ที่มา thaifreenews
โดย bozo
“จรัล ดิษฐาอภิชัย” อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
และอดีตแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.)
ผู้กลับมาปรากฏตัวในประเทศเมื่อปลายเดือนกันยายน 2554
นับแต่เขาเดินทางออกนอกประเทศเมื่อปีที่แล้วไม่กี่วันหลังเหตุการณ์ “19 พฤษภา 53”
รวมเวลาในการเดินสายสื่อสารสถานการณ์การเมืองไทยต่อคนไทย
ในต่างแดนและชาวต่างชาติ ทั้งยุโรปและสหรัฐอเมริกาเป็นเวลากว่าปี
ถึงวันนี้ “จรัล” ยังอยู่บนถนนการเมืองแม้จะไม่ได้เป็น ส.ส.
แต่มีภารกิจเดินทางเข้ารัฐสภาในฐานะที่ปรึกษากรรมาธิการต่างประเทศ
ที่มี “สุนัย จุลพงศธร” ส.ส.บัญชี่รายชื่อ พรรคเพื่อไทยเป็นประธาน
ในสัปดาห์ที่น้ำเริ่มลด ลมหนาวเริ่มโชย กระแสการเมืองกำลังกลับมากระพือ
เมื่อมีประเด็น “คนแดนไกล” จะกลับเข้าประเทศได้อีกหรือไม่
“จรัล ดิษฐาอภิชัย” ให้สัมภาษณ์ “ประชาชาติออนไลน์”
พร้อมเปรียบเทียบกรณีการพระราชทานอภัยโทษที่เกิดขึ้นในประเทศเพื่อนบ้านอย่างกัมพูชา
@ร่างพระราชกฤษฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ
จะเป็นเหตุทำให้รัฐบาลนี้อยู่ต่อไปไม่ได้หรือไม่
-สถานการณ์พื้นฐานคนก็แบ่งความเห็นออกเป็น 2 ฝ่ายอยู่แล้ว และยังดำรงอยู่ คือ
ฝ่ายล้มรัฐบาลและฝ่ายหนุนรัฐบาล จนกระทั่งน้ำท่วมก็มีการเมืองของน้ำท่วม
ที่ดำรงอยู่อยู่แล้ว ผมและคนเสื้อแดง ก็เชื่อว่าหลังน้ำลด
ฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลก็คงก่อกระแสขับไล่รัฐบาล เขาก็ประกาศทุกวัน
ฉะนั้น เมื่อมีปัญหาร่างพระรากฤษฎีกา ขอพระราชทานอภัยโทษ ในวโรกาส 84 พรรษา
เราต้องเข้าใจว่า แม้การพระราชทานอภัยโทษ เป็นอำนาจของพระมหากษัตริย์
แต่ในทางปฏิบัติ หรือวิธีการ ก็ต้องมีผู้เสนอขึ้นไป คือ
ครม. เพราะเป็นหน้าที่ฝ่ายบริหาร
ซึ่งอาจจะทูลเกล้ารายชื่อแต่ละปีจำนวนไม่เท่ากัน
บางวโรกาสก็ 2 หมื่นรายชื่อ หรือ 3 หมื่นรายชื่อ ฉะนั้น ทางฝ่ายบริหาร คือ
ครม. ก็ต้องทำร่างพระราชกฤษีกา เพื่อกราบบังคมทูล
@ แบบนี้รัฐบาลกำลัง เกี้ยเซี๊ย กับอำมาตย์ หรือเปล่า
-เท่าที่ผมอ่านความเห็นตามบทความที่บอกว่า
ถ้าทำแบบนี้เท่ากับทรยศหักหลังคนเสื้อแดงที่ติดคุก
แต่ผมว่าความคิดแบบนี้ก็เป็นหตุผลที่แปลกๆ
เพราะถ้าคนเสื้อแดงที่ติดคุกอยู่ในข่ายได้รับอภัยโทษ
ก็ต้องได้รับพระราชทานอภัยโทษด้วย
@ คิดว่ารัฐบาลตั้งใจช่วยคุณทักษิณคนเดียวหรือไม่
ผมคิดว่า ไม่ใช่ช่วยคุณทักษิณคนเดียว
แต่เป็นการช่วยนักโทษ 20,000 กว่าคน ในวโรกาสนี้
อาจทำร่างกราบบังคมทูลถึง 25,000 -27,000 รายชื่อ
ผมเชื่อว่าน่าจะครอบคลุมคนเสื้อแดงทุกคน
ส่วนหลักการของการอภัยโทษ ปกติก็ไม่ใช่ทุกคนได้รับ
เพราะบางครั้งก็ทุกคดีหรือเว้นบางคดี
นอกจากนั้นยังมีการแบ่งเป็นนักโทษชั้นดี หรือเหลือโทษอีกไม่กี่ปี
ผมยังไม่เห็นร่างพระราชกฤษฎีกา
แต่เท่าที่ผมติดตามข่าว มีเนื้อหาเกี่ยวกับอายุนักโทษ
ทำให้ถูกตีความว่าหลักการเรื่องอายุนั้น
กำหนดเพื่อให้ครอบคลุมถึง ดร.ทักษิณ ชินวัตร อย่างที่อีกฝ่ายเขาว่า
@ปัญหาว่าคุณทักษิณ ยังไม่เคยรับโทษ
-ประเทศไทยไม่เคยมีประเพณี แต่ในทางหลักการทำได้
เพราะเป็นเรื่องพระราชอำนาจ
ผมคิดว่า สมเด็จนโรดมสีหนุ กษัตริย์ กัมพูชา เคยให้อภัยโทษกับคนที่เกี่ยวข้อง
ในการทำรัฐประหารแต่ล้มเหลวในเดือน กรกฎา-สิงหาคม ปี 1997
โดยคนเหล่านี้ส่วนใหญ่อยู่ในประเทศไทย
ผมยังเคยไปพบเขาเลย กลุ่มสมเด็จนโรดม รณฤทธิ์ กลุ่มพระพุทธะเสรี กลุ่ม ซอนซาน
เวลานั้นกัมพูชามีนายกฯ 2 คน อีกคนคือ
สมเด็จรณฤทธิ์ บริหารไปมา ก็เกิดความขัดแย้ง จึงทำรัฐประหารมีการยิงกัน
แต่ล้มเหลว แล้วหนีมาอยู่ไทย ผมยังไปเยี่ยมเขา
ต่อมาสมเด็จฮุนเซน ก็เห็นว่าเพื่อความปรองดองชาติ
จึงกราบทูลให้ สมเด็จสีหนุ พระราชทานอภัยโทษ ต่อมาสมเด็จนโรดม รณฤทธิ์
เคยถูกฟ้อง ศาลตัดสินจำคุก ก็หนีไปอยู่ประเทศอื่น
สมเด็จนโรดม สีหมุณี ก็พระราชทานอภัยโทษ แม้ว่า สมเด็จนโรดม รณฤทธิ์ จะไม่ได้อยู่ในคุก
ฉะนั้น โดยหลักการ ก็คลุมถึงคนที่หลบหนีก็ได้ แต่ประเทศไทย ไม่เคยมีประเพณีนี้
@ น้องสาวเป็นนายกรัฐมนตรี ของ ครม. ที่กำลังชงเรื่องให้คุณทักษิณกลับบ้าน
จะเป็นการเพิ่มปัญหาต่อคุณยิ่งลักษณ์หรือไม่
-เท่าที่ผมได้ยิน ผมว่า ดร.ทักษิณ คงไม่อยากกลับ
แต่มีคนอยากให้กลับ ส่วนเรื่องพี่กับน้อง
ก็อย่างที่ผมพูด สมเด็จนโรดม สีหนุ เคยพระราชทานอภัยโทษให้
สมเด็จรณฤทธิ์ซึ่งเป็นลูกชาย พ่อให้อภัยโทษลูกชาย
เพียงแต่คนเสนอ คือสมเด็จฮุนเซน ซึ่งเป็นคู่ปฏิปักษ์ทางการเมือง
หรือกรณี สมเด็จสีหมุณี ให้อภัยโทษ สมเด็จรณฤทธิ์ ก็เป็นพี่กับน้องกัน
แต่ตอนนั้น สมเด็จฮุนเซน เป็นผู้เสนอเช่นเดียวกัน
@ การขอพระราชทานอภัยโทษ
สร้างแรงต้านเกิดขึ้นกับ“รัฐบาลยิ่งลักษณ์” ควรเสี่ยงต่อไปหรือไม่
-รัฐบาลมี 2 ทาง คือ
1 เขียนให้ชัดเจนว่าอายุ 60 ปีขึ้นไป แล้วยังติดคุกไม่เกิน 3 ปี อีกทางหนึ่งคือ
2) เดินหน้าต่อไป แต่ถ้าพูดแบบไม่กลัวถูกด่านะ
ผมคิดว่าทีคนสูงอายุที่ติดคุกโทษหนักเพราะเป็นฆาตรกร
หรือเป็นโจรอะไรต่างๆ ยังได้รับพระราชทานอภัยโทษ
แล้ว ดร.ทักษิณ ซึ่งเคยทำคุณงามความดีให้ประเทศชาติ
แม้ยังไม่ได้ติดคุก แต่ถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตัดสิน
ก็น่าจะได้รับเช่นเดียวกัน
@ เป็นสัญญาณความรุนแรงทางการเมืองปีหน้าหรือไม่
-ผมอาจจะมองโลกในแง่ดี ตั้งแต่เลือกตั้งเสร็จก็มีไม่กี่คนที่บอกว่ารัฐบาลนี้อยู่ไม่ยาว
แต่ผมคาดว่าอยู่ยาว เพราะมาจากการเลือกตั้ง และเป็นผู้หญิง
นอกจากนั้นยังมีคนเสื้อแดงสนับสนุน
และในทางสากล ในศตวรรษที่ 21 นานาชาติชอบผู้หญิง
ศตวรรษนี้มีความเปลี่ยนแปลงทางอำนาจมาที่ผู้หญิง
สำหรับฝ่ายต่อต้านทั้งในสภาและนอกสภา
อย่างพรรคประชาธิปัตย์และกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย-เสื้อเหลือง
ถ้าจะขับไล่รัฐบาลก็ต้องเคลื่อนไหวมวลชน แต่เขาจะเอาคนที่ไหนมาชุมนุม
เพราะถ้าชุมนุม 20,000-30,000 คน ก็เก่งมากแล้ว เขาจะเอาคนที่ไหน
ขณะที่เขาขัดแย้งแตกแยกกันระหว่าง พันธมิตรฯ กับประชาธิปัตย์
ซึ่งแตกต่างจากเมื่อ 5-6 ปีที่แล้ว แล้วการไล่รัฐบาลหลังน้ำท่วม ยิ่งเป็นไปได้ยาก
@ คะแนนนิยมของรัฐบาลจะลดลงเพราะการบริหารจัดการน้ำหรือไม่
-คะแนนนิยมลดลงเฉพาะในกรุงเทพฯ
ส่วนต่างจังหวัด ยิ่งเห็น นายกฯ ร้องไห้ คนยิ่งเห็นใจ
แม้ฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลจะบอกว่านายกฯ อ่อนแอ
แต่พอ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่า กทม. ร้องไห้ ก็ไม่เห็นมีใครว่าอะไร
ผมเองก็ร้องไห้นับครั้งไม่ถ้วน ชุมนุมสะเทือนใจผมก็ร้องไห้
ดูละคร ดูหนังอินเดีย ดูฟุตบอล หรือตอนเข้าป่าแล้วสหายต้องไปอยู่เขตอื่น
ผมก็ร้องไห้ ด้วยความสะเทือนใจ ฉะนั้น การร้องไห้กับนักต่อสู้ ไม่ได้แสดงว่าอ่อนแอ
แต่แสดงว่า เขามีอารมณ์ต่อความทุกข์สุขของประชาชน
@ การต่อต้านรัฐบาลครั้งนี้ จะส่งผลอย่างไร
ถ้ามีการชุมนุมขับไล่รัฐบาลแล้วทหารจะโหนกระแสล้มรัฐบาลหรือไม่นั้น
ผมคิดว่าทหารคงไม่โหน
เพราะสภาก็ตั้งกรรมาธิการวิสามัญศึกษาแนวทางปรองดองคนในชาติ
เพิ่งตั้งขึ้นมา บรรยากาศปรองดอง น้ำท่วม มาร่วมกันทำงาน
แล้วถ้าดูองค์ประกอบตัวบุคคล คณะกรรมการยุทธศาตร์
เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ(กยน.)
