WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, January 1, 2011

สมาคมนักข่าวฯ เผยปี 53 สื่อทำงานยาก

ที่มา ประชาไท

เมื่อวันที่ 31 ธ.ค. 53 ที่ผ่านมา สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยได้เผยแพร่รายงาน “ปีแห่งความยากลำบากในการทำหน้าที่สื่อ” โดยมีรายละเอียดดังนี้

รายงานสถานการณ์สื่อมวลชนในรอบปี 2553

จัดทำโดย...สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

“ปีแห่งความยากลำบากในการทำหน้าที่สื่อ”
………………………………………………………

สืบเนื่องจากปี 2553 ถือเป็นปีที่ท้าทายการทำงานของสื่อมวลชนไทย จากเหตุการณ์ที่เกิดความแตกแยกทางความคิดและอุดมการณ์ จนนำมาสู่ความรุนแรง สื่อมวลชนต้องตกอยู่ในฐานะที่ไม่ต่างไปจากตัวประกันและถูกกดดันจากคู่ความ ขัดแย้งทุกฝ่าย

ถือเป็นอีกหนึ่งปีที่สื่อมวลชนถูกตั้งคำถามถึงบทบาทการทำหน้าที่ว่า มีความเป็นธรรมและเป็นกลางหรือไม่ ทำหน้าที่เพื่อประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ หรือเพื่อประโยชน์ของใคร ในขณะที่ประชาชนจำนวนไม่น้อยยังมองว่า สื่อมวลชนคือส่วนหนึ่งที่ทำให้ความขัดแย้งทางการเมืองทวีความรุนแรงมากขึ้น เป็นปีที่คนทำสื่อต้องยึดในหลักการแห่งวิชาชีพสื่อมวลชน และยึดมั่นในการนำเสนอข้อมูลที่รอบด้าน รวมทั้งการเปิดพื้นที่ใหั้กับทุกฝ่ายอย่างเป็นธรรม เป็นสิ่งที่ท้าทายจนยากยิ่งที่จะแยกแยะได้ว่า เรื่องใดเท็จเรื่องใดจริง

สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้จัดทำรายงานสรุปถึงการปฏิบัติหน้าที่ของสื่อมวลชนไทยในรอบปี 2553 ที่กำลังจะผ่านไปไว้ดังนี้

1.เสรีภาพในการทำข่าวภายใต้ความรับผิดชอบ จากกรณีการทำ หน้าที่ของสื่อมวลชน ทั้งภายในกลุ่มผู้ชุมนุมแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หรือกลุ่มคนเสื้อแดง และภายในศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) สื่อมวลชนต่างถูกจำกัดการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง ดังตัวอย่างที่มีให้เห็นบ่อยครั้งว่า แกนนำกลุ่มผู้ชุมนุมไม่ไว้วางใจผู้สื่อข่าว จนก่อให้เกิดการกระทบ กระทั่งกัน ทำให้สื่อมวลชนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์ท่ามกลางสถานการณ์ ความขัดแย้งที่เกิดขึ้น

2.ความปลอดภัยและการเยียวยาสภาพจิตใจของนักข่าว เมื่อ ขาดความไว้เนื้อเชื่อใจและมีความหวาดระแวงซึ่งกันและกัน สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ความไม่ปลอดภัยในสวัสดิภาพการทำงาน ดังนั้นการเตรียมความพร้อมของสื่อมวลชนจึงถือเป็นเรื่องสำคัญ และเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การทำข่าวของประเทศไทย ที่กลุ่มผู้สื่อข่าวต้องใส่เสื้อเกราะและอุปกรณ์ป้องกันภัยต่างๆ แต่ในที่สุดก็เกิดความสูญเสียขึ้น โดยเฉพาะนักข่าวและช่างภาพจากต่างประเทศต้องเสียชีวิตและบาดเจ็บจาก เหตุการณ์สลายการชุมนุม มีนักข่าวและช่างภาพจากสื่อมวลชนไทยได้รับบาดเจ็บอีกจำนวนมาก ผลที่ตามมายังได้ก่อให้เกิดบาดแผลขึ้นภายในจิตใจ ซึ่งยากจะเยียวยาให้ฟื้นคืนสู่สภาพปกติได้ ผู้สื่อข่าวจำนวนไม่น้อยยังตกอยู่ในอาการหวาดผวาและรอคอยการเยียวยาสภาพจิต ใจอย่างถูกต้องตามหลักจิตวิทยา

3.ความเป็นมืออาชีพในการทำงานในสถานการณ์ความรุนแรง เหตุการณ์ ความรุนแรงที่ผ่านมาไม่มีใครคาดคิด ไม่มีการเตรียมตัวเตรียมใจว่าจะต้องเผชิญกับสถานการณ์รุนแรงเช่นนี้ ต้องยอมรับว่า ผู้สื่อข่าวไทยยังขาดความพร้อมในการรายงานข่าวภายในสถานการณ์ความขัดแย้ง ด้วยความ“รอบคอบ รอบด้าน” ดังนั้น การฝึกอบรมผู้สื่อข่าวให้มีความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจจึงเป็นเรื่องที่มี ความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง

4.การปิดกั้นเสรีภาพสื่อมวลชน ในส่วนของการทำหน้าที่ “สื่อมวลชน” ในสถานการณ์ความขัดแย้ง ทางสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯ ยังคงยืนยันในหลักการเรื่องเสรีภาพในการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน ไม่สนับสนุนให้มีการปิดกั้นสื่อมวลชนทุกรูปแบบ ในขณะเดียวกันได้เรียกร้องให้สื่อมวลชนทุกแขนงมีความรับผิดชอบต่อสังคมด้วย หากพบว่า สื่อใดกระทำการละเมิดกฎหมายก็ต้องใช้กระบวนการทางกฎหมายในการดำเนินการอย่าง โปร่งใส เป็นธรรมและไม่เลือกปฏิบัติ ไม่ใช้วิธีการอื่นใดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเข้ามาจำกัดเสรีภาพในการแสดงความคิด เห็นของประชาชนและสื่อมวลชน

5.สื่อการเมือง-สื่อรัฐนำไปสู่ความขัดแย้ง นอกจากนี้ ได้เกิดปรากฎการณ์ของสื่อการเมืองที่ถูกสร้างขึ้นมาอย่างมากมาย และถูกนำมาใช้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางการเมือง ทำให้สื่อเหล่านี้มีฐานะเป็นเพียงเครื่องมือในการต่อสู้ทางการเมืองของแต่ละ ฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นวิทยุชุมชน โทรทัศน์ดาวเทียม เว็บไซต์ ที่มีการนำเสนอความคิดเห็นและความเชื่อมากกว่า “ความจริง” ไม่ได้นำเสนอข้อเท็จจริงที่มีข้อมูลอย่างรอบด้าน ในทางตรงกันข้ามกลับนำเสนอข้อมูลในลักษณะของการโฆษณาชวนเชื่อ มีอคติ ยั่วยุให้เกิดความขัดแย้ง แตกแยก เกลียดชัง จนถึงขั้นการทำลายล้างต่อฝ่ายที่มีความคิดเห็นที่แตกต่างกับตัวเอง ในขณะที่สื่อมวลชนของรัฐถูกรัฐบาลแทรกแซงการทำหน้าที่ทั้งทางตรงและทางอ้อม ทำให้เกิดการปิดกั้นการนำเสนอข้อมูลข่าวสารในรูปแบบต่างๆ ยังไม่นับรวมถึงการปิดกั้นสื่อออนไลน์ที่ขาดความชัดเจนว่าได้ดำเนินการตาม กระบวนการของกฎหมายที่มีอยู่หรือไม่

ดังนั้น สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ขอสรุปว่า ในปี 2553 ที่กำลังจะผ่านไปถือว่าเป็น “ปีแห่งความยากลำบากในการทำหน้าที่สื่อ” ของสื่อมวลชนไทย ซึ่งในอนาคตจะต้องมีการปรับตัวและเตรียมพร้อมกับสถานการณ์ความขัดแย้งมาก ยิ่งขึ้น เพื่อให้สามารถทำหน้าที่ในการรายงานข้อมูลข่าวสารได้อย่างครบถ้วน รอบด้านไปสู่สาธารณชน และยึดมั่นให้หลักของจริยธรรมวิชาชีพด้วย

สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

www.tja.or.th

31 ธันวาคม 2553

Friday, December 31, 2010

"จตุพร-ธิดา-เมียณัฐวุฒิ" โชว์ ส.ค.ส.แกนนำเสื้อแดง หลังเข้าเยี่ยมที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ

ที่มา มติชน



นางธิดา ถาวรเศรษฐ รักษาการแกนนำ นปช. นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.เพื่อไทย พร้อมด้วยภรรยานายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อโชว์ สคส.ของแกนนำ นปช.หลังจากเข้าไปเยี่ยมในเรือนจำพิเศษกรุงเทพ พร้อมกับแนวร่วมเสื้อแดง

ว.วชิรเมธี ยกเครื่องชีวิต รับปี 2554 "ตั้งศูนย์ถ่วงล้อสังคมไทย"กันใหม่

ที่มา มติชน



กำลังจะผ่านปีเสือดุไปอีกปี เข้าสู่ปีกระต่าย...

แม้ว่าปีที่ผ่านมา ชีวิตคนไทยจะเจออะไรที่หนักหนามามากมาย แต่เมื่อชีวิตยังอยู่ ก็ต้องสู้กันไป ถ้ามีกำลังใจ ชีวิตเริ่มใหม่ได้เสมอ

ว่าแต่ว่า ก่อนเริ่มปีใหม่นี้ เรามีแนวทางชีวิตใหม่ที่ดีให้เริ่มต้นเดินกันหรือยัง ? ถ้ายัง มาฟังกันทางนี้

พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี หรือ ท่าน ว.วชิรเมธี พระนักคิดที่แหลมคมท่านหนึ่งในสังคมไทย มาพูดคุยถึงเข็มทิศชีวิตใหม่เพื่อความเป็นสิริมงคลรับปี พ.ศ. 2554

ท่านเริ่มจากการมองย้อนกลับไปปีเสือ ที่เต็มไปด้วยความรุนแรงทั้งปีว่า...

"พระอาจารย์คิดว่า การดำเนินชีวิตใหม่ของปีหน้าต้องดูจากปีนี้ก่อน ปีนี้เป็นปีที่สังคมไทยเข้าสู่โหมดของความรุนแรงในทุกด้าน ทั้งเรื่องความรุนแรงทางด้านความคิดที่แบ่งฝักแบ่งฝ่ายกัน ปีหน้าเราต้องหันมาลดทัศนคติที่เป็นรากฐานความรุนแรงตัวนี้ให้ได้ มิเช่นนั้นแล้ว สิ่งนี้จะเป็นอาวุธร้ายที่น่ากลัวยิ่งกว่าเอ็ม-79 เอ็ม-79 ยิงไปที่ไหนก็ระเบิดเฉพาะที่ เฉพาะจุด แต่ทัศนคติอันตราย ถ้าจุดไปแล้ว จะกระจายแทรกซึมเข้าไปในทุกมิติของสังคมไทย"

ความรุนแรงต่อมาคือ ความรุนแรงทางการเมือง "การเมืองทุกวันนี้ยังคงเป็นธนาธิปไตย หมายความว่า ยังคงเป็นการเมืองเพื่อเงิน ยังไม่ใช่การเมืองเพื่อประโยชน์สุขของประเทศชาติและของประชาชน เราต้องช่วยกันติง ช่วยกันเตือน ช่วยกันส่งเสียงร้อง ให้นักการเมืองทั้งหลายได้ตระหนักรู้ว่า การเมืองหลงทิศผิดทางออกไปมาก ต้องนำการเมืองที่เป็นธนาธิปไตย การเมืองที่รองรับหรือขับเคลื่อนด้วยกระบวนการคอร์รัปชั่นระดับชาติ ลดน้อยถอยลงให้มากที่สุด"

ท่าน ว.วชิรเมธีหยุดพิจารณาครู่หนึ่งแล้วเล่าต่อว่า...

