WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, December 17, 2011

น้ำลด.....หนาวมา.....ได้เวลาประชาธิปไตยต้องเติบโต

ที่มา thaifreenews

โดย vinitaya

น้ำลด.....หนาวมา....ได้เวลาประชาธิปไตยต้องเติบโต

น้ำลดลงลาจากฝากความทุกข์
ทุกหย่อมย่านไร้สุขคนทุกข์หมอง
มีแต่ซากเสียหายมากมายกอง
ความหม่นหมองยังมีจากนี้คน

ทุกข์ตกงานน้ำพามาให้เศร้า
ทุกข์ถูกเขาทวงหนี้ชีวีผล
ทุกข์เดือดร้อนนาไร่ให้อับจน
ทุกข์จากผลซ่อมบ้านงานต้องทำ

พอน้ำลาไหลลดใกล้หมดแล้ว
ลมหนาวแจ้วพัดพามากระหน่ำ
อากาศหนาวหนักเหน็บเจ็บระกำ
เพิ่มชอกช้ำจำทนทุกข์คนมี

เดือนธันวาการเมืองกลับเรืองร้อน
ผูกเงื่อนซ้อนเล่ห์ร้ายหลายวิถี
คิดแข่งขับหนุนเนื่องสร้างเรื่องมี
ทั้งสองขั้วหาวิธีบดบี้กัน

ถึงวันนี้ไม่มีใครฝ่ายไหนแพ้
ยังเล่นแง่สร้างเงื่อนเชือดเฉือนนั่น
ทั้งรับรุกบุกเร้าเข้าใส่กัน
เพื่อหาทางฟาดฟันให้บรรลัย

ฝ่ายอำมาตย์มิได้หงอยังต่อสู้
ยังรออยู่หาทางสร้างเงื่อนไข
จะหวนคืนฟื้นกลับปรับเปลี่ยนไทย
ประชาธิปไตยทุกด้านก็ต้านตี

จึงเป็นเรื่องเป็นราวยุ่งยาวแย่
ไม่มีใครไหนแพ้จนหลีกลี้
ต่างระงับจับจ้องมองวิธี
รอเวลาบดขยี้ให้ยับเยิน

สงครามเย็นเล่นเอาเถิดจึงเกิดถี่
วางระเบิดเกิดทุกที่ไม่ห่างเหิน
เป็นแง่ปมข่มกันมันเหลือเกิน
พาชาติเดินสะดุดต้องทรุดหนัก

ต้องนำคำโบราณมาขานกล่าว
ตีงูนั้นเขาเล่าอย่าหลังหัก
ตีให้ตายดับสิ้นอย่าดิ้นชัก
งูแว้งวักกัดเราเอาจนตาย

พอได้ทีอย่าถอนอย่าผ่อนพัก
ต้องรุกหนักแนวทางอย่าห่างหาย
ตีวงล้อมครอบคลุมอย่าเพิ่งคลาย
เพิ่มขยายฐานรุกทุกแนวทาง

ต้องกำราบปราบให้สิ้นอย่าเหลือเสี้ยน
ตัดให้เตียนอย่าเหลือตอมาก่อสร้าง
ขุดทั้งรากถากทั้งโคนอย่าโค่นกลาง
เพื่อถางทางประชาธิปไตยให้เติบโต

วินิตยา
17/12/2554


Re:

โดย BBBBB

ถ้าคิดว่า มีคนไทย ไว้เหยียบเล่น
ถ้าคิดเด่น มองดูซี ผีตาโบ๋
ออกมาหา ยุติธรรม คำที่โว
ปีกว่าโม้ พึ่งจะลง ส่งสำนวน

ถึงวันนี้ คนที่ตาย และคนเจ็บ
ยังหนาวเหน็บ ฝังใน ใจยังป่วน
โดยตราหน้า”ก่อการร้าย” โดยไม่ควร
เร่งทบทวน หาคนผิด มาติดคุก

ไอ้ที่กราด สาดโคลน โดนจับขัง
แล้วก็ยัง โดนขึงคา น่าเจ็บจุก
ขอได้โปรด เร่งทำการ งานเชิงรุก
ให้พ้นทุกข์ เพราะคดี ป้ายสีกัน

น่าทุเรศประเทศไทย ได้เดินหน้า
แต่บรรดา พรรคเก่ายุด ฉุดอยู่นั่น
ยุติธรรม ดำดินหาย ตายตามกัน
ประชาธิปไตย อยู่ในฝัน แค่นั้นเอง

Re:

โดย ลูกชาวนาไทย



ผมเขียนกลอนไม่เป็น

แต่ประชาธิปไตย เติบโตจากจิตสำนึกในใจคนครับ
ใจคนก็เหมือนกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ AI
พัฒนาขึ้นโดยการเรียนรู้และปรับพฤติกรรม
หากเกิดการเรียนรู้และปรับพฤติกรรมไปแล้ว
ยากที่จะ Uninstall ย้อนกลับไปสู่สภาพก่อนหน้านั้นได้

วันนี้อยากเป็นประชาธิปไตยหรือไม่ มันก็เป็น
ไม่อยากเป็นก็ขัดขวางมันไม่ได้
แต่ทุกสิ่งทุกอย่างไม่ได้เปลี่ยนชั่วข้ามคืน
การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ตั้งแต่ปี 2549
ผ่านวันนี้มาก็ 5 ปีกว่าแล้ว จิตสำนึกคนเปลี่ยนไปมาก

แน่นอน ยังเปลี่ยนไม่หมด แต่ "ลิงตัวที่ร้อย"
ได้เปลี่ยนพฤติกรรมไปแล้ว

ในที่สุดลิงทั้งฝูงก็จะเปลี่ยนตาม
วันนี้ ใครจะดึงสังคมกลับไปสู่ยุคบูชาเทพ
คงไม่สำเร็จแล้ว


บันทึกการเข้า

Long live the people !, long live democracy !

รณรงค์ปล่อยตัวอากง เชียงใหม่ 14-12-2011

ที่มา thaifreenews

โดย bozo

speedhorse


กิจกรรมรณรงค์..ปล่อยตัว.. อากงSMS และนักโทษการเมือง
โดย..แดงเยอรมัน แดงเชียงใหม่ และทนายอานนท์ นำภา
วันพุธที่ 14 ธันวาคม 2554 เวลา 20.00 น.
ณ ลานอนุเสาวรีย์สามกษัตริย์ มีกิจกรรม ปล่อยโคมลอย 112 โคม
ถ่ายทอดสดโดย คุณไทย-สุริยะ เชียงใหม่




http://speedhorse.blogsite.org/read.php?tid=830

รู้เขา รู้เขา 16-12-2011

ที่มา thaifreenews

โดย bozo

speedhorse



http://speedhorse.blogsite.org/read.php?tid=829

ชูธง 16-12-2011

ที่มา thaifreenews

โดย bozo

speedhorse



http://speedhorse.blogsite.org/read.php?tid=823

วันแรงงานข้ามชาติสากล: ก้าวพ้นความเป็น "ชาติ" สู้เพื่อความยุติธรรม เสมอภาค และประชาธิปไตย

ที่มา ประชาไท

วันที่ 18 ธันวาคม ของทุกปี ถือเป็นวัน “วันแรงงานข้ามชาติสากล” (International Migrant Day) เป็นวันที่ทางองค์การสหประชาชาติได้จัดทำอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน ข้ามชาติและครอบครัว ค.ศ. 1990 เพื่อให้แรงงานข้ามชาติในประเทศต่างๆ ได้รับการคุ้มครองสิทธิทั้งสิทธิมนุษยชนและสิทธิเป็นแรงงาน
ปฎิเสธไม่ได้ว่า ระบบทุนนิยมที่ขยายตัวทั่วโลก ได้สร้างพลังแรงงานที่มีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนสร้างสรรพสิ่งต่างๆให้ สังคมมีความก้าวหน้าขึ้น
อย่างไรก็ตาม ชีวิตของผู้ใช้แรงงานจำนวนมากกลับประสบกับชะตากรรมของชีวิตที่ยากลำบากยาก เข็ญ ต้องทำงานหนัก จำเจ ซ้ำซากน่าเบื่อหน่าย มีชั่วโมงการทำงานที่มากกว่าแปดชั่วโมง ไม่มีวันหยุดพักผ่อน แสวงหาความรู้ ไร้หลักประกันความมั่นคงของงาน ค่าจ้างขั้นต่ำต่ำกว่าค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ไร้สวัสดิการพื้นฐาน และมีอำนาจต่อรองไม่มากนัก
อีกด้าหนึ่ง “แรงงาน” จึงกลายเป็น”สินค้า” เป็นกลจักรหนึ่งหรือหุ่นยนต์ของระบบทุนนิยม มากกว่าความเป็น “มนุษย์”
……………
“วันแรงงานข้ามชาติสากล” ได้ให้ความหมายว่า แรงงานจำนวนมากในโลกใบนี้ได้เคลื่อนตัวข้ามเหนือความเป็น “ชาติ” เช่นเดียวกับ ทุน ที่ “ไร้พรมแดน” “ไร้สัญชาติ” เพื่อกำไรสูงสุด เพื่อสะสมทุนและขยายทุน (จึงมีนายทุนไทยไปลงทุนต่างประเทศ และนายทุนต่างประเทศมาลงทุนในประเทศไทยจำนวนไม่น้อย)
ขณะที่ความเป็น “ชาติ” (ที่คลั่งชาติ ) กลายเป็นวาทกรรมที่ครอบงำประชาชนในประเทศหรือรัฐชาติต่างๆ ด้านหนึ่งเพื่อสร้างความยิ่งใหญ่ของชาติตนเอง ด้านหนึ่งกลับสร้างความเหยียดยาม ดูหมิ่น ดูถูกชาติอื่นๆ มาแต่ยุคสมัยโบราณกาลก่อน
“ความเป็นไทย” เป็นส่วนประกอบหนึ่งของอุดมการณ์ชาตินิยมของรัฐไทย ที่ปลูกฝังประชาชนให้จงเกลียดจงชังประเทศเพื่อนบ้าน มองเป็นดั่ง”ศัตรู” “เป็นอื่น” ผู้รุกราน สร้างความแตกแยก ทำลายความรักความสามัคคีของคนในชาติ ผ่านสื่อสารมวลชน เพลง ละคร ภาพยนตร์ วรรณกรรม เรื่องเล่า สัญญลักษณ์ต่างๆ ฯลฯ และที่สำคัญหลักสูตรประวัติศาสตร์ชาติไทยฉบับทางการ เพื่ออำนาจของผู้ปกครอง โดยเฉพาะพวกอำมาตย์ขุนนางศักดินา
“ความเป็นชาติ” ของรัฐไทย ยังมีความหมายที่คับแคบ ไม่ให้ความสำคัญความหมายกับประชาชน โดยเฉพาะประชาชนที่ถูกกดขี่ เสียเปรียบในสังคม รวมถึงผู้ใช้แรงงานซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ และเป็นลูกหลานของไพร่ในสมัยก่อนระบบทุนนิยม มิพักพูดถึงแรงงานข้ามชาติในสังคมไทยซึ่งมีพื้นที่ทางสังคมอยู่น้อยนิด
อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ใช้แรงงานแล้ว “ชาติ” จึงควรหมายถึงมนุษยชาติ ประชาชนผู้ถูกกดขี่ทั่วโลก หาใช่ความคลั่งชาติ แต่เป็นจิตสำนึกทางสากล
………………..
การพัฒนาทุนนิยมสังคมไทยที่มีอำนาจนอกระบบ เหนือรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งนั้น มีผู้ใช้แรงงานข้ามชาติที่เข้ามาทำงานและมักเป็นงานที่คนไทยเองขาดแคลน จำนวนประมาณกว่า 3 ล้านคน โดยเฉพาะแรงงานที่อพยพหนีการกดขี่ข่มเหงจากอำนาจเผด็จการทหารพม่า
ปฏิเสธไม่ได้ว่า เป็นพลังแรงงานส่วนสำคัญในการพัฒนาสังคมไทย และไม่ต่างจากที่แรงงานไทยอพยพไปทำงานต่างประเทศเช่น แถบประเทศตะวันออกกลางที่มีแรงจูงใจทางเศรษฐกิจที่ดีกว่าทำงานในเมืองไทย
แต่ชีวิตแรงงานข้ามชาติจำนวนไม่น้อยในสังคมไทย กลับถูกกดขี่เอารัดเอาเปรียบจากนายจ้าง นายทุนไทยบางคน และข้าราชการบางหน่วยบางคนในรูปแบบต่างๆ ที่สำคัญกฎหมายแรงงานที่ล้าหลังไม่ยอมให้แรงงานข้ามชาติมีส่วนร่วมในสิทธิ ขั้นพื้นฐานของแรงงานตั้งสหภาพแรงงานและเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานได้ ภายใต้การครอบงำอุดมการณ์ความเป็นชาติไทยที่สร้างความดูถูกดูแคลนแรงงาน ข้ามชาติ (แต่จำเป็นต้องมีแรงงานข้ามชาติ)
ขณะที่แรงงานไทยก็โดนกดขี่เอารัดเอาเปรียบจากนายทุนไทยและนายทุนต่าง ประเทศเช่นกัน โดยที่กฎหมายแรงงานล้าหลังและเข้าข้างทุนมากกว่าผู้ใช้แรงงาน หรือ “รัฐรับใช้ทุน” มากกว่า “ผู้ใช้แรงงาน”
อย่างไรก็ตาม ภายใต้การต่อสู้ของผู้ใช้แรงงานข้ามชาติและแรงงานไทย เพื่อความยุติธรรมในด้านต่างๆ โดยเฉพาะปัญหาเฉพาะหน้า ปัญหาทางเศรษฐกิจปากท้องในชีวิตประจำวัน ปัญหาทางกฎหมาย/นโยบายต่อแรงงาน นั้น
ผู้ใช้แรงงานซึ่งเป็นส่วนสำคัญของสังคมไทย และมีจำนวนมากที่สุด ต้องมีส่วนร่วมในการต่อสู้เพื่อให้สังคมไทยเป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ ต้องปกป้องสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐาน และขยายสิทธิเสรีภาพให้มากขึ้น สร้างความเสมอภาคในสังคมด้วยเช่นกัน
ตลอดทั้งลดทอนอำนาจนอกระบบที่มีอำนาจเหนือรัฐบาลมาจากการเลือกตั้งของ ประชาชนและกลุ่มทุนล้าหลังอนุรักษ์นิยมสนับสนุนอยู่ (รวมทั้ง สมาคมอุตสาหกรรม นายจ้าง หอการค้า ธนาคาร ฯลฯ ซึ่งเป็นกลุ่มที่ออกมาคัดค้านนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทของรัฐบาลยิ่งลักษณ์)
ภายใต้บริบทเงื่อนไขทางประวัติศาสตร์ที่ดำรงอยู่จริงปัจจุบัน ผู้ใช้แรงงานทั้งไทยและแรงงานข้ามชาติต้องร่วมมือกับชนชั้นต่างๆ กลุ่มต่างๆ ในสังคมไทย ผู้รักประชาธิปไตยทั้งหลาย เฉกเช่นการต่อสู้ของผู้ใช้แรงงานในโลกอาหรับปัจจุบัน และประวัติศาสตร์การต่อสู้ของผู้ใช้แรงงานโลกตะวันตก
เพื่อความก้าวหน้าของสังคมไทย และเพื่อสร้างเงื่อนไขที่ดีกว่าในการต่อสู้ของผู้ใช้แรงงานในอนาคต

