WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, August 6, 2011

ทุ่ม1.8 ล้านล้านสร้างเมืองใหม่ แผน"เพื่อไทย" ใช้พื้นที่2แสนไร่ จ้างบริษัทระดับโลกออกแบบ

ที่มา มติชน



แหล่งข่าวจากพรรคเพื่อไทย เปิดเผยว่า นโยบายการถมทะเลสร้างเมืองใหม่ของพรรคเพื่อไทย หนึ่งในโครงการการลงทุนขนาดใหญ่ หรือ เมกะโปรเจ็กต์ จะต้องถูกผลักดันให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรมภายใต้การบริหารงานของรัฐบาลพรรค เพื่อไทยให้ได้ ภายหลังจากที่มีการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ขึ้นมาบริหารงานแล้ว นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จะลงนามในคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่ง เพื่อศึกษาและจัดทำรายละเอียดการดำเนินงานนโยบายนี้อย่างเป็นทางการ ส่วนการลงทุนคาดว่าจะใช้รูปแบบพีพีพี หรือการลงทุนร่วมระหว่างภาครัฐและเอกชน เป็นหลัก

แหล่ง ข่าวกล่าวว่า ส่วนขั้นตอนการออกแบบเมืองใหม่ จะว่าจ้างบริษัทชื่อดังระดับโลกเข้ามาจัดทำให้ มองไว้แล้ว 2-3 แห่ง ยึดรูปแบบการดำเนินงานเหมือนเมืองอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ เมื่อได้รายละเอียดนโยบายทั้งหมด จะเปิดประชาพิจารณ์ เพื่อรับฟังความเห็นจากประชาชนด้วย จากการประเมินเบื้องต้นคาดว่า เมืองใหม่จะมีพื้นที่ประมาณ 2 แสนไร่ ใช้เงินลงทุนประมาณ 1.6-1.8 ล้านล้านบาท ต้นทุนไร่ละ 6-8 ล้านบาท แต่ประเทศไทยจะได้ผลประโยชน์ตอบแทนจากการนำพื้นที่จำนวนนี้เปิดให้เอกชนทั้ง ในและต่างประเทศเข้ามาลงทุน ใช้พื้นที่คืนกลับมาได้อีกเท่าตัวหนึ่ง หรือคิดเป็นเงินประมาณ 2 ล้านล้านบาทŽ

แหล่งข่าวกล่าว ว่า สำหรับรูปแบบเมืองใหม่จะเป็นกรีนซิตี้ มีความพร้อมด้วยระบบผังเมืองและสาธารณูปโภคทุกชนิด นำธุรกิจอนาคตของประเทศไทยย้ายเข้าไปสู่เมืองนี้ ไม่ว่าจะเป็น ศูนย์กลางทางการเงิน การรักษาพยาบาล และเป็นศูนย์กลางสำนักงานใหญ่ของบริษัทข้ามชาติในภูมิภาคนี้ มีรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อมต่อกับกรุงเทพฯ ได้สะดวก ผลักดันให้เป็นศูนย์กลางของภูมิภาคอาเซียนอย่างแท้จริง

แหล่ง ข่าวกล่าวว่า ส่วนกระแสการต่อต้านจากประชาชนในพื้นที่และกลุ่มเอ็นจีโอต่างๆ ยอมรับว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่อาจจะทำให้นโยบายนี้เกิดปัญหาได้ ดังนั้น เมื่อได้รายละเอียดนโยบายชัดเจนแล้ว โดยเฉพาะพื้นที่ก่อสร้าง รัฐบาลจะรีบทำความเข้าใจกับสังคม เพื่อให้เกิดการยอมรับ เพราะนโยบายนี้เป็นเรื่องสำคัญต่อประเทศ โดยเฉพาะการป้องกันปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฯ คาดว่าภายในช่วง 20-30 ปีข้างหน้าจะต้องประสบปัญหานี้แน่นอน

ความประทับใจ

ที่มา มติชน



โดย สรกล อดุลยานนท์

(ที่มา คอลัมน์สถานีคิดเลขที่ 12 หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับประจำวันที่ 6 สิงหาคม 2554)

วันนี้ "ฝ่ายค้าน" ที่น่ากลัวที่สุดของรัฐบาล "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร"

ไม่ใช่ "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" ไม่ใช่ "ชวน หลีกภัย"

แต่เป็น "ความคาดหวัง"

แม้ว่าเหตุผลหนึ่งที่พรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้งมาจากกลุ่มคนที่ไม่พอใจพรรคประชาธิปัตย์ และ "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ"

แต่เหตุผลที่ใหญ่กว่ามาจาก "ความหวัง" ที่พรรคเพื่อไทยสร้างขึ้นมา

หวังว่าเศรษฐกิจจะดีขึ้น

หวังว่าล้วงกระเป๋าแล้วมีเงินเต็มกระเป๋า

หวังว่าจะได้ค่าแรง 300 บาท

หวังว่าจะได้บัตรเครดิตชาวนา

หวังว่าจะได้จำนำข้าวเปลือก 15,000 บาท ข้าวหอมมะลิ 20,000 บาท

หวังว่าจะได้บ้านหลังแรก รถคันแรก ฯลฯ

ยิ่ง "เพื่อไทย" หาเสียงจนทำให้คน "คาดหวัง" สูงเท่าไร คนทำงานก็ยิ่งเหนื่อยมากเท่านั้น

เพราะความรู้สึก "สมหวัง" หรือ "ผิดหวัง" นั้น คนเราจะวัดจาก "ผลที่ได้รับ" กับ "ความคาดหวัง"

ถ้าผลงานที่ออกมาสูงกว่า "ความคาดหวัง"

เราก็จะ "สมหวัง"

แต่หากคาดหวังสูง แต่ผลที่ได้จริงต่ำกว่าที่เราหวังไว้

เราจะ "ผิดหวัง"

การบริหารความคาดหวังจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก

และเรื่องแรกที่จะเรียกเสียง "เฮ" หรือเสียง "ยี้" ก็คือ รายชื่อคณะรัฐมนตรี "ยิ่งลักษณ์"

ยิ่งมีกระแสข่าวออกมาจากพรรคเพื่อไทยว่า "ทักษิณ" และ "ยิ่งลักษณ์" อยากจัดรัฐบาลที่มีภาพพจน์ดี

ยิ่งทำให้คนคาดหวังสูง

อาจ เป็นโชคดีของพรรคเพื่อไทยที่ชนะการเลือกตั้งอย่างถล่มทลายจนคะแนนเสียงเกิน กว่าครึ่งทำให้การจัดวางตัวรัฐมนตรีครั้งนี้ง่ายกว่าทุกครั้ง

ประการแรก พรรคร่วมรัฐบาลมี "อำนาจต่อรอง" น้อยลง

ประการที่สอง ส.ส.ในพรรคเพื่อไทยไม่มี "อำนาจต่อรอง"

เพราะ ส.ส.ทั้งหมดก็รู้ว่าการเข้าสู่สภาครั้งนี้ไม่ได้มาจากพลัง "ตัวบุคคล" เป็นหลัก

แต่มาจากกระแส "ทักษิณ" และ "นโยบาย" เป็นหลัก

ชนิดที่ ส.ส.เพื่อไทยคนไหนที่คิดว่ามีฐานเสียงส่วนตัวดี พอย้ายไปอยู่พรรคอื่นก็สอบตก

ดังนั้น ส.ส.จึงมี "อำนาจต่อรอง" กับ "ทักษิณ-ยิ่งลักษณ์" ต่ำมาก

ประการที่สาม รายชื่อ ครม. "ยิ่งลักษณ์" จะถูกนำไปเปรียบเทียบกับคณะรัฐมนตรีชุด "อภิสิทธิ์" ซึ่งเป็นรัฐบาลผสม ที่พรรคร่วมรัฐบาลมี "อำนาจต่อรอง" สูง

รายชื่อรัฐมนตรีแต่ละกระทรวงจึงผิดฝาผิดตัว และเต็มไปด้วยรัฐมนตรีที่เป็น "นอมินี"

เรื่องนี้เป็นเรื่องน่าเห็นใจมากสำหรับ "อภิสิทธิ์"

ดังนั้น หากรายชื่อรัฐบาล "ยิ่งลักษณ์" ประกาศออกมาแล้วภาพลักษณ์แย่กว่ารัฐบาล "อภิสิทธิ์"

เท่ากับว่า "ยิ่งลักษณ์" ได้ทิ้ง "โอกาส" ที่ดีที่สุดของตัวเองไป

เพราะถ้าก้าวแรกดี ก้าวที่สองก็ง่ายขึ้น

อย่าลืมว่า "ความประทับใจ" จะเกิดขึ้นกับการเจอกัน "ครั้งแรก"

เราไม่มี "โอกาสครั้งที่ 2"

สำหรับ "ความประทับใจ"

หวังว่า ครม. "ยิ่งลักษณ์" จะทำให้คนไทยประทับใจ

300-15,000 บาท กำไรจากนโยบายเพื่อไทย

ที่มา มติชน



โดย จำลอง ดอกปิก

(ที่มา คอลัมน์ระหว่างวรรค หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับประจำวันที่ 6 สิงหาคม 2554)

รัฐบาล "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" กำลังเข้าสู่ภาคการบริหารราชการแผ่นดินเต็มรูปแบบ นโยบายหลายเรื่องที่ประกาศเป็นคำมั่นสัญญา ได้รับการจับตามองเป็นอย่างมากว่า ภาคปฏิบัตินั้นจะทำได้จริงหรือไม่ และครบถ้วนสมบูรณ์เพียงใด

ที่กล่าวถึง และมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ออกมาค่อนข้างมาก มีอยู่อย่างน้อย 2 เรื่อง นั่นคือ นโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศ และเงินเดือนแรกเข้าสำหรับผู้จบการศึกษาระดับปริญญาตรี 15,000 บาท

นโยบาย ค่าแรง 300 บาทนั้น นอกจากผู้มีส่วนได้-เสียโดยตรง คือนายจ้างผู้ประกอบกิจการ กับฝ่ายลูกจ้างแล้ว ยังมีภาควิชาการ สถาบันต่างๆ ออกมาชี้ข้อดี-ข้อด้อย แสดงความห่วงใยผลกระทบอันอาจเกิดขึ้นตามมาเป็นลูกโซ่ในทางเศรษฐกิจ เช่นเดียวกันกับนโยบายเงินเดือน 15,000 บาท ที่ต้องกระทบงบประมาณอย่างแน่นอน สำหรับการเพิ่มเงินเดือนขั้นต้นข้าราชการบรรจุใหม่ และอาจหมายรวมถึงต้องขยับในระดับถัดไปเพื่อความเป็นธรรมด้วย

กระนั้นไม่ว่ารัฐบาลจะผลักดัน 2 เรื่องนี้ได้สำเร็จ ครบถ้วนสมบูรณ์ทั้งเป้าหมายตัวเลข และระยะเวลาหรือไม่ก็ตาม

ด้าน หนึ่งย่อมถือได้ว่า สังคมได้กำไรจากสองเรื่องสองนโยบายนี้แล้ว เมื่อมีการหยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นสาธารณะ วิพากษ์วิจารณ์ ศึกษาผลดี-ผลเสียอย่างจริงจัง พร้อมกับเสนอแนะทางออก เพื่อมิให้เกิดผลกระทบรุนแรง

ส่วนใหญ่เป็นทางออกที่ให้การยอมรับว่า ถึงเวลาต้องยกระดับคุณภาพชีวิตของคน 2 กลุ่มนี้ และถึงเวลาแล้วที่ภาคธุรกิจต้องปรับตัวเพื่อการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างไม่ เอารัดเอาเปรียบ

ยอมรับความจริงว่า ค่าแรงและเงินเดือนข้าราชการปัจจุบันนั้น ไม่เพียงพอและเหมาะสมต่อพื้นฐานการครองชีพ

ไม่ ว่าจะเป็นเรื่องค่าแรง 300 บาท หรือแม้แต่เงินเดือน 15,000 บาท ทางออกหรือข้อเสนอแนะ ภายหลังการถกเถียงกันด้วยเหตุด้วยผล ล้วนแต่เป็นไปในทิศทางบวกทั้งสิ้น

นั่นคือแทบทุกฝ่ายยอมรับและเห็น ตรงกันว่า ควรขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ และต้องปรับฐานเงินเดือนข้าราชการแรกเข้าสำหรับผู้จบปริญญาตรี เหลือแต่เพียงวิธีการเท่านั้นว่า เรื่องค่าแรงนั้น จะปรับขึ้นรวดเดียว หรือค่อยเป็นค่อยไป เงินเดือนข้าราชการจะขึ้นอย่างไร ซ่อนอยู่ในรูปค่าครองชีพ ปรับฐานใหม่ ฯลฯ

เห็นทิศทางและแนว โน้มชัดเจนยิ่งว่า ผู้ใช้แรงงาน และผู้จบการศึกษาระดับปริญญาตรีใหม่นั้น จะได้ปรับขึ้นค่าแรง และเงินเดือนใหม่อย่างแน่นอน

จะเรียกว่าเป็นอานิสงส์เบื้องต้นจากนโยบายเพื่อไทยก็คงไม่ผิดนัก!

สำหรับ เรื่อง 15,000 บาทนั้น มีไอเดียเป็นรูปธรรมบ้างแล้ว อย่างแนวคิดท่านผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ คุณวลัยรัตน์ ศรีอรุณ ก็เข้าท่าดี ขออนุญาตนำมาถ่ายทอด

ผู้อำนวยการสำนักงบฯบอกว่า โครงสร้างเงินเดือนข้าราชการเริ่มต้น วุฒิปริญญาตรี หรือระดับปฏิบัติการ ซี 3 นั้นประมาณ 8,000 บาท สูงสุดระดับ 11 เงินเดือนไม่เกิน 70,000 บาท

หาก พิจารณาเส้นกราฟปัจจุบัน อยู่ในลักษณะลาดชันมาก อธิบายได้ง่ายๆ คือช่วงต้นของชีวิตราชการได้รับเงินเดือนน้อยและขั้นที่ขึ้นแต่ละปีก็น้อย มากๆ จึงจำเป็นต้องปากกัดตีนถีบ และค่อยๆ ไต่เต้าขึ้นไปกินเงินเดือนสูงๆ ในช่วงก่อนวัยเกษียณ ซึ่งจะเห็นว่ามีเส้นกราฟชีวิตที่ลาดชันทำมุม 40-45 องศา

แนวคิดใหม่นี้ คือ การทำให้เส้นกราฟเงินเดือนข้าราชการอยู่ในลักษณะลดความลาดชันลง เกือบเป็นแนวราบ ข้าราชการปริญญาตรีจบใหม่จะมีเงินเดือนเริ่มต้น 15,000 บาท แล้วค่อยๆ ขยับขึ้นไปเรื่อยๆ จนถึง 40,000-50,000 บาท วิธีการนี้จะทำให้องศาเส้นกราฟเปลี่ยนแปลงไปโดยไม่เป็นภาระต่องบประมาณใน ระยะยาว แม้กระทบงบประมาณระยะแรก แต่ในท้ายที่สุดแล้วเม็ดเงินที่รัฐบาลจ่ายจริงให้แก่ข้าราชการระหว่างจุด เริ่มต้นที่ 8,000 บาท กับ 15,000 บาท จะใกล้เคียงกันมาก ทั้งนี้เนื่องจากการกำหนดเพดานเงินเดือนสูงสุดใหม่นั้น จะไม่เกิน 50,000 บาท

การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างมาเป็นแบบนี้ ทำให้ข้าราชการหนุ่มสาวมีความกระตือรือร้นในการทำงานมากขึ้น เพราะได้รับเงินเดือนสูงโดยไม่ต้องรับจ๊อบอื่นๆ นอกเวลาราชการ

ช่วงวัยเริ่มต้นของการทำงานถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ทุกคนอยากมีบ้าน มีรถยนต์ มีครอบครัว แต่เงินเดือนกลับไม่พอแม้จุนเจือครอบครัว

เรื่องนี้ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณหารือกับปลัดกระทรวงการคลัง และสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนเบื้องต้นแล้ว!

เป็นรูปธรรมอีกขั้นของนโยบาย 15,000 บาท ที่น่าสนับสนุน

ครับ หากคนหนุ่ม-สาว หรือใครต่อใครไม่ต้องปากกัดตีนถีบแล้วย่อมมีไฟ มีความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน สิ่งดีงามในสังคมคงตามมาอีกมากมาย

"ผู้นำ"อะไร?

ที่มา ข่าวสด

คอลัมน์ เหล็กใน
มันฯ มือสือ



อาการฝุ่นตลบในการจัดโผรัฐมนตรี ถึงจะเป็นแค่สีสันการเมืองที่มีมาทุกยุคทุกสมัยไม่ว่าพรรคใดเป็นแกนนำรัฐบาล

แต่หลายคนยังอดเป็นห่วงไม่ได้ว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกฯ หญิงมือใหม่ จะมีความสามารถจัดการกับปัญหาน่าปวดหัวนี้อย่างไร

ยังดีที่ลำพังเพื่อไทยพรรคเดียวมีส.ส.เกินครึ่งสภา จึงตัดปัญหาวุ่นวายในส่วนของพรรคร่วมรัฐบาลอื่นๆ ไปได้

เหลือแค่การต่อรองภายในของพรรคตนเอง ที่ถึงจะเป็นแค่สีสันแต่ก็เป็นสีสันที่ร้อนแรงขึ้นเรื่อยๆ ไม่รู้ว่าจะบานปลายไปถึงจุดใด

เนื่อง จากพรรคเพื่อไทยมีองค์ประกอบภายใน หลายกลุ่มก๊วน ซึ่งก็เป็นธรรมดาเช่นกันที่แต่ละกลุ่มก๊วนต้องการผลักดันแกนนำกลุ่มตนเอง เข้ามามีตำแหน่งในรัฐบาล

บางกลุ่มขอเพียงมีตำแหน่งรัฐมนตรีไว้ประดับ บารมี จะกระทรวงใดก็ได้ ไม่เกี่ยง แต่บางกลุ่มก็ "ล็อกสเป๊ก" มาเลยว่าต้องกระทรวงเกรดเอ เกรดต่ำกว่านั้นไม่เอา

เข้าทำนองได้คืบเอาศอก โดยอ้างว่าตนเองมีสิทธิ์เรียกร้องเก้าอี้ใหญ่ เพราะมีส่วนสำคัญในการปรา ศรัยช่วยให้พรรคชนะเลือกตั้งถล่มทลาย

หรือ อย่างบางคนที่ไม่มีคุณสมบัติความรู้ความสามารถพอ ก็จะใช้วิธีอ้างเป็นสายตรง "นายใหญ่" บางคนก็วิ่งเข้าหาญาติพี่น้องคนใกล้ชิดตระกูลชินวัตร หรือผู้ใหญ่ในบ้านเลขที่ 111 ขอตำแหน่งกันดื้อๆ

สุดท้ายถ้าพรรคไม่มีท่าทีตอบสนองก็จะแสดงอาการกระฟัดกระเฟียด แอบไปตั้งวงด่าผู้บริหารพรรคลับหลัง หนักเข้าก็ขู่จะก่อแรงกระเพื่อม

เลยเถิดถึงขั้นขู่ถอนตัวจากพรรค

เดือด ร้อนถึงน.ส.ยิ่งลักษณ์ ต้องปากเปียกปากแฉะ ฝากไปถึงลูกพรรคขอให้ใจเย็นๆ เพราะขณะนี้โผรายชื่อต่างๆ ที่ออกมาทางหน้าหนังสือ พิมพ์ ยังไม่ใช่ข้อสรุป

และพรรคไม่เคยลืมคนที่ร่วมทุกข์ร่วมสุข

อย่างไรก็ตามรายชื่อรัฐมนตรีที่ออกมา คือบททดสอบแรกในการก้าวสู่วังวนการเมือง ว่าน.ส. ยิ่งลักษณ์ มีคุณสมบัติเหมาะกับ "ผู้นำประเทศ"

หรือ เป็นได้แค่ "ผู้นำพรรคการเมือง" ที่บุญพาวาสนาส่งให้ได้เป็นนายกฯ แล้วต้องมาติดอยู่ภายใต้กับดักอิทธิพลเครือญาติ กับแรงกดดันจากกลุ่มก๊วนในพรรคไปตลอด

จนไม่อาจเป็นตัวของตัวเอง

ล้านคำบรรยาย การ์ตูนเซีย วันที่ 06/08/54 เวลาทำงานดันเชื่องช้า..ถ้าเรื่องด่ารีบเร่งจริง

ที่มา blablabla

โดย

ภาพถ่ายของฉัน




สมกับคน ปากหมา น่าสมเพช
โคตรทุเรศ สามานย์ สันดานต่ำ
คำสำราก ล้วนจัญไร ใจระยำ
หวังเหยียบย่ำ ถาโถม โหมทำลาย....


