WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, September 14, 2012

หยุดเขื่อนไซยะบุรี! คนแม่น้ำโขงยังรอสัญญาณ รัฐบาลไทยจะ ‘ฟัง’ หรือ ‘เมิน’

ที่มา ประชาไท

 
รณรงค์หยุดเขื่อนไซยะบุรี ชาวบ้านแม่น้ำโขงยังรอสัญญาณเข้าพบนายกยิ่งลักษณ์ ลุ้นรัฐบาลไทยจะฟัง หรือเมิน เสียงคนไทยริมโขงและคนภูมิภาค
การเคลื่อนไหวต่อต้านการสร้างเขื่อนไซยะบุรีบนลำน้ำโขงทวีความร้อนแรง ขึ้นอีกระลอก ในช่วงหนึ่งอาทิตย์ของนิทรรศการและการรณรงค์ “ปกป้องแม่น้ำโขง หยุดเขื่อนไซยะบุรี” โดยเครือข่ายประชาชนลุ่มแม่น้ำโขงภาคอีสาน 7 จังหวัด ร่วมกับพันธมิตรกลุ่มภาคประชาสังคมต่างๆ ตั้งโต๊ะลงชื่อคัดค้านเขื่อนกับโปสการ์ดปลาบึก

ภาพถ่ายวิถีชีวิตใน พื้นที่สร้างเขื่อน โดย สุเทพ กฤษณาวารินทร์ และคณะจากกลุ่ม Photo Journ วางเคียงกับหุ่นปลาแม่น้ำโขงฝีมือจากชาวบ้านอุบลราชธานี ทำให้พื้นที่ห้องกระจกทั้ง 6 ห้อง ชั้นล่าง ของหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ใจกลางเมืองหลวง อบอวลด้วยเรื่องราวของแม่น้ำโขง สายน้ำแห่งชีวิต และการรณรงค์เพื่อปกป้องและหยุดเขื่อนไซยะบุรีมาตั้งแต่วันที่ 9 กันยายนที่ผ่านมา
ท่ามกลางกิจกรรมที่กำลังดำเนินไป ชาวบ้านและเครือข่ายพันธมิตรกำลังรอคำตอบในการให้เข้าพบของนายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร หลังการร้องขออย่างเป็นทางการจากตัวแทนเครือข่ายสภาองค์กรชุมชนตำบลลุ่มน้ำ โขง 7 จังหวัดภาคอีสาน, เลขาธิการคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กปอพช.) และประธานมูลนิธิฟื้นฟูชีวิตและธรรมชาติ เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา

“ภาคประชาสังคมและตัวแทนประชาชนขอพบ เพื่อยื่นรายนามประชาชนต่อ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี เพื่อให้รัฐบาลไทยหยุดการสนับสนุนเขื่อนแม่น้ำโขงและระงับการซื้อไฟฟ้าจาก เขื่อนไซยะบุรีในประเทศ สปป.ลาว” นี่คือจุดประสงค์ของการเข้าพบในครั้งนี้

‘โปสการ์ด รูปปลาบึก’ สัญลักษณ์แม่น้ำโขงที่เดินทางไปหลายจังหวัดริมแม่น้ำโขง เพื่อให้ประชาชนร่วมรับรู้และลงนามจะถูกรวบรวมจนถึงวันปิดนิทรรศการที่ 16 กันยายน ในขณะนี้มีผู้ลงนามแล้วกว่า 8,000 ใบ และคาดหวังจะส่งตรงถึงมือนายกรัฐมนตรีในวันจันทร์ที่ 17 กันยายน 2555 ที่ทำเนียบรัฐบาล ด้วยเหตุผลการเข้าพบส่วนหนึ่งว่า

“ฯพณฯ คงตระหนักเป็นอย่างดีว่า ประเทศไทยมีความรับผิดชอบโดยตรงต่อการเกิดขึ้นของโครงการเขื่อนไซยะบุรี เพราะไฟฟ้าร้อยละ 95 ที่ผลิตได้ จะส่งมาขายยังประเทศไทย”

การเข้าพบ นายกรัฐมนตรีของไทยในครั้งนี้ ยังมีตัวแทนเครือข่ายภาคประชาสังคมจากประเทศกัมพูชาและเวียดนามเข้าร่วมด้วย ทั้งนี้ในวันที่ 27 กรกฏาคม 2555 เครือข่ายพันธมิตรแม่น้ำกัมพูชา (The River Coalition on Cambodia [RCC]) ส่งจดหมายถึงทั้งนายกรัฐมนตรีไทยและสปป.ลาว โดยมีความตอนหนึ่งว่า

“เรา ขอเรียกร้องให้รัฐบาลไทยและลาวเคารพต่อข้อตกลงแม่น้าโขงที่ทำขึ้นในปี 2538 และเคารพต่อคำขอร้องจากรัฐบาลกัมพูชาและเวียดนาม ที่ขอให้ระงับการก่อสร้างหรือเตรียมการก่อสร้างในพื้นที่เขื่อนโดยด่วน”
เช่นเดียวกันกับ เครือข่ายแม่น้ำประเทศเวียดนาม (Vietnam Rivers Network [VRN]) เผยแพร่ข้อความเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2555 แสดงความเป็นห่วงในสถานการณ์การสร้างเขื่อนไซยะบุรี โดยระบุว่า “แม่น้ำโขงเป็นแม่น้ำนานาชาติ และมีความสำคัญในระดับนานาชาติ ไม่ควรถูกใช้ให้เป็นพื้นที่ทดลองเทคโนโลยีการสร้างเขื่อน”

เสียง เรียกร้องจากประชาชนไทย และเพื่อนบ้านในภูมิภาคแม่น้ำโขง เพื่อขอเข้าพบนายกรัฐมนตรีของไทย อาจถือได้ว่าเป็นตัวบ่งชี้และหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญในการเคลื่อนไหวเพื่อ ระงับโครงการเขื่อนไซยะบุรีของเครือข่ายภาคประชาสังคมในภูมิภาคแม่น้ำโขง ซึ่งทำร่วมกันในตลอดช่วง 2 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อกระบวนการต่อสู้ของพี่น้องประชาชนไทยที่อาศัยอยู่ริม แม่น้ำโขง

ดังที่ อ้อมบุญ ทิพย์สุนา ตัวแทนเครือข่ายสภาองค์กรชุมชนตำบลลุ่มน้ำโขง 7 จังหวัดภาคอีสาน ได้กล่าวไว้ในการเปิดตัวการนิทรรศการและรณรงค์ที่หอศิลป์กรุงเทพฯ ในวันที่ 9 กันยายนที่ผ่านมาว่า

“เราประสานกับนักการเมืองในจังหวัดของเราอย่าง เป็นทางการ ขอให้ช่วยเราให้ได้พบนายกฯ ในวันที่ 17 กันยายน เพื่อถามท่านนายกโดยตรงว่าประเทศไทยมีแผนการอย่างไรในเรื่องเขื่อนไซยะบุรี สำหรับพวกเราการได้พบนายกหรือไม่ในครั้งนี้ จะเป็นข้อพิสูจน์ว่า นักการเมืองของเราจะยืนอยู่เคียงข้างพี่น้องประชาชนที่กำลังเดือดร้อนจาก โครงการเขื่อนแม่น้ำโขงหรือไม่”

หากเขื่อนไซยะบุรี ซึ่งถูกขนานนามว่า “เขื่อนไทยบนแผ่นดินลาว” ถูกสร้างขึ้นตามแผนการ จะกลายเป็นเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำขนาดใหญ่ตัวแรกที่ตั้งอยู่บนแม่น้ำโขงสายหลัก ทางตอนล่าง ทั้งนี้ การก่อสร้างที่กำลังเดินหน้าในพื้นที่สร้างเขื่อน นำโดย บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) บริษัทก่อสร้างที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของไทย ด้วยเงินสนับสนุนจากธนาคารไทยชั้นนำ 4 แห่ง

อย่างไรก็ตาม จนกระทั่งบัดนี้ รัฐบาลทั้งไทยและลาวยังคงปิดปากเงียบ โดยไม่ตอบคำถามประชาชนทั้งในประเทศของตน รวมทั้งสาธารณะชนในภูมิภาค และนานาชาติ

ทั้งนี้ กิจกรรมรณรงค์ที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร จะมีต่อเนื่องไปจนถึงวันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน นี้ ตามด้วยกิจกรรมการเดินเพื่อรณรงค์ในใจกลางกรุงเทพมหานครในช่วงบ่ายสี่โมง เย็นของวันที่ 16 กันยายน  และต่อเนื่องด้วยการชุมนุมที่หน้าทำเนียบรัฐบาลในตอนเช้าของวันที่ 17 กันยายน เพื่อเรียกร้องต่อนายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ: ดูกำหนดการ (คลิก)

'แอมเนสตี้' ชี้ ไม่มีข้ออ้างใดๆ สำหรับการโจมตีกงสุลสหรัฐในลิเบีย

ที่มา ประชาไท

 


องค์กรสิทธิแอมเนสตี้ฯ ประณามการสังหารทูตสหรัฐในลิเบีย และเรียกร้องให้รัฐบาลลิเบียเข้าแทรกแซงจัดการกับติดอาวุธเหนือกฎหมายและไต่ สวนผู้ที่กระทำผิดตามกระบวนการยุติธรรม ชี้การหมิ่นศาสนาไม่ใช่ข้ออ้างในการฆ่ากัน
 
13 ก.ย. 55 - แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล องค์กรสิทธิมนุษยชนที่มีสำนักงานใหญ่ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ออกแถลงการณ์ประณามการโจมตีสถานทูตสหรัฐในเมืองเบงกาซี ประเทศลิเบียเมื่อค่ำวันพุธที่ผ่านมา (12 ก.ย. 55) เป็นเหตุทำให้เอกอัครราชทูตสหรัฐประจำกรุงเบงกาซี พร้อมเจ้าหน้าที่สถานทูตชาวสหรัฐอีกสามคนเสียชีวิต โดยแอมเนสตี้ฯ ชี้ว่า การหมิ่นศาสนาไม่สามารถเป็นข้ออ้างเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับการสังหารที่ เกิดขึ้น และเรียกร้องให้รัฐบาลลิเบีย "เข้าแทรกแซงเพื่อควบคุมกลุ่มติดอาวุธและกลุ่มทหารบ้านที่ทำตัวเหนือกฎหมาย" และนำผู้กระทำความผิดมาลงโทษตามกระบวนการไต่สวนที่ยุติธรรม 
 
0000
 
การสังหารเจ้าหน้าที่อย่างน้อยสี่คนรวมทั้งนายเจ คริสโตเฟอร์ สตีเฟนส์ (J Christopher Stephens) เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำลิเบีย ที่สำนักงานสถานกงสุลสหรัฐฯ ประจำกรุงเบงกาซี และยังมีผู้บาดเจ็บอีกจำนวนมาก เป็นการกระทำที่ไม่มีข้อแก้ตัวใด ๆ และต้องนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลกล่าว
 
ตามข้อมูลของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล การโจมตีสถานกงสุลสหรัฐฯ ที่เบงกาซี เป็นผลงานของกลุ่มชายติดอาวุธ เริ่มตั้งแต่ตอนหัวค่ำของวันที่ 11 กันยายน ใช้เวลาประมาณสองชั่วโมง
               
เชื่อว่ากลุ่มคนร้ายได้ใช้จรวดอาร์พีจีและอาวุธปืนต่อสู้อากาศยานเพื่อ ยิงโจมตี และมีเป้าหมายอยู่ที่เจ้าหน้าที่สถานกงสุลระหว่างที่พยายามหลบหนีออกจากสถาน กงสุล ซึ่งเป็นที่พักอาศัยด้วย
               
การโจมตีเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อยสี่คน รวมทั้งเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ซึ่งอยู่ระหว่างการเยือนกรุงเบงกาซีในขณะนั้น มีรายงานข่าวว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่ด้านความปลอดภัยอื่น ๆ ไม่สามารถรับมือกับสถานการณ์ได้ และได้หนีไปจากที่เกิดเหตุ
               
“เราประณามการโจมตีที่มีการวางแผนเป็นอย่างดีในครั้งนี้ต่อพลเรือนที่ พยายามหลบหนีออกจากสถานกงสุลสหรัฐฯ ไม่มีความชอบธรรมสำหรับการโจมตีครั้งนี้ และผู้กระทำผิดจะต้องถูกนำตัวมาลงโทษ” ซูซาน นอสเซล (Suzanne Nossel) ผู้อำนวยการบริหารแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล สหรัฐฯ กล่าว
               
กระทรวงมหาดไทยลิเบียประกาศอย่างเป็นทางการว่า การโจมตีครั้งนี้เกี่ยวข้องกับการประท้วง ซึ่งมีสาเหตุมาจากภาพยนตร์ที่ผลิตโดยกลุ่มโฆษณาชวนเชื่อเพื่อต่อต้านศาสนา อิสลามในสหรัฐฯ มีการแปลภาพยนตร์ดังกล่าวเป็นภาษาอาหรับและนำไปเผยแพร่เป็นวีดิโอคลิ ปในอินเตอร์เน็ต
               
ในวีดิโอคลิปมีภาพของศาสดามะหะหมัดและบุคคลอื่น ๆ ซึ่งเป็นที่เคารพของชาวมุสลิมอยู่ในท่าทางที่ถูกเหยียดหยาม ถือเป็นการจ้วงจาบต่อชาวมุสลิมเป็นอย่างมาก
               
“ไม่ว่าภาพยนตร์เรื่องนี้จะจาบจ้วงเพียงใด ก็ไม่อาจใช้เป็นข้อแก้ตัวให้กับการสังหารและการโจมตีอย่างรุนแรง แม้ว่าศาสนาและวัฒนธรรมเป็นองค์ประกอบสำคัญของชีวิตผู้คนจำนวนมาก แต่ก็ไม่อาจใช้เป็นเหตุผลอันชอบธรรมในการละเมิดสิทธิมนุษยชน” ฮัสสิบา ฮัดจ์ ซาห์ราอุย (Hassiba Hadj Sahraoui) รองผู้อำนวยการแผนกตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลกล่าว
               
“การโจมตีครั้งนี้เน้นให้เห็นอีกครั้งถึงความจำเป็นที่ทางการลิเบียจะ ต้องเข้าแทรกแซงเพื่อควบคุมกลุ่มติดอาวุธและกลุ่มทหารบ้านที่ทำตัวเหนือ กฎหมาย” 
               
ในคำแถลงล่าสุด สภาสูงสุดแห่งชาติ (General National Congress - GNC) แสดงคำมั่นสัญญาที่จะเอาผิดและลงโทษการสังหาร การทรมาน และการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายอื่น ๆ 
               
อย่างไรก็ตาม หนึ่งปีหลังจากกรุงตริโปลีตกอยู่ใต้การปกครองของกลุ่มปฏิวัติ ยังคงมีกลุ่มติดอาวุธที่ก่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนอยู่ทั่วไป มีการสังหารอย่างไม่ชอบด้วยกฎหมาย การจับกุมและควบคุมตัวโดยพลการ การทรมาน และการบังคับโยกย้าย โดยที่ผู้กระทำความผิดเหล่านี้ไม่ได้รับการลงโทษ
               
ทางการลิเบียจะต้องสอบสวนกรณีนี้อย่างเต็มที่ เป็นอิสระ และไม่ลำเอียง และให้นำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษตามกระบวนการไต่สวนที่เป็นธรรม โดยไม่ให้มีการใช้โทษประหาร
               
รัฐจะต้องคุ้มครองชีวิตและความปลอดภัยของประชาชนทุกคนที่อยู่ในเขต อำนาจของตน โดยจะปฏิบัติอย่างเคร่งครัดให้เป็นไปตามกฎหมายและมาตรฐานสิทธิมนุษยชนสากล รวมทั้งการเคารพสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการชุมนุมอย่างสงบ และการบังคับใช้กฎหมายด้วยสัดส่วนที่เหมาะสมเพียงพอต่อการรักษาความสงบของ สาธารณะ
               
“การโจมตีครั้งล่าสุดและการละเมิดสิทธิมนุษยชนซึ่งยังดำเนินต่อไปของ กลุ่มติดอาวุธ และการที่รัฐล้มเหลวในการคุ้มครองพลเรือนและบังคับใช้กฎหมายทั้งในประเทศและ ระหว่างประเทศ เป็นเงามืดที่ปกคลุมอนาคตของลิเบีย” ฮัสสิบา ฮัดจ์ ซาห์ราอุยกล่าว
               
“มีความเป็นไปได้อย่างมากว่าการละเมิดสิทธิที่เกิดขึ้นในช่วง “การปฏิวัติ 17 กุมภาพันธ์” กำลังเกิดขึ้นอีกครั้งและขยายตัวออกไป”
 

รมช.คมนาคม เตรียมลงพื้นที่แก้ปมไล่รื้อ “รถไฟฟ้าสายสีแดง-ทางด่วนศรีรัช-รถไฟรางคู่”

ที่มา ประชาไท

 
‘เครือข่ายสลัม 4 ภาค’ ชุมนุมหน้า ก.คมนาคม รอรับฟังผลการเจรจาแก้ปัญหาไล่รื้อชุมชน ในพื้นที่ก่อสร้าง 3 โครงการใหญ่ รถไฟฟ้าสายสีแดง-ทางด่วนศรีรัช-รถไฟรางคู่ ขอนแก่น ‘ชัจจ์ กุลดิลก’ นั่งประธานคุย รับลงพื้นที่ดูผลกระทบสัปดาห์หน้า
วันนี้ (13 มิ.ย.55) สมาชิกเครือข่ายสลัม 4 ภาค ราว 500 คน รวมตัวหน้าหน้ากระทรวงคมนาคมตั้งแต่เมื่อเวลา 09.30 น.เพื่อรอรับฟังผลการประชุมเพื่อแก้ปัญหาของชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากการไล่ รื้อที่ดินของกระทรวงคมนาคม โดยมี พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานในที่ประชุม

ตามที่เครือ ข่ายสลัม 4 ภาค ได้มีการชุมนุมเมื่อวันที่ 5 ก.ย.55 เพื่อให้ทางกระทรวงคมนาคมเปิดการเจรจาการแก้ปัญหาการพัฒนาระบบคมนาคมขนาด ใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อที่อยู่อาศัยของชาวชุมชน โดยในวันดังกล่าวผู้แทนเครือข่ายสลัม 4 ภาค ได้เจรจากับ รมช.พล.ต.ท.ชัจจ์ และกำหนดนัดหมายให้มีการเปิดประชุมอนุกรรมการแก้ไขปัญหาที่ดินที่เกี่ยวข้อง กับกระทรวงคมนาคม ในวันนี้ (13 ก.ย.55)

คมสันติ์ จันทร์อ่อน กองเลขาเครือข่ายสลัม 4 ภาค กล่าวว่า จากการพูดคุยยังไม่มีข้อสรุปในการหาทางออก แต่ พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก มีกำหนดลงพื้นที่ โดยในวันที่ 20 ก.ย.55 จะลงพื้นที่โครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ที่เขตบางกอกน้อยใน 7 จุดที่ได้รับผลกระทบ จากนั้นในวันที่ 21 ก.ย.55 จะลงพื้นที่ดูผลกระทบจากโครงการรถไฟรางคู่ ที่ จ.ขอนแก่น สำหรับโครงการทางด่วนสายศรีรัช-วงแหวนรอบนอก ในวันที่ 18 ก.ย.55 จะมีการนัดประชุมโดยตัวแทนการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเจ้าของโครงการจะมาร่วม พูดคุยกับผู้ได้รับผลกระทบ

ทั้งนี้ การประชุมดังกล่าวมีการหารือเกี่ยวกับผลกระทบใน 3 โครงการหลัก คือ 1.โครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงต่อขยาย (ตลิ่งชัน-ศิริราช) รวมระยะทางประมาณ 6 กิโลเมตร ซึ่งมีชุมชนชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการจำนวน 370 ครอบครัว ที่เป็นสมาชิกในเครือข่ายสลัม 4 ภาค และยังมีชุมชนนอกเครือข่ายอีก

2.โครงการทางด่วนสายศรีรัช-วงแหวนรอบนอก ระยะทาง 16.7 กิโลเมตร มูลค่าการลงทุน 27,022 ล้านบาท ซึ่งรัฐบาลได้ออกพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดิน เพื่อก่อสร้าง และประกาศใช้แล้วเมื่อวันที่ 10 ก.พ.ที่ผ่านมา มีผลบังคับใช้ 4 ปี โดยกำหนดให้เวนคืนในท้องที่ อ.บางกรวย จ.นนทบุรี และเขตทวีวัฒนา เขตตลิ่งชัน เขตบางพลัด เขตบางกอกน้อย เขตบางซื่อ และเขตจตุจักร กรุงเทพฯ

3.โครงการรถไฟรางคู่ ชุมทางจิระ-ขอนแก่น ระยะทาง 187 กิโลเมตร ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานนโยบาย และแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ในแผนการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ระยะเร่งด่วน 2553-2558

คมสันติ์ กล่าวด้วยว่า การประชุมครั้งนี้ถือเป็นก้าวหนึ่งที่น่าพอใจ เนื่องจากเป็นครั้งแรกที่ชาวบ้านได้ร่วมพูดคุยกับฝ่ายบริหารในรัฐบาลชุดนี้ จากที่การประชุมก่อนหน้านี้ใน 2 ครั้งแรกมีเพียงปลัดกระทรวงฯ และข้าราชการ โดยไม่มีฝ่ายการเมืองเข้าร่วม ทำให้การประชุมครั้งต่อมาทางเครือข่ายตัดสินใจวอล์คเอาท์ เพราะต้องการให้ผู้มีอำนาจในทางนโยบายมารับฟังและร่วมแก้ปัญหา ส่วนความพึงพอใจในการแก้ปัญหาจะเป็นอย่างไร คงต้องดูผลการดำเนินการภายหลังจากที่ได้มีการลงพื้นที่แล้ว

อย่างไร ก็ตาม ทางเครือข่ายฯ ไม่ได้ต้องการต่อต้านหรือคัดค้านโครงการ เพียงแต่เห็นว่าการที่โครงการเดินหน้าไปได้ ชุมชนก็น่าจะอยู่ได้ด้วย

นอกจากนี้เครือข่ายสลัม 4 ภาคยังได้ออกแถลงการณ์ต่อ โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงต่อขยาย ตลิ่งชัน-ศิริราช รายละเอียดดังนี้

