WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, August 31, 2012

สัมภาษณ์ ‘พวงทอง ภวัครพันธุ์’ บทเรียน-ไม่รู้-ลืม? “สลายการชุมนุมปี 53”

ที่มา ประชาไท

 

หลังจากใช้เวลาเก็บข้อมูลและค้นหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์เป็นเวลา 2 ปี ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมเดือน เม.ย-พ.ค. 53 (ศปช.) ก็ได้พิมพ์รายงานออกมาเป็นรูปหนังสือหนากว่าหนึ่งพันหน้าชื่อ ‘ความจริงเพื่อความยุติธรรม: เหตุการณ์และผลกระทบจากการสลายการชุมนุม เมษา-พฤษภา 53’
ประวิตร โรจนพฤกษ์ แห่งหนังสือพิมพ์ เดอะเนชั่น สัมภาษณ์ ผศ.พวงทอง ภวัครพันธุ์ ผู้ประสานงาน ศปช. และบรรณาธิการร่วมของรายงาน เกี่ยวกับข้อมูลที่ค้นพบและมุมมองของเธอ
ประวิตร: ศปช. ค้นพ้นข้อมูลอะไรที่อาจเปลี่ยนความเข้าใจต่อเหตุการณ์ปี 53 บ้าง?
พวงทอง: ค่อนข้างตกใจว่าคนที่เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นไปอย่างสะเปะสะปะมาก คือคนที่ไม่เกี่ยวข้องกับการชุมนุม ถูกลูกหลงเยอะมาก
ภาพใหญ่ที่มักเข้าใจคือความรุนแรงเกิดขึ้นหลังเผา [Central World และตึกอื่นๆ] แต่เราพบว่าปฏิบัติการทางทหารเกิดขึ้นตั้งแต่ 14 พฤษภาโดยเฉพาะสวนลุม บ่อนไก่ ราชปรารภ มีคน 11 คน [ตาย] ในวันเดียว ซึ่งพอมาอ่านบทความหัวหน้าควง นายทหารระดับเสนาธิการ เขียนลงในวารสารเสนาธิปัตย์ ซึ่งเขาวิเคราะห์ความสำเร็จของปฏิบัติการกระชับวงล้อมก็ทำให้เข้าใจว่าทำไม ความตายเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 14 คือมีการใช้อาวุธยิงเข้าใส่ผู้ชุมนุม และนี่น่าจะเป็นสาเหตุให้คนถูกลูกหลง
ส่วนของชายชุดดำ มันไม่มีความชัดเจนว่าเขาเป็นใคร แม้รัฐบาล [อภิสิทธิ์] ก็ยังไม่มีปัญญาไปตามหาได้ และในขณะที่รัฐบาลอภิสิทธิ์อ้างว่ามีการใช้กำลังก่อให้เกิดการบาดเจ็บและ เสียชีวิตเพราะชายชุดดำยิงใส่ผู้ชุมนุมเอง แต่ ศปช.พบว่ามีการใช้อาวุธจริง [จากฝั่งทหาร] ตั้งแต่บ่ายวันที่ 10 แล้ว และมีคนบาดเจ็บก่อนที่ชายชุดดำจะโผล่มา
เรื่อง M79 เราไม่ได้เก็บข้อมูลตรงนี้ เพราะในที่สุดต้องไปพิสูจน์ตรงวิถีกระสุนด้วย…
รัฐบาลมักจะบอกว่าคนที่ตายเป็นผู้ก่อการร้ายแต่จากหลักฐานที่เรามี ผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บเราไม่พบคราบเขม่าปืนในมือของผู้เสียชีวิตเลย คนจำนวนมากมีภาพถ่ายและคลิปวิดีโอ ผู้คนเหล่านี้ไม่ได้มีอาวุธร้ายแรงในมือ เพราะฉะนั้น การบอกว่าทหารต้องใช้กระสุนจริงเพื่อป้องกันตนเองนั้นฟังไม่ขึ้น
แล้วกรณีสไนเปอร์?
สไนเปอร์เนี่ย ภาพคลิปต่างๆมากมายที่อยู่ในโลกออนไลน์เห็นว่าทหารจำนวนมากถือปืนที่มีกล้อง ส่อง ทำให้เกิดความแม่นยำในการยิง มันอธิบายว่าทำไมผู้เสียชีวิตเกือบ 30 เปอร์เซนต์ ถูกยิงที่หัว และถ้ารวมหน้าอกด้วยอีก 22 เปอร์เซนต์ มัน 50 เปอร์เซนต์… มันไม่ได้ยิงเพื่อป้องกันตนเอง
คิดว่าใครควรรับผิดชอบต่อการเสียชีวิตของทั้งสองฝ่าย?
คนที่สั่งการ คือหัวหน้าของรัฐบาล และผู้สั่งการ ศอฉ. รวมถึงผู้กำหนดยุทธศาสตร์ของกองทัพด้วย มันเป็นความผิดพลาดที่คุณเอาวิธีทางการทหารมาสลายการชุมนุมและควบคุมมันไม่ ได้
กลุ่มคุณถูกมองว่าเอียงแดงและมีธงอยู่แล้ว
เราก็ไม่แปลกใจกับข้อกล่าวหานั้น แต่สิ่งที่เราอยากให้สังคมพิจารณาคือข้อมูลที่เราเสนอ ในหลายกรณีมันชี้ชัดว่ารัฐใช้กำลังเกินกว่าเหตุและการสลายการชุมนุมไม่เป็น ไปตามขั้นตอนที่ศอฉ.กับรัฐบาลกล่าวไว้เลย
ต่อให้คุณมีอำนาจทางการทหารและกฎหมาย คุณก็ไม่สามารถละเมิดสิทธิการมีชีวิตของประชาชนที่เขาไม่มีอาวุธร้ายแรงใน การต่อสู้กับรัฐบาล และจะใช้ข้อกล่าวหาก่อการร้ายโดยรวมและให้ผู้ชุมนุมทั้งหมดรับผิดชอบความ รุนแรงทุกกรณีไม่ได้
คุณดูจะมองการเก็บข้อมูลเสนอข้อเท็จจริงของ คอป. กับคณะกรรมการสิทธิฯ ในแง่ลบ ทำไม?
คือ คอป. เราคิดว่าเราไม่เห็นความชัดเจนในการทำงานของเขา สองปีผ่านมาคิดว่าเขาไม่สามารถพิสูจน์ตนเองได้ว่าเขาค้นหาความจริง คิดว่าเขายังสับสนว่าความจริงจะเป็นอุปสรรคต่อการปรองดอง ส่วนกรรมการสิทธิฯ เราหวังว่าจะ apply (ใช้) หลักสิทธิมนุษยชนเท่าเทียมกันทุกฝ่าย ไม่ใช่เอาหลักสิทธิมาปกป้องรัฐและให้รัฐใช้ความรุนแรงกับประชาชนได้อย่างไม่ เลือกหน้า
[ผู้ชุมนุม] บางคนถูกขังฟรี ศาลยกฟ้อง กระบวนการยุติธรรมได้มีการดำเนินคดีกับคนเหล่านั้นแล้ว แต่ขณะเดียวกัน ฝ่ายรัฐบาลอภิสิทธิ์ยังไม่มีใครถูกดำเนินคดีเลยแม้แต่คนเดียว
ดูเหมือนว่าทุกกลุ่มในสังคมจะมีข้อสรุปอยู่แล้วว่าเกิดอะไรขึ้นในปี 53 คุณคิดอย่างไรกับเรื่องนี้?
เราก็ไม่ได้คาดหวังว่าสังคมจะเปลี่ยนใจจากข้อสรุปที่มีอยู่ แล้ว แต่ว่าเราทำหน้าที่ในการที่จะรวบรวมข้อมูลที่มีอยู่ให้มากที่สุด ก่อนที่ข้อมูลเหล่านี้จะหายไปตามกาลเวลา ข้อมูลเหล่านี้มันช่วยยืนยันอย่างเป็นระบบว่ารัฐใช้กำลังเกินกว่าเหตุและ ละเมิดสิทธิในชีวิตประชาชนอย่างไร
ข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อสังคมหรือไม่ มันขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ถ้าในวันข้างหน้ากระบวนการยุติธรรมจะสามารถนำผู้กระทำผิดมาลงโทษได้ ข้อมูลเหล่านี้ก็น่าจะเป็นประโยชน์
การหยุดยั้งการใช้ความ รุนแรงจากรัฐต่อประชาชนโดยไม่ต้องรับผิดชอบหรือ impunity จะหมดไปจากสังคมไทยไหม? ขึ้นอยู่กับกรณี เมษา-พฤษภา 53 เพียงไร?
หลังจากเกิดเหตุการณ์พฤษภา 35 ใหม่ๆ ซึ่งเราไม่สามารถยอมรับกับ culture of impunity ได้ แต่เราพยายามรวบรวมข้อมูลความจริงให้มากที่สุด ถ้าคุณจะเอาผิดกับผู้กระทำผิด ความจริงเป็น the first step เป็นขั้นแรกของกระบวนการในการที่จะเอาผู้กระทำผิดมาลงโทษ
คือเราเห็นตัวอย่างในอดีต ไม่ว่าจะเป็น 6 ตุลา [2519] พฤษภา 35 ที่คนทำผิดลอยนวล ไม่เคยถูกเอามาลงโทษ
แปลว่าคุณไม่มั่นใจ?
ก็ไม่มีความมั่นใจ แต่เราก็ไม่ได้อยู่นิ่งเฉยไม่ทำอะไร และเราก็มีความหวังว่าถ้าเราไม่ยอมรับมัน มันก็จะถูกสั่นคลอน สิ่งที่เรากำลังทำคือ challenge (ท้าทาย) ไอ้ culture of impunity นี้


////////////
หมายเหตุ:บทสัมภาษณ์นี้ เผยแพร่ครั้งแรกในภาษาอังกฤษในหนังสือพิมพ์ The Nation ฉบับวันที่ 31 สิงหาคม 2555

อภิสิทธิ์-สุเทพ เบิกความไต่สวนการตาย "พัน คำกอง"

ที่มา ประชาไท

 

(30 ส.ค.55) ที่ห้องพิจารณา 909 ศาลอาญา รัชดา มีการไต่สวนการเสียชีวิตของนายพัน คำกอง คนขับแท็กซี่ซึ่งถูกยิงบริเวณถนนราชปรารภ ใกล้แอร์พอร์ตลิงก์ซึ่งเป็นจุดประจำการของทหาร เช้ามืดวันที่ 15 พ.ค.53 จากกรณีที่มีการยิงสกัดรถตู้ที่เข้ามาในพื้นที่ โดยวันนี้ มีพยาน 3 ปากได้แก่ พล.ต.อ.ประทีป ตันประเสริฐ รักษาการ ผบ.ตร.ในขณะนั้น อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี และสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีและผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.)
สุเทพ เทือกสุบรรณ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งรองนายกฯ ฝ่ายความมั่นคง ตอบทนายว่า เมื่อมีการชุมนุมของกลุ่ม นปช. ตั้งเวทีที่ผ่านฟ้า ยึดถนนราชดำเนิน นายกฯ โดยการอนุมัติของ ครม. จึงใช้อำนาจตาม พ.ร.บ.ความมั่นคง ตั้ง ศอรส. เพื่อคลี่คลายสถานการณ์แต่ต่อมาผู้ชุมนุมไม่ได้ชุมนุมโดยสงบ คุกคามการใช้ชีวิตโดยสงบของประชาชนทั่วไป มีการก่อเหตุร้าย ยิงปืน เอ็ม 79 ระเบิดชนิดขว้าง ใส่สถานที่ราชการและเอกชน จนเกิดความหวาดหวั่น ปลุกระดมด้วยข้อความที่ทำให้ประชาชนกระด้างกระเดื่องต่อรัฐบาลและสถาบันอัน เป็นที่เคารพ หลังจากผู้ชุมนุมบุก ก.ก.ต.และรัฐสภา พร้อมด้วยอาวุธ และเข้ายึดอาวุธจากเจ้าหน้าที่ ครม.จึงเห็นชอบประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรง เมื่อ 7 เม.ย. พร้อมมอบหมายให้ตนเองเป็นผู้อำนวยการ ศอฉ. เพื่อป้องกันเหตุร้าย คลี่คลายสถานการณ์ให้ปกติสุข และดำรงไว้ซึ่งอำนาจรัฐและความมั่นคงปลอดภัยของบ้านเมือง
สุเทพ กล่าวว่า ศอฉ.มีอำนาจตาม พ.ร.ก.ในการระดมกำลังพลเรือน ตำรวจ ทหาร เพื่อป้องกันยับยั้งเหตุร้าย โดยสายบังคับบัญชายังมีอยู่ตามปกติ ทั้งนี้ ยืนยันว่า ศอฉ.ไม่เคยมีคำสั่งสลายการชุมนุมแม้แต่ครั้งเดียว โดยตลอดเวลา 2 เดือนครึ่งที่ปฏิบัติหน้าที่เป็นการแก้ไขตามสถานการณ์ในแต่ละเวลา เช่น เมื่อ นปช.ตั้งเวทีที่ผ่านฟ้า และยึดราชดำเนินทั้งสาย ทั้งยังยึดสี่แยกราชประสงค์ ก่อให้เกิดปัญหาจราจรในกรุงเทพฯ อย่างรุนแรง ศอฉ.จึงสั่งการให้เจ้าหน้าที่ผลักดันผู้ชุมนุม เพื่อขอคืนพื้นที่บางส่วน เพื่อแก้ปัญหาจราจรตามนโยบายของนายกฯ
สุเทพ อธิบายการผลักดันผู้ชุมนุมว่า ไม่ใช่การสลายการชุมนุม ซึ่งเป็นการใช้กำลังบังคับโดยเจ้าหน้าที่ให้เลิกชุมนุม แต่คือ การดันให้ผู้ชุมนุมถอยร่น เพื่อคืนพื้นที่บางส่วนสำหรับการจราจร
สุเทพ กล่าวว่า ในการปฏิบัติงานเมื่อวันที่ 10 เม.ย. มีคำสั่ง 1/53 ศอฉ. ที่ระบุวิธีปฏิบัติในการควบคุมฝูงชนชัดเจน โดยสาระสำคัญของการใช้อุปกรณ์ควบคุมฝูงชนอยู่ในภาคผนวก 9 ว่าด้วยกฎการใช้กำลัง ซึ่งให้เจ้าหน้าที่ใช้อุปกรณ์ควบคุมฝูงชนตามหลักสากล ตั้งแต่ โล่ กระบอง รถฉีดน้ำ แก๊สน้ำตาชนิดขว้าง และปืนลูกซองกระสุนยาง ซึ่งมีการแจ้งให้ประชาชนและผู้ชุมนุมทราบโดยตลอด ทั้งนี้ รับว่าหนังสือดังกล่าวประทับตรา "ลับมาก" ไม่เผยแพร่สู่ประชาชนตามระเบียบของราชการ แต่ ศอฉ.และรัฐบาลก็ได้ชี้แจงให้ประชาชนทราบโดยตลอด
สุเทพ กล่าวว่า การจัดกำลัง แถวหน้าเป็นเจ้าหน้าที่ถือโล่และกระบอง ถัดมาเป็นรถฉีดน้ำ และปืนลูกซอง อย่างไรก็ตาม อนุญาตให้มีอาวุธปืนเล็กยาวได้ไม่เกินหน่วยละ 10 คน สำหรับผู้บังคับหมู่ขึ้นไป เพื่อใช้ป้องกันหน่วย หรือประชาชน กรณีมีเหตุร้าย ซึ่งเป็นปกติที่กำหนดไว้ในกฎการใช้กำลัง หากแต่มีคำสั่งกำชับชัดเจนให้ใช้เมื่อพบผู้กระทำผิดซึ่งหน้า และจะเกิดอันตรายถึงชีวิตแก่เจ้าหน้าที่และประชาชน
ทั้งนี้ ในวันที่ 10 เม.ย. ซึ่งมีกำลังพลจากกองพลทหารราบที่ 9 มาปฏิบัติการที่บริเวณสะพานพระปิ่นเกล้านั้น ทราบว่าเดินทางมาโดยรถหุ้มเกราะสายพานลำเลียง แต่ไม่มีการใช้อาวุธที่อยู่ในรถต่อประชาชน
เขาระบุว่า วันดังกล่าว เริ่มปฏิบัติการเมื่อเวลา 13.00 น. และหยุดเมื่อ 18.15 น. เนื่องจากเห็นว่าใกล้ค่ำ จึงให้ทุกหน่วยหยุด ณ จุดที่ไปได้ถึง แต่ปรากฏมีผู้ชุมนุมล้อมรถพาหนะของเจ้าหน้าที่ และแย่งอาวุธเอ็ม 16 ปืนทราโว ไปจำนวนมาก แกนนำปลุกระดม เกิดการปะทะด้วยความรุนแรงขึ้น และเนื่องจากมีลม ทำให้แก๊สน้ำตาจากพื้นดินไม่ได้ผล ศอฉ.จึงสั่งให้เฮลิคอปเตอร์โปรยใบปลิวและแก๊สน้ำตาทางอากาศ เพื่อไม่ให้ผู้ชุมนุมเข้าถึงเจ้าหน้าที่
สุเทพ กล่าวว่า ต่อมา เวลาทุ่มเศษ มีกองกำลังชุดดำ ใช้อาวุธสงครามนานาชนิด ยิงใส่เจ้าหน้าที่และประชาชน มีผู้บาดเจ็บ ล้มตาย เมื่อ ศอฉ.สั่งถอนกำลัง ปรากฏว่ามีการปิดล้อมเจ้าหน้าที่ ใช้เอ็ม 79 และปืนเล็กยาว ยิงใส่เจ้าหน้าที่ รวมถึงใช้ระเบิดชนิดขว้าง ศอฉ.จึงอนุญาตให้ใช้อาวุธปืนยิงขู่เพื่อป้องกันตนเองได้ อย่างไรก็ตาม ไม่สามารถจับชายชุดดำได้แม้แต่คนเดียว เนื่องจากเข้าไม่ถึงตัวและมีการปะปนในกลุ่มผู้ชุมนุม ทั้งนี้ มีตำรวจสายสืบของนครบาลสามารถแย่งชิงอาวุธจากชายชุดดำได้ 1 รายโดยได้เครื่องยิงเอ็ม 79 มา ทั้งนี้ หลังเหตุการณ์ 10 เม.ย. มีการกำหนดมาตรการป้องกันการสูญเสียบาดเจ็บหลายอย่าง อาทิ ให้เจ้าหน้าที่ตั้งหน่วยอยู่กับที่ รักษาระยะห่างอย่างน้อย 150 เมตร ไม่ให้ประชาชนเข้าถึงตัว มีด่านตรวจที่มีที่กำบัง
สุเทพ ย้ำว่า ศอฉ.ไม่เคยสั่งการหรืออนุญาตให้มีการซุ่มยิง เพราะไม่มีเจตนาทำร้ายประชาชน การอนุมัติใช้อาวุธมีลำดับขั้นตอนตามความรุนแรงของสถานการณ์ โดยหลังเกิดเหตุ 10 เม.ย. ได้อนุญาตให้ใช้ปืนลูกซองกระสุนลูกปราย เพื่อระงับเหตุและไม่ประสงค์ชีวิตประชาชน โดยต้องเล็งยิงในระดับต่ำกว่าเข่าลงไป ต่อมาเมื่อเจ้าหน้าที่ตั้งด่านตามถนน ถูกผู้ก่อการร้ายใช้อาวุธสงครามโจมตี จึงอนุญาตให้มีปืนเล็กยาวป้องกันตัว จากนั้น เมื่อผู้ก่อการร้ายซุ่มยิงจากตึกสูง จึงมีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ควบคุมพื้นที่สูงข่ม รอบบริเวณไม่ให้มีการทำร้ายเจ้าหน้าที่ได้
กรณีการเสียชีวิตของพัน คำกอง จากการสอบถามคณะตัวแทนของ พล.ร.1 เพื่อชี้แจงต่อสภาหลังเหตุการณ์ ได้ข้อมูลว่า เช้ามืดวันที 15 พ.ค. มีรถตู้ฝ่ามาบริเวณสถานีแอร์พอร์ตลิงก์ มีการโจมตีชุลมุน ไม่รู้ใครเป็นใคร เมื่อเหตุสงบพบผู้เสียชีวิต 2 ราย รายหนึ่งคือพัน คำกอง เสียชีวิตใกล้บังเกอร์เจ้าหน้าที่แต่เจ้าหน้าที่ปฏิเสธว่าไม่ใช่การกระทำของ เจ้าหน้าที่ อีกรายคือเด็กชายคุณากร ซึ่งถูกยิงในซอยข้างโรงหนัง นอกวิถีกระสุนของเจ้าหน้าที่
ทนายแสดงภาพรถตู้ที่มีรอยกระสุนบริเวณกระจกข้าง สุเทพระบุว่า ไม่ทราบว่าใครยิง แต่เจ้าหน้าที่จะยิงแบบนี้ไม่ได้
อัยการถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับชายชุดดำ สุเทพระบุว่า ชายชุดดำปรากฏชัดเจนในช่วงค่ำวันที่ 10 เม.ย. ซึ่งมีการขอคืนพื้นที่ โดยจากเหตุทั้งหมด มีที่จับกุมได้บางส่วนได้ส่งดีเอสไอ ดำเนินคดีก่อการร้าย
นอกจากนี้ หลังการเปิดคลิปวิดีโอที่ถ่ายไว้โดยช่างภาพของสำนักข่าวเนชั่น ศาลถามว่าในคำสั่ง ศอฉ.เกี่ยวกับการใช้อาวุธ ระบุว่าห้ามใช้ปืนยิงอัตโนมัติ แต่ในคลิปดังกล่าว มีเสียงปืนอัตโนมัติ ผิดหรือไม่ สุเทพ ตอบว่า ในภาพไม่เห็นว่าใครยิงและมีปืนกี่กระบอก ได้ยินแต่เสียง อาจเป็นการยิงพร้อมๆ กันก็ได้
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี เบิกความย้ำว่าไม่เคยมีคำสั่งสลายการชุมนุม ก่อนการประกาศภาวะฉุกเฉินร้ายแรงและขอคืนพื้นที่ รัฐบาลได้ขอให้ศาลแพ่งวินิจฉัยซึ่งวินิจฉัยว่ากระทำได้ เนื่องจากการชุมนุมไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งนี้ มีหลักการปฏิบัติตามความเหมาะสมและจำเป็น
อภิสิทธิ์กล่าวว่า ไม่ทราบรายละเอียดวิธีปฏิบัติและไม่ทราบว่าในการปฏิบัติจริง มีการทำตามคำสั่งหรือไม่ แต่มีรายงานว่าได้ดำเนินตามนโยบายที่ให้ไว้ นอกจากนี้ ในช่วงที่มีการชุมนุมในหลายประเทศ ซึ่งสหประชาชาติให้ความสนใจถึงหลักการสลายการชุมนุม ก็ไม่ได้ระบุว่าไทยมีการละเมิด
อภิสิทธิ์กล่าวว่า ในวันที่ 10 เม.ย. ขณะปฏิบัติการยังไม่มีรายงานการเสียชีวิต จนเมื่อหยุดปฏิบัติหน้าที่ช่วงใกล้ค่ำ มีรายงานว่าเจ้าหน้าที่ถูกโอบล้อมและมีการใช้อาวุธกับเจ้าหน้าที่ จึงมีรายงานความสูญเสียครั้งแรก นอกจากนี้ ตั้งแต่ 14 พ.ค. มีรายงานว่ามีผู้ติดอาวุธโจมตีเจ้าหน้าที่ที่ด่านรอบการชุมนุม โดยมีการลำเลียงอาวุธจากในที่ชุมนุม อย่างไรก็ตาม สาเหตุการเสียชีวิตของประชาชนยังไม่มีข้อยุติ แต่ยังไม่มีรายงานว่าเกิดจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยบางกรณีมีความชัดเจนระดับหนึ่ง เช่น เสียชีวิตจากเอ็ม 79 ก็เสียชีวิตจากคนที่ไม่ใช่เจ้าหน้าที่รัฐ เพราะเจ้าหน้าที่รัฐไม่ได้ใช้เอ็ม79 ขณะที่กรณีสูญเสียชีวิตจากการยิง ก็ต้องสอบสวน เพราะมีอาวุธของเจ้าหน้าที่ถูกปล้นและนำไปใช้ ทั้งนี้ ทราบว่ามีกลุ่มติดอาวุธในผู้ชุมนุม จากคลิปวิดีโอ มีการดำเนินคดีไปแล้วบางส่วนแต่จำรายละเอียดไม่ได้
อภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตั้งแต่เริ่มการชุมนุม พยายามส่งคนไปเจรจากับแกนนำ นปช. หลายครั้ง แม้กระทั่งประกาศแผนปรองดอง กำหนดวันยุบสภา เพื่อจัดการเลือกตั้งใหม่ แต่แกนนำไม่ยุติการชุมนุมและเปลี่ยนเงื่อนไขการเจรจาอยู่ตลอด รัฐบาลจึงมีนโยบายกระชับวงล้อมเพื่อกดดันให้ยุติการชุมนุมโดยไม่สลายการ ชุมนุม เช่นเดียวกับการชุมนุมในปี 52
อภิสิทธิ์กล่าวว่า ในการปฏิบัติการขอคืนพื้นที่สวนลุมเมื่อวันที่ 19 พ.ค. ไม่ทราบว่าใครสั่งเคลื่อนพล-ใช้กำลัง พร้อมอธิบายว่า การใช้คำว่าขอคืนพื้นที่ เป็นการอธิบายตามความเป็นจริง ไม่ใช่การหลีกเลี่ยงคำว่า สลายการชุมนุม โดยขณะนั้น ขอคืนพื้นที่สวนลุม การชุมนุมที่ราชประสงค์ก็ยังทำได้ แต่ถ้าเป็นการสลายการชุมนุมจะไม่เป็นเช่นนั้น
อภิสิทธิ์กล่าวว่า สำหรับเหตุการณ์ที่วัดปทุมวนาราม มีผู้สื่อข่าวต่างประเทศจาก นสพ.ดิอินเพนเดนท์ ได้โทรประสานงานให้รัฐบาลเข้าไปช่วยเหลือ แต่หน่วยพยาบาลกลับถูกซุ่มยิง นอกจากนี้ยังมีการรายงานไม่เป็นลายลักษณ์อักษรระบุว่า มีชายชุดดำอยู่ในวัดปทุม มีการต่อสู้ ข่มขู่ทวงหนี้ด้วย
พล.ต.อ.ประทีป ตันประเสริฐ รักษาการ ผบ.ตร.ในขณะนั้น เบิกความว่า หลังประกาศใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 เมื่อวันที่ 7 เม.ย.53 ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการ ศอฉ. โดยในการประชุม ศอฉ. มีสุเทพ เทือกสุบรรณ ผู้อำนวยการ ศอฉ.นั่งอยู่ด้วยทุกครั้ง ตั้งแต่เริ่มชุมนุม ตำรวจมีการหาข่าวตลอด ทั้งโดยตำรวจนอกและในเครื่องแบบ
พล.ต.อ.ประทีป กล่าวว่า ในช่วงแรก มีกำลังของตำรวจ ช่วย ศอฉ. 70 กองร้อยๆ ละ 155 คน ขึ้นตรงต่อกองทัพภาคที่ 1 ต่อมาหลัง 14 พ.ค. มีการเปลี่ยนนโยบาย มาขึ้นตรงต่อ ศอฉ. เนื่องจากมีการชุมนุมในต่างจังหวัดด้วย แต่กองทัพภาคที่ 1 มีอำนาจเฉพาะในกรุงเทพฯ จึงให้ ศอฉ.คุมกำลังแทน
พล.ต.อ.ประทีป กล่าวว่า ในการสลายการชุมนุมที่ผ่านฟ้า เมื่อวันที่ 10 เม.ย.53 ไม่ทราบว่าใครควบคุมการเข้าสลายการชุมนุม ทราบแต่ว่าเป็นหน้าที่ของฝ่ายยุทธการของทหาร โดยปกติการจัดกำลังจะแบ่งเป็น 3 ชั้น กำลังตำรวจอยู่ชั้น 2 และ 3 ส่วนด้านหน้าเป็นหน่วยงานอื่น ทั้งนี้ ตนเองไม่ทราบรายละเอียดการใช้กำลังและวิธีปฏิบัติ เนื่องจากดูแลด้านนโยบายเท่านั้น ต่อมา ที่ราชประสงค์ ศอฉ. มีนโยบายจำกัดพื้นที่ เพื่อไม่ให้ผู้ชุมนุมเพิ่มกำลัง เนื่องจากขณะนั้นมีการประกาศว่าเป็นการชุมนุมโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย กำลังเป็นของฝ่ายทหารไม่ทราบว่าฝ่ายใดปิดล้อม โดยกำลังตำรวจอยู่ที่ชั้น 2-3 เหมือนเดิม
พล.ต.อ.ประทีป กล่าวว่า ในวันที่ 10 เม.ย. ตำรวจมีเพียงโล่และกระบองเท่านั้น ไม่มีอาวุธอื่น ต่อมา ช่วงหลังมีการอนุญาตให้พกปืนพกได้ เนื่องจากมีตำรวจเสียชีวิตที่ สีลม 2 นาย จากการโดนยิงที่ท้อง 1 นายและเอ็ม 79 1 นาย นอกจากนี้ ศอฉ. ให้เจ้าพนักงานใช้ปืนลูกซอง และปืนเล็กยาว เพื่อป้องกันตนเองได้ โดยสมควรแก่เหตุ โดยมีการทำหนังสือย้ำหลักปฏิบัตินี้ตลอด
พล.ต.อ.ประทีป กล่าวว่า ไม่ทราบถึงรายงานการเสียชีวิตของประชาชน รวมถึงพัน คำกอง บริเวณราชปรารภ ที่จัดทำโดยตำรวจนครบาล พญาไท ทั้งนี้ โดยทั่วไป เมื่อมีการเสียชีวิตเกิดขึ้น พนักงานสอบสวนในพื้นที่จะต้องเข้าไปตรวจสอบที่เกิดเหตุโดยเร็ว กรณีพัน คำกอง พนักงานสอบสวนเข้าไม่ได้ เพราะติดแนวลวดหนาม และมีการปะทะกันอยู่ แต่ต่อมาตำรวจก็ได้ไปโรงพยาบาลพญาไท ซึ่งมีการตั้งศพไว้
พล.ต.อ.ประทีป กล่าวว่า หากมีการกระทำใดๆ เกี่ยวกับการสลายการชุมนุมโดยตำรวจ ตนเองในฐานะ ผบ.ตร.และ ผช.ศอฉ. ต้องได้รับการรายงาน โดยที่ผ่านมา ไม่พบกรณีที่เจ้าหน้าที่ถูกลงโทษทางวินัยจากการไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง อย่างไรก็ตาม หากมีการกระทำเกินกว่าเหตุ ในฐานะผู้บังคับการตำรวจ มองว่า เจ้าพนักงานตำรวจผู้ที่กระทำการต้องรับผิดชอบ