องค์ประกอบก็ชี้บ่งบอกส่งเมสเสจว่านี่คือการปรองดอง
ทีนี้ทหารจะทำได้ยังไง ถ้าทหารจะทำรัฐประหาร ก็อาจจะเกิดสงครามการเมือง
เพราะคนไม่ยอมก็ลุกมาต่อต้านแบบประเทศลิเบียแน่นอน
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1321694514&grpid=09&catid=no
เพื่อไทย
Saturday, November 19, 2011
"จรัล ดิษฐาอภิชัย" ยกกรณีพระราชทานอภัยโทษผู้หนีคดีในกัมพูชาเทียบคดี "ทักษิณ"
คำุถามตัวโตๆที่รัฐบาลนี้ต้องตอบคนเสื้อแดงซะที
ที่มา Thai E-News
คำถามตัวโตๆต่อรัฐบาลชุดนี้ ซึ่งก้าวขึ้นมามีอำนาจบนซาก ศพ และความเสียสละอาจหาญของวีรชน 92 ศพ มีคนบาดเจ็บพิการ สูญเสียอิสรภาพอีกไม่นับ และยังคอยตามสนับสนุนปกป้องรัฐบาลนี้ราวผนังทองแดงกำแพงเหล็กก็คือว่า เมื่อไหร่ที่ฝ่ายถูกฆ่าจะได้ออกจากคุกสู่อิสรภาพ และเมื่อไหร่จะนำฝ่ายฆ่าเข้าไปอยู่ในคุกแทน เมื่อประจักษ์หลักฐานตำตาอยู่ต่อหน้าต่อตาเช่นนี้
โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
18 พฤศจิกายน 2554
พันธมิตรฯยึดสนามบินเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2551 ผ่านมาจะครบรอบ 3 ปีในวันที่ 25 พฤศจิกายนนี้ ยังไม่มีใครต้องติดคุก
ทั้งที่มีข้อหาอุกฉกรรจ์ก่อการร้าย โทษถึงประหารชีวิต เพราะไปติดอยู่กับตำรวจ 2 ปีครึ่ง
เรื่องมาถึงมืออัยการเมื่อ 11 พฤษภาคมที่ผ่านมา จนบัดนี้ผ่านไปอีก 6 เดือน รวมจะครบ 3 ปี อัยการสั่งเลื่อนคดีครั้งแล้วหนเล่า เรื่องยังไม่ถึงศาล
คำถามตัวโตๆต่อกระบวนการยุติธรรมไทยก็คือว่า เมื่อไหร่อัยการจะสั่งฟ้อง เมื่อไหร่ศาลจะได้พิจารณาคดี เมื่อไหร่คดีจะสิ้นสุด..เมื่อไหร่ผู้ก่อการร้ายยึดสนามบินจะติดคุก
คำถามตัวโตๆต่อมาก็คือว่า ทำไมคดีก่อการร้ายของเสื้อแดงไม่ต้องรออะไร ติดคุกไปนานแล้ว และไม่ยอมให้ประกันตัวสู้คดี
หากคำตอบมีอยู่ว่าโทษก่อการร้ายหนัก กลัวให้ประกันตัวแล้วจะหลบหนี
คำถามตัวโตๆมีว่า แล้วทำไมข้อหาก่อการร้ายของเสื้อเหลืองถึงไม่ต้องติดคุก ถึงไม่กลัวหลบหนี (อ่านรายงาน ครบรอบ3ปียึดสนามบินลอยนวล )
การสังหารประชาชนกรณี 10 เมษา-19 พฤษภา 2553 ผ่านมา 1 ปีครึ่ง ผู้สั่งการ ผู้ลงมือฆ่า ยังไม่มีใครต้องติดคุก
เรื่องไปค้างอยู่ที่DSI ปีเศษ รัฐบาลใหม่เข้ามาให้โอนคดี 16 ศพ
ซึ่งรวมทั้ง 3 ศพวัดปทุมฯที่มีหลักฐานทหารยิงลงมาจากรางรถไฟฟ้าBTS
ซึ่งDSIชี้ว่า เกิดจากการฆ่าของเจ้าหน้าที่รัฐ(ทหาร)ไปให้ตำรวจนครสอบสวนหาข้อมูลเพิ่มเติม
ล่าสุดพ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกของศอฉ.เข้าให้การกับตำรวจเมื่อ 15 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ระบุว่า "ศอฉ." ไม่ใช่องค์กรที่เกิดขึ้นเอง แต่มีขึ้นโดยคำสั่งของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกฯ ขณะนั้น และมีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ ในขณะนั้น เป็นผอ.ศอฉ.
สรุปแบบเข้าใจง่ายๆ ก็คือ ทหารจะไม่สามารถนำกำลังเข้าสลายม็อบแดงได้เลย
หากไม่มีคำสั่งพิเศษจาก "ศอฉ." ! หากไม่เพราะอภิสิทธิ์-สุเทพสั่ง (อ่านรายงานข่าว:ทหารออกตัวล้อฟรีไก่อูเปิดปากซัดทอดมาร์ค-เทือกเต็มๆ มัดคอเป็นผู้สั่งการสังหารเมษา-พฤษภาเลือด)
ไก่อูเปิดแถลงข่าวอีกครั้งเมื่อวานนี้สำทับว่า เขาเป็นพยานบอกเล่า
คำ ให้การไม่ได้ไปชี้นำหรือพุ่งเป้าไปที่ใคร ส่วนนายอภิสิทธิ์ และนายสุเทพ จะเข้าใจหรือไม่นั้น ผมไม่มั่นใจว่าท่านจะรู้สึกอย่างไร แต่คิดว่าต่างคนต่างทำหน้าที่ของตนเอง ท่านก็ทำหน้าที่ของท่าน ทหารก็ทำหน้าที่ของเรา
คำถามตัวโตๆมีว่า เช่นนั้นเมื่อไหร่จะดำเนินคดีกับอภิสิทธิ์-สุเทพ?
พล.ต.ต.อนุชัย เล็กบำรุง รองผบช.น. ในฐานะหัวหน้าพนักงานสอบสวนคดี 16 ศพ บอกว่า พนักงานสอบสวนมีหน้าที่ไต่สวนการเสียชีวิต ส่วนการดำเนินคดีต่อผู้เกี่ยวข้องนั้น เป็นหน้าที่ของดีเอสไอ ที่พิจารณาว่าจะดำเนินคดีกับใครบ้าง
คำถามตัวโตๆมีต่อไปว่าแล้วเชื่อมั่นได้อย่างไรว่าDSIจะดำเนินคดีเอาอภิสิทธิ์-สุเทพ และผู้นำทหาร ผู้ลั่นไกสังหารเข้าคุก?
ในเมื่อ BBC เคยเปิดเผยในสารคดี Thailand - Justice Under Fire (ประเทศไทย-ความยุติธรรมที่ปลายกระบอกปืน) โดยอ้างรายงานการสัมภาษณ์เ้จ้าหน้าที่DSIว่า
"มีนโยบายให้กล่าว โทษคนเสื้อแดงในทุกกรณีเท่าที่จะเป็นไปได้ มีความพยายามจะออกคำสั่งว่า หากไม่พบผู้กระทำผิดให้โยนข้อกล่าวหาำไปให้ฝา่ยเสื้อแดง โดยอธิบดี DSI เป็นผู้ออกคำสั่ง"
"มีคำสั่งว่า หากไม่สามารถหาบุคคลที่เหนี่ยวไกปืนได้ เราจะต้องสันนิษฐานว่า ฝ่ายเสื้อแดงและผู้สนับสนุนเป็นคนทำ" (อ่านรายละเอียดข่าว: โลกตลึงDSIแฉผ่านBBCหมดเปลือกปกปิดทหารฆ่าประชาชนปี53 ธาริตใบสั่งโยนผิดเสื้อแดงฆ่ากันเอง)
คำถา่มตัวโตๆมีว่า ธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดี DSI ยังคงมีนโยบายเช่นนั้นต่อไปหรือไม่หลังเปลี่ยนรัฐบาลแล้ว
คำถามตัวโตๆต่อรัฐบาลชุดนี้ที่เป็นผู้บังคับบัญชาของธาริตมีว่า หากธาริตเป็นอุปสรรคจะปล่อยไว้ทำติ่ง ให้เป็นปัญหาต่อไปทำไม
คนเสื้อแดงติดคุกจากกรณีั 19 พฤษภาคม 53 มาปีครึ่งแล้ว อย่างรวดเร็วฉับไว ไม่ให้ประกันตัว เร่งตัดสินคดี ทั้งที่ คอป.ชุดนายคณิต ซึ่งรัฐบาลอภิสิทธิ์แต่งตั้ง ได้เสนอแนะต่อรัฐบาลไปอีกทางหนึ่ง
คอป.ยื่นข้อเสนอต่อนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร เมื่อ 15 กันยายน 2554 (ดูรายละเอียดหนังสือ)ความชัดเจนว่า
คอป. เห็นว่าสภาพความขัดแย้งในทางการเมืองในห้วงเวลาที่ผ่านมาเป็นสาเหตุสาคัญ ที่นามาสู่ความรุนแรงและการกระทาความผิดกฎหมายอาญาของผู้ที่เกี่ยวข้องใน ความขัดแย้งฝ่ายต่างๆ ความรุนแรงและการกระทาความผิดกฎหมายอาญาในลักษณะเช่นนี้มิใช่พฤติกรรมที่ เกิดขึ้นในสังคมในภาวะปกติทั่วไปที่ไม่มีความขัดแย้งในทางการเมืองเช่นนี้
เพราะการกระทาความผิดมีมูลฐานเริ่มต้นจากความคิดเห็นในทางการเมือง ดังนั้น แม้พฤติกรรมที่ผิดกฎหมายที่ก่อให้เกิดผลกระทบและสร้างความเสียหายแก่บุคคล และส่วนรวมเป็นเรื่องที่ผู้กระทาต้องมีความรับผิดชอบ (accountability) ในทางกฎหมายที่เหมาะสม แต่ในหลายกรณี ความรับผิดชอบในทางอาญาด้วยการฟ้องคดีและการลงโทษทางอาญาแต่เพียงอย่างเดียว อาจไม่สอดคล้องต่อปรัชญาในการลงโทษ ไม่ก่อให้เกิดความยุติธรรม และไม่สามารถแก้ไขปัญหาความขัดแย้งได้ ทั้งนี้ เพราะผู้กระทำความผิดที่มีเหตุจูงใจทางการเมืองแตกต่างจากผู้กระทาความผิดอาญาทั่วไปที่เป็นผู้ร้ายหรืออาชญากรโดยกมลสันดาน
การลงโทษพฤติกรรมความรุนแรงที่เกิดขึ้นย่อมไม่สามารถส่งผลในการสร้างความ ยับยั้งหรือความหลาบจา (deterrence) ให้กับผู้กระทาความผิดเองและสังคมโดยรวมตามหลักทฤษฎีในการลงโทษทั่วไปได้ นอกจากนี้การดำเนินคดีอาญาที่เกี่ยวเนื่องกับความขัดแย้งทางการเมืองยังมี ปัญหาที่เกิดขึ้นจากข้อจากัดของกระบวนการในการสืบสวนสอบสวน การตั้งข้อหา การรวบรวมพยานหลักฐานที่ถูกมองว่าไม่เป็นกลางและ โน้มเอียงไปในทางที่เป็นคุณต่อผู้กุมอานาจรัฐในแต่ละช่วงเวลาอีกด้วย
ด้วยเหตุนี้ คอป. จึงมีความเห็นว่าการดาเนินคดีอาญาในคดีความผิดตามพระราชกาหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ความผิดฐานมั่วสุมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไปตามมาตรา ๒๑๕ แห่งประมวลกฎหมายอาญา และคดีที่เกี่ยวเนื่อง ซึ่งเป็นช่วงเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองทั้งหลายทั้งก่อนและหลังการรัฐ ประหารเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ รวมทั้งคดีที่เกี่ยวเนื่องกับการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพตาม มาตรา ๑๑๒ แห่งประมวลกฎหมายอาญา และพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทาความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ ล้วนเป็นเรื่องที่มีลักษณะเกี่ยวเนื่องกับความขัดแย้งทางการเมือง รัฐบาลสมควรดาเนินการในส่วนที่เกี่ยวกับการดาเนินคดีในความผิดดังกล่าว ดังนี้
-เร่งรัดตรวจสอบให้ชัดเจนว่าการแจ้งข้อหาและการดาเนินคดีกับผู้ถูกกล่าวหาและจาเลยสอดคล้องกับพฤติการณ์แห่งการกระทำหรือไม่ และทบทวนว่า มีการตั้งข้อหาที่รุนแรงเกินสมควร หรือการดำเนินคดีที่พยานหลักฐานอ่อนไม่เพียงพอต่อการพิสูจน์ความผิดหรือไม่
-ดำเนินการอย่างจริงจังเพื่อให้มีการปล่อยชั่วคราวอันเป็นสิทธิพื้นฐาน ของผู้ต้องหาและจำเลย เพื่อให้ผู้ต้องหาและจำเลยสามารถต่อสู้คดีเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ และลดผลกระทบที่เกิดขึ้นกับตนเองและครอบครัวอันเกิดจากการถูกจากัดเสรีภาพ โดย ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ต้องหาและจำเลยว่ามีเหตุที่จะ หลบหนี เหตุที่จะทำลายพยานหลักฐาน หรือเหตุที่จะเป็นอันตรายต่อสังคม หากได้รับการปล่อยชั่วคราวหรือไม่
หากไม่มีสาเหตุดังกล่าว ให้ยืนยันหลักกฎหมายในการคุ้มครองสิทธิพื้นฐานว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยมีสิทธิ ได้รับการปล่อยชั่วคราว และในการปล่อยชั่วคราวนั้น แม้ตามมาตรา ๑๑๐ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา จะไม่เรียกร้องหลักประกันก็ตาม แต่ในทางปฏิบัติขององค์กรในกระบวนการยุติธรรมยังมีการกาหนดให้มีหลักประกัน อันเป็นการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้องตามหลักกฎหมายเสมอมานั้น ทาให้เกิดความเสียหายต่อกระบวนการยุติธรรมอย่างมาก
ในกรณีที่ศาลอนุญาตให้มีการปล่อยชั่วคราวแต่กำหนดให้มีหลักประกันด้วยนั้น ก็ชอบแล้วที่รัฐบาลจะจัดหาหลักประกันดังกล่าวให้แก่ผู้ต้องหาและจำเลยทุกคนที่ไม่สามารถจัดหาหลักประกันได้ตามทางปฏิบัติที่ผ่านมา
