WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, October 6, 2012

ผู้นำสหรัฐไฟเขียว หนุนส่งเงินช่วยเหลือพม่า

ที่มา Voice TV

 ผู้นำสหรัฐไฟเขียว หนุนส่งเงินช่วยเหลือพม่า



ประธานาธิบดี บารัก โอบามา ลงนามกฎหมายฉบับใหม่ เปิดทางสหรัฐสนับสนุนองค์กรระหว่างประเทศในการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน แก่พม่า เพื่อดึงอดีตประเทศเผด็จการทหารแห่งนี้เข้าสู่เศรษฐกิจโลก

กฎหมายซึ่งได้ผ่านสภาคองเกรสเมื่อเดือนที่แล้วฉบับนี้ มีผลใช้บังคับในขณะที่สหรัฐได้ทยอยยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรทางการเงิน และการลงโทษอื่นๆ เพื่อตอบแทนการเปิดกว้างทางการเมืองที่ริเริ่มโดยประธานาธิบดีเต็ง เส่ง หลังจากพม่าได้ปกครองโดยระบอบทหารมานานหลายทศวรรษ

ตามกฎหมายนี้ ผู้แทนของสหรัฐจะมีอำนาจให้การสนับสนุนต่อความช่วยเหลือทางการเงินแก่พม่าของบรรดาองค์กรระหว่างประเทศ

กระทรวงการคลังสหรัฐกล่าวว่า กฎหมายดังกล่าวจะสนับสนุนให้พม่าเสริมสร้างสถาบันต่างๆภายในประเทศให้เข้ม แข็งขึ้น เพื่อให้สามารถดำเนินนโยบายเศรษฐกิจได้อย่างมีประสิทธิผล และจะสนับสนุนการพัฒนาประเทศ รวมทั้งช่วยให้พม่ารวมตัวเข้ากับระบบเศรษฐกิจโลก

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังของสหรัฐ นีล โวลิน กล่าวว่า กฎหมายฉบับนี้จะทำให้สหรัฐสามารถผลักดันนโยบายและมาตรการต่างๆของสถาบันการ เงินระหว่างประเทศได้ ซึ่งจะทำให้เกิดความคืบหน้าในการปฏิรูป, การสร้างธรรมาภิบาล, ความโปร่งใส และความพร้อมรับผิดในพม่า

การลงนามของโอบามามีขึ้นหนึ่งสัปดาห์หลังจากสหรัฐได้ประกาศที่จะผ่อนคลายคำ สั่งห้ามนำเข้าสินค้าจากพม่า ซึ่งเป็นการยกเลิกอุปสรรคทางการค้าที่สำคัญสำหรับอดีตประเทศเผด็จการแห่งนี้ และมีขึ้นหนึ่งสัปดาห์หลังจากนางอองซาน ซูจี ได้เดินทางเยือนสหรัฐครั้งประวัติศาสตร์ โดยผู้นำฝ่ายค้านของพม่าได้เรียกร้องให้ยกเลิกการคว่ำบาตร

สหรัฐได้ยกเลิกคำสั่งห้ามชาวอเมริกันลงทุนในพม่าเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เปิดทางให้คณะผู้แทนทางการค้าชาวอเมริกันกลุ่มใหญ่เข้าไปดูลู่ทางการลงทุนใน ประเทศนี้ นอกจากนี้ ยังยกเลิกคำสั่งห้ามออกวีซ่าให้แก่เต็ง เส่ง และประธานสภาผู้แทนราษฎร ฉ่วย มานน์ ด้วย

Source : AFP
6 ตุลาคม 2555 เวลา 12:52 น.

อ่านอีกรอบ: จม.เล่าเหตุการณ์เช้ามืด 6 ตุลา จากหนังสือ'เราคือผู้บริสุทธิ์'

ที่มา ประชาไท




หมายเหตุ: เนื่องในวาระ ครบรอบ 36 ปี 6 ตุลาคม 2519 ‘ประชาไท’ หยิบยกบทบันทึกเหตุการณ์วันนั้น ซึ่งเขียนโดย ชวลิต วินิจจะกูล เป็นตอนหนึ่งจากหนังสือ ‘เสียงจากอดีตจำเลยคดี 6 ตุลา เราคือผู้บริสุทธิ์’ แม้หนังสือเล่มนี้จะเป็นที่รู้จักกันดีอยู่แล้วในฐานะบทบันทึกประวัติศาสตร์ แรงบันดาลใจทางการเมือง หรืออะไรก็ตาม แต่เมื่อเวลาผ่านเลยไป คนอีกรุ่นอาจไม่ได้มีโอกาสสัมผัสกับงานเหล่านี้  จึงขออนุญาตหยิบยกมาปัดฝุ่นใหม่ โดยเริ่มต้นจากสิ่งพื้นฐานที่สุดนั่นคือ เกิดอะไรขึ้นบ้างในวันนั้น ทั้งในแง่เหตุการณ์และอารมณ์ความรู้สึก




จดหมายจากชวลิต วินิจจะกูล ฉบับที่ 1


เขียนที่บ้าน
...กันยายน 2520
...ที่รัก

ขอบคุณมากครับที่ห่วงใยผม จม.ของคุณผมอ่านด้วยความรู้สึกดีใจที่เพื่อนๆ ยังรักและเอาใจใส่อยู่เสมอ จนถึงวันนี้ก็เพิ่งประมาณเดือนเดียวเท่านั้นที่ผมได้ออกมาสัมผัสความสับสน วุ่นวายของสังคมเมือง แต่ก็มีอิสระ มีชีวิตชีวามากกว่าในคุกเมื่อ 10 เดือนก่อน

เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา คุณได้ไปที่ศาลทหารกลาโหมหรือเปล่า ผมไปให้กำลังใจแก่เพื่อนๆ ที่ถูกฟ้อง เขายังยิ้มแย้มแจ่มใสดีจริงๆ ทั้งที่ผมจำได้ว่า เราเคยพูดกันว่า ถูกฟ้องเมื่อไรก็แน่ชัดว่าอีกนานหลายปีกว่าคดีจะสิ้นสุด กำลังใจพวกเขาดีจริงๆ ทั้งๆ ที่รู้อนาคตเช่นนั้น

ผมเห็นเพื่อนๆ แค่ 6 คนจากบางขวาง ไม่ได้พบเพื่อนๆ ที่อยู่มาด้วยกัน 10 เดือน เพราะผู้คุมพาเขาหลบออกทางประตูหลัง วันนั้นผมคิดถึงหลายๆ อย่าง สับสนไปหมด ผมคิดถึงเพื่อนๆ มาก แม้ผมเคยอยู่กับเขามา รู้สึกว่าสำหรับพวกเราแล้วไม่ทุกข์ยากนักหรอก แต่ผมก็อดเป็นห่วงไม่ได้ บางทีนึกถามตัวเองว่าเราจะช่วยเขาได้ยังไง เราจะช่วยเร่งการพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของเพื่อนๆ ได้ยังไง ผมอยากจะทำอะไรก็ได้ให้ความจริงเปิดเผยสักที แต่ในภาวะการเมืองอย่างนี้ ดูเหมือนเขาจะห้ามพูดความจริงใช่ไหม

จม.ของคุณทำให้ผมพอเห็นทางออกเล็กๆ น้อยๆ ที่จะช่วยเหลือพวกเขาได้ และต่อตัวผมเองก็ช่วยให้ผมคลายความไม่สบายใจลงไปได้บ้าง

คุณ อยากให้ผมเล่าความจริงที่ผมประสบ ผมดีใจที่จะได้เล่าให้ผู้อื่นฟัง แม้จะแค่ 1-2 คนก็ตาม และจะให้ผมเล่าสักร้อยพันหนก็ได้ ผมมีสิ่งที่อยากขอความช่วยเหลือคุณเพียงอย่างเดียวเท่านั้น คือว่า ถ้าคุณมีโอกาสให้คนอื่นอ่านด้วยก็ดี ผมเขียนไม่เก่งนัก แต่ผมขอให้ความจริงปรากฏต่อคนมากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ซึ่งผมคงไม่มีโอกาสทำได้ถนัดนัก จม.นี้เหมือนกับผมเขียนฝากถึงทุกๆ คนที่รักความจริง รักความเป็นธรรม  ผมเองยังหวังถึงกับว่า สักวันหนึ่งสิ่งที่ผมเขียนอาจเปิดเผยต่อสาธารณชนได้

10 เดือนที่บางเขน ไม่ได้ทำให้ผมลืมความเจ็บปวดลงได้สักนิดเดียว ตรงกันข้าม ผมได้พบคนที่ถูกถีบกลิ้งลงมาจากชั้น 3 ตึกบัญชี ผมได้ฟังเหตุการณ์บางอย่างจากคนที่ตึกวารสารฯ ตึกอมธ. ผมได้คุยกับคนที่เห็นเหตุการณ์หน้าหอฯ ใหญ่ มีโอกาสได้ทราบเหตุการณ์มากมายหลายแง่มุมที่เกิดขึ้นจริงเมื่อปีก่อน

ที่ จริงเพื่อนในคุกคงอยากเล่าเองยิ่งกว่าผมเสียอีก ฉะนั้นเพื่อเขาผู้อยู่ข้างความจริงแต่พูดไม่ได้ ผมจะขอเขียนจม.นี้แทนเขา ด้วยความปรารถนาจะช่วยเพื่อนในคุกอย่างจริงใจ ตอบแทนจิตใจที่ยืนหยัดอดทนของเขา จนกว่าสักวันหนึ่งพวกเขาจะได้ออกมายืนประกาศเล่าเหตุการณ์ทั้งหมดด้วยตนเอง ต่อหน้าประชาชนมหาศาล

ผมจะเริ่มเล่าตั้งแต่เย็นวันที่ 5 ตุลา 2519...

ผม เห็นใบปลิวกระดาษปอนด์ลงรูปถ่ายที่กล่าวหาว่าพวกเราแสดงละครหมิ่นฯ องค์รัชทายาท ตั้งแต่ตอนประมาณ 18 น. วันที่ 5 ต.ค. ต่อจากนั้นผมได้ดู น.ส.พ. ดาวสยาม (มายืนขายหน้า มธ.ด้วย) ผมเห็นแล้วแค้นมากที่กล่าวหาเราเช่นนั้น คนนับพันเมื่อวันที่ 4 เป็นพยานได้ เราไม่เคยแสดงละครแล้วตบแต่งรูปร่างหน้าตาดังรูปที่พิมพ์ออกแจกนั้นเลย นศ.ปี 1 มธ. ดูตั้งนานไม่เห็นมีปฏิกิริยาอะไร กลับมาเป็นเรื่องราวก็ต่อเมื่อลงใบปลิวและลง น.ส.พ. นี่แหละ ตอนนั้นผมไม่เข้าใจชัดนักว่า เขากล่าวหาเราเช่นนี้ทำไม คิดว่าคงใส่ร้ายป้ายสีกันตามเคย แต่ผมก็รู้สึกเหมือนคนอื่นๆ ว่าเหตุการณ์ตึงเครียดขึ้นทุกที

ต่อมามีใบปลิวนัดว่า  วันที่ 6 ต.ค. เวลา 9 น. นัดลูกเสือชาวบ้าน (ลส.ชบ.) และ  "ผู้รักชาติ"  ทุกกลุ่มไปที่พระบรมรูปทรงม้า ในใบปลิวยังบอกว่า ให้เวลาพวกเราที่ชุมนุมใน มธ.ถึงแค่บ่าย 2 ของวันที่ 6 ให้สลายตัวและเอาตัวผู้แสดงละครมาลงโทษ

ประมาณ 21.30  น.  วันที่ 5 ต.ค.  ศูนย์ฯ นัดสื่อมวลชนครั้งใหญ่และด่วนที่สุด แสดงหลักฐานและเหตุผลหลายอย่างตอบโต้ข้อกล่าวหาที่ปราศจากมูลความจริงนั้น ให้ผู้แสดงละครเล่าเรื่องราวความจริงทั้งหมด  ให้ผู้สื่อข่าวดูใบหน้าและถ่ายภาพผู้แสดงตัวจริงคือ อภินันท์ ว่าไม่เหมือนรูปถ่ายในใบปลิวเลย กรรมการศูนย์ฯ วันนั้นคือ ประยูร ยังแถลงว่าศูนย์ฯ ไม่ใช่ผู้จัด และผู้จัดไม่เคยมีความคิดเช่นที่ใบปลิวกล่าวหา ผู้ทำใบปลิวบิดเบือนจุดหมายการชุมนุมคัดค้านเผด็จการให้กลายเป็นอื่นไปเสีย ตั้งใจจะบิดเบือนความบริสุทธิ์ใจให้กลายเป็นความรุนแรง

สื่อมวลชนซักถามจนหมดข้อข้องใจ ไม่ว่าเรื่องทางการเมืองหรือเทคนิคการแสดงละคร ซึ่งผู้แสดงทำให้ชม

แต่ วันต่อมา  ความจริงเหล่านี้ไม่มีโอกาสจะตอบโต้เรื่องโกหกได้  เขาใช้วิทยุ  200  สถานีกรอกหูปิดตาประชาชน  แล้วเย็นวันที่  6  ก็เกิดรับประหารเสียก่อนที่ความจริงจะเปิดเผย  พวกเขากลัวความจริงเหมือนปิศาจกลัวแสงสว่าง  เราอยู่ข้างความจริงเราจึงไม่กลัว  ให้โอกาสเราโต้สิ

ค่ำลงทุกที  คนที่ชุมนุมอยู่รู้เรื่องราวกันทั่วแล้ว  บางคนฟังยานเกราะอยู่ด้วย  ทุกคนแค้นและพูดกันโจมตีพวกที่บิดเบือนสร้างสถานการณ์  ความแค้นของเราสะสมพอกพูนขึ้นทุกครั้งที่ชุมนุมแล้วถูกยั่วยุก่อกวนทำร้าย  ฆ่าทีละคนๆ

ยิ่งแค้นยิ่งรู้สึกว่า  เราต้องการกันและกัน  คืนนั้นมีคนอยู่ใน มธ.มากเป็นพิเศษ

เสียง จากเวทีชี้แจงกรณีที่ถูกกล่าวหา เรียกร้องให้ทุกคนอดทนใจเย็นๆ สุขุม ทำอะไรขอให้เข้มแข็งเป็นอันหนึ่งใจเดียวกัน เขามิได้ขอร้องให้อยู่หรือกลับ แต่ใจของผู้ชุมนุมยิ่งคุกรุ่นเข้าทุกที ยังไงๆ ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นขอให้อยู่ด้วยกัน เสียสละแก่กัน หลายคนนัดกันอยู่ทั้งคืน บางคนเพิ่งเคยเป็นครั้งแรก บางคนรีบกลับบ้านเพื่อจะรีบมาให้เร็วในตอนดึก บางคนโทร.ไปบอกที่บ้านว่าไม่ต้องห่วง ไม่กลับบ้าน หลายคนจับกลุ่มฟังวิทยุต่อไป เจ็บใจที่ตอบโต้ไม่ได้เลย

22.00 น. แล้ว เหตุการณ์ยังสงบอยู่ ผู้คนเข้ามาสมทบมากขึ้นทุกที  มาเพิ่มพลังความแข็งแกร่งให้แก่ที่ชุมนุม เพื่อตอบโต้ข้อกล่าวหานั้น

ที่ สนามหลวงตรงกันข้ามรั้ว มธ. เริ่มมี ลส.ชบ. (สังเกตจากผ้าพันคอ)  และอันธพาลการเมืองซึ่งมาบ่อยจนหลายคนจำหน้าได้  (ไม่เคยถูกจับสักที)  พวกเขายืนจับกลุ่มกันพูดคุยเสียงดัง ตะโกนยั่วยุมาบ้าง ส่วนพวกเรานั่งจับกลุ่มยิ้มอยู่หน้าหอฯ ใหญ่ ใจของเขาคิดอะไรผมไม่ทราบ แต่ผมเชื่อว่า เขากำลังคิดอย่างแน่นอนว่า อีกไม่กี่ชั่วโมงเขาจะได้อุทิศตนเพื่อคนทั้งหมด เป็นการเสียสละครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตของเขา ใช่! ชีวิตของเขา

ประมาณ 24 น. อันธพาลที่ชุมนุมอยู่สนามหลวงมีมากขึ้น ทันใดนั้นก็มีเสียงปืน 2-3 นัดจากนอกมธ. คนในสนามฟุตบอลหมอบกันหมด เสียงประกาศให้ทุกคนหมอบนิ่งๆ อย่างไม่ตกใจกลัว ที่ต้องให้หมอบเพื่อมิให้วิ่งกันสับสนอลหม่าน ทุกอย่างยังดำเนินไปเรื่อยๆ มิให้ตกใจแตกตื่น

เราเคยถูกยิงอย่างนั้น มาตั้งแต่ครั้งปลายปี 2517  ที่นี่ ไล่ถนอมเช่นกัน ครั้งนั้นเป็นครั้งแรกคนจึงยังตกใจวิ่งสับสนไปหมด ผ่านมาปีกว่า 20 มีนา ไม่ว่าขณะชุมนุมหรือขณะเดินขบวน เสียงระเบิดไม่ทำให้ใครหนีเลย ทุกคนหมอบสักครู่เดียวแล้วผุดลุกขึ้นจะวิ่งตามเจ้ามือระเบิดทันทีอย่างไม่ เกรงกลัว

หมดยุคกลัวกระสุนหรือระเบิดแล้ว เพราะในใจมีแต่ความเจ็บปวดท่วมท้น ไม่มีที่ว่างให้ความกลัวอีก

ในใจตอนนั้นนึกแต่ว่า อยากให้ตำรวจจัดการอันธพาลเหล่านั้นเสียที ผมคิดในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้



เช้าวันที่ 6 ตุลา

01.30 น. พวกอันธพาลการเมืองมีมากขึ้น ยังจับกลุ่มที่เดิม แต่ตอนนี้มีตำรวจหัวปิงปอง  (ผมไม่รู้เขาเรียกอะไร)  ประมาณ 20 คน ยืนจับกลุ่มรวมกับพวกนั้น

ตอนนี้เอง พวกอันธพาลเริ่มปาท่อนไม้ ก้อนหินเข้ามา พยายามปีนรั้ว แต่พวกเราดันออกไป มันยังตะโกนยั่วยุ ก่อกวนบ้าง ด่าบ้าง อย่างหยาบคายฟังไม่ได้

สักครู่ เมื่อเห็นว่าพวกเราเฉยๆ ไม่ตอบโต้ มันก็ชักเหิมเกริม ปาระเบิดขวดและระเบิดพลาสติก 2-3 ลูกเข้ามา เสียงดังลั่นตรงหน้าหอฯ ใหญ่ที่ชุมนุมหมอบลงอีกครั้ง แต่เสียงที่เวทีนี้ยังคงเงียบๆ จนเห็นว่าสงบลง เราจึงเรียกร้องให้ตำรวจจับกุมผู้ใช้อาวุธเมื่อกี้นั้น แต่ตำรวจไม่ทำอะไรเลย ทั้งๆ ที่ยืนอยู่ตรงนั้น เห็นเหตุการณ์ตลอดเวลา จะว่าไม่ผิดกฎหมายก็ไม่ได้ เห็นกันชัดๆ จะว่าผู้ทำผิดหลบหนีก็ไม่ได้ ยังยืนอยู่ด้วยกันตรงนั้นเอง

พวกเราทำอะไรไม่ได้ นอกจากหมอบเฉยๆ ที่ใกล้หอฯ ใหญ่ มีคนคอยชี้แจงไม่ให้ผ่านบริเวณนั้น เพราะอาจได้รับอันตรายจากภายนอก หากจะเข้าออกขอให้ใช้ประตูท่าพระจันทร์แทน พวกนี้คงเป็น หน่วยรักษาความปลอดภัย ไม่มีอาวุธหรอก เพราะไม่ได้มีไว้สู้กับใคร หน่วยรักษาความปลอดภัยมีไว้  "รักษา"  ไม่ใช่  "คุกคาม"  ความปลอดภัยของใคร โดยมากเป็นคนรุ่นหนุ่ม ผู้หญิงก็มีหลายคน คนสายตาสั้นแว่นหนาเตอะก็เป็นได้ เราไม่ได้มีไว้สู้กับใคร มีไว้คอยคุ้มกันและแนะนำแก่ผู้ชุมนุมว่าควรทำอย่างไรในขณะเหตุการณ์วุ่นวาย

