WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, November 26, 2011

อาเซียนยังห่างไกลจากสหภาพยุโรปนัก

ที่มา ประชาไท

บทความจากบล็อก ‘Banyan’ ในเว็บไซต์ ‘ดิ อีโคโนมิสต์’ วิเคราะห์การประชุมอาเซียนและการประชุมสุดยอดผู้นำตะวันออกที่สิ้นสุดไป เมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา เมื่อย้อนมองสหภาพยุโรปและหันกลับมาดูอาเซียน ก็ฟันธงได้เลยว่าอาเซียนไม่มีทางจะเป็นได้อย่างอียู

000

บรรดาผู้นำประเทศในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ได้เดินทางไปร่วมประชุมประจำปีครั้งที่ 19 ที่บาหลีในอาทิตย์ที่ผ่านมา อาเซียนเองก็เริ่มกลายเป็นสถานที่ยอดนิยมแห่งยุคสมัยไปแล้ว เนื่องจากไม่ว่าประเทศใดๆที่แม้จะอยู่ห่างไกลจากประโยชน์ในภูมิภาคเอเชีย-แป ซิฟิคก็ล้วนแต่อยากร่วมเป็นสมาชิกด้วยทั้งสิ้น หรืออย่างน้อยได้เข้ามานั่งประชุมด้วยก็ยังดี ในขณะที่การประชุมสุดและองค์การยอดครั้งแล้วครั้งเล่าแบบที่เรียกกันว่า “อาเซียน-เซนทริค” (อาเซียนเป็นศูนย์กลาง) ถูกตั้งขึ้นมาใหม่เพื่อรองรับผู้มาใหม่เหล่านี้ - ตั้งแต่อินเดียยันนิวซีแลนด์ และตั้งแต่จีนยันรัสเซีย
ด้วยเหตุฉะนี้ การประชุมสุดยอดอาเซียนในปัจจุบันจึงกลายเป็นมหกรรมการประชุมสุดยอดและการ ประชุมทวิภาคีต่างๆ ที่มีตารางประชุมติดกันเป็นชุดๆ ซึ่งไฮไลท์ของปีนี้จะเป็นการมาเยือนของประธานาธิบดี บารัก โอบาม่า เพื่อส่งสัญญาณการผงาดขึ้นสู่ที่ประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกของสหรัฐอเมริกา อันเป็นการรวมตัวน้องใหม่อีกกลุ่มหนึ่งของอาเซียน ซึ่งมีสมาชิกดั้งเดิม 10 ประเทศ และประเทศคู่เจรจาอีก 8 ประเทศ นอกจากนี้ การมาเยือนนี้จะยิ่งเป็นการตอกย้ำความรู้สึกว่าศตวรรษนี้จะเป็น “ศตวรรษแห่งเอเชีย” ปธน. โอบาม่าก็เองย้ำแล้วย้ำอีกในประเด็นนี้เมื่อวันพุธที่ผ่านมา (หมายถึงพุธที่ 17 พ.ย. 54 – ประชาไท)

อย่างไรก็ตาม จุดประสงค์ของอาเซียนปีนี้คงจะไม่สนใจในการสร้างเอเซียใหม่อันน่าภาคภูมิใจ มากนัก แต่ความสนใจจะไปอยู่กับยุโรปเก่าที่กำลังทรุดลงเรื่อยๆต่างหาก เช่นเดียวกับที่การประชุม G20 เมื่อเร็วๆนี้ที่ฝรั่งเศส ประเด็นเรื่องวิกฤติค่าเงินยูโรจะเป็นประเด็นหนึ่งที่พูดคุยกันในการประชุม สุดยอดครั้งนี้ของอาเซียนด้วยเช่นกัน หากจะมีเรื่องที่เกี่ยวกับอาเซียนจริงๆในการประชุมครั้งนี้ อย่างมากก็คงมีเพียงแค่ประเด็นคำถามที่ว่า เศรษฐกิจในแถบเอเชียแปซิฟิกนี้จะทำอย่างไรได้บ้างเพื่อหลีกเลี่ยงโรคระบาด ทางการเงินครั้งนี้จากยุโรปที่นั่น

วิกฤติค่าเงินยูโรยังทำให้บรรดาขาประชุมทั้งหลายที่บาหลีหันมาครุ่นคิด เกี่ยวกับอนาคตของตัวอาเซียนเองอีกด้วย รวมถึงคำถามที่ว่ามีบทเรียนใดที่เราสามารถเรียนรู้ได้จากประวัติศาสตร์การ เงินยุโรปพักหลังๆอันน่าอัปยศนี้ได้บ้างหรือไม่ แทบไม่มีใครหรอกที่จะไม่ลองเปรียบเทียบสถานการณ์ทั้งสองนี้ดู: ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งมาในปี 1967 (ซึ่งก็ถือว่าช้ากว่าคนอื่นเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว) อาเซียนมีเป้าหมายว่าจะขึ้นเป็น “เขตเศรษฐกิจอาเซียน” ให้ได้ภายในปี 2015 หรือ อย่างที่เอกสารทางการของอาเซียนได้กล่าวไว้อย่างหอมหวานว่า “วิสัยทัศน์” ของอาเซียนนั้นคือจะสร้าง “ภูมิภาคเศรษฐกิจอาเซียนที่มั่นคง รุ่งเรือง และมีการแข่งขันสูง โดยจะมีทั้งการไหลเวียนสินค้า บริการ และการลงทุนที่ดี การหมุนเวียนของทุนที่เสรี การพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างถาวรและช่องว่างในสังคมและเศรษฐกิจของประเทศรวม ทั้งความยากจนต่างๆ จะลดน้อยลง”

ทั้งหมดนั้นฟังดูคล้ายเหลือเกินกับบทบัญญัติของเขตเศรษฐกิจยุโรป (อีอีซี) อันเป็นต้นตำหรับที่นำไปสู่สหภาพยุโรปในเวลาต่อมา เช่นเดียวกับที่บิดาผู้ก่อตั้งอีอีซีทั้งหลายได้บรรลุความฝันนี้ในยุโรป เมื่อทศวรรษ 1980s แล้ว ก้าวต่อไปของยุโรปก็คือการใช้สกุลเงินเพียงหนึ่งเดียว หรือ ยูโร และก้าวต่อไปก็คือ... นั่นแหละ คงไม่งามหากจะมาพูดกันตอนนี้ เพราะเราต่างก็ทราบดีแล้วว่าสหภาพยุโรปลงเอยอย่างไร

ความคล้ายคลึงกันใน “วิสัยทัศน์” ของทั้งอีอีซีและอาเซียนนั้นมิใช่เป็นเรื่องบังเอิญแต่อย่างใด คงเป็นยากนักที่จะระลึกถึงความจริงหน้าหนึ่งในประวัติศาสตร์ว่า สหภาพยุโรปเคยได้รับความหวังและการคาดการณ์ว่าจะประสบความสำเร็จอย่างใหญ่ หลวง ว่าสหภาพยุโรปนั้นคือโมเดลของการที่บรรดาอริเก่าทั้งหลายสามารถเอาความขัด แย้งต่างๆ ฝังลงดินเพื่อหันมาสร้างตลาดและบรรลุความยิ่งใหญ่ทางเศรษฐกิจแทน โปรดลองหลับตาและรำลึกถึงวันวานของเยอรมนีในปี 1950 อิตาลีในปี 1960 หรือไอร์แลนด์ในปี 1990 แม้แต่ข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (นาฟต้า) ก็ยังมีรูปแบบบางส่วนมาจากสหภาพยุโรป เป็นเรื่องธรรมดาที่ชาวเอเชียเองก็มองหาตัวอย่างจากยุโรปด้วยเช่นกัน

เราจะเห็นว่า ปัญหาของโมเดลแบบยุโรปนี้คือเป้าหมายเศรษฐกิจที่จำกัดนี้สร้างโมเมนตัม บางอย่างขึ้นมาด้วย กล่าวคือ เมื่อเกิดปัญหาใดๆก็ตามในสหภาพยุโรป คำตอบก็มีแต่ “ต้องปรับตัวให้เป็นหนึ่งเดียวกับอียูให้ได้มากกว่านี้” จนคำตอบนี้กลายเป็นคำตอบปริยายไปแล้ว ประเทศต่างๆเข้าคิวรอเข้าอียูก็เพราะพวกนี้ต้องการที่จะเข้าร่วมขบวนการ “เป็นหนึ่งเดียว” กับสหภาพยุโรป ทั้งที่จริงๆ แล้วพวกเขาหวังว่าการเข้าเป็นหนึ่งเดียวนี้จะนำไปสู่ความมั่งคั่งสืบไปอีก สเต็ปหนึ่งต่างหาก ตามที่อีอีซีได้เคยทำไว้ใน 20 ปีแรกของการก่อตั้ง อย่างไรก็ตาม ไม่มีใครฉุกคิดเลยว่า สมมติถ้ามีประเทศในแถบมิดิเตอเรเนียนหนึ่งอยากจะเข้าอียู ประเทศนี้จะต้องปรับตัวมโหฬารเพียงใดเพียงเพื่อจะได้เข้า “เป็นหนึ่งเดียว” กับเศรษฐกิจระดับเยอรมนี

เริ่มมีความกังวลในอาเซียนเองด้วยว่า สมาชิกทั้ง 10 ประเทศกำลังสร้างสภาวะที่อยากแต่จะ “เป็นหนึ่งเดียว” อย่างไม่ตั้งคำถามเลยเช่นกัน เอกสารว่าด้วย “วิสัยทัศน์” ที่กล่าวมาแล้วขององค์การนี้ก็ยิ่งตอกย้ำความกังวลนี้ อย่างไรก็ตาม ยังโชคช่วยอยู่บ้าง (สำหรับอาเซียน) ที่ความจริงมิได้เป็นเช่นนั้นเลย

ประเด็นที่หนึ่ง อาเซียนชอบเติบโตในแนวกว้างมากกว่าในทางลึก ตามที่มหกรรมการประชุมในสัปดาห์นี้แสดงให้เห็น อาเซียนชอบที่จะเอาเวลาและการลงแรงไปกว้านหาประเทศใหม่ๆ เข้ามาในภูมิภาค มากกว่าที่จะยอมเอาอธิปไตยของประเทศในอาเซียนมาเป็นต้นทุนกัน ตามจริงแล้ว ความจริงของอาเซียนนั้นตรงกันข้ามกับถ้อยคำบรรเจิดต่างๆ ที่อยู่ในเอกสารเมื่อครั้งตั้งอาเซียนเลย เพราะบรรดาประเทศสมาชิกต่างๆกลับต้องการหาทางจำกัดอำนาจและบทบาทของอาเซียน ที่ตั้งอยู่ที่กรุงจาการ์ต้า มากกว่าจะเพิ่มให้มากขึ้น

