ้างขั้นต่ำในอุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าแค่ 166.50
ทากา ไม่รวมการทำงานล่วงเวลา (Over time) และเงินค่าตอบแทนพิเศษ (Bonuses)
ภาวะเงินเฟ้อทะยานขึ้นสูง และการประท้วงเริ่มล้นทะลัก (Spillout)
ออกจากโรงงานในเขตอุตสาหกรรมรอบนอกกรุงธากา
นายอิสลามพยายามที่จะไกล่เกลี่ยคู่กรณี (นายจ้าง – ลูกจ้าง)
คนงานคนหนึ่งกล่าวว่า
เขาร้องขอคนงานไม่ให้ทำลายทรัพย์สินระหว่างที่มีการประท้วง
เจ้าหน้าที่สืบราชการลับคนหนึ่งกล่าวถึงแนวโน้มที่ว่า
นายอิสลามจะประสบผลสำเร็จในการขยายงานรวมกลุ่มคนงานเข้าเป็นสมาชิกในสังกัด
ของ AFL-CIO
เดือนเมษายน, บาบูล อาคเตอร์ (Babul Akhter)
หัวหน้ากลุ่มแรงงานกลุ่มหนึ่งกล่าวว่า
หน่วยสืบราชการลับคนหนึ่งได้เตือนเขาว่าให้หยุดพูดคุยเรื่องสิทธิแรงงานกับ
คนงาน มิเช่นนั้นอาจโดนเล่นงานอย่างแรง
นายแอคเตอร์หวนนึกถึงสิ่งที่เคยได้ยืนเป็นคำถามที่ว่า “ทำไมพวกคุณ
และนายอนิมูลต้องไปพูดคุยกับคนงานด้วย” เขาเคยถูกตั้งคำถามอีกว่า
พวกคุณมีสิทธิที่จะทำงานแบบนี้ด้วยหรือ
เมื่อการประท้วงยังดำเนินต่อไปในปี 2010
เจ้าหน้าที่รัฐได้เพิกถอนการจดทะเบียนของศูนย์กลางเพื่อการสมานฉันท์ของคน
งาน (Center for Workers Solidarity) เป็นองค์กรที่ว่าจ้างนายอิสลาม
มีนางแอคเตอร์ และนายบาบูล อาคเตอร์ เป็นนายจ้าง
นางแอคเตอร์ และนายบาบูล อาคเตอร์
ถูกตั้งข้อหาว่าเป็นผู้ยุยงคนงานก่อการจลาจล เขาปฏิเสธข้อกล่าวหา
และตีความว่าเป็นความพยายามที่จะทำลายล้างขบวนการคนงานของพวกเขา
นายอิสลามเจอข้อหาแบบเดียวกัน
“แต่ที่เป็นการข่มขู่ที่ไร้ยางอายที่สุดก็คือ ในเดือนมิถุนายน
เมื่อนายอิสลามถูกลักพาตัวไป และถูกซ้อมทุบตี โดยกลุ่มอันธพาล
นำโดยหน่วยงานความมั่นคง N.S.I” ครอบครัวและเพื่อนของนายอิสลามกล่าว
เขาบอกกับเพื่อนที่ใกล้ชิดคนหนึ่งว่าเขาถูกลักพาตัวไปทางตอนเหนือของกรุ
งธากา และถูกทุบตี
เขาบอกว่าเขาถูกบังคับให้เซ็นต์ในเอกสารปรักปรำเพื่อนร่วมงาน
กระทั่งข่มขู่จะฆ่าเขา และครอบครัวของเขา
ก่อนที่นายอิสลามจะจัดการหลบหนีออกมาได้
การพักรบอย่างปิดลับ
คนงานได้รับชัยชนะส่วนหนึ่งหลังจากก่อการจลาจลในปี 2010
เมื่อนายกรัฐมนตรีธาสินา วาเซ็ด เพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำในระดับเดือนละ 3,000
บาท
นักกิจกรรมแรงงานจำนวนมากเชื่อว่าขั้นตอนต่อไปของรัฐบาลคือการกำจัดการรวม
ตัวของคนงาน การควบคุมการประท้วงบนท้องถนนให้น้อยลง
พวกเขาโต้แย้งต่อรัฐบาลว่า หากคนงานได้รับความเป็นธรรม
กระบวนการยุติธรรมไม่เอียงข้างจะแก้ไขข้อพิพาทแรงงานได้ดี
แทนที่จะเป็นเช่นนั้น เจ้าหน้าที่รัฐฯกลับเข้มงวด กวดขัน
มีการจัดตั้งคณะกรรมการพิเศษของรัฐบาลใช้ชื่อว่า
กลุ่มผู้นำการจัดการวิกฤติการณ์ เพื่อคอยดูแลอุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้า
มีการจัดตั้งตำรวจอุตสาหกรรม เป็นหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย
ถูกสร้างขึ้นมาขยายขอบเขตอำนาจสายสืบและเข้าจัดการความไม่สงบของแรงงานในภาค
อุตสาหกรรม
หลังจากความยากลำบากแสนสาหัน (Ordeal) นายอิสลามเริ่มลดบทบาทของเจา
กัลป์ปานา อาคเตอร์ จากศูนย์กลางเพื่อการสมานฉันท์แรงงานบังคลาเทศกล่าวว่า
หน่วยงานความมั่นคง NSI
เคยเรียกเธอไปพบอยู่เสมอเพื่อให้เธอโยกย้ายนายอิสลามออกไปทำงานในพื้นที่
อุตสาหกรรมที่เงียบสงบกว่านี้
เพราะต้องการให้ตัวเขาห่างออกไปจากการประท้วงในแอสซุนเลีย (Ashulia)
ครั้งหนึ่งเธอเคยถามเขาว่า อยากจะลาออกจากงานไหม ?
