WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, June 26, 2009

องค์การนิรโทษกรรมสากลยื่นมือฉุดดาตอร์ปิโด หลังเผชิญชะตากรรมคุกคดีหมิ่นฯเกือบขวบปี

ที่มา Thai E-News

โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
ที่มา สำนักข่าวเรอยเตอร์
26 มิถุนายน 2552

องค์การนิรโทษกรรมสากล(Amnesty international)ออกแถลงการณ์เรียกร้องไทยพิจารณาคดีหมิ่นฯโดยเปิดเผย หลังจากผู้พิพากษาสั่งปิดห้องคดี"ดาตอร์ปิโด"เป็นการลับ สั่งนักข่าวและผู้สังเกตการณ์ออกนอกห้องพิจารณา ระบุ"เมื่อศาลปิดประตูห้องพิจารณา มันก็ส่งนัยยะสำคัญว่ามีความเสี่ยงสูงขึ้นที่จะทำให้สถานที่นั้นเกิดความอยุติธรรม" เผยเป็นครั้งแรกที่นิรโทษกรรมยื่นมือเข้ามาเกี่ยวข้องคดีนี้ หลังจากคดีหมิ่นถูกเหวี่ยงแหเอาผิดฝ่ายเรียกร้องประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการมาอย่างหนักหน่วงต่อเนื่อง


Amnestyร้องประเทศไทยพิจารณาคดีหมิ่นฯโดยเปิดเผย

กรุงเทพฯ(รอยเตอร์)กลุ่มเคลื่อนไหวทางด้านสิทธิมนุษยชน แอมเนสตี้สากลได้เรียกร้องต่อทางการไทยเมื่อวันศุกร์(26มิ.ย.)ให้เปิดการพิจารณาคดีที่นักรณรงค์เคลื่อนไหวทางการเมืองถูกจับกุมฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอย่างเปิดเผย ภายหลังจากมีการพิจารณาคดีเป็นการลับ โดยอ้างเหตุผลเรื่อง"ความมั่นคงของชาติ"

แอมเนสตี้กล่าวว่าการที่ศาลไทยสั่งห้ามสื่อมวลชนและสาธารณชนเข้าสังเกตการณ์การพิจารณาของดารุณี ชาญเชิงศิลปกุล ซึ่งเป็นคนใน"กลุ่มเสื้อแดง"ผู้ให้การสนับสนุนอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรที่ถูกโค้นล้มจากรัฐประหาร เสี่ยงที่จะทำให้เธอไม่ได้รับโอกาสที่เป็นธรรมในการพิจารณาคดี

ดารุณี วัย46ปี หรือที่รู้จักกันในฉายา"ดาตอร์ปิโด"ถูกจับกุมดำเนินคดีฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเมื่อเดือนกรกฎาคมปีที่แล้ว หลังจากได้กล่าวปราศรัยอย่างแข็งกร้าวเพื่อต่อต้านการทำรัฐประหารปี2549เพื่อโค่นล้มทักษิณลงจากตำแหน่ง

"เมื่อศาลปิดประตูห้องพิจารณา มันก็ส่งนัยยะสำคัญว่ามีความเสี่ยงสูงขึ้นที่จะทำให้สถานที่นั้นเกิดความอยุติธรรม"ผู้อำนวยการแอมเนสตี้ เอเชีย-แปซิฟิก แซม ซาริฟีกล่าวในแถลงการณ์

"รัฐบาลไทยต้องประสบกับเวลาที่ยุ่งยากที่จะอธิบายว่าเพราะเหตุใดการพิจารณาคดีใครบางคนที่ถูกจับกุมฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพจึงเป็นเครื่องหมายถึงความมั่นคงแห่งชาติด้วย"

"ในกรณีนี้ การพิจารณาคดีที่เป็นธรรมหมายความถึงประตูห้องพิจารณาของศาลควรจะต้องเปิด"ซาริฟีกล่าว

เมื่อวันอังคารที่23มิถุนายน ผู้พิพากษาพรหมมาส ภู่แส สั่งให้สื่อมวลชนและผู้สนับสนุนดารุณีออกจากห้องพิจารณาคดีในศาลอาญากรุงเทพ เพราะคดีของเธอนั้น"ขัดต่อความมั่นคงของชาติ"

จากคำสั่งของศาลดังกล่าว ดารุณีอาจจะไม่ได้รับประกันว่าจะได้มีการพิจารณาคดีอย่างยุติธรรม หากสาธารณชนถูกสั่งไม่ให้เข้าสังเกตการณ์พิจารณาไต่สวนคดี ทั้งนี้เป็นการยื่นคำร้องเพื่อคัดค้านโดยทนายความของเธอ

การพิจารณาคดีนี้จะมีขึ้นอีกในวันที่28กรกฎาคมนี้ ท่ามกลางข้อวิพากษ์วิจารณ์เชิงขัดแย้งต่อเรื่องเสรีภาพในการพูดในกรณีของคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

คดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ หรือการหมิ่นประมาทพระราชวงศ์เป็นคดีที่มีโทษร้ายแรงในประเทศไทย แม้ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระชนมายุ 81 พรรษาจะเป็นที่เทิดทูนสักการะของพสกนิกรไทยเสมือนสมมุติเทพและมีสถานะอยู่เหนือการเมือง แต่ก็มีการระบุโทษจำคุกสำหรับผู้หมิ่นพระบรมเดชานุภาพไว้สูงสุดถึง 15 ปี

ผู้พิพากษาพรหมมาสไม่ได้แสดงความเห็นใดต่อการเคลื่อนไหวเรียกร้องของแอมเนสตี้ในครั้งนี้ แต่ได้ยืนยันในสิ่งที่เขาตัดสินใจไปแล้วคือการปิดห้องพิจารณาคดีเป็นการลับ

"สิ่งเดียวที่ผมสามารถพูดได้,ผมเป็นกลาง"เขากล่าวให้สัมภาษณ์กับรอยเตอร์"

นี่เป็นครั้งแรกเช่นกันที่องค์การนิรโทษกรรมสากล หรือAmnestyยื่นมือเข้ามาข้องเกี่ยวกับคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในรอบ 3 ปีมานี้ ก่อนหน้านั้นแอมเนสตี้ไม่ได้แสดงท่าทีสนใจหรือเคลื่อนไหวใดๆ กระทั่งรศ.ใจ อึ๊งภากรณ์ ผู้ตกเป็นผู้ต้องหาคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพรายหนึ่ง เคยเรียกร้องให้บรรดาผู้บริจาคสนับสนุนAmnestyมาก่อนเลิกบริจาค และหันไปบริจาคแก่องค์กรอื่นที่ตื่นตัวต่อปัญหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในไทย ซึ่งรศ.ใจเห็นว่าเป็นข้อหาที่มุ่งเอาผิดต่อนักการเมือง นักวิชาการ นักเคลื่อนไหวทางการเมืองที่เรียกร้องประชาปไตย ต่อต้านเผด็จการ และต่อต้านรัฐประหาร19กันยายน2549เป็นหลัก

*อ่านรายละเอียดแถลงการณ์ของAmnesty คลิ้กที่นี่ เนื้อหาแถลงการณ์ระบุในตอนหนึ่งว่า

“ภายใต้กฏหมายนานาชาติ การพิจารณาคดีแบบเปิดเป็นสิ่งสำคัญในการปกป้องสิทธิของบุคคลที่พึงได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรมและเป็นไปตามขั้นตอน เมื่อผู้พิพากษาปิดประตูห้องพิจารณาคดี มันทำให้ความเสี่ยงที่ความอยุติธรรมจะเกิดขึ้นได้เพิ่มขึ้นอย่างมาก รัฐบาลไทยจะประสบปัญหาในการอธิบายว่าทำไมการพิจารณาคดีของบุคคลหนึ่งซึ่งถูกตั้งข้อหาว่าทำการหมิ่น ว่าร้าย จะเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติอย่างไร”

ผู้พิพากษา ให้เหตุผลสนับสนุนข้อวินิจฉัยให้ปิดประตูห้องพิจารณาคดี ด้วยเหตุผลว่านี่เป็นเรื่อง ความมั่นคงของชาติ ทั้งกฏหมายสิทธิมนุยชน และ สิทธิทางการเมืองนานาชติ และ รัฐธรรมนูญอนุญาตให้มีการพิจารณาคดีแบบลับได้ ภายใต้เหตุผลนี้จริง แต่การปิดกั้นดังกล่าวจะถูกต้องชอบธรรมก็ต่อเมื่อมันเป็นสิ่งที่จำเป็นที่สุด และมาตรการการสกัดกั้นอื่นๆไม่มีแล้ว

แม้ผู้พิพากษา พหรมมาส รับประกันว่าจำลยจะได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม แม้ว่าจะปิดกั้นการพิจารณาคดีต่อสื่อ และสาธารณชนก็ตาม

แซม ซาฟิริ กล่าวว่า “การกล่าวรับประกันแบบนี้ไม่สามารถพิสูจน์ได้เมื่อประตูห้องถูกปิดลง ซึ่งนั่นเป็นเหตุผลว่าทำไม กฏหมายนานาชาติ และกฏหมายไทยเอง เรียกร้องให้การพิจารณาคดีเปิดแก่สาธารณะ”

มาตรา 14 ของกฏหมายสิทธิมนุษยชน และสิทธิทางการเมืองนานาชาติ ซึ่งประเทศไทยตกลงอยู่ภายใต้ ระบุว่า บุคคลทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีที่เป็นธรรม และ เป็นสาธารณะ

มาตรา 40 ของรัฐธรรมนูยของไทย ปี 2550 ระบุว่าบุคคลทุกคนมีสิทธิขั้นพื้นฐานในขั้นตอนทางศาลซึ่งประกอบด้วยอย่างน้อยที่สุด การพิจารณาคดีที่เปิดเผยต่อสาธารณะ


คดีหมิ่นเอาไว้เล่นงานเสื้อแดง ชุมนุมใหญ่งวดนี้ตำรวจจับอีก

พล.ต.ท.วรพงษ์ ชิวปรีชา ผบช.น.กล่าวถึงกรณีที่กลุ่มเสื้อแดงจะชุมนุมกันบริเวณท้องสนามหลวงในวันที่ 27 มิ.ย.นี้ ว่า ตำรวจประเมินด้านการข่าวเพื่อจัดวางกำลังและแผนรองรับทุกขั้นตอนในการดูแลความสงบเรียบร้อย

พล.ต.ท.วรพงษ์ กล่าวด้วยว่า สำหรับการปราศรัยที่ท้องสนามหลวง เมื่อคืนวันที่ 23 และ 24 มิ.ย.ที่ผ่านมานั้น ได้รับรายงานจาก บก.น.1 ว่า มีคำพูดที่เข้าข่ายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพด้วย ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้รวบรวมพยานหลักฐานเป็นภาพถ่ายและเสียงไว้แล้ว อยู่ระหว่างดำเนินการตามขั้นตอนกฎหมาย จึงฝากเตือนไปยังแกนนำผู้ชุมนุมที่ขึ้นปราศรัยบนเวทีว่า สามารถใช้สิทธิแสดงความเห็นทางการเมืองได้ แต่หากเอาสถาบันมาพูดหมิ่นเบื้องสูงแบบนี้ ตำรวจคงปล่อยเอาไว้ไม่ได้แน่นอน

ด้าน พล.ต.ต.อำนวย นิ่มมะโน รอง ผบช.น.กล่าวว่า เรื่องการชุมนุมก็ขอให้อยู่ในกรอบของรัฐธรรมนูญ ส่วนวันที่ 27 มิ.ย.นี้ จะมีความรุนแรงหรือไม่นั้น ก็ขึ้นอยู่กับผู้ชุมนุมเอง ทางตำรวจจะมีการบันทึกภาพและเสียงเอาไว้ตลอด จากนั้นก็จะนำมาถอดเทปตรวจสอบดูว่า มีการยุยงปลุกปั่นให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมืองหรือไม่ หากพบก็จะนำไปสู่การออกมายจับอีกแน่นอน

“ส่วนเรื่องการปราศรัยนั้น ขอร้องแล้วว่าอย่าให้ร้าย หรือกล่าวหาใดๆ เกี่ยวกับสถาบันเบื้องสูงทั้งสิ้น ซึ่งขณะนี้พนักงานสอบสวนกำลังดำเนินการขออนุมัติศาลออกหมายจับผู้ที่พูดหมิ่นเบื้องสูงแล้ว ภายในเย็นนี้จะมีการออกหมายจับแน่นอน แต่บอกไม่ได้ว่ากี่คน หรือเป็นใครบ้าง โดยหลังจากออกหมายจับแล้วจะจับกุมทันที และจะไม่ให้ประกันด้วย ใครทำผิดก็ต้องจับหมด จะจับกันทั้งยวง และอีกหน่อยจะบุกขึ้นไปจับบนเวทีด้วย” รอง ผบช.น.กล่าว

"สุเทพ" เผยเยือนกัมพูชาพรุ่งนี้ไม่เน้นปมขัดแย้งเขาพระวิหาร

ที่มา MCOT News

โรงแรมแกรนด์ไฮแอทเอราวัณ 26 มิ.ย. -“สุเทพ” ยืนยันควงแขน รมว.กลาโหม เยือนกัมพูชาพรุ่งนี้ กระชับความสัมพันธ์สองฝ่าย หวังให้ความตึงเครียดระหว่างสองประเทศลดลง แต่ไม่เน้นพูดปมปราสาทพระวิหาร

นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ด้านความมั่นคง กล่าวถึงกรณีที่สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า สมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ส่งสัญญาณล่วงหน้าถึงนายสุเทพจะไม่พูดคุยถึงปัญหาปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกในระหว่างไปเยือนกัมพูชาวันพรุ่งนี้ (27 มิ.ย.) ว่า นายกรัฐมนตรีกัมพูชาต้องพูดจาในเรื่องที่เป็นการปกป้องผลประโยชน์ของประเทศ ถือเป็นเรื่องธรรมดา ซึ่งตนไม่ก้าวล่วงเข้าไปแทรกแซง แต่การไปเยือนของตนและ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ก็เพื่อกระชับความเป็นมิตรระหว่างกัน ทำให้ความตึงเครียดระหว่างสองประเทศลดลง และหันมาร่วมมือกันในเชิงสร้างสรรค์ และจะไม่พูดจาอะไรที่เป็นชนวนของความขัดแย้ง

“ผมคงไม่เอาเรื่องอะไรไปพูด ให้เป็นปัญหาก็แล้วกัน และท่านนายกฯ ไม่ได้ให้ผมไปพูดเรื่องปราสาทพระวิหาร แต่ท่านให้ผมไปพูดจาให้เป็นมิตรและไมตรีต่อกัน ผมตั้งใจจะไปกระชับความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันให้ดียิ่งขึ้น ให้เกิดความร่วมมือในเชิงสร้างสรรค์เพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนสองฝ่าย”นายสุเทพกล่าว

ส่วนสถานการณ์ที่ตึงเครียดบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา ต้องมีการเพิ่มกำลังทหารหรือไม่นั้น นายสุเทพ กล่าวว่า เป็นหน้าที่ของฝ่ายทหาร หากมีกรณีที่รู้สึกว่าจะทำให้สถานการณ์บริเวณชายแดนตึงเครียดก็ต้องเตรียมการ ขณะเดียวกัน ฝ่ายรัฐบาลต้องพยายามหาทางไม่ให้เหตุการณ์รุนแรง.-สำนักข่าวไทย


อัพเดตเมื่อ 2009-06-26 14:26:40

กกต.ยังไม่รับรองผลเลือกตั้ง ส.ส.สกลฯ ชี้มีเรื่องร้องเรียนมาก

ที่มา MCOT News


นายประพันธ์ นัยโกวิท กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ด้านบริหารงานเลือกตั้ง กล่าวถึงความคืบหน้าการประกาศรับรองผลการเลือกตั้งซ่อม ส.ส.เขต 3 สกลนครว่า กกต.ยังสอบสำนวนการทุจริตไม่เรียบร้อย อีกทั้งเมื่อวานนี้ ( 25 มิ.ย.) กกต.ยังมีคำสั่งตั้งคณะอนุกรรมการสอบสวน กรณีที่ นายศุภชัย ใจสมุทร โฆษกพรรคภูมิใจไทย ร้องเรียนว่า ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ประธาน ส.ส.พรรคเพื่อไทย ไปช่วยปราศรัย และระบุว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นหัวหน้าพรรคตัวจริง ซึ่งอาจเข้าข่ายจูงใจทำให้เข้าใจผิดในคะแนนนิยม นอกจากนี้ ยังมีสำนวนการสอบสวนที่อยู่ในชั้น กกต.จังหวัดอีก 7 เรื่อง

เมื่อถามว่าจะพิจารณาแล้วเสร็จก่อนประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง 30 วัน ตามที่กฎหมายกำหนดได้หรือไม่ นายประพันธ์ กล่าวว่า “ถ้าดูตามนี้ เรื่องค่อนข้างยาว”.- สำนักข่าวไทย


อัพเดตเมื่อ 2009-06-26 14:15:30

"แม้ว"โฟนอินเที่ยงวัน อ้อนคนศรีสะเกษอุ้มกลับไทย ลั่นชาวสกลนครนำตัวอยู่ชายแดนแล้ว

ที่มา มติชนออนไลน์

"แม้ว"โฟนอินตอนเที่ยงวัน อ้อนคนศรีสะเกษช่วยนำตัวกลับประเทศไทย ช่วยเลือกผู้สมัครส.ส.เพื่อไทย ลั่นกำลังรออยู่ที่ชายแดนหลังคนสกลนครเทคะแนนให้เด็กพท.คว้าชัยชนะเลือกตั้งซ่อม
P { margin: 0px; }
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 12.15 น.วันที่ 26 มิถุนายน ที่วัดบ้านพยุห์ อ.พยุห์ จ.ศรีสะเกษ นายอดิศร เพียงเกษ แกนนำกลุ่มเสื้อแดง พร้อมด้วย นายสุทิน คลังแสง นายณัฐวุฒิ ใสเกื้อ นายจตุพร พรหมพันธุ์ และนายอริสมันต์ พงษ์เรืองรอง ได้มาเปิดเวทีปราศรัยกับประชาชนในเขต อ.พยุห์ ที่อยู่ในเขตเลือกตั้งที่ 1 จ.ศรีสะเกษ โดยมีบรรดาประชาชนชาว อ.พยุห์ พากันสวมใส่เสื้อสีแดง จำนวนประมาณ 500 คนเดินทางเข้าร่วมรับฟังการปราศรัยกันอย่างคึกคักและแกนนำกลุ่มเสื้อแดงได้ผลัดกันขึ้นเวทีปราศรัยโจมตีการบริหารงานของรัฐบาลที่นำโดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี
นายอดิศร กล่าวว่า รัฐบาลที่นำโดยนายอภิสิทธิ์ เข้ามาบริหารประเทศก็เกิดความไม่โปร่งใสในหลายเรื่องจำนวนมาก ประชาชนชาวศรีสะเกษจะทราบดีอยู่แล้วทางสื่อสารมวลชนทุกแขนง เพื่อเป็นการส่งเสริมให้พรรคเพื่อไทยได้กลับไปเป็นรัฐบาลเพื่อบริหารประเทศ จึงขอให้ประชาชนชาวศรีสะเกษในเขตเลือกตั้งที่ 1 โดยเฉพาะชาว อ.พยุห์ ได้ลงคะแนนให้นายสุรชาติ ชาญประดิษฐ์ ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.ศรีสะเกษ เขต 1 พรรคเพื่อไทย เป็น ส.ส.ศรีสะเกษด้วย เพื่อจะได้ร่วมกันแก้ไขปัญหาของประเทศไทย จะได้เป็นปากเสียงของประชาชนชาวศรีสะเกษในการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจและปัญหาปากท้องของประชาชนชาวศรีสะเกษต่อไป

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ต่อมานายอดิศร ได้โทรศัพท์ถึง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และได้เปิดโฟนอินให้ประชาชนได้รับฟังด้วย โดยพ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวกับประชาชนชาว อ.พยุห์ ว่าตนอยู่ที่เมืองดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ อากาศร้อนมาก เดือนหน้าอากาศที่ดูไบจะร้อนสูงถึง 51 องศา ทำให้อยากกลับประเทศไทยมาก จึงขอให้ประชาชนชาวศรีสะเกษ โดยเฉพาะที่อยู่ในเขตเลือกตั้งที่ 1 ได้อุ้มตนกลับเข้ามาในประเทศไทยด้วย ก่อนหน้าชาวสกลนคร เขต 3 ได้นำตัวเข้ามาอยู่ที่เขตชายแดนรอยต่อของประเทศไทยแล้ว ขอให้ประชาชนชาวศรีสะเกษในเขตเลือกตั้งที่ 1 ได้เป็นผู้ที่ได้อุ้มเข้ามาในประเทศไทย ขอให้สนับสนุนลงคะแนนเลือกให้นายสุรชาติ ชาญประดิษฐ์ ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.พรรคเพื่อไทย ได้เป็น ส.ส.ศรีสะเกษด้วย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าตลอดเวลาที่ พ.ต.ท.ทักษิณ โฟนอินและถือว่าเป็นการโฟนอินครั้งแรกในเขตเลือกตั้งที่ 1 จ.ศรีสะเกษ ปรากฏว่าได้รับการตอบรับจากประชาชนชาว อ.พยุห์ เป็นอย่างดี มีการตบมือแสดงความยินดีเป็นระยะ ๆ โดยพ.ต.ท.ทักษิณใช้เวลาในการโฟนอินประมาณ 5 นาที

สมันไทย

ที่มา ข่าวสด

คอลัมน์ เหล็กใน




วันนี้ 27 มิ.ย.วันเกิดครบ 1 เดือนของแพนด้าน้อย ลูกหลินฮุ่ย

เจ้าหมีน้อยกำลังรูปร่างหน้าตาน่ารัก เป็นขวัญใจของคนทั้งบ้านทั้งเมือง

เห็นแล้วก็ได้แต่ปลื้มประเทศจีน ที่มีสัตว์ชนิดนี้ประเทศเดียวในโลก

และยิ่งปลื้มหนักขึ้น เมื่อรู้ว่าจริงๆ แล้วไทยก็เคยมีสัตว์ที่มีแห่งเดียวในโลกเหมือนกัน

สมันนั่นไง?

สมันเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกกีบคู่

เป็นกวางขนาดกลาง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cervus schomburgki

ลักษณะเด่น ตัวผู้มีเขาแตกแขนงออกไปมากมายเหมือนกิ่งไม้ แลดูสวยงาม

จึงได้ชื่อเป็นกวางที่มีเขาสวยที่สุดในโลก??

ในอดีตกระจายพันธุ์เฉพาะที่ราบลุ่มภาคกลาง รวมถึงบริเวณกรุงเทพฯ ปัจจุบัน

อาศัยหากินตามทุ่งโล่งกว้าง หลบหนีเข้าป่าทึบไม่ได้ เนื่องจากกิ่งก้านของเขาจะติดพันกิ่งไม้

กลายเป็นจุดอ่อนให้ถูกล่าอย่างง่ายดาย

จากข้อมูลที่บันทึกไว้ สมันธรรมชาติตัวสุดท้าย ตายเมื่อพ.ศ.2475 ที่กาญจนบุรี โดยปืนนายตำรวจคนหนึ่ง

สมันเลี้ยงตัวสุดท้าย ตายที่วัดแห่งหนึ่ง ใน ต.มหาชัย จ.สมุทรสาคร เมื่อพ.ศ.2481 โดยฝีมือชายขี้เมา

ทุกวันนี้จะเห็นสมันได้เพียงจากภาพ และรูปปั้นที่เขาดิน พร้อมคำบรรยายอันชวนสลดหดหู่

"สมันเป็นสัตว์ที่มีอยู่แห่งเดียวในโลก คือประเทศไทย แต่ได้สูญพันธุ์ไปแล้ว"

และยังกลายพันธุ์เป็นคำเปรียบเปรยเยาะเย้ย "ผู้แพ้"

หรือพวกล้มเหลว ไม่ได้เรื่อง ไม่เข้าท่า

ขณะที่จีนใช้ความมีอยู่ประเทศเดียวของแพนด้า ทำประโยชน์มากมายประมาณค่ามิได้

ทั้งการเมือง การปกครอง การทูต การค้า การศึกษา การท่องเที่ยว ฯลฯ

แพนด้าคือจีน จีนคือแพนด้า

เป็น "สัตว์ประเสริฐ" ที่ทั่วโลกต่างปรารถนา อยากดู อยากได้

ไม่ว่าจะอยู่ใน หรือนอกประเทศจีน แพนด้าจึงได้รับการทะนุถนอม ดูแลเอาใจใส่อย่างดียิ่ง

สมกับ "ค่า" ที่มีอยู่ประเทศเดียวในโลกของมัน!

