WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, February 12, 2011

อวสาน 'มู' บทเรียน 'มาร์ค'

ที่มา บางกอกทูเดย์





ยอมแพ้แล้ว!!...แต่ยังกั๊ก?
ไม่คืนอำนาจให้ประชาชน
เลี่ยงคืนอำนาจให้ทหาร
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงไคโร ประเทศอียิปต์ หมาดๆในัวันศุกร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ ว่า ประธานาธิบดีฮอสนี มูบารัค แห่งอียิปต์ ในวัย 82 ปี ได้กล่าวปราศรัยทางโทรทัศน์เผยแพร่ไปทั่วประเทศ

ประกาศยังไม่ยอมลาออกจากตำแหน่ง หรือเดินทางออกนอกประเทศ ตามข้อเรียกร้องของกลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงขับไล่

แต่ได้ตกลงที่จะทำการถ่ายโอนอำนาจการบริหารประเทศให้กับ พล.อ.โอมาร์ สุไลมาน รองประธานาธิบดี

ประธานาธิบดีมูบารัคยืนกรานว่า จะอยู่ในตำแหน่งต่อไปจนถึงเดือนกันยายนนี้ ซึ่งมีการเลือกตั้งประธานาธิบดี และจะขอตายอยู่ในแผ่นดินอียิปต์

แน่นอนว่าคำแถลงดังกล่าวย่อมสร้างความไม่พอใจอย่างยิ่งให้กับกลุ่มผู้ชุมนุมที่ยังคงปักหลักชุมนุมกันอยู่ที่จัตุรัสตาหรีร์ใจกลางกรุงไคโร และเรียกร้องให้กองทัพออกมาปฏิบัติการเพื่อขับไล่ผู้นำอียิปต์ให้ลงจากตำแหน่งให้ได้

เพราะการที่บอกว่าจะถ่ายโอนอำนาจให้ พล.อ.โอมาร์ สุไลมาน ก่อให้เกิดความสงสัยว่า มีข้อตกลงลับอะไรระหว่างทหารกับรัฐบาลหรือไม่

เนื่องจากไม่กี่ชั่วโมงก่อนหน้าการประกาศทางโทรทัศน์ มีการประชุมสภากลาโหมซึ่งประกอบด้วยจอมพลฮุสเซน ตันตาวี รมว.กลาโหม และนายทหารระดับสูงของกองทัพอียิปต์ ระบุว่า จะเข้ามาดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยในประเทศ

และยังได้ให้นายทหารระดับสูงออกไปพบกับผู้ชุมนุมที่จัตุรัสตาหรีร์ ยืนยันว่าข้อเรียกร้องของผู้ชุมนุมได้รับการตอบสนอง จึงเกิดกระแสข่าวว่ามีความขัดแย้งกันหรือไม่ ระหว่างประธานาธิบดีอียิปต์ กับทางกองทัพ

และตามมาด้วยกระแสข่าวแพร่สะพัดไปทั่วว่า ประธานาธิบดีมูบารัคกำลังจะลาออกจากตำแหน่ง???

แต่แล้วสภากลาโหม ได้ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 2 ระบุว่า กองทัพจะเป็นหลักประกันในเรื่องการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตามคำสัญญาของประธานาธิบดีมูบารัค เช่น การเลือกตั้งประธานาธิบดีที่จะมีขึ้นในเดือนก.ย.ที่จะถึงนี้ กองทัพจะต้องจัดให้มีการเลือกตั้งอย่างบริสุทธิ์และยุติธรรม

นอกจากนั้นกองทัพก็ยังเรียกร้องให้ประชาชนกลับไปใช้ชีวิตตามปกติ และเตือนว่า จะต่อต้านภัยคุกคามทุกชนิดที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงแห่งชาติ ยกเลิกกฎหมายสถานการณ์ฉุกเฉินโดยเร็วที่สุด
ถ้อยแถลงดังกล่าวกลายเป็นสิ่งสะท้อนว่า กองทัพหันมาสนับสนุนอีกครั้งให้กับประธานาธิบดีมูบารัคที่ตัดสินใจไม่ลาออก แต่จะถ่ายโอนอำนาจให้กับรองประธานาธิบดี

ทำให้กลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงไม่พอใจกับแถลงการณ์ของกองทัพที่น่าผิดหวัง

และแสดงให้กองทัพเห็นว่า ประชาชนไม่ได้กลัวกองทัพ โดยได้มีผู้ชุมนุมหลายร้อยคนไปชุมนุมกันบริเวณด้านหน้าวังอัล-อูรูบา ซึ่งเป็นทำเนียบประธานาธิบดีในกรุงไคโร เพื่อเรียกร้องให้มูบารัคลาออกจากตำแหน่งเสียที แม้ว่าจะมีรถถังของกองทัพ 4 คัน และรั้วลวดหนามตั้งขวางกั้นไว้ก็ตาม!!!

เมื่อประชาชนไม่ยอมถอย และปักหลักชุมนุมต่อเนื่องต่อไป โดยไม่ยี่หระต่อคำแถลงการณ์ฉบับที่ 2 ของกองทัพ ก็กลายเป็นเหมือนกระจกสะท้อนให้รัฐบาลและกองทัพได้รู้ว่า เอาไม่อยู่แน่แล้ว

ทำให้สุดท้ายนายมูบารัค ก็ต้องยอมจำนน!!!

โดย พล.อ.โอมาร์ สุไลมาน รองประธานาธิบดีอียิปต์ ได้ออกมาแถลงการณ์ผ่านสถานีโทรทัศน์ของรัฐบาลอียิปต์ว่า ประธานาธิบดีฮอสนี มูบารัค ได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งแล้ว ตามข้อเรียกร้องของประชาชนนับล้านคนที่ชุมนุมขับไล่เขามาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 18 วันติดต่อกัน

และ มูบารัคได้ส่งมอบอำนาจในการปกครองประเทศให้แก่คณะผู้บัญชาการกองทัพ ซึ่งมี นายโมฮาเหม็ด ฮุสเซ็น ตันตาวี รมว.กลาโหม เป็นหัวหน้าคณะ เพื่อปกครองดูแลประเทศเป็นการชั่วคราว

หลังจากทราบข่าวการสละตำแหน่งของผู้นำเผด็จการที่ปกครองประเทศมาอย่างยาวนานถึง 3 ทศวรรษ ประชาชนชาวอียิปต์ต่างออกมาร่วมกันเฉลิมฉลองตามท้องถนน

อย่างไรก็ตามยังมีการตั้งข้อสังเกตว่า การที่กองทัพกลายเป็นผู้สืบทอดอำนาจต่อจากมูบารัคนั้น มีลักษณะคล้ายกับการทำรัฐประหาร

ทั้งที่ตามรัฐธรรมนูญแล้ว มูบารัคควรจะคืนอำนาจให้แก่ประธานรัฐสภาไม่ใช่ผู้นำกองทัพแต่อย่างใด

ทั้งนี้คณะผู้บัญชาการกองทัพได้ประกาศว่าจะทำการยกเลิกกฎหมายสถานการณ์ฉุกเฉินซึ่งถูกประกาศบังคับใช้มาเป็นเวลา 30 ปี ทันทีที่สถานการณ์จลาจลในประเทศสงบลง

นอกจากนี้ก็จะทำการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อให้การเลือกตั้งทั่วไปที่จะเกิดขึ้นหลังจากนั้นมีความเป็นอิสระและยุติธรรม

เป็นการปิดฉาก มูบารัค อดีตผู้นำอียิปต์ ซึ่งมีกระแสข่าวว่าๆได้เดินทางออกจากกรุงไคโร ไปแล้ว พร้อมกับสมาชิกทั้งหมดของครอบครัว แต่เบื้องต้นยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าไปไหน

กรณีของนายมูบารัค ถือเป็นบทเรียนสำคัญ เพราะเป็นเวลานานแล้วที่ กลุ่มประเทศในภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ ถูกตั้งคำถามในเรื่องประชาธิปไตยเต็มใบ

เพราะนอกจาก อิสราเอล ที่ได้รับการยอมรับในเรื่องประชาธิปไตยเต็มใบเพียงประเทศเดียวแล้ว ที่เหลือถูกมองว่าไม่ชัดเจนเลย โดยในบรรดา 17 ประเทศที่เหลือของภูมิภาคดังกล่าว มีที่กึ่งเสรีหรือนัยหนึ่งประชาธิปไตยครึ่งใบ 3 ประเทศ

ส่วนอีก 14 ประเทศล้วนเข้าข่ายไม่เสรีหรือเผด็จการ

ในกลุ่มหลังนี้รวมทั้งตูนิเซีย จอร์แดน เยเมน และอียิปต์ ซึ่งเกิดกรณีมวลชนชุมนุมประท้วงหรือลุกขึ้นสู้โค่นรัฐบาลในรอบเดือนที่ผ่านมา

เพราะระบอบเผด็จการในกลุ่มประเทศดังกล่าวไม่เพียงผูกขาดอำนาจการเมือง หากยังทำให้ระบบเศรษฐกิจมีปัญหาอย่างหนักด้วย โดยเฉพาะปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่น

จากกระแสโลกาภิวัตน์ ที่ทำให้ข้อมูลข่าวสารกว้างขึ้น นักศึกษาปัญญาชน รู้ควมจริงที่รัฐบาลปิดบัง ความล้มเหลวของรัฐบาลที่คนหนุ่มสาวรุ่นใหม่มองเห็นชัดขึ้นเรื่อยๆ

ในขณะที่ช่องว่างของความร่ำรวยและความยากจนเพิ่มมากขึ้น จำนวนคนตกงานที่บ่าล้นเพิ่มขึ้นทุกที ตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจที่โฆษณาป่าวร้องว่า อียิปต์ ตูนิเซีย จอร์แดน ยังไปได้ดี

แถมได้รับคำยกย่องชมเชยจากรายงานขององค์กรโลกบาลทางการเงินอย่างไอเอ็มเอฟ?

ได้ถูกพิสูจน์ชัดขึ้นว่า เป็นตัวเลขที่อำพรางความยากจนและเหลื่อมล้ำที่ร้ายแรงขึ้นทุกทีเอาไว้

สุดท้ายการต่อสู้ของพลังประชาชนที่ต้องการขับไล่รัฐบาล โดยไม่กลัวเกรงกองทัพอีกต่อไปจึงเกิดขึ้น
การเผ่นจากตำแหน่งของนายซีเน่ เอล อบิดีน เบน อาลี ประธานาธิบดีตูนิเซีย กลายเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้ประชาชนทั่วตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือลุกขึ้นสู้

และชะตากรรมของ ฮอสนี มูบารัค ก็ไม่ต่างจาก ซีเน่ เอล อบิดีน เบน อาลี

ฮอสนี มูบารัค ผู้เป็นประธานาธิบดีอียิปต์ มาตั้งแต่ปี ค.ศ.1981ปิดฉากลงแล้ว หลังกุมอำนาจนาน 30 ปี

เช่นเดียวกับซีเน่ เอล อบิดีน เบน อาลี ผู้เข้ายึดอำนาจในตูนิเซียมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1987 กุมอำนาจอยู่ 24 ปี

เลยทำให้มีการกล่าวถึงข้อมูลของบรรดาผู้นำ ที่อยู่ในตำแหน่งยาวนาน ซึ่งปรากฏว่า มูบารัค และเบน อาลี ก็ไม่ใช่คนที่ครองตำแหน่งยาวนาน เพราะยังมี นายอาลี อับดุลลาห์ ซาเลห์ ผู้ขึ้นมามีอำนาจในเยเมนตั้งแต่ปี ค.ศ.1978 อยู่อีกคน หรือมีอำนาจนานถึง 33 ปีแล้ว

แต่ที่เหนือกว่าก็คือ พันเอกมูอัมมาร์ กัดดาฟี ผู้ยึดอำนาจขึ้นเป็นผู้นำลิเบียมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1969 กุมอำนาจมานานกว่า 42 ปี

และกำลังเตรียมซาอิฟ อัล-อิสลาม มูอัมมาร์ อัล-กัดดาฟี ผู้เป็นลูกชายให้สืบทอดอำนาจต่อจากไปอีก

ซึ่งหากนับการสืบทอดอำนาจแล้ว จะพบว่าแม้แต่กัดดาฟี ก็ยังกลายเป็นเด็กๆไปเลย เพราะปรากฏว่ากษัตริย์อับดุลลาห์ที่สองแห่งจอร์แดนที่ขึ้นมาเมื่อปี ค.ศ. 1999 ก็จริง แต่เป็นการขึ้นมาโดยสืบพระราชอำนาจจากกษัตริย์ฮุสเซ็นผู้เป็นพระราชบิดา ซึ่งขึ้นมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1952 หรือเมื่อ 59 ปีก่อนแล้ว

ขณะที่กษัตริย์โมฮัมเหม็ดที่หกแห่งโมร็อกโก ผู้ขึ้นครองราชย์แทนกษัตริย์ฮัสซันที่สองผู้เป็นพระราชบิดาตั้งแต่ปี ค.ศ.1999 เช่นกัน โดยที่พระราชบิดาเองก็ได้ทรงรัฐมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1961 หรือเท่ากับสืบทอดกันมา 2รุ่น รวมกว่า 50 ปี

และคู่สืบทอดอำนาจอีกคู่ ก็คือ นายบาชาร์ อัล-อัสซาด ผู้ขึ้นเป็นประธานาธิบดีซีเรียแทนฮาเฟซ อัล-อัสซาดผู้เป็นพ่อในปี ค.ศ.2000 โดยที่ตัวผู้พ่อเข้ายึดอำนาจมาได้ตั้งแต่ปี ค.ศ.1970 หรือเมื่อ 41 ปีมาแล้ว

กระแสของโลกกำลังเปลี่ยน เพราะจะเห็นว่า การซื้อขายในตลาดหุ้นสหรัฐ หลังจากที่นายฮอสนี มูบารัก ประกาศลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดีอียิปต์ ดัชนีหุ้นสหรัฐปรับเพิ่มขึ้น

โดยดัชนีดาวโจนส์ปิดตลาดบวก 43.97จุด เพิ่มขึ้น 0.36% ปิดที่ระดับ 12,271.26 ดัชนีเอสแอนด์พี 500 ขยับขึ้น 0.55% หรือ 7.30 จุด ปิดที่ระดับ 1,329.17 จุด แนสแดคเพิ่มขึ้น 0.68% หรือ 18.99 จุด ปิดที่ระดับ 2.809.44จุด

บทเรียนของมูบารัค จึงถือเป็นบทเรียน ที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีควรจะระมัดระวัง
โดยเฉพาะกับการรับใช้ขั้วอำนาจพิเศษและกองทัพบางกลุ่ม

เพราะใครจะรู้ว่า “ มู” กับ “มาร์ค”อาจจะเผชิญชะตากรรมไม่ต่างกันก็ได้???

หากฝืนกระแสประชาธิปไตยเต็มใบที่แท้จริง!!!