เขาตอบว่า “ไม่, ผมต้องการทำงาน เพราะมันคืออารมณ์ ความรู้สึกหยั่งลึกของตัวผม” เธอกล่าวหวนรำลึกถึงตัวเขา
ในที่สุดช่วงปลายปี 2010 คนกลางคนหนึ่งจัดประชุมลับ ซึ่งมีนายอิสลาม
และผู้อำนวยการ NSI การประชุมนี้ยืนยันโดยคนงาน 3 คนซึ่งรับรู้เรื่องนี้
เป็นความพยายามที่จะจัดการให้นายอิสลามสามารถทำงานได้อย่างปลอดภัย
ผู้อำนวยการให้เบอร์มือถือของเขาไว้กับนายอิสลามเพื่อไว้ติดต่อหามีปัญหา
เกิดขึ้น
แต่ว่าในเดือนมีนาคม มีเจ้าหน้าที่มากกว่า 12 คน นำตัวนายอิสลามไป
ครอบครัวและเพื่อนคนงานของเขากล่าวว่า เขาไปอยู่หลายชั่วโมง
โดยตำรวจอุตสาหกรรมได้สอบถามเกี่ยวกับข่าวลือที่ว่า เขากำลังรวบรวมคนงานถึง
10,000 คน เพื่อเข้าร่วมการชุมนุมของพรรคฝ่ายค้านในวันที่ 12 มีนาคม
นายอิสลามปฏิเสธข่าวดังกล่าว เจ้าหน้าที่อนุญาตให้เขาจากไป
แต่ขอร้องให้เขามาที่สถานีตำรวจในวันที่มีการชุมนุม
โดยคร่าว ๆ ในช่วงเวลาเดียวกัน การประท้วงที่แอสซุนเลีย
ได้ทำให้โรงงานซานครา เดนิม (Shanta Danim) กลายเป็นอัมพาต
หยุดผลิตเสื้อผ้ายี่ห้อไนกี้ (Nike) ทอมมีซีฟิเกอร์ (Tommy Hilfiger)
อเมริกันอีเกิ้ล (American Eagle) และอีกหลายยี่ห้อดังระดับโลก
การเผชิญหน้าระเบิดขึ้น
เมื่อนายจ้างปฏิเสธที่จะอนุญาตให้คนงานได้หยุดพักกลางวันเพื่อชมการแข่งขัน
ชิงแชมป์ของทีมชาติ กีฬาคลิกเก็ตระดับเอเชีย
ซึ่งเป็นปัญหาที่งอกเงยขึ้นมาต่างหากจากเรื่องค่าจ้าง การลวนลามทางเพศ
และปัญหาอื่น ๆ
คนงานพบว่านายอิสลามเริ่มแลกเปลี่ยนเบอร์โทรศัพท์กับเจ้าหน้าที่ฝ่ายความ
มั่นคงระดับสูงเพื่อจะเป็นตัวกลางจัดการกับปัญหา ในช่วงก่อนค่ำของวันที่ 4
เมษายน นายอิสลามได้เจรจาเป็นที่ยุติได้
เช้าวันต่อมาคนงานก็กลับเข้าทำงานในโรงงาน หลังจากนี้นายอิสลามหายตัวไป
หลักฐานจากหลุมฝังศพ (Evidence from a grave)
สองวันต่อมา รูปถ่ายปรากฏอยู่ในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น เอม่าเดส (Amar
Desh) ซึ่งเผยแพร่ในหมู่บ้านของนายอิสลาม
มันเป็นภาพคนตายที่ไม่ระบุว่าเป็นใคร ตำรวจในแทงเกิ้ล (Tangail) พบศพของเขา
ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองธากา 80 กิโลเมตร หรือราว 50 ไมล์
ชาวบ้านคนหนึ่งนำหนังสือพิมพ์ฉบับนี้ไปให้ครอบครัวในหมู่บ้านของเขาดู
เมื่อครอบครัวของเขามาถึงที่แทงเกิ้ล ตำรวจได้ฝังศพเขาในหลุมฝังศพอนาถา
ศพถูกขุดขึ้นมา และแสดงให้เห็นหลักฐานการถูกทุบตี
ภาพของตำรวจปรากฏสภาพหัวเขาถูกทุบตี ข้อเท้าแตกหัก บางคนได้ตัด
หรือเจาะรูใต้เข่าขวา นายแพทย์ได้รายงานว่าเขาเสียเลือดมากจนเสียชีวิต