ที่นี่ไม่ใช่กรุงบรัสเซลล์ ผู้เขียนเองทึ่งอย่างมากที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์นี้เองว่า ประเทศสมาชิกต่างๆของอาเซียนยอมเสียเงินเพียงแค่ 1.7 ล้านดอลลาร์เพื่อบำรุงอาเซียนเท่านั้น (ข้อมูลจากวิกิลีกส์) ซึ่งนับว่าเป็นจำนวนเงินที่น้อยมากสำหรับประเทศอย่างสิงคโปร์หรือ อินโดนีเซีย จริงแล้วๆ อเมริกาและญี่ปุ่นกลับจ่ายเงินให้แก่อาเซียนมากกว่าชาติใดๆในอาเซียนเองด้วย ซ้ำ เห็นได้ชัดว่าชาติอาเซียนไม่ยอมให้มีระบบราชการศูนย์กลางเติบโตขึ้นมาเพื่อ ท้าทายอธิปไตยในประเทศของตนเอง ช่างประเสริฐยิ่ง

ยิ่งไปกว่านี้ ต่อให้ชาติอาเซียนประสงค์จะเข้าสู่ “สหภาพอันใกล้ชิดกัน” มากกว่านี้ ก็คงเป็นไปไม่ได้อยู่ดี ตามที่นักข่าวท่านหนึ่งของหนังสือพิมพ์จาการ์ตาโพสต์ชี้ให้ผู้เขียนเห็นว่า ในขณะที่สหภาพยุโรปสามารถวางข้อกำหนดในการเข้าร่วมได้ว่าต้องมีคุณสมบัติ อย่างไรบ้าง (ในกรณีนี้คือ ต้องเป็นประชาธิปไตยเสรีนิยมแบบตะวันตก เป็นต้น) เพื่อที่ว่าทุกประเทศในแถบผู้โชคดีบางแถบของยุโรปจะได้ตรงตามคุณสมบัตินี้ กันหมด) แต่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น นี่เป็นเรื่องที่ไม่มีทางเป็นไปได้ ความแตกต่างในระบอบการปกครองนั้นมีมากเกินไป อาเซียนมีทั้งหมด ตั้งแต่รัฐคอมมิวนิสต์พรรคเดียวในเวียตนามยันระบอบกษัตริย์แบบรัฐธรรมนูญใน ไทย หรือตั้งแต่เผด็จการกึ่งทหารในพม่ายันประชาธิปไตยลุ่มๆดอนๆของอินโดนีเซีย อาเซียนมีสติพอที่จะยอมรับความแตกต่างเหล่านี้ให้คงอยู่ต่อไปได้ และบรรดาประเทศเหล่านี้ก็กลับปฏิญาณด้วยว่า จะไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมืองในแต่ละประเทศสมาชิกอีกด้วย (นับว่าเป็นโชคดีอยู่มากสำหรับบรรดาผู้นำพม่า)

ในทำนองเดียวกัน ความแตกต่างทางเศรษฐกิจของ 10 ชาติอาเซียนนั้นใหญ่โตกว่ารอยแยกทางการเงินที่เป็นปัญหาในยุโรปตอนนี้ยิ่ง นัก ทางด้านหนึ่ง สิงคโปร์คือประเทศที่รวยที่สุดแห่งหนึ่งในโลก (วัดจากค่า GDP ต่อหัว) แต่พม่ากลับเป็นประเทศที่จนที่สุดแห่งหนึ่ง บางประเทศมีระบบเศรษฐกิจอยู่บนฐานของตลาดเปิดแบบทุนนิยม อย่างในไทยและสิงคโปร์ แต่ประเทศอื่นกลับเป็นธุรกิจรัฐรวมศูนย์เสียส่วนใหญ่ เช่น กัมพูชาหรือเวียตนาม บรูไนตัวเล็ก แต่อินโดนีเซียกลับตัวใหญ่ คงเป็นเรื่องชวนหัวหากจะคาดหวังให้ความแตกต่างทางธรรมชาติของประเทศเหล่านี้ ลดน้อยได้บ้างผ่านกระบวนการรวมเป็นหนึ่งเดียว ส่วนเรื่องจะใช้สกุลเงินเดียวก็ยิ่งไม่ต้องพูดถึงเลย โดยเฉพาะหลังจากประสบการณ์เลวร้ายของยูโร (แล้วเมื่อคิดว่าจะตั้งชื่อว่าอะไรดียิ่งน่าปวดหัวเข้าไปใหญ่)

ดังนั้น โปรดจงมองข้าม “วิสัยทัศน์” อะไรแบบนั้น และคาดหวังให้อาเซียนยังคงความหละหลวม กว้าง และพูดจาน้ำท่วมทุ่งแบบนี้ต่อไปดีกว่า การประชุมสุดยอดจำนวนนับครั้งไม่ถ้วนก็ไม่ทำให้เกิดสหภาพอันใกล้ชิดกันมาก ขึ้นไปตลอดหรอก ขอบคุณสวรรค์!

ที่มา: แปลจาก No Brussels sprouts in Bali. The Economist. 18/11/54

รายงาน: การบังคับคนให้สูญหาย ต้องเป็นอาชญากรรม

ที่มา ประชาไท

เมื่อวันที่ 4 ตุลาคมที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีมีมติให้ลงนามใน อนุสัญญาการป้องกันบุคคลจากการบังคับให้สูญหาย (International Convention for the Protection of All Persons from Enforced Disappearance) การลงนามในอนุสัญญาดังกล่าว จะมีผลผูกพันต่อรัฐบาลไทยที่ต้องปฏิบัติตามข้อบังคับที่กำหนดไว้ในอนุสัญญา ซึ่งจะมีผลทำให้การบังคับคนให้สูญหาย (Enforced disappearance) เป็นอาชญากรรมที่ร้ายแรง ความคืบหน้าของรัฐบาลไทยที่มีต่อกฎหมายดังกล่าวเป็นเรื่องที่น่าจับตามาก โดยเฉพาะจากครอบครัวและญาติของเหยื่อรวมถึงองค์กรภาคประชาสังคม ซึ่งต่างก็หวังว่ากฎหมายดังกล่าวจะสามารถนำมาซึ่งความยุติธรรมได้ไม่มากก็ น้อย

การลงนามในอนุสัญญาดังกล่าวของรัฐบาลไทย นับว่าเป็นฉบับที่ 8 ที่รัฐได้ลงนามในอนุสัญญาระหว่างประเทศของสหประชาชาติจากทั้งหมด 9 ฉบับ [1] โดยอนุสัญญาดังกล่าวมีสาระสำคัญคือ ทำให้การบังคับบุคคลให้สูญหายเป็นอาชญากรรม ในขณะที่ก่อนหน้านี้ อาชญากรรมดังกล่าวไม่สามารถเอาผิดได้เลย เนื่องจากประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายฉบับใดที่ทำให้การบังคับคนให้สูญหายเป็น อาชญากรรม ทำให้หลายกรณีผู้กระทำผิดจึงต้องเดินจากไปอย่างง่ายๆ ไร้มลทิน

ทั้งนี้ สหประชาชาติได้นิยาม “การบังคับบุคคลให้สูญหาย” ว่า คือการทำให้บุคคลสูญเสียเสรีภาพไม่ว่าจะด้วยรูปแบบใดหรือด้วยเหตุผลใดซึ่ง กระทำโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือบุคคลหรือกลุ่มคนที่กระทำโดยการได้รับคำสั่ง ได้รับการสนับสนุน หรือการยินยอมจากรัฐ และรวมทั้งการไม่เปิดเผยข้อมูลหรือการปฏิเสธในการรับรู้ถึงการสูญเสีย เสรีภาพ หรือการสูญหายของบุคคล หรือการปิดบังข้อมูลความจริงหรือสถานที่ของบุคคลผู้สูญหาย

เมื่อรัฐไทยได้ลงนามเพื่อแสดงความประสงค์เป็นภาคีในอนุสัญญา และให้สัตยาบันแล้ว นั่นหมายถึงรัฐไทยจำเป็นจะต้องผลักดันให้เกิดร่างกฏหมายภายในประเทศ หรือแก้ไขกฎหมายเดิมที่มีอยู่เพื่อป้องกัน ต่อต้าน และกำหนดบทลงโทษต่อการกระทำดังกล่าว

กรณีหนึ่งที่เป็นที่รู้จักกันดี คือ คดีของทนายสมชาย นีละไพจิตร ทนายความด้านสิทธิมนุษยชนที่ทำงานช่วยเหลือจำเลยจากสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในเดือนมี.ค 2547 เขาถูกอุ้มหายไปในเวลากลางวันแสกๆ โดยชายนอกเครื่องแบบ และจนปัจจุบัน ผู้ที่ต้องสงสัยว่าเกี่ยวข้องกับการกระทำผิดบางส่วนที่เป็นเจ้าหน้าที่รัฐ กลับถูกปล่อยตัวไป ส่วนครอบครัวเขาก็ยังไม่ทราบชะตากรรมของทนายสมชายจนบัดนี้

ไม่ใช่มีเพียงคดีของทนายสมชาย นีละไพจิตรเท่านั้นที่เกิดขึ้น แต่ในประเทศไทยยังมีคดี ‘คนหาย’ หรือ ‘โดนอุ้ม’ เนื่องมาจากการใช้กฎหมายพิเศษในช่วงความรุนแรงทางการเมือง สถานการณ์ “ก่อการร้าย” และสงครามยาเสพติดอีกหลายคดีที่ยังคงไม่ได้รับความยุติธรรม

จากข้อมูลวิจัยของมูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพเปิดเผยว่า ตั้งแต่ปี 2535 เป็นต้นมา ในประเทศไทยมีคดีการบังคับคนให้สูญหายแล้วอย่างน้อย 70 คดี และมีจำนวน 54 คดี ที่ถูกส่งไปยังพิจารณาในคณะทำงานด้านการบังคับให้บุคคลสูญหายโดยไม่สมัครใจ ของสหประชาชาติ (UN Working Group on Enforced or Involuntary Disappearances: UN WGEID) ซึ่งมีหน้าที่ติดตามและสืบสวนคดีดังกล่าวอย่างใกล้ชิด