อนึ่ง การไต่สวนการตายของ "พัน คำกอง" เสร็จสิ้นแล้วในวันนี้ โดยศาลอาญานัดฟังคำสั่ง ในวันที่ 17 ก.ย.นี้ เวลา 9.00น. โดยนับเป็นการไต่สวนการตายคดีแรกที่ศาลจะมีคำสั่ง

ล้านคำบรรยาย การ์ตูนเซีย 31/08/55 เครื่องสแกนกรรมจริง....

ที่มา blablabla

โดย 

 ภาพถ่ายของฉัน




ขอคืน..ความยุติธรรม ย้ำถูกต้อง
ตามครรลอง เรื่องราว ถูกกล่าวหา
หกปีกว่า ที่ฉกฉวย ด้วยมารยา
ทั้งไล่ล่า ไล่ทุบ ยุบพรรคไป....

แล้วกล่าวอ้าง อย่างระยำ ทำรัฐประหาร
ด้วยสันดาน ร้อยเล่ห์ สุดเฉไฉ
ยัดข้อหา ให้ทักษิณ แทบสิ้นใจ
แล้วคนเลว คือใคร? ไหนบอกที....

โกง CTX 9000 แค่ฝันเฟื่อง
คนกุเรื่อง ช่างจัญไร ไร้ศักดิ์ศรี
ถึงเวลา สแกนกรรม ย้ำชั่วดี
พวกอัปรีย์ เริ่มหางโผล่ โชว์หน้าตา....

หกปีผ่าน นานโข โอละพ่อ
คนหัวร่อ ตอกย้ำ คำมุสา
ตาสว่าง ชัดแจ้ง แสดงมา
กี่ข้อหา ก็พ้นผิด ลองคิดเอา....

ผลงานบาป สัปดน คนมันชั่ว
แอบอำพราง หางยันหัว มัวโง่เขลา
โลกก้าวไกล ใยติดบ่วง ห่วงงับเงา
พวกอับเฉา เลยยับเยิน เกินเยียวยา....

๓ บลา / ๓๑ ส.ค.๕๕

สลิ่มกรี๊ดใส่สลิ่ม ได้ไง!เขียนหนังสือยก'ปูเริด'สวยรวยฉลาดมาดผู้นำวิสัยทัศน์ก้าวไกลไปทั่วโลก

ที่มา Thai E-News

 

โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
31 สิงหาคม 2555

หนังสือออกใหม่ชื่อ"เริด สวย รวยโคตร"ทำเอาบรรดาสลิ่มที่หมดมุกต่อต้านรัฐบาลด้วยเหตุด้วยผลพากันปรี๊ดแตก

โดยหนังสือออกใหม่นี้วางจำหน่ายตามร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ ได้โปรยนำเรียกน้ำย่อยคอหนังสือว่า



 สวยรวยฉลาดมาดผู้นำวิสัยทัศน์ก้าวไกลคนไทยใฝ่ฝันเรียกหานางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของคนไทยเพราะเคล็ดลับอะไร หลากหลายเรื่องราวที่ทำให้นายกฯ เป็นผู้หญิงสมบูรณ์แบบที่สุดของประเทศในขณะนี้

เรื่องนี้ทำเอาบรรดาสลิ่มในโซเชียล เน็ตเวิร์คที่พากันโจมตีกันว่านายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์แย่ไปทุกอย่างพากัน ปรี๊ดแตก พากันจับผิดหน้าปกกันยกใหญ่ว่าใช้ภาษาไทยไม่ถูกหลักภาษา โดยเฉพาะคำว่า"เริด"และพากันส่งต่อๆแชร์ และทวิตต่อกันไปด้วยความเดือดดาล ดังภาพ


จากนั้นก็วิจารณ์คนเขียนและัสำนักพิมพ์ไปต่างๆนานา สรุปสุดท้ายก็เดิมๆคือ"ทักษิณจ้่างมาเชียร์"
แต่หากไปดูประวัติผลงานคนเขียนจริงๆแล้วจะพบว่าผลงานทั้งหมดก่อนหน้านี้ด่าทักษิณและัเสื้อแดงจมเขี้่ยวทั้งนั้น(คลิกดูผลงานทั้งหมดของสันติสุข สถาพร คนเขียนหนังสือเรื่องเริด สวย รวยโคตร)

พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์: ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนกับประเทศไทย

ที่มา Thai E-News

 โดย รศ.ดร. พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์
ที่มา “โลกวันนี้วันสุข”
31 สิงหาคม 2555

เป็นที่ทราบกันทั่วไปว่า ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งมีประเทศไทยเป็นสมาชิกอยู่นั้น จะมีผลเต็มรูปแบบในปี ค.ศ.2015 หรือ พ.ศ.2558 แต่รัฐประหาร 2549 และความขัดแย้งทางการเมืองที่ยืดเยื้อมาร่วมหกปี ทำให้รัฐบาลแต่ละชุดไม่สามารถดำเนินการรูปธรรมเพื่อเตรียมการรับมือ เป็นผลให้หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องขาดทิศทางและนโยบายที่ชัดเจน ผลก็คือ คนไทยน้อยมากที่จะเข้าใจถึงสิ่งที่กำลังจะมาถึง

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซี ASEAN Economic Community (AEC) มีต้นกำเนิดจากการรวมกลุ่มของห้าประเทศหลักในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คือ ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ เมื่อปี 2510 และได้รับบรูไนเป็นสมาชิกอันดับหกเมื่อปี 2527 จากนั้น ในช่วงปี 2538-42 จึงได้มีการขยายตัวครั้งใหญ่ด้วยการรับเวียดนาม ลาว พม่า และกัมพูชา เข้ามาเป็นสมาชิก เนื่องจากสมาชิกสองกลุ่มนี้มีความแตกต่างกันมากในระดับการพัฒนาเศรษฐกิจ และมีข้อผูกพันต่างกัน จึงเรียกสมาชิกหกประเทศแรกว่า อาเซียน-6 และเรียกสมาชิกสี่ประเทศหลังว่า CLMV จากชื่อย่อของสี่ประเทศดังกล่าว

ความจริงแล้ว ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเป็นเพียงหนึ่งในสามองค์ประกอบของ “ประชาคมอาเซียน” ซึ่งได้มีการประกาศเป็นครั้งแรกในที่ประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนที่บาหลี ในปี 2546 อีกสององค์ประกอบคือ ประชาคมความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Security Community) ซึ่งเป็นความร่วมมือทางการเมืองและความมั่นคงของภูมิภาค และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community) ซึ่งเป็นความร่วมมือทางวัฒนธรรม โดยให้มีผลสมบูรณ์ในปี 2563 แต่ต่อมาในปี 2550 ที่ประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนที่เมืองเซบูได้ตกลงเร่งรัดให้ประชาคมอาเซียน เป็นจริงโดยสมบูรณ์เร็วขึ้นอีกห้าปี เป็นปี 2558

แม้จะเป็นเพียงหนึ่งองค์ประกอบ แต่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนมีความสำคัญยิ่งยวดเพราะเป็นการรวมตัวอย่างทั่ว ด้านในทางเศรษฐกิจของกลุ่มอาเซียน ให้เป็นเขตการค้าสินค้าบริการและการเคลื่อนย้ายทุนโดยเสรี ให้อาเซียนสิบประเทศ ประชากรประมาณ 600 ล้านคน รวมเป็นตลาดเดียว เออีซีมีรากฐานจาก “ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน” หรืออาฟต้า ซึ่งลงนามโดยสมาชิกกลุ่มแรกในปี 2535 โดยได้เริ่มทะยอยลดอัตราภาษีศุลกากรลงเป็นศูนย์ในรายการสินค้ากว่าร้อยละ 90 ตั้งแต่ปี 2536 กระทั่งมีผลสมบูรณ์ตั้งแต่ 1 มกราคม 2553 ส่วนกลุ่มประเทศ CLMV จะมีผลสมบูรณ์ตั้งแต่ 1 มกราคม 2558

แต่ละประเทศยังมีสินค้ายกเว้นจำนวนน้อยใน “บัญชีสินค้าอ่อนไหว” ซึ่งอัตราภาษีศุลกากรไม่ต้องเป็นศูนย์ แต่ต้องไม่เกินร้อยละ 5 ในกรณีประเทศไทย สินค้าอ่อนไหวได้แก่ กาแฟ มันฝรั่ง มะพร้าวแห้ง และไม้ตัดดอก ขณะที่สิงคโปร์และอินโดนีเซียไม่มีบัญชีสินค้าอ่อนไหว นอกจากนี้ ยังมี “บัญชีสินค้าอ่อนไหวสูง” ซึ่งสมาชิกสามารถกำหนดอัตราภาษีพิเศษ แต่ต้องได้รับการยินยอมจากประเทศสมาชิกอื่น ๆ ด้วย ซึ่งมาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ได้ขอสงวนข้าวและน้ำตาลไว้ โดยประเทศไทยซึ่งไม่ได้ขอสงวน ก็จะได้รับการชดเชยเป็นมาตรการนำเข้าขั้นต่ำไปยังประเทศนั้น ๆ

นอกจากนี้ ยังมีความตกลงด้านบริการ โดยจะอนุญาตให้นักลงทุนสัญชาติอาเซียนสามารถเข้ามาถือหุ้นในกิจการบริการ เพิ่มขึ้นได้ถึงร้อยละ 70 ของกิจการภายในปี 2558 ครอบคลุมบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ สุขภาพ การท่องเที่ยว การบิน โลจิสติกส์ บริการธุรกิจครอบคลุม 8 วิชาชีพ ได้แก่ วิศวกรรม การสำรวจ สถาปัตยกรรม แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล บัญชี และบริการท่องเที่ยว ส่วนความตกลงด้านการลงทุน เป็นการให้สิทธินักลงทุนอาเซียนได้รับการปฏิบัติเยี่ยงคนชาติตั้งแต่ปี 2553

อย่างไรก็ตาม การเปิดเสรีการค้าบริการและการลงทุน ยังคงอยู่ภายใต้กฎหมายเฉพาะสาขาในแต่ละประเทศ การเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือและการลงทุนข้ามชาติภายในอาเซียนจึงต้องเข้าใจ ภาษา กฎหมายเฉพาะ และระเบียบท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้รับสิทธิตามความตกลงนั้น ๆ เช่น การรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงาน และการอนุญาตประกอบวิชาชีพ เป็นต้น โดยหลักการใหญ่คือ ให้ใช้ภาษาอังกฤษ เป็นภาษากลาง

ในด้านการค้า เนื่องจากประเทศไทยมีระดับการพัฒนาอุตสาหกรรมค่อนข้างสูงภายในอาเซียนและ ต้องนำเข้าวัตถุดิบจำนวนมาก ประโยชน์ที่ไทยจะได้รับจากเออีซีจึงเป็นการนำเข้าวัตถุดิบอุตสาหกรรมที่จำ เป็นในราคาถูกด้วยอัตราภาษีนำเข้าเป็นศูนย์จากแหล่งอาเซียนนั่นเอง แม้ว่า อัตราภาษีนำเข้าวัตถุดิบของประเทศไทยจะอยู่ในระดับต่ำมากอยู่แล้วก็ตาม ส่วนประโยชน์ในด้านการส่งออก กลุ่มอาเซียนนับเป็นตลาดส่งออกอันดับหนึ่งของประเทศไทย มีมูลค่าปีละกว่าสี่หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยประเทศไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้าตลอดมา และคาดว่า การส่งออกจะยิ่งเพิ่มมากขึ้นเมื่อกลุ่มสมาชิก CLMV ได้ลดอัตราภาษีส่วนใหญ่เหลือศูนย์ภายในปี 2558 ตามกำหนด

ประโยชน์ในด้านการลงทุนที่สำคัญคือ ผู้ผลิตไทยจะย้ายฐานการผลิตไปยังเวียดนาม ลาว พม่า และกัมพูชา มากขึ้น เพื่อใช้ประโยชน์จากแรงงานราคาถูกและสิทธิพิเศษทางการค้าที่ประเทศเหล่านี้ ได้รับจากสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป ยิ่งกว่านั้น การพัฒนาโลจิสติกส์ที่ประสานเป็นหนึ่งเดียวมากขึ้นจะลดต้นทุนการขนส่งวัตถุ ดิบและชิ้นส่วนภายในอาเซียนได้อย่างมาก ทำให้เกิดห่วงโซ่การผลิตอุตสาหกรรมร่วมกันภายในกลุ่ม โดยมีผู้ผลิตอุตสาหกรรมในไทยเป็นฐานผลิตสำคัญอีกแห่งในอาเซียนเพื่อส่งออกไป ยังประเทศคู่ค้านอกกลุ่มอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป

ในทางตรงข้าม จะมีธุรกิจไทยบางส่วนที่ถูกกระทบเนื่องจากไม่สามารถปรับตัวให้ทันกับการแข่ง ขันจากผู้ผลิตอื่นในกลุ่มอาเซียนด้วยกัน ซึ่งรัฐบาลจะต้องตระเตรียมมาตรการเยียวยา เช่น กองทุนปรับตัว ให้ธุรกิจเหล่านี้ปรับปรุงการผลิตให้สามารถแข่งขันได้หรือสนับสนุนให้ปรับ เปลี่ยนไปสู่สาขาอื่นที่มีความได้เปรียบมากกว่า

ส่วนประชาชนผู้บริโภคจะได้ประโยชน์ทางอ้อมด้วยสินค้าจากกลุ่มอาเซียนจะมีต้น ทุนการนำเข้าที่ลดลง เกษตรกรจะได้ประโยชน์โดยตรงเพราะอาเซียนเป็นตลาดสินค้าเกษตรไทยที่สำคัญ อันดับต้นมาโดยตลอด แม้ว่าธุรกิจไทยบางส่วนจะย้ายฐานการผลิตออกไป แต่ผู้ใช้แรงงานไทยจะยังได้ประโยชน์จากค่าจ้างที่สูงขึ้นต่อไปเนื่องจากการ ขยายตัวของการค้าและการลงทุนจากการเปิดตลาดเสรี แรงงานต่างชาติที่เข้ามาจะยังคงเป็นแรงงานไร้ฝีมือซึ่งไม่ได้แข่งขันกับแรง งานไทยโดยตรงเช่นเดิม

ส่วนประโยชน์ทางการเมืองที่ชัดเจนคือ ประเทศไทยจะไม่อาจมีรัฐประหารในรูปแบบดั้งเดิมได้ง่าย ๆ อีกต่อไป เพราะนอกจากจะถูกปฏิเสธจากกลุ่มประเทศตะวันตกแล้ว ก็จะไม่ได้รับการสนับสนุนจากประเทศในกลุ่มอาเซียนอีกด้วย ดังเช่นที่ประเทศพม่าได้เรียนรู้และต้องปรับตัวอย่างรวดเร็วด้วยการหันมาสวม เสื้อคลุมการเมืองแบบเลือกตั้ง และเร่งพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศด้วยการเปิดเสรีอย่างรวดเร็ว

ประธาน กสม. น้ำตาคลอ ถูกตอกหน้าตรงๆ "เมื่อไหร่คุณอมราจะพิจารณาตัวเอง ในการลาออก"

ที่มา Thai E-News




เมื่อแม่และญาติเหยื่อพฤษภาฯ 53 นำโดยพะเยาว์ อัคฮาด สุดทน บุกมอบดอกไม้จันทร์ ให้กับประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ จนถึงกับน้ำตาคลอเมื่อถูกตอกหน้าตรงๆ ว่า "เมื่อไหร่คุณอมราจะพิจารณาตัวเอง ในการลาออก"
30 สิงหาคม 2555
โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์


มอบดอกไม้...

