WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, July 7, 2012

hot topic ปรองดองกับอำมาตย์ คือรักแท้ในคืนที่หลอกลวง 6 7 2012

ที่มา speedhorse



รัฐบาลยิ่งลักษณ์พบประชาชน 7-7-2012

ที่มา speedhorse



การกระจายอำนาจไทยก้าวหน้าหรือถอยหลัง : ศึกษากรณีเชียงใหม่มหานคร

ที่มา ประชาไท

 

ขอขอบคุณสถาบันไทยคดีศึกษาแห่งมหาวิทยาลัยเกียวโตแห่งนี้ที่ให้โอกาสผม ได้มานำเสนอแนวความคิดเกี่ยวกับการกระจายอำนาจของไทยในวันนี้ ซึ่งจากการศึกษาของผมพบว่าสถาบันแห่งนี้ได้
ศึกษามาอย่างต่อเนื่องและลึกซึ้งแล้ว ผมจึงไม่มีความจำเป็นที่จะไปเท้าความถึงความเป็นไปเป็นมาของวิวัฒนาการของ การปกครองท้องถิ่นไทยให้มากนัก แต่การบรรยายของผมในวันนี้จะเป็นการไปต่อยอด Thai Studies in Japan, 1996-2006 ในหัวข้อ Decentralization ของท่านอาจารย์นาไก(Fumio Nakai)ซึ่งได้ทำไว้อย่างละเอียดและยอดเยี่ยมเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งผมจะได้นำกรณีตัวอย่างของความก้าวหน้าเชียงใหม่มหานครมาเสนอให้เห็นถึง ความตื่นตัวและความน่าสนใจที่เกิดการรวมตัวของผู้ที่มีความเห็นทางการเมือง ที่แตกต่างกันอย่างสุดขั้วแต่เห็นตรงกันในเรื่องของการกระจายอำนาจและเป็น ตัวอย่างของประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ(Deliberative Democracy)ที่เป็นรูปธรรม
อย่างไรก็ตามผมจะขอกล่าวถึงวิวัฒนาการของการปกครองท้องถิ่นไทยสั้นๆเพื่อ เป็นพื้นฐานสำหรับท่านที่ยังไม่มีพื้นฐานในเรื่องนี้ว่าประเทศไทยได้มีการ ปกครองส่วนท้องถิ่นขึ้นเป็นครั้งแรก ในปี 2476(1933) (ได้เคยมีการทดลองกระจายอำนาจ โดยจัดตั้งสุขาภิบาลท่าฉลอม ในปี 2448(1905)) โดยการ ตราพระราชบัญญัติจัดระเบียบเทศบาลพุทธศักราช 2476 (1933)ขึ้น (แก้ไขเรื่อยมาจนถึง พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496(1953)) กำหนดให้จัดตั้งเทศบาลขึ้น เป็นหน่วยปกครองตนเองของประชาชน โดยกำหนดเทศบาลออกเป็น 3 ประเภท คือ เทศบาลตำบล เทศบาลเมือง และเทศบาลนคร ต่อมาในปี 2495(1952) รัฐบาลได้นำเอารูปแบบการปกครองท้องถิ่น แบบสุขาภิบาลที่ตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ออกมาประกาศใช้อีกครั้ง ตาม พระราชบัญญัติสุขาภิบาล พ.ศ.2495(1952) เพื่อให้สามารถจัดตั้งการปกครองท้องถิ่นได้ง่าย และกว้างขวางขึ้นอีก แม้จะมีลักษณะเป็นการปกครองท้องถิ่น ไม่เต็มรูปแบบ เท่ากับเทศบาลก็ตาม
ในปี พ.ศ.2498(1955) ฯพณฯ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยด้วย ได้เดินทางไปรอบโลก ได้เห็นราษฎรในท้องถิ่น ในประเทศสหรัฐอเมริกา และในยุโรปมีส่วนร่วม ในการดูแลท้องถิ่น จึงกำเนิดความคิดในการ จัดตั้งสภาตำบลขึ้นในประเทศไทย ตามคำสั่งกระทรวงมหาดไทย ที่ 222/2499 ลงวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2499 (1956)เกี่ยวกับการจัดตั้งสภาตำบลทั่วประเทศ จำนวนกว่า 4,800 แห่ง ในขณะเดียวกัน รัฐบาลได้ตรา พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนตำบล พ.ศ.2499(1956) ขึ้นด้วย เพื่อจัดตั้งตำบลที่เป็นชุมชนขนาดใหญ่ขึ้น เป็น "องค์การบริหารส่วนตำบล" เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งเป็นนิติบุคคลอีกรูปแบบหนึ่ง นับว่าเป็นการจัดตั้งองค์กรระดับตำบล เพื่อให้ประชาชนได้เรียนรู้ และฝึกปฏิบัติประชาธิบไตยทั่วประเทศขึ้น เป็นครั้งแรก แต่ต่อมา องค์การบริการส่วนตำบลที่เป็นนิติบุคคลนี้ ถูกยกเลิกหมด เพราะความไม่พร้อมต่างๆ ทั้งด้านรายได้ และบุคลากร จึงคงเหลือแต่สภาตำบลเท่านั้น
ในปี พ.ศ.2537(1994) ได้มีการจัดตั้งสภาตำบล และองค์การบริหารส่วนตำบล เป็นนิติบุคคลทั่วประเทศ โดย ฯพณฯ นายชวน หลีกภัย ได้ผลักดันให้มีการ ตราพระราชบัญญัติสภาตำบล และองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537(1994) ขึ้น โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2537(1994) ซึ่งมีผลเป็นการยกเลิกสภาตำบลที่มีอยู่เดิมทั้งสิ้น และเกิดมีสภาตำบลขึ้นใหม่ ที่มีฐานะเป็นนิติบุคคล ตั้งแต่วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ.2538(1995) เป็นต้นมา จำนวน 6,216 แห่ง และมีสภาตำบล (ที่มีรายได้ถึงเกณฑ์กำหนดเฉลี่ย 3 ปี ย้อนหลัง ไม่ต่ำกว่าปีละ 150,000 บาท) จัดตั้งขึ้นเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และเป็นราชการส่วนท้องถิ่น จำนวน 618 แห่ง ตั้งแต่วันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ.2538(1995) เป็นต้นมา ปัจจุบันมี อบต. จำนวน 6,745 แห่ง สภาตำบล จำนวน 214 แห่ง
ในปี 2498 (1955)เช่นกัน ได้มีการตรา พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด พ.ศ.2498 (1955)จัดตั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ขึ้นเป็นนิติบุคคล และเป็นราชการบริหารส่วนภูมิภาค แต่มีผู้ว่าราชการจังหวัด ทำหน้าที่ฝ่ายบริหาร และสภาจังหวัดเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งเป็นสภาเลือกตั้งจากประชาชน (ปัจจุบันมี อบจ. ในทุกจังหวัดๆ ละ 1 แห่ง รวม 76 แห่ง ตาม พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ.2540 (1997)โดยมีฐานะนิติบุคคล และมีพื้นที่รับผิดชอบทั่วจังหวัด โดยทับซ้อนกับพื้นที่ของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น คือ เทศบาล สุขาภิบาล และองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนั้น )
นอกจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังมีการจัดตั้ง กรุงเทพมหานคร และ เมืองพัทยา ซึ่งเป็นการปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษอีกด้วย ในปี พ.ศ.2518(1975) และ 2521 (1978)ตามลำดับ โดยกรุงเทพมหานคร เป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น ตาม พระราชบัญญัติระเบียบราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2518(1975) และเมืองพัทยา เป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น ตาม พระราชบัญญัติบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ.2521(1978)
จากการที่การบริหารราชการแผ่นดินของไทยถูกแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ คือการบริหารราชการส่วนกลาง การบริหารราชการส่วนภูมิภาคและการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น โครงสร้างการบริหารและปกครองในรูปแบบนี้ได้เกิดปัญหาขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยการบริหารราชการแผ่นดินของไทยนั้น ได้เน้นไปที่การรวมศูนย์มากกว่าการกระจายอำนาจ เนื่องจากต้องการรักษาความมั่นคงของชาติ จึงทำให้เกิดปัญหาตามมาอย่างมากมายในระดับท้องถิ่นนั้นไม่สามารถแก้ไขได้ อย่างเบ็ดเสร็จภายในท้องถิ่น ซึ่งเกิดจากลักษณะการบริหารราชการไทยดังกล่าวสร้างปัญหา ได้แก่
1) ปัญหาทางด้านโครงสร้างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น ปัญหาทางด้านอํานาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ซ้อนทับกับการบริหารราชการส่วนภูมิภาค ทั้งเรื่องอำนาจ ภารกิจ งบประมาณและการประสานงาน ปัญหาด้านการกํากับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมากเกินไป มีความพยายามของฝ่ายการเมืองและฝ่ายปกครองที่จะเข้าไปกํากับดูแลการดําเนิน งานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเฉพาะปัญหาทางด้านการกําหนดนโยบายและแผนที่ไม่สอดคล้องกับสภาพของปัญหา และความต้องการของประชาชนในพื้นที่ หรือปัญหาการไม่สามารถนํานโยบายไปปฏิบัติได้จริง  ภารกิจที่ถ่ายโอนให้กับ อปท. และงบประมาณที่จัดสรรให้แต่ละท้องถิ่นยังไม่ มีความเหมาะสม ไม่สามารถดำเนินการตามแผนได้ เพราะความต้องการบุคลากรของท้องถิ่นกับข้า ราชการที่จะโอนไม่ตรงกัน เนื่องจากในข้อเท็จจริงหากพิจารณาในเชิง คณิตศาสตร์ คือปริมาณ สามารถทำได้ แต่ในเชิงการบริหารและการจัดการล้มเหลว โดยสิ้นเชิง เพราะผู้บริหารไม่ให้ความสำคัญกับการพัฒนา “คน” ซึ่งเป็น ทรัพยากรที่สำคัญในการขับเคลื่อนภารกิจที่จะรับโอน ทำให้การกระจายอำนาจคืบ หน้าไปไม่ได้ เพราะด้วย อปท.เองยังคงคำนึงถึงเสถียรภาพทางการเมือง มากกว่า ที่จะมองถึงการพัฒนาของท้องถิ่น
ในส่วนของราชการที่เกี่ยวข้อง ยังไม่สามารถตอบสนองเจตนารมณ์ของกระจาย อำนาจที่ได้วางไว้ มิหนำซ้ำยังถูกแรงต้านจากส่วนราชการที่มีหน้าที่หลักใน การกระจายอำนาจ เช่น กระทรวงมหาดไทย  หรือสมาคมนักปกครอง ฯลฯ ตลอดจนมีการพยายามเพิ่มอำนาจของราชการส่วนภูมิภาค เช่น หลังการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549(2006) มีการขยายระยะเวลาการดำรงตำแหน่งของกำนันผู้ใหญ่บ้านและวิธีการได้มาของ กำนันแทนที่จะมาจากการเลือกตั้งของประชาชนกลับให้ผู้ใหญ่บ้านเลือกกันเอง
2) ปัญหาของการมีส่วนร่วมในการปกครองท้องถิ่นของประชาชนที่มีค่อนข้าง น้อย คงมีเพียงแต่การไปใช้สิทธิเลือกตั้งสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเท่านั้น หลังจากนั้นประชาชนจึงไม่ค่อยมีส่วนร่วมอย่างอื่น ซึ่งทําให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขาดพลัง ขาดความร่วมมือ ขาดความสนใจจากประชาชนอันเป็นผลให้การปกครองท้องถิ่นซึ่งเป็นการปกครองของคน ในท้องถิ่นเองไม่ค่อยประสบความสําเร็จเท่าที่ควร ซึ่งไม่มีทางที่จะก้าวข้ามปัญหาที่เกิดขึ้น โดยที่คิดอยู่ในกรอบเดิม
อย่างไรก็ตามแม้ว่าการกระจายอำนาจของไทยจะประสบปัญหาอย่างมากดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น แต่ก็ยังถือได้ว่ามีความก้าวหน้าบ้าง ดังนี้
1. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเริ่มมีการพัฒนาที่ดีขึ้น โดยเฉพาะการพัฒนา ประสิทธิภาพการทำงานและการจัดการบริการสาธารณะ  เพราะคุณวุฒิของบุคคลากรที่สูงขึ้นและมีการนำเทคโนโลยีใหม่เข้ามาใช้มาก ขึ้น
2. ประชาชนในท้องถิ่นมีความตื่นตัวทางการเมืองมากขึ้น โดยเฉพาะการติดตามตรวจ สอบการทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น ผ่านทาง สภาท้องถิ่น หรือผ่านทางการเมืองภาคประชาชน
3. ทัศนคติของบุคคลากรในกระทรวง ทบวง กรม เริ่มเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น เพราะ จะเห็นได้จากแรงต่อต้านในเรื่องนี้ลดน้อยลงเมื่อมีการรณรงค์ร่าง พรบ.ระเบียบบริหารราชการเชียงใหม่มหานครฯโดยภาคประชาชน ซึ่งมีเนื้อหาที่ยกเลิกราชการส่วนภูมิภาค เหลือเพียงราชการส่วนกลางและส่วนท้องถิ่นเท่านั้น และเริ่มมีแนวโน้มที่จะเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้นเรื่อยๆ  เพราะในกระทรวง ทบวง กรม ต่างๆมีบุคคลากรรุ่นใหม่ๆที่มีการศึกษาสูงขึ้นและเข้าใจความเป็นจริงมากขึ้น
4. เจตนารมณ์ทางการเมืองของรัฐมีความชัดเจนมากขึ้น ดังปรากฏตามรัฐธรรมนูญปี (1997) กรณีของการเพิ่มรายได้ให้กับ อปท. ร้อย ละ 35 ในปี 2549 (2006) และบทบาทท้องถิ่นมีความชัดเจนมากขึ้น  เมื่อมีประกาศเรื่องการกำหนดอำนาจและหน้าที่การจัดระบบบริการสาธารณะของ อบจ. เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2547 (2004) แต่น่าเสียดายที่ถูกรัฐประหารฉีกรัฐธรรมนูญไปเสียก่อนเมื่อ 19 กันยายน 2549  แต่ก็สามารถถือได้ว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดี และเชื่อว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญฯในปี 2555(2012) นี้ จะทำให้ทิศทางของการกระจายอำนาจดีขึ้น เพราะมีพื้นฐานมาจากรัฐธรรมนูญปี 2540 (1997) แล้ว
ตัวอย่างของความตื่นตัวของพัฒนาการของการการกระจายอำนาจที่ผมจะนำมายก ตัวอย่างให้เห็นในวันนี้ก็คือ การรณรงค์สนับสนุนให้มี พรบ.ระเบียบบริหารราชการเชียงใหม่มหานครฯ ซึ่งได้มีความคืบหน้าเป็นอันมาก และได้ก่อให้เกิดกระแสเรียกร้องและจับจ้องคว่ามเคลื่อนไหวของ “เชียงใหม่มหานคร”จากทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นจากประชาชนในพื้นที่หรือเจ้า หน้าที่ของรัฐเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากกระทรวงมหาดไทยที่มีบทบาทสำคัญในการเมืองการปกครองของ ไทยมาโดยตลอด
ในอดีตที่ผ่านมาได้มีการพูดคุยกันในเรื่องเกี่ยวกับการปัญหาขของการราว มศูนย์อำนาจของรัฐไทยไว้ที่ส่วนกลางมาโดยตลอด แต่ก็เป็นเพียงที่บ่นเป็นครั้งคราวแล้วก็หายไป จวบจนประมาณปี 2533(1990) ศ.ดร.ธเนศว์ เจริญเมือง ได้ยกประเด็นการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดขึ้นมา แต่ก็เป็นการต่อสู้อย่างโดดเดี่ยวและมีแรงต้านจากข้าราชการส่วนกลางและส่วน ภูมิภาคอย่างหนาแน่น