ดีแต่พูด ทั้งพรรค ไม่ยักคิด
ดัดจริต มาวิพากษ์ กากชิบหาย
ทั้งหงอกดำ หมกมุ่น เรื่องวุ่นวาย
หายางอาย จากพวกนี้ ไม่มีทาง....


พวกตนกู้ กู้กู้ รู้เต็มอก
มาตลก ลิ้นรัว หัวยันหาง
เศรษกิจ ย่อยยับ จนอับปาง
ยังมาอ้าง โน่นนี่ อัปรีย์คน....


วันวัน เอาแต่มอง จ้องคอยด่า
ช่างปากหมา เกินคิด จิตสับสน
สมชื่อพรรค สับปลับ สัปดน
จึงเวียนวน แต่คิดชั่ว มั่วทั้งปี....


รัฐบาล ยังเป็นวุ้น หมกมุ่นด่า
ช่างหน้าด้าน ไม่ระอา พวกหน้าหมี
ทำตาร้อน เร่งเร้า เห่าทันที
คิดดีดี เป็นไหม ไอ้พวกเวร....


ทิ้งปัญหา สารพัด อัดทับถม
สิ่งโสมม สร้างไว้ ใครก็เห็น
ยังคิดมา สำราก พวกกากเดน
ช่างจัดเจน เรื่องตอแหล ไม่แคร์ใคร....


วันนี้มาสาย คิดถึงทุกท่านครับ ขอบคุณครับ


๓ บลา / ๖ ส.ค.๕๔

ญาติเหยื่อปราบม็อบแดงบี้หาตัวคนรับผิดชอบ-ศอฉ.ออกคำสั่งยิงประชาชน

ที่มา ข่าวสด



วัน ที่ 6 ส.ค.นายณัทพัช อัคฮาด น้องชายของน.ส.กมนเกด อัคฮาด หรือน้องเกด พยาบาลอาสาที่ถูกยิงเสียชีวิตในวันปทุมวนาราม ในวันรัฐใช้กำลังสลายม็อบคนเสื้อแดงราชประสงค์ เมื่อ 19 พ.ค.ปีก่อน กล่าวถึงกรณีการเผยแพร่เอกสารลับเกี่ยวกับคำสั่งขอศอฉ. ให้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าเคลียร์พื้นที่การชุมนุมบริเวณสะพานผ่านฟ้าและพื้นที่ ใกล้เคียง วันที่ 10 เม.ย. 53 ว่า เป็นคำสั่งที่มิชอบด้วยกฏหมาย ดังนั้นในเรื่องนี้ตนจะตรวจสอบข้อมูลอย่างละเอียดในคำสั่งนี้อีกครั้งว่า หน่วยงานไหนบ้างที่รับคำสั่งนี้ไปปฏิบัติการในการปราบปรามฆ่าประชาชนปีที่ ผ่านมา พร้อมทั้งจะออกมาเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับพี่สาวตนและผู้ เสียชีวิตและบาดเจ็บอีกจำนวนมากในทั้ง 2 เหตุการณ์ เพราะการเสียชีวิตและบาดเจ็บของประชาชนนั้นมาจากคำสั่งลับใบนี้ และวันนี้ก็ถูกเปิดเผยความจริงออกมา

นายณัทพัช กล่าวต่อว่า ผ่านมากว่า 1 ปี ผู้เสียชีวิตที่บริสุทธิ์ทั้ง 2 เหตุการณ์ในเดือน เม.ย.-พ.ค.53 เหล่านั้นก็ยังไม่ได้รับความเป็นธรรม ผู้บาดเจ็บที่ไม่รู้เรื่องและไม่ใช่ผู้ก่อการร้าย หรือชายชุดดำที่นายอภิสิทธิ์ และนายสุเทพ กล่าวหาก็ได้รับความช่วยเหลือยังไม่เต็มที่ ดังนั้นในเรื่องนี้ตนจะเดินหน้าค้นหาความจริงให้ถึงที่สุด จนกว่าจะได้ตัวฆาตกรที่ฆ่าและสั่งฆ่าประชาชนนี้มาเข้าสู่กระบวนการทางกฎหมาย

นายณัทพัช กล่าว อีกว่า จากการตรวจสอบข้อความแต่ละข้อในคำสั่งลับฉบับนี้ พบว่ามีข้อที่ 2.2 ระบุให้ใช้อาวุธต่อเป้าหมาย ในระยะ 30-50 เมตร ทั้งนี้เพื่อเป็นการควบคุมวิถีกระสุนและควบคุมความเสียหายที่จะเกิดขึ้น ให้สมควรแก่เหตุและห้ามใช้อาวุธต่อเป้าหมายที่เป็นผู้หญิงและเด็ก ซึ่งตนขอตั้งคำถามว่าแล้วพี่สาวของตนที่ถูกยิงเสียชีวิตในวัดปทุมวนารามนั้น เป็นผู้หญิงใช่หรือไม่ นอกจากนี้ยังมี ด.ช.อีซา อายุ 14 ปี ที่ถูกยิงตายย่านบ่อนไก่ ก่อนที่ศพจะถูกนำไปฝังแบบไม่มีญาติที่สุสาน จ.ชลบุรี อยากถามว่าใช่เด็กหรือไม่ ซึ่งพี่สาวตนและน้องอีซาที่เสียชีวิตในครั้งนี้ก็เพราะคำสั่งฉบับนี้ จะต้องมีคนรับผิดชอบ

ด้านนายสำราญ วางาม บิดาของนายสวาท วางาม เหยื่อสไนเปอร์รายแรกบริเวณสี่แยกคอกวัว 10 เม.ย. 53 กล่าวว่า ลูกชายของตนก็ตกเป็นเหยื่อของคำสั่งลับศอฉ.ฉบับนี้เป็นรายแรก โดยถูกสไนเปอร์ยิงระยะไกลสมองกระจายเสียชีวิตคาที่ ซึ่งก่อนเกิดเหตุตนพร้อมลูกชายอีก 2 คนได้ไปร่วมชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยและต่อต้านรัฐประหารร่วมกับกลุ่มคน เสื้อแดงกันมาตั้งแต่วันที่ 12 มี.ค. เรื่อยมาจนถึง 10 เม.ย.บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยและแยกคอกวัว และในวันที่ 10 เม.ย.นี้ตั้งแต่ช่วงเช้าสถานการณ์ตรึงเครียดตลอดทั้งวัน มีเฮลิคอปเตอร์ทหารบินวนเพื่อโปรยใบปลิวให้พวกเราออกจากพื้นที่ ขณะเดียวกันก็มีคนเสื้อแดงยิงพลุตะไลขึ้นฟ้าเพื่อขับไล่เครื่องบินทหารแต่ ไม่โดนใคร จนกระทั่งช่วงเย็นถึงค่ำสถานการณ์ตรึงเครียดมากขึ้นทหารเริ่มประชิดเข้ามา ถึงคอกวัว พร้อมอาวุธนานาชนิด รวมทั้งรถหุ้มเกราะและรถถังกว่า 10 คัน มาจอดประจันหน้ากับคนเสื้อแดง และพอฟ้ามืดก็เริ่มมีเสียงปืน ขณะเดียวกันทราบว่าคนเสื้อแดงสามารถยึดอาวุธปืนทหารได้กว่า 500 กระบอก ก่อนจะนำไปที่เวทีใหญ่ สะพานผ่านฟ้า

นายสวาท กล่าวต่อว่า ช่วงประจันหน้ากับทหารที่คอกวัว พบว่าแถวหน้าส่วนใหญ่เป็นเด็กและสตรี ก็ถูกยิง ถูกแก๊สน้ำตาไปหลายคน ก่อนจะบอกให้ผู้หญิงและเด็กถอยออกมาเพื่อให้ผู้ชายเข้าไปอยู่แถวหน้าแทน ซึ่งจะเห็นว่าทหารไม่สนใจว่าจะเป็นใครก็เพราะว่าได้รับคำสั่งมาให้ยึด พื้นที่คืนให้ได้เท่านั้น ใครจะตายไม่สน ซึ่งเป็นครั้งแรกในไทยที่มีการเข้าสลายช่วงกลางคืน ซึ่งทั่วโลกไม่มีใครทำกัน อย่างไรก็ตามคำสั่ง ศอฉ.ที่ถูกเปิดเผยออกมาก็มีความชัดเจนมากขึ้นว่าใครสั่งการสลายในครั้งนี้ ในฐานะที่ตนเป็นผู้เสียหายด้วยก็ยืนยันว่าจะเดินหน้าต่อสู้เพื่อเรียกร้อง ความเป็นธรรมให้กับลูกชายต่อไป

นายสวาท กล่าวด้วยว่า ในส่วนของการเสียชีวิตของลูกชายตนนั้นตนก็เกือบที่จะไม่ได้ร่างออกมาจากจุด เกิดเหตุ เนื่องจากมีกลุ่มทหารพยายามที่จะเข้ามานำเอาศพลูกชายขึ้นรถหุ้มเกราะไป แต่ถูกคนเสื้อแดงช่วยสกัดและตนก็กอดร่างลูกชายไว้แน่นจึงไม่สามารถเอาไปได้ และเห็นมีหลายร่างที่ถูกโยนเข้าไปในรถหุ้มเกราะและรถขยะสีเขียวซึ่งไม่ทราบ ชะตากรรม และทราบมาว่ามีการแจ้งคนหายช่วงการชุมนุมนี้กว่า 1,000 ราย โดยเป็นข้อมูลจากบ้านเลขที่ 111 ที่ดำเนินการเรื่องนี้อยู่

“ใน วันที่ 9 ส.ค.นี้เวลา 10.00 น.ทางพรรคเพื่อไทย ได้เรียกประชุมญาติผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ 10 เม.ย.53 ที่พรรค เพื่อหารือเกี่ยวกับขั้นตอนการปณกิจศพของผู้เสียชีวิตที่ยังคงเก็บไว้ตามวัด ต่างๆ ซึ่งมีทั้งสิ้น 7 ศพ เก็บอยู่ที่วัดพลับพลาชัย 1 โดยจะมีกำหนดการเผาพร้อมกัน ในวันที่ 16 ต.ค.54 ที่วัดบำเพ็ญเหนือ ย่านมีนบุรี และในช่วงเช้าวันที่ 10 ส.ค.นี้ตนและญาติผู้เสียชีวิตรายอื่นๆ จะไปร่วมทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ตาย ที่วัดพลับพลาไชย 1” นายสวาท กล่าว

นาทีต่อนาที วัน"นารีขี่ม้าขาว" ชื่อ"ยิ่งลักษณ์"นั่งนายกฯ เปิดปูม"นายกฯคนที่28"

ที่มา มติชน





ประวัติศาสตร์หน้าใหม่ทางการเมืองไทย ต้องบันทึกไว้ว่า วันที่ 5 สิงหาคม 2554 คือวันที่ประเทศไทยได้นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกที่ชื่อ "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร"

โดย ตลอดทั้งวัน ทั้งก่อนที่ ส.ส.จะโหวตให้เป็นนายกรัฐมนตรี กระทั่งถึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรี น.ส.ยิ่งลักษณ์ถูกสื่อมวลชนไทยและเทศต่างเฝ้าจับความเคลื่อนไหวตลอดเวลา

นับ แต่เวลา 09.00 น. น.ส.ยิ่งลักษณ์ออกจากบ้านพัก ซอยโยธินพัฒนา 3 ย่านเลียบทางด่วนรามอินทรา-เอกมัย เดินทางไปอาคารรัฐสภา ร่วมประชุมสภาผู้แทนราษฎรเพื่อลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี

ถึงรัฐสภา เวลา 09.30 น. โดยไม่ได้ให้พลขับนำรถขึ้นจอดที่ชั้นลอย ซึ่งเป็นช่องทางที่บรรดาคณะรัฐมนตรีใช้เข้าสู่ห้องประชุมสภา โดย น.ส.ยิ่งลักษณ์ได้ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวสั้นๆ ถึงการจัดตั้งคณะรัฐมนตรี ก่อนเข้าไปพักผ่อนที่ห้องรับรอง 1 ชั้น 2 อาคารรัฐสภา

เวลา 10.00 น. เปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรเพื่อลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี น.ส.ยิ่งลักษณ์นั่งข้างๆ น.ส.ชินณิชา วงศ์สวัสดิ์ ส.ส.เชียงใหม่ หลานสาว โดย ส.ส.ที่นั่งอยู่ด้านหลังของ ส.ส.ยิ่งลักษณ์ 4 แถว ล้วนแต่เป็น ส.ส.หญิงพรรคเพื่อไทย ประมาณ 30 คน ระหว่างโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี ด้วยการขานชื่อ ส.ส.เป็นรายบุคคล ส.ส.เพื่อไทยเดินเข้ามาพูดคุยกับ น.ส.ยิ่งลักษณ์เป็นระยะ

เวลา 11.40 น. นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประกาศผลการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี มีถึง 296 เสียงลงมติเห็นชอบให้เป็นนายกรัฐมนตรี โดย น.ส.ยิ่งลักษณ์ลุกขึ้นยืน ยกมือไหว้ ส.ส.ที่อยู่ภายในห้องประชุมเพื่อแสดงความขอบคุณ จากนั้น น.ส.ยิ่งลักษณ์เดินไปขอบคุณนายชุมพล ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา (ชทพ.) และนายเสนาะ เทียนทอง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พท. ซึ่งเป็นผู้เสนอชื่อให้เป็นนายกรัฐมนตรี

โดย ส.ส.เพื่อไทยและ ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาลตั้งแถวรอแสดงความยินดีตลอดเส้นทางไปที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์เดินออกจากห้องประชุมสภา ชั้น 2 ระหว่างที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์เดินออกจากห้องประชุม ช่างภาพที่ดักรอถ่ายภาพในจุดสำหรับถ่ายภาพภายในห้องประชุมได้ตะโกนเรียก น.ส.ยิ่งลักษณ์ว่า "ท่านนายกฯ" เพื่อถ่ายภาพ ขณะ ส.ส.เข้ามาแสดงความยินดี ทำให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์แสดงอาการตกใจเล็กน้อย ก่อนเงยหน้ามองพร้อมโบกมือให้ช่างภาพได้ถ่ายภาพ

เวลา 11.45 น. ทันทีที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์เดินพ้นประตูห้องประชุมสภา นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รักษาการเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ เข้ามาแสดงความยินดี โดยกล่าวว่า "ยินดีด้วยครับ พวกผมยินดีที่จะได้ทำงานร่วมกัน" จากนั้นช่างภาพได้ขอให้ทั้ง 2 จับมือแสดงความยินดีเพื่อจับภาพอีกครั้ง นายสุเทพกล่าวขึ้นว่า "จะดีเหรอครับ" จน น.ส.ยิ่งลักษณ์ต้องเป็นผู้ยื่นมือออกมา ก่อนที่ทั้ง 2 จะจับมือกัน

ระหว่าง นั้น น.ส.ยิ่งลักษณ์ได้เดินออกห้องประชุมสภา เพื่อไปพักผ่อนในห้องรับรอง 1 อาคารรัฐสภา ระหว่างทางกลุ่มเจ้าหน้าที่ทำความสะอาดของอาคารรัฐสภา 3 คนได้ขออนุญาตแสดงความยินดี และเข้ากอด น.ส.ยิ่งลักษณ์ด้วยความดีใจ โดยหนึ่งในนั้นน้ำตานองหน้าพร้อมกับพูดว่า "แอบเชียร์พรรคเพื่อไทยมานาน"

ต่อ มาเวลา 11.50 น. นายพิทูร พุ่มหิรัญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เข้าพบ น.ส.ยิ่งลักษณ์ เพื่อให้ลงนามในเอกสารก่อนยื่นทูลเกล้าฯ ที่ห้องรับรอง 1 ชั้น 2 อาคารรัฐสภา

เวลา 12.10 น. น.ส.ยิ่งลักษณ์ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนเปิดใจครั้งแรก หลังได้รับการโหวตรับรองจากสภาให้เป็นนายกรัฐมนตรี แล้วเดินทางกลับพรรคเพื่อไทย

เมื่อเดินทางถึงพรรคเพื่อไทย เวลา 12.25 น. น.ส.ยิ่งลักษณ์ปรากฏว่ามีคนเสื้อแดงกว่า 100 คนมายืนรอต้อนรับพร้อมมอบดอกไม้เพื่อแสดงความยินดี โดย น.ส.ยิ่งลักษณ์ยกมือไหว้ขอบคุณคนเสื้อแดง จนคนเสื้อแดงตะโกนโห่ร้องด้วยความดีใจ บางรายพยายามฝ่าด่านเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยเข้าไปประชิดตัว และโผกอด น.ส.ยิ่งลักษณ์

จากนั้น น.ส.ยิ่งลักษณ์ให้สัมภาษณ์เปิดเผยว่า ภารกิจแรกที่จะทำหลังเป็นนายกฯเต็มตัวคือ การลงพื้นที่เยี่ยมเยียนพี่น้องประชาชนที่ประสบอุทกภัย ก่อนที่เจ้าตัวจะเข้าพักผ่อนในห้องทำงานที่ที่ทำการพรรคเพื่อไทย

..................