ก่อน 02.00 น.เล็กน้อย พวกอันธพาลพยายามปีนรั้วเข้ามา โยนเศษไม้, กระดาษติดไฟหลายชิ้นเข้ามาเผาป้อมยาม หลายชิ้นตกบนหลังคาป้อมยาม ผมอยู่ในสนามยังเห็นแสงจากเพลิงไหม้ได้ถนัด ดีแต่ว่าพอพวกมันออกไปแล้ว ไฟยังไม่มากพอ พวกเราจึงรีบดับเสีย

ตำรวจยังมีไว้ประดับสนามหลวง ยืนดูเฉยๆ

ไม่ มีใครตอบโต้ เพราะไม่รู้จะตอบโต้อย่างไร พวกมันยิ่งเหิมเกริม เพราะผู้รักษากฎหมายไม่ทำอะไร เพียงครู่เดียวจากนั้น พวกอันธพาลกลุ่มเดิมก็คว่ำรถจักรยานยนต์คันหนึ่งที่จอดหน้าประตูรั้ว มธ. จุดไฟเผา เอาโต๊ะเก้าอี้ของแม่ค้าสนามหลวงที่วางทิ้งไว้มาพังทำลายสุมเป็นเชื้อเพลิง อีก เท่านั้นยังไม่พอ มันยังรื้อทำลาย  "กำแพงข่าว"  หรือแผ่นบอร์ดขนาดใหญ่ที่คุณคงเคยไปยืนอ่านข่าวคราวที่ติดบนบอร์ดนั้นเสมอๆ มันรื้อทำลายจนพังพินาศเป็นชิ้นๆ ทั้งๆ ที่ติดตรึงอย่างแน่นหนามาเป็นเวลาหลายเดือน

พวกอันธพาลใช้เวลามาพอ สมควรกว่าจะผลาญทรัพย์สินเหล่านี้ แต่มันไม่มีทีท่าหวาดกลัวจะถูกกระสุนเลย อย่างนี้แล้วจะมากุข่าวว่า ใน มธ.ยิงออกไปแต่กลางดึกได้ยังไงกัน เราได้แต่มอง ปล่อยมันทำลายจนพินาศหมด

ที่เวที-เราประกาศขอร้องให้ ตำรวจจัดการตามหน้าที่ อย่าปล่อยให้มีการทำลายทรัพย์สินของมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นของประชาชนต่อหน้าต่อตา เสียงประกาศซ้ำแล้วซ้ำอีก แต่ไม่มีวี่แววว่าคนในเครื่องแบบที่ยืนหัวเราะอยู่จะเข้ามาจัดการอะไร

พวก อันธพาลการเมืองถืออภิสิทธิ์อะไรที่จะงดเว้นไม่ต้องรับโทษตามกฎหมาย บัตรกระทิงแดงกับผ้าพันคอ ทำให้คนอยู่เหนือกฎหมายเชียวหรือ?  พวกนี้ทำผิดมาตั้งนานแล้ว แม้แต่เห็นและจับได้คาหนังคาเขาว่าพวกนี้ขนอาวุธก็ยังปล่อย ผิดกับพวกเรา...ถูกมันรุมตีเมื่อตอนปิดโปสเตอร์แต่กลับโดนข้อหาทำความสกปรก จนได้  โอ้ ! นโยบายเลือกใช้กฎหมายหรือไง?

คิดแล้วแค้นใจ ขณะมันรื้อไปเผาไป ยังมีเสียงปืนประปราย มีระเบิดพลาสติกตกเข้ามาใน มธ. เพื่อนๆ เราเอาโต๊ะเก้าอี้จากตึกนิติฯ มาตั้งกำบังกระสุน ข้างหลังมีหน่วยรักษาความปลอดภัยจับมัดข้าวต้มเป็นแถวยาว เพื่อระวังมิให้ใครผ่านไปหน้าหอฯ ใหญ่ พวกเราได้แต่ชะเง้อมองดูเฉยๆ ขณะไฟลุกท่วมทรัพย์สินของประชาชนจนหมด

พวกมันยังไม่หายคลั่ง มันตรงเข้าพังรั้ว มธ.  ด้านใกล้พิพิธภัณฑ์จนพังออก 1 แถบ (1 ช่วงระหว่างเสาปูน)  เราประกาศดังๆ หนักๆ เพราะผู้พูดคงกำลังโกรธที่ทรัพย์สินของเราถูกทำลาย เผาหมด แต่ไม่มีการจับกุมเลย เหมือนเมื่อคราวพวกกระทิงแดงบุกปล้น มธ. เมื่อ 20  สิงหา 2518  มันเหยียบย่ำทำลายจิตใจและศักดิ์ศรีกันซึ่งๆ หน้า

สุดท้ายที่มันทำอย่างบ้าคลั่ง คือ พยายามเผาป้อมยามอีก ไฟลุกท่วมจนเห็นแต่ไกล แล้วก็กลับไปจับกลุ่มที่เดิม

ตลอด เวลากว่าชั่วโมงที่มันกระทำการทั้งหมดนี้ มีพวกมันอ้างและสมุดปกขาวออกโดยคณะปฏิรูปก็อ้างว่า  "ข้างใน มธ.ยิงประชาชนข้างนอกจนบาดเจ็บ"  มันจะเป็นไปได้ยังไง?  พวกมันจับกลุ่มกระทำการต่างๆ เหล่านี้ริมรั้ว มธ.นี่เอง พังรั้วได้,  เข้ามาเผาป้อมยามได้ ผมบอกแล้วว่ามีเสียงปืนประปรายแต่ก็พอที่ทำให้คนในสนามหมอบกันหมด ในขณะเดียวกับที่พวกอันธพาลยังคงทำต่อไปเฉยๆ ราวกับไม่มีอะไรเกิดขึ้น

ถ้า พวกใน มธ.ยิงล่ะก็ พวกมันต้องล้มคว่ำบาดเจ็บหรือตายแน่ เพราะระยะแค่นิดเดียว แต่กลับกลายเป็นว่าพวกเราต้องรีบทำที่กำบังกระสุน ในขณะที่พวกมันทำต่อไปเรื่อยๆ อีกอย่างหนึ่ง...ถ้ายิงจากข้างในพวกมันคงวิ่งหัวซุกหัวซุน เพราะรักตัวกลัวตาย คงจะมาทำการรื้อพัง ทำลายเผาเรียบไม่ได้หรอก เพราะไม่ใช่ทำครู่เดียวสักหน่อย การที่มันยังเฉยๆ ก็เพราะพวกมันยิงเองหรือไม่ก็อาจรู้เห็นเป็นใจกับผู้ยิง เรียกให้ชัดคือ ยิงคุ้มกันการทำลายทรัพย์สินประชาชน

ข้ออ้างที่ว่ายิงไปจากข้างใน ถ้าไม่แกล้งโง่ก็ต้องรู้ว่าโกหกชัดๆ

เสียงหัวเราะของมันเสียดแทงใจคนที่ชะเง้อมองดูอย่างบอกไม่ถูก

เวลา ประมาณ 04.00 น. ตำรวจมากกว่า 100-200 คน ทั้งหมวกดำ หมวดเบเร่ต์เขียว หมวกแก๊ปและหัวปิงปอง หน่วยปราบจลาจล พร้อมอาวุธครบมือมาถึง มธ. แล้ว ตำรวจล้อมทางเข้าออกมธ.ไว้หมด บ้างยืนเรียงแถว บ้างรวมกลุ่มกันอยู่ บ้างกระจัดกระจาย ทุกประตูมี ตร.ยืนอุดทางเข้าออกไว้ แต่ยังพอมีทางออกได้ทีละ 1-2 คน ส่วนคนเข้ามาใน มธ. นั้น ถ้ามิใช่เพื่อนๆ เราคงไม่กล้าเข้ามาแล้วล่ะ

ไม่นานนัก หลังจาก ตร.ล้อม เสียงปืนดังขึ้นอีก คราวนี้ดังเป็นชุดไม่ใช่ทีละนัดๆ อย่างเมื่อกลางดึก

ผมไม่เคยได้ยินเสียงอย่างนี้มาก่อนเลย นอกจากในหนังสงคราม อาวุธสงครามเท่านั้นที่ยิงในลักษณะนี้ มิใช่เสียงปืนพกแน่นอน

หลาย คนพอนึกได้ว่า ปืนตำรวจแน่ๆ ก็ตกใจ นึกไม่ถึงว่ารัฐจะใช้วิธีนี้กับเรา เสียงปืนดังจากสนามหลวงเป็นชุดๆ เป็นระยะๆ ส่วนทางท่าพระจันทร์ยังสงบอยู่

เรา จำเป็นต้องอภิปรายเน้นย้ำถึงจุดหมายการชุมนุมว่า พวกเรามีเจตนาบริสุทธิ์ที่จะคัดค้านถนอมกัน ขอให้ ตร.ทำการตามกฎหมาย จับฆาตกรฆ่าช่างไฟฟ้า 2 คนให้ได้ เสียงผู้อภิปรายย้ำว่า การชุมนุมของเราไม่ผิดกฎหมาย เพราะสงบ เปิดเผย ไม่มีอาวุธ

ผมจำได้ แม่นว่า ผู้พูดบนเวทีบอกแก่เราว่า กระทิงแดงเป็นผู้ใช้อาวุธสงคราม แต่ผมกับเพื่อนหลายคนเข้าใจดี แม้เขาจะพูดเน้นตรงนี้หลายครั้งก็ตาม

เสียง อาวุธสงครามยิงเป็นชุดๆ กระทิงแดงจะเอามาจากไหน ก็มีแต่ ตร. รู้เห็นเป็นใจกับพวกอันธพาล จึงให้อาวุธแก่พวกมัน หรือไม่ก็...ตร.ยิงเอง

ตำรวจ มาล้อมแล้ว มีคนไม่มากนักที่รู้ข้อนี้ บางคนเดินผ่านไปเห็น บางคนเข้าออกมาก็เห็น เพื่อนๆ ทุกคนที่พูดอยู่เวทีก็รู้ บางคนยังถามผมว่าเขามาทำไม?  ผมไม่ได้ตอบ เพราะกำลังนับร้อยยิงหนักขึ้น และแถว ตร.ปราบจลาจลหันหน้าเข้าหา มธ. มิใช่หันหน้าเข้าหาพวกอันธพาลที่ยืนอยู่สนามหลวง เท่านี้คงเป็นคำตอบแล้ว

ตำรวจ จะยิงเองหรือให้อาวุธใครยิงก็ตาม ความหมายก็เหมือนกับว่า กลไกของรัฐบาล ผู้พิทักษ์สันติราษฎร์กลายเป็นผู้พิฆาตประชาชนไปเสียแล้ว ยิ่งฟังยานเกราะคอยสั่งการยิ่งเจ็บใจ ตร.พวกนี้อยู่ใต้บังคับบัญชาของรัฐบาลหรือสถานีวิทยุทหารกันแน่

ถึง อย่างไร ผมก็เข้าใจดีว่า ไม่มีประโยชน์ที่จะโจมตี ตร. ในขณะนั้น แม้จะเป็นความจริงก็ตาม เพราะผู้ชุมนุมบางส่วนอาจตกใจ แม้ส่วนใหญ่คงแค้นใจที่รัฐบาลทำกับเราอย่างนี้ และพวกเขาไม่ตกใจก็จริง แต่เรายังหวังกันว่า อาจเจรจากับรัฐบาลให้สั่งยุติการฆ่าเยาวชนและเด็กมือเปล่าใน มธ.ได้  ซึ่งถึงวันนี้คุณก็ทราบแล้วว่า ผมเพ้อฝัน

ขณะนั้นเค้าความรุนแรงเห็น ได้ชัดเจนมาก เพื่อนกรรมการศูนย์ฯ เล่าว่า พวกเขาเริ่มหาวิธีระงับความรุนแรง พวกเราไม่กลัวพวกอันธพาลการเมือง แต่ถ้าพวกมันรวมหัวกับตำรวจมาเข่นฆ่าคนมือเปล่าใน มธ. ใครเล่าจะพิทักษ์ผู้ถูกทำร้าย ใครเล่าจะจัดการผู้ทำผิดกฎหมาย ในเมื่อผู้รักษากฎหมายลงมือเสียเอง

ศูนย์ฯ เร่งหาทางเจรจากับรัฐบาล ติดต่อขอเข้าชี้แจงความจริงต่อนายกฯ เสนีย์  และขอให้สั่ง ตร. อย่ามาทำร้ายประชาชน สำหรับใน มธ. เราได้แค่ควบคุมมิให้ผู้ชุมนุมแตกตื่นตกใจ พยายามทำให้สงบแต่เข้มแข็ง ต้องให้ประชาชนยืนหยัดเจตนาบริสุทธิ์ที่จะพิทักษ์สิทธิเสรีภาพ คัดค้านเผด็จการ ผู้ชุมนุมอยู่ทุกคนไม่เป็นปัญหาเลย เพราะเขาเหล่านี้ผ่านการกลั่นแกล้งก่อกวนด้วยความรุนแรงมาหลายครั้ง เขาเหล่านี้เข้มแข็งมาก

เรายังไม่พูดความจริงว่า ตร. โจมตี เพราะหากเจรจากับรัฐบาลได้ก็จะจัดการปัญหาได้ โดยที่สื่อมวลชนยังไงๆ ก็ย่อมทราบความจริงนอกมธ. อยู่แล้วว่า ตร. ทั้งนั้นที่ยิงเข้ามา

คุณ คงเห็นใจพวกเรานะว่า เราไม่ปรารถนาความรุนแรงเลย แม้แต่คำพูดเราก็ระวัง มิต้องคิดถึงการตอบโต้เลย เพราะเราไม่มีอะไรตอบโต้ เราปรารถนาสันติ ชุมนุมต่อไปโดยสงบตามที่กฎหมายอนุญาตอยู่แล้ว

บรรยากาศที่ตึงเครียด ช่วยหล่อหลอมจิตใจของเราให้ประสานแข็งแกร่งเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน จิตใจของเราหลอมรวมกันในเบ้าของความรักชาติ รักประชาธิปไตยและรักประชาชน ผมรู้สึกตึงเครียดอยู่บ้าง แต่ก็รู้สึกว่าบรรยากาศรักใคร่ต่อกันไม่มีคราวใดเหมือนขณะนั้นเลย แม้เราทั้ง 4-5 พันจะไม่เคยรู้จักกันมาก่อนเลยก็ตาม

เรายังชุมนุม อภิปรายกันต่อไป เราอภิปรายกันถึงการกลั่นแล้งและความรุนแรงที่เราได้รับเสมอมานับแต่หลัง 14 ตุลา 2516  ทั้งสาดโคลน ป้ายสี ทั้งยิง ปาระเบิด ทั้งเป็นรายบุคคลและฆ่าหมู่ ด้วยกลไกทุกอย่างที่พวกกระหายอำนาจมีอยู่ ที่ชุมนุมทุกคนเงียบกริบ คงมีแต่เสียงจากเวทีที่ซ้ำๆ เป็นห้วงๆ ราวกับจะเรียกความทรงจำของทุกคนกลับมา ทุกคนยังหมอบฟังเสียงกระสุนที่สาดเข้ามาเป็นระยะ, หมอบฟังเสียงอภิปราย,  คิด,  รู้สึกและเจ็บปวด ไม่มีคนตกใจ ทุกคนอัดอั้นความแค้นใจไว้เต็มอก แค้นจนบางคนซบหน้าลงกับพื้นหญ้า แล้วทุบ ทุบให้แผ่นดินตรงนั้นได้รับรู้ความเจ็บปวด

"เราจะสู้ไหม สู้ไหม"

"สู้ สู้ สู้"

เสียง ขานรับที่ผมจำได้แม่นยำดังขึ้นทุกครั้งที่เสียงถาม เสียงถามจะดังขึ้นทุกครั้งที่เสียงกระสุนเว้นระยะ ยิ่งยิงเข้ามามาก เสียงตอบขานรับยิ่งหนักแน่นและดังขึ้น ไม่มีใครหลับลงได้ ทุกคนตื่นมาขานคำตอบ "สู้"  ดังสนั่น เสียงดนตรีที่กระแทกกระทั้นอย่างรุนแรงขึ้นด้วยความแค้นใจ เสียงดนตรีปลุกเร้าให้คนตื่น เราตื่นขึ้นแล้ว แม้จะเจ็บปวดสุดแค้นใจ แต่เราตื่นขึ้นสู้แล้ว จิตใจต่อสู้เหมือนไฟสุมในดวงใจของทุกคน

เรา ไม่มีอาวุธ เรามีแต่มือเปล่าและไมโครโฟน เราไม่ใช่จะสู้กับตำรวจคนนั้นคนนี้ แต่เราขอสู้กับเผด็จการทรราชไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม เราจึงสู้ต่อไปด้วยเสียงขานรับ และจิตใจของผู้ชุมนุมทุกคน

ทุกคนร้องเพลง ข้างนอกก็ยิงปืน เสียงทั้งสองดังควบคู่กันไปจนถึงตี 5 ครึ่ง

05.30 น. เวลาที่ทุกคนไม่มีวันลืม เสียงดังวี้ด...ผมมองหน้าเพื่อนอย่างตกใจ แต่ไม่ทันพูดก็เกิดระเบิด เสียงบึมดังสนั่นจนหูผมอื้อไปชั่วครู่ พื้นสั่นสะเทือนไปหมด ตอนนั้นฟ้าเพิ่งจะสาง หมอกจางๆ กับควันระเบิดทำให้ผมไม่เห็นที่เกิดเหตุอยู่ชั่วครู่

ระเบิดลงเกือบ กลางสนามค่อนมาทางตึกโดม พอควันจางลงผมเห็นผู้หญิงคนหนึ่งนอนเลือดท่วม เพื่อนที่อยู่ใกล้ๆ ที่เกิดเหตุเล่าว่าคนตายและบาดเจ็บเพราะระเบิดลูกนี้มาก เพราะลงมากลางหมู่คนพอดี เสื้อผ้าหลายคนขาด เศษเนื้อหลุดจากร่างก็มี ผมเห็นเพื่อนๆ กำลังเร่งพาคนเจ็บส่งหน่วยพยาบาลเป็นแถวๆ จำนวนมากมาย มีผู้เล่าว่า มันมากเหลือเกิน ใกล้เคียงกับระเบิดเมื่อ 21 มีนา ซึ่งครั้งนั้นตาย 4 คน บาดเจ็บถึง 70-80 คน  คนที่เข้าไปช่วยพยุงบางคนร้องไห้ตลอดเวลา บางคนเข้มแข็งพอที่จะช่วยพยุงคนอื่น ทั้งๆ ที่ตนเองก็ได้รับบาดเจ็บ

ที่ หน่วยพยาบาล นศ.แพทย์ พยาบาล คร่ำเคร่งวุ่นวายกันใหญ่ เขารับผู้ป่วยไว้มากมาย แต่เครื่องมือที่มีอยู่จำกัดและมิได้เตรียมไว้สำหรับสถานการณ์ถูกฆ่าอย่าง นี้ แต่ทุกคนพยายามทำอย่างดีที่สุด

ผมจำได้ถนัดว่า มีคนวิ่งมาบอกที่เวทีให้ประกาศว่า ต้องการเลือด แต่เพื่อนหมอมหิดลยับยั้งไว้เพราะว่าคนจะตกใจเปล่าๆ หน่วยพยาบาลไม่มีอุปกรณ์ถ่ายเลือด ประกาศไปก็ไร้ประโยชน์ คนเจ็บต้องการโรงพยาบาลด่วน เขายังมีโอกาสมีชีวิตอยู่ ถ้าได้รับการช่วยเหลือด่วน...

