WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, May 8, 2010

ยึดทรัพย์ 4.9 หมื่นล้าน"ทักษิณ" สูงที่สุดในประวัติศาสตร์ จ้างนักกฎหมายระดับโลกสู้ต่อ

ที่มา ประชาชาติ

ยึดทรัพย์ 4.9 หมื่นล้าน"ทักษิณ" สูงที่สุดในประวัติศาสตร์ จ้างนักกฎหมายระดับโลกสู้ต่อ

ยึดทรัพย์ อดีตนายกฯ ทักษิณ สูงที่สุดในประวัติศาสตร์ 4.9 หมื่นล้าน เผยอุทธรณ์ไม่มีปาฎิหารย์ ล่าสุด จ้าง สำนักงานกฎหมายระดับโลก อัมสเตอร์ดัม แอนด์ พีรอฟฟ์ สู้ถึงสุดขอบโลกประชาชาติธุรกิจ ตรวจสอบ คดียึดทรัพย์นักการเมืองในอดีต สำเร็จเพียงไม่กี่ราย นอกนั้นหลุดหมด

30 เมษายน 2553 ธนาคารทั้ง 6 แห่ง ได้โอนเงินฝากธนาคารตามคำพิพากษา
ในคดียึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เข้าบัญชีเงินคงคลังบัญชีที่ 1 เรียบร้อยแล้ว
เงินที่อยู่ใน 6 แบงก์ ประกอบด้วย ...
1.ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) จำนวน 39,888,486,233.18 บาท
2.ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) จำนวน 8,586,316,008.22 บาท
3.ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน) จำนวน 508,993,038.65 บาท
4.ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) จำนวน 21,002,578.67 บาท
5.ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน 10,441,003.88 บาท
6.ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน 1,060,304.60 บาท
เบ็ดเสร็จ แล้ว รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 49,016,281,167.20 บาท
แบ่งเป็นเงินต้นจำนวน 46,210,549,396.96 บาท ดอกเบี้ยจำนวน 2,805,731,770.24 บาท
ทว่า จำนวนเงินต้นนั้น ยังไม่ครบตามคำพิพากษาฯ ขาดอีกจำนวน 163,138,057.74 บาท
ในส่วนที่ยังขาด อัยการสูงสุดยื่นคำร้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดี
และตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายหน่วยลงทุนตามคำพิพากษา ให้ได้เงินครบจำนวน163,138,057.74 บาท
ล่าสุด วันที่ 3 พ.ค. ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา มีมติเลือกองค์คณะพิจารณาอุทธรณ์ 5 คน คือ
นายพีรพล พิชยวัฒน์ รองประธานศาลฎีกา
นายสมศักดิ์ จันทรา ประธานแผนกคดีล้มละลายในศาลฎีกา
นายมานัส เหลืองประเสริฐ ประธานแผนกคดีพาณิชย์และเศรษฐกิจในศาลฎีกา
นายดิเรก อิงคนินันท์ ประธานแผนกคดีแรงงานในศาลฎีกา และ
นายฐานันท์ วรรณโกวิท ประธานแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในศาลฎีกา

องค์คณะทั้ง 5 จะพิจารณาว่า อุทธรณ์มีหลักฐานใหม่หรือไม่ ก่อนทำความเห็นเสนอศาลฎีกา !!!
แต่วงใน ต่างฟันธงว่า ไม่มีปาฎิหารย์ !!!

จริงๆ แล้ว การถูกยึดทรัพย์ 4.9 หมื่นล้าน เป็นสิ่งที่ พ.ต.ท.ทักษิณ คาดหมายได้..
แต่ถามว่า ทักษิณ จะยอมจำนนแต่โดยดีหรือไม่ คำตอบคือ... ไม่

ล่าสุด "ทักษิณ"ตั้งบริษัทที่ปรึกษากฎหมายระดับโลก สู้คดีการเมืองในไทย
บริษัทระดับโลกที่ว่า คือ อัมสเตอร์ดัม แอนด์ พีรอฟฟ์ (Amsterdam & Peroff) ที่ออกมาแถลงว่า บริษัทได้รับการแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีของไทยเพื่อช่วยในเรื่องการฟื้นฟูประชาธิปไตยและหลักนิติธรรมในประเทศ

