WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, September 17, 2011

คนเน็ตเม้งกทม. โครงการ CCTV 10000 ตัว มีแต่ฝาครอบ

ที่มา Thai E-News

โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
17 กันยายน 2554

รายงานจากเว็บไซต์พัน ทิป ห้องรัชดา โดยคุณ 50 first date เปิดเผยว่าโครงการติดตั้งกล้องวงจรปิดทั่วกรุงเทพฯ จำนวนกว่า 10000 ตัว ของผู้ว่าฯกทม. อาจเป็นโครงการเข้าข่ายหลอกลวงคนกรุงเทพฯ โดยจขกท.ตั้งหัวข้อว่า "เกิดอะไรขึ้นกับกล้องวงจรปิดของ กทม.ครับ"

"วัน ก่อนเดินขึ้นสะพานลอยเห็นกล้องวงจรปิดตั้งสี่ตัวก็รู้สึกอุ่นใจมากเลย แต่พอสังเกตดีๆ ดูมันแปลกๆ เดินเข้าไปดูใกล้ๆ อ้าวมีแต่กล่องนี่นา นึกว่ามีใครขโมยไป พอไปดูอีกหลายๆ แห่งก็ไม่มีกล้องเหมือนกัน แล้วอย่างนี้จะดูแลกันยังไงครับ"






"อันนี้สนิมกินแล้ว ถ้ารอกล้องมาอย่างคุณ dayong ว่า สงสัยกล่องมันจะพังก่อน" คุณ 50 first date ชี้


อย่างไรก็ดี แฟนๆของผู้ว่าฯกทม. คุณสุขุมพันธ์ บริพัตร ก็พยายามยกเหตุผลมาช่วยสุดๆ ตัวอย่างเช่น

"เดี๋ยว นี้เทคโนโลยีไปถึงไหนกันแล้ว เขาอาจจะใช้นาโนเทคโนโลยีก็ได้ อย่างกล้องนาโนครับ ตามลูกศรจะเห็นว่า มันเป็นกล้องขนาดเล็ก เล็กกว่าเล้นผมคนอีกครับ มองไม่เห็นได้ง่ายๆหรอก เพราะฉนั้นถ้าไม่รู้ต้องตรวจสอบก่อนครับ โครงการของผู้ว่าคนนี้ไม่มีทุจริตอยู่แล้ว ...อันนี้ช่วยสุดๆ" คุณ Lumpu แสดงความเห็น

ด้านคุณ Jesus2000 --=AnThraX=-- แสดงความคิดเห็นของตนว่า

"คือ จะบอกป้ายที่เค้าบอกว่าติดครบ 10,000 ตัว เพื่อให้บริษัทใช้ส่งมอบงาน เก็บตังค์ จ่าย..... เข้ากระเป๋าไปเรียบร้อยแล้วครับ ผมไม่อยากพูดมากว่า .....กันมันส์แค่ไหน แต่คนในวงการเค้ารู้กันหมด และปีหน้าจะทำกันให้ถึง 2 หมื่นตัวด้วย ไปหาเช็คข่าวกันเองแล้วกันครับว่า โปรเจคนี้กี่..... ล้านบาท ใครเลือกเข้ามาก็รับผิดชอบกันเองนะครับ คนกทม" (อ่านข่าวเพิ่มเติม - กทม.ตั้งเป้าCCTVครบ2หมื่นตามแผนเชื่อมเครือข่ายครอบคลุมจุดเสี่ยงใกล้เทคนิค/ช่างกล - แนวหน้า/31 ก.ค.)


อนึ่ง กระทู้ดังกล่าวได้รับความสนใจจากชุมชุนคนออนไลน์เป็นจำนวนมาก โดยมียอดผู้แสดงความคิดเห็นแล้ว 270 กว่าท่าน ท่านสามารถดูกระทู้ดังกล่าวได้ที่ลิงก์

5 ปี รัฐประหาร ประชาธิปไตยยังไม่เกิด // นสพ.เลี้ยวซ้าย ฉบับที่ 75 กันยายน 54

ที่มา Thai E-News

ที่มา องค์กรเลี้ยวซ้าย
17 กันยายน 2554

คอลัมน์การ์ตูนล้อการเมือง 16-9-54

ที่มา Asia Update



Related posts:

  1. คอลัมน์การ์ตูนล้อการเมือง 9-8-54
  2. คอลัมน์การ์ตูนล้อการเมือง 10-8-54
  3. คอลัมน์การ์ตูนล้อการเมือง 17-8-54
  4. คอลัมน์การ์ตูนล้อการเมือง 9-9-54
  5. คอลัมน์การ์ตูนล้อการเมือง 11-9-54

7 ข้อเสนอจากคอป. เพื่อการเมืองไทย

ที่มา Voice TV



รายการข่าว Voice Focus ประจำวันที่ 15 กันยายน 2554 (21.30น.)

-7 ข้อเสนอจากคอป. เพื่อการเมืองไทย

- กรมชลฯรับน้ำมากกว่าทุกปี

- จีนจับตาโลกออนไลน์อีกครั้ง

7 ข้อเสนอจากคอป. เพื่อการเมืองไทย

7 ข้อเสนอแนะ รายงานฉบับที่ 3 จากคอป. ถึงรัฐบาล ระบุ รัฐต้องเร่งสร้างความปรองดองทุกรูปแบบ คืนความเป็นธรรมให้กับผู้สูญเสีย และถูกคุมขัง ถือเป็นรายงานฉบับแรกในรัฐบาลยิ่งลักษณ์

กรมชลฯรับน้ำมากกว่าทุกปี

กรมชลประทาน เผยสถานการณ์น้ำท่วม ให้แต่ละพื้นที่ หาแหล่งรองรับน้ำ หรือ เสริมคันกั้นน้ำให้สูงขึ้นอีก เหตุปริมาณน้ำมากกว่าทุกปี

จีนจับตาโลกออนไลน์อีกครั้ง

จีนจับตาเวย โป๋ ไมโครบล็อคชื่อดัง หวั่นการพูดคุยผ่านโลกออนไลน์ของชาวจีนกว่า 150 คนผ่านระบบนี้ อาจล้มการปกครองของจีน ได้เหมือนปฎิวัติดอกมะลิในตะวันออกกลาง

ต้องไม่ลับ

ที่มา ข่าวสด

คอลัมน์ เหล็กใน
มันฯ มือเสือ



มีความพยายามหยิบยกเรื่อง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ขึ้นมาตีรวนในจังหวะนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เดินทางไปเยือนกัมพูชาเป็นทางการ

เนื่อง จากเป็นเวลาใกล้เคียงกับที่นายกฯ ฮุนเซน เชื้อเชิญพ.ต.ท.ทักษิณ มาเยือนกัมพูชาระหว่าง 16-24 ก.ย. เพื่อร่วมประชุมอนาคตเศรษฐกิจเอเชีย ที่กรุงพนมเปญ

ข่าวแจ้งว่าผู้นำและอดีตผู้นำ 2 ประเทศมีนัดออกรอบตีกอล์ฟวันที่ 18 ก.ย.

สำหรับฟุตบอลกระชับมิตร วันที่ 24 ก.ย. ระหว่างแกนนำนปช.กับส.ส.และเจ้าหน้าที่ระดับสูงกัมพูชา ที่สนามกีฬาโอลิมปิกพนมเปญนั้น

ไม่ยืนยันว่าพ.ต.ท.ทักษิณจะไปร่วมชมการแข่งขัน พร้อมถือโอกาสพบปะสังสรรค์กับกองเชียร์และนักเตะคนเสื้อแดงด้วยหรือไม่

นายกฯ ฮุนเซน อ้างว่าการเดินทางมาของพ.ต.ท. ทักษิณ ได้กำหนดโปรแกรมล่วงหน้าก่อนรู้ว่านายกฯ ยิ่งลักษณ์ จะมาเยือนวันที่ 15 ก.ย.

สรุปคือเป็นการช่วยหักล้างข้อกล่าวหาที่ว่า นายกฯ ยิ่งลักษณ์ มีแผนมาพบปะกับอดีตนายกฯ ทักษิณ ผู้เป็น พี่ชาย

ซึ่งต่อมาไม่นานข้อกล่าวหานี้ก็ได้รับการพิสูจน์ว่า ไม่จริง

เนื่องจากในวันที่นายกฯ ยิ่งลักษณ์ไปเยือนกัมพูชา ตั้งแต่ออกจากสนามบินบน.6 ช่วงบ่าย กระทั่งเดินทางกลับช่วงค่ำวันเดียวกัน

นายกฯ หญิงของไทยก็ตกอยู่ในสายตาสื่อมวลชนไทย-กัมพูชา และสื่อนานาประเทศตลอดทุกฝีก้าว

การเจรจาหัวข้อราชการต่างๆ กับผู้นำกัมพูชา ก็เป็นไปอย่างเปิดเผย ได้รับการถ่ายทอดผ่านสื่อ มวลชนให้ประชาชนคนไทยรับรู้พร้อมกัน

ไม่ว่าผลการเจรจาฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การเปิดศักราชทำมาค้าขายร่วมกัน การแก้ปัญหาข้อพิพาทตามแนวชายแดน

และกรณี "วีระ-ราตรี" ซึ่งจะได้รับการลดโทษเพื่อเร่งให้เข้าหลักเกณฑ์การขอพระราชทานอภัยโทษ

อย่าง ไรก็ตาม ในการเจรจาความระหว่างประเทศซึ่งเกี่ยวพันกับผลประโยชน์ของประเทศและประชาชน สิ่งสำคัญที่สุดคือรัฐบาลจำเป็นต้องดำเนินการอย่างเปิดเผยในทุกกรณี

ไม่ว่าด้วยเหตุใดๆ ต้องไม่ใช่การเจรจาลับโดย เด็ดขาด

เว้น เสียแต่เป็นการเจรจาที่มีผลประโยชน์อย่างอื่นแอบแฝง แล้วพอโดนคู่เจรจาตลบหลังแฉตรงๆ ถึงได้รีบแก้ตัว เอาเรื่องผลประโยชน์ของประเทศ ชาติมาบังหน้า

แต่ก็ไม่ทันเสียแล้ว

ปฏิรูปสำนักงานหลักประกันสุขภาพเพื่อสุขภาพดีถ้วนหน้า

ที่มา ประชาไท

พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีความก้าวหน้ามาก แต่ในช่วงแรกของพระราชบัญญัติ ที่มีบทเฉพาะกาล การจ่ายเงินให้หน่วยบริการสาธารณสุขต้องจ่ายผ่านกระทรวงสาธารณสุข ตัวระบบมีประสิทธิภาพทางการเงินการคลัง น้อยกว่าเมื่อหมดบทเฉพาะกาล

จากแผนภูมิภาพด้านล่างจะเห็นว่าหลังหมดบทเฉพาะกาลในปี 2549(ค.ศ.2006) สัดส่วนของรายจ่ายเพื่อบริการสุขภาพของประเทศเปลี่ยนไปอย่างชัดเจน จากเดิมที่ประชาชน(รายจ่ายเพื่อสุขภาพนอกภาครัฐ)ยังมีสัดส่วนการจ่ายมากกว่า 30% เป็นเหลือเพียง 27%ในปี2550 และเหลือ 25% ในปี 2551 การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในช่วงนี้คือ ในปี 2550 การจ่ายงบกองทุนหลักประกันสุขภาพตรงไปที่หน่วยบริการเป็นส่วนใหญ่ การปรับตัวของสถานพยาบาลหลังได้รับเงินตรง ทำให้ภาระของสถานพยาบาลที่เพิ่มขึ้นจากการเกิดระบบหลักประกันสุขภาพเมื่อปี 2544 เริ่มสอดคล้องกับงบประมาณที่ได้รับ แม้ว่าภาระงานยังคงเพิ่มขึ้นจากการขยายขอบเขตสิทธิประโยชน์ และประชาชนเข้าถึงบริการมากขึ้น แต่ปัญหาทางการเงินการคลังของหน่วยบริการถูกบรรเทาไป โดยเฉพาะในพื้นที่ที่เม็ดเงินของระบบไม่ถูกแทรกแซงจากระบบเดิมมากนัก

อย่างไรก็ตามมีความพยายามที่จะประนีประนอม โดยการใช้กลไกของกระทรวงสาธารณสุขในระดับประเทศและระดับจังหวัด ให้มีส่วนร่วมการจัดการทางการเงินดังกล่าว แต่ผลสุดท้าย การประนีประนอมเหล่านี้ เป็นที่มาของความหย่อนยานในการจัดการการเงินการคลัง และถูกนำมาอ้างว่าเป็นการขาดประสิทธิภาพของสำนักงานหลักประกันสุขภาพ จนนำไปสู่ข้อเสนอการยุบสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ให้เป็นกรมภายใต้กระทรวงสาธารณสุข

ในปัจจุบัน ปัญหาใหญ่ของการจัดการระบบสุขภาพ คือการขาดการปฏิรูปในส่วนของกระทรวงสาธารณสุข สปสช.เกิดจากกระบวนทัศน์ใหม่ทั้งด้านการตอบสนองประชาชนและด้านการจัดการ การใช้เวลาและโอกาสไปกับระบบเดิม ควรจะมีเป้าประสงค์เพื่อประโยชน์ของประชาชนและหน่วยบริการ ความพยายามใหม่ๆจึงควรก้าวให้พ้นกระทรวงสาธารณสุข ภาระกิจการปฏิรูปกระทรวงสาธารณสุขคงต้องมีผู้ดำเนินการ แต่ภาระกิจการปฏิรูปสำนักงานหลักประกันสุขภาพในปัจจุบันและอนาคต เป็นบทบาทที่อยู่ในมือคน สปสช.ที่หากไม่ดำเนินการเอง อนาคตก็ต้องมีผู้เข้ามาดำเนินการ

ข้อเสนอเบื้องต้นของการปฏิรูป

1. ระบบหลักประกันแห่งชาติ

ระบบหลักประกันมีหลายระบบ การยกระดับให้เกิดระบบหลักประกันแห่งชาติ คือการที่องค์กรที่ทำงานด้านหลักประกัน ร่วมมือกันเพื่อจัดตั้งองค์กรกลางเพื่อระบบหลักประกันทุกระบบทั้ง หลักประกันสุขภาพ ประกันสังคม สวัสดิการข้าราชการ การประกันผู้ประสบภัยจากรถ การประกันเอกชนและอื่นๆ หรือในอนาคตก็สามารถรวมถึงความมั่นคงในอาชีพ ที่อยู่อาศัย และสวัสดิการอื่นๆ เป้าหมายในเชิงสากลคือการสร้างระบบ Health and Social protection

2. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเพื่อระบบหลักประกันแห่งชาติ

a. ในระดับประเทศ ควรมีกลไกในระดับที่เหนือกว่าสำนักงานเพื่อนำไปสู่การประสานเพื่อพัฒนาระบบหลักประกันแห่งชาติ

b. ในสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่กรุงเทพ ปรับกระบวนทัศน์สู่การเป็นส่วนหนึ่งของระบบหลักประกันแห่งชาติ และเป็นองค์กรนโยบาย การจัดการคลังรวมหมู่ระดับประเทศ การติดตามประเมินผล การพัฒนานวัตกรรมและสนับสนุนพื้นที่

c. สำนักงานหลักประกันสุขภาพระดับสาขาเขตในปัจจุบัน ยกระดับเป็นองค์กรทางยุทธศาสตร์ในระดับพื้นที่ ดูแลการคลังรวมหมู่ระดับพื้นที่ การติดตามประเมินผลและพัฒนานวัตกรรมระดับเขต ปรับโครงสร้างคณะอนุกรรมการให้มีตัวแทนหน่วยบริการและตัวแทนจากภาคส่วนต่างๆ อย่างสมดุล

d. ปรับเปลี่ยนการจัดการระดับสำนักงานสาขาจังหวัด โดยแยกออกจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ซึ่งหากเป็นระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจริงควรใช้กลไกร่วมกับสำนักงาน ประกันสังคมซึ่งมีอยู่ครอบคลุมทุกจังหวัด (ปัจจุบันสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทำหน้าที่สำนักงานสาขาจังหวัดของสำนักงาน หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ)

ภายใต้พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เมื่อสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จ่ายค่าใช้จ่ายจากกองทุนให้แก่หน่วยบริการ การจัดการซื้อบริการในระดับพื้นที่ ชุมชน ท้องถิ่น จึงควรก้าวให้พ้นระบบเดิม ไปสู่การบริหารการเงินการคลังสุขภาพ ในงบส่วนที่ไม่ได้จ่ายตรงไปยังหน่วยบริการจากส่วนกลาง ไปสู่การคลังรวมหมู่ในระดับพื้นที่ โดยพัฒนาการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน และรวมไปถึงการรวมทุน ระดมทุนและการร่วมจ่ายในระดับดังกล่าว รูปแบบของ Primary care trust – Area health commissioning – Area health office หรือองค์กรที่เหมาะสม ในระดับที่ต้องดูแลประชากร 200,000-500,000 คน โดยไม่ยึดโยงกับระบบราชการแบบเดิม จึงเป็นยุทธศาสตร์สำคัญ

พื้นที่หลังการการปรับเปลี่ยนสาขาจังหวัด สำนักงานสาขาเขตในปัจจุบันเป็นกลไกในระยะเปลี่ยนผ่าน จะต้องทำให้มีการพัฒนากลไกระดับพื้นที่ย่อย ซึ่งสามารถประสานความร่วมมือกับระดับองค์การบริหารส่วนจังหวัด ท้องถิ่นภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพ หน่วยบริการและภาคีเครือข่าย ให้จัดให้มีสาขาพื้นที่ย่อยดังกล่าว โดยสาขาเขตยกระดับไปสู่การเป็นหน่วยบริหารทางยุทธศาสตร์ และสนับสนุนหรือช่วยในการดำเนินการสำหรับพื้นที่ที่ยังขาดความพร้อมในการ พัฒนาสาขา

คงมีมุมมองและความเห็นที่แตกต่างกันอีกมากมาย ในการทบทวนและกำหนดจังหวะก้าวในการพัฒนาสำนักงานเพื่อการปฏิรูประบบหลัก ประกันสุขภาพเพื่อประชาชน อย่างต่อเนื่องต่อไป

บรรษัทระดับโลกหวั่นมาตรการควบคุมเน็ตในไทย ทำธุรกิจชะงัก

ที่มา ประชาไท

เจมส์ ฮุกเวย์ ผู้สื่อข่าวเดอะวอลสตรีทเจอนัล รายงานความกังวลใจของบริษัทที่ประกอบธุรกิจออนไลน์ ต่อการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ของไทย หวั่นชะลอการขยายตัวของธุรกิจ รายละเอียดมีดังนี้

---------
15 กันยายน 2554

กรุงเทพฯ – บริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลกส่งสัญญาณความกังวลต่อมาตรการควบคุมการจราจรทางอิน เทอร์เน็ตในประเทศไทย ซึ่งอาจส่งผลต่อศักยภาพการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ

ตลอดระยะเวลาสี่ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีการประกาศใช้กฎหมายเฝ้าระวังอินเทอร์เน็ต โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อปราบปรามการล่อลวงออนไลน์ และส่งเสริมธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อย่างไรก็ตาม นักวิจารณ์ระบุว่า ร่างกฎหมายดังกล่าวกลับถูกใช้เพื่อสอดส่องเนื้อหาที่เกี่ยวกับการเมืองใน เว็บไซต์ ซึ่งสร้างความตื่นตระหนกให้แก่นักลงทุนและกลุ่มอุตสาหกรรมระดับโลกที่ดำเนิน กิจการในประเทศไทย อาทิ กูเกิล ยาฮู อีเบย์ ฯลฯ

อินเทอร์เน็ตมีอิทธิพลอย่างสำคัญในประเทศไทย ซึ่งมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นฮับการลงทุนนานาชาติ ปัจจุบัน คนไทยจำนวนมากจับจ่ายของใช้ประจำวัน สั่งพิซซ่า และวิจารณ์การรัฐประหาร การจลาจล รวมถึงการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ผ่านทางออนไลน์

อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ภาครัฐของไทยเชื่อว่า คนไทยบางส่วนล้ำเส้นและกระทำการละเมิดขอบเขตของกฎหมายที่ห้ามการวิพากษ์ วิจารณ์สถาบันกษัตริย์และราชวงศ์อย่างเข้มงวด โดยในระยะเวลาไม่กี่ปีที่ผ่าน นักวิเคราะห์และนักกิจกรรมซึ่งสนับสนุนเสรีภาพในการแสดงความเห็น กล่าวว่า มีการดำเนินคดีที่เกี่ยวข้องกับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นเพิ่มขึ้นอย่าง มาก

สำหรับภาคธุรกิจที่ดำเนินการด้านอินเทอร์เน็ตนั้น แสดงความวิตกกังวลเป็นพิเศษต่อกรณีที่ จีรนุช เปรมชัยพร ผู้อำนวยการเว็บไซต์ประชาไท กำลังเผชิญข้อกล่าวหาภายใต้พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์ ด้วยเหตุผลว่า เธอลบข้อความที่ไม่เหมาะสมออกจากกระดานการสนทนาสาธารณะช้าเกินไป หากศาลมีคำพิพากษาโดยมิให้มีการอุทธรณ์ จีรนุชอาจต้องจำคุกเป็นเวลากว่า 20 ปี

ธุรกิจรายอื่นๆ หวาดกลัวว่า พวกเขาอาจถูกดำเนินคดีได้เช่นกัน ซึ่งอาจส่งผลต่อการเติบโตของธุรกิจออนไลน์

“หากมีการสร้างความรับผิดให้แก่ตัวกลางสำหรับความผิดที่เกิดจากผู้ใช้งานอิน เทอร์เน็ต กรณีดังกล่าวถือเป็นก้าวย่างที่อันตรายเป็นอย่างยิ่งและจะส่งผลกระทบระยะยาว ต่อเศรษฐกิจของไทย” สหพันธ์อินเทอร์เน็ตแห่งเอเชียกล่าวในแถลงการณ์ที่ออกสู่สาธารณะก่อนหน้านี้ สำหรับสหพันธ์อินเทอร์เน็ตแห่งเอเชีย หรือ the Asia Internet Coalition เป็นองค์กรซึ่งมีสำนักงานอยู่ที่ฮ่องกง ตั้งขึ้นเมื่อปีที่ผ่านมา โดยอีเบย์ กูเกิล โนเกีย ไมโครซอฟท์ สไกป์ และยาฮู มีจุดประสงค์เพื่อล็อบบี้นโยบายที่เกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ตทั่วเอเชีย เช่น พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ของไทย

“การเปลี่ยนแนวทางการทำงานของอินเทอร์เน็ต โดยปฏิเสธความคุ้มครองของตัวกลาง ซึ่งเป็นสิ่งที่ได้รับการยอมรับทั่วโลกนั้น ย่อมส่งผลกระทบที่เป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อประเทศไทย” สหพันธ์อินเทอร์เน็ตแห่งเอเชียระบุ หากแต่ไม่ได้ประเมินความสูญเสียทางเศรษฐกิจอันอาจเกิดจากกฎหมายที่เข้มงวด นี้ ทั้งนี้ บรรษัทสมาชิกปฏิเสธการให้ความเห็นที่นอกเหนือไปจากเนื้อหาของแถลงการณ์

เหนือสิ่งอื่นใด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ยังกำหนดให้บรรษัทต่างๆ บันทึกการจราจรทางคอมพิวเตอร์เป็นเวลา 90 วัน ทั้งนี้ สาวตรี สุขศรี อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายอินเทอร์เน็ตและสื่อจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้ความเห็นว่า “เป็นการสิ้นเปลืองอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ซึ่งต้องใช้บันทึกข้อมูล ทั้งหมดอย่างมาก”

ขณะเดียวกัน สภาหอการค้าหลายแห่งกำลังจัดบรรยายสรุปความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจออนไลน์ในประเทศไทย

"ช่างน่าขันสิ้นดี ที่กฎหมายซึ่งถูกตั้งขึ้นเพื่อสร้างเสถียรภาพให้กับธุรกรรมออนไลน์ ให้ผลในทางตรงกันข้ามกันอย่างสิ้นเชิง" ไทเรล ฮาเบอร์คอน นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลียในกรุงแคนเบอร์รา ผู้ติดตามประเด็นการใช้อินเทอร์เน็ตในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กล่าว

ในกรณีดังกล่าว สงกรานต์ เตชะณรงค์ โฆษกกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โต้ว่า “กฎหมายเกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์นั้น ต่อต้านกิจกรรมที่ผิดกฎหมาย เช่นการปลอมแปลงบัตรเครดิต ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมธุรกิจออนไลน์”

ความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนของการใช้งานอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยถูกสะท้อนให้ เห็นในหลายประเทศเอเชีย ซึ่งรัฐบาลพยายามจัดการกับจำนวนประชากรออนไลน์ที่มีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่การติดต่อไร้สายและการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านระบบโทรศัพท์มือถือ กำลังขยายตัวขึ้นนั้น เวียดนามและจีนก็ได้เพิ่มความถี่ในการปิดกั้นการเข้าถึงเว็บไซต์สังคมออ นไลน์ อย่างเฟซบุ๊ก และทวิตเตอร์

ไมเคิล มิคาแลค อดีตเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำกรุงฮานอย กล่าวเตือนในปี 2551 ว่า การควบคุมเฟซบุ๊กนั้น อาจขัดขวางสายสัมพันธ์ของธุรกิจที่กำลังผุดขึ้นเป็นดอกเห็ดในเวียดนามและ สหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม ในประเทศ เช่น มาเลเซีย กลับปล่อยให้อินเทอร์เน็ตทำงานอย่างเสรี แต่ใช้การออกกฎหมายการปลุกระดม (Sedition Act) เพื่อควบคุมกิจกรรมออนไลน์แทน

ถึงที่สุดแล้ว ประเทศไทยต้องเผชิญกับผลกระทบของการใช้งานอินเทอร์เน็ตมากกว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครั้งหนึ่ง ประเทศไทยคือดวงประทีปแห่งประชาธิปไตย และยังคงสถานะเป็นหนึ่งในพันธมิตรที่ยาวนานที่สุดของสหรัฐอเมริกาในภูมิภาค อย่างไรก็ตาม ไม่กี่ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยกลับพบเจอกับทศวรรษของการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่ถูกกระตุ้นด้วย ความไม่สงบทางการเมือง

ความสำเร็จของทักษิณ ชินวัตร นักการเมืองสายนโยบายประชานิยมและอดีตนายกรัฐมนตรีของไทย และยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันซึ่งเป็นน้องสาวนั้น ได้เพิ่มความตึงเครียดให้แก่ประเทศ ซึ่งผู้นำทางการทหารและข้าราชการพลเรือนรอยัลลิสต์ถือครองอำนาจมาแต่เดิม ทั้งสองฝ่ายต่างใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อชนะใจปวงชน ในการถกเถียงเรื่องทิศทางประเทศไทย

นักวิเคราะห์กล่าวว่า ในขณะที่ชนชั้นนำทางการเมืองและผู้นำกองทัพต่างแข่งขันกันแสดงความจงรัก ภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ด้วยการฟ้องร้องดำเนินคดีกับผู้ที่โพสต์ความคิดเห็นที่เป็นการวิพากษ์สถาบัน นั้น พระองค์เองกลับเคยมีพระราชดำรัสว่าคนไทยควรจะสามารถอภิปรายเกี่ยวกับบทบาท ของสถาบันฯ ได้ โดยปราศจากความกลัวต่อการถูกจับกุม

ขณะนี้ รัฐบาลของยิ่งลักษณ์กำลังนำประเทศเข้าสู่การดำเนินคดีภายใต้ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ และกฎหมายหมิ่นฯ โดยมีรองนายกรัฐมนตรี เฉลิม อยู่บำรุงนำทีม “วอร์รูม” ซึ่งประกอบไปด้วยสมาชิกจำนวน 40 ราย ทำหน้าที่สอดส่องข้อความต่อต้านสถาบันฯ ในอินเทอร์เน็ต นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ในรัฐบาลยังได้รับการอบรมเพื่อเฝ้าระวังข้อความที่ไม่เหมาะสม ด้วย

ปัจจุบัน สำนักงานอัยการสูงสุดได้ยื่นเรื่องให้อัยการดำเนินคดีที่เกี่ยวข้องกับการ หมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์กว่า 36 คดี ซึ่งมากกว่าคดีที่ส่งศาลในปี 2542 ถึงสองเท่า

จักรภพ เพ็ญแข อดีตโฆษกประจำทำเนียบรัฐบาล หนีออกนอกประเทศเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกดำเนินคดีภายใต้ข้อกล่าวหาการหมิ่น สถาบันฯ ขณะที่นายโจ กอร์ดอน ชาวอเมริกันเชื้อสายไทย ซึ่งถูกดำเนินคดีหลายข้อกล่าวหา หนึ่งในนั้นคือ ฐานโพสต์ลิงก์หนังสือพระราชประวัติต้องห้ามในบล็อกของเขา ซึ่งเขาให้การปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา

ตามรายงานของ iLaw ซึ่งเฝ้าระวังการเซ็นเซอร์อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย พบว่า มีเว็บไซต์กว่า 75,000 แห่งถูกบล็อคในปีที่ผ่านมา โดย 57,000 แห่งในจำนวนนี้ถูกพิจารณาว่ามีเนื้อหาที่ดูหมิ่นสถาบันกษัตริย์ ทั้งนี้ ในปี 2550 ซึ่งเป็นปีที่เสรีภาพออนไลน์ถูกตัดตอนมากที่สุด พบว่า เจ้าหน้าที่รัฐบล็อคแม้กระทั่งเว็บไซต์ยูทูบ ซึ่งมีผู้ใช้บางรายโพสต์วิดีโอล้อเลียนสถาบันฯ

ทั้งนี้ จำนวนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตที่ถูกกล่าวหาว่าละเมิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ โดยการใช้อินเทอร์เน็ตเผยแพร่ความรู้สึกต่อต้านสถาบันฯ ก็เพิ่มมากขึ้นด้วย

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ตำรวจได้เข้าจับกุมนายสุรภักดิ์ (สงวนนามสกุล) ซึ่งเป็นโปรแกรมเมอร์ ด้วยข้อกล่าวหาว่า เขาได้โพสต์ความเห็นที่เป็นการดูหมิ่นสถาบันฯ ในเฟซบุ๊ก ซึ่งเขาให้การปฏิเสธ

“ผู้คนรู้สึกได้ว่าถูกเฝ้ามอง และนี่กำลังเปลี่ยนแปลงมุมมองที่คนมีต่ออินเทอร์เน็ต" ศ.ไทเรล ฮาเบอร์กอนแห่งมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลียกล่าว

................................

แปลและเรียบเรียงจาก Thai Clampdown on Internet Traffic Worries Companies, The Wall Street Journal

'ธาริต' พลิกยันคดีเสียชีวิต 13 ศพ 'ทหารอาจเอี่ยว' ด้านญาติเหยื่อค้านโผทหาร

ที่มา ประชาไท

"ธาริต"พลิกคดีการเสียชีวิต 13 ศพสลายเสื้อแดง ส่งสำนวนให้บช.น.ชันสูตรใหม่ อ้างหารืออัยการหลายรอบ พบคำอ้าง"ทหารเข้าไปปฏิบัติหน้าที่" ด้านญาติเหยื่อสลายการชุมนุมร้อง "รมว.กลาโหม" ค้านโผทหารตั้ง "ดาว์พงษ์-สรรเสริญ" ได้ดี

16 ก.ย. 54 - เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจรายงาน ว่านายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) กล่าวถึงกรณีที่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี สั่งการให้ดีเอสไอทบทวนสำนวนคดีการเสียชีวิตจากเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมือง จำนวน 13 ศพ ว่า ในวันจันทร์ที่ 19 ก.ย. นี้ ดีเอสไอจะนำสำนวนการเสียชีวิตทั้ง 13 ศพ ส่งกลับไปให้ พล.ต.ท.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) เพื่อให้ตำรวจท้องที่เกิดเหตุไต่สวนสาเหตุการเสียชีวิตอีกครั้ง

เนื่องจากก่อนหน้านี้ ในชั้นสอบสวนถึงสาเหตุการเสียชีวิต 89 ศพ ดีเอสไอแยกคดีออกเป็น 3 กลุ่ม คือ การเสียชีวิตจากฝีมือกองกำลังชายชุดดำ กลุ่มแนวร่วมคนเสื้อแดง การเสียชีวิตที่ไม่สามารถสรุปได้เกิดจากฝีมือของคนกลุ่มใด และการเสียชีวิต 13 ศพ ซึ่งมีหลักฐานบ่งชี้ว่าเจ้าหน้าที่ทหารอาจจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเสีย ชีวิต 13 ศพ จึงส่งสำนวนให้ตำรวจท้องที่ไต่สวนสาเหตุการเสียชีวิต หรือทำสำนวนชันสูตรพลิกศพ แต่บช.น. สอบสวนแล้วเห็นต่างจากดีเอสไอ โดยสรุปสำนวนว่า ไม่มีทหารคนใดอ้างว่ามีการเสียชีวิตในจุดใดหรือรายใดเกิดจากการปฏิบัติ หน้าที่ของตน จึงส่งสำนวนกลับมาให้ดีเอสไอ

นายธาริต กล่าวอีกว่า ภายหลังรับมอบสำนวนคืนจากบช.น. ดีเอสไอได้ประชุมร่วมกับพนักงานอัยการหลายครั้ง จนได้ข้อยุติว่า ในสำนวนการเสียชีวิต 13 ศพ มีการกล่าวอ้างของทหารว่า เข้าไปปฏิบัติหน้าที่ คำอ้างตามพฤติการณ์อาจถือเป็นการยอมรับโดยปริยายว่า เป็นการปฏิบัติหน้าที่ ดังนั้นตามขั้นตอนเมื่อมีเจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าไปเกี่ยวข้องกับการเสียชีวิต จะต้องส่งสำนวนกลับไปให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อสรุปสำนวนและส่งให้อัยการยื่นคำร้องขอให้ศาลไต่สวนชี้ขาด

“ดีเอสไอจะส่งสำนวนคดีการเสียชีวิตทั้ง 13 ศพกลับไปทำสำนวนชันสูตรพลิกศพใหม่อีกครั้ง ซึ่งรวมถึงการเสียชีวิตของนายฮิโรยูกิ มูราโมโต้ ช่างภาพสำนักข่าวรอยเตอร์ ชาวญี่ปุ่น ที่ก่อนหน้านี้พล.ต.ท.อัมพร จารุจินดา อดีตผู้บัญชาการสำนักงานพิสูจน์หลักฐาน (สพฐ.) ในฐานะที่ปรึกษาดีเอสไอ ซึ่งตรวจสภาพบาดแผลจากภาพถ่ายแล้วให้ความเห็นว่านายฮิโรยูกิถูกยิงด้วย กระสุนปืนอาก้า ซึ่งไม่ใช่อาวุธประจำกายของเจ้าหน้าที่ทหาร ” อธิบดีดีเอสไอ กล่าว

ญาติเหยื่อสลายการชุมนุมร้อง "รมว.กลาโหม" ค้านโผทหารตั้ง "ดาว์พงษ์-สรรเสริญ" ได้ดี

วันเดียวกัน (16 ก.ย. 54) มติชนออนไลน์รายงาน ว่าที่กระทรวงกลาโหม นายกลิ่น เทียมมิตร อายุ 50 ปี ญาตินายวสันต์ ภู่ทอง ผู้ชุมนุมที่เสียชีวิตบริเวณหน้าโรงเรียนสตรีวิทยา แกนนำผู้เรียกร้องประชาธิปไตย พร้อมญาติผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์สลายการชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2553 และ 19 พฤษภาคม 2553 กว่า 20 คน เดินทางมายื่นหนังสือเปิดผนึกถึง พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เพื่อเรียกร้องขอความเห็นธรรมผ่านทาง พ.อ.หญิง สุริยา สุวรรณประสิทธิ์ หัวหน้าศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์กระทรวงกลาโหม

นายกลิ่นกล่าวว่า การเดินทางมาเรียกร้องครั้งนี้เพื่อต้องการคัดค้านนายทหารบางนายที่เกี่ยว ข้องกับการสลายการชุมนุมครั้งที่ผ่านมา และทนไม่ได้ที่ไม่ได้รับโทษทัณฑ์ แถมยังได้ดิบได้ดี

“พวกผมต้องการความยุติธรรม เรียกร้องแทนผู้เสียชีวิต จึงขอให้ทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ช่วยทบทวนและพิจารณาโผแต่งตั้งโยกย้ายในครั้งนี้ด้วย โดยเฉพาะตำแหน่งของ พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตน์สุวรรณ เสธ.ทบ. และ พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกกองทัพบก” แกนนำเสื้อแดงระบุ

รายงานฉบับ 2 คอป.ยื่น 7 ข้อรัฐบาลสร้างปรองดอง

ที่มา ประชาไท

รายงาน คอป. ฉบับ 2 ส่งถึงรัฐบาลแล้ว ยื่น 7 ข้อเพื่อสร้างปรองดอง อาทิ จัดสถานที่ควบคุมเสื้อแดงที่ไม่ใช่เรือนจำปกติ ให้เยียวยาเหยื่อสถานการณ์การเมืองหลัง รปห.2549 ส่วนการดำเนินการคดีหมิ่นเบื้องสูง ต้องคำนึงถึงความละเอียดอ่อนของคดี ทุกฝ่ายต้องยุติการกล่าวอ้างสถาบันเพื่อประโยชน์ทางการเมือง