นางอาคเตอร์กล่าวว่า การทรมานแบบนี้แน่นอนว่าเป็นการกระทำของทีมสังหารมืออาชีพ
การทรมาน และการวิสามัญฆาตรกรรม มีรายงานของกลุ่มวิกฤติการณ์สากล
(International Crisis Group) ว่า
ตำรวจบังคลาเทศมีเชื่อเสียงกระฉ่อนในเรื่องความป่าเถื่อน โหดร้าย
(Brutality) การทุจริตคอรัปชั่น และไร้ความสามารถ (Incompetence)
บ่อยครั้งที่รายงานระบุว่ากองกำลังความมั่นคงเป็นผู้รับคำสั่งจากพวกกลุ่มผล
ประโยชน์ทรงอิทธิพล
นักธุรกิจผู้มั่งคั่งมีประวัติความเป็นมาในการซื้อตำรวจเอาไว้ใช้งาน
เพื่อเพิ่มผลกำไร
รายงานยังอ้างถึงทนายความสิทธิมนุษยชนคนหนึ่งที่เคยร้องเรียน
ในบางกรณีที่นายจ้างโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าติดสินบนเจ้าหน้าที่ตำรวจในการ
บังคับคนงานที่กำลังประท้วง เพราะนายจ้างจ่ายค่าจ้างล่าช้าให้กลับเข้าทำงาน
ในปี 2007 และ ปี 2008 เมื่อทหารสนับสนุนรัฐบาลรักษาการปกครองบังคลาเทศ
ประชาชนอย่างน้อย 297 คนตายโดยการวิสามัญฆาตรกรรม
รายงานของกลุ่มสิทธิมนุษยชน ออดิการ์ (Odhikar) ในปี 2009 นางฮาสินา
(Mr.Hasina) สัญญาว่าจะปฏิรูปประชาธิปไตย และยุติการเข่นฆ่า
แต่ว่าเกือบสี่ปีต่อมา ความก้าวหน้าที่ต้องหยุดชะงักลงในเดือนมกราคม
องค์กรเฝ้าดูสิทธิมนุษยชน (Human Rights Watch)
ตั้งข้อสังเกตว่ากองกำลังความมั่นคงในบังคลาเทศยังคงอยู่เหนือกฎหมาย
และยังระบุอีกว่า ได้เกิดปัญหาใหม่ที่ว่า “การบังคับให้หายสาบสูญ (Enforced
disappearances) ซึ่งมีจำนวนผู้สูญหายมากขึ้น หลังจากถูกลักพาตัวไป
(Abduct)
เพื่อนคนงานของนายอิสลามเชื่อว่า
กรณีของเขาเป็นไปตามรูปแบบที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ
แม้ว่าเจ้าหน้าที่ได้ปฏิเสธว่าหน่วยงานความมั่นคงไม่ได้เกี่ยวข้องใด ๆ
กับเรื่องนี้ ในเดือนกรกฎาคม นางฮาสินา
ดูเหมือนว่าจะกังวลใจกับการเคลื่อนไหวภายนอกประเทศเธอกล่าวว่าไม่พบข้อสงสัย
เชื่อมดยงกับหน่วยงานความมั่นคง และภาพพจน์ของนายอิสลามไม่ใช่ผู้นำแรงงาน
เพราะเขาทำงานให้กับองค์กรพัฒนาเอกชน
“ทำไมคุณไม่แจ้งให้สถานทูตในประเทศตะวันตกรู้ว่า อมินูลไม่ใช่ผู้นำแรงงาน”
เธอกล่าวไว้โดยการรายงานข่าวของ The Inde pendent
ชายลึกลับคนหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับกรณีนี้คือนายมุสตาฟิส ราห์มาน
(Mustafiz Rahman)
ผู้ชายซึ่งตามหานายอิสลามให้ช่วยเขาจัดงานแต่งงานในตอนกลางคืนที่นายอิสลาม
หายตัวไป เพื่อนคนงานนายอิสลามกล่าวว่า
นายราห์มานนั้นมีความสัมพันธ์อยู่กับ
