WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, July 26, 2008

เมื่อความยุติธรรมในบ้านเมืองมีสองมาตรฐาน แผ่นดินนี้ก็ไร้ซึ่งธรรมะ


บทความ โดย ลูกชาวนาไทย

กรณีตำรวจไม่ให้ประกันตัวคุณดา ตอร์ปิโด แต่กลับให้ประกันตัวนายสนธิ ลิ้มทองกุล ในคดีเดียวกัน ได้ตอกย้ำให้ประชาชนทั้งชาวไทยและชาวโลกให้ เห็นอย่างชัดเจนถึงความมีสองมาตรฐานในระบบยุติธรรมไทยอย่างล่อนจ้อน ความน่าเชื่อถือของกระบวนการยุติธรรมของไทยก็หมดไปโดยสิ้นเชิง มีแต่ความยุติธรรมในสายตาของใครเท่านั้น

กรณีนี้ยิ่งตอกย้ำให้กับคนในประเทศนี้ทราบว่า "ทุกอย่างที่เกิดขึ้นในประเทศนี้มีการตั้งธงไว้ล่วงหน้าแล้ว และจะนำความเสื่อมมาสู่สถาบันต่างๆ ต่อไป คาดว่าความน่าเชื่อถือขององค์กรต่างๆ จะหมดไปอย่างสิ้นเชิง สังคมนี้ไม่มีอะไรพอที่จะเป็นที่ยึดเหนี่ยวได้อีกต่อไปแล้ว ธรรมะที่พร่ำสั่งสอนกันมา ก็กลายเป็นแต่ลมปากที่หาสาระอันใดไม่ได้เท่านั้น

และนั่นคือ "ความไร้ขื่อแปร" ของบ้านเมืองก็จะตามมา ประชาชนคงให้ความเชื่อถือองค์กรใด หรือบุคคลใดไม่ได้อีกต่อไปแล้ว

แต่ผมก็ไม่แปลกใจอะไีีรนัก เพราะบ้านเมืองนี้มันไร้ขื่อแปรอยู่แล้ว


การให้อิสรภาพแก่นายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำหลักของพันธมิตรฯ ขุนพลเอกของระบอบเผด็จการศักดินาอำมาตยาธิปไตย ที่สร้างความวุ่นวายให้แก่บ้านเมืองมาอย่างต่อเนื่อง สร้างความแตกแยกให้กับสังคมไปทุกหย่อมหญ้า ในท่ามกลางข่าวลือที่ว่า มีมือที่มองไม่เห็นเป็นเงาดำทะมึนอยู่เบื้องหลังของนายสนธิ ลิ้มทองกุล

คนทั้งหลายเหล่านี้เลือกที่จะขังสตรีผู้หนึ่งต่อไปในคดีเดียวกัน ต่อไปนี้ระบบยุติธรรมจะทำอะไร มันจะมีคำถามตามมาตลอดถึงความน่าเชื่อถือ การมีธงล่วงหน้า การขังสตรีผู้หนึ่งไม่ใช่เรื่องยากเย็นนัก แต่เขาเหล่านั้นได้ทำลายศรัทธาของพวกตนที่เพียรสร้างสมมานาน

ระบบยุติธรรมของไทยและระบอบอำมาตยาธิปไตย เลือกที่จะฝังตัวเอง เพียงเพื่อต้องการที่จะช่วยเหลือนายสนธิ ลิ้มทองกุล เอาไว้เพื่อเป็นหมากทางการเมืองต่อไปเท่านั้น นั่นคือการทำฮาราคีรีความน่าเชื่อถือของตนอย่างเห็นได้ชัด

กรณี สนธิ ลิ้มทองกุล กับ คุณดา ตอร์ปิโด มันเป็นอะไรที่ Contrast กันมากจนเกินไป

แต่เมื่อเลือกที่จะเดินไปสู่เส้นทางแห่งความเสื่อม ก็คงไม่มีใครช่วยอะไรได้

สำหรับผมแล้วสังคมนี้ไม่มีอะไรเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวได้อีกแล้ว

กรณีสนธิ ลิ้มฯ ผมไม่ได้ถือว่า "ฝ่ายประชาธิปไตย" พ่ายแพ้แต่อย่างใด เพราะกรณีนี้มันจะตอกย้ำให้วิญญูชนที่รักความยุติธรรม และตาเริ่มสว่างแล้วทั้งหลายได้เห็นถึงความไม่ชอบมาพากลของระบบยุติธรรมไทย ว่ามีการตั้งธงกันไว้ล่วงหน้าอย่างที่คนทั้งหลายตั้งข้อสงสัยกันเอาไว้ บัดนี้ได้มีข้อพิสูจน์ที่ค่อนข้างชัดเจนแล้ว

ระบบที่ทำลายความเชื่อมั่นของตนเอง คาดว่าในที่สุดก็จะล่มสลายลง แม้จะไม่เร็วเกินไปนัก แต่พวกเขาผ่านเลยจุดสูงสุดไปแล้ว มีแต่จะเสื่อมถอยลง ไม่อาจฟื้นศรัทธาได้อีกต่อไป


จะแถลงการณ์อะไร ความน่าเชื่อถือมันก็จะไม่มีอีกต่อไปแล้ว

ผมไม่ได้กังวลว่า พวกอำมาตย์จะมีพลังอำนาจมากมายเพียงใด เพราะยิ่งพวกเขาแสดงอำนาจบาตรใหญ่กระทำการที่ฝ่าฝืนความยุติธรรมตามธรรมชาติมากขึ้นเท่าใด ก็ยิ่งตอกย้ำถึงความไม่ชอบธรรม การมีธงมากยิ่งขึ้น สุดท้ายพวกเขาจะแพ้ภัยตัวเอง เพราะประชาชนจำนวนมากที่ไม่ยอมรับพวกเขาอยู่แล้ว ก็จะยิ่งไม่ยอมรับมากยิ่งขึ้น รังเกียจและสะอิดสะเอียนกับการกระทำของพวกนี้มากยิ่งขึ้น

วิกฤตการณ์ทางการเมืองไทยในปี 2551 นี้ พวกอำมาตยาธิปไตย ได้พ่ายแพ้ต่อฝ่ายประชาธิปไตยในด้านพลังมวลชน แม้พวกเขาจะพยายามใช้เกมมวลชนปลุกม็อบขึ้น แต่มันก็เป็นเพียงม็อบจัดตั้งเท่านั้น ไม่มีผลต่อการชิงอำนาจในอนาคตมากมายนัก

เพราะฐานเสียงของผู้เลือกตั้งส่วนใหญ่ของประเทศ ได้อยู่ตรงข้ามพวกอำมาตยาธิปไตยทั้งสิ้น พวกนี้รักษาสภาพได้เพียงแต่ใช้ คอนเน็กชั่น จากระบอบเส้นสายที่โยงใยกันเอาไว้ กับระบบกฎหมายที่ไม่เป็นธรรมเท่านั้น แต่เมื่อ ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ไม่ได้อยู่ข้างพวกเขา พลังเหล่านี้ของพวกอำมาตย์ ก็มีแต่เสื่อมถอยลง ยิ่งใช้อำนาจมาก ยิ่งเสื่อมถอยลงไปมาก สุดท้ายก็จะล่มสลายไปอย่างแน่นอน

ยิ่งพวกเขาแสดงให้เห็นถึง Connection ที่ไม่เป็นธรรม มากขึ้นเท่าใด พวกเขายิ่งสูญเสียความชอบธรรมและฐานสนับสนุนจากมวลชนมากขึ้นเท่านั้น

ในศตวรรษที่ 21 ท่ามกลางสังคมข้อมูลข่าวสารยุค Information Age ถึงอย่างไร ก็ไม่มีประเทศใดที่จะหลีกเลี่ยง ระบอบการเมืองที่มี การเลือกตั้ง ไปได้พ้น เพราะไม่อย่างนั้นจะต้องอยู่ย่างโดดเดี่ยวแบบพม่า ที่สุดท้ายก็โดนบีบให้มีการเลือกตั้งอยู่ดี เมื่อการเข้าสู่อำนาจทางการเมืองจะต้องผ่านระบบเลือกตั้ง มวลชน ย่อมสำคัญกว่า คอนเน็กชั่น ในระบอบอำมาตยาธิปไตยมากมายยิ่ง และสุดท้ายมวลชนจะเป็นตัวตัดสิน


คอนเน็กชั่นแบบนี้ ไม่ทำให้พวกเขาชนะเลือกตั้ง แต่จะทำให้ผู้เลือกตั้งเกลียดชังระบอบอำมาตย์มากยิ่งขึ้น

ยิ่งเจ้ดา ตอร์ปิโด โดนกระทำอย่างขาดความอยุติธรรมมากเท่าใด และนายสนธิ ลิ้มทองกุล ได้รับการปกป้องมากขึ้นเท่าใด ผมว่าระบอบอำมาตย์ยิ่งไปตอกย้ำความเชื่อว่า "มีธง" มากยิ่งขึ้น

พวกเขาอาจช่วย สนธิิ ลิ้มทองกุล" เอาไว้ได้ แต่พวกเขาก็ต้องสูญเสียความชอบธรรมไปมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ

ผมยังจำสุภาษิตบทหนึ่งได้ว่า "ลิงยิ่งขึ้นที่สูงก็ยิ่งเห็นชัดว่าเป็นลิง"

เมื่อเขายิ่งแสดงอำนาจที่ไม่ชอบธรรม คนก็ยิ่งเสื่อมศรัทธาลงไปเรื่อยๆ

พวกเขาอาจทำได้ทุกอย่าง แต่ทำไม่ได้อย่างเีดียวคือ "เรียกศรัทธาที่สูญเสียไปแล้วกลับคืน"

เมื่อไม่มีศรัทธาหลงเหลืออยู่ หรือใช้มันหมดไป สุดท้ายก็เหมือนปลาที่ไม่มีน้ำ
ซึ่งในที่สุดปลาก็ไม่สามารถที่จะอยู่โดยการขาดน้ำได้


ระบบที่พิกลพิการ ไม่มีอำนาจทางกฎหมาย มีแต่การใช้อำนาจมืด เมื่อศรัทธาและบารมีหมดไป ก็จะล่มสลายไปเอง

เหตการณ์ที่เกิดขึ้นในเมืองไทยขณะนี้ผมได้แต่วางอุเบกขา ครับ โวยวายไปก็คงไม่เกิดประโยชน์อันใด

แต่อย่างน้อย ใจของผมก็เป็นอิสระ และไม่ได้เป็นทาสของใครอีกต่อไป นั้นคือสิ่งที่มีค่ามากที่สุด ที่ผมได้จากวิกฤตการณ์ทางการเมืองครั้งนี้ ถึงแม้ว่าผมตายจากโลกนี้ไป ผมก็ตายอย่างเสรีชน ที่ไม่ได้เกิดมาเป็นทานทางความคิดของใครอีกต่อไป

--------------------------------------------------------------

ปล. หลังจากเขียนบทความนี้เสร็จ ผมก็ได้ข่าวว่า พันธมิตรกับชมรมคนรักอุดร ได้ปะทะกันมีผลทำให้นักรบศรีวิชัย เสียชีวิตสองคน ผมทายไว้แล้วไม่ผิดว่า ในบทความก่อนหน้านี้ว่า สงครามกลางเมืองไทยได้เกิดขึ้นแล้ว และจะต้องมีคนที่สังเวยชีวิตแน่นอน และก็ไม่ผิดจากที่ผมทำนายเอาไว้

วันนี้ "หัวใจผมตายด้านแล้ว" ตายก็ตายไป ผมวางอุเบกขาไม่ยินดียินร้ายทั้งสิ้น

บ้านเมืองมันมาถึงซึ่งความไร้ขื่อแปรแล้ว เพราะไม่มี "ธรรมะบนแผ่นดินนี้" อีกต่อไปแล้ว ไม่มีใคร "น่าเทิดทูน" อีกต่อไปแล้ว ดังนั้น จะฆ่ากันตาย ผมก็ไม่รู้สึกยินดียินร้ายอะไรทั้งสิ้น

ก็เ่ล่นกันมาถึงขนาดนี้ มันก็ต้องตายกันเข้าสักวัน เหมือนที่ผมทำนายไว้ไม่มีผิด ผมว่าต่อไปแกนนำพันธมิตรคงโดนประชาทัณฑ์บ้าง ไม่เลือดทาแผ่นดิน "สติย่อมไม่กลับคืนมายังแผ่นดินนี้"

ตายก็ตายไป ไม่มีใครเป็นวีระบุรุษ

และ ภาษิตที่ว่า "ไทยไม่ควรฆ่าไทย" มันใช่ไม่ได้แล้ว เพราะบางคนมันไม่ยอมเลิก มัน "วิ่งตระเวนให้คนฆ่าทั่วประเทศ "สุดท้ายประชาชนก็ต้องเหลืออดเข้าสักวัน

และหากยังมียุทธการดาวกระจายอยู่ ผมเชื่อว่าจะมีการตายอีกอย่างแน่นอน

ยุคนี้ "มันต้องวางอุเบกขา ตายก็ตายไป อะไรมันจะพังพินาศ ล่มสลาย" ก็ต้องปล่อยมันไป

ยุคแห่งความบ้าคลั่ง ก็ต้องปล่อยมันไป

ผม เคยอ่านสามก็กที่สุมาเต็กโซ บอกว่า "แผ่นดินรวมกันแล้วก็แตกแยก แตกแยกแล้วก็รวมกัน" มันไม่มีแก่นสารอะไรที่จะต้องไปยึดถือ ผู้ปกครองมาแล้วต่างก็จากไป ผู้มีอำนาจมาแล้วก็หายไป ไม่มีใครเลิศล้ำน่าเทอดทูนหรอกครับ นอกจากตัวเราเอง

จาก thaifreenews

พ.ต.ท.ทักษิณ ทำบุญวันเกิด 59 ปี เรียบง่าย

กทม. 26 ก.ค. - พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ทำบุญเนื่องในวันคล้ายวันเกิดปีที่ 59

พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี พร้อมครอบครัว และคนใกล้ชิด ทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ 9 รูป จากวัดเพลง บางประกอก ที่บ้านพักส่วนตัวในซอย จรัญสนิทวงศ์ 69 เนื่องในวันคล้ายวันเกิดปีที่ 59 ซึ่งบรรยากาศในปีนี้เป็นไปอย่างเรียบง่าย

ภายหลังทำบุญตักบาตร พ.ต.ท.ทักษิณ ได้พบกับกลุ่มผู้สนับสนุนประมาณ 10 คน ที่เดินทางมาจากหลายจังหวัด ได้เข้าอวยพรและมอบของขวัญ ซึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวเพียงสั้น ๆ ถึงของขวัญวันเกิดปีนี้ว่า ได้พูดไปแล้วเมื่อวานนี้ว่า อยากให้บ้านเมืองสงบ.

ชมรายละเอียด สำนักข่าวไทย


อัพเดตเมื่อ 2008-07-26 08:16:23


พระวิหาร เครื่องมือการเมือง 2 ประเทศ

กรุงเทพฯ 25 ก.ค. - การเจรจาระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศของกัมพูชาและไทย ที่จะมีขึ้นในวันจันทร์นี้ นักวิชาการไทยเห็นต่างจากนายกรัฐมนตรี โดยเชื่อว่าจะยังไม่มีความคืบหน้าเรื่องพรมแดน เนื่องจาก 2 ประเทศ ยังมีปัญหาการเมืองภายในอยู่.

ชมรายละเอียด สำนักข่าวไทย

อัพเดตเมื่อ 2008-07-25 19:13:22


สมัคร ขอบคุณกองทัพที่วางบทบาทต่อกรณีปัญหาปราสาทพระวิหารได้อย่างดี


กลาโหม 25 ก.ค. - พล.ท.พีระพงษ์ มานะกิจ โฆษกกระทรวงกลาโหม แถลงภายหลังการประชุมสภากลาโหม ว่า นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในฐานะประธานการประชุม ได้ขอบคุณกองทัพที่วางบทบาทหน้าที่ต่อกรณีปัญหาปราสาทพระวิหารได้เป็นอย่างดี และขอให้อยู่บนบทบาทที่ดีเช่นนี้ต่อไป โดยเฉพาะเรื่องความอดทนอดกลั้น ส่วนทางการเมืองกำลังแก้ไขปัญหาอยู่ และมีทิศทางเป็นบวก เห็นได้จากการเจรจาระหว่างนายกรัฐมนตรีกับสมเด็จ ฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา โดยคาดว่าหลังจากกัมพูชาเสร็จสิ้นการเลือกตั้งแล้ว และสามารถวางบุคลากรทางการเมืองของตัวเองได้อย่างลงตัว คงจะมีการหารือกันต่อไปเกี่ยวกับข้อพิพาทที่ยังมีอยู่ ส่วนกำลังทหารที่ยังอยู่ในพื้นที่ ไม่มีอะไรต้องห่วง เพราะกำลังของทั้งสองฝ่ายอยู่ร่วมกันฉันมิตร ไม่มีปัญหาอะไร เพียงแต่อย่าให้เกิดอุบัติเหตุอะไรขึ้นเท่านั้น ส่วนกัมพูชาจะรายงานต่อองค์กรนานาชาติอย่างไร เป็นเรื่องของกัมพูชา และเป็นการตีความกันไปเอง

ทั้งนี้ ผู้นำกัมพูชาหลายคนมีทัศนคติที่ดีกับไทย แม้บางคนจะยังไม่คลายความกังวล ซึ่งเรื่องความคิดเห็นไม่สามารถห้ามได้ กระทรวงกลาโหมไม่พยายามที่จะวิพากษ์วิจารณ์หรือตีความในมิติทางการเมือง จะพูดเฉพาะในมิติของกระทรวงกลาโหมเท่านั้น.-สำนักข่าวไทย


อัพเดตเมื่อ 2008-07-25 17:16:48

กมธ.กิจการองค์กรตาม รธน.ฯ ชี้ที่มา ป.ป.ช.ไม่ชอบ กม.