กลไกที่อำนวยความยุติธรรม

กาเบรียลา ซีโตนี ศาสตราจารย์ด้านกฎหมายสิทธิมนุษยชนชาวอิตาลีและที่ปรึกษากลุ่มญาติคนหายในละตินอเมริกา กล่าวในงาน “รัฐบาลไทยกับพันธกิจในการคุ้มครองสิทธิประชาชนให้ปลอดจากการหายสาบสูญ” [2] ว่า เดิมที อนุสัญญาดังกล่าวมีจุดเริ่มต้นจากการเรียกร้องของกลุ่มญาติผู้สูญหายใน ประเทศอาร์เจนตินาและโบลิเวียในช่วงต้นทศวรรษ 1980 ซึ่งเป็นช่วงระบอบการปกครองเผด็จการขวาจัด โดยอาร์เจนตินามีสถิติการบังคับคนให้สูญหายสูงถึงราว 30,000 คนในระยะเวลาเพียงไม่ถึง 10 ปี

อย่างไรก็ตาม ประชาชนก็ไม่สามารถเอาผิดกับเจ้าหน้าที่รัฐได้ เนื่องจากยังไม่มีการบัญญัติโทษของอาชญากรรมที่เกิดจากการบังคับคนให้สูญหาย ในเวลานั้น ต่อมา กลุ่มญาติผู้สูญหายและองค์กรภาคประชาสังคม จึงเริ่มผลักดันให้เกิดคำนิยามของอาชญากรรมดังกล่าว และเจรจาต่อรองรัฐร่วมกับสหประชาชาติให้เกิดเป็นอนุสัญญาระหว่างประเทศได้ สำเร็จ

กาเบรียลากล่าวว่า ถึงแม้ว่าอาร์เจนตินาและประเทศอื่นๆ ในละตินอเมริกาจะมีสถิติการบังคับคนให้สูญหายสูงมาก และยังมีกฎหมายนิรโทษกรรมให้กับผู้กระทำผิดถึงสองฉบับ แต่ด้วยการให้สัตยาบันในอนุสัญญาการป้องกันการบังคับบุคคลให้สูญหาย ทำให้ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา เกิดการสร้างกลไกภายในประเทศที่สามารถนำตัวเจ้าหน้าที่รัฐและผู้ที่เกี่ยว ข้องในการกระทำผิดมาพิจารณาคดีได้กว่าแสนคน มีการตัดสินจำคุกเจ้าหน้าที่รัฐที่กระทำผิดถึง 30 ปี อีกทั้งยังมีการยกเลิกกฎหมายนิรโทษกรรมด้วย

เธอชี้ให้เห็นว่า ถึงแม้สถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศอาร์เจนตินาก่อนหน้านี้จะย่ำแย่มาก แต่เวลาก็ได้พิสูจน์ให้เห็นว่า ประชาชนในประเทศก็สามารถต่อสู้ให้ได้มาความยุติธรรม ถึงแม้ว่าจะใช้เวลานานเพียงใดก็ตาม

อย่างไรก็ตาม ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยมิลานกล่าวว่า ถึงแม้ว่ารัฐบาลจะลงนามและให้สัตยาบันในอนุสัญญาว่าด้วยคนหายแล้ว แต่หากยังไม่มีการผลักดันกฎหมายในประเทศมาบังคับใช้ อนุสัญญาดังกล่าว ก็อาจเปรียบเสมือนกล่องเปล่าๆ ที่ไม่มีเนื้อหาอะไรข้างใน ดังนั้น จึงมีความจำเป็นมากที่รัฐบาลจะต้องมีเจตจำนงค์ที่จริงใจต่อการผลักดันและ บังคับใช้กฎหมายในประเทศอย่างจริงจัง

ก้าวต่อไปประเทศไทย

ด้านปกป้อง ศรีสนิท อาจารย์จากคณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ผู้ที่มีส่วนร่วมร่างกฎหมายว่าด้วยการป้องกันการบังคับบุคคลให้สูญหายฉบับ ไทย ได้อธิบายว่า การแก้ไขหรือร่างกฎหมายดังกล่าว เป็นหน้าที่ของกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพภายใต้กระทรวงการยุติธรรม ซึ่งต้องทำการแก้กฎหมาย หรือร่างเป็นพ.ร.บ. ใหม่ออกมา เพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำหนดในอนุสัญญาป้องกันคนหายสากล

ปกป้องได้อธิบายว่า กฎหมายที่ร่างขึ้นใหม่ดังกล่าว จะประกอบไปด้วยบทบัญญัติที่ว่าด้วยสิทธิของเหยื่อและครอบครัวของเหยื่อในการ เข้าถึงข้อมูล การได้รับเงินชดเชยและการเยียวยาที่เหมาะสม รวมถึงมีบทลงโทษต่อผู้ที่กระทำผิด ซึ่งจะถูกพิจารณาว่าเป็นผู้กระทำอาชญากรรมที่ร้ายแรง และเมื่อพ.ร.บ.ดังกล่าวผ่านการพิจารณาจากกระทรวงยุติธรรมแล้ว ก็จะส่งผ่านไปยังฝ่ายนิติบัญญัติให้พิจารณาเพื่อตราร่างเป็นกฎหมายต่อไป

อาจารย์จากม. ธรรมศาสตร์ยังระบุว่า หากผลักดันร่างกฎหมายนี้สำเร็จ จะนับเป็นนิมิตหมายที่ดีของกระบวนยุติธรรมไทย เนื่องจากที่ผ่านมา ผู้กระทำผิดในการบังคับบุคคลให้สูญหาย โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่รัฐไม่เคยถูกตรวจสอบและรับผิด เนื่องจากยังคงมีวัฒนธรรมการปล่อยให้คนผิดลอยนวลในสังคมไทย ทั้งในแง่ทัศนคติและตัวบทกฎหมาย

ต้องเปลี่ยนทั้งกฎหมายและทัศนคติ

อย่างไรก็ตาม ประสบการณ์ที่ผ่านมา ก็ได้แสดงให้เห็นแล้วว่า ไม่จำเป็นเสมอไปที่เมื่อรัฐบาลไทยลงนามในอนุสัญญานั้นแล้ว จะเป็นเครื่องมือรับประกันได้ว่าสถานการณ์สิทธิในประเด็นดังกล่าวจะดีขึ้น จริง ดังที่นักสิทธิมนุษยชนหล่ายคนได้แสดงความเห็นว่า ถึงแม้ว่ารัฐบาลไทยจะลงนามในอนุสัญญาต่อต้านการซ้อมทรมานไปแล้วในปี 2550 แต่การซ้อมทรมานยังคงเกิดอยู่อย่างแพร่หลายในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จนถึงปัจจุบัน

จอน อึ๊งภากรณ์ อนุกรรมการสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง จากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติกล่าวว่า อีกหนึ่งปัจจัยที่เป็นสิ่งสำคัญที่สังคมไทยจะสามารถยุติวัฒนกรรมการงดเว้น โทษ (Impunity) คือการสร้างความเข้าใจและทัศนคติที่ดีในหมู่ประชาชนว่าด้วยเรื่องสิทธิมนุษย ชน และความอันตรายของวัฒนธรรมการงดเว้นโทษ โดยเฉพาะสถานศึกษาและสื่อมวลชน ควรจะมีบทบาทที่ส่งเสริมความเข้าใจให้มากขึ้น

จอนยังชี้ว่า ผู้ปฏิบัติงานของรัฐ เช่นเจ้าหน้าที่ทหารหรือตำรวจ ก็จำเป็นจะต้องเปลี่ยนทัศนคติให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนด้วย ไม่ควรจะยึดติดกับชุดความคิด ‘รักชาติ’ เพียงอย่างเดียว เนื่องจากเป็นทัศนคติที่แคบและเสี่ยงต่อการละเมิดสิทธิของประชาชน

หมายเหตุ:

  1. ทั้ง 9 อนุสัญญาประกอบด้วย อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก, อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ, กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง, กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม, กติการะหว่างประเทศว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ, อนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมาน, อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการ, อนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันการบังคับบุคคลให้สูญหาย และอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของแรงงานโยกย้ายถิ่นฐานและสมาชิกในครอบ ครัว
  2. งานเสวนาดังกล่าว จัดขึ้นเมื่อวันที่ 25 พ.ย. ที่ผ่านมา ณ โรงแรมริชมอนด์ จ.นนทบุรี โดยสมาพันธ์ต่อต้านการหายแห่งเอเชีย (Asian Federation against Disappearances) คณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา 35 และคณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน โดยมีครอบครัวและญาติของบุคคลที่ถูกบังคับให้สูญหายจากประเทศต่างๆ ในเอเชียเข้าร่วมด้วย

อัยการเตรียมสั่งฟ้องดีเจวิทยุชุมชนเสื้อแดงเชียงรายอีกครั้ง หลังเคยสั่งยุติดำเนินคดีไปแล้ว

ที่มา ประชาไท

เผยเตรียมสั่งฟ้องดีเจวิทยุชุมชนเสื้อแดงเชียงรายและพวกอีกครั้ง เป็นคดีเก่าในช่วงการชุมนุมในเดือนพฤษภาคม 53 ทั้งที่อัยการเคยมีคำสั่งแจ้งยุติการดำเนินคดีไปแล้ว

26 พ.ย. 54 – เครือข่ายคนเสื้อแดง จ.เชียงราย ได้เปิดเผยว่า อัยการจังหวัดเชียงรายเตรียมที่จะสั่งฟ้องดีเจวิทยุชุมชนเสื้อแดงเชียงราย และพวกอีกครั้ง เป็นคดีเก่าในช่วงการชุมนุมในเดือนพฤษภาคม 53 ทั้งที่อัยการเคยมีคำสั่งแจ้งยุติการดำเนินคดีไปแล้ว

โดยรายละเอียดของคดีนี้สืบเนื่องมาจาก เมื่อวันที่ 14 มิ.ย. 53 ทางสถานีตำรวจภูธรเมืองเชียงรายได้แจ้งข้อกล่าวหาแก่นายอรรถกร กันทไชย และพวกรวม 5 คนว่าเมื่อวันที่ 17 พ.ค. 53 เวลาประมาณ 10.00 น. - 12.30 น. โดยนายอรรถกรและพวกได้ร่วมกันจัดรายการทางสถานีวิทยุชุมชน 107.5 MZH โดยเนื้อหาที่นายอรรถกรได้กระจายเสียงเสนอข่าวนั้นมีใจความว่า

"เสธ.แดงก็โดนฝ่ายเดียวกัน คือฝ่ายทหาร ได้สังหารชีวิต ก็เป็นคนชาติเดียวกัน ถ้าเป็นคนต่างชาติ ผมเป็นคนแรกที่จะจับอาวุธขึ้นต่อสู้" และยังพูดอีกว่า "เดี๋ยวเรากินข้าวกลางวันแล้ว เวลาประมาณบ่ายโมงเราก็จะออกเดินทาง จุดหมายปลายทางของเรามีอยู่สองที่ เพื่อไปยื่นหนังสือยับยั้งความรุนแรงแล้วก็ยับยั้งการเข่นฆ่าประชาชน"

