WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, August 10, 2012

จาก 1 เณรน้อย ถึง 11 อรหันต์

ที่มา ประชาไท

 

แม้ผู้เขียนจะไม่เห็นด้วยเลยที่ ‘ศาลรัฐธรรมนูญ’ ขยายอำนาจตนเองมาก้าวล่วงการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยรัฐสภา
แต่ผู้เขียนก็น้อมรับคำวินิจฉัย และย้ำว่าทุกฝ่ายพึงนำ ‘คำวินิจฉัย’ มาทำความเข้าใจและปฏิบัติตามให้ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ
หากสงสัยว่า หากไม่เห็นด้วย แล้วเหตุใดต้องปฏิบัติตาม ก็อาจย้อนดูคำตอบเรื่อง ‘คำวินิจฉัยพร่าๆ ในพายุที่พรำๆ’ ได้ที่ http://bit.ly/CloudyCourt
แน่นอนว่า ‘คำวินิจฉัยที่ดี’ ซึ่งหนักแน่นชัดเจนในเหตุผล แม้จะมีผู้ใดไม่เห็นด้วย แต่สังคมย่อมนำไปปฎิบัติโดยดุษฎีและมีประสิทธิภาพ
ส่วน ‘คำวินิจฉัยที่มีปัญหา’ แม้จะปฏิบัติตามเพียงใด ก็อาจไม่สำเร็จด้วยเหตุของความคลุมเครือ (ซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นเพราะตัวผู้ปฏิบัติ)
ยิ่งหากเหตุผลของศาลขัดต่อ ‘มาตรฐานมโนสำนึก’ ของประชาชน ก็ย่อมนำไปสู่ ‘การโต้ตอบทางประชาธิปไตย’ เช่น การเข้าชื่อถอดถอนตุลาการ หรือการแก้ไขตัวบทรัฐธรรมนูญเพื่อปรับปรุงอำนาจและที่มาของศาลในที่สุด
ผู้เขียนจึงยินดีที่ ‘พรรคร่วมรัฐบาล’ ได้ตั้ง ‘11 อรหันต์’ นำโดย ‘เนติโยธิน’ เช่น โภคิน พลกุล พงศ์เทพ เทพกาญจนา หรือ ชูศักดิ์ ศิรินิล มาศึกษาคำวินิจฉัยว่าจะปฏิบัติตามอย่างไร และหาแนวทางแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า (เช่น การแก้ไข มาตรา 68 มาตราเดียวก่อน เพื่อป้องกันปัญหาซ้ำซาก)
ท่าทีนี้แสดงว่า ‘เสียงข้างมากในสภา’ ก็ยังยำเกรงและให้เกียรติ ‘ตุลาการ’ แต่ในขณะเดียวกัน ก็พร้อมจะเล่นตามกติกาเพื่อทำให้ ‘ตุลาการ’ ต้องยำเกรงรัฐธรรมนูญเช่นกัน
จะเสียดายอยู่หน่อย ก็ตรงที่ว่า หากมี ‘อรหันต์ ส.ว.’ และ ‘อรหันต์ ฝ่ายค้าน’ มาร่วมจำพรรษาศึกษาคำวินิจฉัยพร้อมเพียงกันได้ ก็คงเป็นปรากฏการณ์ทางประชาธิปไตยที่น่าจดจำยิ่งนัก
แม้จะกระนั้น ใน ผู้เขียนในฐานะ ‘1 เณรน้อย’ ก็ขอฝาก 4 คำถาม ไปยัง ‘11 อรหันต์’ ที่กำลังหั่นคำวินิจฉัย ให้ช่วยแถลงไขให้ประชาชนได้เข้าใจ ดังนี้

1. ใครกันแน่ คือ ‘ผู้ถูกร้องที่ 1’ ?

คำวินิจฉัยกลาง ฉบับศุกร์ที่ 13 นี้ ไม่ได้สำคัญแต่เพียงเนื้อหาและผลของคำวินิจฉัยในหน้าท้ายๆ เท่านั้น แต่มีความผิดประหลาดที่ปรากฎตั้งแต่บรรทัดแรกๆ ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่อาจมองข้าม
เช่น การระบุ ‘ผู้ถูกร้องที่ 1’ ซึ่งแต่แรกศาลใช้คำว่า ‘ประธานรัฐสภา’ (ดู http://bit.ly/VPC1June) แต่สุดท้ายศาลเปลี่ยนเป็น ‘ประธานรัฐสภา ในฐานะรัฐสภา’ ทั้งที่ไม่มีกฎหมายใดให้อำนาจ ‘ประธานรัฐสภา’ สามารถไปต่อสู้คดีในศาลแทนสมาชิกรัฐสภาทั้ง 650 คนได้
หรือศาลจะบอกว่า ‘นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์’ (ประธานรัฐสภา) เพียงคนเดียว สามารถอธิบายจุดยืนและให้คำมั่นสัญญาผูกพันแทน ‘นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ’ และ ‘พลเอกสมเจตน์ บุญถนอม’ ตลอดจนฝ่ายค้าน และ ส.ว. ได้ทั้งหมด กระนั้นหรือ ?
เมื่อเป็นดังนี้ จึงขอถาม ‘11 อรหันต์’ ว่า ประธานรัฐสภาและบรรดาสมาชิกรัฐสภาเข้าใจเรื่องนี้อย่างไร และจะหลงสับสนตามศาลหรือไม่ ?

2. ใครกันแน่ คือ ‘ตุลาการเสียงข้างมาก’ ?

ก่อนหน้านี้ ผู้เขียนแสดงความเห็นว่า คำวินิจฉัยกลางประเด็นที่ 2 ซึ่งศาลเห็นว่า ‘ควร’ ทำประชามติก่อนการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับนั้น หากพิจารณาความเห็นในการวินิจฉัยส่วนตนของตุลาการทั้ง 8 ท่าน จะพบว่ามีเสียงแตกออกเป็น 4 ฝ่าย ( http://bit.ly/8Jesters )
แต่หากพิจารณาอย่างละเอียด อาจกล่าวได้ว่า ในท้ายที่สุด ก็มี ตุลาการถึง 5 เสียง ที่เห็นไปแนวทางเดียวกัน กล่าวคือ
(1) ตุลาการ 3 เสียง (นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ นายบุญส่ง กุลบุปผา และ นายอุดมศักดิ์ นิติมนตรี) เห็นว่า ศาลไม่มีอำนาจรับวินิจฉัยประเด็นที่สอง กล่าวคือ ยอมรับว่าเป็นอำนาจของรัฐสภาที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญ
(2) ตุลาการ 1 เสียง (นายชัช ชลวร) เห็นว่า รัฐสภามีอำนาจแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญทั้งฉบับได้
(3) ส่วนตุลาการอีก 1 เสียง (นายจรูญ อินทจาร) ในความเห็นส่วนตน หน้าที่ 6 ย่อหน้าสุดท้าย เห็นว่า
“อย่างไรก็ตาม หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญทั้งฉบับหรือจัดทำรัฐธรรมนูญ ขึ้นใหม่ทั้งฉบับ...ย่อมกระทำได้โดยการใช้อำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทย ซึ่งอาจแสดงออกโดยการลงประชามติเช่นเดียวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ซึ่งได้รับฉันทามติจากปวงชนชาวไทยผ่านการลงประชามติก่อนที่พระมหากษัตริย์จะ ทรงลงพระปรมาภิไธย”
แม้คำว่า ‘ฉันทามติ’ อาจมีปัญหาว่าจริงหรือไม่ แต่ก็เข้าใจได้ว่า ‘นายจรูญ อินทจาร’ ยอมรับว่า ‘การแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ’ มีข้อยกเว้นให้สามารถกระทำได้ โดยอาจใช้วิธีการเดียวกันกับ รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550
หากพิจารณาตัวอย่าง รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 จะพบว่า ‘การลงประชามติ’ นั้นได้กระทำ ‘หลัง’ จากที่ ส.ส.ร. ได้ดำเนินการยกร่างเสร็จแล้ว โดยที่ไม่จำเป็นต้องลงประชามติ ‘ก่อน’ ตั้ง ส.ส.ร. มายกร่างแต่อย่างใด
ดังนั้น การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตามร่าง มาตรา 291 ที่ค้างอยู่ในปัจจุบัน ก็ย่อมสามารถกระทำได้ เพราะมีขั้นตอนให้ประชาชนได้ลงประชามติ ‘หลัง’ จากที่ ส.ส.ร. ได้ดำเนินการยกร่างเสร็จ แต่ทั้งนี้ ‘ก่อน’ ที่พระมหากษัตริย์จะทรงลงพระปรมาภิไธย จึงไม่ต่างจากตัวอย่าง รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ที่ ‘นายจรูญ อินทจาร’ ยกอ้าง
เมื่อเป็นดังนี้ จึงขอถาม ‘11 อรหันต์’ ว่า ในส่วนประเด็นที่ 2 ว่าด้วยการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับนั้น มีตุลาการเสียงข้างมากถึง 5 เสียง ที่เห็นว่า รัฐสภาสามารถเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ตามที่ดำเนินมาได้ ใช่หรือไม่ ?

3. ใครกันแน่ คือ ‘ตุลาการเสียงข้างน้อย’ ?

หลายฝ่ายอาจเข้าใจว่า ‘นายชัช ชลวร’ เป็น ‘ตุลาการเสียงข้างน้อยผู้เดียว’ ที่เห็นว่าศาล ‘ไม่มีอำนาจรับพิจารณา’ คดีนี้
อย่างไรก็ดี หากพิจารณา ‘ความเห็นในการวินิจฉัยคดีส่วนตน’ ของ นายชัช ชลวร โดยเฉพาะในหน้า 6-7 จะพบความเห็นว่า
“ศาลรัฐธรรมนูญจึงไม่อาจจะตรวจสอบอำนาจการจัดทำรัฐธรรมนูญ หรืออำนาจการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญได้ …แต่อย่างไรก็ตาม ศาลรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นองค์กรใช้อำนาจตุลาการอาจใช้อำนาจปฏิเสธไม่บังคับ รับรองบทบัญญัติใดของรัฐธรรมนูญที่เห็นโดยชัดแจ้งว่าบัญญัติขึ้นโดยไม่เป็น ไปตามเจตนารมณ์ของปวงชนชาวไทยซึ่งเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย…”
กล่าวคือ แม้ ‘นายชัช ชลวร’ จะไม่ติดใจหากรัฐสภาจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่นายชัช ชลวร กลับระบุว่าตนมีอำนาจ ‘จิ้มเลือก’ มาตราต่างๆ ในรัฐธรรมนูญ หากตนพอใจว่าเป็นไปตามเจตนารมณ์ของปวงชนก็บังคับให้ แต่หากตนไม่พอใจดังที่ว่า ก็จะไม่บังคับให้เกิดผล
ผู้เขียนย้ำว่าตุลาการย่อมผูกพันภายใต้ตัวบทรัฐธรรมนูญและต้องตีความ บังคับให้เกิดผลสอดคล้องตามเจตนารมณ์ของปวงชน แต่ ‘นายชัช ชลวร’ กลับคิดว่ารัฐธรรมนูญบางมาตราสิ้นผลได้หากตนพอใจ ซึ่งเป็นการขยายดุลพินิจของตนอย่างกว้างขวางยิ่งกว่าตุลาการเสียงอื่นที่ ขยายอำนาจตนเองตาม มาตรา 68 เสียอีก
หากจะมี ‘เสียงข้างน้อย’ ตัวจริง ก็เห็นจะเป็น ‘นายนุรักษ์ มาประณีต’ ซึ่งเป็น ‘ตุลาการเพียงหนึ่งเดียว’ ที่ไปไกลถึงขนาด ‘วินิจฉัยสั่งการ’ ให้ผู้ถูกร้องทั้งหก ‘เลิกการกระทำ’ การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญและยกคำร้องส่วนอื่น (ต่างจากตุลาการอีก 7 ท่านที่วินิจฉัยยกคำร้องโดยไม่ได้มีการสั่งการให้เลิกการกระทำ)
หากพิจารณาความเห็นส่วนตนในหน้าที่ 4-6 จะพบว่า ‘นายนุรักษ์ มาประณีต’ สรุปอย่างสับสนและกำกวมว่า ในประเด็นพิจารณาที่ 2 การแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับเป็นการทำผิด มาตรา 68 แต่ในประเด็นพิจารณาที่ 3 นายนุรักษ์เห็นว่า แม้ผู้ถูกร้องจะไม่มีเจตนาในการล้มล้างการปกครองก็ตาม แต่ก็อาจสำคัญผิด จนนำมาสู่การวินิจฉัยที่ปะปนกัน นายนุรักษ์ จึงเป็นตุลาการหนึ่งเดียวจาก 8 ท่านที่ ‘สั่งการให้เลิกการกระทำ’  (ซึ่งขัดกับข้อมูลของสำนักงานศาลที่ชักนำให้เข้าใจว่า ตุลาการมีมติเอกฉันท์ 8-0 ว่าไม่มีการทำผิด มาตรา 68 ดู http://bit.ly/VP4Votes )
นอกจากนี้ ‘นายนุรักษ์ มาประณีต’ ยังเป็นตุลาการเพียงหนึ่งเดียว ที่เคยเป็นตุลาการรัฐธรรมนูญที่ได้มาโดยอำนาจของ คมช. ที่ก่อการรัฐประหารล้มล้างการปกครองเมื่อ 19 กันยายน 2549 อันเป็นการขัดต่อหลักการ มาตรา 68 อีกด้วย (สำหรับข้อสังเกตเกี่ยวกับความเห็นตุลาการท่านอื่น โปรดดู http://bit.ly/8Opinions )
เมื่อเป็นดังนี้ จึงขอถาม ‘11 อรหันต์’ ว่า หากยังมีตุลาการที่พร้อมจะ ‘จิ้มเลือก’ หรือ ‘ป่นขยี้’ รัฐธรรมนูญ ให้ผิดเพี้ยนได้มากเพียงนี้ แม้หาก ‘11 อรหันต์’ จะเสนอให้แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 68 ให้ชัดเจนก็ตาม แต่ปัญหาจากการตีความที่พิสดาร ก็ยังตามมาอีกได้หรือไม่ ?
จากคำถามทั้ง 3 ข้อที่กล่าวมา โจทย์สำคัญสำหรับ ‘11 อรหันต์’ และ ‘พรรคร่วมรัฐบาล’ จึงไม่ได้อยู่เฉพาะการทำความเข้าใจกับคำวินิจฉัย หรือ การแก้ไขรายมาตราในส่วน มาตรา 68 เพียงมาตราเดียวเท่านั้น
แต่ต้องคิดไกลไปถึงการแก้ไข ‘มาตราอื่น’ ไปพร้อมกันด้วย (ก่อนจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ) เช่น การปรับปรุงที่มาของศาลรัฐธรรมนูญ โดยมีบทเฉพาะกาลให้มีตุลาการเพิ่มมาทันที อาจเพิ่มอีก 6 ท่านรวมเป็น 15 ท่าน คล้ายรัฐธรรมนูญ 2540 แต่ปรับปรุงวิธีการเสนอสรรหาและรับรองให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
เพื่อให้มี ‘เสียงแห่งเหตุผล’ ที่ยึดโยงกับประชาชน มาช่วยถ่วงดุลบรรดา ‘เสียงส่วนตน’ ที่อาจไม่ยำเกรงต่อกฎหมายหรือแม้แต่ ‘พระปรมาภิไธย’ !
ความเห็นเพิ่มเติม ดูที่ http://bit.ly/VPCONS

ใบตองแห้ง วอยซ์ทีวี: อยากให้ลูกเป็นผู้พิพากษา ฟังทางนี้

ที่มา ประชาไท

 