แต่ความพยายามดังกล่าวก็ยังคงต่อเนื่องต่อไปในรูปแบบของแนวคิด “จังหวัดจัดการตนเอง” ซึ่งเริ่มต้นขึ้นในปี 2551(1998)จากการนำแนวคิด “การพึ่งตนเอง” ในเรื่องเกษตรชุมชน เช่น ป่าชุมชนและเกษตรทางเลือก ซึ่งเป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นมายาวนานและกระจายอยู่ทั่วประเทศ ร่วมกับ การนำบทเรียน จากวิกฤติทางการเมืองในช่วง 2547(2003) - 2549 (2005)เข้ามาเป็นประเด็นในการพูดคุยกันในเวทีย่อยๆของภาคส่วนต่างๆที่ เคลื่อนไหวเพื่อพัฒนาสังคม เช่น คณะกรรมการประสานงานองคกรพัฒนาเอกชนภาคเหนือ (กป.อพช) และสถาบันการจัดการทางสังคม (สจส.) และ นักวิชาการอิสระต่างๆ ซึ่งแลกเปลี่ยนความคิดกันในเรื่องของการพึ่งตนเองและการแก้ปัญหาทางการเมือง
ต้นปี 2552(2009) เริ่มมีการยกกระแสแนวคิด “การจัดการตนเอง” ขึ้นมาเป็นประเด็นแลกเปลี่ยนในเวที จากความร่วมมือของสถาบันการจัดการทางสังคม (สจส.) ร่วมกับคณะกรรมการประสานงานองคกรพัฒนาเอกชนภาคเหนือ (กป.อพช ภาคเหนือ) และกลุ่มนักวิชาการอิสระในภาคเหนือ จัดเวที ขับเคลื่อนพัฒนาการเมือง เพื่อแลกเปลี่ยนในประเด็น ของการเมืองท้องถิ่น  ซึ่งเวทีนั้นได้พูดถึงแนวคิดปฏิรูปประเทศเพื่อปรับเปลี่ยนโครงสร้างการ ปกครองท้องถิ่นขึ้น  เนื่องจากผู้ร่วมเวทีมีการแลกเปลี่ยนกันถึงการเมืองและการปกครองท้องถิ่นไทย ที่มีปัญหาอย่างต่อเนื่อง จึงเกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างกัน โดยนำแนวคิด การพึ่งตนเองมาบูรณาการใช้ในการแก้ปัญหาดังกล่าว แต่ยังไม่มีการเคลื่อนไหวหรือขับเคลื่อนแต่อย่างใด เนื่องจากยังไม่มีงบประมาณสนับสนุนและยังมีกลุ่มประชาชนสนใจน้อยมาก
ในช่วงปลายปี 2552(2009) สถาบันการจัดการทางสังคม (สจส.) ร่วมกับ และคณะกรรมการประสานงานองคกรพัฒนาเอกชนภาคเหนือ (กป.อพช) จัดเวทีแลกเปลี่ยนร่วมกันในภาคเหนือที่จังหวัดเชียงใหม่ ได้มีการนำเสนอเรื่อง “การจัดการตนเอง” ในประเด็นของอำนาจท้องถิ่น การกระจายอำนาจ ในระดับจังหวัด  รวมถึงภายในเวทีได้แลกเปลี่ยนองค์ความรู้จากนักวิชาการหลายท่าน ถอดองค์ความรู้นโยบาย “ผู้ว่า CEO” ของรัฐบาล พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร รวมทั้งแนวคิด “จังหวัดบูรณาการ” ขององค์กรอิสระ ซึ่งเป็นกระแสการเปลี่ยนโครงสร้างการปกครองท้องถิ่นในประเทศไทย แต่ก็ยังไม่ปฏิเสธอำนาจรัฐส่วนกลาง เป็นเพียงการร่างแผนโดยท้องถิ่น เรียกว่า “แผนประชาชน” เสนอจังหวัด ผ่านผู้ว่าราชการจังหวัด ปัญหาเกิดขึ้น เมื่อผู้ว่าราชการหมดวาระแผนฯนั้นก็ตกไป ไม่ต่อเนื่อง ซึ่งก็ไม่เห็นเป็นรูปธรรมเท่าที่ควร 
แต่นโยบาย “จังหวัดบูรณาการ” ก็ทำให้เกิดกระแสการพูดถึงการปกครองท้องถิ่นในระดับจังหวัดมากขึ้น รวมทั้งมีนักวิชาการที่มีประสบการณ์การศึกษาจากต่างประเทศ  นำแนวคิด การบริหารจัดการท้องถิ่นในระบอบประชาธิปไตยจากประเทศที่มีความมั่นคงทางการ บริหารจัดการ เช่น เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ฝรั่งเศสและอังกฤษ เป็นกรอบคิดในการสร้างรูปแบบที่เหมาะสมกับการบริหารท้องถิ่นของไทย ซึ่งสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างเบ็ดเสร็จในระดับจังหวัด เป็นการแก้ไขปัญหาในเชิงพื้นที่ มองพื้นที่เป็นตัวตั้งมากกว่าศูนย์กลาง ซึ่งในประเทศไทยก็มีแนวคิดเรื่องพื้นที่เป็นตัวตั้งในลักษณะรูปธรรมคือ  ท้องถิ่นและภูมิภาค เช่น อบต. เทศบาล อบจ. เป็นต้น ซึ่งมีอำนาจเบ็ดเสร็จน้อยมาก  ผู้เข้าร่วมเวทีนั้นจึงมีความคิดเห็นตรงกันว่า ท้องถิ่นควรจะขยายอำนาจให้ใหญ่ขึ้นไปสู่ ระดับจังหวัด
และในช่วงของวิกฤตการณ์ทางการเมืองในปี 2552(1999)เป็นต้นมาซึ่งได้เกิดวิกฤตการณ์เสื้อสีต่างๆเกิดขึ้น มีการรัฐประหารซึ่งเป็นผลทำให้เกิดความขัดแย้งอย่างรุนแรง ซึ่งจุดเปลี่ยนที่สำคัญก็คือการเกิดขึ้นของเครือข่ายบ้านชุ่มเมือง เย็น(Peaceful Homeland Network)ซึ่งเป็นการรวมตัวกันของสีเหลืองและสีแดงที่มีการพูดคุยกันอัน เนื่องปัญหาที่เกิดขึ้นมาจากการที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น พยายามที่จะเดินทางมาประชุมหอการค้าทั่วประเทศที่จัดขึ้นที่เชียงใหม่ซึ่ง ได้ชื่อว่าเป็นเมืองหลวงของคนเสื้อแดง โดยมีการระดมสรรพกำลังทั้งกำลังตำรวจและทหารเพื่อเตรียมการณ์เพื่อรักษาความ ปลอดภัยจำนวนเป็นหมื่นๆคน
กระแสข่าวต่างรายงานประหนึ่งว่าเชียงใหม่ในขณะนั้นกำลังอยู่ในภาวะมิ กสัญญี นักท่องเที่ยวหดหาย นักลงทุนพากันถอนการลงทุน ฯลฯ ชาวเชียงใหม่ซึ่งมีทั้งเสื้อสีเหลืองและสีแดงต่างได้รับความเดือดร้อน จึงหันหน้ามาพูดคุยกันอย่างไม่เป็นทางการตามร้านกาแฟต่างๆ จนในที่สุดได้มีรวมตัวกันอย่างเป็นทางการที่ที่ทำการสมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯภาค เหนือ ซึ่งในขณะนั้นมีนายชำนาญ จันทร์เรืองเป็นนายกสมาคม ที่ประชุมได้เลือกให้นายชำนาญ เป็นประธานเครือข่ายไว้เป็นตัวกลางในการประสานงานกับภายนอก ซึ่งเครือข่ายบ้านชุ่มเมืองเย็นก็มีการพบปะแลกเปลี่ยนกันโดยตลอดเพื่อหลีก เลี่ยงความรุนแรงหรือการปะทะกัน
ซึ่งในที่สุดนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีก็ได้เลิกล้มความตั้งใจที่จะเดินทางไปประชุมหอการค้าฯที่ เชียงใหม่ สถานการณ์ความร้อนแรงทางการเมืองก็คลี่คลายลง แต่การพบปะของเครือข่ายก็ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องต่อไป แต่ประเด็นที่นำมาพูดคุยกันนั้นทุกฝ่ายเห็นตรงกันว่าปัญหาทุกอย่างที่เกิด ขึ้นนั้นเกิดจากการรวมศูนย์อำนาจไว้ที่ส่วนกลางและความใหญ่โตของราชการส่วน ภูมิภาคที่เทอะทะเพราะมีขั้นตอนที่มากมาย หัวหน้าฝ่ายบริหารของจังหวัดซึ่งก็คือผู้ว่าราชการจังหวัดมีการโยกย้ายบ่อย มากและไม่มีอำนาจที่แท้จริงในการแก้ไขปัญหา ไม่ว่าจะเป็นปัญหาความเดือดร้อนของชาวบ้านที่มาประท้วงที่หน้าศาลากลางซึ่ง ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นได้เพียงรับเรื่องแล้วส่งเรื่องต่อ ที่สำคัญที่กระทบต่อประชาชนในพื้นที่มากที่สุดคือปัญหาหมอกควันซึ่งกลไก ต่างๆที่ผู้ว่าราชการมีอยู่ในแทบเป็นอัมพาตเพราะไม่มีอำนาจในการแก้ไขปัญหา อย่างแท้จริง
ที่ประชุมได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวางแล้วเห็นว่าหากเพียง แต่มีการรณรงค์เหมือนในอดีตที่ผ่านมาก็จะไม่ได้ผลอะไร เพราะเป็นเพียงการบ่นที่ผ่านมาแล้วผ่านไป จึงมีการเสนอให้มีการยกร่างกฎหมายขึ้นมาให้เห็นเป็นรูปธรรม ซึ่งนายชำนาญ จันทร์เรือง จึงได้ยกร่างขึ้นมาเป็นร่างแรกเมื่อ เดือนมกราคม 2554(2011)และกำหนดหมุดหมายในการขับเคลื่อน(milestone)ว่าจะยื่นร่าง พรบ.ดังกล่าวในกลางปี2555(2012)
ต่อมา ในเดือน เมษายน ปี 2554(2011) คณะกรรมการปฏิรูป (คปร.) โดยมีนายอานันท์  ปันยารชุน เป็นประธานกรรมการปฏิรูป และ คณะกรรมการสมัชชาปฏิรูป (คสป.) โดยมี ศาสตราจารย์ประเวศ  วะสี เป็นประธานกรรมการสมัชชาปฏิรูป และมีสำนักงานปฏิรูปหรือ สปร.  ทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการ จึงได้มีการเสนอเรื่อง “จังหวัดจัดการตนเอง” สู่ สำนักงานปฏิรูป ซึ่งมีแนวทางสอดคล้องและเป็นช่องทางในการปฏิรูปประเทศ ซึ่งได้ออกหนังสือปกสีส้ม  "ข้อเสนอการปฏิรูปโครงสร้างอำนาจ" เรื่อง จังหวัดจัดการตนเอง จึงได้ถูกบรรจุลงเป็นส่วนหนึ่งของหนังสือปกสีส้ม  ในประเด็น การเสริมอำนาจในการจัดการตนเองของท้องถิ่น หัวข้อ การกระจายอำนาจจากส่วนกลางไปสู่ท้องถิ่น ซึ่งได้เป็นประเด็นข้อเสนอในการปฏิรูปโครงสร้างอำนาจ ซึ่งสอดคล้องกับการยกร่าง พรบ.เชียงใหม่มหานครฯที่ได้ยกร่างขึ้นมาก่อนนี้ในเดือนมกราคม2554(2011)พอดี
ต่อมา คณะกรรมการสมัชชาปฏิรูป (คสป.) ได้นำประเด็น จังหวัดจัดการตนเอง มาเป็นประเด็นในการเสนอมติและผ่านมาเป็นมติของสำนักงานปฏิรูป  คำว่า “จังหวัดจัดการตนเอง” จึงกระจายไปในวงกว้างมากขึ้น รวมถึง สถาบันการจัดการทางสังคม(สจส.) และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)  จัดสรรงบประมาณสนับสนุนการเคลื่อนไหวให้ด้วย เป็นการเพิ่มแนวทางขยายแนวความคิด โดยการดำเนินการจัดเวทีเพื่อขยายแนวความคิดและระดมภาคีในระดับภูมิภาคจนถึง ระดับท้องถิ่น
ในเวลาเดียวกัน เกิดกระแสการแสดงความไม่เห็นด้วยกับแนวคิด “จังหวัดจัดการตนเอง” เช่น ผู้ว่าราชการจังหวัด และสมาคมนักปกครองแห่งประเทศไทย ได้ออกแถลงการณ์ตอบโต้แสดงความไม่เห็นด้วยกับ แนวคิดนี้และหนังสือปกส้ม ฯ เพราะเล็งเห็นว่า ทำให้ขาดเอกภาพในการปกครองประเทศและอาจนำไปสู่การแบ่งแยกดินแดนได้
ในเดือน พฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เกิดปัญหาทางการเมืองภายในมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง  จึงเป็นจุดที่เหมาะสมและสำคัญที่สุด ในการกระจายและขยายแนวความคิด “จังหวัดจัดการตนเอง” ในช่วงระยะเวลาดังกล่าว ทำให้ประชาชนสามารถมองภาพแนวคิดนี้ได้ชัดเจนมากขึ้น โดยยกประเด็นความขัดแย้ง เป็นประเด็นตัวอย่างในการที่จะใช้ “จังหวัดจัดการตนเอง” เป็นประเด็นในการปฏิรูปประเทศไทย เพื่อที่จะก้าวข้ามประเด็นปัญหาทางการเมืองภายในไป  ซึ่งแนวคิด “จังหวัดจัดการตนเอง” ได้รับการตอบรับอย่างดีโดยเฉพาะพื้นที่ภาคเหนือ จึงได้รับความร่วมมือจากเครือข่ายขับเคลื่อนทางการเมืองที่สำคัญคือ เครือข่ายบ้านชุ่มเมืองเย็น ซึ่งทำหน้าที่วิเคราะห์สถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบัน เป็นเครือข่ายที่สำคัญในการรวบรวมเครือข่ายและประสานงานขับเคลื่อนเรื่อง จังหวัดจัดการตนเอง ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ จึงสามารถจัดเวทีประสานภาคส่วนต่างๆในการแก้ไขปัญหาทางการเมืองที่เกิดขึ้น เช่น ภาคธุรกิจท้องถิ่น กลุ่มเสื้อเหลือง กลุ่มเสื้อแดง จึงสามารถไกล่เกลี่ยกันให้คลี่คลายสถานการณ์ในพื้นที่ไปได้บางส่วน 
ต่อมาสถาบันการจัดการทางสังคม(สจส.) ร่วมกับเครือข่ายขับเคลื่อน ประกอบไปด้วย สภาพัฒนาการเมือง(สพม.) สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(พอช.) และสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) และคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคเหนือ(กป.อพช.ภาคเหนือ) รวมทั้งองค์กรอิสระในพื้นที่ เช่น เครือข่ายบ้านชุ่มเมืองเย็น ภาคีคนฮักเชียงใหม่ สภาองค์กรชุมชนและสถาบันส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ร่วมกันผลักดันประเด็น จังหวัดจัดการตนเอง เพื่อประสานงานในการจัดเวที ขยายความรู้ ขยายความคิด แลกเปลี่ยนความรู้และขยายไปยังภาคต่างๆ ของประเทศไทยจังหวัดจัดการตนเองจึงขยายตัวอย่างรวดเร็ว มีความเป็นรูปธรรมมากขึ้น ซึ่งเมื่อมีการขยายองค์ความรู้และแนวความคิดมาโดยตลอด ก็เริ่มมีกลุ่มประชาชนและเครือข่ายที่เห็นด้วยกับแนวคิดจังหวัดจัดการตนเอง จึงนำไปประยุกต์แลกเปลี่ยนในรูปแบบต่างๆ เช่น พื้นที่จัดการตนเอง จังหวัดปฏิรูป เกิดการขยายองค์ความรู้ไปยังภาคต่างๆ เช่น เวทีประชุมเชิงปฏิบัติการ ในประเด็น “แนวคิด ยุทธศาสตร์การกระจายอำนาจให้ จังหวัดจัดการตนเอง” ภาคอีสาน ในปลายพฤษภาคม 2554(2011) ซึ่งรวมไปถึง ปัตตานีมหานคร
ซึ่งก่อนหน้านี้ แนวคิดปัตตานีมหานคร เป็นแนวคิดการรวมตัวกันของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้เป็นเมืองเดียวกันและเกิดขึ้นมานานมาก แต่เนื่องจากแนวคิดดังกล่าวถูกมองว่าเป็นการแบ่งแยกดินแดนและเสี่ยงต่อการ เสียดินแดน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ไป จึงไม่มีการเคลื่อนไหวในเชิงรูปธรรมมากนัก ในเดือน มิถุนายน  แนวคิดจังหวัดจัดการตนเองได้นำเข้าไปเป็นประเด็นในรายการ เสียงประชาชน เปลี่ยนประเทศไทย ช่อง Thai PBS ซึ่งนำผู้นำท้องถิ่นและกลุ่มผู้เคลื่อนไหวมาถกกันในประเด็น “จังหวัดจัดการตนเอง” ซึ่งรวมถึงผู้นำชุมชน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จึงได้แลกเปลี่ยนแนวคิดระหว่างกันรวมทั้ง การขยายเวที “แนวคิด ยุทธศาสตร์การกระจายอำนาจให้ จังหวัดจัดการตนเอง” ไปถึงภาคใต้ จึงมีการแลกเปลี่ยนแนวคิดและรูปแบบระหว่าง แนวคิดจังหวัดจัดการตนเองกับแนวคิดปัตตานีมหานคร มากขึ้น ต่อมาในเดือน กรกฏาคม 2554 (2011)เกิดเวทีการประชุมเชิงปฏิบัติการ ในประเด็นจังหวัดจัดการตนเองในภาคกลาง หลายๆจังหวัดทั่วประเทศ ได้นำแนวความคิดจังหวัดจัดการตนเองไปต่อยอดความคิดเพื่อสร้างรูปแบบการ จัดการตนเองในรูปแบบที่เหมาะสมกับจังหวัดหรือท้องถิ่นของตนเอง
หลังจากที่มีการยกร่างพรบ.เชียงใหม่มหานครฯขึ้นแล้วก็ได้มีการออกเวที รณรงค์ใน 25 อำเภอของจังหวัดเชียงใหม่เพื่อนำมาปรับปรุงเนื้อหาของร่าง พรบ.จนในที่สุดได้มีการกำหนดให้มีการรณรงค์ใหญ่ในวันที่ 24 มิถุนายน 2555(2012)ที่ผ่านมา ซึ่งในวันนั้นมีประชาชนชาวเชียงใหม่มาร่วมงานกันอย่างมืดฟ้ามัวดินเพื่อ ประกาศเจตนารมณ์โดยใช้สัญญลักษณ์ริบบินหรือธงผ้าสีส้มซึ่งเป็นการรวมหรือ สลายสีแดงและเหลืองกลายเป็นสีส้ม อันเป็นตัวอย่างหรือตัวแบบที่หน่วยงานหรือสถาบันที่ศึกษาการแก้ไขปัญหาความ ขัดแย้งได้นำไปเป็นตัวแบบ(model)ในการศึกษากันอย่างกว้างขวาง
