ที่มา ประชาไท
หมายเหตุต้นฉบับ: เมื่อปลายปี 2551 ผู้เขียนได้เสนอบทความ “กรอบโครงความคิดในการปฏิบัติการร่วมทางการเมือง (Collective Action Frames) กรณีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.)” ในการประชุมวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 9 (พ.ศ. 2551) และได้เผยแพร่ในเวบไซต์ประชาไท ต่อมาผู้เขียนได้พัฒนา เพิ่มเติมเนื้อหาขึ้นอีกบางส่วน จึงขอนำเนื้อหาในส่วนดังกล่าว มาเผยแพร่อีกครั้ง เพื่อประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจ ทั้งนี้เนื่องจากความยาวของบทความ ทางประชาไทจึงได้แบ่งนำเสนอออกเป็นสองตอน
ลูกๆ นักศึกษาที่รัก พวกเราต้องเป็นหนึ่งเดียวกัน ลูกๆทุกสถาบัน จะต้องเป็นกำลังของประเทศชาติ ไม่กระทรวงใดก็กระทรวงหนึ่ง ไม่ภารกิจใดก็ภารกิจหนึ่งในอนาคตอย่างแน่นอน แล้ววันนี้ผมรู้สึกย้อนรอยเหมือนเหตุการณ์ 14 ตุลา เมื่อนักเรียนอาชีวะ นักเรียนช่างกลมา เดี๋ยวใครจะมาตี มาเลย ไอ้ นรก นปก. มาเลย เดี๋ยวให้ลูกหลายแสดงฝีมือบ้าง มัน [ลากเสียงยาว] มันมืออยู่ [มา]นานแล้ว ลูกหลานเฮ้ย [ลากเสียงยาว] ตีคนเลว ตีคนชั่ว ไม่บาป
สมศักดิ์ โกศัยสุข
แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
5 กันยายน 2551accent1">[1]
'Tahoma','sans-serif'">“ตีคนเลว ตีคนชั่ว ไม่บาป” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคำปราศรัยของนายสมศักดิ์ โกศัยสุข ในค่ำคืนของวันที่ 5 กันยายน 2551 ที่ผู้เขียนได้หยิบมาเป็นจุดเริ่มต้นของบทความ มีความสำคัญในการทำ “ความเข้าใจ” พันธมิตรฯ อย่างลึกซึ้ง ทั้งนี้ การอธิบายว่านี่เป็นเพียง “โวหาร” หรือ “การหลุด” ของแกนนำคนนั้น ในภาวะที่เขาอยู่ในอาการกริ้วโกรธ และไม่ให้ความสนใจหรือความสำคัญกับสิ่งเหล่านี้ สำหรับพันธมิตรฯ แน่นอน นี่ไม่ได้เป็นอะไรไปมากกว่าการแก้ตัว ซึ่งย่อมเป็นปกติธรรมดา สำหรับผู้สนับสนุนจากภายนอก ถ้าไม่ด้วยเหตุผลเดียวกันกับพันธมิตรฯ ก็เป็นการสนับสนุนโดย “ไม่ลืมหูลืมตา” หรืออาจจะเรียกว่าถูก “หลอกลวง” [ดังที่พันธมิตรฯ ได้ใช้กับฝ่ายต่อต้าน เพื่อทำให้ปัญหาที่มีความสลับซับซ้อนมีความง่ายต่อการเข้าใจ] ด้วยโวหารและหน้ากากของสันติวิธี สำหรับนักศึกษาหรือนักวิชาการด้านสันติวิธี นี่คือการแสดงให้เห็นถึงการขาดความเข้าใจในสาขาวิชาของตนเอง แต่สำหรับผู้ศึกษาขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมแล้ว นี่คือ “ความไม่เข้าใจ” ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมของพันธมิตรฯ เลยทีเดียว