อัมสเตอร์ดัม แอนด์ พีรอฟฟ์ เป็นบริษัทที่ปรึกษากฎหมายระดับสากล
ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2523 โดยโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม และ ดีน พีรอฟฟ์ บริษัทมีความเชี่ยวชาญด้านการฟ้องร้องดำเนินคดีที่ซับซ้อน อนุญาโตตุลาการพาณิชย์ และคดีความทางการเมืองในตลาดเกิดใหม่ที่มีความท้าทาย
บริษัทมีสำนักงานในลอนดอน วอชิงตัน ดีซี และโทรอนโต
การต่อสู้คดีในศาลฎีกาฯ อดีตนายกฯและคุณหญิงพจมาน
เลือกใช้บริการทีมทนายความที่ถือว่า เก๋าส์ ในวงการ
จาก 7.6 หมื่นล้าน ก็ถูกยึดเพียง 4.9 หมื่นล้าน !!!!

ถ้าจะต้อง ทุ่มเงิน สู้อีกสักยก มีหรือ ทักษิณและคุณหญิงพจมาน จะไม่ดำเนินการ
เมื่อย้อนไปดูประวัติศาสตร์ การยึดทรัพย์ นักการเมือง ในอดีต
ต้องยอมรับว่า เงินที่เข้าคลัง 4.9 หมื่นล้าน มากที่สุดแล้ว
ในอดีตที่ผ่านมา มีนักการเมืองถูกยึดทรัพย์ไปแล้วหลายราย การยึดทรัพย์นักการเมืองทุกครั้งมีสาเหตุมาจากการที่นักการเมืองทุจริตคอรัปชั่น
การยึดทรัพย์นักการเมืองครั้งแรกเกิดขึ้นกับ
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ อดีตนายกรัฐมนตรี จอมพลสฤษดิ์ ฯ
ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีระหว่างวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 ถึงวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2506 ในระหว่างดำรงตำแหน่งได้แสดงบทบาทเป็นอย่างสูงด้วยการใช้อำนาจตามมาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2502 สั่งประหารชีวิตและจำคุกผู้คนจำนวนหนึ่ง
หลังจากที่ถึงแก่อสัญกรรมไปไม่กี่เดือน บุตรชายของจอมพลสฤษดิ์ ฯ ที่เกิดจากภรรยาเก่าและพวกก็ได้ฟ้องขอให้ศาลแบ่งมรดกจำนวน 287 ล้านบาทเศษ ซึ่งก็ก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์มากว่า จอมพลสฤษดิ์ ฯ นั้นร่ำรวยมาจากไหน!!!

นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นคือ จอมพลถนอม กิตติขจร
จึงได้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินของจอมพลสฤษดิ์ ฯ ขึ้นเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2507 โดยมีพระมนูเวทย์วิมลนาท เป็นประธาน คณะกรรมการชุดดังกล่าวทำงานอยู่ 5 เดือน จึงได้รายงานผลการตรวจสอบทรัพย์สินของจอมพลสฤษดิ์ฯ
ต่อมาจอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีก็ได้ออกคำสั่งตามมาตรา 17 แห่งธรรมนูญ
ปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2502 ยึดทรัพย์จอมพลสฤษดิ์ฯ 2 ครั้ง รวม 600 ล้านบาทเศษ
เมื่อท่านผู้หญิงวิจิตรา ธนะรัชต์ ภริยาจอมพลสฤษดิ์ ฯ
ได้ยื่นฟ้องคัดค้านการยึดทรัพย์ในวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2508
แต่พอถึงที่สุด ศาลได้มีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 494/2510 จำหน่ายคดีดังกล่าว