อนึ่ง ต้องพึงตระหนักว่าการที่ผู้ต้องหาและจำเลยถูกตั้งข้อหาร้ายแรงนั้นไม่ใช่ข้ออ้างที่จะไม่อนุญาตให้มีการปล่อยชั่วคราวตามกฎหมาย
-เนื่องจากผู้ต้องหาและจาเลยมิใช่เป็นผู้ร้ายหรืออาชญากรดังเช่นในคดีอาญาตามปกติ แต่เป็นผู้ที่ถูกกล่าวหาว่ากระทาความผิดอันมีมูลเหตุเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในทางการเมือง หากผู้ต้องหาและจาเลยนั้นไม่ได้รับการปล่อยชั่วคราว รัฐบาลสมควรจัดหาสถานที่ในการควบคุมที่เหมาะสมที่มิใช่เรือนจาปกติเป็นสถานที่ควบคุมผู้ต้องหาและจาเลย ดังเช่นที่เคยใช้กับนักโทษทางการเมืองในอดีต
-เนื่องจากคดีอาญาเหล่านี้เป็นเรื่องที่สืบเนื่องมาจากความขัดแย้งทางการเมืองที่ดาเนินอยู่ในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมาโดย ผู้กระทาผิดมีมูลเหตุจูงใจในทางการเมือง และปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้น มีรากเหง้าที่สาคัญมาจากสภาพสังคมไทยอยู่ในระหว่างการเปลี่ยนผ่าน (Transition)
การนำเอาหลัก ความยุติธรรมทางอาญา (Criminal Justice) ที่มีเพียงมาตรการการฟ้องคดีอาญาในเชิงลงโทษมาใช้ในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง จึงไม่เหมาะสมกับสภาพของปัญหา ดังนั้น จึงสมควรที่จะนาเอาหลักวิชาการเกี่ยวกับความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน (Transitional Justice) และความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ (Restorative Justice) มาศึกษาและปรับใช้ เพื่อนำหลักการและแนวทางของหลักวิชาการดังกล่าว ตลอดจนประสบการณ์ของต่างประเทศที่เคยเผชิญความขัดแย้งอย่างรุนแรงมาปรับใช้ ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ของประเทศไทย
ด้วยเหตุนี้ ในระหว่างที่มีการศึกษาถึงแนวทางในการนามาตรการต่างๆ ที่เหมาะสมกับสถานการณ์ความขัดแย้งในประเทศไทยมาใช้ สมควรขอความร่วมมือให้อัยการชะลอการดาเนินคดีอาญาเหล่านี้ไว้ โดยยังไม่พิจารณานาคดีขึ้นสู่ศาล โดยรอให้มีข้อมูลที่ครบถ้วนในทุกๆ ด้าน ทั้งข้อมูลที่ถูกต้องและเชื่อถือได้เกี่ยวกับพฤติการณ์แห่งคดี ข้อมูลในภาพรวมของสาเหตุของปัญหา ข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางในด้านวิชาการเกี่ยวกับมาตรการทางกฎหมายในกรอบของความ ยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน และความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ เพื่อให้อัยการมีข้อมูลที่ครบถ้วนสมบูรณ์ในการประเมินความเหมาะสมทางด้าน ประโยชน์สาธารณะ รวมทั้งมาตรการทางอาญาที่เหมาะสมก่อนการสั่งคดี
สรุปก็คือ คอป.ให้ปล่อยตัวชั่วคราว อย่าเพิ่งให้ศาลตัดสินคดี ให้ชลอคดีไว้ก่อน เพราะเป็นเหตุทา่งการเมือง ไม่ใช่การก่ออาชญากรรมปกติ แต่ความเป็นจริงก็คือศาลได้ตัดสินจำคุก 6 เืดือนบ้าง 1-2 ปีบ้าง 20-30 ปีบ้างในช่วงเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ทั้งที่อุดรธานี อุบลราชธานี มุกดาหาร มหาสารคาม ฯลฯ ให้หลังจากที่คอป.เสนอรัฐบาลไปเพียงเดือนเดียว
โดยที่รัฐบาลก็เพียงแต่ตั้ง ปคอป.ที่มีรองนายกฯยงยุทธ วิชัยดิษฐ ขึ้นมาติดตามและจะดำเนินงานตามข้อเสนอของคอป. เพิ่งจัดประชุมไปหนเดียวเมื่อ 5 ตุลาคมที่ผ่านมา ระหว่างประชุม ตั้งคณะทำงาน ศาลก็็ตัดสินจำคุกคนเสื้อแดงไปเรื่อยๆ คนละ10 ปี 20-30 ปี ทั้งที่คอป.ให้ชลอคดีไว้ก่อน
ทั้งที่รัฐบาลจะเร่งนำมติคอป.ไปเสนอนโยบายต่อกระวบการยุติธรรมโดยไม่ชัก ช้า และมีสิทธิธรรมอย่างเต็มที่ เพราะคอป.ชุดนี้รัฐบาลนี้ไม่ได้ตั้งขึ้นเองเลย แต่รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ แต่งตั้งมาแท้ๆ และยังมีข้อเสนอที่เป็นประโยชน์ต่อผู้สูญเสียอิสรภาพเพราะต่อสู้ทางการเมือง ให้มีรัฐบาลนี้ขึ้นมาแท้ๆ แล้วยังจะช้าไม่ทันการณ์ไปิอีกนานแค่ไหน
คำถามตัวโตๆต่อรัฐบาลชุดนี้ ซึ่งก้าวขึ้นมามีอำนาจบนซากศพ และความเสียสละอาจหาญ มีคนบาดเจ็บพิการสูญเสียอิสรภาพอีกไม่นับ และยังคอยตามสนับสนุนปกป้องรัฐบาลนี้ราวผนังทองแดงกำแพงเหล็กก็คือว่า เมื่อไหร่ฝ่ายถูกฆ่าจะได้ออกจากคุกสู่อิสรภาพ เมื่อไหร่จะนำฝ่ายฆ่าเข้าไปอยู่ในคุกแทน
หากคำตอบยังเป็นสูตรเดิมว่า ต้องปรองต้องสมานฉันท์ คนเสื้อแดงที่ติดคุกก็ต้องติดคุกต่อไป ผู้ลั่นไกสังหารรอด ผู้สั่งการลอยนวลรอนิรโทษกรรม ผู้บงการยังมีคนทั้งแผ่นดินกราบไหว้บูชาราวไม่เคยเกิดอะไรขึ้น ไม่รู้สึกรู้สา
ตราบนั้นคำถามตัวโตๆก็ยังจะมีต่อไป
คำถามตัวโตๆนั้นมีอยู่ว่า เมื่อไหร่จะเกิดความยุติธรรม เพราะเมื่อไม่มีความยุติืธรรม ก็ไม่มีความสงบ ไม่มีสันติภาพ
No justice , No peace!
จังหวะ การเมือง การเมือง เรื่อง "อภัยโทษ" ในมือ สารวัตรเหลิม
ที่มา ข่าวสด
เหมือน กับมิได้เป็นเรื่องนอกเหนือความคาดหมายที่พรรคเพื่อไทยเลือก ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ให้เป็นกองหน้าในกรณีพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ
เพราะ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง เคยแสดงเจตจำนงอย่างแน่วแน่ มั่นคงมาแล้ว
นั่นก็คือ เจตจำนงที่จะอาศัยกระบวนการของการเลือกตั้งมาเป็นเครื่องมือในการนำเอา พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กลับบ้าน
แน่วแน่ถึงขั้นประกาศว่า "ขอเป็นนายกฯ สัก 6 เดือน" จะทำให้สำเร็จ
แม้ พรรคเพื่อไทยมิได้มอบตำแหน่งนายกรัฐมนตรีให้ แต่จากตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี ก็ทำให้ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง เดินหน้าในเรื่องนี้อย่างมั่นคง บนพื้นฐาน 265 เสียงของพรรคเพื่อไทย และ 15 ล้านกว่าเสียงของประชาชนที่เลือกมา
เป็นรากฐานของการตัดสินใจของประชาชน เป็นรากฐานอันแนบแน่นอยู่กับสภาผู้แทนราษฎร
การรับงานหนักเช่นนี้โดย ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง จึงน่าพิจารณา
บาง คนอาจตั้งข้อสังเกตว่า งานสำคัญอย่างนี้เหตุใด น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จึงไม่เดินหน้าเล่นเอง หรือหากมิใช่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็น่าจะเป็น นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ
ตอบได้เลยว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ใกล้กับปมแห่งปัญหาเกินไป
ขณะ เดียวกัน นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ แม้จะมีผลงานจากการผลักดัน นายพระนาย สุวรรณรัฐ มาเป็นปลัดกระทรวงมหาด ไทย แต่การอันเกี่ยวกับพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษมีความร้อนแรงมากกว่า
เรื่องนี้ท่วงทำนองและความจัดเจนแบบ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง เหมาะสมที่สุด
1 ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง เป็นนักการเมืองเก่าเติบโตมาจากพรรคประชาธิปัตย์ เป็นคนเดียวที่สามารถยืนซดหมัดกับขุนพลนักพูดแห่งพรรคประชาธิปัตย์ได้อย่าง ไม่พรั่นพรึง
ขณะเดียวกัน 1 ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง เคยเป็นรัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมมาก่อน
ถามว่าผนังทองแดง กำแพงเหล็กที่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ใช้อิงในการขับเคลื่อนและต่อสู้ในกรณีพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษคืออะไร
อย่างหนึ่ง คือ อาศัยกระบวนการทางกฎหมาย
เป็นกระบวนการทางกฎหมายและองค์ประกอบอันมีการกำหนดและจัดวางไว้ตั้งแต่ยุครัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์
อย่างหนึ่ง คือ อาศัยกระบวนการทางการเมือง
เป็นกระบวนการทางการเมืองอันอาศัยรากฐานเดิมจาก พรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน พรรคเพื่อไทย อันสะท้อนเจตจำนงร่วมของประชาชน
วัดได้จาก 15 ล้านกว่าเสียงของประชาชน วัดได้จาก 265 ส.ส.ที่ได้รับเลือกมา
ยังไม่มีใครตอบได้ว่าการขับเคลื่อนนี้ของรัฐบาลจะประสบผลสำเร็จหรือไม่ อย่างไร
กระแสคัดค้าน ต่อต้าน เริ่มปรากฏให้เห็นจากพรรคประชาธิปัตย์ จากแนวร่วมพรรคประชาธิปัตย์ และจากพันธมิตรประชา ชนเพื่อประชาธิปไตย
แต่ยังไม่มีใครตอบได้ว่าจะสามารถระดมประชาชนเข้าร่วมได้มากน้อยเพียงใด
"ยิ่งลักษณ์"ยันกทม.ชั้นในปลอดภัยแล้ว หลังตรึงน้ำไว้ได้คลองบางซื่อ มั่นใจไม่ท่วมถนนพระราม 2
ที่มา มติชน
นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ รัฐบาลยิ่งลักษณ์พบประชาชน วันที่ 19 พ.ย. ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 โดยเป็นการโทรศัพท์มาจากบาหลี อินโดนีเซีย ระหว่างการปฏิบัติภารกิจประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 19 โดยนายก กล่าวว่า การประชุมวันเสาร์นี้เป็นการประชุมวันสุดท้ายซึ่งจะเข้าประชุมสำคัญ คือ การประชุมสุดยอดอาเซียนสหประชาชาติ การประชุมสุดยอดอาเซียนอินเดีย และ การประชุมสุดยอดภูมิภาคเอเซียตะวันออก โดยการประชุมจะเป็นปีแรกที่ผู้นำสหรัฐฯได้เดินทางเข้าประชุมด้วย
นางสาวยิ่งลักษณ์ กล่าวต่อว่า การประชุมครั้งนี้นอกจากจะได้พูดคุยกับผู้นำอาเซียนแล้ว ยังได้คุยกับประเทศคู่เจรจาสำคัญ อย่าง จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สหรัฐฯ อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ซึ่งจากการประชุมสุดยอดอาเซียน ก็ได้ย้ำให้เห็นถึงเสถียรภาพทางการเมือง และความเป็นประชาธิปไตยของไทยพร้อมที่จะกลับมามีบทบาทสำคัญในอาเซียน และยังได้ใช้โอกาสนี้ในการเผยแพร่ข้อมูลมาตรการฟื้นฟูประเทศหลังน้ำลดเพื่อ เป็นการสร้างความเชื่อมั่นต่อนานาประเทศ
