WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, February 26, 2011

ยุทธศาสตร์แยกสลายกองไฟ และยุทธศาสตร์สร้างแนวกันไฟ

ที่มา thaifreenews

โดย poonnook

ก่อนอื่นผมจะขอเรียนชี้แจงกับพี่น้องผู้รักประชาธิปไตยทุกๆ ท่านว่า.. ผมเขียนบทความฉบับนี้ขึ้นเพื่อสื่อสารโดยตรงถึงท่าน เพื่อจะได้ทำความเข้าใจและพิจารณาถึงสิ่งที่ผมจะนำเสนอต่อไปนี้...ด้วยเหตุ และผล.. ด้วยความมีสติ ไม่วู่วาม และด้วยความคิดอย่างรอบด้าน.. บทความชิ้นนี้มิใช่ “การชี้นำ” หรือ “การชักจูง” ให้ทุกๆ ท่านเห็นคล้อยตาม.. หรือคิดเหมือนกัน.. แต่ต้องการให้พี่น้องผู้มีใจที่รักประชาธิปไตยอย่างแท้จริงและสมบูรณ์นั้น.. ได้ใคร่ครวญถึงสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นตรงหน้า เพื่อนำไปสู่ผลที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต เพื่อท่านทั้งหลายจะได้ตัดสินใจและพิจารณาได้ด้วยตนเอง.. ด้วยสติปัญญา และความเป็นเหตุเป็นผลที่แต่ละท่านมีด้วยตนเอง ได้โปรดกรุณาอ่านจนจบ แล้วค่อยตอบใจของท่านเองว่า..ท่านจะเลือกกำหนดแนวทางการต่อสู้ของท่านไปในทิศทางใด และรูปแบบใด..

^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^

ประเทศนี้ถูกปกครองด้วยอำนาจของเผด็จการที่ปกครองและครอบงำประเทศในทุกภาคส่วนมาหลายสิบปี โดยที่ประชาชนส่วนใหญ่ก็ถูกมอมเมา และล้างสมองตลอดมาโดยไม่รู้ตัว.. ซึ่งได้มาถึงจุดระเบิดเมื่อเกิดการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ที่ผ่านมา.. นับตั้งแต่วันนั้นขบวนการต่อสู้เพื่อเรียกร้องความเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริงจึงค่อยๆ พัฒนาและเติบใหญ่ขึ้นเป็นลำดับมาจนถึงปัจจุบัน..

ดังนั้นการที่ประชาชนได้รวมตัวกันเรียกร้องประชาธิปไตยในครั้งนี้ก็คือ “การนำเอาอำนาจในการปกครองจากผู้ครองอำนาจเผด็จการให้มาเป็นอำนาจของประชาชน” นั่นเอง..ซึ่งผมก็ได้เคยกล่าวไปในบทความชิ้นก่อนๆ ว่า การจะได้ตามสิ่งที่ประชาชนต้องการนั้นมีวิธีการอยู่ 2 หนทางคือ การร้องขอ.. หรือการแย่งชิง และจากระยะเวลาที่ผ่านมาหลายปีนั้นดูเหมือนว่า หนทางแห่งการร้องขอ น่าจะตีบตัน หรือ ปิดสนิทลงอย่างสิ้นเชิงเสียแล้ว.. (จากการพิจารณาโดยส่วนตัวของผมเอง)

ด้วยเหตุนี้ในเมื่อความต้องการประชาธิปไตยของประชาชนยังไม่จบสิ้นลง.. หนทางแห่งการได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองของประชาชนนั้นจึงต้องใช้วิธีการ “แย่งชิงอำนาจนั้นมาจากเผด็จการ” พูดง่ายๆ เพื่อความเข้าใจโดยไม่คลาดเคลื่อนก็คือ “เป็นการทำสงครามต่อสู้กันระหว่างอำนาจเผด็จการ (ที่มีอาวุธทุกอย่างในมือ) กับอำนาจประชาธิปไตย (ที่มีพลังประชาชนอยู่ในมือ)” ..

ซึ่งในเรื่องนี้ ผมกล่าวในลักษณะของหลักการทางวิชาการ มิได้พูดในเชิงให้มีการจัดตั้งกองกำลังเพื่อให้เกิดการต่อสู้กันในลักษณะของสงครามกลางเมือง (ผู้เขียน)

เช่นนี้แล้วการต่อสู้ที่เกิดขึ้นนี้ เป้าหมายสูงสุดของแต่ละฝ่ายก็คือ “ฝ่ายเผด็จการต้องทำทุกวิถีทางเพื่อรักษาอำนาจเดิมเอาไว้ให้ได้”... “ส่วนฝ่ายประชาธิปไตยก็ต้องทำทุกวิถีทางในการแย่งเอาอำนาจนั้นมาเป็นของประชาชนให้ได้เช่นกัน” ... นี่คือความเป็นจริงที่เกิดขึ้น..และไม่มีใครปฏิเสธได้.. (ผมได้กล่าวไปแล้วตั้งแต่ต้นว่า ผมเขียนบทความนี้เพื่อสื่อถึงพี่น้องที่เป็นมวลชนผู้รักประชาธิปไตยทุกท่าน มิได้เฉพาะเจาะจงไปถึงแกนนำ หรือใครคนใดคนหนึ่งโดยเฉพาะ)..

ดังนั้นกลยุทธการต่อสู้มากมายจึงถึงถูกนำมาใช้เพื่อรักษาอำนาจ..หรือ แย่งชิงอำนาจในสงครามครั้งนี้อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน.. “จริงคือเท็จ..เท็จคือจริง.. เขียนเสือให้วัวกลัว... ยืมดาบฆ่าคน.. ขุดบ่อล่อปลา” ฯลฯ มากมายหลากหลายวิธี ซึ่งล้วนแล้วแต่ที่ต่างฝ่ายต่างก็นำมาใช้เพื่อให้ได้ชัยชนะในการต่อสู้ในครั้งนี้... เพื่อ “อำนาจ” เพียงประการเดียวเท่านั้น


เมื่อพี่น้องทุกท่านเข้าใจในความเป็นจริงเรื่อง “สงครามการต่อสู้ระหว่างอำนาจเผด็จการกับอำนาจประชาชนในภาพรวมแล้ว..ท่านก็จะสามารถเข้าใจเรื่องที่จะนำเสนอต่อไปนี้ได้”

แต่ขอความกรุณาครับถ้าท่านยังไม่เข้าใจถึงสิ่งที่ผมพยายามสื่อไปถึงท่าน โปรดอ่านทบทวนในประเด็นเรื่อง “สงครามการต่อสู้นี้” และใคร่ครวญให้รอบคอบก่อน จึงค่อยอ่านในบทความช่วงต่อไป...

ปูนนก

Re:

กระแสการต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตยในระยะที่ผ่านมานี้.. มีความหลากหลายทางความคิดและแนวทางค่อนข้างมาก.. แม้ว่าทุกๆ แนวคิดหรือทุกๆ แนวทางล้วนแล้วแต่จะอ้างตนเองว่า ต้องการเป้าหมายเดียวกันคือ “ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์เหมือนกัน” .. แต่ถ้าพิจารณาจากวิธีดำเนินการที่ปรากฏจริงตรงหน้าแล้ว.. จะเห็นได้ว่ามีทั้งความเหมือนและความต่างกันโดยสิ้นเชิง.. (ผมจะไม่ขอลงในรายละเอียด แต่ขอให้แต่ละท่านพิจารณาสิ่งที่ปรากฏจริงด้วยตัวของท่านเอง)..

ถ้าเปรียบอำนาจเผด็จการเสมือนอาณาจักรอันยิ่งใหญ่ที่มีบ้านเรือนผู้คนปลูกพำนักอยู่มากมายโดยมี จุดศูนย์รวมอยู่ที่บ้านหลังใหญ่ที่สุดกลางอาณาจักรนั้น.. และการเรียกประชาธิปไตยโดยประชาชนเหมือนไฟ ที่กำลังลุกไหม้และเริ่มรายล้อมอาณาจักรนั้นเข้ามาจากขอบนอกเข้ามาเรื่อยๆ หนทางที่จะปกป้องอาณาจักรอันยิ่งใหญ่นี้เอาไว้ให้ได้ก็คือ “ทำลาย (ดับ) กองไฟนั้นเสีย..อาจจะโดยเอาน้ำสาด (ล้อมปราบ, การจับกุมคุมขัง).. หรือการแยกกองไฟให้เป็นกองเล็กๆ เพื่อจะทำการดับได้ง่าย (การยุแหย่ให้เกิดการแตกความสามัคคีแล้วทำลายภายหลัง)” ..

ยุทธศาสตร์การแยกเปลวไฟออกเป็นกองย่อยๆ (การแยกมวลชนเสื้อแดงออกจากกัน) มีการกระทำมาโดยตลอดจากฝ่ายเผด็จการ ตั้งแต่ในยุคเริ่มแรกของ คมช. ที่ ดร. เชียรช่วง กัลยาณมิตร ได้นำทัพเข้าสู่ในสงครามไซเบอร์ที่เรียกว่า 2.4 มาแล้ว

ดังนั้นการเข้ามาเสี้ยมให้มวลชนคนเสื้อแดงแตกความสามัคคีกัน จึงเป็นเป้าหมายในยุทธศาสตร์หนึ่งที่ฝ่ายอำนาจเผด็จการ ได้ใช้การต่อสู้ในสงครามครั้งนี้ด้วย.. และนี่คือความจริงแท้อย่างไม่ต้องสงสัย.. ด้วยเหตุนี้พี่น้องมวลชนคนเสื้อแดงจึงต้องระมัดระวังอย่างมากในการเชื่อถือข้อมูลข่าวสารใดๆ ในโลกอินเตอร์เน็ตแห่งนี้.. ต้องพิสูจน์ทราบอย่างดีและรอบคอบพอสมควร

แต่ในขณะเดียวกัน.. นอกจากยุทธศาสตร์การแยกกองไฟให้กลายเป็นกองเล็กๆ เพื่อง่ายต่อการกำจัดแล้ว สิ่งหนึ่งที่ต้องไม่ลืมพิจารณากันก็คือถ้ากองไฟมีมากเกินไปไม่สามารถแยกสลายได้หมด และไฟยิ่งลุกลามเข้ามาในอาณาจักรแห่งเผด็จการนี้มากขึ้นเรื่อยๆ ลุกลาม และกินพื้นที่ในอาณาจักรนี้ “ใกล้บ้านหลังใหญ่ที่สุดเข้ามาทุกที” สิ่งที่ฝ่ายเผด็จการจะทำก็คือ “รักษาอำนาจของบ้านหลังใหญ่เอาไว้ให้ได้ต่อไปแม้จะสูญเสียส่วนอื่นของอาณาจักรไปก็ตาม” ... พูดง่ายๆ ก็คือ “สร้างแนวกันไฟล้อมรอบบ้านหลังใหญ่เอาไว้นั่นเอง” เพื่อที่ว่าเมื่อถึงคราวจำเป็น แม้ว่าไฟจะลุกลามไหม้บ้านทุกหลังในอาณาจักรนี้ไปจนหมดสิ้น ก็จะขอให้เหลือ “บ้านหลังใหญ่ที่สุดที่เจ้าของอำนาจเผด็จการครอบครองอยู่ในอาณาจักรแห่งนี้เอาไว้ก่อนนั่นเอง”

ปูนนก

Re:

สิ่งที่ผมกำลังพยายามสื่อถึงพี่น้องมวลชนคนเสื้อแดงผู้รักประชาธิปไตยทุกๆ ท่านในที่นี้ก็คือ. บ่อยครั้งที่มีพี่น้องผู้รักประชาธิปไตยได้นำเสนอแนวทาง และยุทธศาสตร์ในการต่อสู้เพื่อจะได้นำไปสู่เป้าหมายแห่งการได้มาซึ่งอำนาจประชาธิปไตยที่แท้จริงคือ.. เพื่อทำลายทุกส่วนของอาณาจักรเผด็จการนี้ลงไปก่อน.. แล้วค่อยปลูกบ้านหลังใหญ่กลางอาณาจักรขึ้นมาใหม่อีกครั้งในรูปแบบของประชาธิปไตย.. แต่เผอิญแนวทางดังกล่าวไม่ตรง หรืออาจจะขัดแย้งกับแนวทางที่พี่น้องบางกลุ่ม หรือบางส่วนเชื่อ... ก็จะถูกกล่าวหาว่า คนเหล่านั้นกำลังทำตัวให้เข้าสู่ยุทธศาสตร์ของอำนาจเผด็จการคือ “ทำลายความสามัคคีของมวลชนคนเสื้อแดง” และก็ถูกกระหน่ำโจมตี จนถึงขั้นถูกกล่าวหาว่า “เป็นฝ่ายเผด็จการที่แฝงตัวเข้ามาบ่อนทำลายฝ่ายประชาธิปไตย”

โดยลืมมองไปว่าแนวทางที่พี่น้องจำนวนมากกำลังเดินไปนั้น คือแนวทางที่เป็นยุทธศาสตร์ที่ฝ่ายเผด็จการวางเอาไว้เช่นกันคือ “สร้างแนวกันไฟ” มิให้เข้าถึงบ้านหลังใหญ่ที่สุดในอาณาจักรเผด็จการได้.. เพราะถึงแม้ในที่สุดเมื่อไฟได้ลุกลามเข้าไปเผาไหม้อาณาจักรแห่งเผด็จการได้ทั้งหมดแล้ว.. แต่ทว่า “บ้านหลังใหญ่ที่อำนาจเผด็จการครอบครองอยู่ก็มิได้กลายเป็นของประชาชนกลับยังคงอำนาจเผด็จการดังเดิมเอาไว้อยู่เช่นกัน”

ดังที่ผมเคยบอกไปแล้วแต่ต้นว่า.. เป้าหมายสูงสุดของสงครามครั้งนี้.. สำหรับฝ่ายเผด็จการก็คือ “ทำทุกวิถีทางที่จะรักษาอำนาจเผด็จการเอาไว้ให้ได้” ส่วนฝ่ายประชาธิปไตยก็คือ “ทำทุกวิถีทางเช่นกันที่จะเอาอำนาจนั้นมาสู่ประชาชนให้ได้เช่นกัน” เมื่อท่านเข้าใจเป้าหมายหลักแล้ว ท่านก็จะเข้าใจยุทธศาสตร์อื่นๆ ในแต่ละกรณีที่ถูกกำหนดขึ้นมาในการต่อสู้ครั้งนี้ของแต่ละฝ่ายด้วย

เหตุดังกล่าวทั้งหมดนี้...พี่น้องผู้รักประชาธิปไตยทุกๆ ท่าน... ที่มีสติสัมปชัญญะและการพิจารณาอย่างรอบคอบด้วยตัวของท่านเอง.. ขอให้ทุกๆ ท่านได้ใคร่ครวญ ด้วยใจเป็นธรรมว่า สิ่งที่ท่านกำลังเดินทางไป หรือร่วมเดินไปนั้นเป็น “การทำลายอำนาจเผด็จการเพื่อได้ชัยชนะ” ในสงครามครั้งนี้ หรือเป็น “การสร้างแนวกันไฟให้กับอำนาจเผด็จการ” เพราะถึงอย่างไร อำนาจเผด็จการก็ไม่มีวันยอมแพ้ในสงครามครั้งนี้อย่างแน่นอน..

การกล่าวหาว่าพี่น้องที่คิดไม่สอดคล้องกับความต้องการของบางคน, บางกลุ่ม เป็นผู้ที่แฝงตัวเข้ามาเพื่อ เสี้ยม ทำลายความสามัคคีของคนเสื้อแดง... ถ้าพิจารณาให้ดีๆ อย่างรอบคอบและลึกซึ้ง ก็เป็นไปได้เช่นกันว่า การกล่าวหาเช่นนั้นก็เพียงเพื่อ “สร้างแนวกันไฟ” เอาไว้ให้เผด็จการนั่นเอง...

ขอให้ทุกๆ ท่านได้โปรดระลึกว่า..ฝ่ายเผด็จการนั้นมียุทธศาสตร์ที่จะใช้คนเข้ามาเพื่อแยกสลายกำลังของมวลชนคนเสื้อแดงนั้นเป็นความจริง... แต่ขณะเดียวกันพวกเขาก็มียุทธศาสตร์ที่จะใช้คนของเขาเข้ามาเพื่อทำเนียนและชักจูงโน้มน้าวมวลชนให้เดินไปไม่ถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้... และสร้างแนวกันไฟให้อำนาจเผด็จการเช่นเดียวกัน... ดังนั้นพี่น้องมวลชนต้องใช้สติและพิจารณาให้รอบคอบในการจะเลือกเชื่อ หรือเดินตามสิ่งใดต่อไป...

ปูนนก

ความเหลื่อมล้ำและไม่เป็นธรรม ยถากรรม5จังหวัดชายแดนภาคใต้

ที่มา ประชาไท

เวทีมนุษย์-สังคมเสวนา ครั้งที่ 1 เรื่อง “ปฏิรูปสังคม ขจัดความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรมในสังคมไทย” เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2554 ณ อาคารรัตนเลิศ(บ้านทรงจีน) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

ปัญหาความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ดูเหมือนจะไม่ใช่ปัญหาความไม่สงบในปัตตานี,ยะลาและนราธิวาส เพียงเท่านั้น ทว่ามีพื้นที่อีก 2 จังหวัดที่มีปัญหาคุกรุ่นอยู่เช่นกันจากแผนพัฒนาภาคใต้ (Southern Seaboard) ของภาครัฐ คือพื้นที่จังหวัดสตูลและสงขลา อาทิ โครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา, ท่าเรือน้ำลึกสงขลา 2 ที่จะนะ, สะพานเศรษฐกิจ(แลนด์บริดจ์) สงขลา-สตูลฯลฯ
เมื่อเวลา 13.30 น. ของวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2554 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ จัดเวทีมนุษย์-สังคมเสวนา ครั้งที่ 1 เรื่อง “ปฏิรูปสังคม ขจัดความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรมในสังคมไทย” เพื่อเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเผยแพร่แนวคิดเกี่ยวกับการปฏิรูปสังคม ตามโครงการจัดตั้งศูนย์อิสลามศึกษาเพื่อการบูรณาการ ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนใต้ ณ อาคารรัตนเลิศ(บ้านทรงจีน) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