จาตุรนต์ ฉายแสง : ยุบสภา – หลีกเลี่ยงสงคราม หยุดวงจรรัฐประหาร

ที่มา ประชาไท

อ่านแถลงการณ์ของรัฐบาลต่อกรณีปัญหาความขัดแย้งกับประเทศกัมพูชาแล้วแสดงว่า ข้าราชการที่เป็นคนเขียนยังมีสติอยู่ ไม่ก้าวร้าวเหมือนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศที่กำลังสร้างปัญหาให้หนักเข้าทุกที

การที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแสดงความก้าวร้าว ข่มขู่กัมพูชาแถมยังด่ากราดอีกหลายประเทศ แสดงถึงความไร้วุฒิภาวะ ไม่เหมาะสมที่จะเป็นรัฐมนตรีอีกต่อไป

รัฐบาลนี้ยืนยันตลอดว่าปัญหาแก้ได้โดยการเจรจาของ 2 ประเทศ ไม่จำเป็นต้องอาศัยประเทศที่ 3 แต่สิ่งที่รัฐบาลกำลังทำอยู่คือ การสร้า้งเงื่อนไขให้ต้องมีคนอื่นเข้ามา

รัฐบาลนี้กำลังพาประเทศไปในทางที่มีแต่เสียกับเสีย และความเสียหายนับวันมีแต่จะมากขึ้นๆ

รัฐบาลกำลังทำให้ชาวโลกเขาไม่เชื่อว่าลำพัง 2 ประเทศจะสามารถแก้ปัญหาได้ ขณะที่คนไทยก็กำลังเรียนรู้ว่ารัฐบาลนี้ไม่มีทางแก้ปัญหาได้ เพราะกลายเป็นตัวปัญหาเสียเอง

สถานการณ์ขณะนี้เหมือนมีเงื่อนไขที่ชัดเจนแล้วที่นายกรัฐมนตรีจะยุบสภาในเร็วๆนี้ได้แล้ว ดึงเวลายืดเยื้อต่อไป รังแต่จะสร้างความเสียหายให้กับประเทศ

ที่ว่ามีเงื่อนไขนั้น ไม่ใช่ 3 ข้อที่นายกฯอ้างมาตลอด เพราะนั่นเป็นเงื่อนไขที่อ้างเพื่อจะอยู่นานๆ แต่ที่ผมเสนอเป็นคนละเรื่องกัน

เงื่อนไขที่ทำให้นายกฯควรยุบสภาโดยเร็วคือ ความแตกต่างทางความคิดเกี่ยวกับการแก้ปัญหาความขัดแย้งกับกัมพูชาที่มีทั้งที่ให้ทำสงครามและที่ต่อต้าน

ทางที่ดีคือ ให้ประชาชนตัดสินในการเลือกตั้ง ให้พรรคการเมืองเสนอนโยบายต่อสังคมว่าใครจะพาประเทศไปทางไหน

อีกเงื่อนไขหนึ่งก็คือ ความพยายามที่จะทำรัฐประหารได้เกิดขึ้นจริง การยุบสภาจะช่วยหยุดการพัฒนาของเหตุการณ์ที่อาจถูกใช้เป็นข้ออ้างในการรัฐประหาร

ในระหว่างที่รัฐบาลนี้ยังทำหน้าที่อยู่ ผมเสนอว่ารัฐบาลจะต้องลดท่าทีที่ก้าวร้าวลง แสดงความจริงใจที่จะยุติความขัดแย้งโดยสันติวิธี อาศัยการเจรจา

รัฐบาลต้องดูแลคนของตัวให้ได้ ตั้งแต่นายกฯเอง รัฐมนตรี ผู้นำกองทัพและบรรดาโฆษกของนายกฯและนักการเมืองพรรคร่วมรัฐบาลให้ตัดเงื่อนไขสงคราม

ในภาวะที่ล่อแหลมต่อการเกิดสงครามเช่นนี้ คงต้องย้ำหลักการสำคัญข้อหนึ่งของระบอบประชาธิปไตยคือ รัฐบาลต้องมีอำนาจและความรับผิดชอบเหนือกองทัพ

รัฐบาลจึงควรแสดงภาวะผู้นำ มีความชัดเจนทางนโยบายและกำชับให้หน่วยงานต่างๆรวมทั้งกองทัพปฏิบัติตาม เมื่อมีปัญหารัฐบาลย่อมต้องรับผิดชอบเต็มๆ

การเคลื่อนไหวของพันธมิตรนั้นเป็นสิ่งที่ล้าหลัง เป็นอันตรายใหญ่หลวงต่อประเทศ ถ้าจะมีข้อดีอยู่บ้างคือการเอาข้อมูลความเลวร้ายของรัฐบาลมาเปิดเผย

รัฐบาลกับพันธมิตรขัดแย้งกันอย่างรุนแรง ขณะเดียวกันก็กำลังแข่งกันสร้างผลงานด้วยการสร้างเงื่อนไขให้เกิดความขัดแย้งที่รุนแรงยิ่งขึ้นกับกัมพูชา

ชนชั้นนำจะเข้าใจบ้างหรือไม่ว่า ระบบกลไกที่ใช้ทำลายฝ่ายตรงข้ามและทำลายระบอบประชาธิปไตยกำลังขัดแย้งทำลายกันเองและกำลังเสื่อมทรามลงทุกขณะ ยากจะเยียวยา

ถ้าชนชั้นนำยังคงเดินหน้าใช้กลไกทั้งหลายสร้างความปั่นป่วนเพื่อหวังเข้าคุมอำนาจเบ็ดเสร็จ ผลเสียร้ายแรงจะเกิดกับประเทศและรวมทั้งกับชนชั้นนำเอง

สมัชชาสังคมก้าวหน้าวอน นปช.มีข้อเสนอยกเลิก กม.หมิ่นฯ เลิกสู้ตามกรอบของอำมาตย์

ที่มา ประชาไท

12 .. 54 – กลุ่มสมัชชาสังคมก้าวหน้าทำจดหมายเปิดผนึกถึงแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ขอให้ นปช.มีข้อเสนอให้ยกเลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และเลิกใช้วิธีการต่อสู้ตามกรอบของอำมาตย์


จดหมายเปิดผนึก

ถึง แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.)

พวกเรากลุ่มสมัชชาสังคมก้าวหน้า ได้เข้าร่วมต่อสู้กับขบวนการคนเสื้อแดง และสนับสนุนแนวทางของ นปช. เนื่องจากเราเห็นว่า นปช. มีจุดยืนไม่เอาระบบอำมาตย์ และนปช.เป็นขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมที่ต่อสู้เพื่อยืนยัน สิทธิ เสรีภาพ ในการแสดงออกทางการเมือง

นับแต่หลังรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 พวกอำมาตย์และลิ่วล้อของมัน ตั้งข้อกล่าวหาต่อประชาชนที่มีความคิดเห็นทางการเมืองต่างจากพวกมันว่า คนเสื้อแดงเป็นขบวนการล้มเจ้า และจับเอาคนที่มีความคิดเห็นทางการเมืองที่ต่างจากพวกมันเข้าคุกในข้อหา หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112

ดา ตอร์ปิโด คือหนึ่งในจำนวนผู้ต้องหาตามมาตรา 112 ที่ถูกกล่าวหาว่าคำพูดของเธอหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เธอถูกกล่าวหาจากประชาชนด้วยกัน (กรณีสนธิ ลิ้มทองกุล กล่าวหาเธอโดยอ้างว่ารัฐบาลขณะนั้นไม่ดำเนินคดีกับเธอ) และนำไปสู่การจับกุมตัวเธอในที่สุด

เราเห็นว่า ข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เป็นข้อหาที่ละเมิดรัฐธรรมนูญ ละเมิดสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และเป็นกฎหมายที่ผู้มีอำนาจรัฐใช้ใส่ร้ายคู่แข่งทางการเมือง (กรณีที่ประชาธิปัตย์กล่าวหาและป้ายสี ปรีดี พนมยงค์ ทักษิณ ชินวัตร จักรภพ เพ็ญแข ฯลฯ) ซึ่งขณะนี้ข้อหาดังกล่าวนี้ได้ยกระดับในการใส่ร้ายระหว่างประชาชนกับประชาชนด้วยกันเอง (กรณี โชติศักดิ์ อ่อนสูง ฯลฯ)

เราจึงทำการรณรงค์ยกเลิก มาตรา 112 แห่งประมวลกฎหมายอาญาและเปิดเผยกรณี ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล หรือ ดา ตอร์ปิโด ที่ถูกกล่าวหาว่าหมิ่นพระมหากษัตริย์แก่ชาวโลกให้รับรู้ว่าเธอไม่ได้รับความเป็นธรรมจากระบอบอำมาตย์ เธอถูกกลั่นแกล้งจากกระบวนการยุติธรรม ไม่ได้รับการประกันตัว การพิจารณาคดีของเธอ ศาลไม่ยอมให้ประชาชนผู้สนใจเข้ารับฟังการไต่สวน เมื่อเธออยู่ในคุก เธอไม่ได้รับสิทธิในการเยียวยารักษาโรคประจำตัว ไม่มีสิทธิอ่านหนังสือที่เธออยากอ่าน อีกทั้ง เรารณรงค์ให้คนเสื้อแดง ผู้รักความเป็นธรรม ทั้งในและต่างประเทศเขียนจดหมายให้กำลังใจ ดา ตอร์ปิโด จึงทำให้กรณีของดา ตอร์ปิโดกลายเป็นคดีที่รับรู้อย่างกว้างขวางในแวดวงสื่อต่างประเทศ

ส่วนในกรณีของสนธิ ลิ้มทองกุล ซึ่งเป็นหนึ่งในลิ่วล้อของระบบอำมาตย์ เขาโดนคดีเดียวกันกับ ดา ตอร์ปิโด แต่คดีของเขาไม่มีความคืบหน้าใดๆ ทั้งสิ้น มิหนำซ้ำ เขายังได้รับการประกันตัวจากศาล แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า สนธิควรถูกนำมาลงโทษฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตามกฎหมายในมาตรฐานเดียวกัน แต่ ควรถูกยกมาบอกกล่าวกับสาธารณชนว่า

ไม่ควรมีใครในประเทศนี้ต้อง ถูกจับกุม และถูกลงโทษด้วยข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เพราะตามหลักการของระบอบประชาธิปไตยนั้น กฎหมายหมิ่นฯ เป็นกฎหมายที่ละเมิดรัฐธรรมนูญ ละเมิดเสรีภาพในการพูด การวิจารณ์ และสร้างความกลัวให้คนไม่กล้าแสดงออกทางการเมือง จนทำให้บรรยากาศของความเป็นประชาธิปไตยหายไปจากสังคมไทย

ดังนั้น เมื่อเกิดกรณีที่ นปช. ยื่นหนังสือที่ทำเนียบรัฐบาลให้เอาผิดกับ เปรม ติณสูลานนท์ อานันท์ ปันยารชุน และสิทธิ เศวตศิลา ด้วยข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ หลังจากที่มีรายงานจากวิกิลีคส์ว่า ทั้งสามได้พูดถึงสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมารฯ ในเชิงวิพากษ์วิจารณ์กับทูตสหรัฐฯ สะท้อนความคิดทางการเมืองของแกนนำ นปช.และพรรคเพื่อไทยส่วนหนึ่งว่า มีแนวทางสู้อยู่ในกรอบของอำมาตย์ ที่ไม่ได้อยู่ในครรลองของวัฒนธรรมแบบประชาธิปไตย

ท่านคงเข้าใจถึงผลร้ายแรงของการนำกฎหมายหมิ่นพระบรมราชานุภาพมาใช้กับคนเสื้อแดงให้ตกเป็นเหยื่ออย่างน่าเศร้าใจ แต่จะทำอย่างไรที่จะสลัดตัวเองออกมาจากกฎหมายเผด็จการดังกล่าว ที่ผ่านมา เราได้บอกกล่าวกับสื่อมวลชนและสาธารณชนว่า เราไม่ต้องการกฎหมายหมิ่นฯ และด้วยสถานการณ์การต่อสู้ของคนเสื้อแดงปัจจุบัน มวลชนมีพัฒนาการทางความคิดและโหยหาความเปลี่ยนแปลงไปสู่ประชาธิปไตยและสังคมมาตรฐานเดียวที่ทุกคนในแผ่นดินนี้ควรได้รับการปฏิบัติอย่างเสมอภาคกัน เราจึงขอเรียกร้อง นปช.ทุกท่าน ว่า

ขอให้ นปช.มีข้อเสนอให้ยกเลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และเลิกใช้วิธีการต่อสู้ตามกรอบของอำมาตย์

ข้อเรียกร้องข้างต้นนี้ เข้าข่ายนโยบายของนปช. ข้อ 3 คือ เรียกร้องความยุติธรรม การใช้กฎหมาย มาตรฐานเดียว และการคำนึงถึงสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และข้อ 4 ยกระดับการต่อสู้ของประชาชนให้สูงขึ้นด้วยองค์ความรู้ อันเป็นนโยบายก้าวหน้า แต่จะต้องไม่เป็นแค่เรื่องนามธรรม

เราหวังว่าท่านจะรับไว้พิจารณา และนำปัญหาเกี่ยวกับการบังคับใช้ มาตรา 112 ของกฎหมายอาญามาพูดอย่างเอาจริงเอาจังว่า กฎหมายอาญา ข้อหา หมิ่นพระบรมเดชานุภาพนั้น เป็นกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน และละเมิดรัฐธรรมนูญอย่างรุนแรงที่สุด

ด้วยมิตรไมตรีจิต

สมัชชาสังคมก้าวหน้า

11 ก.พ. 54

คว่ำบาตรไม่ถึงเดือนมาม่ากำไรฮวบหุ้นรูด หั่นยอดผลิตลง50%แต่ปากแข็งไม่เกี่ยวเสื้อแดงบอยคอต

ที่มา Thai E-News


ยกระดับคว่ำบาตรสหพัฒน์-เครือข่ายผู้บริโภคสีแดงประกาศยกระดับคว่ำบาตรสินค้าหนุนเผด็จการ จากเดือนแรกก่อผลสะเทือนมาม่า ยกสองขยายเวลา 3 เดือน พุ่งเป้าเครือสหพัฒน์ยกแผง เชิญคนเสื้อแดงทั่วโลกร่วมพลังไปถึง 15 เมษายน เน้นบอยคอตสินค้ามวลชนแบรนด์ดังทั้ง มาม่า ผงซักฟอกเปา ยาสีฟันSALZ แป้งโคโดโมะ น้ำยาบ้วนปากSYSTEMA ชุดชั้นในสตรีWACOAL เสื้อเชิ้ตARROW-LACOSTE รองเท้าPAN ร้านสะดวกซื้อ108SHOP(รายละเอียด)


โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
12 มกราคม 2554

มาม่าโชว์ไตรมาส4กำไรวูบ หลังเสื้อแดงบอยคอตไม่ถึงเดือน

นางรวงทอง ธนรังสีกุล ผู้จัดการฝ่ายบัญชี บริษัท ไทยเพรสซิเด้นท์ฟู้ดส์ จำกัด (มหาชน) เจ้าของบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมาม่า รายงานผลดำเนินงานงวดไตรมาส4ปี2553(1ตุลาคม-31ธันวาคม 2553)ต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันศุกร์นี้(11ก.พ.)ว่า มีกำไรสุทธิลดลงเหลือ 272.5ล้านบาท กำไรต่อหุ้นลดลงเหลือ 15.14 บาท เทียบกับไตรมาส4ปีก่อนหน้านี้ ที่มีกำไรสุทธิ350.4ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น19.47บาท

ส่วนผลดำเนินงานตลอดปี2553กำไรสุทธิลดลงเหลือ1,151ล้านบาท กำไรต่อหุ้น63.97บาท เทียบกับปีก่อนกำไรสุทธิ1,232ล้านบาท กำไรต่อหุ้น68.46บาท

อ้างต้นทุนน้ำมันปาล์มกับแป้งสาลีพุ่ง แต่เจาะเนื้อในแล้วไม่เท่าไหร่ แถมเคยสูงกว่านี้ยังกำไรโป่ง

ผู้จัดการฝ่ายบัญชีมาม่า แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ว่า ในงวดไตรมาส4ผลดำเนินงานลดลงมากกว่า 20%ตามเกณฑ์ที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนดให้ต้องอธิบายสาเหตุ จึงขอชี้แจงว่า สาเหตุที่ผลกำไรลดลง เป็นผลจากต้นทุนขายที่สูงขึ้นจากราคาวัตถุดิบที่ปรับราคาสูงขึ้น เช่น แป้งสาลี และน้ำมันปาล์ม เป็นต้น

ปกติแล้วผลดำเนินงานไตรมาส 4ของมาม่าที่ผ่านมามักสูงขึ้น เช่น ไตรมาส4/2552 กำไรสุทธิ 350 ล้านบาท กำไรต่อหุ้น 19.47บาท เทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนหน้านี้ที่มีกำไรสุทธิเพียง 182 ล้านบาท กำไรต่อหุ้นเพียง10.11บาท

เช่นเดียวกับงวดไตรมาส 4ปี2551 มีกำไรเพิ่มขึ้นถึง32.25% แม้ว่า ต้นทุนแป้งสาลี ในไตรมาสที่ 4 ประจำปี 2551 ราคาสูงกว่าช่วงเดียวกันของปี 2550 ถึง 46.15 %ก็ตาม

ในรายละเอียดงบการเงินงวดไตรมาส4/2553 มาม่าแจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯว่า มีต้นทุนซื้อสินค้าและวัตถุดิบและค่าใช้จ่ายในการผลิต 305.8 ล้านบาท สูงกว่างวดเดียวกันของปีก่อนที่มีต้นทุนอยู่ที่ 258.5 ล้านบาท หรือต้นทุนสูงขึ้นในงวดไตรมาสนี้ราวๆ 43 ล้านบาท (ขณะที่ประธานมาม่าให้ข่าวว่าเพิ่มเดือนละ 100 ล้าน ดังคำให้สัมภาษณ์ด้านล่าง)

อย่างไรก็ตามหากดูจากบริษัทในเครือแล้ว มาม่ารายงานว่า ต้นทุนซื้อสินค้าและวัตถุดิบและค่าใช้จ่ายในการผลิตลดลงในงวดนี้ คือเพียง62.9ล้านบาท เทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนที่สูงถึง92.5ล้านบาท

ก่อนหน้านี้ผู้บริหารมาม่า ให้สัมภาษณ์ว่าไตรมาส4จะกำไรดีขึ้นมากเพราะได้อานิสงส์จากน้ำท่วมใหญญ่ช่วงเดือนตุลาคม 2553 ทำให้มีคนซื้อมาม่าตุนเป็นอาหาร และซื้อบริจาคมาก

อย่างไรก็ตามเครือข่ายผู้บริโภคสีแดงได้ประกาศเริ่มต้นคว่ำบาตรมาม่า เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2553 หรือปลายไตรมาส 4/2553 และเมื่อสิ้นสุด 1 เดือนแรกของแคมเปญนี้ ได้ประกาศบอยคอตต่อในระยะที่ 2 ระหว่างวันที่ 15 มกราคม ถึง 15 เมษายน รวมเวลา 3 เดือน และยกระดับบอยคอตสินค้าเครือสหพัฒน์ทั้งหมดด้วย โดยอ้างว่าเครือสหพัฒน์เป็นกลุ่มทุนที่เกื้อหนุนระบอบเผด็จการอำมาตย์ในไทย