ปิดท้ายที่คำถามจากแม่น้องเกดและครอบครัวผู้สูญเสียรายอื่นๆ
 
"เมื่อไหร่คุณอมราจะพิจารณาตัวเอง ในการลาออก"
 
ประธานกรรมการสิทธิ์ฯถึงกับอึ้งไปเกือบ 5 นาที
ก่อนจะตอบแผ่วๆมาว่า มีคณะกรรมการทั้งหมด 7 คนนะคะ...
แม่น้องเกดสรุปความสั้นๆ ตกลงคือจะไม่ลาออก และพี่น้องเราก็คงต้องอดทนกันต่อไป
จากนั้นจึงมอบดอกไม้จันทน์ เป็นที่ระลึกให้กับประธานกรรมการสิทธิ์ฯ โดยมีนพ.นิรันด์ พิทักษ์วัชระ(กรรมการสิทธิ์ซึ่งถูกแจ้ง112)ช่วยยื่นส่งต่อให้นางอมราอีกทอดหนึ่ง
...ประธานกรรมการสิทธิ์รับดอกไม้จันทน์เอาไว้พลางน้ำตาคลอ... ก่อนเดินหน้าเครียดกลับไปห้องทำงาน โดยปฏิเสธการให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนต่อ
* * * * * * * * * 

มติชนเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พาดหัวข่าว "แม่น้องเกด" จี้ ปธ.กสม.ไขก๊อก ชี้รายงานคดี 98 ศพไม่เป็นกลาง มอบดอกไม้จันให้ "อมรา" รับทั้งน้ำตา"

รายละเอียดข่าว

เมื่อเวลา 11.15 น. วันที่ 28 สิงหาคม ที่บริเวณหน้าศูนย์ราชการ อาคารรวมหน่วยราชการ บี (อาคารบี) ถนนแจ้งวัฒนะ กลุ่มคนเสื้อแดงและญาติผู้เสียชีวิตประมาณ 30 คน นำโดยนางพะเยาว์ อัคฮาด มารดา น.ส.กมนเกด อัคฮาด หรือน้องเกด พยาบาลอาสาที่ถูกยิงเสียชีวิตในวัดปทุมวนาราม ระหว่างเหตุการณ์สลายการชุมนุมเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม 2553 เดินทางมาชุมนุมเพื่อขอพบนางอมรา พงศาพิชญ์ ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน (กสม.) ให้มาตอบคำถามเกี่ยวกับความไม่เป็นกลาง และเรื่องการยื่นหนังสือให้นางอมราลาออกไปก่อนหน้านี้ ทั้งนี้ กลุ่มคนเสื้อแดงได้ยกป้ายที่แสดงรูปถ่ายของผู้เสียชีวิตระหว่างเดือนเมษายน ถึงพฤษภาคม 2553 พร้อมตะโกนด่าทอและเรียกร้องให้นางอมราลาออกจากประธาน กสม.

นางพะเยาว์กล่าวว่า เป็นตัวแทนของญาติผู้เสียชีวิตเพื่อต้องการถามว่า การเสียชีวิตจากเหตุการณ์สลายการชุมนุมเมื่อปี 53 รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) อดีตนายกรัฐมนตรีที่สั่งสลายการชุมนุมไม่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนตามที่ ระบุไว้ในร่างรายงานตรวจสอบเหตุกาณ์สลายการชุมนุมเมื่อเดือนเมษายนถึง พฤษภาคม 2553 ของคณะกรรมการตรวจสอบของ กสม.และภาพที่ปรากฏนางอมรามอบดอกไม้ให้นายอภิสิทธิ์บ่งบอกให้เห็นว่า นางอมราคิดอย่างไร และยังมีความเป็นกลางอยู่หรือไม่


ด้านนางอมรากล่าวว่า รายงานการตรวจสอบของ กสม.ที่เผยแพร่ออกมาตามสื่อนั้นเป็นรายงานเก่า ซึ่งรายงานฉบับจริงที่เป็นทางการกำลังดำเนินการอยู่แต่ไม่สามารถบอกได้ว่า จะเผยแพร่ได้เมื่อไร ซึ่งโดยหลักการแล้วต้องพิจารณาเป็นรายกรณีไป ทั้งนี้ กรณีการเสียชีวิตของ น.ส.กมนเกดชัดเจนว่า เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน

นางอมรากล่าวว่า ระหว่างที่เกิดเหตุการณ์สลายการชุมนุมยืนยันว่า กสม.ได้ออกแถลงการห้ามปรามรัฐบาลแล้วหลายครั้ง แต่รัฐบาลไม่เชื่อซึ่งมีหลักฐานเป็นรายงานสามารถนำมาตรวจสอบได้ สำหรับกรณีผู้เสียชีวิตแน่นอนว่า เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนด้วยการกระทำจากบุคคลต่างๆ กัน แต่อย่างไรก็ตามไม่สมควรมีคนตาย

“ภาพที่ปรากฏว่า ตนนำดอกไม่ไปมอบให้นายอภิสิทธิ์นั้น แท้ที่จริงแล้วตนก็ได้นำดอกไม้ไปมอบให้ นพ.เหวง โตจิราการ และนายวีระกานต์ มุสิกพงศ์ แกนนำคนเสื้อแดงด้วยเช่นกันแต่ที่ตนถูกมองว่า ไม่มีความเป็นกลางเพราะว่ามีการนำเสนอข้อมูลเพียงด้านเดียว” นางอมรากล่าว

นางอมรากล่าวว่า ตนไม่เคยบอกว่า รัฐบาลที่สั่งให้มีการสลายการชุมนุมไม่ผิด ถือเป็นการปรักปรำเพราะรายงานอย่างเป็นทางการของ กสม.ยังไม่ได้สรุป ซึ่งขณะนี้เหตุการณ์ความรุนแรงต่างๆ ยังไม่ชัดเจน โดยจะต้องมีการพิจารณาเป็นรายๆ ไปในเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชน อย่างไรก็ตาม รัฐบาลชุดปัจจบันก็จะต้องมีมาตราการเยียวยาและแก้ไขปัญหาคู่ขนานไป ส่วนเรื่องการลาออกนั้น กสม.ทำงานกันเป็นองค์คณะ 7 คน ที่จะพิจารณาร่วมกัน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กลุ่มคนเสื้อแดงและญาติผู้เสียชีวิตได้มอบดอกไม้จันให้กับนางอมรา โดยนางอมราก็ได้รับไว้พร้อมน้ำตาก่อนที่นางอมราจะเดินกลับ

นางอมรากล่าวหลังพบกลุ่มผู้ชุมนุมคนเสื้อแดงและญาติผู้เสียชีวิตว่า การมาชุมนุมของคนเสื้อแดงไม่มีผลกับรายงานของ กสม. ทุกอย่างจะเป็นเป็นไปตามข้อเท็จจริง และไม่หวั่นไหวไปตามกระแสการเมือง ส่วนจะเปลี่ยนแปลงไปจากรายงานฉบับเก่าที่ถูกเผยแพร่ออกมาก่อนหน้านี้หรือไม่ ก็คงมีการเปลี่ยนแปลงบ้าง อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าร่างรายงานที่ถูกเผยแพร่ไม่ตรงกับความเป็นจริง เป็นร่างฉบับเก่าและไม่ใช่ร่างฉบับอย่างเป็นทางการ

นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กสม. กล่าวว่า รายงานฉบับอย่างเป็นทางการจะเป็นการตรวจสอบว่า หน่วยงานรัฐมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไม่ เช่นการออก พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน แต่ไม่ได้ลงลึกในรายละเอียด คาดว่าภายใน 2 เดือน ร่างรายงานตรวจสอบฉบับอย่างเป็นทางการควรจะต้องเสร็จ ซึ่งขณะนี้กำลังเร่งพิจารณาอยู่หลังจากมีร่างรายงานตรวจสอบอย่างไม่เป็น ทางการหลุดออกมา

ปาหี่ ICC "คดีเสื้อแดง 98 ศพความสิ้นหวังบนเวที ICC "

ที่มา Thai E-News




30 สิงหาคม 2555

โลกวันนี้ รายวัน
ปีที่ 13 ฉบับที่ 3368 ประจำวัน พฤหัสบดี ที่ 30 สิงหาคม 2012
คดีเสื้อแดง 98 ศพความสิ้นหวังบนเวที ICC

“แม้นายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ทนายความกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) แดงทั้งแผ่นดิน จะแนะนำถึงการยื่นเรื่องเพื่อขอให้ศาลอาญาระหว่างประเทศ (ICC) ไต่สวนหาผู้กระทำความผิดจากเหตุการณ์สลายการชุมนุมเมื่อเดือน เม.ย.-พ.ค. 2553 แต่เป็นช่องทางที่เหมือนไฟริบหรี่”

นั่นเป็นคำพูดของนางพะเยาว์ อัคฮาด มารดาของอาสาพยาบาล กมนเกด อัคฮาด ที่เสียชีวิตในการสลายการชุมนุม 19 พ.ค. 2553 ที่วัดปทุมวนาราม เป็นการส่งสัญญาณว่าเริ่มสิ้นหวังกับการให้ ICC รับเรื่องนี้เพื่อไต่สวนหาผู้สั่งการฆ่าประชาชน

การเดินทางไปกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 25 มิ.ย. ที่ผ่านมา เพื่อยื่นหลักฐานข้อมูลเพิ่ม เติมต่อ ICC ของนางธิดา ถาวรเศรษฐ ประธาน นปช. ล่วงเลยมากว่า 2 เดือนแล้ว แต่ปฏิกิริยาจาก ICC ยังไม่มีความคืบหน้าอะไร เว้นแต่เปิดช่องให้ยื่นข้อมูลหลักฐานเพิ่มได้เท่านั้น

ทั้งนี้ เพราะติดเงื่อนไขที่นายกฯยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ยังไม่ลงนามรับรองเขตอำนาจศาลเพื่อให้ ICC สามารถพิจารณาสำนวนคดีการสลายการชุมนุมได้

แม้นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จะสั่งการให้ผู้เกี่ยวข้องทำการศึกษาเรื่องนี้ พร้อมให้คำมั่นว่าจะมีข้อสรุปเรื่องการรับรองเขตอำนาจศาลเสนอให้คณะรัฐมนตรีในเร็ววันนี้

แต่ก็เป็นการเทคแอ็คชั่นไม่ให้เสียคะแนนจากคนเสื้อแดงเท่านั้น

ความหวังของญาติผู้สูญเสียที่ฝันว่าจะเห็น ICC ไต่สวนเรื่องนี้จึงยังห่างไกลจากความจริง

จากการตรวจสอบข้อมูลพบว่าปมปัญหาที่ทำให้ยังไม่สามารถยอมรับเขตอำนาจศาล ICC ได้เป็นเพราะ

1.ไทยได้ลงนามในธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ ค.ศ. 1998 เมื่อปี พ.ศ. 2543 แต่ยังไม่ได้ให้สัตยาบันเข้าเป็นภาคีธรรมนูญกรุงโรม เนื่องจากจำเป็นต้องออกพระราชบัญญัติอนุวัติพันธกรณีของธรรมนูญกรุงโรมก่อนเพื่อให้ไทยสามารถปฏิบัติตามพันธกรณีได้

2.ไทยมีประเด็นอ่อนไหวที่ต้องพิจารณาเกี่ยวกับข้อ 27 ของธรรมนูญกรุงโรม ซึ่งระบุถึงการไม่สามารถอ้างสถานะความเป็นประมุขของรัฐเพื่อไม่ต้องรับผิดทางอาญาตามธรรมนูญกรุงโรม

ในขณะที่มาตรา 8 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 บัญญัติถึงการละเมิดมิได้ และการไม่อาจกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ซึ่งมีสถานะเป็นประมุขของรัฐไม่ว่าในทางใดๆ

3.ขณะนี้การดำเนินคดีต่อผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดอยู่ในกระบวนการยุติธรรมของไทยแล้ว ตามหลักกฎหมายของธรรมนูญกรุงโรม ICC มีเขตอำนาจในฐานะศาลที่เสริมเขตอำนาจในทางอาญาของรัฐในกรณีที่รัฐนั้นเป็นภาคีแล้ว จึงไม่สามารถรับคดีไว้พิจารณาได้

ถึงแม้ข้อ 12 วรรค 3 ของธรรมนูญกรุงโรมจะระบุให้รัฐซึ่งมิได้เป็นภาคีธรรมนูญกรุงโรมอาจยอมรับการใช้อำนาจศาลในส่วนที่เกี่ยวกับอาชญากรรมที่เป็นปัญหาได้ โดยส่งมอบคำประกาศให้แก่นายทะเบียนของ ICC ก็ตาม

4.คณะกรรมการพิจารณาธรรมนูญศาลอาญาระหว่างประเทศที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งขึ้นเพื่อพิจารณาการเข้าเป็นภาคีธรรมนูญกรุงโรมมีความเห็นว่า การเข้าเป็นภาคีธรรมนูญกรุงโรมจะต้องพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบในบางประเด็นที่เป็นเรื่องสำคัญและอ่อนไหว โดยเฉพาะข้อ 27 ของธรรมนูญกรุงโรมเรื่องการไม่สามารถอ้างสถานะความเป็นประมุขของรัฐในการที่จะไม่ต้องรับผิดชอบทางอาญาตามธรรมนูญกรุงโรมจำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายภายในที่เกี่ยวข้อง

เช่น ประมวลกฎหมายอาญาเพื่อเพิ่มฐานความผิดร้ายแรงทั้ง 4 ฐานตามธรรมนูญกรุงโรม ได้แก่ อาชญากรรมทำลายล้างเผ่าพันธุ์, ต่อมนุษยชาติ, สงคราม, การรุกราน ให้เป็นความผิดในประมวลกฎหมายอาญาของไทย, พระราชบัญญัติการปฏิบัติเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศในการดำเนินการตามคำพิพากษาคดีอาญา พ.ศ. 2527, พระราชบัญญัติว่าด้วยความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญา พ.ศ. 2535 เพื่อให้รองรับพันธกรณีภายใต้ธรรมนูญกรุงโรมได้ครบถ้วนสมบูรณ์

สิ่งเหล่านี้จะต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาก่อนแสดงเจตจำนงให้มีผลผูกพันหรือให้สัตยาบันตามมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญ จึงถือเป็นอุปสรรคสำคัญของการที่จะให้ ICC รับไต่สวนกรณี 98 ศพ

โดยเฉพาะหัวใจสำคัญที่ดูเหมือนรัฐบาลไม่กล้าแตะ คือการอ้างว่าธรรมนูญกรุงโรมขัดกับมาตรา 8 วรรค 2 ของไทยที่ระบุว่า ผู้ใดจะฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใดๆไม่ได้ โดยธรรมนูญกรุงโรมระบุว่า ถ้ากฎหมายภายในให้เอกสิทธิ์คุ้มกันบุคคลใดๆนั้นอ้างไม่ได้ในศาลอาญาระหว่างประเทศ

นี่คือเหตุผลว่าทำไมคดี 98 ศพ จึงยังไม่เข้าสู่กระบวนการพิจารณาของ ICC เสียที แม้เหตุการณ์จะล่วงเลยผ่านมากว่า 2 ปีแล้ว

การเอาผิดคนสั่งฆ่าประชาชนจึงเป็นเพียงโวหาร วาทะทางการเมือง เพื่อรักษาน้ำใจคนเสื้อแดงเท่านั้น

แม้แต่กระบวนการสอบสวนในประเทศที่มีการเรียกนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี นายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคงและอดีตผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) เข้าให้ปากคำ

หรือการเรียก ส.อ.ศฤงคาร ทวีชีพ และ ส.อ.คชารัตน์ เนียมรอด ทหารสังกัด ม.พัน 5 สองทหารประจำจุดซุ่มยิง หรือสไนเปอร์ เข้าให้ปากคำ ก็ไม่มีความหวังใดๆกับการเอาคนสั่งฆ่ามารับโทษ

กระบวนการทั้งหมดส่อไปในทิศทางที่ว่าไม่ได้มุ่งเอาผิดใคร แต่เป็นการมุ่งไปสู่การปรองดอง รอมชอม หรือเกี๊ยะเซียะ เพื่อล้างผิดทุกฝ่ายด้วยการนิรโทษกรรมเสียมากกว่า
http://www.dailyworldtoday.com/newsblank.php?news_id=15924

มั่วชุดดำ

ที่มา uddred

 ข่าวสด 31 สิงหาคม 2555 >>>






"ชายชุดดำ" ยังเป็นมุขเก่าๆ ที่พรรคประชาธิปัตย์งัดขึ้นมาใช้ได้ตลอด 2 ปี เป็นข้ออ้าง-สร้างความชอบธรรมในการปราบปรามม็อบเสื้อแดง 98 ศพ
ล่าสุดนายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษก ปชป. ก็ขุดเอาภาพเก่าๆ มาเปิดแถลงเสียใหญ่โต เป็นภาพ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ สมัยที่เป็น แกนนำนปช.นั่งแถลงข่าวหลังเวทีชุมนุม โดยมีผู้ชายสวมเสื้อดำ ใส่หมวกไหมพรม ยืนอยู่ข้างหลัง
นายชวนนท์พยายามชี้ให้เห็นว่ามีชาย ชุดดำอยู่ในม็อบเสื้อแดงจริง ทั้งที่ข้อเท็จจริงแล้ว หากจำกันได้ภาพดังกล่าวเป็นการแถลงข่าวของแกนนำนปช.ที่เวทีราชประสงค์เมื่อ วันที่ 14 เม.ย. 53
นายณัฐวุฒิ พา นายมานพ ชาญช่างทอง อาชีพเก็บของเก่าขาย และเป็นการ์ดอาสา มาเปิดตัวยืนยันความบริสุทธิ์ เพราะช่วงนั้นมีการโชว์รูปนายมานพเดินถือปืนเอ็ม 16 ระบุด้วยว่าเป็นชายชุดดำ เป็นทหารพรานปักธงชัย
นายมานพซึ่งมีหน้าที่วิ่งซื้อหนังสือพิมพ์ให้แกนนำ นปช. ระบุว่า วันที่ 10 เม.ย. เกิดการปะทะระหว่างผู้ชุมนุมกับทหาร โดยผู้ชุมนุมล้อมทหาร 30 นายอยู่ จึงเข้าไปเจรจาให้ทหารปลดอาวุธ ซึ่งทหารก็ยินยอม ตนจึงแบกปืน 3 กระบอก ไปเก็บไว้ที่เวทีชุมนุม
   "ผมเป็นคนเดินนำ ช่างภาพถึงถ่ายรูปผมได้ จริงๆ แล้วผมถือปืนเยอะขนาดนั้น ถ้าจะยิงจะยิงยังไง แรมโบ้คงยิงไม่ได้เหมือนกัน ผมมีอาชีพเก็บของเก่า ไม่เคยเป็นทหารพรานค่ายปักธงชัยตามที่ถูกใส่ร้าย ไปตรวจสอบประวัติผมได้ แล้วที่สำคัญผมมีทหารอีก 30 นาย ที่ยอมปลดอาวุธเป็นพยานให้"
จึงแปลกใจว่าทำไม นายชวนนท์ ถึงยังมั่วนิ่ม ตีกินมุขชายชุดดำอยู่อีก หรือว่าต้องการเอาใจ "มาร์ค-เทือก" ที่เพิ่งเข้าให้ปากคำคดี 98 ศพไปหมาดๆ
เพราะทั้งคู่ก็ยังยืนกรานว่ามีชายชุดดำอยู่ในม็อบแดง เป็น "มุข" อมตะของ ปชป. งัดขึ้นมาใช้ตลอดในยามคับขัน !?