การยึดทรัพย์นักการเมืองครั้งต่อมา คือ
การยึดทรัพย์จอมพลถนอม กิตติขจร และเครือญาติ ในปี พ.ศ. 2516 เกิดเหตุการณ์ “วันมหาวิปโยค” ขึ้น
และจอมพลถนอม กิตติขจร กับพวกต้องเดินทางออกนอกประเทศ
รัฐบาลที่มีนายสัญญา ธรรมศักดิ์ ได้ใช้อำนาจอายัดและตรวจสอบทรัพย์สินของจอมพลถนอม กิตติขจร กับพวกตามเสียงเรียกร้องของมหาชนในขณะนั้น โ
ดยมีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนขึ้นมาคณะหนึ่ง มีนายบุญมา วงศ์สวรรค์ เป็นประธานกรรมการ
คณะกรรมการตรวจสอบพบว่าจอมพลถนอม กับพวก (ซึ่งเป็นเครือญาติ) มีทรัพย์สินรวม 434 ล้านบาทเศษ นายกรัฐมนตรีคือ นายสัญญา ธรรมศักดิ์ จึงใช้อำนาจตามมาตรา 17 แห่งธรรมนูญปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2515 สั่งยึดทรัพย์จอมพลถนอม ฯ กับพวกไปเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2517
การยึดทรัพย์นักการเมืองครั้งสำคัญอีกครั้งหนึ่งเกิดขึ้นภายหลังการรัฐประหารเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 โดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ได้ออกประกาศฉบับที่ 26 ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินนักการเมืองขึ้นคณะหนึ่งมี พลเอกสิทธิ จิรโรจน์ เป็นประธานกรรมการ คณะกรรมการชุดดังกล่าวได้ออกคำสั่งอายัดทรัพย์สินของนักการเมืองและผู้ที่เกี่ยวข้อง รวม 25 คน ต่อมาภายหลังการตรวจสอบพบว่ามีนักการเมืองและผู้ที่เกี่ยวข้องเพียง 13 คนเท่านั้นที่ “ร่ำรวยผิดปกติ”

แต่ในที่สุดก็มีเพียง 10 คนที่ถูกยึดทรัพย์การยึดทรัพย์
นำมาสู่การแก้ไขประกาศฉบับที่ 26 ให้ “ดูเป็นธรรม” ยิ่งขึ้น
โดยให้นักการเมืองที่ถูกยึดทรัพย์มีสิทธิคัดค้านต่อศาลได้ นักการเมืองที่ถูกยึดทรัพย์ได้ใช้สิทธิดังกล่าวคัดค้านการยึดทรัพย์ต่อศาล โดยโยงประเด็นไปถึงความชอบธรรมของคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน
ต่อมาศาลฎีกาซึ่งได้พิพากษาว่า
อำนาจของคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินเป็นอำนาจในการพิพากษาคดีที่เป็นของศาลประกาศฉบับที่ 26 จึงมีผลเป็นการตั้งคณะบุคคลที่มิใช่ศาลให้มีอำนาจพิจารณาพิพากษาอรรถคดีเช่นเดียวกับ
ศาลที่ขัดกับประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ด้วยเหตุผลดังกล่าวประกอบกับเหตุผลอื่น ศาลฎีกาจึงมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งยึดทรัพย์ของคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน
ซึ่งก็ส่งผลให้ทรัพย์สินของนักการเมืองทั้ง 10 คน ไม่ถูกยึด

ภายหลังจากรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2540 ประกาศใช้บังคับ มีการตั้งองค์กรในการตรวจสอบการใช้อำนาจของนักการเมืองขึ้นมาใหม่ ๆ หลายองค์กร รวมทั้ง “ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง” ด้วย
ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ “ยึดทรัพย์” นักการเมืองไปแล้ว 1 คน คือ
นายรักเกียรติ สุขธนะ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบพบว่า จนถึงวันนี้ ยังบังคับคดีนายรักเกียรติ ไม่แล้วเสร็จ โดยยังขายที่ดินของนายรักเกียรติ ไม่ได้สักแปลง เดียว

มาถึงเหตุการณ์ล่าสุด ภายหลังการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ได้ออกประกาศฉบับที่ 23 เมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2549
แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินนักการเมืองขึ้น
โดยมีนายสวัสดิ์ โชติพานิช เป็นประธานกรรมการ และมีกรรมการอีก 7 คน ซึ่งเป็นกรรมการโดยตำแหน่งที่เป็นข้าราชการระดับสูงของประเทศทั้งนั้น

แต่ไม่ทราบด้วยเหตุใด 6 วันต่อมา คือในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2549
คณะรัฐประหารก็ได้ออกประกาศฉบับที่ 30 ยกเลิกประกาศฉบับที่ 23
แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินใหม่จำนวน 12 คน
โดยไม่ระบุตัวประธานกรรมการ และเป็นการตั้งบุคคลตามรายชื่อเฉพาะตัวเป็นกรรมการ คณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินได้ดำเนินการตรวจสอบทรัพย์สินของอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

