WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, August 9, 2008

เศรษฐกิจแบบพอเพียง ประชาธิปไตยแบบพอเพียง วาทกรรมทางการเมืองยุคเปลี่ยนผ่าน


บทความ โดย ลูกชาวนาไทย

ช่วงสัปดาห์กว่าที่ผ่านมานี้ ผมถือโอกาส ถอดปลั๊ก ออกจากโลกไซเบอร์ off-line ไปชั่วคราว เพราะรู้สึกเบื่อๆ ขึ้นมาอย่างเฉียบพลัน คือ การเมืองไทยในตอนนี้ไม่มีอะไรใหม่ ก็ด่ากันไปด่ากันมา พันธมิตรก็เสนอแนวคิดแปลกประหลาดพิสดารรายวันเหมือนเดิม หรือฝ่ายรัฐบาลก็ไม่มีอะไรน่าตื่นเต้นมากมายนัก

จะมีก็แต่รายการ ความจริงวันนี้ ของ NBT โดยสามสหายวีระ จตุพร และณัฐวุฒิ เท่านั้น ที่ถือว่าเป็นการรุกทางการเมืองของรัฐบาลครั้งใหญ่ ซึ่งผมคิดว่าค่อนข้างสายเล็กน้อย หากทำตั้งแต่สามเดือนที่แล้ว ก็ไม่ต้องทุลักทุเลขนาดนี้ แต่มาสายบ้าง ดีกว่าไม่มาเลย

ช่วงนี้ ผมเบื่ออ่านกระทู้ทั้งในประชาไท หรือในที่อื่นๆ เพราะวนไปวนมา ก็เลยหยุดอ่านหยุดตอบโต้ไปเฉยๆ

ที่ผมตามอ่านบ้างคือ บทความในประชาไทออนไลน์ ซึ่งบางครั้งก็มีบทความดีๆ มาให้อ่านเพื่อประเทืองปัญญาเช่นกัน

บังเอิญวันนี้ ผมไปเจอบทสัมภาษณ์ ที่ ฟ้าเดียวกัน (วารสาร) ไปสัมภาษณ์ ฝรั่ง แอนดรูว์ วอล์กเกอร์ เรื่อง เกี่ยวกับความเห็นเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง และประชาธิปไตยแบบพอเพียง ซึ่งแนวคิดของแอนดรูว์ วอล์กเกอร์ นักวิจัยภาคสนามนี้ ตรงกันแนวคิดที่ผมรู้ผมทราบและพยายามอธิบายมานานแล้ว แอนดรูว์ วอล์กเกอร์ ให้สัมภาษณ์ได้กระจ่างชัดที่สุดเท่าที่ผมเคยเห็นบทความของนักวิชาการไทยมา

ผมคิดว่านักวิชาการไทย นั้นส่วนใหญ่เป็นพวก บนหอคอยงาช้าง

แนวคิดเศรษฐกิจแบบพอเพียง เป็น แนวคิดที่เอามาตีโต้ ระบอบทักษิณหรือระบอบทุนนิยมโลกาภิวัฒน์โดยตรง ผมเห็นด้วยกับความคิดของ แอนดรูว์ วอล์กเกอร์ ที่ว่า เศรษฐกิจแบบพอเพียง มันดำรงอยู่ได้ในช่วงนี้ เพราะมันเป็นแนวคิดของในหลวงที่คนไทยรัก หรือไม่กล้าแตะ พอคนพูดขึ้นมาก็มีแต่คนสนับสนุน ไม่มีใครค้าน แต่ก็ไม่มีใครเอาไปใช้เช่นกัน

ตอนนี้ ผมว่าเมืองไทยกำลังเสนอ วาทกรรม ต่อจากเศรษฐกิจแบบพอเพียงคือ ประชาธิปไตยแบบพอเพียง ซึ่งเราพอจะจับเค้าความคิดนี้ได้จาก รธน.ปี 2550 ที่ไปลดความสำคัญของคะแนนเสียงประชาชนลง รวมทั้งการ เสนอประชาธิปไตยแบบ 70/30” ผมคิดว่านี่คือการดิ้นของพวก ศักดินาอำมาตรยาธิปไตย ในยุคสุดท้ายก่อนสูญสิ้นเผ่าพันธุ์นะครับ

ก็ลองอ่านบทความที่ผมเอามาลงนี้นะครับ ต้องขอโทษ ประชาไท ด้วยที่เอามาลง โดยไม่ได้ขออนุญาติ


0 0 00 0 00 0 00 0 00 0 00 0 00 0 0

ฟ้าเดียวกัน: จากการศึกษาของคุณ เศรษฐกิจพอเพียงมีปัญหาอย่างไร ทั้งในเชิงปรัชญาและการนำไปปรับใช้ในการพัฒนาชนบท

แอนดรูว์ วอล์กเกอร์: เราสามารถพูดได้ว่าชนชั้นนำไม่ได้พยายามแสดงภาพที่แท้จริงของสังคมชนบท โดยเฉพาะเวลาพูดถึงเกษตรทฤษฎีใหม่มันอิงอยู่กับทัศนะที่ว่าเกษตรกรรมมี ศักยภาพที่จะเป็นฐานรองรับความเป็นอยู่อย่างพอเพียงของท้องถิ่นได้ นั่นเป็นประเด็นหลักที่งานของผมพยายามจะท้าทาย ผมไม่เห็นด้วยกับแนวคิดที่ว่าเกษตรกรรมมีศักยภาพที่จะเป็นฐานรองรับความพอ เพียงของท้องถิ่นได้ พูดง่ายๆ คือว่าทรัพยากรทางการเกษตรมีไม่เพียงพอสำหรับรองรับวิถีชีวิตที่คนในชนบท ต้องการ อาจจะมีเพียงพอสำหรับการดำรงชีวิตขั้นพื้นฐานแบบพอยังชีพเท่านั้น แต่นั่นไม่ใช่วิถีชีวิตที่คนชนบทสนใจ พวกเขาต้องการให้ลูกได้รับการศึกษา ต้องการพัฒนาที่อยู่อาศัย อยากดูโทรทัศน์ อยากมีอินเทอร์เน็ตที่บ้าน ฯลฯ เราเห็นเศรษฐกิจที่หลากหลายในพื้นที่ชนบท เพื่อรองรับความคาดหวังต่างๆ ในวิถีชีวิต ชาวบ้านในชนบทไม่สามารถที่จะพึ่งพาแต่เกษตรกรรมเพียงอย่างเดียวได้

ปัญหา หลักๆ ของเศรษฐกิจพอเพียงคือมันไม่ยอมรับความต้องการของคนเหล่านี้ เศรษฐกิจพอเพียงบอกให้คนอย่าอยากได้โทรทัศน์ คุณไม่ควรอยากที่จะส่งลูกไปเรียนมหาวิทยาลัย คุณควรจะพึงพอใจกับชีวิตชนบทที่เรียบง่าย ผมว่านี่คือสิ่งที่ไม่เป็นประชาธิปไตยโดยพื้นฐานในเศรษฐกิจพอเพียง คือไม่ยอมรับความต้องการของผู้คน และสิ่งที่ทำให้ผมรู้สึกโกรธเล็กน้อยก็คือปรัชญานี้ถูกโฆษณาส่งเสริมโดยคน ที่ร่ำรวยมหาศาล มันไม่เข้าท่าผมว่าเป็นเรื่องดัดจริต

ฟ้าเดียวกัน: คุณพยายามนำข้อมูลจากการวิจัยภาคสนามมาบอกว่าเศรษฐกิจที่เป็นจริงของชนบทไทย เข้ากันไม่ได้กับภาพเศรษฐกิจชนบทตามทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อแสดงให้เห็นว่าการนำเสนอภาพชนบทไทยของชนชั้นนำ (Elite representation) นั้น ผิดเพี้ยนไปอย่างไร ปัญหาคือโดยทั่วไปคนไทยก็ไม่ได้เข้าใจว่าเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวคิดที่นำ เสนอภาพชนบทไทยที่แท้จริงอยู่แล้ว แต่เป็นการรณรงค์ให้ประชาชนกลับไปใช้วิถีชีวิตที่เหมาะสมดีงามมากกว่า ถ้ามองในแง่นี้ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีปัญหายังไง

แอนดรูว์ วอล์กเกอร์: ประเด็นสำคัญคือเศรษฐกิจพอเพียงเป็นวิธีคิดแบบกำกับควบคุม มันเป็นการควบคุมพฤติกรรมคน เศรษฐกิจพอเพียงไม่ได้บอกว่าชีวิตชนบทจริงๆ เป็นอย่างไร ทว่ามันเป็นระบบกำกับควบคุมทางศีลธรรมว่าคนควรจะใช้ชีวิตอย่างไร และมีทัศนะเชิงลบต่อพฤติกรรมที่เป็นอยู่ คือบอกเป็นนัยว่าคนโลภมากเกินไปหรือเสี่ยงมากเกินไป

ผม คิดว่ามีแนวโน้มทางกระแสความคิดในบางแง่มุมของวิธีคิดแบบไทยที่เกี่ยวกับ ความชอบธรรมเชิงศีลธรรมของวิถีชีวิตชนบทที่เรียบง่าย ซึ่งคุณมองเห็นได้ในเศรษฐกิจพอเพียงและแนวคิดวัฒนธรรมชุมชนทั้งหลายว่า มันมีชุดของศีลธรรมที่ชอบธรรมและแท้จริงอยู่ในวิถีชีวิตชนบท นี่เป็นแนวโน้มทางกระแสคิดในวัฒนธรรมและสังคมไทย แต่ผมก็ไม่เห็นว่ามันจะไปจนถึงขั้นที่จะบอกให้ประชาชนอพยพออกจากเมืองไปทำ ไร่ไถนา ผมเห็นความเป็นไปได้ว่าเศรษฐกิจพอเพียงจะส่งผลกระทบต่อนโยบายสาธารณะ ในแง่การลดแรงกดดันต่อรัฐบาลในการเพิ่มการเข้าถึงบริการของรัฐในพื้นที่ชนบท ให้มากขึ้น การพัฒนาโอกาสทางการศึกษา การสร้างและขยายโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เศรษฐกิจพอเพียงอาจถูกใช้เพื่อลดแรงกดดันของรัฐในการบริการประชาชน งบประมาณสำหรับการพัฒนาชนบทอาจจะถูกลดหรือตัดออกไปด้วยทัศนะที่ว่าประชาชน ควรพึ่งตัวเอง เป็นต้น ผมคิดว่ามันมีนัยสำคัญในการลดภาระของรัฐบาล

ที่ ผ่านมามีการหยิบยกเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในทางการเมืองด้วย เศรษฐกิจพอเพียงถูกใช้ในการโจมตีรัฐบาลทักษิณ โครงการต่างๆ เช่น กองทุนหมู่บ้าน โครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (SML) ถูกโจมตีว่าเป็นด้านตรงข้ามของเศรษฐกิจพอเพียง นี่คือสิ่งที่รัฐบาล พล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์ โจมตีตลอดโดยอ้างเศรษฐกิจพอเพียง

ฟ้าเดียวกัน: ชนชั้นกลางโดยเฉพาะในกรุงเทพฯ ดูเหมือนจะตอบรับแนวคิดส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม คุณเห็นความเชื่อมโยงระหว่างการยกย่องเชิดชูศีลธรรมของชนชั้นกลางกับการ กำกับควบคุมศีลธรรมแบบเศรษฐกิจพอเพียงบ้างไหม

แอนดรูว์ วอล์กเกอร์: ผมคิดว่าชนชั้นกลางในกรุงเทพฯ จำเป็นที่จะต้องมีสำนึกประเภทที่ว่าเรามีวัฒนธรรมไทยที่มีศีลธรรมชนิดที่ เป็นของแท้ดั้งเดิมอยู่จริงๆ พวกเขาต้องการไปห้างสรรพสินค้า สยามพารากอน นั่งรถไฟฟ้าขณะเดียวกันพวกเขาก็ต้องการปลอบใจตัวเองว่าวัฒนธรรมไทยที่มี ศีลธรรมขนานแท้นั้นมีอยู่ที่ไหนสักแห่ง พวกเขาจึงโยนไปที่ชนบท

ใน แง่หนึ่งพวกเขาต้องการโยนภาระทางศีลธรรมไปไว้กับชนบทไทย เพื่อพวกเขาจะดำเนินชีวิตบริโภคนิยมต่อไปได้ มีการวิจารณ์มากมายเกี่ยวกับกองทุนหมู่บ้านของรัฐบาลทักษิณว่าสนับสนุนให้ ชาวบ้านเป็นหนี้ แต่แทบไม่มีการวิพากษ์วิจารณ์หนี้บัตรเครดิตในกรุงเทพฯ เลยคนกรุงเทพฯ จับจ่ายใช้สอยจนเต็มวงเงินบัตรเครดิต แต่กลับพูดกันแต่เรื่องชาวนาซื้อโทรศัพท์มือถือ พวกเขาโยนแรงกดดันด้านศีลธรรมนี้ไปให้ชาวบ้าน

เรื่อง การเมืองก็เหมือนกัน มีความพยายามที่จะทำลายความชอบธรรมของอำนาจการเลือกตั้งของชนบทอยู่ตลอดเวลา ซึ่งกระทำผ่านวาทกรรมการซื้อเสียง สำหรับผม นี่คือสิ่งที่เชื่อมระหว่างเศรษฐกิจพอเพียงกับประชาธิปไตยพอเพียง เศรษฐกิจพอเพียงบอกว่าชาวบ้านทำคุณค่าแบบจารีตหล่นหายไปแล้ว ประชาธิปไตยพอเพียงบอกว่าชาวบ้านไม่ควรมีส่วนร่วมในระบบการเมืองระดับประเทศ มากนักหรอก เพราะเวลามีส่วนร่วมก็เอาแต่ขายเสียง

ทั้ง สองเรื่องนี้วางอยู่บนแนวคิดที่ว่าชาวบ้านไม่มีปัญญารับมือกับเศรษฐกิจยุค ใหม่และระบบการเมืองสมัยใหม่ ผมคิดว่านี่เป็นเหตุผลสำคัญว่า ทำไมหลังรัฐประหาร 19 ก.ย. 2549 เศรษฐกิจพอเพียงจึงกลายมาเป็นส่วนสำคัญมากเหลือเกินในวาระของรัฐบาลที่จะทำลายความชอบธรรมของชาวบ้านที่สนับสนุนทักษิณ

ฟ้าเดียวกัน: อะไรคือตัวอย่างปรากฏการณ์ที่แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจพอเพียงไปลดทอนความชอบธรรมทางการเมืองของคนชนบทได้

แอนดรูว์ วอล์กเกอร์: ตัวอย่างที่ชัดเจนคือการที่เศรษฐกิจพอเพียงกลายเป็นกรอบนโยบายศูนย์กลางของ รัฐบาลหลังการรัฐประหาร หลายโครงการของรัฐบาลทักษิณถูกเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นโครงการเศรษฐกิจพอเพียง ในหมู่บ้านที่ผมทำงานวิจัยอยู่ โครงการลดความยากจนของทักษิณถูกขึ้นป้ายใหม่ แปะสติ๊กเกอร์ใหม่เป็นเศรษฐกิจพอเพียง

ส่วน ประชาธิปไตยพอเพียงนั้นมีจุดเชื่อมโยงในเชิงวาทกรรม ผมไม่คิดว่าเราจะได้เห็นตัวบทกฎหมายเฉพาะเจาะจงที่เชื่อมโยงเศรษฐกิจพอเพียง กับการเมืองว่าด้วยการเลือกตั้ง แต่ถ้าคุณมองลักษณะของการถกเถียงทางการเมืองในปีที่ผ่านมาในไทยจะเห็นว่า สิ่งต่างๆ เหล่านี้หนุนเสริมซึ่งกันและกัน ผมกำลังบอกว่าผมไม่สามารถให้ตัวอย่างเฉพาะได้ เพราะมันเกิดในระดับวาทกรรม ระดับสัญลักษณ์

แต่ก็มีตัวอย่างหนึ่งมีบทสัมภาษณ์พล.อ. สนธิ บุญยรัตกลิน ที่ดีมากๆ เขาพูดถึงคลื่นใต้น้ำกับ อันตรายของการซื้อเสียงอยู่ตลอดเวลา เขาบอกว่าเงินทำลายวิถีชีวิตชาวบ้านไทยและชาวบ้านต้องได้รับการศึกษาอย่าง มากเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง นี่เป็นส่วนหนึ่งในวาทกรรมเศรษฐกิจพอเพียง