ที่กล่าวเช่นนี้ สำหรับผู้ศึกษาขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม ไม่ใช่เพราะ (1) เนื้อหาที่รุนแรงในลักษณะดังกล่าวเกิดขึ้นหลายครั้ง ในการเคลื่อนไหว (2) ผู้พูด คือ นายสมศักดิ์ โกศัยสุข 1 ใน 5 แกนนำ เป็นผู้ประกอบการสำคัญ (3) มีรูปธรรมของปฏิบัติการรองรับ ไม่ใช่เป็นเพียงแค่โวหารเท่านั้น แต่เป็นเพราะว่า (1) ในการศึกษาขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมนั้น จำเป็นต้องเชื่อมโยงส่วนต่างๆ ทั้งหมด เข้าด้วยกันในการวิเคราะห์ การจำกัดหรือเน้นให้ความสนใจไปที่คำแถลงที่เป็นทางการเป็นหลักหรือเพียงอย่างเดียวเท่านั้น โดยไม่สนใจหรือไม่ให้ความสำคัญกับปฏิบัติการที่เป็นจริงในเวลาเดียวกัน ล้วนเป็นการมืดบอด (2) นี่คือ ปรากฏการณ์ที่สะท้อน หรือเป็นความเข้าใจที่เป็น “ผลที่ตามมา” ของกระบวนการสร้างกรอบโครงความคิดของพันธมิตรฯ นั่นเอง
สุวินัย ภรณวลัย นักเศรษฐศาสตร์ จากรั้วมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คอลัมนิสต์ในผู้จัดการรายวัน/ออนไลน์ ได้วิจารณ์การนำคำปราศรัยดังกล่าวมาเป็นจุดเริ่มต้นในการทำความเข้าใจพันธมิตรฯ ของผู้เขียนว่า การ“ยกแค่คำพูดบางตอนของแกนนำ โดยเฉพาะการพูดแบบแสดงโวหารบนเวทีโดยขาดการทำความเข้าใจบริบท (context) หรือความเป็นมาของเหตุการณ์การต่อสู้ในช่วงนั้น...เป็นการรับรู้ที่มีอคติและด้านเดียวอย่างหนึ่ง”[2] ซึ่งผู้เห็นด้วยว่าการพิจารณาบริบทอย่างละเอียดมีความสำคัญ และจะช่วยให้มีความเข้าใจพันมิตรฯ มากขึ้น กล่าวคือ
คำปราศรัยนี้เกิดขึ้นหลังจากเหตุการณ์พันธมิตรฯ ปะทะกับกลุ่ม นปก. ที่เดินขบวนมาจากสนามหลวงเพื่อขับไล่ให้พันธมิตรฯ ที่ยึดครองทำเนียบอยู่ ออกจากทำเนียบรัฐบาล ในกลางดึกของวันที่ 1 ต่อเช้าตรู่ของวันที่ 2 กันยายน 2551 ผลจากการปะทะกันทำให้นายณรงค์ศักดิ์ กรอบไธสงค์ อายุ 55 ปี ผู้ชุมนุมกลุ่ม นปก. ถูกตีที่ใบหน้าและศีรษะ ฟันหักหมดปาก จนเสียชีวิต[3] และมีผู้ได้รับบาดเจ็บทั้งหมด 42 ราย[4] สำหรับผู้ที่ได้ชมภาพข่าวที่มีการถ่อยทอดสดทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 ในคืนดังกล่าว คงเศร้าสลดใจต่อภาพที่เกิดขึ้นไม่น้อย อย่างเช่นภาพผู้ชายใสเสื้อสีน้ำเงินที่อยู่ข้างรถจักรยานยนต์ ถูกชายนับสิบคนที่ใส่หมวกกันน็อคพร้อมอาวุธในมือ รุมตี รุมกระทืบอย่างไม่ยั้งมือ โดยผู้ที่ถูกทำร้ายไม่มีอาวุธและไม่มีทางที่จะต่อสู้ป้องกันตัว จนสลบนิ่งอยู่กลางถนน พร้อมภาพผู้คนอีกหลายรายที่นอนสลบอยู่ริมฟุตบาทใกล้ๆ อาคารสหประชาชาติ[5] ทั้งหมดนี้ พันธมิตรฯ กระทำในนามของ “การป้องกันตนเอง” [6]
ในคืนนั้น ก่อนเหตุการณ์ปะทะ เมื่อทราบข่าวว่า นปก. เดินทางมาจากสนามหลวงมายังทำเนียบรัฐบาล นายสมศักดิ์ โกศัยสุข ได้ขึ้นเวทีปราศรัย ใน
'Tahoma','sans-serif'">เวลา 00.33 น.