ส่วนไทยเราลองหลับตามโนภาพ ถ้าสมันยังอยู่มาถึงทุกวันนี้

ไทยแลนด์จะเท่ เก๋ โก้ เนื้อหอมขนาดไหน?

แต่ก็นั่นแหละ ไม่รู้สมัน กับประเทศไทย ใครบุญน้อยกว่ากัน

มีอยู่ประเทศเดียวแท้ๆ ดัน "ฆ่า" จนสูญพันธุ์ไปจากโลกตั้งแต่ 71 ปีก่อนโน่น

สมันจริงๆ ประเทศไทย!?

มือยังไม่ถึง

ที่มา ไท่ยรัฐ

คุยกับผู้ใหญ่ในแวดวงการเงินและกฎหมายหลายท่าน ต่างไม่เห็นด้วยกับ พ.ร.ก.และ พ.ร.บ.กู้เงิน ของรัฐบาลทั้งนั้น การสร้างภาระที่ยิ่งใหญ่ให้กับประเทศและคนไทยในอนาคต รัฐบาล ส.ส. และ ส.ว. ที่ยกมือสนับสนุนกฎหมายทั้งสองฉบับ นับตั้งแต่ วินาทีนั้น คือตราบาปต่อการกระทำ จะติดตัวไปจนวันตายเพราะการสร้างภาระให้กับประเทศและประชาชน คือการแบ่งเค้กของพรรคการเมืองและผู้สนับสนุน ดังนั้นในระดับรากหญ้า แทนที่จะดีใจกับการกู้เงินก้อนนี้ กลับมีแรงต่อต้านที่หนาแน่นมากขึ้น เป็นการส่งสัญญาณถึงวิกฤติศรัทธาในตัวรัฐบาลและการตื่นตัวของภาคประชาชน ผมว่าถ้าประชาชนเสียงส่วนใหญ่ไม่เอาด้วย ไม่เห็นด้วย ต่อให้อ้างกฎหมาย อ้างเสียงในสภาอย่างไร ก็ไม่สมควรกระทำที่ผมอยากจะชวนคุยคือ นโยบายการต่างประเทศกับการวางตัวของผู้นำ ไม่ว่าจะไปเยือน มาเลเซีย กัมพูชา และสิงคโปร์ ล้วนแล้วแต่มีเรื่องที่ไม่ค่อยจะสง่างามตามมาทุกครั้งไม่รู้ไปจีนเที่ยวนี้จะมีปัญหาตามมาหรือเปล่ายกกรณีของกัมพูชา ประเด็นเขาพระวิหาร ที่ พลพรรคประชาธิปัตย์ ที่ รมว.ต่างประเทศ คุณกษิต ภิรมย์ จะเอาเป็นเอาตายให้ได้ สมัยที่เป็นฝ่ายค้าน สมัยที่เป็นพันธมิตรฯ พอวันนี้พลิกขั้วมาเป็นรัฐบาล อะไรที่พูดที่ทำเอาไว้เลยค้ำคอตัวเองผมอ่านข่าวต่างประเทศแล้วเศร้าใจ ที่จะให้ คุณสุเทพ เทือก-สุบรรณ รองนายกฯไปเคลียร์กับ นายกฯฮุนเซน ของกัมพูชาวันพรุ่งนี้ คงไม่มีอะไรในกอไผ่ ส่ง คุณสุวิทย์ คุณกิตติ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติฯ ไปค้านการขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารที่ประเทศสเปน ก็เงียบฉี่แต่ที่เสียงดังคือ นายกฯฮุนเซนและฮอนัมฮง รมว.ต่างประเทศกัมพูชา ประกาศพร้อมที่จะพบกับไทยทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นด้านการทหาร บนเวทีระหว่างประเทศ หรือแม้แต่การเจรจาอย่างสันติเพราะการ ใส่ไฟความสัมพันธ์ไทยกับกัมพูชา เรื่องเขาพระวิหารเอาไว้ มีการปะทะระหว่างทหารไทยและกัมพูชามา 2 ครั้ง ทหารกัมพูชาเสียชีวิตไป 3 นาย ทหารไทยเสียชีวิตไป 1 นาย นับตั้งแต่นั้นมาคนไทยกับกัมพูชาที่ทำมาหากินร่วมกันในบริเวณนั้น ต่างคนต่างอยู่จุดไฟเผาเมืองไปเรียบร้อยกับคำพูดของนายกฯฮุนเซนที่ว่า "มันเป็นคำพูดของนายกรัฐมนตรีของประเทศหนึ่ง ที่รบกวนอำนาจอธิปไตยของอีกประเทศหนึ่ง ผมเสียใจที่ได้ยินการแสดงความเห็นและเป้าหมายของเขา แต่ตอนที่มาเยือนกัมพูชา เขาไม่ได้หยิบยกเรื่องนี้ขึ้นหารือกับผม" นายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ คงจะตอบได้ดีที่สุดกลุ่มภาคีเครือข่ายติดตามสถานการณ์กรณีปราสาทเขาพระวิหาร โดย ม.ล.วัลยวิภา จรูญโรจน์ ออกมาระบุว่า เสี่ยงที่จะให้คุณสุเทพไปหารือกับฮอนัมฮง แบบไม่รู้ข้อมูล ข้อเท็จจริงและมีการกระทำบางอย่างมีนัยว่าไทยยอมรับการขึ้นทะเบียนร่วมปราสาทพระวิหารด้วยเฮ้อ เวรกรรมของคนไทย."หมัดเหล็ก"

นับถอยหลังสู่ความจริง

ที่มา ไทยรัฐ
Pic_15453
อภิสิทธิ์

พะยี่ห้อ "สามสี ภูเขาทอง" รับประกันว่าไม่มีการแบ่งฝักแบ่งฝ่าย งานฉลองวันเกิดครบรอบ 65 ปี ของนายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รุ่นเก๋าลายครามแห่งพรรคประชาธิปัตย์
แขกเหรื่อล้น ตามประสาคนเพื่อนฝูงเยอะ
แต่สังเกตให้ดีเถอะว่า ไอ้ที่มากันคึกคักน่ะ คนของประชาธิปัตย์ซะเกินครึ่ง ส่วนตัวแทนพรรคร่วมรัฐบาลแม้จะพรึบไปด้วยรัฐมนตรี บิ๊กสภา
ก็แค่ระดับ "นอมินี" ถือกระเช้าดอกไม้มาแทน
ตัวจริงอย่าง "บิ๊กเติ้ง" นายบรรหาร ศิลปอาชา อดีตหัวหน้าพรรคชาติไทย นายพินิจ จารุสมบัติ นายปรีชา เลาหพงศ์ชนะ ว่าที่ ร.ต.ไพโรจน์ สุวรรณฉวี แกนนำพรรคเพื่อแผ่นดิน นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ บอสใหญ่พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา นายเนวิน ชิดชอบ นายสมศักดิ์ เทพสุทิน นายอนุทิน ชาญวีรกูล หุ้นส่วนใหญ่ค่ายภูมิใจไทย
ไม่ได้มาปรากฏกายแต่อย่างใด
มันต้องมีนัยให้ถอดรหัส
ที่แน่ๆเลย นัยหนึ่งก็คือการไม่รับมุกเกมแก้ลำของพรรคประชาธิปัตย์ ที่ไม่ได้เข้าร่วมโต๊ะอาหารจีนที่โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล
ใช้งาน "ไตรรงค์" เป็นเวทีวัดใจ ในอารมณ์ที่ต้องปั่นกระแส ประกาศบารมีให้รู้โดยทั่วกันว่า ประชาธิปัตย์ไม่ไปร่วมงานเลี้ยงของพรรคร่วมรัฐบาล ไม่มีปัญหา แต่ถ้าเป็นงานใหญ่ของคนประชาธิปัตย์จัด โดยหน้าที่พรรคร่วมรัฐบาลต้องมา
คิวนี้ก็เลยนัดกันเบี้ยวซะดื้อๆ
หรืออีกนัยหนึ่ง "ขาใหญ่" พรรคร่วมรัฐบาลก็ดึงเกม หยั่งเชิงรายการหักเหลี่ยมเฉือนคมกันเองในพรรคประชาธิปัตย์
ที่ฟัดกันเงียบๆ แต่เล่นกันแรงๆ
ล่าสุดจับสัญญาณจากวันนัดกินข้าวของพรรคร่วมรัฐบาล ทั้งๆที่บอกโปรแกรมไว้ล่วงหน้า โดยที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ ผู้จัดการรัฐบาล นายนิพนธ์ พร้อมพันธุ์ ติดภารกิจบินไปสิงคโปร์ มาร่วมไม่ได้
และรู้ทั้งรู้อยู่ว่า โดยทางข่าว การนัดกินข้าวของแกนนำพรรคร่วมรัฐบาลจะถูกแปลความหมายในทางลบ ถ้าไม่มีคนของประชาธิปัตย์เข้าร่วม
แต่แกนนำของประชาธิปัตย์มีอีกเป็นเข่งๆ กลับไม่ส่งคนอื่นมาแทน
เหมือนกับว่าประชาธิปัตย์จะยึดบทเด่นไว้ที่ "อภิสิทธิ์-เทพเทือก-นิพนธ์"
คนอื่นไม่ให้เผยอหน้าสร้างราคา
เอาเป็นว่า เบื้องหลังคิวเบี้ยวงานของนายไตรรงค์ ว่ากันว่ามีการต่อสายเช็กกันในกลุ่มแกนนำพรรคร่วมรัฐบาล งานนี้ "เทพเทือก" ไม่ได้ต่อสาย ออกปากเชิญเอง
ก็ยิ่งฟ้องอาการกรุ่นๆทางใจ
แม้จะพยายามเล่นบท "บิ๊กบราเธอร์" คุมเชิง อาศัยความเชี่ยวในเกมเล่นกระแส โชว์ให้เห็นว่า ถือแต้มเหนือกว่า แต่โดยร่องรอยของอาการ "กลวงใน" ประชาธิปัตย์หลอกเซียนการเมืองเขี้ยวตันกันไม่ได้
พรรคร่วมรัฐบาลไม่ยอมให้เหยียบบ่า "ตีกิน" ง่ายๆอีกต่อไป
สรุปง่ายๆวันนี้ ประชาธิปัตย์ยังประคองตัวอยู่ได้ เพราะอาศัยความหล่อของพระเอกอย่างนายกฯอภิสิทธิ์ ที่ยังเด่นกับบทของ "คุณชายสะอาด"
ก็ขนาดที่ พ.ร.ก.สรรพสามิตน้ำมัน ถูกสมาชิกวุฒิสภาคว่ำกลางสภา รัฐบาลเสียหน้าครั้งใหญ่ ถ้าเป็นคนอื่นโดนทวงถามสปิริต
โห่ไล่ ตะเพิดออกไปแล้ว
แต่กับพระเอกอย่าง "อภิสิทธิ์" ยังนับว่าโชคดีอยู่มาก ได้ทั้งลูกหมีแพนด้า ได้ทั้งลูก "พุ่มพวง ดวงจันทร์" มาช่วยยื้อชะตา
สื่อมวลชนหันไปประโคมข่าวหมี ปมวุ่นวายของครอบครัวอดีตราชินีลูกทุ่ง เบียดข่าวลบๆของรัฐบาลให้ลดโทนร้อนแรงไปโดยปริยาย
แต่โดยความจริงที่หนีไม่พ้น
สักวันก็วนหนีไม่ออกอยู่ดี กับวิกฤติเศรษฐกิจที่กำลังย้อนกลับไปสู่ฝันร้ายกับยี่ห้อประชาธิปัตย์ รัฐบาลมีแต่เรื่องกู้กับกู้ แต่ไม่มีเรื่องหาเงินรายได้ ไม่บอกวิธีหาเงินมาใช้หนี้
โพลสำรวจผลงานรัฐบาลสอบตก
อาการนี้ต่างหาก นับถอยหลังได้เลย.
ทีมข่าวการเมือง รายงาน

ถึงเวลาผู้มากบารมีต้องตัดสินใจ

ที่มา บางกอกทูเดย์



เรื่องบางเรื่องไม่เพียงต้อง “ฟังหูไว้หู” แต่ยังต้องฟังด้วยสติและไตร่ตรองด้วยปัญญาโดยเฉพาะหากว่าเป็นเรื่องทางการเมืองเพราะการเมืองนั้นลึกซึ้งและยากที่จะหยั่งวัดได้ด้วยระบบการวัดใดๆ เนื่องจากว่าไม่ได้เป็นแค่เพียงเรื่องของ “มนุษย์”…ซึ่งมีทั้งสัญชาตญาณด้านบวก ด้านลบ และด้านดิบในจิตใจดังที่ ครูกลอนสุนทรภู่ ซึ่งในวันนี้ 26 มิถุนายนของทุกปีเป็นวันที่ระลึกถึงยอดกวีเอกของไทย ได้รจนาคำกลอนเอาไว้ตั้งแต่ยุคต้นรัตนโกสินทร์ว่า“จิตมนุษย์นั้นไซร้ยากแท้หยั่งถึง”แต่การเมืองยังมีเรื่อง “ผลประโยชน์” “อำนาจ” และ“ความทะยานอยาก” เข้ามาปนเปคละเคล้าด้วยมหาสมุทรสุดลึกล้นคณนาสักเพียงใด ก็ยังวัดได้แต่ใจนักการเมืองนั้นยากจะวัด...ไม่เช่นนั้นปรมาจารย์การเมืองสมัยกรีกโบราณ คงไม่สร้างวลีทองไว้เตือนใจบรรดาผู้พิสมัยการเมืองหรอกว่า“การเมืองไม่มีมิตรแท้และศัตรูถาวร”นักการเมืองพร้อมจะแปรพักตร์ เปลี่ยนขั้ว หันข้าง เมื่อใดก็ได้ตลอดเวลา หากเห็นว่าผลประโยชน์ลงตัว!!!จูเลียส ซีซาร์ จอมจักรพรรดิผู้
ยิ่งใหญ่ ยังถูกรุมแทงตายหน้าประตูรัฐสภา และที่สำคัญมีดสุดท้ายที่ปลิดวิญญาณนักการเมืองรายนี้ก็มาจากคนใกล้ตัว คนที่ได้ชื่อว่าเป็นบุตรบุญธรรมคนที่ซีซาร์หวังให้เป็นทายาทการเมืองนามว่า “บลูตุส” นั่นเองคำพูดสุดท้ายที่อุทานหลุดจากปากของนักการเมืองผู้ยิ่งใหญ่ก็คือ “บลูตุส ยู ทู?”“บลูตุส เจ้าด้วยหรือนี่??”ถนนการเมืองทั่วโลก ล้วนหักเหลี่ยมช่วงชิงอำนาจกันมาทั้งสิ้นประสาอะไรกับประเทศไทย ที่เมื่อวานซืนเพิ่งจะฉลองครบรอบ77 ปีของการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขหมาดๆการเมืองไทยเริ่มตั้งไข่เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475มาถึงวันนี้จะคาดหวังอะไรนักหนา?ยิ่งบุคลากรทางการเมืองของไทย ก็อย่างที่รู้แจ้งประจักษ์ชัดกันในทุกวันนี้แหละมีคนอย่างบลูตุสที่พร้อมจะแทงข้างหลัง บรรดาคนที่คิดว่าเป็น “นายใหญ่” ทางการเมืองได้ตลอดเวลา หากว่าผลประโยชน์ไม่ลงตัว หรือไม่สามารถที่จะขี่คอนายใหญ่ได้ต่อไปเรื่องนี้ฝากเป็นเครื่องเตือนใจโดยเฉพาะสำหรับคนชื่ออภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีคนล่าสุด ที่ดูเหมือนมีสารพัดมือรอทวงบุญคุณทางการเมือง และถูกคนหลายคนขี่คอทางการเมืองอยู่ในเวลานี้ถ้าพลาดอาจจะต้องอุทานเป็นสำเนียงออกซ์ฟอร์ดติดความใกล้ชิดทองแดงว่า...“พี่เ...พี่เอากับเขาด้วยหรือนี่???”
บ้างก็ได้ดังนั้น กระแสข่าวที่ว่า “พรรคประชาธิปัตย์” จะมีการพูดคุยเพื่อเชื้อเชิญ “พรรคเพื่อไทย” เข้าร่วมรัฐบาลแม้ได้ยินได้ฟังครั้งแรก อาจจะเหมือนกับ...พระอาทิตย์จะขึ้นทางทิศ “ตะวันตก” หรือไม่ก็สายน้ำจะไหลย้อนกลับ...ยังไงยังงั้นแต่ในทางการเมือง ก็ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้เอาเสียเลยเมื่อไหร่เพราะทุกอย่างขึ้นอยู่กับสมมติฐานของผลประโยชน์ทางการเมืองเป็นที่ตั้งดังนั้น ความเป็นไปได้ทางการเมืองในเรื่องนี้ต้องดูกันให้ลึกหลายชั้นต่อให้ต้องถอดสแควร์รูท 2 ชั้น แล้วยกกำลัง 4 กลับไปก็ต้องคิดกันให้ละเอียดส่วนภาพที่พี่เทพ...สุเทพ เทือกสุบรรณ ผู้จัดการรัฐบาลจะออกมาปฏิเสธ ก็อย่าไปเสียเวลาถอดบัญญัติไตรยางศ์ทางการเมืองอะไรให้มากความถ้าไม่ปฏิเสธเลยสิถึงจะแปลก!!!การออกมาสวมบท “ขำกลิ้งลิงกับหมา” ว่า เป็นเพียงโจ๊กทางการเมืองชามใหญ่ พร้อมกับบอกปนตลกว่า ไม่คิดจะนอกใจพรรคร่วมรัฐบาลทั้งหลายนั้นเขาเรียกว่ามารยาททางการเมืองเป็นแมตช์บังคับ คำตอบเดียวที่จะต้องตอบในฐานะผู้จัดการรัฐบาล สุเทพพูดได้เพียงคำตอบเดียวเท่านั้นคือ “ไม่จริง”แต่ในคำพูดที่ว่า “ไม่จริง” ของสุเทพหมายถึงอย่างนั้นจริงๆหรือ??? อันนี้สิน่าคิดกว่าและทำไมตัวละครที่เข้ามาเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับเหตุการณ์ เชื่อมโยงกับการเจรจาตามกระแสข่าวที่ออกมาจะต้องเป็นคนชื่อ เผดิมชัย สะสมทรัพย์ ส.ส.นครปฐม
พรรคเพื่อไทยจุดสังเกตทางการเมืองต้องวกกลับไปที่งานเลี้ยงพรรคร่วมรัฐบาล ที่ห้องอาหารจีน โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ลที่ปรากฏว่า บรรดาพรรคร่วมรัฐบาลลืมส่งบัตรเชิญให้พรรคประชาธิปัตย์แม้กระทั่งสุเทพที่บอกว่า เป็นคนไปเชิญพรรคร่วมรัฐบาลทุกพรรคให้มาตั้งรัฐบาล แล้วจะไปคิดนอกใจได้อย่างไรขืนทำแบบนี้ก็ไม่ใช่สุเทพแล้ว...ก็ยังไม่ได้รับเชิญไปละเลียดอาหารจีนมื้อนั้นแม้ว่าจะมีการออกตัวว่าเป็นการทำหน้าที่ของ หัวหน้าบรรหาร ศิลปอาชา ที่เรียกคุยพรรคร่วมรัฐบาล เพื่อให้หยุดการขย่ม หยุดการขี่คอรัฐบาล ให้หันกลับมาช่วยกันประคับประคองอายุรัฐบาลอภิสิทธิ์ให้อยู่ได้จนถึงปลายปีนี้เพื่อจะได้มีโอกาสใช้เงินกู้ 800,000 ล้านบาท กระตุ้นเศรษฐกิจให้ถ้วนทั่วทุกตัวบุคคลและครบทุกพรรคกันเสียก่อน...จะได้มีผลงานไว้คุยในการหาเสียงเลือกตั้งในปีหน้า???แล้วแบบนี้ มือการเมืองระดับเก๋าอย่างสุเทพ มีหรือจะไม่รีบออกมา “ขอบคุณพี่บรรหารที่กรุณาช่วยดูแล!!!”พร้อมประกาศขึงขัง ถ้าพรรคประชาธิปัตย์จะจับมือพรรคเพื่อไทยตั้งรัฐบาลใหม่...“คงต้องเปลี่ยนผู้จัดการรัฐบาลใหม่”...ว้าว เท่ชะมัด!!แต่จริงๆ แล้วก็เป็นสัจธรรมทางการเมือง หากมีการจัดตั้งรัฐบาลระหว่างพรรคประชาธิปัตย์กับพรรคเพื่อไทยเกิดขึ้นมาจริงๆ ในวันใดรับรองได้ว่า ผู้จัดการรัฐบาลจะต้องเป็น คนกลางที่เปี่ยมบารมี และได้รับการยอมรับจากทั้ง 2 พรรค จึงไม่มีวันที่จะเป็น“สุเทพ เทือกสุบรรณ” ไปได้แน่นอน
ที่สำคัญอยากให้คนไทยทุกคนหันมาตั้งสติ บนพื้นฐานของการแก้ไขปัญหาของประเทศชาติอย่างแท้จริงก็ต้องถามใจกันดูว่า สมการ “ประชาธิปัตย์ + เพื่อไทย”เป็นสูตรเด็ดทางการเมืองที่จะยุติความวุ่นวายทางการเมืองได้หรือไม่???ตรงนี้น่าคิดมากว่า การที่ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สุเทพเทือกสุบรรณ หรือแม้แต่ น.พ.บุรณัชย์ สมุทรักษ์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ที่ดาหน้ากันออกมาปฏิเสธข่าวเพราะหากลองวาดภาพมองพรรคใหญ่ 2 พรรคนี้ ด้วย“จิตที่เป็นคุณ” ไร้ซึ่งอคติ ย่อมถือเป็น เรื่องดี ที่จะจับมือกันในการทำเพื่อ “ประเทศชาติ”คิดถึงอำนาจและผลประโยชน์ของส่วนรวม...เปลี่ยนแปลงและสร้างสรรค์สังคมกันใหม่ เพื่อความเป็น “ประชาธิปไตย”อย่างเต็มตัวถ้าวันนี้ทั้ง 2 พรรคหันหน้ามา “พูดคุยกัน” เชื่อว่าทุกอย่างคงจบแบบ “แฮปปี้เอนดิ้ง”การเมืองจะมีทางเลือกคุณภาพมากขึ้นทุกวันนี้พรรคร่วมรัฐบาล กลุ่ม หรือมุ้งต่างๆ สามารถที่จะขี่คอรัฐบาลได้ จึงสามารถที่จะส่งบุคคลที่ประชาชนยี้ ประชาชนส่ายหน้า เข้ามาเป็นรัฐมนตรีได้ รวมกระทั่งถึงสามารถชงโครงการสารพัดจะอื้อฉาวเข้ามาให้รัฐบาลน้ำท่วมปากได้ตลอดเวลาจะปฏิเสธก็กลัวรัฐบาลพัง ทำได้แค่เพียงการซื้อเวลาประวิงเวลาไปเรื่อยๆแต่ถ้า 2 พรรคใหญ่จับมือกัน แล้วมีคนกลางผู้มีบารมีที่นอกจากทั้ง 2 พรรคยอมรับแล้ว สังคมและทุกระดับชั้นก็ต้องยอมรับได้ด้วย การเมืองก็จะมีตัวเลือกของบุคคลคุณภาพมากขึ้น คณะรัฐมนตรีจะหน้าตาดีขึ้น ไม่มีเสียงยี้ เสียงแย้ออกมาให้ระคายหู
ที่สำคัญบรรดากลุ่มก๊วนทางการเมืองทั้งหลาย เพื่อนคนนั้นแก๊งคนนี้ หากไม่มีคุณภาพพอก็จะอยู่ไม่ได้บนถนนการเมืองไทยตรงนี้หรือไม่ ที่ทำให้บรรดากลุ่มที่อาจจะมีผลกระทบ...ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเนวิน ชิดชอบ กลุ่มสมศักดิ์ เทพสุทินกลุ่มสุวิทย์ คุณกิตติ และอีกสารพัดกลุ่ม ต้องสะดุ้งและยอมไม่ได้!!!ขืนยอม ดีไม่ดีหากไม่เข้าพรรคใหญ่ เป็นไปได้ที่บรรดาพรรคเล็กๆ อาจจะไม่มีที่ยืนให้ต่อรองทางการเมืองอีกต่อไปประจักษ์พยานนั้นเห็นชัดเจนมาตลอดประวัติศาสตร์การเมืองไทย พรรคใหญ่ที่เป็นแกนจัดตั้งรัฐบาลแท้ๆ แต่ไม่เคยได้รับรางวัลแห่งความดีเลย หากว่าตั้งรัฐบาลแล้วมีพรรคร่วมชนิดกระจองอแงเป็นเบี้ยหัวแตกทุกพรรคจะกร่างทวงบุญคุณพร้อมกับขอรางวัล ซึ่งพรรคใหญ่ก็ต้องยอมจำใจยกกระทรวงดีๆ ไปให้หมดนั่นคือปรากฏการณ์แห่งความจริงที่ตำตาอยู่ในเวลานี้ทำไมกระทรวงคมนาคมถึงต้องเป็นกลุ่มเพื่อนเนวิน ทำไมกระทรวงพาณิชย์ถึงต้องเป็นกลุ่มสมศักดิ์???อย่าคิดว่าประชาชนไม่สงสัย!!ที่ว่าพรรคแกนนำคุมกระทรวงการคลัง คุมรองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ...แล้วทำอะไรได้...ดูแค่ต่อรองงบกับเล่นเกมซื้อเวลา ซึ่งสุดท้ายก็กลายเป็นการงัดข้อทางการเมืองอยู่ดีประเทศชาติมีแต่เสียกับเสียในอดีต ประเทศไทยในสายตาของชาวต่างชาติทั่วโลกต่างใฝ่ฝันว่า...Once in my life.. สักครั้งในชีวิต ขอให้มีโอกาสได้มาเที่ยวมาสัมผัสกับธรรมชาติในเมืองไทยด้วยเถอะ
ยิ่งในครอบครัวคนสวิส ถาม 10 ครอบครัว จะได้รับคำตอบว่า มีถึง 7 ครอบครัวที่อยากมาเที่ยวประเทศไทยแต่แล้วในวันนี้เกิดอะไรขึ้นกับประเทศไทย ..ต้นตอทั้งหลายล้วนมาจากการช่วงชิงอำนาจทางการเมืองของสารพัดกลุ่มทั้งสิ้นเลิกเสียทีได้หรือไม่กับแนวคิดที่ไม่พัฒนา ย้อนไปสมัยปลายกรุงศรีอยุธยาแตกครั้งที่ 2 ที่แบ่งเป็นก๊กเป็นเหล่า ถึงขนาดก๊กพระฝางประกาศศักดาลั่นๆ ว่า“อันสามัคคีกันนั้นดีอยู่...แต่ต้องมีตัวกูเป็นหัวหน้า”นั่นแหละที่ทำให้อยุธยาล่มสลาย และทำให้พระเจ้าตากสินต้องประหารพระฝางเพื่อปราบ 5 ก๊กรวมเป็นหนึ่งวันนี้การเมืองไทยก็ต้องการ ผู้มากบารมี ต้องการผู้มีอำนาจที่ทุกกลุ่มยอมรับ เข้ามาเป็นคนกลางในการ สลายก๊ก สลายขั้วการเมือง สลายขั้วสีเหลือง-แดง-น้ำเงิน-เขียว สารพัดสีที่ฉุดรั้งประเทศไทยอยู่ในเวลานี้หากผู้มีบารมีได้คิด ทำให้ภาพบิดเบือนในเรื่อง 2 มาตรฐานทำให้ภาพบิดเบือนเรื่องการเลือกข้าง หรือภาพบิดเบือนเรื่องการลำเอียงในเรื่องสีหมดไป...นั่นคือทางรอดที่แท้จริงของประเทศไทยดังนั้น ถึงเวลาที่ผู้มากบารมีจะต้องเห็นแก่ประเทศชาติจับ 2 พรรคใหญ่มาละลายพฤติกรรม ลดอคติแล้วหาคนกลางที่มีอำนาจในตัวเองเข้ามาคุมเกม ยุติศึกการเมืองอย่างจริงๆ จังๆ เสียทีถ้าเป็นสูตรจริงใจเพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติแบบนี้สูตร “ประชาธิปัตย์จับมือเพื่อไทยเพื่อจัดตั้งรัฐบาล” ทำไมจะเป็นไปไม่ได้??? ■