แถลงการณ์ของเครือข่ายสลัม 4 ภาค
ต่อ โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงต่อขยาย ตลิ่งชัน-ศิริราช
            ตามที่รัฐบาลมีนโยบายให้การรถไฟแห่งประเทศไทยดำเนินโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า สายสีแดง ช่วงต่อขยาย ตลิ่งชัน-ศิริราช รวมระยะทางประมาณ 6 กิโลเมตรนั้น เครือข่ายสลัม 4 ภาคขอแสดงจุดยืนว่า ชุมชนสมาชิกของเครือข่ายฯ อันประกอบด้วย ชุมชนบางระมาด 1 , ชุมชนบางระมาด 2 , ชุมชนบางกอกน้อย 2 , ศูนย์คนไร้บ้านบางกอกน้อย , ชุมชนบางกอกน้อย 1 และ ชุมชนบางกอกน้อย (ฝั่งวงเวียนกลับหัวรถจักร) ไม่ได้คัดค้านต่อการดำเนินโครงการฯ ดังกล่าว
            แต่เนื่องจากแนวก่อสร้างของโครงการฯ จะส่งผลกระทบต่อชาวชุมชนจำนวนมาก ซึ่งปัจจุบันได้มีสัญญาเช่าจากการรถไฟฯ เพื่อทำการปรับปรุงที่อยู่อาศัยตามนโยบายบ้านมั่นคง ที่ริเริ่มในสมัยรัฐบาลทักษิณ ดังนั้น เครือข่ายสลัม 4 ภาคจึงขอเสนอทางเลือกในการทำโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงต่อขยาย ตลิ่งชัน-ศิริราช เพื่อให้การดำเนินโครงการดังกล่าวเป็นไปได้ และในขณะเดียวกันชุมชนก็สามารถมีที่อยู่อาศัยในบริเวณเดิม ข้อเสนอเชิงทางเลือกมีดังต่อไปนี้
  1. การดำเนินการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดง (ศิริราช – ตลิ่งชัน) ให้ดำเนินการในรัศมี 15 เมตร จากกึ่งกลางรางเดิม   และในรัศมี 15 เมตรที่เหลือให้จัดเป็นที่อยู่อาศัย   โดยจะเป็นที่อยู่อาศัย 10 เมตร และพื้นที่ส่วนกลางที่เป็นถนนในการสัญจร 5 เมตร
  2. การดำเนินการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดง (ศิริราช – ตลิ่งชัน) ให้ดำเนินการก่อสร้างในรูปแบบยกระดับตลอดแนว
  3. ให้ทำถนนลดทางรถไฟฟ้าที่ยกระดับความสูง 5.50 เมตร แทนการสร้างเกือกม้ากลับรถ   และขยับสถานีตลาดน้ำตลิ่งชันมายังบริเวณสวนหย่อมเขตตลิ่งชัน
  4. ในกรณีการสร้างสถานีจรัลสนิทวงศ์ ให้ก่อสร้างในแนวพื้นที่ที่ไม่มีผลกระทบต่อศูนย์พักคนไร้บ้าน  โดยลดขนาดสถานีลง หรือ ขยับสถานีไปใช้พื้นที่จอดรถขยะของสำนักงานเขตบางกอกน้อยแทน
ในกรณีการสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงรถจักรบริเวณสถานีธนบุรี   ให้ลดระยะรางลงเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนที่ได้เช่าที่ดินเพื่อที่อยู่ อาศัยบริเวณวงเวียนกลับหัวรถจักร
เครือข่ายสลัม 4 ภาค หวังเป็นอย่างยิ่งว่ารัฐบาลจะเข้าใจและปรับเปลี่ยนแนวทางการดำเนินโครงการ รถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงต่อขยาย ตลิ่งชัน-ศิริราช ตามข้อเสนอข้างต้น ทั้งนี้ เพราะโครงการพัฒนาจะต้องไม่เน้นแต่ด้านวัตถุ จนละเลยการพัฒนาด้านชุมชนและสังคม รวมถึงต้องเคารพต่อสิทธิและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของชาวชุมชน
ด้วยความเชื่อมั่นในพลังประชาชน
เครือข่ายสลัม 4 ภาค

ไต่สวนการตาย จนท.เขาดิน นัดแรก พ่อเชื่อฝีมือเจ้าหน้าที่ แต่ไม่เอาความ

ที่มา ประชาไท


ไต่สวนการตาย 10 เม.ย. "มานะ อาจราญ" นัดแรก เพื่อนร่วมงานเผยผู้ตายได้ตกลงกันว่าจะช่วยกันเฝ้าบ่อเต่ายักษ์จนถึงเช้า แต่มาถูกยิงเสียก่อนช่วงเดินไปตอกบัตร รปภ.เผยก่อนนายมานะถูกยิง มีเสียงตะโกน "มันมาแล้ว" ก่อนที่ทหารทั้งในและนอกสวนสัตว์จะกรูเข้าไปหลบ และทหารมีการยิงสวนไปทางรัฐสภา แต่ไม่แน่ใจว่าใครทำให้นายมานะเสียชีวิต ศาลนัดสืบพยานต่อศุกร์นี้
เวลา 9.30 น. วันนี้ (13 ก.ย.) ที่ห้องพิจารณาคดี 808 ที่ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ศาลเริ่มไต่สวนคำร้องชันสูตรพลิกศพนัดแรก ในคดีเลขที่ อช.1/2555 กรณีการเสียชีวิตของนายมานะ อาจราญ อายุ 24 ปี ลูกจ้างสวนสัตว์ดุสิตที่ถูกยิงเสียชีวิตในคืนเดียวกับที่มีการสลายการชุมนุม คือวันที่ 10 เมษายน 2553 ภายในบริเวณสวนสัตว์ดุสิต ถ.อู่ทองใน กรุงเทพฯ
สำหรับคดีดังกล่าวพนักงานอัยการสำนักงานอัยการพิเศษ ฝ่ายคดีอาญา 7 สำนักงานอัยการสูงสุด ได้นำส่งพยานหลักฐานและพยานบุคคลจำนวนมากถึง 36 ปาก รวมทั้งยังต้องมีการตรวจสอบเพิ่มเติม ศาลจึงได้มีคำสั่งให้มีการไต่สวน 7 นัด คือวันที่ 13, 14, 17 และ 24 ก.ย. 55, 26 พ.ย.55, 17 และ 24 ธ.ค. 55
โดยการไต่สวนในวันนี้ มีการเรียกพยานมาให้ปากคำ 5 ปาก ได้แก่นายมาโนช อาจราญ รปภ.สวนสัตว์ดุสิต และบิดาของผู้เสียชีวิต และเจ้าหน้าที่สวนสัตว์ดุสิตอื่นๆ อีก 4 ปาก

บิดาเชื่อทหารทำให้บุตรชายเสียชีวิตเพราะทหารเข้ามาในสวนสัตว์ แต่ไม่ติดใจเอาความ
โดยนายมาโนช อาจราญ เบิกความต่อศาลว่าบุตรชายเสียชีวิตเมื่ออายุได้ 24 ปี ในวันที่ 10 เม.ย. 53  โดยในวันเกิดเหตุเขาได้เข้าเวร รปภ.สวนสัตว์ดุสิต ที่ประตูทางออกด้าน ถ.ราชวิถี ส่วนบุตรชายไม่ได้ทำงานบริเวณเดียวกันแต่ทำงานอยู่ที่บ่อเต่ายักษ์อัลดราบา ต่อมาหลังเวลา 23.00 น. เจ้าหน้าที่สวนสัตว์ดุสิตแจ้งว่ามีคนถูกยิงบริเวณลานใกล้อาคารจอดรถจึงเดิน ไปดู เมื่อไปถึงพบว่าเป็นบุตรชายซึ่งเสียชีวิตแล้วและนอนคว่ำหน้าอยู่ โดยแพทย์ชันสูตรศพระบุว่าเกิดจากกระสุนปืนเอ็ม-16 เข้าด้านหลังบริเวณท้ายทอย และทะลุออกบริเวณหน้าผาก
นายมาโนช เบิกความต่อว่า ในสวนสัตว์ดุสิตมีทหารประมาณ 1 กองร้อยเข้ามาอยู่ตั้งแต่ช่วงกลางวันแล้วเพื่อตรึงกำลัง เนื่องจากมีการชุมนุมของคนเสื้อแดง ทั้งนี้ในวันดังกล่าวไม่ทราบว่าข้างนอกเกิดเหตุการณ์อะไร และไม่มีบุคคลภายนอกเข้ามาในสวนสัตว์ โดยเชื่อว่า ความตายของบุตรชายเกิดจากการกระทำของทหาร เนื่องจากในวันดังกล่าวทหารเข้ามาในสวนสัตว์ และถืออาวุธปืนเอ็ม-16 เข้ามาด้วย
นายมาโนชกล่าวว่าที่่ผ่านมาได้รับเงินเยียวยาจากรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จำนวน 400,000 บาท กองคลัง วัดพระศรีรัตนศาสดาราม 50,000 บาท ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 30,000 บาท และจากรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 7.2 ล้านบาท โดยแบ่งจ่ายสองงวด ทั้งนี้นายมาโนชไม่ติดใจเรียกร้องค่าเสียหายเพิ่มและไม่ติดใจดำเนินคดีต่อ

เพื่อนร่วมงานเผยคืนเกิดเหตุ "มานะ อาจราญ" เข้าเวรดูแลเต่ายักษ์
ต่อมานายบุญมี แก้วไทรท้วม เป็นพยานคนที่ 2 เบิกความต่อศาล กล่าวว่า นายมาโนชมีศักดิ์เป็นหลาน ที่สวนสัตว์ต้องมีเจ้าหน้าที่เฝ้าบ่อเต่ายักษ์อัลดราบาตอนกลางคืน เพื่อป้องกันการโจรกรรม เนื่องจากเต่ายักษ์มีราคาแพง และเดิมเต่ายักษ์ถูกจัดแสดงไว้ที่อาคารสัตว์เลื้อยคลาน แต่อาคารกำลังมีการปรับปรุง จึงมีการย้ายเต่ามาอยู่ที่บ่อเก้งหม้อและใช้เป็นที่จัดแสดงเต่ายักษ์อัลดรา บาดังกล่าว
โดยสวนสัตว์ได้แบ่งเจ้าหน้าที่เข้าเวรดูแลบ่อเต่าช่วงกลางคืนออกเป็น 2 กะ คือกะแรก 17.00 น. - 23.00 น. และกะที่สอง 23.00 น. - 7.00 น. โดยในวันเกิดเหตุนายมานะ ประจำกะแรก ส่วนนายบุญมีจะอยู่กะที่สอง แต่ได้ตกลงกันว่าจะอยู่ดูแลเต่ายักษ์ด้วยกันทั้ง 2 กะจนเช้า โดยในคืนเกิดเหตุนายมานะออกไปอาบน้ำที่โรงพยาบาลสัตว์ ในสวนสัตว์ดุสิต ตอน 20.00 น. และกลับมาอีกทีในวเลา 21.00 น. ต่อมาในเวลา 23.00 น. เมื่อครบเวลาเข้าเวรกะแรก นายมานะกล่าวว่าจะออกไปตอกบัตรออกเวรที่กองอำนวยการสวนสัตว์ แล้วจะกลับมาเฝ้าบ่อเต่าเป็นเพื่อนต่อ โดยนายมานะได้ออกจากส่วนจัดแสดงเต่ายักษ์และคล้องกุญแจข้างนอกเอาไว้
เวลาผ่านไปประมาณ 2 นาทีนายบุญมี กล่าวว่าได้ยินเสียงปืนดังขึ้น 2-3 นัด จากนั้นพอได้ยินเสียงปืนอีก จึงหาทางออกจากบ่อเต่า แต่เนื่องจากประตูถูกปิดไว้จึงปีนออกมา และพบร่างนายมานะ นอนคว่ำอยู่ โดยกระตุกอยู่ 2-3 ครั้ง ก่อนแน่นิ่งไป โดยพบร่างห่างจากรถมอเตอร์ไซค์ของนายมานะประมาณ 2 เมตร
จากนั้นจะวิ่งไปขอความช่วยเหลือ แต่ทหารที่อยู่บริเวณอาคารจอดรถตะโกนสวนมาว่า "หลบไป อยากตายหรือไง" นายบุญมีจึงกลับไปหลบอยู่ที่บ่อเต่าใกล้บริเวณที่ผู้ตายคว่ำหน้าอยู่ นอกจากนี้นายบุญมีพยายามแจ้งศูนย์วิทยุสื่อสารเพื่อขอความช่วยเหลือ แต่ได้คำตอบว่ายังออกมาช่วยไม่ได้ เพราะยังมีการยิงอยู่ ต่อมาเห็นนายสุทัศน์ สุทธิวงศ์ หัวหน้าฝ่ายรักษาความปลอดภัย สวนสัตว์ดุสิต จึงปีนบ่อเต่าออกมา ทั้งนี้ในที่เกิดเหตุพบปลอกกระสุนปืนเอ็ม-16 2 ปลอก โล่เขียนว่า "ตชด." และกระบองสีน้ำตาล
นายบุญมีให้การต่อศาลว่าที่ทหารเข้ามาพักในอาคารจอดรถ สวนสัตว์ดุสิต เพราะมี นปช. ชุมนุม โดยช่วงกลางวันเห็นทหารบางนายมีอาวุธประจำกายคือปืนเอ็ม-16 และมีทหารออกมาเดินเล่นในสวนสัตว์ ส่วนถ้าจะมีบุคคลภายนอกเข้ามาต้องปีนกำแพงสวนสัตว์ซึ่งสูง 2 เมตรเข้ามา

หัวหน้า รปภ. ยันคืนเกิดเหตุไม่มีบุคคลภายนอกมีแต่ จนท.สวนสัตว์และทหาร แต่ไม่ทราบว่านายมานะตายเพราะใคร
ต่อมานายสุทัศน์ สุทธิวงศ์ ห้วหน้าฝ่ายรักษาความปลอดภัย สวนสัตว์ดุสิต ให้การเป็นพยานปากที่ 3 กล่าวว่าในคืนเกิดเหตุมีรถกระบะขับมาจากด้านลานพระบรมรูปทรงม้า มุ่งหน้ามาทาง ถ.อู่ทองใน ด้านพระที่นั่งอนันตสมาคมก่อนเลี้ยวกลับทางเดิม เมื่อมีรายงานว่ามีคนถูกยิง จึงจะเข้าไปดู แต่ถูกทหารควบคุมตัวไว้เป็นเวลา 20 นาที เมื่อไปถึงที่เกิดเหตุจึงพบว่านายมานะ เสียชีวิตแล้ว เมื่อเห็นนายบุญมีจึงเรียกนายบุญมีมาดู และแจ้งไปยังผู้อำนวยการสวนสัตว์ดุสิตเพื่อประสานขอความช่วยเหลือ
ทั้งนี้ในเวลาเกิดเหตุไม่น่าจะมีบุคคลภายนอก นอกจากเจ้าหน้าที่ทหารและ รปภ.สวนสัตว์ ทั้งนี้ได้นำหลักฐานจากกล้องวงจรปิดมอบให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อเป็นหลักฐาน ด้วย โดยนายสุทัศน์ให้การต่อศาลด้วยว่าทหารมีอาวุธปืนประจำกาย แต่ไม่ทราบว่าใครเป็นผู้ทำให้นายมานะถึงแก่ความตาย

รปภ.ให้การก่อนนาทียิงมีเสียงตะโกน "มันมาแล้ว" แต่ไม่รู้ว่าหมายถึงใคร
นายเสรี จัตุรัส พยานปากที่ 4 เบิกความว่า ทำหน้าที่ รปภ.สวนสัตว์ดุสิต วันเกิดเหตุมาเข้าเวรเวลา 8.00 - 16.00 น. แต่หลังเวลา 16.00 น. ไปช่วยทำหน้าที่ดูแลอาคารจอดรถ ที่อยู่ตรงข้ามรัฐสภาต่อเนื่องจากกำลังคนไม่พอ ทั้งนี้ทราบว่าในวันเกิดเหตุมีการสลายการชุมนุมที่สี่แยกคอกวัว และมีเจ้าหน้าที่ทหารเข้ามาพักกำลังพลที่อาคารจอดรถ สวนสัตว์ดุสิต
นายเสรีให้การต่อว่าในเวลา 23.00 น. ทหารตะโกนว่า "มันมาแล้ว" ทหารด้านนอกสวนสัตว์ได้วิ่งเข้าไปในสวนสัตว์ เมื่อถามว่า "มันมาแล้ว" หมายถึงอะไร นายเสรีตอบว่า "ไม่ทราบ" โดยนายเสรีให้การว่าได้ยินเสียงเหมือนเสียงปืนมาจากข้างนอก จึงขึ้นไปหลบบนดาดฟ้าของอาคารจอดรถ และต่อมาได้ยินเสียงปืนออกมาจากด้านในอาคารจอดรถ แต่ไม่ทราบว่าเป็นการยิงตอบโต้กับเสียงจากข้างนอกหรือไม่ นายเสรีให้การด้วยว่า รั้วของสวนสัตว์มีความสูง 2 เมตร ก่อนหน้านี้เมื่อ 4-5 ปีก่อนเคยมีคนแอบปีนเข้ามา

พยานคนที่ 5 ระบุเห็นทหารในสวนสัตว์ยิงไปทางรัฐสภา แต่ไม่รู้ว่ายิงอะไร 
ต่อมานายสำเริง สุขสมจิต รปภ.สวนสัตว์ดุสิต ให้การว่าในวันเกิดเหตุ เข้าเวรระหว่างเวลา 8.00 - 16.00 น. หลังเวลา 16.00 น. เข้าไปช่วยงานที่อาคารจอดรถ โดยเห็นว่ามีทหารเข้ามาพักในสวนสัตว์ จนกระทั่งเวลา 23.00 น. ตรงประตูทางเข้าสวนสัตว์ด้านรัฐสภา มีเสียงตะโกนว่า "มันมาแล้ว" ซึ่งไม่ทราบว่าใครตะโกน จึงเข้าไปหลบในอาคารจอดรถ ส่วนทหารหลบอยู่ในอาคารจอดรถ ที่วิ่งเข้าไปในสวนสัตว์ก็มี และยังมีทหารที่นอนหมอบอยู่ด้วยกัน ได้ยิงปืนประจำกายไปทางรัฐสภา แต่ตนมองไม่เห็นว่ามีอะไรเกิดขึ้นเนื่องจากเสาบัง พอเสียงปืนสงบจึงขึ้นไปหลบบนดาดฟ้า และนายเสรี พยานก่อนหน้านี้ ได้โทรศัพท์มาบอกว่า นายมานะเสียชีวิตแล้ว นายสำเริงกล่าวด้วยว่าในกล้องวงจรปิด มีรถกระบะคันหนึ่งขับมุ่งหน้ามาทางพระที่นั่งอนันตสมาคม แล้วขับกลับไป แต่ไม่สามารถยืนยันว่าคนที่อยู่ในรถมีลักษณะอย่างไร และมีอาวุธหรือไม่
ทั้งนี้ศาลนัดสืบพยานต่อในวันที่ 14 ก.ย. โดยจะเป็นการเรียกเจ้าหน้าที่ตำรวจมาสืบพยาน

ศาลปกครองยกคำร้อง พล.อ.เสถียร

ที่มา Thai E-News 

 


คำสั่งประวัติศาสตร์ 
คำสั่งยกคำขอทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครอง
 คำสั่งประวัติศาสตร์..ศาลปกครองฉะ พล.อ.เสถียร ผิดวินัย
ยกคำร้อง แต่คุ้มครองพล.อ.ชาตรี ให้กลับนั่งรองปลัดกห.

ล้านคำบรรยาย การ์ตูนเซีย 14/09/55 พวกพลซุ่มยิง..ทางการเมือง

ที่มา blablabla

โดย

 ภาพถ่ายของฉัน





วิชามาร แสนชั่ว มั่วสุดๆ
เปรียบประดุจ "พรรคทราม" นามชื่อนี้
มันเถื่อน ถ่อย สามานย์ มานานปี
ไร้ศักดิ์ศรี ชั่วโฉด โคตรระยำ....

เล่นการเมือง แบบสกปรก นรกชัด
ตระบัดสัตย์ เอาเปรียบ แถมเหยียบย่ำ
ทั้งตอแหล แถไถ สุดใจดำ
จึงตกต่ำ ใต้เศษธุลี ไม่มีราคา....

หลากประเด็น ล้วนชั่วช้า กุหาเรื่อง
ให้ขุ่นเคือง เดือดปะทุ ด้วยมุสา
เหมือนละคร บทเก่า เจ้าน้ำตา
ใช้มารยา ลวงล่อ ก่อจัญไร....

พวกใจโฉด ที่ำสั่งฆ่า ประชาราษฎร์
พวกอุบาทว์ ที่แอบซุ่ม สุมไฟใต้
พวกต้านแก้ รัฐธรรมนูญ วุ่นสมใจ
พวกสาไถย์ เรื่องน้ำท่วม ร่วมวางยา....

แล้วใส่ร้าย รายวัน ให้หวั่นหวาด
อีกสิบชาติ ยิ่งเฉไฉ ยิ่งไร้ค่า
หวังล้มรัฐ ให้ย่อยยับ ไปกับตา
ชาวประชา ก่นด่ายับ พวกอัปรีย์....