'Times New Roman'">ประกาศชี้แจง ว่า
'Times New Roman'">ขณะนี้ นปก.มีการเคลื่อนตัวมาแล้วมีจำนวนประมาณ 15,000 คน ที่แจ้งไม่ต้องการให้ตกใจเพราะการชุมนุมของพันธมิตร เรามีการเตรียมความพร้อมหมดแล้ว อีกทั้งมีจำนวนผู้ชุมนุมปักหลักทั่วบริเวณจำนวนมาก นอกจากนี้ในที่ชุมนุมพันธมิตรยังมี จนท.ทหารมาร่วมชุมนุมจำนวนกว่า 600 คน [7]
ขณะที่หนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ รายงานว่าเวลาประมาณ
'Times New Roman'">00.20 “หัวหน้าฝ่ายรักษาความปลอดภัยของพันธมิตรฯ ได้สั่งให้ รปภ. เตรียมพร้อมเต็มที่ หากมีดาบให้ฟันได้เลย และตีทุกคนที่เข้ามาในพื้นที่” [8]
'Times New Roman'">และรายงานเหตุการณ์ว่า
'Times New Roman'">
'Times New Roman'">ทั้งสองฝ่ายต่างเข้าตะลุมบอนกันอย่างโกลาหลทั้งสองฝ่าย โดยพันธมิตรฯ รุกไล่ฝ่ายนปช.จนถอยร่น และฝ่าย นปช. พลาดท่าถูกพันธมิตรตีได้รับบาดเจ็บล้มนอนเหยียดยาวกลางถนน มีเลือดไหลอาบหน้าหลายคน... ขณะเดียวกัน ฝ่ายนปช.ที่ได้รับบาดเจ็บนอนหงายเหยียดยาวอยู่หลายคน ได้ถูกพันธมิตรฯ เข้าไปรุมตีซ้ำ บางคนถูกพวกเดียวกันช่วยหามร่างหนีให้พ้นจากการการถูกรุมทำร้ายอย่างป่าเถื่อน[9]
'Times New Roman'">
โดยในการปะทะกันนั้น ฝ่ายพันธมิตรฯ สามารถจับกุมฝ่าย นปก. ได้หลายคน และได้ควบคุมตัวเพื่อทำการสอบสวน
'Times New Roman'">หลายคนถูกพันธมิตรฯ จะทำร้าย แต่มีคนห้ามไว้ เพราะกลัวว่าจะมีข่าวออกไปในลักษณะเสียหาย... ขณะที่จับได้ ให้แพทย์ทำแผลที่ถูกตีหักบ้าง หัวแตกบ้าง พันธมิตรฯ บางคนเกิดความโมโห กระโดดเตะฝ่าย นปช. ขณะแพทย์ทำการรักษา ทำให้แพทย์โดนลูกหลงหลายคน และเกิดความโมโหฝ่ายพันธมิตรฯ พร้อมบอกว่าจะนำส่ง รพ. แต่พันธมิตรฯ ไม่ยอม จะขอตัวนำไปสอบสวนเอง” [10]
ทั้งนี้ ในระหว่างการปะทะ แกนนำบางคน รวมทั้งผู้ปราศรัยบนเวที ได้ประกาศให้พันธมิตรฯ ที่อยู่ทางบ้าน “หยิบของ” ติดไม้ตัดมือมาด้วย และมาร่วมกัน “ตีนปก.”
เมื่อพิจารณาจากบริบทของเหตุการณ์แล้ว ก็จะพบว่าคำปราศรัยนี้เกิดขึ้นหลังจากที่ นปก. “ถูกตีตายจริงๆ” มาเพียง 3 วัน อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะเกิด “การนองเลือด” กลางเมืองหลวง และ “ศพแรก” ของสงครามได้เกิดขึ้น แต่การตายของ นปก. จากการปะทะกับพันธมิตรฯ ไม่ได้เป็นประเด็นที่มีปัญหาหรือสำคัญแต่อย่างใด เพราะไม่เพียงแต่ตี นปก. “ไม่บาป” เท่านั้น แต่ยังกลายเป็นสิ่งที่น่าชื่นชม เป็น “วีรกรรม” และเป็นเรื่องของการออกกำลังกายที่ “สนุกสนาน” ไปพร้อมกันด้วย ดังที่แกนนำระดับรองลงมาอย่างนายวีระ สมความคิด กล่าวบนเวทีในวันที่ 4 กันยายน 2551 ว่า “ขอเรียกร้องให้ช่างกลปทุมวันมาออกกำลังกายและมาช่วยดูแลผู้ชุมนุมโดยการมาช่วยตีพวกแนวร่วมประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (นปช.)