เปิดปูม"นายกฯคนที่ 28"

"น.ส.ยิ่ง ลักษณ์ ชินวัตร" มีชื่อเล่นว่า "ปู" เกิดเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ.2510 เป็นบุตรคนสุดท้องในจำนวน 10 คน ของ "นายเลิศ-นางยินดี ชินวัตร"

ด้วยเหตุผลที่เป็นน้องสาวคนสุดท้อง ทำให้ "พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร" อดีตนายกรัฐมนตรี พี่ชาย เลี้ยงดู-อุ้มชูประหนึ่งลูกสาวคนหนึ่ง

"ยิ่ง ลักษณ์" จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่โรงเรียนเรยีนาเชลีวิทยาลัย จ.เชียงใหม่ และมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย ก่อนเข้าศึกษาต่อที่คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คว้าปริญญาตรี-ได้เป็น "สิงห์ขาว" เต็มขั้นในปี 2531

จากนั้นลัดฟ้าไปศึกษาต่อด้านรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเคนทักกีสเตต สหรัฐอเมริกา และเป็น "มหาบัณฑิต" ปี 2533

แม้ ความใฝ่ฝันดั้งเดิมคือการเป็น "ทูต" แต่หลังสำเร็จการศึกษา เธอกลับเข้าทำงานที่ "บริษัท ชินวัตร ไดเร็กทอรี่ส์ จำกัด" ในปี 2534 ประเดิมอาชีพแรกด้วยการเป็นพนักงานขายฝึกหัดด้านการตลาด หรือ "เซลส์แมน" ขายโฆษณาเยลโล่เพจเจส (สมุดหน้าเหลือง) ก่อนได้รับเลื่อนตำแหน่งเป็น "ผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ" ในปีเดียวกัน และขึ้นเป็นผู้อำนวยการฝ่ายผลิตในเวลาต่อมา

ปี 2537 ย้ายไปเป็น "ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เรนโบว์ มีเดีย จำกัด" เดิมเป็นแผนกงานหนึ่งของบริษัท ไอบีซี อินเตอร์เนชั่นแนล บรอดคาสติ้ง คอร์ปอเรชั่น หรือทรูวิชั่นส์ ตำแหน่งสุดท้ายก่อนลาออกจากบริษัทไอบีซีฯ คือ "รองกรรมการผู้อำนวยการ"

ปี 2545 ข้ามห้วยมาอยู่แวดวงธุรกิจสื่อสาร นั่งตำแหน่ง "กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส" หรือเอไอเอส รับหน้าที่บริหารธุรกิจสื่อสารคมนาคมที่มีมูลค่าหลักหมื่นล้าน

กระทั่ง ปี 2549 ตระกูลชินวัตรและดามาพงศ์ขายเทหุ้นกลุ่มบริษัทชินคอร์ป ให้แก่กองทุนเทมาเส็กของสิงคโปร์ "ยิ่งลักษณ์" จึงลาออกจากการเป็น "บิ๊กบอสเอไอเอส"

แต่ยังดำรงตำแหน่ง "กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท เอสซี แอสเซท จำกัด" ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของตระกูล "ชินวัตร"

นอก จากนี้ "ยิ่งลักษณ์" ยังมีบทบาทในฐานะกรรมการและเลขานุการมูลนิธิไทยคม และเคยดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารของสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ ซิตี้ ทีม "เรือใบสีฟ้า" ที่ "พ.ต.ท.ทักษิณ" ทุ่มเงินซื้อ โดยหมายใช้กีฬาสานสามัคคีเพื่อนร่วมชาติ

ด้านครอบครัว "ยิ่งลักษณ์" สมรสแบบไม่จดทะเบียนกับ "อนุสรณ์ อมรฉัตร" อดีตผู้บริหารในเครือบริษัทซีพี และอดีตกรรมการผู้อำนวยการบริษัท เอ็มลิงก์ เอเชีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด ของ "เยาวภา วงศ์สวัสดิ์" พี่สาวคนที่ 5 ของ "น้องปู" ในปี 2538 มี "ธนินท์ เจียรวนนท์" ประธานเครือซีพี เป็นประธานงานแต่งงาน

หลังครองรักมานาน 7 ปี มีพยานรักชื่อ "ด.ช.ศุภเสกข์" หรือ "น้องไปค์" อายุ 9 ปี

กระทั่ง ปี 2554 เธอตัดสินใจทิ้งทุกตำแหน่งทางธุรกิจ-เทขายหุ้นทั้งหมด เพื่อลงสู่สนามการเมืองเต็มตัว ในฐานะผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย

ในวันที่ 16 พฤษภาคม 2554 ที่ประชุมพรรคเพื่อไทยมีมติเสนอ "ยิ่งลักษณ์" เป็นแคนดิเดตนายกฯ

แต่ เหนือสิ่งอื่นใดคือเธออยู่ในสถานะ "โคลนนิ่งทักษิณ" และนั่นทำให้เธอเติบโตทางการเมืองแบบ "ก้าวกระโดด" จาก "ซีอีโอหญิง" ผู้ไม่เคยเป็น ส.ส. ไม่ผ่านงานรัฐมนตรี แต่ถูกแทงทะลุตรงไปที่ตึกไทยคู่ฟ้า ในฐานะ "นายกฯหญิงคนแรก" ของสยามประเทศ!!!


(มติชนรายวัน ฉบับ 6 สิงหาคม 2554 หน้า2)

บทเรียน ด้านกลับ พระวิหาร กับ โบอิ้ง 737 บทเรียน การบริหาร

ที่มา thaifreenews

โดย bozo



ปัญหาอันเกี่ยวกับคดีปราสาทพระวิหาร
ปัญหาอันเกี่ยวกับคดียึดและอายัดเครื่องบินโบอิ้ง 737 ที่สนามบินมิวนิก สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี

เนื้อแท้แล้ว คือ ปัญหาซึ่งเกี่ยวเนื่องและสัมพันธ์กับ "การบริหารจัดการ"

การบริหารจัดการอันมีมาตั้งแต่ยุคอาดัม กับอีฟ
เมื่อเผชิญหน้ากับซาตาน ณ อุทยาน อีเดนบนสรวงสวรรค์ ต่อเนื่องมาจนถึง
ยุค อเล็กซานเดอร์มหาราช จนถึงยุคของ จักรพรรดินโปเลียน จนถึงยุคของธีโอดอร์ โรสเวลท์

แต่ในความเห็นของมหากูรูระดับ ปีเตอร์ ดรักเกอร์
ได้สรุปอย่างรวบรัดว่า การบริหารจัดการอย่างที่เป็น "ศาสตร์" นั้น
เพิ่งมีการจัดระบบในห้วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

ก่อนหน้านั้นไม่มีคำว่า Management อย่างที่เข้าใจกันนับแต่ศตวรรษที่ 20 เรื่อยมา

ต่อกรณีอันเกี่ยวกับปราสาทพระวิหาร ต่อ
กรณีอันเกี่ยวกับการยึดและอายัดเครื่องบินโบอิ้ง 737
กล่าวสำหรับบางคนอาจมองเห็นแต่เพียงเรื่องของ "คดีความ"

ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงทั้งหมดนี้เป็นเรื่องของ "การบริหารจัดการ"

โจทย์ว่าด้วยกรณีปราสาทพระวิหาร
โจทย์ว่าด้วยการยึดและอายัดเครื่องบินโบอิ้ง 737
กล่าวสำหรับรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จึงมิได้เป็นเรื่องของ "คดีความ" อย่างโดดๆ

หากจำเป็นต้องทำความเข้าใจในเชิง "บริหารจัดการ" อย่างจริงจัง เคร่งครัด

ความผิดพลาดอย่างสำคัญของกรณีปราสาทพระวิหาร
ที่บานปลายใหญ่จากเรื่องเฉพาะส่วนกลายเป็นคดีความ
ในศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ไอซีเจ) มาจากอะไร

มาจากกระบวนการทางการบริหารที่ผิดพลาด เลอะเทอะ

ที่เลอะเทอะเพราะว่าการสร้างเงื่อนไขให้เรื่องนี้
มีลักษณะขยายจากความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนในสภาพความเป็นจริง

นั่นก็คือ ไม่ยอมรับความเป็นจริงแห่งการดำรงอยู่ของปราสาทพระวิหาร

นั่นก็คือ
ไม่ยอมรับความเป็นจริงจาก คำพิพากษาศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ไอซีเจ)
เมื่อปี 2505 ที่ว่าปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา

เมื่อไม่ยอมรับความเป็นจริงพื้นฐานเช่นนี้ ที่ตามมาย่อมเลอะเทอะ

ความเลอะเทอะนี้พวกที่หยิบยกเรื่องนี้มาเป็นประเด็นใน กทม.อาจไม่เดือดร้อน
แต่ชาวบ้านบริเวณชายแดนระหว่างศรีสะเกษ สุรินทร์ เดือดร้อน

เดือดร้อนเพราะต้องหลบลูกปืน ต้องหลบระเบิด

ความเลอะเทอะก็คือทำให้เรื่องทวิภาคีกลายเป็นพหุภาคี
ทำให้ความสัมพันธ์อันดีระหว่าง 2 ประเทศกลายเป็นคู่ความไปถึงอาเซียน
สหประชาชาติและศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ที่เป็นมิตร กลับกลายเป็นศัตรูมองหน้ากันไม่ติด

กลายเป็น "ขี้" กองใหญ่รอการชำระสะสางจากรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

หันไปพิจารณารายละเอียดอันเกี่ยวกับการยึดและอายัดเครื่องบินโบอิ้ง 737
ที่สนามบินมิวนิก เมื่อเดือนกรกฎาคม 2554

ทั้งๆ ที่เป็นเรื่องควรจบสิ้นตั้งแต่ปี 2552 มาแล้ว

จากปี 2552 มาจนถึงปี 2554 เรื่องกลับบานปลาย
กลายเป็นแม้กระทั่งเครื่องบินอันเป็นพระราชพาหนะของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
ก็ต้องถูกลากดึงเข้ามาเกี่ยวข้อง

เกี่ยวข้องกระทั่งต้องมีคำแถลงจากสำนักงานราชเลขานุการในพระองค์

ทั้งๆ ที่ "...มิได้เป็นผู้สร้างเรื่องหรือเหตุการณ์ข้อพิพาทขึ้นมา
แต่กรณีพิพาทดังกล่าวได้นำมาซึ่งความเดือดร้อนพระราชหฤทัย กระทบต่อพระราชกรณียกิจ
และเสี่ยงต่อการเสื่อมเสียพระเกียรติยศเป็นอย่างยิ่ง"

อาจเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์
ที่มีคำแถลงจากสำนักงานราชเลขานุการในพระองค์ออกมาต่อสาธารณะเช่นนี้

เรื่องนี้เกิดขึ้นในรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

เรื่องนี้มีความต่อเนื่องมายังรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อย่างแน่นอน

การแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
จะนำภาพเปรียบเทียบไปยังรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อย่างแน่นอน

อย่างน้อยที่สุดก็สะท้อนถึงกระบวนการของ "การบริหารจัดการ" อันแตกต่างกัน

ความผิดพลาดจากกาลอดีตเป็นบทเรียนอันล้ำค่ายิ่งสำหรับการลงมือบริหารราชการในปัจจุบัน

การเรียนรู้และทำความเข้าใจในความผิดพลาด ในความเลอะเทอะ มีความจำเป็น
ทางหนึ่งเพื่อเป็นบทเรียน ขณะเดียวกัน ทางหนึ่ง เพื่อเสาะหากระบวนการและแนวทางที่ดีกว่า

เป็นกระบวนการที่ดีกว่าในเชิง "การบริหารจัดการ"

(มติชนรายวัน ฉบับ 6 สิงหาคม 2554 หน้า3)

กลุ่ม "ทหารตำรวจประชาธิปไตย 2554" เผยแพร่เอกสาร อ้างเป็น "คำสั่ง ศอฉ." ว่อนเน็ต

ที่มา มติชน

หนังสือพิมพ์ข่าวสด ฉบับประจำวันที่ 6 สิงหาคม รายงานว่า ขณะนี้เว็บไซต์หลายแห่งเผยแพร่แถลงการณ์ของกลุ่มที่ใช้ชื่อ "ทหารตำรวจประชาธิปไตย 2554" ฉบับที่ 3 ซึ่งเปิดเผยเอกสารที่อ้างว่าออกจากศอฉ. เมื่อวันที่ 10 เม.ย.2553 เป็นเอกสารลับมาก ถึงผู้รับปฏิบัติ ใจความว่า


ข้อ 2. ตามที่นรม.สั่งการให้ศอฉ.ทำการผลักดันกลุ่มผู้ชุมนุมเพื่อขอคืนพื้นที่และ พื้นผิวการจราจร บริเวณสะพานผ่านฟ้าและพื้นที่ใกล้เคียง ตั้งแต่วันที่ 10 เม.ย.53 เวลา 13.30 น. เป็นต้นไป


ข้อ 2.7 นปพ.ทบ.จัดชุดปฏิบัติการพิเศษ ปฏิบัติภารกิจร่วมกับหน่วยบินเฉพาะกิจศอฉ.ในการตรวจการณ์และการใช้แก๊สน้ำตา ทางอากาศเพื่อสนับสนุนภารกิจของทภ.1/กกล.รส.ทภ.1 บริเวณพื้นที่ชุมนุมตามขั้นตอนของกฎการใช้กำลัง


นอกจาก นี้ กลุ่มทหารตำรวจประชาธิปไตย 2554 ยังเผยแพร่เอกสารลับของศอฉ.อีกฉบับ อ้างว่าเป็นคำสั่งด่วนภายในลงวันที่ 13 เม.ย.53 จากศอฉ.ถึงผู้รับปฏิบัติ ใจความว่า


ข้อ 2. เพื่อให้การปฏิบัติภารกิจของศอฉ.เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับสถานการณ์ จึงให้หน่วยพิจารณาใช้ปืนลูกซอง ซึ่งเป็นอาวุธที่ไม่ร้ายแรงและสามารถควบคุมการยิงได้ ในการป้องกันตนเองของเจ้าหน้าที่และประชาชนผู้บริสุทธิ์ โดยกำหนดแนวทางในการใช้ ดังนี้


2.1 ใช้อาวุธทำการยิงเมื่อปรากฏภัยคุกคาม หรือกลุ่มติดอาวุธที่มีท่าทีคุกคามต่อชีวิตเจ้าหน้าที่หรือประชาชนผู้บริสุทธิ์


2.2 ให้ใช้อาวุธต่อเป้าหมาย ตามข้อ 2.1 ในระยะ 30-50 เมตร ทั้งนี้เพื่อเป็นการควบคุมวิถีกระสุนและควบคุมความเสียหายที่จะเกิดขึ้น ให้สมควรแก่เหตุและห้ามใช้อาวุธต่อเป้าหมายที่เป็นผู้หญิงและเด็ก


2.3 การใช้อาวุธ ให้ดำเนินการโดยไม่มุ่งประสงค์ต่อชีวิตของเป้าหมาย ดังนั้นจึงให้เล็งส่วนล่างของร่างกาย(ตั้งแต่เข่าลงมา) เพื่อระงับ ยับยั้ง การกระทำของกลุ่มติดอาวุธซึ่งมีท่าทีคุมความต่อชีวิตของเจ้าหน้าที่และ ประชาชนผู้บริสุทธิ์


ทั้งนี้ กลุ่มทหารตำรวจประชาธิปไตย 2554 ยังระบุด้วยว่า เร็วๆ นี้จะเผยแพร่เอกสารลับของศอฉ.ชุดใหม่ตามมาอีก

ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์

ที่มา ประชาไท

อำมาตยานุสติ
เกิด แก่ ตาย จาก 79 ปีชาตกาลประเวศ วะสี ถึง กรณีมรณกรรมพุทธทาส ปี 2536

“ใน ทางสังคม...แพทย์โยงใยไปได้ทั่ว ไม่ว่าจะเป็นในวัด ในกองทัพ ในวัง ในธุรกิจ ในด้านหนึ่ง การแพทย์แผนปัจจุบันทำประโยชน์อย่างมากในการช่วยชีวิตของผู้คนโดยไม่ต้อง สงสัย แต่การมีอำนาจมากก็มีข้อเสีย เช่นเดียวกับการมีอำนาจทุกชนิด นั่นคือ การมีอำนาจทำให้ไม่เรียนรู้ การไม่เรียนรู้นำไปสู่ความเสื่อมหรือความล่มสลาย”

ประเวศ วะสี [1]

อำมาตยานุสติ เกิด แก่ ตาย จาก 79 ปีชาตกาลประเวศ วะสี กับ กรณีมรณกรรมพุทธทาส ปี 2536

การ์ตูนเสียดสี โดย เรณู ปัญญาดี
จาก มติชนสุดสัปดาห์ กรกฎาคม 2554

เมื่อ สัก 20-30 ปีมาแล้ว รูปปฏิมาปัญญาชนสาธารณะที่เปี่ยมไปด้วยบารมี คุณธรรม กับภาพลักษณ์ห่วงใยชุมชน และชาวบ้าน ทรงพลังเข้มขลังและมีบทบาทอย่างมากในการผลักดันฟันเฟืองการพัฒนาในสังคมชนบท นอกกระแสอย่างทรงพลัง ในยามที่ระบบราชการยังเทอะทะ การเมืองระดับประเทศยังเตาะแตะ แต่ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา ชนบทที่ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป สร้างความแหลมคมของการต่อสู้ทางการเมือง ได้กระทุ้ง กะเทาะ กระชากหน้ากาก รื้อถอนให้เห็นตัวตนและแก่นแกนความคิดทางการเมืองของกลุ่มบุคคลดังกล่าวได้ เป็นอย่างดีว่า พวกเขาหวงแหนและกุมอำนาจอยู่กับตนและพวกพ้องมากมาย ที่สำคัญที่สุดก็คือ การหลุดลอย ไม่ยึดโยงกับอำนาจกับประชาชนอย่างแท้จริง ทั้งโดยพาซื่อหรือจะโดยความเขี้ยว หรือจะโดยความกลัวก็ตาม คำถามก็คือว่า เหตุไฉนพวกเขาเหล่านั้นจึงมีวิธีคิด และการตัดสินใจทางการเมืองที่ “อประชาธิปไตย” ได้มากขนาดนั้น หรือแท้จริงแล้วความหวังดีทั้งหลายที่ผ่านมาไม่ได้มีฐานที่ผูกแน่นอยู่กับ ระบอบประชาธิปไตยที่ ประชาชนเป็นใหญ่ มาตั้งแต่ต้น หรือแท้จริงแล้วปลายทางของสังคมที่น่าอยู่ของพวกเขา ผูกโยงอยู่กับคุณค่าทางคุณธรรม จริยธรรมแบบจารีตนิยมอนุรักษ์นิยมของบุคคล และชุมชนแบบบุพกาลเพียงเท่านั้น