ทั้งนี้ นายกฯยังเผยว่า ไทยยังเสนอให้กลุ่มอาเซียนเพิ่มความร่วมมือ บริหาร จัดการภัยพิบัติ และการบริหารจัดการน้ำ เพราะ ทุกประเทศในภูมิภาคก็ต่างได้รับผลกระทบจากอุกทภัย ในที่ประชุมก็เห็นด้วยกับแถลงการณ์ผู้นำอาเซียน ว่าด้วยการป้องกันอุทกภัยและลดผลกระทบ การบรรเทา ฟื้นฟู และการบูรณะ ซึ่งทุกประเทศก็เห็นด้วยและชื่นชมประเทศไทยในการริเริ่มเรื่องนี้ และได้ออกแถลงการณ์ต่อเนื่องจากพื้นฐานความคิดนี้ อันจะเป็นจุดเริ่มต้นของการจัดตั้งศูนย์บริหารภัยพิบัติของอาเซียน หรือ ASA Center
นอกจากนี้ ยังมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นการดำเนินการเพื่อรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน กลุ่มประเทศอาเซียนต้องเร่งรัดเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งในภูมิภาคและ พัฒนาให้เท่าเทียมกัน
ขณะที่สถานการณ์น้ำท่วมในประเทศนั้น นายกรัฐมนตรี ยืนยันว่า กรุงเทพชั้นในปลอดภัยแน่นอนแล้ว การดำเนินมาตรการต่างๆ ที่ผ่านมาสำหรับพื้นที่กทม.ชั้นในสามารถตรึงมวลน้ำไว้ได้ที่คลองบางซื่อ ทำให้น้ำไม่เข้าท่วมอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ปทุมวัน สีลม
กรณีที่กังวลว่าน้ำท่วมบริเวณถนนพระราม 2 จะมีปัญหาไม่สามารถเดินทางลงใต้ได้ ก็คงไม่เกิดขึ้นแล้ว
"โอละพ่อ" พรฏ.อภัยโทษ ร่างสมัย "อภิสิทธิ์" ไม่มีชื่อ "ทักษิณ" ในข่าย
ที่มา thaifreenews
โดย bozo
เขียนโดย JJ_Sathon
แหล่งข่าวระดับสูงกระทรวงยุติธรรม เปิดเผยว่า
สำหรับร่างพระราชกฤษฎีกาอภัยโทษ ฉบับดังกล่าว
ได้ตัดมาตรา 4 พ.ร.ฎ.อภัยโทษ 2553 ที่ออกโดยสมัยรัฐบาลประชาธิปัตย์
ซึ่งมาตรา 4 ระบุว่า ผู้ซึ่งจะได้รับพระราชทานอภัยโทษตามพระราชกฤษฎีกานี้
ต้องมีตัวตนอยู่ในความควบคุมของทางราชการ
หรือถูกกักขังไว้ในสถานที่หรือที่อาศัยที่ศาลหรือทางราชการกำหนด
ในวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับติดต่อกันไป
จนถึงวันที่ศาลออกหมายสั่ง ปล่อยหรือลดโทษ
หรือนายกรัฐมนตรีมีคำสั่งปล่อยหรือลดโทษ ตามที่บัญญัติไว้ในพระราช กฤษฎีกานี้
และปรับแก้มาตรา 6 ที่ระบุให้นักโทษได้รับพระราชทานอภัยโทษปล่อยตัวไป
ต้องเป็นบุคคลที่ต้องโทษจำคุกเหลือโทษไม่เกิน 1 ปี
นักโทษพิการ ป่วยด้วยโรคเรื้่อน เป็นผู้หญิงถูกจำคุกครั้งแรก
เป็นคนมีอายุไม่ต่ำกว่า 60 ปี ต้องโทษเหลือจำคุกไม่เกิน 3 ปี
ต้องโทษครั้งแรกอายุไม่ครบยี่สิบปี
นักโทษชั้นเยี่ยมเหลือโทษจำคุก ไม่เกิน 2 ปี
หากเข้าหลักเกณฑ์ข้อใดข้อหนึ่งสามารถได้รับพระราชทานอภัยโทษปล่อยตัว
สำหรับคำที่ตัดออกไปคือ
คำว่าภายใต้บังคับมาตรา 8 ส่วนมาตรา 8 ในร่าง พ.ร.ฎ.ฉบับใหม่
ยังคงเดิมตาม พ.ร.ฎ. ปี 2553 ที่ระบุว่า นักโทษเด็ดขาด
ตามบัญชีลักษณะความผิดท้ายพระราชกฤษฎีกา
ให้ได้รับพระราชทานอภัยโทษลดโทษ เช่น
โทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต ดังนั้น ลักษณะความผิดให้คงเดิม
แหล่งข่าวระบุอีกว่า
การปรับแก้ร่างพระราชกฤษฎีกาหากมองกันตามความเป็นจริงแล้ว
คงไม่ได้เอื้อประโยชน์ให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี
ทั้งหมด พ.ต.ท. ทักษิณมีคดีความถึงที่สุดแล้วเพียง 1 คดี คือ
คดีซื้อที่ดินรัชดาฯ
หลังถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
ตัดสินให้จำคุกเป็นเวลา 2 ปี ส่วนอีก 4 คดี
อยู่ระหว่างขั้นตอนการไต่สวนของศาลฎีกา ได้แก่
1.คดีปล่อยกู้เอ็กซิมแบงก์ 4,000 ล้านบาท
2.คดีแปลงสัญญาสัมปทานธุรกิจโทรคมนาคมเอื้อประโยชน์ชินคอร์ป
3.คดีทุจริตการออกหวยบนดิน 2 ตัว 3 ตัวโดยมิชอบ และ
4.คดีปกปิดบัญชีทรัพย์สินหรือซุกหุ้น ที่ ป.ป.ช.ยื่นฟ้อง
หลังศาลฎีกาฯได้ตัดสินยึดทรัพย์ 46,000 ล้านบาท
หาก พ.ต.ท. ทักษิณเข้าหลักเกณฑ์อภัยโทษปล่อยตัวตามพระราชกฤษฎีกา ฉบับดังกล่าวจริง
ยังมีหมายจับอีก 3 คดีรออยู่ ดังนั้น คงไม่มีผลอะไร
เพราะถ้ากลับเมืองไทยต้องถูกจับกุมและอายัดตัว
จากนั้นต้องยื่นเรื่องต่อศาลเพื่อขอประกันตัว
คาดว่าคงต้องใช้เวลาพอสมควรที่จะยื่นขอประกันอีก 3 คดี เชื่อว่า
พ.ต.ท.ทักษิณคงไม่เลือกช่องทางนี้
"ผมเชื่อว่า พ.ต.ท.ทักษินคงไม่กลับประเทศไทยตอนนี้อย่างแน่นอน
เพราะยังไงก็ต้องถูกจับติดคุก ต่อให้ได้รับพระราชทานอภัยโทษ ครั้งนี้
ก็มีผลเพียงคดีที่ดินรัชดาฯเท่านั้น อีก 3 คดีมีหมายจับติดตัว
หากกลับมาประเทศไทย ต้องถูกจับกุม และยื่นเรื่องประกันตัว
ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาพอสมควร
แต่ทางออกที่ดีที่สุดคือออกกฎหมายนิรโทษกรรมเท่านั้น" แหล่งข่าวกล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า
หลังจากมีกระแสข่าวว่า พระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ
ที่ออกในวาระมหามงคล 84 พรรษา
อาจจะมีการปรับข้อความเพื่อให้ครอบคลุมถึง พ.ต.ท.ทักษิณ
คนใกล้ชิดของ พ.ต.ท.ทักษิณได้เปิดเผยว่า
พ.ต.ท.ทักษิณมีความเห็นว่าแนวคิดหรือการปรับเนื้อหาดังกล่าว
ไม่เป็นประโยชน์กับทุกฝ่าย
และยืนยันความตั้งใจเดิมที่จะยังไม่เดินทางกลับประเทศไทย
เนื่องจากเห็นว่าการเมืองยังมีความขัดแย้งสูง
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่านายกรัฐมนตรีจะแถลงเพื่อให้เกิดความชัดเจนว่า
พ.ต.ท.ทักษิณจะไม่อยู่ในกลุ่มผู้ต้องขังหรือผู้ต้องคดีอาญา
ที่จะได้รับพระราชทานอภัยโทษในวาระ 84 พรรษา ซึ่งในปีนี้มีจำนวนประมาณ 3 หมื่นคน
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวรอยเตอร์
ที่บ้านพักในดูไบ โดยกล่าวเพียงสั้นๆ ว่า
ไม่ทราบ ไม่คิดอย่างนั้น ไม่มีใครรู้
เพราะเป็นความลับในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ของรัฐบาล
และทั้งหมดขึ้นอยู่กับดุลพินิจของสถาบันสูงสุด
http://www.go6tv.com/2011/11/blog-post_8701.html
ตรงไปตรงมา 18-11-2011
ที่มา thaifreenews
โดย bozo
speedhorse
http://speedhorse.blogsite.org/read.php?tid=632
บทสนทนาเรื่อง "พ.ร.ฎ.อภัยโทษ" ในเฟซบุ๊ก จาก "พรสันต์-พุฒิพงศ์" ถึง "ชาญวิทย์-พนัส"
ที่มา มติชน
หมายเหตุ ท่ามกลางกระแสข่าวรัฐบาลผ่านร่างพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษที่เอื้อ ประโยชน์ให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในที่ประชุมลับของครม. เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายนที่ผ่านมา มีนักวิชาการ-นักศึกษาทางด้านนิติศาสตร์และสังคมศาสตร์ หลายรายอภิปรายสนทนากันถึงสถานะของกฎหมายดังกล่าว มติชนออนไลน์ขออนุญาตคัดลอกเนื้อหา "บางส่วน" ของบทสนทนาเหล่านั้น มานำเสนอดังต่อไปนี้
บทสนทนาแรกเป็นการแลกเปลี่ยนความเห็นในเฟซบุ๊กระหว่างพุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ ม.รามคำแหง และพรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย อาจารย์คณะนิติศาสตร์ ม.อัสสัมชัญ
พรสันต์
ยังไม่ได้กล่าวถึงกรณีการออก พ.ร.ฎ.อภัยโทษซึ่งมีการเชื่อมโยงกับทักษิณที่เป็นกระแสอยู่ในปัจจุบัน สิ่ง ที่น่าคิดในอีกมิติหนึ่งคือ การอภัยโทษ (อย่าเพิ่งคิดถึงกรณีที่มีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข) ควรมีหรือไม่ มันขัดกับหลักนิติรัฐ หรือนิติธรรมไหม ถ้าหากบอกว่าไม่ควรมีก็จบ แต่หากเห็นว่าควรมี คำถามต่อไปก็คือ แล้วควรจะมีขอบเขตที่ประจักษ์ชัดเจนมากน้อยเพียงใดในการใช้อำนาจดังกล่าว หรือไม่?
พุฒิพงศ์
ผมว่ามันเป็นเครื่องมือระดับรุนแรงน้อยของ ฝ่ายบริหาร ในการระงับผลคำพิพากษาที่ไม่เป็นธรรม /หรืออาจถึงขนาดไม่ชอบธรรม (เกณฑ์วัดมันอัตวิสัย) , สำหรับเกณฑ์ชี้วัดที่ภาวะวิสัย อาจไม่ต้องดูเนื้อหาของคำพิพากษาก็ได้ เพียงดูองค์กรว่า ระหว่างองค์กรรัฐฝ่ายตุลาการ กับ องค์กรรัฐฝ่ายบริหาร องค์กรใดมีความชอบธรรมทางประชาธิปไตย มากกว่ากัน
การใช้อำนาจอภัยโทษ ในแง่นี้ก็เป็นการ "การตรวจสอบ และ ถ่วงดุล" ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นขาดไม่ได้เลยในนิติรัฐ ครอบคลุมทุกองค์กร (กรณีการกระทำของฝ่ายบริหาร ไม่ถูกต้อง การชี้วัดตัดสิน เขาจะต้องรับผิดชอบ ในช่วงเลือกตั้ง ผลัดอำนาจ -- มันมีเรื่อง "อำนาจ & ความรับผิดชอบ" รองรับอยู่)
ถ้าพิจารณาในแง่นี้ องค์กรตุลาการ ย่อมมีความชอบธรรมทางประชาธิปไตย และการถูกตรวจสอบการใช้อำนาจ น้อยยิ่งกว่า บรรดาองค์กรอิสระ หรือไปจนถึง พนักงานทะเบียนในสำนักงานอำเภอ ด้วยซ้ำ (เพราะอย่างน้อย องค์กรอิสระอาจถูกถอดถอนโดย ส.ว., หรือ พนักงานในอำเภอ อยู่ภายใต้การควบคุมบังคับบัญชา ตามสายงาน โดยรัฐมนตรี)
ในแง่ความผิดพลาดในกระบวนการยุติธรรม แม้พิสูจน์แน่แท้ว่า เขาเป็นฆาตกร แต่คงปฏิเสธตัวแปรในกระบวนการยุติธรรมไม่ได้ และมีมากด้วย เช่น ความเก่งกาจของทนายความ ความถูกต้องของพยานหลักฐาน ความผิดพลาดในการชั่งน้ำหนักพยาน ความบังเอิญ ความเป็นการเมืองในกระบวนการยุติธรรม หรือบิดเบือนตั้งแต่ชั้นสืบสวนสอบสวน หรือไปถึง "อคติของตุลาการ" เอง (โดยเฉพาะอย่างยิ่งคดีที่มีมูลเหตุชักจูงใจทางการเมือง) - คดีตีหัวหมา ด่าแม่เจ๊กทั่วไป หรือแบ่งที่ดินมรดก ปัญหาอคติของตุลาการอาจไม่มีนัก กล่าวคือ ทั้งกระบวนการยุติธรรมมันไม่เป็น สูตรคณิตศาสตร์ อย่างใน หนังสือหลักวิชาชีพนักกฎหมาย น่ะครับในโลกจริง
ความชอบธรรม หรือ ขอบเขต ในการปฏิเสธคำพิพากษา หรือลบล้างในระดับพระราชบัญญัติ มันน่าจะโยงไปยังเจตจำนงข้างมากของปวงชนน่ะครับ (ทุกวันนี้พูดแต่ ประชาชนๆ ซึ่งมันเล็กกว่า ปวงชน ด้วยซ้ำ) ซึ่งแสดงออกผ่าน อำนาจบริหารในนามปวงชน โดยฝ่ายบริหาร น่ะครับ
อันที่จริง งานเขียนเชิงสัจนิยม เช่น "มนุษย์สองหน้า - โดย อัลแบร์ กามู" (แปลจากฝรั่งเศส) , "คดีความ - โดย ฟรันซ์ คาฟคา" (แปลจากเยอรมัน) น่าอ่านมากในเรื่องศาลๆ.