เสียงประกาศเรียกรถไปช่วยรับคนเจ็บซ้ำ หลายครั้ง รถก็ยังไม่พอ  ราวกับจะร้องไห้  เมื่อต้องการพูดว่าระเบิดลูกนี้ทำให้เพื่อนเราตายทันที 3-4 คนและอาการสาหัสอีกหลายคน ผมเห็นคนร้องไห้ให้กับอาชญากรรมเมื่อกี้นี้  เราไม่ได้ทำอะไรผิดเลย ทำไมต้องฆ่าเราอย่างทารุณ เพื่อนหญิงคนหนึ่งคุกเข่าลงร้องไห้ทันทีที่เสียงแตรรถลำเลียงคนเจ็บดังลั่น แล้วรถผ่านหน้าเธอไปด้วยความเร็วที่สุด ยังมีคนเจ็บเล็กๆ น้อยๆ อีกหลายคนที่ยังอดทนยืนหยัดใน มธ.ต่อไป

หลังจากระเบิดลง เสียงปืนเงียบสงบไปราว 10 นาที เราอาศัยโอกาสนั้นค่อยๆ ทยอยผู้คนเข้าตามตึกต่างๆ ให้หมด ผู้ชุมนุมต่างแยกย้ายเป็น 2 ข้างเข้าตึกวารสารฯ และตึกบัญชี หลังจากนั้นมันก็ระดมยิงเข้ามาอีกอย่างหนักยิ่งกว่าเดิม คราวนี้ไม่มีเว้นช่วงหยุดยิงอีกเลย เสียงอาวุธร้ายยิงเข้ามาเป็นชุดๆ ไม่มีเว้น และเสียงดังอึงคะนึงไปหมด ไม่ใช่ปืนแค่ 2-3 กระบอกอย่างแน่นอน

ความ รุนแรงของอาวุธถึงกับทำให้กำแพงกระจุยกระจาย เศษอิฐ หิน ปูน ฟุ้งและร่วงกราวตามพื้น ตึกบัญชีถูกระดมยิงทั้งจากทางประตูหอฯ เล็ก และที่ร้ายกาจมากคือ มีการยิงจากตึกสูงข้างกำแพงทึบระหว่าง มธ. กับพิพิธภัณฑ์ (ตึกนั้นอยู่ในเขตพิพิธภัณฑ์)  ยิงผ่านช่องกว้างระหว่างหอฯ ใหญ่กับตึกนิติฯ เข้ามา สาดเต็มตึกบัญชี

เพื่อนที่ตึกบัญชีคาดไม่ถึง ว่าพิพิธภัณฑ์จะถูกใช้เป็นแหล่งกำลังด้วย หลายคนบาดเจ็บและที่เหลือต้องรีบเอาโต๊ะเก้าอี้มาตั้งกำบังกระสุน กระสุนจากตึกพิพิธภัณฑ์นี้เองที่ทำร้ายพวกเรามากมายในวันนั้น

ยังมี ระเบิดเป็นช่วงๆ คราวนี้ไม่ใช่ระเบิดขวดอีกต่อไป อาวุธหนัก ปืนกล ระเบิดสังหาร ขนมาเข่นฆ่าเยาวชนมือเปล่าอย่างหนัก แต่ละครั้งพื้นสั่นสะเทือน ควันคละคลุ้ง คนเจ็บจากหน้าหอฯ ใหญ่ยังถูกลำเลียงมาอย่างทุลักทุเลไม่ขาด ภาพความสยดสยองผ่านตาผู้ชุมนุมไม่ขาดระยะ

ยิ่งกว่าสงคราม เพราะที่นี่ฆ่าหมู่ฝ่ายเดียว ฝ่ายหนึ่งหมอบรอกระสุน อีกฝ่ายยิงไปสูบบุหรี่ไปอย่างเลือดเย็น

ผมเห็นภาพของตำรวจหลังออกจากคุก ท่ายิงอย่างสบายใจทั้งนั้น บางคนแบกปืนยิงรถถังทั้งๆ ที่ใน มธ. ไม่มีรถถังสักคัน

หรือเขาอาจจะคิดว่า มีรถถังใต้หอฯ ใหญ่ มีเรือดำน้ำอยู่บนแท็งก์และในอุโมงค์ มีขีปนาวุธที่ยอดโดม !

เรายังพูดประกาศย้ำจุดประสงค์การชุมนุมของเรา ผู้พูดพยายามบอก ตร.ว่า เราทำตามกฎหมายทุกอย่าง ขอให้ ตร.หยุดยิง

แต่ไม่มีประโยชน์...

ประมาณ 06.00 น. กระสุนสาดมาหนักเกินกว่าโต๊ะเก้าอี้จะกำบังได้ หลายคนพยายามหาทางเข้าไปในตึกเพื่อหลบในห้องเรียน

หน้า หอฯ ใหญ่ เสียงปืนดังมาเกือบชั่วโมงแล้ว คงจะสุดทนทานได้ มีคนเล่าว่า พวกอันธพาลภายใต้การระดมยิงคุ้มกันโดย ตร. เข้ามาพังประตูด้านหอฯ ใหญ่ได้ตั้งแต่ตอนนี้แล้ว ครู่ต่อมาพวกอันธพาลจำนวนหนึ่งจึงกรูกันเข้ามาตั้งหลักหน้าหอฯ ใหญ่ แต่ส่วนใหญ่ยังอยู่ข้างนอก

ประตูด้านอื่นถูกปิดตาย แม้จะเจรจากับตำรวจขอออกนอกมธ. ตร. ไม่ยอม ปล่อยให้ถูกยิงต่อไป

ขณะ ผมเห็นพวกอันธพาลเริ่มเข้ามาถึงหน้าหอฯ ใหญ่ได้ ผมตกใจว่าเพื่อนๆ ที่ทยอยคนถอยเข้ามานั้น ยังมีบางคนไม่ยอมถอย ป่านนี้เขาคงไม่เหลือสักคนเดียว

ข้อกล่าวหาที่ว่า ใน มธ. ยิงออกไป คุณลองคิดดูว่า  มธ. มีกำแพงกำบังมีที่ตั้งกำบังแน่นหนา หอฯ ใหญ่อยู่ระดับสูงกว่าสนามหลวง ที่สนามหลวงซึ่งพวกอันธพาลและ ตร.อยู่ มีแต่ต้นมะขามเท่านั้นที่กำบังกระสุนได้ ถ้า นศ. มีอาวุธ เอ็ม. 16 หรือระเบิดจริงล่ะก็ คงทำให้ ตร.ตายนับสิบ แต่ความจริงคือพวกเราตายเป็นร้อย ในขณะที่ตร.ตายแค่ 2 ซึ่งไม่ทราบว่าถูกอะไรตาย ความรู้แค่คนเคยเรียน รด. อย่างผมก็รู้ได้ในเรื่องง่ายๆ อย่างนี้ ซ้ำรอง อตร.แถลงเมื่อ 8 ตุลา 19 เอง ยอมรับว่า ตร.เข้าตรวจค้น ไม่รู้ นศ.เอาอาวุธไปซ่อนไว้ไหน แต่พอทหารเข้าค้นพบอาวุธมากมายแม้แต่พุ่มไม้ข้างตึก

ถ้า ตร.ไทยไม่โง่ ก็แสดงว่าอาวุธที่พบถูกนำเข้าไปหลังจาก ตร.ค้น

พูดขัดกันเองไปๆ มาๆ โกหกอย่างไร้เหตุผล

ความ จริงคือ พวกเราไม่มีอาวุธ เพื่อนที่หน้าหอฯ ใหญ่คงเฝ้าอยู่ตรงนั้น ไม่มีใครถอยหนี เขาตอบโต้อะไรไม่ได้เลย เพียงแค่ทำให้ ตร.รู้ว่าตรงนั้นมีคนอยู่จะได้ไม่กล้าบุกเข้ามา เพื่อถ่วงเวลาให้แก่เพื่อนๆ ข้างในที่กำลังหาทางออก ทุกคนคงจะคิดรู้อนาคตว่าจะต้องเสียสละชีวิตแน่นอน และเขาก็ถูกยิงทีละคนๆ จริงๆ

ผมได้ดูภาพพวกเขาไม่กี่วันมานี้เอง นอนตายตรงโคนต้นไม้หน้าหอฯ ใหญ่ บางศพตายังไม่หลับ คล้ายจะจ้องดูมันอย่างเอาเลือดเนื้อ บางศพก็สงบคล้ายจะภูมิใจว่าได้อุทิศตนเพื่อประชาชนที่เขารักแล้ว

ยัง ไม่จบหรอก แต่ฉบับนี้ยาวมากพอแล้ว ผมจะเขียนมาเล่าต่อให้จบเร็วๆ นี้ ผมทราบว่าคุณคงอยากจะได้อ่านเร็วๆ ที่สุด ผมจะทำตามที่คุณปรารถนา และคงต้องพยายามรวบรัดให้จบเหตุการณ์ในฉบับหน้านี้ ฝากความคิดถึง...., ....., ..... กับ ..... ด้วยนะ บอกเขาด้วยว่าจะเขียนจม.ไปคุยด้วย แต่สำหรับ..... ผมไม่มีที่อยู่ของเขา ถ้ายังไงขอความกรุณาคุณช่วยเขียนบอกมาด้วยนะครับ

รัก

ชวลิต


 

จดหมายจากชวลิต  วินิจจะกูล  ฉบับที่ 2


ที่บ้าน
....ตุลาคม 2520
....ที่รัก


ผ่านพ้น 6 ตุลา มาไม่กี่วัน ผมอยากไปทำบุญเมื่อเช้าวันนั้นด้วย แต่แม่ผมขอร้องว่าอย่าเพิ่งเลย อยู่ที่บ้านดีกว่า ผมไม่อยากขัดใจแม่ แม่ห้ามด้วยความห่วงใยผมมาก ผมออกไปคุยกับ...ที่บ้านเขาแทน นึกอยากจะไปนั่งดูความหลังในมธ. แต่ก็เกรงว่าแม่จะห่วงไม่ต่างกับการไปทำบุญที่สนามหลวง ผมเลยตัดใจไม่เข้าไปในมธ.

แม้วันที่ 6 ผ่านไปอย่างเงียบๆ ภายใต้ภาวะการเมืองอย่างทุกวันนี้ แต่ใจผมไม่เงียบด้วยหรอก ใจผมยังร่ำร้องที่จะหาทางตอบแทนโทษกรรมของผู้ทำผิดในวันนั้นให้ได้ และตอบแทนความอดทนยืนหยัดของเพื่อนๆ ในคุกให้ได้ด้วย ผมขอให้วันนั้นมาถึงเร็วๆ เถอะ

ฉบับก่อน ผมเล่าถึงประมาณ 6.00 น. เช้าวันที่ 6 ตุลา ผมจะเล่าต่อเลยนะครับ...จะพยายามให้จบ

6.00 น. เศษ สุธรรมขึ้นเวทีครั้งสุดท้าย ให้กำลังใจแก่ผู้ชุมนุมและจะไปพบนายกฯ เสนีย์ เจรจาขอให้หยุดยิง ขณะพูดอยู่ สุธรรมเกือบถูกกระสุนจึงต้องหมอบราบกับเวที พูดต่อจนจบแล้วออกไปจากมธ.

ตร. พาตัวสุธรรมกับเพื่อนๆ ไป แต่ยังไม่ยอมให้ใครออกอีกเลยแม้แต่ผู้บาดเจ็บ

ระเบิดสงครามลงใกล้หอฯ ใหญ่ เข้ามาบริเวณสนามบอล ควันดำโขมง เห็นเพื่อน 2 คนล้มกลิ้งม้วนออกมาจากกลุ่มควันแล้วแน่นิ่งไป

ประมาณ 6.30 น. พวกเราพยายามเจรจาขอออกนอกมธ. ทางประตูท่าพระจันทร์ แต่ ตร.ไม่ยอม

มี คนพยายามหาทางออกทางน้ำหลายร้อยคน แต่ ตร.กลุ่มหนึ่งวิ่งมาบนท่าเรือแล้วยิงขู่ลงน้ำ ต่อมามี ตร.น้ำแล่นเรือมากลางแม่น้ำแล้วยิงเข้าใส่ มธ. ทั้งยังแล่นไล่จับคนที่ลอยคออยู่ในน้ำด้วย

ขณะนั้นในแม่น้ำไม่มีเรือ อื่นเลย เพราะตั้งแต่เช้ามีคนพยายามหนีโดยขอความช่วยเหลือจากชาวเรือแถบนั้น ตร.น้ำแล่นมาพบจึงประกาศห้ามเรือทุกลำในบริเวณนั้นช่วยเหลือพวกเราอย่างเด็ด ขาด ซ้ำยังไล่เรือทุกลำออกจากบริเวณทั้งหมด

รถพยาบาล 5-6 คันที่ลำเลียงคนเจ็บตั้งแต่ถูกระเบิดเมื่อ  05.30 น. ยังออกจากมธ.ไม่ได้  คนที่ทราบต่างรู้สึกเจ็บใจเหลือเกิน  ผมโกรธอย่างบอกไม่ถูก เราขอร้องให้ตร.ยอมให้เราพาคนเจ็บส่งโรงพยาบาล  ขอร้องจนกลายเป้นอ้อนวอนเพื่อเห็นแก่ชีวิต

เสียงอ้อนวอนไม่ทำให้ความบ้าคลั่งลงลง  ตร.ไม่ยอม

ผม ทราบภายหลังว่า รถพยาบาลตั้งแต่ 05.30 น. ออกไปได้บ้างไม่กี่คัน  แล้วมีคำสั่งห้ามมาจากเบื้องบน  ยิ่งนาน คนบาดเจ็บยิ่งมาก  ที่สาหัสต้องนำส่งโรงพยาบาลมากจนรถไม่พอ  ต้องประกาศขอรถของใครก็ได้ไปช่วยลำเลียงผู้บาดเจ็บโดยด่วน

ถึงแม้จะมาสักกี่คน แต่ก็ถูกสั่งให้จอดรอจนคนตายอยู่ที่ท่าพระจันทร์

ใน รถเลือดเปรอะเต็มไปหมด หมอ พยาบาลจำเป็นจากมหิดลได้ฝึกงานครั้งสำคัญในชีวิตกับคนเจ็บที่ไม่มีอุปกรณ์ ช่วยเหลือเลย ยิ่งนานยิ่งทำให้เพื่อนหมอและพยาบาลกระวนกระวาย ทุกข์ใจหนักขึ้นทุกที

พยาบาลบางคนนั่งร้องไห้ เขารอแล้วรออีกเพื่อจะพาคนเจ็บไปโรงพยาบาล ไม่ใช่รอให้คนตาย  แต่มนุษยธรรมไม่มีในใจ ตร.ใหญ่โตที่ท่าพระจันทร์เลยสักคน หมอและพยาบาลของเรา ได้รับการอบรมให้มีมนุษยธรรม เห็นใจคนทุกข์ยาก เขามีจรรยาบรรณที่จะต้องช่วยชีวิตคน  ทุ่มเทตนเองให้แก่คนไข้ ถ้าช่วยไม่ได้หมอทุกคนคงจะเป็นทุกข์อย่างมาก

ที่นี่...นศ.แพทย์ พยาบาล เริ่มต้นอาชีพในอนาคตด้วยการนั่งมองคนตายลงทีละคน

คน เหล่านี้จะไม่ตายเพิ่มสักคนเดียว ถ้าได้ไปโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด ไม่ยากเลยที่จะรักษาชีวิตของคนเหล่านี้ไว้ แต่ใจของพวกกระหายเลือด พวกมันฆ่าคนอย่างเลือดเย็นที่สุด

เลือดเย็นที่สุด

ระเบิดลูกนี้ฆ่าคนทันที 3-4 คน และตายในรถอีก 3-4 คน ทั้งๆ ที่ชีวิตของเขามีค่าสำหรับประชาชนมาก

เวที ว่างเปล่า เพราะต้องหลบกระสุนลงไปข้างหน้า แต่ยังคงพูดแข่งกับเสียงกระสุนอยู่ เราอภิปรายกันทิ้งท้ายว่า ขอให้ทุกคนจดจำวันนี้ไว้ พวกเราไม่ต้องการเผด็จการ เราสืบทอดเจตนาวีรชน 14 ตุลา แต่กลับถูกปราบปราม

ตลอดจากนั้นตั้งแต่ 6.30 น.เศษ จนถึง 8.00 น. ที่เสียงจากเวทีเงียบหายไป ทุกคนจะได้ยินคำพูดเพียงข้อความเดียวเหมือนๆ กันหมด ผมจำได้ขึ้นใจ เพราะพูดนับสิบนับร้อยครั้งว่า

"พี่ๆ ตำรวจครับ กรุณาหยุดยิงพวกเราเถิดครับ เราชุมนุมอย่างสงบสันติ เราไม่มีอาวุธ ตัวแทนของเรากำลังเจรจากับรัฐบาลอยู่ อย่าให้เสียเลือดเนื้อมากกว่านี้เลย ขอความกรุณาหยุดยิงเถิดครับ"

ประมาณ 7.00 น. อันธพาลและ ตร. หลายสิบคนขึ้นรถผ่านประตูเข้ามา วิ่งกรูลงมาจากรถทั้งในและนอกเครื่องแบบ คราวนี้เอาอาวุธหนักเช่นปืนกล มาตั้งอยู่หน้าหอฯ ใหญ่ ระดมยิงเข้ามา

พวกที่หลบอยู่ตึกบัญชีถูกระดม ยิงใส่จนทนไม่ไหว พยายามหาทางขึ้นบนตึก อาศัยกำแพงตึกเป็นที่กำบัง บ้างก็พยายามหลบเข้าห้องต่างๆ ที่ชั้นล่างซึ่งมีน้อยไป

ประตูทุกห้อง แม้แต่ชั้นล่างปิดสนิท ต้องเสี่ยงกระโดดเข้ากระแทกบานประตู หรือไม่ก็ต้องทุบกระจกแล้วโดดเข้าไป กระสุนเข้าร่างบางคนที่กำลังพยายามเปิดประตู เขาวิ่งชนจวนจะสำเร็จอยู่แล้ว แต่ไม่ทัน... ! เขาถูกยิงตายตรงนั้น เขากล้าหาญ เอาชีวิตของตนเข้าแลกเพื่อความปลอดภัยของเพื่อนๆ

มีคนพุ่งเข้าชนกระ ทั่งประตูพัง คนที่เหลือรีบวิ่งหลบกระสุนเข้าไป  ยังมีอีกหลายร้อยคนวิ่งหลบกระสุนขึ้นไปหลบในห้องต่างๆ ทั้ง 4 ชั้น คนเต็มไปหมด ได้แต่หมอบ อุดหู และรอรับกระสุนที่ระดมยิงเข้ามา

ถาม เพื่อนๆ ที่อยู่ตึกบัญชี ไม่มีสักคนที่คิดว่าจะรอดมาได้ เห็นคนถูกยิงหลายคน คนบนตึกที่ถูกยิงส่วนใหญ่แค่บาดเจ็บไม่ถึงตาย ไม่มีใครพูดอะไรกัน ได้แต่มองและคิด คิดถึงหนทางที่ก้าวเดินมา และถูกพิสูจน์แล้วอย่างชัดเจน คิดถึงชีวิต คิดถึงเพื่อน ทุกคนทั้งแค้นระคนเสียใจ บางคนตื่นตกใจด้วย เพราะชั่วชีวิตไม่เคยพบสงครามเช่นนั้นมาก่อนเลย หนุ่มสาวหลายคนร้องไห้อย่างไม่มีอาย ในภาวะเช่นนั้นผมไม่แปลกใจเลย

ร้องไปเถิด ร้องให้ดังๆ ถ้ามันจะแข่งกับเสียงปืน ให้คนข้างนอกได้ยินและรู้ว่าเราถูกยิง เราถูกฆ่าข้างเดียว

ล่วง ถึง 7.00 น. เศษ ประยูร อัครบวร เจรจากับ พ.ต.อ.ประยูร  โกมารกุล ณ นคร ขอให้ผู้หญิงและเด็กออกจากมธ. พ.ต.อ.ประยูรไม่ยอมแต่วิทยุไปสอบถามผู้ใหญ่ ทั้งๆ ที่ตนเป็นถึงรองผู้การนครบาลเหนือก็ตาม