ชาวประชา ก่นด่ายับ พรรค...อัปรีย์

๓ บลา / ๑๔ ก.ย.๕๕

เปิดโปงมาร์คไปดูน้ำท่วมทำไม

ที่มา การ์ตูนมะนาว


fall far short ผลลัพธ์ของการต่อสู้รอบ5-6ปี

ที่มา Thai E-News

 



การต่อสู้ใน 5-6 ปีที่ผ่านมา สุดท้าย ก็มา "ลงเอย" ที่ได้แค่ระดับ รัฐบาล เพื่อไทย ที่แทบไม่ทำอะไร ในแง่การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและการปฏิบัติทางการเมืองกฎหมายให้เป็นประชาธิปไตย นอกจากพยายามรักษาอำนาจไว้เท่านั้ผลที่ได้ ห่วย กว่าชีวิต ร่างกาย และเรี่ยวแรง ที่คนทั้งหลาย "ลง" ไปเยอะ (fall far short)
ที่มา facebook

ในฐานะคนศึกษาประวัติศาสตร์ ต้องบอกว่า ไม่มีประวัติศาสตร์ของสังคมไหน ที่หลักการที่ถูกต้องที่ดีที่สุดจะชนะ และได้ผลเป็นจริง ในทันที

ในความเป็นจริงของประวัติศาสตร์ทั้งหมดที่ผ่านมา สิ่งที่ได้มาจริงๆ จากการต่อสู้คร้้งหนึ่งๆ มักจะไม่ตรงกับหลักการหรือข้อเรียกร้องที่ดีที่สุดเสมอ

ไม่วาจะเป็นการปฏิวัติใหญ่ๆ อย่าง อังกฤษ อเมริกัน ฝรั่งเศส รัสเซีย จีน มาจนถึงกรณีอย่าง 2475, 14 ตุลา ฯลฯ ของไทย

ที่ชนะ ที่ได้

มาจริงๆ จะ (ตามสำนวนฝรั่ง) fall far short (ไปไม่ถึงอีกเยอะ) จากหลักการหรือข้อเรียกร้องที่ดีที่สุดเสมอ

(เช่นตัวอย่างการปฏิวัติที่ยกมาเมื่อ ครู่ พูดแบบง่ายๆคือ ไม่มีอันไหน นำมาซึ่งประชาธิปไตยจริงๆ แม้แต่เรื่องพื้นๆที่เราเข้าใจ "ประชาธิปไตย" ในปัจจุบัน ในแง่ สิทธิเลือกผู้นำของพลเมืองทุกคน ไม่ต้องพูดถึง อำนาจในการควบคุมผู้นำในอำนาจ)

ในแง่นี้ ก็อาจจะบอกว่า การต่อสู้ใน 5-6 ปีที่ผ่านมา สุดท้าย ก็มา "ลงเอย" ที่ได้แค่ระดับ รัฐบาล เพื่อไทย ที่แทบไม่ทำอะไร ในแง่การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและการปฏิบัติทางการเมืองกฎหมายให้เป็น ประชาธิปไตย นอกจากพยายามรักษาอำนาจไว้เท่านั้น (สถาบันกษัตริย์ไม่แตะ ทหารไม่แตะ ระบบตุลาการไม่แตะ ระบบการศึกษา ปลูกฝังอุดมการณ์กษัตริย์นิยม ไม่แตะ)

พูดง่ายๆคือ ผลที่ได้ ห่วย กว่าชีวิต ร่างกาย และเรี่ยวแรง ที่คนทั้งหลาย "ลง" ไปเยอะ (fall far short)

ก็ไมใช่เรื่องประหลาดอะไร

แต่ทำไม จึงยังต้องยืนยันในหลักการที่ถูกต้อง ที่ดีที่สุด แล้วใช้หลักการนั้น เป็นบรรทัดฐาานมาวิจารณ์ สิ่งที่เป็นจริง ที่ห่วย กว่าหลักการนั้นๆ

ทำไม จึงยังต้องเรียกร้องให้มีการทำในสิ่งที่ถูกต้องกับหลักการที่ดีที่สุด ที่ถูกต้องที่สุด?

คำตอบคือ ถ้าไม่ทำเช่นนี้ ถ้า "ปล่อยๆ ปลงๆ" ไป อ้างว่า "หลักการทำไม่ได้ๆๆ ในทางปฏิบัติทำได้แค่นี้"

ทุกสิ่งทุกอย่าง ก็จะยิ่งห่วยกว่านี้

ในขณะที่เราต้อง "ยอมรับ" และ "เข้าใจ" โลก และประวัติศาสตร์ ที่เป็นจริง (ต้อง realistic) พอ ที่จะบอกว่า ไม่มีผู้มีอำนาจไหนในโลก ไม่ว่าจะมาจากการต่อสู้ที่มีทิศทางหรือเป้าหมายดียังไง

จะสามารถทำตามหลักการที่ดี่ได้ทั้งหมด

แต่มีหลักการหลายอย่างแน่ๆ ที่พวกเขาควรจะทำได้ แต่ไม่ทำ ยกเว้นแต่จะมีแรงกดดันที่มากพอ

โพลล์ไทยอีนิวส์: เพื่อไทยควรส่งใครชิงผู้ว่ากทม.

ที่มา Thai E-News





สำรวจความคิดเห็นจากท่านผู้อ่านไทยอีนิวส์ระหว่างวันที่ 2-9 กันยายน 2555 โดยมีผู้โหวตจำนวนทั้งสิ้น 2,340 ครั้ง

พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์: ความเสื่อมของสื่อมวลชนกระแสหลัก

ที่มา Thai E-News

 โดย รศ.ดร.พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์
ที่มา โลกวันนี้วันสุข
ฉบับวันศุกร์ที่ 14 กันยายน 2555

วิกฤตการ เมืองในระยะกว่าหกปีมานี้ สื่อมวลชนกระแสหลักของไทย ทั้งฟรีทีวี วิทยุ และหนังสือพิมพ์ค่ายต่าง ๆ ล้วนเป็นกลุ่มผู้ร่วมสมคบก่อเหตุที่สำคัญที่สุดกลุ่มหนึ่ง จนอาจกล่าวได้ว่า คนพวกนี้ “มือเปื้อนเลือด” ไม่ได้น้อยไปกว่าพวกอันธพาลการเมืองที่เรียกตัวเองว่า พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย

เบื้อง หลังพฤติการณ์ของสื่อมวลชนกระแสหลักเหล่านี้ก็คือ ความคิดที่รับใช้เผด็จการ ผนวกกับผลประโยชน์ทางธุรกิจ ทั้งของนายทุนเจ้าของสื่อและนักสื่อสารมวลชนอาชีพเกือบทุกระดับ

สื่อสาร มวลชนในยุคปัจจุบันที่เป็นค่ายใหญ่ ๆ เป็นธุรกิจมูลค่านับหมื่นล้านบาท มีเครือข่ายโยงใยผลประโยชน์ไปยังเครือข่ายราชการที่อยู่ในอำนาจรัฐและสาย สัมพันธ์กับพรรคการเมืองเก่าแก่บางพรรค อยู่ภายในโครงครอบทางอำนาจและอุดมการณ์จารีตนิยมที่คอยบ่อนทำลายระบบการ เมืองแบบเลือกตั้งในประเทศไทยมาทุกยุคสมัย อิงแอบอำนาจและแบ่งปันผลประโยชน์กับพวกเผด็จการแฝงเร้นจนแยกกันไม่ออก

การเมือง แบบเลือกตั้งที่ถูกตัดตอนด้วยรัฐประหารครั้งแล้วครั้งเล่านั้น เต็มไปด้วยจุดอ่อนมากมาย สื่อมวลชนกระแสหลักจึงรับหน้าที่เป็นแกนหลักในการเผยแพร่และตอกย้ำวาทกรรม “นักการเมืองเลว” มาทุกยุคสมัย ปั่นกระแสในหมู่คนชั้นกลางในเมืองให้เกลียดชังนักการเมือง สร้างเงื่อนไขทางความคิดในหมู่ประชาชน ที่นำไปสู่รัฐประหารโค่นล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งและฉีกรัฐธรรมนูญทุก ครั้งนับตั้งแต่ปี 2519 เป็นต้นมา

นักสื่อ มวลชน ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูง ลงมาถึงบรรณาธิการ คอลัมนิสต์ คนเขียนข่าว จนถึงคนอ่านข่าวหน้าจอทีวีและวิทยุ เป็นกลุ่มวิชาชีพพิเศษเช่นเดียวกับนักวิชาการ อาจารย์มหาวิทยาลัย คือสถาปนาตนเองเป็นฐานันดรที่แยกจากประชาชนทั่วไป ด้วยการสมมติ “จรรยาบรรณและจริยธรรม” ชุดหนึ่งขึ้นมา ให้สาธารณชนเชื่อว่า พวกตนเป็นกลุ่มคนที่มีความสูงส่งทางสติปัญญา สถานะ ความรู้ เต็มไปด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและคุณธรรม คนพวกนี้รวมตัวกันอยู่ในองค์กรอาชีพ เป็นสมาคมสื่อมวลชนประเภทต่าง ๆ มีจุดประสงค์หลักคือ ปกป้องผลประโยชน์และสถานะของคนในอาชีพมิให้ถูกตรวจสอบจากสาธารณชน มีกิจกรรมหลักคือ เชิดชูกันเอง ให้รางวัลกันเองไปมา และคอยข่มขู่ผู้คนที่กล้าวิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบพวกเขาว่า “คุกคามสื่อ”

มีแต่พวกเขาเท่านั้นที่ดีพอ สูงส่งพอ สะอาดพอที่จะไปตรวจสอบ ชี้นิ้วประณามคนอื่นได้หมด แต่สังคมไม่มีสิทธิ์ตรวจสอบคนพวกนี้

คนพวกนี้ สังกัดกลุ่มทุนสื่อมวลชนที่ร่วมผลประโยชน์กับเผด็จการ ถูกบ่มเพาะอุดมการณ์รับใช้เผด็จการมาตั้งแต่เรียนอยู่ในคณะวิชานิเทศศาสตร์ และสื่อสารมวลชนตามมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ต่อเนื่องมาถึงในที่ทำงาน มีสถานะพิเศษในสังคมที่แยกจากประชาชนทั่วไปและไม่ถูกตรวจสอบจากสาธารณชน ทำให้คนพวกนี้เป็นอนุรักษ์นิยมถอยหลังเข้าคลอง อหังการ เป็นอำนาจนิยม มีพฤติกรรม “มือถือสาก ปากถือศีล”

สื่อมวล ชนกระแสหลักของไทยครองอำนาจทางความคิดมายาวนาน สามารถ “สร้างประเด็น กำหนดวาระทางสังคม” ในแต่ละช่วงเวลาได้ตามสถานการณ์และผลประโยชน์ของพวกเขา คนพวกนี้ทรงอำนาจอิทธิพลอย่างสูงที่แม้แต่กลุ่มอำนาจในระบบราชการ ทหารตำรวจ และนักการเมืองยังต้องเกรงใจ

ในช่วง กว่าหกปีมานี้ พวกเขามีบทบาทเป็น “เท้าที่สอง” ของพวกอันธพาลพันธมิตรฯ ร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดในการปั่นกระแสความวุ่นวาย โจมตีใส่ไคล้รัฐบาลพรรคไทยรักไทยที่มาจากการเลือกตั้ง สร้างกระแสและความชอบธรรมที่นำไปสู่รัฐประหาร 2549 โดยตรง แล้วสื่อมวลชนพวกนี้ก็เข้าไปเสวยตำแหน่ง อำนาจ ผลประโยชน์จากรัฐประหาร ทั้งในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สภาร่างรัฐธรรมนูญ วุฒิสภาสรรหา รวมถึงการได้โครงการสัญญาจ้างในสื่อฟรีทีวีและวิทยุช่องต่าง ๆ แบ่งปันกันอย่างอิ่มหมีพีมัน

คนพวกนี้ แสดงออกอย่างชัดเจนด้วยการ “เลือกข้าง” สนับสนุนรัฐประหาร สภาและรัฐบาลจากรัฐประหาร สนับสนุนกลุ่มพันธมิตรฯ และพรรคประชาธิปัตย์ ตั้งตนเป็นศัตรูกับประชาชนเสื้อแดงและพรรคการเมืองฝ่ายประชาธิปไตย ใช้สื่อสารมวลชนในมือทุกชนิดโจมตีอย่างต่อเนื่องยาวนาน ในการสังหารหมู่เมษายน-พฤษภาคม 2553 สื่อมวลชนพวกนี้ก็ช่วยกันกระพือกระแสความเกลียดชัง ส่งเสียงเชียร์อย่างกระหายเลือดให้ทหารเข้าเข่นฆ่าคนเสื้อแดงตายเป็นร้อย บาดเจ็บหลายพันคน แล้วเป็นเวลาหลายเดือนหลังจากนั้น ก็ยังตาม “กระทืบซ้ำ” คนตายด้วยการปกปิดบิดเบือนข้อเท็จจริง ขณะที่ทหารฆ่าประชาชนด้วยปืน สื่อมวลชนพวกนี้ช่วยฆ่าซ้ำด้วยปากกา นี่คือบทบาทที่คนพวกนี้ถนัด หลังจากที่กระทำสำเร็จมาแล้วหนหนึ่งเมื่อ 6 ตุลาคม 2519

แต่ฝ่ายประชาธิปไตยก็ยังสามารถชนะเลือกตั้งถึงสองครั้ง นี่จึงเป็นครั้งแรกที่สื่อมวลชนกระแสหลักประสบความพ่ายแพ้ ไม่สามารถ “สร้างประเด็น กำหนดวาระ ปั่นหัวคน” ให้คิดและเชื่อไปตามที่พวกตนต้องการเหมือนที่เคยเป็นมา

เงื่อนไข สำคัญที่ทำให้สื่อมวลชนกระแสหลัก “เสื่อม” ในครั้งนี้ก็คือ เทคโนโลยี คนพวกนี้มัวแต่หลงระเริงอยู่กับสถานะอภิสิทธิ์ชนของตน จมอยู่ในผลประโยชน์และกรอบความคิดคับแคบ บนเทคโนโลยียุคอนาล็อกอันล้าหลังที่พวกเขาควบคุมได้เบ็ดเสร็จตลอดมา ซึ่งก็คือสื่อบนกระดาษกับสื่อคลื่นในอากาศ เชื่อว่า พวกตนสามารถควบคุมความคิดของคนไทยไปได้ตลอดกาล จนลืมดูไปว่า พลังโลกาภิวัฒน์นั้นมาพร้อมกับอาวุธที่ทรงพลานุภาพอย่างยิ่งคือ “อินเตอร์เน็ตกับสื่อดิจิตอล” ที่มาถึงโดยไม่รู้ตัว ประชาชนมีทางเลือกในการแสวงหาข่าวสารข้อมูลและความคิดนอกกรอบไม่มีสิ้นสุด สื่อบนอินเตอร์เน็ตนี้เองที่กลายเป็น “กระดูกสันหลัง” ของสื่อสารทางเลือกที่มีลักษณะมวลชนอื่น ๆ คือ วิทยุโทรทัศน์อินเตอร์เน็ต วิทยุชุมชน และสถานีโทรทัศน์ดาวเทียม ไปจนถึงเคเบิ้ลท้องถิ่น

สื่อ ดิจิตอลและอินเตอร์เน็ตคือ “สื่อประชาธิปไตย” อย่างแท้จริง ที่ไม่มีใครผูกขาดควบคุม กำหนดเนื้อหาได้อีกต่อไป สื่อใหม่แห่งยุคโลกาภิวัฒน์นี้ได้ทำลายการผูกขาดข่าวสารข้อมูลของสื่อมวล ชนกระแสหลัก ยิ่งสื่อทางเลือกแผ่ขยายออกไปเท่าไร ฐานะครอบงำของสื่อมวลชนกระแสหลักของไทยก็ยิ่ง “เสื่อมทรุด” ลงไปเท่านั้น

จำนวนครัว เรือนที่เข้าถึงอินเตอร์เน็ตและสื่อทางเลือกกำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทุก นาที ทุกหมู่บ้านตั้งแต่ชานเมืองกรุงเทพไปถึงชนบททั่วประเทศ เราจะเห็นแต่จานดาวเทียมบนหลังคาบ้าน จำนวนคนที่ติดตามรายการโทรทัศน์ดาวเทียมผ่านจานดาวเทียม เคเบิลท้องถิ่น และวิทยุชุมชนนั้นมีมากกว่าคนดูฟรีทีวีและวิทยุหลักหลายเท่าตัว

ลูกค้าที่ ยังเสพย์ฟรีทีวี วิทยุและหนังสือพิมพ์กระแสหลักทุกวันนี้ มีจำนวนแคบลงไปทุกที จนกล่าวได้ว่า ฐานของสื่อกระแสหลักในวันนี้เหลือแต่คนชั้นกลางในกรุงเทพฯและหัวเมืองใหญ่ เป็นสำคัญ คนเมืองที่ยังหลงคิดว่า ตัวเองฉลาด มีการศึกษา มีข่าวสารข้อมูลครบถ้วนกว่าคนชนบท แต่กลับจำกัดตัวเองอยู่กับฟรีทีวีเพียงไม่กี่ช่องกับหนังสือพิมพ์หลักไม่กี่ ฉบับ และเชื่อทุกอย่างที่ถูกยัดเยียดมาให้ แต่คนประเภทนี้ก็กำลังลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว

ทุกวันนี้ ชาวบ้านในชานเมืองและชนบทเขาอ่านหนังสือพิมพ์หลักและดูฟรีทีวีเฉพาะละครน้ำ เน่าตอนหัวค่ำ ทอล์คโชว์ กับรายการข่าวประเภท “สัพเพเหระ” เท่านั้น เขาไม่เชื่อข่าวการเมืองจากคนพวกนี้อีกต่อไปแล้ว


การ์ตูนประกอบบทความจาก Gag

ยกฟ้อง 2 เยาวชน คดีปล้นเซ็นทรัลเวิลด์ ปี 53

ที่มา uddred






ทีมข่าว นปช.
13 กันยายน 2555


วันนี้ (13 ก.ย. 55) เวลา 10.00 น. ห้องพิจารณาคดี 6 ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ศาลนัดฟังคำพิพากษาคดีหมายเลขดำที่ อ.1504/2553 ซึ่งพนักงานอัยการฟ้องนายภาสกร (สงวนนามสกุล) และนายอัตพล (สงวนนามสกุล) จำเลยซึ่งเป็นเยาวชน ในข้อหาร่วมกันปล้นทรัพย์โดยมีและใช้อาวุธปืน, ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติตามหน้าที่, ฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เหตุเกิดที่ห้างเซ็นทรัลเวิลด์ (CTW) ในเหตุการณ์สลายการชุมนุมกลุ่ม นปช. วันที่ 19 พ.ค.53
ศาลพิพากษายกฟ้องทุกข้อกล่าวหา ยกเว้น พ.ร.ก.ฉุกเฉิน โดยศาลพิพากษาจำคุกจำเลยทั้งสองตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน 6 เดือน จำเลยให้การรับสารภาพจึงมีเหตุบรรเทาโทษกึ่งหนึ่งเหลือโทษจำคุก 3 เดือน แต่ให้รอการกำหนดโทษ 1 ปี เนื่องจากจำเลยยังเป็นเยาวชนและไม่เคยกระทำความผิดมาก่อน โดยให้มีการรายงานตัว 3 ครั้ง และบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ 72 ชั่วโมง

พิชัย รัตตกุล นัก′วาดภาพ′รุ่นลายคราม

ที่มา uddred

 มติชน 14 กันยายน 2555 >>>






กระแสทรรศน์ มติชน 14 ก.ย. 2555โดย ชยานันต์ ศุกลวณิช Chayanandl@hotmail.com


น.ส.พ. มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 27 สิงหาคม ได้ลงบทความสัมภาษณ์ "พิชัย รัตตกุล" รองประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ มีสาระสำคัญพอสรุปได้ว่า

สมัย ที่ "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" เป็นนายกรัฐมนตรี เขาเคย "วาดภาพ" จะบินไปดูไบแล้วนำ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กลับบ้าน โดยมี "นพดล ปัทมะ" ที่ปรึกษากฎหมายของ "ทักษิณ" เป็นผู้ประสานงาน เมื่อถึงเมืองไทยก็จะตรงไปที่โรงพยาบาลศิริราช เพื่อขอเข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และขอพระราชทานอภัยโทษ ถ้าเข้าเฝ้าฯ ไม่ได้ก็นำดอกไม้ทูลเกล้าฯ ถวายที่พระบรมสาทิสลักษณ์ พร้อมกับมอบหนังสือขอพระราชทานอภัยโทษให้ผู้แทนสำนักพระราชวัง แล้วเดินทางไปเรือนจำบางขวาง และจะขอให้ "อภิสิทธิ์" สั่งกรมราชทัณฑ์เตรียมห้องขังไว้ 2 ห้อง 1 ห้องให้ "ทักษิณ" 1 ห้องให้ตัวเขาเอง เพื่อการันตีว่าจะออกจากคุกในเร็ววัน

ตอนหนึ่งเขาอ้างว่าได้ปรึกษาผู้ใหญ่ 2-3 ท่านไม่กล้ายืนยัน เพราะขึ้นอยู่กับพระบรมราชวินิจฉัยของพระองค์ท่าน

อีกตอนหนึ่งเขาบอกว่ามีความมั่นใจหลังจากที่ได้คุยกับผู้ใหญ่ว่า โอกาสพระองค์ท่านทรงเมตตา ไม่ติดคุกนาน และเขาจะอยู่ในคุกด้วยจนกว่าจะได้รับพระราชทานอภัยโทษ ข้อเสนอเหล่านี้ตกลงเรียบร้อยแล้ว แต่คนที่ไม่ยอมมีคนเดียวคือ "อภิสิทธิ์" บอกไม่ได้เลยต้อง 2 ปีอย่างเดียว

การที่ "พิชัย รัตตกุล" ออกมาพูดเรื่องนี้เป็นการไม่สมควร เพราะเป็นเรื่องที่เขาเรียกเองว่า "วาดภาพ" และเป็นเรื่องเก่าที่ยังไม่เป็นรูปธรรม วันนี้ลำพังสถานการณ์การเมืองขมุกขมัวอยู่แล้วเมื่อข่าวที่ออกไปจะทำให้ สังคมเกิดความสับสนและวุ่นวายมากขึ้น

สับสนเรื่องขอพระราชทานอภัยโทษของ "พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร" เพราะทำไม่ได้ เหตุผลคือ

หนึ่ง ไม่เป็นไปตามนิติราชประเพณี

สอง ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พระธรรมนูญศาลยุติธรรม และพระราชกฤษฎีการะเบียบการถวายฎีกา

สาม ขัดต่อคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ขัดเพราะ "ทักษิณ" ต้องคำพิพากษาในคดี "ที่ดินรัชดาภิเษก" ซึ่งคดีถึงที่สุดแล้ว

และสี่ "ทักษิณ" จะต้องเป็นผู้ที่ถูกจำคุก และต้องยื่นที่เรือนจำ หรือกระทรวงยุติธรรม

การ ที่บอกว่า เมื่อถึงเมืองไทยก็จะพา "ทักษิณ" ไปที่โรงพยาบาลศิริราชเพื่อขอเข้าเฝ้าฯ และขอพระราชทานอภัยโทษนั้น มิชอบด้วยกฎหมาย และเป็นการจาบจ้วง

ถ้าไม่ได้เข้าเฝ้าฯ ก็จะตรงไปเข้าคุกที่เรือนจำบางขวางพร้อมกับ "ทักษิณ" แค่คิดก็ผิดแล้ว เพราะการที่จะ "จำคุก" นั้น ต้องมีคำพิพากษาของศาล และมีหนังสือส่งตัวนักโทษ เมื่อไม่ได้กระทำความผิดและไม่มีคำพิพากษาของศาล จะขอเข้าคุกพร้อมกับ "ทักษิณ" ในฐานะอะไร

การที่จะบอก "อภิสิทธิ์" ให้สั่งกรมราชทัณฑ์เตรียมห้องขังไว้ 2 ห้อง เพื่อเตรียมขัง "ทักษิณ" และตัวเขาเองนั้น แม้ "อภิสิทธิ์" เป็นนายกฯ ในขณะนั้น แต่ไม่มีอำนาจสั่ง

การ ที่ "พิชัย" อ้างว่าปรึกษากับผู้ใหญ่แล้ว ขึ้นอยู่กับพระบรมราชวินิจฉัย ข้อความอีกตอนหนึ่งก็บอกว่า หลังจากคุยกับผู้ใหญ่แล้ว มั่นใจว่า ไม่ติดคุกนาน ฯลฯ

