ที่มา การ์ตูนมะนาว
เพื่อไทย
Saturday, January 21, 2012
แฉ"กล้าณรงค์" โกง-ก็อปปี้วิทยานิพนธ์ของชาวบ้านทั้งดุ้น!
ที่มา thaifreenews
โดย bozo
เขียนโดย JJ_Sathon
ภาพดังกล่าว เป็นภาพวิทยานิพนธ์ ของนาย "กล้าณรงค์ จันทิก"
รองเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ป.(ในขณะนั้น)
โดยนายกล้าณรงค์ ได้ทำวิทยานิพนธ์
ในฐานะนักศึกษาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ ๓๖ เมื่อปี ๒๕๓๖ ถึง ๒๕๓๗
ในหัวข้อ "ปัญหาขององค์กรในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
และประพฤติมิชอบในวงราชการไทย ศึกษาเปรียบเทียบกรณีศึกษาฮ่องกงกับไทย"
แต่ไม่นาน มีภาพอีกภาพด้านซ้ายยืนยันว่า วิทยานิพนธ์ดังกล่าวนั้น
ถูกลอก (ก็อปปี้) จากเอกสารของวิทยาลับยการทัพเรือ
ซึี่งเป็นเอกสารวิทยานิพนธ์ของนายชิดชัย พานิชพัฒน์ นทน. วทร. รุ่น ๒๒ เมื่อปี ๒๕๓๓
และเมื่อตรวจสอบในรายละเอียดทั้งหมด
ปรากฏว่า เนื้อหาในวิทยานิพนธ์ เหมือนกันทุกหน้า
ตั้งแต่หน้าแรกถึงหน้าสุดท้าย จะมีเพียง "บทนำ" ย่อหน้าแรกเท่านั้นที่ถูกเขียนขึ้นใหม่
นี่คือ "ผู้ซื่อสัีตย์" ของประเทศไทย
http://www.go6tv.com/2012/01/blog-post_21.html
ชมภาพ นายกฯปู แถลงข่าวการจัดการทรัพยากรน้ำ+รับแขกต่างประเทศ 20ม.ค.55
ที่มา thaifreenews
โดย น่ารัก ก็ไม่บอก
คลิ้กชมภาพทั้งหมด ที่นี่
รู้สึกว่าช่วงนี้เฉลิมจะเงียบไปในการไล่ปราบ เวบ คือ ดีแล้ว ไม่ต้องพูดก็ถึงก็ได้
ที่มา thaifreenews
โดย ลูกชาวนาไทย
งานที่คุณถนัดคืองานตำรวจ สอบสวนโน้นนี่นั่น
แต่อย่าไปยั่งกับ เรื่อง 112 เรื่องแก้รัฐธรรมนูญ เพราะถึงอย่างไร คนที่ให้การสนับสนุนพรรคเพื่อไทย เป็นพวกก้าวหน้า และต้องการปฎิรูปสิ่งเหล่านี้อยู่แล้ว
ไม่ทำตัวเป็นพวกล้าหลังในพวกก้าวหน้านั้นดีอยู่แล้ว
ยังไงพวกอำมาตย์ หรือพวกเสื้อเหลือง ก็ไม่ลงคะแนนให้พวกคุณ ไม่ต้องไปเอาใจพวกมัน
อนุดิษฐ์ อีกคน เงียบไปเรื่องเว็บ
ไปทำเรื่อง 3G เรื่อง Wifi ดีกว่า
เห็น แล้วใช่ไหมว่า เจ้ปูนั้น เฉียบขาดแค่ไหน บทเจ้จะปลด ปรับออก เจ้ก็เอาออกได้ไม่ยากนั้น จะต่อรองกับเจ้แกได้ ต้องมีผลงาน และไม่ไปไล่ทุบ ไล่ฆ่ามวลชนหลักของพรรค
(ได้ข่าวว่ายงยุทธ์ วิชัยดิษฐ์รอดได้ เพราะพวกเสื้อแดงช่วย ยงยุทธฉลาด ที่ตั้งกลุ่มเสื้อแดงไปอยู่ใกล้ตัวทำให้ได้รับแรงสนับสนุน ทางการเมืองจากแกนนำเสื้อแดงฟพอสมควร)
ตอนนี้บทบาทการเมืองรูปแบบ เดิม เช่นประจบสื่อกระแสหลัก แล้วให้สัมภาษณ์ โชวนั้น มันไม่รอดแล้ว เพราะคนเลือกข้าง สัมภาษณ์ไล่บี้ฐานเสียงของตัวเอง สุดท้ายคนก็คงทนไม่ได้
เงียบ ไม่พูดถึง ไม่ต้องแห่ ไม่ต้องให้ความสำคัญ กับพวกอำมาตย์นั้นดีแล้ว
ผมไม่คิดว่า "คุณณัฐวุฒิ" จะโง่ ให้คุณบรรหารกีดกันได้ในการบริหาร ก.เกษตร
ที่มา thaifreenews
โดย ลูกชาวนาไทย
คือ หากเรามองตามที่คนวิเคราะห์ และเรื่องที่เกิดขึ้นกับ รมช.พรศักดิ์ ของพรรคเพื่อไทย ที่ถูกปลดออกไป ว่ากระทรวงเกษตรฯ นั้นคุณบรรหารรวบอำนาจรัฐมนตรีว่าการ ยังเป็นแค่ปลัดกระทรวงเลย หัวโต๊ะน้้นคุณบรรหารนั่ง ส่วนรัฐมนตรีช่วย ที่ไปจากพรรคเพื่อไทยนั้น ไม่ได้รับการเหลียวแล หรือมีบทบาทอะไรเลย
ผมว่าการวิเคราะห์สถานการณ์แบบนี้คือการวิเคราะห์จากข้อมูลเก่า (ซึ่งก็เป็นข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริง)
ผม ว่าคุณบรรหาร (รมต.ตัวจริง) คงไม่แคร์ รมช.ช่วยพรรคเพื่อไทย คนเดิม เพราะเป็นนักการเมืองเด็กๆ โนเนม ไม่สนใจก็ไม่มีความหมายอะไร จะโวย ก็ไม่เห็นโวยเลย เงียบรอให้บรรคหารมอบหมายงานให้ แบ่งอำนาจให้
อำนาจ ไม่ใช่สิ่งที่จะร้องขอแล้วจะได้มา เพราะมันคนละพรรค เมื่อคุณไม่โวย เรื่องอะไรผมจะให้ ดันโง่ เงียบเสียงเองนี่หว่า ทั้งๆ ที่หากคุณโวยจริง ๆ ผมก็คงแบ่งงานกันชัดเจน หากไม่ชัดคุณก็โวยอีก ผมก็เสีย
กับคุณณัฐ วุฒิ ผมว่าคุณณัฐวุฒิ คงไม่โง่ที่จะเงียบ รอให้ รมต.เกษตร มอบหมายงานให้ ก็ต้องเจรจา ของแบ่งกรมกันดูแลเลย อันนี้เป็นเรื่องปกติ ของการเป็น รมช. หากเขาไม่ให้ ก็ออกมาให้สัมภาษณ์สื่อให้แรง ว่า รมต. ห่วงงาน ไม่แบ่งงานมอบกระทรวงให้ จะเอาเรื่องในไปคุยใน ครม. แค่นี้ผมว่า พรรคชาติไทย ก็ต้องแบ่งงานให้
ไม่ใช่ไร้กึ๊นอมสากเหมือน รมช.คนที่โดนปลด หากพรรคชาติไทยอมพะนำ มันก็กลายเป็นสงครามระหว่างพรรค สุดท้ายพรรคเพื่อไทยอาจหาเรื่องยึดกระทรวงเกษตรคืน
คุณณัฐวุฒิต้องไม่เงียบ หรืออมพะนำเกรงใจ ทั้งบรรหาร และ รมต.เกษตร
ใน ทางการเมืองนั้นคุณณัฐวุฒิมีแฟนคลับมากมาย มีคุณค่าสำหรับพรรคเพื่อไทย เพราะเป็นคนเดียวที่ได้ขึ้น ฮ.บินไปหาเสียงกับนายกฯปู เรียกว่า เป็น "ลูกคนโปรด" ของพรรคเพื่อไทยเลยก็ว่าได้ เพราะณัฐวุฒิคนเดียวก็เรียกคะแนนได้มหาศาลแล้ว มีจังหวะ พรรคเพื่อไทยก็ต้องหาตำแหน่ง เพื่อฟูมฟักให้เติบโตเป็นกำลังหลัก ที่ต้องล่ามา เพราะคงรอจังหวะ และสู้แรงต้านของฝ่ายตรงข้ามอยู่
ผม ว่าบรรหาร เขาก็คงต้องผูกไมตรีเอาไว้ เพราะในอนาคต ก็ต้องเจรจาทำงานร่วมกันต่อไป ณัฐวุฒิกำลังเติบโตทางการเมือง คงไม่มีนักการเมืองอยากเป็นศัตรู (ยกเว้นพรรค ปชป.) บรรหารก็ต้องผูกมิตร เอาไว้
สรุปคือ ณัฐวุฒิคงไม่เงียบ หากโดนกันท่า
แต่หากทิ้งโง่ ผมก็คงช่วยไม่ได้ เหมือน รมช.คนที่โดนปลดไป
Re:
ผมว่าวันจันทร์ที่ 21 มกราคมนี้ คุณณัฐวุฒิเข้าไปทำงานวันแรก ก็ขอพบ รมต.เกษตร แสดงความคารวะ และเข้าหารือ เรื่องการแบ่งงานเลยครับ ยังไงก็ไม่ต้องรอให้เขาแบ่งมาให้ เพราะมันเป็นเรื่องธรรมดา ของระบบพรรค ที่ต้องแบ่งงานกันกับรัฐมนตรีเจ้ากระทรวงอยู่แล้ว
คุณณัฐวุฒิเข้าไป เป็น รมช. เกษตรฯ ในนามตัวแทนของพรรคเพื่อไทย พรรคแกนนำรัฐบาล และคุณณัฐวุฒิมีฐานะใหญ่อีกอันหนึ่งคือ "เป็นแกนนำใหญ่เสื้อแดง" ดังนั้น ศักดิ์และศรีมีมากกว่า รมต.ว่าการ เสียอีก การแบ่งงานให้ชัดเจน โดยเอาภารกิจที่จะต้องวางแผนป้องกันน้ำท่วม และการประสานงานกับแผนจัดการน้ำในภาพรวม
คือ ในนามพรรค ก็ต้องไปดึงงานของ ก.เกษตร กลับคืนมาให้มากที่สุด เพื่อความสะดวกในการวางแผนจัดการน้ำในปีหน้า ซึ่งเป็นจุดเป็นตายของรัฐบาล
นายกฯ ปู คงต้องการให้คุณณัฐวุฒิไปทำตรงนี้ โดยอาศัยความสามารถส่วนตัวของคุณณัฐวุฒิ ไปผลักให้กระทรวงเกษตร เดินหน้ากับเรื่องแผนบริหารจัดการน้ำฯ
หากเจรจาไม่ได้ ก็ลุยเรื่องเอากระทรวงนี้คืนเลยครับ เพราะเรื่องจัดการน้ำฯ มันรอไม่ได้ คุณณัฐวุฒิลุยเรื่องนี้ เรื่องเดียวก็ใหญ่แล้วครับ
ชมภาพ นายกฯ ปู พบ เปรม (ฉบับสมบูรณ์ เกือบ100 ภาพ) 19ม.ค.55
ที่มา thaifreenews
โดย น่ารัก ก็ไม่บอก
คลิ้กชมภาพทั้งหมด ที่นี้
ฮิซบุลลอฮ์กับการก่อการร้ายในไทย ควรฟังข่าวจากหลายฝ่าย
ที่มา ประชาไท
ส.ส.US ถอนร่างกฎหมาย SOPA จากวาระของสภาฯ แล้ว
ที่มา ประชาไท
กรณีสภาคองเกรสของสหรัฐอยู่ระหว่างพิจารณาร่างกฎหมาย Stop Online Piracy Act หรือ SOPA ซึ่งเป็นกฏหมายที่ให้อำนาจรัฐในการปิดกั้นเว็บไซต์ด้วยเหตุผลจากการละเมิด ทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งก่อให้เกิดข้อถกเถียงและปฏิบัติการต่อต้านในโลกออนไลน์อย่างกว้างขวาง ล่าสุด เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ส.ส. ลามาร์ สมิธ (Lamar Smith) จากพรรครีพับลิกัน เจ้าของร่างกฎหมาย SOPA ก็ประกาศถอนร่างนี้ออกจากวาระของสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐแล้ว
สมิธ ยอมรับว่าร่างกฎหมายของเขาได้รับเสียงวิจารณ์มากมาย และเขารับฟังเสียงเหล่านี้ จึงตัดสินใจถอนร่างออกจากสภา อย่างไรก็ตาม เขาบอกว่าประเด็นเรื่องการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาบนโลกอินเทอร์เน็ตเป็น สิ่งสำคัญ เพียงแต่เขาจะทบทวนวิธีการแก้ไขปัญหาลิขสิทธิ์ที่สร้างความขัดแย้งใน SOPA อีกครั้ง
ส่วนร่างกฎหมายอีกฉบับหนึ่งคือ PIPA ที่เสนอเข้าวุฒิสภาของสหรัฐ ทางผู้นำเสียงข้างมากของวุฒิสภาคือ วุฒิสมาชิก แฮร์รี่ รี้ด (Harry Reid) ก็ประกาศว่าจะเลื่อนการลงมติออกไปก่อน
ประธานมูลนิธิ รร.เตรียมทหาร ปลุกทหารปฏิวัติค้านแก้ ม.112
ที่มา ประชาไท
เสื้อแดงชุมนุมรำลึก 1 ปี 8 เดือน สลายชุมนุมราชประสงค์
ที่มา ประชาไท
ล้านคำบรรยาย การ์ตูนเซีย 21/01/55 แย่งเิงินกับผี....