Thursday, August 30, 2012

พยานยืนยันเห็นทหารบนรางรถไฟฟ้ายิงปชช.ในวัดปทุม

ที่มา Voice TV



วันนี้ (30ส.ค.)ศาลอาญากรุงเทพใต้ มีการไต่สวนประจักษ์พยาน ในคดี 6 ศพวัดปทุมวนาราม ซึ่งพยานยืนยันว่าเห็นทหารอยู่บนรางรถไฟฟ้า ยิงประชาชนในวัดปทุมวนารามจนมีผู้เสียชีวิต6ศพ


นายศักดิ์ชาย แซ่ลี หนึ่งในพยานที่อยู่ในที่เกิดเหตุผู้เสียชีวิต 6 ศพภายในวัดปทุมวนาราม เมื่อวันที่19 พฤษภาคม 2553 ในช่วงที่ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือศอฉ. ปฏิบัติการตามยุทธวิธีขอคืนพื้นที่จากผู้ชุมนุมกลุ่มคนเสื้อแดง เข้าให้การในฐานะประจักษ์พยานไต่สวนการตาย


โดยยืนยันว่าในช่วงเกิดเหตุที่มีประชาชนถูกยิง เขาหลบกระสุนอยู่ภายในบริเวณวัดปทุมวนารามซึ่งเป็นเขตอภัยทาน และได้พยายามช่วยปฐมพยาบาลและดูแลนายอัครเดช ขันแก้ว อาชีพรับจ้าง ซึ่งขณะนั้นถูกยิง ได้รับบาดเจ็บ และระหว่างนั้นได้เห็นทหารอยู่บนรางรถไฟฟ้า เล็งปืนมาที่เต้นท์ปฐมพยาบาล แล้วระดมยิงใส่ประชาชน ซึ่งเขาได้หลบกระสุนอยู่ที่รถข้างเต้นท์ และเห็นนางสาวกมลเกด อัคฮาด พยาบาลอาสา ถูกยิงนอนแน่นิ่งในเต้นท์ เมื่อเสียงปืนสงบลง ก็ได้เห็นนายอัฐชัย ชุมจันทร์ อายุ 28 ปี บัณฑิตคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ถูกยิงเสียชีวิตเช่นกัน


นายศักดิ์ชาย ระบุว่า ช่วงเกิดเหตุเป็นเวลาประมาณ 18.00 น. ยังสว่างและเห็นทหารที่อยู่บนรางรถไฟฟ้า ถือปืนยาวเล็งใส่ประชาชนชัดเจน ซึ่งขณะนั้นไม่มีเจ้าหน้าที่หน่วยอื่น


วันนี้นับเป็นนัดที่ 3 ที่ศาลอาญากรุงเทพฯใต้ นัดไต่สวนคำร้องชันสูตรพลิกศพ คดีที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 4 ยื่นคำร้องขอให้ศาลไต่สวนชันสูตรการเสียชีวิต 6 ศพในวัดปทุมวนาราม คือนายสุวรรณ ศรีรักษา อายุ 30 ปี อาชีพเกษตรกร ผู้เสียชีวิตที่ 1 นายอัฐชัย ชุมจันทร์ อายุ 28 ปี บัณฑิตคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ผู้เสียชีวิตที่ 2 นายมงคล เข็มทอง อายุ 36 ปี เจ้าหน้าที่อาสามูลนิธิปอเต็กตึ๊ง ผู้เสียชีวิตที่ 3  นายรพ สุขสถิต อายุ 66 ปี อาชีพพนักงานขับรถรับจ้างในสนามบิน ผู้เสียชีวิตที่ 4  นางสาวกมนเกด อัคฮาด อายุ 25 ปี อาชีพพยาบาลอาสา ผู้เสียชีวิตที่ 5 และ นายอัครเดช ขันแก้ว อาชีพรับจ้าง ผู้เสียชีวิตที่ 6 เพื่อทำคำสั่ง แสดงว่าผู้ตายเป็นใคร ตายที่ไหน เมื่อใด ถึงเหตุและพฤติการณ์ที่ตาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 150


อัยการนัดพยานในที่เกิดเหตุเข้าให้การ 3 ปาก ประกอบด้วยนายศักดิ์ชาย แซ่ลี นายสุรศักดิ์ สุขสถิตย์ บุตรชายของผู้เสียที่4 และพระธวัช แสงทน  การไต่สวนในวันนี้มีนางพะเยาว์ อัคฮาด มารดาของนางสาวกมนเกด และญาติผู้เสียชีวิตเข้าร่วมรับฟังด้วย
30 สิงหาคม 2555 เวลา 11:42 น.

จตุพร : 'นักรบย่อมมีแผล'

ที่มา uddred

 กรุงเทพธุรกิจ 30 สิงหาคม 2555 >>>





ถึงแม้บทบาทการเป็น"ตัวชน"ของเขาจะถูกมองว่าขัดต่อบุคลิกผู้ที่จะเป็นรัฐมนตรี แต่มุมของจตุพร มองว่า "คนเรามันอยู่บริบทต่างกัน


ชื่อของ "จตุพร พรหมพันธุ์" อดีตส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย แกนนำกลุ่มคนเสื้อแดง อยู่ในบัญชีว่าที่รัฐมนตรีใหม่ แทบทุกครั้งเมื่อมีกระแสการปรับคณะรัฐมนตรี ทว่าอีกด้านหนึ่งก็ถูกมองว่าเป็นของแสลง หากรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะเดินหน้านโยบายสร้างความปรองดองอย่างจริงจัง  

โอกาสทางการเมือง สำหรับ "ผู้นำนักรบเสื้อแดง" จตุพรมองว่า "ก็มีข่าวทุกครั้งว่าผมจะได้เป็น แต่ทุกครั้งก็เป็นเหมือนทุกข์ลาภ บางทีก็เจอคนกเฬวรากในพรรคบ้าง และหากจะไปรบกับเขาก็ว่ารบเพื่อตัวเอง แต่ทั้งหมดก็ขึ้นอยู่ที่นายกรัฐมนตรี แต่คนเสื้อแดงไม่เคยต่อรอง ผมผ่านมาทุกสถานการณ์แล้ว ในเวทีของรัฐสภา ถ้าจัดลำดับ 1 ใน 10 หรือ 1 ใน 5 ของนักอภิปรายในสภา ผมก็ต้องอยู่ในนั้น เวทีข้างนอกก็ครบถ้วน เป็นข่าวก็น้อยลง แต่ทำหน้าที่เชิงความคิดมากขึ้น แต่ถ้าพูดว่าจะได้เป็นไหม ก็มีชื่อทุกครั้ง ก็เป็นรัฐมนตรีตามข่าว ตามโพล" (หัวเราะ)

หากชื่อจตุพรอยู่ในคณะรัฐมนตรี จะเป็นเป้าหมายให้ฝ่ายตรงข้ามโจมตีได้ง่ายขึ้นหรือไม่ เขาถามกลับว่า "ถ้าบอกว่าผมเป็นเป้าหมายโจมตี จึงต้องถามว่าเป้าใคร และขอถามหน่อยว่า ถ้าผมไม่ลุแก่อำนาจ ไม่ทุจริตคอร์รัปชัน และยังคงอยู่กับประชาชน มันก็ไม่มีเหตุจะตกเป็นเป้าใคร การจะวิพากษ์วิจารณ์คนวิจารณ์ ต้องไม่ใช่พูดเพราะหน้าตา"

ถึงแม้บทบาทการเป็น"ตัวชน" ของเขาจะถูกมองว่าขัดต่อบุคลิกผู้ที่จะเป็นรัฐมนตรี แต่มุมของจตุพร มองว่า "คนเรามันอยู่บริบทต่างกัน ตอนนั้นเพื่อนอยู่ในคุกหมด ถ้าเราทำตัวเรียบร้อย มันก็พลิกฟื้นไม่ได้ ผมอาจจะเป็นคนที่ยื่นถูกถอนประกันมากที่สุดในประเทศไทยก็ได้ (ยิ้ม) ผมแสดงหน้าที่ทั้งในและนอกสภา สู้เต็มเหยียด"

"เปรียบเปรยได้ว่า ผมก็เหมือนนักรบที่อยู่ในสนามรบ และไม่มีนักรบคนใดที่ต่อให้เก่งกาจแค่ไหนต่างล้วนมีบาดแผลทั้งสิ้น แต่บาดแผลจากการสู้รบ ไม่ใช่รอยตำหนิ ผมไม่ปฏิเสธเรื่องนี้ แต่ตำหนิหรือคดีที่ได้รับมา ไม่มีเรื่องส่วนตัวแม้แต่คดีเดียว เป็นเรื่องส่วนรวมทั้งนั้น ในทางการเมืองเมื่อไปรบแล้วมันก็อาจจะพลาดกันบ้าง แต่ถ้ายังคิดว่าการอยู่ในสนามรบแล้วบาดแผลคือรอยตำหนิ วันข้างหน้ามันจะหานักรบไม่ได้ เวลารับรางวัลนักรบอยู่ปลายแถว แต่เวลารบอยู่ข้างหน้า และมันจะไม่ให้หน้าช้ำได้ไง แต่ขณะที่อีกคนผัดหน้าขาวรออยู่ พวกที่หน้านวลเพราะไม่อยู่ในสนาม"

เมื่อถามว่า จะเสียใจไหมถ้าไม่ได้เป็นรัฐมนตรีเพราะเหตุผลว่าเป็นนักรบ จตุพร กล่าวว่า "มันไม่ใช่ว่าเราสู้เพื่อต้องการเป็น ถ้าจะเอาคนที่ไม่มีภาพช้ำเลย วันหน้าเราจะหานักรบไม่ได้ ทุกคนจะเห็นแก่ตัว เราไม่ต้องการสร้างให้กระบวนการนี้เป็นที่รวมของคนที่เอาตัวรอด แต่ไม่ใช่ว่าเพื่อผม แต่เหมา เจ๋อ ตุง บอกว่า “ผู้ลงแรง ย่อมอิ่มหนำ” เพื่ออธิบายความว่าผู้ที่ไปทำงาน ไปต่อสู้ ไปสู้รบ ต้องได้รับการดูแล แต่เราไม่ได้เรียกร้องว่าเราต้องเป็นอะไร"

เพียงแต่ว่าที่ผ่านมาได้รับเรื่องจากประชาชนมาเยอะ แต่เราได้แต่งึกๆงักๆ เพราะไม่มีอำนาจอะไรในมือ ทำอะไรไม่ได้เลย สั่งการได้เฉพาะ(ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ) รมช.เกษตรฯ (หัวเราะ) คนอื่นก็ทำได้บ้าง ไม่ได้บ้าง แต่เวลาชาวบ้านตามเรื่อง ตามจากเราเพราะเขารู้จักเรา เราก็แบกรับปัญหาไปเรื่อย คือจะเป็นหรือไม่เป็นมันเป็นเรื่องเล็ก มันไม่ใช่เพราะอยากใส่ชุดเป็นรัฐมนตรี เพียงแต่ว่าในทางการเมือง ผมมันก็พิสูจน์ทุกมุม ทุกเวที ได้ผ่านการทดสอบมาแล้วทั้งปวง ในสภาหรือข้างนอก ทุกมุม ทุกบริบท และไม่รู้ว่าในชีวิตจะทำอะไรได้ดีขนาดนี้ เพราะมันสุดทางหมดแล้ว หมดปัญญาแล้ว ไม่รู้จะพิสูจน์เรื่องอะไรอีกแล้ว"

ส่วนแนวทางการสร้างความปรองดองในมุมมองของคนเสื้อแดงจากนี้ไป จตุพร ยืนยันว่า ปรองดองจะเกิดขึ้นได้ ต้องตั้งต้นความยุติธรรมให้เท่ากันก่อน มันไม่ได้อยู่ที่ผลวิจัยสถาบันพระปกเกล้าหรือ พ.ร.บ.ปรองดอง แต่ขอให้อารมณ์มันเท่ากันเสียก่อน โดยทุกฝ่ายถูกทำแบบเดียวกัน ทั้งคดีของกลุ่มพันธมิตรฯ คดีสั่งการของอภิสิทธิ์-สุเทพ ขณะที่คดีของคนเสื้อแดงเร็วเหมือนขึ้นลิฟต์  เรื่องการออกกฎหมายล้างผิด ผมยังยืนยันว่าเราไม่เห็นด้วย หากจะละเลยการแสวงหาความจริง"

 สำหรับสถานการณ์ของลุ่มคนเสื้อแดงในขณะนี้และจากนี้ไป จตุพร บอกว่า "เหมือนเป็นช่วงตั้งหลัก คนเสื้อแดงผ่านมาหมดแล้ว ทั้งเจ็บ ตาย สูญสิ้นอิสรภาพ เพราะฉะนั้นเมื่อผ่านมาหมดแล้วก็ต้องสู้อย่างมีสติ ให้กระบวนการยุติธรรมเดินหน้า เราต้องให้สติทั้งตัวเราและพี่น้องเสื้อแดง"

โอบามาไฟเขียว 'เต็ง เส่ง' เยือนสหรัฐ

ที่มา Voice TV

 โอบามาไฟเขียว 'เต็ง เส่ง' เยือนสหรัฐ



ประธานาธิบดีโอบามาออกคำสั่งฝ่ายบริหาร เลิกแบนผู้นำพม่าเยือนสหรัฐ เปิดทางเต็ง เส่งพบหารือกับเจ้าหน้าที่อเมริกันระหว่างร่วมประชุมยูเอ็นในเดือนหน้า

เมื่อวันพุธ ประธานาธิบดีสหรัฐ บารัก โอบามา ได้ยกเลิกข้อห้ามการออกวีซาแก่ประธานาธิบดีเต็ง เส่ง เพื่อให้ผู้นำพม่าผู้นี้สามารถเดินทางในสหรัฐได้โดยอิสระระหว่างการประชุม สมัชชาแห่งสหประชาชาติ

หากข้อจำกัดการตรวจลงตราของผู้นำพม่ายังคงมีผลบังคับใช้ต่อไป เต็ง เส่งจะไม่สามารถไปไหนได้ไกลเกินกว่าบริเวณอาคารสำนักงานใหญ่ของยูเอ็นใน นิวยอร์ก

โฆษกสภาความมั่นคงแห่งชาติของทำเนียบขาว ทอมมี วีเตอร์ บอกกับผู้สื่อข่าวว่า โอบามาได้ตัดสินใจดังกล่าวเพื่อส่งสัญญาณว่า สหรัฐสนใจที่จะติดต่อกับเต็ง เส่งอย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้น

"การที่เราติดต่อกับบรรดานักปฏิรูปคนสำคัญในรัฐบาลพม่ามากขึ้น จะเอื้ออำนวยให้การปฏิรูปเศรษฐกิจและการเมืองของพม่ามีความคืบหน้า" วีเตอร์กล่าว

เขาบอกอีกว่า การตัดสินใจครั้งนี้จะเปิดทางให้เต็ง เส่ง และบรรดารัฐมนตรีหัวปฏิรูป สามารถพบหารือกับเจ้าหน้าที่สหรัฐได้ และ "เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับประชาธิปไตยและนโยบายของสหรัฐมากขึ้น" ระหว่างการเยือน

รัฐบาลโอบามาได้ส่งเอกอัครราชทูตสหรัฐไปประจำในพม่าเป็นครั้งแรกในช่วงเวลา กว่าสองทศวรรษ และได้ผ่อนคลายข้อจำกัดด้านการลงทุนของบริษัทอเมริกัน

อองซาน ซูจี ผู้นำฝ่ายค้านของพม่า มีกำหนดเดินทางไปยังสหรัฐในเดือนหน้าเช่นกัน โดยนางจะเข้ารับเหรียญทองคำของสภาคองเกรส ซึ่งเป็นเกียรติยศขั้นสูงสุด ทั้งนี้ เต็ง เส่งก็จะไปเยือนในช่วงเวลาเดียวกัน

Source : AFP ; Reuters (image)
30 สิงหาคม 2555 เวลา 11:24 น.

ป.ป.ช. ลงมติเอกฉันท์ ยกฟ้องคดีทุจริต CTX 9000

ที่มา ประชาไท

 
ป.ป.ช. ลงมติยกฟ้องข้อกล่าวหาทักษิณ- สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ อดีตรมต.คมนาคม และผู้เกี่ยวข้องอีกกว่า 20 ราย ข้อหาทุจริตจัดซื้อเครื่องตรวจระเบิดในสุวรรณภูมิ เหตุหลักฐานอ่อนไป
 28 ส.ค. 55 - คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีมติเอกฉันท์ 7 เสียง ยกฟ้องข้อกล่าวหาการทุจริตจัดซื้อเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิด และการก่อสร้างระบบสายพานลำเลียงกระเป๋า ซีทีเอ็กซ์ 9000 จำนวน 26 เครื่อง โดยมีผู้ถูกกล่าวหาประกอบด้วย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ อดีต รมว.คมนาคม ข้าราชการระดับสูงใน บทม. และบริษัทเอกชนหลายกลุ่มรวม 25 คน แต่ ป.ป.ช.เห็นว่าพยานหลักฐานทั้งหมดไม่เพียงพอที่จะพิสูจน์ได้ว่าผู้ถูกกล่าว หากระทำผิดโดยปราศจากข้อสงสัย จึงมีมติเอกฉันท์ให้ยกคำร้อง โดยยืนยันไม่มีการเมืองกดดันการพิจารณา
ขณะเดียวกัน มีมติให้ไต่สวนต่ออดีตกรรมการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิอีก 6 คน ซึ่งพบหลักฐานว่ามีส่วนเกี่ยวพันกัน ได้แก่ นายศรีสุข จันทรางศุ พล.อ.สมชัย สมประสงค์ นายชัยเกษม นิติสิริ นายเทิดศักดิ์ เศรษฐมานพ นายศุภเดช พูนพิพัฒน์ และ พล.อ.อ.ณรงค์ศักดิ์ สังขพงศ์
โดยมติครั้งนี้ เลื่อนมาจากการประชุมลงมติเมื่อวันที่ 21 สิงหาคมที่ผ่านมา โดยนายวิชัย วิวิตเสวี กรรมการ ป.ป.ช. เปิดเผยถึงสาเหตุที่ต้องเลื่อนประชุม เพราะต้องแปลเอกสารจากอัยการและหน่วยงานยุติธรรมของสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีประเด็นสำคัญต้องพิจารณาเพิ่มเติม เช่น ใบเสร็จ และหลักฐานการซื้อขาย นอกจากนี้ ป.ป.ช.ยังพบข้อมูลใหม่ ที่คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ยังไม่ได้ตั้งประเด็นส่งมา คือมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าข้าราชการระดับสูงของรัฐ ประมาณ 7-8 คน เกี่ยวข้องกับตัวแทนขายเครื่องซีทีเอ็กซ์ โดยข้อสรุปมี 2 แนวทาง คือ หากเห็นว่าหลักฐานครบถ้วน ก็จะดำเนินการส่งฟ้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยไม่ต้องผ่านอัยการสูงสุด ที่มีความเห็นไม่ส่งฟ้องมาก่อนหน้านี้ หรือหากเห็นว่าหลักฐานอ่อน ก็จะมีมติให้ยกคำร้อง
สำหรับจุดเริ่มต้นของคดีนี้ มาจากคณะกรรมการกำกับและตรวจสอบตลาดหลักทรัพย์แห่งสหรัฐฯ หรือ เอสอีซี ตรวจสอบบริษัทอินวิชั่น เทคโนโลยีส์ อิงค์ และชี้มูลว่ามีความผิดในการติดสินบนเจ้าหน้าที่รัฐหรือนักการเมืองไทย เพื่อจัดซื้อเครื่องซีทีเอ็กซ์ 9000 จำนวน 26 เครื่อง วงเงิน 35 ล้าน 8 แสนดอลล่าร์สหรัฐฯ ในราคาแพงกว่าปกติ จากเครื่องละ 1,400 ล้านบาท เป็น 2,600 ล้านบาท และไม่มีการประมูล จากนั้น คตส.เข้าตรวจสอบ รวมทั้งระบุตัวผู้กระทำผิดตามสัญญาก่อสร้างอาคารผู้โดยสารและความผิดฐาน เรียกรับสินบน โดยแยกผู้กล่าวหาเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มนักการเมือง ได้แก่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และนายธีรวัฒน์ ฉัตราภิมุข อดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ผู้ถูกกล่าวหากลุ่มที่ 2 ได้แก่ คณะกรรมการ-พนักงานบริษัทท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ จำกัด หรือ บทม. รวมทั้งคณะกรรมการ-พนักงานบริษัทท่าอากาศยานไทย หรือ ทอท. 9 ราย ซึ่งมีข้าราชการระดับสูงรวมอยู่ด้วย ส่วนผู้ถูกกล่าวหากลุ่มสุดท้าย คือกลุ่มนิติบุคคลและบุคคลธรรมดา 13 ราย
หลังจากคตส.ชี้มูลผู้กระทำผิดและส่งเรื่องให้อัยการสูงสุดพิจารณาเพื่อ ส่งฟ้องคดี แต่นายชัยเกษม นิติสิริ อัยการสูงสุดในขณะนั้น และยังเป็นหนึ่งในผู้ถูกกล่าวหาในคดีนี้ด้วย มีความเห็นไม่ส่งฟ้อง จนกระทั่ง คตส.หมดวาระ คดีจึงถูกโอนให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ที่ตั้งคณะทำงานร่วมกับอัยการสูงสุด เพื่อไต่สวนเพิ่มเติม แต่ในที่สุดอัยการสูงสุดยืนยันไม่ส่งฟ้อง โดยให้เหตุผลว่า คดีไม่สมบูรณ์ หลักฐานอ่อน และไม่มีพยานหลักฐานหรือพยานบุคคลที่จะเอาผิดเรื่องการทุจริตเรียกรับผล ประโยชน์ในการจัดซื้อจัดจ้างได้
นอกจากนี้ เมื่อช่วงต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา เอสอีซีของสหรัฐฯ ที่เป็นผู้ตรวจสอบพบการทุจริต กลับส่งหนังสือมายืนยันในภายหลังว่า ไม่พบร่องรอยการให้สินบน หรือการเสนอผลประโยชน์ตอบแทนใดๆในการจัดซื้อเครื่องซีทีเอ็กซ์ 9000 ทำให้คณะกรรมการป.ป.ช.ต้องดึงสำนวนกลับมาเพื่อพิจารณาว่าจะดำเนินการฟ้องคดี เอง หรือยุติการฟ้องคดีตามความเห็นของอัยการ โดยภายใน ป.ป.ช.เองก็มีความคิดเห็นขัดแย้ง เพราะบางส่วนเห็นว่า หลักฐานในคดีนี้อ่อน
แหล่งข่าวจาก ป.ป.ช. เปิดเผยว่า เมื่อพยานหลักฐานไม่สามารถเอาผิดนักการเมืองเรื่องการทุจริตได้ ก็อาจมีการเอาผิดข้าราชการระดับรองลงไป เช่น กรณีอดีตคณะกรรมการของ ทอท.และบทม. ซึ่งถือเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ เดินทางไปตรวจเครื่องซีทีเอ็กซ์ที่สหรัฐฯ โดยมีบริษัทเอกชนเป็นผู้ดูแลค่าใช้จ่ายทั้งหมด ซึ่งถือว่า ผิดกฎหมาย ป.ป.ช.มาตรา 103 ที่ห้ามไม่ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐรับทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดจากบุคคล นอกจากทรัพย์สินอันควรได้ตามกฎหมาย