ผู้คนพยายามหาทางออกใน ขณะนั้น จนในที่สุด ตร.กั้นไม่ไหว ผู้คนกระจายออกทางประตูท่าพระจันทร์นั่นเอง  ซึ่งพอดียังไม่มีการยิงอย่างหนักนัก (ก่อนหน้าการเจรจามีการยิงเข้าไปเพื่อมิให้ใครออกได้ กระทั่งขอเจรจาจึงหยุดยิง)  ผู้หญิงและเด็กถูกส่งออกไปเรื่อยๆ โดยไม่ฟังเสียงตำรวจอีกแล้ว  จนตำรวจมีคำสั่งให้กระจายกันกวาดจับมาให้หมด จับมานอนคว่ำหน้าอยู่ที่พื้นถนนมหาราช ข้างวัดมหาธาตุ คนไหนเดินเลียบน้ำไปขึ้นฝั่งที่ท่าเรือ จะถูกตชด.คอยดักจับไปรวมกันที่วัดมหาธาตุเช่นกัน

7.30 น. โดยประมาณหรืออาจถึงเกือบ 8 น. เวลาที่ไม่แน่นอน เพราะจำไม่ได้หนึ่ง และเพราะวันนั้นไม่ค่อยมีใครดูเวลา บางคนพยายามวัดความรู้สึกว่านานเท่าไรก็ตอบไม่ได้ เพราะทุกคนรู้สึกเวลามันนานแสนนานเกินกว่าเป็นจริง

ตร.ทยอยเข้ามา ข้างสนามบอลหน้าตึกนิติฯ แรกๆ ก็หมอบๆ คลานๆ เข้ามาอย่างช้ามาก หยุดสาดกระสุนใส่อมธ., วารสารฯ  และบัญชีเป็นพักๆ เพื่อนๆ ที่อมธ. และสภา นศ.มธ. หลายคนที่มีหน้าที่ดูแลตึก เห็นไม่ไหวจึงเพิ่งถอยหนี ตร.คลานเข้ามาได้แค่ไม่กี่เมตร คงรู้ว่าไม่มีใครยิงตอบโต้ จึงเปลี่ยนเป็นลุกขึ้นนั่งยิงเป็นชุดๆ แล้วลุกเดินสัก 3-4 ก้าว แล้วนั่งลงยิงอีก ผมยังเห็น ตร. พวกนี้ทยอยเข้ามาเป็นแถวๆ เพื่อน ส.ส. ปี 1 มธ. คนหนึ่งถูกยิงใกล้ตาบาดเจ็บสาหัส เพื่อนๆ ต้องรีบพาหลบออกทางหลังตึก เพราะ ตร.คอยดักยิงหากวิ่งผ่านด้านหน้า

ตร.คนหนึ่งปาระเบิดใส่หน้า ตึกอมธ. ทำให้ได้รับบาดเจ็บหลายคน รวมทั้งส.ส.ปี 1 มธ. อีกคนเป็นหญิงถูกสะเก็ดระเบิดเต็มร่าง อาการสาหัส ได้ข่าวว่าเธอทุกข์ทรมานอยู่นาน แต่ด้วยใจที่เข้มแข็งอดทน เธอต่อสู้ความเจ็บปวด ให้หมอเอาสะเก็ดออกทีละชิ้นจนหมดร่างและปลอดภัย

ตร. ยังคงเดินเข้ามาช้าๆ ทีละนิดแล้วนั่งยิง ไม่มีทีท่าว่าหลบกระสุนจากนศ.เลย เพราะ นศ.ไม่ได้ยิง ตึกบัญชียังคงเป็นเป้าใหญ่ที่ถูกระดมยิง  อีกด้านหนึ่ง ผู้คนอาจถึงพันคนยังหาทางออกจากตึกวารสารฯ ไปสู่ที่ปลอดภัยไม่ได้สักที แต่ ตร.คงยังไม่กล้าพอจึงหยุดแค่ตึกนิติฯ ไม่กล้าเข้ามาเกินกว่านั้น

เวที ถูกระดมยิงด้วยปืนกลและระเบิดใกล้ๆ แต่ไม่มีใครอยู่แล้ว เสียงพูดยังดังจากตึกโดมหลังเวที ยังพูดอยู่อย่างเดิม ขอร้องให้ตำรวจหยุดยิงครั้งแล้วครั้งเล่า เพราะเราไม่มีอาวุธ

ใครเล่าจะเห็นใจ พวกกระหายอำนาจที่ฆ่าคนอย่างเลือดเย็นเพื่อตัวเองได้เป็นใหญ่น่ะหรือจะเห็นใจ

8.00 น. คนที่อยู่ตึกวารสารฯ พยายามพังกำแพงตึกด้านข้างริมถนนต่อตึกโดมเพื่อหาทางออก เพราะด้านหน้ามีกระสุนผ่านตลอดเวลาจนผ่านไม่ได้ ด้านข้างเป็นกำแพงปูนแต่มีช่องเป็นไม้แข็งทำเป็นซี่ๆ ไว้ พวกเราใช้โต๊ะเก้าอี้ฟาดจนไม้หักทีละซี่ จนเป็นช่องกว้างพอลอดตัวมุดผ่านได้

ตึก โดมตรงข้ามกับตึกวารสารฯ เป็นประตูเหล็ก (ซิป) ล็อกกุญแจอยู่ พวกเราใช้โต๊ะเก้าอี้ฟาดกุญแจจนพัง แต่ยังเปิดไม่ได้ จึงใช้ท่อนไม้ท่อนเหล็กท่อน้ำทำเป็นชะแลงงัดจนประตูง้างเปิดออกเป็น ช่องกว้างพอคนลอดได้สบาย ดูเหลือเชื่อแต่ก็จริงไปแล้ว ต้องใช้เวลาตั้งแต่ 7.00 น.เศษ กระทั่ง 8.00 น. นี่เองจึงพอหาทางออกได้ และเป็นทางเดียวที่ผู้คนจากตึกวารสารฯ หลายร้อยคนและตึกอื่นๆ อีกหลายร้อย ได้ทยอยออกทางริมน้ำไปทางท่าพระจันทร์อีกที

ทางออกเปิดแล้ว ผู้คนวิ่งเข้าตึกโดมออก ทางหน้าต่าง ผ่านสนามหญ้าหน้าโดม แล้วลงน้ำ...

ไม่ นานนัก มีกระสุนปืนจากพิพิธภัณฑ์หลังตึกเอ.ที. ยิงใส่ตรงถนนระหว่างตึกวารสารฯ กับตึกโดมซึ่งเป็นทางผ่าน หลายคนตกใจคิดว่าหมดทางแล้ว แต่ความจริงยังไม่ถูกระดมยิงหนักนัก และมีรถโฟล์กตู้อยู่ใกล้ๆ ชายหลายคนวิ่งเข้าหารถแล้วเข็นมากำบังกระสุน หยุดตรงกลางถนนพอดี ให้คนที่ออกจากตึกวารสารฯ  วิ่งมาที่รถแล้วค่อยวิ่งเข้าตึกโดมออกมาทีละ 1-2 คน แม้จะช้า แต่เพื่อความปลอดภัยของทุกคน

ตำรวจเดินมาถึงหน้าอมธ. แล้วกราดกระสุนใส่อมธ.

จาก นั้น ตร. 2-3 คนกำลังจะวิ่งขึ้นไปบนตึก จารุพงษ์ ทองสินธุ์ กรรมการอมธ. และเป็นกรรมการบริหารศูนย์ฯ วิ่งสวนลงมา ชั่วพริบตาเดียวกระสุนกราดตัดเอวของเขาพอดี

คุณเคยเห็นภาพคนใส่เสื้อ (ชาวเล)  สีดำ ถูกอันธพาลใช้ผ้าขาวม้ารัดคอแล้วลากผ่านกลางสนามไหม นั่นละ จารุพงษ์ ทองสินธุ์ เพื่อนที่ดีอีกคนหนึ่ง เขาเป็นคนร่าเริง ไม่ค่อยท้อแท้ ชอบพูดจาตลก

วันนั้นเขารับผิดชอบดูแลให้ทุกชีวิตออกจากตึกอมธ.ให้หมด กับคอยรับการติดต่อกลับมาจากทำเนียบของสุธรรมกับพวกที่ไปหานายกฯ เขาคอยอยู่และตรวจตราจนแน่ใจว่าไม่มีใครอีกแล้ว เขารอโทรศัพท์จนวินาทีสุดท้ายจึงรีบออกมา แต่เขาช้าเกินไป เขารับผิดชอบอย่างดีที่สุดแล้ว

เสียงคนพูดเงียบลงหลัง 8.00 น.

คน ที่ตึกบัญชียังถูกระดมยิงจนหูอื้อ อยู่ข้างบนตึกไม่ปลอดภัย ยังมีคนบาดเจ็บอยู่เรื่อย และคงมีคนเสียชีวิตด้วย คนที่ตึกนี้ทยอยออกทางใด ก็ไม่ได้ เพราะถูกยิงสาดไล่จนแทบกระดิกไม่ได้

ผมจะเล่าถึงเพื่อนที่ออกจากมธ.ได้เสียก่อน

คน ที่เดินเลียบริมน้ำมีนับร้อยๆ คน ส่วนใหญ่ไม่ได้มีทีท่าตกใจนัก ค่อยๆ ทยอยกันออกมา แรกๆ ยังขึ้นฝั่งที่ประตูริมน้ำตึกศิลปศาสตร์เพื่อออกทางประตูท่าพระจันทร์ บางคนวิ่งมาบนสนามหญ้าเลย แต่ต่อมาตร.ใช้ปืนยิงระเบิดยิงมาตกที่สนามหญ้าหน้าโดมหลายลูก บังคับให้คนต้องลงเดินในน้ำหมด มีผู้ได้รับบาดเจ็บที่นี่อีกหลายคน

กลุ่ม สุดท้ายราว 20 คน จะวิ่งออกท่าพระจันทร์ ตร.กลับปิดประตูไม่ให้ออกและยิงใส่ทันที คนกลุ่มนี้ต้องวิ่งกลับมาที่ประตูริมน้ำหาทางออกอื่น พอกำลังจะลงน้ำ ตชด.โผล่บนท่าเรือแล้วสาดกระสุนใส่ ทั้งขู่ทั้งยิงจริง ต้องขอเจรจากันครู่หนึ่ง โดยยอมให้ตชด.จับไม่ขัดขืน

ผมออกจากมธ. กลุ่มนี้แหละครับ

ขึ้น จากน้ำที่ท่าเรือ ยังไม่ถูกจับทันทีเพราะชุลมุนอยู่ พวกเราจึงวิ่งผ่านซอยริมน้ำไปถึงศูนย์พระเครื่อง พบพวกเราอีกนับร้อยคนที่ยังไม่ถูกจับ แต่ไปไหนไม่ได้

ผมได้พักที่นี่ ชั่วครู่ ทำให้คิดถึงเพื่อนที่ตึกบัญชีนับพันๆ ซึ่งหาทางออกไม่ได้ และผมต้องทิ้งเขาออกมาก่อน ผมร้องไห้ไม่อายใครเพราะกำลังรู้สึกว่าเราทอดทิ้งเพื่อนให้ตกอยู่ท่าม กลางกระสุน ไม่มีทางช่วยเขาได้เลย

จากนั้น พวกเราเริ่ม  "เคาะประตู"  ขอความช่วยเหลือ  ประชาชนร้านค้าท่าพระจันทร์ให้ความช่วยเหลือมากอย่างสุดที่จะทดแทนบุญคุณได้ ช่วยกันรับพวกเราเข้าไปอาศัยมากบ้างน้อยบางรวมหลายร้อยคน บางคนได้เสื้อผ้า น้ำร้อน รองเท้า ผ้าห่ม บางคนได้อาหารมื้อแรก หลายคนไม่ถูกจับตลอดเหตุการณ์เพราะความช่วยเหลือนี้

ย้อนกลับมาที่ ศูนย์พระเครื่อง 8.30 น. เศษ ตร.เรียงกำลังบุกเข้ามาทางประตูทางเข้าของศูนย์พระเครื่องและซอยริมน้ำ ยิงเข้ามาพร้อมกัน ผมกับอีกกว่า 50 คนยังไม่มีทางหนีจึงรีบกระโดลงน้ำเกือบ 20 คน อีกราว 10 กว่าคนไปลงเรือหางยาวขนาดเล็กลำเดียวที่เหลืออยู่ในบริเวณนั้นอีกราว 20 คน ผมไม่ทราบจนบัดนี้ว่าหลบหนีไปทางไหนหรือเป็นอะไรไปหรือเปล่า

พอผมลงน้ำเดินไปได้ 4-5 เมตร ระเบิดสังหาร 2 ลูกระเบิดตูมตรงท่าเรือพอดี

ผม เดินไปได้อีกนิดเดียว เป็นท่าน้ำของชาวบ้านแถวนั้น ตชด. 4 คน จ่อปืนลงมาชี้ จี้ให้ขึ้นไปมอบตัว คนหนึ่งถูกตอไม้เล็กๆ ที่มีปลายตะปูปักที่โคนขา ตชด.เร่งบังคับให้ขึ้นจากน้ำ ผมเห็นเขาพยายามเดินต่อแต่ไม่ไหว เขาขยับขาจะให้หลุดจากไม้ แต่กลายเป็นว่าไม้หลุดติดขาเขามาด้วย

เขาร้องอย่างเจ็บปวด หมดกำลังจะปีนขึ้นท่าน้ำแล้ว ตชด.คนหนึ่งขึ้นลำปืนเตรียมยิงทันที

พวก เราช่วยกันร้องลั่น  "อย่า ! อย่า!"  มีคนกล้าโดดลงน้ำไปช่วยพยุงเขาขึ้นมาอย่างทุลักทุเลที่สุด พวกเราใช้เท้าถีบไม้ชิ้นนั้นจนหลุดจากเขาแล้วพยุงหามกลับไปหมอบหน้าวัด

เรือ หางยาวลำนั้นไปได้แค่กลางแม่น้ำก็ล่ม เพราะบรรทุกคนเกินอัตรา บวกกับไม่มีคนบังคับเรือเป็นด้วย บางคนว่ายน้ำไม่เป็น บางคนถูก ตร.จับขณะลอยคอ บางคนพยายามพยุงกันเข้าฝั่งแล้วถูกจับ คนที่ว่ายน้ำไม่เป็นจมหายไป...หลายคน

ตร.บุกเข้าค้นตามบ้านแถบท่าพระจันทร์ 5-6 หลัง กวาดต้อนคนไปนอนคว่ำหน้าที่ถนนข้างวัดอีก

ย้อนกลับมาใน มธ.

8.00 น.เศษนี้ มีคนวิ่งหนีออกทางหอฯ ใหญ่และหอฯ เล็ก ผมเห็นภาพความทารุณที่สุดนั้นแล้ว แต่ผมไม่ได้พบใครที่ประสบเหตุการณ์ที่นั่นเลย ผมจึงไม่ขอเล่าในส่วนที่คุณคงทราบดีกว่าผม โดยเฉพาะได้ข่าวว่าโทรทัศน์วันนั้น ถ่ายภาพเหตุการณ์หน้ามธ.ด้านสนามหลวงไว้ได้มาก

ทั้งภาพกระชากสายน้ำ เกลือออกจากร่างคนเจ็บ ภาพเทเปลคนเจ็บลงกับพื้นแล้วรุมกระทืบ ภาพรุมตีประชาทัณฑ์ ยังมีการแขวนคอ กรีดคอจนเหวอะ แขวนคอแล้วเอาเก้าอี้ฟาด รุมตี ข่มขืนแล้วฆ่า จับลากไปเผาทั้งเป็น ฯลฯ

ผมเสียใจที่ไม่ทราบเหตุการณ์ทารุณที่สุดนอกมธ. เลย

ที่ตึกบัญชี หลังจากเสียงประกาศของพวกเราเงียบลงครู่ใหญ่ กลับมีเสียงประกาศผ่านลำโพงยอดโดมของมหาวิทยาลัยว่า

"ผมเป็นข้าราชการมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขอความกรุณาคุณตำรวจหยุดยิงนักศึกษา นักศึกษาไม่มีอาวุธ กรุณาหยุดยิงเถิดครับ"

สิ้นเสียงประกาศราว 10 ครั้ง ยอดโดมถูกระเบิด 2-3 ลูกซ้อน เสียงประกาศจึงเงียบตลอดไป

9.00 น.เศษ ตำรวจนำกำลังนับร้อยเข้าเคลียร์ทุกตึกทุกห้อง เสียงปืนดังจากตึกต่างๆ เป็นพักๆ

ที่ ตึกบัญชี มันระดมยิงทั้งระเบิดและอาวุธปืนใส่อาคารจนสั่นสะเทือนไปหมด ผมถูกจับอยู่ท่าพระจันทร์ ได้ยินคำสั่งประกาศลั่นว่าให้ตำรวจเตรียมตัว จะยิงปืนไร้แรงสะท้อนถอยหลังเข้าใส่ตึกบัญชี พอยิงเข้าไปในสนามบอลซึ่งมีแต่ตำรวจ ก็สั่งยิงตอบโต้ ยิงกันเองไปมาโดยมีพวกเราในตึกเป็นเป้าอยู่ครู่ใหญ่

พวกเราเห็นจะทน ไม่ได้ จึงใช้เสื้อขาวชูแล้วโบกให้ ตร.ในสนามบอลเห็น ตร.เพลาการยิงลงแล้ว สั่งให้ลงไปมอบตัวทีละชุดๆ ผู้ชายลงมาก่อนในชุดแรกๆ ผู้หญิงจึงค่อยๆ ตามลงมา และแยกไปรวมกันต่างหากอีกกลุ่ม

ระหว่างแต่ละชุดเดินลงทาง บันได มันยังยิงขึ้นไปบนตึก การทยอยลงมาจากทุกชั้นจึงยิ่งลำบากมาก เพราะตึกบัญชีเป็นกระจกโปร่งทั้งนั้นและแตกละเอียดแทบหมดแล้ว แค่วิ่งผ่านระเบียงเพื่อจะลงไปบันไดมอบตัวก็ยังต้องผ่านวิถีกระสุน

คน ที่ลงไปได้รับการต้อนรับด้วยพานท้ายปืนและท็อปบู๊ท ระหว่างนั้น ตร.สั่งให้ตชด.บุกขึ้นไปตรวจค้นตามห้อง และหยุดยิงจากในสนามเข้าไป ตชด.ใช้วิธีพังประตูเปิด แล้วกราดอาวุธสงครามเข้าไปก่อน จึงค่อยดูว่ามีคนไหม พวกเราหมอบราบกับพื้นห้อง กดตัวแนบพื้นสนิท เพราะกระสุนผ่านเหนือหัวไปราวกับจะฆ่าเสียให้หมด

เสียงปืน ตชด. ทำให้ข้างล่างนึกว่ามีการยิงต่อสู้ จึงยิงเข้าไปอีก ตชด.เข้าใจว่าพวกที่ถูกจับอยู่ข้างล่างยิงใส่ จึงกราดปืนลงไปถูกผู้ที่ถูกจับหมอบคว่ำหน้าอยู่เฉยๆ บาดเจ็บ กว่าจะรู้ว่ายิงกันเอง ผู้บาดเจ็บคือพวกเราอีก ประสิทธิ์  ตินารักษ์ เพื่อนที่เพิ่งออกจากคุกมาด้วยกันก็ถูกยิงตอนนี้ กระสุนยังฝังอยู่ที่ขาข้างซ้ายของเขาจนบัดนี้

ต้อนลงมาทีละชุด ชุดละไม่กี่คน ผู้หญิงถูกบังคับให้ถอดเสื้อออก อ้างว่าตรวจค้นอาวุธ แต่ความจริงเป็นความบ้าระห่ำ เพราะใจสกปรกสิ้นดีของพวกมันต่างหาก

คนที่ลงมาถูกเตะ ถีบ เหยียบ กระทืบให้ตอบคำถามตามใจมัน เสียงหัวเราะ คำเยาะเย้ยถากถาง และความกักขฬะ พวกเราได้รับทุกคนในเช้าวันนั้น

เวลาแค่นาทีเดียวรู้สึกยาวนานเหมือนวันหนึ่งเต็มๆ ช่างเนิ่นนานกว่าปกติหลายเท่า เพราะความรู้สึกอยากให้ผ่านช่วงหฤโหดที่สุดนี้เสียที