จากนั้นก็ส่งต่อไปให้องค์กรอื่นๆ
ซึ่งเป็นองค์กรที่มีอยู่ตามปกติตามรัฐธรรมนูญและตามกฎหมาย
ผ่านกระบวนการต่าง ๆ ตามที่กำหนดไว้ในประกาศฉบับที่ 30 เรื่อยมาจนกระทั่งในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ที่จะถึงนี้ ก็จะเป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการตรวจสอบทรัพย์สินที่เกิดจากการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549
แล้วที่สุดศาลฎีกา ฯ ได้มีคำพิพากษา ยึดทรัพย์ อดีตนายกฯ ไปเมื่อวันที่ 26 ก.พ. 2553

สำหรับ การยึดทรัพย์ข้าราชการระดับสูงนั้น
ศาลฎีกาได้ตัดสินยึดทรัพย์จำนวน 69 ล้านบาทเศษของพลเอกชำนาญ นิลวิเศษ อดีตปลัดกระทรวงกลาโหม ที่ถูกคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุกจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ (ป.ป.ป.) มีมติว่าร่ำรวยผิดปกติ กับศาลฎีกาได้ตัดสินยึดทรัพย์จำนวน 16 ล้านบาทเศษของนายเมธี บริสุทธิ์ อดีตรองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ถูกคณะกรรมการ ป.ป.ป. มีมติว่าร่ำรวยผิดปกติ
ทั้งหมดก็คือ เหตุการณ์ที่เกี่ยวกับการยึดทรัพย์ครั้งสำคัญ ๆ ที่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทย

แต่ไม่เคยมีครั้งใด สูงเท่ากับ คดียึดทรัพย์ อดีตนายกฯทักษิณ

ธงชัย วินิจจะกูล ..เมื่อร่างกายทางการเมืองไทยติดเชื้อแดง"

ที่มา ประชาชาติ

พลเดช ปิ่นประทีป ...อีกสักเดือนจะเป็นไรไป? ธงชัย วินิจจะกูล ..เมื่อร่างกายทางการเมืองไทยติดเชื้อแดง"

พลเดช ปิ่นประทีป กับ ธงชัย วินิจจะกูล เป็นคนผ่านเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 แต่มุมมองในการมองวิกฤตความขัดแย้งบนแยกราชประสงค์ แตกต่างกัน
ล่าสุด ประชาชาติธุรกิจ นำเสนอ บทความจาก 2 คน 2 คม มานำเสนอท่านผู้อ่าน

พลเดช ปิ่นประทีป กับ ธงชัย วินิจจะกูล เป็นคนผ่านเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519
แต่วิธีคิดและการมองโลกไม่เหมือนกัน หมอพลเดช ทำงานชุมชนมายาวนาน เป็นอดีตรัฐมนตรี
ในสมัยรัฐบาล"ขิงแก่" สุรยุทธ์ จุลานนท์ ขณะที่"ธงชัย วินิจจะกูล "ผ่านวันคืนอันเจ็บปวด ปัจจุบัน
เป็นศาสตราจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประวัติศาสตร์ไทย
มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน สหรัฐอเมริกา
ล่าสุด ทั้งสองมองปรากฎการณ์บนแยกราชประสงค์ ในมุมมองที่แตกต่าง



หมอพลเดช ปิ่นประทีป เขียนบทความหลังจากฟัง 5 แนวทางปรองดองของนายกฯ
เมื่อวันอาทิตย์ที่ 2 พฤษภาคม 2553

@ พลเดช ปิ่นประทีป ...อีกสักเดือนจะเป็นไรไป?

....เมื่อฟังคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กล่าวในรายการ "พบประชาชน"
ในวันอาทิตย์(2 พ.ค.)ว่า ท่านได้ตัดสินใจในแนวทางแก้ปัญหากลุ่มก่อการร้ายในที่ชุมนุมราชประสงค์แล้วและอยู่ในระหว่างดำเนินการตามขั้นตอน โดยส่วนตัวผมนึกถึงภาพผลกระทบอันอาจเกิดขึ้นจากวิธีการขอพื้นที่คืนของฝ่ายทหารตำรวจขึ้นมาทันที