รศ.ดร.ไพบูรณ์ ดวงจันทร์ คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ กล่าวเปิดงาน ความว่า สังคมไทยในรอบ4-5 ปีที่ผ่านมา เกิดการการใช้กำลังและอาวุธเข้าหั่นจนถึงขั้นจลาจล จากการสรุปบทเรียนได้ว่ามาจากความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรมในสังคมไทยสูง
นำเสวนาโดย ม.ร.ว.อคิน รพีพัฒน์ ประธานอนุกรรมการปฏิรูปที่ดิน ทรัพยากรและน้ำ ในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทย และ รศ.ดร.รัตติยา สาและ อาจารย์สาขาวิชาตะวันออกหลักสูตรมาลายู คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ พิธีกรดำเนินเสวนาโดย ผศ.ดร.ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์ อาจารย์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ มีคณาจารย์ บุคลากร นิสิตและผู้สนใจ ประมาณ 50 คน
ผศ.ดร.ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์ อาจารย์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ กล่าวในเวทีเสวนาว่า ปัจจุบันนี้ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีปัญหาความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรม แยกออกเป็น 2 พื้นที่จังหวัดคือ ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ ปัตตานี,ยะลาและนราธิวาส ส่วนพื้นที่จังหวัดสตูลและสงขลา มีปัญหาเกี่ยวกับแผนพัฒนาภาคใต้ (Southern Seaboard) ของภาครัฐ อาทิ โครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา,ท่าเรือน้ำลึกสวนกง และสะพานเศรษฐกิจ(แลนด์บริดจ์สงขลา-สตูล)ฯลฯ ที่จะต้องมาเสวนาแลกเปลี่ยน
รศ.ดร.รัตติยา สาและ อาจารย์สาขาวิชาตะวันออกหลักสูตรมาลายู คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ อดีตคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ (กอส.) เปิดเผยว่า ที่ดินใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ถ้าไปดูที่สำนักงานที่ดินในพื้นที่มีการซื้อขายเปลี่ยนมือจากชาวบ้านในพื้นที่ไปยังคนนอกพื้นที่เป็นส่วนใหญ่ แม้แต่ที่ดินแถวอำเภอสุไหงปาดี อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส ซึ่งเป็นพื้นที่สีแดง มีคนนอกพื้นที่ฐานะร่ำรวยเป็นเจ้าของ
รศ.ดร.รัตติยา กล่าวว่า คำถามว่าวันนี้พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้น่ากลัวจริงหรือ ซื้อที่ดินไปทำไมทั้งที่เป็นที่ดินตาบอด ชาวบ้านบางคนถูกบีบบังคับให้ขายที่ดิน เพื่อโก่งราคาเมื่อรู้ว่าบริเวณไหนที่มีถนนตัดผ่าน โดยกว้านซื้อจากชาวบ้านในราคาถูก ใครไม่ยอมขายจะถูกข่มขู่ไล่ล่า ปัญหาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจากที่ดินทำกินเช่นกัน
ม.ร.ว.อคิน เปิดเผยว่า ปัจจุบันพลเมืองไทยถึง 90% ถือครองที่ดินแค่ 10% ของพื้นที่ประเทศไทยทั้งหมด ส่วนกลุ่มคนแค่ 10% ถือครองที่ดินถึง 90% ของพื้นที่ประเทศไทย ซึ่งที่ดินทำกินเป็นปัญหารากเหง้าของสังคมไทย ในการเข้าถึงทรัพยากรไม่เท่าเทียมกัน มาจากระบบศักดินา สู่ระบบธุรกิจนักการเมืองในปัจจุบัน ที่มักจะร่วมมือกับนายทุนต่างชาติกว้านซื้อที่ดินของชาวบ้าน ทำสัญญาเอาเปรียบชาวไร่ชาวนา นำมาสู่การสูญเสียที่ดินทำกิน
“เพื่อขจัดปัญหาเรื่องที่ดินทำกิน คณะกรรมการปฏิรูปได้ทำข้อเสนอการถือครองที่ดินได้เพียงคนละ 50 ไร่ ให้รัฐกว้านซื้อที่ดินจากคนที่มีที่ดินมากกว่า 50 ไร่ จัดตั้งเป็นธนาคารที่ดิน เพื่อขายแบ่งปันให้กับคนที่ไร้ที่ดินทำกิน อาจใช้เป็นวิธีการผ่อนชำระเป็นเดือนๆ” ม.ร.ว.อคิน กล่าว
ผศ.ดร.ณฐพงศ์ ถาม ม.ร.ว.อคิน ว่า ปัญหาแผนพัฒนาภาคใต้ (Southern Seaboard) ของภาครัฐ กับสถานการณ์ความขัดแย้ง กรณีท่าเรือน้ำลึกปากบารา จังหวัดสตูล ที่ล่าสุดมีอาจารย์จากมหาวิทยาลัยไปรับงานประชาสัมพันธ์กับกรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม เป็นความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรมหรือไม่ ควรวางบทบาทของอาจารย์ นักวิชาการของมหาวิทยาลัยอย่างไร
ม.ร.ว.อคิน เปิดเผยว่า ตอนที่ตนเป็นอาจารย์อยู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีเพื่อนอาจารย์คนหนี่งรับงานจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) ทาบทามตนให้ร่วมคณะทำรายงานศึกษาประเมินความเป็นไปได้ในการสร้างเขื่อนแห่งหนึ่ง แต่ตนได้ตอบปฏิเสธ
ม.ร.ว.อคิน กล่าวว่า เมื่อก่อนมีอำนาจนักการเมืองกับนายทุน ปัจจุบันมีอำนาจนักวิชาการเข้ามาร่วมด้วยช่วยกันผลาญทรัพยากรของชาติ รังแกชาวบ้าน มีการทำมวลชนให้ขัดแย้งกันเองในชุมชน นักวิชการมารับงานแบบนี้กันเยอะมาก ความจริงนักวิชาการควรมีจริยธรรมและเป็นกลาง
“นักวิชาการส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัย ไปตั้งบริษัทรับทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (EIA) รับทำงานประชาสัมพันธ์โครงการของรัฐ โดยมีกรมหรือหน่วยงานภาครัฐมาจ้างโดยมีเงื่อนไขว่าต้องอิงข้อมูลเข้าข้างกรมหรือหน่วยงานภาครัฐ” ม.ร.ว.อคิน กล่าว
รศ.ดร.รัตติยา เปิดเผยว่า เคยมีเพื่อนซึ่งเป็นผู้สื่อข่าวชาวมาเลเซียถามตนว่ารู้หรือไม่ว่าตอนนี้ตนกำลังอยู่บนแผ่นดินไทย ขณะที่ตนอยู่ริมชายหาดประเทศสิงคโปร์ เพื่อนบอกกับตนว่าดินที่ถมทะเลเหล่านี้นำมาจากจังหวัดสตูล ขุดหน้าดินแปรรูปเป็นอิฐบล็อกลำเลียงผ่านด่านสะเดา จังหวัดสงขลา ส่วนทรายขนถ่ายทางเรือในตอนดึกๆลำเลียงไปขายยังประเทศมาเลเซีย เพื่อถมทะเล
“เพื่อนอธิบายว่าสิงคโปร์มีสูตรวิทยาศาสตร์ในการสร้างอิฐบล็อกที่มีคุณสมบัติคงทนต่อการถมขยายพื้นที่ในทะเล มีนักวิชาการที่มีความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย เห็นช่องทางตรงนี้ทำธุรกิจวิชาการ” รศ.ดร.รัตติยา กล่าว
ผศ.ดร.ณฐพงศ์ ถามในเวทีเสวนาว่า ระบบหลักสูตรการศึกษา ตลอดถึงอาจารย์ นักวิชาการและมหาวิทยาลัยควรมีการปฏิรูปด้วยหรือไม่ อย่างไร
ม.ร.ว.อคิน กล่าวว่า ควรมีการปฏิรูปมหาวิทยาลัยเป็นอย่างมาก เพราะปัจจุบันมหาวิทยาลัยผลิตบัณฑิตเป็นจำนวนมากออกมาโดยง่ายๆ ทำให้คุณค่าของใบปริญญาหมดไป ความจริงควรเน้นการพัฒนาด้านอาชีวะศึกษามากกว่า เพราะในตลาดแรงงานต้องการช่างฝีมือในแขนงต่างๆ เป็นอย่างมาก แต่นักศึกษาเรียนเพื่ออยากได้ปริญญา ไม่ใช่เรียนเพื่ออยากได้ความรู้ บัณฑิตเลยไม่มีคุณภาพ ตกงาน
ผศ.ดร.ณฐพงศ์ ถามในเวทีเสวนาว่า ประชาชนสามารถฝากความหวังไว้กับคณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทยเพื่อแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างกับภาครัฐให้เป็นรูปธรรมได้หรือไม่
ม.ร.ว.อคิน กล่าวว่า การแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างนั้นคณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทยสามารถทำข้อเสนอต่อภาครัฐได้ แต่ต้องอาศัยพลังการขับเคลื่อนของเครือข่ายภาคประชาชนด้วย รวมถึงผู้สื่อข่าวที่นำความเดือดร้อนของชาวบ้านนำเสนอให้เป็นกระแส กระทุ้งหน่วยงานภาครัฐ ทั้งนี้ทั้งนั้นแรงขับเคลื่อนทึ่ดีที่สุดคือพลังจากประชาชนในการเรียกร้องความยุติธรรมให้แก่ตัวเอง ซึ่งจะเดินไปทิศทางใดทิศทางหนึ่งไม่ได้ ดังเช่น แนวคิดปฏิรูปประเทศไทยเมื่อปี 2540 ซึ่งทำจากข้างบนลงมาข้างล่าง คือแนวทางการปฏิรูปกำหนดมาจากภาครัฐ แต่ครั้งนี้จากข้างล่างขึ้นสู่ข้างบน เป็นข้อเสนอจากภาคประชาชนสู่ภาครัฐ
ม.ร.ว.อคิน กล่าวอีกว่า จากการเรียกร้องต่อสู้ของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและแนวร่วมต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) นำไปสู่เหตุการณ์จลาจล การที่รัฐบาลอ่อนแอ ถือเป็นโอกาสดีของเครือข่ายภาคประชาชนขึ้นมาเรียกร้องอำนาจของประชาชนจากภาครัฐ
ม.ร.ว.อคิน กล่าวด้วยว่า ยกตัวอย่างกลุ่มชาวไทยพลัดถิ่นเดินธรรมยาตราจากจังหวัดในประจวบคีรีขันท์ถึงรัฐสภาที่กรุงเทพฯ จนนายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รับเรื่องที่จะผลักดันร่างพระราชบัญญัติสัญชาติเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาเร็วๆ นี้
“ มีแนวทางการตั้งสภาประชาชน จากตัวแทนเครือข่ายภาคประชาชนหลายๆ เครือข่ายทั่วประเทศไทย เป็นสภาคู่ขนานกับสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภาและรัฐสภา เพื่อนำเสนอข้อเรียกร้องต่างๆ ของประชาชนต่อรัฐบาล เพื่อคาน ถ่วงดุลอำนาจระหว่างกัน นอกจากนี้แล้วควรลดอำนาจรัฐส่วนกลาง และเพิ่มอำนาจให้กับท้องถิ่นและชาวบ้านมากขึ้น การที่รัฐจะดำเนินการอะไรต้องได้รับการอนุมัติจากท้องถิ่นเท่านั้น” ม.ร.ว.อคิน กล่าว

อนุสรณ์ อุณโณ:เป็นไพร่ต้องรู้จักพอเพียง

ที่มา ประชาไท

เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาคณะกรรมการปฏิรูปประเทศได้จัดแถลงข่าว เรื่อง “ข้อเสนอการปฏิรูปการจัดการที่ดินเพื่อการเกษตร” จำนวน 5 ข้อ โดยนอกจากการกำหนดเขตการใช้ที่ดินเพื่อการเกษตร การจัดเก็บภาษีที่ดินเกษตรกรรมในอัตราก้าวหน้า การจัดทำฐานข้อมูลเกี่ยวกับที่ดิน รวมถึงการจัดตั้งกองทุนธนาคารที่ดินเพื่อการเกษตร ข้อเสนอสำคัญอีกข้อคือการจำกัดการถือครองที่ดินเพื่อการเกษตรไม่เกินครัว เรือนละ 50 ไร่ ทั้งนี้เพื่อลดการกระจุกตัวของการถือครองที่ดินและเพื่อกระจายที่ดินให้แก่ เกษตรกรที่ขาดแคลนที่ดินทำกินเป็นสำคัญ

แม้จะฟังดูดี แต่ข้อเสนอดังกล่าวชวนให้เข้าใจปัญหาด้านการเกษตร ชนบท และที่ดินในประเทศไทยไขว้เขว เพราะแม้การขาดแคลนที่ดินจะเป็นหนึ่งในปัญหาการเกษตร แต่ก็ไม่ใช่ปัญหาที่เกษตรกรโดยเฉลี่ยเห็นว่ารุนแรงหรือว่าเร่งด่วนที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเปรียบเทียบกับปัญหาต้นทุนการผลิตจำพวกปุ๋ย ยาฆ่าแมลง ค่าจ้าง อัตราดอกเบี้ย ฯลฯ ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งปัญหาด้านราคาและตลาดที่ผันผวนและมักสวนทางกับต้นทุนการผลิต ในระยะเฉพาะหน้าเกษตรกรโดยเฉลี่ยเหล่านี้ต้องการความช่วยเหลือในสองกรณีหลัง มากกว่า แต่รัฐบาลก็ดูเหมือนจะไม่มีมาตรการรองรับมากนัก ขณะเดียวกันเกษตรกรกลุ่มที่ประสบปัญหาด้านที่ดินทำกิน (รวมทั้งที่อยู่อาศัย) รุนแรงมักเป็นกลุ่มที่มีข้อพิพาทกับหน่วยงานรัฐโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือกรม ป่าไม้และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งแม้เกษตรกรและผู้ที่เกี่ยวข้องจะเคลื่อนไหวเรียกร้องในปัญหานี้มาอย่าง ต่อเนื่องยาวนานรวมทั้งมีแนวทางแก้ไขอย่างเป็นระบบ แต่คณะกรรมการปฏิรูปไม่ได้กล่าวถึงปัญหาสิทธิในที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัย ของเกษตรกรรวมทั้งชาวประมงเหล่านี้ในข้อเสนอ 5 ข้อ แต่กลับแยกไปกล่าวต่างหากและกล่าวเฉพาะในส่วนของการดำเนินคดีเท่านั้น ไม่มีในส่วนของแนวทางการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบแต่อย่างใด (แม้หลายคนในคณะกรรมการปฏิรูปจะมีข้อมูลเหล่านี้อยู่ในมือก็ตาม)

นอกจากนี้ ข้อเสนอทั้ง 5 ข้อไม่ได้แยกแยะระหว่างความเป็นเจ้าของกับความสามารถในการเข้าถึงที่ดินของ เกษตรกรดังที่งานศึกษาสังคมชนบทจำนวนหนึ่งชี้ไว้ กล่าวคือ เกษตรกรจำนวนมากมีช่องทางในการเข้าถึงการใช้ที่ดินการเกษตรโดยไม่จำเป็นต้อง เป็นเจ้าของ เช่น การใช้ที่ดินของบิดามารดา ญาติพี่น้อง หรือเพื่อนสนิท ซึ่งไม่จำเป็นต้องเสียค่าเช่าหรืออาจมีการแบ่งปันผลประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ ระหว่างเจ้าของกับเกษตรกรผู้ใช้ประโยชน์ การไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดินจึงไม่เป็นปัญหาใหญ่สำหรับเกษตรกรกลุ่มนี้ ขณะเดียวกันงานศึกษาเหล่านี้ก็ชี้การเช่าที่ดินอาจไม่ได้เป็นสิ่งเลว ร้ายอย่างที่คณะกรรมการปฏิรูปวาดภาพ (นายอานันท์กล่าวว่าข้อเสนอทั้ง 5 ข้อต้องการแก้ปัญหาความไม่เป็นธรรมในการจัดสรรที่ดิน เพราะที่ดินซึ่งเป็นปัจจัยการผลิตได้กลายเป็นสินค้าในตลาดที่มีการเก็งกำไร และกระจุกตัวอยู่กับคนกลุ่มเล็กๆ ที่ไม่ได้เป็นเกษตรกร) เพราะการที่ที่ดินกลายเป็นสินค้าในระบบตลาดในแง่หนึ่งส่งผลให้เกิดการแข่ง ขันกันในด้านค่าเช่าระหว่างเจ้าของที่ดิน ยิ่งมีที่ดินการเกษตรถูกปล่อยทิ้งมากค่าเช่าก็จะลดลงตามลำดับ สิ่งที่เกษตรกรในพื้นที่ศึกษาเห็นว่าเป็นปัญหาหลักในการทำเกษตรจึงไม่ใช่ค่า เช่า หากแต่เป็นราคาผลผลิตรวมถึงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้มากกว่า ปัญหาที่ดินกลายเป็นสินค้าและการเช่าที่ดินการเกษตรจึงมีความสลับซับซ้อน เกินกว่าจะเข้าใจด้วยตรรกะขาวดำของคณะกรรมการปฏิรูป

ขณะเดียวกันสังคมชนบทร่วมสมัยไม่ได้มีลักษณะเป็นสังคมเกษตรกรรมดั้งเดิมดัง ที่คณะกรรมการปฏิรูปชวนให้เชื่อ งานศึกษาจำนวนหนึ่งพบว่าปัจจุบันมีครัวเรือนเกษตรกรเพียงร้อยละ 20 ที่มีรายได้จากภาคเกษตรเพียงอย่างเดียว อีกทั้งยังไม่ได้เป็นรายได้จากการเกษตรแบบดั้งเดิมอีกต่อไป ขณะที่รายได้ในเขตชนบทส่วนใหญ่มาจากนอกภาคเกษตร เนื่องจากสมาชิกครัวเรือนต่างปรับตัวออกนอกภาคเกษตรแม้จะยังอาศัยในหมู่บ้าน (รวมถึงกรณีที่ทำงานและพำนักอยู่นอกหมู่บ้านแต่ส่งเงินมาจุนเจือครอบครัว) การแตกตัวในภาคการเกษตรและการออกนอกภาคเกษตรส่งผลให้ที่ดินไม่ได้เป็นปัจจัย หลักของการสร้างความมั่นคงและความมั่งคั่งของครัวเรือนในชนบท หากแต่เป็นโอกาสทางการศึกษาและช่องทางเศรษฐกิจนอกภาคเกษตรต่างหากที่จะช่วย ให้ครัวเรือนชนบทสามารถเข้าไปมีส่วนแบ่งปันประโยชน์จากการขยายตัวของระบบ เศรษฐกิจแบบทุนและตลาดได้ การที่คณะกรรมการปฏิรูปจับการกระจายที่ดินการเกษตรเป็นหัวใจในการแก้ปัญหา ชนบทจึงไม่สามารถช่วยเหลือครัวเรือนชนบทส่วนใหญ่ได้มากนัก

นอกจากนี้ ปัญหาการกระจุกตัวของที่ดินไม่ได้เกิดเฉพาะในเขตชนบท หากแต่เกิดในเขตเมืองอย่างสำคัญ เช่น ประมาณการว่าที่ดิน 1 ใน 3 ในเขตกรุงเทพฯ โดยเฉพาะในย่านเศรษฐกิจเป็นของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ (สำนักงานทรัพย์สินฯ มีที่ดินภายใต้การดูแลประมาณ 32,500 ไร่ ภายใต้สัญญาประมาณ 37,000 ฉบับ โดยสัญญาประมาณ 25,000 ฉบับเป็นที่ดินในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล) โดยในแต่ละปีสำนักงานทรัพย์สินฯ มีรายได้จำนวนมากจากการให้เอกชน หน่วยงานราชการ และองค์กรต่างๆ เช่าที่ดิน ไม่ต่างอะไรจาก “นายทุน” แสวงหากำไรจากการให้ชาวนาเช่าที่นา ปัญหาจึงอยู่ที่ว่าข้อเสนอของคณะกรรมการปฏิรูปจะครอบคลุมการถือครองที่ดิน ที่กระจุกตัวอยู่ที่สำนักงานทรัพย์สินฯ ได้หรือไม่ เพราะแม้คณะกรรมการปฏิรูปจะระบุว่า 1 ใน 3 ของผู้ที่อยู่ในข่ายที่จะต้องนำที่ดินมาจัดสรรใหม่คือส่วนราชการที่ถือครอง ที่ดินไว้โดยไม่ได้ใช้ประโยชน์ แต่การที่สำนักงานทรัพย์สินฯ (ซึ่งปัจจุบันได้เปลี่ยนสถานภาพจากส่วนราชการเป็นนิติบุคคล) ให้เอกชน หน่วยราชการ และองค์กรต่างๆ เช่าที่ดินอาจนับเป็นการ “ใช้ประโยชน์” ให้สำนักงานทรัพย์สินฯ หลุดรอดไปจากการปฏิรูปที่ดินฉบับคณะกรรมการปฏิรูปได้

ขณะเดียวกัน แม้รัฐบาลขานรับข้อเสนอการปฏิรูปที่ดินของคณะกรรมการปฏิรูป (ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลทางการเมืองหรือไม่ก็ตาม) แต่โอกาสที่จะผลักดันให้ข้อเสนอเป็นจริงในทางปฏิบัติเป็นไปได้ยาก กล่าวในส่วนของหน่วยงานราชการ นอกจากสำนักงานทรัพย์สินฯ (ซึ่งมีสถานะค่อนข้างกำกวม) มีหน่วยงานราชการอีกจำนวนมากที่ถือครองที่ดินขนาดใหญ่โดยไม่ได้ใช้ประโยชน์ ในด้านการผลิต หรือไม่ก็ให้ผู้นอื่นเช่าใช้ประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นกรมธนารักษ์ การรถไฟ หรือแม้กระทั่งกองทัพ ซึ่งการถือครองที่ดินของหน่วยราชการเหล่านี้มักมีกฎหมายรองรับและไม่จำเป็น ต้องเกี่ยวข้องกับกิจกรรมการผลิต จึงแทบจะเป็นไปไม่ได้ที่จะให้หน่วยงานราชการเหล่านี้ “คาย” ที่ดินออกมาเพื่อจัดสรรให้แก่เกษตรกรขาดแคลนที่ดิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งตราบเท่าที่ประชาชนไม่ได้เป็นผู้ที่หน่วยราชการไทยมีพันธะ กรณีหรือขึ้นต่อ ขณะที่ในส่วนของเอกชนและนักการเมือง (ซึ่งตกเป็นผู้ต้องหาคนสำคัญของคณะกรรมการปฏิรูป) รายที่ถือครองที่ดินจำนวนมาก ก็ถือเป็นสิทธิและเสรีภาพภายใต้ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมและตลาดเสรีรวมทั้ง ภายใต้ระบบการปกครองแบบประชาธิปไตย หากคณะกรรมการปฏิรูปและรัฐบาลจะตรากฎหมายรีดที่ดินจากบริษัทและบุคคลเหล่า นี้อย่างดุ้นๆ ก็เห็นจะต้องเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจและระบบการปกครองของประเทศเป็นอย่าง อื่นเสียด้วย การจะทำให้ระบบทุนมีความเป็นศีลธรรมต้องไม่ใช่ด้วยการใช้อำนาจดิบหยาบอย่างนี้

นอกจากนี้ การจำกัดการถือครองที่ดินการเกษตรไม่เกินครัวเรือนละ 50 ไร่เป็นการ “ตอน” ระบบเศรษฐกิจการเกษตรไม่ให้ขยายตัว หรือเป็นการ “แช่แข็ง” เกษตรกรไม่ให้เติบโตไปกว่า “เกษตรกรรายย่อย” เพราะนอกจากบางครัวเรือนจะประกอบด้วยสมาชิกจำนวนมากซึ่งส่งผลให้จำนวนที่ดิน ถือครองสูงตามไปด้วย เกษตรกรจำนวนไม่น้อยทำการเกษตรในที่ดินเกินกว่าเพดานดังกล่าว หรือบางรายอาจต้องการขยายกำลังการผลิตแต่ก็จะไม่สามารถทำได้หากข้อเสนอดัง กล่าวกลายเป็นกฎหมาย ประการสำคัญการที่คณะกรรมการปฏิรูปอ้างว่าเพดานดังกล่าวเคยกำหนดไว้ใน พ.ร.บ.ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 จึงไม่เห็นว่ามีอะไรจะต้องตื่นเต้นหรือตกใจ ก็ฟังคล้ายคณะกรรมการปฏิรูปกำลังบอกว่าการกลับไปเป็นไพร่ไม่มีอะไรเสียหาย เพราะในสมัยอยุธยากฎหมายก็เขียนไว้อย่างนั้น และที่สำคัญการเป็นไพร่นั้นต้องรู้จักคำว่าพอเพียง

บทความตีพิมพ์ในคอลัมน์ คิดอย่างคน หนังสือรายสัปดาห์ มหาประชาชน ประจำวันที่ 18-24 กุมภาพันธ์ 2554

กวีตีนแดง:บ้านเลขที่ ๑๑๒

ที่มา ประชาไท

ข้างรั้วบ้านเลขที่ ๑๑๒

ใครใคร่ตื่นไตร่ตรองความแตกต่าง

ช่องว่างความเป็นใหญ่-ความไร้ยาง

หัวใจใครบอบบางในขณะนี้

หรือท่านกักขังเสรีภาพ ?