ปฏิบัติการค้น กราดทุกห้องเพื่อให้มอบตัวยังดำเนินต่อไป คนหนึ่งถูกถีบจนล้มคว่ำลงมาตามบันได มันตามมาถีบกลิ้งจากชั้น 3 จนถึงชั้นล่าง

สิ่ง ที่ทุกคนที่ตึกบัญชีเล่า คือ การฆ่าคนอย่างสนุกมือของ ตร. นศ.กลุ่มหนึ่งวิ่งลงมาตามคำสั่งของมันจนถึงชั้นล่าง โดยไม่มีสาเหตุอะไรมันยิงใส่ทันทีชุดหนึ่ง กระสุนถูกเพื่อน นศ.รามคำแหงล้มลงสิ้นชีวิต และบาดเจ็บอีกหลายคน มันยังยืนจ้องปืนเตรียมยิงต่อไป โดยไม่ได้รู้สึกนึกคิดสักนิดว่ามันได้ทำอะไรลงไป

นานทีเดียวกว่ามัน จะจับกุมหมดทุกคน ตร.ผู้ใหญ่สั่งให้ผู้หญิงใส่เสื้อได้ตั้งแต่ยังจับไม่หมด เพราะมีช่างภาพเข้ามา มิใช่เพราะความกรุณาปรานีใดๆ แต่มันกลัวความหยาบช้าสกปรกของมันจะปรากฏไปทั่วโลกต่างหาก ถึงอย่างไรมันก็ปกปิดไม่ได้

ผู้หญิงถูกมันลวนลามรังแก แต่ยากที่จะเอาผิดกับใคร คนอื่นๆ ถูกบังคับให้คว่ำหน้าหมด หากเงยหน้าจะถูกฟาดด้วยพานท้ายปืนหรือไม่ก็ถูกเตะ

ครู่ เดียวหลังการจับกุมหมด มีเสียงประกาศผ่านเครื่องขยายเสียง ตร.ว่า  "ขณะนี้มีช่างภาพต่างประเทศเข้ามาแล้ว ขอให้หยุดกระทำการทารุณต่างๆ เสีย"

คุณคงเห็นสินะ พวกเขาเองก็ยอมรับว่าทารุณ แต่ก็ยังทำอยู่ กระทั่งเลิกเพราะกลัวความจริงจะเผยแพร่ไปทั่วโลก

ต่อมามีเสียงประกาศอีกว่า  "ขณะนี้มีช่างภาพ น.ส.พ. จัตุรัสเข้ามา ขอให้เจ้าหน้าที่ยึดกล้องและฟิล์มไว้"

กระสือกลัวแสงสว่างฉันใด ความอำมหิต สกปรก เลวร้าย ทารุณย่อมกลัวความสัตย์จริง ความบริสุทธิ์ และความเป็นธรรมฉันนั้น

คน ที่ถูกจับทั้งในและนอกมธ.ถูกต้อนลากขึ้นรถ ใช้เสียงตวาดและปืนขู่บังคับ ถ้าเดินช้าจะถูกกระทุ้งด้วยด้ามปืน เพื่อนๆ ที่นอกมธ.ทยอยขึ้นรถทีละ 10-20 คน ที่เหลือถูกปืนกราดเหนือหัวข่มขู่มิให้เงยหน้าขึ้นมาเด็ดขาด

คนไหนหลบเข้าวัด จะถูกกิตติวุฒโฑ พา ตร.ไปชี้ตัวแล้วลากออกมาจนได้

ใน รถ...ผู้ชายต้องนั่งเบียดกันแน่นทั้งบนที่นั่งและบนพื้นรถ ต้องเอามือประสานกุมท้ายทอยและก้มไว้ ผู้หญิง ตร.จะให้นั่งท่าเดียวกันบนที่นั่ง หลายคนถูกบังคับให้นั่งใกล้ๆ ตำรวจ เพื่อมันจะได้ลวนลามอนาจารตามใจชอบ สกปรกหยาบช้าสิ้นดี

ตร.เดินเหยียบพวกที่นั่งอยู่กับพื้นไปมาหลายรอบ เดินไปด่าไป กระทืบไป บางทีขยับปืนดัง  "แกร็ก!  แกร็ก!"  เพื่อข่มขู่ขวัญ

ตร. สั่งให้รถผ่านวัดพระแก้ว สนามหลวง ราชดำเนินและพระบรมรูปทรงม้า แล้วจึงตรงไปยัง ร.ร.ตำรวจนครบาลบางเขน

เส้น ทางที่ว่านี้ มีพวกอันธพาลการเมืองที่ปฏิบัติการเย้ยกฎหมายลอยนวลอยู่ รถจะแล่นช้าๆ ให้พวกอันธพาลใช้อิฐ หินไม้ ทุบกระจก ทุบหน้าพวกเรา ทุบหัวพวกเรา หรือปาเข้ามา บางคันถึงกับจอดให้กรูกันขึ้นมาลงมือซ้อมพวกเราจนหนำใจ จึงค่อยปล่อยรถแล่นต่อไป

มีคนบาดเจ็บจากการกระทำนี้เต็มไปหมด ส่วนใหญ่จะหัวแตก บางคนถึงกับแขนหัก

ท่าม กลางเสียงหัวเราะชอบใจทั้งจากอันธพาลในเครื่องแบบบนรถและอันธพาลการ เมืองมือสวะนอกรถที่ดีแต่รังแกคนไม่มีทางสู้ แม้แต่คนบาดเจ็บมันก็ไม่เว้น...

เพื่อนที่บาดเจ็บเล่าให้ฟังว่า รถออกจากมธ. อ้อมสนามหลวงเพื่อจะข้ามสะพานพระปิ่นเกล้าฯ แต่พอผ่านถนนราชดำเนินหน้าแผงหนังสือที่มีการเผาคนทั้งเป็น เขารู้สึกคนเยอะเหลือเกินเข้ามากลุ้มรุมรถพยาบาลจนแทบขยับไม่ได้ เขาเกือบถูกนำตัวไปรุมซ้อม พวกมันทุบรถ พยายามเปิดประตู แต่คนขับมีมนุษยธรรมพอจึงพยายามชี้แจงและป้องกันผู้บาดเจ็บไว้

เสียงอันธพาลมือชั้นสวะตะโกนว่า  "เอามันมาเผา"

เขาคิดว่าคงเป็นวาระสุดท้ายแล้ว แต่ในที่สุดก็ผ่านมาได้อย่างยากเย็น

ยัง มีเหตุการณ์หลายแง่มุมที่ผมไม่ได้เห็นหรือได้พูดคุยกับใครไม่ได้ทราบ รายละเอียด  เช่น เหตุการณ์เอาลิ่มตอกอก ข่มขืนผู้หญิง รุมตีแขวนคอ เผาทั้งเป็น ฯลฯ

แต่เพียงภาพคงทำให้เข้าใจชัดเจนโดยไม่ต้องอธิบายว่า วันที่ 6 ตุลานั้นเกิดอะไรขึ้น

ผม เขียนมามากแล้วสำหรับฉบับนี้ แต่ที่จริงยังไม่ได้เล่าถึงความทารุณนับแต่วินาทีแรกที่ก้าวลงจากรถสู่ประตู เรือนจำ ไปจนถึงเรื่องราวชีวิตของผู้บริสุทธิ์ที่ถูกจับกุมคุมขัง ไม่ว่าที่บางเขนหรือที่อื่น ต่างมีความคับแค้นใจมากมาย ที่ผมได้ยินได้ฟังมาเอง

ผมจะเขียนมาเล่าให้คุณทราบอีก แต่อาจจะไม่ละเอียดนัก เพราะเวลาและโอกาสของผม ตลอดจนต้องคำนึงถึงผลที่จะกลับไปกระทบเพื่อนๆ ที่ยังถูกคุมขังอยู่

เรือน จำทุกแห่งเหมือนวัวสันหลังหวะ ใครแตะถูกแผลเข้าจะเจ็บปวดร้องลั่น แต่แทนที่จะรักษา กลับเที่ยวไล่ขวิดทำร้ายคน ไม่มีผู้มีอำนาจคนไหนยอมรับความจริงหรอกว่า  "คุกน่ะ ! มันเลวร้ายกาจมาก"  ถ้าพูดมากไปแทนที่จะแก้ไขปรับปรุง จะกลับไปเล่นงานคนที่เขาคุมขังอยู่

จดหมาย ของผม คงทำให้คุณเห็นเหตุการณ์ชัดเจนขึ้น และหวังว่าจะเป็นประโยชน์ในโอกาสข้างหน้า เท่าที่จะสามารถทำได้ หากคุณยังอยากทราบอยากถามเรื่องเหตุการณ์รายละเอียดตอนไหน ถามมาได้ครับ ผมจะตอบในจม.ฉบับหน้าด้วย

ท้ายที่สุดนี้ หากจม.นี้มีคุณประโยชน์อะไรแก่คุณหรือต่อส่วนรวม ขอให้คุณค่านี้บังเกิดผลดีแก่การต่อสู้ของประชาชนที่รักชาติรักประชาธิปไตย และขอให้บังเกิดผลเป็นชัยชนะของเพื่อนรักทั้ง 19 คน โดยเร็วที่สุด


ขอบพระคุณในความห่วงใยของคุณ
เคารพรักและเชื่อมั่นในตัวคุณเสมอ

ชวลิต


======================
ที่มา : กลุ่มนักศึกษากฎหมาย, เราคือผู้บริสุทธิ์ เสียงจากอดีตจำเลยคดี 6 ตุลา, กรุงเทพฯ: กลุ่มนักศึกษากฎหมาย, 2521.

"36 ปี 6 ตุลา ตราบกัลปาวสาน!"

ที่มา ประชาไท



 นทีทอง สมุทรชลธี


                                                เหมือนฝูงหมู่หมาป่าออกล่าผลาญ
                                    โหดเหี้ยมปานสัตว์ร้ายหมายขย้ำ
                                    พฤติการณ์หฤโหดต้องจดจำ
                                   ที่ตอกย้ำสำนึกอยู่ยาวนาน
                                                เป็นบาดแผลเรื้อรังอันลึกร้าว
                                    น้ำตาพราวคาวเลือด, ไหลหลั่งฉาน
                                    หวีดร้องโหยหวนร่ำปวดร้าวราน
                                    หลายชีวิตปิดม่านวันเสรี
                                                ลูกเอย..หลานเอย..ไม่เคยเห็น
                                    เขาฆ่าเข่นพิราบขาว ราวเปรตผี
                                    ปิดล้อมล้างผลาญล่า, ไม่ปรานี
                                    แม่โดม, ลานโพธิ์พลี, บูชายัญ!
                                                เซ่นสังเวย เผด็จการ, ทรราช
                                    ให้สืบทอดอำนาจ, เหนือไทยนั่น
                                    สามสิบหกปีที่ผ่านแม้นานครัน
                                    ไม่อาจบั่นทอนหลักที่ปักลง
                                                คือหลักแห่งมวลมหาประชาชน
                                    ผู้ตั้งต้นเสรีที่สูงส่ง
                                    แล้วผลิดอกออกใบให้ยืนยง
                                    เป็นพืชพงศ์ คุ้มเงาอีกเนานาน
                                                เพื่อผู้กล้าพลีชีวิต, อิสรภาพ
                                    ขอเชิดชูอยู่ตราบกัลปาวสาน
                                    หลุดบ่วงอายุความนิยาม, จาร
                                    จิตวิญญาณหกตุลา, นิรันดร!
                                                                           
นทีทอง  สมุทรชลธี

กวีประชาไท: ไม่ใช่เรื่องบุญคุณ

ที่มา ประชาไท




ในเมื่อรัฐโรงสีธนานุเคราะห์
อ้าแขนรับทองคำของชาวนา
เพื่อแลกกับเสียงที่ดังเท่ากับเสียงอื่นๆ อีกหลายล้านเสียง
เอ้า! ช่วยกันแค่นหัวเราะให้กับข้าวเปลือกล้านๆ เม็ดที่อาจไม่มีโอกาสกะเทาะออกจากเปลือก
แล้วรองน้ำตาไว้กินจานข้าวสุกข้าวสารแพงๆ ให้คล่องคอมนุษย์เงินเดือน

ใครกันริษยา
ละอองส่วนแบ่งที่รอดผ่านถังพ่นยาฆ่าแมงตัวดีตัวร้ายตายเกลือน
ใครกันห่วงใย
ส่วนแบ่งที่หลุดพ้นราวใบมีดรถเกี่ยวข้าวว่าจะฟ่อนหนากว่ากระเป๋าคนจน
ควรจะห่วงว่ามูลค่าส่งออกจะพอเป็นค่าพันธุ์ข้าวฤดูหน้ารึเปล่า
ที่ดินก็เป็นของใครก็ไม่รู้

ไม่ต้องสำนึกบุญคุณชาวนาก็ได้
ถ้าข้าวที่กิน
ไม่ได้จ่ายชาวนาต่ำกว่าทุน

โสภณ พรโชคชัย: บีบีซีกล่าวหาส่งเดช ว่า กทม รถติดหนักสุด

ที่มา ประชาไท



ตามที่สำนักข่าวบีบีซีรายงานข่าวว่ากรุงเทพมหานครของไทย รถติดที่สุดในโลกนั้น เป็นความเท็จ  วิธีการได้มาซึ่งข้อสรุปก็เป็นเท็จ  เป็นการทำลายชื่อเสียงของกรุงเทพมหานครและประเทศไทยโดยไม่มีพื้นฐานความจริง
 
เมื่อเร็ว ๆ นี้ มีข่าวจากหนังสือพิมพ์หลายฉบับทำนองว่า “บีบีซีตีข่าวกทม.รถติดที่สุดในโลก” {1} “"กรุงเทพ' ของไทย ติดอันดับเมืองหลวงที่รถติดมากที่สุดของ'บีบีซี'” {2} “‘กทม.’ ติดอันดับ 1 เมืองรถติดมากที่สุดในโลก” {3}  “'กรุงเทพฯ' ขึ้นชื่อ 1 ใน 10 เมืองรถติดมากที่สุดในโลก” {4}  “'กรุงเทพ'ติด 1ใน 10 เมืองหลวงที่รถติดที่สุดในโลก” {5}  “กทม.ติดอันดับเมืองรถติดที่สุดในโลก” {6}  “‘ปู’ ใบ้กิน! BBC ตีข่าวไทยติดอันดับรถติดที่สุดในโลก” {7}
 
ตามข่าวกล่าวว่า การสำรวจนี้ สำรวจจากความเห็นของคนอ่านหรือฟังบีบีซีเท่านั้น ซึ่งไม่ได้ระบุจำนวน  ไม่สามารถถือเป็นการสำรวจจากความเป็นจริงได้  ถือเป็นการผิดจรรยาบรรณสื่ออย่างร้ายแรงได้หรือไม่  ทั้งนี้คงเป็นเพียงการมุ่งขายข่าว “ตีปี๊บ” เพราะสำนักข่าวนี้ในขณะนี้อาจไม่ดัง เป็นที่กล่าวขวัญถึงในระดับโลกเช่นสำนักข่าวระดับโลกอื่น ๆ เช่น ซีเอ็นเอ็น บลูมเบอร์ก วีโอเอ อัลจาซีร่า หรืออื่น ๆ
 
แต่ในการสำรวจจริง บางแหล่งข่าว {8} อ้างว่า นครที่เรียงลำดับจากหนึ่งถึง 5 ได้แก่ ปักกิ่ง เม็กซิโกซิตี้ โจฮันเนสเบอร์ก มอสโก และนิวเดลี ซึ่งถือว่ามีความเป็นไปได้สูงเนื่องจากเป็นมหานครขนาดใหญ่ที่สุดของโลก มีจำนวนประชากรมาก และอยู่กันอย่างหนาแน่นกว่ากรุงเทพมหานครเป็นอย่างมาก
 
สำหรับในสหรัฐอเมริกา นครที่มีการจราจรเลวร้ายที่สุดจากการจัดอันดับของ Weather.com {9} ได้แก่ ฮอนโนลูลู รองลงคือ ลอสแองเจลิส ซานฟรานซิสโก นิวยอร์ก บริดจ์พอร์ต (มลรัฐคอนเน็กติกัต)  ส่วนออสตินที่บีบีซีรายงานนั้น อยู่แค่อันดับ 8 เท่านั้น  การที่บีบีซีไปถามจากคนฟัง-ชมบีบีซี ซึ่งมีอยู่ไม่มาก จึงไม่น่าเชื่อถือ  และคนส่วนใหญ่ในสหรัฐอเมริกา คงไม่ได้ชมหรือฟังบีบีซี
 
สำหรับในละแวกประเทศเพื่อนบ้านของไทย กรุงจาการ์ตาถือเป็นนครที่มีสภาพรถติดมากที่สุดจนเป็นที่เลื่องลือเป็นอย่าง มาก  และเป็นที่ทราบกันทั่วไป  จากประสบการณ์ของ ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส ซึ่งสำรวจตลาดอสังหาริมทรัพย์ทั่วอาเซียน  และต้องเดินทางสำรวจตามพื้นที่ต่าง ๆ ของนครทั้งหลายพบว่า กรุงจาการ์ตามีรถติดหนักที่สุด รองลงมาอาจเป็นกรุงมะนิลา กรุงเทพมหานคร เป็นต้น
 
นอกจากนี้บีบีซียังอ้างว่าการที่ไทยมีนโยบายรถคันแรก ทำให้มีคนซื้อรถกันมากมาย  แต่ในความเป็นจริง  ผู้ซื้อรถจำนวนมากก็ยังไม่ได้รถในขณะนี้  ยังต้องสั่งจองล่วงหน้า  ยังอยู่ระหว่างการผลิต  การตีข่าวที่ระบุว่าไทยติดอันดับแรกของนครรถติดที่สุด  จึงเป็นความเท็จ  และนำสิ่งที่ไม่เป็นเหตุเป็นผลต่อกันมาอ้างอิง เนื่องจากไม่มีความจริงมายืนยันได้ว่ากรุงเทพมหานครติดอันดับนครรถติดที่สุด นั่นเอง
           
ตามข่าวของ BBC {10} เองยังเขียน ไว้ว่าได้สัมภาษณ์ชายไทยคนหนึ่งบอกว่าตนได้นั่งรถเข้าเมืองจากปทุมธานีโดยมี อยู่วันหนึ่งใช้เวลา 4 ชั่วโมงครึ่ง จากปกติใช้เวลาไม่เกิน 1 ชั่วโมง การเอาปรากฏการณ์ครึ่งหนึ่ง (ในชีวิต) มา “เต้าข่าว” อย่างนี้ เป็นสิ่งที่ไม่น่าจะปรากฏไว้ในเนื้อข่าวจากสำนักข่าวระดับโลกเช่นนี้ เพราะเท่ากับเป็นการบิดเบือนความเป็นจริง
           
กรุงเทพมหานครควรมีการแก้ไขการจราจรติดขัด เป็นภาระของทั้งรัฐบาลท้องถิ่นและรัฐบาลของประเทศที่ไม่อาจละเลยได้  แต่สถานการณ์ก็ไมได้เลวร้ายไปกว่าอีกหลายต่อหลายประเทศในโลกนี้  ประเทศไทยคงไม่ปฏิเสธปัญหานี้  แต่การเสนอข่าวที่ไม่ได้มีการสำรวจที่แน่ชัดเช่นนี้ เป็นการทำลายภาพพจน์ของประเทศไทย และกรุงเทพมหานครโดยเฉพาะ  ทำให้นักท่องเที่ยวชะงัก ไม่กล้ามาไทย ทำให้คนไทยเสียหาย ขัดลาภที่พึงได้ ไม่ใช่ลาภที่ไม่พึงได้อย่างที่จักรวรรดินิยมอังกฤษเคยเที่ยวปล้นชิงไปทั่ว โลก ถือเป็นเรื่องที่ควรพิจารณาเกี่ยวกับจรรยาบรรณทางวิชาชีพของสื่ออังกฤษหรือ ไม่
           