ฟ้าเดียวกัน: ในแง่นี้ถือได้ว่าผู้บริโภคเศรษฐกิจพอเพียงคือชนชั้นกลางหรือเปล่า

แอนดรูว์ วอล์กเกอร์: ผมคิดว่าใช่ เศรษฐกิจพอเพียงเป็นสินค้าสำหรับชนชั้นกลางเพื่อให้รู้สึกอุ่นใจว่าน่าจะยัง มีวัฒนธรรมไทยที่มีศีลธรรมของแท้อยู่ที่ไหนสักแห่ง และมันยังช่วยให้ชนชั้นกลางรู้สึกสะดวกใจที่จะสนับสนุนรัฐประหาร การลงคะแนนเสียงเลือกตั้งของชาวบ้านไม่สำคัญเท่าไรเพราะพวกเขาไม่ยึดถือ ปฏิบัติตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง

ฟ้าเดียวกัน: อยากให้ช่วยขยายความเรื่องประชาธิปไตยแบบพอเพียง

แอนดรูว์ วอล์กเกอร์: ประชาธิปไตยพอเพียงก็คืออำนาจที่มาจากการเลือกตั้งควรมีจำกัด ระบบการเมืองไม่ควรอิงกับอำนาจจากการเลือกตั้งเพียงลำพัง อำนาจที่มาจากการเลือกตั้งควรถูกจำกัดโดยอำนาจศาลและอำนาจระบบราชการ ซึ่งแน่นอนว่าทั้งสองอำนาจนี้เชื่อมโยงกับอำนาจของกษัตริย์ เศรษฐกิจพอเพียงบอกว่าคุณไม่ควรไปข้องเกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจภายนอกมากนัก ส่วนประชาธิปไตยพอเพียงบอกว่าคุณควรจำกัดการข้องเกี่ยวกับระบบการเมือง คุณไปออกเสียงเลือกตั้งได้ แต่คนที่คุณเลือกจะถูกกระหนาบโดยศาล โดยวุฒิสภาที่มาจากการแต่งตั้งครึ่งหนึ่ง โดยอำนาจต่างๆ ของราชการ ผู้พิพากษา และองคมนตรี ทั้งเศรษฐกิจพอเพียงและประชาธิปไตยพอเพียงมีหลักการเดียวกันคือจำกัดประชาชน ให้เกี่ยวข้องเฉพาะเรื่องท้องถิ่นของตัวเองเท่านั้น เวลาคนพูดถึงประชาธิปไตยแบบไทยๆ หรือแบบเอเชีย ผมคิดว่ามันทำนองเดียวกัน

จากมุมมองของผม เห็นได้ชัดว่ารัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 พยายาม วางกรอบจำกัดของประชา-ธิปไตย เป็นรัฐธรรมนูญฉบับประชาธิปไตยพอเพียง สมาชิกวุฒิสภาครึ่งหนึ่งมาจากการแต่งตั้ง อำนาจศาลเพิ่มมากขึ้น ระบบการเลือกตั้งเปลี่ยนใหม่ เขตเดียวหลายเบอร์ ระบบสัดส่วนแตกเป็นแปดกลุ่ม ทั้งหมดพยายามลดทอนอำนาจที่มาจากการเลือกตั้ง

ฟ้าเดียวกัน: คุณเสนอว่าปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนั้นไม่สอดคล้องกับเศรษฐกิจที่เป็นจริงหรือ การพัฒนาชนบท หากไม่สอดคล้องกันจริงก็จะต้องเกิดความตึงเครียดอะไรบางอย่าง คำถามคือ ในเมื่อเศรษฐกิจพอเพียงขัดแย้งกับวิถีชีวิตที่เป็นจริงของชาวบ้านในชนบท แล้วชาวบ้านมีปฏิกิริยาต่อเศรษฐกิจพอเพียงอย่างไร พวกเขาเพิกเฉย ต่อต้าน หรือว่าเห็นด้วย

แอนดรูว์ วอล์กเกอร์: ประการแรกเลย ชนบทไทยมีคนหลากหลายประเภท ดังนั้นจึงมีความคิดเห็นที่หลากหลาย

ประการ ที่สองคือ ชาวบ้านที่ผมทำงานด้วยในหมู่บ้านมีความเป็นเหตุเป็นผลและคิดบนฐานความเป็นไป ได้จริงในทางปฏิบัติ ผมตระหนักว่าในสภาวะการเมืองปัจจุบัน การใช้ภาษาเศรษฐกิจพอเพียงนั้นมีประโยชน์ ถ้าผมไปขอทำโครงการจากเทศบาลหรือขอเงินมาทำอะไรสักอย่าง แน่นอนผมจะเรียกมันว่าโครงการเศรษฐกิจพอเพียง เวลาผม


ไป ร่วมขบวนแห่ลอยกระทงในอำเภอผมก็จะต้องมีป้ายเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง ชาวบ้านก็ใช้เศรษฐกิจพอเพียงให้เป็นประโยชน์ต่อพวกเขาเอง พวกเขาไม่โง่ จากประสบการณ์ที่ผมได้พูดคุยกับชาวบ้านในเรื่องนี้ สรุปได้ว่าพวกเขาเคารพเศรษฐกิจพอเพียงเพราะว่าแนวคิดนี้เป็นของในหลวง ชาวบ้านบอกว่ามันเป็นความคิดที่ดี ทฤษฎีที่ดี แต่พวกเขาก็บอกว่ามันไม่สอดคล้องกับชีวิตของเขา

ยก ตัวอย่างอันแรกซึ่งเป็นเรื่องขำขัน ผมกำลังทานมื้อค่ำกับชาวนาคนหนึ่งโดยดูโทรทัศน์ไปด้วย สัญญาณภาพแย่มากเพราะอยู่บนภูเขา เขาบอกว่า ขอโทษด้วยอาจารย์ นี่เป็นโทรทัศน์ของในหลวง ผมถามว่าหมายความว่ายังไง เขาบอก ทีวีพอเพียงพวกเขาใช้วิธีนี้เวลามีอะไรที่ดีไม่เพียงพอก็จะบอกว่า นี่ละ พอเพียงชาวนา อีกรายหนึ่งปลูกข้าวโพดแล้วผลผลิตตกต่ำ ได้ข้าวโพด น้อยมากไม่พอขาย เขาบอกว่าเขาจะกินเองแบบว่าเป็นเศรษฐกิจพอเพียง แน่นอนว่าเขาไม่ได้กิน แต่ทิ้งไปเลย ผมคิดว่าพวกเขาใช้มันอธิบายเวลาทำอะไรแล้วไม่เป็นผลว่าประชาชนควรใช้ชีวิต อย่างที่ในหลวงตรัส

ยัง มีอีกตัวอย่างหนึ่ง ผู้หญิงคนหนึ่งบอกว่า เศรษฐกิจพอเพียงคือการบอกคนหนุ่มสาวในหมู่บ้านว่าอย่าออกไปแข่งขันในตลาดแรง งานในเมือง เนื่องจากคนในเมืองกังวลเรื่องการแข่งขันในตลาดแรงงาน คนชนบทมีการศึกษามากขึ้นเรื่อยๆ จึงทำให้คนเมืองกังวลเรื่องการแข่งขันกันหางานทำ ดังนั้นจึงบอกให้ชาวบ้านอยู่แต่ในหมู่บ้านเสีย ผมว่านี่เป็นการวิจารณ์เศรษฐกิจพอเพียงอย่างตรงไปตรงมา แต่คุณต้องรู้จักและได้รับความไว้วางใจเสียก่อนเขาจึงอยากจะพูดเรื่องนี้ อย่างตรงไปตรงมา เพราะว่าเศรษฐกิจพอเพียงสัมพันธ์กับกษัตริย์โดยตรง

ฟ้าเดียวกัน: แล้วชะตากรรมของเศรษฐกิจพอเพียงจะมีจุดจบเหมือนโครงการแผ่นดินธรรมแผ่นดินทองในสมัยรัฐบาล พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ หรือเปล่า

แอนดรูว์ วอล์กเกอร์: ผมว่ามันก็เป็นโครงการประเภทส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมทำนองนั้น คนหยิบสโลแกนเอาไปพูดโดยไม่รู้ว่ามันจะเกี่ยวกับชีวิตตัวเองยังไง บอกว่าฉันก็อยากใช้ชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง ถามว่าโทรศัพท์มือถือนี่เศรษฐกิจพอเพียงไหม ใช่! ทีวีล่ะเศรษฐกิจพอเพียงไหม ใช่! ลูกๆ ไปเรียนมหาวิทยาลัยล่ะ เศรษฐกิจพอเพียงไหม ใช่! ทุกอย่างเป็นเศรษฐกิจพอเพียงหมดเลย กลายเป็นคำที่ไม่มีความหมาย

ฟ้าเดียวกัน: ถ้าใครๆ ก็สามารถหยิบเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้และตีความให้เป็นประโยชน์แก่ตัวเองได้ ฉะนั้นจะมีปัญหาอะไรหากชาวบ้านหรือปัญญาชนจะนำเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้เพื่อ สร้างอำนาจให้ตัวเองหรือชุมชนหมู่บ้านเพื่อสู้กับโลกาภิวัตน์เสรีนิยมใหม่

แอนดรูว์ วอล์กเกอร์: ผมได้ฟังความเห็นที่แตกต่างกันจากอาจารย์หลายคน โดยเฉพาะอาจารย์ในเชียงใหม่ที่มองว่าโลกาภิวัตน์และรัฐเป็นตัวทำลายวัฒนธรรม หมู่บ้าน ไม่ต้องสงสัยเลยว่าทั้งโลกา-ภิวัตน์ ทุนนิยม และรัฐนั้นเข้าไปเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมหมู่บ้าน แต่ผมคิดว่าการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างก็เป็นไปในทางที่ดีขึ้น ดังนั้นในแง่ทัศนะและความต้องการของชาวบ้าน การเปลี่ยนแปลงหลายอย่างที่เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจได้ช่วยยก ระดับความเป็นอยู่ของพวกเขา

ยก ตัวอย่างชาวบ้านที่ผมทำงานวิจัยด้วยในภาคเหนือ เวลาพูดถึงอดีต สิ่งหนึ่งที่พวกเขาพูดถึงเป็นหลักคือความอดอยาก เมื่อก่อนพวกเขามีข้าวไม่พอกินสำหรับทั้งปี ต้องเดินข้ามภูเขาเพื่อไปหาข้าวจากหมู่บ้านอื่นหรือต้องออกไปทำงานเป็น กรรมกรในเชียงใหม่ แต่ตอนนี้พวกเขาปลูกข้าวได้พอ หรือสามารถสร้างรายได้มาซื้อข้าวได้ ดังนั้นผมจึงไม่เคยยอมรับทัศนะที่ว่าเศรษฐกิจหรือสังคมหรือวัฒนธรรมของหมู่ บ้านถูกทำลายโดยโลกาภิวัตน์ เพราะฉะนั้นผมจึงไม่คิดว่าจะต้องมีการปกป้องอะไร ผมไม่คิดว่าชาวบ้านในชนบทไทยต้องการการปกป้องตนเองจากตลาดหรือรัฐ พวกเขาต้องการตลาดมากขึ้นต่างหาก ต้องการมีตลาดมากขึ้นและดีขึ้น เข้าถึงตลาดได้อย่างเท่าเทียมมากขึ้น จะได้ไม่ถูกพ่อค้าคนกลางเอาเปรียบ พวกเขาต้องการเข้าถึงตลาดโดยตรง จากประสบการณ์ของผม ชาวบ้านไม่ได้ต้องการรัฐน้อยลงด้วย พวกเขาต้องการบริการจากรัฐมากขึ้น พวกเขาต้องการให้รัฐหยิบยื่นบริการแก่พวกเขาเหมือนที่หยิบยื่นแก่คนกรุงเทพฯ อันนี้เป็นจุดที่ผมคิดต่างจากแนวทางวัฒนธรรมชุมชนมาก

ฟ้าเดียวกัน: แล้วในมุมมองของคุณ แนวคิดเศรษฐกิจชุมชนและวัฒนธรรมชุมชนที่นักวิชาการกระแสรองและเอ็นจีโอนำ เสนอนั้นมีความเหมือนหรือต่างกับเศรษฐกิจพอเพียงอย่างไรบ้าง

แอนดรูว์ วอล์กเกอร์: ความเหมือนคือทั้งสองอย่างนี้เน้นความสำคัญของเกษตรกรรมแบบยังชีพเป็นฐานของ ชีวิตในมิติด้านสังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ นอกจากนี้ผมว่าแนวคิดวัฒนธรรมชุมชนคล้ายกับแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงมาก พูดอย่างหยาบๆ คือมันทำให้ความยากจนกลายเป็นคุณงามความดีไป มันบอกทำนองว่าความยากจนเป็นสิ่งพึงปรารถนาและมีศีลธรรม กระแสการพัฒนาไปสู่ความทันสมัยที่เห็นในชนบทไทยเป็นตัวบ่อนทำลาย

ส่วน ความต่างที่สำคัญคือ แนวทางวัฒนธรรมชุมชนเป็นแนวทางสำหรับชาวบ้านรากหญ้ามากกว่า เป็นเรื่องของการสร้างอำนาจชุมชนมากกว่า เป็นกระบวนการจากล่างขึ้นบน ขณะที่แนวทางเศรษฐกิจพอเพียงเป็นการผลักดันโดยรัฐ โดยคนจากนอกหมู่บ้าน แต่บางครั้งผมก็คิดว่านี่ไม่ใช่ความต่างที่ใหญ่โตอะไร บางทีผมคิดว่าแนวคิดวัฒนธรรมชุมชนก็เป็นสิ่งที่มาจากภายนอก มาจากมุมมองนักวิชาการที่วิพากษ์วิจารณ์ตลาดกับรัฐ ประเด็นสำคัญสำหรับผมคือผมไม่เจอการวิพากษ์วิจารณ์ตลาดกับรัฐเวลาคุยกับชาว บ้านผมได้ยินคนบ่นเรื่องตลาด บ่นเรื่องรัฐ ทว่าชาวบ้านไม่ได้ต้องการปฏิเสธมัน แต่พวกเขาบ่นเพราะรู้สึกว่าไม่สามารถเข้าถึงมันได้ดีอย่างที่ควรจะเป็น

เวลานึกถึงความต่างระหว่างกระแสวัฒนธรรมชุมชนกับกระแสเศรษฐกิจพอเพียง เอาเข้าจริงแล้วกลับกลายเป็นว่าเหมือนกันมากเลยทีเดียว

ฟ้าเดียวกัน: คุณคงไม่ได้มองเศรษฐกิจพอเพียงในแง่เครื่องมือทางเศรษฐกิจอย่างเดียว คือมองในแง่เครื่องมือทางอุดมการณ์ด้วย ในทำนองเดียวกัน ถ้ามองเศรษฐกิจชุมชนหรือวัฒนธรรมชุมชนของเอ็นจีโอและนักวิชาการกระแสรองใน แง่ที่เป็นเครื่องมือทางอุดมการณ์ มันต่างอย่างไรไหมกับเศรษฐกิจพอเพียง

แอนดรูว์ วอล์กเกอร์: ขอตอบแบบอ้อมๆ มีคนบอกว่าวัฒนธรรมชุมชนสามารถเป็นเครื่องมือทางอุดมการณ์เพื่อเสริมสร้าง อำนาจของชาวบ้านได้ ผมว่ามันล้มเหลว ตัวอย่างที่ดีสำหรับเรื่องนี้คือท่าทีที่เอ็นจีโอ นักวิชาการ และนักเคลื่อนไหวจำนวนมากมีต่อเหตุการณ์รัฐประหาร 19 ก.ย. 2549 และ รัฐบาล ทักษิณ พวกเขาได้สร้างการรณรงค์เพื่อเสริมสร้างอำนาจชาวบ้านด้วยภาพของเศรษฐกิจแบบ ยังชีพกับคุณค่าที่ไม่ใช่เชิงพาณิชย์ แล้วพวกเขาก็เห็นเกษตรกรออกไปสนับสนุนโครงการต่างๆ ของทักษิณ ดังนั้นเกษตรกรเหล่านั้นจึงไม่อยู่ในกรอบการเสริมสร้างอำนาจที่สำนักคิด วัฒนธรรมชุมชนได้ทำการรณรงค์มา ในที่สุดพอเกิดเหตุการณ์รัฐประหารขึ้นแล้วพวกสายวัฒนธรรมชุมชนทำยังไง พวกเขาเข้าข้างเกษตรกรเหล่านั้นที่เลือกทักษิณมาหรือเปล่า ผมคิดว่าพวกเขาไม่รู้จะทำยังไง นั่นเป็นส่วนหนึ่งของความล้มเหลวของการรณรงค์เสริมสร้างอำนาจชาวบ้านตามแนว คิดวัฒนธรรมชุมชน

เรา น่าจะพูดถึงการใช้เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเครื่องมือทางอุดมการณ์ด้วยเช่นกัน และผมคิดว่าเท่าที่ผ่านมามันแทบไม่ประสบความสำเร็จเลย บางทีผมก็คิดว่าการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 23 ธ.ค. 2550 นั้น เป็นจุดจบของเศรษฐกิจพอเพียง ประชาชนออกเสียงไม่เอาเศรษฐกิจพอเพียง ถ้าผลการเลือกตั้งไม่ถูกขว้างทิ้งไป เราก็จะได้เห็นเศรษฐกิจพอเพียงเริ่มจางหายไป

