WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, February 18, 2012

กรณีโฟร์ซีซั่น แก็งไอติมกับพวกคนเลว พยายามจะสร้างเป็นประเด็นให้ได้

ที่มา thaifreenews

โดย ลูกชาวนาไทย

ก็ยังละเลงกันไม่จบกรณีโฟร์ซีชั่น ที่เราเห็นการเปิดเกมโดยนายเอกยุทธ์ นักโกงแชร์หนีคดี ตามมาด้วยแก็งค์ไอติมของพรรค ปชป. เอาไปพูดสองแง่สองแง่สองง่าม เพื่อสร้างกระแส ให้รังสิมา ตั้งกระทู้่ถามในสภา

แล้วพวกสื่อสายอำมาตย์ แบบผู้จัดการก็เอาไปขยายความต่อ เพื่อสร้างกระแส "ละเลง" ให้เละ ตามความถนัดของ พวก ปชป. และพวกคนชั่ว

พอ นักธุรกิจที่ไปพบนายกฯจริงที่โฟร์ซีชั่นออกมายอมรับว่าไปพบจริง แต่เป็นเป็นกลุ่ม ซึ่งก็คงไปคุยกับนักธุรกิจใหญ่ เพื่อฟังความเห็นแบบยุคนายกฯทักษิณทำที่นัดนักธุรกิจใหญ่ระดับประเทศ เพื่อคุยฟังความเห็นในเรื่องการแก้ปัญหาต่าง ๆ แต่นายกฯทักษิณเป็นผู้ชาย ก็เลยไม่ถูกสร้างประเด็นแบบชูสาว คาวโลกีย์อะไรนี่

และผมเชื่อว่า นักธุรกิจใหญ่ ก็คงไม่อยากเปิดตัวให้ดัง ว่าเข้าไปคุยกับนายกฯ เพราะ "การเมืองแบบเลือกข้าง" มันส่งผลต่อธุรกิจชัดเจน แต่ปัญหาระดับชาติก็มี

ตอนนี้ ปชป. เบี่ยงประเด็นว่าจะสอบเรื่องเอื้อประโยชน์ต่อ นายเศรษฐาหรือไม่อีกแล้ว

เฮ้อ

พวก เขาใจร้อน ทุรนทุราย จะล้มรัฐบาลนี้ให้ได้ภายในครึ่งปี ก็สร้างประเด็นปั้นน้ำเป็นต้วขึ้นเอ่เอง เพราะความใจร้อน ปลาไม่กินเบ็ด ก็พยายามเอาเบ็ดไปเกี่ยวปากปลา บีบให้กินเบ็ดให้ได้

แต่เรื่องมันคาว โลกีย์ แบบไร้สาระมากเกินไป มันส่อถึงความต่ำทราบ ของแก๊งค์ไอติม ที่คบกับคนเลวแบบเอกยุทธ์ เพื่อเล่นงานคนอื่น มันชัดเกินไป

แกงค์ไอติม ปชป. นี้ก็ไม่ได้มีวุฒิภาวะทางการเมืองอะไรอยู่แล้ว
เล่นเกมตื้นๆ เก่งอยู่แล้ว แต่บังเอิญได้อำนาจในพรรค ปชป. กลายเป็นคนรอบกายนายมาร์ค
ก็เลยซ่า นึกว่าตัวเองแน่ก็เลยคุมทิศทาง พรรค ปชป.

พวกอาวุโสอย่างบัญญัติ และคนอื่นๆ เลยถอยไป เพราะเข้าไม่ถึงนายมาร์ค

แก็ง ค์ไอติม ปชป. ได้อำนาจ แต่ทำให้ ปชป. เสียอำนาจทางการเมือง เสียภาพพจน์นักต่อสู้ เพื่อประชาธิปไตยยุคเผด็จการทหารไปเสียหมดสิ้น กลายเป็นพรรคต่ำๆ แบบที่ ปชป. เคยเรียกพรรคมาร มาก่อน

Re:

โดย โรเบิร์ท อัมเตอร์ดัมส์_อามูโระ vs killer

นอกจากนี้ อีพวกสลิ่ม ณ เอาอยู่

ปั้นเรื่อง นำป้ายแขวนประตูเขียนโรงแรมเอาอยู่

รู้ไหม เค้ารับนำอะไรในความคิดของสลิ่ม

พวกคนไม่กี่คนในประเทศ เป็นภัยต่อประชาธิปไตยจริง ๆ

Re:

โดย ลูกชาวนาไทย

หากเกมยังเป็นแบบนี้ ผมคิดว่าเสื้อเหลืองคงปลุกไม่ขึ้นแน่นอน

เพราะ ต่อให้ไม่ชอบ พรรคเพื่อไทย หรือทักษิณอย่างไร คนเสื้อเหลืองปกติทั่วไป เช่นในที่ทำงานผม เขาไม่ได้โง่อะไรกันมากมายนัก พวกเขาก็แค่ไม่ชอบทักษิณเท่านั้น แต่ไม่ได้พร้อมที่จะลุย เล่นนอกกติกา ไม่จบไม่สิ้น และสู้กันมา 5 ปี พวกเขาก็รู้แล้วว่าการเล่นนอกเกมมันไม่ชนะ ไม่นำไปสู่อะไรเลย

ก็เลยเงียบกัน แม้เลือกตั้งจะลงคะแนนให้ ปชป. ตามอุดมการณ์ของพวกเขา

แต่จะให้ลงไปเล่นเหมือนห้าปีก่อน มันไม่มีเงื่อนไขอะไรให้พวกเขาต้องออกไปแล้ว

ผม ลองทอดตามองภาพรวม สถานการณ์จะค่อยๆ กลับไปสู่ปกติ แต่ไม่ได้เร็ว เพราะพวกที่อยากวุ่นวายยังมีอยู่ แต่การปลุกมวลชนขนาดใหญ่จะไม่ขึ้นอีกแล้ว

คือยังมีฝ่ายอำมาตย์ที่เล่นเกม แต่มวลชนขนาดใหญ่จะไม่มี
จะเกณฑ์มาก็ได้สักสองสามร้อย แบบสลิ่ม แต่จะไม่มากไปกว่านี้

แต่ไม่ได้หมายความว่าคนเสื้อเหลืองทั่วไปจะเป็นแดง
แต่พวกเขาเบื่อที่จะเล่นนอกกติกา มีเลือกตั้งก็ไปเลือกตามที่ตัวเองชอบ ไม่คิดอะไรมากแล้ว

พวกเขาจะไม่เป็นพวกเรา แต่จะไม่ออกมาลุยกับเราแน่นอน

พวกเหลืองกลางๆ จะเลิกสนใจการเมืองไปเลย แต่จะไปเลือกตั้งตามหน้าที่เท่านั้น
ทุกสังคม กราฟจะกระจายแบบ Normal Distribution พวกกลางๆ จะเยอะกว่าพวกสุดกู่

พวกตกขอบจริงๆ มีไม่เกิน 2.5% ในแต่ละด้าน

หรือว่าพระเจ้ากำลังลงโทษพรรคประชาวิบัติ...เพราะเป็นยุคตกต่ำสุดๆของพรรคนี้

ที่มา thaifreenews

โดย แดงใจดี

อาจถึงคราว วิบัติแล้ว มีแววใช่...
พรรคเก่าแก่ ของเมืองไทย มิใช่หรือ...
ที่ปู้ยี่ และปู้ยำ ทำกับมือ....
ให้เมืองไทย ซื่อบื้อ ล้าหลังลง...

อีกฝักใฝ่ เผด็จการ หมู่มารชั่ว...
ช่างไม่กลัว กรรมเวร เห็นลุ่มหลง...
ปล้นอำนาจ ประชาชน คนคดโกง...
อ้างจักรวงค์ มาล้มล้าง ทางเสรี...

อีกไม่นาน มันต้องไป ขึ้นศาลโลก...
เพราะนรก นั้นต้องการ มันคนนี้...
ที่สั่งฆ่า ประชาชน ร้อยชีวี...
เศร้าฤดี จึงเรียงร้อย ถ้อยคำกลอน...

ว่าพระเจ้า หรือผีนั้น พลันเจาะปาก...
พวกหมู่มารค์ ออกมาพล่าม ทำเห่าหอน...
โฟร์ซีซั่น นั้นหาเรื่อง เป็นขั้นตอน...
อยากถามย้อน พรรคแมงสาป ใจบาปจริง...

สร้างศัตรู ใครรู้เห็น เป็นไปทั่ว...
ทำพูดมั่ว มาเสียดสี ลูกผู้หญิง...
ใช่เพศแม่ ของมันไหม ไอ้หน้าลิง...
จะถูกทิ้ง ถูกโดดเดี่ยว ไม่เหลียวมอง....

ให้กลับตัว กลับใจ ใช่ทับถม...
จะตรอมตรม ช้ำหัวใจ ให้หม่นหมอง...
ถ้าไม่หยุด การใส่ร้าย หรือไม่ยอม....
จะตรมตรอม ตกต่ำ ทำตัวเอง....



จะทำยังไงให้พรรคนี้ถูกยุบได้ ผมละเบื่อพวกมันจริงๆไอ้พรรคประชาวิบัติเนี่ย 77

ชมภาพ นายกฯปู ที่ประตูระบายน้ำจุฬาลงกรณ์ จ.ปทุมธานี 17ก.พ.55

ที่มา thaifreenews

โดย น่ารัก ก็ไม่บอก



ชมภาพทั้งหมดคลิ้ก ที่นี่

“ไอ้พวก ‘เงี่ยน’ ปฏิวัติ...พวกกู ไม่กลัว พวกมึง!!!”

ที่มา vattavan

วาทตะวัน สุพรรณเภษัช

มื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา มีเพื่อนสนิทและคนรู้จักสามสี่รายมาถามผมว่า
“จะมีปฏิวัติ หรือเปล่า?”
มันน่าแปลกตรงที่ มีข่าว “ปฏิวัติ” แพร่ออกมา ทั้งๆที่สถานการณ์น้ำท่วมหมดไปแล้ว และรัฐบาลกำลังเร่งซ่อมแซมประเทศ เรียกความสดใส ให้กลับคืนมาสู่บ้านเมืองของเรา
การดำเนินการของรัฐบาลนายกฯปู ก้าวหน้าจนสื่อเขารายงานน่าชื่นใจ ว่า
นักลงทุนในเขตอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ต้องเสียหายเพราะเหตุ
อุทกภัย เกิดความ ‘มั่นใจ’ ขึ้นมาทันที เพราะแทนที่พวกเขาจะต้องลงทุน ไปกู้เงินดอกเบี้ยต่ำจากธนาคารออมสิน มาสร้างเขื่อนยาวรวมกันนับร้อยๆกิโลเมตร ทุกแนวเขต
อุตสาหกรรม เพื่อปกป้องทรัพย์สินของตัวเอง ด้วยเกรงว่า
อุทกภัยจะ ซ้ำรอยเดิม!
การกู้เงินจากธนาคารของพวกนักอุตสาหกรรม คงจะไม่ทันการ แต่รัฐบาลนายกฯปู กลับแสดงความใจกว้าง ลงทุนสร้างให้เอง ซึ่งจะแล้วเสร็จเรียงกันมา ตั้งแต่กรกฏา สิงหา
ไปถึงกันยายนเดือนสุดท้ายโน่น ถึงน้ำจะมาก็ไม่กลัว เพราะพอรับมือกันไหว
นี่เป็นการตัดสินใจ แก้ไขสถานการณ์ฉับพลันทันที แบบนักบริหารที่มี...ประสบการณ์!

ตอนนี้มีรายงานว่า โรงงงานอุตสาหกรรมที่ประสพภัยน้ำท่วมเปิดดำเนินการเต็มกำลังแล้ว ราว 30% นอกนั้นยังดำเนินการได้ไม่เต็มร้อย แต่กำลังเพิ่มเติมส่วนที่ขาดให้เต็มอัตราการผลิตเดิม
ส่วนโรงงานที่ยังไม่ได้ซ่อมแซม เพราะอยู่ระหว่างการเจรจากับบริษัทประกันภัย คาดว่าจะเรียบร้อยไม่นาน ก็จะเปิดดำเนินการได้ แต่ที่น่าประหลาดใจอย่างยิ่ง และผู้คนต่าง
คาดกันผิดหมด นั่นก็คือ
โรงงานที่ย้ายฐานการผลิต มีเพียง 1 แห่งเท่านั้น!
นี่คงทำความผิดหวัง ให้ไอ้พวกสื่อตรงข้ามรัฐบาล ที่ชอบออกข่าวเขย่าขวัญ สร้างความกังวลให้กับชาวบ้านตลอดมา ว่า...
นักลงทุนจะย้ายหนี ไปต่างประเทศ!

ที่น่ายินดีอีกเรื่องหนึ่งคือ ตอนนี้ตลาดหุ้นไทยได้รับอานิสงส์ จากการที่ต่างชาติเขามีความเชื่อมั่น ในรัฐบาลของนายกฯปู เข้ามาลงทุนในตลาดหุ้น สูงสุดเป็นประวัติการณ์ ถึง 800 ล้านดอลลาร์ เป็นอันดับสองในภูมิภาค รองจากสิงคโปร์เท่านั้น
เห็นกันหรือยังล่ะ!?

ที่โดดเด่นมากคือ รัฐบาลของนายกฯปูนี้ คือความสามารถในการคลี่คลายสถานการณ์ ความขัดแย้งกับประเทศเพื่อนบ้านที่รั้งติดกัน ซึ่งรัฐบาลชุดเก่าได้สร้าง และทิ้งปัญหาเอาไว้ จนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ดีขึ้นอย่างผิดหูผิดตา
ชายแดนด้านเขมร ได้มีการถอนทหารเรียบร้อย ส่วนเรื่องที่ยังค้างคา ก็เจรจากันไป
สำหรับชายแดนทางด้านพม่า ด่านสำคัญอย่าง ‘แม่สอด’ ที่ ปิดมา 2 ปี ในยุครัฐบาลกาลีนั้น แค่นายกฯปูเข้ารับตำแหน่ง แค่สามเดือนเท่านั้น ด่านเปิดเรียบร้อยแล้ว คนไทยชายแดนหน้าตามีเลือดฝาด แจ่มใสไปตามๆกัน
การค้าขายระหว่างกันที่ด่านสำคัญนี้ น.ส.พ. “ไทยรัฐ” ประมาณการว่าไม่ต่ำกว่า 1 แสนล้านบาทต่อปี นอกจากนั้น ยังมีการพิจารณาระหว่างสองประเทศ ถึงการเปิดด่านตาม
ช่องทางอื่นๆอีกด้วย
ชาวบ้านร้านตลาดตามแนวชายแดน พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ช่างแตกต่างจากตอนไอ้พรรคกาลี มันบริหารบ้านเมืองยิ่งนัก เพราะไอ้รัฐบาลเวรตะไลนั่น มันทำให้บ้านเมืองของ
เรา
ต้องตกที่นั่งร้อนระอุ มิได้สร่างซาเลยทีเดียว!

นี่เป็นผลงานชัดเจน ของรัฐบาลนายกปู แต่ก็น่าแปลกที่ผลงานดีมากๆทางด้านต่างประเทศ แต่รัฐบาลของนายกฯปู...
กลับเผยแพร่ความสำเร็จนี้ น้อยเหลือเกิน!
พี่น้องประชาชนคนไทย ไม่ค่อยทราบกัน กลับไปจำความหวาดกลัวนโยบายอัปรีย์ของรัฐบาลพรรคกาลีได้ เพราะเป็นที่รู้กันไปทั่วว่า ไอ้รัฐบาลโลซกนั้น มันเอาแต่...

“ทะเลาะกับเขมร เขม่นพม่า ด่าญวน กวนส้นตีนลาว”
รัฐบาลของนายกฯปู สามารถทำให้ชายแดนของประเทศ ที่รุ่มร้อนมานานหลายปี กลับสู่ความสงบสุขได้ ภายในระยะเวลาแสนสั้น
ผู้คนอนุโมทนา!
เมื่อทำสิ่งดีๆอย่างนั้นแล้ว รัฐบาลเองต้องรู้จักคัดเอาผลงานดีๆ ไปป่าวประกาศให้ผู้คนเขารู้กันให้ทั่ว แต่นี่กลับนิ่งเงียบ ปล่อยให้ไอ้พวกกาลี มันตีกินเอาข้างเดียว
แค่ให้นายกฯปู ไปเดินตลาดแม่สอด คุยกับพ่อค้าแม่ขาย ไต่ถามสารทุกข์สุขดิบ เท่านี้สื่อก็ตีข่าวกันกระฉ่อนแล้ว
แนะนำกันไว้...แค่นี้แหละ!!

ข่าวปฏิวัติ แพร่ออกมา ตั้งแต่มีผู้นำค่ายโพกผ้าเหลือง ออกมายุยงให้ทหารปฏิวัติ ซึ่งชาวบ้านเขาไม่สนใจ เพราะอยู่คนละข้างกับรัฐบาล พูดไปก็ไลฟ์บอย แต่ดันมีทหารยศพลเอก ที่เกษียณอายุไปแล้ว ดันทะลึ่งไปพูดยุให้ทหารปฏิวัติอีก
เลยเป็นประเด็น!

นายทหารคนที่ว่า คือ พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ เมื่อครั้งเป็นนายทหารหนุ่ม ดำรงตำแหน่งผบ.พัน ทหารราบ พล.ร 9 อยู่ที่เคยพยายามก่อการปฏิวัติ เมื่อ 26 มีนาคม 2520 โดยมี พล.อ.ฉลาด หิรัญศิริ อดีตรองผู้บัญชาการทหารบก เป็นผู้นำ
การปฏิวัติครั้งนั้นล้มเหลว...กลายเป็น ‘กบฏ’ ไป!
พล.อ.ฉลาด หิรัญศิริ ถูกประหารชีวิต ด้วยการยิงเป้า นายทหารและพลเรือน ที่มีส่วนร่วมในการกระทำความผิดที่เหลือ ถูกจำคุกทั้งหมด
พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ ที่วันนี้ออกมาเรียกร้องให้มีการปฏิวัติ ในวันนั้นโดนใส่กุญแจมือไพล่หลัง ถูกส่งตัวไปเข้าเรือนจำ
สีหน้า...ซีดเผือด!

สามสิบห้าปีจากการก่อกบฏครั้งแรก บัดนี้ พล.อ.บุญเลิศฯ กลายเป็นทหารชรา แต่ความคิดอุบาทว์ดักดานถึงการปฏิวัติรัฐประหารของแก กลับไม่เปลี่ยนแปลง ยังคิดว่าทหารเท่านั้น ที่แก้ปัญหาบ้านเมืองได้ จนถูกแจ้งความกล่าวหา ว่า
ยุยงให้ทหาร...ทำปฏิวัติ!
พล.อ.บุญเลิศฯ ทำให้ผมคิดถึง ‘ตั๊กแตน’ ในแอฟริกาใต้ ตามภาพ ที่นักดึกดำบรรพ์วิทยา เพิ่งยืนยันไม่กี่วันมานี้เอง ว่า

content/picdata/349/data/photo7.jpg

‘ตั๊กแตน’ พันธ์นี้ เกิดมาในโลกก่อนไดโนเสาร์ ซึ่งบัดนี้สูญพันธ์ไปนานแล้ว แต่...
ไอ้สัตว์พันธ์นี้ ยังอยู่ และเป็น Earth's oldest animal ด้วย!

