WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, July 14, 2012

ล้านคำบรรยาย การ์ตูนเซีย 14/07/55 คนดี..จะทนอุ้มอีกไหวไหม?

ที่มา blablabla

โดย

 ภาพถ่ายของฉัน




ก็เพราะเชียร์ คนๆ นี้ ดีนักหนา
แสร้งปิดหู ปิดตา ว่าสุดเจ๋ง
กระโดดอุ้ม ห้อมล้อม พร้อมกระเตง
พวกเส็งเคร็ง ก็ก้มหน้า ก้มตาเชียร์....


ทั้งสั่งปราบ สั่งฆ่า ประชาราษฎร์
ใช้วาทกรรม แสนอุบาทว์ สัญชาติเหิ้ย
ดีแต่พูด ไอ้ขี้ข้า หน้าตัวเมีย
จ้องคอยเลีย ตีนอำมาตย์ อนาถใจ....


ฮุบที่หลวง สปก. ทั้งพ่อลูก
ลืมผิดถูก เป็นคนดี แบบนี้ไหม
ชอบทำลาย ภาพลักษณ์ สภาไทย
แล้วฝักใฝ่ เผด็จการ สามานย์ชน....


อนุมัติ ทิ้งทวน หวังด่วนแดก
ดีแปลกๆ ของพวกมึง ถึงสับสน
ก่อนวาระ จบสิ้นไป ในบันดล
หลายแสนล้าน อิ่มทุกคน ไม่สนใคร....


ยิงคนตาย คาปั๊ม ย้ำเถื่อนถ่อย
ดีใช่น้อย พวกกากเดน เห็นบ้างไหม
พวกมึงว่า โคตรดี ดียังไง
ตาฝ้าฟาง เชียร์เข้าไป..ไอ้สันดาน....


มาสายติดภารกิจเล็กน้อยครับ 


๓ บลา / ๑๔ ก.ค.๕๕

RedUSAจี้ยุบตลก นิติราษฎร์ชูศาลพิทักษ์ระบอบรธน.

ที่มา Thai E-News

 
คณะนิติราษฎร์จัดแถลงข่าวเส

นอ"ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อยุบเลิกศาลรัฐธรรมนูญ และการจัดตั้งคณะตุลาการพิทักษ์ระบอบรัฐธรรมนูญ" ในวันอาทิตย์ที่ 15 กรกฎาคม ณ ห้อง LT1 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ตั้งแต่เวลา 13.00 น.เป็นต้นไป 


โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
14 กรกฎาคม 2555


แดงอเมริกา (RED USA)ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 3 ให้ยกเลิกตลก.รธน. และสนับสนุนท่าทีของ นปช. ในการผลักดันให้สภาลงมติวาระสาม ต่อไป  โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

จดหมายเปิดผนึกฉบับที่สาม ถึงตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้งคณะ
จากการที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญขึ้นนั่งบัลลังก์อ่านคำวินิจฉัยกรณีมีสมาชิกพรรคฝ่ายค้าน และสมาชิกวุฒิสภาสรรหาซึ่งเป็นอดีตคณะรัฐประหารยึดอำนาจการปกครองเมื่อปี ๒๕๔๙ รวม ๔๐ คนยื่นคำร้องให้พิจารณาว่าการประชุมแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๙๑ ของรัฐสภา เพื่อให้มีการเลือกตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญชุดใหม่เป็นการล้มล้างการปกครองอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขนั้น
ทำให้พวกเราชนชาวไทยที่อาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกา ในนามของกลุ่ม เร็ด ยูเอสเอ”(RED USA.) จำเป็นต้องประกาศจดหมายเปิดผนึกอีกฉบับนี้เป็นการด่วน เพื่อยับยั้งการก้าวล้ำอำนาจอธิปไตยของปวงชน โดยคณะ ตลก. รธน. ประดุจดังมาตรการรักษาความสงบจากเบาไปหาหนัก อันตรงต่อกรรมวิธีที่ควร และตรงข้ามกับวิธีการที่รัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เคยกระทำผ่านการดำเนินงานโดยศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) นั่นคืออย่างสันติวิธี และมิใช่จากหนักไปถึงตาย
การนี้เราขอประกาศ และชักนำให้ประชาชนไทยทั้งมวลจงร่วมกันเรียกร้องให้มีการเพิกถอน และยกเลิกศาลรัฐธรรมนูญชุดนี้โดยมิรอช้า เพื่อที่จะได้มีการกำหนดบทบาท และวิธีการเลือกสรรคณะ ตลก. อย่างสมบูรณ์ไว้เป็นพี่เลี้ยง และสร้างความกระจ่างในบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญโดยแท้จริง ในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ มิใช่แอบแฝงอยู่กับบทเฉพาะกาลนานหลายปี แล้วยังประพฤติผิดครรลองนิติธรรมด้วยการวินิจฉัยคดีความด้วยอารมณ์ความ รู้สึกส่วนตัว มากกว่าปรับใช้ และอ้างอิงหลักเกณฑ์ในเนื้อนาของกฏหมาย
ดังที่คณะตุลาการ ๗ ต่อ ๑ วินิจฉัยว่า สามารถรับคำร้องคดีความตามกฏหมายรัฐธรรมนูญ มาตรา ๖๘ ได้โดยตรงมิต้องผ่านการพิจารณาตรวจสอบสำนวนโดยอัยการสูงสุดเสียก่อน โดยอ้างเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญซึ่งไม่ปรากฏในตัวบทกฏหมายใดๆ เว้นแต่ในจินตนาการของ ตลก. ชุดนี้เอง
อีกทั้งการอ้างมาตรา ๖๙ แห่งรัฐธรรมนูญในเรื่องสิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ ว่าการสั่งการของศาลรัฐธรรมนูญทั้งๆ ที่ข้อเท็จจริงแห่งความผิดยังไม่บังเกิด นั้นหากแต่ เป็นการป้องกันไว้ล่วงหน้า ก็มิได้มีการเสนอเหตุผลแห่งข้อกฏหมายพอให้คำอ้างอิงของศาลมีน้ำหนักมากกว่าถ้อยคำพร่ำบ่นกับตนเอง ซ้ำร้ายเป็นการกำหนดเจตนารมณ์ให้แก่รัฐธรรมนูญโดยทับถม และถากถางความเห็นของผู้ร่างบางคน อันมิใช่วิสัยที่ตุลาการผู้มีคุณวุฒิพึงกระทำ
ส่วน ข้อพินิจของ ตลก. ที่ว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญตามมาตรา ๒๙๑ เหมาะที่จะให้ประชาชนผู้มีอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญได้ออกเสียงเป็นประชามติ เสียก่อน ก็เป็นการวินิจฉัยอย่างยกเมฆเอาเอง ในเมื่อถ้าหากยังไม่มีเนื้อนาแห่งตัวบทในข้อกฏหมายที่ต้องการแก้ให้เป็นที่ปรากฏแล้ว การทำประชามติเพียงว่าต้องการแก้หรือไม่แก้ย่อมก่อให้เกิดการสิ้นเปลืองโดยเปล่าประโยชน์
เว้น แต่จะได้สนองความต้องการของกลุ่มที่ได้รับผลประโยชน์จากบางบทบางตอนในรัฐ ธรรมนูญ อาทิ อดีตคณะรัฐประหาร คมช. และองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ เช่นศาลรัฐธรรมนูญ สามารถเตะถ่วงกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญในครรลองที่ถูกต้อง ซึ่งได้มาถึงการลงมติโดยรัฐสภาในวาระสามก่อนที่จะเข้าสู่กระบวนการเลือกตั้ง สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญชุดใหม่แล้ว เจตนาร้ายแอบแฝงเช่นนี้แสดงออกทางอาการรุ่มร้อนให้สัมภาษณ์ของนายจรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการคนหนึ่งซึ่งขอถอนตัวจากองค์คณะเพราะถูกพาดพิงว่าแสดงความเห็นไม่อยู่กับร่องรอย
เรา จะไม่กล่าวถึงคำวินิจฉัยข้อสามที่ ตลก. ยอมรับในประเด็นข้อเท็จจริงเรื่องการล้มล้างการปกครอง..อันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุขว่า ยังไม่มีข้อเท็จจริงที่เชื่อถือได้ และ การกล่าวอ้างของผู้ร้องจึงเป็นการคาดการณ์ล่วงหน้าซึ่งยังไม่มีผลแต่ประการใด เนื่องเพราะ ตลก. มิควรที่จะรับคำร้องในข้อนี้แล้วแต่ต้น 

ในประเทศที่ระบบตุลาการเป็นไปตามหลักนิติธรรมสากล คำร้องเช่นนี้จะไม่ผ่านแล้วแม้แต่ในชั้นเสมียนศาลผู้รับเอกสารคำร้อง ไม่ควรที่คณะตุลาการจักต้องมาอ่านคำวินิจฉัย ยกคำร้อง อีก
ด้วยประการเหล่านี้ เราขอยกระดับกระชับสัจจธรรมแห่งระบอบประชาธิปไตย ให้มีการยกเลิกเพิกถอนคณะ ตลก. รธน. ทั้งองค์กรตั้งแต่บัดนี้ และขอประกาศว่าเราในฐานะประชาชนส่วนหนึ่งผู้ครองอธิปไตยแห่งชาติ ไม่ยอมรับคำวินิจฉัยของ ตลก. รธน. ชุดนี้ว่ามีความเหมาะสมแก่ศักดิ์ศรีขององค์กร
และขอสนับสนุนท่าทีของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ในการผลักดันให้สภาทำการลงมติวาระสามของการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ม. ๒๙๑ ต่อไป พร้อมทั้งรณรงค์ให้มีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยบรรจุบทว่าด้วยตุลาการผู้ทำหน้าที่เกื้อหนุนรัฐธรรมนูญที่มาจาก และรับผิดชอบต่อประชาชนโดยตรง
เพื่อความก้าวหน้าของประชาชาติไทย
เร็ด ยูเอสเอ

คลิปสารคดีปฏิวัติฝรั่งเศสโลกจารึก

ที่มา Thai E-News

 'เกิดขบถขึ้นรึ?' พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหลุยส์ที่16พระราชดำรัสถาม


"...หามิได้พระเจ้าค่ะใต้ฝ่าพระบาท มันคือการปฏิวัติ" มหาดเล็กตอบ

 



















***************
เรื่องเกี่ยวเนื่อง:





1911โลกจารึกต้นแบบปฏิวัติรศ.130-24มิถุนา2475


ต้นแบบปฏิวัติ 2475-ภาพยนตร์ 1911 ซึ่งออกฉายในปี 2554 ที่ผ่านมา เฉลิมฉลองโอกาส 100 ปีเปลี่ยนแปลงการปกครองของจีนจากราชาธิปไตยสู่สาธารณรัฐ ทั้งนี้คณะก่อการ รศ.130ของไทยได้เอาอย่างการปฏิวัตินี้เป็นแม่แบบ ทั้งการแต่งตั้งนายแพทย์เหล็งให้เป็นหัวหน้าคณะก่อการ แบบเดียวกับนายแพทย์ซุนยัดเซ็น และอุดมการณ์ อย่างไรก็ตามการก่อการของคณะรศ.130ในปีพ.ศ.2555 หรือ 100 ปีที่แล้วล้มเหลวกลายเป็นกบฎ แต่คณะราษฎรได้สืบสานสายธารการปฏิวัติจนสำเร็๋จในปี2475

เชิญชมคลิปภาพยนตร์ 1911



แถลงข่าว"กรณีศาล รธน จาตุรนต์ 14-7-2012

ที่มา speedhorse



Friday, July 13, 2012

ความ 'ตลก' ของ 'ตลก.' ศาลรัฐธรรมนูญ

ที่มา ประชาไท

 

 
กฎหมายกำหนดว่า คำวินิจฉัยให้มีผลในวันอ่าน ดังนั้น ต้องยึดถือว่าสิ่งที่ศาลอ่าน เป็นคำวินิจฉัย
 
คำถามคือ สิ่งที่ ตลก. อ่านไป ฟังแล้ว 'ตลก' ไหมครับ ?
 
*** ตลก ที่ 1 *** 
 
ศาลบอกบอกว่า ถ้าตั้ง สสร. แก้ทั้งฉบับ สภาจะ ต้อง (หรือ "ควร" ?) ไปถามประชาชนก่อน 
 
ในขั้นแรก รัฐธรรมนูญ มาตรา 165 เองไม่ได้ให้อำนาจรัฐสภาไปทำประชามติถามประชาชน ผู้ที่จะทำประชามติได้ คือ คณะรัฐมนตรี แล้ว ศาลจะให้ 'ฝ่ายบริหาร' ไปก้าวล่วงถามเรื่องแก้รัฐธรรมนูญแทน 'ฝ่ายนิติบัญญัติ' กระนั้นหรือ ?
 
หรือศาลจะให้สภา ไปตรากฎหมายที่ 'เล็กกว่า' รัฐธรรมนูญ มาขอทำประชามติแก้รัฐธรรมนูญ 'ที่ใหญ่กว่า' ?
 
แล้วตอนไปถามประชาชน จะให้ถามว่าอะไรครับ จะให้เลือกระหว่าง
 
ก. เลือกเก็บ รธน 2550 ทั้งฉบับไว้
 
กับ
 
ข.  เลือกร่างใหม่ ที่ยังไม่ทันได้ร่าง  
 
แล้วจะให้ประชาชนเลือกอย่างไร ? ในเมื่อตัวเลือกมันยังไม่มีให้เลือก ?
 
*** ตลก ที่ 2  *** 
 
ศาลบอกว่า แก้ทั้งฉบับ ต้องถามประชาชนก่อน
 
แต่แก้ทีละมาตรา ไม่ต้องถามประชาชน
 
สรุปถ้า จะแก้ทีละมาตรา ทั้งหมดซัก 300 มาตรา สรูป สภาทำได้ ไม่ต้องถามประชาชน ?
 