"อีกเรื่องคือ ความรุนแรงทางสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเข่นฆ่าประชาชนคนไทยด้วยกันเอง กลายเป็นเรื่องที่ถูกทำให้ดูเหมือนธรรมดา ถ้าเรายอมรับการเข่นฆ่าว่าเป็นเรื่องปกติ วันหนึ่ง สิ่งนี้จะกลายเป็นวัฒนธรรมกระแสหลักของสังคมไทย วันไหนไม่ฆ่า วันนั้นแปลก จะเป็นเรื่องที่อันตรายที่สุดสำหรับสังคมไทยในอนาคต เพราะฉะนั้น เราจะต้องถอดถอน การข่มเหงซึ่งกันและกันให้เหลือน้อยที่สุด ให้เราหันมาอยู่กันด้วยเมตตา"

ประการต่อมา สิ่งที่จะต้องช่วยกันกำจัดก็คือปัญหาทางศีลธรรมของสังคม เช่น ปัญหาการพบเด็กที่ถูกทำแท้งกว่าสองพันชีวิต แล้วสถิติการทำแท้งสามแสนคนต่อปี อันนี้เฉพาะตัวเลขบนดิน นี่เป็นตัวเลขที่อันตรายมาก สะท้อนปัญหาของสังคมไทยว่า ความเสื่อมโทรมทางศีลธรรมขึ้นถึงจุดที่อันตรายมาก ทำอย่างไรเราจึงจะสามารถลดความเสื่อมโทรมของศีลธรรมเหล่านี้ให้กลับมาสู่ความเป็นสังคมที่ศีลธรรมนำหน้า

"และอันตรายอีกประการหนึ่งก็คือ ค่านิยมวัตถุนิยมซึ่งครอบงำสังคมไทยอย่างเข้มข้นและรุนแรงมาก เราวัดค่าของคนกันที่ความมั่งมีศรีสุข ซึ่งไม่ถูกต้อง สมัยก่อนเขาใช้คำว่า อยู่เย็นเป็นสุข มั่งมีศรีสุขเป็นเกณฑ์วัดความสำเร็จของมนุษย์โดยใช้วัตถุและการบริโภคเป็นตัวตั้ง ถ้าเราวัดกันอย่างนี้ คนที่ประสบความสำเร็จก็มีน้อยมาก แล้วทรัพยากรก็จะไม่ถูกกระจายไปถึงคนส่วนใหญ่ จะก่อให้เกิดภาวะสุขกระจุกและทุกข์กระจาย ในระยะยาวอาจจะเกิดสงครามแย่งชิงทรัพยากรระหว่างชนชั้นได้ ฉะนั้น ต้องช่วยกันลดทอนค่านิยมวัตถุนิยมให้มาก หันมาบริโภคกันอย่างมีสติ"

เมื่อมองย้อนปีที่ผ่านมาแล้ว ท่าน

ว.วชิรเมธี ได้บรรยายถึงแนวทางชีวิตใหม่ที่ควรจะเป็นในปีหน้าว่า...

"ปีหน้า พระอาจารย์อยากให้สังคมไทยมาตั้งศูนย์ถ่วงล้อกันใหม่ ให้เป็นสังคมที่อยู่บนพื้นฐานของสมดุล หมายความว่า การเมืองก็ต้องมองหาทางสายกลาง ทางสายกลางของการเมืองก็คืออะไร ? การเมืองเป็นเรื่องของการทำเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน เป็นเรื่องของการบริหารราชการแผ่นดินเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ไม่ใช่เพื่อประโยชน์ทุกข์ของประชาชน ประโยชน์สุขหมายความว่า นโยบายต่าง ๆ ที่รัฐบาลผลิตออกมานั้น จะต้องก่อให้เกิดประโยชน์สุขของประเทศชาติและประชาชนอย่างยั่งยืน"

ความสมดุลทางสังคมก็เป็นเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กัน..."สังคมต้องกลับมาหาความสมดุล เราจะต้องทำให้สังคมไทยเป็นสังคมที่ยกย่องคนดี แล้วใช้ข้อเท็จจริง ใช้สติปัญญา ใช้เหตุผล ใช้ศีลธรรมในการขับเคลื่อนสังคมของเรา ที่ผ่านมา สังคมไทยนั้นเหยียบย่ำซ้ำเติมคนดี แล้วก็ยกย่องบูชาคนเลวที่ใช้เงินไต่เต้าขึ้นมาสู่ความสำเร็จ มากุมชะตาของชาติบ้านเมือง ทำให้ชาติบ้านเมืองผิดทิศผิดทางไป คนเหล่านี้สนใจแต่เพียงว่าทำอย่างไรเขาจะร่ำรวยและมั่งคั่งให้ได้มากที่สุดเท่านั้น เป็นเหตุให้เรื่องพื้นฐานทางสังคมหลายเรื่อง เช่น บรรทัดฐานทางจริยธรรมก็ดี ค่านิยมของสังคมก็ดี ซึ่งเป็นสิ่งดี ๆ ที่สังคมอุ้มชูอยู่นั้น ถูกทำลาย ถูกบั่นทอนลงไปมาก"

ในมุมธุรกิจ ก็ไม่ควรจะตื้นเขินเพียงแค่ทำซีเอสอาร์กับสังคมเท่านั้น...

"ต่อไปเป็นเรื่องธุรกิจ ภาคธุรกิจจะต้องร่วมรับผิดชอบให้มากขึ้น ไม่ใช่แค่หันไปทำซีเอสอาร์ให้มากขึ้นเท่านั้น แต่คุณต้องทำให้มากกว่านั้น นั่นก็คือ ภาคธุรกิจต้องมีจิตสำนึกร่วมต่อสังคม ไม่ใช่ทำให้แต่องค์กรธุรกิจของคุณดีขึ้น ภาคธุรกิจต้องมีจิตสำนึกในแบบที่ว่า ถ้าเราไม่ทำธุรกิจที่เบียดเบียนสังคม เราก็จะได้อยู่ในสังคมที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีร่วมกัน ให้จำไว้อย่างหนึ่งว่า ถ้าคุณได้กำไร แล้วสังคมขาดทุนหรือเปล่า"

ส่วนด้านสิ่งแวดล้อม ปีนี้เป็นปีที่สังคมไทยพบกับภัยพิบัติมากมาย ท่าน ว.วชิรเมธี อยากให้เรามาทบทวนกันใหม่ ด้วยการเปลี่ยนทัศนคติใน 3 เรื่อง

"หนึ่ง อย่าแยกตัวเองออกมาจากธรรมชาติ เพราะแท้ที่จริง มนุษย์ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของธรรมชาติ แต่มนุษย์เป็นตัวธรรมชาติเองเลยทีเดียว ด้วยความเข้าใจที่ถูกต้องว่า มนุษย์กับธรรมชาติคือองค์รวมเป็นหนึ่งเดียวกัน จะทำให้เรามาสู่ข้อที่สอง นั่นคือ จะไม่ทำให้เราหลงผิดคิดว่าเรามีอาญาสิทธิ์เหนือธรรมชาติ ที่ผ่านมา มนุษย์เข้าใจผิดว่ามีอาญาสิทธิ์เหนือธรรมชาติ จึงสูบดินสูบฟ้ามาปรนเปรอกิเลสตัวเองอย่างไม่ปรานีปราศัย ทำให้ทรัพยากรต่าง ๆ ถูกใช้ไปอย่างสิ้นเปลืองอย่างรวดเร็ว ทำให้โลกนี้เสียสมดุล ขอให้เราทั้งหลายวางท่าทีกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้วยท่าทีที่เรียกกันว่า กัลยาณมิตร พระพุทธองค์ตรัสว่า ผู้ใดนั่งหรือนอนใต้ต้นไม้ต้นใด ไม่ควรหักราญกิ่งต้นไม้นั้น เพราะผู้ที่หักราญกิ่งไม้ของต้นไม้นั้น เป็นผู้ประทุษร้ายมิตร และผู้ประทุษร้ายมิตร นับเป็นคนเลว ถ้าเราเปลี่ยนทัศนคติต่อธรรมชาติ ปฏิบัติการเบียดเบียนธรรมชาติจะลดน้อยถอยลง แล้วเราก็จะสามารถอยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างฉันพี่น้อง มีความสุขกันมากขึ้น...

...ประการที่สำคัญที่สุด อยากให้คนไทยไม่เพียงแต่ช่วยกันรับมือภัยธรรมชาติเท่านั้น แต่ขอให้ช่วยกันถอดรหัสด้วยว่า ธรรมชาติต้องการส่งสัญญาณอะไรให้คุณตระหนักรู้หรือเปล่า หน้าหนาวทำไมจึงหนาวขึ้น ทำไมฝนจึงตกมากขึ้น ทำไมน้ำจึงท่วมหนักหนาสาหัส ธรรมชาติกำลังส่งจดหมายมาให้คุณหรือเปล่าว่า เกิดการผิดสำแดงบางสิ่งบางอย่างในธรรมชาติโดยน้ำมือของมนุษย์ และเราสามารถเปลี่ยนแปลงอะไรเพื่อธรรมชาติได้บ้าง...

...เหล่านี้คือ สิ่งที่พระอาจารย์คิดว่า เป็นทิศทางที่เราจะมองร่วมกันไปข้างหน้าในปีพุทธศักราช 2554"

แค้นฝังใจ

ที่มา ข่าวสด

คอลัมน์ เหล็กใน

สมิงสามผลัด




ในที่สุดความพยายามของ นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ ที่ยื่นให้ถอนประกัน นายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำนปช.

ต้องพังพาบลงอีกครั้ง

เมื่อศาลอาญาพิจารณายกคำร้อง

ประสาชาวบ้านก็คือไม่ถอนประกัน นายจตุพรไม่ต้องระเห็จ เข้าเรือนจำ

เหตุผลง่ายๆ ก็คือ ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่านายจตุพรมีพฤติกรรมที่เชื่อได้ว่าจะไปยุ่งกับพยานหลักฐาน

หรือเป็นอุปสรรคกับการสอบสวน เพราะการสอบสวนของดีเอสไอเสร็จสิ้นแล้ว

แต่ศาลได้กำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติม

ห้ามไม่ให้นายจตุพรไปเกี่ยวข้องกับการชุมนุมที่เกิน 5 คน ขึ้นไป

ห้ามเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร หรือให้สัมภาษณ์ต่อสาธารณชน ที่เป็นอุปสรรคต่อการสอบสวนและการพิจารณาคดี

เว้นแต่เป็นการอภิปรายในรัฐสภา!

หลังฟังเหตุผลการยกคำร้องขอถอนประกันของศาลทั้ง 3-4 ครั้ง

ก็ออกมาเหมือนกันว่าไม่น่าเชื่อว่านายจตุพรจะไปข่มขู่พยาน หรือไปรบกวนการสอบสวนคดีก่อการร้าย

ทำให้ชาวบ้านส่วนใหญ่โดยเฉพาะคนเสื้อแดงมองว่าการเคลื่อนไหวกดดันของนายธาริต

เป็นเรื่อง "ส่วนตัว" มากกว่าเรื่อง "คดีความ"

ทำให้รู้สึกว่านายธาริตมองนายจตุพรเป็น "ศัตรู" มากกว่า เป็น "จำเลย"

เพราะหลังจากศาลยกคำร้องครั้งล่าสุดแล้ว

นายธาริตยังประกาศจะหาช่องหาหนทางเล่นงานนาย จตุพรอีก

แบบว่ายังไงก็จะต้องลากคอเข้าคุกให้ได้!?

ส่วนนายจตุพรก็คงต้องระมัดระวังตัวมากยิ่งขึ้น

เพราะเงื่อนไขเพิ่มเติมของศาลระบุไว้ชัดเจนว่าห้ามพูด ห้ามชุมนุมเกิน 5 คน ห้ามเผยแพร่เอกสารเกี่ยวกับคดี

ดังนั้น นายจตุพรจะแถลงเปิดโปงสำนวนการสอบสวนคดี 91 ศพต่อไปคงทำไม่ได้แล้ว

หรือจะไปร่วมชุมนุมไว้อาลัยครบรอบวันสลายม็อบแดงก็คงไปไม่ได้เช่นกัน

ไม่เช่นนั้น นายธาริตก็คงได้ช่อง

งัดเรื่องนี้ขึ้นมาเล่นงานได้อีกรอบ!!

แต่ก็ใช่ว่านายจตุพรจะหมดหนทาง ทวงความยุติธรรมให้ผู้เสียชีวิตจากเหตุสลายม็อบ

เพราะเงื่อนไขเพิ่มเติมของศาล ยกเว้นการเปิดเผยเอกสารในการอภิปรายในรัฐสภา

ตรงนี้ก็ยังเป็นช่องทางให้นายจตุพรใช้เอกสิทธิ์ส.ส.ในการเปิดโปงเอกสารทางคดีอีกครั้งในศึกอภิปรายรัฐบาล

ซึ่งสภาจะเปิดสมัยประชุมในวันที่ 21 ม.ค. 2554

ตอนนั้นเป้าคงไม่ใช่นายธาริตคนเดียว

แต่เป็น นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ และศอฉ.!!

เอกสารลับในมือคงได้นำมาตีแผ่กลางสภาแหงๆ

คงมีทีเด็ดมากกว่าที่นำมาเปิดเผยก่อนหน้านี้แน่นอน

การทวงความยุติธรรม 91 ศพจาก "ผู้สั่งการ"

จะเป็นเนื้อเป็นหนัง เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น

ถึงตอนนั้น นายอภิสิทธิ์อย่ายุบสภาหนีก่อนแล้วกัน!?