19 ก.ย. 54 - เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจรายงาน ว่า นายคณิต ณ นคร ประธานคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ได้เผยแพร่ข้อเสนอแนะของคอป. ที่ส่งถึงนายกรัฐมนตรี ผ่านเว็บไซต์ของคอป. ว่า ก่อนหน้านี้คอป. ได้ส่งข้อเสนอแนะถึงรัฐบาลชุดที่แล้ว โดยขอให้รัฐบาลชุดใหม่นำข้อเสนอแนะที่ผ่านมาร่วมพิจารณาและนำไปสู่การ ปฏิบัติเพื่อสร้างบรรยากาศของความปรองดองตามที่ได้แถลงเป็นนโยบายไว้ด้วย

สำหรับข้อเสนอแนะของคอป.ครั้งล่าสุด ประกอบด้วย 7 ข้อเสนอหลัก คือ 1. รัฐบาลต้องลดความขัดแย้งด้วยการให้ความเป็นธรรมในการดำเนินคดีกับผู้ที่ เกี่ยวข้องทั้งในส่วนของประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐอย่างเท่าเทียม โดยในส่วนของประชาชนต้องให้มีสิทธิเข้าถึงกระบวนการพิสูจน์ตามกฎหมาย ขณะที่ต้องมีการผลักดันให้ผู้ที่ต้องรับผิดชอบทุกฝ่ายที่มีส่วนให้เกิดความ รุนแรงรวมถึงเจ้าหน้าที่ต้องเข้าสู่การวินิจฉัยตามกระบวนการยุติธรรมด้วย

2.ขอให้รัฐบาลควบคุมการใช้อำนาจของพรรคการเมือง กลุ่มการเมือง กลุ่มบุคคล และองค์กรต่าง ๆ ไม่ให้กระทบกับบรรยากาศของความปรองดอง โดยเฉพาะรัฐบาลเองแม้จะชนะการเลือกตั้งแต่ไม่ลืมว่าส่วนหนึ่งของชัยชนะมาจาก การประกาศนโยบายสนับสนุนการปรองดอง ต้องวางตัวเป็นกลางในสายตาของทุกฝ่าย รัฐบาลต้องกำกับการใช้อำนาจด้วยความอดทน จริงใจ

3. เห็นควรพิจารณาดำเนินคดีความผิดตามพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ คดีที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงทางการเมืองทั้งก่อนและหลังรัฐประหาร 19 ก.ย.2549 คดีหมิ่นเบื้องสูง คดีกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ต้องมีการตรวจสอบการแจ้งข้อหาให้ชัดเจน รวมถึงการทบทวนการตั้งข้อหาที่รุนแรงเกินควร และควรสนับสนุนให้มีการปล่อยตัวชั่วคราวตามสิทธิของผู้ต้องหาและจำเลย

โดยพนักงานสอบสวน อัยการยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ต้องหาความมีเหตุหลบหนี ทำลายพยานหลักฐาน หรือเป็นอันตรายต่อสังคมหรือไม่ หากไม่มีเหตุดังกล่าวควรมีการยืนยันเพื่อให้สิทธิได้รับการปล่อยตัว เนื่องจากคดีที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าวเป็นผลสืบเนื่องจากสถานการณ์ทาง การเมือง แต่หากไม่ได้รับการปล่อยตัวรัฐบาลก็ควรจัดสถานที่ในการควบคุมอื่นที่เหมาะสม ที่ไม่ใช่เรือนจำปกติ เช่นสถานที่ที่เคยใช้กับนักโทษคดีการเมืองในอดีต

4. เห็นควรให้มีการชดเชยเยียวยาและฟื้นฟูผู้ได้รับผลกระทบทุกฝ่ายอย่างรวดเร็ว และจริงจัง โดยต้องมีมาตรการพิเศษที่ไม่ยึดติดกับสิทธิที่มีอยู่ตามกรอบกฎหมายและแนว ปฏิบัติของหน่วยงานปกติ กลุ่มเป้าหมายที่ต้องเยียวยาไม่ควรจำกัดแค่ผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ใน ช่วงเม.ย. -พ.ค. 2553 แต่ควรครอบคลุมถึงบุคคลที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรง ที่สืบเนื่องมาจากความขัดแย้งทางการเมืองในช่วงตั้งแต่ก่อนการรัฐประหาร 19 ก.ย. 2549 โดยให้รวมถึงประชาชน เจ้าหน้าที่ของรัฐ สื่อมวลชน ภาคเอกชน โดยการเยียวยาไม่ควรมีเฉพาะตัวเงินแต่รวมถึงการให้โอกาสในการดำเนินชีวิตและ การประกอบอาชีพ

นอกจากนี้รัฐบาลควรจัดตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อทำหน้าที่ในการให้การ เยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบทุกฝ่ายอย่างจริงจัง โดยจัดให้มีองค์กรเฉพาะกิจที่มีประสิทธิภาพ เพื่อเป็นศูนย์กลางในการประสานงานความช่วยเหลือด้านงบประมาณในการเยียวยา อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง

5. ควรเยียวยากลุ่มผู้ที่ถูกดำเนินคดีโดยไม่เป็นธรรมจากการชุมนุม ด้วยการเร่งรัดการประกันสิทธิขั้นพื้นฐานในกระบวนการยุติธรรมผู้ที่เกี่ยว ข้องที่ถูกควบคุมอยู่ในเรือนจำทั่วประเทศ โดยตรวจสอบว่าไม่มีการตั้งข้อกล่าวหาที่รุนแรงเกินควร ปรับบัญชีรายชื่อผู้ต้องขังและจำเลย เพื่อเยียวกลุ่มที่ตกสำรวจ ง จ่ายค่าทดแทนแก่จำเลยที่ศาลมีคาพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้องแล้ว โดยไม่ต้องพิจารณาว่าศาลได้มีคำพิพากษาว่าจาเลยเป็นผู้บริสุทธิ์หรือไม่ ให้ความช่วยเหลือแก่ครอบครัวจำเลยที่ถูกตัดสินลงโทษแล้ว

6. คอป. มีความกังวลต่อสถานการณ์กระทำผิดคดีหมิ่นเบื้องสูงและการกระทำความผิดเกี่ยว กับคอมพิวเตอร์ ที่มีเพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะคดีหมิ่นเบื้องสูงต้องคำนึงถึงความละเอียดอ่อนของคดี ทุกฝ่ายต้องยุติการกล่าวอ้างสถาบันเพื่อประโยชน์ทางการเมือง อัยการซึ่งเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการใช้ดุลพินิจว่าจะดำเนินคดีหรือไม่ ควรใช้ดุลยพินิจสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้องคดี โดยยึดประโยชน์สูงสุดในการปกป้องสถาบัน และขอให้รัฐบาลทบทวนการดาเนินคดีที่นำประเด็นกฎหมายหมิ่นเบื้องสูงมาขยายผล ในช่วงเวลาที่เกิดความขัดแย้งทางการเมือง เช่น การกล่าวหาและโฆษณารณรงค์เรื่องขบวนการ “ล้มเจ้า” ซึ่งอาจมีการตีความกฎหมายที่กว้างขวางจนเกินไปและอาจส่งผลต่อ ความปรองดองในชาติ

7.รัฐบาลควรส่งเสริมให้มีการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเพื่อให้ทุกฝ่ายได้เข้าใจ ถึงสาเหตุของปัญหาความขัดแย้งซึ่งเป็นปรากฏการณ์ของทุกสังคมในห้วงเวลาของ การเปลี่ยนผ่านที่สำคัญ ผลักดันให้มีการเผยแพร่ความรู้ผ่านสื่อต่าง ๆ อย่างเต็มที่

‘เชฟรอน’ ยึดทะเลแสนตารางกิโลเมตร ตั้งแท่นขุด ‘อุบลB12/27’ กลางอ่าวไทย

ที่มา ประชาไท

“เชฟรอน” ยึดทะเลอ่าวไทยแสนตารางกิโลเมตร ตั้งแท่นขุดเจาะแหล่งปิโตรเลียมอุบล B12/27 “ตำรวจน้ำสงขลา” จี้มาตรการกำจัดของเสีย ยันก้อนน้ำมันชายหาดสงขลา เป็นก้อนน้ำมันสุกนอกอ่าวไทย แจงรักษามาตรฐานดูแลมลพิษอย่างเคร่งครัด


แหล่งอุบล แปลงสัมปทานหมายเลข B 12/27 บริเวณอ่าวไทย
ของบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและการผลิต จำกัด

เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2554 ที่ห้องประชุมสงขลา 2 โรงแรมบี.พี.สมิหลาบีช อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา บริษัท ยูไนเต็ดแอนนาลิสต์ แอนด์เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด บริษัท เตตร้าเทค อิงค์ จำกัด ร่วมกับบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและการผลิต จำกัด จัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของส่วนราชการในพื้นที่จังหวัดสงขลา ครั้งที่ 1 โครงการผลิตปิโตรเลียม ของบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด แหล่งอุบล แปลงสัมปทานหมายเลข B 12/27 บริเวณอ่าวไทย โดยมีผู้เข้าร่วมประมาณ 40 คน

นายสุขสรรพ์ จินะณรงค์ ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกร บริษัท เตตร้าเทค อิงค์ จำกัด ชี้แจงว่า โครงการผลิตปิโตรเลียมบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด แหล่งอุบล แปลงสัมปทานหมายเลข B 12/27 บริเวณอ่าวไทย อยู่ห่างจากจังหวัดสงขลาประมาณ 204 กิโลเมตร หรือ 110 ไมล์ทะเล ห่างจังหวัดนครศรีธรรมราช 153 กิโลเมตร หรือ 82 ไมล์ทะเล ห่างจากเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี 190 กิโลเมตร หรือ 105 ไมล์ทะเล และห่างจากเกาะกูด จังหวัดตราด 399 กิโลเมตร หรือ 183 กิโลเมตร

นางศุภรัตน์ โชติสกุลรัตน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม บริษัท ยูไนเต็ดแอนนาลิสต์ แอนด์เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด ชี้แจงว่า จะมีการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และสุขภาพ ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แนวทางการประเมินผลกระทบด้านต่างๆของ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) คู่มือการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) โครงการผลิตปิโตรเลียมในทะเลของสผ. และเงื่อนไขของสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย เป็นต้น

นางวิลาสินี อโมนาศิริ ผู้เชี่ยวชาญด้านสังคมและกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน บริษัท ยูไนเต็ดแอนนาลิสต์ แอนด์เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด ชี้แจงว่า จะมีจัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในจังหวัดสมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม ระยอง ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา และปัตตานี เน้นเฉพาะผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการโดยตรง ที่เป็นชาวประมงพื้นบ้านรอบอ่าวไทย จะรับฟังทั้งผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยโดยไม่เลือกปฏิบัติ

นางวิลาสินี ชี้แจงอีกว่า เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2554 และวันที่ 2 มิถุนายน 2554 ได้จัดประชุมกลุ่มย่อย รับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 1 กับผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้านของอำเภอระโนด สทิงพระ และสิงหนคร จังหวัดสงขลา ในช่วงเดือนกันยายน–ตุลาคม 2554 ให้เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของโครงการ และพร้อมรับฟังข้อเสนอแนะจากสถาบันการศึกษา องค์กรเอกชน และสื่อมวลชนในภาคใต้

“อีกทั้งในช่วงเดือนมีนาคม–เมษายน 2555 จะมีการให้ข้อมูลข่าวสาร มีการสนทนากลุ่มย่อย สัมภาษณ์รายบุคคล และสำรวจความคิดเห็นด้วยแบบสอบถามกับกลุ่มประมงพื้นบ้าน หน่วยงานต่างๆ สถาบันการศึกษา ภาคเอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน สื่อมวลชน คาดว่าประมาณเดือนพฤษภาคม 2555 จะมีการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็น ครั้งที่ 2” นางวิลาสินี กล่าว

พ.ต.ท.ไมตรี นักธรรม สารวัตรตำรวจน้ำสงขลา ถามว่า พื้นที่แปลงสัมปทานของเชฟรอน มีกี่แปลง แปลงหนึ่งเจาะกี่หลุม พื้นที่สัมปทานกว้างเท่าไหร่ และจะกระทบต่อการทำประมงหรือไม่

นายศักดิ์ชัย อมรศักดิ์ชัย วิศวกรสิ่งแวดล้อม บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ชี้แจงว่า เชฟรอนมีพื้นที่สัมปทาน 10 แปลง บางแปลงมีพื้นที่ 1 พันตารางกิโลเมตร บางแปลง 2 หมื่นตารางกิโลเมตร บางแปลง 5 ห้าหมื่นตารางกิโลเมตร มีแท่นขุดเจาะประมาณ 300 แท่น จะมีกันพื้นที่บริเวณแท่นขุดเจาะในรัศมี 500 เมตร ไม่ให้ชาวประมงเข้าไป เพื่อความมั่นคงทางพลังงานของประเทศ

“ถ้าตีตารางจะกินพื้นที่แต่ละแท่นขุดเจาะ 3–4 ตารางกิโลเมตร คูณจำนวนแท่นขุดเจาะ 300 แท่น หากนับพื้นที่รวมๆ แล้ว จะใช้พื้นที่ในอ่าวไทยเป็นแสนตารางกิโลเมตร” นายศักดิ์ชัย ตอบ

พ.ต.ท.ไมตรี ถามอีกว่า กระบวนการในการขุดเจาะมีการดูดหิน และสิ่งอื่นๆ ขึ้นมาเท่าไหร่ มีขนาดเท่าไหร่ นำไปทิ้งที่ไหน ถ้าทิ้งในทะเลเป็นไปได้หรือไม่ที่จะสะสมรวมกันเป็นกองหินขึ้นมา

นายสุขสรรพ์ ชี้แจงว่า บางส่วนจะปล่อยลงสู่ทะเล เศษหินก้อนใหญ่ๆ จะจม ส่วนก้อนเล็กจะกระจัดกระจายไปตามกระแสน้ำ ทั้งหมดจะมีการติดตามตรวจสอบ ส่วนปริมาณเศษหินจะปล่อยใกล้แท่นขุดเจาะใกล้ 20 เซนติเมตร สำหรับเศษหินเล็กๆ ที่กระจายในกระแสน้ำ อาจจะตรวจสอบลำบาก

พ.ต.ท.ไมตรี แสดงความเห็นว่า ถ้าเป็นเช่นนั้น อาจจะทำให้เกิดการตื้นเขินจากการสะสมของเศษหินขนาดใหญ่ ส่วนเศษขนาดเล็กจะกระจายสู่ท้องทะเล และการรั่วไหลของสารเคมีที่ใช้ในกระบวนการขุดเจาะ อาจส่งผลให้สภาพทะเลเกิดการเปลี่ยนแปลง

นายสุขสรรพ์ ชี้แจงอีกว่า กระบวนการขุดเจาะมีถังสำหรับเก็บสารเคมีสังเคราะห์ ถ้าส่งผลกระทบก็ส่งผลกระทบน้อยมาก

พ.ต.ท.ไมตรี ถามอีกว่า ในจังหวัดสงขลามีชาวบ้านพบก้อนเศษน้ำมัน หลังจากนั้นชาวบ้านก็ไปร้องเรียนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต่อมามีการนำมาชั่งกิโล แล้วคำนวณน้ำหนักจ่ายค่าชดเชยให้กับชาวบ้านในบริเวณที่ได้รับผลกระทบ

นายสุขสรรพ์ ชี้แจงด้วยว่า สารเคมีสังเคราะห์ที่ใช้ในกระบวนการขุดเจาะมีราคาสูงมาก จะมีถังกักเก็บนำมาใช้ซ้ำในการขุดเจาะหลายครั้งมาก ในกระบวนการขุดเจาะสารดังกล่าวจะปะปนมากับเศษหิน แล้วจะผ่านกระบวนการแยก และจะทิ้งเศษหินบริเวณใต้แท่นขุดเจาะ ถ้าเป็นเศษหินเล็กๆแจะปลิวออกไปตามกระแสน้ำ 5–6 กิโลเมตร ในระยะเวลา 1–2 วันจะตกตะกอนลงสู่ทะเล ส่วนสารเคมีสังเคราะห์จะนำกลับมาใช้หมุนเวียน

“ที่มีชาวบ้านในจังหวัดสงขลาพบก้อนเศษน้ำมัน เราได้นำไปวิเคราะห์พบว่าไม่ได้เป็นก้อนน้ำมันดิบ แต่เป็นก้อนน้ำมันสุก อีกทั้งยังพบว่าไม่ใช่เศษน้ำมันจากอ่าวไทย เนื่องจากก้อนน้ำมันจะสามารถบอกได้ว่ามาจากที่ไหนเหมือนลายนิ้วมือของคน” นายสุขสรรพ์ กล่าว

พ.ต.ท.ไมตรี ถามด้วยว่า มีของเสีย หรือวัสดุอะไรบ้างที่นำกลับมาเข้าฝั่ง ไม่ว่านำมาใช้ต่อ หรือทำลายทิ้ง

นายสุขสรรพ์ ชี้แจงว่า วัสดุที่ขนกลับเข้าฝั่งจะมีขยะของพนักงาน ซึ่งจะมีระบบการคัดแยกเป็นอย่างดี อะไรสามารถนำกลับไปใช้ใหม่ได้ก็ใช้ซ้ำ ส่วนของเสียอื่นจะมีสีและวัสดุปนเปื้อนน้ำมัน ซึ่งจะมีการจัดการและใช้ระบบการขนส่งที่มีมาตรฐานความปลอดภัยสูงอย่างเคร่ง ครัด โดยจะขึ้นฝั่งที่ท่าเรือประทีป ตรงแหลมแท่น มีบริษัทที่ได้รับอนุญาตนำไปจัดการตามความเหมาะสม

พ.ต.ท.ไมตรี ถามอีกว่า มีบริษัทขุดเจาะน้ำมันใดบ้างที่มีการทิ้งเศษหิน หรือเศษก้อนน้ำมันลงทะเล ตนจะได้สามารถหาวิธีตรวจสอบจับกุม ถ้ามีการถ่ายของเสียลงสู่ทะเล

นายธรณิศวร์ ทรรพนันทน์ ผู้จัดการฝ่ายสนับสนุนโครงการ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ชี้แจงว่า สำหรับเชฟรอนไม่มีแน่นอน ตนคิดว่าทุกบริษัทพยายามทำตามมาตรฐานที่กำหนด เนื่องจากจะมีกระบวนการตรวจสอบติดตามจากกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงานเช้ามาดูแลอย่างเข้มงวด แต่ละบริษัทจะต้องส่งรายงานการกำจัดของเสียให้กรมพลังงานธรรมชาติทุกเดือน สำหรับขั้นตอนการจัดการของเสียของแต่ละบริษัทจะแตกต่างกัน



ประชาไท ตรวจสอบชื่อหน่วยงานให้ถูกต้องด้วยครับ
หน่วยงานราชการที่รับผิดชอบโดยตรง คือ "กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ" ไม่ใช่ กรมพลังงานธรรมชาติ

นักข่าวพลเมือง: 1 นักเรียน 1 แท็บเล็ตสร้างปัญญาหรือสร้างปัญหา?