ที่มา: เรียบเรียงจาก TNN, ผู้จัดการออนไลน์

ทุนนิยาม: อุปสรรคของวาระแห่งงานที่มีคุณค่าในศตวรรษที่ 21

ที่มา ประชาไท

 

ก่อนเริ่มสหัสวรรษ ในปี ค.ศ. 1999 องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization; ILO) ได้นำเสนอแนวคิด “วาระแห่งงานที่มีคุณค่า” (Decent work agenda) ที่มีเป้าหมายประกอบไปด้วย
การสร้างงาน ระบบเศรษฐกิจควรสร้างโอกาสเพื่อการลงทุนประกอบธุรกิจ การพัฒนาทักษะ การสร้างงานและการดำรงชีพอย่างยั่งยืน
สร้างหลักประกันสิทธิในการทำงาน สิทธิของคนงานควรมีการ คุ้มครองคนงานทั้งหมด โดยเฉพาะผู้ที่เสียเปรียบและคนงานที่ยากจน ทั้งนี้จำเป็นจะต้องมีตัวแทนการเข้ามามีส่วนร่วม และการบังคับใช้กฎหมายที่สนับสนุนสิทธิของคนงาน (ไม่ใช่ต่อต้านสิทธิคนงาน)
ความคุ้มครองทางสังคม ส่งเสริมเพื่อให้มีการคุ้ม ครองอย่างทั่วถึง และการเพิ่มผลิตผลโดยสร้างหลักประกันการทำงานในสภาพที่ปลอดภัยทั้งชายและ หญิงจะมีเวลาพักผ่อนอย่างเพียงพอ โดยคำนึงถึงคุณค่าของครอบครัวและสังคม จัดให้มีการทดแทนอย่างเพียงพอในกรณีที่มีการสูญเสียรายได้ หรือรายได้ลดลง และอนุญาตให้มีการเข้าถึงการดูแลสุขภาพอย่างเพียงพอ
ส่งเสริมการเจรจาและการยุติข้อขัดแย้ง คนยากจนเข้าใจ ว่าต้องมีการต่อรองและยุติปัญหาต่างๆ ด้วยสันติ การเจรจาทางสังคม การเข้ามีส่วนเกี่ยวข้องกับองค์กรเสรีฝ่ายคนงานและนายจ้างที่เข้มแข็ง คือศูนย์รวมแห่งการเพิ่มผลผลิตและหลีกเลี่ยงการพิพาทในที่ทำงาน และสร้างความสมานฉันท์ให้สังคม
ทั้งนี้วาระแห่งงานที่มีคุณค่าได้ถูกนำเสนอต่อรัฐสมาชิก ILO เป็นครั้งแรกในการประชุมใหญ่แรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Conference) ครั้งที่ 87 เมื่อ ค.ศ. 2004 โดยมีความเชื่อมันว่า งานที่มีคุณค่าจะยกระดับคุณภาพชีวิตในการทำงานให้ดีขึ้น และส่งเสริมให้มีการพัฒนาแรงงานที่ยั่งยืน
อุปสรรคของวาระแห่งงานที่มีคุณค่า
ถึงแม้จะไม่ใช่ข้อบังคับของ ILO ที่มีบทลงโทษหากไม่ปฏิบัติตาม แต่หลักการสร้างงานที่มีคุณค่าก็ควรเป็นสิ่งที่รัฐบาลของนานาประเทศนำไปปรับ ใช้เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับทรัพยากรมนุษย์ในประเทศ ที่จะส่งผลให้ตลาดแรงงานและเศรษฐกิจในประเทศนั้นๆ มีความเข้มแข็ง
แต่กระนั้นหลายประเทศยังไม่สามารถไปถึงเป้าหมายของวาระนี้ได้อย่างเต็ม เม็ดเต็มหน่วย เนื่องด้วยปัจจัยหลายๆอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการผันผวนทางเศรษฐกิจตั้งแต่เริ่มสหัสวรรษใหม่เป็นต้นมา รวมถึงการจัดการบริหารทรัพยากรมนุษย์ตามแนวเสรีนิยมใหม่ ที่พยายามทำให้คนงานเป็นต้นทุนแปรผันยืดหยุ่น ควบคุมให้ใช้งานระยะสั้น-ยาว ได้ตามความประสงค์ของนายจ้างฝั่งเดียว
องค์กรสหภาพแรงงานเองก็โดนผลกระทบจากทั้งสภาวะเศรษฐกิจที่ผันผวน และการจัดการบริหารทรัพยากรมนุษย์ตามแนวเสรีนิยมใหม่นี้ด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการตัดสวัสดิการ-ตัดบำนาญของคนงานในประเทศที่มีสวัสดิการที่ ประสบปัญหาเศรษฐกิจ (ในยุโรป เช่น ฝรั่งเศส กรีซ เป็นต้น) หรือข้อกำหนดการกีดกันไม่ให้มีการรวมตัวเป็นสหภาพแรงงานในเขตเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ ในประเทศกำลังพัฒนาต่างๆ ในเอเชีย (ประเทศไทยก็มีเขตปลอดสหภาพแรงงานในนิคมอุตสาหกรรมหลายแห่ง)
นอกจากนี้การจัดการบริหารทรัพยากรมนุษย์ตามแนวเสรีนิยมใหม่ที่ขัดกับหลัก การสร้างงานที่มีคุณค่านั้น ยังมีเทคนิคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การจ้างงานระยะสั้น, จ้างงานผ่านบริษัทซัพคอนแทรค, การกำหนดให้แรงงานหนุ่มสาวถูกเลิกจ้างได้ง่ายขึ้น (เช่นในกรณี ประเด็นเรื่องกฎหมายการทำสัญญาจ้างงานครั้งแรก (Contract Premier Embauche; CPE) ในฝรั่งเศส ที่อนุญาตให้นายจ้างสามารถปลดคนงานอายุต่ำกว่า 26 ปีได้ในช่วง 2 ปีแรกของการทำงาน โดยให้ถือเป็นช่วงทดลองงานโดยไม่ต้องมีการแจ้งล่วงหน้า ซึ่งกฎหมายฉบับนี้ได้รับแรงต้านจากนักศึกษาประชาชนและสหภาพแรงงานฝรั่งเศส อย่างกว้างขวางในปี ค.ศ. 2006) หรือการขยายระยะเวลาการเกษียณ (เช่น ในปี ค.ศ. 2010 รัฐบาลฝรั่งเศสมีแผนขยายเวลาการเกษียณอายุการทำงานจาก 60 ปี ไปเป็น 62 ปี และในปี ค.ศ. 2011นโยบายของรัฐบาลเบลเยียมที่จะปรับการเกษียณอายุจาก 59 ปี ไปเป็น 65 ปี ฯลฯ) และอื่นๆ เป็นต้น
ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นถึงอุปสรรคของการสร้างงานที่มีคุณค่าให้เกิดขึ้น จริง ว่าหากไม่มีการปรับเปลี่ยนทัศนคติการจัดการบริหารทรัพยากรมนุษย์ตามแนวเสรี นิยมใหม่ ไปเป็นการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มีการวางแผนเพื่อสร้างความเท่าเทียม โดยใช้สหภาพแรงงานเป็นแกนกลางในการรวมตัวของคนงานเพื่อทำการปรึกษาหารือกับ นายจ้างแล้วละก็ โอกาสของงานที่มีคุณค่าจริงๆ นั้นก็จะเกิดขึ้นได้น้อยมาก   
ประกอบการเขียน:
Decent work agenda (ilo.org, เข้าดูเมื่อวันที่ 28-8-2012)
http://www.ilo.org/global/about-the-ilo/decent-work-agenda/lang--en/index.htm

ศาลยกฟ้อง! ‘วัลลภ’ ผู้ต้องหายิง M79 เชียงใหม่ปี 53

ที่มา ประชาไท

 


29 ส.ค.55  รายงานข่าวจากศาลจังหวัดเชียงใหม่แจ้งว่า มีนัดพิพากษาคดีของนายวัลลภ พิธีพรม ผู้ต้องหายิง M79 ก่อเหตุวุ่นวายในช่วงปี 53 โดยศาลพิพากษายกฟ้อง แต่ยังมีคำสั่งให้ควบคุมตัวต่ออีก 30 วันระหว่างรอผลว่าอัยการจะอุทธรณ์หรือไม่
ทั้งนี้ นายวัลลภถูกจับกุมเมื่อวันที่ 21 พ.ย.53  เขาถูกคุมขังที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยศาลไม่อนุญาตให้ประกัน และมีการตระเวนสืบพยานในหลายจังหวัด


อ่านเพิ่มเติม จดหมายจากวัลลภ

สมาชิกสภายุโรปเยือนไทย ภาคประชาชนยื่นจดหมายต้านเอฟทีเอ

ที่มา ประชาไท

 

29 ส.ค.55  ภาคประชาสังคมไทยส่งตัวแทนเข้ายื่นจดหมายกับสมาชิกสภายุโรป นายแวร์เนอร์ ลาเกน และคณะที่ได้เดินทางมาเยือนประเทศไทยถึงข้อห่วงใยต่อการทำเอฟทีเอของสหภาพ ยุโรปที่บังคับให้ประเทศคู่เจรจาต้องยอมรับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่ เกินไปกว่ามาตรฐานในองค์การการค้าโลก ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการเข้าถึงยาของประชาชนในประเทศกำลังพัฒนา อีกทั้งยังขัดต่อมติของสภายุโรป จึงขอให้สมาชิกสภายุโรปได้ตรวจสอบการกระทำดังกล่าวอย่างใกล้ชิด
รายละเอียดของจดหมายมีดังนี้


29 สิงหาคม 2555

เรียน สมาชิกสภายุโรปที่เดินทางมาเยือนประเทศไทย (นายแวร์เนอร์ ลาเกน)

เรา ในฐานะภาคประชาสังคมที่ทำงานส่งเสริมการเข้าถึงยาในราคาที่เป็นธรรมอย่าง ถ้วนหน้าในประเทศไทย ขอชื่นชมสภายุโรปที่ตัดสินใจอย่างเด็ดเดี่ยวไม่ยอมรับร่างความตกลงการค้าต่อ ต้านสินค้าปลอมแปลง (The Anti-counterfeiting Trade Agreement -ACTA) การกระทำดังกล่าวได้ยืนยันให้เห็นถึงเจตจำนงค์ของสภายุโรปที่ให้ความสำคัญ กับสิทธิของประชาชนในการมีสุขภาพที่ดี และตระหนักว่าการสาธารณสุขของปวงชนสำคัญกว่าผลประโยชน์การค้า
ความตกลง ACTA ที่มีข้อผูกพันที่ขัดขวางการเข้าถึงยาชื่อสามัญที่มีคุณภาพและชอบธรรมของโลก ถือเป็นภัยคุกคามต่อการสาธารณสุข  ด้วยข้อจำกัดที่เข้มงวดในข้อตกลงนี้ ยาชื่อสามัญที่จะใช้ช่วยชีวิตประชาชนเสี่ยงที่จะถูกยึดจับที่ท่าขนส่งสินค้า ในระหว่างการขนส่งไปยังประเทศปลายทาง เพียงเพราะยาเหล่านั้นถูกต้องสงสัยว่าเป็นเวชภัณฑ์ที่ละเมิดทรัพย์สินทาง ปัญญาในประเทศกลางทางที่แวะถ่ายสินค้า  ถึงแม้ว่ายาเหล่านั้นจะเป็นยาที่มีคุณภาพและปลอดภัย และการคุ้มครองสิทธิบัตรจบสิ้นลงแล้วหรือไม่ได้จดสิทธิบัตรในทั้งในประเทศ ต้นทางและปลายทางก็ตาม มาตรการยึดจับสินค้าในระหว่างการขนส่ง หรือที่รู้จักในชื่อ “มาตรการ ณ จุดชายแดน” จะสกัดกั้นไม่ให้มีการขนส่งยาชื่อสามัญที่ชอบธรรมและถูกกฎหมายไปยังมือผู้ ป่วยนับล้านคนในประเทศกำลังพัฒนาและพัฒนาน้อยที่สุดได้ ซึ่งยาดังกล่าวเป็นยาจำเป็นที่จะช่วยรักษาชีวิตไว้ได้ในราคาที่ไม่แพง  ข้อกำหนดในแอ็คต้าเช่นนี้ ถือได้ว่าเป็นมาตรการที่เข้มงวดเกินกว่ามาตรฐานด้านทรัพย์สินทางปัญญาของโลก (ข้อตกลงทริปส์ขององค์การการค้าโลก) และขัดต่อปฎิญญาโดฮาว่าด้วยข้อตกลงทริปส์กับการสาธารณสุขขององค์การการค้า โลกอย่างสิ้นเชิง
ถึงแม้ว่าสภายุโรปจะมีมติเป็นเอกฉันท์ปฏิเสธ ร่างความตกลง ACTA เมื่อไม่นานมานี้ก็ตาม เรายังคงมีความกังวลอย่างยิ่งว่าข้อกำหนดในลักษณะเดียวกับมาตรการ ณ จุดชายแดนของ ACTA ได้รวมอยู่ในข้อตกลงเขตการค้าเสรี (หรือ เอฟทีเอ) ที่สหภาพยุโรปกำลังเจรจาหรือจะเปิดการเจรจากับประเทศคู่ค้าเป้าหมาย ซึ่งรวมถึง กลุ่มประเทศอาเซียน อินเดีย และไทย  สิ่งที่เลวร้ายไปกว่านั้น ข้อกำหนดอื่นๆ อีกจำนวนมาก ที่เข้มงวดเกินกว่าข้อตกลงทริปส์ หรือที่เรียกว่า “มาตรการทริปส์ผนวก” (เช่น การผูกขาดข้อมูลทางยา การขยายการคุ้มครองสิทธิบัตร การบังคับใช้กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาที่เข้มงวด การผูกขาดข้อมูลทางยาในเรื่องสิ่งบ่งชี้ใหม่ การคุ้มครองการลงทุน ฯลฯ) ได้ถูกกำหนดอยู่ในเนื้อหาข้อตกลงเขตการค้าเสรีของสหภาพยุโรปทั้งสิ้น  ข้อกำหนดแบบทริปส์ผนวกเช่นนี้จะกีดกันการแข่งขันของยาชื่อสามัญอย่างหลีก เลี่ยงไม่ได้ จะขัดขวางไม่ให้ประเทศคู่ค้านำมาตรการคุ้มครองการสาธารณสุขได้โดยปริยาย (ถึงแม้จะไม่ได้ห้ามไม่ให้นำมาใช้) และจะเป็นอุปสรรคทำให้ประชาชนในประเทศกำลังพัฒนาเข้าไม่ถึงยาจำเป็นในที่สุด
ด้วยการบีบบังคับให้ประเทศคู่ค้ายอมรับข้อตกลงเขตการค้าเสรีที่มีมาตร การทริปส์ผนวกทั้งทางตรงและทางอ้อม คณะกรรมาธิการยุโรปด้านการค้ากำลังกระทำการในทิศทางที่สวนทางกับมติของสภา ยุโรปว่าด้วยโรคสำคัญและโรคที่ถูกละเลยในประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งได้มีการแปรมติแล้ว (การแปรมติเลขที่ 2005/2047 (INI))  ในการแปรมติข้อที่ 1 เรียกร้องให้ขยายประเภทของโรคที่ถูกละเลย และเน้นให้คณะกรรมาธิการยุโรปนำการแปรมติข้อนี้ไปปรับใช้ให้ครอบคลุมโรค อื่นๆ นอกเหนือจากเอชไอวี/เอดส์ มาลาเรีย และวัณโรค  นอกจากนั้น ในข้อที่ 61 สภายุโรปเรียกร้องให้คณะกรรมาธิการยุโรปและประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป สนับสนุนให้มีการปฏิบัติตามปฏิญญาโดฮาอย่างจริงจังและต่อต้านการกระทำใดๆ ก็ตามของประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลก ที่ละเมิดคำมั่นสัญญาที่ได้ตกลงร่วมกันในปฎิญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินทาง ปัญญาและการสาธารณสุขดังกล่าว โดยเฉพาะการกระทำที่ผ่านการเจรจาที่มีข้อผูกพันแบบทริปส์ผนวกในข้อตกลงเขต การค้าเสรีใดๆ ก็ตาม
ดังนั้น เราจึงขอเรียกร้องให้สมาชิกของสภายุโรปรักษาเจตจำนงค์ของพวกท่านที่เห็นความ สำคัญกับผลประโยชน์ด้านสุขภาพมากกว่าผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ และนำหลักการเดียวกันนี้ไปใช้กับการเจรจาข้อตกลงเขตการค้าเสรี เฉกเช่นเดียวกับที่ทำกับความตกลง ACTA นอกจากนี้ เรายังขอเรียกร้องให้สมาชิกสภายุโรปตรวจสอบและติดตามการเจรจาข้อตกลงเขตการ ค้าเสรีที่มีเงื่อนไขแบบทริปส์ผนวกต่างๆ ซึ่งขัดแย้งกับมติของสภายุโรปดังที่กล่าวไว้ข้างต้น

ขอแสดงความนับถือ
เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย
คณะกรรมการองค์กรพัฒนาเอกชนด้านเอดส์
มูลนิธิเข้าถึงเอดส์
มูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์
เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก
ชมรมเพื่อนโรคไต
เครือข่ายเพื่อนมะเร็ง
มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
มูลนิธิเภสัชชนบท
กลุ่มศึกษาปัญหายา
มูลนิธิชีววิถี
มูลนิธิบูรณะนิเวศ
มูลนิธิสุขภาพไทย
กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (FTA Watch)

‘กบอ.’ เตรียมปล่อยน้ำเข้ากรุงเทพฯ 5 และ 7 ก.ย.นี้ ทดสอบระบบป้องกัน

ที่มา ประชาไท

 
ปลอดประสพ’ เผยมั่นใจ ไม่บานปลายทำน้ำท่วมเมืองกรุงแน่นอน วอนประชาชนอย่าตื่นตระหนก ด้าน ‘กทม.’ เฝ้าติดตามใกล้ชิด หวั่นกระทบประชาชน ชี้หากทำเดือดร้อนพร้อมประสานรัฐบาลหยุดดำเนินการทันที

 
น้ำท่วมกรุงเทพฯ ปี 2553 ภาพจากแฟ้มภาพประชาไท
 
วันนี้ (29 ส.ค.55) นายปลอดประสพ สุรัสวดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในฐานะประธานคณะกรรมการการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) เปิดเผยว่า กบอ.มีแผนซ้อมการระบายน้ำ ในพื้นที่กรุงเทพฯ ฝั่งตะวันออกและตะวันตก ในวันที่ 5 ก.ย. และ 7 ก.ย.นี้ เพื่อทดสอบความพร้อมในการรับมือกับน้ำเหนือที่จะลงมากรุงเทพฯ ในเดือนตุลาคมซึ่งถือว่าเป็นการทดลองโมเดลระบบระบายน้ำใหม่ครั้งแรกใน พื้นที่จริง ที่มีระบบเซ็นเซอร์ติดตามการไหลของน้ำ การเปิดปิดประตูระบายน้ำอัตโนมัติ เป็นต้น
 
“แผนดังกล่าวจะสร้างประโยชน์ให้ กทม.และสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนในกรุงเทพฯ ว่าน้ำจะไม่ท่วมอีกแน่นอน ซึ่ง กทม.ก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี จึงขอให้ประชาชนอย่าตกใจ เพราะน้ำที่จะระบายลงมากรุงเทพฯ มีปริมาณไม่มาก แค่ทดลองระบบและความพร้อมเท่านั้น และคณะกรรมการ กบอ. ก็ได้พิจารณาแล้ว ไม่ใช่ตนตัดสินใจคนเดียว ที่มีคนมาว่าผมไม่มีความรู้ ผมไม่อยากทะเลาะด้วยแล้ว” นายปลอดประสพ กล่าว
 
ด้านนายสัญญา ชีนิมิตร ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ (สนน.) กรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวว่า ตนเองได้ส่งตัวแทนไปร่วมหารือกับรัฐบาลเกี่ยวกับแผนงานดังกล่าว ซึ่งได้รับทราบว่าในวันที่ 5 ก.ย.นี้ จะมีการทดลองปล่อยน้ำมาฝั่งตะวันตก เข้าสู่คลองมหาสวัสดิ์ คลองบางกอกน้อย แม่น้ำเจ้าพระยาและไหลออกแม่น้ำนครชัยศรี และในวันที่ 7 ก.ย.55 จะปล่อยน้ำมาฝั่งตะวันออกไปยังพื้นที่คันกั้นน้ำ (ฟลัดเวย์) และอาจเข้ามาในพื้นที่ชั้นใน บริเวณคลองลาดพร้าวและคลองสองด้วย
 
“ได้รายงานให้ผู้ว่าฯ กทม. และคณะผู้บริหารรับทราบแล้ว ซึ่งก็มีความกังวลว่าจะส่งผลกระทบต่อประชาชนหรือไม่ และได้สั่งการให้ สนน.ติดตามสถานการณ์อบย่างใกล้ชิด หากพบว่าทำให้ประชาชนเดือดร้อน กทม.จะประสานขอให้รัฐบาลหยุดดำเนินการทดลองแผนดังกล่าวทันที” นายสัญญา กล่าว
 

นัดพิพากษา คดีสนธิ ลิ้มทองกุล หมิ่นเบื้องสูง 26 ก.ย.นี้

ที่มา ประชาไท

 