ฟ้าเดียวกัน: นอกจากเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงแล้วงานศึกษาวิจัยของคุณยังได้นำเสนอเรื่องรัฐธรรมนูญชาวบ้าน” (rural constitution) ในหมู่บ้านของไทยด้วย รัฐธรรมนูญฉบับนี้แตกต่างกับรัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรมของนิธิ เอียวศรีวงศ์ อย่างไร

แอนดรูว์ วอล์กเกอร์: ผมเรียกมันว่ารัฐธรรมนูญชาวบ้านเพื่อเป็นการท้าทาย เวลาคนนึกถึงรัฐธรรมนูญก็จะนึกถึงเอกสารพิเศษบางอย่างที่เขียนโดยนักกฎหมาย และคนบางกลุ่มแล้วถูกพระราชทานลงมา ผมพยายามจะบอกว่ายังมีรัฐธรรมนูญชาวบ้านด้วย มันเป็นคุณค่าและความเชื่อของชาวบ้านที่ว่าระบบการเมืองควรจะเป็นยังไง ผมว่ามันคล้ายกันมากกับรัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรมที่อาจารย์นิธิอธิบาย แต่ผมคิดว่านิธิอธิบายรัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรมเพียงฉบับหนึ่ง (จากที่มีอยู่หลายฉบับ) ซึ่งก็เป็นฉบับที่ค่อนข้างเป็นของชนชั้นนำ โดยกษัตริย์มีบทบาทเป็นศูนย์กลาง รัฐธรรมนูญชาวบ้านก็เป็นรัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรมประเภทหนึ่ง แต่ไม่ใช่รัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรมของชนชั้นนำ

ฟ้าเดียวกัน: คุณคิดว่ารัฐธรรมนูญชาวบ้านมีความสำคัญต่อการเมืองในชีวิตประจำวันในชุมชน หมู่บ้านยังไง และรัฐธรรมนูญฉบับนี้สำคัญต่อการทำความเข้าใจการเมืองไทยอย่างไรบ้าง

แอนดรูว์ วอล์กเกอร์: ผมคิดว่าสิ่งสำคัญคือการท้าทายวาทกรรมการซื้อเสียงที่ครอบงำอยู่ เวลาคนพูดถึงการเมืองในชนบทของไทย มีแนวโน้มที่จะพูดเรื่องการซื้อสิทธิ์ขายเสียง แต่ผมพยายามเสนอแนวคิดเรื่องรัฐธรรมนูญชาวบ้านด้วยการบอกว่าชาวบ้านไม่ใช่ เอาแต่ขายเสียง พวกเขาตัดสินใจบนฐานคุณค่าทางการเมืองอีกชุดหนึ่ง สิ่งสำคัญที่สุดที่ผมต้องการบอกคือว่า เราจำเป็นต้องทำ ความเข้าใจว่าคุณค่าทางการเมืองของชาวบ้านคืออะไร ไม่ใช่แค่ปัดไปง่ายๆ ว่าชาวบ้านขายเสียง

ฟ้าเดียวกัน: แม้เอ็นจีโอและนักวิชาการกระแสรองบางส่วนจะมีความคิดว่าชาวบ้านถูกประชานิยม ของรัฐบาลทักษิณหลอก แต่ในขณะเดียวกัน เอ็นจีโอ นักวิชาการ และนักเคลื่อนไหวก็ผลิตงานที่พยายามอธิบายวัฒนธรรมทางการเมืองของชาวบ้านอีก แบบหนึ่งผ่านเรื่องขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม ผ่านเรื่องประชาสังคม เพื่ออธิบายว่าชาวบ้านไม่ได้เฉื่อยเนือยหรือเป็นผู้ถูกกระทำ แต่กระตือรือร้นหรือเป็นผู้กระทำในทางการเมืองแบบหนึ่ง แนวคิดในลักษณะนี้ไม่เพียงพอหรือในการทำความเข้าใจการเมืองในชนบท อะไรคือข้อจำกัดของแนวคิดเหล่านี้ในฐานะมุมมองทางเลือกต่อวัฒนธรรมทางการ เมืองในชนบทไทย

แอนดรูว์ วอล์กเกอร์: ชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมหรือเอ็นจีโอ หรือการเมืองรากหญ้า ในบางพื้นที่องค์กรเหล่านี้หรือประชาสังคมมีความสำคัญ แต่คนส่วนใหญ่ในชนบทไม่มีความเกี่ยวข้องกับขบวนการเหล่านี้ ผมว่าถ้าเราเขียนเกี่ยวกับการเมืองในชนบทในแง่ขบวนการภาคประชาชน เราก็จะละเลยประชากรจำนวนมากในชนบท

ผม ต้องการจะบอกว่า ใช่ ขบวนการภาคประชาชนก็สำคัญ แต่เราก็ยังต้องมองการเมืองในเชิงการเลือกตั้งด้วย ขบวนการภาคประชาชนมักจะมีความเคลือบแคลงติดท่าทีต่อการเมืองในระบบเลือกตั้ง พวกเขาไม่ชอบนักการเมือง พวกเขาไม่ชอบแนวคิดเรื่องการเลือกตั้ง แต่ผมคิดว่าเราจำเป็นต้องมองถึงลักษณะที่ชาวบ้านมีส่วนร่วมในการเมืองแบบ เลือกตั้ง นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมผมถึงพัฒนาความคิดว่าด้วยรัฐธรรมนูญชาวบ้านขึ้นมา

ฟ้าเดียวกัน: การเลือกตั้งทั่วไปครั้งหลังสุดสะท้อนให้เห็นรัฐธรรมนูญชาวบ้านอย่างไรบ้าง

แอนดรูว์ วอล์กเกอร์: มันยังเร็วเกินไปที่จะพูดผมอยากทำวิจัยอีกมากเกี่ยวกับคุณค่าที่ชาวบ้านใช้ ในการตัดสินใจลงคะแนนเสียงเลือกตั้งครั้งหลังสุดนี้ คุณค่าหลายอันที่ผมพูดถึงในบทความอย่างเช่น ท้องถิ่นนิยม การบริหารจัดการที่ดี การเอาใจใส่ที่ได้รับจากผู้แทนราษฎร ผมว่ามันสำคัญ แต่ในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา เรื่องรัฐบาลทหารกับการรัฐประหารก็เป็นประเด็นที่ใหญ่มาก มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจลงคะแนนของชาวบ้าน คำตอบของผมตอนนี้คือต้องมีการทำวิจัยในเรื่องนี้ ไม่ใช่แค่บอกว่าพวกเขาเป็นคนอีสานก็ต้องเลือกพรรคพลังประชาชนอยู่แล้ว นั่นมันน่าเบื่อ ต้องไปศึกษาว่าทำไมชาวบ้านจึงเลือกพลังประชาชน

ฟ้าเดียวกัน: แม้ชนชั้นนำจะพยายามดึงการเมืองให้ถอยกลับไปสู่ยุคก่อนรัฐบาลทักษิณ ผ่านการรัฐประหารหรือผ่านรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 แต่ ถ้าดูจากผลการเลือกตั้ง ชนชั้นนำไม่สามารถเปลี่ยนแปลงความเชื่อของชาวบ้านไม่ให้เลือกพรรคพลัง ประชาชนได้ จากการเลือกตั้งครั้งนี้เราสามารถบอกได้ไหมว่าการเมืองไทยจะไม่ถอยกลับไปอีก แล้ว

แอนดรูว์ วอล์กเกอร์: ผมไม่คิดว่าชาวบ้านจะยังคิดแบบเดิม พวกเขาแสดงปฏิกิริยาโต้ตอบสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้น โต้ตอบการรัฐประหาร ผมยังไม่ได้กลับไปหมู่บ้านที่ผมทำงานวิจัยเลยตั้งแต่เลือกตั้ง แต่ผมก็มีผู้ช่วยวิจัยไปสัมภาษณ์ ชาวบ้านคุยเกี่ยวกับรัฐบาลทหารตลอดเวลา ทัศนะทางการเมืองของพวกเขาได้พัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปบางส่วนโดยเป็นผลจาก ปฏิกิริยาต่อการรัฐประหารและสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นต่อจากนั้น และผมไม่คิดว่ามันจะเป็นเรื่องแค่ว่าพวกเขาต้องการกลับไปหาทักษิณหรือกลับไป หารัฐบาลเก่าหรือเอารัฐบาลเก่ากลับมาเท่านั้น ผมว่าพวกเขาคาดหวังถึงรัฐบาลแบบใหม่

ฟ้าเดียวกัน: การเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา นโยบายของแต่ละพรรคการเมืองแทบไม่แตกต่างกัน บางพรรคเป็นประชานิยมมากกว่าไทยรักไทยด้วยซ้ำ ดังนั้นด้านหนึ่งชาวบ้านก็ไม่ต้องสนใจให้ความสำคัญกับพรรคไทยรักไทยหรือพลัง ประชาชนแล้วหรือเปล่า เพราะต่อให้เลือกประชา- ธิปัตย์ แต่ในแง่ของนโยบายก็มีการสนับสนุนสวัสดิการสังคมต่างๆ ให้ชาวบ้านคล้ายๆ กัน

แอนดรูว์ วอล์กเกอร์: นโยบายของแต่ละพรรคไม่ค่อยแตกต่างกัน รายงานจากหมู่บ้านที่ผมทำวิจัยอยู่บอกว่าชาวบ้านแค่ไม่เชื่อถือพรรคประชาธิ ปัตย์ ประชาธิปัตย์ไม่มีเครดิตว่าจะทำตามที่หาเสียงไว้จริงๆ ชาวบ้านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีศรัทธาหรือความไว้วางใจต่อประ ชาธิปัตย์ มันมีความรู้สึกว่าแม้นโยบายบนกระดาษจะดูไม่แตกต่างกันมาก แต่คนมีความเชื่อมั่นในพลังประชาชนหรือไทยรักไทย

ฟ้าเดียวกัน: เข้าใจว่ารัฐธรรมนูญชาวบ้านคงต้องมีลักษณะเฉพาะท้องที่ เพราะฉะนั้นในประเทศไทยคงมีรัฐธรรมนูญนี้หลายฉบับมาก

แอนดรูว์ วอล์กเกอร์: มีหลายฉบับมาก แต่คิดว่าอาจจะมีหลักการทั่วไปบางอย่างที่ชาวบ้านใช้ในการตัดสินใจทางการ เมือง แต่ก็อย่างที่บอก เราต้องทำวิจัยรัฐธรรมนูญชาวบ้านฉบับต่างๆ แล้วมาเปรียบเทียบกัน ฉบับของภาคใต้เป็นอย่างไร ทำไมถึงเลือกประชาธิปัตย์ มันจะต้องมีคุณค่าทางการเมืองที่แตกต่างกัน ในอีสานก็จะต้องแตกต่างจากในกรุงเทพฯ เรามีการทำวิจัยน้อยมากเกี่ยวกับคุณค่าทางการเมืองของท้องถิ่นต่างๆ ในไทย คนมักจะอธิบายแค่ว่าซื้อเสียง หัวคะแนน พรรคพวก มีแต่การชักจูงของผู้นำในการลงคะแนนเสียงของชาวบ้าน ดังนั้นเราจึงละเลยวัฒนธรรมการเมืองของท้องถิ่น เราต้องไปศึกษาดูว่าวัฒนธรรมการเมืองของพวกเขาเป็นอย่างไร แน่นอนว่าต้องมีหัวคะแนน แน่นอนว่าต้องมีการซื้อเสียง แต่มันก็ไม่ใช่คำอธิบายทุกสิ่งทุกอย่าง อธิบายได้แค่บางส่วนเท่านั้น

ฟ้าเดียวกัน: เดิมเรามักจะได้ฟังแต่การวิเคราะห์ที่มองชาวบ้านชนบทไทยในเชิงที่เฉื่อย เนือยหรือถูกกระทำมาก ถูกหลอกลวง ถูกซื้อเสียง ไม่ฉลาด ไม่มีเหตุผล ไม่มีข้อมูล แต่พอมาอ่านงานของคุณเรื่องรัฐธรรมนูญชาวบ้าน ดูเหมือนว่าชาวบ้านจะฉลาดมาก มีเหตุมีผลมาก ตื่นตัวมากและมีฐานะเป็นผู้กระทำ การมองอย่างนี้มันจะสุดโต่งไปอีกแบบหนึ่งไหม

แอนดรูว์ วอล์กเกอร์: มันจะต้องมีอันที่อยู่ตรงกลาง ไม่ใช่ว่าชาวนาหรือชาวบ้านฉลาดกันทุกคน มีชาวนาที่โง่ ชาวนาที่ฉลาด ชาวนาที่ฉลาดปานกลาง ก็เหมือนมีอาจารย์โง่ อาจารย์ฉลาดพวกเขาเป็นคน ผมไม่อยากโรแมนติกโดยบอกว่าชาวบ้านไตร่ตรองรอบคอบมากในเรื่องการเมืองแต่ผม คิดว่าพวกเขามีวัฒนธรรมการเมืองที่ตื่นตัว มีวัฒนธรรมที่ตื่นตัวในการถกเถียงเรื่องการเมือง ประเมินเรื่องการเมือง คุยกันตลอดเวลา มีคนบอกว่าชาวบ้านไม่ใส่ใจเรื่องคอร์รัปชั่นของทักษิณ อันที่จริงชาวบ้านถกเถียงเรื่องคอร์รัปชั่นตลอดเวลา พวกเขาคุยทั้งเรื่องการเมืองท้องถิ่นและระดับประเทศ ชาวบ้านตัดสินใจว่า ใช่ ทักษิณทุจริตในบางแง่ แต่เขาทำอะไรอย่างอื่นที่ดี เมื่อชั่งตาชั่งแล้วพวกเขาต้องการเลือกทักษิณ ผมไม่ต้องการจะบอกเป็นนัยว่าชาวบ้านทุกคนเป็นอัจฉริยะ พวกเขาก็เป็นคนทั่วไป แต่ก็มีวัฒนธรรมการเมืองในหมู่บ้านที่ไม่เฉื่อยเนือยหรือยอมรับอะไรก็ได้

ฟ้าเดียวกัน: วัฒนธรรม/คุณค่าของหมู่บ้านในงานของคุณแตกต่างอย่างไรกับวัฒนธรรม/คุณค่าของหมู่บ้านอย่างในงานของ
สำนักฉัตรทิพย์ นาถสุภา

แอนดรูว์ วอล์กเกอร์: พูดง่ายๆ ก็คือผมมองว่าหมู่บ้านเป็นจุดหนึ่งในเครือข่ายที่แผ่ขยายไปยังระดับภูมิภาค ระดับประเทศ หรือบางครั้งก็ถึงกับระดับระหว่างประเทศเลย วัฒนธรรมและเศรษฐกิจเกิดขึ้นในความสัมพันธ์แบบเครือข่าย แต่พอพูดถึงเศรษฐกิจหมู่บ้านหรือวัฒนธรรมชุมชนแบบของฉัตรทิพย์ รู้สึกว่าหมู่บ้านจะมีลักษณะแยกตัวออกมากกว่า โดดเดี่ยวมากกว่า มันไม่รู้สึกว่ามีการเชื่อมโยงกัน เราควรจะมองหมู่บ้านในลักษณะที่เป็นจุดจุดหนึ่งในเครือข่าย หมู่บ้านนั้นถูกสร้างขึ้นในมิติของความสัมพันธ์กับรัฐ ความสัมพันธ์กับทุน และความสัมพันธ์กับการเมือง แนวคิดวัฒนธรรมชุมชนนั้นมองสังคมและวัฒนธรรมว่าถูกสร้างขึ้นในลักษณะที่มี ตำแหน่งแห่งที่ของมันเองอย่างเฉพาะเจาะจง ขาดความสัมพันธ์และเชื่อมโยง แต่ผมกลับมองอย่างเชื่อมโยงและเป็นเครือข่าย

ฟ้าเดียวกัน: เข้าใจว่าการศึกษาเรื่องรัฐธรรมนูญชาวบ้านนี้ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นมาก แต่จากเท่าที่ศึกษามาคุณพอจะมองเห็นไหมว่ารัฐธรรมนูญชาวบ้านมีพลวัตอย่างไร บ้าง หรือมีแนวโน้มจะเปลี่ยนแปลงอย่างไร ภายใต้เงื่อนไขอะไร