ตรรกะนี้ ผิดเพี้ยน มาก เอาคำหรู เช่น "อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ" มาอ้าง ก็ไม่ได้ช่วยให้มีตรรกะแต่อย่างใด
 
*** ตลก ที่ 3 *** 
 
หลังศาลอ่านคำวินิจฉัย โฆษกศาลแถลงว่า ข้อกฎหมายที่ศาลวินิจฉัย คือ มาตรา 68 สรุปว่าไม่ได้มีการล้มล้างการปกครองฯ แต่พอถูกนักข่าวถามว่า ศาลวินิจฉัยเรื่อง มาตรา 291 ว่าห้ามแก้ไขทั้งฉบับ หรือไม่ โฆษกกลับตอบว่า เป็นข้อเสนอแนะ เป็นความเห็น หากรัฐสภาดำเนินการต่อ ต้องรับผิดชอบเอง
 
แล้วสรุป ถ้าจะ ยกคำร้อง แล้ว จะยึกยัก แสดงความเห็นนอกประเด็นไปเพื่อเหตุใด ?
 
*** ผมย้ำอีกครั้งว่า ***
 
ประเด็นของคดีนี้ คือ มาตรา 68 ไม่ใช่ มาตรา 291 ศาลจึงไม่มีอำนาจไปก้าวล่วงว่า มาตรา 291 แก้ไขอย่างไร 
 
ขนาดสมัยประชาธิปัตย์แก้รัฐธรรมนูญทีละมาตรา แล้วเพื่อไทยนำไปร้องศาลตาม มาตา 154 ศาลยังปฏิเสธคำร้องเพื่อไทย บอกว่า มาตรา 291 เป็น "เรื่องเฉพาะ" ที่สภาต้องดำเนินการสามวาระ ศาลไม่เข้าไปก้าวล่วง
 
มาตรา 291 กำหนดว่า เมื่อพ้น 15 วันหลังลงมติวาระ 2 ไปแล้ว สภามี "หน้าที่ตามกฎหมาย" ต้องเดินต่อไปยัง วาระ 3
 
ดังนั้น เมื่อศาลวินิจฉัยแล้วว่า คดีนี้ไม่ขัด มาตรา 68 รัฐสภาต้องเดินหน้าต่อวาระสามตามที่ มาตรา 291 กำหนดไว้ รัฐสภาจะนำความเห็นหรือข้อเสนอแนะนอกคำวินิจฉัยไม่ได้ 
 
และหากประชาชนผู้รักประชาธิปไตยจะหลงตามศาลจนแตกเสียงกันว่า จะเดินหน้าวาระ 3 หรือไม่ ก็จะน่าเสียดาย
 
ส่วนถ้าสภาเดินต่อวาระ 3 แล้วมีคนไปฟ้องซ้ำว่าขัดมาตรา 68 ศาลก็ต้องตอบให้ชัดเจนว่า ที่บอกว่า มาตรา 291 แก้ได้อย่างนั้นอย่างนี้ เป็น "ความเห็น" ของศาล แต่ไม่ใช่ "คำวินิจฉัย"
 
เพราะคำวินิจฉัย วันศุกร์ที่ 13 นี้ มีผูกพันเพียงประการเดียว คือ "ยกคำร้อง" !

'ใบตองแห้ง' ออนไลน์: เถื่อนมาก็เถื่อนไป?

ที่มา ประชาไท

 



ศุกร์ 13 จะออกมาอย่างไร หลายคนคาดการณ์ว่า ศาลรัฐธรรมนูญจะไม่ให้แก้มาตรา 291 ยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ แต่ไม่ยุบพรรคตัดสิทธิ ล้มระบอบรัฐสภา
แต่ไม่ว่าออกมาทางร้าย หรือร้ายแรงที่สุด ผลที่เกิดขึ้นแน่นอนคือ มวลชนเสื้อแดงและผู้รักประชาธิปไตยจะตระหนักว่า ระบอบประชาธิปไตยแบบอำมาตย์กำลังดื้อรั้นรักษาอำนาจโดยไม่คำนึงถึงเหตุผล ความชอบธรรม หรือกฎกติกา โดยถือดีว่ามีอำนาจศาลและอำนาจปืนอยู่ในมือ
เราไม่สามารถรอมชอมกับระบอบประชาธิปไตยแบบอำมาตย์ได้ ทั้งที่ได้พยายามต่อสู้ในกติกาแล้ว
ภายหลังการยุบพรรคไทยรักไทย ยุบพรรคพลังประชาชน จัดตั้งรัฐบาลในค่ายทหาร มวลชนเสื้อแดงลุกฮือขึ้นสู้ ในเดือนเมษายน 2552 และเมษา-พฤษภา 2553 ความรุนแรงที่เกิดขึ้นเป็นการใช้กำลังทางกายภาพตอบโต้ความรุนแรงที่เป็น นามธรรมของรัฐประหารและศาล ฝ่ายอำมาตย์คิดว่าการยั่วยุให้มวลชนทนไม่ไหวจะเป็นโอกาสให้อ้างความชอบธรรม ใช้กำลังปราบปราม แล้วชาวบ้านโง่ๆ ถูกหลอก ถูกซื้อ ถูกยิงตายซักหลายสิบคนก็คงจะฝ่อไป แต่พวกเขาคิดผิด แม้การยิงหัวไพร่เสื้อแดงจะได้ใจสลิ่ม ผู้ดีชาวกรุง ดารา ไฮโซ แต่ในชนบทอันกว้างใหญ่ ในภาพรวม ในทางสากล พวกเขาพ่ายแพ้ทางการเมือง จนกระทั่งพรรคเพื่อไทยกลับมาได้ชัยชนะล้นหลาม โดยได้รับการสนับสนุนจากนานาประเทศด้วย
ความพยายามก่อรัฐประหารโดยศาลครั้งนี้ ชัดเจนว่าเป็นไปอย่างดันทุรัง ในการรับคำร้องตามมาตรา 68 ซึ่งผิดทั้งแง่กระบวนการและเนื้อหา ศาลรัฐธรรมนูญรับวินิจฉัยทั้งที่ไม่มีอำนาจ ใช้อำนาจโดยพลการอยู่เหนือรัฐธรรมนูญ ถามว่าพวกเขาไม่ตระหนักหรือ ว่าจะเกิดอะไรขึ้น หากชี้ผิด ยุบพรรค ตัดสิทธิ
สงครามกลางเมืองสิครับ มวลชนจะลุกฮือขึ้นมาตะโกนว่า กูทนไม่ไหวแล้วโว้ย
ในแง่หนึ่งคือการหยั่งเชิงของฝ่ายอำมาตย์ ถ้าประชาชนทนไม่ไหวลุกฮือ มันก็คือโอกาส ที่จะเอากำลังทหารออกมารักษาความสงบ โค่นรัฐบาล แล้วเดินไปตามสูตรอียิปต์บวก ม. 7 ขอรัฐบาลพระราชทาน อย่างที่บิ๊กจิ๋วดักคอ
แต่ในขณะเดียวกัน ฝ่ายอำมาตย์ก็ไม่มั่นใจว่า ถ้าประชาชนทนไม่ไหว แล้วพวกเขา “เอาอยู่” หรือไม่ เป็นสถานการณ์ที่ประเมินยาก แม้แต่ฝ่ายรัฐบาล เพื่อไทย นปช.ก็ยังประเมินไม่ออก ว่าขณะนี้มวลชน “ตาสว่าง” เพียงไร และพร้อมจะสู้ถึงที่สุดแค่ไหน มันจึงเสี่ยงอันตรายอย่างยิ่ง หากไปถึงจุดนั้น
หากไม่กล้าแตกหัก ก็อาจรัฐประหารครึ่งใบ ไม่ยอมให้แก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับ แต่ไม่ยุบพรรคตัดสิทธิ แบบนั้นจะกลับมาสร้างภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกให้รัฐบาลเพื่อไทยและมวลชน เสื้อแดง คือมวลชนโกรธแค้น แต่ไม่รู้จะระบายออกอย่างไร เพราะอีกด้านหนึ่งก็ต้องรักษาอำนาจของรัฐบาล มวลชนไม่สามารถออกมาก่อความไม่สงบ ชุมนุม ปิดถนน ก่อความรุนแรง ที่จะกลายเป็นบั่นทอนเสถียรภาพรัฐบาล ฝ่ายรัฐบาลเอง ก็น่าจะต้องกล้ำกลืนยอมรับคำสั่งศาล ขณะที่มวลชนไม่ยอมรับ และต้องการระบายความแค้น นี่เป็นปัญหาที่จะต้องจัดการให้ดี และต้องเข้าใจการแยกกันเดิน
มวลชนต้องแสดงพลัง เพื่อตอบโต้ฝ่ายอำมาตย์ นี่เป็นสิ่งที่ต้องยืนยัน เพราะถ้าไม่มีปฏิกิริยาตอบโต้ของนักวิชาการและมวลชนมาตั้งแต่ต้น ฝ่ายอำมาตย์ก็คงไม่ลังเลที่จะใช้แผน 1 ฉะนั้นการที่พรรคเพื่อไทยจะบอกให้มวลชนเสื้อแดงยอมรับคำสั่งศาล จึงเป็นเรื่องงี่เง่า แต่แน่นอนว่าสำหรับรัฐบาลอาจต้องเลือกเดินอีกอย่าง เพื่อรักษาฐานอำนาจและพยุงตัวอยู่ในกระแสสาธารณะ ที่คนทั่วไปยังไม่อยากให้แตกหัก ด้านนี้มวลชนก็ต้องเข้าใจรัฐบาลเช่นกัน แต่ไม่จำเป็นต้องบอกว่าเห็นพ้องกัน มวลชนสามารถตอบโต้อย่างเต็มที่ ไม่เกี่ยวกับรัฐบาล
รัฐบาลเองก็ควรตอบโต้ในกรอบของรัฐบาลด้วย เช่น แม้ประกาศว่ายอมรับคำสั่งศาลเพื่อความสงบของบ้านเมือง แต่ก็เสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตราทันที แบบสวนหมัดกัน ให้วุฒิสภามาจากการเลือกตั้งทั้งหมด รื้ออำนาจ ที่มา องค์ประกอบขององค์กรอิสระ โดยทำได้รวดเร็วเพราะไม่ต้องเลือกตั้ง สสร.ไม่ต้องลงประชามติด้วย
ไม่ว่าผลจะออกมาทางร้าย หรือร้ายแรง สิ่งที่ควรตระหนักคือ เราไม่สามารถรอมชอมกับอำมาตย์ได้ ทั้งที่สังคมไทยควรจะใช้กระบวนการประชาธิปไตยเจรจา ต่อรอง ปรับโครงสร้างอำนาจ ให้เกิดความสมดุล และต่อสู้ความคิดกันไปภายใต้ระบอบประชาธิปไตยปกติ
ประชาธิปไตยแบบอำมาตย์กลัวความเปลี่ยนแปลงที่จะมาถึงอย่างเลี่ยงไม่พ้น พวกเขามีเวลาอีกไม่กี่ปี จึงดิ้นรนรักษาอำนาจ และถ้าจำเป็นก็พร้อมจะแตกหัก พวกเขาหวังว่าจะยั่วยุให้ประชาชนทนไม่ไหว เพื่อนำไปสู่การใช้กำลัง ใช้กองทัพ ในรูปแบบที่ไม่ใช่รัฐประหาร แต่อ้างได้ว่าเพื่อรักษาความสงบ เพียงแต่พวกเขาก็กลัวอยู่เหมือนกันว่าการยั่วยุให้ประชาชนทนไม่ไหวนี้ มันจะบานปลายไปเพียงไร
2-3 วันก่อนผมเพิ่งคุยกับธงชัย วินิจจะกูล ธงชัยฝากข้อคิดว่า การอภิวัฒน์ 2475 ที่ฝ่ายอำมาตย์อ้างว่าชิงสุกก่อนห่ามนั้นเป็นการบิดเบือนประเด็น เพราะความเป็นจริง ไม่มีการปฏิวัติหรือการเปลี่ยนแปลงการปกครองที่ไหน เกิดขึ้นโดยประชาชนพร้อม ตื่นตัว รู้แจ้ง เห็นอนาคตหมดจด แต่มันเกิดขึ้นเพราะประชาชน “ทนไม่ไหว” กับระบอบที่ดำรงอยู่ เท่านั้นเอง
นี่แม้แต่การปฏิวัติฝรั่งเศส ซึ่งธงชัยบอกว่า คนยังเข้าใจผิดที่ว่าฌอง ฌาค รุสโซ มีอิทธิพลต่อการปฏิวัติฝรั่งเศส เพราะงานของรุสโซในสมัยนั้นไม่มีใครอ่าน แต่คนรุ่นหลังไปจับมา match กัน การปฏิวัติฝรั่งเศสเกิดขึ้นเพราะประชาชนทนไม่ไหว เท่านั้นเอง ไม่ได้มีทฤษฎีชี้นำอะไรหรอก เมื่อทนไม่ไหวก็โค่นล้มระบอบ ต่อมาการปฏิวัติฝรั่งเศสจึงวุ่นวายสับสนจนฆ่ากันเอง
อย่างไรก็ดี แม้จะเป็นนักโทษการเมืองที่ติดคุก 2 ปีหลัง 6 ตุลา ธงชัยก็ยืนยันว่าไม่อยากเห็นการปฏิวัติ หรือการเปลี่ยนแปลงด้วยความรุนแรง ผมเอง ซึ่งเคยเข้าป่าจับปืนอยู่ 4 ปี ก็เห็นด้วย เพราะเอาเข้าจริงมันไม่เคยมีการปฏิวัติที่ “ฟ้าสีทองผ่องอำไพ” ปฏิวัติฝรั่งเศสฆ่ากันเอง ปฏิวัติจีน รัสเซีย ก็ฆ่ากันเอง ปฏิวัติคิวบา นิคารากัว ไม่เคยเป็นไปตามความฝันอันงดงาม เพราะเมื่อคุณปฏิวัติแล้วก็ต้องใช้อำนาจปกป้องค้ำจุนการปฏิวัติ แล้วอำนาจนั้นก็กลืนกินตัวเอง
ประชาธิปไตยเท่านั้น ที่เป็นทางออก ไม่ใช่ “ปฏิวัติประชาชน”
เพียงแต่ในสถานการณ์ที่เป็นอยู่ เราไม่ได้เป็นผู้กำหนด ฝ่ายอำมาตย์เป็นผู้กำหนดให้เกิดความรุนแรง ในสถานการณ์เช่นนี้เราจะบอกให้มวลชนหงอ นั่งพับเพียบ ก็ไม่ได้ เพราะยิ่งไม่สู้ เขายิ่งได้ใจ แน่นอนด้านหนึ่งเรามีอาวุธคือเหตุผล หลักการประชาธิปไตย และความชอบธรรม แต่เมื่อเขาไม่สนใจหลักการเหล่านี้แล้ว ต้องการใช้กำลัง เราก็มีแต่มวลชนและอารมณ์โกรธแค้นของมวลชน เป็นอาวุธต้าน
ผมไม่ได้บอกให้ใช้กำลังเพื่อการเปลี่ยนแปลง เพราะเป้าหมายคือการเปลี่ยนผ่านอย่างสันติ ในวิถีประชาธิปไตย ไม่เอาการเปลี่ยนแปลงด้วยความรุนแรง แต่ในขั้นตอนระหว่างนั้น บางครั้งก็จำต้องเป็นไปตามกฎธรรมชาติ ที่ใดมีการกดขี่ ที่นั่นมีการต่อต้าน การแสดงอารมณ์ของมวลชน ไม่ว่าจะถูกหรือผิด ในกรอบ นอกกรอบ มันก็คือการตอบโต้โดยธรรมชาติ ที่ส่งผลให้ฝ่ายตรงข้ามต้องยับยั้งชั่งใจ
นี่เป็นเรื่องลำบากใจสำหรับผู้นำการเคลื่อนไหวมวลชน ว่าในจุดหัวเลี้ยวหัวต่อแต่ละครั้ง จะกำหนดทิศทางการเคลื่อนไหวอย่างไร เพราะต้องรับผิดชอบทั้งจุดมุ่งหมาย ชีวิตคน ผลทางการเมือง และชัยชนะหรือความพ่ายแพ้
ถ้าเขาใช้อำนาจเถื่อนมาแล้วเราเถื่อนไป ใช้กำลัง ใช้อารมณ์ นอกจากสูญเสียชีวิตเลือดเนื้อแล้ว ชัยชนะที่ได้มาด้วยความรุนแรงยังไม่คุ้มกับความสูญเสีย แต่ถ้าเขาเถื่อนมา แล้วเรายังสู้ไปกราบไป นอกจากไม่ชนะแล้ว เขาก็คงไม่เอาเราไว้อยู่ดี จะยิ่งบดขยี้อีกต่างหาก