“เปรม” เชื่อ “สามัคคี-พอเพียง-กินของไทย” ช่วยไทยพ้นวิกฤต

ที่มา ประชาไท

พล.อ.เปรม เป็นประธานเปิดงานแสดงสินค้าเครือสหพัฒน์ เชื่อวิกฤตหนนี้ไม่รุนแรงเท่า ‘วิกฤตต้มยำกุ้ง’ เชื่อจะฝ่าวิกฤตนี้ได้ ด้วยการรักสามัคคีกัน ซื้อสินค้าไทย ใช้ชีวิตพอเพียง เผยทราบข่าวชุมนุมเสื้อแดง 27 มิ.ย. ผ่านหนังสือพิมพ์ ในฐานะคนไทยจึงห่วงประเทศชาติ เป็นหน้าที่รัฐบาลดูแล

วานนี้ (25 มิ.ย.) ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ได้เดินทางเป็นประธานในพิธีเปิดงานแฟชั่นโชว์และการแสดงสินค้าของเครือสหพัฒน์ ที่ใช้ชื่องานว่า “สหกรุ๊ป เอ็กซ์ปอร์ต แอนด์ เทรด เอ็กซิบิชั่น” (Saha Group Export & Trade Exhibition) หรือสหกรุ๊ปแฟร์ โดยจัดเป็นครั้งที่ 13
โดยมีนักธุรกิจชั้นนำของเมืองไทยร่วมงานในพิธี อาทิเช่น คุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี รองประธานกรรมการเครือทีซีซี, นายชาตรี โสภณพนิช ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารกรุงเทพ, นายบุณยสิทธิ์ โชควัฒนา ประธานเครือสหพัฒน์, นายบุญชัย โชควัฒนา ส.ว.ระบบสรรหา และประธานกรรมบริหาร บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน), นายบุญเกียรติ โชควัฒนา กรรมการผู้อำนวยการบริษัท ไอ.ซี.ซี. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) และ นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ ปลัดกระทรวงพาณิชย์
โดยตอนหนึ่งของการกล่าวเปิดงาน พล.อ.เปรม กล่าวว่า วิกฤตเศรษฐกิจขณะนี้เป็นวิกฤตที่ลุกลามไปทั่วโลก ทำให้ประเทศไทยได้รับผลกระทบโดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อย ประชาชนที่ไม่ได้ทำผิดแต่ต้องรับเคราะห์ไปด้วย และแม้ตัวเองจะไม่ใช่นักเศรษฐศาสตร์ แต่จำได้แม่นว่าเมื่อ 30 ปีก่อนมีโครงการรณรงค์ “นิยมไทย” ซึ่งช่วยแก้ปัญหาเศรษฐกิจในช่วงนั้นได้ จึงเห็นว่าในภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ควรนำแนวคิดกินของไทย ใช้ของไทย เที่ยวเมืองไทย กลับมาใช้ ควบคู่กับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แต่แนวคิดนี้จะเป็นรูปธรรมได้นั้นก็ต้องเริ่มจากการฟื้นความรักใคร่ความสามัคคีของคนในชาติให้เกิดขึ้นก่อน
นอกจากนี้ ประธานองคมนตรียังย้ำว่า เชื่อว่าวิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้จะไม่รุนแรงเท่ากับวิกฤตต้มยำกุ้งที่ประเทศ ไทยก็เคยผ่านมาแล้ว เชื่อว่าประเทศไทยจะสามารถผ่านพ้นวิกฤตในครั้งนี้ไปได้เช่นเดียวกัน
“เราก็น่าจะฝ่าวิกฤตนี้ไปได้ เพราะฉะนั้นให้พวกเราช่วยกัน รักกันสามัคคีกัน และต้องไม่ลืมเรื่องการดำเนินชีวิต ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว งานสหกรุ๊ปแฟร์วันนี้เป็นงานของคนไทย สินค้าที่นำมาจำหน่ายก็ล้วนเป็นสินค้าไทย ฝีมือคนไทย การซื้อสินค้าจากงานนี้ ก็เท่ากับได้ส่งเสริมให้คนไทยมีงานทำ มีรายได้ และการที่สหกรุ๊ปทำสินค้ามาจำหน่ายในราคาพิเศษ ก็ยิ่งเป็นการช่วยคนไทยที่มาซื้อของได้เปรียบขึ้นด้วย เป็นการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เป็นการกระทำที่ดี” พล.อ.เปรมกล่าว
พล.อ.เปรม ยังให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่มีรายงานข่าวจากหน่วยข่าวด้านความมั่นคงระบุกลุ่มคนเสื้อแดงเตรียมใช้แผนตากสิน 2 ในการชุมนุมใหญ่ในวันที่ 27 มิ.ย. ว่า ทราบเรื่องนี้จากการอ่านหนังสือพิมพ์ อย่างไรก็ตาม ในฐานะคนไทยรู้สึกห่วงประเทศชาติเหมือนกัน แต่การดูแลทั้งหมดถือเป็นหน้าที่ของรัฐบาล
นายบุญชัย โชควัฒนา ส.ว.ระบบสรรหา และประธานกรรมบริหาร บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) กล่าวด้วยว่า ผลการดำเนินงานของรัฐบาลช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาทำได้ดีกว่าที่คิดไว้ เนื่องจากผู้แก้รู้ปัญหาและแก้ปัญหาเป็น แต่ไม่ใช่ทำดีทั้งหมด เพราะยังมีอีกหลายอย่างต้องปรับปรุง เช่น การแก้ปัญหาคนตกงาน หรือทำอย่างไรให้พืชผลทางการเกษตรมีราคา เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้ ขณะเดียวกันควรสานต่อนโยบายไม่ว่าจะเป็นเช็คช่วยชาติหรือเงินคนชรา ซึ่งประเมินแล้วส่งผลดีเกิดการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจ
อย่างไรก็ตาม การที่เศรษฐกิจไทยถึงจุดต่ำสุดเชื่อว่าครึ่งปีหลังจะเริ่มปรับตัวในทิศทางดีขึ้น เช่นเดียวกับอเมริกาที่เริ่มฟื้นตัว เพราะผู้บริโภคเริ่มมีความมั่นใจ ซึ่งถ้ามองกำลังซื้อของผู้บริโภคไม่ตกลงไปมากนัก เพียงแต่ปัจจัยลบด้านเศรษฐกิจทั่วโลกส่งผลให้จิตใจของผู้บริโภคตกไป แต่ปัญหาที่น่าห่วง คือ ราคาน้ำมัน หากมีการปั่นราคาสูงถึง 100 เหรียญสหรัฐต่อบาเรลขึ้นไปอาจส่งผลให้ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้นอีกครั้งและนำไปสู่ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว
ส่วนแผนการดำเนินงานของบริษัทนับจากนี้เน้นการเพิ่มคุณค่าผลิตภัณฑ์แทนการเพิ่มงบการตลาด ซึ่งเป็นวิธีการทำตลาดที่โบราณ ซึ่งภายหลังการปรับแผนส่งผลให้ภาพรวมรายได้ในครึ่งปีแรกมีอัตราการเติบโตตามเป้าหมาย 10% และคาดว่าสิ้นปีมีรายได้ตรงตามเป้าหมายที่ 20,350 ล้านบาท เติบโต 10% จากปีที่ผ่านมา
"ในช่วง 3-4 เดือนแรกของปีนี้ยอมรับว่ารายได้ไม่ถึงเป้าหมาย แต่การปรับแผนการทำตลาดและมีการวอร์รูมกันทุกวันส่งผลให้ยอดขายปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะมาม่ามีส่วนแบ่งตลาดเพิ่ม 1% จาก 51% เป็น 52% มีสินค้าบางตัวเท่านั้นที่ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย เช่น ยาสีฟัน เนื่องจากคู่แข่งใช้งบทางการตลาดเพิ่มขึ้น" นายบุญชัยกล่าว
ด้านนายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ในฐานะกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทสหพัฒนาอินเตอร์โฮลดิ้ง จำกัด ในเครือสหกรุ๊ป เปิดเผยในพิธีเปิดงาน "สหกรุ๊ปแฟร์" ครั้งที่ 13 ว่า มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลในครึ่งปีหลังจะส่งผลให้ภาพรวมเศรษฐกิจของไทยมีกำลังซื้อดีขึ้นในระดับหนึ่ง และหากได้ผลอย่างต่อเนื่องปฏิบัติตามได้จริงทุกมาตรการจะส่งผลดีต่อการดำเนินธุรกิจของเครือสหพัฒน์ให้มีผลการดำเนินธุรกิจพ้นจากการติดลบ โดยเดิมตั้งเป้ารายได้ติดลบถึง 5%
สำหรับงานสหพัฒน์แฟร์นั้นได้มีการนำสินค้าในเครือสหพัฒน์มาจำหน่ายในราคา ประหยัดกว่า 1,000 รายการ เพื่อแบ่งเบาภาระของผู้บริโภค โดยจะจัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 25-28 มิ.ย. นี้ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
ด้านหนังสือพิมพ์ออนไลน์ Thaienews ตั้งข้อสังเกตด้วยว่า โทรทัศน์เนชั่นแชนัลของนายสุทธิชัย หยุ่น ซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพลเอกเปรม ได้สิทธิในการถ่ายทอดสดงานสหกรุ๊ป แฟร์ ครั้งนี้ด้วยโดยพิธีกรคู่หูกนก-ธีระ กนก รัตน์วงศ์สกุล และนายธีระ ธัญไพบูลย์ กล่าวถึงพลเอกเปรมว่า “ฯพณฯ ท่านพลเอกเปรม” ทุกคำ ขณะที่ก่อนการถ่ายทอดสดเริ่มขึ้นนั้น เป็นบทวิเคราะห์ของนายสุทธิชัย หยุ่นเรื่อง "แผนตากสิน2" โดยอ้างว่าหากมีแผนนี้จริงๆทักษิณต้องเป็นคนรับผิดชอบ
“เปรม ติณสูลานนท์” แขกประจำงานแสดงสินค้า “เครือสหพัฒน์”

ทีมข่าวการเมือง

ไม่ใช่การเปิดงานครั้งแรก แต่ถือเป็นแขกรับเชิญประจำไปแล้ว เพราะในรอบหลายปีมานี้ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ จะเดินทางมาเป็น “ประธานเปิดงานแสดงสินค้าประจำปีของเครือสหพัฒน์” หรือ “สหกรุ๊ป” เป็นประจำ
ครั้งล่าสุดคืองาน Saha Group Export & Trade Exhibition ครั้งที่ 13 จัดที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ วันที่ 25-28 มิ.ย. ซึ่งนอกจาก พล.อ.เปรม แล้ว “วีไอพี” ที่มาร่วมเปิดงานประกอบด้วยคุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี รองประธานกรรมการเครือไทยเจริญคอร์ปอเรชั่น (ทีซีซี กรุ๊ป), นายชาตรี โสภณพนิช ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารกรุงเทพ, นายบุณยสิทธิ์ โชควัฒนา ประธานเครือสหพัฒน์, นายบุญชัย โชควัฒนา ส.ว.ระบบสรรหา และประธานกรรมบริหาร บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน), นายบุญเกียรติ โชควัฒนา กรรมการผู้อำนวยการบริษัท ไอ.ซี.ซี. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) และ นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ สะท้อนความสัมพันธ์ของเครือข่ายทุนชาติกับเครือข่าย พล.อ.เปรม
และไม่ใช่เรื่องใหม่ ที่ในช่วงกล่าวระหว่างการเปิดงาน พล.อ.เปรม มักจะเน้นย้ำให้ใช้คนไทยสินค้าที่ผลิตโดยคนไทยซึ่งมีคุณภาพดีไม่แพ้สินค้าที่ผลิตจากต่างประเทศ การบริโภคอย่างประหยัด การน้อมนำเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในวิถีชีวิต
อย่างเช่น ย้อนกลับไปในการจัดงาน Saha GroupExport & Trade Exhibition ครั้งที่ 7 ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ซึ่งจัดระหว่าง 27-28 มิ.ย. 2546 ในครั้งนั้น พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ซึ่งเป็นประธานเปิดงานกล่าวว่า การจัดงานครั้งนี้ถือเป็นการเปิดตลาดให้คนไทยและชาวต่างชาติได้รู้จักสินค้าและบริการของคนไทยที่มีคุณภาพ มีความหลากหลาย สามารถตอบสนองได้ทุกความต้องการและขอให้ประชาชนหันมานิยมสินค้าไทยที่ผลิตโดยคนไทยให้มากขึ้น เพราะนอกจากจะได้ใช้สินค้าที่มีคุณภาพแล้วยังเป็นการสนับสนุนให้คนไทยมีงานทำ เครือสหพัฒน์มีการจ้างแรงงานไทยกว่า 7 หมื่นคนและนับได้ว่ามีส่วนผลักดันให้คนไทยมีงานทำ และทำให้สินค้าที่ผลิตโดยฝีมือคนไทยเผยแพร่ไปยังต่างประเทศทั่วโลกด้วย
ในงาน Saha GroupExport & Trade Exhibition ครั้งที่ 10 ของเครือสหกรุ๊ป เมื่อ 30 มิ.ย. 2549 ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ เป็นประธานเปิดงานการส่งออกและการจำหน่ายสินค้า และเดินชมสินค้า
พล.อ.เปรม ให้สัมภาษณ์ชื่นชมเครือสหพัฒน์ ว่า เป็นหนึ่งในตัวอย่างของบริษัทที่มีความสามารถสูง มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ มีการคิดค้นที่แข็งแรง ส่งผลให้มีสินค้าที่ดีที่ผลิตโดยคนไทย จึงน่ายกย่องชมเชย มีทั้งสินค้าที่มีการส่งออกสร้างเงินตราจากต่างประเทศและสร้างงาน จึงขอเชิญชวนคนไทยให้เข้ามาส่งเสริมบริษัทเช่นนี้ และยังเป็นการใช้ของไทย ลดการนำเข้า ขณะเดียวกันคุณภาพสินค้าเครือสหพัฒน์ได้รับการยอมรับว่า มีคุณภาพที่ดีไม่แพ้ต่างประเทศ
พล.อ.เปรม กล่าวถึงราคาน้ำมันแพงซึ่งมีผลกระทบทางเศรษฐกิจในช่วงเวลานั้นว่า เป็นเรื่องที่ควบคุมได้ยาก เพราะไม่สามารถผลิตได้เอง ต้องนำเข้า ดังนั้น สิ่งที่ทำได้คือ ช่วยกันประหยัด แต่คำนี้ฟังง่าย แต่เข้าใจลำบาก อย่างไรก็ตามต้องเข้าใจว่า การประหยัดนั้นไม่ได้หมายความว่า ใช้น้อยเพียงอย่างเดียว แต่ต้องใช้ให้มีประสิทธิภาพ
พล.อ.เปรม ปฏิเสธให้ความเห็นเมื่อถูกสื่อมวลชนสอบถามในประเด็นด้านการเมือง โดยไม่ยอมตอบคำถามใดๆ
ปี 2550 ช่วงรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เมื่อวันที่ 29 มิ.ย. 2550 พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ เดินทางไปเปิดงาน Saha GroupExport & Trade Exhibition ครั้งที่ 11 ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ แต่ พล.อ.เปรม ปฏิเสธที่จะให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนในทุกประเด็น โดยเฉพาะประเด็นที่นายจักรภพ เพ็ญแข แกนนำ นปก. แจ้งความให้ดำเนินคดี
โดยในเวลานั้น ซึ่งเป็นช่วงที่ นปก. ชุมนุมต่อต้าน พล.อ.เปรม ทำให้มีการวางกำลังรักษาความปลอดภัยให้กับ พล.อ.เปรม อย่างเข้มงวดเป็นพิเศษ
และแม้ พล.อ.เปรม จะไม่ได้ให้สัมภาษณ์ใดๆ ต่อสื่อมวลชน แต่ก็สร้างความฮือฮาให้กับนักท่องเน็ต เมื่อมีสื่อใหญ่ค่ายหนึ่ง เผยแพร่ภาพในเว็บไซต์ข่าวด้านธุรกิจของตนเป็นภาพ พล.อ.เปรม ระหว่างเยี่ยมชมซุ้มแสดงสินค้าในงานดังกล่าว โดยเป็นภาพ พล.อ.เปรม รายล้อมด้วยบรรดาผู้ติดตาม กำลังยืนทดสอบตัวอย่างผลิตภัณฑ์น้ำหอม โดยมีชายหนุ่ม 2 คน นุ่งกางเกงขายาว ไม่สวมเสื้อ ทำหน้าที่เป็นพนักงานแนะนำสินค้าประจำซุ้มยื่นตัวอย่างสินค้าให้
อย่างไรก็ตาม ในคืนถัดมาภาพดังกล่าวก็ถูกถอดออกจากเว็บ และหนังสือพิมพ์ดังกล่าวก็ไม่ได้ตีพิมพ์ภาพนั้นในหนังสือพิมพ์ในเช้าวันถัดมา อย่างไรก็ตาม มีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตเซฟภาพดังกล่าวเอาไว้ และภาพนี้ถูกแพร่กระจายต่อๆ กันทางอินเตอร์เน็ต
ในปี 2551 เมื่อ 27 มิ.ย. 51 พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ เดินทางมาเป็นประธานในงาน Saha GroupExport & Trade Exhibition ครั้งที่ 12 ซึ่งจัดที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เช่นเดียวกับปีที่ผ่านมา
โดย พล.อ.เปรมกล่าวตอนหนึ่งในการเป็นประธานในพิธีเปิดงานว่า ประเทศต้องเผชิญกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ดีบ้างน้อยบ้างอยู่เสมอ การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่ดีที่สุดคือ การน้อมนำเรื่องแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งจะทำให้มีเหตุผล มีความรอบคอบ มีหลักประกันเรื่องความเสี่ยงได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม เมื่อหลายปีก่อนมีการรณรงค์เรื่องการใช้และบริโภคสินค้าไทย ซึ่งแนวทางนี้จะเป็นประโยชน์ทั้งผู้ผลิต ผู้บริโภค รวมทั้งยังส่งเสริมการจ้างงานให้เกิดขึ้นด้วย และสำหรับเครือสหพัฒน์ถือว่ามีความตั้งใจดี ผลิตสินค้า สร้างงานสร้างเงินมากว่า 60 ปี
พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ยังกล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดงานแสดงสินค้าในเครือสหพัฒน์ ครั้งที่ 12 วานนี้ (27 มิ.ย.) โดยกล่าวว่า “เป็นห่วงเรื่องสถานการณ์บ้านเมือง ห่วงเรื่องคนว่าทำอย่างไรจึงจะกันคนไม่ดีออกไป ซึ่งคงคาดเดากันได้ว่าท่านหมายถึงอะไร และอยากให้ภาคเอกชนมาร่วมกันทำอะไรสักอย่างเพื่อประเทศชาติ เพราะเราอยู่ในช่วงการสร้างคนดี ทำให้องค์กรแห่งความดีขยายออกไป อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงของทุกฝ่าย โดยให้เอกชนที่เป็นองค์กรขนาดใหญ่เป็นแกนนำ และทำงานกันเป็นทีมเพื่อส่วนรวม”
ที่น่าสนใจสำหรับการเปิดงานในปีนี้ก็คือ หลังการกล่าวเปิดงาน พล.อ.เปรม ยังกล่าวถึงเรื่อง “ทำอย่างไรจึงจะกันคนไม่ดีออกไป” แม้จะไม่ได้ระบุว่าหมายถึงใคร แต่ด้วยคำพูดที่ออกมาในช่วงที่มีการชุมนุมขับไล่รัฐบาลพรรคพลังประชาชน ที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเห็นว่าเป็น “คนไม่ดี” หลังคำกล่าวของ พล.อ.เปรม จึงต้องตามมาด้วยการตีความของสื่อและฝ่ายต่างๆ และคงไม่มีใครรู้ว่า พล.อ.เปรม จะหมายถึงใคร นอกจาก พล.อ.เปรม เอง
แต่ในงานแสดงสินค้าปีดังกล่าว ไม่ทันที่สื่อมวลชนจะทำหน้าที่ตีความ “รหัส” จาก พล.อ.เปรม ด้านนายบุญชัย โชควัฒนา ผู้บริหารเครือสหพัฒน์ ก็ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวในงานด้วยเช่นกัน โดยอ้างคำพูดของ พล.อ.เปรม ซึ่งเดินทางมาเป็นประธานเปิดงานแสดงสินค้าเครือสหพัฒน์ว่า พล.อ.เปรม แสดงความห่วงใยเรื่องสถานการณ์บ้านเมืองในเวลานี้ โดยเป็นห่วงเรื่องคน ว่าจะทำอย่างไรถึงจะกันคนไม่ดีออกไปได้
“คงคาดเดากันได้ว่าท่านหมายถึงอะไร เพราะท่านอยากให้ภาคเอกชนมาร่วมกันทำอะไรสักอย่างเพื่อประเทศชาติ เพราะเราอยู่ ในช่วงการสร้างคนดี ทำให้องค์กรแห่งความดีขยายออกไป ซึ่งอยากเห็นการเปลี่ยนแปลงของทุกฝ่าย โดยเริ่มจากให้เอกชนที่เป็นองค์กรขนาดใหญ่เป็นแกนนำ และทำงานกันเป็นทีมเพื่อส่วนรวม” นายบุญชัย กล่าว
นายบุญชัย กล่าวต่อว่า ประธานองคมนตรีได้มีแนวคิดที่จะทำอย่างไรให้ภาคเอกชนขนาดใหญ่ อย่างเช่น เครือสหพัฒน์ และธุรกิจกลุ่มของนายเจริญ สิริวัฒนภักดี ทำอะไรเพื่อประเทศชาติร่วมกัน
ประธานเปิดงานแสดงสินค้าของเครือสหพัฒน์ และการให้สัมภาษณ์ “ส่งสัญญาณ” แก่นักข่าวที่เฝ้าติดตาม จึงเป็นอีกงานหนึ่งของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ นอกจากการเป็นประธานองคมนตรี