สาระสำคัญร่าง พรบ.ดังกล่าว คือ
1) ยกเลิกการบริหารราชการส่วนภูมิภาค เหลือเพียงราชการส่วนกลางและราชการส่วนท้องถิ่น  เต็มพื้นที่และมีฐานะเป็นนิติบุคคล มีอำนาจในการกำหนดแนวนโยบาย ระเบียบ ข้อบัญญัติ การจัดงบประมาณ การคลัง การจัดการบริหารบุคลากรและกลไกโครงสร้างการบริหารงานภายในท้องถิ่นเพื่อการ บริหารราชการท้องถิ่นตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โดยพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในท้องถิ่นได้ครอบคลุมทุกเรื่อง ยกเว้น 4เรื่องหลัก คือ การทหาร ระบบเงินตรา การต่างประเทศ และการศาล โดยจัดการปกครองเป็น2 ระดับ คือ ระดับบน(เชียงใหม่มหานคร) และระดับล่าง (เทศบาล) ทำให้สามารถดูแลครอบคลุมเต็มพื้นที่ โดยทั้ง 2 ระดับมีการบริหารงานในลักษณะของการแบ่งหน้าที่การทำงานอย่างชัดเจน
โดยการจัดให้มีการปกครองท้องถิ่น 2 ระดับ(two tiers)นี้ เป็นการประยุกต์มาจากญี่ปุ่น ซึ่งแตกต่างจากกรุงเทพมหานครซึ่งมีระดับเดียวที่รวมศูนย์อยู่ที่ศาลาว่าการ กรุงเทพมหานคร และแตกต่างจากรูปแบบเมืองพัทยาที่กำหนดพื้นที่เฉพาะตรงไข่แดงเท่านั้น แต่เชียงใหม่มหานครนี้จะครอบคลุมเต็มพื้นที่แทน อบจ.ซึ่งจะถูกยุบเลิกไป เพราะทุกพื้นที่ของเชียงใหม่ประกอบด้วยคนเชียงใหม่เหมือนกัน การกำหนดเฉพาะพื้นที่ที่มีความเจริญทางเศรษฐกิจแต่เพียงอย่างเดียวจึงเป็น การเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม
ในระดับล่างมีการยกระดับองค์กรปกครองท้องถิ่นทั้งหมดให้อยู่ในรูปแบบ เดียวกัน คือ เทศบาล เพราะในปัจจุบันมีการลักลั่นกันมาก ดังจะเห็นได้ว่าในปัจจุบันในพื้นที่ตำบลเดียวกันมีทั้งเทศบาลและ อบต.มีนายกฯถึง 2 คน มีที่ทำการถึง 2 แห่ง
ในส่วนของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งสังกัดราชการส่วนภูมิภาคก็ ต้องเลือกเอาว่าจะกลับไปสังกัดกระทรวง ทบวง กรม เดิมของตนที่ส่วนกลาง หรือเลือกที่จะอยู่ในพื้นที่ โดยสังกัดกับท้องถิ่นที่มีผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานครที่มาจากการเลือกตั้ง ของประชาชนเป็นผู้บังคับบัญชา
สำหรับกำนันผู้ใหญ่บ้านก็ยังคงอยู่ต่อไป แต่จะกำหนดบทบาทและหน้าที่ให้ชัดเจนแยกออกจากผู้บริหารท้องถิ่น โดยเพิ่มบทบาทไปในด้านการรักษาความสงบเรียบร้อย ในฐานะหัวหน้าฝ่ายรักษาความสงบเรียบร้อยในพื้นที่ของตนเช่นเดียวกับตำรวจ ซึ่งต้องขึ้นกับท้องถิ่นที่มีผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานครเป็นหัวหน้าฝ่าย บริหารเช่นในนานาอารยประเทศทั้งหลาย โดยจะยังคงมีกองปราบหรือFBI/DSI ฯลฯ เพื่อปฏิบัติการในกรณีคาบเกี่ยวในเขตพื้นที่หรือเป็นคดีสำคัญ ซึ่งการให้ตำรวจมาสังกัดท้องถิ่นนี้จะทำให้เกิดการคล่องตัวทั้งสายการบังคับ บัญชาและงบประมาณที่จะทำให้ตำรวจท้องที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
2) ทำให้การเมืองมีความโปร่งใส มีคุณธรรมจริยธรรม โดยมีระบบการตรวจสอบที่มีความเข้มแข็ง และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการสร้างดุลยภาพ 3 ส่วนเพื่อป้องกันการ “ฮั้ว”กัน ซึ่งต่างจากโครงสร้างการปกครองท้องถิ่นทั่วๆไปที่มีเพียง 2ส่วนคือฝ่ายบริหารกับฝ่ายออกข้อบัญญัติ โดยจัดโครงสร้างใหม่เป็น ผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานคร สภาเชียงใหม่มหานครและสภาพลเมือง (civil juries)รวมถึงการสนับสนุนให้ประชาชนสามารถใช้อำนาจประชาชนโดยตรงในการกำหนด ทิศทาง การพัฒนาตรวจสอบการทำงานหน่วยงาน ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ทุกระดับ และเข้าถึงการใช้งบประมาณ ผ่านกระบวนการกลไกต่างๆ อาทิ สภาพลเมือง การไต่สวนสาธารณะ การจัดตั้งกรรมาธิการด้านต่างๆ เช่น การศึกษา เกษตร การจัดการปัญหาหมอกควัน ฯลฯ
3) การปรับโครงสร้างด้านภาษี โดยภาษีทุกชนิดที่เก็บได้ในพื้นที่จะส่งคืนรัฐบาลส่วนกลางร้อยละ 30และคงไว้ที่เชียงใหม่มหานคร ร้อยละ 70 ซึ่งจะเป็นการตอบคำถามที่ว่าแล้วเชียงใหม่มหานครมีรายได้เพียงพอหรือ  เพราะในปัจจุบันกฎหมายกำหนดให้ท้องถิ่นเก็บภาษีได้เพียงจิ๊บจ๊อย เช่น ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีโรงเรือน ภาษีป้าย ภาษีล้อเลื่อน ฯลฯ แต่เมื่อเปลี่ยนโครงสร้างภาษีไปเช่นนี้แล้วปัญหาในเรื่องรายได้ก็จะหมดไป แล้วต่อคำถามที่ว่าแล้วใครจะเป็นคนเก็บล่ะ คำตอบก็คือผู้มีหน้าที่นั่นแหล่ะเป็นผู้เก็บ ซึ่งก็คือ สรรพากร สรรพสามิต ศุลกากร ฯลฯ ที่เป็นข้าราชการหรือหน่วยงานสังกัดเชียงใหม่มหานครนั่นเอง ซึ่งอัตราส่วนแบ่งภาษีนี้อย่าว่าแต่ญี่ปุ่นมีส่วนแบ่ง 30/70 เลย จีนที่ถึงแม้ว่าจะมีการควบคุมสิทธิทางการเมืองอย่างเคร่งครัดยังมีส่วนแบ่ง ภาษี 40/60 เลย
ปฏิกิริยาที่มีต่อปรากฏการณ์ครั้งนี้ได้รับตอบรับกระจายไปทั่วประเทศ ประชาชนจังหวัดต่างๆถึง 45จังหวัดประกาศตัวเป็นแนวร่วมโดยให้เชียงใหม่เป็นจังหวัดที่นำร่องไปก่อน บางจังหวัดถึงกับทำป้าย ทำเสื้อยืด เสื้อแจ็กเก็ตหรือแม้กระทั่งการขึ้นป้ายขอจัดการตัวเอง โดยเฉพาะในจังหวัดเชียงใหม่เองมีการรณรงค์จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นต่อร่าง พรบ.ฯในพื้นที่ทั้ง 25 อำเภอกันอย่างคึกคัก
แน่นอนว่าเรื่องใหญ่ๆเช่นนี้ ย่อมมีทั้งคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยเพราะความเข้าใจว่าอาจจะกระทบต่อ สถานภาพของตนเองหรือกังวลในผลที่จะตามมาเพราะความไม่ไว้วางใจในคุณภาพของคน ไทยกันเอง ซึ่งในเรื่องของความเห็นนั้นเป็นธรรมดาที่อาจะเห็นแตกต่างกันได้ แต่เมื่อได้พูดคุยและทำความเข้าใจกันแล้ว หากไม่มีอคติจนเกินไปนักก็ย่อมที่จะเห็นด้วยต่อการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ ซึ่งในการรณรงค์นี้ได้มีตอบคำถามที่เป็นมายาคติและข้อสงสัยที่ว่า
1) เป็นการแบ่งแยกรัฐ
ไม่จริง เพราะแม้จะไม่มีราชการส่วนภูมิภาค รัฐก็ยังคงเป็นรัฐเดี่ยวเหมือน เช่น ญี่ปุ่น เป็นต้น อีกทั้งยังมีสถาบันกษัตริย์เป็นประมุขเช่นเดียวกันกับไทย และท้องถิ่นจะไม่ทำอยู่ 4 เรื่อง คือ การทหาร การต่างประเทศ ระบบเงินตรา และ ศาล
2) กระทบต่อความมั่นคง
ไม่จริง เพราะแม้แต่เกาหลีใต้ซึ่งไม่มีราชการส่วนภูมิภาคและยังอยู่ในสภาวะประกาศ สงครามกับเกาหลีเหนืออยู่เลย ก็ไม่ได้มีปัญหาในเรื่องนี้แต่อย่างใด
3) รายได้ท้องถิ่นยังไม่เพียงพอ
ก็แน่นอนสิครับ เพราะปัจจุบันเปิดโอกาสให้ท้องถิ่นเก็บภาษีได้จิ๊บจ๊อย เช่น ภาษีป้าย ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีโรงเรือน ภาษีล้อเลื่อน ฯลฯ แล้วจะเอารายได้ที่ไหนมาเพียงพอ แต่ร่าง พรบ.ฯนี้กำหนดให้รายได้ที่เกิดขึ้นในท้องถิ่นทั้งหมดจะถูกจัดเก็บโดยท้อง ถิ่น แล้วจัดส่งไปส่วนกลาง 30 เปอร์เซ็นต์ เอาไว้ใช้ในท้องถิ่น 70 เปอร์เซ็นต์ ซึ่ง 30 เปอร์เซ็นต์นั้นก็จะไปช่วยเหลือที่อื่นที่ยากจน เช่น ญี่ปุ่นก็ส่งไปให้ฮอกไกโดหรือโอกินาวา เป็นต้น      
4) อบจ./อบต./เทศบาลจะมีอยู่หรือไม่
ในร่าง พรบ.ฯนี้กำหนดไว้ให้มีการปกครองท้องใน 2ระดับ คือ ระดับเป็นชียงใหม่มหานคร ส่วนระดับล่างเป็นเทศบาล ซึ่งแตกต่างจากกรุงเทพมหานครเป็นการปกครองท้องถิ่นระดับเดียวโดยรวมศูนย์ อยู่ที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานครที่เดียว แต่ในรูปแบบใหม่นี้ อบจ.หรือองค์การบริหารส่วนจังหวัดจะหายไปกรณีของเชียงใหม่ก็จะมีเชียงใหม่ มหานครเข้ามาแทน ซึ่งเป็นการปกครองท้องถิ่นในระดับบน ส่วนในระดับล่างก็เป็นเทศบาลเหมือนกันหมดไม่มีการแยกเป็นเทศบาลหรือ อบต.เพราะปัจจุบันบางตำบลมีทั้งเทศบาลและอบต.อยู่ในตำบลเดียวกัน         ความสัมพันธ์ระหว่างระบนกับระดับล่างเป็นไปในลักษณะแบ่งหน้าที่กันทำ มิใช่การบังคับบัญชา
5) จะเอาข้าราชส่วนภูมิภาคไปไว้ไหน/นายอำเภอยังมีอยู่หรือไม่
ผู้ว่าราชการจังหวัดมาจากการเลือกตั้งมีวาระ 4 ปี ผู้ว่าราชการจังหวัดเดิมและข้าราชการส่วนภูมิภาคก็มีทางเลือกว่าจะกลับไป สังกัดกระทรวง ทบวง กรมที่ส่วนกลางก็ได้หรือเลือกจะอยู่ในพื้นที่ก็สังกัดเชียงใหม่มหานคร เป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่น ส่วนนายอำเภอที่มาจากการแต่งตั้งจากกรมการปกครองก็จะหมดไป มีผู้อำนวยการเขตซึ่งเป็นข้าราชการสังกัดเชียงใหม่มหานครทำหน้าที่เป็นผู้ ประสานงาน มิใช่เป็นเช่นผู้อำนวยการเขตแบบ กทม.ที่มีอำนาจล้นเหลือเช่นในปัจจุบัน
6) เขตพื้นที่อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน จะหายไป
ไม่จริง เขตการปกครองยังเหมือนเดิม แต่จะเรียกเป็น เขต แขวง แทน
7) กำนันผู้ใหญ่บ้านยังคงมีอยู่หรือไม่  หากยังคงมีอยู่จะมีบทบาทอะไร
ยังคงมีอยู่ดังเช่นกรุงเทพมหานคร แต่บทบาทในด้านการพัฒนาจะหมดไปเพราะเป็นหน้าที่ของท้องถิ่นซึ่งมีงบประมาณ เป็นของตนเอง แต่กำนันผู้ใหญ่บ้านจะมีบทบาทเพิ่มขึ้นในด้านการรักษาความสงบเรียบร้อยใน ฐานะหัวหน้าฝ่ายรักษาความสงบเรียบของตำบลและหมู่บ้านตามกรณี มีอำนาจจับกุมคุมขังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
8) ประชาชนยังไม่พร้อม ยังไม่มีการศึกษาที่ดีพอ
ไม่จริง เพราะคำกล่าวที่ว่า “ประชาชนเป็นอย่างไร ผู้แทนเป็นอย่างนั้น” จะเห็นได้จากผู้แทนของคนกรุงเทพยังชกต่อยกันในสภาแต่ผู้แทนของคนจังหวัดอื่น ยังไม่ปรากฏ และในตำบลหมู่บ้าน ตลาดสด เดี๋ยวนี้ชาวบ้านร้านค้าเขาไม่คุยกันแล้วเรื่องละครน้ำเน่า ถึงคุยก็คุยน้อย แต่คุยเรื่องการเมืองกันทั้งนั้น ที่สำคัญเป็นการเมืองนอกสื่อกระแสหลักเสียด้วยสิ
9) นักเลงครองเมือง
ไม่จริง ตัวอย่างผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่ละคนก็ไม่เห็นขี้เหร่สักคน(ถึงแม้ว่า จะมีคนขี้เหร่สมัครแต่ก็ไม่เคยได้รับการเลือกตั้ง) ที่สำคัญก็คือผู้ว่าราชการจังหวัดในปัจจุบันแต่ละคนล้วนแล้วมาจากการแต่ง ตั้งซึ่งในบางยุคถึงกับมี “แก๊งแต่งตั้ง”ซึ่งเข้าใจง่ายก็คือถูกแต่งตั้งมาจากนักเลงนั้นเอง แต่อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะได้ผู้ว่าฯเป็นนักเลง อย่างน้อยก็ประชาชนเลือกตั้งเข้ามาด้วยมือของเขาเอง ไม่ได้ลอยมาจากไหนก็ไม่รู้เช่นในปัจจุบัน ถ้าเปรียบเทียบแล้วผู้ว่าฯที่มาจากการเลือกตั้งย่อมพบง่ายเข้าใจง่ายและต้อง เอาใจประชาชนที่เลือกเขาเข้ามา มิใช่คอยเอาใจเจ้านายที่ส่วนกลางที่เป็นคนแต่งตั้งเขา
10) ซื้อเสียงขายเสียง
อาจจะจริง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าปัจจุบันนี้จะดีกว่า และก็มิใช่ว่าใครมีเงินมากกว่าแต่มิได้ทำคุณงามความดีอะไรเลย หิ้วกระเป๋าบรรจุเงินไปแล้วจะได้รับเลือกตั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่เขาจะต้องกุมชะตาชีวิตประจำวันเขาอย่างใกล้ชิด ที่สำคัญจะซื้อคนทั้งจังหวัดไหวหรือ
11) ทุจริตคอรัปชัน/เปลี่ยนโอนอำนาจจากอำมาตย์ใหญ่ไปสู่อำมาตย์เล็ก
ร่าง พรบ.ฯนี้กำหนดให้มีสภาพลเมืองหรือลูกขุนพลเมือง(Civil Juries)คอยถ่วงดุลและตรวจสอบการทำงานของทั้งฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ แล้วชี้มูลหรือส่งฟ้องศาล ซึ่ง กทม.ไม่มีเช่นนี้ ฉะนั้น จึงมิใช่การถ่ายโอนอำนาจจากอำมาตย์ใหญ่ไปสู่อำมาตย์เล็ก เพราะปัจจุบันนี้ท้องถิ่นต่างๆก็ทำตัวเป็นอำมาตย์เล็กอยู่แล้วดังจะเห็นได้ จากการขออนุมัติ อนุญาตต่าง ต้องเสียเบี้ยไบ้รายทางตลอด แต่เมื่อเรามีสภาพลเมืองหรือลูกขุนพลเมืองคอยตรวจสอบแล้ว สภาพเช่นนี้จะดีขึ้นกว่าปัจจุบันอย่างแน่นอน อีกทั้ง สตง., ปปช., ฯลฯ ก็ยังคงมีเหมือนเดิม
12) ผิดกฎหมาย
ไม่จริง เพราะเป็นการใช้สิทธิที่มีรัฐธรรมนูญมาตรา 281 ถึงมาตรา 290 รองรับไว้
จากตัวอย่างของการณรงค์เรื่องเชียงใหม่มหานครนี้นับได้ว่าเป็นจุดเปลี่ยน ของประเทศไทยที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง หลังจากที่การปกครองท้องถิ่นไทยหรือการกระจายอำนาจของไทยมีความก้าวหน้าไป อย่างเชื่องช้าดังเหตุปัจจัยที่ได้กล่าวไว้แล้วในเบื้องต้น แต่หลังจากที่ได้มีการขับเคลื่อนประเด็นเชียงใหม่มหานครขึ้นแล้วมีการตื่น ตัวกันอย่างมาก ไม่เพียงเฉพาะประชาชนชาวเชียงใหม่เท่านั้น แต่ยังมีแนวร่วมอีกถึง 45 จังหวัดที่พร้อมจะขับเคลื่อนตามมาหากเชียงใหม่ทำสำเร็จ
การขับเคลื่อนเชียงใหม่มหานครนี้จะช้าหรือเร็วต้องประสบความสำเร็จอย่าง แน่นอน และผมขอยกคุณงามความดีที่ผมได้มีโอกาสได้มาใช้ชีวิตที่ญี่ปุ่นในช่วงระยะ เวลา ซึ่งได้พบเห็นสิ่งดีๆมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือรูปแบบการปกครองท้องถิ่นที่ผมได้นำไปเป็นแบบอย่างในการ ยกร่าง พรบ.เชียงใหม่มหานครฯ นี้ และคิดว่าคณะทำงานของเชียงใหม่มหานครคงจะได้มีโอกาสมาศึกษาดูงานการเมืองการ ปกครองของญี่ปุ่น ณ มหาวิทยาลัยเกียวโตแห่งนี้เมื่อ พรบ.เชียงใหม่มหานครฯผ่านสภาแล้ว
ขอขอบคุณทุกๆท่านครับ/สวัสดีครับ