'Tahoma','sans-serif'; mso-fareast-font-family: 'Times New Roman'">”[11]
กรณีการตี นปก. จนเสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บ “ไม่บาป” เพราะเป็น ”คนชั่ว-คนเลว” และเข้าใจว่ากิจกรรมดังกล่าวเป็นเหมือนการ “ออกกำลังกาย” ที่ทำให้ร่างกายและชีวิตของศัตรูเป็นเพียงอุปกรณ์ในการออกกำลังกายเท่านั้น สามารถที่จะอธิบายได้ว่า เป็นผลของการสร้างกรอบโครงความคิดในการวิเคราะห์ปัญหา เยียวยารักษาโรค และกรอบโครงในการจูงใจด้วยความคิดเรื่องวิกฤติ ความรุนแรงเข้มข้นของปัญหาและสงคราม อย่างที่ได้อธิบายไว้อย่างละเอียดข้างต้นแล้ว โดยกรอบโครงความคิดดังกล่าว นำไปสู่ปัญหาทางการเมืองที่สำคัญ คือ “ปีศาจวิทยาของความขัดแย้ง” ตามคำอธิบายของชัยวัฒน์ สถาอานันท์ ที่เป็นเงื่อนไขหรือเปิดประตูให้ความรุนแรงเข้ามา และรวมศูนย์ปัญหาอยู่ที่ “ปัญหาจริยธรรมว่าด้วยวิธีการ (the ethics of means)” ตามคำอธิบายของเกษียร เตชะพีระ กล่าวคือ เพื่อบรรลุเป้าหมายทางการเมืองที่ตนเห็นว่าถูกต้องดีงาม พันธมิตรฯ ไม่เลือกวิธีการที่ใช้ จะใช้วิธีการอะไรก็ได้ จะชอบหรือไม่ชอบด้วยหลักเกณฑ์ทางศีลธรรมหรือหลักการทางการเมืองอย่างไรก็ได้ ขอแต่ให้บรรลุเป้าหมายได้ หรือคล้ายกับความเข้าใจของนายสุริยะใส กตะศิลาเอง ว่า
ผมกลับเห็นว่าวิธีการอาจไม่สำคัญเท่ากับหลักการ หากวันนี้สังคมเห็นความสำคัญและความจำเป็นเร่งด่วนว่าเราต้องร่วมร่วมกันสร้างชาติและสร้างการเมืองใหม่แล้ว รูปแบบวิธีการก็อาจไม่ใช่เรื่องยากและอาจง่ายเกินกว่าที่เราคิด[12]
โดยเกษียร เตชะพีระ ได้อธิบายเรื่องเป้าหมายให้ความชอบธรรมกับวิธีการ (The end justifies the means) นี้ว่า มีข้ออ้างหลักที่สำคัญ 2 ประการคือ ประการแรก ศัตรูที่เราสู้ด้วยเป็นคนสกปรกเลวทรามต่ำช้าถึงขนาด ฉะนั้นจัดการกับคนชั่วช้าแบบนี้ ก็ไม่ต้องเลือกหรือจำกัดรูปแบบวิธีการเหมือนกัน มิฉะนั้นจะตกเป็นเหยื่อ ประการที่สอง สิ่งที่เรามุ่งพิทักษ์ปกป้องไว้นั้นสำคัญสูงสุด เพราะฉะนั้นเพื่อรักษาสิ่งสำคัญสุดยอดไว้ แม้จะต้องละเมิดหลักเกณฑ์หลักการอื่นไปบ้างก็ต้องทำ[13]
หากพิจารณาจากกรอบโครงความคิดหลักที่บทความได้พยายามทดลองเสนอมา จะเห็นได้ว่า สำหรับพันธมิตรฯ แล้ว ปัญหาทั้งหมดรวมศูนย์อยู่ที่นักการเมือง “ชั่ว” และ “ผู้เลือกตั้ง” ที่เห็นแก่เงิน และทั้งหมดนี้รวมกันอยู่ใน “ระบอบประชาธิปไตยที่มีการเลือกตั้ง” กรอบวิเคราะห์นี้ถูกวางพื้นฐานมาเป็นเวลานาน หลายสิบปี ด้วยแนววิเคราะห์วัฒนธรรมการเมืองที่เห็นว่า การล้มลุกคลุกคลานของประชาธิปไตยไทย เกิดจากการที่ประชาชนมีวัฒนธรรมทางการเมืองที่ไม่สอดคล้องกับระบบประชาธิปไตย