สมัยก่อนใครๆ ก็อยากให้ลูกเป็นหมอ สมัยนี้หมอไม่ฮิตเหมือนเดิมแม้ยังเป็นอันดับต้นๆ แต่สู้หมอหมาก็ไม่ได้ เพราะผู้ป่วยที่เป็นคนดันมีปากมีเสียง กล้าต่อว่าต่อขาน นิดๆ หน่อยๆ แค่ลืมกรรไกรไว้ในท้องก็จะฟ้องกันเป็นสิบล้าน นโยบาย 30 บาทก็ทำให้ตาสีตาสาหัวแข็ง มาทวงสิทธิว่าหมอต้องรักษา ไม่มายกมือไหว้ปลกๆ ขอความกรุณา เห็นหมอเป็นพ่อพระแม่พระเหมือนอดีต เด็กรุ่นใหม่เลยนิยมไปเป็นหมอหมา หมอฟัน หรือหมอสิว หมอเสริมนมเสริมจมูกกันดีกว่า
ผมเคยมีธุระต้องไปคลินิกพวกนี้ เห็นหมอสาวสวยแล้วตกตะลึง ยังกะเดินออกมาจากแคตตาล็อกศัลยกรรม เพื่อนสมัยเรียนมัธยมไม่มีทางจำได้
ส่วนสายศิลป์ ช่วงก่อนนิเทศศาสตร์ วารสารศาสตร์ ยอดฮิต เพราะเป็นยุคเห่อดารา อยากทำโฆษณา ทำทีวี ทำละครทำหนัง แต่เกือบสิบปีมานี้ นิติศาสตร์พุ่งพรวดพราดเป็นอันดับหนึ่ง เพราะเข้าสู่ยุค “ตุลาการภิวัตน์” เป็นใหญ่ เงินเดือนข้าราชการสายนิติศาสตร์พุ่งพรวดพราด ตามการปรับเงินเดือนผู้พิพากษาซึ่งไม่กี่ปีก็ได้เงินเป็นแสน
ผู้พิพากษาได้ปรับเงินเดือนครั้งใหญ่ ดูเหมือนจะเป็นปี 2538 ในรัฐบาลชวน 1 ที่ประมาณ ชันซื่อ เป็นประธานศาลฎีกา ซึ่งเป็นยุคที่นักการเมืองเกรงใจผู้พิพากษา ทั้งยังสำนึกในความยุติธรรมของศาลฎีกาที่วินิจฉัยให้คำสั่งยึดทรัพย์ คตส.ชุดปู่สิทธิ จิรโรจน์ เป็นโมฆะ (ลบล้างผลพวงรัฐประหาร ฮิฮิ) ผู้พิพากษาบางท่านเล่าให้ฟังว่า ศาลยื่นบัญชีเงินเดือนเข้าไป 3 บัญชี บัญชีสุดท้ายทำไว้เผื่อฟลุค พูดอีกอย่างคือดีดตัวเลขไว้สูงๆ เพื่อต่อรองให้ได้บัญชีที่ต้องการ ที่ไหนได้ รัฐบาลและรัฐสภาดันอนุมัติบัญชีสุดท้าย ผู้พิพากษาดีใจแทบช็อก
เงินเดือนศาลพุ่งพรวด ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดเงินเดือนมากกว่าผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งอันที่จริง ตั้งแต่สมัยพระองค์เจ้ารพีฯ ท่านก็ให้เงินเดือนผู้พิพากษาสูงกว่าข้าราชการทั่วไปอยู่แล้ว เพราะผู้พิพากษาห้ามรับจ็อบ ห้ามมีอาชีพเสริม หารายได้พิเศษได้อย่างเดียวคือเขียนตำราขาย หรือรับเชิญไปบรรยายเป็นอาจารย์พิเศษ แม้แต่บุตรภรรยายังห้ามประกอบอาชีพที่ขัดต่อจรรยาตุลาการ จะไปรับเหมาถมดินเหมือนเมียตำรวจ หรือเป็นนายหน้าค้าที่ดินเหมือนเมียผู้ว่าฯ บุรพตุลาการท่านห้ามเด็ดขาด
ผู้พิพากษาจะเงินเดือนสูงกว่าอัยการอยู่ขั้นหนึ่งตลอด เพราะอัยการสูงสุด รองอัยการสูงสุด สามารถไปเป็นบอร์ดรัฐวิสาหกิจรับทรัพย์อู้ฟู่กว่าประธานศาลฎีกาหลายเท่า
เพียงแต่เมื่อก่อน เงินเดือนศาลยังไม่สูงโต่งจนห่างไกลข้าราชการธรรมดาถึงเพียงนี้ ข้ออ้างของศาลคือ ประธานศาลฎีกาเป็นประมุขฝ่ายตุลาการ ควรมีเงินเดือนเงินประจำตำแหน่งเท่านายกรัฐมนตรี ประธานรัฐสภา ทั้งที่ความจริงภาระหน้าที่ต่างกัน นายกฯ ประธานสภา หรือรัฐมนตรี เป็นบุคคลสาธารณะประเภทที่ต้องออกงานสังคม เยี่ยมเยียนประชาชน รับแขกบ้านแขกเมือง ขณะที่ประธานศาลฎีกาเขาให้สมถะ กินน้ำเปล่าอยู่บ้าน (หรือกินเหล้าอยู่บ้าน ก็แล้วแต่)
แต่เอาเถอะ ถือว่าประมุข 3 ฝ่ายมีศักดิ์ศรีเท่าเทียม ปัญหาคือบัญชีตำแหน่งรองๆ ลงมาสิครับ ไม่เหมือนฝ่ายบริหารที่มีช่องถ่างกว้าง จากนายกฯ รัฐมนตรี ปลัดกระทรวง อธิบดี ซี 9 ซี 8 จนมาถึงซี 3 ที่เข้ารับราชการใหม่ๆ มีขั้นเยอะมาก ขณะที่เงินเดือนผู้พิพากษามีแค่ 5 ชั้น ทำงานไม่กี่ปี ก็ 4-5 หมื่นแล้ว
เงินเดือนผู้พิพากษาปรับครั้งล่าสุด เมื่อปี 2551 (ทยอยปรับตามค่าครองชีพ) คือประธานศาลฎีกา 75,590 บาท เงินประจำตำแหน่ง 50,000 ประธานศาลฎีกาเป็นตุลาการชั้น 5 แต่ผู้เดียว รองลงมาตุลาการชั้น 4 ได้แก่ รองประธานศาลฎีกา ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา ผู้พิพากษาศาลฎีกา ประธานศาลอุทธรณ์ ประธานศาลอุทธรณ์ภาค เงินเดือน 73,240 บาท เงินประจำตำแหน่ง 42,500 บาท ตุลาการชั้น 3 ได้แก่รองประธานศาลอุทธรณ์ภาค ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ เงินเดือน 69,810 บาท เงินประจำตำแหน่ง 41,500 บาท
ตุลาการชั้น 3 ในศาลชั้นต้น ได้แก่ อธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น อธิบดีภาค ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะ เงินเดือน 67,560 บาท เงินประจำตำแหน่ง 30,000 บาท
เห็นไหมว่าผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัด เงินเดือนเหยียบแสนนะครับ สูงกว่าผู้ว่าฯ อีก เราอาจกล่าวได้ว่าเพื่อป้องกันผู้พิพากษาทุจริต ส่วนผู้ว่าฯ ปล่อยให้ไปหาอาหารเอง
ตุลาการชั้น 2 ได้แก่ผู้พิพากษาศาลชั้นต้น ไล่ไปตั้งแต่ 53,060 บาท 48,200 บาท 40,890 บาท 36,410 บาท 32,110 บาท โดยมีเงินประจำตำแหน่ง 23,300 บาท ส่วนตุลาการชั้น 1 ผู้พิพากษาประจำศาล มีอัตราเงินเดือนตั้งแต่ 29,980 บาท 27,850 บาท 25,770 บาท เงินประจำตำแหน่ง 19,000 บาท ผู้ช่วยผู้พิพากษา บรรจุมาซิงๆ 17,560 และ 18,950 บาท
นอกจากนี้ ข้าราชการสำนักงานศาลยุติธรรม ที่ไม่ใช่ตุลาการ ยังได้เงินเพิ่มพิเศษ ตั้งแต่ 4,500 บาท ถึง 20,000 บาท
โอเค เงินเดือนผู้พิพากษา ตอนนั้นน่าจะสองพันกว่าคน ตอนนี้สี่พันกว่าคน ก็ไม่เท่าไหร่ แต่ปัญหาที่เกิดตามมากับหน่วยงานอื่นสิครับ อัยการออกมาโวยวายว่าสมองไหล หนีไปสอบผู้พิพากษากันหมด พวกนิติกรตามหน่วยงานรัฐบาล วันๆ ไม่เป็นอันทำงาน เอาแต่อ่านหนังสือสอบผู้ช่วยผู้พิพากษา
สุดท้ายรัฐบาลทักษิณก็ปรับเงินเดือนให้อัยการ เทียบเคียงผู้พิพากษา รวมทั้งตั้งเงินเพิ่มให้นิติกร นักกฎหมาย ในหน่วยงานต่างๆ โดย ก.พ.อ้างว่าเป็นวิชาชีพขาดแคลน ขาดแคลนที่ไหน เด็กจบนิติเตะฝุ่นเยอะแยะ สำนักงานสถิติแห่งชาติเคยสำรวจพบว่า เด็กจบนิติปริญญาตรีไม่ได้ทำงานมีจำนวนมาก พากันไปเรียนโท เรียนเนติบัณฑิต อบรมเป็นทนาย ฯลฯ มหาวิทยาลัยต่างๆ ก็เปิดกันไม่นับ นอกจากมหา’ลัยปิดของรัฐ ราม สุโขทัย ยังมีสถาบันราชภัฏทั่วประเทศ มหา’ลัยเอกชนทุกแห่ง ตั้งแต่ ม.หัวแถว หางแถว ห้องแถว ศูนย์การค้า เพราะต้นทุนต่ำ มีตึกหลังเดียวก็เปิดสอนนิติศาสตร์บัณฑิตได้แล้ว
ไม่ใช่แค่ขึ้นเงินเดือนศาล อัยการ นิติกร พอตั้งองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ 2540 ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง ปปช.กกต.สตง. ผู้ตรวจการแผ่นดิน กรรมการสิทธิ ก็ยึดบัญชีเงินเดือนศาลเป็นแม่แบบ ประธานทุกองค์กรต้องได้เงินเดือนเทียบเท่าประธานศาลฎีกา
อัตราเงินเดือนที่เอามาเทียบ ไม่ใช่เฉพาะตัวกรรมการ แต่รวมถึงเจ้าหน้าที่ด้วย ตอนนั้นข้าราชการวิ่งเต้นกันขาขวิดเพื่อโอนไปอยู่องค์กรอิสระ
เงินเดือนผู้พิพากษาทำให้อัยการได้ขึ้นทั้งระบบ เช่น อัยการสูงสุด 67,060 บาท เงินประจำตำแหน่ง 42,500 บาท น้อยกว่าประธานศาลฎีการาว 20,000 บาท (แต่เป็นบอร์ด ปตท.รับปีละเป็นล้าน) อัยการระดับรองๆ ลงมาก็รับลดหลั่นกันไป ข้าราชการที่ไม่ใช่อัยการ ได้เงินเพิ่ม 3,900 ถึง 11,700 บาท
ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง กกต. ปปช. สตง.เหมือนกันหมด และกำหนดเงินเพิ่มพิเศษให้ข้าราชการ 4,500-20,000 บาท อัตราเดียวกับศาลยุติธรรม
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ใช้หลักวิชาตีความเหมือนศาล นักกฎหมายกฤษฎีกา ระดับ 8-11 จะได้เงินเพิ่ม 40,000 บาท ระดับ 6-7 ได้เงินเพิ่ม 35,000 บาท ระดับ 4-5 ได้เงินเพิ่ม 25,000 บาท
นิติกรทั่วไป ก.พ.ก็เพิ่มให้ 3,000-6,000 บาท แม้แต่ตำรวจ ก็มีเงินเพิ่มให้พนักงานสอบสวน เดือนละ 12,000 บาท พนักงานสอบสวนชำนาญการ, ชำนาญการพิเศษ, ผู้ทรงคุณวุฒิ, เชี่ยวชาญ, เชี่ยวชาญพิเศษ ไล่ตั้งแต่ 14,400 ไปจน 30,000 บาท ขณะที่ตำรวจฝ่ายอื่นไม่ได้ หรือได้น้อยกว่า
กรมสอบสวนคดีพิเศษ พนักงานสอบสวนคดีพิเศษ ระดับ 6 ไล่ถึงระดับ 10 มีเงินเพิ่ม 20,000-42,000 บาท เจ้าหน้าที่คดีพิเศษ ระดับ3-8 มีเงินเพิ่ม 10,000-26,250 บาท
ข้าราชการสายนิติศาสตร์กลายเป็นอภิสิทธิ์ชน สร้างความเหลื่อมล้ำไม่เป็นธรรมกับข้าราชการฝ่ายอื่น (ทั้งที่สมัยก่อน คนสอบเข้านิติศาสตร์ก็คะแนนเท่าหรือบางแห่งต่ำกว่ารัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ด้วยซ้ำ ไม่ต้องพูดถึงหมอหรือนิเทศ) ข้าราชการธรรมดากลายเป็นพลเมืองชั้นสองหรือชั้นสาม ใครมีเส้นสายมีปัญญา ก็พยายามวิ่งไปอยู่องค์กรอิสระ องค์การมหาชน ซึ่งตั้งขึ้นเพียบในยุคทักษิณ ให้เงินเดือนเทียบเท่าเอกชน โดยหวังจะให้ทำงานขยันขันแข็งเหมือนเอกชน แต่ไปๆ มาๆ มันก็ระบบราชการนั่นแหละ
พวกครูโชคดีหน่อย ได้แยกบัญชีเงินเดือนครู มีค่าวิทยฐานะ สมมติไปจ้างทำผลงานส่ง (มีให้จ้างเกร่อ) จนได้ครูผู้เชี่ยวชาญ ก็จะได้เงินเพิ่มเดือนละ 9,900 บาท ส่วนทหารไม่ต้องห่วงครับ ทหารก็มีบัญชีแยกพิเศษ แถมแจกอัตราจอมพล อัตรานายพล กันเกร่อ ทหารไม่เหมือนข้าราชการประเภทอื่นที่เวลาจะขึ้นเป็นผู้ชำนาญการ ผู้ชำนาญการพิเศษ ยังต้องสอบ แต่ทหารไม่ต้องสอบ เขาก็ให้กันได้หน้าตาเฉย
ปัจจุบันยังมีระบบ fast tract สำหรับลูกคนรวยหรือลูกข้าราชการระดับสูงที่มีกะตังค์ส่งไปเรียนนอก คนหนุ่มคนสาวทายาทตระกูลใหญ่ เผลอแป๊บเดียวเป็นซี 7 ซี 8 แต่เขาคงจะเก่งจริงนะ เพราะพ่อแม่มีตังค์ส่งเรียนดีๆ ตั้งแต่หัวเท่ากำปั้น จ้างวงออเคสตรามาบรรเลงให้ฟังตั้งแต่อยู่ในท้อง สมัยนี้ไม่มีแล้ว เด็กอัจฉริยะจากเมืองตรังมาอาศัยอยู่กับหลวงพี่เพื่อเรียนหนังสือ กลายเป็นนิทานปรัมปราไปแล้ว
ทางหนีอีกทางของข้าราชการยังได้แก่ หนีไปสังกัดองค์กรปกครองท้องถิ่น ใครว่าไม่มีอนาคตก็ช่าง เงินดีกว่า สวัสดิการดีกว่า งานเบากว่า ดีกว่าทำงานงกๆ เป็น “ข้าราชการ ข้าของแผ่นดิน” ทั่วไป
สิ่งที่รัฐบาลควรทำคือปรับโครงสร้างอัตราเงินเดือนข้าราชการ ให้เกิดความเป็นธรรม ไม่ใช่ทำฉาบฉวยแค่ปริญญาตรี 15,000 ซึ่งยิ่งทำให้ลักลั่นไปอีก เพราะไม่ได้ปรับฐานจริง แต่ใครเงินเดือนไม่ถึง 15,000 ก็ให้เงินเพิ่มเป็น 15,000 ข้าราชการทำมะดาที่ทำงานมาหลายปี ได้เงินเดือนเกิน 15,000 ไม่ได้อะไรเลย
แต่อย่างว่าละครับ สมมติปรับฐานเงินเดือนข้าราชการ ศาลยุติธรรม ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง กกต.ปปช.สตง. ฯลฯ องค์กรพิเศษทั้งหลายก็จะร้องแรกแหกระเชอขอปรับให้สูงขึ้นไปอีก เป็นงูกินหางไม่รู้จบ