ทางการพม่ากวาดจับนักกิจกรรม ก่อนวันรำลึกนายพลเนวินสั่งปราบนักศึกษา

ที่มา ประชาไท

 
นับเป็นการจับกุมนักศึกษาระลอกใหญ่นับตั้งแต่พม่าดำเนินการปฏิรูป ประเทศ ขณะที่ตำรวจบอกผู้นำนักศึกษาว่า "อย่าขุดคุ้ยอดีต" ท่ามกลางกระแสปฏิรูปหลายด้านในพม่า รวมทั้งการที่รัฐบาลพม่าอนุมัติการลาออกให้รองประธานาธิบดีสายอนุรักษ์นิยม "ทิน อ่อง มิ้นต์ อู"


อาคารสหภาพนักศึกษาพม่า ในมหาวิทยาลัยย่างกุ้ง ก่อนถูกนายพลเนวินสั่งระเบิดทิ้งในวันที่ 7 ก.ค. ปี พ.ศ. 2505 (ที่มา: อิระวดี)
สำนักข่าวอัลจาซีร่า รายงานเมื่อคืนวานนี้ว่า มีผู้นำนักศึกษาอย่างน้อย 20 รายถูกจับเมื่อคืนนี้ โดยเป็นการจับกุมผู้นำนักศึกษาครั้งใหญ่นับตั้งแต่รัฐบาลทหารถ่ายโอนอำนาจ โดยนักกิจกรรมกล่าวว่า การจับกุมเกิดขึ้นในคืนที่จะมีการชุมนุมเพื่อรำลึกการปราบปรามนักศึกษา
"มี 5 คนถูกจับที่ย่างกุ้ง 5 นักกิจกรรมนักศึกษาถูกจับที่ชเวโบ หกคนที่มัณฑะเลย์ และอีก 4 คนที่ล่าเสี้ยว" เต็ต ซอว์ หนึ่งในผู้นำนักศึกษาในเหตุการณ์ปราบปรามนักศึกษาเมื่อปี 2531 หรือ รุ่น'88 กล่าว
นักกิจกรรมรุ่น'88 คนอื่นๆ กล่าวว่า คนที่ถูกจับที่ย่างกุ้ง ถูกจับโดยไม่มีการตั้งข้อหาอะไร แต่เจ้าหน้าที่กล่าวว่า "ต้องการพูดคุยกับพวกเขา"
ผู้ที่ถูกจับโดยตำรวจสันติบาลของพม่า ประกอบด้วย นักศึกษารุ่น'88 นักศึกษากลุ่มสหภาพนักศึกษารุ่นใหม่ ซึ่งเป็นนักศึกษายุคการประท้วงสมัยปฏิวัติชายจีวรในปี 2550 และนักศึกษากลุ่มสหพันธ์นักศึกษาพม่าทั้งมวล (ABFSU)
ทั้งนี้พม่ามีการปฏิรูปในหลายด้าน นับตั้งแต่เต็งเส่งขึ้นมามีอำนาจเมื่อปีที่แล้ว รวมทั้งเรื่องการปล่อยตัวนักโทษการเมืองและมีการเลือกตั้งซึ่งทำให้มี ส.ส.พรรคฝ่ายค้านอยู่ในสภา ขณะที่การประท้วงแสงเทียนเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เพื่อประท้วงเรื่องกระแสไฟฟ้าไม่พอใช้ในประเทศ เจ้าหน้าที่ตำรวจพม่าทำแต่เพียงเรียกผู้นำการประท้วงไปสอบสวนแล้วปล่อยตัว โดยไม่ได้ตั้งข้อหา
ผู้นำฝ่ายค้านอย่างนางออง ซาน ซูจี กล่าวระหว่างการเยือนยุโรปเมื่อสัปดาห์ก่อนเรียกร้องให้รัฐบาลปล่อยนักโทษ การเมืองที่เหลืออยู่ และขณะที่เกิดเหตุจับกุมนักศึกษา นางออง ซาน ซูจีอยู่ที่เนปิดอว์เพื่อร่วมประชุมรัฐสภา และมีกำหนดที่จะร่วมแถลงในรัฐสภาในวันจันทร์นี้ (9 ก.ค.)
ทั้งนี้ นักศึกษาที่ถูกจับกุมในหลายเมือง วางแผนที่จะเดินขบวนรำลึกเหตุการณ์ "7 ก.ค. 1962" ซึ่งวันที่นายพลเนวินสั่งปราบนักศึกษาพม่าจนมีผู้เสียชีวิต และต่อมาได้มีการระเบิดทำลายอาคารของนักศึกษาพม่า
ขณะที่ก่อนหน้านี้มีรายงานว่าตำรวจที่ภาคมัณฑะเลย์ กล่าวเมื่อวันพฤหัสบดี (5 ก.ค.) โดยเตือนบรรดานักศึกษาว่า "อย่าขุดคุ้ยอดีต"

รองประธานาธิบดีสายอนุรักษ์นิยมได้รับอนุมัติให้ลาออกแล้ว
ด้านออง ซาน ซูจียืนยันจะใช้คำว่า "เบอร์ม่า"

ขณะเดียวกัน สาละวินโพสต์ รายงานว่า ที่ประชุมรัฐสภาพม่า ได้รับรองการลาออกของนายทิน อ่อง มิ้น อู รองประธานาธิบดี โดยการลาออกจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ก.ค. โดยทิ่น อ่อง มิ้น อู เป็นอดีตนายพลที่มีความสนิทสนมกับนายพลอาวุโสตานฉ่วย และยังเป็นที่รู้จักในฐานะฝ่ายอนุรักษ์นิยมที่ไม่เห็นด้วยกับแนวทางปฏิรูป ประเทศของประธานาธิบดีเต็งเส่ง ขณะที่มีกระแสข่าวออกมาว่า ประธานาธิบดีเต็งเส่งเตรียมที่จะปรับคณะรัฐมนตรี โดยเตรียมจะปลดและลดบทบาทรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่ระดับสูงหลายคนที่มีแนวคิด หัวอนุรักษ์นิยมขัดแย้งกับเขา เพื่อให้การปฏิรูปประเทศเป็นไปอย่างราบรื่นมากขึ้น
ส่วนกรณีที่ กกต.พม่า ตีพิพม์ประกาศในหนังสือพิมพ์นิวไลท์ออฟเมียนมาร์ เตือนออง ซาน ซูจี และพรรคฝ่ายค้านให้ปฏิบัติตามกฎหมายด้วยการเรียกชื่อประเทศว่า "เมียนมาร์" แทนคำที่นางออง ซาน ซูจีใช้ระหว่างเยือนยุโรปว่า "เบอร์ม่า" นั้น (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)
ล่าสุดเมื่อ 5 ก.ค. มติชนออนไลน์ รายงานว่า นาออง ซาน ซูจี กล่าวระหว่างแถลงข่าวที่บ้านพักในนครย่างกุ้งว่า เสรีภาพในการพูดและแสดงความคิดเห็นเป็นพื้นฐานของประชาธิปไตย เธอมีสิทธิจะเรียกชื่อประเทศพม่าต่อไปในแบบที่เธอต้องการจะเรียก และว่ารัฐบาลทหารพม่าในอดีตทำไม่ถูกต้อง ที่เปลี่ยนชื่อประเทศจาก "เบอร์มา" เป็น "เมียนมาร์" โดยที่ไม่ได้สอบถามความคิดเห็นจากประชาชนก่อน

แปลและเรียบเรียงจาก
Student leaders arrested in Myanmar, Aljazeera, 6 July 2012,

Authorities Block Plans to Commemorate Key Anniversary By YAN PAI / THE IRRAWADDY July 6, 2012

ศาล รธน.นัดตัดสินแก้ รธน. 13 ก.ค. นี้

ที่มา ประชาไท

 

ศาลรัฐธรรมนูญนัดแถลงคำวินิจฉัยการแก้ไขรัฐธรรมนูญวันศุกร์ที่ 13 ก.ค. เวลา 14.00 น. "เลขากฤษฎีกา” แจง รบ.ประกาศให้ทำประชามติ
 
6 ก.ค. 55 - เว็บไซต์คมชัดลึกรายงาน ว่าคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหลังจากออกนั่งบัลลังก์เพื่อไต่สวนพยานทั้งผู้ ร้องและผู้ถูกร้องกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญรับพิจารณาว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เข้าข่ายเป็นการล้มล้างการปกครองตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 หรือไม่ครบถ้วนแล้ว จนกระทั่งเวลาเมื่อเวลา 21.00 น.นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้กล่าวก่อนอ่านสรุปกระบวนการพิจารณาว่า คดีนี้ ทอดเวลาไปนาน มีแต่เรื่องไม่เป็นมงคล ดังนั้นถ้าตัดสินเร็วเกินไป ก็หาว่าลุกลี้ลุกลน มีธง แต่หากตัดสินล่าช้า ก็จะถูกกล่าวหาว่าดึงเกม สรุปแล้วไม่ว่าทำอะไรก็ผิด
 
ประธานตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวต่อว่า ดังนั้นศาลให้เวลาพอสมควร หากจะยื่นคำแถลงปิดคดีให้ยื่นมาภายในวันพุธที่ 11 ก.ค. จากนั้นและวันศุกร์ที่ 13 ก.ค. ศาลจะนัดวินิจฉัยคดี เวลา 14.00 น. เบื้องต้นการตัดสินจะดูประเด็นข้อกฎหมาย วิธีการ และพฤติการณ์ที่เกี่ยวข้อง ส่วนตัวมองว่าหากยื้ดเยื้อไปก็มีแต่ปัญหามากขึ้น
 
"เลขากฤษฎีกา”แจงรบ.ประกาศให้ทำประชามติ
 
ก่อนหน้านี้เวลา 20.00 น. นายอัชพร จารุจินดา เลขาธิการสำนักงานกฤษฎีกา ในฐานะผู้แทนครม. ผู้ถูกร้องที่ 2 ไต่สวนต่อศาลว่า ก่อนการบริหารประเทศรัฐบาลได้มีการหาเสียงไว้ตอนเลือกตั้งและได้แถลงนโยบาย ต่อรัฐสภาเป็นสัญญาประชาคมว่า รัฐบาลจะปฏิรูปการเมืองให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากที่สุดคือจะต้องมีการแก้ไข รัฐธรรมนูญและให้มีการทำประชามติ ซึ่งเป็นคำมั่นที่ผูกพันทางกฎหมาย ไม่ทำก็ผิดรัฐธรรมนูญเอง และต่อมา เมื่อประชาชน ส.ส.มีการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญทำให้ครม.ทำตามที่ได้แถลงไว้ จึงมอบให้กระทรวงยุติธรรมดำเนินการ และเสนอครม. และกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเหมือนการตรากฎหมายปกติ โดยรัฐบาลได้ย้ำกฤษฎีกาไป 2 เรื่องว่า เนื้อหาการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เสนอ ต้องไม่มีบทบัญญัติที่เป็นการล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระ มหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และให้ประชาชนมีส่วนร่วมทุกขั้นตอน 
 
นายอัชพร กล่าวว่า ในการตรวจพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของกฤษฎีกาได้มีการตรวจกฎหมายที่เกี่ยว ข้องทุกฉบับ รวมถึงรัฐธรรมนูญในอดีต เห็นว่ามาตรา 291 ของรัฐธรรมนูญมีข้อความเหมือนรัฐธรรมนูญในอดีต และเมื่อดูถึงองค์ที่จัดทำร่างรัฐธรรมนูญก็พบว่ามีการตั้งส.ส.ร.ในการยกร่าง รัฐธรรมนูญในปี 2489 และ 2540 และ 2550 และการแก้ไขสามารถแก้ไขเป็นรายมาตรามากน้อยแล้วแต่ผู้เสนอ หรือมีการเพิ่มบทบัญญัติใหม่ก็ได้ ซึ่งการเพิ่มบทบัญญัติใหม่ครั้งนี้ยึดจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2538 ที่กลายมาเป็นรัฐธรรมนูญ 2540 ดังนั้นถ้าจะมีการตีความว่าสามารถแก้ไขทั้งฉบับได้หรือไม่ ก็ต้องตีความในสองลักษณะนี้ ซึ่งถ้าผ่านหลักเกณฑ์ของสภาในวาระ 3 บทบัญญัติที่มีการแก้ไขหรือเพิ่มเติมก็จะแทรกอยู่ในรัฐธรรมนูญ 2550 และมีผลบังคับใช้ทั่วไป ดังนั้นที่ว่าครม.กระทำขัดมาตรา 68 นั้น ครม.เห็นว่ายังไม่มีการกระทำตามขั้นตอนดังกล่าว
 