29 ส.ค.55  ที่ห้องพิจารณาคดี 908 ศาลอาญา รัชดา ศาลนัดสืบพยานคดีหมายเลขดำ อ.2066/2553 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 10 เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายสนธิ ลิ้มทองกุล เป็นจำเลยในความผิดฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ หรือพระราชินี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 กรณีเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2551 จำเลยนำคำปราศรัยของน.ส.ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล หรือ ดา ตอร์ปิโด ที่พูดบนเวทีปราศรัยบริเวณสนามหลวง เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2551 มาเผยแพร่ซ้ำที่ปราศรัยบนเวทีของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย บริเวณสะพานมัฆวานรังสรรค์ ขณะที่ดารณีถูกศาลพิพากษาจำคุกแล้ว 15 ปี และถูกควบคุมตัวในเรือนจำมากว่า 4 ปี ขณะนี้อยู่ระหว่างการอุทธรณ์คดี
ทั้งนี้ ภายหลังสืบพยานในวันนี้เสร็จสิ้น ศาลนัดฟังคำพิพากษาคดีนี้ ในวันที่ 26 กันยายน นี้ เวลา 09.00 น.
นายสุวัตร อภัยภักดิ์ ทนายความ นำพยานเข้าเบิกความ รวม 3 ปาก โดยนายคำนูญ สิทธิสมาน สมาชิกวุฒิสภา หรือ ส.ว.สรรหา เบิกความสรุปว่า การพูดของนายสนธิ ลิ้มทองกุล ไม่ได้มีเจตนากระทำผิดตาม มาตรา 112 แต่ต้องการให้เจ้าหน้าที่บ้านเมืองบังคับใช้กฎหมายตามมาตรา 112 ซึ่งน.ส.ดารณี พูดจาจาบจ้วงและพาดพิงสถาบันเบื้องสูงหลายครั้ง เป็นความผิดซึ่งหน้า หากไม่มีใครจับกุม และถ้าปล่อยให้พูดอยู่เช่นนั้น ก็เท่ากับว่ากฎหมายบ้านเมืองเป็นหมัน
นายคำนูญ กล่าวต่อว่า ภายหลังนายสนธิ ถูกพนักงานสอบสวนดำเนินคดี ตนเองเป็นคนที่ใช้ตำแหน่ง สมาชิกวุฒิสภา ประกันตัวให้นายสนธิ ที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล ทั้งนี้เมื่อปี 2548-2549 พบข้อความการหมิ่นประมาทสถาบันเบื้องสูง ปรากฏอยู่ตามเว็บไซด์จำนวนมาก ซึ่งนายสนธิก็ได้พูดในการจัดรายการทางโทรทัศน์รวมทั้งพูดบนเวทีการปราศรัย เรียกร้องให้เจ้าหน้าที่บ้านเมืองดำเนินการอย่างจริงจัง
นายจินดา ประดับปัญญาวุฒิ บิดาน.ส.อังคณา ประดับปัญญาวุฒิ เบิกความเป็นพยานสรุปว่า ครอบครัวได้เข้าร่วมการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ เพราะมีความรักต่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัฐธรรมนูญและความถูกต้อง ต่อมาเมื่อเหตุการณ์สลายการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ ที่หน้ารัฐสภา น.ส.อังคณา ประดับปัญญาวุฒิ ลูกสาวคนโต ถูกยิงด้วยแก๊สน้ำตาเข้าที่ลำตัวบริเวณสีข้าง เสียชีวิตที่รพ.รามาธิบดี ขณะที่ภรรยาของตนเองก็ได้รับบาดเจ็บสาหัส นิ้วเท้าขาดและมีบาดแผลที่ขาทั้งสองข้าง รับรักษาที่ รพ.ศิริราช โดยสมเด็จพระราชินีทรงรับไว้ในพระบรมราชูปถัมป์
ด้านดร.อนันต์ เหล่าเลิศวรกุล อาจารย์คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาศาสตร์ ขึ้นเบิกความเป็นปากสุดท้ายว่า ได้อ่านเนื้อหาถอดเทปคำปราศรัยของนายสนธิแล้ว วิเคราะห์ได้ชัดเจนว่าผู้พูดมีเจตนาที่จะถ่ายทอดคำพูดของ น.ส.ดารณี เพื่อสื่อให้ประชาชนเห็นว่า น.ส.ดารณี มีพฤติกรรมจาบจ้วงเบื้องสูง อันเป็นสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง ไม่ใช่ลักษณะของนำข้อความดังกล่าวมาพูดโดยตรง เป็นการบอกเล่าและถ่ายทอดข้อเท็จจริงที่ผู้พูดรับรู้มา เพื่อให้ผู้ฟังทราบเนื้อหาสาระของบุคคล
 ขณะที่วานนี้ (28ส.ค.) พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำพันธมิตรฯ เบิกความเป็นพยานระบุว่า การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ เป็นการปกป้องและรักษาสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์และการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น พระประมุขซึ่งตลอดการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯไม่เคยมีใครพูดจาจาบจ้วงสถาบัน และพยานก็ไม่ยอมให้ใครมาดูหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ด้วย เพราะพยานถือเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ และหากนายสนธิ จำเลยไม่จงรักภักดีต่อสถาบัน พยานคงจะไม่คบหากับนายสนธิมาจนถึงปัจจุบัน และในการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ เมื่อถึงวาระสำคัญ เช่น 12 ส.ค.และวันที่ 5 ธ.ค.ก็จะจัดกิจกรรมและให้มีการถวายความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวและสมเด็จพระราชินีนาถทุกครั้ง ซึ่งการพูดบนเวทีปราศรัยของนายสนธินั้น เป็นการสรุปคำพูดของน.ส.ดารณี สั้นๆเพียงแค่ 5 บรรทัด เพื่อให้คนฟังทราบ และให้ตำรวจปฏิบัติตามหน้าที่โดยไม่ได้ขยายความแต่อย่างใด โดยเมื่อนายสนธิพูดเสร็จ พยานก็เห็นด้วยว่าเป็นประโยชน์และจะทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเร่งรัดดำเนินคดี กับน.ส.ดารณี ซึ่งพูดจาบจ้วงและหมิ่นเบื้องสูงหลายครั้ง และคาดว่าหากไม่มีการดำเนินคดีใดๆ น.ส.ดารณี ก็คงจะกระทำผิดซ้ำอีก
ขณะที่นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เบิกความเป็นพยานปากที่ 2 ระบุว่าการพูดปราศรัยของนายสนธิดังกล่าวสืบเนื่องมาจากที่ น.ส.ดารณี แนวร่วม นปช. ปราศรัยที่เวทีสนามหลวงมีเนื้อหาหมิ่นสถาบันเบื้องสูง จึงจำเป็นต้องขึ้นพูดบนเวทีพันธมิตรฯ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินคดีกับ น.ส.ดารณี เพราะก่อนหน้านี้พบว่าน.ส.ดารณีได้ปราศรัยในลักษณะเดียวกันนี้หลายครั้ง แต่ไม่เคยเป็นข่าวว่ามีการดำเนินการใดๆจากเจ้าหน้าที่ตำรวจเลย จนเมื่อนายสนธิได้พูดกับประชาชนให้รับรู้ว่าน.ส.ดารณีกระทำการหมิ่นเบื้อง สูง จึงได้มีการแจ้งความดำเนินคดีกับน.ส.ดารณี และภายหลังศาลมีคำพิพากษาจำคุก ซึ่งเห็นได้ว่านายสนธิไม่ได้มีเจตนาหมิ่นเบื้องสูง เพราะคนที่ได้รับฟังการปราศรัยนั้นไม่ได้คล้อยตามหรือเห็นด้วยกับการกระทำ ของ น.ส.ดารณี แต่แสดงความไม่พอใจกับคำพูดของน.ส.ดารณี และในการปราศรัยครั้งนั้นนายสนธิ ได้ว่ากล่าวน.ส.ดารณีด้วยจึงแสดงให้เห็นเจตนาชัดเจนที่แตกต่างกัน


ที่มา: เว็บไซต์ข่าวสด และเว็บไซต์คมชัดลึก

เสนอ ครม.ผลศึกษา “การจัดการน้ำลุ่มน้ำยม” คน 9 จว.เลือกสร้าง “เขื่อนแก่งเสือเต้น”

ที่มา ประชาไท

 
 ก.เกษตรฯ รายงานผลศึกษาวิเคราะห์ระบบการจัดการน้ำลุ่มน้ำยม ต่อ ครม.เสนอ 4 ทางเลือก พร้อมระบุผลการประชุม “ทางเลือกในการจัดการลุ่มน้ำยม” พื้นที่ลุ่มน้ำยมบน-ล่าง 9 จังหวัด คน 6,313 หนุนทางเลือก 4 เปิดทางสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น

 
 
ผู้สื่อข่าวรายงาน การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 28 ส.ค.55 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รายงานผลการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เรื่อง การวิเคราะห์ระบบการจัดการน้ำลุ่มน้ำยม โดยใช้กระบวนการนโยบายสาธารณะแบบบูรณาการ ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการศึกษาฯ ตามที่เสนอ และให้แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบและนำผลการศึกษาไปเป็นกรอบในการกำหนด แผนงาน โครงการในพื้นที่ลุ่มน้ำยมตามอำนาจหน้าที่ของแต่ละหน่วยงานต่อไป
 
สาระสำคัญของผลการศึกษาวิเคราะห์ระบบการจัดการน้ำลุ่มน้ำยม มี 2 ประเด็น ได้แก่ 1.การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเชิงกลยุทธ์ (Strategic Environmental Assessment: SEA) เป็นกระบวนการในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของนโยบาย แผน เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจเชิงนโยบาย โดยจะได้มีการพิจารณาถึงผลกระทบทางลบ ทางบวกจากการดำเนินโครงการต่อมิติสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม โดยมีเป้าหมายอยู่ที่การพัฒนาที่ยั่งยืน
 
ผลการศึกษาสรุปว่า ทางเลือกการจัดการน้ำในลุ่มน้ำยมมีด้วยกัน 4 ทางเลือก ดังนี้ 1.มีการพัฒนาเฉพาะมาตรการไม่ใช้สิ่งก่อสร้างและการปรับปรุงประสิทธิภาพการชล ประทาน 2.มีการพัฒนาในมาตรการไม่ใช้สิ่งก่อสร้างและมาตรการใช้สิ่งก่อสร้างการพัฒนา แหล่งน้ำขนาดกลาง ทั้งอ่างเก็บน้ำและฝาย/ประตูระบายน้ำตามลำน้ำยม รวมถึงการพัฒนาและจัดสรรน้ำโครงการขนาดเล็กในพื้นที่ประสบภัยแล้งซ้ำซาก
 
3.มีการพัฒนาในมาตรการไม่ใช้สิ่งก่อสร้างและมาตรการใช้สิ่งก่อสร้าง ทั้งโครงการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลางและแหล่งน้ำขนาดใหญ่ ได้แก่ เขื่อนแม่น้ำยม และเขื่อนแม่น้ำยมตอนบน และ 4.มีการพัฒนาในมาตรการไม่ใช้สิ่งก่อสร้างและมาตรการใช้สิ่งก่อสร้างทั้งการ พัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลางและแหล่งน้ำขนาดใหญ่ ได้แก่ เขื่อนแก่งเสือเต้น
 
นอกจากนั้น การศึกษาได้ระบุด้วยว่า ทางเลือกการพัฒนาโครงการ ตามข้อ 4 เป็นทางเลือกที่มีศักยภาพมากที่สุด โดยมีความยั่งยืนทางด้านสิ่งแวดล้อมเช่นเดียวกับทางเลือกที่ 1, 2, และ 3 ในด้านความยั่งยืนทางด้านเศรษฐกิจ ทางเลือกที่ 4 จะให้ผลประโยชน์สุทธิมากกว่าทางเลือกที่ 3 และทางเลือกที่ 2 ตามลำดับ
 
ประเด็นที่ 2 การใช้นโยบายสาธารณะแบบบูรณาการ เป็นกระบวนการที่ให้ความสำคัญกับผู้ที่มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วน ร่วมอย่างจริงจังในกระบวนการศึกษาวิเคราะห์ระบบการจัดการลุ่มน้ำยม
 
กระทรวงเกษตรฯ ระบุว่า ผลจากการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ “ทางเลือกในการจัดการลุ่มน้ำยม” ครอบคลุมพื้นที่ลุ่มน้ำยมตอนบนและลุ่มน้ำยมตอนล่าง รวม 9 จังหวัด ได้แก่ พะเยา ลำปาง น่าน แพร่ สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร กำแพงเพชร และนครสวรรค์ โดยจัดให้มีการประชุมรวมทั้งหมดจำนวน 9 ครั้ง โดยพื้นที่และกลุ่มประชากรเป้าหมายของการประชุมในพื้นที่ลุ่มน้ำยม ได้ครอบคลุมพื้นที่และกลุ่มประชากรเป้าหมายที่มาจากพื้นที่ลุ่มน้ำยมทั้ง 11 ลุ่มน้ำดังกล่าวข้างต้น มีพื้นที่ครอบคลุม 161 ตำบล 31 อำเภอ 10 จังหวัด มีจำนวนผู้เข้าร่วมประชุมถึง 6,313 คน
 
ผลสรุปจากการมีส่วนร่วมในการจัดระดับความสำคัญของทางเลือกในการพัฒนา ลุ่มน้ำยมพบว่า ผู้มีส่วนได้เสียส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับทางเลือกที่ 4 รองลงมาได้แก่ ทางเลือกที่ 3 ทางเลือกที่ 2 ทางเลือกที่ 1 ตามลำดับ ยกเว้นกลุ่มองค์กรอิสระที่ให้ความสำคัญกับทางเลือกที่ 4 น้อยที่สุด
 
ทั้งนี้ มีการแจ้งด้วยว่า กระทรวงเกษตรฯ โดยกรมชลประทานได้นำส่งรายงานการศึกษาระบบการจัดการน้ำลุ่มน้ำยมโดยใช้ กระบวนการนโยบายสาธารณะแบบบูรณาการไปยังกรมทรัพยากรน้ำ เพื่อนำเสนอคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติพิจารณาให้ความเห็นชอบ
 
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ตามกรอบความคิด (Conceptual Plan) เพื่อออกแบบก่อสร้างระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืนและระบบแก้ไข ปัญหาอุทกภัยของประเทศไทย (TOR) ที่เปิดโอกาสให้เอกชนทั้งในและต่างประเทศมาออกแบบภายใต้เงินงบประมาณเงิน 3.5 แสนล้านบาท ได้มีการกำหนดแผนงานโครงการสร้างอ่างเก็บน้ำอย่างเหมาะสมและยั่งยืนใน พื้นที่ลุ่มแม่น้ำ ซึ่งรวมถึงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำแก่งเสือเต้น ที่มีความจุประมาณ 1,175 ล้าน ลบ.ม.ในพื้นที่ลุ่มน้ำยมด้วย
 
 
 
ผลการประชุม กบอ. อนุมัติ 3 โครงการ 769 ล้าน
 
ในวันเดียวกัน (28 ส.ค.55) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการจัดทำ โครงการ 3 โครงการ ตามมติผลการประชุมของคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) ครั้งที่ 8/2555 ภายในวงเงิน 769,311,374.85 บาท ตามที่ นายปลอดประสพ สุรัสวดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประธานกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัยเสนอ
 
ประกอบด้วย 1.โครงการป้องกันน้ำท่วมของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียและสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เพื่อก่อสร้างกำแพงเข็มพืดคอนกรีต พนังคันดิน ประตูกั้นน้ำ ที่ประตูทางเข้า – ออก และถนนยกระดับบริเวณทางเข้าหลักร่วมกันของสามสถาบัน2.โครงการประตูน้ำ/สถานี สูบน้ำกึ่งถาวรปากคลองรังสิตประยูรศักดิ์ กรมชลประทาน3.โครงการก่อสร้าง Siphon เพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำบริเวณประตูระบายน้ำบางโฉมศรี กรมชลประทาน
 
ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง สอดคล้องกับยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตของประเทศ ตามที่คณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.) กำหนด และเพื่อให้การรับสถานการณ์น้ำหลาก ตลอดจนการระบายน้ำ มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยให้มีการระบุหน่วยงานเจ้าของโครงการให้ชัดเจน เพื่อจัดส่งรายละเอียดแบบรูปรายการแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายเงินกู้ ที่สอดคล้องกับแผนงานตามกรอบการใช้จ่ายเงินกู้ฯ ที่เสนอไว้ต่อรัฐสภา ให้สำนักงบประมาณพิจารณาความเหมาะสมของราคา และให้ความเห็นชอบแผนการปฏิบัติงานฯ และจัดสรรวงเงินกู้ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารโครงการและการใช้จ่ายเงินกู้ เพื่อการวางระบบบริหารจัดการน้ำ และสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ.2555 ข้อ 15 (1) และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณดังกล่าวตามมติคณะ รัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10 ก.ค.55 ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
 
 
 หมายเหตุ: เรียบเรียงจากคลังข้อมูลสำนักข่าวอิศรา

เสวนา: “ก๊าซกับน้ำมัน ทำไมถึงแพง?” ขุดปมธุรกิจพลังงานไทย

ที่มา ประชาไท

 
นักวิชาการฟังธงน้ำมันแพง ทั้งที่ไทยติดอันดับการผลิต ‘น้ำมัน-ก๊าซธรรมชาติ’ ในเวทีโลก พร้อมเผย 5 สาเหตุ ทำคนไทยจ่ายแพงกว่า เอ็นจีโอหนุนรื้อกฎหมายพลังงาน ดัน ‘คนไทย’ ต้องรู้ว่าเมืองไทยมีอะไร เพื่อจัดการทรัพยากรของตนเอง
 
 ก๊าซธรรมชาติ-น้ำมันแพงจริงหรือไม่ แพงเพราะอะไร เรื่องไม่ธรรมดาในภาคธุรกิจพลังงานไทย ที่ถูกขุดคุยข้อมูลมาบอกเล่าโดยนักวิชาการ-เอ็นจีโอ ในเวทีสนทนาสาธารณะเพื่อร่วมสร้างความเป็นธรรม “แก๊สกับน้ำมัน: ทำไมถึงแพง” จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพ ศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง จุฬาฯ และเครือข่ายถมช่องว่างทางสังคม ณ ห้องประชุมจุมภฎ-พันธุ์ทิพย์ อาคารประชาธิปก จุฬาฯ เมื่อวันที่ 22 ส.ค.ที่ผ่านมา พร้อมร่วมกันเสนอทางออกสำหรับการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำเรื่องพลังงาน
 
ฟังธงน้ำมันแพง พร้อมแจงไทยติดอันดับการผลิต ‘น้ำมัน-ก๊าซธรรมชาติ’ ในเวทีโลก
 
มล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี อนุกรรมาธิการเสริมสร้างธรรมาภิบาลด้านพลังงาน วุฒิสภา ซึ่งทำข้อมูลในเรื่องนี้มาตั้งแต่ปี 51 จนถึงปัจจุบัน เผยข้อมูลที่นำมาจากเว็บไซต์ http://gasbuddy.com ซึ่งระบุได้ว่าราคาน้ำมันไทยแพงจริงว่า จากราคาน้ำมันเบนซิน 91 ของไทย-สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 19 เม.ย.55 ราคาน้ำมันในไทยแพงกว่าราคาวอชิงตันดีซีและนิวยอร์คถึง 10 บาทต่อลิตร ทั้งนี้ สหรัฐฯ เป็นประเทศการค้าเสรี ไม่มีการพยุงราคาน้ำมัน บริษัทพลังงานมีการคิดกำไรอย่างเต็มที่ขณะเดียวกันก็มีการแข่งขันสมบูรณ์ ส่วนประเทศไทยเองมีการส่งออกน้ำมันดิบมาถึง 13 ปี โดยส่งออกไปยัง สิงคโปร์ เกาหลีใต้ และสหรัฐอเมริกาด้วย นอกจากนี้ ราคาน้ำมันเบนซิน 95 ในไทยนั้นก็แพงกว่าอินโดนีเซีย มาเลเซีย และพม่า โดยมีราคาเท่าๆ กับกัมพูชา
 
 
 
มล.กรกสิวัฒน์ กล่าวให้ข้อมูลต่อมาว่า ช่องว่างระหว่างราคาน้ำมันดิบกับน้ำมันเบนซินหน้าปั๊มของไทยกว้างมากขึ้น จากเมื่อปี 2540 มีความแตกต่างที่ประมาณ 5-6 บาทต่อลิตร แต่ในปี 2555 ราคาบวกไปประมาณ 23 บาทต่อลิตร วันนี้ราคานำมันดิบอยู่ที่ประมาณ 20 บาท ไม่ได้แพงขึ้นเท่าไหร่ และหากน้ำมันดิบในตลาดโลกแพง ราคาน้ำมันในสหรัฐอเมริกาก็ไม่ควรต่างจากเรา แต่ราคาน้ำมันเบนซินหน้าปั๊มของเราอยู่ที่ 43 บาท และเรากำลังแบกสิ่งที่เกินมูลค่าน้ำมันดิบไปกว่าเท่าตัว
 
 
ในส่วนก๊าซธรรมชาติ วันนี้ประเทศไทยอยู่ในกลุ่มผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติระดับโลก โดยข้อมูลจาก Annual Statistical Bulletin ของโอเปก เมื่อปี 2010 ผลิตได้ 3.6 หมื่นล้านลูกบาศก์เมตร ในกลุ่มประเทศโอเปก 12 ประเทศ ไทยผลิตได้สูงกว่าประเทศโอเปกถึง 8 ประเทศ และข้อมูลของสถาบันพลังงานสหรัฐ (eia) ได้จัดอันดับไว้ ไทยเป็นผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติอันดับที่ 24 ของโลก ส่วนน้ำมันดิบอยู่ที่อันดับ 33 ของโลก จากสองร้อยกว่าประเทศทั่วโลก
 
 
“ผมไม่ได้เรียกร้องพลังงานให้ราคาถูกลง แต่ว่าผมเรียกร้องความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นกับประชาชนมากกว่า พลังงานไม่จำเป็นต้องถูกนะครับ แต่อย่างนี้มันชัดไหมครับว่าแพงแล้วหรือยัง มันแพงกว่าอเมริกา แพงกว่าวอชิงตันดีซีกับนิวยอร์กนี่มันแพงแล้วหรือยัง ต้องถาม มันถูกไปใช่ไหมครับ มันต้อง 50 บาท หรือมันต้อง 100 บาท อันนี้มันชัดเจนแล้วนะครับว่า ผมไม่ได้ต้องการถูกผมต้องการความเป็นธรรม เรามีทรัพยากร แต่ผมบอกเลยว่าเงินเข้าหลวงน้อยที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แปลว่าอะไร ส่วนแบ่งผลประโยชน์เราได้น้อยที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้วนะครับ วันนี้” มล.กรกสิวัฒน์ กล่าว
 