พรสันต์
ที่พุฒิพงศ์พูดน่ะถูกแล้วครับ ผมเห็นด้วย อันที่จริง เจตนารมณ์ ของอำนาจในการอภัยโทษนี้เป็นอำนาจที่ถูกสถาปนาขึ้นให้กับฝ่ายบริหารก็เพื่อ ที่จะทำหน้าที่ในการ check and balance (ตรวจสอบและถ่วงดุล - มติชนออนไลน์) กับองค์กรที่ใช้อำนาจอธิปไตยอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายนิติบัญญัติก็ดี (กรณีที่มีการตราตัวบทกฎหมายกำหนดโทษที่อาจจะหนักหนาสาหัสจนเกินไป ฯลฯ) หรือฝ่ายตุลาการเองก็ดี (วินิจฉัยคดีผิดพลาด ฯลฯ) ทั้งหมดเป็นไปตามหลักการแบ่งแยกอำนาจอันเป็นองค์ประกอบสำคัญของหลักนิติรัฐ หรือนิติธรรม ดังนั้น ในความเห็นของผม การที่จะมาบอก ว่า "การใช้อำนาจอภัยโทษ" (ทุกกรณีอันรวมถึงกรณีทักษิณ) นั้นขัดกับหลักนิติรัฐ หรือนิติธรรมนั้นจึงไม่ถูกต้องนัก ผมไม่เห็นด้วย แต่ไอ้เรื่องประเด็นเรื่อง legitimacy (ความชอบธรรม - มติชนออนไลน์) ก็ว่ากันไป มันเถียงกันได้เยอะ แต่มันไม่ใช่เรื่องขัดหลักนิติรัฐ หรือนิติธรรมครับ
บทสนทนาที่สอง มติชนออนไลน์นำเนื้อหาบางส่วนมาจากบทความ "Q & A : 2 (From Senior to Senior) ถาม & ตอบ (จาก สว. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ถึง สว. พนัส ทัศนียานนท์)" โดยเป็นการถาม-ตอบระหว่างชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กับ พนัส ทัศนียานนท์ อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ อดีต ส.ส.ร. และอดีต ส.ว.เลือกตั้ง ซึ่งถูกนำมาเผยแพร่ในเฟซบุ๊กของชาญวิทย์
(จาก สว. ชาญวิทย์ ถึง สว. พนัส)
ถาม
ตามปกติ ในราชพิธีสำคัญๆ ก็มี "ราชอภัยโทษ" ใช่ไหม เช่น
-2520/1977 สมเด็จพระบรมฯ อภิเษกสมรส (พระราชทานอภัยโทษ 13,359 นักโทษ)
-2520/1977 ในหลวงครบ 50 พรรษา (17,539)
-2525/1982 รัตนโกสินทร์ 200 ปี (18,438)
-2530/1987 ในหลวงครบ 60 พรรษา 5 รอบ (37,400)
-2531/1988 ในหลวงครองราชย์ ยาวนานที่สุด ใน ปวศ. ไทย เกิน 42 ปี (22,922)
-2533/1990 สมเด็จพระศรีฯ ครบ 90 พรรษา (20,133)
-2535/1992 สมเด็จพระราชินีนาถ ครบ 60 พรรษา 5 รอบ (30,620)
-2539/1996 กาญจนาภิเษก ครองราชย์ครบ 50 ปี (24,751)
-2542/1999 ในหลวงครบ 72 พรรษา 6 รอบ (23,940)
ดังนั้น
ปีนี้ 2554/2011 ในหลวงครบรอบ 84 พรรษา 7 รอบ
ก็คงจะมี "ราชอภัยโทษ" ใช่ไหม
(ไม่ทราบว่า มีนักโทษชาย/หญิง รออยู่เท่าไร)
ตอบ
ใช่ โดยเฉพาะในวันเฉลิมฯ ของในหลวง
ต้องมีทุกปี ไม่มียกเว้น
ถาม
(พระ) ราช (ทาน) อภัยโทษ (royal pardon) กับ นิรโทษกรรม (amnesty) เหมือน และต่างกัน อย่างไร
ตอบ
ต่างกันที่ กรรมวิธี และผล
อภัยโทษ เป็นอำนาจของในหลวง
นิรโทษ เป็นอำนาจของรัฐสภา (ประชาชน)
ผลของอภัยโทษ คือ พ้นจากการถูกลงโทษ แต่ไม่พ้นผิด
ส่วน นิรโทษ เป็นการล้างให้หมด ทั้งความผิด และโทษ
ถือว่าไม่ได้กระทำผิดเลย
หักมุม! ทักษิณไม่อยู่ในข่าย 30,000 รายรับอภัยโทษ ต้องติดคุกก่อน ยังเหลืออีก 4 คดีสำคัญ ถอยดีกว่า
ที่มา มติชน
แหล่งข่าวระดับสูงกระทรวงยุติธรรม เปิดเผยว่า สำหรับร่างพระราชกฤษฎีกาอภัยโทษ ฉบับดังกล่าว ได้ตัดมาตรา 4 พ.ร.ฎ.อภัยโทษ 2553 ที่ออกโดยสมัยรัฐบาลประชาธิปัตย์ ซึ่งมาตรา 4 ระบุว่า ผู้ซึ่งจะได้รับพระราชทานอภัยโทษตามพระราชกฤษฎีกานี้ต้องมีตัวตนอยู่ในความ ควบคุมของทางราชการ หรือถูกกักขังไว้ในสถานที่หรือที่อาศัยที่ศาลหรือทางราชการกำหนด ในวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับติดต่อกันไปจนถึงวันที่ศาลออกหมายสั่ง ปล่อยหรือลดโทษ หรือนายกรัฐมนตรีมีคำสั่งปล่อยหรือลดโทษ ตามที่บัญญัติไว้ในพระราช กฤษฎีกานี้ และปรับแก้มาตรา 6 ที่ระบุให้นักโทษได้รับพระราชทานอภัยโทษปล่อยตัวไป ต้องเป็นบุคคลที่ต้องโทษจำคุกเหลือโทษไม่เกิน 1 ปี นักโทษพิการ ป่วยด้วยโรคเรื้่อน เป็นผู้หญิงถูกจำคุกครั้งแรก เป็นคนมีอายุไม่ต่ำกว่า 60 ปี ต้องโทษเหลือจำคุกไม่เกิน 3 ปี ต้องโทษครั้งแรกอายุไม่ครบยี่สิบปี นักโทษชั้นเยี่ยมเหลือโทษจำคุก ไม่เกิน 2 ปี หากเข้าหลักเกณฑ์ข้อใดข้อหนึ่งสามารถได้รับพระราชทานอภัยโทษปล่อยตัว สำหรับคำที่ตัดออกไปคือ คำว่าภายใต้บังคับมาตรา 8 ส่วนมาตรา 8 ในร่าง พ.ร.ฎ.ฉบับใหม่ ยังคงเดิมตาม พ.ร.ฎ. ปี 2553 ที่ระบุว่า นักโทษเด็ดขาดตามบัญชีลักษณะความผิดท้ายพระราชกฤษฎีกาให้ได้รับพระราช ทานอภัยโทษลดโทษ เช่น โทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต ดังนั้น ลักษณะความผิดให้คงเดิม
แหล่งข่าวระบุอีกว่า การปรับแก้ร่างพระราชกฤษฎีกาหากมองกันตามความเป็นจริงแล้วคงไม่ได้เอื้อ ประโยชน์ให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ทั้งหมด พ.ต.ท. ทักษิณมีคดีความถึงที่สุดแล้วเพียง 1 คดี คือคดีซื้อที่ดินรัชดาฯ หลังถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตัดสินให้จำคุกเป็นเวลา 2 ปี ส่วนอีก 4 คดี อยู่ระหว่างขั้นตอนการไต่สวนของศาลฎีกา ได้แก่ 1.คดีปล่อยกู้เอ็กซิมแบงก์ 4,000 ล้านบาท 2.คดีแปลงสัญญาสัมปทานธุรกิจโทรคมนาคมเอื้อประโยชน์ชินคอร์ป 3.คดีทุจริตการออกหวยบนดิน 2 ตัว 3 ตัวโดยมิชอบ และ 4.คดีปกปิดบัญชีทรัพย์สินหรือซุกหุ้น ที่ ป.ป.ช.ยื่นฟ้องหลังศาลฎีกาฯได้ตัดสินยึดทรัพย์ 46,000 ล้านบาท หาก พ.ต.ท. ทักษิณเข้าหลักเกณฑ์อภัยโทษปล่อยตัวตามพระราชกฤษฎีกา ฉบับดังกล่าวจริง ยังมีหมายจับอีก 3 คดีรออยู่ ดังนั้น คงไม่มีผลอะไร เพราะถ้ากลับเมืองไทยต้องถูกจับกุมและอายัดตัว จากนั้นต้องยื่นเรื่องต่อศาลเพื่อขอประกันตัว คาดว่าคงต้องใช้เวลาพอสมควรที่จะยื่นขอประกันอีก 3 คดี เชื่อว่า พ.ต.ท.ทักษิณคงไม่เลือกช่องทางนี้
"ผมเชื่อว่า พ.ต.ท.ทักษินคงไม่กลับประเทศไทยตอนนี้อย่างแน่นอน เพราะยังไงก็ต้องถูกจับติดคุก ต่อให้ได้รับพระราชทานอภัยโทษ ครั้งนี้ ก็มีผลเพียงคดีที่ดินรัชดาฯเท่านั้น อีก 3 คดีมีหมายจับติดตัว หากกลับมาประเทศไทย ต้องถูกจับกุม และยื่นเรื่องประกันตัวซึ่งต้องใช้ระยะเวลาพอสมควร แต่ทางออกที่ดีที่สุดคือออกกฎหมายนิรโทษกรรมเท่านั้น" แหล่งข่าวกล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากมีกระแสข่าวว่า พระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษที่ออกในวาระมหามงคล 84 พรรษา อาจจะมีการปรับข้อความเพื่อให้ครอบคลุมถึง พ.ต.ท.ทักษิณ คนใกล้ชิดของ พ.ต.ท.ทักษิณได้เปิดเผยว่า พ.ต.ท.ทักษิณมีความเห็นว่าแนวคิดหรือการปรับเนื้อหาดังกล่าวไม่เป็นประโยชน์ กับทุกฝ่าย และยืนยันความตั้งใจเดิมที่จะยังไม่เดินทางกลับประเทศไทย เนื่องจากเห็นว่าการเมืองยังมีความขัดแย้งสูง
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่านายกรัฐมนตรีจะแถลงเพื่อให้เกิดความชัดเจนว่า พ.ต.ท. ทักษิณจะไม่อยู่ในกลุ่มผู้ต้องขังหรือผู้ต้องคดีอาญาที่จะได้รับพระราช ทานอภัยโทษในวาระ 84 พรรษา ซึ่งในปีนี้มีจำนวนประมาณ 3 หมื่นคน
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวรอยเตอร์ ที่บ้านพักในดูไบ โดยกล่าวเพียงสั้นๆ ว่า ไม่ทราบ ไม่คิดอย่างนั้น ไม่มีใครรู้ เพราะเป็นความลับในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ของรัฐบาล และทั้งหมดขึ้นอยู่กับดุลพินิจของสถาบันสูงสุด
"ไก่อู" เฉลย
ที่มา ข่าวสด
คอลัมน์ ทิ้งหมัดเข้ามุม
สมิงสามผลัด
ค้างเติ่งอยู่เกือบ 2 ปีสำหรับคดีสลายม็อบแดง 91 ศพ
ถึงตอนนี้ก็ถือได้ว่าคดีมีความคืบหน้าขึ้นเยอะ
หลังรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ติดตามทวงความยุติธรรมมาอย่างต่อเนื่อง
โดย ให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) โอนสำนวนคดี 13 ศพ ซึ่งเคยสรุปไว้ว่าน่าจะเกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ กับอีก 3 ศพที่วัดปทุมวนาราม
รวม 16 ศพส่งกลับไปให้ตำรวจนครบาลรับผิดชอบ
ตำรวจก็ขึงขังจริงจัง เดินหน้ารวบรวมพยานหลักฐานเพิ่มเติม
จนกระทั่งวันที่ 15 พ.ย. ได้สอบปากคำ "เสธ.ไก่อู" พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด ในฐานะโฆษกศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.)
