WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, December 18, 2010

′ธรรมรัฐ/ธรรมาภิบาล: นัยทางการเมืองระดับโลก′

ที่มา มติชน



โดย เกษียร เตชะพีระ


เมื่อ ต้นเดือนนี้ สถาบันสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยโตเกียว (เจ้าของโลโก้ใหม่รูปมีดบิน 4 แฉก เป็นสัญลักษณ์แทน 4 สาขาวิชา คือ นิติศาสตร์, รัฐศาสตร์, สังคมวิทยา และเศรษฐศาสตร์) ชวนผมไปบรรยายเรื่องธรรมรัฐ/ธรรมาภิบาลในประเทศไทย พร้อมร่วมอภิปรายตบท้ายเกี่ยวกับแนวทางธรรมรัฐ/ธรรมาภิบาลกับญี่ปุ่นร่วม สมัย

ความรู้เรื่องญี่ปุ่นของผมเท่าหางอึ่ง จึงออกตัวขอไพล่ไปพูดเรื่องนัยทางการเมืองระดับโลกของแนวนโยบายธรรมรัฐ/ธร รมาภิบาล (Good Governance) แทน

ผมเริ่มโดยชวนผู้ฟังให้ลองจินตนาการ.....

ว่าอยู่สองต่อสองในห้องรโหฐานกับเขา/เธอที่คุณหมายปอง

จู่ๆ เขา/เธอคนนั้นก็สิ้นสติสมประดีไปเสียเฉยๆ อย่างนั้นแหละ

และสักครู่พอฟื้นตื่นขึ้นมา เขา/เธอกลับความจำเสื่อมหมด จำอะไรไม่ได้เลย พอเห็นคุณเข้าก็ออกปากถามว่า:

"ฉันเป็นใคร? ฉันชื่ออะไร? ฉันอยู่ที่ไหน? แล้วเธอล่ะเป็นใคร?"

อะแฮ่ม...แล้วคุณจะเล่านิทานเรื่องอะไรให้เขา/เธอฟัง?

%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%

Good Governance หรือธรรมรัฐ/ธรรมาภิบาลก็คือนิทานที่ไอเอ็มเอฟเล่าให้ประชาชนไทยและเอเชีย ตะวันออกทั้งหลายฟังหลังพวกเขาฟื้นจากอาการช็อคและสลบจากวิกฤตต้มยำกุ้ง เมื่อปี ค.ศ.1997

หน้าที่ของนิทาน Good Governance ก็คือกอบกู้ลัทธิเสรีนิยมใหม่ไว้จากวิกฤตต้มยำกุ้งนั่นเอง!

กล่าว คือแทนที่จะวิเคราะห์ฟันธงว่าวิกฤตเศรษฐกิจการเงินเอเชียตะวันออกครั้งนั้น เกิดจากการเปิดเสรีทางการเงินตามแนวทางโลกาภิวัตน์/เสรีนิยมใหม่ที่หลงใหล ฮือฮาทำตามแฟชั่นกัน กลับไพล่ไปโทษว่าเกิดจาก Bad Governance หรืออธรรมรัฐ/อธรรมาภิบาลต่างหาก ฉะนั้นทางป้องกันแก้ไขต่อไปข้างหน้าคือต้องปฏิรูปธรรมรัฐ/ธรรมาภิบาลหรือ Governance Reform

และแก่นสารสารัตถะของธรรมรัฐ/ธรรมาภิบาลที่ถูกนำ เสนอก็คือ = [LESS STATE + BETTER STATE] หรือ[รัฐน้อยลง + รัฐที่ดีขึ้น] ภายในกรอบกำกับของแนวนโยบายเสรีนิยมใหม่นั่นเอง

แปลว่ารัฐควรทำอะไร ให้น้อยๆ ไม่ต้องทำมาก และเท่าที่เหลือให้ทำก็ควรทำให้ดีขึ้น (โปร่งใส, มีประสิทธิภาพ, ประชาชนมีส่วนร่วม, บลาๆๆ) แต่ไม่ว่าจะทำอะไรห้ามรัฐล่วงละเมิดกรอบหลักการเสรี-นิยมใหม่/ฉันทามติ วอชิงตัน (เปิดเศรษฐกิจเสรี, ลดกฎเกณฑ์กำกับธุรกิจ, แปรรูปกิจการรัฐเป็นของเอกชน, ตัดทอนงบประมาณทางสังคม) เป็นอันขาด

ผล กระทบของมัน "ทำให้ระบอบประชาธิปไตยในประเทศต่างๆ แถบนี้หันไปถือเศรษฐกิจเป็นสรณะและบั่นทอนความเป็นการเมืองลง (economization &depoliticization of democracy)

กล่าวคือรัฐ ต่างๆ พบว่าอำนาจอธิปไตยเหนือแนวนโยบายเศรษฐกิจเชิงมหภาค (การเงิน, การคลัง, อัตราแลกเปลี่ยน) ของตนหดลดขอบเขตลง และเท่าที่เหลืออยู่ ก็ถูกทำให้กลายเป็นเรื่องเทคนิคทางเศรษฐกิจการเงิน

นโยบายสาธารณะถูกกำกับด้วยหลักแคบ-ตื้น-แห้ง-ง่ายๆ ว่าด้วยกำไร/ขาดทุนและการคำนวณอรรถประโยชน์เป็นตัวเงินอันตื้นเขิน

ซึ่ง ไม่ใช่ธุระกงการของชาวบ้านตาสีตาสายายมียายมาไร้ความรู้เชี่ยวชาญอะไรจะมา ตัดสินวินิจฉัย ต้องปล่อยให้เป็นเรื่องของกูรูผู้รู้ ก็คือบรรดาช่างเทคนิคทางเศรษฐกิจการเงินทั้งหลายแหล่นั่นเอง

แล้วเราก็ท่องบ่นนิทานธรรมรัฐ/ธรรมาภิบาลอยู่กันมาอย่างใบ้เบื้อนับสิบปี

(ดู ประสบการณ์และปัญหาการดำเนินนโยบายเสรีนิยมใหม่ของญี่ปุ่นนับแต่ต้นคริสต์ ทศวรรษที่ 1980 เป็นต้นมาได้ใน Makoto Itoh, "The Japanese Economy in Structural Difficulties", Monthly Review, 56: 11 (April 2005), www.monthlyreview.org/0405itoh.htm)

จนกระทั่งวิกฤตซับไพรม์และ เศรษฐกิจโลกถดถอยใหญ่ทำลายนิทานธรรมรัฐ/ธรรมาภิบาล และซัดอภิมหากูรู Good Governance ตะวันตกคว่ำหงายเค้เก้ลงเมื่อสองปีมานี้

กลายเป็นว่าต้นตอตักกศิลาธรรมรัฐพังพินาศทางเศรษฐกิจการเงินเอง

เพราะ อะไร? ส่วนหนึ่งก็เพราะ [TOO LITTLE STATE, TOO FEW REGULATIONS] รัฐมีอำนาจหน้าที่และทำงานน้อยไป กฎเกณฑ์กำกับดูแลเศรษฐกิจการเงินการธนาคารเบาบางเกินไป ตามสูตรสำเร็จเสรีนิยมใหม่นั่นปะไร

เราควรเรียนรู้อะไรได้จากเรื่องนี้บ้าง?

นิทาน ธรรมรัฐ/ธรรมาภิบาลมันไม่จริง กลไกตัวเลือกในการดำเนินเศรษฐกิจไม่ใช่ต้องเลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง ระหว่าง รัฐ กับ ตลาด, มันต้องใช้ทั้งสองอย่างนั่นแหละ เพียงแต่พินิจพิจารณาให้ชัดว่าใช้รัฐแค่ไหน? ปล่อยให้เป็นเรื่องของตลาดเท่าไหร่? แล้วจะเอารัฐประเภทไหน? ตลาดแบบใด? ขีดจำกัด, สัดส่วนระหว่างองค์ประกอบของกลไกเหล่านี้จะอยู่ที่ใด?

อุปมา อุปไมยก็เหมือนหนึ่งประชาชนโลกถูกวิกฤตซับไพรม์และเศรษฐกิจโลกถดถอยใหญ่ช็อค เข้าอีกที, สลบไปอีกที และบัดนี้ก็ฟื้นตื่นขึ้นมาอีกที

แล้วจะเล่านิทานเรื่องอะไรให้ประชาชนฟังดีล่ะทีนี้?

"เปิดสาร" พยานคดี 6 ศพ วัดปทุมวนารามฯ

ที่มา มติชน

โดย ชฎา ไอยคุปต์

หลังจากที่สำนักข่าวรอยเตอร์สได้เผยแพร่รายงานข่าวพิเศษที่ระบุว่า รายงานการสอบสวนสาเหตุการเสียชีวิตของพลเรือนระหว่างการชุมนุมของกลุ่มคน เสื้อแดงเมื่อเดือนเมษายน-พฤษภาคม ที่ผ่านมา โดยทางการไทย พบว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐไทยอาจมีส่วนกับการเสียชีวิตดังกล่าวของพลเรือนบาง ส่วน


โดยรอยเตอร์สอ้างว่าตนเองได้รับ เอกสารการสอบสวนเบื้องต้นที่ รั่วไหลออกมาจากกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ซึ่งทำให้เห็นว่าทหารไทยอาจมีบทบาทสำคัญต่อเหตุเสียชีวิตของพลเรือนในช่วง สถานการณ์ตึงเครียดดังกล่าวมากกว่าที่เจ้าหน้าที่เคยกล่าวยอมรับไว้


รายงาน การสอบสวนชิ้นนี้สรุปว่า มีกองกำลังพิเศษอยู่บนรางรถไฟฟ้าและทำการยิงปืนไปที่วัดปทุมวนาราม ซึ่งเป็นที่หลบภัยของผู้ชุมนุมประท้วงหลายพันคน เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม จริง


รายงานดัง กล่าวระบุผลการสอบสวนเบื้องต้นว่า 3 จาก 6 ผู้เสียชีวิตในวัดปทุมวนารามนั้น อาจจะถูกสังหารโดยเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งขัดแย้งกับคำแถลงการณ์ของกองทัพไทยที่ปฏิเสธว่าทหารไม่มีส่วนรับผิดชอบ กับการสังหารผู้คนในวัดแห่งนี้





มา ย้อนดูคำให้สัมภาษณ์ของรัฐบาลและเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องรวมทั้งปากคำจาก พยานและผู้บาดเจ็บจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวัดปทุมวนาราม ระหว่างที่รอการเปิดเผยผลสอบสวนจากกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ

31 พ.ค. - นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ ฝ่ายความมั่งคง กล่าวชี้แจงกระทู้ของ น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ ส.ส.กทม. เพื่อไทย ในการอภิปรายเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล ว่า จากที่ น.อ.อนุดิษฐ์ ยกภาพอ้างว่าเป็นภาพทหารบนรถไฟฟ้าบีทีเอส เมื่อเวลา 18.30 น. วันที่ 19 พ.ค. เรียนว่าภาพนี้เป็นภาพที่เป็นปัญหาตลอด คงต้องมีการพิสูจน์กัน ว่าถ่ายในวันที่ 19 พ.ค. เวลา 18.30 น. จริงหรือไม่ ขอเรียนว่า ตนได้ถามเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายที่ปฏิบัติงานในวันดังกล่าว แต่ พบว่าเมื่อเวลา 18.30 น. ไม่มีเจ้าหน้าที่ทหารอยู่บนรางบีทีเอส ขอกราบเรียนว่า เจ้าหน้าที่ของเราในชุดเคลื่อนที่จากสี่แยกปทุมวันฯ ไม่สามารถเข้ามาได้ที่รางรถไฟฟ้าได้ มาได้แค่เข้ามาคุ้มครองเจ้าหน้าที่ดับเพลิง จนต้องถอยมาที่บีทีเอส ขอเรียนว่าภาพที่ถ่ายเป็นทหารแน่ แต่เชื่อว่าน่าจะเป็น 20 พ.ค. ช่วงคุ้มครองประชาชนออกจากวัดปทุมฯ เชื่อว่าวันข้างหน้าจะพิสูจน์ได้

---------------------------------------

31 พ.ค. - นาวาเอก อนุดิษฐ์ นาครทรรพ ส.ส. กรุงเทพ พรรคเพื่อไทย ได้อภิปรายต่อมาในเรื่องการสลายการชุมนุมคนเสื้อแดงแสดงภาพเหตุการณ์บนรางรถไฟบีทีเอส หน้าวัดปทุมวนาราม เมื่อวันที่ 19 พ.ค. จนเป็นเหตุให้คนตาย 6 ศพในวัดปทุมวนาราม พร้อมยกคำกล่าวของนายสุเทพ ที่บอกว่าเป็น "โจรผู้ร้าย และไอ้โม่ง อยู่ที่บริเวณนั้น"


"ภาพ ทหาร เมื่อ 18.30 น. วันที่ 19 พ.ค. ก่อนเกิดเหตุยิง 5 ศพ มีสติกเกอร์ที่ หมวกเป็นสีชมพู เป็นภาพทหาร พยานหลายปากที่วัดปทุมฯยืนยันว่า มีการยิงลงมาจากรางรถไฟฟบีทีเอส การกระทำของนายอภิสิทธิ์ (เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี) ไม่ได้รับการคุ้มครอง ตามมาตรา 17 แห่งพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ " น.อ.อนุดิษฐ์ กล่าว





31 พ.ค. - นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวชี้แจงในการอภิปรายว่า หลังจากแกนนำประกาศยุติการชุมนุมในวันที่ 19 พ.ค.ที่ผ่านมา แกนนำได้เข้ามอบตัวที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ(ตร.) ขณะเดียวกันเจ้าหน้าที่รอปฏิบัติการรอบพื้นที่การชุมนุมจาก 4 ทิศก็มีแนวทางการปฏิบัติชัดเจน ชุดจากศาลาแดงมาหยุดที่แยกสารสิน ซึ่งพบปัญหาการต่อสู้ตอบโต้ โดยเฉพาะมาจากตึกบางกอกเคเบิ้ล ชุดจากเพลินจิตมาติดอยู่ที่ชิดลม ไม่สามารถเข้ามาได้ ส่วนชุดจากแยกราชปรารภและจากแยกปทุมวันก็เข้ามาไม่ได้ เนื่องจากเป็นช่วงที่ผู้ชุมนุมจะเดินทางไปยังสนามกีฬาแห่งชาติเพื่อขึ้นรถ กลับบ้าน หากเจ้าหน้าที่ทหารเข้ามา อาจเกิดการเข้าใจจนเกิดการปะทะได้


นายก รัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีมีผู้เสียชีวิตถูกยิงในวัดปทุมวนารามฯ ว่า ยังต้องสืบและสอบหาข้อเท็จจริงอย่างละเอียดถี่ถ้วนต่อไป แต่ตนมองไม่เห็นความจำเป็นที่เจ้าหน้าที่ต้องจัดการใดๆ กับประชาชนที่อยู่ในวัด มีแต่รายงานว่า ในช่วงการคุ้มครองการดับเพลิงโรงภาพยนตร์สยาม


"ได้ มีการพูดถึงการยิงเข้าวัดปทุมฯ จากบีทีเอสหรือสกายวอล์ค(ทางเดินเชื่อมระหว่างสถานีรถไฟฟ้า) โดยมีคนอยู่บนรางรถไฟฟ้าสองชั้น ซึ่งถ้ามีคนเดินมาจะมาได้ ต้องมาจากทิศทางราชประสงค์ เพราะสถานีสยามถูกปิดล็อค"

------------------------------------

31 พ.ค. - นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล ส.ส.แพร่ พรรคเพื่อไทย นำคลิป (คลิกดูคลิปที่รูปกล้องเหนือพาดหัวข่าว) มายืนยันว่า เจ้าหน้าที่ทหารได้เคลื่อนขึ้นไปอยู่บนรางรถไฟฟ้าตั้งแต่วันที่ 19 พ.ค.ในวันเกิดเหตุมีผู้เสียชีวิต 6 ศพในวัดปทุมวนาราม ยืนยันว่าในคลิปมีกลุ่มควันที่ถูกเผาเป็นหลักฐานยืนยันว่ามีเจ้าหน้าที่ทหาร บนรางรถไฟในวันที่ 19 พ.ค.ไม่ใช่วันที่ 20 พ.ค.ตามที่รองนายกฯกล่าวยืนยัน