รัฐสภา 25 ก.ค.-คณะกรรมาธิการกิจการองค์กรตามรัฐธรรมนูญฯ เสียงส่วนใหญ่ สรุปที่มา ป.ป.ช.ไม่ชอบด้วยกฎหมาย อ้าง คมช.เป็น "รัฏฐาธิปัตย์" แค่วันเดียว ก่อนถวายคืนพระราชอำนาจ ระบุบทเฉพาะกาลมาตรา 309 ไม่อุ้มสิ่งที่ไม่ถูกต้อง “สุทิน คลังแสง” เตรียมหารือพรรคพลังประชาชนยื่นถอดถอน ขณะที่ กมธ.ซีกพรรคประชาธิปัตย์ มีความเห็นต่าง ยืนยัน ป.ป.ช.มีที่มาถูกต้อง

นายสุทิน คลังแสง ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการกิจการองค์กรตามรัฐธรรมนูญ รัฐวิสาหกิจ องค์กรมหาชน และกองทุน สภาผู้แทนราษฎร แถลงว่า ที่ประชุมได้พิจารณากรณีที่ผู้ร้องขอให้สอบสวนที่มาของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) โดยหลังจากได้พิจารณาประเด็นดังกล่าว ซึ่งกรรมาธิการส่วนใหญ่เห็นตรงกันว่า ที่มา ป.ป.ช.ไม่ชอบด้วยกฎหมายและจารีตประเพณีตามระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

“ป.ป.ช.ชุดนี้เกิดจากประกาศ คปค. ฉบับที่ 19 ลงวันที่ 22 ก.ย. 2549 และประกาศ คปค.ฉบับที่ 31 ลงวันที่ 31 ก.ย. 2549 ลงนามโดยประธาน คมช.ซึ่งได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง วันที่ 20 ก.ย. 2549 จึงไม่ถือว่าเป็นรัฏฐาธิปัตย์แล้ว เพราะเท่ากับเป็นการถวายคืนพระราชอำนาจ ดังนั้น จึงถือว่า ป.ป.ช.ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และไม่ได้มีการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง” นายสุทิน กล่าว

นายสุทิน ยังกล่าวถึง รัฐธรรมนูญ มาตรา 309 ในบทเฉพาะกาล ที่รับรองสถานะของ ป.ป.ช. ว่า แม้มาตราดังกล่าวจะให้การรับรอง แต่ก็เป็นการรับรองเฉพาะในสิ่งที่ถูกกฎหมาย เมื่อ ป.ป.ช.มาโดยไม่ชอบตามกฎหมาย จึงไม่อยู่ในข่ายการรับรอง อย่างไรก็ตาม ประเด็นนี้เป็นเรื่องที่ต้องมีการถกเถียง จึงขอเสนอให้องค์กรที่เกี่ยวข้อง เช่น ศาลรัฐธรรมนูญ นำประเด็นเรื่ององค์รัฏฐาธิปัตย์ไปวินิจฉัย และหาข้อสรุปต่อไป

นายสุทิน กล่าวว่า กรรมาธิการฯ คงทำได้เพียงนำเสนอให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรรับทราบ แต่ถ้าจะมีประชาชน หรือ ส.ส.ดำเนินการ ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง อย่างไรก็ตาม กรรมาธิการฯ ขอเสนอให้องค์กรที่มีหน้าที่วินิจฉัยตามกฎหมาย นำข้อศึกษานี้ไปวินิจฉัย

“กรรมาธิการฯ ไม่มีหน้าที่ถอดถอน แต่ถ้าเป็น ส.ส.ก็ดำเนินการได้ ซึ่งผมจะนำเรื่องนี้เข้าหารือที่ประชุมพรรคพลังประชาชน ว่าจะยื่นถอดถอนหรือไม่ ถ้า ส.ส.เข้าชื่อยื่นถอดถอน ก็เป็นเอกสิทธิส่วนบุคคล” นายสุทิน กล่าว

ทั้งนี้ นายอับดุลการิม เด็งระกีนา ส.ส.ยะลา พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะกรรมาธิการฯ กล่าวว่า กรรมาธิการฯ ในซีกพรรคประชาธิปัตย์ ที่เข้าร่วมประชุม ได้แสดงความไม่เห็นด้วยกับเสียงส่วนใหญ่ของคณะกรรมาธิการฯ เนื่องจากเห็นว่า คปค.เป็นองค์รัฏฐาธิปัตย์ ที่มีความชอบธรรมในการแต่งตั้ง ป.ป.ช. ประกอบกับต่อมาได้มีรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2549 และรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 309 ได้ให้การรับรองเอาไว้ว่า การกระทำที่เกิดขึ้นของ คปค.ชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น จึงเห็นว่า ป.ป.ช.มีที่มาที่ชอบด้วยกฎหมายทุกประการ แต่เมื่อคณะกรรมาธิการเสียงข้างมากมีความเห็นเช่นนี้ เราในฐานะที่เป็นเสียงข้างน้อยก็ต้องให้ความเคารพ.-สำนักข่าวไทย


อัพเดตเมื่อ 2008-07-25 16:51:26




ปฐมพงษ์

คอลัมน์ : โต๊ะข่าวประชาทรรศน์

การแต่งเครื่องแบบทหารเต็มยศขึ้นเวทีพันธมิตรฯ ของ พล.อ.ปฐมพงษ์ เกษรศุกร์ ประธานที่ปรึกษากองบัญชาการทหารสูงสุด ในสัปดาห์ที่ผ่านมา

เป็นประเด็นที่ถูกพูดถึงอย่างกว้างขวาง และเป็นไปในทางลบเสียเป็นส่วนใหญ่

แม้ว่านายทหารหลายคนจะไม่ออกมาติติงอย่างเต็มปากเต็มคำ ด้วยความที่ พล.อ.ปฐมพงษ์ ก็เป็นผู้หลักผู้ใหญ่ สมควรที่จะมีความคิดและสำนึกได้เอง

แต่ก็เชื่อว่าหลายคนมองเห็นถึงความไม่เหมาะสม

ขนาดคนของประชาธิปัตย์ ไม่ว่าจะเป็น ส.ส. หรือ ส.ส.สอบตก ที่มาป้วนเปี้ยนขึ้นเวทีม็อบอยู่หลายคน จนผู้คนรู้สึกได้ถึงความเชื่อมโยงกัน ก็ยังรู้จักเหนียมอาย ออกมาบอกกล่าวว่าเป็นการขึ้นเวทีในนามส่วนตัว ไม่เกี่ยวกับพรรคการเมือง

นั่นหมายความว่าพรรคประชาธิปัตย์ เองก็รู้ว่าการออกมาเคลื่อนไหวบนเวทีข้างถนนไม่ใช่เรื่องที่เหมาะสม โดยเฉพาะคนที่มีบทบาทที่จะต้องวางตัวอย่างเป็นกลาง และเป็นคนที่อยู่ในสายตาของคนทั้งประเทศ

แต่ทำไม พล.อ.ปฐมพงษ์ จึงคิดไม่ได้แบบเดียวกัน

จะเป็นเพราะมีวิธีคิดแบบทหารโบราณ ที่นิยมใช้กำลังมากกว่าการใช้สมอง อย่างนั้นหรือเปล่า

เพราะไม่ว่าจะพิจารณาด้วยเหตุผลกลใด ไม่ว่า พล.อ.ปฐมพงษ์ จะมีความปรารถนาในการเคลื่อนไหวอย่างไรก็ตาม ก็ยังไม่เล็งเห็นว่าเป็นความชาญฉลาด ที่ออกมาเปิดตัว พร้อมกับเปิดเปลือยขบวนการที่เกี่ยวข้องเช่นนี้

เพราะการออกมาขับเคลื่อน ทำให้ผู้คนได้รู้ได้เห็นภาพชัดมากขึ้นถึงขบวนการการขับเคลื่อนล้มล้างรัฐบาล ที่มีเวทีพันธมิตรฯ เป็นฉากหน้า

ความสัมพันธ์แรกที่ไม่อาจปฏิเสธ คือการเป็นสามีที่แม้จะไม่ได้จดทะเบียนตามกฎหมาย แต่สังคมก็รับรู้ถึงการอยู่กินกันมาอย่างยาวนาน กับ คุณหญิงสุพัตรา มาศดิตถ์ อดีต ส.ส.นครศรีธรรมราช และรัฐมนตรีของพรรคประชาธิปัตย์หลายสมัย

เป็นการคอนเฟิร์มถึงบทบาทและท่าทีของพรรคประชาธิปัตย์ที่มีคนสงสัยมาอย่างต่อเนื่อง

ความสัมพันธ์ต่อมา การที่ พล.อ.ปฐมพงษ์ เลือกเสนอความคิดความเห็นผ่านเวทีพันธมิตรฯ ที่รู้กันดีว่ามีเจตนาล้มล้างรัฐบาล นั่นหมายถึงความคิดอ่านที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน หรือพูด
ง่ายๆ ว่ามีความเป็นพวกเดียวกัน

ทั้งยังเป็นเรื่องน่าตลกที่นายทหารยศพลเอก อัตราจอมพล ต้องทำหนังสือขออนุญาตแกนนำพันธมิตรฯ ทั้ง 6 คน เพื่อขอออกมาระบายความเห็นเรื่องปราสาทเขาพระวิหาร

แต่ขณะเดียวกันทั้งที่กินเงินเดือนข้าราชการจากภาษีประชาชน กลับไม่เสนอความเห็นเป็นขั้นเป็นตอนให้กับรัฐบาล เพื่อประกอบการทำงานบ้านเมือง ให้เกิดประโยชน์กับประเทศชาติและประชาชน

ซึ่งหาก พล.อ.ปฐมพงษ์ ไม่เชื่อมั่น ไม่ศรัทธาในระบบ ไม่เห็นคล้องกับการทำงานที่ต้องมีลำดับชั้นการบังคับบัญชา ที่นายทหารทั้งหลายยึดถือกันแน่นหนา ก็สมควรเอาตัวเองออกไปจากระบบ ไปเคลื่อนไหวในวิถีที่ตัวเองเชื่อมั่น

ส่วนอีกความสัมพันธ์หนึ่ง ก็คือการมีหนังสือขอเคลื่อนไหวเรื่องปราสาทเขาพระวิหาร ถึง พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ในฐานะประธานองคมนตรี ที่มีการเกษียนหนังสือกลับมาว่า “เป็นการตอบแทนบุญคุณแผ่นดินอย่างหนึ่ง”

การกระทำดังกล่าวย่อมบอกเล่าชัดเจนว่าคนทั้งคู่มีความสัมพันธ์กัน ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง

ซึ่งถือเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง เพราะจดหมายของ พล.อ.ปฐมพงษ์ ขอคำปรึกษาไปถึงประธานองคมนตรี ทั้งที่องคมนตรีนั้นมีหน้าที่ถวายคำปรึกษาพระมหากษัตริย์เพียงพระองค์เดียวเท่านั้น

หากจะเป็นการกระทำที่คำนึงถึงความรู้ในกาลเทศะ ก็สมควรที่จะหารือและตอบรับกันอย่างเป็นส่วนตัว มิใช่โดยตำแหน่งและเอกสารทางราชการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นประเด็นที่อยู่นอกเหนือการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะข้าราชการ

และที่สำคัญเรื่องราวทั้งหมดยังเป็นการบอกเล่าถึงความเชื่อมโยงของคนกลุ่มหนึ่ง ที่อย่างน้อยก็มี พล.อ.ปฐมพงษ์ เป็นเบื้องต้น และมีตัวละครอื่นๆ ประกอบเข้าด้วยกันทั้งกลุ่มพันธมิตรฯ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ และมีพรรคประชาธิปัตย์ ที่เสมือนเป็นหนึ่งใจเดียวกัน

ทั้งยังรวมถึง นายคำนูณ สิทธิสมาน ที่ใช้ตำแหน่ง ส.ว.(ลากตั้ง) ไปประกันตัว สนธิ ลิ้มทองกุล ก็ยังเป็นการบอกเล่าถึงความเชื่อมโยงถึง ส.ว. ที่มาโดยกรรมการสรรหา 7 คนในยุคปฏิวัติรัฐประหาร

เป็นการบอกเล่าว่าเครือข่ายเผด็จการยังคงแทรกซึมอยู่ทุกหลืบมุมของบ้านเมือง โดยมีพันธมิตรฯ เป็นหน่วยกล้าตาย และมีหน่วยสนับสนุนปะปนอยู่ในที่ต่างๆ

รวมทั้งมี รธน.50 เป็นเครื่องมืออันสำคัญในการทำลายล้างรัฐบาล และสร้างความเสียหายให้เกิดขึ้นกับการบริหารบ้านเมือง...!!

บิ๊กโบ๊ต



สตช.จี้"สนธิ" กระทำผิดซ้ำ ถอนประกันแน่

โฆษก ตร.เผย ให้ประกันตัว"สนธิ ลิ้มทองกุล" เป็นไปตามสิทธิ ขู่หากทำผิดซ้ำ ตำรวจมีสิทธิ์ถอนประกันได้

พล.ต.ท.วัชรพล ประสารราชกิจ ผู้ช่วย ผบ.ตร. ในฐานะโฆษก ตร. กล่าวถึงเรื่องการให้ประกันตัวนายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ว่า เป็นอำนาจของตำรวจนครบาล ซึ่งพนักงานสอบสวนมีอำนาจโดยตรงตามขั้นตอนทางกฎหมาย เนื่องจากนายสนธิ แสดงตนเองด้วยการมอบตัวไม่ได้หลบหนี

จากกรณีมีการยื่นข้อเสนอต่อรองในการประตัวหรือไม่ โฆษก ตร. กล่าวว่า ตนไม่ทราบว่ามีหรือไม่ แต่การให้ประกันเป็นสิทธิของผู้ต้องหาที่แสดงเจตนาไม่หลบหนีเข้ามอบตัว และยืนยันว่าไม่น่าจะเกี่ยวกับมวลชนที่มาชุมนุมรอบ บช.น.เมื่อวานนี้ เพราะเจ้าหน้าที่จะทำอะไรต้องตอบคำถามสังคมให้ได้ว่าเป็นไปตามครรลองที่ถูกต้อง โดยเฉพาะในภาวะที่สังคมสนใจ หากตำรวจทำไม่ถูกก็ต้องเป็นผู้รับผิดชอบ แต่หากนายสนธิกระทำผิดซ้ำจะอาจถูกถอนประกันได้

อสส.ยันไม่ได้ดองคดี คตส.แจงสำนวนไม่พร้อมเอง

อัยการฯ แจงความเห็นของ คตส. กล่าวหาว่าพยายามเตะถ่วง โดยให้เหตุผลว่าสำนวนคดีที่ยื่นให้ไม่มีความสมบูรณ์ ไม่เกี่ยวกับเรื่องความเห็นขัดแย้ง

คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนสิทธิเสรีภาพและการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา ร่วมกับคณะกรรมาธิการตรวจสอบเรื่องการทุจริตและสร้างธรรมาภิบาล ได้จัดเวทีสัมมนาเรื่อง ธรรมา ภิบาลและกระบวนการยุติธรรม กรณีศึกษาองค์กรอัยการ โดยเชิญตัวแทนจากสำนักงานอัยการสูงสุด อดีตกรรมการ คตส.และสภาทนายความร่วมสัมมนา

โดยนายสัก กอแสงเรือง อดีตกรรมการ คตส.กล่าวแสดงความอึดอัดใจ กับการทำหน้าที่ของอัยการสูงสุด ที่มีความเห็นทางกฎหมายขัดแย้งกับ คตส. ในการไม่ส่งฟ้องสำนวนการตรวจสอบคดีการทุจริตต่างๆ ทั้งที่ คตส.ยืนยันความถูกต้องของข้อมูล หลักฐาน ซึ่งทำให้ คตส.ต้องส่งเรื่องฟ้องคดีเอง

ด้านนายชัยเกษม นิติสิริ อัยการสูงสุด ชี้แจงว่าการส่งเรื่องกลับ เป็นเพราะสำนวน คตส.ไม่สมบูรณ์ ไม่ได้จงใจเตะถ่วงเพียงเพราะตนเป็นหนึ่งในผู้ถูกกล่าวหา แต่ต้องการให้เกิดความเป็นธรรมกับข้าราชการที่ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี ซึ่งมีผู้ใหญ่ในรัฐบาลที่ผ่านมาขอร้อง ให้ตนดูแลเรื่องนี้เป็นพิเศษ

“เฉลิม” หวังจับเข่าคุย “สนธิ” กล่อมยุติก่อนทำชาติเสียหาย

มท.1 สั่งการผู้ว่าฯ อุดรฯ ดูแลการชุมนุม ชี้การเผชิญหน้าจนเกิดการปะทะไม่เกี่ยวกับ ส.ส.เจ้าของพื้นที่ เชื่อเป็นฝีมือบุคคลที่ 3 หวังป้ายสีรัฐบาล เตรียมขอเจรจา “สนธิ” ยุติการชุมนุม หวั่นกระทบภาพลักษณ์ประเทศ

ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวถึงเหตุการณ์ปะทะกันระหว่างเครือข่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จ.อุดรธานี กับกลุ่มคนรักอุดร โดยได้ขอเปิดเจรจากับนายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ อีกครั้งให้ยุติการชุมนุม ซึ่งการปะทะที่มีการใช้อาวุธเข้าทำร้ายกันว่า อาจเป็นการกระทำของบุคคลบางกลุ่มที่ไม่หวังดีเพื่อป้ายสีรัฐบาล แต่เรื่องดังกล่าวคงไม่ก่อให้เกิดความแตกแยกในสังคมขึ้น เพราะความแตกแยกมีมานานแล้ว และหากกลุ่มพันธมิตรฯ ยังไม่หยุดกระทำการลักษณะนี้ก็อาจเกิดผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศในสายตาต่างชาติขึ้น

ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวต่ออีกว่า ตนยืนยันไม่เกี่ยวกับพรรคพลังประชาชน ถึงแม้เขตดังกล่าวเป็นพื้นที่ของพรรค ซึ่งหากมีประชาชนเกลียดชังจึงถือเป็นเรื่องปกติ แต่ก็ได้สั่งการให้ผู้ว่าราชการจังหวัดดูแลการชุมนุมให้เป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อยแล้ว