ความคิดเรื่องการปฏิวัติ ของอดีตกบฏอย่างบุญเลิศฯ มันช่างสูญพันธ์ยากเย็น เหมือน ‘ตั๊กแตน’ จริงๆ
ผมไม่รู้ว่าตาเฒ่าบุญเลิศฯ อดีตทหารกบฏ แกอยากให้ทหารรุ่นหลังๆ ถูกส่งเข้าเรือนจำเหมือนตัวเอง หรืออย่างไรกัน?
ไม่อยากสอนคนแก่ ที่ใกล้จะเข้าโลงแล้ว แต่ต้องส่งเสียงเตือนกันเบาๆ เพราะไม่อยากให้คนเขานินทาแก ว่า
“ไอ้กบฏเฒ่าคนนี้...มันคงเพี้ยนไปแล้ว!”

มเองเงี่ยหูฟังข่าวปฏิวัติมาตลอด เลยต้องทั้งฟังและอ่านจากสื่อตรงข้ามรัฐบาล ซึ่งตอนนี้สะดวก เพราะมีการแบ่งค่ายกันอย่างชัดเจน
ใครเป็นพวกใคร อยากดูทีวี ฟังวิทยุค่ายไหน อ่านหนังสือพิมพ์อะไร สะดวกมาก

ได้ยิน นายคำนูญ สิทธิสมาน ส.ว.ลากตั้ง พูดผ่านสื่อ ASTV เมื่อวันเสาร์ต้นเดือนนี้ ว่า
พรรคประชาธิปัตย์เองนั้น จะมาบอกว่า รัฐบาลควบคุมสื่อไม่ได้ เพราะขณะนี้ มีสื่อฟรีทีวีอย่างน้อยสามช่อง ที่สนับสนุนพรรคโลซกตกกระป๋องนี้อยู่
นายคำนูญฯบอกว่า
“ไม่อยากบอกว่าช่องไหนบ้าง เพราะเพื่อนฝูงกันทั้งนั้น”

นายคำนูญฯคงไม่ต้องบอก เพราะคนที่ติดตามการเมือง ก็พอรู้ว่าช่องไหน หรือวิทยุคลื่นไหน แม้แต่ผู้ดำเนินรายการ หรือโฆษก-โฆษกีตัวไหน ที่ยังสนับสนุนพรรคดักดานอยู่
สมัยนี้ผู้คนเขาโง่ที่ไหนล่ะ แค่พูดออกมานิดเดียว หรือแม้แต่จะพยายามทำ ‘เนียน’ แล้วก็ตาม เขาก็ยังจับได้ว่า
“ตัวเองน่ะ เลือกอยู่ข้างไหน!?”
คนไทยเดี๋ยวนี้...ฉลาดจะตาย!

ตัวผมพยายามอ่าน และตรวจสื่อตรงข้ามรัฐบาล ว่า จะมีบทวิเคราะห์เกี่ยวกับการปฏิวัติรัฐประหารหรือไม่ ไปเห็นบทความของ นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ในเว็บผู้จัดการ ต้องรีบคลิกเข้าไปอ่าน เพราะแกตั้งชื่อเอาไว้น่ากลัว ว่า
“กลิ่นปฏิวัติโชยมา!?”
อ่านไปจนจบ ไม่รู้ว่ากลิ่นปฏิวัติโชยมาจากไหน ใครเป็นผู้ปล่อยกลิ่น เหม็นรุนแรงแค่ไหนก็ไม่บอก เพราะทั้งคอลัมน์ไม่มีแม้แต่คำว่า
“กลิ่น” หรือ “ปฏิวัติ” ด้วยซ้ำไป!
หัวเรื่องกับเนื้อหาไม่ตรงกัน ไอ้ที่ปรากฏในคอลัมน์กลายเป็นเรื่องซ้ำๆซากๆ ที่นายปานเทพฯเอง เคยพูดเป็นแผ่นเสียงตกร่องมาหลายครั้งหลายหน นอกจากไม่มีอะไรใหม่แล้ว
ผมยังไม่เห็นว่า บทความของแกนั้น...
ไปเกี่ยวอะไรกับการปฏิวัติ หรือกลิ่นปฏิวัติตรงไหนเลย!!?

ยากให้ท่านผู้อ่าน รวมทั้งคนที่คิดจะปฏิวัติ ลองหันไปดูสภาพของผู้ก่อการปฏิวัติรัฐประหารรายล่าสุด คือ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ที่ผมให้ฉายาว่า
“ไอ้บัง กบฏ”
อีตาคนนี้เคยมีอำนาจสูงสุดในประเทศไทย และได้ประโยชน์เต็มๆจากการปฏิวัติรัฐประหาร ที่เห็นชัดเจนก็มาในรูปทรัพย์สินเงินทอง แต่หากจะถามว่า
พี่น้องประชาชน ให้ความยกย่อง นับถือเขาหรือไม่?
คำตอบคือ...เปล่าเลย!

หลังจากที่หมดอำนาจวาสนา จากหัวหน้าคณะปฏิวัติและ ผบ.ทบ. ต้องตกกระเป๋อง กลายเป็นข้าราชการบำนาญแล้ว เขาได้ตั้งพรรคการเมืองชื่อ “พรรคมาตุภูมิ” ขึ้นมา
มีการเปิดตัวพรรคการเมืองอย่างใหญ่โต ที่ทำการพรรคโก้หรูอยู่กลางเมือง ใกล้กับพรรคการเมืองของ “มังกือ-เมืองสุพรรณ” ของนายห้าสั้น
(คนลือกันว่า นายบรรหาร บั่นหำ พยายามทำตัวเป็น “มังกร” แต่เป็นได้แค่ “มังกือ” ดันเอา “มังกร” ไปตั้งเพื่ออวดบารมี ซึ่งเป็นสิ่งเกินตัว เลยเกิดระเบิดและไฟไหม้ปี้ป่น ผู้คน
ทั้งเจ็บ ทั้งล้มตาย ไปเยอะแยะ!)

มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่า พรรคของ “ไอ้บัง กบฏ” จะกลายเป็นพรรคการเมืองสำคัญ เพราะเชื่อว่า
จะได้คะแนนเสียง จากพี่น้องคนไทย ที่เป็น ‘มุสลิมะ’ หรือผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม ซึ่งให้การสนับสนุน แต่กลับไม่ประสบความสำเร็จ
หิ้วกะร่องกะแร่ง กะเล่อกะล่า เข้าสภา ได้แค่สองคน!!
จึงถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า
เป็นการตอกตะปู ฝังแนวความคิดที่จะมี “พรรคมุสลิม” ไปด้วย!!!

ไม่น่าเชื่อว่า พรรคของ “ไอ้บัง กบฏ” ได้ทั้งจำนวน ส.ส.และคะแนนเสียง น้อยกว่าพรรคที่มี “หัวหน้าซ่องกะหรี่” ชื่อดัง เป็นโต้โผเสียด้วยซ้ำไป!!!
มันน่าขายหน้านัก!
นี่หากไม่ได้คะแนนเสียง จากผู้สมัคร ส.ส.เขต ที่ภาคใต้มาอนุเคราะห์ อดีตหัวหน้าคณะรัฐประหารหรือ “บังสี่จิ๋ม” คนนี้ ไม่มีวันเข้ามานั่งปั้นจิ้มปั้นเจ๋อ ในสภา อย่างแน่นอน
ที่น่าประหลาดใจ อย่างยิ่งก็คือ

ผู้สมัครที่พรรคของ “ไอ้บัง กบฏ” ส่งลงในนามพรรค ที่จังหวัดลพบุรี ซึ่งเป็นถิ่นของนายพลสนธิฯเอง เพราะเคยอยู่มาตั้งแต่เป็นนายทหารผู้น้อย จนไต่เต้าเป็นผู้บัญชาการกองพล และผู้บัญชาการหน่วยสงครามพิเศษ เป็นเวลานับสิบๆปีทีเดียว ซึ่ง
เจ้าตัวมั่นใจนักหนาว่า
ผู้สมัครพรรคของตนที่จังหวัดลพบุรี ต้องได้คะแนนพอที่จะเข้ามาเป็น ส.ส. อย่างนอนมานั้น
แต่...ปรากฏว่า
แม้กระทั่งหน่วยเลือกตั้ง ที่ วัดตองปุ ตำบลทะเลชุบศร อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี ใกล้หน่วยสงครามพิเศษ ที่ซึ่งนายพลสนธิฯ เคยเป็นเจ้านายอยู่นานนั้น
มีคนเลือกพรรคของ “ไอ้บัง กบฏ” เพียง 4 เสียง หรือ....
สี่คะแนน...เท่านั้น! …555

ท่านผู้อ่านคงเดาได้ว่า แม้แต่หน่วยที่เป็นเสมือน “บ้าน” ของนายพลสนธิฯ ยังแสดงออกขนาดนั้น นั่นแสดงว่า
ทหารหน่วยรบพิเศษนั้น คิดอย่างไรกับอดีตผู้บังคับบัญชา ของพวกเขา!?
ไม่ต้องมาถามนะว่า ประชาชนคนธรรมดา คิดอย่างไรกับอดีตหัวหน้าคณะปฏิวัติคนนี้!!
ขอบอกต่อไปอีกด้วย ว่า

สิ่งที่แสลงใจ สำหรับผู้บังคับบัญชาทหาร เป็นอย่างมาก ก็คือ การเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา มีการสั่งการไปถึงผู้ใต้บังคับบัญชาทุกหน่วย ให้เลือกพรรคดักดาน โดยผู้บังคับบัญชาทหาร หวังจะประสานประโยชน์ เกื้อกูลกันต่อไปกับรัฐบาลเก่า และกีดกั้นทักษิณกับพวกพ้อง ไม่ให้กลับเข้ามามีอำนาจอีกครั้ง แต่...
ผลที่ออกมาคือ หน่วยเลือกตั้งใกล้หน่วยทหารนั้น พรรค “เพื่อไทย” ชนะเรียบทุกหน่วย
หรือใครว่าไม่จริง?
อย่ามาแก้ตัวนะว่า นี่เป็นเพราะ…

ทหารแตงโม มีมากกว่า...ทหารสลิ่ม!!!

ยากจะบอก คนที่คิดจะก่อการรัฐประหาร โดยเฉพาะที่เคยเป็น ผบ.ทบ. มีอำนาจสูง อย่าง จอมพล.ป.พิบูลสงคราม ต้องหนีออกจากแผ่นดินไทย ไปตายต่างประเทศ
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้มีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ตายลง เมียโผล่มาเป็นร้อยเป็นพัน จนถูกยึดทรัพย์
จอมพลถนอม กิตติขจร จอมพลประภาส จารุเสถียร ซ้ำรอยจอมพล สฤษดิ์ฯ เพราะถูกยึดทรัพย์ เพียงแต่ไม่มีเรื่องอื้อฉาวแค่นั้น
พล.อ.สุจินดา คราประยูร กระเด็นตกจากอำนาจ เพราะถูกกล่าวหาว่า สั่งทหารไปฆ่าประชาชน กลางถนนราชดำเนิน ทุกวันนี้ต้องนั่งกอดเข่าเจ่าจุก เป็นตาแก่อยู่ที่บ้าน
อย่างนี้เป็นตัวอย่าง ที่พึงจำกันไว้!
ประชาชนเรียนรู้แล้วว่า หากบ้านเมืองเป็นประชาธิปไตย พวกเขาจะได้รับ...ประโยชน์ มีสิทธิ มีเสียง และมีศักดิ์ มีศรี
การก่อการปฏิวัติรัฐประหาร มีแต่ทำให้บ้านเมืองทรุดโทรมลง สถาบันทหารถูกดูหมิ่นเกลียดชัง แถมยังทำให้สถาบันอื่นๆพลอยบิดเบี้ยว ชำรุดเสียหายไปด้วย เพราะผู้คนคลาง
แคลง และตั้งข้อสงสัยต่างๆนานาซึ่งไม่เป็นมงคลเลย
ขอให้จำใส่กะโหลก กันไว้ด้วย ว่า
หากมีการปฏิวัติรัฐประหาร และหลังจากนั้นแล้ว เมื่อบ้านเมืองกลับมา สู่โหมดของการเลือกตั้ง
พรรคทักษิณ...ก็จะชนะอีก!

ประวัติศาสตร์ก็จะซ้ำรอย เดิม วนไปวนมาอย่างนี้ ไม่มีที่สิ้นสุด บ้านเมืองของเราถอยหลังไปทุกที เพื่อนบ้านอื่น กระทั่งพม่า ยังหันเข้าหาระบอบประชาธิปไตย มีแต่ไทยเราเท่านั้นในภูมิภาคนี้ ที่ดันถอยหลังเข้าคลอง
ถ้ารัฐประหารไม่สำเร็จ เพราะพี่น้องประชาชนชาวไทย ลุกขึ้นมาต่อต้าน และคณะผู้ก่อการกลายเป็น ‘กบฏ’ ไป นั้น
ผู้ที่ทำรัฐประหาร ก็จะ ‘หมดสิ้น’ ทุกอย่างในชีวิต!

ะนั้น ถ้าขุนทหารสายสลิ่ม หรือสายสองสลึงคนไหนที่เงี่ยนนัก-เงี่ยนหนา หากใจกล้าพอ
จงลุกขึ้น...ทำปฏิวัติเลย!

อย่ามัวแต่เบ่งกล้าม ทำหน้าตาขึงขัง บูดเบี้ยว อวดศักดา ข่มขู่ชาวบ้านอยู่เลย
พูดกันตรงๆ แบบคนไทย หัวใจนักเลง ว่า

“มึงอยากปฏิวัติ ทำเลยซีวะ...ไม่ต้องมา ‘ขู่’ กู!”

รับรองว่า

นอกจากประเทศต่างๆ ทั้งมหาอำนาจ และชาติประชาธิปไตยทั่วโลก จะต่อต้าน คัดค้านจนถึงที่สุดแล้ว
พี่น้องประชาชน ผู้คนในบ้านนี้เมืองนี้ จะต้องลุกขึ้นมาต่อสู้ เพื่อรักษาระบอบประชาธิปไตย ที่พวกเขาหวงแหนเอาไว้ ด้วยความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน

เขาเหล่านั้น จะตะโกนกู่ก้อง พร้อมเพรียงกัน ว่า

“พวกกู ไม่กลัว พวกมึง!!!”

..................

ท้ายบท ชาวบ้านตาดำๆ ต่างโดนป้ายสี เรื่อง “ล้มเจ้า” มานมนานแล้ว แต่ถ้าใครอยากรู้ว่า กลุ่มไอ้-อีตัวไหน ที่เคย “ล้มเจ้า”และล้มได้สำเร็จมาแล้วด้วย
ไปอ่านได้เลย ในคอลัมน์...
“ใครกันแน่ที่...ล้มเจ้า!?” (
http://www.vattavan.com/detail.php?cont_id=301)

ขนาดเขียนแบบยั้งๆมือ ยังมีผู้อ่านเกือบ...หมื่นคน!!!

(คอลัมน์ประจำสัปดาห์ “ไอ้พวก ‘เงี่ยน’ ปฏิวัติ...พวกกู ไม่กลัว พวกมึง!!!” ออนไลน์วันเสาร์ ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2555)

ขอความเป็นธรรมให้นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข

ที่มา ประชาไท

ดร.โสภณ พรโชคชัย

วันนี้ผมขอเขียนประเด็นร้อนฉ่าสักหน่อยเกี่ยวกับนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข ที่ถูกข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ผมไม่ได้หาเหาใส่หัว แต่ผมเขียนบันทึกนี้ก็เพื่อปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ การปฏิบัติที่ไม่ดีต่อผู้ต้องหาซึ่งยังถือว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ อาจทำให้เกิดความเสื่อมเสียต่อสถาบันได้

ในการสืบพยาน “เหมือนเป็นการกลั่นแกล้งกัน เพราะพยานแต่ละปากนั้นพักอาศัยอยู่ที่กรุงเทพฯ แต่กลับมีการเรียกสืบพยานที่ภูมิลำเนาของพยาน ซึ่งที่ผ่านมา ตนเอง (ทนาย) ก็แถลงคัดค้านการสืบพยานในลักษณะนี้ทุกครั้ง เนื่องจากทราบว่าพยานทุกปากอยู่ที่กรุงเทพฯ ทั้งยังยินดีออกค่าใช้จ่ายให้กับพยานปากต่อไป ให้สามารถเดินทางมาเบิกความที่ศาลในกรุงเทพฯ ได้ ทั้งนี้เพราะการเดินทางแต่ละครั้งเป็นไปด้วยความยากลำบาก สมยศซึ่งมีปัญหาสุขภาพจะต้องนั่งที่หลังรถกระบะ มีโซ่ตรวน และเจอกับสภาพอากาศร้อน อย่างที่เดินทางมาสงขลา ใช้เวลาถึง 12 ชั่วโมง” <1> และเมื่อนายสมยศเดินทางไปถึง พยานก็กลับไม่ไปศาล

ข้อนี้สังคมอาจมองได้ว่านี่คือการใช้อคติทรมานนายสมยศ ทั้งนี้นายสมยศต้องเดินทางด้วยการนั่งหลังรถกระบะในเวลากลางวันร้อน ๆ พร้อมโซ่ตรวนอย่างนี้ไปทั้งที่สระแก้ว เพชรบูรณ์ นครสวรรค์และสงขลามาแล้ว ยังไม่รู้จะต้องเดินทางแบบนี้ไปไหนอีก

การไม่ให้ประกันตัวนายสมยศตามคำร้องขอถึง 6-7 ครั้งแล้ว ทั้งที่ “ญาติหอบโฉนดที่ดิน 28 ไร่ ตีราคา 1.6 ล้าน ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว” <2> เช่นนี้ แม้เป็นอำนาจของผู้พิพากษา แต่ก็ควรพิจารณาว่า ผู้ต้องหารายนี้ยินดีให้จับกุมแต่แรก และหากรู้ตัวล่วงหน้า ก็ยังพร้อมเข้ามอบตัว <3> นายสมยศถูกจับเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2554 จนถึงวันนี้ใช้ชีวิตอยู่ในเรือนจำเกือบปีแล้ว และยังไม่รู้ว่าจะอยู่ต่อไปถึงเมื่อใดจึงจะมีคำพิพากษา กระบวนการยุติธรรมไทยน่าจะมีความรวดเร็วกว่านี้ ความช้าอาจหมายถึงความอยุติธรรม

การที่กระบวนการยุติธรรมหรือบุคคลที่ทำงานในกระบวนการยุติธรรมตัดสินในใจ ไปล่วงหน้าแล้วว่าผู้ต้องหาผิด หรือเห็นว่าเขาอยู่ข้างทักษิณ จึงทรมานเขาเช่นนี้ มีแต่จะสร้างความขมุกขมัว หวาดกลัว และเกลียดชัง แตกแยกขึ้นในสังคม และทำให้ภาพพจน์สถาบันเสียหายโดยผู้ที่เข้าใจว่าตนเองกำลังปกป้องสถาบันเอง

โปรดพิจารณาด้วยครับ

ที่มา:

<1> เลื่อนสืบพยานคดี “สมยศ” ไป 18 เม.ย. หลังเดินทางถึงสงขลา http://www.prachatai3.info/journal/2012/02/39242

<2> “สมยศ” วืดประกันนอนคุกต่อ ศาลไม่อนุญาตปล่อยตัว! http://www.manager.co.th/crime/viewnews.aspx?NewsID=9550000014173&TabID=2&

<3> ข่าว “จับ ‘สมยศ พฤกษาเกษมสุข’ คดีล้มเจ้า” http://www.komchadluek.net/detail/20110430/96236/%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%A2%E0%B8%A8%E0%B8%9E%E0%B8%A4%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%84%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2.html

CSR พลังอำนาจของ “ภาพลักษณ์” หรือ “มายาคติ” ลวงโลก?