หุ้นร่วงจากดอย1200บาท วูบหลุด1000ทันตา

ส่วนราคาหุ้นTF หรือไทยเพรสซิเด้นท์ฟู้ดส์ ราคาเคยขึ้นไปสูงสุดที่ 1,200 บาท ช่วงเกิดเหตุน้ำท่วมใหญ่ปีที่แล้วหลังการรณรงค์บอยตคอตของเสื้อแดงปรับตัวลดลงต่ำกว่า 1,000 บาท เมื่อวันศุกร์11 ก.พ.เมื่อประกาศผลกำไรลดลง ราคาร่วงลงไปที่ 960 บาทต่อหุ้น แต่มีแรงช้อนซื้อคืนมาปิดทำการที่ 988 บาท

อมเลือดพูดเสื้อแดงบอยคอตไม่มีผลกระทบยอดขาย แต่หั่นกำลังผลิตลง50%อ้างปาล์มขาด

หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ รายงานข่าวสัมภาษณ์ประธาน'มาม่า'ว่าได้ลดกำลังผลิต 50% อ้างว่าเพราะน้ำมันปาล์มขาดตลาด ขณะที่ก่อนหน้านี้ออกมาให้ข่าวว่าการบอยคอตของเสื้อแดงไม่มีผลกระทบให้ยอดขายตก ส่วนคนเสื้อแดงเชื่ออมเลือดพูด เจอมาตรการบอยคอตยอดขายฮวบเลยจำเป็นต้องหั่นกำลังผลิต ชี้ไม่เช่นนั้นคู่แข่งอย่างยำยำ-ไวไวก็ต้องลดกำลังผลิตเหมือนกันแล้ว ฮึกขยายวงแบนสหพัฒน์ทั้งเครือให้หลาบจำสำนึกที่รับใช้เผด็จการ

ก่อนหน้านี้ Voicetv รายงานข่าวการสัมภาษณ์นายพิพัฒ พะเนียงเวทย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยเพรสซิเดนท์ ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปตรา "มาม่า" ว่า กรณีที่มีกลุ่มเครือข่ายผู้บริโภคสีแดง ออกแถลงการณ์บอยคอตคว่ำบาตรหยุดซื้อหยุดกินมาม่านั้น เบื้องต้นก็ได้รับรายงานข้อมูลมาซึ่งคิดว่าถ้าหากเป็นจริงก็จะมีผลกระทบเป็นอย่างมาก แต่ก็คงไม่สามารถที่จะทำอะไรได้ เพราะเป็นเรื่องส่วนบุคคลที่จะตัดสินใจ ทั้งนี้ที่ผ่านมาขอยืนยันว่า มาม่าไม่มีสี ไม่ได้ถือข้างฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด และก็คงจะไม่มีเงินทุนพอที่จะไปสนับสนุนใครได้ คาดว่าเรื่องนี้คงจะเป็นการเข้าใจผิดกัน มาม่ามีฝ่ายเดียวคือฝ่ายประเทศไทย จึงไม่รู้จะชี้แจงยังไง

"มาม่าไม่มีสี สีเหลืองคงเป็นสีของในหลวงมากกว่า มาม่าไม่ได้ถือหางฝ่ายไหน และไม่มีงบประมาณมากพอจะไปสนับสนุนใคร เป็นฝ่ายประเทศไทยอย่างเดียว ไม่รู้จะไปชี้แจงยังไง ขอให้ทุกฝ่ายสามัคคี หากบอยคอตจริงก็คงกระทบกระเทือน แต่ผมเชื่อว่าคนไทยรู้จักมาม่าดี"นายพิพัฒกล่าว

มาม่าลดกำลังผลิตวูบ50%อ้างน้ำมันปาล์มขาดตลาด

ฐานเศรษฐกิจรายงานว่า น้ำมันปาล์มพ่นพิษ "มาม่า" โอดหนักสุดในรอบ 38 ปี ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ ไฟเขียวลดกำลังการผลิต 50% เหลือ 3 ล้านซองต่อวัน หลังเจอภาวะช็อกน้ำมันปาล์มขาดตลาด ต้นทุนแป้งสาลีพุ่ง ดันราคาต้นทุนพุ่ง 100 ล้านบาทต่อเดือน คาดสัปดาห์หน้าสินค้าขาดตลาด พร้อมหันลงทุนตั้งโรงงานใหม่ประเทศเพื่อนบ้านแก้วิกฤติ

ทั้งนี้เรื่องดังกล่าวนาย พิพัฒ พะเนียงเวทย์ บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากปัญหาการขาดแคลนน้ำมันปาล์มอย่างต่อเนื่องในภาคอุตสาหกรรม ทำให้บริษัทมีแผนจะลดกำลังการผลิตเหลือเพียง 50 %เป็น 1 กะต่อ 6 วันภายใน 1 สัปดาห์หรือลดกำลังการผลิตเหลือเพียง 3 ล้านซองต่อวันตั้งแต่สัปดาห์หน้าเป็นต้นไป เพราะไม่สามารถจะจัดหาน้ำมันปาล์มมาผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปได้ตามที่ต้อง การ และมีโรงงานสกัดหรือโรงกลั่นน้ำมันปาล์มบางแห่งปิดกิจการไปแล้ว เนื่องจากไม่มีผลปาล์มดิบให้สกัดและกลั่นน้ำมัน

อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาผลผลิตน้ำมันปาล์มในประเทศไทยมีเพียงพอป้อนอุตสาหกรรม แต่เนื่องจากระยะหลังผลผลิตนี้ถูกบริษัทผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงแย่งซื้อไป ใช้ในกิจการ ทำให้ผลผลิตขาดแคลนและเป็นปัญหาต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ประกอบกับต้นทุนน้ำมันปาล์มและข้าวสาลีที่เพิ่มขึ้น ทำให้ต้นทุนของบริษัทได้ปรับตัวสูงขึ้นจากเดิม 100 ล้านต่อเดือน ซึ่งสามารถสร้างโรงงานใหม่ได้ถึง 1 โรงงาน หากรัฐบาลยังไม่แก้ปัญหาดังกล่าว ปีนี้คาดว่าบริษัทอาจจะไม่มีกำไร

"ถึงแม้ว่าบริษัทจะขาดทุน แต่ก็ไม่เป็นไร เพียงแต่ไม่ต้องการให้ผู้บริโภคเข้าใจว่า สินค้าขาดตลาดไม่มีวางขายบนเชลฟ์ในห้างไม่ได้เกิดจากการกักตุนสินค้าของมา ม่า บริษัทเองยินดีที่จะผลิตสินค้าต่อแม้จะขาดทุน แต่เป็นเพราะไม่มีวัตถุดิบ จึงไม่สามารถผลิตได้ และต้องการทำความเข้าใจกับผู้บริโภค เนื่องจากบริษัทกลัวเสียภาพลักษณ์ที่อุตส่าห์สร้างมาเกือบ 40 ปี ปีนี้เป็นปีที่บริษัทเจอปัญหาหนักที่สุดตั้งแต่สร้างโรงงานมา 38 ปีเต็ม ที่ผ่านมาเจอปัญหาหนักมากว่า10 ครั้ง และแก้ได้ทุกครั้ง แต่ครั้งนี้ยังแก้ไม่ตก"นายพิพัฒกล่าว

สำหรับทางออกของปัญหาที่รัฐบาลทำ ได้อย่างเร่งด่วน คือ การกำหนดสัดส่วนน้ำมันปาล์มสำหรับใช้ในอุตสาหกรรมเพื่อให้สำหรับพลังงานว่า ควรเป็นเท่าใด และต้องการให้รัฐบาลพิจารณาว่าระหว่างอุตสาหกรรมอาหารกับรถยนต์อะไรสำคัญ กว่ากัน และไม่มีประเทศไหนในโลกนี้ให้นำน้ำมันปาล์มมาผลิตพลังงานเหมือนเมืองไทย ซึ่งภาครัฐบาลควรจะกำหนดการใช้หลังจากที่น้ำมันปาล์มมีพอเพียงกับอุตสาหกรรม อาหารหรือการบริโภคจากตลาดต่างประเทศ

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้บริษัทกำลังหาทางแก้ปัญหาเรื่องนี้อย่างเร่งด่วน โดยเบื้องต้นเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่าว บริษัทมีแผนการไปตั้งโรงงานใหม่ในประเทศเพื่อนบ้าน เนื่องจากปัจจุบันต้นทุนการผลิตบะหมี่สำเร็จรูปในประเทศไทยสูงกว่าคู่แข่งใน ต่างประเทศเป็นอย่างมาก เฉพาะต้นทุนน้ำมันปาล์มในประเทศไทยอยู่ที่ 62 บาทขณะที่มาเลเซีย อินโดนีเซีย เกาหลีและญี่ปุ่นอยู่ประมาณ 32-37 บาท และจากการที่ต้นทุนสินค้าเพิ่มสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป สบู่ นมข้นหวาน ทำให้ธุรกิจเหล่านี้มีกำไรน้อยลง ทำให้ขาดงบที่จะใช้สำหรับพัฒนาธุรกิจและสินค้าเพื่อแข่งขันกับแบรนด์ใหม่ๆ ที่จะเข้ามาแข่งขันในเมืองไทย โดยเฉพาะการเปิดตลาดอาเซียนในปี 2015 ซึ่งจะทำให้ธุรกิจเสียโอกาสในการแข่งขันในที่สุด

เสื้อแดงเชื่อสาเหตุแท้จริงเพราะเจอบอยคอต รุกคว่ำบาตรสหพัฒน์ทั้งเครือ

ประเด็นดังกล่าวมีการวิพากษฺวิจารณ์ตามเวบบอร์ดคนเสื้อแดงอย่างกว้างขวาง ที่เวบไทยฟรีนิวส์ มีการตั้งกระทู้เรื่อง มาม่า' ลดกำลังผลิต 50% <--- แสดงว่าการบอยคอตของพวกเราได้ผล แม้ว่าผู้บริหารมาม่าจะประกาศว่าการลดยอดกำลังการผลิตลงเนื่องจากปัญหาราคาน้ำมันปาล์มแพง ก็ตาม ซึ่งเขาก็ต้องประกาศอย่างนั้นอยู่แล้ว เพราะหากขืนประกาศว่า "การบอยคอตของเสื้อแดง" ทำให้ต้องลดกำลังการผลิตลง ก็คงเสียหน้า และจะส่งสัญญาณให้เสื้อแดงรู้ว่า การบอยคอตนั้นได้ผล ซึ่งจะลามให้เสื้อแดงบอยคอตสินค้าอย่างอื่นของสหพัฒน์อีก

ผมคิดว่า หากเป็นปัญหาด้านต้นทุน หากมาม่ามีส่วนแบ่งการตลาดที่ดีเยี่ยมอยู่แล้ว เขาก็คงเลือกที่จะขึ้นราคามากกว่าและผลักภาระไปที่ผู้บริโภค ซึ่งปกติพวกเขาก็ทำกันอยู่แล้วเป็นปกติ

แต่การเลือกที่จะประกาศลดกำลังการผลิตลง น่าจะเป็นการกระทำที่ประหลาด เพราะหากเป็นปัญหาต้นทุนจริงๆ แม้จะผลิตอยู่ ก็คงต้องขาดทุน เพราะน้ำมันปาล์มก็ยังแพงอยู่ และอีกอย่าง ปัญหาน้ำมันปาล์มเป็นปัญหาระยะสั้น การเลือกที่จะยอมเสียส่วนแบ่งการตลาด คงไม่มีบริษัทไหนทำ

นี่แสดงอย่างชัดแจ้งว่า "การบอยคอตของคนเสื้อแดงได้ผล" เราคงต้องทำต่อไปอย่างต่อเนื่องนะครับ "แดงแท้ไม่กินมาม่า"

สงสัยทำไมคู่แข่งอย่างไวไว ยำยำไม่เห็นต้องลดกำลังผลิต

ส่วนที่บอร์ดประชาทอล์ก มีการตั้งกระทู้ว่า มาม่า หมดสภาพแล้ว หาทางลง เรื่องน้ำมันปาล์มซะงั้น ไวไว ยำยำ ไม่เห็นเขามีสภาพแบบนี้ แดง 20 ล้านเป็นแบบนี้แหละ โดยชี้ว่า คู่แข่งของมาม่า คือ ไวไว ยำยำ อื่น ๆ ไม่เห็นเขาประกาศ ลดกำลังการผลิตเลย ไม่เห็นเขาโอดครวญ ต้นทุนเพิ่มเลย
ต่อให้เขาขายแพงกว่ามาม่า ผมก็จะไม่ซื้อมาม่าครับ ยอมซื้อของแพงดีกว่า ซื้อของเครือสหพัฒน์

ชี้ไม่มีเหตุผลข้ออ้างลดกำลังผลิตเพราะขาดน้ำมันปาล์ม

บอร์ดอินเตอร์เน็ตฟรีด้อมตั้งกระทู้เรื่อง น้ำมันปาล์มแพงไม่น่าเป็นสา้เหตุหลักในการลดกำลังการผลิตของมาม่าลงครึ่งหนึ่ง โดยชี้ว่า ถ้าเหตุเกิดจากน้ำมันปาล์มแพง แต่ยอดขายยังดีอยู่ สิ่งที่นายพิพัฒน์ และมาม่า รวมทั้งผู้ผลิตทั่วไปจะทำโดยทั่วไปและทำมาตลอดคือ ขึ้นราคาสินค้า ผลักภาระให้ผู้บริโภค นี่เป็นเรื่องปกติ

เมื่อสินค้ามีส่วนแบ่งทางการตลาดลดลง หรือยอดจำหน่ายตกต่ำ ซึ่งจะไม่ใช้การลดกำลังการผลิต จะหันไปทำกิจกรรมการตลาดอื่น ๆ เช่น Promotion, Re Launch, Re Positioning ฯลฯ

การลดกำลังการผลิตจะเกิดขึ้น ก็ต่อเมื่อได้ทำ Promotion หลายรูปแบบแล้ว ไม่สามารถกระตุ้นยอดขายให้เพิ่มขึ้นได้ ต้องหาสาเหตุให้เจอ แล้วแก้ืที่ปัญหาหลักนั้น เมื่อแก้ไม่ได้ ก็แสดงว่า สินค้าอยู่ในช่วงตกต่ำในหลักการที่บางคนปฏิเสธคือ Product Life Cycle แต่มันก็ปรากฏอยู่เรื่อย ๆ

การ Re Launch, Re Positioning ของกระทิงแดง หรือเรดบูล เป็นตัวอย่างทางการตลาดที่น่าสนใจ ไปบุกตลาดโลกใน Positioning ใหม่ ที่เริ่มเอากลับมา Re Positioning ตลาดในประเทศต่อ

ที่นำเสนอเช่นนี้เพราะเคยมีประสบการณ์พอสมควร ในการแก้ปัญหาทางการตลาด ทำสินค้ากลับมาในตลาด และทำให้สินค้าดี ๆ เจ๊งมาแล้วหลายตัว

หรือความจริงแล้ว การบอยคอตมาม่าของคนเสื้อแดงสำแดงผลแล้ว?