ทั้งนี้ในบันทึกการแจ้งขอกล่าวหานี้ได้ระบุว่าข้อความคำพูดดังกล่าวทำให้ ประชาชนเกิดความหวาดกลัวหรือเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสาร ทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสถานการณ์ฉุกเฉินจนกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ หรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ในทั่วราชอาณาจักร ซึ่งการกระทำของผู้ต้องหาดังกล่าวนี้เป็นการกระทำความผิดฐาน "ร่วมกันเสนอข่า หรือทำให้แพร่หลายซึ่งสื่อสิ่งอื่นใด ที่มีข้อความอันอาจทำให้ประชาชนเข้าใจผิดในสถานการณ์ฉุกเฉิน จนกระทบต่อความมั่นคงของรัฐหรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ในทั่วราชอาณาจักร" อันเป็นการกระทำผิดตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 และข้อกำหนดที่ออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548

แต่หลังจากนั้นในวันที่ 26 ก.ค. 54 สำนักงานอัยการ จ.เชียงราย ได้ออกคำสั่งไปยังผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรเมืองเชียงราย แจ้งให้ยุติการดำเนินคดีกับนายอรรถกร กันทไชยกับพวก 5 คน เนื่องจากจากคดีขาดอายุความ ทำให้สิทธิการนำคดีอาญามาฟ้องระงับไปตามมาตรา 39 (6) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

ทั้งนี้เครือข่ายคนเสื้อแดง จ.เชียงราย ได้ระบุว่าอัยการเชียงรายจะสั่งฟ้องเสื้อแดงเชียงรายทั้ง 5 คน ในวันพฤหัสบดีที่ 1 ธ.ค. 54 ที่จะถึงนี้

รายงาน: เปิดคำแถลงปิดคดี ‘อากง SMS’ ต่อจิ๊กซอว์จากเบอร์ต้นทางถึงชายแก่ปลายทาง

ที่มา ประชาไท

คดีของอำพล (ขอสงวนนามสกุล) หรือ คดีอากง ดูจะเป็นที่สนใจสำหรับสาธารณชนมากเป็นพิเศษ มากกว่าคดีประเภทเดียวกันในช่วงหลายปีที่ผ่าน เพราะมีความย้อนแย้งในตัวหลายระดับ กระทั่งทำให้กระบวนการพิพากษา พิจารณาคดี ถูกทักถาม สอบทาน

ความรู้สึกสะเทือนใจทำให้ผู้คนอยากรู้ อยากเข้าใจต่อปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น คำถามว่าข้อความ ที่ว่าคือ อะไร เป็นคำถามซึ่งหมดทางที่ใครจะให้คำตอบอย่างเป็นทางการได้ แต่คำถามว่าอากงโดนจับได้อย่างไร กระบวนการสอบสวนอันเกี่ยวเนื่องกับเทคโนโลยีโทรคมนาคมที่ซับซ้อนไล่จากไหนไป ไหน อะไรคือข้อถกเถียงหลักๆ ในกระบวนการซับซ้อนดังกล่าว เป็นสิ่งที่อาจพอหาคำตอบ ปะติดปะต่อได้ จาก ‘คำแถลงปิดคดี’


เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ (ขึ้นอีกเล็กน้อย)
‘ประชาไท’ ได้สรุปประเด็นข้อโต้แย้งสำคัญ รวมถึงกระบวนการสืบสวนของเจ้าหน้าที่ไว้โดยคร่าว อ้างอิงจากคำแถลงปิดคดี สำหรับกระบวนการสืบสวนจะแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ 1.เส้น ทางการสืบสวนตามที่เจ้าหน้าที่ให้การต่อศาล 2.พยานเอกสารที่ตำรวจนำส่งต่อศาล ซึ่งคำแถลงปิดคดีระบุว่าไม่เรียงลำดับอย่างเป็นเหตุเป็นผลตามที่มีการเบิก ความ ทำให้ขาดความน่าเชื่อถือในการเชื่อมโยงถึงจำเลย


และในส่วนล่างสุดจะเป็นคำแถลงปิดคดีฉบับเต็ม

00000000

สรุปประเด็นสำคัญ

1.หมายเลขโทรศัพท์ซึ่งส่งข้อความ คือ xxxxx15 (ระบบเติมเงินของDTAC) และหมายเลขโทรศัพท์ของจำเลย คือ xxxxx27 (ระบบเติมเงินของ TRUE) เป็นคนละหมายเลขกัน แต่โจทก์กล่าวอ้างว่ามีหมายเลขอีมี่ตรงกัน

2.หมายเลขอีมี่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้เป็นเลขหมายใดก็ได้ และเมื่อแก้ไขเแล้วก็จะไปปรากฏยังระบบของผู้ให้บริการ การตรวจสอบและเชื่อมโยงการกระทำความผิดจากหมายเลขอีมี่จึงไม่มีความน่าเชื่อถือในการนำมาใช้ลงโทษบุคคลใดบุคคลหนึ่งว่ามีการกระทำความผิดได้ เพราะหมายเลขอีมี่ไม่เหมือนดีเอ็นเอที่สามารถระบุความเป็นตัวตนของเครื่องโทรศัพท์ได้

>พยานโจทก์ เจ้าหน้าที่ TRUE ได้ให้การว่า ข้าฯเคยได้ยินมาว่ามีการเปลี่ยนหมายเลขอีมี่กลางโดยการจ้างช่างโทรศัพท์เป็นเลขอีมี่อย่างอื่นได้ และ อีมี่กลางนั้นสามารถใช้กับโทรศัพท์หลายๆ เครื่องได้

>พยานโจทก์ เจ้าหน้าที่ ปอท. (กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี) ได้ให้การว่าหมายเลขอีมี่สามารถให้ช่างเครื่อง ซ่อมโทรศัพท์มือถือที่เชี่ยวชาญเปลี่ยนได้ ซึ่งจะทำให้หมายเลขอีมี่ที่ถูกเปลี่ยนนั้นไปปรากฏยังฐานข้อมูลของบริษัทผู้ ให้บริการเปลี่ยนแปลงด้วย

>เอกสารที่ทนายจำเลยนำส่งศาลระบุว่า มีความแพร่หลายใน วิธีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขหมายเลขอีมี่ทั้งจากข้อมูลในอินเทอร์เน็ตและมีเปิด สอนหลักสูตรในโรงเรียนสอนซ่อมมือถือดังกล่าว เลขหมายอีมี่สามารถเปลี่ยนใหม่สำหรับเครื่องที่ถูกขโมยมาได้ และ 10% ของหมายเลขอีมี่ก็ไม่ได้มีเอกลักษณ์เฉพาะ

3. โจทก์ก็ไม่ได้แสดงพยานหลักฐานในการตรวจสอบอีมี่จากทั้ง 3 บริษัทของผู้ให้บริการโทรศัพท์ในประเทศไทย (ไม่ได้ตรวจของเอไอเอส) จึงไม่อาจอ้างได้ว่าอีมี่นี้มีผู้ใช้เพียงเบอร์เดียว

4. กระบวนการสืบสวนตามพยานเอกสารที่นำส่งศาลไม่น่าเชื่อถือ เนื่องจากเริ่มต้นขอความร่วมมือจาก TRUE โดยนำเบอร์ xxxxx27 ของจำเลยมาตรวจสอบข้อมูลการโทร ทั้งที่ยังไม่ทันได้เลขอีมี่จากเบอร์ xxxxx15 ซึ่งเป็นเบอร์ใช้ก่อเหตุ แสดงให้เห็นว่าเป็นการเจาะจงขอข้อมูลจากหมายเลขโทรศัพท์ของจำเลยมาตั้งแต่ต้น โดยที่ยังไม่มีความเชื่อมโยงจากหมายเลขอีมี่เป้าหมายแต่อย่างใด และหมายเลขโทรศัพท์ของจำเลยก็ไม่ใช่หมายเลขที่ใช้ในการกระทำความผิด

5. คดี นี้มีความผิดพลาดในการสอบสวน สืบสวน มีที่มาของพยานหลักฐานโดยมิชอบ เนื่องจากพยานหลักฐานส่วนใหญ่ในคดีเป็นพยานเอกสาร ซึ่งเอกสารที่ศาลจะสามารถรับฟังได้นั้นต้องมีความถูกต้อง น่าเชื่อถือ แต่พยานหลักฐานของโจทก์กลับขัดแย้งกับคำเบิกความของพยานโจทก์อย่างชัดแจ้ง ไม่เป็นไปตามขั้นตอนที่เบิกความ ซึ่งทำให้ไม่มีความสมเหตุสมผลในการเชื่อมโยง ติดตามหาตัวจำเลยว่าเป็นผู้กระทำผิด เนื่องจากเจ้าหน้าที่ทราบหมายเลขอีมี่ของหมายเลขที่กระทำความผิดเป็นลำดับ ท้ายสุด

ในการสืบจำเป็นต้องทราบหมายเลขอีมี่ก่อนจึงจะทำการตรวจสอบได้ แต่เอกสารดังกล่าวชี้ให้เห็นว่ามีการตรวจสอบจากหมายเลขของจำเลย (xxxx27) ซึ่งไม่ใช่หมายเลขในการส่งข้อความโดยตรง พยาน หลักฐานดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าการสืบสวนสอบสวนมุ่งโดยตรงมาที่จำเลยตั้งแต่ ต้นโดยไม่ได้ตรวจสอบมาจากอีมี่ตั้งแต่แรกตามที่โจทก์กล่าวอ้าง

(รายละเอียดขั้นตอนที่ขัดแย้งกันระหว่างพยานเอกสารกับคำเบิกความ กรุณาดูผังด้านล่าง)

6. บันทึกคำให้การผู้ให้ถ้อยคำของบุตรสาวจำเลย ก่อนจะมีการจับกุมตัวจำเลยก็ไม่ปรากฏหมายเลขอีมี่

7. หนังสือแจ้งผลการตรวจข้อมูลโทรศัพท์จากดีแทคระบุวันที่ไม่ตรงกับวันเกิดเหตุ “ทางบริษัทได้แจ้งข้อมูลการโทรให้ทราบแล้ว แต่ยังมีประเด็นเรื่องรหัสประจำเครื่อง(IMEI)ที่ขณะนั้นยังไม่สามารถตรวจสอบได้ บริษัทได้ทำการตรวจสอบแล้วพบว่าในช่วงวันที่ 10-15 มิถุนายน 2553 โทรศัพท์เคลื่อนที่หมายเลข xxxxx15 ใช้คู่กับโทรศัพท์(IMEI)หมายเลข xxxxxxxxxxxxxx 0” เจ้าหน้าที่บริษัทให้การว่าใส่วันที่ผิด แต่พบข้อพิรุธว่า มีการระบุว่า “ยังตรวจสอบไม่ได้”, ไม่มีการแนบข้อมูลการโทรมีเพียงการระบุอีมี่ อีกทั้งในการส่งเอกสารมาครั้งแรกไม่มีการเซ็นรับรองเอกสาร แต่เพิ่งมาเซ็นรับรองเอกสารในครั้งที่สอง จึงไม่มีความน่าเชื่อถือ