ที่มา:
เครือสหพัฒน์จัดงานยิ่งใหญ่ ดันสินค้าไทยส่งออกทั่วโลก, สยามรัฐ, 28 มิ.ย. 46
"ป๋าเปรม" ปัดตอบสื่อทุกประเด็น, เว็บไซต์เดลินิวส์, 29 มิ.ย. 50
“ป๋าเปรม” สวมบทเตมีย์ใบ้-ไม่ให้ราคาม็อบนปก. เว็บไซต์เดลินิวส์, 29 มิ.ย. 50
‘ป๋าเปรม’ วอน กำจัดคนไม่ดี ออกจากสังคม, เว็บไซต์โพสต์ทูเดย์, 28 มิ.ย. 51
ป๋าเปรม กลัวคนไม่ดีครองเมือง, เว็บไซต์ไทยรัฐ, 28 มิ.ย. 51

ที่มา: แปลและเรียบเรียงบางส่วนจาก ASTV สยามรัฐ กรุงเทพธุรกิจ และไทยโพสต์

12 ขวบวิทยุชุมชนไทย จากนี้จะไปไหน ใครกำหนด

ที่มา ประชาไท


เรียบเรียงจาก “รายงานการศึกษาการบริหารจัดการคลื่นความถี่วิทยุชุมชน”โดย สหพันธ์วิทยุชุมชนแห่งชาติ และมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม(ธันวาคม 2551)
“ฟังเสียงคุ้ยเคยของเพื่อนบ้านผ่านคลื่นระหว่างทำงานตกค่ำกลับจากไร่นา กินข้าวปลาแล้วเดินเข้าห้องส่งเล็กๆ ครอบหูฟังปากขยับส่งเสียงทักทายเพื่อนบ้านบ้าง หัวข้อพูดคุยหลากหลาย มีทั้งเรื่องปากท้องศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น นโยบายรัฐที่ส่งผลกระทบต่อชุมชนแบบแผนการจัดรายการไม่ต้องมากเท่าความจริงใจใสซื่อค่าตอบแทนเป็นรอยยิ้ม ดีเจอาสาทำงานด้วยใจ วัยไม่เกี่ยง…”
ภาพเช่นนี้หากพูดเมื่อสักสิบห้าปีก่อนคงถูกหัวเราะเยาะว่าฝันกลางวัน เพราะนับแต่มีวิทยุในประเทศไทยมาหลายทศวรรษ คนที่มีสิทธิจัดรายการ กำหนดรูปแบบเนื้อหาและเป็นเจ้าของสถานีกระจายเสียงวิทยุนั้น คือหน่วยงานรัฐและภาคธุรกิจที่ได้รับสัมปทานสิทธิจากรัฐเท่านั้น สำหรับประชาชนเป็นได้เพียงผู้ฟังเท่านั้น
แต่วันนี้ภาพนี้ได้เกิดขึ้นจริงแล้ว และไม่ได้เกิดขึ้นที่เดียว หากแต่เกิดขึ้นมากกว่าร้อยแห่งกระจายไปทั่วทุกภาคของประเทศ
นี่คือภาพของ “วิทยุชุมชน” สถานีวิทยุที่เป็นของชุมชน จัดการโดยชุมชน เพื่อประโยชน์ชุมชนเอง ที่จะทำหน้าที่เป็นกระบอกเสียง สื่อสาร บอกเล่าเรื่องราวและปัญหาขอคนเล็กคนน้อยในระดับชุมชน เพื่อสร้างสมดุลของเสียงในสังคมให้ปรากฏเป็นจริงในฐานะ “สื่อภาคประชาชน”
I. สิบสองปี บนเส้นทางวิบาก
“วิทยุชุมชน” เป็นหนึ่งในผลิตผลที่เป็นรูปธรรม ซึ่งสังคมไทยได้รับจากรัฐธรรมนูญปี 2540 โดยมีเจตนาให้เกิดการปฏิรูปสื่อ กระจายอำนาจในการสื่อสารที่เคยอยู่แต่ในมือของรัฐและทุนส่วน กลาง สู่ประชาชนคนเล็กคนน้อยในชุมชน เพื่อให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการสื่อสาร สามารถใช้สื่อเพื่อบอกเล่าเรื่องราวปัญหาของตนและชุมชนที่จะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาสังคม สร้างประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม
ความยากลำบากของวิทยุชุมชนไทยเรียกได้ว่าเริ่มต้นตั้งแต่ขั้นตอนปฏิสนธิเลยก็ว่าได้ คือตั้งแต่การผลักดันให้มีการบรรจุเนื้อหาของวิทยุชนชนเข้าไปในร่างรัฐธรรมนูญปี 2540 โดยองค์กรพัฒนาเอกชนและนักวิชาการหัวก้าวหน้าด้านสื่อสารมวลชน อุปสรรคต่างๆ ถาโถมต่อเนื่องถึงปัจจุบันกว่าที่จะมีการยอมรับกว้างขวางว่า วิทยุชุมชนของจริงนั้นต้องเป็นสถานีวิทยุของชุมชน โดยชุมชน เพื่อชุมชน ใช้รูปแบบอาสาสมัครในการดำเนินการ ไม่แสวงหากำไรในทางธุรกิจ และดำเนินการโดยปราศจากการแทรกแซงหรือครอบงำทั้งจากรัฐ ทุนและนักการเมืองในทุกระดับ
ความลำบากที่เกิดขึ้นรุนแรงแตกต่างกันไปในแต่ละช่วงพัฒนาการของวิทยุชุมชนไทย ซึ่งแบ่งได้เป็น 5 ช่วงคือ ช่วงเรียนรู้และเตรียมการ ช่วงทดลองออกอากาศจริง และช่วงถูกวิทยุชุมชนมีโฆษณาแย่งชิงพื้นที่ ช่วงถูกกล่าวหา “รบกวนวิทยุการบิน” และช่วงถูกกล่าวหาเป็น “วิทยุเถื่อน” ช่วงที่ 1 เรียนรู้และเตรียมการ (2540-2544)
ช่วงสี่ปีแรกเป็นยุคเรียนรู้การดำเนินการวิทยุชุมชนของกลุ่มประชาชนที่มีความพร้อม ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากความสำเร็จในการผลักดันให้รัฐธรรมนูญ 2540 มีมาตรา 40 ระบุให้คลื่นความถี่เป็นทรัพยากรสาธารณะของชาติ ซึ่งต้องจัดสรรเพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชนทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อเพิ่มช่องทางการส่งเสียง-สื่อสารจากภาคประชาชน เพื่อสร้างสมดุลของเสียงในสังคม
ทำให้ต่อมาในปี 2543 ได้มีการประกาศใช้กฎหมายองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม ซึ่งมาตรา 26 ให้หลักประกันในการเข้าถึงและได้ใช้คลื่นความถี่ของประชาชนว่าต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 20
เป็นช่วงที่องค์กรพัฒนาเอกชนและนักวิชาการหัวก้าวหน้าด้านสื่อสารมวลชนพยายามกระจายความรู้เรื่องสิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น รวมทั้งดำเนินการฝึกอบรมด้านการดำเนินการวิทยุชุมชนให้แก่ชาวบ้าน 145 ชุมชนทั่วประเทศ ผ่านโครงการนำร่องทดลองจุดปฏิบัติการเรียนรู้วิทยุชุมชน โดยการสนับสนุนด้านการเงินของสำนักงานกองทุนเพื่อสังคม โดยเนื้อหาการฝึกอบรมรวมถึงการบริการจัดการสถานี การผลิตรายการและความรู้ด้านเทคนิคพื้นฐานที่จำเป็น
ช่วงนี้เป็นช่วงลองผิดลองถูกเพื่อหาลักษณะพึงประสงค์ด้านเทคนิคของวิทยุชุมชนไทย บนหลักการที่เห็นร่วมกันว่า ลักษณะดังกล่าวต้องสอดคล้องกับการเข้ามามีส่วนร่วมของคนในชุมชนอย่างเป็นจริง และไม่เป็นภาระจนเกินไป เพราะวิทยุชุมชนดำเนินการโดยไม่มีโฆษณา ผู้จัดรายการเป็นระบบอาสาสมัครไม่มีค่าตอบแทน
เพื่อทดลองหาลักษณะพึงประสงค์ดังกล่าวอย่างเป็นระบบ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) ได้จัดทำโครงการนำร่องขึ้นในพื้นที่ภาคเหนือ มีการทดลองออกอากาศเพื่อหาระยะรัศมีการส่ง ขนาดเครื่องส่ง ความสูงของเสาส่ง ทิศทางสายอากาศ สังเกตการฟุ้งของเครื่องส่ง การทับซ้อนคลื่นอื่น
และได้ข้อสรุปว่าลักษณะพึงประสงค์ด้านเทคนิคที่เหมาะสมคือ เครื่องส่งขนาดไม่เกิน 30 วัตต์ เสาสายอากาศสูงไม่เกิน 30 เมตร ซึ่งจะทำให้รัศมีการกระจายเสียงอยู่ระหว่าง 10-15 กิโลเมตร ซึ่งต่อมาเรียกว่าหลักการ 30-30-15
หลังจากได้ลักษณะพึงประสงค์ทางเทคนิค ก็เป็นช่วงทดลองหาคลื่นความถี่ที่ว่างในพื้นที่ โดยใช้หลักการนำคลื่นความถี่มาใช้ซ้ำโดยมีเงื่อนไขสำคัญว่าต้องไม่ก่อให้เกิดการรบกวนการออกอากาศของสถานีวิทยุและสถานีโทรทัศน์ในพื้นที่นั้น ๆ โดยเริ่มด้วยการตรวจสอบการใช้คลื่นความถี่ในแต่ละพื้นที่แล้วหาความถี่ที่ว่าง
เมื่อได้ความถี่ ก็เป็นการดำเนินการติดตั้งเครื่องส่งและสายอากาศสำหรับความถี่นั้น เครื่องส่งยุคแรกนี้ไม่สามารถปรับความถี่ได้โดยตรงจากหน้าเครื่อง ต้องใช้ช่างผู้ชำนาญดำเนินการ จากนั้นก็เป็นการทดลองออกอากาศ ตรวจสอบระยะกระจายเสียงจริง ตรวจสอบความชัดเจนของเสียง ตรวจสอบการรบกวนการใช้คลื่นวิทยุและโทรทัศน์กระแสหลักที่ใช้คลื่นอยู่ก่อนแล้ว กรณีที่พบปัญหาจะมีการรายงานให้คณะกรรมการวิทยุชุมชนรับทราบและดำเนินการแก้ไข
ช่วงที่ 2 ทดลองออกอากาศจริง (2544-2545)หลังเรียนรู้และเตรียมการมาเนิ่นนานหลายปี วิทยุชุมชนภาคประชาชนได้มีการทดลองออกอากาศจริงในปลายปี 2544 โดยเริ่มที่สิงห์บุรีและกาญจนบุรีเป็นสถานีแรกๆ เป็นการออกอากาศโดยไม่มีกฎหมายรองรับ เนื่องจากกระบวนการสรรหาคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ (กสช.) ซึ่งเป็นองค์กรอิสระที่ต้องจัดตั้งขึ้นตามมาตรา 40 ของรัฐธรรมนูญปี 2540 นั้นมีปัญหา และศาลปกครองมีวินิจฉัยว่าเป็นกระบวนการสรรหาโดยมิชอบ ทำให้เกิดช่วงสูญญากาศขาดหน่วยงานตามกฎหมายสำหรับดำเนินการวิทยุชุมชนขึ้น
อย่างไรก็ตามได้มีสถานีวิทยุชุมชนภาคประชาชนจำนวนหนึ่งทยอยตัดสินใจทดลองออกอากาศจริงโดยไม่รอการจัดตั้ง กสช.
หลังออกอากาศได้ 3 เดือน ในเดือนกุมภาพันธ์ 2545 ก็มีการสั่งระงับการออกอากาศโดยกองงานกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ (กกช.) กรมประชาสัมพันธ์ ไปยังสถานีวิทยุชุมชนเพื่อนช่วยเพื่อน จ.สิงห์บุรีและสถานีเสียงชุมชน จ. กาญจนบุรี โดยอ้างว่าขัดกฎหมายวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2498 นำไปสู่การรวมตัวของเครือข่ายวิทยุชุมชน 7 อนุภูมิภาคทั่วประเทศเรียกร้องให้มีการใช้สิทธิการสื่อสารของภาคประชาชนตามรัฐธรรมนูญ
มีการเคลื่อนไหวต่อสู้ผ่านกลไกตามรัฐธรรมนูญ ทั้งผ่านองค์กรอิสระต่างๆ คณะกรรมาธิการการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และอื่นๆ จนในที่สุดคณะรัฐมนตรีก็ตัดสินใจมีมติในวันที่ 16 กรกฎาคม 2545 ยอมรับว่า “หากจะห้ามภาคประชาชนดำเนินการวิทยุชุมชนก็อาจเป็นการขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ” และมอบหมายให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นหน่วยงานประสานจัดทำร่างหลักเกณฑ์และมาตรการชั่วคราวในการดำเนินการวิทยุชุมชน
หลังมีมติดังกล่าว เครือข่ายวิทยุชุมชนตัดสินใจรวมตัวกันเป็น “สหพันธ์วิทยุชุมชนแห่งชาติ” ส่งตัวแทนเข้าร่วมประชุมจัดทำร่างหลักเกณฑ์ชั่วคราวฯ กับสำนักปลัดนายกรัฐมนตรี และได้เสนอหลักการ 30-30-15 เป็นลักษณะพึงประสงค์ทางเทคนิคในร่างหลักเกณฑ์ชั่วคราวฯ ทั้งนี้มีการตกลงกันว่าการออกอากาศชั่วคราวจะยุติทันที่ที่เกิดองค์กรอิสระ กสช.
ช่วงนี้ความพยายามของภาครัฐ ภาคธุรกิจและภาคการเมืองที่จะช่วงชิงการดำเนินการวิทยุชุมชนภาคประชาชน สองครั้งสำคัญ คือกรณีวิทยุ อบต. และกรณีวิทยุชุมชนมีโฆษณา
กรณีแรก รัฐบาลมีแนวคิดจะยกวิทยุชุมชนให้เป็น “ของขวัญปีใหม่” แก่องค์กรบริหารส่วนตำบล (อบต.) ซึ่งถูกคัดค้านอย่างหนักจากกลุ่มปฏิรูปสื่อ ด้วยเหตุผลว่า อบต.เป็นเพียงองค์กรหนึ่งในชุมชน ไม่ใช่ทั้งหมดของชุมชน และการยกวิทยุชุมชนให้ อบต.ดำเนินการเสี่ยงมากที่จะถูกรัฐและฝ่ายการเมืองแทรกแซงครอบงำผ่านกลไกของมหาดไทย ในที่สุดรัฐบาลตัดสินใจล้มเลิกแนวคิดนี้ไป
กรณีที่สอง ได้เกิดปรากฎการณ์วิทยุชุมชนมีโฆษณาขึ้นในหลายพื้นที่โดยการสนับสนุนของหน่วยงานรัฐบางหน่วยงาน ภาคธุรกิจและกลุ่มการเมืองท้องถิ่น รวมถึงการเกิดวิทยุชมชน “หลังบ้านนักการเมืองท้องถิ่น” เป็นปรากฎการณ์การช่วงชิงที่เกิดขึ้นในระยะที่วิทยุชุมชนได้รับการยอมรับให้มีการดำเนินการกว้างขวางมากขึ้นแล้ว โดยสัดส่วนวิทยุชุมชนมีโฆษณานั้นคิดเป็นครึ่งต่อครึ่ง (250 สถานีจากทั้งหมด 500 สถานีวิทยุชุมชนขณะนั้น) เมื่อเทียบกับสถานีวิทยุชุมชนภาคประชาชนภายใต้สมาพันธ์วิทยุชุมชนแห่งชาติและสถานีวิทยุชุมชนอิสระ
นับเป็นช่วงสองปีที่มีเหตุการเปลี่ยนแปลงสำคัญหลายเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์วิทยุชุมชนไทย
ช่วงที่ 3 ถูกวิทยุมีโฆษณาแย่งชิงพื้นที่ (2546-2548)
เป็นช่วงที่การดำเนินการวิทยุชุมชนถูกท้าทายอย่างหนักจากการเข้ามามีบทบาทของกรมประชาสัมพันธ์ ซึ่งเข้ามาผลักดันวิทยุชุมชนสามารถมีโฆษณาได้
หลังจากมติคณะรัฐมนตรี 16 ก.ค. 2545 มติ ครม.ฉบับแรกที่ยืนยันสิทธิการดำเนินการวิทยุชุมชนตามรัฐธรรมนูญ และมอบหมายให้สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีประสานการจัดทำหลักเกณฑ์และมาตรการชั่วคราวในการดำเนินการวิทยุชุมชน ครม.ก็ได้มีมติฉบับที่สองในวันที่ 24 มิ.ย.2546 ให้กรมประชาสัมพันธ์เข้ามารับช่วงทำหน้าที่ประสานดังกล่าวแทนสำนักปลัดฯ เป็นเหตุให้กรมประชาสัมพันธ์เป็นหน่วยงานรัฐที่มีบทบาทมากที่สุดในการดำเนินการวิทยุชุมชนตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ประกอบกับการขาดนโยบายรัฐที่ไม่มีการสร้างความเข้าใจเรื่องวิทยุชุมชนให้แก่สังคม และการขาดมาตรการบริหารจัดการคลื่นความถี่เพื่อให้ประชาชนสามารถใช้สิทธิการสื่อสารได้ตามเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ ทำให้กรมประชาสัมพันธ์สามารถฉวยโอกาสตีความนิยาม “วิทยุชุมชน” เสียใหม่อันทำให้สถานีวิทยุชุมชนสามารถมีโฆษณาได้ ซึ่งขัดกับหลักการวิทยุชุมชนอย่างสิ้นเชิง
ร่างมาตรการและหลักเกณฑ์ชั่วคราวฯ ฉบับกรมประชาสัมพันธ์ออกมาในเดือนพฤศจิกายน 2547 ได้ประกาศดำเนินการโครงการจุดเตรียมความพร้อมทดลองออกอากาศวิทยุชุมชน โดยสามารถมีโฆษณาได้ชั่วโมงละ 6 นาที แต่ต้องมาขึ้นทะเบียนกับกรมประชาสัมพันธ์เท่านั้น ส่งผลให้ผู้มาขึ้นทะเบียนจำนวนมากมาขึ้นทะเบียนด้วยความมุ่งหวังผลประโยชน์เชิงธุรกิจเสียมากกว่า โดยไม่มีความเข้าใจในหลักการวิทยุชุมชนอย่างแท้จริง นับเป็นจุดหักเหครั้งใหญ่ของการดำเนินการวิทยุชุมชนไทย
ส่งผลให้จำนวนสถานีวิทยุภายใต้ชื่อสถานีวิทยุชุมชนเพิ่มขึ้นจาก 500 สถานีเป็นกว่า 2,000 สถานีภายในระยะเวลาเพียง 2 เดือนหลังโครงการเริ่ม (ม.ค. 2548) และพุ่งเป็น 3,000 สถานีภายใน 4 เดือน (มี.ค. 2548)
ขณะที่วิทยุชุมชนภายใต้เครือข่ายสหพันธ์วิทยุชุมชนแห่งชาติแทบไม่ได้ไปขึ้นทะเบียนเนื่องจากไม่เห็นด้วยกับการอนุญาตให้มีโฆษณา และต้องการต่อสู้เชิงหลักการในเรื่องนี้
การเกิดขึ้นของสถานีวิทยุชุมชนสายพันธุ์โฆษณา สร้างความปั่นป่วนแก่การดำเนินการวิทยุชุมชนโดยภาพรวม เพราะสถานีเกิดใหม่เหล่านี้ไม่คำนึงถึงขนาดกำลังส่งของเครื่องส่งและพื้นที่ออกอากาศ ส่งผลให้เกิดปัญหาความถี่ทับซ้อน ความถี่แทรก และการรบกวนการใช้ความถี่ของข่ายการสื่อสารอื่นๆ มาจวบปัจจุบัน
การใช้เครื่องส่งกำลังส่งสูงมากของสถานีวิทยุเกิดใหม่ ทำให้สถานีวิทยุชุมชนที่ดำเนินการโดยการโดยภาคประชาชนประสบปัญหาผู้ฟังไม่สามารถรับฟังรายการได้ มีการเรียกร้องให้เพิ่มความสูงสายอากาศให้มากกว่าหลักการ 30-30-15 ที่เคยเห็นร่วมกัน ทั้งนี้เพื่อให้สามารถรับฟังรายการได้ ซึ่งหลายสถานีฯ ก็ตัดสินใจทำตามข้อเรียกร้องเพื่อรักษาฐานคนฟังและพื้นที่ออกอากาศเอาไว้
อย่างไรก็ตามก็ไม่มีสามารถแก้ปัญหาได้หมด จากการสำรวจในปี 2550 พบว่าสถานีวิทยุภาคประชาชนกลุ่มตัวอย่างราวร้อยละ 79.8 ยังคงมีปัญญาคลื่นทับ คลื่นแทรกในหลายลักษณะโดยเฉพาะสถานีในเขตเมืองใหญ่ ทั้งปัญหาใช้คลื่นความถี่ทับกันหรือใกล้เคียงกันมากเกินไป พื้นที่สถานีใกล้กันมากไป ซึ่งราวร้อยละ 61.7 ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้
ท่ามกลางปัญหาดังกล่าว คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อ 6 สิงหาคม 2548 ผ่อนผันให้วิทยุชุมชนสามารถดำเนินการได้ โดยมีเงื่อนไขทางเทคนิคต้องมีกำลังส่งไม่เกิน 30 วัตต์ เสาสูงไม่เกิน 30 เมตรและมีโฆษณาได้ไม่เกิน 6 นาทีต่อชั่วโมง นับเป็นการปลุกกระแสวิทยุชุมชนแบบมีโฆษณาให้กลับมาเพื่องฟูอีกรอบ
ช่วงที่ 4 ถูกกล่าวหา “รบกวนวิทยุการบิน” (2548-2549)
วิทยุชุมชนถูกกล่าวว่าว่า “รบกวนความถี่วิทยุคมนาคมและวิทยุการบิน” ตั้งแต่ต้นปี 2548 เป็นต้นมา แต่เนื่องจากเกิดในช่วงที่หลายสถานีวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาลอย่างหนัก รวมถึงสถานีวิทยุชุมชนคนรักประชาธิปไตยที่วิพากษ์วิจารณ์กรณีสนามบินหนองงูเห่าอย่างต่อเนื่อง ทำให้ปัญหาการรบกวนความถี่นี้ค่อนข้างถูกมองว่าผูกโยงกับปัญหาการเมืองเพื่อแทรกแซงและควบคุมวิทยุชมชนมากกว่า ที่สำคัญกลับไม่มีการดำเนินการแก้ปัญหาอย่างจริงจังเท่าที่ควร
จากสถิติบริษัทวิทยุการบินประเทศไทย จำกัดซึ่งมีการตรวจสอบภายหลัง พบว่ามีการรบกวนความถี่วิทยุการบินจริงและมากถึง 1,163 ครั้งโดย 17 สถานีในช่วงเจ็ดเดือนปี 2548 (พ.ค.-ธ.ค.) และ 1,159 ครั้งโดย 10 สถานีในช่วง 12 เดือนของปี 2549 ส่วนในปี 2550 มีการรบกวนโดย 10 สถานี
ทั้งนี้มีการดำเนินการทางกฎหมายเฉพาะกรณีที่เป็นปัญหารุนแรง มีผู้แจ้งและพยานหลักฐานชัดเจน โดยเป็นการปรับที่สำนักงาน กทช. 1 คดี อยู่ในชั้นพนักงานสอบสวน 31 คดี อัยการสั่งไม่ฟ้อง 3 คดี อยู่ในชั้นศาล 7 คดี และศาลพิพากษาแล้วรวม 23 คดี
ข้อสังเกตประการสำคัญคือสถานีวิทยุที่พบว่าก่อให้เกิดปัญหารบกวนวิทยุการบินเหล่านั้น เป็นวิทยุชุมชนแบบที่มีโฆษณาทั้งสิ้น และเมื่อสำรวจข้อมูลย้อนหลังก่อนการเกิดวิทยุชุมชนแบบมีโฆษณา ซึ่งการทดลองออกอากาศเป็นของสถานีวิทยุชุมชนภาคประชาชน (ที่ยึดหลักการ “ของ-โดย-เพื่อชุมชน”) ทั้งสิ้นนั้น ไม่พบว่ามีการร้องเรียนเรื่องการรบกวนวิทยุการบินเลย
อย่างไรก็ตาม ข้อกล่าวหา “วิทยุชุมชนรบกวนคลื่นวิทยุการบิน” ได้ทำให้เกิดความเข้าใจผิดของสังคมต่อการดำเนินการวิทยุชุมชนภาคประชาชนอย่างสูง
ช่วงที่ 5 ถูกกล่าวหาเป็น “วิทยุเถื่อน” (2549-2552)
ปลายปี 2548 สำนักงานกิจการโทรคมนาคมได้กล่าวหาว่า “วิทยุชุมชนเป็นวิทยุเถื่อน” มีการออกเอกสารไปยังหน่วยงานเกี่ยวข้องต่างๆ เช่นปลัดกระทรวงมหาดไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ฯลฯ ขอความร่วมมือให้หน่วยงานในสังกัดระดับพื้นที่ “ไม่เข้าไปเกี่ยวข้องหรือสนับสนุน” การดำเนินการวิทยุชุมชน
ส่งผลให้ความเชื่อถือของคนในชุมชนต่อวิทยุชุมชนลดลง เช่นเดียวกับความร่วมมือและการสนับสนุนด้านต่างๆ อย่างชัดเจน โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการที่เคยหนุนช่วยด้านเทคนิคในการดำเนินการ ไม่สามารถช่วยต่อได้ เพราะเป็นโทษทางวินัยร้ายแรง
การกล่าวหานี้ส่งกระทบอย่างหนักต่อการการดำเนินการวิทยุชุมชนในระดับพื้นที่ ชาวบ้านไม่สามารถพึ่งนักเทคนิคในท้องถิ่นได้ ต้องแก้ปัญหาทางเทคนิคด้วยตัวเอง บ้างโดนแอบอ้าง ซ่อมแซมอุปกรณ์ในราคาแพง โดนหลอกขายอุปกรณ์ที่ไม่จำเป็นในราคาสูงเกินจริงมาก สร้างภาระทางการเงินแก่หลายสถานีในระดับรุนแรง มีหนี้สิน หลายครั้งเกิดผลกระทบรุนแรง อาทิ กรณีช่างไม่ชำนาญเพียงพอเข้ามาแก้ปัญหาทางเทคนิคแล้วทำให้เกิดการรบกวนความถี่อื่นโดยไม่เจตนา
จากการสำรวจในปี 2550 พบว่าร้อยละ 50 ของกลุ่มตัวอย่างสถานีวิทยุชุมชนภาคประชาชนประสบปัญหาขาดแคลนบุคคลากรที่มีความรู้และทักษะด้านเทคนิคพื้นฐาน ส่งผลให้หลายสถานีต้องหยุดดำเนินการเพราะขาดงบประมาณซ่อมแซมอุปกรณ์ที่เสีย