กังขาแผนปล่อยข่าวหวังระบายสินค้าขายไม่ออก

ส่วนที่บอร์ดราชดำเนิน มีการตั้งข้อสังเกตว่า เป็นแผนการตลาด พอบอกว่าของจะขาด คนก็จะรีบซื้อ ของค้างอยู่บนหิ้งในห้างเยอะแยะ
แต่พอมีข่าวว่าจะขาดตลาด แต่ละคนก็จะบ้าไปซื้อมาเก็บตุนไว้ คนนั้นก็ซื้อ คนนี้ก็ซื้อ ซื้อมาเก็บพอของขาด ก็ซื้อมาเก็บอีก หลายๆ คน ตุนซะจนใช้ปีหน้าก็ไม่หมด

*******
เรื่องเกี่ยวเนื่อง:

-วิวาทะประธานมาม่า VS เครือข่ายผู้บริโภคสีแดง:สงครามคว่ำบาตรก่อผลสะเทือนฐานเผด็จการ


-คว่ำบาตร1เดือนสะเทือนมาม่า ยกระดับบอยคอตสินค้าเครือสหพัฒน์ เริ่มวันนี้หยุดซื้อ'เปา'+90แบรนด์

-นิธิ เอียวศรีวงศ์:มาม่ากับเสื้อแดง

พท.จ่อยื่นศาล รธน.ตีความร่างแก้ไข รธน. พ่วง"ชัย"ปฏิบัติหน้าที่มิชอบ

ที่มา มติชน

ที่ห้องคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) นายวิทยา บุรณศิริ ส.ส.พระนครศรีอยุธยา ในฐานะประธานวิปฝ่ายค้าน พร้อมด้วย 20 ส.ส.พรรคเพื่อไทยและวิปฝ่ายค้าน แถลงภายหลังวอล์กเอ๊าต์ออกจากห้องประชุม โดยนายวิทยากล่าวว่า เหตุผลที่ฝ่ายค้านไม่สามารถร่วมสังฆกรรมได้ เนื่องจากการกระทำของนายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา ผิดต่อข้อบังคับการประชุมรัฐสภาข้อที่ 86 โดยไม่รับฟังเสียงทักท้วงของเพื่อนสมาชิก แต่ได้ดำเนินการประชุมต่อไปทั้งที่มิชอบด้วยข้อบังคับ ดังนั้น การพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญจึงน่าจะขัดต่อรัฐธรรมนูญ ส่วนการตัดสินใจว่าจะยื่นศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยหรือไม่นั้น พรรคเพื่อไทยจะรอดูการลงมติให้จบก่อน หากไม่ผ่านความเห็นชอบของรัฐสภา ก็ไม่มีเหตุผลที่จะยื่น แต่ถ้าร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญผ่านความเห็นชอบ ก็ถือว่าได้กระทำความผิดสำเร็จแล้ว ก็จะยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัย ส่วนมีเป็นประเด็นใดบ้าง พรรคจะหารืออีกครั้งหนึ่ง แต่ ส.ส.ที่จะร่วมเข้าชื่อเพื่อยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญตามกระบวนการ และคิดว่า ส.ว.อย่างเช่น นายเรืองไกร ลือกิจวัฒนะ ส.ว.สรรหา ก็พร้อมแล้วที่จะดำเนินการ


นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน กล่าวว่า สมาชิกได้ทักท้วงตามหลักการอย่างชัดเจน แทนที่ประธานจะปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้อง แต่กลับสั่งให้ดำเนินการประชุมต่อ จึงตั้งข้อสังเกตว่าจงใจที่จะให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญตกไป โดยที่พรรคประชาธิปัตย์ไม่ต้องรับผิดชอบ เพราะเป็นการตราในชั้นรัฐสภา อย่างไรก็ตาม หากพรรคเพื่อไทยตัดสินใจยื่นศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย จะต้องแยกเป็น 2 ประเด็น คือกระบวนการตรากฎหมายไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ซึ่งต้องใช้เสียง 1 ใน 10 ของสมาชิกรัฐสภาเท่าที่มีอยู่ ยื่นต่อประธานรัฐสภาเพื่อส่งศาลรัฐธรรมนูญให้มีคำวินิจฉัยภายใน 30 วัน โดยระหว่างที่ศาลรัฐธรรมนูญยังไม่มีคำวินิจฉัย นายกรัฐมนตรีต้องระงับการทูลเกล้าฯไว้ก่อน และอีกประเด็นคือการยื่นศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยการทำหน้าที่ของประธานที่มิชอบด้วย

ขณะที่นายมานิตย์ จิตต์จันทร์กลับ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า จะเสนอแนวคิดให้พรรคเพื่อไทยเข้าแจ้งความร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีกับนายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา และนายประสพสุข บุญเดช รองประธานรัฐสภา ฐานกระทำผิดมาตรา 157 ในกรณีที่ใช้อำนาจของประธานวินิจฉัยข้อบังคับโดยที่ไม่มีอำนาจ เพราะตามข้อบังคับการประชุมข้อที่ 117 ระบุว่า อำนาจวินิจฉัยเป็นของที่ประชุมรัฐสภา ทั้งนี้ หากพรรคเพื่อไทยไม่เห็นด้วยกับแนวคิดดังกล่าว ตนจะเสนอแนวคิดต่อภาคประชาชนและสมาคมทางกฎหมายให้ดำเนินคดีกับประธานและรองประธานรัฐสภาแทนในเร็วๆ นี้

ผ่านฉลุย ที่ประชุมร่วม เห็นชอบ สูตร ส.ส. 375 + 125 วาระ 3 ด้วยคะแนน 347 ต่อ 37

ที่มา มติชน

การประชุมร่วมรัฐสภาเพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราช อาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ...) พ.ศ. ... มาตรา 93-98 (ที่มาของส.ส. สูตร 375 + 125 ) วาระ 3 ที่ประชุมมีมติด้วยคะแนนเห็นชอบ 347 ไม่เห็นชอบ 37 เสียง งดออกเสียง 42 ซึ่งถือว่าเห็นชอบเกินกึ่งหนึ่งตามที่ได้กำหนดไว้ 312 เสียง ผ่านร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา93-98 ที่มาของส.ส. โดยส.ส.พรรคเพื่อไทย วอร์กเอ้าส์ ไม่เข้าร่วมประชุม

ก่อนหน้านี้ ที่ประชุมร่วมรัฐสภาเพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ...) พ.ศ. ... ที่ประชุมมีมติด้วยคะแนน 397 ต่อ 19 เสียง งดออกเสียง 10 ซึ่งถือว่าเห็นชอบเกินกึ่งหนึ่งตามที่ได้กำหนดไว้ 312 เสียง ผ่านร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 190 ว่าด้วยประเภทหนังสือสัญญาระหว่างประเทศที่ต้องผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา

จากนี้ จะต้องนำร่างรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเพิ่มเติมที่ผ่านวาระ 3 ขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย ภายใน 20 วัน เพื่อให้พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย และประกาศในราชกิจจานุเบกษา เพื่อใช้บังคับเป็นกฎหมายต่อไป

ปากชักศึก

ที่มา ข่าวสด

คอลัมน์ ทิ้งหมัดเข้ามุม

มันฯ มือเสือ




อ่านข่าวนายกษิต ภิรมย์ พูดในงานสัมมนา "ประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน เหตุการณ์ปกติ?"

ไม่น่าเชื่อแต่ละคำแต่ละประโยคจะออกจากคนเป็นรมว.การต่างประเทศ และอดีตทูตไทยประจำประเทศใหญ่ๆ

ไม่เพียงประกาศท้ารบตลอดแนวชายแดน ยังข่มขู่กัมพูชาด้วยว่าถ้ายังทำตัวเป็นเด็กเกเรก็มีแต่เจ็บตัวลูกเดียว

ยิ่งกว่านั้น รัฐมนตรีกษิต ยังกล่าวหารัสเซีย อินเดีย ฝรั่งเศส 3 ประเทศยักษ์ใหญ่ว่าอยู่เบื้องหลังสนับสนุนกัมพูชาเปิดศึกสู้รบกับไทย

แถมระบุเครื่องยิงจรวดบีเอ็ม 21 ที่กัมพูชาใช้ยิงถล่มบ้านภูมิซรอลของไทยก็ได้มาจากสหรัฐ จีน และบัลแกเรีย

ส่วนได้มาวิธีใด ซื้อขายหรือได้มาฟรีๆ ยังอยู่ระหว่างตรวจสอบข้อมูล

ไม่รู้ว่าสติของอดีตทูตกษิต ยังดีอยู่หรือเปล่าถึงได้พูดออกมาอย่างนั้น

เพราะนอกจากเป็นการพูดจาโดยไม่มีหลักฐาน

ยังเสี่ยงต่อการทำให้สถานการณ์ที่เริ่มสงบเกิดปะทุรุนแรงขึ้นมาอีกรอบ

ความเสียหายจากศึกปะทะทหารไทยกับกัมพูชา

ประชาชนในพื้นที่เป็นฝ่ายรับเคราะห์ สูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน ลูกเด็กเล็กแดง คนเฒ่าคนแก่ต้องวิ่งหลบลูกปืน ทิ้งบ้านช่องไปอยู่ในศูนย์อพยพ

ภาพเหล่านี้ไม่เป็นที่รับรู้ของรัฐมนตรีกษิต เลยหรืออย่างไร

ทั้งยังผิดวิสัยนักการทูตเก่า ที่ต้องยึดหลักแก้ไข ปัญหาขัดแย้งระหว่างประเทศด้วยวิธีการพูดจาภาษาดอกไม้ ไม่ใช่ภาษาม็อบคลั่งชาติ

ที่เอะอะก็เอาแต่ท้าตีท้าต่อย

ที่สำคัญเมื่อแก้ปัญหาไม่ได้ก็ยังโทษข้าราชการ หาว่ากระทรวงการต่างประเทศเป็นแดนสนธยา ถูกครอบงำจากอดีตข้าราชการประจำและอดีตนักการเมือง

ไม่ยอมส่องกระจกดูตัวเองเลยว่า

ตั้งแต่เข้ามาทำงาน 2 ปี ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน และมหาอำนาจอีกหลายประเทศ ดีขึ้นหรือเลวลงอย่างไร

มิตรรักษาไว้ไม่ได้ เก่งแต่เพาะศัตรู

แถมยังมีหน้ามาบอกว่าไม่ได้อยากมาเป็นรัฐมนตรีแต่แรกเพราะอยู่บนเวทีพันธมิตรฯก็สนุกสนานดีอยู่แล้ว

ก็แล้วแต่ ถ้าคิดว่าการยึดทำเนียบ ยึดสนามบินเป็นเรื่องสนุกสนาน อาหารดี ดนตรีไพเราะ

เชิญลาออกไปร่วมด้วยตอนนี้ยังทัน

เพราะดูแล้วม็อบแถวๆ สะพานมัฆวานฯ ยังต้องการกำลังคนอีกมาก

และท่าทางจะไม่เลิกบ้าง่ายๆ

ไอ้คนหนีทหาร มันลากชาติไทยเรา เข้าสู่…สงคราม!!!

ที่มา vattavan

วาทตะวัน สุพรรณเภษัช

มื่อออกรับราชการทางภาคอีสาน กว่า 40 ปี ก่อนนั้น ผมได้เรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับคนอีสานด้วยความสนใจ อาจเป็นเพราะต้นตระกูลฝ่ายบิดาของตัวเอง เป็นคน ‘ไทยโคราช’ โดยคุณปู่มีภูมิลำเนาเดิมอยู่ที่ บ้านน้ำเมา (ชื่อดี๊ดี) ตำบลลาดบัวขาว อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา จึงมีคนนามสกุลเดียวกัน อยู่ที่อำเภอนี้มีจำนวนพอสมควร
ถ้าไปตามถนนมิตรภาพมุ่งหน้าไปโคราช ทางเข้าบ้านน้ำเมาจะอยู่ซ้ายมือ และเลยจากทางเข้าบ้านน้ำเมาไปหน่อย ระหว่างกิโลเมตรที่ 206-207 ทางด้านขวามือของถนนมิตรภาพ จะมีป้ายบอกจุดท่องเที่ยวว่า
“แหล่งหินตัด”
แหล่งหินดังกล่าว เป็นเนินเขาที่เต็มไปด้วยหินทราย ที่ยังปรากฏร่องรอยของการสกัดหิน เป็นร่องลึกรูปสี่เหลี่ยมขนาดต่างๆ อยู่หลายแนว คล้ายกับก้อนขนมเค้ก และยังคงทิ้งร่องรอยของคมสิ่ว ที่ใช้เป็นเครื่องมือในการสกัดเอาไว้ชัดเจน
สันนิษฐานกันว่า พวกขอมคงจะนำหินทรายจากบริเวณนี้ ไปสร้างปราสาทหินหลายแห่ง ที่ตั้งอยู่ในบริเวณใกล้เคียง

เมื่อขอมมีอิทธิพลในสุวรรณภูมินั้น ราวพุทธศตวรรษที่ 17 ศูนย์กลางแห่งอำนาจอยู่ที่เมือง ‘พิมาย’ และอิทธิพลขอมได้แผ่ข้ามทิวเขาพนมดงรัก ไปครอบคลุมถึงเมืองปราจีนบุรีด้วย
ด้วยความสงสัย ผมเคยถามท่านอาจารย์ จุลทรรศน์ พยาฆรานนท์ ราชบัณฑิตว่า
“ขอมขนหินพวกนี้ ไปได้อย่างไรกันครับ?”
ได้รับคำตอบว่า
หินทรายที่ถูกตัด จะมีรูพรุนตามธรรมชาติอยู่ การขนหินในยุคนั้น คนโบราณจะตัดไม้ไผ่ เป็นท่อนยาวๆ แล้วใช้ไม้ไผ่แยงไปตรงรูร่องของหิน แล้วแรงคนช่วยกันดันหินแต่ละก้อน ให้เคลื่อนที่ไปยังจุดหมายที่ต้องการ
แต่... วันหนึ่งๆ จะไปได้ไกลแค่ไหนกันนะ?
ผมเองยังไม่เคยลอง จึงไม่ทราบ แต่คิดว่า กว่าพวกเขาจะขนหินนับหมื่นนับแสนก้อน ไปสร้างเป็นองค์ปราสาทใหญ่โตได้ และเป็นการก่อสร้างศาสนสถาน ตามคติความเชื่อเรื่องการสถาปนาพระราชอำนาจ ของกษัตริย์ขอม ผ่าน‘ลัทธิเทวะราช’ นั้น
คงต้องใช้คนจำนวนมากมาย และทุนทรัพย์มหาศาล จึงจะสร้างปราสาทหินหลังหนึ่งๆ สำเร็จลงได้ อีกทั้งคงต้องใช้เวลานานนับสิบๆปีเดียว
ดังนั้น ความทุกข์ยากของแรงงานที่ถูกเกณฑ์มา คงจะแสนสาหัสทีเดียว ผู้คนคงจะต้องล้มตายกันเป็นจำนวนมาก เพราะงานคงหนัก อีกทั้งไข้ป่าแถบนั้น ก็ชุกชุมเหลือกำลัง หยูกยาก็ไม่มี และการรักษาพยาบาลก็จำกัด คงเป็นเหตุให้จำนวนผู้เสียชีวิตระหว่างการก่อสร้าง อาจเป็นเรือนหมื่นเป็นแสน ก็คงจะเป็นไปได้
คำถามต่อไป มีอยู่ว่า
แล้วผู้คนที่เป็นแรงงาน มาจากไหนกันล่ะ?
ตรงนี้พอตอบได้ว่า ส่วนที่ควบคุมการก่อสร้าง คงจะเป็นขอม แต่แรงงานน่าจะเป็นคนท้องถิ่น ซึ่งน่าจะเป็นบรรพบุรุษของคนอีสานในปัจจุบันนี่แหละ

ข้อสงสัยอีกประการหนึ่ง คือ
‘ขอม’ กับ ‘เขมร’ เป็นชนชาติเดียวกันหรือไม่?
นี่เป็นคำถามโลกแตก ถกเถียงกันได้อย่างไม่มีข้อยุติ แต่เอาเป็นว่า เมื่อขอมกลายเป็นเขมร ก็ต้องตกอยู่ในอำนาจของไทยมาช้านาน และพ้นจากการปกครองของไทย ก็ตกเป็นขี้ข้าฝรั่งเศสอยู่อีกหลายทศวรรษ
อย่างไรก็ตาม พอสรุปได้ว่า
การก่อสร้างปราสาทใหญ่โต ใช้ทุนทรัพย์และชีวิตคนจำนวนมหาศาล ในที่สุดผู้คนทนความทุกข์ยากไม่ไหว ก็กระด้างกระเดื่อง หรือหลบหนีไปจากแผ่นดินที่มีการกดขี่
อาณาจักรขอมรุ่งเรืองใหญ่โตเพราะ ‘หิน’ แต่สุดท้าย จักรวรรดิของพวกเขา ก็ล่มสลายลงเพราะ ‘หิน’ เช่นเดียวกัน!