กลุ่ม 24 มิถุนาฯ ยื่นหนังสือ ผบ.ตร.งดรับสำนวนป.ป.ช.เถื่อน

“กลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย” เข้ายื่นหนังสือถึง ผบ.ตร. เรียกร้องให้งดรับสำนวนฟ้องร้องจาก ป.ป.ช. ไปดำเนินการต่อ เนื่องจากเป็นองค์กรเถื่อน และ ตร.เสี่ยงเข้าข่ายปฏิบัติหน้าที่มิชอบ

เมื่อเวลา 14.00 น. วันนี้ (25 ก.ค.) กลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย นำโดยนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข แกนนำกลุ่ม ได้เดินทางเข้ายื่นหนังสือต่อ พล.ต.อ.พัชรวาท วงศ์สุวรรณ ผบ.ตร. ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) โดยร้องให้ สตช. งดรับสำนวนการฟ้องร้องใดๆ ของ ป.ป.ช. เนื่องจากเป็นองค์กรอิสระที่มีที่มาไม่ชอบด้วยกฎหมาย และหากมีการรับสำนวนของ ป.ป.ช. มาดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด ตำรวจเองก็อาจเข้าข่ายปฏิบัติหน้าที่มิชอบ

นอกจากนี้ในวันที่ 29 ก.ค.ทางกลุ่ม 24 มิถุนาฯ ยังได้นัดหมายรวมตัวกันที่ลานพระบรมรูปทรงม้า ในเวลา 10.00 น. เพื่อเดินไปหน้าที่ทำการ ป.ป.ช. กดดันให้ออกจากการทำหน้าที่ โดยจะมีการทำพิธีปล่อยเหี้ย 9 ตัวด้วย



ผบ.ทบ.วอนม็อบพันธมิตรฯ หยุดยั่วยุ ลั่นกองทัพไม่ยุ่งการเมือง

"อนุพงษ์" ห่วงเหตุการณ์บ้านเมืองบานปลาย วอนม็อบพันธมิตรฯ หยุดยั่วยุจนทำให้เกิดการประทะกับกลุ่มคนรักอุดรฯ ชี้กองทัพไม่เข้าไปยุ่งการเมือง

พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก แสดงความเห็นถึงกรณีเหตุการณ์ปะทะกันของประชาชนที่ จ.อุดรธานี และ จ.บุรีรัมย์ ว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่น่าจะเป็นเช่นนั้น เพราะเรื่องที่เกิดขึ้นจะส่งผลกระทบกับภาพพจน์ของประเทศ ทั้งนี้ตนเห็นว่า ไม่อยากจะให้ใช้ความรุนแรง รวมถึงการใช้ความรุนแรงจะเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีแก่เยาวชนในอนาคตได้

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของกองทัพบกไม่มีอำนาจหน้าที่ที่จะเข้าไปดูแล หรือดำเนินการใดๆ เพื่อยุติปัญหาที่เกิดขึ้น ขณะเดียวกัน ผู้บัญชาการทหารบก ปฏิเสธว่า นายกรัฐมนตรี ไม่ได้กล่าวถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแต่อย่างใด พร้อมกันนี้ ยังปฎิเสธที่จะแสดงความเห็นถึงสถานการณ์แนวชายแดนไทย-กัมพูชา ที่กำลังมีความตึงเครียดอยู่ในขณะนี้



พันธมิตรฯ บุก ปตท. อ้างทวงคืนสมบัติชาติ ปชช.ตะโกนด่า “ม็อบชั่ว”

ม็อบพันธมิตรฯ บุก ปตท. สำนักงานใหญ่ ทำเอาถนนวิภาวดีรังสิตขาออกใกล้ห้าแยกลาดพร้าวเป็นอัมพาต คนกรุงฯ จวกยับ ม็อบทำรถติดสร้างความเดือดร้อน ไขกระจกด่า “ม็อบชั่ว” ด้านแกนนำพันธมิตรแถลงบ่ายนี้ ผู้ชุมนุมยังปักหลัก ขู่บุกปตท.ถ้าไม่หยุดถ่ายภา

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (25ก.ค.51) บริษัท ปตท. จำกัด ได้ปิดประตูทางเข้า-ออก ทั้ง 8 ประตู ตั้งแต่เวลา 08.00 น.ที่ผ่านมา โดยไม่ให้บุคคลภายนอกผ่านเข้า-ออกภายในสำนักงานใหญ่ เพื่อรักษาความปลอดภัย และป้องกันเหตุปะทะ โดยรอบสำนักงาน ปตท. มีเจ้าหน้าที่ตำรวจจากองบังคับการตำรวจนครบาล 2 กว่า 350 นาย ยืนตรึงกำลังรักษาความปลอดภัยทั้งภายในและภายนอกสำนักงานอย่างเข้มงวด โดยไม่อนุญาตให้บุคคลภายนอกผ่านเข้า-ออกในสำนักงาน รวมถึงทัพสื่อมวลชนได้ ซึ่งขณะนี้สื่อมวลชนต่างปักหลักรอทำข่าวอยู่บริเวณประตูทางเข้า-ออก ซึ่งเป็นประตูด้านหน้ากันอย่างคึกคัก

เวลา 10.00 น.กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้นัดหมายกันมาชุมนุมที่หน้าปตท.กันอย่างคึกคักมีผู้มาร่วมกว่า 1,000 คน เพื่อทวงคืนปตท.กลับมาเป็นของประชาชนโดยไม่ให้เป็นแหล่งผลประโยชน์ทับซ้อนของนักการเมืองอีก ขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจตรึงกำลังรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มแข็ง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าจากการที่ม็อบบุก ปตท.ครั้งนี้เป็นเหตุให้การจราจรด้านหน้า ปตท. ถนนวิภาวดีรังสิตฝั่งขาออกเป็นอัมพาต ผู้สัญจรผ่านไปมาถึงกับไขกระจกพร้อมกับตะโกนด่า “ม็อบชั่ว” สร้างความเดือดร้อนให้สังคม



ทนไม่ไหวแล้ว ! "ขวัญชัย" บอกคนรักอุดรฯ พร้อมโต้รุนแรงอีก

ประธานชมรมคนรักอุดรธานี ลั่นโดนพวกอันธพาลก่อกวนก่อน ชี้หากกลุ่มพันธมิตรฯมีการตั้งเวที่ปราศรัยและมีการยั่วยุอีก ต้องเจอมาตรการตอบโต้จากคนรักอุดรฯ แบบรุนแรงอีกครั้ง จวก “สื่อชั่ว” กำมะลอกุข่าวคนตายปลุกระดมให้คนเกลียดฝั่งตรงข้าม

(25ก.ค.) นายขวัญชัย ไพรพนา ประธานชมรมคนรักอุดรธานี กล่าวถึงการออกมาคัดค้านพันธมิตรฯ เนื่องจากไม่เชื่อในสิ่งที่พูด ทั้งนี้ก่อนเกิดการปะทะนายเจริญ หมู่ขจรพันธุ์ แกนนำพันธมิตรได้แถลงข่าวที่รร.เจริญ โดยมีพันธมิตรประมาณ 40 คน ร่วมด้วยมีการด่าพาดพิงถึงตน ดังนั้นจึงประกาศเชิญชวนประชาชนออกมารวมตัว ทั้งที่ทราบว่าพันธมิตรฯนำแผงเหล็กมากั้นและห้ามไม่ให้คนไปออกกำลังในสวนสาธารณะ

นายขวัญชัย กล่าวว่า เมื่อเราเดินทางไปถึงสวนสาธารณะสามารถเข้าไปได้ประมาณ 20 คน ทางรปภ.พันธมิตรฯก็เข้ามาทำร้ายทั้งที่เราไม่มีอาวุธและไม่มีการนำธงชาติไปด้วย แม้กระทั่ง ตะปูเรือ อย่างไรก็ตามอยากให้ดำเนินการตามกฏหมาย ถ้ามีการตั้งเวทีและมีการยั่วยุอีกตนก็ทำแบบนี้อีก

“พวกเราทันไม่ไหวแล้ว โดนพันธมิตรฯ ยั่วยุทุกวัน ทั้งเข้ามาก่อกวนในจังหวัด และทางเอเอสทีวีด่าทอ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ อย่างเสียหาย คนแบบนายสนธิ ลิ้มทองกุล ทำประประโยชน์อะไรให้กับแผ่นดินบ้าง”

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ช่วงค่ำวานนี้ ( 24 ก.ค.) ทางเว็บไซด์ผู้จัดการออนไลน์ได้กระพือข่าวว่าในเหตุการณ์ประทะกันนั้นได้มีแกนนำพันธมิตรฯ เสียชีวิต 2 คน ซึ่งทำให้แกนนำพันธมิตรฯ บริเวณสะพานมัฆวานรังสรรค์ได้นำเรื่องดังกล่าวไปขยายความทางเอเอสทีวีปลุกระดมคนให้โมโหยิ่งขึ้น ซึ่งถือเป็นการกระทำที่ป่าเถื่อนและเลวร้ายที่สุด



พปช.จ่อยื่นถอดถอน3 ผู้พิพากษาศาลปค.กรณีแถลงการณ์ร่วม

ส.ส.พลังประชาชน เร่งยกร่างถอดถอนคณะผู้พิพากษาศาลปกครองกลาง 3 คน ตามรธน.มาตรา270-271 เทียบเคียงการพิจารณากรณี JTEPA กับแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา คาดภายใน 28 ก.ค.ทุกอย่างเรียบร้อย พร้อมรวมรายชื่อ ส.ส. ส่งถึงประธานวุฒิ ขณะเดียวกันเตรียมส่งศาลรธน.วินิจฉัย ซื้อเครื่องบินกริพเพน 1.9 หมื่นล้าน สมัยรัฐบาลสุรยุทธ์ ส่อขัด รธน.มาตรา 190

นายจุมพฏ บุญใหญ่ ส.ส.สกลนคร กลุ่มอีสานพัฒนา เปิดเผยว่า ส.ส.กลุ่มอีสานพัฒนาจำนวน 28 คน ได้ มีมติให้ตนเองไปยกร่างถอดถอนตามรัฐธรรมนูญ ม. 270 และ 271 องค์คณะผู้พิพากษาศาลปกครองกลาง จำนวน 3 คน ซึ่งเป็นชุดเดียวกับ ที่วินิจฉัยเรื่อง JTEPA ในรัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ อดีตนายกรัฐมนตรี และแถลงการณ์ร่วมไทยกัมพูชากรณีขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหาร ในรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เพื่อต้องการรับทราบขอบเขตการวินิจฉัยของศาล เพราะกรณี JTEPA ผู้พิพากษาดังกล่าววินิจฉัยเป็นคำสั่งของฝ่ายบริหารไม่เกี่ยวกับเรื่องปกครองจึงไม่รับพิจารณา ขณะที่ แถลงการณ์ร่วมไทยกัมพูชา กลับวินิจฉัยว่าเป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับการปกครอง

ทั้งนี้คาดว่าจะยกร่างเสร็จในวันที่ 28 ก.ค. จากนั้นจะรวบรวมรายชื่อ ส.ส. จำนวน 1 ใน 4 คน เพื่อยื่นให้ประธานวุฒิสภาส่งเรื่องต่อให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)ชี้มูลความผิดหากมีมูลตามที่สันนิษฐาน ก็จะส่งเรื่องให้ ส.ว.ถอดถอนโดยใช้เสียง 3 ใน 4 ขณะที่อีกด้านหนึ่งก็จะส่งเรื่องดำเนินคดีอาญาต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

นายจุมพฏ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ นายสามารถ แก้วมีชัย ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล(วิปรัฐบาล) ได้มอบหมายให้ยกร่างกรณีการจัดซื้อเครื่องบิน กรีพพิน จำนวน 6 ลำ ของกองทัพอากาศมูลค่า 19,000 ล้านบาท ระหว่างไทยกับสวีเดน งบประมาณผูกพัน 5 ปี ยื่นต่อประธานรัฐสภาเพื่อส่งต่อให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย

เนื่องจากเห็นว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญ ม. 190 วรรค 2 เพื่อต้องการสร้างความเป็นบรรทัดฐานให้แก่ข้าราชการ และกองทัพ ในการทำสัญญาระหว่างประเทศ

โดยขณะนี้กำลังรอข้อมูลจาก นายสงวน พงษ์มณี ส.ส.ลำพูน พรรคพลังประชาชน รองประธานคณะกรรมาธิการทหาร สภาผู้แทนราษฎร เพื่อประกอบการยกร่าง ทั้งนี้ตนจะรวบรวมรายชื่อในสัปดาห์หน้าหลังจากเสร็จเรื่องถอดถอนองค์คณะศาลปกครอง โดยใช้เสียง ส.ส. 1 ใน 10 อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ไม่ต้องการแก้แค้นกองทัพแต่ต้องการสร้างความกระจ่างเท่านั้น

นายพีระพันธ์ พาลุสุข ส.ส.ยโสธร พรรคพลังประชาชนกลุ่มอีสานพัฒนา กล่าวว่า กลุ่มได้เห็นชอบให้นายจุมพฏ ไปดำเนินการเพื่อต้องการสร้างความชัดเจนและความถูกต้องของสังคม



‘ฮุนเซน’สายตรง‘สมัคร’รับปากถอนฟ้องUN

“สมัคร” เผย “ฮุนเซน” รับปากหลังการประชุมรมว.ต่างประเทศ 2 ชาติ 28 ก.ค.นี้ ที่เสียมเรียบ จะถอนเรื่องข้อพิพาทปราสาทเขาพระวิหาร ที่ฟ้องร้องต่อ UN ขณะที่ “คอนโดลีซซา ไรซ์” ขานรับแนวทางเดียวกับรัฐมนตรีอาเซียน เห็นด้วยที่จะแก้ปัญหาให้จบในภูมิภาค ขณะที่ฝ่ายทหารติงยังเชื่อไม่ได้ว่าหลังเลือกตั้งเขมร ปัญหาจะยุติ

จากกรณีพิพาทชายแดนไทยกับกัมพูชา ที่ฝ่ายกัมพูชาได้ร้องให้สหประชาชาติ หรือยูเอ็น เข้ามาดูแลนั้น นางสาวคอนโดลีซซา ไรซ์ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ตอบคำถามผู้สื่อข่าวที่สิงคโปร์ว่า สหรัฐมีความเป็นห่วงในเรื่องนี้มาก อยากให้มีการแก้ปัญหาโดยสันติ ต้องแก้ปัญหาด้วยการเจรจาทวิภาค ซึ่งประเทศอาเซียนจะต้องจับตามองและช่วยเหลือหากมีความจำเป็น โดยพยายามให้อยู่ในวงภูมิภาคก่อน ไม่ควรนำเข้าสู่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ แม้จะมีการร้องขอไปก็ตาม

ในขณะที่ทางกัมพูชายังยืนยันถึงสถานการณ์ว่ายังไม่มีอะไรดีขึ้น โดย พล.อ.เตีย บันห์ รัฐมนตรีกลาโหมของกัมพูชา บอกว่าความตึงเครียดบริเวณชายแดนบรรเทาลงเล็กน้อยเท่านั้น และบอกด้วยว่าทางกัมพูชาเองพยายามหลีกเลี่ยงการประทะกันที่บริเวณนี้และที่อื่นๆ สอดคล้องกับคำกล่าวของ นายเขียว กันหะฤทธิ์ โฆษกรัฐบาลกัมพูชาที่ว่า ควรมีการถอนทหารไทยและกัมพูชาทั้งหมดออกจากบริเวณรอบปราสาทเขาพระวิหาร หลังจากที่ทั้งสองฝ่ายตรึงกำลังประจันหน้ากันมาตั้งแต่ต้นสัปดาห์ ส่วนสถานการณ์นั้นยังไม่สงบ ยังไม่คลายความตึงเครียดลง

นายพรชาติ บุนนาค ผู้อำนวยการสำนักงานความมั่นคงกิจการชายแดนและการป้องกันประเทศ ผู้แทนสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) กล่าวว่า ภาพกว้างในเรื่องยุทธศาสตร์ความมั่นคงของประเทศ โดยกับประเทศเพื่อนบ้านกำลังอยู่ภายใต้การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของโลก อาเซียน และประเทศชายแดนเป็นส่วนใหญ่ที่ได้รับผลกระทบทุกด้าน
ประเด็นสำคัญคือในยุทธศาสตร์การอยู่ร่วมกัน คือ ทำอย่างไรจะสร้างความสมดุลในยุทธศาสตร์หลักแห่งการอยู่ร่วมกัน ตามแนวทางมาตรา 1 ของรัฐธรรมนูญ ปี 2550 ว่าด้วยอธิปไตยของชาติ มีเรื่องของดุลยภาพแห่งดินแดน ปัจจัยเรื่องการคุ้มครองประชาชน ปัจจัยเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยไม่ให้ความสมดุลเป็นการมองอย่างแยกส่วน

นายพรชาติ กล่าวว่า สาเหตุของการเกิดสงครามของเพื่อนบ้านที่ติดกัน เป็นเรื่องของการดำเนินยุทธศาสตร์ ความเปลี่ยนแปลง เรื่องของการก่อการร้าย อาชญากรรมข้ามชาติ การค้ามนุษย์ ที่เดิมคิดแบบชายแดนต่อชายแดน ต่อมาเป็นการคิดแบบพัฒนาข้ามชายแดน โดยยึดหลักที่ว่า ถ้าเพื่อนบ้านไม่มีปัญหา เจริญขึ้น ไทยก็เจริญขึ้น ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นผู้ให้แนวทางไว้