นาย วรวัจน์กล่าวว่า มีควันไฟที่ปรากฏที่ตึกสยามพารากอนถูกเพลิงไหม้ ในภาพปรากฏภาพคนที่ยืนซุ่มอยู่บนสกายวอล์คทางเดินรถไฟฟ้าบีทีเอสในหลายจุด หันหน้าไปทางวัดปทุมวนาราม คลิปดังกล่าวถ่ายวันที่ 19 พ.ค.ไม่ใช่วันอื่นแน่นอน เพราะไฟไหม้สยามพารากอนในวันดังกล่าว แต่ปรากฏว่า เมื่อนำคลิปมาฉายกลับไม่พบเห็นภาพควันไฟแต่อย่างใด เห็นได้ชัดว่า คลิปที่นำมาเปิดควันไฟหายไปในตอนแรก





31 พ.ค. พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวเมื่อวันที่ 31 พ.ค. ว่า นายกรัฐมนตรีและกระทรวงการต่างประเทศ ได้ชี้แจงการแก้ไขปัญหาความไม่สงบเรียบร้อยแล้ว ส่วนผู้ช่วยทูตทหารไทยในต่างประเทศเป็นกลไกหนึ่งที่จะเข้าไปทำความเข้าใจการ แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น พร้อม ย้ำทหารไม่เคย คิดปราบปรามหรือสลายการชุมนุม และยืนยันว่า เจ้าหน้าที่ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณฉุกฉิน หรือ ศอฉ.ที่ออกปฏิบัติหน้าที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์เสียชีวิตทั้ง 6 ศพที่บริเวณหน้าวัดปทุมวนาราม

-------------------------------------

1 มิ.ย.-นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวชี้แจงในการอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ ถึงกรณีมีผู้ถูกยิงเสียชีวิตในวัดปทุมวนารามฯ ว่า เรากำชับในศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน(ศอฉ.) ตลอด ว่าเป็นพื้นที่ละเอียดอ่อนเป็นพิเศษ อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลา 18.00-18.30 น. วันที่ 19 พ.ค. มีการปะทะระหว่างทหารบนสถานีรถไฟฟ้ากับกองกำลังติดอาวุธพื้นราบ หลังจากนั้นมีข่าวผู้เสียชีวิต หลายเรื่องตนได้รับข้อมูลตรงกับฝ่ายค้าน หลายเรื่องก็ไม่ตรงกัน แต่ยืนยันว่าไม่มีขว้างแก๊สน้ำตาหลังวัด แต่ยอมรับว่ามีผู้สูญเสียที่น่าสูญชีวิตหน้าวัดและเต๊นท์พยาบาลจริง


"แต่ผมขอให้ความเป็นธรรมกับศอฉ.ว่า มีเหตุผลอะไรที่เจ้าหน้าที่ดำเนินการคนในวัด ทั้งที่ที่ผู้ชุมนุมยุติลงแล้ว"


นายอภิสิทธิ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า เรา มีผลการชันสูตรพลิกศพ 6 ศพในวัดปทุมฯ ในทุกกรณีพบความเป็นจริงตรงกันว่า วิถีกระสุนถูกยิงเกิดในแนวราบ แต่ผู้ถูกยิงอาจอยู่ในอิริยาบถที่ต่างกัน เช่น ท่ายืนหรือนั่งยองๆ จึงแทบเป็นไปไม่ได้เลยจะยิงจากที่สูง


7 มิ.ย.- พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด ทำหน้าที่โฆษก ศอฉ. กับโฆษกกองทัพบก กล่าวว่า ที่ประชุมไม่ได้มีการพูดถึง แต่ตำรวจพยายามสืบว่า 6 คนที่ตายเป็นใคร เพราะอาจมีข้อมูลเชื่อมโยงกับการถูกลอบสังหาร ส่วน เรื่องที่พรรคเพื่อไทยท้าให้ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ.สาบานที่วัดพระแก้วว่า ไม่ได้สั่งให้ทหารยิงประชาชนนั้น เห็นว่าที่ผ่านมามีการท้าตลอด ซึ่งยืนยันว่า สิ่งที่แถลงทุกเรื่องเป็นความจริง หากเรื่องทุกอย่างที่แถลงเป็นเท็จ จะหยุดการทำหน้าที่โฆษก ศอฉ. กับโฆษกกองทัพบก เพื่อความสบายใจ การที่คน 2 คน เล่าเรื่องไม่เหมือนกันนั้นขึ้นอยู่กับประชาชนว่าจะเชื่อใคร

พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ.ได้ยืนยันอย่างหนักแน่นว่า การปฏิบัติภารกิจการรักษาความสงบเรียบร้อยดังกล่าว กองทัพปฏิบัติตามจุดยืนเดิมมาโดยตลอดคือไม่ทำร้ายประชาชน มีหน้าที่ทำให้สถานการณ์บ้านเมืองเกิดความเรียบร้อย ไม่เป็นฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่ง ปฏิบัติตามบทบาทของกองทัพที่ต้องสนับสนุนการบริหารราชการของรัฐ และในช่วงต่อไปกองทัพจะใช้กลไกที่มีอยู่ในการสร้างความเข้าใจ สร้างความรัก ความสามัคคี ตามนโยบายปรองดองของรัฐบาล เพื่อให้สังคมไทยกลับคืนสู่ความสงบสุขอย่างยั่งยืนตลอดไป


เมื่อ ถามว่า ประเด็น 6 ศพ ที่วัดปทุมวนาราม ยังมีข้อถกเถียงว่าทหารหรือกลุ่มก่อการร้ายเป็นคนสังหาร พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า เจ้าหน้าที่เราชี้แจงแล้วว่า ในเวลานั้นอยู่ที่ใด อยากจะบอกสื่อมวลชนว่าอย่าไปตามกระแส สื่อจะต้องดูข้อเท็จจริง ถ้าถามเรื่องกระแสตนคงไม่สามารถที่จะตอบได้ แต่ถ้าให้พูดตามข้อเท็จจริงเจ้าหน้าที่เขายืนยันว่าในช่วงเวลานั้นไม่ได้ อยู่ตรงนั้น และตรวจสอบแล้วว่าไม่มีใครใช้อาวุธกับประชาชนนั้นคือข้อเท็จจริง


--------------------------------------
พยาน





คลิกฟังเสียงชาวบ้าน

20 พ.ค. - นางชวนพร ชัยมงคล อายุ 55 ปี จ.เชียงใหม่ เล่าถึงนาทีหนีตายเข้าไปอาศัยในวัดปทุมวนาราม ท่ามกลางวงล้อมของหมอกควันและเพลิงและกระสุนปืนที่ดังอย่างต่อเนื่องพร้อม กับผู้ชุมนุมหลายพันคนและอีก 6 ศพถูกยิงเสียชีวิตห่อด้วยเสื่อเรียงอยู่ในวัด ว่า "ทุกคนกลับบ้านด้วยความเจ็บใจเพราะว่าญาติพี่น้องร่วมต่อสู้ถูกยิง ถูกลากศพไปต่อหน้าต่อตา ไม่คิดว่าชีวิตนี้จะมาเจอแบบนี้ เป็นมนุษย์ขี้เหม็นเหมือนกัน แต่ถ้าขี้หอมก็ยกให้อีกระดับหนึ่ง ฉะนั้นต้องคิดว่าคุณ คือ มนุษย์เหมือนกัน


สาวใหญ่เมือง เชียงใหม่ยังบอกอีกว่า ขณะที่พวกเราหนีเขาวัดแล้วไปนั่งไหว้พระอยู่คิดว่าถ้าจะมายิงกันตอนไหว้พระ ก็ไม่เป็นไร ที่ตรงนั้นมีแต่เด็ก ผู้หญิง เต็มไปหมด


"ถ้า ต่อสู้ซึ่งหน้าเราต้านไหว แต่เขาเอาเปรียบเรา ไปซุ่มยิงจากข้างบน แบบนี้มันหมารอบกัด ต้องลงมาแล้วสู้กันซึ่งหน้าตัวต่อตัวเราจับมัดจับมัดดีดหำได้สบาย แต่เราไม่ฆ่าเพราะคนไทยด้วยกัน แต่เขามาตั้งใจฆ่าเรา ถ้าใครที่รับฟังมาจากที่ไหนก็ให้รู้ว่าเราคนไทยด้วยกัน ไม่ใช่ว่าเสื้อแดงต้องไปฆ่าเขา แค่จับเปลื้องผ้าก็ทำอะไรเราไม่ได้แล้ว แต่นี้มาฆ่าเราต้องนึกบ้าง ทำได้อย่างไรกับคนไม่มีทางสู้"

นางชฎาทาน ธันวาภักดี ชาวจ.นนทบุรี อายุ 55 ปี อาชีพค้าขาย กำลังหอบหิ้วสัมภาระที่ขนกลับมาจากราชประสงค์เพื่อเดินทางกลับบ้าน "เขา ใจร้ายมาก ฆ่าเราเหมือนหมูเหมือนหมา เหมือนเราไม่ใช่คน ยิงลงมาจากรางรถไฟฟ้ามีคนตาย 6 ศพ นอนอยู่ในวัดยังไม่ได้ฉีดยาให้ศพ น่าอนาถใจมาก ไม่คิดเลยว่าจะยิงเรา นัดเดียวคาที่หมด เห็นคนเชียงรายมากัน 8 ตาย 5 กระสุนเข้าหูซ้ายทะลุออกหูขวา"


นางคำสอน สมพงษ์ อายุ 57 ปี ชาวจ.หนองคาย นั่งรวมกลุ่มอยู่กับเพื่อน 3 คน รอเดินทางกลับบ้านที่สถานีขนส่งหมอชิต บอกเล่าเหตุการณ์ในวันที่ราชประสงค์มืดมิดพร้อมกับท่าทางที่ตื่นกลัว ว่า ลูกระเบิดลงมา พากันวิ่งเข้าวัดปทุมวนาราม เจ้าอาวาสดีมากให้พวกเราพักพิง

"กลัว ก็กลัวแต่สู้ ช่วยๆกัน ระเบิดโยนมาไม่ถูกพวกเราก็ถูกคนอื่น ลูกปืนยิงมาไม่ถูกเราก็ถูกคนอื่น การ์ดผู้ชายรับปืนรับระเบิดแทนผู้หญิงหมด ตายเยอะหนีไม่ทันทั้งคนแก่และเด็ก แล้วยังยิงฝรั่งที่มาทำข่าวอยู่กินกับพวกเรา แล้วยังจะมาหาว่าเป็นพวกผู้ก่อการร้ายยิงอีก มันโหดร้ายแค่ไหนรัฐบาลนี้ จะเอาเราไปประหารก็เชิญเพราะพูดความจริง เพราะรัฐบาลทำได้ทุกอย่าง" หญิงชาวหนองคายพูดอย่างไม่กลัวความผิดและภัยถึงตัว


นายสุชาติ พรั่งพรหม นปช.จันทบุรี กล่าวย้ำถึงภาพที่เห็นและเสียงที่ได้ยิน ว่า "เห็น ทหารยิงประชาชนตอนนั้นพักอยู่ที่วัดปทุมวนารามเห็นศพอยู่ในวัด 6 ศพ บาดเจ็บอีกประมาณ 10 คน ยิงพยาบาล(อาสาสมัคร)ในวัดที่กำลังทำแผลให้กับคนเจ็บ ก่อนยิงยังด่าพยาบาลอีกว่าอีเสื้อแดงมึงเก่งนักเหรอแล้วก็ยิงเลย เป็นทหารแก่แล้วมีผมหงอก "

"วสันต์"กับศพ"เกด" คลิกฟังเสียง


นายวสันต์ สายรัศมี หรือ เก่ง อาสาสมัครกู้ภัย ผู้สูญเสียเพื่อนร่วมทีมที่กลายเป็นศพ 3 ราย ถูกยิงเสียชีวิตในวัดปทุมวนาราม เมื่อวันที่ 19 พ.ค.ขณะที่กำลังช่วยเหลือผู้บาดเจ็บในเต็นท์พยาบาล ตั้งคำถามว่า "กู้ภัยไม่เกี่ยวข้องทำไมถึงถูกเรียกเข้าไปพบ ศอฉ. " นี่เป็นคำถามที่ นายวสันต์ ถามตัวเองและเป็นเหตุผลที่ไม่ยอมเข้าไปพบศอฉ.แต่ยอมใช้ชีวิตแบบหลบๆซ่อนๆ

"ผม พร้อมที่จะไปเป็นพยานพูดถึงสิ่งที่ เห็นและผมมีหลักฐานที่จะแสดงให้ทุกคนเห็น ว่า สิ่งที่รัฐบาลทำกับประชาชนมากแค่ไหน กู้ชีพที่เสียชีวิต 5 คน รัฐบาลยังไม่ได้ออกมาพูดอะไรเลย ผมมีทั้งภาพถ่าย คลิปวิดีโอ ที่เก็บรวบรวมจากชาวบ้านช่างภาพที่อยู่ในเหตุการณ์ว่าทหารยิงหรือไม่ หากวันหนึ่งผมเป็นอะไรไปข้อมูลที่ผมมีได้ฝากไว้กับเพื่อนที่ไว้ใจได้และ พร้อมที่จะออกมาต่อสู้แทนผม เพื่อจะนำความจริงออกมาให้ทุกคนเห็นได้ "


"บ่าย 5 โมงกว่า เริ่มมีเสียงปืนดังเกิดขึ้นตั้งแต่ตรงข้างสยามพารากอนเริ่มมีเสียงปืนดังเข้ามาบริเวณวัด การยิงของทหาร คือ กราดยิงเข้ามาเรื่อยๆไม่มีคำว่าหยุดยิงลงมาจากรางรถไฟฟ้า บีทีเอส ชั้น 2 ภาพที่ประชาชนส่วนมากมองขึ้นไป คือ "เห็นทหารยืนอยู่ข้างบนมีการกราดยิงมาใส่ประชาชนข้างล่างที่ไม่มีแม้แต่ อาวุธมีเพียงเสื้อผ้า หมอน น้ำดื่ม ที่ใช้ประทังชีวิต"

--------------------------------------
ผู้บาดเจ็บ

คลิกฟังเสียงผู้บาดเจ็บ

28 พ.ค. นายกิตติชัย แข็งขัน ชาวขอนแก่น ถูกยิงได้รับบาดเจ็บเกิดเหตุที่วัดปทุมวนาราม กล่าวว่า "ผมพูดในสิ่งที่ตัวเองประสบมาเห็นมากับตาถ้าไม่เห็นแบบนี้ก็พูดไม่ได้"

"ผม มาจากทางศาลาแดงมาเป็นกลุ่มสุดท้ายพอดีกับเวทีสลายหมดแล้ว การ์ดก็ให้วิ่งเข้าไปในวัด พอไปถึงผมก็พักผ่อนนอนเล่นกันอยู่ตั้งนานถึงได้ยินเสียงปืนดังมาอีก จึงเข้าไปหลบใต้ท้องรถ ตอนนั้นเป็นเวลาเกือบ 1 ทุ่ม เขายืนอยู่บนทางรถไฟฟ้ายิงเข้ามาในวัดต่างคนต่างหลบกัน ผมโดนยิงข้างหลังกับมือ พวกเราไปหลบอยู่ใต้ท้องรถ 5-6 คน


ตอน ที่ผมโดนยิงทหารก็ให้ออกมาจากใต้ ท้องรถ เขายิงมาจากบนสะพานรถไฟฟ้า ผงกหัวขึ้นไม่ได้เลย พอโดนลูกปืน มันร้องไห้ออกมา แต่ไม่มีใครออกไป พอผมโดนยิง ผมบอกว่ายอมแล้วๆมันก็ยิงใส่มืออีก มันโกหกบอกให้ออกมายิง แต่ผมไม่ไหวแล้วเลือดออกเยอะ พอออกมามันบอกให้ผมถอดเสื้อออกแล้วยกมือขึ้น แล้ววิ่งไป ผมก็วิ่งไปหาพยาบาลทำแผลให้ ผมยืนหันหน้าเห็นทหารเขาเล็งมาใส่ผม แต่ตอนนั้นเขาไม่ยิงใส่แล้ว เพราะเห็นว่าผมถูกยิง บอกให้ถอดเสื้อ ยกมือขึ้น ผมก็ยกมือขึ้นสองข้างแล้วก็วิ่งไปเลย" นายกิตติชัยกล่าวและยืนยันอีกครั้งว่า