ในกรณีที่ทหารเข้าสลายม็อบราชประสงค์อย่างบุ่มบ่าม คงถูกตอบโต้ด้วยอาวุธหนักจากกองกำลังในป้อมค่ายที่ปักหลักเตรียมตัวกันมานานร่วมเดือน รวมทั้งตึกสูงและชั้นใต้ดินศูนย์การค้าล้วนเป็นยุทธภูมิที่ฝ่ายก่อการสามารถวางแผนใช้เป็นค่ายกลเพื่อรับมือ ความสูญเสียในชีวิตทรัพย์สินคงมากมายเกลื่อนกล่นทั้งสองฝ่าย
ดีไม่ดีฝ่ายรัฐอาจเป็นฝ่ายพลาดท่าเสียทีอีกครั้งก็เป็นได้ และในจังหวะนี้เองทหารแตงโมกับตำรวจมะเขือเทศอาจประกาศตัวเข้าร่วมกับฝ่ายก่อการ
เพื่อชิงอำนาจรัฐและอำนาจในกองทัพ สงครามกลางเมืองคงขยายตัวไปทุกหัวเมือง เพราะประชาชนที่ต่อต้านลัทธิเสื้อแดงจะลุกขึ้นมาร่วมวงเพื่อจัดการปัญหา
การสู้รบคงใช้เวลาเป็นเดือนเป็นปี ใครแพ้ใครชนะไม่รู้ แต่ที่แน่ๆ คือประเทศย่อยยับ

แต่หากทหารไม่เร่งรัดสลายการชุมนุม ปล่อยให้ม็อบฝ่อเหี่ยวกันไปเอง โดยการปิดล้อมทางเข้าออกทุกด้านอย่างแข็งแรง
กดดันทั้งทางการเมืองและใช้มาตรการทางคดีเป็นพิเศษ
ไม่นานแกนนำจะถูกโดดเดี่ยวจนถึงที่สุดและทิ้งมวลชนหนีไป ส่วนที่เหลือก็สลายตัวไปเอง
หรือไม่ก็ถูกสลายอย่างราบคาบ และถูกดำเนินคดีกันไปตามระเบียบ

นี่คือความพ่ายแพ้ที่ย่อยยับของกบฎเสื้อแดงปัญหาอยู่ที่ว่า แบบหลังนี้รัฐบาลจะใช้เวลานานเท่าใด?

โดยส่วนตัวอีกเช่นกัน ไหนๆก็ไหนๆแล้ว สักเดือนสองเดือนจะเป็นไรไป ถ้า...!

ถ้าการชุมนุม จะยุติกันไปเองหรือถูกสลายโดยไม่เสียเลือดเสียเนื้อกันอีก

ถ้ามัน จะช่วยทำให้สังคมไทย โดยเฉพาะพลังเงียบทั้งหลาย ตระหนักชัดด้วยตนเองถึงปัญหาความมั่นคงของชาติและลุกขึ้นมาปกป้องระบอบการปกครองของประเทศ จากกลุ่มกบฏเสื้อแดงที่มุ่งปฏิวัติล้มล้างด้วยกำลังมวลชนและอาวุธ

ถ้ามัน จะทำให้มวลชนคนเสื้อแดงทั่วประเทศยอมรับ หรือจำนนต่อกติกาสังคมว่าแนวทางการต่อสู้ที่ตนเข้าร่วมดำเนินการไปนั้นเป็นความผิดที่ร้ายแรง ซึ่งสังคมไม่ยอมรับและจะไม่ยอมให้เกิดขึ้นอีก

ถ้ามัน จะช่วยให้สื่อมวลชนต่างชาติและรัฐบาลประเทศต่างๆทั่วโลกเข้าใจ
และรู้เท่าทันอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิน ชินวัตร ที่เป็นทั้งนักโทษหนีคดีทุจริต
และเป็นผู้มุ่งร้ายต่อประเทศแม่ของตน

ถ้าจะ ช่วยทำให้รัฐบาลอภิสิทธิ์ สุกงอมที่จะขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศครั้งใหญ่
โดยให้ภาคประชาชนเป็นศูนย์กลาง

ถ้ามัน จะช่วยทำให้เกิดฉันทามติของประชาชนทั่วประเทศ
ในอันที่จะ ปฏิวัติอำนาจรัฐตำรวจทั้งระบบอย่างถึงแก่น ทั้งในฐานะที่เป็นกลไกรัฐที่ดูแลความสงบเรียบร้อยและในฐานะต้นธารของกระบวนการยุติธรรม

ถ้ามัน จะช่วยให้ภาคธุรกิจตระหนักในความรับผิดชอบต่อปัญหาบ้านเมือง
และร่วมทุกข์ร่วมสุขกับสังคมมากกว่าที่เป็นอยู่

ถ้ามัน จะทำให้สื่อมวลชนและนักวิชาการ ตระหนักว่าถึงเวลาของการปฏิรูปสื่ออย่างจริงจังในภาคปฏิบัติแล้ว