ปัญหานี้ถูกเน้นย้ำมากขึ้นเมื่อนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งเข้ามามีบทบาทสำคัญชี้ขาดในรัฐสภา หลังจากหมดยุคประชาธิปไตยครึ่งใบ และความร้ายแรงของนักการเมืองและผู้เลือกตั้งที่ “ขายเสียง” ไม่ว่าด้วยวิธีการใดๆ นี้ เหมือนมีฉันทามติร่วมกันในสังคมการเมืองไทยว่าปรากฏสูงโดดเด่นที่สุดในสมัยรัฐบาลทักษิณ
การเยียวยารักษาจึงต้องใช้วิธีการที่รุนแรงพอที่จะรักษาสาเหตุของโรคได้ [วิธีการรักษาย่อมถูกจำกัดขอบเขตความเป็นไปได้โดยการวิเคราะห์ปัญหา] และดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงวิธีการ เพราะการต่อสู้กับสิ่งที่เลวร้ายเป็นสิ่งที่ดี ยิ่งทำให้ฝ่ายศัตรูยิ่งแล้วร้ายขึ้นเท่าไหร่ การต่อสู้กับศัตรูก็ยิ่งเป็นสิ่งที่ดีมากขึ้นเท่านั้น การขยายประเด็นความรุนแรงของปัญหา “วิกฤต” ไปสู่การล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ สร้างระบบสาธารณรัฐ ก็ยิ่งทำให้ฝ่ายศัตรูยิ่งเลวร้ายขึ้น ขณะที่การต่อสู้ของตนก็กลายเป็นสงคราม/ภารกิจศักดิ์สิทธิ์ การจูงใจผู้เข้าร่วมด้วยกลุ่มคำศัพท์สงคราม และการทำให้การชุมนุมเป็นการทำสงครามก็ทำให้ตรรกะของสงครามครอบงำผู้กระทำการ ดังนั้น ศัตรู คือ ผู้ที่ต้องถูกทำลาย ไม่ว่าจะด้วยวิธีการใด จะชอบหรือไม่ต่อหลักการประชาธิปไตยหรือหลักการอื่นใดที่มนุษย์ควรยึดถือในการปฏิบัติต่อกันก็ตาม
เชิงอรรถ:
[1] ดาวน์โหลดไฟล์เสียงได้ที่ URL mms://tv.manager.co.th/videoclip/radio/1002/1002-5499.wma
'Tahoma','sans-serif'; mso-themecolor: accent1">[2] สุวินัย ภรณวลัย ได้วิจารณ์บทความนี้ไว้ใน “2. พันธมิตรฯ รำลึก พลวัตของพันธมิตรฯ,” ผู้จัดการออนไลน์, 21 เมษายน 2552 ผู้เขียนเห็นว่าเป็นคำวิจารณ์เรื่องบริบทของคำปราศรัยนี้ เป็นข้อวิจารณ์ที่ทรงคุณค่าอย่างยิ่ง เพราะหากพิจารณาบริบทอย่างละเอียด ก็จะตอกย้ำและทำให้ประเด็นที่บทความเสนอมีความหนักแน่นมากขึ้น ต่อมาใน “6. พันธมิตรฯรำลึก พลังของพันธมิตรฯ,” 19 พฤษภาคม 2552 สุวินัยได้แสดงความชื่นชมความสามารถของแกนนำพันธมิตรฯในการใช้กลุ่มคำศัพท์สงครามในการชักจูงผู้ชุมนุม โดยที่ไม่เข้าใจหรือไม่เห็นประเด็นที่บทความพยายามจะชี้ให้เห็นถึงปัญหาหรือผลของการใช้กลุ่มคำศัพท์สงคราม