เป็นคำพูดที่กำกวม อาจก่อให้เกิดความสับสน อย่างไรก็ตาม ถือเป็นการไม่สมควรที่กล่าวอ้างถึง "ผู้ใหญ่" และใช้คำว่า "พระบรมราชวินิจฉัย" เป็นการดึงสถาบันพระมหากษัตริย์ลงมาสู่การเมือง

การ ที่ "พิชัย" ต้องการให้เตรียมห้องขังพิเศษสำหรับ "ทักษิณ" นั้น เขาให้เหตุผลว่า มันเป็นไปไม่ได้ที่จะให้อดีตนายกฯมาลำบาก จึงจะให้ทำห้องขังให้สวยเรียบร้อย

เป็นความ คิดที่ทำให้เกิด "หลายมาตรฐาน" เป็นการแบ่งชั้น เป็นเรื่องอันตราย ลืมแล้วหรือไรในดีต เราเคยมี "รัฐมนตรี" ที่มียศ "พลเอก" กระทำความผิดศาลให้จำคุก และเสียชีวิตในคุก

ต่อมาเมื่อหลายปีก่อน ก็มี "อดีตรัฐมนตรี" ที่มีความผิดทางอาญา ศาลสั่งจำคุกยังไม่พ้นโทษขณะนี้อยู่ระหว่างพักโทษ และยังบวชอยู่

ทั้ง 2 ท่านล้วนได้ใช้ชีวิตในคุกแบบเดียวกับนักโทษทั่วไป ไม่มี "ห้องขังวีไอพี"

"พิชัย" ให้เหตุผลว่าต้องการให้บ้านเมืองเกิดความ "ปรองดอง"
แต่ ถ้าไปจัด "ห้องขังวีไอพี" ให้ "ทักษิณ" คนส่วนหนึ่งก็ต้องไม่ยอม การประท้วงย่อมต้องเกิดขึ้น ในที่สุดคำว่า "ปรองดอง" ของ "พิชัย" ก็คือ "ยากล่อมประสาท" ดีๆ นั่นเอง

"พิชัย" กล่าวว่า ถ้าทำอย่างที่เขาพูด ทั้ง "ทักษิณ" "พรรคเพื่อไทย" และ "อภิสิทธิ์" ก็จะได้เป็น "ฮีโร่" กันหมด แต่มองต่างมุมว่า ถ้าทำอย่างที่พูด กิตติศัพท์ที่จะได้รับมิใช่ "ฮีโร่" หากเป็น "ซีโร่" และผลที่จะได้รับก็มิใช่ "win-win" อย่างที่ฝัน หากเป็น "lose-lose"

สุดท้าย "พิชัย" กล่าวว่า "เดี๋ยวนี้เรื่องที่ "วาดภาพ" ไว้ไม่เอาแล้ว ไม่ยอมไปติดคุกด้วย เพราะเพื่อไทยเป็นรัฐบาลแล้ว "ทำให้คนที่สับสนอยู่แล้วยิ่งสับสนมากขึ้น ไม่ทราบว่าประสงค์อะไร

ความ จริง "ทักษิณ" มีสิทธิเต็มร้อยที่จะอยู่ในแผ่นดินไทยในฐานะที่เป็นคนไทย และมั่นใจว่าคนไทยยินดีให้เขากลับบ้าน เพราะ "ทักษิณ" ยังได้รับความนิยมจากคนไทยเป็นจำนวนมาก ผลจากการเลือกตั้งที่ชนะเด็ดขาดเมื่อ 3 กรกฎาคม 2554 ย่อมเป็นที่ประจักษ์ว่า ความนิยมพรรคเพื่อไทยสูง สูงเพราะความนิยมในตัว "ทักษิณ" อย่างแท้จริง

แต่ "พ.ต.ท.ทักษิณ" ต้องสะสางคดีให้เรียบร้อย และถูกต้องตามทำนองคลองธรรม ทั้งนี้รวมทั้งพรรคเพื่อไทยด้วย จะต้องทำงานนี้ให้ถูกต้อง เพราะเป็นเรื่องใหญ่

ไม่ว่าพรรคเพื่อไทย หรือบุคคลใดที่จะทำเรื่องให้ "ทักษิณ" กลับบ้าน ต้องปราศจากอคติ 4 ประการ คือ ฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ และ ภยาคติ จึงจะดูสง่างาม

การที่ "ท่านผู้เฒ่า" ออกมาให้สัมภาษณ์ในครั้งนี้ เป็นการ "เสียรังวัด" เพราะว่า

วันนี้ ท่านเป็นนักการเมืองที่อาวุโสสูงสุดในประเทศไทย การที่พูดอะไรออกไปคนส่วนใหญ่จะฟังและเชื่อ ไม่ว่าจะถูกหรือผิด เพราะอดีตเคยเป็นรองนายกรัฐมนตรีหลายสมัย และรัฐมนตรีอีกหลายกระทรวง คำพูดมีอิทธิพลต่อผู้ฟัง เพราะเป็นความเชื่อของเรื่อง "แบรนด์" อันอาจเป็นเหตุให้ผู้ฟังสับสน และไม่เป็นประโยชน์ต่อบ้านเมืองด้วย เรื่องที่พูดถึงนั้นเป็นเพียงการ "วาดภาพ" ส่วนหนึ่งอ้างว่าได้ทำ อีกส่วนหนึ่งอ้างว่าเสียใจที่ไม่ได้รับความร่วมมือจาก "นพดลบริการ"

ที่ สำคัญคือ "ท่านผู้เฒ่า" วัย 87 ซึ่งย่างเข้าปัจฉิมวัยไปนานแล้ว เข้าขั้นที่ฝรั่งเรียกว่า "senility" ไม่ว่าจะเป็นการพูด หรือการกระทำ โอกาสผิดพลาดสูง เช่น

"เหมา เจ๋อ ตง" ประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีนในวัยชรา ไม่ว่าการพูดจา การสั่งงาน หรือความคิดเห็นทางการเมืองมีความผิดพลาดและมีโทษมหันต์ ทำให้ชีวิตคนจีนทั่วประเทศต้องตกอยู่ในสภาพที่ "อัตคัด"เป็นความอัตคัดที่เกิดจากการปฏิวัติทางวัฒนธรรม เพราะเกิดการตัดสินใจผิดพลาดของ "เหมา" คนจีนต้องใช้ชีวิตใน "ยามยาก" ถึง 10 ปี เป็นยามยากที่คนจีนเรียกกันว่า "มหันตภัย"
ก็ เพราะ "เหมา" ย่างเข้าปัจฉิมวัย ความจำบกพร่องความคิดเลอะเลือน ซึ่งเกิดจากความชราความแก่หง่อม ทั้งที่ขณะนั้นอายุของ "เหมา" ยังน้อยกว่า "พิชัย" ในขณะนี้ (มิได้หมายความว่าคนที่ย่างเข้าวัยชราจะมีอาการเช่นว่าทุกคนเสมอไป)

ฉะนั้น "ท่านผู้เฒ่า" ควรจะปลีกวิเวก ธำรงไว้ซึ่งความเป็น "ปูชนียบุคคล" หรืออย่างที่ "มติชน" ตั้งให้คือ "ปูชนียประชาธิปัตย์" เป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดในยามนี้ และดูมีราคา

Thursday, September 13, 2012

รัฐบาลอยู่ยาว ประชาธิปไตยไปทางไหน

ที่มา Voice TV

 ใบตองแห้ง Baitonghaeng



ใบตองแห้ง Baitonghaeng

VoiceTV Staff

Bio

คอลัมนิสต์อิสระ


มองให้ทะลุกระแสโจมตีรัฐบาลรายวัน ทั้งที่มีเหตุผล และไม่มีสติ เบื้องหลังก็คือรัฐบาลกำลังจะอยู่ยาว ทำให้ฝ่ายค้านฝ่ายแค้นมีอาการคลุ้มคลั่ง สิ้นหวัง

การโจมตีที่มีเหตุผล (แต่กระพือจนใหญ่โต) ก็เช่น “White Lie” หรือนโยบายจำนำข้าว มีเหตุผลเพราะมีปัญหาจริง แต่ยังไม่ใช่ประเด็นที่จะล้มรัฐบาลได้

การโจมตีที่ไร้สติก็เช่น แค่ทดสอบระบายน้ำ สื่อ สลิ่ม แมลงสาบ คุณชาย วี้ดว้ายกระตู้วู้ ทำเป็นวิตกอกสั่น อ้างคนกรุงหวั่นผวา ล่องเรือหาตะเข็บ ถามว่าถ้าพ้นวันที่ 7 ไม่มีอะไรในกอไผ่ จะเอาน้ำลายยัดปากตัวเองไหม

พูดอย่างนี้เดี๋ยวหาว่าผมเข้าข้างรัฐบาลตะพึดตะพือ ความจริงก็เข้าข้าง ฮิฮิ แต่ถ้าเรามองเชิงยุทธวิธีทางการเมือง การโถมสุดตัวไปปั่นกระแสในเรื่องแค่นี้ มันไม่คุ้มนะครับ สำหรับพรรคเก่าแก่ 60 กว่าปี

คือคุณอยู่เฉยๆ แค่แสดงความเห็นแต่พองาม ถ้ารัฐบาลทดสอบแล้วผิดพลาด น้ำท่วมฉิบหาย รัฐบาลก็เจ๊งเองแหละ ค่อยกระทืบซ้ำยังไม่สาย ถ้าเขาทดสอบแล้วผ่านไปด้วยดี ได้ผล คุณก็เสมอตัว ไม่เสียอะไร ทำไมต้องออกมาตีปี๊บ ทำเรื่องเล็กเป็นเรื่องใหญ่ เปรียบเหมือนแทงหวย ถ้ารัฐบาลเจ๊งก็ถูกหวย แต่ถ้าเขาทดสอบได้ผลดี ไม่กลัวหน้าแหกหรือ

อาการฟาดงวงฟาดงาของฝ่ายแค้นและสื่อยังระบายออกที่การแต่งตั้งโยกย้ายข้า ราชการ ซึ่งแน่นอนว่ามีปัญหาความชอบธรรม มีการผลักดันคนของฝ่ายการเมืองอย่างไม่เหมาะสมในหลายตำแหน่ง แต่พวกเขาจ้องเล่นเฉพาะจุดที่เอามาขยายผลได้ เช่น เล่นเรื่องความขัดแย้งระหว่าง รมว.กลาโหม กับปลัดกลาโหม ทั้งที่รู้ว่า “แตงโม” ด้วยกัน แต่สื่อและฝ่ายค้านไม่พูดถึงอดีต (ไม่ใช่ไม่ทำการบ้าน แต่จงใจ) ไม่ย้อนปูมหลังว่าปลัดคนนี้ก็รัฐบาลนี้แหละตั้งมา หวังจะกระพือให้เป็นความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกับกองทัพ แต่กองทัพไม่เล่นด้วย ตอนนี้ก็ไปฝากความหวังศาลปกครอง

เช่นเดียวกับการย้ายเลขา ปปท. ซึ่งตีปี๊บว่าเพราะเปิดโปงทุจริตงบน้ำท่วมภาคอีสาน ก็จงใจไม่กล่าวถึงปูมหลังว่า เมื่อปีที่แล้วตอน พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก เอา พ.ต.อ.ดุษฎี อารยวุฒิ มาดำรงตำแหน่ง ก็สื่อนี่แหละหาว่าเป็น “เด็กรับใช้ในบ้านเจ้ามูลเมือง” (ปอกเปลือก"3 เกลอ"ยุติธรรม “ทวี-สุชาติ-ดุษฎี” เด็กรับใช้ในบ้าน “เจ้ามูลเมือง”http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9540000118342)

ผมก็ไม่ทราบว่า พ.ต.อ.ดุษฎีขัดแย้งกับ พล.ต.อ.ประชาและรัฐบาลหรือไม่ ด้วยเรื่องอะไร ทำไมจึงถูกย้าย แต่แทนที่สื่อจะสนใจหาความจริง สื่อกลับตีปี๊ปว่าเป็นเพราะเปิดโปงทุจริต ชู พ.ต.อ.ดุษฎีเป็นพระเอก รัฐบาลเป็นผู้ร้าย ภาคีเครือข่ายต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่นของชาติ (ภตช.) อีกคราบหนึ่งของพันธมิตร นำโดยนายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์  รีบโผล่ไป ปปท.ให้สัมภาษณ์เป็นตุเป็นตะ ยังกะเป็นเลขา ปปท.เสียเอง

ที่ผ่านมา พ.ต.อ.ดุษฎีก็มีผลงาน ที่เข้าเนื้อทั้งรัฐบาลและฝ่ายค้าน เรื่องทุจริตงบน้ำท่วมผมก็เชื่อว่ามีจริง (แต่คงไม่เว่อร์ขนาดมงคลกิตต์ ณ ร.ร.บดินทร์ ตีปี๊บ) อ่านทางข่าวแล้วมันไม่ใช่การย้ายเพราะเปิดโปงเรื่องนี้ เพราะ พ.ต.อ.ดุษฎีเพิ่งแถลงข่าววันศุกร์ ออกข่าววันเสาร์ พร้อมกับให้สัมภาษณ์พิเศษสื่อบางฉบับ ถัดมาวันอาทิตย์ก็มีข่าว “เด้ง”

ประชาอ่านข่าววันเสาร์แล้วเด้งทันทีหรือครับ มองมุมกลับ คนในน่าจะรู้กันมาช่วงหนึ่งแล้ว เป็นไปได้ไหมที่ พ.ต.อ.ดุษฎีรู้ว่าตัวเองจะโดนเด้งจึงชิงแถลงข่าว ผมไม่ได้บอกว่าใครถูกใครผิด แต่กังขาว่ามีเรื่องลึกกว่างบน้ำท่วม ซึ่งไม่มีใครสนใจหาความจริง สนใจแต่จะโฉบฉวยมาเป็นประเด็นโจมตีรัฐบาล

ที่ยกมาเป็นแค่ตัวอย่างเพราะยังมีสารพัดเรื่อง แต่ให้สังเกตว่าจุดไม่ติด สร้างกระแสได้ไม่ต่อเนื่อง โดนข่าวดรามาหนูพลอยหนีภาษี ดรามาเฟอร์รารี “เป้าหมายมีไว้พุ่งชน” หรือกระทั่งข่าวควายเผือกบุญมา กินพื้นที่ไปเป็นระยะๆ

อันที่จริงก็ไม่แปลกอะไร ฝ่ายค้านฝ่ายแค้นถล่มรัฐบาลตั้งแต่ยังไม่คลอดแล้ว เพียงแต่การโจมตีรัฐบาลตอนนี้ไม่เหมือนตอนตั้งใหม่ๆ ตอนนั้นพวกแมลงสาบ สลิ่ม เสื้อเหลือง และสื่อ ยังมีความหวังว่าจะล้มรัฐบาลได้ ในเวลาซัก 1 ปี หมอดูหมอเดาเต้าเป็นตุเป็นตะ แต่น้ำท่วมใหญ่ก็แล้ว ทั้งที่ “เอาไม่อยู่” ศาลรัฐธรรมนูญก็แล้ว ทั้งที่ดูเหมือนพรรคเพื่อไทยแพ้ สถานการณ์กลับคลี่คลายไปในทางที่ว่า รัฐบาลจะอยู่ได้ยาว ไม่ล้มง่ายเว้นแต่จะมีจุดเปลี่ยนอะไรที่สำคัญ

การโจมตีรัฐบาลในช่วงนี้จึงเต็มไปด้วยอารมณ์สิ้นหวัง คั่งแค้น ดิ้นพล่าน ทุรนทุราย น้ำตาตกในหัวอก ความรู้สึกสลิ่มคงเหมือนพวก “ผู้ดี” หลัง 2475 ที่ผู้ดีเดินตรอก ขี้ครอกเดินถนน มองไปข้างหน้าเห็นแต่ความมืดมน ไม่เห็นอนาคต เพราะอนาคตของศูนย์กลางอำนาจฝ่ายอำมาตย์ก็ไม่แน่นอน

กลับสู่ระบอบรัฐสภา

ผมเขียนและพูดมาระยะหนึ่งแล้วว่า รัฐบาลนี้อยู่ยาว ทุกฝ่ายก็มองเห็น

หลังวิกฤติศาลรัฐธรรมนูญ แม้กระแสสังคมพึงพอใจที่ศาลยับยั้งการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เกรงกันว่าจะนำไป สู่วิกฤติรอบใหม่ แต่อีกด้านของปรากฏการณ์ก็สะท้อนเช่นกันว่า กระแสสังคมไม่อยากเห็นการล้มรัฐบาลด้วยรัฐประหารหรือตุลาการภิวัตน์อีกแล้ว เพราะเกรงจะเกิดวิกฤติรอบใหม่เช่นกัน ไม่มีใครอยากเห็นศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคเพื่อไทยให้ประชาธิปัตย์ขึ้นมาเป็น รัฐบาล แล้วเสื้อแดงลุกฮือ ยึดกรุงเทพฯ ยึดราชประสงค์อีก

รัฐบาลจะได้คะแนนเท่าไหร่ก็ตาม แต่ตราบใดที่ไม่มีทางเลือกที่ดีกว่า สังคมไทยก็ยังอยากให้รัฐบาลนี้บริหารต่อไป จนกว่าจะเลือกตั้งใหม่ หรือจนกว่าจะเกิดวิกฤติอย่างหนึ่งอย่างใดที่ไปไม่รอดจริงๆ (ซึ่งยังมองไม่เห็น)

นี่คือสภาพที่น่าตลกว่า สังคมไทยเริ่มกลับมายอมรับ “ประชาธิปไตยปกติ” ทั้งที่ยังไม่ได้แก้ไขปัญหาโครงสร้าง ยังไม่ได้แก้ไขรัฐธรรมนูญ การเมืองกลับมาสู่การต่อสู้ช่วงชิงคะแนนนิยมกันตามวิถี เหมือนก่อนปี 49 แม้จะยังเว่อร์ ยังไร้สติ ยังดราม่ากันมากมาย แต่ก็ไม่ใช่การเมืองที่จะโค่นล้มรัฐบาลได้

ต่อให้กิตติรัตน์ ณ ระนอง White Lie ซักกี่รอบ อย่างเก่งก็ปรับ ครม.เอากิตติรัตน์ออก ถ้าจำนำข้าวมีปัญหา ก็ปรับบุญทรง เตรยาภิรมย์ออก แต่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ยังอยู่ได้ แม้อาจจะอยู่แบบแย่ๆ คะแนนคาบเส้น หรือคะแนนตกเส้นนิดหน่อย แต่สังคมไม่มีทางเลือก เพราะถึงอย่างไร รัฐบาลก็ยังมีเสียงข้างมากตามระบอบประชาธิปไตย ทั้งในสภา และในผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ต้องให้รัฐบาลเสื่อมคะแนนนิยมจากฐานเสียงตัวเอง ซึ่งยากส์เข้าไปใหญ่ เพราะต่อให้เสื่อมขนาดไหน คนเลือกพรรคเพื่อไทยก็คงไม่กลับไปเลือกพรรคประชาธิปัตย์ ผู้ตีตั๋วแพ้ตลอดชีพ ไม่สามารถสลัดประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมทางการเมือง และหนี้เลือดพฤษภา 53

พูดอีกอย่างคือ สังคมไทยจำต้องกลับมายอมรับระบอบรัฐสภา ถ้าจะเปลี่ยนแปลง ก็ให้เป็นไปตามระบอบรัฐสภา เพื่อที่จะไม่เกิดความปั่นป่วนวุ่นวาย ต่อให้ถึงทางตันแค่ไหน ก็เข็ดแล้ว ไม่อยากเห็นรัฐประหาร ไม่อยากเห็นพันธมิตรหรือเสื้อแดงยึดทำเนียบ ยึดสนามบิน ยึดราชประสงค์อีก

ความจำเป็นต้องยอมรับ “ประชาธิปไตย(เกือบ)ปกติ” นี้มีขึ้นทั้งที่กลไกอำมาตย์ ตุลาการภิวัตน์ ตามรัฐธรรมนูญ 2550 ยังมีอำนาจอยู่ แต่พวกเขาก็ไม่กล้าใช้อำนาจจนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล อย่างเก่งก็จะใช้อำนาจศาลในบางเรื่องที่สามารถโน้มน้าวกระแสสังคมได้ ต่อไปก็อาจใช้อำนาจถอดถอนรัฐมนตรีหรือ ส.ส.บางคน

ความไม่แน่นอนในศูนย์กลางอำนาจของฝ่ายอำมาตย์ ยังทำให้พวกเขารวนเร ทำได้แค่เป็นฝ่ายตั้งรับ ประยุทธ์ จันทร์โอชา ทำได้แค่ปกป้องโผทหารในโควต้าของตัว เอาตัวให้รอดจากการไล่บี้ “สไนเปอร์” ไม่กล้าแข็งกร้าว ต่อต้านอำนาจรัฐบาล อำนาจทหารซึ่งเคยเหนียวแน่นผูกขาดแค่ “บูรพาพยัคฆ์” ก็เริ่มสลายคลายตัว เมื่อมองเห็นว่ารัฐบาลอยู่ยาว ทหารและข้าราชการที่อยู่ห่างศูนย์อำนาจหน่อย ก็จะเริ่มวิ่งเข้าหารัฐบาล หรืออย่างน้อยก็เหยียบสองขา

รัฐบาลก็อ่านเกมขาด ตราบใดที่ยังไม่รุกแก้รัฐธรรมนูญ ยังไม่ดัน พรบ.ปรองดอง ก็ประคองตัวไปได้เรื่อยๆ แค่อย่าให้มีเรื่องฉาวโฉ่นัก ทักษิณก็ไม่จำเป็นต้องรีบกลับบ้าน เพราะเดินทางไปได้ทั่วโลกแล้ว สนุกสนานกับระบอบ 2 นายกฯ คือยิ่งลักษณ์บริหารภายใน ทักษิณเดินสายอยู่ข้างนอก ว่างๆ ก็แวะมาฮ่องกง เมืองจีน เขมร ให้นักการเมือง ข้าราชการ วิ่งไปพบ

“เราต้องทนหน่อย บางครั้งต้องทน นักสู้บางคนบอกใส่ไปเลย ผมว่ามันง่าย ได้สะใจ แต่ไม่ได้ผล เราเดินหน้าวันนี้ต้องเดินเอาผล ไม่ได้เดินเอาสะใจ เป็นรัฐบาลต้องใช้ไม้นิ่ม เป็นฝ่ายค้านต้องใช้ไม้แข็ง แต่ว่าเราเป็นรัฐบาลไปใช้ไม้แข็งก็เท่ากับว่าเราเป็นฝ่ายค้าน จะไปเป็นทำไมเราเป็นรัฐบาลอยู่แล้ว”