ใหญ่ เล็ก จิ๋ว

นิติศาสตร์กลายเป็นคณะยอดนิยม คะแนนสูงเป็นอันดับหนึ่ง พลาดจากผู้พิพากษายังไปเป็นอัยการ เป็นนิติกร เป็นพนักงานศาลปกครอง กกต.ปปช. ฯลฯ (แต่คงมีน้อยคนที่อยากเป็นนิติราษฎร์)
กระนั้น ยอดปรารถนาสูงสุดคือผู้พิพากษา ใครจะไม่อยากเป็นละครับ เงินเดือนสูง อำนาจมาก มากจนล้นเหลือ เข้าสังคมไหนคนก็เกรงใจ ยกย่อง ให้เกียรติ แถมกลัวอยู่ลึกๆ “ข้าแต่ศาลที่เคารพ” ตำรวจรึ กระจอก!ตำรวจว่าใหญ่คับ เจอศาลต้องอ่อนน้อมค้อมหัวสองมือกุมไข่ สื่อมวลชนรึ กร่างไปทั่ว ด่านักการเมืองฉอดๆ ขึ้นศาลไข่สั่นพั่บๆ
ศาลอาญาประหารชีวิตคนได้ ไม่ทุจริตก็ติดคุกได้ ศาลแพ่งชี้ขาดคดีมรดกพันล้านหมื่นล้าน ศาลปกครองชี้อนาคตธุรกิจโทรคมนาคมแสนล้าน ศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคเปลี่ยนรัฐบาลได้ ทุกศาล เว้นแต่ศาลรัฐธรรมนูญ ใครวิพากษ์วิจารณ์ไม่เข้าที ก็มีโทษถึงติดคุก (ส่วนศาลรัฐธรรมนูญใครวิพากษ์วิจารณ์ก็ไปร้องให้ถอนประกันได้)
วัฒนธรรมไทยที่ยกย่องนับถือคนมีหน้ามีตาก็เริ่มเปลี่ยน สมัยก่อน ต้องเชิญผู้ว่าฯ นายพล เป็นประธานงานเลี้ยงงานแต่ง เผาศพ เดี๋ยวนี้เราเริ่มเห็นภาพท่านผู้พิพากษาลงหน้าข่าวสังคม เป็นเจ้าภาพ เป็นผู้มีเกียรติ ไปร่วมอบรม สัมมนา สังสรรค์ กับข้าราชการ พ่อค้า ทั้งที่บุรพตุลาการสอนให้ทำตัวสันโดษ สมถะ ออกงานสังคมเท่าที่จำเป็น และไม่ควรอยากมีหน้ามีตา (ซึ่งขอตั้งข้อสังเกตว่าเริ่มเปลี่ยนไปในระยะ 10-20 ปีนี้เอง)
อย่างไรก็ดี ใครอยากเป็นผู้พิพากษาก็ต้องผ่านด่านยากเย็นแสนเข็ญ นั่นคือหลังจบนิติศาสตร์แล้ว ต้องสอบเนติบัณฑิตให้ได้เสียก่อน จบเนฯ แล้วยังต้องไปประกอบวิชาชีพทางกฎหมาย เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี เช่น เป็นนิติกร เป็นอาจารย์กฎหมาย เป็นทนายความ (ซึ่งต้องมีใบรับรองของสภาทนายว่าได้ว่าความมาแล้วเท่านั้นเท่านี้ทั้งคดี แพ่งคดีอาญา) จากนั้นเมื่ออายุครบ 25 แต่ไม่เกิน 35 จึงมีสิทธิสอบผู้ช่วยผู้พิพากษา
ซึ่งยากเย็นแสนเข็ญ คิดดูว่าเด็กจบนิติปีละกี่หมื่น รับผู้ช่วยผู้พิพากษาครั้งละไม่กี่สิบคน (ได้ยินว่าครั้งก่อนสอบ 2 หมื่น สอบได้แค่ 50 คน) แถมไม่ได้เปิดสอบทุกปี อย่างมติ ก.ต.ครั้งล่าสุดเมื่อเดือนธันวาคม 2524 ให้เปิดสอบผู้ช่วยผู้พิพากษาโดยแจกใบสมัครปลายปี 2555 รับสมัครต้นปี 2556
กระนั้น ช่องทางสำหรับคนอยากเป็นผู้พิพากษาก็ไม่ได้มีแค่ช่องทางเดียว เพราะปัจจุบันยังมีอีก 2 ช่อง นั่นคือสนามสอบสำหรับผู้ที่จบปริญญาโท และสนามสอบสำหรับผู้ที่จบปริญญาเอก หรือจบโทจากเมืองนอก ซึ่งเรียกกันว่า “สนามเล็ก” และ “สนามจิ๋ว” โดยช่องทางเดิมเรียกกันว่า “สนามใหญ่”
สำนักงานอัยการสูงสุดก็ใช้เกณฑ์เดียวกันในการสอบอัยการผู้ช่วย
“สนามเล็ก” มีเงื่อนไขหลายข้อ เช่นคนจบปริญญาตรีจากเมืองนอก ที่ ก.ต.รับรอง คนจบโทหรือเอกในเมืองไทย ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายไม่น้อยกว่า 1 ปี คนสอบเนฯ ได้เกียรตินิยม ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายไม่น้อยกว่า 1 ปี
ซึ่งที่เพิ่งสอบกันไป ประกาศผลแล้ว มีผู้เข้าสอบ 2,509 คนสอบข้อเขียนได้ 35 คน ในผู้สอบได้มีนามสกุลดังๆ อยู่หลายคน แต่อย่าวิพากษ์วิจารณ์ว่ามีเส้นสาย เพราะดูประวัติการเรียนแล้วน่าจะเก่ง ยกตัวอย่าง ลูกอดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญรายหนึ่ง ก็เกียรตินิยมจากนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ หลานสาว (หรือเปล่าไม่ทราบ) นามสกุลอดีตประธานศาลฎีกา ก็จบตรีและโทจากนิติฯ จุฬาฯ ลูกตุลาการศาลรัฐธรรมนูญรายหนึ่ง ที่เสื้อแดงกล่าวหาว่าตั้งลูกชายเป็นเลขาฯ ก็สอบเนฯ ได้ที่ 121 จากผู้สอบได้ 991 คน
ถ้าจะมีปัญหาบ้าง ก็คือมหาวิทยาลัยต่างๆ พอศาลเปิดสนามเล็ก ก็เปิดหลักสูตรปริญญาโทกันขนานใหญ่ บางแห่งให้จบง่าย ทำให้คุณภาพของปริญญาโทด้อยลง แม้มหาวิทยาลัยหลักๆ ยังเคี่ยวเข้มผ่านยากอยู่
ประเด็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันเยอะกว่าคือ “สนามจิ๋ว” ซึ่งรับคนจบปริญญาเอกทั้งในและต่างประเทศ รับคนจบปริญญาโทจากต่างประเทศ ที่ ก.ต.กำหนดว่าต้องเรียน 2 ปี
ตรงนี้เป็นตลกเล็กๆ เพราะหลักสูตร LL.M.ไม่ว่าอังกฤษ อเมริกา เขาเรียนกัน 9 เดือน ฉะนั้นคนมีสิทธิสอบสนามจิ๋ว จึงต้องเรียนให้ได้ปริญญาโท 2 ใบ (ต้องได้วิชาครบตามตามที่ ก.ต.กำหนดด้วย ใบเดียวไม่ได้อยู่ดี)
“สนามจิ๋ว” เปิดเพราะศาลต้องการผู้พิพากษาที่เก่งภาษาอังกฤษ มีความรู้เรื่องกฎหมายระหว่างประเทศ นอกจากนี้ยังเปิดรับผู้ที่จบวิชาชีพอื่นๆ เช่น แพทย์ ทันตแพทย์ สัตวแพทย์ พยาบาล เภสัช วิศวะ สถาปัตย์ เพื่อให้มีผู้พิพากษาที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน รองรับคดีฟ้องร้องกันทางการแพทย์หรือการก่อสร้าง
เจตนาท่านดี แต่ผลออกมาก็มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่า ถ้าใครอยากให้ลูกเป็นผู้พิพากษา ก็กัดฟันส่งลูกไปเรียนเมืองนอกซัก 2 ปี ลงทุน 3-4 ล้านบาท กลับมาสอบสนามจิ๋ว ถึงจะต้องสอบข้อเขียน สอบปากเปล่า เหมือนสนามใหญ่ สนามเล็ก แต่ผลที่ออกมา ปรากฏว่าสอบ 100 ผ่านถึง 90 คน!
เรียนอเมริกา 1 ปีลงทุนประมาณ 7 หมื่นดอลลาร์ ค่าเงินปัจจุบันก็ 2 ล้านกว่าบาท อังกฤษช่วง 2-3 ปีก่อนค่าเรียนถูกกว่า ตกประมาณปีละ 1.4 ล้าน รัฐบาลเดวิด คาเมรอน เพิ่งขึ้นค่าเรียนสูงหน่อยแต่ 2 ปีก็ไม่น่าถึง 4 ล้าน
คุ้มค่าการลงทุนสำหรับพ่อแม่ ลูกมีอาชีพมั่นคง มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี มีอำนาจ อยู่ในสถานะสูงส่ง ทำงานไม่กี่ปี เงินเดือนแสน อยู่ในตำแหน่งไปจนอายุ 70 จึงเกษียณ คิดดูนะครับ ลงทุน 2 ปี กินยาว 45 ปี
ไม่ต้องเรียนเก่งมาก ขอแค่พอใช้ได้ สอบเนฯ ผ่านลำดับที่ 1-500 บินไปเรียนเมืองนอกทันที แถมปริญญาโทอเมริกา อังกฤษ ถ้าเลือกเรียนถูกที่ ไม่แส่ไปเรียนฮาวาร์ด ออกซ์ฟอร์ด ก็ยังจบง่ายกว่าเรียนโทที่ธรรมศาสตร์ จุฬาฯ  (ก.ต.กำหนดมหาวิทยาลัย เช่นในอังกฤษ18 แห่ง ในอเมริกา 60 กว่าแห่ง แต่ก็ไม่ยากเย็นแสนเข็ญนัก) ได้ปริญญา 1 ใบ ถ้าสนามเล็กเปิดสอบ ก็มาสอบสนามเล็กก่อน ถ้าไม่ได้ ก็เอาอีก 1 ใบสอบสนามจิ๋ว
พูดอีกอย่างคือ มีเงิน 3-4 ล้านก็ “ซื้อโอกาส” เป็นผู้ช่วยผู้พิพากษาได้ง่ายกว่าไอ้ไข่นุ้ย ลูกตาไข่หมูก ที่ขึ้นรถไฟมาเรียนนิติศาสตร์ ราม เอาน้ำราดหัวตั้งหน้าตั้งตาท่องกฎหมายแพ่ง กฎหมายอาญา วิแพ่ง วิอาญา
แล้วว่ากันว่า คนสอบสนามจิ๋วได้ จำนวนไม่น้อยก็เป็นลูกผู้พิพากษาหรืออัยการชั้นผู้ใหญ่นั่นแหละครับ เปล่า ไม่ได้เล่นเส้น แต่เพราะพวกท่านรู้ช่องทางเงื่อนไขดีกว่าคนอื่น พวกลูกพ่อค้าลูกอาเสี่ยยังรู้ทีหลัง ผู้พิพากษาอัยการพอรู้ว่ามีสอบสนามจิ๋ว เงินเดือนเป็นแสนอยู่แล้ว ก็กัดฟันส่งลูกเรียนนอก ปุ๊บปั๊บกลับมาสอบได้สบายไป
ทั้งนี้เพราะเป็นที่รู้กันว่า ข้อสอบสนามเล็กง่ายกว่าสนามใหญ่ ข้อสอบสนามจิ๋วง่ายกว่าสนามเล็ก เน้นภาษาอังกฤษมากกว่าแพ่ง อาญา วิแพ่ง วิอาญา กระทั่งถูกวิจารณ์ว่า ผู้พิพากษาที่ผ่านสนามใหญ่ มีประสิทธิภาพในการพิจารณาคดีมากกว่า
“...ผมก็เห็นด้วยนะครับว่าคนที่ไปเรียนนอกบางคนเป็นคนที่มีความรู้ความ สามารถจริงๆครับ แต่ก็เป็นเฉพาะรุ่นแรกๆนะครับ ในระยะหลังเริ่มจะไม่เป็นแบบนั้นแล้วครับ เท่าที่ผมได้สดับรับฟังมากจากภายในศาลสูงที่ผมทำงานอยู่ ว่าในระยะหลังผู้ที่สอบได้สนามจิ๋วไม่ได้เก่งดังเช่นในอดีตที่ผ่านมา เขาดูจากประสิทธิภาพในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี ความแม่นยำในการปรับใช้หลักกฎหมาย (ศาลก็มีการประเมินการทำงานนะครับ) กล่าวโดยประมาณ คือ สนามใหญ่ 100 สนามเล็ก 50-60 สนามจิ๋วจะประมาณ 30-40 บางคนอาจบอกว่าสนามจิ๋วได้เนติอันดับต้นๆเลยต้องเก่งกว่าสิ ใช่ครับ คนพวกนี้ก็อาจเก่งกว่าจริงครับ แต่ก็ในช่วงนั้นเท่านั้นครับ แต่หลังจากนั้นพวกเขาไม่ได้จับกฎหมายไทยเลย แล้วจะสู้คนที่เขาอ่านทุกวันจับทุกวันได้เหรอครับ เพราะการสอบเราสอบกฎหมายไทยนะครับ ไม่ใช่กฎหมายนอก แต่ถ้าเรื่องความสามารถในด้านภาษาก็ต้องยกให้สนามจิ๋วครับ ดังนั้น สิ่งที่ศาลสูงเห็นก็เช่นเดียวกับทุกๆท่าน คือกำลังจะยกมาตรฐานความรู้ทางกฎหมายในชั้นสนามจิ๋วให้มากขึ้น ต่อไปไม่มีแบบว่าสมัคร 100 รับ 90 อีกแล้วครับ ความเข้มข้นก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ 100 อาจจะรับ 30-40 หรือน้อยกว่านี้ เพราะความจำเป็นในด้านภาษาเริ่มน้อยลง เนื่องจากคนรุ่นใหม่เก่งภาษาอยู่แล้ว อีกทั้งศาล อัยการ ก็มีทุนภายในให้ไปศึกษาต่อในต่างประเทศทั้งในระยะสั้นและระยะยาว และเห็นว่าตอนนี้แนวโน้มไม่ได้ไปทางพวกจบนอกแล้วนะครับ แต่กลับไปทางพวกจบสายอาชีพอื่นเสียมากกว่า เช่น หมอ บัญชี วิศวะ วิทยาศาสตร์ เหมือนต่างประเทศ เครดิตพวกนี้จะดีกว่าสนามจิ๋วอีกนะครับ(เท่าทีผมได้ยินมานะครับ)....”
นี่ผมก๊อปมาจากเว็บบอร์ดนักกฎหมาย ซึ่งฟังแล้วผู้โพสต์น่าจะเป็นผู้พิพากษา หรือคนในศาล เพิ่งโพสต์เมื่อ 2 เดือนนี่เอง ผมไม่ยืนยันว่าเป็นความเห็นที่ถูกต้อง เพราะบางคนก็แย้งว่า สนามเล็กสนามจิ๋วเก่งกว่าเพราะเรียนปริญญาโทต้องเรียนเชิงคิดวิเคราะห์ มากกว่า แต่ส่วนใหญ่ก็ยอมรับว่า สนามเล็ก โดยเฉพาะสนามจิ๋ว สอบผ่านง่ายกว่าจริงๆ หลายคนเคยสอบสนามใหญ่มาแล้ว สอบตก แต่ไปสนามจิ๋ว กลับได้
ผู้โพสต์บอกว่า ศาลเองก็มองเห็นปัญหา และต้องเข้มงวดมาตรฐาน “สนามจิ๋ว” ให้เข้มขึ้น แต่ที่ผ่านมาละครับ
ที่จริงผมเห็นด้วยนะว่า ศาลต้องรับผู้พิพากษาที่เก่งภาษาอังกฤษ และเรียนจบจากต่างประเทศบ้าง เพราะคนไปเรียนเมืองนอก จะได้เรียนรู้รากฐานกฎหมายหลายด้านที่เราเอามาจากฝรั่ง เช่น กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา, กฎหมายล้มละลาย พวกนี้เราก็เอามาจากอเมริกา กฎหมายเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ คนเรียนเมืองนอกได้เปรียบอยู่แล้ว
แต่สิ่งที่ต้องตั้งคำถามคือการรับผู้พิพากษาสนามเล็ก สนามจิ๋ว มีสัดส่วนตรงตามความต้องการของศาลหรือเปล่า เมื่อเทียบกับสนามใหญ่ เพราะศาลอาจต้องการผู้พิพากษาที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษไม่มากนัก แต่ต้องการผู้พิพากษาคดีแพ่งคดีอาญาทั่วไปจำนวนมาก เนื่องจากคดีที่คั่งค้างอยู่ในเวลานี้ ความล่าช้าคือความอยุติธรรมอย่างหนึ่ง เอ้า ยกตัวอย่างนะครับ ศาลฎีกายกฟ้องคดีธารินทร์ นิมมานเหมินทร์ ฟ้องหมิ่น ASTV หลังพิจารณาคดีกันมา 13 ปี ถ้าเป็นคนธรรมดาสามัญจะสู้คดีกันถึงที่สุดอย่างนี้ไหม ใครถูกผิดใครเสียหายเราควรจะรู้กันให้ชัดเจนในเวลาไม่เกิน 2-3 ปี
ทำไมศาลจึงรับสนามใหญ่น้อยจัง เข้มงวดมาตรฐาน แต่กลับผ่อนคลายให้สนามเล็ก สนามจิ๋ว แถมมีบางคนบอกว่าจบการค้าต่างประเทศ แต่ไปอยู่ศาลอาญา
โดยหลักการแล้วใช่ครับ จบโทเมืองนอก จบการค้าต่างประเทศ ก็ต้องไปอบรมก่อน (หลังสอบได้ไม่ว่าสนามไหน ศาลจะเอาไปเข้าค่ายเก็บตัว 1 ปี อบรมวิธีการดำรงตน อบรมวิธีเขียนคำพิพากษา ติวความรู้กันอีกรอบ เก็บตัวโหดด้วยนะ เพราะต้องไปอยู่หอ ห้ามกลับบ้าน พอๆ กะค่ายทหาร) จากนั้นก็ควรไปอยู่ศาลแพ่ง ศาลอาญา ทำคดีทั่วไป สัก 2-3 ปี แล้วค่อยไปตามสายงานที่ตัวถนัด
เพียงแต่คนนอกไม่รู้ว่าศาลจัดระบบกันอย่างไร รับสนามจิ๋วไปอยู่ศาลเชี่ยวชาญเฉพาะ หรือว่ารับสนามจิ๋วแล้วกลายเป็นแย่งเก้าอี้สนามใหญ่ ศาลรับสนามจิ๋วมากเกินหรือเปล่า รับสนามใหญ่น้อยไปหรือเปล่า ตรงนี้คนนอกไม่รู้ เพราะเป็นเรื่องการบริหารจัดการบุคคลากรของศาล
แต่ภาพออกมาที่มันคาใจคือ ใครส่งลูกไปเรียนโทเมืองนอก 2 ปีกลับมาได้เป็นผู้ช่วยผู้พิพากษากันเกือบหมด ขณะที่ลูกคนจนคนธรรมดาสามัญแก่งแย่งกันแทบตายเพื่อสอบผู้ช่วยผู้พิพากษาสนาม ใหญ่
ในมุมหนึ่งก็มีคำถามว่าทำไมศาลไม่เปิดสอบสนามเดียว แข่งกันแฟร์ๆ แล้วใครเก่งอังกฤษ หน่วยก้านเข้าที ค่อยส่งไปเรียนเมืองนอกเอง อาจมีข้อโต้แย้งว่าใช้งบประมาณเยอะ กระนั้นก็น่าคิดนะครับว่าจะเลือกอะไรระหว่างความเท่าเทียม กับการให้เขาออกทุนเองเพื่อได้โอกาสสูงกว่า
ที่ผ่านมาก็เห็นพูดๆ กันว่า “สนามจิ๋ว” เป็นเรื่องเฉพาะกิจ ต่อไปอาจจะปิด ไม่มีอีก อย่าลงทุนไปเรียนเพื่อหวังช่องทางพิเศษ แต่ก็พูดมาหลายปีแล้วยังไม่ปิด  (ถ้าปิดเมื่อไหร่พวกส่งลูกเรียนนอกไม่พอใจแน่ รวมทั้งพวกผู้พิพากษาอัยการด้วยกันเอง)
ล่าสุดที่ ก.ต.มีมติเมื่อปลายปี 2554 ก็ยังให้เปิดสอบสนามจิ๋วอยู่ โดยไล่เรียงไปคือ สนามเล็กเปิดรับสมัคร มกรา-กุมภา 2555 และประกาศผลสอบข้อเขียนไปแล้ว สนามจิ๋วเปิดรับสมัคร มิ.ย.-ก.ค.ที่ผ่านมา น่าจะยังไม่ประกาศผลสอบ สนามใหญ่ไปรับสมัครเอาต้นปีหน้า
สนามเล็กผ่านข้อเขียนไปแล้ว 35 คน สนามจิ๋วจะรับเท่าไหร่ จากผู้สอบเท่าไหร่ ก็คอยดูกัน (รวมทั้งคอยตรวจรายชื่อว่ามีใครบ้างหัวใสส่งลูกไปเรียนนอก) แล้วจำนวนที่รับเมื่อเปรียบเทียบกับสนามใหญ่ จะมีสัดส่วนอย่างไร
                                                                                    ใบตองแห้ง
                                                                                    7 สิงหาคม 55

บัญชีแนบท้าย

ก.ต.ประกาศให้ความเห็นชอบมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ ที่เรียนแล้วมีสิทธิสอบ “สนามจิ๋ว” เมื่อวันที่ 23 ก.พ.2553 ตามลิงก์นี้ http://www.ojc.coj.go.th/system/www_ojc/p_toy/university2.pdf
แต่ต่อมาก็มีมติเพิกถอนการรับรองหลักสูตรปริญญาโทของ La Trobe University ออสเตรเลีย ตามมติวันที่ 23 กรกฎาคม 2555
อย่างไรก็ดี ถ้าดูเฉพาะมหาวิทยาลัยอเมริกัน 68 แห่ง ซึ่งเริ่มต้นเริ่ดหรู ด้วยฮาวาร์ด ปรากฏว่าเมื่อลองเอาไปเปรียบเทียบกับมหาวิทยาลัยที่เนติบัณฑิตอเมริกัน รับรอง ตามลิงก์นี้ http://www.americanbar.org/groups/legal_education/resources/aba_approved_law_schools/in_alphabetical_order.html
ปรากฏว่ามีบางแห่งที่เนติบัณฑิตอเมริกันไม่รับรอง แต่ ก.ต.ของเรารับรอง เช่น Dickinson School of Law, San Diego School of Law ซึ่งไม่ทราบว่ารับไปกี่คนแล้ว

Patani Design: กระบวนสันติภาพแบบกองโจร

ที่มา ประชาไท

 