8. โจทก์ ยังไม่มีพยานหลักฐานใดที่จะแสดงได้ว่าจำเลยเป็นคนกดข้อความ หรือส่งข้อความดังกล่าวไม่มีพยานเอกสารหรือพยานบุคคลใดยืนยันได้ว่าจำเลย ซึ่งอายุหกสิบเอ็ดปีแล้ว สามารถส่งข้อความได้ มีเพียงพยานเอกสารซึ่งพยายามเชื่อมโยงว่าเครื่องโทรศัพท์ที่ใช้ส่งข้อความและเครื่องโทรศัพท์ของจำเลยเป็นเครื่องเดียวกัน

9. คำให้การพยานโจทก์จากทรู ยังให้การต่อศาลว่า “จากข้อมูลการใช้โทรศัพท์ [หมายเลข xxxxx27 ซึ่งเป็นของนายอำพล-ประชาไท] ไม่ปรากฏว่ามีการส่งข้อความ sms จากเครื่องโทรศัพท์ดังกล่าว”

10. โจทก์ ยังไม่มีหลักฐานใดที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยเป็นบุคคลที่ก้าวร้าว ไม่จงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ มีมูลเหตจูงใจในการกระทำความผิใน ทางตรงกันข้ามจำเลยไม่เคยมีประวัติอาชญากร มีความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์และแสดงออกโดยไปลงนามถวายพระพรอยู่ เสมอทุกครั้งที่มีโอกาส รวมทั้งได้ไปร่วมงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้า ฟ้ากัลยานิวัฒนาด้วย


ทำความเข้าใจเบื้องต้น กระบวนการสืบสวนคดี อากง

1.เรียงลำดับจากคำเบิกความของเจ้าหน้าที่ต่อศาล

1. เบอร์ xxxxx15 > เลขานุการนายกฯ อภิสิทธิ์ [ได้รับ SMS 4 ครั้ง ระหว่างวันที่ 9,11,12,22 ..]

2. เลขาฯ > ตำรวจ [แจ้งความ]

3. ตำรวจ > [ตรวจสอบข้อมูลพบเป็นเบอร์ของ DTAC ไม่จดทะเบียน จึงไม่สามารถตรวจสอบชื่อ

เจ้าของเบอร์ได้ว่าเป็นใคร]

4. ตำรวจ > DTAC [ตรวจสอบพบว่าเบอร์ xxxxx15 ไม่มีการใช้งานตั้งแต่ 23 พ.ค.53]

5. ตำรวจ > DTAC [ขอ log file ของเบอร์ xxxxx15 เพื่อตรวจสอบหาหมายเลขเครื่อง(EMEI) และ

การติดต่อกับบุคคลอื่น ทั้งนี้ ใน log file จะประกอบด้วย

รายการโทรเข้าออก วันที่ เวลา ระยะเวลาการโทร EMEI ที่ตั้งเสาสัญญาณ ฯ ]

6. ตำรวจ > DTAC, AIS, TRUE [แขวน EMEI หมายถึงการนำอีมี่เป้าหมาย ในกรณีนี้คืออีมี่ของ

เครื่องเบอร์ xxxxx15 ไปให้ทุกบริษัทตรวจสอบในระบบของแต่

ละค่ายว่าพบเบอร์อื่นใดที่มี EMEI หรือเลขประจำเครื่องตรงกันหรือไม่]

7. ตำรวจ > TRUE [พบว่ามีอีมี่เป้าหมายที่บริษัททรู คือ หมายเลข xxxxx27]

8. ตำรวจ > TRUE [ขอ log file ของเบอร์ xxxxx27 และพบว่ามีการติดต่อกับเบอร์ต่างๆ โดยมีเบอร์

xxxxx00 โทรเข้าบ่อย และเบอร์ดังกล่าวเป็นเบอร์จดทะเบียน]

9. ตำรวจ > เจ้าของเบอร์ xxxxx00 [เรียกเจ้าของเบอร์ (ซึ่งเป็นลูกสาวนายอำพล) มาสอบถามได้ความว่าเบอร์ xxxxx27 เป็นเบอร์ของอำพล/บิดา]

10. ตำรวจ > อำพล [เจ้าหน้าที่กว่า 10 นายจากหลายหน่วยงาน บุกจับกุมตัวจำเลยที่บ้านเช่าย่านสำโรง พร้อมกองทัพนักข่าว]

2. เรียงลำดับจากพยานเอกสารที่เจ้าหน้าที่นำส่งศาล

1. เบอร์ xxxxx15 > เลขานุการนายกฯ อภิสิทธิ์ [ได้รับ SMS 4 ครั้ง ระหว่างวันที่ 9,11,12,22 ..]

2. เลขาฯ > ตำรวจ [แจ้งความ]

3. ตำรวจ > ทรู [ตรวจสอบการใช้ของหมายเลข xxxxx27 ซึ่งเป็นเบอร์ไม่จดทะเบียน และพบว่ามี

การติดต่อกับเบอร์ต่างๆ โดยมีเบอร์ xxxxx00 โทรเข้าบ่อย และเบอร์ดังกล่าวเป็น

เบอร์จดทะเบียน]

4. ตำรวจ > เจ้าของเบอร์ xxxx00 [ เรียกมาให้การ ได้ความว่าเบอร์ xxxxx27 เป็นอำพล/บิดา]

5. ตำรวจ > DTAC [ตรวจสอบพบว่า เบอร์ xxxxx15 ไม่มีการใช้งานตั้งแต่ 23 พ.ค.53]

6. ตำรวจ > DTAC [ ขอ log file หมายเลข xxxxx15 และทำให้ทราบเลขอีมี่]

7. ตำรวจ > อำพล [เจ้าหน้าที่กว่า 10 นายจากหลายหน่วยงาน บุกจับกุมตัวจำเลยที่บ้านเช่าย่าน

สำโรง พร้อมกองทัพนักข่าว]

หมายเหตุ : ขอขอบคุณข้อมูลจาก พูนสุข พูนสุขเจริญ ทนายจำเลย และ ยิ่งชีพ อัฌชานนท์ จากโครงการอินเตอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw)



000000000

คำแถลงปิดคดี

ข้อ ๑.คดีนี้สืบพยานจำเลยเสร็จในวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๔ และศาลนัดฟังคำพิพากษาวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ จำเลยมีความประสงค์ขอยื่นคำแถลงปิดคดีต่อศาลเพื่อประกอบการพิจารณาคดี เนื่องจากพยานหลักฐานและคำเบิกความของพยานโจทก์ขัดแย้งกันเองหลายประการ มี ข้อพิรุธ น่าสงสัย และมีน้ำหนักน้อยไม่น่ารับฟัง ไม่อาจนำมาสู่การลงโทษจำเลยซึ่งไม่ได้กระทำความผิดได้ โดยจำเลยขอเรียนพยานหลักฐาน ต่อศาลเพื่อประกอบการพิจารณาใช้ดุลพินิจในการทำพิพากษาของศาลดังต่อไปนี้

ข้อ ๒.การใช้หมายเลขประจำเครื่องโทรศัพท์(IMEI) เชื่อมโยงการกระทำความผิดไม่น่าเชื่อถือในการระบุเครื่องที่ใช้กระทำความผิด เนื่องจากหมายเลขประจำเครื่องโทรศัพท์(IMEI)สามารถปลอมแปลงได้ และสามารถซ้ำกันได้

จำเลยขอเรียนต่อศาลว่าคดีนี้โจทก์เชื่อมโยงการกระทำความผิดมาถึงตัวจำเลยได้โดยใช้หมายเลขประจำเครื่องโทรศัพท์(IMEI) ซึ่งการใช้โทรศัพท์ครั้งหนึ่งทั้งการโทรศัพท์ หรือการรับส่งข้อความจะปรากฎข้อมูลการโทรที่ผู้ให้บริการ ซึ่งจะปรากฎรายละเอียดทั้งวันที่ เวลา หมายเลขโทรศัพท์ รวมถึงหมายเลขประจำเครื่องโทรศัพท์ หรือ IMEI (ต่อไปขอเรียกว่าหมายเลขอีมี่) ซึ่ง ในกรณีดังกล่าวหมายเลขโทรศัพท์ซึ่งส่งข้อความ และหมายเลขโทรศัพท์ของจำเลยเป็นคนละหมายเลขกัน แต่โจทก์กล่าวอ้างว่ามีหลายเลขอีมี่ตรงกัน กล่าวคือโจทก์กล่าวอ้างว่ามีการส่งข้อความจากโทรศัพท์เครื่องเดียวกันกับของ จำเลย

อย่างไรก็ตามแม้โดยหลักการแล้วหมายเลขอีมี่จะเปรียบเสมือนบัตรประจำตัวประชาชน ซึ่งแต่ละเครื่องจะมีเลขอีมี่ประจำของตนและจะไม่ซ้ำกัน แต่ในทางปฏิบัติซึ่งทราบกันอยู่ทั่วไปว่าหมายเลขอีมี่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้และพยานหลักฐานของโจทก์ก็ยอมรับถึงข้อเท็จจริงดังกล่าว กล่าวคือ

จากบันทึกข้อความในการส่งของกลางตรวจพิสูจน์เอกสารหมายจ.๑๑ ข้อ ๙.๑ ได้ขอให้ตรวจพิสูจน์ว่า โทรศัพท์ของกลางข้อ ๘.๑ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือไม่ หากมีการเปลี่ยนแปลงหมายเลขเดิมเป็นหมายเลขใด

จากคำให้การของพยานโจทก์ปากนายXXXXXXXXXXX เจ้าหน้าที่บริษัท ทรูมูฟ จำกัด หน้าที่ ๓ ได้ให้การว่า ข้าฯเคยได้ยินมาว่ามีการเปลี่ยนหมายเลขอีมี่กลางโดยการจ้างช่างโทรศัพท์เป็นเลขอีมีอย่างอื่นได้ และ อีมี่กลางนั้นสามารถใช้กับโทรศัพท์หลายๆเครื่องได้