"นิติราษฎร์" เตรียมเสนอเลิกศาล รธน.- ตั้งตุลาการพิทักษ์รธน. อาทิตย์นี้

ที่มา ประชาไท

 

(13 ก.ค.55) หลังศาลรัฐธรรมนูญอ่านคำวินิจฉัยกรณีแก้ไขรัฐธรรมนูญ คณะนิติราษฎร์ได้ประกาศผ่านเว็บไซต์ของกลุ่ม ทันที ว่าจะมีการจัดเวทีแถลงข้อเสนอทางวิชาการ เรื่องการยุบเลิกศาลรัฐธรรมนูญ และจัดตั้งคณะตุลาการพิทักษ์ระบอบรัฐธรรมนูญ ในวันอาทิตย์ที่ 15 กรกฎาคม 2555 เวลา 13.00 น. ห้อง LT1 ห้องจิ๊ด เศรษฐบุตร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

‘วรเจตน์’ ชี้ตรรกะในคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญขัดกันเอง

ที่มา ประชาไท

 
วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ให้สัมภาษณ์วอยซ์ทีวี ชี้ตรรกะในคำวินิจฉัยขัดกันเอง ระบุเรื่องนี้ไม่อยู่ในเขตอำนาจศาลแต่ต้น เพราะเป็นการใช้อำนาจแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญของรัฐสภา

(แฟ้มภาพ: ประชาไท)
13 ก.ค. 55 หลังจากการอ่านคำตัดสินของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ วอยซ์ทีวีได้ทำการสัมภาษณ์อาจารย์วรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์หนึ่งในคณะนิติราษฎร์ ต่อประเด็นการตัดสินของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
โดย อ.วรเจตน์ ชี้ว่าตรรกะในคำวินิจฉันขัดกันเอง โดยระบุว่ามีความเห็นแต่แรกแล้วว่าเรื่องนี้ไม่อยู่ในเขตอำนาจศาลแต่ต้น เพราะนี่เป็นการใช้อำนาจแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญของรัฐสภา
“ไม่ต้องพูดเรื่องต้องผ่านอัยการหรือไม่ เพราะเรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับการใช้สิทธิเสรีภาพ แต่เป็นการใช้อำนาจการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่เรื่องที่ศาลรัฐธรรมนูญจะทำได้”
“เพราะไม่เช่นนั้น ต่อจากนี้ไป หากองค์กรของรัฐทำอะไรก็ตาม ก็จะมีคนไปยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ตลอดเวลา เป็นเรื่องที่น่าจะขัดรัฐธรรมนูญ เองและไม่มีผลผูกพันองค์กรใดๆ ของรัฐ แต่ที่ผ่านมาฝ่ายรัฐสภาไม่ได้ยืนยันอำนาจของตัวเองในการลงประชามติผ่านวาระ สาม”
อ.วรเจตน์ ให้ความเห็นต่อไปว่า ในการวินิจฉัยว่าถ้าแก้ทั้งฉบับต้องลงประชามติก่อนนั้น ศาลพูดแต่เพียงว่า "ควรจะประชามติ" ก่อน เพราะศาลก็รู้ว่าไม่มีบทบัญญัติที่ไหนเลยที่บอกว่าถ้าจะร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ทังฉบับนั้นต้องลงประชามติ และแม้จะมีการยกร่างฯ ใหม่ ก็ต้องลงประชามติอยู่ดี และประชาชนก็จะมีโอกาสเปรียบเทียบรัฐธรรมนูญเก่า กับร่างฯ ใหม่แต่ถ้าประชามติไปถามเฉยๆ ว่าจะแก้หรือไม่นั้นไม่เกิดประโยชน์เสียงบประมาณเปล่าๆ นี่เป็นการยกขึ้นมาโดยศาลเองโดยไม่มีอำนาจ
ส่วนประเด็นสุดท้าย เรื่องการไม่ล้มล้างการปกครองฯ นั้น อ.วรเจตน์ ระบุว่าเหมือนกับศาลรัฐธรรมนูญ จะบอกว่าถ้าแก้ทั้งฉบับทำไม่ได้ ถ้าทำต้องแก้รายมาตรา ถ้าบอกว่าแก้ทั้งฉบับทำไม่ได้ แต่ศาลก็ไม่ได้บอกว่า แก้ทั้งฉบับเป็นการล้มล้างการปกครองหรือเปล่า ตรรกะของศาลเป็นปัญหาในตัวเอง

ศาล รธน.ชี้แก้ ม. 291 ไม่ล้มล้างการปกครอง แก้รายมาตราได้ แก้ทั้งฉบับ 'ควร' ทำประชามติ

ที่มา ประชาไท

 

ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอ่านคำตัดสิน การแก้มาตรา 291 ไม่ถือเป็นการล้มล้างการปกครอง แก้รัฐธรรมนูญรายมาตราได้ แต่ทั้งฉบับ 'ควร' ทำประชามติ
 
13 ก.ค. 55 - เวลา 14.45 น. ศาลรัฐธรรมนูญเริ่มอ่านคำวินิจฉัย 3 ประเด็น หนึ่ง วินิจฉัยว่ามีอำนาจพิจารณาหรือไม่ สอง แก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับได้หรือไม่ สาม การกระทำของผู้ถูกร้องเป็นการกระทำที่ล้มล้างระบอบประชาธิปไตยหรือไม่ จากนั้นจะวินิจฉัยว่าการกระทำดังกล่าวนำไปสู่การยุบพรรคการเองและเพิกถอน สิทธิหัวหน้าพรรคได้หรือไม่
 
ประเด็นที่ 1 เห็นว่า ม. 68 วรรคสอง ให้สิทธิผู้ทราบการกระทำอันเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามมาตรา 68 วรรค 1 โดยให้สิทธิสองประการ คือหนึ่งให้เสนอเรื่องผ่านอัยการสูงสุดตรวตสอบข้อเท็จจริงและประการที่สอง สามารถยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ให้วินิจฉัยสั่งการได้อัยการสูงสุดมี หน้าที่ตรวจสอบแต่ไม่ตัดสิทธิผู้ร้องที่จะยื่นคำร้องโดยตรง โดยอ้างความเกี่ยวโยงกับมาตรา 69 สิทธิในการพิทักษ์รัฐธรรมนูญโดยสันติวิธี ศาลมีอำนาจรับคำร้องไว้พิจารณาและวินิจฉัยได้ตามมาตรา 68 วรรค 2
 
ประเด็นที่ 2 การแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับทำได้หรือไม่ ศาลวินิจฉัยว่า รัฐธรรมนูญ 2550 มาจาการลงประชามติ การแก้ไขโดยยกร่างแก้ไขทั้งฉบับก็ควรผ่านการลงประชามติ
 
ประเด็นที่ 3 การกระทำของผู้ถูกร้องเป็นการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขหรือไม่
 
ศาลวินิจฉัยว่า การแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 291 มีเจตนาเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญรายมาตราเป็นอำนาจที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ไทยให้อำนาจไว้ เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาจากตัวรัฐธรรมนูญเอง
 
ร่างฯ ฉบับที่ .....จึงเป็นผลจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 291 มีที่มาจาก รัฐธรรมนูญจากปัจจุบันเอง 
 
การที่สภาร่างฯ ดังที่ผ่านวาระ 2 และกำลังจะผ่านวาระสาม ยังไม่มีข้อเท็จจริงที่เห็นได้ว่ามีการกระทำที่เป็นการล้มล้าง และขั้นตอนการจัดทำก็ยังไม่เป็นรูปธรรม 
 
แต่หากต่อไปมีข้อเท็จจริงในการร่างฯ พบว่ามีการกระทำในลักษระที่เป็นการล้มล้างการปกครองฯ ก็ยังสามารถร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ให้วินิจฉัยได้
 
ผู้ถูกร้องทั้งหมดได้แสดงถึงเจตคติที่ตั้งมั่นว่าจะดำรงคงไว้ซึ่งการ ปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษํตริย์ทรงเป็นประมุขอยู่ เช่น พิจารณาเห็นว่าข้ออ้างของผู้ร้องไม่ชี้ให้เห็นว่าผู้ถูกร้อง
 
ข้ออ้างเป็นเพียงการคาดการณ์หรือเป็นความห่วงใยของสถาบันกษัตริย์ในการ ปกครองในระบอบประชาธิปไตย ข้อเท็จจริงไม่พอฟังได้ว่าเป็นการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระ มหากษัตริย์เป็นประมุข
 
ศาลให้ยกคำร้องในส่วนนี้ เมื่อวินิจฉัยแล้ว ไม่เป็นเหตุให้วินิจฉัยข้ออื่นอีก ยกคำร้องทั้งห้าคำร้อง
 
 


ล้านคำบรรยาย การ์ตูนเซีย 13/07/55 กฏหมายติดตีนตะขาบ....

ที่มา blablabla

โดย 

 ภาพถ่ายของฉัน




แผ่นดิน..ลุกเป็นไฟ ใกล้มาแล้ว
เริ่มส่อแวว จะสิ้นหวัง พังชิบหาย
มันสร้างเงื่อน ให้คุกรุ่น จนวุ่นวาย
ใช้กฎหมาย ติดตีนตะขาบ กำราบชน....


คำบิดเบือน ลุกลาม ตามใบสั่ง
สมุนคลั่ง วิปริต จิตสับสน
สองมาตรฐาน มารยา พาวกวน
สัปดน เกินคาด อุบาทว์จริง....


ตุลาการ มารวิบัติ ก่อรัฐประหาร
ความสามานย์ ซ่อนเร้น เห็นทุกสิ่ง
ใช้กลเกม ย้อนยอก หลอกเหมือนลิง
ทั้งกลอกกลิ้ง บัดซบ ตลบตะแลง....


ฝั่งคิดดี มีคุณธรรม ย้ำถูกต้อง
ยังนั่งมอง สิ่งย่อยยับ จะดับแสง
ธงที่ปัก จักรวบรัด มันจัดแจง
เริ่มแสดง ความถ่อยเถื่อน เหมือนเคยเป็น....


เราไม่ฟัง เราไม่เอา เราไม่สน
จากเล่ห์กล แสนชั่ว มั่วเห็นๆ
ร่วมปิดฉาก พวกดีเดือด ที่เลือดเย็น
ที่ซ่อนเร้น ลวงตา ประชาชน....


๓ บลา / ๑๓ ก.ค.๕๕

ผิด...จำไว้เข้าใจไหม...