เมื่อภาพแห่งความรุนแรง เลือดแห่งการสูญเสีย น้ำตาแห่งความอาลัย ยังไหลรินออกจากดวงตาผู้เป็นมารดา บิดา พี่น้องในจังหวัดชายแดนภาคใต้ กระทรวง ทบวง กรม หน่วยงานภาครัฐ มูลนิธิ สมาคม กลุ่ม ชมรม องค์กรเอกชน ยังคงต้องเดินหน้าทำงานวางแผน ปรับนโยบาย ปรับแผนกลยุทธ์ จัดประชุม อบรม ให้ความรู้ เวิร์คช็อป เพื่อดูแลสถานการณ์ หาทางยุติความรุนแรง เยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบ สร้างความยุติธรรม และพูดคุยเจรจาด้วยกระบวนการสันติวิธี ยังคงต้องหาทางสร้างสันติภาพกันต่อไป
ด้วยกลยุทธ์การต่อสู้ของขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อเอกราชปาตานีเป็นไปในรูป แบบสงครามจรยุทธ์ หรือ สงครามกองโจร ฝ่ายความมั่นคงของรัฐไทยรับทราบกันดีในกลวิธีนี้ เห็นได้จากหลังเหตุกการณ์ปล้นปืนเมื่อ 4 มกรา 47 และปฏิบัติการในหลายๆครั้งที่ผ่านมา การโจมตีนอกแบบเกิดขึ้นเมื่อหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นสงครามขนาดใหญ่ และสร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงให้กับมวลมนุษยชาติได้ยุติลง สภาวะความขัดแย้งรูปแบบใหม่ที่เกิดขึ้นมาทดแทน การทำสงครามด้วยกำลังทหารขนาดใหญ่ในรูปแบบเดิม ได้เปลี่ยนแปลงไปสู่การทำสงครามตัวแทน (Proxy War) โดยการใช้สงครามนอกแบบ (Unconventional Warfare) หรือ สงครามกองโจร (Guerrilla Warfare) เพื่อสร้างและโน้มน้าวประเทศอื่นๆ มาเป็นแนวร่วมในอุดมการณ์ทางการเมือง ซึ่งในขณะนั้นสามารถแบ่งออกเป็น 2 ค่ายใหญ่ ได้แก่ อุดมการณ์ประชาธิปไตย และ อุดมการณ์คอมมิวนิสต์[1]
เมื่อการสงครามในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นสงครามไร้รูปแบบ มาเป็นสงครามนอกแบบ หรือ สงครามกองโจร การต่อสู้ที่ไร้แบบ อย่างมีแบบแผนของขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อเอกราชปาตานี ได้ก่อความปั่นป่วนแก่ผู้นำระดับนโยบายของฝ่ายความมั่นคงแห่งรัฐไทยเจ้าผู้ ปกครองเป็นอย่างมาก กระทั้งทำให้ผู้บัญชาการทหารบก ต้องออกมาแถลงตามสไตล์ดุดัน ต่อขบวนการฯว่าเป็นผู้ที่ก่อเหตุฆ่าไม่เลือก ไม่ได้มาใช้กองกำลังเป็นหมวด หมู่ แต่เขาใช้วิธีสุนัขลอบกัด ใช้ยุทธวิธีการก่อการร้ายแบบกองโจร วันนี้ผู้ก่อเหตุมีใครมาแสดงตัวรับผิดชอบหรือเปล่า มีแต่อีแอบ อีหมาลอบกัดอย่างเดียว [2]
แต่ถ้อยแถลงของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. ดังกล่าว ไมได้เจาะจงในความหมายของขบวนการที่เคลื่อนไหวเพื่อเอกราชปาตานีเพียงอย่าง เดียว ยังส่งสารที่ดุดันนี้ไปยังกลุ่มที่ค้าสิ่งที่ผิดกฎหมาย ยาเสพติด แรงงาน อาชญากรรม คนสองสัญชาติ การเมือง ส่วนตัว ไล่ที่ ซื้อที่ดิน ซึ่งก็เหมือนกับจังหวัดอื่นๆ แสดงว่าในเมืองไทยเต็มไปด้วยสุนัขที่ลอบกัดกันเองอยู่ทั่วประเทศ
กระนั้นเมื่อทฤษฎีของการโจมตีแบบกองโจรได้ส่งผลก่อให้เกิดความสูญเสียแก่ ลมหายใจ เงินทอง บ้านเรือน ตัวแทนหน่วยงานความมั่นคงอย่างที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี พล.อ.พัลลภ ปิ่นมณี ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ออกมาแสดงทัศนะถึงกลยุทธ์ของขบวนการฯว่าเป็นสงครามกองโจร ตามแบบสากล และให้ข้อเสนอว่าเมื่อเป็นกองโจรก็ต้องสู้ด้วยกองโจร โดยได้เสนอขั้นตอนตอบโต้อย่างกองโจร 3 ขั้นตอน  1.Search คือ ค้นหาแกนนำ กองกำลังติดอาวุธ และแนวร่วมว่าเป็นใคร 2.Destroy คือเมื่อสืบทราบว่าเป็นใครแล้วก็ให้ใช้กำลังทางทหารเข้าทำลาย และดึงแนวร่วมเข้ามาเป็นพวก 3.Reconstruction คือหลังจากนั้นก็เข้าสู่การบูรณาการและปรับแผนเพื่อให้เข้าสู่ภาวะปกติ [3]
การค้นหา ทำลาย แล้วฟื้นฟู เป็นยุทธวิธีทางการทหารที่โต้กลับต่อแกนนำของขบวนการฯ จากผู้ที่มีประสบการณ์ความเชี่ยวชาญทางการรบเมื่อปี 2520 – 2524  ที่เสนอให้มีการนำกำลังกลุ่มเล็กประมาณ 10-20 นาย ที่ผ่านการฝึกแบบจรยุทธ์แล้วเข้าไปประชิดทำลายแกนนำและกองกำลังติดอาวุธของ ขบวนการฯ ข้อเสนอนี้นับว่าเป็นการตบลูกกลับอย่างน่าสนใจ และน่ากังวลหากว่ามาตรการนี้ผ่านการพิจารณา กระบวนการสันติภาพ การเจรจาแบบสันติวิธี ที่หลายฝ่ายทั้ง ภาครัฐ นักวิชาการ นักพัฒนาเอกชน สื่อมวลชน และภาคประชาสังคม กำลังขับเคลื่อนอยู่จะหยุดชะงักหรือจะเปลี่ยนกระบวนทัศน์อย่างไร เมื่อความรุนแรงถูกโต้ตอบด้วยความรุนแรงเช่นเดียวกัน
ทว่าสงครามแบบกองโจร เป็นทฤษฎีที่สามารถสร้างอำนาจต่อรองต่อฝ่ายที่มีกำลังเหนือกว่าได้ และผู้มีอำนาจเหนือกว่าก็ใช้ทฤษฎีกองโจรแบบเดียวกับเพื่อตีกลับ เมื่อกองโจรของขบวนการฯ ปะทะ กองโจรของรัฐไทย หากนี่เป็นวิสัชนาที่ถูกต้องแล้ว กระบวนการสันติภาพเฉกเช่นปกติก็ไม่จำเป็น และจะมีความหมายหรือไม่
กระบวนการสันติภาพคงจะต้องปรับมาใช้แบบกองโจร คือ “กระบวนการสันติภาพแบบกองโจร” (Guerrilla Peace Process) เพื่อให้สามารถสร้างความเข้าใจ สร้างนักสันติวิธี สร้างแนวร่วม และกำหนดยุทธวิธีสันติวิธีแบบจรยุทธ์ได้ ในทางทฤษฎีของการปฏิบัติในกระบวนการสันติภาพแบบกองโจร คงไม่ได้แตกต่างไปจากการทำสงครามกองโจร คือ โจมตีเมื่อข้าศึกอ่อนล้า ถอยเมื่อถูกรุก กวนเมื่อข้าศึกเผลอ แต่ข้าศึกในความหมายของกระบวนการสันติภาพนี้ ไม่ได้หมายถึงศัตรูทางการทหาร หรือเห็นต่างทางอุดมการณ์ทางการเมือง แต่เป็นผู้ที่เห็นต่างในยุทธวิธี หรือ ผู้ที่ยังไม่เข้าใจในกระบวนการสันติภาพ
“กระบวนการสันติภาพแบบกองโจร” (Guerrilla Peace Process)
โจมตีเมื่อข้าศึกอ่อนล้า คือ การเข้าไปพบกับหน่วยงานของรัฐ และฝ่ายขบวนการฯ ในขณะที่ทั้งสองฝ่ายกำลังอ่อนล้าหรือสับสนในนโยบายของตนเอง หรือนโยบายของฝ่ายตรงข้าม  เพื่อสร้างความเข้าใจในกระบวนการสันติภาพ ความสำคัญ ความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นจากกระบวนการนี้ จัดข้อมูลให้ว่ากระบวนแบบนี้กระบวนการเดียวเท่านั้นที่จะสร้างสันติภาพใน พื้นที่ได้
ถอยเมื่อถูกรุก เป็นการหยุดอยู่กับที่ไม่ได้หมายถึงการก้าวถอยหลัง เพียงให้ทั้งสองฝ่ายเดินเข้ามา ซึ่งหมายถึงทั้งเดินเข้ามาด้วยสนใจในกระบวนสันติภาพ หรือเดินเข้ามาด่าว่า หรือไม่เห็นด้วย ปกติเมื่อคนเราอยู่อารมณ์โกรธเอาช้างกี่เชือกก็ไม่สามารถระงับได้ แต่ทีมจรยุทธ์ที่มาจากระบวนการสันติภาพต้องเตรียมพร้อมเสมอเพื่อรุกกลับ เมื่อข้าศึกเผลอ
กวนเมื่อข้าศึกเผลอ ได้จังหวะเมื่อใดรุกกลับทันที จังหวะ คือ ช่วงที่ทั้งสองฝ่ายเผลอ สังเกตได้จากสถานการณ์อยู่ในช่วงรุนแรงปกติ หรือช่วงที่มีเพียงเฉพาะการยิงรายวัน ช่วงที่ฝ่ายความมั่นคงของรัฐไทยไม่ได้สนใจในประเด็นภาคใต้ จังหวะนี้เหมาะกับการกวนด้วยยุทธวิธีและข้อมูลแนวคิดทางสันติวิธี
หรือนำเอากลยุทธ์ที่ พล.อ.พัลลภ ปิ่นมณี เสนอคือ ค้นหา ทำลาย และฟื้นฟู ขั้นตอนแรกคือการค้นหาแกนนำ (Search) แกนนำของคู่กรณีทั้งสองฝ่าย ที่มีผลต่อระดับนโยบายและปฏิบัติการ เมื่อสามารถระบุตัวของแกนนำได้แล้ว ก็เป็นขั้นตอนของการทำลาย หรือกำจัด (Destroy) คือการทำลายแนวคิดความรุนแรง การใช้อาวุธในการต่อรองทางการเมือง การทหาร เพื่อดึงเข้ามาเป็นพวกสร้างเป็นแนวร่วม ให้ข้อมูลเพื่อปรับเปลี่ยนแนวคิดความรุนแรง แต่ไมได้มุ่งที่จะเปลี่ยนแนวคิดทางอุดมการณ์ทางการเมืองแต่อย่างใด ซึ่งเป็นขั้นตอนของการฟื้นฟู (Reconstruction)
สำหรับการสร้างทีมจรยุทธ์กระบวนการสันติภาพ คือทีมที่จะคอยจู่โจม โจมตี ซึ่งหมายความว่าต้องมีความชำนาญ มีข้อมูล มีความเข้าใจในกระบวนดังกล่าวนี้เป็นอย่างดี เฉกเช่น ทีมจรยุทธ์ของขบวนการฯมีความชำนาญในเส้นทาง และอาวุธที่ก่อเหตุ
แม้ว่าจะมีหน่วยงาน สถาบัน องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรภาคประชาสังคมขับเคลื่อนกระบวนการสันติภาพ เพื่อสร้างให้เกิดสันติภาพในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยต้นทฤษฎีสันติวิธีมาจากต่างประเทศ ซึ่งย่อมมีสภาวะแวดล้อม ปัจจัยต่างๆที่ต่างกัน การนำวิธีกระบวนการสันติภาพมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับพื้นที่ แล้วสามารถเห็นผลได้จริง เป็นทางเลือก และความหวังหนึ่งของประชาชนชาวปาตานีในการสร้างสันติภาพ กระนั้นคำว่า “สันติภาพ” ในความหมายของ ประชาชนปาตานี ภาคประชาสังคม รัฐไทย และขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อเอกราชปาตานี มีภาพแห่งความสันติ ของแต่ละอุดมคติเป็นรูปภาพใด ก็ยังถูกเปิดเผยอย่างชัดเจน
ขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อเอกราชปาตานี
รัฐไทย
ต่างสร้างมวลชนของตนเองให้เพิ่มมากขึ้น เพื่อป้อนข้อมูลโฆษณาชวนเชื่อ (Propaganda) ให้กับมวลชนของตน ในการโยนความชั่วร้ายให้กับคู่ต่อสู้ สร้างภาพแห่งความดีใส่กับตนเอง
กระบวนการสันติภาพก็ไม่อาจสามารถที่จะเดินลำพังได้ จำเป็นที่จะต้องสร้างมวลชนสันติวิธีของตนเองขึ้นมา เพื่อ propaganda ชูภาพของกระบวนการสันติวิธี เพียงวิธีเดียวที่สามารถสร้างสันติภาพในพื้นที่ปาตานีให้เกิดขึ้นจริงได้ เท่านั้น




[1] พ.อ. ดร.ธีรนันท์ นันทขว้าง. (2553). สงครามนอกแบบ-สงครามกองโจร-การทำสงครามตัวแทนในยุคหลังสงครามเย็น. 5 สิงหาคม 2555, Tortaharn: http://tortaharn.net/contents/index.php?option=com_content&task=view&id=172&Itemid=75

[2] (2555). "ประยุทธ์" ซัดผู้ก่อการร้ายใต้ "สุนัขลอบกัด" เชื่อเคอร์ฟิวโดนต้าน พ้อใช้ กม.ดับไฟใต้เต็มที่ไม่ได้. 7 สิงหาคม 2555, มติชน: http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1344343623&grpid=00&catid=&subcatid=

[3] (2555). "รบแบบกองโจร! ‘พัลลภ’แค้นแทนจนท.แนะปรับยุทธวิธีลุยหาเป้าหมาย". 8 สิงหาคม 2555, ไทยโพสต์: http://www.thaipost.net/news/070812/60656

เปิดเอกสาร(ลับ)หน่วยเจรจาเอฟทีเอไทย-สหภาพยุโรป กับ 5 ประเด็นต้องจับตา

ที่มา ประชาไท

 