เพียงให้เมืองรับทราบการกดขี่

ยิ่งสูงสุดยิ่งสับปลับยิ่งอัปรีย์

เมืองนี้ไม่มีดีแล้วปรารถนา

หรือท่านกักขังสิทธิมนุษยชน ?

เพียงเพื่อบำเรอเปรอปรนรักบอดบ้า

สั่งสมความกำหนัดเต็มอัตตา

ให้คลั่งลัทธิบูชาให้ชื่นชม

หรือท่านกักขังความเสมอภาคทางความคิด ?

ออกกฎหมายจับคนผิด ---ไม่คิดก้ม

แล้วเชื้อเชิญความมักง่ายอันโง่งม

ให้สมยอมเสพสมหลุมหล่มรัก

เพียงเท่านั้น---ไม่อาจปลดพันธนาการความรู้สึก

มหานครร้าวลึกในรอยหยัก

จริยธรรม คุณธรรม --- ยิ่งสำลัก

มหานครย่ำจมปลักกับกลียุค ..


............................................

ที่มา:บ้านเลขที่ ๑๑๒

พระวิหาร: เก้าคำถามคาใจไทยทั้งชาติ

ที่มา ประชาไท

1 ปราสาทพระวิหารอยู่ที่ใด?
ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ โดยคะแนนเสียง เก้า ต่อ สาม ลงความเห็นว่า “ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ในอาณาเขตภายใต้อำนาจอธิปไตยของกัมพูชา”

(คำพิพากษาศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ กรุงเฮก วันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 1962, สำนวนแปล สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี 30 มิถุนายน 2505 หน้า51)

2 พื้นที่โดยรอบตัวปราสาทอยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของใคร?
ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ โดยคะแนนเสียง เก้า ต่อ สาม พิพากษา ว่า “ประเทศไทยมีพันธะที่จะต้องถอนกำลังทหารหรือตำรวจ ผู้เฝ้ารักษาหรือผู้ดูแลซึ่งประเทศไทยส่งไปประจำที่ปราสาทพระวิหารหรือในบริเวณใกล้เคียงบนอาณาเขตของกัมพูชา”

(คำพิพากษาศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ กรุงเฮก วันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 1962 สำนวนแปล สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี 30 มิถุนายน 2505 หน้า 51)

3 เส้นเขตแดนบริเวณปราสาทพระวิหารเป็นไปตามสันปันน้ำหรือไม่?
การระบุเส้นสันปันน้ำไว้ในข้อ 1 ของสนธิสัญญาฉบับ ค.ศ. 1904 มิได้มีความหมายอะไรนอกไปจากว่าเป็นวิธีที่สะดวกและแจ่มแจ้งที่จะบรรยายเส้นเขตแดนอย่างให้เห็นได้ชัด ถึงแม้ว่าจะเป็นการกล่าวเพียงกว้างๆก็ตาม แต่ก็ไม่มีเหตุผลที่จะให้คิดว่าคู่กรณีได้ให้ความสำคัญเป็นพิเศษแก่เส้นสันปันน้ำโดยเจาะจง เมื่อเปรียบเทียบกับความสำคัญที่เหนือกว่าของการยึดถือเส้นเขตแดนในแผนที่ซึ่งได้ปักปันกันในเวลาต่อมาและเป็นที่ยอมรับแก่คู่กรณี ทั้งนี้เพื่อให้เรื่องได้เป็นที่ยุติกันไป ฉะนั้นอาศัยหลักการตีความสนธิสัญญา ศาลจึงจำเป็นต้องความเห็นให้ถือเส้นเขตแดนตามแผนที่ของบริเวณพิพาท

เมื่อได้ให้เหตุผลที่ศาลได้ใช้เป็นมูลฐานในการให้คำวินิจฉัยของตน แล้วก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องพิจารณาว่า ณ พระวิหาร เส้นเขตแดนตามแผนที่จะตรงกับเส้นสันปันน้ำที่แท้จริงในบริเวณใกล้เคียงนี้หรือไม่ หรือ ว่าได้เคยตรงกันในระหว่าง ค.ศ. 1904-1908 แล้วหรือไม่ หรือว่า ถ้าไม่ตรงกันแล้วเส้นสันปันน้ำจะเป็นอย่างไรในความเป็นจริง

(คำพิพากษาศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ กรุงเฮก วันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 1962 สำนวนแปล สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี 30 มิถุนายน 2505 หน้า 49-50)

4 ไทยไม่เคยยอมรับแผนที่ 1: 200000 จริงหรือ?
เอกสารราชการสถานทูตสยามในปารีส เลขที่ 89/525 ลงวันที่ 20 สิงหาคม ค.ศ. 1908 หม่อมเจ้าจรูญศักดิ์ กฤดากร อัครราชทูตสยามประจำกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ส่งถึงสมเด็จฯกรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการเสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ อ้างถึง คณะกรรมการผสม (Mixed Commission of Delimitation of frontiers) ได้ทำแผนที่ตามที่คณะกรรมการฝ่ายไทยได้ร้องขอเสร็จเรียบร้อยแล้ว ร้อยเอกทิกซิเอ (Tixier) ได้นำแผนที่ชุดนี้มาให้และได้ “ขอให้หม่อมฉันส่งมาให้พระองค์”

แผนที่สำหรับชายแดนด้านเหนือประกอบได้
1 แผนที่แม่คอบและเชียงลม 50 ชุด
2 แผนที่แม่น้ำด้านเหนือ 50 ชุด
3 แผนที่เมืองน่าน 50 ชุด
4 แผนที่ปากลาย 50 ชุด
5 แผนที่แม่น้ำเหือง 50 ชุด

และสำหรับด้านใต้
1 แผนที่ปาสัก 50 ชุด
2 แผนที่แม่โขง 50 ชุด
3 แผนที่ดงรัก 50 ชุด
4 แผนที่พนมกูเลน 50 ชุด
5 แผนที่ทะเลสาบ 50 ชุด
6 แผนที่เมืองตราด 50 ชุด

แผนที่ดังกล่าวนี้ “หม่อมฉันขอเก็บไว้อย่างละ 2 ชุดและส่งอีกอย่างละชุดไป ลอนดอน เบอร์ลิน รัสเซียและอเมริกา ที่เหลืออีก 44 ชุดได้บรรจุลงหีบห่อและส่งให้พระองค์”

ในเวลาต่อมาสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ได้ทรงขอบพระทัยอัครราชทูตฝรั่งเศส ณ กรุงเทพฯ สำหรับแผนที่เหล่านั้นและได้ทรงขอแผนที่ต่ออัครราชทูตเพิ่มเติมอีกอย่างละ 15 ชุดเพื่อทรงจัดส่งไปให้ผู้ว่าราชการจังหวัดต่างๆของสยาม

ข้อโต้แย้งของทนายความฝ่ายไทยว่า มีแต่เจ้าหน้าที่ชั้นผู้น้อยเท่านั้นที่ได้เห็นแผนที่จึงฟังไม่ขึ้น ด้วยว่า สมเด็จกรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ เสนาบดีกระทรวงต่างประเทศ สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย สมาชิกคณะกรรมการผสม และ ผู้ว่าราชการจังหวัดขุขันธ์ ซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะได้รับแผนที่นั้นด้วยเช่นกัน ล้วนแล้วแต่ไม่ใช่ข้าราชการชั้นผู้น้อย โดยเฉพาะสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ นั้น ทรงเชี่ยวชาญทางด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี และ ทรงสนพระทัยเรื่องเขตแดนเป็นอย่างมาก ศาลจึงเห็นว่า ข้ออ้างของทนายฝ่ายไทยฟังไม่ขึ้น

5 ไทยยังมีสิทธิทวงคืนปราสาทพระวิหารอยู่หรือไม่?
ธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 61 ระบุว่า
1. An application for revision of a judgment may be made only when it is based upon the discovery of some fact of such a nature as to be a decisive factor, which fact was, when the judgment was given, unknown to the Court and also to the party claiming revision, always provided that such ignorance was not due to negligence.

การยื่นคำขอให้กลับคำพิพากษาจะทำได้ต่อเมื่อปรากฏว่ามีหลักฐานใหม่ ซึ่งโดยสภาพจะเป็นปัจจัยสำคัญให้เปลี่ยนแปลงคำพิพากษาได้และโดยที่เวลาที่ทำคำพิพากษานั้นศาลและคู่กรณีไม่ได้รู้มาก่อน

2. The proceedings for revision shall be opened by a judgment of the Court expressly recording the existence of the new fact, recognizing that it has such a character as to lay the case open to revision, and declaring the application admissible on this ground.

กระบวนการในการกลับคำพิพากษานั้น กระทำโดยดุลยพินิจของศาล โดยการบันทึกการมีอยู่ของหลักฐานใหม่ คำนึงถึงลักษณะที่จะเป็นเหตุให้มีการเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาและการประกาศรับคำขอตามหลักการเช่นว่านั้น

3. The Court may require previous compliance with the terms of the judgment before it admits proceedings in revision.

ศาลอาจจะขอให้มีการปฏิบัติตามคำพิพากษาก่อนที่จะดำเนินการพิจารณาเปลี่ยนแปลงคำพิพากษา

4. The application for revision must be made at latest within six months of the discovery of the new fact.

การขอให้เปลี่ยนแปลงเพื่อกลับคำพิพากษาใหม่จะทำภายในระยะเวลา 6 เดือนนับแต่พบหลักฐานใหม่

5. No application for revision may be made after the lapse of ten years from the date of the judgment.

การขอให้ศาลเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาไม่อาจจะทำได้เมื่อเกินกำหนดระยะเวลา 10 ปีนับแต่มีคำพิพากษา

6 ไทยและกัมพูชายังจะทำอะไรได้อีกในคดีปราสาทพระวิหาร?

ธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา 60 ระบุว่า
“The judgment is final and without appeal. In the event of dispute as to the meaning or scope of judgment, the Court shall construe it upon the request of any party.”

คำพิพากษาของศาลถือเป็นที่สุด ไม่มีการอุทธรณ์ใดๆ ในการกรณีที่ข้อขัดแย้งเกี่ยวกับความหมายและขอบเขตของคำพิพากษา ศาลอาจะทำการวินิจฉัยตามคำขอของคู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

ปัญหาในข้อขัดแย้งบางประการที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน คู่กรณีชอบที่จะขอให้ศาลวินิจฉัยว่า อาณาเขตของกัมพูชา ซึ่งปราสาทพระวิหารตั้งอยู่นั้น มีขนาดกว้างและยาวเพียงใด คำขอเช่นว่านั้นย่อมไม่ถือว่าเป็นการขอให้เปลี่ยนแปลงคำพิพากษาใหม่ และชอบด้วยมาตรา 60 นี้

7 การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารทำให้ไทยเสียอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนจริงหรือ?

อนุสัญญายูเนสโก มาตรา 11 (3)
The inclusion of a property in the World Heritage List requires the consent of the State concerned. The inclusion of a property situated in a territory, sovereignty or jurisdiction over which is claimed by more than one State shall in no way prejudice the rights of the parties to the dispute.

การจัดเอาทรัพย์สินใดเข้าอยู่ในบัญชีของมรดกโลก จะต้องได้รับความยินยอมจากรัฐที่เกี่ยวข้อง การขึ้นทะเบียนทรัพย์สินใดที่ตั้งอยู่ในอาณาเขต ภายใต้อำนาจอธิปไตย หรือ ขอบเขตอำนาจ ที่มีการอ้างสิทธิมากกว่าหนึ่งรัฐ การขึ้นทะเบียนย่อมไม่ทำให้สิทธิเช่นว่านั้นเสียไปแต่อย่างใด

8 กัมพูชารวมพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตารางกิโลเมตรอยู่ในพื้นที่กันชนปราสาทพระวิหารจริงหรือ?
มติคณะกรรมการมรดกโลกที่ WHC-09/33.COM/7B.Add, p.90 ยืนยันว่าพื้นที่บริหารจัดการนั้นจะหมายรวมเฉพาะตัวทรัพย์สินที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเท่านั้นและพื้นที่กันชนมีเท่าที่ระบุไว้ในแผนผังที่ได้รับการปรับปรุงแล้ว (รายงานของรัฐภาคีได้ยืนยันว่าแผนบริหารจัดการสำหรับทรัพย์สินที่ขึ้นทะเบียนและพื้นที่กันชนตามที่ได้ระบุเอาไว้ในแผนผังที่ได้รับการปรุงแล้วตามที่ปรากฏในรายงานเดือนเมษายน ค.ศ. 2009)

แผนผังที่ได้รับการปรับปรุงแล้วปรากฏตามภาพ


ตามที่ปรากฏ ตัวทรัพย์สินคือ หมายเลข 1 ส่วนพื้นที่กันชนคือ หมายเลข 2 ส่วนพื้นที่สีเหลืองคือ พื้นทีซึ่งอ้างสิทธิทับซ้อนจะไม่รวมอยู่ในแผนบริหารจัดการ

9 การคัดค้านของรัฐบาลไทยทำให้กัมพูชาไม่สามารถบริหารจัดการปราสาทพระวิหารได้จริงหรือ?
ในรายงานแผนบริหารจัดการ ซึ่งทางการกัมพูชาได้จัดทำตามมติของคณะกรรมการมรดกโลกและส่งให้กับคณะกรรมการตอนต้นปี 2010 นั้น ระบุว่าได้กันพื้นที่ของส่วนทรัพย์สินที่ขึ้นทะเบียน (zone 1) เป็นพื้นที่ 11 เฮกตาร์ (68.75 ไร่) เท่านั้น ส่วนพื้นที่กันชนตามหมายเลข 2 นั้น 644.113 เฮกตาร์ (3819.45 ไร่) ทั้งนี้เป็นไปตามมติคณะกรรมการมรดกโลกที่ COM 32 8B.102 ดังนั้นพื้นที่สีเหลือง (เขตอ้างสิทธิทับซ้อน) จึงถูกกันออกไป

ทางการกัมพูชาได้ดำเนินการปรับปรุงปราสาทพระวิหารและพื้นที่โดยรอบตามแนวเขตกันชนนับแต่ปราสาทได้รับการประกาศเป็นมรดกโลก โดยงานส่วนใหญ่มุ่งไปที่การปกป้องคุ้มครอง ตัวสถาปัตยกรรม โบราณสถาน ภูมิทัศน์ ทรัพย์สินอันเป็นธรรมชาติและที่ศักดิ์สิทธิ์

คณะผู้เชี่ยวชาญจากยูเนสโกได้เดินทางเข้าไปสำรวจปราสาทพระวิหารนับแต่ได้ขึ้นทะเบียนและทำได้มีการประชุมเพื่อเสนอความเห็นประกอบแนวทางในการบริหารจัดการปราสาทตั้งแต่เดือนเมษายน 2009 และในระหว่างวันที่ 22-28 พฤศจิกายน 2009 ได้มีคณะผู้เชี่ยวชาญไปสำรวจพระวิหารอีกเพื่อติดตามความคืบหน้าในการดำเนินงาน

ในระหว่างนั้น ทางการกัมพูชาได้ปรับปรุง ซ่อมแซม หัวนาค ที่โคปุระ 5, 4, 3 ทำการปรับปรุงช่องทางบันใดหักทางทิศตะวันออก โดยสร้างเป็นบันใดไม้ขึ้นมา พร้อมทั้งปรับปรุงถนนเข้ามาทางด้านล่าง (เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับถนนที่ขึ้นมายังหน้าปราสาทด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ) ขณะเดียวกันก็มีการก่อสร้างพิพิธภัณฑ์ และ หมู่บ้านสำหรับส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ในพื้นทีใกล้เคียงเขาพระวิหารอีกด้วย ทั้งหมดปรากฏอยู่ในรายงานที่ได้ส่งมอบให้คณะกรรมการไปแล้วตั้งแต่เดือนมกราคม 2010 แผนการนี้ถูกทางการไทยขอให้ระงับการพิจารณาเอาไว้ก่อน คาดว่าจะมีการพิจารณาอีกครั้งในการประชุมประจำปีนี้ที่บาเรนห์ในเดือนมิถุนายน 2011

บันไดทางทิศตะวันออกที่ได้รับการปรับปรุงขึ้นใหม่

ถนนที่สร้างขึ้นเพื่อเชื่อมต่อกับถนนที่ขึ้นมายังหน้าปราสาทด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ

แม้กระนั้นก็ตาม ในเอกสารซึงการกัมพูชาเผยแพร่นั้นแสดงให้เห็นว่า การดำเนินการตามแผนไม่ได้สดุดหยุดลง มีภาพถ่ายซึ่งได้ถ่ายเมื่อกลางปี 2010 (หลังจากส่งแผนไปแล้ว 5 เดือนซึ่งบ่งชี้ว่าการดำเนินงานหลายอย่างเสร็จสิ้นลงแล้วด้วยซ้ำไป แต่อาจจะมีแผนงานอีกหลายรายการที่ปรากฏอยู่ในรายงานฉบับเต็มที่ยังไม่ผ่านการพิจารณา ซึ่งทางกัมพูชาไม่ได้แสดงเอาไว้ว่าได้มีการดำเนินการหรือไม่อย่างไร

คลิปสัมภาษณ์จรรยา ยิ้มประเสริฐ โดย RedAdHoc

ที่มา Thai E-News

ดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์

26 กุมภาพันธ์ 2554

ที่มา Time Up Thailand

ไทยอีนิวส์ขอนำเสนอมุมมองการเมืองจากฝั่งนักสิทธิแรงงานและสิทธิสตรี คุณจรรยา ยิ้มประเสริฐ เป็นอีกมุมมองหนึ่งที่น่าสนใจ ในฐานะที่เป็นนักกิจกรรมคนหนึ่งที่ทำงานอย่างต่อเนื่อง แม้ไม่หวืหวา แต่ยืนหยัดในจุดยืน และกล้าที่จะนำเสนอมุมมองและความคิดเห็นของตัวเองต่อการเมืองปัจจุบัน อย่างตรงไปตรงมา โดยไม่ต้องเช็คกระแส