"ผม เห็นเขายิง ผมยืนยันไม่มีใครหรอกนอกจากทหารใส่ชุดพรางใส่หมวก เขาก็ตะโกนให้ผมออก ผมก็ตะโกนออกแล้วครับ ผมก็บอกยอมแล้วครับเห็นยืนเล็งใส่ผมอยู่ ถ้ามันยิงตอนผมถอดเสื้อคงตายแล้ว แต่มันก็บอกให้ผมวิ่ง ผมก็วิ่งไปหาพยาบาลไปอ่อนแรงตรงนั้น พอทำแผลใกล้เสร็จห้ามเลือดเขาก็ยิงมาใส่หลายนัด โดนฝรั่งที่กำลังถ่ายรูปผมอยู่ จากนั้นผมก็สลบไปเลย"















ดีเอสไอ

16 พ.ย. - พ.ต.อ.ณรัชต์ เศวตนันท์ รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ หัวหน้าคณะพนักงานสอบสวนชุดคลี่คลายการเสียชีวิต 89 ศพ ชี้แจงกรณีส่งสำนวนคดีผู้เสียชีวิตที่วัดปทุมฯให้สตช. ชันสูตรพลิกศพใหม่เพียง 3 ศพว่า เนื่องจากทั้ง 6 ศพ ไม่ได้เสียชีวิตในคราวเดียวกัน และมีการเคลื่อนย้ายศพด้วย ซึ่งการปะทะก็มีทั้งกองกำลังไม่ทราบฝ่าย และฝ่ายเจ้าพนักงาน ฝ่ายความมั่นคง ซึ่ง จากการชันสูตรศพพบพบรูกระสุน คราบตะกั่ว ทองแดง โดย 5 ใน 6 ศพ พบกระสุนฝังใน จากการที่ดีเอสไอร่วมกับสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ลงพื้นที่ตรวจสอบบริเวณราง รถไฟฟ้าบีทีเอสซึ่งมีการวางกำลังเจ้าหน้าที่บางส่วนไว้ข้างบนและมีการใช้ อาวุธปืน จึงสรุปได้ว่าอาจจะเกิดจากการที่มีเจ้าหน้าที่เข้าไปเกี่ยวข้อง


พ.ต.อ. ณรัชต์ กล่าวอีกว่า ส่วนที่แยกออกมาแค่ 3 ศพนั้น เนื่องจากผลการตรวจพิสูจน์ปรากฏว่าบาดแผลกระสุนปืน วิถีถูกยิงเข้าจากบนลงล่าง คือถูกยิงจากที่สูง นอกจากนี้ในการตรวจที่เกิดเหตุร่วมกับนิติวิทยาศาสตร์หลังเกิดเหตุนาน 2 เดือน พบปลอกกระสุน 2 ปลอกและกระสุนปืนเอ็ม 16 จำนวน 1 นัด ขณะที่ฝ่ายทหารก็ยอมรับว่ามีการส่งกำลังทหารพร้อมอาวุธปืนเข้าไปประจำจุด ดูแลบริเวณรางรถไฟฟ้าจำนวน 8 นาย เช่นเดียวกับกรณีของพลทหารณรงค์ฤทธิ์ สาระ ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าอาจเสียชีวิตจากการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้า หน้าที่รัฐ ดังนั้นจึงต้องส่งสำนวนไปดำเนินการตามป.วิอาญามาตรา 150

"เมื่อ เป็นการเสียชีวิตที่ผิดธรรมชาติจะต้องมีการชันสูตรโดยมีเจ้า หน้าที่ท้องที่ต้องตรวจสอบร่วมกับงานนิติเวช แต่หากเป็นกรณีที่อ้างว่ามีเจ้าหน้าที่เข้าไปเกี่ยวข้อง ต้องมีพนักงานฝ่ายปกครองและพนักงานอัยการร่วมตรวจสอบเพิ่มเติมให้เป็นไปตาม กฎหมายป.วิอาญามาตรา 150 เพื่อให้การดำเนินคดีมีความโปร่งใสมากขึ้น" พ.ต.อ.ณรัชต์

--------------------------------------

10 ธ.ค. - นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ ให้สัมภาษณ์กับรอยเตอร์สว่า ดีเอสไอได้สรุปผลการสอบสวนเบื้องต้นและส่งรายงานดังกล่าวไปยังเจ้าหน้าที่ ตำรวจ แต่ยังไม่ได้เปิดเผยเนื้อหาของผลการสอบสวนเหล่านั้นต่อสาธารณะ


"รายงานการสอบสวนถือเป็นประเด็นอ่อนไหวที่จะพูดถึงหรือยืนยันว่ารายงานชิ้นนั้นมีความถูกต้องจริงหรือไม่" นายธาริตกล่าวและว่า "นี่เป็นความลับทางราชการ ดังนั้น การยืนยันว่ารายงานที่ถูกจัดส่งไปให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นสิ่งถูกต้อง จึงอาจส่งผลกระทบต่อสิทธิของบุคคล ซึ่งมีรายชื่อปรากฏอยู่ในรายงานดังกล่าว"


นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้ตอบคำถามรอยเตอร์สเกี่ยวกับเอกสารที่รั่วไหลออกมาดังกล่าว โดยไม่ได้ปฏิเสธว่าเอกสารเหล่านี้ไม่ใช่เอกสารจริง แต่กล่าวว่า การสอบสวนยังไม่สมบูรณ์และกำลังพยายามเร่งรัดกระบวนการให้รวดเร็วขึ้น


"ขั้น ตอนต่อไปจะเกี่ยวข้องกับกระบวนการทางด้านศาลยุติธรรม ดังนั้น เราจึงไม่สามารถมีปฏิกิริยาโต้ตอบกับข้อมูลที่ยังไม่สมบูรณ์" นายกรัฐมนตรีกล่าว

--------------------------------------

รายงาน ข่าวจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) เปิดเผยเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน ว่าสถาบันนิติเวชวิทยา (นต.) ตร. โดย พ.ต.อ.นพ. พรชัย สุธีรคุณ รอง ผบก.นต. ได้ส่งรายงานผลการชันสูตรพลิกศพของผู้เสียชีวิตภายในวัดปทุมวนาราม จำนวน 6 ศพ เมื่อ วันที่ 19 พฤษภาคมที่ผ่านมาให้กับพนักงานสอบสวน สน.ปทุมวัน โดยระบุว่า ศพที่หนึ่ง ผู้ตายชื่อ นายวิชัย มั่นแพ อายุ 61 ปี มีบาดแผลบริเวณผิวหนังทะลุบริเวณต้น แขนขวาด้านนอก บาดแผลผิวหนังทะลุต้นแขนขวา และบาดแผลบริเวณทรวงอกด้านขวา สันนิษฐานกระสุนทะลุปอดขวา กระบังลม ตับ ไตขวา ขั้วยึดลำไส้ พบเศษทองแดง 2 ชิ้นบริเวณขั้นยึดลำไส้ ทิศทางจากขวาไปซ้าย หน้าไปหลัง และบนลงล่าง ความเห็นเพิ่มเติมถูกยิง 1 นัด ระยะเกินมือเอื้อม สาเหตุการตาย กระสุนทำลายปอดตับ


ศพที่ 2 นายอัฐชัย ชุมจันทร์ อายุ 28 ปี มีบาดแผลผิวหนังทะลุบริเวณหลังด้านซ้าย บาดแผลผิวหนังทะลุบริเวณทรวงอกด้านซ้ายส่วนบน กระสุนตัดกระดูกซี่โครงด้านซ้ายซี่ที่ 3 ทะลุปอดซ้าย ทิศทางจากหลังไปหน้าแนวตรง ความเห็นเพิ่มเติม ถูกยิง 1 นัดระยะเกินมือเอื้อม สาเหตุการตาย กระสุนทำลายปอด


ศพที่ 3 นายมงคล เข็มทอง อายุ 36 ปี พบบาดแผลฉีกขาดตื้นๆ รูวงกลมบริเวณต้นแขนซ้าย 2 แห่ง พบบาดแผลผิวหนังทะลุบริเวณทรวงอกด้านซ้าย กระสุนตัดกระดูกซี่โครงด้านหน้าซี่ที่ 2-3 กระดูกกลางอก ทะลุปอดซ้าย หัวใจ ปอดขวา กระบังลมตับ พบเศษทองแดงในเสื้อ เศษตะกั่วเล็กๆ ในหัวใจและปอด ทิศทางจากซ้ายไปขวา หน้าไปหลัง และบนลงล่าง สาเหตุการตาย กระสุนทำลาย หัวใจ ปอด ตับ


ศพที่ 4 นายสุกัน ศรีรักษา อายุ 31 ปี มีบาดแผลทะลุผิวหนังถึง 9 แห่ง โดยบาดแผลที่ 1 กระสุนทะลุซี่โครงซี่ที่ 2 ด้านซ้าย ทะลุปอดซ้าย ทะลุเยื้อหุ้มหัวใจ และกล้ามเนื้อหัวใจฉีกขาด พบโลหะคล้ายหัวกระสุนปืนหุ้มทองแดง 1 ชิ้น ค้างอยู่ที่เนื้อชายโครงด้านขวา ไม่ทะลุออกทิศทางจากซ้ายไปขวา บนลงล่าง หลังไปหน้าเล็กน้อย สาเหตุการตาย ปอดคั่งเลือดทั่วไป กล้ามเนื้อหัวใจฉีกขาด ตับคั่งเลือด เสียโลหิตเป็นจำนวนมาก


ศพที่ 5 นายอัครเดช ขันแก้ว อายุ 22 ปี (ปฏิบัติหน้าที่ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่พยาบาลอาสา) ตรวจพบบาดแผลทะลุผิวหนัง 7 แห่ง พบรอยช้ำใต้หนังศีรษะบริเวณท้ายทอยด้านซ้าย สมองพบเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นนอก กระสุนทะลุกระดูกกรามด้านขวาหัก กระดูกโหนกแก้มขวาแตก พบเศษตะกั่วในช่องปากและฐานกะโหลกศีรษะ และพบเศษตะกั่วบริเวณกระดูกก้นกบ สาเหตุการตายถูกยิง 2 นัด ระยะเกินมือเอื้อม เลือดออกใต้เยื้อหุ้มสมองชั้นนอก เนื้อสมองช้ำ จากการถูกแรงกระแทก (กระสุนทะลุช่องปาก)


ศพที่ 6 น.ส.กมนเกด อัดฮาด อายุ 25 ปี (อาสาสมัครพยาบาล) มีบาดแผลถูกยิงทะลุผิวหนังมากถึง 10 แห่ง โดย บาดแผลที่ 1 กระสุนถูกเข้าที่หลังผ่านขึ้นด้านบนผ่านแนว ลำคอหลังทะลุผ่านกะโหลกศีรษะซีกซ้าย ทะลุสมองน้อยและสมองใหญ่ พบชิ้นส่วนโลหะคล้ายหัวกระสุนหุ้มทองแดง 1 ชิ้น ค้างที่กะโหลกด้านขวา ทิศทางจากล่างขึ้นบน หลังไปหน้า ขวาไปซ้ายเล็กน้อย ลักษณะหมอบลงกับพื้น หน้าหันลงพื้นดิน บาดแผลที่ 2-4 ถูกยิงเข้าบริเวณอก บาดแผลที่ 5-10 ถูกยิงบริเวณแขนและขวา ลักษณะถูกระดมยิง สาเหตุการตายกระสุนทะลุหลังเข้าไปทำลายสมอง ซึ่งแพทย์ผู้ตรวจยังไม่สามารถระบุได้ว่าถูกยิงจากบนลงล่างหรือไม่ แต่จากการสันนิษฐานเชื่อว่า น.ส.กมนเกด หมอบหน้าแนบพื้น ถูกระดมยิงจากด้านหลัง ซึ่งการตรวจสอบที่แน่ชัดต้องมีพยานที่อยู่ในที่เกิดเหตุมาประกอบด้วย เพราะการจำลองใช้เลเซอร์มาวางแนววิถีกระสุนก็ทำไม่ได้ ในกรณีนี้เนื่อง จากหัวกระสุนไปถูกกระดูกและกระดอนไปมาทำให้ร่างกายเสียหายมากจนไม่สามารถ จำลองแนวการยิงได้อย่างแน่ชัด

---------------------------------------

อีเมล : iyacoupt@hotmail.com

http://www.facebook.com/profile.php?id=100001242647508#!/profile.php?id=100001242647508

ทางสายใหม่

ที่มา thaifreenews

โดย vinitaya

ทางสายใหม่

มนุษย์เราก้าวย่างบนทางฝัน
เดินฝ่าฟันตามใจที่ใฝ่หา
ทางสายเก่าลดเลี้ยวคดเคี้ยวพา
หาทางใหม่มุ่งหน้ากำหนดมี

ทางชีวิตขีดเราเดินเผชิญสู้
อุดมการณ์มั่นอยู่ไม่ถอยหนี
หนทางเก่าอันตรายมากมายมี
ต้องหันเหหาอีกทีหนทางไป

เป็นเส้นทางสายใหม่ที่มุ่งมั่น
เดินฝ่าฟันก้าวย่างบนทางใหม่
คือหนทางแห่งประชาธิปไตย
ประชาชนเป็นใหญ่ในแผ่นดิน

ถึงยากเย็นลำเค็ญตนจะทนสู้
ไม่ยอมอยู่นิ่งเฉยละเลยสิ้น
สู้ด้วยใจไม่หวั่นไหวในชีวิน
เสรีชนไม่สิ้นอุดมการณ์

ทางสายเก่าเผด็จการมารแผ่นดิน
มันกอบโกยโกงกินจนฉิบหาย
สูบเลือดเนื้อประชาชนจนตกตาย
ชาติวอดวายล้าหลังแทบพังพิณ

ประชาธิปไตยทางสายใหม่ที่ต้องการ
ช่วยขับขานชาติไทยไม่สูญสิ้น
ประชาธิปไตยเต็มใบทั้งแผ่นดิน
ก่อนชาติสิ้นต้องสร้าง..........ทางสายใหม่

วินิตยา
18/12/2553

จงใจรั่ว?

ที่มา ข่าวสด

คอลัมน์ เหล็กใน

มันฯ มือเสือ




เป็นผลสะเทือนของข้อมูลสอบสวนคดี 6 ศพวัดปทุมฯ และการเสียชีวิตของนายฮิโรยูกิ มูราโมโตะ ช่างภาพรอยเตอร์ชาวญี่ปุ่น

ที่รั่วไหลไปถึงมือ นายจตุพร พรหมพันธุ์ และสำนักข่าวรอยเตอร์

นายจตุพรอ้างว่าได้รับข้อมูลจากตำรวจแตงโมที่รับมาจากดีเอสไออีกทอด ขณะที่รอยเตอร์ระบุได้ข้อมูลมาจากฝ่ายรัฐบาล

เป็นข้อมูลตรงกันว่าการตายของประชาชน 6 ศพ และนายมูราโมโตะ

อาจเกิดจากฝีมือเจ้าหน้าที่รัฐ

ภายหลังการเปิดโปงข้อมูลดังกล่าวถูกจับแยกออกเป็น 2 ส่วน

คือส่วน 'ที่มา' และ 'เนื้อหา'

คล้ายๆ กรณีคลิปศาลรัฐธรรมนูญก่อนหน้านี้

อย่างไรก็ตามการที่นายจตุพร และรอยเตอร์

นำเนื้อหาข้อมูลสอบสวนคดี 6 ศพวัดปทุมฯ และคดีนายมูราโมโตะ ของดีเอสไอที่ได้รับออกมาเปิดโปง

เป้าหมายใหญ่ไม่ได้อยู่ตรงเจ้าหน้าที่ในระดับปฏิบัติหรือแม้แต่ผู้บังคับบัญชาที่อยู่เหนือขึ้นไป

แต่น่าจะอยู่ที่ตัวผู้นำการเมืองสูงสุดขณะนั้นมากกว่า

ท่ามกลางกระแสการเคลื่อนไหวทวงถามหาความรับผิดชอบต่อความตาย 91 ศพ ที่พุ่งตรงเข้าใส่นายกฯ อภิสิทธิ์ คนเดียวเต็มๆ

จึงไม่ใช่เรื่องแปลกกับข่าวที่เริ่มกระฉอกออกมา

กองทัพหวาดระแวงกำลังถูกบางคนในรัฐบาลเล่นเกมตลบหลัง

ตรงนี้เองคือต้นตอคำถามถึง 'ที่มา' ของข้อมูลในสำนวนสอบสวนของดีเอสไอ

เป็นการ 'จงใจ' ปล่อยให้รั่วไปถึงมือฝ่ายตรงข้ามหรือไม่

อันเป็นจุดที่พรรคเพื่อไทยนำไปขยายผลต่อ

มี บิ๊กทหารบางคนไม่พอใจผลสอบสวนของ ดีเอสไอ ที่ระบุถึงคดี 6 ศพวัดปทุมฯ และการเสียชีวิตของนายมูราโมโตะอาจเกิดจากการกระ ทำของเจ้าหน้าที่รัฐ

และต้องการกดดันให้รัฐบาลปลดนายธาริต เพ็งดิษฐ์ พ้นจากเก้าอี้อธิบดีดีเอสไอ

ซึ่ง ไม่น่าจะสำเร็จ เพราะรัฐบาลย่อมตระหนักดีว่านายธาริตคือคนหนึ่งที่ใกล้ชิดกับเหตุการณ์เดือน เม.ย.-พ.ค. และเป็นเจ้าของสำนวนสอบสวนคดี 91 ศพ

เสร็จนาฆ่าโคถึก เสร็จศึกฆ่าขุนพล

ยังนำมาใช้กับนายธาริตไม่ได้ในตอนนี้

ในตอนที่ศึกเสื้อแดงยังไม่สะเด็ดน้ำ

ล้านคำบรรยาย การ์ตูนเซีย วันที่ 18/12/53

ที่มา thaifreenews

โดย blablabla



ถึงจะปิด อย่างไร ก็ไม่มิด
ความถูกผิด เปิดกว้าง สว่างแจ้ง
ยิ่งสั่งปิด กลับยิ่งเติม ยิ่งเพิ่มแรง
ยิ่งตะแบง ยิ่งไปไกล ยุคไอที....