ผู้เขียนเชื่อว่า ลักษณะเช่นนี้ไม่ใช่เกิดขึ้นจากบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่อยู่เบื้องหลังความ วิปริตทั้งหมด หากเป็นโครงสร้างการเมืองแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการที่โยงใยกันอยู่ อย่างแฝงเร้นและเปิดเผย ประเวศ วะสี เป็นตัวแบบที่บทความนี้จะใช้นำไปอธิบายต่อคำถามตั้งต้นดังกล่าว ด้านหนึ่งจะแสดงให้เห็นถึงความโยงใยของเครือข่ายประเวศจะทำให้เราเห็นถึง อำนาจและสถานะที่สูงส่งของแพทย์ในสังคมไทยที่มีบทบาทสำคัญในการพยุงความเข้ม แข็งการเมืองฝ่ายอนุรักษ์นิยมอย่างมีนัยสำคัญ ในอีกส่วนหนึ่งของบทความนี้จะได้ทำการหยิบปรากฏการณ์มรณกรรมของพุทธทาสภิกขุ ในปี 2536 เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความซับซ้อนของการเมืองเรื่องความตายของพระชื่อดังอัน เป็นเสาหลักของนักคิดฝ่ายอนุรักษ์นิยมหัวก้าวหน้า ในห้วงเวลาที่โครงสร้างทางการเมืองที่กำลังถูกจัดรูปใหม่อีกครั้งหลัง เหตุการณ์นองเลือดพฤษภาคม 2535 ในสถานการณ์เช่นนั้น ประเวศ มีบทบาทที่น่าสนใจนั่นคือ เขาเป็นทั้งผู้เล่นอยู่ในห้วงประวัติศาสตร์เวลานั้น และเขายังเป็นผู้เล่า ผู้เขียนอธิบายความเป็นไปช่วงนั้นด้วยตนเอง

อำมาตยานุสติ เกิด แก่ ตาย จาก 79 ปีชาตกาลประเวศ วะสี กับ กรณีมรณกรรมพุทธทาส ปี 2536

บนเส้นทางชีวิต บันทึกเรื่องราวผ่านปลายปากกา
ประเวศ วะสี

เกิดหลังปฏิวัติสยาม และเติบโตหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

ประเวศ นับเป็นหนึ่งในคนดังที่เกิดในปี 2475 สหชาติร่วมกับ อานันท์ ปันยารชุน, สุลักษณ์ ศิวรักษ์, รงค์ วงษ์สวรรค์ ฯลฯ เขาถือกำเนิดหลังการเปลี่ยนแปลงแบบพลิกฟ้าคว่ำแผ่นดิน เพียง 2 เดือน นั่นคือวันที่ 5 สิงหาคม 2475 ในวันที่บทความนี้ตีพิมพ์ เขาจะอายุครบ 79 ปี

กลาง ทศวรรษ 2480 เป็นยุคที่คณะราษฎรเจิดจรัสที่สุด กลุ่มคนหนุ่มในคณะราษฎรได้ยึดกุมตำแหน่งสำคัญในรัฐบาลอย่างแท้จริง คณะราษฎรเปี่ยมไปด้วยอุดมการณ์ที่ต้องการจะสร้างประเทศใหม่ ผสานไปกับอารมณ์ความรู้สึกที่ทะเยอทะยาน มั่นใจและใฝ่ฝันที่จะเป็นถึงประเทศมหาอำนาจ ดังเห็นได้จากผลักดันให้เปลี่ยนนามประเทศจาก “สยาม” เป็น “ไทย” ในทางกายภาพ ถนนราชดำเนินถูกเนรมิตให้เปลี่ยนโฉมเป็นชองป์เอลิเซ่ มีการก่อสร้างอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ไปพร้อมๆกับตึกแถวอันโอ่อ่าสองฝั่ง ด้วยเงินของสำนักทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

เด็กชายประเวศจะทัน รู้สึกและอินกับ สังคมไทยที่ฮึกเหิมและความเปลี่ยนแปลงในยุคดังกล่าวหรือไม่ก็ไม่ทราบได้ ในเวลานั้นเขายังอายุสิบขวบต้นๆ และอยู่ระหว่างการศึกษาชั้นมัธยมต้นที่โรงเรียนวิสุทธรังษี กาญจนบุรี [2]

ประเวศ ก้าวเข้าสู่ช่วงชีวิตวัยรุ่นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ขณะนั้นกองทัพอักษะญี่ปุ่นเข้ามาตั้งกองบัญชาการที่กาญจนบุรี อันเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญที่จะเชื่อมต่อเข้าไปยังพม่าตามเป้าหมายของกองทัพ ญี่ปุ่น เส้นทางนี้จึงตกเป็นเป้าโจมตีอย่างหนักจากฝ่ายสัมพันธมิตร ทำให้ประเวศต้องอพยพไปเรียนที่ราชบุรี และนครปฐมตามลำดับ [3] หลังสงครามด้วยความตั้งใจที่จะเรียนแพทย์ทำให้เขามุ่งหน้าเข้าสู่กรุงเพื่อ เล่าเรียนในสถาบันที่มีชื่อเสียงระดับประเทศในช่วงมัธยมปลายที่เตรียมอุดม ศึกษา ในปี 2490 และจบการศึกษาในปี 2492 [4] ในขณะนั้นสังคมไทยได้ถูกเหวี่ยงกลับมาสู่สังคมอำนาจนิยมและชูกระแสนิยมเจ้าอย่างชัดเจน

ประเวศ ก้าวต่อไปในชั้นเตรียมแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศึกษาต่อคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ในปี 2498 เมื่อจบการศึกษาเขาได้รับปริญญาแพทยศาสตร์เกียรตินิยม และได้รับรางวัลเหรียญทองในฐานะที่ได้คะแนนเป็นที่หนึ่งตลอดหลักสูตร [5] ด้วยความสามารถที่โดดเด่นของเขา ทำให้ได้มีโอกาสไปศึกษาต่อด้านระบาดวิทยาที่สหรัฐอเมริกา และด้านพันธุกรรมศาสตร์ที่อังกฤษ โดยได้รับทุนพระราชทานในปี 2500 จากทุนส่วนพระองค์ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ก่อนที่จะมีการจดทะเบียนมูลนิธิอานันทมหิดล ในปี 2502 [6]

หลังจากกลับมาจากสหรัฐอเมริกา เขารับตำแหน่ง อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดล ในปี 2504 [7] ประเวศนับว่าได้รับความเมตตามาก เนื่องจากในหลวงทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างตึกเป็นที่ทำการ คือ ตึกอานันทราช สำหรับโลหิตวิทยาที่โรงพยาบาลศิริราช ประเวศอ้างว่า เพราะตึกหลังนี้จึงทำให้สามารถทำงานทางวิชาการได้รวดเร็วยั่งยืนขึ้น การระดมทุนสร้างตึกดังกล่าวได้รับพระราชูปถัมภ์โดยการพระราชทานภาพยนตร์ส่วน พระองค์ให้ฉายที่ศาลาเฉลิมกรุงเพื่อเป็นนำมาเป็นทุน และยังได้แก้วขวัญ วัชโรทัย จัดมวยการกุศลสมทบทุนเพิ่มเติมอีก [8]

เดินทางทั่วไทยในนามนักวิจัยโรคธาลัสซีเมีย โลหิตจาง

ประเวศ ได้ทำงานวิจัยเกี่ยวกับธาลัสซีเมีย โดยเฉพาะโรคฮีโมโกลบิน เอช (H) เป็นผลงานที่เขาเห็นว่าเป็นผลงานที่ดีที่สุดชิ้นหนึ่ง และได้ตีพิมพ์ในวารสารทางวิทยาศาสตร์ชั้นนำของอังกฤษชื่อ Nature ในปี 2507 [9] ผลงานนี้ของเขาทำให้ได้ไปบรรยายหลายแห่ง เช่นในปี 2511 ที่สหรัฐอเมริกาและแคนาดา [10] และอีกหลายแห่งทั่วโลกในระยะต่อมา

นอก จากนั้นเขายังทำการลงพื้นที่ทั่วประเทศไทย เพื่อทำการสำรวจเรื่องเกี่ยวกับเลือด แต่ลักษณะการทำงานนั้นจะร่วมไปกับทีมอื่นๆด้วย เช่น ทีมนักพันธุศาสตร์ ม.มิชิแกน สหรัฐอเมริกา หรือทีมมานุษยวิทยากายภาพที่เน้นการวัดส่วนต่างๆของร่างกายและถ่ายรูปลักษณะ ของใบหน้า [11] การออกสำรวจนี้เองที่เป็นเหตุให้ประเวศขยายความสนใจจากโรงพยาบาลใหญ่ไปสู่ การแพทย์ของชุมชน นั่นคือ ทำให้สนใจเรื่องสาธารณสุขและสังคมมากขึ้น [12]

อำมาตยานุสติ เกิด แก่ ตาย จาก 79 ปีชาตกาลประเวศ วะสี กับ กรณีมรณกรรมพุทธทาส ปี 2536

วารสารสังคมศาสตร์ปริทัศน์

ความเข้าใจที่กลับหัวกลับหาง คือ การมุ่งมั่นปฏิรูปโดยไม่สนใจว่าจะเป็นประชาธิปไตยหรือไม่

ประเวศกล่าว ในบันทึกว่า ได้ยินชื่อสุลักษณ์ ศิวรักษ์ (ส.ศิวรักษ์) ตั้งแต่สมัยที่เรียนอยู่อังกฤษที่มีชื่อเสียงมาจากการจัดทำวารสารที่ชื่อว่า สังคมศาสตร์ปริทัศน์ ครั้นประเวศกลับเมืองไทยเขาเล่าเมื่อได้อ่าน สังคมศาสตร์ปริทัศน์ ทำให้โลกทัศน์ของเขาเปลี่ยนไปอย่างมากขนาดที่เรียกว่าเป็น “จุดเปลี่ยนในชีวิตที่สำคัญจุดหนึ่ง” [13] แม้จะอ้างเช่นนั้น ก็มิได้พบเห็นว่าประเวศหรือเครือข่ายจะปฏิเสธอำนาจนอกระบบอันไม่ชอบธรรม ในบันทึกแทบจะไม่พบการตั้งคำถามอำนาจอันไม่ชอบธรรมที่ได้มาของสฤษดิ์ ธนะรัชต์, ถนอม กิตติขจร, ประภาส จารุเสถียร แต่กลับปรากฏบันทึกที่กล่าวถึงการล็อบบี้ผ่านผู้มีอิทธิพลทางการเมืองที่มี อำนาจอยู่บนยอดปิรามิดทั้งหลายทั้งนั้น

ในปี2515 ประเวศได้รับเลือกเป็นคณะอนุกรรมการจัดทำข้อเสนอแนะการวางแผนการแพทย์และสาธารณสุขแห่งชาติ [14] ซึ่งเป็นโอกาสอย่างดีที่จะได้รู้จักเสม พริ้งพวงแก้ว [15] หมอผู้นี้ลาออกจากราชการเมื่ออายุ 51 ปี ในปี 2504 มาเป็นแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปเป็นเวลา 10 ปี (ปี 2506 –2516) [16] อย่างไรก็ตาม คนดีมีความสามารถตามแบบฉบับและคุณสมบัติของสังคมไทยอย่างเสม ก็อยู่ในปริมณฑลส่วนตัวได้ไม่นาน ในช่วง 14 ตุลาคม 2516 เขาได้มีส่วนในด้านการรักษาพยาบาลผู้บาดเจ็บ โดยเขาอยู่ประจำศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ จนถึงวันที่ 15 ตุลาคม [17]

ภาย ใต้การจัดระเบียบอุดมการณ์ทางการเมืองใหม่ เสมได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2516 ภายใต้นายกรัฐมนตรีนักกฎหมายผู้ทรงศีลธรรมชื่อ สัญญา ธรรมศักดิ์ และโอกาสแห่งอำนาจที่อยู่ในมือนี้เองที่ทำให้เขาสามารถจัดความสัมพันธ์เชิง อำนาจในกระทรวงสาธารณสุขเสียใหม่ คือ ทำให้อำนาจการบริหารทั้งการป้องกันและรักษา มาอยู่ที่สำนักงานปลัดกระทรวง ส่งผลให้สามารถสั่งการแก้ปัญหาอย่างรวดเร็ว นอกจากนั้นยังอ้างว่า มีการกระจายอำนาจไปยังหน่วยงานภูมิภาคอย่างทั่วถึงซึ่งหมายถึงให้โรงพยาบาล จังหวัดมีอำนาจมากขึ้น โดยให้กรมต่างๆ ทำหน้าที่วิชาการสนับสนุน ซึ่งการดำเนินงานทั้งหมดนี้สำเร็จลงในปี 2517 [18]

อำมาตยานุสติ เกิด แก่ ตาย จาก 79 ปีชาตกาลประเวศ วะสี กับ กรณีมรณกรรมพุทธทาส ปี 2536

เสม พริ้งพวงแก้ว (2454-2554)

รอบ อายุของเสม ยังทันการเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของ คณะรัฐมนตรี ที่เป็น “คนดีมีความสามารถ” อีกครั้งหลัง 6 ตุลาคม 2519 เขารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในปี 2523 ใต้นายกรัฐมนตรี เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ที่มาจากการรัฐประหารต่อรัฐบาลเผด็จการธานินทร์ กรัยวิเชียร อย่างไรก็ตาม เขารัฐบาลนี้อยู่ได้เพียง 18 วัน เกรียงศักดิ์ ก็ลาออก อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรม ติณสูลานนท์ รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เสมก็กลับมาเป็นรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขอีก ในรัฐบาลเปรม 2 ในปี 2524 อำนาจครั้งนี้ทำให้เขาผลักดันให้ออกระเบียบกระทรวง ให้โรงพยาบาลในสังกัดใช้ยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ [19] การอยู่ในแวดวงอำนาจน่าจะมีส่วนทำให้งานด้านสาธารณสุขที่เสมเกาะติดอยู่ ประสบความสำเร็จเป็นระยะ ในปี 2525 พบว่าเสมและเครือข่ายผลักดันให้ประเทศไทย มีอิสระในการบริหารงานงบประมาณจากองค์การอนามัยโลก (WHO) เป็นแห่งแรก [20] เป็นช่วงเวลาระหว่างที่เสมกำลังดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในปี 2524-2526 ทำให้เห็นว่าช่องทางการเดินทางของแหล่งทุนนอกเข้าสู่การทำงานพัฒนาชนบททวี ความสำคัญขึ้นเรื่อยในทศวรรษนี้ ประเด็นนี้ชี้ให้เห็นเส้นทางทางการเมืองของเสมที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมาทั้งทาง การแพทย์ การเมือง และการทำงานพัฒนาชนบทของเขา ซึ่งในสังคมประชาธิปไตยแล้ว ถือว่าเป็นช่องทางพิเศษสำหรับคนดีมีความสามารถที่ไม่จำเป็นต้องเปลืองตัวไป ลงสมัครรับเลือกตั้งเสนอตัวให้ประชาชนเลือก

ในขณะที่ประเวศเดินเกม ได้เหนือชั้นกว่านั้น นั่นคือ ไปอยู่หลังม่าน ไม่จำเป็นต้องลงมาเป็นรัฐมนตรีเสียเอง แต่ก็สามารถรวมศูนย์อำนาจไว้ได้อย่างมั่นคงและเป็นเอกภาพ และมีงบประมาณให้ใช้จ่าย ในอีกหลายปีต่อมา

ชูธงปฏิรูปที่มีชนชั้นสูงและฝ่ายอนุรักษ์นิยมเป็นแบ็ค

ความ ผูกพันระหว่างแพทย์ที่มีสถานะสูงด้วยอำนาจในการรักษาที่อยู่ในมือ ดังที่กล่าวมาแล้วในเบื้องต้น ทำให้แพทย์เป็นวิชาชีพหนึ่งที่มี “อภิสิทธิ์” เป็นอย่างยิ่ง ประเวศได้รับเลือกเป็นกรรมการแพทยสภาจากการเลือกตั้ง ในปี 2512 [21] และในปีเดียวกันนั้นเขาได้เขียนบทความวิจารณ์ศิริราชในบทความชื่อ “ปัญหาศิริราช” [22] ประเวศพบกับปัญหาที่หมักหมมเนื่องจากระบบราชการที่เน่าเฟะ ทำให้พวกเขาเห็นว่าจำเป็นต้องแก้ไขด้วยอำนาจที่เบ็ดเสร็จ

ปี 2514 เราพบว่าประเวศและพวกใช้โอกาสที่ใกล้ชิดกับเครือข่ายทหารนักการเมืองผลักดัน ประเด็นที่คิดว่าดีและมีประโยชน์ต่อสังคม นั่นก็คือ ประเวศ จากโรงพยาบาลศิริราช อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ (บิดาของอภิสิทธิ์) จากโรงพยาบาลรามาธิบดีและเพรา นิวาตวงศ์ จากคณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (เพรา เติบโตมากับอาณาจักรจอมพลสฤษดิ์ ทั้งยังเป็นหมอผ่าตัดที่เก่งมาก ทำให้มีคอนเนคชั่นที่ดีกับนายทหารนักการเมืองที่มาเป็นคนไข้ [23]) หมอทั้งสามได้ลงนามถึงรัฐบาลขอให้ปฏิรูปโรงเรียนการแพทย์ ผ่าน พลเอกแสวง เสนาณรงค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี [24] ซึ่งเป็นคนที่ถนอมไว้ใจเป็นอย่างยิ่ง

เขา บันทึกว่าในปีเดียวกันที่เขามีโอกาสถวายการรักษาสมเด็จพระบรม ราชินีนาถฯ ประเวศกราบบังคมทูลแนวคิดในการปรับปรุงแพทย์และสาธารณสุข และได้รับคำแนะนำว่า “เรื่องนี้คุณหมอประเวศจะต้องกราบบังคมทูลพระเจ้าอยู่หัว...พระเจ้าอยู่หัว จะได้รับสั่งกับจอมพลถนอม” [25] ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่

ประเด็น นี้แม้จะผ่านมติคณะรัฐมนตรีฉลุย แต่ในระดับปฏิบัติการแล้วงานไม่ไปถึงไหน พออารี วัลยะเสวี ศาสตราจารย์นายแพทย์ คณบดีผู้ก่อตั้งคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดีเห็นชอบกับนโยบายดังกล่าวจึงใช้โอกาสที่รัฐบาลเผด็จการ เห็นชอบนี้มาผลักดันให้เป็นจริง กลายเป็นว่าหมอโรงพยาบาลรามาธิบดีส่วนใหญ่ไม่พอใจ ฝ่ายคัดค้านได้ลงนามขอให้คณะปฏิวัติระงับเรื่อง แต่คณะปฏิวัติไม่เห็นด้วย [26] ถนอมกับประภาสแม้จะใหญ่เพียงใด แต่พอเจอสารที่ได้มาจากพจน์ สารสิน รองหัวหน้าคณะปฏิวัติที่ได้รับสั่งของในหลวงมาว่า “ได้ยินว่าที่รามาธิบดีเขากำลังทำอะไรแปลก” สองจอมเผด็จการก็มีอันต้อง “ถอยกรูด” อย่างไรก็ตาม อารี ก็ไม่ละความพยายามขอเข้าเฝ้า และชวนประเวศไปด้วยกัน อารีโบ้ยให้ประเวศกราบบังคมทูล เมื่อทรงฟังแล้วรับสั่งว่า [27]

“การที่จะเปลี่ยนแปลงอะไรต้องให้คนส่วนใหญ่เห็นด้วย”

“ถ้า ปัญหาเกิดจากคนส่วนใหญ่ จะให้คนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ก็คงจะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงไม่ได้” ประเวศกราบบังคมทูลซ้ำ

“ถ้าพูดอย่างนั้น มีหมอประเวศคนเดียวเป็นคนนอกรามาธิบดี หมออารีก็เป็นส่วนหนึ่งของรามาธิบดี...”

