WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, October 16, 2010

“พระปราโมทย์”แจงยิบ หลัง “ฐิตินาถ” อ้างดีเอสไอพบบัญชีลับ 40 ล้านบาท

ที่มา Dhammada.net

อ้างอิง : http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9530000145828&#Opinion

“สวน สันติธรรม” ออกแถลงแจงยิบ หลัง “ฐิตินาถ” ออก “เจาะใจ” อ้างดีเอสไอพบบัญชีธนาคารส่วนตัวพระปราโมทย์และอดีตภรรยาอีก 15 บัญชี มีเงินหมุนเวียนราว 30 ล้านบาท พร้อมพันธบัตรกว่า 10 ล้านบาท ยันสวนสันติธรรมมอบข้อมูลให้เจ้าพนักงานเองไม่ใช่ถูกตรวจพบ เผยมีเพียง 4 บัญชี พร้อมย้ำมีระบบแยกชัดเจนเงินส่วนของ“พระ”หรือของ“วัด” ไม่ได้มั่วยักยอกเงินวัด อีกทั้งยังมีเงินเก็บส่วนตัวตั้งแต่เมื่อเป็นฆราวาส ก่อนพระปราโมทย์บวชทำงานมีเงินเดือนสูงระดับอธิบดี เผยเตรียมจดทะเบียนอย่าอดีตภรรยา ลดข้อกังขา

ภายหลัง น.ส.ฐิตินาถ ณ พัทลุง ไฮไซนักเขียนชื่อดัง ไปออกรายการทีวี “เจาะใจ” อีกทั้งให้สัมภาษณ์ตอนไปอัดเทปรายงานเมื่อวันอังคาร(12)ที่ผ่านมาว่า ได้พูดคุยกับเจ้าหน้าที่ดีเอสไอ (กรมสอบสวนคดีพิเศษ) ทราบว่ามีการตรวจพบบัญชีธนาคารอีก 15 บัญชี เป็นชื่อของนางอรนุช สันตยากร อดีตภรรยาของพระปราโมทย์ ปาโมชโช เจ้าสำนักสวนสันติธรรม อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี โดยมีเงินหมุนเวียนราว 30 ล้านบาท พร้อมพันธบัตรมูลค่าอีกกว่า 10 ล้านบาท

สวนสันติธรรมได้ออกประกาศลงวันที่ 15 ต.ค. ชี้แจงว่า ข้อเท็จจริงคือมีผู้ร้องเรียนต่อดีเอสไอรวม 2 ครั้ง ครั้งแรกเป็นเรื่องบัญชีของสวนสันติธรรมและการถือครองที่ดิน แต่ไม่มีเรื่องบัญชีส่วนตัว ทางสวนฯก็ได้ส่งมอบเอกสารหลักฐานให้ทั้งหมด ต่อมาเมื่อมีการร้องเรียนในเรื่องบัญชีส่วนตัว ซึ่งเป็นเรื่องต่างกรรมต่างวาระกัน สวนสันติธรรมก็ให้ความร่วมมือส่งมอบข้อมูลแก่เจ้าพนักงานไปด้วยความยินดี ไม่ใช่เรื่องดีเอสไอมาตรวจพบบัญชีที่ปกปิดไว้แต่อย่างใด

สำหรับ ข้อกล่าวหาที่ว่าพระปราโมทย์ ยักยอกปัจจัยบูชาธรรมจากสวนสันติธรรมนั้น ประกาศชี้แจงระบุว่า พระปราโมทย์ได้เคยกล่าวต่ออดีตกรรมการสวนฯและสาธุชนที่เข้าไปฟังธรรมอยู่ เสมอว่า มีปัจจัยที่ญาติโยมถวายเป็นส่วนตัวอยู่จำนวนหนึ่ง ซึ่งอาจนำไปใช้เพื่อทำประโยชน์ทางศาสนาในอนาคต โดยในขณะที่ยังไม่มีแนวความคิดที่จะตั้งสวนสันติธรรมเป็นวัดนั้น ได้คิดที่นำมาใช้สร้างสถานที่ปฏิบัติธรรม หรือใช้สร้างเจดีย์และพิพิธภัณฑ์ในสวนสันติธรรม ครั้นเมื่อมีแนวความคิดจะตั้งวัดแล้วตั้งแต่มกราคม 2553 ก็คิดจะนำมาใช้สร้างอุโบสถและเจดีย์ แต่แล้วกลับมีการบิดเบือนว่า พระปราโมทย์เก็บปัจจัยไว้เพื่อจะลาสิกขาออกไปครองเรือนในอนาคต

ประกาศ ชี้แจงของสวนสันติธรรม ยังปฏิเสธเรื่องมีบัญชีส่วนตัว 15 บัญชี โดยบอกว่ามีเพียง 4 บัญชี เป็นชื่อของนางอรนุช 3 บัญชี และชื่อของพระปราโมทย์ 1 บัญชี โดยบัญชีแรก จำนวนเงินประมาณ 4 แสนบาท เก็บไว้ใช้เป็นเงินรายจ่ายฉุกเฉินของพระปราโมทย์ หรือสวนสันติธรรม แต่หากยังไม่มีการใช้จ่ายในช่วงนั้น ก็จะตัดเงินไปเข้าเงินฝากประจำ บัญชีที่ 2 ประมาณ 3.6 แสนบาท ใช้ชื่อพระปราโมทย์ เพื่อรับเงินบริจาคในรูปของเช็คขีดคร่อม ซึ่งสั่งจ่ายในนามของพระปราโมทย์ โดยตรง บัญชีที่ 3 เป็นเงินฝากประจำ 3 เดือน ประมาณ 5.5 ล้านบาท และบัญชีฝากประจำ 12 เดือน ประมาณ 2 แสนบาท นอกจากนี้ยังมีสลากออมสินจำนวน 9 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาลจำนวน 17 ล้านบาท เพื่อกระจายความเสี่ยงของเงินฝากที่ต้องดูแลรักษาเพื่อใช้ทำประโยชน์เของพระ ศาสนาในอนาคต ทั้งนี้สวนสันติธรรมยืนยันว่า ปัจจัยทั้งของสวนฯและของพระปราโมทย์ มีที่มาและแยกกันชัดเจนระหว่างเงินบริจาคของสวนฯและของพระปราโมทย์ แต่กรณีนี้ก็มีความพยายามบิดเบือนข้อเท็จจริง ว่าเงินดังกล่าวเป็นของวัดไม่ใช่เป็นของพระ

ในประกาศชี้แจงระบุด้วย ว่า นอกจากปัจจัยของพระปราโมทย์แล้ว นางอรนุชยังมีเงินเก็บส่วนตัวอีกจำนวนหนึ่ง เพราะสมัยที่ยังเป็นฆราวาส ทั้งนายปราโมทย์และนางอรนุช สันตยากร ต่างก็ทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ระดับบริหารขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย เฉพาะนายปราโมทย์เองก็มีรายได้ในระดับอธิบดีของกระทรวงทบวงกรมต่างๆ ไม่ได้อดอยากยากแค้นดังที่มีผู้พยายามกล่าวหา

ขณะเดียวกัน ประกาศชี้แจงเผยว่า ทรัพย์สินทั้งหมดของสวนสันติธรรมยังมีที่ดินเนื้อที่ 20 ไร่เศษอีกแปลงหนึ่งที่หน้าสวนสันติธรรม ซึ่งได้แจ้งเจ้าหน้าที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ จังหวัดชลบุรีไว้แล้วว่า เมื่อได้รับอนุมัติการตั้งวัด นางอรนุชก็จะยกที่ดินดังกล่าวให้วัดด้วย แต่ ที่ยังไม่ได้ทำสัญญายกที่ดินแปลงดังกล่าวให้นายอำเภอศรีราชา พร้อมที่ดินแปลงหลักของสวนฯ เนื่องจากเป็นที่ดินซึ่งมีชื่อร่วมของหลายเจ้าของ หนึ่งในจำนวนนั้นคือ น.ส.ฐิตินาถ และยังไม่สามารถแบ่งแยกเอกสารสิทธิ์ได้

นอกจาก นั้น ประกาศชี้แจงบอกว่า พระปราโมทย์ยังเตรียมดำเนินการจดทะเบียนหย่ากับนางอรนุช เพื่อลดความกังขาและนำไปเป็นประเด็นบิดเบือน ถึงแม้ในทางพระธรรมวินัยและทางกฎหมาย ไม่ได้กำหนดว่าฝ่ายชายจะต้องหย่าขาดจากภรรยาก่อนบวช และพระภิกษุจำนวนมากที่มีครอบครัวก่อนอุปสมบท ก็ไม่ได้หย่าขาดตามกฎหมายจากภรรยาเช่นกัน แต่เป็นการหย่าขาดตามจารีตประเพณี

ประกาศ ชี้แจงกล่าวในตอนท้ายว่า ตลอดเวลากว่า 2 ปีที่ผ่านมา พระปราโมทย์ถูกใส่ร้ายโจมตีตลอดเวลา ด้วยเรื่องที่ขาดเหตุผลทั้งด้านข้อเท็จจริง พระธรรมวินัย และกฎหมาย และเรื่องใดที่ข้อเท็จจริงปรากฏออกมาแล้ว ก็จะพบว่าเป็นการสร้างเรื่องใส่ร้ายทั้งสิ้น การที่พระปราโมทย์สงบนิ่ง ทั้งที่มีนักกฎหมายแนะนำว่าสามารถดำเนินคดีตามกฎหมายได้ และทนรับการดูหมิ่นเหยียดหยามจากสังคมมาโดยตลอดนั้น ไม่ใช่เพราะไม่สามารถอธิบายความจริงได้ แต่เป็นเพราะไม่ต้องการสร้างความร้าวฉานในวงการของชาวพุทธ และไม่อยากเปิดเผยเรื่องที่อาจสร้างความเสียหายให้กับผู้อื่น แม้ผู้นั้นจะเป็นผู้ที่เคลื่อนไหวโจมตีพระปราโมทย์อย่างรุนแรงเพียงใดก็ตาม สิ่งที่พระปราโมทย์กระทำให้กับบุคคลเหล่านี้ ก็คือการให้อโหสิกรรมกับทุกคนเท่านั้น

***ข่าวที่เกี่ยวข้อง***

1. ประกาศสวนสันติธรรมเรื่องบัญชีเงินฝากของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช


หมายเหตุ คลิปธรรมะที่ปรากฏอยู่บนเว็บไซต์ Dhammada.net (ธรรมดา ด็อต เน็ต) คือเสียงการแสดงธรรมเพียงบางช่วง บางตอน ของ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช สวนสันติธรรม ศรีราชา ชลบุรี ซึ่งทางกลุ่มธรรมดาเป็นผู้จัดทำเพื่อให้เป็นหมวดหมู่ และยังมีเรื่องของการตอบคำถามเฉพาะเรื่องเฉพาะบุคคลด้วย ดังนั้นจึงยังไม่ใช่ข้อสรุปของการสอนธรรมะของท่านแต่อย่างใด รวมทั้งคำพูดหรือศัพท์บัญญัติที่ใช้ อาจเป็นที่เข้าใจเฉพาะกับผู้ถามเท่านั้น มิใช่การพูดเป็นการทั่วไป จึงขอความกรุณาอย่าได้นำไปใช้อ้างอิงในที่ใดโดยเด็ดขาด ขอเป็นเพียงการฟังเพื่อเข้าใจแนวทาง และเพื่อเป็นกำลังใจในการภาวนาเท่านั้น
อนึ่ง Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด

เรื่องที่เกี่ยวข้อง:

ฤาจะปล่อยให้คนชั่ว(มหาดไทย?)ลอยนวล

ที่มา มติชน



โดย ประสงค์ วิสุทธิ์

อุปสรรคสำคัญในการไต่สวนของกรณีการทุจริตสอบเข้าอบรมมหลักสูตรนายอำเภอ(นอ.)หรือโรงเรียน ปีงบประมาณ 2552 ซึ่งเป็นคำร้องที่ยื่นเพื่อถอดถอนนายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกจากตำแหน่งคือ จะทำอย่างไรให้บรรดาปลัดอำเภอผู้เข้าอบรมหลักสูตรดังกล่าวจำนวน 142 คนซึ่ง ถูกแจ้งข้อกล่าวหาทั้งความผิดทางอาญาและวินัยร้ายแรงให้ความร่วมมือกับคณะ กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.)ในการซัดทอดเพื่อให้ เชื่อมโยงถึง"ผู้มีอำนาจทางการเมืองในกระทรวงมหาดไทย"ว่า เป็นผู้บงการทำให้เกิดการทุจริตดังกล่าว


เพราะขณะนี้ปลัดอำเภอหลายคน นอกจากทุกข์แสนสาหัสกับความหวาดกลัวว่า อาจจะต้องถูกไล่ออกจากราชการและโดนดำเนินคดีอาญาแล้ว ยังต้องเป็นหนี้เป็นสินกับสหกรณ์ออมทรัพย์ของกรมการปกครองไม่ต่ำกว่า 500,000 บาท เนื่องจากกู้เงินจำนวนดังกล่าวมาจ่ายเป็น"ค่าหัว"ให้"ผู้มีอำนาจ"เพื่อให้สามารถสอบเข้าโรงเรียนนายอำเภอได้ซึ่งคิดว่า เป็นหนทางก้าวหน้าในชีวิตราชการโดยขณะนั้น ไม่คิดว่า จะกลาย เป็นหนทางไปสู่ความหายนะ


การ ที่จะให้ปลัดอำเภอเหล่านี้ให้ความร่วมมือ นั้น คณะกรรมการ ป.ป.ช.น่าจะต้องหาช่องทางในทางกฎหมายในการกันบุคคลเหล่านี้เป็นพยานหรือหา ช่องหรือลดโทษเพราะถึงอย่างไรบุคคลเหล่านี่ก็มิใช่ตัวการหลักในการกระทำความ ผิด

แต่เป็นนักการเมือง"ระดับปลัดอำเภอ"ที่ถูกหวยเกาะญาติพี่น้องขึ้นมามีอำนาจโดยร่วมมือกับคนระดับรองผู้ว่า-ผู้ว่าราชการจังหวัด 3 เกลอที่ยอมลดตัวเป็นลูกน้องด้วยการประจบสอพลอจนได้ดิบได้ดีได้รับแต่งตั้งเป็นพ่อเมืองและเป็นใหญ่ในกระทรวงกันถ้วนหน้า


มีข่าวว่า บุคคลกลุ่มนี้ร่วมกับ ส.ส.จังหวัดใหญ่ในภาคอีสานเดินสายออกเก็บเงิน"ค่าหัว"จากปลัดอำเภอคนละ 800,000 บาทและจัดทำรายชื่อปลัดอำเภอ 150 คนยัดใส่มือให้ผู้บริหารระดับสูงในกรมการปกครองจนเป็นที่มาของการไต่สวนของคณะกรรมการ ป.ป.ช.และบันทึกแจ้งข้อกล่าวหากับบุคคลที่เกี่ยวข้อง


ตาม บันทึกแจ้งข้อกล่าวหาของสำนักงาน ป.ป.ช.ได้ระบุพฤติการณ์ในการทุจริตโดยละเอียด มีการลำดับวัน เวลาไว้อย่างชัดเจน โดยแบ่งออกเป็น 2 ช่วง


ช่วงแรก ก่อนวันที่ 20 มีนาคม 2552 นายวงศ์ศักดิ์ สวัสดิ์พาณิชย์ อธิบดีกรมการปกครองในขณะนั้นเชิญนายวุฒิชัย เสาวโกมุท ผู้อำนวยการกองการเจ้าหน้าที่ เข้าไปที่ห้องทำงานแจ้งว่า"ผู้มีอำนาจทางการเมืองในกระทรวงมหาดไทย"ได้สั่งการผ่านมาทางนายครรชิต สลับแสง เลขานุการกรมการปกครองว่า ในการสอบคัดเลือกโรงเรียนนายอำเภอครั้งนี้ ผู้มีอำนาจดังกล่าวมอบรายชื่อผู้เข้าสอบจำนวนประมาณ 150 คน มาให้และแจ้งว่า บุคคลเหล่านี้จะต้องสอบได้


หลังจากมีการจัดสอบ นายวุฒิชัยได้นำกระดาษคำตอบอัตนัยมาตรวจโดยนำรายชื่อที่ได้รับมาจากนายวงศ์ ศักดิ์ 150 คน มาช่วยเหลือให้คะแนนสูง ทั้งๆ ที่เขียนคำตอบได้ไม่ดีหรือเขียนจำนวนน้อยแผ่น


ช่วงที่ 2 ต่อมามีข่าวแพร่หลายว่า ผู้บริหารกรมการปกครอง เรียกรับเงินถึงรายละ 8 แสนบาทในหนังสือพิมพ์ และมีการเชิญทั้งนายวงศ์ศักดิ์ และนายวุฒิชัยไปชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติ มิชอบ สภาผู้แทนราษฎร มีการซักถามเรื่องกระดาษคำตอบ


บุคคลทั้ง สองเกรงว่า จะมีการตรวจสอบกระดาษคำตอบในรายที่ให้ความช่วยเหลือ จึงให้ตัวแทนนักเรียนนายอำเภอรุ่น 68 , 69 และ 70 ที่เข้าสอบคัดเลือกมาพบนายวงศ์ศักดิ์ และนายวุฒิชัย ที่ห้องทำงาน ในวันหยุดเสาร์หรืออาทิตย์ เพื่อนำกระดาษคำตอบเปล่าให้รายชื่อบุคคลที่ช่วยเหลือไปคัดลอกคำตอบใหม่ ตามตัวอย่าง 3-4ตัวอย่างที่เตรียมไว้ ตามที่ให้คะแนนได้สูงไว้ก่อนหน้านี้


ปรากฏ ว่า ทั้งนายวงศ์ศักดิ์ สัวสดิ์พาณิชย์และนายครรชิต สลับแสง ให้สัมภาษณ์ปฏิเสธข้อกล่าวหา ขณะเดียวกันปลัดอำเภอหลายคนก็ยืนยีนว่า ทำข้อสอบด้วยตนเอง จึงต้องดูว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช.จะมีพยานหลักฐานขนาดไหนในการพิสูจน์ความผิดตามข้อกล่าวหา


แน่ นอน หลักฐานที่เป็นกระดาษคำตอบที่เขียนคำตอบเหมือนกันหมดจำนวน 142 คน อาจเป็นพยานหลักฐานสำคัญอย่างหนึ่ง แต่ยังไม่สามารถเชื่อมโยงถึง"จอมบงการ"ที่เป็น"ผู้มีอำนาจในกระทรวง มหาดไทย"ได้


ถ้าคนมหาดไทยยังปิดปากเงียบ อย่างไร้ศักดิ์ศรี ยอมตายแทนนักการเมือง ก็เท่ากับล่อยให้คนชั่วลอยนวลเพื่อก่อกรรมทำเข็ญต่อไป

คำเบิกความ'มาร์ค'-คดียุบปชป.