จรรยา ยิ้มประเสริฐ

26 กุมภาพันธ์ 2554


ในกระแสเชี่ยวกรากแห่งการเมืองสีแดง-เหลือง ที่บอกว่ามีทางเลือกเพียงแค่ การต้องเลือกเพียง "ทักษิณ" หรือ "ไม่ทักษิณ" คนที่คิดต่าง แม้จะมีจำนวนไม่น้อยทีเดียว ที่เป็นพลังเงียบ ได้ถูกผลักดันออกไปก่อนในสภาวะการต่อสู้เพื่อแย่งชิงความชอบธรรมแห่งการ เป็นกลุ่มใหญ่ที่สุด เพราะมันไม่เอื้อต่อสถานการณ์ที่ถูกมองว่าจะนำไปสู่ชัยชนะ แต่ละขั้วการเมืองจึงพยายามเชิญชวนให้มวลชน "ต้องเลือกกลุ่มที่มีโอกาสชนะที่สุด" มากกว่าจะนำเสนอปัญหาที่แท้จริงของความวุ่นวายในการเมืองไทยปัจจุบัน มากกว่าการมุ่งสู่การแก้ปัญหาการเมืองไทยที่ไม่เคยเล่นตามกฎกติกา นอกจากข้อเขียนอันสวยหรูที่ไปก๊อบปี้มาสำนักโน้น สำนักนี้้ โดยที่ไม่เคยมีความมุ่งม่ันของการบังคับใช้และปฏิบัติตามมันอย่างแท้จริง นอกจากว่าถ้ามันจะเอื้อต่อฝ่ายที่กุมอำนาจการเมืองในขณะนั้น หรือในขณะนี้

ถึงแม้ว่าจะมีคนไทยจำนวนไม่น้อยที่ได้ติดตามการเมืองและมีความคิดเห็นที่ ไม่จำเป็นจะต้องโปรทักษิณ หรือโปรจ้าวท่านั้น แต่ตั้งคำถามกับการเมืองทั้งระบบ แต่พวกเขายังจำกัดตัวอยู่เป็นกลุ่มพลังเงียบที่อาจจะไม่เคยส่งเสียงหรือยัง ไม่ส่งเสียง หรืออาจะไม่ยอมส่งเสียงเลยในชีวิต

ในการพูดคุยในรายการวิทยุ " "ขุดคุ้ยคุยเนื้อข่าว" โดย ดีเจสาวจันทร์แรม และ ลุงมานพ" ของ วิทยุคนเสื้อแดง RedAdHoc เมื่อคืนวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2554 ที่ผ่านมา เราได้พูดคุยกันหลายเรื่องเกี่ยวกับประชาธิปไตยไทยตั้งแต่ 2475 จนมาถึงการใช้ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 สดๆ ร้อนๆ กับคุณสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ รวมทั้งมุมมองทางการเมืองไทย และการต่อสู้ของคนเสื้อแดง

โดยไม่ปรานีปรานอมตามกระแส ข้าพเจ้าได้พูดอย่างตรงไปตรงมาว่า ไม่เคยเลือกทักษิณและก็จะไม่เลือกทักษิณ แต่ก็ต้องขอบคุณทักษิณที่อย่างน้อยแสดงให้เห็นว่า "เสียงของผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งนั้นมีความหมาย" ซึ่งผู้จัดวิทยุบอกด้วยความกังวลนิดหน่อยหลังจากสัมภาษณ์จบแล้วว่า กลัวว่ารายการอาจจะถูกบอยคอตจากคนเสื้อแดงเพราะกระแส "คนหมู่บ้านเสื้อแดงนะใครบอกไม่รักทักษิณไม่ได้เลยจริง (เปรียบเทียบกับพวกรักเจ้าแหละ ใครว่าเจ้าไม่ได้) สุดๆเลยนะ"

แต่ข้าพเจ้าก็เสียดายที่จะไม่เผยแพร่เทปสัมภาษณ์ครั้งนี้ ด้วยความกลัวว่าคนเสื้อแดงจะรับไม่ได้ เพราะการพูดคุยร่วมสองชั่วโมง เราได้พูดคุยกันครอบคลุมหลายแง่มุม โดยเฉพาะเรื่องความสำคัญของการมีส่วนร่วมของผู้หญิงและครอบครัวในการต่อสู้ เพื่อประชาธิปไตยในปี 2553 ที่ทำให้การต่อสู้ครั้งนี้แตกต่างและมีความสำคัญต่ออนาคตประชาธิปไตยของไทย รวมทั้งเตือนความจำพวกเราถึง 100 ปี วันสตรีสากล 100 ปี รศ 130 (ข้าพเจ้าพูดผิดไปว่าเป็น 110 ปี) การพยายามเรียกร้องรัฐธรรมนูญครั้งแรกของไทยในนามกลุ่ม รศ 130 (2455) รำลึก 20 ปี รัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ 2534 และปัญหาการใช้ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ในปัจจุบัน พร้อมกับนำเสนอว่า นปช. ควรจะมีการแถลงการณ์เรื่องการจับกุมตัวของอาจารย์สุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์

ต้องขออภัยและขอแก้ไขการคลาดเคลื่อนมา​ ณ ​ที่นี้ด้วย เรื่องปี พ.ศ. เพราะร.ศ. 130 เกิดขึ้นเมื่อเดือนมกราคม 2455 เพราะฉะนั้นเราจะครบรอบ 100 ปี ในปีหน้า มันไปสับสนกับการเป็นปีครบรอบ 110 ปี (พ.ศ. 2444-2445) ของการลุกขึ้นสู้ของคนอีสาน เหนือและใต้ ที่ถูกเรียกว่าขบถผีบุญ ในสมัยรัชกาลที่ 5 และก็ต้องขออภัยในความคลาดเคลื่อนเรื่องปีก่อตั้งพรรคประชาธิปัตย์ว่าเป็นปี 2486 อีกแล้วเช่นกันค่ะ เกิดความสับสนของคนทำงานสองภาษา เวลาอ้างอิงเรื่องปีนี่ทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนอยู่บ่อยครั้ง ระหว่างปีไทยกับปีคริสต์​(1946) ซึ่งจริงๆ จากการก่อตั้งพรรคประชาธิปัตย์คือเดือนเมษายน 2489 (ก่อนเหตุการณ์สวรรคตของในหลวงอานันท์เพียงไม่กี่เดือน)

ในช่วงท้ายของการพูดคุย ข้าพเจ้าย้ำประเด็นว่าปัญหาของสังคมไทยคือการไม่ยอมรับใน "ความเท่ากัน" ของความเป็นมนุษย์ ดังนั้นการจะก้าวไปข้างหน้าสังคมไทยจำเป็นจะต้องพูดถึง การก้าวสู่การยอมรับในความเท่าเทียมกันระหว่างมนุษย์ และการปฏิรูปทุกสถาบันในสังคม ทั้งสถาบันพระมหากษัตริย์ สถาบันทหาร สถาบันพรรคการเมือง สถาบันข้าราชการ และรวมทั้งสถาบันประชาชน พร้อมทั้งบอกว่าเชื่อว่าเสื้อแดงจะชนะในที่สุด แต่ประเด็นสำคัญไม่ใช่ว่าใครจะเชื่อว่าคนเสื้อแดงจะชนะ แต่คนเสื้อแดงต้องเชื่อมั่นว่าตัวเองจะชนะและสร้างประชาธิปไตยที่แท้จริงได้

โดยได้นำเสนอต่อคนเสื้อแดงว่า ควรจะนำเสนอ "วาระประชาชน" ที่มีวิสัยทัศน์ที่มุ่งสู่การแก้ปัญหาการเมืองไทย การคอรัปชั่น และมุ่งหน้าสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน เป็นการนำเสนอมาตั้งแต่ระดับมวลชนขึ้นมาสู่ระดับชาติ

ฟังรายละเอียดการสัมภาษณ์ kudkuikuinuerkhaow2011feb24

คลิปสัมภาษณ์จรรยา ยิ้มประเสริฐ ที่ RedAdHoc

ดูเพิ่มเติม

จะปรองดองกัน ถามคนเสื้อแดงก่อนนะ!

ปรากฎการณ์ลูกอภิสิทธิชนกับการการทำให้ผู้เสียชีวิตบนท้องถนนถึง9ศพ กับการให้ค่ากับชีวิตคนไทย

จับตา"แดง"หลังปล่อย7แกนนำ

ที่มา ข่าวสด

คอลัมน์ รายงานพิเศษ




ภายหลัง 7 แกนนำนปช.ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว ประเด็นที่ตามมาคือบรรยากาศการเคลื่อนไหวเรียกร้องของคนเสื้อแดงจะเป็นอย่างไรต่อไป

โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประกาศนัดชุมนุมใหญ่ที่อนุสาวรีย์ประชา ธิปไตย ถ.ราชดำเนิน ในวันที่ 12 มี.ค. รำลึกครบรอบ 1 ปีวันระดมพลก่อนเกิดเหตุการณ์กระชับพื้นที่จนมีผู้เสียชีวิต 91 ศพเมื่อปี"53

เป็นที่จับตาว่า นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ หนึ่งในแกนนำนปช.ที่ได้รับอิสรภาพ และได้ชื่อว่าเป็นขวัญใจชาวเสื้อแดง ประกาศทวงถามความยุติธรรมให้เพื่อนสมาชิกที่เสียชีวิตและบาดเจ็บ

บรรยากาศการต่อสู้นับจากนี้จะร้อนแรงขึ้นหรือไม่ มีความเห็นจากนักวิชาการและผู้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด



พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์

อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ


หลังปล่อยตัว 7 แกนนำนปช. บรรยากาศคงกลับไปสู่สภาวะกดดันของการเมืองในหน้าร้อนเหมือนเมื่อ 2 ปีที่แล้ว รัฐบาลเองก็มีทั้งความมั่นใจและไม่มั่นใจ

ในห้วงเวลานี้เราพบการโยนหินถามทางที่รัฐบาลเป็นคนเปิดเกมการเลือกตั้งเอง เป็นประเด็นที่ถูกหยิบยกขึ้นมาเหมือนเมื่อก่อนที่จะมีการปราบคนเสื้อแดง

แต่ตอนนี้สิ่งที่น่าคิดคือ คนเสื้อแดงอาจต้องปรับกระบวนเสียใหม่เพื่อเตรียมพร้อมเข้าสู่การเลือกตั้ง หากไม่มีแรงกดดัน รัฐบาลคงจัดการเลือกตั้งปลายปีนี้ แต่ถ้ากดดันก็คงอีกไม่นาน แต่รัฐบาลก็จะได้เปรียบ เป็นระบบที่วนเวียนกันไป

การเคลื่อนไหวระยะสั้น เป็นคำถามว่ามวลชนเสื้อแดงจะกดดันให้มีการปล่อยตัวคนที่เหลือได้อย่างไร และทวงถามความยุติธรรมระหว่างการปราบปรามให้แก่สังคมอย่างไร

เบื้องหลังการปล่อยตัวแกนนำทั้ง 7 คน รัฐบาลคงคิดว่าสามารถคุมสภาพต่างๆ ได้ เนื่องจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญเสร็จเรียบร้อย ซึ่งก่อให้เกิดความได้เปรียบ จริงๆ แล้วเกมรัฐธรรมนูญเริ่มขึ้นก่อนยุคปราบคนเสื้อแดงเสียอีก

หลังแก้รัฐธรรมนูญแล้ว ตัวแปรอื่นๆ ที่น่ากลัวคือการที่มวลชนเสื้อแดงพยายามทวงถามความยุติธรรม ต่อสู้เรื่องปากท้อง รวมถึงความร่วมมือกับพรรคเพื่อไทย

แต่ความร่วมมือระหว่างคนเสื้อแดงกับพรรคเพื่อไทยจะต้องสร้างสมดุล ระหว่างพรรคการเมืองกับมวลชน โดยหาคนที่มีภาวะผู้นำซึ่งทั้งสองฝ่ายยอมรับ เพราะสิ่งที่อ่อนแอของพรรคเพื่อไทยคือการไม่มีผู้นำที่ชัดเจน

เป็นสิ่งที่ต้องคิดว่าจะทำอย่างไรให้คนสองกลุ่มเชื่อมกันติด เพื่อไทยไม่มีหัว ส่วนเสื้อแดง นายวีระ มุสิกพงศ์ ก็ประนีประนอมเกินไป ที่น่าคิดต่อไปคือคนเสื้อแดงจะเคลื่อนไหวด้วยประเด็นอะไร

แต่ต่อให้ไม่มีประเด็นชัดเจน ก็มีคนจำนวนเยอะที่พร้อมจะออกมาอยู่แล้ว

ยุทธวิธีที่น่าจะสำคัญตอนนี้คือ การเชื่อมตัวเองกับพรรคเพื่อไทยให้ติด เพื่อคัดเลือกคนสมัครส.ส. ปรับตัวเองทั้งในสภาและนอกสภา แต่หัวที่จะมาเชื่อมระหว่างสองส่วนนี้ยังมองไม่เห็นคนที่เหมาะสม

มวลชนเสื้อแดงกับพรรคเพื่อไทย อุดมการณ์ไม่แตกต่างกัน ที่ต่างกันน่าจะเป็นดีกรีความเข้มข้นมากกว่า

เสื้อแดงจะมีภาพที่พยายามผลักดันให้มีการนำความยุติธรรมกลับสู่สังคมและคุณทักษิณ ชินวัตร รวมทั้งมีสมาชิกนักวิชาการบางกลุ่มที่ไม่นิยมรัฐประหารเข้าร่วมด้วย

ส่วนพรรคเพื่อไทย บางคนที่ไม่ศรัทธาในระบบพรรคการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งก็จะไม่ได้เสียงตรงนี้ไป แต่หากทั้งสองกลุ่มมารวมกัน โจทย์ใหญ่คือจะสมดุลตรงนี้อย่างไร

แน่นอน เบอร์หนึ่งของมวลชนเสื้อแดงตอนนี้คือ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เพราะนอกจากเคยติดคุกมาแล้ว ยังเป็นแกนนำที่ต่อสู้กันมาตลอด แล้วทุกคนก็คงอยากจะฟังประสบการณ์ตอนนั้น

ส่วนแกนนำคนอื่นๆ เช่น นายวีระ มุสิกพงศ์ ก็หลุดไปแล้วเพราะมีบุคลิกที่ประนีประนอมเกินไป นายจตุพร พรหมพันธุ์ ก็กลายเป็นคนของพรรคการเมือง ดังนั้น นายณัฐวุฒิถูกปล่อยตัวออกมาและมีจุดยืนที่จะเดินหน้าเรียกร้องต่อไป จึงน่าจะรวมมวลชนได้มากอยู่

เป็นจุดที่น่าคิดสำหรับรัฐบาล



คณิต ณ นคร

ประธานคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริง

เพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.)


การปล่อยแกนนำของมวลชนเสื้อแดง ไม่เกี่ยวกับผม ผมเพียงแต่เสนอรัฐบาลว่าการขังคนเกินความจำเป็น เป็นสิ่งที่ไม่น่าจะทำ

สิ่งที่ผมเสนอไม่ได้หมายความเฉพาะเจาะจง แต่หมายถึงทุกคน คนไทยเราไม่ได้ปฏิบัติตามกฎหมายมานานแล้ว สมควรต้องปรับเปลี่ยนใหม่เสียที

ปัจจุบันมีผู้ต้องขังซึ่งอยู่ระหว่างพิจารณาและยังไม่ได้ถูกตัดสิน ถูกขังอยู่ในเรือนจำอย่างไม่เป็นธรรมถึงร้อยละ 37 นักโทษเหล่านั้นเป็นคน เราต้องดูแลและให้ความรับผิดชอบ และเรื่องของการประกันตัว ตามกฎหมายแล้วเขาก็ไม่ได้เรียกร้องหลักประกัน แต่ตามหลักปฏิบัติกลับมีผุดขึ้นมา ผมคิดว่ามันไม่เป็นธรรม

สิ่งที่ทำคือพยายามให้เกิดความเป็นธรรม ไม่เพียงเท่านั้นบทบาทของเจ้าพนักงานในกระบวนการยุติธรรม ทั้งตำรวจ เจ้าพนักงานดีเอสไอ รวมถึงอัยการ ก็ควรมาคิดกันใหม่

เรื่องเกี่ยวกับอัยการ ผมเคยเสนอวางเป็นระเบียบไปแล้วสมัยที่ยังดำรงตำแหน่งอัยการสูงสุด แต่ไม่มีใครปฏิบัติตาม มาตอนนี้อัยการเป็นหน่วยงานอิสระ ซึ่งก็ไม่รู้ว่าอิสระจริงหรือเปล่า สิ่งเหล่านี้ชี้ชัดว่าสังคมไทยต้องการการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม

ผมไปปรากฏตัวให้ปากคำในศาล เป็นเรื่องของกระบวนการยุติธรรมปกติ ไปให้ปากคำตามหมายเรียกของศาล ไม่ไปก็ติดคุก ไม่ได้ไปต้อนรับคนเสื้อแดงอย่างที่หลายคนคิด

ส่วนพวกแกนนำคนเสื้อแดง ผมรู้จักทั้งนั้น ไม่ว่านายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ก็คนบ้านเดียวกัน หมอเหวง โตจิราการ หรือนายวีระ มุสิกพงศ์ ผมก็รู้จักทั้งนั้น

แต่ยืนยันว่าไม่ได้ทำงานเข้าข้างใคร



พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช

อดีตส.ว.สรรหา


การปล่อย 7 แกนนำเป็นดุลพินิจของศาล ไม่เกี่ยวข้องอะไรกับรัฐบาล แต่มองในแง่ดีคือสร้างความ ปรองดองสมานฉันท์ให้คนในชาติ

นอกจากนี้แกนนำที่ถูกขังคุกมานาน 9 เดือน และคดียังไม่สิ้นสุด แถมยังพิสูจน์ไม่ได้ว่าพวกเขาใช้ความรุนแรงหรือไม่ ดังนั้นเมื่อมีการปล่อยตัวมาแล้ว จะทำให้พวกเขาถือโอกาสนี้ออกมาต่อสู้คดี

ที่ผ่านมาการชุมนุมของนปช.อยู่ในแนวทางสงบ สันติ อหิงสา และการออกมาเรียกร้องก็เป็นไปตามสิทธิที่ทำได้ตามรัฐธรรมนูญ โดยการชุมนุมใหญ่ในวันที่ 12 มี.ค. น่าจะอยู่ในแนวทางสงบสันติเช่นกัน

ไม่เชื่อว่าเหตุการณ์ชุมนุมจะเกิดความรุนแรง แม้แกนนำจะถูกปล่อยตัวออกมาแล้วก็ตาม เพราะที่ผ่านมาพวกเขาพยายามต่อสู้เรียกร้องให้เกิดความยุติธรรมที่สูญเสีย 91 ศพมากกว่า

และสังคมไทยทุกวันนี้ได้เรียนรู้มากมาย จนเกิดเป็นความบอบช้ำและรอยแผลลึก ทุกคนคงรู้ดีว่าความรุนแรงไม่ช่วยอะไร

ส่วนการเรียกร้องให้ปล่อยตัวแนวร่วมทั่วประเทศ อยู่ที่ดุลพินิจของศาล ต้องดูพฤติการณ์คนที่ถูกจับว่ามีความผิดอย่างไรบ้าง ซึ่งแต่ละคนก็มีความผิดต่างกัน บางคนก่อความรุนแรง บางคนแค่เป็นผู้ร่วมสังเกตการณ์ ก็แล้วแต่ศาลจะพิจารณา

หากไม่ปล่อยตัว ศาลคงวางเงื่อนไขไว้ว่าเพราะเหตุใดทำไมถึงไม่ได้รับการประกันตัว ซึ่งกลุ่มนปช.ก็สามารถเรียกร้องให้ปล่อยตัวแนวร่วมได้ เป็นสิทธ์ของเขา

กรณีนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ประกาศชัดว่าจะมาร่วมชุมนุม ซึ่งตัวเขานั้นมีแฟนคลับจำนวนมาก ผมคิดว่าไม่น่าจะเกิดความรุนแรงอะไร การชุมนุมคงเป็นไปด้วยความสันติ เพราะนิสัยส่วนตัวของนายณัฐวุฒิไม่ใช่คนก้าวร้าว

แต่การชุมนุมควรอยู่ในขอบเขต ไม่ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่เกิดความเดือนร้อน ชุมนุม 2-3 ชั่วโมงก็พอ ส่วนรัฐบาลเองก็ควรอะลุ่มอล่วย ไม่ไปกดดันกลุ่มผู้ชุมนุมเกินไป

ขอแนะรัฐบาลว่าการดูแลกลุ่มผู้ชุมนุมควรใช้ความจริงใจ และทั้งกลุ่มผู้ชุมนุมและผู้ที่ดูแลก็ต้องประสานงานกันตลอด แต่เชื่อว่าสุดท้ายแล้วรัฐ บาลจะควบคุมสถานการณ์ได้ ไม่น่าเกิดเหตุการณ์อะไร

ยิ่งกว่าตัดจู๋?