ถึงกระนั้น สิ่งก่อสร้างที่เป็นทำด้วยหินในรูปปราสาท ยังทรงความสำคัญอยู่ในความรู้สึก หรือจะเรียกให้ทันสมัยก็คือ ยังอยู่ในจิตวิญญาณของผู้คนในแผ่นดินกัมพูชา ซึ่งคนเขมรเชื่อกันว่าขอมที่รังสรรค์ปราสาทหิน ให้เป็นอลังการงานสร้างนั้น เป็นบรรพบุรุษของพวกเขานั่นเอง
ด้วยเหตุผลดังกล่าว เราจึงได้เห็นรูปปราสาทหินสีขาวอย่าง ‘นครวัด’ ปรากฏอยู่กลางธงชาติกัมพูชา
ความสำคัญสำหรับปราสาทหิน สำหรับชาวเขมรนั้น มีมากจริงๆ เพราะปราสาทหินนั้น เปรียบเสมือนสัญลักษณ์ แสดงความเป็น ‘ชาติ’ ของพวกเขา และนี่คงจะเป็นเหตุผล ทำให้เราชาวไทยคิดได้ว่า
ทำไมเขมรจึงดิ้นรนสุดขีด เพื่อจะครอบครองปราสาทหินอย่าง ‘เขาพระหาร’ เอาไว้ให้ได้!?
คนไทยในปัจจุบันหรือแม้ในอดีต ก็ไม่มีความรู้สึกซาบซึ้งหรือผูกพันกับปราสาทหิน อย่างที่คนเขมร แต่ถึงกระนั้น ปราสาทหินที่เขาพระวิหาร ยังดันกลายเป็นปัญหาของบ้านเราจนได้

นอีสานนั้น ถูกอิทธิพลจากขอมครอบงำหลายศตวรรษ จนขอมเสื่อมอำนาจ แผ่นดินอีสานก็ตกอยู่ใต้การปกครองของกษัตริย์ในยุคอยุธยา และรัตนโกสินทร์ มาจนถึงปัจจุบัน
หลังกึ่งพุทธกาลไม่นาน ตอนผู้เขียนออกรับราชการทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้เห็นผู้หญิงอีสานนุ่งผ้าถุงสองชั้นให้นึกแปลกใจ โดยเฉพาะยิ่งผู้หญิงภาคนี้ ที่เข้าไปรับจ้างทำงานตามบ้านที่กรุงเทพ (สมัยนั้นคนอีสานยังเรียกการไปกรุงเทพ ว่า “ไปไทย”) ซึ่งมีอยู่มากหลังกึ่งพุทธกาล
พวกเธอนุ่งผ้าถุง 2 ชั้น หรือ 2 ผืน!
ยังนึกสงสัยอยู่ว่า ทำไมพวกเธอต้องนุ่งอย่างนั้น แต่เมื่อสอบถามผู้เฒ่าผู้แก่ดูแล้ว ก็ได้ความว่า
การที่ถูกครอบงำโดยอิทธิพลต่างถิ่น บางครั้งก็ต้องถูกกวาดต้อนไปเป็นแรงงานของชนชาติที่มีอำนาจ เลยทำให้คนอีสานต้องเตรียมพร้อมเสมอ สำหรับ...
‘การอพยพ’
ผู้หญิงต้องนุ่งผ้าถุง 2 ชั้น เพื่อจะมีไว้ผลัดยามต้องเดินทางรอนแรมยามหนีศัตรู หรือเมื่อถูกกวาดต้อนไปเป็นเชลย และคงติดจนกลายเป็นความเคยชิน ที่ฝังลึกจิตใจของชาวอีสานสืบต่อกันมาเพราะการที่จะต้องอพยพ ย้ายถิ่นที่อยู่บ่อยครั้งนั่นเอง

ดังนั้น เมื่อเกิดการรบพุ่งระหว่างไทยกับเขมรครั้งล่าสุด ที่อุบัติขึ้นเมื่อเดือน ก.พ.2554 ไม่กี่วันมานี้ เป็นครั้งแรกในรอบ 30 ปี พี่น้องผู้หญิงชาวอีสานที่ต้องออกจากบ้าน ไปยังที่พักพิงใน ‘ศูนย์อพยพ’ ชั่วคราว ที่ทางการจัดให้ มีจำนวนมากที่นุ่งผ้าถุงสองชั้น เหมือนอย่างที่บรรพบุรุษเคยทำมาก่อน ยามเมื่อต้องพลัดที่นาคาที่อยู่ หรือต้องหนีภัยสงคราม
ใครเลยจะนึกว่า วันหนึ่งเราต้องเห็นพี่น้องชาวอีสาน จำนวนนับเป็นหมื่นๆ ต้องออกอพยพออกจากบ้านเรือนตนเอง ไปหาที่ปลอดภัย
เพราะภัยสงคราม!
ที่ไปไม่ทัน ก็ต้องลงหลุมหลบภัย หรือไม่ก็ต้องทำตัวเป็น ‘หนู’ ไปมุดหรือคลานลง ตามท่อที่เตรียมไว้ เพื่อเอาชีวิตรอด
น่าอนาถเหลือกำลัง!

นี่เป็นเพราะ ‘ความล้มเหลว’ ในการบริหารบ้านเมือง ของนายมาร์ค มุกควาย กับรัฐบาลกาลีโคตรคอรัปชั่นของเขา เพราะ รัฐบาลโลซกนี้ ได้ทำลายความสัมพันธ์ระหว่างไทยเรากับประเทศกัมพูชา
จนย่อยยับ!
นายมาร์ค มุกควาย ได้ทำให้ประเทศไทยเรา ซึ่งในยุคของนายกทักษิณฯนั้น ผมเคยเล่าให้ฟังแล้วว่า คุณเตช บุนนาค ได้ให้สัมภาษณ์ว่า
ไทยเราเคยมีเกียรติภูมิ เป็นผู้นำในเวทีอาเซียน แต่บัดนี้เมืองไทยเรากลาย เป็นที่เกลียดชังของประเทศเพื่อนบ้านรอบตัว
จนต้องมี ‘ภาวะสงคราม’ ในที่สุด!

การสงครามครั้งนี้ แม้ฝ่ายไทยโดยรัฐบาลโลซก พยายามเหลือเกินที่จะไม่เรียกว่าเป็น ‘สงคราม’ โดยพยายามเฉไฉไปใช้คำอื่น เช่น คำว่า “การปะทะกันตามแนวชายแดน” แต่ประเทศคู่ศึกคือกัมพูชา เขาเรียกการสู้รบระหว่างสองประเทศ เต็มปากเต็มคำว่า “สงคราม” และเรียกทหารที่ถูกจับได้ว่า
“เชลยศึก”
จะไม่เป็นสงครามได้อย่างไร เมื่อฝ่ายเขมรเขาบอกว่าเป็นสงครามที่แท้จริง อีกทั้งเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงพนมเปญ ก็เซ็นเอกสารรับตัวทหารเชลย ซึ่งทำขึ้นตามกฎกาชาดสากล อันว่าด้วย ‘การมอบ-รับเชลยศึก’ ต่อหน้าคณะทูตทหารประจำกรุงพนมเปญหลายประเทศ
การสงครามกับเขมรครั้งนี้ นายมาร์ค มุกควาย คงไม่รู้สึกถึงความเดือดร้อนราษฎร (อาจเพลินกับการเล่นเฟซบุคมากกว่า) แต่ปรากฏว่า

content/picdata/279/data/fire.jpg

ราษฎรต้องบาดเจ็บล้มตาย บ้านเรือนของประชาชนโรงเรียนฯลฯ พังพินาศ เกิดเพลิงลุกไหม้ ฉิบหายสิ้นชุมชนชาวไทยได้รับความเสียหายหนัก
พี่น้องประชาชน ผู้คนในพื้นที่...ต้องน้ำตานองหน้า!
เพื่อนร่วมชาติของผู้เคราะห์ร้าย ที่อยู่ในจังหวัดอื่น เห็นภาพแล้วใจหาย ให้สงสารและเห็นพวกพ้องน้องพี่ ที่ร่วมแผ่นดินร่วมชาติไทยด้วยกันเป็นกำลัง
นี่เป็นผลต่อเนื่องมา ตั้งแต่พรรคประชาธิปรตมัน ‘สิ้นคิด’ ดันไปเอา นายกษิต ภิรมย์ คนมีปัญหา มาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ โดยไม่สนใจใยดีว่า
นายกษิตฯคนนี้ สังกัดฝ่ายพันธมาร แถมยังมีส่วนยึดสนามบินนานาชาติ ซึ่งคดีความก็ยังคาราคาซังกันอยู่
นั่นยังไม่สำคัญเท่า นายกษิตฯ ขึ้นเวทีด่าสมเด็จฮุนเซ็นนายกกัมพูชาว่าเป็น...
…“กุ๊ย”

ารแต่งตั้งนายกษิตฯ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศนั้น ได้แสดงถึงความอ่อนด้อยทางการต่างประเทศของนายมาร์ค มุกควาย ซึ่งดันเสือกไปเลือกเอาบุคคล ที่แสดงตัวเป็นปฏิปักษ์ชัดเจนกับ ‘สมเด็จฮุนเซน’ นายกรัฐมนตรีเพื่อนบ้าน ที่มีแนวชายแดนติดต่อกันยาวนับพันกิโลเมตร มาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ต้องขอตอกย้ำอีกทีว่า นายมาร์ค มุกควาย นั้น...สิ้นคิด!
โง่เสียจนกระทั่ง มองเหตุการณ์ภายหน้าไม่ออกว่า...
ถ้าตั้งไอ้ตัวนี้เข้ามาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศ บ้านเมืองจะต้องเดือดร้อน...
...โง่ฉิบหายเลยจริงๆ!!
แล้วก็เป็นไปตามคาด พออีตากษิต ภิรมย์ เข้ามาดำรงตำแหน่ง ความสุขสงบระหว่างสองประเทศ ที่เคยดีมาในยุคนายกฯทักษิณ กลับ ‘ร้อนฉ่า’ ขึ้นมาทันที จนผมต้องเขียนวิพากษ์วิจารณ์ไว้ด้วยบทความ ที่ค่อนข้างรุนแรงหนักหน่วง เอาไว้ก่อนล่วงหน้าเป็นปี ถึง 3 บทความด้วยกันคือ

1.บทความชื่อ “ฝีคัณฑสูตร” ในรูทวาร ของประชาธิปัตย์!!!
21 มี.ค.2552
http://vattavan.com/detail.php?cont_id=137
ผมได้บรรยายว่า
ประชาธิเปรตจำต้องตั้งนายกษิตฯ คนของฝ่ายพันธมารเข้ามาเป็นรัฐมนตรีต่างประเทศ เพราะร่วมหัวจมท้ายกันในการโค่นล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน
นายคนนี้จึงเหมือน ‘ฝีในรูตูด’ ของพรรคดักดาน ที่จะต้องทำให้พรรคประชาธิเปรตเจ็บแสบต่อไป

2. บทความชื่อ เหตุฉิบหายจะเกิดขึ้นกับเมืองไทยได้...ไม่
ยากเลย!!!
http://vattavan.com/detail.php?cont_id=157
ซึ่งผมเขียนไว้ตั้งแต่ 5 กรกฎาคม 2552 อยากให้ท่านผู้อ่านได้ดูสักนิด โดยผมได้บรรยายตอนจบ เอาไว้อย่างครับ...
...อ่านข่าวแล้ว ก็ปลงสังเวช ที่ได้เห็นว่ารัฐบาลโลซกของคนหนีทหารอย่างนายอภิแสบ ต้องโดนชาติที่เล็กกว่า แต่มีผู้นำที่เข้มแข็งแถมเป็นทหารเก่าชำนาญการศึกโชนโชก
ไล่โขก ไล่สับ...เอาตามใจชอบ!

แม้เกียรติภูมิของชาติเสียหาย รัฐบาลโลซกก็ยังมีหน้าออกมาสะตะบอแหลชาวบ้านเขาไปวันๆ ยิ่งไปกว่านั้นสื่อต่างๆ ในกัมพูชาพากันตีพิมพ์ข่าวเกี่ยวกับข้อเสนอของไทย ถูกคณะกรรมการมรดกโลกปัดปฏิเสธ ไม่นำขึ้นพิจารณาในการประชุมประจำปี
สื่อยักษ์ใหญ่ขะแมร์ คือหนังสือพิมพ์ดืมอัมปึล (Deum Ampil) รายงานว่า
คณะกรรมการมรดกโลกได้ปิดการประชุมที่เมืองเซวิลล์ (Seville) ประเทศสเปน ในวันที่ 28 มิ.ย.ที่ผ่านมา โดยไม่มีการนำข้อเสนอของไทยที่ ขอให้ทบทวนการพิจารณาขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก
ดืมอัมปึลถึงกับพาดหัว ด้วยความเริงร่าว่า

"ประเทศไทยปราชัยอย่าง ‘น่าอดสูที่สุด’ ในการเรียกร้องให้ทบทวนการขึ้นทะเบียนพระวิหารเป็นมรดกโลก.."
นี่ไง...หน้าแหกกันเป็นริ้วๆไปเลย!

ดังนั้น ในทัศนะของ “วาทตะวัน” แล้ว การที่ตั้งนายฝีคัณฑสูตร “กษิต” มาเป็นรัฐมนตรีต่างประเทศ อันเป็นผลพวงจากการตั้งรัฐบาลผสม ที่โง่เขลาเบาปัญญาของนายมาร์ค มุกควาย ซึ่งกระทำไปยำเกรงขบวนการพันธมาร จนต้องเอานายคนนี้มาเป็นรัฐมนตรีพัวพันต่างประเทศ
จึงไม่น่าแปลก ที่ชาวบ้านเขาไม่ชอบขี้หน้ารัฐมนตรีต่างประเทศนายนี้ สำหรับข้าราชการในกระทรวง ก็ได้ข่าวว่าแอนตี้เจ้ากระทรวงกันมาก
เลยพาลชิงชัง รัฐบาลปัจจุบันเข้าไปด้วย!

ต้องขอบอกกันไว้ชัดๆ ตรงนี้เลยว่า
มาถึงวันนี้แล้ว ช่างเป็น “เคราะห์กรรม...ของประเทศไทย” จริงๆ ที่ได้ผู้นำคุณภาพต่ำเตี้ยเรี่ยดิน และถ้าหากเมืองไทยยังมีนายมาร์ค มุกควาย เป็นหัวหน้ารัฐบาลโลซก และนายฝีคัณฑสูตร “กษิต”เป็นรัฐมนตรีต่างประเทศอีกต่อไป...
เหตุฉิบหายจะเกิดขึ้นกับเมืองไทยได้...ไม่ยากเลย!!!

ที่ผมขึ้นชื่อคอลัมน์ ว่า เหตุฉิบหายจะเกิดขึ้นกับเมืองไทยได้
...ไม่ยากเลย!!!
ตั้งแต่ 5 กรกฎาคม 2552 เพราะตัวเองมั่นใจว่า ถ้าไอ้ตัวนี้มาเป็นรัฐมนตรีต่างประเทศ เหตุฉิบหายต้องเกิดแน่ๆ
แล้วก็เป็นไป...ตามคาด!
มาถึงวันนี้ ท่านทั้งหลายอาจได้เห็นภาพที่พี่น้องประชาชน ต้องมุดลงไปในท่อ เพื่อหลบลูกกระสุนปืนใหญ่จากฝ่ายเขมร
มีผู้คนต้องสังเวยชีวิต และบาดเจ็บ!
ที่น่าสังเวชและเขย่าหัวใจผมเหลือเกิน คือภาพที่จะได้เห็นจาก น.ส.พ.ไทยโพสต์ ต่อไปนี้

content/picdata/279/data/photo.jpg

นี่คือหญิงชรา ที่ป่วยเจ็บ แต่ต้องถูกเจ้าหน้าที่ช่วยกันแบกอพยพ หลบหนีความตายจากภัยสงคราม อย่างทุลักทุเล
ท่านผู้อ่านลองพิจารณา ดูสีหน้าของคุณยายท่านสิครับ ช่างเปล่งความรู้สึกทุกข์ระทม ชัดเจนออกมาทางใบหน้า อย่างไม่จำเป็นต้องอธิบายกันซ้ำซ้ำ
ภาพคุณยายนี้ สร้างความสะเทือนใจ ให้ผมสุดๆ!

หลังจากที่ผมเขียน 2 คอลัมน์ ดังที่เล่าไปแล้วข้างต้น แต่ยังไม่หมดแค่นั้น เพราะผมยังกระทุ้งติดตามต่อมาทันที ด้วยบทความที่ 3 ชื่อ “รัฐมนตรีผู้ร้าย กับนายกฯโลซก!?” เมื่อ 10 กรกฎาคม 2552 http://vattavan.com/detail.php?cont_id=159
ผมอธิบายความว่า เจ้ากษิต ภิรมย์ นั่นแหละ ที่เป็นไอ้รัฐมนตรีผู้ร้าย ส่วนเจ้านายกฯโลซก ไม่ใช่ใครที่หนวยเลย คือ
นายมาร์ค มุกควาย นั่นเอง!

ท่านผู้อ่าน ที่เคารพรักครับ

บ้านเมืองไทยของเรานั้น ทำไมถึงได้ ‘ซวยสุดขีด’ อย่างนี้
ก็ไม่รู้ ที่ดันไปได้ไอ้เปรตสองตัว คือนายมาร์ค มุกควาย และ
นายฝีคัณฑสูตร กษิต ภิรมย์ มากุมชะตาชีวิตของคนไทย อย่างเราๆท่านๆ

ผมคุยกับเพื่อนนักเรียน ‘เตรียมทหาร’ รุ่นเดียวกัน ซึ่งเป็นนายทหารนักรบขนานแท้ เคยดำรงตำแหน่งสูงในกองทัพมาก่อน ถึงเหตุการณ์ครั้งนี้แล้ว
รู้สึกใจหาย เมื่อเขาพึมพำออกมาดังๆ ให้ได้ยินว่า

“คงเป็นคราวเคราะห์ของบ้านเมือง เพราะเราปล่อยให้ ‘ไอ้คนหนีทหาร’ มันลากชาติไทยเรา เข้าสู่...สงคราม!!!”

......................

ท้ายบท เพื่อความสมบูรณ์ กรุณาอ่านบทความ “คนไทย ‘เงี่ยน’ สงคราม!!!” http://vattavan.com/detail.php?cont_id=242
จะได้เข้าใจชัดเจน ยิ่งขึ้นด้วย

อนึ่ง ก่อนส่งบทความนี้ เจ้าฝีคัณฑสูตรในรูตูดประชาธิเปรต ยังปากดีไปกล่าวหาชาติใหญ่ อย่าง รัสเซีย,ฝรั่งเศส และอินเดียเข้าอีก น่าจะให้ฉายาเพิ่มอีกว่าเป็น...
“รัฐมนตรีกระทรวง ชักน้ำเข้าลึก-ชักศึกเข้าบ้าน”

(คอลัมน์ ไอ้คนหนีทหาร มันลากชาติไทยเข้าสู่…สงคราม!!! ออนไลน์ วันเสาร์ ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2554)

ล้านคำบรรยาย การ์ตูนเซีย วันที่ 12/02/54

ที่มา thaifreenews

โดย blablabla



เพราะมันคือ ฆาตกร กระฉ่อนโลก
จึงวิปโยค ทั่วถิ่น แผ่นดินนี้
เพราะมันคน จัญไร ใจอัปรีย์
จึงย่ำยี เพื่อนพ้อง พี่น้องไทย....