ที่มา การ์ตูนมะนาว


การแถลงข่าว นปช.: 'จตุพร' อัด ตลก.รธน. ไม่มีอำนาจวินิจฉัยตั้งแต่ต้น

ที่มา uddred





ทีมข่าว นปช.
13 กรกฎาคม 2555




แกนนำ นปช. ร่วมการแถลงข่าว นปช. อย่างคึกคักที่ศูนย์ประสานงาน นปช. อิมพีเรียล เวิร์ด ลาดพร้าว เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2555

ช่วงที่ 1

วรวุฒิ วิชัยดิษฐ์ กล่าวขอบคุณคนเสื้อแดงที่ไม่มีใครเดินทางไปชุมนุมที่ศาลรัฐธรรมนูญ ชี้ฝ่ายตรงข้ามพยายามยั่วยุทุกอย่างเพื่อสร้างสถานการณ์
วรวุฒิ เผยว่า หลังการรัฐประหาร 2549 อำมาตย์ตั้งตุลาการ รธน. เพื่อขัดขวางการทำงานนิติบัญญัติ อัด "ตุลาการภิวัติ" เป็นตัวสร้างความวิบัติให้กับประเทศชาติ
วรวุฒิ ยืนยันว่า ร่างแก้ไข รธน. ฉบับนี้ไม่ขัด รธน. อัดตุลาการ รธน. ที่แทรกแซงอำนาจนิติบัญญัติ
อ.ธิดา ถาวรเศรษฐ กล่าวว่า รธน.2550 เป็น รธน. ของเผด็จการ ดังนั้นประชาชนที่มีสติสัมปชัญญะย่อมรู้ดีว่าจำเป็นต้องแก้ไข อัด ปชป. ที่ใส่ร้ายคนเสื้อแดงว่า ต้องการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
อ.ธิดา ชี้ว่า ขณะนี้ประเทศไทยยังไม่เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ลั่นประเทศไทยต้องมีระบอบประชาธิปไตยที่มีกษัตริย์เป็นประมุข และอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนอย่างแท้จริง
อ.ธิดา ยืนยันว่า การระดมรายชื่อเพื่อขอถอดถอนตุลาการ รธน. เป็นไปตาม กม. อัดตุลาการ รธน. ที่พยายามแทรกแซงรัฐสภา
อ.ธิดา แสดงความไม่เห็นด้วยที่ตุลาการ รธน. รับคำร้องโดยไม่ผ่านอัยการสูงสุด ชี้เมื่ออัยการสูงสุดมีมติยกคำร้อง ตุลาการ รธน. ก็ควรยกคำร้องเช่นเดียวกัน
อ.ธิดา ยืนยันว่า นปช. ยังยืนอยู่บนจุดยืนเดิมคือ ล้มล้างผลพวงการรัฐประหาร และแก้ไข รธน. ให้เป็นฉบับของประชาชน
อ.ธิดา เผยว่า คนเสื้อแดงต้องนิ่ง ไม่ว่าคำวินิจฉัยจะออกมาเป็นบวกหรือลบ ชี้การเปลี่ยนจากระบอบอำมาตย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยไม่ใช่เรื่องง่าย
จตุพร พรหมพันธุ์ จวกตุลาการ รธน. ไม่มีสิทธิในการวินิจฉัยตั้งแต่ต้นจึงควรวินิจฉัยตนเอง ร้องขอคนเสื้อแดงไม่จำเป็นต้องไปศาลรัฐธรรมนูญ
จตุพร ลั่นไม่ยอมรับอำนาจตุลาการ รธน. ตั้งแต่ต้น ชี้เมื่ออัยการสูงสุดมีมติไม่รับคำร้องคดีนี้ก็ต้องยุติลงตั้งแต่วันนั้น
จตุพร ร้องขอให้คนเสื้อแดงเตรียมตัวรับมือไม่ว่าผลจะออกมาเป็นบวกหรือลบ เผยคนเสื้อแดงยังต้องเจอกับอุปสรรคอีกมากตราบใดที่ยังมีอำมาตย์
จตุพร กล่าวว่า คนเสื้อแดงคือ คนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม เย้ยอำมาตย์ไม่มีทางทำให้ ปชป. ชนะการเลือกตั้งได้ เหตุอำมาตย์ไม่ได้รับการยอมรับจากประชาชน
จตุพร ชี้ว่า ไม่ว่าคำวินิจฉัยตุลาการ รธน. จะออกมาอย่างไร สงครามก็ยังไม่ยุติ จวกประชาชนไม่สามารถแก้ไข รธน. ได้ แต่ผู้ร้องกลับเป็นพวกที่เคยฉีก รธน.
จตุพร อัด วสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ไม่เคยพูดว่า สามารถตั้ง สสร. ได้ ชี้ตุลาการ รธน. บางคนเป็น สสร. ร่าง รธน. ฉบับนี้จึงไม่สามารถวินิจฉัยคดีนี้ได้
จตุพร เย้ย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และ สุเทพ เทือกสุบรรณ ที่กำลังลุ้น เพราะอยากเป็นนายกรัฐมนตรี-รองนายกรัฐมนตรีจาก ม.7 ลั่นไม่ว่าคำวินิจฉัยจะออกมาอย่างไรก็จะยังคงสู้เหมือนเดิม

ช่วงที่ 2

อ.ธิดา เผยว่า ขณะนี้อำมาตย์แสดงตนอย่างชัดเจนว่า ไม่ต้องการให้แก้ไข รธน. จนถึงขั้นต้องใช้ตุลาการ รธน. ชี้แม้ว่าครั้งนี้รัฐบาลจะรอด แต่ยุทธศาสตร์ทำลายคนเสื้อแดงยังคงอยู่
จตุพร ชี้ว่า ตุลาการ รธน. กำลังรุกล้ำอำนาจของประชาชน ชี้ไม่มี กม. ใดที่ห้ามแก้ทั้งฉบับ ถามกลับคำวินิจฉัยแบบนี้ต้องให้ลงประชามติ 2 ครั้งหรือไม่
ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ร้องขอให้รัฐสภาเดินหน้าโหวตวาระ 3 ต่อ ชี้ขณะนี้อำนาจนิติบัญญัติกำลังถูกทำให้มัวหมอง
ณัฐวุฒิ กล่าวว่า หากมีการทำประชามติ ควรถามประชาชนว่า ต้องการตุลาการ รธน. หรือไม่ อัดตุลาการ รธน. ที่อ้างว่า ตุลาการ รธน. สามารถรับคำร้องได้เป็นการก้าวก่ายอำนาจนิติบัญญัติ
ณัฐวุฒิ ยืนยันว่า รัฐบาลสามารถแก้ไข รธน. ได้ ชี้ขณะนี้ประชาชนไม่ได้เป็นแต่เพียงผู้ชม แต่เป็นดาราแสดงเอง

(รับชมการแถลงข่าว นปช. ย้อนหลัง: สถานี นปช.)

Wednesday, July 11, 2012

นปช.เตรียมยื่นขอพระราชทานอภัยโทษเหยื่อม.112

ที่มา Thai E-News



ที่มา่ เว็บไซต์นปช.แดงทั้งแผ่นดิน
11 กรกฎาคม 2555

เมื่อ วานนี้ (10 ก.ค. 55) อ.ธิดา ถาวรเศรษฐ และ นพ.เหวง โตจิราการ ได้เข้าเยี่ยมผู้ถูกคุมขังจาก ม.112 ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ เพื่อแสดงความยินดีกับการได้รับพระราชทานอภัยโทษของ เลอพงศ์ วิชัยคำมาศ (โจ กอร์ดอน)

เลอ พงศ์ ถูกกล่าวหาว่า เป็นผู้แปลหนังสือ The king never smile ลงในเว็บไซด์แห่งหนึ่งโดยใช้นามแฝงว่า "สิน แซ่จิ้ว" เขาถูกตำรวจจับกุมตัวเพราะเดินทางกลับมาเยี่ยมญาติที่ประเทศไทย เขาได้รับความช่วยเหลือจากสำนักกฎหมายราชประสงค์ โดยยืนกรานต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจว่า เขาไม่ได้เป็นผู้แปลหนังสือฉบับดังกล่าว


เลอ พงศ์ ยื่นขอประกันตัวหลายครั้ง และเคยได้รับความช่วยเหลือจากกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพในการยื่นหลัก ทรัพย์ให้ประกันตัวกว่า 1 ล้านบาท แต่เขาก็ไม่เคยได้รับการอนุญาตให้ประกันตัว
เลอ พงศ์ เผยว่า เนื่องจากเขาไม่ได้รับอนุญาตให้ประกันตัวจึง "จำยอม" ต้องรับสารภาพเพื่อให้คดี "เด็ดขาด" และขอพระราชทานอภัยโทษในภายหลัง


การ ขอพระราชทานอภัยโทษเป็นไปตามขั้นตอนซึ่งต้องใช้เวลานาน ส่งผลให้เขาต้องอยู่ในเรือนจำ (ตั้งแต่ถูกจับกุม) กว่า 1 ปีจึงได้รับการพระราชทานอภัยโทษ เขาเผยว่า ตลอดเวลาที่อยู่ในเรือนจำเขาเครียดมาก สิ่งที่จะทำให้เขามีกำลังใจมากขึ้นคือ การมีเพื่อนเสื้อแดงมาเยี่ยมเขาบ่อยๆ


นอก จากนี้ อ.ธิดา และ นพ.เหวง ยังได้เยี่ยมผู้ถูกคุมขังในข้อหาเดียวกันที่ยังอยู่ในเรือนจำพิเศษกรุงเทพ อีก 8 รายคือ วราวุธ ฐานังกรณ์, สมยศ พฤกษาเกษมสุข, สุรภักดิ์ ภูไชยแสง, วันชัย แซ่ตัน, เสถียร รัตนวงศ์, อ.สุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์, ธันย์ฐวุฒิ ทวีวโรดมกุล และ สุริยันต์ กกเปลือย


อ.ธิดา และ นพ.เหวง สอบถามความสมัครใจในการขอพระราชทานอภัยโทษจากผู้ถูกคุมขังที่ยังเหลืออยู่ ซึ่งผลก็คือ


สมยศ พฤกษาเกษมสุข และ สุรภักดิ์ ภูไชยแสง ยืน ยันว่า จะสู้คดีต่อไป แต่ขอให้ทาง นปช. ช่วยประสานงานในด้านการขอประกัันตัว ซึ่งทาง อ.ธิดา และ นพ.เหวง รับปากว่าจะช่วยประสานงานกับกรมคุ้มครองสิทธิและสมาคมทนายความแห่งประเทศไทย ในการยื่นคำร้องขอประกันตัวโดยเร็วที่สุด


ส่วน ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล ซึ่ง อยู่ในทัณฑสถานหญิงกลาง แม้ อ.ธิดา และ นพ.เหวง จะไม่ได้ไปเยี่ยมในครั้งนี้ แต่ก็ทราบมาว่า ดารณียังคงยืนยันที่จะอุทธรณ์คดีต่อ จึงจะประสานงานเพื่อช่วยเหลือในเรื่องการขอประกันตัวเช่นเดียวกัน


ทางด้าน วราวุธ ฐานังกรณ์ และ สุริยันต์ กกเปลือย ซึ่งเหลือโทษจำคุกคนละไม่เกิน 1 ปี เห็นว่า ในปีนี้เป็นปีที่สมเด็จพระนางสิริกิติ์จะทรงมีพระชนมายุ 80 พรรษา และจะมีการออก พรฎ.อภัยโทษ 2555 ในเดือน ส.ค. นี้ จึงร้องขอให้ใน พรฏ. ฉบับนี้อย่ามีเงื่อนไขใดๆที่เป็นการละเว้นผู้ถูกคุมขัง ม.112 เพื่อที่พวกเขาจะได้เข้าข่ายการได้รับพระราชทานอภัยโทษครั้งนี้


ส่วนที่เหลือคือ วันชัย แซ่ตัน, เสถียร รัตนวงศ์, อ.สุรชัย  และ ธันย์ฐวุฒิ ทวีวโรดมกุล ยัง คงเหลือโทษจำคุกคนละเกินกว่า 1 ปี ทั้งหมดจึงมีความประสงค์ที่จะขอพระราชทานอภัยโทษโดยเร็ว ซึ่ง อ.ธิดา และ นพ.เหวง รับปากว่าจะประสานงานกับอธิบดีกรมราชทัณฑ์ เพื่อทำเรื่องขอพระราชทานอภัยโทษโดยเร็วที่สุด


แต่ อ.สุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ ยัง ติดปัญหาคือ แม้ว่าคดีจะเด็ดขาดทั้ง 5 คดีแล้ว แต่ใบเด็ดขาดเพิ่งลงมาเพียง 3 ใบ โดยคาดว่า ใบเด็ดขาดที่ยังเหลืออยู่อีก 2 ใบจะลงมาภายในสิ้นเดือนนี้


ส่วน ธันย์ฐวุฒิ ทวีวโรดมกุล ก็ติดปัญหาเช่นเดียวกันคือ คำร้องขอประกันตัวในครั้งก่อนของเขายังอยู่ในศาลฎีกา และศาลฎีกายังไม่มีคำสั่งลงมา จึงทำให้เขายังไม่สามารถยื่นคำร้องขอถอนอุทธรณ์ได้ และยังไม่รู้ว่าศาลฎีกาจะมีคำสั่งลงมาเมื่อใด ทั้งสองรายจึงต้องรอไปก่อนจนกว่าใบเด็ดขาดจะลงมา และ อ.ธิดา และ นพ.เหวง จะประสานงานขอพระราชทานอภัยโทษต่อไป


ล่า สุด นพ.เหวง แจ้งว่า วันพรุ่งนี้ เวลา 8.00 น. นพ.เหวง และทีมทนายความ นปช. จะเข้าพบกับอธิบดีกรมราชทัณฑ์ เพื่อประสานงานขอพระราชทานอภัยโทษในกับพวกเขา

************
เรื่องเกี่ยวเนื่อง:

-
หมอเหวงยันไม่ทิ้งเพื่อนพาพ้นคุก แฉเบื้องหลังผรท.
-'โจ กอร์ดอน' ได้รับการอภัยโทษแล้ว ปล่อยตัวจากเรือนจำคืนวานนี้
-ทนายยื่นประกัน 2 จำเลยคดีเผาเซ็นทรัลเวิล์ดรายละล้าน

ยุบศาลรัฐธรรมนูญเสียเถอะ

ที่มา Thai E-News



11 พฤศจิกายน 2555

ทีมข่าวไทยอีนิวส์

โดย สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ

 ที่มา ประชาไท

เมื่อวันศุกร์ที่ 1 มิถุนายน ที่ผ่านมา ศาลรัฐธรรมนูญไทย ได้มีมติ 7 ต่อ 1 ให้รับคำร้องของกลุ่ม 40 สมาชิกวุฒิสภาที่นำโดย พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม นายสมชาย แสวงการ ส.ว.ลากตั้ง โดยอ้างถึงกรณีที่รัฐสภาได้ผ่านการพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 ขั้นวาระที่สองในมาตรา 291 ให้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อร่างรัฐธรรมูญฉบับใหม่ โดยศาลรัฐธรรมูญเห็นว่า การดำเนินการเช่นนั้น อาจเป็นการลบล้างระบอบการปกครองประชาธิปไตยอันมาพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ศาลจึงออกคำสั่งให้รัฐสภาชะลอการพิจารณาลงมติร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติมในวาระ 3 ที่จะมีขึ้นวันที่ 5 มิถุนายน 2555 เอาไว้ก่อนจนกว่าจะมีคำวินิจฉัยออกมา