ทักษิณให้สัมภาษณ์สำนักข่าวอิศราที่ซานฟรานฯ ชี้ยุทธศาสตร์ของรัฐบาลไว้ตั้งแต่ต้นเดือนที่แล้ว โดยพูดชัดว่าไม่เดือดร้อนกับการบินไปบินมา

“กฎหมายปรองดองถามว่าจะถอนไหม ก็ถอนทำไม ก็คาไว้อย่างนั้น เขาจะได้มายืนเฝ้าทั้งวันทั้งคืน แต่ถ้าเผลอโหวตเลย จะได้ขยันหน่อย เพราะเขาไม่มีงานทำอยู่แล้วนี่ อันนี้ก็คือสรุปว่า ไม่มีการถอน แต่ถามว่าจะดันไหม สบายๆ ไม่รีบไม่ร้อน”

แน่นอน ทักษิณ พรรคเพื่อไทย รัฐบาล ไม่รีบไม่ร้อนแก้ปัญหาโครงสร้างประชาธิปไตยเช่นกัน เพราะสามารถเล่นเกมอำนาจแบบนักการเมือง “กระชับพื้นที่” ในระบบราชการ โยกย้ายคนของตนไปคุมตำแหน่งต่างๆ รวมทั้งฟื้นเครือข่ายเส้นสายกลุ่มทุน

ทักษิณรู้ดีว่าโครงสร้างนี้เป็นอันตรายต่ออำนาจนักการเมือง ทั้งจำเป็นต้องปลดล็อก “ตุลาการภิวัตน์” จึงกลับบ้านได้ แต่ในระยะนี้เมื่อยังไม่สามารถใช้ “ไม้แข็ง” ก็ “เอาผล” ก่อน ในขณะที่กระชับอำนาจ ก็อาจเจรจา ต่อรอง ฮั้ว เกี้ยเซี้ย บางประเด็น นี่ไม่ใช่เรื่องแปลกอีกเช่นกัน (แต่เป็นไปไม่ได้ที่จะฮั้วแล้วจบกันง่ายๆ เพราะความขัดแย้งบานปลายมีผู้คนมากมายแยกขั้วแยกข้างกันไปสองฝ่าย ไม่ใช่เฉพาะแดง ที่มีทั้งแดง นปช. แดงอุดมการณ์ หรือกลุ่มก๊วนการเมือง อีกฝ่ายก็มีความหลากหลายและเป็นอิสระต่อกัน)

ถามว่ารัฐบาลจะอยู่ยาวไหม เป็นไปได้ที่จะอยู่ครบเทอมอีก 3 ปี เป็นไปได้ที่ครบเทอมแล้วชนะเลือกตั้งกลับมาอีก 4 ปี และเป็นไปได้ที่อาจจะแค่ปีหน้า ขึ้นกับ “จุดเปลี่ยน” ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งจุดเปลี่ยนสำคัญของประเทศ หรือรัฐบาลสะดุดขาตัวเอง สมมติน้ำท่วมใหญ่อีกรอบ สมมติเศรษฐกิจโลกย่อยยับ เศรษฐกิจไทยพังพินาศ (ลองช่วยกันคิดอะไรที่มันเว่อร์ๆ)

ที่แน่ๆ ถ้าไม่ใช่เรื่องใหญ่โตจริงๆ รัฐบาลจะอยู่ยาว แม้อยู่แบบแย่ๆ ในบางช่วง แต่เมื่อสังคมยอมรับระบอบรัฐสภาเสียแล้ว และพรรคเพื่อไทยไม่มีคู่แข่งในระบอบรัฐสภา ปชป.ไม่กล้าปรับเปลี่ยน (ซึ่งต้องพลิกวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ วิธีเล่นการเมือง ขอโทษประชาชน ฯลฯ ไม่ใช่แค่เปลี่ยนหัวหน้าพรรค) เพราะการเปลี่ยนเท่ากับเสี่ยงเสียฐานเดิม (สลิ่ม) โดยไม่รู้ว่าจะหาฐานเสียงใหม่ได้ที่ไหน ส่วนจะหาผู้นำใหม่ พรรคใหม่ แบบทักษิณเมื่อปี 44 น่ะหรือ ก็ยังไม่เห็นตัว และสถานการณ์ยังไม่เปิดโอกาส

บางคนอาจตั้งความหวังว่าจะมี “มหัศจรรย์โอบามา” คือเมื่อปี 2006 โอบามายังเป็นวุ้นอยู่เลย อยู่ๆ ก็โผล่พรวดเป็นประธานาธิบดีในปี 2008 แต่เมืองไทยจะหาใครได้อย่างนั้น

นักประชาธิปไตยอึดอัด
สลิ่มคลั่ง

สถานการณ์เช่นนี้ทำให้นักคิดนักวิชาการประชาธิปไตย หรือแดงอุดมการณ์ทั้งหลาย อยู่ในสภาพอึดอัด เพราะรัฐบาลไม่เดินหน้าแก้รัฐธรรมนูญ ล้างโครงสร้างอำมาตย์ สนุกกับการใช้อำนาจล้วงเอาแทน ด้านหนึ่งก็เป็นประโยชน์กับประชาธิปไตยแต่อีกด้านหนึ่งก็ได้ผลประโยชน์เข้า ตัว

อ.นิธิ เอียวศรีวงศ์ เขียนไว้ในมติชนล่าสุด “อนาคตทางการเมืองของคนเสื้อแดง” สรุปว่าทางเลือกทั้ง 3 ทางล้วนเป็นไปได้ยาก 2 ทางแรกคือหันไปสนับสนุนพรรคอื่น กับตั้งพรรคของตัวเอง ตัดไปได้เลย ส่วนที่บอกให้หาทางควบคุมทิศทางของพรรคเพื่อไทยให้ได้มากขึ้น ผมก็ว่ายาก

ตั้งพรรคของตัวเองอาจทำได้ครับถ้าถึงเวลาเลือกตั้ง แกนนำอุดมการณ์ซัก 4-5 คน ตั้งพรรคสมัครปาร์ตี้ลิสต์อย่างเดียวแบบพรรคชูวิทย์ ส.ส.เขตให้มวลชนเลือกเพื่อไทยไป แต่ก็นั่นแหละ คงได้มา 4-5 คน ไม่มีผลมาก

ควบคุมทิศทางพรรคเพื่อไทย ก็มองไม่ค่อยเห็น ผมเห็นแต่พรรคเพื่อไทยควบคุมแกนนำ นปช. คือเมื่อรัฐบาลอยู่ยาว นปช.ก็จะมีภารกิจเพียงจัดงานครบรอบปี เมษา-พฤษภา 53 กับติดตามคดีในศาล (ซึ่งก็จะเป็นกระแสเป็นพักๆ) หรือถ้าอำมาตย์ทำท่าคุกคามหน่อย จตุพรก็จะออกมาตีปี๊บ “รัฐประหาร” เรียกมวลชนชุมนุมต้าน

พูดให้ถูกคือว่าที่รัฐมนตรีจตุพร เพราะนับจากนี้แกนนำ นปช.จะสลับกันรับตำแหน่ง

อย่างไรก็ดี ในความอึดอัด ผมคิดว่านักประชาธิปไตยส่วนใหญ่ก็เข้าใจสภาพ รู้ดีว่าเอาความสะใจไม่ได้ ต้องค่อยๆ สู้กันไปทีละขั้น เราอยากให้รัฐบาลรุก แต่รุกแล้วได้เปรียบไหม ต้องใคร่ครวญทั้งสองด้าน

การมองขั้นตอนทางยุทธศาสตร์ยุทธวิธีแต่ละขั้น อาจแตกต่างกันได้หลากหลาย เช่นมองย้อนหลังไปเรื่องการโหวตรับร่างรัฐธรรมนูญวาระ 3 นักคิดนักประชาธิปไตยยืนยันว่าต้องโหวต ต้องชน อย่างน้อยก็ต้องลงมติไม่รับคำสั่งศาล ผมก็ยังยืนยันอยู่นะ เพราะผมเห็นว่าในสถานการณ์ที่กล่าวมา ยังไงก็ไม่นำไปสู่การแตกหัก ยุบพรรค แต่รัฐบาลก็มองอีกแบบ คือมองในเชิงถอยก่อน ปล่อยให้ตุลาการเป็นฝ่ายรุก แล้วถูกกระแสสังคมกดดัน

ใครถูกใครผิดก็ตอบยาก แต่ที่แน่ๆ คือ อย่าไปพะวงกับมัน เมื่อเห็นว่าอะไรถูกต้องก็ต้องต่อสู้ ยืนหยัดอยู่ในจุดยืนที่เป็นอิสระ เป็นธรรมชาติของตน

ในความอึดอัด ผมคิดว่าด้านหนึ่งนักประชาธิปไตยก็พึงพอใจกับสภาพที่เป็นอยู่ คืออย่างน้อยเรามีเสรีภาพที่จะแสดงความคิดเห็นโดยอิสระ เผยแพร่ความคิด อุดมการณ์ ที่มีเหตุผล ได้มากกว่ายุคสมัยของ คมช.หรือประชาธิปัตย์ โดยนอกจากวิจารณ์อำมาตย์ แมลงสาบ สลิ่ม สื่อ พันธมิตร เรายังวิจารณ์ทักษิณ พรรคเพื่อไทย หรือแม้แต่ นปช.ได้ด้วย

เพราะในสภาพที่การเมืองนิ่งชั่วคราว และแกนนำ นปช.เข้าไปรับตำแหน่งต่างๆ มวลชนที่มีอุดมการณ์ มีความคิดของตนเอง จะหันมาฟังเหตุผลของนักคิดนักวิชาการประชาธิปไตยมากขึ้น นี่ไม่ได้ยุให้ช่วงชิงการนำนะครับ เพราะนักคิดนักวิชาการไม่สามารถเป็นผู้นำม็อบอยู่แล้ว แต่การมีบทบาทด้านปัญญาความคิดจะช่วยให้ขบวนการมวลชนเข้มแข็งหลากหลายขึ้น

ท่าทีของนักประชาธิปไตยต่อสถานการณ์นี้ ผมคิดว่ามีสองด้าน คือหนึ่ง “สุขกันเถอะเรา” หมายถึงมีความสุขที่เห็นความทุกข์ของผู้อื่น (ฮา) อันได้แก่ แมลงสาบ สลิ่ม พันธมิตร และพึงพอใจระดับหนึ่งกับสภาพที่เป็นอยู่ ที่มีเสรีภาพค่อนข้างจะเต็มที่

สองคือ รณรงค์ทางความคิดอย่างอิสระ ทำความเข้าใจสถานการณ์ แต่ไม่ต้องผูกติดกับยุทธศาสตร์ยุทธวิธีของรัฐบาล ก็เหมือนอย่างที่รณรงค์แก้ไข ม.112 ซึ่งส่งผลสะเทือนทั้งด้านกว้างและเชิงลึก แม้รัฐบาลไม่เอาด้วย

แน่นอนว่าเมื่อรัฐบาลอยู่ได้เช่นนี้ ก็ไม่พยายามแก้รัฐธรรมนูญ ขณะที่สังคมก็ยังไม่อยากเห็นการปะทะกัน แต่นักวิชาการเช่นนิติราษฎร์ก็สามารถเสนอแนวคิดใหม่ในการแก้รัฐธรรมนูญทั้ง ฉบับได้ ให้เข้าถึงผู้คนวงกว้าง นักคิดนักเคลื่อนไหวส่วนอื่นๆ ก็อาจเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรา ว่าจะเอาส่วนไหนก่อน

การรณรงค์ทางความคิดฟังเหมือนบอกให้พูดเรื่อยเปื่อย แต่ความจริงไม่ใช่ เพราะขั้นตอนทางยุทธศาสตร์ของการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ขั้นนี้น่าจะเป็นการตีตื้นไล่ชิงพื้นที่ โดยความคิดเสรีประชาธิปไตย ไล่ชิงพื้นที่ความคิดจารีตนิยมไม่เอาประชาธิปไตย ความคิดจารีตนิยมอาจมีอิทธิพลกว้างขวาง แต่ถ้าเฉพาะเจาะจง ก็คือต้อง “ล้อมปราบ” ความคิดสุดขั้วสุดโต่งของพวกสลิ่มและพันธมิตร ให้เป็นพวกที่สังคมไม่ยอมรับ

การยืนหยัดความคิดอิสระ รวมทั้งการตรวจสอบรัฐบาล ในพฤติกรรมที่เราไม่เห็นด้วย (อย่างที่ อ.นิธิยกตัวอย่าง “หลอง ซีดี” นักคิดนักเคลื่อนไหวฝ่ายประชาธิปไตยควรมีบทบาทเรียกร้องให้พรรคเพื่อไทยลง โทษ เพราะเปล่าประโยชน์ที่จะอุ้มกัน ปปช.เขาเล่นแน่) มีความสำคัญในแง่ที่ยังไม่มีใครรู้ว่า สถานการณ์ที่รัฐบาลอยู่ยาว แต่ไม่เสถียร นี้จะจบลงเมื่อไหร่ จบอย่างไร “จุดเปลี่ยน” อยู่ตรงไหน

ผมเชื่อว่าเมื่อถึงจุดนั้น การแยกขั้วในสังคมไทยจะเปลี่ยนแปรไประดับหนึ่ง แม้ไม่ใช่เปลี่ยนตาลปัตรเป็นนิยาย แบบ “เหลืองแดงรวมกันได้” หรือ “แดงอุดมการณ์แตกหักทักษิณ” (เพ้อเจ้อทั้งสองแบบ) แต่มันอาจจะมีการแยกย่อยหลากหลายขึ้น มีความผันแปร มีความแตกต่าง มีความชัดเจนขึ้นในแต่ละกลุ่ม โดยนักประชาธิปไตยจะต้องช่วงชิงเป็นผู้นำความคิดใหม่ที่มีอิทธิพลต่อสังคม และคนรุ่นใหม่ให้มากที่สุด

                                                                                    ใบตองแห้ง
                                                                                    6 ก.ย.55
.......................................



6 กันยายน 2555 เวลา 17:36 น.

เพรียวพันธ์ลงใต้ตรวจสุไหงโกลกหลังเหตุคาร์บอม 3 จุด

ที่มา Voice TV

 เพรียวพันธ์ลงใต้ตรวจสุไหลโกลกหลังเหตุคาร์บอม 3 จุด


ผบ.ตร.เดินทางลงพื้นที่ อ.สุไหงโก-ลก เพื่อติดตามผลการสืบสวนสอบสวนในคดีลอบวางระเบิดคาร์บอมบ์และจักรยานยนต์บอมบ์

พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เดินทางลงพื้นที่ อ.สุไหงโก-ลก เพื่อติดตามผลการสืบสวนสอบสวนในคดีลอบวางระเบิดคาร์บอมบ์และจักรยานยนต์ บอมบ์ 3  จุดในพื้นที่ อ.สุไหงโก-ลกและร่วมหารือกับข้าราชการตำรวจชั้นผู้ใหญ่ในพื้นที่ กำหนดนโยบายในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ความไม่สงบ รวมถึงการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด และสิ่งผิดกฎหมาย ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ระบุว่า ขณะนี้มีความคืบหน้าของคดีมากแล้ว โดยมีความชัดเจนของกลุ่มผู้ก่อเหตุที่มีความเชื่อมโยงกับปัญหายาเสพติดใน พื้นที่ และขณะนี้อยู่ระหว่างการเตรียมออกหมายจับผู้ต้องสงสัยที่เกี่ยวพันกันหลายคน

ทั้งนี้ ขอเวลาให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานอย่างรอบคอบและรัดกุม เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบของกฎหมาย พร้อมย้ำว่า ปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดจะต้องมีการปราบปรามอย่างจริงจัง และเห็นผลสัมฤทธิ์ที่ชัดเจน เพื่อตัดวงจรของเครือข่ายผู้มีอิทธิพลที่เกี่ยวข้องกับการสนับสนุนการสร้าง สถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่

Source : news center/thannews/AFP
18 กันยายน 2554 เวลา 12:05 น.

แกนนำ RKK มือวางระเบิดใต้ตัวฉกาจเสียชีวิตที่มาเลย์

ที่มา Voice TV

 แกนนำ RKK มือวางระเบิดใต้ตัวฉกาจเสียชีวิตที่มาเลย์

 

แกนนำอาร์เคเค มือวางระเบิดภาคใต้ จบชีวิตที่มาเลเซีย

มีข้อมูลรายงานว่า นายโรสลาน กูบารู อายุ 28 ปี ซึ่งเป็นแกนนำคนสำคัญของกลุ่มอาร์เคเค ได้เสียชีวิตลงแล้วด้วยโรคประจำตัว ในบ้านพักหมู่บ้านบูเก๊ะอาบู อ.ตะเนาะแมเราะ รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 10 ก.ย.ที่ผ่านมา

ทั้งนี้ นายโรสลาน เป็นผู้ต้องหาตามหมายจับ ในคดีลอบวางระเบิดร้านน้ำชา เขตเทศบาล ต.ปะลุรู อ.สุไหงปาดี เมื่อวันที่ 20 ส.ค.2548 และคดีลอบวางระเบิดหน้า สภ.สุไหงโก-ลก เมื่อวันที่ 21 ส.ค.2551 รวมถึง คดีลอบวางระเบิดในเขตท้องที่ อ.สุไหงปาดี และ อ.สุไหงโก-ลก อีกด้วย


Source : INNnews / Matichon (image)
13 กันยายน 2555 เวลา 08:30 น.

อีเมล์หยดน้ำ: หลิ่มหลีเขียนจดหมายถึงนักโทษการเมือง

ที่มา ประชาไท

 

จดหมายพูดคุยกับผู้ต้องขังโครงการส่งอีเมล์เพื่อให้กำลังใจนักโทษการเมืองของ "หนุ่ม เรดนนท์"
หนุ่ม เรดนนท์ หนึ่งในผู้ต้องขังคดีมาตรา 112 ก่อตั้งโครงการร่วมส่งอีเมลเพื่อให้กำลังใจนักโทษการเมือง เขาเคยบอกว่าการสื่อสารจากคนภายนอกนั้นเป็นเสมือนหยดน้ำที่ทำให้พวกเขามี กำลังใจ กระทั่งมีชีวิตอยู่ต่อไปได้ ไม่ว่ามันจะมาในรูปแบบการมาเยี่ยม จดหมาย โปสการ์ด หรือกระทั่งอีเมล และเพื่อเพิ่มความสะดวกให้แก่ผู้ที่อยากส่งกำลังใจแต่ไม่สามารถไปเยี่ยมได้ ไม่มีตังค์ ไม่มีเวลา ไม่มีฯลฯ  เพียง “คลิ๊ก” เดียวข้อความของท่านก็จะไปถึงพวกเขา โดยผ่านอีเมลที่ทีมงานจะปริ๊นท์นำไปส่งตรงให้ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ และ/หรือ เรือนจำใหม่หลักสี่
อัน ที่จริงเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ก็มีอีเมลที่ให้ญาติมิตรพี่น้องของผู้ต้องขังส่งหาได้ แต่เหตุที่หนุ่ม เรดนนท์ ไม่แนะนำช่องทางนั้นก็เพราะเกรงว่าอาจมีการกลั่นแกล้ง หรือป่วนระบบอีเมลกลางของเรือนจำ
ผู้สนใจสามารถส่งอีเมลมาได้ที่   freedom4pp@gmail.com    (PP ย่อมาจาก Political Prisoners) 

สวัสดีค่ะ พี่พี่ที่พักอยู่ ณ บ้านพักรับรองของราชการแบบชั่วคราว

ฉัน ชื่อหลีค่ะ เป็นสาวแก่วัยระย้า ที่ได้รับมอบหมายให้มาเขียนจดหมายถึงพี่พี่ที่อยู่ในบ้านพักฯ เพื่อให้พี่พี่ได้อ่านกัน หลีจำไม่ได้ว่าเคยร่วมกิจกรรมอะไรทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็น ครก 112 หรือ การชุมนุมอะไรหรือเปล่า หลีเป็นคนความจำสั้นค่ะ แต่ก็ได้รับทราบว่า พี่พี่ที่อยู่ในบ้านพักฯนั้น คือคนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมในเรื่องของสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานกันเลย อย่างน้อย หลายๆคนก็ควรจะได้รับสิทธิการประกันตัวออกมาอยู่ข้างนอกเพื่อต่อสู้กันต่อ ไป 

หลี ไม่อยากจะมานั่งเขียนเรื่องสิทธิอะไร หรือ เรียกร้องคุยอะไรในเรื่องเครียดๆให้พี่ต้องหม่นหมองใจ หลีอยู่ฝ่ายสันทนาการเสมอๆ ซึ่งก็คือ ฝ่ายที่ให้พี่พี่ได้ร่าเริงขึ้นหรือยิ้มขึ้นมาบ้าง 

จะเล่าเรื่องราวโลกภายนอกให้พี่ได้ฟังกันดีกว่า

หลี มาจากโลกของชนชั้นกลางที่ไม่ค่อยจะสนใจเรื่องการเมืองเท่าไร ไม่รู้หรอกว่า ใครเป็นยังไง ใครชิบหายอะไร กว่าจะมารู้ตัวอีกทีก็ เอ๊ะ ประเทศเราโดนรัฐประหารแล้ว หลีก็ยังเฉยๆนะคะ ณ ตอนนั้น เรียกว่า ชินหง่ะค่ะ ประเทศนี้เขาก็ดีนะคะ ทำให้อะไรอะไรที่มันร้ายแรงในระดับประเทศมาให้ดูกิ๊บเก๋ แล้วก็มีสาวมาให้ดอกไม้ ยินดีที่ประเทศนี้มีรัฐประหาร ซึ่งคนเหล่านี้ก็เหมือนหลี แต่แรดกว่าตรงที่ไปอ่อยทหาร จะว่าไป พวกสาวๆพวกนั้นก็อยากหลอกแดกผู้ชายในเครื่องแบบ จะเห็นได้ว่า มันมีตัวอย่างระดับไฮโซหลายๆคน ที่ชอบกินผู้ชายในเครื่องแบบ เรียกว่า เป็น กระหรี่สี่เหล่าทัพกันได้เลย เคยได้ยินว่า ไฮโซบางนางนี่ ถึงกับให้หนุ่มๆคนสวนที่ดูแลสวนของตัวเอง มีชุดเครื่องแบบคนสวนด้วย แล้วก็กินคนสวนของตัวเอง เพราะเห็นว่าล่ำ น่าเจี๊ยะดี ความที่ชอบคนในเครื่องแบบ แล้วก็อยากกินคนสวนของตัวเอง ก็เลย ...ให้คนสวนมีเครื่องแบบ ตลกชิบเลยค่ะ ฮ่าๆๆๆ