"การพยากรณ์" กับ "สังคมไทย"

ที่มา ประชาไท

ความเชื่อเป็นสิ่งที่อยู่กับสังคมไทยมาช้านาน อาจจะด้วยสาเหตุใดก็แล้วแต่ แต่เราก็ต้องยอมรับว่ามันไม่สามารถแยกออกได้เลยกับชีวิตประจำวันของเรา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เมื่อคุณเดินทางไปที่ใดก็แล้วแต่ในบ้านเมืองเราสัญลักษณ์ที่แสดงถึงสิ่ง ต่างๆเหล่านี้มีอยู่ทุกแห่ง เช่น เมื่อคุณเดินทางไปตามท้องถนนมีผ้าสามสีที่ผูกไว้เต็มต้นไม้ราวกับว่าจะไม่ ให้มันหายใจ บ้านหลังเล็กๆเสาเดียวที่เต็มไปด้วยของเส้นไหว้ หรือแม้แต่ชุดไทยต่างๆนาๆแขวนเรียงรายจนคิดว่าชาตินี้ก็ใส่ไม่หมด เป็นต้น
แน่ล่ะว่า เมื่อพูดถึงเรื่องนี้ คนบางคนอาจจะเชื่ออย่างแรงกล้าและไม่มีความสงสัยกับสิ่งที่เกิดขึ้น ประหนึ่งราวกับว่านี่มันคือชีวิต นี้มันคือเรื่องธรรมดาเท่านั้น นี่คือความจริงที่ไม่จำเป็นต้องแทนที่ด้วยคำอธิบายอื่นใดแล้ว เอาเข้าจริงการเชื่อเรื่องนี้ก็มิได้ทำให้ใครเดือดร้อน แถมบางทีอาจจะทำให้รวยไม่รู้ตัวก็เป็นได้ในบางกรณี
เมื่อเรากล่าวถึง ความเชื่อ ก็คงหนีไม่พ้นที่จะเกี่ยวพันไปถึงคำว่า การพยากรณ์ หรือ ดูดวง ตามภาษาชาวบ้านเป็นแน่ เสียงที่ก้องกังวานอยู่ในหูทุกผู้ทุกคน เช่น “ เมื่อไรกูจะรวย ความรักเป็นไง ทำอย่างนี้ดีไหม อนาคตเป็นอย่างไร ” นี่คือคำพูดของชาวบ้าน บุคคลทั่วไปซึ่งไม่ต้องบอกก็รู้ว่าเป็นคำถามเบื้องต้นที่ถามต่อผู้พยากรณ์ หรือ “ หมอดู ” ตามแบบไทยๆ
ในวันที่หลายคนเชื่อมันด้วยความบริสุทธิ์ใจ โดยที่ไม่จำเป็นต้องหาเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ใดๆมาอธิบายให้เสียเวลา ข้าพเจ้ากลับมานั่งคิดว่าสิ่งต่างๆเหล่านี้มันเกิดจากอะไรเล่า ทำไมสิ่งเหล่านี้มันจึงมีอำนาจเหนือหลายๆคน ไม่ว่าคนที่ไม่มีการศึกษา จนถึงการศึกษาสูง แม้แต่คนจนไปถึงคนรวยก็ตาม เช่น บริษัทอาหารยักษ์ใหญ่กลับเลือกที่พิจารณารับพนักงานเข้าทำงานจากโหงวเฮ้ง มากกว่าความสามารถ เป็นต้น
ดังนั้น บทความชิ้นนี้ ข้าพเจ้าจะมองข้ามความเชื่อแบบเดิมๆโดยมาดูว่าเหตุใดการ พยากรณ์ จึงมีบทบาทอย่างมาก ในสังคมแห่งนี้
ความเป็นมาในอดีต
การเกษตรไทย กับ การพยากรณ์
นี่คือจุดเริ่มก็ได้ที่ข้าพเจ้าจะนำมากล่าวถึง ในสมัยก่อนการเกษตรมิได้มีความรู้จักกับคำว่า อุตุนิยมวิทยา การไปทำการเกษตรนอกบ้านแต่ละครั้งมิได้มีสื่อที่จะคอยบอกอย่างปัจจุบันนี้ แต่มันทำอย่างไรเล่า กล่าวคือ
เมื่อสมัยก่อนคนจะออกไปทำนานั้นทำอย่างไร เขาก็คงมองฟ้าก่อนว่า มืด หรือ สว่าง มืดก็แปลว่า ฝนจะตกก็คงมิต้องออกไปทำนาให้เสียเวลา
ดังนั้น จะเห็นได้ว่า การเกษตรเป็นพื้นฐานสำคัญในการประกอบอาชีพของประชากรไทยการที่ไม่มี เทคโนโลยี และเป็นประเทศที่ล้าหลัง ก็คงต้องใช้สิ่งเหล่านี้นี่เองในการดำเนินชีวิตการพึ่งตัวเองเป็นหนทางที่ดี ที่สุด ฉะนั้นอาจจะกล่าวได้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นน่าจะมาจากสิ่งต่างเหล่านี้เป็นพื้น ฐาน
สงคราม กับ การพยากรณ์
หากเราได้ศึกษาประวัติศาสตร์จะพบว่า การทำศึกสงครามแต่ละครั้งนั้น การพยากรณ์ เป็นสิ่งที่สำคัญมาก การออกรบของพระมหากษัตริย์ในสมัยก่อน พระมหากษัตริย์จะปรึกษากับท่านปูโลหิตให้นำโหรมาทำนาย เป็นต้นว่า จะออกรบเมื่อไร ชนะหรือไม่ เวลาใด ดังนั้นอาจจะกล่าวได้ว่า ใช้โหรนำหน้าการต่อสู้ ทั้งๆที่การชนะหรือแพ้ของการรบมันขึ้นอยู่กับการวางแผนและความสามารถของ เหล่าทหารกล้าทั้งหลายมากกว่าที่จะบอกให้ก้าวเท้าซ้ายก่อนออกจากบ้านจะทำให้ เจ้าโชคดีและได้รับชัยชนะกลับมา
แน่ล่ะว่า การที่เป็นเช่นนี้คงอาจจะเป็นเพราะว่า ไม่มีแหล่งยึดเหนี่ยวและสร้างความเชื่อมันให้กับตัวเอง เมื่อกษัตริย์ให้ความเชื่อมั่นแก่ทหารกล้า แล้วตัวกษัตริย์เองเล่าจะหาความเชื่อมันจากใคร นอกจาก ตามคำแนะนำของโหรผ่านท่านปูโลหิต อย่างน้อยก็ทำให้รู้สึกว่าตัวเองมีได้โดดเดี่ยวอีกต่อไป
หลังจากที่กล่าวข้างต้น การทำนายของโหร ยังก่อให้เกิดคำพูดที่ติดปากอีกว่า “ หมอดูคู่กับหมอเดา ” เหตุใดเล่าจึงเป็นเช่นนั้น หากแม้นว่ากษัตริย์มอบให้โหรทำนายเรื่องต่างๆ การทำนายของโหรนั้นคงไม่สามารถที่จะให้คำปรึกษาในลักษณะแง่ลบได้เพราะหากทำ เช่นนั้นก็อาจจะโดนการลงโทษก็เป็นได้ ดังนั้นการพูดแต่ละครั้งคงไม่ได้ตระหนักถึงอะไรมากนัก ยกเว้นก็คงเป็นหลักจิตวิทยาที่ทำให้กษัตริย์ฮึกเหิมหรือหลีกหนีการทำให้ไม่ พอใจและนำไปลงโทษด้วยการตัดคอก็ได้
สถานการณ์ปัจจุบัน
ความไม่แน่นอนทางการเมืองและเศรษฐกิจ
ทางการเมือง ณ สถานการณ์ปัจจุบันปฏิเสธไม่ได้ว่าทำให้หลายคนไม่แน่ใจว่าสังคมจะเป็นไปในทิศ ทางใด การชุมนุมต่างๆทางการเมืองทำให้คนชั้นกลางถึงชนชั้นสูงในสังคมซึ่งต้องอาศัย การเลี้ยงปากท้องด้วยการทำงาน เมื่อเหตุการณ์ไม่ปกติ การงานก็ไม่ปกติด้วย ทำอย่างไรเล่าหากการชุมนุมต่างๆ ทำให้บริษัทต้องลดเงินเดือนพนักงาน ไม่ได้โบนัสตอนสิ้นปี หรือว่าอาจจะโดนเลิกจ้างก็เป็นได้ ดังนั้นหนทางที่จะทำให้พวกเขาเหล่านั้นรู้สึกดีก็คงหาที่พึ่งทางใจและหาวิธี เสริมดวงชะตาต่างๆ
แม้กระทั่งผู้ร่ำรวยและเจริญทางการศึกษาแล้วก็ยังหนีไม่พ้น การที่เงินในกระเป๋าของเขาเหล่านั้นลดลงคงสำคัญมากกว่าการพูดถึงจริยธรรม เราก็อาจจะได้ยินข่าวว่ายองเสียเงินหลายล้านเพื่อที่จะปรับโน้นปรับนี่ ยกตรงนั้นแทนตรงนี้ เพื่อทำให้เขาดีขึ้น
หรือหากว่าเร็วๆนี้ รัฐบาลที่อ้างว่าตัวเองมีความศิวิไลแล้ว เจริญแล้ว ก็ทำการปรับฮวงจุ้ยที่ทำงานของตนเพื่อไล่ความไม่ดีออกไป นี่ก็เป็นสิ่งที่เห็นได้ชัดว่าคงจะต้องอะไรซักอย่างเพื่อให้หมู่คณะดีขึ้น โดยมองข้ามที่จะปรับปรุงตัวเองและหาสาเหตุที่แท้จริงว่าเป็นอะไร
ดังนั้นสิ่งต่างๆเหล่านี้เองที่ถูกผลิตซ้ำมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จนทำให้หลอมรวมกลายเป็น “อัตลักษณ์” ของสังคมไทยไปแล้ว ราวกับว่านี่อยู่ในช่วงสามร้อยปีก่อนคริสตกาลในนครเอเธนอย่างไรอย่างนั้น

