พ.ต.ท. ทักษิณพูดว่า ใครที่โกรธเกลียดผม หากได้กลับเมืองไทย ผมจะแวะไปหาทุกคน เพื่อถามว่าโกรธเกลียดอะไรผม รวมถึงท่านประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ (พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์) ด้วย ถ้าท่านให้ผมคุย ผมคุย วันนี้ถ้าท่านให้ผมโทรศัพท์คุยก็คุย ผมไม่มีอะไร ผมคนไทย เราเคารพผู้ใหญ่ด้วยคุณวุฒิและวัยวุฒิ เพราะฉะนั้น ทั้งวัยวุฒิและคุณวุฒิของท่านผมเคารพได้ ไม่มีปัญหา
สอด คล้องกับความปรารถนาของ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรŽ ผู้สมัคร ส.ส.ระบบปาร์ตี้ลิสต์ หมายเลข 1 ของพรรคเพื่อไทย ที่แสดงความจำนงในวาระสัมภาษณ์พิเศษกับผู้สื่อข่าวในเครือมติชนว่า ภายใน 6 เดือนแรกหากได้เป็นนายกรัฐมนตรี จะลงมือทำวาระเร่งด่วนโดยเร็ว 2 วาระ
วาระแรก คือ เรื่องปัญหาปากท้องประชาชน
วาระที่สอง คือ เรื่องสามัคคีปรองดอง
คำ ว่า ปรองดองŽ ในทรรศนะ ยิ่งลักษณ์Ž คือ อยากเห็นประเทศก้าวไปสู่ความสามัคคีปรองดอง ทำอย่างไรจะให้ประเทศเป็นหนึ่ง คือต้องเห็นประโยชน์ของประเทศส่วนใหญ่ แล้วทำให้บ้านเมืองกลับมาอยู่ในหลักนิติธรรมŽ
ถ้าย้อนกลับมาว่า เราควรจะเริ่มจากตรงไหน ก็ปฏิวัติ 19 กันยายน 2549 ว่าจะทำอย่างไรให้ประเทศกลับมาเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง คือสิ่งไหนควรกลับมาสู่ความยุติธรรมและเสมอภาคก็ควรจะกลับมาทำ แต่สุดท้ายคือเราต้องได้รับความคิดเห็นจากประชาชนส่วนใหญ่Ž
ทว่า ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา มีนักการเมืองกระดูกเบอร์ใหญ่ ระดับเซียนหลายคน พยายามทำเรื่อง ปรองดองŽ มาหลายหน แต่ก็ยังไม่บรรลุเป้าหมาย
ยิ่งลักษณ์Ž บอกว่า การปรองดอง เป็นโจทย์ที่ประเทศชาติต้องการŽ
วิธี การไปสู่เป้าหมายของเธอ คือ ต้องคุยกับทุกส่วน เหมือนกับการที่เราบอกว่าจะทำให้เกิดความสามัคคีปรองดองต้องคุยกับทุกภาค ส่วน ว่าทุกภาคส่วนวันนี้เป็นอย่างไร การคาดหวังเป็นอย่างไร แต่สิ่งที่บนพื้นฐานจะสำเร็จหรือไม่นั้น การปรองดองที่แท้จริง ทุกคนต้องมองข้ามความขัดแย้งของตัวเองŽ
ต้องเอาโจทย์ของประเทศ เป็นที่ตั้งก่อนว่า หากจะเดินหน้านั้นจะต้องทำอย่างไร อาจจะไม่ตรงกับใจเราร้อยเปอร์เซ็นต์ และถ้าต่างคนต่างยึดของตัวเองก็ไม่มีทางที่จะปรองดองได้Ž
แม้ ว่าที่ผ่านมา ยิ่งลักษณ์Ž จะเคยพบปะกับ พล.อ.เปรมŽ บ้าง แต่เธอก็ยังไม่เคยได้กราบสวัสดี และหากว่าได้พบอีกครั้ง สิ่งที่ ยิ่งลักษณ์Ž จะทำคือ ขอคำแนะนำ คงไม่กล้าที่จะบอกว่าคุยŽ
เรื่อง ที่ทุกพรรคหวาดหวั่น คือ คดียุบพรรคŽ และพรรคที่เธอสังกัดนั้นเคยผ่านการถูกยุบมาแล้วถึง 2 ครั้ง ถามว่าเธอกลัวคดีจะซ้ำรอยหรือไม่ เธอตอบว่า การเมืองต้องทำให้ทุกคนสามารถวิจารณ์ในที่สาธารณะอย่างเปิดเผยได้ แต่ก็อยากขอให้เราเล่นการเมืองอย่างสร้างสรรค์และอยู่ในกติกา