ส่วน หมอคนอื่นที่มาด้วยอย่าง อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ กับ สันต์ หัตถีรัตน์ เห็นท่าไม่ดีจึงเฉยเสีย และเรื่องปฏิรูปให้มีระบบอาจารย์เต็มเวลาและไม่เต็มเวลาก็ยุติลงด้วยประการ ฉะนี้ และนี่คือภาพตัวอย่างของกระบวนการการตัดสินใจนโยบายสาธารณะในปี 2515

อีก กรณีหนึ่งก็คือ จดหมายลับมากของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ในปี 2518 ที่มีต้นกำเนิดมาจากข้อสงสัยว่าประเวศจะเป็นคอมมิวนิสต์ แม้ก่อนหน้านี้เขาจะเขียนบทความ “สร้างสรรค์สังคมไทยขึ้นใหม่” ในสังคมศาสตร์ปริทัศน์ ปี 2517 ซึ่งหลักคิดก็คือ เน้นเอาศาสนาและพระมหากษัตริย์เป็นธงชัยในการสร้างสรรค์สังคมไทยขึ้นใหม่ ในช่วงหลัง 14 ตุลาคม 2516 [28] แต่แต่เขาก็ถูกร้องเรียนพฤติการณ์ เนื่องจากว่าประเวศเองก็เป็นที่ปรึกษาและพบปะแลกเปลี่ยนของเหล่านักศึกษา ขณะที่การวิพากษ์วิจารณ์สังคมที่ร้อนแรงขึ้นเรื่อยๆ จากคนหนุ่มสาวรุ่นนั้น ประเวศบันทึกว่า เขาถึงกับถูกฟ้องต่อในหลวงว่าเป็น “หัวหน้าคอมมิวนิสต์” ซึ่งในด้านหนึ่งเขาได้รับการการันตีจาก ม.ล.เกษตร สนิทวงศ์ นายแพทย์ผู้เป็นลุงของสมเด็จพระบรมราชินีนาถฯ ซึ่งสนิทและช่วยเหลือประเวศอย่างใกล้ชิดมาโดยตลอด ม.ล.เกษตรถึงกับกล่าวว่า [29]

“ถ้าหมอประเวศเป็นคอมมิวนิสต์ ข้าพระพุทธเจ้าก็เป็นด้วยพระพุทธเจ้าข้า”

จากนั้น ม.ล.เกษตร จึงเข้าพบพลเอกสายหยุด เกิดผล เพื่อให้เช็กประวัติและออกใบรับรองความบริสุทธิ์ของประเวศตามจดหมายลับมากดังกล่าว

เหตุผล ในการรับรองก็คือ ข้อแรก ประเวศเป็นนักศึกษาแพทย์ มีประวัติการศึกษาอยู่ในขั้นดีมาก ชอบทำงานเป็นหมู่คณะ ข้อสอง รับราชการเป็นแพทย์ประจำบ้าน โดยใช้ลักษณะการทำงานแบบรวมหมู่และคณะเช่นเดิม ข้อสาม เนื่องจากเข้ากับนักศึกษาหัวก้าวหน้าจึงอาจถูกเพ่งเล็งจากกลุ่มอาจารย์และ แพทย์รุ่นเก่า ข้อที่สี่ยิ่งน่าตื่นเต้นก็คือว่า เขาเคยได้รับทุนจากมูลนิธิ “อานันทมหิดล” และมีความสัมพันธ์กับสถาบันพระมหากษัตริย์ในระดับหนึ่ง และมีแนวคิดที่เห็นว่า “สิ่งทั้งหลายย่อมมีการเปลี่ยนแปลง แต่มิได้เน้นลักษณะในเรื่องชนชั้น มีแนวการปฏิรูปโดยการใช้การประสานประโยชน์” ข้อสรุปนี้นิยามประเวศอย่างนามธรรมว่ “มีลักษณะเป็นนักปฏิรูปพื้นฐานของมนุษยธรรม” [30] แสดงให้เห็นถึงความอ่อนไหวของชนชั้นปกครองไทยต่อเรื่อง “ชนชั้น” ที่เป็นจุดโจมตีอันแข็งแรงของฝ่ายซ้าย

เหตุผล ที่น่าสนใจอีกกรณีหนึ่งที่ทำให้เห็นว่าแพทย์มีสถานที่สูงในสังคม แล้ว แต่ยังเห็นว่าในห้วงเวลาดังกล่าว แพทย์ยังเป็นวิชาชีพที่รับใช้การเมืองอย่างยิ่งนั่นก็คือ การโฆษณาที่สำคัญที่สุดของพรรคคอมมิวนิสต์ฯ ที่ใช้ได้ผลดีก็คือการบริการด้านการแพทย์ [31] ดังนั้นการแพทย์ชนบทที่ได้รับการสนับสนุนในเวลาต่อมาอาจเข้ามาอุดช่องโหว่ตรงนี้ของการสาธารณสุขในพื้นที่ชายขอบ

นี่คืออีกเส้นทางชีวิตหนึ่งของประเวศในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ

หลัง เหตุฆาตกรรมหมู่ ปี 2519 การลงพื้นที่ชนบทไม่สามารถจะทำได้อย่างเปิดเผย เมื่อท้องฟ้าแห่งเสรีภาพถูกเหยียบย่ำด้วยท็อปบูธและมือที่เปื้อนเลือด ต้องรอจนกว่าบาดแผลจะแห้งตกสะเก็ดในอีกสี่ห้าปีหลัง การลงพื้นที่ที่ทุรกันดารก็เริ่มกลับมาฟื้นตัวอีกครั้งหนึ่ง

จากสนามของแพทย์ สู่ สนามของการพัฒนาท้องถิ่น

“ท่าน เป็นผู้นำในการศึกษาโรคธาลัสซีเมีย และโรคเลือดอื่น ๆ และเป็นผู้นำในการคิดค้นวิธีรักษาและป้องกันโรคเหล่านี้ในประเทศไทย และประเทศอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ท่านได้ตีพิมพ์บทความมากกว่า 100 บทความ ในวารสารทางการแพทย์ทั่วโลก อีกทั้งยังเป็นผู้ส่งเสริมการแพทย์ชนบท และได้ก่อตั้งวารสารทางการแพทย์ชนบทอีกด้วย นอกจากนั้นก็ยังได้ส่งเสริมให้ประชาชนในชนบท ผู้นำชุมชน และพระสงฆ์ เรียนรู้เกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเบื้องต้น ท่านได้รับรางวัลแมกไซไซ สาขาบริการภาครัฐ ในปี 1981” [32]

อำมาตยานุสติ เกิด แก่ ตาย จาก 79 ปีชาตกาลประเวศ วะสี กับ กรณีมรณกรรมพุทธทาส ปี 2536

ประเวศ วะสี

นี่ เป็นดังคำประกาศถึงคุณูปการของประเวศ หลังจากที่ได้รับรางวัลแมกไซไซ สาขาภาคบริการรัฐในปี 2524 เขาเปี่ยมไปด้วยผลงานอันโอ่อ่าน่าภาคภูมิอย่างยิ่ง เช่น นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี 2526 บุคคลดีเด่นของชาติ สาขาการแพทย์ ปี 2528 ในระหว่างนั้นเขาก็ได้อยู่ในตำแหน่งสำคัญในมหาวิทยาลัยมหิดล 2 ตำแหน่งนั่นคือ รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาและวางแผน มหาวิทยาลัยมหิดล (2522-2526) และหัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล (2528-2530) ซึ่งระหว่างนั้นก็ควบกับตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานทางการแพทย์และ สาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข (2527-2530) [33]

ช่วง ปี 2527-2530 พบว่ารัฐบาลไทยได้ร่วมมือกับองค์กรสนับสนุนความช่วยเหลือระหว่างประเทศของ รัฐบาลแคนาดา (Canadian International Development Agency: CIDA) จัดตั้ง "กองทุนพัฒนาท้องถิ่นไทย-แคนาดา" (Local Development Assistance Program: LDAP) ขึ้น เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนองค์กร สถาบัน และกลุ่มต่างๆ ที่ดำเนินการด้านการพัฒนาท้องถิ่น ให้สามารถขยายขีดความสามารถที่เอื้อประโยชน์ต่อชุมชน ทั้งในระดับหมู่บ้าน ท้องถิ่นและประเทศโดยรวม กองทุนดังกล่าวประกอบด้วยบุคคลสำคัญที่เกี่ยวข้องได้แก่ เสน่ห์ จามริก, ประเวศ วะสี, ม.ร.ว.อคิน รพีพัฒน์, บำรุง บุญปัญญา เป็นต้น [34] ซึ่ง LDAP นั่นก็ได้สนับสนุนเป็นเงินกว่า 100 ล้านบาท ผ่าน 55 โครงการ นี่เป็นจุดหนึ่งของการเริ่มต้นของคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน และมูลนิธิ /สถาบันพัฒนาชุมชนท้องถิ่นพัฒนา ในเวลาต่อมา ซึ่งกองทุนได้เปลี่ยนเป็นสถาบันนิติบุคคล บุคคล ภายใต้ซื่อว่า "มูลนิธิชุมชนท้องถิ่นพัฒนา" พร้อมกับก่อตั้ง สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา (สทพ.)

ไอเดียของการกำเนิดมูลนิธิต่างๆนี้ เชื่อได้ว่ามาจากประสบการณ์ของประเวศที่ได้พบเห็นและร่วมงานกับ มูลนิธิและกองทุนต่างๆ ในต่างประเทศดังที่ เขาได้ยกตัวอย่างการตั้งมูลนิธิของเอกชนที่ทำงานเพื่อพัฒนามนุษย์ สังคมและสิ่งแวดล้อม เช่น มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ มีเงินประมาณ 3,000 ล้านดอลลาร์ มูลนิธิฟอร์ด มี 4,000 ล้านดอลลาร์ [35] เงินมหาศาลเหล่านี้ประเวศหวังว่านายทุนไทยจะเปลี่ยนไปเป็นทุนทางปัญญาเสียบ้าง

ขณะ ที่ประเวศได้รางวัลแมกไซไซ สาขาบริการภาครัฐ แต่ก็พบว่าเขารู้เช่นเห็นชาติเป็นอย่างดีว่า “โครงสร้างในระบบราชการติดขัดและมีอุปสรรคนานาประการ” กรณีที่น่าสนใจก็คือ การผลักดันให้เกิด สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ซึ่งถือกำเนิดขึ้นจาก พระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการวิจัย พ.ศ.2535 ในเดือนมีนาคม สกว.ไม่ใช่ระบบราชการ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่เกิดขึ้นมาเพื่อสนับสนุนให้เกิดงานวิจัย ขณะที่สภาวิจัยแห่งชาติที่มีกรอบราชการเต็มขั้น ขณะที่ผลักดันกฎหมายจนสำเร็จนั้นเป็นสมัยที่อานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรีที่มาจากการรัฐประหาร และหลังจากนี้เพียง 2 เดือน ประเทศไทยก็เกิดการนองเลือดจากกระบอกปืนและความรุนแรงโดยทหาร ภายใต้การนำของสุจินดา คราประยูร

ก้าวสู่ปริมณฑลของพุทธธรรม

ประเวศบันทึกว่า ตัวเขาเริ่มสนใจศาสนา ตามอวย เกตุสิงห์ ปรมาจารย์ทางการแพทย์ท่านหนึ่งในปี 2507-2508 [36] เริ่มต้นศึกษาที่งานเขียน ทางร่มเย็น ที่รจนาโดย พระมหาบัว วัดป่าบ้านตาด ซึ่งสอนเรื่อง ศีล สมาธิ ปัญญา ต่อมาก็การรับเชิญให้ไปปฏิบัติกรรมฐานที่วัดป่าบ้านตาด [37] ประสบการณ์ในครั้งนั้นทำให้เห็นวัตรปฏิบัติของพระมหาบัว แล้วเห็นว่านั่นคือการ “ทำงานตามความสามารถ กินอยู่ตามความจำเป็น” อย่างแท้จริง ผิดกับคอมมิวนิสต์ที่พยายามจะใช้อุดมการณ์เดียวกันนี้ แต่ไม่สำเร็จเนื่องจากว่า หากเป็นคนธรรมดาที่ยังมีกิเลสแล้วทำได้ยาก [38]

ต่อ จากพระสายวัดป่า ก็ได้ศึกษาธรรมจากพุทธทาสภิกขุ ตัวกูของกู แล้วขยายไปเล่มอื่นๆอย่าง แก่นพุทธศาสตร์ คู่มือมนุษย์ ตามรอยพระอรหันต์ ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ บรมธรรม อิทัปปัจจยตา ฯลฯ หลักธรรมเหล่านี้นับได้ว่าเป็นที่ถูกจริตอย่างยิ่งเนื่องจากว่าเป็นคำสอนที่ เป็น “ปัญญาล้วนๆแบบวิทยาศาสตร์ไม่มีส่วนที่เป็นพิธีกรรมนิยายปรัมปรา ทำให้เข้าพุทธศาสนาดีขึ้น” คำสอนทั้งหมดยังพุ่งไปสู่ปัญหาที่เกิดจากความเห็นแก่ตัว ถ้าว่างจากความเห็นแก่ตัวก็จะสงบเย็นและไมมีทุกข์ [39] ประเวศยังได้มีโอกาสทำความรู้จักกับคนในวงการนี้อีกหลายคน ไม่ว่าจะเป็นพระขาว อนาลโย พระฝั้น อาจาโร

อำมาตยานุสติ เกิด แก่ ตาย จาก 79 ปีชาตกาลประเวศ วะสี กับ กรณีมรณกรรมพุทธทาส ปี 2536

ตัวกูของกู
โดย พุทธทาสภิกขุ

พระประยุทธ์ ปยุตฺโต นายแพทย์ตันม่อเซี้ยง เสถียร โพธินันทะ หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ หลวงพ่อคำเขียน สุวณฺโณ พระธรรมรักษา ฯลฯ [40]

ประเวศ ชี้ว่า การสนใจศึกษาธรรมะเหมือนก้าวเข้าไปสู่โลกอีกโลกหนึ่ง เป็นวิชาที่แตกต่างจากวิชาอื่นๆ ที่เป็นเรื่องนอกตัว แต่ธรรมะนั้นว่าด้วยธรรมชาติของจิตใจในตัวและมีวิธีฝึกจิต แม้จะมีวัตถุการงานเพียบพร้อมเพียงใด บ่อยครั้งก็หาความสุขไม่ได้ ทางออกของสิ่งเหล่านั้นก็คือ “การศึกษาธรรมะ” ดังที่ประเวศยกตัวอย่าง คนดังที่เข้าหาธรรมะอย่าง พารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา ผู้จัดการใหญ่ปูนซิเมนต์ไทย(สมัยนั้น) โสภณ สุภาพงษ์ ผู้จัดการโรงน้ำมันบางจาก(สมัยนั้น) [41]

ตบท้ายด้วยการวิพากษ์การศึกษาว่า ทุกวันนี้เรียนแต่ภายนอก ไม่ได้ฝึกจิตใจตนเอง

ทำงานด้วยคนดี การเมืองแบบไร้การเมือง

ตราบ ใดที่ประเวศหรือใครๆก็ตาม เคารพนับถือ ปฏิบัติธรรม เลือกที่จะเชื่ออย่างผาดแผลงพิสดารอย่างไร หากแต่อยู่ในปริมณฑลส่วนตัวแล้ว ก็ย่อมมิได้เป็นปัญหาใด สิ่งที่เป็นปัญหานั่นคือ การที่ประยุกต์ความเชื่อดังกล่าวยัดเยียดเข้ากับสังคมการเมืองสาธารณะที่ เต็มไปด้วยความเชื่อที่หลากหลาย ศาสนาอันมากมาย รวมไปถึงคนที่เลือกจะไม่เชื่อศาสนา ดังที่เราจะได้ยินการอ้างอิงเรื่อง ธรรมาธิปไตย กันจนเลี่ยนในช่วงเลือกตั้งที่ผ่านมา ทั้งที่สังคมการเมืองสาธารณะควรเป็นเรื่องของการถกเถียงด้วยเหตุผล เพื่อจัดความสัมพันธ์ระหว่างกันของคนกลุ่มต่างๆ เป็นเรื่องที่ควรเปิดกว้างต่อการตั้งคำถามและเรียนรู้ เพราะการเมืองมิใช่เป็นเรื่องของการสยบยอมและหมอบกราบกรานต่อสิ่ง ศักดิ์สิทธิ์

ที่ผ่านมาไม่ว่าจะรัฐประหารกี่ครั้ง เกิดอุบัติเหตุทางการเมืองมากี่หน ผ้าคลุมอาญาสิทธิ์ที่ชื่อว่า ความดี ศีลธรรมจรรยา จึงสร้างความชอบธรรมทุกครั้งไปให้กับรัฐบาลเผด็จการเรื่อยมาตั้งแต่ทศวรรษ 2490 ในสายตาของพวกอนุรักษ์นิยม และฝ่ายสนับสนุนรัฐประหารต่างเห็นว่า ระบอบการเมืองจะเป็นประชาธิปไตยที่อำนาจสูงสุดเป็นของราษฎรนั้น ไม่ใช่ “สาระ” เลย ขอเพียงแต่คนที่จะเข้ามาบริหารประเทศ เป็นคนที่อย่างน้อยว่ามีภาพว่าไม่ทุจริต วางตัวและภาพลักษณ์ที่ทรงคุณธรรม ไม่เกลื้อกลวกกับนักเลือกตั้ง (และจะให้ดีก็คือ แบ่งผลประโยชน์ให้กับตนได้)

ดังที่อภิปรายมาเบื้องต้นแล้ว ประเวศเติบโตมากับสังคมไทยหลังทศวรรษ 2490 ที่เห็นว่ารัฐประหารและการจัดความสัมพันธ์ทางสังคมจากคนเบื้องบนเป็นเรื่อง ปกติ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกว่าไฉนประเวศจึงไม่ปฏิเสธหรือแสดงท่าทีที่เป็นลบต่อทหาร และการรัฐประหารที่ผ่านมาแม้เพียงสักครั้ง สมัยอยู่ใต้รัฐบาลเผด็จการก็วิ่งเต้นเพื่อให้วาระของตนสัมฤทธิ์ผล จะโจมตีก็แต่เพียงระบบราชการที่บิดเบี้ยวไร้ประสิทธิสภาพ ซึ่งปัจจัยหนึ่งก็มาจากโครงสร้างทางการเมืองที่ไม่ได้ยึดโยงอำนาจของปวงชน ด้วยเราจึงเห็นประเวศก็ผุดไอเดียการทำงานแบบไม่พึ่งพารัฐ แสดงให้เห็นว่าพยายามกีดกันนักการเมืองในระบบออกไป และสร้างเครื่องไม้เครื่องมือให้การทำงานการเมือง “ภาคประชาชน” เรื่อยมา ซึ่งปัญหาที่เกิดก็คือ “ภาคประชาชน” ของประเวศนั้นนับวันจะไม่เกี่ยวข้องกับประชาชนราษฎรทั่วไปทุกที