ที่มา ข่าวสด

คอลัมน์ รายงานพิเศษ




คดียุบพรรคประชาธิปัตย์ จากกรณีการใช้เงินกอง ทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง จำนวน 29 ล้านบาท ผิดวัตถุประสงค์

กำหนดไต่สวนพยานฝ่ายผู้ถูกร้องนัดสุดท้ายในวันที่ 18 ต.ค.นี้

พยานปากสำคัญคือ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์

ซึ่งจัดเตรียมถ้อยคำและเอกสารยื่นต่อศาลรัฐธรรม นูญ มีเนื้อหาโดยสรุป ดังนี้

ใน ช่วงการเลือกตั้งส.ส. เมื่อวันที่ 6 ก.พ.2548 ในฐานะเป็นรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้รับมอบหมายจากพรรคให้ช่วยรณรงค์หาเสียง โดยยืนยันได้ว่าพรรคประชาธิปัตย์ไม่เคยได้รับเงินบริจาค จากบริษัททีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน)

และข้อกล่าวหาที่ว่าพรรคไม่ได้นำเงินสนับสนุน พรรคการเมืองจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จำนวน 29 ล้านบาท ไปใช้ตามโครงการที่แจ้งไว้ต่อ กกต.ก็ไม่เป็นความจริง

ในรายละเอียด ข้าพเจ้ามาเป็นรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ในช่วงปี 2547 ถึงเดือน ก.พ. 2548 ได้ทราบว่าเมื่อเดือน ส.ค.2547 พรรคได้เสนอแผนงานและโครง การต่อกกต.(นายทะเบียนพรรคการเมือง) เพื่อขอ รับการจัดสรรเงินสนับ สนุนพรรคการเมือง ประ จำปี 2548 จากกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการ เมือง

และ เมื่อวันที่ 19 พ.ย. 2547 คณะกรรมการกอง ทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง มีมติในการประชุมครั้งที่ 11/2547 อนุมัติโครงการและแผนงานของพรรคประชาธิปัตย์ ประจำปี 2548 จำนวน 21 โครงการ

งบประมาณจำนวน 68,798,400 บาท

โดย มีโครงการในแผนงานการใช้จ่ายที่จะใช้ในการเลือกตั้ง ประกอบด้วย โครงการแผ่นป้ายโฆษณาประ ชาสัมพันธ์ริมทางหลวงแบบบิลบอร์ด จำนวน 10 ล้านบาท และโครงการจัดทำแผ่นป้ายโฆษณาประชาสัม พันธ์แบบฟิวเจอร์บอร์ด จำนวน 19 ล้านบาท

ต่อมาเมื่อวันที่ 10 ม.ค.2548 คณะกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ในสมัยที่นายบัญญัติ บรรทัดฐาน เป็นหัวหน้าพรรค ได้พิจารณาแก้ไขโครงการค่าใช้จ่ายบางประการในการเลือกตั้ง

โดย ปรับเปลี่ยนรายละเอียดของโครงการค่าใช้จ่ายในการจัดทำป้ายโฆษณาประชา สัมพันธ์แบบบิลบอร์ด จากเดิมวงเงิน 10 ล้านบาท ปรับลดลงเหลือ 2 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายโครงการในการจัดทำป้ายโฆษณาประชา สัมพันธ์ แบบฟิวเจอร์บอร์ด จากเดิม 19 ล้านบาท ปรับเพิ่มเป็น 27 ล้านบาท

โดยคณะกรรมการกองทุน เพื่อการพัฒนาพรรคการ เมือง มีมติเห็นชอบในการปรับเปลี่ยนโครงการแล้ว โดยพรรคได้ใช้เงินดังกล่าวเพื่อใช้จ่ายตามโครงการที่แจ้งไว้ต่อ กกต.

มี การว่าจ้างบริษัทต่างๆ หลายบริษัท เป็นผู้จัดทำป้ายโฆษณาประชาสัมพันธ์ ทั้งแบบบิลบอร์ด และแบบฟิวเจอร์บอร์ด โดยมีการส่งมอบงานและชำระค่าจ้างทั้งหมดแล้ว

และพรรคได้ยื่นบัญชี ค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งดังกล่าว กกต.ได้ตรวจสอบโดยตั้งศูนย์ปฏิบัติงานการตรวจสอบค่าใช้จ่ายของพรรคอย่าง ละเอียดถี่ถ้วนแล้ว

ดังนั้น ข้อกล่าวหาจึงไม่เป็นความจริง มีเจตนาบิด เบือนข้อเท็จจริง มุ่งกล่าวหาใส่ร้ายพรรคประชาธิปัตย์ให้ได้รับความเสียหาย

ทั้งนี้ ในปี 2548 พรรคประชาธิปัตย์ มีรายรับทั้งสิ้น 158,183,477.79 บาท มาจาก 4 ส่วน

1.เงินบริจาค จำนวน 38,013,707.50 บาท 2.ได้รับเงินสนับสนุนจากกกต. จำนวน 68,558,340.05 บาท

3.ได้รับจากการจัดกิจกรรมระดมทุน จำนวน 43,478,347.50 บาท

และ 4.ได้รับจากอื่นๆ อีกจำนวน 8,133,082.74 บาท ส่วนรายจ่ายในปีเดียวกัน มีจำนวนทั้งสิ้น 156,809,169.63 บาท

แบ่ง เป็น 1.รายจ่ายโครงการของกกต. จำนวน 29,684,731.44 บาท 2.รายจ่ายในการเลือกตั้ง จำนวน 63,943,881.15 บาท 3.รายจ่ายค่าบริหารสำนักงานใหญ่ จำนวน 49,733,022.35 บาท และ 4.รายจ่ายค่าบริการสาขาพรรค จำนวน 13,447,534.69 บาท

รายจ่ายในช่วง ปี 2548 ระหว่างวันที่ 6 ม.ค.-14 ก.พ. นายบัญญัติ บรรทัดฐาน ในฐานะหัวหน้าพรรค เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบร่วมกับสมุห์บัญชีเลือกตั้ง และได้ให้ผู้ตรวจสอบบัญชีตรวจสอบแล้ว เมื่อพรรคทำบัญชีค่าใช้จ่ายเลือกตั้งเสร็จ นายบัญญัติจึงลาออกจากหัวหน้าพรรค

ต่อมาที่ประชุมใหญ่ของพรรคเลือกข้าพเจ้าขึ้นเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และกกต. เห็นชอบในวันที่ 15 มี.ค.2548 ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงต้องลงนามในเอกสารค่าใช้จ่ายจากการเลือกตั้งทั้งหมด ตามที่หัวหน้าพรรคคนก่อนได้ดำเนินการมา

และก่อนที่จะส่งมอบบัญชีค่า ใช้จ่ายในการเลือกตั้งให้กกต. ผู้ตรวจสอบบัญชีเลือกตั้งได้ตรวจสอบเอกสารดังกล่าวถูกต้องเรียบร้อยแล้ว และได้สรุปค่าใช้จ่ายดังกล่าวไว้ในบัญชีงบการเงินประจำปี 2548 ของพรรค ในตอนสิ้นปีปฏิทินอีกด้วย

จากนั้น ที่ประชุมใหญ่ของพรรคได้อนุมัติเห็นชอบกับงบการเงินดังกล่าว โดยข้าพเจ้าในฐานะหัวหน้าพรรคได้ลงนามรับรองความถูกต้องของงบการเงินดัง กล่าว เนื่องจากนายบัญญัติ ได้ลาออกจากหัวหน้าพรรคไปแล้วตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรค การเมือง พ.ศ.2541 มาตรา 40 เพื่อใช้ยื่นต่อกกต. (นายทะเบียนพรรคการเมือง)

ซึ่ง ต่อมา กกต.ในขณะนั้น ได้ตรวจสอบความถูกต้องและรับรองความถูกต้อง โดยไม่มีข้อโต้แย้งแต่อย่างใด ดังนั้น จึงยืนยันได้ว่าการทำบัญชีรายรับรายจ่ายประจำปี 2548 ของพรรคประชาธิปัตย์เป็นไปอย่างถูกต้อง ตรงกับความจริงทุกประการ และที่ข้าพเจ้าลงลายมือชื่อรับรองรายงานงบการเงินของพรรคประชาธิปัตย์จึงชอบ ด้วย พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าว

ส่วนข้อเท็จจริงที่พยานผู้ ร้อง ซึ่งได้แก่ นายคณาปติ หรือประจวบ สังข์ขาว ส.ต.อ.ทชภณ พรหมจันทร์ และ พ.ต.อ.สุชาติ วงศ์อนันต์ชัย ร่วมกันกล่าวหาว่า

ในช่วงก่อนการเลือก ตั้งวันที่ 6 ก.พ.2548 นายประจวบ ได้นำเงินไปให้พรรคประชาธิปัตย์หลายครั้ง และเกือบทุกครั้งที่นำเงินไปให้ ได้เจอผู้ใหญ่ในพรรคหลายคน ได้แก่ นายบัญญัติ บรรทัดฐาน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายนิพนธ์ บุญญามณี นายวิทยา แก้วภรา ดัย นายเทพไท เสนพงศ์ และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ นั่งอยู่ด้วย

และ คำให้การของนายประจวบ ที่ให้การยืนยันต่อพนักงานสอบสวนของกรมสอบสวนคดีพิเศษ และคำให้การของ พ.ต.อ.สุชาติ ที่ให้การต่อศาลว่า เมื่อนายประจวบ ถูกเจ้าพนักงานตำรวจสอบสวนเกี่ยวกับเรื่องใบกำกับภาษีปลอม นายประจวบได้ร้องขอความช่วยเหลือจากผู้ใหญ่ในพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งได้แก่ นายบัญญัติ และข้าพเจ้า โดยได้โทรศัพท์ไปหาตำรวจให้ช่วยเหลือนายประจวบนั้น

ล้วนเป็นความเท็จโดยสิ้นเชิง

ข้าพเจ้า ไม่เคยเห็นและไม่เคยรับทราบมาก่อนเลยว่านายประจวบ นำเงินไปให้พรรคประชาธิปัตย์ หรือกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ ณ ที่ทำการพรรค หรือที่ใดๆ ทั้งสิ้น และพรรคประชาธิปัตย์ หรือกรรมการบริหารพรรครวมทั้งข้าพเจ้า ก็ไม่เคยช่วยเหลือนายประจวบ ดังที่นายประจวบกล่าวอ้าง

ข้าพเจ้าเชื่อว่านายประจวบ ให้การภายใต้การชี้นำของพนักงานสอบสวนของกรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้สมคบร่วมมือกับแกนนำพรรคฝ่ายค้านบางคน โดยวางแผนเป็นกระบวนการเพื่อทำลายล้างพรรคประชาธิปัตย์ในทางการเมือง

ด้วย การเสี้ยมสอน ยุยง ให้นายประจวบ กล่าวเท็จให้ร้ายพรรคประชาธิปัตย์ และให้ผลประโยชน์แก่นายประจวบ เป็นเงินจำนวนมหาศาลเป็นข้อแลกเปลี่ยน

ซึ่ง ข้อเท็จจริงดังกล่าวก็ปรากฏต่อศาลในชั้นไต่สวนพยานผู้ร้อง ซึ่งจากการไต่สวนพยานที่ผ่านมา นายประจวบ ยอมรับต่อศาลว่าไม่เคยนำเงินมาให้พรรคประชาธิปัตย์ หรือกรรมการบริหารพรรคคนใด

ดังนั้น จึงถือว่าคำให้การของพยานฝ่ายผู้ร้องไม่มีน้ำหนักน่าเชื่อถือ และยังเป็นความเท็จ ที่ร่วมกันปั้นแต่งเรื่องขึ้นมาเพื่อทำลายพรรคประชาธิ ปัตย์อย่างเห็นได้ชัด

การ์ตูน เซีย 16/10/53

ที่มา ไทยรัฐ

Pic_118988

การ์ตูน เซีย 16/10/53

บรรยากาศเมื่อเช้านี้ ขบวน แรลลี่ เชียงใหม่ - อยุธยา

ที่มา thaifreenews

โดย Misscyber

เป็นภาพบรรยากาศ ของพี่น้องแดงเชียงใหม่ ที่ร่วมขบวนแรลลี่ เชียงใหม่ - อยุธยา
























ลุงยิ้ม ตาสว่าง

เพิ่มเติมนะคะ














ลุงยิ้ม ตาสว่าง

เตรียมตัวซักเสื้อแดงกันได้แล้ว....

ที่มา thaifreenews

โดย jomyut

ปลายเดือนนี้ยันเดือนหน้าเลยล่ะ...ได้ผอมกันแน่แหล่ะ



ตามไปดูกันเลยhttp://www.internetfreedom.us/showthread.php?tid=11646


คนอึด เต็มพิกัด

จาก "ประชาไท" ถึง "วิทยุชุมชนแปลงยาว": เผย "สื่อทางเลือก" ถูกเล่นงานทั้งโดยกฎหมายเก่า-ใหม่

ที่มา ประชาไท

ผอ.เว็บ ประชาไทเผยเจอทั้งกฎหมายเก่าและใหม่เล่นงาน เชื่อสิทธิพลเมืองกับสิทธิของสื่อใหม่เป็นเรื่องเดียวกัน หัวหน้าสถานีวิทยุชุมชนแปลงยาวเล่านาทีถูกปิดสถานี-ไม่ได้ประกันตัว เจอข้อหามีใช้เครื่องส่งวิทยุ-ตั้งสถานีโดยไม่ได้รับอนุญาต ทั้งที่มีใบอนุญาตชั่วคราว ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายระบุดึงสื่อออกจากมือทหารไม่ได้ ไม่ต้องพูดเรื่องปฏิรูปสื่อ

เมื่อวันที่ 13 ต.ค. ที่ผ่านมา ศูนย์ศึกษานโยบายสื่อ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส.) จัดการสัมมนาเรื่อง “กฎหมายกับสื่อทางเลือกภายใต้สถานการณ์ทางการเมือง: จากเว็บไซต์ประชาไทถึงวิทยุชุมชนแปลงยาว” ที่ห้องประชุมสมาคมนิสิตเก่ารัฐศาสตร์ จุฬาฯ โดยมี จีรนุช เปรมชัยพร ผู้อำนวยการเว็บไซต์ประชาไท และ ตฤณ ใหม่เอี่ยม หัวหน้าสถานีวิทยุชุมชนแปลงยาว จ.ฉะเชิงเทรา ร่วมแลกเปลี่ยนในฐานะสื่อที่ถูกดำเนินคดีตามกฎหมายต่างๆ พร้อมด้วย ศิลป์ฟ้า ตันศราวุธ ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย


ประชาไทกับ พ.ร.บ.คอมฯ- ม.112-116(2) และ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

จี รนุช เปรมชัยพร ผู้อำนวยการเว็บไซต์ประชาไท กล่าวว่า จากประสบการณ์มีกฎหมายทั้งเก่าและใหม่อย่างน้อยสามฉบับมาเกี่ยวข้องในการ ดำเนินคดีกับเว็บไซต์ประชาไท โดยกฎหมายใหม่คือ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ซึ่งกำหนดภาระการรับผิดของผู้ให้บริการกรณีผู้ใช้ดำเนินการเข้าข่ายผิดมาตรา 14 โดยในมาตรา 15 ให้ผู้ให้บริการรับผิดด้วย ซึ่งเธอมองว่าน่าสนใจ เพราะเป็นการกำหนดภาระความรับผิดชอบให้ตัวกลางซึ่งเป็นช่องทางหรือตัวกลาง ของการกระทำผิด โดยที่ไม่ต้องรู้ว่าตัวกลางนั้นรู้เรื่องด้วยหรือไม่ โดยเป็นความผิดอาญา มีโทษจำคุกสูงสุด 5 ปี โดยเธอถูกฟ้องด้วยข้อความตั้งแต่เดือนเมษายน-ตุลาคม 51 จำนวน 10 กรรม(กระทง) โดยนับ 1 กระทู้เป็น 1 กรรม โดยโทษสูงสุดที่จะเกิดขึ้นหากมีคำตัดสินว่าเธอผิดคือจำคุก 20 ปี

ส่วน กฎหมายเดิม ได้แก่ ประมวลกฎหมายอาญา ที่ถูกนำมาใช้จำกัดสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น โดยใช้มาตรา 112 ว่าด้วยผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และมาตรา 116 (2) มาตรา 116 ผู้ใดกระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือหรือวิธีอื่นใดอันมิใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือมิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริต(2) เพื่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนถึงขนาดที่จะก่อ ความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร หรือ(3) เพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี

ทั้ง นี้ จีรนุชตั้งข้อสังเกตด้วยว่า การถูกดำเนินคดีมาตรา 112 ในครั้งนี้เป็นกรณีแรกที่ไม่ได้มีการกระทำเผยแพร่ข้อความด้วยตัวเอง เพราะส่วนที่ถูกดำเนินคดีคือข้อความท้ายบทสัมภาษณ์ที่มีผู้มาโพสต์แสดงความ เห็นไว้ ขณะที่ข้อความซึ่งกฎหมายระบุต้องดำเนินคดีกับตัวการไม่ใช่ตัวกลาง

นอก จากนี้ เว็บไซต์ประชาไทยังถูกปิดกั้นการเข้าถึงตามมาตรา 9 ของพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ทำให้หน้าหลักของเว็บไม่สามารถเข้าได้ ซึ่งประชาไทได้ฟ้องแพ่งต่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกฯ และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ในฐานะ ผอ.ศอฉ.ในขณะนั้น ว่าดำเนินการโดยไม่ชอบ แต่ศาลแพ่งยกฟ้อง ขณะนี้อยู่ระหว่างศาลอุทธรณ์รับเรื่อง นอกจากนี้ ก็รอคำชี้แจงจากรัฐบาลด้วย

สำหรับ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จีรนุช กล่าวว่า ได้ติดตามมาตั้งแต่ช่วงที่มีการร่างกฎหมาย โดยนอกจากจะเป็นห่วงในเรื่องการเซ็นเซอร์ตัวเองแล้ว ยังมีปัญหาเรื่องการตีความและการบังคับใช้ เพราะดูเหมือนทุกหน่วยงานอยากเข้ามาใช้เครื่องมือนี้ในการปราบปรามอาชญากรรม ขณะที่เจ้าหน้าที่รัฐที่มีหน้าที่บังคับใช้กฎหมายยังไม่มีความพร้อมในการ บังคับใช้ โดยยกตัวอย่างเจ้าหน้าที่ที่เคยเข้ามาติดต่อ บางคนยังไม่รู้ว่า IP คืออะไร
เธอยกตัวอย่างปัญหาการตีความว่า ล่าสุด เพิ่งได้ทราบว่า คดีของพระยาพิชัย (คนแรกๆ ที่ถูกดำเนินคดีตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์-ประชาไท) มีการพิพากษาตัดสินไปแล้วโดยมีความผิดตามมาตรา 14 ในคำพิพากษาระบุความผิดว่า ได้เผยแพร่ข้อความของผู้นำเกาหลีเหนือ ซึ่งอาจกระทบกระเทือนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยศาลตัดสินจำคุก แต่รอลงอาญา ซึ่งเธอมองว่าเป็นคำพิพากษาที่น่าสนใจมาก หรือมาตรา 15 เรื่องการจงใจยินยอมสนับสนุนของผู้ให้บริการ เธอมั่นใจว่า การบริหารของประชาไทไม่น่าถูกตีความว่าจงใจยินยอม แต่สุดท้ายก็เกิดการฟ้องร้องดำเนินคดีขึ้น

ทั้งนี้ เธอตั้งข้อสังเกตว่าวิธีปฏิบัติในการจัดการกับสื่อเก่าและสื่อใหม่นั้นต่าง กันออกไป สื่อเก่าอาจถูกดำเนินคดีข้อหาหมิ่นประมาท แต่ไม่มีใครถูกหมายจับ ไม่โดนควบคุมที่สำนักงานหรือสนามบิน นอกจากนี้ ยังตั้งคำถามถึงวิธีการเลือกบังคับใช้กฎหมาย เช่น ออกหมายจับแทนหมายเรียก ทั้งที่ในฐานะประชาชนคนหนึ่งมีสิทธิที่พึงได้รับโอกาสพิสูจน์ความเป็นธรรม ทั้งนี้ เมื่อออกหมายจับแล้วทำให้ชีวิตยุ่งยากมากขึ้น มีภาระต้องหาเงินประกันตัว จึงอยากฝากถึงเจ้าหน้าที่ที่บังคับใช้กฎหมายให้คำนึงถึงสิทธิของผู้ที่ ถูกกล่าวหา ซึ่งยังต้องพิสูจน์ตัวเองในชั้นศาล นอกจากนี้ ยังพบการใช้ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ควบคู่กับการใช้มาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญา ค่อนข้างมาก โดยในกรณีผู้ให้บริการอาจเจอกับ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ แต่ผู้โพสต์ส่วนใหญ่เจอทั้งสองกฎหมาย