กองกำลังหน่วยงานความมั่นคงในขณที่หนังสือพิมพ์นิวเอจ (New Age)
วิเคราะห์ว่านายราห์มานได้ช่วยตำรวจในการจับกุมนักจัดตั้งแรงงาน
และเขาเคยปรากฏตัวในหน่วยสายสืบ
อีกทั้งหลังจากนายอิสลามหายตัวไปยังไม่มีใครได้พบเห็นตัวเขาอีกเลย
ผู้นำแรงงานที่ใหญ่ที่สุดในบังคลาเทศได้ประณามการฆ่านายอิสลามตาย
แต่ก็ยังต่อว่างทางศูนย์กลางเพื่อการสมานฉันท์คนงาน
และสหภาพแรงงานในสังกัดยังหลีกเลี่ยงที่จะต่อสู้ในเรื่องนี้ภายในประเทศ
พวกเขาไม่ยอมทำอะไรในระดับพื้นฐาน ได้แต่มองหาความช่วยเหลือจากต่างประเทศ
รอย ราเมช จันทรา (Roy Ramesh Chantra)
หัวหน้าสหพันธ์แรงงานใหญ่ที่สุดในบังคลาเทศ
ซึ่งเป็นองค์กรอยู่ข้างรัฐบาลกล่าวว่า
“พวกเขาเพียงแค่เรียกร้องการสมานฉันท์จากภายนอกพวกนี้เพียงแค่ส่งอีเมลล์
เพื่อทำลายอุตสาหกรรม
และภาพพจน์ของประเทศแม้กระทั่งทำลายสหภาพแรงงานอีกด้วย”
ความเกี่ยวข้องในแง่ภาพพจน์ของประเทศนี่แหละที่เป็นเหตุผลสำคัญที่ผู้
สนับสนุนนายอิสลาม เชื่อว่ารัฐบาลอาจมองว่าตัวเขาคือภัยคุกคาม (ของรัฐ)
เขาเคยบันทึกเรื่องการถูกลักพาตัว และถูกทรมาน เผยแพร่ในเวปไซค์แรงงาน
เมื่อปี 2010 ในปีนี้เขายังได้ช่วยดำเนินการให้สำนักข่าว ABC
ในสหรัฐอเมริกาทำข่าวเกี่ยวกับสภาพการทำงานไม่ปลอดภัยในดรงงานเมื่อเกิดเหตุ
ไฟไหม้โรงงานผู้ผลิตเสื้อผ้าทอมมี่ ฮิลฟิเกอร์ เป็นเหตุให้คนงานเสียชีวิต
29 คน
นายอิสลามอาศัยอยู่ในฮิโจฮาติ (Hijolhati) หมู่บ้านเล็ก ๆ เขียวขจี
ใช้เวลาแค่ชั่วดมงเดียวในการขับรถจากแอสฮุนเลีย ภรรยาหม้ายนางฮอสนี่ เอร่า
บักัม ฟาอิมา ยังอาศัยอยู่ในกระท่อมคอนกรีต
ศพของนายอิสลามฝังอยู่ที่นั่นในสนามหลังบ้านดกโรโกโส
นางฟาฮิมา อายุ 32 ปี ยังว่างงาน และวิตกกังวลในอนาคตของลูก ๆ
เธอยังทุกข์ระทรมจากความทรงจำ เพมื่อมีโทรศัพท์จากตำรวจและสายสืบตอนกลางคืน
เธอไม่รุ้ว่าใครคือคนฆ่าสามีเธอ แต่ว่าในคืนที่เขาหายตัวไป
เธอตื่นจากฝันร้าย
เธอเห็นสามีร้องให้ล้อมรอบด้วยกองกำลังจากหน่วยความมั่นคง
อมินูลเคยทำงานเพื่อสิทธิของคนงานในโรงงาน “ฉันคิดว่านี่คือเหตุผลที่ว่า ทำไมต้องฆ่าเขา”
Julfikar Ali Manik ช่วยเขียนรายงาน
หนังสือพิมพ์ International Herald Tribune
11 กันยายน 2012
ภาษาไทยโดย ... สมยศ พฤกษาเกษมสุข
20 กันยายน 2555
หมายเหตุ: ภาพประกอบจาก
Free Somyot
บรรยายภาพ: Kim Ae Hwa - Korean activist represented
Unified Progressive Party, Korea extended the international solidarity
to free somyot and all political prisoners in Thailand