แอนดรูว์ วอล์กเกอร์: ผมไม่คิดว่าเรารู้ เพราะเราขาดสำนึกเชิงประวัติศาสตร์ที่เข้มข้นพอเกี่ยวกับวัฒนธรรมทางการ เมืองของชนบทว่าเป็นมาอย่างไร เรามีงานศึกษาอยู่บ้าง อย่างในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 ใน ช่วงที่มีการเคลื่อนไหวของสหพันธ์ชาวนาชาวไร่แห่งประเทศไทย เราพอรู้อยู่บ้างว่าวัฒนธรรมทางการเมืองในชนบทช่วงนั้นเป็นอย่างไรบ้าง แต่หลังจากนั้นไม่มีงานอะไรมากนัก มันจึงยากที่จะตัดสินว่าวัฒนธรรมการเมืองในชนบทพัฒนาหรือเปลี่ยนแปลงไปอย่าง ไร ผมหวังว่าเรากำลังเริ่มที่จะทำความเข้าใจเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งขึ้น เริ่มที่จะทำความเข้าใจพัฒนาการ แต่เราก็ต้องมาคิดหาหนทางในการศึกษา เพราะมันไม่ง่ายที่จะรู้วิธีศึกษาการเมืองในประเทศไทยที่ไม่เพ่งเล็งไปที่ชน ชั้นนำ การวิเคราะห์การเมืองไทยจำนวนมากเน้นไปที่ชนชั้นนำ สถาบันกษัตริย์ พ่อค้า เจ้าพ่อ อะไรเหล่านี้ เราต้องเริ่มมองไปที่วัฒนธรรมการเมืองระดับหมู่บ้านแล้ว

ฟ้าเดียวกัน: คุณคิดว่าวัฒนธรรมทางการเมืองระดับหมู่บ้านเป็นส่วนหนึ่งของ ภาคประชาชนหรือเปล่า

แอนดรูว์ วอล์กเกอร์: นั่นขึ้นอยู่กับว่าคุณจะนิยามภาคประชาชนอย่าง ไร ถ้าคุณนิยามภาคประชาชนว่าเป็นเอ็นจีโอ เป็นขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม ผมว่ามันไม่ได้เป็นส่วนหนึ่ง สำหรับผม ภาคประชาชนใหญ่กว่านั้นมาก อย่างชาวบ้านในหมู่บ้านที่ผมทำงานวิจัย พวกเขาไม่สนใจเอ็นจีโอ ขณะที่ใกล้แถวนั้นมีเอ็นจีโอในหมู่บ้านอื่นๆ บางแห่ง พวกเขาค่อนข้างระแวงเอ็นจีโอด้วยซ้ำ พวกเขาเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวทางสังคมหรือเปล่า ก็ไม่เชิง ดังนั้นผมหมายถึงวัฒนธรรมทางการเมืองแบบที่ไม่ค่อยเป็นทางการหรือนอกรูปแบบ วัฒนธรรมทางการเมืองที่ไม่มีโครงสร้าง ไม่มีการจัดตั้ง ผมพูดถึงภาคประชาชนในความหมายกว้าง มันไม่ใช่รัฐ ไม่ใช่ราชการ

เวลา ผมพูดถึงชนบทไทย ผมคิดว่าพวกเขามีสถาบัน พวกเขามีองค์กร แต่ผมไม่นิยามพวกเขาเป็นส่วนหนึ่งของภาคประชาชน และผมคิดว่ามีวัฒนธรรมที่ไม่เป็นทางการที่ไม่ได้เชื่อมโยงกับองค์กร การจัดตั้ง หรือขบวนการเคลื่อนไหวใดๆผมคิดว่าภาคประชาชนจำนวนมากมีความเข้าใจที่จำกัด มากเกี่ยวกับวัฒนธรรมนี้ ภาคประชาชนจำนวนมากที่ทำงานประเด็นชนบท อย่างเช่นร่าง พ.ร.บ. ป่าชุมชน ขบวนการภาคประชาชนต้องการกฎหมายป่าชุมชนมาก แต่ชาวนาที่ผมทำงานด้วยในภาคเหนือ พวกเขาไม่สนใจร่าง พ.ร.บ. ป่าชุมชน มันไม่มีประโยชน์สำหรับพวกเขา ผมว่ามักจะมีช่องว่างอยู่เสมอระหว่างการรณรงค์ของภาคประชาชนกับประเด็นปาก ท้องเฉพาะหน้าของเกษตรกร

ฟ้าเดียวกัน: ถ้าชนบทไทยเปลี่ยนไปเป็นสังคมอุตสาหกรรม จะส่งผลยังไงต่อรัฐธรรมนูญชาวบ้าน

แอนดรูว์ วอล์กเกอร์: เวลาผมพูดถึงรัฐธรรมนูญฉบับหมู่บ้านหรือรัฐธรรมนูญชาวบ้าน ผมไม่ได้พูดว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับเกษตร ผมว่าสิ่งสำคัญอันหนึ่งที่เราต้องแยกแยะคือ แยกหมู่บ้านออกจากเกษตรกรรม ชาวบ้านส่วนใหญ่อย่างน้อยสักครึ่งหนึ่งมีรายได้ส่วนใหญ่จากนอกภาคการเกษตร ผมจึงคิดว่าชนบทไทยไม่ได้เป็นสังคมเกษตรกรรมอีกต่อไปแล้ว ดังนั้นต่อให้เป็นสังคมอุตสาหกรรม เราก็จะยังมีรัฐธรรมนูญชาวบ้าน ยังมีรัฐธรรมนูญฉบับท้องถิ่นซึ่งไม่จำเป็นที่จะต้องอยู่บนฐานของการเป็น สังคมเกษตรกรรม ผมไม่คิดว่าวัฒนธรรมหมู่บ้านของแท้จะต้องเป็นเกษตรกรรม

ฟ้าเดียวกัน: รัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรมของนิธิมีสถาบันกษัตริย์เป็นศูนย์กลาง แล้วในรัฐธรรมนูญชาวบ้านที่คุณพูดถึงนั้นสถาบันกษัตริย์อยู่ตรงไหน

แอนดรูว์ วอล์กเกอร์: ผมไม่เคยได้ยินชาวบ้านอธิบายการตัดสินใจทางการเมืองของตัวเองในเชิงที่ เกี่ยวกับกษัตริย์ ผมไม่เคยได้ยินชาวบ้านบอกว่าจะเลือกทักษิณหรือไม่เลือกทักษิณเพราะทักษิณจาบ จ้วงหรือจงรักภักดีเลย ผมว่านั่นไม่เป็นประเด็น นี่เป็นข้อแตกต่างที่สำคัญระหว่างรัฐธรรมนูญชาวบ้านของผมกับรัฐธรรมนูญฉบับ วัฒนธรรมของอาจารย์นิธิ ผมว่ากษัตริย์เป็น เจ้าที่คนกราบไหว้ ที่คนอาจจะถือเป็นที่ยึดเหนี่ยว แต่สำหรับการตัดสินใจทางการเมืองมันเป็นเรื่องเชิงปฏิบัติ

ฟ้าเดียวกัน: เคยได้ยินประโยคที่ว่ารักในหลวง ห่วงทักษิณไหม หลังรัฐประหารมีคนอธิบายว่ามีความขัดแย้งระหว่างคนที่รักในหลวงกับคนที่รัก ทักษิณ แต่ก็มีบางคนอธิบายว่าชาวบ้านนั้นรักในหลวงห่วงทักษิณ คือรักทั้งคู่

แอนดรูว์ วอล์กเกอร์: ผมไม่เคยได้ยินใครพูดในเชิงว่าต้องเลือกระหว่างทักษิณกับกษัตริย์นะ ทักษิณเป็นผู้นำทางการเมือง ส่วนกษัตริย์ก็เป็นกษัตริย์ มันไม่เกี่ยวกัน แต่ก็เป็นเรื่องยากที่จะทำวิจัยประเด็นนี้ เป็นเรื่องยากที่จะไปถามชาวบ้านตรงๆ ว่าคุณคิดอย่างไรเกี่ยวกับกษัตริย์และบทบาททางการเมืองช่วงรัฐประหาร

--------------------------

ที่มา : ประชาไท

[url]http://www.prachatai.com/05web/th/home/13112 [/url]

จาก thaifreenews

เตช เยือนลาว กระชับความสัมพันธ์ 12-13 ส.ค.


ก.ต่างประเทศ 8 ส.ค.- ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายเตช บุนนาค รมว.ต่างประเทศ และคณะ มีกำหนดเดินทางเยือนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) อย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 12-13 สิงหาคม 2551 ตามคำเชิญของนายทองลุน สีสุลิด รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศลาว เพื่อแนะนำตัวในโอกาสเข้ารับตำแหน่ง

โดยนายเตชจะเดินทางจากกรุงเทพฯ ถึงนครหลวงเวียงจันทน์ ช่วงบ่ายวันที่ 12สิงหาคม 2551 เพื่อพบหารือข้อราชการกับรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศลาว จากนั้นนายเตชจะพบกับทีมประเทศไทย เพื่อรับทราบข้อมูลในพื้นที่และมอบนโยบาย ในช่วงค่ำรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศลาวจะเป็นเจ้าภาพเลี้ยงรับรองอาหารค่ำเพื่อเป็นเกียรติแก่คณะ

ส่วนวันที่ 13 สิงหาคม 2551 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กำหนดเข้าเยี่ยมคารวะและหารือข้อราชการกับนายบัวสอน บุบผาวัน นายกรัฐมนตรีลาว และ พล.ท.จูมมะลี ไชยะสอน ประธานประเทศลาว แล้วเดินทางโดยรถยนต์ไป จ.อุดรธานี เพื่อเป็นประธานเปิดการสัมมนาเรื่อง “ความร่วมมือด้านการศึกษาไทย-ลาว” ซึ่งจัดขึ้นโดยความร่วมมือระหว่างกระทรวงการต่างประเทศ โดยสถานเอกอัครราชทูต ณ เวียงจันทน์ กับกระทรวงศึกษาธิการ และเยี่ยมหน่วยบริการหนังสือเดินทางเคลื่อนที่ของกรมการกงสุล แล้วจะเดินทางกลับกรุงเทพฯ ในช่วงเย็นของวันเดียวกัน

สำหรับการเยือนครั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะได้ติดตามและผลักดันความร่วมมือไทย-ลาว ในสาขาต่าง ๆ ตามที่รัฐบาลไทยและลาวได้ตกลงร่วมกันไว้ และจะแลกเปลี่ยนทัศนะกับผู้นำลาว เพื่อแสวงหาลู่ทางในการกระชับความสัมพันธ์ไทย-ลาว ทั้งในกรอบทวิภาคีและพหุภาคี ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของผลประโยชน์ร่วมกันของทั้งสองประเทศให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น. -สำนักข่าวไทย


อัพเดตเมื่อ 2008-08-08 18:26:07


นายกฯ มั่นใจกฎบัตรอาเซียนจะทำให้อาเซียนเข้มแข็งขึ้น

กรุงเทพฯ 8 ส.ค. - นายกรัฐมนตรี ระบุอาเซียน 41 ปี ได้รับการยอมรับในเวทีระหว่างประเทศมากขึ้น เร่งพัฒนาจากกลุ่มความร่วมมือเป็นประชาคมอาเซียนใน 7 ปีข้างหน้า ส่วนกฎบัตรอาเซียนประเทศสมาชิกกำลังทยอยให้สัตยาบัน จะทำให้อาเซียนเข้มแข็ง และมีความร่วมมืออย่างเป็นระบบ

นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ปราศรัยออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย คืนวันนี้ (8 ส.ค.) เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนาอาเซียน ประจำปี 2551 โดยสรุปว่า วันนี้ เป็นวันครบรอบ 41 ปี ของการจัดตั้งสมาคมแห่งประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ซึ่งปัจจุบันอาเซียนได้รับการยอมรับว่า เป็นกลุ่มทางการเมืองและเศรษฐกิจ ที่มีบทบาทสำคัญเพิ่มขึ้น ในเวทีระหว่างประเทศ

นายสมัคร กล่าวว่า ขณะนี้ อาเซียนกำลังพัฒนาจากกลุ่มความร่วมมือ ให้เป็นประชาคมอาเซียน ในอีก 7 ปีข้างหน้า ซึ่งจะประกอบด้วย ประชาคมความมั่นคงอาเซียน จะเป็นกลไกสำคัญที่ทำให้ประเทศสมาชิกมีความพร้อมในการป้องกันและจัดการกับความขัดแย้งระหว่างกันมากขึ้น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่กำลังเร่งรวมตัวทางเศรษฐกิจ เพื่อสร้างเขตการค้าเสรีอาเซียน และเขตการลงทุนอาเซียน เพื่อพัฒนาอาเซียนให้น่าสนใจ และมีอำนาจต่อรองทางเศรษฐกิจ และประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียนที่มีเป้าหมายให้ประชาชนในภูมิภาครู้จัก และเข้าใจกันมากขึ้น มีความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมอาเซียนนี้

นายสมัคร กล่าวว่า ปีนี้เป็นปีที่สำคัญสำหรับอาเซียน และประเทศไทย เพราะเลขาธิการอาเซียนคนปัจจุบันคือชาวไทย และประเทศไทยเป็นประธานอาเซียน ซึ่งเราจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน การประชุมรัฐมนตรีอาเซียน และการประชุมที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ที่ประเทศไทย และขณะนี้ประเทศสมาชิกอาเซียนกำลังทยอยกันให้สัตยาบันกฎบัตรอาเซียน ซึ่งเปรียบเสมือนบทบัญญัติร่วมกัน ที่ทำให้อาเซียนเป็นองค์กรที่มีโครงสร้างที่เข้มแข็ง และมีกรอบความร่วมมือที่ครอบคลุมสาขาต่างๆ อย่างเป็นระบบ. - สำนักข่าวไทย


อัพเดตเมื่อ 2008-08-08 18:09:36


กต.ย้ำสัมพันธ์ไทย-สหรัฐแน่น เชื่อเปลี่ยนรัฐบาลนโยบายยังคงกรอบเดิม

ก.ต่างประเทศ 8 ส.ค. - อธิบดีกรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ เผยการเดินทางเยือนไทยของประธานาธิบดีสหรัฐ อาจพิจารณาให้ไทยออกจากกลุ่มประเทศที่ต้องจับตามองเป็นพิเศษ

นางนงนุช เพ็ชรรัตน์ อธิบดีกรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ กล่าวถึงผลที่ประเทศไทยได้รับจากการเดินทางเยือนของนายจอร์จ ดับเบิลยู บุช ประธานาธิบดีสหรัฐ ระหว่างวันที่ 6-7 สิงหาคม ว่า ด้านความสัมพันธ์เป็นการย้ำว่า ทั้งสองประเทศมีความสัมพันธ์ที่เก่าแก่ที่สุดในเอเชีย และที่ผ่านมา ในด้านการค้าไทยได้ดุลถึงปีละ 300,000 ล้านบาท และด้วยพื้นฐานความสัมพันธ์ดังกล่าวไทยยังได้ย้ำผ่านผู้นำสหรัฐ ให้พิจารณาปรับสถานะของประเทศไทยออกจากกลุ่มประเทศที่ต้องจับตามองเป็นพิเศษ (PWL) โดยคำนึงถึงความคืบหน้าในความร่วมมือระหว่างไทยกับสหรัฐ ด้านการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาภายใต้แผนปฏิบัติการระหว่างกระทรวงพาณิชย์ไทยและสำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐ ซึ่งที่ผ่านมาประเทศไทยให้ความร่วมมือการคุ้มครองสิทธิ์

นางนงนุช กล่าวว่าโอกาสนี้ไทยได้แสดงข้อกังวลต่อสหรัฐ ว่าไม่เห็นด้วยกับกฎหมายคว่ำบาตรพม่า เพราะนอกจากจะส่งผลกระทบต่อประชาชนของพม่าแล้ว ยังกระทบต่อภาคอุตสาหกรรม ส่งออกอัญมณีไทย โดยหวังว่าสหรัฐจะพิจารณาหามาตรการรองรับ เพื่อปกป้องไทยจากผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายดังกล่าว ซึ่งประธานาธิบดีสหรัฐยังไม่ได้มีคำตอบ เพราะในการพูดคุยเรื่องดังกล่าวระหว่างนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี และประธานาธิบดีบุช ไม่ได้พูดคุยกันในสิ่งที่เป็นรายละเอียด

หากสหรัฐเปลี่ยนรัฐบาลสิ่งที่ได้พูดคุยกันจะมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ นั้น นางนงนุช กล่าวว่า การพูดของประธานาธิบดีบุช เหมือนเป็นการวางกรอบไว้ว่า รัฐบาลต่อไปจะต้องหันมาดูว่ารัฐบาลที่แล้วสร้างความสัมพันธ์ไว้ในระดับใด ซึ่งแน่นอนว่ารัฐบาลต่อมาจะต้องทำความสัมพันธ์ไม่น้อยกว่ารัฐบาลที่แล้ว. - สำนักข่าวไทย