จีรนุช ระบุว่าการที่สื่อเล็กๆ ถูกคุกคามได้ง่ายเป็นเพราะไม่มีองค์กรคอยหนุน อย่างไรก็ตาม มองว่าแนวคิดเรื่องการดูแลควบคุมกันเองน่าจะเป็นส่วนที่ใช้ต่อรองถ่วงดุลกับ การไม่ให้รัฐเข้ามาบังคับหรือปิดกั้นได้ ทั้งนี้อาจเพราะสื่อใหม่เกิดภายใต้ชุมชนและวัฒนธรรมใหม่ เป็นพื้นที่ใหม่ที่ยังต้องการเวลาทำความรู้จัก คนเพิ่งจะใช้เน็ตในการแลกเปลี่ยนความเห็นทางสังคมการเมืองได้ไม่นาน ในวิถีชีวิตและวัฒนธรรมใหม่นี้ อาจต้องใช้เวลาเพื่อให้ประชาชนเรียนรู้ ปรับตัวและทำข้อตกลงยอมรับกันเองแบบที่รัฐไม่ต้องเข้ามากำกับดูแล เธอเน้นว่าการสื่อสารไม่ควรให้อำนาจรัฐในการกำกับดูแล เพราะรัฐอาจจะอยากชี้ถูกผิด ทำให้ไม่มีการถ่วงดุล ทั้งนี้มองว่า ขณะนี้รัฐพยายามกำกับดูแล โดยใช้วิธีสร้างความกลัวและบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งไม่ต่างกับการปิดปากเสียงที่เห็นต่างจากที่รัฐต้องการนำเสนอ โดยที่ผ่านมา พบว่าหลายคดีที่ถูกทำให้เงียบ เพราะผู้ถูกจับกุมไม่อยากเป็นข่าวและคิดว่าถ้าเงียบไว้จะดีเอง

เชื่อสิทธิสื่อใหม่คือสิทธิพลเมือง
ผู้ อำนวยการเว็บไซต์ประชาไท ย้ำว่า สิ่งที่สำคัญคือ สิทธิของสื่อใหม่กับสิทธิของประชาชนแทบจะอยู่บนเส้นทับเดียวกัน โดยบางคนเปิดบล็อกก็ถือเป็นสื่อใหม่ ดังนั้น พลเมืองกับการทำหน้าที่สื่อจึงซ้อนทับกัน หน้าที่สื่อสารกับหน้าที่พลเมืองอยู่ด้วยกัน อาจต้องพิจารณาว่าจะคุ้มครองสื่อใหม่อย่างไร ซึ่งเธอมองว่าเป็นเรื่องเดียวกับคุ้มครองพลเมือง


เจอข้อหามีใช้เครื่องส่งวิทยุ-ตั้งสถานีโดยไม่ได้รับอนุญาต ทั้งที่มีใบอนุญาตชั่วคราว

ตฤณ ใหม่เอี่ยม หัวหน้าสถานีวิทยุชุมชนแปลงยาว จ.ฉะเชิงเทรา เล่าว่า วิทยุชุมชนแปลงยาวก่อตั้งในปี 2547 เริ่มแรกออกอากาศโดยยืมเครื่องวิทยุโทรคมนาคมจากสถานีอื่นและทำเสาสัญญาณกัน เอง หลังออกอากาศได้สองเดือน คนในชุมชนให้ความสนใจมากขึ้น มีการระดมทุนเพื่อซื้อเครื่องฯ ของสถานีเอง และปรับปรุงเสาส่งเป็น 40 เมตร กำลังส่ง 300 วัตต์ โดยตั้งสถานีในวัด และต่อมาได้ยื่นจดทะเบียนตามหลักเกณฑ์ขออนุญาตจัดตั้งวิทยุชุมชนชั่วคราว ตาม พ.ร.บ.กระจายเสียง 2551 ทั้งนี้ วิทยุชุมชนแปลงยาวดำเนินการโดยไม่รับโฆษณา โดยที่วัดเป็นผู้รับผิดชอบค่าน้ำค่าไฟ แต่ตั้งแต่วันที่ 4 พ.ค. เป็นต้นมา สถานีก็ได้ถูกปิด โดยกองปราบฯ และ ศอฉ. นำกำลังมาที่สถานี

หัวหน้า สถานีวิทยุชุมชนแปลงยาว เล่าต่อว่า เขาได้แสดงใบเหลืองซึ่งเป็นใบอนุญาตชั่วคราวจาก กทช. ให้เจ้าหน้าที่ดู เพื่อยืนยันว่าได้รับอนุญาตออกอากาศตาม พ.ร.บ.กระจายเสียง 2551 ต่อมา เจ้าหน้าที่จึงแจ้งข้อหา มีความผิดตามพระราชบัญญัติวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ.2489 ฐานมีใช้เครื่องส่งวิทยุโทรทัศน์คมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานและ ตั้งสถานีโดยไม่ได้รับอนุญาต และได้ควบคุมตัวเขามาที่โรงพัก จากนั้นเขาถูกส่งตัวไปที่กองปราบฯ พร้อมด้วยหน่วยคอมมานโดเกือบสองร้อยนายและเครื่องส่งที่ถูกยึดมา ทั้งนี้ เขาไม่ได้รับอนุญาตให้ประกันตัวในวันดังกล่าว จึงต้องถูกฝากขังหนึ่งคืน ก่อนเพื่อนสมาชิก อบต. จะรวบรวมเงิน 100,000 บาทเป็นหลักทรัพย์ประกันตัวเขาในวันต่อมา

จากนั้น ในวันที่ 23 มิ.ย. เขาได้เดินทางไปรายงานตัวที่ศาลตามกำหนด ปรากฎว่ามีการส่งฟ้องคดีไปแล้วก่อนหน้านั้นหนึ่งวัน หลังจากนั้นทำให้เขาต้องเดินทางหลายครั้งเพื่อดำเนินการสู้คดี สุดท้าย เขาได้ตัดสินใจรับสารภาพตามข้อกล่าวหา เพราะไม่มีเงินทุนสู้คดี ศาลมีคำสั่งปรับเป็นเงิน 14,000 บาท จำคุก 1 ปี แต่เนื่องจากรับสารภาพจึงลดโทษกึ่งหนึ่ง เป็นปรับ 7,000 บาท จำคุก 1 ปี รอลงอาญา 2 ปี

ตฤณกล่าวถึงสถานการณ์ล่าสุดของสถานีวิทยุชุมชนแปลงยาว ว่า ปัจจุบันอยู่ระหว่างถูกชะลอการออกอากาศ แม้ว่าชาวบ้านจะจัดทอดผ้าป่าจนได้เงินพอที่จะซื้อเครื่องวิทยุแล้วก็ตาม เขาฝากว่า อยากขออิสระในการนำเสนอข้อมูลให้คนในชุมชนได้รับรู้สิ่งที่พวกเขาควรได้รับ รู้ บางคนมียาเสพติดอยู่หน้าบ้านก็ยังไม่รู้ข้อมูลเลย ทั้งนี้ ยืนยันว่าไม่ได้ออกอากาศเนื้อหาหมิ่นเหม่แต่อย่างใด


แนะดึงสื่อออกจากมือทหาร

ศิลป์ ฟ้า ตันศราวุธ ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย กล่าวว่า เดิม คลื่นวิทยุโทรทัศน์นั้นเป็นของกรมประชาสัมพันธ์และกองทัพบก แต่ในรัฐธรรมนูญ 2540 เป็นครั้งแรกที่มีการเขียนว่าเป็นของสาธารณะ ซึ่งตนเองไม่ได้เห็นด้วยกับรัฐธรรมนูญ 2540 มาตั้งแต่ต้น เพราะมองว่าการจะร่างกฎหมายจะไปไกลกว่าสังคมไม่ได้ เพราะโครงสร้างทางสังคมการเมืองของไทยยังไม่พร้อมรองรับสิทธิตามรัฐธรรมนูญ ขนาดนั้น โดยในมาตราเรื่องคลื่นความถี่ซึ่งระบุว่าคลื่นเป็นของชาติเพื่อประโยชน์ สาธารณะ ทุกคนก็จะมองว่าตัวเองเป็นเจ้าของคลื่น ขณะที่ในความเป็นจริงคลื่นเป็นทรัพยากรที่มีจำกัด แม้ว่าทุกคนจะออกอากาศได้ แต่ก็จะไม่มีใครได้ประโยชน์เพราะมันจะทับซ้อนกัน ดังนั้นจึงต้องมีการจัดสรร ทั้งนี้ ย้ำว่า ตราบใดที่ยังไม่สามารถเอาช่อง 3, 5, 7, 9, 11 มาจากทหารได้ก็ลืมเรื่องการปฏิรูปสื่อไปได้ เพราะนี่คือสื่อที่สำคัญสุดในการกุมความรับรู้ของประชาชน

เตือนระวัง "นิรนาม" แต่ตามเจอ
ส่วน พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์นั้น ศิลป์ฟ้า กล่าวว่า คดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเป็นคดีที่มีการฟ้องร้องมากที่สุดผ่านกฎหมายนี้ โดยระบุว่า ในช่วงสิบปีก่อนหน้านี้ มีการฟ้องคดีหมิ่นฯ ไม่มากนัก อาทิ สุลักษณ์ ศิวรักษ์ วีระ มุสิกพงศ์ โดยงานเขียนของ ส.ศิวรักษ์ อาจมีนิตยสารฝ่ายซ้ายสองสามฉบับที่พร้อมจะตีพิมพ์ ขณะที่ปัจจุบัน คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตทำให้การกระทำความผิดเกิดได้ง่าย เพราะไม่ต้องง้อใครให้ตีพิมพ์ ในเว็บบอร์ดใครจะเขียนอะไรก็เข้าไปเขียนได้และนิรนาม อย่างไรก็ตาม ย้ำว่า แม้จะนิรนาม แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า เจ้าหน้าที่จะตามไม่เจอ

โดยใน มาตรา 14 นั้น ผู้ที่อาจถูกดำเนินคดีอาจไม่ใช่ผู้เขียนข้อความนั้นเอง เพียงแต่รับมาและส่งต่อก็จะผิดตามมาตรา 14 โดยมีโทษเทียบเท่ากับผู้กระทำความผิดเอง ทั้งนี้ ใน พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ จะแบ่งเป็นความผิดเกี่ยวกับตัวคอมพิวเตอร์โดยตรงในมาตรา 5-13 ส่วนมาตรา 14 นั้นเอาความผิดตามกฎหมายอื่นมาใส่ไว้ โดยรวมเอาความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ซึ่งมีมาตรา 112 ที่อยู่ในหมวดความผิดเดียวกันนี้มาไว้ด้วย

ศิลป์ฟ้า ทิ้งท้ายว่า การฟ้องคดีหมิ่นฯ และการเคลื่อนไหวปิดวิทยุชุมชนเกี่ยวข้องกับบรรยากาศการเมือง โดยปฏิเสธไม่ได้ว่าการเกิดของรัฐบาลนี้มีทหารสนับสนุน หากเป็นบรรยากาศการเมืองปกติ ไม่มีการแบ่งขั้วชัดเจน การบังคับใช้กฎหมายอาจไม่เข้มงวดกวดขันและให้โทษต่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแบบที่ เป็นอยู่ขณะนี้

กระตุก "สื่อทางเลือก" อย่าลืมบทบาทตัวเอง
ด้าน วิชาญ อุ่นอก เลขาธิการสหพันธ์วิทยุชุมชนแห่งชาติ มองว่า ที่สื่อทางเลือกถูกเล่นงาน เป็นเพราะรัฐคุมสื่อใหญ่ได้ระดับหนึ่ง ทั้งทุนที่สนับสนุนและรัฐเอง แต่สื่อทางเลือกไม่ว่าวิทยุชุมชนหรือเว็บไซต์ รัฐคุมไม่อยู่ และส่งผลสะเทือนต่อรัฐ โดยมองว่าการเคลื่อนไหวของกลุ่มการเมืองสองสีที่ผ่านมา ใช้วิทยุชุมชนและเว็บไซต์ในการสื่อสาร เพราะสื่อหลักไม่มีพื้นที่ให้

ทั้งนี้ เขามองว่า การปฏิรูปสื่อนั้นคงทำได้ยาก ขณะที่สื่อทางเลือกคือทางออก เพราะรัฐคุมไม่ได้ อย่างไรก็ตาม จากการหว่านแหจัดการของรัฐทำให้สื่อทางเลือกหลายแห่งเลือกจะเซ็นเซอร์ตัวเอง เพราะกลัวลูกหลง กลัวมีปัญหากับรัฐบาล ซึ่งเขาเองมองว่า สื่อทางเลือกควรจะต้องเข้าใจปรัชญาและบทบาทของตัวเอง ไม่ใช่ไปเป็นกระบอกเสียงของรัฐอีกที

บทกวีเข้ารอบ10บทสุดท้าย Freewrite Award:อำมาตย์ทมิฬมาร บงการฆ่าประชาชน

ที่มา Thai E-News



โดย ปานจิต จันทรา
ที่มา งานประกวดFreewrite Award

กาพย์ยานี 11

เกริ่น

ฉันเห็นคนถูกยิง ทั้งชายหญิงต่างวิ่งหนี
บาดเจ็บล้วนมากมี ตายเป็นผีก็มากมาย


(1)
ไพร่ตื่น ลุกขึ้นสู้ เพื่อกอบกู้อธิปไตย
ทวงสิทธิ ความเป็นไท ความเป็นธรรมกลับคืนมา
ต่อต้าน รัฐประหาร และคัดค้านศักดินา
โค่นล้ม อำมาตยา เผชิญหน้าอย่างท้าทาย
เรียกร้องยุบสภา ถูกกล่าวหาผิดกฎหมาย
ล้มเจ้า-ก่อการร้าย เพื่อทำลายคนเสื้อแดง

(2)
ณ ที่ ราชประสงค์ ไพร่ทะนงอย่างกล้าแกร่ง
ต่อสู้ เพื่อเปลี่ยนแปลง ชูธงแดงโบกสบัด
อาสา พยาบาล ถูกสังหารในเขตวัด
ฝีมือ อภิสัตว์ กลไกรัฐเผด็จการ
หกศพนอนแน่นิ่ง กระสุนจริงลั่นสังหาร
อำมาตย์ทมิฬมาร บงการฆ่าประชาชน
ที่นั่นมีคนตาย ศพเรียงรายกลางถนน
พลีชีพอุทิศตน เพื่อประชาธิปไตย
แท้จริง ราชประสงค์ กระชับวงล้อมปราบไพร่
สั่งยิงอย่างสะใจ ไอ้พวกไพร่ไม่ใช่คน

อา...ไม่ใช่คน...พวกมันไม่ใช่คน
เสื้อแดง........ไม่ใช่คน(ของฉัน)



*******
ดูบทกวีรางวัล Freewrite รางวัลชนะเลิศ-รองชนะเลิศ

Friday, October 15, 2010

สวนสันติธรรมแจงกรณีบัญชีหลวงพ่อปราโมทย์

ที่มา Dhammada.net

อ้างอิง : http://www.tnnthailand.com/news/details.php?id=19304

พระปราโมทย์โต้ปกปิดข้อมูลส่วนตัวเตรียมจดทะเบียนหย่าอรนุชยุติข่าวฉาวพร้อมขออโหสิกรรมฐิตินาถ

15 ต.ค. 53 : สวนสันติธรรมได้ออกประกาศชี้แจง เรื่องบัญชีเงินฝากของพระปราโมทย์ ปาโมชฺโช เจ้าสำนักสวนสันติธรรม และนางอรนุช สันตยากร อดีตภรรยา ทันที หลังจากนางฐิตินาถ ณ พัทลุง นักเขียนชื่อดัง ได้ออกรายการเจาะใจอีกครั้ง โดยมีการระบุถึงบัญชีส่วนตัว ว่า กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ ได้ตรวจพบ อีก 15 บัญชี ที่มีการปกปิด ทางสวนสันติธรรมชี้แจงว่า การร้องเรียนต่อดีเอสไอ 2 ครั้ง ครั้งแรกเป็นเรื่องบัญชีสวนสันติธรรมและการถือครองที่ดิน แต่ไม่มีการร้องเรียนเรื่องบัญชีส่วนตัว จึงได้ส่งมองเอกสารหลักฐานให้ทั้งหมด ก่อนที่จะมีการร้องเรียนเพิ่มเติม จึงได้ส่งมอบข้อมูลเพิ่มเติม จึงไม่ใช่เรื่องที่ดีเอสไอมาตรวจพบบัญชีที่ปกปิดอยู่แต่อย่างใด

ส่วน ข้อกล่าวหาว่าพระปราโมทย์ ยักยอกปัจจัยบูชาธรรมจากบัญชีของสวนสันติธรรม พระปราโมทย์ได้เคยกล่าวต่ออดีตกรรมการสวนสันติธรรมและสาธุชนที่เข้าไปฟัง ธรรมอยู่เสมอว่า มีปัจจัยที่ญาติโยมถวายเป็นการส่วนตัวอยู่จำนวนหนึ่ง ซึ่งอาจนำไปสร้างสถานที่ปฏิบัติธรรมในอนาคต หรือเพื่อใช้สร้างเจดีย์และพิพิธภัณฑ์ในสวนสันติธรรม เนื่องจากในขณะนั้นยังไม่มีแนวความคิดที่จะตั้งสวนสันติธรรมให้เป็นวัด และเพื่อสร้างอุโบสถและเจดีย์ เมื่อมีแนวความคิดที่จะตั้งวัดแล้วตั้งแต่มกราคม 2553 แต่กลับมีการบิดเบือนว่า พระปราโมทย์เก็บปัจจัยไว้เพื่อจะลาสิกขาออกไปครองเรือนในอนาคต

พระปราโมทย์ ยังปฏิเสธเรื่องเงินส่วนตัว 15 บัญชี เพราะ มีเพียง 4 บัญชี เป็นชื่อของนางอรนุช 3 บัญชี และชื่อของพระปราโมทย์ 1 บัญชี โดยบัญชีแรก จำนวนเงินประมาณ 4 แสนบาท เก็บไว้ใช้เป็นเงินรายจ่ายฉุกเฉินของพระปราโมทย์ หรือสวนสันติธรรม แต่หากยังไม่มีการใช้จ่ายในช่วงนั้น ก็จะตัดเงินไปเข้าเงินฝากประจำ บัญชีที่ 2 ประมาณ 3.6 แสนบาท ใช้ชื่อพระปราโมทย์ เพื่อรับเงินบริจาคในรูปของเช็คขีดคร่อม ซึ่งสั่งจ่ายในนามของพระปราโมทย์ โดยตรง บัญชีที่ 3 เป็นเงินฝากประจำ 3 เดือน ประมาณ 5.5 ล้านบาท และบัญชีฝากประจำ 12 เดือน ประมาณ 2 แสนบาท นอกจากนี้ยังมีสลากออมสินจำนวน 9 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาลจำนวน 17 ล้านบาท เพื่อกระจายความเสี่ยงของเงินฝากที่ต้องดูแลรักษาเพื่อใช้ทำประโยชน์เของพระ ศาสนาในอนาคต พร้อมยืนยันว่าเงินบริจาคทั้งหมดมีที่มาชัดเจนจาก 3 ช่องทาง และได้เปิดเผยถึงทรัพย์สินทั้งหมดของสวนสันติธรรมยังมีที่ดินอีกแปลงหนึ่ง หน้าสวนสันติธรรม เนื้อที่ 20 ไร่เศษ ที่ได้แจ้งเจ้าหน้าที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ จังหวัดชลบุรีไว้แล้ว

ขณะ เดียวกันพระปราโมทย์ยังเตรียมดำเนินการจดทะเบียนหย่ากับนางอรนุช เพื่อลดความกังขา และนำไปเป็นประเด็นบิดเบือน แม้ว่าในทางกฎหมายและพระธรรมวินัย ไม่ได้กำหนดว่าฝ่ายชายจะต้องหย่าขาดจากภรรยาก่อนบวช

ทั้งนี้ยืนยันว่าที่ ผ่านมาพระ ปราโมทย์ทนรับการดูหมิ่นเหยียดหยามจากสังคมมาโดยตลอดหลายปีนั้น ไม่ใช่เพราะไม่สามารถอธิบายความจริงได้ แต่เป็นเพราะไม่ต้องการสร้างความร้าวฉานในวงการของชาวพุทธ และไม่อยากเปิดเผยเรื่องที่อาจสร้างความเสียหายให้กับผู้อื่นนอกจากการให้ อโหสิกรรมกับทุกคนเท่านั้น