การดำเนินการจัดทำความตกลงเขตการค้าเสรีไทย (เอฟทีเอ) ไทย-สหภาพยุโรป (อียู) ที่เคลื่อนตัวอย่างช้าๆ และเงียบงัน กลับมาเป็นประเด็นสาธารณะอีกครั้งเมื่อนางศรีรัตน์ รัษฐปานะ อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เผยว่าภายในเดือนสิงหาคมนี้จะนำกรอบการเจรจาเอฟทีเอไทย-อียู เสนอให้รัฐสภาพิจารณาเห็นชอบตามมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญ
การขยับธงรุกของหน่วยงานดังกล่าวส่งผลให้องค์กรภาคประชาสังคม นักวิชาการที่ติดตามศึกษาผลกระทบต่างของการทำเอฟทีเอ ตลอดจนกลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (FTA Watch) ที่ต้องการให้การทำเอฟทีเอเกิดความโปร่งใส รอบคอบ รัดกุมรวมถึงมีการรับฟังความเห็นอย่างเปิดกว้างจากทุกภาคส่วน ต่างออกมาทักท้วงถึงท่าทีและกระบวนการเจรจาการค้าระหว่างของหน่วยงานรับผิด ชอบหลักอย่างกระทรวงพาณิชย์และรัฐบาลไทยว่าจงใจละเลยการปฏิบัติตามมาตรา 190 ไม่ว่าจะเป็นด้านเปิดเผยข้อมูลกรอบการเจรจา และการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนก่อนการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา
ขณะเดียวกันก็จุดประเด็นสาธารณะนำเสนอข้อห่วงกังวลอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะประเด็นข้อเรียกร้องด้านทรัพย์สินทางปัญญาของสหภาพยุโรปที่จะส่งผล กระทบต่อการเข้าถึงยาจำเป็นของประชาชน หรือผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนและสังคมจากการลดภาษีนำเข้าเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์และบุหรี่ เป็นต้น
ย้อนรอย เอฟทีเอไทย-อียู ชื่อใหม่ใจความเดิม
สำหรับ เส้นทางเดินของเอฟทีเอไทย-สหภาพยุโรปนั้นต้องย้อนรอยกลับไปราวพ.ศ.2550 เวลานั้นประชาคมอาเซียนและสหภาพยุโรปเริ่มมีความพยายามเจรจาความตกลงการค้า เสรีระหว่างกัน แต่กระนั้นด้วยเหตุแห่งความเห็นที่ต่างกันในเรื่องการเปิดตลาดของทั้งสอง ฝ่าย รวมถึงระดับการพัฒนาที่ยังแตกต่างกันมากของทั้งภายในประเทศสมาชิกของอาเซียน ด้วยกัน และระหว่างกลุ่มอาเซียนกับสหภาพยุโรป ต่อมาสหภาพยุโรปจึงพักการเจรจากับอาเซียน แล้วเปลี่ยนแนวทางการเจรจามาเป็นแบบทวิภาคีในปี 2553 โดยหันมาเริ่มการเจรจากับประเทศที่มีความพร้อม ได้แก่ สิงคโปร์ เวียดนาม และไทย (ปัจจุบันสหภาพยุโรปอยู่ระหว่างการเจรจาเอฟทีเอกับประเทศสมาชิกในอาเซียน ได้แก่ สิงคโปร์ มาเลเซีย เวียดนาม และไทย รวมถึงอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ที่เป็นฝ่ายพยายามขอเจรจาเอฟทีเอกับสหภาพ ยุโรป)
เอฟทีเอไทย-สหภาพยุโรป ฝ่ายสหภาพยุโรปมีความต้องการให้มีการเปิดเสรีด้านการค้าสินค้า การค้าบริการ การลงทุน และการแลกเปลี่ยนสิทธิประโยชน์ระหว่างกันในระดับสูง ซึ่งสูงกว่าระดับที่ไทยเปิดเสรีภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asean Economic Community:AEC) และยังสูงกว่ากรอบการค้าเสรีของไทยกับประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะด้านบริการ นอกจากนี้สหภาพยุโรปยังกำหนดให้คู่เจรจาร่วมจัดทำขอบเขตของการเจรจา Scoping exercise กำหนดเป้าหมายการเปิดเสรีระหว่างกันเพื่อลดความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจทำให้การเจรจาล้มเหลว แม้ว่าตัว Scoping exercise จะไม่อยู่ในเงื่อนไขที่ต้องลงนาม หรือมีสถานะทางกฎหมาย แต่ก็ถือเป็นการแสดงเจตนารมณ์ทางการเมืองของรัฐต่อรัฐ
ขณะที่ฝ่ายไทยก็ต้องการเจรจาเอฟทีเอกับสหภาพยุโรปเช่นกัน เนื่องจากสภาพยุโรปเป็นคู่ค้าสำคัญ เป็นตลาดส่งออกอันดับสามที่รองรับสินค้าได้แก่ กุ้ง ไก่ อาหารแปรรูป อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องนุ่งห่ม เครื่องใช้ไฟฟ้า อีกทั้งการลงทุนในประเทศไทยมาจากสหภาพยุโรปสูงเป็นอันดับสองรองจากญี่ปุ่น และประเด็นที่ถูกเน้นย้ำให้ความสำคัญที่สุดจากกระทรวงพาณิชย์ คือ การคาดการณ์ว่าไทยอาจถูกสหภาพยุโรปตัดสิทธิพิเศษทางการค้า (GSP) ทุกรายการทั้งหมดภายในปี 2557-2558 ซึ่งจะกระทบโดยตรงกับการส่งออก เครื่องปรับอากาศ รถยนต์ขนส่ง รองเท้า กุ้งสดแช่เย็น ถุงมือยาง ยางรถยนต์ เป็นต้น
ทั้งหมดจึงคือปัจจัยผลักและดันให้เกิดการเจรจาคืบหน้าไปตามลำดับ แต่เมื่อพิจารณาสัจธรรมของการทำเอฟทีเอ นั่นคือการได้อะไรบางอย่างมา และการยอมเสียสละอะไรบางอย่างไป คำถามสำคัญที่ยังลอยคว้างซ้ำซากวนเวียนอยู่ในสังคมนี้คือ การร่วมรับรู้ และใครจะเป็นผู้ตัดสิน?
ท่ามกลางความมืดมัวของภาวะการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร และการมีส่วนร่วมสาธารณะ ยังมีนักวิชาการกลุ่มหนึ่งที่รวมตัวกันจัดทำโครงการการประเมินผลกระทบทาง สุขภาพ : กรณีศึกษาผลกระทบจากข้อตกลงการค้าเสรีไทย-สหภาพยุโรปต่อการเข้าถึงยา ภายใต้ความร่วมมือและสนับสนุนของสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) พยายามวิเคราะห์เนื้อหาของร่างความตกลงอาเซียน-สหภาพยุโรป ในหมวดทรัพย์สินทางปัญญา ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิบัตรยา เพื่อเสนอขอบเขตการประเมินผลกระทบจากข้อตกลงการค้าเสรีไทย-สหภาพยุโรปต่อการ เข้าถึงยา และเปิดให้ประชาชนร่วมแสดงความคิดเห็นภายในวันที่ 15 ส.ค.นี้ (ผู้สนใจสามารถเข้าไปโหลด(ร่าง)รายงานและแบบฟอร์มร่วมแสดงความคิดเห็นได้ที่ เว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา) นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยทั้งไทยและเทศนับ 4 ชิ้นที่ชี้ให้เห็นถึงผลกระทบในทางลบอย่างมหาศาลต่อระบบสาธารณสุขหากมีการยอม รับ TRIPs-plus ตามที่สหภาพยุโรปเรียกร้องมา (ประเด็นนี้จะนำเสนออย่างละเอียดในงานลำดับต่อไป)
เอฟทีเอแบบไทยๆ ใครตัดสิน ได้-เสีย
อย่างไรก็ดีหากย้อนไปพิจารณาข้อห่วงความกังวล และข้อเสนอแนะจากการรับฟังความคิดเห็นของทุกเมื่อครั้งในปี 2553 ที่รัฐบาลอภิสิทธิ์มอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์เปิดให้มีการรับฟังความคิดเห็น เบื้องต้นของประชาชนทุกภาคส่วนเพื่อประกอบการตัดสินใจจะเดินหน้าเปิดการ เจรจากับสหภาพยุโรปหรือไม่นั้น กลับพบว่าข้อเสนอเหล่านี้ไม่เคยถูกหยิบยกขึ้นมาพิจารณาจากหน่วยงานผู้รับผิด ชอบเจรจาแต่อย่างใด อาทิ
- ภาคประชาสังคมยืนยันว่าสินค้าที่มีผลกระทบทางสังคมสูง เช่น ยา สุรา และบุหรี่ ต้องไม่นำเข้าสู่การเจรจาเปิดเสรี ในขณะที่ภาคธุรกิจเห็นว่า ต้องเจรจาในเรื่องนี้อย่างรอบคอบเพราะเป็นสินค้าที่มีประเด็นทางสังคม และเนื่องจากผู้ประกอบการของไทยมีทั้งกลุ่มที่ได้รับประโยชน์ และเสียผลประโยชน์จากการเปิดเสรีทางการค้า
- ระดับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาต้องไม่เกินไปกว่าที่ผูกพันไว้ในความตกลง ขององค์การการค้าโลกว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า คือไม่ยอมรับ TRIPs plus นั่นเอง
- ไม่สนับสนุนเปิดเสรีการลงทุนที่เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติ (ที่ดิน น้ำ ป่าไม้ เหมืองแร่ และพันธุ์พืช) รวมทั้งที่เกี่ยวกับภาคการเกษตร (การทำนา ธุรกิจพืช และเมล็ดพันธุ์) และที่เกี่ยวกับบริการสาธารณสุข และไม่สมควรให้มีการใช้กระบวนการอนุญาโตตุลาการในการระงับข้อพิพาทระหว่าง รัฐกับเอกชนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับนโยบายสาธารณะด้านสิ่งแวดล้อม และสังคม
- การเปิดเสรีบริการ และการลงทุนที่สามารถส่งผลต่อความมั่นคงของประเทศ อาทิ บริการสาขาโทรคมนาคม และ การสื่อสาร การเจรจาสินค้าเกษตรต้องคำนึงถึงความหลากหลายทางการผลิต และบริโภคภายในประเทศ และสวัสดิการของเกษตรกรรายย่อยเป็นสำคัญ โดยต้องไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหารในประเทศไทย
- มาตรการกีดกัน และอุปสรรคทางการค้าที่มิใช่ภาษีทั้งที่เป็นกฎเกณฑ์กลาง และที่แตกต่างกันของแต่ละประเทศสมาชิกที่เป็นอุปสรรคต่อการส่งออก และการเปิดตลาด เช่น มาตรฐานสินค้า มาตรฐานสุขอนามัย และกฏระเบียบด้านการบริการ และการลงทุน
- กฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้าควรสอดคล้องกับโครงสร้างการผลิตสินค้าของไทยให้มากที่สุด
- ขอให้มีความร่วมมือ และช่วยเหลือในด้านต่างๆ เช่น วิชาการ เศรษฐกิจ แรงงาน และสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการเสริมสร้างขีดความสามารถของผู้ประกอบการ โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม และเกษตรกร
ข้อกังวลของประชาชน ประชาสังคม ทั้งหมดเหล่านี้ยังยากที่จะหาจุดพบกันกับความพยายามผลักดันขับเคลื่อนใน หน่วยงานเจรจา เช่นเดียวกับการจัดทำเอฟทีเอทุกฉบับที่ผ่านมาของไทย!
จากเอกสารร่างระเบียบวาระการประชุมระดับสูงเพื่อพิจารณาเตรียมการเปิดการ เจรจา ความตกลงการค้าเสรีของไทย ณ ทำเนียบรัฐบาล ลงวันที่ 9 ส.ค. 2555 ซึ่งแหล่งข่าวในกระทรวงพาณิชย์รายหนึ่งได้นำมาเปิดเผยนั้นฉายภาพ สะท้อนวิธีคิด และท่าทีของหน่วยงานเจรจา หรือผู้มีอำนาจตัดสินใจได้อย่างชัดเจน
เนื้อหาในวาระที่ 3 ของร่างระเบียบวาระการประชุมระดับสูงชิ้นนี้ ระบุถึงวาระพิจารณาซึ่งได้กำหนดให้หยิบยกประเด็นที่มีความอ่อนไหวในการเจรจา การค้าเสรีระหว่างไทยกับสหภาพยุโรป โดยแบ่งเป็น 5 ประเด็นได้แก่ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่ ทรัพย์สินทางปัญญา การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ นโยบายการแข่งขันทางการค้า และการเปิดตลาดสินค้าบริการ โดยนำเสนอภูมิหลัง ท่าทีของทั้งฝ่ายสหภาพยุโรป ฝ่ายไทย แล้วตามด้วย ความคิดเห็นของกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ (ฝ่ายเลขานุการ) แม้เอกสารชิ้นนี้จะไม่มีมติของที่ประชุมกำกับ แต่ลำพังความเห็นของกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ก็เพียงพอจะสะท้อนเรื่องราวภายในผู้มีส่วนในการวางกรอบการเจรจาพอสมควร ซึ่งสาระสำคัญของทั้ง 5 ประเด็นมีรายละเอียดดังนี้
ล้วงไส้ ส่องเครื่องในกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
หนึ่ง เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่ ระบุว่าภาคประชาสังคมเรียกร้องไม่ให้รวมสินค้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และ บุหรี่ในการเจรจาการค้าเสรี อีกทั้งครม.ยังมีมติเมื่อเดือนก.ค.2553 เห็นชอบต่อยุทธศาสตร์ของสมัชชาสุขภาพเพื่อสนับสนุนการถอนสินค้าเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ออกจากทุกความตกลง ขณะที่สหภาพยุโรปจัดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ถือเป็นเป้าหมายสำคัญของการเจรจา และเน้นย้ำว่านโยบายการยกเว้นสินค้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่จากการ เจรจาเป็นไปเพื่อการปกป้องผู้ผลิตภายในประเทศ
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ให้ความเห็นว่า ไทยนำเข้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จากสหภาพยุโรปถึงร้อยละ83.4 ของการนำเข้าจากทั่วโลก ฉะนั้นสหภาพยุโรปซึ่งเรียกร้องให้มีการลดภาษีเป็นศูนย์อย่างน้อยร้อยละ90 ของจำนวนสินค้าทั้งหมด จึงอาจไม่ยอมถอนสินค้าดังกล่าวจากการเจรจา ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องทบทวนมติครม.เมื่อเดือนก.ค.53 
สอง ภาคประชาสังคมและกระทรวงสาธารณสุขมีความกังวลการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา และ การเข้าถึงยา โดยเฉพาะการขยายระยะเวลาคุ้มครองสิทธิบัตรยาที่อาจส่งผลต่อการเข้าถึงยาที่ จำเป็น เช่น ยารักษาโรคเอดส์ โรคหัวใจ และโรคติดต่ออื่นๆ ที่สำคัญยังไม่ต้องการให้ไทยทำข้อผูกพันในการค้าเสรีที่เกินความตกลงว่าด้วย ทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับการค้า(TRIPs)ขององค์การการค้าโลก หรือไม่ต้องการ TRIPs Plus ขณะที่สหภาพยุโรปต้องการคุ้มครองข้อมูลยา (Data exclusivity) อย่างน้อย 5 ปีนับจากวันที่ได้รับการอนุมัติการวางตลาด และเรียกร้องให้คู่เจรจาคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Gis) ที่ได้รับการคุ้มครองในสหภาพยุโรป
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ให้ความเห็นว่า ควรกำหนดให้ไทยมีท่าทีการเจรจาที่ยืดหยุ่น โดยอาจยอมรับข้อผูกพันที่มากกว่า TRIPs หรือยอมรับ TRIPs Plus ใน การจัดทำการค้าเสรีเนื่องจาก การคุ้มครองข้อมูลทดสอบยาเพิ่มเติม 5 ปีจะไม่มีผลกระทบต่อราคายาในปัจจุบัน และการคุ้มครองข้อมูลทดสอบยา อาจมีผลทำให้ยาสามัญ (Generic drugs) วางตลาดได้ช้าลงแต่ไม่เกิน 5 ปี จึงทำให้ผลกระทบต่อยามีจำกัด
สาม การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ กล่าวคือ หลักการสำคัญของความตกลงว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ (GPA) คือ การไม่เลือกปฏิบัติระหว่างสินค้าบริการ และผู้ให้บริการของประเทศภาคี กับสินค้า บริการ และผู้ให้บริการในต่างประเทศ ประกอบด้วย ความโปร่งใสในกระบวนการประมูล และขอบเขตของโครงการจัดซื้อจัดจ้างที่ต้องปฏิบัติตามพันธกรณี ต่อ ประเด็นนี้สหภาพยุโรปเรียกร้องให้มีพันธกรณีที่สอดคล้องกับความตกลง GPA โดยไม่เลือกปฏิบัติ และเรียกร้องให้พันธกรณีครอบคลุมการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานรัฐทั้งในส่วน กลาง ส่วนท้องถิ่นและรัฐวิสาหกิจ โดยเฉพาะในสาขาสาธารณูปโภค อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาไทยยังไม่เคยเปิดตลาดการจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐในการค้า เสรีที่ผ่านมาแต่สนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายและข้อ บังคับ นโยบาย และแนวทางปฏิบัติ และกรมบัญชีกลางยังอยู่ระหว่างการพิจารณาเข้าร่วมเป็นผู้สังเกตการณ์ในคณะกรรมการ GPA ของ WTO
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ให้ความเห็นสนับสนุนให้ไทยปฏิบัติตามพันธกรณีความตกลง GPA เนื่องจากจะเป็นการขยายตลาดการค้าการลงทุนให้ผู้ประกอบการไทย ซึ่ง ส่วนใหญ่มีสัดส่วนการจัดซื้อจัดจ้างสูงถึงร้อยละ 15-20 ของGDP โดยเฉพาะสหภาพยุโรปที่มีการจัดซื้อจัดจ้างเป็นมูลค่าสูงถึง 2.08 พันล้านยูโรต่อปี หรือประมาณร้อยละ 17 ของGDP นอก จากนี้กฎระเบียบเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐที่ชดเจนและโปร่งใส ถือเป็นการส่งเสริมหลักธรรมาภิบาลในการบริหารภาครัฐ และลดปัญหาคอรัปชั่น
สี่ นโยบายการแข่งขันทางการค้า สหภาพยุโรปเรียกร้องการบังคับใช้กฎหมายแข่งขันทางการค้าที่มีความโปร่งใส มีกระบวนการชัดเจน เป็นธรรม และไม่เลือกปฏิบัติ นอกจากนี้ยังเรียกร้องให้ครอบคลุมถึงรัฐวิสาหกิจที่อาจมีอำนาจครอบครองตลาด สำหรับข้อบทเรื่องนโยบายทางการค้ามีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการผูกขาดหรือ การบิดเบือนอำนาจตลาด ครอบคลุมผู้ประกอบการทั้งภาคเอกชน และรัฐวิสาหกิจ ในขณะที่พ.ร.บ.แข่งขันทางการค้าของไทยอยู่ระหว่างการปรับแก้กฎหมายให้ครอบ คลุมรัฐวิสาหกิจที่เป็นบริษัทมหาชน หรือมีการแข่งขันกับเอกชนเท่านั้น
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ให้ความเห็นสนับสนุนให้ปรับปรุงกฎหมายและ/หรือ กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับนโยบายแข่งขันทางการค้าเพื่อให้ทันสมัย ส่งเสริมให้ไทยสามารถเข้าร่วมการเจรจาเอฟทีเอในยุคใหม่ต่อไปได้
ห้า การเปิดตลาดสินค้าบริการ ประเด็นนี้คือการลดข้อจำกัดในการถือหุ้นของคนต่างด้าว โดยที่ผ่านมาสาขาบริการสำคัญของไทยจะมีกฎหมายเฉพาะที่กำหนดเกณฑ์การถือหุ้น ของคนต่างด้าว เช่น ธนาคาร ร้อยละ 25 โทรคมนาคม ร้อยละ 49 โดยสำหรับสาขาบริการอื่นๆ ที่มีสัดส่วนการถือหุ้นเกินกึ่งหนึ่งต้องขออนุญาตก่อนการประกอบกิจการใน ประเทศไทย ต่อเรื่องนี้สหภาพยุโรปเรียกร้องให้มีการเปิดตลาดการค้า บริการให้ครอบคลุมสาขาบริการจำนวนมาก  ยกเลิกข้อจำกัดในการถือหุ้นของสหภาพยุโรป และเรียกร้องให้ยกเลิกอุปสรรคเชิงกฎระเบียบ ใบอนุญาตที่กีดกันการเข้าสู่ตลาดของสหภาพยุโรป
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ให้ความเห็นสนับสนุนให้ไทยสามารถเปิดเสรีภาคการค้าบริการได้เกินไปกว่ากรอบกฎหมายปัจจุบัน แต่ให้ดำเนินการไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป อย่างไรก็ดีควรผลักดันให้คู่เจรจายอมรับบทบัญญัติเพื่อให้ความยืดหยุ่นในการ รักษาสิทธิในการใช้มาตรการที่จำเป็นสำหรับรักษาเสถียรภาพทางการเงิน
ทั้งหมดคือสิ่งที่พบเห็นและเคลื่อนไหวอย่างเป็นลายลักษณ์ของหน่วยงานผู้ วางกรอบ การเจรจาเอฟทีเอของไทย ซึ่งทำให้สาระสำคัญของมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญไทย ที่ระบุว่า
"หนังสือสัญญาใดมีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทย หรือเขตพื้นที่นอกอาณาเขต ซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยหรือมีเขตอำนาจตามหนังสือสัญญาหรือตามกฎหมาย ระหว่างประเทศ หรือจะต้องออกพระราชบัญญัติเพื่อให้การเป็นไปตามหนังสือสัญญา หรือมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง หรือมีผลผูกพันด้านการค้า การลงทุน หรืองบประมาณของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา ในการนี้ รัฐสภาจะต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับเรื่องดัง กล่าว
ก่อนการดำเนินการเพื่อทำหนังสือสัญญากับนานาประเทศหรือองค์การระหว่าง ประเทศตาม วรรคสองคณะรัฐมนตรีต้องให้ข้อมูลและจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และต้องชี้แจงต่อรัฐสภาเกี่ยวกับหนังสือสัญญานั้น ในการนี้ ให้คณะรัฐมนตรีเสนอกรอบการเจรจาต่อรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบด้วย"
เป็นข้อความที่เลือนลางลงไปทุกที.