นักท่องเที่ยวแห่ซื้อ "สุนัขบางแก้ว" เป็นของฝากปีใหม่จากเมืองพิษณุโลก

ที่มา มติชน



วันที่ 31 ธันวาคม ผู้สื่อข่าว จ.พิษณุโลก รายงานว่า บริเวณถนนสีหราชเดโชชัย ต.บ้านคลอง อ.เมือง จ.พิษณุโลก มีผู้นำลูกสุนัขพันธุ์ไทยบางแก้วหลากหลายขนาด อายุตั้งแต่ 1-3 เดือน มาใส่กรงตั้งอยู่ริมถนนฝั่งขาออกจากตัวเมืองพิษณุโลกกว่า 10 ราย เพื่อรอลูกค้านักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเที่ยวพิษณุโลกและเดินทางกลับกรุงเทพฯ แวะซื้อเพื่อเป็นสินค้าของฝากเมืองพิษณุโลกที่ได้รับความสนใจอย่างมาก

นายบุญมี มีจันทร์ เจ้าของวังขี้เหล็กฟาร์ม อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก เปิดเผยว่า ในช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ผู้เพาะเลี้ยงสุนัขพันธุ์บางแก้วจะมาจับจองพื้นที่ริมถนนสีหราชเดโชชัย เพื่อวางจำหน่ายเป็นของฝากจากเมืองพิษณุโลก โดยช่วงนี้เริ่มตั้งกันตั้งแต่ช่วงวันที่ 30 ธันวาคม 2553 และจะลากยาวไปถึงวันที่ 4-5 มกราคม 2554 ช่วงที่นักท่องเที่ยวเริ่มเดินทางกลับกรุงเทพฯ จะขายดีอย่างมาก ราคาเฉลี่ยตัวละตั้งแต่ 1,500-7,000 บาท ขึ้นกับอายุลูกสุนัขและความสวยงามของสุนัข โดยเฉลี่ยแล้ว แต่ละรายจะขายลูกสุนัขได้วันละ 2 ตัว

จำคุก 85 พธม." บุกยึด"ช่อง11" แดงหวังปีใหม่ ยุติธรรมมีจริง

ที่มา ข่าวสด



โชว์ส.ค.ส. - นางธิดา โตจิราการ นำกลุ่มภรรยาแกนนำนปช. พร้อมด้วยนายจตุพร พรหมพันธุ์ เข้าเยี่ยมผู้ต้องขังคนเสื้อแดงที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ พร้อมโชว์ ส.ค.ส.ของ 8 แกนนำที่ติดคุก

ศาลอาญาพิพากษาจำคุกรวด 85 นักรบศรีวิชัย-การ์ดพธม. ฐานบุกช่อง 11 ตัดสินรายกระทงมีทั้งซ่องโจรพกอาวุธและยาเสพติด โทษตั้งแต่ 6 เดือนถึง 2 ปีครึ่ง โดยเด็กอายุต่ำกว่า 20 ปีให้รอลงอาญาไว้ อัยการฟ้องแล้ว ′จอน อึ๊งภากรณ์′ กับพวก 10 คน บุกรัฐสภา ตู่เยี่ยมเพื่อนเสื้อแดงในเรือนจำ โต้ปชป. ศาลห้ามพูดเรื่องคดีเท่านั้นไม่ได้ห้ามพูดเรื่อง บ้านเมือง

เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 30 ธ.ค. ที่ห้องพิจารณาคดี 704 ศาลอาญา ศาลอ่านคำพิพากษาในคดีบุกยึดสถานีโทรทัศน์เอ็นบีที คดีที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 4 เป็นโจทก์ ยื่นฟ้องนายธเนศร์ คำชุม กับพวก ซึ่งเป็นกลุ่มนักรบศรีวิชัย และการ์ดพันธมิตรประชาชนเพื่อประชา ธิปไตย รวม 85 คน เป็นจำเลยในความผิดฐานสมคบกันตั้งแต่ห้าคนขึ้นไปเพื่อกระทำความผิดฐานเป็นซ่องโจร, มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปใช้กำลังประทุษร้ายหรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใด ให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง, ร่วมกันไม่มีเหตุอันสมควรเข้าไปหรือซ่อนตัวในเคหสถาน หรือสำนักงานในความครอบครองของผู้อื่นโดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือโดยมีอาวุธในเวลากลางคืน, ร่วมกันทำให้เสียทรัพย์, ร่วมกันข่มขืนใจผู้อื่นให้กระทำการใด หรือจำยอมต่อสิ่งใด โดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ หรือทรัพย์สิน โดยใช้กำลังประทุษร้ายโดยมีอาวุธ, ร่วมกันพาอาวุธไปในเมืองหรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุอันสม ควร ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32, 33, 83, 91, 92, 210, 215, 309, 358, 364, 365 และ 371 พ.ร.บ.อาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนฯ พ.ศ.2490, พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2545 และ พ.ร.บ.วิทยุคมนาคม พ.ศ.2535

โจทก์ฟ้องว่า เมื่อระหว่างวันที่ 22-25 ส.ค. 51 จำเลยทั้ง 82 คน กับพวกอีก 3 คน ซึ่งเป็นเยาวชน ร่วมกันบุกรุกอาคารสำนักงานสถานีโทรทัศน์เอ็นบีทีพร้อมพกอาวุธจำนวนมาก จากนั้นจำเลยได้ร่วมกันทำลายทรัพย์สิน รวมค่าเสียหายทั้งสิ้นกว่า 6 แสนบาท ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวเป็นของทางราชการ จำเลยที่ 1 มีเครื่องรับและส่งวิทยุคมนาคม ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ขณะที่จำเลยที่ 39, 80 มีใบกระท่อม ยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 รวมจำนวน 18 ใบไว้ในครอบครอง ในชั้นสอบ สวน จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพ ในข้อหาพกพาอาวุธปืนติดตัวไปโดยไม่ได้รับอนุญาต ส่วนจำเลยที่ 39 ให้การรับสารภาพ เฉพาะข้อหามีใบกระท่อมไว้ในครอบครอง แต่ภายหลังกลับให้การปฏิเสธ

พิพากษาว่าศาลพิพากษาว่าจำเลยที่ 1-41 และ 43-85 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 210 วรรคแรก 365 (1) (2) (3) ประกอบมาตรา 364, 83 ขณะกระทำผิด จำเลยที่ 30, 47, 81 อายุยังไม่เกิน 20 ปี เห็นสมควรลดโทษมาตราส่วนโทษ 1 ใน 3 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 76 จำเลยที่ 83-85 อายุต่ำกว่า 18 ปี เห็นสมควรละโทษให้กึ่งหนึ่ง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 75 ฐานเป็นซ่องโจร จำคุกจำเลยที่ 1-29 ที่ 31-41 ที่ 43-46 ที่ 48-80 ที่ 82 จำคุกคนละ 1 ปี จำคุกจำเลยที่ 30 ที่ 47 ที่ 81 คนละ 8 เดือน สั่งจำคุกจำเลยที่ 83-85 คนละ 6 เดือน ฐานบุกรุก จำคุกจำเลยที่ 1-29, 31-41, 43-46, 48-80 และที่ 82 คนละ 1 ปี จำคุกจำเลยที่ 30, 47, 81 คนละ 8 เดือน จำคุกจำเลยที่ 83-85 คนละ 6 เดือน

จำคุกนักรบ - บรรดานักรบศรีวิชัย และการ์ดพันธมิตรฯ จำนวน 85 คน ถูกควบคุมตัว หลังศาลตัดสินจำคุกคดีบุกสถานีโทรทัศน์เอ็นบีทีหรือช่อง 11 ระหว่างการชุมนุมม็อบเสื้อเหลือง โดยศาลรอลงอาญาแค่ 6 คน เมื่อ 30 ธ.ค.



จำเลยที่ 1 มีความผิดตามพ.ร.บ.อาวุธปืน พ.ศ. 2490 มาตรา 8 ทวิ วรรคหนึ่ง, 72 ทวิ วรรคสอง ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 เป็นการกระทำความผิดกรรมเดียว ผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามพ.ร.บ.อาวุธปืน ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุด ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 90 จำคุก 1 ปี และความผิดพ.ร.บ.วิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 มาตรา 6 และ 23 สั่งจำคุก 1 ปี

จำเลยที่ 2 มีความผิดพ.ร.บ.อาวุธปืน มาตรา 7 และ 72 วรรคสอง สั่งปรับ 1 พันบาท ส่วนจำเลยที่ 39 และ 80 มีความผิดตามพ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง 76 วรรคสอง สั่งปรับคนละ 1 พันบาท เพิ่มโทษจำเลยที่ 24 1 ใน 3 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 รวมเป็นจำคุกกระทงละ 1 ปี 4 เดือน การกระทำของจำเลยที่ 1-41 และ 43-85 เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 จำเลยรับข้อเท็จจริงว่าได้ร่วมกันบุกรุกอาคารสำนักงานสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยและสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ความผิดตามพ.ร.บ.อาวุธปืน

จำเลยที่ 1 และ 2 ให้การรับสารภาพ ความผิดตามพ.ร.บ.วิทยุคมนาคม จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพความผิดตามพ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ จำเลยที่ 39 และ 80 ให้การรับสารภาพ ซึ่งเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 78 คงจำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 1 ปี 18 เดือน และจำเลยที่ 2 มีกำหนด 1 ปี 6 เดือน และสั่งปรับ 500 บาท ส่วนจำเลยที่ 3-29, 31-38, 40-41, 43-46, 48-79 และ 82 มีกำหนด 1 ปี 6 เดือน จำเลยที่ 39 และ 80 มีกำหนด 1 ปี 6 เดือน ปรับ 500 บาท จำเลยที่ 30, 47 และ 81 มีกำหนด 12 เดือน จำเลยที่ 83-85 มีกำหนด 9 เดือน จำเลยที่ 24 มีกำหนด 1 ปี 12 เดือน ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 30, 47, 81, 83, 85 ได้รับโทษจำคุกมาก่อน

ขณะกระทำความผิดจำเลยที่ 30, 47 และ 81 อายุยังไม่เกิน 20 ปี จำเลยที่ 83-85 ยังเป็นเยาวชน จึงเห็นควรให้โอกาสกลับตนเป็นพลเมืองดี โทษจำคุกให้รอการลงโทษจำเลยดังกล่าวไว้มีกำหนด 2 ปี ให้ไปรายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติ 4 ครั้ง ภายในกำหนดเวลา 1 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 หากจำเลยที่ 2 ที่ 39 และ 80 ไม่ชำระค่าปรับ ให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 29 และ 30 และให้ริบของกลางโดยให้วิทยุคมนาคมไว้ใช้ในราชการของสำนักงาน คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ข้อ หาและคำร้องอื่นให้ยก

อีกคดี เมื่อเวลา 10.00 น. ที่ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก นายธงชัย รุ่งเจริญวิวัฒนา พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 10 เป็นโจทก์ฟ้องนายจอน อึ๊งภากรณ์ อายุ 60 ปี ประธานมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม กับพวกรวม 10 คน เป็นจำเลยคดีบุกเข้ารัฐสภา เมื่อวันที่ 12 ธ.ค. 2550 จนต้องงดการประชุม ศาลรับคำฟ้องไว้พิจารณาเป็นคดีดำที่ อ.4383/2553 และสอบคำให้การจำเลยแล้วให้การปฏิเสธต่อสู้คดี ศาลจึงนัดตรวจพยานหลักฐานในวันที่ 28 ก.พ. 2554 เวลา 09.00 น.

เวลา 10.00 น ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศที่หน้าเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ว่า วันนี้มีบรรดาคนเสื้อแดงต่างทยอยเดินทางมาเยี่ยมแกนนำที่ถูกคุมขังอยู่อย่างต่อเนื่องเป็นจำนวนมาก เนื่อง จากวันนี้เป็นวันสุดท้ายของปีนี้ที่ทางเรือนจำจะให้เข้าเยี่ยมได้ ก่อนจะปิดทำการในช่วงเทศกาลปีใหม่ โดยคนเสื้อแดงได้นำส.ค.ส.มาเขียนอวยพรปีใหม่ เพื่อส่งเข้าไปให้กำลังใจกับแกนนำ โดยนางธิดา โตจิราการ พร้อมด้วยนางสิริสกุล ใสย เกื้อ ได้เดินทางเข้าเยี่ยมแกนนำตั้งแต่ช่วงเช้า พร้อมกับนำส.ค.ส. ที่ทางแกนนำให้จัดพิมพ์ขึ้นมาเพื่อแจกจ่ายให้แก่คนเสื้อแดงในช่วงปีใหม่ มาแจกให้กับผู้ที่เดินทางมาเยี่ยมแกนนำทุกคน

นางธิดายังกล่าวฝากว่า ขอสื่อสารไปถึง พี่น้องคนเสื้อแดงและประชาชนชาวไทยว่า ในปีใหม่นี้ควรจะเป็นศักราชใหม่ ขอนำคำพูดที่ นายณัฐวุฒิได้กล่าวฝากมาว่า หวังว่าปีใหม่นี้เป็นปีที่ความยุติธรรมจะเกิดขึ้นในประเทศนี้ ในส่วนของตนอยากจะฝากไปถึงทุกส่วนว่า ขอให้ช่วยกันทำให้ความจริงปรากฏขึ้นมา ขอให้มีความยุติธรรมเกิดขึ้นในแผ่นดินนี้ อย่าพยายามให้มีอุปสรรคขัดขวาง เพราะถ้าแผ่นดินนี้ไม่มีความจริงและความยุติธรรม แผ่นดินนี้จะอยู่ปกติสุขไม่ได้เลย