พล.ต.วรวิทย์ ดรุณชู รองเจ้ากรมกิจการชายแดน กองทัพบกกล่าวว่า เรื่องของความมั่นคงชายแดนในเชิงการเตรียมการป้องกันทางด้านกัมพูชา มีคณะกรรมการชายแดนและคณะกรรมการความร่วมมือรักษาความสงบเรียบร้อยในชายแดนทำงานอยู่ ซึ่งต้องใช้เวทีนี้ให้เป้นประโยชน์เพื่อแก้ปัญหาประเด็นความมั่นคง คือ 1. ปัญหาความมั่นคงผิดกฎหมาย 2. อาชญากรรมชายแดน 3. ยาเสพติด 4. การรุกล้ำเขตชายแดน

ปัญหาที่ผ่านมารวมทั้งปราสาทเขาพระวิหาร ไม่ได้เป็นเรื่องกระทบกระทั่งของทั้งสองประเทศ สำหรับการประชุม GBC สมัยวิสามัญเมื่อ วันที่ 21 กรกฎาคมที่ผ่านมา นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี มอบหมายให้ พล.อ.บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ไปดำเนินการแทน โดยนายกรัฐมนตรีของไทยได้โทรไปคุยกับ สมเด็จฮุนเซน นายกฯ กัมพูชาก่อน โดยช่วงที่ตนขับรถไปรับพล.อ.เตีย บันห์ นั้น บรรยากาศที่พูดคุยกับนายทหารระดับสูงของกัมพูชา เห็นด้วยให้มีการถอนกำลังของทั้งสองฝ่าย และยินดีเอาประชาชนออกจากบริเวณตีนปราสาท แต่การเจรจายังไม่มีข้อยุติ ยังติดในเรื่องของกฎหมายอย่างที่เป็นข่าว

รองเจ้ากรมกิจการชายแดนทหาร กองทัพบกกล่าวว่า ขณะนี้บางคนอาจคิดว่า หลังการเลือกตั้งแล้วสถานการณ์อาจดีขึ้น แต่หากกัมพูชาดำเนินการเชิงรุกเพื่อนำเรื่องขึ้นศาลโลก ไทยจะต้องเตรียมแผนการคิดล่วงหน้าไว้ อย่าไปคิดแต่มุมบวก แต่ต้องคิดเผื่อผลที่จะออกมาด้วย เพราะหลังการเลือกตั้งทราบข่าวมาว่าอาจมีการเปลี่ยนตัวรัฐมนตรีกลาโหม

ขณะที่เมื่อเวลา 16.50 น. วันที่ 24 กรกฎาคม ที่ผ่านมา นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีได้เปิดเผยว่า ได้โทรศัพท์ไปคุยกับสมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา โดยวันที่ 28 กรกฎาคมนี้จะมีการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศของทั้งสองฝ่ายที่เสียมเรียบ และสมเด็จฮุนเซนรับปากว่าจะถอนเรื่องปัญหาจากกรณีปราสาทเขาพระวิหารที่ส่งไปที่นิวยอร์ก กรณีฟ้องไทยต่อคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ซึ่งไทยต้องได้ตัวรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศก่อนวันที่ 28 กรกฎาคมนี้



องค์กรที่ไม่ได้โปรดเกล้าฯ + กฎหมายเน่า 177 ฉบับ (คอลัมน์ : รายการ ‘ความจริงวันนี้’)

คอลัมน์ : รายการ ‘ความจริงวันนี้’

“...คนอื่นในระดับเดียวกันเมื่อเข้าดำรงตำแหน่งจะได้รับการโปรดเกล้าฯ ทั้งหมด แต่ ป.ป.ช. และ กตต. ไม่มีการโปรดเกล้าฯ แต่อย่างใด... ผมขอตั้งข้อสังเกตว่าที่ ป.ป.ช.ไม่ยอมออกจากตำแหน่งและยังดึงดันที่จะอยู่ในตำแหน่ง ตะแบงเอาสีข้างเข้าถู เป็นเพราะท่านรับงานมาแล้วจะต้องทำงานให้เสร็จหรือเปล่า ?...”

เวลาดี 4 ทุ่ม กับรายการ “ความจริงวันนี้” ทางสถานีโทรทัศน์เอ็นบีที เป็นการออกอากาศครั้งที่ 3 ดำเนินรายการโดย นายวีระ มุสิกพงศ์ และมี นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และ นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคพลังประชาชน เป็นแขกรับเชิญ

วีระ : วันนี้ยังคงความเข้มข้นอยู่ที่ความจริงอันแสนเจ็บปวดที่คนไทยทั้งประเทศต้องยอมรับกับพฤติกรรมเลวร้ายของรัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง องค์กรที่ไม่เคยได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่หน้าทนที่จะยืนหยัดทำหน้าที่ต่อไป และอีกความจริงที่เจ็บปวดไม่แพ้กันของกฎหมายเน่า 177 ฉบับ

ความจริงวันนี้สีเขียว มีควันหลงจากเรื่องของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ยังมีต่อเนื่องมาอีกนิด

ณัฐวุฒิ : ขอตั้งขอสังเกต เข้าใจว่าการจัดรายการเมื่อ 2 วันที่ผ่านมา เนื้อหาใช้ได้ วันนี้จำเป็นต้องพูดเรื่อง ป.ป.ช.อีก เพราะ นายวิชา มหาคุณ กรรมการ ป.ป.ช.ได้ออกมาให้สัมภาษณ์อย่างลอยหน้าลอยตายิ่งกว่าลำตัดแม่ประยูร และตั้งข้อสังเกตว่ากระแสกดดันที่เกิดขึ้นกับ ป.ป.ช.เวลานี้เป็นเพราะป.ป.ช. ต้องดำเนินคดีที่ได้รับการโอนถ่ายมาจากคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ซึ่งหากไม่ดำเนินคดีต่อจาก คตส. คงไม่มีใครพูดถึง ป.ป.ช.

ไม่จริงหรอกครับ ไม่ว่าจะรับคดีหรือไม่ หากมาครบถ้วนทุกขั้นตอนมาจากเบื้องสูง ตามกฎหมายในการเข้าสู้ตำแหน่งคงไม่มีใครกล้าว่าอะไร ที่สำคัญเราไม่ได้เป็นศัตรูกัน

วีระ : เราพูดไปตามข้อกฎหมาย เพราะมีประเด็นขึ้นมาแล้วเราจึงต้องนำเสนอ หากมีประเด็นข้อกฎหมายก็เถียงมา แต่ท่านเริ่มแสดงบทบาทของความเป็นนักการเมือง จะเถียงแบบนักการเมืองก็ไม่ได้รังเกียจ เราจะได้เห็นถึงสติปัญญาของคนที่นั่งอยู่ในตำแหน่งนี้มีแค่ไหน ตื้นลึกหนาบางอย่างไร

ณัฐวุฒิ : ต้องเข้าใจให้ตรงกันว่าเราเป็นคนไทยซึ่งเป็นเสียงส่วนใหญ่ในแผ่นดินที่ไม่ต้องการเห็นใครในประเทศนี้ประพฤติตัวในการเข้าดำรงตำแหน่งเหมือนคน 14 คน ที่ไม่มีการโปรดเกล้าฯ คนอื่นในระดับเดียวกันเมื่อเข้าดำรงตำแหน่งจะได้รับการโปรดเกล้าฯ ทั้งหมด แต่ ป.ป.ช. และ กตต. ไม่มีการโปรดเกล้าฯ แต่อย่างใด หากตั้งข้อสังเกตกันแบบนี้ถูกมองว่าเป็นการเมือง

ผมขอตั้งข้อสังเกตว่าที่ ป.ป.ช.ไม่ยอมออกจากตำแหน่งและยังดึงดันที่จะอยู่ในตำแหน่ง ตะแบงเอาสีข้างเข้าถู เป็นเพราะท่านรับงานมาแล้วจะต้องทำงานให้เสร็จหรือเปล่า ?

วีระ : จะตั้งประเด็นอย่างนี้ก็ได้ รู้ตัวบ้างหรือเปล่าว่าตัวเองไม่ได้แสดงบัญชีทรัพย์สินให้ประชาชนทราบแม้แต่น้อย แล้วจะมาตรวจสอบคนอื่น มาตรวจสอบนักการเมืองที่แสดงบัญชีทรัพย์สิน จะทำได้อย่างไร

ณัฐวุฒิ : ก็อ้างว่ารัฐธรรมนูญไม่ได้บัญญัติไว้

วีระ : ก็อ้างไป แต่เป็นการตั้งข้อสังเกตของพวกเรา

นายจตุพร : ประชาชนทั่วไปเขาไม่ทราบว่า ป.ป.ช.จะต้องแสดงบัญชีทรัพย์สินที่ไหนที่ไม่ต้องเปิดเผยต่อสาธารณะ ป.ป.ช.ต้องไปยื่นแสดงบัญชีทรัพย์สินที่องค์กรอิสระเหมือนกันเพียงแต่บัญชีของทรัพย์สินของ ป.ป.ช.ไม่ต้องนำมาแสดงเหมือนนักการเมือง แต่ ป.ป.ช.ต้องยื่นต่อประธานวุฒิสภา แต่คนที่ไปตรวจสอบคนอื่นข้อมูลของตนเองกลับถูกปิดเป็นความลับ การอธิบายของคุณวิชา จะมาหักล้างเรื่องพระราชอำนาจไม่ได้เลย

คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) แปลความกันว่า พระราชอำนาจยังอยู่ครบ ปัญหาที่เกิดขึ้นย้อนไปว่าทำไมตุลาการยุคที่พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน อดีตประธาน คมช. แต่งตั้งจึงไม่กล้าสวมชุดครุยและไม่กล้าประกาศตัวปฏิบัติหน้าที่ในนามพระปรมาภิไธย แล้วเราจะยอมให้องค์กรที่ผิดกฎหมาย มามีอำนาจ มีคำสั่งมาดำเนินคดีกับองค์กรที่ได้รับการโปรดเกล้าฯ หรือ มันก็เหมือนกับการให้ตำรวจปลอมมาจับตำรวจจริง แล้วเราจะยอมหรือ

วีระ : เราจะจมอยู่กับปัญหานี้นานไม่ได้ เพราะยังมีปัญหาอื่นรออยู่ วันหลังเราจะมาเก็บและขยายความ เพราะวันนี้ยัง มีอีกควันหลงหนึ่งเรื่องมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญ 2550 เป็นมาตราที่ยกมาว่าเป็นปัญหาให้กระทรวงการต่างประเทศทำงานไม่ได้ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีก็ออกมาปรารภในเรื่องนี้เหมือนกัน กระทรวงต่างก็มีปัญหา สิ่งที่พูดไปแล้วเป็นเพียงวรรคสองเท่านั้นเอง ยังมีอีกหลายวรรคที่ต้องพูดต่อ เพราะมีปัญหามาทำให้การบริหารประเทศได้ยาก เป็นเหมือนการมัดมือมัดเท้าไม่ให้ไปต่อสู้กับใครต่อใคร เช่น ตลาดโลก

“มาตรา 190 วรรคสาม ก่อนการดำเนินการเพื่อทำหนังสือสัญญากับนานาประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศตามวรรคสอง คณะรัฐมนตรีต้องให้ข้อมูลและจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และต้องชี้แจงต่อรัฐสภาเกี่ยวกับหนังสือสัญญานั้น ในการนี้ ให้คณะรัฐมนตรีเสนอกรอบการเจรจาต่อรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบด้วย”

อย่างนี้ตายไหม วรรคที่สาม คณะรัฐมนตรีต้องจัดให้มีการรับความคิดเห็นของประชาชนก่อน บอกว่ากว้างขนาดไหน ต้องถามคนทั้ง 76 จังหวัด

ณัฐวุฒิ : ถ้าการทำสัญญาซื้อขายกับต่างประเทศ ตามที่บัญญัติไว้เราจะซื้อได้อย่างเดียว

วีระ : “มาตรา 190 วรรคสี่ เมื่อลงนามในหนังสือสัญญาตามวรรคสองแล้ว ก่อนที่จะแสดงเจตนาให้มีผลผูกพัน คณะรัฐมนตรีต้องให้ประชาชนสามารถเข้าถึงรายละเอียดของหนังสือสัญญานั้น และในกรณีที่การปฏิบัติตามหนังสือสัญญาดังกล่าวก่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนหรือผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม คณะรัฐมนตรีต้องดำเนินการแก้ไขหรือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบนั้นอย่างรวดเร็วเหมาะสม และเป็นธรรม”

การที่บอกว่าให้ประชาชนเข้าถึงรายละเอียดสัญญาไม่เป็นไร เข้าถึงกันได้ด้วยเทคโนโลยีต่างๆ แต่ที่บอกว่า “ในกรณีที่การปฏิบัติตามหนังสือสัญญาดังกล่าวก่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนหรือผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมคณะรัฐมนตรีต้องดำเนินการแก้ไขหรือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบนั้นอย่างรวดเร็วเหมาะสม และเป็นธรรม” เป็นเรื่องที่ดีไม่มีปัญหา แต่ในทางปฏิบัติเราจะทำกันอย่างไร

มาตรา 190 เป็นอุปสรรคต่อการทำงานของรัฐบาลอย่างแน่นอน มีการทดลองที่กองทัพอากาศซื้อเครื่องบินจากสวีเดน มีผลผูกพันงบประมาณ 5 ปี ถามประชาชนหรือยัง ก่อนเซ็นสัญญามันยุ่งยากมาก

วันนี้ตั้งใจจะพูดเรื่องผลงานอันเป็นที่น่าสงสัยของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) แต่งตั้งโดย คมช. 250 คน ที่เข้ามาทำหน้าที่ ผลงานของคนพวกนี้น่ารังเกียจมาก พอพ้นหน้าที่ไปแล้วน้ำลดตอผุด เราถึงเพิ่งรู้ว่ามีกฎหมายถูกเบรกมากมายเหลือเกิน 177 ฉบับ

จตุพร : ขออธิบายในรายละเอียดให้ฟัง กฎหมายที่ผ่านจาก สนช. มีการจำแนกออกมาเป็น 4 กลุ่มด้วยกัน 1.พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งและการได้มาซึ่งวุฒิสภา พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง 3 ฉบับนี้ได้ประกาศบังคับใช้เป็นกฎหมายแล้ว แต่องค์ประชุมไม่ครบ 2 ฉบับ วาระแรกองค์ประชุมมีเพียง 190 คน แต่ศาลรัฐธรรมนูญ พ.ร.บประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง วาระแรกองค์ประชุมมีเพียง 115 คน เท่านั้นเอง

วีระ : กลุ่มที่ 1 เป็น พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยเรื่องต่างๆ กลุ่มนี้ประกาศบังคับใช้แล้ว เมื่อพิจารณาผ่านแล้วต้องส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบและสอบถาม ศาลรัฐธรรมนูญตรวจพบว่า วาระที่ 1 นั่งพิจารณากันไม่พบองค์ประชุม จึงต้องรอการเป็นโมฆะ

จตุพร : ร่าง พ.ร.บ.ที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าไม่ครบองค์ประชุม คือ 1.พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ.... ให้ตกไปตามมาตรา 141 วรรคสอง ตามคำวินิจฉัย ที่2/2551 2.พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามกันทุจริต พ.ศ.... 3.พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ.... ให้ตกไปตามคำวินิจฉัย ศาลรัฐธรรมนูญให้เหตุผลที่ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญทั้ง 3 ฉบับ ให้เป็นโมฆะ เพราะองค์ประชุมไม่ครบในวาระที่ 3

พอกฎหมายทั้ง 3 ฉบับตกไป ทำให้ประธานสภาฯ ต้องบอกให้สมาชิกกดปุ่มเพื่อแสดงตนก่อนว่าครบองค์ประชุมหรือไม่ ก่อนที่จะมีการลงมติใดๆ ทั้งนี้เป็นผลจากการที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยกฎหมาย 3 ฉบับเป็นโมฆะ

กลุ่มที่ 3 ที่ สนช.ได้ตรากฎหมายและประกาศบังคับเป็นกฎหมายแล้วจำนวน 211 ฉบับ อันนี้ไม่ต้องผ่านศาลรัฐธรรมนูญ เพราะไม่ใช่กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ มีกฎหมาย 171 ฉบับ องค์ประชุมไม่ครบ ไม่ถึงครึ่ง เช่น พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลวิธีพิจารณาความกฎหมายอาญา ฉ.23 พ.ศ. 2550 องค์ประชุมวาระแรกมีเพียง 74 คน วาระที่ 3 ก็แค่ 74 คน และที่น่าตกใจคือ พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 วาระแรกมาประชุมกันครบองค์ประชุมคือ 138 คน แต่วาระที่ 3 มาประชุมเพียง 108 คน ไม่ครบองค์ประชุม นี่คือ พ.ร.บ.งบประมาณที่รัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เสนอและใช้กันมาถึงปัจจุบัน

วีระ : เรื่องนี้เป็นเรื่องคอขาดบาดตาย เป็นเรื่องใหญ่ของบ้านเมือง ถ้าหากเราเอาใจใส่เรื่องที่เป็นสาระของบ้านเมืองอย่างจริงจังได้หรือไม่ มั่นใจว่ายิ่งเปิดไปจะเจอ พ.ร.บ.สำคัญอีกเท่าไร กฎหมายที่ สนช. ผ่านมาบังคังคับใช้ 211 ฉบับ เป็นกฎหมายที่ไม่ชอบและไม่ครบองค์ประชุม 177ฉบับ

มีการพูดเรื่องการเมืองทีไรก็บอกว่า การเมืองไทยแย่เพราะนักการเมืองเลว นักการเมืองชั่ว นักการเมืองไม่มีคุณธรรม ภาพนักการเมืองใช้ไม่ได้ พูดถึงสภาก็ถูกเหยียดหยาม บางคนนั่งหลับในสภา ความจริงไม่ใช่เรื่องสาหัสอะไรเลย คนเรานั่งในสภาแล้วไม่ได้พูดโอกาสง่วงก็มีภาพออกมาประจานให้อายคน