ASEAN Weekly: ผุดเมืองใหม่กลางทะเลจีนใต้

ที่มา ประชาไท

 



ASEAN Weekly ตอนผุดเมืองใหม่กลางทะเลจีนใต้ (คลิกที่นี่เพื่อรับชมแบบ HD)
ASEAN Weekly ดำเนินรายการโดยสุลักษณ์ หลำอุบล และดุลยภาค ปรีชารัชช อาจารย์ประจำโครงการเอเชียตะวั
นออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ช่วงแรก ติดตาม บทสัมภาษณ์อ่อง เถ่ง ลิน ส.ส.พรรครัฐบาลพม่า ออกสื่อจีน "เซาท์เทิร์นไชน่า" วิจารณ์พรรคฝ่ายค้านและ "ออง ซาน ซูจี" แหลกจนถูกผู้สนับสนุนฝ่ายค้านล่
ารายชื่อขับ แม้พรรครัฐบาลจะชี้แจงว่าเป็นคำให้สัมภาษณ์ส่วนบุคคลไม่เกี่ยวกับพรรค แต่เรื่องนี้ก็แสดงให้เห็นว่าฝ่ายรัฐบาลพม่าไม่ได้มีแต่ "ขั้วปฏิรูป" ที่นำโดยเต็ง เส่งอย่างเดียว แต่ยังมี "ขั้วอนุรักษ์นิยม" ที่ยังคงสืบต่ออำนาจมาจากคณะรัฐบาลทหารเดิม และนับวันรอยปริแยกระหว่างสองขั้วจะยิ่งเห็นเด่นชัดขึ้น
ขณะที่เวียดนาม มีข่าวเศร้าเมื่อแม่ของบล็
อกเกอร์คนหนึ่งเผาตัวตายประท้วง เนื่องจากกังวลที่ลูกกำลังจะถูกรัฐบาลดำเนินคดีฐานต่อต้านอำนาจรัฐ ขณะที่งานศพถูกจัดขึ้นท่ามกลางการสังเกตการณ์เข้มจากเจ้าหน้าที่รัฐบาล มีการเช็คว่ามีนักกิจกรรมคนไหนมาร่วมงานบ้าง อย่างไรก็ตามยังมีข่าวดีอยู่บ้างเมื่อกลุ่มคนรักเพศเดียวกันหรือ LGBT และผู้สนับสนุนสามารถรวมตัวกันปั่นจักรยานจัดรณรงค์ "เกย์ไพรด์" ได้เป็นครั้งแรก ขณะที่กฎหมายให้คนเพศเดียวกันสามารถจดทะเบียนสมรสได้กำลังเข้าสู่การพิจารณาของสภาเวียดนาม
ส่วนที่อินโดนีเซีย หลังการไต่สวนมากว่า 3 ปี คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนอินโดนี
เซียเผยแพร่รายงานที่หนากว่า 800 หน้า สรุปเหตุการณ์ล่าสังหารสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์อินโดนีเซีย (PKI) ในช่วงที่ซูฮาร์โตปกครองประเทศ จนมีผู้เสียชีวิตหลายแสนคน นับเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนร้ายแรง โดยมีการยื่นเรื่องให้อัยการพิจารณาว่าจะดำเนินคดีผู้สั่งการที่ยังมีชีวิตอยู่หรือไม่
สำหรับช่วงที่สอง พาสำรวจจังหวัดใหม่ "ซานชา" ของจีน ซึ่งตั้งขึ้นช่วงปลายเดื
อนกรกฎาคมที่ผ่านมา เพื่อเป็นศูนย์กลางบริหารหมู่เกาะ และพื้นที่ในทะเลจีนใต้ทั้งหมดขึ้นต่อมณฑลไหหนานของจีน ในขณะที่ในพื้นที่ทะเลจีนใต้ ยังมีการพิพาทระหว่างจีน และฟิลิปปินส์ เวียดนาม และอีกหลายชาติในอาเซียน
โดยการตั้งจังหวัดใหม่ของจีน ดุลยภาคให้ความเห็นว่าถือเป็
นการหยั่งอิทธิพลลงไปในกลางทะเลจีนใต้ เพื่อตอบโต้รัฐที่ตั้งอยู่รายรอบซึ่งมีข้อพิพาทกันเรื่องการครอบครองทะเลจีนใต้ นอกจากนี้ยังเป็นการผนวกเชิงสัญลักษณ์ โดยนอกจากตั้งถิ่นฐาน การตั้งสิ่งอำนวยความสะดวกทางเศรษฐกิจ และการทหารแล้ว การผนวกการปกครองเกาะในทะเลจีนใต้ให้เป็นจังหวัดหนึ่งของจีน ยังเป็นความพยายามทำให้เรื่องพิพาทในทะเลจีนใต้กลายเป็นกิจการภายใน ขณะที่ในบริเวณดังกล่าวกินพื้นที่เกินชายฝั่งทะเลของจีนไปมาก อย่างไรก็ตามการตัดสินใจดังกล่าว เป็นการตัดสินใจทางการทูตและการทหารที่เสี่ยงเพราะเป็นการสะบั้นความสัมพันธ์กับกลุ่มประเทศอาเซียนโดยเฉพาะกับเวียดนามและฟิลิปปินส์ และจีนอาจต้องเผชิญการที่มหาอำนาจโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาเข้ามาหนุนหลังชาติที่พิพาทกับจีนในทะเลจีนใต้
นอกจากนี้ ทิศทางที่จีนกำลังปรับหลักนิ
ยมทางการทหารใหม่ โดยกองทัพบกจีนเปลี่ยนจากการป้องกันประเทศเป็นพื้นที่มาเป็นสามารถป้องกันประเทศได้ครอบคลุมทั้งหมด กองทัพเรือจากกองเรือชายฝั่งเปลี่ยนเป็นกองเรือที่เดินเรือในทะเลลึกได้มากขึ้น และกองทัพอากาศที่สามารถส่งไปรบนอกชายฝั่งได้ไกลมากขึ้นนั้น เป็นการตอบสมการที่สะท้อนว่าจีนต้องการขยายอำนาจออกสู่ทะเลจีนใต้

(หมายเหตุ: ที่มาของภาพประกอบหน้าแรก Xinhua)

ปชป.จัดทัพใหญ่ เตรียมอภิปรายโอ๊ค

ที่มา การ์ตูนมะนาว



อธิบดีศาลอาญา ยันไม่แทรกแซง คำตัดสินถอนประกัน นปช. คาด22ส.ค. มวลชนเสื้อแดงล้น

ที่มา uddred

 มติชน 10 สิงหาคม 2555 >>>


นายทวี ประจวบลาภ อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา เปิดเผยเกี่ยวกับการนัดไต่สวนคำ​ร้องขอเพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคร​าว แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้าน​เผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เมื่อวานที่ผ่านมาว่า การที่ศาลนัดอ่านคำสั่งในส่วนขอ​งนายจตุพร พรหมพันธุ์ แต่ไม่ได้อ่านนั้นเป็นเพราะศาลตั้งใจว่าอยากอ่านคำสั่งให้เสร็จ​ไปในคราว เดียวกัน เพื่อป้องกันแรงกระเพื่อม หรือข้อครหาต่างๆ อีกทั้งนายยศวริศ ชูกล่อม หรือ เจ๋ง ดอกจิก จำเลยที่ 7 ได้ขอนำหลักฐานทั้งพยานบุคคล และวีซีดีบันทึกภาพการขอโทษตุลา​การศาลรัฐธรรมนูญ มายื่นประกอบการสอบถามเพิ่มเติม​ ซึ่งศาลก็อนุญาตขณะที่การสอบถามจำเลยทั้ง 18 คน นั้นการไต่สวนถือเป็นที่ยุติแล้​ว องค์คณะผู้พิพากษาเจ้าขอสำนวน จะพิจารณาร่างคำตัดสิน แล้วจะนำมาปรึกษาตน ในฐานะที่เป็นหัวหน้าผู้พิพากษา​ประจำศาลอาญา
นายทวี ยืนยันว่าไม่มีอำนาจไปแทรกแซงคำ​วินิจฉัยได้ อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 22 สิงหาคม นี้ ศาลจะมีคำสั่งว่าจะเพิกถอนการปล่อยตัวชั่วครา​วแกนนำ และแนวร่วม นปช. ทั้ง 19 คน หรือไม่อย่างแน่นอน ซึ่งคาดว่าจะมีมวลชนร่วมให้กำลั​งใจแกนนำ นปช. มากกว่าเมื่อวานนี้ เนื่องจากเป็นวันที่รู้ผลแล้ว ในส่วนของศาลจะได้มีการประชุมหา​รือเพื่อเตรียมการรับมือต่อไป

สลิ่มเห็นอาจคลั่งจุใจเต็มอิ่มภาพทักษิณอินนิวยอร์ก

ที่มา Thai E-News




ภาพทั้งหมดนี้ ได้รวบรวมนำมาจากเวปต่างๆหลายที่เพื่อกระจายไปให้พี่น้องคนที่รัก+คิดถึง ท่านนายกในดวงใจ ได้เห็นกันอย่างทั่วถึง และกราบขอบพระคุณเจ้าของภาพเหล่านี้เป็นอย่างสูง ครับ


โดย น่ารัก ก็ไม่บอก  
ที่มา บอร์ดราชดำเนิน เว็บพันทิป





คนเสื้อแดง USA  ให้การต้อนรับอย่าง อบอุ่น



  ติดต่อทีมงาน
อวยพรวันคล้ายวันเกิดให้นายกในดวงใจย้อนหลัง





  ติดต่อทีมงาน
บรรยากาศแบบเป็นกันเองภายในร้านอาหารไทยในต่างแดน
















  ติดต่อทีมงาน
สลิ่ม  มีไม่ถึง10คน   แต่ออกข่าวเสียใหญ่โต




ท่านนายก ทักษิณ ไม่หนีสลิ่ม หรอกครับ   ท่านออกมาคุยด้วย เลย

************


กำหนดการทักษิณอินL.A.กระหึ่มโลก12สิงหาคม

โดย RED U.S.A.
ภาพการ์ตูนประกอบ GAG LAS VEGAS

อดีต นายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กำหนดเดินทางเยือนนครลอส แองเจลีส ระหว่างวันที่ ๑๑ ถึง ๑๓ สิงหาคม ศกนี้ กลุ่มคนเสื้อแดงในอเมริกา “เร็ดยูเอสเอ” จัดการต้อนรับอย่างเอิกเกริก เพื่อแสดงว่าอดีตนายกฯ เป็น “บุคคลไทย บุคคลโลก” ตามถ้อยโศลก หรือ Theme ของงาน  

กลุ่ม คนไทยในนครลอส แองเจลีสที่เรียกตัวเองว่า Red U.S.A.-L.A.ประกาศจัดการต้อนรับอดีตนายกรัฐมนตรีอย่างเอิกเกริก หลังจากที่ได้มีการประชุมดำเนินการหลายครั้งจนกระทั่งสรุปเป็นที่สุดว่างาน ต้อนรับทักษิณนี้จะมีขึ้นที่ศูนย์การค้า Thailand Plaza บนถนนฮอลลีวู้ดในใจกลางย่าน Thai Town ของท้องที่ Hollywood นครลอส แองเจลีส 

โดย ใช้พื้นที่ทั้งในบริเวณอาคาร และลานจอดรถ เพื่อให้มีบริเวณกว้างขวางสำหรับผู้เข้าร่วมจำนวนมากได้ ในส่วนบริเวณลานจอดรถนั้นเปิดเป็นงานเฟสติวัล ตั้งเวทีขนาดใหญ่สำหรับการแสดงต่างๆ และจัดซุ้มบริการอาหาร และเครื่องดื่มฟรีแก่ผู้ไปร่วมงานทั้งสิ้นประมาณไม่เกิน ๕๐๐ คน ตามที่ระเบียบเทศบัญญัติอนุญาต 

โดย แยกแยะเป็นซุ้มของชาวไทยในสหรัฐตามพื้นเพเดิมในประเทศไทย อาทิ จากภาคกลาง-ออก-ตก จากภาคเหนือ และจากภาคอีสานรวมทั้งซุ้มพยายาบาล และพักผ่อนสำหรับผู้สูงอายุ 

 กำหนดงานเริ่มตั้งแต่ ๑๗.๐๐ น. ของเย็นวันที่ ๑๒ สิงหาคม ด้วย การแสดงบนเวทีกลางแจ้งภายใต้การควบคุมของคุณเพ็ญพิมพ์ จิตรธร ประกอบด้วยวงดนตรีไทยแลนด์พลาซ่า และการแสดงฟ้อนพื้นบ้านไทยภาคต่างๆ 

ขณะ ที่ผู้เข้าร่วมงานซึ่งทยอยกันเข้าตั้งแต่เวลา ๑๖.๐๐ น. สามารถเดินเต็ดเตร่พบปะสนทนาต่อกัน และเยี่ยมชมนิทรรศการของแต่ละซุ้มพร้อมทั้งรับอาหารไปรับประทาน 

จนกระทั่งเวลาราว ๑๘.๐๐ น. พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จะเดินทางถึงงาน หลัง จากทักทายผู้เข้าร่วมงานแล้วอดีตนายกรัฐมนตรีจะเข้าสู่ภายในห้องโถงรับรอง พิเศษที่บรรดาแขกรับเชิญพิเศษประมาณ ๒๐ กว่าคนรออยู่ แล้วจึงรับประทานอาหารร่วมกันกับพ.ต.ท.ทักษิณ 

จนถึงเวลาราว ๑๙.๓๐ น. พ.ต.ท.ทักษิณ จะขึ้นสู่เวทีกลางแจ้งเพื่อเข้าสู่พิธีมอบกุญแจหมู่บ้านเสื้อแดง ต้อนรับอดีตนายกรัฐมนตรีสู่กรุงเทพมหานคร (Los Angeles) แห่งสหรัฐอเมริกา  

จาก นั้นนายเชาว์ ซื่อแท้ ประธานจัดงานขึ้นกล่าวต้อนรับในนามของกลุ่มคนไทยเสื้อแดงในลอส แองเจลีส พร้อมทั้งรายงานความเป็นมา และประวัติการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของชาวไทยในมหานครแห่งนี้ รวมถึงกิจกรรมเพื่อเกื้อหนุนนักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในประเทศไทย 

เสร็จ แล้วจะมีการยื่นหนังสือทางการของคณะกรรมการจัดงานผ่านอดีตนายกฯ ทักษิณ ไปยังรัฐบาล และนายกรัฐมนตรี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร วิงวอนให้ทางการไทยจัดตั้งกองทุนส่งเสริมชุมชนไทยในต่างแดนขึ้นในนครลอส แองเจลีสเป็นแห่งแรก สำหรับเป็นแม่แบบของการจัดตั้งกองทุนลักษณะเดียวกันนี้ตามเมืองใหญ่ๆ ในประเทศต่างๆ ที่มีคนไทยอยู่อาศัยหนาแน่น 

ส่วนรูปแบบของ กองทุนในรายละเอียดเป็นอย่างไรนั้นขอให้อดีตนายกฯ เป็นผู้กำหนดในลักษณะที่เรียกว่า “ทักษิณคิด ยิ่งลักษณ์ทำ” เมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณกล่าวตอบแล้ว อดีตนายกฯ จะแสดงปาฐกถาหัวข้อ “สบายๆ กับทักษิณ ชินวัตร” อันเป็นวิสัยทัศน์ในการพัฒนาประเทศไทยให้โดดเด่นเป็นชาติที่ประสพความสำเร็จ สูงระดับแนวหน้าในประชาคมโลก 

และก่อนที่ พ.ต.ท.ทักษิณจะเดินทางกลับที่พักในเวลาประมาณ ๒๒.๐๐ น. อดีตนายกฯ อาจจะเข้าร่วมรื่นเริงกับผู้ไปร่วมงานตามแต่อัธยาศัย  

ทั้ง นี้นอกเหนือจากกลุ่มคนไทยหลากหลายอาชีพที่รักประชาธิปไตย และไม่เอาเผด็จการรูปแบบใดๆ ทั้งสิ้นจะเข้ามาร่วมมือเป็นกรรมการจัดงานโดยเลือกสรรให้นายเชาว์ ซื่อแท้ เจ้าของกิจการนวดไทยแผนโบราณ และสปา เป็นประธานจัดงานแล้ว ยังมีนักธุรกิจเด่นของชุมชนไทยในมหานครที่มีประชากรมากที่สุดในสหรัฐแห่งนี้ เข้าร่วมประสานงานอีกหลายท่าน

Thursday, August 9, 2012

วรเจตน์ปัดไม่รับตำแหน่งอนุฯ สภาการศึกษา

ที่มา ประชาไท

 
 วรเจตน์ ภาคีรัตน์ นักวิชาการกลุ่มนิติราษฎร์ เผยไม่เคยได้รับการทาบทามจากรัฐบาลนั่งอนุกรรมการสภาการศึกษาแห่งชาติ พร้อมบอกปฏิเสธตำแหน่งดังกล่าว ระบุมีงานทีต้องทำอยู่แล้ว
9 ส.ค. 2555 วรเจตน์ ภาคีรัตน์ นักวิชาการกลุ่มนิติราษฎร์เปิดเผยกับประชาไทกรณีที่มีรายงานข่าวว่าเขาได้ รับการเสนอชื่อดำรงตำแหน่งอนุกรรมการสภาการศึกษาแห่งชาติ ด้านกฎหมายการศึกษา ว่า เขาไม่เคยได้รับการติดต่อทาบทามเพื่อดำรงตำแหน่งดังกล่าว โดยเขาเองเพิ่งทราบข่าวจากสื่อเช่นกัน และหากมีการติดต่อมาก็ต้องขอปฏิเสธเพราะมีงานในหน้าที่ที่ต้องทำอยู่แล้ว โดยเฉพาะการทำงานในนามของกลุ่มนิติราษฎร์
"ผมยังงอยู่เลย รู้สึกว่าเมื่อตอนกลางวันมีทีวีรายงานช่องหนึ่ง และก็มีสื่อโพสต์ทูเดย์ไปลง แต่ผมขอชี้แจงว่า หนึ่งคือ ผมไม่ทราบเรื่อง ไม่เคยได้รับการทาบทาม และสองคือ ถ้ามีการทาบทามก็ไม่พร้อมจะไปดำรงตำแหน่งนี้ เพราะผมมีงานประจำอยู่" นายวรเจตน์กล่าวพร้อมยืนยันว่าไม่สะดวกที่จะรับตำแหน่งดังกล่าว
ทั้งนี้โพสต์ทูเดย์รายงาน ว่า นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รมว.ศึกษาธิการ ได้ลงนามแต่งตั้ง นปช. เป็นคณะอนุกรรมการสภาการศึกษาในหลายชุดด้วยกัน ทั้งนี้ นางธิดา ประธาน นปช. นายวรพล พรหมิกบุตรอาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเคยปราศรัยที่เวทีกลุ่มคนเสื้อแดง ได้เป็นคณะอนุกรรมการสภาการศึกษาด้านนโยบายและแผนการศึกษา ขณะที่นายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ แกนนำกลุ่มนิติราษฎร์ เป็นคณะอนุรรมการสภาการศึกษา ด้านกฎหมายการศึกษา นายไกรสิน โตทับเที่ยง อดีตผู้สมัคร ส.ส.ตรัง พรรคไทยรักไทย นายสมาน เลิศวงศ์รัฐ อดีตนายทะเบียนพรรคไทยรักไทย และนายสิงห์ทอง บัวชุม อดีตผู้สมัครส.ส.พรรคเพื่อไทย เขต บางกะปิ กทม. เป็นคณะอนุกรรมการสภาการศึกษาด้านติดตามและประเมินผลการศึกษา
นอกจากนี้ นายอุดมเกียรติ ปานมี ทนายเสื้อแดงและอดีตผู้สมัคร ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคเพื่อไทย เป็นคณะอนุกรรมการสภาการศึกษา ด้านการสร้างจิตสำนึกคุณธรรม และจริยธรรม น.ส.ศุภรัตน์ นาคบุญนำ อดีตรองโฆษกประจำสำนักนายรัฐมนตรี เป็นคณะอนุกรรมการสภาการศึกษา ด้านการพัฒนา และเสริมสร้าง นวัตกรรมทางการศึกษา
ด้านนางเยาวเรศ ชินวัตร พี่สาว น.ส.ยิ่งลักษณ์ นายกฯ เป็นคณะอนุกรรมการสภาการศึกษา ด้านพัฒนาศักยภาพเยาวชนสตรีในสถานศึกษา

คุยกับ ‘ป้าอุ๊’ ในงาน 100 วันอากง

ที่มา ประชาไท

 


7 ส.ค.53 ที่วัดด่านสำโรง ครอบครัวของนายอำพล หรือ อากง จัดพิธีทำบุญครบรอบ 100 วันการจากไปของเขา โดยส่วนใหญ่มีเพียงสมาชิกในครอบครัวที่มาร่วมงาน สำหรับการฌาปนกิจนั้น มีกำหนดตั้งศพในวันที่ 25 ส.ค.และฌาปนกิจในวันที่ 26 ส.ค.นี้ โดยสถานที่จัดงานทางครอบครัวจะแจ้งอีกครั้งภายหลัง
รสมาลิน หรือ ป้าอุ๊ ภรรยาของอากงให้สัมภาษณ์ว่า จนถึงวันนี้ยังไม่ได้รับผลชันสูตรศพอย่างเป็นทางการจากหน่วยงานใด ส่วนเรื่องการไต่สวนการตายนั้น เธอก็ไม่ทราบแน่ชัดว่าจะมีหรือไม่อย่างไร แต่ทางตำรวจเคยบอกว่ากระบวนการดังกล่าวอาจต้องใช้เวลา 2-3 เดือน
เธอกล่าวด้วยว่า ทุกวันนี้ทุกคนในครอบครัวยังคิดถึงอากงเสมอ และยังคงไม่เข้าใจว่าเหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นกับครอบครัวชาวบ้านธรรมดา อย่างครอบครัวเธอได้อย่างไร ส่วนตัวเธอเองก็ต้องกลายมาเป็นผู้นำในครอบครัวและต้องเข้มแข็งเพราะยังมีลูก หลานอีกหลายคนที่ต้องดูแล ปัจจุบันหลานๆ ที่เคยเขียนจดหมายถึงอากงในเรือนจำ ยังคงส่งจดหมายไปหาผู้ต้องขังคดี 112 ในเรือนจำที่รักและช่วยดูแลอากงโดยเฉพาะธันย์ฐวุฒิ ทวีวโรดมกุล



สภาที่ปรึกษาศอ.บต. ค้านตั้งศูนย์ปฏิบัติการดับไฟใต้ที่ กทม.