"สำหรับคนเสื้อแดงก็อยากให้ใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์แม้จะมีความเสียใจเจ็บแค้นอย่างมากก็ตาม ขอให้อดทน ใช้เหตุผลในการจะอธิบายให้คนที่ไม่ใช่เสื้อแดงเข้าใจว่า การต่อสู้ของคนเสื้อแดงมีความชอบธรรมอย่างไร ฉะนั้นแม้เป้าหมายเราจะสูงส่งและดี วิธีการก็จะต้องถูกต้องด้วย ถ้าวิธีการเราไม่ถูกต้อง ก็จะทำให้ความชอบธรรมเราหมดไป จึงขอให้มีความอดทนและทำความชอบธรรมนี้ให้ถึงที่สุด ตอนนี้สังคมไทยและสังคมโลกเข้าใจเรามากขึ้นทุกวัน จึงขอความอดทนของพี่น้องและขอให้เคลื่อน ไหวอย่างมีเหตุผล เพราะว่าความจริงสำคัญและมีพลานุภาพมากกว่าการใช้อาวุธ และใช้ความรุนแรง" นางธิดากล่าว

ต่อมาเวลา 13.00 น. นายจตุพร พรหมพันธุ์ เดินทางมาที่เรือนจำพิเศษเพื่อเข้าเยี่ยมแกนนำอีกครั้งพร้อมกับนางธิดาและนางสิริสกุล โดยนายจตุพรกล่าวว่า วันนี้มาเยี่ยมเพื่อนๆ โดยวันนี้เป็นวันสุดท้ายของปีนี้ที่เปิดให้เยี่ยม ความจริงก็อยากจะเข้าไปอยู่ด้วยเหมือนกัน เพราะเพื่อนๆติดมา 7 เดือน ตนเคยอยู่ในเรือนจำเข้าใจความรู้สึกดี ตอนนี้ยังไม่เห็นความจริงใจใดๆ ออกมาที่จะปล่อยตัวเพื่อนๆ

นายจตุพรกล่าวต่อว่า ในเรื่องคำวินิจฉัยตอนนี้ทางทีมทนาย กำลังดูอยู่ว่าจะขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญหรือไม่ แต่เบื้องต้นศาลห้ามชุมนุมทางการเมือง 5 คน และห้ามพูดเรื่องคดีความ แต่พรรคประชาธิปัตย์กลับบอกว่า ตนห้ามพูดเรื่องการเมือง จึงเป็นคนละเรื่องกัน เรื่องคดีเรื่องการชุมนุมทางการเมืองก็จะยื่นอุทธรณ์ ซึ่งเรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับที่จะไปปราศรัยกับพรรคเพื่อไทย หรือที่ไปจัดรายการวิทยุตนก็ทำได้ เพราะการห้ามการชุมนุมเกิน 5 คน เป็นอำนาจตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ซึ่งได้ถูกยกเลิกไปแล้ว

"แต่คนพรรคประชาธิปัตย์กลับมีอาการร่าเริง นายสุเทพบอกว่าผมคงอึดอัด ขอบอกว่าไม่มีใครโชคดีไปกว่าพรรคประชาธิปัตย์อีกแล้ว ชอบชกกับคนถูกมัดมือมัดเท้า แต่ก็ไม่เคยชนะซักครั้งเดียว ในส่วนของนายเทพไทจะฟ้องเป็นคดีที่ 3 ที่เมื่อวานออกมาให้สัมภาษณ์หมิ่น ประมาทผมอีก ฝากบอกนายสุเทพว่า แม้ศาลจะห้ามพูดเรื่องนี้ ก็พูดเรื่องอื่นๆ ได้อีก" นายจตุพรกล่าว

นายจตุพรกล่าวด้วยว่า ปีใหม่นี้จะขอพรจากพระแก้วมรกตและพระสยามเทวาธิราช ให้คนที่เผาบ้านเผาเมืองตัวจริง คนที่ฆ่าประชาชนตัวจริง ให้ได้รับโทษทัณฑ์ และคนบริสุทธิ์ได้รับการปล่อยตัวออกมา คิดว่าดีเอสไอคงไม่ถอนประกันตนเรื่องขอพรจากพระแก้วมรกต และยืนยันว่าจะใช้สิทธิ์ความเป็นมนุษย์ของตนต่อไป

เทปงาน 4ส ตาสว่าง วัดแจ้งศิริสัมพันธ์ 30 ธ ค 2553

ที่มา thaifreenews

โดย Nitikon_P











ส่ง7คนไทยเข้าคุก บัวแก้วรับ ถูกจับในเขตเขมร

ที่มา ไทยรัฐ



'กษิต' บินเจรจาเหลว! แฉโดนตั้งข้อหาหนัก กัมพูชาตรึงชายแดน พธม.จี้ให้รัฐบาลช่วย
ขู่ชุมนุมหน้าสถานทูต "อภิสิทธิ์" เรียกหน่วยงานความมั่นคงหารือเครียด
ย้ำทางการกัมพูชาต้องปล่อยตัวทันทีโดยไม่มีเงื่อนไข...

เขมรเอาจริงคุมตัว "พนิช" ลูกพรรค ปชป.และพวกรวม 7 คน ยัดคุก "เปรย์ ซาร์" แล้ว
หลังศาลพนมเปญตั้งข้อหาข้ามพรมแดนผิดกฎหมายกับเข้าเขตทหารโดยมีเจตนาร้าย
ชี้โทษหนักถึงจำคุก 18 เดือน ขณะที่ "กษิต" บินเจรจาล้มเหลว
เขมรไม่ยอมปล่อยตัว 7 คนไทย ยอมรับทั้งหมดถูกจับในพื้นที่กัมพูชา

"อภิสิทธิ์" เรียกหน่วยงานความมั่นคงหารือเครียด
ย้ำทางการกัมพูชาต้องปล่อยตัวทันทีโดยไม่มีเงื่อนไข
ในขณะที่ "สุเทพ" ซัด "วีระ" ตัวปัญหา
กต.ส่ง ผอ.กองเขตแดนฯ ลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริง ถูกทหารเขมรตะเพิดกลับ


กรณีนายพนิช วิกิตเศรษฐ์ ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ พร้อมพวกรวม 7 คน
ถูกทหารกัมพูชาจับตัวไปบริเวณตะเข็บชายแดนบ้านหนองจาน ต.โนนหมากมุ่น อ.โคกสูง จ.สระแก้ว
ตั้งแต่เมื่อตอนสายของวันที่ 29 ธ.ค.ที่ผ่านมา
ขณะเข้าไปตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีมีชาวบ้านร้องเรียนว่า
มีทหารเขมรรุกล้ำที่นาของคนไทย
ล่าสุดทางการกัมพูชานำตัว 7 คนไทยส่งตัวเข้าเรือนจำแล้ว หลังถูกศาลตั้งข้อหาหนัก

'ใบตองแห้ง' ออนไลน์: 2553 ปีแห่งการต่อสู้ทางชนชั้น

ที่มา ประชาไท

ปีที่แล้วจัดอันดับข่าวฮา แต่ปีนี้ที่เกิดเหตุการณ์นองเลือด เข่นฆ่า จับกุมคุมขัง ละเมิดสิทธิเสรีภาพมวลชนอย่างร้ายแรง จึงไม่มีอารมณ์จัดอันดับข่าวฮา ขอสรุปภาพเหตุการณ์ตามใจฉัน (ผม) ก็แล้วกัน

ก่อนอื่นขอชมนักข่าวทำเนียบ นักข่าวสภา ที่ตั้งฉายารัฐบาลและฝ่ายนิติบัญญัติ อย่างตรงไปตรงมา แสดงออกซึ่งความเป็นกลางและเป็นอิสระ ของนักข่าวพื้นที่ ไม่แสดงอคติเลือกข้างเหมือนข่าวที่ผ่านการเรียบเรียงและพาดหัวโดยหัวหน้าข่าว บรรณาธิการข่าว

ฉายาที่สะใจนอกจาก ‘ซีมาร์คโลชั่น’ ก็คือ ‘กริ๊ง...สิงสื่อ’ ซึ่งแฉหมดเปลือกว่า สาทิตย์โทรศัพท์สายตรงไปถึงกองบรรณาธิการสื่อของรัฐ ชี้นำกำหนดประเด็นการเสนอข่าว

นี่หรือรัฐบาล ปชป.ที่เคยตีฆ้องร้องป่าวว่า ทักษิณแทรกแซงสื่อ ซื้อสื่อ แต่เปิดหนังสือพิมพ์ทุกวันนี้เราจะเห็นแต่โฆษณาหน่วยงานของรัฐเต็มไปหมดทุกฉบับ พร้อมกับใบหน้านายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงต่างๆ (โฆษณาฟรีจากเงินภาษีประชาชน)

ส่วนนักข่าวสภาก็สะใจที่ให้ 40 สว.เป็น ‘ดาวดับ’ ไม่ไว้หน้า สมชาย แสวงการ กับคำนูณ สิทธิสมาน และที่ขำกลิ้งโดยอาจไม่ได้ตั้งใจคือ คนดีศรีสภาได้แก่ ทิวา เงินยวง (ตายแล้ว)

1.ปีแห่งการต่อสู้ทางชนชั้น
ทำไมจะไม่ใช่ล่ะ ก็ในเมื่อ CNN ยังยกให้เหตุการณ์ชุมนุมคนเสื้อแดงเป็นอันดับ 1 ใน 20 ข่าวเปลี่ยนแปลงโลกของภูมิภาคเอเชีย

สังคมไทยมองเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่างมุม ตามทัศนะชนชั้น ไม่เฉพาะการชุมนุมและการใช้กำลัง ‘กระชับพื้นที่’ น้ำท่วมใหญ่ปลายปี ก็เจือปน ‘ทัศนะชนชั้น’ เพราะที่ผ่านมาน้ำท่วมเรือกสวนไร่นาทุกปี คนกรุงไม่เคยสนใจ คนอยุธยา คนปทุม ‘ชนชั้นแก้มลิง’ อ่วมอรทัยทุกปี คนกรุงไม่เคยสนใจ แต่ปีนี้ คนกรุงเห็นภาพสดๆ ทางทีวี น้ำหลากเข้าท่วมเมือง โรงพยาบาล บ้านจัดสรรที่โคราช ท่วมตลาดหาดใหญ่ แหม! มันเข้าถึงหัวอกคนชั้นกลางด้วยกัน

นอกจากนี้ยังรวมกระแส ‘กอดต้นไม้’ คัดค้านถนนขึ้นเขาใหญ่ ปลุกคนชั้นกลางให้กอดภูเขา กอดทะเล กอดแม่น้ำ (อนุรักษ์ไว้เพื่อห้กรูไปเที่ยวนอนรีสอร์ท) แต่ไม่ยักอยากกอดเพื่อนมนุษย์

สิ่งที่สะท้อนว่านี่เป็นปีแห่งการต่อสู้ทางชนชั้น คือเราสามารถจัดอันดับเรื่องต่างๆ ได้เป็น 2 มุมที่ต่างกันสุดขั้ว เช่น

บุคคลแห่งปี ‘ไพร่’ หรือ ‘คนชั้นกลางเฟซบุค’
อาจพูดได้อีกอย่างว่า พระ(นาง)เอกแห่งปี หรือพระ(นาง)ร้ายแห่งปี

‘ไพร่แดง’ กรีธาทัพเข้าเมืองหลวง ยกขบวนไปทั่วกรุงท่ามกลางการโบกธงต้อนรับของแท็กซี่ สามล้อ มอเตอร์ไซค์ แม่บ้าน คนงานก่อสร้าง ทำให้คนชั้นกลางวิตกอกสั่น เพราะเพิ่งรู้ว่าคนสวน คนขับรถ แม่บ้านที่ชงกาแฟให้กินทุกวัน ล้วนเป็นเสื้อแดง

‘ไพร่แดง’ ยึดราชดำเนิน ยึดราชประสงค์ ยึดสถานีไทยคม ใช้กำลังคนที่มีแต่สองมือเปล่าปิดล้อมปลดอาวุธทหาร เหตุการณ์ 10 เมษายน แม้ถูกยิงล้มตายราวใบไม้ร่วง แต่มวลชนที่โกรธแค้นก็ลุกฮือไล่ ‘ทหารเสือ’ หนีกระเจิง ทิ้งอาวุธ ทิ้งรถหุ้มเกราะ กระทั่งถอดเครื่องแบบเอาตัวรอด

แม้ต่อมา มวลชนเสื้อแดงถูกปราบด้วยปฏิบัติการกระชับพื้นที่ พร้อม ‘สไนเปอร์’ ใน ‘เขตใช้กระสุนจริง’ พวกเขาก็ยืนหยัดต้านทานอยู่ในวงล้อมจนวาระสุดท้ายอย่างองอาจกล้าหาญไม่กลัวความตาย

แน่นอน ในนั้นมีความมุทะลุ มีความคิดรุนแรง เลยธง บ้าระห่ำ การนำที่สะเปะสะปะ ขาดยุทธศาสตร์ยุทธวิธี แต่สำหรับมวลชน ‘คนชั้นต่ำของแผ่นดิน’ นี่คือวีรกรรมและความเคียดแค้นเจ็บช้ำที่จะจดจำไปตลอดกาล