“บทสะท้อนสังคมไทย” ผ่านคำชี้แจงของโฆษกศาลยุติธรรมต่อคดีอากง

ที่มา ประชาไท

“หากผู้วิจารณ์คนใดยังศึกษาภูมิหลังทาง ประวัติศาสตร์ไม่ลึกซึ้งถึงแก่นแท้หรือมีข้อเท็จจริงไม่ครบถ้วน เพียงพอ ไม่เข้าใจในขนบธรรมเนียม ประเพณี สังคมประเทศใดแล้ว การแสดงความเห็นว่าศาลหรือ กระบวนการยุติธรรมของประเทศอื่นในทำนองห่วงใยว่า จะไม่มีมาตรฐานสากลนั้น เป็นเรื่องละเอียดอ่อน ลึกซึ้ง และหมิ่นเหม่ต่อการกล่าวหากันอย่างไม่เป็นธรรม อาจทำให้คิดไปว่าผู้วิพากษ์ เจือปนด้วยอคติที่ผิด หลงมีวาระซ่อนเร้น ประเทศไทยมีเอกราชทางการปกครองและการศาลมาช้านาน และประชาชนมีเสรีภาพใน การแสดงความคิดเห็นภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข”


สิทธิศักดิ์ วนะชกิจ – โฆษกศาลยุติธรรม
(http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/analysis/20111214/424435/news.html)
ปัจจุบันประเด็นประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 กับคดีอากง หรือ นายอำพล ตั้งนพคุณ กลายมาเป็นประเด็นร้อนที่ได้รับความสนใจจากทุกภาคส่วน กระทั่งนำมาสู่การเคลื่อนไหวจากผู้คนหลากหลายกลุ่มและสถานภาพให้มีการปฏิรูป กฎหมายมาตรานี้ เนื่องด้วยมองเห็นปัญหานานัปการ โดยเฉพาะการที่ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 กลายมาเป็นอาวุธทางการเมืองที่ใช้ห้ำหั่นกัน จนส่งผลกระทบต่อผู้คนและสถาบันต่าง ๆ ในสังคมไทย อาทิ ศาล และสถาบันกษัตริย์
แม้จะมีความเคลื่อนไหวต่าง ๆ นานาอย่างไรก็ตาม เช่น การเสนอให้ตั้ง “คณะกรรมการ” เพื่อกลั่นกรองกฎหมายดังกล่าว ทว่ามาตรการเหล่านั้นล้วนเป็นการแก้ปัญหาระยะสั้นเฉพาะหน้า เนื่องด้วยหากสังคมไทยยังไม่เปลี่ยนแปลงวิธีคิดเกี่ยวกับ “สิทธิมนุษยชน” “ความเป็นไทย” และ “ประวัติศาสตร์” แล้ว ปัญหาที่เกิดขึ้นเช่นเดียวกับกรณีองกงก็ยังจะดำเนินอยู่ต่อไป
ผมขออาศัย “วาทะ” ของท่านโฆษกศาลยุติธรรม ซึ่งผมเชื่อว่าเป็นภาพสะท้อนความคิดของคนในสังคมไทยจำนวนไม่น้อย ในการวิพากษ์ความคิด ความเชื่อที่ดำรงอยู่ในสังคมไทย เพื่อนำไปสู่การพินิจพิจารณา ปัญหาตรรกะวิธีคิดและความเชื่อที่ดำรงอยู่ในสังคมไทย 2 ประเด็นใหญ่
1.ความเป็นไทยกับการแก้ปัญหาแบบไทย ๆ
นักวิชาการจำนวนมาก ได้พูดถึงความคิดความเชื่อของคนไทยว่า คนไทยมองตัวเองเป็นศูนย์กลางของจักรวาล “ความเป็นไทย” มีความเฉพาะแตกต่าง ที่พวกฝรั่งไม่มีทางเข้าใจ อะไรที่มันเกิดในประเทศนี้เป็นเรื่องของไทย ฉะนั้นท่านทั้งหลาย “กรุณาอย่างยุ่ง”
ในแถลงการณ์ของท่านโฆษกศาลได้กล่าวถึงกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิ พลเมืองและสิทธิทางการเมือง ซึ่งประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีเมื่อปี พ.ศ. 2539 ท่านได้กล่าวว่ากติกาดังกล่าวสอดคล้องกับ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 45 ซึ่งต่อมาท่านได้พัฒนาตรรกะวิธีคิด เพื่อเชื่อมโยงสู่ความคิดที่ว่า “ประเทศไทยให้สิทธิเสรีภาพแก่ประชาชน มีกฎหมาย ที่ความก้าวหน้าทันสมัยทัดเทียมอารยประเทศ เพียงแต่ภายใต้ระบอบการปกครองบ้านเมืองที่แตกต่างกัน ทุกประเทศจึงควรที่จะต้องให้เกียรติเคารพในความต่างที่เป็นจุดแข็งทาง วัฒนธรรมและสังคมของแต่ละประเทศ”
ผมไม่ปฏิเสธเรื่องความต่างระหว่างไทยกับประเทศอื่น ๆ เพราะยอมเป็นสิ่งที่ดำรงอยู่จริงแน่ ๆ ปัญหาคือวิธีคิดในเรื่องความแตกต่างดังนี้ ทำให้คนไทยจำนวนไม่น้อยเลือกที่จะกลบเกลื่อน “ความเหมือน” กับมนุษย์คนอื่น ๆ ในโลก ซึ่งนำไปสู่การปฏิเสธ “คุณค่าในเรื่องสิทธิมนุษยชน” สากล โดยอ้างว่า “ต้องบริหารจัดการกันเองบนความต่างแบบไทย ๆ”
ในการแก้ปัญหาในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ ประเทศจีนมักอ้าง “วาทกรรมความเป็นจีนที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว” นี้ ทำให้ผมอดสงสัยไม่ได้ว่า ไทยเราจะดำเนินรอยตามจีนกระนั้นหรือ?
คุณค่าบางอย่างมีความเป็นสากลที่มนุษย์ทั่วโลกรับรู้ได้เหมือนกัน ความรู้สึก เจ็บปวด ทรมานทางกายภาพและจิตใจ จากการถูกลิดรอนอิสรภาพด้วยการคุมขัง ล้วนเป็นสิ่งที่มนุษย์ทั่วโลกมีร่วมกัน การอ้างความเฉพาะแบบไทย ๆ โดยไม่ฟังเสียงวิจารณ์จากมนุษย์คนอื่นที่ไม่ใช่คนไทยไม่สามารถกลบเกลื่อนลบ เลือนความเหมือนนี้ได้ ในทางกลับกันการดันทุรังแก้ตัวน้ำขุ่น ๆ รังแต่ทำให้ภาพลักษณ์ของประเทศไทยตกต่ำลงไป
นอกจากนี้วิธีคิดที่ปฏิเสธคุณค่า ความคิด ความรู้บางอย่าง เพราะไม่ใช่ของไทย เมื่อเอามาใช้แล้วจึงไม่เหมาะสมกับไทย เพราะประเทศไทยมีสังคมวัฒนธรรมเฉพาะของตัวก็เป็นวิธีคิดที่มีปัญหา หากคิดเช่นนั้นอะไรที่เป็นฝรั่งก็ต้องปฏิเสธให้หมด ไม่เว้นแม้แต่การแพทย์แผนตะวันตก แล้วหันกลับไปกินยาหม้อกันแทน
2. ความรู้ประวัติศาสตร์แบบมักง่าย และขี้ลืม
คนไทยจำนวนไม่น้อยเชื่อว่า ความรู้ประวัติศาสตร์คือการกล่าวถึงสิ่งที่เป็นจริง “จริง ๆ” แน่นอนว่าความเข้าใจดังกล่าวย่อมไม่ผิด แต่แท้จริงหัวใจของการศึกษาประวัติศาสตร์ในโลกสมัยใหม่คือการ “ตั้งคำถาม” และคิดอย่างวิพากษ์โดยมองเห็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงเวลา ปัจจุบันวงการประวัติศาสตร์เกิดการตั้งคำถามถึงความจริงว่ามีได้หลายมุมมอง เช่น ประวัติศาสตร์ไทยกระแสหลักที่ไม่มี “สามัญชน” อยู่ในประวัติศาสตร์ก็เริ่มถูกตั้งคำถามจากนักประวัติศาสตร์ จนนำไปสู่การศึกษาค้นคว้าประวัติศาสตร์ที่เป็น “ประวัติศาสตร์สังคม” ซึ่งเป็นการมองความจริงจากจุดยืนของคนสามัญ
การศึกษาประวัติศาสตร์ไทยจึงไม่ใช่เรื่องของการท่องจำว่าใครทำอะไรที่ ไหนเท่านั้น หากแต่ต้องมีทัศนะวิพากษ์ที่ทำให้มองเห็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นใน ประวัติศาสตร์อย่างสลับซับซ้อน เพราะการท่องจำโดยปราศจากความเข้าใจย่อมนำมาสู่การจำถูกจำผิดได้ เช่น “ประเทศไทยมีเอกราชทางการปกครองและการศาลมาช้านาน” ผม อยากจะเตือนความทรงจำว่าเราเสีย “สิทธิสภาพนอกอาณาเขต” ไปในสมัยรัชกาลที่ 4 ภายใต้สนธิสัญญาเบาว์ริ่ง ประเทศไทยเพิ่งได้รับเอกราชทางการศาลกลับคืนมาอย่างสมบูรณ์ในปี พ.ศ.2481 ด้วยความพยายามของคณะราษฎรภายหลังการปฏิวัติ โดยคณะราษฎรได้ทำการต่อสู้เพื่อให้ไทยได้รับเอกราชทางการศาลอย่างสมบูรณ์ ประจักษ์พยานหรือหลักฐานที่สะท้อนถึง “ความจริง จริง ๆ” ดังกล่าวคือ “อาคารศาลฎีกา” ที่ตั้งตระหง่านแถวสนามหลวง โดยเจ้า พระยาศรีธรรมาธิเบศร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมในปีพ.ศ.2481 ได้บันทึกถึงเหตุผลในการก่อสร้างอาคารศาลนี้ไว้เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2481 มีความตอนหนึ่งว่า
".....บัด นี้ประเทศสยามได้เอกราชในทางศาลคืนมาโดยสมบูรณ์แล้ว จึ่งเป็นการสมควรที่จะมีศาลยุติธรรมให้เป็นสง่าผ่าเผยเยี่ยงประเทศที่เจริญ แล้วทั้งหลาย เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งการที่ได้อำนาจศาลคืนมา....."
(รายละเอียดใน บทความของชาตรี ประกิตนนทการ http://prachatai.com/journal/2008/05/16793)

เพ็ญ ภัคตะ: ปล่อยโคม... ปล่อยอากง

ที่มา ประชาไท

(กาพย์ฉบัง 16)
โคมลอยปล่อยฝันพันธนา สองมือไหว้สา
พระธาตุจุฬามณีสรวง
ไขแขแลเด่นเต็มดวง สาดไฟในทรวง
เผาห้วงเหมันต์ตัณหา
โคมเคลื่อนครืนครั่นสวรรคา สู่ดาวดึงสา
วันทาสัมมาพุทธองค์
ก่อเจดีย์ทรายทลายกรง เย้ยโลภโกรธหลง
ปลดปล่อย "อากง" ชั่วกาล
คืนเสรีภาพทาบผ่าน ทางช้างเผือกสาน
ตำนานกบฏครูบา
พญาผาบปราบยักษ์สยามา ผีบุญผีฟ้า
กดขี่ล้านนานานนม
คือคนชายขอบอกขม ระบอบระบม
โค่นล้มสมบูรณาญา
ปล่อยโคมโอม! เปล่งปณิธาน์ จบห้วงเวหา
ดินฟ้าคุ้มครองคนดี
ขอพรสถูปเกศี จุฬาโมฬี
โลกธาตุธาตรีแดนไตร
ปกปักรักษาธรรมไฉน ยุดเล่ห์เวไนย
คืนไทสู่ไทยเที่ยงธรรม
อ่านโองการแช่งความริยำ ป้ายขาวเป็นดำ
ปรักปรำแปดเปื้อนอัประมาณ
ดาบยื่นคืนดาบสนองศาล ปักอกประจาน
อหังการกองศพพิพากษา
นรกยื่นคืนนรกอมาตยา ตรวนแส้มุสา
ควรค่าโลกันตร์อวิจี
เปลวโคมโหมควันค่ำนี้ ย้ำถ้อยวาที
แผดเผาเหล่ากลีชั่วกาล....
เปลวโคมโหมควันค่ำนี้ ตอกย้ำปณิธี
ปลดปล่อยคนดีชั่วกาล....
หมายเหตุ: การปล่อยโคมลอยของชาวล้านนานั้่นมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ไปกราบสักการะพระเกศา ธาตุของพระพุทธเจ้า ณ เจดีย์จุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