โปรดดูภาพข่าวต่อไปนี้ ที่แสดงให้เห็นถึงรถติดจนชินตาในนครอื่น ๆ ที่เลวร้ายกว่ากรุงเทพมหานครมากมายนัก โดยเรียงตามลำดับภาพดังนี้: กรุงจาการ์ตา นครลอสแองเจลิส กรุงลากอส กรุงมอสโก (กลางวัน) และกรุงมอสโก (กลางคืน) เป็นต้น
 
 
ภาพที่ 1: รถติดหนักในกรุงมอสโก ตอนกลางวัน จะพบเห็นปรากฏการณ์ตามภาพบ่อย ๆ
 
 
ภาพที่ 2: แม้แต่ในยามที่ไม่มีแสงอาทิตย์แล้ว มอสโกก็มีสภาพรถติดหนักมากเช่นกัน
 
 
ภาพที่ 3: สภาพไม่มีขื่อแปในการจราจรในกรุงลากอส รถติดมโหฬารกว่าที่ไทยจะนึกภาพออก
 
 
ภาพที่ 4: สภาพรถติดเป็นประจำทุกวันในนครลอสแองเจลิส
 
 
ภาพที่ 5: สภาพรถติดหนักในกรุงจาการ์ตา ซึ่งสาหัสกว่ากรุงเทพมหานครเป็นอย่างมาก
 
 
ที่มา:
 
{1} แนวหน้า 3 ตุลาคม 2555 www.naewna.com/inter/24533
{2} คมชัดลึก 2 ตุลาคม 2555 www.komchadluek.net/detail/20121002/141362/%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%A1.%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%94.html
{3} Money Channel. 2 ตุลาคม 2555 www.moneychannel.co.th/index.php/2012-06-30-12-32-32/4365-bangkok
{4} ไทยรัฐ 3 ตุลาคม 2555 http://m.thairath.co.th/content/oversea/295794
{5} ฐานเศรษฐกิจ 2 ตุลาคม 2555 www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=145955:-1-10-&catid=176:2009-06-25-09-26-02&Itemid=524
กทม.ติดอันดับเมืองรถติดที่สุดในโลก
{6} T News 2 ตุลาคม 2555 www.tnews.co.th/html/news/42438/%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81.html
{7} ASTVผู้จัดการออนไลน์ 3 ตุลาคม 2555 www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9550000121375
{8} http://googlesightseeing.com/2012/05/top-5-worst-traffic-cities-in-the-world/
{9} www.weather.com/safety/autosafety/top-10-worst-traffic-cities-20120815?pageno=10
{10} 10 monster traffic jams from around the world http://www.bbc.co.uk/news/magazine-19716687

ไต่สวนการตาย 10 เมษา พยาน 2 ปากยันกระสุนสังหาร “ฮิโรยูกิ-วสันต์” มาจากทหาร

ที่มา ประชาไท




5 ต.ค.55 ที่ห้องพิจารณา 403 ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลนัดไต่สวนคำร้องชันสูตรพลิกศพเพื่อหาสาเหตุการเสียชีวิต ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ เป็นโจทก์ยื่นคำร้องขอให้ชันสูตรพลิกศพนายฮิโรยูกิ มูราโมโต้(ผู้ตายที่ 1) สัญชาติ ญี่ปุ่น ช่างภาพสำนักข่าวรอยเตอร์ ที่เสียชีวิตขณะปฏิบัติหน้าที่รายงานข่าวการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วม ประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช) ที่หน้าโรงเรียนสตรีวิทยา ถ.ราชดำเนิน เมื่อวันที่ 10 เม.ย.53 รวมทั้ง นายวสันต์ ภู่ทอง(ผู้ตายที่ 2)  อายุ 39 ปี และนายทศชัย เมฆงามฟ้า(ผู้ตายที่ 3) อายุ 44 ปี ที่ถูกยิงเสียชีวิต ในเวลาและบริเวณใกล้เคียงกัน จากการขอคืนพื้นที่ของเจ้าหน้าที่ทหาร
โดยในวันนี้ได้มีประจักษ์พยานในเหตุการณ์ 2 ปากมาเบิกความ คือ นายดำเนิน ยาท้วม อายุ 55 ปี นักวิชาการอิสระด้านการศึกษา และนายไพบูลย์ น้อยเพ็ง อายุ 62 ปี อดีตผู้จัดการธนาคารแห่งหนึ่ง ซึ่งทั้ง 2 คนเป็นผู้ร่วมชุมนุม นปช.
นายดำเนิน ยาท้วม เบิกความต่อศาลว่า วันที่ 10 เมษายาน 2553 เวลาประมาณ 15.00 น. มีผู้ชุมนุมจำนวนมากมาสังเกตการณ์กับพยานบริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยฝั่ง ถนนดินสอหน้าโรงเรียนสตรีวิทยา โดยขณะนั้นแนวทหารอยู่ตรงกึ่งกลางของถนนดินสอ ตรงประตูหลังวัดบวรฯ โดยอยู่ด้านหลังรถหุ้มเกราะประมาณ 4-5 คันที่จอดขวางถนนหันหน้ารถและกระบอกปืนหันมาทางผู้ชุมนุม แนวทหารนั้นด้านหน้ามีโล่ ตะบอง ด้านหลังมีอาวุธปืนยาว ทหารถือโล่มีประมาณ 50 คน ส่วนถือปืนยาวประมาณ 20-30 คน จากนั้นเวลาผ่านไปเล็กน้อย เจ้าหน้าที่ทหารเคลื่อนมาอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย โดยไม่ทราบเหตุผลที่ทหารพยายามเข้ามา
พยานเบิกความต่อว่าจากนั้นได้ชวนผู้ชุมนุมมายืนขวางที่ทางม้าลายแรกตรง หัวถนนดินสอ ยืนประมาณ 200 คน ไม่มีการถืออาวุธ มีเพียงขวดน้ำและธง ช่วงนั้นไม่มีการ์ด นปช. รวมทั้งไม่มีชุดดำที่แฝงตัวเข้ามา ผู้ชุมนุมยืนกันเฉยๆ แต่ฝ่ายทหารไม่หยุดเคลื่อน จนกระทั่งเผชิญหน้าและผลักดันกัน สักครู่ทหารแถวหลังยิงปืนยาวขึ้นฟ้า หลังจากนั้นรถติดเครื่องขยายเสียงของทหารประกาศว่า "ขอให้หยุดการชุมนุม" ผู้ชุมนุมก็ยังอยู่และไม่ได้ผลักดัน สักครู่มีนายยศวฤทธิ์ ชูกล่อม หรือ เจ๋ง ดอกจิก แกนนำ นปช. มาพร้อมรถเครื่องเสียงด้านหลังแนวผู้ชุมนุมประกาศเจรจากับหัวหน้าหน่วยทหาร แต่ฝ่ายทหารกลับไม่ตอบรับจึงไม่มีการเจรจา
นายดำเนิน เบิกความว่า เวลา 16.00 น. ได้ยินเสียงเฮลิคอปเตอร์บินมาเหนือหัวพร้อมโปรยแผ่นใบปลิวให้ยุติการชุมนุม แต่ผู้ชุมนุม นปช.ไม่ได้ยุติ หลังจากนั้นเฮลิคอปเตอร์ก็บินวนมาและโปรยแก๊สน้ำตา หลายจุดรวมทั้งจุดที่พยานอยู่ ทำให้พยานโดนแก๊สน้ำตาด้วย หลังจากนั้นกลุ่มผู้ชุมนุมบางส่วนได้หาน้ำล้างหน้า แต่มีบางส่วนที่ยังอยู่ประจันหน้ากับทหารที่เดิม เช่นเดียวกับทหารที่ยังอยู่ตรงนั้น ซึ่งเครื่องบินทิ้งแก๊สน้ำตาหลายรอบ ส่วนใหญ่ทิ้งตรงอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
จนกระทั่งเวลา 17.00 น. พยานได้ขยับไปที่สะพานผ่านฟ้า โดยผู้ชุมนุมยังคงอยู่หัวถนนดินสอ ใกล้ 18.00 น. เฮลิคอปเตอร์ทิ้งแก๊สน้ำตามาลงที่สะพานผ่านฟ้าฯ บริเวณหน้าเวทีจำนวนมาก จึงหลบแถวนั้น จนกระทั่งบนเวทีบอกว่ารถโมบายจากราชประสงค์พร้อมผู้ชุมนุมจะมาช่วย เพราะกลัวว่าจะยันกับทหารไม่อยู่
ประมาณ 20.00 น.รถจากราชประสงค์มาถึง ขณะนั้นไม่มีการโปรยแก๊สน้ำตา และ ประมาณ 20.30 น. รถโมบายได้เคลื่อนไปอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย พยานจึงเดินนำหน้ารถไปด้วย เมื่อไปถึงเห็นเจ้าหน้าที่ทหารยังคงปักหลักที่จุดเดิมตรงหัวถนนดินสอ โดยมีผู้ชุมนุมยืนปักหลักยันกับทหารไว้ ซึ่งบริเวณนั้นมีไฟสาธารณะสว่างมองเห็นได้ชัด ผู้ที่มากับรถโมบายคือ พ.ต.ท.ไวพจน์ อาภรณ์รัตน์ ประกาศว่ามาช่วยแล้ว
นายดำเนิน เบิกความต่อว่า ขณะนั้นในส่วนของทหารแนวหลังบริเวณประตูหลังวัดบวร ถนนดินสอ มีทหารเข้ามาประจำเพิ่มขึ้น โดยยืนเป็นแนวทั้งบนถนนและฟุตบาททั้ง 2 ข้าง ทหารแนวหลังจะถือเพียงอาวุธปืนยาว 40-50 นาย ห่างจากจุดที่ผู้ชุมนุมดันกับทหารประมาณ 50 เมตร และอยู่หลังรถหุ้มเกราะ ซึ่งตรงนั้นมีไฟฟ้าสาธารณะจึงสว่างมองเห็นได้ชัดว่าทหารถือปืนยาวและถือยก ปลายกระบอกปืนเฉียงขึ้นฟ้าตรียมพร้อม พ.ต.ท.ไวพจน์ อาภรณ์รัตน์ เมื่อมาถึงได้ประกาศให้เปิดเพลงมัน ๆ แต่เล่นเพลงยังไม่ทันจบก็เกิดการปะทะกัน โดยทหารที่ถือปืนด้วยนั้นได้ยิงปืนขึ้นฟ้า ทั้งนี้แนวทหารมีทหารแนวหน้าจะถือโล่และตะบองไม้ ถัดไปเป็นรถหุ้มเกราะ ต่อด้วยทหารถือปืนยาว และทหารถือปืนยาวแนวหลังสุดอีกตรงบริเวณหน้าประตูวัดบวร
ขณะที่ทหารยิงปืนขึ้นฟ้า หลังจากนั้นมีเสียงดังมาก 2 ครั้ง คลายระเบิดห่างกัน ครึ่งนาที ด้านหน้าพยานและใกล้จนร่างกายสะเทือน หลังจากนั้น ผู้ชุมนุม นปช. เดินรุกขึ้นหน้าเข้าไป ในขณะที่ทหารถอยร่น พยานก็เคลื่อนตามไปด้วย หลังเสียงดัง 2 ครั้งนั้นทั้งผู้ชุมนุมและทหารล้มกันหลายคน ตั้งแต่บริเวณหัวถนนดินสอ แต่ขณะนั้นพยานไม่ทราบว่าบาดเจ็บหรือไม่
ในระหว่างที่ ผู้ชุมนุม นปช. เดินเข้าไปนั้น มีชายคนหนึ่งใส่เสื้อแดงนุ่งกางเกงเข้มถือธง นปช. สีแดง ด้านหน้าของพยานที่ช่วงแรกเขาหันหน้าทางทหาร หลังจากนั้นหันทางขวามือหน้าโรงเรียนสตรีวิทยา  ด้ามธงอยู่กับพื้น หลังจากนั้นเห็นทรุดตัวล้มลง เห็นสมองและเลือดไหลมาตามพื้น อยู่ห่างจากพยานประมาณ 15-20 เมตร ช่วงนั้นมีเสียงอาวุธปืนจากทหารที่อยู่หน้าประตูหลังวัดบวร ได้ยินทั้งก่อน และหลังจากชายคนดังกล่าวล้มต่อเนื่องอีกนาน โดยมีประกายไฟสีส้มและสีเขียวที่พุ่งออกจากปากกระบอกปืนที่อยู่ตรงนั้น ทิศทางที่ตรงมายังผู้ชุมนุมและขึ้นฟ้า
พยานเบิกความด้วยว่าขณะนั้นฝังด้านหลังของพยานไม่ได้ยินเสียงปืน รวมทั้งด้านข้างก็ไม่เห็นประกายไฟ มีเพียงด้านหน้าที่ปรากฏประกายไฟ ซึ่งมีเสียงหลายแบบทั้งปั้งๆ แปะๆ และรัว แต่ยิงขึ้นฟ้ามีมากกว่าตรงมายังฝั่งผู้ชุมนุม ตอนนั้นเข้าใจว่าชายที่ถือธงถูกยิงเป็นกระสุนจริงจากเจ้าหน้าที่ทหาร นอกจากชายคนนี้แล้ว ขณะนั้นก็เห็นผู้ชุมนุมรายอื่นล้มลงด้วย แต่จำรายละเอียดไม่ได้ หลังจากนั้นเมื่อทราบว่ามีคนตายจริง จึงวิ่งย้อนกลับมาที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเพื่อแจ้ง พ.ต.ท.ไวพจน์ ว่าทหารใช้กระสุนจริง และมีคนตาย พ.ต.ท.ไวพจน์ จึงได้ประกาศให้ผู้ชุมนุมเข้าไปนำร่างผู้ตายออกมา
หลังจากนั้น พยานได้กลับเข้าไปโดยคลานเข้าไปทางฝั่งโรงเรียนสตรีวิทยา ระหว่างนั้นมีเสียงปืนดังโดยตลอด ขณะนั้นกลุ่มผู้ชุมนุมมีเพียงหนีกับวิ่งหลบ ไม่เห็นการ์ด นปช.หรือการตอบโต้จากผู้ชุมนุม ขณะเข้าไปฝั่งโรงเรียนสตรีวิทยา ประมาณครึ่งทางระหว่างทางม้าลายแรกและอันที่สอง เห็นผู้ชุมนุมหามร่างชายชุดสีครีม ที่เห็นมาก่อนว่าเป็นผู้สื่อข่าวโดยไม่ทราบว่าเป็นสื่อไหน พยานไม่ทราบว่าถูกยิงล้มลงตรงไหน แต่ทราบภายหลังจากการประกาศบนเวทีว่าชื่อ ฮิโรยูกิ นักข่าวญี่ปุ่น ส่วนขณะนั้นร่างชายถือธงแดงนั้นยังนอนอยู่ที่เดิมเพราะไม่สามารถเข้าไปช่วย ได้  ขณะคลานอยู่บนบาทวิถีหน้าโรงเรียนสตรีวิทยาได้ยินเสียงปืนตลอดประมาณครึ่ง ชั่วโมงที่พยานคลานเข้าออก โดยขณะนั้นทหารถอยไปหมดถึงแนวหลังวัดบวรแล้ว โดยช่องว่างระหว่าง ทหารกับผู้ชุมนุมขณะนั้นประมาณ 50 เมตร
นายดำเนิน เบิกความด้วยว่าไม่เห็นทหารบาดเจ็บจากอาวุธปืน เห็นเพียงทหารล้มลงจากเสียงดัง 2 ครั้งและประคองทหารด้วยกันถอยไป แม้จะมีเสียงอาวุธปืนดัง พยานเห็นผู้ชุมนุมพยายามฝ่าเข้าไปยังทิศทางของทหาร สำหรับร่างของชายถือธงหรือนายวสันต์ ภู่ทอง(ผู้ตายที่ 2) กว่าจะมีการนำออกมาจากจุดเกิดเหตุได้ต้องรอจนหลังจากเสียงปืนสงบ 1 ชั่วโมง ซึ่งทหารถอยไปจนสุดถนนใกล้สะพานวันชาติ ทางแกนนำส่งการ์ดมาเอาศพนายวสันต์ ภู่ทอง ออกมา

หลังจากเหตุการณ์สงบพยานยังอยู่ที่ชุมนุมจนกระทั้ง 2.00 น. จึงกลับบ้าน และในเช้าวันรุ่งขึ้นเวลา 9.00 น.ได้เข้ามาที่เกิดเหตุพบรอยเลือดตรงจุดที่นายวสันต์ ถูกยิงและพบร่องรอยความเสียหายที่ตัวอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ฝั่งที่หันหน้าเข้าถนนดินสอ ตรงปีกอนุสาวรีย์ 2 ปีก หลายสิบรอย ความสูงแนวประมาณศีรษะส่วนใหญ่ โดยรอยเป็นรอยใหม่ เหมือนเป็นรอยจากของแข็งเข้ากระทบทำให้เนื้อปูนกะเทาะออก จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น พยานสันนิฐานว่าร่องรอยที่เกิดขึ้นน่าจะเกิดจากกระสุนปืนที่เจ้าหน้าที่ทหาร ยิงมาเมื่อคืนก่อน
พยานเบิกความด้วยว่า ก่อนหน้าที่รัฐบาลประกาศใช้ พรก.ฉุกเฉินใน วันที่ 7 เม.ย. 53 ไม่มีเหตุการณ์ร้ายแรงหรือไม่สงบ ส่วนเหตุการณ์ในวันนั้นหากไม่มีเจ้าหน้าที่ทหารเข้ามาสลายการชุมนุมก็จะไม่ มีการตายและเจ็บเกิดขึ้น อีกทั้งก่อนโปรยแก๊สน้ำตาจากเฮลิคอปเตอร์ เจ้าหน้าที่ทหารมีการแจ้งเตือนว่าจะสลายการชุมนุมโดยใช้เพียงรถกระจายเสียง ที่หน้าโรงเรียนสตรีวิทยาเท่านั้น ไม่ได้แจ้งให้ผู้ชุมนุมที่อยู่ส่วนอื่นทราบรวมทั้งไม่ได้แจ้งด้วยว่าจะใช้ อาวุธปืนหรือโปรยแก๊สน้ำตา อีกทั้งยังไม่ได้แจ้งช่องทางให้ผู้ชุมนุมหลบหากมีการโปรยแก็สน้ำตาด้วย
นายดำเนิน เบิกความว่าขณะเกิดเหตุหากมองจากฝั่งทหารหน้าประตูวัดบวรนั้นคิดว่าทหาร สามารถมองมายังผู้ชุมนุมเห็นได้ชัด เพราะจากฝั่งที่พยานอยู่มองไปยังทหารเห็นได้ชัดว่าถือปืนหรือทำอะไรอยู่ และอยู่ห่างกันไม่มากนัก นายดำเนิน ยังยืนยันด้วยว่าในขณะที่มีการปะทะกันไม่พบชายชุดดำ และคิดว่าการที่ทหารยิงใส่ผู้ชุมนุมนั้นเป็นไปตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา

หลังจากนั้นในช่วงบ่าย นายไพบูลย์ น้อยเพ็ง พยานอีกปากในวันนี้ได้เข้าเบิกความว่า ในที่เกิดเหตุเวลา 17.00 น. รถของฝั่งทหารที่หน้าโรงเรียนสตรีวิทยาซึ่งประกอบด้วยรถหุ้มเกราะ รถฮัมวี่และรถยูนิม็อก รวมทั้งหมด 12 คัน แบ่งเป็น 4 แถวๆ ละ 3 คน รถหุ้มเกราะแต่ละคันมีนายทหารประจำและมีการถือปืนสั้น ส่วนทหารอื่นจะมีปืนยาว ซึ่งอยู่ทั้งด้านหลังและระหว่างรถถังเต็มไปหมด ทหารมีอาวุธเป็นโล่ ตะบองไม้และสะพายอาวุธปืน ประมาณ 100 นาย ขณะนั้นผู้ชุมนุมยืนประจันหน้ากับเจ้าหน้าที่ทหารเฉยๆ พยานเห็นเฮลิคอปเตอร์บินเหนืออนุสาวรีย์ประชาธิปไตยและโปรยแก๊สน้ำตาลงมา ผู้ชุมนุมที่โดนแก๊สน้ำตาก็กระจายตัวกัน ส่วนทหารใส่หน้ากากกันแก๊สน้ำตา มีการโปรยใบปลิวลงมาจากเฮลิคอปเตอร์ซึ่งมีข้อความให้ผู้ชุมนุมสลายการชุมนุม แต่ผู้ชุมนุมไม่สลายการชุมนุมและยังคงยืนที่เดิมบริเวณหัวมุมถนนดินสอ เช่นเดียวกับทหารที่ยังคงประจันหน้าอยู่จุดเดิม พยานมาอยู่ด้านหน้าใส่เสื้อแดงถือร่มสีม่วง นุ่งกางเกงยีนส์หนา ซึ่งมีภาพข่าวหนังสือพิมพ์วันที่ 11 เม.ย.53 หน้า 1 มติชนยืนยัน
นายไพบูลย์ เบิกความต่อว่า ถึงเวลา 18.00 น. หลังเคารพธงชาติ ทหารเปิดเพลงปลุกใจและเพลงพระราชนิพนธ์ จนกระทั่งเวลาประมาณ 19.30 น. รถถัง 3 คันแรกด้านหน้าได้ติดเครื่องขยับไปมา ทำให้ผู้ชุมนุมตกใจถอยออกมาและทหารขยับมาด้านหน้ารถถัง จากการเกิดช่องว่างระหว่างรถถังกับผู้ชุมนุม ทหารประมาณหลักร้อย ถือตะบองและโล่และอาวุธปืนยาว M 16 และลูกซอง หลังจากนั้นเวลาประมาณ 20.30 น. ผู้ชุมนุมจากผ่านฟ้าเข้ามาสมทบ ผู้ชุมนุมจึงเข้าไปผลักดันทหาร โดยไม่มีอาวุธ ทหารด้านหลังรถถังได้ขว้างแก๊สน้ำตา แต่ขณะนั้นลมพัดไปทางทหาร ผู้ชุมนุมจึงผลักดันทหารเข้าไปจนกระทั่งไปถึงหน้ารถถัง  ทหารก็มีชุดใหม่เข้ามาแทน โดยผู้ชุมนุมยังดันกับทหารต่อเนื่อง ขณะที่เสียงปืนดังตลอดเวลามาจากฝั่งทหารเนื่องจากเห็นแสงมาจากปากกระบอกปืน ส่วนด้านข้างหรือฝั่งผู้ชุมนุมไม่มี โดยทหารมีทั้งยิงขึ้นฟ้าและตรงมาทางผู้ชุมนุม
เวลาประมาณ 20.40 น. ขณะที่ผู้ชุมนุมยันกับทหาร ทหารบนรถหุ้มเกราะชักปืนสั้นยิงทั้งขึ้นฟ้าและยิงมาทางผู้ชุมนุมด้วยแต่ไม่ ทราบว่ามีใครถูกกระสุนหรือไม่ แต่อย่างไรก็ตามในขณะนั้นพยานคิดว่าฝ่ายเจ้าหน้าที่ทหารใช้กระสุนปลอมจึงไม่ กลัวและผลักดันทหารต่อเนื่อง จนกระทั่งเวลาประมาณ 20.50 น. ได้ยินเสียงดังมาก 2 ครั้ง ห่างกัน 20 วินาที บริเวณใกล้ตัวพยานเอง แต่พยานเพียงแน่นหน้าอกจึงไม่คิดว่าเป็นระเบิดเพราะถ้าเป็นระเบิดพยานน่าจะ ได้รับบาดเจ็บ จุดที่เกิดเสียงดังนั้นเป็นจุดที่ทหารอยู่ หลังจากนั้นทหารจึงวิ่งถอยไปทางสะพานวันชาติ
หลังจากนั้นมีรถแกนนำคือ พ.ต.ท.ไวพจน์ อาภรณ์รัตน์ เข้ามาพร้อมประกาศว่า “ทหารอย่าทำร้ายประชาชน และประชาชนอย่าทำร้ายทหาร” ผู้ชุมนุมจึงเกิดกำลังใจและผลักดันทหารในขณะที่เสียงปืนดังขึ้นตลอด ทหารที่อยู่ในรถหุ้มเกราะพร้อมด้วยรถหุ้มเกราะได้ถอยไปทางสะพานวันชาติ และมีผู้ชุมนุมหามร่างคนไปที่รถมูลนิธิ แต่จะถูกยิงหรือไม่ ขณะนั้นไม่ทราบ เพราะผู้ชุมนุมที่อยู่บริเวณใกล้ๆ ตัวพยานนั้นไม่มีใครถูกยิงในขณะนั้น จากนั้นได้เดินไปตามบาทวิถีฝั่งโรงเรียนสตรีวิทยา เห็นทหารยิงขึ้นฟ้าและยิงมาทางผู้ชุมนุม ตอนนั้นตัวพยานยังคิดว่าเป็นกระสุนปลอม

พยาน เบิกความต่อว่า หลังจากนั้นพยานได้เดินถึงทางเข้าโรงเรียนสตรีวิทยาเจอนักข่าว(ฮิโรยูกิ ผู้ตายที่ 1)ที่เข้าใจว่าเป็นนักข่าวเนื่องจากมีการถือกล้องขนาดใหญ่ถ่ายอยู่และมีการ ถ่ายตัวพยานด้วย พยานได้เดินเลยนักข่าวคนนี้ไป ทำให้นักข่าวอยู่ด้านหลัง พยานได้หยุดเดินต่อเนื่องจากบริเวณทางเข้าโรงเรียนวัดบวรนั้นทหารได้ตั้งแถว ขวางถนนดินสอ พร้อมกับเล็งปืนมาทางผู้ชุมนุม และมีเสียงปืนมาทางผู้ชุมนุม จนกระทั่งเวลาก่อน 21.00 น.เล็กน้อย ได้ยินเสียงร้องด้านหลังขอความช่วยเหลือว่า “โอ้ยหมอ” จึงหันไปเห็นทหารนอนเจ็บอยู่ 2 คน ซึ่งอยู่ตรงท้ายรถปิกอัพ สีขาว ซึ่งขณะนั้นมีผู้ชุมนุมช่วยเหลือทหารอยู่ 3-4 คน และพยานได้ร้องขอให้ผู้ชุมนุมเข้าไปช่วย จึงมีผู้ชุมนุมเข้าไปช่วยประมาณ 7 คน ในจำนวนนั้นมีนายจรูญ ฉายแม้น ซึ่งเสียชีวิตภายหลังเข้าไปด้วย
รวมทั้งเห็นอีกคนที่ถือธงสีแดงภายหลังทราบว่าเป็นนายวสันต์ ภู่ทอง(ผู้ตายที่ 2)เข้ามาด้วย ผู้ชุมนุมเข้าไปเพื่อยกให้ทหารที่นอนอยู่นั่งขึ้น พร้อมกับตะโกนให้ทหารออกไป โดยนายวสันต์โบกธงเพื่อไม่ให้ทหารยิง และเดินห่างจากพยานไป 4 ก้าว ก็ล้มลงเท้าเฉียงไปทางอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย หัวไปทางเข้าโรงเรียนสตรีวิทยาตรงทางม้าลาย ขณะนั้นทราบว่าถูกยิงที่หัวเนื่องจากมีสมองและเลือดกระเด็นออกมา พอเห็นเช่นนั้นผู้ชุมนุมที่อยู่บริเวณนั้นรวมทั้งพยานต่างตกใจ หลังจากนั้นตัวพยานถูกยิงที่ขาก่อนที่จะวิ่ง 3 ก้าวแล้วล้มลงหน้าทางเข้าโรงเรียนสตรีวิทยา
ก่อนที่พยานจะล้มนั้นหันไปเห็นนักข่าว(ฮิโรยูกิ)กำลังถ่ายภาพทหาร 2 คนที่บาดเจ็บอยู่ฝั่งตรงข้ามโรงเรียนสตรีวิทยา หันหลังให้ทางเข้าโรงเรียนสตรีวิทยา ยืนตรงประตูทางเข้าโรงเรียนมือซ้ายยกขึ้นจับกล้องในท่าถ่ายและลำตัวด้านซ้าย ไปทางสะพานวันชาติ พอพยานล้มนักข่าวคนดังกล่าวก็ล้มตาม ห่างจากพยานประมาณ 3 เมตร ได้ยินเสียงกล้องกระแทกพื้น ขณะนั้นได้ยินเสียงปืนตลอด หลังจากนั้นมีชายชุดขาววิ่งมาทางนักข่าวและล้มลง รวมทั้งมองไปทางฝังตรงข้ามโรงเรียนสตรีวิทยาที่มีทหาร 2 คนบาดเจ็บอยู่นั้นมีอีกหลายคนที่ล้มลง รวมทั้งรอบๆ ที่ร่างนายวสันต์นอนอยู่ก็มีคนล้มด้วย ขณะนั้นมองไปยังฝั่งทหารหน้าทางเข้าโรงเรียนวัดบวรก่อนถึงสะพานวันชาตินั้น มีประกายไฟจากปากกระบอกปืนมาทางฝังผู้ชุมนุมและสะพานวันชาติ
หลังจากที่พยานดูตัวเองพบว่าถูกยิงโดยกระสุนยางแล้วยังนอนตรงนั้นประมาณ 2 นาทีก็วิ่งไปหลบตรงต้นไม้และตู้โทรศัพท์ ในขณะนั้นเสียงปืนก็ยังคงดังอยู่จนกระทั้งผู้ชุมนุมหลบหมดเสียงปืนจึงสงบลง ขณะนั้นมีผู้ชุมนุมอีกชุดเดินมาบนบาทวิถีจากอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยฝั่งตรง ข้ามโรงเรียนสตรีวิทยาเพื่อช่วยเหลือทหาร แต่กลับถูกยิงได้รับบาดเจ็บ จนกระทั้งมีคนตะโกนบอกว่า “อย่ายิง ให้รายงานผู้บังคับบัญชาว่ามีทหารบาดเจ็บ” หลังจากนั้นประมาณ  1 นาทีมีทหารจากทางสะพานวันชาติ 5 คน มาช่วยทหารที่ได้รับบาดเจ็บ ซึ่งตอนนั้นไม่มีเสียงปืนแล้ว ทหารจึงถอยไปถึงสะพานวันชาติ
นายไพบูลย์ เบิกความว่าต่อจากนั้นผู้ชุมนุมที่หลบอยู่ก็ออกมาล้อมรถหุ้มเกราะ และมีบางคนได้หย่อนตัวลงไปในรถแล้วเอาเสื้อไปเปลี่ยนให้ทหารที่อยู่ในรถ ซึ่งพยานคิดว่าคนที่เข้าไปช่วยน่าจะเป็นทหารที่ปลอมตัวมาปะปนกับผู้ชุมนุม ที่สามารถนำทหารที่อยู่ในรถหุ้มเกราะกลับไปฝั่งทหารได้ 3 คน เหลือคนที่ 4 ที่ถูกผู้ชุมนุมคัดค้าน ทำให้ผู้ชุมนุมนำเอาทหารไปที่เวที ส่วน 3 คนที่สามารถเอาทหารออกไปได้นั้นคนที่พาทหารออกไปก็ไม่ได้กลับมา บางคนใส่กางเกงลายพรางด้วย โดยพยานนั่งสังเกตการณ์อยู่บริเวณนั้นจนถึง 21.00 น. เศษ จึงเดินเข้าไปที่จุดที่ทหารเคยอยู่ตรงทางเข้าประตูโรงเรียนวัดบวร พร้อมกับผู้ชุมนุมที่ตามเข้ามาด้วยพบบริเวณนั้นมีปลอกกระสุนทั้ง M16 และลูกซองจำนวนมาก
นอกจากนี้พยานได้เดินสำรวจถนนดินสอ พบรอยคลายรอยกระสุนปืนบริเวณรถทหาร รถผู้ชุมนุม ประตูและกำแพงอาคารข้างถนน เสาไฟ ป้าย รวมทั้งตัวอนุสาวรีย์ฝังโรงเรียนสตรีวิทยา อยู่ในระดับตั้งแต่หัวเข่าจนเลยศีรษะ ประมาณ 140 รอย

ทั้งนี้การสืบนายไพบูลย์ น้อยเพ็ง จนถึงเวลา 16.30 น. ทนายญาติผู้เสียชีวิตได้ร้องขอต่อศาลเพื่อสืบนายไพบูลย์ ต่อในนัดถัดไป ศาลจึงได้อนุญาตให้มีการไต่สวนนายไพบูลย์ ในนัดหน้าวันที่ 17 ต.ค.55 ต่อ โดยจะมีการเปิดวีดีโอคลิปที่มีพยานปรากฏในเหตุการณ์เพื่อยืนยันด้วย

แผนที่หน้าโรงเรียนสตรีวิทยา :

ดูแผนที่ขนาดใหญ่

สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล เปิด นสพ. เก่า อ่านชนวน 6 ตุลา ผ่านข่าวก่อนเกิดเหตุ

ที่มา ประชาไท




5 ต.ค.55  ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อาจารย์ประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ค  “วันนี้เมื่อ 36 ปีก่อน” โดยนำรูปปกหนังสือพิมพ์เก่าฉบับต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ดาวสยาม บ้านเมือง ไทยรัฐ บางกอกโพสต์ ประชาชาติ เปรียบเทียบการพาดหัวข่าวเกี่ยวกับการชุมนุมใหญ่ของประชาชนและนักศึกษาใน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในวันที่ 1, 2, 3, 4, 5 ตุลาคม 2519 ก่อนจะเกิดเหตุการณ์กวาดล้างนักศึกษาและประชาชนในวันที่  6 ตุลาคม 2519

สำหรับ ในวันนี้ ( 5 ต.ค.) เมื่อ 36 ปีที่แล้ว สมศักดิ์ ได้วิเคราะห์ข่าวของหนังสือพิมพ์ฉบับต่างๆ ไว้ว่า ชนวนของการจุดประเด็นเรื่องละครแขวนคอ อันเป็นเหตุให้ฝ่ายขวาลุกฮือและมีการกวาดล้างผู้ชุมนุมอย่างโหดเหี้ยมนั้น ถูกจุดขึ้นจากประเด็นเพียงเล็กน้อยและด้วยเวลาอันรวดเร็วเพียงใด ทั้งที่สื่อมวลชนเกือบทั้งหมด รวมทั้งดาวสยามเองนำเสนอข่าวการแสดงละครนี้ในวันที่ 5 ต.ค. เป็นเพียงข่าวเล็กๆ ที่แทบไม่ได้รับความสนใจ

รายละเอียดมีดังนี้


วันนี้ เมื่อ 36 ปีก่อน: 5 ตุลาคม 2519

...............

ทั้งพาดหัวและรายงานข่าวของ นสพ.ทุกฉบับ ที่วางตลาดในเช้าวันอังคารที่ 5 ตุลาคม 2519 ไม่มีวี่แวว หรืออะไรแม้แต่นิดเดียว ที่จะส่อให้เห็นว่า จะเกิดอะไรขึ้น ภายใน 24 ชม.ข้างหน้า

ทุกฉบับรายงานการ "ยกระดับ" การต่อต้านถนอม ที่นำโดยศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ในเย็นวันก่อนหน้านั้น (จันทร์ที่ 4) คือ มีการจัดชุมนุมใหญ่ที่สนามหลวงเป็นครั้งแรก แล้วการชุมนุม ได้ "ยืดเยื้อ" คือ ไม่สลาย แต่ผู้ชุมนุมได้เคลื่อนขบวนเข้ามาใช้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นที่ชุมนุม ข้ามคืน "ยืดเยื้อ" ต่อ

แต่จะว่าไปแล้ว นี่ก็เป็นอะไรที่ "คาดเดาได้" เพราะสมัยนั้น ถ้ามีเรื่องประท้วงใหญ่มากๆ ก็จะลงเอยในลักษณะนี้ คือ นักศึกษาจัดชุมนุมยืดเยื้อในธรรมศาสตร์

ก่อนหน้านั้น เพียงเดือนเศษ ก็มีกรณีลักษณะนี้ เมื่อ ประภาส จารุเสถียร ลักลอบกลับเข้ามาในประเทศไทย

ความ แตกต่าง คือ ครั้งถนอมนี้ การชุมนุมในลักษณะนี้ เริ่มช้ากว่า คือ เริ่มหลังจากถนอมเข้ามาแล้ว 2 สัปดาห์ ไมใช่ เริ่มทันที เหมือนครั้งประภาส

ราย ละเอียดที่ต่างกันออกไปบ้างอีกอย่างหนึ่ง คือ การชุมนุมยืดเยื้อในธรรมศาสตร์ เพื่อประท้วงถนอม ที่เริ่มขึ้นในเย็นวันที่ 4 ตุลาคม นี้ มีขึ้นพร้อมกับการเริ่มฤดูการสอบไล่ของนักศึกษาพอดี หมายความว่า นักศึกษาธรรมศาสตร์ ต้องงดการสอบไปโดยปริยาย

และเรื่อง นี้เอง ที่นำไปสู่เหตุการณ์เล็กๆ ที่ไม่ได้มีใครสนใจหรือให้ความสำคัญมาก คือ การจัดชุมนุมภายในของนักศึกษาธรรมศาสตร์เอง ซึงส่วนใหญ่คือ นักศึกษาชั้นปี 1 ที่ทำกิจกรรม ที่ลานโพธิ์ ในตอนเที่ยงของวันเดียวกันนั้น เพื่อชักชวนให้นักศึกษาปี 1 ที่ต้องมาสอบทุกคน งดสอบ (ไม่ค่อยได้ผลนัก นักศึกษาธรรมดา ที่ไมใช่เด็กกิจกรรม ยังเข้าสอบต่อไป) มีการจัดแสดง "ละคร" หรือ "ฉาก" สั้นๆ ไม่กีนาที ประกอบ เพื่อเรียกร้องความสนใจ โดยหยิบเอาเหตุกาณณ์ ฆ่าแขวนคอ ช่างไฟฟ้า ที่นครปฐม 2 คน มาแสดง สลับกับการ "ไฮด์ปาร์ค" ย่อยๆ ด้วยเครื่องเสียงเล็กๆ

การจัดชุมนุมภายในของนัก ศึกษาธรรมศาสตร์ที่ว่านี้ เป็นเรือ่งกิจกรรมภายใน ที่นักกิจกรรมในธรรมศาสตร์ โดยเฉพาะปี 1 "ทำกันเอง" ไม่ได้เป็นมติของ - หรือเกี่ยวข้องกับ - ศูนย์นิสิต

แน่นอนว่า นสพ.ทุกฉบับ ก็มาทำข่าว ถ่ายภาพกัน แต่ก็ไม่มีฉบับไหนให้ความสำคัญมาก

ไทย รัฐ ฉบับเช้าวันต่อมา (ดังทีแสดงให้เห็นในภาพ) ลงรูป ดร.ป๋วย มาห้ามปราม ให้เลิกชุมนุม หลังการชุมนุมดำเนินไป จนเรียกว่า เกือบจบแล้ว คือ หมดเวลาพักเที่ยง กำลังจะเริ่มการสอบ ตอนบ่ายโมงแล้ว ดร.ป๋วย ต้องการให้เลิก เพื่อไม่ให้รบกวนการสอบ (ถ้า ดร.ป๋วย ไม่มาห้ามปราม พวกเราเอง ก็คงอยู่กันต่ออีกไม่นาน ปล่อยให้นักศึกษา ที่สอบ สอบกันไป) แต่ละครเล็กๆ ที่ว่า ไทยรัฐ ก็ไม่รู้สึกน่าสนใจพอจะลง (จริงๆ ที่ลงรูปการชุมนุมนี้ ในหน้า 1 ก็คงเพราะมี ดร.ป๋วย มา "ปะทะนักศึกษา" ตามคำโปรยหัว ที่ออกจะ "เว่อร์" ของไทยรัฐ นันแหละ ลำพัง การชุมนุมเล็กๆแบบนี้ คงไม่เป็นข่าวอะไร)

นสพ. "ประชาชาติ" ลงรูป "ละคร" ที่แสดงเพื่อเรียกความสนใจที่วา เป็นรูปเล็กๆ แทบจะดูไม่ออกว่าเป็นรูปอะไร เพราะไม่มีการบรรยายไว้ด้วยว่าเป็นรูปอะไร (นอกจากว่า "ส่วนภาพเล็ก เป็นการประท้วงของ นศ.ที่ลานโพธิ์" ใครที่ไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์เอง ก็ยากจะดูรู้เรื่องว่า ในภาพ เป็นอะไร) และก็ไม่ได้ให้ความสำคัญอะไร

ทีสำคัญ นสพ. ขวาจัด 2 ฉบับ ในขณะนั้น คือ ดาวสยาม กับ บ้านเมือง ไม่ให้ความสำคัญเลย จะเห็นว่า ไม่มีแม้แต่รูปอะไรเกี่ยวกับการชุมนุมของ นักศึกษาธรรมศาสตร์ ที่ลานโพธิ์ และ "ละคร" ที่ว่าเลย

แต่ด้วยความบังเอิญ นสพ.ภาษาอังกฤษ Bangkok Post คงเห็นว่า ภาพ "ละคร" หรือ "ฉาก" ทีแสดงเรียกความสนใจนักศึกษาที่กำลังเข้าสอบทีว่า ออกมาแล้ว ดูเด่นดี เลยนำมาตีพิมพ์ในหน้า 1 และเป็น นสพ. ฉบับเดียวในเช้าวันอังคารที่ 5 ที่ลงภาพและเรื่องการแสดง "ละคร" ที่ว่านี้อย่างชัดเจน (ถ้าไม่นับ ประชาชาติ ที่ลงแต่รูปเล็กนิดเดียว แทบจะดูไม่ออก ดังกล่าว The Nation มีภาพละคร เช่นกัน แต่ถ่ายจากด้านข้าง)

และ Post ดูจะเป็นฉบับเดียว ที่ รู้สึกว่า "ละคร" นี้ แสดง "ได้ผล" หรือมี ผลสะเทือนต่อคนทีได้ดู ("It was just a mock hanging, but the effect was such that it created an eerie atmosphere at the Thammasat University campus...")