ที่มา ประชาไท

รายงานพิเศษจาก "ศูนย์ประสานงานสื่อสร้างสุขภาวะเด็กและเยาวชนภาคอีสาน" นานาทัศนะต่อนโยบายแจกแท็บเล็ตให้นักเรียนประถม 1

เมื่อประเทศไทยมีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ไม่ว่าจะมาจากการเลือกตั้งหรือ ไม่ก็ตาม หนึ่งในนโยบายที่ผู้นำประเทศต้องให้ความสำคัญเป็นลำดับต้นๆก็คือเรื่องการ ศึกษา เพราะเป็นสิ่งที่ผู้คนตั้งความหวังเอาไว้ ว่าสิ่งนี้จะทำให้ประเทศชาติหลุดพ้นจากความล้าหลังทุกข์ยากไปได้ หากคนรุ่นใหม่เติบโตขึ้นมาอย่างมีคุณภาพ ฉะนั้นในแต่ละปีรัฐบาลไทยจึงตั้งงบประมาณเพื่อระบบการศึกษาราว1 ใน 5 ของงบประมาณทั้งหมด เช่นเดียวกับผู้นำใหม่อย่าง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่จำเป็นต้องดำเนินโครงการแจกแท็บเล็ตให้กับนักเรียนระดับชั้น ป.1ทุกคนในประเทศตามที่เคยลั่นวาจาไว้เมื่อครั้งหาเสียง ถึงแม้บางคนจะมองว่าเป็นการดำเนินนโยบายแก้บนก็ตาม แต่เป็นที่แน่นอนว่ารัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณไว้เบื้องต้นแล้วจำนวน3 พันล้านบาทเพื่อซื้อเครื่องแท็บเล็ตไม่รวมโปรแกรมเพื่อแจกนำร่องในต้นปีหน้า แน่นอนว่าจะต้องมีทั้งคนที่เห็นด้วยและไม่เปเห็นด้วย

แท็บเล็ตคืออะไร

เชื่อว่าคนค่อนประเทศ โดยเฉพาะผู้มีอายุเป็นเลขหลายหลัก น้อยนักที่จะรู้ว่าแท็บเล็ตคืออะไร เอาไว้ใช้ทำอะไรหรือกระทั่งหน้าตามันเป็นอย่างไร ซึ่งผู้เขียนจะอธิบายอย่างรวบรัดว่า แท็บเล็ต ก็คือเครื่องคอมพิวเตอร์นั่นเอง มันสามารถถ่ายรูป ถ่ายวิดีโอ ดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกมส์บันทึกงานต่างๆได้ จะต่างกันตรงที่มันไม่มีแป้นพิมพ์ ไม่มีเม้าส์ให้คลิก อยากทำอะไรให้กดๆลูบๆถูๆที่จอเอา และที่สำคัญยังสามารถมันใช้มันท่องโลกอินเตอร์เน็ตได้อีกด้วย ซึ่งจากความสามารถที่มีมากมายมหาศาลของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สมัยนี้ ทำให้คนกลุ่มหนึ่งเป็นกังวลว่าจะไม่รู้จักและเท่าทันทันมากพอนั่นก็คือครู ที่จะต้องสอนใช้เครื่องนี้ให้กับเด็กๆ หากเป็นครูรุ่นใหม่วัยมันส์คงไม่เป็นปัญหามากนัก

แต่สำหรับครูอย่าง ระพีพร ชูเสน ครูวิทยาศาสตร์วัยใกล้เกษียณของโรงเรียนบ้านท่าบ่อ ต.แจระแม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี ยอมรับว่า ใจหนึ่งก็ดีใจที่นักเรียนจะได้รับสื่อการเรียนการสอนใหม่ๆแต่ใจหนึ่งก็ไม่ แน่ใจว่าสิ่งนี้จะให้ประโยชน์ต่อเด็กได้แค่ไหน โดยเฉพาะตัวครูเองที่ใช้เครื่องนี้ไม่เป็น และไม่รู้จะเก็บรักษายังไงจึงอยากให้ผู้ออกนโยบายได้มาศึกษาบริบทของ โรงเรียนในแต่ละพื้นที่ด้วยว่าพวกเขาจะมีความสามารถมากน้อยเพียงใด เพื่อที่จะใช้สื่อรูปแบบใหม่นี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ใช้แท็บเล็ตให้ได้ประโยชน์ต้องรักการอ่าน

อีกประเด็นเกี่ยวกับการใช้งานแท็บเล็ตนี้หากอยากได้ประโยชน์ต้องอาศัยการ อ่าน ซึ่งข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติปี2554 พบว่าเด็กไทยมีสถิติการอ่านหนังสือลดลงเฉลี่ยอยู่ที่ 2 เล่มต่อปี ถ้าเทียบกับเด็กสิงคโปร์ที่ว่ากันว่าหัวดีกว่าเราเพราะเขามีสถิติการอ่าน หนังสือสูงถึง50-60 เล่มต่อปี เช่นเดียวกับเด็กเวียดนามที่มีสถิติการอ่านหนังสือสูงถึง 60เล่มต่อปี และที่สำคัญเด็กระดับ ป.1อ่านหนังสือได้เป็นตุเป็นตะแล้วหรือ

นางนิตยา เกลียวทอง ครูระดับชั้น ป.1 โรงเรียนบ้านท่าบ่อ อำเภอเมืองอุบลราชธานี บอกว่า ทุกวันนี้เวลาสอนเด็กๆระดับชั้น ป.1 ต้องคอยประกบเป็นคนๆไป เพื่อสอนให้เขาอ่านตัวหนังสือไปทีละคำ หากจะให้ไปอ่านแบบเอาเรื่องนั้น ไม่มีทาง เช่นเดียวกับ นางสุธาพร ศรีเมือง ครูโรงเรียนเดียวกันบอกว่า ถ้าหากจะแจกให้กับเด็กชั้น ป.1 นั้นไม่เหมาะเพราะเขายังอ่านหนังสือไม่ออก รักษาของไม่เป็น ซึ่งระดับที่เหมาะน่าจะเป็นชั้น ม.1 มากกว่า

คุณเห็นด้วยหรือไม่กับแนวนโยบายนี้

อ.ทรงพล อินทเศียร อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี “มันเป็นนโยบายที่น่าสนใจมาก มันเป็นนวัตกรรมใหม่ๆที่มักจะเกิดขึ้นเวลาที่เรามีรัฐบาลใหม่ แต่ก็ต้องดูอีกทีว่าการออกนโยบายกับการนำไปปฏิบัติใช้นั้น มันจะสอดคล้องกันหรือไม่ เพราะปัจจุบันนี้แม้กระทั่งหนังสือเรียนในบางแห่งก็ยังขาดแคลนอยู่”

เฉลิมพงษ์ อูปแก้ว เจ้าหน้าที่ห้องแล็บคอมพิวเตอร์ ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม “ไม่เห็นด้วย คิดว่าเด็กในระดับนี้น่าจะใช้กระดาษแบบเดิมมากกว่า เพื่อที่จะได้ฝึกทักษะบางอย่าง เช่น การอ่าน การเขียนถ้าหากเปลี่ยนมาใช้สื่อการสอนแบบใหม่ทักษะพวกนี้ก็จะถูกลืมไป”

ผศ.ดร.จิรัฐญา ภูบุญอบ รองคณบดีฝ่ายบริหาร สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมหาวิทยาลัยมหาสารคาม “ยุค นี้เป็นยุคไอที คงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่เด็กจะต้องเจอกับสิ่งเหล่านี้อยู่แล้ว ฉะนั้นหากเราส่งเสริมอย่างสร้างสรรค์เติมเนื้อหาที่เหมาะสมลงไป มันก็จะเป็นประโยชน์สำหรับเด็กซึ่งสำคัญที่พ่อแม่ผู้ปกครองต้องคอยดูแลอย่าง ใกล้ชิดด้วย”

นก นิรมล เมธีสุวกุล พิธีกรรายการทุ่งแสงตะวัน “คิดว่าไม่อยากไปให้ความสำคัญกับนโยบายนี้ เพราะเชื่อว่านโยบายแจกแท็บเล็ตไม่น่าใช่เรื่องหลักของกระทรวงศึกษาธิการ ยังมีเรื่องอื่นๆอีกมากที่จะต้องทำ พี่นกเสนออยากให้ไปดูเรื่องการศึกษาทางเลือกและโรงเรียนขนาดเล็กที่กำลังจะ ถูกยุบ จะแจกหรือไม่แจกไม่ใช่เรื่องสำคัญ”

ชัชวาลย์ ทองดีเลิศ โฮงเฮียนสืบสานล้านนา,การศึกษาทางเลือก “ปรัชญาของการศึกษาคือการพัฒนาความเป็นมนุษย์ทั้งกายใจและจิตวิญญาณ แท็บเล็ทเป็นเพียงแค่ส่วนเสริม แต่จะทำอย่างไรเพื่อไม่ให้สิ่งนี้เป็นตัวสร้างปัญหาเพิ่ม เช่น เด็กติดเกม ติดเทคโนโลยีซึ่งถ้าพวกเขาติดสิ่งเหล่านี้จะทำให้ความคิดสร้างสรรค์ลดลง”

อาจารย์ อังคณา พรมรักษา สาขาการสื่อสารมวลชนมหาวิทยาลัยมหาสารคาม “ส่วนตัวไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง เพราะการพัฒนาหรือสร้างเด็กเล็กๆนี่ยังไม่ควรแจกเครื่องมือ ซึ่งมันยังไม่จำเป็นเลยและประเทศเราก็ไม่ใช้ประเทศร่ำรวย ออกจะยากจนด้วยซ้ำ น่าจะเอาเงินไปทำอย่างอื่นดีกว่า”

เงิน 5 พันล้านถ้าไม่เอาไปซื้อของเล่นให้เด็กแล้วยังมีอะไรที่จำเป็นมากกว่า

ในปีงบประมาณ 2555 กระทรวงศึกษาธิการได้รับงบก้อนใหม่จำนวน 4.1แสนล้านบาทที่ส่วนใหญ่เป็นงบสำหรับเรียนฟรี เป็นเงินกู้เพื่อการศึกษาและใช้สำหรับเคลียร์หนี้ให้ข้าราชการครู มีเพียง 3% เท่านั้นที่เป็นงบสำหรับนำมาพัฒนาระบบการเรียนการสอนให้การศึกษามีมาตรฐาน และส่วนใหญ่งบที่ว่าก็ลงไปยังโรงเรียนขนาดใหญ่ และมีศักยภาพแล้วตามสัดส่วนโครงสร้างการบริหาร แต่สำหรับโรงเรียนขนาดเล็กตามชายขอบชนบทที่ห่างไกลยังขาดแคลนเหมือนเดิม บางแห่งยังมีระบบนักเรียนสองคนต่อหนังสือ 1เล่มอยู่ อาคารเรียนหลังคาผุ โต๊ะเก้าอี้ชำรุด และโรงเรียนด้อยโอกาสเหล่านี้ ส่วนหนึ่งกำลังจะถูกยุบ

ซึ่งจากการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน ทุกคนที่ถูกถามประเด็นนี้จะตอบเกือบตรงกันว่า ยังมีสิ่งจำเป็นอย่างอื่นมากกว่าแท็บเล็ต เช่น การช่วยเหลือโรงเรียนห่างไกลให้ได้มีอุปกรณ์การศึกษาที่ทั่วถึงและทัดเทียม กับเด็กในเมือง โรงเรียนบางแห่งกำลังจะถูกยุบเพราะมีจำนวนนักเรียนน้อย เพราะอะไร เพราะมันขาดแคลนส่วนใหญ่จึงต้องย้ายไปในที่ที่มันครบและพร้อมกว่า

ข้อมูลจากสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ได้ประชุมการศึกษาวิจัยรูปแบบการพัฒนาการเรียนรู้โดยผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ พก พา หรือ One Laptop per Child จากผลวิจัยการนำร่องเครื่องคอมพิวเตอร์พกพาในโรงเรียน4 ภูมิภาค ระดับ ป.3-6 พบว่าพฤติกรรมผู้เรียนต่อคอมพิวเตอร์พกพานั้น เด็ก มีความตื่นตัวจากคอมพิวเตอร์พกพาไม่ยืนยาว ซึ่งต้องอาศัยโรงเรียนและครูทำงานกับคอมพิวเตอร์พกพาให้มากขึ้น สำหรับเนื้อหาหลักสูตรและการประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนจากการใช้ เครื่องคอมพิวเตอร์พกพา พบว่า ต้องมีการสร้างกิจกรรมเสริมศักยภาพของผู้เรียนแต่ละคนแบบองค์รวม ไม่เน้นด้านวิชาการ แต่มุ่งให้ผู้เรียนคิดเป็น แก้ปัญหาเป็น

โครงการแจกแท็บเล็ตเริ่มเป็นรูปเป็นร่างซึ่งคาดว่าต้นปีหน้าจะเริ่มนำ ร่องแจกเด็กระดับชั้นป.1 ก่อนและเมื่อครอบคลุมทั้งโครงการเด็กนักเรียนในระบบการศึกษาทุกคนจะได้รับ แจก แต่ยังไม่รู้ว่าถึงชั้นไหนแต่ที่แน่ๆต้องเตรียมควักกระเป๋าอีกไม่ต่ำกว่า2 หมื่นล้านแน่ และอีกคำถามที่คนสนใจว่าแท็บเล็ตที่เอามาแจกเป็นของระดับเดียวกับ ไอแพ็ด หรือแท็บเล็ตยี่ห้อดังๆหรือเปล่า แน่นอนว่ามันไม่ใช่เพราะน่าจะเป็นของราคาถูกจากเมืองจีนที่ผู้เชี่ยวชาญฟัน ธงว่าอยู่ได้ไม่เกิน3 เดือนแน่นอน แสดงว่าต้องเสียเงินเปล่าเช่นนั้นหรือ ไปไปมามาล่าสุดรัฐบาลบอกไม่แจกให้ตัวเด็กแล้ว แต่จะแจกให้โรงเรียนแทนและแท็บเล็ตก็ยังไม่รู้ว่าจะเอามาจากไหนเพราะอาจให้ คณะวิศวกรรมของมหาวิทยาลัยในไทยประกอบหรือไม่ก็มอบหมายให้ทางฝั่งสายอาชีวะ ศึกษาทำให้ก็ได้ เราคงต้องรอชมว่าเขาจะทำอย่างไรต่อไป และหวังว่าคงไม่ใช่นโยบายแก้บนอย่างที่เขาว่านะท่านนายกฯ

สรุปแล้วก็คือพวกคุณไม่อยากให้แจก.....แต่อยากให้ไปช่วยโรงงเรียนที่ ขาดแคลนอุปกรณ์การสอนก่อน การบริหารงานเนี่ยมันทำได้แค่ชั้นเดียวเชิงเดียวเองเหรอครับ....ทำควบคู่กัน ไม่ได้เลยใช่มั๊ยครับ ไม่อย่างงั้นมันก็จะเข้าตำรา...อย่าพึ่งลดภาษีสรรพสามิตรถคันแรกเลยต้องรอ ให้คนไทยมีฐานะดีทุกคนเสียก่อน......อย่างนี้อีกร้อยชาติก็ไม่ได้ทำแหงๆ....

คนเรา...โรงเรียนของเรา...สังคมของเรา มันมีโอกาสไม่เท่ากันทั้งประเทศหรอกครับ(ทั่วโลกก็เป็นแบบนี้) นโยบายนี้ก็คงทำให้โรงเรียนที่เขามีโอกาสมากกว่าได้ประโยชน์ล่วงหน้าไปก่อน เพื่อพัฒนาเด็กที่มีโอกาสดีกว่าได้เพิ่มขีดความสามารถเพื่อจะได้สามารถแข่ง ขันกับต่างชาติได้....ส่วนโรงเรียนที่มีโอกาสน้อยกว่าก็ค่อยๆก้าวตามไปตาม อัตภาพอย่างน้อยก็เป็นการพัฒนาคนรุ่นใหม่ของสังคมในชนบทครับ....

ศูนย์ประสานงานสื่อสร้างสุขภาวะเด็กและเยาวชนภาคอีสาน (ศสอ.)