วิปริต โสมม ผสมโหด
จิตต่ำ-โฉด บัดซบ มันกลบไว้
สร้างแต่เรื่อง ชั่วช้า ระอาใจ
จนหม่นไหม้ ไฟท่วม อ่วมธรณิน....

ประชาชน ทนรับกรรม อย่างช้ำชอก
สร้างภาพหลอก เพิ่มพูน ไม่สูญสิ้น
ประเทศชาติ หมดหวัง จนพังพิน
ทั่วผืนดิน เคยสุข กลับทุกข์ทวี....

มีอาวุธ ในมือ คือคำด่า
ไม่อาจฆ่า ให้ตาย ความหมายนี้
แค่ประจาน คนสับปลับ ใจอัปรีย์
ให้รู้ดี รู้ชั่ว ของตัวตน....

ช่วยกันไล่ ช่วยกันด่า คนหน้าด้าน
แม้นมันพาล หลบไป ได้อีกหน
ยังหลงเหลือ สันดาน สามานย์ชน
ไว้หลอกคน โง่เง่า เอาไว้เชียร์....

รอดูบท สุดท้าย มันตายแน่
เหลือเพียงแค่ รอยบาป คราบสูญเสีย
ทิ้งตำนาน คนชั่ว ไว้นัวเนีย
ส่วนกองเชียร์ ยังเฮฮา บ้าตามมัน....


blablabla32@hotmail.co.th
http://3blabla.blogspot.com
วันเสาร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

คลิบ ชาวอียิปต์ฉลองชัยชนะ

ที่มา thaifreenews

โดย Tawan

http://www.youtube.com/watch?v=TnK4cW2u6zc



http://www.youtube.com/watch?v=Kflttt-PS3k

มูบารัคลาออก โดย กาหลิบ

ที่มา thaifreenews

โดย bozo

เรียบเรียงโดย Nangfa





คอลัมน์ เมืองไทยหรือเมืองใคร?

เรื่อง มูบารัคลาออก

โดย กาหลิบ

ขณะที่เขียนบทความอยู่นี้
ผู้ประท้วงอียิปต์เป็นแสนๆ กำลังโห่ร้องแสดงความยินดีสุดขีด เมื่อรู้ข่าวว่า
ประธานาธิบดีฮอสนี่ มูบารัค ที่ครองอำนาจมานานกว่า ๓๐ ปี
ได้ลาออกจากตำแหน่งแล้ว

ผู้ออกมาแถลงข่าวนี้ทางโทรทัศน์แห่งชาติของอียิปต์คือ
รองประธานาธิบดี โอมาร์ สุไลมาน ผู้เป็นเป้าหมายหนึ่งของการประท้วงต่อต้าน
โดยเฉพาะเมื่อเขากล่าวอย่างชัดเจนไปทั่วประเทศและทั่วโลกเมื่อไม่กี่วันนี้ว่า
อียิปต์และคนอียิปต์
ยังไม่พร้อมต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ถึงคำพูดสั้นๆ ว่า
“ประธานาธิบดีฮอสนี่ มูบารัคได้ตัดสินใจลาออก
จากตำแหน่งประธานาธิบดีของรัฐต่อหน้าผู้บัญชาการเหล่าทัพต่างๆ ของอียิปต์”
จะเป็นเหตุให้คนอียิปต์ส่วนใหญ่รู้สึกลิงโลดใจ
แต่ก็ยังไม่ชัดนักว่า รักษาการประธานาธิบดีอย่างนายสุไลมาน
จะอยู่ร่วมโลกกับขบวนประชาธิปไตยอียิปต์อย่างไรต่อไป
เมื่อหัวใจและอุดมการณ์แตกต่างกันถึงเพียงนั้น


ในขณะที่เสียงยินดีดังกึกก้องไปทั้งจัตุรัสตาเฮียร์กลางกรุงไคโร
และนครอเล็กซานเดีย
เราควรลองพิจารณาโดยใช้สติว่า
เกิดอะไรขึ้นแน่ในประเทศที่สำคัญในโลกอาหรับประเทศนี้

การลาออก “ต่อหน้าผู้บัญชาการเหล่าทัพต่างๆ ของอียิปต์” นั้น
เป็นวิธีสื่อสารที่ค่อนข้างชัดว่า
ผู้นำของอียิปต์คงมิได้ลาออกอย่างสมัครใจหรือด้วยตนเอง
แต่ถูกบังคับด้วยคนถืออาวุธที่เคยอยู่ใต้บังคับบัญชาของตนมากกว่า

มิหนำซ้ำยังเอ่ยถึงคำว่า “สภากลาโหม” ของประเทศ
ในฐานะผู้ “ใช้อำนาจ” แทนเสียด้วย

ครับ มูบารัคคงจะถูกรัฐประหารเงียบเข้าให้แล้ว

วันนี้คือวันศุกร์ที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นวันนัดหมายประท้วงครั้งใหญ่ในอียิปต์
จุดประสงค์อันชัดเจนและเป็นสาธารณะคือ
การกดดันเรียกร้องให้ประธานาธิบดีมูบารัคลาออกจากตำแหน่ง
ขณะที่แม่ทัพนายกองของอียิปต์ก็รีบเข้าหารือกันว่า
จะรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าวนี้อย่างไร

เวลาผ่านไปเพียงไม่กี่ชั่วโมง คำประกาศลาออกก็ปรากฏขึ้น
ภาษาที่ใช้อธิบายอย่างสั้นๆ ก็สื่อความหมายว่า
ชนชั้นปกครองในอียิปต์ได้ตัดสินใจร่วมกันแล้วว่า
จะไม่ท้าทายประชาชนที่กำลังแสดงสิทธิ์ประท้วงอย่างกว้างขวาง
ซึ่งเป็นการแสดงออกเชิงประชาธิปไตยครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์
แนวโน้มเมื่อตอนเย็นชี้ว่า
ขบวนประท้วงอาจจะเคลื่อนเข้าสู่บริเวณที่ตั้งของทำเนียบประธานาธิบดีได้
ซึ่งหากเกิดปรากฎการณ์เช่นนั้น
โอกาสที่จะเกิดการปะทะชนิดเสียเลือดเสียเนื้อคงจะมีมาก

สุดท้ายก็ต้องถอดชนวนสถานการณ์ด้วยการบีบให้ประธานาธิบดีผู้เป็นนายพลเก่า
และเป็นรองประธานาธิบดีของอันวาร์ ซาดัตต้องลาออกไป
ทั้งที่เจ้าตัวไม่สมัครใจและประกาศแล้วว่าจะอยู่ต่อไป


คำถามคือ สิ่งที่ดีใจกันมากว่าเป็น “ชัยชนะ” ของประชาชนชาวอียิปต์ในขณะนี้ คือ
ชัยชนะเหนือตัวบุคคลผู้มีอำนาจล้นพ้นอย่างมูบารัคเพียงคนเดียว
หรือเป็นชัยชนะเหนือเหล่าผู้มีอำนาจในอียิปต์ที่ยังอยู่ในอำนาจกันอีกมากมายกันแน่?

ตัวบุคคลอย่าง โอมาร์ สุไลมาน รักษาการประธานาธิบดี
ที่ประชาชนกำลังโกรธแค้นกันมาก
ในทัศนะว่าอียิปต์ควรเป็นเผด็จการต่อไปและไม่พร้อมต่อระบอบประชาธิปไตย
คณะผู้บัญชาการทหารที่ร่วมกันกดดันอย่างหนัก
จนอาจถึงขั้นเอาปืนจ่อหัวผู้ที่เคยเป็นประธานาธิบดีของสาธารณรัฐ
ให้ลาออกหรือไม่ก็ไม่รู้นั้น คือ
มิตรหรือศัตรูของประชาชนผู้เรียกร้องประชาธิปไตย?

ประชาชนชาวอียิปต์ได้รับ “ชัยชนะ” เปลาะนี้แล้ว
ยังต้องเตรียมใจ
และเตรียมกายไว้รอสู้รบอีกรอบหนึ่งกับ โอมาร์ สุไลมาน
และคณะทหารเหล่านี้หรือไม่?

เหล่านี้ล้วนเป็นคำถามที่ยังไม่มีคำตอบ
เพราะเสียงเช่นนี้ย่อมจางหายไปกับเสียงโห่ร้องแสดงความยินดีของคนที่คิดว่า
ตนเองได้รับชัยชนะแล้ว เช่นในอียิปต์ขณะนี้

เราควรร่วมยินดีกับเพื่อนชาวประชาธิปไตยอียิปต์ที่ออกแรงอย่างได้ผล
สามารถเปลี่ยนตัวหัวของประเทศได้ด้วยความมุ่งมั่นและกล้าหาญของตน

การไล่ประธานาธิบดีเผด็จการออกจากตำแหน่งได้หนึ่งคน
ถือเป็นความก้าวหน้าอย่างสำคัญที่มองข้ามมิได้
แต่การรุรังเผด็จการเหมือนล้มจอมปลวกลงทั้งอันนั้น
ยังเป็นภารกิจต่อเนื่องที่หัวใจอันเปี่ยมไปด้วยความปีติในค่ำคืนนี้
อาจยังไม่ได้คิดหรือไม่อยากจะคิด

อย่างไรก็ตาม เราต้องแสดงความยินดีจากหัวใจสู่พี่น้องของเราในอียิปต์
และในใจก็หวังอย่างเหลือเกินว่าชาวประชาธิปไตยไทยคงจะตามไปติดๆ ในไม่ช้า.


http://democracy100percent.blogspot.com/2011/02/blog-post_12.html

มูบารัคลาออกแล้ว หลังอียิปต์ชุมนุมมาถึงวันที่ 18

ที่มา ประชาไท

ฮอสนี มูบารัค” ประธานาธิบดีอียิปต์ลาออกจากตำแหน่งแล้ว โดยมอบอำนาจให้กับกองทัพรักษาการชั่วคราวแทน ขณะที่ผู้ชุมนุมขณะนี้ต่างตะโกนฉลองกัน โดยผู้นำฝ่ายค้านนายโมฮัมเหม็ด เอลบาราเด กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า “ประเทศนี้ได้รับการปลดปล่อย ภายหลังจากทศวรรษแห่งการกดขี่”

บรรยากาศการฉลองในอียิปต์เมื่อคืนวันที่ 11 ก.พ. หลังนายฮอสนี บูมารัค ประกาศลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดีอียิปต์ (ที่มา: อัลจาซีร่า)

จากการดำเนินการชุมนุมเพื่อขับไล่นายฮอสนี มูบารัค ประธานาธิบดีอียิปต์ มาอย่างยาวนานจนถึงวันที่ 18 ล่าสุดเมื่อคืนวานนี้ (11 ก.พ.) นายโอมา สุไลมาน (Omar Suleiman) รองประธานาธิบดีได้แถลงข่าวว่าประธานาธิบดีได้ยอมลงจากตำแหน่งแล้ว และมอบอำนาจการบริหารให้กับสภาสูงสุดของกองทัพ

โดยหลังการแถลงสั้นๆ ของสุไลมาน ทำให้ผู้ชุมนุมที่จัตุรัสทะห์รีตะโกนลั่น มีการฉลองและโบกธงโดยผู้ชุมนุมหลายแสนคนบริเวณนั้น ทั้งนี้ผู้ชุมนุมได้นัดหมายชุมนุมใหญ่กันในวันศุกร์นี

ผู้คนที่มาชุมนุมได้ตะโกนว่า “เราโค่นระบอบนี้ลงแล้ว” และผู้ชุมนุมหลายคนได้หลั่งน้ำตา ตะโกน และกอดซึ่งกันและกัน ผู้สื่อข่าวยังรายงานสดเพิ่มเติมด้วยว่า พวกเขาต่างกอดซึ่งกันและกัน และหอมแก้มกันและกันแม้พวกเขาจะไม่เคยรู้จักกันมาก่อน

นายโมฮัมเหม็ด เอลบาราเด ผู้นำฝ่ายค้านกล่าวว่า “นี่เป็นวันที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตของฉัน” ระหว่างให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวเอพี “ประเทศนี้ได้รับการปลดปล่อย ภายหลังจากทศวรรษแห่งการกดขี่”

ผู้สื่อข่าวอัลจาซีร่า ที่หน้าทำเนียบประธานาธิบดีรายงานว่า บรรยากาศเป็นไปด้วยความสนุกสนานอย่างบรรยายไม่ถูก ทั้งนี้มีผู้ชุมนุมหลายหมื่นคนปักหลักอยู่ที่นั่น

ดีนา มักดี (Dina Magdi) ผู้นำการชุมนุมที่จัตุรัสทะห์รีกล่าวว่า “ฉันได้รอมานานแล้ว ฉันทำงานมาตลอดชีวิตวัยทำงานของฉันเพื่อที่จะได้เห็นอำนาจที่เป็นของประชาชน ฉันพูดไม่ออกจริงๆ”

ความทรงจำนี้ ไม่ใช่เพียงแค่การลงจากอำนาจของมูบารัก แต่ยังเป็นอำนาจของประชาชนที่สามารถเปลี่ยนแปลงทุกสิ่ง ทุกอย่างเป็นไปได้”

นอกจากนี้ที่เมืองอเล็กซานเดรีย เมืองอันดับสองของอียิปต์ ผู้ชุมนุมหลายแสนคนต่างฉลองบนท้องถนน โดยผู้สื่อข่าวอัลจาซีร่าเรียกว่าเป็น “ระเบิดอารมณ์

ก่อนหน้าที่นายมูบารัคจะแถลงลาออก ผู้ชุมนุมหลายพันคนพยายามไปชุมนุมที่สถานีโทรทัศน์ของรัฐบาลและพยายามบุกเข้าไป โดยสถานีโทรทัศน์ของรัฐบาลถูกกล่าวหาว่าสนับสนุนรัฐบาลปัจจุบัน และรายงานข่าวประท้วงอย่างไม่ตรงไปตรงมา

โดยทหารได้ยืนเผชิญหน้ากับผู้ชุมนุมที่พยายามจะบุกเข้าไป โดยมีเพียงแนวลวดหนามขวางทหารกับผู้ชุมนุมไว้เท่านั้น โดยผู้สื่อข่าวอัลจาซีร่ารายงานว่า ความไม่พอใจได้เกิดขึ้น แต่หลังจากที่เมื่อคืนวันพฤหัสบดีสถานีโทรทัศน์ดังกล่าวนำเสนอเรื่องนายมูบารัคพยายามจะดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีจนถึงเดือนกันยายนอย่างซ้ำไปซ้ำมา

ที่มา: แปลจาก Hosni Mubarak resigns as president, Aljazeera, Last Modified: 11 Feb 2011 16:39 GMT http://english.aljazeera.net/news/middleeast/2011/02/201121125158705862.html

สัมภาษณ์ปิยบุตร แสงกนกกุล: "การปล่อยให้เงียบมันกระเทือนจริยธรรมทางการเมือง"

ที่มา ประชาไท

คำอธิบายโดยละเอียดกรณีศาลอาญาระหว่างประเทศว่ามีเขตอำนาจพิจารณาคดีสลายการชุมนุมคนเสื้อแดงหรือไม่ และโดยหลักสัญชาติ อภิสิทธิ์ตกเป็นจำเลยได้หรือไม่ "วันนี้ส่งเรื่องไปวันหน้าศาลอาจจะไต่สวนก็ได้ หรือไม่รับเลยก็ได้ แต่เรื่องที่เกิดขึ้นเราต้องพูดกันทุกวันๆ เพราะคนตายไปแล้วเขาพูดไม่ได้ แต่คนที่อยู่ต้องพูดแทนคนตาย ลืมไม่ได้เรื่องนี้"

ปิยบุตร แสงกนกกุล เป็นนักวิชาการคนแรกที่มีความเห็นต่อกรณีที่นายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม แถลงถึงการดำเนินการฟ้องร้องรัฐบาลไทยต่อศาลอาญาระหว่างประเทศเนื่องจากการสลายการชุมนุมคนเสื้อแดง เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 90 ราย และบาดเจ็บอีกกว่า 3,000 ราย

เขาให้เหตุผลด้านจริยธรรมทางการเมือง ว่าไม่ว่าคดีนี้จะได้รับการพิจารณาในศาลอาญาระหว่างประเทศหรือไม่ แต่นี่คือหมุดหมายที่แสดงให้เห็นว่า คนเสื้อแดงไม่ใช่พลเมืองถูกไล่ฆ่าตามอำเภอใจและรัฐไทยก็ทำเฉยเสียเหมือนอย่างที่ผ่านมา