ที่มา ประชาไท

 

ยันไม่เห็นด้วยกับการให้อำนาจกองทัพคุมงานด้านพลเรือนและอำนวยความยุติธรรม
          สภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ออกแถลงการณ์หลังมีมติ เป็นเอกฉันท์ในการประชุมเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2555 ว่าไม่เห็นด้วยการจัดตั้ง “ศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนใต้” ที่กรุงเทพฯ ซึ่งรัฐบาลจะมีการเรียกประชุมหารือประเด็นนี้เป็นครั้งแรกในวันที่ 8 สิงหาคม 2555
          โดยเนื้อหาของแถลงการณ์ดังกล่าวระบุว่าการจัดตั้งศูนย์ดังกล่าวซึ่งเป็น แนวคิดของรัฐบาลที่จะรวมหน่วยงาน 16 กระทรวงหลักที่เกี่ยวข้องกับงานความมั่นคงและงานการพัฒนา โดยให้แม่ทัพภาคที่ 4 เป็นผู้กำกับดูแลงานของฝ่ายพลเรือนทั้งหมด รวมทั้งศอ.บต. ทางสภาที่ปรึกษาเห็นว่า  ตั้งข้อสังเกตว่าแม้ว่ารัฐบาลจะทุ่มเทงบประมาณจำนวนมหาศาลในการแก้ไขปัญหา ความรุนแรงในภาคใต้ แต่ว่าก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้  และจากการฟังการวิพากษ์วิจารณ์ของประชาชนพบว่าประชาชน “เริ่มขาดความเชื่อมั่นต่อนโยบายของกองทัพในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาค ใต้”  
          ในแถลงการณ์ดังกล่าว ยังชี้แจงเหตุผล 4 ข้อ  ดังนี้ ประการที่ 1 นโยบายการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2555 - 2557 ได้ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วม การรับฟัง และสะท้อนความเห็นจากภาคประชาชนกับภาครัฐ โดยมีสภาความมั่นคงแห่งชาติเป็นผู้ดำเนินการ และเห็นพ้องไปในทิศทางเดียวกัน โดยได้แยกงานระหว่างฝ่ายความมั่นคงที่มี พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 (พ.ร.บ. ความมั่นคงฯ) กับงานด้านการพัฒนาฝ่ายพลเรือน ที่มี พ.ร.บ.การบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2553 (พ.ร.บ. ศอ.บต.) ไว้อย่างชัดเจน และดำเนินยุทธศาสตร์สอดคล้องกับนโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาค ใต้ ซึ่งคณะรัฐมนตรีและสภาผู้แทนราษฎรได้รับทราบแล้ว จึงเห็นว่า รัฐบาลควรบริหารราชการแผ่นดินให้สอดคล้องกับนโยบายดังกล่าว   
        ประการที่ 2 ไม่เห็นด้วยในการมอบหมายให้แม่ทัพภาค 4 เป็นผู้กำกับดูแลกิจการในพื้นที่ครอบคลุมไปถึงกิจการฝ่ายพลเรือนและการอำนวย ความยุติธรรม โดยควรที่จะแยกงานการพัฒนาและความมั่นคงออกจากกัน ภารกิจของกองทัพมีมากอยู่แล้วจึงควรเน้นการรักษาอธิปไตยและรักษาความปลอดภัย ในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนเป็นหลัก จะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในอำนาจรัฐให้มากยิ่งขึ้น
          ประการที่ 3 รัฐบาลควรจะใช้คณะกรรมการยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กพต.) ตาม พ.ร.บ. ศอ.บต. เป็นศูนย์ปฏิบัติการที่สำคัญในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้และจะต้อง ผลักดันให้กระทรวงต่างๆ มีความเข้มแข็ง ทั้งกำลังคน และงบประมาณ โดยเฉพาะกระทรวงมหาดไทย   นอกจากนี้ เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ. ศอ.บต. ซึ่งต้องการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมการแก้ปัญหา รัฐบาลจึงควรรับฟังเสียงจากประชาชนเจ้าของพื้นที่ ไม่ใช่เป็นการพิจารณาและสั่งการมาจากส่วนกลางอย่างเดียว
       ประการที่ 4 ในกรณีมีการกล่าวอ้างว่าการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่ ประสบความสำเร็จ เพราะมี พ.ร.บ.ศอ.บต. และ พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ ซ้ำซ้อนกันอยู่ ขอเรียนว่า พ.ร.บ. ศอ.บต. ได้ผ่านขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนมาอย่างกว้างขวางและผ่าน ความเห็นชอบจากรัฐสภามาแล้ว เพราะฉะนั้น พ.ร.บ.ศอ.บต. จึงไม่ได้ซ้ำซ้อนกับ พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ  เนื่องจาก พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ รับผิดชอบในด้านการดูแลรักษาความสงบและอธิปไตยของชาติ ส่วน พ.ร.บ. ศอ.บต. รับผิดชอบเรื่องการเมือง การปกครอง และการพัฒนา จึงไม่เป็นอุปสรรคต่อการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่ในทางกลับกัน ยังเป็นการหนุนเสริม พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ อีกด้วย อีกทั้งประชาชนค่อนข้างพึงพอใจกับการดำเนินการตาม พ.ร.บ. ศอ.บต.
          นายปกรณ์ ปรีชาวุฒิเดช โฆษกสภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้สัมภาษณ์กับ โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้เพิ่มเติมว่าศูนย์ดังกล่าวที่มีพล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง และร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี และนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ์ รมว.มหาดไทย เป็นผู้ควบคุมเชิงนโยบายจากศูนย์กลาง และมีแม่ทัพภาค 4 เป็นประธานในการอำนวยการการแก้ไขในพื้นที่ผ่านศูนย์ดังกล่าว ทางสภาที่ปรึกษาฯ เห็นว่าจะเป็นการให้อำนาจแก่ทหารมากเกินไป

เผยครึ่งปีแรกคนกัมพูชาเที่ยวต่างประเทศ 389,000 คน เพิ่มขึ้น 33% จากปีที่แล้ว

ที่มา ประชาไท

 
เมื่อวันที่ 7 ส.ค. 55 ที่ผ่านมา สำนักข่าว BERNAMA รายงานว่าในช่วงครึ่งแรกของปี 2012 นี้มีชาวกัมพูชาออกไปเที่ยวต่างประเทศถึง 389,000 คน
Ho Vandy ประธานคณะทำงานร่วมภาครัฐ-เอกชนด้านนโยบายการท่องเที่ยวของกัมพูชา เปิดเผยว่าชาวกัมพูชาส่วนใหญ่ที่ออกไปท่องเที่ยวในต่างประเทศละแวกแถบอา เซียนมากที่สุด เนื่องจากไม่ไกล รวมถึงการที่มีข้อตกลงยกเว้นการตรวจวีซ่า โดยประเทศที่นักท่องเที่ยวชาวกัมพูชานิยมเดินทางไปนั้นได้แก่ เวียดนาม, ไทย, สิงคโปร์ และมาเลเซีย
ส่วนสถานที่ท่องเที่ยวนอกอาเซียนที่เป็นที่นิยมของคนกัมพูชาได้แก่ฮ่องกง มาเก๊า คุนหมิง และเซี่ยงไฮ้ของจีน ตามการรายงานจากสำนักข่าว Xinhua
ทั้งนี้ประเมินกันว่าสาเหตุที่ชาวกัมพูชาออกไปท่องเที่ยวต่างแดนมากขึ้น นั้นเนื่องจากมาตรฐานและรายได้ในการดำรงชีพที่สูงขึ้น รวมถึงมีเที่ยวบินตรงระหว่างกัมพูชากับหลายประเทศในอาเซียน
โดยตัวเลขนี้ ถือว่าเพิ่มขึ้น 33% จาก 293,100 คนในช่วงครึ่งแรกของปี 2011
ความห่างระหว่างรายได้
กัมพูชาเป็นประเทศที่มีประชากรประมาณ 14.5 ล้านคน เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมาสำนักข่าวไทยรายงาน ว่าทางการกัมพูชาได้เปิดเผยว่า ในปี 2011 ชาวกัมพูชามีรายได้เฉลี่ยต่อหัวต่อปีสูงขึ้นเป็น 909 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 28,179 บาท) ในขณะที่ผลผลิตมวลรวมประชาชาติขยายตัว 7% เป็น 12,937 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และอัตราความยากจนลดลงเหลือประมาณ 26% โดยเศรษฐกิจกัมพูชาขึ้นกับการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูป ซึ่งทำรายได้ให้แก่ประเทศมากที่สุด ถัดไปเป็นรายได้จากการท่องเที่ยวและการส่งออกสินค้าผลิตภัณฑ์การเกษตร
อย่างไรก็ดีกว่า 90% ของชาวกัมพูชาเกือบ 14.5 ล้านคน ยังประกอบอาชีพการเกษตร ซึ่งมีรายได้ต่ำกว่าวันละ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ และยังมีชีวิตอยู่ต่ำกว่าขีดแห่งความยากจนของสหประชาชาติ
จากข้อมูลของ tradingeconomics.com พบว่าความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ (GINI index) ของกัมพูชาเพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่การสำรวจในปี 1995 ที่มีค่าเฉลี่ยความเหลื่อมล้ำอยู่ที่ 38.28 ในปี 2004 เพิ่มเป็น 41.85 และในปี 2007 เพิ่มสูงเป็น 44.37
*ค่าสัมประสิทธิ์จีนี (Gini coefficient) เป็นวิธีวัดการกระจายของข้อมูลทางสถิติอย่างหนึ่งที่นิยมใช้เป็นตัวบ่งชี้ ความเหลื่อมล้ำของการกระจายรายได้หรือการกระจายความร่ำรวย สัมประสิทธิ์จีนีถูกนิยามให้เป็นอัตราส่วนซึ่งมีค่าระหว่าง 0 และ 1 (หรือ 0-100%) สัมประสิทธิ์จีนีที่ต่ำจะแสดงถึงความเท่าเทียมกันในการกระจายรายได้ หากค่านี้สูงขึ้นจะบ่งชี้ถึงการกระจายรายได้ที่เหลื่อมล้ำกันมากขึ้น ซึ่งจากการประมาณการของธนาคารโลก (World Bank Gini %)
การค้า-การลงทุนในกัมพูชา
ด้านจากข้อมูลของกรมส่งเสริมการส่งออกกระทรวงพาณิชย์ พบว่าในสถานการณ์ด้านการค้ากับต่างประเทศของกัมพูชา จากสถิติของกระทรวงพาณิชย์กัมพูชาแจ้งว่าในระยะ 10 เดือนแรกของปี 2011 (ม.ค.-ต.ค.) กัมพูชามีมูลค่าการค้ารวม 9.46 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แยกเป็นการส่งออก 4.05 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และการนำเข้า 5.41 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
กัมพูชานำเข้าจาก 86 ประเทศทั่วโลกมูลค่า 5.41 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยนำเข้าจากจีนมูลค่า 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ รองลงมาคือเวียดนามมูลค่า 1.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯไทยมูลค่า 0.72 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และฮ่องกง 0.43 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตามลำดับ
ด้านสถานการณ์ด้านการลงทุน การลงทุนในกัมพูชานับแต่ปี พ.ศ. 2537 ถึงวันที่ 30 ตุลาคม 2011 คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนกัมพูชา (Cambodian Investment Board: CIB) ได้อนุมัติโครงการส่งเสริมการลงทุนรวมจำนวน 1,946 โครงการคิดเป็นมูลค่าเงินลงทุนรวม 8,811.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
การลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติ พบว่า นักลงทุนเกาหลีใต้เป็นผู้ได้รับอนุมัติโครงการมากที่สุดจำนวน 24 โครงการ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20.7 ของจำนวนโครงการรวม รองลงมาคือไต้หวันจำนวน 20 โครงการ และจีนกับฮ่องกง ประเทศละ 16 โครงการ ด้านจำนวนเงินลงทุนมากที่สุดคือเวียดนาม 155.25 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 45.5 ของมูลค่าเงินลงทุนรวม รองลงไปได้แก่ จีน ไต้หวัน และเกาหลีใต้ ในสาขาต่างๆ ได้แก่ สิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม ยางพารา กระเป๋า รองเท้า อาหารและเครื่องดื่ม โรงแรม เครื่องหนัง โรงงานประกอบชิ้นส่วนมอเตอร์ไซค์ เหมืองแร่ โรงสี อุตสาหกรรมการเกษตร โทรคมนาคมและการท่องเที่ยว เป็นต้น พื้นที่ที่มีการลงทุนมากที่สุดได้แก่ กรุงพนมเปญ รองลงไปคือ จังหวัดรัตนคีรี จังหวัดเสียมเรียบ จังหวัดพระสีหนุ และจังหวัดมณฑลคีรี

สันติภาพแบบไหนที่ประชาชาติปาตานีต้องการ?

ที่มา ประชาไท

 

สถานการณ์การสู้รบกันระหว่างขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อเอกราชปาตานีกับรัฐ ไทยในรูปแบบของสงครามจรยุทธ์ตลอดห้วงเวลาเกือบ 9 ปีมานี้ คงปฏิเสธไม่ได้ว่าได้ส่งผลให้เกิดปฏิกิริยาต่อสังคมโลกที่เคารพในหลักการ สิทธิมนุษยชนและรักสันติภาพ ซึ่งมีท่าทีแสดงออกมาอย่างชัดเจนว่า “ถึงเวลาแล้วที่สงครามที่นี่ต้องหยุด” เพื่อให้ประชาชนได้ดำเนินชีวิตไปถึงเวลาแห่งความตายอย่างเป็นอิสระตาม ธรรมชาติของวงจร “เกิด แก่ เจ็บ ตาย”
 
เสียงตะโกนจากเหล่าผู้รักสันติภาพทั่วโลกดังกึกก้องมายังประเทศไทย ว่า “หยุดสักทีเถิด วงจรการบังคับให้คนต้องตายเพื่อแลกกับคำว่าสันติภาพ” ในนิยามที่เป็นคู่ขนานกันของความเป็นศัตรูของขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อเอกราช ปาตานีกับรัฐไทย
 
แต่กระนั้นรูปร่างหน้าตาของคำว่า สันติภาพ ตามความเข้าใจพื้นฐานของคนทั่วไปนั้น คือสภาพความเป็นอยู่อย่างมีความสุขของสังคมหรือประชาชนซึ่งเกิดขึ้นหลังจาก การ “หยุดสงคราม” ได้สำเร็จ
 
ซึ่งสำหรับภาพสันติภาพในอนาคตของชายแดนใต้หรือปาตานีนั้น จะมีลักษณะนิยามตามบริบทของการสู้รบ 2 ลักษณะด้วยกัน คือ
 
1.ลักษณะรูปร่างหน้าตาของสันติภาพ ซึ่งถูกวาดรูปหรือนิยามโดยรัฐไทย ภาพที่เห็นคือ จะเป็นภาพที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ของโครงสร้างการปกครองที่อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญไทยเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการกระจายอำนาจ การปกครองพิเศษ หรือแม้กระทั่งการได้รับเอกราชของปาตานี เนื่องจากผู้วาดนั้นเลื่อมใสในอุดมการณ์ทางการเมืองแบบชาตินิยมแนวขยายอำนาจ (expansionist nationalism) และ อุดมการณ์ทางการเมืองแบบชาตินิยมแนวอนุรักษ์ (conservative nationalism)
 
ซึ่งการที่อาณาจักรสยามมาทำสงครามกับอาณาจักรปาตานีในปี ค.ศ.1785 มาชนะในปี ค.ศ.1786 และทำการผนวกเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนอาณาจักรสยามสำเร็จในปีค.ศ.1909 ด้วยสนธิสัญญา Anglo-Siamese Treaty ถือเป็นก้าวแรกของความสำเร็จของการใช้อุดมการณ์ชาตินิยมแนวขยายอำนาจของ อาณาจักรสยามต่ออาณาจักรปาตานี  
 
ชาตินิยมแนวขยายอำนาจนี้เป็นชาตินิยมในเชิงรุกหรือก้าวร้าว (aggressive) เน้นการใช้กำลังทหาร (militaristic) และเน้นการขยายดินแดน หรือขยายอำนาจไปครอบครองดินแดนอื่น (expansionist) ที่เห็นได้ชัดก็คือ ชาตินิยมของรัฐมหาอำนาจยุโรปในปลายศตวรรษที่ 19 ซึ่งมีลักษณะของการแข่งขันกันล่าอาณานิคมเพื่อแสดงให้เห็นถึงเกียรติและความ ยิ่งใหญ่ของชาติ ชาตินิยมแนวขยายอำนาจจึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเป็น ลัทธิจักรวรรดินิยม (imperialism)
 
ส่วนอุดมการณ์ชาตินิยมแนวอนุรักษ์นั้นเกิดขึ้นหลังอุดมการณ์ชาตินิยม แนวเสรีในครึ่งแรกของศตวรรษที่19 ทำให้นักอนุรักษ์นิยมมองอุดมการณ์ชาตินิยมด้วยความหวาดระแวง ความหวาดระแวงดังกล่าวนี้สมเหตุสมผล เพราะชาตินิยมในต้นศตวรรษที่19 เป็นชาตินิยมแนวเสรีที่มาพร้อมกับการปฏิวัติฝรั่งเศส ซึ่งเท่ากับเป็นภัยคุกคามต่อระบอบการเมืองเก่าที่มีบทบาทอยู่ในขณะนั้น
 