สำหรับข้อวิจารณ์อื่นๆ ของสุวินัยต่อบทความ คือ (1) กรณียกบทสนทนาของผู้ดำเนินรายการ Metro Life ทางวิทยุ ผู้เขียนไม่พูดถึงข้อเท็จจริงที่หลังจากเกิดเหตุการณ์นี้ทางสื่อเครือผู้จัดการก็ได้ออกมาขอโทษและแสดงความรับผิดชอบต่อความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจริงโดยได้ประกาศยุติการจัดรายการ Metro Life ไปแล้วนั้น เป็นปัญหาของ “การอ่านอย่างไม่ละเอียด” ของสุวินัยเอง เนื่องจากได้ระบุไว้อย่างละเอียดแล้ว ในเชิงอรรถที่ 2 แต่แถลงการณ์ดังกล่าวไม่ใช่ “การขอโทษ” แต่เป็น “ขออภัยต่อกรณีการใช้คำพูดไม่เหมาะสมในการจัดรายการ” (2) กรณี “ฐานะ” ของนายวริษฐ์ ลิ้มทองกุล ผู้ดำเนินรายการ Metro Life ที่บทความระบุ “ในวงเล็บ” ว่า เป็น “บุตรชาย” ทั้งที่เป็นเพียง “หลานชาย” ของนายสนธินั้น เป็นความผิดพลาดของผู้เขียนเอง แต่อย่างไรก็ตามการระบุ “ฐานะ” ที่ผิดพลาดนี้ ก็ไม่ได้ทำให้ประเด็นที่ต้องการนำเสนอคือ คลื่น “ยามเฝ้าแผ่นดิน” เป็นสื่อในเครือผู้จัดการ ซึ่งกระบอกเสียงของพันธมิตรฯ “ย่อมมีบทบาทสำคัญในพันธมิตรฯ” มีปัญหาหรือผิดพลาดแต่ประการใด (3) ประเด็น “ตัวตน” ของผู้เขียนในบทความ ที่ผู้วิจารณ์เห็นว่า เป็น “ตัวตนที่อ่อนไหวต่อเรื่องความรุนแรง หรือ sensitive self ถ้าหาก หมายถึง “ความไว” และห่วงใยต่อความรุนแรงที่จะเกิดขึ้นจากการเคลื่อนไหว และการใช้มนุษย์คนอื่นเป็น “เครื่องมือ” ในการบรรลุเป้าหมายของตนเองนั้น ผู้เขียนไม่เห็นว่าจะเป็นปัญหาประการใด แต่การไม่มีสิ่งเหล่านี้ต่างหากที่เป็นปัญหา
'Tahoma','sans-serif'; mso-themecolor: accent1">[3] ดูเรื่องราวของเขาได้ที่ “ณรงศักดิ์ กรอบไธสง ศพแรกแห่งศึกพธม.-นปช,” คม ชัด ลึก, 3 กันยายน 2551 และ “เปิดใจหลานเหยื่อม็อบปะทะ ‘ขอให้น้าผมเป็นศพสุดท้าย...’,” กรุงเทพธุรกิจ, 4 กันยายน 2551, หน้า 14
'Tahoma','sans-serif'; mso-themecolor: accent1">[4] “ผู้เสียชีวิต-บาดเจ็บจากเหตุปะทะ,” มติชนรายวัน, 3 กันยายน 2551, หน้า 14 ทั้งหมดนี้ “ส่วนใหญ่” เป็นผู้ชุมนุมของ นปก. (ในฝ่าย นปก. มีการรายงานจำนวนและชื่อของผู้ได้รับบาดเจ็บที่เป็นฝ่ายตนในสื่อทางอินเตอร์เน็ท) แต่ประเด็นผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บเป็นใครบ้างไม่ได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนเท่าไหร่นัก โดย สิทธิพร จราดล ได้ตั้งข้อสังเกตว่าในครั้งนี้ ผู้ตายได้รับเกียรติ ถูกทำให้เป็น “คนไทย” จากสื่อมวลชน ทั้งที่ก่อนหน้านั้น พวกเขาเป็นเพียง “ลิ่วล้อทักษิณ” “ม็อบไข่แม้ว” “ม็อบเถื่อน” “ม็อบถ่อย” “ม็อบอันธพาล” ฯลฯ และ “ ถ้าณรงค์ศักดิ์ไม่ตาย แต่หากคนตายเป็นฝั่งตรงกันข้ามกับเขา น้ำเสียงของกลุ่มองค์กรต่างๆ คงต่างไปจากนี้ บรรยากาศคงอึมครึม หม่นมัว หม่นหมอง สื่อมวลชนคงนำเสนอข่าวความตายนี้ทั้งวัน” ดูใน “ณรงค์ศักดิ์ กอบไธสง: ความตาย ราคาถูก,” ประชาไท, 4 กันยายน 2551