ด้วยเหตุผลนี้ ผลักให้นักกฎหมายมหาชนอย่างเขาต้องหันมาศึกษาตัวบทกฎหมายระหว่างประเทศและกรณีศึกษาเกี่ยวกับเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ และรวมไปถึงประเด็นร้อนที่ถูกจุดขึ้นมาพร้อมกันคือ หลักกฎหมายว่าด้วยสัญชาติของนายกรัฐมนตรีไทย

000

ทำความเข้าใจ อะไรคือศาลอาญาระหว่างประเทศ

ศาลอาญาระหว่างประเทศไม่ใช่ศาลโลก (ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ – ICJ) ศาลอาญาระหว่างประเทศตั้งขึ้นโดยสหประชาชาติ แต่ศาลอาญาระหว่างประเทศตั้งขึ้นโดยสนธิสัญญากรุงโรม

ก่อนจะเข้าใจเรื่องอื่นๆ ผมว่าต้องดูเอกลักษณ์ก่อนว่าศาลอาญาระหว่างประเทศมีลักษณะอะไรที่ไม่เหมือนศาลอื่นๆ

ประการแรกก็คือ เป็นศาลถาวร คือก่อนหน้านั้นก็มีลักษณะแบบนี้ แต่เป็นศาลชั่วคราว เฉพาะคดี คือหลักสงครามโลกก็มีกรณีศาลที่นูเร็มเบิร์ก ต่อมาก็มีกรณียูโกสลาเวีย ที่จับเอาอดีตประธานาธิบดีสโลโบดัน มิโลเซวิซ สหประชาชาติก็ตั้งศาลเฉพาะคดีอดีตยูโกสลาวัย หรือกรณีรวันดา แต่มันเฉพาะคดีนั้นคดีเดียว สุดท้ายก็มีศาลถาวร ก็คือศาลอาญาระหว่างประเทศ ไม่เฉพาะคดีใดคดีหนึ่ง แต่ใช้เป็นการทั่วไปทั้งหมด

ประการที่สอง คือ เป็นศาลเสริม คือเสริมศาลภายใน หมายความว่าถ้าในประเทศเขามีการดำเนินกระบวนการยุติธรรมอยู่ หรือกำลังดำเนินกระบวนพิจารณาอยู่ ศาลอาญาระหว่างประเทศก็เข้าไปยุ่งไม่ได้ เว้นเสียแต่ว่ากระบวนการยุติธรรมในประเทศรัฐภาคีนั้นไม่มีความตั้งใจที่จะดำเนินการะบวนการยุติธรรมนั้น หรือไม่มีความสามารถเพียงพอ กรณีของอัมเตอร์ดัม เขาก็อ้างประเด็นนี้ว่ามีการดำเนินการล้าช้า

แต่ศาลจะตีความอย่างไร ช้าระดับไหน มีกรณีที่น่าสนใจคือที่อิรัก ตอนที่อเมริกาไปบุกอิรัก ประเทศที่ไม่พอใจอเมริกา ก็ยื่นเรื่องมาที่ ศาลอาญาระหว่างประเทศ ประเทศที่ดำเนินการฟ้องเป็นรัฐภาคีทั้งหมด จึงไม่มีประเด็นเรื่องผู้มีสิทธิฟ้อง ไม่ลำบากเหมือนของเรา แต่เมื่ออัยการเขาไปตรวจดูแล้ว เขาบอกว่าหลักเรื่องดินแดน เรื่องพื้นที่ ใช้ไม่ได้ เพราะเรื่องเกิดที่อิรักเพราะอิรักไม่ได้เป็นรัฐภาคี ส่วนเรื่องหลักสัญชาติก็ใช้ไม่ได้ เพราะสหรัฐไม่ได้เป็นรัฐภาคี แต่ทีนี้มีทหารอังกฤษเข้าร่วมด้วย อัยการก็บอกว่าอาจจะเข้าหลักเขตอำนาจเหนือบุคคล แต่อัยการไม่รับเพราะว่ายังไม่ปรากฏให้เห็นชัดว่าอังกฤษจะไม่ดำเนินกระบวนการพิจารณา

ประการที่สาม เป็นศาลที่คนที่ถูกฟ้องหรือถูกกล่าวหา เป็นบุคคลธรรมดา เป็นปัจเจกบุคคลไม่ใช่รัฐ นี่คือสิ่งที่ต่างกับศาลโลก หรือศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ คือรัฐฟ้องรัฐ เท่านั้น

กรณีศาลอาญาระหว่างประเทศคือฟ้องคน เอาคนมาติดคุก เป็นโทษทางอาญา ฉะนั้นกรณีที่คุณธาริต เพ็งดิษฐ์พูดว่าฟ้องปัจเจกบุคคลไม่ได้นั้น เป็นความเข้าใจที่ผิด

ประการที่สี่ คือเกิดจากใจสมัครของแต่ละรัฐ คือต้องลงนามให้สัตยาบัน ซึ่งตอนนี้มีทั้งหมด 114 ประเทศ ประเทศล่าสุดที่เพิ่งลงนามก็คือบังคลาเทศ แล้วมี 34 ประเทศที่ลงนามแต่ยังไม่ให้สตยาบัน คืออิสราเอล รัสเซีย อิหร่าน มีบางประเทศลงนามไปแล้วขอถอนออกก็มี เช่น เซเนกัล จิบูตี ซึ่งได้เห็นตัวอย่างที่เกิดกับประเทศซูดาน ขณะที่สหรัฐเมริกาก็ลงนามในสมัยคลินตัน แล้วถอนออกสมัยบุช บางประเทศไม่ลงแต่แรกเลย คือ จีน อินเดีย

กรณีไทยคือ ลงนามแล้ว แต่ยังไม่ให้สัตบาบัน เหมือนกรณีอิสราเอลและอิหร่าน

ประเทศที่ลงนามแล้วยังไม่ให้สัตยาบันมันมีผลผูกมัด มีพันธกรณีหรือไม่

แน่นอนว่ายังไม่กระทบเกิดสิทธิหรือหน้าที่แต่มีผลผูกมัดตามหลักสนธิสัญญาระหว่างประเทศ คือถ้าคุณลงนามไปแล้วแต่ยังไม่ให้สัตยาบัน ก็ต้องไม่ทำสิ่งที่ละเมิดวัตถุประสงค์ของสนธิสัญญานั้น เช่นของไทย ลงนามแล้วแต่ยังไม่ให้สัตยาบัน อยู่ดีๆ วันหนึ่งไทยกลัว ก็เลยออกกฎหมายภายในของตัวเองว่าทุกคดีห้ามไปศาลอาญาระหว่างประเทศ อย่างนี้ไม่ได้ เป็นการละเมิดวัตถุประสงค์ชัดเจน เพราะการลงนามนั้นคือเรายอมรับสนธิสัญญานี้อยู่นะ แต่ยังไม่ได้ผูกพัน เราประเมินและขอเวลาก่อนเท่านั้น

เงื่อนไขการรับคำร้อง

เงื่อนไขแรกคือ เขตอำนาจศาล

2.1 เขตอำนาจศาล แบ่งเป็นสามส่วน

หนึ่งคืออำนาจทางเวลา สองอำนาจทางเนื้อหา สามคืออำนาจทางพื้นที่และบุคคล

เขตอำนาจทางเวลา

ธรรมนูญกรุงโรม มีผลตั้งแต่ 1 ก.ค. 2002 ดังนั้น ความผิดที่เกิดขึ้นก่อนนี้ ไม่เกี่ยว สมมติว่าไทยให้สัตยาบันวันนี้ 3 ก.พ. ธรรมนูญนี้ก็ใช้กับความผิดที่เกิดขึ้นตั้งแต่ 3 ก.พ. เป็นต้นไป เว้นแต่ว่า พอให้สัตยาบันแล้ว ก็ขอยอมรับเขตอำนาจศาลให้รวมไปถึงความผิดที่เกิดขึ้นก่อน 3 ก.พ. จะย้อนไปให้ถึงกรณีตากใบ ฆ่าตัดตอนยาเสพติดก็ย้อนได้หมด แต่ต้องไม่ถอยไปถึงความผิดที่ก่อน 1 ก.ค. 2002 ฉะนั้น ถึงแม้ว่าตอนนี้ไทยจะให้สัตยาบันธรรมนูญกรุงโรม ก็ยังไม่พอ แต่ต้องยอมรับเขตอำนาจศาลให้รวมไปถึง เม ย พ ค 53 ด้วย

เขตอำนาจทางเนื้อหา

มี 4 ความผิดเท่านั้นที่อยู่ภายใต้ธรรมนูญนี้ ได้แก่ ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ อาชญากรรมสงคราม การรุกราน ตอนนี้ใช้แค่ 3 ความผิดแรก เพราะ มีนิยามไว้ชัดเจนแล้วในธรรมนูญ ส่วนเรื่องการรุกรานยังไม่มีการนิยามไว้ชัดเจน ระหว่างนี้จึงยังไม่ใช้

ความผิดฐานอื่นไม่อยู่ภายใต้เขตอำนาจนี้ ดังนั้นความผิดฐานก่อการร้าย ค้ายาเสพติด จึงไม่เกี่ยว

กรณีในคำฟ้องของอัมสเตอร์ดัม ระบุว่า เป็นอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ ตามมาตรา 7 คือ เป็นการกระทำรุนแรงต่อพลเรือนโดยการโจมตีที่มีการจัดตั้งอย่างเป็นระบบระเบียบ โดยมีมูลเหตุจูงใจทางการเมือง สีผิว เชื้อชาติ สัญชาติ หรือศาสนา

เขตอำนาจทางพื้นที่และบุคคล

ความผิดเกิดในดินแดนของรัฐภาคี ผู้ถูกกล่าวหาไม่มีสัญชาติรัฐภาคี แต่ความผิดเกิดในรัฐภาคี ก็ได้

หรือ ผู้ถูกกล่าวหามีสัญชาติรัฐภาคี แม้ความผิดไม่ได้เกิดในรัฐภาคี แต่ผู้ถูกกล่าวหามีสัญชาติรัฐภาคี ก็ได้

อัมสเตอร์ดัม เห็นว่า กรณีนี้ ผู้ถูกกล่าวหาคนหนึ่ง คือ อภิสิทธิ์ มีสัญชาติรัฐภาคี ซึ่งอัมสเตอร์ดัมเขาไปสืบค้นมาได้ว่าคุณอภิสิทธิ์มีสัญชาติอังกฤษ

2.2 ผู้มีสิทธิยื่นคำร้อง

ผู้มีสิทธิยื่นคำร้องมี 3 ส่วนคือ

- รัฐภาคี คือถ้ารัฐภาคียื่นเลยก็ง่ายมาก ศาลก็เปิดการสืบสวนสอบสวน

- คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ซึ่งไปเคาะประตูศาลอาญาระหว่างประเทศได้เลย แม้ว่าเรื่องนั้นจะไม่เกี่ยวกับรัฐภาคีก็ตาม ก็คือกรณีซูดาน

- อัยการ อาจเริ่มต้นไต่สวนเองก็ได้ โดยไปขอศาลแผนกก่อนพิจารณาคดี Pre-Trial Chamber

แล้วอัมสเตอร์ดัมไปช่องไหน

อัมสเตอร์ดัม เห็นว่า กรณีนี้ แม้ไทยจะไม่ได้เป็นรัฐภาคีให้สัตยาบัน แต่คณะมนตรีความมั่นคงน่าจะเสนอเรื่องให้อัยการเริ่มการไต่สวนได้ เหมือนกรณีซูดาน ลงนามแต่ไม่ให้สัตยาบัน ต่อมา คณะมนตรีความมั่นคงมีมติที่ 1593 วันที่ 31 มีนาคม 2005 ให้เสนอคำร้องต่ออัยการแห่งศาลไอซีซี ให้เปิดการไต่สวน

นอกจากนี้ เราอาจสงสัยว่า อัมสเตอร์ดัมเป็นเอกชน คนเสื้อแดงเป็นเอกชน ไปฟ้องได้ยังไง แน่นอนฟ้องไม่ได้ แต่เขาทำรายงาน คำร้องไปถึงอัยการ เพื่อให้อัยการใช้อำนาจริเริ่มไต่สวนด้วยตนเอง โดยอัยการอาจพิจารณาว่า กรณีนี้อยู่ในเขตอำนาจ เพราะ อภิสิทธิ์มีสัญชาติอังกฤษ โดยคำร้องไปถึงอัยการนี้ เคยมีกรณีของเคนย่า เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อเดือนมีนาคม 2010

ตั้งแต่เปิดศาลอาญาระหว่างประเทศมี 5 คดีเท่านั้น อูกานดา คองโก อันฟริกากลาง ซูดาน และเคนยา ล่าสุด 3 กรณีแรกเป็นเรื่องรัฐภาคีฟ้องไป กรณีเคนยา อัยการไปขอเปิดการไต่สวน และอีกกรณีคือซูดาน ซึ่งคณะมนตรีความมั่นคงเป็นผู้ฟ้อง

สรุปคือ อัมสเตอร์ดัมใช้ สองช่องทาง คือ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ และช่องทางอัยการ ซึ่งต้องพิสูจน์สัญชาติของคุณอภิสิทธิ์

ถ้าคนที่ถูกฟ้องไม่ได้เป็นพลเมืองของรัฐที่ให้สัตยาบัน จะลงโทษได้อย่างไร

หน้าที่ผูกพันของการร่วมมือกันระหว่างรัฐที่ไม่ได้สัตยาบัน อย่างน้อยรัฐที่ไม่ได้สัตยาบันก็ต้องร่วมมือกับศาลอาญาระหว่างประเทศในการตรวจสอบ หรือจับกุม

มีกรณีที่น่าศึกษาคือ กรณีซูดาน เหมือนไทย คือลงนามแต่ไม่ได้ให้สัตยาบัน ก็ไปจับตัวเล็กตัวน้อยสองสามคนแล้ว พอจะจับประธานาธิบดีของเขา อูมาร์ อัลบาซีร์ แอฟริกาหลายประเทศก็โวยวายขึ้นมาว่ามันจะเกินไปแล้ว เขาไม่ได้ให้สัตยาบันจะไปจับเขาได้อย่างไร ตัวอัลบาซีร์ของซูดานก็บอกว่าไม่มีทางยอมให้จับและขึ้นศาลหรอกเพราะเป็นศาลที่ผมไม่เคยลงนามให้สัตยาบัน แล้วเขาก็เดินทางไปอยู่ที่เคนยา ซึ่งเป็นรัฐภาคี แต่เคนยาก็ไม่ส่งตัวประธานาธิบดีของซูดานให้ศาลอาญาระหว่างประเทศ

ฉะนั้นก็ต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างประเทศด้วย

2.3 ต้องเป็นกรณีตามมาตรา 17

แม้จะเข้าเงื่อนไขครบถ้วนหมด แต่ศาลอาจไม่รับคำร้องก็ได้ หากพิจารณาแล้ว ไม่เป็นเรื่องร้ายแรง หรือ ศาลแห่งรัฐภาคีดำเนินคดีอยู่ ศาลอาญาระหว่างประเทศจะรับเฉพาะกรณีที่เห็นว่า รัฐภาคีไม่มีความตั้งใจหรือไม่มีความสามารถในการดำเนินคดีนั้น

ฉะนั้นถ้าเราดูรายงานของอัมสเตอร์ดัมเขาจะพูดในช่วงท้ายๆ ว่าจองไทยร้ายแรงเพราะที่ผ่านมามีการนิรโทษกรรม 6 ตุลา 19 พฤษภา 35 กระบวนการพิจารณาคดีช้า ดีเอสไอไม่เป็นกลาง ระบบศาลไม่เป็นอิสระ เขาเขียนแบบนี้ เพื่อแสดงให้เห็นว่าเข้าหลักมาตรา 17

2.4 ไม่เป็น นอน บิส อิน อีเด็ม หมายความว่าคนๆ เดียวกันจะไม่ถูกลงโทษสองหนโดยเรื่องเดียวกัน นี่เป็นหลักกฎหมาย หากผู้ถูกกล่าวหาถูกศาลอื่นพิพากษาลงโทษในความผิดเดียวกันนั้นแล้ว ศาลอาญาระหว่างประเทศก็ไม่รับ

ย้อนดูการพิจารณาคดีในศาลอาญาระหว่างประเทศ

ปัจจุบัน มี 5 คดีที่ศาลพิจารณาอยู่ ได้แก่ยูกานดา 2003, คองโก 2004, แอฟริกากลาง 2004, ซูดาน 2005 และเคนยา 2010

อย่างไรก็ตาม จนถึงขณะนี้มีคำร้องเข้าไป เกือบ 3,000 คำร้อง เกี่ยวกับ 139 ประเทศ ซึ่งน่าสนใจว่าเป็นจำนวนที่มากกว่าประเทศที่เป็นภาคี (114 ประเทศ) ส่วนมากศาลไม่รับ เพราะ ชัดเจนว่าไม่มีเขตอำนาจ

กรณีกว่า ๓๐๐๐ คำร้องนี้ เป็นกรณีที่ปัจเจกชน องค์กรเอกชน บุคคลใด ยื่นคำร้องมายังอัยการ ซึ่งมีขั้นตอน ดังนี้