แต่สุดท้ายแล้วที่มีการประเมินกันว่า ระบบการเลือกตั้งใช้ไม่ได้ โดยเฉพาะคณะที่เดินเข้ามายึดอำนาจการปกครองแผ่นดิน พูดเป็นเสียงเดียวกันว่าสภาที่ดีต้องมาจากการแต่งตั้ง แล้วก็ได้เห็นกันวันที่ 19 กันยายน 2549 คมช.ยึดอำนาจและแต่งตั้งสภา แต่ตั้งรัฐมนตรี ผมก็เข้าใจว่าเลือกคนดีมีคุณภาพกันแล้ว ตั้งมา 250 คน มาใส่ไว้ในสภา ทำงานด้วยกัน

วันนี้เราวิจารณ์และประเมิณผลจากผลงานที่เขาทำได้ หากพิสูจน์แล้วว่ากฎหมาย 177 ฉบับนั้นใช้ไม่ได้ อยากถามว่า ที่อวดกันนักว่าต้องเอาพวกแต่งตั้งเข้ามา แล้วทำงานกันอย่างนี้ จะอธิบายอย่างไร

จตุพร : พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมพระธรรมนูญศาลยุติธรรม ฉบับที่... พ.ศ.... จำนวน สนช.เวลานั้นมี 241 คน แต่เข้ามาประชุมวาระที่ 1 เพียง 42 คน วาระที่ 3 มี 95 คน แล้วเราจะให้คนเพียงเท่านี้ออกกฎหมายมาบังคับใช้กับคนทั้งประเทศหรือ

วีระ : มีสมาชิกวุฒิสภา 250 ไปเอาคนเพียงกว่า 40 คนมาออกกฎหมายบังคับใช้กับคนทั้งประเทศได้หรือ แล้วคำว่านักการเมืองดีมีคุณภาพ มีคุณธรรม เราจะวัดกันที่ตรงไหน แล้วความรับผิดชอบของผู้ที่เสนอคน 250 คนมาทำงานจะรับผิดชอบอย่างไร เพราะผลงานที่ออกมาอัปยศเหลือเกิน ส.ส.ที่มาจากการเลือกตั้งเมื่อทำอะไรไม่เข้าท่าเราสามารถด่าได้ เพราะประชาชนเลือกตั้งมา เช่นเดียวกันกับ สนช.ในยุค 17 เดือนของการยึดอำนาจคนแต่งตั้งจะออกมาแสดงความรับผิดชอบต่อการทำงานที่อัปยศนี้อย่างไร

จตุพร : กฎหมายอีกกลุ่มหนึ่ง เป็นร่าง พ.ร.บ.ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ คือ ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม องค์ประชุมไม่ครบ ร่าง.พ.ร.บ.สลากกินแบ่งรัฐบาล ตรงนี้องค์ประชุมก็ไม่ครบเช่นกัน ร่าง พ.ร.บ.ป่าชุมชน ร่าง พ.ร.บ.สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ประเด็นที่น่าสนใจเมื่อตุลาการศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยและชี้ให้เป็นโมฆะ กฎหมาย 177 ฉบับที่องค์ประชุมไม่ครบนั้นปรับใช้กันได้อย่างไร มันต้องเป็นโมฆะเหมือนกัน

ที่ยกเรื่องนี้มาพูดเพราะต้องการคำตอบจากประธาน สนช. นายมีชัย ฤชุพันธุ์ และสมาชิก สนช.ทั้ง 250 คน ว่ากระทำการเช่นนี้ได้อย่างไร ออกกฎหมายโดยที่องค์ประชุมไม่ครบแล้วเสนอกราบบังคมทูลได้อย่างไร

อยากจะเรียกร้องให้คณบดีคณะนิติศาสตร์ หรือนักกฎหมายสถาบันต่างๆ ออกมาแสดงความคิดเห็นว่า ตลอดระยะเวลาที่ยึดอำนาจมีการแต่งตั้ง สนช. เข้าไปทำหน้าที่ องค์ประชุมไม่ครบออกกฎหมายมาถึง 58% ได้อย่างไร สงผลกระทบต่อประเทศชาติมากมาย

วีระ : ขอพูดเรื่องรัฐธรรมนูญ 2550 ด้วย ในการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแต่ละมาตรา มีหลายมาตราพิจารณาและผ่านไปโดยที่องค์ประชุมไม่ครบ เมื่อข้อเท็จจริงออกมาเป็นเช่นนี้จะทำอย่างไร เนื้อในมีหลายมาตรานั่งพิจารณากันโดยที่องค์ประชุมไม่ถึงครึ่ง แล้วขายเหมาเข่งให้ประชาชนลงประชามติ

จตุพร : ปัญหาคือ รัฐธรรมนูญเป็นโมฆะหรือมีความชอบธรรมที่ประเทศนี้จะประกาศใช้ต่อไปหรือไม่

ณัฐวุฒิ : ผมรู้สึกอึดอัดมาก พวกเขาเป็นใครถึงได้ทำกับบ้านเมืองได้ถึงขนาดนี้ นายมีชัย ท่านต้องตอบด้วยว่าทำอะไรลงไป แม้องค์ประชุมไม่ครบ แต่ก็เชื่ออย่างแสนเจ็บปวดว่าวันที่รับเงินเดือนมากันครบ

จตุพร : วันที่ 1 สิงหาคมนี้ นายไชยวัฒน์ ติณรัตน์ ส.ส.มหาสารคาม พรรคพลังประชาชน ซึ่งเป็นผู้ค้นข้อมูลเรื่องนี้จะจัดนิทรรศการที่อาคารรัฐสภา จะนำรายชื่อผู้ที่เข้าประชุมและไม่เข้าประชุม ในการพิจารณากฎหมาย 177 ฉบับ มาติดให้ทุกคนได้ทราบว่าใครทำงาน ใครไม่ทำงาน ความทันสมัยของสภาทำให้เราสามารถตรวจสอบได้ว่าใครบ้างที่เข้าประชุมหรือไม่เข้าประชุม ใครลงมติหรือไม่อย่างไร

ณัฐวุฒิ : สิ่งที่เป็นอยู่ขณะนี้ทำให้คิดถึงคำพูดที่ฮิตอยู่ที่สะพานมัฆวานรังสรรค์ คือคำว่า “การเมืองใหม่” เขาพยายามจะลดพื้นที่ของนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง ในสภาจะให้มี ส.ส. 30% เท่านั้น โดยบอกว่า ต้องการได้คนจากหายสาขาอาชีพ เป็นคนดีมีคุณธรรม มีศีลธรรม มีความรับผิดชอบ เขาบอกว่าคุณสมบัติที่บอกนี้หาไม่ได้จากนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง ประเด็นคือ สภาที่มาจากการแต่งตั้ง 100% ที่ผ่านมาเป็นเช่นไร

จตุพร : นักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง ถ้าไปรับตำแหน่งที่สอง เขาจะไม่ได้รับเงินเดือนทั้ง 2 ตำแหน่ง แต่จะต้องเลือกรับในตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งเท่านั้น ผิดกับ สนช. สามารถรับเงินเดือนได้ทุกทาง เช่น เป็นข้าราชการประจำก็รับเงินเดือนข้าราชการด้วยเมื่อเป็น สนช.ก็รับเงินเดือนของ สนช. ด้วย หรือมีตำแหน่งอื่นก็รับเงินเดือนไปด้วยครบทุกตำแหน่ง แตกต่างจากนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง

วีระ : ความจริง การเมืองใหม่ ไม่ได้หมายความอย่างที่คุณณัฐวุฒิพูดเพียงอย่างเดียว แต่เขาบอกว่าการเมืองไทยถึงเวลาแล้วที่ต้องเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ และต้องปฏิวัติโดยประชาชน เขาเสนอทฤษฎีนี้มา แล้วจะให้ประชาชนปฏิวัติเรื่องอะไร ให้ประชาชนปฏิวัติโดยไม่ยอมรับรัฐบาลนี้ ไม่รับรัฐสภา ไม่รับระบบพรรคการเมืองที่มี แล้วเสนอว่าต้องมีของใหม่เข้ามาทดแทน เลือกตั้งเข้ามา 30% ลากตั้งอีก 70% นี่คือทฤษฎีที่เสนอกันที่สะพานมัฆวานฯ เสนอแล้ว ASTV เผยแพร่ไปทั่วโลก ปรากฏว่าเสียงตอบรับมีน้อย

มีคนตกใจว่าเกิดอะไรขึ้น ยึดสะพานมัฆวานฯ ได้ นึกว่ายึดประเทศไทยได้หรือ จึงจะออกมาจัดการบริหารประเทศ บนเวทีนี้มีอะไรแปลกๆ แม้จะเลิกพูดคำว่า ปฏิวัติประชาชน แต่ก็ยังยืนยันระบบการเมืองใหม่ เราก็บอกว่า รัฐธรรมนูญ 2550 เฉพาะบทที่ว่าด้วยสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ก็มี 2 ประเภทอยู่แล้ว และพวกเราก็คัดค้านมาตั้งแต่ต้น

จตุพร : ส.ว. 74 คนมาจากการลากตั้ง 76 คนมาจากการเลือกตั้งของประชาชน จังหวัดละคน วันที่เลือกประธานวุฒิสภาปรากฏว่า ต้องแข่งกันระหว่างเลือกตั้งและลากตั้ง ปรากฏว่าฝ่ายเลือกตั้งถูกคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ล็อกคอไว้ 6 คน เหลือแค่ 70 คน ก็เสร็จ ชี้ได้ชัดเจนว่าคนที่มาจากการเลือกตั้งภูมิต้านทานน้อยเหลือเกิน

พี่น้องประชาชนคนไทยต้องตั้งหลัก เพราะกลุ่มคนที่เสนอทฤษฎีการเมืองใหม่ เมื่อวันที่ไปลำเลิกกับ คมช.ว่าอุตส่าห์หลอกประชาชนมาโค่นล้ม พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้สำเร็จ นี่คือคำพูดของ นายสนธิ ลิ้มทองกุล ไปพูดกับพี่น้องในสหรัฐ ว่าหมดเงินส่วนตัวไปในการโค้นล้ม พ.ต.ท.ทักษิณ 400 ล้านบาท คนไทยต้องจดจำ เพราะฉะนั้นเมื่อมาเสนอทฤษฎีการเมืองใหม่ ถามว่าพี่น้องคนไทย จะให้คน 4-5 คนมาบริหารประเทศนี้หรือ

วีระ : ไม่ต้องวิตกกังวลมาก เพราะปัญหานี้ นายเอกยุทธ อัญชันบุตร เรียกว่าจะเป็นพันธมิตรฯ หรือแนวร่วมก็ได้ ได้ออกมาวิจารณ์อย่างถึงกึ๋นว่าทฤษฎีการเมืองใหม่ เป็นทฤษฎีของคนข้างถนน เป็นทฤษฎีของคนอกหัก คนที่ร่วมคิดคือสมัครรับเลือกตั้งแล้วไม่มีใครเลือก สอบตก นายเอกยุทธยังบอกด้วยว่า ระบบลากตั้ง 70% ใช้ไม่ได้ เป็นระบบเหลวไหล ตรงนี้น่าจะคลายกังวลไปได้

อีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้คลายกังวลคือ บรรดาแกนนำทั้งหลายได้ทยอยขึ้นศาลไปทีละคนสองคนแล้ว เพราะได้พูดจาหมิ่นประมาทมากมาย คงไม่น่าจะมีฤทธิ์เดชอะไรแล้ว

ณัฐวุฒิ : ขอตั้งข้อสังเกตระบบเลือกตั้งกับลากตั้ง สนช.ชุดที่ผ่านมา ชัดเจนแล้วว่าลากตั้งทำงานอย่างไร ส่วนฝ่ายบริหารคือคณะรัฐมนตรี มีคนวิพากษ์วิจารณ์กันมาก ว่าเป็นรัฐบาลขี้เหร่ คือ นำคนที่ไม่มีความรู้ตามสาขามานั่งทำงานในแต่ละกระทรวง ผมย้อนกลับไปดูรัฐบาลชุดที่ผ่านมาที่สื่อมวลชนเรียกกันว่า รัฐบาลขิงแก่ ผมยืนยันว่ารัฐบาลขิงแก่ชุดที่แล้ว มีรัฐมนตรีที่มีความรู้ความสามารถตรงกับตำแหน่งงานที่มาบริหารราชการแผ่นดินมากที่สุด นับตั้งแต่เรามีรัฐมนตรี ปลัดกระทรวงมหาดไทย ก็ได้มาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อธิการบดี ม.เกษตรฯ ก็มาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

เมื่อนำคนเหล่านี้มารวมกันแล้วเป็นอย่างไร ครม.ขิงแก่ ผลงานเป็นเช่นไร

วีระ : สรรพคุณก็แค่แก้ท้องอืดท้องเฟ้อเท่านั้น นอกนั้นไม่มีผลงานอะไรที่จะมายกย่องได้เลย

จตุพร : คนไทยเห็นการเมืองมาหลากหลายรูปแบบแล้ว ปีครึ่งของรัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง บริหารประเทศจากสภาที่มาจากการแต่งตั้ง 100% นำพาประเทศให้ถอนหลัง และไม่รู้จะถอนไปอีกเท่าไร คงคงรู้ว่าหากแข่งขันโดยความเห็นของประชาชนคงสู้ไม่ได้ จึงตั้งทฤษฎีการเมืองใหม่ขึ้นมา ถามว่าคนไทย 63 ล้านคน ที่ถูกปล้นเสียงไปจะยอมได้อย่างไร

ความจริงที่ได้นำเสนอวันนี้เป็นความจริงที่เจ็บปวดมากที่ สนช. ที่ผ่านพ้นไปแล้วได้ไข่ทิ้งไว้ 211 ฉบับ เป็นไข่เน่า 177 และเป็นการพิสูจน์ว่า สนช.ที่มาจากการแต่งตั้ง 100% นั้นมีผลงานอย่างที่ปรากฏ ซึ่งอาจจะโมฆะไปถึงรัฐธรรมนูญ 2550 ด้วยก็เป็นได้



ไม่ยุบ ไม่ออก ไม่ลอก...ทองแท้ไม่กลัวไฟ

คอลัมน์ : รายงานพิเศษ

แม้ยืนหยัดประกาศชัดว่า “ไม่ยุบ” และ “ไม่ (ลา) ออก”

แต่ก็เป็นที่รู้กันว่า รัฐบาล ก็ยังต้องเจอมรสุมท้าทาย ประหนึ่งยั่วให้ยุบ ยุให้ออก อยู่ได้ไม่เว้นแต่ละวัน

ทั้งมรสุมทาง “การเมือง” ที่ต้องอาศัยการชิงไหวชิงพริบ

หรือมรสุมทางข้อ “กฎหมาย” ที่เหมือนมีช่องมากมายผุดมาเป็นความผิดได้เสมอ

จนนายกรัฐมนตรี “สมัคร สุนทรเวช” ต้องลดแรงกดดันลงด้วยการประกาศว่า จะปรับคณะรัฐมนตรีครั้งใหม่

ใช้ “คุณภาพ” เป็นปัจจัยหลักในการเลือก มากกว่าเลือกตามขั้วตามมุ้ง

ทำได้จริงหรือเปล่าไม่รู้ แต่ประชาชนก็อนุโมทนาสาธุกันทั้งบ้านทั้งเมือง

เพราะปัญหาปากท้องเอย ปัญหาการเมืองเอย ก็กระทบชีวิตประชาชนจนเดือดร้อนกันไปทุกหย่อมหญ้า

ดังนั้น หากรัฐบาลยิ่งหามืออาชีพมาแก้ปัญหาได้เร็วมากเท่าไร คนไทยก็พลอยยิ้มได้ไปด้วยมากเท่านั้น

แต่กระนั้น...ก็ได้ยินแต่ข่าวว่า มืออาชีพระดับคุณภาพที่รัฐบาลเล็งแลไว้ ลังเลใจไม่ค่อยอยากมาร่วม “รัฐยานยนต์” สักเท่าไร

จำเลยก็ไม่พ้น รัฐธรรมนูญ 2550 ที่ฝ่ายอำมาตยาธิปไตยวางกับดักนักการเมืองไว้อย่างโจ่งแจ้งนั่นแหละ

เมื่อกฎหมายสูงสุดของประเทศ ละไว้ในฐานที่เข้าใจเสียแล้วว่า นักการเมืองคือคนไม่ดี ที่ต้องมีกฎระเบียบยุ่บยั่บมาควบคุมให้ทำงานกันไม่ค่อยได้…

แล้ว “คนนอก” ที่ไหน จะอยากเอาตัวมาเกลือกกลั้วกับการเป็น “นักการเมือง” แม้เพียงชั่วสมัยเดียวก็ตามทีเถอะ

ก็ด้วยเหตุผลนี้อีกหนึ่ง ที่ไม่ว่าอย่างไร เป้าหมายการแก้ไขรัฐธรรมนูญ จึงเป็นเป้าหมายที่ไม่อาจลบไปจากกระดานของรัฐบาลได้

แม้ “ใคร” จะแย้ง แต่ความติดขัดนานัปการที่เกิดขึ้นและเห็นอยู่ ก็ทำให้ตัดสินใจได้แน่แท้มากกว่า

รัฐบาลภายใต้การนำของ นายสมัคร สุนทรเวช จึงต้องเข้มแข็งและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันให้มาก ในการบรรลุเป้าหมายนี้

ล่าสุด ก็เหมือนมีฝนทิพย์พร่างพรมลงมาจากฟ้า…

เมื่อ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้นายกรัฐมนตนรี นายสมัคร สุนทรเวช และคณะฯ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท

และมีพระราชดำรัส ความตอนหนึ่งว่า

“...นายกฯ และรัฐบาล ขอให้มีกำลังใจทำงานที่ดี ให้สำเร็จเรียบร้อย และขอบใจที่ตั้งใจทำงานให้กิจการต่างๆ ก้าวหน้าด้วยดี ขอให้ท่านมีผลสำเร็จในการทำงาน เพื่อให้ผลของท่านที่ทำเป็นผลต่อส่วนรวม ให้ชาติบ้านเมืองก้าวหน้า ไม่มีความวุ่นวาย มีความก้าวหน้าต่อไป...”