ปิดเรื่องฆ่า คนตาย ตั้งหลายศพ
ให้ลืมเลือน เกลื่อนกลบ สยบนี้
จะปิดเรื่อง คอรัปชั่น อันมากมี
กลับถูกตี แผ่กระจาย ขยายความ....

ปิดเรื่องคน สามานย์ สันดานชั่ว
ว่าอนาถ ขยาดทั่ว กลัวคำถาม
แม้นปิดเรื่อง รัฐทหาร ขนานนาม
คนกลับตาม ลากใส้ ให้เห็นกัน....

ไล่ปิด ร้อยพันอย่าง ไม่ว่างเว้น
พวกกากเดน เบนเบี่ยง เลี่ยงเหหัน
ทั้งแทรกแซง สื่อมวลชน คนสามัญ
ทำตามมัน ที่ขีดเส้น ให้เป็นไป....

ยิ่งสั่งปิด ยิ่งดัง ยิ่งพังพาบ
คิดว่าคง ศิโรราบ โยนบาปให้
เรื่องพวกมัน ทำผิด จะปิดยังไง
ก็กระฉ่อน ร่อนไป ได้เสรี....


blablabla32@hotmail.co.th
http://www.facebook.com/profile.php?id=100001177832717
วันเสาร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2553

นักกฏหมายสิทธิเตือนสังคม-ตำรวจระวังเกินเส้น กรณี ‘โจ๊ก ไผ่เขียว’

ที่มา ประชาไท

18 ธ.ค.53 เครือข่ายนักกฏหมายสิทธิมนุษยชนและเครือข่ายออกแถลงการณ์กรณีเจ้าหน้าที่ ตำรวจวิสามัญฆาตกรรม โจ๊ก ไผ่เขียว แสดงความเสียใจกับครอบครัวน้องโตมี่ ขณะเดียวกันก็ชี้ว่าบาดแผลที่ศีรษะ 4 นัด และคลิปวีดิโอที่เห็นเจ้าหน้าที่ตำรวจเดินเข้าไปยิงซ้ำอาจเป็นการกระทำเกิน กว่าเหตุ ไม่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย ควรชันสูตรพลิกศพและไต่สวนการตายอย่างเร่งด่วน ขณะเดียวกันสังคมและสื่อมวลชนก็ควรหลุดพ้นจากอคติที่ว่าผู้กระทำความผิดหรือ โจรไม่ควรได้รับสิทธิตามกระบวนการยุติธรรม ความรุนแรงไม่แก้ปัญหาระยะยาว
0000000
แถลงการณ์กรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจวิสามัญฆาตกรรมโจ๊ก ไผ่เขียว
18 ธันวาคม 2553
จากกรณีนายชาญชัย ประสงค์ศิล หรือ โจ๊ก ไผ่เขียว อายุ 29 ปี ถูกกล่าวหาว่าใช้อาวุธปืนยิงรถยนต์ เป็นเหตุให้กระสุนปืนถูกเด็กชายโภคินดีผิว หรือ น้องโตมี่ เสียชีวิต เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2553 โดยมีนายนพพล ประสงค์ศิล หรือจิ๊บ ไผ่เขียว น้องชายเป็นผู้ขี่รถจักรยานยนต์ให้นายโจ๊ก ต่อมาวันที่ 11ธันวาคม 2553 เจ้าหน้าที่ตำรวจได้เข้าจับกุมและวิสามัญฆาตกรรมนายชาญชัย ประสงค์ศิล ที่สมายด์แมนชั่น จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ล่าสุดได้มีการเผยแพร่คลิปวิดีโอเหตุการณ์การวิสามัญดังกล่าวทางอินเตอร์เนต (เวบไซต์ ยูทูป)
การเข้าจับกุมโจ๊ก ไผ่เขียว ตามคลิปวิดีโอดังกล่าว จะเห็นได้ว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถควบคุมสถานการณ์ได้แล้ว โดยนายโจ๊กถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจใช้อาวุธปืนยิง และได้ยิงซ้ำเพื่อไม่ให้นายโจ๊กสามารถยิงตอบโต้ได้ เพื่อความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ หลังจากนั้นไม่มีเสียงปืนยิงตอบโต้จากนายโจ๊กอีก เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงได้เข้าไปยังจุดเกิดเหตุ และได้ยิงซ้ำอีก 3 นัด ทั้งนี้ ข่าวรายงานว่านายโจ๊กถูกกระสุนปืนยิงที่ศีรษะรวม 4 นัด ส่วนบาดแผลบริเวณอื่นไม่ปรากฏรายงาน และเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2553 พล.อ.อัศวิน ขวัญเมือง อ้างว่าคลิปดังกล่าวมีการตัดต่อ เพราะตนเองไปยังที่เกิดเหตุหลังจากนายโจ๊กเสียชีวิตแล้ว แต่กลับปรากฏภาพของตนก่อนเกิดเหตุการณ์วิสามัญฆาตกรรม ซึ่งเป็นการปฏิเสธเฉพาะในส่วนของตนเอง ไม่ได้ปฏิเสธในรายละเอียดว่าภาพการยิงซ้ำเป็นภาพตัดต่อหรือไม่ อย่างไร
เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนและองค์กรดังมีรายชื่อท้ายแถลงการณ์ฉบับนี้ มีข้อสังเกต ข้อเสนอและข้อเรียกร้องต่อภาคส่วนต่างๆ ดังต่อไปนี้
1) ขอ แสดงความเสียใจกับครอบครัวดีผิว ที่ต้องสูญเสียน้องโตมี่ และขอให้มีการเยียวยาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการดำเนินการสืบสวนสอบสวนและดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดจนถึงที่สุดตาม กระบวนการยุติธรรม
2) เจ้า หน้าที่ผู้ปฏิบัติหน้าที่ เป็นผู้ที่อยู่ในความเสี่ยงแก่ร่างกายและชีวิต กฎหมายจึงได้คุ้มครองการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่กรณีที่มีความจำเป็น ต้องป้องกันตนเองหรือประชาชนอื่นให้พ้นจากภยันตราย แล้วก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ต้องหาหรือจำเลย จะถือว่าเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่หากการป้องกันตนเองของเจ้าหน้าที่เป็นไปโดยเกินสมควรแก่เหตุ เจ้าหน้าที่ก็ต้องรับผิดชอบในผลที่เกิดขึ้น จากรายงานข่าวพบว่าบาดแผลจากอาวุธปืนบริเวณศีรษะของนายโจ๊กรวม 4 จุด หากไม่ปรากฏบาดแผลบริเวณอื่นของร่างกาย แสดงว่านายโจ๊กถูกยิงที่ศีรษะ ซึ่งไม่สามารถยิงตอบโต้เจ้าหน้าที่ได้อีก แต่ภาพในคลิปวิดีโอปรากฏว่าเมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าไปถึงตัวนายโจ๊ก ได้ยิงซ้ำอีก 3 นัด เมื่อนายโจ๊กไม่สามารถยิงตอบโต้เจ้าหน้าที่ได้แล้ว การยิงซ้ำดังกล่าวถือว่าเป็นการกระทำที่เกินกว่าเหตุ ไร้มนุษยธรรม และไม่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายเรื่องการป้องกันตัว
3) การ ชันสูตรพลิกศพและการไต่สวนการตายควรได้รับการดำเนินการโดยเร่งด่วนและเป็นไป ตามหลักการไต่สวนการตายกรณีที่ผู้ตายเสียชีวิตในระหว่างการควบคุมหรือการ ปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 150 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เพื่อให้ความจริงปรากฏ โดยเบื้องต้น ต้องมีการสอบสวนผู้ทำให้ตายเพื่อเป็นข้อมูลในการทำสำนวนคดีวิสามัญฆาตรกรรม ซึ่งจะเป็นประโยชน์และนำไปสู่การดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมโดยหน่วยงาน ที่เป็นอิสระ เพื่อตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างกันในกรณีที่ความกงานเจ้าหน้าที่
4) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้ให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2552 ในการมอบนโยบายของรัฐบาล ส่วนที่เกี่ยวข้องกับปัญหายาเสพติด มีใจความว่าการใช้ความรุนแรงเข้าปราบปรามปัญหาใดปัญหาหนึ่งอาจจะดูเหมือนได้ ผลในระยะเวลาสั้นๆ แต่สุดท้ายทำให้ปัญหาซับซ้อนและยากต่อการแก้ปัญหามากขึ้น นอกจากนี้ ยังกล่าวอีกว่าการปราบปรามยาเสพติดเป็นสิ่งที่ต้องทำอย่างเด็ดขาด แต่ต้องอยู่ในกรอบของกฎหมาย
ดัง นั้น เครือข่ายและองค์กรมีรายชื่อท้ายแถลงการณ์ฉบับนี้ ขอให้เจ้าหน้าที่ดำเนินนโยบายปราบปรามยาเสพติดภายใต้กรอบแห่งกฎหมายและการ เคารพสิทธิมนุษยชนตามแนวทางของรัฐบาล และรัฐบาลมีความจำเป็นต้องดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้ กฎหมายเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพตามแนวนโยบายที่เคยให้ไว้ ไม่ควรชื่นชมหรือให้การสนับสนุนการใช้วิธีการรุนแรงและละเมิดกฎหมายของเจ้า หน้าที่ และควรมีการสอบสวนดำเนินดคีกับเจ้าหน้าที่ในกรณีดังกล่าว เพื่อรักษามาตฐานในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่และเพื่อให้การปฏิบัติ หน้าที่เป็นไปด้วยความระมัดระวังต่อไป
5) สังคมและสื่อมวลชนควรร่วมกันตรวจสอบการกระทำของเจ้าหน้าที่ตำรวจ และควรหลุดพ้นจากอคติที่ว่าผู้กระทำความผิดหรือโจรไม่ควรได้รับสิทธิตาม กระบวนการยุติธรรมหรือควรถูกปราบปรามด้วยวิธีที่รุนแรงเท่าๆ กับพฤติการณ์ของผู้กระทำความผิด โดยเฉพาะบทบาทของสื่อที่ไม่ควรนำเสนอข่าวไปในทางที่สนับสนุนให้เจ้าหน้าที่ ใช้ความรุนแรงในการบังคับใช้กฎหมาย เพราะอคติดังกล่าวจะทำให้หลักประกันสิทธิเสรีภาพโดยรวมของประชาชนทั้งสังคม มีมาตรฐานที่ต่ำลงตามไปด้วย และเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนมากขึ้น หากสังคมไทยยินยอมหรือสนับสนุนให้มีการใช้ความรุนแรง
การฆ่าไม่อาจยุติการฆ่าและอาชญากรรมในสังคม
เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน
สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน
คณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน
มูลนิธิผสานวัฒนธรรม
มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา

ฟังสัมภาษณ์+ซับไตเติ้ล ผู้ก่อตั้งวิกิลีกส์: ข้อมูลที่ลงทุนปกปิดคือข้อมูลที่ควรเปิดเผย

ที่มา ประชาไท

จู เลียน อัซซันจ์ ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์วิกิลีกส์ จวกสื่อกระแสหลักทำงานแย่กว่านักกิจกรรมกลุ่มเล็กๆ เผยหลักการเปิดโปงข้อมูล โดยถือว่าข้อมูลชนิดใดก็ตามที่หน่วยงานรัฐถึงกับลงทุนเพื่อปกปิด เป็นสัญญาณบ่งบอกว่าหากข้อมูลนั้นรั่วไหลไปสู่สาธารณะ จะต้องก่อให้เกิดประโยชน์ และนี่คือประวัติศาสตร์ที่จะเกิดขึ้นในการรายงานข่าว

ผู้ใช้นามแฝงว่า gigcode แปลคำสัมภาษณ์จูเลียน อัซซันจ์ ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์วิกิลีกส์ เป็นภาษาไทยและนำเสนอผ่านเว็บไซต์ยูทูปว์เมื่อคืนวันที่ 17 ธ.ค. ที่ผ่านมา



ผู้สัมภาษณ์คือ คริส แอนเดอร์สัน ผู้ก่อตั้งวารสารด้านไอที และเว็บไซต์ www.ted.com สัมภาษณ์จูเลียน อัซซันจ์ ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์วิกิลีกส์ เมื่อวันที่ 10 มิ.ย.ที่ผ่านมา เป็นความยาวทั้งสิ้น 19.14 นาที โดยแอสเซนส์วิพากษ์วิจารณ์การทำงานของสื่อกระแสหลัก พร้อมกล่าวถึงเทคนิคและวิธีการปกป้องแหล่งข่าวผู้เปิดเผยข้อมูลลับให้แก่วิ กิลีกส์

คำ ถามแรก คริส แอนเดอร์สัน ถามว่าจริงหรือไม่ที่ในช่วงปีที่ผ่านมา วิกีลิกส์ได้เปิดเผยเอกสารลับมากกว่าสื่อทั่วโลกรวมกันได้นำเสนอ โดยอัซซันจ์ ตอบว่าเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงที่สื่อหลักทำหน้าที่ได้แย่มากขนาดที่ว่านัก กิจกรรมกลุ่มเล็กๆ ยังสามารถเปิดเผยข้อมูลลับๆ นั้นได้มากกว่าสื่อมวลชนทั่วโลกที่เหลือทั้งหมดเสียอีก

เมื่อ คริส แอนเดอร์สันถามว่า คนทีเผยแพร่เอกสารต้องทำอย่างไร และวิกิลีกส์ปกป้องคนที่เผยแพร่ข้อมูลอย่างไร อัซซันจ์ตอบว่าแหล่งข่าวมีหลากหลายวิธีให้เลือกใช้ เพื่อส่งข้อมูลให้กับวิกิลีกส์ โดยทางวิกีลีกส์ใช้การเข้ารหัสที่ทันสมัยที่สุดกระจายข้อมูลในอินเตอร์เน็ต เพื่อปกปิดร่องรอย และทำการส่งต่อข้อมูลในเขตประเทศที่กฎหมายให้ความคุ้มครองเช่น สวีเดนและเบลเยียม ส่วนข้อมูลจากแหล่งข่าวนั้นก็อาจใช้วิธีการส่งทางไปรษณีย์ตามปกติ และจากนั้นก็ตรวจสอบข้อมูลเหมือนกับสำนักข่าวทั่วไป ซึ่งบางครั้งก็ทำได้ยากในกรณีที่ต้องใช้ฐานข้อมูลขนาดใหญ่

สำหรับการปกป้องตัวคนทำงานของวิกิลีกส์เองนั้น อัซซันจ์กล่าวว่าเป็นเรื่องยากที่จะปกป้องตัวเองจากการถูกฟ้องร้อง และการโจมตีทางการเมือง