'Tahoma','sans-serif'; mso-themecolor: accent1">[5] ดู “ภาพนปช. - พันธมิตรปะทะกันจากสถานีโทรทัศน์ช่อง 3” ประชาไท, 2 กันยายน 2551
'Tahoma','sans-serif'; mso-themecolor: accent1">[6] แน่นอนที่สุด ในเหตุการณ์นี้ (1) แกนนำ นปช. ที่นำการชุมนุม และทำให้เกิดการปะทะกัน และ (2) เจ้าหน้าที่รัฐ ที่ไม่สามารถหรือไม่มีความตั้งใจที่จะสกัดกั้น ป้องกันการปะทะ ต้องมีส่วนต้องรับผิดชอบกับความรุนแรงที่เกิดขึ้นอย่างไม่มีข้อสงสัย นอกจากนั้น ผู้ชุมนุม นปก. บางส่วนก็มีอาวุธเช่นเดียวกัน
'Tahoma','sans-serif'; mso-themecolor: accent1">[7] สิทธิพร จรดล “ณรงค์ศักดิ์ กอบไธสง: ความตาย ราคาถูก,” ประชาไท, 4 กันยายน 2551
'Tahoma','sans-serif'; mso-themecolor: accent1">[8] หัวหน้า “นักรบศรีวิชัย” นายเจติศักดิ์ จันทร์ประดิษฐ์ ได้ให้สัมภาษณ์ในภายหลัง ที่แสดงถึงท่าทีต่อ นปก. ในการทำงาน ที่สอดคล้องและไปทิศทางเดียวกับข้อความดังกล่าวข้างต้น ว่า “เรามีหลักการว่า เราจะไม่สู้กับตำรวจ ไม่สู้กับทหาร แต่ถ้าเป็น นปก. เราสู้จนตัวตาย ฉวยอะไรได้ก็เอามันล่ะ” ดูใน “เปิดตัวนักรบศรีวิชัย ‘พวกผมไม่ได้บุก NBT’,” กรุงเทพธุรกิจออนไลน์, 8 กันยายน 2551 http://www.bangkokbiznews.com/2008/09/08/news_292472.php
'Tahoma','sans-serif'; mso-themecolor: accent1">[9] “อนุพงษ์ชี้ ‘ฉุกเฉิน’ แค่ยุตินองเลือด,” ไทยรัฐ, 3 กันยายน 2551
'Tahoma','sans-serif'; mso-themecolor: accent1">[10] เพิ่งอ้าง
'Tahoma','sans-serif'; mso-themecolor: accent1">[11] “พันธมิตรเรียก ‘ช่างกล’ ร่วมกู้ชาติ มาออกกำลังกายตี นปช. รับได้ทำประชามติ แต่ยันจุดยืนหมักต้องออก,” มติชนออนไลน์, 4 กันยายน 2551
'Tahoma','sans-serif'; mso-themecolor: accent1">[12] สุริยะใส กตะศิลา “ ’การเมืองใหม่‘ ภายใต้การต่อสู้ของพันธมิตรฯ,” ผู้จัดการออนไลน์, 25 มิถุนายน 2551
'Tahoma','sans-serif'; mso-themecolor: accent1">[13] เกษียร เตชะพีระ ,“ปรากฏการณ์ม็อบพันธมิตรฯ,” ประชาไท, 29 สิงหาคม 2551 โดยเกษียรไม่เห็นด้วยกับท่าที่ของพันธมิตรฯ ในเรื่องนี้เพราะเห็นว่า “สุ่มเสี่ยงอันตรายที่จะปลุกพลังรุนแรงที่อาจควบคุมไว้ไม่อยู่ขึ้นมา จนพลอยไปทำร้ายทำลายผู้คนที่ไม่เกี่ยวข้องหรืออย่างเกินกว่าเหตุ อีกทั้งยังเห็นมนุษย์คนอื่นเป็นเครื่องมือ เป็นเหยื่อ และเป็นเครื่องบูชายัญสังเวยเป้าหมายความเชื่อของตนเอง”
ศักยภาพกงทัพไทย
กองทัพได้แสดงศักยภาพว่า เขาทำได้
(ก) ปราบคน "เสื้อแดง "ใน กรุงเทพมหานคร
(ข) ปฏิวิติ รัฐประหาญ รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน
(ค) จับเทปผี,ซีดีเถื่อน ในกรุงเทพ