ที่มา ข่าวสด

คอลัมน เหล็กใน

มันฯ มือเสือ




การเมืองไทยอยู่ในจังหวะตะลุมบอน

รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ตกอยู่ท่ามกลางวงล้อมมรสุมหลายด้าน กลายเป็นสภาพกดดันจนลูกพรรคเผลอทำ "ปืนลั่น" ใส่พวกเดียวกันเองหลายครั้ง หลายหน

อย่างปัญหาน้ำมันปาล์มก่อนหน้านี้ ส.ส.กทม.พรรคประชาธิปัตย์ก็เคยจงใจทำปืนลั่นใส่ นางพรทิวา นาคาศัย รมว.พาณิชย์ พรรคภูมิใจไทย

เดือดร้อน "ทศกัณฐ์กรำศึก" อย่าง นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ต้องออกมาขอโทษขอโพยแทน ลูกพรรค

แต่ดูเหมือนพรรคภูมิใจไทยเองไม่หายคาใจ ไม่เช่นนั้น นายเนวิน ชิดชอบ ครูใหญ่ประจำพรรคคงไม่ออกมาขู่จะตัดจู๋ผัวให้รู้แล้วรู้รอด

ดัดนิสัยผัวเมาชอบหาเรื่องเตะเมีย

ล่าสุดเป็นคิวส.ส. 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของพรรคประชาธิปัตย์ออกมาทำปืนลั่นใส่กองทัพ เสนอปรับเปลี่ยนตัวนายทหารที่ดูแลปัญหาภาคใต้ในทุกระดับ

ไม่เว้นแม้แต่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ.

เข้าใจว่าส.ส. 3-4 คนที่ออกมาแถลงข่าวคงได้รับแรงกดดันหนักจากปัญหาไฟใต้ ที่กลับมาปะทุรอบใหม่ตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา และยังเพิ่มขีดความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ

แต่แทนที่จะระบายใส่รัฐบาลซึ่งล้มเหลวด้านการวางนโยบายแก้ปัญหา รัฐมนตรีก็มัวแต่ภาคภูมิใจกับสถิติตัวเลขผู้เสียชีวิตที่ลดลงในช่วง 2 ปีเหลือแค่ 900 ศพ

ส.ส.ประชาธิปัตย์กลับโยนบาปให้กองทัพ

กล่าวหาไม่เอาใจใส่แก้ปัญหาอย่างจริงจัง ปล่อย ให้ระเบิดหลุดรอดเข้าไปในพื้นที่ได้โดยอ้างว่าพื้นที่กว้างดูแลไม่ทั่วถึง ทั้งๆ ที่รัฐบาลสนับสนุนงบประมาณ จัดซื้อเครื่องไม้เครื่องมืออย่างเรือเหาะให้ไปหมดแล้ว

"ที่ผ่านมาทหารบางคนเข้ามาบรรจุเพื่อหวังรับตำแหน่งแบบก้าวกระโดด ไม่ยอมออกจากบ้าน ถึงเวลามาเซ็นชื่อแล้วกลับเข้าบ้านนอน ก็มีเยอะ เมื่อครบกำหนดก็ได้รับตำแหน่งสูงกว่าเดิม จึงต้องปรับเปลี่ยน"

พรรคประชาธิปัตย์ทำปืนลั่นหนนี้ ต้องรอดูทหารจะมีปฏิกิริยาอย่างไร เพราะอย่างที่รู้กันระยะหลังความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับกองทัพ

ไม่ได้ชี้นกเป็นนก ชี้ไม้เป็นไม้เหมือนก่อน

การออกมาระงับเหตุของนายสุเทพ ไม่รู้จะทันท่วงทีหรือเปล่า

ถ้าไม่ทัน ครั้งนี้อาจไม่ใช่แค่จู๋ขาดอย่างเดียวแน่

สหรัฐประกาศคว่ำบาตรลิเบีย สั่งปิดสถานทูต บัน คี มูน เรียกร้องยูเอ็นเอสซี ดำเนินการขั้นเด็ดขาด

ที่มา มติชน



สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่าสหรัฐฯเตรียมคว่ำบาตรลิเบีย เพื่อลงโทษ พ.อ.มูอัมมาร์ กัดดาฟี ที่ใช้ความรุนแรงเข้าปราบปรามผู้ประท้วง

นายเจย์ คาร์นีย์ โฆษกของทำเนียบขาว ยังไม่ได้ประกาศมาตรการคว่ำบาตรที่ชัดเจนและวันเวลาที่จะเริ่มการคว่ำบาตร เพียงแต่บอกว่าการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ จะทำร่วมกับชาติพันธมิตรในยุโรป ซึ่งรัฐบาลของสหภาพยุโรปเห็นชอบในแนวคิดที่จะคว่ำบาตรอาวุธ อายัติทรัพย์สิน และห้ามการเดินทางของกัดดาฟี และเจ้าหน้าที่ระดับสูงในรัฐบาลลิเบีย

นายคาร์นีย์ไม่ได้กล่าวชัดเจนว่าการคว่ำบาตรเหล่านี้ เป็นความพยายามผลักดันกัดดาฟีลงจากอำนาจหรือไม่ และเป็นที่ชัดเจนแล้วว่านายพันกัดดาฟีสูญเสียความเชื่อมั่นในหมู่ประชาชน รัฐบาลสหรัฐฯ กำลังริเริ่มดำเนินการทั้งแบบฝ่ายเดียวและร่วมมือกับนานาชาติเพื่อกดดันระบอบกัดดาฟีให้หยุดการเข่นฆ่าประชาชนของตนเอง

นอกจากนั้น สหรัฐยังปิดสถานทูตในลิเบียด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัยพร้อมกับได้ถอนตัวเจ้าหน้าที่ทูตทั้งหมดออกมาแล้ว

คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติมีกำหนดเปิดประชุมวานนี้ (25 ก.พ.) เพื่อหารือร่างมาตรการคว่ำบาตรต่อรัฐบาลของมุอัมมาร์ กัดดาฟี ของลิเบีย ในขณะที่ประธานาธิบดีสหรัฐ บารัก โอบามา พยายามระดมเสียงสนับสนุนจากนานาชาติในการหยุดยั้งการนองเลือด

นายบัน คี มูน เลขาธิการสหประชาชาติ เรียกร้องคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ(ยูเอ็นเอชซี) ดำเนินการอย่างเด็ดขาดต่อกรณีวิกฤติการณ์ในลิเบีย และเตือนว่าความล่าช้าจะทำให้มีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น


เลขาธิการสหประชาชาติกล่าวว่า มีผู้ถูกสังหารกว่า 1,000 คน จากการที่ประธานาธิบดีมูอัมมาร์ กัดดาฟี สั่งปราบปรามผู้ประท้วง ทั้งนี้ มีรายงานหลายกระแสระบุว่าทหารลิเบียเข้าไปในโรงพยาบาลและสังหารฝ่ายตรงข้ามที่ได้รับบาดเจ็บ ส่วนทหารคนใดที่ปฏิเสธสังหารพลเรือนก็จะถูกสังหารแทน นายบันระบุว่า ถึงเวลาแล้วที่คณะมนตรีความมั่นคงฯ จะต้องพิจารณาดำเนินการต่อลิเบียอย่างเป็นรูปธรรม


คณะมนตรีความมั่นคงฯ จะประชุมกันในวันนี้เพื่อมีมติคว่ำบาตรประธานาธิบดีกัดดาฟี โดยการประชุมระดับผู้เชี่ยวชาญจะมีขึ้นเช้านี้ ส่วนการประชุมเต็มคณะจะมีขึ้นเวลา 11.00 น.ตามเวลาในนครนิวยอร์ก ซึ่งทูตของฝรั่งเศสแสดงความหวังว่าที่ประชุมจะมีมติในการประชุมครั้งนี้


สำหรับร่างมติการคว่ำบาตรที่จะเข้าสู่การพิจารณาประกอบด้วยการคว่ำบาตรอาวุธต่อลิเบีย การห้ามเดินทางและอายัดทรัพย์สินของกัดดาฟี และเจ้าหน้าที่ระดับสูง รวมถึงครอบครัว พร้อมเตือนกัดดาฟี ว่าจะถูกตั้งข้อหาดำเนินคดีก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ

เลขาธิการนาโต พล.อ.แอนเดอรส์ ฟอกห์ ราสมุสเซน เผยว่า ได้เรียกประชุมกลุ่มนาโตนัดฉุกเฉินเพื่อหารือเกี่ยวกับสถานการณ์ในลิเบีย และจะพบกับบรรดารัฐมนตรีกลาโหมของอียูเพื่อหารือเรื่องการช่วยเหลือชาวต่างชาติออกจากลิเบีย

ประธานาธิบดีโอบามาได้หารือกับผู้นำของฝรั่งเศส อังกฤษ และอิตาลีเมื่อคืนวัพฤหัสบดี เพื่อหาทางหยุดยั้งการปราบปรามการลุกฮืออย่างนองเลือดของกัดดาฟี ข่าวแจ้งว่ากองกำลังของรัฐบาลลิเบียกำลังต่อสู้กับฝ่ายกบฏตามเมืองต่างๆ ใกล้กับเมืองหลวง ซึ่งทหารของกัดดาฟีสามารถควบคุมกรุงตริโปลีไว้ได้ หลังจากสลายการชุมนุมเมื่อหลายวันก่อน


โดยนายโอบามา ได้ประกาศคว่ำบาตรโดยพุ่งเป้าไปยังรัฐบาลลิเบียและนายกัดดาฟี ต่อการสั่งการให้มีการสลายการชุมนุมของเขาโดยใช้ความรุนแรง ขณะที่ยังคงปกป้องสินทรัพย์ของประชาชนในชาติ โดยการเซ็นคำสั่งให้มีการระงับการดำเนินการด้านสินทรัพย์ของเขาและบุคคลใกล้ชิด


สหรัฐฯกล่าวว่า พร้อมจะดำเนินการในทุกทางเลือก รวมถึงการคว่ำบาตรและมาตรการทางทหาร อย่างไรก็ดี คาดกันว่านานาชาติจะยังไม่จับมือกันโค่นอำนาจกัดดาฟีในเร็ววัน

โทรทัศน์ของรัฐบาลลิเบียรายงานว่า รัฐบาลประกาศขึ้นค่าจ้าง เพิ่มการอุดหนุนราคาอาหาร และมีเงินยังชีพพิเศษสำหรับทุกครอบครัว ซึ่งเป็นความพยายามที่จะระดมแรงสนับสนุนจากประชาชนนับแต่เริ่มมีการลุกฮือ โดยแต่ละครอบครัวจะได้รับเงินประมาณ 12,000 บาท และค่าจ้างของพนักงานรัฐจะเพิ่มขึ้น 150%


ขณะที่มีรายงานการเสียชีวิตและบาดเจ็บ หลังจากการเผชิญหน้าระหว่างกลุ่มต่อต้านรัฐบาลและกองทัพรัฐบาล หลังจากที่พวกเขากลับจากมัสยิดเพื่อทำการสวดมนต์ในวันศุกร์ ในขณะเดียวกัน สถานีโทรทัศน์ของทางการลิเบียได้แพร่ภาพของนายกัดดาฟี ที่ออกมากล่าวกระตุ้นให้ฝูงชนจับอาวุธเพื่อปกป้องประเทศชาติและน้ำมัน ต่อกลุ่มผู้ต่อต้านรัฐบาลซึ่งสามารถยึดครองหัวเมืองสำคัญส่วนใหญ่ทางภาคตะวันออกของประเทศ


นายบันกล่าวว่า ประชาชนกว่า 22,000 คน อพยพออกจากลิเบียไปยังตูนิเซีย ขณะที่อีกกว่า 15,000 คน อพยพไปยังอียิปต์ และสิ่งสำคัญที่สุดที่ประเทศเพื่อนบ้านของลิเบีย ซึ่งรวมถึงประเทศในยุโรป ควรกระทำคือการเปิดพรมแดนเพื่อให้ประชาชนที่หลบหนีเหตุรุนแรงได้ใช้พักอาศัยชั่วคราว นอกจากนั้นเขายังได้รับรายงานจากโครงการอาหารโลกแห่งสหประชาชาติ (ดับเบิลยูเอฟพี) ว่าสถานการณ์ด้านอาหารในลิเบียอาจรุนแรงยิ่งขึ้น ขณะที่การลำเลียงอาหารไปยังประชาชนไม่สามารถทำได้อย่างเต็มที่เนื่องจากเหตุความรุนแรง

แผนใต้ดิน-ข้อต่อรอง ปล่อยแดง 7+88 พ้นคุก เดิมพัน4พันล้าน"เพื่อไทย"ชนะเลือกตั้ง !!

ที่มา ประชาชาติธุรกิจ



เมื่อเหตุผลและสมมติฐาน-การ ต่อรองของฝ่ายอำนาจรัฐและฝ่ายต่อต้านสมประโยชน์ จึงนำไปสู่การปล่อยตัวแดงทั้ง 7

แม้ว่าในยกแรก ต่างฝ่ายต่างต่อรองยืดยื้อจนสุกงอมนานแรมเดือน

ฝ่ายรัฐบาลส่งสัญญาณต้องการแลกตัวประกันผู้ต้องหาแดง 2 คน น.พ.เหวง โตจิราการ กับ ก่อแก้ว พิกุลทอง กับการ "งดการชุมนุม" ในเมืองช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์

แต่ฝ่ายแกนนำแดง-และนายใหญ่ ไม่ยอม และยื่นข้อเสนอแบบเต็มเพดาน คือ ต้องปล่อยตัวแกนนำทั้ง 7 และทยอยปล่อยผู้ต้องหาออกจากคุกทั่วพื้นที่อีสาน-เหนือรวม 121 คน

และเมื่อข้อต่อรองนั้นต่างฝ่าย ต่างไม่สมประโยชน์ จึงเกิด "ม็อบ 3 หมื่น" เต็มพื้นที่กรุงเทพฯในวันที่ 19 กุมภาพันธ์

หลังจากนั้น 1 สัปดาห์จึงเกิดดุลพินิจจากกระบวนการ "บนดิน" ด้วยการปล่อยตัวแกนนำแดงในคุกอีสาน-เหนือถึง 88 คน

พร้อม ๆ กับกระบวนการต่อรองจากฝ่ายรัฐบาลเพิ่มขึ้นเป็นการปล่อยตัวคราวละ 2 คน และ 3 คน โดยมีชื่อ เจ๋ง ดอกจิก กับ ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เป็น 2 คนสุดท้าย แต่ "ผู้ใหญ่" ในฝ่ายแดงไม่ยอม ยืนยันต้องแลกอิสรภาพ 7 คนกับความสุขสงบของสนามเลือกตั้ง เป็นเดิมพัน

เมื่อเงื่อนไขรัฐธรรมนูญผ่านการเห็นชอบจากสภาผู้แทนฯ-เมื่อปัญหาเศรษฐกิจไม่เป็นปัจจัยลบ รัฐบาลเหลือปัจจัยเสี่ยงเรื่องเดียว คือ ความสงบทางการเมือง

การเจรจาจึงเริ่มต้นขึ้นอีกรอบ โดยใช้ "มติ ครม. 21 ธ.ค. 53" ที่ระบุรัฐบาลและกระบวนการยุติธรรมจะไม่ "คัดค้านการประกันตัว" ผู้กระทำความผิดที่ "เบาบาง" และ "ไม่ใช่ตัวการ" จำนวน 114 คน และให้พ่วงท้ายด้วย "ตัวการ 7 คน" เข้าไปด้วย

การเจรจารอบใหม่มีเงื่อนไขยื่นให้แดงไม่ชุมนุมยืดยื้อ-ค้างคืน "ห้ามปิดประเทศ-ปิดราชประสงค์" เป็นเดิมพัน

เพราะฝ่ายรัฐคาดการณ์ว่าการนัดชุมนุมวันที่ 12 มีนาคม 2554 วาระครบรอบ 1 ปีการปิดสี่แยกราชประสงค์ และการนัดชุมนุมกดดัน "ศาล" ทั่วประเทศจะยืดยื้อ-บานปลาย และอาจไม่จบที่ "การเลือกตั้ง"

ขบวนการใต้ดินของฝ่ายรัฐบาล-ฝ่ายค้าน และคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ หรือ "คอป." โดยนายคณิต ณ นคร จึงเร่งดีกรีเจรจาและขีดเส้นตาย มีเป้าหมายบรรทัดสุดท้ายตรงกันคือ "ไปสู้กันในสนามเลือกตั้ง"

ขบวนการเจรจาใต้ดิน มีชื่อ 2 นักการเมืองพัวพัน ทั้ง กอร์ปศักดิ์ สภาวสุ และ สุวัจน์ ลิปตพัลลภ

การหารือทั้งในรอบ-นอกรอบขององค์ประชุมที่ประกอบด้วย นายวีระ มุสิกพงศ์ อดีตประธาน นปช. นายโสภณ ธิติธรรมพฤกษ์ ผู้บัญชาการเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ รองนายกรัฐมนตรี และ พล.ต.ต.วิชัย สังข์ประไพ ผู้บังคับการตำรวจนครบาล 1 และคนใกล้ตัวนายกรัฐมนตรี จึงมีทางออก

ขบวนการบนดินจึงเกิดขึ้นใน "ศาล" เพื่อเบิกความเป็นพยานให้ศาลเชื่อว่า ผู้ถูกคุมขังระหว่างการดำเนินคดีทั้ง 7 ไม่เป็นพิษ ไม่เป็นภัย

โดย "คอป." ยืนยันอำนาจ-หน้าที่ 3 ข้อ คือ ตรวจสอบความจริงในเหตุการณ์ความรุนแรงระหว่างเมษายน-พฤษภาคม 2553 เยียวยาทางจิตใจแก่ ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ และวิจัยสาเหตุที่ทำให้เกิดความรุนแรง และรากเหง้าของปัญหา เพื่อได้บทเรียนแก่ทุกฝ่าย และยับยั้งไม่ให้เหตุการณ์ เช่นนั้นเกิดขึ้นอีกในอนาคต

ตัวกลาง-คอป.ยืนยันว่า การคุมขังหรือเอาตัวไว้ในอำนาจรัฐนั้นมีจุดประสงค์เพียงเพื่อ ไม่ให้หลบหนี กับไม่ให้ไปทำความยุ่งเหยิงแก่พยานหลักฐานเท่านั้น หากไม่มีเงื่อนไขนี้แล้วก็ชอบด้วยเหตุผลที่จะปล่อยตัวชั่วคราว ทันทีที่ "ณัฐวุฒิ" พ้นคุก เขาจึงประกาศส่งสัญญาณ 3 ข้อ อาทิ 1.มุ่งหวังเพื่อ ให้เกิดการปรองดองและเกิดสันติภาพ ในประเทศ 2.ต่อต้านรัฐประหาร 3.เดินหน้าด้วยการเลือกตั้ง

สอดคล้องกับปฏิกิริยาของนายกรัฐมนตรี และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ด้านความมั่นคง ที่ตอบรับวาระการไปสู่สนามเลือกตั้ง

"แกนนำ นปช.ก็ต้องการจะทำงานการเมือง ต่อสู้การเมือง ก็ไปสมัครรับเลือกตั้ง พรรคเพื่อไทยกับคนเสื้อแดงก็เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอยู่ ก็ไปปรึกษากันให้ดีเพื่อลงสมัครรับเลือกตั้ง มันก็จบ" นายสุเทพกล่าว

หลังการปล่อยตัวแกนนำแดง แกนนำฝ่ายใต้ดินของพรรคประชาธิปัตย์ยังกังขาและตั้งข้อสังเกตว่า "เจ้านายใหญ่ของฝ่ายแดง เขาได้ประโยชน์ และเขาหวังเต็มที่หากเพื่อไทยไปสู่การเลือกตั้ง เขาจะชนะ"

ขณะที่แกนนำฝ่ายเพื่อไทยยังอยู่ในระหว่างการเคลียร์บัญชี "ค่าใช้จ่าย-ต้นทุน" ในการเคลื่อนไหวใต้ดิน และเคลียร์ปัญหาพื้นที่ทับซ้อนสำหรับบรรจุแกนนำแดงลงบัญชีเลือกตั้ง

ตัวเลข 4,000 ล้านสำหรับเดิมพันให้เพื่อไทยชนะเลือกตั้ง จึงถูกปล่อยกระหึ่มไปทั่วทั้งสภาผู้แทนราษฎร

...................

คลิกอ่านสัมภาษณ์ ชีวิต-อิสรภาพ "ณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ"

เปิดใจ..ชีวิต-อิสรภาพ "ณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ" กับ แผนใต้ดิน-ข้อต่อรอง ปล่อยแดง 7+88 พ้นคุก !