นักวิชาการเสนอเฉพาะหน้า “คณะกรรมการกลั่นกรองคดีหมิ่นฯ”

ที่มา ประชาไท

16 ธ.ค.54 นักวิชาการ 15 ราย ออกแถลงการณ์เสนอข้อเสนอเพื่อแก้ปัญหาการใช้ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 โดยมีรายละเอียดดังนี้

เนื่องจากในขณะนี้ มีการขยายตัวอย่างมากของการใช้ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เป็นเครื่องมือทางการเมืองเพื่อสำเร็จประโยชน์ของหลายฝ่าย ซึ่งทำให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงและกว้างขวาง ทั้งต่อผู้ที่แสดงความคิดเห็นโดยบริสุทธิ์ใจ ต่อผู้เคราะห์ร้ายที่ต้องตกเป็นเหยื่อโดยมิได้เกี่ยวข้องในทางใดทางหนึ่ง และต่อความมั่นคงของสถาบันพระมหากษัตริย์ นอกจากนี้ยังทำให้ความขัดแย้งทางการเมืองขยายตัวขึ้น และเกิดการลิดรอนสิทธิเสรีภาพทางการเมืองของพลเมืองจนความเป็นประชาธิปไตย ของสังคมไทยถดถอยลงไป ส่งผลให้สังคมการเมืองไทยสูญเสียโอกาสที่จะใช้ความเป็นประชาธิปไตย ทั้งในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองและการสร้างความเป็นธรรมในสังคม ไปอย่างน่าเสียดาย

เพื่อแก้ไขปัญหาการใช้ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เป็นเครื่องมือทางการเมืองโดยมิชอบ ในบริบทที่หลายฝ่ายยังมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันและยังคงถกเถียงกันเกี่ยว กับการคงไว้หรือการยกเลิกมาตราดังกล่าว ผู้มีรายชื่อข้างล่างนี้ใคร่ขอเสนอทางออกเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า โดยเรียกร้องให้มีการจัดตั้ง “คณะกรรมการกลั่นกรองการฟ้องร้องในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112” ที่ ประกอบด้วยหลายฝ่าย เช่น ข้าราชการที่เป็นตัวแทนฝ่ายบริหาร, ส.ส. และ สว. ที่เป็นตัวแทนจากรัฐสภา, กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, อัยการ, นักวิชาการ, ผู้นำชาวบ้าน, ผู้แทนจากสหภาพแรงงาน ฯลฯ คณะกรรมการชุดนี้จะทำหน้าที่กลั่นกรองทุกคดีที่ฟ้องร้องกันในความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และเลือกสรรเฉพาะคดีที่เสียงส่วนใหญ่ของคณะกรรมการฯ เห็นว่ามีมูล เพื่อส่งเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมต่อไป

กระบวนการกลั่นกรองคดีความที่เกี่ยวข้องกับประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ดังกล่าวข้างต้นนี้ จะช่วยป้องกันมิให้ผู้ใดสามารถใช้ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เป็นเครื่องมือทางการเมืองได้อย่างสะดวก และยังเอื้อให้เกิดพื้นที่ทางสังคมที่ปลอดภัยสำหรับการถกเถียงทางวิชาการ อย่างกว้างขวางเพื่อหาทางออกให้แก่ความขัดแย้งในเรื่องนี้อย่างสร้างสรรค์ อีกด้วย ดังนั้น ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจึงควรเร่งรัดให้มีการจัดตั้ง “คณะกรรมการกลั่นกรองการฟ้องร้องในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112” โดยเร็วที่สุด

ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ

รองศาสตราจารย์ ฉลอง สุนทราวาณิชย์

รองศาสตราจารย์ ดร.เกษียร เตชะพีระ

รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยันต์ ไชยพร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุรัตน์ โหราชัยกุล

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศุภมิตร ปิติพัฒน์

ศาสตราจารย์ สายชล สัตยานุรักษ์

รองศาสตราจารย์ ดร.อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์

รองศาสตราจารย์ ดร. พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต

รองศาสตราจารย์ สมชาย ปรีชาศิลปกุล

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เชษฐพัฒนวนิช

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อภิชาต สถิตนิรามัย

อาจารย์ชำนาญ จันทร์เรือง

อาจารย์สิทธิเทพ เอกสิทธิพงษ์

อาจารย์ชาญกิจ คันฉ่อง

นักกิจกรรมร่วมหนุนข้อเสนอยูเอ็น "แก้ไข ม.112" – "พ.ร.บ.คอมพ์ฯ"

ที่มา ประชาไท

เครือข่ายนักกิจกรรมทางสังคมเพื่อประชาธิปไตย ร่วมเครือข่ายพลเมืองเน็ต กลุ่มประกายไฟ ยื่นจดหมายเปิดผนึกส่งถึงหน้ายูเอ็น สนับสนุนข้อเรียกร้องให้แก้ไข กฎหมายอาญา ม.112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ

วันนี้ (16 ธ.ค.54) เวลา 11.00 น.ที่อาคารองค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ถ.ราชดำเนินนอก กรุงเทพฯ ตัวแทนจากเครือข่ายนักกิจกรรมทางสังคมเพื่อประชาธิปไตย เครือข่ายพลเมืองเน็ต และกลุ่มประกายไฟ รวมตัวเข้ายื่นหนังสือแสดงความขอบคุณ และสนับสนุนข้อเรียกร้องของข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ และแฟรงค์ ลา รู ผู้ตรวจการพิเศษแห่งสหประชาชาติ ด้านเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเสรีภาพในการแสดงออก ที่เรียกร้องให้ทางการไทยแก้ไขกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 (พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ) ให้สอดคล้องกับกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง และสิทธิทางการเมือง
เวลาประมาณ 11.30 ทางเจ้าหน้าที่ขององค์การสหประชาชาติได้เชิญตัวแทน 3 คนเข้าไปยืน จดหมายเปิดผนึก ด้านใน โดยมี Ms.Indali Panchitkaew National Human Rights Officer ตัวแทนของสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งองค์การสหประชาชาติ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Office of the United Nations High Commissioner for Human Rights ,Regional Office for South East Asia) มารับจดหมายดังกล่าว พร้อมทั้งพูดคุยแลกเปลี่ยนเป็นเวลาประมาณ 30 นาที
ภาพกิจกรรมสนับสนุน UN ภาพจาก facebook : Sora Wong
เทวฤทธิ์ มณีฉาย นักกิจกรรมกลุ่มประกายไฟกล่าวกับผู้สื่อข่าวหลังเข้ายื่นจดหมายว่า ตัวแทนที่มารับจดหมายระบุว่าจะส่งต่อจดหมายฉบับดังกล่าวไปให้ United Nations Human Rights Council ส่วนทางเครือข่ายที่ทำกิจกรรมครั้งนี้จะร่วมรณรงค์รวบรวมรายชื่อผู้เห็นด้วย กับข้อเสนอให้มีการแก้ไขกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ให้สอดคล้องกับกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง และจะนำรายชื่อดังกล่าวส่งให้ทางสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชน ของสหประชาชาติ (ติดตามการล่ารายชื่อเพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com/events/281822748530040/)
“บ่ายวันนี้ก็จะมีอีกกลุ่มหนึ่งออกมาเคลื่อนไหวคัดค้านท่าทีของทางยู เอ็น (เครือข่ายสยามสามัคคี) ภายใต้ความคิดที่ว่าคนไทยทั้งหมดคิดแบบเขา ซึ่งทางพวกผมยืนยันว่าคนไทยมีความหลากหลายทางความคิดในประเด็นนี้ และทางกลุ่มไม่ได้เรียกร้องให้ทางยูเอ็นมาสนับสนุน แต่อยากให้ทางยูเอ็น หนักแน่นในหลักการสิทธิในเสรีภาพการแสดงออกที่เป็นสากล ซึ่งทางตัวแทนยูเอ็นก็ยืนยันในหลักการนี้ว่าไม่ได้เข้าข้างฝ่ายใดข้างหนึ่ง หากแต่ยึดหลักกฎหมายสากล” เทวฤทธิ์กล่าว
เทวฤทธิ์ กล่าวด้วยว่า ตัวแทนที่ร่วมพูดคุยได้ฝากให้ทางยูเอ็น ได้ตรวจสอบ กรณีที่กระทรวงการต่างประเทศของไทยได้แถลงว่าคดีของนายโจ กอดอน และคดีของนายอำพล (อากง SMS) ได้ตัดสินยุติธรรมแล้ว และได้รับสิทธิตามกฎหมายแล้ว แต่จำเลยทั้ง 2 คดีนี้ ไม่ได้รับสิทธิในการได้รับการประกันตัว ทั้งที่ในรัฐธรรมนูญและกฎหมายภายในของไทยให้สิทธิไว้ และในกรณีผู้ต้องหาตามความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพนั้นมักไม่ได้รับสิทธิ ตรงนี้ เช่นเดียวกับสิทธิในเสรีภาพการแสดงออก รวมทั้งสถานการณ์ขณะนี้ที่รัฐบาลได้มีความเข้มงวดในการปราบปรามเว็บไซต์ หมิ่นฯ ซึ่งอาจจะกลายเป็นโอกาสในการละเมิดสิทธิเสรีภาพโดยรัฐ
ทั้งนี้ เนื้อหาของจดมายเปิดผนึกของกลุ่มที่ออกมาร่วมกันเคลื่อนไหวครั้งนี้ เป็นการแสดงความขอบคุณและสนับสนุนข้อเรียกร้องการแก้ไขกฎหมายหมิ่นพระบรมเด ชานุภาพและ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ให้สอดคล้องกับกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง และสิทธิทางการเมือง พร้อมทั้งเรียกร้องให้กระตือรือร้นในการตรวจสอบสถานการณ์การละเมิดหลักสิทธิ ดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งสนับสนุนและส่งเสริมให้สังคมไทยเคารพในหลักการดังกล่าว
จากกรณี เมื่อวันที่ 9 ธ.ค.54 ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ราวินา แชมดาซานิ (Ravina Shamdasani) รักษาการโฆษกข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (Office of the High Commissioner for Human Rights - OHCHR) ได้ออกมาแถลงข่าวแสดงความกังวลต่อการพิจารณาคดีและการลงโทษที่ร้ายแรงด้วย กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่ดำเนินอยู่ในปัจจุบันในประเทศไทย พร้อมทั้งเรียกร้องให้ทางการไทยแก้ไขกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ จากการจับกุมและดำเนินคดีบุคคลด้วยกฎหมายดังกล่าวที่มีความคลุมเครือ การลงโทษที่อย่างเกินกว่าเหตุโดยศาล และการคุมขังผู้ต้องหาซึ่งมีระยะเวลานานต่อเนื่องในช่วงก่อนการไต่สวนคดี ด้วย
รวมถึงเมื่อวันที่ 10 ต.ค.54 แฟรงค์ ลา รู ผู้ตรวจการพิเศษแห่งสหประชาชาติด้านเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเสรีภาพ ในการแสดงออก ยังได้เคยแถลงข่าวย้ำถึงความจำเป็นของทางการไทยในการแก้ไขกฎหมายหมิ่นพระบรม เดชานุภาพและ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ให้สอดคล้องกับกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง และสิทธิทางการเมือง
อนึ่ง เวลา 10.30 น.วันเดียวกัน ตัวแทนส่วนหนึ่งจากเครือข่างนักกิจกรรมทางสังคมเพื่อประชาธิปไตย ได้เข้ายื่น จดหมายถึง เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทย ที่สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ถนนวิทยุ กรุงเทพ เพื่อแสดงความขอบคุณในการแสดงท่าทีของ Darragh Paradiso โฆษกกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฝ่ายเอเชียตะวันออก เมื่อวันที่ 6 ธ.ค.54 ต่อการตัดสินคดีของนายอำพล หรือ ‘อากง SMS’ ที่ถูกตัดสินจำคุกเป็นเวลา 20 ปี ในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพว่าไม่สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนสากลด้าน เสรีภาพในการแสดงออก รวมถึงกรณี ที่ อลิซาเบ็ธ แพร็ต ตัวแทนสถานทูตสหรัฐที่ได้กล่าวกับผู้สื่อข่าวเมื่อวันที่ 8 ธ.ค.ที่ผ่านมาว่า ในกรณี โจ กอร์ดอน ว่า “เรายังคงเคารพสถาบันกษัตริย์ของไทย แต่ในขณะเดียวกันเราก็สนับสนุนสิทธิในการแสดงออก ซึ่งเป็นหลักสิทธิมนุษยชนซึ่งได้รับการรับรองในทางสากล” ด้วย
ภาพกิจกรรมตัวแทนจากเครือข่างนักกิจกรรมทางสังคมเพื่อประชาธิปไตยเข้ายื่นจดหมายขอบคุณเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา
จดหมายขอบคุณและสนับสนุนข้อเสนอแก้ ม.112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ
16 ธันวาคม พ.ศ.2554
เรื่อง ขอขอบคุณและสนับสนุนข้อเรียกร้องการแก้ไขกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ให้สอดคล้องกับกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง และสิทธิทางการเมือง
เรียน คุณ Navanethem Pillay ข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชน (UN High Commissioner for Human Rights), คุณแฟรงค์ ลา รู (Frank La Rue) ผู้ตรวจการพิเศษแห่งสหประชาชาติด้านเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเสรีภาพ (Special Rapporteur on the promotion and protection of the right to freedom of opinion and expression)และ คุณ โฮมายูน อลิซาเด โฮมายูน อลิซาเด สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งองค์การสหประชาชาติ (UN Office of High Commissioner for Human Rights - UNOHCHR)
สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 9 ธ.ค. 54 ที่ผ่านมา ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ คุณราวินา แชมดาซานิ (Ravina Shamdasani) รักษาการโฆษกข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ(Office of the High Commissioner for Human Rights - OHCHR)[1]ได้ออกมาแถลงข่าวแสดงความกังวลต่อการพิจารณาคดีและการลงโทษที่ร้าย แรงด้วยกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่ดำเนินอยู่ในปัจจุบันในประเทศไทย และผลกระทบของกฎหมายดังกล่าวซึ่งสร้างความหวาดกลัวที่มีต่อเสรีภาพในการ แสดงออกภายในประเทศ พร้อมทั้งเรียกร้องให้ทางการไทยแก้ไขกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ จากการจับกุมและดำเนินคดีบุคคลด้วยกฎหมายดังกล่าวที่มีความคลุมเครือ การลงโทษที่อย่างเกินกว่าเหตุโดยศาล และการคุมขังผู้ต้องหาซึ่งมีระยะเวลานานต่อเนื่องในช่วงก่อนการไต่สวนคดี ด้วย นั้น
รวม ทั้งก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2554 ทางคุณแฟรงค์ ลา รู ผู้ตรวจการพิเศษแห่งสหประชาชาติด้านเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเสรีภาพ ในการแสดงออก[2] ยังได้เคยแถลงข่าวย้ำถึงความจำเป็นของทางการไทยในการแก้ไขกฎหมายหมิ่นพระ บรมเดชานุภาพและ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ให้สอดคล้องกับกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง และสิทธิทางการเมือง
เรา ในฐานะพลเมือของประเทศไทย ที่มีความสนใจและกังวลต่อปัญหาเกี่ยวกับกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ขอแสดงความขอบคุณและสนับสนุนข้อเรียกร้องให้มีการแก้ไขกฎหมายดังกล่าว เพื่อให้สอดคล้องกับกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง และสิทธิทางการเมือง โดยเฉพาะสิทธิในเสรีภาพในการแสดงออกซึ่งเป็นหลักสิทธิมนุษยชนซึ่งได้รับการ รับรองในทางสากล
ปัญหา เหล่านี้เป็นสิ่งที่พวกเราตระหนักมาโดยตลอดและพยายามเคลื่อนไหวผลักดันให้ สังคมไทยยอมรับในหลักการดังกล่าวอย่างแท้จริง ซึ่งพวกเราก็เห็นปัญหาของกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ทั้งในตัวกระบวนการในการดำเนินคดีและอุดมการณ์ที่อยู่เบื้อหลังกฎหมายนี้ที่ ไม่สอดทั้งในหลักการอันเป็นสากลและความเป็นประชาธิปไตย ซึ่งประเด็นเหล่านี้เป็นที่ถกเถียงกันอย่างกว้างขวางในสังคมไทยขณะนี้
ทั้ง นี้เราหวังว่าทางท่านจะกระตือรือร้นในการตรวจสอบสถานการณ์การละเมิดหลัก สิทธิมนุษยชนสากลด้านเสรีภาพในการแสดงออกอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งสนับสนุนและส่งเสริมให้สังคมไทยเคารพในหลักการดังกล่าว เพื่อให้พลเมืองไทยสามารถสร้างสรรค์สังคมที่เป็นอารยะ เป็นประชาธิปไตยและเคารพในหลักสิทธิมนุษยชนสากลด้านเสรีภาพในการแสดงออกต่อ ไป
จึงเรียนมาเพื่อแสดงความขอบคุณและสนับสนุนข้อเรียกร้อง
ขอแสดงความนับถือ
ลงชื่อ(องค์กร)
1. เครือข่ายพลเมืองเน็ต (Thai Netizen Network)
2. เครือข่ายนักกิจกรรมทางสังคมเพื่อประชาธิปไตย(คกป.)Activists for Democracy Network(ADN.)
3. กลุ่มประกายไฟ (Iskra Group)
ลงชื่อ(ปัจเจคบุคคล)
ลงชื่อ(ปัจเจคบุคคล)
เกษียร เตชะพีระ / Kasian Tejapira
ภัควดี วีระภาสพงษ์ นักเขียนและนักแปล
จิตรา คชเดช
พิภพ อุดมอิทธิพงศ์/Pipob Udomittipong
ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี
เทวฤทธิ์ มณีฉาย / Tewarit Maneechai
วิจักขณ์ พานิช / Vichak Panich
ชุตินาถ ชุนวิมลศิริ Chutinart Chunwimonsiri
พิรุณ น้อยอุ่นแสน
ดวงฤทัย เอสะนาชาตัง
จิระยุทธ คงหิ้น
กานต์ ทัศนภักดื์ (Karnt Thassanaphak)
สรวุฒิ วงศ์ศรานนท์
นายวุฒิชัย วงษ์ชู
ชยณัฐ เกษเจริญคุณ (Chayanat Ketchareonkhun)
ภมร ภูผิวผา
วิชญา ศิระศุภฤกษ์ชัย
Chaisiri Jiwarangsan
ตรี ฮัตเจสสัน (Three Hutchesson)
นายสุวรรณ พุฒพันธ์
พัชรี พาบัว Patcharee Pabua
โชติช่วง มีป้อม Chotchuang Meepom
อานนท์ ตันติวิวัฒน์
ยุทธนา ลุนสำโรง
วิภาวดี พันธุ์ยางน้อย
ณิชกร ความหมั่น
รจเรข วัฒนพาณิชย์
เอื้อบุญ จงสมชัย Ua-boon Chongsomchai
ธีรมล บัวงาม
วีรวุธ พรชัยสิทธิ์ Werawut Phornchaisit
เทิดพันธุ์ พวงเพ็ชร
ณัชพล ชูตลาด
ปติวัฒน์ สาหร่ายแย้ม
Somkid Thara
อธิคม จีระไพโรจน์กุล
ธิติพงษ์ ก่อสกุล Thitipong Korsakul
วันวิวัฒณ์ เต็มปลื้ม
พลิศ ลักขณานุรักษ์
กิตติศักดิ์ ทุมมา
พลอยชมพู ชมภูมิ่ง
นาวิน โลหิตนาวี Nawin Lohitnavy
อดิราช ท้วมละมูล Adirach Toumlamoon
กิจจพัฒน์ โตจำเริญ Kichapatt Tochamroen
ไชยรัตน์ ชินบุตร
วินัย ผลเจริญ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล
ดาราณี ทองศิริ
Anuraj Singh Dhindsa
ธนเดช ธรรมนาคิน Tanadej Tamanakin
อานนท์ ชวาลาวัณย์ Anon Chawalawan
วรายุส ทองคำแท้ ( Warayus Tongkumtae )
ภรณ์ทิพย์ มั่นคง กลุ่มประกายไฟ
วุฒิชัย แสนอุบล วิทยาลัยการเมืองการปกครอง
ประเวศ ประภานุกูล ทนายความอิสระ
Varut Veluvarna
ปัณมาสน์ อร่ามเมือง
ณัชชา ตินตานนท์
วรัญญา เกื้อนุ่น
สพลดนัย เชยล้อมขำ (Sapoldanai Choeylomkum)
คณาวุฒิ ครองรักษา Kanawut Krongraksa
ไพโรจน์ พฤกษ์ปาริชาติ Pairoj Prukparichat
ฉัตรฐิยะ แหวนเพชร
สยาม ธีรวุฒิ Siam Theerawut
กนกนาถ พิมพ์เภา
เฉลิมพันธุ์ หวันชิตนาย Chaloempan Wanchitnay
จักรกฤษณ์ ระวังสำโรง
สุดไผท เมืองไทย
พิเชฐ ยิ่งเกียรติคุณ เครือข่ายพลเมืองเน็ต
ฝ้ายคำ หาญณรงค์ (Faikham Harnnarong)
ธณัฐพล ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา Thanatbhol Palakavangsa Na Ayudhaya
อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล
ปิลันกานต์ ฤทธิโต Pilankan Ritthito
ปฐมพร ศรีมันตะ
จิระพงษ์ ชัยยะสมบูรณ์
พัชรี แซ่เอี้ยว Patcharee Sae-eaw
ไพศาล ลิขิตปรีชากุล Paisarn Likhitpreechakul
ชูธรรม สาวิกันย์ Chutham Sawigun
พรเทพ สงวนถ้อย Pornthep Sanguanthoi
ดวงทิพย์ ฆารฤทธิ์
เฉลิมเกียรติ ผาพิมพ์
ธรรมชาติ กรีอักษร Thammachart Kri-aksorn
Pongsiri Poorintanachote
ต่อศักดิ์ สุขศรี Torsak Suksri
นิพาดา ทองคำแท้ Nipada Tongkumtae
Janejira Buakhao
วรกร ฤทัยวาณิชกุล Vorakorn Ruetaivanichkul
กิตติ ใจน้อย Kitti Jainoi
จิตร โพธิ์แก้ว Jit Phokaew
อดิศักดิ์ พุ่มเจริญ
นฤดล คงทน
Arpawee Lumlertsuk
ไชยวัฒน์ ตระการรัตน์สันติ
ศิริวัฒน์ โปษะยานนท์
Anyakan Jeeraanyakan
ภูวนาถ สิงห์ชัย (Phuwanart Singchai)
เอื้อการย์ อารามรักษ์
Kingkorn Narintarakul
Romphaeng Khanthagan
ภาณุวัฒน์ ศรีขลา นิสิต วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มมส.
พรหมพิริยะ เกลื่อนกลางดอน
Channarong Sereepiwat
Natee Ngamwat
อิสราชัย จงภัทรนิชพันธ์
Teerakit Vichitanakul
Pichayon Chayakornchotiwut
ทศพร อุดมชัยพร Tossaporn U-domchaiyaporn
วิษณุ ตะวัน
Punapak Jeammana
Pearless Paritybitz
Thanakorn Passananon
Pimrawee Siangwarn
Ekkapong Netthawon
วรเทพ อรรคบุตร
Pawarawan Waramongkolsathit
ยุวดี ฟูเฟึ่อง
pitchaya pitchsamarn
วัลลภ ธรรมโชติ
ธรัญญา สัตตบุศย์
ธันยนันท์ อ่อยอารีย์ Tanyanun Aoiaree
ธิติบดี รุ่งธีรวัฒนานนท์ Thitibodee Rungteerawattananon
ชาตรี มงลศรีสวัสดิ์ Chatree Mongkolsrisawat
Sarun Jiravaranant
Pongnaret Intapanya
วชิราช ทองกลัด Wachirach Tongglad
ศุภวุฒิ ศรีมหาราชา (Subhavuddhi Srimaharaja)
วิศิษฐ์ เฟื่องศิลา
จักรพันธ์ บานชื่น Chakkapan Banchuen
เงาดาว สุขศรีดากุล
Akaradet Chunjiwank
Worapon Sammanon
Dheerawan Boonyawan
Tinarom Poonnapaka
Worapoth Kongngern, Chiangmai Thailand.
Siriluk Sriprasit, Chiang Mai, Thailand
วิรพา อังกูรทัศนียรัตน์ Wirapa Angkoontassaniyarat
วีระพันธุ์ ตรีรัตน์พันธุ์
Wiraphan Treeratphan
Jaturong sanghong , Lamphun Thailand
Asrin Sanguanwongwan
ธีระพล คุ้มทรัพย์ เชียงใหม่ / Theeraphon Khoomsap, Chiangmai
กิรพัฒน์ เขียนทองกุล
ฐิติภ้ทร์ รจนากร
อัศวิน สิริเสนาณรงค์
ชัยพงษ์ สำเนียง
ศุภกร สกุลนุ่ม / Supakorn Sakulnoom
มนตรา พงษ์นิล / Montra Pongnil
ณัฐกมล โตวนิชย์ / Natkamon Tovanich
อาทิตย์ ศรีจันทร์
ขวัญ ศรีเกตุ
อาภาพรรณ ปลั่งสิริสุนทร
ชญานี ขุนกัน / Chayanee Khunkan
อดิศร เกิดมงคล / Adisorn Kerdmongkol
ขวัญชัย เพ็งผอม
ปวงชน รังสิประภัศร
ปาริชาติ จึงวิวัฒนาภรณ์ / Parichat Jungwiwattanaporn
กนกกาจณ์ ศรีขาว / Kanokkarn Sreekhow
เอกสารประกอบ :
[1] ประชาไท, สหประชาชาติแถลงข่าวกรุงเจนีวา จี้ทางการไทยแก้ไขกม. หมิ่นฯ เผยแพร่เมื่อ Fri, 2011-12-09 20:51 (ออนไลน์) http://www.prachatai.com/journal/2011/12/38262 สืบค้นเมื่อ 15/12/2011
[2] ประชาไท, ‘ยูเอ็น’ ย้ำอีกครั้ง ไทยต้องแก้กฎหมายหมิ่นฯ – พ.ร.บ. คอมพ์ฯ เผยแพร่เมื่อ Tue, 2011-10-11 01:07 (ออนไลน์) http://prachatai.com/journal/2011/10/37339 สืบค้นเมื่อ 15/12/2011