และที่สำคัญที่สุด ถ้าจะทำให้ นักการเมือง ส.ส.และพรรคเพื่อไทยถูกดำเนินคดีในฐานะผู้ร่วมสนับสนุนการก่อกบฏแบบล้างบาง
โดยมีหลักฐานผูกมัดจนดิ้นไม่หลุด

อย่างไรก็ตาม รูปแบบการก่อการร้ายที่ฝ่ายกบฏเสื้อแดงนำมาใช้ในการต่อสู้ช่วงชิงอำนาจรัฐ
และมุ่งเปลี่ยนแปลงระบอบในคราวนี้ เป็นเรื่องที่สะท้อนให้เห็นถึงจิตใจอันเหี้ยมโหดของฝ่ายวางแผนก่อการเป็นที่ยิ่ง ไม่ว่ากลุ่มเสนาธิการของพวกเขาจะนั่งอยู่บนตึกชินวัตร 3 หรือที่อื่นใดเพราะการก่อการร้ายเป็นการมุ่งเป้าหมายคนทั่วไปแบบไม่เลือกหน้า ที่ไหนก็ได้ อย่างไรก็ได้

การยิงเอ็ม 79 การวางระเบิดเสาไฟแรงสูง
การยิงอาร์พีจีใส่ถังน้ำมัน การใช้คาร์บอมในชุมชนหรือที่สาธารณะ ฯลฯ
ซึ่งได้เกิดขึ้นแล้วอย่างต่อเนื่องตลอด 2 เดือนที่ผ่านมา เป็นสัญญาณเตือนให้สังคมไทยรู้ว่าพวกกบฏเสื้อแดงจะไม่มีทางยอมแพ้ง่ายๆ และพวกเขาพร้อมที่จะใช้โมเดลการก่อการร้ายแบบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้ขยายไปทั่วประเทศ
จึงไม่ควรประมาท

แม้บันได 5 มาตรการทางการเมืองที่รัฐบาลอภิสิทธิ์หยิบยื่นให้จะช่วยให้แกนนำหาทางลงได้หากศึกนี้จบลงด้วยการเสมอกัน หรือ "วิน-วิน…แบบหน่อมแน้ม" ทั้งแกนนำและมวลชนกบฎจะยิ่งลำพองใจในชัยชนะทุกสมรภูมิของพวกเขาซึ่งจะเป็นเงื่อนไขในการปลุกระดม สะสมกำลังเพื่อปฏิบัติการครั้งใหม่ พวกคอมมิวนิสต์เก่าจะขยายผลไปสู่การฟื้นฟูหรือก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์โฉมหน้าใหม่ให้ได้เห็นกัน

ขึ้นอยู่กับว่า การชุมนุมที่ราชประสงค์จะจบด้วยการถูกสลายหรือไม่
ซึ่งถ้ามีการสลาย ไม่ว่าจะด้วยวิธีละมุนละม่อม หรือฉับพลันนั้น
ฝ่ายความมั่นคงจะจับตัวแกนนำทั้ง 24 คนได้มากแค่ไหน
ส่วนใหญ่หรือส่วนน้อย ตัวใหญ่หรือตัวเล็ก จับเป็นหรือจับตาย เพราะอย่าลืมว่าคนเหล่านี้คือผู้นำซึ่งเป็นทุนสำคัญของขบวนการที่มีผลต่อการต่อสู้ในระยะยาวของพวกเขา

ขึ้นกับว่า สังคมจะขานรับข้อเสนอทางการเมือง 5 แนวทางของนายกฯ อภิสิทธิ์
และเข้าร่วมอย่างล้มหลามแค่ไหน เพราะนั่นหมายถึงพลังทางสังคมที่จะเข้ามาหนุนรัฐบาล
และร่วมกันเยียวยา
และสมานสามัคคีให้เกิดความปรองดองในสังคมทุกระดับได้ในภาคปฏิบัติ

ขึ้นกับว่า รัฐบาลประชาธิปัตย์จะสุกงอมที่จะสนับสนุนให้ภาคประชาชนเป็นศูนย์กลางขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศจริงหรือไม่ ระบบบริหารจัดการของภาครัฐจะมีประสิทธิภาพหรือเปล่า เพราะการบริหารจัดการแบบประชาธิปัตย์ก็เป็นประเด็นที่ต้องฝากให้คิดกัน