ที่มา ประชาไท

การแข่งขันในเกมเศรษฐกิจ โดยเฉพาะธุรกิจที่ทุกวันนี้เต็มไปด้วยการแข่งขัน และเกมสำคัญที่ธุรกิจต่อสู้ช่วงชิงความได้เปรียบกันอย่างรุนแรงเห็นจะเป็น เรื่องการตลาด

การตลาดสมัยใหม่มีความพยายามใช้ยุทธศาสตร์การยึดครองลูกค้าหรือผู้บริโภค โดยใช้กลยุทธ์ในการแข่งขันให้แนบเนียนและซึมลึกเข้าครอบงำจิตใจคนมากขึ้น

เครื่องมือที่สำคัญคือ การสื่อสารมวลชนอย่างบูรณาการ (IMC – Integrate Mass Communication) ซึ่งใช้สื่อหลากหลายรูปแบบสร้างข้อมูล และเรื่องราวต่างๆ เพื่อทำให้ผู้ชมผู้ฟังสื่อประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับยี่ห้อ และภาพลักษณ์ขององค์กรธุรกิจเหล่านั้น ในทิศทางที่บรรษัทวางแผน

การสื่อสารผ่านการโฆษณาประชาสัมพันธ์ทั้งทางตรงและทางอ้อมถูกควักเอามา ใช้หล่อหลอมอารมณ์ความรู้สึกของผู้บริโภคซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนในบางครั้งผู้บริโภคจะจำภาพลักษณ์ของบรรษัทและสินค้าบริการของแต่ละยี่ห้อ ด้วยภาพลักษณ์ที่ปรากฏในโฆษณามากกว่าข้อมูลที่แท้จริงของสินค้าหรือกระบวน การผลิตสินค้าเหล่านั้น เช่น จำว่าสินค้าของบรรษัทนี้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยมองข้ามไปว่าวิธีการผลิตสินค้าชนิดนี้จะต้องใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง และก่อมลพิษสูง

สถานการณ์ปัจจุบันพลิกผันอย่างรวดเร็ว การตลาดจึงต้องพลิกแพลงไปตามภาวการณ์ การบริหารจัดการและการตลาดในช่วงวิกฤต จึงต้องพยายามพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส เมื่อเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ หรือภัยจากน้ำมือมนุษย์ จึงเป็นวิกฤตที่ธุรกิจจำต้องช่วงชิงโอกาสเหล่านั้นให้กลับกลายเป็นโอกาส

การทำกิจกรรมทางสังคม ถือเป็นกิจกรรมทางการตลาดชนิดหนึ่ง โดยกิจกรรมเหล่านี้เป็นการแสดงออกซึ่งความรับผิดชอบทางสังคมของบรรษัท ตามหลัก CSR – Corporate Social Responsibility เป็นแนวทางหนึ่งที่ผลักดันให้องค์กรทางธุรกิจจำนวนมากได้ลุกขึ้นมาทำกิจกรรม ทางสังคมโดยปันงบจากหมวดการประชาสัมพันธ์และการตลาดมาใช้ เพื่อสร้างกิจกรรมที่สามารถเชื่อม ความสัมพันธ์กับประชาชนได้ดี โดยเฉพาะในยามวิกฤตที่คนต้องการความช่วยเหลือและแบ่งปัน

อนึ่ง ปิแอร์ บูริดิเยอร์ นักมานุษยวิทยาผู้เลื่องชื่อ ได้กล่าวถึงวิธีการแข่งขันในเกมว่าผู้เล่นทั้งหลายต้องแสวงหากลยุทธ์ต่างๆ มาสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน โดยความได้เปรียบเกิดจากการสั่งสมทุน 4 ประเภท คือ ทุนทางเศรษฐกิจ ทุนทางสังคม ทุนทางวัฒนธรรม และที่สำคัญมากคือ ทุนสัญลักษณ์

ทุนทางเศรษฐกิจ คือ ต้นทุนในการต่อสู้แข่งขันที่อยู่ในรูปแบบของทรัพยากร โอกาส และความสามารถในการนำทรัพยากรมาเสริมศักยภาพของการแข่งขัน เช่น ที่ดิน โรงงาน สิทธิในทรัพยากร ส่วนทุนทางสังคม คือ ฐานของเครือข่ายทางสังคมที่มีอยู่กับผู้อื่นในสังคม เช่น มีเครือญาติ เพื่อนฝูง คนรู้จัก ที่สามารถพึ่งพาอาศัย และช่วยเหลือกันได้ และทุนทางวัฒนธรรม คือ การสั่งสมสิ่งที่สังคมนั้นให้ความหมายว่าเป็นสิ่งทรงคุณค่า ควรแก่การนับถือชื่นชม เช่น การจบการศึกษาจากสถาบันมีชื่อเสียง การได้รับรางวัลจากสถาบันต่างๆ เป็นต้น

ทุนสัญลักษณ์ คือ ภาพลักษณ์ หรือ สัญลักษณ์ ที่เกิดจากสร้างความรู้สึกอารมณ์ต่อสิ่งนั้น ให้ติด “ภาพ” เช่น การช่วยเหลือผู้อื่นคราวละน้อยๆ แต่ช่วยบ่อยๆ การบริจาคเพื่อการกุศล ซึ่งจะเสริมภาพลักษณ์ขององค์กรให้คนในสังคมมองมาด้วยความรู้สึกชื่นชม จนไม่ตั้งข้อสงสัยว่า แท้จริงแล้ว คนหรือองค์กรเหล่านั้นมีข้อมูล หรือข้อเท็จจริงอื่น ที่ปิดบังซ่อนเร้นไว้หรือไม่

สาเหตุที่ทุนประเภทนี้มีความสำคัญมากก็ด้วยเหตุที่สามารถครอบงำความคิด อารมณ์ ความรู้สึก ของผู้คนได้อย่างแนบเนียน ซึ่งถือเป็นความรุนแรงอย่างที่สุดเพราะเป็นการเอาชนะด้วยการสร้างความชอบ ธรรมกดทับข้อเท็จจริงทั้งหลายที่หลบซ่อนอยู่ภายใต้ภาพลักษณ์ที่สวยงาม ทรงคุณค่า เลิศหรู เพราะสิ่งที่การโฆษณาประชาสัมพันธ์แสดงให้เห็นก็เป็นเพียงการเลือกเสนอความ จริงด้านเดียว และปิดบังความจริงอื่นๆ ที่ไม่เป็นคุณกับภาพลักษณ์ของบรรษัท

ยุทธวิธีที่กำลังนิยมกันมาก คือ กลยุทธ์ที่หวังผลทางอ้อม เพราะแนบเนียนและครอบงำได้อย่างลึกซึ้งมากกว่า เนื่องจากผู้ที่ถูกครอบงำกลับไม่รู้สึกถึงการคุกคาม และยังเห็นว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องและเป็นธรรมแล้ว

บทความนี้มิได้กล่าวอย่างเหมารวมว่า บริษัทห้างร้านทุกแห่ง ทุกยี่ห้อจะใช้วิธีการประชาสัมพันธ์ด้วยการทำกิจกรรมทางสังคมเพื่อครอบงำ และปิดบังความจริงเอาไว้ แต่ข้อสังเกตที่เกิดจากวิกฤตการณ์น้ำท่วมเมื่อปีที่ผ่านมา และอาจจะมาถึงในอนาคต ก็คือ ไม่มีใครพูดถึงต้นเหตุของปัญหา และไม่มีการบ่งชี้ว่าใครเป็นผู้สร้างปัญหาตัวจริง

ดังนั้นการสร้างภาพลักษณ์ทั้งหลายขององค์กรต่างๆ ทั้งบรรษัทเอกชน หรือองค์กรภาครัฐ จึงเป็นการวางแผนอย่างมีนัยยะสำคัญต่อการควบคุมความจริง เพราะประชาชนส่วนใหญ่ในสังคมคิดและเชื่อ บนข้อมูลที่นำเสนอผ่านสื่อรูปแบบต่างๆ มากกว่าการมีประสบการณ์ตรง ดังนั้นเรื่องราวจำนวนมากที่ประชาชนรับรู้รับฟังผ่านสื่อจึงเป็นเพียงยอดน้ำ แข็งที่โผล่พ้นน้ำ แต่ก้อนน้ำแข็งที่เป็นอันตรายนั้นจมอยู่ใต้ผิวน้ำ รอวันให้เรือเข้าชน จึงจะรู้ว่ามีมหันตภัยซ่อนอยู่ใต้ยอดน้ำแข็งนั้น

การทำประชาสัมพันธ์แบบสร้างภาพลักษณ์บนพื้นฐานของ CSR จึงอาจเป็นเพียงภาพมายา ที่สร้างมายาคติครอบงำคนในสังคมให้หลงเข้าใจว่า บรรษัทมีความรับผิดชอบต่อสังคม

อย่างไรก็ดีเราควรผลักดันและตรวจสอบให้บรรษัทมีการดำเนินธุรกิจบนพื้นฐาน ของความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างครบวงจร มิใช่เพียงขั้นตอนการทำโฆษณาประชาสัมพันธ์

ตามประมวลความรับผิดชอบทางสังคมของบรรษัทข้ามชาติที่จัดทำขึ้นโดยกลุ่ม ประเทศอุตสาหกรรม (OECD) ได้กำหนดขอบเขตของความรับผิดชอบทางสังคมไว้ใน 3 ประเด็นใหญ่ คือ
1. การรักษาสิ่งแวดล้อม
2. การคุ้มครองสิทธิแรงงาน
3. การประกันสิทธิมนุษยชน

ดังนั้นองค์กรที่จะสามารถอวดความเป็นบรรษัทที่รับผิดชอบสังคมได้อย่าง ภาคภูมิจึงต้องมีการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ส่งเสริมสิทธิแรงงาน และเคารพสิทธิมนุษยชน ในทุกกระบวนการทำธุรกิจของบรรษัท ตั้งแต่ขั้นตอน การผลิต การกระจาย การแลกเปลี่ยน หรือแม้กระทั่งกระตุ้นการบริโภคสินค้าหรือบริการของบรรษัท

ไม่มีใครจะลุกขึ้นมาทำสิ่งเหล่านี้เองเพราะมีต้นทุนในการปรับเปลี่ยนสูง มาก จึงเป็นหน้าที่ของสังคมที่จะกำกับควบคุม และผลักดันให้มีการเปลี่ยนแปลง

สังคมจะรู้ว่าบรรษัทใดมีความรับผิดชอบก็ต่อเมื่อมีข้อมูลประกอบการตัดสิน ใจ ซึ่งเป็นไปได้ยากที่ประชาชนจะลุกขึ้นมาใช้เวลาและทรัพยากรสืบเสาะความจริง เอาเอง จึงเป็นหน้าที่ของรัฐ และสื่อมวลชนที่มีศักยภาพแลหน้าที่โดยตรง

การทำหน้าที่ของสื่อมวลชนในการขุดค้นพฤติกรรมด้านลบของบรรษัทและองค์กร ทั้งหลายจึงเป็นหน้าที่สำคัญที่มาพร้อมกับสถานะอันสูงส่งแห่งฐานันดรที่สี่

ความรุนแรงของการขยายพื้นที่ของระบบทุนนิยมผ่านกิจกรรมต่างๆ ทางธุรกิจและการตลาดเข้าไปยังชีวิตประจำวันของประชาชน จึงเป็นภารกิจสำคัญของฝ่ายการเมือง และการเมืองภาคประชาสังคม มิใช่เพียงการง่วนอยู่กับการจัดสรรอำนาจ

การเปิดโปง และการแก้ปัญหาการฟ้องหมิ่นประมาทโดยบรรษัท และการเซ็นเซอร์ตัวเองของสื่อ ก็เป็นประเด็นสำคัญที่ต้องได้รับการแก้ไขด้วยเช่นกัน

‘ปรีดี พนมยงค์’ กับการตีความพุทธศาสนาสนับสนุนประชาธิปไตย

ที่มา ประชาไท

เวลาผมได้ยินใครก็ตามพูดว่า มี พุทธศาสนาบริสุทธิ์คือ หลักการของพุทธศาสนาที่ไม่เกี่ยวกับคน ไม่เกี่ยวกับสังคม เช่น กฎธรรมชาติ หรือกฎไตรลักษณ์เป็นต้น ที่ยังไม่ได้ถูกปรับใช้กับชีวิตคน หรือสังคม

คำพูดเช่นนี้ชวนให้ถามได้ว่า กฎธรรมชาติเช่นนั้นจะถือว่าเป็นพุทธศาสนาได้อย่างไร เพราะกฎธรรมชาติมีอยู่ก่อนที่พุทธะจะอุบัติขึ้น เมื่อพุทธะอุบัติขึ้นโดยการนำความจริงตามกฎธรรมชาตินั้นมาปรับใช้ดับทุกข์ หรือเกิดการตรัสรู้แล้ว พุทธศาสนาจึงเกิดขึ้นมิใช่หรือ และพุทธศาสนาก็มีพัฒนาการมาในรูปของการถูกปรับใช้กับชีวิตและสังคมในยุคสมัย ต่างๆ มิใช่หรือ

ฉะนั้น พุทธศาสนาบริสุทธิ์ที่ไม่เกี่ยวกับชีวิตคนและสังคม หรือพุทธศาสนาที่ไม่ได้อยู่ในบริบททางสังคม และวัฒนธรรมหนึ่งๆ จึงไม่มีอยู่จริง เมื่อพุทธศาสนาถูกปรับใช้ภายใต้บริบททางสังคมและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน พุทธศาสนาในแต่ละสังคมจึงมี “หน้าตา” ต่างกัน กล่าวคือ แม้สาระสำคัญอาจเชื่อถือเหมือนกัน แต่มีจุดเน้นและรายละเอียดปลีกย่อยต่างกันไปตามบริบท

เช่น แม้แต่ในสังคมไทยเอง ยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พุทธศาสนาก็เน้นมิติทางสังคมที่ส่งเสริมอำนาจของกษัตริย์ ขณะที่ในยุดประชาธิปไตย พุทธศาสนาก็ถูกนำมาอธิบายในเชิงสนับสนุนอำนาจของราษฎร ดังเราจะเห็นได้ตั้งแต่ประกาศคณะราษฎร์ ฉบับที่ 1 ในการปฏิวัติ 2475 เลยทีเดียว ซึ่งว่ากันว่าร่างโดย ปรีดี พนมยงค์ มันสมองของคณะราษฎร์ ความตอนหนึ่งว่า

...ราษฎร จะได้รับความปลอดภัย ทุกคนจะต้องมีงานทำ ไม่ต้องอดตาย ทุกคนจะมีสิทธิเสมอกัน และมีเสรีภาพ พ้นจากการเป็นไพร่ เป็นข้า เป็นทาสพวกเจ้า หมดสมัยที่เจ้าจะทำนาบนหลังราษฎร สิ่งที่ทุกคนพึงปรารถนาคือ ความสุขความเจริญอย่างประเสริฐซึ่งเรียกเป็นศัพท์ว่า “ศรีอาริยะ” นั้น ก็จะพึงบังเกิดขึ้นแก่ราษฎรถ้วนหน้า [1]

คำว่า “ศรีอาริยะ” ซึ่งเป็นจินตนาการสังคมในอุดมคติของพุทธศาสนา ถูกนำมาอ้างอิงในเชิงสนับสนุนภาวะสังคมที่พึงประสงค์ในระบอบประชาธิปไตย ที่ราษฎรมีงานทำ มีสิทธิเสมอกัน และมีเสรีภาพ พ้นจากความเป็นไพร่ เป็นข้า เป็นทาสของพวกเจ้า นอกจากนี้ปรีดียังเขียนว่า

แม้ในการทำบุญ ก็ปรารถนาจะประสบศาสนาพระศรีอาริย์ แม้การสาบานในโรงศาลก็ดี ในการพิธีใดๆ ก็ดี ก็อ้างกันแต่ว่า เมื่อซื่อสัตย์ หรือให้การไปตามความเป็นจริงแล้ว ก็ให้ประสบพบศาสนาพระศรีอาริย์ [2]

จะเห็นว่าปรีดีอ้างถึง “ศาสนาพระศรีอาริย์” ไ ม่ใช่หมายถึงโลกพระศรีอาริย์ในอนาคต แต่เป็นโลกพระศรีอาริย์ที่สามารถสร้างขึ้นได้ในปัจจุบัน ด้วยการสร้างระบอบประชาธิปไตยสมบูรณ์และระบบเศรษฐกิจที่เป็นประชาธิปไตย และมีความเป็นธรรม

นอกจากปรีดีจะอ้างคติความเชื่อเรื่องโลกพระศรีอาริย์มาสนับสนุนสังคมที่ มีสิทธิ เสรีภาพ และความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจดังกล่าวแล้ว ยังอ้างอิงหลักธรรมทางพุทธศาสนาเพื่อสนับสนุนการสร้างสันติภาพในสังคมด้วย เช่น ที่เขาเขียนว่า

ความ พยายามที่จะหาทางบรรลุถึงซึ่งสันติภาพ บางครั้งข้าพเจ้าได้ยกพุทธภาษิตที่ข้าพเจ้าเคยบันทึกไว้ในหนังสือเรื่องพระ เจ้าช้างเผือก ที่ข้าพเจ้าเป็นผู้แต่ง ซึ่งตีพิมพ์ใน พ.ศ.2483 ดังนี้ นตฺถิ สนฺติ ปรํ สุขํ อันหมายถึงสุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี [3]