“ซึ่งคำว่าและของรัฐธรรมนูญมาตรา 68 นั้น ขอชี้แจงต่อศาลว่า ในภาษาไทยไม่อาจตีความขยายไปในประโยคก่อนหน้านั้นได้ เพราะจะทำให้สภาพของกฎหมายมีปัญหา ดังนั้น การดำเนินการของผู้ร้องจึงไม่ต้องตามมาตรา 68”  นายอัชพร กล่าว
 
นายอัชพร กล่าวอีกว่า การจะยื่นตามมาตรา 68 ได้จะต้องมีการกระทำที่เป็นการล้มล้างการปกครอง แต่สิ่งที่ครม.ดำเนินการเป็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญตามกระบวนการรัฐธรรมนูญมาตรา 291 คือมีการห้ามมิให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญมีบทบัญญัติที่เป็นการล้มล้างการ ปกครองฯ เปลี่ยนแปลงรูปแบบรัฐ ครบตามที่รัฐธรรมนูญมาตรา 291 บัญญัติไว้ และกำหนดกรอบในการทำงานของส.ส.ร.ไว้ ว่าในการยกร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญให้นำรัฐธรรมนูญฉบับที่เป็นประชาธิปไตยมากที่ สุดมาเป็นต้นแบบ ซึ่งตนเห็นว่าคือรัฐธรรมนูญปี 2540
 
จากนั้นได้มีการซักค้านจากฝ่ายผู้ร้อง โดยพล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม ได้พยายามซักค้านว่าในการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาของรัฐบาลนี้ที่ว่าจะมีการ แก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น มีการคัดค้านแต่เนื่องจากจำนวนมือในสภามีน้อย ส่งผลให้การคัดค้านทำไม่สำเร็จ และขณะนั้นผู้ที่คัดค้านยังไม่มีการกระทำใดเกิดขึ้น จึงยังไม่มีการคัดค้าน และถ้านายอัชพรเห็นตรงกับที่นายโภคิน พลกุล ชี้แจงว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญกำหนดว่าห้ามแก้ใน 2 เรื่องแล้ว เรื่องอื่นๆ แก้ได้ ทำไมจึงไปบัญญัติไว้ว่า ต้องให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญมาตรา 291/17-18
 
นายอัชพร กล่าวว่า นอกจากข้อห้าม 2 ข้อแล้ว เห็นด้วยว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างไรก็ได้ และที่รัฐบาลไม่ดำเนินการไปเลย เพราะได้ให้สัญญากับประชาชนว่าให้มีรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน พล.อ.สมเจตน์ได้ซักต่อว่า การที่ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291/16 บัญญัติว่าหากร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญนี้ตกไปให้สมาชิกไม่น้อยกว่า 1ใน 3 มีสิทธิเสนอให้จัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ ในกรณีนี้หมายถึงหากมีการตกไปของร่างรัฐธรรมนูญก็มีการเสนอใหม่จนกว่าจะ สามารถทำให้รัฐธรรมนูญ 2550 สิ้นไปหรือไม่ นายอัชพร กล่าวว่า จะต้องไปดูในวรรคสองจะมีเงื่อนไขของการตกไปคือ 1.ตกไปเพราะขัดข้อห้ามยกเลิกทั้ง 2 ข้อ 2.รัฐธรรมนูญร่างไม่เสร็จ 3.องค์ประกอบของสภาร่างไม่ครบ ไม่ใช่ประชาชนลงประชามติไม่เอาแล้ว สมาชิกรัฐสภาจะเสนอขึ้นมาใหม่ได้
 
อย่างไรก็ตามนายอัชพร กล่าวว่า ส่วนตัวรู้สึกว่าประชาชนผ่านประสบการณ์แก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2540-50 มา การที่จะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญอีกครั้งน่าจะเป็นโอกาสให้กับประชาชนอีกครั้ง หนึ่งที่จะได้ใช้ประสบการณ์บทเรียนทำรัฐธรรมนูญครั้งสุดท้ายที่สอดคล้องกับ ความประสงค์ของประชาชนมากที่สุด และการมาร่วมจัดทำรัฐธรรมนูญนี้น่าจะเป็นเวทีให้ทุกฝ่ายได้พูดคุยกันใน ประเด็นที่ขัดข้องจนไปสู่จุดจบที่ทุกคนตกลงกันได้
 
จากนั้นนายสุวัตร์ อภัยภักดิ์ ตัวแทนผู้ถูกร้องที่2 ซักค้านว่า ถ้ารัฐบาลไม่ทำตามนโยบายที่แถลงไว้มีความผิดหรือไม่ และที่ไม่ทำอีกหลายเรื่อง เอาผิดได้หรือไม่ และถ้ามีการแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้วรัฐบาลและสมาชิกรัฐสภาจะยังคงอยู่ต่อไปหรือ ไม่ นายอัชพร กล่าวว่า ถ้าไม่ทำตามนโยบายที่แถลงไว้ก็ผิดอาจถูกถอดถอนได้ ส่วนแก้รัฐธรรมนูญแล้ว รัฐบาลและรัฐสภาจะอยู่ต่อไปหรือไม่ ขึ้นอยู่กับเนื้อหาในบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งยังตอบไม่ได้ว่า เนื้อหาจะออกมาอย่างไร
 
อย่างไรก็ตามในตอนท้ายตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคนหนึ่ง ได้ถามพยานถึงกรณีที่ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญจะมีการบัญญัติมาตรา 291 ตามรัฐธรรมนูญปี 2550 หรือไม่ รวมถึงจะมีการบัญญัติมาตรา 68 โดยระบุว่าห้ามมีการแก้ไขหรือยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้เลยหรือไม่
 
ซึ่งนายอัชพร ตอบว่า ตนไม่คิดว่าร่างรัฐธรรมนูญน่าจะคงมีอยู่ แต่ปัญหาที่จะไม่ให้เกิดการแก้ไขรัฐธรรมนูญใหม่นั้น คงต้องมีอีกแน่ แต่อย่างไรก็ตามถ้าหากว่าไม่อยากให้มีการแก้รัฐธรรมนูญเกิดขึ้นอีกไม่ ก็ต้องมีการระบุถึงคะแนนเสียงในการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้สูงขึ้นอีก เพื่อเป็นการป้องกันทำให้เกิดการแก้ไขรัฐธรรมนูญได้อีก ทั้งนี้คิดว่าคงไม่มีการระบุคำว่าห้ามหรือยกเลิกแก้ไขรัฐธรรมนูญลงไปในมาตรา 68 หากมีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แน่นอน

นายกปู เดินหน้าบัตรเครดิตเกษตรกร

ที่มา thaifreenews




ในขณะที่ ในศาลรัฐธรรมนูณกำลังและตุ้มแป๊ะกันอยู่
นายกปู ยิ่งลักษณ์ เดินหน้าทำงาน บัตรสินเชื่อเพื่อเกษตรกร
เพื่อให้เกษตรกร ที่ยังอยากจนอยู่ได้มีโอกาส
มีเครดิตในการซื้ออุปกรณ์ ที่จำเป็นในการเกษตร มาใช้เพื่อเพิ่มผลผลิตของตนเอง
เพิ่มความสามารถในการแข่งขันกับรายใหญ่ๆที่มีความพร้อมของเงินทุนมากกว่า

ล้านคำบรรยาย การ์ตูนเซีย 07/07/55 กองกำลังจำอวดพิทักษ์ตลก....

ที่มา blablabla

โดย 

 ภาพถ่ายของฉัน

 

 แก่หงำเหงือก เสือกตอกย้ำ ระยำคิด
ลืมถูกผิด หรืออวดโง่ โธ่..สหาย
ถูกเขาจูง แอบอ้าง สร้างวุ่นวาย
เลือด ใจ กาย ขายวิญญาณ สามานย์ชน....


เป็นได้แค่ กองกำลัง หวังจำอวด
สร้างเจ็บปวด ปลายชีวิต จิตสับสน
ขายวิญญาณ นักรบผี ที่สัปดน
หลอกแม้ตน ว่าทุกสิ่ง ล้วนจริงใจ....


กระย่องกระแย่ง ยึกยัก พิทักษ์ตลก
ดั่งพวกนก โผผิน บินไม่ไหว
จากป่าทึบ มีศักดิ์ศรี ที่เหนือใคร
คิดยังไง ยอมคุดคู้ อยู่ใต้ตีน....


คอมมิวนิสต์ คืนชีพ รีบลงหลุม
เหมือนจนมุม วกวน คนทุศีล
สร้างบ้านเมือง ให้วุ่นวาย แล้วป่ายปีน
เลวทั้งสิ้น ยังรวมหัว ทำชั่วทราม....


แค่จำอวด พวกระยำ ทำให้เห็น
เปิดประเด็น อย่างไร ไม่ต้องถาม
คนเบื้องหลัง เขียนบทให้ ใครก็ตาม
หวังสร้างเงื่อน ให้ลุกลาม หยามคนไทย....


๓ บลา / ๗ ก.ค.๕๕

ชวนดูหนังฝรั่ง(เศส):ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป

ที่มา Thai E-News

 




9 ชั่วโมงที่แล้ว 


Ridicule (1996, Patrice Leconte)





การดูหมิ่นเหยียดหยามเป็นหัวใจของอารมณ์ขัน (และไม่ใช่ในทางกลับกัน) บ้านเมืองเราอาจจะมีอะไรเหมือนกับศตวรรษที่ 18 ช่วงสุดท้ายของสมบูรณาญาสิทธิราชฝรั่งเศสพอสมควร


ในราชสำนักของหลุยส์ที่ 16 การเหยียดหยามเป็นศิลปะ, ความจริงใจเป็นเรื่องน่าขายหน้า การใช้ไหวพริบและวาจาเชือดเฉือนกันเป็นวิทยายุทธชั้นสูง ยิ่งยอกย้อนและเลือดเย็นเท่าไร ก็เป็นที่โปรดปรานของกษัตริย์ (และนำไปสู่การเลื่อนฐานะ) มากเท่านั้น

พระเอกเป็นลูกชาวนาที่ต้องการ "เข้าวัง" เพราะเป็นทางเดียวที่จะแก้แค้นและช่วยคนในหมู่บ้านพร้อมกัน หนทางคือต้องมีผลงานอันประจักษ์ นั่นคือแสดงฝีปากให้เป็นที่พึงพระทัยของหลุยส์ ฉากแรกเหมือนหนังจีนกำลังภายใน คือสาธิตว่าการเหยียดหยามหรือ "ฆ่า" กันด้วยคำพูดนั้นซีเรียสขนาดไหน และเมื่อเรื่องดำเนินไป ก็อดไม่ได้ที่จะนึกถึงหนังจีนอีก เพราะพระเอกต้องฝึกฝนพลังของโวหารอยู่นานกว่าจะเข้าสู่สนามประลองฝีมือต่อหน้าพระพักตร์




ศิลปะของการ ridicule ไม่ใช่หยอกล้อหรืออารมณ์ขัน แต่เพื่อกด (มัน) ให้ต่ำและทำให้ (มัน) เจ็บ ตอนจบก็น่าคิด หนังจับความหลังจากราชวงศ์บูร์บองล่มสลาย และพาเราไปพบกับขุนนางคนหนึ่ง (ซึ่งไม่ใช่ตัวละครหลัก) ซึ่งลี้ภัยไปอยู่อังกฤษ หลังจากนั่งฟังเรื่องตลกแบบจืดๆ ของอังกฤษเป็นครั้งแรก ขุนนางฝรั่งเศสคนนี้ทำหน้านิ่วคิ้วขมวด "นี่น่ะเหรอที่เรียกว่า humour?" 



เขาไม่เข้าใจเลยว่าถ้าอารมณ์ขันไม่ทำร้ายคน มันจะตลกได้ยังไง

********
เรื่องเกี่ยวเนื่อง:

222ปีปฏิวัติฝรั่งเศส บทเรียนสำหรับไทย






คลิปสารคดี: The French Revolution ทางช่อง History

'เกิดขบถขึ้นรึ?' พระเจ้าหลุยส์ที่16ทรงมีพระราชดำรัสถาม...'หามิได้พระเจ้าค่ะ มันคือการปฏิวัติ' มหาดเล็กตอบ

ชมถ่ายสดงานเปิดประตูคุกให้เพื่อนเหยื่อ112

ที่มา Thai E-News



 

14.20 น.เสวนา "เปิดประตูคุกให้เพื่อน(ม.112)" ที่ห้องประชุม 14 ตุลา ถนนราชดำเนิน กทม. โดยมี สุลักษณ์ ศิสรักษ์ จอน อึ้งภากรณ์ ประวิตร โรจนพฤกษ์ ศราวุฒิ ประทุมราช และเสาวลักษณ์ โพธิ์งาม เป็นวิทยากร เสวนา(จากfacebook:ประชาไท) ติดตามชมการถ่ายทอดสดถึงเวลา 16.30 ทางอินเตอร์เน็ตคลิ้ก http://speedhorsetv.blogspot.ca/
รูปภาพ : 13.00 น. เครือข่ายญาติและผู้ประสบภัยจากมาตรา 112(กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ) "แถลงข่าวเปิดประตูคุกให้เพื่อน(ม.112)" ที่ห้องประชุม 14 ตุลา ถนนราชดำเนิน กทม. และหลังจากนี้จะมีเสวนาประเด็นดังกล่าวโดย สุลักษณ์ ศิวรักษ์ จอน อึ้งภากรณ์ ประวิตร โรจนพฤกษ์ และศราวุฒิ ประทุมราช

13.00 น. เครือข่ายญาติและผู้ประสบภัยจากมาตรา 112(กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ) "แถลงข่าวเปิดประตูคุกให้เพื่อน(ม.112)" ที่ห้องประชุม 14 ตุลา ถนนราชดำเนิน กทม. และหลังจากนี้จะมีเสวนาประเด็นดังกล่าวโดย สุลักษณ์ ศิวรักษ์ จอน อึ้งภากรณ์ ประวิตร โรจนพฤกษ์ และศราวุฒิ ประทุมราช (ที่มา:เฟซบุ๊คประชาไท)


บรรยากาศคึกคัก แถลงข่าว "เปิดประตูคุกให้เพื่อน" โดยเครือข่ายญาติผู้ต้องหาและผู้ประสบภัยจาก ม.112 ที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา (จากfacebook:ประชาไท)


คณะผู้จัดงานเปิดเผยว่า สืบเนื่องจากสถิติการจับกุมในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องหลังรัฐประหารปี2549 และมีรายงานอย่างเป็นทางการ และไม่เป็นทางการ ถึงปัญหาหลายประการที่ผู้ต้องโทษและผู้ต้องหาคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพต้องเผชิญ เช่น ไม่ได้รับการรักษาพยาบาลตามมาตรฐานสากล ไม่ได้รับสิทธิการประกันตัว ไม่ได้รับประกันสิทธิขั้นพื้นฐานจากหน่วยงานรัฐ ไม่ได้รับการยอมรับในฐานะนักโทษการเมือง เป็นต้น

ด้วยสาเหตุข้างต้น ญาติของผู้ต้องโทษและผู้ต้องหา อีกทั้งผู้ได้รับผลกระทบจากกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพหรือมาตรา 112จึงตัดสินใจรวมกลุ่มเพื่อก่อตั้งเครือข่ายญาติและผู้ประสบภัยจากกฎหมายอาญามาตรา 112 โดยมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้

1) เพื่อให้ผู้ต้องโทษและผู้ต้องหาคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพได้รับการปล่อยตัวโดยเร็วที่สุดอย่างไม่มีเงื่อนไข

2) เพื่อให้ผู้ต้องโทษและผู้ต้องขังได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญ เช่น สิทธิในการประกันตัว สิทธิในการเข้าถึงการดูแลรักษาพยาบาลภายในเรือนจำ สิทธิที่จะไม่ถูกซ้อมทรมานและทำร้ายร่างกาย เป็นต้น

นอกจากนี้ การรวมกลุ่มจัดตั้งเครือข่ายเป็นไปเพื่อแสดงความต้องการของญาติในฐานะตัวแทนของผู้ต้องโทษและผู้ต้องหา และเพื่อแสดงเจตจำนงของกลุ่มญาติในการรณรงค์เพื่อปล่อยตัวผู้ต้องโทษและผู้ต้องหาในคดีอาญามาตรา 112 


ติดตามชมการถ่ายทอดสดถึงเวลา 16.30 ทางอินเตอร์เน็ตคลิ้ก http://speedhorsetv.blogspot.ca/

ในที่สุดมันก็ลามมาถึงนี่จนได้...