นักการเมืองหลายรายวิพากษ์วิจารณ์เรื่องการตั้งรัฐบาลล่วงหน้า มีนัยว่า แม้เพื่อไทยชนะ แต่อาจจะไม่ได้จัดตั้งรัฐบาลŽ
ยิ่ง ลักษณ์Ž บอกว่า ดิฉันไม่อยากเห็นบ้านเมืองเป็นอย่างนั้น อยากเห็นบ้านเมืองเดินไปข้างหน้า อยากเห็นการเลือกตั้งที่เป็นประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์ และทุกคนเคารพในกติกา เพราะเชื่อว่าวันนี้ ถ้าเราเห็นการแก้ไขให้ประเทศเดินไปข้างหน้า ก็ต้องเคารพกติกา เพราะการเลือกตั้งครั้งนี้มาจากเสียงของประชาชนŽ
พันธะ-สัญญา ของ ยิ่งลักษณ์Ž ทั้งในฐานะ น้องสาว-อดีตนายกฯŽ และในฐานะ ว่าที่-หัวหน้ารัฐบาลŽ ประกาศเรื่องการจัดตั้งรัฐบาล มีความว่า
คำ ว่าปาร์ตี้ลิสต์เบอร์ 1 นั้นยังไม่ได้สรุปว่าเป็นนายกรัฐมนตรี หลังจากที่ประชาชนตัดสินแล้วค่อยกลับมาดูว่าใครเหมาะสมเป็นนายกฯ แต่สิทธิอันแรกคือพรรคไหนได้เสียงมากที่สุดควรได้ตั้งรัฐบาลŽ
อยู่ ที่จำนวนเสียงว่าจำนวนเสียงเกินครึ่งหรือเปล่า ถ้าเกินครึ่งโดยหลักก็คงจะตั้งรัฐบาลได้เลย แต่พรรคเพื่อไทยเราก็ยินดีและเชิญชวนมีพรรคร่วมเข้ามา เพราะว่าการทำงานหลาย ๆ พรรค มีจำนวนผู้ที่มีความชำนาญนั้นก็เป็นสิ่งที่ดีŽ
เมื่อถูกชูขึ้นมาเป็นคู่ท้าชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เธอบอกว่าเธอพร้อม แต่อยากให้ทุกอย่างเป็นขั้น-เป็นตอน
ขั้น แรกก่อน คือเราเป็นปาร์ตี้ลิสต์เบอร์ 1 เราก็อยากให้ประชาชนเลือกเรามาทำงาน ก็ต้องดูจำนวน ส.ส. จากนั้นก็จะดูขั้นที่ 2 ต่อว่า ถ้าได้จำนวน ส.ส.มากเป็นที่ 1 ถึงจะมีความสามารถในการจัดตั้งรัฐบาล แล้วพรรคไหนที่ได้ที่ 1 ก็ควรมีสิทธิเสนอคนที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีŽ
"โจทย์ เศรษฐกิจ"ที่อยู่ในหัวของ ยิ่งลักษณ์Ž มีหลายเรื่อง แต่วาระที่ไม่เหมือนประชาธิปัตย์ ชัดเจนคือ แก้ไขŽ การประกันราคาสินค้าเกษตร เป็น การรับจำนำŽ
กรณีของข้าว จะมีการปรับเปลี่ยนจากการรับประกันราคา มาเป็นการรับจำนำ ประชาธิปัตย์เขามองเรื่องการกระตุ้นเศรษฐกิจแบบนำเงินคงคลังไปให้ แต่เพื่อไทยกระตุ้นให้เกิดการหมุนเวียนของเงิน ทั้งดีมานด์-ซัพพลาย เป็นไปตามกลไกตลาดที่สมบูรณ์Ž
การประกันราคาทำให้สินค้าไม่เป็น ไปตามราคาตลาด แต่การรับจำนำ หากช่วงไหนราคาข้าวตกต่ำ เราก็สามารถนำสินค้าที่มีอยู่เยอะไปส่งออก ซัพพลายก็หมดไป ทำให้เกิดการหมุนเวียน เป็นกลไกตลาดที่แท้จริงŽ
เรื่องเทคโนโลยี 3G ถึง 4G ในทรรศนะของ ยิ่งลักษณ์Ž นั้นต้องเร่งรัด และหากทุกอย่างพร้อมก็จะเปิดระบบ 4G ไปด้วย
แต่ วันนี้ของ ยิ่งลักษณ์Ž ทุกนาทีมีแต่เรื่องการเมือง ส่วนเรื่องหุ้นร้อน-ตำแหน่งในบริษัทของตระกูล ชินวัตรŽ นั้นเธอเคลียร์พ้นตัว ไม่พัวพัน