ถ้า ยังไง หลีแนะนำให้พี่พี่อยู่ในบ้านพักฯออกกำลังกายเยอะๆนะคะ แล้วก็เล่นกล้ามอะไรบ้าง อย่าอยู่เฉยๆค่ะ คนไฮโซเขาชอบกินรากหญ้าล่ำๆ อย่างน้อย ออกมาเมื่อไรก็ดูเท่ เก๋ กู๊ด นะคะ

หลาย วันก่อน หลีมีความคิดแปลกๆในเรื่องเสรีภาพทางเพศ .. แต่หลีก็คงไม่คุยให้พี่ฟังอย่างละเอียด แต่หลีรู้สึกว่า โลกใบนี้มันต้องยอมรับในเรื่องส่วนตัวกัน ความคิดความอ่านที่แตกต่างกัน แล้วก็ยอมรับกันไปบ้างอะไรบ้าง คือแบบว่า ใครคิดอะไร มึงก็ฟังบ้าง หูทวนลมบ้างก็ได้ ไม่ต้องเสร่อแทรกเสือกไปทุกเรื่อง หรือ มีความเห็นไปด้วยทั้งหมด 

ตั้งแต่ หลีมาเรียนรู้เรื่องของการเมืองสีแดงๆ ทำให้หลีมีเพื่อนหลากเพศเยอะมาก ไม่ว่าจะ หญิงรักหญิง หรือชายรักชาย หลีรู้สึกว่า หลีเริ่มยอมรับกับมันมากขึ้นเรื่อยๆ จนมีอยู่วันหนึ่ง คิดกับตัวเองว่า ถ้ามีลูก ลูกชอบเพศไหน แม่ก็จะชอบด้วย ถ้าหลีมีลูกชาย แล้วลูกชายมีแฟนเป็นชาย หลีก็ได้ลูกชายมาเป็นสองสามสี่ห้าคน ถ้าผู้หญิงก็คงเช่นกัน หรือเริ่มรู้สึกเปลี่ยนไป (จำได้ว่า สมัยก่อน เคยคิดว่าถ้า น้องตัวเองหรือใครเป็นเกย์ จะกดหัวล้างน้ำมัน ตอนนี้น้ำมันแพง ยอมๆมันไปดีกว่าเนอะ...อันนี้ มุข) .... แต่ก็ไม่ได้มีลูกกะใครนะคะ ... อิอิ

หลี ว่า เราโตขึ้นเรื่อยๆกับสิ่งรอบตัวที่ผ่านเข้ามาในชีวิต หลีเคยมานั่งคิดว่า เราผ่านเหตุการณ์ต่างๆมาเยอะมาก จากสิ่งที่เราพบเจอด้วยตัวเอง จากการฟังเพื่อนๆหลากหลายคุยให้เราฟัง เราจำ เราคิดตาม ทำให้เรารู้สึกว่า เราเติบโต และยอมรับกับสิ่งรอบตัวได้มากมาย แต่หลีบอกตรงๆว่า หลีเป็นคนรักจริง เกลียดจริง อีพวกเหี้ยๆที่เกลียด พอเกลียดแล้ว แม่ง... มองหน้ากันไม่ได้จริงๆ แค่เห็น ก็แหวะ อ๊วกแล้ว ยิ่งอีพวกสร้างภาพในอินเตอร์เนต หลียิ่งรับไม่ได้ใหญ่ มันมีเยอะค่ะ ใช้เรื่องทางการเมืองมาสร้างชื่อสร้างภาพ หลอกแดกคนไปเรื่อยๆ จนคนเขารู้กันหมด แต่มันก็ยังเฉย นิ่ง ซึ่งหลีก็เห็นด้วยที่นิ่ง และเฉย เพราะหน้าด้านขนาดนั้น ไม่เฉยก็เสียหมาหนักเข้าไปใหญ่ 

หลาย อาทิตย์ก่อนมีกีฬาโอลิมปิก เสี่ยน้ำชา แกมาสร้างสถานการณ์แจกเงินให้กับคนได้เหรียญทอง เงิน และทองแดงกับนักกีฬาไทย ให้เป็นล้านๆเลยค่ะ แต่พอกีฬาคนพิการ แกกลับพูดแบบว่า ผมทำบุญทุกวัดไม่ได้หรอก ชิบหายสิคะ ... โดนด่ายับ ... เลยต้องกลับลำ แจกบ้าง พอประมาณ แล้วหลายวันก่อน มาทำโฆษณาแจกมือถือรุ่นที่ยังไม่ออกตัวเลย ล่าสุดเพิ่งโดนเล่นจากเฟสบุ๊คว่า ห้ามทำแบบนี้ กิจกรรมคนร่วมเป็นแสน เลิกหมด อิอิ สมน้ำหน้า 

น้ำ ท่วมสุโขทัยอยู่ค่ะ คนหลายคนที่ขาดวิจารณญาณก็เริ่มวิตกว่า น้ำจะท่วมกรุงแน่ๆ โดยไม่ได้ไปตามข่าวเลยว่า ไอ้น้ำท่วมอันนี้มันเกิดจากอะไร หลายๆคนอยากให้น้ำท่วม ชิบหายเท่าไรไม่ว่า ขอให้รัฐบาลยิ่งลักษณ์แม่งเอาไม่อยู่ สันดานคนเห็นแก่ตัวที่คิดแต่ตัวเองรอด ใครชิบหายช่างแม่ง จึงเป็นสิ่งที่ให้มนุษย์ที่เรียกว่าตัวเองเป็นสัตว์ประเสริฐ หนีความเป็นสัตว์ไม่พ้นจริงๆ จริงไหมคะ ...

ประเทศ นี้ก็ยังเห็นแค่กรุงเทพฯเป็นหัวใจสำคัญ เพราะคนกรุงเทพฯแม่งไม่ได้สนใจเรียนรู้อะไรอย่างจริงจัง วันๆ ทำงาน แล้วก็ กิน ขี้ ปี้ นอน ..จบ ... เวลาจะมาเรียนรู้ว่า เกิดอะไรอย่างแท้จริง เป็นไม่มี เห็นคนหมู่มากแหกปากไป ก็แหกปากตาม ... ด่าไปด่ามา หลีด่าเข้าตัวเอง เพราะเป็นคนกรุงเทพเหมือนกัน 

โลก ใบนี้ยังไม่ได้หยุดหมุน หลีเชื่อว่า พี่พี่ทุกคนเมื่อออกมาสู่โลกภายนอกแล้ว เรื่องราวก็ยังวนเวียนเหมือนเดิม ห่าตัวเดิมก็ยังอยู่ที่เดิน ห่าตัวใหม่ก็เข้ามาให้พี่ีพี่ได้พบรู้จักกันไป รอสักพัก คิดเสียว่า พักจิตวิญญาณของตัวเองให้สงบ สร้างกำลังใจให้แกร่งกล้า เมื่อออกมาเจอโลกเหี้ยๆ เราจะได้แกร่งพอที่จะรับความเหี้ยได้อย่างสบายใจ

ขอให้เจ้าที่เจ้าทางตายายที่เฝ้าอยู่ในบ้านพักรับรองนั้นๆดูแลพี่ให้ปลอดภัยและเป็นที่รักของทุกคน 

ขอบคุณค่ะ
หลี


หมายเหตุ: ทางผู้รวบรวมจะทะยอยนำอีเมล์ที่ได้รับอนุญาตจากผู้เขียนขึ้นเผยแพร่และ รณรงค์ให้ผู้ที่มีอิสรภาพได้เขียนจดหมายพูดคุยให้กำลังใจ ถามไถ่สาระทุกข์สุกดิบกับผู้ที่ถูกจำกัดเสรีภาพในเรือนจำเป็นระยะ
บทความที่เกี่ยวข้อง:รายงาน: นักโทษ112 ชวนส่ง 'อีเมลหยดน้ำ'– โปสการ์ดฝีมือ‘หลานอากง

ใบตองแห้ง...ออนไลน์: พรรคพวกเพื่อนศาล Fast Track (1)

ที่มา ประชาไท

 

อ.นวลน้อย ตรีรัตน์ เสนองานวิจัยเรื่อง “เครือข่ายผู้บริหารระดับสูงผ่านเครือข่ายทางการศึกษา” ชี้ว่าหลักสูตรผู้บริหารระดับสูงเป็นช่องทางให้เกิดชนชั้นนำใหม่และทำให้ชน ชั้นนำรวมตัวกันเหนียวแน่นมากขึ้น
“การรวมตัวระหว่างชนชั้นนำผ่านการศึกษาในหลักสูตรผู้บริการระดับสูงทำให้ชนชั้นนำมีแนวโน้ม

(1) แข่งขันลดลงและเป็นไปได้ที่จะแบ่งปันอำนาจระหว่างชนชั้นนำด้วยกันภายใต้ความ สัมพันธ์แบบ “พรรคพวกเพื่อนฝูง” การแข่งขันหรือการเข้าถึงจากภายนอกโดยเฉพาะจากประชาชนทั่วไปจึงเป็นไปได้ยาก เพราะ “กำแพงของความเป็นเพื่อน” ผ่านหลักสูตรผู้บริหารทั้ง 6

(2) หลักสูตรผู้บริหารระดับสูงเป็นเสมือน Fast Track ทำให้คนกลุ่มใหม่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชนชั้นนำได้”
หลักสูตรที่ อ.นวลน้อยศึกษา ซึ่งเอาข้าราชการระดับสูง ทั้งพลเรือน ตำรวจ ทหาร นักการเมือง นักธุรกิจ มาฝึกอบรมร่วมกัน ทำให้เกิดความสัมพันธ์ทั้งแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการระหว่างผู้เข้าอบรม รุ่นเดียวกันหรือต่างรุ่น ได้แก่
(1) หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) ของวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (2) หลักสูตรผู้บริหารกระบวนการยุติธรรมระดับสูง (บ.ย.ส.) ของวิทยาลัยการยุติธรรม สำนักงานศาลยุติธรรม (3) หลักสูตรการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยสำหรับนักบริหารระดับสูง (ปปร.) ของสถาบันพระปกเกล้า (4) หลักสูตรการพัฒนาการเมืองการเลือกตั้งระดับสูง (พตส.) ของสถาบันพัฒนาการเมืองและการเลือกตั้ง คณะกรรมการการเลือกตั้ง (5) หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง สถาบันวิทยาการตลาดทุน (วตท.) ของสถาบันวิทยาการตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ (6) หลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้านการค้าและการพาณิชย์ (TEPCoT) ของหอการค้าไทย

แหม ไม่ยักรวมหลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับสูงของสถาบันอิศราเข้าไปด้วย มองข้ามกันได้ไง ฮิฮิ
ใน 6 หลักสูตรที่ อ.นวลน้อยยกมา ที่ “น่าวิตก” ที่สุดในทัศนะผมคือ หลักสูตรผู้บริหารกระบวนการยุติธรรมระดับสูง ซึ่งเอาพ่อค้า นักธุรกิจ นักการเมือง เข้าไปอบรม “เป็นเพื่อน” กับผู้พิพากษาระดับสูง
นั่นอาจเพราะผมยังมีทัศนะแบบบ้านๆ ว่าผู้พิพากษาท่านเป็นปูชนียบุคคล เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ในพระปรมาภิไธย อยู่สูงส่งเหนือมนุษย์ทั่วไป ในแง่ศีลธรรมจรรยา ผู้พิพากษาท่านก็มีศีลธรรมจนล้น ไม่ใช่พระก็น้องๆ พระ คำพิพากษาจึงแฝงพระธรรมคำสอนผู้คนอยู่ทั่วไป เราๆ ท่านๆ ฟังแล้วก็ได้แต่สาธุ หาบังอาจจะไปวิพากษ์วิจารณ์ในหลักกฎหมายประการใดไม่
แต่ไหง ผู้พิพากษาจึงมาคบหาเสวนาเป็นเพื่อนร่วมรุ่นกับพ่อค้านายทุน นักการเมือง ซึ่งไม่ใช่แค่นั่งเรียนหนังสือด้วยกัน แต่ยังไปท่องเที่ยว ดูงานต่างประเทศด้วยกัน ตีกอล์ฟ จัดกิจกรรมสังสรรค์เสวนา สนุกสนานเฮฮา
แล้วมันจะไม่เกิดข้อกังขาหรือครหา เวลาคนพวกนี้เป็นโจทก์จำเลยมีคดีขึ้นสู่ศาลหรือครับ
ในแง่นี้ต่างกับตำรวจ ทหาร ข้าราชการ ที่สังคมมองว่าคบค้าเสวนากับพ่อค้า นักธุรกิจ นักการเมือง เป็นเรื่องปกติ แต่ผู้พิพากษาในทัศนะสังคมไทย ท่านคือผู้ถือสันโดษ สมถะ ไม่ควรไปสังสรรค์เฮฮา กินข้าวกินเหล้ากับผู้รับเหมา ไม่ควรเป็นเจ้าภาพทอดกฐิน ผ้าป่า หรือกิจกรรมใดที่ต้องมีการเรี่ยไร ไม่ควรเป็นกระทั่งประธานรุ่นโรงเรียนเก่า ถ้าอยากกินเหล้า ก็ควรกินเหล้าอยู่บ้านคนเดียว หรือกินกับผู้พิพากษาด้วยกัน
ถามว่าสุดขั้วไปไหม อ้าว ก็ผู้พิพากษาท่านไม่ใช่ปุถุชน วิพากษ์วิจารณ์แทบไม่ได้ จะไม่ให้สังคมมองสุดขั้วได้ไง
แล้วเรื่องนี้ก็มีที่มา ไม่ใช่ลอยๆ ดูประกาศคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม เรื่องจริยธรรมของข้าราชการตุลาการ พ.ศ.2552 ซึ่งก็ปรับมาจากการประพฤติปฏิบัติของบุรพตุลาการนั่นแหละ
“ข้อ 29 ผู้พิพากษาไม่พึงเป็นกรรมการ สมาชิก หรือเจ้าหน้าที่ของสมาคม สโมสรชมรม หรือองค์การใดๆ หรือเข้าร่วมในกิจการใดๆ อันจะกระทบกระเทือนต่อการปฏิบัติหน้าที่หรือเกียรติศักดิ์ของผู้พิพากษา
ข้อ 35 ผู้พิพากษาจักต้องเคารพและปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด อยู่ในกรอบของศีลธรรม และพึงมีความสันโดษ ครองตนอย่างเรียบง่าย สุภาพ สำรวมกิริยามารยาทมีอัธยาศัย ยึดถือจริยธรรมและประเพณีอันดีงามของตุลาการ ทั้งพึงวางตนให้เป็นที่เชื่อถือศรัทธาของบุคคลทั่วไป
ข้อ 40 ผู้พิพากษาจักต้องระมัดระวังมิให้การประกอบวิชาชีพ อาชีพ หรือการงานอื่นใดของคู่สมรส ญาติสนิท หรือบุคคลซึ่งอยู่ในครัวเรือนของตนมีลักษณะเป็นการกระทบกระเทือนต่อการ ปฏิบัติหน้าที่หรือเกียรติศักดิ์ของผู้พิพากษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านความเชื่อถือศรัทธาของบุคคลทั่วไปในการประสาทความ ยุติธรรมของผู้พิพากษา”
เห็นไหมครับว่าผู้พิพากษาต้องสันโดษ เรียบง่าย สำรวม สุภาพ มีกิริยามารยาท (ไม่ใช่วางอำนาจ) ทำตัวให้เป็นที่เชื่อถือศรัทธา (ทำตัวซกมกก็เห็นจะไม่ได้) บทบัญญัติเหล่านี้ไม่มีอยู่ในวินัยข้าราชการทั่วไป บางอย่างเอามาจากวินัยพระด้วยซ้ำ
บุรพตุลาการท่านห้ามผู้พิพากษาไปเป็นกรรมการหรือสมาชิกชมรม สมาคม สโมสร ซึ่งจะกระทบกระเทือนต่อการปฏิบัติหน้าที่ ก็คืออย่าไปสังสรรค์คบค้าสมาคมกับผู้คนนอกวงการมากเกินไป เพราะถ้ามีความผูกพัน มีน้ำใจ มีบุญคุณ เคารพนับถือกัน ก็อาจกระทบการปฏิบัติหน้าที่ได้
ท่านให้ระมัดระวังกระทั่งการประกอบอาชีพของลูกเมีย ญาติสนิท หรือผู้อยู่ในครัวเรือน แบบว่าตัวเป็นผู้พิพากษา เมียเป็นนายหน้าขายที่ดิน ลูกชายเปิดผับ ลูกสาวเปิดสำนักงานทนาย ฯลฯ ตำรวจทำได้ ทหารทำได้ นักการเมืองทำกันเกร่อ แต่ผู้พิพากษาทำไม่ได้นะครับ เพราะมันล่อแหลมต่อ “ผลประโยชน์ทับซ้อน”
ตอนออกประมวลจริยธรรมปี 2544 ประธานศาลฎีกาในขณะนั้น (น่าจะเป็นสมัยท่านสันติ ทักราล) ยังให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดำรงตนในโอกาสต่างๆ ของข้าราชการตุลาการ
“ข้อ 3. การจัดเลี้ยงในโอกาสต่างๆ
1. ข้าราชการตุลาการพึงงดเว้นการชักชวนหรือสนับสนุนให้มีการเดินทางไปอวยพร หรือจัดเลี้ยงในโอกาสต่างๆ เช่น วันขึ้นปีใหม่ วันสงกรานต์ วันเกิด หรืองานขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น เว้นแต่เป็นการกระทำกันภายในหมู่ญาติมิตร หรือเฉพาะ ในหน่วยงานของตนเอง โดยมิได้รบกวนบุคคลภายนอก หรือให้บุคคลภายนอกมาร่วมจัดงาน
2. ข้าราชการตุลาการพึงงดรับของขวัญ ของมีค่า ของกำนัลจากผู้ใต้บังคับบัญชา และบุคคลอื่น
3. ผู้ใต้บังคับบัญชาพึงงดเว้นการเดินทางไปอวยพรผู้บังคับบัญชา เว้นแต่เป็นการกระทำกันภายในหน่วยงานนั้นเอง ข้าราชการซึ่งอยู่ต่างท้องที่หรืออยู่ห่างไกล หากประสงค์จะอวยพร ควรใช้บัตรอวยพรทางไปรษณีย์แทน”
บอกแล้วว่าถ้าจะกินเหล้าก็ต้องกินในบ้าน หรือกินกับผู้พิพากษาด้วยกัน ห้ามกินกับทนาย ผู้พิพากษาจัดงานขึ้นบ้านใหม่ งานวันเกิด งานปีใหม่ ถ้าเชิญแขกเหรื่อเอิกเกริกถือว่าไม่เหมาะสม ต้องจัดเงียบๆ ในญาติมิตร หรือในสำนักงาน
เรื่องรับของขวัญประมวลจริยธรรมปี 52 เขียนชัดขึ้นด้วยซ้ำ ว่าห้ามลูกเมียด้วย
“ข้อ 42 ผู้พิพากษาและคู่สมรสจักต้องไม่รับของขวัญของกำนัล หรือประโยชน์อื่นใดอันมีมูลค่าเกินกว่าที่พึงให้กันตามอัธยาศัยและประเพณีใน สังคม และจักต้องดูแลให้บุคคลในครอบครัวปฏิบัติเช่นเดียวกันด้วย”
แม้แต่การเรี่ยไรเพื่อประโยชน์ส่วนรวมท่านก็ห้าม
“ข้อ 39/1 ผู้พิพากษาไม่พึงขอรับเงินสนับสนุนหรือประโยชน์อื่นใดจากหน่วยงานหรือบุคคล ภายนอกในประการที่อาจทำให้กระทบกระเทือนต่อการปฏิบัติหน้าที่ของศาลยุติธรรม เว้นแต่จะเป็นการดำเนินการตามระเบียบ คำสั่ง หรือมติว่าด้วยการนั้น”
แปลว่ามูลนิธิต้นตระกูลกมลวิศิษฎ์จะไปบริจาคเงินตั้งตู้น้ำดื่มให้ศาล เหมือนที่สร้างป้อมยามให้ตำรวจ ก็ไม่ได้
บางคนอาจร้องว่า โห! แบบนี้เป็นผู้พิพากษาก็ต้องวางตัวอยู่ในกรอบแทบกระดิกไม่ได้ ก็ใช่สิครับ รัฐถึงให้เงินเดือนผู้พิพากษาสูงกว่าข้าราชการฝ่ายอื่น เป็นผู้พิพากษามีเกียรติมีศักดิ์ศรี แล้วใช่ว่าจะเอาไปอวด เอาหน้า สร้างฐานะทางสังคม บุรพตุลาการท่านทำแบบอย่างไว้ แต่รุ่นหลังรุ่นใหม่จะเป็นอย่างไรยังไม่รู้ ลูกท่านหลานท่านจบจากนอก อายุ 25 เป็นผู้พิพากษากันแล้ว
สาเหตุที่บุรพตุลาการกำหนดให้ผู้พิพากษาสันโดษ สมถะ ละเว้นการสังสรรค์สโมสร ก็เพราะเล็งเห็นว่าการคบค้าสมาคมกว้างขวางจะทำให้เกิดความรู้จัก เกรงใจ รักใคร่ ผูกพัน ซึ่งเวลาคนเหล่านั้นมีคดีขึ้นศาล แม้ตัวท่านไม่ได้เป็นองค์คณะ แต่ก็อาจรู้จัก เกรงใจ รักใคร่ ผูกพัน กับผู้พิพากษาที่นั่งบัลลังก์ คนเหล่านั้นก็ย่อมจะมาขอความช่วยเหลือ ขอคำปรึกษา ขอคำแนะนำ ตามประเพณีอันดีงามของสังคมอุปถัมภ์ ซึ่งปฏิเสธได้ยาก เพราะจะถูกหาว่าไม่มีน้ำใจ
คอร์รัปชั่นในสังคมไทยมาจากคอนเนคชั่นเสียเป็นส่วนใหญ่นะครับ ไม่ค่อยมีหรอก ที่จะมีคนเดินเข้ามาหาผู้มีอำนาจถามโต้งๆ ว่าจะเอา 10% 20% หรือ 30% มันมักจะเริ่มจากพี่น้องพ้องเพื่อน การสร้างความสัมพันธ์ น้ำใจและความผูกพัน ซึ่งหลวมตัวไปแล้วปฏิเสธลำบาก