ขณะเดียวกัน เมื่อ ‘แดงถ่อย’ ยึดราชประสงค์ แหล่งชอปกระหน่ำซัมเมอร์เซล ศูนย์กลางกรุงเทพฯ ทำให้การจราจรเป็นอัมพาต ทั้งยังอาละวาดบุกที่นั่นที่นี่ ทำลาย ‘ความสงบสุข’ ของคนกรุง ก็เกิดกระแส ‘มวลชนเฟซบุค’ ล่า 1 ล้านชื่อสนับสนุนระบอบอภิสิทธิ์ ให้ใช้กำลังทหารปราบม็อบ หรืออีกนัยหนึ่ง ‘ออกใบอนุญาตฆ่า’ เพราะรู้อยู่แก่ใจว่าจะต้องเกิดบาดเจ็บล้มตายเกลื่อนกลาด แต่ต้องทำ เพื่อ ‘เอาความสุขของกรูคืนมา’

หลังเหตุการณ์ คนชั้นกลางชาวกรุงยังสร้างอารมณ์ร่วมทางชนชั้น หลั่งน้ำตาอาลัยตึกเวิลด์เทรด หวนหาความผูกพันอันโรแมนติกที่มีต่อโรงหนังสยามและโรงเรียนกวดวิชา (ตลอดจนไปเข้าคิวซื้อโดนัทที่สยามพารากอน) พวกเขาและเธอช่วยกันปกป้องอภิสิทธิ์และกองทัพ กระทั่งเขียนไปตอบโต้แดน ริเวอร์ แห่ง CNN อย่าง ‘องอาจกล้าหาญ’ กรี๊ดสนั่น ‘ไก่อู’ เป็นหนุ่มเนื้อหอมแห่งปี

นี่คือ ‘วีรกรรม’ ในทัศนะของคนกรุงเช่นกัน

วีรบุรุษแห่งปี เสธ.แดง หรือร่มเกล้า
วีรบุรุษในภาพรวมทุกชนชั้นเห็นพ้องว่าได้แก่ ‘จ่าเพียร’ ตำรวจดีไม่มีเส้น ผู้ตรากตรำทำหน้าที่จนวาระสุดท้าย

แต่วีรบุรุษทางการเมือง มีช้อยส์ให้เลือก 2 ข้อเช่นกัน คือ เสธ.แดง หรือ พ.อ.ร่มเกล้า

ผมเคยเปรียบเทียบไว้แล้วว่า เสธ.แดงจะเป็น ‘ตำนาน’ ส่วน พ.อ.ร่มเกล้าจะเป็น ‘อนุสาวรีย์’ แม้บ้าระห่ำไร้ทิศทาง มุทะลุไร้ยุทธศาสตร์ยุทธวิธีอย่างไร เสธ.แดงก็ ‘ได้ใจ’ เข้าถึงหัวจิตหัวใจมวลชน งานศพเสธ.แดงมีคนมาไว้อาลัยล้นหลาม เรื่องราวของนายพลขวัญใจคนชั้นล่างคงเล่าขานกันไปอีกนาน ...แต่ไม่ทราบว่ากองทัพสร้างรูปปั้นให้ พ.อ.ร่มเกล้า หรือยัง

ตัวตลกแห่งปี หมอเหวง หรือหมอประเวศ
หมอเหวงออกทีวีกับอภิสิทธิ์ แต่กลับออกทะเลจนคำว่า ‘เหวง’ กลายเป็นศัพท์แสลงใหม่ฮิตในหมู่คนกรุง ขณะที่คนเสื้อแดงเองก็บ่นเซ็งอุบอิบ

หมอประเวศกับอานันท์ตั้งคณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทย ใช้งบประมาณ 600 ล้าน กระทั่งบัดนี้ก็ยังไม่มีอะไรในกอไผ่ นอกจากทฤษฎีชุมชนนิยมที่พูดไว้ซ้ำซาก จนถูกคนรุ่นหลังถอนหงอกสนุกสนาน ไม่ใช่แค่ ‘คำ ผกา’ แต่คนในพรรคประชาธิปัตย์หรือผู้สนับสนุนระบอบอภิสิทธิ์ก็ออกอาการเซ็งและอดแซวไม่ได้เช่นกัน

ป.ล.ถ้าเลือกหมอประเวศ ก็รวมอานันท์และกรรมการปฏิรูปทั้งสองชุด

Idol แห่งปี อภิชาติพงศ์ หรือแทนคุณ
แทนคุณ จิตต์อิสระ ผู้มีภาพลักษณ์ ‘ลูกกตัญญู’ เป็นจุดขาย ทำหน้าที่พิธีกร NBT ตอบโต้ ‘ไพร่แดง’ อย่างแข็งขัน เป็นขวัญใจคนชั้นกลางเฟซบุค ปกป้องระบอบอภิสิทธิ์ และกองทัพ

อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล ก้าวขึ้นรับรางวัลปาล์มทองที่เมืองคานส์ โดยไม่กล่าวขอบคุณใครให้ยืดยาวแบบไทยๆ แต่กลับขอบคุณ ‘ภูติผีปีศาจ’ พร้อมให้สัมภาษณ์ว่า การต่อสู้ของเสื้อแดงคือการต่อสู้ทางชนชั้น นอกจากนี้ เขายังเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงคัดค้านกระทรวงวัฒนธรรมที่ให้งบ 100 ล้านกับหนัง ‘นเรศวร’ เรื่องเดียว


2.สิ่งต่างๆ แห่งปี
ข่าวฮาแห่งปี : น้ำท่วมให้รีบตัก ทันทีที่เกิดน้ำท่วมใหญ่ ก็มีคนบอกว่านี่คือ ‘นาทีทอง’ ของรัฐบาล ที่จะเก็บเกี่ยวเยียวยากลบปัญหาความขัดแย้ง แต่ที่ไหนได้ กลับกลายเป็นนาทีทองของสรยุทธ์ กับครอบครัวข่าว 3 แม้จะมีคำถามถึงการทำเกินหน้าที่สื่อ (คือตีปี๊บเฉพาะพื้นที่ที่ตนลงไปช่วย) แต่ก็ทำให้รัฐบาลหน้าแหกเสียรังวัด พิสูจน์ความไร้กึ๋นไร้ประสิทธิภาพ

หัวข่าวฮาแห่งปี : เนวินทอดกฐินโจร ที่จริงต้องยกเป็นข่าวยอดเยี่ยม ด้านให้การศึกษาเด็กและเยาวชนรู้จักประเพณีสำคัญทางศาสนา เพราะคนรุ่นใหม่ไม่ค่อยรู้จักว่า ‘กฐินโจร’ คือการทอดกฐินตกค้างให้กับวัดที่ไม่มีเจ้าภาพ เมื่อเห็นหัวข่าว ‘เนวินทอดกฐินโจร’ จึงฮือฮา พลิกอ่านแล้วค่อยร้องอ๋อ ที่แท้ทอดกฐินตกค้างให้ 239 วัดในบุรีรัมย์ ถ้าเป็นคนอื่นทอดกฐินโจร ก็คงไม่เรียกความสนใจได้เช่นนี้

หัวข่าวเฮ(โล)แห่งปี : ทักษิณ 1 ใน 5 ผู้นำยอดแย่ แพร่มาจากข้อเขียนของโจชัว คีทติ้ง ในเว็บไซต์นิตยสาร Foreign Policy ในเครือวอชิงตันโพสต์ กลายเป็นพาดหัวข่าวใหญ่แทบทุกฉบับ ขณะที่ข่าวนายกฯ อังกฤษไม่มาเที่ยวเมืองไทยเพราะเกรงจะส่งสัญญาณหนุนอภิสิทธิ์ ตกหายจากหัวข่าวหนังสือพิมพ์แทบทุกฉบับ มีมติชนพาดหัวใหญ่ฉบับเดียว

ที่จริงทั้งสองข่าวต้องเสนอแก่ผู้อ่านแต่ไม่จำเป็นต้องเน้นมากนัก เพราะข่าวแรกแค่ทัศนะฝรั่งคนเดียว ข่าวหลังก็อ้างแหล่งข่าวไม่เป็นทางการ เรื่องตลกคือ ถ้าเข้าไปดูในเว็บไซต์ Foreign Policy จะพบว่าข้อเขียนเรื่องอื่นๆ ของคีทติ้งมีคนโหวตพอใจ 20-30 หรืออย่างเก่งก็ 100-200 ราย แต่ข้อเขียนเรื่องนี้มีคนโหวตถล่มทลาย 4 พันกว่าราย คาดว่าเป็นข้อเขียนที่มีคนอ่านมากที่สุดตั้งแต่ก่อตั้งนิตยสารฉบับนี้มาเลยทีเดียว (คนชาติไหนคงเดาได้)

ไร้สาระแห่งปี : กฎเหล็กของมาร์ค กฎเหล็ก รธน. ขวัญใจจริตนิยมให้เทพเทือกลาออกก่อนลงเลือกตั้ง ชนะแล้วกลับมาเป็นรองนายกฯ ใหม่ จากนั้นก็ใช้กฎเดียวกันบีบให้บุญจง-เกื้อกูล ทำตาม ชนะแล้วกลับมาเป็นรัฐมนตรีใหม่ ถามว่ามีประโยชน์อะไร เพราะข้าราชการหัวคะแนนกำนันผู้ใหญ่บ้านรับรู้ทั่วกัน มี-ตรงที่ทำให้มาร์คได้คะแนนนิยม

กรณีนี้ก็เช่นเดียวกับการแต่งตั้งปลัดมหาดไทย ที่ถูกตีกลับ แต่ก็เพียงเปลี่ยนจากศิษย์ ‘โรงเรียนเนฯ’ เบอร์ 1 มาเป็นเบอร์ 2 กลบเกลื่อน

ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ 6 ส.ส.พ้นสภาพ เนื่องจากถือหุ้นบริษัทสัมปทานรัฐ ทั้งที่เป็นการซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์และมีจำนวนน้อยนิด ไม่ส่งผลให้มีสิทธิเสียงในการบริหาร นี่คือกฎเกณฑ์หยุมหยิมจับยายฉิมเก็บเห็ดในรัฐธรรมนูญ 2550 ซึ่งทำให้ต้องเสียงบประมาณแผ่นดินจัดการเลือกตั้งใหม่ 5 เขต โดยยังคล้ายคดีสมัครชิมไปบ่นไป พ้นนายกฯ เพราะพจนานุกรม วันรุ่งขึ้นก็ยังมีสิทธิเป็นนายกฯ อีก ในกรณีนี้ 5 ส.ส.เขตยังกลับมาลงเลือกตั้งได้อีก ถามว่าถ้าขาดคุณสมบัติ ผิดจริยธรรมร้ายแรง จนถูกถอดถอนแล้ว ยังให้กลับมาได้อย่างไร คำตอบคือ พวกเขาไม่ได้ขาดคุณสมบัติ และไม่ควรถูกถอดถอนตั้งแต่แรก ถ้าจะวินิจฉัยว่าผิด อย่างเก่งก็คือมี ‘ลักษณะต้องห้าม’ ให้จำหน่ายจ่ายหุ้นเสียแล้วเป็น ส.ส.ต่อไป

บุคคลตัวอย่าง : ธาริต เพ็งดิษฐ์ ถ้าธาริตเป็นผู้ใกล้ชิด ปชป.ก็คงไม่นับเป็นบุคคลตัวอย่าง แต่ธาริตเป็นผู้ใกล้ชิด ทรท.มาก่อน เริ่มจากเป็นอัยการ หน้าห้องคณิต ณ นคร หมอมิ้งดึงไปช่วยราชการสำนักนายกฯ เป็นที่ปรึกษาพันศักดิ์ วิญญรัตน์ แล้วก็ย้ายจากอัยการมาเป็นรองอธิบดี DSI ในรัฐบาลสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ซึ่งคงจะหวังให้เป็นมือเป็นไม้ แต่กลับได้ขึ้นเป็นอธิบดีในยุคพีระพันธ์ สาลีรัฐวิภาค สร้างชื่อเป็นมือปราบ ‘ผู้ก่อการร้ายเสื้อแดง’ ด้วยการสืบสวนสอบสวนแบบ ‘กันไว้เป็นพยาน’ และตีปี๊บข่าวฝึกอาวุธในเขมร กระทั่งได้ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จาก ม.ธุรกิจบัณฑิตย์

นี่คือ ‘บุคคลตัวอย่าง’ ที่เยาวชนคนรุ่นหลังต้องจดจำและเลียนแบบ ถ้าอยากจะได้ดิบได้ดีในสังคมนี้

สถาบันตัวอย่าง : ม.รังสิต รักพี่เสียดายน้อง เลือกยากจริงๆ ธรรมศาสตร์เลือกอธิการบดีได้สมคิด เลิศไพฑูรย์ สืบทอดเก้าอี้สุรพล นิติไกรพจน์ จุฬาฯ ยึดป้ายนักศึกษาประท้วงอภิสิทธิ์ ขณะที่นิด้าของสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ ต้องยกให้เป็น ‘ดาวค้างฟ้า’ บทบาทไม่ตกฟาก