II. รัฐ เทคนิคและความพร้อมชุมชนสามปัจจัยสำคัญ อุปสรรคใหญ่ที่รอการฟันฝ่า
ปัจจัยสำคัญ 3 ประการที่ส่งผลต่อการดำเนินการวิทยุชุมชนในประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมาคือ ปัจจัยด้านนโยบายรัฐบาล ปัจจัยด้านเทคนิค และปัจจัยความพร้อมชุมชนด้านเทคนิค โดยแต่ละปัจจัยส่งผลในระดับและขนาดแตกต่างกันดังนี้ ประการแรก ปัจจัยด้านนโยบายรัฐบาลนโยบายรัฐบาลที่ส่งผลต่อการดำเนินการวิทยุชุมชนอย่างมีนัยสำคัญสามารถจำแนกออกเป็น 4 นโยบายคือ มาตรการ “เมื่อห้ามไม่ได้ก็ไม่ส่งเสริม (วิทยุชุมชนภาคประชาชน)” การอนุญาตให้วิทยุชุมชนมีโฆษณาได้ การละเลย/ไม่กำกับดูแลอย่างจริงจังต่อวิทยุชุมชนที่มีโฆษณา และความย้อนแย้งในนโยบายรัฐ
นโยบายเหล่านี้คือต้นตอของการเกิดปรากฎการณ์ “สงครามแย่งชิงคลื่นความถี่วิทยุชุมชน”
การขาดองค์กรอิสระเพื่อจัดสรรคลื่นความถี่ ซึ่งเป็นกลไกสำคัญที่จะทำให้เกิดความเท่าเทียมและเป็นธรรมในการประกอบการวิทยุกระจายเสียงทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น ดังที่รัฐธรรมนูญกำหนด ประกอบกับความไม่ชัดเจนของนโยบายรัฐบาลในการปฏิรูปสื่อในช่วง 12 ปีที่ผ่านมา ได้ก่อปัญหาสร้างความเข้าใจที่ผิดพลาดแก่ทั้งภาคสังคม โดยเฉพาะภาคธุรกิจ
ส่งผลให้วิทยุชุมชนไทยแยกเป็น 3 กลุ่มตามลักษณะผู้ประกอบการ คือ วิทยุชุมชน(ภาคประชาชน) วิทยุ(ชุมชน)ที่มีโฆษณา และวิทยุท้องถิ่นไทย
วิทยุชุมชน (ภาคประชาชน) คือกลุ่มสถานีวิทยุที่ชุมชนเป็นเจ้าของ บริหารจัดการและไม่แสวงกำไร ชุมชนในที่นี้หมายถึงทั้งกลุ่มคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เดียวกัน และกลุ่มคนที่อยู่ในระบบเศรษฐกิจและสังคมเดียวกันโดยการค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้าและช่วยเหลือกันและกัน กลุ่มนี้มีสมาชิกประมาณ 200 สถานี
วิทยุ (ชุมชน)ที่มีโฆษณา คือกลุ่มสถานีวิทยุที่เกิดจากโครงการจุดปฏิบัติการเตรียมความพร้อมวิทยุชุมชนของกรมประชาสัมพันธ์ (พ.ย.2547- ม.ค.2549) ซึ่งใช้ชื่อวิทยุชุมชน แต่ดำเนินการแบบธุรกิจ โดยคนในท้องถิ่นหรือบริษัทลูกข่ายของธุรกิจในกรุงเทพหรือเมืองใหญ่ มีโฆษณาได้ไม่เกิน 6 นาทีต่อชั่วโมง กลุ่มนี้มีจำนวนมากที่สุดราว 4,000-5,000 สถานี
วิทยุท้องถิ่นไทย คือกลุ่มสถานีวิทยุท้องถิ่นเชิงพาณิชย์ เกิดขึ้นจากโครงการจุดปฏิบัติการเตรียมความพร้อมฯ ของกรมประชาสัมพันธ์เช่นเดียวกับกลุ่มที่สอง แต่แตกต่างที่เป็นการรวมตัวกันของนักวิชาชีพ นักจัดรายการวิทยุรายย่อยในท้องถิ่นซึ่งที่ผ่านมาไม่สามารถขอรับใบอนุญาตดำเนินการวิทยุได้ในทางปฏิบัติ (ต้องดำเนินการผ่านเอกชนที่ผูกขาดสัมปทาน ทำให้ต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนในการดำเนินการและการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรมเสมอมา) กลุ่มนี้มีโฆษณาได้เช่นกัน ต่อมากลุ่มนี้ได้รับข้อมูลและความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับวิทยุชุมชน ยอมแยกตัวออกมาจากชื่อ “วิทยุชุมชน” ชัดเจน และเรียกตัวเองว่า “เครือข่ายผู้ประกอบวิชาชีพวิทยุท้องถิ่นไทย” และพัฒนาเป็น “สมาคมผู้ประกอบวิชาชีพวิทยุท้องถิ่นไทย” ในปัจจุบัน มีสมาชิกประมาณ 300 สถานี
ทิศทางนโยบายรัฐบาลที่ผ่านมาคืออนุญาตให้วิทยุชุมชนทุกกลุ่มดำเนินการได้ท่ามกลางความสับสนคลุมเครือ และละเลยที่จะสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเรื่องหลักการวิทยุชุมชน
หากย้อนดูนโยบายรัฐที่ผ่านมาด้านวิทยุชุมชน มีเพียงมติ ครม. 16 ก.ค.2545 เท่านั้นที่สอดคล้องกับการปฏิรูปสื่อ คือรองรับสิทธิภาคประชาชนในการดำเนินการวิทยุชุมชน โดยระบุว่า “หากจะห้ามมิให้ภาคประชาชนดำเนินการวิทยุชุมชน ก็อาจเป็นการขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ”
นอกนั้น ล้วนเป็นนโยบายที่สร้างความสับสน ก่อปัญหาให้กับการดำเนินการวิทยุชุมชนของภาคประชาชนทั้งสิ้น โดยเฉพาะนโยบายอนุญาตให้มีโฆษณาซึ่งเปิดโอกาสให้กลุ่มทุนเข้ามาแย่งคลื่นความถี่ของภาคประชาชนอย่างแยบยล ดังจะเห็นได้จากจำนวนวิทยุชุมชนแบบมีโฆษณาที่เพิ่มขึ้นจาก 250 สถานี เพิ่มเป็น 3,000 สถานีภายในระยะเวลาเพียงสี่เดือน ปัจจุบันคาดว่าจะมากถึง 6,000-7,000 สถานี ขณะที่สถานีวิทยุชุมชน (ภาคประชาชน) ซึ่งยึดมั่นและดำเนินการตามหลักการวิทยุชุมชนที่แท้จริงนันกลับมีจำนวนลดลงจากเดิมที่มีจำนวนพอๆ กับวิทยุที่มีโฆษณาในระยะแรกคือราว 250 สถานี เหลือเพียง 145 สถานีจากการสำรวจในปี 2550
การละเลย/ไม่กำกับดูแลการดำเนินการวิทยุชุมชนที่มีโฆษณาอย่างจริงจังของภาครัฐ ทำให้เกิดสภาวะไร้ระเบียบ สถานีวิทยุชุมชนที่มีโฆษณา (ซึ่งมีกลุ่มทุนและกลุ่มการเมืองท้องถิ่นหนุนหลัง) แหกกฎ 30-30-15 ใช้เครื่องส่งที่มีกำลังส่งสูงเกินกำหนด สร้างปัญหาคลื่นทับซ้อนแก่วิทยุชุมชนภาคประชาชนที่ปฏิบัติตามกฎอย่างเคร่งครัด
ความย้อนแย้งในนโยบายรัฐ ปรากฏชัดเจนในช่วงที่ผ่านมาคือแม้รัฐบาลจะอนุญาตให้มีวิทยุชุมชน แต่กลับปล่อยให้หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องออกมากกล่าวหาวิทยุชุมชนด้วยข้อหาฉกรรจ์ว่า “รบกวนคลื่นวิทยุการบิน” และ “เป็นวิทยุเถื่อน” (ตามด้วยการสั่งปิดสถานี) อันเป็นการลดทอนความน่าเชื่อถือของวิทยุภาคประชาชนและเบียดขับให้กลุ่มที่ดำเนินการวิทยุชุมชนตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญกลุ่มนี้ตกอยู่ในสภาพ “เสียงที่ไร้เสียง” ในสงครามแย่งชิง/ยึดคลื่นความถี่โดยวิทยุที่มีโฆษณา โดยมีสาเหตุสำคัญจากการขาดองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และการขาดความชัดเจนของนโยบายรัฐซึ่งที่ผ่านมาฝากทิศทางไว้อย่างสะเปะสะปะกับหน่วยงานรัฐบางหน่วยงาน ประการที่สอง ปัจจัยด้านเทคนิคปัจจัยด้านเทคนิคที่สำคัญ 3 ประการที่ส่งผลมากต่อการดำเนินการวิทยุชุมชนที่ผ่านมาคือ ปัญหาคลื่นความถี่ทับซ้อน ปัญหาคลื่นแทรก และปัญหาคลื่นเบียด
ปัญหาคลื่นความถี่ทับซ้อน เกิดจากการตั้งสถานีใหม่ในพื้นที่เดียวกัน ใช้เลขคลื่น(ความถี่)เดียวกัน แต่สถานีใหม่ใช้กำลังส่งสูงกว่ามาก ทำให้ผู้ฟังไม่สามารถรับฟังได้ ยกเว้นเฉพาะกลุ่มที่อาศัยอยู่รอบที่ตั้งสถานี
ปัญหาคลื่นแทรก เกิดจากการตั้งสถานีใหม่ในพื้นที่ติดกัน ใช้ความถี่คลื่นเดียวกัน ทำให้ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ระหว่างสองสถานีได้ยินเสียงสองสถานีพร้อมกันเมื่อหมุนฟังคลื่นดังกล่าว ทำให้ระยะการกระจายเสียงของสถานีเดิมลดลง ซึ่งปัญหาจะมากขึ้นไปอีกหากกำลังส่งของสองสถานีต่างกันมากๆ เช่น 30 วัตต์กับ 1000 วัตต์ อาจทำให้เกิดปัญหาลักษณะเดียวกันกับคลื่นความถี่ทับซ้อนได้ ปัญหาคลื่นแทรกนี้อาจเกิดได้กับกรณีสองสถานีที่มีอยู่แล้วแต่ใช้คลื่นเดียวกัน แล้วสถานีใดสถานีหนึ่งเพิ่มกำลังส่ง
ปัญหาคลื่นเบียด เกิดจากการเกิดสถานีใหม่ในพื้นที่เดียวกัน ใช้ความถี่คลื่นติดกัน (เช่น FM 99.75 กับ FM 100 เป็นต้น) และสถานีใหม่ใช้กำลังส่งสูงกว่าสถานีที่มีอยู่ก่อนมากจนเกิดการแพร่คลื่นความถี่นอกแถบ (Out-of-band emission) (หรือเป็นสถานีที่ดำเนินการอยู่เดิม แต่เพิ่มกำลังส่ง) ทำให้เกิดเขตอับสัญญาณเสียง คือผู้ฟังไม่สามารถหมุนหาสถานีที่มีอยู่เดิมซึ่งกำลังส่งต่ำกว่ามากได้เจอ หรือเจอแต่เสียงเบามากจนแทบไม่ได้ยิน ในกรณีที่กำลังส่งของสองสถานีในกรณีนี้ไม่ต่างกันมาก ปัญหาจะเกิดในลักษณะคลื่นแทรกแทน
ปัญหาทั้งสามประการนี้เป็นผลต่อเนื่องจากปัจจัยทางการเมืองที่รัฐบาลปล่อยให้สภาพคลุมเครือ สับสนในการตีความนิยามวิทยุชุมชนในทางปฏิบัติและอนุญาตให้มีโฆษณาดังได้อธิบายไปแล้ว
การเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและมีปริมาณมากของวิทยุชุมชนแบบมีโฆษณาโดยไม่มีการควบคุมจริงจังและขาดหลักเกณฑ์ ทำให้เกิดสภาพ “แย่งชิงคลื่นความถี่” จากวิทยุชุมชนภาคประชาชนที่ดำเนินการอยู่ก่อนแล้วโดยปริยายในทางปฏิบัติ ส่งผลให้เกิดสภาพปัญหาทางเทคนิคทั้งสามนี้อย่างหนักหน่วงเป็นวงกว้างทั่วประเทศ
บางกรณีปัญหาคลื่นความถี่ทับซ้อนเกิดในช่วงที่สถานีวิทยุชุมชนเดิมต้องยุติการออกอากาศชั่วคราวเพื่อนำเครื่องส่งไปซ่อม กลับมาออกอากาศอีกทีพบว่ามีสถานีแบบมีโฆษณาใช้คลื่นไปแล้ว เช่นกรณีวิทยุชุมชนคนบ้านเรา จ.สงขลา
วิทยุชุมชนภาคประชาชนจำนวนไม่น้อยประสบปัญหาคลื่นแทรกและคลื่นเบียด ทำให้ผู้ฟังหมุนหาคลื่นไม่เจอ หรือเจอก็รับฟังได้ไม่ชัดเจนเบามาก มีเสียงแทรก เสียงซ่า จนเกิดเป็นประโยคประชดเปรียบเทียบว่า “วิทยุชุมชนภาคประชาชนของแท้ต้องหมุนหาคลื่นไม่ค่อยเจอ ถึงหมุนเจอก็ฟังไม่ค่อยได้ยิน เป็นเสียงค่อยๆ เหมือนเสียงของชาวบ้านที่ดังสู้เสียงของนายทุนไม่ได้”
วิทยุชุมชนภาคประชาชนพยายามดิ้นรนแก้ปัญหาเองด้วยการเจรจากับเจ้าของสถานีใหม่ซึ่งจำนวนไม่น้อยเป็นกลุ่มทุนหรือกลุ่มการเมืองท้องถิ่น เพื่อชี้แจงและขอให้มีการแก้ปัญหา แต่ส่วนใหญ่การเจรจามักไม่ได้ผล ยกเว้นบางกรณีที่ชุมชนเข้มแข็งจริงๆ หรือมีคนกลางไกล่เกลี่ยที่เป็นที่เกรงใจ บางสถานีตัดสินใจย้ายไปใช้ความถี่คลื่นใหม่ดังกรณีวิทยุชุมชนคนสันป่าตอง จ.เชียงใหม่
ปัญหาที่เกิดขึ้นส่งผลให้สถานีวิทยุชุมชนภาคประชาชนจำนวนหนึ่งตัดสินใจเพิ่มกำลังส่งเพื่อรักษาพื้นที่ออกอากาศและผู้ฟัง ตามคำเรียกร้องของผู้ฟัง โดยมีการระดมทุนภายในชุมชน แต่ก็ทำให้ปัญหาด้านการเงินตามมาเพราะต้นทุนค่าใช้จ่ายต่อเดือนสูงขึ้นตาม เนื่องจากเครื่องส่งที่มีกำลังส่งที่สูงขึ้นเครื่องจะร้อนง่ายต้องติดตั้งเครื่องปรับอากาศในห้องส่ง ที่สำคัญสถานีวิทยุธุรกิจที่มีโฆษณาก็มักจะเพิ่มกำลังส่งที่สูงขึ้นไปอีก ทำให้ปัญหาการรับฟังยังคงอยู่เช่นเดิม บางสถานีสถานการณ์การเงินวิกฤตมากหลังจากพยายามเพิ่มกำลังส่งจนเกิดภาวะหนี้สินถึงขั้นต้องตัดสินใจเปลี่ยนไปรับโฆษณาเพื่อหารายได้มาใช้หนี้ดังกรณีวิทยุชุมชนน้ำโสม จ.อุดรธานี
สถานีวิทยุชุมชนภาคประชาชนจำนวนมากจึงต้องตัดสินใจหยุดเพิ่มกำลังส่ง ปล่อยให้การออกอากาศเป็นไปตามมีตามเกิด ผู้ฟังลดลงตามลำดับ ส่งผลให้จำนวนอาสาสมัครที่ช่วยจัดรายการลดลงตามเนื่องจากไม่แน่ใจว่าจะมีคนฟังมากน้อยเพียงไร เกิดเป็นสภาวะ “มีสถานีก็เหมือนไม่มี”
ในที่สุดหลายสถานีตัดสินใจยุติการออกอากาศ บ้างเป็นการชั่วคราวรอจนกว่าจะมีนโยบายชัดเจนค่อยทำต่อ บางสถานียุติเป็นการถาวรเพราะรู้สึกอ่อนล้า ท้อถอยหลังความพยายามต่อเนื่องยาวนาน
นอกจากปัญหาคลื่นความถี่ทับซ้อน / แทรก / เบียด ดังกล่าวข้างต้น ปัญหาด้านเทคนิคเกี่ยวกับคลื่นความถี่ที่พบบ่อยในการดำเนินการวิทยุชุมชนคือ ปัญหาคลื่นฟุ้ง คลื่นวิ่ง และปัญหาคลื่นไม่พึงประสงค์
คลื่นฟุ้ง เกิดจากการแพร่ฮาร์โมนิกเกินค่ามาตรฐานที่กำหนด ก่อให้เกิดการรบกวนการรับชมโทรทัศน์หรือข่ายการสื่อสารอื่นๆ ในพื้นที่
คลื่นวิ่ง เกิดจากเครื่องส่งผลิตความถี่พร้อมกันหลายความถี่เป็นแถบกว้าง ทำให้ผู้ฟังไม่สามารถรับฟังสถานีวิทยุอื่นๆ ได้ตามปกติ ยกเว้นสถานีที่ก่อปัญหาเพียงสถานีเดียว
คลื่นไม่พึงประสงค์ รบกวนข่ายสื่อสารอื่น เกิดจากการผสมหรือแทรกกันของความถี่ 2 ความถี่จากสถานีวิทยุ 2 แห่งที่ออกอากาศพร้อมกัน
นอกจากนี้ยังพบปัญหาด้านเทคนิคอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับคลื่นความถี่โดยตรงและมักพบบ่อยครั้งเช่น การลดลงของกำลังส่งเครื่องส่งสัญญาณ เป็นต้น
ปัญหาด้านเทคนิคเหล่านี้มักเกิดจากความผิดพลาดในการเชื่อมต่อระบบส่งทำให้กำลังที่ส่งออกไปย้อนกลับมาที่เครื่องส่งและชุดผลิตความถี่ ระบบไฟฟ้าในพื้นที่ไม่ได้มาตรฐาน อุปกรณ์กรองความถี่ ชุดผลิตความถี่หรืออุปกรณ์ขยายกำลังส่งไม่ได้มาตรฐานหรือเสื่อมสภาพ การทำงานของเครื่องส่งติดต่อกันเป็นระยะเวลานานจนเกิดความร้อนสูงกว่าปกติจนชุดผลิตความถี่ทำงานผิดพลาด หรือระยะห่างของสถานีน้อยกว่าที่ควรจะเป็น ซึ่งล้วนไม่ได้เป็นความตั้งใจให้เกิดขึ้นของชุมชน
ประการที่สาม ปัจจัยความพร้อมชุมชนด้านเทคนิค
ข้อจำกัดหรือความไม่พร้อมของชุมชนที่ดำเนินการวิทยุชุมชนที่ผ่านมาสามารถแบ่งได้ออกเป็น 5 ประการคือ การขาดความรู้ความเข้าใจด้านเทคนิค ขาดช่างเทคนิคผู้ชำนาญ ขาดการตรวจสอบซ่อมบำรุง ขาดอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐานและอุปกรณ์ตรวจวัดที่จำเป็น และการมีข้อจำกัดของสภาพพื้นที่
เนื่องจากการดำเนินการวิทยุชุมชนเป็นเรื่องใหม่สำหรับชุมชนและต้องการความรู้ความเข้าใจเชิงเทคนิคระดับหนึ่งซึ่งทำให้ยากสำหรับชาวบ้านในชุมชนที่จะเรียนรู้ทำความเข้าใจได้อย่างถ่องแท้ถึงระดับใช้งานได้ภายในระยะเวลารวดเร็ว ทำให้ปัญหาการขาดความรู้ความเข้าใจด้านเทคนิคเป็นหนึ่งในปัญหาสำคัญของการดำเนินการวิทยุชุมชนในเกือบทุกพื้นที่
ตัวอย่างเช่น หลายชุมชนเข้าใจว่าช่างวิทยุโทรทัศน์ทั่วไปสามารถซ่อมเครื่องส่งได้ หรือคิดว่าตัวเองสามารถซ่อมเครื่องเองได้ จึงดำเนินการซ่อมตามความเข้าใจที่ผิด ซึ่งส่วนใหญ่ทำให้อุปกรณ์เสียหายมากขึ้นไปอีก หรือเคยมีกรณีบางสถานีทำทาวเวอร์หักเพราะดึงสลิงฐานแคบเกินไปและไม่ได้ลงดิน กรณีไม่ได้ต่อสายดินของอุปกรณ์ในห้องส่งหรือต่อไม่ลึกพอ ระยะสายล่อฟ้าสูงไม่ได้มาตรฐาน ปัญหาพื้นฐานทางเทคนิคเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้ในหลายพื้นที่ด้วยการขาดความรู้ความเข้าใจของชุมชนที่ดำเนินการวิทยุชุมชน
ทางออกที่ผ่านมาส่วนใหญ่พึ่งพาช่างเทคนิคซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการของหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เป็นสำคัญ
แต่หลังจากรัฐบาลได้กล่าวหาว่าวิทยุชุมชนเป็นวิทยุเถื่อน และมีหนังสือไม่ให้หน่วยงานในพื้นที่ให้การสนับสนุนการดำเนินการ ส่งผลให้สถานีวิทยุชุมชนต้องหันไปพึ่งช่างเทคนิคที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ซึ่งจำนวนมากขาดความรู้ความชำนาญที่เพียงพอ เปิดโอกาสให้ช่างในบางพื้นที่ฉวยคิดค่าใช้จ่ายในราคาที่สูงเกินจริง เลี้ยงไข้ หลอกขายอุปกรณ์หรือสับเปลี่ยนเอาอุปกรณ์ดีๆ ไป
การขาดความรู้ความเข้าใจทางเทคนิคและการขาดช่างผู้ชำนาญการดังกล่าว ยังส่งผลให้อุปกรณ์การส่งที่สำคัญที่จัดซื้อเช่นเครื่องส่ง สายอากาศ ชุดผลิตความถี่ สายนำสัญญาณ ฯลฯ ไม่ได้มาตรฐาน เพราะขาดการตรวจสอบที่ละเอียดถี่ถ้วนโดยผู้ชำนาญการและขาดการทดลองผ่านอุปกรณ์ตรวจวัดและรับฟังจริงในพื้นที่ก่อนรับมอบ
นอกจากนี้ยังส่งผลทำให้ไม่มีการตรวจสอบซ่อมบำรุงอุปกรณ์อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอดังที่ควรดำเนินการ
ด้านข้อจำกัดในพื้นที่เช่นประสิทธิภาพของระบบไฟฟ้าในพื้นที่ไม่ดีพอ เกิดไฟตก ไฟกระชาก ส่งผลโดยตรงต่อประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องส่งและอุปกรณ์ หรือข้อจำกัดเชิงสภาพภูมิศาสตร์เช่นเป็นภูเขาสูงทำให้รัศมีการกระจายเสียงน้อยกว่าปกติ การสะท้อนของคลื่นเมื่อส่งสัญญาณผ่านช่องเขา การเสื่อมสภาพของอุปกรณ์จากไอเกลือและความร้อนในพื้นที่ที่เป็นทะเล เป็นต้น
ข้อจำกัดและความไม่พร้อมทั้งหมดนี้สามารถส่งผลทำให้เกิดปัญหาในการดำเนินการวิทยุชุมชนในทางปฏิบัติได้หลากหลาย ดังนี้
• สายสัญญาณที่เชื่อมระหว่างเครื่องส่งและสายอากาศหรือแผงเกิดหลุดหรือขาด ก่อให้เกิดปัญหาคลื่นฟุ้ง รบกวนคลื่นวิทยุ โทรทัศน์และวิทยุคมนาคม และทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องลดลงตามลำดับจนเสียในที่สุด หากไม่การแก้ไขอย่างทันท่วงที
• ตัวผลิตความถี่เสื่อมหรืออากาศร้อนจนทำให้การทำงานของตัวผลิตความถี่ผิดพลาด ทำให้เกิดปัญญาคลื่นวิ่ง ชาวบ้านไม่สามารถรับฟังสถานีอื่นๆ ได้นอกจากสถานีที่ก่อปัญหาเพียงคลื่นเดียว
• อุปกรณ์กรองคลื่นความถี่เสื่อม / ไม่ได้มาตรฐานทำให้เกิดการส่งสัญญาณคลื่นความถี่มูลฐานหรือฮาร์มอนิกที่ 2 ออกมาเกินมาตรฐาน ก่อปัญหารบกวนการรับสัญญาณโทรทัศน์ในพื้นที่
• การผสมสัญญาณเสียงเกินกำหนด ซึ่งนอกจากจะทำให้เสียงแตกแล้วอาจทำให้เกิดสัญญาณรบกวนความถี่อื่นนอกเหนือจากความถี่สถานี ไปรบกวนสัญญาณวิทยุ โทรทัศน์หรือข่ายการสื่อสารอื่น (มักเกิดกับวิทยุชุมชนที่ประสบปัญหาคลื่นความถี่ทับซ้อน / แทรก / เบียด แล้วพยายามสู้ด้วยการเพิ่มกำลังส่งให้สูงขึ้น โดยไม่เข้าใจว่าจะเกิดการผสมสัญญาณเสียงเกินกำหนดได้)
• การผสมคลื่นความถี่ในอากาศ ซึ่งเกิดคลื่นรบกวนไปรบกวนคลื่นความถี่อื่นๆ ขึ้นเมื่อเปิดสองสถานีพร้อมกัน โดยที่หากเปิดทีละสถานีจะไม่เกิด
• ปัญหาการทับซ้อนของคลื่นความถี่จากการกำหนดช่องความถี่ในการกระจายเสียงระบบเอฟเอ็มระหว่างประเทศไม่ตรงกัน มักพบในพื้นที่ชายแดน เช่นไทย-มาเลเซีย ไทย-ลาว เป็นต้น
• ปัญหาการออกอากาศและการรับฟังที่เกิดจากการใช้ความถี่ไม่ตรงกับแผนความถี่วิทยุเอฟเอ็มในประเทศไทย เช่นกรณีวิทยุชุมชนสันป่าตอง จ. เชียงใหม่
• ปัญหาคลื่นเบียดที่เกิดกับจังหวัดเล็กที่อยู่ติดกับจังหวัดใหญ่ เช่นลำพูน-เชียงใหม่ จังหวัดปริมณฑล-กรุงเทพฯ
• การเกิดการแพร่ของคลื่นรบกวนจากสถานีที่ใช้เครื่องส่งและอุปกรณ์ที่ไม่ได้มาตรฐานเป็นระยะเวลานาน