อัซซันจ์ยอม รับด้วยว่า บางครั้งเขาก็ไม่รู้ชื่อเสียงเรียงนามของแหล่งข่าวที่ส่งข้อมูลให้เขา และหากเขาได้รู้ว่าผู้ส่งข้อมูลเป็นใคร แม้จะโดยบังเอิญ เขาก็จะทำลายข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งข่าวโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้

อัซซันจ์ยก ตัวอย่างการเปิดเผยข้อมูลลับเกี่ยวรายงานของรัฐบาลเคนยา ต่อกรณีการคอรัปชั่นในยุคที่ แดเนียล อรัป มอย อดีตประธานาธิบดีประเทศเคนยาซึ่งเป็นเผด็จการเสียงข้างมากปกครองอยู่เป็น เวลา 18 ปี อย่างไรก็ตามรัฐบาลเคนยาเก็บรายงานนี้ไว้ใช้ต่อรองกับอดีตประธานาธิบดี ซึ่งเป็นบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในเคนยา และแอสเสนจ์ได้รายงานชิ้นนี้มาก่อนการเลือกตั้งในเคนยาในปีพ.ศ. 2547 เมื่อ วิกิลีกส์ปล่อยรายงานชิ้นนี้ออกมา ก็เป็นเวลาเดียวกันกับที่ คิบากิ ประธานาธิบดีคนใหม่กำลังผู้สัมพันธ์ทางการเมืองกับแดเนียล อรัป มอย ซึ่งเดิมนั้นคิบากิต้องการจะกวาดล้างอำนาจ ทำให้คิบากิตกอยู่ในสภาพสภาพเขวี้ยงงูไม่พ้นคอ และกลายเป็นจุดพลิกผันของการเลือกตั้ง ซึ่งกรณีของเคนยานั้นเป็นการรั่วไหลของข้อมูลจากภายนอกประเทศ สื่อต่างประเทศ เช่น เดอะการ์เดี้ยนนำเสนอประเด็นดังกล่าวก่อน ตามาด้วยสื่อในประเทศเพื่อนบ้านของเคนยา เช่น แทนซาเนีย และแอฟริกาใต้ 2 วันต่อมาสื่อในประเทศเคนยา จึงกล้าจับกระประเด็นดังกล่าวมานำเสนอโดยเฉพาะข่าวทางโทรทัศน์นำเสนอข้อมูลดังกล่าวติดต่อกันถึง 20 วัน ส่งผลให้การเลือกตั้งเปลี่ยนข้างไปถึง 10 เปอร์เซ็นต์

อัซ ซันจ์ กล่าวต่อไปว่า หากเขาได้รับข้อความทางการทูตเขาก็จะเผยแพร่ต่อ เพราะข้อมูลเหล่านี้จะเปิดเผยถึงข้อเท็จจริงในหลายๆ เรื่อง เช่น การคุกคามสิทธิมนุษยชนในกลุ่มประเทศอาหรับแท้จริงแล้วเป็นอย่างไรกันแน่

คริ ส แอนเดอร์สันถามต่อไปว่า มีหลักการอะไรที่ทำให้ข้อมูลลับเป็นเรื่องที่ถูกต้อง อัซซันจ์ตอบว่า ยังเป็นเรื่องที่สงสัยกันอยู่ว่าข้อมูลแบบไหนกันแน่ที่สำคัญสำหรับโลก ข้อมูลแบบไหนที่ทำให้เกิดการปฏิรูปได้ ขณะที่ข้อมูลก็มีอยู่มากเหลือเกิน แต่สำหรับเขา ข้อมูลชนิดใดก็ตามที่หน่วยงานรัฐถึงกับลงทุนเพื่อปกปิด นั่นก็เป็นสัญญาณที่ดีที่บ่งบอกว่าหากข้อมูลนั่นรั่วไหลไปสู่สาธารณะ ข้อมูลนั่นจะต้องก่อให้เกิดประโยชน์ เพราะหน่วยงานที่ทำการปกปิดข้อมูลรู้ดีชนิดที่เรียกว่า ทุกแง่ทุกมุม และนี่แหละ คือประวัติศาสตร์ที่จะเกิดขึ้นในการรายงานข่าว

แอ นเดอร์สันถามว่า ไม่กลัวว่าการเปิดเผยข้อมูลจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรง ต่อบุคคลหรือองค์กรที่ถูกกล่าวถึงหรือ อัซซันจ์ตอบว่า เท่าที่ผ่านมา ยังไม่มีกรณีเช่นนั้น อย่างไรก็ตาม ยังมีความลับตามกฎหมายที่ต้องยอมรับอยู่ เช่นประวัติการพบแพทย์

แอ นเดอร์สันยกตัวอย่างผลกระทบที่เกิดต่อทหารสหรัฐ เมื่อวิกิลีกส์เผยแพร่ข้อมูลลับเกี่ยวกับปฏิบัติการทางทหารออกไปแล้วทำให้ ผู้ชมวีดีโอเกิดทัศนคติทางลบต่อทหารสหรัฐว่าไร้มนุษยธรรมและเกิดผลกระทบทาง ใจต่อญาติพี่น้อง อัซซันจ์ตอบว่า “จำไว้นะครับว่าคนในแบกแดด อิรัก หรือชาวอัฟกานิสถาน ไม่จำเป็นต้องดูวิดีโอเหล่านี้ เพราะเขาเห็นภาพเหล่านี้อยู่ทุกวัน ฉะนั้น การเผยแพร่วิดีโอไม่มีผลต่อความรับรู้และทัศนคติของคนเหล่านั้น แต่วิดีโอจะเปลี่ยนทัศนคติและความรับรู้ของคนที่จ่ายเงินให้มีการทำเรื่อง พรรค์นี้แทน และนั่นคือความหวังของเรา”

รายงานเสวนา: สถาบันกษัตริย์ – รัฐธรรมนูญ – ประชาธิปไตย ตอนที่ 4

ที่มา ประชาไท

วรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หนึ่งในผู้ก่อตั้งกลุ่มนิติราษฎร์ นำเสนอปัญหาหมวดสถาบันกษัตริย์ในรัฐธรรมนูญที่ไม่มีใครกล้าแตะ ระบุเป็นแก่นแกนที่สังคมไทยต้องถกเถียงกำหนดขอบเขตให้ชัด สอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตย พร้อมยกหลากตัวอย่างรัฐธรรมนูญในต่างประเทศ วอนสื่อทำให้เป็นประเด็นสาธารณะถกเถียงอย่างมีเหตุผล หยุดป้ายสีไม่มีใครเสนอระบอบสาธารณรัฐ

กลุ่มนิติราษฏร์ (นิติศาสตร์เพื่อราษฏร) จัดอภิปรายเรื่อง สถาบันกษัตริย์ รัฐธรรมนูญ ประชาธิปไตย ในวันศุกร์ที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๕๓ เวลา ๑๓.๐๐ ๑๖.๐๐ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ห้อง แอลที ๑

วิทยากรผู้เข้าร่วมอภิปรายประกอบด้วย สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ, สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล, ณัฐพล ใจจริง และวรเจตน์ ภาคีรัตน์ ดำเนินการอภิปรายโดย ธีระ สุธีวรางกูร

ที่จะพูดต่อไปนี้เป็นเรื่องหลักการที่ควรจะเป็นต่อไปข้างหน้า

เวลา เราพูดถึงเรื่องสถาบันกษัตริย์ รัฐธรรมนูญ และประชาธิปไตย ปัญหาสำคัญอันหนึ่งของเราคือ เมื่อพูดถึงการจัดทำรัฐธรรมนูญจะมีหมวดหนึ่งที่เราไม่สามารถไปแตะต้องได้ จริงๆ การเคลื่อนไหวของขบวนการประชาชนในช่วงหลังก็จะเป็นแบบนี้เหมือนกัน เวลาพูดเรื่องรัฐธรรมนูญก็จะยกเว้นการพูดถึงหมวดพระมหากษัตริย์

ผมมีความเห็นว่ารัฐธรรมนูญของเราตั้งแต่ช่วงหลังปี 2489 เป็นต้นมา ถ้าจะทำให้เข้ารูปเข้ารอยที่นานาอารยประเทศนับถือกัน เราคงไม่สามารถที่จะยกเว้นการแก้ไขหมวดใดหมวดหนึ่งได้เลย นั่นหมายความว่า การพูดถึงเรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์ รัฐธรรมนูญ และประชาธิปไตยนั้นเป็นสิ่งซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้

ข้อสรุปนี้อาจไม่ใช่ข้อสรุปที่เกิดจาการฟังอาจารย์สมศักดิ์พูด เพียงอย่างเดียว เราอาจเห็นข้อสรุปนี้ได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ถ้าลองดูลักษณะของสถาบันพระมหากษัตริย์ในประเทศต่างๆ ที่เขามีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย แล้วเราลองย้อนกลับมาเปรียบเทียบกับรัฐธรรมนูญของไทยเราว่ามีจุดที่เหมือน หรือแตกต่างกันไป เพราะถ้ามีการเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ในรัฐธรรมนูญจะได้มีหลักการที่ถูกต้องและ น่าจะใช้กันไปได้ตลอด

ผมคิดว่าคุณลักษณะของการปกครองที่มีประมุขของรัฐเป็นพระมหากษัตริย์เทียบกับประมุขของรัฐที่เป็นประธานาธิบดี มันมีความแตกต่างกัน 3-4 ประการที่เป็นฐานของความเข้าใจในการสร้างประชาธิปไตย

ประการ ที่หนึ่ง เป็นที่ทราบกันว่าการปกครองในระบบที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขนั้น พระมหากษัตริย์จะอยู่ในตำแหน่งตราบจนกระทั่งสวรรคต อันนี้แตกต่างจากการปกครองที่มีประธานาธิบดีเป็นประมุข ซึ่งประธานาธิบดีจะอยู่ในตำแหน่งเป็นวาระ การที่พระมหากษัตริย์อยู่ในตำแหน่งตราบจนกระทั่งสวรรคตนั้นอาจมีข้อตำหนิว่า ไม่สอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตย เนื่องจากหลักอันหนึ่งของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยคือ ผู้ปกครองจะต้องดำรงตำแหน่งโดยมีวาระ และเปิดโอกาสให้มีการเปลี่ยนแปลงผู้ปกครองได้ อันนี้เป็นประเด็นสำคัญว่าด้วยความสอดคล้องของสถาบันพระมหากษัตริย์กับระบอบ ประชาธิปไตย แต่ถามว่าทำไมหลายประเทศที่เป็นประชาธิปไตยจึงยินยอมให้มีพระมหากษัตริย์ เป็นประมุข ข้อนี้อาจอธิบายได้ด้วยเหตุผลบางประการ เหตุผลอันหนึ่งที่พูดกันก็คือว่า การให้พระมหากษัตริย์อยู่ในตำแหน่งจนสวรรคตนั้นอาจไม่สอดคล้องอย่างถึงที่ สุดกับหลักการประชาธิปไตย มิหนำซ้ำอาจมีข้อเสียตามมาคือ เมื่อพระมหากษัตริย์อยู่ในตำแหน่งยาวนานนั้นก็อาจมีอิทธิพลทางการเมืองสูง แต่มีเหตุผลอันหนึ่งที่สนับสนุนว่า การที่พระมหากษัตริย์อยู่ในตำแหน่งจนสวรรคตนั้นก็น่าจะทำให้เป็นศูนย์รวมจิต ใจประชาชาติได้ดีกว่าตำแหน่งประธานาธิบดี และอาจจะทำให้พระองค์ทรงมีเรื่องราว มีประสบการณ์ในทางการเมืองสูงซึ่งในบางโอกาสนั้นอาจมีส่วนช่วยแก้ปัญหาของ ชาติได้ นี่คือข้อสนับสนุนที่บอกว่าแม้ว่าพระมหากษัตริย์อยู่ในตำแหน่งตราบจนสวรรคต อาจมีปัญหาความชอบธรรมในระบอบประชาธิปไตยแต่ในที่สุดระบอบประชาธิปไตยก็ อนุญาตให้พระมหากษัตริย์เป็นประมุขได้ด้วยเหตุผลที่กล่าวมา

ใน ทางตำรามีการพูดถึงขนาดว่า แม้แต่พระมหากษัตริย์ซึ่งมีสติปัญญาปานกลางเมื่อพระองค์อยู่ในตำแหน่งยาวนาน และทรงล่วงรู้ราชกิจหรือกิจการต่างๆ ของรัฐได้ดีก็อาจมีความเชี่ยวชาญในทางการเมืองการปกครอง รอบรู้ปัญหาภายนอกและภายในได้ นี่เป็นคำอธิบายทางตำราที่สนับสนุนความคิดแบบนี้

ประการ ที่สอง พระมหากษัตริย์นั้นเข้าสู่ตำแหน่งโดยการสืบสายโลหิต หลักการอันนี้ก็อาจเป็นหลักการที่เป็นปัญหาต่อระบอบประชาธิปไตยเหมือนกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าวิเคราะห์จากรัฐธรรมนูญของเราในปัจจุบัน หลักการนี้สืบเนื่องจากหลักที่ว่า พระมหากษัตริย์จะไม่ทรงสวรรคต หมายความว่า ตัวสถาบันกษัตริย์ไม่เคยตาย คือ อยู่สืบเนื่องได้ต่อไป แน่นอน คุณลักษณะนี้เมื่อพระมหากษัตริย์อยู่ในตำแหน่งโดยไม่ผ่านกลไก หรือกระบวนการเลือกตั้งจึงขาดความชอบธรรมในทางประชาธิปไตย แต่ว่าในทางกลับกัน เมื่อพระมหากษัตริย์ไม่ทรงถูกเลือกจากผู้ใด พระองค์ก็อาจเป็นอิสระและเป็นกลางได้ดีกว่าการที่ให้ประชาชนได้เลือกหรือใน บางกรณีอาจเป็นการดีกว่าประธานาธิบดี เพราะประธานาธิบดีได้รับการเลือกโดยเสียงข้างมากของคนในชาติ แต่อาจมีคนจำนวนหนึ่งที่ไม่เลือก คำอธิบายสนับสนุนการมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขในระบอบประชาธิปไตยก็คือว่า พระองค์อาจเป็นกลางทางการเมืองได้ดีกว่า

แน่ นอน การที่พระมหากษัตริย์เข้าสู่ตำแหน่งโดยการสืบสายโลหิตและขาดความชอบธรรมใน ทางประชาธิปไตยอันนี้ จึงทำให้เกิดหลักการอย่างหนึ่งตามมาโดยทันทีว่า พระมหากษัตริย์ในการปกครองในระบอบประชาธิปไตยนั้นจะไม่สามารถกล่าวปาฐกถา หรืออภิปรายความคิดเห็นต่อสาธารณะได้ ถ้าไม่มีรัฐมนตรีลงนามกำกับ ประเพณีนี้ได้เกิดขึ้นในอังกฤษตั้งแต่ปี 1710 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

เรา อาจกล่าวถึงคุณลักษณะเพิ่มเติมของสถาบันพระมหากษัตริย์ในส่วนที่เกี่ยวกับ ระบอบประชาธิปไตยได้ต่อไปอีกว่า พระมหากษัตริย์นั้นจะเป็นคนแสดงออกซึ่งอำนาจแห่งรัฐ เรื่องนี้ตัวบทบัญญัติรัฐธรรมนูญจะกำหนดไว้แตกต่างกันในแต่ละประเทศ และอันนี้อาจจะตอบคำถามส่วนหนึ่งที่อาจารย์สุธาชัยได้ ตั้งเอาไว้เมื่อสักครู่ด้วย รัฐธรรมนูญที่อยู่ในระบอบประชาธิปไตยนั้นจะกำหนดเอาไว้ว่าอำนาจรัฐเป็นของ ประชาชน มีรัฐธรรมนูญบางประเทศที่กำหนดให้พระมหากษัตริย์ทรงเป็นเจ้าของอำนาจรัฐร่วม กับประชาชน แต่โดยปกติทั่วไปแล้วรัฐธรรมนูญทุกๆ ฉบับที่อยู่ในระบอบประชาธิปไตยเท่าที่ได้ศึกษามาจะเขียนไว้ค่อนข้างชัดเจน ว่าประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจรัฐ อำนาจรัฐมาจากประชาชน