ที่มา ประชาไท

รายงานพิเศษจาก "ศูนย์ประสานงานสื่อสร้างสุขภาวะเด็กและเยาวชนภาคอีสาน" นานาทัศนะต่อนโยบายแจกแท็บเล็ตให้นักเรียนประถม 1

เมื่อประเทศไทยมีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ไม่ว่าจะมาจากการเลือกตั้งหรือ ไม่ก็ตาม หนึ่งในนโยบายที่ผู้นำประเทศต้องให้ความสำคัญเป็นลำดับต้นๆก็คือเรื่องการ ศึกษา เพราะเป็นสิ่งที่ผู้คนตั้งความหวังเอาไว้ ว่าสิ่งนี้จะทำให้ประเทศชาติหลุดพ้นจากความล้าหลังทุกข์ยากไปได้ หากคนรุ่นใหม่เติบโตขึ้นมาอย่างมีคุณภาพ ฉะนั้นในแต่ละปีรัฐบาลไทยจึงตั้งงบประมาณเพื่อระบบการศึกษาราว1 ใน 5 ของงบประมาณทั้งหมด เช่นเดียวกับผู้นำใหม่อย่าง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่จำเป็นต้องดำเนินโครงการแจกแท็บเล็ตให้กับนักเรียนระดับชั้น ป.1ทุกคนในประเทศตามที่เคยลั่นวาจาไว้เมื่อครั้งหาเสียง ถึงแม้บางคนจะมองว่าเป็นการดำเนินนโยบายแก้บนก็ตาม แต่เป็นที่แน่นอนว่ารัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณไว้เบื้องต้นแล้วจำนวน3 พันล้านบาทเพื่อซื้อเครื่องแท็บเล็ตไม่รวมโปรแกรมเพื่อแจกนำร่องในต้นปีหน้า แน่นอนว่าจะต้องมีทั้งคนที่เห็นด้วยและไม่เปเห็นด้วย

แท็บเล็ตคืออะไร

เชื่อว่าคนค่อนประเทศ โดยเฉพาะผู้มีอายุเป็นเลขหลายหลัก น้อยนักที่จะรู้ว่าแท็บเล็ตคืออะไร เอาไว้ใช้ทำอะไรหรือกระทั่งหน้าตามันเป็นอย่างไร ซึ่งผู้เขียนจะอธิบายอย่างรวบรัดว่า แท็บเล็ต ก็คือเครื่องคอมพิวเตอร์นั่นเอง มันสามารถถ่ายรูป ถ่ายวิดีโอ ดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกมส์บันทึกงานต่างๆได้ จะต่างกันตรงที่มันไม่มีแป้นพิมพ์ ไม่มีเม้าส์ให้คลิก อยากทำอะไรให้กดๆลูบๆถูๆที่จอเอา และที่สำคัญยังสามารถมันใช้มันท่องโลกอินเตอร์เน็ตได้อีกด้วย ซึ่งจากความสามารถที่มีมากมายมหาศาลของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สมัยนี้ ทำให้คนกลุ่มหนึ่งเป็นกังวลว่าจะไม่รู้จักและเท่าทันทันมากพอนั่นก็คือครู ที่จะต้องสอนใช้เครื่องนี้ให้กับเด็กๆ หากเป็นครูรุ่นใหม่วัยมันส์คงไม่เป็นปัญหามากนัก

แต่สำหรับครูอย่าง ระพีพร ชูเสน ครูวิทยาศาสตร์วัยใกล้เกษียณของโรงเรียนบ้านท่าบ่อ ต.แจระแม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี ยอมรับว่า ใจหนึ่งก็ดีใจที่นักเรียนจะได้รับสื่อการเรียนการสอนใหม่ๆแต่ใจหนึ่งก็ไม่ แน่ใจว่าสิ่งนี้จะให้ประโยชน์ต่อเด็กได้แค่ไหน โดยเฉพาะตัวครูเองที่ใช้เครื่องนี้ไม่เป็น และไม่รู้จะเก็บรักษายังไงจึงอยากให้ผู้ออกนโยบายได้มาศึกษาบริบทของ โรงเรียนในแต่ละพื้นที่ด้วยว่าพวกเขาจะมีความสามารถมากน้อยเพียงใด เพื่อที่จะใช้สื่อรูปแบบใหม่นี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ใช้แท็บเล็ตให้ได้ประโยชน์ต้องรักการอ่าน

อีกประเด็นเกี่ยวกับการใช้งานแท็บเล็ตนี้หากอยากได้ประโยชน์ต้องอาศัยการ อ่าน ซึ่งข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติปี2554 พบว่าเด็กไทยมีสถิติการอ่านหนังสือลดลงเฉลี่ยอยู่ที่ 2 เล่มต่อปี ถ้าเทียบกับเด็กสิงคโปร์ที่ว่ากันว่าหัวดีกว่าเราเพราะเขามีสถิติการอ่าน หนังสือสูงถึง50-60 เล่มต่อปี เช่นเดียวกับเด็กเวียดนามที่มีสถิติการอ่านหนังสือสูงถึง 60เล่มต่อปี และที่สำคัญเด็กระดับ ป.1อ่านหนังสือได้เป็นตุเป็นตะแล้วหรือ

นางนิตยา เกลียวทอง ครูระดับชั้น ป.1 โรงเรียนบ้านท่าบ่อ อำเภอเมืองอุบลราชธานี บอกว่า ทุกวันนี้เวลาสอนเด็กๆระดับชั้น ป.1 ต้องคอยประกบเป็นคนๆไป เพื่อสอนให้เขาอ่านตัวหนังสือไปทีละคำ หากจะให้ไปอ่านแบบเอาเรื่องนั้น ไม่มีทาง เช่นเดียวกับ นางสุธาพร ศรีเมือง ครูโรงเรียนเดียวกันบอกว่า ถ้าหากจะแจกให้กับเด็กชั้น ป.1 นั้นไม่เหมาะเพราะเขายังอ่านหนังสือไม่ออก รักษาของไม่เป็น ซึ่งระดับที่เหมาะน่าจะเป็นชั้น ม.1 มากกว่า

คุณเห็นด้วยหรือไม่กับแนวนโยบายนี้

อ.ทรงพล อินทเศียร อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี “มันเป็นนโยบายที่น่าสนใจมาก มันเป็นนวัตกรรมใหม่ๆที่มักจะเกิดขึ้นเวลาที่เรามีรัฐบาลใหม่ แต่ก็ต้องดูอีกทีว่าการออกนโยบายกับการนำไปปฏิบัติใช้นั้น มันจะสอดคล้องกันหรือไม่ เพราะปัจจุบันนี้แม้กระทั่งหนังสือเรียนในบางแห่งก็ยังขาดแคลนอยู่”

เฉลิมพงษ์ อูปแก้ว เจ้าหน้าที่ห้องแล็บคอมพิวเตอร์ ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม “ไม่เห็นด้วย คิดว่าเด็กในระดับนี้น่าจะใช้กระดาษแบบเดิมมากกว่า เพื่อที่จะได้ฝึกทักษะบางอย่าง เช่น การอ่าน การเขียนถ้าหากเปลี่ยนมาใช้สื่อการสอนแบบใหม่ทักษะพวกนี้ก็จะถูกลืมไป”

ผศ.ดร.จิรัฐญา ภูบุญอบ รองคณบดีฝ่ายบริหาร สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมหาวิทยาลัยมหาสารคาม “ยุค นี้เป็นยุคไอที คงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่เด็กจะต้องเจอกับสิ่งเหล่านี้อยู่แล้ว ฉะนั้นหากเราส่งเสริมอย่างสร้างสรรค์เติมเนื้อหาที่เหมาะสมลงไป มันก็จะเป็นประโยชน์สำหรับเด็กซึ่งสำคัญที่พ่อแม่ผู้ปกครองต้องคอยดูแลอย่าง ใกล้ชิดด้วย”

นก นิรมล เมธีสุวกุล พิธีกรรายการทุ่งแสงตะวัน “คิดว่าไม่อยากไปให้ความสำคัญกับนโยบายนี้ เพราะเชื่อว่านโยบายแจกแท็บเล็ตไม่น่าใช่เรื่องหลักของกระทรวงศึกษาธิการ ยังมีเรื่องอื่นๆอีกมากที่จะต้องทำ พี่นกเสนออยากให้ไปดูเรื่องการศึกษาทางเลือกและโรงเรียนขนาดเล็กที่กำลังจะ ถูกยุบ จะแจกหรือไม่แจกไม่ใช่เรื่องสำคัญ”

ชัชวาลย์ ทองดีเลิศ โฮงเฮียนสืบสานล้านนา,การศึกษาทางเลือก “ปรัชญาของการศึกษาคือการพัฒนาความเป็นมนุษย์ทั้งกายใจและจิตวิญญาณ แท็บเล็ทเป็นเพียงแค่ส่วนเสริม แต่จะทำอย่างไรเพื่อไม่ให้สิ่งนี้เป็นตัวสร้างปัญหาเพิ่ม เช่น เด็กติดเกม ติดเทคโนโลยีซึ่งถ้าพวกเขาติดสิ่งเหล่านี้จะทำให้ความคิดสร้างสรรค์ลดลง”

อาจารย์ อังคณา พรมรักษา สาขาการสื่อสารมวลชนมหาวิทยาลัยมหาสารคาม “ส่วนตัวไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง เพราะการพัฒนาหรือสร้างเด็กเล็กๆนี่ยังไม่ควรแจกเครื่องมือ ซึ่งมันยังไม่จำเป็นเลยและประเทศเราก็ไม่ใช้ประเทศร่ำรวย ออกจะยากจนด้วยซ้ำ น่าจะเอาเงินไปทำอย่างอื่นดีกว่า”

เงิน 5 พันล้านถ้าไม่เอาไปซื้อของเล่นให้เด็กแล้วยังมีอะไรที่จำเป็นมากกว่า

ในปีงบประมาณ 2555 กระทรวงศึกษาธิการได้รับงบก้อนใหม่จำนวน 4.1แสนล้านบาทที่ส่วนใหญ่เป็นงบสำหรับเรียนฟรี เป็นเงินกู้เพื่อการศึกษาและใช้สำหรับเคลียร์หนี้ให้ข้าราชการครู มีเพียง 3% เท่านั้นที่เป็นงบสำหรับนำมาพัฒนาระบบการเรียนการสอนให้การศึกษามีมาตรฐาน และส่วนใหญ่งบที่ว่าก็ลงไปยังโรงเรียนขนาดใหญ่ และมีศักยภาพแล้วตามสัดส่วนโครงสร้างการบริหาร แต่สำหรับโรงเรียนขนาดเล็กตามชายขอบชนบทที่ห่างไกลยังขาดแคลนเหมือนเดิม บางแห่งยังมีระบบนักเรียนสองคนต่อหนังสือ 1เล่มอยู่ อาคารเรียนหลังคาผุ โต๊ะเก้าอี้ชำรุด และโรงเรียนด้อยโอกาสเหล่านี้ ส่วนหนึ่งกำลังจะถูกยุบ

ซึ่งจากการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน ทุกคนที่ถูกถามประเด็นนี้จะตอบเกือบตรงกันว่า ยังมีสิ่งจำเป็นอย่างอื่นมากกว่าแท็บเล็ต เช่น การช่วยเหลือโรงเรียนห่างไกลให้ได้มีอุปกรณ์การศึกษาที่ทั่วถึงและทัดเทียม กับเด็กในเมือง โรงเรียนบางแห่งกำลังจะถูกยุบเพราะมีจำนวนนักเรียนน้อย เพราะอะไร เพราะมันขาดแคลนส่วนใหญ่จึงต้องย้ายไปในที่ที่มันครบและพร้อมกว่า

ข้อมูลจากสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ได้ประชุมการศึกษาวิจัยรูปแบบการพัฒนาการเรียนรู้โดยผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ พก พา หรือ One Laptop per Child จากผลวิจัยการนำร่องเครื่องคอมพิวเตอร์พกพาในโรงเรียน4 ภูมิภาค ระดับ ป.3-6 พบว่าพฤติกรรมผู้เรียนต่อคอมพิวเตอร์พกพานั้น เด็ก มีความตื่นตัวจากคอมพิวเตอร์พกพาไม่ยืนยาว ซึ่งต้องอาศัยโรงเรียนและครูทำงานกับคอมพิวเตอร์พกพาให้มากขึ้น สำหรับเนื้อหาหลักสูตรและการประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนจากการใช้ เครื่องคอมพิวเตอร์พกพา พบว่า ต้องมีการสร้างกิจกรรมเสริมศักยภาพของผู้เรียนแต่ละคนแบบองค์รวม ไม่เน้นด้านวิชาการ แต่มุ่งให้ผู้เรียนคิดเป็น แก้ปัญหาเป็น

โครงการแจกแท็บเล็ตเริ่มเป็นรูปเป็นร่างซึ่งคาดว่าต้นปีหน้าจะเริ่มนำ ร่องแจกเด็กระดับชั้นป.1 ก่อนและเมื่อครอบคลุมทั้งโครงการเด็กนักเรียนในระบบการศึกษาทุกคนจะได้รับ แจก แต่ยังไม่รู้ว่าถึงชั้นไหนแต่ที่แน่ๆต้องเตรียมควักกระเป๋าอีกไม่ต่ำกว่า2 หมื่นล้านแน่ และอีกคำถามที่คนสนใจว่าแท็บเล็ตที่เอามาแจกเป็นของระดับเดียวกับ ไอแพ็ด หรือแท็บเล็ตยี่ห้อดังๆหรือเปล่า แน่นอนว่ามันไม่ใช่เพราะน่าจะเป็นของราคาถูกจากเมืองจีนที่ผู้เชี่ยวชาญฟัน ธงว่าอยู่ได้ไม่เกิน3 เดือนแน่นอน แสดงว่าต้องเสียเงินเปล่าเช่นนั้นหรือ ไปไปมามาล่าสุดรัฐบาลบอกไม่แจกให้ตัวเด็กแล้ว แต่จะแจกให้โรงเรียนแทนและแท็บเล็ตก็ยังไม่รู้ว่าจะเอามาจากไหนเพราะอาจให้ คณะวิศวกรรมของมหาวิทยาลัยในไทยประกอบหรือไม่ก็มอบหมายให้ทางฝั่งสายอาชีวะ ศึกษาทำให้ก็ได้ เราคงต้องรอชมว่าเขาจะทำอย่างไรต่อไป และหวังว่าคงไม่ใช่นโยบายแก้บนอย่างที่เขาว่านะท่านนายกฯ

เครือข่ายชาวบ้านปักษ์ใต้เดินหน้าทำแผนพัฒนาภาคประชาชนสู้รัฐ

ที่มา ประชาไท

เครือข่ายประชาชนภาคใต้ ประกาศเดินหน้าพัฒนาศักยภาพชุมชน ฝ่าสารพัดปัญหามุ่งสู่ชุมชนเข้มแข็ง เตรียมทำแผนพัฒนาที่คนใต้ต้องการ สู้แผนพัฒนาภาครัฐ ดับฝันเมกะโปรเจ็กต์ จัดกระบวนการสื่อสารชุมชน พร้อมตอบโต้สร้างความยอมรับ

เมื่อเวลา 13.00–14.00 น. วันที่ 14 กันยายน 2554 ที่ห้องประชุมปาริชาติ มหาวิทยาลัยทักษิณ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา โครงการประชุมวิชาการระดับชาติ “ชุมคน ชุมชน คนใต้ ครั้งที่ 3 เสียงจากผู้ไร้สิทธิชายแดนใต้” (Voices of the Voiceless : from the southernmost People in Thailand) ซึ่งจัดโดยโครงการจัดตั้งศูนย์อิสลามศึกษาเพื่อการบูรณาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ มีการสรุปภาพได้ภาพรวมจากเวทีสมัชชาประชาชน “ว่าด้วยเสียงจากผู้ไร้สิทธิ” โดยนายนฤทธิ์ ดวงสุวรรณ จากเครือข่ายลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา


นฤทธิ์ ดวงสุวรรณ

นายนฤทธิ์ สรุปว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นกับชุมชนมี 2 ส่วนคือ กลุ่มผู้กระทำ และกลุ่มผู้ถูกกระทำ 2 กลุ่มนี้มีมุมมองต่างกัน เจ้าของปัญหาคือ ชุมชนมีแนวคิดต้องการจัดการตนเอง โดยใช้พื้นที่และเครือข่าย รวมทั้งยอมรับความหลากหลายทั้งภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม ในการทำงานร่วมกัน ทุกกลุ่มมองว่าวิถีชีวิตอิงอยู่กับฐานทรัพยากรทุกประเภทในภาคใต้ ในการดำรงชีวิตจึงต้องใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ใช้ศาสนาและวัฒนธรรมเป็นหลัก

นายนฤทธิ์ กล่าวถึงปัญหาจากกลุ่มผู้กระทำว่า ส่งผลกระทบต่อเครือข่ายต่างๆ จากหลักคิดต้องการพัฒนาให้เป็นเอกภาพหนึ่งเดียว ก่อให้เกิดแรงต้าน เมื่อพูดแผนพัฒนาต่างๆ แนวคิดเรื่องความเจริญ ความทันสมัย ทุนไร้พรมแดนยังคงครอบงำ และมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ส่วนความรู้สึกของผู้ถูกกระทำ หรือการใช้อำนาจพิเศษจัดการกับผู้ขัดขวางความเจริญ ผู้ที่คิดต่าง การกีดกันการเข้าถึงความช่วยเหลือสนับสนุน ซึ่งเกิดจากมุมมองการพัฒนาที่ต่างกัน ส่งผลให้เกิดการกดดันชนกลุ่มน้อยที่ถูกมองว่า เป็นผู้ขัดขวางความเจริญ โดยมองว่าไม่ใช่คนไทย มีการเลือกปฏิบัติโดยไม่แยกแยะ

นายนฤทธิ์ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ยังมีปัญหานโยบายจากส่วนกลางส่งตรงถึงพื้นที่ ปากบารา ทะเลสาบสงขลา ที่อยู่อาศัยของชาวเล คนพลัดถิ่น พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการพัฒนาอุตสาหกรรม และปัญหาความอยุติธรรมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ขณะที่ผลกระทบจากภัยพิบัตินับเป็นอีกสาเหตุ ที่ทำให้ที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยหลุดมือไปจากชาวบ้านในชุมชน นายทุนฉวยโอกาสออกเอกสารสิทธิ์ทับที่ดินชาวบ้าน ขณะที่ปัญหาจาหภัยพิบัติโดยตรง เกิดจากไม่มีการเตือนภัยล่วงหน้า ความช่วยเหลือเข้าไปถึงพื้นที่ล่าช้า ไม่ทั่วถึง เล่นพรรคเล่นพวก

นายนฤทธิ์ กล่าวต่อไปว่า สถานการณ์ทั้งหมด ส่งผลให้ฐานทรัพยากรของคนใต้เสื่อมโทรมลงอย่างรุนแรง ปัญหาที่พบคือ ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ถูกจำกัดพื้นที่ทางวัฒนธรรมรัฐไม่ยินยอมให้แสดงออก การถูกเบียดเบียนแหล่งทำกินของชาวเล ความไม่เสมอภาคที่คนไทยพลัดถิ่นได้รับ นำมาสู่การเคลื่อนไหวของแต่ละกลุ่ม จนถูกกล่าวหาเป็นพวกหัวรุนแรง

“จากความขัดแย้งแบ่งแยกที่ซับซ้อนมากขึ้น ทำให้ความเป็นอยู่เปลี่ยนไปอย่างชัดเจน นอกจากความขัดแย้งระหว่างชุมชนกับชุมชนจะเกิดขึ้นแล้ว ยังเกิดความขัดแย้งระหว่างชุมชนกับเอกชน ความขัดแย้งระหว่างชุมชนกับหน่วยงานของรัฐ ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มนักวิชาการที่ศึกษาโครงการขนาดใหญ่กับกลุ่มผู้ได้ รับผลกระทบ” นายนฤทธิ์ กล่าว

นายนฤทธิ์ กล่าวอีกว่า สถานการณ์ของกลุ่มสตรีก็ซับซ้อนเช่นกัน โดยเฉพาะความเท่าเทียมทางวัฒนธรรม ที่นำมาสู่การกดขี่ผู้หญิง เช่น มีภรรยา 4 แล้วไม่เลี้ยงดู เมื่อมีปัญหาก็หย่าร้างกัน ส่งผลให้เกิดปัญหาการศึกษา เศรษฐกิจ การดูแลบุตร ครอบครัวที่ไม่มั่นคง ซึ่งมีผลกระทบต่ออนาคตของชาติ ขณะที่คุณภาพในการจัดการด้านการศึกษาด้อยลง ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาลดลง เด็กถูกจัดการให้เหมือนกันทั่วประเทศ เด็กในโรงเรียนตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงและความแตกแยก

นายนฤทธิ์ กล่าวด้วยว่า เรื่องทั้งหมดต้องการการพัฒนาแกนนำ เพิ่มศักยภาพในการจัดการครอบครัวให้กับกลุ่มสตรี ต้องสร้างความมั่นใจที่จะลุกขึ้นมายืนหยัดและต่อสู้กับปัญหา ขณะที่รัฐใช้ความกลัวเป็นเครื่องมือจัดการคน ชุมชนต้องใช้ความกลัวเป็นโอกาสในการยืนหยัดต่อสู้กับปัญหา ต้องมีกระบวนการจัดการกลุ่มและเครือข่าย ทั้งด้านทุน การศึกษา สร้างความเข้มแข็ง และการรับมือภัยพิบัติ พร้อมกันไปกับการเคลื่อนไหวเพื่อปกป้องสิทธิ์ ที่กระทบจากแผนพัฒนา จากการจัดการที่ดิน และการรุกเข้าของธุรกิจการท่องเที่ยว ที่กระทบต่อชาวเลโดยตรง

“สำหรับการเคลื่อนไหวเชิงนโยบายของภาคใต้ ตอนนี้มีการนำเสนอเแผนพัฒนาภาคใต้ที่คนภาคใต้ต้องการ การเสนอรูปแบบการจัดการการศึกษาที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของตัว เอง มีกองทุนพัฒนาสตรี การพัฒนาสร้างความมั่นคงความยั่งยืนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ก็เริ่มเห็นเป็นรูปธรรมบ้างแล้ว

ภายใต้การขับเคลื่อนกิจกรรมทั้งหมด ประเด็นสำคัญอยู่ที่การพัฒนาศักยภาพของคน การเรียนรู้ประสบการณ์ทั้งด้านลึก และด้านกว้างข้ามพื้นที่ ข้ามประเด็น ข้ามภาค” นายนฤทธิ์ กล่าว

นายนฤทธิ์ กล่าวต่อไปว่า อีกส่วนที่สำคัญคือ การจัดกระบวนการโต้ตอบของชุมชน การจัดการตนเองให้เป็นที่ปรากฏ ทำให้กิจกรรมต่างๆ ในระดับพื้นที่มีความยั่งยืน มีการขับเคลื่อนเชิงรุกไปถึงทำเนียบรัฐบาล ไปถึงศูนย์กลางอำนาจ ซึ่งจะต้องเพิ่มพื้นที่สื่อสารให้กับภาคพลเมือง ทั้งในระดับพื้นที่ ระดับเครือข่าย และระดับประเทศ

นายนฤทธิ์ สรุปถึงความก้าวหน้าของชุมชนว่า ที่เห็นชัดเจนคือรูปแบบเศรษฐกิจพอเพียง ที่นำหน้าสังคมไปแล้ว แต่ยังไม่แสดงออกมาให้เห็นชัดๆ เป็นการสร้างความพร้อมที่จะเผชิญหน้ากับเสรีอาเซียน ในมิติที่มากกว่าเศรษฐกิจขณะที่ศักยภาพด้านการศึกษาของคนรุ่นใหม่ดีขึ้น อย่างเห็นได้ชัด มีรูปแบบการศึกษาหลายรูปแบบ ตั้งแต่โรงเรียนตาดีกา ปอเนาะ การจัดการศึกษาของรัฐ ความก้าวหน้าที่น่าสนใจคือ การจัดการภัยพิบัติด้วยตัวเองของประชาชนที่ตื่นตัว มีการวางแผน มีการทำข้อมูล จนสามารถจัดการตัวเองได้เรียบร้อย และความก้าวหน้าในกลุ่มชาติพันธุ์ในมิติและประเด็นต่างๆ เช่น ความมั่นคงในชีวิต การศึกษา และพัฒนาเยาวชน การพัฒนาฐานอาชีพ การดูแลทรัพยากรธรรมชาติ

นายนฤทธิ์ กล่าวอีกว่า ความก้าวหน้าที่เห็นได้ชัดอีกอย่างคือ การพัฒนาสตรีเข้าสู่มิติต่างๆ โดยใช้วัฒนธรรมการเลี้ยงลูก วัฒนธรรมความเป็นอยู่ วัฒนธรรมการทำมาหากิน วัฒนธรรมการใช้ชีวิตในครอบครัว วัฒนธรรมศาสนา เป็นเครื่องมือจัดตั้งเครือข่ายต่างๆ ส่วรความก้าวหน้าอีกเรื่องคือ การใช้จุดอ่อนจากที่ถูกระแวง ไม่ได้รับการยอมรับ เป็นโอกาสในการสร้างชุมชนศรัทธา จนเกิดการยอมรับในสังคมเพิ่มขึ้น สามารถสร้างความสงบ สันติสุข สมานฉันท์ ได้อย่างเป็นรูปธรรมและเป็นกระบวนการ เปิดให้ภาคีทำประโยชน์เพื่อส่วนรวมร่วมกันได้

“รัฐต้องปรับวิธีคิดในการพัฒนา ด้วยการให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมจริงๆ รัฐต้องพร้อมที่จะรับข้อเสนอจากประชาชน รัฐต้องทบทวนและหยุดโครงการต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อชุมชนท้องถิ่น และหันมาฟังประชาชน หยุดสนับสนุนให้ประชาชนทะเลาะกันในชุมชน เพื่อผลักดันโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ รัฐต้องขยายเครือข่าย ดึงภาคส่วนต่างๆ โดยเฉพาะชุมชนท้องถิ่นเข้าไปร่วมวางแผนการพัฒนา ขณะที่เครือข่ายประชาชนต้องเข้ามาร่วมผลักดันแก้ไขปัญหาต่างๆ ในระดับเชิงนโยบายด้วย” นายนฤทธิ์ กล่าว

นายนฤทธิ์ กล่าวว่า กระบวนการการเมืองภาคประชาชน หรือการเมืองภาคพลเมือง ยังต้องการให้รัฐบังคับใช้กฎหมายให้เข้มงวดมากขึ้น และต้องการให้ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายบางฉบับ ที่สร้างปัญหาให้กับชุมชน นี่คือกระบวนการขับเคลื่อนการเมืองภาคประชาชน ที่ทำให้คนในชุมชน คนยากจน คนไร้ที่อยู่ คนไร้สัญชาติ เป็นคน เป็นพลังของบ้านเมือง

ป.ป.ช.แจ้งเชือดคดี "ไร่ส้ม-สรยุทธ์" 138 ล้าน

ที่มา ประชาไท

สอบนาน 4 ปี อนุฯ ป.ป.ช.มีมติแจ้งข้อกล่าวหา “ไร่ส้ม-สรยุทธ์” และ จนท.อสมท. คดีเงินค่าโฆษณา อสมท.138 ล้าน

เมื่อวันที่ 15 ก.ย. 54 ที่ผ่านมาเว็บไซต์เดลินิวส์รายงาน ว่านายกล้านรงค์ จันทิก กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ( ป.ป.ช.) ในฐานะโฆษก ป.ป.ช. ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวว่า จากกรณีที่บริษัท อสมท. จำกัด ( มหาชน ) ร้องทุกข์กล่าวโทษพนักงาน อสมท. เมื่อปี 2550 ในข้อหากระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 รวมถึงบริษัทไร่ส้มจำกัด และกรรมการบริษัทไร่ส้ม ซึ่งมีนายสรยุทธ์ สุทัศนจินดา พิธีชื่อดังรวมอยู่ด้วย ทำให้ อสมท. ได้รับความเสียหายจากค่าโฆษณาเป็นเงิน 138,790,000 บาท จนกระทั่งเมื่อเร็ว ๆ นี้ทางคณะอนุกรรมการซึ่งมีนายภักดี โพธิศิริ กรรมการ ป.ป.ช.เป็นประธาน ได้รายงานความคืบหน้าต่อที่ประชุม ป.ป.ช.ว่า เบื้องต้นได้มีการแจ้งข้อกล่าวหาแก่ผู้เกี่ยวข้องแล้ว ส่วนขั้นตอนต่อไปนั้น ผู้ที่ได้รับแจ้งข้อกล่าวหาต้องเข้าชี้แจง หรือทำเป็นหนังสือชี้แจงต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. จากนั้นคณะอนุกรรมการไต่สวนจะรวบรวมพยานหลักฐานและสรุปความเห็นเพื่อเสนอต่อ คณะกรรมการ ป.ป.ช.ชุดใหญ่วินิจฉัยต่อไป

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับคดีดังกล่าว คณะกรรมการบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) มีคำสั่งลงวันที่ 21 ธ.ค.49 แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงที่มี พล.ต.อ.ประทิน สันติประภพ อดีตสมาชิกวุฒิสภาเป็นประธาน โดยฝ่ายบริหารมีมติให้แจ้งความดำเนินคดีอาญาแก่พนักงานของบริษัท อสมท. 2 คน คือ 1.นางพิชชาภา เอี่ยมสะอาด ผู้ดูแลเวลาโฆษณาของบริษัทไร่ส้ม ถูกกล่าวหาว่า มีพฤติการณ์ในการปลอมแปลงเอกสารและทำลายเอกสาร รวมทั้งรับสินบนจากบริษัทไร่ส้ม ทั้งนี้นางพิชชาภา ถูกไล่ออกไปแล้ว 2.นางเบจมาศ นนท์วงศ์ เป็นผู้ส่งโฆษณาให้แก่ นางพิชชาภาและบริษัทไร่ส้ม ถูกกล่าวหาว่า เป็นผู้สนับสนุนการกระทำผิด ทั้งนี้บริษัทไร่ส้มขณะที่ถูกกล่าวนั้น มีนายสรยุทธ์ สุทัศนะจินดา และ น.ส.อังคณา วัฒนมงคลศิลป์ เป็นผู้มีอำนาจทำการแทนบริษัท ส่วนพนักงาน อสมท. ที่เกี่ยวข้องรายอื่น ๆ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยต่อไป ทั้งนี้เมื่อผู้สื่อข่าวพยายามติดต่อนายภักดี เพื่อสอบถามถึงรายละเอียดของผู้ถูกแจ้งข้อกล่าวหาทั้งหมด ปรากฏว่านายภักดี ได้เดินทางไปต่างประเทศ และจะกลับมาในสัปดาห์หน้า.

“อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์” ชี้ ‘ความอยุติธรรมที่ชายแดนใต้ลึกมาก’

ที่มา ประชาไท

สรุปความ “รศ.ดร.อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์” ในการบรรยายพิเศษเรื่อง “พลังชุมชน–พลังผู้ไร้สิทธิกับการสร้างการเปลี่ยนแปลงจากข้างล่าง” ในงานโครงการประชุมวิชาการระดับชาติ “ชุมคน ชุมชน คนใต้ ครั้งที่ 3 เสียงจากผู้ไร้สิทธิชายแดนใต้” (Voices of the Voiceless : from the southernmost People in Thailand)

ระหว่างวันที่ 12 – 14 กันยายน 2554 โครงการจัดตั้งศูนย์อิสลามศึกษาเพื่อการบูรณาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ ได้จัดโครงการประชุมวิชาการระดับชาติ “ชุมคน ชุมชน คนใต้ ครั้งที่ 3 เสียงจากผู้ไร้สิทธิชายแดนใต้” (Voices of the Voiceless : from the southernmost People in Thailand)

เวลา 09.30 น. วันที่ 13 กันยายน 2554 ซึ่งเป็นวันที่ 2 ของการจัดงาน ก็เป็นคิวของ “รศ.ดร.อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์” อาจารย์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขึ้นบรรยายพิเศษเรื่อง “พลังชุมชน–พลังผู้ไร้สิทธิกับการสร้างการเปลี่ยนแปลงจากข้างล่าง” ณ หอประชุมอเนกประสงค์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา

ต่อไปนี้ เป็นข้อความเฉพาะบางส่วนที่น่าสนใจ ที่เก็บได้จากการบรรยายทางวิชาการในหัวข้อนี้

………………………………………………

“ปัจจุบันในจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีการคืนความยุติธรรมให้กับชุมชนมากขึ้น เอกสารของคนทำงานพัฒนาในพื้นที่นี้ ชี้ให้เห็นว่าหลังจากรัฐได้ฟังเสียงของคนในชุมชนแล้ว ในช่วงหลังองค์กรของรัฐได้ตระหนักว่า ความอยุติธรรมที่มีอยู่ในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ลึกซึ้งมาก องค์กรของรัฐจึงพยายามปรับตัวคืนความยุติธรรมให้กับชุมชนในหลายมิติ ไม่ว่าการยอมรับให้มีสภาชุมชน หรือการสร้างนิติธรรมชุมชน นี่ถือเป็นเสียงที่ยอมรับในความชอบธรรมของชุมชน ที่เกิดจากปฏิบัติการของเสียงผู้ไร้เสียงที่ดังมากขึ้น จากการแสวงหาทางออกของสังคมที่มีความหลากหลาย

โครงสร้างฐานที่มั่นของชุมชนคือ การสร้างชุมชนในอุดมคติ และฐานในการปกครองตนเอง ที่มีอยู่ 3 ฐานคือ การปกครอง สังคมชุมชน และจิตวิญญาณ กรณีชุมชนตักวา 4 ชุมชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทำให้เกิดเสาหลัก ทำให้เกิดพื้นที่สาธารณะ มัสยิดก็ถือเป็นพื้นที่สาธารณะเช่นกัน จากการอ่านเรื่องชุมชนตักวา พบว่า เริ่มจากบ้านมั่นคง จากการพูดคุยกันหลายฝ่าย เริ่มขยับจากบ้านไปสู่ชุมชน จากชุมชนไปสู่อุดมคติชุมชน นี่คือความต่อเนื่อง และการตกผลึก

การสร้างตัวตนของผู้ไร้สิทธิ์ท่ามกลางการกดทับ ผ่านปฏิบัติการทางสังคม การเมือง เศรษฐกิจ นำไปสู่การตกผลึกทางอุดมคติของชุมชนและมนุษย์ นี่คือการท้าทายสังคม ด้วยการกระตุกเตือนให้คนคิดถึงสิ่งที่สูงกว่ามนุษย์ ซึ่งไม่ได้สร้างจากตัวเปล่า แต่เป็นการขยายรากฐานทางปัญญาเดิม

แม้ในวันนี้ อาจจะยังไม่สามารถบรรลุทุกอย่างได้อย่างที่คาดหวัง แต่สิ่งที่ทำลงไปแล้ว และกำลังดำเนินอยู่ในปัจจุบั คือ การวางรากฐานทุกอย่างไว้ให้แก่อนุชนคนรุ่นหลัง เพื่อให้เขาสามารถเข้าถึงชีวิตที่ดีกว่า และเข้าถึงอุดมคติสูงสุดของชีวิตมนุษย์

มนุษย์ต้องเชื่อมั่นในสังคมโดยรวม จึงจะสามารถแก้ปัญหา และกระบวนการต่อสู้ต่อรองของหลายฝ่าย จะเข้าสู่ความทรงจำกลายเป็นประวัติศาสตร์ร่วมกันของมนุษย์ เกิดปรากฎการณ์การสร้างชุมชน เช่น ชุมชนศรัทธา ภายใต้อุดมคติใหม่ ถ้าหากปราศจากความเชื่อมั่นทางสังคมแล้ว ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์จะเกิดปัญหามากมาย ถ้าหากมนุษย์กับมนุษย์เชื่อมั่นกันแล้ว หนทางการแก้ปัญหาก็จะมีมากยิ่งขึ้น ความเชื่อมั่นนี้หมายความว่า มนุษย์กับสังคมโดยรวม จะต้องเชื่อมั่นซึ่งกันและกัน ความเชื่อมั่นแบบนี้เป็นแนวทางสำคัญ ที่จะนำไปสู่การแก้ปัญหาในอนาคต ภายใต้ความเชื่อมั่นนี้ แม้กระทั่งหน่วยงานที่ค่อนข้างแข็งตัว และไม่ค่อยคิดอะไรมากนัก ก็สามารถปรับตัวเข้าใจปัญหาได้มากขึ้น

ชุมชนคนไทยมักจะบอกว่า สังคมของตัวเองเป็นสังคมแห่งความสุข แต่ในความเป็นจริงกลับเป็นที่กระทบกระเทือนได้ง่าย สังเกตจากกลุ่มทุนเข้าไปมีบทบาทในชุมชนมากขึ้น ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในโลก มาจากการแสวงหาอย่างต่อเนื่อง ความพยายามปรับเปลี่ยนเรื่องเล่า เพื่อให้เกิดการประนีประนอมมากขึ้น ครั้งหนึ่งมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ที่จังหวัดเชียงใหม่ เคยเขียนประวัติศาสตร์ชายแดนภาคใต้ รศ.ดร.รัตติยา สาและ จากมหาวิทยาลัยทักษิณ นำไปแปลเป็นภาษามลายู คนในชุมชนชายแดนภาคใต้บอกว่า อยากได้ประวัติศาสตร์แบบนี้

การสร้างความเข้าใจใหม่ หรือการแสวงหาแนวทางเหล่านี้ ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่ทำให้ผู้คนเห็นเราได้ชัดขึ้น ขณะเดียวกันเราก็มีโอกาสเห็นคนอื่นได้ชัดเช่นเดียวกัน นอกจากการนำเสนอในส่วนที่เป็นแนวทางปฏิบัติการของเรา ยังมีส่วนสำคัญคือ บทสุรปที่บอกว่ามีเสียงในการปฏิบัติการของผู้ไร้เสียงจะดังมากขึ้น หากเสียงของผู้ไร้เสียงดังมากขึ้น ไม่มีใครอยู่เฉยได้ ไม่มีใครปฏิเสธความชอบธรรมได้ ดังนั้นเราจะเห็นว่าช่วง 5 ปีที่ผ่านมา มีปฏิบัติการที่ทำให้สังคมมองชุมชนคนใต้ได้ชัดขึ้น จากการสร้างอุดมคติก้าวข้ามความต้องการส่วนตัว จนเกิดแรงผลักดันและการเสียสละร่วมกัน”

Asia Sentinel: Understanding the Thai Political Crisis

ที่มา Thai E-News


Written by Pavin Chachavalpongpun
Asia Sentinel
FRIDAY, 16 SEPTEMBER 2011

All of the aspects of Thailand’s calamity will be on display in Singapore Monday

On Monday, September 19, Thailand will commemorate the fifth anniversary of the military coup that ousted the elected government of Thaksin Shinawatra. That fateful coup has changed Thailand’s political landscape.

Political developments that took decades to come to fruition elsewhere before they could become visible have been compressed into a brief period of five years in Thailand. The country has seen many tragic incidents and thus fallen deeper into a state of polarization.

Watching many incidents in Thailand in the last five years is like watching a surreal soap opera. The plot is replete with heinous stories. The old elites have gone all out to eliminate their challengers, apparently by unlawful coup. They wanted to get rid of their number-one enemy, Thaksin, and eventually kick him out of the country.