การสอบครั้งนี้ มีความสำคัญยิ่ง
เพราะเสธ.ไก่อูเป็นพยานปากสำคัญที่อยู่ใน "ศอฉ." มาตั้งแต่ต้นยันจบ
รู้เห็นทุกขั้นตอนกระบวนการทำงานของศอฉ.
คำ ให้การของเสธ.ไก่อูระบุว่า ภารกิจของทหาร จะดูแลความมั่นคงของชาติ ปกป้องอธิปไตยตามแนวชายแดน ปกติทหารไม่มีภารกิจเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ภายในเขตเมือง หรือในเขตกทม.เลย
ฉะนั้น การเข้ากระชับพื้นที่ม็อบเสื้อแดงเมื่อปี"53 จึงไม่ใช่การทำตามภารกิจของทหาร
แต่มาจากคำสั่งของศอฉ. !
ที่ สำคัญ "ศอฉ." ไม่ใช่องค์กรที่เกิดขึ้นเอง แต่มีขึ้นโดยคำสั่งของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกฯ ขณะนั้น และมีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ ในขณะนั้น เป็นผอ.ศอฉ.
สรุปแบบเข้าใจง่ายๆ ก็คือ ทหารจะไม่สามารถนำกำลังเข้าสลายม็อบแดงได้เลย
หากไม่มีคำสั่งพิเศษจาก "ศอฉ." !?
ถึงตอนนี้ก็เริ่มเห็นเค้าลางของรูปคดี 91 ศพชัดเจนขึ้น
ใครจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ ใครเป็นผู้สั่งการ ก็อยู่ในสำนวนการสอบสวนของตำรวจหมดแล้ว
และดูจากคำให้การของเสธ.ไก่อู ก็เริ่มเข้าใจความ "จำเป็นและจำใจ"ของทหาร
เห็นใจแม่ทัพนายกองทั้งหลายอยู่เหมือนกัน
เข้าใจได้ว่าเหตุการณ์ 91 ศพนั้น บทบาททหารถูกกำกับโดยรัฐบาลชุดก่อนและศอฉ.
แตกต่างไปจากบทบาททหารในปัจจุบันที่กำลังช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบภัยน้ำท่วม ซึ่งกำกับโดยรัฐบาลชุดนี้และศปภ.
ต่างกันราวฟ้ากับดินจริงๆ
ป.ป.ช.เล็งเชิญไก่อู กรณีพาดพิงถึงมาร์ค-เทือก ชี้รัฐบาลเปลี่ยนข้อมูลเปลี่ยน
ที่มา ข่าวสด
เมื่อ 19 พ.ย. ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) นายวิชา มหาคุณ กรรมการป้องกันและปรามปราบการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ในฐานะผู้รับผิดชอบสำนวนคดีสั่งสลายม็อบเสื้อแดงในปี 2553 โดยมิชอบจนทำให้มีผู้เสียชีวิต 91 ราย ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีความคืบหน้าในการไต่สวนคดีดังกล่าว ว่า
ขณะนี้อยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลเหตุการณ์โดยเฉพาะกรณีการเผาห้าง เซ็นทรัลเวิลด์ และขอผลการชันสูตรพลิกศพ 91 ศพ จากดีเอสไอ โดยสอบถามแยกเป็นรายๆ ไปว่ามีอย่างไร คืบหน้าอย่างไร และบางรายที่มีการระบุว่าอาจจะถูกเจ้าหน้าที่ดำเนินการนั้นเป็นอย่างไร และที่บอกว่าส่งรายงานไปให้ทางตำรวจแล้วนั้น ป.ป.ช.ก็ประสานงานขอรายละเอียดไปทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติอีกทางหนึ่งด้วย เพื่อขอรายละเอียดเรื่อง 91 ศพนี้ด้วย
ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีที่มีข่าวว่า พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด ในฐานะโฆษกศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ให้ข้อมูลเจ้าพนักงานสอบสวนในคดีผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ชุมนุมปี 2553 จำนวน 16 ศพ พาดพิงถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกฯและนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกฯ และผู้อำนวยการศอฉ. ทางป.ป.ช.จะสอบประเด็นนี้ด้วยหรือไม่
นายวิชากล่าวว่า ป.ป.ช.ต้องเชิญมาให้ถ้อยคำอีกครั้ง เพราะไม่อย่างนั้นก็จะทราบเพียงจากสื่อที่มีข่าวออกมาเท่านั้นต้องเชิญมาถาม ว่าได้ให้ปากคำอย่างนั้นแล้วจะให้ข้อมูลรายละเอียดต่อป.ป.ช.อย่างไร ซึ่งครั้งก่อนเคยเชิญไป แต่เจ้าตัวยื่นส่งเอกสารชี้แจงมาเป็นลายลักษณ์อักษร
ผู้สื่อข่าวถามว่า จากการที่ป.ป.ช.ขอเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวางกำลังเจ้าหน้าที่ทหารใน เหตุการณ์ไปทางกองทัพนั้นได้รับการส่งมาให้หรือไม่ นายวิชา กล่าวว่า ส่งมาให้แล้ว แต่เรื่องการตายตรงไหน จุดไหน ยังมีรายละเอียดอีกที่จะต้องดูลึกลงไปอีก เพราะยังมีเรื่อง 91 ศพ ที่จะต้องพิจารณาย่อยลงไปอีก เมื่อมีเจ้าหน้าที่แล้ว ใครจะเป็นคนรับผิดชอบ จึงต้องมาแยกดูเป็นส่วนๆ มีคนตายในจุดไหน ใครเป็นคนรับผิดชอบ ต้องดูรายละเอียดตรงนั้น เพราะเมื่อรัฐบาลเปลี่ยนข้อมูลก็เปลี่ยน จากที่ไม่รู้ตัวว่าเป็นใคร ก็เป็นว่าอาจมีเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้อง
เมื่อถามว่า แสดงว่าต้องใช้เวลาไต่สวนคดีนี้อีกนานหรือไม่ นายวิชากล่าวว่า แน่นอน เพราะช่วงนี้เรียกมาสอบบางคนก็จะแจ้งว่าน้ำท่วม ยังมาไม่ได้
โอบามาพบปู ยินดีย้อนหลัง ชนะเลือกตั้งที่เป็น "แรงบันดาลใจ"
ที่มา ข่าวสด
เมื่อ 19 พ.ย. น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พบปะหารือกับนายบารัก โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐ ในเวทีการประชุมสุดยอดผู้นำเอเชียตะวันออก ที่เกาะบาหลี อินโดนีเซีย มีประเด็นเรื่องการฟื้นฟูหลังน้ำท่วม และเน้นย้ำในเรื่องที่ไทยก้าวสู่ความเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง
เอเอฟพีรายงานว่า โอบามากล่าวแสดงความยินดีกับนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ในชัยชนะของการเลือกตั้งที่เป็น "แรงบันดาลใจ" ส่วนกรณีที่ไทยประสบอุทกภัยร้ายแรงจนมีผู้เสียชีวิตเกือบ 600 รายนั้น โอบามากล่าวว่า "เราจะขยายความช่วยเหลือให้ไทยเท่าที่ทำได้ สหรัฐและไทยเป็นพันธมิตรที่เก่าแก่ที่สุดในมิตรภาพที่ยิ่งใหญ่ ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อเหยื่อในอุทกภัยครั้งนี้ครับ"
Copyright 2011, The Associated Press
อรุณธาติ รอย: พวกเราทุกคนล้วนเป็นผู้ยึดครอง
ที่มา ประชาไท
"พวกเราทุกคนล้วนเป็นผู้ยึดครอง"
ผู้คนทั่วโลกสดุดีขบวนการยึดครอง (วอลสตรีท) สำหรับการลุกขึ้นเผชิญหน้าความอยุติธรรมและการเรียกร้องความเสมอภาค ณ ใจกลางจักรวรรดิ
แปลจาก "We are all Occupiers" สุนทรพจน์ของอรุณธาติ รอย* (Arundhati Roy) ในกิจกรรมมหาวิทยาลัยประชาชนในวันที่ 16 พฤศจิกายน ณ สวนวอชิงตันสแคร์
ที่มา http://www.guardian.co.uk/commentisfree/cifamerica/2011/nov/17/we-are-all-occupiers-arundhati-roy?fb=native&CMP=FBCNETTXT9038
แปลโดย เกรียงศักดิ์ ธีระโกวิทขจร
อรุณธาติ รอย (Arundhati Roy) นักเขียนและนักรณรงค์สตรีชาวอินเดีย
ที่มา: Loker (CC-BY-SA-2.5)
เช้าวันอังคาร ตำรวจกวาดล้างสวนซุคคอตติ แต่วันนี้ผู้คนกลับมา ตำรวจควรรู้ว่าการชุมนุมนี้ไม่ใช่การต่อสู้เพื่ออาณาเขต เราไม่ได้กำลังสู้เพื่อสิทธิในการยึดครองสวนที่นี่หรือที่ไหน เรากำลังต่อสู้เพื่อความยุติธรรม ความยุติธรรมไม่ใช่แค่ของคนสหรัฐฯ แต่ของทุกคน
สิ่งที่คุณได้บรรลุตั้งแต่ 17 กันยายน เมื่อขบวนการยึดครองได้เริ่มต้นในสหรัฐฯ คือการนำเสนอจินตนาการใหม่ หรือภาษาทางการเมืองอันใหม่ ณ ใจกลางของจักรวรรดิ คุณได้นำเอาสิทธิที่จะฝันกลับคืนมาสู่ระบบที่เปลี่ยนทุกคนให้เป็นผีดิบซึ่ง ถูกทำให้เชื่อว่าบริโภคนิยมไร้จิตใจนั้นสูงส่งเทียบเท่าความสุขและความ สำเร็จ
ในฐานะนักเขียน ฉันขอบอกคุณว่านี่คือการบรรลุครั้งสำคัญ ฉันไม่รู้ว่าจะขอบคุณอย่างไรจึงจะพอ
เราเคยพูดกันเกี่ยวกับความยุติธรรม วันนี้ ขณะที่เรากำลังพูดกันอยู่ กองทัพของสหรัฐฯ ก็กำลังทำสงครามยึดครองอิรักและอัฟกานิสถาน เครื่องบินไร้คนขับของสหรัฐฯ กำลังเข่นฆ่าพลเรือนในปากีสถานและที่อื่นๆ ทหารของสหรัฐฯ หลายหมื่นนายและทีมสังหารกำลังเคลื่อนเข้าสู่อาฟริกา ถ้าการใช้เงินหลายล้านล้านเหรียญดอลลาร์ของพวกคุณเพื่อบริหารจัดการการยึด ครองอิรักและอัฟกานิสถานยังไม่พอ สงครามต่อต้านอิหร่านก็กำลังสำแดงตัวตน
ตั้งแต่เศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ (ในทศวรรษ 1930) เป็นต้นมา การผลิตอาวุธและการส่งออกสงครามกลายเป็นวิธีสำคัญที่ประเทศสหรัฐฯ ใช้กระตุ้นเศรษฐกิจของตน เมื่อเร็วๆ นี้ ภายใต้การนำของประธานาธิบดีโอบามา สหรัฐฯ ได้ทำข้อตกลงด้านอาวุธมูลค่า หกหมื่นล้านเหรียญสหรัฐ กับซาอุดิอาระเบีย มันหวังที่จะขายเครื่องบินทิ้งระเบิดให้กับสหรัฐอาหรับเอมิเรต และได้ขายฝูงบินมูลค่ากว่า 5 พันล้านเหรียญให้กับอินเดีย ประเทศของฉัน ที่มีคนจนมากกว่าประเทศยากจนในอาฟริการวมกันซะอีก สงครามเหล่านี้ ตั้งแต่การโจมตีฮิโรชิมาและนางาซากิ จนถึงเวียตนาม เกาหลี อเมริกาใต้ ได้เอาชีวิตผู้คนไปหลายล้าน ทั้งหมดล้วนสู้เพื่อประกัน “วิถีชีวิตแบบอเมริกัน”