ที่มา blablabla
โดย 3บลา ประชาไท
พวกที่ออก..มาตะแบง แย่งเงินผี
ลองตายซี พวกอุบาทว์ สัญชาติหมา
ลองเจ็บปวด ลองสูญเสีย เลียน้ำตา
ลองถูกฆ่า ให้ดับดิ้น สิ้นชีวี....
เหตุที่เกิด เพราะใครกัน มันสั่งฆ่า
ทำมารยา เล่นลิ้น สิ้นศักดิ์ศรี
หยามคนตาย ทับถม จมธรณี
โคตรอัปรีย์ ไอ้แก๊งค์ชั่ว มั่วมากมาย....
เงินกี่ล้าน กี่แสน แทนได้หรือ?
คนตายคือ ผู้ด่าวดิ้น สิ้นสลาย
ก็พวกมึง สั่งไล่ล่า ฆ่าเขาตาย
ยังวุ่นวาย คัดค้าน สามานย์จริง....
เผยทาสแท้ พวกระยำ เห็นซ้ำซาก
คำสำราก เบี่ยงเบน เห็นทุกสิ่ง
ใช้วาจา ย้อนยอก หลอกเหมือนลิง
ผีเข้าสิง หรือไร ไอ้ใจดำ....
พวกหน้าด้าน มาตะแบง แย่งเงินผี
สร้างอัปรีย์ ยับเยิน เกินนั่งขำ
แสนเบื่อหน่าย พวกจัญไร ใจระยำ
ขอให้กรรม ตามไล่บี้ จี้พวกเลว....
๓ บลา / ๒๑ ม.ค.๕๕
ถามเหลิม?เอาไงรีบว่ามาลิ้มก่อกบฎโทษประหารชัด
ที่มา Thai E-News
โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
21 มกราคม 2555
นายสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้นำสูงสุดพันธมิตร กลุ่มเคลื่อนไหวการเมืองปฏิกริยาขวาจัด ได้กล่าวบนเวทีเสวนาปีใหม่ ตรุษจีน และเผยแพร่ทางเครือข่ายสื่อASTV ผู้จัดการในหัวข้อข่าวเรื่อง “สนธิ” จี้ทหารจับมือภาค ปชช.ปฏิวัติ ยึดอำนาจรัฐ ปกป้องสถาบัน
โดยนายสนธิกล่าวว่า การชุมนุมเคลื่อนไหวในครั้งต่อไป ไม่ใช่ออกมาสู้บนถนนอีก แต่ต้องยึดอำนาจรัฐสถานเดียว และต้องถึงคราวแตกหัก ไม่เช่นนั้นพระเจ้าอยู่หัวจะอยู่ไม่ได้ หากทหารไม่ทำหน้าที่ปกป้องสถาบันกษตริย์ พี่น้องพันธมิตรฯจะทำหน้าที่เอง เราจะไม่ปล่อยให้พวกแมลงสาบออกมาตีกินอีก พร้อมเรียกร้องให้ทหารร่วมมือประชาชนรีบออกมาปฏิวัติโดยเร็ว เพื่อยึดอำนาจรัฐให้เบ็ดเสร็จเด็ดขาด(รับฟังเสียง)
ผมจะบอกให้รู้ว่าผมไม่ได้นั่งเฉยๆ ผมเตรียมพร้อมทุกวินาทีที่จะออกมาสู้ แล้วสู้ครั้งนี้ พี่น้อง ไม่ใช่มาประท้วงที่ถนน จะต้องสู้เพื่อยึดอำนาจรัฐเลย ต้องสู้เพื่อแตกหัก เพราะถ้าไม่แตกหักแล้ว พระเจ้าอยู่หัวเราไปไม่รอด ผมเป็นคนแรกที่ผมบอกว่า ทหารเท่านั้นที่จะเป็นเสาค้ำพระเจ้าอยู่หัว แต่ถ้าทหารไม่สามารถจะค้ำได้ อีกไม่นานพวกเราคงต้องออกมาค้ำพระเจ้าอยู่หัว และถ้าออกมาครั้งนี้ ต้องชนะอย่างเด็ดขาด ไม่มีการตีงูให้กากิน แล้วก็ไม่มีการที่จะให้ไอ้พวกแมลงสาบมาตีกินพวกเราอีก ผมเชื่อว่าในที่สุดแล้ว มีพลังของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเท่านั้นที่จะค้ำจุนประเทศชาติได้ ทหารอย่านั่งเฉย รีบออกมาปฏิวัติเสีย แล้วพันธมิตรฯ ทั่วประเทศจะออกมาร่วมกับทหารยึดประเทศไทยคืนมาจากไอ้พวกชั่วๆ
ทั้งนี้การกระทำดังกล่าวของนายสนธิเป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายอาญามาตรา 113 มาตรา 114 มาตรา 116 ฐานความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร ซึ่งระบุว่า
มาตรา 113 ผู้ใดใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย เพื่อ
(1) ล้มล้างหรือเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ
(2) ล้มล้างอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร หรืออำนาจตุลาการแห่งรัฐธรรมนูญหรือให้ใช้อำนาจดังกล่าวแล้วไม่ได้ หรือ
(3) แบ่งแยกราชอาณาจักรหรือยึดอำนาจปกครองในส่วนหนึ่งส่วนใดแห่งราชอาณาจักร
ผู้นั้นกระทำความผิดฐานเป็นกบฏ ต้องระวางโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต
มาตรา 114 ผู้ใดสะสมกำลังพลหรืออาวุธ ตระเตรียมการอื่นใดหรือสมคบกัน เพื่อเป็นกบฏ หรือกระทำความผิดใด ๆ อันเป็นส่วนของแผนการ เพื่อเป็นกบฏ หรือยุยงราษฎรให้เป็นกบฎหรือรู้ว่ามีผู้จะเป็นกบฎแล้วกระทำการใดอันเป็นการ ช่วยปกปิดไว้ ต้องระวาง
โทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี
มาตรา 116 ผู้ใดกระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือหรือวิธีอื่นใดอันมิใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือมิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริต
(1) เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกฎหมายแผ่นดินหรือรัฐบาล โดยใช้กำลังข่มขืนใจหรือใช้กำลังประทุษร้าย
(2) เพื่อให้เกิดความปั่นป่วน หรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร หรือ
(3) เพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี
สำหรับเครือข่ายASTVผู้จัดการ กระบอกเสียงพันธมิตรที่เผบแพร่การกระทำความผิดของนายสนธิถือว่ากระทำผิดมาตรา มาตรา 85 วรรคหนึ่ง
"ผู้ใดโฆษณาหรือประกาศแก่บุคคลทั่วไปให้กระทำความผิด และความผิดนั้นมีกำหนดโทษไม่ต่ำกว่าหกเดือน ผู้นั้นต้องระวางโทษกึ่งหนึ่งของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น
ถ้าได้มีการกระทำความผิดเพราะเหตุที่ได้มีการโฆษณาหรือประกาศตามความในวรรคแรก ผู้โฆษณาหรือประกาศต้องรับโทษเสมือนเป็นตัวการ"
มาตรา 90 "เมื่อการกระทำใดอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษแก่ผู้กระทำความผิด"
ได้มีการวิพากษ์วิจารณ์ในสังคมโซเชียลเน็ตเวิร์คอย่างแพร่หลาย และเรียกร้องรัฐบาล โดยเฉพาะรองนายกฯเฉลิม อยู่บำรุง ดำเนินคดีกับนายสนธิ เพราะความผิดชัดแจ้ง
ทั้งนี้เมื่อพบเห็นนายสนธิกระทำผิดกฎหมายชัดแจ้ง หากเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจตามกฎหมายละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ไม่นำนายสนธิ ดำเนินคดีตามกฎหมาย เจ้าหน้าที่นั้นมีความผิดตามมาตรา 157 ซึ่งระบุไว้ว่า
ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติ หน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ โดยทุจริต ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองหมื่นบาทหรือ ทั้งจำทั้งปรับ
คลิปวีดีโอ งานกลับสู่แสงสว่าง โดยกลุ่มกวีราษฎร์
ที่มา Thai E-News
โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
กลับสู่แสงสว่าง โดยกลุ่มกวีราษฎร์
เทศกาลศิลปะ บทกวี ดนตรี ภาพถ่าย ฉายหนัง
15-21 มกราคม 2555
อนุสรณ์สถาน14ตุลา แยกคอกวัว
บทกวีเรื่องเล่าจากนครแห่งความมืดบอด : แก้วตา ธัมอิน
เขียนโดย ทางเท้า อ่านโดย แก้วตา
บทกวีโดย มูฮัมหมัด ฮารีส กาเหย็ม
เจตน์จำนงกวีราษฎร์ - เดือนวาด พิมวนา
อนุสาวรีย์แห่งความเกลียดชังที่สร้างขึ้นจากก้อนอิฐของคนเคยรัก
เพียงคำ ประดับความ
หลุดเข้าทางตีน!โจรกบฎลิ้มรนหาที่มีโทษประหาร
ที่มา Thai E-News
โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
21 มกราคม 2555
นายสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้นำสูงสุดพันธมิตร กลุ่มเคลื่อนไหวการเมืองปฏิกริยาขวาจัด ได้กล่าวบนเวทีเสวนาปีใหม่ ตรุษจีน และเผยแพร่ทางเครือข่ายสื่อASTV ผู้จัดการในหัวข้อข่าวเรื่อง “สนธิ” จี้ทหารจับมือภาค ปชช.ปฏิวัติ ยึดอำนาจรัฐ ปกป้องสถาบัน
โดยนายสนธิกล่าวว่า การชุมนุมเคลื่อนไหวในครั้งต่อไป ไม่ใช่ออกมาสู้บนถนนอีก แต่ต้องยึดอำนาจรัฐสถานเดียว และต้องถึงคราวแตกหัก ไม่เช่นนั้นพระเจ้าอยู่หัวจะอยู่ไม่ได้ หากทหารไม่ทำหน้าที่ปกป้องสถาบันกษตริย์ พี่น้องพันธมิตรฯจะทำหน้าที่เอง เราจะไม่ปล่อยให้พวกแมลงสาบออกมาตีกินอีก พร้อมเรียกร้องให้ทหารร่วมมือประชาชนรีบออกมาปฏิวัติโดยเร็ว เพื่อยึดอำนาจรัฐให้เบ็ดเสร็จเด็ดขาด
ผมจะบอกให้รู้ว่าผมไม่ได้นั่งเฉยๆ ผมเตรียมพร้อมทุกวินาทีที่จะออกมาสู้ แล้วสู้ครั้งนี้ พี่น้อง ไม่ใช่มาประท้วงที่ถนน จะต้องสู้เพื่อยึดอำนาจรัฐเลย ต้องสู้เพื่อแตกหัก เพราะถ้าไม่แตกหักแล้ว พระเจ้าอยู่หัวเราไปไม่รอด ผมเป็นคนแรกที่ผมบอกว่า ทหารเท่านั้นที่จะเป็นเสาค้ำพระเจ้าอยู่หัว แต่ถ้าทหารไม่สามารถจะค้ำได้ อีกไม่นานพวกเราคงต้องออกมาค้ำพระเจ้าอยู่หัว และถ้าออกมาครั้งนี้ ต้องชนะอย่างเด็ดขาด ไม่มีการตีงูให้กากิน แล้วก็ไม่มีการที่จะให้ไอ้พวกแมลงสาบมาตีกินพวกเราอีก ผมเชื่อว่าในที่สุดแล้ว มีพลังของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเท่านั้นที่จะค้ำจุนประเทศชาติได้ ทหารอย่านั่งเฉย รีบออกมาปฏิวัติเสีย แล้วพันธมิตรฯ ทั่วประเทศจะออกมาร่วมกับทหารยึดประเทศไทยคืนมาจากไอ้พวกชั่วๆ
ทั้งนี้การกระทำดังกล่าวของนายสนธิเป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายอาญามาตรา 113 มาตรา 114 มาตรา 116 ฐานความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร ซึ่งระบุว่า
มาตรา 113 ผู้ใดใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย เพื่อ