ที่มา มติชน





ที่บ้าน "ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ" คลาคล่ำไปด้วย "เสื้อแดง"

สื่อมวลชน-หนังสือพิมพ์-ทีวี-วิทยุไทย-เทศ รอบันทึก บทสนทนา การเมือง-เลือกตั้งและเรื่องทักษิณ

"ประชาชาติธุรกิจ" คุยกับเขาบนรถตู้ส่วนตัว ระหว่างเดินทางกลับจาก "ศาล" ก่อนจะถึง "บ้านแดง"

@เตรียมนำคนเสื้อแดงอย่างไร ต่อจากนี้ไป ทั้งบทบาทนอกสภาและในสภา

ต้องทำความเข้าใจกับพี่น้องคนเสื้อแดงว่า การต่อสู้ของเรา เป็นการต่อสู้ระยะยาว คงจะหักหาญเอาความสำเร็จ หรือถึงปลายทางภายใน 6 เดือน 1 ปี ก็คงเป็นไปไม่ได้ เพราะว่ากำลังสู้อยู่กับโครงสร้างอำนาจในระบอบอำมาตยาธิปไตย ซึ่งไม่ได้หมายถึงตัวบุคคล รัฐบาลหนึ่งรัฐบาลใด พรรคการเมืองพรรคไหน เพราะฉะนั้น ชัยชนะสุดท้ายของประชาชน จึงไม่ใช่ชัยชนะต่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ พรรคประชาธิปัตย์ ต่อ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ แต่ชัยชนะสุดท้าย คือได้ทำให้เครือข่ายของระบอบอำมาตยาธิปไตยอ่อนแอลง จนไม่สามารถจะครอบงำ หรือบงการการเมืองในประเทศไทยได้ ผมไม่ได้พูดถึงการทำลายให้แตกดับ เพราะการต่อสู้ทางการเมือง การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ถ้ามีจุดมุ่งหมายทำลายกันจนแตกดับ นั่นมันไม่น่าจะเป็นจุดมุ่งหมายที่เรานำมาเป็นเข็มทิศในการเคลื่อนไหว

@เตรียมการทำงานในสภาอย่างไร

ถ้าผมมีโอกาสเข้าไปทำงานในสภา สิ่งที่ผมคิดที่ผมทำ จะเป็นประโยชน์ในการต่อสู้ของประชาชนมากขึ้น ผมไม่ได้คิดจะเข้าไปสู่การเมืองในระบบ เพื่อให้ตัวเองร่ำรวย หรือมีตำแหน่งใหญ่โต แต่ผมตั้งใจเข้าไป เพื่อให้การต่อสู้ของประชาชน มันร่นเข้ามาเป็นความจริง ได้ง่ายและเร็วขึ้น

@ได้ติดต่อและจัดวางสถานะความสัมพันธ์กับคุณทักษิณอย่างไร

ความสัมพันธ์ของท่าน มีใน 2 มิติ คือในทางการเมือง ผมศรัทธาเชื่อมั่นใน พ.ต.ท.ทักษิณ นี่คือการเมืองในระบบ ส่วนการต่อสู้ของประชาชน ผมร่วมทางไปด้วยกันกับท่าน พร้อม ๆ กับพี่น้องคนเสื้อแดงอีกจำนวนมาก

ผมเป็นลูกพรรคของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในพรรคไทยรักไทย และถึงปัจจุบัน ก็ยังเคารพนับถือและศรัทธา พ.ต.ท.ทักษิณไม่เปลี่ยนแปลง และยังเป็นเช่นนี้อยู่ตลอดไป ตราบเท่าที่ พ.ต.ท.ทักษิณยังมีจุดยืนที่จะยืนอยู่เคียงข้างประชาชน

เพราะฉะนั้น ไม่ต้องจัดลำดับความสัมพันธ์อะไรใหม่ แล้วผมไม่มีความคิดที่บอกว่าตัวเองจะต้องก้าวข้าม พ.ต.ท.ทักษิณหรือไม่อย่างไร เพราะว่าทางการเมือง ในทางการบริหาร ในการ ทำงานเพื่อประชาชน ท่านเป็นผู้นำของผมอยู่แล้ว แต่ในทางการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย เราร่วมทางกัน ไปได้

หมายความว่า พ.ต.ท. ทักษิณก็เป็นคนเสื้อแดงคนหนึ่ง ผมก็เป็นคนเสื้อแดง คนหนึ่ง ประชาชนจำนวนมาก ต่างก็เป็น คนเสื้อแดงที่เดินไปด้วยกัน เท่านั้นเอง

@การร่วมทางกับ พ.ต.ท.ทักษิณ คิดว่าตัวเองจ่ายต้นทุนในชีวิตแพงไปไหม

ผมไม่ได้ต่อสู้มาทั้งหมดเพื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ หรือไม่ได้ติดคุกเพื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ผมทำเพื่อสิ่งที่ผมเชื่อ ผมทำเพื่อสิ่งที่ผมศรัทธา คือระบอบประชาธิปไตย ผมชื่นชมความรู้ความสามารถของ พ.ต.ท.ทักษิณ ก็จริงอยู่ แต่ความชื่นชมต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ได้มากไปกว่าความศรัทธาต่อประชาชน ในการสู้เพื่อประชาธิปไตยของผม เพราะฉะนั้น พ.ต.ท.ทักษิณจะอยู่ตรงไหน หรือไม่ อย่างไร ไม่เกี่ยวกับการตัดสินใจต่อสู้ของพวกผม

วันหนึ่ง ถ้า พ.ต.ท.ทักษิณบอกว่าจะหยุดต่อสู้ ผมก็จะสู้ต่อ วันหนึ่ง ถ้า พ.ต.ท.ทักษิณบอกว่ายอมแพ้แล้ว ผมก็ สู้ต่อ หรือแม้กระทั่งวันหนึ่ง ถ้า พ.ต.ท.ทักษิณบอกว่ายืนอยู่กับประชาชน มันไม่ไหว เหน็ดเหนื่อย เจ็บปวด ก็จะขอย้ายข้างไปอยู่กับฝ่ายตรงข้าม ผมก็จะสู้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ เพราะเป็นจุดยืนเรื่องประชาธิปไตย

ฉะนั้น ทุกอย่างที่เกิดขึ้นกับชีวิตผม แม้จะมีความเจ็บปวด กดดัน หรือทุกข์ของคนในครอบครัวมาเจือปนอยู่ตลอดเส้นทาง แต่ผมคิดว่า ทั้งหมด มันไม่เกี่ยวอะไรกับ พ.ต.ท.ทักษิณเลย มันเป็นเรื่องที่ผมตัดสินใจ และคนในครอบครัวผมยอมรับการตัดสินใจนี้ แล้วตกลงใจว่าจะช่วยกันฝ่าฟันทุกอย่างไปด้วยกัน พร้อมกับประชาชน...

@การใช้รหัสถ้อยคำของเสื้อแดงที่เสี่ยงต่อการตีความว่าหมิ่นเบื้องสูง

เราประกาศอุดมการณ์ของคนเสื้อแดง คือระบอบประชาธิปไตย อันมีองค์พระมหากษัตริย์เป็นประมุข แต่สิ่งที่เกิดขึ้น กลายเป็นว่ามีความพยายามทำให้ขบวนการของคนเสื้อแดงมุ่งร้ายหมายขวัญกับสถาบันเบื้องสูง จะล้มเจ้า อย่างที่กล่าวหา เพราะมีการใช้สถาบันเบื้องสูงเป็นเครื่องมือทำลายล้างทางการเมือง

พรรคการเมืองบางพรรคขึ้นป้ายว่าปกป้องสถาบัน พร้อม ๆ กับมีข่าวว่าพรรคนั้นทุจริตคอรัปชั่นมโหฬารยิ่งกว่ารัฐบาลชุดใด ๆ กลายเป็นว่าประเทศไทย ใครบอกว่าจงรักภักดี แล้วทำอะไรก็ได้ อย่างงั้นหรือ ? ใครบอกว่าปกป้องสถาบัน แล้วสั่งยิง สั่งเข่นฆ่าประชาชนก็ได้ อย่างงั้นหรือ ? ผมว่าไม่ใช่...

.........................

คลิกอ่าน... แผนใต้ดิน-ข้อต่อรอง ปล่อยแดง 7+88 พ้นคุก เดิมพัน 4 พันล้าน"เพื่อไทย" !!

ปฏิวัติอียิปต์ = มวลชนลุกฮือ + รัฐประหารละมุน

ที่มา มติชน



โดย เกษียร เตชะพีระ



ฮวน โคล ศาสตราจารย์ด้านประวัติศาสตร์ตะวันออกกลางแห่งมหาวิทยาลัยมิชิแกน ณ แอน อาบอร์ (ภาพซ้าย) &

ซาเมอร์ เชฮาตา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านการเมืองอาหรับแห่งมหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ สหรัฐอเมริกา (ภาพขวา)

ฮอสนี มูบารัค, บารัค โอบามา และวลาดิมีร์ ปูติน กำลังประชุมกันอยู่ แล้วจู่ๆ พระผู้เป็นเจ้าก็ทรงปรากฏพระองค์ขึ้นและตรัสว่า "ข้ามาบอกพวกเจ้าว่าโลกจะถึงกาลอวสานในสองวันข้างหน้านี้ จงไปบอกประชาชนของพวกเจ้าเสีย" ผู้นำแต่ละคนจึงกลับไปเมืองหลวงของตนและเตรียมปราศรัยทางทีวี

ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. โอบามากล่าวว่า "เพื่อนชาวอเมริกันทั้งหลาย ผมมีข่าวดีและข่าวร้ายจะแจ้งให้ทราบ ข่าวดีคือผมยืนยันได้ว่าพระเจ้ามีจริง ส่วนข่าวร้ายก็คือพระองค์ทรงบอกผมว่าโลกจะดับภายในสองวัน"

ณ กรุงมอสโก ปูตินกล่าวว่า "ประชาชนชาวรัสเซีย ผมเสียใจที่ต้องแจ้งข่าวร้ายสองเรื่องให้ทราบ ข่าวแรก คือพระเจ้ามีจริง ซึ่งหมายความว่าทุกอย่างที่ประเทศเราเชื่อถือตลอดช่วงเวลาส่วนใหญ่ของศตวรรษที่แล้วล้วนเป็นเท็จ ข่าวที่สองคือโลกจะดับภายในสองวัน"

ณ กรุงไคโร มูบารัคกล่าวว่า "โอ...ชาวอียิปต์ทั้งหลาย ข้าพเจ้ามาพบท่านวันนี้พร้อมข่าวดียิ่งสองประการ ข่าวแรก พระผู้เป็นเจ้าและตัวข้าพเจ้าเพิ่งจะประชุมสุดยอดครั้งสำคัญร่วมกันมา

และข่าวที่สอง พระองค์ทรงบอกว่าข้าพเจ้าจะเป็นประธานาธิบดีของพวกท่านไปชั่วกัลปาวสาน"

ในที่สุด "กัลปาวสาน" ตามโจ๊กแอนตี้-มูบารัคข้างต้นก็มาถึง 18 วันหลังประชาชนอียิปต์เรือนล้านลุกฮือ ต่อต้านเขาอย่างต่อเนื่องทั่วประเทศจนล้มตายไป 365 คน และบาดเจ็บอีก 5,500 คน ตั้งแต่วันที่ 25 มกราคมนี้เป็นต้นมา เมื่อมูบารัคประกาศลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดีและสละอำนาจให้แก่สภาสูงของกองทัพ ภายใต้การนำของรัฐมนตรีกลาโหมและผู้บัญชาการสามเหล่าทัพ จอมพลมูฮัมหมัด ฮุสเซ็น ทันทาวี วัย 76 ปี ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์นี้

ทว่า กองทัพอียิปต์ที่ช่วงชิงโอกาสเข้าควบขี่การปฏิวัติของมวลชนและก่อรัฐประหารละมุนโค่นมูบารัคลงก็หาได้กลมเกลียวเป็นปึกแผ่นไม่ หากปริแยกแตกร้าวเป็นก๊กเป็นเหล่าตามเส้นสายการเมืองของตน ที่สำคัญได้แก่ : -

1) ในกองทัพอียิปต์ มีอยู่ 2 เหล่าซึ่งใกล้ชิดเป็นที่โปรดปรานของศูนย์อำนาจเก่าเป็นพิเศษ ได้แก่ กองทหารองครักษ์ประธานาธิบดีและกองทัพอากาศ - ในฐานที่มูบารัคมีภูมิหลังเป็นผู้บัญชาการทหารอากาศมาก่อนขึ้นเป็นประธานาธิบดี สองเหล่านี้จึงยืนหยัดอยู่กับมูบารัคแม้ในยามทหารทั่วไปเอาใจออกห่างแล้วก็ตาม



ดังแสดงออกโดยปรากฏการณ์กลับตาลปัตรกันระหว่างการที่ผู้บัญชาการสามเหล่าทัพ จอมพลมูฮัมหมัด ทันทาวี เดินเข้าไปกลางที่ชุมนุมเพื่อแสดงการสนับสนุนผู้ประท้วงเมื่อวันที่ 30 มกราคมนี้ VS. การที่มูบารัคแต่งตั้งอดีตผู้บัญชาการทหารอากาศ อาเหม็ด ชาฟิค เป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ พลางส่งเครื่องบินไอพ่นหลายลำไปบินต่ำ ขู่ที่ชุมนุม ในทำนองเดียวกัน กองทหารองครักษ์ประธานาธิบดีนี่แหละที่เข้าปกป้องอาคารวิทยุ/โทรทัศน์ของรัฐบาล และต่อกรกับผู้ชุมนุมเมื่อวันที่ 28 มกราคมนี้

2) หน่วยข่าวกรองทหาร (Intelligence Services หรือ al-mukhabarat) ซึ่งรับผิดชอบปฏิบัติการลับนอกประเทศ, ควบคุมตัวและสอบสวนผู้ต้องสงสัยก่อการร้าย/เป็นภัยความมั่นคง (รวมทั้งทรมานและลักพาตัวชาวต่างชาติตามที่ซีไอเอขอ) เนื่องจากหน่วยข่าวกรองทหารพุ่งเป้าต่อศัตรูภายนอกเป็นหลัก ไม่ได้คุมขังทรมานชาวอียิปต์ฝ่ายค้านในประเทศมากนัก

จึงไม่เป็นที่เคียดแค้นชิงชังของประชาชนเท่า หน่วยสืบสวนเพื่อความมั่นคงของรัฐ สังกัดมหาดไทย (mabahith)

หน่วยข่าวกรองทหารมีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ท่ามกลางสถานการณ์พลิกผันทางการเมืองในฐานะ "สะวิงโหวต" - คือเทเสียงไปข้างไหน กองทัพโดยรวมก็เอียงไปข้างนั้นด้วย ท่าทีของหน่วยนี้คือด้านหนึ่งก็เกลียดชัง กามาล มูบารัค (ลูกชายประธานาธิบดีฮอสนี มูบารัค) กับกลุ่มทุนเสรีนิยมใหม่เส้นใหญ่ของเขา แต่อีกด้านหนึ่งก็หมกมุ่นฝังหัวกับเรื่องการเมืองต้องนิ่ง และแอบได้เสียอยู่กินกับซีไอเอและกองทัพอเมริกันมานมนาน

อำนาจของกองทัพและโดยเฉพาะอย่างยิ่งของหน่วยข่าวกรองทหารที่ขึ้นครอบงำวงการเมืองสะท้อนออก ในการตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่เมื่อวันที่ 28 มกราคม ที่ผ่านมา ดังปรากฏว่ากามาล มูบารัค กับพวกพ้องนักธุรกิจถูกโละทิ้งยกแผง ขณะที่โอมาร์ สุไลมาน อดีตหัวหน้าหน่วยข่าวกรองทหารได้ขึ้นเป็นรองประธานาธิบดี ทำหน้าที่รักษาการแทนประธานาธิบดีมูบารัคในทางปฏิบัติ


"วันโลกดับ" ขำขันต่อต้านมูบารัค & จอมพลมูฮัมหมัด ฮุสเซ็น ทันทาวี


อย่างไรก็ตาม เงื่อนไขภายในกองทัพอียิปต์จะสุกงอมพอก่อให้เกิดการปฏิวัติ/เปลี่ยนระบอบผ่านปฏิบัติการ [มวลชนลุกฮือ + รัฐประหารละมุน] ก็ต่อเมื่อฝ่ายแอนตี้มูบารัคในกองทัพสามารถ : -

1) เสริมสร้างฐานะของตนได้มั่นคง และ

2) ให้ความมั่นใจแก่หน่วยข่าวกรองทหารและกองทัพอากาศในการเปิดรับขบวนการมวลชนที่เกิดขึ้นใหม่ และพรรคฝ่ายต่างๆ ที่เกาะกลุ่มล้อมรอบแกนนำฝ่ายค้าน นายโมฮาเหม็ด เอลบาราได นักนิติศาสตร์ นักการทูตและอดีตผู้อำนวยการสำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (International Atomic Energy Agency - IAEA ภายใต้สหประชาชาติ) ผู้ได้รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพเมื่อปี ค.ศ.2005 และเข้าร่วมประท้วงต่อต้านมูบารัคครั้งนี้

ซึ่งอาจถือเป็นความหมายโดยนัยของสิ่งที่ประธานาธิบดีโอบามาแห่งสหรัฐอเมริกาเรียกว่า "การเปลี่ยนผ่าน อย่างมีระเบียบเรียบร้อย" ที่เขาอยากเห็นในอียิปต์นั่นเอง

ดูเหมือนเงื่อนไขดังกล่าวจะมาลงตัวพร้อมเพรียงเมื่อวันศุกร์ที่ 11 กุมภาพันธ์นี้ และแล้วกองทัพอียิปต์ก็เอื้อมไปจับมือประชาชนแล้วโค่นมูบารัคลง!

แนวโน้มการเมืองอียิปต์หลังโค่นมูบารัคจะเป็นเช่นใด? เมื่อวันอาทิตย์ที่ 13 กุมภาพันธ์นี้ สภาสูงของกองทัพ ได้ออกประกาศฉบับที่ 5 สั่งยุบสภาผู้แทนราษฎรและสภาสูงซึ่งเพิ่งได้รับเลือกตั้งเข้ามาอย่างฉ้อฉลอื้อฉาวเมื่อปลายปีก่อน, ระงับใช้รัฐธรรมนูญ, ตั้งคณะกรรมการแก้ไขปรับปรุงรัฐธรรมนูญเพื่อผ่านการลงประชามติ, และสัญญาจะจัดเลือกตั้งรัฐสภาและประธานาธิบดีใหม่ใน 6 เดือน, ระหว่างนี้คณะรัฐมนตรีที่มูบารัคตั้งใหม่ล่าสุดจะรักษาการไปพลางก่อน, พร้อมกันนั้น สภาสูงของกองทัพก็ยืนยันพันธกรณีตามสนธิสัญญาและข้อตกลงต่างๆ ที่ อียิปต์ได้ทำไว้กับนานาประเทศรวมทั้งอิสราเอล

ข้อน่าสังเกตคือประกาศของสภาสูงกองทัพอียิปต์ข้างต้นมีรายละเอียดเนื้อหาพ้องกับข้อเรียกร้องในแถลงการณ์ของแกนนำการชุมนุมต่อต้านมูบารัคที่รวมตัวกันเฉพาะกิจและเรียกตัวเองว่ากลุ่ม "25 มกราคม" หลายประเด็น ดังปรากฏรายละเอียดตามแถลงการณ์ต่อไปนี้ (ดูต้นฉบับภาษาอาหรับที่ www.assawsana.com/portal/ newsshow.aspx?id=44605) : -

-ยกเลิกประกาศภาวะฉุกเฉินอันเป็นเหตุให้ระงับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนตามรัฐธรรมนูญทันที

-ปล่อยนักโทษการเมืองทั้งหมดทันที

-ระงับใช้รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันและบทแก้ไขเพิ่มเติมต่างๆ

-ยุบรัฐสภาสหพันธ์และสภาระดับจังหวัดทั้งหลาย

-ก่อตั้งสภาปกครองรวมหมู่ในระยะเปลี่ยนผ่าน

-จัดตั้งรัฐบาลเฉพาะกาลประกอบด้วยกลุ่มชาตินิยมอิสระเพื่อดูแลจัดการเลือกตั้งที่เสรีและยุติธรรม

-จัดตั้งคณะทำงานเพื่อยกร่างรัฐธรรมนูญประชาธิปไตยฉบับใหม่ซึ่งคล้ายคลึงรัฐธรรมนูญประชาธิปไตย ฉบับเก่าก่อน แล้วให้ผ่านการลงประชามติ

-ขจัดข้อจำกัดหวงห้ามทั้งปวงเกี่ยวกับการจัดตั้งพรรคการเมืองอย่างเสรีบนพื้นฐานที่เป็นพรรคพลเรือน, ยึดหลักประชาธิปไตยและสันติภาพ

-ยึดหลักเสรีภาพในการพิมพ์

-ยึดหลักเสรีภาพในการก่อตั้งสหภาพแรงงานและองค์การเอ็นจีโอโดยไม่ต้องขออนุญาตจากรัฐบาล

-ยุบศาลทหารทั้งหมดและยกเลิกคำตัดสินของศาลทหารในคดีที่ผู้ต้องหาเป็นพลเรือน เป็นต้น