ที นี้เวลาพระมหากษัตริย์แสดงออกซึ่งอำนาจแห่งรัฐ ไม่ได้หมายความว่าพระองค์จะสามารถกระทำการได้โดยพระองค์เอง ดังที่บอกไว้แล้ว โดยที่พระองค์ไม่ได้ผ่านการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย การแสดงออกซึ่งอำนาจแห่งรัฐจึงต้องแสดงออกโดยผ่านองค์กรของรัฐและต้องมีคนลง นามรับรองพระบรมราชโองการ การที่พระมหากษัตริย์ทรงแสดงออกซึ่งอำนาจในลักษณะนี้อาจจะมีความคาดหวังใน ตัวพระมหากษัตริย์เองว่าในยามขับคันพระองค์ต้องทรงแสดงออกซึ่งอำนาจที่เป็น กลาง

อำนาจ ที่เป็นกลางคืออะไร มีคำอธิบายแบบนี้และเป็นคำอธิบายที่เราอาจคิดไม่ถึงว่าอันนี้อธิบายจากฐาน ที่บอกว่าพระมหากษัตริย์แสดงออกซึ่งอำนาจแห่งรัฐ คือ ในยามขับคันนั้นพระมหากษัตริย์ต้องแสดงออกซึ่งอำนาจในทางปกป้องและพิทักษ์ รัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อรัฐบาลไม่อยู่ในฐานะที่จะบริหารได้ หมายความว่าเกิดกลไกหรือกระบวนการในการขัดขวางการบริหารราชการแผ่นดินของ รัฐบาล เช่น โดยกองกำลังของทหาร เป็นต้น ในแง่นี้พระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยจะต้องแสดงออกซึ่งอำนาจรัฐที่เป็น กลาง โดยการระงับยับยั้งการกระทำดังกล่าวนั้น พร้อมๆ กับพิทักษ์และปกป้องรัฐธรรมนูญ ตัวอย่างอันโด่งดังของพระมหากษัตริย์ที่ปฏิบัติภารกิจนี้ เช่น ในปี 1981 ที่ประเทศสเปน กรณีนี้คงเป็นที่รู้กันอยู่ทั่้วไปแล้ว

ลักษณะ ถัดไป อันนี้อาจไม่ได้มีในทุกประเทศที่พระมหากษัตริย์เป็นประมุขของรัฐ คือ พระมหากษัตริย์มีหน้าที่ในทางรัฐธรรมนูญที่จะต้องนับถือศาสนาใดศาสนาหนึ่ง ที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ หลายประเทศกำหนดคุณสมบัตินี้ให้กับพระมหากษัตริย์ เช่น เดนมาร์ก สหราชอาณาจักร นอร์เวย์ สวีเดน ซาอุดิอารเบีย โมรอกโค ซึ่งแม้จะอยู่ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ก็กำหนดหน้าที่แบบนี้ ในญี่ปุ่นองค์จักรพรรดิถือเป็นสังฆราชาแห่งศาสนาชินโต แต่อันนี้ไม่ได้มีการบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ

ประการ ถัดไป คือ พระมหากษัตริย์จะมาจากราชวงศ์ใดราชวงศ์หนึ่ง ในรัฐธรรมนูญบางประเทศอาจกำหนดให้คนในราชวงศ์นั้นดำรงตำแหน่งในองค์กรของรัฐ ได้ ถ้ายังไม่เข้าสู่ตำแหน่งพระมหากษัตริย์ เช่น ในเบลเยี่ยมกำหนดให้ราชโอรส ราชธิดา ดำรงตำแหน่งวุฒิสภาโดยตำแหน่ง เป็นต้น

ลักษณะ อันสุดท้ายซึ่งอาจเป็นที่ถกเถียงกันได้มาก และเราอาจต้องอภิปรายกันต่อไปในการกำหนดคุณลักษณะคือ องค์พระมหากษัตริย์จะถูกล่วงละเมิดมิได้ การกำหนดให้องค์พระมหากษัตริย์ถูกล่วงละเมิดมิได้เป็นลักษณะทั่วไปของรัฐ ธรรมนูญในประเทศประชาธิปไตยหลายประเทศ

ในบ้านเรา มาตรา 8 กำหนดไว้ว่าองค์พระมหากษัตริย์ทรงเป็นที่เคารพสักการะผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผมไปสำรวจตรวจสอบดูตัวรัฐธรรมนูญของประเทศที่เป็นประชาธิปไตยหลายสิบประเทศ พบว่า ในรัฐธรรมนูญในประเทศเหล่านั้นจะกำหนดเพียงว่าพระมหากษัตริย์จะถูกล่วง ละเมิดมิได้ การกำหนดว่าพระมหากษัตริย์มีฐานะศักดิ์สิทธิ์นั้น เท่าที่พบมีอยู่ 2 ประเทศคือ นอร์เวย์ และ ไทย ที่กำหนดให้เป็นที่เคารพสักการะ

ปัญหา คือว่า เมื่อรัฐธรรมนูญเขียนแบบนี้หรือกำหนดกติกาแบบนี้ลงในรัฐธรรมนูญว่าพระมหา กษัตริย์ถูกล่วงละเมิดมิได้นั้นหมายความว่ายังไง หมายความว่าการที่รัฐธรรมนูญกำหนดอย่างนี้เพื่อปกป้องประมุขของรัฐจากข้อโต้ แย้งต่างๆ โดยพระมหากษัตริย์จะต้องอยู่ในฐานะซึ่งสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ที่ได้กล่าวมา ก่อหน้านี้ทั้งหมด การกระทำการต่างๆ ต้องมีรัฐมนตรีลงนามสนองพระบรมราชโองการ หรือก็คือการกำกับการกระทำของพระมหากษัตริย์นั่นเอง การที่บอกว่าพระมหากษัตริย์ถูกล่วงละเมิดมิได้ย่อมหมายความต่อไปว่า การปลดพระมหากษัตริย์โดยวิธีการทางกฎหมายจะกระทำมิได้ ฉะนั้น การปลดพระมหากษัตริย์ออกจากตำแหน่งถ้าจะกระทำคงต้องเป็นวิธีการในทางการ เมืองหรือข้อเรียกร้องในทางจริยธรรมเท่านั้น คือ อำนาจในทางสังคมจะบังคับให้พระมหากษัตริย์สละราชสมบัติ แต่จะไม่มีกลไกของการฟ้องร้ององค์พระมหากษัตริย์ต่อศาล ทำนองเดียวกับประเทศที่ใช้ระบอบประธานาธิบดีอาจจะมีกลไกในทางฟ้องร้องดำเนิน คดีต่อศาล

ที นี้เรามาดูหลักเกณฑ์ในทางประชาธิปไตยที่กำหนดเกี่ยวกับเรื่องพระมหากษัตริย์ เอาไว้แล้วลองดูว่าหลักเกณฑ์อันไหนเป็นหลักเกณฑ์ซึ่งมีในระบบของเรา อันไหนไม่มีในระบบของเราและเป็นหลักเกณฑ์ที่จะทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์ นั้นดำรงอยู่สถิตสถาพรต่อไปน่าจะรับเอามาบัญญัติในรัฐธรรมนูญของไทย

ผม จะลองยกตัวอย่างดูซึ่งอาจไม่เป็นระบบมากนัก แต่ชี้ให้ท่านเห็นถึงกฎเกณฑ์ในทางรัฐธรรมนูญของประเทศต่างๆ เช่น รัฐธรรมนูญสเปน ในมาตรา 56 วรรค 3 บอกว่า องค์พระมหากษัตริย์ถูกล่วงละเมิดมิได้ และพระมหากษัตริย์ไม่ต้องทรงรับผิดชอบ แต่บรรดาพระบรมราชโองการทั้งหลายจะต้องได้รับการลงนามกำกับโดยนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีที่รับผิดชอบ อันนี้เป็นไปตามมาตรา 64 วรรค 1 มเหสีของพระมหากษัตริย์ หรือพระสวามีของพระราชินีจะไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ใดๆ ตามรัฐธรรมนูญได้ อันนี้บัญญัติในมาตรา 58 พระมหากษัตริย์ได้รับเงินในการดูแลราชวงศ์จากงบประมาณแผ่นดิน การใช้จ่ายเงินดังกล่าวให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย อยู่ในมาตรา 65 กำหนดให้อำนาจตุลาการมาจากประชาชน แต่ให้ผู้พิพากษาใช้อำนาจดังกล่าวในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ อันนี้เป็นตัวอย่างรัฐธรรมนูญสเปน

รัฐธรรมนูญเนเธอร์แลนด์มีบทบัญญัติบางมาตราที่น่าสนใจมากๆ เช่น มาตรา 36 กำหนดว่ารัฐสภาอาจตรากฎหมายห้ามพระมหากษัตริย์ใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญในช่วง เวลาใดเวลาหนึ่งได้ ถ้ามีกฎหมายเช่นนั้น และพพระมหากษัตริย์ต้องการกลับมามีอำนาจในรัฐธรรมนูญอีก พระมหากษัตริย์สามารถเสนอกฎหมายอีกฉบับเพื่อให้สภาพิจารณา อันนี้หมายความว่าตัวรัฐธรรมนูญให้น้ำหนักกับผู้แทนปวงชนว่าในบางกรณีแม้ไม่ สามารถให้พระมหากษัตริย์สละราชสมบัติได้ แต่ว่าสามารถออกกฎหมายห้ามพระมหากษัตริย์ใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญในห้วงเวลาใด เวลาหนึ่ง

รัฐ ธรรมนูญบางประเทศจะกำหนดเกี่ยวกับการวีโต้ไว้ในอำนาจพระมหากษัตริย์ แต่เรื่องนี้มีอยู่น้อยมาก รัฐธรรมนูญส่วนใหญ่ในประเทศประชาธิปไตยไม่ได้ให้อำนาจแบบนี้กับพระมหา กษัตริย์ไว้เลย คงมีรัฐธรรมนูญนอร์เวย์เท่านั้นในมาตรา 78 ที่เปิดโอกาสให้พระมหากษัตริย์ทรงสามารถระงับยับยั้งการบังคับใช้กฎหมายได้ อีกประเทศหนึ่งก็คือไทยนี่เองที่เมื่อกฎหมายผ่านสภาแล้ว พระมหากษัตริย์ก็มีอำนาจวีโต้และถ้าสภายืนยันด้วยคะแนนเสียงมติพิเศษกฎหมาย จึงผ่านไปประกาศในราชกิจจานุเบกษาแม้พระมหากษัตริย์จะไม่ลงพระปรมาภิไธยใน กฎหมายฉบับนั้น แต่ในทางประวัติศาสตร์ บางท่านคงทราบว่าเรื่องนี้ก่อให้เกิดความขัดแย้งกันระหว่างพระบาทสมเด็จพระ ปกเกล้าเจ้าอยู่หัวกับคณะราษฎรอยู่ในช่วงเวลาหนึ่ง ที่พระองค์ต้องการให้แก้รัฐธรรมนูญเป็นว่าในกรณีที่พระมหากษัตริย์ทรงวีโต้ กฎหมายนั้นให้สภาผู้แทนราษฎรเป็นอันยุบไปนั่นเอง

รัฐ ธรรมนูญของเดนมาร์กกำหนดหน้าที่ที่พระมหากษัตริย์ต้องสาบานว่าจะพิทักษ์รัฐ ธรรมนูญเป็นลายลักษณ์อักษร จริงๆ หน้าที่ของพระมหากษัตริย์ต้องสาบานตนหรือปฏิญาณตนก่อนเข้าสู่ราชบัลลังก์ นั้นมีลักษณะเป็นสากลมากๆ ผมพบบทบัญญัติทำนองนี้ในรัฐธรรมนูญหลายประเทศมาก แต่ที่ชัดที่สุด เขียนเป็นลายลักษณ์อักษรก็คือ เดนมาร์ค ส่วนประเทศอื่นๆ กำหนดให้พระมหากษัตริย์นั้นทรงสาบานหรือปฏิญาณต่อรัฐสภาว่าจะรักษาไว้ซึ่ง รัฐธรรมนูญก่อนเข้าสู่การสืบราชสมบัติ รัฐธรรมนูญเดนมาร์คยังบัญญัติเรื่องค่าตอบแทนเรื่องทรัพย์สิน คือ กำหนดให้สมาชิกราชวงศ์ได้รับ 1 ปี แต่ห้ามโอนเงินดังกล่าวไปนอกราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับความยินยอมจากสภาผู้แทนราษฎร

ใน ขณะที่รัฐธรรมนูญญี่ปุ่นบัญญัติห้ามไม่ให้สมาชิกราชวงศ์รับเงินบริจาคหรือ ของกำนัลใดๆ ถ้าไม่ได้รับความยินยอมจากรัฐสภา ส่วนรัฐธรรมนูญเบลเยี่ยมนั้นบัญญัติว่า พระมหากษัตริย์ สภาผู้แทนราษฎรกับวุฒิสภาใช้อำนาจนิติบัญญัติร่วมกัน พระมหากษัตริย์ใช้อำนาจบริหารตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญผ่านตัวรัฐมนตรี ศาลใช้อำนาจตุลาการ กำหนดให้ความเป็นบุคคลหรือองค์พระมหากษัตริย์นั้นถูกล่วงละเมิดมิได้และให้ รัฐมนตรีเป็นผู้รับผิดชอบการกระทำทั้งหลายทั้งปวงของพระมหากษัตริย์ มาตรา 105 บัญญัติไว้ว่าพระมหากษัตริย์ไม่ทรงมีอำนาจอื่นใด นอกจากอำนาจที่บัญญัติไว้โดยชัดแจ้งในรัฐธรรมนูญนี้ มาตรา 106 อันนี้คล้ายๆ กับบทบัญญัติในธรรมนูญปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราวของเรา กำหนดว่าการกระทำของพระมหากษัตริย์ย่อมมีผลต่อเมื่อมีรัฐมนตรีคนหนึ่งลงนาม รับสนองพระบรมราชโองการ และรัฐมนตรีผู้นั้นย่อมเป็นผู้รับผิดชอบการกระทำนั้น

ประเด็น เรื่องการลงนามกำกับการกระทำของพระมหากษัตริย์อันนี้ก็เป็นประเด็นหนึ่งที่ เป็นเรื่องสากล หมายความว่าเท่าที่สำรวจตรวจสอบมารัฐธรรมนูญของประเทศที่เป็นประชาธิปไตย เกือบทุกฉบับจะมีบทบัญญัติทำนองนี้เอาไว้ว่า ให้การการกระทำของพระมหากษัตริย์ต้องมีการลงนามกำกับ รัฐธรรมนูญของญี่ปุ่นชัดเจนที่สุด โดยกำหนดว่า การกระทำทั้งปวงของจักรพรรดิเกี่ยวกับกิจการของรัฐ ต้องได้รับคำแนะนำและยินยอมจากคณะรัฐมนตรีและให้รัฐมนตรีรับผิดชอบต่อการ กระทำดังกล่าวนั้น ในมาตรา 4 บอกว่าจักรพรรดิจะกระทำการใดๆ ที่เกี่ยวกับกิจการของรัฐได้ก็แต่โดยเฉพาะที่บรรจุไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ และจักรพรรดิย่อมไม่มีอำนาจใดๆ เกี่ยวกับกิจการรัฐหรือรัฐบาล

เรา ได้เรียนรู้อะไรจากบทบัญญัติรัฐธรรมนูญของประเทศที่เป็นประชาธิปไตยทั้งหลาย ในส่วนที่เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ เราพบว่า เวลาที่เราพูดถึงเรื่องการปกครองแล้วกำหนดให้การปกครองนั้นเป็นการปกครองที่ พระมหากษัตริย์เป็นประมุข มันมีอยู่ 2 กลุ่มใหญ่ๆ อันแรกคือพระมหากษัตริย์มีอำนาจเด็ดขาด อันนี้ในยุโรปเกิดขึ้นในประมาณศตวรรษที่ 16-17 และอาจจะเลยมาถึง 18 ในบางประเทศ