วันนี้ เรารู้ว่า “วิถีชีวิตแบบอเมริกัน” แบบจำลองที่เกือบทั่วโลกถวิลหา ได้ส่งผลให้ผู้คนจำนวน 400 คนครอบครองความมั่งคั่งของประชากรครึ่งหนึ่งของสหรัฐฯ มันหมายถึงประชาชนหลายหมื่นที่ถูกผลักของจากบ้านและงานของพวกเขาขณะที่ รัฐบาลสหรัฐฯ ได้ไถ่หนี้ให้กับบรรดาธนาคารและบรรษัท เพียง AIG แห่งเดียวได้รับไปกว่าแสนแปดหมื่นสองพันล้านเหรียญ
รัฐบาลอินเดียบูชานโยบายเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ภายหลังจากกว่า 20 ปีของเศรษฐกิจแบบตลาดเสรี วันนี้ คนที่รวยที่สุดของอินเดีย 100 คนเป็นเจ้าของทรัพยสินมูลค่ากว่าหนึ่งในสี่ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ขณะที่ประชาชนมากกว่า 80% มีชีวิตอยู่ด้วยเงินน้อยกว่า 50 เซ็นต์ (15 บาท) ต่อวัน ชาวนา 250,000 คนที่ถูกผลักดันออกไปสู่วงจรหายนะได้ฆ่าตัวตาย แต่เราเรียกสิ่งนี้ว่าความรุดหน้า และก็กำลังเรียกตัวเองว่ามหาอำนาจ เหมือนกับคุณ พวกเราก็มีคุณสมบัติพร้อม เรามีอาวุธนิวเคลียร์และความเหลื่อมล้ำที่น่าอดสู
ข่าวดีคือประชาชนรู้สึกพอและจะไม่ยอมรับมันอีกต่อไปได้ ขบวนการยึดครองได้ร่วมกับขบวนการต่อต้านอื่นๆอีกหลายหมื่นทั่วโลกที่ผู้คน ยากจนกำลังลุกขึ้นและหยุดยั้งสิ่งที่บรรดาบรรษัทที่มั่งคั่งกำลังทำ พวกเราบางคนเคยฝันว่าจะได้เห็นพวกคุณ ประชาชนสหรัฐฯ อยู่ข้างพวกเรา และกำลังพยายามทำสิ่งนี้ในใจกลางจักรวรรดิ ฉันไม่รู้จะสื่อสารถึงความหมายอันยิ่งใหญ่ของสิ่งนี้อย่างไร
พวกเขา (พวก 1%) พูดว่าเราไม่มีข้อเรียกร้อง ... พวกเขาอาจไม่รู้ว่าความโกรธเคืองเพียงลำพังก็เพียงพอที่จะทำลายพวกเขา แต่นี่อาจจะเป็น (ข้อเสนอ) บางอย่าง หรือความคิด “ก่อนปฏิวัติ” ไม่กี่ข้อที่ฉันมี เพื่อให้พวกเราได้คิดกับมันร่วมกัน:
เราต้องการยุติการทำงานของระบบที่ได้สร้างความเหลื่อม ล้ำ เราต้องการหยุดยั้งการเติบโตของการสะสมความมั่งคั่งและทรัพยสินที่ไม่สิ้น สุดโดยคนและบรรษัทกลุ่มหนึ่ง ในฐานะ “นักยุติ” และ “นักหยุดยั้ง” เราขอเรียกร้องให้
- หยุดการถือครองข้ามธุรกิจ เช่น ผู้ผลิตอาวุธไม่สามารถเป็นเจ้าของสถานีโทรทัศน์ บรรษัทเหมืองไม่สามารถดำเนินธุรกิจหนังสือพิมพ์ องค์กรธุรกิจไม่สามารถอุดหนุนมหาวิทยาลัย บริษัทยาไม่สามารถควบคุมกองทุนสาธารณสุข
- ทรัพยากรธรรมชาติและสาธารณูปโภคมูลฐาน พวกน้ำประปา ไฟฟ้า สาธารณสุขและการศึกษาไม่สามารถแปรรูปเป็นเอกชนได้
- พวกเราต้องมีสิทธิในที่อยู่อาศัย การศึกษาและบริการสุขภาพ
- ลูกหลานของคนรวยไม่สามารถรับสืบทอดมรดกความมั่งคั่งของพ่อแม่พวกเขา
การต่อสู้นี้ได้ปลุกจินตนาการพวกเราให้ตื่นอีกครั้ง ที่ไหนสักแห่งระหว่างทางที่ผ่านมา ทุนนิยมได้ลดทอนความคิดเรื่องความยุติธรรมให้มีความหมายเพียง “สิทธิมนุษยชน” และการคิดเรื่องความฝันเกี่ยวกับความเสมอภาคกลับถูกสบดูหมิ่นเย้ยหยาม พวกเราไม่ได้ต่อสู้เพื่อให้เสียเวลากับการปฏิรูประบบที่ควรจะถูกแทนที่
ในฐานะนักยุติและนักหยุดยั้ง ฉันขอสดุดีการต่อสู้ของคุณ
Salaam and Zindabad**
--------------------------------------------------------------------------
* อรุณธาติ เป็นนักเขียนและนักรณรงค์สตรีชาวอินเดีย เจ้าของรางวัลบุ๊คเกอร์ ไพรซ์ จากนวนิยายเรื่อง "The God of Small Things" เธอได้ตีพิมพ์งานเขียนเชิงความยุติธรรมทางสังคมแล้วหลายชิ้น โดยเฉพาะในประเด็นโลกาภิวัฒน์ สิ่งแวดล้อม และนโยบายต่างประเทศของสหรัฐ
**คำลงท้ายบทสุนทรพจน์ Salaam หมายถึงสันติภาพ Zindabad เป็นภาษาอินเดีย ใช้ลงท้ายเพื่อสดุดีสิ่งที่ผู้พูดกำลังกล่าวถึง
ข้อคิดการให้อภัยโทษสไตล์อเมริกัน
ที่มา Thai E-News
ที่ มีคนโต้แย้งมากคงเป็นเรื่องเจอรัล ฟอร์ด อภัยโทษประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสันเรื่อง“คดีวอเตอร์เกต” ว่ามีการ “ฮั้ว”แลกตำแหน่งกับการอภัยโทษหรือเปล่า ซึ่งถึงปัจจุบันนี้ก็ยังหาข้อสรุปกันไม่ค่อยจะได้ แต่สังคมอเมริกันก็ดำเนินต่อไป ข้ามพ้นเรื่อง “นิกสันกับวอเตอร์เกต”
อเมริกาจะเป็นเจ้าโลกจะมัวแช่กับเรื่องนี้ ก็กระไรอยู่ “ไทม์ทูมูฟออน” (Time to Move On) ยังมีเรื่องเร่งด่วนอึ่นๆต้องทำอีก
โดย สายสัมพันธ์
โดย ธรรมดาแล้ว การพูดถึงเรื่องการอภัยโทษ การลดหย่อนผ่อนโทษ เป็นเรื่องที่น่ายินดี เป็นอภัยทาน เป็นคุณธรรมทางศาสนาที่น่าจะได้รับการยอมรับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นการรับโทษที่ไม่เป็นธรรม
อย่างน้อยสำหรับผู้ต้องโทษ ครอบครัวเพื่อนฝูงพวกพ้องของผู้ต้องโทษย่อมมีความยินดี
แต่ในสังคมไทยที่มีความขัดแย้งรุนแรง แบ่งเป็นฝักเป็นฝ่ายเป็นสี เป็นการเมืองแบบ “บังเก้อร์ โพลิติค” (Bunker Politics) การพูดถึง “การอภัยโทษ” แม้ยังไม่มีรายละเอียดมากนักก็สามารถป็นชนวนความขัดแย้งขึ้นมาได้ทันที
ใน อเมริกา สิทธิการให้อำนาจอภัยโทษมีแก่ประธานาธิบดี ชึ่งเป็นสิทธิอันเด็ดขาด เรื่องเห็นด้วย-ไม่เห็นด้วยเป็นเรื่องปรกติของสังคมอเมริกัน ใครจะประท้วง ใครจะประณาม ใครจะเดินขบวน ใครจะเรียกร้องเพิ่มเติมก็ทำได้
สิทธิ นี้เกิดขึ้นได้ต้องยกเครดิตให้แก่ อเล็กซานเดอร์ แฮมมิงตั้น “บิดาของประเทศสหรัฐ”คนหนึ่ง ซึ่งรับรองในหมวด ๒ มาตรา ๒ ของรัฐธรรมนูญสหรัฐฯ...
”ประธานาธิปดีสามารถอภัยโทษ หรือให้มีการลดหย่อนผ่อนโทษแก่ใครก็ได้ที่กระทำผิดต่อสหรัฐฯยกเว้นกรณี Impeachment – กรณีถูกฟ้องร้องไล่ออกจากตำแหน่ง”
แฮม มิงตั้น ให้เหตุผลว่า อำนาจอภัยโทษ จำเป็น เพราะตัวบทกฎหมายการลงโทษในขณะนั้นก๊อปมาจากอังกฤษมีความรุนแรงไม่สมเหตุสม ผล ไม่มีคุณธรรม การกระทำผิดเล็กๆน้อยๆธรรมดาๆถูกโทษประหารชีวิตได้
ฉะนั้นประธานาธิบดีควรมีอำนาจนี้เฉกเช่นกษัตริย์อังกฤษ เพื่อช่วยเหลือ “ไม่ให้มีการลงโทษเกินความจำเป็น” และ ช่วย “ผู้กระทำผิดเพราะความจำเป็น”
ประธานาธิบดีจะใช้อำนาจนี้แก่กลุ่มคนก็ได้ ตัวบุคคลก็ได้ เช่น
จอร์จ วอชิงตันใช้อำนาจนี้อภัยโทษกลุ่มบุคคลก่อการจราจลต่อต้านการขึ้นภาษีเหล้า (Whiskey Rebellion)
เจมส์ แมดดิสันอภัยโทษพวกหนีทหารในสงครามกับอังกฤษ ปี ๑๘๑๒ โดยมีเงื่อนไขว่าต้องกลับไปเป็นทหาร
อับราฮัม ลินคอนล์อภัยโทษพวกหนีทหารในสงครามกลางเมืองซิวิล วอร์ (Civil War) มีเงื่อนไขว่าต้องกลับไปรบ
จิมมี่ คาร์เตอร์อภัยโทษกลุ่มคนที่หนีเกณฑ์ทหารสงครามเวียดนาม
บิล คลินตันอภัยโทษรอเจอร์ คลินตัน ลูกพี่ลูกน้องกรณียาเสพติด
จอร์จ บุช (คนพ่อ) อภัยโทษผู้เกี่ยวข้องอิหร่าน-คอนตร้า ซึ่งเกิดขึ้นในสมัยโรนัลด์ เรแกนเป็นประธานาธิบดี ตัวเองเป็นรองฯกรณีอนุญาตขายอาวุธให้ศัตรูอิหร่านอย่างลับๆ และนำเงินมาสนับสนุนกลุ่มคอนตร้าที่ทำสงครามกับศัตรูแซนดินิสต้าในนิคารากัว
เจอรัล ฟอร์ดอภัยโทษประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสันกรณี “วอเตอร์เกต”
สรุป...อานิสงค์ของคนที่ได้รับการอภัยโทษมีจำนวนเป็นพันๆ ด้วยเหตุผล สาเหตุหลายหลากแตกต่างกัน
เฉพาะแฟรงกลิน โรสเวลต์มีคนถูกอภัยโทษ ๓,๖๘๗ คน
ที่ คอนโทรเวอเชี่ยลมีคนโต้แย้งมากคงเป็นเรื่องเจอรัล ฟอร์ดอภัยโทษประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสันเรื่อง “วอเตอร์เกต” ว่ามีการ “ฮั้ว”แลกตำแหน่งกับการอภัยโทษหรือเปล่า
ซึ่งถึงปัจจุบันนี้ก็ยังหาข้อสรุปกันไม่ค่อยจะได้ แต่สังคมอเมริกันก็ดำเนินต่อไป ข้ามพ้นเรื่อง “นิกสันกับวอเตอร์เกต”
อเมริกาจะเป็นเจ้าโลกจะมัวแช่กับเรื่องนี้ ก็กระไรอยู่ “ไทม์ทูมูฟออน” (Time to Move On) ยังมีเรื่องเร่งด่วนอึ่นๆต้องทำอีก
แต่ฟอร์ดก็ต้องใช้ “กรรม” ของการอภัยโทษนิกสันโดยไม่ได้รับเลือกกลับมาเป็นประธานาธิบดีอีก
พ.ร.ฎ.อภัยโทษก็เช่นกัน เป็นเรื่องละเอียดอ่อน อาจเป็น “ไทม์บอมม์-ระเบิดเวลา” ของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ที่ต้องระวัง ...