จากคำให้การพยานโจทก์พ.ต.อ.XXXXXXXXXXX หน้าที่ ๔ ได้ให้การว่าหมาย เลขอีมี่สามารถให้ช่างเครื่องซ่อมโทรศัพท์มือถือที่เชี่ยวชาญเปลี่ยนได้ ซึ่งจะทำให้หมายเลขอีมี่ที่ถูกเปลี่ยนนั้นไปปรากฏยังฐานข้อมูลของบริษัทผู้ ให้บริการเปลี่ยนแปลงด้วย

รวม ทั้งข้อมูลตามเอกสารหมายล.๖ และล.๗ ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีความแพร่หลายในวิธีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขหมายเลขอีมี่ ทั้งจากข้อมูลในอินเตอร์เน็ตและมีเปิดสอนหลักสูตรในโรงเรียนสอนซ่อมมือถือ ดังกล่าว และข้อความตามเอกสารหมายล. ยังระบุถึงข้อจำกัดของหมายเลขอีมี่ว่า เลขหมายอีมี่สามารถเปลี่ยนใหม่สำหรับเครื่องที่ถูกขโมยมาได้ และ 10% ของหมายเลขอีมี่ก็ไม่ได้มีเอกลักษณ์เฉพาะ

จากพยานเอกสารของโจทก์และคำให้การของพยาน โจทก์ รวมถึงพยานเอกสารของจำเลยที่กล่าวมาข้างต้นย่อมสรุปได้ว่า หมายเลขอีมี่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ โดยสามารถแก้ไขเปลี่ยนเป็นเลขหมายใดก็ได้ และเมื่อแก้ไขเปลี่ยนแปลงแล้วก็จะไปปรากฏยังผู้ให้บริการ ทำให้หมายเลขอีมี่ไม่มีความน่าเชื่อถือเพราะเมื่อหมายเลขอีมี่สามารถแก้ เปลี่ยนแปลงได้ย่อมไม่สามารถที่จะระบุเครื่องโทรศัพท์ได้อย่างแน่นอน การตรวจสอบและเชื่อมโยงการกระทำความผิดจากหมายเลขอีมีจึงไม่มีความน่าเชื่อถือในการนำมาใช้ลงโทษบุคคลใดบุคคลหนึ่งว่ามีการกระทำความผิดได้ เพราะหมายเลขอีมีไม่เหมือนดีเอ็นเอที่สามารถระบุความเป็นตัวตนของเครื่องโทรศัพท์ได้

ประกอบ กับโจทก์ก็ไม่ได้แสดงพยานหลักฐานในการตรวจสอบจากทั้งสามบริษัทของผู้ให้ บริการโทรศัพท์ในประเทศไทย ว่ามีการตรวจสอบแล้วครบทั้งสามบริษัทพบหมายเลขอีมี่ที่ปรากฏใช้เพียงหมายเลข เดียว มีเพียงคำให้การกล่าวอ้างลอยๆว่าได้ทำการแขวนอีมี่กับทั้งสามเครือข่ายผู้ให้บริการ โดยไม่มีพยานหลักฐานใดมาแสดง มีเพียงข้อมูลการใช้โทรศัพท์ของบริษัท ดีแทค จำกัด และบริษัท ทรูมูฟ จำกัด ตามเอกสารหมายจ.๕และจ.๖ เท่านั้น

นอกจากนี้พยานโจทก์ยังให้การขัดแย้งกันเองกล่าวคือพยานโจทก์ปากร.ต.อ.XXXXXXXXXXX พ.ต.อ.XXXXXXXXXXX และพ.ต.ท.XXXXXXXXXXX ได้ให้การว่าตรวจสอบจากทั้งสามบริษัทแล้ว ในขณะที่พ.ต.ท.XXXXXXXXXXXซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนเจ้าของสำนวน ได้ให้การในหน้าที่ ๒ วรรคสุดท้ายว่า คณะทำงานได้มีหนังสือไปยังค่ายดีแทคและค่ายทรูมูฟเพื่อขอข้อมูลเกี่ยวกับการใช้โทรศัพท์ตามเอกสารหมายจ. ๕ และ จ.๖ ซึ่งไม่ได้พูดถึงการตรวจสอบจากบริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอวิส จำกัด แต่อย่างใด และแม้พ.ต.ท.XXXXXXXXXXX จะให้การขัดแย้งกับพยานโจทก์รายอื่นแต่กลับให้การสอดคล้องกับพยานเอกสารซึ่งมีเพียงข้อมูลจากสองบริษัท จึงทำให้คำให้การพยานของพ.ต.ท.XXXXXXXXXXX มีน้ำหนักมากกว่าพยานปากอื่นๆ

เมื่อ โจทก์ก็ไม่ได้แสดงพยานหลักฐานว่ามีการตรวจสอบจากบริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอวิส จำกัด หรือมีหนังสือตอบกลับมาจากบริษัทดังกล่าวว่าไม่มีผู้ใช้บริการของบริษัทดัง กล่าวใช้หมายเลขอีมี่ที่ตรงกับเครื่องซึ่งใช้ส่งข้อความ ทั้งที่การตรวจสอบและการยื่นพยานหลักฐานสามารถกระทำได้โดยง่าย หากโจทก์ได้ทำการตรวจสอบจริงก็สมควรยื่นหลักฐานดังกล่าวเข้ามาเพื่อแสดงความ ชัดเจนและความบริสุทธิ์ใจในการสืบสวน จึงน่าเชื่อว่าการสืบสวนสอบสวนคดีดังกล่าวไม่มีการตรวจสอบจากบริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอวิส จำกัดจริง

นอก จากนี้จำเลยขอเรียนว่าเอกสารข้อมูลการใช้โทรศัพท์ของบริษัททรูมูฟจำกัดตาม เอกสารหมายจ.๖ แผ่นที่ ๖ถึงแผ่นที่ ๑๓ นั้นไม่น่าเชื่อถือ และไม่อาจเรียกว่าเป็นการแขวนอีมี เพราะหากเป็นการแขวนอีมี่นั้น โดย เหตุผลแล้วการตรวจสอบจากบริษัททรูมูฟจำกัด ต้องเริ่มตรวจสอบจากหมายเลขอีมี่ แล้วจึงพบเบอร์โทรศัพท์ของจำเลยใช้คู่กับหมายเลขอีมี่ดังกล่าว แต่จากข้อความในเอกสารหมายจ.๖ แผ่นที่ ๖ ซึ่งมีข้อความว่า ตามที่กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยีมีหนังสือตามที่อ้างถึงให้บริษัท ทรูมูฟ จำกัด (บริษัท)ดำเนินการตรวจสอบข้อมูลการใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่หมายเลข ๐๘๕XXXXXXX๒๗..... แสดง ให้เห็นว่าเป็นการเจาะจงขอข้อมูลจากหมายเลขโทรศัพท์ของจำเลยมาตั้งแต่ต้น โดยที่ยังไม่มีความเชื่อมโยงจากหมายเลขอีมี่เลย และหมายเลขโทรศัพท์ของจำเลยก็ไม่ใช่หมายเลขที่ใช้ในการกระทำความผิด พยานหลักฐานของโจทก์จึงไม่น่าเชื่อถือพอที่จะรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีนี้ ได้ และไม่สามารถใช้ยืนยันได้ว่าในเครือข่ายของบริษัททรูมูฟจำกัดนั้นมีเบอร์โทรศัพท์ซึ่งใช้กับหมายเลขอีมี่นี้หมายเลขเดียว

จำเลยขอเรียนต่อศาลว่านอกจากความไม่น่าเชื่อถือในการนำหมายเลขอีมี่มาตรวจสอบแล้ว โจทก์ยังนำเสนอพยานหลักฐานไม่ครบถ้วนพอที่จะแสดงให้เห็นว่ามีหมายเลขอีมี่ดังกล่าวหมายเลขเดียวที่ใช้ในประเทศไทย การ สืบสวนสอบสวนตามความเชื่อทางทฤษฎีว่าหมายเลขอีมี่เป็นหมายเลขประจำเครื่อง ไม่มีทางซ้ำกันนั้น ทำให้โจทก์ผิดหลงในการสืบสวนสอบสวนมาตั้งแต่ต้น หาก โจทก์ทำการตรวจสอบครบถ้วนจริง โจทก์ก็ต้องแสดงพยานหลักฐานในการตรวจสอบตั้งแต่ต้น แต่โจทก์กลับไม่แสดงพยานหลักฐานให้ศาลสิ้นสงสัยในพยานหลักฐานของโจทก์ได้ มีเพียงคำกล่าวอ้างลอยๆซึ่งขัดแย้งกับพยานหลักฐานของโจทก์เอง

ข้อ ๓.การสืบสวน สอบสวนของเจ้าพนักงานมุ่งไปที่ตัวจำเลยโดยตรง ไม่ได้เชื่อมโยงจากหมายเลขประจำเครื่องโทรศัพท์ (หมายเลขอีมี่) และคำเบิกความของพยานโจทก์ขัดแย้งกับพยานเอกสารอย่างชัดแจ้ง

จำเลย ขออนุญาตชี้ประเด็นให้ศาลพิจารณาว่าคดีนี้มีความผิดพลาดในการสอบสวน สืบสวน มีที่มาของพยานหลักฐานโดยมิชอบ เนื่องจากพยานหลักฐานส่วนใหญ่ในคดีเป็นพยานเอกสาร ซึ่งเอกสารที่ศาลจะสามารถรับฟังได้นั้นต้องมีความถูกต้อง น่าเชื่อถือ แต่พยานหลักฐานของโจทก์กลับขัดแย้งกับคำเบิกความของพยานโจทก์อย่างชัด แจ้งกล่าวคือ

.๑ วันที่ตามพยานเอกสารหมายจ. ๕ และจ.๖ ขัดแย้งกับลำดับขั้นตอนในการสืบสวนสอบสวนตามคำเบิกความของพยานโจทก์

ใน การสืบสวน สอบสวนเชื่อมโยงการกระทำความผิดจากเอกสารหมาย จ.๗ และจากคำให้การพยานโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานได้ให้การตรงกันคือ ในการสืบสวนสอบสวนจะมีลำดับขั้นตอนดังนี้

๑. มีผู้กระทำความผิดซึ่งส่งข้อความโดยเบอร์ ๐๘๑-XXXXXXXXXXX๑๕ ไปยังเบอร์ ๐๘๑ XXXXXXXXXXX๙๙ ของนายสมเกียรติ ครองวัฒนสุข เลขาฯส่วนตัวนายอภิสิทธ์ เวชาชีวะ เป็นจำนวนสี่ครั้งในวันที่ ๙ ,๑๑, ๑๒ และ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๓