ในคำอธิบายของศาลรัฐธรรมนูญอ้างการตีความรัฐธรรมนูญมาตรา 68 ซึ่งระบุไว้ว่า ผู้ทราบการกระทำว่า มีบุคคลหรือพรรคการเมืองกระทำการเพื่อลบล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอัน มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีสิทธิ์เสนอเรื่องต่ออัยการสูงสุด และเสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาเพื่อดำเนินการวินิจฉัยสั่งการให้เลิกกระทำ การดังกล่าว ศาลรัฐธรรมนูญจึงมีอำนาจรับเรื่องพิจารณาได้ และเมื่อศาลรับพิจารณา แล้วรัฐสภาก็ต้องชะลอการแก้ไขรัฐธรรมนูญตามคำสั่ง

กรณีนี้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่ศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของผู้ใช้อำนาจตุลาการ ใช้อำนาจแทรกแซงการดำเนินการของฝ่ายนิติบัญญัติ แต่กระนั้น คงต้องเริ่มอธิบายว่า การใช้อำนาจตามมาตรา 68 ของรัฐธรรมนูญ ก็มาจากการตีความเอาเองของศาล เพราะตามข้อบัญญัติในเรื่องนี้จะต้องให้ผู้ร้องเสนอต่ออัยการสูงสุด แล้วให้อัยการสูงสุดเสนอต่อศาลรัฐธรรมนูญ การตีความเช่นนี้ ทำให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจล้นฟ้า และถือกันว่าเป็นการยึดอำนาจโดยศาลรัฐธรรมนูญ ทำให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจสถาปนาสูงสุด เหนือกว่ารัฐสภา ที่ได้รับอาณัติมาจากการเลือกตั้งของประชาชน ยิ่งกว่านั้น การออกคำสั่งต่อรัฐสภาก็เป็นการดำเนินการโดยไม่มีกฏหมายใดรองรับ เป็นการใช้อำนาจสั่งเอง

การดำเนินการของศาลรัฐธรรมนูญเช่นนี้ เห็นได้ว่าเป็นความพยายามในการยับยั้งการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตย มากขึ้น ซึ่งเป็นการประสานกับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่ได้เรียกชุมนุมประชาชนเพื่อคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญอยู่ในขณะนั้น และสอดคล้องกับการดำเนินการในรัฐสภาของพรรคประชาธิปัตย์และกลุ่ม 40 ส.ว.ที่เตะถ่วง ก่อกวน หมายจะยับยั้งการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้จงได้
 จึงเห็นได้ชัดว่า ศาลรัฐธรรมนูญกลายเป็นกลไกสูงสุดของฝ่ายอำมาตยาธิปไตย ที่ใช้ในการสะกัดกั้นการปฏิรูปการเมืองให้เป็นประชาธิปไตย เป็นไปตามหลักตุลาการวิบัติ ซึ่งใช้อำนาจศาลมาแทรกแซงอำนาจบริหารเสมอมา ดังที่จะได้พบมาแล้วในกรณีเช่น
ในกรณีจากการที่คณะทหารขวาจัดกลุ่มหนึ่งก่อการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2549 ล้มล้างรัฐบาล ล้มเลิกรัฐสภาและล้มเลิกรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ไม่มีตุลาการคนใดเลยที่จะออกมาปกป้องประชาธิปไตยและรัฐธรรมูญ ไม่มีการออกคำสั่งให้คณะทหารหยุดการกระทำเช่นนั้น เพราะเป็นการล้มล้างระบอบประชาธิปไตยอย่างเป็นจริง ยิ่งกว่านั้น เมื่อคณะรัฐประหารออกคำสั่ง คปค.ให้มีผลตามกฏหมาย ศาลทั้งหมดกลับยอมรับให้เป็นกฎหมายได้อย่างชอบธรรม โดยไม่มีการคัดค้าน กลับยอมรับกันว่า เมื่อคณะทหารยึดอำนาจแล้ว มีฐานะเป็นรัฏฐาธิปัตย์ ถ่มถุยอะไรมาก็ใช้เป็นกฏหมายได้ ยิ่งกว่านั้น คณะตุลาการยังไปยอมรับการแต่งตั้งของคณะทหารอย่างหน้าชื่นตาบาน

วันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ.2551 คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ซึ่งมาตามการแต่งตั้งของฝ่ายทหาร และเป็นที่มาของศาลรัฐธรรมนูญชุดนี้ ได้วินิจฉัยให้ยุบพรรคไทยรักไทย และ พรรคการเมืองเล็กอีก 4 พรรค แต่ไม่ยุบพรรคประชาธิปัตย์ และยังใช้กฏหมายย้อนหลังลงโทษยกเข่งให้ตัดสิทธิทางการเมือง 5 ปีสำหรับคณะกรรมการพรรค 111 คน โดยที่ไม่ปรากฏเลยว่า คนเหล่านี้กระทำผิดในการเมืองในเรื่องใด ซึ่งถือได้ว่าเป็นการใช้กฎหมายขัดหลักนิติธรรมอย่างยิ่ง
วันที่ 9 กันยายน พ.ศ.2551 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้นายสมัคร สุนทรเวช พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพราะไปจัดรายการโทรทัศน์ชิมไปบ่นไป และ ยกโขยงหกโมงเช้า ซึ่งเป็นความผิดตามการอธิบายในพจนานุกรม นี่ก็เป็นการเปิดศักราชใหม่ในการอธิบายกฎหมายของโลก และถือเป็นคำพิพากษาแบบกระดาษชำระ ใช้ครั้งเดียวทิ้ง ถือเป็นแบบฉบับมิได้

วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ.2550 ศาลรัฐธรรนูญลงมติ 9 ต่อ 0 ให้ยุบพรรคพลังประชาชน พรรคมัณชิมา และ พรรคชาติไทย ในข้อหาทุจริตในการเลือกตั้ง และเพิกถอนสิทธิทางการเมืองกรรมการพรรคทั้งสามพรรค 5 ปี กรณีนี้ทำให้ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และเปิดทางให้พรรคประชาธิปัตย์ได้ตั้งรัฐบาลแทน ที่ยังจำกันได้คือ เป็นคำแถลงอย่างรีบร้อน เพือจะช่วยคลี่คลายสถานการณ์ให้ฝ่ายพันธมิตรที่ยึดสนามบินนานาชาติ จนอ่านผิดอ่านถูกเป็นที่ขบขันกันทั่วไป

จากกรณีตัวอย่างนี้ จะเห็นได้ว่า ศาลรัฐธรรมนูญกลายเป็นเครื่องมืออันทรงพลังที่สุดในการดำเนินการกับ พรรคการเมืองฝ่ายประชาธิปไตย เพื่อเปิดทางให้กับชัยชนะของฝ่ายพันธมิตร และการขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ แห่งพรรคประชาธิปัตย์ และจะเห็นได้ว่า ตลอดช่วงที่พรรคประชาธิปัตย์บริหารประเทศ ศาลรัฐธรรมนูญไม่แสดงบทบาทใดในการถ่วงดุล หรือรบกวนการบริหารของพรรคประชาธิปัตย์เลย

ดังนั้น เมื่อมาถึงขณะนี้ เห็นได้ชัดแล้วว่า คณะศาลรัฐธรรมนูญชุดนี้ ได้ลุแก่อำนาจ ใช้อำนาจอย่างไม่ชอบธรรม คณะแนวร่วมต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.)ได้รณรงค์ให้ประชาชนลงชื่อเสนอ ถอดถอนศาลรัฐธรรมนูญคณะนี้แล้ว แต่น่าจะยังไม่เป็นการเพียงพอ เพราะปัญหาของการใช้อำนาจของศาลรัฐธรรมนูญนี้ส่วนหนึ่งมาจากปัญหาโครงสร้าง ด้วย นั่นก็คือ การที่ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีที่มาจากอำนาจของประชาชนเลย และยังเกิดจากการที่รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2550 ที่ให้อำนาจแก่ศาลและองค์กรอิสระจนล้นฟ้า โดยไม่ต้องยึดโยงกับอำนาจของประชาชน

ความจริง ถ้าหากมีการดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญต่อไป การให้อำนาจศาลเข้ามาเล่นการเมืองอย่างมากมายเช่นนี้ คงจะเป็นเรื่องหนี่งที่มีการพิจารณาแก้ไข และอาจรวมถึงการเพิ่มมาตราที่จะต้องให้มีการตรวจสอบศาล และจำกัดอำนาจศาล แต่เมื่อศาลรัฐธรรมนูญเป็นปัญหาเสียก่อน ก็เป็นการชอบที่จะเสนอขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ เฉพาะเรื่องการยุบเลิกศาลรัฐธรรมนูญเป็นอันดับแรก ก่อนที่จะมีการพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญในส่วนอื่นต่อไป

หน้าที่สำคัญของศาลรัฐธรรมนูญมีอยู่ประการเดียว คือ การตีความในข้อกฏหมายว่า กฏหมายที่มีผลบังคับใช้นั้น ขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ เพื่อคงไว้ซึ่งฐานะกฏหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ แต่ความจริงในขั้นการวินัจฉัยเรื่องการขัดรัฐธรรมนูญ รัฐสภาก็ทำได้ ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีศาลมาทำหน้าที่พิเศษ และการให้ศาลมีอำนาจล้มรัฐบาล และลงโทษผู้ที่ไม่ได้กระทำความผิด เป็นการให้อำนาจศาลมากเกินไป ไม่มีประเทศประชาธิปไตยในโลก ที่จะให้อำนาจศาลมากเท่านี้ โดยไม่ต้องยึดโยงกับอำนาจของประชาชน

การที่ศาลมีคำตัดสินใด ไม่ว่าจะถูกหรือจะผิด สังคมก็ยอมรับเสมอ ทำให้เหล่าผู้พิพากษาทั้งหลายเคยตัว คิดว่าคำสั่งและคำตัดสินของตนเองเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ทำให้ตุลาการเริ่มคิดว่าตนเองเป็นผู้วิเศษมาตั้งแต่อายุยังน้อย และเมื่อสูงอายุมากขึ้น ก็ยิ่งคุ้นเคยมากขึ้นกับการใช้อำนาจ นี่เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ศาลรัฐธรรมนูญกระทำความผิดและถลำมาไกล ดังนั้น สังคมมีความจำเป็นต้องถ่วงดุล โดยยุติการเล่นการเมืองของศาล นำศาลกลับไปตัดสินอรรถคดีตามปกติอย่างที่เคยเป็นมา

การยุบศาลรัฐธรรมนูญ จึงเป็นการเริ่มต้นที่ดีสุด ที่จะควบคุมพฤติกรรมของศาลทั้งหลาย

Tuesday, July 10, 2012

ปิดฉากเผด็จการเปิดม่านประชาธิปไตย 8 7 2012

ที่มา speedhorse





คำถามถึงแนวรบศิลปวัฒนธรรม

ที่มา ประชาไท

 


ประกายไฟการละคร แสดงละครในการชุมนุมวันที่ 10 เม.ย.55
(แฟ้มภาพ: ประชาไท)