อัพเดตเมื่อ 2008-08-08 17:22:21

สมัคร สั่งหาพรรคใหม่รองรับกรณีเกิดอุบัติเหตุการเมืองรวมทั้งถูกยุบพรรค

กรุงเทพฯ 8 ส.ค.- “สมัคร” สั่งเตรียมหาพรรคใหม่รองรับกรณีพรรคพลังประชาชนถูกยุบ เผยเล็งไว้ 2-3 พรรค ระบุพร้อมถ่ายเทสมาชิกพรรคทันทีถ้ามีอุบัติเหตุการเมืองเกิดขึ้น พร้อมเตรียมตัวหัวหน้าพรรคไว้ด้วย แต่ขออุบชื่อหวั่นโดนสกัด

นายสมาน เลิศวงศ์รัฐ กรรมการบริหารพรรคและนายทะเบียนพรรคพลังประชาชน กล่าวถึงความคืบหน้าในการเตรียมหาพรรคการเมืองใหม่ ว่า เรื่องนี้นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าพรรคได้ย้ำถึงการดำเนินการจัดตั้งพรรคการเมืองใหม่ให้กับคณะทำงานและฝ่ายสำนักทะเบียนพรรคว่า อะไรที่สามารถทำได้ เพื่อรักษาความเป็นพรรคการเมืองภายในกรอบของกฎหมายและขอให้รีบดำเนิน เพราะตอนนี้เขากำลังจะเผาบ้านเราอยู่ จะต้องรีบหาบ้านหลังใหม่ โดยพรรคได้ประเมินจากกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ได้เรียก นายสมัคร และนพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี เลขาธิการพรรค เข้าชี้แจงในวันที่ 13 ส.ค.นี้ และทราบว่าจะไม่ให้เลื่อนหรือขยายเวลาออกไปอีก ซึ่งอาจเป็นการส่งสัญญาณบางอย่างให้จัดการกับพรรคพลังประชาชน และที่ผ่านมาได้วิเคราะห์และประเมินจากหลายฝ่าย ต่างเห็นตรงกันว่า พรรคพลังประชาชนจะถูกยุบพรรคอย่างแน่นอน

“ในฐานะที่พรรคพลังประชาชน เป็นสถาบันการเมือง ได้รับเลือกตั้ง ส.ส.จากประชาชนให้เข้ามาทำงาน จะอยู่เฉยไม่ได้ แม้พรรคจะอยู่ระหว่างการพิจารณากรณียุบพรรค ซึ่งต้องผ่านขั้นตอนของ กกต. อัยการสูงสุด และศาลรัฐธรรมนูญ โดยจะต้องใช้เวลาอีก 5-6 เดือนก็ตาม แต่ขณะนี้ได้จัดเตรียมพรรครองรับไว้แล้ว 2-3 พรรค เพียงแต่ยังไม่สามารถเปิดเผยชื่อหรือรายละเอียดได้” นายสมาน ย้ำ

นายสมาน กล่าวอีกว่า จากการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่า พรรคที่ได้เตรียมสำรองไว้นั้น ได้ทำถูกต้องตามกฎหมาย ทั้งการจัดตั้งสาขาพรรค สมาชิกพรรคและที่ทำการพรรค ดังนั้น ทุกอย่างต้องทำให้พร้อม หากมีการตัดสินประกาศยุบพรรคแน่นอน หรือมีอุบัติเหตุทางการเมืองเกิดขึ้น เช่น นายสมัคร ประกาศยุบสภา หรือด้วยเหตุอื่นใด จะสามารถถ่ายเทสมาชิกพรรคไปอยู่ได้ทันที โดยในส่วนของหัวหน้าพรรคนั้น เชื่อว่าบุคคลในพรรคพลังประชาชน มีความเหมาะสมพร้อมที่จะเป็นหัวหน้าพรรคได้ แต่ไม่สามารถเปิดเผยชื่อ เนื่องจากเกรงจะถูกขัดขวางสกัดกั้นได้.-สำนักข่าวไทย


อัพเดตเมื่อ 2008-08-08 15:31:13


ปราสาทเขาพระวิหาร ปัญหากฎหมายและอธิปไตยของชาติ

ในยามหน้าสิ่วหน้าขวาน การพิพาทระหว่างไทยกับกัมพูชา กรณีปราสาทเขาพระวิหาร ที่กัมพูชาจะรุกคืบมายึดเอาปราสาทในบริเวณชายแดนไทยนั้น ผมได้รับเอกสารจากผู้ที่มีความรักและหวงแหนแผ่นดินและประเทศชาติ และเห็นว่าเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับคนไทย เพื่อให้นักปลุกระดมข้างถนนได้หูตาสว่างขึ้น หยุดสร้างความแตกแยกในบ้านเมืองเสียที

ความเป็นมาของการเสียดินแดน ที่เคยเป็นของสยามให้กับฝรั่งเศส และการอ้างอำนาจอธิปไตยเหนือปราสาทเขาพระวิหารระหว่างไทยและกัมพูชา มีลำดับเหตุการณ์ ดังนี้
วันที่ 11 สิงหาคม ค.ศ. 1863 (พ.ศ.2406) ผู้สำเร็จราชการกัมพูชา ได้เซ็นสัญญายอมอยู่ใต้อารักขาของฝรั่งเศส

วันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 1863 มีการลงนามในสัญญาระหว่าง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 และผู้สำเร็จราชการคนเดียวกันยอมรับเขมรเป็นเมืองขึ้นของกรุงสยามมาก่อน

วันที่ 15 กรกฎาคม ค.ศ.1867(พ.ศ.2410) มีสนธิสัญญาระหว่างฝรั่งเศสกับสยาม ยอมรับว่ากัมพูชาเป็นเมืองในอารักขาของฝรั่งเศส สยามสละสิทธิทั้งปวงในกัมพูชาที่เป็นเมืองขึ้น แต่ยังคงสงวนมณฑลพระตะบอง เสียมเรียบและศรีโสภณไว้เป็นของสยาม สนธิสัญญานี้ให้ยกเลิกสัญญาลงวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ.1863(พ.ศ.2406)

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ฝรั่งเศสยึดดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงทำสนธิสัญญาลงวันที่ 2 ตุลาคม ค.ศ.1893(พ.ศ.2436) สาระสำคัญของสัญญาฉบับนี้ระบุให้สยามยอมเสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงกับเกาะต่างๆในแม่น้ำนั้นให้ฝรั่งเศส

ต่อมาฝรั่งเศสเข้ายึดจันทบูร และทำสนธิสัญญากับประเทศสยาม ลงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1904 พ.ศ.2447) ให้สยามยกหลวงพระบางบนฝั่งขวาของแม่น้ำโขงกับดินแดนทางใต้ภูเขาพนมดงรักให้แก่ฝรั่งเศส ต่อมามีการทำสัญญาเพิ่มเติมลงวันที่ 29 มิถุนายน ค.ศ.1904 ทำให้สยามเสียดินแดนระหว่างทะเลสาบกับทะเลหลวงแก่ฝรั่งเศส
ในวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ.1907มีการทำสัญญาอีกฉบับหนึ่งยอมรับว่าฝรั่งเศสยอมสละเอกสิทธิบางอย่างในสยาม แต่สยามต้องการยกมณฑลพระตะบอง เสียมเรียบและศรีโสภณให้ฝรั่งเศส

ผลสืบเนื่องจากสนธิสัญญาทั้งสองฉบับมีผลสำคัญต่อคดีปราสาทเขาพระวิหาร ในข้อ 1 ระบุว่า เขตเส้นเขตแดนระหว่างสยามกับกัมพูชาเริ่มบนฝั่งซ้ายทะเลสาบที่ปากแม่น้ำสตุงรอลูโอส แล้วเดินตามเส้นขนานไปทางตะวันออก จนบรรจบแม่น้ำเปร็ค กำปงเทียม ตามเส้นเมอริเดียนไปทางเหนือจนถึงเทือกเขาดงรัก แล้วไปตามสันปันน้ำ ซึ่งแบ่งน้ำฝนไปลงที่แม่น้ำแสนและแม่น้ำโขงทางหนึ่ง กับที่ลุ่มแม่น้ำมูลอีกทางหนึ่งจนไปบรรจบเทือกเขาพนมผาด่าง และเดินตามสันเขาเทือกนี้ไปจนบรรจบแม่น้ำโขงทางตะวันออกทางเหนือขึ้นไปนั้น

จะเห็นว่าในเรื่องของปราสาทเขาพระวิหารนั้น ถ้ายึดสนธิสัญญา ค.ศ.1904 ก็จะต้องกำหนดตามอาณาเขตธรรมชาติ คือ สันปันน้ำ ซึ่งฝ่ายไทยยืนยันว่า สันปันน้ำเป็นอาณาเขตของไทย

แต่แผนที่ “แผ่นดงรัก” กำหนดให้ปราสาทเขาพระวิหารอยู่ในเขตแดนกัมพูชา ทางฝ่ายกัมพูชาอ้างว่า ต้นฉบับแผนที่นี้ พิมพ์โดยอาศัยอำนาจมอบหมายจากคณะกรรมการผสม ซึ่งตั้งขึ้นตามสนธิสัญญา ค.ศ. 1904 (พลเอก หม่อมชาติเดชอุดม เป็นประธานกรรมการฝ่ายไทย พันโท แบร์นาร์ด เป็นประธานกรรมการฝ่ายฝรั่งเศส) ซึ่งมีการส่งแผนที่ ไปให้รัฐบาลสยาม 50 ฉบับ ทางเสนาบดีฝ่ายไทยตอบรับเมื่อ ค.ศ. 1908 (พ.ศ.2451) ในขณะนั้น สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีมหาดไทย ได้ทรงขอแผนที่เพิ่มอีก 15 ฉบับเพื่อแจกจ่ายเจ้าพนักงานท้องถิ่น

มีเอกสารประวัติศาสตร์จากบันทึกของทายาทบุคคลร่วมสมัยในรัชกาลที่ 7 ระบุว่า พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้พระยาประชากิจกรจักร (ชุบ โอสถานนท์) เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1927(พ.ศ.2470) พระยาประชากิจกรจักร ได้สร้างสาธารณประโยชน์ โดยการตัดถนนและแต่งทางเกวียน (ซึ่งปัจจุบันคือถนนสานศรีสะเกษ-กันทรลักษ์-เสาธงชัย) ทำให้ฝ่ายราชการสยามสามารถเดินทางไปถึงปราสาทเขาพระวิหารได้ภายใน 6 ชั่วโมง จากเดิมต้องใช้พาหนะช้างและเกวียนถึง 2 คืน

นอกจากนี้ยังได้ถ่ายรูปการก่อสร้างทางดังกล่าวทูลเกล้าฯ ถวายรัชกาลที่ 7 ด้วย

เป็นการแสดงให้เห็นถึงประชาธิปไตยของไทยเหนือพื้นที่ปราสาทเขาพระวิหารที่มีอย่างสืบเนื่อง ตามสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. 1904 ซึ่งยึดแนวสันปันน้ำเป็นเส้นแบ่งเขตแดน

นอกจากนี้ยังเป็นที่สังเกตว่า เมื่อครั้งสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงดำรงตำแหน่งนายกราชบัณฑิตยสภา ระหว่างเสด็จประพาสสำรวจโบราณสถานใน จ.ศรีสะเกษ และอุบลราชธานีนั้น พระองค์เคยเสด็จไปที่ปราสาทเขาพระวิหารในปี ค.ศ. 1930 (พ.ศ.2473) และทรงพบกับ ปามังดิเอร์ นักโบราณคดีและเรซิดังฝรั่งเศสแต่งเครื่องแบบเต็มยศมาเฝ้า เขาได้ให้ทหารชักธงชาติฝรั่งเศสอยู่หน้าที่พักในพื้นที่ปราสาทเขาพระวิหาร

แต่ถึงกระนั้นก็ยังปรากฏหลักฐานว่า ฝ่ายไทยได้ใช้อำนาจปกครองเหนือปราสาทเขาพระวิหารตามเดิม นอกเหนือไปจากการให้ทำป่าไม้และจับช้างป่าในอาณาบริเวณ ช่วงปี ค.ศ. 1917-1927

ค.ศ.1934-1935 เจ้าพนักงานแผนที่ฝ่ายไทยสำรวจเส้นเขตแดน และตีพิมพ์แผนที่ในปี ค.ศ.1958 ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 มีการปะทะกันด้วยกำลังระหว่างฝรั่งเศสกับไทย

ต่อมากรมศิลปากร แห่งประเทศไทย ประกาศขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็น โบราณสถานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม ค.ศ.1940

จึงเป็นที่เข้าใจว่า ไทยยึดครองปราสาทเขาพระวิหารเมื่อ ค.ศ. 1940 และได้ปราสาทคืนมาตามสัญญาโตเกียว ค.ศ.1941 และเมื่อมีการขึ้นทะเบียนอีกครั้งตามประกาศฉบับที่ 2 ลงวันที่ 4 ธันวาคม ค.ศ.1959 ท้ายประกาศมีแผนที่แสดงปราสาทเขาพระวิหารแนบมาด้วย

ในปี ค.ศ.1949 ด้วยความริเริ่มของฝรั่งเศสตามด้วยกัมพูชา ก็มีการค้านอำนาจอธิปไตยของไทยเหนือปราสาทเขาพระวิหารอย่างเปิดเผยเป็นครั้งแรก

คดีปราสาทเขาพระวิหารในอดีตเริ่มจากความเคลื่อนไหวของกัมพูชา กระทรวงโฆษณาการของกัมพูชา พิมพ์เผยแพร่บทความของนายซัมชาลี องคมนตรีและเอกอัครราชทูตกัมพูชาประจำกรุงลอนดอน หลังจากนั้นก็มีการโจมตีกันในหน้าหนังสือพิมพ์ของทั้งสองประเทศ วันที่ 4 สิงหาคม 1957 รัฐบาลไทยประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินแนวชายแดนไทยด้านกัมพูชา รวม 7 จังหวัด คือ จันทบุรี ปราจีนบุรี สุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษและ อ.เดชอุดม จ.อุบลราชธานี ทั้งสองฝ่ายพยายามยุติข้อขัดแย้งแต่ไม่เป็นผล

วันที่ 1 ธันวาคม 1958 รัฐบาลกัมพูชาตัดสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย ปีต่อมารัฐบาลกัมพูชายื่นคำร้องต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ขอให้ศาลวินิจฉัยให้ประเทศไทยถอนกำลังถืออาวุธออกจากบริเวณปราสาทเขาพระวิหาร และขอให้ชี้ขาดว่าอำนาจเหนือปราสาทเขาพระวิหารนั้นเป็นของกัมพูชา

สิ่งที่น่าสนใจคือ เมื่อ 46 ปีมาแล้ว ศาลโลกพิจารณาว่า ปราสาทเขาพระวิหารตั้งอยู่ภายใต้อธิปไตยของกัมพูชา แม้ว่าหลังจากคำพิพากษาของศาลโลก ไทยได้ถอนทหารออกจากบริเวณปราสาทเขาพระวิหารแล้ว แต่ไทยได้มีหนังสือคัดค้านไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาเสียงข้างมาก แต่เห็นพ้องกับคำพิพากษาแย้ง และได้ตั้งข้อสงวนว่า ไทยอาจกลับเข้าไปครอบครองปราสาทในวันข้างหน้า เนื่องจากไทยยังคงถือว่าปราสาทเขาพระวิหารอยู่ในอำนาจอธิปไตยของไทย หนังสือฉบับนั้นส่งไปจาก กรมสนธิสัญญาและกฎหมายของกระทรวงการต่างประเทศโดย ม.จ.เพลิงนภดล รพีพัฒน์ โอรสในกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระบิดาแห่งกฎหมายไทยเป็นอธิบดี และนายจาพิกรณ์ เศรษฐบุตร ผู้รักษาการที่ปรึกษากฎหมาย เป็นหัวหน้ากองกฎหมาย และนายสมปองสุจริตกุล เป็นผู้ยกร่างหนังสือว่าด้วยข้อสงวน ซึ่งยังมีผลบังคับถึงปัจจุบัน

คิดว่าสิ่งที่นำมาเสนอนี้ จะเป็นประโยชน์ สำหรับผู้ที่รักชาติรักแผ่นดินในการรับทราบข้อมูลเพิ่มขึ้น พิจารณากันดูเถอะครับ

เขมรได้ใจ เพราะคนไทยขายชาติ

คอลัมน์ : ตะแกรงข่าว

กรณีพิพาทระหว่างไทยกับกัมพูชา จากการขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารนั้น ทางฝ่ายกัมพูชา ตั้งแต่ผู้นำประเทศมาจากถึงประชาชนทั่วไป แสดงความดีอกดีใจเฉลิมฉลองกันอย่างยิ่งใหญ่ เพราะเขาถือว่า...นี่เป็นชัยชนะของพวกเขา