(1) ล้มล้างหรือเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ
(2) ล้มล้างอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร หรืออำนาจตุลาการแห่งรัฐธรรมนูญหรือให้ใช้อำนาจดังกล่าวแล้วไม่ได้ หรือ
(3) แบ่งแยกราชอาณาจักรหรือยึดอำนาจปกครองในส่วนหนึ่งส่วนใดแห่งราชอาณาจักร
ผู้นั้นกระทำความผิดฐานเป็นกบฏ ต้องระวางโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต
มาตรา 114 ผู้ใดสะสมกำลังพลหรืออาวุธ ตระเตรียมการอื่นใดหรือสมคบกัน เพื่อเป็นกบฏ หรือกระทำความผิดใด ๆ อันเป็นส่วนของแผนการ เพื่อเป็นกบฏ หรือยุยงราษฎรให้เป็นกบฎหรือรู้ว่ามีผู้จะเป็นกบฎแล้วกระทำการใดอันเป็นการ ช่วยปกปิดไว้ ต้องระวาง
โทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี
มาตรา 116 ผู้ใดกระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือหรือวิธีอื่นใดอันมิใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือมิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริต
(1) เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกฎหมายแผ่นดินหรือรัฐบาล โดยใช้กำลังข่มขืนใจหรือใช้กำลังประทุษร้าย
(2) เพื่อให้เกิดความปั่นป่วน หรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร หรือ
(3) เพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี
สำหรับเครือข่ายASTVผู้จัดการ กระบอกเสียงพันธมิตรที่เผบแพร่การกระทำความผิดของนายสนธิถือว่ากระทำผิดมาตรา มาตรา 85 วรรคหนึ่ง
"ผู้ใดโฆษณาหรือประกาศแก่บุคคลทั่วไปให้กระทำความผิด และความผิดนั้นมีกำหนดโทษไม่ต่ำกว่าหกเดือน ผู้นั้นต้องระวางโทษกึ่งหนึ่งของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น
ถ้าได้มีการกระทำความผิดเพราะเหตุที่ได้มีการโฆษณาหรือประกาศตามความในวรรคแรก ผู้โฆษณาหรือประกาศต้องรับโทษเสมือนเป็นตัวการ"
มาตรา 90 "เมื่อการกระทำใดอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษแก่ผู้กระทำความผิด"
ทั้งนี้เมื่อพบเห็นนายสนธิกระทำผิดกฎหมายชัดแจ้ง หากเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจตามกฎหมายละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ไม่นำนายสนธิ ดำเนินคดีตามกฎหมาย เจ้าหน้าที่นั้นมีความผิดตามมาตรา 157 ซึ่งระบุไว้ว่า
ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติ หน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ โดยทุจริต ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองหมื่นบาทหรือ ทั้งจำทั้งปรับ
ผมเชียร์ พล.อ.อ.สุกำพล รมต.กลาโหมสุดลิ่ม ให้ชนกับกองทัพ จัดแถวทหารครับ
ที่มา thaifreenews
โดย ลูกชาวนาไทย
วันนี้การเมืองเลือกข้าง แบ่งสี แบ่งขั้ว เลือกอุดมการณ์ รับเงินหมาแต่กาเบอร์ 1 แล้ว
โวหารคารม การโจมตี ป้ายสี ไม่มีความหมายแล้ว
การ ปิดล้อมทางสื่อ การสาดโคลนข้างเดียว หากมันได้ผล ป่านนี้พรรคเพื่อไทย แพ้เลือกตั้งกราวรูด แตกกระจัดกระจาย กลายเป็นพรรคต่ำสิบไปนานแล้ว นายมาร์คคงได้เป็นนายกฯ จากการเลือกตั้งคะแนนท้วมท้นรอบสองไปแล้ว
แนว รบวันนี้อยู่ที่กระทรวงกลาโหม แม้ทุกฝ่ายจะสัมภาษณ์ว่าไม่มีปัญหา แต่การให้สัมภาษณ์แบบนี้มันคือ "มีปัญหา และกำลังตั้งป้อมคอยดู" หากไม่มีปัญหาจริงๆ ก็คงไม่มีใครพูดอะไร รอต้อนรับรัฐมนตรีอย่างเดียวไปนานแล้ว
พล.อ.อ.สุกำพล ในที่สุดก็คงเข้าไปแก้ไขบางอย่างในกระทรวงกลาโหม สลายความพร้อมที่จะทำรัฐประหาร และการสืบต่อสายอำนาจของพวกนายทหารที่เติบโตมาจากการทำรัฐประหารในปี 2549 แน่นอน
การที่ พล.อ.เปรม ยอมออกมาพบกับนายกฯปู แล้วมีการตีภาพข่าวของการปรองดองกระพือกันเต็มที่ ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้ไม่มีมาก่อน นั้นแสดงให้เห็นชัดเจนว่า ฝ่ายตรงข้ามนั้น "หวั่นไหว" อย่างเต็มที่จึงต้อง "มีการเคลื่อนไหว" ให้เราเห็นว่า จากสงบนิ่งเป็นขยับบ้างแล้ว
วันนี้กองทัพไทยนั้น แม้จะยังมีอุดมการณ์แบบอำมาตย์ แต่มันก็พ้นยุค "ขุนศึก" ไปนานแล้ว การทำรัฐประหาร ด้วยเงื่อนไขว่า "เพราะถูกย้าย" เลยใช้กองทัพมาปกป้องตนเองนั้น ผมไม่คิดว่ามันจะสามารถทำได้ในเงื่อนไขการเมืองที่กำลังเผชิญหน้า การจัดตั้งของคนเสื้อแดงเข็มแข็ง และชาวโลกจ้องตาเขม็งอยู่ แล้วกองทัพก็มาทำรัฐประหาร เพราะ พล.อ.ประยุทธื จันโอชา และพวก บูรพาพยัคฆ์โดนย้าย
หากเกิดขึ้นในประเทศไทยตอนนี้ แสดงว่ากองทัพไทยังล้าหลังทางความคิดอย่างยิ่ง
แน่ นอนการทำรัฐประหารปี 2549 ไม่ใช่การทำรัฐประหารของกองทัพ แต่เป็นการทำรัฐประหาร "ของชนชั้นนำ" พวกอำมาตย์ โดยใช้กองทัพเป็นเครื่องมือ
เป็นการทำรัฐประหารเพื่อผลประโยชน์ของชนชั้น ไม่ใช่ผลประโยชน์ส่วนตัวของ นายพลคนใดในกองทัพ ที่เป็นเรื่องส่วนตัวเพียวๆ
วันนี้ไม่มีนายพลคนใดของไทย มีบารมีขนาดนั้น แบบนั้นมันต้อง นายพลเนวิน หรือนายพลซอหม่องของพม่าแล้ว
วันนี้ กองทัพทำรัฐประหารได้ด้วยความยากลำบาก ดังนั้นอำนาจต่อรองของกองทัพจริงๆ นั้น "มีไม่มากนัก" นอกจากเป็นอำนาจการบลั๊ฟหรือขู่เท่านั้น หาก "พล.อ.อ.สุกำพล" ไม่แคร์กับการบลัีพนั้น สิ่งที่เหลือป้องกันตัวของทหารมีอย่างเดียวคือ พรบ.จัดระเบียบกลาโหม เท่านั้น
เกมจะไปอยู่ตรงการแก้ไข พรบ.จัดระเบียบกลาโหมแน่นอน
ยก เว้นว่าฝ่าย พล.อ.ประยุทธ์จะฉลาดกว่าเมื่อปีที่แล้ว คือ "แทนที่จะถอยสักก้าวสองก้าว" เพื่อให้ฝ่ายตรงข้ามไม่จนมุมจนต้องแตกหัก ต้องเปลี่ยนเอา พล.อ.อ.สุกำพล มาแทน พล.อ.ยุทธศักดิ์ ปีที่แล้วหากประยุทธ์ ฉลาดกว่านี้ ยอมถอยสักสองก้าว ให้มีการเปลี่ยนโผได้ในระดับที่ ตัวเองไม่เสียฐานสำคัญ การรุกหนักของพรรคเพื่อไทยในวันนี้ก็ไม่เกิดขึ้น
การไม่ถอยแม้แต่ก้าวเดียว สุดท้ายก็จะโดนกินทั้งกระดานเป็นแน่
เพราะ ประยุทธ์จริงๆ ก็ไม่เหลืออะไร นอกจาก พรบ.จัดระเบียบกลาโหม กับ จำนวนเสียงโหวต ของ ผบ.เหล่าทัพเท่านั้น แต่หาก พรบ.โดนแก้ไข อำนาจต่อรองตรงนี้ก็หมดไป
วันนี้ผมเชียร์ พล.อ.อ.สุกำพล ครับ
แม้ตอนรับตำแหน่ง รมต.คมนาคม ผลงานไม่ประทับใจมากนัก แต่นั่นเป็นเพราะใช้คนไม่ถูกกับงาน เท่านั้นเอง
ใช้คนตาบอดให้ไปเย็บผ้า สอดรูเข็ม ถึงอย่างไรมันก็ไปไม่รอด คนตาบอดต้องเอาไปหมุนกี่ทอผ้า หมุนอย่างเดียวไม่ต้องทำอย่างอื่น
Friday, January 20, 2012
ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์: อมตภาพของสมบูรณาญาสิทธิราชย์
ที่มา ประชาไท
ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์
การปฏิวัติที่ไม่เสียเลือดเนื้อในปี 2475 ทำให้ประเทศสยามสามารถล้มเลิกระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่มี อายุนับร้อยปีแล้วแทนที่ด้วยระบอบประชาธิปไตยอันมีรัฐธรรมนูญได้สำเร็จ ในฐานะที่เป็นประเทศเดียวในภูมิภาคนี้ที่ไม่เคยตกเป็นอาณานิคม (อย่างเป็นทางการ) ของมหาอำนาจตะวันตก สิ่งนี้เองที่ทำให้สยามมีความภาคภูมิใจในอิสรภาพเป็นอย่างมาก นักประวัติศาสตร์ฝ่ายอนุรักษ์นิยมส่วนใหญ่เห็นว่าเกียรติยศของสยามประเทศดัง กล่าวล้วนได้มาด้วยพระปรีชาสามารถและวิสัยทัศน์อันกว้างไกลของบูรพกษัตริย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (2411 - 2453) ซึ่งปกครองราชอาณาจักรในช่วงที่กระแสการล่าอาณานิคมในเอเชียตะวันออกเฉียง ใต้ขึ้นสู่จุดสูงสุด กลยุทธ์อันแยบคายในการบริหารความสัมพันธ์กับมหาอำนาจนอกราชอาณาจักรของ พระองค์นั้นได้รับการยกย่องสรรเสริญเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม พระปรีชาสามารถที่ยากจะหาผู้เปรียบได้ของพระองค์กลับก็ไม่สามารถรับประกัน ความยั่งยืนของระบอบราชาธิปไตยได้ เพียง 22 ปีหลังการสวรรคตของพระจุลจอมเกล้าฯ ประเทศไทยก็ได้พานพบกับการล่มสลายของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ในสองรัชสมัยถัดมาคือ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (2453-2468) และพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (2468-2478) ได้แสดงให้เห็นว่าไม่สามารถปรับตัวให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของสภาวการณ์ ทางการเมืองได้ จนถึงวันนี้เกือบ 80 ปีผ่านไปแล้วนับจากการล่มสลายของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แม้พระมหากษัตริย์ในรัชกาลปัจจุบันจะทรงประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูงในการ ฟื้นฟูและเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับสถานภาพและพระราชอำนาจของสถาบัน กษัตริย์ตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา แต่การแปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่เกิดขึ้นนับตั้งแต่รัฐประหารในปี 2549 นั้น ได้สร้างความสั่นคลอนให้กับสถาบันกษัตริย์ คำถามสำคัญจึงอยู่ที่ ภายใต้สถานการณ์เช่นนี้ สถาบันกษัตริย์จะสามารถพิสูจน์ให้เห็นถึงความยืดหยุ่น และที่สำคัญกว่าคือความยึดโยงกับสังคมไทยสมัยใหม่อยู่ต่อไปได้หรือไม่ ทั้งนี้ หากมองไปรอบๆ ตัวเราจะพบว่า ระบบราชาธิปไตยของหลายๆ ประเทศในโลกต่างประสบชะตากรรมในทำนองเดียวกันเพียงเพราะว่าไม่สามารถอยู่ ร่วมกับระบอบประชาธิปไตยได้
บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่ออธิบายถึงบทบาทของสถาบันกษัตริย์ไทยต่อบริบท ทางการเมือง โดยต้องการคลายปมปัญหาสำคัญข้อหนึ่งที่ว่า : อะไรคือมรดกตกทอดของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และสิ่งนี้ได้หล่อหลอมวัฒนธรรมทางการเมืองไทยในหลายปีที่ผ่านมาอย่างไร เราอาจพูดได้ว่า ถึงแม้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์จะได้ล่มสลายไปหลายทศวรรษ แล้ว แต่ยังคงมีผลกระทบครอบงำองคาพยพทางการเมืองไทยอย่างยิ่งยวด อาจถึงขนาดที่เป็นอุปสรรคต่อกระบวนการประชาธิปไตย และตอกย้ำให้ความแตกแยกทางการเมืองที่กำลังขยายตัวแตกร้าวหนักยิ่งขึ้น นี่คือหนึ่งในมูลเหตุเบื้องหลังความรุนแรงทางการเมืองที่เกิดขึ้นในช่วงไม่ กี่ปีที่ผ่านมานี้ การก้าวขึ้นสู่อำนาจของ พตท ทักษิณ ชินวัตร ในปี 2544 ถูกมองว่าเป็นภัยคุกคามต่ออมาตยชน วิธีหนึ่งที่ใช้จัดการกับภัยคุกคามนี้ได้คือการกล่าวหาว่าทักษิณกำเริบ เสิบสาน และไม่จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ ในกระบวนการนี้ กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญเพื่อจัดการกับฝ่าย ตรงข้ามและผู้มีความเห็นต่างทางการเมือง แต่การใช้สถาบันกษัตริย์เป็นเครื่องมือทางการเมืองนั้นกลับส่งผลในทางตรงกัน ข้าม กล่าวคือ ได้ส่งผลให้สถาบันกษัตริย์อ่อนแอลงอย่างมาก บทความนี้เสนอแนะว่า การจะรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ให้ยืนยงสืบไปได้นั้น ฝ่ายราชานิยมต้องยินยอมพร้อมใจให้มีการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์อย่างแท้จริง รวมถึงกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่มีความล้าหลัง กลุ่มราชานิยมจะต้องเลิกสมมติอย่างทึกทักไปเองฝ่ายเดียวว่า สถาบันกษัตริย์ยังได้รับความจงรักภักดี (โดยปราศจากคำถาม) จากคน ไทยทุกคน—ซึ่งนี่อาจจะไม่เป็นความจริงอีกต่อไปแล้ว
วิญญาณหลอนของสมบูรณาญาสิทธิราชย์
แม้ว่าระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์จะจบสิ้นไปนานแล้ว แต่อิทธิพลของระบอบนี้ยังคงมีอยู่อย่างท่วมท้นและทรงพลานุภาพยิ่ง หากมองย้อนกลับไป จุดประสงค์ดั้งเดิมของการเลิกล้มระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้นก็เพื่อยกเลิก รูปแบบการปกครองที่ถือว่าไม่มีอารยะ และเพื่อให้สยามรับแนวคิดการปกครองแบบประชาธิปไตย แต่ฝ่ายราชานิยมกลับตระหนักถึงความจำเป็นที่จะรักษาไว้ซึ่งลักษณะบางประการ ของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เพื่อช่วยปกป้องสถานะทางอำนาจที่พวกเขาเคยมี ปัจจุบัน มีมุมมอง 2 ด้านของสถาบันกษัตริย์ที่ขัดแย้งกันอยู่ –ซึ่งมุมมองเหล่านี้เป็นตัวกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างกษัตริย์กับพสกนิกร ในด้านหนึ่งเป็นมุมมองแบบมาตรฐานทั่วไปต่อสถาบันกษัตริย์ ในด้านนี้จะเน้นให้เห็นถึงคุโณปการของสถาบันกษัตริย์ที่มีต่อประเทศ โดยหลักก็คือ การเป็นศูนย์รวมใจชาวไทยทั้งชาติและเป็นผู้ปกป้องบูรณภาพของแผ่นดิน จากงานวิจัยที่ชื่อ Saying the Unsayable: Monarchy and Democracy in Thailand (2010) ของ Soren Ivarsson และ Lotte Isager อธิบายว่า ในมุมมองแบบปกติทั่วไปนั้นกษัตริย์คือผู้ปกปักษ์รักษาทั้งจารีตประเพณี ชาติ และ ประชาธิปไตย; คือนักพัฒนาของคนไทยทุกหมู่เหล่าที่ทรงมีความเป็นสมัยใหม่ คอยให้คำแนะนำแก่รัฐบาล ให้ความดูแลทุกข์สุขแก่พสกนิกรของพระองค์ และเป็นสถาบันที่หล่อหลอมวัฒนธรรมการเมืองและสังคมไทยเฉกเช่นเดียวกับที่ “ข้าว”เป็นอาหารหลักของคนไทยมาช้านาน แต่ในขณะเดียวกันพระราชอำนาจอันทรงพลานุภาพที่ถูกปกป้องไว้ด้วยเกราะกำบัง ของกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพนั้น ก่อให้เกิดมุมมองอีกด้านหนึ่งต่อสถาบันกษัตริย์ ด้านนี้สะท้อนถึงความเชื่อที่ว่า พระราชอำนาจที่ยิ่งใหญ่อาจเป็นอุปสรรคต่อพัฒนาการทางประชาธิปไตย การยกย่องสรรเสริญพระราชอำนาจของฝ่ายราชานิยมอย่างล้นเกินนั้นถูกมองว่าอาจ เป็นการลดความสำคัญของสถาบันการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง กลุ่มราชานิยมได้ร่วมมือจากนักประวัติศาสตร์อนุรักษ์นิยมและสื่อที่ทรง อิทธิพลในการสร้างภาพด้านลบต่อสภาพการเมืองของไทย ซึ่งแปดเปื้อนไปด้วยนักการเมืองเลวร้ายและไร้ศีลธรรม สำหรับพวกเขาแล้ว ข้อบกพร่องของระบบการเมืองไทยไม่ได้เกิดจากการเข้ามาแทรงแซงของสถาบันอำนาจ นอกระบบรัฐสภา แต่เกิดจากการบรรดานักการเมืองที่ไร้ความรับผิดชอบและไร้จริยธรรมต่างหาก จากทัศนคติที่เชิดชูสถาบันกษัตริย์นี้ จุดจบของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์จึงไม่ได้หมายถึงการจบสิ้นของ พระราชอำนาจของสถาบันกษัตริย์ ในทางตรงข้ามกลับกลายเป็นจุดเริ่มต้นของวัฒนธรรมการเมืองแบบใหม่ซึ่งฝ่าย ราชานิยมได้อ้างสิทธิโดยธรรมในการเข้าแทรกแซงทางการเมืองอย่างต่อเนื่อง เมื่อใดก็ตามที่พวกเขาเห็นว่ามีความจำเป็น แม้ว่าสิ่งที่พวกทำ (อาทิ การปกป้องผลประโยชน์ทางการเมืองของตน) นั้นอาจจะมีความเลวร้ายไม่น้อยไปกว่าสิ่งที่ฝ่ายตรงข้ามของพวกเขาทำก็ตาม วิญญาณของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์จึงยังคงตามหลอกหลอนการเมือง ไทยตราบจนทุกวันนี้
ก่อนอื่น มีความจำเป็นอย่างมากที่จะต้องอธิบายให้กระจ่าง ณ จุดนี้ว่า เมื่อพูดถึง “สถาบันกษัตริย์” คำนี้ไม่ได้หมายความถึงพระมหากษัตริย์ พระราชินี หรือพระบรมวงศานุวงศ์ ในเชิงบุคคลแต่อย่างเดียว แต่คำนี้มีหมายความถึงองคาพยพทั้งหมดที่เกาะเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งหมายรวมถึง ราชนิกุล องคมนตรี (ที่ปรึกษาและผู้ปฏิบัติงานรับใช้เบื้องพระยุคลบาท) รวมถึงฝ่ายราชานิยมซึ่งได้ปวารณาตัวที่จะปกป้องสถาบันกษัตริย์ในทุกภาคส่วน ของสังคม เช่น กองทัพ หน่วยงานราชการ พรรคการฝ่ายเมืองฝ่ายราชานิยม และกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ด้วย กลุ่มราชานิยมนี้แม้ว่าจะมีจุดยืนร่วมกันในการรักษาไว้ซึ่งพลานุภาพของพระ ราชอำนาจ แต่ก็ไม่ได้มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน พวกเขามีผลประโยชน์ มีแนวคิด มีมุมมองทางการเมืองที่แตกต่างกันออกไป ในงานวิจัยที่ชื่อ “Network Monarchy and Legitimacy Crisis in Thailand” ซึ่งจัดพิมพ์โดย Pacific Review ในปี 2548 ศ. Duncan McCargo นักวิชาการชาวอังกฤษได้เรียกองคาพยพทั้งหมดนี้ว่า “Network Monarchy” หรือ “เครือข่ายสถาบันกษัตริย์” McCargo เสนอว่าวิธีที่ดีที่สุดที่จะเข้าใจการเมืองไทยก็คือการมองผ่านมุมมองของ เครือข่ายอำนาจหลากหลายที่มีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน มีการต่อรองอำนาจกัน หรือแม้แต่มีการขัดแย้งกันต่อกัน ซึ่งสำหรับเขาแล้ว ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมานี้ เครือข่ายอำนาจที่ทรงอิทธิพลที่สุดในประเทศไทยคือเครือข่ายสถาบันกษัตริย์ ซึ่งมีพระมหากษัตริย์อยู่บนส่วนยอดของเครือข่าย มีฝ่ายบริหารที่นำโดยพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ อดีตผู้บัญชาการกองทัพและอดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งในปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานองคมนตรี อย่างไรก็ดี แม้แต่ก่อนที่จะมีการก่อตั้งเครือข่ายสถาบันกษัตริย์นี้ กลุ่มกษัตริย์นิยมในรุ่นก่อนได้มีความพยายามรักษาไว้ซึ่งมรดกของระบอบ สมบูรณาญาสิทธิราชย์ ควบคู่ไปกับความต้องการสถาปนาระบอบประชาธิปไตยรูปแบบใหม่ หรือที่เรียกว่าเป็นประชาธิปไตยแบบไทย (Thai-style democracy) ที่ยังวนเวียนอยู่รอบพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ หรือพูดให้ง่ายก็คือ แม้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์จะสิ้นชีพไปแล้ว แต่คุณลักษณะหลายด้านของระบอบนี้ยังคงอยู่รอดปลอดภัย และได้รับการปกป้องรักษาไว้เป็นอย่างดี จากบทความเรื่อง “มรดกของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์” ของ ศ. ดร. ธงชัย วินิจจะกูล ที่ปรากฏในวารสารฟ้าเดียวกัน ได้กล่าวไว้ว่า จนถึงปัจจุบัน คตินิยมทางสังคมและทางการเมือง ความรู้ทางประวัติศาสตร์ ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ชุดความคิด และสถาบันพระมหากษัตริย์เองนั้น ต่างก็ฝังรากยึดโยงอยู่กับระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ทั้งสิ้น อย่างไรก็ตาม การสนับสนุนให้สถาบันกษัตริย์มีบทบาทเป็นแบบอย่างของวิถีชีวิตคนไทยนั้น เปรียบเสมือนดาบสองคมที่ส่งผลทางลบต่อพัฒนาการการเมืองของประเทศไทย