ที่มา Thai E-News




เครดิต:เฟซบุ๊ค

คอมมิวนิสต์สายลุงธงประณามทปท.รอ.ขายอุดมการณ์รับใช้อำมาตย์ ย่ำยีวีรชนปฏิวัติบัดซบที่สุด

ที่มา Thai E-News

 
คอมมิวนิสต์รอ.-เว็บเพจของพรรคคอมมิวนิสต์เเห่งประเทศไทย(พคท.)ได้ ออกมาสนับสนุนการเคลื่อนไหวปกป้องตุลาการของกลุ่มที่ใช้ชื่อ ทปท.อย่างเต็มที่ รวมทั้งนำเสนอบทสัมภาษณ์สหายเก่ารายหนึ่งที่ตอบคำถามของผู้สื่อข่าวที่ถามถึงการออกมาปกป้องสถาบันกษัตริย์ว่า เราเข้าป่าก็ไม่ได้สู้กับพระเจ้าอยู่

หัวนะครับ เราสู้กับรัฐบาลเผด็จการ พระองค์ท่านมีพระัมหารุณาธิคุณมาก คำว่า"ผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย"ก็ได้รับชื่อเป็นชื่อพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


โดย คนข่าวชายขอบ
ที่มา เนชั่นสุดสัปดาห์ ฉบับที่ 1048  

มีอดีตสหายในนาม ‘ผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยเพื่อประชาชน’ ร่อน แถลงการณ์มายังกองบรรณาธิการเนชั่นสุดสัปดาห์ เพื่อแสดงจุดยืนและปกป้องเกียรติภูมิของกองทัพปลดแอกประชาชนแห่งประเทศไทย (ทปท.) อันยิ่งใหญ่ในอดีต ดังต่อไปนี้


“ปรากฏการณ์ ที่ได้มีกลุ่มผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย หรือ ผรท. จำนวนหนึ่ง เรียกตนเองว่า ‘นักรบประชาชนเพื่อประชาธิปไตย’ ได้ออกมาชุมนุมกันที่จังหวัดขอนแก่นและอุดรธานี ตามลำดับ พร้อมออกแถลงการณ์โจมตีนายจตุรนต์ ฉายแสง, นางธิดา ถาวรเศรษฐ, นายแพทย์เหวง โตจิราการ เรื่องคัดค้านคำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งจำนวนคนที่เข้าร่วมมีจำนวนหนึ่ง ...


“ส่วน ใหญ่เป็นชาวบ้านสวมบทบาทเป็น ผรท. และมีทหารจำนวนหนึ่งแต่งกายชุดทหารปลดแอกประชาชนแห่งประเทศไทย หรือ ทปท. ร่วมขบวนด้วย หลายคนเป็นเพื่อนของพวกเราเอง นี่เป็นปรากฏการณ์ใหม่ที่เป็นสีสัน และมีนัยทางการเมืองที่น่าจับตามอง ‘ผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยเพื่อประชาชน’ กลุ่มของเราที่มีเครือข่ายทั่วประเทศกำลังเฝ้าติดตามปรากฏการณ์อันเป็นสีสัน แห่งประชาธิปไตยแบบไทยนี้อย่างพินิจพิเคราะห์...        

“บัด นี้ กลุ่มชนชั้นและชั้นชนต่างๆ ในสังคม ได้แสดงจุดยืนของตนแล้วอย่างเปิดเผย เหลือเพียงแต่กาลเวลา และสังคมจะพิสูจน์ความถูก-ผิดเท่านั้น เสียตรงที่หลังฉากบนเวทีนั้น เราเห็นเงาตะคุ่มตะคุ่มของบุคคลบางกลุ่ม ยังไม่ชัดเจนนัก แต่ร้ายยิ่งกว่านั้น พวกเขายังแอบอ้างว่า ลุงธงเป็นผู้สั่งให้จัดการชุมนุมในครั้งนี้...        

เราขอแสดงความเสียใจกับกลุ่ม นักรบประชาชนเพื่อประชาธิปไตย  ที่ กล้าแสดงออกอย่างเปิดเผยโดยไม่กังวลต่อความรู้สึกของมวลชนที่ต่อสู้เพื่อ ประชาธิปไตย และขอประณามการกระทำดังกล่าวที่แอบอ้างลุง และเอาเกียรติภูมินักรบประชาชนไปรับใช้พวกอำมาตย์ มันเป็นการย่ำยีวีรชนปฏิวัติของเราที่ได้เสียสละชีวิตในการต่อสู้ที่ผ่านมา อย่างบัดซบที่สุด        

“เรา ขอชื่นชมนายจาตุรนต์ ฉายแสง (สหายสุภาพ) ที่ยืนหยัดในอุดมการณ์ประชาธิปไตย กล้าชี้ถูก - ชี้ผิดต่อคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกลไกอำนาจรัฐปฏิกิริยาล้าหลังอย่างไม่หวั่นไหวโลเล เราขอชื่นชมนางธิดา (สหายปูน) และ นายแพทย์เหวง (สหายเข้ม) ที่ยืนหยัดต่อสู้ร่วมกับมวลชนอย่างเข้มแข็งเด็ดเดี่ยว...     

“เรา ชอชื่นชม นักวิชาการ นักการเมือง ครูบาอาจารย์ ที่ใช้ความรู้ความสามารถ ความกล้าหาญ ตรวจสอบและวิจารณ์ระบบการปกครองที่ไม่เป็นธรรมตามครรลองประชาธิปไตย...        

“นี่ แสดงให้เห็นว่า ผู้คนในสังคมได้ตื่นตัวแล้ว ยากที่ใครๆ จะชักจูงได้ นอกจากพวกขายอุดมการณ์ที่ออกมาชุมนุมทวนกระแส หวังจะใช้มวลชนฆ่ามวลชน ใช้ ผรท. ที่ขายอุดมการณ์ฆ่า ผรท. ที่ยึดมั่นอุดมการณ์...        

“ขอ ให้ท่านเชื่อเถิดว่า มีแต่มวลชนเท่านั้นจึงจะเปลี่ยนแปลงโลกได้ สิ่งปฏิกูลทั้งหลายถ้าไม้กวาดไม่ถึง มันย่อมไม่หนีไปเอง ขอให้ยืนหยัดต่อสู้และใช้ไม้กวาดมวลชน กวาดสิ่งปฏิกูลสังคมลงขยะประวัติศาสตร์ให้จงได้ พวกเราได้รับการอบรมบ่มสอนจากพรรคตลอดมา ให้รับใช้ประชาชน ฉะนั้น หากการต่อสู้นั้นเพื่อประชาธิปไตยของประชาชนแล้ว เราจะยืนหยัดต่อสู้ร่วมกับท่านจนถึงที่สุด...

สังคม ไทยเราอยู่ในช่วงการเปลี่ยนผ่านไปสู่ความเป็นประชาธิปไตย การต่อสู้ระหว่างพลังประชาธิปไตยกับพลังอำมาตยาธิปไตยจะไม่หยุดนิ่ง มีแต่จะยกระดับสูงขึ้นจนกว่าความขัดแย้งดังกล่าวจะแก้ตกไป เราเชื่อว่า พลังที่เกิดใหม่เป็นธรรมและก้าวหน้า จะเข้าแทนที่พลังปฏิกิริยาที่ไม่เป็นธรรมเน่าเฟะและล้าหลังอย่างแน่นอน ดังปรากฏในประวัติศาสตร์โลกทุกยุคทุกสมัย นั่นเป็นกฎวิวัฒนาการของสังคมมนุษย์ซึ่งจะไม่หันเหไปตามเจตนาของคนเรา...        

“กลุ่ม ‘ผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยเพื่อประชาชน’ ขอแจ้ง ให้กลุ่ม ‘นักรบประชาชนเพื่อประชาธิปไตย’ ที่ออกมาต้านกระแสให้ทราบด้วยว่า เราลงจากเขาคืนสู่เมืองเพื่อร่วมพัฒนาชาติไทยให้ก้าวหน้าเป็นประชาธิปไตยตาม อุดมการณ์ของเรา...        

“ขอ ให้พวกท่านนักรบประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กลับสู่กรมกองของพวกปฏิกิริยาเถิด ไม่ต้องมาประกาศชักชวน ส่วนพวกเราจะยืนหยัดต่อสู้กับมวลชน จนกว่าจะได้รับชัยชนะ”
ถ้อย แถลงข้างต้นมาจาก ผรท. กลุ่มที่สนับสนุน ธง แจ่มศรี อดีตเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) ซึ่งพูดภาษาบ้านๆ ก็ว่าเป็น ‘ผรท. สายเสื้อแดง’

แน่ นอน ผรท. กลุ่มนี้ ย่อมมีจุดยืนตรงข้ามกับ ‘ผรท. สายเสื้อชมพู’ ที่ใกล้ชิดกับ วินัย เพิ่มพูนทรัพย์และ ผรท.สายนี้ประกาศชัดว่า ยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

***************

เรื่องเกี่ยวเนื่อง:

ธง แจ่มศรี ค้านกรรมการพรรคคอมฯเสื้อเหลือง เอียงขวาสมคบศักดินาสมบูรณาญาสิทธิราชใหม่

ตันโต้ธุรกิจไม่พันการเมืองวอนปล่อยผมไปตามทาง

ที่มา Thai E-News



เครียด-เสี่ยตันแจงผ่านfacebookเมื่อซักครู่นี้ พร้อมภาพประกอบในอารมณ์เครียดๆ ดังต่อไปนี้





ถูกใจแล้ว · 11 นาทีที่แล้ว 


วันนี้มีเรื่องยุ่งๆ ที่ผมกับอิงไม่สบายใจ...ผมไม่เคยมีความคิดเล่นการเมืองและไม่อยากเกี่ยวข้องกับปัญหาการเมืองไม่ว่าจะเบื้องหน้าหรือเบื้องหลัง


ผมจะชอบใจใคร พรรคไหนขอใช้ดุลยพินิจตัดสินใจด้วยตนเองตอนไปเลือกตั้งเมื่อถึงเวลาตามหน้าที่ของประชาชนชาวไทยอย่างแน่นอน


กรณีทำธุรกิจอสังหาฯ เรียกง่ายๆ ก็คือการซื้อมาขายไป ที่ดินเพลินจิต 1.5 ไร่ พร้อมสัญญาการเช่าปั๊มน้ำมันให้กับอีกบริษัทหนึ่งในราคาที่ผมพอใจตามปกติแค่นั้น ส่วนกรณีการซื้อที่ที่หัวหิน ก็เป็นการลงทุนกับเพื่อนแทนการฝากเงินที่แบงก์

ผมยืนยันว่าไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจใคร พรรคการเมืองไหน

ปล่อยผมไปตามทางธุรกิจเล็กๆ ของผมเถอะครับ

ยืนยันหนักแน่นอีกครั้งครับ
ตัน อิง และครอบครัว ภาสกรนที

ขอบคุณคร๊าบบบ

ก่อนหน้านี้เว็ปไซต์สำนักข่าวอิศรา นำเสนอรายงานข่าวเรื่อง  เปิดขุมข่าย“เสี่ยตัน โออิชิ”เชื่อม พานทองแท้ ชินวัตร - สรยุทธ สุทัศนะจินดา


alt
แกะ สัมพันธ์“เสี่ยตัน โออิชิ”เชื่อมธุรกิจ“พานทองแท้ ชินวัตร” และ“สรยุทธ สุทัศนะจินดา”ผ่านอสังหาฯ200 ล้าน 2 ทายาท“ทักษิณ-คุณหญิงอ้อ”กรรมการ บ.เวิร์ธ ซัพพลาย หุ้นใหญ่ โยงครบเครือข่ายการเมือง-สื่อ? 
          หลายคนอาจไม่รู้ว่าคอนเนกชันธุรกิจของนายตัน ภาสกรนที เจ้าของเครื่องดื่มชื่อดังนอกจากเชื่อมคนใกล้ชิดนายสรยุทธ สุทัศนะจินดา นักเล่าข่าวชื่อดังผ่านธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ยังโยงนายพานทองแท้ ชินวัตร บุตรชาย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี อีกคนหนึ่งด้วย
          ปัจจุบันนายพานทองแท้เป็นกรรมการบริษัท 5 แห่ง ได้แก่ บริษัท นิวโอ๊ค จำกัด บริษัท เพลินจิตอาเขต จำกัด บริษัท ว๊อยซ์ ทีวี จำกัด บริษัท โอคานิท จำกัด และ บริษัท ฮาวคัม สตูดิโอ จำกัด
          โฟกัสที่ บริษัท เพลินจิตอาเขต จำกัด เดิม ชื่อบริษัท เสถียรสุต จำกัด จดทะเบียนวันที่ 26 มกราคม 2511 ทุน 20 ล้านบาท ปัจจุบัน 200 ล้านบาท ประกอบธุรกิจให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ ที่ตั้งเลขที่ 1291/1 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร
          ผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 23 สิงหาคม 2554 จำนวน 5 ราย
1.บริษัท ตัน แอสเซ็ท จำกัด (นายตัน ภาสกรนทีเจ้าของ) 76,000 หุ้น หรือ 38% ของทุนจดทะเบียน
2.นางกิติมา ภาสกรนที 44,000 หุ้น หรือ 22%
3.นางสาวอารยา พานิชายุนนท์ 40,000 หรือ 20%
4.นายตัน ภาสกรนที 30,000 หุ้น หรือ 15%
5.นางสาวสุภาภรณ์ เจริญโสภา 10,000 หุ้น หรือ 5%
รวมทั้งสิ้น 200,000 หุ้น
          ต่อมาวันที่ 19 กันยายน 2554 บริษัท เวิร์ธ ซัพพลายส์ จำกัด เข้ามาถือหุ้นใหญ่ 199,998 หุ้น (ดูตาราง) มีกรรมการ 3 คนคือ นายพานทองแท้ ชินวัตร น.ส.แพทองธาร ชินวัตร และ นางกาญจนาภา หงษ์เหิน เลขานุการส่วนตัวคุณหญิงพจมาน ชินวัตร
          ทั้งนี้ บริษัท เวิร์ธ ซัพพลายส์ จำกัด ประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มีคนในครอบครัว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรเป็นเจ้าของ ผลประกอบการ ปี 2552 รายได้ 286,976,291.25 บาท กำไรสุทธิ 149,669,010 บาท ปี 2553 รายได้ 939,697 บาท ขาดทุนสุทธิ 534,058 บาท ปี 2554 รายได้ 925,302 บาท ขาดทุนสุทธิ 69,317 บาท
          ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าระบุว่า บริษัท ตัน แอสเซ็ท จำกัด จดทะเบียนเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2549 ทุน 500 ล้านบาท ประกอบธุรกิจให้เช่าและบริการพื้นที่ ธุรกิจให้บริการสนามฟุตบอล ที่ตั้งเลขที่ 225/11 ชั้น 1 ซอยสุขุมวิท63 (เอกมัย) แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ มีผู้ถือหุ้นใหญ่ 3 คนคือ นายตัน ภาสกรนที 2,500,000 หุ้น หรือ 50% นางสาววริษา ภาสกรนที 1,028,500 หุ้น หรือ 20.57% นางสาวสุนิสา สุขพันธุ์ถาวร 1,028,500 หุ้น หรือ 20.57% มีนายนครินทร์ พิมพรัตน์ เป็นกรรมการ
          ขณะที่ถ้าดูข้อมูลทางธุรกิจของบุคคลที่เกี่ยวโยงกับนายสรยุทธจะพบว่า น.ส.สุกัญญา แซ่ลิ่ม เป็นกรรมการบริษัท ไร่ส้ม จำกัด บริษัท หัวหิน เอส เอส แอสเซ็ท จำกัด และบริษัท ดีเอสที แอสเซ็ท จำกัด
          โฟกัสที่ บริษัท ดีเอสที แอสเซ็ท จำกัด จด ทะเบียนวันที่ 10 พฤษภาคม 2555 ทุน 100,000 บาท ประกอบธุรกิจ การให้เช่า การขาย การซื้อขายและดำเนินงานด้านอสังหาริมทรัพย์ ที่ตั้งเลขที่ 8 หมู่บ้านหมู่บ้านอิสระ ซอยรามคำแหง 24 แยก 26 (หมู่บ้านอิสระ) แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ (บ้านของนายตัน) มีผู้ถือหุ้น 3 คนคือนายตัน ภาสกรนที 350 หุ้น นางอิง ภาสกรนที 350 หุ้น และ น.ส.สุกัญญา แซ่ลิ่ม 300 หุ้น (จากจำนวนหุ้นทั้งสิ้น 1,000 หุ้น) ทั้ง 3 คนร่วมเป็นกรรมการ
          หาก น.ส.สุกัญญาคือตัวแทนทางธุรกิจของนายสรยุทธ ธุรกิจของนายตัน ภาสกรนที ในวันนี้จึงมีทั้งทุน และเครือข่ายการเมือง (อำนาจรัฐ?) และ เครือข่ายธุรกิจสื่อ?
รายชื่อผู้ถือหุ้น บริษัท เพลินจิตอาเขต จำกัด
alt
ที่มา:กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ,สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org รวบรวม

เทพเทือกซัดแม้วสร้างลัทธิแดงเป็นเครื่องมือกดดันศาล รธน.