But when Thaksin’s opponents returned to politics in 2008, they upgraded their strategies. This time, they seized the House of Government. They occupied the Suvaranabhumi International Airport, during which good food and good music could be found. They declared war with Cambodia so as to delegitimize the pro-Thaksin regimes. Thai upper class became more royalist that the royals themselves. The military walked into politics and threatened to stage another coup should the Thaksin cronies refuse to step down.

It seemed that they won in the first round, with the formation of the pro-elite regime under Abhisit Vejjajiva. As a posh, Oxford-educated baby-face premier, Abhisit had no time for the underprivileged. What he cared was how to defend the interests and power of the elitist class. When the underprivileged defied his legitimacy, he collaborated with the military and launched a most deadly crackdown against their opponents on the streets. As a result, 91 people were killed, over 2,000 injured.

But the killing of the protesters did not stop the Thaksin faction from coming to power yet again. In many ways, it made them stronger in pushing their agenda to remove the old status quo that only benefitted the elites. On July 3, 2011, Yingluck Shinawatra, youngest sister of Thaksin, arrived in power—a big slap in the face for the establishment.

Throughout the past five years, the political stalemate that has shaken the nation - playing with the Thai people's emotions and deeply polarising our society - has unveiled many dark secrets in politics. For one thing, it has revealed the anxiety on the part of the old establishment about a more open society. This has now clearly emerged as a threat to their power position. From this view, Thaksin is not really a menace to the Thai elite - an open political space is.

Thus, it is crucial to look back over the past five years and examine the changes in politics since the coup of 2006.

Accordingly, a one-day conference entitled "Five Years After the Coup: Thailand's Political Developments Since Thaksin's Downfall" s being held Monday at the Institute of Southeast Asian Studies in Singapore. The primary aim of the conference is to discuss the lessons learned (or not learned) from the coup, to explore the role of the key players, and to investigate issues that generated the legitimacy crises in Thailand.

I have brought together leading experts on Thai politics to provide an in-depth examination of Thailand's unending political and social crisis. The first session will deal with the impact of the coup in the political domain. Federico Ferrara, an assistant professor from the City University of Hong Kong, will kick off the conference with his talk on "Unfinished Business: The Contagion of Conflict Over a Century of Thai Political Development." This talk will be followed by one from Pitch Pongsawat from Chualongkorn University entitled, "Four Forms of Democracy in Thailand's Current Democratization."

The second session will focus on the theme, "Defending the Old Political Consensus: The Military and the Monarchy." James Ockeys of Canterbury University will elaborate on the role of the military in the political turmoil. His paper is entitled, "Broken Power: The Thai Military in the Aftermath of the 2006 Coup."

The next two speakers will touch upon a sensitive subject: the monarchy. Thongchai Winichakul of the University of Wisconsin-Madison will present his thought-provoking paper, "The Monarchy and Anti-Monarchy: Two Elephants in the Room." Meanwhile, David Streckfuss, an independent scholar, will deliver his speech on "Freedom and Silencing Under the Neo-Absolutist Monarch Regime in Thailand, 2001-2006."

In the third session, the discussion will concentrate on new political discourses and players. Michael Nelson from Thammasat University will speak on, "Vote No! The PAD's Decline from Powerful Movement to Political Sect?" Nick Nostitz, a journalist who has followed the red-shirt movement closely since its inception, will give a talk entitled, "The Red Shirts: From Anti-Coup Protesters to Social Mass Movement." Andrew Walker of the Australian National University, also a founder of the New Mandala website, will present a discussion entitled "Is Peasant Politics in Thailand Civil?"

For the final session, the attention will move over to the legitimacy crises in the wake of the 2006 coup. Marc Askew from Melbourne University will speak on the crisis in the South, "Shooting Themselves In the Foot: The Army and the South After the Coup." I will close the conference with a talk on the Thai-Cambodian conflict, "From Marketplace Back to Battlefield: Thai-Cambodian Relations in the Age of Militarised Politics."

Details of the event can be found at http://www.iseas.edu.sg.

I recommend that the traditional elite and the military send their representatives to the conference in order to understand that the outside world has changed much and that the idea of a military coup is obsolete.

(Pavin Chachavalpongpun is a fellow at Singapore’s Institute of Southeast Asian Studies. Follow Pavin at www.facebook.com/pavinchachavalpongpun)

Friday, September 16, 2011

ทำไมต้อง อุกฤษ! เกมนี้..แค่ขยับก็สะดุ้งโหยง! ผวากลัวฉีก”รธน.ฟันดำ”ทิ้ง

ที่มา บางกอกทูเดย์





เด็ดดอกไม้ สะเทือนถึงดวงดาว
การเปรียบเปรยที่สะท้อนให้เห็นถึงการเชื่อมโยงจากสิ่งที่ดูเหมือนเล็กๆน้อยๆ
แต่สามารถสร้างความสั่นสะเทือนได้ถึงสิ่งที่ใหญ่โต หรือเรื่องราวที่สำคัญ
จับตามองการเดินเกมประลองกำลังกันทางการเมืองระหว่างรัฐบาลปัจจุบัน กับอดีตรัฐบาล
หรือก็คือระหว่างพรรคเพื่อไทยกับพรรคประชาธิปัตย์แล้ว
จะเห็นว่าประเด็นที่โหมกระแสจะเป็นจะตายอยู่ในเวลานี้ของพรรคฝ่ายค้านที่ระบุว่า
จะเป็นพรรคฝ่ายค้านอย่างสร้างสรรค์
ก็คือเรื่องของการโยกย้ายแต่งตั้งข้าราชการ และเจ้าหน้าที่พนักงานของรัฐในส่วนงานสำคัญๆต่างๆ
ทำไมคนเหล่านี้จึงเป็นเหมือนดอกไม้ ที่สามารถจะสร้างความสั่นสะเทือนถึงดวงดาวได้
หากถูกเด็ด และพรรคประชาธิปัตย์ไม่ต้องการที่จะให้ดอกไม้เหล่านั้น
ซึ่งรัฐบาลประชาธิปัตย์เป้นคนเลือกสรรคัดพันธ์ุมาด้วยมือตนเอง
แล้วมาวางเอาไว้ในตำแหน่ง ในกลไกที่สำคัญๆ
ประชาธิปัตย์จึงรู้ดีว่า หากถูกเด็ด หากถูกเปลี่ยนแปลง งานนี้สะเทือนจนเกินจะรับไหวแน่ๆ
เพราะอาจจะหมายถึงอนาคตเส้นทางบนถนนการเมืองของใครหลายๆคน
หรือของพรรคประชาธิปัตย์เลยก็ว่าได้
การโยกย้ายคนของรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จึงถูกโหมภาพสร้างกระแสว่า
เป็นการโยกย้ายที่มีการเล่นพรรคเล่นพวก และเป็นระบบคุณธรรมที่มีปัญหา
ว่ากันว่ามีการเดินเกมกระตุ้นให้คนที่ถูกโยกย้ายบางคนในลุกขึ้นสู้
โดยมีการหยิบยกเอาเรื่องของนายวงศักดิ์ สวัสดิ์พาณิชย์ อธิบดีกรมการปกครองมาเป็นโมเดล
จูงใจคนที่ถูกคำสั่งย้าย
ทั้งๆที่โมเดลวงศ์ศักดิ์นั้น ยังไม่มีการโยกย้ายกรณีใดๆของรัฐบาลนี้
ที่พอจะเทียบเคียงกับการที่ กระทรวงมหาดไทยยุครัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ทำ ได้เลยสักกรณีเดียว
เป้าหมายในการโยกย้ายของคนในรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ กับ รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์
จริงๆแล้วไม่ได้มีพื้นฐานที่แตกต่างกันเลย นั่นคือ
การเปลี่ยนคนมาเป็นคนที่ไว้ใจได้ มาเป็นคนที่สั่งได้ มาเป็นคนของตนเอง
เพื่อที่จะได้มั่นใจได้ว่า ทุกสิ่งที่สั่งการลงไปจะได้รับการตอบสนอง
เพียงแต่ในช่วงท้ายของการโยกย้ายคนในปลายรัฐบาลนายอภิสิทธิ์
โดยเฉพาะที่กระทรวงมหาดไทย มีเป้าหมายพิเศษเกิดซ้อนขึ้นมา นั่นคือ
ต้องการวางคน วางตัว เพื่อมุ่งหวังผลการเลือกตั้งที่กำลังจะเกิดขึ้นในตอนนั้น
ตามความเชื่อตามเป้าหมาย คนเหล่านั้น ถูกวางหมุดเอาไว้
เพื่อให้พรรคประชาธิปัตย์และพรรคูมิใจไทยได้เปรียบในการเลือกตั้งให้ได้มากที่สุด
และจนถึงวันนี้ ลึกๆในพรรคประชาธิปัตย์ และพรรคภูมิใจไทย
ยังเชื่อว่าภายในไม่เกิน 6 เดือนจะมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเกิดขึ้นอีกครั้ง
และจะมีการเลือกตั้งใหม่ตามมา???
ถึงตอนนั้นหากหมุดทุกตัวที่เคยตอกเคยวางเอาไว้สมัยที่เป็นรัฐบาล ยังไม่ถูกเปลี่ยน
โอกาสของความได้เปรียบก็ยังคงจะมีอยู่
แต่หากคนที่วางไว้ถูกเปลี่ยนหมดในตอนนี้ ก็เหมือนกับการเด็ดดอกไม้
ที่จะสะเทือนถึงดวงดาว แผนที่จะย้อนคืนกลับมาเป็นรัฐบาลให้สง่างามหน่อย
โดยไม่ต้องพึ่งพาการจัดตั้งรัฐบาลในค่ายทหารอีกครั้ง ก็จะสะเทือนไปด้วย
วันนี้จึงได้เห็นว่า พรรคประชาธิปัตย์ทุกส่วนจึงโหมกระหน่ำในเรื่องการแต่งตั้งโยกย้ายคนมากเป็นพิเศษ
บรรดากลุ่มคนเสื้อแดง บรรดากลุ่มคน นปช. ซึ่งต่อสู้ทวงประชาธิปไตยจนได้การเลือกตั้งมา
และพรรคเพื่อไทยเห็นว่า เพราะคนเสื้อแดงทำให้มีการเลือกตั้ง จึงควรที่จะให้กำลังใจคนเหล่านั้น
จึงได้มีการแต่งตั้งคนที่เหาะสมให้มามีตำแหน่งหน้าที่ทางการเมือง
แต่ก็ไม่ใช่ตำแหน่งบริหาร ไม่ใช่ตำแหน่งรัฐมนตรีเลยแม้แต่เก้าอี้เดียว
พรรคประชาธิปัตย์ก็ยังโจมตีไม่หยุด
เรียกว่าเดือนกันยายน ซึ่งปกติของทุกปีจะเป็นเดือนแห่งการโยกย้าย
เพราะเป็นเดือนเกษียณอายุราชการนั้น ในปีนี้เกมการเมืองจึงแหลมคมและรุนแรงอย่างยิ่ง
เพราะมีการพยายามโยงที่จะให้เกิดความเชื่อว่า การแต่งตั้งโยกย้ายที่เกิดขึ้น
โดยเฉพาะในกระทรวงยุติธรรม
เป็นไปเพราะมุ่งหวังที่จะช่วยเหลือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี
เป็นไปเพื่อที่จะให้มีการขอพระราชทานอภัยโทษ
เพราะตามมาตรา 191 แห่งกฎหมายรัฐธรรมนูญไทย ปี พ.ศ.2550 ระบุชัดเจนว่า...
พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการพระราชทานอภัยโทษ
พรรคประชาธิปัตย์ซึ่งถือว่าเป็นคู่แข่งทางการเมืองโดยตรงกับพรรคเพื่อไทย
จึงต้องทำให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ตกเป็นเบี้ยล่างในเกมการเมืองให้ได้
ซึ่งการสร้างภาพเกี่ยวกับเรื่องความจงรักภักดี เรื่องเกี่ยวกับสถาบัน
เป็นอะไรที่สามารถใช้ทำลายกันในทางการเมืองมาได้โดยตลอด
ประวัติศาสตร์ทางการเมืองของไทยมีบทเรียนและความทรงจำมาแล้วว่า
แค่การตะโกนในโรงหนังเพื่อป้ายสีนายปรีดี พนมยงค์ ก็สามารถทำให้เป็นกระแส
และทำให้นายปรีดี ซึ่งวันนี้พิสูจน์แล้วว่า เป็นผู้ทรงคุณประโยชน์ต่อประเทศไทย
ยังต้องกระเจิงเพราะพิษการเมืองที่ชั่วร้ายจนอยู่เมืองไทยไม่ได้
ดังนั้นจึงไม่แปลกที่วันนี้จะมีการเดินเกมว่า
จะมีการเร่งขอพระราชทานอภัยโทษ จะมีการรือฟื้นคดีต่างๆขึ้นมาใหม่
รวมทั้งการโยกย้ายคน แต่งตั้งคนก็เพื่อรองรับวัตถุประสงค์เหล่านั้น
ทำให้คำสั่งโยกย้าย พ.ต.อ.สุชาติ วงศ์อนันต์ชัย
ผู้ตรวจราชการกระทรวงไอซีที ไปเป็นอธิบดีกรมราชทัณฑ์ ถูกใช้ปลุกกระแสทันที

และที่ตลกก็คือ แม้แต่คนที่ไม่ถูกโยกย้าย อย่างเช่น
นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ ก็ยังอุตส่าห์มีการตั้งคำถามว่าเกิดอะไรขึ้น
ทำไมถึงยังไม่ถูกย้าย
เรียกว่ารัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ขณะนี้ ย้ายคนก็ถูกโจมตี ไม่ย้ายคนก็โดนสงสัย

เป็นเพราะเล่นการเมืองกันแบบหวาดระแวงไปหมดหรือไม่
ที่ทำให้ขณะนี้มีการวิ่งพล่านกันไปหมดว่า
ทำไมจึงมีการแต่งตั้ง นายอุกฤษ มงคลนาวิน มานั่งเป็นประธาน
คณะกรรมการอิสระว่าด้วยหลักนิติธรรมแห่งชาติ หรือ คอ.นธ.
เป็นเรื่องนามของคน เงาของไม้ ที่แผ่กิ่งก้าน
มีผลงานในอดีตว่าเป็นนักกฎหมายที่ไม่เป็นรองใครในแวดวงกฏหมายยุคปัจจุบัน
จึงทำให้เกิดอาการกระเพื่อมและหวาดวิตกกันอย่างรุนแรงในทันทีว่า
รัฐบาลนี้ตั้งนายอุกฤษ มาทำอะไรกันแน่???
ถ้ารัฐบาลที่แล้ว มี เนติบริกร หลายคนคอยช่วย
แล้วจะแปลกอะไรหากรัฐบาลนี้จะหานักกฎหมายมือฉมังมาช่วยบ้างไม่ได้
รัฐบาลที่แล้วซุกอะไรไว้ใต้พรม หรือว่ามีอะไรในรัฐธรรมนูญฉบับหน้าแหลมฟันดำ
ที่เกิดขึ้นหลังการทำรัฐประหารได้ซ่อนหรืออำพรางอะไรเอาไว้

แค่ปรากฏชื่อของนายอุกฤษ มงคลนาวิน จึงทำให้สะท้านไหวกันขนาดนี้
ทั้งๆที่การแต่งตั้งครั้งนี้เป็นเรื่องที่กระทรวงยุติธรรม ชงขึ้นมา
ตามร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยหลักนิติธรรมแห่งชาติ พ.ศ. ...ระบุว่า
คอ.นธ.ตั้งขึ้นมาเพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา ครม.ศาล รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญ
และหน่วยงานของรัฐเป็นไปตามหลักนิติธรรมอย่างแท้จริง

มีการจุดประเด็นว่า นายอุกฤษ ซึ่งเคยเป็นอดีตประธานรัฐสภา
และเป็นมือกฎหมายชั้นเซียนคนหนึ่งในประเทศไทย จะเข้ามาทำหน้าที่อะไร
ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของพ.ต.ท.ทักษิณ หรือไม่
เอาเรื่อง พ.ต.ท.ทักษิณ มาโยงสร้างภาพสร้างกระแสอีกตามเคย

ก็ต้องเข้าใจ เพราะเส้นทางชีวิตของนายอุกฤษ การจะขุดคุ้ยโจมตีไม่ใช่เรื่องง่าย
เพราะไม่เพียงเป็นนักกฎหมายระดับหัวแถว
ยังเคยได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2539
แต่ได้ขอลาออกหลังจากรับการแต่งตั้งในเดือนเดียวกัน
อีกทั้งยังเคยเป็นอดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อดีตประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ อดีตประธานวุฒิสภา และอดีตประธานรัฐสภา

และที่สำคัญจะเล่นงานโจมตีแบบเดียวกับที่เสื้อแดง เพื่อไทย โดนก็คงไม่ได้
เพราะนายอุกฤษ สมรสกับท่านผู้หญิง มณฑินี มงคลนาวิน (บุณยประสพ)
นางสนองพระโอษฐ์ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
ข้อกล่าวหาข้อป้ายสีบางเรื่องจึงทำไม่ได้
เหลือเพียงแค่ข้อเดียวว่า จะมารื้อรัฐธรรมนูญปี 50 เพื่อคนๆเดียวหรือไม่???
ประเด็นนี้เท่านั้นที่พอขายได้

เพราะเมื่อวันที่ 14 ก.ค. 2550 นายอุกฤษ เคยให้สัมภาษณ์ในเว็บไซต์เดลินิวส์
ถึงร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 หลายช่วงหลายตอน อย่างมีคำถามหนึ่งถามถึงเรื่องมาตรา 309
นายอุกฤษ ให้สัมภาษณ์ไว้ว่า

“แค่มาตรานี้มาตราเดียวก็ทำให้ร่างรัฐธรรมนูญนี้เสียทั้งฉบับ
ไม่รู้ว่ามีเจตนาอะไรที่มีการนิรโทษกรรมการกระทำที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
ทั้ง ๆ ที่รัฐธรรมนูญชั่วคราวปี 2549 ได้นิรโทษกรรม คมช.เอาไว้แล้ว
ในอดีตทุกครั้งที่มีการปฏิวัติจะมีการออกพระราชกำหนดนิรโทษกรรม
โดยให้ฝ่ายนิติบัญญัติเป็นผู้ตรากฎหมาย
ถ้าเราทำผิดแล้วเขียนกฎหมายยกโทษให้ตัวเอง มันขัดหลักสากล
แล้วถ้าคนที่มาเป็นรัฐบาลทีหลังไม่เห็นด้วย
หากจะเอาผิดกันย้อนหลัง ก็สามารถทำได้ตามกฎหมาย เพราะคดีมีอายุความถึง 20 ปี”