(ผมเดา ว่า ส่วนหนึงที่ Post ให้ความสำคัญ กับ "ละคร" เพราะต้องการ "เล่น" ข่าว ที่ ศรีสุข อธิบดีกรมตำรวจ ออกมายอมรับว่า การ ฆาแขวนคอ ช่างไฟฟ้า 2 คน เป็นฝีมือตำรวจ - ดูพาดหัวตัวโต ของ Post ตามภาพ)


และก็ด้วยความ บังเอิญ เช่นกัน ในเช้าวันอังคารที่ 5 นี้ กลุ่มฝ่ายขวา ทีแทบไม่มีใครสนใจ หรือรุ้จัก ที่เรียกตัวเองว่า "กลุ่มผู้รักชาติและชมรมแม่บ้าน" ไม่กี่ร้อยคน ที่ไม่พอใจ กับเรื่องที สมัคร สุนทรเวช และ สมบุญ ศิริธร "ปีกขวา" ประชาธิปัตย์ กำลังถูกกีดกันออกจาก ครม.ที่ตั้งขึ้นใหม่ ที่เป็นข่าวต่อเนือ่งมาหลายวัน (ดูกระทู้ก่อนๆในซีรีส์นี้ ตาม links ข้างล่าง)

ได้พากันมาชุมนุมที่หน้าทำเนียบรัฐบาล จนถึงประมาณหลังเที่ยงวันเล็กน้อย ใกล้จะเลิกชุมนุมอยู่แล้ว ก็บังเอิญ มีบางคนในหมุ่คนเหล่านี้ "เห็น" ขึ้นมาว่า ภาพในหน้า 1 Bangkok Post ดังกล่าว เป็นภาพอย่างอื่นที่ไมใช่เรื่องสะท้อนการแขวนคอช่างไฟฟ้าทีนครปฐม

ภาย ในไม่กีชัวโมง ในช่วงบ่ายถึงค่ำวันอังคารที่ 5 ตุลาคม 2519 ข่าวลือ เรือ่ง "นักศึกษา แขวนคอ หุ่น เหมือน ..." (นี่คือเนื้อหาของข่าวลือตอนแรก) ก็แพร่สะพัด ในหมู่พวกกำลังขวาจัดในขณะนั้น ราวกับไฟลามทุ่ง โดยมี นสพ. ดาวสยาม (ทีตอนแรก ไม่รู้สึกว่า ละคร ดังกล่าว มีอะไร พอจะรายงานในเช้าวันนั้น ด้วยซ้ำ) และ วิทยุ ยานเกราะ เป็นตัว จุดไฟ และช่วยกระพือ

ภายในไม่กี่ชัวโมง กำลังที่อยู่ในการควบคุมของพวกขวาจัด ได้รับการระดมกันขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งประเภทมวลชนจัดตั้ง (ลูกเสือชาวบ้าน กระทิงแดง นวพล) .. แต่ทีสำคัญ คือการเคลื่อนกำลังติดอาวุธ โดยเฉพาะในแวดวงตำรวจ และ ทีสำคัญทีสุด คือ ตำรวจ "พลร่ม" ตระเวนชายแดน ที่ถูกเคลื่อนกำลังเข้ามาจากหัวหินในกลางดึก (ตี 2) ของคืนวันอังคารที่ 5 ต่อเนื่องวันพุธที่ 6 ตุลาคม 2519

เป้าหมายของการโจมตี คือ ธรรมศาสตร์ .....


อ่านรายละเอียดในวันที่ 1-4 ตุลาคม 2519 ได้ที่
"วันนี้ เมื่อ 36 ปีก่อน: 1 ตุลาคม 2519" http://goo.gl/4wknz
"วันนี้ เมื่อ 36 ปีก่อน: 2 ตุลาคม 2519" http://goo.gl/T3E9W
"วันนี้ เมื่อ 36 ปีก่อน: 3 ตุลาคม 2519" http://goo.gl/OkrRa
"วันนี้ เมื่อ 36 ปีก่อน: 4 ตุลาคม 2519" http://goo.gl/hekC

ศาลปกครองกลางสั่ง "สตช.-สำนักนายกฯ" ชดใช้ผู้ชุมนุม พธม. กรณี 7 ตุลา

ที่มา ประชาไท



ศาลปกครองกลางมีคำสั่งให้ สตช.และสำนักนายกฯ ชดใช้ให้กับผู้ชุมนุมกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย 250 ราย จากกรณีตำรวจสลายการชุมนุมของกลุ่ม พธม.ที่ล้อมสภา เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2551
ที่ศาลปกครองกลาง ถนนแจ้งวัฒนะ วันที่ 5 ตุลาคม นางสิริกาญจน์ พานพิทักษ์ ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองกลาง เจ้าของสำนวนและองค์คณะ มีคำพิพากษาคดีหมายเลขดำ 1569/2552 ที่นายชิงชัย อุดมเจริญกิจ กับพวกรวม 250 ราย ซึ่งเป็นประชาชนที่สูญเสียอวัยวะสำคัญและได้รับบาดเจ็บ จากกรณีเจ้าหน้าที่รัฐสลายการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อ ประชาธิปไตย (พธม.) เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2551 ยื่นฟ้อง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) และสำนักนายกรัฐมนตรี ผู้ถูกฟ้องที่ 1-2 เรื่องหน่วยงานทางปกครองกระทำละเมิด จากกรณีที่เจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในการสลายการชุมนุมของกลุ่ม พธม. ที่ล้อมบริเวณรัฐสภา เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2551 ได้นำอาวุธชนิดต่างๆ ที่มีอันตรายมาในการสลายการชุมนุม โดยไม่ได้ปฏิบัติตามหลักการมาตรฐานสากล จนเป็นเหตุให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต
ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า รัฐธรรมนูญฯปี 2550 มาตรา 63 บัญญัติให้บุคคลมีเสรีภาพการชุมนุมได้โดยสงบและปราศจากอาวุธ ขณะที่ข้อเท็จจริงจากพยานบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุม และฝ่ายที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการชุมนุม ตามรายงานตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2551 ยืนยันสอดคล้องต้องกันว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในวันที่ 7 ตุลาคม 2551 ตั้งแต่เวลา 05.00-24.00 น. ได้นำอาวุธปืนวัตถุระเบิดชนิดต่างๆ ซึ่งมีอันตรายโดยสภาพมาใช้ในการสลายการชุมนุม โดยไม่ได้ปฏิบัติตามหลักมาตรฐานสากล ที่ต้องเริ่มจากการเจรจาการต่อรอง หากไม่สำเร็จ จึงจะใช้มาตรการสลายการชุมนุมจากเบาไปหาหนัก โดยใช้โล่กำบังผลักดันผู้ชุมนุม ถ้าไม่ได้ผลให้ใช้น้ำฉีดจากรถดับเพลิงเพื่อเปิดทาง หากไม่ได้ผล จึงให้ใช้แก๊สน้ำตา ซึ่งเจ้าหน้าที่จะต้องประกาศถึงขั้นตอนดังกล่าวให้ผู้ชุมนุมทราบก่อน
จากคำให้การของผู้ชุมนุม ผู้ฟ้องคดี ผู้ร้องสอด กลุ่มสื่อมวลชน เจ้าหน้าที่พยาบาลและทีมแพทย์สนามยืนยันว่า ไม่ได้ยินเสียงประกาศแจ้งเตือนแต่อย่างใด และไม่ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจใช้มาตรการการควบคุมผู้ชุมนุมจากเบาไปหาหนัก ตามแผนที่วางไว้ ขณะที่ น.อ.อ.พงษ์ศักดิ์ เกื้อการุณ ผู้อำนวยการกองวิทยาการ กรมสรรพาวุธทหารอากาศ ยืนยันว่า การใช้แก๊สน้ำตาชนิดขว้าง ต้องขว้างให้ตกจากฝูงชนมากกว่า 3 เมตร ในทิศเหนือลม ส่วนการยิงควรใช้มุมยิง 25-45 องศา ให้ห่างจากฝูงชน 60-90 เมตร ซึ่งทั้งสองวิธีไม่ควรเล็งไปยังบุคคลโดยตรง แต่ข้อเท็จจริงจากพยานกลุ่มต่างๆ ยืนยันว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจยิงและขว้างแก๊สน้ำตาไปยังกลุ่มผู้ชุมนุมโดยตรง และยิงใส่เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์และรถพยาบาลที่มีเครื่องหมายกาชาดไทย ที่สามารถมองเห็นได้ไกลถึง 100 เมตร ขณะที่ผลการทดสอบขว้างแก๊สน้ำตาที่ใช้ในการสลายการชุมนุมพบว่า ทำให้พื้นสนามเป็นหลุม ขนาด 8 คูณ 8 คูณ 3 เซนติเมตร และเป็นหลุมขนาด 16 คูณ 16 คูณ 8 เซนติเมตร และพบสารอาร์ดีเอ็กซ์ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการฉีกทำลายล้าง หากเกิดกับร่างกายมนุษย์ย่อมฉีกขาดและทำลายอวัยวะได้เช่นกัน
นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ยังมีทัศนคติในทางลบกับผู้ชุมนุม ผ่านคำพูดในการเข้าสลายการชุมนุมว่า "มันอยู่ได้ ให้มันอยู่ไป ยิงเข้าไป เดินเข้าไป ลุยเข้าไป" "บาดแผลแค่นี้ไม่ตายหรอก" แสดงให้เห็นว่าแผนกรกฏ 2548 ที่นำมาใช้เป็นเพียงการอ้างหลักตามมาตรฐานสากล แต่การปฏิบัติงานจริงไม่ได้เป็นไปตามหลักการให้ความเมตตาผู้มีความคิดเห็น ทางการเมืองที่แตกต่างตามที่เขียนแผนปฏิบัติการไว้ เมื่อข้อเท็จจริงยังรับฟังได้เป็นที่ยุติว่ารัฐสภาปิดการประชุมตั้งแต่เวลา 11.30 น. โดย ส.ส.และคณะรัฐมนตรี ออกจากสภาเสร็จสิ้นตั้งแต่เวลา 18.00 น.แล้ว กรณีจึงไม่มีเหตุที่จะสลายการชุมนุมในช่วงเวลา 18.00-24.00 น. แต่อย่างใด และเมื่อพิเคราะห์ผลการพิจารณาของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน และความเห็นของคณะกรรมการป้องกันละปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) จึงเห็นว่าการสลายการชุมนุมของเจ้าหน้าที่ตำรวจสังกัด ตร.ผู้ถูกฟ้องที่ 1 เป็นการกระทำโดยจงใจ กระทำต่อผู้อื่นโดยผิดกฎหมายเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกายต่อผู้ชุมนุม
ข้ออ้างที่ผู้ถูกฟ้องทั้ง 2 ระบุว่า การใช้แก๊สน้ำตาเพราะผู้ชุมนุมใช้หนังสติ๊กยิงด้วยลูกแก้ว กระบอง ธงด้ามเหล็ก ไม้เบสบอล ทำร้ายเจ้าหน้าที่ได้รับบาดเจ็บหลายนายนั้น เห็นว่าการใช้แก๊สน้ำตายิงและขว้างของเจ้าหน้าที่และการใช้อาวุธปืนชนิด ต่างๆ ยิงทำร้ายผู้ร่วมชุมนุม ได้รับอันตรายถึงชีวิตและบาดเจ็บรวม 1,003 คน ส่วนเจ้าหน้าตำรวจได้รับบาดเจ็บเพียง 78 นาย โดยสาหัส 9 นาย ขณะที่ข้อเท็จจริงพบว่าในวันดังกล่าวมีผู้ชุมนุมหลายหมื่นคน หากผู้ชุมนุมถูกปลุกระดมให้ทำร้ายหรือทำลายสถานที่ราชการ หรือบุกจับ ส.ส.และ ครม.ตามที่อ้าง ลำพังกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจเพียง 2,500 นาย คงไม่อาจต้านทานได้ ดังนั้น ข้ออ้างว่ามีการทำลายสถานที่ราชการบุกจับตัวประกันจึงเป็นเพียงข้ออ้าง เพื่อให้เหมาะสมกับเหตุสลายการชุมนุมที่ไม่ชอบด้วยรูปแบบ ขั้นตอนความแบบกรกฎาคม 2548
ขณะที่ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ อดีต ผบ.ตร. พล.ต.อ.วิโรจน์ พหลเวชช์ และ พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว สังกัดผู้ถูกฟ้องที่ 1 ต่างยืนยันสอดคล้องกันว่า นายสมชาย วงษ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี ในขณะนั้น และ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรี ขณะนั้น สังกัดผู้ถูกฟ้องที่ 2 ประชุม ครม.และมีมติในคืนวันที่ 6 ตุลาคม 2551 ว่าจะต้องประชุมรัฐสภา ในวันที่ 7 ตุลาคม 2551 และสั่งการให้ผู้ถูกสั่งฟ้องที่ 1 ผลักดันผู้ร่วมชุมนุมที่ปิดล้อมรัฐสภาให้ออกไป เพื่อจะให้มีการแถลงนโยบายในวันดังกล่าวให้ได้ ดังนั้น เมื่อวินิจฉัยแล้วว่าการกระทำของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ตร.สังกัดผู้ถูกร้องที่ 1 ได้กระทำละเมิดต่อผู้ชุมนุม แล้วผู้ถูกฟ้องทั้ง 2 ในฐานะหน่วยงานต้นสังกัดของนายสมชาย พล.อ.ชวลิต และ พล.ต.อ.พัชรวาท จึงต้องรับผิดที่เกิดจากการกระทำละเมิดเจ้าหน้าที่ด้วย ซึ่งในการสลายการชุมนุมเกิดตั้งแต่เช้าถึงค่ำรวม 4 ครั้ง แต่นายสมชาย นายกรัฐมนตรี ก็ไม่ได้ให้ความใส่ใจ แม้จะประชุมสภาเสร็จในเวลา 11.30 น. เจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องที่ 1 ก็ยังคงใช้กำลังและอาวุธในการสลายการชุมนุม
ผู้ถูกฟ้องทั้งสองจึงต้องร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายให้กับผู้ฟ้อง ซึ่งการกำหนดค่าเสียหายให้กับผู้รับความเสียหายนั้นตามมติ ครม.วันที่ 10 มกราคม 2555 เรื่องข้อเสนอแนะเพื่อส่งเสริมให้การเยียวยาและฟื้นฟูเหยื่อ และผู้เสียหายตลอดจนผู้ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงหรือความขัดแย้งทางการ เมือง ซึ่งศาลเห็นควรให้ผู้ถูกร้องทั้ง 2 ชดใช้ค่าเสียหายให้กับผู้ฟ้องที่ 1 เป็นเงิน 5,190,964.80 บาท ผู้ฟ้องที่ 2 จำนวน 2,250,650 บาท ผู้ฟ้องที่ 3 จำนวน 1 แสนบาท ผู้ฟ้องที่ 4 จำนวน 160,000 บาท ผู้ฟ้องที่ 5 เป็นเงิน 256,435 บาท ผู้ฟ้องที่ 6 จำนวน 3,711,894 บาท ผู้ฟ้องที่ 7 จำนวน 30,000 บาท ผู้ฟ้องที่ 8 จำนวน 3,053,363 บาท ผู้ฟ้องที่ 9 จำนวน 3,303,540 บาท ผู้ฟ้องที่ 10 จำนวน 165,000 บาท ผู้ฟ้องที่ 11 จำนวน 120,000 บาท ผู้ฟ้องที่ 12 จำนวน 524,000 บาท ผู้ฟ้องที่ 13 จำนวน 75,000 บาท  ผู้ฟ้องที่ 14-19 และ 22 รวม 7 ราย รายละ 50,000 บาท ผู้ฟ้องที่ 20 จำนวน 155,000 บาท ผู้ฟ้องที่ 21 จำนวน 70,000 บาท ผู้ฟ้องที่ 23 จำนวน 300,000 บาท ผู้ฟ้องที่ 24-25 รายละ 120,000 บาท ผู้ฟ้องที่ 28 จำนวน 1,942,710 บาท ผู้ฟ้องที่ 29 จำนวน 120,840 บาท
ส่วนผู้ฟ้องที่ 26-27,30-32, 33-44, 46-54, 55-133, 135-250, และผู้ร้องสอดซึ่งเป็นผู้เสียหายด้วยอีก 5 ราย รายละ 50,000 บาท และผู้ฟ้องที่ 134 จำนวน 8,900 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 6 ตุลาคม 2552 จนกว่าจะทำการชำระเสร็จ โดยให้ดำเนินการเสร็จสิ้นภายใน 60 วัน นับแต่วันคดีถึงที่สุด หากผู้ฟ้องและผู้ร้องสอดใดๆ ได้รับเงินทดแทนเยียวยาความเสียหายจากหน่วยงานของรัฐตามมติ ครม.ในวันที่ 10 มกราคม 2555 ไปแล้ว ยังให้มีสิทธิรับค่าทดแทนส่วนที่เหลือตามคำพิพากษาได้ และหากภายใน 2 ปี นับแต่วันที่มีคำพิพากษา ผู้ฟ้องหรือผู้ร้องสอดรายใดยังต้องรักษาตัวอย่างต่อเนื่อง ศาลยังสงวนสิทธิที่จะแก้ไขคำพิพากษาส่วนนี้เพิ่มเติมได้
ส่วนนายประเสริฐ แก้วกระโทก ผู้ฟ้องที่ 45 ซึ่งอ้างว่าได้รับบาดเจ็บจากการสลายการชุมนุมนั้น ข้อเท็จจริงจากมูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดิน ระบุว่า ผู้ฟ้องถูกกลุ่มเสื้อแดงดักทำร้ายขณะรถติดไฟแดง ที่ถนนวิภาวดีซอย 3 ด้วยอาวุธไม้ท่อนทุบตีและใช้มีดฟันมือ เบื้องต้นมูลนิธิได้จ่ายค่ารักษาให้จำนวน 90,000 บาท เมื่อกรณีไม่ได้ถูกกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ศาลจึงไม่กำหนดค่าเสียหายให้ และพิพากษาให้ยกฟ้อง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับคำพิพากษานี้ ยังเป็นเพียงศาลปกครองชั้นต้น หากคู่ความไม่พอใจยังสามารถยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุดได้ภายใน 30 วัน


ที่มา: มติชนออนไลน์