เครือข่ายรักสถาบันเดินสายจี้ UN ขอโทษอย่าวิจารณ์ ม. 112 - ยื่นสอบ "ยิ่งลักษณ์" หมิ่นสถาบันฯ

ที่มา ประชาไท

"ตุลย์-บวร" ระดมพล "เครือข่ายคนรักสถาบัน" สองสาย บุกยื่นหนังสือสหประชาชาติ หลังออกมาวิจารณ์กฎหมายหมิ่นสถาบัน จี้ขอโทษ - ยื่นวุฒิสภาสอบ “ยิ่งลักษณ์” โพสต์ภาพเฟซบุ๊ครูป ร.8 ชี้เข้าข่ายหมิ่น






ที่มาภาพ: Bus Tewarit
16 ธ.ค. 54 - สำนักข่าวไอเอ็นเอ็นรายงาน ว่าน.พ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ และภาคีเครือข่ายสยามสามัคคี ได้เดินทางมาหน้าองค์การสหประชาชาติประจำประเทศไทย เพื่อยื่นหนังสือต่อตัวแทนองค์การสหประชาชาติ เกี่ยวกับกรณีที่สหประชาชาติ ได้แสดงความคิดเห็นว่า กฎหมายหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ มาตรา 112 ของไทย มีโทษหนักเกินไป และผิดกติการะหว่างประเทศว่าด้วยพลเมืองและสิทธิทางการเมือง โดย น.พ.ตุลย์ กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวเป็นการเข้ามาละเมิดอธิปไตยทางกฎหมายของไทย จึงขอให้ทางสหประชาชาติยุติเรื่องดังกล่าว และหากเป็นไปได้ ก็อยากให้ออกมาขอโทษประเทศไทย
พร้อมทั้งยืนยันว่า ทุกประเทศมีกฎหมายปกป้องประมุขของตนเองทั้งนั้น และกฎหมายมาตรา 112 ไม่ได้ขัดต่อกติการะหว่างประเทศ โดยได้ยกกติการะหว่างประเทศมาตรา 19 มายืนยันต่อสื่อมวลชนที่มารอทำข่าว และหลังจากนั้น ทางภาคีเครือข่ายสยามสามัคคี จะเดินทางไปยื่นหนังสือในเรื่องเดียวกันต่อสถานทูตสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทยต่อไป
เครือข่ายอาสาปกป้องฯ ยื่นวุฒิสภาสอบ “ยิ่งลักษณ์” โพสต์ภาพเฟซบุ๊ครูป ร.8 ชี้เข้าข่ายหมิ่น
ด้านเว็บไซต์เดลินิวส์รายงาน ว่าวันนี้ (16 ธ.ค.) ที่รัฐสภา นายบวร ยสินทร ประธานเครือข่ายราษฎรอาสาปกป้องสถาบัน เดินทางเข้ายื่นหนังสือร้องเรียนต่อนางพรพันธุ์ บุณยรัตพันธุ์ ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาติดตามการบังคับใช้กฎหมายและมาตรการเกี่ยว กับการพิทักษ์สถาบัน พระมหากษัตริย์ วุฒิสภา เพื่อให้ตรวจสอบกรณีที่เฟชบุ๊ค น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เขียนข้อความเพื่อถวายพระพรเนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ในวันที่ 3 ธ.ค. ว่า “ 5 ธันวา รวมพลังคนไทย รวมหัวใจถวายพระพรชัยมงคล” แต่แทนที่จะใช้พระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ 9 แต่กลับใช้พระบรมฉายาลักษณ์ของล้นเกล้า ร.8 แทนจนเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในวงกว้าง เพื่อให้นายรัฐมนตรีออกมาชี้แจงกับสังคมต่อไป
ภาคีสยามสามัคคีจี้รัฐแสดงจุดยืนยึดมั่นประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
เมื่อวันที่ 15 ธ.ค. 54 ที่ผ่านมาสำนักข่าวไทยรายงาน ว่าที่โรงแรมสยามซิตี้ภาคีเครือข่ายสยามสามัคคี นำโดย พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม และ นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ ออกแถลงการณ์จากกรณีรักษาการโฆษกสำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ผู้ตรวจการพิเศษแห่งสหประชาชาติด้านเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเสรีภาพ ในการแสดงออก เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย และผู้แทนระดับสูงสหภาพยุโรปด้านการต่างประเทศและนโยบายด้านความมั่นคง เรียกร้องให้ไทยแก้ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ที่เกี่ยวข้องกับการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ในฐานะที่ไทยเป็นภาคีกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการ เมือง อันสืบเนื่องจากคดีหมิ่นเบื้องสูงของนายอำพล ตั้งนพกุล หรือ อากง และ นายเลอพงษ์ วิไชยคำมาตย์ หรือ โจ กอร์ดอน
ทั้งนี้ ทางภาคีเครือข่ายฯ เห็นว่ากรณีดังกล่าวเกิดจากการรับฟังข้อมูลเพียงบางส่วน ไม่มีความเข้าใจอย่างแท้จริงเรื่องการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหา กษัตริย์ทรงเป็นประมุข รวมถึงไม่เข้าใจจารีตประเพณี วัฒนธรรม ความผูกพันอันแนบแน่นระหว่างประชาชนไทยและพระมหากษัตริย์ จึงไม่เข้าใจที่มาของกฎหมาย และไม่ตระหนักถึงผลร้ายที่จะตามมา ซึ่งความเห็นขององค์กรระหว่างประเทศดังกล่าวอาจมาจากการแสดงออกของรัฐบาลไทย ที่ปล่อยให้มีขบวนการละเมิดกฎหมายและละเมิดกระบวนการยุติธรรม ทำลายความศรัทธาที่ประชาชนมีต่อองค์พระมหากษัตริย์ โดยมุ่งเพื่อประโยชน์ทางการเมืองเท่านั้น
ทางภาคีเครือข่ายฯ เห็นว่า การเรียกร้องของบุคคลดังกล่าว เป็นกระบวนการเพื่อล้มล้างความเป็นมาตรฐานสากลของกระบวนการยุติธรรมไทย และทำลายความเชื่อมั่นต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยมีพระมหากษัตริย์ทรง เป็นประมุข พยายามแทรกแซงกระบวนการยุติธรรมในไทย ไม่เคารพสิทธิ ความมั่นคงของชาติ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน และอาจทำให้เกิดความเกลียดชังในชาติ ยั่วยุให้เกิดการเลือกปฏิบัติ
ทางภาคีเครือข่ายฯ จึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลแสดงออกถึงการยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ชี้แจงให้บุคคลดังกล่าวและนานาประเทศเข้าใจและยอมรับการปกครองของไทย โดยให้มีหนังสือชี้แจงรายละเอียดข้อเท็จจริงแห่งคดีที่เกิดขึ้น ตลอดจนความสำคัญของกฎหมาย และผลร้ายที่จะตามมาหากมีการละเมิด พร้อมขอให้รัฐบาลทำหนังสือประณามการแทรกแซงกิจการภายใน ลบหลู่กระบวนการยุติธรรมของไทย และการแสดงออกที่มีผลให้เกิดความขัดแย้งในสังคมไทย
พล.อ.สมเจตน์ กล่าวว่า ในวันพรุ่งนี้ (16 ธ.ค.) เวลา 13.30 น. ภาคีเครือข่ายฯ จะไปยื่นหนังสือที่องค์การสหประชาชาติ และสถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย เพื่อให้เข้าใจในเรื่องดังกล่าว และจะจัดเสวนาช่วงเย็นที่สวนลุมพินี เพื่อแลกเปลี่ยนความเห็นในเรื่องนี้ด้วย
นพ.ตุลย์ ยืนยันว่า ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ถูกต้องตามกระบวนการยุติธรรม ไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชน และตรงตามข้อ 19 ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ที่ประเทศไทยเป็นภาคีอยู่

Fearlessness Talk: เสวนาเพื่อก้าวข้ามความกลัว

ที่มา ประชาไท

เสวนาในงานเปิดตัวหนังสือรณรงค์ปล่อยตัว ‘อากง’ โดยปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ นักวิชาการส่งสารไปยังคนในกระบวนการยุติธรรม นักการเมือง และชนชั้นนำ ชี้ ยิ่งใช้กฎหมายมาบีบคั้นมากเท่าไร ประชาชนยิ่งจนตรอกและลุกขึ้นสู้มากเท่านั้น

เมื่อเวลา 18.00 น. วันที่ 15 ธันวาคม 54 ณ ลานปรีดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในงานเปิดตัวหนังสือ “ก้าวข้ามความกลัว” โดยปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ มีวงเสวนาพูดคุยเรื่องกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและการตัดสินคดีของ “อากง” หรือนายอำพล (ขอสงวนนามสกุล) ผู้ถูกตัดสินลงโทษจำคุก 20 ปีด้วยข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเมื่อเดือนที่ผ่านมา โดยมีผู้ร่วมเสวนา คือ ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ นักวิจัยจากสถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา ประเทศสิงคโปร์ และผู้ริเริ่มแคมเปญ “Free Akong” สาวตรี สุขศรี จากคณะนิติราษฎร์ และวรพจน์ พันธุ์พงศ์ นักเขียนอิสระ ดำเนินรายการโดยวันรัก สุวรรณวัฒนา อาจารย์จากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ปวิน กล่าวถึงที่มาของหนังสือเล่มนี้ว่า ได้รับแรงบันดาลใจมาจากแคมเปญ “อภยาคติ” ที่ริเริ่มโดยออง ซาน ซูจีเพื่อให้กำลังใจนักโทษการเมืองในพม่า และเมื่อเดือนที่ผ่านมา การรณรงค์ดังกล่าวที่เริ่มต้นขึ้นในเฟซบุ๊กของปวินได้รับการตอบรับจากผู้ที่ สนับสนุนกว่าพันคน จึงอยากจะรวบรวมภาพถ่ายดังกล่าวมาตีพิมพ์เป็นหนังสือ โดยท้ายปกหนังสือ มีจุดประสงค์บอกเล่าว่าเพื่อ “เรียกร้องให้ปล่อยตัวอากง แต่ที่สำคัญกว่านั้นคือการปล่อยตัวนักโทษการเมืองทั้งหมด และผลักดันให้มีการปฏิรูปหรือยกเลิกมาตรา 112 เพื่อให้ไทยได้เป็นอารยประเทศอย่างสมบูรณ์แบบ”

การตัดสินคดีอากงเป็นการกลับหลักกฎหมาย

สาวตรี สุขศรี อาจารย์จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า เนื่องจากการตัดสินคดีดังกล่าวยังมีสิ่งไม่ชัดเจนอยู่หลายประการ เช่น โทษที่สูงเกินไป การปฏิเสธการให้จำเลยประกันตัวในชั้นศาล และหลักฐานในการเอาผิดที่ไม่ชัดเจน ทำให้ประชาชนจำนวนมากเกิดข้อสงสัยและทำให้คดีนี้เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ อย่างกว้างขวาง