หมายเหตุ คลิปธรรมะที่ปรากฏอยู่บนเว็บไซต์ Dhammada.net (ธรรมดา ด็อต เน็ต) คือเสียงการแสดงธรรมเพียงบางช่วง บางตอน ของ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช สวนสันติธรรม ศรีราชา ชลบุรี ซึ่งทางกลุ่มธรรมดาเป็นผู้จัดทำเพื่อให้เป็นหมวดหมู่ และยังมีเรื่องของการตอบคำถามเฉพาะเรื่องเฉพาะบุคคลด้วย ดังนั้นจึงยังไม่ใช่ข้อสรุปของการสอนธรรมะของท่านแต่อย่างใด รวมทั้งคำพูดหรือศัพท์บัญญัติที่ใช้ อาจเป็นที่เข้าใจเฉพาะกับผู้ถามเท่านั้น มิใช่การพูดเป็นการทั่วไป จึงขอความกรุณาอย่าได้นำไปใช้อ้างอิงในที่ใดโดยเด็ดขาด ขอเป็นเพียงการฟังเพื่อเข้าใจแนวทาง และเพื่อเป็นกำลังใจในการภาวนาเท่านั้น
อนึ่ง Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด

เรื่องที่เกี่ยวข้อง:

เปิดหลักฐานละเอียดยิบ"บิ๊กรัฐมนตรี"โอนหุ้นรับเหมาให้คนใกล้ชิด-กวาดงาน"มหาดไทย"อื้อ64โครงการ111ล้าน

ที่มา มติชน


บุญจง วงศ์ไตรรัตน์


พรรณสิริ กุลนาถศิริ

นอกจากนางพรรณสิริ กุลนาถศิริ รัฐมนตรช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขที่นายถาวร กุลนาถศิริ คู่สมรส โอนหุ้นธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง (หจก.ดวงตะวันเอ็นจิเนียริ่ง) ให้ลูกชายก่อนรับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยฯไปกี่วัน

ล่าสุดมีรัฐมนตรีที่ทำธุรกิจรับเหมาอีก1 คนได้โอนหุ้นให้คนใกล้ชิดเช่นกัน เพียงแต่ต่างกันตรงช่วงเวลาเท่านั้น

นักการเมืองคนดังกล่าวคือนายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย แห่งพรรคภูมิใจไทย

"มติชนออนไลน์"ตรวจสอบพบว่า นายบุญจงเคยทำธุรกิจรับเหมาก่อสร้างในจ.นครราชสีมาชื่อ ห้างหุ้นส่วนจำกัด โชคชัยรวมทวี 1990

ก่อตั้งเมื่อวันที่ 3 มกราคม 2534 ทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท มีหุ้นส่วน 2 คนคือ นางชิวเอ็ง แขดอน และ นายสมบูรณ์ แขดอน ลงหุ้นคนละ 5 แสนบาท ที่ตั้งเลขที่ 353 หมู่ที่ 1 ต.โชคชัย อ.โชคชัย จ.นครราชสีมา

วันที่ 11 ตุลาคม 2534 หจก.โชคชัยรวมทวี 1990 เพิ่มทุนเป็น 10 ล้านบาท มีหุ้นส่วน 3 คนคือ

1.นางชิวเอ็ง แขดอน

2.นายสมบูรณ์ แขดอน ลงหุ้นคนละ 5 แสนบาท

3.นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ ลงทุนด้วยเงิน 9 ล้านบาท

ที่ ตั้งสำนักงานเลขที่ 80-81 หมู่ที่ 1 ต.โชคชัย อ.โชคชัย จ.นครราชสีมา (ตรงกับที่ทำงานของนายบุญจง ตามที่ระบุในบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินต่อ ป.ป.ช. ตอนเป็น ส.ส.วันที่ 22 มกราคม 2551) โดยมีนายบุญจง มีตำแหน่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ

ต่อมามีการลดทุนเหลือ 1 ล้านบาท

วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2541 นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการได้ทำหนังสือถึงสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท จังหวัดนครราชสีมา ขอเปลี่ยนแปลง หุ้นส่วนเหลือเพียง 2 คนคือ นายบุญชู ไม้กระโทก และ นายสมบูรณ์ แขดอน คนละ 5 แสนบาท พร้อมทั้งเปลี่ยนแปลงสำนักงานที่ตั้งสำนักงานเป็นเลขที่ 353 หมู่ที่ 1 ต.โชคชัย อ.โชคชัย จ.นครราชสีมา (ที่ตั้งเลขที่เดียวกับช่วงก่อตั้ง)



หลังจากนั้น หจก.โชคชัยรวมทวี 1990 ได้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงหุ้นส่วนหลายครั้ง

วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2544 นายบุญชู ไม้กระโทก ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการได้ทำหนังสือถึงสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท จังหวัดนครราชสีมา ขอเปลี่ยนแปลง หุ้นส่วน เป็น นายบุญชู ไม้กระโทก และ นางสาววัลลภา เหมากระโทก คนละ 5 แสนบาท

วันที่ 19 กันยายน 2544 นายบุญชู ไม้กระโทก ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการได้ทำหนังสือถึงสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท จังหวัดนครราชสีมา ขอเปลี่ยนแปลง หุ้นส่วน เป็นนายบุญชู ไม้กระโทก และ นายสมหวัง เพ็ชร์ฤทธิ์ คนละ 5 แสนบาท

วันที่ 21 มกราคม 2545 นายสมหวัง เพ็ชร์ฤทธิ์ ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการได้ทำหนังสือถึงสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท จังหวัดนครราชสีมา ขอเปลี่ยนแปลง หุ้นส่วน เป็น นายบุญชู ไม้กระโทก และ นางพรรณวดี เหลืองลาวัณย์ คนละ 5 แสนบาท

วันที่ 19 มกราคม 2547 นางพรรณวดี เหลืองลาวัณย์ ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการได้ทำหนังสือถึงสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท จังหวัดนครราชสีมา ขอเปลี่ยนแปลง หุ้นส่วน เป็น นางพรรณวดี เหลืองลาวัณย์ และ นายธรรมนูญ เหลืองลาวัณย์ คนละ 5 แสนบาท

วันที่ 23 กันยายน 2547 นางพรรณวดี เหลืองลาวัณย์ ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการได้ทำหนังสือถึงสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท จังหวัดนครราชสีมา ขอเปลี่ยนแปลง หุ้นส่วน เป็นนางศรันยา ทองไทย (นามสกุลเดิม ศรีกระโทก) และนายสุทธิ์ ปลอดกระโทก คนละ 5 แสนบาท

วันที่ 5 มิถุนายน 2549 นางศรันยา ทองไทย ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการได้ทำหนังสือถึงสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท จังหวัดนครราชสีมา ขอเปลี่ยนแปลง หุ้นส่วน เป็นนางสาวนฤพร เหมากระโทก และ นายสุทธิ์ ปลอดกระโทก คนละ 5 แสนบาท

ล่าสุดวันที่ 1 ตุลาคม 2553 หจก.โชคชัยรวมทวี 1990 เปลี่ยนแปลงหุ้นส่วนเป็น นางนพรัตน์ แขดอน (เครือญาตินายบุญจง) และ นายสุทธิ์ ปลอดกระโทก

หจก.โชค ชัยรวมทวี 1990 ได้แจ้งข้อมูลต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ว่ามี 2550 มีรายได้ 29,325,164 บาท ขาดทุนสุทธิ 2,588,488 บาท ปี 2551 รายได้ 19,475,338 บาท ขาดทุนสุทธิ 337,376 บาท

"มติ ชนออนไลน์" ตรวจสอบพบว่า ตั้งแต่วันที่ 22 ม.ค.2553 - 29 ก.ค. 2553 (เป็นช่วงที่นายบุญจงมีตำแหน่งทางการเมือง) หจก.โชคชัยรวมทวีเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐทั้งหมด 80 สัญญา วงเงิน 138.2 ล้านบาท


ใน จำนวนนี้เป็นงานรับเหมากับ หน่วยงานในกระทรวงมหาดไทยทั้งหมด 64 สัญญา วงเงิน 111.8 ล้านบาท แบ่งเป็นก่อสร้างถนนในสังกัดกรมการปกครอง 2 สัญญา วงเงิน ประมาณ 2.9 ล้านบาท ก่อสร้างถนนในสังกัดกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณชภัย 18 สัญญา วงเงิน 29 ล้านบาท กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น 44 สัญญา วงเงิน 79.8 ล้านบาท

หน่วยงานในกระทรวงคมนาคม (สำนักงานทางหลวงชนบทจังหวัดนครราชสีมา) 12 สัญญา วงเงิน 19 ล้านบาท
และกระทรวงทรัพย์ฯ (กรมทรัพยากรน้ำ) 4 สัญญา วงเงิน 7.3 ล้านบาท

ก่อน หน้านี้เมื่อเดือนเมษายนปี 2552 นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย ได้ยื่นเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ตรวจสอบนายบุญจงว่าแจ้งบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินเป็นเท็จหรือไม่

นาย พร้อมพงษ์อ้างว่า นายบุญจงให้คนขับรถและคนใกล้ชิดรวมไปถึงญาติของนางกาญจนา วงศ์ไตรรัตน์ ภรรยาถือหุ้นใน หจก.โชคชัยรวมทวี (1990) แม้ว่าห้างหุ้นส่วนดังกล่าวจะเปลี่ยนผู้ถือหุ้นส่วนใหม่แล้วก็ตาม

นาย พร้อมพงษ์อ้างว่านอกจากนี้ยังมีคนรับใช้ของนาย บุญจง เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการด้วย โดยเฉพาะที่ตั้งของห้างหุ้นส่วน ได้ใช้บ้านพี่สาวของนายบุญจง เป็นที่ทำการ ตั้งแต่จัดตั้งห้างหุ้นส่วนมาจนถึงปัจจุบันอาจแสดงให้เห็นว่านายบุญจงน่าจะ ยังเป็นเจ้าของหุ้นที่แท้จริง

ทั้งนี้ หน่วยงานรับเหมาที่หจก.โชคชัยรวมทวี 1990 เป็นคู่สัญญา อาทิ

กรมทางหลวงชนบท
ก่อ สร้างถนน คสล. สายบ้านบึงทับปรางค์ม.10 ต.โชคชัยอ.โชคชัย จ.นครราชสีมา ระยะทางรวม 0.360 กม. วงเงิน 1,289,000 บาท ทำสัญญา 17 ก.ย. 2551 สำนักงานทางหลวงชนบทจังหวัดนครราชสีมา

ก่อสร้างถนน คสล.สายบ้านคลองยาง ม.14 ต.พลับพลาอ.โชคชัย จ.นครราชสีมา ระยะทาง รวาม 0.280 กม. หจก.โชคชัยรวมทวี 1990 1,290,000 บาท ทำสัญญา 17 ก.ย. 2551 สำนักงานทางหลวงชนบทจังหวัดนครราชสีมา

สร้างถนน คสล. สายบ้านหนองยายเทียม ม.7ต.หนองบุนนาก อ.หนองบุญมาก นครราชสีมา หจก.โชคชัยรวมทวี 1990 1,790,000 บาท ทำสัญญา10 พ.ย. 2551 สำนักงานทางหลวงชนบทจังหวัดนครราชสีมา

ก่อสร้างถนนคสล.สาย บ้านท่าตะเคียน ม.13 ต.พลับพลาอ.โชคชัย นครราชสีมา ระยะทาง 0.580 กม. หจก.โชคชัยรวมทวี 1990 1,738,000 บาท ทำสัญญา 12 ก.พ. 2552 สำนักงานทางหลวงชนบทจังหวัดนครราชสีมา

ก่อสร้างถนน สาย บ้านกุดจอกน้อย-บ้านหนองโสน ต.ละลมใหม่พัฒนา อ.โชคชัย จ.นครราชสีมา ระยะทาง 0.580 กม. หจก.โชคชัยรวมทวี 1990 ทำสัญญา1,738,000 บาท 12 ก.พ. 2552 สำนักงานทางหลวงชนบทจังหวัดนครราชสีมา

ก่อสร้างถนน คสล. สาย บ้านคลองยาง ม.14 ต.พลับพลาอ.โชคชัย จ.นครราชสีมา ระยะ 0.580 กม หจก.โชคชัยรวมทวี 1990 1,738,000 บาท ทำสัญญา 12 ก.พ. 2552 สำนักงานทางหลวงชนบทจังหวัดนครราชสีมา

ก่อสร้างถนนลาดยาง สายบ้านด่านนอก-บ้านวัง ต.ด่านนอก-บ้านวัง ต.ด่านนอก อ.ด่านขุนทด นครราชสีมาระยะทาง 0.575 กม. หจก.โชคชัยรวมทวี 1990 1,490,000 บาท ทำสัญญา 4 มี.ค. 2552 สำนักงานทางหลวงชนบทจังหวัดนครราชสีมา

ก่อ สร้างถนนลาดยางสายหน้า อบต.สระจระเข้ ต.สระจระเข้ อ.ด่านขุนทด นครราชสีมา ระยะทาง 0.550 หจก.โชคชัยรวมทวี 1990 1,490,000 บาท ทำสัญญา ทำสัญญา 4 มี.ค. 2552 สำนักงานทางหลวงชนบทจังหวัดนครราชสีมา

ก่อ สร้างถนนลาดยางสาย บ้านศูนย์กลาง-บ้านหนองจานต.แก้งสนามนาง อ.แก้งสนามนาง นครราชสีมา หจก.โชคชัยรวมทวี 1990 1,965,000 บาท ทำสัญญา 4 มี.ค. 2552 สำนักงานทางหลวงชนบทจังหวัดนครราชสีมา

ก่อสร้างถนนคสล.สายบ้านสระมะค่า ม.2 ต.หนองไม้ไผ่อ.หนองบุญมาก จ.นครราชสีมา ระยะทาง 0.580 กม. หจก.โชคชัยรวมทวี 1990 1,738,000 บาท ทำสัญญา17 มี.ค. 2552 สำนักงานทางหลวงชนบทจังหวัดนครราชสีมา

ก่อ สร้างถนน คสล. สายบ้านสระครก ม.3 ต.หนองบัวสะอาด อ.บัวใหญ่ นครราชสีมา หจก.โชคชัยรวมทวี 1990 1,210,000 บาท ทำสัญญา31 มี.ค. 2552 สำนักงานทางหลวงชนบทจังหวัดนครราชสีมา

ก่อสร้างถนน คสล.สาย บ้านโนนสูง - บ้านอัมพวันม.8 9 ต.สีสุก อ.แก้งสนามนาง นครราชสีมา หจก.โชคชัยรวมทวี 1990 1,637,000 บาท ทำสัญญา 31 มี.ค. 2552 สำนักงานทางหลวงชนบทจังหวัดนครราชสีมา

ก่อสร้าง ถนน คสล.สาย บ้านโนนทองหลางม.1ต.โนนทองหลาง อ.บัวใหญ่ นครราชสีมา หจก.โชคชัยรวมทวี 1990 1,290,000 บาท ทำสัญญา31 มี.ค. 2552 สำนักงานทางหลวงชนบทจังหวัดนครราชสีมา

ก่อสร้างถนน คสล.สายบ้านวังวารี ม.5 ต.สีสุก อ.จักราช จ.นม ระยะทางรวม 0.417 กม หจก.โชคชัยรวมทวี 1990 1,494,000 บาท ทำสัญญา13 ก.ค. 2552 สำนักงานทางหลวงชนบทจังหวัดนครราชสีมา

ก่อสร้างถนน คสล.สายบ้านคลองกลาง-บ้านท่าตะเคียน อ.พลับพลา อ.โชคชัย จ.นม ระยะทาง 0.417 กม. หจก.โชคชัยรวมทวี 1990 1,494,000 บาท 13 ก.ค. 2552 สำนักงานทางหลวงชนบทจังหวัดนครราชสีมา

ก่อสร้างถนน คสล.สายบ้านคลองยาง-บ้านหนองเสาเดียว ต.พลบพลา ,ท่าอ่าง อ.โชคชัย จ.นมระยะทาง 0.417 กม หจก. โชคชัยรวมทวี 1990 1,494,000 บาท 13 ก.ค. 2552 สำนักงานทางหลวงชนบทจังหวัดนครราชสีมา


กรมการปกครอ
จ้างก่อสร้างถนน คสล. หจก.โชคชัยรวมทวี 1990 1,591,500 บาท 14 ม.ค. 2552 ที่ทำการปกครอง จังหวัดนครราชสีมา
จ้างก่อสร้างถนน คสล หจก.โชคชัยรวมทวี 1,499,000 บาท 14 ม.ค. 2552 ที่ทำการปกครอง จังหวัดนครราชสีมา
จ้างกอ่สร้างถนน คสล. หจก.โชคชัยรวมทวี 1990 1,977,000 บาท 19 ม.ค. 2552 ที่ทำการปกครอง จังหวัดนครราชสีมา
ก่อ สร้างถนน คสล.บ้านปรางค์พะโค ม.11 ต.กระโทกอ.โชคชัย จ.นครราชสีมา หจก.โชคชัยรวมทวี 1990 1,558,000 บาท 27 ม.ค. 2552 ที่ทำการปกครอง จังหวัดนครราชสีมา
ก่อสร้างถนน คสล.บ้านสระประทุม ม.2 ต.โชคชัย อ.โชคชัย จ.นครราชสีมา หจก.โชคชัยรวมทวี 1990 1,385,800 บาท 27 ม.ค. 2552 ที่ทำการปกครอง จังหวัดนครราชสีมา

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
โครงการ ขุดลอกคลองลาดเอี้ยง บ้านหนองโพธิ์ หมู่ 14 ต.ทุ่งอรุณ อ.โชคชัย จ.นม ของสนง.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดนครราชสีมา หจก.โชคชัยรวมทวี 1990 1,578,500 บาท 18 พ.ย. 2552 ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 5 นครราชสีมา
โครงการขุดลอกคลองน้ำบ้านดอนใหญ่ หมู่ 3 ต.กระโทก อ.โชคชัย จ.นม ของ สนง.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.นม หจก.โชคชัยรวมทวี 1990 1,520,000 บาท 18 พ.ย. 2552 ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 5 นครราชสีมา