จะเห็นว่า แม้แต่พุทธภาษิตดังกล่าวที่พุทธะใช้แทนลักษณะของ “นิพพาน” แต่ปรีดีก็ตีความประยุกต์ให้ครอบคุลมถึงสันติภาพทางสังคมด้วย นอกจากนี้ในหนังสือเรื่อง “ความเป็นอนิจจังของสังคม” ยิ่งเห็นได้ชัดว่า ปรีดีประยุกต์หลักอนิจจังในคำสอนพุทธศาสนา (ซึ่งพระสงฆ์มักพูดถึงอนิจจังในความหมายของการเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นหลัก) เข้ากับแนวคิดทางวิทยาสตร์สังคมอธิบายประวัติศาสตร์การเปลี่ยนแปลงของสังคม การเมืองได้อย่างมีพลัง

ยิ่งกว่านั้น ปรีดียังอ้างอิงหลักคำสอนของพุทธศาสนา เช่น หลักกอกุศลมูล-กุศลมูล หลักกาลามสูตรและหลักคำสอนอื่นๆ ของพุทธศาสนาเพื่อเป็นหลักคิดในการเผชิญกับสงครามการโฆษณาชวนเชื่อที่ปรากฏ ทั้งในบทความและบทปาฐกถาหลายชิ้นในยุคสงครามเย็น และช่วงหลังเหตุการณ์ 14 ตุลา 16 เป็นต้น

และเมื่อย้อนกลับไปสมัยที่ปรีดีเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ก็เห็นได้ชัดว่าเขาให้ความสำคัญกับการตีความพุทธศาสนาสนับสนุนประชาธิปไตย ดังที่เขานิมนต์พระภิกษุที่มีความคิดก้าวหน้าในเวลานั้นมาสนทนาธรรม เช่นที่ ส.ศิวรักษ์ ตั้งข้อสังเกตว่า

เมื่อท่าน (นายปรีดี พนมยงค์) เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในรัชกาลที่ 8 ท่านได้อาราธนาภิกขุพุทธทาสไปสนทนาธรรมกันที่ทำเนียบท่าช้างถึง 4 วัน เกือบจะติดๆ กัน วันละประมาณสามชั่วโมง เพื่อหาสาระทางพุทธศาสนามาใช้เป็นแกนในการประยุกต์ประชาธิปไตยของไทยให้เป็น ไปในแนวทางของธรรมจักร...[4]

หากมอง จากบริบททางประวัติศาสตร์ ก็แสดงให้เห็นว่า ปรีดีตระหนักถึงอิทธิพลของพุทธศาสนาที่สนับสนุนระอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มา อย่างยาวนาน ฉะนั้น เมื่อเปลี่ยนสังคมเป็นระบอบประชาธิปไตย จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนวิธีคิดและอุดมการณ์ทางพุทธศาสนาที่เคยถูกใช้สนับสนุน สมบูรณาญาสิทธิราชย์มาสนับสนุนประชาธิปไตยด้วย แม้แต่ระบบการปกครองคณะสงฆ์เองก็ต้องจัดให้สอดคล้องกับประชาธิปไตยดัง พ.ร.บ.การปกครองคณะสงฆ์ 2484 เป็นต้น

ที่น่าสังเกตคือ วิถีชีวิตส่วนตัวกับวิถีชีวิตเพื่อส่วนรวมของปรีดีดูเหมือนจะเป็นอันหนึ่ง อันเดียวกันแทบจะแยกไม่ออก ฉะนั้น ความเชื่อทางศาสนาที่คนทั่วๆ ไปมักใช้ในมิติส่วนตัวและใช้ในรูปแบบพิธีกรรมทางศาสนา เช่น “การทำบุญ” ปรีดีกลับนำมาให้ความหมายที่ไปด้วยกันได้อย่างกลมกลืนทั้งในทางส่วนตัวและ ทางสังคม เช่น ที่เขาเขียนจดหมายถึงภรรยาช่วงหลังปฏิวัติ 2475 ระหว่างการเก็บตัวหารือเรื่องตั้งรัฐบาล ตอนหนึ่งว่า

...เพราะ ก่อนลงมือ (ปฏิวัติ 2475-ผู้เขียน) ได้เคยถามแล้วว่า ถ้าฉันบวชสัก 4 เดือน เธอจะว่าอย่างไร เธอก็ตอบเต็มใจ การที่ทำทั้งนี้ยิ่งกว่าการบวช เราได้กุศล ผลบุญที่ทำให้ชาติย่อมได้สืบต่อไปจนบุตร์หลาน ภรรยาก็มีส่วนร่วมอยู่ด้วย...[5]

ฉะนั้น ในขณะที่ชาวพุทธทั่วไปมักคิดถึง “ความดีเชิงปัจเจก” เช่น ความดีที่เกิดจากการทำบุญทำทาน รักษาศีลภาวนาเพื่อไปสวรรค์ นิพพานเป็นการส่วนตัว แต่ปรีดีกลับให้ความสำคัญมากกับ “ความดีเชิงสังคม” ดังบทความชื่อ “จงพิทักษ์เจตนารมณ์ประชาธิปไตยของวีรชน 14 ตุลาคม” เขากล่าวสดุดีผู้ที่ยอมเสียสละทุกสิ่งทุกอย่างแม้กระทั่งชีวิตขิงตนเองเพื่อ แลกกลับประชาธิปไตย และประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ที่ต่อสู้กับอำนาจเผด็จการ จึงเป็นการสมควรที่คนรุ่นหลังจะพึงระลึกถึง “คุณความดี” ความกล้าหาญที่วีรชนเหล่านั้นได้เสียสละเพื่อปกป้องประชาธิปไตย[6]

นี่คือ “คุณค่าทางภูมิปัญญา” อีกด้านหนึ่งของปรีดีที่ให้แก่สังคมไทย นอกเหนือจากที่เขาเป็นมันสมองสร้างความเปลี่ยนแปลงการปกครองที่วางรากฐาน ประชาธิปไตยแก่สังคมไทยแล้ว เขายังสร้างความเปลี่ยนแปลงทางภูมิปัญญาพุทธศาสนาจากที่เคยถูกตีความสนับ สนุนสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาตีความสนับสนุนประชาธิปไตย

โดย เฉพาะเขาทำให้มิติทางสังคมและมิติปัจเจกของพุทธศาสนางอกงามไปด้วยกัน ในวิถีชีวิตที่ต้องทำความเข้าใจสัจธรรมของชีวิตและโลกเพื่อดำรงความเข้มแข็ง ความสงบของจิตใจ เมื่อเผชิญภัยการเมือง และในการทุ่มเทเสียเสียสละเพื่อประชาธิปไตย และราษฎรไทย ตราบชั่วชีวิต


อ้างอิง
[1] ชาญวิทย์ เกษตรศิริ 2475: การปฏิวัติสยาม.กรุงเทพฯ: ประพันธ์ศาสน์.2535.
[2] ต.ม.ธ.ก.รุ่น 2 “สมุดปกเหลือง เค้าโครงเศรษฐกิจ” ใน ฉบับรำลึกท่านผู้ประศาสน์การ ปรีดี พนมยงค์ กรุงเทพฯ: อักษรไทย,2527 หน้า 41.
[3] ปรีดี พนมยงค์. ชีวิตผันผวนของข้าพเจ้าและ 21 ปี ที่ลี้ภัยในสาธารณรัฐราษฎรจีน. หน้า 12.
[4] ส. ศิวรักษ์.พุทธศาสนาในเมืองไทยที่เต็มไปด้วยขวากหนาม.กรุงเทพฯ: ศึกษิตสยาม, 2550 หน้า 220.
[5] วาณี สายประดิษฐ์ (บรรณาธิการ).ใจคนึง ตำนาน 100 ชีวิต ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์.กรุงเทพฯ: กองทุนท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ มูลนิธิปรีดี พนมยงค์, 2555 หน้า 19.
[6] อ้างใน พระฌานิพิทย์ อินทจารี.พุทธศาสนากับปรีดี พนมยงค์.กรุงเทพฯ: ฐานบุ๊คส์, 2552 หน้า 95.

ภาคภูมิ แสงกนกกุล: Jan Palach ความตายเพื่อปลุกจากความอปกติ

ที่มา ประชาไท

วันที่ 16 มกราคม สำหรับประเทศไทยแล้วถูกกำหนดว่าเป็นวันครู แต่สำหรับประเทศสาธารณรัฐเชคมันเป็นวันที่สะเทือนจิตใจและเป็นบาดแผลกับทุก คนในชาติ และเป็นวันที่ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของประเทศ เมื่อวันที่ 16 มกราคม 1969หรือเมื่อ 43 ปีที่แล้ว เวลาประมาณ บ่ายสามโมง Jan Palach นักศึกษาคณะศิลปกรรมศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัย Charles ได้ตัดสินใจกระทำการต่อต้านรัฐบาลคอมมิวนิสต์ ด้วยการทำร้ายตัวเอง คือ การเผาตัวตาย

เมื่อชีวิตเป็นสิ่งที่มีค่าที่สุดของสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย ไม่ว่ามนุษย์และสัตว์ต่างมีสัญชาติญาณในการรักษาตัวรอดและกลัวความตาย การเสียสละชีวิตจึงเป็นสิ่งสุดท้ายที่มนุษย์จะยินยอมละทิ้งไปได้ การที่มนุษย์ตัดสินใจจะทำลายตัวเองและพลีชีพนั้นต้องมีอะไรบางอย่างที่เลว ร้ายเกินกว่าความตายเข้ามาบีบบังคับ สำหรับ Jan Palach แล้วเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบในการบีบคั้นการตัดสินใจครั้งนี้คือ การที่รัฐสภาเชคโกสโลวาเกียลงมติให้กองทัพโซเวียตยกกองทัพเข้ามาประเทศเมื่อ วันที่ 19 ตุลาคม 1968

ชีวิตวัยรุ่นวัย 20 ปี ควรเป็นชีวิตที่เต็มไปด้วยความสนุกสนานและรอยยิ้ม หากทว่าสภาพการณ์ขแงประเทศดำเนินการอย่างผิดปกติในขณะนั้นแล้ว ส่งผลให้ Jan Palach ตั้งคำถามกับความ อปกติขึ้นมา สิ่งที่เขาต้องการจากรัฐบาลเพียงแค่ การมีเสรีภาพในการสื่อสาร โดยปราศจากการแทรกแซง และโฆษณาจากรัฐบาล

ในขณะที่คนส่วนใหญ่ในสังคม และคนส่วนใหญ่ในวัยทำงานถูกกลืนกินจากระบบความคิดจากส่วนกลางและมุ่งมั่นต่อ การทำงานเพื่อสร้างชาติและปากท้องตัวเอง พวกเขาเคยชินกับความอปกติที่เป็นอยู่ในทุกเมื่อเชื่อวัน ภาระที่สาหัสจึงตกอยู่กับคนหนุ่มสาวรุ่นใหม่ในการชี้ให้เห็นและกระตุ้นให้คน ในสังคมรู้สึกถึงความไม่ปกตินี้ Jan Palach และเพื่อนร่วมชั้นหลายๆคนออกมาประท้วงเมื่อ พฤศจิกายน ๑๙๖๙ และเพื่อนๆเขาหลายคนถูกจับกุมและสอบสวน การประท้วงครั้งนี้ประสบความล้มเหลวและเปลี่ยนแปลงชีวิตของเขา Jan Palach คิดว่าต้องมีการกระทำอื่นเพื่อปลุกให้ทุกคนในชาติตื่นขึ้นมาจากความอปกติ การกระทำที่ต้องส่งผลมากๆเท่าที่ทำได้

ในตอนแรก Jan Palach วางแผนจะเข้ายึดสถานีกระจายข่าว Czechoslovak Radio โดยส่งจดหมายชักชวนสมาชิกนักศึกษาคนอื่นๆ แต่ทว่าไม่ได้รับคำตอบใดๆ ดังนั้นเขาจึงนึกมาตรการอื่นที่สามารถทำได้คนเดียวและส่งผลกระทบจิตใจคน อื่นๆอย่างใหญ่หลวง หลังจากวันที่ 15 มกราคม 1969 เมื่อเขาไปร่วมงานศพของลุง

เช้าวันที่ 16 มกราคม 1969 เขาได้เขียนจดหมายไปยังเพื่อนเขาที่มหาวิทยาลัยถึงจุดประสงค์ของการกระทำ ครั้งนี้ และออกจากหอพักตอนเที่ยง ในมือสองข้างถือขวดพลาสติคเพื่อเตรียมไว้ไปซื้อน้ำมันเบนซิน เขาตรงไปถึงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอันเป็นจุดศูนย์กลางของเมืองเวลาบ่ายสอง ครึ่ง ท่ามกลางความหนาวยะเยือก Jan Palach ถอดเสื้อโค้ทของเขาออก นำมีดมากรีดปากขวดพลาสติกที่เต็มไปด้วยน้ำมันเบนซิน และเทมันชโลมทั่วกาย หลังจากนั้นแสงสว่างจากไฟก็เจิดจ้าที่ลานน้ำพุ เขาเผาตัวเองและวิ่งจากรางรถไฟมุ่งไปสู่อนุสาวรีย์ St Wenceslas ท่ามกลางฝูงชนจำนวนมากที่เป็นพยานเหตุการณ์สะเทือนใจครั้งนี้ และไปหยุดที่หน้าร้านอาหารแห่งหนึ่ง พนักงานเสริฟไม่คาดคิดกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และออกมาเพื่อช่วยกันดับไฟออกจากร่าง Jan Palach แต่ทว่าเขากลับร้องขอให้พนักงานเสริฟไปเปิดกล่องจดหมายที่เขาวางอยู่ข้าง น้ำพุและอ่านข้อความที่เขียนไว้ในนั้นว่า “ ณ ที่แห่งนี้มีนักศึกษาวัย 20 ปีได้พลีชีพตนเอง” และในขณะที่อยู่ในรถพยาบาล เขายังมีสติอยู่และกล่าวกับพยาบาลว่า “นี่ไม่ใช่เป็นการฆ่าตัวตาย แต่เป็นการจุดไฟเผาตัวเองเพื่อต่อต้านรัฐบาล เหมือนที่พระที่เวียดนามกระทำ”

Jan Palach ถูกแอดมิตที่โรงพยาบาลสองสามวันและเสียชีวิตตามมา ในขณะแอดมิต เขาประกาศเจตจำนงค์ต่อการกระทำครั้งนี้ว่า “ ผมต้องการแสดงออกถึงความไม่เห็นด้วยต่อสิ่งที่เป็นอยู่ตอนนี้ เพื่อให้คนในสังคมตื่นขึ้นมา” “มันยังมีทางเป็นไปได้ แต่ก็ขึ้นอยู่กับจุดยืนของ ส.ส. รัฐบาล และ พรรคการเมือง” อย่างไรก็ตามเขาไม่ได้มุ่งหวังว่าให้คนอื่นๆกระทำตามเป็นเยี่ยงอย่างแต่สิ่ง ที่เขาต้องการคือให้ทุกคนลุกขึ้นสู้กับความไม่ชอบธรรม “ ประชาชนต้องต่อสู้กับความชั่วร้ายที่เรารู้สึกได้ ณ ขณะนี้” “การกระทำของผมครั้งนี้บรรลุตามหน้าที่ แต่คนอื่นๆต้องอย่าทำตามผม นักเรียนคนอื่นๆต้องรักษาชีวิตตัวเอง และอุทิศชีวิตเพื่อสำเร็จเป้าหมาย พวกเขาต้องสู้โดยมีชีวิตอยู่”

Jan Palach’s legacy.

การพลีชีพของ Jan Palach ส่งผลกระทบอย่างกว้างขวาง ภายหลังการเสียชีวิตของเขาได้เกิดการประท้วงขึ้นทั่วประเทศหลายๆครั้ง ในหลายๆเมืองประชาชนร่วมหมื่นเข้าร่วมการเดินขบวนประท้วงซึ่งส่วนใหญ่จัด ขึ้นโดยองค์กรนักศึกษาโดยที่ฝ่ายกองกำลังรักษาความสงบไม่กล้าเข้ามาขัดขวาง เช่น 20 มกราคม 1969 สหภาพนักศึกษาโบฮีเมียนและโมราวีเดินขบวนจากอนุสาวรีย์ St Wenceslas และสิ้นสุดที่หน้าตึกคณะศิลปกรรมศาสตร์ วันที่ 27มกราคม 1969 กลุ่มคนหนุ่มสาวราวสองพันคนรวมตัวที่หน้า St Wenceslas อีกครั้งเป็นครั้งสุดท้าย

นอกจากเกิดการประท้วงขึ้นแล้ว เหตุการณ์นี้ส่งผลกระทบต่อความรู้สึกของคนจำนวนมากในสังคม Jaroslava Moserova แพทย์ผู้ดูแล Jan Palach ให้สัมภาษณ์กับ radio czech “ ฉันเป็นคนแรกที่เข้ามารักษาเขาและแน่นอนฉันไม่มีวันลืม เราต่างรู้สึกเศร้ากับชะตากรรมไม่เพียงแต่ของเด็กหนุ่มคนนี้แต่เป็นชะตากรรม ของชาติ และฉันคิดว่าคนอื่นๆต่างเข้าใจในทันที เขาพยายามบอกเราว่าการที่โซเวียตเข้ามายึดครองมันไม่ใช่เรื่องใหญ่เท่ากับ การที่เรากำลังจะถูกลดความเป็นมนุษย์ ผู้คนไม่เพียงแต่ยอมแพ้สภาพที่เป็นอยู่แต่เรายังยอมให้มันมาเป็นส่วนหนึ่ง ของเรา และแจนต้องการหยุดยั้งกระบวนการลดความเป็นมนุษย์นี้ และฉันคิดว่าคนอื่นๆที่ออกมาตามท้องถนนก็เข้าใจ มันเต็มไปด้วยความเงียบ ความเศร้าในแววตา ใบหน้าที่เคร่งเครียด และเมื่อเรามองใบหน้าคนอื่นที่อยู่ด้วยกันเราก็รู้ได้ว่าทุกคนเข้าใจสภาพ การณ์ที่เกิดขึ้น”

เหตุการณ์ของเขาส่งผลต่อการล้มระบอบคอมมิวนิสต์ด้วยเช่นกัน เมื่อมกราคม 1989 อันเป็นวันครอบรอบ 20 ปีการจากไปของแจน มีการรวมตัวขึ้นอีกครั้งที่หน้า St Wenceslas โดยกลุ่ม Czech children, Charter 77, The John Lennon Peace Club, The Independent Peace Association, The society of friends of the USA ซึ่งการรวมตัวเพื่อรำลึกถึงแจนนั้นเป็นการกระทำที่ถูกห้ามภายใต้รัฐบาล คอมมิวนิสต์ ผู้คนมากกว่า 1,400 คนถูกจับกุมข้อหาเป็นปฏิปักษ์กับระบอบ และเป็นจุดเริ่มต้นของการล่มสลายของระบอบคอมมิวนิสต์