เนื่องจากการสรรเสริญเยินยอพระเกียรติและกระบวนการยกสถาบันให้มีความ ศักดิ์สิทธิ์เยี่ยงเทวราชอย่างไม่หยุดหย่อน ตลอดรัชสมัยของรัชกาลปัจจุบัน ส่งผลให้เกิดสายใยที่แนบแน่นระหว่างสถาบันกษัตริย์กับสังคมและการเมือง ทำหน้าที่เสมือนราวกับว่าเป็น “เรือนจำ” ที่กักขังไม่ให้คนไทยสามารถแสดงความคิดเห็นที่ต่างไปจากกรอบคิดกระแสหลัก “การคิดนอกกรอบ” กลายเป็นสิ่งต้องห้ามเนื่องจากมันอาจคุกคามต่อสถานะของเครือข่ายสถาบัน กษัตริย์ คนที่ละเมิดข้อห้ามดังกล่าวมากมายถูกลงทัณฑ์ที่มีโทษจำคุกสูงสุดถึง 15 ปีตามกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพซึ่งมีบทลงโทษรุนแรงที่สุดในโลก ซึ่งเป็นเรื่องน่าขันที่คุณจะพบการลงโทษแบบนี้เฉพาะในประเทศที่อ้างตัวเอง ว่าเป็นดินแดนแห่งเสรีภาพ (“ประเทศไทย”มีความหมายตามตัวอักษรว่า “ดินแดนแห่งเสรีภาพ”) เท่านั้น กรอบดังกล่าวครอบคลุมตั้งแต่เรื่องสัพเพเหระไปจนถึงกฎเกณฑ์สำคัญ จากต้องยืนตรงในโรงภาพยนตร์เมื่อเพลงสรรเสริญพระบารมีบรรเลงขึ้น จนถึงการยืนตรงเคารพธงชาติทุกๆ 8 โมงเช้า และ 6 โมงเย็นเมื่อเพลงชาติถูกบรรเลงออกอากาศ ที่สำคัญที่สุดก็คือ ประชาชนจักต้องไม่แสดงการขัดขืนหรือต่อต้านเมื่อต้องเผชิญกับการแทรกแซงทาง การเมืองอย่างโจ่งแจ้งของฝ่ายราชานิยมที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทัพ ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ล่มสลายลงแล้วแต่กลุ่มราชานิยมและกลุ่มชนชั้นสูง สามารถเอาตัวรอดได้อย่างปลอดภัย ซึ่งหนึ่งในกลยุทธ์การเอาตัวรอดของคนกลุ่มนี้คือการสร้างความเชื่อที่ว่า ประเทศชาติจำเป็นต้องเลือกรับเฉพาะแนวคิดที่เหมาะสมกับประเทศเท่านั้น โดยเฉพาะแนวคิดที่มีต้นกำเนิดจากต่างชาติ แนวคิดจากชาติตะวันตก เช่นว่า ประชาธิปไตยนั้นจะต้องถูกนำมาปรับเปลี่ยนให้เข้ากับความเชื่อ วัฒนธรรม ชุดความคิด และขนบธรรมเนียมประเพณีของท้องถิ่นดั้งเดิม ไม่อย่างนั้นแล้วประเทศไทยจะสูญเสียเอกลักษณ์ที่เรียกว่า “ความเป็นไทย” แต่เราต้องตั้งข้อสังเกตว่า หลักการเรื่องความเป็นไทยนี้ที่เป็นส่วนหนึ่งขององค์ประกอบหลักของประเทศไทย ได้แก่ ชาติ ศาสนาพุทธ และพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นวาทกรรมที่ได้รับการสร้างขึ้นครั้งแรกในรัชกาลพระมงกุฎเกล้าฯ นั้น ก็ถูกใช้เพื่อประโยชน์ทางการเมืองมาตลอด โดยเฉพาะในการอนุรักษ์ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ให้ยืนนานต่อไป
เหล้าเก่าในขวดใหม่
หลังจากยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์มานั้น ไทยประกาศใช้การปกครองแบบประชาธิปไตย แต่ก็เป็นประชาธิปไตยแค่เปลือกนอกเท่านั้น แก่นแท้ในนั้นยังคงมีอุดมการณ์แบบกษัตริย์นิยมฝังไว้ต่างจากภาพที่เห็นจาก ภายนอก นี่คือสิ่งที่คนไทยส่วนมากเรียกว่า “ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” กล่าวคือ แม้จะมีรูปแบบที่เป็นประชาธิปไตยแต่ฝ่ายราชานิยมก็ยังคงมีบทบาทสำคัญในทาง การเมือง ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขนั้นได้ถูกนฤมิตขึ้นให้สอดรับ กับทัศนะของคนกรุงเทพฯ เป็นหลัก รวมถึงการสร้างประวัติศาสตร์ราชาชาตินิยม และความเชื่อที่ว่าพุทธศาสนาคือศาสนาประจำชาติ โดยความเชื่อเหล่านี้ ล้วนมีสถาบันกษัตริย์เป็นองค์ประกอบที่ขาดไม่ได้ ทำหน้าที่ผูกโยงชุด ความคิดที่ต้องการให้ประชาชนยอมรับอย่างไม่มีเงื่อนไข ผลที่ตามมาก็คือ ฝ่ายราชานิยมประสบความสำเร็จเบื้องต้นในการสร้างรัฐไทยที่เป็นหนึ่งเดียว (unitary state)ซึ่งให้ความสำคัญกับสถาบันกษัตริย์อย่างท่วมท้น ยกตัวอย่างเช่น บทบาทของกษัตริย์ในการปกป้องอิสรภาพและอธิปไตยของชาติ ที่ได้ถูกปลูกฝังในจิตสำนึกของประชาชน มีการสรรเสริญบูรพกษัตริย์ในอดีตอย่างไม่หยุดหย่อนในเรื่องพระปรีชาสามารถใน การปกป้องผืนแผ่นดิน ไทย (และมักใช้เป็นข้ออ้างในการขับไล่ผู้ไม่เห็นด้วยทางการเมืองออกจากประเทศ ด้วยเหตุของการ “เนรคุณ” บูรพกษัตริย์) ดังนั้น บ่อยครั้งที่กลุ่มราชนิยมได้กระตุ้นให้เกิดกระแสชาตินิยม โดยการเน้นย้ำถึงการสูญเสียในดินแดนบางส่วนที่เชื่อว่าเคยเป็นผืนแผ่นดินไทย ทั้งๆ ที่ในความจริงนั้น วาทกรรมเรื่องการเสียดินแดนจะเป็นเพียงมายาคติ ชุดความคิดนี้ไม่เพียงแต่กระตุ้นให้เกิดกระแสชาตินิยมอย่างรุนแรง แต่ยังรวมถึงกระแสราชานิยมด้วย ถึงระดับที่ว่า ประชาชนต้องพร้อมที่จะยอมสละชีพเพื่อปกป้องชาติและสถาบันพระมหากษัตริย์ ด้วยปรัชญาเหล่านี้เอง จึงทำให้ไม่เหลือพื้นที่ให้กับประชาชนที่มีความคิดต่าง โดยเฉพาะกลุ่มที่ตั้งคำถามถึงบทบาทที่แท้จริงของสถาบันกษัตริย์ในการเมือง ไทย
ตลอดหลายปีที่ผ่านมา กระบวนการยกย่องสรรเสริญสถาบันพระมหากษัตริย์ได้เพิ่มความเข้มข้นขึ้นจนถึง ระดับที่น่าเป็นกังวลใจ พระมหากษัตริย์ได้กลายเป็นมากกว่าประมุขของประเทศ โดยถูกยกให้กลายเป็นเสมือนเทพเจ้าที่ใครจะล่วงละเมิดมิได้ ในขณะเดียวกันก็มีภาพลักษณ์อีกด้านหนึ่งของของการเป็น “พ่อของแผ่นดิน” ภาพลักษณ์ในด้านนี้ได้ปรากฏอย่างชัดเจนในช่วงต้นของรัชสมัยปัจจุบัน เมื่อพระมหากษัตริย์เสด็จฯ เยือนเกือบทุกแห่งหนตำบลในประเทศนับครั้งไม่ถ้วน โดยทรงมุ่งหวังจะสร้างความผูกพันกับพสกนิกรของพระองค์ อาจเรียกได้ว่า ไม่มีรัฐบาลไหนที่จะสามารถเทียบทันสถาบันกษัตริย์ได้ในการเอาชนะใจปวงชน พิสูจน์ได้จากการที่ประชาชนส่วนใหญ่เชื่อมั่นเสมอว่า พระมหากษัตริย์ทรงเป็นคำตอบสุดท้ายในทุกวิกฤติการณ์ของชาติ แต่ความขัดแย้งระหว่างภาพลักษณ์สองด้านข้างต้นทำให้เกิดความสับสนยิ่ง แม้ว่าพระมหากษัตริย์จะมีพระราชประสงค์ในการสร้างความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับ พสกนิกรมากเท่าใด แต่ภาพลักษณ์ด้านที่เป็นเสมือนเทวราชากลายมาเป็นกำแพงกั้นกลางระหว่าง กษัตริย์กับพสกนิกรอยู่เสมอ ธรรมเนียมปฏิบัติเก่าแก่ไร้อารยะมากมายได้ถูกรื้อฟื้นขึ้น อาทิ การหมอบคลาน เป็นต้น เป็นเรื่องน่าคิดที่ว่า การหมอบคลานนี้ได้ถูกยกเลิกมาตั้งแต่ปี 2416 ในสมัยพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ พระอัยกาของรัชกาลปัจจุบัน ซึ่งทรงเห็นว่าการปฏิบัติดังกล่าวเป็นเรื่องป่าเถื่อนและล้าสมัย การฟื้นฟูธรรมเนียมเหล่านี้นับว่าเป็นความประสงค์ให้มีการยกสถานะของพระมหา กษัติรย์ในลักษณะของการเป็นเทวาธิราช มากกว่าการเป็นธรรมราชาธิราช สถานะที่แตกต่างนี้มีความซับซ้อนยิ่งเมื่อมีการพิจารณาถึงบทบาทของกษัตริย์ ในบริบททางการเมือง เกี่ยวกับเรื่องนี้ นาย Paul Handley ผู้เขียนหนังสือเรื่อง The King Never Smiles ได้ตั้งข้อสังเกตว่า การที่ฝ่ายราชานิยมมีบทบาทเด่นในประวัติศาสตร์การเมืองไทยอย่างต่อเนื่องมา โดยตลอด ทำให้ดูเสมือนราวกับว่า พระมหากษัตริย์ลงมาเป็นผู้เล่นในเกมการเมืองเสียเอง และก่อให้เกิดคำถามต่อความเข้าใจที่ว่า สถาบันกษัตริย์อยู่เหนือการเมืองจริงหรือไม่ เมื่อใดก็ตามที่สถาบันกษัตริย์ถูกดึงเข้ามาสู่พื้นที่สาธารณะในบทบาทของการ เป็นตัวแสดงทางการเมือง ก็ย่อมนำไปสู่ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งทางอำนาจ (conflict of interest) หากมองเช่นนี้ เมื่อใดก็ตามที่ไทยมีรับบาลที่เข้มแข็ง ก็มักถูกมองว่าเป็นภัยต่อสถาบันกษัตริย์ นับตั้งแต่ทักษิณ สมัคร สมชาย และอาจรวมถึงยิ่งลักษณ์ ดังที่กล่าวข้างต้น หนทางหนึ่งของการกำจัดภัยเหล่านี้คือการใช้มาตรา 112 ในการห้ำหั่นคู่ต่อสู้ ตามสถิตินั้น ในปี 2548 มีคดีที่เกี่ยวกับกฏหมายหมิ่นฯ ขึ้นสู่ศาลชั้นต้นทั้งสิ้น 33 คดี ซึ่งได้รับการยกฟ้องในเวลาต่อมา 18 คดี ในปี 2550 จำนวนคดีเพิ่มขึ้นเกือบ 4 เท่าเป็น 126 คดี และยังเพิ่มขึ้นเป็น 164 คดีในปี 2552 ก่อนจะเพิ่มขึ้นอีกสามเท่าตัวเป็น 478 คดีในปี 2553 ช่วงเวลาที่จำนวนคดีดังกล่าวเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจอยู่ภายใต้รัฐบาลของพรรค ประชาธิปัตย์ภายใต้การนำของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ(2551-2554) จากการศึกษาของ ดร. David Streckfuss นักวิชาการชาวอเมริกันพบว่าอาจมีผู้ถูกจำคุกเนื่องจากคดีหมิ่นฯ เหล่านี้รวมแล้วนับหลายราย