สาวตรี กล่าวถึงการปฏิเสธการให้ประกันของนายอำพลในชั้นศาล ว่าทำให้สิทธิของผู้ต้องหาในการสู้คดีถูกตัดตอนออกไป ซึ่งส่งผลให้เขาถูกจำคุกก่อนการตัดสินคดีไปแล้วตั้งแต่เดือนมกราคม ทั้งๆที่เขาก็ได้รับการประกันตัวแล้วในชั้นตำรวจ และมาเข้ารับการพิจารณาคดีตามกำหนดทุกประการ และชี้ว่า แม้แต่คดีร้ายแรง เช่น การฆาตกรรม หรือคดีของผู้ที่มีอิทธิพล ก็ยังได้รับการประกันตัว

นอกจากนี้ ยังมีประเด็นของการพิสูจน์หลักฐานจนสิ้นข้อสงสัยและภาระหน้าที่ของการ พิสูจน์ โดยสาวตรีชี้ว่า การพิจารณาคดีในกฎหมายอาญา จำเป็นจะต้องพิสูจน์หลักฐานอย่างแน่นหนา ถ้าหากว่าไม่สามารถทำเช่นนั้นได้ จะต้องยกประโยชน์ข้อสงสัยให้กับจำเลย หากแต่ในคดีนี้ จะพบว่ามีข้อสงสัยในหลายจุด อาทิ ตัวเลขประจำเครื่องโทรศัพท์ หรือหมายเลข IMEI ที่ยังมีความคลาดเคลื่อน แต่นายอำพลก็ยังถูกตัดสินจำคุกถึง 20 ปี โดยศาลให้เหตุผลว่า จำเลยไม่สามารถพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตนเองได้ ทั้งๆที่ตามหลักกฎหมายแล้ว ภาระของการพิสูจน์ความผิดจะต้องเป็นหน้าที่ของผู้กล่าวหา หรือโจทก์นั่นเอง

“คำถามของในวงการกฎหมายก็คือว่า นี่คือการกลับหลัก มันไม่เป็นตามที่มันควรจะเป็น” อาจารย์จากคณะนิติราษฎร์กล่าว

ทั้งนี้ เธอชี้ว่า บทความที่เขียนโดยโฆษกศาลยุติธรรมซึ่ง เผยแพร่เมื่อวันที่ 14 ธันวาคมที่ผ่านมา ถึงแม้จะมีการชี้แจงในเรื่องต่างๆ เช่น อากงจะถูกสันนิษฐานว่าบริสุทธิ์จนกว่าจะถูกตัดสินถึงที่สุด เนื่องจากในขณะนี้คดียังอยู่ในศาลชั้นต้นและสามารถอุทธรณ์ได้ อย่างไรก็ตาม จากท่าทีของบทความ กลับสะท้อนว่า ผู้เขียนบทความเองก็ได้ปักใจเชื่อไปแล้วว่า อากงเป็นผู้กระทำความผิดจริง นอกจากนี้ ยังไม่มีการพูดถึงหลักการของภาระการพิสูจน์ความผิด ทั้งๆ ที่เป็นประเด็นที่สำคัญในการตัดสินคดีนี้

สาวตรี กล่าวว่า การตัดสินคดีอากงซึ่งนำไปสู่การวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางนั้น ทำให้ในวงการกฎหมายเริ่มตั้งคำถามว่า ‘ดุลยพินิจ’ ของตุลาการ ควรถูกตรวจสอบและถ่วงดุลหรือไม่ เธอยกตัวอย่างการพิจารณาคดีของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งในคดีอาญาที่มีโทษร้ายแรง จะมีการใช้ระบบลูกขุนผสมระหว่างนักกฎหมายและประชาชน เพื่อให้เกิดการถ่วงดุลดับดุลยพินิจของศาล

ลด-ละความคลั่งเจ้า เพื่อให้สังคมอยู่ร่วมกันได้

ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ ผู้จัดทำหนังสือ “ก้าวข้ามความกลัว” กล่าวว่า ในขณะนี้ ไม่เพียงแต่กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพจะส่งผลกระทบแต่ภายในประเทศเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทยกับประเทศอื่นๆ ด้วย โดยเฉพาะในระยะหลังๆ ที่มีคนบางกลุ่มโจมตีสหรัฐอเมริกา สหประชาชาติ และหน่วยงานระหว่างประเทศอื่นๆ ทั้งนี้ ปวินชี้ว่า ฝ่ายคลั่งเจ้าหรือ Hyper-royalistจำเป็นต้อง “เจ้านิยม” อย่างพอเพียง เพื่อทำให้คนในสังคมสามารถอยู่ร่วมกัน และเป็นการทำให้สถาบันกษัตริย์อยู่รอดได้

สาวตรีชี้ว่า คนในสังคมจำเป็นต้องเข้าใจว่า การเรียกร้องให้ปฏิรูปกฎหมายอาญามาตรา 112 ไม่ใช่เป็นเรื่องเดียวกับการ “ล้มเจ้า” เพราะตัวกฎหมายไม่เท่ากับตัวสถาบันฯ หากแต่เป็นเพียงบทบัญญัติหนึ่งในประมวลกฎหมายเท่านั้น ถ้าหากสังคมยังไม่เข้าใจ โดยเฉพาะภาคการเมือง ก็จะไม่มีใครที่กล้าแตะต้องและเปลี่ยนแปลงในเรื่องความไม่สมเหตุสมผลของ กฎหมายอาญามาตรา 112

นโยบายปราบหมิ่นของ รบ. จะยิ่งบีบคั้นประชาชน

ปวินกล่าวว่า การปรองดองระหว่างฝ่ายทักษิณ และฝ่ายเจ้าที่เกิดขึ้นในต้นปีที่ผ่านมา หรือ “ปฏิญญาบรูไน” ทำให้เชื่อได้ว่ารัฐบาลคงต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขบางอย่างที่ถูกกำหนดมา โดยเฉพาะการประกาศนโยบายต่างๆ ที่ยืนยันถึงความจงรักภักดี เพื่อแลกกับความอยู่รอดของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อย่างไรก็ตาม ปวินเชื่อว่า รัฐบาลเพื่อไทย ไม่ควรเล่นตามเกมของฝ่ายตรงข้าม เพราะไม่ว่าอย่างไร ชนชั้นนำก็ไม่มีวันยอมรับได้ ประชาชนจึงจำเป็นต้องลุกขึ้นมาเรียกร้องและรณรงค์ในประเด็นกฎหมายหมิ่นฯ ตามที่ตนเองสามารถทำได้ และไม่ควรไปคาดหวังกับนักการเมืองมากนัก

นักวิชาการจากกลุ่มนิติราษฎร์ ชี้ว่าการบังคับใช้กฎหมายที่กดขี่ประชาชนเช่นมาตรา 112 นี้ กลับมิได้ทำให้ประชาชนกลัวเกรงมากขึ้น กลับแต่ทำให้ผู้คนตระหนักถึงภัยของกฎหมายหมิ่นฯ และลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อสิทธิของตนเอง ดังจะเห็นจากในช่วงปีที่ผ่านมา มีการผลักดันข้อเสนอเกี่ยวกับกฎหมายหมิ่นฯ ในแบบที่แรงขึ้น กล้าขึ้น และเป็นรูปธรรมมากขึ้น ดังนั้นจึงขอกล่าวไปยังฝ่ายชนชั้นนำด้วยว่า ให้ประเมินประชาชนให้ดี อย่าคิดว่าจะสามารถเชือดไก่ให้ลิงดูแล้วจะจัดการผู้ที่เห็นต่างได้อย่าง ง่ายๆ

“สถาบันกษัตริย์นับเป็นองค์กรหรือหน่วยงานหนึ่งในสังคมที่สามารถวิพากษ์ วิจารณ์ได้ ซึงต้องแยกให้ออกระหว่างการดูหมิ่นเหยียดหยามกับการอาฆาตมาดร้าย ถ้าเรายอมรับในจุดนี้ สังคมจะเดินไปได้ เสรีภาพจะไปด้วยกันได้ ทุกสถาบันจำเป็นต้องถูกวิพากษ์วิจารณ์เพื่อปรับเปลี่ยนให้มันสอดคล้องกับ ระบอบการปกครองที่เป็นอยู่ ทุกวันนี้เราไม่ได้อยู่ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ที่ไม่สามารถแตะต้องหรือพูดถึงสถาบันไม่ได้เลย เราอยู่ในระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงอยู่ใต้รัฐธรรมนูญ เพราะฉะนั้น สถาบันพระมหากษัตริย์จึงเป็นองค์กรที่เราต้องวิพากษ์วิจารณ์ได้” สาวิตรีกล่าว

fearlessness 01

fearlessness 02

fearlessness 03

fearlessness 04

fearlessness 05

fearlessness 06

fearlessness 10

fearlessness 11

ล้านคำบรรยาย การ์ตูนเซีย 17/12/54 หนาว..ว..เข้ากระดูก

ที่มา blablabla

โดย

ภาพถ่ายของฉัน



อยากบอกม๊าก คนดี ว่าพี่หนาว
คิดถึงคราว ก่อนนั้น วันสุขสม
เคยสั่งฆ่า หน้าระรื่น ยิ้มชื่นชม
วันนี้ตรม โคตร..หนาว ร้าวฤดี....


ถึงคราวตน ต้องอกสั่น ขวัญผวา
จะพึ่งพา ใครได้ ไอ้หน้าหมี
แม้ไอ้ชั่ว จรกา หน้าอัปรีย์
อาจชิ่งหนี ยามหมดท่า เข้าตาจน....


ล้วนกรรมใคร กรรมมัน ร่วมกันก่อ
พวกสอพลอ ยังสับปลับ ให้สับสน
ภาพกอดคอ เคยสั่งฆ่า ประชาชน
จึงหมองหม่น หวาดหวั่น จนสั่นเทา....


เมื่อความจริง เปิดเผย เฉลยไว้
ปากเฉไฉ ยังเร็วรี่ ตีหน้าเศร้า
ชายชุดดำ ย้ำอยู่ได้ แม้ไร้เงา
ยังงี่เง่า อวดฉลาด อนาถคน....


อยากบอกน้อง คนดี พี่หนาวมาก
กรรมกระชาก มาเร็วรี่ ต้องปี้ป่น
มันถึงคราว พวกแสนชั่ว ทุกตัวตน
หนียังไง ก็ไม่พ้น โดนทุกราย....


๓ บลา / ๑๗ ธ.ค.๕๔

ปรวย Salty Head: ตอนที่ 3 บ้านเมืองเข้าสู่ยุคเถื่อนยังไง

ที่มา Thai E-News

ที่มา เฟสบุ๊ค ‎Pruay Salty Head
16 ธันวาคม 2554

ถ้า ใครยังจำได้หลังจากผมโดน ดีเอสไอ บุกจับกุม ผมเขียนเรื่องราวเล่าเรื่องว่าดีเอสไอจับผมยังไง เผยแพร่ในอินเตอร์เนตเพื่อแชร์ประสบการณ์ที่หาได้ยากกับเพื่อนๆในโลกไซเบอร์ ถ้าท่านเคยอ่านจะเห็นได้ว่าผมไม่เคยมีอคติโกรธเคืองกับเจ้าหน้าที่ที่จับกุม ผม เพราะผมเข้าใจว่าเขาทำตามหน้าที่ ส่วนกฏหมายที่ใช้จับกุมมันมีปัญหาในการบังคับใช้ภายใต้อุดมการณ์กษัตริย์ นิยมที่ปกคลุมประเทศนั้นก็เป็นอีกเรื่องนึง

ผมเองก็ ไม่คิดว่าผมจะต้องมาเขียนเล่าเรื่องราวเหตุการณ์ต่อเนื่องนี่อีก ครั้งเป็นครั้งที่ 3 ผมไม่คิดว่าบ้านเมืองเราจะเข้าสู่ยุคเถื่อนถึงขนาดนี้ ตลอดมาหลังจากผมหลบหลี้หนีภัยออกนอกประเทศ ผมเข้าขอความช่วยเหลือกับองค์กรสิทธิมนุษยชนหลายแห่งในต่างประเทศ รวมทั้งองค์กรใหญ่ระดับโลกอย่าง UNHCR