หลักสูตรฮิตขยายกิจการ
หลักสูตรผู้บริหารกระบวนการยุติธรรมระดับสูง บ.ย.ส. จัดโดยสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม ซึ่งขึ้นกับสำนักงานศาลยุติธรรม ปัจจุบันมีนายวิรัช ชินวินิจกุล เป็นเลขาธิการ, นายสราวุฒิ เบญจกุล เป็นรองเลขาธิการ และนายสิทธิศักดิ์ วนะชกิจ โฆษกศาล (อากงปลงไม่ตก) เป็นผู้บริหาร
หลักสูตร บ.ย.ส.เปิดรุ่นแรกเมื่อปี 2539 มีผู้เข้าอบรม 20 กว่าคน เกือบทั้งหมดเป็นผู้พิพากษา อัยการ ตำรวจ ข้าราชการ (มีนายไพโรจน์ วายุภาพ ประธานศาลฎีกาคนปัจจุบันด้วย) แล้วก็มีสื่อรุ่นละคน รุ่นแรกมาจาก อสมท.รุ่น 2 ไทยรัฐ รุ่น 3 ตุลย์ ศิริกุลพิพัฒน์ จากผู้จัดการ รุ่น 4 เริ่มมีนักการเมืองอย่างอารีเพ็ญ อุตรสินธุ์ รุ่น 5 การุณ ใสงาม รุ่น 7 ปานปรีย์ พหิทธานุกร, สาธิต ปิตุเตชะ รุ่นนี้เริ่มขยายมาราว 50 กว่าคน
จากนั้นก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เช่น รุ่น 12 มี 66 คน รุ่น 13 มี 70 เริ่มมีชื่อคนดังๆ อย่างประกอบ จีรกิติ, ปริญญ์ จิราธิวัฒน์, พุฒิพงศ์ ปราสาททองโอสถ, ประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ และสุพจน์ ทรัพย์ล้อม (อ้าว! เพิ่งรู้ว่าเพื่อนร่วมรุ่น) รุ่น 14 มี 73 คน สมชาย แสวงการ, ประวิช รัตนเพียร, ฐาปน สิริวัฒนภักดี, สมชัย ลีสวัสดิ์ตระกูล (จีสตีล), สมพันธุ จารุมิลินท (ทรูวิชั่น) สมบัติ เฉลิมวุฒินันท์ (เอเชียโกลเด้นไรซ์) เป็นต้น รุ่น 14 นี่ยังมีเฟซบุ๊ก มีภาพไปดูงานญี่ปุ่น จัดกอล์ฟ กันสนุกสนาน
รุ่น 15 ยังหาไม่เจอ แต่รายชื่อรุ่น 1-14 มีในเว็บไซต์ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกศาลยุติธรรม แสดงรายงานวิจัยผู้บริหารกระบวนการยุติธรรมระดับสูง รวม 14 รุ่น 717 คน ใครอยากอ่านไปดูได้ แต่รายชื่อรุ่นหลังๆ ไม่ได้บอกตำแหน่ง ที่มา ของผู้เข้าอบรม http://www.library.coj.go.th/indexresert.php?search=&&cbtype=&&page=1
รายชื่อผู้เข้าอบรมที่ยังค้างอยู่ในเว็บไซต์สถาบัน ซึ่งบอกที่มาที่ไป มีแค่ 2 รุ่น ได้แก่ รุ่นที่ 16 ประจำปี 54-55 ซึ่งพระองค์ภาฯ ทรงเข้าอบรมในฐานะรองอัยการจังหวัดหนองบัวลำภู มีผู้เข้าอบรมร่วมกับพระองค์ภาฯ 109 คน รุ่นที่ 17 ประกาศรายชื่อล่าสุดมี 90 คน
มาดูรุ่นที่ 16 กันก่อน ในจำนวนนี้มีผู้พิพากษา 21 คน (ตำแหน่งขณะนั้น)
นางกมลทิพย์ กรวิจิตรกุล ผู้ตรวจราชการสำนักงานศาลยุติธรรม
นายจตุรงค์ นาสมใจ ประธานแผนกคดีสิ่งแวดล้อมในศาลอุทธรณ์ ภาค 4
นายชัยรัตน์ เบ็ญจะมโน ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา
นายชูเกียรติ ดิลกแพทย์ ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ ภาค 7
นายนิยุต สุภัทรพาหิรผล ผู้พิพากษาศาลฎีกา
นายปกรณ์ วงศาโรจน์ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์
นายปกรณ์ สุวรรณพรหมา อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานภาค 4
นายปิ่น ศรีเมือง รองประธานศาลอุทธรณ์ ภาค 6
นายเผดิม เพ็ชรกูล รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง
นายพิศิฏฐ์ สุดลาภา อธิบดีผู้พิพากษาภาค 6
นางสาวภาวนา สุคันธวณิช ผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
นายมนูภาน ยศธแสนย์ รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่ง
นายมานิตย์ สุขอนันต์ รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา
นายวิจิตร วิสุชาติ รองประธานศาลอุทธรณ์ภาค 9
นายวินัย เรืองศรี ผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
นายวุฒิชัย หรูจิตตวิวัฒน์ รองประธานศาลอุทธรณ์ภาค 1
นายสมชาย เงารุ่งเรือง ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์
นายสุชาติ สุนทรีเกษม รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่งธนบุรี
นางสาวสุนันท์ ชัยชูสอน ประธานแผนกคดีเลือกตั้งในศาลอุทธรณ์
นายอดุลย์ ขันทอง รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญากรุงเทพใต้
นายอนันต์ คงบริรักษ์ ผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
มีตุลาการศาลปกครอง 1 คนคือ อ.วิษณุ วรัญญู ตุลาการศาลปกครองสูงสุด ส่วนอัยการ นอกจากพระองค์ภาฯ มี 3 คนได้แก่ นายโกศลวัฒน์ อินทุจันทร์ยง รองเลขานุการอัยการสูงสุด, ร.ต.พงษ์นิวัฒน์ ยุทธภัณฑ์บริภาร อธิบดีอัยการสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายอัยการ, นางอรนิตย์ บุนนาค อธิบดีอัยการ สำนักงานคดีเยาวชนและครอบครัว
ข้าราชการกระทรวงยุติธรรม นายวิตถวัลย์ สุนทรขจิต ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดภาค 3, นายวิทยา สุริยะวงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานกิจการยุติธรรม, พันโท อเนก ยมจินดา รองอธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน, นายอำพล วงศ์ศิริ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ทั้งหมดเป็นตำแหน่งขณะนั้น)
โดยยังมีข้าราชการในพระองค์ ดร.จรัลธาดา กรรณสูต ที่ปรึกษาสำนักราชเลขาธิการ, นายอดิศักดิ์ ภาณุพงศ์ ที่ปรึกษาโครงการกำลังใจในพระดำริพระองค์ภาฯ และตามธรรมเนียมต้องมีสื่อ ได้แก่ นายธเรศวร์ ธนะสมบูรณ์ บก.ข่าวอาวุโส ช่อง 5 น.ส.นาตยา เชษฐ์โชติรส ผู้ช่วย บก.ข่าวบางกอกโพสต์
ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ องค์กรอิสระ องค์การมหาชน รัฐวิสาหกิจ เอาเฉพาะตำแหน่งสำคัญก็เช่น นายโชติ ตราชู ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, นายณอคุณ สิทธิพงศ์ ปลัดกระทรวงพลังงาน, นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน ปตท., พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ, พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี, นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส รองผู้ว่า สตง. นายวรวิทย์ ชัยลิมปมนตรี กรรมการผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์, พล.ท.ศิริชัย ดิษฐกุล รองเสนาธิการทหารบก, นายสาธิต รังคสิริ อธิบดีกรมสรรพากร, นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ กกต.ในขณะนั้น
ฝ่ายการเมืองนำหน้าโดย ชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย, หมอพฤติชัย ดำรงรัตน์ มาในฐานะที่ปรึกษาประธานบริษัท พีพีดี คอนสตรัคชั่น จำกัด, ฐนนท์ศรณ์ เลิศฤทธิ์ศิริกุล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในตอนนั้น (ตอนนี้ผู้ช่วย รมต.เกษตรฯ นัยว่าเด็กเสธหนั่น) แล้วก็มี สว.2 คน ที่มาจากการสรรหาคือ น.ส.สุนันท์ สิงห์สมบุญ อดีตนายกสมาคมพ่อค้าข้าวโพดและพืชพันธุ์ไทย 3 สมัย (รายนี้นักอบรมเหมือนกัน เพราะจบ บยส.16 วตท.11 วปอ.มส.1 TEPCOT รุ่น 3 ปปร.ของสถาบันพระปกเกล้า รุ่น 13) และสุวิทย์ เมฆเสรีกุล สว.เลือกตั้งจากมหาชัย
ส่วนที่เหลือเป็นนักธุรกิจล้วนๆ ได้แก่
นายกนกศักดิ์ ปิ่นแสง ที่ปรึกษา บริษัท เชียงใหม่คอนสตรัคชั่น จำกัด
ดร.เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ กรรมการบริหาร บริษัท เสนาดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด
นายเกียรติศักดิ์ กัลยาสิริวัฒน์ ประธานบริหาร บริษัท โนโลอากวีเทรด (ประเทศไทย) จำกัด
นายชัยณรงค์ กัจฉปานันท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท กฎหมายกรุงไทย
นายชัยศักดิ์ อ่อนประดิษฐ์ กรรมการ บริษัท โอสิคอินเตอร์ เนชั่นแนล (ไทย) จำกัด
นายโชคชัย เศรษฐีวรรณ กรรมการบริหาร บริษัท ไทยฟ้า (2511) จำกัด
นายณรงค์ศักดิ์ ภูมิศรีสอาด ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการสำนักประสานรัฐกิจกลุ่มธุรกิจการตลาด เครือซีพี
นางสาวณฤดี อรัณยกานนท์ กรรมการและกรรมการบริหาร บริษัท เกลือขุนสมุทรมณีรัตน์ จำกัด
นางสาวธิดารัตน์ ธนภรรคภวิน กรรมการผู้จัดการ บริษัท โนวาลีฟ ซอฟท์แวร์ จำกัด
นายประเสริฐ เกษมโกเมศ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บอนวิสต้า เรียลตี้ จำกัด
คุณ หญิงปัทมา ลีสวัสดิ์ตระกูล กรรมการกลางมูลนิธิรามาธิบดี ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประธานกรรรมการบริหารกลุ่ม บริษัท จี สตีล จำกัด
ดร. ปิยะนุช มาลากุล ณ อยุธยา รองประธานสภาอุตสาหกรรม
นายพรศักดิ์ พิทักษ์พูลสิน ประธานบริหาร บริษัท ฮอว์คอายส์ อินเตอร์เทรด จำกัด
นายภัคพล งามลักษณ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด
นายวรยุกต์ เจียรพันธุ์ ประธานกรรมการกลุ่ม บริษัท สมบูรณ์สุข จำกัด
นายวโรดม วีระภุชงค์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยนครพัฒนา จำกัด
ดร.วาชิต รัตนเพียร รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต
นายวิกรม ศรีประทักษ์ รองประธานกรรมการบริหาร บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส
ดร.วิชญะ เครืองาม ผู้เชี่ยวชาญฝ่ายงานรัฐกิจสัมพันธ์ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
นายวิรัตน์ เอื้อนฤมิต รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สายบัญชีและการเงิน บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน)
นายวิวรรธน์ ไกรพิสิทธิ์กุล ประธานกรรมการบริหารกลุ่มบริษัท ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง จำกัด
นายวิสุทธิ์ พิทักษ์สิทธิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อีซูซุสงวนไทยมอเตอร์เซลส์ จำกัด
นางศิรินันท์ ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านปฎิบัติการ Loxley ICT Group
นายสมเกียรติ ศรมณี กรรมการบริหาร บริษัท วี.อาร์.เอ็ม.วอยซ์ พลัส จำกัด
นายสมบูรณ์ ฉายาวิจิตรศิลป์ ประธานกรรมการ บริษัท สมหรรษา จำกัด
นายสมสุข ศรีสถิตย์วัฒนา ประธานบริหาร บริษัท เอเชี่ยน พารากอน จำกัด
นายสุขสันต์ ตั้งสะสม ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริหาร บริษัท คอสมิก แม็กนัม จำกัด
นางสาวสุนีย์ เศวตเจริญ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เจแปนเครน จำกัด
นายสุพรรณ อัครพันธุ์ ผู้จัดการ บริษัท สุขุมวิทฮอนด้า ออโตโมบิล จำกัด
นายสุรสิทธิ์ อัศดามงคล ประธานกรรมการบริหารโรงพยาบาลบางมด
ดร.อธิป อัศวานันท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อิมิเน้นท์ ดอท คอม จำกัด
นายอนุวัตร บูรพชัยศรี กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท เอพี แมนเนจเม้นท์ จำกัด
นายอัศวิน เตชะเจริญวิกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน)
นายอิศเรศ จิราธิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด
นายเอกรัฐ วงศ์ศุภชาติกุล ผู้ช่วยกรรมการ บริษัท โกลเด้นเธร็ด จำกัด
นายเอกสิทธิ์ คุณานันทกุล กรรมการ บริษัท โกลบอล อิเลคทริค มอเตอร์คาร์ เอเชีย จำกัด
รวมทั้งสิ้น 36 คน มาครบทั้งล่ำซำ-จิราธิวัฒน์ ทรู-เอไอเอส ฮอนด้า-อีซุซุ เฉพาะเครือซีพีนี่มา 3 คน
เห็นชื่อ ดร.วิชญะ เครืองาม อย่าแปลกใจ ลูกชายคนเดียวของวิษณุ เครืองาม อายุแค่ 30 เก่งมาก ทำงานให้ทรูในด้าน “รัฐกิจสัมพันธ์” ให้สัมภาษณ์ไว้ว่า งานหลักที่ต้องรับผิดชอบ อาทิ การประมูลคลื่น 3G บรอดแบนด์แห่งชาติ และโครงการ Free wi-fi หรือ smart wi-fi แปลเป็นภาษาบ้านๆ ก็คือลูกวิษณุทำงานสร้างความสัมพันธ์กับภาครัฐเพื่อให้ทรูชนะประมูล
อธิป อัศวานันท์ กรรมการผู้จัดการอิมิเน้นท์ ดอทคอม ชื่อดังด้านวิชาการ แต่ก็เป็นหัวหน้าฝ่ายกลยุทธ์และนวัตกรรม ของทรูด้วย (ที่ทักเพราะไม่ยักเห็นคนของดีแทค ที่คลื่นล่มประจำ)
รายชื่ออื่นๆ ก็เช่น กนกศักดิ์ ปิ่นแสง ที่ปรึกษาเชียงใหม่คอนสตรัคชั่นของพ่อตาเนวิน ชิดชอบ และที่ปรึกษาคิงเพาเวอร์ ของวิชัย รักศรีอักษร ไทยนครพัฒนาก็ทิฟฟี่ บริษัทฮอว์คอายส์ อินเตอร์เทรด จำกัด ไม่แน่ใจว่าทำอะไร แต่ถ้าระดับโลก ฮอว์คอายส์ อินเตอร์เทรด (แคนาดา) คือพ่อค้าอาวุธ เคยยื่นขายรถหุ้มเกราะล้อยาง 4 พันล้านแต่แพ้ยูเครน

สลายขั้ว ทุน-ราชการ-ศาล
ผู้เข้ารับการอบรม บ.ย.ส.รุ่น 17 ปี 2555-2556 ตามประกาศในเว็บไซต์สำนักงานศาลยุติธรรมมี 90 คน ในจำนวนนี้มีผู้พิพากษาได้แก่
นางกัญญา วรรณโกวิท ผู้พิพากษาสมทบศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง
นายจุมพล ชูวงษ์ รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา
นายฉัตรชัย ไทรโชต รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่ง
นายโชคชัย รุจินินนาท ผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
นายธนฤกษ์ นิติเศรณี ประธานศาลอุทธรณ์ภาค 6
นายธวัชชัย สุรักขกะ รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาธนบุรี
นายนิพันธ์ ช่วยสกุล อธิบดีผู้พิพากษาภาค 2
นายปริญญา ดีผดุง ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา
นายพันธุ์เลิศ บุญเลี้ยง ประธานแผนกคดีสิ่งแวดล้อมในศาลอุทธรณ์ภาค 7
นางมนสิการ ดิษเณร วัชชวัลคุ รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่งธนบุรี
นายรังสรรค์ ดวงพัตรา ประธานแผนกคดีเลือกตั้งในศาลอุทธรณ์
นายวรงค์พร จิระภาค รองประธานศาลอุทธรณ์
นายวัฒนา วิทยกุล รองประธานศาลอุทธรณ์ภาค 3
นายวันชัย ศศิโรจน์ ประธานแผนกคดีผู้บริโภคในศาลอุทธรณ์ภาค 2
นายวิรุฬห์ แสงเทียน ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา
นางวีรา ไวยหงษ์ รินทร์ศรี อธิบดีผู้พิพากษาศาลล้มละลายกลาง
นายสุพจน์ กิตติรักษนนท์ ประธานแผนกคดีผู้บริโภคในศาลอุทธรณ์ภาค 4
นายสุรพล เอี่ยมอธิคม อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานภาค 6
นายสุรินทร์ ชลพัฒนา ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ประจำสำนักประธานศาลฎีกา
นางอุบลรัตน์ ลุยวิกกัย ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา
ที่มาจากศาลปกครอง อัยการ องค์กรอิสระ กระทรวงยุติธรรม ทหาร ตำรวจ ก็เช่น
นายสมชัย วัฒนการุณ ตุลาการศาลปกครองสูงสุด
นายกิตติ แก้วทับทิม รองอธิบดีอัยการ สำนักงานคดีศาลแขวง
นายตระกูล วินิจฉัยภาค รองอัยการสูงสุด
นายภาณุพงษ์ โชติสิน รองอธิบดีอัยการ สำนักงานคดีพิเศษ
นายเชาวนะ ไตรมาศ เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ
นายประยงค์ ปรียาจิตต์ รองเลขาธิการ ปปท.
นายพงศ์เอก วิจิตรกูล ผู้อำนวยการสำนักงานต่างประเทศ ปปช.
พ.อ.เศรษฐพงศ์ มะลิสุวรรณ รองประธานกรรมการ กสทช.
พ.ต.อ.สีหนาท ประยูรรัตน์ เลขาธิการ ปปง.
พ.ต.อ.สุชาติ วงศ์อนันต์ชัย อธิบดีกรมราชทัณฑ์
พล.ต.ท.เฉลิมเกียรติ ศรีวรขาน ผู้ช่วย ผบ.ตร.
พล.ต.ต.ชัยวัฒน์ เกตุวรชัย รอง ผบช.ประจำสำนักงาน ผบ.ตร.
พล.อ.วิทวัส รชตะนันทน์ รองปลัดกลาโหม
ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ ก็เช่น นายสมชัย สวัสดีผล รักษาการผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ นางสุรางคณา วายุภาพ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ที่จริงคุณสุรางคณา วายุภาพ นี่เป็นวิทยากรมาหลายรุ่นแล้ว เพิ่งจะเข้าอบรมเอง ฮิฮิ)
ข้าราชการในพระองค์ น.ส.กอบกุญ กาญจนาลัย ที่ปรึกษาสำนักพระราชวัง สื่อมวลชน นายวิโรจน์ วัฒนธาดากุล บรรณาธิการบริหารหนังสือพิมพ์สยามรัฐ นายสมโภชน์ โตรักษา ผู้ช่วยหัวหน้ากอง บก.ช่อง 7
คราวนี้มาดูภาคเอกชนบ้าง ว่าแคลิเบอร์ขนาดไหน
นายเกรียง ศรีรวีวิลาส ประธานกรรมการบริษัทไทยศิลป์จิวเวลรี่ จำกัด
ดร.เฉลิมพล โล่ห์รัตนเสน่ห์ กรรมการผู้จัดการบริษัทนีโอเวฟ เทคโนโลยีคอร์ปอเรชั่น จำกัด
นายชัชวาลย์ เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัททรูมัลติมีเดีย จำกัด
นางณัฐหทัย หิรัญเชาวิวัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัทตรีอรรถบูรณ์ จำกัด
นายธนการ ดำรงรัตน์ กรรมการบริหาร บริษัทกำแพงเพชรวิวัฒน์ก่อสร้าง จำกัด
นายนพพร บุญถนอม ประธานที่ปรึกษากฎหมาย บริษัทแสนสิริ จำกัด (มหาชน)
นายนพพล ชูกลิ่น กรรมการผู้จัดการบริษัทรีเทล บิซิเนสโซลูชั่นส์ จำกัด
นายบัญฑิต พิทักษ์สิทธิ์ ประธานที่ปรึกษา บริษัทสยามคาร์เรนท์ จำกัด
น.ส.ประกายดาว เขมะจันตรี กรรมการผู้จัดการ บริษัททรอปิคอล แลนด์ จำกัด
นางพันธุ์ทิพา ศกุณต์ไชย ประธานกรรมการบริหาร บริษัทโน๊ตแฟมิลี จำกัด
นางภัณฑิรา ฉัตรจุฑามาศ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ที.ซี.เจ.เอเชีย จำกัด (มหาชน)
ร.ต.อ.มนัส ฉายาวิจิตรศิลป์ ประธานกรรมการ บริษัทเอ็มโฮเต็ลสาธรกรุ๊ป จำกัด
นายมารชัย กองบุญมา ประธานกลุ่มบริษัท จันทภณิชย์ ซีเคียวริตี้ พริ้นท์ติ้ง จำกัด
นางรัตนา ตฤษณารังสี ประธานกรรมการบริษัทดับบิลว.ซี.เอส.ซันซิโร่ (ประเทศไทย) จำกัด
นางลดาวัลย์ ธนะธนิต ประธานกรรมการบริหาร บริษัทไอร่าแฟคเตอริ่ง จำกัด (มหาชน)
นายวิทัย รัตนากร รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายบัญชีและการเงิน บริษัทสายการบินนกแอร์
นายวีระศักดิ์ สุตัณฑวิบูลย์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
นางศิรินา โชควัฒนา ปวโรฬารวิทยา กรรมการบริหารสภาหอการค้าไทย
นางศศิพร สุสมากุลวงศ์ รองประธานบริหาร บริษัทซุปเปอร์ริช (ไทยแลนด์)
นายสมชัย วงศ์วัฒนศานต์ ผู้ช่วยกรรมการด้านบริหารองค์กร บริษัทไทยออยล์ จำกัด (มหาชน)
นายสมประสงค์ บุญยะชัย ประธานกรรมการบริหาร บมจ.ชินคอร์ปอเรชั่น
นายสาระ ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเมืองไทยประกันชีวิต จำกัด
นายสุเมธ ดำรงชัยธรรม รองกรรมการผู้จัดการ บริษัทน้ำมันพืชไทย จำกัด (มหาชน)
นายองอาจ เอื้ออภิญญกุล กรรมการและเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทบ้านปู จำกัด (มหาชน)
มีชินคอร์ป แสนสิริ ด้วยนะครับ (รอบหน้าคงมีเอสซีแอสเสท) กำแพงเพชรวิวัฒน์ เจียรวนนท์ ล่ำซำ โชควัฒนา
ฝ่ายการเมืองมี 6 คน นับจริงอาจแค่ 5 เพราะนางกีระณา สุมาวงศ์ สว.สรรหา จากสมาคมบัณฑิตสตรีทางกฎหมาย ภริยา อ.อัครวิทย์ สุมาวงศ์ อดีตรองประธานศาปกครองสูงสุด ควรถือเป็นสายนักกฎหมาย คนอื่นๆ ได้แก่ นายสมบูรณ์ งามลักษณ์ สว.สรรหา นางภารดี จงสุทธนามณี สว.เชียงราย น.ส.สุนทรี ชัยวิรัตนะ ส.ส.ชัยภูมิ พรรคเพื่อไทย อีก 2 รายมาในคราบนักธุรกิจคือ นางพวงเพ็ชร ชุนละเอียด ประธานกรรมการบริษัทไอดีลพร็อพเพอร์ตี้แมนเนจเมนท์ จำกัด นายอนุทิน ชาญวีรกูล ประธานกรรมการบริหาร บมจ.ซิโน-ไทยเอ็นจีเนียริ่ง แอนด์คอนสตรัคชั่น
การอบรมตามหลักสูตร บ.ย.ส.ซึ่งขอยกรุ่น 17 มาเป็นตัวอย่าง ต้องอบรม 84 วัน 528 ชั่วโมง แบ่งเป็นอบรมภาควิทยาการ ซึ่งมีทั้งฟังบรรยายและสัมมนา 198 ชั่วโมง จัดทุกวันศุกร์ 33 วัน อีก 294 ชั่วโมงเป็นการศึกษาดูงาน ซึ่งมีทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และต่างประเทศ อีก 36 ชั่วโมงให้ทำเอกสารวิชาการ
วิทยากรที่เชิญมาบรรยายออกจะค่อนไปข้างหนึ่ง อาจเพราะผู้มีชื่อเสียงในวงการกฎหมายค่อนไปทางนั้นอยู่แล้ว แม้จะถ่วงดุลมีเสียงข้างน้อยบ้าง
องคมนตรี ศ.ธานินทร์ กรัยวิเชียร บรรยายเรื่องคุณธรรมจริยธรรมของนักบริหารงานยุติธรรม ศ.เกษม วัฒนชัย เป็น 1 ใน 5 วิทยากรเรื่องความรู้เกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรม ดร.สุเมธ เฟอร์รารี เรื่องการบริหารงานและกระบวนการยุติธรรมตามแนวพระราชดำริ ฯลฯ
ที่เหลือก็เช่น ชวน หลีกภัย, อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ, กรณ์ จาติกวณิช, บัณฑูร ล่ำซำ, มีชัย ฤชุพันธ์, อักขราทร จุฬารัตน์, วิษณุ เครืองาม,บวรศักดิ์ อุวรรณโณ, จรัญ ภักดีธนากุล, ว.วชิรเมธี, ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวาณิชย์, เดชอุดม ไกรฤทธิ์ เป็นต้น ขณะเดียวกันก็มี วีระพงษ์ รามางกูร, มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ, บุญคลี ปลั่งศิริ ขณะที่ฝ่ายนักวิชาการมี อ.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ เป็น 1 ใน 5 วิทยากรเรื่องความรู้เกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรม
ผมแอบถาม อ.วรเจตน์ ได้ความว่าไปบรรยายมา 2-3 รุ่นแล้ว ถือเป็นการบรรยายทางวิชาการ มีเสรีภาพเต็มที่ เช่นปีที่แล้วรุ่น 16 พระองค์ภาฯ ทรงเข้าอบรม อ.วรเจตน์ก็ไปพูดเรื่องมาตรา 112 ท่านก็ทรงฟังจนจบ เหมือนผู้เข้ารับการอบรมทุกคน โดยไม่มีปฏิกิริยาใดๆ เพราะถือเป็นเรื่องทางวิชาการ
อันนี้ก็ต้องชมสำนักงานศาลยุติธรรมผู้จัด ว่าใจกว้างเหมือนกัน