หลัง จากนั้นลักษณะการกำหนดรูปแบบการปกครองที่ยังคงพระมหากษัตริย์เอาไว้ก็จะกลาย เป็นการจำกัดอำนาจพระมหากษัตริย์โดยรัฐธรรมนูญ หมายความว่า พระมหากษัติย์ถูกจำกัดอำนาจลงโดยรัฐธรรมนูญแต่ยังมีอำนาจอยู่ ในทางรัฐธรรมนูญยังถือว่าพระองค์ทรงเป็นรัฐฏาธิปัตย์อยู่ รัฐธรรมนูญจะกำหนดให้แก้ไขยาก และจะแก้ไขคืนอำนาจจากพระมหากษัตริย์ไม่ได้ การบัญญัติกฎหมายต้องให้สภาผู้แทนราษฏรร่วมมือกับพระมหากษัตริย์ หมายถึงการถ่วงดุลอำนาจกันระหว่างสภาผู้แทนราษฎรกับพระมหากษัตริย์ แต่ลักษณะที่สำคัญของรัฐธรรมนูญในกลุ่มนี้ก็คือ พระมหากษัตริย์จะทรงแต่งตั้งและถอดถอนรัฐมนตรี โดยสภาผู้แทนราษฎรจะเอารัฐมนตรีออกจากตำแหน่งไม่ได้ และถือว่าพระมหากษัตริย์นั้นเป็นผู้ใช้อำนาจบริหารแต่เพียงผู้เดียว หลักเกณฑ์อันนี้ปรากฏประมาณศตวรรษที่ 19 ในประเทศภาคพื้นยุโรปที่ยังคงรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์เอาไว้

เมื่อก้าวเข้าสู่ศตวรรษที่ 20 สถานะสถาบันพระมหากษัตริย์เปลี่ยนไป บางทีภาษาวิชาการเรื่องนี้มันไม่ค่อยลงรอยกัน คำว่า Constitutional Monarchy คำ อธิบายในตำราบางเล่มอธิบายว่า พระมหากษัตริย์ถูกจำกัดอำนาจโดยรัฐธรรมนูญ แต่พระองค์เป็นรัฐฏาธิปัตย์อยู่ แต่ถ้าเป็นกรณีที่อำนาจสูงสุดของประเทศเป็นของราษฎรทั้งหลายแล้ว บางทีเราเรียกว่า Parliamentary Monarchy คือเป็น ระบบกษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ซึ่งในระบบนี้อำนาจสูงสุดเป็นของราษฎรทั้งหลาย พระมหากษัตริย์จะมีอำนาจเฉพาะที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญเท่านั้น เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารแต่เพียงในนาม การกระทำของพระมหากษัตริย์ต้องมีรัฐมนตรีลงนามสนองพระบรมราชโองการซึ่งหมาย ถึงการลงนามกำกับการกระทำของพระมหากษัตริย์ รัฐมนตรีนั้นอยู่โดยความไว้วางใจของสภา พระมหากษัตริย์ในทางพิธีจะเป็นคนแต่งตั้งและถอดถอนรัฐมนตรีได้ แต่ต้องคำนึงถึงเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรด้วย และในระบบนี้พระมหากษัตริย์จะมีพระราชอำนาจอย่างหนึ่งที่ผมได้อธิบายไปคือ พระราชอำนาจที่เป็นกลาง ซึ่งในทางตำราอธิบายไปถึงอำนาจในการพิทักษ์ปกปักรักษารัฐธรรมนูญด้วย

คำถามคือ บ้านเราที่กล่าวมาทั้งหมด มันเป็นระบบไหน (ผู้ฟังหัวเราะ) นี่คือคำถามที่เราต้องตอบกัน อาจารย์ณัฐพลได้พูดถึงลักษณะอันนี้หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อปี 2475 ว่ามันมีช่วง 15 ปีแรกที่ประกาศชัดเจนว่าอำนาจสูงสุดเป็นของราษฎรทั้งหลาย อาจารย์สมศักดิ์ได้ชี้ให้เห็นโดยยกเอาข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในช่วง 3-4 ปีมานี้มาวิเคราะห์และวิจารณ์

ผมอธิบายอย่างนี้ได้ไหมว่า จริงๆ แล้วในช่วงก่อน 2475 ความจริงมันมีคำอธิบายเรื่องการที่พระมหากษัตริย์จะทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญอยู่ มีการพูดกันว่าในหลวงรัชกาลที่ 7 นั้น ทรงมีพระราชดำริที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว แต่ว่าหน้าตารัฐธรรมนูญอันนั้นเป็นอย่างไรไม่ทราบได้ แต่เท่าที่เห็น มันมีรัฐธรรมนูญฉบับหนึ่งที่หลายคนคงทราบแล้วแต่ผมอ้างอิงถึงเพื่อให้การ อภิปรายนี้สมบูรณ์ คือ ร่างรัฐธรรมนูญของพระยากัลยาณไมตรี ฟรานซิส บี แซร์ นั้นมาตรา 1 บัญญัติไว้ซึ่งแปลจากตัวภาษาอังกฤษได้ ว่า อำนาจสูงสุดตลอดทั่วราชอาณาจักรนั้นเป็นของพระมหากษัตริย์ มาตราอื่นๆ ที่น่าสนใจก็อย่างเช่น อำนาจสูงสุดทางนิติบัญญัติเป็นของพระมหากษัตริย์ พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีรับผิดชอบต่อพระองค์ในการบริหาร ราชการแผ่นดินทั้งปวง และให้นายกรัฐมนตรีอยู่ในตำแหน่งตามพระราชอัธยาศัย อาจกล่าวได้ว่านี่คือรัฐธรรมนูญในจินตนาการของชนชั้นนำไทยก่อนเปลี่ยนแปลง การปกครอง และจินตนาการนี้ถูกทำลายลงเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 เมื่อมีการประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว 2475 ที่บัญญัติมาตรา 1 ไว้ขัดแย้งอย่างชัดเจนกับมาตรา 1 ของ ร่างรัฐธรรมนูญของเจ้าพระยากัลยาณไมตรี เป็นการเปลี่ยนแปลงผู้ทรงอำนาจรัฐหรือผู้ถืออำนาจรัฐว่าเป็นของราษฎรทั้ง หลาย หรือสามัญชนทั้งหลาย บางคนอาจจะพอใจใช้คำว่า ไพร่ แต่ผมก็ไม่มีอะไรที่จะขัดข้อง

เรา ผ่านความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างสำคัญในช่วงทศวรรษ 2490 และเรื่อยมาจนปัจจุบันนี้ คำถามก็คือในปัจจุบันนี้ รัฐธรรมนูญ 2550 ของเราที่มีการบัญญัติขึ้นมาส่วนหนึ่งเชื่อมโยงกลับไปยังรัฐธรรมนูญช่วง 2490 เรื่อยมา อีกส่วนหนึ่งเชื่อมโยงกลับไปยังบทบัญญัติบางมาตราก่อนรัฐธรรมนูญ 2490 คือเชื่อมโยงกลับไปยังรัฐธรรมนูญ 2475 และรัฐธรรมนูญ 2489 แต่ไม่เชื่อมโยงกลับไปยังรัฐธรรมนูญฉบับแรก นี่คือปัญหา ความไม่เชื่อมโยงนี้ ความจริงก็ไม่ใช่เรื่องประหลาด เพราะในแง่อุดมการณ์ การประกาศว่ารัฐธรรมนูญของเราดำรงอยู่เมื่อไรนั้น มักจะได้รับการประกาศอย่างเป็นทางการว่ามันเริ่มตั้งแต่วันที่ 10 ธันวาคม 2475 เป็นการตัดขาดกับอุดมการณ์ในเชิงของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง

ใน ช่วงรัฐธรรมนูญ 2475 กับ 2489 แม้มันจะขยับออกมาจากรัฐธรรมนูญฉบับแรกอยู่บ้าง แต่หลักการหลายประการน่าจะเป็นหลักการที่พอจะไปได้กับประชาธิปไตยแม้จะมีบาง มาตราที่ต้องถกเถียงกัน แต่อย่างน้อยที่สุด เรื่องของการวีโต้กฎหมาย ระยะเวลาของการวีโต้กฎหมายของพระมหากษัตริย์ก็ค่อนข้างสั้น มติที่สภาต้องใช้ก็ไม่มาก ไม่มีองคมนตรีในรัฐธรรมนูญฉบับเหล่านั้นก่อน 2490

แต่ นับจาก 2490 เรื่อยมา เราเริ่มขยับผ่านจากอุดมการณ์ของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง และผ่านไปมากขึ้นเมื่อระยะเวลาผ่านไป หมายความว่าทุกๆ รัฐธรรมนูญที่มีการจัดทำขึ้นหลังจากนั้น เริ่มถอยห่างจากแนวความคิดที่เป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยอยู่ในรัฐที่มีรูปแบบของราชอาณาจักรที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เท่านั้น หลักการบางประการที่บัญญัติเอาไว้อย่างชัดเจนในรัฐธรรมนูญฉบับแรกก็เลือนหาย ไป เช่นหลักการที่กำหนดให้การกระทำของพระมหากษัตริย์ต้องมีรัฐมนตรีนายหนึ่งลง นามรับสนอง มิฉะนั้นจะเป็นโมฆะ นี่เป็นหลักการที่สำคัญมากๆ ในรัฐธรรมนูญฉบับที่หนึ่งซึ่งขาดหายไป อาจจะมีคนเถียงผมว่าก็มีเหมือนกันในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันก็ยังมีอยู่ใน มาตรา 195 แต่ถ้าไปอ่านตัวบทนั้นมันจะไม่ได้ความหมายแบบเดียวกันกับรัฐธรรมนูญฉบับแรก และถ้าไปดูรัฐธรรมนูญของต่างประเทศ จะเขียนชัดว่า การกระทำของพระมหากษัตริย์ที่ไม่มีรัฐมนตรีลงนามรับสนองพระราชโองการ ไม่มีผลทางกฎหมาย ก็คล้ายๆ ที่บัญญัติเอาไว้ว่าเป็นโมฆะในรัฐธรรมนูญฉบับที่หนึ่ง

เมื่อ ถามว่าหลักการอะไรที่ขาดหายไป หลักการอะไรที่ขัดแย้งกับรูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ผมคิดว่ามีอยู่บางประการที่จะอธิบายเป็นประเด็นเบื้องต้นดังนี้

ประการแรก รัฐธรรมนูญในช่วง2534, 2540, 2550 มีการบัญญัติเกี่ยวกับการแก้ไขกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ที่ ไม่สอดคล้องกับหลักนิติรัฐ หรือหลักการแบ่งแยกอำนาจ รัฐธรรมนูญก่อนปี 2534 ในส่วนที่ว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ ให้กระทำด้วยวิธีการเดียวกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ หมายความว่าอำนาจในการแก้ไขกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์เป็นของ รัฐสภา แน่นอนยังไม่ต้องอภิปรายว่ารัฐบาลนั้นมีความชอบธรรมแค่ไหน แต่ในทางหลักการ เป็นของรัฐสภา

รัฐธรรมนูญปี 2534 เรื่อยมาได้เปลี่ยนหลักการดังกล่าวนี้ แล้วหลักการดังกล่าวนี้ ในปัจจุบันได้กลายเป็นเรื่อง taboo หรือ เรื่องต้องห้ามเมื่อมีการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ ในตอนที่ทำรัฐธรรมนูญ 2550 มีส.ส.บางท่านต้องการอภิปรายในประเด็นเหล่านี้ แต่ก็ถูกตัดบทโดยประธานคณะกรรมาธิการยกร่างว่าประเด็นพวกนี้ไม่ต้องอภิปราย ในการจัดทำรัฐธรรมนูญ จึงมีการรับเอาบทบัญญญัติแบบนี้สืบเนื่องมาจากรัฐธรรมนูญปี 2534

ที นี้ถามว่าบทบัญญัตินี้ไม่สอดคล้องกับหลักการแบ่งแยกอำนาจในระบอบประชาธิปไตย ยังไง และมันเป็นบทบัญญัติที่มีหรือไม่ในประเทศอื่น ถ้าเราลองดู มันไม่มีในที่อื่นๆ ในรัฐธรรมนูญของเราเองเราก็บอกเอาไว้ว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ใช้อำนาจผ่านองค์กรของรัฐ ซึ่งหมายความว่าพระมหากษัตริย์ใช้อำนาจโดยตรงด้วยตัวพระองค์เองไม่ได้ แต่ว่าบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญก็บัญญัติในลักษณะที่ขัดแย้งกัน โดยบัญญัติให้การแก้ไขเพิ่มเติมกฎมณเฑียนบาลให้เป็นอำนาจเฉพาะของพระมหา กษัตริย์ เมื่อพระองค์มีพระราชดำริประการใด ให้องคมนตรียกร่างแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายฉบับนี้ขึ้นถวาย และเมื่อพระองค์ทรงมีพระราชกระแสเห็นชอบแล้ว ก็ให้ประกาศใช้เป็นกฎหมายได้ โดยให้รัฐสภาลงนามสนองพระราชโองการ อันนี้เท่ากับว่ารัฐธรรมนูญกำหนดให้พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจอธิปไตย คืออำนาจในการตรากฎหมายโดยตรงโดยพระองค์เอง และแน่นอนว่าถ้ากระบวนการในการแก้ไขกฎหมายมันไม่สอดคล้องกับหลักการทาง ประชาธิปไตยแล้วนั้น จะวิพากษ์วิจารณ์ได้อย่างไร แล้วจะทำให้พระมหากษัตริย์อยู่พ้นไปจากการเมืองได้อย่างไร นี่คือประเด็นที่ต้องคิดกัน

ประเด็น ที่สอง คือ กรณีของการกำหนดให้องค์พระมหากษัตริย์กำหนดให้การสืบราชสมบัตินั้น ถ้ามีการตั้งรัชทายาทเอาไว้แล้ว การขึ้นครองราชย์นั้นก็ให้รัฐบาลมีหน้าที่แต่เพียงรับทราบเท่านั้น

เรา คงเห็นว่าจุดอ่อนสำคัญหนึ่งของการปกครองแบบมีพระมหากษัตริย์ในระบอบ ประชาธิปไตยคือเรื่องฐานความชอบธรรมในระบอบประชาธิปไตย นี่เป็นจุดอ่อนสำคัญของระบบที่มีกษัตริย์เป็นประมุข เพราะพระมหากษัตริย์ทรงเข้าสู่ตำแหน่งและอยู่ในตำแหน่งโดยไม่มีระยะเวลา การเข้าสู่ตำแหน่งไม่ผ่านกลไกที่ประชาชนมีส่วนร่วม เพราะฉะนั้น ในประเทศที่เป็นประชาธิปไตยทั้งหลายในโลกทั้งหมด จะเห็นได้ว่าการขึ้นครองราชย์ของพระมหากษัตริย์จะต้องประกอบด้วยความเห็นชอบ จากรัฐสภาทั้งสิ้น เพื่ออย่างน้อยที่สุด เป็นการสร้างความชอบธรรมในการเป็นประมุขของรัฐผ่านตัวผู้แทนของประชาชน ซึ่งรัฐธรรมนูญปี 2534 เลิกหลักการนี้แล้วไปใช้หลักการครองราชย์โดยอัตโนมัติ ซึ่งไม่น่าจะถูกต้อง

นั่น คือสองอย่างที่เห็นได้อย่างชัดเจนว่าขัดกับกฎเกณฑ์ประชาธิปไตย มีบทบัญญัติบางมาตราที่อาจจะเป็นประเด็นถกเถียงกันว่าขัดหรือไม่ขัดแค่ไหน เช่นมาตรา 8 คือเรื่องที่กำหนดให้องค์พระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพ สักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ และบัญญัติในวรรคถัดมาว่าห้ามมิให้มีการฟ้องร้องพระมหากษัตริย์

ผม เรียนอย่างนี้ว่า บทบัญญัติแบบนี้มันมีอยู่ในรัฐธรรมนูญยุคสมัยเมจิของญี่ปุ่น มีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญของจักรวรรดิเยอรมัน ในช่วงที่มีการรวมชาติเยอรมันค.ศ. 1871 ในปัจจุบัน การกำหนดให้พระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ในฐานะที่ศักดิ์สิทธิ์ หรือละเมิดไม่ได้นั้น ไม่ปรากฏในรัฐธรรมนูญทั่วไป คงมีปรากฏเฉพาะในรัฐธรรมนูญของนอร์เวย์ดังที่พูดไปแล้ว แต่ประเทศอื่นๆ ไม่มี

แต่ ความที่กำหนดว่าพระมหากษัตริย์จะล่วงละเมิดไม่ได้ หรือบางประเทศก็บอกว่าไม่ให้แตะต้องนั้น มีในรัฐธรรมนูญเกือบทุกประเทศ คำถามคือบทบัญญัติแบบนี้ ถ้าเกิดมันมี การใช้นั้นใช้อย่างไร หรือการตีความนั้นตีความอย่างไร