อย่าง ไรก็ตามการเป็นคนดี การนับถือศาสนาอย่างเคร่งครัด หรือการเป็นนักบวชที่บรรลุแล้ว ก็ยังหนีไม่พ้นวัฏฏสงสารแห่งโลก เมื่อมนุษย์เป็นสัตว์สังคม ปรากฏการณ์ทางสังคมที่เป็นที่สนใจอย่างมากของเมืองไทยหลังเหตุการณ์พฤษภาคม นองเลือดที่มีเป็นประเด็นของ การเมืองของคนดี ที่ประเวศ วะสี มีส่วนร่วมในเหตุการณ์นั้นและได้มีการจดบันทึกไว้เป็นจดหมายเหตุ นั่นก็คือ การเมืองแห่งมรณกรรมของพุทธทาสภิกขุ

กระบวนการสู่ความตายของพุทธทาส

พุทธ ทาสภิกขุ เป็นพระปัญญาชนนามกระเดื่อง เป็นนักคิดนักเขียนที่ถูกกล่าวถึงและถูกอ้างอิงหลักธรรมมาปรับใช้กับการ เมืองบ่อยที่สุดรูปหนึ่งในยุคสมัยของปัจจุบัน ด้วยจริตนิสัยอันแหวกแนวจากสังคมไทยแบบจารีต การตั้งคำถามอย่างตรงไปตรงมา กระทั่งกับข้อความในพระไตรปิฎก การสื่อสารต่อสาธารณะอย่างสม่ำเสมอ ทำให้พุทธทาสยิ่งใหญ่เสมอมาในสายตาของปัญญาชน ในทศวรรษ 2530 เป็นช่วงอัศดงของสังขารร่างกาย เป็นวัยที่พุทธทาสปรารภแล้วว่า “อายุมากกว่าพระพุทธเจ้า” พุทธทาสให้ความสำคัญกับการเตรียมตัวตาย ดังที่แสดงให้เห็นอยู่ว่า “สาวกของพระพุทธเจ้าไม่ควรหอบสังขารหนีความตาย” [42] ในที่นี้ขอใช้บันทึกของประเวศ วะสี เป็นเอกสารหลักที่จะเปิดเผยให้เห็นประวัติศาสตร์ช่วงสุดท้ายของพุทธทาสที่ เชื่อมโยงกับความรู้ และอำนาจในสังคมไทยหลังพฤษภาคม 2535

พุทธทาส ป่วยหนักครั้งแรกตั้งแต่ปี 2518 ต่อมาคือปี 2528, 2534 และครั้งล่าสุดคือ ปี 2535 [43] สิ่งเหล่านี้นอกจากเป็นเครื่องเตือนใจของเจ้าของสังขารร่างกายแล้ว น่าจะเป็นการประกาศให้ลูกศิษย์และคนรอบข้างทราบถึงสัญญาณการนับถอยหลังอีก ด้วย พินัยกรรมที่เขียนขึ้นวันที่ 28 มีนาคม 2536 ก่อนที่จะมรณภาพอีก 4 เดือนถัดมา จึงถูกตระเตรียมไว้เป็นอย่างดี

ข้อความหลักของพินัยกรรม นั้นมอบอำนาจให้ พระครูปลัดศีลวัฒน์ (โพธิ์ จันทสโร) เป็นผู้จัดการศพ ละเว้นขอพระราชทานโกศ พิธีการทั้งหมดตั้งอยู่บนความเรียบง่าย เมื่อตายไม่ต้องรดน้ำศพ ไม่ต้องฉีดยาศพ ไม่ต้องสวดศพ ให้เก็บในโลงปิดมิดชิด ละเว้นการเปิดดู และการเผาศพให้ทำในสามเดือน แต่หากจำเป็นก็ไม่ควรเกิน 1 ปี ไม่จัดงานพิธี งานเผาศพให้ทำอย่างง่าย โดยบริเวณเชิงตะกอนให้ปักเสาสี่มุมและดาดผ้าขาวเป็นเพดานเท่านั้น กระดูกก็ให้เทซิเมนต์ทับในศาลาธรรมโฆษณ์ เถ้าให้นำไปโปรยตามที่ต่างๆที่กำหนดไว้ โดยมีพยานคือ จิตติ ติงศภัทิย์ นักกฎหมายและองคมนตรี เสริม พัฒนกำจร นายตำรวจยศ พันตำรวจเอก วิจารณ์ พานิช หลานชายผู้เป็นนายแพทย์ [44]

อย่าง ไรก็ตามพินัยกรรมที่เป็นลายลักษณ์อักษรที่อยู่ในอำนาจผู้เขียนนั้น สร้างปัญหาอย่างมากให้กับคนที่อยู่เบื้องหลัง เมื่อพุทธทาสเป็นคนสาธารณะที่เกี่ยวโยงกับผู้คนที่มีความคิดแตกต่างหลากหลาย ทั้งระหว่างเจ็บป่วยอาพาธ และหลังลมหายใจสุดท้ายไปแล้ว การเมืองก็ยังทำหน้าที่ของมันอย่างซื่อสัตย์ ดังจะกล่าวต่อไป

อำมาตยานุสติ เกิด แก่ ตาย จาก 79 ปีชาตกาลประเวศ วะสี กับ กรณีมรณกรรมพุทธทาส ปี 2536

พินัยกรรมของพุทธทาสภิกขุ
ลงวันที่ 28 มีนาคม 2536

อย่าหอบสังขารหนีความตาย คำสั่งก่อนเสีย

ประเวศ ได้บันทึกว่า การป่วยหนักของพุทธทาสในปี 2534 ในครั้งนั้นมีข้อเสนอให้เลือกถึง 3 ทางก็คือ เข้ากรุงเทพฯ ไปรักษาที่ศิริราช สอง ไปโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี สาม อยู่ที่สวนโมกข์ พุทธทาสเลือกทางเลือกสุดท้าย และกล่าวสำทับว่า “ขอเถอะ ขอเถอะ อย่าให้หอบสังขารหนีความตายเลย” คราวนั้นหายป่วยภายใน 7-10 วัน [45]

จาก การเจ็บป่วยครั้งล่าสุดในปี 2535 ครั้งนั้นเป็นอาการของโรคทางสมองถึงขั้นความจำบกพร่องชั่วคราว แสดงให้เห็นว่าระบบของร่างกายนั้นทนทานไม่ไหวลงทุกที จนกระทั่งการป่วยครั้งสุดท้ายปลายเดือนพฤษภาคม 2536 ในครั้งนั้นประเวศพบกับ พระโพธิ์ ซึ่งก็ได้ย้ำปณิธานว่าไม่ต้องการให้รักษาผิดธรรมชาติ [46] อย่างไรก็ตามเมื่ออาการทรุดหนัก ปณิธานดังกล่าวก็ถูกทัดทานด้วยการเมืองของการการแพทย์ ที่มาพร้อมกับชุดความคิดและอำนาจชุดหนึ่ง

ความคิดที่ไม่ลงรอยกันจึงเริ่มนับแต่นี้

บันทึก ของประเวศ ระบุว่า วันที่ 26 พฤษภาคม 2536 หมอเสนอให้เจาะกะโหลกศีรษะเพื่อลดความดันในกะโหลก แต่ลูกศิษย์พุทธทาสไม่เห็นด้วย ถึงขั้นลงชื่อไม่สมัครใจอยู่และจะพาร่างกลับสวนโมกข์ [47]

คนใหญ่ คนโต และคนดังกับอาการเจ็บป่วยและตาย

ข่าว การเจ็บป่วยล่วงรู้ออกไป พร้อมๆกับวันคล้ายวันเกิดวันที่ 27 พฤษภาคม สหายทางธรรมและลูกศิษย์ได้เดินทางมาที่ลำปาง ตั้งแต่พระปัญญานันทะ พระพยอม กัลยาโณ จำลอง ศรีเมือง ฯลฯ

คณะแพทย์ทำได้เพียงใส่หลอดเข้าหลอดลม เพื่อช่วยในการหายใจและดูดเสมหะ ระหว่างที่ยังไม่มีข้อยุติว่าจะรักษาพุทธทาสแบบไหน เนื่องจากยังมากความเห็น แม้กระทั่งเสริมทรัพย์ที่เป็นหมอยังพูดด้วยเสียงดังว่า “ทำไมทำกับท่านอย่างนี้” เมื่อเห็นว่าใช้เทคโนโลยีต่างๆช่วย พระสิงห์ทองที่เป็นลูกศิษย์ใกล้ชิด กล่าวกับประเวศว่า “ถ้าทำอย่างนี้กับอาจารย์ วันนี้อาตมาจะเก็บของและไปจากที่นี่ เพราะอยู่ก็ไม่สามารถป้องกันอาจารย์ตามที่สั่งไว้ได้” [48]

ก่อน ที่จะบานปลายมากไปกว่านี้ ได้มีการประชุมเพื่อหาข้อสรุปร่วม จนออกมาเป็น “บันทึกความเห็นและมติของการประชุมเกี่ยวกับการอาพาธของพระเดชพระคุณพระธรรม โกศาจารย์(พุทธทาสมหาเถระ)” โดยมีใจความว่า พุทธทาสได้สั่งลูกศิษย์ว่าไม่ให้ใช้เทคโนโลยีที่ผิดธรรมชาติ และกำชับว่า เมื่อจะดับขันธ์อย่าให้มีเครื่องช่วยชีวิตใดๆติดตัว ขอให้ดับขันธ์อย่างธรรมชาติตามรอยพระพุทธเจ้า และลูกศิษย์ขอมตินำร่างกลับไปในวันนี้ เวลา 4 โมงเย็น และยิ่งกว่านั้นวันนี้เป็นวันคล้ายวันเกิด มีพระและญาติโยมมากมาประชุมอยู่แล้วน่าจะเป็นโอกาสให้เกิดธรรมสังเวช บันทึกดังกล่าวมีสหายและลูกศิษย์ร่วมลงนามกันอยู่นับสิบคน เช่น พระเทพวิสุทธิ์เมธี พระโรเบิร์ท สันติกโร พระสิงห์ทอง เมตตา พานิช ประเวศ วะสี รัญจวน อินทรกำแหง ฯลฯ [49] ซึ่งตามข้อตกลงนั้นพุทธทาสก็ได้คืนร่างมาสู่สวนโมกข์ ในคืนนั้นประเวศ เดินทางกลับกรุงเทพฯ ด้วยเครื่องบินรอบสองทุ่มครึ่ง เช้าวันรุ่งขึ้นมีข่าววิทยุแจ้งว่า พุทธทาสจากไปแล้ว แต่ปรากฏว่าข่าวคลาดเคลื่อน และยังมีข่าวอีกว่า จะมีการนำพุทธทาสมารักษาที่กรุงเทพฯ ความขัดแย้งและข้อถกเถียงต่างๆได้ถูกทำให้เงียบลงเมื่อเกิดข่าวว่า

“พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นำท่านพุทธทาสมารักษาที่กรุงเทพฯ”

สิ่ง เหล่านี้เคยเป็นความกังวลมาก่อนแล้วกับพระที่สุราษฎร์ธานีว่า ถ้ามีในหลวงรับสั่งให้ไปรักษาที่กรุงเทพฯ จะว่าอย่างไรกัน นับว่าในที่สุดก็ได้คำตอบแล้ว [50]

วิธี รักษาที่ประนีประนอมกับลูกศิษย์ที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกทั้งสองฝ่าย จึงดูพิลึกพิลั่น นั่นคือ มีข้อเสนอว่า นำร่างมาแต่จะไม่มีการผ่าตัดสมองหรือเจาะคอ แต่ช่วยให้หายใจได้เอง แล้วก็จะนำกลับสวนโมกข์ หรือหากว่าไปไม่ไหวก็ให้กลับสวนโมกข์ดับขันธ์ตามความประสงค์ [51] นอกจากนั้นแพทย์ได้บอกกับลูกศิษย์ว่า “มีหวังจะหายกลับไปเทศน์ได้อีก ขอเวลา 7 วันจะนำท่านกลับ จะไม่มีการเจาะคอ ไม่มีการผ่าตัด” [52]

พุทธทาสจึงนอนโคม่าแบบไม่รู้ตัวอยู่ต่อไปที่ศิริราชอีก 1 เกือบเดือนเต็ม บนตึกมหิดลวรานุสรณ์

เรื่องสาธารณะในสังคมกึ่งประชาธิปไตย

ประเวศ ในฐานะคนกลางและคนอยู่ในวงในพยายามอธิบายว่า ความแตกต่างระหว่างพระกับแพทย์นั้นมีอยู่ แต่เป็นความแตกต่างในมุมมอง ไม่ใช่เรื่องแตกแยก แต่ความจริงอีกด้านหนึ่งเช่นกันก็คือ ข่าวอาการของพุทธทาสเป็นข่าวที่ขายได้ สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ ธรรมชาติของการทำข่าวที่ต้องล้วงลึกข้อมูล ภาพถ่ายเหตุการณ์ออกมาให้มากที่สุดซึ่งตรงกันข้ามกับผู้เป็นข่าวที่พยายามจะ ให้เรื่องสาธารณะเป็นเรื่องส่วนตัวมากที่สุด โดยเฉพาะประเด็นคู่ความขัดแย้งที่เป็นหัวใจของการเสนอข่าวแบบปิงปอง คือ หยิบข้อกล่าวหาของฝ่ายหนึ่งไป "พิสูจน์" โดยนำไปถามผู้ถูกกล่าวหา [53]

การ ดำเนินข่าวบนความขัดแย้งจึงทำให้ข่าวที่ขายได้ ทอดระยะเวลาบนแผงไปได้อีกไม่ว่าจะเป็นการให้ข่าวว่า พุทธทาสจะดับขันธ์วันที่ 4 มิถุนายน ที่เป็นวันวิสาขะ ทางฝ่ายแพทย์ก็เสียกำลังใจที่ข่าวออกไป ขณะที่คอลัมนิสต์หนังสือพิมพ์ก็ด่าศิษย์ว่า เอาพุทธทาสไปเปรียบพระพุทธเจ้า ในอีกด้านหนึ่งลูกศิษย์ลูกหาก็พยายามสร้างความรู้เกี่ยวข้องกับพุทธทาส ด้วยการจัดนิทรรศการ จัดอภิปราย จัดทำหนังสือและภาพธรรม [54]

การ เดินทางสู่ความตายผ่านสังขารของพุทธทาส ยังพบกรณีที่น่าสนใจก็คือ การใช้อำนาจบังคับควบคุม ดังที่พบว่า รัฐมนตรีทบวงมหาวิทยาลัย ทำจดหมายว่า ใครนำพุทธทาสกลับสวนโมกข์เป็นเรื่อง “ผิดกฎหมาย” ซึ่งก็เป็นปัญหาที่น่าสนใจเช่นกันว่า ในทางโลกแล้วร่างของพุทธทาสอยู่ในกรรมสิทธิ์ของผู้ใด ลูกศิษย์ ญาติ แม้นักกฎหมายก็ตอบไม่ได้ [55] สิ่งเหล่านี้ปัญหาไม่ใช่เพราะเป็นเรื่องของธรรมชั้นสูง โลกุตตระ แต่เป็นเพราะความไม่ชัดเจนของอาณาบริเวณของการนิยามนักบวชในโลกประชาธิปไตย สมัยใหม่ ที่รัฐไทยไม่เคยนิยามให้ชัดเจน เช่นเดียวกันกับการถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินของ ศาสนสถานต่างๆ ที่มีตำแหน่งแห่งที่อย่างไรบนพื้นที่เมือง และการบริหารการจัดการเมือง

พระ โรเบิร์ท สันติกโร ลูกศิษย์ฝรั่งพุทธทาส ที่ปัจจุบันลาสิกขาแล้ว ด้วยความที่เติบโตมากับสังคมตะวันตกที่เคารพและให้คุณค่าในสิทธิ เสรีภาพ และความเป็นมนุษย์ จึงตั้งข้อสังเกตและคำถามกับคณะแพทย์ที่ทำการรักษา จนดูเหมือนว่าเป็นตัวน่ารำคาญดังที่ประเวศระบุไว้ว่า “ด้วยความเป็นฝรั่งช่างซัก ช่างถาม ช่างคิดและช่างบันทึก ท่านบันทึกอาการและการรักษาพยาบาลท่านอาจารย์พุทธทาสอย่างละเอียดทุกวัน ความช่างซักช่างถามของท่านคงจะก่อความปวดหัวให้แพทย์มากที่สุด ที่จริงท่านตั้งคำถามมาก ซึ่งผมจะไม่นำมาเล่าในที่นี้” [56] เราอาจสังเกตข้อความของพระโรเบิร์ทในจดหมายด้านล่าง น่าจะแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของโลกทัศน์ดังกล่าวได้เป็นอย่างดี

“In a democratic country, one of the worst things anyone can do is to force a person to do something or endure something which he does not want. When we violate a person’s wishes we are taking his life to our control” [57]

สันติกโรภิกขุ
1 กรกฎาคม 2536

วินาทีสุดท้าย

สัญญาณ มรณะมาถึง ณ เวลา 02.30 ของวันที่ 8 กรกฎาคม 2536 เมื่อความดันเลือดสูงเนื่องจากเชื้อลุกลามในกระแสเลือด แพทย์เห็นว่าจะยื้อต่อไปไม่ไหว จึงแจ้งพระลูกศิษย์ว่าจะส่งกลับสวนโมกข์ตามที่ได้คุยกัน เมื่อทราบข่าว จำลอง ศรีเมือง จักรธรรม ธรรมศักดิ์ (หมอผู้เป็นบุตรสัญญา ธรรมศักดิ์) วิจารณ์ พานิช และอีกหลายคนก็เดินทางมาโรงพยาบาล รุ่งธรรม ลัดพลี (หมอผู้เป็นบุตรพระยาลัดพลีธรรมประคัลภ์ (วงศ์ ลัดพลี) อดีตประธานศาลฎีกา ซึ่งมีความสนิทสนมกับพุทธทาส) ติดต่อสมุหราชองครักษ์ให้เครื่องบินนำส่ง เครื่องไปถึงที่สุราษฎร์ธานี เวลา 09.55 น. ถึงสวนโมกข์เวลา 10.30 น. (บ้างว่า 11.00 น.) ตอนนั้นยังมีเครื่องช่วยหายใจและสายให้น้ำเกลือ และให้ยาเร่งความดันอยู่ อย่างไรก็ตามความดันเลือดกลับลดต่ำลงเรื่อยๆ จนหัวใจหยุดเต้นเมื่อเวลา 11.20 น. [58]

พระลูกศิษย์ได้แฟกซ์พินัยกรรมการทำศพของพุทธทาสไปบุคคลต่างๆและสื่อมวลชน [59] อย่างน้อยก็เพื่อยุติการใช้อำนาจนอกระบบเข้ามาควบคุมการจัดการพิธีศพตามพินัยกรรม

อำมาตยานุสติ เกิด แก่ ตาย จาก 79 ปีชาตกาลประเวศ วะสี กับ กรณีมรณกรรมพุทธทาส ปี 2536

พาดหัวหน้า 1
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
ฉบับวันศุกร์ที่ 9 กรกฎาคม 2554

อำมาตยานุสติ เกิด แก่ ตาย จาก 79 ปีชาตกาลประเวศ วะสี กับ กรณีมรณกรรมพุทธทาส ปี 2536

ประเวศ วะสี ผู้มีอิทธิพลเหนือกลุ่มทุนตระกูล ส.