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
ก่อ สร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็กบ้านบึงทับปรางค์ม.10 ต.โชคชัย เชื่อมเขต ต.พลับพลาชัยอ.โชคชัย จ.นครราชสีมา หจก.โชคชัยรวมทวี 1,355,300 บาท 22 พ.ค. 2551 องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
ปรับปรุงถนนผิวจราจร ลูกรังและก่อสร้างท่อเหลี่ยมคสล.เชื่อมระหว่างบ้านกุดโบสถ์ ม.2 ต.ท่าอ่าง-บ้านกุดจอกน้อย ต.ละลมใหม่พัฒนา อ.โชคชัยจ.นครราชสีมา หจก.โชคชัยรวมทวี 1990 1,795,400 บาท 22 พ.ค. 2551 องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
ก่อร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็กบ้าน โกรกน้ำใส ม.2ต.ทุ่งอรุณ เชื่อม ต.ท่าเยี่ยม อ.โชคชัย จ.นครราชสีมา หจก.โชคชัยรวมทวี 1990 1,196,900 บาท 22 พ.ค. 2551 องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
ก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก บ.บึงทับปรางค์ ม.9 ต.โชคชัย เชื่อมตำบลท่าอ่าง อ.โชคชัย หจก.โชคชัยรวมทวี 1990 1,495,000 บาท 2 เม.ย. 2552 องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
ก่อ สร้างถนน คสล.บ้านโนนแดง ม.16 ต.พลับพลาอ.โชคชัย เชื่อมเขต อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา หจก.โชคชัยรวมทวี 1990 1,900,000 บาท 4 มิ.ย. 2552 องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
ก่อสร้างถนน คสล.บ้านสว่างพัฒนา ม.10(ทางไปปลัดข่อย)ตำบลหนองบุญมาก เชื่อมเขต อำเภอครบุรี จ.นครราชสีมา หจก.โชคชัยรวมทวี 1990 1,900,000 บาท 17 มิ.ย. 2552 องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
ก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก บ้านซับหวาย หมู่ 4 ต.หนองหัวแรต เชื่อม ต.แหลมทอง อ.หนองบุญมาก จ.นม ของอบจ. นม หจก.โชคชัยรวมทวี 1990 1,554,000 บาท 24 ส.ค. 2552 องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
ก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก บ้านหนองหิน หมู่ที่10 ตำบลหนองหัวแรต หจก.โชคชัยรวมทวี 1990 1,973,000 บาท 26 ส.ค. 2552 องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
ก่อสร้างถนน คอนกรีตเสริมเหล็ก บ้านทุ่งรวงทอง หมู 113 ตำบลสารถี เชือ่มตำบลบ้านใหม่ อ.หนองบุญมาก หจก.โชคชัยรวมทวี 1990 1,972,100 บาท 26 ส.ค. 2552 องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
ก่อสร้างถนนตอนกรีตเสริมเหล็ก บ้านบุกกระโทก หมู่ที่8 ต.หนองหัวแรต อ.หนองบุญมาก เชือ่ม ต.ท่าเยี่ยมอ.โชคชัย จ.นครราชสีมา หจก.โชคชัยรวมทวี 1990 1,972,400 บาท 26 ส.ค. 2552 องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
จ้างก่อสร้างถนน คอนกรีตเสริมเหล็ก บ้านบุกุดจอก หมู่ที่5 ตำบลหนองหัวแรต เชื่อมด ตำบลหนองไม้ไผ่หนองบุญมาก จ.นครราชสีมา หจก.โชคชัยรวมทวี 1990 1,973,000 บาท 26 ส.ค. 2552 องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
บ้านบึงพระ หมู่ที่ 7 ต.ท่าลาดขาว อ.โชคชัย เชื่อมอ.ครบุรี จ.นครราชสีมา หจก.โชคชัยรวมทวี 1,974,800 บาท 26 ส.ค. 2552 องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
ก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล้ก บ้านตูม หมู่ 5 ต.ด่านเกวียน อ.โชคชัย เชื่อม อ.เมือง ของ อบจ.นม หจก.โชคชัยรวมทวี 1990 1,973,700 บาท 27 ส.ค. 2552 องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
ก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล้ก บ้านมอสูงซับเจริญ หมู่ 1 ต.หนองหัวแรต เชื่อมตำบลบ้านใหม่ อ.หนองบุญมาก จ.นม ของอบจ.นม หจก.โชคชัยรวมทวี 1990 1,972,000 บาท 28 ส.ค. 2552 องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
ก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก บ้านใหม่สมบูรณ์ หมู่3 ต.บ้านใหม่ เชื่อมตำบลสารภี อ.หนองบุญนาก จ.นม ของอบจ.นม หจก.โชคชัยรวมทวี 1990 1,373,600 บาท 28 ส.ค. 2552 องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
ก่อสร้างถนน คสล บ้านใหม่พัฒนา หมู่ที่ 2ต.หนองหัวแรต เชื่อมตำบลหนองตะไก้ หจก.โชคชัยรวมทวี 1990 1,974,800 บาท 28 ส.ค. 2552 องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
ก่อ สร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก บ้านประชานิมิตร หมู่4 ต.หนองตะไก้ เชื่อมบ้านหนองไทร ม.8 ต.หนองบุนนาก อหนองบุญมาก จ.นม ของอบจง นม หจก.โชคชัยรวมทวี 1990 1,971,300 บาท 28 ส.ค. 2552 องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
ก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก บ้านพิมาน หมู่ 15 ต.ท่าช้าง อ.เฉลิมพระเกียรติ เชื่อม อ.จักราช จ.นม ของอบจ.นม หจก.โชคชัยรวมทวี 1990 1,913,100 บาท 28 ส.ค. 2552 องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
ก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก บ้านพงษ์พัฒนา หมู่ 3ต.หนองหัวแรต เชื่อมตำบลแหลมทอง อ.หนองบุญมาก จ.นม ของ อบจ. นม หจก.โชคชัยรวมทวี 1990 1,974,100 บาท 28 ส.ค. 2552 องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
ก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก บ้านใหม่อุดม หมู่ 2 ต.บ้านใหม่ เชื่อมตำบลลุงเขว้า อ.หนองบุญมาก จ.นม ของอบจ. นม หจก.โชคชัยรวมทวี 1990 1,371,500 บาท 28 ส.ค. 2552 องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
ก่อสรางถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก เขตเทศบาลต.เสิงสาง เชื่อม บ้านหนองใหญ่ หมู่ 9 ต.เสิงสาง อ.เสิงสาง จ.นม ของ อบจ.นม หจก.โชคชัยรวมทวี 1990 1,991,600 บาท 8 ก.ย. 2552 องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
ก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก บ้านสระครก หมู่ 10 ตงบัวใหญ่ เชื่อมเขตเทศบาลเมืองบัวใหญ่ อ.บัวใหญ่ ของอบจ.นม หจก.โชคชัยรวมทวี 1990 1,985,400 บาท 8 ก.ย. 2552 องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
ก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก บ้านสีสุก หมู่ 1 ต.สีสุก หมู่ 1 เชื่อมทางหลวงแผ่นดิน อ.แก้งสนามนาง-อ.บ้าานเหลื่อม จ.นม ของ อบจ. นม หจก.โชคชัยรวมทวี 1990 1,465,000 บาท 8 ก.ย. 2552 องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
ก่อ สร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก บ้านหนองไผ่ใหญ่ หมู่9 ต.เสิงสาง เชื่อม ต.สุขไพบูลย์ อ.เสิงสาง ของ อบจ.นม หจก.โชคชัยรวมทวี 1990 1,992,000 บาท 8 ก.ย. 2552 องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
ก่อสร้างถนนคอนกรีต เสริมเหล็ก บ้านห้วยทราบ หมู่ 7 ต.บ้านใหม่ เชื่อม ต.โคกกระชาย อ.ครบุรี นม ของ อบจ.นม หจก.โชคชัยรวมทวี 1990 1,992,000 บาท 8 ก.ย. 2552 องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
ก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก บ้านศูนย์กลาง หมู่ 1ต.แก้งสนามนาง อ.แก้งสนามนาง เชื่อมทางหลวงแผ่นดิน อ.แก้งสนามนาง -อำเภอบัวใหญ่ ของ อบจ.นม หจก.โชคชัยรวมทวี 1990 1,985,000 บาท 8 ก.ย. 2552 องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
ก่อสร้างถนน คอนกรีตเสริมเหล็ก บ้านหนองเรือ หมู่ 11ต.พระพุทธ อ.เฉลิมพระเกียรติ เชื่อม ต.หนองระเวียง อ.เมือง จ.นม ของ อบจ.นม หจก.โชคชัยรวมทวี 1990 1,846,300 บาท 8 ก.ย. 2552 องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
ก่อสร้างถนน คอนกรีตเสริมเหล็ก บ้านโคกสว่าง หมู่ 11ต.ห้วยแถลง เชื่อม อ.หนองหงส์ จ.บุรีรัมย์ ของ อบจ.นม หจก.โชคชัยรวมทวี 1990 1,368,900 บาท 8 ก.ย. 2552 องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
ก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก บ้านหนองขาม หมู่ 8 ต.หนองบัว เชื่อม ต.โนนเต็ง อ.คง จ.นม ของ อบจ. นม หจก.โชคชัยรวมทวี 1990 1,455,000 บาท 8 ก.ย. 2552 องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
ก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก บ้านโพธิ์ปรือแวง หมู่13 ต.หนองงูเหลือม อ.เฉลิมพระเกียรติ -ต.บ้านโพธิ์อ.เมือง จ.นม ของ อบจ. นม หจก. โชคชัยรวมทวี 1990 1,991,700 บาท 8 ก.ย. 2552 องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
ก่อสร้างถนน คอนกรีตเสริมเหล็ก เขตเทศบาลต.เสิงสาง เชื่อม ต.สุขไพบูลย์ อ.เสิงสาง จ.นม ของ อบจ. นม หจก.โชคชัยรวมทวี 1990 1,993,200 บาท 8 ก.ย. 2552 องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
ก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก บ้านบุไทย หมู่ 8 ต.ห้วยยาง เชื่อม ต.ขุนทอง ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 202 อ.บัวใหญ่ ของ อบจ. นม หจก.โชคชัยรวมทวี 1990 าง 1,955,000 บาท 8 ก.ย. 2552 องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
ก่อสร้างถนนถนนคอนกรีตเสริม เหล็ก บ้านนาตาวงษ์ หมู่8 ต.หนองงูเหลือม อ.เฉลิมพระเกียรติ เชื่อม ต.โตนด อ.โนนสูง นม ของ อบจ. นม หจก.โชคชัยรวมทวี 1990. 1,136,500 บาท 8 ก.ย. 2552 องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
ก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก หมู่ 7 ต.ห้วยแถลง เชื่อม ต.ห้วยแคน อ.ห้วยแถลง นม ของ อบจ. นม หจก.โชคชัยรวมทวี 1990 1,983,200 บาท 8 ก.ย. 2552 องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
ก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก จากถนนลาดยางหมาเลข นม1022 ต.บัวใหญ่-โนนตาเถร ถึงบ้านโนนใหญ่ อ.บัวใหญ่ของ อบจ.นม หจก.โชคชัยรวมทวี 1990 1,985,600 บาท 8 ก.ย. 2552 องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
ก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก บ้านโนนกราด หมู่ 1 ตงหนองงูเหลือม อ.เฉลิมพระเกียรติ เชื่อม ต.โตนด อ.โนนสูง จ.นม อบจ. นม หจก.โชคชัยรวมทวี 1990 1,992,000 บาท 8 ก.ย. 2552 องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
ก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก บ้านพระพุทธ หมู่ 3 ต.พระพุทธ อ.เฉลิมพระเกียรติ เชื่อม ต.หนองระเวียง องเมือง ของ อบจ.นม หจก.โชคชัยรวมทวี 1990 1,863,600 บาท 9 ก.ย. 2552 องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
ขุดลอกคลองเมือง ม.5 บ้านทุ่งหัวขวาน ต.สารภีอ.หนองบุญมาก จ.นครราชสีมา หจก.โชคชัยรวมทวี 1990 1,910,000 บาท 24 ก.ย. 2552 อบต.สารภี
ก่อสร้างถนน คสล. สายวังดู่-บ้านดู่ ของเทศบาลตำบลเมืองปัก หจก.โชคชัยรวมทวี 1990 1,095,000 บาท 29 ก.ย. 2552 เทศบาลตำบลเมืองปัก
ก่อ สร้างถนนดินพร้อมผิวจราจรลูกรัง หมู่ 6 ของ อบต.ลุงเขว้า อ.หนองบุญมาก นม หจก.โชคชัยรวมทวี 1990 1,946,000 บาท 29 ก.ย. 2552 อบต.ลุงเขว้า
ก่อ สร้างถนนดินพร้อมผิวจราจร ลูกรัง หมู่ 7 ของอบต.ลุงเขว้า อ.หนองบุญมาก จ.นม หจก.โชคชัยรวมทวี 1990 1,943,000 บาท 29 ก.ย. 2552 อบต.ลุงเขว้า
โครงการ ก่อสร้างถนนลาดยางแบบ CAPE SEAL บ้านดอนเต็งหมู่ 5-บ้านหนองจะบก หมู่ 3 ต.หนองตาดใหญ่ อ.สีดา ของ อบจ.นม หจก.โชคชัยรวมทวี 1990 1,894,800 บาท 3 ธ.ค. 2552 องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา

ไก่เห็นตีนงู

ที่มา ข่าวสด

คอลัมน์ เหล็กใน




กระแสข่าวปรับครม. เขี่ยพรรคภูมิใจไทยออกแล้วเอา'กลุ่ม 3 พี'เข้ามาเสียบแทน

เริ่มมีมาตั้งแต่ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ตัดสินใจ ลาออกจากรองนายกฯ ไปลงสมัครเลือกตั้งซ่อมส.ส. สุราษฎร์ธานี

ด้วยเหตุที่แต่ไหนแต่ไรมา นายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ไม่ค่อยปลื้มภูมิใจไทยเท่าใดนัก

เพราะพรรคนี้มักชอบแหกกฎเหล็ก 9 ข้อเป็นประจำ

เนื่องจากถือดีว่าตัวเองเป็นหุ้นส่วนสำคัญในรัฐบาล ที่หุ้นใหญ่อย่างประชาธิปัตย์ไม่กล้าแตกหัก

ดูจากเรื่องเช่ารถเมล์ 4 พันคัน เป็นต้น หรืออย่างการแต่งตั้งปลัดมหาดไทยคนใหม่ไปจนถึงการแต่งตั้งผู้ว่าฯ นายอำเภอ ฯลฯ

ที่ล้วนแล้วแต่เป็นประเด็นอื้อฉาวทั้งนั้น

นายกฯอภิสิทธิ์ รู้ทั้งรู้ว่าสิ่งที่ภูมิใจไทยทำแต่ละเรื่องมีผลกระทบต่อภาพลักษณ์รัฐบาลโดยรวม

แต่ก็รู้ทั้งรู้เช่นกันว่าถ้าหากภูมิใจไทยถอนหุ้นจากรัฐบาลเมื่อไหร่

นายอภิสิทธิ์และประชาธิปัตย์ก็ต้องร่วงหล่นจากอำนาจเมื่อนั้น

นอกจากนี้เมื่อก่อนเวลานายอภิสิทธิ์ มีเรื่องเคืองใจกับภูมิใจไทย จนเกือบจะบานปลายใหญ่โตหลายครั้ง

ก็ยังมีนายสุเทพ คอยเตือนสตินายอภิสิทธิ์ ให้เห็นถึงความสำคัญของภูมิใจไทย

ซึ่งนายกฯอภิสิทธิ์ ก็ยอมฟังและอ่อนข้อให้ทุกครั้ง

สร้างความหงุดหงิดให้กับส.ส.และสมาชิกประชาธิปัตย์พอสมควร เพราะเห็นว่าระดับนายกฯ ไม่ควรยอมให้พรรคร่วมรัฐบาล'ขี่'มากจนเกินไป

นายอภิสิทธิ์ คงรู้สึกเช่นนั้นเหมือนกัน

การที่นายสุเทพ ลาออกรองนายกฯ ไปลงสมัครส.ส. พรรคภูมิใจไทยช่วงนี้จึงเหมือนกับรถขาดกันชน ต้องปะทะกับนายกฯอภิสิทธิ์ แบบเต็มๆ

โดยไม่มีตัวช่วยลดแรงกระแทก

พูดถึงนายอภิสิทธิ์ ขนาดเกิดเหตุสังหารหมู่กลางกรุง 90 กว่าศพเมื่อเดือนพฤษภาฯ ตายังไม่กะพริบ

เป็นสิ่งพิสูจน์ได้ดีว่านายกฯคนนี้'เลือดเย็น'ขนาดไหน

ของขึ้นเมื่อไหร่มีหวังภูมิใจไทยกระเด็นไปเป็นฝ่ายค้านแบบง่ายๆ

แต่ก็อย่างว่าประชาธิปัตย์กับภูมิใจไทยนั้นก็เหมือนไก่เห็นตีนงู งูเห็นนมไก่

เมื่อพรรคหนึ่งแข็ง อีกพรรคก็อ่อน เมื่อพรรคหนึ่งยอมสยบ อีกพรรคก็ขึ้นขี่ทันที

เป็นธรรมชาติการเมืองอย่างที่ นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทยพูดไว้ว่าไม่มีพรรคไหนไม่อยากเป็นรัฐบาล

อยู่เป็นรัฐบาลกันไปทะเลาะกันไป

ถึงยังไงก็ดีกว่าสามัคคีกันเป็นฝ่ายค้าน

การ์ตูน เซีย 15/10/53

ที่มา ไทยรัฐ

Pic_118747

การ์ตูน เซีย 15/10/53

แคนดิเดทนายกฯของพรรคเพื่อไทย 6 คน คุณสนับสนุนใคร

ที่มา thaifreenews

โดย ลูกชาวนาไทย



แคนดิเดทนายกฯของพรรคเพื่อไทย 6 คน คุณสนับสนุนใคร

1. พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ
2. นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ ส.ส.สัดส่วน
3. ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง
4. นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช
5. นายโอฬาร ไชยประวัติ
6. วีรพงษ์ รามางกูร
-------------------
ผมดูรายชื่อคนทั้งหกนี้แล้ว ผมยอมรับว่าไม่เด่นมากนัก แต่ภายใต้สังคมไทยในขณะนี้ ก็คงไม่มีรายชื่ออื่นที่เด่น
กว่านี้ คือ แม้ให้ผมสนอชื่อเอง ผมก็ยังคิดไม่ออกเหมือนกันว่าจะเสนอใครเป็นนายกฯ

เอาเป็นว่า รายชื่อที่ผมไม่สนับสนุนก่อน เช่น ชวลิต เฉิลม วีระพงษ์ (ลูกป๋าเก่า)

เหลือรายชื่อสามคนที่ พอยอมรับได้คือ มิ่งขวัญ สุชาติ และโอฬาร

เรามามองเป็นคนๆ ไป
1. นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ
คนนี้เคยเป็นตัวชูโรงของพรรคพลังประชาชน ยุคคุณสมัครมาแล้วให้เป็นคนแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ แต่เวลาทำงานยังไม่มากนัก และเป็นนักบริหาร ไม่ใช่นักเศรษฐศาสตร์ ในส่วนตัวผมยอมรับได้ เรื่องแนวคิดเด่นๆ ผมยังมองไม่เห็นมากนัก แต่ด้านบริหารงาน ถือว่าใช้ได้พอสมควร

2. ดร. สุชาติ ธาดาธำรงเวช นักเศรษฐศาสตร์
ในส่วนตัวผมยอมรับแนวคิด ดร.สุชาติมากกว่า และเป็นคนหนุ่ม อาจเพราะว่าผมก็เรียนด้านเศรษฐศาสตร์ ก็เลยยอมรับได้ง่าย
3. ดร.โอฬาร ไชยประวัติ
เป็นนักเศรษฐศาสตร์เช่นกัน และผมยอมรับว่าลุ่มลึก เพราะผมเคยเข้าร่วมประชุมที่มี ดร.โอฬารเป็นประธานหลายครั้งพอสมควร นับว่าเป็นนักเศรษฐศาสตร์มหภาคที่เก่งคนหนึ่ง ปัญหาคือ อายุมาก สายสัมพันธ์กับกลุ่มต่างๆในพวกชนชั้นนำเยอะ ทำให้ผมคิดว่าเขาคงไม่กล้าเปลี่ยนแปลงอะไรมาก

ส่วนตัวผมอยากลองให้ ดร. สุชาติ เป็นนายกฯ ดู ลองคนใหม่ๆ บ้าง แบบที่เรารองกับทักษิณ ผมคิดว่า เขาอาจมีแนวทางใหม่ ๆ

แต่ ผมคิดว่า ทั้งสามคนนี้สามารถเรียงกันเป็นได้ เพราะพรรคเพื่อไทย นอกจากท่านนายกฯทักษิณแล้ว ที่เหลือ ก็ไม่ใช่ผู้นำสูงสุด ดังนั้นอาจใช้วิธีเดียวกับญี่ปุ่น หรือพรรคแอลดีพี เดิมคือ ให้เป็นคนละ 2 ปี หากไม่เด่น ก็ให้ลาออก และเอาคนอื่นขึ้นแทน หากทำงานดี ก็ปล่อยให้ทำต่อไปเรื่อยๆ

ซีรีส์ สื่อใหม่กับความขัดแย้งทางการเมือง ตอน6: อินเทอร์เน็ตคือป่าออนไลน์ขนาดใหญ่

ที่มา ประชาไท

พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ที่ใช้สื่อใหม่เป็นเครื่องมือในการเรียนการสอน พูดถึงการต่อสู้ทางการเมืองผ่านโลกออนไลน์ว่า คือเนื้อเดียวกันกับโลกออฟไลน์ และอินเทอร์เน็ตคือป่าออนไลน์ขนาดใหญ่ที่มีการต่อสู้ ซุ่มโจมตีทุกรูปแบบ

ความขัดแย้งทางการเมืองที่ผ่านมา ส่งผลให้ สื่อทางเลือกหรือ นิวมีเดียมี รูปแบบที่หลากหลายและนับวันจะมีบทบาทเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น อินเทอร์เน็ต เครือข่ายทางสังคมออนไลน์ เคเบิลทีวี หรือวิทยุชุมชน จนกระทั่งช่วง 3-5 ปีที่ผ่านมาซึ่งประเทศไทยเผชิญกับวิกฤตการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง ก็ทำให้ยากที่ใครจะปฏิเสธได้ถึงนัยสำคัญที่มีต่อสังคมไทย กระทั่งเป็นที่จับตารอการทำความเข้าใจและอธิบาย