ถึงแม้เหตุการณ์จะผ่านพ้นมา 43 ปีแล้ว การพลีชีพของ Jan Palach ก็ยังคงปรากฏอยู่ในความทรงจำของคนในสังคม หลังจาก พฤศจิกายน 1989 เรื่องของ Jan Palach ซึ่งเคยถูกห้ามในสมัยระบอบคอมมิวนิสต์ ก็เป็นเรื่องที่สามารถพูดกันได้อิสระในสังคม วันที่ 20 ธันวาคม 1990 ตึกคณะศิลปศาสตร์มหาวิทยาลัยชาร์ลสได้เปลี่ยนชื่อ เป็นตึก Jan Palach เพื่อรำลึกถึงเขา โดยมีรูปแกะสลักใบหน้าของ Jan Palach ที่หน้าตัวตึก ปี 2000 ได้มีการสร้างอนุสรณ์สถานที่หน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติขึ้นเพื่อรำลึกการจาก ไปของ Jan Palach และ Jan Zajic นักศึกษาอีกคนที่เผาตัวเองตายเช่นกันหลังจากเหตุการณ์เผาตัวตายของ Jan Palach เพียงหนึ่งเดือน ทุกๆวันที่ 16 มกราคมของทุกปี จะมีการรวมตัวขึ้นที่หน้าอนุสรณ์แห่งนี้ และสถานีวิทยุ Radio Czech จะจัดรายการพิเศษเพื่อรำลึกถึงการจากไปของเขา และในปี 2007 ได้มีการเริ่มต้นโปรเจคสร้างเวปไซต์ www.janpalach.cz ซึ่งบทความนี้ได้นำข้อมูลส่วนใหญ่มาจากเวปไซต์ โครงการสร้างเวปไซต์นี้เป็นผลงานของ คณะกรรมการนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยชาร์ลส์

บทส่งท้าย

การพลีชีพเผาตัวตายเพื่อประท้วงรัฐบาลในการปิดกั้นเสรีภาพการสื่อสารที่ Jan Palach กระทำขึ้นมานั้นส่งผลกระทบต่อความรู้สึกของคนในสังคมหรืออาจพูดได้ว่า ทุกคนรู้สึกช็อคกับความสูญเสียครั้งนี้และเป็นบาดแผลจนถึงทุกวัน อย่างไรก็ตามการพลีชีพของเขาส่งผลพวงให้คนในสังคมตื่นขึ้นมาจากความไม่ปกติ ในสังคมและลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจนเป็นผลสำเร็จ

แต่ทว่าการพลีชีพตัวเองนั้นไม่ได้ผลสำเร็จทุกครั้งไป มิใช่มีเพียงแจนเท่านั้นที่ตัดสินใจทำ เมื่อเรามองที่ประเทศอื่นๆก็ปรากฎเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้น แต่ทำไมมันกลับไม่ส่งผลอะไรเลยในสังคม หลายๆคนในสังคมยังคงหลับและชื่นชอบที่จะอยู่กับความไม่ปกตินี้เสมือนมันเป็น ส่วนหนึ่งในร่างกายไปแล้ว หลายครั้งที่การพลีชีพตัวเองกลายเป็นการถูกกล่าวหาว่าบ้าจากคนในสังคม ในสายตาของคนในสังคมไทยหลายๆคนที่มองการอดข้าวประท้วงของ ไท ปณิธาน พฤกษาเกษมสุข คงไม่แตกต่างจากสายตาที่คนในสังคมจีนและรัฐบาลจีนมองพระธิเบตเผาตัวตายเป็น รายที่ 20

หรือว่าการหลับครั้งนี้มันเป็นการหลับลึกเกินจะเยียวยา

ท้ายสุด
“คนเราอยากจะให้คนอื่นจดจำเราแบบไหนขึ้นอยู่กับว่าทั้งชีวิตกระทำอะไรมาบ้าง”
16 กุมภาพันธ์ 2012 ครบรอบ 43 ปี และ 1 เดือน
เหตุการณ์เผาตัวเองเพื่อประท้วงของ Jan Palach

เชิงอรรถ
www.janpalach.cz
www.radio.cz

สุรพศ ทวีศักดิ์เข้ารับฟังข้อกล่าวหา 112 พรบ.คอมพ์ ที่ร้อยเอ็ด

ที่มา ประชาไท

สุรพศ ทวีศักดิ์ เจ้าของนามปากกานักปรัชญาชายขอบ เข้ารับทราบข้อกล่าวหากระทำความผิดกฏหมายตาม มาตรา112 และ พรบ.คอมพิวเตอร์ ตามที่นายวิพุธ สุขประเสริฐ แกนนำกลุ่มพันธมิตรร้อยเอ็ด เจ้าของนามแฝง IPAD ได้เข้าแจ้งความดำเนินคดีไว้ที่ สภ.เมือง ร้อยเอ็ด

17 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา 09.30น. นายสุรพศ ทวีศักดิ์ นักวิชาการ ได้เดินทางจากบ้านพัก อ.หัวหิน จ.เพชรบุรี ไปถึงสถานีตำรวจภูธร เมืองร้อยเอ็ดเพื่อเข้ารับทราบข้อกล่าวหาว่าได้กระทำความผิดกฏหมายตาม มาตรา112 และ พรบ.คอมพิวเตอร์ ตามที่นายวิพุธ สุขประเสริฐ แกนนำกลุ่มพันธมิตรร้อยเอ็ด เจ้าของนามแฝง IPAD ได้เข้าแจ้งความดำเนินคดีไว้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยมี พ.ต.อ.ภัทราวุฒิ เอื้อมศศิธร รอง ผบก.ภจว.ร้อยเอ็ด และ พ.ต.ท.สุคิด เพ็ชรโยธา เจ้าพนักงานสอบสวน สภอ.เมืองร้อยเอ็ด เป็นผู้ทำหน้าที่แจ้งข้อกล่าวหา
หลังจากที่เจ้าพนักงานสอบสวนได้อ่านข้อกล่าวหาซึ่งระบุว่า นายสุรพศ ทวีศักดิ์ ได้กระทำความผิดตาม มาตรา112และ พรบ.คอมพิวเตอร์ โดยได้โพสต์ข้อความที่ถูกกล่าวหาลงบนความเห็นท้ายบทความที่เผยแพร่ในประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์จำนวนสองข้อความ โดยได้ชี้แจงเพิ่มว่าทั้งสองข้อความดังกล่าวทางเจ้าหน้าที่ได้ให้วัฒนธรรม จังหวัดและอาจารย์ในจังหวัดร้อยเอ็ดอ่านแล้วโดยมีความเห็นว่าเป็นข้อความที่ เข้าข่ายว่าเป็นการกระทำผิดกฏหมาย
จากนั้น นส.เยาวลักษ์ อนุพันธุ์ ทนายความได้เจรจากับเจ้าหน้าที่ ในการทำหนังสือชี้แจงเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของผู้ถูกกล่าวหา โดยได้ข้อสรุปว่าจะส่งหนังสือชี้แจงและรายชื่อของผู่้ที่จะร่วมให้ข้อมูลใน ประเด็นต่างๆภายในวันที่ 15 มีนาคม 2555
พ.ต.อ.ภัทราวุฒิ ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ขณะนี้ยังมีคดีที่นายวิพุธ สุขประเสริฐ ได้มาฟ้องร้องอยู่ในชั้นเจ้าพนักงานสอบสวนของ จ.ร้อยเอ็ดอยู่สองคดี จากทั้งสิ้น 8 คดี ทั้งนี้เนื่องจากในบางคดีที่ทางเจ้าหน้าที่ไม่สามารถหาตัวผู้ถูกกล่าวหาว่า กระทำความผิด ทางคณะเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ทำงานในเรื่องความผิดคดีหมิ่นได้ก็สั่งงดการ ดำเนินคดี สำหรับในคดีที่ผู้โพสต์อยู่ต่างประเทศก็ถือเป็นระเบียบให้ทางสำนักงานอัยการ สูงสุดเป็นผู้ติดตามผู้โพสต์ข้อความมาดำเนินคดีตามกฏหมายต่อไป
สุรพศ ทวีศักดิ์ ผู้ถูกกล่าวหา ได้แจ้งกับประชาไทว่า ตนขอยืนยันว่าการเขียนบทความและการแสดงความเห็นของตนเป็นไปในกรอบวิชาการตาม หลักสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ในส่วนของผู้ให้ข้อมูลประกอบคำชี้แจงฯ ตนเองจะติดต่อ นายสุลักษณ์ ศิวรักษ์ ,นายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ,นายวรเจตน์ ภาคีรัตน์และนพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ จากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติให้ช่วยเป็นผู้ให้ข้อมูลในประเด็นที่ เกี่ยวข้องกับข้อกล่าวหาต่างๆ
ในขณะที่ผู้ต้องหาและคณะทนายความได้เดินทางไปที่ สภ.เมือง ร้อยเอ็ด ได้มีคนเสื้อแดงเข้ามาโอบกอด ร้องไห้ แสดงความเห็นใจและมอบดอกกุหลาบให้นายสุรพศ

ALRC เผยรายงาน "การคุกคามที่เพิ่มขึ้นต่อเสรีภาพทางการเมืองในประเทศไทย"

ที่มา ประชาไท

รายงานศูนย์ข้อมูลกฎหมายเอเชีย (Asian Legal Resource Centre: ALRC) ระบุมีการคุกคามที่เพิ่มขึ้นและเข้มงวดของรัฐในหลายด้านต่อเสรีภาพทางการ เมืองในประเทศไทย โดยการคุกคามดังกล่าวเกิดขึ้นโดยเฉพาะต่อผู้แสดงความเห็นในเชิงวิพากษ์ วิจารณ์ต่อสถาบันพระมหากษัตริย์

เมื่อวันที่ 16 ก.พ. 55 ที่ผ่านมาศูนย์ข้อมูลกฎหมายเอเชีย (Asian Legal Resource Centre: ALRC) ได้เผยแพร่รายงาน "ประเทศไทย: การคุกคามที่เพิ่มขึ้นต่อเสรีภาพทางการเมืองในประเทศไทย" โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ ...

สำหรับเผยแพร่ทันที
16 กุมภาพันธ์ 2555
ALRC-CWS-19-02-2012-TH

คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ
สมัยประชุมที่ 19 วาระที่ 4 การอภิปรายทั่วไป

แถลงการณ์อย่างเป็นลายลักษณ์อักษรจากศูนย์ข้อมูลกฎหมายเอเชีย (Asian Legal Resource Centre: ALRC) องค์กรพัฒนาเอกชนที่มีสถานะที่ปรึกษา (general consultative status)

ประเทศไทย: การคุกคามที่เพิ่มขึ้นต่อเสรีภาพทางการเมืองในประเทศไทย

1. ศูนย์ข้อมูลกฎหมายเอเชีย (Asian Legal Resource Centre: ALRC) ต้องการรายงานให้คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ได้รับทราบถึงการคุกคามที่เพิ่มขึ้นและเข้มงวดของรัฐในหลายด้านต่อเสรีภาพทางการเมืองในประเทศไทย การคุกคามดังกล่าวเกิดขึ้นโดยเฉพาะต่อผู้แสดงความเห็นในเชิงวิพากษ์วิจารณ์ต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ รวมทั้งผู้ที่แสดงความกังวลต่อการคุกคามเหล่านี้ ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา นักวิชาการและนักปกป้องสิทธิมนุษยชนได้เรียกร้องให้มีการปฏิรูป มาตรา 112 แห่งประมวลกฎหมายอาญาไทย ที่เอาผิดทางอาญาต่อการพูดเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ พวกเขาได้ตกเป็นเป้าการคุกคามในทางอ้อมของเจ้าหน้าที่รัฐและเจ้าหน้าที่ทหารระดับสูงในประเทศไทย และยังมีการข่มขู่เอาชีวิตจากกลุ่มที่ใช้อำนาจแบบศาลเตี้ยนอกเหนือจากรัฐ แม้ว่าหน่วยงานของรัฐและทหารจะไม่คุกคามชีวิตของนักวิชาการและนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เรียกร้องให้มีการปฏิรูปกฎหมายโดยตรง แต่การที่รัฐไม่เข้ามาแทรกแซงลงโทษผู้ที่ทำการข่มขู่เช่นนั้น ประกอบกับบรรยากาศการเมืองที่อ่อนไหวในประเทศไทย เป็นสาเหตุให้เกิดข้อกังวลที่จริงจัง

2. แทนที่จะใช้กฎหมายหมิ่นประมาททั่วไป กฎหมายไทยมีบทบัญญัติพิเศษที่กำหนดความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เพื่อปกป้องสถานะของสถาบันพระมหากษัตริย์ มาตรา 8 แห่งรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ระบุว่า “องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใด ๆ มิได้” มาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญากำหนดโทษสำหรับการละเมิดดังกล่าวไว้ว่า “ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่นหรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี” พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยว กับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ซึ่งมักมีการนำมาใช้ควบคู่กับ มาตรา 112 กำหนดโทษจำคุกไม่เกินห้าปี ต่อความผิดหนึ่งกระทง กรณีที่ศาลตัดสินว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการเผยแพร่ข้อมูลทางอิเลคทรอนิกส์ หรือการครอบครองข้อมูลสนเทศที่ถือว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงแห่งชาติ โดยตามกฎหมายแล้ว สถาบันพระมหากษัตริย์ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของความมั่นคงแห่งชาติ

3. แม้ว่า มาตรา 112 จะได้รับการกำหนดเป็นตัวบทกฎหมาย ตั้งแต่การชำระประมวลกฎหมายอาญาไทยครั้งใหญ่ เมื่อปี 2500 แต่ในช่วงหลังรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 มีการเพิ่มขึ้นอย่างมากของคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ จากสถิติของสำนักงานศาลยุติธรรม มีการเพิ่มขึ้นอย่างมากของการฟ้องร้องคดีดังกล่าวในช่วงห้าปีที่ผ่าน มา โดยในปี 2548 มีการแจ้งข้อหาดังกล่าวจำนวน 30 ครั้ง ปี 2549 จำนวน 30 ครั้ง ปี 2550 จำนวน 126 ครั้ง ปี 2551 จำนวน 77 ครั้ง ปี 2552 จำนวน 164 ครั้ง และในปี 2553 จำนวน 478 ครั้ง การขาดการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะ เป็นเหตุให้ไม่สามารถตรวจทราบความคืบหน้าของการฟ้องร้องคดีดังกล่าว บุคคลทั่วไปสามารถแจ้งความต่อบุคคลอื่นในข้อหาละเมิด มาตรา 112 ได้ และตำรวจมีหน้าที่ต้องสืบสวนสอบสวน และใช้ดุลพินิจว่าควรมีการเสนอฟ้องคดีต่อพนักงานอัยการหรือไม่ จากนั้นพนักงานอัยการจะใช้ดุลพินิจว่าจะฟ้องคดีต่อศาลอาญาหรือไม่ ความคลุมเครือของมาตรา 112 เป็นเหตุให้มีการใช้ขั้นตอนปฏิบัติดังกล่าวไปในทางมิชอบได้ง่าย นาย Frank La Rue ผู้รายงานพิเศษด้านสิทธิที่มีเสรีภาพในการแสดงความเห็นและ การแสดงออก (UN Special Rapporteur on the Right to Freedom of Opinion and Expression) รวมทั้งรัฐบาลประเทศสเปน สวิตเซอร์แลนด์ สโลวีเนีย แคนาดา สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส นอร์เวย์ และนิวซีแลนด์ ได้แสดงความกังวลหลายครั้งเกี่ยวกับมาตรา 112 และพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ในระหว่างการประชุมเพื่อทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชน (Universal Periodic Review) ของประเทศไทยเมื่อปี 2554

4. คำตัดสินลงโทษในหลายคดีเมื่อเร็ว ๆ นี้ สะท้อนถึงความรุนแรงของบทลงโทษที่กระทำได้ตาม มาตรา 112 และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ก. วันที่ 15 มีนาคม 2554 นายธันย์ฐวุฒิ ทวีวโรดมกุล ได้ถูกลงโทษจำคุก 13 ปี ตามมาตรา 112 และพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 สำหรับความผิดฐานเผยแพร่ข้อความต่อต้านสถาบันพระมหากษัตริย์ทางอินเตอร์เน็ต และฐานที่ไม่ลบข้อความต่อต้านสถาบันพระมหากษัตริย์จากเว็บไซต์ที่เขาดูแลโดยเร็วเพียงพอ เขาให้ข้อมูลว่า ได้ถูกตำรวจบังคับให้สารภาพ

ข. วันที่ 23 พฤศจิกายน 2554 นายอําพล ตั้งนพกุล ได้ถูกลงโทษจำคุก 20 ปี ตามมาตรา 112 และพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 เนื่องจากถูกกล่าวหาว่าส่งข้อความสั้นทางโทรศัพท์มือถือ ที่มีเนื้อหาต่อต้านสถาบันพระมหากษัตริย์ 4 ครั้ง

ค. วันที่ 8 ธันวาคม 2554 นาย Joe Gordon ได้ถูกลงโทษจำคุก 2.5 ปี ตามมาตรา 112 และพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ในข้อหาใส่ลิ้งค์ไปที่เว็บไซต์ซึ่งมีบทแปลของหนังสือที่จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเยล (Yale University Press) เมื่อปี 2550 โดยเป็นเว็บไซต์ซึ่งเขาเป็นผู้ดูแลระหว่างพำนักอยู่ที่รัฐโคโลราโด ซึ่งอยู่นอกเขตอำนาจศาลไทย

ง. วันที่ 15 ธันวาคม 2554 คำพิพากษาคดี น.ส.ดารณี ชาญเชิงศิลปะกุล ที่ถูกเพิกถอน เมื่อปี 2552 ได้ถูกพิพากษาใหม่ หลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งว่า การไต่สวนคดีแบบลับในกรณีนี้ ไม่เป็นการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานจำเลย โดยในคำพิพากษาใหม่ได้มีการลดโทษจำคุกจาก 18 ปี เหลือ 15 ปี สำหรับความผิดสามกระทงที่มีตามมาตรา 112 โดยเป็นผลมาจากการพูดรณรงค์ในที่สาธารณะเป็นเวลา 55 นาที เมื่อเดือนกรกฎาคม 2552