ร้อยพันเภทภัย ก็คงไม่ทำให้หวั่นไหว เพียงเมื่อได้รับพระพรดังพระราชดำรัสครั้งนี้…

นี่เป็นดังกำลังใจสูงสุดที่รัฐบาลชุดนี้ได้รับ ในห้วงยามที่มรสุมพัดโหม

เพราะเมื่อยึดเอาผลประโยชน์ต่อส่วนรวมเป็นที่ตั้ง ก็จำเป็นยิ่งแล้วที่ต้องหนักแน่น สมดังคำที่ว่า “ไม่ออก” และ “ไม่ยุบ”

ยืนยันและยึดมั่น โดยไม่จำเป็นต้องป่าวประกาศว่า “รักชาติ” “กู้ชาติ” อย่างเกินความจำเป็นเหมือนที่เห็นๆ กันอยู่

คนที่ต้องเอา “สามสถาบันหลัก” ของชาติบังหน้าอยู่เสมอทุกครั้งที่เคลื่อนไหว บางครั้งก็สะท้อนถึงความไม่จริงใจมากกว่าจะบ่งบอกว่าภักดี

จะมีก็แต่ทองแท้ไม่กลัวไฟเท่านั้น ที่ไม่จำเป็นต้องดิ้นรนเพื่อหาอะไรมาปกป้อง

สมแล้วกับการตอบโต้ของ นายสมัคร สุนทรเวช ต่อม็อบพันธมาร ที่โจมตีเรื่องความจงรักภักดีอยู่เสมอ อย่างไม่เกรงกลัวว่าจะระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาท

ตอบโต้ ด้วยการ ไม่ตอบโต้…

คือวิธีการแบบ สมัคร สุนทรเวช ที่มีต่อผู้ใช้ประเด็นสกปรกนี้เสมอมา

นั่นคือ ไม่มีสาระและประเด็นมากพอจะให้เต้นแร้งเต้นกาไปด้วยอย่างไร

สู้เอาเวลามาทำงานเพื่อประเทศชาติจะดีกว่า

จะได้สมกับที่ได้รับการไว้วางพระราชหฤทัยให้ทำงานเพื่อแผ่นดิน

ธนาคารโลก-ยูเอ็นระบุไทยกำลังอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อภัยธรรมชาติเพราะปัญหาโลกร้อน

คอลัมน์ : ฮอตสกู๊ป

ธนาคาร โลกและสหประชาชาติระบุประเทศไทยและอีกหลายประเทศในเอเชียตะวันออก กำลังเผชิญกับความเสี่ยงจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นอันเนื่องมาจากสาเหตุ ภาวะโลกร้อน เตือนผู้บริหารเมืองใหญ่ในแต่ละประเทศควรเร่งวางมาตรการบรรเทาปัญหาภาวะโลกร้อน รวมทั้งปรับปรุงเมืองให้สามารถลดและรับมือกับความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติได้ก่อนสายเกินแก้

เมื่อเร็ว ๆ นี้ ธนาคารโลกร่วมกับหน่วยงานภายใต้องค์การสหประชาชาติชื่อ United Nations International Strategy for Disaster Reduction (UN/ISDR) และ Global Facility for Disaster Reduction and Recovery (GFDRR) ซึ่ง เป็นกองทุนที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศกำลังพัฒนาให้ สามารถดำเนินโครงการเพื่อลดความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติของตนและฟื้นฟูประเทศ หลังจากภัยธรรมชาติ ได้ร่วมกันจัดสัมมนาขึ้นที่เมืองพัทยา จ. ชลบุรี ภายใต้หัวข้อว่า Green Cities Workshop: Reducing Vulnerability to Climate Change Impacts and Related Natural Disasters in Asia หรือ “การลดความเสี่ยงจากภาวะโลกร้อนและภัยธรรมชาติที่เกี่ยวข้องในเอเชีย” ใน งานนี้มีผู้แทนจาก 17 ประเทศทั้งในเอเชีย อเมริกา และยุโรปเข้าร่วม โดยส่วนมากจะเป็นระดับผู้บริหารหรือที่ปรึกษาของเมืองใหญ่ต่าง ๆ ในแต่ละประเทศ

จุด ประสงค์ของงานสัมมนาในครั้งนี้คือเพื่อช่วยให้ผู้บริหารเมืองสำคัญ ๆ ของเอเชียตะวันออกได้เล็งเห็นถึงความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติที่เพิ่มสูงขึ้น อันเป็นสาเหตุจากภาวะโลกร้อน และอาจส่งผลกระทบต่อประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองมากถึง 660 ล้านคนด้วยกัน

โดยธนาคารโลกและ UN/ISDR ได้ ระบุว่าปกติแล้วภูมิภาคนี้ก็มีความเสี่ยงต่อภัยธรรมชาติสูงอยู่แล้ว ดังจะเห็นได้จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกันเมื่อไม่กี่เดือนที่ ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นแผ่นดินไหวในจีน พายุไซโคลนในพม่า หรือพายุไต้ฝุ่นในฟิลิปปินส์

นอกจากนี้ การที่เอเชียตะวันออกเป็นที่ตั้งของเมืองใหญ่มากถึง 30 เมืองด้วยกัน และแต่ละเมืองนั้นก็ตั้งอยู่ใกล้เคียงกับชายฝั่งทะเลหรือแม่น้ำ ก็ ทำให้ความเสี่ยงต่อภัยธรรมชาติจากภาวะโลกร้อนของภูมิภาคสูงขึ้นไปด้วย ทั้งนี้ก็เพราะว่าภาวะโลกร้อนได้ส่งผลให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นนั่นเอง ประเทศที่กำลังเผชิญความเสี่ยงต่อระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นเนื่องจากภาวะโลกร้อนก็มีไทย เวียดนาม จีน พม่า และฟิลิปปินส์

“ผล กระทบที่จะเกิดต่อเมืองต่างๆ ในเอเชียตะวันออกนั้น จะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับว่าผู้บริหารของแต่ละเมืองได้ดำเนินมาตรการอะไร ไปบ้างเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่เมืองของตนเอง” นายจิม อดัมส์ รองประธานธนาคารโลกสำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกกล่าว “ดัง นั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้บริหารของเมืองต่างๆ ในภูมิภาคจะทำความเข้าใจกับภาวะเสี่ยงของตนเองก่อน และนำความเข้าใจนี้ไปใช้พัฒนายุทธศาสตร์สำหรับลดความเสี่ยงของเมืองขึ้น ทังนี้ก็เพื่อปกป้องชีวิตและทรัพย์สินของประชากรในเมืองใหญ่จากสภาพอากาศ ที่แปรปรวนขึ้นทุกวันอันเป็นผลมาจากภาวะโลกร้อน”

สถิติที่รวบรวมโดยสภากาชาดสากลนั้นชี้ให้เห็นว่า ความ ถี่ในการเกิดภัยธรรมชาติในโลกนั้นสูงขึ้นเรื่อย ๆ โดยจากจำนวนภัยธรรมชาติทั้งสิ้น 428 ครั้งในช่วงปี 2537-2541 ได้เพิ่มสูงขึ้นเป็น 707 ครั้งในช่วงปี 2542-2547 นอกจากนี้ ความรุนแรงของภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้งก็ดูเหมือนจะเพิ่มสูงขึ้น ด้วย

ทั้งนี้ธนาคารโลกได้คาดการณ์ว่า ทุกๆ หนึ่งเมตรของระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นนั้น จะ ทำให้เกิดภัยธรรมชาติที่มีความรุนแรงจนสามารถลดอัตราการเจริญเติบโตทาง เศรษฐกิจของประเทศได้มากถึง 2% ทีเดียว อันเป็นผลจากการขาดแคลนน้ำจืดสำหรับดื่มใช้ และจากความเสียหายที่จะเกิดขึ้นต่ออุตสาหกรรมการเกษตร การประมง และการท่องเที่ยว รวมทั้งการขาดแคลนพลังงานอีกด้วย

“การเจริญเติบโตของเมืองนั้นมีความสัมพันธ์อย่างมากต่อความสามารถของเมืองเองในการลดความเสี่ยงต่อภัยธรรมชาติ และจากภาวะโลกร้อน” นายสาโรช กุมาร จา ผู้บริการกองทุน GFDRR กล่าว “เนื่องจากในปัจจุบันนี้ทิศทางการบริหารของเอเชียตะวันออกกำลังเป็นไปตามแนวทางกระจายอำนาจมากขึ้น นี่ จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมความรับผิดชอบในการบรรเทาความเสี่ยงและเสริมสร้างความ แข็งแกร่งของระบบป้องกันภัยธรรมชาติจึงมาตกอยู่ที่ผู้บริหารเมืองหรือ จังหวัดใหญ่ๆ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นเร่งด่วนที่ ผู้บริหารเมืองใหญ่ๆ จะต้องเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจของตนเองเกี่ยวกับความเสี่ยงต่อภัย ธรรมชาติและภาวะโลกร้อนของเมือง รวมทั้งวางนโยบายที่จะช่วยรับมือหรือบรรเทาผลกระทบนั้นด้วย”

ในการนี้ ธนาคารโลกและ UN/ISDR รวมทั้ง GFDRR จึงได้ร่วมกันจัดทำ “คู่มือสำหรับลดความเสี่ยงต่อจากภาวะโลกร้อนและเสริมสร้างความแข็งแกร่งของการบริหารความเสี่ยงที่เกิดจากภัยธรรมชาติในเอเชียตะวันออก” ขึ้น เพื่อช่วยให้ผู้บริหารเมืองใหญ่ ๆ ในภูมิภาคได้ใช้เป็นแนวทางในการรับมือกับความเสี่ยงและบรรเทาผลกระทบต่อ เมืองเอง โดยหน่วยงานทั้งสามได้ร่วมกันเผยแพร่คู่มือเล่มนี้อย่างเป็นทางการใน ระหว่างการสัมมนาเพื่อลดความเสี่ยงต่อภัยธรรมชาติที่พัทยาเมื่อเร็วๆ นี้

หนังสือคู่มือเล่มนี้ได้รับการออกแบบมาให้เป็นแหล่งข้อมูลสำหรับสาเหตุของภาวะโลกร้อนและผลกระทบจากภาวะโลกร้อนต่อภัยธรรมชาติ โดย ได้เสนอแนวทางต่างๆ มากมายที่จะช่วยให้ผู้บริหารเมืองใหญ่ๆ ได้นำไปประยุกต์ใช้ตามความเหมาะสมของแต่ละเมือง ทั้งเพื่อบรรเทาการเกิดภาวะโลกร้อนและปรับตัวให้เข้ากับสภาพภูมิอากาศที่ เปลี่ยนแปลงไป คู่มือเล่มนี้แสดงให้เห็นถึงความเปราะบางของเมืองสำคัญ ๆ ในเอเชียตะวันออกต่อภาวะโลกร้อน และนำเสนอตัวอย่างที่จะสามารถนำไปปฏิบัติได้จริงในระดับเมือง

ผู้สนใจสามารถขอรับคู่มือ (ภาษาอังกฤษ) ได้ที่แผนกสิ่งแวดล้อม ธนาคารโลก โทร.0-2686-8300 หรืออีเมล tphetmanee@worldbank.org และดาวน์โหลดได้ที่ www.worldbank.or.th

ที่มา : ประชาไท

Thursday, July 24, 2008

มาตรา 190 ปัญหาของอดีต ปัจจุบัน อนาคต (รายการ ความจริงวันนี้)

ความจริงวันนี้

รายการ “ความจริงวันนี้” ซึ่งมีขึ้นเป็นวันที่สองทางสถานีโทรทัศน์ NBT ในคืนวันที่ 22 กรกฎาคม ยังคงมากมายด้วยประเด็นข่าวที่อยู่ในกระแสสนใจ โดยมีนายวีระ มุสิกพงษ์ เป็นผู้ดำเนินรายการ และแขกรับเชิญ ยังคงเป็น นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ และนายจตุพร พรหมพันธ์

วีระ - หลังจากที่ได้ตั้งคำถามเพื่อเค้นเอาความจริงตั้งแต่เมื่อวานนี้และจะตามต่อเนื่องกันในวันนี้ ซึ่งหลังจากที่คณะกรรมการป.ป.ช.ท่านได้ชักแถวกันออกมานั่งแถลงกันอย่างเป็นทางการถึงคำพิพากษาของศาลฎีกา ซึ่งเรื่องคำสั่งในประกาศของคณะปฏิวัติ โดยหลักใหญ่ก็อยู่ตรงนี้ แต่ว่าที่พวกเราสงสัยก็คือ ประกาศ คปค.ที่เกิดขึ้นมานั้นเราไม่ได้ว่าอะไร เพราะว่าฉีกรัฐธรรมนูญไปแล้ว แต่ว่าต้องเน้นเรื่องเมื่อกฎหมายป.ป.ช.และกฎหมายเงินเดือนซึ่งไม่ได้ถูกยกเลิก และกฎหมายทั้ง 2 ฉบับระบุไว้อย่างชัดเจนว่าตำแหน่งที่ท่านได้ดำรงตำแหน่งอยู่นั้น ให้นับวันเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ได้รับพระราชกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง และการรับเงินเดือนก็ต้องนับตั้งแต่วันที่มีการโปรดเกล้าฯด้วยเช่นกัน

แต่ในเมื่อไม่ได้มีการพิจารณาโปรดเกล้าฯพวกท่านจะสามารถรับเงินได้อย่างไร และจะปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างไร ซึ่งจากที่ได้มีการย้อนกลับมาดูนั้น ในวันที่มีการยึดอำนาจกันนั้นหัวหน้าคณะยึดอำนาจถือเป็นองค์ “รัฐาธิปัตย์” สั่งอะไรก็ได้ทำอะไรก็ได้ แต่ผมอยากจะบอกว่าการยึดอำนาจการปกครองในครั้งนั้น มีการยึดเพื่อแค่ระดับรัฐบาลลงมาเท่านั้นสภาฯที่ยึดไปและจากนั้นก็ระดับต่ำลงมา แต่อยากจะถามว่าคุณได้ยึดขึ้นไปถึงระดับพระราชอำนาจเลยนั้นหรือ ซึ่งออกมาชี้แจงกันอย่างนี้ และตอนนี้ก็ถึงเวลาอธิบายตรงนี้จึงอยากจึงขอรบกวนคุณณัฐวุฒิช่วยตอบหน่อย

ณัฐวุฒิ - ผมคิดว่ากรณีที่ท่านกรรมการป.ป.ช.ออกมาตั้งทีมแถลงข่าวกันนี้ สาเหตุหนึ่งคิดว่ามีการพูดถึงจากฯพณฯท่านนายกรัฐมนตรีและอีกหลายฝ่าย ปรากฏว่าความจริงทุกวันที่พูดกันป.ป.ช.ได้เอามา กล่าวอ้างว่าเป็นความชอบธรรมแล้วที่ได้มาจากการแต่งตั้งด้วยลายเซ็นของท่านพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ในฐานะหัวหน้าคณะยึดอำนาจเมื่อพูดอย่างนี้ ผมก็มีความจำเป็นที่ต้องพูดกันถึงความจริงซึ่งเป็นความจริงตลอดการณ์ตามประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีองค์พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของประเทศไทย

นั้นก็คือว่า ไม่มีข้าราชการระดับสูงคนไหน ที่จะสามารถดำรงตำแหน่งและสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้โดยไม่ได้รับการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง โดยทั่วไปข้าราชการระดับสูงถึงแม้จะผ่านความเห็นผ่านมติคณะรัฐมนตรีให้ดำรงนั้นหรืออันนี้ก็ตาม ถ้าหากว่ายังไม่ได้รับพิจารณาโปรดเกล้าฯ ก็ยังไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่มิได้ เมื่อปฏิบัติหน้าที่มิได้นั้นหมายถึงจะรับเงินเดือน เงินประจำตำแหน่งค่าตอบแทนใด ๆ มิได้เช่นเดียวกัน แต่วันนี้ผมจำเป็นต้องพูดอย่างนี้ครับว่า ข้าราชการระดับสูงของประเทศไทยทั้งแผ่นดินอยู่ภายใต้หลักการนี้ แต่ว่าขณะนี้มีบุคคลเพียง 14 คนเท่านั้นที่นอกเหนือหลักการดังกล่าวนั้นคือ ป.ป.ช. 9 คนและกกต.อีก 5 คน หมายความว่า 2 องค์กรนี้ 2 กลุ่ม 14 คนเข้าสู่ตำแหน่งรับเงินเดือน ค่าสวัสดิการต่าง ๆ โดยไม่มีการโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง

ซึ่งประเด็นก็คือว่า การกล่าวอ้างของป.ป.ช.นอกเหนือจาการกล่าวอ้างในอำนาจ รัฐาธิปัตย์ ของพล.อ.สนธิ ซึ่งเราได้แสดงความเห็นไว้อย่างหลายแง่มุมนั้นแล้วเมื่อคืนที่ผ่านมา ยังมีการกล่าวอ้างของป.ป.ช.ถึงเรื่องสำนักงานป.ป.ช.ได้มีหนังสือสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเพื่อขอให้มีการกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งคณะกรรมการป.ป.ช. หลังจากนั้นสำนักงานเลขาธิการฯได้มีหนังสือตอบทางป.ป.ช.ว่า “คณะกรรมการป.ป.ช.ตามประกาศ คปค.ฉบับที่ 19 นั้นได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนั้นแล้วย่อมถือว่ามีผลสมบูรณ์ บังคับใช้ได้ตามกฎหมายเนื่องจากขณะนั้น คปค.มีฐานะเป็นรัฐาธิปัตย์ มีอำนาจเด็ดขาดแต่เพียงผู้เดียว

ผมเรียนอย่างนี้ท่านผู้ชมว่าป.ป.ช.อ้างเหตุผลนี้โดยอ้างเอาหนังสือฉบับหนึ่งซึ่งเป็นหนังสือที่ลงนามโดย คุณรองพล เจริญพันธุ์ เลขาธิการคณะรัฐมนตรีทำตอบป.ป.ช.ตามประเด็นที่กล่าวไปเมื่อซักครู่นี้

ผมก็ไปตามเนื้อความในหนังสือฉบับนี้ซึ่งรายละเอียดคงไม่ต้องพูดกัน แต่ว่าผมไปสะดุดอยู่ท่อนหนึ่งว่า สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้ขอให้สำนักราชเลขาธิการกราบบังคมทูลพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมต่อไปแล้ว บัดนี้ ได้รับแจ้งความเห็นว่าคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ที่คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขได้มีประกาศฉบับที่ 19 แต่งตั้งก็ว่าความอธิบายกันไปเหมือนที่ได้พูดไปแล้ว ประเด็นก็คือว่า เลขาธิการคณะรัฐมนตรีอ้างถึงการได้รับแจ้งความเห็น คำถามก็คือ ได้รับแจ้งความเห็นของใคร? และคำถามต่อไปก็คือว่า สำนักราชเลขาธิการได้แจ้งความเห็นให้กับสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีในลักษณะใด? ซึ่งหนังสือฉบับนั้นเราก็ยังไม่เห็นนะครับ

วีระ - อืม...จะเป็นการแจ้งด้วยวาจาหรือจะเป็นหนังสือและถ้าแจ้งเป็นหนังสือถ้อยคำเต็ม ๆ เป็นอย่างไร? ซึ่งก็ยังไม่ได้เห็นซึ่งเป็นประเด็นที่สำคัญอย่างมาก

ณัฐวุฒิ - ประเด็นก็คือว่า การแสดงความเห็นดังกล่าวเป็นความเห็นของใครและความเห็นเห็นของบุคคลผู้นั้นมีผลให้เป็นกฎหมายหรือไม่?และมีผลให้พระราชอำนาจแห่งองค์พระมหากษัตริย์มีผลในการปฏิบัติในการแต่งตั้งกลุ่มบุคคลที่เรียกตนเองว่า ป.ป.ช.ในการดำรงตำแหน่งและปฏิบัติหน้าที่หรือไม่?