ขณะ เดียวกัน สื่อสารมวลชนไทยกระแสหลักเองก็ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากถึงการทำ หน้าที่ตลอดช่วงความขัดแย้งดังกล่าว ไม่เพียงแต่การตั้งคำถามถึงจริยธรรม จรรยาบรรณ จุดยืน ตลอดจนท่าทีที่มีต่อความเคลื่อนไหวของกลุ่มคนต่างๆ ในบริบทของการแบ่งแยกขั้วแบ่งแยกข้างทางการเมือง จนนำไปสู่วิกฤติความน่าเชื่อถือของสื่อ และเป็นเหตุผลสำคัญประการหนึ่ง ที่ทำให้ช่องทางและการสื่อสารใหม่ๆ มีผู้ใช้เติบโตอย่างก้าวกระโดด และถูกใช้เป็นเครื่องมือเพื่อขับเคลื่อนความคิดและความเคลื่อนไหวทางการ เมืองอย่างไม่เคยมีมาก่อน

ประชาไท สัมภาษณ์นักคิด นักวิชาการ นักสื่อสารมวลชน และนักปฏิบัติการสื่อออนไลน์ 12 คน เพื่อร่วมถกเถียงในประเด็นดังกล่าว ซึ่งจะนำเสนออย่างต่อเนื่อง โดยความสนับสนุนของมูลนิธิไฮน์ริค เบิลล์ ซึ่งบทสัมภาษณ์อย่างละเอียดจะนำเสนอเป็นรูปเล่มต่อไป

พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์: อินเทอร์เน็ตคือป่าออนไลน์ขนาดใหญ่

พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ โดยวิชาชีพเป็นอาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขณะเดียวกันพิชญ์ค่อยๆ ขยับความเข้าใจ และเรียนรู้เกี่ยวกับสื่อออนไลน์ทั้งผ่านการศึกษาวิจัยและการใช้งานจริง

พิชญ์ใช้งานสื่อออนไลน์ในหลายๆ มิติ ทั้งการเอาไปประกอบการเรียนการสอนในบางวิชาเช่น การเมืองไทยสมัยใหม่ และแม้แต่การเล่นกับเครื่องมือใหม่ๆ ผ่านเว็บไซต์ประชาไทที่ผู้อ่านติดตามได้จากรายการ “บ้านเมืองไม่ใช่ของเรา” ซึ่งแรกเริ่มเดิมที่เปิดตัวอย่างเกือบๆ จะเป็นมืออาชีพ มีตากล้อง เซ็ตไฟเซ็ตฉากกันอย่างเป็นจริงเป็นจัง มาสู่การใช้กล้องวีดีโอแบบพกพาตัวกระจิ๋วหลิว ที่บังคับมุมมองผู้ชุมแคบลงแบบที่คนใช้งานอินเตอร์เน็ตคุ้นเคยจากเว็บแคม เหตุผลของพิชญ์ก็คือ รูปแบบเก่าๆ นั้น “เทอะทะ” และไม่อาจตอบสนองต่อความต้องการนำเสนอที่ต้องการความเร็วเป็นส่วนประกอบ

ปัญญาชนบนเว็บ

การ ปรับตัวของพิชญ์ต่อวัฒนธรรมการสื่อสารออนไลน์ก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่ง เรา-ประชาไท พบว่าเขาขยายขอบเขตความอดทนต่อการวิพากษ์วิจารณ์แบบสาดเสียเทเสียได้มากขึ้น นิ่งขึ้น แม้จะไม่สนุกกับสิ่งเหล่านั้นก็ตาม

"ผมไม่ได้เอ็นจอย แต่ผมรู้สึกผมปิดไม่ได้ ผมไม่ได้มีความสุขกับการถูกด่านะ แต่ผมรู้สึกว่า การเป็นปัญญาชนในเว็บมันมีลักษณะของการต้องการสาวก หรือเป็นแก๊งถล่มไปถล่มมา หรือตรรกะการโต้ในเว็บ บางครั้งมันเป็นตรรกะที่จะเผยแพร่ในงานทั่วไปก็ทำไม่ได้ เพราะบางครั้งมันเป็นการโต้วาที หยิบเรื่องเล็กเรื่องน้อยมา ถามว่ามีความเห็นกี่อันในเว็บ ที่มันเป็นเรื่องจริงจัง ส่วนใหญ่เป็นข้อสังเกตสั้นๆ แล้วถล่มคนเสร็จ มีคนเขียนเยอะๆ ก็นึกว่าถูก อาจไม่ถูกก็ได้ เพราะอาจจะมีพวกคุณเข้าไปเขียนอยู่พวกเดียว หรือเว็บนี้ก็ต้องอารมณ์นี้เท่านั้น อารมณ์อื่นไม่ได้”

แม้ จะน่าขมขื่นสักเล็กน้อยแต่พิชญ์ยอมรับว่าเว็บส่วนใหญ่ก็เป็นเช่นนี้เอง ธรรมชาติของเว็บสำหรับพิชญ์ก็คือการรวมตัวของคนที่มีความเห็นตรงกัน ซึ่งก็ไม่ได้แปลว่าลักษณะแบบนี้แสดงถึงข้อด้อยของเว็บในฐานะพื้นที่แลก เปลี่ยนเรียนรู้ เพียงแต่สำหรับเขาแล้ว การเรียนรู้ก็มีอีกหลากหลายรูปแบบ และเว็บเป็นพื้นที่แบบหนึ่ง

“ไม่ได้เป็นรูปแบบเดียว ไม่งั้นจะมีมหาวิทยาลัยทำไม ต่อไปก็สอนตามเว็บสิ ใช่ไหม ไม่ต้องทำวิทยานิพนธ์สิ”

เรา ขอให้เขาอธิบายต่อถึงสภาพการณ์แบบพวกมากลากไปของสื่อออนไลน์ โดยเฉพาะเว็บบอร์ด ซึ่งลักษณะที่เป็นพรรคเป็นพวก มีความเห็นไปในทางเดียวกันในเว็บหนึ่งๆ พวกเราอยู่เว็บนี้ พวกเขาอยู่เว็บนั้น เว็บนี้สีนี้อยากพูดภาษาสีอื่นไปอยู่เว็บอื่น แม้จะไม่ถูกเซ็นเซอร์โดยผู้มีอำนาจ แต่เสรีภาพในการแสดงความเห็นก็ถูกกดทับไว้โดยพวกมากในแต่ละเว็บอยู่แล้ว ยังไม่นับการสื่อสารผ่านความเกลียดชังและขาดความรับผิดชอบ การมีเว็บมาก มีสื่อมาก ถึงที่สุดจึงไม่ได้เท่ากับการมีเสรีภาพในการสื่อสารเสมอไป

พิชญ์เปรียบเทียบเสรีภาพกับตลาดเสรีว่าถึงที่สุดก็ต้องมีความเข้าใจว่าต้องมีการบริหารจัดการ เพื่อให้เสรีภาพดำรงอยู่ด้วย

“ดังนั้นจะมาพูดเรื่องเสรีภาพโดยเชื่อว่า การพูดมากๆ จะเป็นเสรีภาพไม่ได้ ก็เหมือนวิธีคิดเรื่องตลาด เราไปเชื่อว่ามีคนซื้อคนขายแล้วทุกคนจะลงตัว ไม่ใช่ จริงๆ มันก็ต้องมีสถาบันเรื่องตลาด เรื่องการแลกเปลี่ยนเงิน คือมันต้องมีกฎกติกาบางอย่าง เรากำลังพูดถึงว่า มันต้องเป็นกฎกติกาที่คนเขาตกลงกันได้ด้วย ไม่ใช่กฎกติกาที่กำหนดโดยคนนอกเข้าไปสั่งหรือตัดสินแทนเขา”

และบางที่ในบางโอกาส เผด็จการก็จัดการอะไรๆ ได้ดี

“การมีสื่อเยอะๆ มันจะต้องไปถึงขั้นที่การที่สื่อนำไปสู่แบบแผนความสัมพันธ์หรือกฎกติกาบางอย่าง ซึ่งคนรู้ว่านี่มันมากไป นี่มันน้อยไป จริงๆ มันมีอยู่ในบางที่ เช่น ผมเคยพูดอะไรที่มันขัดกับเรื่องนี้มากที่สุดถ้าคนที่เคยเล่นสื่อออนไลน์มาเป็นหลัก จะเข้าใจว่า ตัวแบบที่ทำให้คนอยู่ร่วมกันได้มากที่สุด คือตัวแบบที่เผด็จการที่สุด ในกรณีของเว็บหลุดโลกสมัยก่อน คือเว็บหลุดโลกมันจะมีระบบพิเศษของมันเลยก็คือมีตัวประธานอยู่หนึ่งตัว แล้วจะคอยแบ่งงานให้แต่ละคนควบคุมในแต่ละวัน ฉะนั้น คนที่เคยควบคุมในแต่ละวัน คนพวกนั้น วันนี้มีอำนาจก็สั่ง รู้สึกว่าใครพูดอะไรงี่เง่าแหลมมาก็เซ็นเซอร์เลย บล็อคเลย แต่คนที่โดนสามารถทำฎีกาหรือคำร้องไปถึงตัวใหญ่ให้พิจารณาได้ว่า คนที่ควบคุมในวันนั้นแรงเกินไปหรือไม่

“นี่มันเหมือนไม่ใช่เรื่องเดียวกัน แต่ผมกำลังพยายามจะบอกว่า ตัวอย่างในอดีตมันก็มี เรานับจำนวนเว็บไม่พอในเรื่องของเสรีภาพ การมีเว็บมากเว็บน้อยไม่เกี่ยว อาจจะมีเว็บที่ไม่ได้ทำให้เกิดการเรียนรู้เลยก็ได้ ต่างฝ่ายรู้ว่าอยู่ก๊วนไหน ก็ไปพูดกันอย่างนั้น แล้วมันก็มาด่าทอสร้างความรุนแรง สร้างความเสียหายกันก็ได้ ประเด็นของผมก็คือว่า การมีกติกาต้องเกิดจากการเรียนรู้ร่วมกันเอง มันต้องกินเวลาและต้องมีความอดทน ไม่ใช่เชื่อว่าเราคือองค์ประธานที่เข้าไปทำเสร็จแล้วไม่มีใครตรวจสอบเราได้ แม้กระทั่งในหมู่เว็บใต้ดินที่ด่าทอกันหยาบคายที่สุด ก็ยังมีข้อห้ามเลย เยอะแยะ ถ้าใครละเมิดกติกาก็ถูกเตะออกจากชุมชนนั้น แต่ว่าในยุคนั้นมันก็มีคนๆ หนึ่งที่สามารถมาแก้ทุกเรื่อง ใช่ไหม”

ประเด็นสื่อออนไลน์ไม่ได้มีแค่เรื่องปะทะกับรัฐ

แน่ นอนว่าทุกวันนี้ยังไม่มีการวิจัยเรื่องพฤติกรรมออนไลน์ที่หนักแน่นอ้างอิง ได้ การสนทนากับผู้คนจำนวนมากอาจจะได้ข้อสังเกตบางระดับ พิชญ์ก็ตั้งข้อสังเกตเช่นกันว่า ทุกวันนี้เมื่อพูดถึงสื่อออนไลน์ ประเด็นที่แหลมออกมาตำตาผู้สนทนาก็มักอยู่กับเรื่องการต่อสู้กับอำนาจรัฐ แต่ในฐานะนักวิชาการที่สนใจบทบาทของสื่อออนไลน์กับการเคลื่อนไหวทางสังคม พิชญ์มองว่ายังมีประเด็นอื่นๆ ที่ต้องศึกษาวิจัยและพิสูจน์สมมติฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพฤติกรรมการสื่อสารในโลกออนไลน์

ตอนนี้เราพูดได้แค่ข้อสังเกต ที่ผมต้องการจะบอกก็คือว่า เวลาเราพูดถึงสื่อออนไลน์ ประเด็นเรื่องเสรีภาพ เราอาจจะไปไกลและเร็วเกินที่เราจะบอกว่ามันต้องสู้ทางกฎหมายอย่างเดียว คือมันอาจต้องสู้ แต่ มันอาจจะต้องเข้าใจโครงสร้างภาษาและพฤติกรรมด้วย

สิ่งที่ยังขาดคือการศึกษาวิจัย

“ผมกำลังคิดว่ามันยังไม่มีการวิจัยเรื่องโลกออนไลน์อย่างเป็นระบบ คือตอนนี้เวลาทำเรื่องโลกออนไลน์โดยเฉพาะกับเรื่องการเมือง ก็จะวนอยู่กับเรื่องเสรีภาพและกรอบกฎหมาย แต่ไม่ได้อธิบายพฤติกรรมของโลกออนไลน์อย่างเป็นระบบ คือในทางรัฐศาสตร์มันอธิบายได้ เหมือนกับยุคหนึ่งในเมืองไทยมันเริ่มมีการเลือกตั้งก็มีนักวิชาการกลุ่มหนึ่งเริ่มมาศึกษาพฤติกรรมการเลือกตั้ง ดังนั้น มันก็คงจะต้องมีคนสื่อสารพฤติกรรมของโลกออนไลน์ด้วย ไม่ใช่มีแต่คนที่ออกไปต่อสู้เพื่อสิทธิของโลกออนไลน์ คือพวกคุณก็ทำไป แต่ควรมีงานวิจัยที่รองรับว่าพฤติกรรมของโลกออนไลน์เป็นอย่างไร โครงสร้างทางภาษา โครงสร้างข้อถกเถียงของโลกออนไลน์เป็นอย่างไร ซึ่งข้อสังเกตบางอันมันจะเห็นชัดขึ้นเรื่อยๆ เช่น มันจะมีคนแบบหนึ่งที่ตอนนี้ถนัดแต่เขียนอะไรที่อยู่ในออนไลน์ ไม่สามารถเขียนอะไรในโลกออฟไลน์ได้แล้ว หมายความว่า การอ้างอิงก็อาจจะไม่ต้อง หรือตรรกะในการวิจารณ์ก็จะรุนแรงมาก และเขียนแล้วก็คาดว่าหวังว่าจะมีคนมาอ่าน มาชอบ ไม่ชอบ ด่ากัน แต่มันอาจจะเป็นคนละโลกกับการแสดงความคิดเห็นทางวิชาการ ซึ่งอาจจะมุ่งหวังว่าจะเรียนรู้ที่จะอยู่ในโลกแบบที่เข้าอกเข้าใจคนอีกฝ่าย หนึ่ง มันอาจจะเป็นโลกที่เปิดโอกาสให้เกิดการโต้เถียงอย่างรุนแรงแล้วก็มีคนมุง แต่อาจจะไม่ได้เป็นโลกซึ่งมีกระบวนการในการตรวจสอบอย่างจริงจัง ผมไม่ได้หมายความว่าดังนั้นไม่ควรจะมีเสรีภาพนี้ แต่ว่าเราควรจะเข้าใจรูปแบบ เหมือนกับวงการนิเทศศาสตร์ก็จะเข้าใจว่าโลกของทีวีก็จะมีโลกแบบนี้ โลกของหนังสือพิมพ์ ก็กลับไปสู่สิ่งที่เรียกว่า medium is a message (สื่อคือสาร) คือรูปแบบของสื่อมันก็กำหนดโครงสร้างเนื้อหาและโลกทัศน์ได้ด้วย

ผม คิดว่าเราต้องไปถึงขั้นนู้น เราอย่าเพิ่งไปมองแค่ว่าสื่อออนไลน์คือสื่อที่เผชิญปัญหากับรัฐอย่างเดียว แต่เราต้องไปอธิบายพฤติกรรมของสื่อออนไลน์ด้วยว่ามันมีลักษณะยังไง มันจริงหรือเปล่าที่ตอนนี้คนพยายามอ้างว่าสื่อออนไลน์มีปัญหา เพราะไม่มีการตรวจสอบกรองให้ดี แล้วสื่อออฟไลน์ก็นำไป ใช้ นั่นมันน่าจะเป็นความผิดที่สื่อออฟไลน์ ไม่ใช่สื่อออนไลน์ แล้วคำถามว่าสื่อออฟไลน์ต่างๆ มันไม่เต้าข่าวเหรอ มันก็ไม่ต่างกัน เพราะฉะนั้นนั่นอาจไม่ใช่ลักษณะเฉพาะของสื่อออนไลน์ก็ได้ สื่อออนไลน์อาจเป็นสื่อซึ่งมีลักษณะที่เรายังไม่ได้อธิบายมันอย่างเป็นระบบ

และ การนำเสนอประเด็น บทสนทนาในสื่อออนไลน์เป็นบทสนทนาที่นำไปสู่ความรุนแรงได้ง่ายหรือเปล่า เราอาจจะพบแพทเทิร์นของการพูด เช่น มันจะมีคนกลุ่มหนึ่งพูดแบบหนึ่ง อีกกลุ่มพูดแบบหนึ่ง อีกคนก็พยายามมาอยู่ตรงกลางๆ หรือมันเริ่มมีแบบใหม่ เช่นในเฟซบุ๊ค เริ่มมีการกดไลค์ แต่ยังไม่สามารถคอมเม้นท์ต่อจากไลค์นั้นได้ มันก็จะมีการพยายามปรับตัวเหล่านั้นไปเรื่อยๆ

อินเตอร์เน็ตคือป่าออนไลน์

พิชญ์อธิบายว่าการศึกษาวิจัยพฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์จะช่วยนำไปสู่การสร้างสิ่งใหม่ๆ ด้วย เช่น ยุคแรก อาจจะไม่มีคนคิดว่าสื่อออนไลน์มันจะสื่อสารได้สองทาง (interactive) เพราะอาจจะถูกกำหนดโดยผู้นำเสนอเนื้อหาแต่เพียงฝ่ายเดียว แต่ปัจจุบันนี้เปลี่ยนไปแล้ว

มัน ก็ต้องเกิดจากการศึกษาพฤติกรรมแล้วก็ปรับเปลี่ยนตัวสื่อในเชิงเทคโนโลยีให้ มันครอบคลุมมากขึ้น เราก็ต้องมีการศึกษาด้านนี้ควบคู่ไปกับการพูดเรื่องกรอบกฎหมาย เพื่อจะได้เห็น แต่ไม่ได้พูดไปเพื่อควบคุม เราต้องเข้าใจพัฒนาการของสื่อออนไลน์อย่างจริงจังด้วย โอเค ตอนนี้เราก็เห็นชัดว่า ประเด็นใหญ่คือเรื่องเสรีภาพ แต่มันไม่ใช่ประเด็นเดียว ถ้าเราจะต่อสู้เพื่อเสรีภาพเราก็ต้องมีความเข้าใจตัวอย่างโครงสร้างเนื้อหา บทสนทนาหรือวิธีการใช้ภาษา เพื่อเราจะได้ proof อะไรบางอย่างได้ว่าตกลงมันจริงหรือเปล่า สื่อออนไลน์ในระยะสั้นมันอาจจะมีความรุนแรง แต่ภายใต้สังคมที่มีความอดทนเพียงพอ มีอดทน (toleration) ยอม รับความแตกต่างได้มากขึ้นจริงๆ ในระยะยาวนี้ก็อาจจะก่อให้เกิดเหตุผลร่วมกันได้ แต่เราต้องมีการศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจัง งานเก่าผมเคยทำไว้บ้าง แต่ก็นานแล้ว ยังไม่ได้ทำในช่วงหลังรัฐประหาร

พิชญ์ยกตัวอย่าง บ.ก.ลายจุดเป็นข้อยืนยันของการเปลี่ยนแปลง

ยุค แรกๆ ที่น่าสนใจมาก ในข้อถกเถียงของ บก.ลายจุด - ลายด่าง เป็นยุคแรกๆ ที่มีข้อถกเถียงว่า ไม่ควรมีการพูดหยาบคาย สมัยนั้น พูดกันง่ายๆ ว่า บก.ลายจุด หรือสมบัติ บุญงามอนงค์ เป็นฝ่ายขวาในเว็บ คือมองว่าเว็บต้องมีไว้เพื่อวิชาการ เพื่อประชาชน จะเอาพื้นที่เว็บมาพูดจาลามกไม่ได้ มันเป็นข้อถกเถียงระหว่างพี่หนูหริ่งกับแก๊งหลุดโลก แล้วมีแก๊งค์หลุดโลกไปสู้กับกระปุก พันทิป พวกเทพ พวกมาร