ศาลปกครองเอาด้วย
ศาลปกครองเปิดหลักสูตรนักบริหารการยุติธรรมทางปกครองระดับสูง (บ.ย.ป.) มาแล้ว 3 รุ่น รุ่นแรกสมัย อ.อักขราทร จุฬารัตน ยังเป็นประธาน เปิดอบรมวันที่ 17 ก.ย.2553-27 ม.ค.2554 มี 84 คน
ในจำนวนนี้มีตุลาการศาลปกครอง 10 คน ส่วนใหญ่เป็นระดับตุลาการหัวหน้าคณะและรองอธิบดี ข้าราชการศาลปกครอง 10 คน ผู้พิพากษาศาลยุติธรรม 2 คน อัยการ 2 คน ตำรวจ 3 คน หน่วยงานในพระองค์ 2 คน สื่อมวลชน 2 คน ผู้บริหาร อปท.2 คน สถาบันอุดมศึกษา 2 คน หน่วยงานอิสระ 11 คน เอกชน 9 คน รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน 8 คน ราชการ 11 คน การเมือง 10 คน
เอกชน 9 คนได้แก่
นายชาญชัย จินดาสถาพร รองเลขาธิการสภาอุตสาหกรรมฯ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
นายพลพัฒ กรรณสูต นายกสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
นายชัยปิติ ม่วงกูล ผู้อำนวยการสำนักรัฐกิจสัมพันธ์ บริษัทโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด
นางฐิตตะวัน เฟื่องฟู รองหัวหน้าคณะผู้บริหารด้านกฎหมาย บ.ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
นายวัฒวุฒิ ศรีบุรินทร์ ผู้จัดการ/หัวหน้าสำนักงานกฎหมายและบัญชี ศรีวัฒนากรุ๊ป
นายสารัชถ์ รัตนาวะดี กรรมการผู้จัดการใหญ่ บ. กัลฟ์ เจพี จำกัด
นางสาวลักษมี ศรีสมเพชร กรรมการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
นายสุพจน์ เหล่าสุอาภา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สำนักกฎหมายบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน)
นางสาวรุ้งเพชร ลิ้มสวัสดิ์วงศ์ กรรมการบริหาร โรงแรม s15 และโรงแรม s31
การเมือง 10 คน จากวุฒิสภาได้แก่ นายวรินทร์ เทียมจรัส, พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช, น.พ.อนันต์ อริยะชัยพาณิชย์, น.ส.เกศสิณี แขวัฒนะ จากรัฐบาลและสภาผู้แทนราษฎรได้แก่ นายมารุต มัสยวาณิช รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี, นายศุรพงศ์ พงศ์เดชขจร เลขานุการ รมว.อุตสาหกรรม, นายชูวิทย์ พิทักษ์พรพัลลภ, นายปวีณ แซ่จึง, นายธีระชาติ ปางวิรุฬห์รักษ์, คุณหญิงสุพัตรา มาศดิตถ์
บ.ย.ป.รุ่น 2 เพิ่มเป็น 96 คน มีตุลาการศาลปกครอง 13 คน ส่วนใหญ่เป็นระดับตุลาการหัวหน้าคณะ อธิบดี รองอธิบดี ข้าราชการศาลปกครอง 7 คน ผู้พิพากษา 1 คน อัยการ 3 คน ส่วนอื่นๆ ที่มาจากราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรอิสระ ที่ดังๆ ก็เช่น ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล ตอนเป็นเลขา กลต. พ.อ.นที ศุกลรัตน์ กสทช. พล.ต.อ.สถาพร หลาวทอง จเรตำรวจแห่งชาติ ว่าที่ ปปช. นายประสบศิลป์ โชติมงคล รองผู้ว่าการสำนักบริการและสิ่งแวดล้อม การนิคมอุตสาหกรรม เป็นต้น
ที่น่าสนใจคือภาคธุรกิจเอกชนเพิ่มเป็น 15 คน เช่น
นายกังวาล กุศลธรรมรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.อินเตอร์เนชั่นแนล รีเสริช คอร์ปอเรชั่น
นายคณิต วัลยะเพ็ชร์ ทนายความพาร์ทเนอร์และกรรมการบริษัทเบเคอร์ แอนด์ แม็คเคนซี จำกัด
นายธาดา เศวตศิลา ผู้อำนวยการทรัพยากรบุคคล บ.ทรูคอร์ปอเรชั่น จำกัด
นายบุญชัย ถิราติ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทกัลฟ์ เจพี จำกัด
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
นายไพโรจน์ สินเพิ่มสุขสกุล กรรมการบริษัทเอเชีย ซีเคียวริตี้ เมเนจเม้นท์ จำกัด
นายรุจชรินทร์ ทองใหญ่ กรรมการผู้จัดการบริษัทนิติการ อินเตอร์เนชั่นแนลลอว์ จำกัด
นางศรินทร เมธีวัชรานนท์ ประธานกรรมการ บริษัทซาวเวอร์คิง แมนูแฟคเจอริ่ง และบริษัทเอสอาร์ แอดวานซ์ อินดัสตรี
นางศิริพร สุสมากุลวงศ์ รองประธานกรรมการ บริษัทซุปเปอร์ริช จำกัด
นางศรีวัฒนา อัศดามงคล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลบางมด
นายสมคาด สืบตระกูล ประธานกรรมการการลงทุนและกรรมการ บ.หลักทรัพย์คันทรี่กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
นายสมพงษ์ โกศัยพลกุล รองกรรมการผู้จัดการ บริษัทกรุงธนเอ็นจิเนียร์ จำกัด
นายสมัคร เชาวภานันท์ ประธานกรรมการ บ.ที่ปรึกษากฎหมายสมัครและเพื่อน จำกัด
นางสหัสชญาณ์ เลิศรัชตะปภัสร์ กรรมการผู้จัดการ บ.ฮัทชินสัน ซีเอที ไวร์เลส มัลติมีเดีย จำกัด
นายสันติภาพ เตชะวณิช รองประธานกรรมการบริหาร บริษัททศภาค จำกัด
ทั้งนี้ยังมีตัวแทนองค์กรคุ้มครองผู้บริโภค ได้แก่ นายธนา เบญจาทิกุล กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สคบ. นายนพดล พลเสน ประธานกรรมการมูลนิธิรักษ์ผืนป่าตะวันตกมรดกโลกห้วยขาแข้ง อุทัยธานี นายพาณิชย์ เจริญเผ่า นายกสมาคมส่งเสริมและคุ้มครองผู้บริโภค
แต่ดูชื่อแล้วก็หัวร่อก๊าก เพราะธนา เบญจาทิกุล คือทนายทักษิณผู้มีชื่อลือลั่นในคดีกล่องขนม นพดล พลเสน คืออดีต ส.ส.พรรคชาติไทยผู้ถูกตัดสิทธิ 5 ปี พาณิชย์ เจริญเผ่า คืออดีต สว.และผู้นำแรงงาน ไม่มีใครเป็น NGO จริงๆ ซักราย
แต่นักการเมืองรุ่นนี้ไม่ยักมีคนดัง มีแต่พวกเลขา ที่ปรึกษา ผู้ช่วยรัฐมนตรี ที่น่าจับตาหน่อยคือ บุญเลิศ บูรณุปกรณ์ นายก อบจ.เชียงใหม่
บ.ย.ป.รุ่นที่ 3 เพิ่มเป็น 99 คน เคยเป็นข่าวฮือฮาเพราะสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล เข้าเรียนด้วยในฐานะที่ปรึกษารัฐมนตรีทั้งที่เพิ่งถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตัดสิทธิ 5 ปี นักการเมืองดังคนอื่นๆ ได้แก่ วิทยา แก้วภราดัย, วิรัตน์ กัลยาศิริ 2 ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์, วัชระ กรรณิการ์ โฆษกกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา น.ส. วิไล บูรณุปกรณ์ รองนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ ฝ่ายวุฒิสมาชิกก็มี นายจรัล จึงยิ่งเรืองรุ่ง ส.ว.สระบุรี นายสุรเดช จิรัฐิติเจริญ นายถาวร ลีนุตพงษ์ ส.ว.สรรหา (อันที่จริงคือทายาทยนตรกิจ แต่เข้ามาเป็น สว.สายวิชาการ) ภารดี จงสุขธนามณี ส.ว.เชียงรายเจ้าเก่า พวงเพ็ชร ชุนละเอียด เจ้าก่า มาในนามประธานกรรมการบริษัทไอดีล พร๊อพเพอร์ตี้ แมนเนจเมนท์ ตามเคย ปิติพงศ์ เต็มเจริญ อดีต ส.ส.ไทยรักไทย กรรมการผู้จัดการบริษัท สิริพงศ์พรรณ คอร์ปเปอเรชั่น
ปรากฏว่าคราวนี้ตุลาการและข้าราชการศาลปกครองหดหายเหลือไม่กี่คนคือ
นายเกียรติภูมิ แสงศศิธร ตุลาการศาลปกครองกลาง
นายมนูญ ปุญญกริยากร ตุลาการศาลปกครองสูงสุด
พันเอกวรศักดิ์ อารีเปี่ยม ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองกลาง
นายสมชาย งามวงศ์ชน ตุลาการศาลปกครองสูงสุด
นางสาวสายทิพย์ สุคติพันธ์ ตุลาการศาลปกครองกลาง
นายอดุล จันทรศักดิ์ ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองกลาง
นายบรรยาย นาคยศ ที่ปรึกษาสำนักงานศาลปกครอง
นางสมฤดี ธัญญสิริ ที่ปรึกษาสำนักงานศาลปกครอง
แต่รายชื่อภาคธุรกิจเอกชนล้นหลาม
นายกิตติ ตั้งจิตรมณีศักดา รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
นางสาวเกศมณี แย้มกลีบบัว กรรมการผู้จัดการบริษัท เกศมณี อินเตอร์ กรุ๊ป จำกัด
นางจันทิมา บุญวิริยะกุล กรรมการตรวจสอบบริษัทไพลินบุ๊คเน็ต จำกัด (มหาชน)
นายชวิน ชัยวัชราภรณ์ ผู้อำนวยการสำนักกฎหมายบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)
นายโชคชัย นิลเจียรสกุล กรรมการผู้จัดการบริษัท สำนักงานจักรพงษ์ทนายความ จำกัด
นายเดช เฉิดสุวรรณรักษ์ กรรมการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมและกรรมการสมาชิกสัมพันธ์ สภาหอการค้าไทย
นางสาวทิพยวรรณ อุทัยสาง กรรมการบริหารบริษัท เปเปอร์เมท (ประเทศไทย) จำกัด
นายธนกร วังบุญคงชนะ ประธานคณะกรรมการบริษัท ทอง มัลติมีเดีย จำกัด
นายธนการ ดำรงรัตน์ กรรมการบริษัท กำแพงเพชรวิวัฒน์ก่อสร้าง จำกัด
นายธนญ ตันติสุนทร ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานองค์กรสัมพันธ์ บริษัท กัลฟ์ เจพี จำกัด
นายธัช บุษฎีกานต์ กรรมการบริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) จำกัด
นายนัที เปรมรัศมี กรรมการบริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรี โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)
นางสาวนิตยา ดิเรกสถาพร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
นายนิติ ถาวรวณิชย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ยูไนเต็ด โฮม เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด
เภสัชกรหญิง เบญจางค์ เคียงสุนทรา ประธานกรรมการบริษัท อัฟฟี่ฟาร์ม จำกัด
นางสาวประกายดาว เขมะจันตรี กรรมการผู้จัดการบริษัท ทรอปิคอล แลนด์ จำกัด
นายประสิทธิ์ กิจวิวัฒนการ ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการบริษัท บียอนด์ เพอร์เซ็ปชั่น จำกัด
นายปริญญา เธียรวร ประธานกรรมการและผู้ก่อตั้งบริษัท วี.เอ็ม.พี.ซี จำกัด
นางเปรมฤดี สุวรรณทัต ผู้อำนวยการอาวุโสบริษัท เจเนอรัล อิเลคทรอนิคคอมเมอร์ซ เซอร์วิสเซส จำกัด
นายพรชัย รัตนเมธานนท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท คาซา รอคคา จำกัด
นางพรนภา ไทยเจริญ กรรมการหุ้นส่วนบริษัท เบเคอร์ แอนด์ แม็คเคนซี่ จำกัด
นายพิสิษฐ์ เดชไชยยาศักดิ์ ทนายความหุ้นส่วนสำนักงาน Weerawong C&P
นางภัณฑิรา ฉัตรจุฑามาส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท ที.ซี.เจ เอเซีย จำกัด (มหาชน)
นางรัตนา ตฤษณารังสี ประธานกรรมการ บริษัท ดับบลิว.ซี.เอส.ซันชิโร (ประเทศไทย) จำกัด
นายวงศ์พันธ์ ณธันยพัต ประธานบริษัทบริษัท พัฒนาวิชาการ (2535) จำกัด
นายวรวุฒิ นวโภคิน กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดับเบิลยู แอนด์ เอส เดคคอเรชั่น จำกัด
นายวันไชย เยี่ยมสมถะ พาร์ทเนอร์ บริษัท แอลเอส ฮอไรซัน จำกัด
นายวิทูร ทวีสกุลชัย กรรมการผู้จัดการบริษัท แอลเมทไทย จำกัด
นายสมบูรณ์ เนื่องจำนงค์ กรรมการผู้จัดการบริษัท ศรสิษฐ์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด
นายสมบูรณ์ วรปัญญาสกุล กรรมการผู้จัดการบริษัท แปซิฟิค รีเทล เซอร์วิส จำกัด
นายอชิตศักดิ์ บรรจงโพธิ์กลาง กรรมการผู้จัดการ บริษัท สำนักกฎหมายธีรคุปต์ จำกัด
ดร.อนุกูล ตันติมาสน์ กรรมการบริหารและผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ช. การช่าง จำกัด (มหาชน)
นายอนุฤทธิ์ เกิดสินธ์ชัย กรรมการผู้จัดการบริษัท วงษ์สยามก่อสร้าง จำกัด
นายอัชดา เกษรศุกร์ กรรมการบริษัท อมตะ บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด
นายอารีศักดิ์ เสถียรภาพอยุทธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท ธนาสิริ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
นายเอกพิทยา เอี่ยมคงเอก กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สหการประมูล จำกัด
ตัวแทนภาครัฐที่น่าสนใจก็เช่น
นางจิราภรณ์ เล้าเจริญ ผู้จัดการฝ่ายตรวจสอบกระบวนการหลักบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)
รศ.ประเสริฐ ศีลพิพัฒน์ กรรมการกิจการ วิทยุกระจายเสียง วิทยุ โทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
ดร.วรพล โสคติยานุรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
พล.ต.อ.วันชัย ศรีนวลนัด กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
นายวีระพล จิรประดิษฐ์กุล อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน
นายเสมอใจ ศุขสุเมฆ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายไฟฟ้า กระทรวงพลังงาน
พล.ต.อ.เอก อังสนานนท์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
ทั้งนี้พวกที่อยู่ในสาย NGO เห็นชื่อ “ครูหยุย” วัลลภ ตังคณานุรักษ์ คนเดียว
น่าสังเกตว่าหลักสูตร บ.ย.ป.ของศาลปกครอง รุ่น 2 รุ่น 3 มีผู้บริหารหรือหุ้นส่วนสำนักงานทนายความเข้ามาเพียบ สำนักงานพวกนี้ไม่ได้รับว่าคดีอาญาฆ่ากันตายขายยาบ้าผัวเมียหย่าร้าง แต่เป็นที่ปรึกษากฎหมายให้บรรษัทยักษ์ใหญ่บรรษัทข้ามชาติทั้งสิ้น
ศาลปกครองมีอำนาจอะไร ก็เห็นๆ กันอยู่ว่ามีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวระงับ 76 โครงการมาบตาพุดมาแล้ว มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ล้มประมูล 3G มาแล้ว (แล้ว กสท.ยุครัฐบาล ปชป.ก็ประเคน 3G ให้ทรู) เอาเฉพาะ 2 คำสั่งนี้ก็ทำให้เกิดผลได้เสียทางธุรกิจเป็นแสนล้าน
ฉะนั้น ถามว่าถ้าคุณเป็นผู้บริหารทรู ดีแทค เอไอเอส หรือสำนักกฎหมายที่เป็นตัวแทนให้ยักษ์ใหญ่เหล่านี้ คุณจะอยากเข้าอบรม บ.ย.ป.มากขนาดไหน (แต่ไม่เห็นรายชื่อดีแทคอีกแหละ) คุณเป็นเจ้าของโรงงาน นิคมอุตสาหกรรม โรงไฟฟ้า บริษัทก่อสร้าง ฯลฯ หรือเป็นตัวแทนกฎหมายให้บริษัทญี่ปุ่น ฝรั่ง ที่มาบตาพุด ที่มีโอกาสจะถูกไอ้พวก NGO ตัวถ่วงความเจริญ ฟ้องให้ระงับการก่อสร้าง หยุดการผลิต ฯลฯ คุณจะเนื้อเต้นอยากเข้าร่วมไหม
โอเค ฉากหน้าทุกคนก็จะบอกว่ามาเพื่อศึกษาหาความรู้ จะได้ปฏิบัติถูกต้อง แต่ดูรายชื่อสิครับ หลายรายเป็นธุรกิจที่ล่อแหลมจะถูกฟ้อง การมาอบรมกับศาล มาสัมพันธ์กับตุลาการ พวกเขาต้องดีดลูกคิดรางแก้วไว้มากกว่าหาความรู้ตามปกติ
คดีปกครองประชาชนเสียเปรียบอยู่แล้วเมื่อฟ้องหน่วยงานรัฐให้บังคับใช้ กฎหมายกับบริษัทเอกชน ศาลปกครองจึงใช้ระบบไต่สวน เพื่อให้ประชาชนมีตุลาการเป็นที่พึ่ง แต่เมื่อผู้บริหารบริษัทหรือสำนักกฎหมายที่เป็นตัวแทน เข้ามาอบรมกับศาลปกครอง ประชาชนผู้เดือดร้อนเสียเปรียบก็ต้องรู้สึกไขว้เขวสับสน จริงไหมครับ (ขณะที่ สุทธิ มาบตาพุด, จินตนา บ้านกรูด, บรรจง ณ ท่อก๊าซ ฯลฯ ไม่ยักได้เข้ามาอบรมมั่ง)
นักการเมือง นักธุรกิจ แห่ไปอบรม บ.ย.ส.เป็นเพื่อนกับผู้พิพากษา เจ้าของหรือทนายของโรงงานที่อาจก่อมลภาวะ แห่ไปอบรม บ.ย.ป.เป็นเพื่อนตุลาการศาลปกครอง
นี่เป็นสิ่งที่ควรเกิดขึ้นหรือ
       ใบตองแห้ง
       12 ก.ย.55


หมายเหตุ: จะมี (2) ตามมาเพื่อตั้งปุจฉาภาพรวมของหลักสูตรเหล่านี้