ความ พยายามที่จะสร้างความมั่นคงเข้มแข็งให้กับสถาบันกษัตริย์ส่วนมากนับเป็นผล งาน ของฝ่ายราชานิยม แต่จำนวนไม่น้อยก็เป็นผลอันเนื่องมาจากพระราชกรณียกิจของพระองค์เอง โดยเฉพาะในฐานะของกษัตริย์นักพัฒนาผู้มีบทบาทอย่างสูงกับสังคมไทย ในงานวิจัยล่าสุดเกี่ยวกับราชานิยมล้นเกิน (hyper-royalists) ที่ชื่อ “The Monarchy and Anti-Monarchy: Two Elephants in the Room of Thai Politics” ดร. ธงชัยได้กล่าวถึงการกลับมาของลัทธิราชานิยมในฐานะวัฒนธรรมสาธารณะว่า การเพิ่มขึ้นของความนิยมต่อพระมหากษัตริย์จะเห็นได้ชัดในช่วงหลังการจราจลใน ปี 2516 โดยความนิยมนี้ตั้งอยู่บนความเชื่อที่ว่า สถาบันกษัตริย์ได้มีส่วนเข้ามายุติวิกฤตการณ์ทางการเมืองในครั้งนั้น รวมถึงครั้งต่อมาในปี 2535 ด้วย นอกจากนี้ สถานการณ์การเมืองในภูมิภาคก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ทำให้สถาบันกษัตริย์เข้ามา มีบทบาทสำคัญทางการเมือง โดยในช่วงที่แนวคิดระบอบคอมมิวนิสต์กำลังแพร่กระจายทั้งในและนอกเขตแดนไทย สถาบันกษัตริย์ได้เข้ามามีส่วนสำคัญในการกำหนดยุทธศาสตร์การต่อสู้กับขบวน การคอมมิวนิสต์ แม้กระทั่งหลังจากที่สงครามเย็นจบสิ้นลงแล้ว ขณะที่รัฐบาลหลายชุดถูกโค่นล้มจากกระดานการเมือง แต่ตำแหน่งและสถานะของสถาบันกษัตริย์กลับมีความแข็งแกร่งยิ่งขึ้นมาโดยตลอด การเข้ายุติจลาจลในปี 2535 เปรียบเสมือน “trophy” อีกชิ้นหนึ่งของสถาบันกษัตริย์ในฐานะของผู้รักษาเสถียรภาพให้กับระบบการ เมืองไทย จึงเห็นได้ชัดว่าเป้าหมายของฝ่ายราชานิยมนั้นยากที่แยกออกจากการเมือง แต่คำถามสำคัญก็คือ ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขนี้เหมาะสมกับประเทศไทย มากน้อยเพียงใด (Does it really work?) จากที่ได้ย้ำไปข้างต้นว่า มีลักษณะหลายด้านของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่ได้รับการปลูกฝังให้เข้ากับ ระเบียบการเมืองแบบใหม่ในปัจจุบัน แต่ในความเป็นจริง ลักษณะเหล่านั้รไม่สามารถอยู่ร่วมกับคุณค่าสมัยใหม่ของระบอบประชาธิปไตย นำไปสุ่ความขัดแย้งทางด้านกรอบความคิด อาทิ ความขัดแย้งระหว่างอำนาจของพระมหากษัตริย์และอำนาจที่มาจากเสียงข้างมากของ ประชาชน (Royal power VS Popular mandate) ดร. ธงชัยเห็นว่าที่จริงแล้ว คำว่าประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขนี้มันเป็นคำปฏิพจน์ที่มี ความหมายขัดแย้งในตัวเอง (oxymoron) เหมือนกับหลุมดำขนาดใหญ่ที่จะดูดกลืนระบบการเมืองทั้งหมดเข้าไปในตัวมัน
ปรากฏการณ์ “ตาสว่าง”
ช่วงก่อนและหลังรัฐประหารในปี 2549 ได้เกิดปรากฏการณ์บางอย่างที่ส่งผลกระทบต่อมรดกของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ทางการเมือง และได้เริ่มส่งสัญญาณของ “การเสื่อมความนิยมของแนวคิดราชนิยม” ออกมา ความเสื่อมนี้เกิดมาจากน้ำมือของกลุ่มราชานิยมเอง ตัวอย่างเช่น กรณีที่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) หรือกลุ่มเสื้อเหลืองนิยมเจ้า ออกมาเคลื่อนไหวบนท้องถนนและใช้สัญลักษณ์ที่เชื่อมโยงกับสถาบันกษัตริย์มา เป็นเครื่องมือในการโค่นระบอบทักษิณ คำขวัญอย่างเช่น “สู้เพื่อในหลวง” ได้ถูกนำมาใช้เพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับเป้าหมายทางการเมืองของกลุ่ม พันธมิตรฯ เหตุการณ์นี้แสดงให้เห็นว่า ความท้าทายที่แท้จริงต่อมรดกตกทอดของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไม่ใช่การ เคลื่อนไหวของทักษิณ หรือจากฝ่ายที่ถูกเรียกว่าเป็นพวกต่อต้านสถาบันแต่อย่างไร แต่กลับกลายเป็นกลุ่มพวกราชาชาตินิยมล้นเกิน (Hyper-Royalists) เสียเองต่างหาก พวกเขาได้ยังคงปฏิเสธที่จะเผชิญหน้ากับความจริงใหม่ๆ ทางการเมือง ฤาประวัติศาสตร์จะซ้ำรอยอีกครั้ง? ความไม่สามารถของสถาบันพระมหากษัตริย์ (และเครือข่ายพระมหากษัตริย์) ที่จะปรับตัวให้ทันกับกับความ เปลี่ยนแปลงของสภาวการณ์ทางการเมืองเป็นสาเหตุเดียวกันของการล่มสลายของ ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในปี 2475 จะต่างกันบ้างก็ที่การเสื่อมถอยในวันนี้ถูกเร่งเครื่องด้วยปรากฏการณ์ล่าสุด ทางการเมืองไทยที่เรียกว่า ปรากฏการณ์ “ตาสว่าง” สรุปโดยสั้น “ตาสว่าง” เป็นปรากฏการณ์ที่คนไทยจำนวนมากตระหนักและเข้าใจว่าประเทศไทยไม่เคยก้าวข้าม ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์อย่างแท้จริง ในขณะเดียวกันระบอบประชาธิปไตยของเราก็ได้ถูกตีรวนมาโดยตลอด หากสถาบันกษัตริย์ต้องการแสดงบทบาททางกาเมือง ประชาชนก็ควรจะมีสิทธิ์ในการวิพากษ์วิจารณ์และตรวจสอบบทบาทเหล่านั้น การขยายตัวของกระแส “ตาสว่าง” ดังกล่าวไม่ว่าจะในที่ลับหรือที่แจ้ง จะชักนำให้มีการตั้งคำถามเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์มากขึ้น เสียงของผู้วิจารณ์สถาบันกษัตริย์ดังกึกก้องขึ้น ชัดเจนขึ้น ยิ่งกว่าช่วงเวลาใดในประวัติศาสตร์ไทยในอดีต
ในการวิเคราะห์เรื่องบทบาทของสถาบันกษัตริย์นั้น การสืบสันตติวงศ์ย่อมเป็นประเด็นสำคัญที่ไม่อาจจะหลีกเลี่ยงได้ บทความนี้ขอกล่าวส่งท้ายว่า กระบวนการยกย่องสรรเสริญพระเกียรติที่ขาดความพอเพียงในขณะนี้นั้น ไม่เพียงแต่จะเผยให้เห็นถึงความกังวลใจ (anxiety) ของกลุ่มราชานิยมที่พยายามจะยึดติดกับอดีตอันรุ่งโรจน์แล้ว ยังมีผลข้างเคียงต่อรัชกาลถัดไปที่จะต้องแบกรับความกดดันอันยิ่งใหญ่ ทางออกของวิกฤตการณ์นี้จึงขึ้นอยู่กับความเข้าใจของบุคคลในเครือข่ายสถาบัน กษัตริย์ต่อสถานการณ์การเมืองที่เป็นจริง และความยินยอมพร้อมใจที่จะปฏิรูปตัวเองโดยการยอมสละซึ่งมรดกตกยุคที่ตกทอดมา จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปให้ได้ในที่สุด
หมายเหตุ: บทความนี้แปลจากบทความภาษาอังกฤษของผู้เขียน: Pavin Chachavalpongpun, “Thailand: The Die-Hard Absolute Monarchy?”, Harvard International Review, Vol. 23, Issue 3 (24 December 2011)
คำตัดสินที่ต้องยอมรับ แต่ขอไม่จำนนต่อความอยุติธรรมที่เราไม่ได้เป็นคนก่อ
ที่มา ประชาไท
ไพจิต ศิลารักษ์
บทความของคนกำลังจะติดคุก "ไพจิต ศิลารักษ์" เขียนบทความนี้ขึ้น ในช่วงเวลาของการนับถอยหลังสำหรับการที่จะมีอิสรภาพต่อไปหรือจะต้องสูญเสีย อิสรภาพ ผมอาจจะติดคุกด้วยความผิดจากความเสียหายมูลค่า 800 บาท
ผมเขียนบทความนี้ขึ้น ในช่วงเวลาของการนับถอยหลังสำหรับการที่จะมีอิสรภาพต่อไปหรือจะต้องสูญเสีย อิสรภาพ ผมอาจจะติดคุกด้วยความผิดจากความเสียหายมูลค่า 800 บาท ซึ่งผมคงต้องบอกเล่าเรื่องนี้ไปอีกนานแสนนาน
7 กันยายน 2547 เวลา 10.00 น เศษ ที่ศาลจังหวัดศรีสะเกษ ห้องพิจารณาคดี ที่ 2 เป็นสถานที่นัดหมาย “พยานหลักฐานที่โจทย์นำสืบรับฟังได้ โดยปราศจากข้อสงสัยว่า จำเลยเป็นผู้นำกลุ่มผู้ชุมนุมในการพังประตูทางเข้าฝายราษีไศล และบุกรุกเข้าไปภายในฝายราษีไศล ปิดกั้นประตูไม่ยินยอมให้เจ้าพนักงานตำรวจ และเจ้าหน้าที่ของฝายราษีไศลออกไปภายนอก อันเป็นความผิดตามฟ้อง
พิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 310 วรรคแรก 360 , 365, (2)(3) ประกอบ 364 , 83 เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 90 เนื่องจากความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณะประโยชน์ และฐานร่วมกันบุกรุกในเวลากลางคืน เป็นความผิดบทหนักที่มีโทษเท่ากัน ให้ลงโทษฐานทำให้เสียทรัพย์ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณะประโยชน์ จำคุก 2 ปี/.” เสียงผู้พิพากษาอ่านคำตัดสินบน
20 มีนาคม 2551 เวลา 10.00 น. ที่ศาลจังหวัดศรีสะเกษ “จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358,365,(2) (3) ประกอบมาตรา 362 ,83 การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามมาตรา 365 (2) (3) ประกอบมาตรา 362 ซึ่งเป็นบทหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุก 1ปี 6 เดือน ข้อหาอื่นนอกจากนี้ให้ยก”
อนุญาตให้ปล่อยตัวจำเลยชั่วคราวได้ ในชั้นฎีกา โดยใช้หลักประกันเดิม และตีราคาเป็น 400,000 บาท.......