5. สืบเนื่องจากสถานการณ์ดังกล่าว เมื่อเดือนมกราคม 2555 คณะนิติราษฎร์ (ซึ่งหมายถึงกฎหมายสำหรับประชาชน ตามภาษาไทย) ซึ่งเป็นกลุ่มอาจารย์นิติศาสตร์เจ็ด คนจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ผศ.ดร.จันทจิรา เอี่ยมมยุรา ดร.ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล ดร.ธีระ สุธีวรางกูร ดร.สาวิตรี สุขศรี ดร.ปิยบุตร แสงกนกกุล และอาจารย์ปูนเทพ ศิรินุพงศ์) และคณะกรรมการรณรงค์แก้ไข ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 (ครก.) ซึ่งเป็นกลุ่มปัญญาชน นักกิจกรรมสื่อสารมวลชน นักกิจกรรมสิทธิมนุษยชน และอื่น ๆ ได้จัดรณรงค์อย่างเปิดเผยเพื่อเรียกร้องให้แก้ไข มาตรา 112 คณะนิติราษฎร์ได้จัดทำร่างแก้ไข มาตรา 112 โดยยังคงรักษาสถานะของสถาบันพระมหากษัตริย์ในระบบรัฐไทยแบบปัจจุบัน แต่มีเนื้อหาที่มุ่งลดโอกาสที่จะนำกฎหมายไปใช้อย่างมิชอบในลักษณะที่รุนแรง ข้อเสนอเพื่อแก้ไขกฎหมายจะทำให้บทลงโทษต่อความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเป็นสัดส่วนเหมาะสม มีการเสนอให้เฉพาะสำนักราชเลขาธิการเป็นผู้แจ้งความร้องทุกข์ แทนที่จะปล่อยให้คนใดก็ได้สามารถแจ้งความ มีการแยกแยะระหว่างคำวิจารณ์อย่างสุจริตและเป็นจริงออกจากการกล่าวอาฆาตมาดร้ายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และมีการจำแนกความผิดตาม มาตรา 112 โดยให้ถือเป็นการหมิ่นพระเกียรติแทนที่จะเป็นความผิดต่อความมั่นคงแห่งชาติ ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ในกรณีที่มีผู้เข้าชื่อเสนอแก้ไขกฎหมายครบ 10,000 ชื่อ จะมีผลให้รัฐสภาต้องนำร่างกฎหมายนั้นไปพิจารณา ซึ่งตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม 2555 คณะนิติราษฎร์ และ ครก.ได้เริ่มรณรงค์รวบรวมรายชื่อทั่วประเทศ

6. ผลจากการรณรงค์ครั้งนี้ เป็นเหตุให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์จากหลายภาคส่วนของรัฐบาลและกองทัพ รัฐบาลพรรคเพื่อไทยซึ่งเป็นเสียง ส่วนใหญ่จากการเลือกตั้ง ได้ประกาศหลายครั้งว่า จะไม่สนับสนุนการแก้ไขมาตรา 112 นายเฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี และ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคเพื่อไทย หลายคนแสดงจุดยืนว่า จะไม่รับพิจารณาร่างแก้ไขกฎหมาย หากถูกเสนอเข้าสภา พลเอกยุทธศักดิ์ ศศิประภา รองนายกรัฐมนตรี เรียกร้องให้ผู้นำการรณรงค์ยุติการดำเนินงานเพื่อไม่ให้เกิดความ แตกแยกของชาติ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก กล่าวหาว่า สมาชิกคณะนิติราษฎร์ไม่ใช่คนไทย และเสนอว่าคนที่ต้องการให้แก้ไข มาตรา 112 ควรไปอยู่ต่างประเทศ และยังเตือนอย่างจริงจังว่า “เมื่อท่านรุนแรง ผมก็รุนแรงกับท่าน” พลเรือเอกสุรศักดิ์ หรุ่นเริงรมย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ เสนอว่า การรณรงค์ครั้งนี้เป็นภัยต่อความมั่นคงแห่งชาติ พลตำรวจเอก เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ประกาศต่อสาธารณะว่า จะมีการตรวจสอบอย่างใกล้ชิดต่อการทำงานของคณะนิติราษฎร์ และผู้สนับสนุน และจะมีการฟ้องร้องดำเนินคดีหากทำสิ่งผิดกฎหมาย สิ่งที่น่ากังวลอย่างยิ่ง คือ การปฏิบัติต่อข้อเสนอให้มีการแก้ไขกฎหมายราวกับเป็นภัยต่อความมั่นคงแห่งชาติ ทั้งยังกล่าวหาว่าผู้จัดทำร่างแก้ไขกฎหมายไม่ใช่คนไทย และไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของรัฐไทย ถือได้ว่า คำพูดของผู้นำในหลายภาคส่วนของกองทัพเป็นภัยคุกคามต่อเสรีภาพทางการเมืองของสมาชิกคณะนิติราษฎร์และผู้สนับสนุน

7. พร้อม ๆ กับการแสดงความเห็นและการคุกคามอย่างเปิดเผยของเจ้าหน้าที่รัฐต่อคณะนิติราษฎร์ ยังมีกลุ่มพลเมืองที่หลากหลาย ที่ได้คุกคามและข่มขู่แบบศาลเตี้ยต่อผู้รณรงค์เช่นกัน ในวันที่ 27 มกราคม 2555 กลุ่มที่เรียกตัวเองว่า “เครือข่ายคนไทยหัวใจรักชาติ” ได้จัดประท้วงต่อต้านคณะนิติราษฎร์ ที่บริเวณหน้าคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีการเผาหุ่นของ รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ แกนนำของคณะนิติราษฎร์ และมีการถือป้ายเรียกร้องให้นำสมาชิกกลุ่มมาประหารชีวิต นับแต่เริ่มต้นการรณรงค์ คณะนิติราษฎร์ได้รับคำขู่คุกคามจากบุคคลที่ไม่เปิดเผยชื่อมากมาย รวมทั้งความเห็นที่ผู้เขียนในเว็บไซต์ในหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ มีทั้งเสียงเรียกร้องให้ตัดหัวและเอาหัวไปเสียบประจานนอกประตูมหาวิทยาลัย และเสียงเรียกร้องให้นำพวกเขาและครอบครัวไปเผาทั้งเป็นที่นอกบ้าน แม้ว่า การถกเถียงอย่างเผ็ดร้อนที่หลากหลาย จะช่วยส่งเสริมประชาธิปไตยและการปฏิบัติตามสิทธิมนุษยชน แต่การขู่ฆ่าเป็นสิ่งที่อยู่นอกเหนือการถกเถียงในลักษณะเช่นนั้น

8. การคุกคามทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม ทั้งที่มาจากภายในและภายนอกของรัฐไทย ถือเป็นการคุกคามต่อสิทธิที่มีการรับรองตามกติการะหว่างประเทศ ว่าด้วย สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights-ICCPR) ซึ่งประเทศไทยเป็นรัฐภาคี โดยเฉพาะข้อ 19 ที่ระบุว่า

"1. บุคคลทุกคนมีสิทธิที่จะมีความคิดเห็นโดยปราศจากการแทรกแซง
2. บุคคลทุกคนมีสิทธิในเสรีภาพแห่งการแสดงออก สิทธินี้รวมถึงเสรีภาพที่จะแสวงหา รับ และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและความคิดทุกประเภท โดยไม่คำนึงถึงพรมแดน ทั้งนี้ ไม่ว่าด้วยวาจาเป็นลายลักษณ์อักษรหรือการตีพิมพ์ ในรูปของศิลปะ หรือโดยอาศัยสื่อประการอื่นตามที่ตนเลือก
3. การใช้สิทธิตามที่บัญญัติในวรรค ๒ ของข้อนี้ ต้องมีหน้าที่และความรับผิดชอบพิเศษควบคู่ไปด้วย การใช้สิทธิดังกล่าวอาจมีข้อจำกัดในบางเรื่อง แต่ทั้งนี้ข้อจำกัดนั้นต้องบัญญัติไว้ในกฎหมายและจำเป็นต่อ

(ก) การเคารพในสิทธิหรือชื่อเสียงของบุคคลอื่น
(ข) การรักษาความมั่นคงของชาติ หรือความสงบเรียบร้อย หรือการสาธารณสุข หรือศีลธรรมของประชาชน”

การกล่าวหาของเจ้าหน้าที่ความมั่นคงว่า การกระทำของคณะนิติราษฎร์เป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงแห่งชาติ เป็นสิ่งที่ไม่ชอบธรรมและไม่มีเหตุผลสนับสนุน การอภิปรายข้อเสนอให้แก้ไขกฎหมาย เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการปฏิบัติตามสิทธิทางพลเรือนและการเมืองเท่านั้น คำให้สัมภาษณ์ของเจ้าหน้าที่ความมั่นคง การไม่คำนึงถึงการคุกคามต่อคณะนิติราษฎร์ และการแสดงความเห็นในเชิงไม่สนับสนุนพวกเขา จึงถือเป็นความล้มเหลวในการคุ้มครองสิทธิที่บัญญัติไว้ใน ข้อ 19

9. ศูนย์ข้อมูลกฎหมายเอเชียจึงต้องการแจ้งให้คณะมนตรีทราบถึง ภัยคุกคามที่ชัดเจนที่มีต่อ คณะนิติราษฎร์ ในปัจจุบัน และยังส่งผลกระทบกลายเป็นวิกฤตของเสรีภาพทางการเมืองและเสรีภาพแห่งการแสดงออก ศูนย์ข้อมูลกฎหมายเอเชียเรียกร้องให้คณะมนตรี:

ก. กระตุ้นรัฐบาลไทย โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ความมั่นคง ให้ยุติการคุกคามคณะนิติราษฎร์และพลเมืองคนอื่น ๆ ซึ่งใช้สิทธิทางพลเรือนและการเมืองของตน

ข. กระตุ้นรัฐบาลไทยให้แสดงความเห็นแย้งอย่างชัดเจนต่อการคุกคามทางกายและการขู่ฆ่าที่กระทำต่อคณะนิติราษฎร์และพลเมืองคนอื่น ๆ ซึ่งใช้สิทธิทางพลเรือนและการเมืองของตน

ค. เรียกร้องให้รัฐบาลไทยอนุญาตและสนับสนุนการใช้เสรีภาพทางการเมืองและเสรีภาพแห่งการแสดงออกอย่างเต็มที่ในช่วงเวลาวิกฤตเช่นนี้ รวมทั้งกำหนดมาตรการที่เฉพาะเจาะจงเพื่อคุ้มครองสมาชิกคณะนิติราษฎร์และคนอื่น ๆ ที่ตกเป็นเป้าโจมตีเช่นกัน

10. โดยย้ำเตือนถึงข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลไทยที่มาจากผู้แทนประเทศ บราซิล แคนาดา ฝรั่งเศส ฮังการี อินโดนีเซีย นิวซีแลนด์ นอร์เวย์ สโลวีเนีย สเปน สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ และสหราชอาณาจักร ในระหว่างการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชน (Universal Periodic Review: UPR) ในส่วนที่เกี่ยวกับเสรีภาพแห่งการแสดงออก กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และ/หรือพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ศูนย์ข้อมูลกฎหมายเอเชียกระตุ้นรัฐบาลให้ยอมรับข้อเสนอแนะเหล่านี้ และให้แจ้งข้อมูลว่า มีการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างไร โดยถือเป็นส่วนหนึ่งของการรับรองรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของรัฐบาลไทยโดยคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติในสมัยประชุมที่ 19 และให้ส่งจดหมายเชิญผู้รายงานพิเศษว่าด้วยเสรีภาพแห่งการแสดงออกและการแสดงความเห็นให้มาเยือนประเทศ

11. การที่รัฐบาลไทยยอมรับข้อเสนอแนะของนิวซีแลนด์ที่จะประกันให้มี “ผลในเชิงบวกด้านสิทธิมนุษยชนเกี่ยวกับเสรีภาพส่วนบุคคล รวมทั้งเสรีภาพแห่งการแสดงออกและเสรีภาพที่จะไม่ถูกลงโทษแบบแก้แค้นและนอกกระบวนการกฎหมาย” นับเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง เมื่อพิจารณาถึงความถดถอยดังที่กล่าวถึงข้างต้น รัฐต่าง ๆ ที่ได้กล่าวถึงยังได้แสดงข้อเสนอแนะเกี่ยวกับกระบวนการ UPR ก็ควรถูกกระตุ้นให้กดดันรัฐบาลไทยให้ยอมรับข้อเสนอแนะเหล่านี้ และประกันว่าจะมีการปฏิบัติตามโดยไม่ชักช้า

# # #

เกี่ยวกับ ALRC: ศูนย์ข้อมูลกฎหมายเอเชีย (Asian Legal Resource Centre: ALRC) เป็นองค์กรพัฒนาเอกชนระดับภูมิภาคที่เป็นอิสระ โดยมีสถานะที่ปรึกษากับคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (The Economic and Social Council) และเป็นองค์กรพี่น้องกับคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนเอเชีย (Asian Human Rights Commission) ศูนย์ข้อมูลมีที่ตั้งที่ฮ่องกง และมุ่งทำงานเพื่อสร้างความเข้มแข็งและส่งเสริมปฏิบัติการเชิงบวกในด้านกฎหมายและสิทธิมนุษยชน ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศทั่วเอเชีย

หมอตุลย์ที่ FCCT แจงทำไมห้ามแก้ ม. 112

ที่มา ประชาไท

นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ แกนนำกลุ่มเสื้อหลากสี ชี้แจงนักข่าวต่างประเทศที่ FCCT ย้ำ รณรงค์แก้กฎหมายหมิ่น-อภิปรายออกทีวีไม่ได้ เพราะคนไทยขาดภูมิคุ้มกันจากนักการเมืองและไม่ได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง จึงทำให้ขาดความเข้าใจที่มากพอ ชี้คนไทยจำนวนมากอยู่ภายใต้อาณัติของนักการเมือง หัวคะแนน เป็นเผด็จการของนักการเมือง ซึ่งนำผลการเลือกตั้งไปอ้างเพื่อใช้อำนาจเพื่อเปลี่ยนแปลงทุกเรื่องในสภา

000





ส่วนหนึ่งของการอภิปรายโดย นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ แกนนำเครือข่ายราษฎรอาสาปกป้องสถาบันหรือกลุ่มเสื้อหลากสี ที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทยหรือ FCCT เมื่อคืนวันที่ 16 ก.พ. โดยในคลิปเป็นไฮไลท์ช่วงท้ายของการตอบคำถามผู้สื่อข่าว

000

การอภิปรายของ นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ ที่ FCCT ทั้งหมด



นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ แกนนำเครือข่ายราษฎรอาสาปกป้องสถาบันหรือกลุ่มเสื้อหลากสี อภิปรายที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทยหรือ FCCT เมื่อคืนวันที่ 16 ก.พ. โดยเป็นการอภิปรายในช่วงแรก



นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ อภิปรายที่ FCCT ในคลิปเป็นช่วงถาม-ตอบ ช่วงแรก



นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ อภิปรายที่ FCCT ในคลิปเป็นช่วงถาม-ตอบ ช่วงท้าย

นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ อาจารย์คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และแกนนำเครือข่ายราษฎรอาสาปกป้องสถาบัน หรือกลุ่มเสื้อหลากสี ได้รับเชิญเป็นวิทยากรอภิปราย ณ สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทยหรือ FCCT ซึ่งบรรยายในหัวข้อ “The Case for 112” โดยมีผู้สื่อข่าวต่างประเทศสนใจถามคำถามในประเด็นดังกล่าวจำนวนมาก โดย นพ.ตุลย์ใช้เวลาอภิปรายและตอบคำถามผู้สื่อข่าวราว 2 ชั่วโมงเศษ โดยก่อนหน้านี้เมื่อวันจันทร์ (13 ก.พ.) FCCT ได้เชิญ ศ.ดร.ธงชัย วินิจจะกูล นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์มาอภิปรายเช่นกัน

ในการอภิปราย นพ.ตุลย์ เสนอว่า ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 หรือ กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เนื่องจากเกรงว่าหากมีการแก้ไขกฎหมายดังกล่าวตามข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์ แล้ว อาจทำให้การหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์มีสูงขึ้นมากกว่าเดิม จึงมีข้อเสนอว่า ควรเปิดให้มีการจัดเวทีระหว่างฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับการแก้ไข ม.112 ในเชิงวิชาการและสันติ พร้อมทั้งให้มีการตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองการสั่งฟ้อง ซึ่งประกอบไปด้วยผู้เชี่ยวชาญทางด้านกฎหมาย นอกจากนี้ เขากล่าวว่า ควรมีการนิยามข้อบังคับกฎหมายดังกล่าวให้ชัดเจนมากกว่าเดิมด้วย

แกนนำกลุ่มเสื้อหลากสี อธิบายว่า การหมิ่นสถาบันฯ ในระยะหลังๆ ได้เพิ่มขึ้นสูงมาก เนื่องมาจากความไม่หวังดีของกลุ่มคนเสื้อแดงที่อยู่ภายใต้การควบคุมของ นักการเมืองโดยเฉพาะอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ที่มุ่งจะเปลี่ยนแปลงประเทศและเข้าแทรกแซงกระบวนการต่างๆ ของไทย ทั้งตุลาการ ศาล และสถาบัน ทำให้ประชาชนที่อยู่ในชนบทและขาดการศึกษาตกเป็นเครื่องมือของนักการเมือง

นพ. ตุลย์ กล่าวว่า กลุ่มที่รณรงค์แก้ไขกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เช่น นิติราษฎร์ กลุ่ม ครก. 112 หรือ กลุ่มที่รณรงค์เพื่อความตื่นรู้ ที่มุ่งจัดเวทีให้ความรู้ความเข้าใจในจังหวัดต่างๆ นั้น แท้จริงแล้วมีเบื้องหลัง และอาจทำให้ประชาชนเข้าใจผิดเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ในแง่มุมต่างๆ และอาจส่งผลเสียตามมาต่อประเทศไทยได้ เขาจึงไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอของนิติราษฎร์

ทั้งนี้ เขาระบุว่า เขาเองยินดีที่จะร่วมเวทีเพื่อแลกเปลี่ยนและถกเถียงกับกลุ่มที่เสนอให้แก้ไข ม. 112 เช่น นิติราษฎร์ ตราบใดที่การพูดคุยนั้นเป็นอย่างสันติและเชิงวิชาการ อย่างไรก็ตาม นพ.ตุลย์กล่าวว่า ไม่ต้องการที่จะร่วมพูดคุยในประเด็นดังกล่าวออกอากาศทางโทรทัศน์ เนื่องจากเป็นเรื่องอ่อนไหวและอาจถูกกลุ่มผู้ไม่หวังดีเอาไปโจมตีได้

เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า เห็นด้วยหรือไม่ที่ฝ่ายเสนอให้แก้ม. 112 ชี้ ว่าจำเป็นต้องปฏิรูปกฎหมายเพื่อเป็นการรักษาสถาบันฯ นพ.ตุลย์ตอบว่า นั่นเป็นเพียงการกล่าวอ้างและ “โฆษณาชวนเชื่อ” เท่านั้น เพราะตนเชื่อว่าไม่เกี่ยวกับการรักษาสถาบันแต่อย่างใด หากแต่เป็นเรื่องของผลประโยชน์ส่วนตัวเท่านั้น นอกจากนี้ยังชี้ว่า กลุ่มนิติราษฎร์เป็นเพียงกลุ่มทางวิชาการที่ตั้งขึ้นมาเพื่อการโฆษณาชวน เชื่อ และไม่ได้ศึกษาข้อกฎหมายอย่างรอบด้าน