ลำดับแรก - ปัจเจกชน องค์กรเอกชน บุคคลใด ยืนคำร้อง (complaint, communication) -------------> อัยการ

ลำดับที่สอง - อัยการพิจารณาคำร้องใน ๓ ขั้นตอน คือ

๑. ตรวจสอบเบื้องต้น (Initial Review) --------------> ๒. ทำรายงานเบื้องต้น (Basic Reporting) -------------> ๓. วิเคราะห์แบบลึกซึ้ง (Intensive Analysis)

(ในขั้นตอน ตรวจสอบเบื้องต้น (Initial Review) อัยการจำหน่ายคำร้องออกไปจำนวนมาก จากสถิติที่ผ่านมา เกือบ ๓๐๐๐ คำร้อง ร้อยละ ๕ จำหน่ายเพราะเป็นการกระทำที่เกิดขึ้นก่อน ๑ กรกฎาคม ๒๐๐๒ ร้อยละ ๒๔ จำหน่ายเพราะปรากฏอย่างชัดแจ้งว่าการกระทำนั้นไม่เข้าความผิด ๔ ฐาน ร้อยละ ๑๓ จำหน่ายเพราะปรากฏอย่างชัดแจ้งว่าการกระทำนั้นไม่เข้าเขตอำนาจทางพื้นที่และบุคคล ร้อยละ ๓๘ จำหน่ายเพราะปรากฏอย่างชัดแจ้งว่ากรณีอยู่ในอำนาจขององค์กรอื่นๆหรือคำร้องไม่ชัดเจน ไม่มีรายละเอียดครบถ้วนเพียงพอ มีเพียงร้อยละ ๒๐ เท่านั้นที่ผ่านไปถึงขั้นตอนทำรายงานเบื้องต้นและวิเคราะห์แบบลึกซึ้ง เช่น กรณีอัฟกานิสถาน, ชาด, โคลัมเบีย, ไอวอรี่โคสต์, เคนยา)

ลำดับที่สาม - อัยการขออนุญาตต่อศาลแผนกก่อนพิจารณาคดี (Pre-Trial Chamber) เพื่อเปิดการไต่สวน

คำร้องของโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ในส่วนที่กล่าวอ้างว่าศาลอาญาระหว่างประเทศมีเขตอำนาจในกรณีการสลายการชุมนุม เม.ย.-พ.ค. ๒๕๕๓ เพราะผู้ถูกกล่าวหา (นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) มีสัญชาติของรัฐภาคี (บริติช) เป็นกรณียื่นคำร้องในช่องทางนี้

อย่างไรก็ตาม หากใช้ช่องทางอัยการก็มีความเป็นไปได้ว่า จะมีผู้ถูกดำเนินคดีเพียงคนเดียวคือคุณอภิสิทธิ์

ดังนั้นช่องทางอัมสเตอร์ดัมสองช่องทาง ถ้าคณะมนตรีความมั่นคงรับ ก็ดำเนินต่อไปได้ ซึ่งกรณี ซูดาน เสนอโดยคณะมนตรีความมั่นคง

กรณีเคนยาเสนอโดยอัยการเอง อัยการพิจารณาแล้วเห็นควร จึงไปขออนุญาตศาลไอซีซีเปิดไต่สวน

นอกจากนี้มีกรณีที่น่าสนใจคือไอวอรี่ โคสต์ ไม่เป็นรัฐภาคี ผู้ถูกกล่าวหา ก็เป็นไอวอรี่โคสต์ ความผิดก็เกิดบนไอวอรี่ โคสต์ ไม่เข้าหลักเกณฑ์ข้อไหนเลย แต่รัฐบาลไปยอมรับเขตอำนาจศาลไอซีซี ให้มีอำนาจเหนือคดีที่เกิดขึ้นนับแต่ 19 กันยายน 2002 เป็นการยอมรับเฉพาะเรื่อง แต่ยังไม่ให้สัตยาบัน ก็เป็นอีกช่องทางหนึ่ง

อิรักก็น่าสนใจ อย่างที่ผมเล่าไป กรณีหาทางไปศาลโดยอาศัยสัญชาติของผู้ถูกกล่าวหา ยังไม่เคยมีใครไปช่องนี้ได้สำเร็จนะ แต่ผมไปดูจากเว็บไซต์ของศาลอาญาระหว่างประเทศ คือกรณีเคนยา อัยการขอเริ่ม Pre-Trial แล้วก็มีการพิจารณาวางหลักไว้เลยว่า หากเรื่องดินแดนไม่เข้าก็ให้พิจารณาเรื่องสัญชาติของบุคคลต่อ แล้วกรณีอิรัก ทุกคนต้องการเล่นงานสหรัฐ จะเล่นงานทหารสหรัฐก็ไมได้ จะอ้างว่าความผิดเกิดบนดินแดนภาคีก็ไม่ได้ ก็ต้องไปเล่นอังกฤษ อิตาลี สเปน แต่อัยการไม่รับเพราะพิจารณาแล้วไม่เข้ามาตรา 17 นั่นดูเหมือนว่าศาลอาญาระหว่างประเทศก็จะให้ดูเรื่องสัญชาติ

อภิสิทธิ์กับสัญชาติอังกฤษ

สัญชาติโดยการเกิด มีสองแบบ คือหลักดินแดนกับหลักสายโลหิต

พ.ร.บ. สัญชาติอังกฤษ ๑๙๔๘ บอกว่า บุคคลที่เกิดในดินแดนสหราชอาณาจักรหรืออาณานิคม หากไม่ได้เป็นลูกทูตหรือลูกของชาติศัตรู บุคคลนั้นได้สัญชาติอังกฤษ

อภิสิทธิ์เกิดปี ๑๙๖๔ อยู่ภายใต้บังคับของ พ.ร.บ. นี้ จึงมีสัญชาติอังกฤษตามหลักดินแดน

ปัญหามีอยู่แค่ว่า หากคนๆ หนึ่งถือสองสัญชาติ เช่น กรณีฝรั่งเศส สมมติผมเป็นไทยบวกฝรั่งเศสแล้วผมไปเป็น ส.ส. เป็นนายก หรือทหารของไทย ฝรั่งเศสก็ขอให้ผมถอนสัญชาติออกได้ เพราะถือว่าผมฝักใฝ่ที่จะเป็นคนชาติไทยมากกว่า แต่ไม่ได้ถอนโดยอัตโนมัตินะ หลักกฎหมายของไทยก็เช่นเดียวกัน คือ พ.ร.บ. สัญชาติ 2508

แต่สัญชาติถ้าจะสละต้องชัดเจน เพราะเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน ต้องแสดงให้ชัด เพราะถ้าปลดโดยอัตโนมัติ คนจะเสียสิทธิเต็มไปหมด

เรื่องการถือ 2 สัญชาตินั้นกฎหมายไทย ไม่เคยบอกว่าถ้าถือสัญชาติไทย แล้วต้องสละอีกสัญชาติหนึ่ง หรือว่าสละไปโดยปริยาย กฎหมาย อังกฤษ ก็เหมือนกัน จึงเป็นไปได้ว่า คนไทยอาจมีสัญชาติอังกฤษไปพร้อมๆกัน

เรื่องการถือสองสัญชาตินี้เรื่องปกติมาก พบเห็นได้ทั่วไป มีกรณีคนดังๆ จำนวนมากที่ถือสองสัญชาติ เช่น

อาร์โนลด์ ชวารซเนคเกอร์ ในระหว่างดำรงตำแหน่งผู้ว่าการรัฐแคลิฟอร์เนีย เขาก็ถือสัญชาติออสเตรียด้วยตลอด จอหน์ เทอร์เนอร์ อดีตนายกแคนาดา เขาก็ถือแคนาดาและอังกฤษมาถึงวันนี้

ปัญหามีอยู่ว่า กฎหมายสัญชาติอังกฤษกำหนดไว้หรือไม่ว่า ถ้าคนที่มีสองสัญชาติ แล้วไปเป็น ส.ส. เป็นนายก เป็นทหารของประเทศอื่นที่ตัวมีสัญชาตินั้น เท่ากับว่ารัฐบาลอังกฤษต้องไปถอนสัญชาติอังกฤษออก

ไทยก็มี มาตรา 17 (2) มีหลักฐานว่าฝักใฝ่สัญชาติอื่น แต่ต้องให้รัฐมนตรีเป็นผู้ถอนสัญชาติ ไม่ได้ถอนไปอัตโนมัติ แต่กฎหมายเรื่องนี้อังกฤษไม่มี

พรบ สัญชาติอังกฤษปี ๑๙๔๘ ในมาตรา ๑๙ กำหนดว่า คนที่มีสัญชาติอังกฤษ เมื่อบรรลุนิติภาวะ แล้วต้องการสละสัญชาติอังกฤษ ก็ทำได้ ประเด็นจึงอยู่ที่ว่า คุณอภิสิทธิ์สละสัญชาติอังกฤษแล้วหรือยัง

ปัญหาต่อมา มีคนเห็นว่า คุณอภิสิทธิ์จะมีสถานะเป็นคนสัญชาติอังกฤษ ก็ต่อเมื่อมีสิทธิในสัญชาตินี้และใช้สิทธิในสัญชาตินี้ พูดง่ายๆ คือ มี แต่ยังไม่ใช้ ถือว่ายังไม่มีสถานะสัญชาติอังกฤษ

อันนี้อาจเห็นต่างกัน ผมเห็นว่า มีแล้ว เพียงแต่ว่ายังอาจไม่มีหลักฐานทางเอกสาร เช่น ผมไปเกิดที่อังกฤษ มีสัญชาติอังกฤษตามหลักดินแดน แต่ผมไม่เคยไปแจ้ง ไม่มีชื่อในทะเบียน ไม่มีพาสปอร์ต ไม่มีบัตรประชาชน อังกฤษ แต่ว่าถามว่าผมมีสัญชาติอังกฤษไหม คำตอบคือมี กฎหมายกำหนดชัดเจน เพียงแต่ผมไม่เคยไปจดแจ้งทางเอกสารให้มันชัดเท่านั้น สมมติผมเกิดที่อังกฤษ ต่อมาผมกลับมาไทย ทำงาน ยังไม่เคยสละสัญชาติอังกฤษ ต่อมา ผมลี้ภัยการเมืองไปจากไทย ไปอังกฤษ ผมก็ไปแจ้งทางการอังกฤษ พิสูจน์ให้เขาเห็นว่า ผมเกิดที่นี่ มีสัญชาติตามหลักดินแดน เขาก็ให้ผมเข้า

เอาล่ะ สมมติว่า เราคิดว่า มี แต่ไม่ใช้ ถือว่าไม่มี ตามแบบอาจารย์พันธุ์ทิพย์ก็ได้ ผมก็ตอบแทนอภิสิทธิ์ไม่ได้ ว่าเขาใช้สิทธิในสัญชาติอังกฤษหรือยัง เพราะ ผมไม่ใช่เขา ผมไม่รู้ อาจารย์พันธุ์ทิพย์ไม่รู้ ไม่มีใครรู้ว่า เขามีพาสปอร์ตไหม มีทะเบียนบ้านไหม นอกจากเขาเอง แต่ปกติ คนที่เกิดในอังกฤษ หรืออเมริกา ก็ใช้สิทธิในสัญชาติทั้งนั้น เพราะได้สิทธิประโยชน์เยอะ เป็นหน้าที่ของคุณอภิสิทธิ์เองที่ต้องแสดงหลักฐานว่า ตัวเองมีสัญชาติอังกฤษหรือไม่ สละสัญชาติหรือยัง

คำฟ้องของอัมสเตอร์ดัมสำคัญอย่างไร ทำไมต้องลุ้น

ไม่มีใครรู้หรอก ว่า ศาลอาญาระหว่างประเทศจะรับพิจารณาเรื่องนี้หรือไม่ ฉะนั้นความสำคัญอีกเรื่องหนึ่งก็คือ การที่รายงานนี้ออกมาทำให้ประเด็นการสลายการชุมนุมไปปรากฏต่อประชาคมโลก ต่อองค์กรระหว่าปงระเทศ ต่อนานาชาติ อีกประการหนึ่งอย่างน้อยทีมงานของเขาได้เข้ามารวบรวมข้อเท็จจริง พยานหลักฐาน หากพยานหลักฐานเหล่านั้นหายหมด แน่นอนว่าคนอาจจะบอกว่า ทนายเสื้อแดง ก็ทำหลักฐานเข้าข้างเสื้อแดง ก็ไม่เป็นไร รัฐบาลก็ทำของรัฐบาล แล้วใครน่าเชื่อถือกว่าก็เอามาชั่งน้ำหลักกัน

อีกประการคือความสำคัญทางสัญลักษณ์ ผมมองว่า กรณีอัมสเตอร์ดัมส่งสัญญาณทำให้เห็นว่าคนเสื้อแดงไม่ใช่ไอ้กระจอก ไม่ใช่วัวควาย ไอ้โง่ไอ้รากหญ้าที่ไหนที่จะมาปิดประตูตีแมว ไม่พอใจก็มายิงๆ ฆ่าๆ แล้วปิดประเทศ ปิดประตู ไม่ให้ใครมายุ่ง นี่เป็นสัญลักษณ์ว่าเขามีที่ไปในทางระหว่างประเทศไอ้อยู่ ส่งสัญญาณว่าต่อไปนี้รัฐบาลไหนก็ไม่มีทางอีกแล้วที่จะมาฆ่าพลเมืองเหมือนผักปลาอย่างที่เกิดขึ้น

กรณีอัมสเตอร์ดัมอาจจะสงสัยว่าทำไมผมมาเชียร์มาสนับสนุน ผมเห็นว่า กรณีนี้มันเป็นปัญหาทางจริยศาสตร์ทางการเมือง มีคนตายเป็นหลายร้อย มีคนเจ็บเป็นพันกลางกรุงเทพฯ โดนซุ่มยิงด้วยสไนเปอร์แล้วมันไม่เกิดอะไรขึ้นเลย มันเป็นไปได้อย่างไร

กรณีอัมสเตอร์ดัมอาจเป็นกลไกที่ทำให้คนฆ่าคนส่งฆ่าได้รับโทษ ถ้าเราปล่อยให้เงียบไปหมดมันกระเทือนจริยธรรมทางการเมือง

ความสำคัญของเรื่องนี้ในทางสื่อหรือทางสังคมจะไปจับแค่ว่าศาลรับหรือไม่รับ หรืออภิสิทธิ์มีสัญชาติอังกฤษหือไม่ แต่อย่าลืมนะว่าเหตุการณ์ปี 53 ต้องไม่ลืมเลย วันนี้ส่งเรื่องไปวันหน้าศาลอาจจะไม่รับ อาจจะไต่สวนก็ได้ หรือไม่รับเลยก็ได้ แต่เรื่องที่เกิดขึ้นเราต้องพูดกันทุกวันๆ เพราะคนตายไปแล้วเขาพูดไม่ได้ แต่คนที่อยู่ต้องพูดแทนคนตาย ลืมไม่ได้เรื่องนี้

อย่างที่อัมสเตอร์ดัมพูดน่ะครับ ไม่มีนักข่าวที่ไหนในโลกหรอกที่จะดีใจว่าศาลอาญาระหว่างประเทศไม่รับฟ้องขณะที่คนในประเทศถูกทหารฆ่าตายเป็นร้อย แทนที่จะหากระบวนการหาช่องทางทำให้ความจริงปรากฏ แต่นี่กลับมาเฮ ที่ไม่อยู่ในเขตอำนาจศาล ถ้าศาลอาญาไม่รับฟ้อง รัฐบาลดีใจนักข่าวดีใจ คนที่กลัวกระบวนการพิสูจน์ความจริงเหล่านี้ คือคนที่มีปัญหาไง ไปดูสิ สหรัฐ ไม่ลงนาม จีนไม่ลงนาม เพราะเขามีแผลไง ในเมื่อรัฐบาลพูดทุกวันว่าบริสุทธิ์ผุดผ่องแล้วจะกลัวอะไร

แล้วที่พูดกันว่า ไทยไม่ลงนาม คนส่วนใหญ่ไปพูดกันว่ามันเกี่ยวกับฆ่าตัดตอน เกี่ยวกับสามจังหวัดภาคใต้ แต่ไปดูเหตุผลเลยที่กระทรวงการต่างประเทศระบุคือ ศาลอาญาระหว่างประเทศไม่คุ้มกันประมุขของรัฐ กรณีซูดานเป็นกรณีแรกที่ประธานาธิบดีซึ่งเป็นประมุขของรัฐถูกออกหมายจับ

ผมขอเรียกร้องไปยังพรรคการเมืองด้วยว่า การหาเสียงครั้งหน้า โปรดรณรงค์ด้วยว่า ถ้าเป็นรัฐบาล จะให้สัตยาบัน และยอมรับเขตอำนาจศาลย้อนไปยังเหตุการณ์ เมษา พค 53

โปรดดู แผนผังช่วยทำความเข้าใจเงื่อนไขการรับคำฟ้องของศาลอาญาระหว่างประเทศ ได้ที่ http://www.enlightened-jurists.com/page/185