อย่างไรก็ดี สุดท้ายขอเลือก ม.รังสิต เพราะออกแถลงการณ์ 3 ฉบับในนามมหาวิทยาลัย คัดค้านการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกโดยกัมพูชา เปล่า ไม่ติดใจเนื้อหาหรอก แต่แถลงการณ์ลงชื่อ ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ กับ ดร.สมปอง สุจริตกุล แค่ 2 คน! รู้สึกประทับใจที่ 2 คนลงชื่อแทนทั้งมหาวิทยาลัยได้ (ถ้าใช้คำว่าบริษัทมหาวิทยาลัยรังสิต จำกัด จะไม่แปลกใจเลย)

คดีส่งผลสะเทือนแห่งปี : 3G คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวของศาลปกครองสูงสุดที่ทำแท้งการประมูลใบอนุญาต 3G เป็นคดีที่ส่งผลสะเทือนอย่างกว้างขวาง รุนแรง ลึกซึ้ง ยาวนาน ผลการตีความของศาลทำให้การแข่งขันเสรีเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีก้าวสำคัญต้องชะงักงันไปเป็นปีๆ ขณะที่ ทศท.กสท. (ภายใต้กำกับของจุติ ไกรฤกษ์) สามารถนำคลื่น 3G ที่มีอยู่แล้วมาเปิดสัมปทานได้ กลายเป็น tiger eat sleep สบายใจเฉิบต่อไป (ก่อนหน้านี้ก็ได้ค่าสัมปทานคืนมาเพราะยกเลิก พ.ร.ก.ภาษีสรรพสามิต) หนำซ้ำ กสท.ยังแบะท่าจะยกคลื่นให้ True ของเจ้าสัวซีพี ชิงความได้เปรียบอีก 2 บริษัทอย่างมหาศาล ทั้งที่ถ้าเข้าประมูลใบอนุญาตกับ กทช.True คือผู้ที่มีความพร้อมน้อยที่สุด

คดีนี้วินิจฉัยโดยองค์คณะที่ท่านหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล ‘ศิษย์เอกโกเอ็นก้า’ เป็นตุลาการหัวหน้าคณะ ก่อนขึ้นเป็นประธานศาลปกครองสูงสุดแทน อ.อักขราทร จุฬารัตน์ ในอีก 7 วันต่อมา

คดีกังขาแห่งปี : 29 ล้านกับ 258 ล้าน คดี 29 ล้าน ปชป.ชนะฟาวล์ แต่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยในข้อเท็จจริงว่า ปชป.ไม่ผิด 4-2 คดี 258 ล้าน ปชป.ชนะฟาวล์ โดยศาลยังไม่ทันไต่สวนข้อเท็จจริง ถ้าเอาตรรกมาเรียบเรียงใหม่ สมมติศาลเห็นว่านายทะเบียนพรรคการเมืองให้ยุบพรรค คดีแรก ยังไงๆ ปชป.ก็ไม่ผิด แต่คดีหลังล่ะ ฉะนั้น การชนะฟาวล์จริงๆ แล้วไม่มีประโยชน์ต่อคดีแรก แต่อาจสำคัญมากๆๆ กับคดีหลัง

คดีแรกชนะฟาวล์ด้วยมติ 3-1-2 แต่กลับรวบรัดเป็น 4-2 และเอาความเห็นของ 1 เสียงมาใช้ในคำวินิจฉัยชั่วคราว แต่แก้ไขใหม่ในคำวินิจฉัยค้างคืน คดีหลังถ้ามีตุลาการ 6 คนเท่าเดิม มติก็จะออกมาเป็น 3-3 แต่ ปชป.โชคดีตามเคยที่องค์คณะกลับมาเป็น 7 คน

การอภิปรายไม่ไว้วางใจแห่งปี: ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอภิปรายทักษิณ ฐานทางกฎหมายของคดีนี้คือมาตรา 4 กฎหมาย ปปช.ซึ่งระบุว่า ‘ร่ำรวยผิดปกติ’ หมายถึง ‘ได้ทรัพย์สินมาโดยไม่สมควรสืบเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ทางการเมือง’ คำวินิจฉัยพยายามเชื่อมโยงองค์ประกอบ 3 ส่วนเข้าด้วยกันคือ หนึ่ง หุ้นเป็นของทักษิณ สอง มีการแก้ไขกฎหมายหรือแก้ไขสัญญาที่เกิดประโยชน์ทางตรงหรือทางอ้อมกับชินคอร์ป และสาม เกิดในขณะที่ทักษิณเป็นนายกฯ แต่องค์ประกอบสำคัญที่ขาดไป คือการพิสูจน์ว่าทักษิณใช้อำนาจหน้าที่เข้าไปสั่งการให้เอื้อประโยชน์ ซึ่งจะเข้าข่ายทุจริตประพฤติมิชอบตามมาตรา 157

คำวินิจฉัยมุ่งเนื้อหาส่วนใหญ่ไปยังประเด็นที่สอง ว่ามีการแก้ไขกฎหมายหรือแก้ไขสัญญาให้ได้ประโยชน์โดย ‘ไม่สมควร’ ซึ่งคำว่า ‘ไม่สมควร’ ฟ้องในตัวว่าเป็นเพียงทัศนะหรือความเห็น ไม่ใช่ข้อพิสูจน์ทางกฎหมาย ไม่ชัดเจนเหมือนคำว่า ‘ทุจริตประพฤติมิชอบ’ ถามว่ามีน้ำหนักน่าเชื่อถือไหม-มี เพราะสังคม (แม้แต่ผม) ก็เชื่ออยู่แล้วว่าทักษิณมีผลประโยชน์ทับซ้อน แต่เมื่อเป็นทัศนะหรือความเห็น ก็เป็นสิ่งที่โต้แย้งเห็นต่างได้ ไม่ใช่ทุกคนจะเห็นด้วยว่า ‘ไม่สมควร’ ทั้ง 5 ประเด็น บางคนอาจเห็นด้วยบางประเด็น ไม่เห็นด้วยบางประเด็น หรือไม่เห็นด้วยเลย การแก้ไขกฎหมายหรือแก้ไขสัญญาในทุกรัฐบาล ก็มีบ่อยครั้งที่เอื้อให้เอกชนได้ประโยชน์ โดยรัฐอาจมองถึงประโยชน์ส่วนรวม เช่น เพื่อให้โครงการลุล่วง รวดเร็ว เพื่อให้ประชาชนได้ใช้บริการอย่างทั่วถึง หรือเพื่อให้รัฐได้ส่วนแบ่งค่าสัมปทานมากขึ้น กรณีนี้ ประเด็นที่โต้เถียงกันเยอะมากคือ พ.ร.ก.ภาษีสรรพสามิต ซึ่งทำให้คลังได้ภาษีเต็มเม็ดเต็มหน่วย ไม่ต้องเข้าปาก tiger eat sleep แต่ศาลเห็นตาม คตส.ว่าเป็นการกีดกันคู่แข่ง

เมื่อไม่ได้พิสูจน์ว่าทักษิณใช้อำนาจหน้าที่แทรกแซงสั่งการ เพียงอนุมานว่า ‘ทักษิณเป็นเจ้าของ ทักษิณเป็นนายกฯ ทักษิณได้ประโยชน์ ซ.ต.พ.’ คำวินิจฉัยจึงไม่ต่างจากการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ไม่ต่างจากที่ อ.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ พูดไว้ หรือที่พรรคประชาธิปัตย์เคยอภิปรายไม่ไว้วางใจ ซึ่งทำให้สังคมเชื่อ ทำให้สังคมเคลือบแคลงกังขาว่าทักษิณไม่โปร่งใส แต่ไม่ได้พิสูจน์ว่าจริงหรือไม่

ศาลตีความมาตรา 4 ว่าต้องการข้อสรุปเพียง ‘ไม่สมควร’ ไม่ต้องพิสูจน์ว่า ‘ทุจริต’ การวินิจฉัยคดีนี้จึงกลายเป็นเรื่องของความเห็น ไม่ใช่เรื่องของการพิสูจน์ข้อเท็จจริง คำวินิจฉัยทั้งหมดเป็นความเห็นที่เคยวิพากษ์วิจารณ์ ที่เคยอภิปรายไม่ไว้วางใจ ที่เราๆ ท่านๆ เคยเคลือบแคลงสงสัยกันมาก่อน เพียงนำมาจัดเรียงใหม่ให้หนักแน่นและเข้าองค์ประกอบของกฎหมายตามที่ศาลตีความ

ให้สังเกตด้วยว่าเมื่อคำวินิจฉัยขาดคำว่า ‘ทุจริตประพฤติมิชอบ’ ก็ทำให้รัฐไม่สามารถยกเลิกสัญญาที่ทำให้ชินคอร์ปได้ประโยชน์โดย ‘ไม่สมควร’ แต่ถ้ามีคำว่า ‘ทุจริตประพฤติมิชอบ’ พิสูจน์ได้ว่าทักษิณแทรกแซงสั่งการ สัญญาเหล่านั้นจะเป็นโมฆะทันที

ช้อยส์แห่งปี : สนธิ ลิ้ม กับวีระ สมความคิด จะเลือกบริจาคกล่องไหน

ช้อยส์แห่งปี (สำหรับตุลาการภิวัตน์) : ชัช ชลวร หรืออภิชาติ สุขัคคานนท์ ใครจะไปก่อน

วาทะแห่งปี : ‘ล้มเจ้า’ ข้อกล่าวหาที่ครอบกะลาหัวมวลชนเสื้อแดง กระทั่งมีแผนผัง ศอฉ.โยงใครต่อใครมั่วไปหมด สาเหตุที่เลือกวาทะนี้ เป็นเหตุผลส่วนตัวล้วนๆ เพราะคนที่เอามาจุดชนวน เป็นคนเดือนตุลาที่เคยถูกข้อกล่าวหาแบบเดียวกันเมื่อครั้ง 6 ตุลา 2519 จนต้องหนีหัวซุกหัวซุนเข้าป่า

ผู้แพ้แห่งปี : ‘หญิงเป็ด จากนางเอ๊กนางเอกที่มีแค่คนแซ่ซ้องสดุดี ว่านี่แหละมือปราบทุจริต ไม่ทราบว่าเกิดความพลิกผันอย่างไร คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ผู้พยายามจะกลับมาทวงเก้าอี้ผู้ว่า สตง.จึงถูกรุมแซนด์วิชโดยศิษย์ก้นกุฎีอย่าง พิสิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส กับเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ นอกจากนี้ยังโดนกระหนาบโดยมีชัย ฤชุพันธ์ และกรรมการกฤษฎีกา ก่อนจำใจยุติบทบาทตามคำสั่งศาลปกครอง ที่น่าประหลาดใจคือไม่ยักมีใครช่วย’หญิงเป็ด แม้แต่สื่อต่างๆ ที่เคยแซ่ซ้องก็ยังกลับมาตำหนิติติง

ดาวดับแห่งปี : ................ อิอิ อ้าปากก็คงเดาได้ อุตส่าห์เก็บไว้ตอนท้าย ไม่ใช่แค่ 40 สว. แต่ใครเอ่ย แพ้เลือกตั้ง สก.สข.จู๋น-จู๋น ยกพลไปประท้วง MOU ปี 43 ม็อบหน้าสภาค้านแก้รัฐธรรมนูญ ก็นับหัวแล้วใจหาย ศิษย์เก่ามัฆวาฬ ยึดทำเนียบ ยึดสนามบิน ไปไหนหมด ไม่กลับมารำลึกความหลังกันมั่งเลย

ขนาดสื่อพวกกันเองยังเผลอซ้ำเติม บอกว่าคนกรุงไม่เลือกม็อบ ไม่เลือกความรุนแรง จึงไม่เลือกทั้งเพื่อไทยและการเมืองใหม่ พูดอีกก็ถูกอีก แน่นอนคนกรุงคนชั้นกลางปฏิเสธทั้งเสื้อแดงเสื้อเหลือง แต่เสื้อแดงไม่ตายเพราะมีฐานมวลชนอันกว้างใหญ่ไพศาลในชนบท ขณะที่ พธม.หากินกับการปลุกกระแสสุดขั้วสุดโต่งของคนชั้นกลาง ทั้งกระแสเกลียดทักษิณ ทั้งอุดมการณ์ราชาชาตินิยม แต่ตอนนี้ อภิสิทธิ์ขโมยซีนไปหมด ทั้งยังขายโปรโมชั่น ‘ไทยนี้รักสงบ’ ถูกอกถูกใจคนชั้นกลางผู้เบื่อหน่าย ที่นี่วุ่นวายหนอ ที่นี่ขัดข้องหนอ

พันธมิตรจึงเสียมวลชนให้อภิสิทธิ์ อีกด้านหนึ่ง มวลชน ปชป.ที่แฝงตัวเข้าพันธมิตรก็ถอยกลับ แกนนำพันธมิตรเริ่มเอ่ยปากทำนองว่า ‘เหลืองแดงรวมกันได้’ แต่ไม่มีทาง ภารกิจที่จะต้องทำอย่างต่อเนื่องในปีหน้าคือการเย้ยหยันพันธมิตร แม้โดยส่วนตัวจะเป็นเพื่อน เป็นพี่ เป็นน้อง แต่ต้อง ‘ทำลายล้าง’ ในเชิงหลักการ เพราะพันธมิตรบิดเบือนหลักการจนเลอะไปหมด ต้อง ‘กระชับพื้นที่’ ยึดพื้นที่ทางหลักการคืนมา