“ปกติแล้ว ถ้าอาชญากรรมนั้นมีเพิ่มสูงขึ้น การลงโทษก็ต้องเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วยเพื่อที่จะหยุดยั้งมัน หากแต่ข้อเสนอจากดุษฎีบัณฑิตทางด้านกฎหมายอย่างวรเจตน์ ที่บอกว่า ต้องลดบทลงโทษ เพื่อที่จะให้คดีหมิ่นฯ ลดน้อยลงนั่น ผมจินตนาการไม่ออกเลย ยังไงผมก็ไม่เห็นด้วย ผมเองเป็นหมอ และหากว่าผมมีไข้หรือเจ็บป่วย ผมก็ต้องใส่ยาที่แรงขึ้น ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องหยุดให้ยาหรือให้น้อยลง” นพ. ตุลย์กล่าว

เมื่อผู้สื่อข่าวต่างประเทศให้ความคิดเห็นว่า หากยังมีการพยายามปิดกั้นพื้นที่ในการถกเถียงเรื่องสถาบันฯ ในสังคมไทย โดยอ้างว่ากลัวความวุ่นวาย อาจจะเป็นอันตรายมากขึ้นในระยะยาวได้ นพ.ตุลย์ชี้ว่า สังคมไทยยังไม่พร้อมในการถกเถียงทางวิชาการที่สันติ เนื่องจากคนไทยยังขาดการศึกษาอยู่มาก

นอกจากนี้ นพ.ตุลย์ยังเชื่อว่า กรณีการตัดสินจำคุกอากง 20 ปี และโจ กอร์ดอน เป็นการจัดฉากขึ้น เพื่อให้กลุ่มที่ต้องการแก้ไข ม. 112 ใช้เป็นข้ออ้าง และเป็นแผนการของทักษิณ ชินวัตร

ในช่วงท้าย นิรมล โฆษ ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์สเตรทไทมส์ของสิงคโปร์ตั้งข้อสังเกตว่า นพ.ตุลย์มักใช้คำว่า “ชาวไทย” “คนไทย” บ่อยครั้ง จึงอยากทราบว่า นพ.ตุลย์หมายถึงใครบ้าง เพราะคนอย่าง นพ.ตุลย์และคนเสื้อแดง ก็เป็นผลผลิตจากสังคมเดียวกัน

แกนนำเสื้อหลากสีจึงได้ตอบว่า เราทั้งหมดเป็นคนไทยด้วยกัน บ้างเป็นอิสระ บ้างตกอยู่ในพันธนาการของนักการเมืองที่ต้องการอำนาจ ตอนนี้นักการเมืองทุกคนต้องสังกัดพรรคการเมือง นี่ต่างจากประเทศประชาธิปไตยอื่นๆ

“สภาพจริงๆ ตอนนี้เหมือนเกษตรพันธะสัญญา หัวหน้าหมู่บ้าน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อย่าง “หัวคะแนน” ผมไม่แน่ใจภาษาอังกฤษเรียกอะไร คือคนที่ได้รับเงินแล้วเอาไปจ่ายเพื่อให้ประชาชนที่ยากจนมาสนับสนุน ทุกครั้งที่มีการเลือกตั้งทั้งระดับท้องถิ่น และระดับชาติ พวกเขาก็จะเลือกตามหัวคะแนน ดังนั้นพวกเขาไม่ใช่เสรีชน เขาเป็นคนไทย เป็นคนไทยที่ยากจน ครอบครัวของผมก็เหมือนคนเหล่านี้ ปู่ย่าตายายผมเป็นชาวนา แต่พวกเขาสามารถหาเลี้ยงตัวเองได้ พวกเขาไม่จำเป็นต้องอยู่ภายใต้การอุปถัมภ์ ดังนั้น สถานการณ์ที่เกิดขึ้นจึงต่างจากประเทศอื่น”

ผมเสียใจ ผมรู้ และผมเกลียดสถานการณ์เช่นนี้มาก ผมอยากให้ทุกคนเป็นอิสระเหมือนอย่างผม หาเลี้ยงตัวเองได้ แต่ความจริงไม่เป็นเช่นนั้น นี่เป็นธรรมชาติของผมเลยนะ ถ้าพวกเขาเป็นเสรีชนและพวกเขาเสนอแบบนี้ (เสนอแก้ไข ม.112) ผมเห็นด้วยกับเขาเลย ถ้าข้อเสนอบางอย่างไม่ทำให้ประเทศชาติตกอยู่ในภาวะอันตราย ผมเห็นด้วยกับพวกเขา แต่ตอนนี้เหมือนสถานการณ์ถูกชักใยโดยนักธุรกิจ นักการเมือง นี่ไม่ใช่ประชาธิปไตยเลย ถ้าคุณพิจารณาดีๆ นี่ไม่ใช่ประชาธิปไตยเลย ตอนนี้เป็นเผด็จการโดยทหาร เผด็จการโดยนักการเมือง พวกเขาโหวตทุกเรื่องเพื่อเปลี่ยนทุกเรื่องในสภา และเราก็จับตาพวกเขา เฝ้าดูว่าพวกเขากำลังทำอะไรในสภา และผมกลัวว่าในอนาคตอันใกล้ประเทศจะตกอยู่ในภาวะล้มละลายเหมือนที่เกิดขึ้น กับบางประเทศ ผมไม่พูดชื่อประเทศนะ ก็ประเทศอย่างที่พวกคุณรู้

“พวกเขาเปลี่ยนแปลงทุกอย่างโดยใช้อำนาจที่ได้มาจากคนจน 15 ล้านคะแนน แล้วพวกเขาบอกว่าชนะเลือกตั้ง เขาสามารถจะทำได้ทุกเรื่อง นี่คือประชาธิปไตยหรือ?” นพ.ตุลย์กล่าว

เสวนา: เรายังจะจัดงานบอลกันอีกหรือ?

ที่มา ประชาไท

กลุ่มประชาคมจุฬาฯ เพื่อประชาชน เสวนาตั้งคำถามต่องานฟุตบอลประเพณี ผู้ร่วมอภิปรายมอง งานบอลมิได้ส่งเสริมความสามัคคีระหว่างนศ.สองสถาบันตามที่พูดกันทั่วไป หากแต่ยิ่งปลูกฝังความเป็นสถาบันนิยม แนะ ควรนำเงินที่ใช้จัดไปส่งเสริมกองทุนการศึกษา

เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา 17.00 น. ห้อง 107 ตึก 1 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กลุ่มประชาคมจุฬาฯ เพื่อประชาชน จัดเสวนาในหัวข้อ “เรายังจะจัดงานบอลกันอีกหรือ” โดยมีวิทยากรร่วมเสวนา คือ นายดิน บัวแดง นิสิตจากกลุ่มประชาคมจุฬาฯ เพื่อประชาชน นายกิตติพัฒน์ มณีใหญ่ นิสิตคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายรักษ์ชาติ์ วงศ์อธิชาติ อุปนายกองค์กรนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อมธ.) และนายปราบ เลาหะโรจนพันธ์ นักศึกษาจากกลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตย โดยมีนิสิตนักศึกษาและบุคคลทั่วไปร่วมวงเสวนากว่า 100 คน

CCP football seminar2

นายดิน บัวแดงอธิบายประวัติความเป็นมาของงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ โดยชี้ว่าเดิมทีเป็นกิจกรรมเตะฟุตบอลเล็กๆ ของเพื่อนนิสิตและนักศึกษาที่เป็นศิษย์เก่าโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โดยเป็นกิจกรรมส่วนตัวของนิสิตนักศึกษาอย่างแท้จริง ส่วนรายได้จากการเก็บเงินค่าผ่านประตูนั้นทำไปบำรุงการกุศลอย่างเป็นรูปธรรม เช่น สร้างเรือนพักคนไข้วัณโรค บำรุงการศึกษาสองสถาบัน บำรุงรพ.ทหารบก ช่วยเหลืออัคคีภัยพิษณุโลก และโดยเสด็จพระราชกุศล สมทบทุน “อานันทมหิดล” เพื่อวิจัยโรคเรื้อน เป็นต้น แต่ตั้งแต่ปี 2519 เป็นต้นมา รายได้จากงานฟุตบอลประเพณีฯ ก็เป็นไปเพื่อ “โดยเสด็จพระราชกุศล” แทบทั้งสิ้น

นายดินชี้ว่า กิจกรรมเตะฟุตบอลของนิสิตนักศึกษาทั้งสองสถาบันในช่วง 20 ปีแรก (พ.ศ. 2477 – พ.ศ. 2500) ได้มีการพัฒนากิจกรรมต่างๆ ขึ้นมาอย่างสร้างสรรค์ เช่น การแปรอักษร เชียร์ลีดเดอร์หญิง รวมทั้งขบวนพาเหรดล้อการเมืองด้วย อย่างไรก็ตาม ในช่วงต่อมากิจกรรมเตะฟุตบอลได้พัฒนาจนมีขนาดใหญ่โตหรูหรามากขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นงานระดับชาติ อย่างไรก็ตามช่วงก่อนเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 นิสิตนักศึกษามีความตื่นตัวทางการเมืองมากขึ้น ในช่วงนั้น จึงได้มีการเคลื่อนไหวต่อต้านงานฟุตบอลประเพณีอย่างเป็นรูปธรรมโดยนักศึกษา ธรรมศาสตร์กลุ่มสภาหน้าโดม

เขาตั้งข้อสังเกตว่า ความเฟื่องฟูของงานฟุตบอลประเพณีฯ กับการตื่นตัวทางการเมืองของนิสิตนักศึกษามีความสัมพันธ์กันอย่างเห็นได้ชัด คือ ในช่วงเวลาที่นิสิตนักศึกษามีความตื่นตัวทางการเมืองมาก งานฟุตบอลประเพณีจะค่อนข้างซบเซา จะเห็นได้จากการยกเลิกงานฟุตบอลในปี 2516-2518 ซึ่งนักศึกษาทำกิจกรรมเพื่อสังคมมากขึ้น เช่น ออกสู่ชนบท จัดนิทรรศการต่างๆ เช่น นิทรรศการศิลปะเพื่อชีวิตบนถนนราชดำเนิน นิทรรศการจีนแดง ฯลฯ การรื้อฟื้นงานฟุตบอลประเพณีฯ หรือในเดือนมกราคม 2519 ที่มีการเปลี่ยนเนื้อหาสาระของงานบอลให้รับใช้ประชาชน ลดความฟุ่มเฟือยและเพิ่มการบำเพ็ญประโยชน์ การงดจัดงานฟุตบอลประเพณีในปี 2520 เนื่องจากเหตุการณ์วันที่ 6 ตุลาคม 2519 และในปี พ.ศ. 2534 นักศึกษารุ่น “พฤษภาทมิฬ” ที่ตื่นตัวด้านการเมืองมาก ทำให้สมาชิกองค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อบจ.) ส่วนใหญ่ลงมติไม่จัดงานบอล นอกจากนี้ยังมีการยกเลิกงานฟุตบอลประเพณีเนื่องด้วยความไม่สะดวกต่างๆ เช่น เหตุน้ำท่วมใหญ่ ซึ่งนายดิน บัวแดงก็ตั้งคำถามว่า ปีนี้ก็มีเหตุน้ำท่วมใหญ่เช่นกัน ทำไมจึงไม่งดจัดงานฟุตบอลประเพณี

CCP football seminar4

นายดิน บัวแดง ทิ้งท้ายด้วยการกล่าวถึงบทเพลงมาร์ชธรรมศาสตร์-จุฬา สามัคคี ซึ่งจิตร ภูมิศักดิ์ประพันธ์ขึ้น เพื่อเน้นย้ำว่านิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนักศึกษาธรรมศาสตร์จะต้องรับใช้ประชาชนร่วมกัน

ต่อมานายนายรักษ์ชาติ์ วงศ์อธิชาติ กล่าวถึงประวัติความเป็นมาของงานฟุตบอลประเพณี และความคุ้มทุน ซึ่งในอดีต ดร. สุรพล สุดารา อดีตประธานเชียร์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเคยอ้างว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่จำ เป็นเพื่อ “พิสูจน์ให้ประชาชนได้เห็นความสามัคคีระหว่างผู้ที่จะต้องไปใช้สมองร่วมกัน รับใช้ประเทศชาติต่อไปในอนาคต” รักชาติ์ได้ตั้งคำถามเกี่ยวกับความไม่โปร่งใสของงบประมาณ และชี้ให้เห็นว่า ความสามัคคีที่มักถูกอ้างนั้น เกิดจากการบีบบังคับและปลูกฝังโดยระบอบ SOTUS และกิจกรรมรับน้อง ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ปลูกฝังความคิดแบบสถาบันนิยม จนทุกวันนี้นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก็ แข่งขันประชดประชันด่าทอกันอย่างรุนแรง

ตัวแทนจากอมธ. จึงสรุปว่า งานฟุตบอลประเพณีฯ ไม่ได้ทำนิสิตนักศึกษาของสองสถาบันสมัครสมานสามัคคีกันมากขึ้น ดังมีผู้กล่าวอ้างตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน

ต่อประเด็นที่ว่างานฟุตบอลประเพณีเป็นกิจกรรมที่มีคุณค่าเพราะมีขบวนล้อ การเมืองซึ่งสะท้อนภาพของสังคม นายรักษ์ชาติ์แย้งว่าไม่จริง เพราะนิสิตถูกจำกัดเสรีภาพในการแสดงออกทางการเมืองเสมอมา ทั้งโดยรัฐบาลเผด็จการของจอมพลถนอม กิตติขจร จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ โดยสมาคมศิษย์เก่าในพระบรมราชูปถัมภ์ การมีประธานในพิธีเป็นราชวงศ์ นอกจากนี้ รักษ์ชาติชี้ว่า การควบคุมเสรีภาพมีทั้งในรูปแบบการเซ็นเซอร์เนื้อหา การใช้ความบันเทิงมอมเมาเยาวชน และแม้แต่ยกเลิกงานฟุตบอลประเพณี

สำหรับงานฟุตบอลประเพณีในปีนี้ นายรักษ์ชาติ์เห็นว่าเรื่อง มาตรา 112 เป็นเรื่องที่นิสิตถูกจำกัดไม่ให้แสดงความคิดเห็น ในขณะที่งานฟุตบอลประเพณีซึ่งมีถูกใช้ไปใน “การโฆษณาความศักดิ์สิทธิ์และส่งเสริมสถาบันนิยมอย่างล้นเกิน” ดังนั้นหากขบวนล้อการเมืองจะสะท้อนภาพใดได้ ก็คงเป็นภาพการเมืองและประชาธิปไตยที่ตกต่ำของประเทศไทยเท่านั้น

CCP football seminar6

สุดท้ายนายรักษ์ชาติ์ได้เชิญชวนให้นิสิตนักศึกษาหันกลับมาทบทวนความถูก ต้อง เหมาะสม ว่าจำเป็นที่จะต้องจัดงานให้ยิ่งใหญ่ อลังการ และฟุ่มเฟือยหรือไม่ และที่สำคัญที่สุดคือเจตนารมณ์ที่แท้จริงของงานฟุตบอลประเพณี โดยต้องดิ้นให้หลุดจากภาพมายาเพื่อมองความเป็นจริงของสังคม

นายกิตติพัฒน์ มณีใหญ่ ผู้ร่วมเสวนาคนที่สาม ตั้งคำถามเรื่องงบประมาณจำนวนมากที่ใช้ไปกับการจัดงานฟุตบอลประเพณี ซึ่งไม่มีตัวเลขที่สามารถตรวจสอบได้ และยังเสนอให้นำงบประมาณจำนวนดังกล่าวไปใช้ในกิจการที่ส่งเสริมด้านวิชาการ มากกว่า เช่น ใช้เป็นกองทุนหนังสือเรียนสำหรับนิสิต นอกจากนี้ นายกิตติพัฒน์ยังตั้งคำถามเกี่ยวกับการใช้งานฟุตบอลประเพณีเป็นพื้นที่ สำหรับให้คนกลุ่มหนึ่งออกมาขายหน้าตา ทำให้นิสิตให้ความสำคัญกับรุ่นพี่ที่เป็นดารานักแสดงมากกว่ารุ่นพี่ที่คำคุณ ประโยชน์ด้านอื่นๆ ให้แก่ประเทศชาติ

ต่อประเด็นเรื่องการสร้างความสามัคคีระหว่างนิสิตนักศึกษาโดยใช้งาน ฟุตบอลประเพณี นายกิตติพัฒน์ชี้ให้เห็นว่าตัวกิจกรรมเตะฟุตบอลที่จริงแล้วไม่ได้รับความ สำคัญเท่าที่ควร เนื่องจากนิสิตนักศึกษา โดยเฉพาะกลุ่มผู้จัดกิจกรรมให้ความสำคัญกับการแสดงบนเวทีและการแปรเพลทบนแส ตนด์มากกว่า และกิจกรรมอื่นๆ ก็ไม่ได้ส่งเสริมความสามัคคี เช่น หลังจากการเตะฟุตบอลจบแล้ว ก็เวทีคอนเสิร์ตของสองมหาวิทยาลัยแยกกันอยู่ โดยนายกิตติพัฒน์เสนอให้รวมเวที และให้วงดนตรีของทั้งสองมหาวิทยาลัยแสดงร่วมกัน

CCP football seminar5

นายกิตติพัฒน์ฝากคำถามที่ตนมองว่าสำคัญที่สุด คือหน้าที่ของสถาบันการศึกษาซึ่งควรจะผลิตบุคคลากรออกมารับใช้ประเทศชาติ ประชาชน แต่นิสิตนักศึกษากลับแข่งขันชิงดีชิงเด่นกัน และคิดแต่ว่าจะเรียนจบเพื่อไปปกครองคนอื่น
ต่อมานายปราบ เลาหะโรจนพันธ์ ได้วิเคราะห์งานฟุตบอลประเพณีโดยใช้มุมมองในกรอบเศรษฐศาสตร์ โดยชี้ให้เห็นว่าการจัดงานฟุตบอลประเพณีไม่ใช่การตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ หากแต่ค่าใช้จ่ายจากกิจกรรมดังกล่าวทำให้เงินเดินสะพัด เกิดการจ้างงาน ไม่ว่าจะเป็นร้านอุปกรณ์ก่อสร้าง ช่างตัดชุดเชียร์ลีดเดอร์เป็นต้น
นายปราบยังแสดงให้เห็นอีกด้วยว่าเป็นเรื่องปรกติที่งานฟุตบอลใน ปัจจุบันนี้จะมีลักษณะดังเช่นที่เห็น กล่าวคืองานฟุตบอลประเพณีเป็นภาพสะท้อนของค่านิยมทางการเมืองนิสิตนักศึกษา ส่วนใหญ่ที่มาจากชนชั้นกลาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งขบวนพาเหรดซึ่งแสดงให้เห็นว่านิสิตนักศึกษาไม่ค่อยสนใจการ เมืองเท่าไรนัก ทั้งนี้ก็เพราะนิสิตนักศึกษาส่วนใหญ่มาจากชนชั้นกลางซึ่งไม่ค่อยตระหนักถึง ความสำคัญของการเมือง ในขณะที่เด็กต่างจังหวัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่มาจากชนชั้นล่างจะตระหนักดีว่าการเมืองมีความสำคัญ เพราะเกี่ยวกับปากท้องของครอบครัวโดยตรง