ขณะที่อีกคำถาม ถามว่าหากสมมุติว่าร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านประชามติ
รัฐบาลและคมช. ควรนำรัฐธรรมนูญฉบับใดมาปรับใช้
นายอุกฤษ ตอบไว้ว่า “ควรนำรัฐธรรมนูญปี 40 มาปรับแก้และเพิ่มเติมบางประเด็น
เพื่อจัดการเลือกตั้งให้เร็วที่สุด
และให้มีการจัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญของประชาชนขึ้นเพื่อปรับปรุงแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นการถาวร
เนื่องจากยอมรับกันว่ารัฐธรรมนูญปี 40 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนเพียงฉบับเดียวโดยแท้
การเมืองต้องแก้ด้วยการเมือง การแก้ปัญหาบ้านเมืองเหมือนการเล่นหมากรุก
ไม่ใช่แค่รู้ว่าเรือ ขุน โคน เดินกันอย่างไรเท่านั้น

แต่ต้องดูภาพรวมทั้งกระดาน ต้องวางหมากให้สัมพันธ์กัน
การเมืองจึงเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ระบอบประชาธิปไตยเราใช้ระบบตัวแทน
ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของประชาชน
ถ้าได้เสียงข้างมากก็เป็นรัฐบาล ถ้าบริหารงานได้ดีก็ต้องสนับสนุน
การจะกำหนดเรื่องอะไร นักการเมืองต้องไปถามประชาชน
จะเขียนกฎหมายให้ประชาชนใช้หัวเดินต่างเท้าได้
แต่ถ้ามวลชนไม่ปฏิบัติตาม ความวุ่นวายก็จะเกิดขึ้นในบ้านเมือง”
จุดนี้หรือไม่ที่ทำให้ใครบางคนเริ่มผวาหวาด!!!
แม้นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จะบอกว่า
หลักการนายอุกฤษจะศึกษาในเรื่องกฎหมาย และหลักกระบวนการยุติธรรม ยืนยันว่า
ไม่ได้ตั้งขึ้นมาเพื่อคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
ต้องดูรายชื่อคณะกรรมการที่นายอุกฤษจะเชิญเข้ามาร่วมทำงาน
และนายอุกฤษคงจะได้ชี้แจงให้ทราบต่อไป

ซึ่ง ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ก็บอกว่าเป็นการให้มาดูเรื่องการปฏิรูปกฎหมายทั้งหมด
อะไรที่ไม่เป็นธรรมต้องสังคายนาใหม่ ซึ่งอาจารย์อุกฤษ เป็นคนเก่ง
ส่วนคณะกรรมการที่จะเข้ามาดูแลเป็นใครบ้างนั้นยังไม่ทราบรายละเอียดว่า
อาจารย์อุกฤษมีแนวคิดอย่างไร แต่รัฐบาลได้ให้ภาพกว้างในการทำงานไปแล้ว
จึงต้องมีคณะทำงานขึ้นมาเพื่อให้เกิดการเริ่มต้น

“ศาลใครไปปฏิรูปท่านไม่ได้ แต่ปฏิรูปกฎหมายได้
ซึ่งกฎหมายที่ศาลใช้ทุกวันนี้ก็มาจากรัฐสภาเป็นผู้ออกมาบังคับใช้”
ทั้งนี้จุดประสงค์ของการเสนอร่างระเบียบดังกล่าว
เพราะบางเรื่องจะต้องยอมรับความเป็นจริง ว่ามีที่มาจากการปฏิวัติ
แล้วตอนนี้เป็นรัฐบาลประชาธิปไตยจะเห็นด้วยทั้งหมดก็คงไม่ใช่
ซึ่งส่วนตัวอะไรที่มาจากคณะปฏิวัติตนไม่เห็นด้วย

ก็แบบนี้แหละที่ทำให้คนที่เห็นด้วยกับการทำปฎิวัติรัฐประหาร พากันสะดุ้งสะเทือนไปตามๆกัน

ผบ.สส.ระบุ "บิ๊กอ๊อด" มีสิทธิเรียกถกโผทหารใหม่

ที่มา มติชน

พล.อ.ทรงกิตติ จักกาบาตร์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (ผบ.สส.) กล่าวถึงการประชุมคณะกรรมการปรับย้ายทหารชั้นนายพลใหม่ว่า ยังไม่ทราบ การดำเนินการของคณะกรรมการปรับย้ายผ่านขั้นตอนนี้มาแล้ว หากมีการพิจารณาในบางตำแหน่งเพิ่มเติม พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม สามารถเชิญคณะกรรมการมาประชุมใหม่ได้ อย่างไรก็ตาม ยังไม่ได้มีการพูดคุยกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และยังไม่ทราบว่าจะเรียกไปเมื่อไหร่ และยังไม่รู้ว่าโผมีปัญหาตรงไหน ที่ผ่านมาก็ดูเรียบร้อยแล้ว

ส.ว.สายตำรวจ ปลื้มมาตรการแก้ปัญหายาเสพติด รบ. แนะแก้ปัญหาทวิภาคีร่วมกับเพื่อนบ้าน

ที่มา มติชน

เมื่อวันที่ 16 กันยายน พล.ต.อ.วงกต มณีรินทร์ ส.ว.สรรหา ในฐานะประธานคณะอนุกรรมาธิการเสริมสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของ ประชาชน วุฒิสภา กล่าวถึงนโยบายแก้ปัญหายาเสพติดของรัฐบาลที่ประกาศเป็นวาระแห่งชาติว่า เมื่อเห็นมาตรการของรัฐบาลแล้วรู้สึกมีความหวังในการแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะการจะร่วมมือกับประเทศต้นทางแหล่งผลิต คือ สหภาพพม่า ในการทำลายแหล่งผลิตและลำเลียง ทั้งนี้ที่ผ่านมาการประสานความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านเป็นมาตรการเดียว ที่ยังไม่ดำเนินการอย่างจริงจัง เห็นได้จากมีเจ้าหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) อยู่ในสหภาพพม่าเพียง 1 คน ขณะที่ประเทศอื่นส่งเจ้าหน้าที่ปราบปรามยาเสพติดมาอยู่ในประเทศไทยเป็นจำนวน มาก

พล.ต.อ.วงกตกล่าวอีกว่า ปัญหายาเสพติดเป็นอาชญากรรมข้ามชาติ ดังนั้นประเทศไทยควรเป็นเจ้าภาพในการแก้ปัญหาแบบทวิภาคี หรือไตรภาคี โดยต้องสนับสนุนทางวิชาการ การเงิน และช่วยส่งเสริมอาชีพให้ชนกลุ่มน้อยทั้้งว้าแดงและไทยใหญ่ นอกจากนี้รัฐบาลควรให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงต่างประเทศช่วยกันประสานกับประเทศเพื้อนบ้านที่เป็นต้นทางแหล่ง ผลิตเพื่อทำลายแหล่งผลิตต้นทาง และสกัดกั้นการส่งยาเสพติดเข้าประเทศไทยตามแนวชายแดนที่ติดกับสหภาพพม่า กัมพูชาและลาว

"สมชัย"ชี้"จตุพร"ไม่พ้น ส.ส.ตาม รธน. อ้างตั้ง กก.สอบเพื่อความรอบคอบ

ที่มา มติชน

นายสมชัย จึงประเสริฐ กกต.ด้านกิจการสืบสวนสอบสวนและวินิจฉัย เปิดเผยเมื่อวันที่ 16 กันยายนว่า การที่ กกต.มีมติเสียงข้างมากให้ตั้งกรรมการไต่สวนพิจารณาข้อเท็จจริงนายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย จะสิ้นสุดความเป็น ส.ส.หรือไม่ เพื่อดูข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 106 ให้เกิดความรอบคอบ ว่า กรณีนายจตุพรมีเหตุที่ทำให้ความเป็น ส.ส.ต้องสิ้นสุดลงเพื่อส่งเรื่องให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรส่งศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยหรือไม่ ซึ่งไม่ใช่ประเด็นปัญหาที่จะต้องดูในเรื่องการสิ้นสมาชิกภาพพรรคการเมืองตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง ทั้งนี้กรณีนายจตุพรเห็นว่าไม่เข้าเหตุที่ทำให้สิ้นสุดความเป็น ส.ส.ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 106(4) และ (5) แต่อย่างใด แต่กรณีที่นายจตุพรจะสิ้นสุดความเป็น ส.ส.ได้ก็ต่อเมื่อลาออกจาก ส.ส. หรือพรรคเพื่อไทยมีมติขับนายจตุพรออกจากการเป็นสมาชิกพรรคเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม กกต.ไม่ได้คิดว่าจะเป็นการยื้อเวลาถ้าตนเป็นคณะกรรมการไต่สวนใช้เวลาเพียง 2 สัปดาห์ก็น่าจะพิจารณาได้แล้วเสร็จ แต่เมื่อตั้งคณะกรรมการไต่สวนแล้วตนจะไปก้าวล่วงไม่ได้ ถ้า กกต.เห็นว่านายจตุพรสิ้นสุดความเป็น ส.ส.ก็ต้องส่งเรื่องยังประธานสภาเพื่อส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย

ไล่จับเงาตัวเอง..ให้ได้

ที่มา มติชน



โดย สุริวงค์ เอื้อปฏิภาน

(ที่มา คอลัมน์สถานีคิดเลขที่ 12 หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับประจำวันที่ 16 กันยายน 2554)

อย่าว่าแต่ญาติพี่น้องคนตายเลย ขนาดเอกอัครราชทูตอิตาลีและเอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย ยังเข้าสอบถาม ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกฯด้านความมั่นคง ถึงความคืบหน้าเหตุการณ์ 91 ศพ เมื่อปี 2553 ว่าในฐานะรัฐบาลใหม่จะดำเนินการกับคดีนี้เช่นไร

ไม่เพียงคนไทยเราเองเท่านั้น คนทั่วโลกเขาก็ไม่ลืม

กรณี อิตาลีนั้นแน่นอนว่า เขาต้องทวงถาม เพราะนายฟาบิโอ โปเลงกี้ ช่างภาพอิสระชาวอิตาลี คือหนึ่งในผู้เสียชีวิตจากการถูกยิงเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2553

ส่วนอังกฤษนั้น คงเพราะในสายตาของประเทศประชาธิปไตย ถือเป็นเหตุการณ์ใช้อำนาจรัฐที่ร้ายแรงมาก

แล้วที่เตรียมรับไว้ได้เลยคือ ตัวแทนของรัฐบาลญี่ปุ่น ซึ่งจะต้องติดตามทวงถาม หาตัวคนฆ่า นายฮิโรยูกิ มูราโมโตะ ช่างภาพของสำนักข่าวรอยเตอร์ เหยื่อกระสุนสไนเปอร์ที่แยกคอกวัว เมื่อคืนวันที่ 10 เมษายน 2553

เพราะก่อนหน้านี้ตัวแทนของรัฐบาลและสถานทูตญี่ปุ่นในกรุงเทพฯ ตามจี้คดีนี้หลายต่อหลายหน

ขนาดรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงต่างประเทศ ยังเคยบินมายืนไว้อาลัยที่แยกคอกวัวด้วยตัวเองมาแล้ว

แต่รัฐบาลไทยในช่วงก่อนหน้านี้ คือยุคนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ไม่เคยตอบคำถามเขาได้

และยังเป็นรัฐบาลในช่วงเกิดเหตุด้วย

ตอบไม่ได้และไม่เคยแสดงความรับผิดชอบ

สิ่งที่รัฐบาลอภิสิทธิ์อ้างอย่างเดียวมาโดยตลอดก็คือ นักรบชุดดำ

ถ้านับจากวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 อันเป็นวันสุดท้ายของการนองเลือด จากนั้นรัฐบาลอภิสิทธิ์ยังมีอำนาจอยู่อีก 1 ปีเต็มๆ

หากนักรบชุดดำที่รัฐบาลอ้างอิงนั้นมีจริง

คงต้องใช้สรรพกำลังทั้งหมด ใช้อำนาจทุกชนิด ทั้งตำรวจ ทหาร ดีเอสไอ สมช. สขช. แม้แต่กองกำลังเทศกิจของ กทม.ก็อาจต้องเอาออกมาใช้

ต้องพลิกแผ่นดินตามหาตัวนักรบชุดดำมาได้แล้ว

เพราะนักรบชุดดำนั้น หากมีจริง ถือเป็นตัวการสร้างเรื่องใส่ร้ายรัฐบาลอย่างรุนแรงที่สุด

มีแต่ต้องเอาตัวมาให้ได้ เอามายืนยันให้ได้ว่ารัฐบาลไม่เคยทำให้ประชาชนตาย

แต่นี่มีแต่การอ้างลอยๆ เราไม่เคยเห็นการทุ่มเทของรัฐบาลอภิสิทธิ์ในการไล่ล่านักรบชุดดำมาเลย

มองอย่างนี้แล้วใครจะยังเชื่อว่ามีนักรบชุดดำอยู่อีกหรือ

ท่าทีของตัวแทนรัฐบาลหลายๆ ชาติ ที่เขาเห็นเหตุการณ์แบบนี้มาแล้วทั่วโลก ก็ชัดเจนอยู่แล้วว่า ไม่มีใครเชื่อ

ต่อไปนี้จึงเป็นหน้าที่ของรัฐบาลพรรคเพื่อไทย รวมทั้ง ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกฯด้านความมั่นคง ซึ่งทูต 2 ชาติยังเข้าไปหา ด้วยหวังว่าจะสืบสวนคลี่คลายคดีนี้ให้ได้เสียที

มีสำนวนไทยโบราณที่ว่า "ไล่จับเงาตัวเอง" เปรียบเหมือนทำเรื่องที่ไม่มีทางสำเร็จ ไม่มีทางเป็นไปได้

แต่บังเอิญรัฐบาลเพื่อไทย มีฝ่ายค้านประกาศตัวเป็นรัฐบาลเงา ตั้ง ครม.เงา มีตำแหน่งแห่งหนเป็นเรื่องเป็นราว

หรือว่าอีกไม่นาน เราจะได้เห็นรัฐบาลเพื่อไทยไล่จับบางคนที่เป็นเงา

เงาที่มีมือเปื้อนเลือด

อาจเป็นการ "ไล่จับเงา" ที่ประสบความสำเร็จครั้งแรกก็ได้

′ด่า′ รัฐบาล

ที่มา มติชน



โดย ปราปต์ บุนปาน

(ที่มา คอลัมน์สถานีคิดเลขที่ 12 หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับประจำวันที่ 15 กันยายน 2554)

รัฐบาลเพื่อไทยของ นายกฯยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีลักษณะเด่นประการหนึ่ง

คือ "ด่า" ได้

เพราะมีที่มาจากการเลือกตั้ง

"ประชาชน" ที่ทั้ง "เลือก" และ "ไม่เลือก" เพื่อไทย จึงสามารถวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาลชุดนี้ได้เต็มที่

ผิดกับช่วงตั้งไข่ของ "รัฐบาลสุรยุทธ์" หรือ "รัฐบาลอภิสิทธิ์"

ที่ "ด่า" ได้ไม่เต็มปากเต็มคำมากนัก กระทั่งไม่กล้า
"ด่า"

เพราะมิได้มีที่มาจาก
"ประชาชน"

เราสามารถ "ด่า" รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ที่ไหน เมื่อไหร่ก็ได้

"ด่า" เรื่องอะไร นโยบายอะไร

ก็ "ด่า" ได้ทั้งนั้น

เนื่องจากตามหลักการ รัฐบาลชุดนี้มีภาระรับผิดชอบสูงสุดต่อประชาชนอยู่แล้ว

แต่จะ "ด่า" อย่างไรนี่สิ ที่น่าสนใจ

ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคิดจะวิพากษ์วิจารณ์นโยบายคืนภาษีรถยนต์คันแรก

ที่คงเป็นส่วนหนึ่งในมาตรการกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศของรัฐบาล

จากจุดยืนว่า นโยบายดังกล่าวจะเพิ่มปัญหาการจราจรติดขัดและสร้างปัญหามลพิษให้แก่สิ่งแวดล้อม (ตามประสาคนรักษ์โลก)

ตรรกะการ "ด่า" จะไม่บิดเบี้ยวเลย หาก "ผู้ด่า" ไม่มีรถยนต์ส่วนตัวอยู่ในครอบครอง

แต่ถ้าตัวเองมีรถขับ จนกลายเป็นสาเหตุหนึ่งของปัญหาจราจรและมลพิษ

แล้วไปวิพากษ์วิจารณ์คนอื่นที่อยากจะมีรถส่วนตัวใช้บ้าง (เพื่อรองรับภาระในชีวิตของเขาที่อาจเหมือนหรือต่างกับเรา)

และด่ารัฐบาลที่เป็นผู้กำหนดนโยบาย

"ผู้ด่า" ก็เหมือนกำลัง "ด่า" ตัวเองอยู่

หรือเรื่องประเด็นการโยกย้ายข้าราชการล็อตใหญ่

ส่วนหนึ่งคงมิอาจปฏิเสธข้อเท็จจริงได้ว่า รัฐบาลชุดนี้เข้ามารับหน้าที่ในช่วงฤดูกาลการเกษียณอายุพอดี

อย่างไรก็ตาม สำหรับการโยก "คนของตัวเอง" มารับตำแหน่งสำคัญ

แล้วย้าย "คน (ของคน) อื่น" พ้นจากตำแหน่งหลักนั้น

เราคงนำกรอบคิดเรื่อง "ความเป็นธรรม" มาด่ารัฐบาลในประเด็นดังกล่าวได้ลำบากเสียหน่อย

เนื่องจากรัฐบาลชุดไหนๆ ต่างก็ทำอย่างนี้เหมือนกันหมด

ดังนั้น "ความเป็นธรรม" จึงอาจไม่มีความหมายมากเท่ากับ "ประสิทธิภาพในการทำงาน" เพื่อรองรับนโยบายของรัฐบาล และเพื่อ
"ประชาชน"

ขณะเดียวกัน การวิพากษ์วิจารณ์ว่า "ฝ่ายการเมือง" เข้าแทรกแซง "ระบบราชการ" ก็ดูมีปัญหาอยู่มิใช่น้อย

เพราะรัฐไทยปัจจุบันเป็น "รัฐประชาธิปไตย" ไม่ใช่
"รัฐราชการ"

ผู้ทำหน้าที่หลักในการปกครองประเทศ จึงต้องเป็นตัวแทนที่ประชาชนเลือกเข้ามา

ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งจึงสามารถโยกย้ายปรับเปลี่ยน "ข้าราชการ"

ซึ่งถือเป็นกลไกหนึ่งที่จะถูกรัฐบาลใช้สอยไปในการบริหารจัดการประเทศได้

หากทุกอย่างดำเนินไปเพื่อผลประโยชน์สูงสุดของ
"ประชาชน"

ซึ่งรัฐบาลยิ่งลักษณ์และข้าราชการในเครือข่ายจะต้องพิสูจน์ฝีมือกันต่อไป

ส่วนเรา ในฐานะ "ประชาชน" เจ้าของประเทศ ก็คงต้องตาม "ดู" ตาม "ด่า" ตามตรวจสอบกันอย่างไม่ลดละ