เหล่านี้ทำให้ศาสตราจารย์ฮวน โคล สรุปว่าขบวนการมวลชนที่ลุกฮือโค่นมูบารัคครั้งนี้มีแก่นแท้เป็นขบวนการแรงงานที่ยึดถือ "ชาติ" (watan) และข้อเรียกร้องทางการเมืองเชิงโลกวิสัยอื่นๆ เป็นที่ตั้ง, ไม่ใช่ขบวนการเคร่งหลักอิสลามมูลฐานที่ยึดถือ "ชุมชนศาสนา" (ummah) และข้อเรียกร้องตามหลักอิสลามเป็นสรณะดังฝ่ายขวาอเมริกันและอิสราเอลบิดเบือน

อย่างไรก็ตาม ใช่ว่าขบวนการมวลชนอียิปต์จะกำหนดเกมการเมืองหลังโค่นมูบารัคได้ดังใจนึก แนวโน้มน่าวิตกในสายตาผู้ช่วยศาสตราจารย์ซาเมอร์ เชฮาตา คือมันอาจนำมาซึ่งระบอบมูบารัคที่ปราศจากตัวมูบารัคเอง

แม้จะไม่กดขี่ปราบปรามหนักเท่าสองทศวรรษที่ผ่านมา แต่ก็หาใช่ประชาธิปไตยเต็มใบไม่

พท.ยินดีต้อนรับ 7 แกนนำ นปช.ลงปาร์ตี้ลิสต์ ขายขนมจีบลูกสาว เสธ.แดง เข้าร่วมพรรค

ที่มา มติชน

นายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย ส.ส.อุตรดิตถ์ ในฐานะรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย กล่าววันที่ 25 กุมภาพันธ์ ถึงกรณีนายขวัญชัย ไพรพนา ระบุว่า 7 แกนนำ นปช.มีความประสงค์ลงสมัคร ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ พรรคเพื่อไทย เพื่อต้องการให้ได้รับเอกสิทธิ์ในสภาจะไม่ได้ไม่ถูกคุมขังว่า ส่วนตัวยินดีและเป็นเรื่องที่วิเศษที่สุด ไม่ใช่แค่เรื่องให้ได้เอกสิทธิ์คุ้มครองเท่านั้น แต่จะเป็นการเข้าสู่กระบวนการแข่งขันที่เป็นที่ยอมรับจากทุกฝ่าย หากลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อสามารถเดินสายช่วยปราศรัยหาเสียงได้ทั้งประเทศ เชื่อว่าจะเพิ่มผู้สนับสนุนพรรคมากขึ้น โดยเฉพาะนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ที่ยกให้เป็นนักปราศรัยมือ 1 ของประเทศ


“น.ส.ขัตติยา สวัสดิผล บุตรสาว พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล หรือ “เสธ.แดง” อดีตผู้ทรงวุฒิกองทัพบก ก็มีแนวทางต่อสู้เดียวกัน ทุกข์ยากมาด้วยกัน ใจผมก็อยากให้เขาได้เป็น ส.ส.เพื่อที่จะได้มาพูดอะไรในสภาเพราะ น.ส.ขัตติยาเป็นคนรุ่นใหม่ มีการศึกษา ประสบการณ์ก็ดีผมก็อยากให้โอกาส ”

กกต.ชี้ 7 นปช.สมัคร ส.ส.ได้เหตุคดียังไม่ถึงที่สุดเหมือนกรณี"อภิรักษ์"

นายประพันธ์ นัยโกวิท กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง กล่าวเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ถึงกรณี 7 แกนนำ นปช.ที่ศาลให้ประกันตัวชั่วคราวจะลงสมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ ว่า 7 แกนนำ นปช.ถูกควบคุมตัวในเรือนจำที่ผ่านมาในคดีก่อการร้าย ถือว่าเป็นการควบคุมตัวในระหว่างรอการพิจารณาของศาล คดียังไม่มีคำพิพากษาเป็นที่สิ้นสุดออกมา ดังนั้น ถือว่ายังไม่ขาดคุณสมบัติการลงสมัครตามรัฐธรรมนูญ แต่ต้องดูต่อไปว่า ยังมีคดีอื่นๆ ที่เกี่ยวโยงด้วยอีกหรือไม่

"หาก 7 แกนนำ นปช.ได้รับการเลือกตั้งเป็น ส.ส.เข้ามาแล้วต่อมาศาลมีคำพิพากษาในคดีให้จำคุกก็จะทำให้ต้องสิ้นสุดความเป็น ส.ส.ได้ กรณีดังกล่าวมีความใกล้เคียงกับกรณีของนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ ที่มีกรณีเรื่องคดีรถดับเพลิง ในสมัยเป็นผู้ว่าฯกทม. แต่ผลของคดียังไม่สิ้นสุด นายอภิรักษ์ จึงลงสมัครรับเลือกตั้งและได้เป็น ส.ส.กทม.ในเวลาต่อมา แต่หากต่อไปคดีรถดับเพลิง มีคำพิพากษาว่านายอภิรักษ์ มีความผิดจริงก็จะส่งผลต่อสถานะทันที


เพื่อไทยไฟเขียวแกนนำ นปช.ลงสมัคร ส.ส. กำลังเช็คภูมิลำเนาให้ลงที่ไหนแบบใด

นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ รองโฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ กรณีแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) มีความประสงค์จะลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อของพรรคเพื่อไทยว่า แกนนำของพรรคเพื่อไทยได้หารือกันเรียบร้อยแล้ว ยินดีให้การต้อนรับผู้ให้ความสนใจทางด้านการเมืองทุกคน ดูได้จากกรณีนายก่อแก้ว พิกุลทอง แกนนำ นปช.ที่เคยถูกคุมขัง พรรคยังมีมติส่งลงสมัครที่เขต 6 กทม. ปีกลายและแพ้พรรคประชาธิปัตย์ไปเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

"ที่สำคัญแกนนำ นปช.ทุกคนถือป็นบุคคลมีคุณภาพ กล้าอยู่เคียงข้างประชาชน ถือเป็นคุณสมบัติสำคัญของ ส.ส.ในสภาผู้แทนราษฎร โดยคณะกรรมการพรรคอยู่ระหว่างการพิจารณาว่า แกนนำ นปช.ทุกคนนั้นมีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่ใด เป็นได้ทั้งการเป็นผู้สมัครแบบแบ่งเขตหรือบัญชีรายชื่อ"

อีแอบโมเดล

ที่มา thaifreenews

โดย bozo



การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยและความยุติธรรมคนเสื้อแดง
จึงต้องมีความชัดเจนว่าอะไรคือเป้าหมายที่แท้จริง

“ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น รอยยิ้มหรือความสุขจะถูกพรากไปกี่ครั้ง
แต่สิ่งที่อยู่ในหัวใจและร่างกายจะยืนหยัดและมอบให้ประชาธิปไตย...
วันนี้พวกผมกลับมาแล้ว กลับมาพร้อมจิตวิญญาณและอุดมการณ์
จะต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยอย่างแท้จริง
และจะเรียกร้องความสูญเสียของพี่น้องภายใต้กรอบกฎหมาย ไม่ว่าจะเกิดอะไร
ขึ้นเราจะต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยต่อไป”

นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.)
แดงทั้งแผ่นดิน กล่าวภายหลังได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวพร้อม
นพ.เหวง โตจิราการ นายก่อแก้ว พิกุลทอง นายนิสิต สินธุไพร นายขวัญชัย ไพรพนา
นายวิภูแถลง พัฒนภูมิไทย และนายยศวริศ ชูกล่อม หรือเจ๋ง ดอกจิก และเปิดเผยถึง
ความรู้สึกที่ถูกคุมขังกว่า 9 เดือนว่า ตั้งแต่วันแรกที่สิ้นสุดอิสรภาพจนถึงวันแรก
ที่ได้รับอิสรภาพคืนมา ถือเป็นเรื่องน้อยนิด
ถ้าเทียบกับความสูญเสียของผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต
จากการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในปีที่ผ่านมา

นายณัฐวุฒิประกาศยืนยันจะยืนอยู่เคียงข้างประชาชน ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยที่แท้จริง
สิ่งแรกที่จะดำเนินการคือ ทวงถามการเยียวยาและความยุติธรรมให้ กับผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ
รวมทั้งช่วยคนเสื้อแดงที่ถูกคุมขังให้ได้รับการประกันตัว
เพื่อเริ่มต้นสร้างความปรองดองสมานฉันท์และประชาธิปไตยให้เกิดขึ้นในแผ่นดิน

ทำไม นปช. ได้ประกัน?

การที่ศาลให้ประกันตัวแกนนำ นปช. ทำให้บางฝ่ายกังวลว่าจะเกิดการเคลื่อนไหวใหญ่
และตั้งข้อสงสัยไปต่างๆนานา อย่างนายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส. นครศรีธรรมราช
ในฐานะโฆษกประจำตัวหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
ออกมาโจมตีแกนนำ นปช. ว่าได้คืบจะเอาศอก
ที่ประกาศจะชุมนุมใหญ่วันที่ 12 มีนาคม เพื่อเรียกร้องให้ปล่อยตัวแนวร่วมที่เหลือ
ซึ่งควรเป็นดุลยพินิจของกระบวนการยุติธรรม ดังนั้น
หากแกนนำ นปช. ทำให้สถานการณ์บ้านเมืองเลวร้ายต้องรับผิดชอบ

ด้านนายสุริยะใส กตะศิลา เลขาธิการพรรค การเมืองใหม่ (กมม.) ระบุว่า
การได้ประกันตัวของแกนนำ นปช. สะเทือนต่อความรู้สึกของประชาชนอย่างรุนแรง
เพราะก่อนหน้านี้มีการชุมนุมเคลื่อนไหวของ นปช. หรือคนเสื้อแดงหลายครั้ง
โดยเฉพาะการชุมนุมหน้าศาลอาญา รัชดาฯ เพื่อกดดันศาลโดยตรง
และยังปราศรัยในลักษณะกล่าวหาใส่ร้ายและบิดเบือนกระบวนการยุติธรรมอย่างต่อเนื่อง

นายสุริยะใสยังตั้งข้อสังเกตว่า
ทำไม พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์
พล.ต.ต.วิชัย สังข์ประไพ ผบก.น.1
นายโสภณ ธิติธรรมพฤกษ์ ผู้บัญชาการเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ และ
นายคณิต ณ นคร ประธานคณะกรรมการ
อิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.)
จึงมาเป็นพยานให้กับแกนนำ นปช.
เพราะก่อนหน้านี้นางธิดา ถาวรเศรษฐ์ รักษาการประธาน นปช. และ
นายวีระกานต์ มุสิกพงศ์ แกนนำ นปช. พบกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี
ซึ่งรัฐบาลมีการหารือเรื่องการปรองดองใน ครม.
เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2553 ถึงแนวทางช่วยแกนนำ นปช.

พธม. ใหญ่คับแผ่นดิน

นายสุริยะใสยังกล่าวหารัฐบาลว่า
ถ้าการช่วยเหลือแกนนำ นปช. ถือเป็นแผนปรองดองของรัฐบาล
ก็ต้องบอกว่าคิดผิดอย่างไม่น่าให้อภัย
เพราะรัฐบาลได้ลากเอากระบวนการยุติธรรมเข้ามาอยู่ในจุดสุ่มเสี่ยง
เพื่อแลกกับความอยู่รอด และฮั้วกับกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมือง
ถือเป็นโศกนาฏกรรมยุติธรรมไทย
ที่อาจร้ายแรงกว่าการจลาจลและการเผาบ้านเผาเมืองที่แยกราชประสงค์ด้วยซ้ำไป

แต่นายสุริยะใสกลับไม่กล่าวถึงคดีของแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.)
ที่ถูกตั้งข้อหาก่อการร้ายเช่นกัน ผ่านมากว่า 2 ปีคดียังไม่มีการนำขึ้นสู่ศาล
นอกจากการออกหมายเรียกของตำรวจ และทุกคน ก็ได้รับการประกัน
ทั้งที่การยึดสนามบินนานาชาตินั้นสร้าง ความเสียหายนับแสนล้านให้กับประเทศ
และถูกประชาคมโลกรุมประณามมาจนทุกวันนี้
ทั้งยังติดตามดูว่ารัฐบาลไทยจะดำเนินคดีและเอาผิดกับพันธมิตรฯอย่างไร

เช่นเดียวกันการชุมนุมปิดถนนบริเวณหน้าทำเนียบรัฐบาลขณะนี้
หลายฝ่ายตั้งคำถามต่อพันธมิตรฯถึงการปลุกกระแสชาตินิยมหรือกระแสคลั่งชาติว่า
มีเบื้องหลังเพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองหรือผลประโยชน์ อะไรซ่อนเร้น
ทั้งที่บันทึกลงนามความเข้าใจระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลกัมพูชา (เอ็มโอยู 2543) นั้น
ต้องการให้ไทยและกัมพูชาแก้ปัญหาภายใต้หลักการสันติวิธี

ฝ่ายพันธมิตรฯคัดค้านอะไร และใครอยู่เบื้องหลัง
ทำไมรัฐบาลไม่กล้าใช้กฎหมายบ้านเมืองเหมือนกับที่ดำเนินการกับกลุ่ม นปช.
อย่างที่มีรายงานจากการประชุม ครม. เพื่อพิจารณาขยายเวลา
การประกาศใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคงภายในราชอาณาจักรนั้น
พล.ต. สนั่นได้ตั้งคำถามกับเจ้าหน้าที่ตำรวจว่า
ที่ผ่านมาไม่เห็นทำอะไรแล้วจะขอต่ออายุทำไม
ปล่อยให้คนเพียงไม่กี่ร้อยคนมาปิดถนนทำให้ประชาชนเดือดร้อน
ทั้งที่ต้องขอคืนพื้นที่ถนนจากผู้ชุมนุม 1-2 เลน

กระแส “ไม่เอา 112”!

แต่การเมืองอีกด้านหนึ่งก็ตั้งคำถามว่าการได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวของแกนนำ นปช. นั้น
ไม่ใช่สัญญาณสู่การปรองดองหรือรุ่งอรุณของประชาธิปไตย
เพราะในคืนวันที่ 21 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่ตำรวจได้จับนายสุรชัย แซ่ด่าน
หรือนายสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ แกนนำกลุ่มแดงสยาม ข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
ความผิดตามกฎหมายอาญา มาตรา 112 โดยนายสุรชัยกล่าวกับผู้มาสนับสนุนว่า

“ประเด็นไม่ใช่ว่าผมถูกจับแล้วมาสู้ให้ปล่อยผม
ได้หรือไม่ได้ประกัน ไม่ต้องโวยวายหรือมาสู้ให้ผม
แต่ประเด็นสำคัญคือ
เป็นโอกาสที่ผมจะได้รณรงค์ยกเลิกมาตรา 112 กฎหมายหมิ่นฯ
และได้เวลาเปลี่ยนแปลงสถาบันเบื้องสูงให้พ้นวังวนการเมือง”

คำพูดของนายสุรชัยจึงเหมือนการปลุกกระแส
ให้กลุ่มที่เคลื่อนไหวยกเลิกมาตรา 112 กลับมาแพร่หลายอีกครั้ง
เพราะหลังจากการจับนายสุรชัย เว็บไซต์ไทยอีนิวส์รายงานว่า
ทำให้กลุ่ม “ไม่เอา 112” แพร่กระจาย ไปในเฟซบุ๊คอย่างรวดเร็วเหมือน “โรคระบาดใหม่”
ทั้งที่ก่อนหน้านี้ก็มีการเคลื่อนไหวมาอย่างต่อเนื่อง โดยทางกลุ่มได้อธิบายเหตุผลว่า
เพราะไม่ต้องการให้มาตรา 112 มาเป็นเครื่องมือทางการเมือง

แอบอิงเบื้องสูง

เหมือนหนังสือ “ขบวนการลิ้มเจ้า”
ที่ทีมข่าวโลกวันนี้ได้เปิดเผยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศไทย
โดยการนำเสนอที่มาของวาทกรรมและวาระซ่อนเร้นที่จุดประสงค์แท้จริง
พยายามอ้างแอบ แนบชิด และบิดเบือน
เอาสถาบันเบื้องสูงมาใช้เพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง ทำลายล้างฝ่ายตรงข้าม
ตั้งแต่การจัดตั้งกลุ่มการเมืองผ่านภาคประชาชน
เพื่อโค่นรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ด้วยวาทกรรมโค่นล้ม “ระบอบทักษิณ”
โดยกล่าวหาว่าเป็น “ขบวนการล้มเจ้า”
จนเป็นหนึ่งในข้ออ้างทำรัฐประหาร 19 กันยายน 2549
และเหตุการณ์ “เมษา-พฤษภาอำมหิต”
ที่มีผู้เสียชีวิตถึง 91 ศพ และบาดเจ็บพิการเกือบ 2,000 คน
ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.)
ยังอุปโลกน์ผังเครือข่าย “ขบวนการล้มเจ้า”
มากล่าว หาแกนนำ นปช. และนักการเมืองฝ่ายตรงข้าม
โดยใช้มาตรา 112 เป็นเครื่องมือทำลายคู่แข่งทางการเมือง
และผู้ที่มีความเห็นแตกต่าง
จนผู้มีรายชื่อดังกล่าวนำเรื่องฟ้องร้อง ศอฉ. ขณะนี้

รัฐประหารกับเบื้องสูง

ยิ่งย้อนกลับไปตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เห็นชัดเจนว่า
การปฏิวัติรัฐประหารที่เป็นเหมือน “มรดกอุบาทว์” มาจนทุกวันนี้นั้น
มีการใช้สถาบันเบื้องสูงทำลายล้างฝ่ายตรงข้ามมาโดยตลอด
อย่างกรณีนายปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษ ที่ถูกใส่ร้ายป้ายสีกรณีสวรรคตของรัชกาลที่ 8

อย่างบทความ “20 ปี รสช. สถาบันกับรัฐประ-หารกษัตริย์ สถาบันกษัตริย์กับรัฐประหาร”
ในเว็บไซต์ ไทยอีนิวส์ได้กล่าวถึงประวัติศาสตร์การเมืองไทยยุคใหม่ว่า
มีการหยิบยกสถาบันกษัตริย์ว่าเป็นเครื่องมือทำลายล้างฝ่ายปฏิปักษ์ทางการเมืองมาตลอด
นับตั้งแต่คราว รัฐประหารพฤศจิกายน 2490 คือ
กรณีคดีสวรรคตของรัชกาลที่ 8 ที่ทหารนำมาอ้างทำรัฐประหารปี 2500

เหตุการณ์การปฏิวัติประชาชนในเดือนตุลาคม 2516 ก็มีการใส่ความว่า
พ.อ.ณรงค์ กิตติขจร บุตรชาย จอมพลถนอม กิตติขจร มักใหญ่ใฝ่สูง
จะเป็นประธานาธิบดีคนแรกของประเทศไทย
ในขณะที่เหตุการณ์นองเลือด เดือนตุลาคม 2519
มีการใส่ความนักศึกษาฝ่ายซ้ายว่าเล่นละครแขวนคอดูหมิ่นองค์รัชทายาท
เช่นเดียวกับการรัฐประหาร รสช. 23 กุมภาพันธ์ 2534
และรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ก็มีการเอาสถาบันมาเป็นข้ออ้าง

สภาเปรซิเดียมถึงล้มเจ้า

แม้แต่ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ประธานพรรคเพื่อไทย
เจ้าของสมญา “ขงเบ้งแห่งกองทัพบก” ทั้งที่เคยดำรงตำแหน่ง
เป็นถึงนายกรัฐมนตรี ผู้บัญชาการทหารบก และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ยังถูกโจมตีว่าฝักใฝ่ลัทธิคอมมิวนิสต์ เพียงเพราะเผลอพูดเรื่อง “สภาเปรซิเดียม”
จนถูก ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ตั้งคำถามแรงๆว่า
“แล้วจะเอาในหลวงไปไว้ที่ไหน เมื่อมีสภาเปรซิเดียม!”