CCP football seminar8

นอกจากนี้นายปราบยังเสนอด้วยว่างานฟุตบอลประเพณีฯ ได้ทำให้อัตลักษณ์ของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และของนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กลายเป็นสินค้าซึ่งซื้อขายได้ บริโภคง่าย โดยการสวมใส่อัตลักษณ์นั้นๆ คือ เพียงแค่มาร่วมงานฟุตบอลประเพณี ใส่เสื้องานฟุตบอลประเพณี ก็จะมีความเป็นนิสิตนักศึกษาของสถาบันนั้นๆ ขึ้นมาทันที

หลัง จากวิทยากรทั้งสี่ท่านพูดจบแล้ว ผู้ที่มาร่วมฟังการเสวนาได้ร่วมตั้งคำถามและแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอกัน อย่างหลากหลาย เช่น การชื่นชมนิสิตที่ชูป้ายประท้วงงานฟุตบอลประเพณีในงานแถลงข่าว "การแข่งขันฟุตบอลประเพณี จุฬาฯ-ธรรมศาสตร์" ครั้งที่ 68 เมื่อ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ ที่อาคารจัตุรัส จามจุรี การเสนอให้รวมแสตนด์เชียร์ของสองมหาวิทยาลัย การให้นำงบประมาณไปสนับสนุนนิสิตนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ รวมไปถึงการเรียกร้องให้นิสิตนักศึกษาสามารถรวมกรณีมาตรา 112 เข้าในขบวนพาเหรดได้ด้วย


CCP football seminar9

นอก จากนี้ ภายในงานเสวนา ยังมีกลุ่มอดีตสมาชิกองค์การบริการสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อบจ.) ในฐานะผู้จัดงานฟุตบอลประเพณีได้เข้าร่วมรับฟัง และชี้แจงว่าตัวเลขงบประมาณของงานฟุตบอลประเพณีปีนี้ถูกลดเหลือเพียง 2 ล้าน 6 แสนบาทเท่านั้น และค่าใช้จ่ายของงานฟุตบอลประเพณีในปีที่ผ่านๆ มาก็มีเก็บไว้เป็นเอกสารอยู่ที่ห้องของอบจ. ซึ่งเปิดให้ทุกคนสามารถเข้าไปดูได้ อย่างไรก็ตาม ผู้เข้าฟังเสวนาบางส่วนแสดงความคิดเห็นว่าอบจ. ควรนำตัวเลขดังกล่าวออกมาสู่ที่สาธารณะ

ภาพทั้งหมด จากเฟซบุ๊กกลุ่มประชาคมจุฬาฯ เพื่อประชาชน

เว็บไซต์ดังสำรวจ SMS โพลล์ เผยประชาชน 53.68% ไม่กังวลว่าความเห็นต่างกรณี ม.112 จะบานปลาย

ที่มา ประชาไท

MThai SMS เผยผลสำรวจผ่านทางโทรศัพท์มือถือทั้งสิ้น 257 เบอร์ เริ่มสำรวจความคิดเห็นตั้งแต่วันที่ 21 ม.ค. – 17 ก.พ. 55 พบประชาชนไม่กังวลว่าความเห็นต่างกรณี ม.112 จะบานปลาย 53.68%
17 ม.ค. 55 – MThai News รายงานว่าจากการที่ MThai SMS โพลล์ สำรวจความคิดเห็นผ่านมือถือในประเด็น “คุณกังวลว่าความเห็นต่างกรณี ม.112 จะบานปลายหรือไม่”
ผลสรุปว่า ประชาชน 53.68% ไม่กังวลว่าความเห็นต่างกรณี ม.112 จะบานปลาย ขณะที่อีก 46.32 % กังวลว่าความเห็นต่างกรณี ม.112 จะบานปลาย
ทั้งนี้ โพลล์ดังกล่าวมีสมาชิกร่วมแสดงความเห็นผ่านทางโทรศัพท์มือถือทั้งสิ้น 257 เบอร์ เริ่มสำรวจความคิดเห็นตั้งแต่วันที่ 21ม.ค. – 17 ก.พ. 2555

ปปง.เตรียมแจงจันทร์นี้หลัง FATF ขึ้นบัญชีดำไทยไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานฟอกเงิน

ที่มา ประชาไท

เลขาธิการ ปปง. เตรียมแถลงข่าวกรณีคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อดำเนินมาตรการทางการเงินเกี่ยวกับ การฟอกเงิน (FATF) ขึ้นบัญชีดำประเทศไทยอยู่ในกลุ่มประเทศที่ไม่ได้ปฏิบัติตามมาตรฐานระหว่าง ประเทศว่าด้วยการสกัดการฟอกเงิน วันจันทร์ที่ 20 ก.พ.นี้
17 ก.พ. 55 - สำนักข่าวไทยรายงาน ว่าหลังจากคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อดำเนินมาตรการทางการเงินเกี่ยวกับการฟอก เงิน (Financial Action Task Force on Money Laundering – FATF) ขึ้นบัญชีดำไทย รวมทั้งประเทศอื่น คือ ปากีสถาน, อินโดนีเซีย, กานา และแทนซาเนีย ในรายชื่อประเทศที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยการสกัดการฟอก เงิน และการให้ทุนสนับสนุนการก่อการร้าย
รายงานข่าวจากสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) แจ้งว่า ขณะนี้ พ.ต.อ.สีหนาท ประยูรรัตน์ รักษาราชการแทนเลขาธิการ ปปง.อยู่ระหว่างการร่วมประชุม คณะทำงา FATF ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 13-20 ก.พ.นี้ และจะกลับมาแถลงข่าวกรณีดังกล่าวในวันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา 13.00 น.โดยจะแถลงข่าวใน 3 ประเด็น คือ 1.การดำเนินงานในการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายของไทย 2.ปัญหาข้อบกพร่องของประเทศไทยที่สำคัญๆ ประเด็นเหล่านี้เป็นข้อสังเกตจาก FATF ว่าฝ่ายไทยไม่ได้ดำเนินการอย่างจริงจังในการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย 3. ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับประเทศไทย ที่ถูกขึ้นบัญชีดำเรื่องการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและต่อต้านการสนับ สนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย (Anti-Money Laundering and Combating the Financing of Terrorism - AML/CFT)
ทั้งนี้ เนื้อข่าวตามเว็บไซต์ของ FATF ระบุว่า แม้ว่าประเทศไทยจะมีการรับรองจากฝ่ายการเมืองที่จะดำเนินความร่วมมือกับ FATF และ กลุ่มความร่วมมือต่อด้านในการฟอกเงินเอเชีย-แปซิฟิก (The Asia-Pacific Group on Money Laundering-APG) ในการปรับปรุงข้อบกพร่องเชิงยุทธศาสตร์ด้านการป้องกันปราบปรามการฟอกเงิน และการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย (AML/CFT) แต่ไม่มีความคืบหน้าอย่างเพียงพอในการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ และยังคงมีข้อบกพร่องทางยุทธศาสตร์ แม้ว่าประเทศไทยจะประสบปัญหาภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อขั้นตอนการตรากฎหมายที่ จำเป็นตั้งแต่ พ.ศ. 2552 - 2554 ประเทศไทยมีการดำเนินการปรับปรุงระบบ AML/CFT และมีการประเมินความเสี่ยงในภาคการเงินแล้วเสร็จ ประเทศไทยควรดำเนินการตามแผนปฏิบัติการในการปรับปรุงข้อบกพร่องทาง ยุทธศาสตร์ที่เหลือ รวมถึง (1) การกำหนดให้การสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายเป็นความผิดอาญาอย่าง เหมาะสม (ข้อแนะนำพิเศษที่ II) (2) กำหนดและดำเนินมาตรการที่เหมาะสมในการระบุและยึด/อายัดทรัพย์สินของผู้ก่อ การร้าย (ข้อแนะนำพิเศษที่ III) และ (3) มีการกำกับดูแลด้าน AML/CFT ที่เข้มข้นขึ้น (ข้อแนะนำที่ 23) FATF กระตุ้นเตือนให้ประเทศไทยดำเนินการกับข้อบกพร่องที่เหลืออยู่ และดำเนินการตามแผนปฏิบัติการต่อไป

เหยื่อร่ำไห้กลางศาลปกครอง สะเทือนใจถูกซ้อมพร้อมอิหม่ามยะผา

ที่มา ประชาไท

นายรายู ดอคอ ร่ำไห้กลางศาลปกครองสงขลา สะเทือนใจเหตุถูกซ้อมทรมานพร้อมอิหม่ามยะผา ตุลาการนัดพิพากษาคดีฟ้องเรียกค่าเสียหาย 14 มีนาคม 2555

เมื่อเวลา 10.30 น. วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2555 ที่ห้องพิจารณาคดีที่ 2 ศาลปกครองสงขลา นายสมยศ วัฒนภิรมณ์ ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองสงขลา พร้อมองค์คณะขึ้นนั่งบัลลังก์พิจารณาคดีหมายเลขดำที่ 94/2553 ระหว่างนายรายู ดอคอ ผู้ฟ้อง กับกระทรวงกลาโหม กองทัพบก สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และสำนักนายกรัฐมนตรี ผู้ถูกฟ้องที่ 1- 4 โดยนายรายูฟ้องเรียกค่าเสียหายฐานละเมิด เป็นเงิน 1,631,400 บาท โดยผู้ฟ้องคดีและทนายมาศาล ส่วนผู้แทนผู้ถูกฟ้องคดีทั้ง 4 ไม่มาศาล

คดีนี้ นายรายูได้แจ้งความประสงค์ขอแถลงข้อเท็จจริงด้วยวาจาต่อศาล

นายรายูแถลงว่า ตนถูกควบคุมตัวพร้อมกับอิหม่ามยะผา กาเซ็ง ที่เสียชีวิตระหว่างถูกควบคุมตัวของทหาร โดยตนถูกเจ้าหน้าที่ซ้อมทรมานด้วย แต่หลังจากนายรายูแถลงได้ประมาณ 10 นาที นายรายูเริ่มมีสีหน้าเศร้าพร้อมกับมีน้ำตาคลอ จนทำให้การแถลงติดขัด นายรายูจึงแถลงต่อศาลว่า ตนไม่สามารถแถลงข้อเท็จจริงได้อีกต่อไปจนจบ เพราะรู้อัดอั้นตันใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับตน

ขณะเดียวกันญาติของนายรายู ซึ่งมาฟังการพิจารณาคดีด้วยประมาณ 3 – 4 คน ต่างก็ร้องไห้ออกมาด้วย

นายสมยศ จึงอนุญาตให้หยุดการแถลงข้อเท็จจริงได้ พร้อมกับแถลงว่า ศาลสามารถพิจารณาข้อเท็จจากเอกสารแถลงการณ์ที่ทนายของผู้ฟ้องได้ยืนต่อศาลมา แล้วได้

ศาลจึงกำหนดวันอ่านคำพิพากษาคดีนี้ในวันที่ 14 มีนาคม 2555

สำหรับองค์คณะตุลาการพิจารณาคดีนี้ ประกอบด้วย นายสมยศ นายสมมาศ รัฐพิทักษ์สันติ และนายสุทธิพงศ์ เชาวนาดิศัย ส่วนตุลาการผู้แถลงคดี คือนางนัทธมน อิ่มสะอาด

มูลนิธิผสานวัฒนธรรม แจ้งว่า สำหรับเหตุแห่งคดีนี้ เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2551 เมื่อทหารหน่วยเฉพาะกิจที่ 39 ร่วมกับตำรวจสถานีตำรวจภูธรรือเสาะ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส ร่วมกันปิดล้อม ตรวจ ค้น และควบคุมตัวนายรายู ดอคอ ที่บ้านเลขที่ 51/1 หมู่ที่ 5 ตำบลรือเสาะ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส

มูลนิธิผสานวัฒนธรรม แจ้งอีกว่า จากนั้นนำตัวไปควบคุมตัวพร้อมกับอิหม่ามยะผา กาเซ็ง กับลูกและหลานของอิหม่ามยะผา รวมทั้งหมด 7 คน โดยอาศัยอำนาจตามกฎอัยการศึกและนำตัวนายรายูกับพวกไปแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน โดยกล่าวหาว่า นายรายูกับพวกเป็นแนวร่วมก่อความไม่สงบ และนายรายูมีส่วนร่วมในการฆ่าผู้อื่นในอำเภอรือเสาะ

มูลนิธิผสานวัฒนธรรม แจ้งต่อไปว่า จากนั้นเจ้าหน้าที่นำตัวนายรายูกับพวกไปควบคุมตัวที่หน่วยเฉพาะกิจนราธิวาส ที่ 39 ที่วัดสวนธรรม ตำบลรือเสาะออก อำเภอรือเสาะ โดยขังไว้ในรถบรรทุกหกล้อสำหรับรับส่งผู้ต้องหาของสถานีตำรวจภูธรรือเสาะ

มูลนิธิผสานวัฒนธรรม แจ้งว่า นายรายู ถูกนำตัวไปซักถามและถูกทำร้ายร่างกายและจิตใจ จากการทรมานอย่างทารุณโหดร้ายจนได้รับบาดเจ็บสาหัส เป็นเหตุให้นายรายู ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากหน่วยงานต้นสังกัดของเจ้าหน้าที่ผู้กระทำละเมิด ในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว

มูลนิธิผสานวัฒนธรรม แจ้งด้วยว่า ศาลปกครองสงขลารับฟ้องคดีและอนุญาตให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลตามที่ผู้ฟ้องคดียื่นขอ

มูลนิธิผสานวัฒนธรรม แจ้งเพิ่มเติมว่า คดีนี้นายรายูได้ยื่นฟ้องต่อศาลแพ่งเมื่อวันที่ 19 มีนาคม2552 ด้วย แต่ศาลแพ่งเห็นว่าคดีนี้อยู่ในขอบเขตอำนาจของศาลปกครอง ศาลแพ่งจึงสั่งจำหน่ายคดี นายรายูจึงฟ้องร้องต่อศาลปกครองสงขลาเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2553

'โคฟี อันนัน' พร้อมอดีตปธน. ฟินแลนด์ เยือนไทย หวังหนุนการปรองดอง

ที่มา ประชาไท

โคฟี อันนัน อดีตเลขาธิการสหประชาชาติ พร้อมทั้ง มาร์ตติ อาห์ติซาริ อดีตปธน.ฟินแลนด์ เดินทางเยือนไทยระหว่าง 16-19 ก.พ. ตามคำเชิญของคอป. เพื่อหนุนเสริมกระบวนการปรองดองในประเทศไทย

16 ก.พ. 55 - เดลินิวส์รายงานว่าระหว่างวันที่ 16-19 ก.พ.นี้ นายโคฟี อันนัน อดีตเลขาธิการสหประชาชาติ และนายมาร์ตติ อาห์ติซาริ อดีตประธานาธิบดีแห่งสาธาณรัฐฟินแลนด์ จะเดินทางมาประเทศไทยเพื่อเข้าพบกับน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ(คอป.) ตามที่ได้รับคำเชิญให้เป็นที่ปรึกษาและนำประสบการณ์ด้านการสร้างความปรองดอง ในต่างประเทศ เป็นแนวทางการในสร้างความปรองดองของประเทศไทย โดยนายโคฟีและนายมาร์ตติ จะเข้ารับฟังข้อมูลความคิดเห็นของทุกฝ่าย

จากนั้นในวันที่ 18 ก.พ. ที่ห้องบอลรูม โรงแรมแชงกรีล่า นายโคฟีและนายมาร์ตติ จะเปิดเวทีพูดคุยถึงบทบาทของตนเองที่สามารถเข้ามามีส่วนแนะนำทิศทางการสร้าง ความปรองดองรวมทั้งเปิดโอกาสให้สื่อมวลชนได้มีโอกาสซักถาม

ทั้งนี้นายโคฟี กล่าวถึงการเดินทางมาประเทศไทยว่า ตนมาเยือนในฐานะเพื่อนของประชาชนชาวไทย ซึ่งจะรับฟัง เรียนรู้ และแบ่งปันประสบการณ์ในเรื่องการปรองดอง โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็นประโยชน์และมีคุณค่าสำหรับการทำงาน คอป. ในอนาคต ขณะที่นายมาร์ตติ กล่าวว่า แม้กระบวนการปรองดองในแต่ละที่จะมีความแตกต่างกัน เพราะไม่มีกระบวนการปรองดองของที่หนึ่งจะไปเหมือนอีกที่หนึ่งได้ แต่ทุกประเทศต่างก็มีประเด็นและสิ่งท้าทายเหมือนกัน จึงหวังว่าการเดินทางมาประเทศไทยเพื่อร่วมหารือกับคอป.ครั้งนี้ จะมีส่วนช่วยสนับสนุนให้คนไทยสามารถกำหนดทิศทางไปสู่การปรองดองของตัวเองได้

รายงานระบุว่า ก่อนหน้านี้ทางคอป. เสนอรายงานความคืบหน้าในการทำงานของคณะกรรมการคอป. ต่อนายกรัฐมนตรีไปแล้ว 2 ครั้ง และได้มีหนังสือเพื่อนำเสนอข้อเสนอแนะต่าง ๆ รวม 4 ครั้งประเด็นต่างๆ ได้แก่ 1. การตีตรวนผู้ต้องขัง 2.สิทธิพื้นฐานของผู้ถูกล่าวหาในคดีอาญาสืบเนื่องจากเหตุการณ์ความรุนแรง 3.นโยบายสร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย 4.ความผิดที่ต้องให้อำนาจ

450px-Kofi_Annan
ภาพโดย Ricardo Stuckert/ABr (Ricardo Stuckert/ABr 14.Nov.2003,) [CC-BY-3.0-br],
via Wikimedia Commons

สำหรับนายโคฟี เคยดำรงตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติติดต่อกันถึงสองสมัยและได้รับรางวัล โนเบล สาขาสันติภาพร่วมกับสหประชาชาติ เมื่อหมดวาระจากการทำงานในสหประชาชาตินายโคฟีได้ก่อตั้งมูลนิธิโคฟี อันนัน ขึ้นมาโดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมให้มีการบริหารจัดการกลไกในระดับโลกที่ดี ยิ่งขึ้นและเสริมสร้างศักยภาพประชาชนและประเทศต่างๆ ให้สามารถส่งผลให้สังคมโลกมีความเป็นธรรมและมีเสถียรภาพมากขึ้น

Martti_Ahtisaari
ภาพโดย By Embassy of the United States in Helsinki, Finland
[Public domain], via Wikimedia Commons

ด้านนายมาร์ตติ ได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฟินแลนด์ ใน 2537 และดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีต่อเนื่องจนถึง ปี 2543 โดยปี 2551 นายมาร์ตติ จึงได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ เมื่อหมดวาระจากตำแหน่งประธานาธิบดี นายมาร์ตติจึงเริ่มทำหน้าที่ในฐานะคนกลางในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งเพื่อ การสร้างสันติภาพในระดับนานาชาติ

ที่มา: เรียบเรียงจาก เดลินิวส์, ข่าวสด