จตุพร - ก่อนจะถึงหนังสือทั้ง 2 ฉบับที่คุณณัฐวุฒิได้พูดเอาไว้นั้น ป.ป.ช.เองได้เปิดหนังสือฉบับที่ 3 ซึ่งเป็นหนังสือฉบับแรกคือ หนังสือที่สำนักเลขาธิการ คปค. ลงวันที่ 30 กันยายน ปีพ.ศ.2549 สรุปความว่า ให้ป.ป.ช.นำความกราบบังคมทูลทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้งป.ป.ช.ให้มีผลในการดำรงตำแหน่งเมื่อมีคณะรัฐมนตรีชุดใหม่เข้ามารับหน้าที่แล้ว ควรให้สำนักเลขาธิการรัฐมนตรีเป็นคนเสนอ นั้นหมายความว่า ทางป.ป.ช.ก็รู้มาตั้งแต่ต้นจะต้องพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งก่อน

ผมมีองค์กรเปรียบเทียบให้เห็นชัดเจนก็คือว่า ศาลรัฐธรรมนูญที่ถูกคำสั้งของ คปค.ให้ยุบหลังจากมีการยึดอำนาจและได้มีคำสั่งแต่งตั้งตุลาการรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่หนึ่งชุดโดยไม่มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ พี่น้องประชนคนไทยคงจะจำกันได้ว่า วันที่ตุลาการรัฐธรรมนูญชุดนั้น พิพากษายุบพรรคไทยรักไทยเห็นได้ชัดว่าองคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่ไม่ได้รับการโปรดเกล้าฯจากองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯนั้น ไม่มีสิทธิ์ใสเสื้อครุยซึ่งเป็นสัญลักษณ์ในการโปรดเกล้าฯในการพิพากษาในคดีนั้นซึ่งจะเห็นได้ชัดเจน

วีระ - และจะไม่มีสิทธิ์ใช้คำว่าได้ตัดสินไปในพระปรมาภิไธยขององค์พระมหากษัตริย์

จตุพร - นี้ชัดเจนว่าเป็นองค์กรที่ไม่การโปรดเกล้าฯ ต่อมานั้น ได้มีการพยายามกล่าวอ้าง คตส.ซึ่งจะมีสถานะที่แตกต่างไปจาก ป.ป.ช และ กกต. นั้นคือคตส.เป็นองค์กรที่ตั้งขึ้นมาใหม่จากประกาศ คปค. ซึ่งไม่มีกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญเหมือนกับป.ป.ช.และกกต.เพราะฉนั้นจึงเป็นเป็นอำนาจขององค์รัฐาธิปัตย์ที่นำมากล่าวอ้างได้ แต่จะนำมาใช้กับป.ป.ช.และกกต.ไม่ได้

เพราะฉะนั้นต่อให้ทางป.ป.ช.ชี้แจงเป็นข้ออย่างไร สุดท้ายก็ยังคงไม่ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ การนำข้อรัฐธรรมนูญ มาตรา 299 มากล่าวอ้างนั้น ได้บัญญัติให้คระกรรมการป.ป.ช.ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ ยังคงตำแหน่งอยู่ต่อไปจนสิ้นสุดวาระ โดยให้เริ่มนับตั้งแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้ง เพราะฉะนั้นจึงไม่สามารถอ้างมาตรา 299 ได้เลยเพราะต้องนับตั้งแต่วันที่มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง เพราะฉะนั้นป.ป.ช.ชุดนี้ไม่มีการแต่งตั้ง จึงไม่ได้เป็น ป.ป.ช.มาตั้งแต่ต้น

วีระ - เอาละประเด็นข้อกฎหมายเก็บไว้ก่อน ซึ่งมันยังไม่จบหรอก แต่อยากจะให้เก็บไว้ก่อน

ณัฐวุฒิ - ป.ป.ช.คนหนึ่งนั้นคือ นายวิชา มหาคุณ ได้แถลงร่วมกับคณะว่าการที่มีข้อสังเกตว่าป.ป.ช.ชุดนี้ไม่ได้รับการโปรดเกล้าฯนั้น ซึ่งการได้รับการโปรดเกล้าฯไม่ได้เป็นเครื่องยืนว่า ป.ป.ช.คนนั้น จะมีความสื่อสัตย์ตามที่ได้ปฏิญาณตนไว้ เรื่องนี้ไม่ได้ยื่นยันว่าการเข้าเฝ้าถวายสัตย์ปฏิญาณแล้วจะไม่ตระบัดสัตย์ เพราะที่ผ่านมาการตรวจสอบของป.ป.ช.มีรัฐมนตรีหลายคนที่ถูกชี้มูลความผิดหรือติดคุกอยู่ก็มี คุณวิชากล่าวอย่างนี้

คุณวิชาครับ ด้วยความเคารพนะครับ ผมในฐานะผู้เยาว์แต่เรื่องหลักการคงแบ่งเป็นผู้เยาว์ผู้ใหญ่กันไม่ได้หละการต้องเป็นหลักการ ซึ่งคุณวิชาพูดอย่างนี้ จะให้เข้าใจว่าอย่างไร? จะให้เข้าใจว่าคุณวิชาคิดเอาเองว่า การได้รับพระราชกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็นเครื่องยืนยันความซื่อสัตย์สุจริตหรืออย่างไร?

ซึ่งจริงไม่ใช่นะครับ การซื่อสัตย์สุจริตของแต่ละบุคคลนั้นมันเป็นเรื่องของตัวบุคคลจะต้องรู้ว่าตัวเองมีความสง่างามมีความชอบธรรมเพียงที่จะดำรงตำแหน่งนั้น

วีระ - คนไม่ซื่อก็ไม่ซื่อ เป็นเรื่องของบุคคล

จตุพร - แต่การทรงพระราชกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็นเรื่องพระราชอำนาจและเป็นบทบัญญัติของกฎหมาย ตราบใดที่บทบัญญัติของกฎหมายยังไม่ถูกยกเลิกนั้น คุณทำการตำสนุกไม่ได้ คือคุณวิชา กำลังใช้ทฤษฎีโต้วาที ซึ่งความจริงแล้วมันสะท้อนถึงวุฒิภาวะของคุณวิชาได้เป็นอย่างดี การมาหักล้างประเด็นที่ไม่ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งนั้น มาหักล้างว่า คนที่ผ่านพระบรมราชโองการผ่านการถวายสัตย์ก็ไม่ได้บอกว่าเป็นคนสุจริต เพราะฉะนั้นประเด็นนี้มันนำมาหักล้างไม่ได้เลย เพราะว่าตำแหน่งของตำแหน่งของคุณจะต้องมาจาการโปรดเกล้าฯถึงจะสามารถดำรงตำแหน่งได้ แต่คุณใช้วิธีตอบแบบนี้เพื่อต้องการจะหักล้างประเด็นการโปรดเกล้าฯ

ผมจึงบอกว่า วุฒิภาวะอย่างคุณที่นำมาหักล้างนั้นมันไม่เหมาะสม

ณัฐวุฒิ - ผมจะตั้งคำถามไปยังคุณวิชา มหาคุณต่อ เพราะผมยืนยันว่าเรื่องพระราชอำนาจนั้นเป็นเรื่องที่ใครจะล่วงละเมิดอำนาจมิได้ ประเด็นก็คือเมื่อคุณวิชา กล่าวอ้างเช่นนี้ ผมจึงตั้งคำถามว่าก็แล้วพล.อ.สนธิ ที่คุณวิชา อ้างว่าเป็น รัฐาธิปัตย์ ลงนามแต่งตั้งนั้น เป็นคนวื่อสัตย์สุจริตมากน้อยเพียงใด ที่คุณวิชา เอามากล่าวอ้างว่า ลายเซ็นของพล.อ.สนธินั้นสามารถทำให้ตนเองสามารถดำรงตำแหน่งได้ถึง 9 ปี กินเงินเดือนประจำตำแหน่งได้ทุกอย่าง

วีระ - เอาละตั้งคำถามค้างไว้แค่นี้ก่อน เมื่อวานนี้เรื่องนี้เราได้พูดกันยาวนานพอสมควร และเราเชื่อว่าประเด็นมันไม่จบในวันนี้อย่างแน่นอน เราเว้นไปเรื่องหน้าก่อน แต่ไม่ได้หมายความว่าเลิกไปเท่านี้ แต่ให้แขวนไว้ก่อน ที่นี้แขวนแล้วเป็นไง แขวนก็จะบอกต่อไปว่า เราจะบอกว่ามีอำนาจหรือไม่มีอำนาจสุดแล้วแต่เถอะท่านก็แถลงเสร็จท่านก็ใช้อำนาจจัดตั้งคณะกรรมการของเค้าเหมือนกันจะได้สอบสวนกรณีที่มีคนร้องเรื่องคณะรัฐมนตรีไปสนับสนุนให้กระทรวงการต่างประเทศเซ็นแถลงการณ์ร่วม แล้วเค้าก็ดำนเนินการกันจนกระทั้งรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศต้องลาออกไปคนหนึ่งแล้ว แต่เรื่องไม่จบสมาชิกสภาฯก็ยังชวนกันมาร้องเรื่องนี้เป็นประเด็นที่ต้องพูดกันต่อไป เพราะนี้คืออนาคตของคณะรัฐมนตรี

จตุพร***คณะกรรมการของป.ป.ช.ได้มีมติตั้งคณะกรรมการไต่สวนนายสมัคร สุนทรเวชนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี ทั้งชุดตามที่ปรากฏเป็นข่าว ประเด็นก็คือมันมีเรื่องทั้งหมด 7 เรื่อง พวกเราเองเคยตั้งข้อสังเกตว่า การยื่นเรื่องให้ดำเนินคดีสำหรับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองของกลุ่มพันธมิตรฯได้ซ่อนเงื่อนไว้พอสมควร หนังสือฉบับลงวันที่ 14 กรกฎาคม ให้ดำเนินคดีกับคณะรัฐมนตรีทั้งคณะเรียงลำดับที่ 1 คือนายนพดล ปัทมะ ลำดับที่ 2 คือนายกรัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรีคณะรัฐมนตรีและร่วมกระทั้งว่า ข้าราชกระทรวงการต่างประเทศและพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ปมประเด็นที่ซ่อนเงื่อนก็คือ พันธมิตรฯที่ได้ยื่นหนังสือต่อป.ป.ช.นั้นรู้อยู่ว่าถ้า ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดนายกรัฐมนตรีคณะรัฐมนตรีจะต้องยุติบทบาทการทำหน้าโดยทันที

แต่พันธมิตรฯเว้นไว้คนหนึ่ง ซึ่งผมเชื่อว่าคนที่ถูกเว้นชื่อนั้นก็คงจะไม่รู้เช่นกัน นี้เชื่อกันโดยสุจริตเลย มีลำดับนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีอยู่ครบถ้วนตามหนังสื่อของพันธมิตรฯที่ยื่นให้ ป.ป.ช.ที่มีมติให้ตั้งคณะกรรมการไต่สวนในวันนี้ ซึ่งเค้าเว้นรองนายกฯรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมไว้คนเดียว แต่ว่าผมเชื่อว่าจะโดยการจงใจหรืออะไรก็แล้วแต่ แต่รัฐมนตรีในโควตาพรรคเพื่อแผ่นดิน 2 คน ก็ยังอยู่ครบ แต่ว่าเกมส์วิธีการอย่างนี้อย่างจะตั้งคำถามว่าคิดอะไรกันอยู่

เพราะฉะนั้นขณะนี้ สาเหตุที่ ป.ป.ช.ตั้งคณะกรรมการไต่สวน ก็คือว่ามันมี ที่มาจาการตีความของรัฐธรรมนูญกรณีมาตรา 190 สืบเนื่องจากปราสาทพระวิหารนั้นเอง

วีระ***กรณีที่ไปเซ็นแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา เพื่อจะเอาแถลงการณ์ร่วมไปใช้งาน แต่เกิดมีส.ส.ร้องขึ้นว่าขัดรัฐธรรมนูญ ไปศาลปกครองเพื่อให้คุ้มครองฉุกเฉิน ห้ามใช้จากนั้นก็ต่อความยาวจนมาถึงเรื่องถึงแม้ว่าจะไม่ใช้ แต่ก็เป็นความผิดที่ร่วมกันลงมติว่า ให้กระทรวงการต่างประเทศไปเซ็นแถลงการณ์ร่วมได้

ณัฐวุฒิ***ผลพ่วงที่ป.ป.ช.ได้มีมติตั้งคณะกรรมการไต่สวนนั้นเป็นผลมาจากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในมาตรา 190 ระบุถ้อยคำในวรรค(2)ว่า หนังสือสัญญาใดมีผลเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทยหรือพื้นที่นอกอาณาเขตซึ่งประเทศไทยมีสิทธิ์อธิปไตยปรากฏว่า ศาลรัฐธรรมนูญ

โดยนักวิชาการและอีหลายคนนั้นได้ตั้งข้อสังเกตมาตั้งแต่ต้นว่า ถ้อยคำที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญว่า “หนังสือสัญญาใด มีผลเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทย” ว่าในคำวินิจฉัยได้เติมว่า “อาจจะ” มีผลเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทยซึ่งมันคนละเรื่องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ

แต่ว่าขณะนี้มันมีปัญหาก็คือว่า ได้มีการพูดเรื่องนี้ในที่ประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาการบังคับใช้เพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญในมาตรา 190 ในวรรคต่อมาก็คือว่า ในมาตรา 190 นั้นมีถ้อยคำดังนี้ก็คือว่า หรือมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขว้าง หรือมีผลผูกพันทางการค้าการลงทุนหรืองบประมาณของประเทศอย่างมีนัยยะสำคัญ ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาในการนี้รัฐสภาต้องพิจารณาให้เสร็จภายใน 60 วันตั้งแต่ได้รับเรื่องดังกล่าว

ซึ่งผมเองก็ได้หยิบยกกรณีตัวอย่าง ของมติคณะรัฐมนตรีสมันพล.อ.สุรยุทธ์ จุฬานนท์ ซึ่งได้ใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้แล้ว ซึ่งรัฐธรรมนูญได้ใช้มาตั้งวันที่ 23 สิหาคม พ.ศ.2550 มติของรัฐมนตรีที่ว่านั้นคือ มติเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2551 ช่วงรอยต่อของรัฐบาล ผมขอเรียนกับพี่น้องประชาชนว่า ประเด็นนี้ผมมีความรักชาติบ้านเมือง แต่ประเด็นจะเป็นปัญหาในอนาคตในเรื่องของความมั่นคงเพราะรับธรรมนูญ มาตรา 190 บัญญัติไว้ครอบจักรวาลแบบนี้ มติคณะรัฐมนตรีในวันที่ 8 มกราคมนั้นนะครับ ได้ให้ความเห็นชอบกระทรวงกลาโหมโดยกองทัพอากาศดำเนินการจัดซื้อเครื่องบินขับไล่ “กริฟเพน” 39 CD จำนวน 6 ลำ อุปกรณ์พร้อมอะไหล่การฝึกอบรมการปรับปรุงอาคารสถานที่และการการบริหารโครงการ เป็นเงิน 19,000 ล้านบาท โดยวิธีรัฐบาลต่อรัฐบาล(จีทูจี) ระหว่างรัฐบาลไทย-สวีเดน และให้ พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุก ผู้บัญชาการทหารอากาศ ผู้รับมอบอำนาจลงนามการซื้อขายเครื่องในนามรัฐบาลไทย ร่วมทั้งการแก้ไขข้อตกลงการซื้อขายเครื่องบิน

สำหรับโครงการดังกล่าวนะครับ คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้กองทัพกองทัพอากาศก่อหนี้ผูกพัน ข้ามงบประมาณ โครงการจัดหาเครื่องบินเอนกประสงค์แทนที่เครื่องบินขับไล่นะครับ โดยระยะที่ 1 ระหว่างปี 2551-2555 เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2550 ซึ่งงบผูกพันใช้ ตั้งแต่ปี 51-55 โดยใช้งบ 19,000 ล้านบาท ลองย้อนขึ้นไปดูมาตราเมื่อซักครู่สิครับ

วีระ***ผมย้ำให้ มาตรา 190 หนังสือสัญญาใดผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขว้างหรือมีผลผูกพันทางการค้าการลงทุนหรืองบประมาณของประเทศอย่างมีนัยยะสำคัญ ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา นี้ผมเว้นเรื่องเสียดินแดนแล้วนะ คงยังไม่พูดเรื่องเสียดินแดน พอมาถึงตรงนี้ท่านผู้ชมก็จะเห็นชัดเลยว่า หนังสือสัญญาซื้อเครื่องบินที่คณะรัฐมนตรีชุดก่อนได้ทำกันเอาไว้ต้องนำไปตีความว่า มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขว้างหรือไม่ หรือมีผลผูกพันทางการค้าการลงทุนหรืองบประมาณของประเทศอย่างมีนัยยะสำคัญหรือไม่ ซึ่งทั้งหมดนี้คือคำถาม? แล้วก็เป็นปัญหา

ที่นี้ในที่ประชุมคณะกรรมาธิการชุดที่ คุณจตุพรเป็นกรรมาธิการอยู่ ว่าอย่างไรบ้าง?