และที่สำคัญที่สุด ยังขึ้นกับว่า
มีการมุบมิบเจรจาต่อรองกันระหว่างคุณอภิสิทธิ์ กับคุณทักษิณกันอย่างไรหรือไม่ เพราะถ้าไปตกลงกันว่าจะนิรโทษกรรมการก่อกบฏและก่อการร้ายเพียงทุกอย่าง
เพื่อให้ม็อบสลายตัวเท่านั้น
ผมเกรงว่าบ้านเมืองจะยิ่งไร้ขื่อแป ไร้หลักยึดที่มั่นคง ไม่มีใครเคารพกฎหมายอีกต่อไป
ต่อจากนี้ไปจนถึง 14 พฤศจิกายน กองกำลังติดอาวุธของฝ่ายแดงที่ยังคงอยู่อย่างครบถ้วนสมบูรณ์พร้อมและฝ่ายน้ำเงินของกลุ่มอำนาจใหม่คงจะไล่เด็ดหัวกันไปมาจนเลือดท่วมสมรภูมิ ผู้สมัครไม่สามารถลงพื้นที่หาเสียงในถิ่นคู่แข่ง
หน่วยเลือกตั้งของ กกต.อาจถูกปิดล้อมโดยพลังมวลชนปฏิวัติฝ่ายแดง
ที่ยังฮึกเหิมไม่หายจากการสู้รบในเดือนเมษาทั้งสองรอบ
ในขณะที่อำนาจรัฐล้มเหลวได้แต่นั่งมองตาปริบๆ

ขอให้จับตา การนิรโทรษกรรมซึ่งจะไม่รอการชี้ถูกชี้ผิด
และการแสดงความยอมรับโทษทัณฑ์ของผู้กระทำผิดเสียก่อน การนิรโทษกรรมที่ไร้หลักการเช่นนี้จะยิ่งซ้ำเติมความอ่อนปวกเปียกในการบังคับใช้กฎหมาย
และทำลายนิติรัฐในระยะยาว ฝากให้คิดอย่างรอบคอบ โดยเฉพาะรัฐบาลและฝ่ายความมั่นคง

เพราะบางทีรัฐบาลพลาดตาเดียว ประเทศอาจแพ้ทั้งกระดานนะครับ.

@ ธงชัย วินิจจะกูล เชื้อร้าย: เมื่อร่างกายทางการเมืองไทยติดเชื้อแดง
ดร.ธงชัย วินิจจะกูล เขียนบทความเรื่อง "เชื้อร้าย: เมื่อร่างกายทางการเมืองไทยติดเชื้อแดง" เป็นภาษาอังกฤษ หลังเหตุการณ์ แกนนำเสื้อแดง พาม็อบบุกโรงพยาบาลจุฬาฯ เมื่อวันที่ 30 เมษายน ประชาชาติธุรกิจ นำมาตอยมานำเสนอ ดังนี้
( อ่านบทความฉบับเต็มที่
http://asiapacific.anu.edu.au/newmandala/2010/05/03/thongchai-winichakul-on-the-red-germs )

.... ในเดือนตุลาคม 2551 หลังจากพันธมิตรฯ ปะทะกับตำรวจ กลุ่มแพทย์นำโดยแพทย์บางคนที่จุฬาฯ ขู่ว่าจะไม่รับรักษาตำรวจ เนื่องจากตำรวจเป็นเครื่องมือของทักษิณในการปราบปรามพันธมิตรฯ แม้ว่าจะมีปฏิกิริยาอย่างรุนแรงจากสังคม ไม่ปรากฏว่ามีคำวิจารณ์หรือคำตำหนิจากองค์กรแพทย์ใดๆ ไม่มีการรายงานว่าพวกเขากระทำตามที่ขู่จริงหรือไม่ แต่ก็มีข่าวว่าแพทย์ที่อื่นปฏิเสธการรักษาเสื้อแดง