มล.กรกสิวัฒน์ กล่าวต่อมาถึง ข้อสังเกตต่อราคาขายก๊าซธรรมชาติของไทยที่แพงกว่าสหรัฐอเมริกาถึง 3-4 เท่าตัว ว่า1.มีการทุจริตในการสั่งซื้อหรือไม่ 2.มีประสิทธิภาพในการจัดซื้อหรือไม่ 3.สูตรราคาที่ใช้เก่าไปแล้วหรือไม่ พร้อมตั้งคำถามว่า ทำไมไม่ทำให้เกิดราคากลไกตลาดในอ่าวไทย ปล่อยให้มีผู้ซื้อรายเดียวคือ ปตท. ทั้งนี้ ราคาสัมปทานของเราไม่ได้เป็นไปตามตลาดโลก โดยสัมปทานเราถูกที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่เราขายก๊าซให้ประชาชนตามราคาตลาดโลก เท่ากับเราสูญเสีย 2 ทาง ขณะที่ ข้อมูลของ ปตท.พบว่ามีกำไร ในปี 2554 ที่ประเทศไทยประสบภัยน้ำท่วมครั้งใหญ่เพิ่มขึ้นถึง 2.5 หมื่นล้าน คำถามคือเมื่อรัฐคือผู้หุ้นใหญ่ในปตท.แทนประชาชนทำไมไม่กำหนดกำไรให้ต่ำลง เพื่อประโยชน์ของประชาชน
 
 
 
ชี้ 5 สาเหตุ ซื้อน้ำมันไทยจ่ายแพงกว่า
 
มล.กรกสิวัฒน์ กล่าว ถึงข้อสรุปสาเหตุที่น้ำมันแพงว่ามี 5 ข้อ ประกอบด้วย 1.กำหนดราคาขายคนไทยแพงกว่าส่งออก โดยหนังสือชี้ชวนของโรงกลั่นที่เข้าตลาดหลักทรัพย์เขียนไว้อย่างชัดเจนว่า กรณีจำหน่ายในประเทศให้ใช้ราคาเทียบเท่าราคานำเข้า ส่วนราคาส่งออกเทียบเท่าส่งออก โดยราคาจะต่างกันประมาณ 2 บาท ซึ่งข้ออ้างที่มีการชี้แจงในกรรมาธิการฯ วุฒิสภา คือเพื่อสร้างแรงจูงใจให้โรงกลั่น ทั้งนี่ หากมีการขายตามกลไกตลาด ราคาจะใกล้เคียงราคาส่งออก
 
 
2.การครอบงำธุรกิจการกลั่น จากกิจการโรงกลั่นทั้งหมด 6 โรง ปัจจุบัน 5 โรง มีผู้ถือหุ้นใหญ่รายเดียวกันคือ ปตท. ส่งผลให้ธุรกิจการกลั่นไม่มีการแข่งขันและทำให้บริษัทพลังงานขนาดใหญ่มี อำนาจเหนือตลาด สามารถกำหนดค่าการตลาดได้สูงกว่าที่ควรจาก 1-1.5 บาทต่อลิตร ไปเป็น 2-12 บาทต่อลิตร ยกตัวอย่าง เบนซิน 95 ซึ่งสินค้าขายปริมาณการขายลดลง แต่มาจิ้น (ค่าการตลาด) เพิ่มขึ้น ซึ่งกลายเป็นข้อสงสัยทางเศรษฐศาสตร์ ขณะที่ปั๊มน้ำมันได้ค่าส่วนแบ่งการตลาดน้อยมาก และตั้งแต่ปี 48-49 ค่าการตลาดติดลบ ทำให้ปั๊มน้ำมันที่ไม่มีโรงกลั่นต้องปิดตัวลงจำนวนมาก
 
 
3.เก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเพื่ออุ้มราคา LPG (ก๊าซหุงต้ม) ให้ธุรกิจปิโตรเคมี โดยตลอด 6 ปีที่ผ่านมา ธุรกิจปิโตรเคมีใช้ LPG เพิ่มขึ้น และอยู่ในอันดับสูงสุด คือประมาณ 1.6 ล้านตัน มากกว่าภาคยานยนต์ซึ่งตกเป็นจำเลยว่าแย่งใช้ก๊าซจากภาครัวเรือนและเป็นการ ใช้ก๊าซผิดประเภท ที่ใช้มากขึ้น 4.6 แสนตัน ขณะที่ธุรกิจปิโตรเคมีซื้อ LPG ต่ำกว่าภาคครัวเรือนซึ่งต้องจ่ายภาษีเพื่อไปจากกองทุนน้ำมันอีกต่อหนึ่ง และซื้อต่ำราคาตลาดโลกประมาณ 40-50 เปอร์เซ็นต์ โดยไม่เคยใส่เงินเข้ากองทุนน้ำมันเลย ก่อนหน้าปี 2555
 
“ที่ควักเงินกองทุนน้ำมันไป แล้วทำให้น้ำมันแพง ก็คือเอาเงินไปหนุนราคาวัตถุดิบให้ธุรกิจปิโตรเคมีนั่นเอง ถามว่ากองทุนน้ำมันคือกองทุนรักษาระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิง แต่ไปรักษาระดับราคาวัตถุดิบแปรว่าอะไรครับ นี่แหละครับใช้ผิดประเภท ชัดเจนไหมครับ” มล.กรกสิวัฒน์ กล่าว
 
 
มล.กรกสิวัฒน์ กล่าวด้วยว่า ในปี 2555 ประเทศไทยมีปริมาณการผลิตปิโตรเลียมรวมถึง 968,000 บาร์เรลต่อวัน ซึ่งมากขึ้นเรื่อยๆ แต่เราเป็นประเทศที่ไม่เอาส่วนแบ่งการผลิตหรือส่วนแบ่งรายได้ เก็บแค่เพียงภาษีอากรกับค่าภาคหลวง รวมแล้วคือ 30 เปอร์เซ็นต์ของมูลค่า ขณะที่พม่าและกัมพูชาเก็บส่วนแบ่งกำไร และเมื่อปี 2547 ราคาน้ำมันอยู่ที่ 28 เหรียญต่อบาร์เรล ต่อมาขึ้นเป็น 100 เหรียญต่อบาร์เรล ซึ่งแทบทุกประเทศในโลกมีการแก้ไขกฎหมาย แต่เราไม่แก้ เหล่านี้ส่งผลทำให้ส่วนแบ่งรายได้ของรัฐต่ำ
 
 
4.การให้สัมปทานถูก ผลประโยชน์จึงตกแก่บริษัทพลังงานอย่างมหาศาล ทั้งที่ประเทศไทยมีแอ่งสะสมก๊าซและน้ำมันดินจำนวนมากในทั่วทุกภูมิภาค แต่คนไทยต้องใช้ก๊าซแพงกว่าประเทศสหรัฐและเพื่อนบ้าน และ 5.การส่งออกน้ำมันดิบ ทั้งที่ขาดแคลน ทำให้ต้องนำเข้าทั้งน้ำมันดิบและก๊าซหุงต้มมากกว่าที่ควรเป็น
 
สุดท้ายในส่วนข้อเสนอ มล.กรกสิวัฒน์ กล่าวว่า ต้องแก้กฎหมาย พ.ร.บ.ปิโตรเลียม 2514 ซึ่งใช้มากกว่า 40 ปี และ พ.ร.บ.ปิโตรเลียม (แก้ไขครั้งที่ 4) ปี 2532 เรื่องผลประโยชน์เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม และต้องแก้ไขมติ ครม.เรื่องการเอาก๊าซ LPG ไปให้ธุรกิจปิโตรเคมีก่อนประชาชน และควรขายให้ธุรกิจปิโตรเคมีในราคาตลาดโลก
 
 
"มูลนิธิผู้บริโภค" แฉโครงสร้างการผูกขาดธุรกิจพลังงานไทย-พ.ร.บ.ปิโตรเลียมฯ เอื้อประโยชน์ทับซ้อน
 
 
อิฐบูรณ์ อ้นวงษา มูลนิธิผู้บริโภค กล่าวว่า ในส่วนกิจการก๊าซธรรมชาติ ไทยสามารถพึ่งตัวเองได้ 70-80 เปอร์เซ็นต์ แต่มีการให้ข้อมูลผ่านสื่อมวลชนว่าจะหมดภายในอีก 5-15 ปีข้างหน้า และทิศทางของประเทศไทยคือจะมีการนำเข้าพลังงานมากขึ้นเรื่อยๆ คำถามคือข้อมูลตรงนี้มาจากไหน ทั้งนี้ ที่ผ่านมาไทยมีการนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากพม่า โดยอาศัยข้อคิดเห็นรองรับที่ว่าประเทศไทยจะมีการใช้พลังงานมากขึ้นเรื่อยๆ รองรับกับ GDP ของประเทศ และมีการเขียนแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า (PDP) จากนั้นมีการทำสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติล่วงหน้า จนเกิดเป็นภาระ Take or pay (ต้องจ่ายถึงแม้จะไม่มีความต้องการใช้ก๊าซ) ที่ผลักให้ผู้บริโภครับภาระไปในส่วนของค่า FT
 
อีกทั้งจาก ข้อมูลการใช้ก๊าซในปี 2554 ของ ปตท.ทำให้เห็นว่าเรามีก๊าซธรรมชาติไม่เพียงพอกับการใช้ก๊าซของหลายๆ กลุ่มทั้งภาคไฟฟ้า อุตสาหกรรม โรงแยกก๊าซ และยานยนต์ ทำให้มีความจำเป็นที่ต้องนำเข้าก๊าซ แต่การประชาสัมพันธ์มักเหมารวมว่าเป็นความต้องการของประชาชน อีกทั้งยังไม่มีความชัดเจน โดยเฉพาะในกลุ่มการใช้ก๊าซของโรงแยกก๊าซ ที่ออกมาเป็น LPG ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี ฯลฯ
 
 
ต่อคำถามเรื่องการแข่งขันในระบบการซื้อขายก๊าซธรรมชาติของไทย อิฐบูรณ์กล่าวว่า ไทยไม่ได้ใช้สูตรหรือโครงสร้างที่ส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันในการซื้อก๊าซ ที่อยู่ในแหล่งต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ โดยเราคิดว่ากิจการก๊าซธรรมชาติและกิจการพลังงานทั้งหมดโดยรวมขึ้นอยู่กับ การกำกับของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน 7 คน ภายใต้ พ.ร.บ.กำกับกิจการพลังงาน พ.ศ.2550 แต่ตามข้อเท็จจริงหน่วยงานดังกล่าวดูแลเฉพาะกิจการไฟฟ้า ราคาก๊าซธรรมชาติ และท่อส่งก๊าซธรรมชาติที่ใช้เป็นเชื้อเพลิง โดยมีข้อยกเว้นที่สำคัญมากคือกิจการปิโตรเลียมที่อยู่ในแปลงสำรวจต่างๆ 
 
โดยในส่วนราคาก๊าซตั้งแต่ปากหลุม ขึ้นอยู่ กับ พ.ร.บ.ปิโตรเลียม พ.ศ.2514 ที่กำหนดให้คณะกรรมการปิโตรเลียมเป็นผู้ทำความตกลงราคาขายก๊าซธรรมชาติในราช อาณาจักรกับผู้รับสัมปทานปิโตรเลียม ประเด็นตรงนี้คือ แทนที่คนกำกับจะทำหน้าที่กำกับให้เกิดการแข่งขัน กลับไปทำหน้าที่ในการตกลงราคาขายก๊าซธรรมชาติ และยิ่งไปกว่านั้น ปัจจุบันประธานของคณะกรรมการปิโตรเลียม คือปลัดกระทรวงพลังงาน คือประธาน บมจ.ปตท และยังเป็นประธาน บมจ.ปตทสผ.ซึ่งเป็นผู้รับสัมปทานปิโตรเลียมโดยตรง และถือหุ้นอยู่กับผู้รับสัมปทานอื่นๆ ตรงนี้เป็นคำถามต่อการกำกับกิจการพลังงานที่มีประสิทธิภาพ
 
“ปัญหาของการกำกับกิจการที่จะให้เป็นไปตามผลของรัฐธรรมนูญมันไม่สามารถ เป็นไปได้เลยภายใต้โครงสร้างที่ปรากฏ ณ ที่เป็นอยู่” อิฐบูรณ์กล่าว
 
นอกจากนี้ พ.ร.บ.ปิโตรเลียม พ.ศ.2514 ยังมีประเด็นสำคัญ เรื่องการกำหนดว่า ปิโตรเลียมที่อยู่ใต้ผืนแผ่นดินไทยทั้งบนบกและในทะเลเป็นของรัฐ แต่ถ้าขุดขึ้นมาอยู่บนบกเป็นของเอกชน มีสิทธิที่จะขายออกโดยทันที โดยรัฐไม่ได้คิดมูลค่าของปิโตรเลียมนั้น ทั้งที่ทรัพยากรเป็นของรัฐเป็นของประชาชน
 
ชี้ “สูตรคำนวณราคาก๊าซฯ” กีดกันการใช้ทรัพยากร – ผลักภาระค่าความเสี่ยงใช้ประชาชน
 
อิฐบูรณ์ กล่าวต่อมาถึงการเสนอการกำหนดสูตรคำนวณราคาค่าก๊าซธรรมชาติ ตามที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 23 ก.พ. 54 ซึ่งมีปัญหาอยู่ในขณะนี้ว่าเอื้อต่อธุรกิจในเครือที่เกี่ยวข้อง ขณะที่ประชาชนกำลังจะถูกแย่งชิงทรัพยากรไป โดยมีการกำหนดราคาเนื้อก๊าซธรรมชาติแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ Gulf Gas สำหรับโรงแยกก๊าซ ประกอบด้วยก๊าซจากอ่าวไทย หมายความว่าก๊าซจากอ่าวไทยที่เชื่อว่าเป็นสมบัติของแผ่นดินมีคนเพียงกลุ่ม เดียวที่เข้าถึงคือโรงแยกก๊าซ เพื่อที่จะนำไปทำมูลค่าเพิ่มขายทำกำไรต่อเนื่องต่อไป โดยประชาชนถูกกันเรื่องของการเข้าถึงก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทย
 
 
สำหรับประชาชนเข้าถึงก๊าซในส่วนของ Pool Gas ซึ่งเป็นก๊าซที่จำหน่ายให้แก่โรงไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยผู้ ผลิต ไฟฟ้าอิสระ ผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก และผู้ใช้ก๊าซอื่นๆ ประกอบด้วยก๊าซจากอ่าวไทยที่เหลือจากการจ่ายให้โรงแยกก๊าซ ก๊าซจากสหภาพพม่าแหล่งยาดานาและแหล่งเยตากุน ก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG: Liquefied Natural Gas) และก๊าซนำเข้าจากแหล่งอื่นๆ ในอนาคต โดยที่ใช้น้ำมันเตาอ้างอิงในการคำนวณ
 
“ตัวเองเป็นเจ้าของทรัพยากร แต่ตัวเองไม่มีสิทธิได้ใช้ทรัพยากรของตัวเอง เพราะมีการกีดกันการเข้าถึงทรัพยากรของประชาชน พลเมืองด้วยโครงสร้างที่เรียกว่าสูตรกำหนดราคาก๊าซ ซึ่งเขียนโดยกระทรวงพลังงาน ซึ่งปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานบอร์ดของบริษัทกิจการพลังงาน ปลัดกระทรวงพลังงานเป็นประธานบริษัทขุดเจาะสำรวจปิโตรเลียม” อิฐบูรณ์ กล่าว
 
นอกจากนั้น การกำหนดราคาดังกล่าวยังมีการเพิ่มภาระให้ประชาชนในส่วนของค่าความเสี่ยงใน การรับประกันคุณภาพก๊าซ และการส่งก๊าซให้ได้ตามปริมาณที่กำหนด ภายใต้สัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติระหว่างผู้จัดหาก๊าซและผู้ผลิตก๊าซ และสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติระหว่างผู้จำหน่ายก๊าซและผู้ใช้ก๊าซ ซึ่งในช่วงปี 2554 ปรากฏปัญหาท่อก๊าซขาด ไม่สามารถส่งก๊าซได้ตามจำนวนเนื่องจากโรงขุดเจาะติดซ่อม นอกเหนือจากเดิมที่มีการบวกค่าใช้จ่ายสำหรับในการจัดหาและค้าส่งก๊าซ ธรรมชาติ รวมค่าตอบแทนในการดำเนินการของพ่อค้าคนกลาง
 
ตัวแทนจากมูลนิธิผู้บริโภค กล่าวด้วยว่า ประเด็นที่เป็นข้อถกเถียงขณะนี้ ในส่วนราคา NGV (Natural Gas Vehicles ) หรือ ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์  ซึ่งทราบว่ากระทรวงพลังงานได้ว่าจ้างสถาบันวิจัยพลังงานของจุฬาฯ ศึกษาโครงสร้างราคา NGV ซึ่งแล้วเสร็จเมื่อ 2-3 เดือนที่ผ่านมา แต่วันนี้กระทรวงพลังงานยังไม่มีการเปิดเผยผลการศึกษาดังกล่าวออกมา
 
 
“พลังงานกระจายศูนย์” ข้อเสนอ เพื่อปลดล็อกการผูกขาดในระบบพลังงานไทย
 
ศุภกิจ นันทวรการ มูลนิธินโยบายสุขภาวะ ให้ข้อมูลการผูกขาดในระบบพลังงานไทย โดย 4 ประเด็น คือ 1.การผูกขาดพลังงานจากการพัฒนาแบบรวมศูนย์ ซึ่งสังคมเราถูกทำให้มีระบบความคิด ความเชื่อ หรือวาทะกรรมการพัฒนาว่า การพัฒนาแบบรวมศูนย์คือการพัฒนาประเทศ จึงมีความต้องการโรงกลั่นน้ำมัน โรงแยกก๊าซขนาดใหญ่ มีระบบโครงข่ายพลังงาน ในขณะที่ระบบพลังงานขนาดเล็กที่กระจายไปตามบ้านเรือน อาคาร โรงงาน ชุมชน ที่ทุกคนเป็นทั้งผู้ผลิตและผู้ใช้ไม่ได้เป็นผู้ซื้อแต่อย่างเดียวถูกตั้งคำ ถามว่าเป็นการพัฒนาหรือไม่ ทั้งที่ยังมีตัวอย่างการพัฒนาประเทศ ที่ไม่ได้เท่ากับพัฒนาพลังงานใหญ่ๆ เท่านั้น
 
ยกตัวอย่าง ประเทศเดนมาร์กที่ประสบความสำเร็จ โดยใน 20 ปี ตั้งแต่ 2523-2543 เดนมาร์กไม่มีโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่เพิ่มขึ้นเลย แต่ก็มีความมั่นคงในระบบไฟฟ้าและเศรษฐกิจเติบโตขึ้นได้ นอกจากนี้ รัฐบาลเดนมาร์ก ยังประกาศยุทธศาสตร์พลังงาน 40 ปี โดยภายในปี 2593 จะเลิกน้ำมัน ก๊าซ และถ่านหินทั้งหมด เปลี่ยนไปใช้พลังงานหมุนเวียน 100 เปอร์เซ็นต์ และประเทศเยอรมันมีการตั้งเป้าว่าใน 40 ปี จะเปลี่ยนระบบพลังงานไปเป็นระบบพลังงานที่อยู่บนพลังงานหมุนเวียน
 
 
แม้ในประเทศไทยจะมีบริบทไม่เหมือนกัน แต่ก็มีตัวอย่างความเป็นไปได้ หลายๆ กรณี เช่น การหุงต้มที่ใช้พลังงานจากก๊าซชีวภาพจากขยะครัวเรือน-เศษอาหาร และขยะชุมชน ก๊าซชีวภาพจากฟาร์มหมูที่ ดอนแก้ว จ.เชียงใหม่ ซึ่งสามารถผลิตก๊าซชีวภาพส่งผ่านระบบท่อเพื่อใช้หุงต้มประมาณ 110 ครัวเรือน และตัวอย่างที่ชุมชนป่าเด็ง จ.เพชรบุรี สามารถผลิตไฟฟ้าจากแก๊สซิฟิเคชั่น และก๊าซชีวภาพ หรือไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ ซึงมีการทำโซลาห์เซลมือสองที่ราคาถูกลง 4-5 เท่า กังหันน้ำผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก ที่บ้านคีรีวง จ.นครศรีธรรมราช พัฒนามากว่า 10 ปี จนสามารถทำขายเป็นวิสาหกิจชุมชน และกังหันลมผลิตไฟฟ้าที่บ้านบ่อนอก จ.ประจวบคีรีขันธ์
 
ก๊าซชีวภาพจากขยะอินทรีย์ของชุมชนเทศบาลนครระยอง ขายไฟฟ้าเข้าระบบประมาณ 0.7 MW และเครื่องอบขยะพลาสติกได้น้ำมันที่ศูนย์เรียนรู้พลังงานชุมชนท่ามะขาม จ.กาญจนบุรี สามารถผลิตน้ำมันได้ 40-50 ลิตร จากขยะพลาสติก 100 กิโลกรัม หรือในกรณีการพัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพโรงไฟฟ้าชีวมวล โดยการศึกษาของ บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม (JGSEE) พบว่าชาญอ้อยในโรงงานน้ำตาลทั่วประเทศ หากใช้เทคโนโลยีอย่างเต็มที่ ดังเช่นที่ใช้ในประเทศบราซิล จะมีศักยภาพในการผลิตไฟฟ้าทั้งหมดถึง 2,000 MW ซึ่งเทียบเท่ากับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 2 โรง เป็นต้น
 
 
ส่วนข้อเสนอ ศุภกิจกล่าวว่า การพัฒนาพลังงานกระจายศูนย์และพลังงานชุมชนเพื่อลดการผูกขาด คือ 1.การเรียนรู้ของชุมชน โดยเฉพาะช่างชุมชนซึ่งต้องลงมือทำเลย 2.การสื่อสารและเรียนรู้ของคนเมือง ชนชั้นกลางในการส่งเสริมและใช้ประโยชน์จากพลังงานชุมชน 3.การส่งเสริมที่เป็นระบบ สำหรับพลังงานกระจายศูนย์-พลังงานชุมชน โดยไม่ต้องขายไฟเข้าระบบ
 