ที่มา uddred

ไทยรัฐ 7 กรกฎาคม 2555 >>>






"สุเทพ เทือกสุบรรณ" ส.ส.ประชาธิปัตย์ ปลุกคนไทยสู้ลัทธิแดง หลัง "ทักษิณ" ใช้เป็นเครื่องมือกดดันศาล ลั่นไม่กังวลใจผลศาล รธน. ชี้ขาด ย้ำต้องรักษาระบบ...

เมื่อวันที่ 7 ก.ค. 2555 นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ส.ส.สุราษฎร์ธานี พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่ นางธิดา ถาวรเศรษฐ ประธาน นปช. ระบุว่าหากตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไม่ลาออกจากการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญจะ นำมวลชนเสื้อแดงมากดดัน ว่า เป็นปัญหาอีกส่วนที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้สร้างเอาไว้ โดยใช้กระบวนการลัทธิแดงเป็นเครื่องมือในการต่อสู้มาโดยตลอด ด้วยเงินและการอุปถัมภ์ค้ำจุนของ พ.ต.ท.ทักษิณ กระบวนการลัทธิแดง จึงเติบโตใหญ่คับบ้านคับเมืองอยู่ทุกวัน จนกลายเป็นพิษเป็นภัยต่อสังคมและประเทศชาติในปัจจุบันนี้ ถ้า พ.ต.ท.ทักษิณ หยุดแค่คนเดียว เงินทองที่เคยสนับสนุนกระบวนการลัทธิแดงก็จะลดลงไป
เมื่อถามว่ามีการอ้างว่าฝ่ายการเมืองไม่สามารถสั่งการกลุ่มเสื้อแดงที่สนับ สนุนพรรคเพื่อไทยได้ นายสุเทพ กล่าวว่า ที่แล้วมาเขาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และสาธารณชนได้รับทราบว่าเขามีทั้งพรรคการเมือง มวลชนจัดตั้ง และกองกำลังติดอาวุธ ซึ่งเมื่อตนพูดก็จะมีสื่อมวลชนที่เป็นลิ้วล้อมาวิพากษ์วิจารณ์ว่า ตนหลบหนีคอมมิวนิสต์ ซึ่งวันนี้ก็จะเห็นชัดเจนขึ้น ขอเรียนว่าบ้านเมืองเป็นของเราทุกคน ลูกหลานทุกคนก็อยู่ในประเทศนี้ ฉะนั้น เราต้องพูดความจริงกัน เมื่อถึงเวลาก็ต้องลุกขึ้นต่อสู้ ไม่ยอมให้กระบวนการที่อยู่นอกกฎหมายที่ไม่ชอบธรรมมาข่มขู่องค์กรศาล ประชาชน และประเทศชาติ
ผู้สื่อข่าวถามว่ากังวลหรือไม่หากคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญไม่เป็นไปตามฝั่ง ผู้ถูกร้อง แล้วจะมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง นายสุเทพ กล่าวว่า ไม่กังวลใจ เพราะผ่านมามากแล้ว ซึ่งตนก็ตั้งหลักต่อสู้กับความไม่ถูกต้อง ไม่ชอบธรรม ถ้าศาลตัดสินอย่างไรพวกเราก็ต้องเคารพในคำตัดสิน ศาลชอบหรือไม่ชอบก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่ระบบก็เป็นระบบ
เมื่อถามว่าหากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าผิด จะเกิดอะไรขึ้นกับการเมืองไทย นายสุเทพ กล่าวว่า ไม่ใช่หมอดูจึงคาดการณ์ไม่ได้ แต่เมื่อเกิดอะไรก็แก้ไขไปตามสถานการณ์ ถามต่อว่าอยากเรียกร้องอย่างไรให้ทุกฝ่ายยอมรับกระบวนการของศาล นายสุเทพ กล่าวว่า เราไปเรียกร้องอะไรจากกระบวนการลัทธิแดงคงไม่ได้ แต่ตนอยากเรียกร้องประชาชนว่าเราเป็นเจ้าของประเทศ ไม่ใช่พวกลัทธิแดงและนางธิดาเป็นเจ้าของประเทศ ฉะนั้น อย่ายอมให้เขาทำตามอำเภอใจ เพราะจะกระทบต่ออนาคตลูกหลานของเรา

Friday, July 6, 2012

ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์: ยุบพรรคเพื่อพัฒนาประชาธิปไตย?

ที่มา ประชาไท

 