ประเวศ วะสีราษฎรอาวุโส หลังพฤษาทมิฬ?

ประเวศ ได้เขียนเป็นบทความแนะนำการใช้ “วิธีนอกระบบ” ในการแก้ปัญหาที่ไม่สำเร็จด้วย “วิธีที่เป็นทางการ” ซึ่ง “วิธีที่ไม่เป็นทางการ” นั้น หมายถึง การที่บุคคลมาร่วมทำอะไรกันด้วยตนเอง โดยไม่ผ่านความเป็นทางการของระบบ อาจเป็นคนในระบบที่เป็นทางการนั้นเอง แต่มาร่วมกลุ่มกันทำงานกันเองโดยไม่มีใครแต่งตั้งหรือต้องได้รับอนุมัติจาก ใคร ประเวศได้ยกคำว่า [60] “ราษฎรสูงอายุ หรือราษฎรอาวุโส” (Senior citizen) ขึ้นมาชี้ให้เห็นว่า เป็นตัวอย่างกลไกไม่เป็นทางการ...ไม่มีอำนาจอะไร แต่ก็อาจะเป็นประโยชน์ในการเตือนสติ และชี้ทิศทางให้สังคม [61]

ที่ น่าสังเกตก็คือ ประเวศ อายุครบเกษียณในปี 2535 หลังจากการนองเลือดพฤษภาคม 2535 และการมรณกรรมของพุทธทาส 2536 ประเวศ วะสี ที่อยู่ในวัยเกษียณ ก็เติบใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ เขามีบทบาทสำคัญในการผลักดันภาคประชาชนในการร่างรัฐธรรมนูญ 2540 และทวีความสำคัญมาเรื่อยๆ เครือข่ายตระกูล ส. สยายปีก เช่น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้าง เสริมสุขภาพ (สสส.) ก่อตั้งในปี 2544 มีรายได้มหาศาลจากภาษีสรรพสามิตยาสูบและสุราในอัตราร้อยละ 2 ต่อปี

แม้ ปีนี้จะอายุครบ 79 ปี แต่เขายังตรากตรำทำงานอันแสนหนักหนา หมออายุมากคนนี้เคยดำรงตำแหน่งประธานและรองประธานหรือกรรมการขององค์กรต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งมูลนิธิ และสถาบันทางวิชาการอื่นรวมกว่า 60 ชุด [62] เขายังไม่กลัวเปลืองตัวด้วยการรับตำแหน่งประธานคณะสมัชชาปฏิรูปประเทศ หลังจากเหตุการณ์สังหารเสื้อแดง เดือนพฤษภาคม 2553 คู่กับ คณะกรรมการปฏิรูปประเทศที่มีอานันท์ ปันยารชุนเป็นประธาน ขณะที่อานันท์ชั่วโมงบินสูงกว่าจึงชิ่งลาออกหลังจากรัฐบาลอภิสิทธิ์ยุบสภา ขณะที่ประเวศยังดึงดันที่จะทำงานต่อ [63]

การ เดินทางทางการเมืองในบั้นปลายของประเวศยังคงมีสีสันไม่ห่างไปจาก พื้นที่สื่อ ล่าสุดก็คือ กรณีค่าแรง 300 บาทที่ประเวศให้ข่าวว่าเป็นไปไม่ได้ ค่าแรงที่ 150 บาทเงินก็ยังเหลือ [64] จนโดนโจมตีจากหลายฝ่าย ต้องมาแก้เกี้ยวในที่สุด

นั่น เองประเวศจึงตกเป็นเป้าของการ์ตูนเสียดสีฝีมือ เรณู ปัญญาดี ที่เปิดเรื่องด้วยการถกเถียงเรื่องค่าแรง 300 บาท และตบท้ายด้วยบทบรรยายที่ว่า "(ประเวศ)จึงใส่เสื้อผ้า...แล้วเดินทางไปประชุมกับองค์กรกว่าสิบแห่งในวัน เดียว รับเบี้ยประชุมทั้งหมด 6.7 หมื่นบาท" [65]

การ ด่วนสรุปตัดสินคนด้วยฉันทาคติว่าเป็นคนดีมีศีลธรรมจรรยา และมีความสามารถ แท้จริงแล้วมิใช่เป็นเครื่องการันตีได้ว่า เขาเหล่านั้นเคารพการอยู่ร่วมกันได้ในสังคมประชาธิปไตยที่มีประชาชนเป็นใหญ่ เลย สำหรับผู้เขียนแล้วทุกวันนี้เราไม่ได้ต้องการเครื่องมือทางศีลธรรม เราไม่ต้องการคนดี หรือเทวดาอันเลิศลอยมาควบคุมสังคม แต่เราต้องการการเคารพหลักการอยู่ร่วมกันของประชาชนที่เสมอภาคกัน มีเสรีภาพที่จะคิด มีเสรีภาพที่จะตั้งคำถาม วิพากษ์วิจารณ์ อยู่ร่วมกันเสมอเพื่อนมนุษย์ เสมอคนธรรมดาที่ไม่ใช่พระอรหันต์ที่มีความสามารถขั้นลดละเลิกกิเลส รัก โลภ โกรธ หลง ได้ทั้งหมด

ในพระไตรปิฎกระบุไว้ว่า ในหมู่เทวดาก็ยังมีเทวดาที่เลวทราม มนุษย์ไม่จำเป็นต้องยอมจำนนเสมอไป มนุษย์สามารถด่ากลับและขับไล่เทวดาตนนั้นออกจากบ้านได้โดยไม่ต้องยี่หระ [66]

อ้างอิง:

  1. ประเวศ วะสี. ปัจฉิมอาพาธท่านพุทธทาสมหาเถระ (กรุงเทพฯ : เรือนแก้วการพิมพ์), 2536, น.52
  2. วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. “ประเวศ วะสี”. http://th.wikipedia.org/wiki/ประเวศ_วะสี (3 พฤษภาคม 54)
  3. ประเวศ วะสี. บนเส้นทางชีวิต เล่ม1, น.91-92
  4. ประเวศ วะสี. บนเส้นทางชีวิต เล่ม1, น.107 และ
  5. วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. “ประเวศ วะสี”. http://th.wikipedia.org/wiki/ประเวศ_วะสี (3 พฤษภาคม 54)
  6. ประเวศ วะสี. บนเส้นทางชีวิต เล่ม1 (กรุงเทพฯ : หมอชาวบ้าน, พิมพ์ครั้งที่4), 2538, น.177-178
  7. ศูนย์โลกสัมพันธ์ไทย สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. “รางวัลแมกไซไซ” http://www.thaiworld.org/en/thailand_monitor/answer.php?question_id=209 (21 ตุลาคม 2548)
  8. ประเวศ วะสี. บนเส้นทางชีวิต เล่ม2 (กรุงเทพฯ : หมอชาวบ้าน), 2534, น.30
  9. ประเวศ วะสี. บนเส้นทางชีวิต เล่ม2, น.22
  10. ประเวศ วะสี. บนเส้นทางชีวิต เล่ม2, น.32
  11. ประเวศ วะสี. บนเส้นทางชีวิต เล่ม2, น.36
  12. ประเวศ วะสี. บนเส้นทางชีวิต เล่ม2, น.40
  13. ประเวศ วะสี. บนเส้นทางชีวิต เล่ม2, น.51
  14. ประเวศ วะสี. บนเส้นทางชีวิต เล่ม2, น.94
  15. ประเวศ วะสี. บนเส้นทางชีวิต เล่ม2, น.94-96
  16. วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. “เสม พริ้งพวงแก้ว” http://th.wikipedia.org/wiki/เสม พริ้งพวงแก้ว (11 กรกฎาคม 2554)
  17. มูลนิธิเด็ก. "ปฏิทินชีวิต 100 ปี หมอคนจริง ศาสตราจารย์นายแพทย์เสม พริ้งพวงแก้ว” http://www.ffc.or.th/ffc_scoop/2554/scoop_2554_07_08_1.php (4 สิงหาคม 2554)
  18. มูลนิธิ เด็ก. "ปฏิทินชีวิต 100 ปี หมอคนจริง ศาสตราจารย์นายแพทย์เสม พริ้งพวงแก้ว” http://www.ffc.or.th/ffc_scoop/2554/scoop_2554_07_08_1.php (4 สิงหาคม 2554)
  19. มูลนิธิเด็ก. "ปฏิทินชีวิต 100 ปี หมอคนจริง ศาสตราจารย์นายแพทย์เสม พริ้งพวงแก้ว” http://www.ffc.or.th/ffc_scoop/2554/scoop_2554_07_08_1.php (4 สิงหาคม 2554)
  20. สันติสุข โสภณศิริ, เรียบเรียง. "ชีวประวัติย่อ ศาสตราจารย์นายแพทย์เสม พริ้งพวงแก้ว" http://www.ffc.or.th/images/intro/intro_2011_07/sem_history/sem_history_big_p08.jpg (4 สิงหาคม 54)
  21. ประเวศ วะสี. บนเส้นทางชีวิต เล่ม2, น.64-65
  22. ประเวศ วะสี. บนเส้นทางชีวิต เล่ม2, น.61
  23. ประเวศ วะสี. บนเส้นทางชีวิต เล่ม2, น.117-119
  24. ประเวศ วะสี. บนเส้นทางชีวิต เล่ม2, น.116
  25. ประเวศ วะสี. บนเส้นทางชีวิต เล่ม2, น.101 และ 104
  26. ประเวศ วะสี. บนเส้นทางชีวิต เล่ม2, น.117
  27. ประเวศ วะสี. บนเส้นทางชีวิต เล่ม2, น.118-119
  28. ประเวศ วะสี. บนเส้นทางชีวิต เล่ม3 (กรุงเทพฯ : หมอชาวบ้าน) มปพ, น.32 โปรดดู ประเวศ วะสี. “สร้างสรรค์สังคมไทยขึ้นใหม่” ใน สังคมศาสตร์ปริทัศน์ ฉบับที่1 (2517) ประกอบ
  29. ประเวศ วะสี. บนเส้นทางชีวิต เล่ม3 , น.32-33
  30. ประเวศ วะสี. บนเส้นทางชีวิต เล่ม3 , น.33
  31. ประเวศ วะสี. บนเส้นทางชีวิต เล่ม3 , น.34
  32. ศูนย์โลกสัมพันธ์ไทย สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. “รางวัลแมกไซไซ” http://www.thaiworld.org/en/thailand_monitor/answer.php?question_id=209 (21 ตุลาคม 2548)
  33. ศ.นพ.ประเวศ วะสี. “ประวัติ” http://www.prawase.com/bio.php (5 สิงหาคม 2548)
  34. ศ.นพ.ประเวศ วะสี. “ประวัติ” http://www.prawase.com/bio.php (5 สิงหาคม 2548)
  35. ประเวศ วะสี. บนเส้นทางชีวิต เล่ม3 , น.37
  36. ประเวศ วะสี. บนเส้นทางชีวิต เล่ม2, น.72
  37. ประเวศ วะสี. บนเส้นทางชีวิต เล่ม2, น.73
  38. ประเวศ วะสี. บนเส้นทางชีวิต เล่ม2, น.75
  39. ประเวศ วะสี. บนเส้นทางชีวิต เล่ม2, น.84
  40. ประเวศ วะสี. บนเส้นทางชีวิต เล่ม2, น.81 และ 85-87
  41. ประเวศ วะสี. บนเส้นทางชีวิต เล่ม2, น.88
  42. พุทธทาสดอทคอม. "สวนโมกข์วันนี้" http://www.buddhadasa.com/history/budmem6.html (5 สิงหาคม 2554) อ้างจาก อรศรี งามวิทยาพงศ์ จากหนังสืออนุทินภาพ 60 ปี สวนโมกข์ : พฤษภาคม 2535
  43. พุทธ ทาสดอทคอม. "สวนโมกข์วันนี้" http://www.buddhadasa.com/history/budmem6.html (5 สิงหาคม 2554) อ้างจาก อรศรี งามวิทยาพงศ์ จากหนังสืออนุทินภาพ 60 ปี สวนโมกข์ : พฤษภาคม 2535
  44. ประเวศ วะสี. ปัจฉิมอาพาธท่านพุทธทาสมหาเถระ , 2536, น.34-35
  45. ประเวศ วะสี. ปัจฉิมอาพาธท่านพุทธทาสมหาเถระ , 2536, น.13-14
  46. ประเวศ วะสี. ปัจฉิมอาพาธท่านพุทธทาสมหาเถระ , 2536, น.19
  47. ประเวศ วะสี. ปัจฉิมอาพาธท่านพุทธทาสมหาเถระ , 2536, น.21
  48. ประเวศ วะสี. ปัจฉิมอาพาธท่านพุทธทาสมหาเถระ , 2536, น.22
  49. ประเวศ วะสี. ปัจฉิมอาพาธท่านพุทธทาสมหาเถระ , 2536, น.23-24
  50. ประเวศ วะสี. ปัจฉิมอาพาธท่านพุทธทาสมหาเถระ , 2536, น.26-27
  51. ประเวศ วะสี. ปัจฉิมอาพาธท่านพุทธทาสมหาเถระ , 2536, น.28
  52. ประเวศ วะสี. ปัจฉิมอาพาธท่านพุทธทาสมหาเถระ , 2536, น.55
  53. นิธิ เอียวศรีวงศ์. “สื่อไทยในสถานการณ์ขัดแย้ง” ใน มติชนรายวัน (17 พฤษภาคม 2553)
  54. ประเวศ วะสี. ปัจฉิมอาพาธท่านพุทธทาสมหาเถระ , 2536, น.29-30
  55. ประเวศ วะสี. ปัจฉิมอาพาธท่านพุทธทาสมหาเถระ , 2536, น.57
  56. ประเวศ วะสี. ปัจฉิมอาพาธท่านพุทธทาสมหาเถระ , 2536, น.59-60
  57. ประเวศ วะสี. ปัจฉิมอาพาธท่านพุทธทาสมหาเถระ , 2536, น.76
  58. ประเวศ วะสี. ปัจฉิมอาพาธท่านพุทธทาสมหาเถระ , 2536, น.32-33
  59. ประเวศ วะสี. ปัจฉิมอาพาธท่านพุทธทาสมหาเถระ , 2536, น.33
  60. ประเวศ วะสี. บนเส้นทางชีวิต เล่ม4, 2536, น.504
  61. ประเวศ วะสี. บนเส้นทางชีวิต เล่ม4 (กรุงเทพฯ : หมอชาวบ้าน), 2536, น.503-504
  62. นอก จากนี้ยังมีตำแหน่งอื่นๆ อีก ได้แก่ ประธานสถาบันวิจัยสาธารณสุขไทย, ประธานมูลนิธิไทย, ประธานคณะกรรมการวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ แผนกแพทยศาสตร์ มูลนิธิ อานันทมหิดล และกรรมการมูลนิธิอานันทมหิดล แผนกแพทยศาสตร์, ประธานมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ, ประธานคณะอนุกรรมการจัดทำแผนปฏิบัติการหลักการการจัดตั้งราชวิทยาลัย ครุศาสตร์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, ประธานคณะทำงานด้านการพัฒนาพืชสมุนไพรเพื่อการผลิตยาทางอุตสาหกรรม องค์การเภสัชกรรม, คณะกรรมการสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ และคณะอนุกรรมการต่างๆ, คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย ม.มหิดล, ธรรมศาสตร์, จุฬาฯ, สถาบันบัณฑิต พัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า), สถาบันราชภัฏ, ขอนแก่น, สงขลา, คณะกรรมการอำนวยการสถาบันเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาชนบท ม.จุฬาฯ, ประธานคณะอนุกรรมการอำนวยการส่งเสริมการวิจัยการศึกษาแห่งชาติ, ประธานกรรมการวิชาการมูลนิธิรางวัลมหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์, คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ, คณะกรรมการการศึกษา การศาสนา และการวัฒนธรรม กระทรวงศึกษาธิการ, คณะกรรมการอำนวยการโครงการปฏิรูประบบบริการสาธารณสุขแห่งชาติ (National Steering Committee) กระทรวงสาธารณสุข ดูใน Prawase. "ประวัติ" http://www.prawase.com/bio.php (5 สิงหาคม 2554)
  63. ประชาไท. "คณะกรรมการปฏิรูปฯชุด “อานันท์” ประกาศลาออก มีผล 15 พ.ค.นี้" http://prachatai.com/journal/2011/05/34543 (14 พฤษภาคม 54) และ ประชาไท. ‘หมอประเวศ’ยันไม่ลาออกตาม‘อานันท์’แจงยุบสภาไม่เกี่ยวกับปฏิรูป http://prachatai.com/journal/2011/03/33588 (16 มีนาคม 2554)
  64. เปลวเทียน ส่องทาง. “ประเวศ-บุญชัย” และค่าแรง 300 บาท http://prachatai.com/journal/2011/07/35967 (11 กรกฎาคม 2554)
  65. เรณู ปัญญาดี. มติชนสุดสัปดาห์ (กรกฎาคม 2554) : 45
  66. อ่านเรื่อง อนาถบิณฑิกเศรษฐี ไล่เทวดาออกจากซุ้มประตูบ้านได้ใน http://www.84000.org/one/3/02.html (5 สิงหาคม 2554)

สังคมที่ให้ความสำคัญกับ “ความสมบูรณ์แบบ” ของ “ครอบครัว” จนล้นเกิน

ที่มา ประชาไท

ปัญหา เรื่องการหย่าร้างได้รับความสนใจจากสังคมในวงกว้าง โดยเฉพาะในปัจจุบัน ทั้งนี้เนื่องจากอัตราการหย่าร้างมีจำนวนเพิ่มขึ้นจนน่าวิตก จนกระทั่งได้มีการก่อตั้งสำนักงานส่งเสริมสถาบันครอบครัวในเดือนตุลาคม พ.ศ.2547 ดังที่ข้อมูลจากกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยได้แสดงให้เห็นว่าการหย่าร้างมีอัตราเพิ่มสูงขึ้นทุกปี อาทิเช่น ในปี พ.ศ.2540 มีการหย่าร้างจำนวน 62,379 คู่ ซึ่งเพิ่มเป็น 77,735 คู่ในปี พ.ศ.2545 และเพิ่มเป็นถึง 109,277 คู่ในปี พ.ศ.2552