อันเนื่องมาจากงานเสวนาของ "ประกายไฟการละคร" เมื่อวาน ที่ยังทิ้งสิ่งตกค้างอยู่ในใจข้าพเจ้า
1. ทำไมนักศิลปวัฒนธรรมแดงบางส่วน จึงคิดว่า  ปัจจุบัน การทำงานกับคนเสื้อแดงไม่จำเป็นแล้ว ที่ทำๆ กันอยู่นี้ เป็นเพียงการวนเวียนทำกันเอง ฟังกันเอง เสพกันเอง ไม่มีประโยชน์อะไร เพราะเป็นการพูดซ้ำๆ ในสิ่งที่คนเสื้อแดงรู้อยู่แล้ว เข้าใจอยู่แล้ว จริงหรือไม่
*ส่วนตัวข้าพเจ้าคิดว่า นักศิลปวัฒนธรรมแดงยังคงต้องทำงานสื่อสารกับคนเสื้อแดงต่อไป เพื่อหล่อเลี้ยงอารมณ์ความรู้สึกในการต่อสู้ของกันและกัน (ไม่ใช่เพื่อยกระดับหรือให้การศึกษามวลชน เพราะข้าพเจ้าเชื่ออย่างสุดจิตสุดใจว่า มวลชนต่างหากคือผู้ยกระดับนักศิลปวัฒนธรรม
2.การสร้างงานศิลปะเพื่อสื่อสารกับคนกลุ่มอื่น เช่น เสื้อขาว เสื้อเหลือง สลิ่ม ฯลฯ มีความสำคัญมากกว่าการสื่อสารกับคนเสื้อแดง จริงหรือไม่
*ข้าพเจ้าเห็นว่า การสร้างงานศิลปะเพื่อสื่อสารกับคนกลุ่มอื่น มีความสำคัญ โดยเฉพาะกับกลุ่มคนชั้นกลางวัฒนธรรมเสียงดัง ที่เราต่างตระหนักกันดีว่า ในการต่อสู้ของประชาชน หากขาดคนกลุ่มนี้แล้วมันชนะยาก  แต่อย่างไรข้าพเจ้าก็ไม่คิดว่า มันสำคัญกว่าการทำงานกับคนเสื้อแดง เพราะจนถึงวันนี้ ข้าพเจ้าก็ยังเห็นอย่างที่เคยเห็นเสมอมาว่า กลุ่มคนที่เป็นกำลังแข็งขันและทุ่มเทอย่างเข้มข้นในการต่อสู้เพื่อ ประชาธิปไตยของประเทศนี้  ก็คือ "คนเสื้อแดง"
3. งานศิลปะชิ้นหนึ่งสามารถสื่อสารกับคนเสื้อแดงและเสื้อสีอื่นไปพร้อมกันได้หรือไม่
*ข้าพเจ้าคิดว่า งานศิลปะที่สื่อสารกับคนเสื้อแดงส่วนใหญ่ คืองานที่ยืนยันหลักการประชาธิปไตยและความเป็นคนที่เท่ากัน  หากสลิ่ม หรือเสื้อเหลือง หรือเสื้อสีอื่น เชื่อในหลักการนี้  ก็ย่อมเข้าใจงานศิลปะนั้นๆ ไปพร้อมกับคนเสื้อแดงได้ นั่นคือ งานศิลปะของคนเสื้อแดงสามารถสื่อสาร “ข้ามสี” ได้  หรือพูดง่ายๆ คือ คนเสื้อแดงก็ชอบได้ คนเสื้ออื่นก็ชอบได้ แต่ “รสนิยมร่วมข้ามสี” เช่นนี้ เกิดขึ้นได้ “จริง” หรือไม่  เพราะในความเป็นจริงคือ คนเหล่านี้เชื่อในสิ่งที่ตรงกันข้ามกับคนเสื้อแดง งานศิลปะที่สื่อสารกับคนเสื้อแดงได้ ย่อมถูกปฏิเสธจากพวกเขาโดยอัตโนมัติ (เช่นเดียวกับที่พวกเขาปฏิเสธงานวิชาการของฝ่ายประชาธิปไตย) ดังนั้นข้าพเจ้าจึงเห็นว่า การเรียกร้องให้นักศิลปวัฒนธรรมที่มุ่งทำงานสื่อสารกับคนเสื้อแดง “ยกระดับ” ตัวเองไปทำงานข้ามสีด้วย  เป็นเรื่องที่ทำได้ยาก แต่หากจะเอาจริงเอาจังกับเรื่องนี้ ก็อาจแก้ปัญหาได้บ้างด้วยการแบ่งงานกันทำ ใครสื่อสารกับคนเสื้อแดงได้ก็ทำไป ใครสื่อสารกับคนเสื้อสีอื่นได้ก็ทำไปเช่นกัน  (แต่หากใครเชื่อมั่นในศักยภาพของตนว่ามีมากพอจะทำทั้งสองอย่างไปพร้อมกัน ข้าพเจ้าก็เอาใจช่วย)
4.มีการกล่าวกันว่า หากนักศิลปวัฒนธรรมแดง จะทำงานสื่อสารกับคนข้ามสี ต้องยกระดับงานของตนให้มีชั้นเชิงทางศิลปะหรือสุนทรียะมากขึ้น  หรือต้องใช้ศักยภาพทางศิลปะ “สูงกว่า” ที่ทำๆ กันอยู่ จริงหรือไม่
*ข้าพเจ้าคิดว่า ปัญหามันไม่ใช่เรื่องศิลปะ แต่เป็นเรื่องของการยึดมั่นหลักการและการยืนยันจุดยืนที่ต่างกัน
5.ด้วยรู้กันดีว่าคนเสื้อแดงสู้อยู่กับใคร งานศิลปะของฝ่ายเสื้อแดงจึงหลีกไม่พ้นการเดินเข้าสู่ดินแดนอันล่อแหลมและ เสี่ยงภัย  นั่นทำให้ขอบเขตในการเผยแพร่งานสู่สาธารณะถูกจำกัด  เพื่อขยับให้งานศิลปะของฝ่ายเสื้อแดงเข้าไปมีพื้นที่อยู่ในสื่อกระแสหลัก มากกว่าที่เป็น นักศิลปวัฒนธรรมแดงควรนำเสนอให้พลิ้วไหวและเต็มไปด้วยการซ่อนสัญญะมากขึ้น จริงหรือไม่
*คำถามย้อนกลับของข้าพเจ้าคือ การตายของอากง “พลิ้วไหว” พอหรือไม่  ก็ขนาดความจริงที่สั่นสะเทือนและบีบคั้นหัวใจผู้คนในสังคมได้มากอย่างนั้น สื่อกระแสหลักยังแตะน้อยกว่าดราม่าเรื่อง “นม” หรือการ “ซั่ม” กันของเด็กมัธยมต้น  ไม่เว้นแม้แต่สื่อที่ว่ากันว่า “ค่อนมาทางแดง” แล้วเราจะหวังมาตรฐานอะไรกับการพิจารณาเผยแพร่งานศิลปะของสื่อกระแสหลัก เหล่านี้ ที่ล้วนตกอยู่ภายใต้การครอบงำของอุดมการณ์อนุรักษนิยมและกษัตริยนิยม แท้จริงแล้วนี่เป็นเรื่องที่เราต้องตั้งคำถามและวิพากษ์วิจารณ์ด้วยซ้ำ
6.สุดท้าย เป็นคำถามเกรียนๆ ของข้าพเจ้า  นั่นคือ ข้าพเจ้ามีความรู้สึกอยู่ลึกๆ โดยสังหรณ์ใจของข้าพเจ้าเองว่า นักศิลปวัฒนธรรมแดงบางส่วน เชื่อว่า การมายืนอยู่กับเสื้อแดงคือความก้าวหน้า แต่มันเป็นเพียง “ความก้าวหน้าที่ดักดาน” หากคุณเพียงสร้างงานให้คนเสื้อแดงเสพ  การสยายปีกข้ามไปคุยกับคนสีอื่นได้ต่างหาก คือสิ่งยืนยันความสามารถทางศิลปะอย่างแท้จริงของคุณ  จริงหรือไม่
*ข้าพเจ้าไม่มีคำตอบ

ปธน.ซีเรีย ให้สัมภาษณ์สื่อตะวันตก บอกสหรัฐฯ ทำลายเสถียรภาพซีเรีย

ที่มา ประชาไท

 
ลองฟังความอีกด้าน เมื่อประธานาธิบดีบาชาร์ อัล-อัสซาด ของซีเรียให้สัมภาษณ์กับสื่อเยอรมนี บอกว่าสหรัฐฯ ให้ความช่วยเหลือ 'กลุ่มอันธพาล' เพื่อทำลายเสถียรภาพของซีเรีย และเขาเห็นด้วยกับแผนการสันติภาพของโคฟี่ อันนันแต่ก็มี "หลายประเทศที่ไม่ต้องการให้มันสำเร็จ"
9 ก.ค. 2012 ประธานาธิบดีบาชาร์ อัล-อัสซาด ของซีเรียได้ให้สัมภาษณ์กับช่องโทรทัศน์ของตะวันตก โดยกล่าวหาว่าสหรัฐฯ กำลังให้ความช่วยเหลือ "กลุ่มอันธพาล" เพื่อทำลายเสถียรภาพของประเทศซีเรีย
อัสซาดได้ให้สัมภาษณ์กับสถานีแพร่ภาพสาธารณะของเยอรมนี ARD ว่า สหรัฐอเมริกา "เป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้ง พวกเขาให้การสนับสนุนทางการเมืองและให้ความคุ้มครองกลุ่มอันธพาลเพื่อทำลาย เสถียรภาพของซีเรีย"
เมื่อถามว่าอัสซาดกำลังกล่าวหาว่าสหรัฐฯ มีส่วนในการเสียชีวิตของประชาชนผู้บริสุทธิ์ในซีเรียด้วยหรือไม่ อัสซาดก็ตอบว่า "แน่นอน เป็นไปตามนั้น"
"ตราบใดก็ตามที่คุณให้การสนับสนุนผู้ก่อการร้าย คุณก็เป็นพวกเดียวกับพวกเขา ไม่ว่าตุณจะส่งอาวุธ หรือเงิน หรือการสนับสนุนจากมวลชน การสนับสนุนทางการเมืองในสหรัฐฯ หรือจากที่ใดก็ตาม" อัสซาดกล่าว
อัสซาดไม่ยอมลงจากตำแหน่ง เขาบอกว่าเขาต้องดำรงตำแหน่งอยู่เพื่อจัดการกับปัญหา "ความท้าทาย" ที่ซีเรียกำลังเผชิญอยู่
"ประธานาธิบดีไม่ควรหนีจากสิ่งท้าทาย และพวกเราก็มีสิ่งท้าทายระดับชาติอยู่ในซีเรีย" อัสซาดกล่าวเป็นภาษาอังกฤษ
"ประธานาธิบดีไม่ควรหนีจากสถานการณ์ แต่ในอีกด้านหนึ่งคุณก็สามารถดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีอยู่ได้ อยู่ในตำแหน่งเพียงแค่ตอนที่คุณมีแรงสนับสนุนจากมวลชน" อัสซาดกล่าว
อัสซาด : หลายประเทศไม่ต้องการให้แผนสันติภาพของอันนันลุล่วง
อัสซาดบอกอีกว่าเขาจะยังไม่ตัดตัวเลือกการตัดสินใจแก้ปัญหาด้วยการเจรจากับสหรัฐฯ
"พวกเราไม่ได้ปิดประตูบ้านใส่ประเทศอื่นใดในโลก หรือไม่ใช่ว่าไม่ต้อนรับเจ้าหน้าที่ใดๆ ตราบใดที่พวกเขาช่วยแก้ปัญหาในซีเรีย แต่พวกเขาต้องจริงจังและจริงใจ"
นอกจากนี้แล้วอัสซาดบอกด้วยว่า การเจรจากับกลุ่มต่อต้านถือเป็น "ทางเลือกเชิงยุทธศาสตร์" แต่ก็ยังคงยืนยัน "คุณไม่สามารถใช้แค่การเจรจาในเวลาที่พวกเขาออกสังหารประชาชนและทหารของคุณ"
ขณะเดียวกัน โคฟี่ อันนัน ตัวแทนขององค์การสหประชาชาติและสันนิบาตชาติอาหรับ ก็ได้มาเยือนกรุงดามาสกัสเพื่อหารือกับกลุ่มผู้นำซีเรียเรื่องแผนการ สันติภาพ 6 ขั้น
ซึ่งอัสซาดกล่าวในประเด็นนี้ว่า แผนการของอันนันไม่ควรจะประสบความล้มเหลว และตัวแทนนานาชาติกำลังทำงานที่ยากลำบาก แต่ก็ทำได้ดี
อย่างไรก็ตาม อัสซาดบอกว่าแผนการของอันนันไม่สัมฤทธิ์ผลในการยับยั้งการนองเลือดเนื่องจาก "หลายประเทศไม่ต้องการให้มันสำเร็จ"
"ดังนั้นพวกเขาจึงให้ความช่วยเหลือ ทั้งยังส่งอาวุธและส่งเงินให้กับผู้ก่อการร้ายในซีเรีย พวกเราต้องการให้มันไม่สำเร็จด้วยวิธีนี้" อัสซาดกล่าว
เมื่อถามอัสซาดว่า ตามความเห็นของเขาแล้วใครเป็นผู้ที่ให้การสนับสนุนกลุ่มกบฏมากที่สุด อัสซาดบอกว่า ประเทศซาอุดิอารเบียและกาตาร์ได้ประกาศต่อสาธารณชนว่า "พวกเขาให้การสนับสนุนผู้ก่อการร้าย"
อัสซาดยังได้กล่าวหาตุรกีด้วยว่าให้การสนับสนุนด้าน "การขนส่งและการค้าอาวุธเถื่อน"
อัลเคด้า และพวกนอกกฏหมาย
อัสซาดกล่าวในการสัมภาษณ์บอกว่า ฝ่ายกบฏประกอบด้วยกลุ่มกบฏอัลเคด้าและพวกนอกกฏหมายรวมกัน และรัฐบาลสามารถจับกุมตัวนักรบอัลเคด้าไว้ได้หลายสิบคนซึ่งน่าจะมาจากตูนี เซียและลิเบีย
เขากล่าวหาว่า กลุ่มอันธพาลได้ทำการสังหารหมู่ในเมืองฮูวลาในเขตปกครองฮอมที่เป็นเหตุให้มี ประชาชน 108 คน รวมเด็ก 49 คน และผู้หญิง 34 คน ถูกสังหาร
ทั้งฝ่ายกบฏและฝ่ายรัซบาลซีเรียต่างฝ่ายต่างก็กล่าวกันและกันในเรื่องการ สังหารหมู่ แต่ทางคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้ประณามซีเรียในเรื่องนี้
"กลุ่มอันธพาลหลายร้อยคนมาจากนอกเมือง ไม่ได้มาจากในเมือง แล้วพวกเขาก็โจมตีเมือง แล้วพวกเขาก็โจมตีเจ้าหน้าที่รักษากฏหมายในเมือง" อัสซาดเล่า
เขาบอกว่า กลุ่มผู้สังหารสวมใส่ชุดทหารเพื่อใส่ความรัฐบาล
"มันเกิดขึ้นหลายครั้งมาก พวกเขาก่ออาชญากรรม พวกเขาเผยแพร่วีดิโอ ปลอมแปลงวีดิโอ และสวมใส่ชุดทหาร ชุดทหารของกองทัพเรา เพื่อที่จะบอกว่า 'เป็นฝีมือของกองทัพ' " อัสซาดกล่าว
อัสซาดบอกอีกว่า โดยทั่วไปแล้ว เหยื่อส่วนใหญ่ของความขัดแย้งนี้เป็นกลุ่มผู้สนับสนุนรัฐบาล

ที่มา
Assad says US working to 'destabilise' Syria, Aljazeera, 09-07-2012
http://www.aljazeera.com/news/middleeast/2012/07/20127954125153998.html

ปธน.อียิปต์ 'ชน' ศาล-กองทัพ ประกาศยกเลิก 'คำสั่งยุบสภา'