III. บทเรียนและข้อเสนอ
บทเรียนจากพื้นที่
ท่ามกลางข้อจำกัดและปัจจัยความไม่พร้อมต่างๆ ดังกล่าว มีวิทยุชุมชนจำนวนหนึ่งที่ประสบปัญหาคลื่นความถี่ทับซ้อน / แทรก / เบียด และพยายามแก้ปัญหาในระดับพื้นที่จนประสบความสำเร็จอย่างน่าประทับใจ และน่าเรียนรู้เป็นบทเรียนสำหรับพื้นที่อื่นๆ ต่อไป
ที่จังหวัดอุดรธานี วิทยุชุมชนคนฮักถิ่น อ.ประจักษ์ศิลปะคม ประสบปัญหาเครื่องส่งเสียจนไม่สามารถซ่อมแซมได้ จึงตัดสินใจระดมทุนในชุมชนนานหลายเดือนเพื่อซื้อเครื่องส่งใหม่จนสำเร็จ แต่พอจะออกอากาศอีกครั้งพบว่าความถี่คลื่นที่เคยใช้ถูกสถานีอื่นใช้ไปแล้ว คณะกรรมการสถานีจึงระดมสมองกันและสรุปว่าจะส่งตัวแทนไปเจรจากับเจ้าของสถานีดังกล่าว ชี้แจงข้อเท็จจริง และการเจรจาก็ประสบความสำเร็จ สถานีดังกล่าวยอมย้ายไปใช้ความถี่อื่นแทนในที่สุด ทั้งนี้ความสำเร็จที่เกิดขึ้นเกิดจากปัจจัยสามประการคือ ชุมชนคนฮักถิ่นมีเครือข่ายที่เข้มแข็ง สถานีวิทยุที่มาใช้คลื่นเป็นสมาชิกในเครือข่ายผู้ประกอบวิชาชีพวิทยุท้องถิ่นไทย (วทท) ซึ่งมีข้อตกลงภายในเครือข่ายว่าจะไม่ใช้คลื่นทับซ้อนความถี่วิทยุชุมชนที่ดำเนินการมาก่อนแล้ว และสถานีดังกล่าวเองก็ไม่ได้มีเจตนาจะยึดคลื่นของวิทยุชุมชนคนฮักถิ่น
กรณีวิทยุชุมชนในจังหวัดมหาสารคามซึ่งประสบปัญหาสงครามการแย่งชิงคลื่นความถี่ ทำให้เกิดปัญหาคลื่นความถี่ทับซ้อน / แทรก / เบียด เช่นเดียวกับจังหวัดอื่นๆ ผู้ว่าราชการจังหวัดเล็งเห็นวิกฤตที่จะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จึงออกระเบียบให้ทุกสถานีไปขึ้นทะเบียนพร้อมระบุข้อมูลลักษณะทางเทคนิคของแต่ละสถานีไว้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับกำกับดูแลป้องกันการรบกวนการออกอากาศของแต่ละสถานี ด้วยการกำกับดูแลที่เข้มงวดทำให้มหาสารคามแทบไม่มีปัญหาร้องเรียนเรื่องคลื่นความถี่ทับซ้อนกันอีกเลย
ที่กาฬสินธุ์ วิทยุชุมชนกุฉินารายณ์ประสบปัญหากำลังส่งของเครื่องส่งตก และเครื่องเสียเป็นครั้งคราวเช่นเดียวกับสถานีอื่นๆ คณะกรรมการสถานีฯ ได้ตัดสินใจขอความช่วยเหลือจากวิทยาลัยอาชีวะในพื้นที่ให้เข้ามาช่วยดูแลเครื่องส่งและอุปกรณ์หากเกิดปัญหา ทำให้สามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้พร้อมกับเป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระดับพื้นที่ด้วย
จากทั้งสามกรณีจะเห็นว่ามีลักษณะร่วมกันหนึ่งอย่างคือ เป็นความพยายามแก้ปัญหาท่ามกลางข้อจำกัด และใช้ทรัพยากรและต้นทุนทางสังคมในพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยไม่ได้ยึดติดกับสถานการณ์ระดับประเทศที่ยังไม่ลงตัวด้านกฎเกณฑ์การกำกับดูแลวิทยุชุมชน
บทเรียนจากต่างแดน
ข้อสังเกต 6 ประการที่น่าสนใจจากประสบการณ์การดำเนินการวิทยุชุมชนในแคนาดา สเปน สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น มีดังนี้
1. การกำกับดูแลอย่างเข้มงวดจริงจังในระดับพื้นที่สามารถป้องกันการเกิดปัญหาคลื่นความถี่ทับซ้อนได้ (แคนาดา สเปน อเมริกาและญี่ปุ่น)
2. ภาครัฐมีบทบาทสนับสนุนให้เกิดการรวมกลุ่มเพื่อพัฒนาและหนุนช่วยกันเองทั้งภายในและข้ามกลุ่ม (แคนาดา)
3. การกำกับดูแลสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยกลไกดูแลกันเองในระดับรัฐ (สเปน)
4. การกำหนดเงื่อนไขให้สถาบันการศึกษาที่มีการเรียนการสอนด้านเทคนิคการดำเนินการวิทยุชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม (อเมริกา แคนาดา)
5. การมีหน่วยงานให้ความรู้ความเข้าใจและแก้ไขปัญหาด้านเทคนิคโดยเฉพาะ (อเมริกา แคนาดา)
6. รัฐบาลมีบทบาทสนับสนุนอุปกรณ์และเทคนิค (สเปน)
การดำเนินการวิทยุชุมชนในต่างประเทศ
หัวข้อ
แคนาดา
สเปน
สหรัฐ
ญี่ปุ่น
อายุใบอนุญาต

5 ปีต่ออายุได้ 5 ครั้ง
8 ปี

กำลังส่ง
ขึ้นกับเขตบริการที่ ต้องการจะครอบคลุม, ตำแหน่งที่ตั้งของสถานี และการดำเนินการวิทยุ หลัก/วิทยุชุมชนที่มีอยู่แล้วในพื้นที่
ขึ้นกับขนาดและลักษณะทางกายภาพชุมชนเป็นหลัก
10 วัตต์ หรือ 100 วัตต์เท่านั้น
ไม่เกิน 20 วัตต์ (สามารถตั้งสถานีทวนสัญญาณได้หากออกอากาศได้ไม่ครอบคลุมพื้นที่ชุมชน)
กองทุนวิทยุชุมชน
มีกองทุนเพื่อพัฒนาและสนับสนุนการดำเนินการสถานีวิทยุในแนวชุมชนอย่างยั่งยืน
มีการสนับสนุนด้านเทคนิค อุปกรณ์ และมีโครงการสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์


แหล่งรายได้/ การโฆษณา
-ค่าเล่าเรียนนักศึกษา
-เงินบริจาค
-สปอนเซอร์
การกล่าวรายชื่อผู้สนับสนุนรายได้ (ห้ามโฆษณา)
ห้ามแสวงหากำไรทางธุรกิจ
ไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อผลประโยชน์ด้านธุรกิจ
รูปแบบรายการ
-ข่าว/สารคดี 25%
-เพลง 35% (รวมถึงเพลงนอกกระแสนิยมทั่วไป)

ควรนำเสนอเรื่องราวชุมชน และเปิดให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการผลิตอย่างหลากหลาย
-ต้องมีรายการเกี่ยวกับชุมชน50%
-รายการทั้งหมดต้องเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม
บทลงโทษ