แม้เรื่องนี้จะผ่านมานานนับสิบๆปีแล้วก็ตาม
แต่ยังมีนักการเมืองบางพรรคพยายามนำมาใช้โจมตี พล.อ.ชวลิต

เหตุผลสำคัญอีกประการหนึ่งที่ทหารนำมาใช้อ้างในการทำรัฐประหารคือ
การทุจริตคอร์รัปชันของนัก การเมือง ไม่ว่าเป็นกรณีรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
หรือรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ที่ถูก รสช. รัฐประหาร
ทั้งที่ไม่มีหลักฐานและเอาผิดได้
แต่ก็ไม่วายที่จะหยิบยกเอาเรื่องความผูกขาดจงรักภักดีต่อสถาบันมาเป็นเครื่องมืออีกเช่นกัน
พ.ต.ท.ทักษิณจึงต้องประกาศต่อสู้เพื่อให้ได้ความยุติธรรมกลับคืนมาให้ได้
แม้ตายก็จะไปต่อสู้ในนรก

ขณะที่นายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ บุตรชายของ พล.อ.ชาติชาย
ซึ่งเวลานั้นมีหมวกอีกใบหนึ่งเป็นหัวหน้าทีมที่ปรึกษาบ้านพิษณุโลกของรัฐบาล
เปิดเผยถึงความรู้สึกขณะนั้นว่า

“ผมอับอายขายขี้หน้าชาวโลกจนไม่รู้จะตอบคำถามสื่อมวลชนตะวันตกในเวลานั้นอย่างไรดี
มันเป็นไปไม่ได้เลยในโลกยุค พ.ศ. นั้นที่จะเกิดการทำรัฐประหารยึดอำนาจขึ้นมาอีก
รัฐบาลพ่อของผมกำลังนำประชาธิปไตยมาปักหลักในประเทศนี้
รัฐบาลกำลังพัฒนาเศรษฐกิจ อาจมีปัญหาเรื่องการกระจายรายได้ แต่เราก็กำลังทำกันอยู่”

โดยเฉพาะนายไกรศักดิ์ตัดพ้อว่า ยอมรับไม่ได้อย่างยิ่งคือ การใช้เรื่องสถาบันมาเป็นเครื่องมือ

“ที่ผมยอมรับไม่ได้โดยสิ้นเชิงก็คือ
การหยิบยกเอาเรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์มาเป็นเงื่อนไขสำคัญ จะเป็นไปได้อย่างไรว่า
รัฐบาลไม่ปกป้องสถาบันกษัตริย์ คนไม่รู้หรอกหรือว่าแม่ผม (ท่านผู้หญิงบุญเรือน ชุณหะวัณ)
เคยอยู่รับใช้ใกล้ชิดสมเด็จย่า
ผมตอนเด็กๆก็เข้าไปวิ่งเล่นในวังของท่าน ยังเรียกท่านว่าเด็จยายๆอยู่เลย”

ผู้ก่อการร้าย-ล้มเจ้า

ดังนั้น เกือบ 80 ปีของการเมืองไทยยังวนเวียนอยู่กับการรัฐประหาร
และฉีกแล้วร่างรัฐธรรมนูญฉบับแล้วฉบับเล่านั้น ไม่ใช่เพราะพฤติกรรมของนักการเมือง
ที่โกงบ้านโกงเมืองเท่านั้น แต่ยังเป็นเรื่องของการแย่งชิงอำนาจ ผลประโยชน์ในกองทัพ
และกลุ่มทุนต่างๆ ทั้งกลุ่มทุนในอดีตหรือกลุ่มอำมาตย์กับกลุ่มทุนใหม่
ซึ่งมีหลักฐานชัดเจนในการโค่นล้มรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณของกลุ่มอำมาตย์ ตุลาการ นายทหาร
และกลุ่มทุน โดยนำสถาบันเบื้องสูงมาใช้เป็นเครื่องมืออย่างได้ผล

แม้แต่ปัจจุบันกลุ่มอำมาตย์และกองทัพ
ก็ยังพยายามปลุกผี “ล้มเจ้า” ขึ้นมาใช้เป็นเครื่องมือ
อย่างรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 แถลงการณ์ คปค. ฉบับที่ 1
ระบุว่ารัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้ง แบ่งฝ่าย
สลายความรู้รักสามัคคีของคนในชาติอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน
ในประวัติศาสตร์ชาติไทย
ประชาชนเคลือบแคลงสงสัยการบริหารราชการแผ่นดิน
อันส่อไปในทางทุจริต ประพฤติมิชอบอย่างกว้างขวาง
หน่วยงานองค์กรอิสระถูกครอบงำทางการเมือง
ไม่สามารถสนองตอบเจตนารมณ์
ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ทำให้การดำเนินกิจกรรมทางการเมืองเกิดปัญหาและอุปสรรคหลายประการ
ตลอดจนหมิ่นเหม่ต่อการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพแห่งองค์พระมหากษัตริย์
ผู้ทรงเป็นที่เคารพเทิดทูนของปวงชนชาวไทยอยู่บ่อยครั้ง

ขณะที่ก่อนการรัฐประหารกลุ่มพันธมิตรฯ
นำโดยนายสนธิ ลิ้มทองกุล ใช้สัญลักษณ์เสื้อเหลือง
และข้อความว่าทำเพื่อปกป้องเบื้องสูงมาเคลื่อนไหว
โจมตีรัฐบาลทักษิณอย่างหนักว่าคอร์รัปชัน
และจาบจ้วงสถาบัน เช่นเดียวกับที่ ศอฉ.
กล่าวหากลุ่ม นปช. ว่าเกี่ยวข้องกับเครือข่ายขบวนการล้มเจ้า
และนำมาซึ่งการปราบปราม
และฆ่าประชาชนอย่างโหดเหี้ยม
ในเหตุการณ์ “เมษา-พฤษภาอำมหิต” ที่มีผู้เสียชีวิตถึง 91 ศพ
และบาดเจ็บพิการเกือบ 2,000 คน

จาก สด.43 ปลอมถึงใบเกิดอังกฤษจริง!

แต่ผ่านมากว่า 9 เดือนการสอบสวนและชันสูตรพลิกศพก็แทบไม่มีอะไรคืบหน้า
ขณะที่สังคมไทยก็เหมือนคนหูหนวกตาบอด
ยอมรับการกระทำอย่างโหดเหี้ยมเลือดเย็นของรัฐบาลและกองทัพ
ยอมอยู่ภายใต้รัฐบาลที่รวมหัวกันปล้นอำนาจประชาชน

แม้แต่นายอภิสิทธิ์เองก็ถูกตั้งคำถามเรื่อง “ใบผ่านการเกณฑ์ทหาร” หรือ สด.43 ว่า
ผ่านการรับราชการทหารอย่างถูกต้องหรือไม่
เพราะกองทัพเองก็ไม่เปิดเผยผลการสอบหรือชี้แจงใดๆถึงเอกสาร
ที่มีการนำมาเปิดเผยว่านายอภิสิทธิ์ไม่ได้ผ่านการรับราชการทหาร
หรือการเป็นข้าราชการพลเรือนสังกัดกลาโหมนั้นถือว่า
ผ่านการรับราชการทหารอย่างถูกต้องหรือไม่

กองทัพบกมีเอกสารต้นขั้ว สด.9 ที่ออกให้นายอภิสิทธิ์เพื่อบรรจุเป็นทหารกองเกิน
เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2529 จริงหรือไม่ และมีเอกสาร สด.1 ของสัสดีที่ยืนยัน
การรับ สด.9 ด้วยหรือไม่ สด.43 เป็นของจริงหรือมีการปลอมแปลง

คนไทยสัญชาติอังกฤษ?

ขณะที่เรื่องสัญชาติอังกฤษของนายอภิสิทธิ์
ที่นายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม
สำนักกฎหมายอัมสเตอร์ดัม แอนด์ เพรอฟ ในฐานะทนายความของ นปช.
นำมาใช้ฟ้องร้องต่อศาลอาญาระหว่างประเทศ (ไอซีซี)
เพื่อให้ดำเนินคดีในข้อหาฆ่าประชาชน
ซึ่งเป็นช่องทางเดียวที่จะนำนายอภิสิทธิ์ขึ้นศาลอาญาระหว่างประเทศได้นั้น
นายอภิสิทธิ์ก็ไม่ยอมตอบคำถามอย่างตรงไปมาว่าได้ทำเรื่องขอถอนสัญชาติหรือไม่
อย่างล่าสุดที่กล่าวถึงกรณีที่นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.เพื่อไทย และแกนนำ นปช.
นำหลักฐานสูติบัตรของนายอภิสิทธิ์มากล่าวปราศรัยว่ายังไม่ได้สละสัญชาติอังกฤษว่า

“ผมเกิดที่ไหน ผมก็เปลี่ยนที่เกิดผมไม่ได้อยู่แล้ว ผมเกิดที่ไหนก็เกิดที่นั่นแหละครับ
แต่ผมก็ไม่ได้ใช้สิทธิ เพราะ ตอนที่ผมเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยผมก็จ่ายเงิน
ในฐานะเป็นนักเรียนต่างประเทศ และผมเดินทางไปอังกฤษ
ตั้งแต่บรรลุนิติภาวะมาไม่รู้กี่ครั้งก็ต้องใช้วีซ่าเข้าประเทศ
เพราะ ฉะนั้นก็เป็นเรื่องที่น่ามีความชัดเจนในตัวของมันอยู่แล้ว”

นอกจากนี้นายอภิสิทธิ์ยังกล่าวว่า ประเด็นอยู่ที่ว่า
ตนมีสัญชาติไทย และใช้สัญชาติไทยมาโดยตลอดในการสมัครรับเลือกตั้ง
กฎหมายไทยเขียนว่าอย่างไร ตนเป็นคนไทยก็ถือตามกฎหมายไทย
โดยไม่ยอมตอบคำถามว่าได้สละสัญชาติแล้วหรือไม่

อีแอบโมเดล?

การเมืองไทยภายใต้รัฐบาลอภิสิทธิ์ และเงาทมิฬของกองทัพและกลุ่มอำมาตย์
จึงยากที่สังคมไทยจะได้เห็นความยุติธรรม และประชาธิปไตยที่แท้จริง
เช่นเดียวกับวาทกรรมปรองดองที่นายอภิสิทธิ์พยายามชูขึ้นมา
เพื่อฟอกตัวจากเหตุการณ์ “เมษา-พฤษภาอำมหิต”

ประชาธิปไตยและความยุติธรรมจึงต้องมาจากประชาชน
ต้องมีอำนาจเหนือกองทัพและกลุ่มอำมาตย์
เช่นเดียวกับการลุกขึ้นมาปฏิวัติของประชาชนในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ
เพื่อโค่นล้มอำนาจเผด็จการและความไม่เป็นธรรมขณะนี้
โดยเฉพาะกรณีอียิปต์โมเดลที่เป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจของโลกอาหรับนั้น
ทำให้ผู้นำเผด็จการทรราชทั่วโลกหวาดผวา ต้องเร่งปฏิรูปอำนาจและปฏิรูปการเมือง

แต่ประเทศไทยที่อำนาจการเมืองการปกครองยังวนเวียนอยู่กับ “วงจรอุบาทว์”
การปฏิวัติรัฐประหาร และประชาธิปไตยจอมปลอม ไม่สามารถทำได้ง่ายๆ
เพราะอำนาจที่แท้จริงไม่ใช่รัฐบาลหุ่นเชิด
แต่อยู่ที่ “อีแอบ” และ “อำนาจพิเศษ” ที่สังคมทั้งกลัวและไม่กล้าแตะต้อง

การต่อสู้เพื่อความยุติธรรมและประชาธิปไตยที่แท้จริงของประชาชน
จึงต้องสุขุมและรอบคอบอย่างยิ่ง เพราะไม่ใช่ต่อสู้กับผู้นำ “ศรีธนญชัย”
ที่เป็นแค่หุ่นเชิดเท่านั้น แต่ต้องสู้กับ “อีแอบ” และ “อำนาจที่มองไม่เห็น”
โดยกองทัพพร้อมจะเข่นฆ่าประชาชน เหมือนเหตุการณ์ 6 ตุลาวิปโยค
พฤษภาทมิฬ และเมษา-พฤษภาอำมหิต
เพราะ “อีแอบ” คิดว่าประเทศนี้เป็นของ “อีแอบ” ไม่ใช่ของประชาชน

เหมือนอย่างที่ พ.อ.มูอัมมาร์ กัดดาฟี ผู้นำเผด็จการลิเบีย ประกาศจะสู้ตาย
และบดขยี้ประชาชนทุกคนที่ลุกขึ้นมาขับไล่ว่า
“นี่คือประเทศของผม ผมจะสู้จนกระทั่งเลือดหยดสุดท้าย”
ซึ่งไม่ได้แตกต่างจากความรู้สึกของ “อีแอบ”
และกลุ่มอำมาตย์ในสังคมไทย
ที่ตีค่าประชาชนไทยเป็นแค่ไพร่และข้าทาสที่ต้องก้มหัวรับใช้เท่านั้น

การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยและความยุติธรรม ประชาชนและคนเสื้อแดง
จึงต้องมีความชัดเจนว่าอะไรคือเป้าหมายที่แท้จริง
ต้องสุขุมมั่นคง และมียุทธศาสตร์ทั้งระยะสั้น ระยะยาว
เพราะการต่อสู้ครั้งนี้ไม่ใช่การต่อกรกับรัฐบาลที่เป็นเพียงผู้รับใช้
แต่ เป็นการต่อสู้กับ “อีแอบ” ที่แยบยลเหนือ ชั้นกว่าที่มองเห็น

“อียิปต์โมเดล” ไปแล้ว แต่ “อีแอบโมเดล” ยังอยู่ยงคงกระพัน

ที่มา : นิตยสารโลกวันนี้วันสุข ปีที่ 6 ฉบับ 300
วันที่ 26 กุมภาพันธ์ – 4 มีนาคม พ.ศ. 2554 หน้า 16
คอลัมน์ เรื่องจากปก โดย ทีมข่าวรายวัน


http://www.dailyworldtoday.com/newsblank.php?news_id=9792

ใช้ทหารปราบ

ที่มา ข่าวสด

คอลัมน์ ทิ้งหมัดเข้ามุม

สับไก กระสุนธรรม




เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในลิเบียที่มีหน่วยสไนเปอร์ และกองกำลังทหารออกปราบปรามผู้ชุมนุมต่อต้านรัฐบาล เป็นหัวข้อที่พูดกันในเมืองไทยทั้งทีเล่นและทีจริงว่า

ไม่รู้มาเลียนแบบบ้านเราหรือเปล่า

ยิ่งรัฐบาลของโมอัมมาร์ กัดดาฟี ผู้นำประเทศ แถลงว่า บุคคลที่ทางการ "จัดการ" นั้นไม่ใช่คนธรรมดา แต่เป็น "ผู้ก่อการร้าย"

ยิ่งชวนให้เปรียบเทียบมากขึ้นไปอีก


มาถึงตอนนี้ ความรุนแรงในลิเบียล้ำเกินไปมาก กลายเป็นการสู้รบระหว่างกองกำลัง ส่อเค้าสู่สงครามกลาง เมือง

ยิ่งรัฐบาลปิดกั้นข่าวสารมากเท่าไหร่ ยิ่งทำให้ข่าวลือต่างๆ สะพัดเร็วขึ้น และเป็นผลเสียหายกับรัฐบาลเอง

ข่าวที่ว่ามียอดผู้เสียชีวิตกว่า 300 และอาจถึง 1,000 รายนั้นยังตรวจสอบไม่ได้

แต่ก็ทำให้นานาประเทศพากันวิตก และสหประชาชาตินำเรื่องเข้าคณะมนตรีความมั่นคงจนมีแถลงการณ์ประณามออกมา

ส่วนมหาอำนาจสหรัฐอเมริกา ที่ไม่ได้ญาติดีอะไรกับกัดดาฟี ไม่เหมือนกรณีฮอสนี มูบารักของอียิปต์ ก็ไม่รอช้าที่จะเป็นผู้นำการประณามด้วย

เพราะการใช้กำลังทหารต่อพลเรือนนั้นผิดชัดเจน

และเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของสถานการณ์ที่ทำให้อำนาจของกัดดาฟี ผู้ปกครองประเทศมานาน 40 ปี ต้องสั่นคลอนอย่างคาดไม่ถึง

นางนาวี พิลเลย์ ข้าหลวงใหญ่แห่งสำนักงานสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ กล่าวว่า การใช้กำลังต่อพล เรือนถือเป็นการก่ออาชญา กรรมต่อมนุษยชาติ

ประเด็นนี้เป็นอีกหัว ข้อที่ย้อนกลับมาเปรียบเทียบกับกรณีของไทย

หลังจากกลุ่มคนเสื้อแดงส่งทนายฝรั่งยื่นคำร้องต่อศาลอาญาระหว่างประเทศขอให้มีคณะกรรมการตรวจสอบว่า รัฐบาลสั่งการใช้กำลังทหารต่อผู้ชุมนุม

แม้จำนวนผู้เสียชีวิตในเหตุ การณ์ของไทยไม่ถึงหลักร้อย

แต่หนึ่งศพก็คือชีวิตเช่นเดียวกัน

หากมีการใช้กำลังทหารสังหารประชาชนของตนเองเกิดขึ้นจริง ไม่ว่าจะมีบทพิสูจน์ในระดับชาติหรือระดับโลก

ผู้สั่งการควรรับรู้ว่า สิ่งนี้ผิดและ...บาป

คำสารภาพ

ที่มา ข่าวสด

คอลัมน์ ชกไม่มีมุม

วงค์ ตาวัน



เป็นอันว่านายกฯอภิสิทธิ์ได้ยอมรับกลางสภาแล้ว หลังจากโยกซ้ายโยกขวา เต้นติ๊ดชึ่งถีบถอยๆ วนไปวนมาอยู่หลายยก จนคนดูส่วนใหญ่เริ่มจับได้ว่า ลองไม่ยอมตอบตรงๆ ก็แปลว่าใช่แหง

ในที่สุดก็รับแล้วว่า ยังไม่ได้สละสัญชาติอังกฤษ

นั่นทำให้นายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ถึงกับยิ้มร่า

เพราะมีผลต่อคดี 91 ศพที่กำลังรอขึ้นพิจารณาในศาลอาญาระหว่างประเทศ

พร้อมกับได้ที กล่าวเย้ยหยันนายกฯไทยว่า แล้วเหตุใดจึงปกปิดเรื่องนี้มานับเดือนกว่าจะยอมรับว่าเป็นความจริง

เหมือนที่ปกปิดความจริงในเหตุการณ์ 91 ศพนั้นหรือเปล่า!

เอาเป็นว่า เมื่อความจริงประจักษ์ชัดว่านายกฯอภิสิทธิ์ยังมีสัญชาติอังกฤษอยู่ ย่อมมีโอกาสที่ศาลอาญาระหว่างประเทศจะรับพิจารณาคดี

โดยอาศัยเงื่อนไขที่นายกฯไทยมีสัญชาติอังกฤษ ซึ่งประเทศอังกฤษเป็นรัฐภาคีกับศาลอาญาระหว่างประเทศ

หลังจากที่ก่อนหน้านี้รัฐไทยกระหยิ่มยิ้มย่องมาตลอดว่า ไม่สามารถนำคดีฟ้องศาลโลกได้

จนกระทั่งเจอทีเด็ดของทนายอัมสเตอร์ดัมเข้าให้

ทีแรกเมื่อเปิดประเด็นนายกฯอภิสิทธิ์มีสัญชาติอังกฤษ ก็ไม่มีคำตอบที่ชัดเจนออกมา

พูดแต่เพียงว่า ผมเป็นคนไทย ถือสัญชาติไทย แต่ผมก็เกิดอังกฤษไปเปลี่ยนแปลงไม่ได้!?!

เมื่อซักถามกันหนักขึ้น นายกฯก็มักอ้างอิงกกต. เพราะรองรับให้สามารถลงเลือกตั้งได้ เนื่องจากมีสัญชาติไทยโดยการเกิด ด้วยความที่พ่อแม่เป็นคนไทย

จนกระทั่งฝ่ายเสื้อแดงโดยนายจตุพร พรหมพันธุ์ ต้องออกมาจี้ในประเด็นที่ว่า ยังถือ 2 สัญชาติอยู่หรือไม่ เพราะเมื่อเกิดในอังกฤษย่อมมีสัญชาติอังกฤษด้วย

จนล่าสุดด้วยการไล่จี้ของนายจตุพรในสภา ทำให้นายกฯต้องยอมรับว่า ยังไม่ได้สละสัญชาติอังกฤษ

ส่วนจะเป็นบทสรุปให้ศาลอาญาระหว่างประเทศรับฟ้องนายกฯไทยในคดี 91 ศพเลยหรือไม่ คงต้องติดตามกันต่อไป

ถ้าสุดท้ายคดีนี้ต้องขึ้นศาลโลกจริงๆ คงเป็นคดีประวัติศาสตร์ของการเมืองไทย

เริ่มต้นเลย ถ้าหากหลังเกิดเหตุซึ่งมีประชาชนที่ชุมนุมทางการเมืองถูกปราบปรามจนเป็นศพ

แล้วผู้มีอำนาจสั่งการรับผิดชอบทางการเมืองในทันที ทุกอย่างจะคลี่คลาย

ประการต่อมา ถ้าผู้รับผิดชอบไม่รับผิดชอบ แต่หากกลไกด้านการสืบสวนสอบสวนเดินหน้าอย่างเป็นธรรมก็จบ

คงไม่ต้องไปพึ่งศาลโลก

แล้วอุตส่าห์มีช่อง 2 สัญชาติเสียอีก!