แนะแก้ พ.ร.บ.การประกอบกิจการพลังงาน เสนอผลักดันกฎหมายพลังงานหมุนเวียน
 
ศุภกิจกล่าว ต่อมาในประเด็นที่ 2.การผูกขาดการวางแผนพลังงานว่า แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า PDP2010 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3 เพิ่มโรงไฟฟ้าก๊าซจาก 1.8 หมื่นเมกะวัตต์ เป็น 2.5 หมื่นเมกะวัตต์ ถูกตั้งคำถามเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชน เนื่องจากมีเวทีรับฟังความคิดเห็นครั้งเดียว โดยส่งหนังสือเชิญล่วงหน้า 5 วัน ใช่เวลาเพียงครึ่งวัน มีผู้เข้าร่วมไม่ถึง 200 คน แล้ว กพช. พิจารณาเห็นชอบหลังจากนั้นเพียง 3 วัน ซึ่งไม่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 57 วรรคสองเรื่องกระบวนการรับฟังความเห็นอย่างทั่วถึง และผลหลังจากนั้นคือหุ้นโรงไฟฟ้าก๊าซขึ้นรับการประมูล IPP
 
 
ศุภกิจ เสนอว่า อนาคตการวางแผนไฟฟ้า ควรปรับระบบโครงสร้างการวางแผน และกระจายศูนย์การวางแผน PDP ไปสู่แผนพลังงานชุมชน จังหวัด และภูมิภาคควบคู่ไป เพื่อให้มีนัยกับแผนพลังงานระดับประเทศมากขึ้น
 
ประเด็นที่ 3.การผูกขาดความรู้ความเข้าด้านพลังงาน ศุภกิจ ยกตัวอย่าง ข้อมูลจากรายงานของคณะกรรมการอิสระเพื่อสืบสวนอุบัติเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ฟูกูชิม่ะ ซึ่งออกเมื่อวันที่ 3 ก.ค.55 ที่ระบุว่า ถึงแม้แผ่นดินไหวและสึนามิจะเป็นภัยธรรมชาติ แต่อุบัติภัยโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เกิดจากคน ซึ่งสามารถและควรที่จะคาดการณ์ ป้องกัน และลดผลกระทบได้ และสิ่งสำคัญคือ วัฒนธรรมการเชื่อฟังโดยอัตโนมัติโดยไม่ลังเลที่จะตั้งคำถามกับผู้มีอำนาจ เป็นสาเหตุรากฐานที่ทำให้เกิดอุบัติภัยนี้ขึ้นมา ซึ่งต้องมีการแก้ไข และสิ่งที่ไทยต้องเรียนรู้ คือ นอกจากการเตรียมพร้อมโดยมีวัฒนธรรมแห่งความปลอดภัยแล้ว สิ่งสำคัญยิ่งกว่าคือต้องมีวัฒนธรรมธรรมาภิบาลด้วย
 
 
พ.ร.บ.การประกอบกิจการพลังงาน 2550
 
ม.14 รัฐมนตรีพลังงาน เสนอชื่อ คกก.สรรหา ต่อ ครม.
ม.15 รัฐมนตรีพลังงาน เสนอชื่อผู้ได้รับคัดเลือกต่อ ครม. เพื่อพิจารณาอนุมัติ
ม.19 กรรมการพ้นจากตำแหน่ง เมื่อมีมติ ครม. ให้ออก เนื่องจากประพฤติเสื่อมเสีย ไม่สุจริต หรือหย่อนความสามารถ
ม.41 ให้คณะกรรมการ เสนอแผนดำเนินงาน งบประมาณรายจ่าย ประมาณการรายได้ เพื่อขอความเห็นชอบจาก ครม.
 
 
สุดท้าย ประเด็นที่ 4.การผูกขาดโดยกฎหมายพลังงาน ศุภกิจ กล่าวถึงจุดอ่อนของระบบกำกับดูแลพลังงานของไทย ใน พ.ร.บ.การประกอบกิจการพลังงาน2550 ซึ่งควรมีการแก้ให้มีอิสระจากภาคการเมืองใน และกรณีการผลักดันกฎหมายพลังงานหมุนเวียนโดยกรีนพีช ซึ่งมีหลักการ 1.รับรองสิทธิในการใช้ ผลิต และได้ประโยชน์จากทรัพยากรพลังงานหมุนเวียนในชุมชน 2.พลังงานหมุนเวียน เป็นอันดับความสำคัญแรกในการเข้าถึงระบบสายส่ง 3.‘ราคาที่เป็นธรรม’ สำหรับพลังงานหมุนเวียน โดยมีราคาที่จูงใจ แต่ไม่สร้างผลกำไรมากเกินควร 4.มีกองทุนวิจัยและพัฒนาพลังงานหมุนเวียนในทุกจังหวัด 5.ผู้ใช้ไฟฟ้า สามารถเลือกซื้อไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานหมุนเวียนได้ โดยขณะนี้กฎหมายดังกล่าวยังไม่มีการร่างเป็นมาตรา
 
 
ดัน “คนไทย” ต้องรู้ว่าเมืองไทยมีอะไร เพื่อจัดการทรัพยากรของตนเอง
 
สมลักษณ์ หุตานุวัตร เครือข่ายธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า ปัญหา มี 3 ข้อ 1.ข้อมูลความจริงที่ไม่มีการเปิดเผยผ่านสื่อมวลชนอย่างโปรงใสและทั่วถึง 2.กติกาที่ทำให้ความเป็นธรรมในเรื่องพลังงานแม้แต่พลังงานหมุนเวียนไม่ สามารถเกิดขึ้นได้ 3.บุคคลที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วยผู้ที่มีอำนาจกำกับ สั่งการ และประกาศซึ่งอยู่ในระบบโครงสร้างพลังงาน ผู้ที่มีอำนาจตรวจสอบในส่วนขององค์กรอิสระต่างๆ รวมทั้งผู้ที่อยู่ในระบบตุลาการที่ไม่มีความรู้เฉพาะด้านพลังงานที่ลึกซึ้ง เพียงพอ และสุดท้ายคือคนไทยซึ่งเป็นเจ้าของทรัพยากรเอง ที่เพิ่งเริ่มคิดว่าตัวเองมีบทบาทได้
 
“คุณต้องพูดออกจากตัวคุณเองไปว่า อะไรคือข้อมูลความจริงในเรื่องพลังงาน ถ้าคุณไม่รู้เรื่องคุณต้องตั้งคำถาม ดิฉันคิดว่าถ้าวันนี้ ให้ดิฉันเสนอ ดิฉันเสนอว่าคนไทยต้องรู้ความจริงของตนเอง ด้วยทุกวิธีการที่คุณจะทำได้ แล้วจากนั้นให้คุณตัดสินใจด้วยอำนาจของคุณ” สมลักษณ์กล่าว
 
ในเรื่องผลประโยชน์ด้านพลังงาน สมลักษณ์ กล่าวว่า จากการศึกษาข้อมูลของบริษัทด้านพลังงานในประเทศไทยกว่า 30 บริษัท พบว่า บริษัทข้ามชาติซึ่งเป็น 1 ใน 5 ของบริษัทด้านพลังงานของโลก ได้เขียนระบุในรายงานประจำปี 2554 ของบริษัทว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่เขามีต้นทุนการผลิตต่ำที่สุดและทำกำไรได้สูงที่สุดใน โลก ขณะที่อีกบริษัทหนึ่งได้เทียบระหว่างการทำธุรกิจขุดเจาะในไทยกับอินโดนีเซีย โดยไทยมีมูลค่าธุรกิจอยู่ที่ประมาณ 1.8 หมื่นล้านดอลลาห์สหรัฐ ทำกำไร 1.1 หมื่นล้านดอลลาห์สหรัฐ ส่วนอินโดนีเซียมีมูลค่าอยู่ที่ 5 หมื่นล้านดอลลาห์สหรัฐ ทำกำไร 1 หมื่นล้านดอลลาห์สหรัฐ เหล่านี้เป็นปัญหาจากกติกาซึ่งรัฐบาลไทยทุกรัฐบาลไม่แก้กฎหมายเพื่อประโยชน์ คนไทย
 
 
จวก “บัตรเครดิตพลังงาน” มุ่งประชานิยม ไม่สนใจแก้ กม.ป้องต่างชาติกอบโกยผลประโยชน์
 
สมลักษณ์ กล่าวต่อมาว่า สิ่งที่คิดว่าเป็นความเลวร้ายของสังคมไทยในวันนี้คือบัตรเครดิตพลังงาน ซึ่งแทนที่จะให้ประชาชนไทยทุกคนได้รับความเป็นธรรมอย่างทั่วถึงในการเข้าถึง พลังงานทั้งไฟฟ้าและน้ำมัน กลับกลายเป็นการใช้บัตรเครดิตพลังงาน แล้วสร้างบุญคุณระหว่างรัฐกับผู้รับบัตรเครดิตคือกลุ่มคนขับมอเตอร์ไซ ค์-แท็กซี่ คือใช้ระบบประชานิยมทั้งที่ๆ ทรัพย์สินเหล่านั้นเป็นของประชาชนอยู่แล้ว
 
“ดิฉันคิดว่าตรงนี้เป็นสิ่งที่ชั่วร้ายที่สุดของรัฐและคนของรัฐทุกคน ที่ออกนโยบายนี้ คนไทยที่เป็นเจ้าของทรัพยากรควรที่จะกล้าหาญพอที่จะประณาม ว่าคุณเอาเงินภาษีของประชาชนไปจ่ายเป็นบัตรเครดิตพลังงาน แล้วคุณละเลยกฎหมายที่จะแก้ไขผลประโยชน์พลังงานที่ต่างชาติกอบโกยไปจาก ประเทศไทย” ตัวแทนจากเครือข่ายธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมกล่าว
 
 
เสนอแก้กฎหมายพลังงาน-กระจายอำนาจจัดการทรัพยากรให้ทองถิ่น-ปกป้องสิทธิ 5 มาตราใน รธน.
 
สมลักษณ์ กล่าวต่อมาถึงทางออกว่า ประกอบด้วย 1.ความซื่อสัตย์ต่อวิชาชีพของนักวิชาการด้านพลังงาน ในการที่จะพูดความจริงต่อสังคมไทยว่าทรัพยากรในประเทศมีเท่าไหร่ และมีใครเอาไปบ้าง 2.นักกฎหมายที่จะพร้อมใจร่วมกันแก้กฎหมายเกี่ยวกับพลังงานทุกฉบับ ซึ่งเกี่ยวข้องไปถึงกฎหมายแร่ กฎหมายเกี่ยวกับสิทธิชุมชน รวมทั้งกฎหมายท้องถิ่นที่ควรแก้ไขให้มีการกระจายอำนาจการจัดการทรัพยากร พลังงานให้ท้องถิ่น ซึ่งที่ผ่านมาท้องถิ่นไม่ได้รับผลประโยชน์จากทรัพยากรที่มีในพื้นที่อย่าง เต็มที่ ยกตัวอย่าง จ.ขอนแก่นและ จ.อุดรซึ่งสามารถขุดปิโตรเลียมรวมกันได้ 1 หมื่นกว่าล้านบาท โอนเงินค่าภาคหลวงให้แก่ อบต.และ อบจ.ในพื้นที่ประมาณ 4 พันล้านบาท อีกประมาณ 7 พันล้านเป็นของบริษัทเอกชนผู้ขุดเจาะ
 
ตัวแทนจากเครือข่ายธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมกล่าวด้วยว่า สิทธิตามรัฐธรรมนูญ  5 มาตรา คือ มาตรา 43 เกี่ยวกับสิทธิในการประกอบอาชีพ มาตรา 66-67 เกี่ยวกับสิทธิในการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม การมีส่วนร่วมแสดงความเห็นของประชาชน ต่อมาคือ มาตรา 85 และ 87 เกี่ยวกับสิทธิในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เหล่านี้ต้องรักษาไว้แม้จะมีความพยายามในการแก้กฎหมายรัฐธรรมนูญ และควรนำมาบังคับใช้อย่างเต็มที่ โดยประชาชนต้องไม่ถูกเลือกปฏิบัติโดยชอบด้วยกฎหมาย
 
ข้อเสนอต่อมาคือ การแก้กฎหมายปิโตรเลียมทั้งฉบับ และปลดข้าราชการที่ไปรับตำแหน่งในบริษัทพลังงานทุกบริษัทออกจากตำแหน่งใด ตำแหน่งหนึ่ง โดยให้เลือกว่าจะอยู่ในตำแหน่งราชการหรือจะไปรับตำแหน่งในบริษัทพลังงาน เพื่อแก้ปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อน แม้กฎหมายจะเปิดช่องไว้ให้ และควรมีการแก้กฎหมายดังกล่าวด้วย
 
“ทุกองค์กรในประเทศไทย รวมทั้งผู้ที่ใช้น้ำมันและก๊าซทุกท่านจะต้องไม่ยอมรับสินบนเล็กๆ น้อยๆ ที่เขาให้ บัตรเครดิตพลังงานที่แท็กซี่ได้รับ 3,000 บาท มันเทียบไม่ได้กับเงิน 3-5 แสนล้านบาทต่อปี มันแลกไม่คุ้มหรอกค่ะ เพราะฉะนั้นเราต้องเข้มแข็งพอที่จะบอกว่าเราต้องการ 3-5 แสนล้านของประเทศไทยจากผลผลิตพลังงานที่เกิดขึ้นจริงในประเทศเรา ไม่ใช่ 3,000 บาทต่อเดือนที่เขาให้ในบัตรเครดิตของเรา” สมลักษณ์ กล่าว
 
 
"กรรมการกำกับกิจการพลังงาน" ชี้แนวโน้ม LNG ตลาดโลกดีขึ้น ไร้สหรัฐอเมริกา-จีนแย้งซื้อ
 
ดร.สุภิชัย ตั้งใจตรง ตัวแทนจากคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน กล่าวชี้แจงว่า สหรัฐอเมริกาใช้ก๊าซในประเทศและนำเข้าจากแคนนาดาเป็นสัดส่วนที่มาก ดังนั้นตลาดของสหรัฐอเมริกาจึงไม่เกี่ยวกับเราเท่าไรนัก และ เมื่อ 2-3 สหรัฐอเมริกามีการพูดถึง shale gases หรือ ก๊าซธรรมชาติจากหินดินดาน ซึ่งมีการค้นพบในประเทศทำให้ปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติพุงขึ้นกว่าเท่าตัว ทำให้เกิดการลดการนำเข้าก๊าซจากแคนนาดาและในขณะเดียวกันสหรัฐอเมริกาก็มีแนว โน้มที่จะส่งออก shale gases ในรูปแบบ LNG (Liquefied Natural Gas) ต่อไปด้วย ทั้งนี้ แนวโน้มโดยรวมของตลาดโลก LNG จะดีขึ้น เพราะ Demand หรือความต้องการในการซื้อของรายใหญ่หายไป ทั้งในส่วนของ สหรัฐอเมริกาและจีนที่มี shale gases ในประเทศจำนวนมา แต่สำหรับไทยยังใช้ LNG น้อย
 
 
เผย "ก๊าซธรรมชาติ" ไทยหมดเมื่อไหร่ ตอบยาก เหตุเสียเปรียบข้อมูลเอกชน
 
ดร.สุภิชัย กล่าวต่อมาว่า ที่มีการพูดกันว่าประเทศไทยจะใช้ก๊าซธรรมชาติหมดภายในกี่ปี ตรงนี้เป็นเรื่องที่บอกได้ยากมาก เพราะข้อแรกคือก๊าซนั้นอยู่ใต้ผืนแผนดิน เจ้าของก๊าซไม่ใช่คนไทยแต่เป็นบริษัทเชฟรอน ตัวเลขเป็นข้อมูลของบริษัทเอกชน เมื่อเขาบอกมาอย่างไรเราไม่มีทางรู้มากกว่านั้น ซึ่งในส่วนจำนวนที่มีอยู่จริง หน่วยงานที่ดูอยู่คือกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ซึ่งเดิมคือกรมทรัพย์ฯ โดยตั้งแต่เริ่มวางระบบและมีการเก็บข้อมูลก็ต้องยอมรับว่าเราเสียเปรียบมาก ในเรื่องความรู้
 
ยกตัวอย่าง สมมติบริษัทเอกชนบอกว่ามีก๊าซธรรมชาติอยู่ 100 เขาต้องลงทุนก่อสร้าง 100 เราก็บอกว่าถ้าอย่างนั้นให้คุณคิด 1.50 บาท เพื่อเป็นกำไร ทั้งที่ความจริงเราไม่เคยรู้ว่าจริงๆ แล้วก๊าซธรรมชาติมีอยู่ 100 หรือมีอยู่ 500 ตรงนี้เป็นความเสี่ยงใต้แผนดินที่เราเสียเปรียบ ทั้งนี้ ก๊าซธรรมชาติที่อยู่ในมือของคนไทย คือหลุมก๊าซของ ปตท.สผ.ที่ซื้อคืนจากบริษัทเอกชน ซึ่งก็มีคำถามว่าถ้าหลุมมันดีแล้วเขาจะอยากขายไหม ตรงนี้ต้องพูดอย่างตรงไปตรงมาว่าเราตามเขาทันไหม ในขณะที่บุคลากรที่มีความรู้เฉพาะทางของเราก็เสียเปรียบ
 
หากเราเป็นคนสร้างเอง โจทย์แรกเราต้องตอบให้ได้ว่ามันมีอยู่ตรงนั้นจำนวนเท่าไหร่ เพื่อที่จะรู้ว่าจะต้องลงทุนเท่าไหร่แล้วจะได้กลับมาเท่าไหร่ เหมาะสมที่จะลงทุนหรือไม่ หากทางวิศวกรและจีโอฟิสิกส์สามารถวิเคราะห์ออกมาได้ก็สามารถทำตรงนี้ได้ 
 
ดร.สุภิชัย กล่าวถึงปัญหาข้อต่อมาว่า วันนี้แทนขุดเจาะจำนวนนับร้อยๆ แท่นที่อยู่ในอ่าวไทย และแปลงสัมปทาน ซึ่งแต่ละแท่นมีกำลังผลิตอยู่ และปตท.ได้ทำสัญญาซื้อขายก๊าซเอาไว้แล้ว สมมติตัวเลขรวมทั้งหมด 3,600 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน กำลังผลิตของแทนขุดเจาะทั้งหมดแน่นอนว่าต้องมากกว่า 3,600 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน เพราะหากผลิตได้น้อยกว่าจะถูกปรับแต่ถ้ามากกว่านี้ ปตท.ก็ต้องรับซื้อไป เป็นการทำเพดานรับซื้อเพื่อประกันความเสียงในการลงทุน อย่างไรก็ตาม ณ วันนี้เราเห็นแล้วว่าสัญญาซื้อขายก๊าซที่ทำไปแล้วนั้นไม่เป็นธรรม แต่รัฐไม่มีแนวนโยบายที่จะไปหักลำกับสัญญา ทำให้แก้ไขยาก
 
 
เสนอใช้ทรัพยากรพลังงานบนแผ่นดิน เก็บ “ก๊าซ-น้ำมัน” รอสร้างองค์ความรู้มารองรับ
 
ประเด็นคือ เรามีทรัพยากรพลังงานที่unknown คือไม่รู้ อยู่ใต้ดิน และมีสิ่งที่รู้ วิเคราะห์ได้อยู่จำนวนหนึ่ง คือสิ่งที่เป็นทางเลือกพลังงานต่างๆ เราต้องทำทั้ง 2 ส่วนให้เข้าใกล้กันให้ได้ อย่าเสียง โดยส่วนตัวถือว่า ก๊าซธรรมชาติและน้ำมันเป็นสิ่งที่เก็บไว้รอให้เราสร้างองค์ความรู้เพื่อมา รองรับได้ ไม่จำเป็นต้องรีบเอาขึ้นมา โดยหันมาให้ความสำคัญกับทรัพยากรพลังงานที่อยู่บนแผ่นดินและพัฒนาให้เต็มที่ สำหรับคำถามว่าหากไม่พอจะทำอย่างไร คำตอบคือการปรับปรุงประสิทธิภาพของการใช้ เช่น การเลือกโหมดของการขนส่งให้ดีขึ้น ทำให้กระบวนการในภาคอุตสาหกรรมดีขึ้น และทำให้กระบวนการผลิตไฟฟ้าดีขึ้น ทำในสเกลใหญ่ๆ พัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพ แล้วจะสามารถบอกได้ว่าเราจะลดในส่วนไหนได้บ้าง
 
ดร.สุภิชัย กล่าวว่าถึงข้อเสนอต่อกรณีที่มีเจ้าหน้าที่ของรัฐในส่วนของกระทรวงเข้าไป กำกับ โดยเข้าไปเป็นกรรมการนโยบายของบริษัทพลังงานว่าเป็นปัญหาจากการที่รัฐไม่ทำ หน้าที่เป็นตัวแทนของประชาชน ควรมีการตั้งกติกาเพื่อไม่ให้มีผลประโยชน์ทับซ้อน ซึ่งจะแก้ปัญหาได้เร็วกว่าการแก้กฎหมายที่ทำได้ยาก โดยเรียกร้องไปยังรัฐ ให้เจ้าหน้าที่ที่เข้าไปต้องไม่มีสิทธิได้รับผลประโยชน์เป็นเม็ดเงินจากการ เป็นกรรมการ ใช้วิธีการสมัครเลือกผู้ที่มีความรู้ความสามารถเข้าไปในฐานะตัวแทนของรัฐ โดยไม่ต้องกำกับตำแหน่ง เป็นการแก้ในส่วนนโยบายของแต่ละหน่วยงานเลย
 
ในส่วนสัมปทาน โดยทฤษฎีรัฐบาลสามารถปรับโครงสร้างได้ และมีตัวอย่างที่เกิดขึ้นแล้วในหลายประเทศ ซึ่งบริษัทเอกชนก็ไม่มีการทิ้งแท่นขุดเจาะ แต่การปรับโครงสร้างก็ต้องทำให้บริษัทเอกชนอยู่ได้ด้วย