ที่มา ประชาไท

 
มูฮัมหมัด มอร์ซี ประธานาธิบดีอียิปต์คนใหม่จากพรรคภราดรภาพมุสลิม ออกประกาศเพื่อให้ 'คำสั่งยุบสภา' ของกองทัพสูงสุดเป็นโมฆะ หลังศาลฎีกาตัดสินยุบสภา เหตุไม่ชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อวันที่ 8 ก.ค. 55 สำนักข่าวอัลจาซีรารายงานว่า ประธานาธิบดีคนใหม่ของอียิปต์ มูฮัมหมัด มอร์ซี จากพรรคภราดรภาพมุสลิม ได้ท้าทายศาลสูงสุดและกองทัพอียิปต์ โดยการสั่งให้รัฐสภาเริ่มเปิดการประชุมอีกครั้งหลังถูกยุบไปโดยคำสั่งของสภา กองทัพสูงสุด (SCAF) เพียงก่อนการเลือกตั้งสองวัน โดยอ้างว่าสภาได้รับเลือกเข้ามาโดยวิธีที่ขัดต่อกฎหมาย
คำสั่งดังกล่าวระบุว่า มอร์ซีตัดสินใจจะรื้อฟื้นสภาประชาชน ซึ่งได้รับการเลือกตั้งเข้ามาในต้นเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว ขึ้นมาทำหน้าที่ออกกฎหมายอีกครั้ง
ทั้งนี้ ในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อกลางเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา พรรคการเมืองของกลุ่มภราดรภาพมุสลิมได้รับชัยชนะโดยได้ที่นั่งเกือบครึ่ง หนึ่งของสภา และมอร์ซีเอง ถึงแม้จะได้ลงจากตำแหน่งผู้นำพรรคแล้ว แต่ก็ยังเป็นสมาชิกของพรรคดังกล่าว
การออกคำสั่งของมอร์ซี ถูกมองว่าเป็นความพยายามที่จะรื้อฟื้นรัฐสภากลับมา โดยหลีกเลี่ยงการขัดแย้งโดยตรงกับศาลสูงสุด โดยแทนที่จะกล่าวถึงคำสั่งศาลโดยตรง ซึ่งระบุว่าสภาควรถูกยุบ เขาได้ยกเลิกคำสั่งของสภากองทัพสูงสุด ผู้ซึ่งในขณะนั้นเป็นผู้ถืออำนาจบริหารและปฏิบัติตามคำสั่งของศาล
ขั้วขัดแย้งระหว่างกองทัพและกลุ่มภราดรภาพมุสลิม
ในช่วงเดือนที่ผ่านมา กลุ่มภราดรภาพมุสลิมโต้แย้งตลอดมาว่าคำสั่งศาลสูงสุดตัดสินโดยไม่ชอบธรรม และสภากองทัพสูงสุดเองก็ไม่มีสิทธิตามกฎหมายที่จะยุบสภา
เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ไม่เป็นที่ชัดเจนนักว่า มอร์ซีได้หารือเรื่องนี้กับกองทัพหรือกลุ่มอำนาจอื่นๆ ก่อนจะออกคำสั่งนี้หรือไม่ โดยทางผู้นำระดับสูงของกลุ่มภราดรภาพมุสลิมกล่าวว่าตนไม่ได้รับการปรึกษา หารือ ในขณะที่สภากองทัพสูงสุดได้จัด "การประชุมฉุกเฉิน" เพื่อหารือเรื่องนี้ และศาลสูงสุดก็นัดประชุมในวันจันทร์เพื่อตีความคำสั่งดังกล่าว
นอกจากนี้ คำสั่งของมอร์ซียังกำหนดให้มีการจัดการเลือกตั้ง 60 วันหลังการให้ความเห็นชอบลงประชามติรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งคาดว่าจะเป็นช่วงปลายปีนี้ โดยมีสภาร่างรัฐธรรมนูญซึ่งมาจากการแต่งตั้งของสภาสมัยก่อนหน้านี้ ทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
ทั้งนี้ การชนะการเลือกตั้งของกลุ่มภราดรภาพมุสลิม ได้ก่อให้เกิดความหวาดระแวงในหมู่ฆราวาสนิยม เสรีนิยม และชนกลุ่มน้อยศาสนาคริสต์ ที่ดูเหมือนจะพึงพอใจกับการยุบสภา โดยนักการเมืองฝ่ายฆราวาสนิยม รวมถึงโมฮัมเหม็ด เอลบาราได ได้วิพากษ์การตัดสินใจของมอร์ซีเมื่อคืนวันอาทิตย์ด้วย
คำสั่งของศาลสูงสุดที่ให้ยุบสภา มีขึ้นเพียงหนึ่งวันก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีรอบที่สอง ซึ่งมีผู้ลงสมัครคือ มอร์ซี และอาห์เหม็ด ชาฟีก อดีตนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลระบอบเก่าของฮอสนี มูบารัก
ข้อครหาต่อศาลมีหนักขึ้น
คำสั่งศาลดังกล่าวตัดสินว่า การที่พรรคการเมืองได้ลงแข่งเพื่อชิงที่นั่งในสภาที่สงวนไว้สำหรับผู้สมัคร อิสระเป็นเรื่องที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ การตัดสินดังกล่าว นำมาซึ่งข้อวิพากษ์วิจารณ์ว่า ศาลเป็นเครื่องมือของสภากองทัพ ซึ่งมุ่งที่จะจำกัดอำนาจของกลุ่มภราดรภาพมุสลิม
ข้อครหาดังกล่าวมีมากขึ้น โดยหลังจากที่ศาลมีคำสั่งยุบสภาเพียงสองวัน สภากองทัพสูงสุดก็ได้ออกคำสั่งแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อจำกัดอำนาจประธานาธิบดี และถ่ายโอนอำนาจบริหารจากรัฐสภาที่ถูกยุบมาให้ตนเอง
คำสั่งของมอร์ซีไม่ได้ระบุชัดเจนว่า สภากองทัพสูงสุดจะสูญเสียอำนาจบริหารหรือไม่ หากรัฐสภาถูกรื้อฟื้นขึ้นมาอีกครั้ง
กลุ่มภราดรภาพมุสลิม กล่าวว่า การยุบสภา ควรผ่านการทำประชามติ
อนึ่ง รัฐธรรมนูญชั่วคราวของอียิปต์ซึ่งผ่านการประชามติหลังการโค่นล้มเผด็จการฮอส นี มูบารักในปี 2553 ไม่มีการให้อำนาจสถาบันทางการเมืองใดที่จะยุบสภาได้ และไม่มีกฎข้อบังคับระบุเกี่ยวกับสถานการณ์ดังกล่าวด้วย ในขณะที่ประธานาธิบดีมีอำนาจที่จะเรียกเปิดประชุมสภา

ที่มา: แปลและเรียบเรียงจาก Egypt's Morsi orders parliament to reconvene
http://www.aljazeera.com/news/middleeast/2012/07/201278153339685112.html

กองทุน 'สมชาย นีละไพจิตร' เผย 5 ชื่อสุดท้ายรางวัลนักสิทธิฯดีเด่น

ที่มา ประชาไท

 

9 ก.ค. 55 กองทุนรางวัลสมชาย นีละไพจิตร ประกาศรายชื่อผู้เข้ารอบสุดท้าย เพื่อรับ 'รางวัลสมชาย นีละไพจิตร' ประจำปี 2555 จำนวน 5 รายชื่อ ได้แก่  1.นางสาวจิตรา คชเดช นักต่อสู้ด้านสิทธิแรงงานและผู้ร่วมรณรงค์ทางการเมือง  2.นายรัษฎา มนูรัษฎา ทนายความอาสาให้ผู้ต้องหาใน จังหวัดชายแดนภาคใต้และผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน 3.นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข นักส่งเสริมสิทธิแรงงานและนักรณรงค์ทางการเมืองซึ่งขณะนี้ถูกคุมขังในเรือนจำ 4.นายอดิศร เกิดมงคล ผู้เชี่ยวชาญเรื่องแรงงานข้ามชาติ และ  5.กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี กลุ่มชาวบ้านผู้ปกป้องสิทธิชุมชนจากอุตสาหกรรมเหมืองแร่โปแตช
ทั้งนี้ จากรายชื่อดังกล่าว คณะกรรมการฯ จะตัดเลือกเพียงหนึ่งรายชื่อเพื่อรับรางวัลสมชาย นีละไพจิตร ประจำปี 2555 พร้อมเงินรางวัล 50,000 บาท ส่วนอีก 4 ชื่อที่เหลือ จะได้รับรางวัลผู้มีผลงานด้านสิทธิมนุษยชนน่ายกย่อง ปะจำปี 2555 พร้อมเงินรางวัลรายละ 10,000 บาท
จอน อึ๊งภากรณ์ กรรมการและผู้ก่อตั้ง กองทุนรางวัลสมชายฯ กล่าวว่า ที่ผ่านมา ประเทศไทยนั้นมีปัญหาเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนอยู่มาก ทั้งจากหน่วยงานรัฐและกลไกของรัฐ ผู้เข้ารอบ 5 รายนามนั้น ล้วนเป็นผู้ที่ได้ต่อสู้ในด้านสิทธิมนุษยชนมาอย่างเข็มแข็งและกล้าหาญ และเสี่ยงอันตราย เช่นเดียวกับที่ ทนายสมชาย นีละไพจิตร ที่ทำงานเพื่อยืนยันในหลักการสิทธิมนษยชนจนถูกอุ้มหายตัวไป การมอบรางวัลสดุดีผู้ทำงานด้านสิทธิมนุษยชนอย่างเข็มแข็งและกล้าหาญ เพื่อเป็นกำลังใจให้พวกเขาทำงานต่อไป และเป็นหนึ่งในความพยายามทำให้สังคมไทยตระหนักถึงความสำคัญของบุคคลเหล่านี้ และปัญหาสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยอีกด้วย
พิธีมอบรางวัลจะจัดขึ้น ณ เวลา 9.30 – 12.00 น. วันที่ 11 กรกฎาคม 2555 ที่ห้องประชุมชั้น 4 มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม ซ.โรหิตสุข ถ.ประชาราษฎร์บำเพ็ญ พร้อมกับการเสวนาหัวข้อ "บนเส้นทางการต่อสู้..ประสบการณ์นักสิทธิมนุษยชนไทย" โดยผู้เข้ารอบทั้ง 5 คน และการกล่าวปิดงานโดย ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อีกด้วย
ทั้งนี้ กองทุนรางวัลสมชายฯ เปิดให้ประชาชนทั่วไปเสนอชื่อผู้สมควรได้รับรางวัลสมชาย นีละไพจิตร เป็นเวลาสามเดือน (กุมภาพันธ์ - เมษายน 2555) มีผู้ถูกเสนอรายชื่อถูกเสนอทั้งหมด 20 ราย จากหลากหลายสาขาของงานเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน เช่น ด้านสิทธิแรงงาน ด้านสิทธิผู้ต้องขังในเรือนจำ ด้านสิทธิชุมชนไปจนถึงงานพัฒนาชุมชนท้องถิ่น งานอาสาสมัครและการต่อสู้กับความอยุติธรรม เป็นต้น และได้กลั่นกรองจนเหลือ 5 รายชื่อ และพิจารณาให้รางวัลสมชาย นีละไพจิตร เพียง 1 ชื่อ โดยพิจารณาจาก 4 หลักเกณฑ์ ได้แก่ 1. มีลักษณะเป็น “นักต่อสู้” ด้านสิทธิมนุษยชน ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับประโยชน์ของสาธารณะ 2. มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ 3. ยังไม่ค่อยมีประวัติการได้รับรางวัลด้านสิทธิมนุษยชน หรือเป็นที่ยก 4. เป็นนักต่อสู้ที่ทำงานในประเด็นที่เป็นปัจจุบัน และกำลังเป็นที่ถกเถียงในสังคม และสุ่มเสี่ยงต่อการถูกทำร้ายหรือถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน
กองทุนรางวัลสมชายฯ ริเริ่มกิจกรรมการมอบ รางวัลสมชาย นีละไพจิตร ด้วยเจตนารมณ์เพื่อยกย่อง เชิดชูเกียรติ และเป็นกำลังใจแก่ผู้ที่มีคุณูประการ เสียสละ ในการส่งเสริมและปกป้องสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย รวมทั้งเพื่อกระตุ้นให้สังคมในวงกว้างตระหนักถึงความสำคัญและยอมรับบทบาทของ นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน โดยการเปิดรับชื่อผู้สมควรได้รับรางวัลจากประชาชนทั่วไป โดยการมอบรางวัลครั้งนี้ (ปี 2555) เป็นการมอบรางวัลครั้งแรก


กำหนดการงานประกาศรางวัลสมชาย นีละไพจิตร 2555 
วันที่ 11 กรกฎาคม 255 เวลา 9.30-12.00
ณ ห้องประชุม ชั้น 4 อาคารมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม ห้วยขวาง กรุงเทพฯ
09.30 – 10.00 น.   ลงทะเบียน
10.00 – 10.30 น. พิธีกรกล่าวต้อนรับ
                                 • นางอังคณา นีละไพจิตร กรรมการกองทุนรางวัลสมชาย นีละไพจิตร กล่าวเปิดงาน
                                  • จอน อึ๊งภากรณ์ กรรมการกองทุนรางวัลสมชาย นีละไพจิตร กล่าวถึงความเป็นมาและความหมายของรางวัลสมชาย นีละไพจิตร
10.30 – 10.45 น.   พิธีมอบรางวัลสมชาย นีละไพจิตร และและใบประกาศเกียรติคุณผู้มีผลงานสิทธิมนุษยชนน่ายกย่อง
                                  • มอบรางวัลโดย ศ.ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์การเมือง และอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
10.45 – 12.00 น.   เสวนา "บนเส้นทางการต่อสู้..ประสบการณ์นักสิทธิมนุษยชนไทย" โดย
                                 • ผู้รับรางวัลสมชาย นีละไพจิตร
                                  • ผู้รับรางวัลผู้มีผลงานสิทธิมนุษยชนน่ายกย่อง 4 ราย
                                  • ดำเนินรายการโดย ผศ. รุจน์ โกมลบุตร คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และกรรมการกองทุนรางวัลสมชาย นีละไพจิตร
12.00 น.                  กล่าวปิดงาน โดย ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ 

สัมภาษณ์ "ญาติผู้ต้องขัง 112" ในวันแถลงเปิดตัวเครือข่าย

ที่มา ประชาไท



7 ก.ค. 55 - เวลา 13.00 น. ณ อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา มีการแถลงข่าวเปิดตัว "เครือข่ายญาติและผู้ประสบภัยจากมาตรา 112"นำโดยญาติของผู้ต้องขังและผู้ต้องหาในคดีกฎหมายอาญามาตรา 112
ประชาไท เสนอบทสัมภาษณ์ถึงวัตถุประสงค์ ที่มาการรวมตัว และแผนกิจกรรมของเครือข่าย ผ่านการพูดคุยกับ สุกัญญา พฤกษาเกษมสุข (ภรรยาสมยศ) กีเชียง ทวีวโรดมกุล (พ่อหนุ่ม เรดนนท์), รสมาลิน ตั้งนพกุล (ภรรยาอากง), ปราณี ด่านวัฒนานุสรณ์ (ภรรยาสุรชัย)
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่  เปิดตัวกลุ่มญาตินักโทษม. 112 'ส.ศิวรักษ์' เสนอขออภัยโทษทั้งหมด 12 ส.ค.