มีบทลงโทษสำหรับวิทยุชุมชนที่ไม่ได้มาตรฐาน


ข้อสังเกต
-มีหน่วยงาน Industry Canada กำกับดูแลด้านเทคนิค
-มีช่วงทดลองก่อนออกอากาศจริง ระยะเวลาใบอนุญาตชั่วคราว 3 ปี กำลังส่ง 5 วัตต์
-อยู่ระหว่างร่างบทบัญญัติว่าด้วยวิทยุชุมชน
-มีคณะกรรมการระดับชาติและระดับรัฐดูแลการจัดสรรคลื่นความถี่
-ต้องออกอากาศไม่น้อยกว่า 36 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
-คณะกรรมการต้องมีภูมิลำเนาห่างจากสถานีไม่เกิน 10 กิโลเมตร
-ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการวิทยุ โทรทัศน์ เคเบิลทีวีอยู่แล้ว ไม่สามารถขอรับใบอนุญาตวิทยุชุมชน
คณะกรรมการต้องมีส่วนร่วมในการพิจารณารายการที่จะออกอากาศ
11 ข้อเสนอจากภาครัฐ
ที่ผ่านมา หลังจากการผลักดันเรียกร้องต่อเนื่องโดยเฉพาะจากภาคประชาสังคม คณะรัฐมนตรีได้มีมติมติจัดทำร่างมาตรการและหลักเกณฑ์และมาตรการชั่วคราวเพื่อแก้ไขปัญหาการดำเนินการวิทยุชุมชนเมื่อ 16 ก.ค. 2545 โดยให้สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีดำเนินการ ซึ่งก็ไม่มีความคืบหน้าจนต่อมาภาระนี้ได้ถูกส่งต่อให้กรมประชาสัมพันธ์ดำเนินการแทน (มติ ครม. 24 มิ.ย. 2546)
กรมประชาสัมพันธ์ได้ทดลองใช้คลื่นความถี่ซ้ำ คือใช้ความถี่คลื่นเดียวกันในพื้นที่ต่างกัน โดยมีเงื่อนไขว่าการออกอากาศจะไม่เกิดการรบกวนกัน จากการทดลองกับสถานีวิทยุในเครือข่ายของกรมฯ เอง พบว่าสามารถจัดให้มีการดำเนินการวิทยุชุมชนตามหลักเกณฑ์ทางเทคนิค 30-30-15 ได้ทั้งสิ้น1,551 สถานี
ต่อมาหลังจากเกิดปัญหาการรบกวนคลื่นรุนแรง คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจสำหรับเครื่องวิทยุคมนาคมเพื่อศึกษามาตรฐานสากลและยกร่างมาตรฐานทางเทคนิคสำหรับเครื่องสงวิทยุคมนาคมโดยภาพรวม ซึ่งได้มีข้อกำหนดสำหรับวิทยุชุมชนมีสาระสำคัญ 11 ข้อ ดังนี้
• ให้ใช้ความถี่ช่วง 87.5-108 เมกะเฮิร์ซ โดยแบ่งแต่ละช่องห่างกัน 250 กิโลเฮิร์ซ ได้ 81 ช่องความถี่
• กำลังเครื่องส่งต้องไม่เกิน 30 วัตต์ (ไม่ระบุชนิดและกำลังขยายสายอากาศ)
• การแพร่แปลกปลอมต้องไม่เกินค่ามาตรฐานที่กำหนดในระเบียบว่าด้วยการกำหนดลักษณะพึงประสงค์ทางเทคนิคสำหรับสถานีวิทยุกระจายเสียง พ.ศ. 2520 ซึ่งระบุว่าการแพร่แปลกปลอมรวมถึงการแพร่ฮาร์มอนิก (การสร้างความถี่ที่มีค่าทวีคูณจากความถี่ที่กำหนดซึ่งมักเกิดจากเครื่องส่งไม่ได้มาตรฐาน) และการแพร่พาราซิติก (ความถี่แปลกปลอมที่แพร่จากเครื่องส่งวิทยุในย่านความถี่ 87.5-108 เมกะเฮิร์ซ เกิดจากชุดขยายสัญญาณของเครื่องส่งทำงานไม่ถูกต้อง
• การแพร่นอกแถบต้องไม่เกินข้อกำหนด คือการใช้งานคลื่นความถี่หลักช่วง 100 กิโลเฮิร์ซต้องมีความกว้างแถบคลื่นจำเป็นไม่เกิน 200 กิโลเฮิร์ซ
• ค่าความผิดพลาดทางความถี่ต้องไม่เกินข้อกำหนด คือค่าความแตกต่างระหว่างความถี่คลื่นพาห์ขณะมี - ไม่มีการมอดูเลตกับความถี่ที่ระบุของเครื่องส่งต้องมีค่าความผิดพลาดมาก/น้อยไม่เกิน 2 กิโลเฮิร์ซ
• ค่าเบี่ยงเบนความถี่ ต้องไม่เกินข้อกำหนด คือค่าแตกต่างมากที่สุด (ขณะไม่มีการมอดูเลต) ระหว่างความถี่ขณะใดขณะหนึ่งกับความถี่คลื่นพาห์ ต้องมาก / น้อย ไม่เกิน 75 กิโลเฮิร์ซ (ที่การผสมสัญญาณ 100% แถบความถี่จำเป็น 100 กิโลเฮิร์ซ)
• ซิงโครนัสแอมพลิจูดมอดูเลต (การเปลี่ยนแปลงแรงดันสูงสุดของส่วนประกอบกระแสสลับที่ปรากฏทางด้านออกของเครื่องส่ง เมื่อมีการมอดูเลตที่ส่งให้เกิดการกระเพื่อมของคลื่นพาห์คล้ายกับการมอดูเลตแอมพลิจูด ซึ่งมักเกิดจากอุปกรณ์จ่ายไฟฟ้าไม่เรียบ มีการกระเพื่อม) ต้องไม่เกินร้อยละ 2
• ความปลอดภัยทั่วไปต้องเป็นไปตามข้อกำหนด
• ความปลอดภัยด้านไฟฟ้าต้องเป็นไปตามข้อกำหนด
• ความปลอดภัยด้านการใช้เครื่องวิทยุคมนาคมต่อสุขภาพมนุษย์ต้องเป็นไปตามข้อกำหนด
• วิธีการทดสอบต้องเป็นไปตามมาตรฐานข้อกำหนดด้านความปลอดภัยและวิธีการทดสอบ อุปกรณ์เครื่องส่งวิทยุได้รับการรับรองมาตรฐานด้านการป้องกันการรบกวนและความปลอดภัยไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์นำเข้าหรือผลิตในประเทศ (ปัจจุบันยังไม่มีการควบคุมมาตรฐานทางเทคนิคสำหรับเครื่องที่ผลิตภายในประเทศ ทำให้การส่งวิทยุชุมชนมีการรบกวนสูง โดยเฉพาะการรบกวนที่เกิดจากการผสมคลื่นความถี่ของเครื่องส่งที่ออกอากาศมากกว่า 2 ความถี่ขึ้นไป เกิดความถี่ใหม่ที่อาจมีระดับความแรงมากว่าระดับสัญญาณที่ต้องการ มักเกิดจากการแยกสัญญาณของเครื่องที่ไม่เพียงพอ)
4 ข้อเสนอจากภาคประชาชน
ภาคประชาชนสนับสนุนหลักการนำคลื่นความถี่มาใช้ซ้ำสำหรับการดำเนินการวิทยุชุมชน ดังที่ได้ยืนยืนมาตั้งแต่ยุคแรกเริ่มการผลักดันวิทยุชุมชนผ่านสหพันธ์วิทยุชุมชนแห่งชาติ (2544) เช่นเดียวกับการยืนยันให้วิทยุชุมชนมีรูปแบบตามนิยาม ของ-โดย-เพื่อชุมชน
จากประสบการณ์ทดลองปฏิบัติจริงในระดับพื้นที่มากกว่า 7 ปี ภาคประชาชนจังเสนอแนวทางการบริหารจัดการคลื่นความถี่ การแก้ไขปัญหาคลื่นความถี่ทับซ้อนและลักษณะพึงประสงค์ด้านเทคนิค 4 ข้อดังนี้
• ข้อกำหนดทางเทคนิคสำหรับการดำเนินการและกำหนดพื้นที่ออกอากาศของวิทยุชุมชนควรกำหนดให้สอดคล้องกับขนาดและความหนาแน่นของชุมชน รวมถึงระยะทางที่คนในชุมชนจะสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมได้จริง โดยเสนอให้รัศมีพื้นที่ออกอากาศอยู่ระหว่าง 10-15 กิโลเมตร และสามารถยืดหยุ่นมากหรือน้อยกว่าได้ขึ้นกับสภาพพื้นที่ แต่ต้องไม่เกินรัศมี 20 กิโลเมตร
• การกำหนดลักษณะพึงประสงค์ทางเทคนิคของเครื่องส่งและสายอากาศควรมีความยืดหยุ่นโดยพิจารณาบริบทและลักษณะทางกายภาพของชุมชนประกอบ โดยเสนอให้ข้อกำหนดกำลังของเครื่องส่งอยู่ระหว่าง 30-100 วัตต์แทนที่จะยึด 30 วัตต์หนาแน่นเช่นที่ผ่านมา (อันทำให้เกิดปัญหาความเข้มสัญญาณเสียงไม่สูงมากพอที่จะรับฟังได้อย่างมีประสิทธิภาพในหลายพื้นที่ที่ลักษณะทางกายภาพไม่เอื้อเช่นพื้นที่ภูเขา) ส่วนข้อกำหนดลักษณะสายอากาศให้สามารถยืดหยุ่นได้มากกว่าข้อกำหนดที่เป็นอยู่โดยให้สอดคล้องกับเครื่องส่งและสภาพพื้นที่ เช่นบางพื้นที่อาจต้องมีความสูงสายอากาศถึง 45 เมตรแทนที่จะเป็น 30 เมตรตามข้อกำหนดที่เป็นอยู่จึงจะสามารถออกอากาศได้ดีตามพื้นที่กำหนด รูปแบบสายอากาศควรส่งสัญญาณได้ทั้งแนวตั้งและแนวนอน เกณฑ์ขยายสายอากาศควรอยู่ในระดับ 4 เดซิเบลและยืดหยุ่นได้ตามกำลังส่งของเครื่องส่ง (กำลังส่งต่ำควรสามารถขยายได้มากกว่าเพื่อให้การรับฟังชัดเจน) อย่างไรก็ตามต้องมีวงจรลดทอนกำลังคลื่นฮาร์มอนิกที่สองและอุปกรณ์
• จำกัดกำลังคลื่นความถี่แปลกปลอมอื่นๆ ประกอบด้วยสำหรับการพิจารณาลักษณะฯ ทั้งหมด
• การบริหารจัดการคลื่นความถี่และการกำหนดระยะห่างระหว่างสถานีควรป้องกันการรบกวนการส่งสัญญาณกันเองโดยยึดหลัก 5 ข้อคือ1) ไม่ใช้คลื่นความถี่ของสถานีวิทยุหลักในพื้นที่ 2) หลีกเลี่ยงการใช้ย่านความถี่ที่จะทำให้เกิดฮาร์โมนิกที่สองตรงกับย่านความถี่ของสถานีโทรทัศน์ในพื้นที่ 3) ใช้คลื่นความถี่แบบสลับฟันปลาในพื้นที่ติดกัน 4)หากจำเป็นต้องใช้คลื่นความถี่ซ้ำในพื้นที่ติดกันที่เป็นที่ราบให้ทั้งสองสถานีมีระยะห่างกันไม่น้อยกว่า 3 เท่าของรัศมีการออกอากาศ 5) ป้องกันการเกิดคลื่นไม่พึงประสงค์โดยการกำหนดระยะห่างระหว่างสถานีและความหนาแน่นการใช้คลื่นความถี่ในพื้นที่ให้เหมาะสม
• กำหนดย่านคลื่นความถี่เฉพาะ (Zoning) สำหรับวิทยุชุมชน เพื่อป้องกันการเกิดเขตอับสัญญาณเสียงอันเนื่องมาจากการใช้กำลังส่งของเครื่องส่งที่ต่างกัน และควรจัดให้มีความถี่ที่เป็นเสมือนเขตกันชนระหว่างความถี่วิทยุชุมชนและความถี่วิทยุหลักเพื่อป้องกันการรบกวนซึ่งกันและกันในทางปฏิบัติ
IV. อนาคตที่กำหนดได้
แม้ว่าที่ผ่านมาการดำเนินการวิทยุชุมชนในประเทศไทยจะเป็นไปอย่างเชื่องช้า สะเปะสะปะ และเต็มไปด้วยอุปสรรค แต่หลังจากประสบการณ์และความพยายาม 12 ปีที่ผ่านมาได้มอบบทเรียนและการเรียนรู้แก่ทั้งสังคมไทยและผู้เกี่ยวข้องในระดับหนึ่งซึ่งเป็นระดับที่สำคัญและเพียงพอที่จะเดินต่ออย่างมีทิศทาง หากมีการจัดการที่ดีและเป็นระบบมากพอ ที่สำคัญต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการขับเคลื่อนวิทยุชุมชนให้สัมฤทธิผลในทิศทางที่เหมาะสม
จากบทเรียนในและต่างประเทศ รวมทั้งข้อเสนอของภาคส่วนต่างๆ แนวทางที่จะสามารถแก้ไขปัญหาเกี่ยวข้องกับคลื่นความถี่และปัญหาด้านเทคนิคอื่นๆ ซึ่งเป็นปัญหาการดำเนินการวิทยุชุมชนในประเทศไทยปัจจุบัน ควรประกอบด้วย 7 แนวทางดังนี้
1. ระหว่างรอการจัดตั้งองค์กรอิสระซึ่งจะมีหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่ทั้งประเทศ คลื่นความถี่สำหรับวิทยุชุมชนควรได้รับการจัดสรรจากคลื่นความถี่ของวิทยุหลักที่นำมาใช้ซ้ำในพื้นที่ต่างๆ โดยไม่ให้เกิดการรบกวนกัน2. แยกวิทยุชุมชนออกจากวิทยุที่มีโฆษณา และระบุให้ชัดเจนว่าวิทยุชุมชนต้องอยู่บนหลักการมาจากองค์กรหลากหลายในชุมชน รวมตัวกันเพื่อดำเนินการสื่อบริการสาธารณะระดับชุมชนและไม่แสวงหาผลกำไรทางธุรกิจ ในกรณีที่ภาคประชาชนไม่พร้อมภาครัฐควรให้การสนับสนุนในการสร้างความพร้อม3. กำกับดูแลการดำเนินการวิทยุชุมชนอย่างจริงจัง ตามหลักเกณฑ์มาตรการการดำเนินการที่พิจารณาปัจจัยบริบทและลักษณะกายภาพของพื้นที่ประกอบ4. ภาครัฐมีบทบาทในการจัดการองค์ความรู้และสนับสนุนด้านเทคนิคแก่การดำเนินการวิทยุชุมชน รวมทั้งการสร้างความเข้าใจ การหนุนช่วยเครื่องมืออุปกรณ์ การฝึกอบรมสร้างทักษะความชำนาญด้านเทคนิค รวมถึงการรวมตัวกันของบุคลากรด้านเทคนิคในพื้นที่เพื่อหนุนช่วยการทำงานกันและกัน5. สร้างความเข้าใจในหลักการและบทบาทวิทยุชุมชนในฐานะ “สื่อสาธารณะในระดับชุมชน” แก่สาธารณชน โดยความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคประชาชนทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น6. ศึกษาความเป็นไปได้ถึงรูปแบบการบริหารจัดการคลื่นความถี่ประเทศ ในการทำให้มีวิทยุชุมชนภาคประชาชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของคลื่นความถี่ทั้งหมด (ตามกฎหมายกำหนด)7. เปิดพื้นที่ให้วิทยุท้องถิ่นเชิงพาณิชย์มีสิทธิประกอบกิจการอย่างเสรี มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม
แนวทางทั้ง 7 นี้จะเกิดขึ้นได้จริงหรือไม่ มากน้อยเพียงไรขึ้นอยู่กับการดำเนินการของภาคส่วน 3 ภาคส่วนที่มีบทบาทสำคัญคือ หน่วยงานกำกับดูแล สถาบันการศึกษาและเครือข่ายวิทยุชุมชน และข้อเสนอบทบาทสำหรับแต่ละภาคส่วนมีดังนี้
ข้อเสนอต่อหน่วยงานกำกับดูแลในระยะเฉพาะหน้าช่วงที่ยังไม่มีองค์กรอิสระ หน่วยงานกำกับดูแลซึ่งรวมถึง กทช. และคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ ควรมีบทบาทสำคัญ 8 ประการดังนี้
1. นำคลื่นความถี่วิทยุหลักมาใช้ซ้ำสำหรับดำเนินการวิทยุชุมชน โดยไม่ให้เกิดการรบกวนสถานีหลักที่มีอยู่เดิมและสถานีวิทยุชุมชนภาคประชาชน2. แยกประเภทวิทยุที่มีโฆษณาออกจากวิทยุชุมชนและยืนยันหลักการพื้นฐานวิทยุชุมชนว่าดำเนินการโดยกลุ่มหลากหลายในชุมชน เป้าหมายเพื่อดำเนินการสื่อบริการสาธารณะระดับชุมชนและไม่แสวงผลกำไรทางธุรกิจ รวมทั้งดำเนินการสนับสนุนสร้างความพร้อมภาคประชาชนหากกรณีภาคประชาชนยังไม่พร้อม3. กำกับดูแลให้มีการดำเนินการตามหลักเกณฑ์มาตรการที่กำหนด (โดยพิจารณาบริบทและลักษณะกายภาพพื้นที่) อย่างจริงจังเพื่อป้องกันปัญหาคลื่นรบกวนซึ่งเป็นปัญหาหลักที่ผ่านมา4. ส่งเสริมการรวมตัวของกลุ่มวิทยุชุมชนเพื่อกำกับดูแลกันเองในระดับพื้นที่ (ตามมาตรา 39 พระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551) โดยมีคณะทำงานพหุภาคีระดับชาติที่ประกอบด้วยผู้แทนจากภาคส่วนต่างๆ ร่วมกับคณะอนุกรรมการฯ กำกับดูแลในภาพรวม5. เป็นเจ้าภาพจัดเวทีให้ความรู้ ฝึกอบรมทักษะด้านเทคนิคให้เครือข่ายวิทยุชุมชน พร้อมให้การสนับสนุนด้านเทคนิคอื่นๆ ที่จำเป็น6. ร่วมกับเครือข่ายวิทยุชุมชนสร้างความเข้าใจในเรื่องหลักการและบทบาทวิทยุชุมชนในฐานะ “สื่อสาธารณะในระดับชุมชน” แก่สาธารณชน สถาบันการศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง7. สนับสนุนงบประมาณเพื่อพัฒนาองค์ความรู้และการสนับสนุนด้านเทคนิคสำหรับการดำเนินการวิทยุชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน8. ยืดหยุ่นมาตรการลงโทษจากส่งฟ้องดำเนินคดีเป็นเปรียบเทียบปรับ (ตามความเสียหายจริง) แก่สถานีวิทยุชุมชนที่มีการรบกวนความถี่การสื่อสารอื่นโดยไม่มีเจตนา ทั้งนี้ควรมีการตักเตือนก่อนดำเนินการลงโทษ และให้ความสนับสนุนช่วยเหลือด้านเทคนิคในการปรับปรุงอุปกรณ์เครื่องส่ง (ต้นเหตุการเกิดการรบกวนคลื่น) ด้วย
ข้อเสนอระยะยาว
1. จัดให้มีการศึกษาความเป็นไปได้และความเหมาะสม ของการบริหารจัดการคลื่นความถี่ที่มีการดำเนินการวิทยุชุมชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ตามที่กฎหมายกำหนด2. จัดตั้งคณะกรรมการอิสระด้านวิทยุชุมชน เพื่อทำงานร่วมกับองค์กรอิสระด้านกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ เพื่อพัฒนาและส่งเสริมความเข้มแข็งให้แก่วิทยุชุมชน รวมถึงการรวมกลุ่ม การกำกับดูแลกันเองในระดับพื้นที่ ภาคและระดับชาติ ตลอดจนส่งเสริมให้วิทยุชุมชนมีบทบาทสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชนโดยรวม3. จัดตั้งกองทุนส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาด้านเทคนิคเพื่อการดำเนินการวิทยุชุมชนที่เข้มแข็งและยั่งยืน
ข้อเสนอต่อสถาบันการศึกษา1. จัดเวทีให้ความรู้และฝึกอบรมด้านเทคนิค เนื้อหารายการและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องแก่เครือข่ายวิทยุชุมชนอย่างต่อเนื่อง2. สร้างและพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือระหว่างเครือข่ายวิทยุชุมชนและสถาบันการศึกษาที่มีการเรียนการสอนด้านวิทยุชุมชนและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินการวิทยุชุมชน3. ผลักดันหลักสูตรการเรียนการสอนและการฝึกอบรมด้านวิทยุชุมชนในสถาบันการศึกษาทั้งระดับท้องถิ่นและระดับชาติ
ข้อเสนอต่อเครือข่ายวิทยุชุมชน
ข้อเสนอเฉพาะหน้า
1. จัดโครงสร้างสหพันธ์วิทยุชุมชนแห่งชาติให้ชัดเจน2. ดำเนินการขอใบอนุญาตชั่วคราว
ข้อเสนอระยะยาว1. จัดทำแผนแม่บท หลักเกณฑ์ จรรยาบรรณด้านเทคนิคและอื่นๆ สำหรับการดำเนินการวิทยุชุมชน2. จัดทำคู่มือด้านเทคนิคและอื่นๆ สำหรับการดำเนินการวิทยุชุมชน3. จัดทำฐานข้อมูลด้านเทคนิครายสถานี4. พัฒนาบุคลากร / อาสาสมัครวิทยุชุมชนในด้านเทคนิคและอื่นๆ ที่จำเป็นอย่างต่อเนื่อง5. จัดตั้งคณะทะงานเพื่อติดตาม สนับสนุนและให้ความช่วยเหลือในการดำเนินการวิทยุชุมชน6. จัดตั้งกองทุนสนับสนุนและพัฒนาการดำเนินการวิทยุชุมชน7. สร้างเครือข่ายพันธมิตรสนับสนุนด้านเทคนิคในพื้นที่
………………………………………………………….
หมายเหตุบทความชิ้นนี้เรียบเรียงจาก “รายงานการศึกษาการบริหารจัดการคลื่นความถี่วิทยุชุมชน”โดย สหพันธ์วิทยุชุมชนแห่งชาติ และมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม (ธันวาคม 2551)
คณะวิจัย: มนตรี อิ่มเอก วีระพล เจริญธรรม สันทนา ธรรมสโรช พท.ปฏิยุทธ ทรายทอง ดร.วัฒนา บันเทิงสุข ธรรมนิตย์ สุริยะรังสี พรพิพัฒน์ วัดอักษร วิชาญ อุ่นอก ศิริพล สัจจพันธ์ สาวิทย์ แก้วหวาน ดร.ประวิทย์ ชุมชู และนันทพร เตชะประเสริฐสกุล

...แผนตากสิน 2 !...

ที่มา thaifreenews

เขียนโดย ปลายอ้อกอแขม
วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน 2009 เวลา 03:31 น.

altalt ตอนแรก ผมได้ยินสื่อบางฉบับรายงานว่าหน่วยความมั่นคงของไทยนี่แหละบอกว่า คนเสื้อแดงที่จะชุมนุมในวันที่ 27 มิถุนา จะใช้แผนตากสิน 2 เพื่อป่วนบ้านเมืองให้วุ่นวาย ทำให้รัฐบาลอภิสิทธิ์มีอำนาจ..แต่บริหารไม่ได้


แถมยังบอกอีกว่า เป้าหมายครั้งนี้ จะมีการลอบทำร้ายองคมนตรีและนายกฯด้วย แล้วยังโยงไปอีกสาระพัดว่าแผนครั้งนี้ทำให้เกิดการลุกลามไปยังประเทศเพื่อนบ้าน คืออยู่เบื้องหลังเขมรที่กำลังฮึ่มๆอยู่กับไทยที่ประสาทพระวิหาร อยู่เบื้องหลังพม่าที่ด่านายกฯไทยว่า “เสือก” อยู่เบื้องหลังจีนในหลายๆเรื่อง(ผมจำไม่ได้..แต่อาจเป็นเรื่องที่ยุให้จีนนำลูกหมีแพนด้ากลับก่อนกำหนด) แถมยังอยู่เบื้องหลังการก่อการร้ายในภาคใต้อีกด้วย..ดีนะ ที่มันลืมประเทศลาว !

ฮากันเพิ่มเติมและแสดงความคิดเห็นได้ที่นี่

ผมฟังแล้วก็นึกสนุก ขำๆอ้ายเปรตพวกนี้ที่มีจินตนาการสูงส่ง คิดได้ดี น่าสนุก ถึงเป็นการจับแพะชนแกะเอาเรื่องโน้นไปโยงเรื่องนี้ แต่พล็อดเรื่องก็ยังไม่เนียนเท่าไร ไม่นึกว่าจะมีใครเชื่อ..ปฏิญญาฟินแลนด์ 2


ผมคิดว่า เรื่องปัญญาอ่อนขนาดนี้ต้องไม่มีคนเชื่อแน่นอน เพราะถ้าใครเชื่อเรื่องนี้ ต้องเป็นคนระดับปัญญาโคตรอ่อนมากๆ เมืองไทยไม่มีคนชนิดนี้อยู่อีกแล้ว เพราะปัจจุบันการศึกษาของแต่ละคนล้วนสูงส่งทั้งสิ้น เป็นระดับด๊อกเตอร์ ด๊อกแต๋วชนิดแทบจะชนกันตายอยู่แล้ว..ผมคิดผิด


บัดนี้ จากเรื่องปัญญาอ่อนมันกลับกลายเป็นเรื่องจริงขึ้นมาแล้ว เพราะรองนายกฯด้านความมั่นคงสุเทพ เทือกสุบรรณได้เชื่อมั่นไปซะแล้ว ว่าเป็นเรื่องจริง แถม “ป๋า”ของใครบางคนก็เชื่อว่าเป็นอย่างนั้นจริง ถึงขนาดสั่งให้จับตาอย่างใกล้ชิด..พระเจ้า


ต่อไปนี้ เป็นความคิดของผม ซึ่งอยู่ในใจ ไม่มีใครรู้ ไม่มีใครได้ยิน เพราะผมคิดของผมอยู่คนเดียว ที่สำคัญ ผมจะไม่บอกใคร ..จึงไม่มีวันที่ใครจะรู้ !


“ แผนตากสิน 2 เหรอ โธ่ ไอ้ส้นต..เอ๊ย แผนโค..พ่อมรึงนะซี ไอ้เห... ไอ้ระ... ไอ้อัปรีย์ ไอ้ควา... พวกมรึงไม่รู้จะคิดอะไรกันแล้วเหรอวะ ถ้าคนเสื้อแดงมีความคิดอัปรีย์ได้สักครึ่งของพวกมรึงนะเหรอ ป่านนี้ ประเทศฉิบห..ไปแล้ว ไอ้เห.. พ่อแม่มรึงไม่สั่งสอนกันรึไง วันๆถึงได้แต่คิดจะใส่ร้ายคนอื่นๆ พวกมรึงมีแต่ความคิดเห..ๆกันอย่างนี้นี่เอง บ้านเมืองถึงได้เห..ขนาดนี้ ไอ้ฉิบห.. เอาสมองไปคิดเรื่องดีๆบ้าง ไอ้นรกเอ๊ย โธ่ ไอ้หน้าส้นต..”

ถ้าจะให้เชื่อแผนทักษิณ 2 รึ ! นี่คือแผนของพวกมรึงนั่นแหละ เป็นแผนอัปรีย์ของมือที่มองไม่เห็น ไอ้หัวหงอก ไอ้ทหารลูกกอล์ฟ พรรคการเมืองอัปรีย์จัญไ... แก๊งค์ตบทรัพย์ของไอ้ลิ้ม นักวิชาการส้นต.. และสื่อมวลชนเห..ร่วมมือกันใช้แผนนี้ ทำลายรัฐบาลทักษิณ รัฐบาลสมัคร รัฐบาลสมชาย โดยใช้วิธีการที่พวกมีงพูดมาทั้งหมดจำกัดรัฐบาลของประชาชน มรึงเอาแผนของพวกมรึงมากางแต่ใส่ชื่อคนเสื้อแดงเป็นผู้กระทำ..นี่คือสันดานโค..พ่อโค..แมมรึง ไอ้ฉิบห...กูอยากกระทืบมรึงจริงจริ๊ง”


ผมนั่งคิดอยู่คนเดียวเงียบโดยไม่มีใครรู้ตัว อาจจะมีคนสงสัยบ้างเมื่อตอนคิดถึงจุดไคลแม็กซ์ จะออกอาการตาลุกวาว หูกาง น้ำลายยืด กำหมัดแน่น ขบเขี้ยวเคี้ยวฟัน ตัวสั่นไปหมด ..หลายคนจ้องดูผมอย่างระมัดระวัง


ยิ่งคิดยิ่งเครียด ผมลุกเดินผ่านโต๊ะทำงานพี่ผู้หญิงคนหนึ่ง พอเธอเห็นผมเข้าก็รีบเอามือปิดที่ลำคอชำเลืองมองผมอย่างไม่ไว้ใจ ทำเหมือนผมจะโดดกัดคออะไรทำนองนั้น แต่ยังไม่วายจะสอดรู้ทะลึ่งถามผมเสียงอ้อมแอ้มๆว่า “เอ่อ..ๆ เมื่อกี้ คุณเป็นอะไรเหรอ ทำไม่เป็นยังงั้น คิดอะไรอยู่รึเปล่า”


ผมเซ็งกับคำถามไอ้ประเภทคอยจับผิด สนใจแต่เรื่องของชาวบ้านเหล่านี้ รำคาญชิ๊บเป๋ง เหาบนหัวของตัวทะลึ่งไม่หา แต่ดันมาคอยหาเหาบนหัวคนอื่น แต่ก็ตอบอย่างเสียไม่ได้ว่า “ ก็คิดเหมือนที่พี่คิดนั่นแหละ “

“ว้าย ไอ้บ้า ไอ้ทะลึ่ง ไอ้ลามก “ !!!

แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน 2009 เวลา 03:38 น.

ขุนเขาไม่อาจขวางสายธารเที่ยงธรรมได้ เสื้อแดงทะลักชุมนุมใหญ่27มิถุนา สืบเจตนาคณะราษฎร์

ที่มา Thai E-News


โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
26 มิถุนายน 2552

ก่อนการชุมนุมใหญ่ภายใต้คอนเซ็ปต์"สืบเจตนาคณะราษฎร์ โค่นรัฐบาลอำมาตยาธิปไตย ทวงคืนประชาธิปไตย ยุบสภา"ในวันพรุ่งนี้(27มิ.ย.)ที่ท้องสนามหลวง ฝ่ายกุมอำนาจรัฐ และสื่อมวลชนกระแสหลักต่างออกมาขัดขวางทุกวิถีทาง แต่ไม่อาจขวางกั้นกระแสธารแห่งธรรมได้ ประชาชนผู้รักชาติรักประชาธิปไตยรักความเป็นธรรมต่างมุ่งหน้ามาจากทุกสารทิศมุ่งหน้าสู่สนามหลวง โดยไม่หวาดหวั่นต่อการคุกคามของอมาตยาธิปไตย กับรัฐบาลหุ่นเชิด และสมุนบริวาร

ผู้เดินทางเตรียมเข้าร่วมการชุมนุมยังใส่เสื้อแดงเดินทางเข้าร่วมงานเป็นหลัก ขณะที่บางส่วนนัดหมายกันว่าให้นำผ้าปิดปากปิดจมูกมาด้วย สอดรับกับกระแสป้องกันไข้หวัด2009 ขณะที่บางส่วนเตรียมการนำสมุดบัญชีหรือสัญลักษณ์ของธนาคารกรุงเทพ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นท่อน้ำเลี้ยงสำคัญให้กับอมาตยาธิปไตยมาเตรียมเข้าพิธีต้มบูชายัญ


วาระสำคัญ"สืบเจตนาคณะราษฎร์ โค่นรัฐบาลอำมาตยาธิปไตย"

แกนนำกลุ่มเสื้อแดง นายวีระ มุสิกพงศ์ นายจตุพร พรหมพันธุ์ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ร่วมแถลงข่าวว่า การชุมนุมในวันที่ 27 มิถุนายน ที่ท้องสนามหลวง เนื่องจาก นับตั้งแต่กลุ่มเสื้อแดงสลายการชุมนุมเมื่อวันที่ 14 เมษายน ก็นัดชุมนุมอีกครั้งที่บริเวณลานหน้าวัดไผ่เขียว แต่มีฝนตกลงมา ทำให้พี่น้องประชาชนพบปะกันยังไม่จุใจ

ในโอกาสนี้มีสองประการที่มีความเหมาะสม คือวันที่ 24-27 มิถุนายน เป็นช่วงสำคัญของประวัติศาสตร์การเมืองไทย คือในวันที่ 24 มิถนายน เป็นวันเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศ และวันที่ 27 มิถุนายน เป็นวันพระราชทานรัฐธรรมนูญชั่วคราวฉบับแรก เหตุผลที่สองก็คือรัฐบาลนี้บริหารประเทศมา 6 เดือนแล้ว ควรที่คนเสื้อแดงจะมาชุมนุมเพื่อพิจารณาผลงานของรัฐบาล โดยจะชุมนุมตั้งแต่เวลา 16.00 น. วันที่ 27 มิถุนายน ไปจนถึงเวลา 06.00 น. วันที่ 28 มิถุนายน คือหนึ่งคืนเต็มๆ


นายณัฐวุฒิกล่าวว่า ในวันที่ 27 มิถุนายน จะประกาศจุดยืน "สืบเจตนาคณะราษฎร์ โค่นรัฐบาลอำมาตยาธิปไตย ทวงคืนระชาธิปไตย ยุบสภา" เป้าหมายการชุมนุมครั้งนี้ก็คือให้ยุบสภา โดยจะไม่เคลื่อนขบวนไปที่ใด ประท้วงแบบสงบสันติ

ทักษิณเตรียมโฟนอินขับไล่รัฐบาลหุ่นเชิดทำลายชาติ

นายณัฐวุฒิกล่าวว่า ส่วนกิจกรรมบนเวทีจะมีการโฟนอินของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อย่างไรก็ตาม ขอยืนยันว่า จะไม่มีการเคลื่อนขบวนหรือดาวกระจายไปในสถานที่อื่น นอกจากนี้จะมีการเปิดตัวหนังสือพิมพ์ราย 3 วัน ชื่อ "มหาประชาชนฉบับความจริงวันนี้" ซึ่งมีคอลัมน์นักเขียนจากแดนไกล คือ พ.ต.ท.ทักษิณ ในลักษณะของการส่งไปรษณียบัตรที่เดินทางไปประเทศต่างๆ โดยฉบับปฐมฤกษ์จะส่งมาจากเมืองดูไบ โดยเฉพาะการขอบคุณชาวสกลนครที่ยังคงให้ความไว้วางใจเลือกผู้สมัครของพรรคเข้ามาทำหน้าที่

พ.ต.ท.ทักษิณกล่าวว่า ประชาธิปไตยไทยในปัจจุบันมีปัญหาเพราะมีนักการเมือง ข้าราชการ หรือเจ้าหน้าที่ สนใจแต่ผลประโยชน์ของตัวเอง ประชาธิปไตยที่แท้จริงนั้นเกิดในช่วงที่พรรคไทยรักไทยเป็นรัฐบาลเพราะมีการใช้รัฐธรรมนูญปี 2540 ถึงเวลาทวงประชาธิปไตยคืนให้ประชาชนเสียที ไม่รู้ว่าประเทศไทยไปทำเวรทำกรรมอะไรกับพรรคประชาธิปัตย์เอาไว้เพราะสมัยที่ประเทศเป็นหนี้ไอเอ็มเอฟ (กองทุนการเงินระหว่างประเทศ) ก็มาจากการบริหารประเทศของพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อผมได้มาเป็นรัฐบาลก็ช่วยปลดหนี้ช่วยล้างหนี้ให้ และตอนนี้พรรคประชาธิปัตย์มาเป็นรัฐบาลอีก ก็จะไปกู้เงินมาอีกซึ่งมากกว่าเดิมหลายแสนล้านบาท


"ตอนนี้รู้สึกเหงาและเป็นห่วงประชาชน อยากกลับบ้าน นี่ก็ 3 ปีแล้วที่ไม่ได้กลับประเทศไทย เดือนหน้าก็อายุ 60 ปีแล้ว ยังมีแรงทำงานให้ประชาชนอยู่ แต่ถ้าอายุ 65 ปี คงจะทำงานไม่ไหว อยากให้พี่น้องเสื้อแดงพากลับบ้าน พากลับไปช่วยล้างหนี้ให้ประเทศ พร้อมทั้งยังกล่าวปลุกระดมให้พี่น้องเสื้อแดงเดินทางไปร่วมชุมนุมเพื่อขับไล่รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ พร้อมกันในวันที่ 27 มิถุนายนนี้ที่สนามหลวง"พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวทิ้งท้าย

ต้มสมุดบัญชีแบงก์กรุงเทพ บูชายัญแหล่งทุนอำมาตย์

ผู้ชุมนุมบางส่วนได้เตรียมจัดกิจกรรม การบอยคอตแบงก์บัวหลวง โดยจะมีการต้มสมุดบัญชีที่ปิดบัญชีแล้วที่สนามหลวงวันที่ 27 มิถุนายน 2552 ในช่วงเย็น โดยเห็นว่าธนาคารแห่งนี้เป็นท่อน้ำเลี้ยงสำคัญให้อมาตยาธิปไตย มีพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ใช้อิทธิพลเหนือธนาคารนี้ และได้รับเงินทุนมาดำเนินการที่ทำลายประชาธิปไตย

"ทางเพื่อนๆ ผู้จัดฝากให้ผมประชาสัมพันธ์ให้เชิญชวนคนเสื้อแดง เข้าร่วมกิจกรรมพรุ่งนี้ครับ ใครมีสมุดเงินฝากที่ปิดบัญชีแล้ว นำไปต้มรวมกันได้ที่หน้าเวทีปราศรัยครับ และใครจะเขียนข้อความต่อต้านอำมาตย์ เผด็จการ หรือสมุนอำมาตย์ทั้งหลายที่จะนำเอาไปต้มพร้อมกันที่สนามหลวง กรุณาเขียนไปด้วยครับ ข้อความแล้วแต่จะจินตนาการครับ"โดยกิจกรรมเขาก็มีคนแต่งกายเป็นยมทูต รวมทั้งมีการแสดงสั้นๆ ประกอบ เป็นต้น

มาร์ควิชามารอ้างเสื้อแดงไม่มีเหตุผลชุมนุมขับไล่รัฐบาล

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ที่กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ถึงการชุมนุมใหญ่ของกลุ่มคนเสื้อแดงในวันพรุ่งนี้(27 มิ.ย.) หลังจากที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โฟนอินมาระหว่างการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงที่เมืองพัทยา จ.ชลบุรี ว่า ตนเองยังไม่ทราบว่ามีการโฟนอิน ทั้งนี้ได้ย้ำมาตลอดว่า การชุมนุมหากอยู่ภายในขอบเขตของกฎหมายสามารถทำได้ แต่หากทำผิดกฎหมาย รัฐบาลจะดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรม อย่างไรก็ตาม จนถึงขณะนี้ยังไม่พบว่ามีเหตุผลจะมาชุมนุมขับไล่ เพราะรัฐบาลตั้งคณะกรรมการของสภาผู้แทนราษฎร ที่มี ส.ส.จากทุกพรรคการเมืองเข้าร่วมตรวจสอบการปฏิรูปการเมืองอยู่แล้ว แต่หากมีปัญหาคดีความ ที่คิดว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมสามารถร้องเรียนเข้ามาได้ เพราะรัฐบาลพร้อมจะดูแลให้

นายกรัฐมนตรี กล่าวด้วยว่า ขณะนี้ทั่วโลกรักเมืองไทย เอาใจช่วยเมืองไทย อยู่ที่คนไทยเองว่าจะเปิดโอกาสให้มีการพัฒนาประเทศหรือไม่ ซึ่งไทยมีศักยภาพ และรัฐบาลไทยพยายามอย่างเต็มที่

จะฮาไปถึงไหนฝ่ายอมาตย์ซัดกันเองเรื่องแผนตากสิน2

ผู้จัดการASTVรายงาสนข่าวเรื่อง ซัดกันเองแผนตากสิน2มั่วโคตรอดีต ผบ.ตร.เชื่อแผน “ตากสิน2”เป็นแค่ข่าวปล่อย หวังให้ ปชช.หวาดกลัว สร้างความปั่นป่วนวุ่นวาย ไม่เชื่อออกมาจากหน่วยข่าวกรองตัวจริง เว้นแต่มีไส้ศึกแฝงตัวในหน่วยข่าวกรอง ติงรัฐบาลไม่ทำความชัดเจนหรือสืบหาต้นตอของข่าว ด้าน “น.ต.ประสงค์”จวก “สุเทพ”ไม่บริหารจัดการข่าว กลับเป็นเครื่องมือแพร่ข่าวต่อ ไม่เชื่อแผนการทำได้จริง พร้อมชี้คนได้ประโยชน์จากข่าวนี้ไม่ใช่คนเสื้อแดง

เจ้าของฉายาซีไอเอ.เมืองไทยกล่าวต่อว่า การที่แผนหลุดออกมาอย่างละเอียดถึง 5 แผ่น โดยอ้างว่ามาจากหน่วยข่าวที่รายงานรัฐบาลนั้น จากประสบการณ์ของตนที่ผ่านมา หน่วยข่าวไม่เคยรายงานขึ้นไปข้างบนในลักษณะนี้เลย อีกอย่างต้องดูด้วยว่ามันเป็นข่าวที่ออกมาแล้วใครได้ประโยชน์ เช่น สร้างความเกลียดชัง หรือเบี่ยงเบนความสนใจของประชาชนไปจากปัญหาเดิมที่มีอยู่

"เพราะฉะนั้นคนที่ได้ประโยชน์นี่ ผมคิดว่าคนเสื้อแดงเขาไม่ได้ประโยชน์หรอก แต่ไม่ได้หมายความว่าคนเสื้อแดงจะไม่มีพฤติกรรมบางสิ่งบางอย่างตามที่ระบุไว้ใน 5 แผ่น พฤติกรรมของทักษิณก็ดี ของคนเสื้อแดงก็ดีได้แสดงให้เห็นแล้วตั้งแต่สงกรานต์ที่ผ่านมาว่าขีดความสามารถเขาทำได้แค่ไหน เพราะฉะนั้นถ้ามาดูตามข่าวที่ว่าจะมีการตั้งกองกำลังตั้งหน่วยจรยุทธ หรือสะสมอาวุธที่จะก่อเรื่องวุ่นวายปั่นป่วนนั้น จากการประเมินของผม ขีความสามารถของคนพวกนี้ทำได้อย่างมากเท่าที่เหตุการณ์ในเดือนเมษายนที่ผ่านมาเท่านั้น เรื่องการตั้งหน่วยจรยุทธ์ อาจจะคิดหรือกำลังจะทำอยู่ แต่ขีดความสามารถของคนพวกนี้ไม่มีที่จะไปทำได้ถึงหน่วยจรยุทธ์ในสมัย ผกค.ก็ดีหรือสมัยกบฏที่จะจับอาวุธมาต่อสู้กับรัฐบาล มันอาจจะทำได้ แต่ไม่สามารถทำได้ภายใน 5-6 เดือน

"แต่ถามว่าความต้องการที่จะทำมีไหม มีความต้องการ แต่ว่าถ้าออกมาในลักษณะที่จะทำรุนแรงมากมาย พวกเสื้อแดงคงจะปกปิดให้มิด ไม่ให้เป็นภัยแก่ตัว เพราะฉะนั้นประโยชน์มันไม่ได้กับคนเสื้อแดง นี่ผมไม่ได้เห็นด้วยกับคนเสื้อแดง แต่ผมพูดตามหลักวิชาชีพ ผมจึงสรุปว่า ข่าวนี้เป็นข่าวที่รัฐบาลไม่ควรจะจัดการในลักษณะที่ออกมาพูดว่าได้รับทราบแล้วจากสื่อแล้วอะไรต่างๆ เรื่องนี้ทำให้คนมองไปว่า ประโยชน์มันได้กับรัฐบาล ทั้งๆ ที่เรื่องนี้มันควรจะกระหน่ำไปที่คนเสื้อแดง แต่ถ้ากระหน่ำแบบนี้ต่อไปคนจะไม่เชื่อถือ และความเสียหายมันเกิดกับสังคม"น.ต.ประสงค์กล่าว

เอากันเข้าไปจับแกนนำคดีหมิ่นสกัดชุมนุมใหญ่

ผู้จัดการยังได้รายงานข่าวเรื่องตร.เตรียมออกหมายจับ “เสื้อแดง” หมิ่นเบื้องสูงเย็นนี้!

ผบช.น.จัดกำลัง ตร.16 กองร้อย รับมือเสื้อแดงชุมนุมท้องสนามหลวง 27 มิ.ย.นี้ ยืนยัน ห้ามบุกรุกทำเนียบเด็ดขาด พร้อมขอกำลังทหารช่วยควบคุมการชุมนุม เผย เย็นนี้เตรียมออกหมายจับเสื้อแดงขึ้นเวทีพูดหมิ่นเบื้องสูง เมื่อวานที่ผ่านมา “อำนวย” ลั่น จับได้ไม่ให้ประกันตัวแน่ คุย วันข้างหน้าหากทำผิดอีกจะบุกจับถึงเวที

วันนี้ (25 มิ.ย.) พล.ต.ท.วรพงษ์ ชิวปรีชา ผบช.น.กล่าวถึงกรณีที่กลุ่มเสื้อแดงจะชุมนุมกันบริเวณท้องสนามหลวงในวันที่ 27 มิ.ย.นี้ ว่า ตำรวจมีการประเมินด้านการข่าวเพื่อจัดวางกำลังและแผนรองรับทุกขั้นตอนในการดูแลความสงบเรียบร้อย โดยมีการวางกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจตามจุดสำคัญต่างๆ รวมกว่า 16 กองร้อย โดยบริเวนท้องสนามหลวงวางกำลังจำนวน 4 กองร้อย เพื่อดูแลความสงบเรียบร้อย ทั้งนี้ คาดว่า การชุมนุมในวันที่ 27 มิ.ย.นี้ ผู้ชุมนุมคงจะไม่มีการเคลื่อนตัวแต่อย่างใด แต่ยืนยันว่า จะไม่ให้กลุ่มผู้ชุมนุมบุกรุกทำเนียบรัฐบาลเด็ดขาด และหากเกิดความไม่สงบทางตำรวจได้ประสานขอกำลังทหารในการช่วยควบคุมการชุมนุมด้วยแล้ว

พล.ต.ท.วรพงษ์ กล่าวด้วยว่า สำหรับการปราศรัยที่ท้องสนามหลวง เมื่อคืนวันที่ 23 และ 24 มิ.ย.ที่ผ่านมานั้น ได้รับรายงานจาก บก.น.1 ว่า มีคำพูดที่เข้าข่ายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพด้วย ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้รวบรวมพยานหลักฐานเป็นภาพถ่ายและเสียงไว้แล้ว อยู่ระหว่างดำเนินการตามขั้นตอนกฎหมาย จึงฝากเตือนไปยังแกนนำผู้ชุมนุมที่ขึ้นปราศรัยบนเวทีว่า สามารถใช้สิทธิแสดงความเห็นทางการเมืองได้ แต่หากเอาสถาบันมาพูดหมิ่นเบื้องสูงแบบนี้ ตำรวจคงปล่อยเอาไว้ไม่ได้แน่นอน

ด้าน พล.ต.ต.อำนวย นิ่มมะโน รอง ผบช.น.กล่าวว่า เรื่องการชุมนุมก็ขอให้อยู่ในกรอบของรัฐธรรมนูญ ส่วนวันที่ 27 มิ.ย.นี้ จะมีความรุนแรงหรือไม่นั้น ก็ขึ้นอยู่กับผู้ชุมนุมเอง ทางตำรวจจะมีการบันทึกภาพและเสียงเอาไว้ตลอด จากนั้นก็จะนำมาถอดเทปตรวจสอบดูว่า มีการยุยงปลุกปั่นให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมืองหรือไม่ หากพบก็จะนำไปสู่การออกมายจับอีกแน่นอน

“ส่วนเรื่องการปราศรัยนั้น ขอร้องแล้วว่าอย่าให้ร้าย หรือกล่าวหาใดๆ เกี่ยวกับสถาบันเบื้องสูงทั้งสิ้น ซึ่งขณะนี้พนักงานสอบสวนกำลังดำเนินการขออนุมัติศาลออกหมายจับผู้ที่พูดหมิ่นเบื้องสูงแล้ว ภายในเย็นนี้จะมีการออกหมายจับแน่นอน แต่บอกไม่ได้ว่ากี่คน หรือเป็นใครบ้าง โดยหลังจากออกหมายจับแล้วจะจับกุมทันที และจะไม่ให้ประกันด้วย ใครทำผิดก็ต้องจับหมด จะจับกันทั้งยวง และอีกหน่อยจะบุกขึ้นไปจับบนเวทีด้วย” รอง ผบช.น.กล่าว

ขนกำลังทหารคุมเสื้อแดงชุมนุม

ผบ.ทบ.สั่งการกองทัพภาคที่ 1 เป็นผู้ช่วยเจ้าพนักงานส่งกำลังพลสนธิกำลังตำรวจรับมือการจัดชุมนุมพรุ่งนี้ ประเมินสถานการณ์ไม่น่าเป็นห่วง มั่นใจเสื้อแดงเข้าใจวิกฤตเศรษฐกิจ ไม่ก่อเหตุวุ่นวาย

วันนี้ (26 มิ.ย.) พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) กล่าวถึงการเตรียมความพร้อมดูแลรักษาความปลอดภัยผู้นำจากประเทศสมาชิกอาเซียนที่เดินทางมาร่วมประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน และประเทศคู่เจรจาที่ จ.ภูเก็ต ว่าขณะนี้อยู่ในขั้นตอนเตรียมแผนการเผชิญ เพื่อให้การประชุมดำเนินไปอย่างเรียบร้อย และสร้างความมั่นใจต่อประเทศต่างๆ ในการดูแลรักษาความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ไทย ส่วนการปฏิบัติงานจะใช้เจ้าหน้าที่ทุกส่วนปฏิบัติงานร่วมกัน โดยให้ความสำคัญกับกลไกท้องถิ่น ฝ่ายปกครองในพื้นที่เป็นกำลังสนับสนุนสำคัญเพื่อให้การประชุมเป็นไปอย่างเรียบร้อย

พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวถึงการรับมือการชุมนุมของกลุ่มเสื้อแดงในวันที่ 27 มิถุนายนนี้ว่า การรักษาความสงบเรียบร้อย เจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นเจ้าหน้าที่หลักในการรับผิดชอบตามแผนของตำรวจ ส่วนทหารเตรียมความพร้อมให้การสนับสนุน ในฐานะผู้ช่วยพนักงาน เพราะไม่มีประกาศกฎหมายอะไรพิเศษ ส่วนรายละเอียดตำรวจคงประสานกับเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ต้องประสานงานกับกองทัพภาคที่ 1 ในการจัดกำลังไปสนับสนุนตำรวจ แต่ขณะนี้อยู่ระหว่างการประสานงาน

อย่างไรก็ตาม มั่นใจว่าการชุมนุมครั้งนี้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย เพราะประชาชนส่วนใหญ่เข้าใจสถานการณ์บ้านเมืองว่าต้องต่อสู้กับภาวะเศรษฐกิจ และไม่สร้างความวุ่นวายให้บ้านเมืองอีก

นอกจากนี้ ผู้บัญชาการทหารบก กล่าวด้วยว่า ไม่ทราบรายละเอียด กรณีจดหมายเรียกร้องนายกรัฐมนตรีแก้ปัญหาใต้ ที่ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรี นำมาเปิดเผย แต่ยืนยันจะไม่ใช้วิธีการรุนแรงในการแก้ปัญหา อีกทั้งทหารปฏิบัติหน้าที่ตามกรอบนโยบายของรัฐบาล โดยจะสนับสนุนนโยบายการเมืองนำการทหารต่อไป