ดิฉันตัดสินใจเอง ชีวิตเราต้องตัดสินใจเอง ตัดสินใจมาครั้งนี้แล้ว ก็ได้มีการเคลียร์เรื่องหุ้น ซึ่งตามหลักการแล้ว เรื่องหุ้นนั้นไม่ได้ผิดข้อบังคับอะไร แต่ที่เคลียร์ก็เพราะอยากแสดงความชัดเจนในการทำงานมากกว่า
เธอ บอกว่า คำประกาศของ ทักษิณŽ ที่หวังกลับบ้านปลายปีนี้ เป็นแพลนส่วนตัวของท่าน เราต้องกลับมาที่ความเป็นจริง ว่าความเป็นจริงเป็นอย่างไรบ้างŽ
คำถามเกือบสุดท้าย นักข่าวถามว่า ถ้ามีพร 1 ข้อ คุณยิ่งลักษณ์อยากขออะไร เธอหยุดคิดนิดหนึ่งก่อนตอบว่า ความจริงแล้วอยากได้หลายข้อ
แต่ถ้าให้ข้อเดียว จะบอกว่าถ้าเห็นว่าเราเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ ขอให้เรามาเป็นรัฐบาลŽ
................
ยิ่งลักษณ์-คุณสมบัติต้องห้าม?
คู่แข่ง-คู่ท้าชิง นายกรัฐมนตรี คนที่ 28 กำลังตกที่นั่งเดียวกับ อดีตนายกรัฐมนตรี คนที่ 23 ของประเทศไทย
พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตหัวหน้าพรรคไทยรักไทย เมื่อครั้งเตรียมขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 23 มีเรื่อง "หุ้นเป็นพิษ" ทำให้ต้องติดกับดัก ปปช.อยู่นานหลายเดือน
กระทั่งคำวินิจฉัยตุลการศาลรัฐธรรมนูญ ออกมา 8 ต่อ 7 เสียงวินิจฉัยให้พ.ต.ท.ทักษิณ พ้นผิด เก้าอี้นายกรัฐมนตรี จึงมั่นคง
กรณี ของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ผู้ซึ่งยื่นบัญชีรายชื่อ เป็นผู้สมัครส.ส.ระบบปาร์ตี้ลิสต์ หมายเลข 1 มีข้อสังเกตในวงการการเมืองว่า เธออาจจะมีคุณสมบัติต้องห้าม ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 102 ที่บัญญัติเกี่ยวกับ "ลักษณะต้องห้าม" ไว้ ดังนี้
1.ติดยาเสพติดให้โทษ
2. เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต
3. เป็นบุคคลผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
4. ต้องคำพิพากษาให้จำคุกและถูกคุมขังอยู่โดยหมายของศาล
5. เคยต้องคำพิพากษาให้จำคุกโดยได้พ้นโทษมายังไม่ถึง 5 ปีในวันเลือกตั้ง เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
6. เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ เพราะทุจริตต่อหน้าที่ หรือถือว่ากระทำการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ
7. เคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน เพราะร่ำรวยผิดปกติ
8. อยู่ในระหว่างต้องห้ามมิให้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
9. เคยถูกวุฒิสภามีมติให้ถอดถอนออกจากตำแหน่ง