กรณีนี้สร้างความอื้อฉาวแก่แพทย์โรงพยาบาลจุฬาฯ ว่า "เหลือง" จัด กิตติศัพท์ดังกล่าว
ได้รับการตอกย้ำด้วยข้อเท็จจริงที่ว่าผู้สนับสนุนพันธมิตรฯ ที่เอาการเอางานที่สุดคนหนึ่ง และในช่วงนี้ก็กลายเป็นผู้นำการชุมนุมของเสื้อชมพู
สนับสนุนรัฐบาล ต่อต้านเสื้อแดง เป็นแพทย์โรงพยาบาลจุฬาฯ แพทย์คนอื่นๆ
และผู้บริหารรพ.จะเป็นอย่างไรก็ตาม รพ.จุฬาฯ ก็ปรากฏอยู่แนวหน้าของความขัดแย้ง
ทั้งทางกายภาพ เชิงสถานที่ เชิงการเมืองและเชิงอุปมา
คำบอกเล่าถึงเหตุการณ์ที่รพ.จุฬาฯ ตามสื่อและปฏิกิริยาที่เกิดขึ้น และคำบอกเล่าในเฟซบุคของเหล่ายัปปี้และสน็อบดูยังกับเป็นหนังสยองขวัญหรือมนุษย์ต่างดาวบุกโลก
นี่ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ นปช.ผิดพลาดนั้นแก้ตัวไม่ขึ้น
แต่วิธีการมอง การรายงาน และการเข้าใจการกระทำของคนเสื้อแดง ดังที่แสดงให้เห็นจากสื่อ กลุ่มเฟซบุค และผู้บริโภคสื่อเหล่านี้ ล้วนถูกกำกับโดยการจัดจำแนกลำดับชั้นของคนในสังคมผ่านสถานที่ ซึ่งเป็นประเด็นหัวใจของความขัดแย้งในปัจจุบัน


สื่อ นักวิชาการ กลุ่มประชาสังคมและกลุ่มเฟซบุคพร้อมใจกันประณามการบุกของเสื้อแดงอย่างรุนแรง
เสียงดังกว่าอย่างเทียบกันไม่ได้เลยกับท่าทีหน่อมแน้ม (หรือจริงๆ เงียบเฉย) ที่มีต่อการที่รัฐบาลใช้กำลังและกระสุนจริงที่ทำให้คนเสียชีวิต 25 รายในวันที่ 10 เม.ย. ร่างกายของการเมืองเชิงจริยธรรมที่สะอาดปลอดเชื้อ
ที่มีโรงพยาบาลเป็นตัวแทนดูจะมีคุณค่าสูงส่งกว่าความตายของคนเสื้อแดง ซึ่งตอกย้ำสาสน์ก่อนหน้านั้นว่าความตายของนายทหารที่สั่งการการปราบปรามอย่างรุนแรง
เมื่อวันที่ 10 เม.ย.นั้นมีคุณค่าสูงส่งกว่าเสื้อแดงที่เป็นเหยื่อในการปะทะคราวเดียวกัน


อันทำให้ข้อกล่าวหาเรื่องสื่อและชนชั้นนำในเมืองเป็นพวก "สองมาตรฐาน" ยิ่งดูน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น ที่จริงแล้วมันเป็นมาตรฐานชุดเดียวกัน
กล่าวคือกฎหมาย เหตุผล สิทธิ บำเหน็จรางวัลและโทษทัณฑ์ ตลอดจนระบบคุณค่าอื่นๆ นั้นใช้กับคนตามฐานะชนชั้นของแต่ละคน


กล่าวอีกนัยหนึ่ง ระบบ "สองมาตรฐาน" ที่เป็นอยู่นี้คือ
รูปแบบหนึ่งของระบบแบ่งแยกคนในสังคม
การชุมนุมของเสื้อแดงที่ราชประสงค์
ไม่เพียงแต่เป็นการยึดครองพื้นที่ที่หรูหราฉูดฉาดมากที่สุดของกรุงเทพฯ
ยังเป็นการบุกจู่โจมเข้ายึดครองเมืองเทวดา (กรุงเทพฯ)
โดยเชื้อโรคจากบ้านนอกที่สกปรกหยาบกร้าน คำว่า "เสื้อแดงบุก" จึงมีนัยยะของความน่าสะพรึงกลัวกว่าความหมายตามตัวอักษรมากนัก
นั่นคือ โรงพยาบาลจุฬาฯ อยู่แนวหน้าเผชิญกับเชื้อโรคและโรคร้าย
และถูกโรคร้ายบุกจู่โจม
การปราบปรามที่กำลังจะเกิดอาจถูกมองว่า (และกล่าวกันว่า) เป็นการฆ่าเชื้อโรค หยุดการติดเชื้อที่เกิดจากการบุกของพวกบ้านนอกเข้ามาในพื้นที่การเมือง เพื่อที่จะฟื้นฟูสุขภาพขององค์การเมืองเชิงจริยธรรมของไทย.