กลาง พ.ศ.2550 หรือในทันทีที่มีการตัดสินคดียุบพรรคไทยรักไทย ผู้เขียนได้เขียนบทความชื่อ “การยุบพรรคคือการรัฐประหารเงียบที่ทำลายประชาธิปไตยรัฐสภายิ่งกว่ารัฐประหาร 19 กันยายน” สาระสำคัญของบทความนั้นมีสามข้อ ข้อแรกคือไม่พึงมองคดียุบพรรคผ่านแง่มุมทางกฎหมาย แต่ต้องมองผ่านแง่มุมของความเป็นการเมืองในกฎหมายและการใช้กฎหมายทางการ เมือง ข้อสองคือต้องพิจารณาคดียุบพรรคเชื่อมโยงกับระบบพรรคการเมืองทั้งหมด และข้อสามคือข้อสังเกตว่าคำตัดสินในคดีนี้ไม่มีอะไรยึดโยงกับบรรทัดฐาน เรื่องหลักประชาธิปไตยรัฐสภา
นอกจากพรรคไทยรักไทย ก็ยังมีพรรคการเมืองที่ประสบการณ์ถูกยุบพรรคทำนองเดียวกันอยู่อีกมาก ยิ่งกว่านั้นคือปริมาณของพรรคการเมืองและกลุ่มการเมืองที่ใช้วิธีให้ศาลรัฐ ธรรมนูญบังคับยุติสภาพความเป็นพรรคการเมืองของฝ่ายตรงข้ามกลับมีมาจน ปัจจุบัน แม้กระทั่งในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา
ข้อถกเถียงเรื่องการยุบพรรคมักรวมศูนย์ว่าการยุบพรรคเป็นมาตรการที่เป็น ประชาธิปไตยหรือไม่ คำถามนี้คล้ายตอบง่ายเพราะประสบการณ์ในการเมืองไทยระยะใกล้ชวนให้ตอบได้ ทันทีว่าไม่เป็น แต่ที่จริงการยุบพรรคเป็นมาตรการที่พบได้ในหลายสังคม ในสังคมที่เป็นประชาธิปไตยก็มี ในสังคมที่ไม่เป็นประชาธิปไตยก็มาก การอภิปรายแบบกว้างๆ ว่าการยุบพรรคเป็นหรือไม่เป็นประชาธิปไตยจึงลดทอนความซับซ้อนของประเด็นนี้ อย่างมีนัยยะสำคัญ
ลองดูตัวอย่างของการยุบพรรคในสังคมที่ไม่เป็นประชาธิปไตยก่อนก็ได้ พม่ามีการยุบพรรค NLD ของอองซานซูจีในปี 2553 ด้วยเหตุผลเรื่องการคว่ำบาตรการเลือกตั้งในเดือนพฤศจิกายนที่พรรคเห็นว่ามี การใช้กฎหมายเพื่อสกัดไม่ให้ซูจีลงสมัครเลือกตั้ง การสู้คดีผ่านศาลฎีกาไม่ประสบความสำเร็จ ผลก็คือพรรคแตก สมาชิกพรรคบางส่วนแยกตัวไปจัดตั้งพรรคNDF ซึ่งสมาชิกพรรคได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกรัฐสภาเพียง 16 ราย ส่วนพรรคที่เป็นตัวแทนของผู้นำทหารในพม่าชนะการเลือกตั้งอย่างถล่มทลาย ขณะที่ NLD เพิ่งฟื้นชีพเมื่อตัดสินใจจดทะเบียนจัดตั้งพรรคอีกครั้งในช่วงปลายปีที่ผ่าน มา
ควรระบุด้วยว่าข้อกฎหมายที่ฝ่าย NLD เห็นว่าเกิดขึ้นเพื่อกีดกันนางซูจีคือบทบัญญัติที่ระบุว่าผู้ที่มีความผิดใน คดีอาญาจะไม่สามารถสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกรัฐสภา รวมทั้งไม่มีสิทธิในการลงคะแนน ซึ่งมองในแง่กฎหมายก็เป็นหลักกว้างๆ ที่คล้ายไม่ได้มุ่งผลทางการเมืองต่อผู้หนึ่งผู้ใดเป็นการเฉพาะเจาะจง
ถ้านิยามประชาธิปไตยในความหมายกว้างและไม่ซับซ้อนที่สุดว่าประชาธิปไตย หมายถึงการเลือกตั้ง แซมเบียก็เข้าข่ายเป็นประเทศประชาธิปไตยเพราะมีการปกครองแบบประธานาธิบดีและ รัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้งต่อเนื่องมาเกือบสามทศวรรษ แม้ข้อเท็จจริงอีกด้านคือแซมเบียเป็นประเทศที่อนุญาติให้มีพรรคการเมืองได้ เพียงพรรคเดียวมาตั้งแต่ปี 2515 นั่นก็คือพรรค UNIP (United National Independence Party) เท่านั้นที่ถือว่าเป็นพรรคที่ถูกกฎหมาย ส่วนพรรคการเมืองอื่นคือพรรคเถื่อนซึ่งผู้ที่เกี่ยวข้องมีสิทธิถูกดำเนินคดี อาญา
สภาพแบบนี้เปลี่ยนไปในปี 2534 เมื่อประธานาธิบดีจากพรรค UPP ถูกต่อต้านจนยอมแก้รัฐธรรมนูญให้การจัดตั้งพรรคการเมืองอื่นเป็นไปได้โดย อิสระ ผลก็คือพวกสหภาพแรงงาน พวกหัวก้าวหน้า และปีกประชาธิปไตยใน UNIP ออกมาจัดตั้งพรรคใหม่ชื่อ MMD (Movement for Multi-Party Democracy) ซึ่งชนะการเลือกตั้งระดับประธานาธิบดีและรัฐสภาอย่างกว้างขวางจนมีอำนาจรัฐ อย่างต่อเนื่องในช่วง 2533-2543 แต่เริ่มชนะด้วยคะแนนน้อยลงเรื่อยๆ ในระยะต่อมา
ในปี 2554 พรรค Patriotic Front ซึ่งแยกตัวจาก MMD ชนะการเลือกตั้งทั้งในระดับประธานาธิบดีและรัฐสภา ส่วน MMD กลายเป็นพรรคฝ่ายค้านอันดับหนึ่ง จากนั้นในเดือนมีนาคม 2555 สำนักทะเบียนพรรคการเมืองของแซมเบียก็มีคำสั่งยุบพรรค MMD ด้วยข้อหาว่าไม่จ่ายค่าธรรมเนียมมาตั้งแต่ปี 2536 สมาชิกรัฐสภาสังกัดพรรค MMD ทั้งหมด 53 คน จึงถูกเพิกถอนความเป็นสมาชิกรัฐสภาไปโดยปริยาย
สถานการณ์ในปัจจุบันนี้คือพรรครัฐบาลปัจจุบันและคณะกรรมการการเลือกตั้ง แซมเบียยื่นคำร้องให้ศาลฎีกาเพิกถอนสิทธิอดีตสมาชิกพรรค MMD ในการเลือกตั้งและกิจกรรมการเมืองอื่นๆ ถึงขั้นไม่มีสิทธิให้ความสนับสนุนผู้สมัครรายใด ในแง่นี้การยุบพรรคในแซมเบียมีผลต่อสมาชิกพรรคหนักหน่วงกว่าพม่าที่อนุญาต ให้ผู้ถูกเพิกถอนสิทธิสามารถแสดงออกทางการเมืองได้ในบางระดับ ส่วนศาลแซมเบียไม่ให้สิทธินี้เลย
ถ้าการยุบพรรคในกรณีพม่าและแซมเบียเป็นตัวอย่างของการยุบพรรคในสังคมที่ ไม่เป็นประชาธิปไตยและกึ่งประชาธิปไตย การยุบพรรคในสเปนก็เป็นตัวอย่างของการยุบพรรคในสังคมที่เป็นประชาธิปไตย อย่างต่อเนื่อง โดยพื้นฐานแล้วสเปนมีการปกครองแบบรัฐสภาที่กษัตริย์เป็นประมุขภายใต้การ เมืองแบบหลายพรรคจนทศวรรษ 1990 ที่เริ่มเกิดระบบสองพรรคใหญ่ ส่วนพรรคเล็กที่มีบทบาทก็คือพรรคชาตินิยมและพรรคฝ่ายซ้ายในแคว้นต่างๆ ซึ่งมีจำนวนสมาชิกรัฐสภามากน้อยไปมาตามแต่สถานการณ์
การยุบพรรคครั้งสำคัญของสเปนเกิดขึ้นในปี 2546 เมื่อรัฐสภาสเปนเสนอในปี 2545 ให้ศาลสูงสุดของสเปนมีคำสั่งยุบพรรคการเมือง Batasuna (Unity of the People) ซึ่งเป็นปีกราดิกาลของกลุ่มเรียกร้องเอกราชในแคว้นบาสก์ ศาลมีมติยุบพรรคโดยไม่เป็นเอกฉันท์ ฝ่ายที่ถูกยุบต่อสู้คดีด้วยการยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งแม้จะมีมติไม่เป็นเอกฉันท์ แต่ก็ยืนยันคำวินิจฉัยของศาลสูงสุด ผลก็คือพรรค Batasuna สู้ต่อโดยยื่นคำร้องต่อศาลสิทธิมนุษยชนแห่งสหภาพยุโรป (ECHR) ว่าการยุบพรรคเป็นการละเมิดสิทธิการรวมตัวและจัดตั้งองค์กรซึ่งเป็นสิทธิ มนุษยชนขั้นพื้นฐานของทุกคน
การยุบพรรคในกรณีนี้น่าสนใจเพราะเชื่อมโยงกับประเด็นสำคัญสองเรื่อง เรื่องแรกคือการก่อการร้าย เรื่องที่สองคือการวางบรรทัดฐานของสหภาพยุโรปว่าอะไรคือขอบเขตของสิทธิในการ รวมตัว
การยุบพรรค Batasuna เชื่อมโยงกับประเด็นก่อการร้ายเพราะประธานาธิบดีสเปนช่วงหลังเหตุการณ์ 9/11 ผลักดันให้รัฐสภาแก้กฎหมายพรรคการเมืองมาตรา 9 เพื่อต่อต้านการก่อการร้ายโดยระบุว่าศาลสูงสุดสามารถประกาศให้พรรคการเมือง ใดเป็นพรรคผิดกฎหมายได้ หากพรรคหรือสมาชิกพรรคดำเนินกิจกรรมซึ่งเป็นภัยต่อหลักประชาธิปไตยอย่างร้าย แรงและต่อเนื่องโดยไม่หยุดยั้ง จากนั้นรัฐสภาก็วินิจฉัยว่า Batasuna เข้าข่ายนี้โดยตรง
สำหรับประเด็นของเขตของสิทธิในการรวมตัวนั้น ต้องเข้าใจก่อนว่าการต่อสู้ของ Batasuna ในศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปเป็นไปได้เพราะสเปนให้สัตยาบันรับรองเขตอำนาจของศาล นี้ บุคคลจึงมีสิทธิที่จะร้องทุกข์ในกรณีข้อพิพาทที่ผ่านการพิจารณาของศาลใน ประเทศครบถ้วนแล้ว เงื่อนไขของสเปนข้อนี้เปิดโอกาสให้ Batasuna ต่อสู้ในระดับสากลว่าการยุบพรรคเป็นการละเมิดเสรีภาพในการรวมกลุ่มในมาตรา 11 ของอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและสิทธิขั้นพื้นฐาน นั่นก็คือการต่อสู้โดยอิงหลักการว่าสิทธิเสรีภาพในการรวมกลุ่มเป็นสิทธิที่ ละเมิดไม่ได้ในทุกกรณี
อย่างไรก็ดี ข้อเท็จจริงมีอยู่ว่าย่อหน้า 2 ของอนุสัญญานี้ระบุว่าเสรีภาพนี้ถูกระงับได้ตามที่กฎหมายกำหนดและตามความได้ สัดส่วนระหว่างความเป็นสังคมประชาธิปไตยและความมั่นคงแห่งชาติ ประโยชน์สาธารณะ รวมทั้งป้องกันการละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปพิจารณาคดีโดยคำนึงถึงข้อความย่อหน้านี้จนมีคำตัดสินใน ปี 2552 ให้ศาลสเปนสั่งยุบพรรคได้เพราะเป็นไปเพื่อปกป้องสังคมจากการก่อการร้ายซึ่ง เกิดต่อเนื่องจนเป็นภัยต่อประชาธิปไตย
การยุบพรรคในตุรกีเกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมที่น่าสนใจสามข้อ ข้อแรกคือการยุบพรรคเกิดโดยศาลรัฐธรรมนูญตุรกีซึ่งเป็นศาลรัฐธรรมนูญที่มี อำนาจที่สุดแห่งหนึ่งในยุโรป ข้อสองคือสาเหตุในการยุบพรรคนั้นครอบจักรวาลจากการสนับสนุนความรุนแรงไปจน ถึงการดำเนินกิจกรรมที่เป็นภัยต่อความมั่นคงแห่งชาติ หลักนิติธรรม สิทธิมนุษยชน ประชาธิปไตย และความเป็นสาธารณรัฐแบบฆราวาสที่ไม่ฝักใฝ่ศาสนาใดศาสนาหนึ่ง และข้อสาม พฤติกรรมที่เป็นเหตุให้ยุบพรรคไม่ได้มีเพียงแค่กิจกรรม แต่ยังรวมถึงการใช้สัญลักษณ์ การเผยแพร่เอกสาร หรือการมีระเบียบพรรคที่เอื้อต่อกิจกรรมในข้อที่แล้ว
ในแง่บริบทนั้น นับตั้งแต่ทหารแทรกแซงการเมืองตุรกีในทศวรรษ 1980 ก็พรรคการเมืองถูกยุบไปไม่ต่ำกว่า 24 พรรคจนการยุบพรรคเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทางการเมือง พรรคที่ถูกยุบหลายพรรคเป็นพรรคที่อิงศาสนาหรือคนเชื้อชาติใดเชื้อชาติหนึ่ง เป็นพิเศษ ตัวอย่างเช่นพรรค Refah ซึ่งประกาศตัวเองเป็นปากเสียงของคนอิสลามจนเป็นแกนตั้งรัฐบาลในปี 2539 แต่กองทัพซึ่งมองตัวเองเป็นผู้พิทักษ์รัฐธรรมนูญกลับเห็นว่าพรรค Refah เป็นภัยต่อสาธารณรัฐฆราวาสจนเคลื่อนไหวล้มรัฐบาลและผลักดันให้ศาลรัฐธรรมนูญ ยุบพรรคนี้ในปี 2540 ส่วนหัวหน้าพรรคและสมาชิกรัฐสภาของพรรคก็ถูกเพิกถอนสิทธิทางการเมือง 5 ปี จากความผิดที่เล็กน้อยกระทั่งการใช้ทำเนียบประธานาธิบดีเลี้ยงอาหารผู้นำ ศาสนาในวันรอมฎอน
สมาชิกพรรค Refah ตั้งพรรคใหม่ชื่อ Fazilet ในปีเดียวกันโดยประกาศนโยบายที่เป็นกลางมากขึ้น แต่ก็ถูกศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคอีกในปี 2544 ด้วยข้อหาเดียวกับการยุบพรรคครั้งที่แล้ว ข้อแตกต่างคือการยุบพรรคนี้อ้างหลักฐานจากคำปราศรัยของสมาชิกรัฐสภาที่ระบุ ว่าจะอนุญาติให้สตรีมุสลิมสวมผ้าคลุมเข้ารัฐสภาได้ ,พฤติกรรมของสมาชิกรัฐสภาอีกรายที่กล่าวปฏิญญาตนในรัฐสภาโดยสวมผ้าคลุมแบบ อิสลามเข้าไปจริงๆ และการสนับสนุนการเคลื่อนไหวของนักศึกษาสตรีที่ไม่ต้องการถอดผ้าคลุมขณะอยู่ ในชั้นเรียน ผลคือสมาชิกรัฐสภาจากพรรคนี้ถูกเพิกถอนสิทธิทางการเมืองไปอีกห้าปี
อดีตสมาชิกพรรค Fazilet ตั้งพรรคใหม่ชื่อพรรค AKP ในปี 2544 โดยวางยุทธศาสตร์พรรคให้อิงศาสนาอิสลามน้อยลงและเดินหน้าสู่ความเป็นพรรคมวล ชนมากขึ้นโดยนโยบายการเมืองแบบกลางค่อนไปทางอนุรักษ์นิยม พรรคได้รับคะแนนนิยมจนชนะการเลือกตั้งปี 2545 และ 2550 แต่ในปี 2551 อัยการก็เสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคและเพิกถอนสมาชิกรัฐสภาอีกห้าปี ข้อกล่าวหาที่นำไปสู่การยุบพรรคคราวนี้คือพรรคดำเนินกิจกรรมขัดหลัก สาธารณรัฐฆราวาสเพราะเสนอแก้รัฐธรรมนูญที่นำไปสู่การอนุญาติให้สวมผ้าคลุมใน มหาวิทยาลัย
คดียุบพรรค AKP ถูกวิจารณ์โดยคณะกรรมาธิการยุโรปว่าแม้พรรคจะขัดแย้งกับหลักพื้นฐานของรัฐ ตุรกีเรื่องสาธารณรัฐฆราวาส แต่ก็ไม่ได้เป็นภัยต่อต่อประชาธิปไตย ความคิดที่แยกรัฐกับประชาธิปไตยจนถึงจุดที่ยอมรับสิทธิเสรีภาพของพรรคที่จะ ท้าทายรัฐแต่ไม่ล้มล้างประชาธิปไตยแบบนี้แตกต่างจากฝั่งตุรกีที่ถือว่ารัฐ กับประชาธิปไตยเป็นเรื่องเดียวกันจนยุบพรรคที่ท้าทายรัฐโดยอ้างว่าเพื่อปก ป้องประชาธิปไตยได้ทั้งหมด
นอกจากศาลรัฐธรรมนูญตุรกีจะมุ่งยุบพรรคที่อิงศาสนาแล้ว ศาลรัฐธรรมนูญยังมุ่งยุบพรรคที่อิงเชื้อชาติอีกด้วย การยุบพรรคในสภาพแวดล้อมนี้สะท้อนถึงความหวาดกลัวของชนชั้นนำว่าศาสนาและการ แบ่งแยกดินแดนของบางเชื้อชาติจะทำลายสาธารณรัฐลงไป ข้อที่น่าสนใจคือการยุบพรรคในตุรกีเป็นกระบวนการที่ยาวนานและมีกรอบที่ใหญ่ โตกว้างขวาง นั่นหมายความว่าไม่ง่ายที่ฝ่ายที่ถูกยุบจะโจมตีว่านี่เป็นการกระทำเพื่อ ประโยชน์ทางการเมืองของผู้มีอำนาจฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด
การยุบพรรคที่มีแง่มุมน่าสนใจคือการยุบพรรคแบบที่เกิดขึ้นในอียิปต์ใน เดือนเมษายนซึ่งฝ่ายที่ถูกยุบคือพรรค National Democratic Party ของอดีตประธานาธิบดีมูบารัค กล่าวโดยสรุปคือศาลปกครองสูงสุดของอียิตป์มีคำสั่งยุบพรรคพร้อมกับยึด ทรัพย์สินทั้งหมดของ NDP เป็นของรัฐ ซ้ำยังอาจตัดสิทธิของพรรคในการส่งผู้สมัครในการเลือกตั้งทั่วไปในเดือน กันยายน ข้ออ้างของศาลคือพรรคมีพฤติกรรมทุจริต โกงการเลือกตั้ง และผูกขาดอำนาจมาตั้งแต่ครั้งมูบารัคเป็นผู้นำ
การถกเถียงเรื่องการยุบพรรคในอียิปต์ยอมรับว่าการยุบพรรคเป็นเรื่องการ เมือง ผู้สนับสนุนการยุบพรรคจำนวนมากเห็นว่าเห็นว่าการยุบพรรคเป็นขั้นตอนสำคัญใน การนำอียิปต์ไปสู่การมีระบบหลายพรรค ผู้นิยมมูบารัคจึงต่อสู้ว่ากฎหมายไม่ได้ให้ศาลปกครองมีอำนาจกระทำการนี้ แต่การยุบพรรคก็ดำเนินไปท่ามกลางการผลักดันของสาธารณะที่เห็นแค่การยุบพรรค อาจไม่พอเมื่อคำนึงถึงความโหดเหี้ยมที่ระบอบมูบารัคกระทำต่อพลเมืองอียิปต์ เป็นเวลาหลายสิบปี
การใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือทางการเมืองในอียิปต์น่าสนใจมากขึ้นเมื่อ คำนึงว่ารัฐสภาอียิปต์เคยผ่านกฎหมายการเลือกตั้งที่เพิกถอนสิทธิในการลง สมัครเลือกตั้งของบุคคลที่เคยมีตำแหน่งในรัฐบาลมูบารัคในช่วงสิบปี จากนั้นก็การออกกฎหมายว่าด้วยชีวิตทางการเมืองที่ฉ้อฉล (The Corruption of Political Life) ที่ขยายความไปอีกว่าแม้กระทั่งผู้นำพรรคของมูบารัคในรอบสิบปีก็ถือเป็นบุคคล ต้องห้ามไม่ให้ลงสมัครรับเลือกตั้งหรือมีตำแหน่งสาธารณะอะไรต่อไปอีกหนึ่ง ทศวรรษ นี่จึงเป็นตัวอย่างสำคัญของการยุบพรรคและการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งในฐานะ เครื่องมือทางการเมืองโดยแท้จริง
เมื่อพิจารณาประสบการณ์การยุบพรรคในประเทศต่างๆ แล้ว ผู้เขียนมีข้อสังเกตดังนี้
หนึ่ง การยุบพรรคไม่ใช่เรื่องผิดปกติ แต่เป็นกระบวนการซึ่งพบได้ในทุกสังคมตั้งแต่สังคมเผด็จการ (พม่า) สังคมกึ่งเผด็จการ (ไทย) สังคมประชาธิปไตย (สเปน) สังคมกึ่งประชาธิปไตย (แซมเบียและตุรกี) และสังคมในระยะเปลี่ยนผ่าน (อียิปต์) การยุบพรรคโดนตัวเองจึงไม่ใช่เครื่องชี้วัดว่าสังคมใดเป็นเผด็จการหรือ ประชาธิปไตย
สอง ลักษณะทางการเมืองของสังคมแสดงออกผ่านคำอธิบายที่ สังคมใช้ในการยุบพรรค สังคมเผด็จการหรือกึ่งเผด็จการมักอ้างเหตุในการยุบพรรคด้วยเรื่องเล็กน้อย อย่างการมีสมาชิกบางคนถูกดำเนินคดีอาญา (พม่า) ไม่จ่ายค่าธรรมเนียม (แซมเบีย) สมาชิกบางคนทำผิดกฎหมาย (ไทย) ส่วนสังคมประชาธิปไตยหรือสังคมกึ่งประชาธิปไตยอ้างเหตุในการยุบพรรคจากสิ่ง ที่เรียกว่า “ประโยชน์สาธารณะ” อย่างการปกป้องประชาธิปไตยจากการก่อการร้าย (สเปน) ความเป็นรัฐฆราวาส (ตุรกี) หรือการสร้างระบบการเมืองแบบหลายพรรค (อียิปต์)
สาม การยุบพรรคในสังคมเผด็จการหรือกึ่งเผด็จการมักดำเนินไปแบบไม่ซับซ้อน ขณะที่การยุบพรรคในสังคมประชาธิปไตยหรือกึ่งประชาธิปไตยมีการให้เหตุผลทาง กฎหมายที่ซับซ้อนเพราะถือว่าพรรคการเมืองสัมพันธ์กับสิทธิพลเมืองขั้นพื้น ฐานเรื่องเสรีภาพของเอกบุคคลในการรวมกลุ่ม (freedom of association) และสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานเรื่องการแสดงออกทางการเมือง (freedom of expression) การยุบพรรคในสังคมประชาธิปไตยเป็นมาตรการเพิกถอนสิทธิที่ใช้ได้เฉพาะในกรณี ที่จำเป็นและในขอบเขตที่เหมาะสม หาไม่แล้วรัฐก็ย่อมก้าวล่วงเข้ามาในอาณาบริเวณส่วนบุคคล
สี่ สังคมเผด็จการหรือสังคมกึ่งเผด็จการมักอ้างว่าการ ยุบพรรคเป็นเรื่องทางกฎหมาย ขณะที่สังคมประชาธิปไตยหรือสังคมกึ่งประชาธิปไตยยอมรับว่าการยุบพรรคเป็น เครื่องมือทางกฎหมายที่มีความเป็นการเมือง การยุบพรรคในกรณีนี้แสดงให้เห็นระบบคุณค่าบางอย่างที่รัฐเลือกจะปกป้องหรือ จรรโลงเอาไว้ เช่น หลักรัฐฆราวาสในตุรกี การกวาดล้างเครือข่ายอำนาจเก่าในอียิปต์ การต่อต้านการแบ่งแยกดินแดนด้วยวิธีก่อการร้ายในสเปน ประชาธิปไตยอันมีกษัตริย์เป็นประมุขในไทย
เมื่อคำนึงถึงข้อเท็จจริงในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาที่พรรคการเมืองแทบทุก พรรคล้วนเคยยื่นคำร้องให้รัฐยุบพรรคการเมืองอื่น ก็ต้องยอมรับว่าการยุบพรรคกลายเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทางการเมืองในสังคม ไทยไปแล้ว ข้อความคิดสำคัญที่ควรเกิดขึ้นในบริบทนี้คือทำอย่างไรที่การยุบพรรคในสังคม ไทยจะมีอารยะเหมือนสังคมประชาธิปไตยอื่น นั่นคือการยุบพรรคต้องเริ่มต้นจากการตระหนักว่าพรรคเป็นเสรีภาพในการรวม กลุ่มและการแสดงออกทางการเมือง การใช้อำนาจในการยุบพรรคจึงต้องเป็นไปอย่างจำกัด ภายใต้เงื่อนไขที่เคร่งครัด ควรแก่เหตุ และด้วยหลักฐานที่ประจักษ์ชัดเท่านั้น
มองไปข้างหน้าต่อไป ประเด็นที่ควรได้รับการพิจารณาก็คือทำอย่างไรที่การยุบพรรคจะสัมพันธ์กับการ สร้างความเป็นปึกแผ่นของประชาธิปไตยในสังคมไทย
โจทย์ที่ควรคิดคือ ข้อแรก เป็นไปได้หรือไม่ที่การยุบ พรรคจะคำนึงถึงความเป็นหรือไม่เป็นประชาธิปไตยภายในพรรคการเมือง เช่นสมาชิกพรรคมีส่วนร่วมในการคัดเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งและนโยบายพรรค หรือไม่ สมาชิกถอดถอนผู้บริหารพรรคได้หรือเปล่า พรรคมีหรือไม่กลไกภายในที่จะจัดการกับสมาชิกซึ่งนำพรรคไปสู่การทำลาย ประชาธิปไตย
ข้อสอง เมื่อคำนึงปัญหาเฉพาะหน้าของสังคมไทยที่การรัฐประหาร การละเมิดรัฐธรรมนูญ หรือแนวปฏิบัติที่ไม่เป็นประชาธิปไตยต่างๆ เกิดขึ้นอย่างไม่ขาดสาย เป็นไปได้หรือไม่ที่การยุบพรรคจะคำนึงบทบาทของพรรคการเมืองในการสนับสนุน หรือเกี่ยวข้องกับการกระทำที่ทำลายรัฐธรรมนูญหรือประชาธิปไตยรัฐสภา
อย่างไรก็ดี การยุบพรรคด้วยเหตุทั้งสองข้อนี้ต้องมีเงื่อนไขที่เคร่งครัด ควรแก่เหตุ และด้วยหลักฐานที่ประจักษ์ชัด เพื่อป้องกันไม่ให้ละเมิดหลักเสรีภาพในการรวมกลุ่มและเสรีภาพในการแสดงออก ทางการเมือง

/////////////////////
หมายเหตุ:
ผู้เขียนปรับปรุงจากคำบรรยายเรื่อง "ยุบพรรคและเพิกถอนสิทธิทางการเมือง: ทำลายหรือพัฒนาระบอบประชาธิปไตย" โดยสถาบันศึกษาการพัฒนาประชาธิปไตย วันที่ 27 พฤษภาคม 2555