1ภาพมีค่ากว่าพันคำประจำปี'53

ที่มา Thai E-News



ปีแห่งความสูญเสีย-สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฏราชกุมาร เสด็จรดน้ำศพพ.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม ที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์ 10 เมษายน ขณะที่กลุ่มผู้ชุมนุมแบกโลงสหายของพวกเขาที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์เดียวกัน และสุดจะกลั้นน้ำตาไว้ได้

โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
31 ธันวาคม 2553


1.ลงขันเข้ากรุง-คนเสื้อแดงพากันทอดผ้าป่าระดมทุน เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายเดินทางไปประท้วงใหญ่ที่กรุงเทพฯเรียกร้องให้ยุบสภา เลือกตั้งใหม่

2.คนกรุงแห่รับเสื้อแดง-คนกรุงเทพฯพากันออกมาต้อนรับขบวนคนเสื้อแดงที่เดินทางเข้ากรุงเทพฯ ไม่ได้มีการต่อต้านตามที่สื่อกระแสหลักที่สนับสนุนรัฐบาลยั่วยุ

3.เจรจาไทย2ฝ่าย-การประท้วงนำไปสู่การเจรจาของตัวแทนรัฐบาลกับแกนนำเสื้อแดงออกทีวี ซึ่งจบลงด้วยความล้มเหลว ไม่สามารถหาข้อตกลงได้


4.จุดเปลี่ยน-ผู้ชุมนุมจำนวนหนึ่งเข้าไปในรัฐสภาในวันที่ 7 เมษายน เพื่อกดดันรัฐบาล ถูกการ์ดของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ใช้อาวุธจ่อหัว จึงพากันปลดอาวุธการ์ดรายนี้ นำไปสู่การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในเย็นวันนั้น และสถานการณ์นำไปสู่ความรุนแรง

5.มือเปล่ากับรถถัง-ทหารซึ่งเคยปฏิเสธที่จะทำตามคำสั่งรัฐบาลสมัคร-รัฐบาลสมชายในการควบคุมการชุมนุมยึดทำเนียบฯ-ยึดสนามบินของพันธมิตร เข้ามามีบทบาทสำคัญในการสลายการชุมนุมคราวนี้ ในภาพผู้ชุมนุมพากันขวางรถถังที่จะเคลื่อนเข้าปราบปรามที่ราชดำเนิน

6.ไตรรงค์ซับน้ำตา-ภาพผู้ชุมนุมสตรีเสื้อแดงหยิบผืนธงชาติไตรรงค์ขึ้นเช็ดน้ำตาจากการถูกทหารใช้แก๊สน้ำตายิงสลายการชุมนุม 10 เมษายน เป็นภาพที่อาจสื่อความหมายเป็นตัวแทนของเหตุการณ์นองเลือดปี 2553 ตลอดทั้งปี
7.คนละประเทศเดียวกัน-หลัง10เมษาฯ ผู้ชุมนุมยกระดับไปชุมนุมที่แยกราชประสงค์ ทำให้กลุ่มคนกรุงเทพฯส่วนหนึ่งใส่ชุดหลากสีออกมาต่อต้าน ในภาพเด็กน้อยด้านซ้ายมือเข้าร่วมการชุมนุมกับผู้ชุมนุมหลากสีกดดันให้รัฐบาลเร่งปราบปรามเสื้อแดงคืนชีวิตปกติให้คนกรุง เด็กน้อยเสื้อแดงในภาพขวาวิ่งเล่นซนในม็อบเสื้อแดงกลางแยกราชประสงค์


8.นาทีเปลี่ยนจุดสมดุลการศึก-มือสไนเปอร์ยิงสังหารเสธ.แดงในระยะไกล เพื่อเด็ดหัวขบวนของฝ่ายยุทธวิธีของกลุ่มผู้ชุมนุม จากนั้นมือสไนเปอร์ได้ยิงสังหารผู้ชุมนุมอีกหลายศพ เพื่อกดดันไม่ให้ประชาชนเข้าสมทบการชุมนุมที่ราชประสงค์ และกระชับพื้นที่เพื่อให้แกนนำประกาศยอมจำนนในที่สุด

9.ผู้ก่อการร้ายพ่อ..ง-ผู้ชุมนุมรายหนึ่งได้ถอดเสื้อผ้าออกแล้วตะโกนบอกทหารว่า ผู้ชุมนุมไม่ได้เป็นผู้ก่อการร้าย ไม่มีอาวุธ อย่างมากก็มีแค่หนังสติ๊ก หรือพลุตะไล อย่างมากก็เผายางรถอำพรางไม่ให้โดนยิง หรือมีแค่ตัวเปล่าๆ ทหารต้องหยุดสังหารหมู่ผู้ประท้วงได้แล้ว แต่สุดท้ายก็ไร้ผล
10.เสื้อแดงคนสุดท้าย-หลังแกนนำนปช.ประกาศยอมจำนนเข้ามอบตัว และเกิดจลาจลหลายจุดทั่วประเทศ สตรีรายนี้นั่งยืนหยัดอยู่หน้าเวทีการชุมนุมที่แยกราชประสงค์ หลังจากนั้นเสื้อแดงที่ไม่ยอมแพ้ก็ทยอยตามเธอออกมายืนหยัดต่อสู้ต่อไป แม้ไร้แกนนำ แต่ก็มีแกนนอนเกิดขึ้นมาแทน


11.ที่นี่มีคนตาย-ผู้ชุมนุมนอนเสียชีวิตอยู่ที่ลานหน้าห้างเซ็นทรัลเวิลด์ เสมือนตอกย้ำว่าที่นี่มีคนตาย แต่หลัง19พ.ค.คนกรุงส่วนหนึ่งได้ออกมาปัดกวาดล้างคราบเลือดแล้ว และจะจัดฉลองปีใหม่ ณ บริเวณที่ผู้ชุมนุมรายนี้นอนตายอยู่ในค่ำวันนี้ ( ที่นี่มีคนตาย!...แต่ไม่เห็นเป็นไรพร้อมกระจายความสุขสู่ชาวกรุง ความทุกข์มีแค่ว่าตกลงใครเผาห้าง? )

12.สิ่งที่ประเทศได้หลังความสูญเสีย-หลังการสังหารหมู่ที่ราชประสงค์ มีการตามล่าสังหารเสื้อแดงอีก 5 ศพ รวมเป็นเกือบ 100 ศพ ระบอบปกครองอำมาตย์ โดยมีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะเป็นหุ่นเชิดยังลวงโลกต่อไปว่า นี่คือประชาธิปไตย ขณะที่ผลงานของรัฐบาลไม่โดนใจประชาชน ไม่สนองปฏิกริยาความเดือดร้อนอย่างทันท่วงที ไม่ว่าจะเป็นกรณีน้ำท่วมใหญ่ ล่าสุดการจับ7คนไทยของกัมพูชา แต่อภิสิทธิ์ก็ยังจะพาครอบครัวไปเที่ยวปีใหม่ที่น้ำตกทีลอซูตามปกติ
**********
เรื่องเกี่ยวเนื่อง:ที่สุดแห่งปีของท่านผู้อ่านไทยอีนิวส์

ประวัติศาสตร์เลือด2553 91 ศพ 'เมษาฯ-พฤษภาฯ'

ที่มา ข่าวสด



เหตุการณ์นองเลือดเมษายน ต่อเนื่องถึงพฤษภาคม 2553 ถือเป็นการใช้ 'อำนาจรัฐ-กองทัพ' กระทำต่อการชุมนุมของประชาชน

จนกระทั่งมีผู้เสียชีวิต และบาดเจ็บจำนวนมากที่สุดในหน้าประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยไทย นับตั้งแต่ปีพ.ศ.2475 เป็นต้นมา

ทั้งยังสร้างบาดแผลเรื้อรังร้ายแรง ก่อให้เกิดรอยร้าวแตกแยก บาดลึกซึมเข้าไปทั่วทุกอณู

โดยฝ่ายประชาชนนั้นเรียกตัวเองว่า 'มวลชนคนเสื้อแดง'

เคลื่อนไหวนัดชุมนุมเป็นกลุ่มก้อนผ่านองค์กรนำ 'แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ' หรือ นปช.

ขณะที่ฝ่ายผู้ยึดกุมและใช้อำนาจรัฐ ได้แก่ รัฐบาลผสมประชาธิปัตย์ นำโดยนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กับ ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.)

วัตถุประสงค์หลักที่ประกาศชัดเจนของคนเสื้อแดง คือ

ขับไล่รัฐบาล เพื่อจัดเลือกตั้งใหม่ตามระบอบประชาธิปไตย ต่อต้านพฤติกรรม ƈ มาตรฐาน' ในหมู่ผู้มีอำนาจและเครือข่ายผู้มีบารมีนอกรัฐธรรมนูญ ซึ่งเรียกรวมๆ ว่า 'กลุ่มอำมาตย์'

อย่างไรก็ตาม ฝ่ายรัฐบาล-ศอฉ. มองว่า ประชาชน 'รากหญ้า' กลุ่มนี้ตกเป็นเครื่องมือในเกมทวงอำนาจและทรัพย์สินของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ

ทั้งนานวันเข้ายังยัดข้อหาฉกรรจ์ 'ล้มสถาบัน' เข้าให้อีก 1 กระทง ยิ่งทำให้เหตุการณ์บานปลายหนักขึ้นตามลำดับ

มีนาคม 2553 แกนนำนปช.ประกาศยุทธศาสตร์ 'แดงทั้งแผ่นดิน' นัดหมายระดมคนเสื้อแดงจากต่างจังหวัด ส่วนใหญ่จากภาคเหนือ-อีสาน เข้ามาสมทบคนเสื้อแดงในกรุงเทพฯ กับปริมณฑล

โดยเคลื่อนมวลชนผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนตั้งแต่หลักหมื่นยันหลักแสนในช่วงสุดสัปดาห์

เข้ายึดพื้นที่บริเวณถนนราชดำเนิน ตั้งเวทีปราศรัยหลักตรงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ ขีดเส้นตายให้นายอภิสิทธิ์ยุบสภา

โทษฐานเป็นรัฐบาลหุ่นเชิด 'ระบอบอำมาตยาธิปไตย' ทำลายหลักนิติรัฐ นิติธรรม ไม่สนใจดำเนินคดีแกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ บุกยึดสนามบินสุวรรณภูมิ ฯลฯ

การเจรจาระหว่างสองฝ่ายเกิดขึ้น 2 ครั้ง แต่ผลสุดท้ายต้องล่มไม่เป็นท่า

เดือนเมษาฯ ความขัดแย้งทวีความร้อนแรงตามสภาพอากาศ เมื่อนปช.ใช้ยุทธวิธี 'ดาวฤกษ์' ปิดล้อมสถานที่เป้าหมายเพื่อกดดันรัฐบาล

10 เมษาฯ ความสูญเสียก็เกิดขึ้นจนได้ เมื่อนายอภิสิทธิ์ส่งทหารเดินหน้าปฏิบัติการ 'ขอพื้นที่คืน' จากกลุ่มผู้ชุมนุมตรงสะพานผ่านฟ้าฯ เป็นเหตุให้ทหารเปิดศึกกับคนเสื้อแดงบริเวณแยกคอกวัว-ถนนดินสอช่วงกลางคืน ซึ่งผิดหลักสลายมวลชน เพราะจะเปิดช่องให้ 'มือที่สาม' เข้ามาแทรกได้โดยง่าย

เหตุปะทะเกิดขึ้นท่ามกลางการสูญเสียของประชาชนที่ชุมนุม และจบลงเมื่อกองกำลังไม่ทราบฝ่าย ยิงเอ็ม 79 ถล่มเข้าไปในแนวทหาร อานุภาพระเบิดทำลายล้างทำให้นายทหารระดับสูงสาย 'บูรพาพยัคฆ์' ทั้งเจ็บสาหัสและเสียชีวิต จนสุดท้ายสองฝ่ายต้องต่อสายเจรจาสงบศึกชั่วคราว

เมื่อควันปืน-ระเบิดจางลง พบมีผู้เสียชีวิตเกือบ 30 ศพ รวมถึง 'ฮิโรยูกิ มูราโมโตะ' นักข่าวรอย เตอร์ชาวญี่ปุ่น และ พ.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม รองเสธ.พล.ร.2 รอ. ส่วนผู้บาดเจ็บอีกราว 1,400 ราย

หลังจากนั้นเป็นต้นมา รัฐบาล กองทัพ และศอฉ. ก็ไม่เก็บงำความคิดใช้ 'กำลัง' กวาดล้างม็อบเสื้อแดงเอาไว้เงียบๆ อีกต่อไป

พร้อมๆ กับการปรากฏตัวของพลซุ่มยิง หรือ 'สไนเปอร์' และม็อบกลุ่มสนับสนุนรัฐบาลที่ออกเคลื่อนไหวทั่วกรุง