ในบรรยากาศแห่งความชื่นมื่นในกัมพูชา แต่ประเทศไทยกลับมีการแตกแยกกันเป็นฝักเป็นฝ่ายเพิ่มมากขึ้นเพราะ กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้ยกเอามาเป็นข้ออ้างเพื่อ

“จัดการ”กับรัฐบาลที่มาจาการเลือกตั้ง โดยระบุว่าเป็นการผิดพลาดของรัฐบาล

มีการปลุกระดมโหมการเสนอข่าวให้เกิดความสับสนแตกแยกมากขึ้นจนลุกลามไปทั่วประเทศ โดยมีนักวิชาการที่อยู่ในเครือข่ายพยายามเอาหลักฐานตอกย้ำ ว่าเป็นความผิดพลาดของรัฐบาล

จนมีการฟ้องร้องไปยังสหประชาชาติ ต้องการให้เป็นเรื่องใหญ่โตให้ได้

คงจำได้ว่า แกนนำพันธมิตรฯ มี ส.ส. ของ พรรคประชาธิปัตย์ คนสำคัญ คือ นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ ได้ร่วมหัวจมท้าย มาตั้งแต่ตอนสุมหัวกัน เพื่อหาทางล้มล้างรัฐบาลนี้ให้ได้

รางวัลแห่งความอปยศที่ นายสมเกียรติได้รับ จากการเข้าไปร่วมในขบวนการล้มล้างรัฐบาลกับแก๊งข้างถนน ที่สังคมได้เห็นถึงความเถื่อน ถ่อย สถุล การลุแก่อำนาจของแกนนำ ที่คิดเอาเองว่า เป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญ แม้จะที่ไปละเมิดสิทธิของคนอื่น ของคนส่วนใหญ่ก็ตาม จนมีคดีหมิ่นเบื้องสูง ตามแกนนำคนอื่น ที่เคยเจอมาแล้วเหมือนกัน

แทนที่ พรรคประชาธิปัตย์ ที่ถูกมองว่าเป็น พรรคการเมืองอีแอบ ร่วมมือกับกลุ่มพันธมิตรฯในการปลุกระดมเพื่อล้มรัฐบาล จะเกิดความสำนึกสำเหนียกในการทำหน้าที่ของพรรคและ ส.ส. ในพรรค กลับเดินเคียงบ่าเคียงไหล่ ไปในทางเดียวกันกับกลุ่มพันธมิตรฯ อย่างสนิทแนบแน่นยิ่งขึ้น

จะเห็นได้จากการเสนอความคิดเห็นต่างๆ และการโจมตีกล่าวหารัฐบาล ที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับแก๊งข้างถนน

พรรคประชาธิปัตย์และบนเวทีพันธมิตรฯ ไม่พูดถึงเรื่องที่อดีตรัฐมนตรีของพรรคประชาธิปัตย์คือ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร ไปทำเรื่องเอาไว้ และส่งผลเสียหายมาจนถึงวันนี้ ทั้งดินแดนและเกียรติภูมิของประเทศ

การที่พรรคประชาธิปัตย์ปิดปากเงียบ มองได้ว่า ไม่ต้องการต่อจะความยาวสาวความยืด ปล่อยให้เรื่องเงียบหายไปเอง เพราะบรรดา “สื่อ” ที่ร่วมขบวนการล้มล้างรัฐบาล ก็ไม่ได้นำเสนอเรื่องนี้มาให้ประชาชนได้รับรู้ “ความจริง”

ความจริงที่ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในรัฐบาล นายชวน หลีกภัย ปี 2543 ไปลงนามใน “บันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก”

โดยที่ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ ได้ลงนามในฐานะตัวแทนฝ่ายไทย ฝ่ายกัมพูชา มี นายวาร์ คิม ฮง ที่ปรึกษารัฐบาลผู้รับผิดชอบกิจการชายแดนแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2543 ในการปักปันเขตแดน โดยอ้างถึงแผนที่ฉบับลงนามที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อ วันที่ 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1904 ในการจัดทำเขตแดน

ซึ่งเคยเป็นฉบับที่ทำให้คนไทยต้องเสียน้ำตามาแล้ว เพราะต้องเสียปราสาทเขาพระวิหารให้กัมพูชา เมื่อปี พ.ศ.2505 แต่กลับไม่ได้ระบุถึงแผนที่ แอล 7017 ของอเมริกา ที่ประเทศไทยใช้อ้างอิงมาตลอด

เมื่อเทียบกับแถลงการณ์ที่ นายนพดล ปัมทะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นผู้เจรจากรณีการขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก และกัมพูชาก็ยอมรับเงื่อนไขดังกล่าวทั้งหมด คือการให้กัมพูชาตัดพื้นที่ที่ซ้ำซ้อนออกและขึ้นทะเบียนเฉพาะตัวปราสาท

จะเห็นว่า แถลงการณ์ที่นายนพดลไปทำ กลับมาทำให้ไทยได้เปรียบหลายเรื่อง กัมพูชายอมรับว่าพื้นที่ของเขาจริงๆ นั้น เป็นบริเวณที่ตั้งปราสาทเท่านั้น

เรื่องนี้มีการนำมาพูดจากกล่าวหาโจมตีกันทั้งในสภาและข้างถนน เพื่อหาเหตุมากล่าวหารัฐบาล

มาถึงตรงนี้ มีคำถามว่า ใครที่จะต้องออกมารับผิดชอบ ใครหรือพรรคการเมืองไหนที่ทำให้ไทยต้องสูญเสียเขาพระวิหาร

การที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ออกมาอ้อมแอ้มอย่างเสียไม่ได้ ยืนยันว่าเป็นความผิดของนายนพดล ปัทมะ แต่ไม่ยอมแจกแจงเหตุผลรายละเอียด ไม่ได้ช่วยอะไรมากนัก

วันนี้ทางกัมพูชา “รุกคืบจะเอาศอก” จะเอาปราสาทตาเมือนธม ต.บ้านตาเมียง อ.พนมดงรัก จ.สุรินทร์ ที่กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนไว้แล้ว คืนไป และหมายตาปราสาทสด๊กก๊อกธม ไว้จะต้องมีเรื่องจะตามมาอีก ยังไม่รู้ว่าจะลงอย่างไร

สิ่งเหล่านี้คงสมใจ “คนขายชาติ” ที่มองแค่ผลกระโยชน์ส่วนตัวเฉพาะกลุ่ม มากกว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นกับประเทศชาติ ที่จะส่งผลทางจิตใจไปถึงคนไทยที่รักชาติ คนไทยที่หวงแหนแผ่นดินทุกคน

กรณีที่ประเทศกัมพูชาส่งทหารเข้าไปตรึงกำลังบริเวณปราสาทตาเมือนธม เป็นผลมาจากความเหิมเกริมจาการได้ปราสาทเขาพระวิหารไป พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบกยืนยันว่า ปราสาทตาเมือนธมกองทัพบกได้ดูแลพื้นที่มานานแล้ว และแผนที่ของเราที่เรายึดถือ ก็อยู่ในเขตเรา ถ้ามีกรณีอย่างอื่น เช่น มีการอ้างว่าเป็นของกัมพูชาก็มีหนทางที่จะดำเนินการได้อยู่แล้ว ส่วนการปักปันเขตแดนก็มีคณะกรรมการปักปันเขตแดนดำเนินการอยู่

และยังบอกอีกว่า สิ่งที่พยายามพูดกับทหารกัมพูชาที่อยู่ในพื้นที่ ขออย่าได้นำกำลังมาเผชิญหน้ากัน เพื่อให้การปักปันเขตแดนดำเนินการต่อไป และสถานการณ์ในพื้นที่ก็อยู่ในความเรียบร้อยดี

เบื้องต้น ยังไม่ได้พูดคุยกับ ผบ.ทบ.กัมพูชา แต่เป็นการพูดคุยระหว่างผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ที่รู้จักกันอยู่แล้ว แต่ระดับผู้ใหญ่คงพูดยาก เพราะมีกรอบเป็นตัวบังคับ เช่น ตนก็จะต้องยึดแผนที่ตามประเทศไทย ทั้งนี้ ต้องให้เจ้าหน้าที่ที่ดูแลในพื้นที่ต้องดูแลไม่ให้เผชิญหน้ากัน และสั่งการไปครึ่งเดือนกว่าแล้วว่าให้รักษาสถานภาพตามแนวชายแดน โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีความสงสัย และล่อแหลม ทั้งนี้ จากการหารือกับกระทรวงต่างประเทศเกี่ยวกับข้อพิพาทบริเวณประสาทพระวิหาร โดยกระทรวงการต่างประเทศต้องการให้กองทัพปรับกำลังทหาร เพื่อไม่ให้เกิดการเผชิญหน้ากันของกำลังทหารทั้ง 2 ประเทศ

นี่เป็นภารกิจ เป็นบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของทหาร ที่เป็นรั้วของชาติ ที่พยามยามให้เรื่องคลี่คลาย โดยคำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แต่ขณะเดียวกันก็พร้อมที่จะปกปักรักษาผืนแผ่นดินไทย

แกนนำของพันธมิตรฯและนักวิชาการที่ขึ้นเวที ทำการปลุกระดม ที่อวดอ้างหลักฐานว่าเป็นเอกสารลับ นำมาแสดงให้ผู้ร่วมชุมนุมประท้วงได้รับรู้ และแพร่ภาพและเสียงไปทั่วประเทศให้เครือข่ายได้รับทราบทางเอเอ็สทีวี จะต้องเอาเรื่องนี้ไปพูด เพราะนี่คือ...ความจริงในวันนี้

ไม่ต้องเสาะแสวงหาเอกสารลับอะไรที่ไหน เพราะสิ่งที่ รัฐมนตรีต่างประเทศในรัฐบาลประชาธิปัตย์ ได้ทำไว้นั้น ไม่ได้เป็นเรื่องลับอะไรเลย

อย่างน้อยก็จะทำได้ทำให้ทางกัมพูชาตาสว่างขึ้นมาได้บ้างว่า ที่มีการเฉลิมฉลองในสิ่งที่คิดว่าเป็นความสำเร็จนั้น เป็นเพราะมีคนไทยที่ขายชาติกลุ่มหนึ่ง ปกปิดความจริง จนนำไปสู่ความเสียหายแก่ประเทศชาติ

เรื่องที่จะแกนนำพันธมิตรฯจะเป่านกหวีด เพื่อระดมคนมาร่วมชุมนุนประท้วงนั้น ผมสนับสนุนครับ ขอมากันให้มากๆ จะได้รู้ความจริงเสียทีว่า ใครกันแน่ที่เป็นคนขายชาติ ไม่หวังดีต่อบ้านเมือง จ้องประเคนดินแดนให้ต่างชาติ

อย่าเอาแต่หาเหตุหาเรื่อง ให้บ้านเมืองบอบช้ำและเสียหายไปกว่านี้เลย



“เหวง” จี้ กกต. ชี้แจงข้อเท็จจริง ฮั้วบัตรเลือกตั้ง

หมอเหวง ระบุ กกต.ต้องชี้แจงข้อเท็จจริงกรณีฮั้วบัตรเลือกตั้งด่วน ไม่เช่นนั้นอาจมัวหมอง เผย เคยทวงถามกกต.นานกว่า 5 เดือน แต่เงี่ยบฉี่ ด้านการล็อค 2 โรงพิมพ์บัตรปะชามติอีกราย กกต.ต้องชี้แจง

นพ.เหวง โตจิราการ แกนนำกลุ่มประชาชนเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 (คปพร.) กล่าวถึงกรณีการจัดพิพม์บัตรเลือกตั้งที่เกินจำนวน ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) โดยระบุว่า เรื่องจำนวนการจัดพิมพ์บัตรเลือกตั้งนั้น ตนและนายจรัล ดิษฐาอภิชัย ได้เคยยื่นเรื่องให้ทางกกต. ทำการชี้แจงข้อเท็จจริงเมื่อ 5 เดือนที่ผ่านมา โดยจนถึงขณะนี้ยังไม่มีการตอบรับอะไรจากกกต. ซึ่งหากยังคงนิ่งเฉยอย่างนี้จะทำให้เกิดความมัวหมอง และอาจจะทำให้ประชาชนที่สงสัยในกรณีดังกล่าวอาจคิดได้ว่าเป็นการนำไปช่วยเหลือพรรคการเมืองอื่นหรือไม่

“ในทางข้อเท้จริงตามหลักสากลโลก มาตรฐานในการอนุญาติให้พิมพ์เพิ่มบัตรเลือกตั้งนั้นหน่ะ ได้เพียง7% เท่านั้น ซึ่งจากการสำรวจตามสำนะโนประชากรพบว่ามีผู้สามารถใช้สิทธิ์ 45 ล้านคนเท่าน แต่นี้กกต.จัดให้พิมพ์บัตรเลือกตั้งแบบแบ่งเขต 55 ล้านใบ และบัตรแบบสัดส่วน 5.3 ล้านใบ รวม 108 ล้านใบ พอปิดหีบ มีผุ้มาเลือกตั้ง 32 ล้านคน เท่ากับใช้ไปแค่ 64 ล้านใบ แบะที่เหลืออย่างมหาศาลกว่า 44 ล้านใบไปอยู่ที่ไหน รวมทั้งการพิมพ์บัตรลงประชามติด้วยมีการพิมพ์ 49 ล้านใบ แต่คนมาใช้เพียง 25 ล้านคน ไม่ทราบว่ากกต.เข้าใจหลักการทำงานหรือไม่ ทำไมไม่ชี้แจง ว่าจำนวนที่เหลืออยู่ไหน หรือหากทำลายไปแล้วต้องมีหลักฐานมาแสดงแม้ความจริงต้องมีสักขีประจักษ์พยานต้องให้สื่อเห็น แต่นี่นิ่งเฉย” นพ.เหวงกล่าว

ทั้งนี้นพ.เหวงกล่าวเสริมถึงกรณีการประกาศประกวดราคาจ้างพิมพ์บัตรออกเสียงประชามติ โดยกล่าวว่า กกต.ต้องออกมาตอบคำถามว่าเพราะเหตุใดจึงมีแค่ 2 โรงพิมพ์ ที่ได้รับไป ซึ่งไม่น่าเชื่อว่าจะมีเพียงแต่ 2 โรงงานที่มีคุณภาพผลิตบัตรเท่านั้น โดยมีการตั้งข้อสังเกตว่าอาจมีความเกี่ยวพันอย่างไรกันหรือไม่ เนื่องจากตัวเลขของจำนวนเงินการประมูลไม่ต่างกัน รวมทั้งการเปิดประมูลที่กระชั้นชิดแบบนี้เป็นเพราะเหตุใด มีการล๊อคสเป็คกันหรือไม่ ซึ่งนี่ไม่ใช่ข้อกล่าวหาแต่เป็นเรื่องที่ทางกกต.ต้องเร่งชี้แจงเพื่อให้ประชาชนคลายความสงสัย

นอกจากนี้การที่กกต.นิ่งแยไม่ทำการชี้แจงข้อเท็จจริงนั้น ในทางกฎหมายอาจมองได้ว่ากกต.ยอมรับข้อกล่าวหาเหล่านี้ ซึ่งโดยส่วนตัวไม่ต้องการให้เป็นเช่นนั้น ฉะนั้นกกต.ต้องเร่งทำการชี้แจงด่วน

เร่งกกต.เอาผิด

ส.ส.พปช.จี้เอาผิด “วิฑูรย์ นามบุตร”ชี้หลักฐานชัดเจน เรื่องกลับยึดถึง 8 เดือน พร้อมซัดกกต.มาตราฐานต่างไม่มีความเป็นกลาง

จากกรณีที่คณะกรรมการเลือกตั้ง (กกต.) ได้พิจารณาตรวจสอบเรื่องการการทุจริตการเลือกตั้งของนายวิฑูรย์ นามบุตร อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ที่จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งยังไม่มีข้อสรุปใดเลยในขณะนี้

นายสมบัติ รัตโน อดีตผู้สมัค ส.ส.อุบลราชธานี เขต 1 พรรคพลังประชาชน เรียกร้องให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เร่งดำเนินการเอาผิดกับนายวิทูรย์ นามบุตร ส.ส.สัดส่วน กลุ่ม 4 และรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ในการทุจริตเลือกตั้ง โดยการแจกคูปองชมภาพยนตร์ให้กับประชาชน สลับกับการปราศรัยหาเสียงในโรงภาพยนตร์ เนื่องจากมีหลักฐานการกระทำผิดชัดเจน พร้อมตั้งข้อสังเกต ว่า กกต.จงใจที่จะเอื้อประโยชน์ให้กับพรรคประชาธิปัตย์หรือไม่ เนื่องจากการพิจารณาเรื่องดังกล่าวล่าช้ามากว่า 8 เดือน แต่ยังไม่แล้วเสร็จเหมือนกับกรณีของพรรคพลังประชาชน กับมัชฌิมาธิปไตย และพรรคชาติไทย

ขณะที่นายอริสมันต์ พงษ์เรืองรอง อดีตผู้สมัคร ส.ส.พรรคพลังประชาชน กล่าวว่า การพิจารณาสำนวนของนายวิฑูรย์ ครั้งนี้มีหลักฐานการกระทำความผิดที่ชัดเจน ดังนั้น หาก กกต.ไม่สามารถดำเนินการเอาผิดได้ ก็จะถือเป็นบทพิสูจน์การทำงานของกกต.ว่า ไม่มีความเป็นกลางอย่างแท้จริง

“ทักษิณ- พจมาน” สยบข่าวลี้ภัย จองตั๋วกลับไทย 10 ส.ค.