ผมถูกสัมภาษณ์นับครั้งไม่ถ้วน กับเรื่องราวที่เกิดขึ้น ผมก็เล่าให้เขาฟังอย่างตรงไปตรงมาไม่มีใส่สีตีไข่ โดยเฉพาะประเด็นที่เขาถามเน้นคือขณะที่เจ้าหน้าที่ ดีเอสไอ เข้าจับกุมผมมีการทรมานผมหรือไม่ รังแกผมหรือไม่ ผมตอบไปตามตรงว่าไม่มีเลย เจ้าหน้าที่ ดีเอสไอ ที่เข้าจับกุมปฏิบัติต่อผมอย่างดี สั่งอาหารมาให้ผมกินระหว่างสอบสวนด้วย พูดกับผมอย่างดี ที่ผมเล่าไปแบบนี้เพราะผมคิดว่าถึงแม้เจ้าหน้าที่จะเข้าจับกุมผมและผมหลบหนี ขณะนี้ มันก็เหมือนเรากำลังเล่นเกมส์แมวจับหนูกัน

เจ้าหน้าที่มี หน้าที่ไล่จับผม ส่วนผมเป็นมนุษย์ผู้รักเสรีภาพผมไม่ยอมให้ตัวเองขาดอิสระภาพผมก็ต้องหนี และผมคิดว่าเกมส์ที่เรากำลังเผชิญกันอยู่นี้เป็นแฟร์เกมส์ ผมคิดว่าเจ้าหน้าที่จะเล่นเกมส์ตามกฏกติกาที่มีอยู่ ซึ่งจะว่าไปตามกฏกติกาที่มีอยู่ในสภาพบ้านเมืองไม่ได้เป็นประชาธิปไตยเต็มใบ แบบนี้ เจ้าหน้าที่ก็ถือแต้มต่อเหนือกว่าผมมากมาย

แต่ผมไม่คิดเลย ว่า ขณะที่เจ้าหน้าที่บ้านเมืองถือกฏหมายฉบับที่เอาเปรียบกฏขี่บังคับประชาชน อยู่ในมือแบบมีอำนาจล้นเหลืออยู่แล้ว พวกท่านยังพยายามใช้อำนาจเถื่อนเล่นเกมส์นอกกฏกติกาที่มีมากอยู่แล้วเข้าไป อีก

วันที่เจ้าหน้าที่ดีเอสไอบุกเข้าจับผมเมื่อปีที่แล้ว พวกเขาพาผมกลับไปบ้าน พวกเขาเข้าค้นบ้านผมทุกซอกทุกมุม ก็ไม่พบสิ่งของผิดกฏหมายอะไร คงพบแต่โน๊ตบุ๊คผมและหนังสือมากมายเต็มบ้าน พวกเขายังหยิบหนังสือการเมืองบางเล่มไปเพื่อจะดูว่าผมอ่านอะไรบ้าง และภายหลังพวกเขาก็คืนมาให้ผมอย่างดี

หลังจากนั้น เมื่อผมหลบหนีออกจากประเทศไม่นาน บ้านหลังนี้ที่ผมตั้งใจซื้อเพื่อให้แม่กับน้องผมได้มาอยู่ด้วยก็มีเหตุ จำเป็นให้ต้องประกาศขาย เพราะเมื่อผมไม่อยู่ต้องหลบออกจากประเทศ ผมไม่มีงานทำ เงินที่ผ่อนบ้านแต่ละเดือนแม่กับน้องสาวผมไม่อาจรับภาระไหว ผมจึงต้องตัดใจประกาศขาย และเพื่อให้ผู้ที่ต้องการจะซื้อมั่นใจว่าเมื่อซื้อแล้วท่านสามารถเข้าอยู่ ได้ทันที ผมจึงต้องให้แม่กับน้องสาวย้ายออกจากบ้านไปอยู่ที่อื่น บ้านหลังนี้ก็ว่างลงเป็นเวลาปีกว่าแล้ว ไม่มีใครอยู่ที่บ้าน ไม่มีสิ่งของหลงเหลือในบ้าน คงมีแค่จักรยานคันโปรดของผมฝากจอดไว้อยู่

แต่ แล้วจู่ๆไม่กี่วันมานี้ เจ้าหน้าที่บ้านเมืองก็เล่นเกมส์เถื่อนกับผม เขาโทรไปหาน้องสาวผมทำทีเป็นขอซื้อบ้าน ถามว่าทำไมถึงขายบ้าน น้องสาวผมก็บอกไปว่าพี่ชายให้ขายเพราะพี่ชายไปอยู่ต่างประเทศ หลังจากนั้นก็มีคนโทรมาอีกครั้งคราวนี้เปิดเผยตัวว่าเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ บอกว่าจะขอเข้าค้นบ้าน มีกุญแจมั๊ย ซึ่งแน่นอนเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่ได้นัดล่วงหน้า น้องสาวผมก็อยู่ไกลและไม่ได้เตรียมกุญแจมาจึงบอกไปตามนั้น แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจกลับบอกว่าตอนนี้อยู่หน้าบ้านแล้ว จะขอเข้าค้นเลย มีหมายค้นด้วย น้องสาวผมก็เลยงงว่าจะค้นหาอะไรเพราะบ้านไม่มีใครอยู่มาเป็นปีแล้ว และสิ่งที่ตำรวจบอกทำให้ตอนนี้แม่และน้องสาวผมตกใจและหวาดกลัวมาก เพราะตำรวจบอกว่า จะเข้าค้นปืนเถื่อนภายในบ้าน! และพวกเขาก็เข้าไปค้นภายในบ้านโดยที่ผมไม่ทราบว่าพวกเขาใช้กุญแจอะไรไข เข้าไป และขณะที่ค้นก็ไม่มีคนที่ผมมอบหมายรับรู้การค้นนั้นด้วย และตอนนี้ผมก็ไม่ทราบว่าเขาบันทึกการตรวจค้นว่าพบอะไรหรือไม่!

เหตุการณ์บัดซบที่เกิดขึ้นนี้ส่งผลสองอย่าง

หนึ่ง การที่ตำรวจยกขโยงกันไปค้นบ้านแบบนี้ แน่นอนเพื่อนบ้านย่อมแตกตื่นและเป็นที่โจษจันกัน เพราะฉะนั้นต่อไปนี้การที่บ้านหลังนี้จะขายได้ย่อมเป็นเรื่องยาก เพราะผมสังเกตุพฤติกรรมคนมาซื้อบ้านก็มักจะไต่ถามความเป็นไปของบ้านจาก เพื่อนๆบ้านที่อยู่ใกล้ชิดกัน ถ้าคนจะมาซื้อทราบว่าบ้านหลังนี้เห็นตำรวจยกโขยงมาค้นปืนเถื่อนแบบนี้ ท่านว่าจะมีใครอยากซื้อหรือไม่

สอง หลังเหตุการณ์เกิดขึ้นทำให้แม่และน้องสาวผมหวาดกลัวและกดดันมาก จริงๆมันมีเรื่องราวเกิดขึ้นก่อนหน้านี้ที่ผมไม่เคยเล่าคือ เมื่อผมโพสเรื่องราวที่ผมโดนจับครั้งแรกนั้น แม่ผมกับน้องก็โดนเรียกไปสอบ นั้นทำให้ครั้งนี้ พวกเขาถึงขนาดเอ่ยปากฝากมาว่าให้ผมเลิกโพสอะไรเสียทีเถอะ เพราะคนที่อยู่ในประเทศเดือดร้อน นี่มันก็เหมือนเจ้าหน้าที่ทำอะไรผมไม่ได้ก็เที่ยวไปกดดันคนที่ผมรักแทน เพื่อจะให้ผมหยุดต่อสู้

ผมอยากจะฝากบอกไปถึงเจ้า หน้าที่บ้านเมืองทั้งหลายไม่ว่าหน่วยไหนก็ตาม ผมเป็นประชาชนธรรมดาครับ ผมไม่เคยมีอาวุธใดๆในบ้าน ไม่ว่าอาวุธถูกกฏหมายหรืออาวุธเถื่อน อย่าใส่ร้ายป้ายสีผม หรือไม่ทราบว่าท่านมองจักรยานเสือหมอบผมเป็นอาวุธ!

แต่ ถ้าผมจะมีอาวุธอะไรที่จะใช้ต่อสู้เพื่อให้ประเทศที่ผมรักมีความ ยุติธรรมกลับคืนมา เพื่อให้ประชาชนที่รักเสรีภาพอยู่กันอย่างไม่ต้องหวาดกลัวกฏหมายและอำนาจที่ ไม่เป็นธรรม ผมก็จะบอกว่าผมมีแค่กล้องถ่ายรูป มีคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค และอาวุธอีกอันที่สำคัญที่ผมมี ซึ่งท่านควรจะกลัวมากกว่าอาวุธปืนที่พวกท่านเสแสร้งปั้นแต่งขึ้นเพื่อป้ายสี ผม นั่นคือหัวใจของผมครับ

ในชีวิตผม ก็เคยได้ยินเรื่องราวแบบนี้มาบ่อยครั้ง เรื่องการยัดข้อหาให้กับประชาชนผู้บริสุทธ์ แต่ผมไม่คิดว่าผมจะเจอเข้ากับตัวเอง ผมไม่ทราบว่าที่พวกท่านกระทำลงไปมีเหตุผลอะไร

ผมไม่รู้พวกท่านพยายาม ปั้นแต่งเรื่องนี้ขึ้นมาทำไม พวกท่านคงพยายามจะสร้างภาพว่าประชาชนในประเทศนี้ที่ลุกขึ้นเรียกร้องความ เป็นธรรมในประเทศ เป็นพวกก่อการร้าย เหมือนๆกับที่ท่านพยายามจะใส่ร้ายป้ายสีประชาชนมาตลอด เพื่อกลบเกลื่อนเรื่องจริงว่าที่ประชาชนลุกขึ้นมาสู้นั้นเพราะอะไร

แต่ พวกท่านคงได้แต่มองประชาชนอย่างผิวเผิน คิดเอาเองว่าต้องมีปืนเท่านั้นประชาชนจึงจะกล้าลุกขึ้นสู้ แต่ผมอยากให้พวกท่านลองมองย้อนกลับไปดูเหตุการณ์สลายการชุมนุมที่ราชประสงค์ ดูเถิดครับ ว่ามีประชาชนมือเปล่าหรืออย่างเก่งก็แต่มีหนังสติ๊กวิ่งเข้าสู้ทหารที่มี อาวุธปืนเต็มอัตราศึกอย่างไร พวกเขาไม่มีอาวุธเทียบเท่าพวกท่าน แต่อย่างนึงที่ประชาชนผู้ลุกขึ้นมาเรียกร้องความเป็นธรรมมีเหนือกว่าพวกท่าน คือหัวใจครับ

และถ้าท่านจะใช้กฏหมายวิธีการพิสดาร พันลึกเข้าเหยียบย่ำบีบบังคับหัวใจคน เหล่านี้ ผมขอบอกว่า นอกจากจะไม่ทำให้พวกเขาสยบยอมแล้ว พวกเขาจะลุกขึ้นสู้และตะโกนบอกพวกท่านว่า กูไม่กลัวมึงครับ แม้พวกเขาจะไม่มีอาวุธอยู่ในมือก็ตาม
ท้าย นี้ผมรับประกันแบบมนุษย์ธรรมดาคนนึงได้เลยครับว่า แม้ว่าพวกท่านจะพยายามใช้วิธีเถื่อนใส่ร้ายป้ายสีผมอย่างไร ผมก็จะสู้กับพวกท่านอย่างแฟร์เกมส์ครับ ผมจะไม่ใช้วิธีเถื่อนอย่างที่พวกท่านทำกับผมแน่นอนครับ ผมขอเอาเกียรติของประชาชนธรรมดานี่แหละครับยืนยัน

เพราะ ผมเชื่อว่าเมื่อวันนึงประเทศเขาสู่ความปกติและมีเสรีภาพ เมื่อนั้นประวัติศาสตร์จะบันทึกไว้เองครับว่า ในวันที่บ้านเมืองเข้าสู่ยุคเถื่อนใครหน่วยงานไหนทำอะไรไว้บ้าง.

ปรวย salty head
16 ธันวาคม 2554

เป็น วันที่ตัดสินใจยากยิ่งว่าจะโพสเรื่องนี้ให้คนอื่นรู้ดีหรือเปล่า แต่แล้วก็ตัดสินใจโพสครับ และพร้อมยอมรับและเผชิญหน้ากับสิ่งที่จะเกิดขึ้นหลังจากโพสไปแล้ว


0 0 0 0 0


ปล.สำหรับท่านที่ไม่เคยอ่านเรื่องราวของผมมาก่อน อ่านได้ที่นี้ครับ

เขาจับผมยังไง เรื่องจริงจาก ปรวย salty head ตอนที่ 1 http://liberalthai.wordpress.com/2010/07/26/dsi/

เขาสอบสวนผมยังไง เรื่องจริงจาก ปรวย salty head http://liberalthai.wordpress.com/2010/07/28/dsi-2/