อย่าง ไรก็ตาม สังคมไทยดูจะหมกมุ่นวิตกกังวลอยู่กับเรื่องเพียงบางเรื่อง ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาด้านเดียว และส่วนใหญ่ก็เป็นการมองที่ปลายเหตุเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาถึงสาเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดการหย่าร้าง การหาหนทางว่าทำอย่างไรจึงจะสามารถรักษาสถาบันครอบครัวเอาไว้ การพยายามทำความเข้าใจอารมณ์ความรู้สึกของเด็กที่อาศัยอยู่กับพ่อหรือแม่ เพียงคนเดียว และการพยายามหาแนวทางที่จะ “รักษา” “เยียวยา” หรือจัดความสัมพันธ์กับเด็กที่มี “ปัญหา” เหล่านี้อย่างไร

แน่นอนว่า การหย่าร้างย่อมส่งผลกระทบต่อกระบวนการกล่อมเกลาทางสังคมของ เด็กอย่างไม่ต้องสงสัย ซึ่งทำให้เด็กกลุ่มนี้มีแนวโน้มที่จะมีปัญหาในการดำรงตนอยู่ในสังคมมากกว่า กว่าเด็กปกติทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในสายตาของ “ผู้ใหญ่” ที่ย่อมต้องการให้เด็กๆ มีความคิดและปฏิบัติตนให้อยู่กับร่องกับรอย (น่าสงสัยว่าถ้าหากการหย่าร้างเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ แล้ว ในอนาคตเด็กกลุ่มใดกันแน่ที่จะเป็นเด็กส่วนน้อย เด็กที่ไม่ปกติ เด็กที่ต้องได้รับการเยียวยาเป็นพิเศษ)

ผู้เขียนชวนให้ตั้งคำถาม ง่ายๆ ว่า จริงหรือที่ปัญหาต่างๆ ที่เด็กเหล่านี้ได้รับ มีสาเหตุมาจากความไม่สมบูรณ์ของครอบครัวเพียงอย่างเดียว เพราะผู้เขียนเห็นว่าลำพังการหย่าร้าง หรือการอยู่กับ “พ่อ” หรือ “แม่” เพียงคนเดียวไม่น่าจะส่งผลถึงขนาดนั้น แต่กรอบความคิดบางอย่างของสังคมไทยเองต่างหากที่ทำให้ “การหย่าร้าง” หรือ “ความไม่สมบูรณ์” ของครอบครัวกลายเป็นปัญหามากกว่าที่มันควรจะเป็น ดังนั้น หากเรามองในมุมนี้ ประเด็นต่อมาก็คือ “เด็ก” เหล่านี้ (ที่ถูกมองว่าเป็นปัญหา) หรือสังคมไทยกันแน่ ที่ควรจะได้รับการรักษาเยียวยา

การให้ความสำคัญกับความผูกพันในครอบครัวอย่างล้นเกิน

ใน ขณะที่หลายๆ สังคมให้ความสำคัญกับการจัดความสัมพันธ์ระหว่างพ่อ-แม่-ลูกภายหลังการหย่า ร้างพอๆ กับความพยายามหาทางรักษา “ครอบครัวที่สมบูรณ์” เอาไว้ ดังที่เรามักจะเห็นในหนังฝรั่งหลายๆ เรื่อง ที่ใช้กลไกทางกฎหมายในการจัดความสัมพันธ์ระหว่างพ่อ-แม่-ลูก ภายหลังการหย่าร้าง ว่าลูกควรอยู่กับใคร ใครมีสิทธิพบเจอลูกแค่ไหนและเมื่อไหร่ เป็นต้น แต่สังคมไทยกลับมีอคติที่ไม่ดีกับการหย่าร้างมากเกินไป เราไม่มองว่าการทะเลาะเบาะแว้ง การเข้า-ออกจากสถาบันครอบครัว การแยกทาง การหย่าร้างเป็นปัญหาปกติที่เกิดขึ้นในทุกๆ สังคมมนุษย์ เราพยายามไกล่เกลี่ย รอมชอม กดดันและบีบบังคับ (โดยสังคม) ให้ใครบางคนต้องอดทนกับสภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออก หรือกับปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นเพื่อรักษาครอบครัวที่สมบูรณ์แบบตามอุดมคติเอาไว้ ซึ่งลักษณะเช่นนี้เองที่ทำให้ผู้หญิงหลายคนที่โดนกดขี่ กลายเป็นผู้แบกรับต้นทุน/ภาระ ในการประคับครองครอบครัวตามอุดมคติแบบไทยเอาไว้บนบ่า

การที่เราสร้าง “กรอบมาตรฐาน” บางอย่างขึ้นมานั้น เป็นส่วนสำคัญที่เข้าไปกดดันและทำให้ผู้คนที่ไม่สามารถดำเนินชีวิตตามกรอบ มาตรฐานดังกล่าวได้ รู้สึกผิด ย้ำแย่ และทดท้อในชีวิตมากกว่าที่ควรจะเป็น ถ้าจะยกตัวอย่างให้เห็นง่ายๆ ก็ดังเช่น ในปัจจุบันมีการรณรงค์กันอย่างเข้มข้นในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งถ้าหากวาทกรรมดังกล่าวสามารถสถาปนาขึ้นเป็นกรอบมาตรฐานหลักของสังคมไทย ได้แล้ว ก็จะทำให้ผู้หญิงหลายคนที่ไม่สามารถเลี้ยงลูก ดูแลลูก หรือให้นมลูกด้วยนมของตนได้ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม ต้องรู้สึกว่าตนเองได้กลายเป็น “แม่ที่บกพร่อง” ไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ ต้องกลายเป็น “แม่” ที่ไม่สมบูรณ์ตามอุดมคติของแม่แบบไทยๆ

อีกหนึ่ง ตัวอย่างที่เราพบเห็นได้ทั่วไปตามป้ายโฆษณาบนท้องถนนในปัจจุบัน คือการผลิตวาทกรรมว่าด้วยการเป็นลูกผู้ชายที่แท้จริงต้องบวชให้ได้อย่างน้อย หนึ่งพรรษา ซึ่งถ้าหากวาทกรรมดังกล่าวถูกผลักดันให้กลายเป็นกรอบมาตรฐานของสังคม ก็จะทำให้ผู้ชายจำนวนนับไม่ถ้วนที่บวชไม่ถึงหนึ่งพรรษา (ดังเช่นตัวผู้เขียนเองเป็นต้น) ต้องรู้สึกว่าตนเองบกพร่อง เป็นปมด้อย และเป็น “ลูก(ผู้)ชาย” ที่ไม่สมบูรณ์

ในกรณีเรื่องการหย่าร้างก็เช่น เดียวกัน การที่เด็กคนหนึ่งไม่กล้าที่จะบอกว่าตนไม่มีพ่อหรือแม่ และรู้สึกว่าตนเองเป็นปัญหา มีปมด้อย ไม่สมบูรณ์ และรู้สึกกลัว ไม่กล้าที่จะเปิดเผยตนเองและปัญหาที่มีต่อสังคม จนต้องกลายเป็นเด็กมีปัญหา ไม่ได้เป็นเพราะพ่อแม่ของเขาแยกทางกัน หรือเพราะเขาขาดความอบอุ่นในครอบครัวเท่านั้น แต่อีกส่วนหนึ่งเป็นเพราะสังคม ที่ให้ความสำคัญกับความสมบูรณ์แบบของครอบครัวมากเกินไปต่างหาก ที่เข้าไปกดดันพวกเขาเหล่านั้น

สังคมที่สถาปนากรอบมาตรฐานของครอบ ครัวที่สมบูรณ์แบบตามอุดมคติขึ้นมา สังคมที่ไม่มองว่าการหย่าร้างเป็นเรื่องธรรมชาติของมนุษย์ ได้เบียดขับให้พ่อ แม่ หรือใครก็ตามที่ไม่สามารถประคับประครองครอบครัวของตนให้เป็นไปตามอุดมคติดัง กล่าวได้ หรือใครก็ตามที่ไม่ได้อาศัยอยู่ในครอบครัวแบบอุดมคติดังกล่าว กลายเป็นคนที่ดูจะมีปัญหา ไม่มีความรับผิดชอบ มีความบกพร่อง และไม่สมบูรณ์อย่างรุนแรง

ดังนั้น สังคมที่ให้ความสำคัญกับความรัก ความผูกพันในครอบครัวจนล้นเกินต่างหาก ที่กดดันและทำให้พวกเขาเหล่านั้นรู้สึกกลัวที่จะออกไปเผชิญกับโลกภายนอกด้วย สิ่งที่เขาหรือครอบครัวของเขาเป็น จนต้องเก็บกดปิดกั้น และแบกรับปัญหาต่างๆ เอาไว้เพียงคนเดียว จนนำมาซึ่งปัญหาในการจัดความสัมพันธ์ระหว่างตัวเขาเองกับผู้คนในสังคมภายนอก

ครอบครัวที่ดีแบบไทยๆ

“ครอบ ครัวที่ดี” แบบไทยๆ ที่ต้องเต็มไปด้วยความรัก ความอบอุ่น ความผูกผัน ความช่วยเหลือเกื้อกูล ความกตัญญู การเคารพเชื่อฟัง ความสามัคคี ไม่แตกแยก และที่สำคัญคือไม่หย่าร้าง ถูกสร้างขึ้นมาพร้อมๆ กับอุดมการณ์ชาตินิยมตั้งแต่สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นต้นมา

อุดมการณ์ ชาตินิยมไทยถูกใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างความกลมเกลียว ความสามัคคี ความจงรักภักดี ตลอดจนสร้างความชอบธรรมให้แก่ผู้ปกครอง (ในทุกๆ ระบอบ) อยู่เสมอมา เพราะการสร้างจินตภาพเรื่อง “ชาติไทย” และ “ความเป็นไทย” ให้เกิดขึ้นในสำนึกของคนทั้งปวง จะช่วยในการจัดระเบียบสังคม รวมทั้งยังช่วยลดความแตกต่างและความขัดแย้ง เอื้อให้เกิดสภาวะที่มีเอกภาพ การสมัครสมานภายใน หรือความสามัคคีภายในชาติสามารถเกิดขึ้นได้ [1] ซึ่งลักษณะสำคัญอย่างหนึ่งของ “ชาติไทย” และ “ความเป็นไทย” ที่ถูกสร้างขึ้นคือ ความพยายามทำให้เราจินตนาการว่าผู้คนภายใน “ชาติ” ก็เปรียบดังญาติพี่น้องที่อยู่ใน “ครอบครัว” เดียวกัน

ในสมัยแผนดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงเผยแพร่เนื้อหาของจารึกสุโขทัยหลักที่ ๑ ให้ปรากฏแก่มหาชน [2] ซึ่งเนื้อหาของจารึกหลักนี้ได้กลายเป็นพื้นฐานของการอธิบาย “การปกครองแบบไทย” ในสมัยต่อมา ซึ่งถือว่ามีลักษณะพิเศษที่สำคัญคือเป็นการปกครองแบบ “พ่อ” ปกครอง “ลูก”

แต่ ช่วงที่อุดมการณ์ชาตินิยมไทยลงมามีบทบาทในการจัดการกับความสัมพันธ์ ภายในครอบครัวของประชาชนอย่างเด่นชัดนั้น เกิดขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระมุงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ผู้ที่พยายามหาทาง “เพาะ” ความรักชาติ ด้วยการ “เพาะ” ความรักใน “คณะ” ย่อยๆ ให้เกิดขึ้นก่อน โดยที่ผู้มีความรักใน “คณะ” ของตนจะต้องตระหนักว่าทุกคณะเป็นส่วนหนึ่งของ “ชาติไทย” ซึ่งเป็นคณะใหญ่ที่สุด [3]

พระองค์ ทรงสร้างสถาบันหรือชุมชนใหม่ๆ ขึ้นมา เพื่อให้ผู้คนได้เรียนรู้ที่จะรักและเสียสละให้กับชุมชนเหล่านั้น และถ่ายทอดความรักความเสียสละมาสู่ชาติ “คณะ” ที่สำคัญอันหนึ่งได้แก่ “ตระกูล”(ทรงริเริ่มการใช้นามสกุลในประเทศไทย) ซึ่งก็คือ “ครอบครัว” นั่นเอง ฉะนั้น เมื่อ “ชาติ” ของพระองค์คือชาติที่สามัคคี กลมเกลียว รู้ที่ต่ำที่สูง ไม่ขัดแย้ง และทำตามหน้าที่ “ครอบครัว” ตามอุดมคติของพระองค์จึงต้องเป็นครอบครัวที่มีแต่ความรัก ความกตัญญู ความผูกพัน ความสามัคคี ความกลมเกลียว ไม่แตกแยก ไม่หย่าร้างด้วยเช่นกัน

ต่อ มาในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง รัฐบาลได้แทรกแซงความสัมพันธ์ภายในครอบครัวมากขึ้น เพราะการแต่งงาน การมีครอบครัว ย่อมหมายถึงการสร้างพลเมืองรุ่นใหม่ๆ ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อความเจริญมั่นคงของชาติ ในช่วงนี้เองเริ่มมีการส่งเสริมให้ประชาชนได้ทำการแต่งงานสร้างครอบครัว มีการนำเสนอแนวทางการดำเนินชีวิตสมรสและแนวทางในการแก้ปัญหาชีวิตสมรส มีการจัดตั้งองค์กรส่งเสริมการสมรสขึ้นในกระทรวงสาธารณสุขเพื่อความสะดวกใน การสมรส อันคำนึงถึงความประหยัด ชี้แนะเกี่ยวกับการตรวจร่างกายก่อนสมรส รวมไปถึงการกำหนดพิธีสมรสมากคู่ในคราวเดียว [4]

การ เน้นย้ำว่าความสัมพันธ์ของชาติเปรียบดังความสัมพันธ์ของครอบครัวถูก ตอกให้ลงลึกในความรู้สึกของผู้คนมากขึ้นในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งใช้ลักษณะการปกครองแบบพ่อปกครองลูกหรือที่นักวิชาการบางท่านเรียกว่า ระบบพ่อขุนอุปถัมภ์ โดยมีหลวงวิจิตรวาทการและพระยาอนุมานราชธนเป็นปัญญาชนเบื้องหลังคนสำคัญ นโยบายต่างๆ ของจอมพลสฤษดิ์จึงสะท้อนการเป็นผู้นำแบบ “พ่อขุน” ไม่ว่าจะเป็น การช่วยเหลือ “ลูกๆ” ด้วยความเมตตา การรักษาความเรียบร้อยในครอบครัว และการส่งเสริมสุขภาพและศีลธรรม เป็นต้น [5]

ความ สัมพันธ์อันสมบูรณ์แบบในครอบครัว ระหว่าง “พ่อ-แม่-ลูก” ได้ถูกเน้นย้ำให้มากยิ่งขึ้นไปอีกในสมัยรัชกาลปัจจุบัน มีการเรียกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกลาปัจจุบันว่า “พ่อหลวงของปวงชนชาวไทย” มีการประดิษฐ์วันพ่อ วันแม่ และวันเด็กขึ้นมา ซึ่งในวันเหล่านี้ก็จะตามมาด้วยนิทรรศการเพื่อเน้นย้ำให้เราตระหนักว่าใคร เป็น “พ่อ” ของชาติ ใครเป็น “แม่” ของชาติ และใครเป็น “ลูกๆ” ของชาติ สิ่งเหล่านี้จึงเป็นความพยายามที่จะรักษาและตอกย้ำความสัมพันธ์เชิงอำนาจแบบ ไทยๆ เอาไว้ นั่นก็คือความสัมพันธ์แบบพ่อปกครองลูกนั่นเอง และเมื่อผู้ปกครองถูกเปรียบเป็น “พ่อ-แม่” พลเมืองหรือผู้ถูกปกครองถูกเปรียบเป็น “ลูก” ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ปกครองและผู้ถูกปกครองจึงต้องเป็นความสัมพันธ์ ที่สงบเรียบร้อย รู้หน้าที่ รู้ที่ต่ำสูง กตัญญูรู้คุณ ไม่เบาะแว้ง ไม่แตกแยก และเต็มไปด้วยความรักความสามัคคี

การเน้น “ความรัก” ความผูกพัน ความสามัคคี ของผู้คนใน “ชาติ” ที่ถูกเปรียบดัง “ครอบครัว” ได้ทำให้สถาบันครอบครัวไทย ถูกหล่อหลอมไปด้วยทัศนคติแบบชาตินิยมไปด้วย ครอบครัวแบบไทยๆ จึงต้องเป็นความสัมพันธ์ที่รัก-ผูกพัน-สามัคคี แตกแยกไม่ได้ เมื่อเลือกแล้วก็ต้องช่วยกันประคับประคองความสัมพันธ์แบบ “พ่อ-แม่-ลูก” กันต่อไป ส่วนใครก็ตามที่ทำตามกรอบครอบครัวที่สมบูรณ์แบบไทยๆ ไม่ได้ ก็จะต้องกลายเป็นคนที่มีปัญหา ไม่สมบูรณ์ และมีอะไรผิดแปลก และจะถูกจับตามองเป็นพิเศษ เพราะเมื่อคุณไม่สามารถประคับประคองอุดมคติครอบครัวแบบไทยเอาไว้แล้วละก็ คุณย่อมอาจเป็นปัญหา และอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่จะประคับประคองความสัมพันธ์หรืออุดมคติของการปกครอง แบบไทยเอาไว้ไม่ได้เช่นเดียวกัน

วาทกรรมเรื่องความรักความผูกพัน ความสามัคคีเช่นนี้เองที่บีบคั้นให้คนที่หย่าร้างกัน คนที่มีครอบครัวไม่สมบูรณ์ รู้สึกบกพร่อง รู้สึกว่าตนไม่สมบูรณ์ จนเกิดความกลัว ความวิตกกังวลที่ล้นเกินมากไป

เชิงอรรถ

[1] โปรดดูประเด็นนี้ใน สายชล สัตยานุรักษ์, รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการประวัติศาสตร์วิธีคิดเกี่ยวกับสังคมและวัฒนธรรมไทยของปัญญาชน (พ.ศ.2435-2535), สนับสนุนโดยกองทุนสนับสนุนการวิจัย, พ.ศ.2550,
[2] สายชล สัตยานุรักษ์, รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการประวัติศาสตร์วิธีคิดเกี่ยวกับสังคมและวัฒนธรรมไทยของปัญญาชน (พ.ศ.2435-2535), สนับสนุนโดยกองทุนสนับสนุนการวิจัย, พ.ศ.2550, หน้า 20.
[3] เรื่องการสร้าง “ชาติไทย” และ “ความเป็นไทย” สมัยรัชกาลที่ ๖ นี้ผู้เขียนใช้ข้อมูลจาก สายชล สัตยานุรักษ์, เพิ่งอ้าง, หน้า ๖๖-๑๐๕.
[4] โปรดดูใน ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์ วันแม่ในทศวรรษ 2480: เซ็กส์ ความรักกับความเป็น “แม่พันธุ์” แห่งชาติ ในhttp://prachatai.com/journal/2009/08/25415
[5] ดูใน ทักษ์ เฉลิมเตียรณ, การเมืองระบบพ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จการ, กรุงเทพฯ: มูลนิธิตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, พิมพ์ครั้งที่ 2, 2548.