อดีตนายกฯ ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน ชินวัตร มีกำหนดเดินทางกลับจาก กรุงปักกิ่งประเทศจีน วันอาทิตย์ที่ 10 สิงหาคมนี้ สยบข่าวลือลี้ภัยการเมือง

หลังจากก่อนหน้านี้มีกระแสข่าวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี พร้อมคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยา อาจมีการขอลี้ภัยทางการเมืองไปยังต่างประเทศนั้น ล่าสุด ผู้สื่อข่าวได้มีการตรวจสอบไปยัง บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) โดยเจ้าหน้าที่ บมจ.การบินไทย ระบุว่า พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน มีรายชื่ออยู่ในผู้โดยสาร เที่ยวบิน TG 615 ซึ่งบินจาก กรุงปักกิ่งประเทศจีน วันอาทิตย์ที่ 10 สิงหาคม เวลาประมาณ 17.35 น. ถึง กรุงเทพฯ เวลาประมาณ 21.45 น.

พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน นั้นมีกำหนดการเดินทางรายงานตัวต่อศาล ในวันที่ 11 สิงหาคม ภายหลังเดินทางกลับจากจีนแล้ว โดยทีมทนายได้กำหนดให้บุคคลทั้งสองขึ้นให้การต่อศาลฯ วันที่ 22 สิงหาคมนี้ เพื่อต่อสู้ในคดีซื้อที่ดินย่านรัชดาภิเษก



พปช.จี้ กกต.เอาผิดวิทูรย์ นามบุตร ทุจริตเลือกตั้ง โวยคดีล่าช้า

พลังประชาชนฉะ กกต. พิจราณาล่าช้า 8 เดือนแล้วยังไม่เสร็จ ตั้งข้อสังเกตุเอื้อประโยชน์ให้กับพรรคประชาธิปัตย์หรือไม่

นายสมบัติ รัตโน อดีตผู้สมัค ส.ส.อุบลราชธานี เขต 1 พรรคพลังประชาชน เรียกร้องให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เร่งดำเนินการเอาผิดกับนายวิทูรย์ นามบุตร ส.ส.สัดส่วน กลุ่ม 4 และรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ในการทุจริตเลือกตั้ง โดยการแจกคูปองชมภาพยนตร์ให้กับประชาชน สลับกับการปราศรัยหาเสียงในโรงภาพยนตร์ เนื่องจากมีหลักฐานการกระทำผิดชัดเจน พร้อมตั้งข้อสังเกต ว่า กกต.จงใจที่จะเอื้อประโยชน์ให้กับพรรคประชาธิปัตย์หรือไม่ เนื่องจากการพิจารณาเรื่องดังกล่าวล่าช้ามากว่า 8 เดือน แต่ยังไม่แล้วเสร็จเหมือนกับกรณีของพรรคพลังประชาชน กับมัชฌิมาธิปไตย และพรรคชาติไทย

ขณะที่นายอริสมันต์ พงษ์เรืองรอง อดีตผู้สมัคร ส.ส.พรรคพลังประชาชน กล่าวว่า การพิจารณาสำนวนของนายวิฑูรย์ ครั้งนี้มีหลักฐานการกระทำความผิดที่ชัดเจน ดังนั้น หาก กกต.ไม่สามารถดำเนินการเอาผิดได้ ก็จะถือเป็นบทพิสูจน์การทำงานของกกต.ว่า ไม่มีความเป็นกลางอย่างแท้จริง



จ่อเรียกสอบ “เสรีพิศุทธ์” คดีทุจริตเช่ารถเพิ่ม

คณะกรรมการ สอบสวนวินัย “เสรีพิสุทธิ์” เผยความคืบหน้า หลังสอบพยาน จ่อเตรียมแจ้งหมายเรียกรับทราบข้อกล่าวหาแล้ว

จากกรณีนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี มีคำสั่งตามหนังสือสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 34/2551 ลงวันที่ 5 มี.ค.51 ตั้งข้อกล่าวหา 3 กรณี 1.โครงการเช่ารถ 5 ประเภท ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) รวม 6,217 คัน มูลค่า 9,899,578,200 บาท มีพฤติการณ์ส่อไปในทางทุจริตและฝ่าฝืนระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 2.ใช้ถ้อยคำที่มิบังควรและไม่เหมาะสมในฐานะที่เป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดของหน่วยงาน ในบันทึกของกองสวัสดิการที่เสนอขอให้พิจารณางดการแข่งกันกีฬาภายในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และ 3.ออกคำสั่งแต่งตั้งข้าราชการตำรวจระดับ พ.ต.อ. ตำแหน่งผู้กำกับการฝ่ายปฏิบัติการที่ 1-10 ในสังกัดกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (บช.ก.) ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย กฎ ระเบียบของทางราชการ ทำให้ข้าราชการตำรวจที่ได้รับการแต่งตั้งไม่มีกฎหมายรองรับตำแหน่ง

ในความคืบหน้าเรื่องดังกล่าวนั้น หลังจากที่คณะสอบสวนวินัยร้ายแรง ที่มีนายชัยเกษม นิติสิริ อัยการสูงสุด เป็นประธาน และ , นายนัทที เปรมรัศมี รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี , พล.ต.ท.จงรัก จุฑานนท์ ผช.ผบ.ตร , พล.ต.ท.ธีรเดช รอดโพธิ์ทอง จเรตำรวจเขตตรวจราชการที่ 8 ร่วมเป็นกรรมการและเลขานุการ ดำเนินการเรียกบุคคลกว่า 15 ปาก อาทิ พล.ต.ท.บรรจง ตันศยานนท์ ผบช.ก.ตร. , พล.ต.ท.อัศวิน ขวัญเมือง ผบช.น. และพล.ต.ท. สุวัฒน์ จันทร์อิทธิกุล ผบช.สทส. มาให้ถ้อยคำและตรวจสอบเอกสารที่ได้รับมาจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และสำนักงานเลขาธิการสำนักนายกรัฐมนตรี แล้วโดยใช้เวลา 5 เดือนนั้น ในการประชุมคณะกรรมการฯ เมื่อวันที่ 1 ส.ค.ที่ผ่านมา คณะกรรมการฯ มีคำสั่งแจ้งให้ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เข้าพบเพื่อแจ้งข้อกล่าวหาในวันที่ 11 ส.ค.นี้ เวลา 09.00 น.

ส่วนการสอบสวนกรณีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ที่ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ ไม่ได้เดินทางมาถวายอารักขาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ณ โรงพยาบาลศิริราช ที่นายสมัคร นายกรัฐมนตรี ตั้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติมเมื่อวันที่ 13 พ.ค.51 นั้นก็ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรง ชุดที่มีนายปรีชา วัชราภัย เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) เป็นประธาน ดำเนินการสอบสวนแล้ว ซึ่งยังอยู่ระหว่างการเรียกบุคคลให้ถ้อยคำ

ขณะที่ นายสิทธิชัย หอมศิริวรรณ ทนายความ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ คณะกรรมการฯ เคยแจ้งให้ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เข้าพบเพื่อรับทราบข้อกล่าวหาแล้วครั้งหนึ่ง แต่เนื่องจากความไม่พร้อมเกี่ยวกับเอกสาร คณะกรรมการฯ จึงเลื่อนนัดเป็นวันที่ 11 ส.ค.นี้ เวลา 09.00 น. โดยหลังจากที่รับทราบข้อกล่าวหา ซึ่งคณะกรรมการจะแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับพยานหลักฐานที่เรียกสอบให้ทราบแล้ว ตามขั้นตอน พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ จะต้องยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวต่อไป



“มั่น” เข้าใจความรู้สึก “สุวิทย์” ปัดข่าวทิ้ง พผ.

“มั่น” สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในทำเนียบ อธิษฐานให้รัฐบาลอยู่ยาว ปัดข่าวกลุ่มงูเห่า 2 คิดตีจาก ยัน “เพื่อแผ่นดิน” ไม่มีวันแตก เผยเข้าใจความรู้สึก “สุวิทย์” ดีไม่มีสมาชิกขับไล่

วันนี้ (8 ส.ค.) นายมั่น พัธโนทัย รองนายกรัฐมนตรี และรมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ได้เดินทางมาสักการะท้าวพระมหาพรหมบนตึกไทยคู่ฟ้า และพระภูมิเจ้าที่ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ในทำเนียบรัฐบาล ก่อนเข้ามาทำงานในตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี จากนั้นนายมั่นได้เดินไปยังตึกบัญชาการเพื่อขึ้นไปยังห้องทำงานชั้น 3 ทันทีโดยเปิดเผยว่าได้อธิษฐานให้รัฐบาลอยู่นานๆ

นายมั่น กล่าวถึงสถานการณ์ทางการเมืองในขณะนี้ว่า ภายหลังจากรัฐบาลประกาศจัดงาน 116 วันจากวันแม่ถึงวันพ่อ ซึ่งเป็นงานมหามงคลก็ทำให้บรรยากาศทางการเมืองดีขึ้น สำหรับปัญหาในพรรคเพื่อแผ่นดินนั้นยอมรับว่าที่ผ่านมาก็มีปัญหาอยู่ แต่เมื่อมาประชุมกันแล้วทุกฝ่ายก็เข้าใจ และจะมีการประชุมกันในวันที่ 24 ส.ค.เหมือนเดิม

สำหรับข่าวการย้ายพรรค หรือตั้งพรรคการเมืองใหม่ในขณะนี้จะมีสมาชิกพรรคเพื่อแผ่นดินแยกตัวไปบ้างหรือไม่นั้น นายมั่น กล่าวว่า โดยรัฐธรรมนูญแล้วคงยังย้ายออกไปไม่ได้ แต่เรื่องนี้การจะย้ายออกไปหรือไม่ มันอยู่ที่ใจ “สำหรับผมเชื่อว่าทุกคนในพรรคเพื่อแผ่นดินก็ยังมีใจรักพรรคอยู่ เพราะร่วมทำงานร่วมกันมานานพอสมควร และผมขอพูดได้เลยว่าพรรคเพื่อแผ่นดินเราไม่มีวันแตก” นายมั่น กล่าว

ผู้สื่อข่าวถามว่า ปัญหาในพรรคร่วมรัฐบาลโดยเฉพาะจากพรรคพลังประชาชนซึ่งเป็นพรรคร่วมรัฐบาลจะกระทบต่อเสถียรภาพรัฐบาลหรือไม่ นายมั่น กล่าวว่า ตนเชื่อในความสามารถของนายกฯ ที่จะสะสางปัญหาในพรรคของท่านได้ เราคงไม่ยุ่งเรื่องของพรรคเขา สำหรับเราคงทำได้เพียงเฝ้าดูด้วยการให้กำลังใจ ให้ทุกอย่างเรียบร้อย ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาที่มักมีปัญหาเกิดขึ้นภายหลังปรับ ครม. แต่เมื่อคลื่นลมหายไปแล้วทุกอย่างก็จะดี

ผู้สื่อข่าวถามว่า เมื่อหัวหน้าพรรคไม่ได้อยู่ในรัฐบาลแล้ว การหารือร่วมกันของรัฐมนตรีจากพรรคชาติไทยทุกวันจันทร์ จะยังคงมีต่อไปหรือไม่ นายมั่น กล่าวว่า ก็คงต้องมีต่อไป โดยหัวหน้าพรรคคงจะมอบหมายให้ตนเข้าร่วมประชุมแทน หรืออาจจะเป็นรองหัวหน้าพรรคคนใดก็ได้ แต่ในส่วนของการประชุมพรรคเพื่อแผ่นดิน นายสุวิทย์ คุณกิตติ ยังเข้าร่วมประชุมพรรคเช่นเดิม ในฐานะหัวหน้าพรรค ยังไม่มีการปรับเปลี่ยนใดๆ

“ในพรรคไม่มีสมาชิกคนไหนมาพูดว่าอยากให้ท่านลาออกจากหัวหน้าพรรค เพราะเราก็เข้าใจความรู้สึกของท่านที่ไม่สบายใจที่เกิดเรื่องอย่างนี้ขึ้น และถ้าเรายิ่งไปซ้ำเติม ไม่ได้เลย คนไทยเราถือเรื่องอย่างนี้ ไปทำอย่างนั้นไม่ได้ ส่วนการดูแลสมาชิกในพรรคนั้นก็มาช่วยๆ กันดูแลกันไป” นายมั่น กล่าว



ป.ป.ช.มั่วนิ่มหนังสือราชเลขา

*กลับลำอ้างความลับราชการเปิดเผยไม่ได้
จับโกหก “ป.ป.ช.” มั่วนิ่มอ้างมีหนังสือราชเลขาธิการยืนยันสถานภาพ “ศราวุธ เมนะเศวต” เลขาธิการป.ป.ช. กลับลำระบุเป็นความลับของทางราชการไม่สามารถนำออกมาเปิดเผยได้ ต้องทำหนังสือขออนุญาตก่อน แถมพูดจาชวนสับสน ไม่มีเอกสารที่ว่าอยู่ที่ ป.ป.ช. ทั้งที่ก่อนหน้านั้นเรียงหน้ากันออกมาท้าให้ตรวจสอบได้เลย ล่าสุดเพียงข้ามวัน “วิชา มหาคุณ” ยังย้ำหนักแน่นว่ามีเอกสารอยู่ในมือ บรรดา ส.ส. ตั้งข้อกังขามีเอกสารอยู่จริงหรือไม่ แถมอ้างเป็นความลับยังฟังไม่ขึ้น เพราะออกมาพูดสาระสำคัญจนหมดแล้ว พร้อมขีดเส้นแจงให้เคลียร์ภายในสมัยประชุมนี้

ปัญหาที่มาและคุณสมบัติของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ที่ถูกตั้งขึ้นด้วยคำสั่งคณะปฏิวัติ โดยไม่ได้รับโปรดเกล้าฯ และไม่ได้เข้าถวายสัตย์ตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ 2550 จนส่อว่าจะเป็นกรรมการเถื่อนและเข้าข่ายละเมิดพระราชอำนาจ ทำท่าจะบานปลายกลายเป็นเรื่องใหญ่โตยิ่งขึ้น หลังจากที่ นายศราวุธ เมนะเศวต เลขาธิการป.ป.ช. ได้ออกมากล่าวอ้างว่าได้ทำหนังสือหารือถึงราชเลขาธิการ และมีหนังสือยืนยันกลับมาแล้วว่าไม่จำเป็นต้องมีการถวายสัตย์ และเป็นประเด็นที่ถูกเรียกร้องจากฝ่ายต่างๆ มาอย่างต่อเนื่องว่าให้นำหนังสือดังกล่าวออกมาแสดง เพื่อความสบายใจของทุกฝ่าย

ซึ่งที่ผ่านมานายศราวุธ เองก็ท้าทายว่าสามารถดูเอกสารดังกล่าวได้ที่สำนักงาน ป.ป.ช. เช่นเดียวกับกรรมการอีกหลายคนที่ออกมาขานรับเรื่องดังกล่าว

*ป.ป.ช.พูดจากลับไปกลับมา
ขณะที่ นายวิชา มหาคุณ หนึ่งในกรรมการ ป.ป.ช. ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 6 สิงหาคมที่ผ่านมายืนยันอีกครั้งว่า ป.ป.ช.มีหนังสือตอบรับการแต่งตั้งกรรมการโดยผ่านคุณสมบัติทุกประการจากสำนักราชเลขาฯ อย่างแท้จริง ไม่มีการกล่าวอ้างอย่างลอยๆ ตามที่สังคมคิดกัน

แต่ก็อ้างว่าการนำหนังสือดังกล่าวออกมาเปิดเผยต่อสาธารณชนนั้น ต้องมีการทำหนังสือขออนุญาตจากสำนักราชเลขาฯ เสียก่อน และขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการขออนุญาตอยู่ เพื่อให้ประชาชนรับทราบและหายจากข้อกังขา

เหมือนกับที่นายศราวุธ ชี้แจงต่อสภาฯ ว่าเอกสารดังกล่าวเป็นความลับของทางราชการ และไม่ได้มีเก็บไว้ที่ ป.ป.ช. ซึ่งผิดไปจากที่เคยให้สัมภาษณ์ไว้ก่อนหน้านี้