วันนี้กลายเป็นว่า บก.ลายจุด เป็นหนึ่งในแกนนำที่เป็นศัตรูของรัฐแล้วกลายเป็นว่า บ.ก.ลายจุดถูกมองว่ามีพฤติกรรม subversive (ต่อต้านรัฐ/ทำลายล้าง) ตอนนี้ข้อความของเขาถูกรัฐมองด้วยสายตาแบบนั้นมากกว่า

สิ่งที่หนึ่งที่เขาเห็นว่าเปลี่ยนไปคือ ความหมายและรูปแบบของความรุนแรง

“ความรุนแรงในเว็บอาจจะไม่ใช่ความรุนแรงเชิงความหยาบคาย เหมือนยุคก่อนรัฐประหาร ความรุนแรงก่อนรัฐประหารอาจเป็นเรื่องความหยาบคายลามก หลังรัฐประหารเห็นเลย การปิดเว็บจำนวนมาก โอเค เราพูดถึงเสรีภาพ เราเห็นว่ามันเป็นเสรีภาพทางการเมือง แต่เมื่อดูโครงสร้างพฤติกรรม เรื่องใหญ่เป็นเรื่องของการต่อสู้ทางการเมืองแล้ว เราต้องอธิบายเงื่อนไขเหล่านี้”

และปัจจัยสำคัญที่เปลี่ยนแปลงความหมายของความรุนแรง ส่วนหนึ่งก็คือรัฐ

“รัฐก็กระโดดลงมาในยุคนั้น (ยุคแรกๆ ของการมีเว็บบอร์ด) แต่มันเป็นรัฐแบบศีลธรรม แต่หลังๆ มันไม่ใช่ พื้นที่นี้มันถูกเปลี่ยนจากพื้นที่ใต้ดินในแบบโบราณซึ่งเป็นแบบศีลธรรม มาสู่พื้นที่ที่ผมเรียกมันว่า เป็น digital jungle เหมือนยุค 6 ตุลา คนเข้าป่า แต่หลังรัฐประหารมา พื้นที่เว็บมันคือป่า ชูวัส (ฤกษ์ศิริสุข ) เคยบอกว่าเราไม่มีป่าให้เข้า แต่อินเทอร์เน็ตมันคือป่าออนไลน์ขนาดใหญ่ที่มีการต่อสู้ ซุ่มโจมตีทุกรูปแบบ ถ้าเรามองอย่างนี้มันก็คือการกลับไปสู่ยุคการต่อสู้ เหมือนยุค 6 ตุลา แต่มันคือป่าขนาดใหญ่”





การต่อสู้ของโลกออนไลน์ ก็คือการต่อสู้เรื่องเดียวกับโลกออฟไลน์ นั่นคือ อำนาจอธิปไตย

“คือของบางอย่างเรารู้สึกว่ามันใหม่ แต่โครงสร้างเดิม ตัวอย่างเช่น คำถามคลาสสิกของอินเทอร์เน็ตก็คือ เรื่อง sovereignty(อำนาจอธิปไตย) เหมือนเดิม คำถามเรื่องอำนาจอธิปไตย ในยุคเก่านักหนังสือพิมพ์ไทยเป็นคนในบังคับประเทศอื่น รัฐฟ้องลำบาก คือสมัย .6 นักหนังสือพิมพ์คือคนจีน คือคนในสังกัดอื่น ปัจจุบันก็เช่นกัน เว็บต่อต้านรัฐส่วนใหญ่อยู่นอกอำนาจของรัฐที่จะไปปิด คุณก็ทำได้แค่บล็อก นี่ก็เหมือนกัน เรามักจะบอกว่านี่คือเรื่องใหม่ๆ จริงๆ มันมีตรรกะเดิมๆ ของรัฐสมัยใหม่ ที่ดำรงอยู่ ค้างอยู่ ดังนั้นจึงไม่แปลก เมื่อพูดเรื่องนี้มันสามารถโยงไปที่คนที่อยู่ต่างประเทศ ก็อาจจะอยู่ต่างประเทศจริง หรือเมื่อคุณอยู่ในประเทศยิงสัญญาณออกไป เซิร์ฟเวอร์อยู่ต่างประเทศก็เคลื่อนไหวได้เหมือนกัน มันก็เกี่ยวพันกับอำนาจรัฐ”

พื้นที่ออนไลน์มีพลังจริงหรือ

อย่างไรก็ตาม การกล่าวถึงพื้นที่ออนไลน์เป็นเสมือนสมรภูมิปฏิบัติทางการเมืองไม่ต่างกับ “ป่า” ในยุคทศวรรษ 1970 อาจจะเกินจริงไปหรือไม่ ในเมื่อปฏิบัติการออนไลน์จำนวนไม่น้อยเริ่มอ่อนกำลังลง เช่น การรณรงค์ล่ารายชื่อสารพัดสารเพ ที่รัฐเริ่มเฉยๆ เพราะรู้ว่าเป็นปฏิบัติทางไกลของกลุ่มคนที่จะไม่ออกมารวมตัวกันจริงๆ ในโลกทางกายภาพ ซึ่งพิชญ์มองว่าออนไลน์และออฟไลน์ต้องเดินไปด้วยกัน ไม่อาจแยกขาด

“ก็ใช่ไง ก็มันเป็นป่า รูปแบบการต่อสู้ที่นุ่มนวล สุภาพเรียบร้อย มันไม่มีพลัง เหมือนคุณยืนอยู่ตรงป่าแล้วเอาผ้ามายืนผืนหนึ่ง มันไม่มีอำนาจ แต่ถ้าคุณซุ่มโจมตีมัน ตู้มเดียวไงถูกไหม

“คืออย่าไปมองว่า petition online ไม่มีความหมาย ไม่จริง ยกตัวอย่างกรณีการเคลื่อนไหวให้ปล่อย .สุธาชัย ส่วนที่มีความสำคัญที่เคลื่อนไหวให้ปล่อยตัว .สุธาชัย ได้มันไม่ใช่การมี petition online ธรรมดา มันคือการใช้ออนไลน์เป็น petition เป็นพื้นที่ที่ดึงคนที่ต้องมีจุดร่วม ตัวอย่างเช่น ตอนที่เราเคลื่อนไหวให้ปล่อย .สุธาชัย โดยทำจดหมายถึงอธิการบดี และใช้พลังของศิษย์เก่าเพื่อทวงถามว่าคนในประชาคมเราอยู่ตรงไหน แล้วเราไม่ได้ต่อสู้ ต่อต้านใครโดยตรง แต่ให้อธิการบดีไปช่วยสอบถามให้ คุณต้องดูให้ดีว่า มันไม่ใช่ว่า petition online ไม่มีความหมาย ประเด็นมันอยู่ที่ว่ามันก็เหมือนการทำสื่อที่ต้องมีประเด็น ก็ต้องรู้จักการเคลื่อนไหว มันไม่ใช่สูตรสำเร็จว่าถ้าทำอะไรออนไลน์แล้วจะมีประโยชน์ไม่จริง ก็เหมือนการแข่งขันทั่วไปที่มีทั้งคนที่ประสบความเร็จและไม่ประสบความสำเร็จ เหมือนกัน เพียงแต่ออนไลน์มันช่วยสร้างพลังได้บางอย่าง แต่ไม่ได้ช่วยทั้งหมด ถ้าไม่ได้มีการเคลื่อนไหวออฟไลน์หรือการเคลื่อนไหวเชื่อมโยงกัน มันต้องมีทั้งคู่”

พลังไม่ได้อยู่ที่ออนไลน์แต่อยู่ที่ประเด็น

การ พูดถึงพื้นที่ออนไลน์ในฐานะที่เป็นตัวจักรในการทำให้เกิดกระบวนการทางสังคม เป็นการมองเพียงด้านเทคนิค สำหรับพิชญ์แล้ว สิ่งที่สำคัญ คือ พล็อตและการออกแบบการเคลื่อนไหว ซึ่งแน่นอนว่า หากพลังจะเกิดขึ้นกับฝ่ายต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยแล้วไซร้ สิ่งเดียวกันนั้นก็เกิดกับพลังแห่งการคุกคามเสรีภาพ หรือความไม่เป็นประชาธิปไตยที่ปรากฏอยู่ในโลกออนไลน์พอๆ กัน

“พลังไม่ได้อยู่ที่เพราะมันออนไลน์ พลังมันอยู่ที่มันมีพล็อตอะไร แล้วมันใช้ได้ทั้งออนไลน์และออฟไลน์ แต่ไม่ใช่เพราะอ๋อ ออนไลน์ นั่นเป็นวิธีคิดแบบเทคโนโลยีกำหนด เชื่อว่าใครเข้าถึงเทคโนโลยีคนนั้นมีอำนาจ ซึ่งมันไม่จริงเสมอไป การเคลื่อนไหวออนไลน์บางเรื่องถ้าเกิดคุณต้องการการสนับสนุนบางเรื่อง มันก็อาจจะไม่สำเร็จก็ได้ แต่มันอาจจะสำเร็จถ้ามันเป็นการต่อต้านใครบางคน ซึ่งตรรกะนี้มันก็ใช้กับออฟไลน์ได้ เพียงแค่ว่า เทคโนโลยีมันช่วยให้การเคลื่อนไหวบางอย่างง่ายขึ้น แต่ไม่เสมอไป คุณต้องไปดูว่าตรรกะนี้มันเป็นตรรกะเดิมที่ใช้กันมาตลอดใช่ไหม อย่างการล่าแม่มด ที่เขาใช้คำว่า "ล่าแม่มด" ไม่ใช่เพราะมันออนไลน์ แต่ตรรกะการล่าแม่มด มันมีมาตั้งแต่ยุคกลาง อย่าไปหลงประเด็นว่าเพราะเทคโนโลยี ต้องดูว่าคนที่คุมเทคโนโลยีได้เขามีพล็อตอะไร ความสำเร็จของผู้จัดการไม่ใช่เพราะว่าเขามีเทคโนโลยี เว็บไซต์ผู้จัดการกับเว็บอื่นๆ เหมือนกัน มีเทคโนโลยี แต่ผู้จัดการสำเร็จ เพราะมันมีพล็อตบางอย่างที่อยู่ในเทคโนโลยีนั้นด้วย”

interactive สำคัญ แต่เรื่องราวก็สำคัญ

พิชญ์ วิเคราะห์ถึงตัวแบบแห่งความสำเร็จที่ปฏิเสธไม่ได้ นั่นคือ เว็บไซต์ผู้จัดการ ที่กลายมาเป็นพลังทางความคิดหนุนเสริมขบวนการเคลื่อนไหวของฝ่ายพันธมิตร ประชาชนเพื่อประชาธิปไตยอย่างประสบความสำเร็จยิ่ง

“ออนไลน์ทั้งหมดมันมีขึ้นเพื่อรองรับการเคลื่อนไหวจริงบนท้องถนนด้วย และมีขึ้นเพื่อทำให้การเคลื่อนไหวออฟไลน์ทำงานได้อย่างต่อเนื่อง เรื่องความรวดเร็ว การสร้างชุมชน แต่มันไม่เสมอไป มันตอบไม่ได้หรอกว่าคนออนไลน์ทั้งหมดออกมาชุมนุม แต่มันอาจจะเป็นคนที่ช่วยให้ข้อมูลใหม่ๆ ให้คนที่ชุมนุมเอาไปใช้ก็ได้ และภาพที่เกิดจากที่ชุมนุมก็ทำให้คนที่อยู่ในโลกออนไลน์เข้ามาดูได้ ผมไม่ใช่คนแรกที่พูดว่าโลกออนไลน์กับออฟไลน์อย่าไปแบ่งแยกจากกัน มันเป็นโลกที่เชื่อมโยง ความสำคัญคือการหาความเชื่อมโยงเหล่านี้ เพราะมันคือพื้นที่ทางสังคมใหม่ แต่เมื่อคนๆ เดิมใช้ ก็ยังมีโครงสร้างของโลกออฟไลน์เข้าไปเกี่ยวพันอยู่ และในทางการเมือง กรอบใหญ่ก็คือกรอบของโลกออฟไลน์ทั้งนั้นที่เข้าไปอยู่ในนั้น”

พื้นที่ส่วนตัวกลายเป็นพื้นที่การเมือง

เรา อาจจะพูดถึงเว็บที่ประสบความสำเร็จในการเคลื่อนไหวทางการเมือง แต่พิชญ์บอกว่า ถึงที่สุดแล้ว เว็บในฐานะที่เป็นเครื่องมือก็สร้างข้อจำกัด และ ไม่ใช่ทุกเว็บจะประสบความสำเร็จ แต่สิ่งหนึ่งที่พื้นที่ออนไลน์ได้ทำหน้าที่ไปแล้วบางส่วนจากความขัดแย้งทาง การเมืองครั้งนี้ก็คือ การเปิดพื้นที่ส่วนตัวออกให้เห็นแง่มุมทางการเมืองของผู้ใช้อินเตอร์เน็ต

“เว็บทุกเว็บไม่ได้ประสบความสำเร็จ มันประสบความสำเร็จอยู่ไม่กี่เว็บ ก็เหมือนกับคนมีตังค์ก็อาจไม่ได้สำเร็จเสมอไป มันมีหลายเรื่อง เราต้องตอบคำถามความสำคัญทางสังคม ถ้าเรามองว่า ออนไลน์ออฟไลน์คือ การสื่อสาร เราก็ต้องบอกว่ามันมีความสัมพันธ์เหล่านี้ ซึ่งมันเข้าไปเป็นเงื่อนไขในการกำหนดการสื่อสารอย่างไร โอเคในยุคแรก เฟซบุ๊ค หรือสื่อทางสังคมใหม่ๆ มันเกิดจากการหวนระลึก อยากมีชุมชนของตัวเอง เป็นเครื่องมือในการเชื่อมโยงคนซึ่งห่างจากกัน แต่สิ่งหนึ่งที่เชื่อมโยงมันเข้าด้วยกันคือมิตรภาพกับความเชื่อถือ ทีนี้เมื่อประเด็นทางการเมืองมันแทรกเข้ามา มันได้แบ่งสิ่งเหล่านี้ออกจากกัน แต่สิ่งที่น่าสนใจคือ มันเป็นสิ่งน่ามหัศจรรย์ คุณเริ่มตกใจว่า เพื่อนของคุณคิดไม่เหมือนกับคุณทางการเมือง มันก็ย้อนกลับไปสิ่งเดิมๆ ซึ่งสังคมเราพูดตลอดว่า อย่าพูดเรื่องการเมืองกันเลย ซึ่งเมื่อก่อนนี้ การพูดเรื่องการเมืองมันเป็นทางเลือก หมายถึงว่า คุณเลือกเข้าไปในเว็บบอร์ดการเมือง แต่ตอนนี้การเมืองมันวิ่งเข้ามาหาคุณในเฟซบุ๊ค ในเครือข่ายทางสังคม การเมืองมันทะลุทะลวงเข้ามาในสื่อทางสังคม มันชี้ให้เห็นว่ามันแยกความเป็นส่วนตัวกับสาธารณะยากแล้ว”

“ถ้าดัดจริตใช้คำแบบ gender มันก็คือ Personal is politics ด้วย คือพื้นที่ส่วนตัวคุณมันกลายเป็นพื้นที่สาธารณะไปด้วย บางคนก็อาจอยากเป็นสาธารณะ คือเราอยากบอกว่าเราคิดอะไร แต่ปัญหาคือเราอยากบอกทุกคนรึเปล่า มันมีคนอื่นที่เราไม่รู้จักบวกเข้ามาเรื่อยๆ เพื่อนของเพื่อนๆ ในยุคแรกๆ เมื่อมันไม่เป็นพื้นที่การเมือง มันก็ไม่มา แต่มันมาประจวบเหมาะกับเรื่องการเมืองของเรา
คือเฟซบุ๊คมันก็ออกมาเพื่อแก้ปัญหาโบราณคือคนสมัยแรกๆ ทำเว็บเองไม่เป็นเขียนเว็บเองไม่ได้ และบล็อกก็ไม่ได้เชื่อมโยงกันเร็วอย่างเฟซบุ๊ค ที่สร้างเครือข่ายในวันเดียว มีเพื่อนเป็นพันเป็นหมื่นคนได้ และกลายเป็นปัญหาคือยุคหนึ่งเราอาจจะอยากพูดเรื่องการเมือง แต่อีกยุคเราก็ไม่อยากพูดแล้ว”

กฎกติกาของการติดต่อสื่อสารจะเกิดออกมาจากพวกเราได้อย่างไร

นอก เหนือจากเรื่องการปิดกั้นโดยรัฐ ประเด็นที่อยู่ร่วมสมัยกันก็คงไม่พ้นเรื่องการกำหนดกฎกติกามารยาทของผู้ใช้ สื่อออนไลน์ ทั้งในแง่ความหยาบคาย การหมิ่นประมาท และปล่อยข่าวลวง ข้อความที่ไม่ได้คัดกรองตรวจสอบ พิชญ์เห็นว่ามีความจำเป็นเช่นกันที่จะต้องออกแบบกติกาในการอยู่ร่วมกันในโลก ออนไลน์ แต่สิ่งสำคัญสำหรับเขาคือ กติกาเหล่านั้นต้องมาจากผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตเอง

“ถ้าเราพูดถึงการจัดการ เราจะมีประเด็นท้าทายว่า กฎกติกาของการติดต่อสื่อสารกันมันจะเกิดออกมาจากพวกเราได้อย่างไร ในเมื่อโลกออฟไลน์มีการทำอย่างเป็นระบบมาก เช่น มีสภา แต่ออนไลน์มันไม่มีคอนเซ็ปต์ความเป็นตัวแทนที่จะเข้าไปต่อรองกับรัฐอย่างจริงจัง

“มันก็จะมีกลุ่ม advocate อย่างเครือข่ายพลเมืองเน็ต ทะเลาะกันจริงๆ ก็เถียงกันอีกว่า ตกลงคุณเป็นตัวแทนใคร ใช่ไหม ไม่ได้เป็น เป็น advocacy group ซึ่งไม่สามารถอ้างได้ว่า เป็นตัวแทน”

กฎกติกามารยาทสำหรับพิชญ์จึงไม่ใช่การร่างขึ้นโดยกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หากแต่ต้องการ “เวลา” และความอดทนรอคอย กลับไปหาคำถามที่คลาสสิกที่สุดของการสื่อสาร อันหนึ่งก็คือความน่าเชื่อถือ (trust) กลับมาแสวงหา trust กลับไปหากลุ่มเล็กๆ คือชุมชนใครชุมชนมัน