๒. ตรวจสอบหมายเลขผู้ส่ง ๐๘๑- XXXXXXXXXXX๑๕ พบว่าเป็นหมายเลขเติมเงินไม่จดทะเบียนของบริษัท DTAC มีหมายเลขเครื่อง(IMEI) ๓๕๘๙๐๖๐๐๐๒๓๐๑๑ ๐ ใช้งานในเขตสมุทรปราการ

๓. ตรวจสอบหมายเลขผู้ส่ง ๐๘๑- XXXXXXXXXXX๑๕ พบว่าไม่มีการใช้งานตั้งแต่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๓

๔. นำหมายเลขประจำเครื่องโทรศัพท์ ๓๕๘๙๐๖๐๐๐๒๓๐๑๑ ๐ ไปตรวจสอบกับผู้ให้บริการโทรศัพท์ทั้งสามบริษัทพบว่า ปัจจุบันเครื่องโทรศัพท์ดังกล่าวใช้กับหมายเลข ๐๘๕XXXXXXXXXXX๒๗ ของบริษัท TRUMOVE จำกัดเป็นหมายเลขไม่จดทะเบียน

๕. พนักงานสอบสวน ตรวจสอบข้อมูลการใช้หมายเลข ๐๘๕ XXXXXXXXXXX๒๗ และสืบจากหมายเลขโทรเข้าออกซึ่งเป็นเบอร์จดทะเบียนของบุตรเขยจำเลย โดยนางxxxxxxxxxxxxxx บุตรสาวจำเลยเป็นผู้ใช้อยู่ ทำให้ทราบว่าหมายเลข๐๘๕ XXXXXXXXXXX๒๗เป็นของนายอำพล XXXXXXXXXXX

จากแผนผังดังกล่าวจะเห็นได้ว่า การตรวจสอบพยานหลักฐานดังกล่าวต้องทำเป็นขั้นตอนตามลำดับ จึงจะสามารถเชื่อมโยงมายังหมายเลขโทรศัพท์ของจำเลยได้ ไม่สามารถกระทำข้ามขั้นตอนลำดับใดลำดับหนึ่งได้

อย่างไรก็ตามข้อเท็จจริงที่ปรากฎในคดีตามเอกสารหมายล.๑ และเอกสารหมาย จ.๑๙ ซึ่งเป็นเอกสารฉบับเดียวกันคือคำให้การของนางxxxxxxxxxxxxxx บุตรสาวจำเลยกลับระบุว่าได้มาให้การต่อเจ้าพนักงานในวันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๕๓ ซึ่งทำให้ทราบว่าผู้ใช้หมายเลขโทรศัพท์ ๐๘๕ XXXXXXXXXXX๒๗ คือนายอำพล XXXXXXXXXXX เมื่อเทียบกับขั้นตอนด้านบนจะเป็นลำดับที่ ๕

การตรวจสอบข้อมูลการโทรหมายเลข ๐๘๑- XXXXXXXXXXX๑๕ จากบริษัทดีแทคจำกัดพบว่าไม่มีการใช้งานตั้งแต่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๓ ตรวจสอบได้ข้อมูลในวันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๓ ตามเอกสารหมาย จ.๕ ซึ่งเป็นลำดับขั้นตอนที่ ๓

ในขณะที่การตรวจสอบข้อมูลการโทรของหมายเลข ๐๘๕ XXXXXXXXXXX๒๗ บริษัททรูมูฟจำกัดได้มีหนังสือแจ้งข้อมูลการโทรของหมายเลขดังกล่าวในวันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ถึงพันตำรวจเอก XXXXXXXXXXX ตามเอกสารหมายจ.๖แผ่นที่ ๖ ซึ่งเป็นลำดับขั้นตอนที่ ๔

การตรวจสอบหมายเลขอีมี่ซึ่งใช้คู่กับหมายเลขโทรศัพท์ ๐๘๑- XXXXXXXXXXX๑๕ กับบริษัทดีแทคจำกัด ในการส่งข้อความพบว่าเป็นหมายเลขอีมี่ ๓๕๘๙๐๖๐๐๐๒๓๐๑๑ ๐ ตรวจสอบได้ในวันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ตามเอกสารหมายจ.๖ แผ่นที่ ๒ ซึ่งเป็นลำดับขั้นตอนที่ ๒

จาก ข้อมูลดังกล่าวซึ่งเป็นพยานหลักฐานของโจทก์เองและพยานโจทก์ทุกปากให้การยอม รับการตรวจสอบตามเอกสารหมายจ.๕และจ.๖ จะพบว่าลำดับขั้นตอนหากนำมาเรียงตามลำดับวันที่แล้วจะได้เป็น

วันที่ ,๑๑,๑๒ และ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๓ ลำดับที่ ๑ มีผู้กระทำความผิดซึ่งส่งข้อความโดยเบอร์ ๐๘๑-XXXXXXXXXXX๑๕ ไปยังเบอร์ ๐๘๑ XXXXXXXXXXX๙๙ ของนายสมเกียรติ ครองวัฒนสุข เลขาฯส่วนตัวนายอภิสิทธ์ เวชาชีวะ เป็นจำนวนสี่ครั้งในวันที่ ๙ ,๑๑, ๑๒ และ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๓

วันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๕๓ ลำดับที่ ๕ พนักงานสอบสวน ตรวจสอบข้อมูลการใช้หมายเลข ๐๘๕ XXXXXXXXXXX๒๗ และสืบจากหมายเลขโทรเข้าออกซึ่งเป็นเบอร์จดทะเบียนของบุตรเขยจำเลย โดยนางxxxxxxxxxxxxxx บุตรสาวจำเลยเป็นผู้ใช้อยู่ ทำให้ทราบว่าหมายเลข๐๘๕XXXXXXXXXXX๒๗เป็นของนายอำพล XXXXXXXXXXX(ยังไม่ทราบหมายเลขอีมี่)

วันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๓ ลำดับที่ ๓ ตรวจสอบหมายเลขผู้ส่ง ๐๘๑-XXXXXXXXXXX๑๕ พบว่าไม่มีการใช้งานตั้งแต่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๓(ยังไม่ทราบหมายเลขอีมี่)

วันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ลำดับที่ ๔

ทราบข้อมูลการโทร ๐๘๕ XXXXXXXXXXX๒๗ จากบริษัททรูมูฟ จำกัด (ยังไม่ทราบหมายเลขอีมี่)

วันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ลำดับที่ ๒ ตรวจสอบหมายเลขผู้ส่ง ๐๘๑- XXXXXXXXXXX๑๕ พบว่าเป็นหมายเลขเติมเงินไม่จดทะเบียนของบริษัท DTAC มีหมายเลขเครื่อง(IMEI) ๓๕๘๙๐๖๐๐๐๒๓๐๑๑ ๐ ใช้งานในเขตสมุทรปราการ (ทราบหมายเลขอีมี่)

กล่าวคือหากเรียงตามลำดับวันที่เอกสารของโจทก์แล้ว โจทก์ใช้วิธีการดำเนินการสอบสวนตามลำดับคือ -๕-๓-๔-๒ ซึ่งขัดแย้งกับลำดับขั้นตอนที่โจทก์กล่าวอ้างว่าได้ดำเนินการตามขั้นตอน ๑-๒-๓-๔-๕ ดังนั้นในวันที่ เจ้าหน้าที่ได้ทำการสอบปากคำนางXXXXXXXXXXX บุตสาวจำเลยเจ้าหน้าที่ตำรวจยังไม่ทราบหมายเลขอีมี่ซึ่งใช้เชื่อมโยงเครื่อง ที่ใช้กระทำความผิดเลย แม้กระทั่งวันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๔ ซึ่งทางบริษัทดีแทคจำกัดแจ้งข้อมูลการโทรของหมายเลขโทรศัพท์ ๐๘๑XXXXXXXXXXX๑๕ ที่ใช้กระทำความผิดมา ก็ยังไม่ทราบหมายเลขอีมี่จนทางดีแทคต้องตรวจสอบและแจ้งหมายเลขอีมี่ในวันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๓ อีกทั้งหนังสือตอบกลับของบริษัททรูจำกัด ในวันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ตามเอกสารหมายจ.๖ แผ่นที่ ๖ นั้นก็เป็นการสอบถามจากหมายเลข ๐๘๕ XXXXXXXXXXX๒๗ ของจำเลยไม่ได้ตั้งต้นจากหมายเลขอีมี่ซึ่งการจะตรวจสอบจากบริษัททรูมูฟ จำกัดนั้นจำเป็นต้องทราบหมายเลขอีมี่ก่อนจึงจะทำการตรวจสอบได้ แต่เอกสารดังกล่าวชี้ให้เห็นว่ามีการตรวจสอบจากหมายเลขของจำเลยซึ่งไม่ใช่ หมายเลขในการส่งข้อความโดยตรง พยานหลักฐานดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าการสืบ สวนสอบสวนมุ่งโดยตรงมาที่จำเลยตั้งแต่ต้นโดยไม่ได้ตรวจสอบมาจากอีมี่ตั้งแต่ แรกตามที่โจทก์กล่าวอ้าง

จำเลย ขอเรียนว่าเอกสารตามหมายจ.๖ แผ่นที่ ๖ – ๑๓ ซึ่งเป็นข้อมูลการใช้โทรศัพท์ของจำเลยเป็นเอกสารฉบับแรกในคดีนี้ที่มีหมาย เลขอีมี่ปรากฏในวันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๕๓ และปรากฏโดยไม่มีความเชื่อมโยงกับหมายเลขที่ใช้ในการกระทำความผิดมาก่อนเพราะเป็นหมายเลขอีมี่ที่ปรากฏจากเบอร์ของจำเลย ในขณะที่ตามบันทึกคำให้การผู้ให้ถ้อยคำนางxxxxxx xxxxxxxx วันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๕๓ เอกสารหมายจ.๑๙ ก็ไม่ปรากฏหมายเลขอีมี่ ประกอบกับบันทึกคำให้การในชั้นสอบสวนXXXXXXXXXXXเจ้าหน้าที่บริษัทดีแทคจำกัด ลงวันที่ ๒๐กรกฎาคม ๒๕๕๓ เอกสารหมายจ.๑๖ ซึ่งเป็นผู้ตรวจสอบข้อมูลการใช้โทรศัพท์หมายเลข ๐๘๑ XXXXXXXXXXX๑๕ ที่ใช้ในการกระทำความผิดและเป็นพยานปากสำคัญที่จะใช้เชื่อมโยงหมายเลขอีมี่ ไปถึงหมายเลขอีมี่เครื่องจำเลยได้ แต่กลับไม่ปรากฏคำให้การในชั้นสอบสวนที่กล่าวถึงหมายเลขอีมี่อันจะเชื่อมโยง ไปถึงจำเลยได้ แต่กลับปรากฎการแจ้งหมายเลยอีมี่ของเบอร์โทรศัพท์ ๐๘๑ XXXXXXXXXXX๑๕ ในวันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๓ เอกสารหมาย จ.แผ่นที่ ๒ ตามที่จำเลยได้เรียนแล้วนั้น จะเห็นได้ว่าพยานหลักฐานอื่นๆซึ่งเชื่อมโยงหมายเลขอีมี่จากบริษัทดีแทคจำกัด ไปยังหมายเลขอีมี่ของจำเลยล้วนเกิดขึ้นหลังเจ้าหน้าที่ได้ทราบหมายเลขอีมี่ ของจำเลยแล้วทั้งสิ้น