จากการให้สัมภาษณ์กลับไปกลับมาชวนให้เกิดความกังขาและสับสนดังกล่าว ได้ถูกหยิบยกมาวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง ว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่เอกสารดังกล่าวไม่มีอยู่จริง หรืออาจจะเป็นความพยายามในการดิ้นรนเอาตัวรอดของ ป.ป.ช.หรือไม่

*อ้างเป็นความลับฟังไม่ขึ้น
นายสุทิน คลังแสง ส.ส.มหาสารคาม พรรคพลังประชาชน ในฐานะประธานกรรมาธิการกิจการองค์กรตามรัฐธรรมนูญ และรัฐวิสาหกิจ องค์กรมหาชนและกองทุน สภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า หนังสือจากสำนักราชเลขาธิการไม่น่าจะเป็นเรื่องลับ เพราะการที่ครม.แจ้งว่ามีหนังสือพระราชวังและบอกเนื้อหาก็คือการเปิดเผยความลับออกมาแล้ว ฉะนั้นเมื่อในหนังสือเลขาครม. บอกว่า ราชสำนักมีความเห็นแบบนี้ แต่สาระก็คือความลับ ไม่ใช่อยู่ที่ตัวหนังสือ นั่นก็หมายความว่าสาระได้เปิดเผยออกมาแล้ว ส่วนตัวหนังสือไม่น่าจะเป็นเหตุที่ต้องไม่เปิดเผย

เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่าสามารถตั้งประเด็นได้หรือไม่ว่าหนังสือจากสำนักราชเลขาธิการที่เลขาป.ป.ช.กล่าวอ้างนั้นไม่มีจริงนายสุทินกล่าวว่า ก็สามารถตั้งสมมติฐานเช่นนั้นได้ เนื่องจากมีการพูดที่กลับไปกลับมา เมื่อถามถึงความชอบธรรมในการทำหน้าที่นั้น เป็นเรื่องที่สังคมต้องพิจารณาและป.ป.ช.ต้องมีความระมัดระวังในการแสดงท่าที อย่าให้สังคมคิดว่าป.ป.ช.ไม่มีความน่าเชื่อถือ เพราะแม้ในวันนี้ป.ป.ช.เองออกมายืนยันว่าองค์กรของตนมีที่มาอย่างถูกกฎหมาย แต่ก็ยังไม่มีองค์กรใดออกมายืนยันข้อเท็จจริงดังกล่าว มีเพียงแต่ป.ป.ช.ที่ออกมารับรองสถานะของตนเอง

*เชื่อเลขาป.ป.ช.รู้ว่าต้องทำอย่างไร
ต่อข้อถามว่าจะต้องมีการเร่งให้เลขาธิการป.ป.ช.ออกมาชี้แจงในข้อเท็จจริงอีกหรือไม่ ประธานคณะกรรมาธิการฯ กล่าวว่า ไม่จำเป็นจะต้องจี้เร่งให้เลขาป.ป.ช.ออกมาชี้แจง แต่ท่านคงรู้ดีว่าควรต้องทำอะไร คิดว่าท่านคงทราบดี เมื่อสังคมตั้งข้อสงสัยวิธีการที่จะให้สังคมคลายความสงสัย ท่านก็ต้องย่อมรู้ดี เมื่อถามว่าในฐานะประธานกรรมาธิการฯ จะดำเนินการอย่างไรต่อไป นั้นในข้อเท็จจริงแล้ว สามารถทำได้ 2 แนวทางถ้ามีคนร้องเรียนมาก็ต้องทำการตรวจสอบ แต่หากไม่มีผู้ร้องเรียนเราก็มีกระบวนการตรวจสอบในตามประเด็นที่คณะกรรมาธิการสนใจ ก็ต้องดำเนินการตามหน้าที่ต่อไป
ส่วนกรณีที่ล่าสุดคณะกรรมาธิการฯ มีมติว่าที่มาของ ป.ป.ช.ไม่ชอบด้วยกฎหมายและจารีตประเพณี ตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข นั้นจะมีการดำเนินการอย่างไรต่อไปนายสุทินกล่าวว่า ขั้นตอนต่อไปก็ต้องนำเข้าสู่ที่ประชุมสภา และผลสรุปการศึกษาก็ต้องนำรายงานเข้าต่อที่ประชุมสภา ซึ่งต้องให้เป็นดุลพินิจของประธานสภาฯในการบรรจุเข้าเป็นระเบียบวาระการประชุม แต่เชื่อว่าน่าจะมีอยู่ในกรอบของการประชุมสภาสามัญนิติบัญญัติอย่างแน่นอน ส่วนการชี้ผลการหมดสภาพการเป็น ป.ป.ชหรือไม่นั้น หากสภาเห็นว่าไม่มีผลให้ป.ป.ช.หมดสภาพเมื่อได้รับรองผลการศึกษาจากคณะกรรมาธิการฯแล้ว ใครจะนำรายงานการศึกษาดังกล่าวไปทำการถอดถอนก็ได้ เมื่อสภาเห็นชอบหลังการประชุมเสร็จสิ้น เราก็ต้องแจงมติสภาเป็นหนังสือไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

*ต้องแจงให้เคลียร์สมัยประชุมนี้
นายสุชาติ ลายน้ำเงิน ส.ส ลพบุรี พรรคพลังประชาชน ในฐานะคณะกรรมการวิปรัฐบาล กล่าวถึงถ้อยคำที่นายนายศราวุธ เมนะเศวต เลขาธิการป.ป.ช. กล่าวว่าหนังสือของราชเลขาธิการเป็นเอกสารลับทางราชการ ไม่สามารถเปิดเผยได้ตามที่เคยพูดไว้ก่อนหน้านี้ โดยระบุว่า เลขาธิการป.ป.ช. กระทำการให้เกิดความสับสนต่อผู้อื่นอย่างมากทั้งที่ก่อนหน้านี้บอกว่าสามารถดูได้ที่สำนักงานป.ป.ช.ทำให้เกิดความเคลือบแคลงสงสัยกัน กรณีดังกล่าวเลขาธิการป.ป.ช.ต้องเร่งชี้แจงต่อสาธารณชน รวมทั้งเตรียมความพร้อมในการชี้แจงต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ให้เสร็จสิ้นในสมัยวาระการประชุมนี้

เมื่อถามว่าภาพลักษณ์ขององค์กรอิสระในฐานะผู้ผดุงความยุติธรรมแต่ขณะนี้กลับมีการชี้แจงถึงที่มาไม่ชัดเจนนั้น นายสุชาติกล่าวว่า อย่างคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ไม่มีใครกล้าที่จะตำหนิ เพราะแตะปุ๊ปมีปัญหาทันที ต้องให้กลุ่มคนในองค์กรอิสระพิจารณาในความเหมาะสม อย่างเช่นป.ป.ชมีการส่งลูกให้คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ (คตส.) โดยองค์กรนี้ตั้งขึ้นมาเพื่อฆ่าทักษิณทั้งนั้น คิดกันเท่านี้แล้วประเทศจะเดินหน้าไปได้อย่างไร ทั้งๆที่มีคดีความทุจริตก่อนหน้านี้ตั้งมากมายแต่ทำไมคตส.ถึงไม่ยอมไปล้วงลูกเสียที ส่วนความชอบธรรมในการทำหน้าที่ต่อไปหรือไม่นั้น คงเป็นเรื่องที่คณะกรรมการในองค์อิสระต้องใช้วิจารณญาณ

*ป.ป.ช.ต้องชี้แจงโดยเร็วที่สุด
นายสุขุมพงษ์โง่นคำ เลขาธิการพรรคพลังประชาชน และรองประธานผู้ประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล(วิปรัฐบาล) กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า ในคำสั่งการแต่งตั้งของคณะกรรมการป.ป.ช. ของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ฉบับที่ 19 ในคำสั่งได้กำหนดให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ให้ใช้บังคับต่อไป พร้อมกับยกเว้นเ รื่องในการสรรหา เพราะเป็นการแต่งตั้งโดยรัฐาธิปัตย์ แต่ไม่ได้ยกเว้นเรื่องที่ต้องได้รับการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์ ซึ่งก็หมายความว่าไม่ได้มีการยกเว้นให้ไม่ต้องรับการโปรดเกล้าฯ นี่ยังทรงเป็นพระราชอำนาจอยู่ จึงชี้ได้ว่าคณะกรรมการป.ป.ช.ยังมีที่มาไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ แต่มาโดยชอบด้วยประเพณี

ดังนั้นการที่เลขาธิการป.ป.ช.กล่าวต่อที่ประชุมสภาว่า หนังสือของสำนักราชเลขาธิการเป็นความลับของทางราชการไม่สามารถเปิดเผยได้ รวมทั้งไม่มีสำเนาหนังสือดังกล่าวที่สำนักงานป.ป.ช. ทั้งๆที่ก่อนหน้านี้มีการท้าทายให้ผู้ที่สนใจสามารถขอดูได้ที่สำนักงานนั้น เป็นการกล่าวที่กลับไปกลับมาไม่ตรงกันเช่นนี้ ท่านต้องรับผิดชอบในฐานะผู้บริหารระดับสูงของประเทศ พร้อมทั้งเร่งชี้แจงในข้อเท็จจริง โดยเร็วที่สุด

*จ่อร้องศาล รธน.พิจารณา
แต่จะชี้แจงหรือรับผิดชอบอย่างไร ก็ต้องพิจารณาเองในฐานะที่เป็นข้าราชการประจำ แต่ทั้งนี้ในด้านความลับของเอกสารทางราชการหรือไม่นั้นแล้วแต่บางกรณี หรือแล้วแต่ดุลยพินิจของผู้บังคับบัญชาในสำนักราชเลขาธิการ และ ระเบียบปฏิบัติในส่วนราชการนั้นๆ

อย่างไรก็ตามต้องเป็นหน้าที่ของ นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส. สัดส่วนพรรคพลังประชาชน ผู้ซึ่งทำการกล่าวในที่ประชุมสภา จะต้องติดตาม ในฐานะที่เป็นผู้เสียหายจากการที่เลขาธิการ ป.ป.ช.ชี้แจงกลับไปกลับมาเป็นเพราะเหตุใด หากเห็นว่าเป็นเรื่องทางวินัยข้าราชการก็ต้องดำเนินการทางวินัย หากเป็นความผิดทางอาญาก็ต้องดำเนินคดีความตามนั้น หรืออาจจะใช้สิทธิ์ในทางพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสาร ตามรัฐธรรมนูญก็ได้ ทุกอย่างมีกระบวนการช่องทางอยู่ หากทางเลขาธิการ ป.ป.ช.ยังนิ่งเฉยอยู่

เมื่อสอบถามเรื่องความชอบธรรมในการบริหารหน้าที่อยู่อีกหรือไม่ นายสุขุมพงษ์ กล่าวว่า เมื่อมีผู้สงสัย และมีความขัดแย้งในข้อกฎหมาย ก็ต้องให้มีผู้ทำการชี้ขาดในเรื่องการดำรงตำแหน่ง โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ทำการร้องให้ตรวจสอบความชอบธรรมโดยตรงนั้น ต้องทำการร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยคุณสมบัติ ตามกฎหมายป.ป.ช. ที่ตามรัฐธรรมนูญได้กำหนดให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้เสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยความเป็นสภาพการป.ป.ช. หรือบุคคลใดก็ได้ที่ทำการร้องต่อผู้ตรวจการสิทธิมนุษยชนหากเห็นว่ามีที่มาไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน ซี่งผู้ตรวจการแผ่นดินมีสิทธิ์ที่จะหยิบมาพิจารณา

*ป.ป.ช.แจ้งดำเนินคดีม็อบไล่
นายชัยรัตน์ ขนิษฐบุตร นิติกร 9 รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. เดินทางเข้าพบ พ.ต.ท.สุรศักดิ์ สิงห์ไกร รองผกก.สส.สน.ดุสิต เพื่อแจ้งความให้ดำเนินคดีกับกลุ่มผู้ชุมนุมที่รวมตัวกันขับไล่คณะกรรมการป.ป.ช. ในข้อหาดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ ตามกฎหมายอาญา มาตรา 136 และข้อหา ซ่องโจร ตามกฎหมายอาญา มาตรา 210 โดยนำหลักฐาน เป็นแผ่นซีดีประมวลภาพการชุมนุมของกลุ่มต่อต้านคณะกรรมการ ป.ป.ช.จำนวน 33 แผ่น แผ่นบันทึกภาพและเสียง (วีซีดี) จำนวน 1 แผ่น พร้อมหนังสือร้องทุกข์กล่าวโทษ มอบให้กับพนักงานสอบสวน

ทั้งนี้ หนังสือร้องทุกข์กล่าวโทษดังกล่าวระบุว่า ครั้งแรก เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข กับพวก ในนามกลุ่มต่อต้านพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย นายวรัญชัย โชคชนะ กับพวก ในนามกลุ่มต่อต้านพันธมิตรฯ นางสุนันทา ธรรมธีระ กับพวกในนามกลุ่มสตรีเพื่อประชาธิปไตย รวมประมาณ 50 คน ได้เดินทางมาที่สำนักงานป.ป.ช. และกล่าวถ้อยคำขับไล่ ป.ป.ช. จนทำให้อับอายขายหน้า

*ทำให้ ปชช.คิดว่าป.ป.ช.หน้าหนา
ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม นายนพรุจ วรชิตวุฒิกุล กับพวกในนามกลุ่มพิราบขาว 2006 ใช้รถบรรทุกเครื่องขยายเสียง กล่าวหาดูหมื่นคณะกรรมการป.ป.ช.อีกเช่นกัน

ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม เวลา 11.30 น. นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข กับพวก ในนามกลุ่มต่อต้านพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และในนามกลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย นายสุเทพ วิภาตะวณิช กับพวก นางสุนันทา ธรรมธีระ กับพวกในนามกลุ่มสตรีเพื่อประชาธิปไตย และนายนพรุจ วรชิตวุฒิกุล กับพวกในนามกลุ่มพิราบขาว 2006 ประมาณ 300 คน เดินทางมารวมตัวที่หน้าสำนักงานป.ป.ช. กล่าวถ้อยคำเป็นการดูหมิ่นคณะกรรมการป.ป.ช. เช่น คณะกรรมการป.ป.ช.เข้ามาทำหน้าที่อย่างไม่ถูกต้อง เป็นพวกรับใช้เผด็จการ ปล้นอำนาจอธิปไตยจากประชาชน เอนเอียงและเลือกปฏิบัติ นอกจากนี้ ยังนำกระเบื้องจำนวน 9 แผ่น เขียนถ้อยคำและติดภาพและชื่อกรรมการป.ป.ช. เพื่อให้ประชาชนหรือผู้อื่นเข้าใจว่า กรรมการป.ป.ช.หน้าหนา

*ระบุทำอับอาย-แห่เหี้ย9ตัวไล่
ครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม เวลา 10.00 น. นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข กับพวก ในนามกลุ่มต่อต้านพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และในนามกลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย นางสุนันทา ธรรมธีระ กับพวกในนามกลุ่มสตรีเพื่อประชาธิปไตย ได้รวมกลุ่มกันที่ลานพระราชวังดุวิต (ลานพระบรมรูปทรงม้า) เดินผ่านถนนพิษณุโลก หน้าสำนักงานป.ป.ช. และถนนนครปฐม หน้าอาคารที่ทำงานของคณะกรรมการป.ป.ช. โดยระหว่างเดิน ได้มีการกล่าวถ้อยคำแสดงการดูถูกเหยียดหยาม สบประมาท ด่าทอ ทำให้อับอายขายหน้า เช่น คณะกรรมการป.ป.ช.มีฐานะเท่ากับเหี้ย เป็นป.ป.ช.เถื่อน ป.ป.ช.ทั้ง 9 คน ตามจำนวนตัวเหี้ยที่อยู่ในกรง พร้อมทั้งเขียน ชื่อกรรมการป.ป.ช.ไว้บนตัวเหี้ย และมีการปล่อยตัวเหี้ยเข้าไปในสำนักงานป.ป.ช.

หลังเข้าแจ้งความร้องทุกข์ และมอบหลักฐานทั้งหมดกับพนักงานสอบสวนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว นายชัยรัตน์ เดินทางกลับทันที โดยไม่ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน

ด้านพ.ต.อ.สมชาย เชยกลิ่น ผกก.สน.ดุสิต กล่าวว่า เบื้องต้น ตำรวจจะรับเรื่องร้องทุกข์และลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐาน จากนั้นจะดำเนินการสอบปากคำ โดยจะส่งเรื่องต่อให้คณะทำงานของ บก.น.1 เพื่อพิจารณาว่า การกระทำดังกล่าว เข้าข่ายดูหมิ่น หรือหมิ่นประมาทหรือไม่