“แล้วสักพัก ก็เริ่มอยากจะเรียนรู้คนอื่นอีก ก็ต้องหากติกา แต่เรายังไปไม่ถึงไงฮะ คือผมพยายามมองในมุม revolution มันค่อยๆ เปลี่ยนค่อยๆ ปรับ ส่วนหนึ่งเราก็เป็นคนซึ่งอยู่ในนั้น แต่ส่วนหนึ่งเราก็ต้องศึกษา พูดง่ายๆ กลับไปหาคำถามคลาสสิก ที่มีความเป็นจริงประกอบ คือ สังคมเกิดได้อย่างไร รัฐเกิดขึ้นได้อย่างไร คือมันกลับไปถามคำถามคลาสสิกแบบนั้นแหละ แต่ว่าเราอาจต้องอธิบายมันผ่านประวัติศาสตร์จริง แต่มันไม่ควรจะเป็นประวัติศาสตร์ง่ายๆ ที่เขียนกันมา โดยมองแค่ตัวแปรสองตัวเป็นหลัก ก็คือตัวแปรกฎหมาย กับตัวแปรประชากรเว็บ เราต้องไปศึกษาให้มันไกลขึ้นว่าเขามีพฤติกรรมอะไร และมันได้ก่อให้เกิดแบบแผนความสัมพันธ์แบบไหนบ้าง ในยุคนี้พื้นที่ในเว็บมันเชื่อมประสานกันได้มาก ในยุคนี้มันเกิดรอยร้าว เกิดการต่อสู้กันขึ้น คำถามมันไม่ใช่คำถามเดียวเรื่องกฎหมาย มันเป็นคำถามเชิงพฤติกรรม เชิงความหมาย ทำไมคนเล่นเว็บในแต่ละยุค ปัจจุบันคนเล่นเว็บมากขึ้นหรือน้อยลง หรือรูปแบบเว็บมันเปลี่ยน ทำไมทวิตเตอร์มีความสำคัญมากขึ้น ทำไมเฟซบุ๊คมีความสำคัญมากขึ้น ส่วนหนึ่งอาจจะต้องตอบว่ายุคหนึ่งคนเล่นเว็บ เพราะมีคอมพิวเตอร์ ล้ว เราก็ไปมองแต่ว่าคอมพิวเตอร์คือทางออก ไม่ใช่ สุดท้ายแล้ว มันกลับมาที่โทรศัพท์มือถือ เอสเอ็มเอสกลับมาแรงอีก พอเอสเอ็มเอสกลับมาแรงอีก มันก็เกิดโทรศัพท์มือถือซึ่งใหญ่ขึ้นมาอีกนิดหนึ่ง จากนั้น ทวิตเตอร์มันจะตอบโจทย์นั้น เพราะคุณไม่ต้องเข้าเว็บที่ทำงาน เพราะที่ทำงานบล็อคเว็บคุณ นี่ไม่ใช่เรื่องกฎหมายรัฐแล้ว คุณกำลังไปในระดับสังคม เมื่อที่ทำงานบล็อคเว็บ มีเว็บ filtering มากขึ้น ทางออกก็คือใช้โทรศัพท์ของคุณ คุณมี BB คุณจะแคร์หรือคุณก็นั่งทำงานไปเล่น BB เจ้านายจะมาเล่นอะไรคุณ มันก็เปลี่ยนโจทย์ text มันก็กลับมาอีก text มัน ไม่ไปไหน มันอยู่ที่ตัวเทคโนโลยี ทีนี้ เฟซบุ๊ค สั้นๆ เล็กๆ พอเห็นรูป อย่าเขียนเยอะ เพราะจะได้อ่านเร็ว ส่งเร็ว ทวิตเตอร์ ก็คือเอสเอ็มเอสแบบหนึ่ง medium ของการส่งก็กลับ มา เป็นระยะเวียนไปเวียนมา มันไม่ใช่โลกที่เป็นคอมพิวเตอร์แล้วมันจะคอมพิวเตอร์ไปเรื่อยๆ ไม่ใช่ มันก้วนกลับมาไอแพด เน็ตบุ๊ค ใช่ไหม มันหนีไปไม่พ้นเรื่องเหล่านี้เท่าไหร่ในยุคนี้ ตอนนี้เวลาเราพูดถึงเว็บ การดีไซน์เว็บ จะพูดถึงความละเอียดหน้าจอเหมือนเมื่อ 3-4 ปี ที่แล้วหรือ มาตรฐานพันกว่า เข้าไอโฟนไม่ได้แล้ว มันเปลี่ยนแล้ว คุณจะดีไซน์เว็บแบบไหน เมื่อก่อนคิดว่าเว็บต้องละเอียดขึ้นเรื่อยๆ ต้องอัดข้อมูลเยอะๆ ไม่ใช่ สุดท้ายต้องโหลดเร็ว กูเกิ้ลมาพลิกหมดเห็นมั้ย มันเปลี่ยนไปตลอดเวลา เราต้องเข้าใจแพทเทิร์นแล้วไปดูว่าการเมืองมันสัมพันธ์กันอย่างไรมากขึ้น

ผม พยายามบอกว่าเราพยายามศึกษาเว็บอย่างจริงจังและมันไม่มีสูตรสำเร็จ แต่โอเค การเคลื่อนไหวทางการเมืองสิทธิเสรีภาพกำลังไป แต่เราเข้าใจคนที่เราสู้ให้ด้วย อย่าไปคิดง่ายๆ ว่าโอเคเราสู้เพื่อกรอบกฎหมายอย่างเดียว คือมันก็เหมือนแก๊งเฟมมินิสต์นะ มีที่อยากเหมือนผู้ชาย หรือ ลึกขึ้นไปเรื่อยๆ ต่อไปเราก็ต้องศึกษาเว็บมากขึ้น แล้วไม่ใช่เราศึกษาเพื่อหนีจากโลกแห่งความเป็นจริง เพราะมันก็คือโลกแห่งความเป็นจริงอีกแบบหนึ่ง

ข้อเสนอเพื่อการศึกษา หอจดหมายเหตุออนไลน์
พิชญ์ เสนอว่า สิ่งที่ควรทำก็คือการเก็บเอกสาร ทำหอจดหมายเหตุออนไลน์ โดยต้องเปิดใจกว้าง ยอมรับให้มีการจัดเก็บข้อมูลทุกๆ อย่างเพื่ออ้างอิงได้ ไม่ใช่ไล่ลบ แม้กฎหมายห้ามเผยแพร่ก็ต้องทำการจัดเก็บ ซึ่งแนวคิดนี้เป็นสิ่งที่เขากำลังคิดศึกษาเป็นงานวิจัย

ผมกำลังจะทำวิจัย สองเรื่องคือ หนึ่ง ทำความเข้าใจพฤติกรรม และสอง เราจะจัดเก็บความเห็นแบบนี้ให้คนเข้ามาอ่านได้อย่างไร สื่อสิ่งพิมพ์เราตัดเก็บคลิปปิ้ง ทำอ้างอิงได โลกยังยอมรับการอ้างอิงในอินเทอร์เน็ต แต่คุณไม่เก็บ การเก็บไม่ได้แปลถึงเสรีภาพที่จะด่าพ่อล่อแม่ใคร ต้องแยก แต่เราต้องต่อสู้เพื่อให้เกิดการจัดเก็บ ทุกคนต้องส่ง โดยเชื่อถือคนที่เราส่งไป ตำรวจเก็บไว้หมดแล้ว ก็เก็บให้เป็นระบบ แต่อันนี้ไม่แน่การต่อสู้เพื่อให้เก็บทุกอย่าง วันหนึ่ง มันจะเป็นพื้นฐานการต่อสู้เรื่องเสรีภาพก่อน เราเก็บว่า เรายอมรับว่ามัน exist คนชอบเราไม่ชอบเรา มี เพราะมันไม่มีหลักฐานในการฟ้องไง แต่จะให้เข้าถึงได้อย่างไร เป็นผลต่อสังคมอย่างไร สังคมต้องเป็นคนกำหนด

โดยลักษณะการทำงานของหอจดหมายเหตุออนไลน์ที่เขาคิดไว้คร่าวๆ ก็คือเจ้าของเว็บต้องส่งเนื้อหามายังหอจดหมายเหตุนี้เพื่อทำการจัดเก็บเป็นระบบ

“มันต้องมีการเก็บหลักฐาน เพราะคำพิพากษายุคหนึ่ง มันเปลี่ยนแปลงได้ หลักฐานที่ถูกมองในแบบหนึ่ง ในวันรุ่งขึ้นก็อาจจะมีการมองย้อนกลับ เมื่อมองย้อนกลับในระยะยาวมันทำให้เราเข้าใจรูปแบบเชิงวรรณกรรมได้ไหม รูปแบบการสื่อสารได้ไหม ราชบัณฑิตยังมีการบัญญัติศัพท์ใหม่เลย ของพวกนี้เราต้องยอมรับก่อนว่า มันไม่ใช่เรื่องเล่นๆ อีกต่อไป มันคือเรื่องจริง เมื่อมันเป็นเรื่องจริง ก็อย่าไปทำอะไรเล่นๆ อย่างเดียว มันไปกระทบคนอื่น ก็ต้องอยู่ในกรอบกฎหมาย แต่โอเค มันอาจจะต้องมีกฎหมายอีกชุดหนึ่งก็ว่ากันไป อย่างมาเลเซียที่พื้นที่เว็บมีเสรีภาพมากกว่าข้างนอก มันมีได้ แต่เราต้องมองอย่างเข้าใจก่อน ไม่ใช่มองใครเป็นมิตรเป็นศัตรูอย่างเดียว คือโอเค เวลาผมพูดมันก็ดูไม่แรง ก็ต้องเข้าใจทุกฝ่าย พยายามที่จะอยู่ด้วยกัน มันไม่แปลกเลย คือทำให้ทุกฝ่ายยอมรับในเสรีภาพ ยอมรับในหลักฐาน มันไม่แปลกเลยที่จะบอกว่า ผมไม่เห็นด้วยกับคุณ แต่เห็นด้วยให้จัดเก็บ เพราะจะได้ฟ้องคุณได้ อีกฝ่ายบอก ให้เก็บ เพราะต้องกล้ายอมรับสิ่งที่ผมสู้ ทีนี้กฎหมายเรื่องหมิ่นไม่หมิ่นก็ต้องเป็นธรรมกับทุกฝ่ายมากขึ้น แต่พื้นฐานคือ เราต้องยอมรับก่อนว่ามันมีพื้นที่และมันจริงจัง เมื่อมันกระทบ ทุกคนที่เข้ามาเล่นก็ต้องมีวิจารณญาณ ก็ต้องรู้”

สิ่ง ที่พิชญ์เสนอนั้นดูจะเป็นไปได้ยากยิ่ง ภายใต้บรรยากาศของการพยายาม ลบความเห็นต่างและคู่ต่อสู้ทางการเมือง แต่พิชญ์ยืนยันว่าสิ่งที่เขาเสนอนั้นเป็นเรื่องของ “ความศิวิไลซ์”

จะด่าใครจะเกลียดใคร ไม่ใช่ไล่ลบ โอเค แม้บางอันกฎหมายห้าม แต่อย่าลบ ให้เก็บไว้ โอเคเข้าถึงไม่ได้ภายใน 20-30ปีก็ว่าเหมือนเอกสารแห่งชาติ อันนั้นผมไม่ว่า ก็ต้องต่อสู้ในเชิงเสรีภาพ แต่ให้ดูหรือไม่ คนละเรื่อง แต่ห้ามลบ แต่ต้องมี รัฐบาลและหอสมุดแห่งชาติต้องมีการจัดเก็บเว็บ เพื่อการศึกษาในอนาคตเมื่อย้อนกลับมา เพราะมันเป็น civilization

“ผมไม่ได้ extreme เสรีภาพเลย เชื่อแบบอนาธิปไตยว่าทุกคนจะตกลงกันได้เอง ไม่ใช่ เราจะสู้เรื่องเสรีภาพทางหนึ่งสู้เรื่องกฎหมาย อีกทางต้องสู้เรื่องการเก็บเนื้อหาเว็บ จะปิดไม่ปิดต้องเก็บให้หมด มันต้องคิดวิธีเก็บ โดยหน่วยงานรัฐหรืออิสระก็ได้ ข้อมูลมันเข้าถึงได้ก็เก็บ จะฟ้องก็มาฟ้อง เว็บ คุณด่าคนอื่น คุณก็ต้องผิด คุณก็ต้องถูกฟ้องครับ ไม่เกี่ยว ผมไม่ได้บอกว่าเว็บคือด่าใครก็ได้ hate speech มีหลักฐานก็ฟ้อง แต่ไม่ใช่ใช้กฎหมายที่ฟ้องแบบครอบจักรวาลแบบนี้ หรือกระบวนการยุติธรรมมันไม่เป็นธรรมกับผู้ที่ใช้เสรีภาพ เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นไม่ใช่เสรีภาพในการแสดงความเกลียดชัง มันคนละเรื่องกัน แต่ตรงนี้สังคมต้องช่วยกันกำหนด แต่อย่างน้อยเราต้องมีเสรีภาพกับมัน exist จะฟ้องไม่ฟ้องก็อยู่ที่ดุลพินิจของศาลแล้ว แล้วศาลก็ต้องตอบสนองต่อความต้องการของสังคม แต่มันต้องเริ่มยืนพื้นฐานนี้ก่อน ตรงนี้สำคัญ ไม่ใช่ห้ามหมดหรือลบหมด ถ้าสังคมต้องการจะฟ้องและทำให้กฎหมายศักดิ์สิทธิ์ก็ต้องเก็บ เพราะมันจะได้เป็นบทเรียนว่าครั้งหนึ่งมันฟ้องได้ ครั้งนึงมันเปลี่ยน คำพิพากษาคุณเก็บ หลักฐานคุณก็ต้องเก็บ”

พื้นที่ออนไลน์เปิดบทบาทให้ผู้หญิงมากขึ้น
พิชญ์ ทิ้งท้ายขอสังเกต อีกประการที่กระตุ้นให้เขาอยากศึกษานั่นคือ บทบาทของผู้หญิงต่อประเด็นการเมือง และศาสนา โดยยกตัวอย่าง คำ ผกา และภัควดี (ไม่มีนามสกุล) ซึ่งออกมาวิพากษ์วิจารณ์พระและองค์กรทางการเมืองอย่างเผ็ดร้อน โดยใช้พื้นที่ออนไลน์เป็นสนามหลัก ซึ่งเขาบอกว่า เป็นสิงกระทบถึงรากฐานจริงๆ ของสังคม

“เรากำลังเห็นบทบาทใหม่ๆ ที่ผู้หญิง เริ่มใช้สติปัญญาในการท้าทายรากฐานของสังคม สำหรับผมนะครับ นี่คือกระแสเฟมมินิสต์ที่ชัดเจนที่สุดของสังคมไทย ไม่ว่าคุณจะเห็นด้วยกับเขาหรือไม่ นี่อาจจะเป็นครั้งแรกที่กระแสเฟมมินิสต์เป็นกระแสเฟมมินิสต์ของไทยจริงๆ ที่ไม่ใช่ต่อสู้แค่กรอบกฎหมาย หรือลอกตำราฝรั่ง แล้วมาสอนหนังสือ...ไม่ใช่ การต่อสู้ของคำ ผกาและภัควดี ไม่ได้บอกว่าเขาถูกนะ แต่มันกำลังปลุกกระแสผู้หญิงชนชั้นกลางที่ตั้งคำถามของการครอบงำของสังคมนี้ ผ่านอุดมการณ์ชายเป็นใหญ่ในสังคม ที่ผูกกับเรื่องการเมืองและศาสนา มันเป็นครั้งแรกที่ผู้หญิงวิจารณ์ศาสนาอย่างเป็นระบบ และการตอบโต้ของพระไพศาลก็น่าสนใจนะ ถ้าถามผู้หญิง แมนนะ หนีไม่พ้นภาพของผู้ชาย เพราะพระมีสไตล์การพูดของพระ และพระก็เป็นผู้ชาย

พิชญ์บอกว่า เหตุหนึ่งที่ผลักให้เกิดปรากฏการณ์นี้เพราะผู้หญิงใช้อินเตอร์เน็ตเยอะ

แล้วเขาพูดอะไรกัน มันไม่ใช่เรื่องปัญญาอ่อนอีกแล้ว มันมีข้อถกเถียงเหล่านี้ มันเกิดคำถามใหม่ๆ ผู้หญิง แสดงความเห็นเรื่องเสื้อแดงแรงมาก เริ่มถามถึงความชอบธรรม ใช้ปัญญามากกว่าอารมณ์แล้ว ไม่ใช่เรื่องสร้างวิชาการจากอารมณ์ผู้หญิงแบบทฤษฎีเฟมมินิสต์ฝรั่ง เฟม มินิสต์ไทย ผู้หญิงใช้ปัญญา เถียงกับพุทธศาสนาแล้ว โดยถามคำถามว่า ควบคุมไปทำไม หรือการควบคุมนี้มันเอื้อต่อรัฐหรือไม่ ถามมากขึ้นแล้ว ไม่ใช่เสรีภาพว่าผู้หญิงจะไปบวช แต่ผู้หญิงได้อะไรจากพุทธศาสนา

ใน สายตาของพิชญ์ ปรากฏการณ์ผู้หญิงวิพากษ์พระนี้จะไม่หยุดอยู่เพียงเท่านี้ หากแต่มันจะขยายวงออกไปยังพื้นที่ออฟไลน์และกลับมาทรงพลังกว่าเดิมในโลกออ นไลน์

คุณ สังเกตนะว่ามันกำลังจะนำไปสู่การต่อสู้ใหม่ ในเฟซบุ๊คก็จะเริ่มมากขึ้น นี่ต่างหากคือการเคลื่อนไหวใหญ่ที่กำลังจะเกิดขึ้นในสังคม การเคลื่อนไหวในการต่อสู้เรื่องเพศ ที่ไม่เกี่ยวกันกับเรื่องเซ็กส์ มันท้าทายคำสอนทางศาสนา มันถามเรื่องความเป็นธรรม ขณะที่ในยุคที่แล้ว มัน มีกระแสผู้หญิงที่ไปอยู่ในศาสนา "เข็มทิศชีวิต" "สปาอารมณ์" อะไรมากมาย มันเยอะไปหมด ที่ผู้หญิงมองว่าศาสนาพุทธช่วยเขา แต่นี่คุณกำลังเจอกระแส radical feminist แบบ ไทยๆ จริงๆ ที่หลุดจากทฤษฎีฝรั่งเพียวๆ มาถามคำถามที่ท้าทายสังคมไทยอย่างจริงจัง แล้วมันผูกกับการเมืองชาติด้วย เพราะมีพระเข้าไปอยู่ในคณะกรรมการปฏิรูป และความคิดของพระบางคนถูกนำไปใช้สร้างความชอบธรรมให้กับระบบการเมืองใหม่ และนี่ไม่ใช่การต่อสู้กับพระสงฆ์แก่หรือ Establishment (กลุ่มอำนาจเก่า) ใน ความหมายของพระเถระ มันเป็นการต่อสู้ทางปัญญาระหว่างพระที่ถูกอ้างว่าเป็นพระของคนรุ่นใหม่กับ นักวิชาการทางเฟมมินิสต์ ที่ท้าทายประเด็นการเมืองและผู้หญิง ฯลฯ ตรงนี้อินเทอร์เน็ตกำลังจะทำให้พื้นที่นี้ขยายตัว และน่าสนใจเพราะไม่ใช่พื้นที่ที่เป็นเรื่องของการต่อสู้เชิงความหยาบคายหรือ เสรีภาพทางเพศ มันผูกโยงว่าโลกของการเมืองมันสัมผัสกับเรื่องหลายเรื่อง

ไม่ปะทะตรงๆ แต่สร้างสรรค์เพื่อทวงพื้นที่

ท้าย ที่สุด การต่อสู้ในโลกออนไลน์สำหรับพิชญ์นั้นดำเนินไปได้หลากหลายรูปแบบ แม้การเข้าปะทะของผู้หญิงต่อการเมืองและศาสนาที่กล่าวมาข้างต้นจะน่าตื่นตา ตื่นใจและต้องติดตามต่อไปด้วยใจระทึก แต่ในอีกด้านหนึ่ง การเลือกสร้างสรรค์วิธีการสื่อสารโดยไม่เข้าปะทะตรงๆ

การ มองเรื่องการมีอำนาจไม่ใช่เรื่องของการปะทะอย่างเดียว หรือว่าใครปิดใครได้ โลกออนไลน์มันอาจเป็นพื้นที่ของความสร้างสรรค์ได้ ความสร้างสรรค์มันถูกกำกับไม่ได้ มันมีคำบางคำที่แบบไม่เห็นรู้เรื่องเลย งง เช่น อยู่ๆ ก็ตั้งนามสกุล"รักใครก็ได้" ในเฟซบุ๊ก มัน เป็นพื้นที่ที่เกิดความสร้างสรรค์ใหม่ๆ ได้ คุณคุมไม่ได้หมดหรอก คือความสร้างสรรค์ไม่ใช่การปะทะหรือแฮกอย่างเดียว แต่เป็นการสร้างภาษาใหม่ในการสื่อสารขึ้นมา ซึ่งไม่มีใครรู้ หรืออยู่ดีๆ ก็มีเอารูปลงเว็บ เป็นรูปตู้เอทีเอ็ม แล้วมีคนกำลังถือบัตรอยู่ ผมเลยนึกว่าเป็นเรื่องต่อท่อน้ำเลี้ยง

พิชญ์ ยกตัวอย่าง และว่า รูปแบบสร้างสรรค์เหล่านี้ เป็นอีกรูปแบบที่ทำให้ทวงคืนพื้นที่บางส่วนที่ขาดหายไปได้เช่นกัน – แน่นอน เขาพูดไว้แต่ต้นแล้วว่า การเรียนรู้มีหลายรูปแบบ และการสื่อสารก็เฉกเช่นกัน