ผม มีความเห็นซึ่งเป็นความเห็นส่วนตัวผมว่าการบัญญัติให้พระมหากษัตริย์เป็นที่ เคารพสักการะ มันเป็นการบัญญัติลึกเข้าไปในจิตใจของผู้คน คือมันเป็นการบัญญัติกฎหมายบังคับตัวคนเข้าไปถึงภายใน ซึ่งมันไม่สามารถบังคับได้ พระมหากษัตริย์จะเป็นที่เคารพสักการะหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับราชจริยาวัตรของพระมหากษัตริย์แต่ละพระองค์ ซึ่งอาจไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้น การบัญญัติกฎหมายซึ่งจะเป็นไปได้ในทัศนะผมมากที่สุดก็คือบัญญัติกำหนด กฎเกณฑ์ภายนอก คือกำหนดสถานะของการล่วงละเมิดมิได้ ซึ่งก็ต้องตีความต่อไปด้วยว่าการล่วงละเมิดมิได้นั้นหมายความว่าอะไร ในรัฐธรรมนูญของหลายประเทศ เวลาที่เขาพูดว่าล่วงละเมิดมิได้ เขาไม่ได้เข้าใจเหมือนกับบริบทการตีความกฎหมายแบบบ้านเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเชื่อมโยงมาตรา 8 เข้ากับบทบัญญัติมาตรา 112 ซึ่งผมค่อนข้างเห็นพ้องด้วยกับอาจารย์สมศักดิ์ในประเด็นนี้ ว่าถ้ากำหนดเรื่อง 112 โดยที่บทบัญญัติในมาตรา 8 ยังคงอยู่และได้รับการตีความในลักษณะเดิม มันก็สามารถเอาไปผ่านกลไกในการตีความในการปรับใช้กฎหมายกับองค์กรของรัฐได้ อยู่ดี เพราะฉะนั้นนี่เป็นปัญหาของความเข้าใจในสถานะพระมหากษัตริย์ ถามว่าทำไมในหลายประเทศซึ่งกำหนดบทบัญญัติลักษณะนี้เอาไว้จึงไม่มีปัญหาใน ทางปฏิบัติ ก็เพราะว่าองค์กรบังคับใช้กฎหมายเขาเข้าใจสถานะของพระมหากษัตริย์ในระบอบ ประชาธิปไตย ว่าพระองค์จะต้องอยู่พ้นไปจากการเมือง และการกระทำใดๆ ของพระมหากษัตริย์ จะกระทำอะไรไม่ได้เลยถ้าไม่มีคนลงนามสนองพระบรมราชโองการถ้าเป็นการกระทำใน กิจการของรัฐ หรือเรื่องส่วนพระองค์ซึ่งกระทบกับกิจการของรัฐ สภาก็มีสิทธิ์อภิปรายได้ด้วย ในประเทศเหล่านั้นมันไม่ใช่เรื่องประหลาด

ใน ส่วนที่ขาดหายไปในระบบของเรา คือการบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องของเงิน เรื่องเงินปีที่จ่ายให้แก่พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ว่าจะจ่ายให้ แค่ไหน อย่างไร กติกาในการใช้เงินจะเป็นอย่างไร ใช้ตามอัธยาศัย จะโอนเงินได้ไหม รัฐธรรมนูญบางประเทศจะเขียนเอาไว้ชัดว่าการโอนเงินนั้นจะทำไม่ได้ อันนี้คือส่วนที่ขาดหายไปที่ต้องทำ การกำหนดเรื่องนี้เอาไว้ในรัฐธรรมนูญ จะทำให้การกำหนดหลักเกณฑ์ของสำนักทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์มันถูกผูกมัด โดยเกณฑ์ของรัฐธรรมนูญ ซึ่งปัจจุบันมันไม่มี และตามที่เรารู้กันว่าหน่วยงานนี้เป็นหน่วยงานที่มีปัญหาในทางกฎหมายมากใน การให้สถานะทางกฎหมายแก่หน่วยงานนี้ว่าเป็นหน่วยงานอะไร ระบบการควบคุมและตรวจสอบนั้นเป็นอย่างไร เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ขาดหายไปและผมเห็นพ้องว่าควรจะต้องเขียนเสียให้ ชัดเจน

อีก อันหนึ่งคือเรื่องการรับเงินบริจาคต่างๆ การรับของกำนัลต่างๆ นี่เป็นเรื่องที่ต้องถกเถียงกันและทำให้ชัดว่ารัฐธรรมนูญจะกำหนดเรื่องนี้ กันอย่างไร นี่ต้องพูดกันว่าจะให้มีได้อย่างไร แค่ไหน รัฐธรรมนูญญี่ปุ่นเป็นตัวอย่างที่ดีที่กำหนดกฎเกณฑ์ กติกา เรื่องนี้เอาไว้ค่อนข้างชัดเจนทีเดียว

หลัก การอีกอันหนึ่งคือเรื่องของการที่พระมหากษัตริย์ไม่ทรงอยู่ในราชอาณาจักร รัฐธรรมนูญบางประเทศกำหนดเอาไว้ด้วยว่าถ้าพระมหากษัตริย์ไปอยู่ต่างประเทศ ติดต่อกันเกินกว่า 6 เดือน ให้พ้นจากราชสมบัติ (มีเสียงฮือฮาจากผู้ฟัง) กติกาแบบนี้ก็เป็นกติกาที่ต้องพูดกันในรัฐธรรมนูญด้วย ว่าควรจะกำหนดเอาไว้แค่ไหนอย่างไร

เรื่อง อื่นๆ นั้นมันเป็นพระราชอำนาจในทางสังคม ซึ่งเกิดขึ้นได้ภายใต้กรอบกติกาในทางกฎหมายที่ชัดในรัฐธรรมนูญ เพราะฉะนั้นเมื่อพูดกันมาถึงตรงนี้ ผมจึงคิดว่า การอภิปรายวันนี้ น่าจะไม่มีเวลาไหนที่จำเป็นยิ่งไปกว่าเวลานี้แล้ว ที่จะต้องพูดถึงการปรับเปลี่ยนกลไกกติกาในรัฐธรรมนูญให้มันรับกับกฎเกณฑ์ที่ เป็นสากล ภายใต้ดีเบตที่ว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของใคร อันนี้เป็นฐานก่อน อำนาจสูงสุดเป็นของใครก่อน เอาให้ตรงนี้มันยุติก่อน ถ้ามันยังคลุมเครืออยู่มันจะไม่สามารถวางกติกาในรัฐธรรมนูญให้ถูกต้องได้ รัฐธรรมนูญเราเขียนไว้ชัดเจนแล้ว แล้วผมว่าประเด็นนี้น่าจะยุติแล้วว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน ทีนี้พอเป็นแล้ว การเชื่อมโยงประมุขของรัฐกับการใช้อำนาจนั้นเป็นอย่างไร อาจารย์สุธาชัยตั้งคำถามไว้ว่า ถ้าอำนาจเป็นของปวงชนแล้วพระมหากษัตริย์เป็นผู้ใช้ มันใช่ไหม คืออันนี้มันเป็นวิธีการเขียนและวิธีการตีความรัฐธรรมนูญ ถ้าถามผม ผมว่าวิธีการเขียนเพื่อขจัดปัญหาให้ไม่ต้องมานั่งถกเถียงกัน และทำให้พระมหากษัตริย์ทรงพ้นไปจากการเมืองจริงๆ ก็น่าจะบัญญัติแบบนี้ เป็นข้อเสนอของผมว่า "อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย หรืออำนาจสูงสุดของประเทศเป็นของราษฎรไทย" และหลังจากนั้นก็บัญญัติว่า "วิธีการใช้อำนาจดังกล่าวให้เป็นไปตามที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญนี้" แล้วก็จบ เพราะฉะนั้น ในแง่นี้ เวลาอำนาจถูกใช้ออกไป มันก็จะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ตามรัฐธรรมนูญ ในแง่นี้เราอาจกล่าวได้ว่า เป็นการกันพระมหากษัตริย์ออกไปไม่ให้พระองค์ทรงเข้ามาเกี่ยวพันกับการเมือง อันจะส่งผลให้สถานะของพระองค์สั่นคลอนลงไป

คำ ถามก็คือ เวลาที่เราพูดถึงเรื่องการรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ มันต้องรักษายังไง ผมคิดว่า วิธีการในการทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์ที่ง่ายที่สุด ก็คือให้อำนาจพระมหากษัตริย์เยอะๆ ถวายพระราชอำนาจให้พระมหากษัตริย์มาก พระมหากษัตริย์ก็จะต้องเกี่ยวพันกับกิจการบ้านเมืองมาก เมื่อเกี่ยวพันกับกิจการบ้านเมืองมาก ถึงแม้จะมีการกำหนดกฎเกณฑ์ให้พระองค์พ้นไปจากการล่วงละเมิดมิได้หรืออะไรก็ ตาม แต่ในความเป็นจริงมันจะไม่เป็นแบบนั้น เพราะว่าที่สุดเมื่อจะต้องตัดสินใจเกี่ยวพันกับกิจการบ้านเมืองแล้ว ก็จะต้องถูกวิพากษ์วิจารณ์ และก็จะกระทบกับพระราชสถานะของพระมหากษัตริย์ และยิ่งพระมหากษัตริย์มีพระราชอำนาจมากเท่าไร ก็จะยิ่งกระทบหรือสั่นคลอนกับพระราชสถานะของพระองค์มากเท่านั้น ถ้าใครต้องการให้สถานะของสถาบันพระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ต่อไปยาวนานก็ต้องทำ ในทางกลับกัน เรื่องนี้ผมพูดฝากไปยังหลายๆ คนที่กำลังคิดประเด็นเหล่านี้อยู่รวมทั้งคนที่เคลื่อนไหวโดยอ้างอิงกับ สถาบันพระมหากษัตริย์ด้วยว่าต้องคิดให้ดี

ถ้า พระมหากษัตริย์มีพระราชอำนาจเท่าที่จำเป็นในรัฐธรรมนูญ แล้วที่เหลือมันเป็นเรื่องจัดการกับกิจการบ้านเมือง ซึ่งองค์กรที่มีความชอบธรรมในทางประชาธิปไตยก็จะเข้าจัดการเอง อันนี้พระมหากษัตริย์ก็จะหลุดพ้นไปจากการเมือง พระองค์ก็จะมีอำนาจเฉพาะในยามคับขัน พระราชอำนาจที่เป็นกลางในการพิทักษ์รักษารัฐธรรมนูญเอาไว้เท่านั้น แบบนี้ก็จะดำรงต่อไปถาวร ถ้าพ้นไปจากนี้ก็จะเป็นปัญหากับตัวสถานะของพระมหากษัตริย์ในระบบรัฐธรรมนูญ อยู่ตลอดเวลา

ที นี้ถามว่าทำไมบ้านเรามันมีปัญหาแบบนี้ ผมคิดว่าปัญหาที่มันเกิดขึ้น มันไม่ได้เกิดขึ้นลำพังแต่ตัวบทรัฐธรรมนูญอย่างเดียว คือในทางตัวบทกฎหมายมันก็มีปัญหาในทางหลักการหลายเรื่องดังที่ได้กล่าวไป แล้วว่ามันมีความไม่ถูกต้อง แต่ผมคิดว่าสิ่งสำคัญที่สนับสนุนทำให้เกิดปัญหาและเราต้องมานั่งพูดกัน มันคือการตีความหรือการอธิบายความของบรรดาบุคคลซึ่งเกี่ยวพันกับเรื่องอำนาจ ของรัฐ อาจจะพูดว่าเป็นเรื่องชนชั้นนำของรัฐ ส่วนหนึ่งอาจเป็นชนชั้นนำที่รายล้อมสถาบันพระมหากษัตริย์อยู่ด้วย ส่วนหนึ่งมาจากการอธิบายความซึ่งเบี่ยงเบนจากกฎเกณฑ์กติกา ซึ่งจริงๆ มันกำลังลงตัวแล้วเมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 และดำเนินมาค่อนข้างต่อเนื่องในช่วง 15 ปีแรก คำอธิบายนี้มันถูกอธิบายได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะว่าในส่วนหนึ่งในตัวบทของรัฐธรรมนูญก็เขียนความเอาไว้ด้วย และคำว่าการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมัน เกิดขึ้นเมื่อปี 2534 และถูกอธิบายเป็นลักษณะพิเศษไปแล้ว หรือบทบัญญัติอื่นๆ ที่เขียนเติมขึ้นมาในช่วงแรก อันนี้ส่งผลให้สถานะของพระมหากษัตริย์ในรัฐธรรมนูญในด้านหนึ่งบางคนก็บอกว่า มันมั่นคงขึ้น แต่เวลาที่เกิดปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองอย่างรุนแรง สถานะที่ดูเหมือนอาจจะมั่นคงนั้น อาจจะถูกสั่นคลอนอย่างยิ่งก็ได้ ภายใต้กรอบการตีความแบบหนึ่ง

เพราะ ฉะนั้น วันนี้ เพื่อให้ตัวรัฐธรรมนูญดำเนินไป ที่แก้ไขรัฐธรรมนูญกันอยู่นั้น มันเป็นเรื่องไร้สาระทั้งสิ้น (เสียงปรบมือ) ที่ดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่องเขตเลือกตั้งหรือเรื่องอะไร ผมเห็นว่ารัฐธรรมนูญไม่ควรจะแก้นะครับ ท่านก็ทราบจุดยืนผมอยู่แล้วว่ารัฐธรรมนูญปี 2550 มันจะสร้างปัญหาให้กับระบบของเรา

แต่ ว่าสิ่งหนึ่งที่ต้องพูดกันและทำให้ชัด และเป็นประเด็นสาธารณะ ก็คือการอภิปรายบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ ผมเห็นพ้องกับอาจารย์สมศักดิ์ ว่าในเวทีที่จะจัด ซึ่งครั้งนี้ผมเห็นว่าเป็นการชิมลาง แต่ในเวทีที่จะมีต่อไป มันคงหลีกเลี่ยงไม่พ้นที่จะต้องเอาคนที่เห็นต่างกันในเรื่องนี้มานั่งคุยกัน อาจจะภายใต้ข้อเสนอหรือโมเดลบางอย่างที่มีการเสนอออกมาและมีเหตุผลรองรับและ สอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตยที่พระมหากษัตริย์เป็นประมุขในรัฐราชอาณาจักร อย่างไร คงจะเป็นเรื่องที่ต้องทำกันต่อไป

ผม ไม่ทราบว่าประเด็นที่อภิปรายกันในวันนี้ ในห้องแบบนี้ จะเป็นเรื่องสู่สาธาณะแค่ไหนอย่างไร ผมพบอย่างนี้นะครับว่า ผมอภิปรายเรื่องในทางหลักการเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ที่ชัดๆ อยู่สองสามครั้ง ไม่เคยปรากฏเป็นข่าวในหนังสือพิมพ์เลยแม้แต่ครั้งเดียว หมายความว่าสื่อมวลชนเองก็เซ็นเซอร์ตัวเองในการเสนอประเด็นเหล่านี้ ทั้งที่มันเป็นประเด็นซึ่งแสดงออกไปด้วยความหวังดีจริงๆ กับบ้านเมือง กับตัวระบอบ และคนพูดทุกคนก็มีความเสี่ยงอยู่ที่มาพูดเรื่องนี้ในสังคมไทยในเวลาแบบนี้ แต่เราเห็นว่านี่เป็นเรื่องสำคัญในสังคมไทยที่ต้องพูดกัน เสี่ยงมากเสี่ยงน้อยท่านก็เห็นอยู่ในแต่ละท่านว่าเป็นอย่างไร เพราะฉะนั้น ผมคิดว่าเรื่องนี้ก็มีสื่อมวลชนอยู่ในที่แห่งนี้ ทำให้เรื่องเหล่านี้เป็นประเด็นสาธารณะเถิด แล้วก็พูดกันอย่างมีเหตุผล อย่าได้กล่าวร้ายป้ายสีคนที่เขายกประเด็นเหล่านี้ว่าเป็นพวกล้มสถาบันเลย เพราะวันนี้ทีพูดกันทั้งหมด ทุกคนที่อยู่ในเวทีแห่งนี้ ไม่มีใครเสนอการปกครองในระบอบสาธารณะรัฐแม้แต่คนเดียว (เสียงปรบมือดังนาน)