วันนั้นศาลอุทธรณ์พิพากษาลดโทษจาก 2 ปี เหลือ 1 ปี 6 เดือน ซึ่งควรที่หลักประกันควรที่จะลดลงตามส่วนของโทษที่ลดลง อันเป็นธรรมเนียมปฏิบัติทั่วไป แต่ผู้พิพากษาศาลศรีสะเกษ ซึ่งเป็นผู้อ่านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์กลับเพิ่มหลักประกันขึ้นอีก จาก 350,000 บาท เป็น 400,000 บาท เช่นนี้แหละผมจึงเข้าใจได้อย่างเดียวว่า “เขาเลือกแล้วว่าจะเอา” และ “ยังไงก็จะเอาให้ได้”
และในวันที่ 24 มกราคม 2555 ศาลจังหวัดศรีสะเกษนัดอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา ซึ่งคงไม่ต้องคาดการณ์อะไรมาก เตรียมลุ้นต่อจะดีกว่า แต่สิ่งที่เกิดขึ้นย่อมตอกย้ำความจริงที่ว่า ไม่มีความเป็นกลางสำหรับชาวบ้าน อำนาจไม่เคยมีไว้เพื่อรับใช้คนจน เมื่อใดก็ตามที่คุณพลาด อำนาจก็จะจัดการคุณทันที
ผมหวนคิดถึงวันที่ 12 ธันวาคม 2550 ขณะที่หลายคนกำลังชุมนุมกันเพื่อรอเผาศพพี่มด ที่วัดวชิรธรรมสาธิต อีกด้านหนึ่งที่ศาลจังหวัดอุบลฯ นัดตัดสินคดีอยู่ ผลการตัดสิน (คดีพี่มด ยึดเขื่อนปากมูล) ก่อนควันไฟจากเตาเผาศพพวยพุ่ง ศาลจังหวัดอุบลฯ สั่งจำหน่ายคดีออกจากสาระบบเพราะจำเลยเสียชีวิต
นี่ไง คือคำตอบของอำนาจที่จัดการกับผู้ที่ท้าทาย เป็นเรื่องยากที่จะ หรือเรียกหาความยุติธรรมความตายไม่ใช่ทางออกที่เลือกไว้ และการยอมรับโทษตามคำตัดสินก็ไม่ได้หมายความว่าเป็นการยอมจำนน หากแต่เป็นเส้นคั่นระหว่างทาง ที่บางครั้งก็น่าจะเสียเวลาบางเล็กน้อยเพื่อก้าวผ่านมันไป
ผมไม่รู้ว่าคำพิพากษาศาลฎีกา จะตัดสินออกมาอย่างไร ในวันที่ 24 มกราคม นี้ แต่สิ่งที่ต้องบอกเพื่อรับรู้ร่วมกันว่ายังมีคนจนอีกจำนวนมาก ที่กำลังถูกรัฐใช้กระบวนการยุติธรรมเล่นงานอยู่กว่า 3,800 คดี บทลงโทษที่มักเกิดขึ้นกับคนจนเหล่านี้ มันเป็นความยุติธรรมของใคร กระบวนการยุติธรรมใช้เพียงปรากฏการณ์และมองการเดินขบวนของประชาชน เท่านั้นหรือ ? ผมยืนยันว่าหากไม่มีการชุมนุมในเดือนพฤษภาคม 2543 ของชาวบ้านราษีไศล เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลเปิดประตูเขื่อนราษีไศล และการเรียกร้องในครั้งนั้นก็เป็นเหตุที่นำมาสู่คดีนี้ ผมก็คงไม่ต้องตกเป็นนักโทษเช่นที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ตรงกันข้ามเพราะมีการชุมนุมในครั้งนั้น ซึ่งนำไปสู่การเปิดประตูระบายน้ำ จึงทำให้ชาวบ้านจำนวนกว่า 70,000 ชีวิต สามารถประกอบอาชีพเดิมอยู่ในชุมชนเดิมได้อย่างมั่นคงจนถึงปัจจุบัน
หากเวลาหมุนกลับได้ โดยไม่มีเขื่อนราษีไศล ชุมชนก็ไม่ต้องมีความขัดแย้ง ไม่มีความแตกแยก ครอบครัวจะอยู่กันอย่างพร้อมหน้าพ่อแม่ลูก มีที่ดินทำกินอย่างพอเพียงกับสมาชิกในครอบครัว มีป่าบุ่ง – ป่าทามให้เลี้ยงวัว – ควาย มีปลาสดๆ จากแม่น้ำมูนกินอย่างเต็มอิ่ม และผู้คนมีรอยยิ้มให้กัน
จากวันนั้นถึงวันนี้ เป็นเวลา 19 ปี (เขื่อนราษีไศลสร้างเสร็จและเริ่มกักเก็บน้ำตั้งแต่ปี 2536 – 2555) ใครบ้างได้ทำนาปีละ 2 ครั้ง ใครบ้างได้งานทำ ใครบ้างที่ร่ำรวยเงินทอง สิ่งเหล่านี้ไม่เห็นว่าจะเกิดขึ้นเลย เห็นมีแต่ความยากจน ปนความขัดแย้ง ชุมชนแตกแยก วิถีชีวิตล่มสลาย บ้านช่องเหลือแต่คนแก่กับเด็กอยู่เฝ้า คนหนุ่มสาว คนวัยทำงานอพยพไปรับจ้างขายแรงงานในต่างถิ่น เพื่อนำเงินมาจุนเจือครอบครัว
เมื่อคุณเป็นนักโทษด้วยเหตุแห่งการใช้สิทธิในการปกป้องทรัพยากรธรรมชาติ และวิถีชีวิตชุมชน
เมื่อคุณเป็นนักโทษเพราะพฤติกรรมที่ไม่เห็นด้วยกับโครงการพัฒนาของรัฐบาล ด้วยเหตุว่าโครงการที่ก่อสร้างขึ้นมานั้น ได้ไปทำลายวิถีชีวิตของชาวบ้าน รวมทั้งยังไปทำลายทรัพยากรธรรมชาติ และก่อให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม คุณได้ร่วมกับชาวบ้านซึ่งเป็นเหยื่อของโครงการพัฒนานั้น เรียกร้องความเป็นธรรมที่สมควรได้รับจากเจ้าของโครงการ กลไกการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนตามโครงสร้างการทำงานของรัฐ ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ เวลาผ่านไปหลายปี ความเดือดร้อนไม่ได้รับการเยียวยา ปัญหาไม่ได้รับการแก้ไข รัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่มีความจริงใจในการแก้ไขปัญหา ชาวบ้านไปติดตามทวงถามถึงความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหา ไป 3 – 5 คน ก็เจอแค่ภารโรงเฝ้าประตู ไป100 – 200 คน ก็เจอเสมียนหน้าห้อง แต่เมื่อไปเป็น 1,000 คน ก็ได้เจอเจ้าผู้ว่า เจออธิบดี หากไปติดตามการแก้ไขปัญหา 5,000 – 10,000 คน ก็ถึงจะมีโอกาสได้เจอรัฐมนตรี แต่เมื่อชาวบ้านไปกันมากๆ รัฐบาลและราชการก็จะมองว่า “ไอ้พวกม๊อบ” ไม่ยอมทำมาหากิน วัน ๆ คิดแต่เรื่องเดินขบวน ทัศนคติเช่นนี้เกิดกับชาวบ้านตลอดเวลาที่มีการเคลื่อนไหวของชาวบ้านผู้เดือด ร้อน
จากนั้นรัฐบาลก็จะใช้วิธีการต่าง ๆ เพื่อมาจัดการกับผู้ชุมนุม เช่น 1.การใส่ร้ายป้ายสี ทำลายความชอบธรรม 2.ส่งคนมาการแทรกแซงในการเคลื่อนไหว 3.จัดม๊อบชนม๊อบ 4.การข่มขู่คุกคามผู้นำ (แกนนำ) และครอบครัว 5.การใช้กำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจสลายการชุมนุม 6.ปล่อยหมากัด 7.การจับกุม 8.การดำเนินคดีกับผู้นำ และ9.การฆ่าผู้นำขาวบ้านในการเคลื่อนไหว ทุกกลุ่มขบวนการประชาชน จะต้องเจอกับมาตรการเช่นนี้อย่างทั่วถึงกันทุกกลุ่ม
วิธีการที่รัฐใช้เหล่านี้เพียงเพื่อที่จะไม่ให้มีการเคลื่อนไหวของชาว บ้าน ในขณะที่รัฐไม่ได้ใส่ใจในการแก้ไขปัญหาเลย ไม่มีใครหรอกที่จะเอาอนาคต เอาชีวิตมาแลกกับการเดินขบวน แต่มันไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้ เพราะครอบครัวและชุมชนที่ล่มสลายลงด้วยน้ำมือของรัฐ ที่ได้ยัดเหยียดความทุกข์ยากให้ เมื่อออกมาเรียกร้องความเป็นธรรม ก็มีโอกาสเจอกับวิธีการป่าเถื่อนของรัฐ จะกลับไปชุมชนก็ไม่สามารถที่จะดำรงชีวิตอยู่ได้ การเดินขบวนจึงเป็นทางเลือกสุดท้ายที่จำต้องทำ และเมื่อคุณก้าวเท้าออกมาเดินขบวนคุณจะต้องเตรียมใจรับกับสิ่งที่รัฐจะยัด เหยียดให้ อย่างไม่มีทางจะหลีกเลี่ยงได้
มีชาวบ้านจำนวนมากที่ต้องเดินขบวน เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมจากนโยบายของรัฐ โครงการพัฒนาของรัฐอีกมากมาย และจะต้องมีนักโทษการเมืองเช่นนี้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เพราะการจับกุมคุมขังไม่ได้ทำให้ปัญหาความเดือดร้อนหมดไป แต่ตราบใดที่ความไม่เท่าเทียมของคนในสังคม การเอาเปรียบเพื่อแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติไปจากท้องถิ่น ยังรุนแรงอยู่เช่นนี้ การเดินขบวนก็ยังต้องมีต่อไป
หากคุณเป็นชาวบ้านที่ต้องสูญเสียที่ดินทำกิน เพราะน้ำจากเขื่อนมาท่วมนา โดยที่รัฐบาลไม่ให้การช่วยเหลืออะไรเลย และผู้สูญเสียที่ทำกินมีจำนวนหลายพันครอบครัว รวมทั้งญาติพี่น้องคนในชุมชนเดียวกับคุณ คุณจะทำอย่างไร ที่ไม่ต้องเดินขบวน ที่ไม่ต้องเป็นนักโทษการเมือง และไม่ต้องติดคุกด้วย
สงครามแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติ ระหว่างรัฐผู้มาปล้นชิง กับชาวบ้านในชุมชน ผู้ที่ต่อสู้ปกป้องวัฒนธรรมวิถีชีวิตที่สืบทอดต่อมาจากบรรพบุรุษ อย่างเต็มกำลังความสามารถมันจะต้องดำเนินไป ผ่านมาแล้ว 19 ปี และต้องเป็นอย่างนี้ต่อไปอีกกี่ปี ไม่มีใครให้คำตอบได้ว่าบทสรุปจะเป็นอย่างไร
จำต้องยอมรับ แต่จะให้ยอมจำนนต่อความอยุติธรรมที่พวกเราไม่ได้ก่อขึ้นได้อย่างไร
หากคำพิพากษาว่าต้องติดคุก ซึ่งเป็นคำตัดสินของศาลฎีกา ผมก็ต้องเข้าคุก เข้าไปอยู่ในคุกเดียวกันกับนักโทษ ปล้น ฆ่า ค้ายาบ้า และนักโทษคดีซึ่งเราเรียกว่า คดีอาชญากรรม โดยที่ผมเป็นนักโทษหนึ่งเดียวที่ติดคุกเพราะบังอาจกระทำการไม่เห็นด้วยการ โครงการพัฒนาของรัฐ ผมยังพยายามคิดหาเรื่องเล่าเพื่อนำไปแลกเปลี่ยนกับนักโทษในเรือนจำ แต่ก็ยังคิดไม่ออก เพราะไม่มีประสบการณ์ในการปล้น ฆ่า และอื่น ๆ แต่จำต้องพยามเพื่ออยู่ร่วมกับคนอื่นให้ได้ หากต้องติดคุกจริง
คำตัดสินที่จะมีขึ้นย่อมถือว่า สิ้นสุดของกระบวนการยุติธรรม แต่ผมยังคงมีคำต่อสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปก็คือ กระบวนการยุติธรรม ได้ทำหน้าที่ในการอำนวยความเป็นธรรมอย่างที่ควรจะเป็นหรือยัง เพราะผมมองว่าเป้าหมายของการอำนวยความเป็นธรรม คือการให้คนในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างปกติสุข แต่หลังคำตัดสินจะออกมาอย่างไรก็ตาม คนจนถูกรวมเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของสังคมในการอยู่ร่วมในสังคมอย่างปกติสุข หรือยัง ซึ่งเป็นเรื่องที่กระบวนการยุติธรรมจะต้องสำรวจ การทำหน้าที่อำนวยความเป็นธรรมของตนเอง
ติดคุกอย่างไง ผมมั่นใจว่าต้องมีวันถูกปล่อยตัว เมื่อวันนั้นมาถึงหากการกดขี่ยังมีอยู่ ความเดือดร้อนของชาวบ้านยังไม่ได้รับการแก้ไขดังที่เป็นอยู่ ผมก็คงไม่อาจนิ่งเฉยได้ ก็จำต้องร่วมกับพี่น้องเพื่อสู้กับรัฐให้ได้ความเป็นธรรมต่อ ผมยอมรับได้ในคำพิพากษาที่จะมีขึ้น แต่คงมิอาจจำนนต้องความอยุติธรรมที่เกิดขึ้นกับคนจนซึ่งเป็นพี่น้องของผมได้ แล้วผมจะกลับมาอยู่กับพี่น้องของผมอีกครั้ง.......