ดัง นั้นจะพยานหลักฐานที่โจทก์นำมาใช้พิสูจน์ว่าจำเลยกระทำความผิดหมายจ. ๕ และจ.๖ซึ่งพยานโจทก์ทุกปากให้การตามเอกสารดังกล่าว ขัดแย้งกับคำให้การพยานโจทก์เองอย่างชัดแจ้ง พยานหลักฐานดังกล่าวจึงไม่น่าเชื่อถือ และเป็นไปไม่ได้ตามหลักของเหตุผลที่โจทก์ใช้ในการตรวจสอบและไม่อาจรับฟังได้ ว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้องจริง

.๒ พยานหลักฐานโจทก์ เอกสารหมายจ.๖ แผ่นที่ ๒ ไม่ได้ระบุเอกสารแนบและระบุเลขวันที่ใช้ในการตรวจสอบหมายเลขอีมี่ผิดจากวันที่ส่งข้อความ

กล่าวคือพยานเอกสารหมายจ.๖ แผ่นที่ ๒ ซึ่งเป็นหนังสือแจ้งผลการตรวจข้อมูลโทรศัพท์จากบริษัทดีแทคจำกัดถึงพ.ต.อ.XXXXXXXXXXXในวันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๓ นั้น ระบุว่า ทางบริษัทได้แจ้งข้อมูลการโทรให้ทราบแล้ว แต่ยังมีประเด็นเรื่องรหัสประจำเครื่อง(IMEI)ที่ขณะนั้นยังไม่สามารถตรวจสอบได้ บริษัทได้ทำการตรวจสอบแล้วพบว่าในช่วงวันที่ ๑๐-๑๕ มิถุนายน ๒๕๕๓ โทรศัพท์เคลื่อนที่หมายเลข ๐๘๑XXXXXXXXXXX๑๕ ใช้คู่กับโทรศัพท์(IMEI)หมายเลข ๓๕๘๙๐๖๐๐๐๒๓๐๑๑ ๐

ซึ่งมีข้อสังเกตว่าเหตุใดทางบริษัทจึงไม่สามารถตรวจสอบได้ และวันที่ตามหนังสือดังกล่าวก็ไม่ตรงกับวันทีเกิดเหตุ ในเรื่องนี้แม้XXXXXXXXXXX เจ้าหน้าที่ธุรการฝ่ายกฎหมายและXXXXXXXXXXX ผู้จัดการฝ่ายกฎหมายให้การว่าเป็นเรื่องผิดหลง แต่หนังสือฉบับดังกล่าวกลับข้อพิรุธถึงสามจุดคือ

๑. ผิดหลงในเรื่องการตรวจสอบ ซึ่งหากในคราวแรกไม่ได้ตรวจสอบ หนังสือฉบับนี้ควรแจ้งให้ถูกต้องไม่ใช่แจ้งว่าไม่สามารถตรวจสอบได้

๒. ระยะเวลาในการตรวจสอบของหนังสือดังกล่าวเป็นช่วงเดือนมิถุนายนไม่ตรงกับระยะเวลาที่เกิดเหตุในช่วงเดือนพฤษภาคม

๓. หนังสือดังกล่าวเป็นเพียงการแจ้งหมายเลขอีมี่ไม่ได้ระบุว่ามีเอกสารแนบเป็นข้อมูลการโทร

ซึ่งโดยหลักแล้วพยานเป็นเจ้าหน้าที่และผู้จัดการฝ่ายกฎหมายทำงานมาเป็นระยะเวลานาน การ ทำการตรวจสอบดังกล่าวเกี่ยวข้องกับกฎหมายและเสรีภาพของบุคคล พยานย่อมต้องมีความระมัดระวังรอบคอบในการทำงาน แต่หนังสือดังกล่าวกลับมีข้อพิรุธถึงสามจุด อีกทั้งเอกสารหมายจ.๕ ที่พยานได้แจ้งผลการตรวจสอบมาในคราวแรกนั้นก็ไม่มีการเซ็นรับรองพยานเอกสาร ซึ่งต่างจากเอกสารแนบในการส่งมาครั้งที่สองนั้นมีการเซ็นรับรอง แสดงให้เห็นถึงการทำงานซึ่งไม่อาจเป็นมาตราฐาน ไม่มีความน่าเชื่อถือของพยานโจทก์ และไม่อาจทำให้จำเลยเชื่อได้ว่าหนังสือดังกล่าวทำขึ้นมาด้วยความสุจริตจริง

ข้อ ๔. โจทก์ไม่มีประจักษ์พยานหรือพยานเอกสารใดสามารถยืนยันว่าจำเลยเป็นคน กดข้อความและส่งข้อความตามที่โจทก์กล่าวอ้างเลย

จำเลยขอเรียนต่อศาลว่านอกจากพยานเอกสารของโจทก์น่าสงสัย และขัดแย้งกับคำให้การของพยานโจทก์เองแล้ว โจทก์ ยังไม่มีพยานหลักฐานใดที่จะแสดงได้ว่าจำเลยเป็นคนกดข้อความ หรือส่งข้อความดังกล่าวไม่มีพยานเอกสารหรือพยานบุคคลใดยืนยันได้ว่าจำเลย ซึ่งอายุหกสิบเอ็ดปีแล้ว สามารถส่งข้อความได้ มีเพียงพยานเอกสารซึ่ง พยายามเชื่อมโยงว่าเครื่องโทรศัพท์ที่ใช้ส่งข้อความความและเครื่องโทรศัพท์ ของจำเลยเป็นเครื่องเดียวกัน จำเลยได้เรียนให้ศาลพิจารณาถึงความไม่น่าเชื่อถือของเอกสารดังกล่าวแล้ว และโจทก์ก็ไม่พบเบอร์โทรศัพท์ที่ใช้กระทำความผิดที่จำเลย ประกอบกับคำให้การพยานโจทก์นายXXXXXXXXXXX เจ้าหน้าที่บริษัททรู หน้าที่สาม บรรทัดที่ ๑๒ ยังให้การต่อศาลว่า จากข้อมูลการใช้โทรศัพท์หมาย จ.๖ แผ่นที่ ๗ ถึง ๑๔ ไม่ปรากฎว่ามีการส่งข้อความ sms จากเครื่องโทรศัพท์ดังกล่าว และจากบันทึกคำให้การนางxxxxxxxxxxxxxxx วันที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๕๓ เอกสารหมาย จ.๒๑ แผ่นที่ ๓ บรรทัดที่ ๖ยังให้การต่อพนักงานสอบสวนว่าพยานทราบว่านายอำพลฯส่งข้อความไม่เป็น และไม่เคยเห็นว่านายอำพลส่งข้อความ ซึ่งตรงกับคำให้การพยานจำเลยเด็กหญิงXXXXXXXXXXXในหน้าที่ ๒ ซึ่งให้การว่า ข้าฯไม่เคยเห็นจำเลยส่งข้อความให้กับผู้ใด และจำเลยปฏิเสธว่าไม่ได้กระทำความผิดมาตั้งแต่ต้น ตั้งแต่ชั้นจับกุม สอบสวนและชั้นพิจารณา พยาน หลักฐานดังกล่าวย่อมแสดงให้ศ่าลเห็นว่าไม่เพียงจำเลยไม่ใช่ผู้กระทำความผิด แต่ไม่มีความสามารถในการกระทำความผิดด้วยซ้ำเนื่องจากจำเลยไม่สามารถส่งข้อ ความได้

นอก จากนี้โจทก์ยังไม่มีหลักฐานใดที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยเป็นบุคคลที่ก้าวร้าว ไม่จงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ มีมูลเหตจูงใจในการกระทำความผิด มีเพียงพยานหลักฐานซึ่งขัดแย้งกันเอง ไม่น่าเชื่อถือ นำมากล่าวอ้างว่าจำเลยกระทำความผิดต่อพระมหากษัตริย์จึงเป็นการกล่าวหาอย่าง ร้ายแรงและไม่สามารถรับฟังเป็นพยานหลักฐานเพื่อลงโทษจำเลยได้

ใน ทางตรงกันข้ามจำเลยไม่เคยมีประวัติอาชญากร มีความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์และแสดงออกโดยไปลงนามถวายพระพรอยู่ เสมอทุกครั้งที่มีโอกาส รวมทั้งได้ไปร่วมงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้า ฟ้ากัลยานิวัฒนาด้วย ซึ่งตรงกับคำให้การพยานจำเลยเด็กหญิงxxxxxxxxxxxxxx หลานสาวของจำเลยซึ่งจำเลยเคยพาไปลงนามถวายพระพรที่โรงพยาบาลศิริราชให้การยืนยันตามคำให้การหน้าที่ ๑ ว่า จำเลยเคยพาข้าฯไปถวายพระพรพระเจ้าอยู่หัวที่โรงพยาบาลศิริราช ในช่วงปิดเทอมปี ๒๕๕๒

ด้วย เหตุผลที่กล่าวมาข้างต้นถึงความไม่น่าเชื่อถือของพยานโจทก์ซึ่งให้การขัด แย้งกับพยานเอกสาร และพยานเอกสารของโจทก์ซึ่งขัดแย้งกันเอง และเป็นไปไม่ได้โดยหลักของเหตุผลที่จะใช้ในการตรวจสอบ การ สอบสวนที่มุ่งโดยตรงมาที่จำเลยตั้งแต่ต้นประกอบกับพฤติการณ์และความเป็นไป ได้ที่จำเลยจะกระทำความผิดซึ่งไม่สามารถมีได้เลย จำเลยจึงขอให้ศาลพิจารณาข้อเท็จจริงด้วยหลักการของเหตุผลดังกล่าว และโปรดพิจารณาปล่อยจำเลยไป

ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด

ลงชื่อ จำเลย

คำร้องฉบับนี้ข้าพเจ้านางสาวพูนสุข พูนสุขเจริญ ทนายความจำเลยเป็นผู้เรียงและพิมพ์

ลงชื่อ ผู้เรียงและพิมพ์