อย่างไรก็ดีในระยะหลัง ชาตินิยมกับอนุรักษ์นิยมมีจุดร่วมกันที่สำคัญประการหนึ่งคือ ทั้ง 2 อุดมการณ์ให้ความสำคัญกับสิ่งที่เรียกว่าประเพณีนิยม (traditionalism) ประเพณีเป็นแนวคิดหลักของทั้งลัทธิอนุรักษ์นิยมและลัทธิชาตินิยมแนววัฒนธรรม (cultural nationalism) การผสมผสานระหว่างอนุรักษ์นิยมกับชาตินิยมแนววัฒนธรรม จึงออกมาเป็นชาตินิยมแนวอนุรักษ์ (conservative nationalism)
 
2.ลักษณะรูปร่างหน้าตาของสันติภาพซึ่งถูกวาดรูปหรือนิยามโดยขบวนการ เคลื่อนไหวเพื่อเอกราชปาตานี ภาพอนาคตที่เห็นก็จะเป็นภาพของการได้รับเอกราชของชาวปาตานีจากชัยชนะของการ สู้รบกันกับจักรวรรดินิยมสยามหรือไทยมาอย่างยาวนานเป็นศตวรรษ เนื่องจากผู้วาดนั้นเลื่อมใสในอุดมการณ์ทางการเมืองแบบชาตินิยมแนวเสรี (liberal nationalism) และแนวต่อต้านการล่าอาณานิคม (anticolonial nationalism) ซึ่งชาตินิยมแนวเสรีเป็นรูปแบบของชาตินิยมในราวกลางศตวรรษ ที่19 ของยุโรป ในภาคพื้นยุโรปกลางศตวรรษที่19 นั้น การเป็นนักชาตินิยม หมายถึงการเป็นนักเสรีนิยมและในทางกลับกันการเป็นนักเสรีนิยม ก็หมายถึงการเป็นนักชาตินิยม กล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า นักชาตินิยมกับนักเสรีนิยมเป็นคนๆเดียวกัน
 
ความเคลื่อนไหวของขบวนการชาตินิยมอิตาเลียน เป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดของชาตินิยมแนวเสรีนี้ ในภาษาอิตาเลียนเรียกชาตินิยมแบบนี้ว่า “Risorgimento”แปลว่า (เกิดใหม่/rebirth)
 
หัวใจของชาตินิยมแนวเสรีตั้งอยู่บนพื้นฐานคติที่ว่า มนุษยชาติถูกแบ่งออกเป็นชนชาติต่างๆตามธรรมชาติ ดังนั้นชาติจึงเป็นชุมชนที่แท้จริงและเป็นอินทรียภาพ มิใช่ผลงานการสร้างของผู้นำทางการเมืองหรือชนชั้นปกครอง ชาตินิยมแนวเสรีถือว่า ชาติกับอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนและเป็นเรื่องเดียวกัน ซึ่งแนวคิดนี้มีต้นกำเนิดมาจาก รุสโซ มาสชินี เป็นนักคิดที่เด่นที่สุดของชาตินิยมแนวเสรี เขาต้องการให้รัฐต่างๆในอิตาลีปลดแอกจากออสเตรีย ด้วยเหตุนี้ชาตินิยมแนวเสรีจึงชูหลักการอีกประการหนึ่ง นั่นคือหลักการที่ว่า “ชาติควรมีอัตวินิจฉัย (national self -determination)” หรืออีกนัยหนึ่งชาติควรกำหนดชะตาชีวิตของตนเองโดยอิสระ อัตวินิจฉัยนี้จะทำให้ชาติสามารถพัฒนาไปสู่ความเป็น “รัฐประชาชาติ” (nation-state) ได้อย่างสมบูรณ์ นั่นคือความเป็นรัฐกับความเป็นชาติตรงกันจนกระทั่งเป็นเนื้อเดียวกัน
 
ส่วนชาตินิยมแนวต่อต้านการล่าอาณานิคมนั้น เป็นชาตินิยมที่เกิดขึ้นในประเทศด้อยพัฒนาหรือกำลังพัฒนาส่วนใหญ่ในโลกที เป็นชาตินิยมซึ่งเกิดจากการต่อต้านการปกครองอาณานิคมของเมืองแม่ ชาตินิยมแบบนี้จึงเหมือนกับเป็นดาบกลับไปทิ่มแทงเจ้าอาณานิคมผู้ซึ่งพัฒนา ลัทธิชาตินิยมขึ้นมาก่อนนั่นเอง ในเอเชียและแอฟริกาสำนึกของความเป็นชาติเป็นพลังทางอุดมการณ์ให้คนพื้นเมือง ต้องการ “ปลดแอกชาติ” (national liberation) ของตนให้พ้นจากอำนาจปกครองของเจ้าอาณานิคม และถือได้ว่าภูมิศาสตร์การเมืองของโลกในศตวรรษที่ 20 ต้องเปลี่ยนแปลงไปอย่างใหญ่หลวงก็ด้วยพลังของอุดมการณ์ชาตินิยมแนวต่อต้าน การล่าอาณานิคมนี้มากกว่าปัจจัยอื่นๆ
 
อินเดียต่อสู้จนได้รับเอกราชจากอังกฤษ เมื่อ ค.ศ.1947 จีนถูกญี่ปุ่นเข้าครอบครองในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ถึง 8 ปี จนกระทั่งพรรคคอมมิวนิสต์จีนทำสงครามปฏิวัติปลดแอกจีนจากการครอบงำของต่าง ชาติได้เด็ดขาดในปี 1949 อินโดนีเซียใช้เวลา 3 ปี ทำสงครามกับเนเธอร์แลนด์จนกระทั่งได้อิสรภาพในปี 1949 เวียดนามขับไล่ฝรั่งเศสจนต้องถอนตัวออกไปในปี 1954 แต่กว่าเวียดนามจะได้รับเอกราชสมบูรณ์ก็ต้องใช้เวลาสู้รบกับสหรัฐอเมริกา อย่างหนักหน่วงถึง 14 ปี จนกระทั่งสามารถรวมเวียดนามเหนือและใต้เข้าด้วยกัน พร้อมกับการถอนตัวออกไปอย่างสิ้นเชิงของกองทัพอเมริกันในปี 1975 และท้ายที่สุด ติมอร์ตะวันออกเป็นเอกราชจากอินโดนีเซียด้วยการทำประชามติเมื่อปี 2002
 
ในแอฟริกาขบวนการต่อสู้เพื่อเอกราชก็ดำเนินไปคล้ายกับที่เกิดในเอเชีย ไนจีเรียได้เอกราชจากสหราชอาณาจักรในปี 1960 อัลจีเรียต้องต่อสู้ทำสงครามกับฝรั่งเศสอย่างยืดเยื้อกว่าจะได้เอกราชในปี 1962 เคนยาเป็นเอกราชในปี  1963 แทนซาเนียและมาลาวีเป็นเอกราชปี 1964 นามิเบียเป็นเอกราชเมื่อ ค.ศ.1990 ท้ายที่สุดคือซูดานใต้เป็นเอกราชจากประเทศซูดานด้วยการลงประชามติเมื่อปี 2011 นี้เอง
 
ในยุโรปนั้นหลายๆ สำนักทางวิชาการรัฐศาสตร์ฟันธงว่าไม่มีทางที่ภูมิศาสตร์การเมืองยุโรปจะ เปลี่ยนแปลงในท่ามกลางกระแสของประชาธิปไตยเสรีนิยมในศตวรรษที่ 21 และแล้วโคโซโวก็พิสูจน์ให้เห็นว่าไม่มีอะไรจะมาต้านทานพลังของความต้องการ อันแน่วแน่ของมวลมหาประชาชนได้ ในที่สุดโคโซโวหรือคอซอวอได้ประกาศเป็นรัฐเอกราชแบบเอกภาคีในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ.2008
 
แนวคิดที่อยู่เบื้องหลังขบวนการต่อสู้เพื่อเอกราชทั้งหลายในเอเชีย แอฟริกา และแม้กระทั่งล่าสุดที่โคโซโวในยุโรปตะวันออกก็ดี คือ การที่ชาติควรมีอัตวินิจฉัย (nation self-determination) เช่นเดียวกับที่เคยเกิดแก่นักคิดชาตินิยมในยุโรปตะวันตกและอเมริกาเมื่อปลาย ศตวรรษที่ 18 ถึง ศตวรรษที่ 19 แต่สิ่งที่พิเศษสำหรับประเทศในแอฟริกา เอเชีย และยุโรปตะวันออกคือประเทศเหล่านี้ “ต้องการเอกราชและต้องการพัฒนาเศรษฐกิจในคราวเดียวกัน” ดังนั้น การปลดปล่อยชาติหรือประเทศชาติจึงมิใช่การเคลื่อนไหวทางการเมืองเท่านั้น หากเป็นการเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจด้วย
 
ในการแสวงหาแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจนี้ประเทศกำลังพัฒนาเลือกที่จะหันไป หาลัทธิสังคมนิยมมากกว่าลัทธิเสรีนิยม ความข้อนี้เป็นที่เข้าใจได้ไม่ยากนัก เพราะประเทศสังคมนิยมหรือคอมมิวนิสต์ต่างก็ต้องการเสนอตัวเป็นทางเลือกใหม่ ให้กับประเทศด้อยพัฒนา เพราะสังคมนิยมเองก็มีประเทศเจ้าอาณานิคมเป็นศัตรูร่วมอยู่ด้วยเช่นกัน
 
อย่างไรก็ตาม การที่ลัทธิชาตินิยมกับลัทธิสังคมนิยมจะจับมือกันนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายนัก เพราะตามทฤษฎีแล้วชาตินิยมแบ่งความแตกต่างของมนุษย์ตามชาติ ส่วนสังคมนิยมแบ่งตามชนชั้น ส่วนที่สังคมนิยมกับชาตินิยมแบบต่อต้านเจ้าอาณานิคมเห็นพ้องต้องกัน จึงอยู่ที่การช่วยกันต่อสู้กับจักรวรรดินิยมหรือประเทศทุนนิยมตะวันตกนั่น เอง
 
สำหรับนักสังคมนิยมนั้นประเทศจักรวรรดินิยมตะวันตกคือ หัวแถวของนายทุนซึ่งกดขี่ขูดรีดชนชั้นกรรมกรในขอบข่ายกว้างขวางทั่วโลก แต่สำหรับนักชาตินิยมในประเทศกำลังพัฒนาหรือที่เรียกว่าประเทศโลกที่สาม จักรวรรดินิยมตะวันตกคือ นักล่าอาณานิคมที่ปล้นเอกราชและวัตถุดิบจากประเทศของตน
 
แต่ทว่าท่าทีการแสดงออกเพื่อหยุดสงครามที่ชายแดนใต้ของประเทศไทยหรือปา ตานีของสังคมโลก ด้วยการเปิดพื้นที่ให้มีการพบปะพูดคุยเพื่อสันติภาพระหว่างตัวแทนของขบวนการ เคลื่อนไหวเพื่อเอกราชปาตานีกับตัวแทนของรัฐไทย เริ่มเห็นความเคลื่อนไหวอย่างชัดเจนตั้งแต่ช่วงสมัยของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ในปี 2009
 
โดยได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการพูดคุยเพื่อสันติภาพ ซึ่งมีสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.)เป็นผู้ดำเนินการ และมีองค์กรสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศด้านสันติภาพชื่อว่า Humanitarian Dialogue Center หรือเป็นที่รู้จักว่า HDC แปลว่า ศูนย์การพูดคุยเพื่อมนุษยธรรม สำนักงานใหญ่อยู่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ และสำนักงานประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อยู่ที่ประเทศสิงคโปร์เป็น ผู้ประสานงาน
 
ครั้งนั้น การพูดคุยก็ดำเนินการไประหว่างตัวแทน PULO (Patani United Liberation Organization) กับตัวแทน สมช. จนเกิดเงื่อนไขในการพิสูจน์ความจริงใจและพิสูจน์สถานะของตัวแทน PULO ว่ามีอิทธิพลต่อการเคลื่อนไหวในพื้นที่จริงหรือไม่ของ สมช. ด้วยการเสนอให้มีการหยุดยิงเป็นเวลา 3 เดือน ทันใดนั้น วันรุ่งขึ้น หลังจากข้อเสนอหยุดยิงได้ถูกรับปากโดยตัวแทน PULO ก็ได้เกิดเหตุระเบิดที่ จ.นราธิวาส
 
ต่อมาเมื่อปลายปี 2011 HDC ก็ได้เชิญตัวแทนภาคประชาสังคมชายแดนใต้หรือปาตานีเข้าร่วมโต๊ะการพูดคุยด้วย ด้วยเหตุผลที่แน่ชัดอย่างไรนั้น ผู้เขียนก็มิอาจทราบได้ แต่ดูเหมือนว่า สมช.และ HDC กำลังส่งสัญญาณไปยังกลุ่มคนที่อ้างว่าเป็นตัวแทนขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อ เอกราชปาตานีว่า เจตจำนงทางการเมืองหรือความต้องการที่ชอบธรรมนั้น ไม่ได้อยู่ที่ตัวขบวนการฯ เท่านั้น ภาคประชาสังคมและประชาชนคือคำตอบสุดท้ายของสันติภาพที่นี่
 
เพราะกระแสการเมืองโลกหลังยุคสงครามเย็นเป็นต้นมา ตัวชี้วัดการคลี่คลายความขัดแย้งในลักษณะทำสงครามต่อกันระหว่างรัฐกับ ชนกลุ่มน้อย ไม่ได้อยู่ที่ความเป็นรัฐกับรัฐอีกต่อไป องค์กรนอกรัฐหรือภาคประชาสังคมที่ยึดมั่นและเคารพในหลักการประชาธิปไตยและ สิทธิมนุษยชนต่างหาก คือตัวแปรชี้ขาดสันติภาพในศตวรรษนี้ เช่น กรณีของอาเจะห์
 
เท่าที่ผู้เขียนได้รับรู้การเคลื่อนไหวของ HDC ที่มีบทบาทคล้ายคนกลางที่คอยประสานงานอำนวยการจัดการให้ได้มีการพบปะพูดคุย กันของทั้ง 3 ฝ่าย คือตัวแทนขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อเอกราชปาตานี ตัวแทนรัฐไทย และตัวแทนจากภาคประชาสังคมในพื้นที่ ในวาระ “จะร่วมกันสร้างสันติภาพที่ชายแดนใต้ของประเทศไทยหรือปาตานีได้อย่าง ไร?”ซึ่งเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปลายปี ค.ศ.2011 นั้น มาถึงตอนนี้ก็ดำเนินการไปแล้ว 3 ครั้ง ในประเทศเพื่อนบ้าน
 
ส่วนรายละเอียดว่ามีข้อเสนอหรือเงื่อนไขอะไรบ้างจากการพูดคุยนั้น ผู้เขียนเองก็คิดว่าน่าจะต้องมีบ้างเป็นปกติของการพูดคุย แต่ผู้เขียนไม่มีความสามารถที่จะรับรู้ได้ แต่อย่างไรก็ตาม ก็ไม่สำคัญเท่าท่าทีของ HDC ในฐานะตัวแทนของสังคมโลกที่เคารพในหลักการประชาธิปไตย หลักสิทธิมนุษยชนและรักสันติภาพ มีความมุ่งมั่นที่จะพยายามสร้างสันติภาพให้เกิดขึ้นจงได้
 
แน่นอนว่าตลอดการสู้รบกันระหว่างขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อเอกราชปาตานี กับรัฐไทยในห้วงเวลาเกือบ9 ปีมานี้ ทั้งสองฝ่ายต่างก็อ้างเหตุผลว่า “หยุดสงคราม คือ เป้าหมายของการทำสงคราม” แต่สำหรับประชาชนที่ไม่เห็นด้วยกับการทำสงครามเล่า จะมีส่วนร่วมในการหยุดสงครามได้อย่างไร?
 
ถ้าประชาชนรู้สึกว่าตัวเลขสถิติคนตายจากการสู้รบซึ่งปัจจุบันนั้นอยู่ ที่ 5,000 กว่าคน มันมากเกินไปแล้วในการเดิมพันกับการพยายามหยุดสงครามเพื่อสร้างสันติภาพ ซึ่งก็ยังไม่แน่ว่าจะเป็นสันติภาพในมุมของประชาชนต้องการหรือไม่
 
ก็น่าจะถึงเวลาได้แล้ว ที่ประชาชน “ต้องทำอะไรสักอย่างที่ไม่ใช่การทำสงคราม แต่เพื่อหยุดสงคราม” เพราะในแง่ขององค์กรสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศโดยเฉพาะ HDC นั้น ตัวเลขคนตาย 5,000 กว่าคนนั้นมันมากเกินไปตั้งแต่ปี 2009 แล้ว ปีที่เริ่มมีการทำงานร่วมกับ สมช. ด้วยการเปิดไฟเขียวของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น ในการพยายามสร้างสันติภาพด้วยการเปิดพื้นที่การพูดคุยกับฝ่ายขบวนการเคลื่อน ไหวเพื่อเอกราชปาตานี
 
อย่างไรก็ตาม ในขณะที่ประชาชนกำลังคิดว่าจะทำอะไรเพื่อหยุดสงครามแล้วสถาปนาสันติภาพตาม ความต้องการของตนเองหรือกำลังทำอยู่แล้วก็ตามแต่ ก็อย่าลืมเตรียมคำตอบให้ชัดๆ ด้วยว่า “สันติภาพแบบไหนที่ประชาชนหรือประชาชาติปาตานีต้องการ?”  
 
จะเป็นแบบรัฐไทยนิยาม คือ ปาตานีเป็นจังหวัดปัตตานีของประเทศไทยต่อไป หรือ แบบขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อเอกราชปาตานีนิยาม คือ ปาตานีเป็นเอกราช?
 
เพราะตามหลักการประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนนั้น ตัวแปรชี้ขาดอยู่ที่ประชาชนที่ต้องเลือกระหว่างสองตัวเลือกนี้ เพราะตัวเลือกที่สาม คือการปกครองตนเองนั้น ส่วนใหญ่แล้วเป็นตัวเลือกที่มาจากผลลัพธ์ของการเจรจาหยุดสงครามระหว่างคู่ สงคราม หรือมาจากการที่ประชาชนใช้สิทธิในการทำประชามติไม่ถึงเกณฑ์ที่วางไว้สำหรับ ให้เป็นเอกราช
 
เพราะถ้าประชาชนไม่ได้เตรียมคำตอบของตัวเองเลย ว่าสันติภาพแบบไหนที่ต้องการ กลัวว่าสันติภาพที่เกิดหลังจากการหยุดสงครามนั้น เป็นสันติภาพที่มาจากการถูกบังคับให้ต้องการด้วยความรุนแรงของทั้งสองฝ่าย คือขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อเอกราชปาตานีและรัฐไทย  
 
สรุปแล้วสันติภาพที่ชายแดนใต้ของประเทศไทยหรือปาตานีจะเกิดขึ้นช้าหรือ เร็ว ก็ขึ้นอยู่กับบทบาทของประชาชนต่อการมีส่วนร่วมในการสร้างสันติภาพมากน้อยแค่ ไหนนั่นเอง