เหตุผล 10 ประการ ที่ต้องแก้รธน. โดยดร. จารุพรรณ กุลดิลก

ที่มา thaifreenews


ล้านคำบรรยาย การ์ตูนเซีย 10/07/55 ความจำสั้น..หรืออคติบังตา

ที่มา blablabla

โดย 

 ภาพถ่ายของฉัน




เลยเล่นเกม การเมือง เรื่องสกปรก
แล้วหยิบยก คำมารยา มาตอแหล
วิปริต บิดเบือน มิเชือนแช
คือของแท้ ทาสอำมาตย์ อุบาทว์ชน....


นับวันยิ่ง เลอะเลือน เหมือนคนบ้า
ขุดคุ้ยหา เรื่องเฉไฉ ให้สับสน
จ้องทำลาย ประเทศไทย ให้อับจน
คิดวกวน แต่อิจฉา หน้าไม่อาย....


อคติ เลวระยำ ความจำสั้น
จึงมุ่งมั่น แต่เดินหน้า พาฉิบหาย
พวกอุปถัมภ์ คืออำมาตย์ สัญชาติฟาย
ผู้ทำลาย และเขียนบท กำหนดเกม....


ทักษิณคิด เพื่อไทยทำ ย้ำก่อนนั้น
เพื่อมุ่งมั่น เดินหน้า พาสุขเกษม
ชนในชาติ อยู่กินดี สุดปรีด์เปรม
เลยจัดเต็ม เสียงส่วนใหญ่ ไม่รอรี....


ฟังเสียงร้อง โหยหวน รัญจวนหา
ช่างสมเพช เวทนา ไอ้หน้าหมี
"รักทักษิณ" หนักหัวใคร ไอ้อัปรีย์
มันยังดี กว่าพวกชั่ว ตัวสามานย์....


๓ บลา / ๑๐ ก.ค.๕๕

'ธาริต' แถลงไร้ชายชุดดำเผาเซ็นทรัลเวิลด์

ที่มา uddred

 กรุงเทพธุรกิจ 10 กรกฎาคม 2555 >>>






'ธาริต' แถลงไร้ชายชุดดำเผาเซ็นทรัลเวิลด์ แจงจับกุมคนร้ายส่งฟ้องคดีวางเพลิง-ลักทรัพย์ได้ 9 ราย ยันไม่กระทบคดีก่อการร้าย

นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) แถลงความคืบหน้าคดีวางเพลิง เผาทรัพย์และลักทรัพย์เซ็นทรัลเวิลด์ เมื่อเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 ว่า ไม่มีชายชุดดำเข้าไปเกี่ยวข้อง แต่มีผู้ต้องหา 9 ราย ที่ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินคดีในข้อหาลักทรัพย์ ประกอบด้วยนายพินิจ จันทร์ณรงค์ นายวิศิษฏ์ แกล้วกล้า นายภาสกร ไชยสีทา นายคมสันต์ สุดจันทร์ฮาม นายอัตพล วรรณโต นายอาทิตย์ เบ้าสุวรรณ นายพรชัย โลหิตดี นายยุทธชัย สีน้อย และนางเจียม ทองมา ซึ่งดีเอสไอได้สั่งฟ้องผู้ต้องหาทั้งหมดและส่งสำนวนให้พนักงานอัยการไปแล้ว ตั้งแต่วันที่ 4 ส.ค. 2553
นายธาริต แถลงว่า ต่อมาพนักงานอัยการมีคำสั่งฟ้อง ต่อศาลอาญากรุงเทพใต้ และศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง โดยศาลอาญากรุงเทพใต้ มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 1 ธ.ค. 2554 ลงโทษจำเลยทั้ง 7 คน ในความผิดฐานฝ่าฝืน พ.ร.ก. คนละ 6 เดือน และลงโทษจำเลย นายคมสันต์ สุดจันทร์ฮาม ในความผิดฐานลักทรัพย์เป็นเวลา 3 ปี รวมเป็น 3 ปี 6 เดือน ฐานความผิดอื่น ยกฟ้อง พนักงานอัยการไม่อุทธรณ์ คดีถึงที่สุดแล้ว
ส่วนผลคดีของนายภาสกร ไชยสีทา และนายอัตพล วรรณโต ขณะนี้ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง สืบพยานฝ่ายโจทก์เสร็จสิ้นแล้ว ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล
นายธาริต ระบุด้วยว่า  คดีวางเพลิงพนักงานสอบสวน สน.ปทุมวัน รับคดีและทำการสืบสวนสอบสวน ออกหมายจับผู้ต้องหารวม 7 คน คือ ชายไทยไม่ทราบชื่อ ปรากฏตามภาพถ่ายหมายจับผู้ต้องหาที่ 1 ชายไทยไม่ทราบชื่อ ปรากฏตามภาพถ่ายหมายจับ ผู้ต้องหาที่ 2 นายสายชล แพบัว ชายไทยไม่ทราบชื่อ ปรากฏตามภาพถ่ายหมายจับผู้ต้องหาที่ 4 นายพินิจ จันทร์ณรงค์ ผู้ต้องหาที่ 5 นายอัตพล วรรณโต ผู้ต้องหาที่ 6 และนายภาสกร ไชยสี
อย่างไรก็ตาม ต่อมาพนักงานสอบสวนคดีพิเศษได้ขอศาลออกหมายจับเพิ่มเติม อีก 2 คน ตามภาพถ่าย รวมเป็น 9 คน  ทั้งนี้ผู้ต้องหาที่ 3 เดิมออกหมายจับตามภาพถ่าย ต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถจับกุมตัวได้ที่บริเวณสนามหลวง ทราบชื่อภายหลังว่า นายสายชล แพบัว ส่วนผู้ต้องหาที่ 5-7 นั้น เป็นผู้ต้องหาในคดีปล้นทรัพย์ ซึ่งเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ได้ชี้ยืนยัน ตัวว่าเป็นผู้กระทำความผิดในการวางเพลิงด้วย สน. ปทุมวัน เห็นว่าเป็นคดีที่ต่อเนื่องเกี่ยวพันกับคดีพิเศษ จึงส่งมาเป็นคดีพิเศษ
   "คดีวางเพลิงได้สั่งฟ้องผู้ต้องหาทั้งหมด และผลของเหตุการณ์ทำให้ห้างเซ็นทรัลเวิลด์ได้รับความเสียหายมูลค่ากว่า 8,000 ล้านบาท และในที่เกิดเหตุพบนายกิตติพงษ์ สมสุข วัย 19 ปี ชาวจังหวัดศรีษะเกษ เสียชีวิตเพราะขาดอากาศหายใจ ขณะนี้พนักงานอัยการได้ส่งฟ้องผู้ต้องหาทั้ง 9 คน และได้ฟ้องนายสายชล แพบัว และนายพินิจ จันทร์ณรงค์ ต่อศาลบอาญากรุงเทพใต้ คดีอยู่ระหว่างการสืบพยานโจทก์ นัดสืบพยานพนักงานสอบสวนในวันที่ 21 และ 23 ส.ค. นี้ รวมทั้งทั้งได้ส่งฟ้องนายอัตพล วรรณโต และนายภาสกร ไชยสีทา ต่อศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง โดยศาลนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 3 ส.ค. นี้เช่นกัน"
ผู้สื่อข่าวถามว่าเมื่อไม่มีชายชุดจะเปลี่ยนจากคดีก่อการร้ายมาเป็นคดีวาง เพลิงเผาทรัพย์หรือไม่ นายธาริต กล่าวว่า กรณีเซ็นทรัลเวิลด์ต้องแยกกัน ในเรื่องก่อการร้ายเป็นมิติภาพรวมมีการฟ้องคดี ซึ่งอยู่ระหว่างการสืบพยานในชั้นศาล คดีเซ็นทรัลเวิร์ดมีการเข้าไปวางเพลิงเพื่อลักทรัพย์และสามารถจับตัวคนร้าย ได้ จึงชี้แจงว่าไม่เกี่ยวข้องกับชายชุดดำ

ด่วน! ศาลเชียงรายกำลังจะสั่งขังทนายอานนท์ในคดีคนเสื้อแดง 5 คน ข้อหา "ละเมิดศาล"

ที่มา Thai E-News

 10 กรกฎาคม 2555
โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์



 อานนท์ นำภา กับสามทนาย สำนักกฎหมายราษฎรประสงค์



อานนท์ นำภา โพสต์ที่หน้าเฟซบุ๊คเมื่อประมาณหนึ่งชั่วโมงที่ผ่านมาว่า
ศาลจังหวัดเชียงรายกำลังจะสั่งขังผมข้อหาละเมิดอำนาจศาล
เพราะผมคัดค้านว่าการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลขัดรัฐธรรมนูญ

ผมนั่งรอตำรวจศาลอยู่ ด้วยความยินดีที่ได้ทำหน้ามี่ทนายเสื้อแดง !
  
บก.ลายจุด  ให้ข้อมูลต่อว่า 
ทนายอานนท์ นำภา ไปเป็นทนายให้กับเสื้อแดง 5 คนในคดีผ่าฝืน พรก ฉุกเฉินที่เชียงราย เป็นคดี พค 53 ในศาลชั้นต้น ทนายพยายามยื่นขอให้มีการเบิก พยานฝ่ายจำเลย ได้แก่ อดีตผู้ว่าเชียงราย รองผุ้ว่าเชียงราย นักวิชาการอย่าง อ.คณิณ บุญสุวรรณ์ และ แกนนำ ณัฐวุฒิ แต่ศาลไม่อนุมัติให้มีการนำคนเหล่านี้มาเป็นพยาน ทนายจึงโต้ว่าเป็นสิทธิตาม รธน และ ขอเปลี่ยนผุ้พิพากษาในคดีนี้ จึงเป็นเหตุให้ผู้พิพากษาเรียกตำรวจศาลมาควบคุมตัวและขณะนี้กำลังปรึกษากับหัวหน้าศาลจังหวัดว่าจะขอควบคุมตัวในข้อหาหมิ่นอำนาจศาล
 ล่าสุด Nithiwat Wannasiri สรุปเรื่องราวทั้งหมดจนถึงบัดนี้ให้ทราบกันว่า


เรื่องเกิดขึ้นที่ ศาลจังหวัดเชียงราย เมื่อทีมทนายจากสำนักงานกฎหมาย ราษฎรประสงค์ นำโดยทนาย อานนท์ นำภา ทนาย ยุทธการ โสภัณนา และทนาย อานนท์ ง.(งามสนิท) รับช่วยว่าความคดีพี่น้องเสื้อแ
ดง

ทนายอานนท์ นำภา ได้เสนอรายชื่อพยานจำเลยให้ศาลพิจารณา ซึ่งได้เสนอ อ.คณิต ณ ณคร ฯลฯ แต่ศาลพิจารณาตัดออก ให้เหลือจำเลยเป้นพยานให้ตนเองเพียงคนเดียว ด้วยอ้างเหตุผลแห่งการพิจารณาอย่างรวดเร็ว

เมื่อกฎหมายบัญญัติไว้ ว่าต้องเปิดโอกาสให้จำเลยต่อสู้คดีได้อย่างเต็มที่ในการที่จะพิสูจน์ว่าตนบริสุทธิ์ ซึ่งหากศาลใช้ดุลพินิจตัดพยานจำเลยออกแล้วนั้น โดยอ้างการพิจารณาอย่างรวดเร็ว คงจะขัดกับหลักการในการใช้สิทธิต่อสู้คดีดังกล่าว

ทีมทนายความจากสำนักกฎหมายราษฎร์ประสงค์จึงแถลงคัดค้าน และยืนยันว่าการกระทำของศาลขัดต่อหลักสิทธิเสรีภาพในการพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของคู่ความ ตามที่กฎหมายรัฐธรรมนูญได้มอบสิทธินั้นไว้

ทำให้ไม่เป็นที่พอใจของผู้พิพากษาเป็นอย่างมากและประกาศจะสั่งขังทนายอานนท์ นำภา ในข้อหา"ละเมิดอำนาจศาล" ขณะนี้ทีมทนายกำลังรอคำสั่งวินิจฉัย จากอธิบดีภาค 5

โปรดร่วมกันติดตาม ว่าทนายอานนท์ นำภา จะถูกจำคุกด้วยข้อหาละเมิดศาลหรือไม่!!
อย่างไรก็ตาม ทนายอานนท์กล่าวทิ้งท้ายไว้ทางหน้าไอดีเฟสบุคว่า  "ผมนั่งรอตำรวจศาลอยู่ ด้วยความยินดีที่ได้ทำหน้าที่ทนายเสื้อแดง !"
Nithiwat Wannasiri มูลเหตุของการแถลงคัดค้าน และขอเปลี่ยนตัวผู้พิพากษา ที่ทำให้ทนายอานนท์ถูกตำรวจศาลล็อคตัว เมื่อสักครู่ที่ผ่านมา
อานนท์ นำภา

เฮ้อ...มาศาลคดีเสื้อแดงเชียงรายคราวนี้ไม่ราบรื่นเอาเสีียเลย

วันเดียวศาลเลื่อนและเปลี่ยนคนพิจารณาถึงสองบัลลังค์ ทั้งยังจะตัดพยานเราอีก ไอ้เราก็ไม่เขาใจว่าโจทก์ฟ้องเสื้อแดงว่าไปเผยแพร่ข่าวบิดเบือน ก่อให้เกิดความหวาดกลัวต่อประชาชน โดยไปพูดว่า "รัฐบาลสั่งทหารให้ออกมาฆ่าประชาชน ..." ไอ้เราก็เสนอพยานเป็น อ.คณิต ณ นครหรือตัวแทนจาก คอป.เข้าเป็นพยานจำเลยเบิกความถึงผลการสืบสวน แต่ศาลบอกว่าไม่เกี่ยวกับคดี เราก็แย้งไปว่าเกี่ยวสิ ถ้าที่พูดไปเป็นความจริงมันจะผิดได้อย่างไร ศาลเลยเลื่อนให้เราเขาแถลงเหตุผลในการสืบพยานใหม่พรุ่งนี้ เฮ้อ....

เลยต้องอยู่ต่ออีกวัน :p