จตุพร***เพราะว่ามันระบุชัดเจนว่ามีผลผูกพันทางการค้าการลงทุนของประเทศอย่างมี นัยยะสำคัญ ปรากฏว่า นายสามารถ แก้วมีชัย ซึ่งเป็นประธานวิปรัฐบาล เข้าประชุมกรรมาธิการชุดนี้ในฐานะกรรมาธิการ เสนอในที่ประชุมมีความเห็นเลยว่า จะใช้กรณีเพื่อเป็นกรณีตัวอย่าง ยื่นให้กับศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ากรณีดังกล่าวขัดรัฐธรรมนูญ ม.190 หรือเปล่านี้เป็นปัญหาใหญ่เลยเพราะวันนี้กระทรวงการต่างประเทศก็ดำเนินการอะไรไม่ได้ ซึ่งมีเนื้อหาเช่นนี้ ถ้าตีความตามลายลักษณ์อักษรมันก็เข้าในทุกกรณี

วีระ***วันนี้คณะรัฐมนตรีก็มีปัญหา กระทรวงยุติธรรมด้วยใช้ไหม

ณัฐวุฒิ***สรุปความโดยอย่างย่อเลยนะครับ ท่านสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ในฐานะรัฐมนตรีดูแลกระทรวงการยุติธรรมและกำกับดูแลป.ป.ส.ท่านก็จะต้องไปลงนามเกี่ยวการเป็นภาคีข้อตกลงกับ 7 ประเทศ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ว่าด้วยในแนวทางดำเนินนโยบายในการป้องกันและปราบปราบยาเสพติด ซึ่งท่านรายงานต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีว่า กระทรวงการต่างประเทศพิจารณาว่าไม่เข้าในมาตรา 190 (2) ให้รัฐมนตรีไปเว็นกับเค้าได้ทันที

จตุพร***ปัญหาก็คือในเมื่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อได้ยินอย่างนี้ ถ้าดูเหตุการณ์กรณีปราสาทเขาพระวิหารใครไม่สะดุ้งก็แปลกแล้ว ว่ากรณีปราสาทเขาพระวิหารกระทรวงการต่างประเทศ ด้วยกรมสนธิสัญญาท่านก็ได้บอกไว้เช่นเหมือนกัน ยืนยันว่าไม่เข้า แต่สุดท้ายมีคุณไปยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ และมีการพิจารณาว่าเข้าจึงเกิดเป็นปัญหาจนถึงทุกวันนี้

เพราะฉะนั้นเหตุการณ์นี้ คุณสมพงษ์ จึงมีความจำเป็นแม้กระทรวงการต่างประเทศจะวินิจฉัยแล้วว่าไม่เข้า ม.190 (2) จึงจำเป็นเอาเรื่องนี้เข้าสภา ซึ่งในวันนี้มีเรื่องจ่อเข้าที่ประชุมสภาเต็มไปหมดเลย เพราะเนื่องจากว่าโดยมาตรา 190 มันครอบจักรวาล

ซึ่งประเด็นต่อมาก็คือว่า กรณีหลายบอกว่าถ้าเกิดว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 จะส่งผลเสียหายต่อประเทศไทยอย่างไรบ้าง? นี้เป็นประเด็นที่เราต้องพูดถึงเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ

แต่มีประเด็นที่พี่น้องประชาชนคนไทยฟังแล้วจะต้องมีความรู้เหมือนกับพวกเราทุกคน

วีระ***ขออนุญาตนิดเดียว ผมจะอธิบายความตรงนี้ ซึ่งท่านผู้ชมฟังแล้วจะไม่เข้าใจว่ากรณีกระทรวงยุติธรรมจะไปลงนามในหนังสือของ ป.ป.ส หรือว่าก่อนหน้านี้สักประมาณสัปดาห์หนึ่ง ที่กรมอาเซียนจะไปลงนามในที่ประชุมของกลุ่มประเทศอาเซียน ซึ่งกำลังจะได้รับเลือกให้เป็นประธาน ทำไมไปกลัวอะไรทั้งที่ไม่น่าจะเกี่ยวกับการสูญเสียดินแดน

จตุพร***สูญเสียดินแดน นั้นไม่เสียหรอกครับแต่ว่า ข้อความในมาตรา 190 (2) มันกินความอย่างนี้ “มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขว้าง”ไอ้ตรงนี้แหละครับที่มีผลทำให้ถอยหลังก็ไม่ได้เดินหน้าก็ไม่ดี ซึ่งมีผลต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจนั้นไม่เท่าไร หรือสังคมหรือประเทศอย่างกว้างขวาง ซึ่งกระทบต่อสังคมอย่างกว้างขวางด้วย พูดกันอย่างตรงไปตรงมาเลย ซึ่งถ้าต้องการหาเรื่องกันนี้ ทำอะไรไม่ได้เลย

มีประเด็นต่อมาคือว่า มีส.ส.พรรคพลังประชาชนในจังหวัดมหาสารคาม ซึ่งต้องยกให้เป็นเครดิตเลยคือ นายชัยวัฒน์ ติณรัตน์ ได้ไปค้นบันทึกการประชุมไม่ว่าจะเป็นการประชุมของสนช.หรือของสสร. แต่สิ่งที่ได้มานั้นคือ ซึ่งกำลังจะมีการจัดนิทรรศการ โดยในสมัย สนช.โดยการแต่งตั้งของคมช.นั้น ทำหน้าที่สมาชิกสภานิติบัญญัติ มีกฎหมายประกาศไปพระราชกิจจาณุเบกษา ทั้งหมด 211 ฉบับ แต่ปรากฏว่าใน 211 ฉบับนั้นมีกฎหมายถึง 177 ฉบับ ที่องค์ประชุมของสภานิติบัญญัติไม่ถึงครึ่ง ซึ่งมีกฎหมายที่มีองค์ประชุมถึงครึ่งเพียง 34 ฉบับ ซึ่งถึงครึ่งคือถูกต้องการตามกระบวนการกฎหมาย เพราะว่ามันมีกรณีตัวอย่างตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ซึ่งตามรัฐธรรมนูญปี 50 ในกรณีกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญก่อนจะกราบบังคมทูลได้วินิจเสียก่อน นั้นคือผ่าน สนช.ไปต้องส่งไปยังศาลรัฐธรรมนูญ ปรากฎว่ามีกฎหมาย 4 ฉบับรวมกฎหมาย ป.ป.ช.ปี 50 ด้วยโดยศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยให้เป็นโมฆะเพราะองค์ประชุมไม่ครบทั้ง 4 ฉบับ

เพราะฉะนั้น จึงกลายเป็นปัญหาคือว่า บุคคลที่คมช.แต่งตั้งไปนั้นให้เข้าไปทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติ ได้ออกกฎหมายโดยองค์ประชุมไม่ครบถึง 177 ฉบับ ซึ่งประเมินเป็นผิดถึง 85 เปอร์เซ็นต์ซึ่งถูกต้องเพียงแค่ 15 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้นเอง เพราะฉะนั้นเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่มาก.

ณัฐวุฒิ***คุณจตุพร กำลังบอกว่า สนช.ที่เค้าจัดตั้งกันเข้าไปนั้น เข้าไปแล้วไปขาดประชุม

วีระ***เรื่องนี้ประเด็นสนช.มีประสิทธิเพียงใด ดีแค่ไหน มีคุณธรรมแค่ไหนออกกฎหมายอะไรบ้าง เป็นเรื่องยาวต้องยกกันอีกวัน แต่ประเด็นตรงนี้ที่น่าสนใจ ต้องเอามาพูดกันก่อนคือ มีกฎหมายถึง 117 ฉบับ ที่รอการตัดสินว่าเป็นโมฆะ ซึ่งเหตุที่รอเพราะว่ายังไม่มีใครยกขึ้น ซึ่งก่อนหน้ามีมาแล้ว 4 ฉบับแต่ว่าเป็นกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ซึ่งก่อนกราบบังคมทูลต้องผ่านศาลรัฐธรรมนูญเสียก่อน โดยศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยแล้วว่าเมื่อองค์ประชุมไม่ครบก็สั่งเป็นโมฆะก็ตายจากไปแล้ว 4 ฉบับ แต่ว่า 177 ฉบับที่คุณจตุพรพูดไปก่อนหน้านี้ เป็นกฎหมายที่ไม่ใช่กฎหายประกอบรัฐธรรมนูญ จึงไม่ผ่านศาลรัฐรัฐธรรมนูญคือ สนช.มีมติก็ส่งให้ขึ้นทูลเกล้า ทรงลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้เป็นกฎหมายใช้ แต่ปรากฎหมายมีการไปสอบสวนจนพบความจริงซึ่งหลักฐานมันปรากฏ 177 ฉบับ เป็นกฎหมายที่ผ่านสภาโดยสมาชิกที่นั่งไม่ถึงครึ่งขององค์ประชุม

ซึ่งกฎหมายทั้ง 177 ฉบับ รอคนตัดสินให้เป็นโมฆะอยู่

จตุพร***คุณชัยวัฒน์ ติณรัตน์ เค้าได้บันทึกการประชุมของกฎหมายทุกฉบับซึ่งจะรู้เลยว่า กฎหมายที่องค์ประชุมไม่ครบ สนช.คนใดขาดประชุมบ้างจะได้จัดนิทรรศการประจานกันไปเลย

ณัฐวุฒิ***ช่วยบอกส.ส.ชัยวัฒน์ ท่านนั้นทีครับเมื่อที่มีการเปิดเผยชื่อ ที่เข้าไปกินเงินเดือนที่เป็นภาษีอากรประชาชน ไปรับสวัสดิการในฐานะสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ แต่ไม่เข้าประชุมจนเกิดความเสียอย่างนี้ชื่ออะไรบ้าง รายการเราจะช่วยประชาสัมพันธ์เหล่านั้นอย่างไม่เห็นแก่เหน็ดแก่เหนื่อย

จตุพร*** ความแตกเพราะว่าสภาผู้แทนราษฎรนั้น มีการเก็บบันทึกเป็นระคอมพิวเตอร์เวลาลงมติต้องใช้การ์ดและกดเห็นด้วยหรือไม่เห็นจึงรู้เลยว่าใครเข้าประชุมหรือไม่เข้าประชุมเสียเข้าประชุมด้วยจำนวนเท่าไร

วีระ***ขอสอบถามที่ประชุมว่ากรรมาธิการของชุดคุณจตุพรได้วินิจฉัยเรื่องรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 ด้วยหรือเปล่า? ว่ากระบวนการครบถ้วนหรือไหมครบถ้วน

จตุพร***โดยคุณชัยวัฒน์ จิณรัตน์ คนเดิมนั้นอีกครับได้ค้นบันทึกรายงานการประชุมที่มี 100 คนปรากฏว่าหลายมาตราที่มีการยกมือผ่านนะครับ องค์ประชุมมี 41 คนก็มี ไม่ถึงครึ่งอยู่หลายมาตราเช่นเดียวกัน แต่ก็ให้ผ่านแล้วนำความขึ้นกราบบังคมทูล เหมือนกับกรณี 177 ฉบับ ประธานสนช.ก็ส่งเรื่องให้นายกรัฐมนตรีกราบบังคมทูล

เพราะฉะนั้นสิ่งเหล่านี้ ความรับผิดชอบมันจะเกิดขึ้นกับใครแต่ว่าความเสียเกิดขึ้นแน่นอนเพราะถ้ากฎหมายนี้ไปเกิดขึ้นกับใครและได้รับผลกระทบ แล้วมีการยกเรื่องนี้ขึ้นมาพูดต้องเป็นปัญหาแน่นอน

วีระ***สรุปรวมความที่ประชุมพิจารณากฎหมายมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการบริหารประเทศเป็นอุปสรรคต่อกระทรวงการต่างประเทศที่ว่า ไปทำว่า หนังสือสัญญาใดมีผลเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทยหรือพื้นที่นอกอาณาเขตซึ่งประเทศ อันนี้หนึ่งกระทรวงโดนไปแล้ว

แล้วมีอ่านความต่อไปมันก็จะไปกระทบกระเทือนเรื่องอื่น ๆ เป็นจำนวนมากและหนึ่งในนั้นกระคือเรื่องกองทัพอากาศไปซื้อเครื่องบินในระบบรัฐบาลต่อรัฐบาล ซื้อในสมัยรัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์ เพราะฉะนั้นถ้ามาอ่านรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 เราต้องการจะชี้ให้เห็นว่ารัฐบาลไหนก็เจอปัญหาทั้งนั้นแหละ เรื่องนี้ถ้ามีคนร้องขึ้น ก็แน่ละว่ามีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ หรือสังคมหรือประเทศอย่างกว้างขวางมีผลผูกพันด้านการค้าการลงทุนหรืองบประมาณของประเทศ ซึ่งมันแน่นอนอยู่แล้ว เพราะต้องบอกว่ากรณีนี้ไม่ผ่านความเห็นชอบของรัฐสภามันก็ย่อมเป็นโมฆะ

ซึ่งเจตนารมณ์ต้องการจะชี้แบบนี้ แต่ว่าเมื่อพิจารณาเรื่องในที่สุดมันก็ลามไปถึงเรื่องของกฎหมาย ซึ่งผ่าน 211 ฉบับปรากฏว่า มันจะโมฆะถึง 177 ฉบับ แล้วค้างประเด็นนี้ไว้ก่อน

โดยเราจะย้อนกลับมาดูสู่ มาตรา 190 เท่านั้น เพราะว่ามาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญนี้เอง ที่นายกรัฐมนตรีบอกว่าถ้าหากว่า ปล่อยอยู่อย่างนี้กระทรวงการต่างประเทศจะทำงานไม่ได้

กระทรวงกลาโหมจะตายไปด้วยกองทัพจะทำงานไม่ได้ กระทรวงอื่นก็จะตายด้วยเอาละเพื่อให้เกิดความแน่ใจ อ่านย้ำกันอีกทีว่า

หนังสือสัญญาใดมีผลเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทยหรือพื้นที่นอกอาณาเขตซึ่งประเทศซึ่งประเทศไทยมีอำนาจอธิปไตยหรือมีเขตอำนาจตามหนังสือสัญญาหรือกฎหมายระหว่างประเทศหรือมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขว้างหรือมีผลผูกพันทางการค้าการลงทุนหรืองบประมาณของประเทศอย่างมีนัยยะสำคัญ ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา

ตีความกันตามนี้แล้วรัฐบาลไหนก็จะต้องมีปัญหาจะไปเซ็นสัญญากับเค้าที่อาเซียนอยู่เร็ววันนี้ก็ทำไม่ได้ พูดง่ายเป็นเรื่องทำให้ปวดหัว เพราะเกรงว่าจะโนปีศาจมาตรา 190 หลอกหลอนเอาแต่ว่าอะไรไม่สำคัญเท่ากับมันย้อนกับสมัยรัฐบาลท่านสุรยุทธ์ เองศึกเป็นกรณีศึกษา

ณัฐวุฒิ***โดยกรณีเช่นนี้เราเองมีความรักในกองทัพโดยเห็นว่าเรื่องนี้ถ้าไม่มีการพิสูจน์ หากเกิดประเทศมีศึกสงครามหรือมีเรื่องที่เกิดขึ้นกับอำนาจอธิปไตยจะเกิดความเสียหายกันอย่างรุนแรง

วีระ***สรุปร่วมความว่าที่เราพูดกันมาทั้งหมดนั้นเปิดประเด็นใหม่ ความจริงจะมาเปิดเรื่องมาตรา 190 ฉบับรัฐธรรมนูญ 2550 เพื่อจะเรียนให้ท่านผู้ชมทราบว่า นอกจากระทรวงต่างประเทศจะทำอะไรไม่ได้แล้วกระทรวงอื่น ๆ ก็จะเดือดร้อนดดยไม่ได้เจนาเพราะว่าเรื่องนี้ในที่ประชุมกรรมาธิการ โดยเอาเรื่องกองทัพอากาศเป็นกรณีศึกษาที่ศาลรัฐธรรมนูญ

ซึ่งแน่นอนถ้าศาลรัฐธรรมนูญใช้มาตรฐานเดียวเรื่องนี้ก็ต้องหนีไม่พ้น การนั้นต้องเป็นโมฆะและการซื้อเครื่องบินฝูงนั้นก็ต้องมีปัญหา เพราะฉะนั้นใครจะรับผิดชอบ แต่ที่แน่หนีไม่พ้นอีกคนหนึ่งแล้วคือ รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม จะหนีไปไหนพ้น แต่ว่าเรื่องนี้ไม่เป็นปัญหาแน่นอนเพราะเกิดขึ้นในสมัยที่ท่านยังไม่ได้รับตำแหน่ง

แต่สรุปรวมความมันเป็นปัญหาของรัฐบาลสุรยุทธ์ รัฐบาลในคุณสมัคร และจะเป็นปัญหาของบาลใครก็ไม่รู้ข้างหน้า ถ้าไม่มีการแก้ไขกฎหมายให้มันเลิกการเป็นอุปสรรคของประเทศ