ท่องเที่ยวไทย จะก้าวอย่างยั่งยืนได้อย่างไร?
ที่มา ประชาไท
มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด
สถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
งานแรกสมาคมมุสลิมพุทธจีน จิบน้ำชายามเช้าที่โคกโพธิ์กันเอง
ที่มา ประชาไท
อารีด้า สาเม๊าะ โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (DSJ)
ครั้งแรกที่สมาคมไทยมุสลิม พุทธ จีน จังหวัดปัตตานี ลงพื้นที่หลังการรวมตัวของกลุ่มคนทั้ง 3 เชื้อชาติ ศาสนาและวัฒนธรรม กับกิจกรรมจิบน้ำชายามเช้า ของชมรมโคกโพธิ์ ที่ศูนย์เด็กเล็กพรุจงเปลือย ตำบลนาประดู่ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
ภาพบรรยากาศกิจกรรมจิบน้ำชายาม เช้า ของชมรมโคกโพธิ์ ที่ศูนย์เด็กเล็กพรุจงเปลือย ตำบลนาประดู่ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี เมื่อเช้าวันอังคาร 10 มกราคม 2555
น้ำชายามเช้า กลายเป็นวิถีวัฒนธรรมปกติของคนชายแดนใต้มาช้านาน แต่ในช่วงที่ความไม่สงบปะทุขึ้น บรรยากาศความรื่นเริงและเรียบง่ายยามเช้าก็ถูกความหวาดระแวงสงสัยคืบคลาน ก้าวเข้ามาแทนที่ แต่เชื่อว่าไม่นาน ทุกอย่างจะกลับมาปกติ ด้วยความพยายามของคนกลุ่มหนึ่งที่มีฐานที่มาแตกต่างกัน
ทุกวันนี้ ก่อนเวลาราชการ 7.30 ถึง 9.00 น. ทุกวันอังคาร บรรดาข้าราชการและพ่อค้าประชาชนกลุ่มหนึ่ง ต่างมานั่งจิบน้ำชา พูดคุยแลกเปลี่ยนในวงล้อมอย่างเป็นกิจจะลักษณะ สับเปลี่ยนหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพ ในนามของชมรมโคกโพธิ์กันเอง
10 มกราคม 2555 เป็นคิวขององค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.) นาประดู่ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี เป็นเจ้าภาพ โดยมีนายคอซีย์ มามุ นายกอบต.คนปัจจุบันเป็นแม่งาน
งานจิบน้ำชาเช้านี้ มีความพิเศษแตกต่างไปจากปกติ เพราะมีแขกสำคัญกลุ่มหนึ่งประมาณ 10 คน ในนามสมาคมไทยมุสลิม พุทธ จีน จังหวัดปัตตานี เข้ามาร่วมวงด้วย งานที่จัดขึ้นในศูนย์เด็กเล็กพรุจงเปลือย ใกล้ที่ทำการ อบต.นาประดู่ จึงคึกคักขึ้นมาทันที
นี่เป็นครั้งแรกที่สมาคมไทยมุสลิม พุทธ จีน จังหวัดปัตตานี ลงพื้นที่หลังการรวมตัวของกลุ่มคนทั้ง 3 เชื้อชาติ ศาสนาและวัฒนธรรม ได้ร่วมก่อตั้งขึ้นได้ไม่นาน
หลังนายก อบต.หนุ่ม อย่างนายคอซีย์ กล่าวต้อนรับแล้ว ก็ถึงคราวที่ นายเศรษฐ์ อัลยุฟรี นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี ในฐานะนายกสมาคมไทยมุสลิม พุทธ จีน จังหวัดปัตตานีคนแรก กล่าวแนะนำสมาคม
“น้ำชายามเช้าผมถือเป็นกิจกรรมหนึ่งที่สำคัญของจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพราะการรักษากิจกรรมนี้ไว้ ก็เหมือนกับการรักษาความสัมพันธ์ของเราทั้งสามพี่น้องไว้ด้วย ท่ามกลางสถานการณ์แบบนี้ การพบปะแลกเปลี่ยนทุกข์สุขกอย่างนี้ได้ เป็นสิ่งที่ต้องรักษาไว้” นั่นคือคำทักทายแรกของ นายกฯ เศรษฐ์ อัลยุฟรี
จากนั้นนายกฯ เศรษฐ์ อัลยุฟรี ต่อด้วยการอธิบายถึงที่มาของสมาคมไทยมุสลิม พุทธ จีนจังหวัดปัตตานีว่า ถ้าไม่มีลุงเคลื่อน (นายเคลื่อน พุ่มพวง) และบอบอเซ็ง (นายเซ็ง ใบหมัด) ที่เป็นคนคิดริเริ่มที่จะให้ความสัมพันธ์ระหว่างชาวไทยพุทธ มุสลิมและจีน ฟื้นกลับคืนมาอย่างเช่นในอดีต สมาคมนี้ก็ไม่เกิด
“ลุงเคลื่อนเสนอให้ผู้นำทั้งสามเชื้อสายมานั่งคุยกัน จนกระทั่งได้ตัวแทนจากสามเชื้อสาย ฝ่ายละ 7 คน มาเป็นกรรมการ และได้จดทะเบียนจัดตั้งเป็นสมาคมแล้ว รวมทั้งได้เชิญผู้หลักผู้ใหญ่ในจังหวัดและเป็นที่เคารพนับถือมาเป็นที่ ปรึกษา”
จุดประสงค์การตั้งสมาคมนี้ขึ้นมา ก็เพื่อสร้างพื้นที่พูดคุยเสวนาระหว่างกลุ่มคนที่แตกต่างกัน อันจะช่วยกันหาหนทางสร้างสันติภาพให้เกิดขึ้นในพื้นที่ให้ได้
นายกฯ เศรษฐ์ อัลยุฟรี ย้ำว่า กิจกรรมที่จะจัดภายใต้สมาคมไทยมุสลิม พุทธ จีนจังหวัดปัตตานี ต้องเป็นกิจกรรมที่ทั้ง 3 ฝ่ายยอมรับ
“ภารกิจสำคัญของสมาคมฯ นอกจากการสานสัมพันธ์ระหว่างสามพี่น้องแล้ว ยังมีภารกิจช่วยเหลือสังคม เช่น มีแผนการเยี่ยมเยือนและดูแลผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุไม่สงบ ทั้งเจ้าหน้าที่รัฐหรือประชาชน หญิงหม้าย เด็กกำพร้าเป็นการสานต่องานจากภาครัฐ สมาคมไทยมุสลิม พุทธ จีน จังหวัดปัตตานี จะเริ่มสร้างสันติภาพภาคประชาชนให้เกิดขึ้นให้ได้” นายกฯ เศรษฐ์ อัลยุฟรีทิ้งท้าย
ขณะที่ตัวแทนจากภาครัฐ อย่างนายเสรี ศรีหะไตร รองผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี ที่ร่วมวงน้ำชาด้วย แสดงความเห็นว่า น่าจะเปลี่ยนชื่อจากสมาคมไทยมุสลิม พุทธ จีน จังหวัดปัตตานี เป็นสมาคมพี่น้องคนไทยปัตตานี ซึ่งเป็นที่ที่คน 3 เชื้อชาติศาสนาที่อาศัยอยู่ร่วมกันเป็นพี่น้องอยู่แล้ว
รวมทั้งเสนอให้มีตัวแทนจากทุกตำบลและให้รับเยาวชนเข้ามาเป็นสมาชิกด้วย เพื่อสร้างคนที่จะมาสานงานต่อ เนื่องจากเห็นว่า อนาคตของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ขึ้นอยู่กับเยาวชนรุ่นปัจจุบัน
“ขอให้สมาคมไทยมุสลิม พุทธ จีน จังหวัดปัตตานี เป็นต้นแบบในการสร้างความเป็นปึกแผ่นของคนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ผ่านแนวคิดครอบครัวเดียวกัน สร้างความรู้สึกกลมเกลียวของคนปัตตานีและขยายไปสู่พื้นที่อื่นในสังคมต่อไป”
บรรยากาศริมคลองในพรุจงเปลือยยังเย็นสบาย เพราะโอบล้อมด้วยต้นไม้น้อยใหญ่กับร่องรอยสายฝนที่ตกกระหน่ำเมื่อกลางดึก เมื่อใกล้ถึงเวลาทำงาน แต่ละคนก็แยกย้ายกันไป โดยหวังว่า ความสัมพันธ์ต่างศาสนาและเชื้อสาย จะแนบแน่นกลมเกลียวดังเดิม
จิบน้ำชายามเช้า ทลายช่องว่างรัฐกับชาวบ้าน
นายนิพนธ์ อินทรสกุล นายอำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี ในฐานะเจ้าภาพเลี้ยงน้ำชาเมื่อปลายปีที่ผ่านมา เปรียบเทียบงานเลี้ยงน้ำชานี้ เป็นเสมือนการลดช่องว่างระหว่างประชาชนกับราชการ
“สิ่งที่ยังแก้ไม่ตก คือ ความห่างเหินระหว่างข้าราชการกับประชาชน ซึ่งมันเกิดขึ้นโดยตัวมันเองโดยตัวระบบราชการที่ทำให้ประชาชนเข้าไม่ถึง ประชาชนยังรู้สึกว่าการเดินไปหาข้าราชการเป็นเรื่องยุ่งยาก”
นายนิพนธ์ พูดถึงข้อดีของวงน้ำชาว่า การให้ข้าราชการมานั่งจิบน้ำชากับชาวบ้าน จะทำให้รับรู้ปัญหามากขึ้น เพราะจะมีการพูดคุยแลกเปลี่ยนถึงปัญหาที่เกิดขึ้น นำมาสู่การถกแถลงถึงทางแก้ไปด้วย ข้อมูลที่ได้ก็จะมีผู้นำไปสานต่อและปัญหาได้ถูกจุดเร็วขึ้น
“บางครั้งบางปัญหาที่ดูเหมือนเล็กมาก กลับกลายเป็นเรื่องราวใหญ่โต ถ้าไม่คุยกัน เช่น ความขัดแย้งระหว่างพี่น้องพุทธกับมุสลิม ที่อาจเริ่มต้นมาจากปัญหาส่วนตัว แต่กลายเป็นความขัดแย้งระหว่างสองศาสนาไป ถ้าไม่คุยทำความเข้าใจกันก่อน”
อำเภอโคกโพธิ์ โชคดีที่ยังรักษาความสัมพันธ์ระหว่างกันได้ เพราะมีพื้นที่ที่ให้ทั้งสองฝ่ายมานั่งคุยกัน และผู้ใหญ่ของทั้งสองศาสนาก็ร่วมมือกัน ปัญหาจึงไม่มีโอกาสขยายกว้างออกไป
กิจกรรม “จิบน้ำชายามเช้า” ทุกวันอังคารแล้ว ไม่ได้จบไปเพียงแค่แต่ละคนแยกย้ายกันไป หากแต่ยังมีกิจกรรมครื้นเครงยามเย็นเดือนละครั้งด้วย เป็นกิจกรรมกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกันอีกกิจกรรมหนึ่งด้วย
กลุ่มกรีนร้องผู้ตรวจการแผ่นดินค้านตั้ง "นลินี-ณัฐวุฒิ"
ที่มา ประชาไท