ใน คำพิพากษาศาลฎีกานักการเมืองที่ ยึดทรัพย์พ.ต.ท.ทักษิณ 46,373 ล้านบาท ตัดสินว่า ขณะที่พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นนายกรัฐมนตรี และ คุณหญิงพจมาน ภรรยา มีผู้ถือหุ้นแทน ดังนี้ 1.นายพานทองแท้ 458,550,000 หุ้น 2.น.ส.พิณทองทา 604,600,000 หุ้น 3.นายบรรณพจน์ 336,340,150 หุ้น และ 4. น.ส.ยิ่งลักษณ์ 20,000,000 หุ้น รวมทั้งสิ้น 1,419,490,150 หุ้น
คำพิพากษานี้ ทำให้เกิดปัญหาในข้อกฎหมายว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ขัดคุณสมบัติข้อที่ 7 เรื่องการลงสมัครส.ส.หรือไม่
น.ส.ยิ่ง ลักษณ์ ตอบคำถามนี้ว่า "ได้ทำตามกติกาและกฎเกณฑ์ที่มีอยู่ ไม่มีปัญหาในเรื่องคุณสมบัติอย่างแน่นอน และกรณีคดี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ก็ไม่เกี่ยวข้องกัน"
ด้าน นายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธาน กกต. อธิบายว่า คุณสมบัติของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ผู้สมัคร ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ ลำดับ 1 พรรคเพื่อไทย ยังไม่ถือว่าขาดคุณสมบัติ จากกรณีเคยถูกศาลฎีกา แผนกคดีอาญานักการเมือง สั่งให้ยึดทรัพย์สินที่ คตส. สั่งอายัด 202 ล้านบาท ตกเป็นของแผ่นดิน ในคดีที่ถือหุ้นแทน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร พี่ชาย เพราะต้องรอให้มีการร้องเรียนเข้ามาก่อน กกต.จึงจะพิจารณา คดีซุกหุ้นที่ "ยิ่งลักษณ์" เข้าไปเกี่ยวข้อง ไม่ใช่คดีอาญา ต้องเป็นคดีอาญาและการพิพากษาคดีต้องถึงถึงที่สุดแล้วเท่านั้น จึงจะถือว่าขาดคุณสมบัติ
นายชูศักดิ์ ศิรินิล ที่ปรึกษาฝ่ายกฎหมายพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า คดีดังกล่าวศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้พิพากษายึด ทรัพย์ของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จึงไม่ใช่ทรัพย์ของน.ส.ยิ่งลักษณ์ และฝ่ายกฎหมายของน.ส.ยิ่งลักษณ์ คงตรวจสอบแล้วว่า ไม่มีปัญหา เพราะทรัพย์ของน.ส.ยิ่งลักษณ์ไม่ได้ถูกยึด และศาลฎีกาก็เข้าใจว่าเป็นทรัพย์ของพ.ต.ท.ทักษิณ
นายแก้ว สรร อติโพธิ อดีตกรรมการ คตส. กล่าวว่า คดีนี้คนที่ถูกยึดทรัพย์และถูกตัดสินคดีคือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร น.ส.ยิ่งลักษณ์ไม่ได้ถูกยึดทรัพย์ แต่เป็นทรัพย์ที่ถือแทนพ.ต.ท.ทักษิณ หรือช่วยซุกไว้เท่านั้น ดังนั้น คิดว่า ไม่น่าจะมีปัญหาเรื่องคุณสมบัติการเป็น ส.ส.
"แต่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะต้องถูกดำเนินคดีใน 3 คดีที่รออยู่ คือ1. เบิกความเท็จต่อศาลฎีกาในคดียึดทรัพย์พ.ต.ท.ทักษิณ 2. ให้การเท็จต่อ คตส.ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่รัฐในเวลานั้น 3. คดีการโอนหุ้นเป็นเท็จต่อกลต. ในคดียึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณ" นายแก้วสรรกล่าว