**********
เรื่องเกี่ยวเนื่อง
มติชนออนไลน์:หักมุม! ทักษิณไม่อยู่ในข่าย 30,000 รายรับอภัยโทษ ต้องติดคุกก่อน ยังเหลืออีก 4 คดีสำคัญ ถอยดีกว่า
ASTVผู้จัดการ:พันธมิตรฯ นัด 10 โมงจันทร์นี้ ต้าน พ.ร.ฎ.อภัยโทษ ยื่นกฤษฎีกา-องคมนตรียับยั้ง
Before & After ผู้นำไทยในเวทีโลก ระหว่างอัปยศกับเกียรติภูมิของชาติอยู่ที่ภาษาหรือที่มา มีคำตอบ
ที่มา Thai E-News
BEFORE
ใครวะแว๊บๆ-อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ซึ่งเกิดในอังกฤษ และมีภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ เสียแต่ว่าเขาเป็นนายกฯหุ่นเชิดของระบอบปกครองอำมาตย์ทรราชย์ ภาพนี้เป็นการไปประชุม UN ที่วอชิงตัน เมื่อ 24 กันยายนปีกลาย ทำท่าพยายามเรียกร้องความสนใจจากโอบาม่า ประธานาธิบดีสหรัฐฯ แต่เหมือนจะถูกเมิน ราวกับไม่มีตัวตนของเขายืนอยู่ตรงนั้น
มือที่มองไม่เห็น(ตัว)ของใคร?-เป็น ธรรมเนียมปฏิบัติของการประชุมสุดยอดผู้นำนานาชาติ ต้องมีภาพแบบนี้เกิดขึ้นตอนจบประชุม คือการจับมือประสานกันอย่างแน่นเหนียว แต่การประชุมอาเซียน-จีน เมื่อปีกลายที่ฮานอย มีบางมือของบางคนที่ผู้นำนานาชาติทำท่าไม่อยากสัมผัสด้วย
เฉลย..ยัง ไม่เป็นที่แน่ชัดว่า สำนักข่าวต่างประเทศแค่บังเอิญ หรือ ตั้งใจจะให้ภาพนายกฯหุ่นเชิด ของระบอบทรราชย์อำมาตย์ในเวทีโลก ออกมาเสมือนถูกรังเกียจจากผู้นำนานาชาติ เลยไม่มีใครอยากสัมผัสมือเปื้อนเลือด หลังการสังหารหมู่ผู้เรียกร้องประชาธิปไตยในไทยเ้มื่อเดือนเมษา-พฤษภา 2553
สำนักข่าวต่างประเทศยิงช็อตเด็ด แสดงให้เห็นภาพอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ทำท่าหันไปขอจับมือกับนายกฯเหวิน เจีย เป่าของจีน ระหว่างประชุมสุดยอดอาเซียน-จีน ครั้งที่ 13 ที่ฮานอย เวียดนาม เมื่อวันศุกร์ 29 ต.ค.ปีที่แล้ว แต่ดูเหมือนจะไม่ได้รับความใส่ใจ ส่วนนายกฯสิงคโปร์ก็ทำท่าเหมือนไม่อยากยื่นมือมาสัมผัสด้วยเช่นกัน
ส่วนเกินบนเวทีโลก-ผู้ นำชาติต่างๆคุยกันอย่างออกรสในการร่วมงานเลี้ยงอาหารค่ำ หลังสิ้นสุดประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 17 และการประชุมกับชาติพันธมิตรอาเซียน ที่เวียดนาม เมื่อปีกลาย
ในภาพ นายกรัฐมนตรีหญิงจูเลีย กิลลาร์ด ของออสเตรเลีย จับมือทักทายนายกรัฐมนตรีนาโอโตะ คุงของญี่ปุ่น โดยมีเลขาธิการอาเซียน สุรินทร์ พิศสุวรรณ นายกรัฐมนตรีจอห์น คีย์ จากนิวซีแลนด์ และประธานาธิบดีเบนิกโย อาวควิโนที่3ของฟิลิปปินส์ ล้อมวงกันอย่างสนิทสนม ทั้งหมดเป็นผู้นำจากการเลือกตั้งของประชาชนในชาตินั้นๆ และยังไม่มีใครมือเปื้อนเลือดสังหารหมู่ประชาชนในประเทศของตน
โดยมีใครก็ไม่รู้เป็นส่วนเกินของภาพอยู่ด้านซ้ายมือ
เขมรก็รังเกียจ-ใน การประชุมสุดยอดผู้นำASEANหนก่อนที่ลาว นายกรัฐมนตรีลาวต้องคะยั้นคะยอเชิญนายกรัฐมนตรีกัมพูชามาถ่ายรูปหมู่ด้วย แต่ฮุนเซ็นเดินหลบไป เพราะไม่อยากถ่ายรูปกับนายกฯจากไทยที่ดำเนินนโยบายเป็นศัตรูกับกัมพูชา เพื่อนบ้าน โดยนายอภิสิทธิ์ทำท่ายิ้มเยาะใส่
ดิวิชั่นเดียวกัน-อย่าง ไรก็ตามเขาได้รับการชดเชยด้วยการกระชับมืออย่างอบอุ่นแนบแน่นจากนายพลอาวุโส ตานฉ่วย เผด็จการมือเปื้อนเลือดรุ่นพี่ของพม่า ขณะที่เจ้าตัวทำสีหน้าพะอืดพะอม เหมือนยังไม่ยอมทำใจรับสภาพ
.........
AFTER
อวย-ประธานาธิบดี บารัค โอบาม่า ทักทายกับนายกฯยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อย่างออกรส โดยมีประธานาธิบดีอินโดนีเซียปรบมือคอยเชียร์ ในการประชุมสุดยอดผู้นำUS-ASEANที่บาหลี อินโดนีเซีย เมื่อ 18 พ.ย.ที่ผ่านมา
การยอมรับนับถือบนเวทีโลกไม่ใช่เพราะพูดภาษาอังกฤษได้คล่องราวกับภาษาแม่ แต่เป็นเพราะที่มานั้นถูกต้องสง่างามหรือไม่ต่างหาก
โลกต้อนรับ-ภาพ ประสานมือแนบแน่นของการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนปีนี้ ไม่มีใครรังเกียจที่จะสัมผัสมือนายกฯจากไทยอีกแล้ว นายกฯกัมพูชาดูจะแช่มชื่นเป็นพิเศษ หากเทียบกับการประชุมหนก่อนที่ลาว
ไทยนำ-ขณะ ที่อเมริกาต้องพยายามต่อไปในการสร้างประธานาธิบดีหญิงคนแรก แต่ไทยนำหน้ามีนายกฯหญิงคนแรกไปแล้ว คนไทยจำนวนหนึ่งยังหาเรื่องนินทาว่าภาษาอังกฤษของยิ่งลักษณ์ใช้ไม่ได้ น่าอับอาย แต่คนพวกนี้ไม่เคยอับอายกับการที่นายกฯซึ่งพูดภาษาอังกฤษคล่องปร๋อแต่มือ เปื้อนเลือดในการสังหารประชาชนมือเปล่าเลยเวทีโลก-นายก รัฐมนตรีกหญิงของไทยต้อนรับเลขาธิการใหญ่สหประชาชาติ คนที่สนับสนุนบอกว่าเธอสง่างามเพราะมาจากการเลือกตั้งของประชาชนไทยส่วนใหญ่ คนที่ต่อต้านบอกว่า เธอเป็นความอับอายของชาวไทย เพราะพูดภาษาอังกฤษได้แย่(หากเทียบกับอดีตนายกฯอภิสิทธิ์)
แดงอินโด-ชุดนี้ท่านประธานาธิบดีอินโดนีเซียกับภริยา ในฐานะเจ้าบ้านประชุมสุดยอดอาเซียน"จัดให้"....
มาอีกแร๊ะ-เรื่องฮาสาดของชาวสลิ่มล่าสุด
ที่มา Thai E-News
17 พฤศจิกายน 2554
เรื่อง FW: คำชมของชาวต่างชาติ..ถึงนายกไทย
Subject: คำชมของชาวต่างชาติ..ถึงนายกไทย
ฝรั่ง: โอ้! นายกรัฐมนตรีประเทศยูนี่ดีมากๆเลยนะเนี่ย
คนไทย: ดียังไง?
ฝรั่ง: ก็ไอเห็นฮีใส่ขาสั้นออกไปเดินลุยน้ำช่วยประชาชนทุกวัน เยี่ยมมากๆ
คนไทย: หือ? ฮี? ผู้ชายเหรอ?
ฝรั่ง: ใช่ๆก็คนที่ตี๋ๆใส่แว่นไง!
คนไทย: เอ่อ...นั่นชื่อสรยุทธ...
ฝรั่ง: แต่รองนายกบ้านยูตัวเตี้ยไปหน่อยนะ
คนไทย: เอิ่ม... นั่นโก๊ะตี๋........
แม ร่งอ่านแล้วฮาสัดๆ สะใจโคตรๆ...อ่านจบก็กด FWM เอ๊ะรึว่า กดShare? หรือต้อง Retweet?? โว๊ย!!ทำไมชีวิตสลิ่มอย่างกรุเนี่ยต้องมีเรื่องให้คิดด้วยว๊า....เชี่ยแม ร่ง!!
สลิ่มพันธุ์ดุกระหายเลือด กระเหี้ยนกระหือรืออยากสังหารหมู่เสื้อแดงแบบฮิตเลอร์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ยิว
ที่มา Thai E-News
โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
18 พฤศจิกายน 2554
หลังจากเมื่อวานนี้สมาชิกคนหนึ่งของขบวนการเสรีไทยเฟซบุ๊ค กลุ่มแนวคิดการเมืองที่มีทัศนะตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิงกับขบวนการเสรีไทยใน ยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 เพราะมีทัศนะแบบฟาสซิสม์ ที่นิยมพันธมิตรและประชาธิปัตย์ออกมาเรียกร้องให้กองทัพทำรัฐประหารเพื่อสกัดการออกพรฎ.อภัยโทษ มาวันนี้สมาชิกอีกรายได้โพสต์ภาพข้างต้นนี้(ดูที่ http://www.facebook.com/photo.php?fbid=282314248474057&set=o.173064882748949&type=1&theater)
(หมายเหตุไทยอีนิวส์:ต่อมาหน้าเพจนี้ได้หายไปแล้ว แต่มีผู้เซฟไว้เป็นหลักฐานแล้ว)
ภาพดังกล่าวคือภาพเหตุการณ์ืั้่สังหารหมู่ที่เรียกกันว่า Holocaust เป็นเหตุการณ์ที่สำคัญเหตุการณ์หนึ่งในประวัติศาสตร์โลก โดยประชากรชาวยิว ที่อาศัยอยู่ในยุโรปประมาณ 6 ล้านคน ได้เสียชีวิตหรือสูญหายไปในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทั้งหมดนี้เป็นแผนการทำลายล้างของพรรคนาซีในประเทศเยอรมันนี นำโดย "อดอล์ฟ ฮิตเลอร์" โดยใช้ชื่อรหัสของปฏิบัติการครั้งนี้ว่า "การแก้ปัญหาชาวยิวครั้งสุดท้าย" (Final Solution) (ดูรายละเอียดของภาพที่ http://www.zone-it.com/stocks/data/10/104363.html )
ผู้โพสต์ภาพนี้เป็นสมาชิกของขบวนการเสรีไทยเฟซบุ๊คที่ใช้ชื้อล็อกอินว่า Ruttakorn Chanviriyawat โดยแจ้งข้อมูลว่าจบการศึกษาที่ ม.เอเซียอาคเนย์ ในปี 2000 ทำงานที่ เติมฝัน@home
เขาเขียนแสดงความเห็นว่า
Ruttakorn Chanviriyawat ปรองดองกับมันไม่ได้แล้ว ต้องฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ผมว่ามันต้องมีกลุ่มนึงอยู่ กลุ่มหนึ่งตายนะ ถ้าอยู่แบบนี้ไม่จบแน่ เพราะไอ้พวกนี้เป็นเผ่าพันธุ์ ที่ไม่รู้จักผิดชอบชั่วดีเลย
ถึงเวลาที่ต้องเอาชีวิตพวกมันมาต่อชีวิตประเทศแล้ว ไม่ต้องเสียดาย ท่านประยุทธ สิ่งที่ท่านคิดจะทำ ผมว่าไม่ต้องรอแล้ว ถึงเวลาที่ต้องทำแล้วท่านประยุทธ คอมมานโด ที่จงรักภักดีหลายคน รอท่านสั่งอยู่นะครับ
หลังจากพวกมันตายแล้ว เราก็หันมาพัฒนาคุณภาพชีวิตคนจนให้เต็มที่ ให้คนจนมีคุณค่า ให้คนจนมีโอกาศทางสังคมเพิ่มขึ้น ให้ชาวนาเกษตรกรมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบ และทำให้สังคมห็นว่าเราต้องไม่แบ่งชั้นความรวย ความจน แต่เราจะแบ่งคนว่าใครต่ำกว่าเราที่ความดี ความเลว
มีผู้เขียนคอมเม้นต์สนับสนุนว่า
ประภณวิษณุ์ พจนารถ ภาวนาให้ทหารอยู่ข้างเดียวกับเราเถิด ไม่อย่างนั้น ในภาพอาจเป็นพวกเราเอง เฮ้อ......ผมรักในหลวงครับ
ต่อมาเมื่อมีคนเข้าไปทักท้วงไม่เห็นด้วยมากเข้า เขาได้เขียนข้อความตอบโต้ว่า
ประ ชาธิไตย คือการเลือกตั้ง ประชาธิไตยคือเสียงมากกว่าทำอะไรก็ได้5555555ควายจริงๆ ท่องกันมาทั้งนั้น555555555 ไม่มีโพยคงไม่รู้จะพูดอะไร เหมือน อีนายกเสียงส่วนใหญ่ไง
พวกมึงรู้รึป่าวประชาธิปไตยเป็นไง ถ้ารู้แค่หางอึ่ง อย่ามายุ่งกับกู คุยเหตุผลพวกมึงก็สู้กูไม่ได้ ถ้าใช้กำลังกูก็ว่ากูเอาพวกมึงอยู่วะ ดีแต่หมาหมู่ แต่สะเออะเรียกเสียงส่วนใหญ่ ไปไปนอนกองกันแบบในรูปได้แล้ว ไม่นานหรอกพวกมึงอะ
*******
เรื่้องเกี่ยวเนื่อง:สมาชิกขบวนการเสรีไทยเฟซบุ๊ค อาจารย์มหาลัย โต้งๆไม่อ้อมค้อม WANTอย่างแรงวอนกองทัพทำรัฐประหาร สกัดออกพรฏ.อภัยโทษแม้ว