เข้าสู่เดือนพฤษภาคม คนเสื้อแดงยังคงปักหลักยึดพื้นที่ 'แยกราชประสงค์' เป็นเขตชุมนุม แดงฮาร์ดคอร์ได้ตั้งบังเกอร์ปิดล้อมทุกทิศทาง เพื่อป้องกันการบุกสลายม็อบ

พลันที่ 'เสธ.แดง' พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก ซึ่งเป็นผู้ดูแลการ์ดเสื้อแดงสายนักรบพระเจ้าตาก ถูกสไนเปอร์ซุ่มยิงบริเวณแยกศาลาแดง เมื่อวันที่ 13 พ.ค. แนวร่วมเสื้อแดงก็ลุกฮือขึ้นหลายจุดทั่วกทม. และปะทะกับทหารชนิดไม่กลัวตาย เช่น ที่แยกดินแดง บ่อนไก่ ราชปรารภรางน้ำ

มีประชาชนผู้ไม่เกี่ยวข้องกับเหตุชุมนุม ตกเป็นเหยื่อกระสุนเพิ่มมากขึ้น

กลุ่ม 'วุฒิสมาชิก' สายพิราบอาสาเป็นตัวกลางเจรจาให้ทหารหยุดยิง และรุดไปล็อบบี้แกนนำนปช. ถึงหลังเวที

แต่หลังจากนั้นเพียงไม่กี่ชั่วโมง รุ่งสางวันที่ 19 พ.ค. นายอภิสิทธิ์ก็เปิดฉาก 'กระชับพื้นที่' ส่งทหารติดอาวุธสงคราม รวมถึงรถเกราะตะลุยผ่านบังเกอร์เสื้อแดงเข้าไปสลายผู้ชุมนุมแยกราชประสงค์ เป็นเหตุให้แกนนำนปช. โดยนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ต้องประกาศยุติการชุมนุม ท่ามกลางเสียงปืน-เสียงระเบิด

ตกเย็นเกิดจลาจลเผาเมืองทั่วกรุง เช่นเดียวกับสถานที่ราชการในต่างจังหวัดก็ถูกเผาราบ

ขณะเดียวกัน เกิดโศกนาฏกรรมยิง 6 ศพขึ้นในวัดปทุมวนาราม ทั้งๆ ที่กลุ่มสันติวิธีของนายโคทม อารียา ได้ตกลงเอาไว้กับฝ่ายรัฐว่าขอให้ใช้เป็นพื้นที่ 'เขตอภัยทาน' รองรับสตรี เด็ก คนชรา และผู้ชุมนุมที่ต้องการกลับภูมิลำเนา

ผลสอบของกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ในภายหลังบ่งชี้ว่า มีทหารบนรางรถไฟฟ้าบีทีเอส ยิงปืนเอ็ม 16 เข้าไปในวัดปทุมฯ จริง และไม่มีการยิงต่อสู้ออกมาจากภายในวัด

ส่วน 'ผู้มีอำนาจ' คนใดอยู่เบื้องหลังสั่งการสังหารหมู่ดังกล่าว ถึงที่สุดความจริงจะต้องเปิดเผยออกมา

เพราะคดีฆ่าคนตาย มีอายุความถึง 20 ปี

เหตุปราบผู้ชุมนุมทางการเมืองครั้งนี้ ในกลุ่มผู้เสียชีวิต 91 ราย มีทั้งคนเสื้อแดง ชาวบ้านผู้ไม่เกี่ยวข้อง สื่อมวล ชนต่างประเทศ และทหาร

ด้านยอดผู้บาดเจ็บมีร่วมๆ 2,000 ราย

แกนนำนปช.-คนเสื้อแดงทั่วประเทศ ไม่เว้นแม้แต่พระ ถูกอำนาจพิเศษของ 'พ.ร.ก.ฉุกเฉิน' จับกุม-คุมขังนับร้อยชีวิตด้วยข้อหาหนัก 'ก่อการร้าย'

'การ์ดแดง' ที่กลับไปต่างจังหวัด โดนฆ่าตายเป็นปริศนาอย่างน้อย 4 ราย

อย่างไรก็ตาม ผู้กุมอำนาจรัฐกลับไม่สะทกสะท้าน ยังสามารถนั่งบริหารประเทศได้ต่อไป สอดรับกับเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่ามี 'มือที่มองไม่เห็น' คอยอุ้มชูอยู่

ฝ่ายนปช. รวมถึงพ.ต.ท.ทักษิณ เปลี่ยนไปเล่นเกมใหม่ ใช้วิธี 'โลกล้อมอภิสิทธิ์' รวบรวมหลักฐานเม.ย.-พ.ค.อำมหิต

หวังกดดัน-เอาผิดรัฐบาลผ่านศาลอาญาระหว่างประเทศ

ขณะที่องค์กรสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย ออกแถลงการณ์ตีแสกหน้ารัฐบาลไทยชุดปัจจุบันว่า กำลังพาประเทศไทยถอยหลังกลับไปสู่ยุครัฐทหาร

ทางด้านคนเสื้อแดงที่แตกกระสานซ่านเซ็น ได้กลับมารวมตัวกันตามยุทธศาสตร์ใหม่ เปลี่ยนจากรวมตัวผ่านแกนนำ ก็กลายมาเป็น 'แกนนอน' หรือแต่ละคน แต่ละกลุ่มต่างเดินหน้าจัดกิจกรรมต่างๆ ไปด้วยตัวเองตามเห็นสมควร

โดยผู้จุดพลุแนวคิดนี้ คือ นายสมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ 'บ.ก.ลายจุด' เอ็นจีโอนักช่วยเหลือสังคมชื่อดัง ผู้มีจุดยืนต่อต้านการรัฐประหาร 19 กันยาฯ

ช่วงปลายปี มวลชนเสื้อแดงหวนกลับมาอีกครั้ง ร่วมกันนัดหมายจัดกิจกรรมรำลึกถึงผู้เสียชีวิต บริเวณถ.ราชดำเนิน กับ ราชประสงค์ ชูคำขวัญ 'ที่นี่มีคนตาย!' ทวงถามถึงความยุติธรรมให้กับเหยื่อสลายม็อบ-เพื่อนร่วมอุดม การณ์ที่ถูกคุมขัง ซึ่งเอาเข้าจริงส่วนใหญ่เป็นเพียงชาวบ้านธรรมดาๆ

บางคนแค่ไปยืนดูเหตุเผาศาลากลาง ก็โดนรวบตัวขังลืม

การชุมนุมในกทม. แต่ละครั้ง มีผู้เข้าร่วมเรือนหมื่น

แตกต่างจากฝ่ายพันธมิตรฯ ที่ระดมคนได้แค่หลักร้อย-หลักพัน ภายหลังหันมาเปิดศึกกับนายอภิสิทธิ์กรณีเขาพระวิหาร

แสดงให้เห็นว่ามวลชนเสื้อแดงในกทม. ไม่ได้น้อยเหมือนที่ฝ่ายรัฐปรามาส

ที่สำคัญเป้าหมายการเคลื่อนไหวได้หลุดพ้นจากเรื่องพ.ต.ท. ทักษิณไปแล้ว

แนวรบเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของคนเสื้อแดงยังขยายตัวเติบใหญ่ใน 'โลกอินเตอร์เน็ต'

แม้กระทรวงไอซีทีจะไล่ปิดรายวัน แต่เหมือนขี่ช้างไล่จับตั๊กแตน เนื่องจากปิดวันนี้ วันรุ่งขึ้นก็เปิดเว็บใหม่ได้ง่ายดาย

เดือนธันวาคม รัฐบาลพยายามปรับภาพลักษณ์ในสายตาประชาคมโลก ด้วยการยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

แต่ยังมอบหมายให้ 'กอ.รมน.' ใช้อำนาจตามพ.ร.บ.ความมั่นคง ประกบติดคนเสื้อแดงต่อไป

นอกจากนั้น นายอภิสิทธิ์ยังยอมเจรจากับนางธิดา โตจิราการ ประธานนปช.คนใหม่สายพิราบ หารือถึงแนวทางประกันตัวคนเสื้อแดงออกมาสู้คดีตามสิทธิอันพึงมี

ด้านนางธิดาเองประกาศชัดว่า นปช.จะนัดชุมนุมอย่างสันติต่อไปทุกๆ วันที่ 10 กับ 19 ของทุกเดือน

จนกว่าคนเสื้อแดงทั้งหมดจะได้รับอิสรภาพและความยุติธรรม

เท่ากับว่า ต่างฝ่ายต่างยังมีระยะห่าง มองอีกฝ่ายด้วยสายตาหวาดระแวงไม่เปลี่ยนแปลง

ปี 2554 ไม่ว่าเวลาของโลกจะหมุนเดินหน้าไปเท่าไหร่

แต่ดูเหมือนเข็มนาฬิกาแห่งความขัดแย้ง 'คนไทยต่างสี' ในแผ่นดินไทยจะยังคงหมุนเชื่องช้าอยู่ ณ จุดเดิม

10 บุคคลแห่งปี

ที่มา ข่าวสด



-ธาริต เพ็งดิษฐ์ : สบายครับท่าน

ดอกไม้ช่องามจากรัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งพรรคประชาธิปัตย์ ไม่มีใครเหมาะจะรับเท่า ธาริต เพ็งดิษฐ์

อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) อดีตอาจารย์กฎหมายที่ผันตัวมาโตสายอัยการ กระทั่งกันยายน 2552 ได้รับแต่งตั้งเป็นอธิบดี

สารพันบริการล้วนชวนประทับใจ อย่างชิ้นโบแดง สั่งไม่ฟ้องคดีทีพีไอไซฟ่อนเงินเข้าประชาธิปัตย์

รวมถึงพิฆาตแดงชนิดส่งเข้าคุกลูกเดียว

ล่าสุด หน้ามึนเมื่อกลุ่มเสื้อแดงนำผลสอบคดีช่างภาพชาวญี่ปุ่นถูกยิงเสียชีวิตวันทหารกระชับพื้นที่ มอบสถานทูตญี่ปุ่น บอกเป็นคนละสำนวน

ถูกตอกกลับจาก จตุพร พรหมพันธุ์ ก็ดีเอสไอนั่นแหละที่เคยรับว่าข้อมูลดังกล่าวเป็นสำนวนเดียวกัน

เป็นจตุพรคนเดียวกันนี้ที่เปิดหลักฐานสลิปโอนเงิน 150,000 บาท ให้ภรรยาข้าราชการระดับสูง แลกกับคำรับ ปากช่วยเหลือคดีถูกเรียกคืนภาษี

เต้นผางทั้งบ้าน

ยันปากเปียกปากแฉะ ทุกรายการ ไม่ใช่ทำตามใบสั่ง

ทางเดินเพลินดี มาร์คก็โอ๋ เทือกก็อุ้ม



-หมึกพอล : หมึกโลก บอลโลก

หนึ่งเดียวตัวนี้ที่ดังทะลุโลก หมึกยักษ์สายพันธุ์อ๊อกโตปุส ชื่อเสียงระบือจากมหกรรมฟุตบอลโลก 2010

เกิดที่อังกฤษ ก่อนย้ายมาถือสัญชาติเยอรมัน เกียรติประวัติ หมอดูแม่นๆ ทำนายผลบอลของทีมชาติเยอรมนีถูกต้องหลายครั้ง

ไม่จับยามสามตา แต่จับหอยแมลงภู่ ใส่ปากก่อนการแข่งขัน กล่องหนึ่งติดภาพธงชาติเยอรมนี อีกกล่องติดภาพธงชาติทีมคู่แข่ง พอลเลือกกินกล่องไหน คือการทำนายว่าทีมนั้นได้ชัย

ที่แจ้งเกิดจริงจังจนเป็นที่จับตาคือฟุตบอลยูโร 2008 สถิติบันทึก พอลทำนายถูกมากกว่าร้อยละ 80

ครั้นฟุตบอลโลก 2010 ตอกย้ำศักดานอสตราดาหมึก ทำนายการแข่งขันของทีมชาติเยอรมนีถูกต้องทั้งหมด คือ 7 ครั้ง

รวมที่ทายว่าแพ้ทีมชาติเซอร์เบียในรอบแบ่งกลุ่ม และทายว่าแพ้ทีมชาติสเปนในรอบรองชนะเลิศ

รอบชิงที่ 3 ทายว่าชนะทีมชาติอุรุกวัย แถมด้วยทายว่า ทีมชาติสเปนชนะเนเธอร์ แลนด์ในรอบชิง

สร้างกระแสสัตว์ทำนายฟีเวอร์ไป ทั่วโลก

แล้วดังก้องโลกอีกครั้ง เมื่อสิ้นอายุขัย 26 ต.ค. 2553 อายุ 2 ปี 9 เดือน



-มาร์ค วี 11-วิทวัส ท้าวคำลือ พิษล่าแม่มด

มาร์ค วี 11 หรือ วิทวัส ท้าวคำลือ หนุ่มน้อยวัย 17 จากเมืองเชียงใหม่ นักล่าฝันทรู อะคาเดมี่ แฟนเทเชีย ซีซั่นที่ 7

โด่งดังในใจชาวม็อบแดง แต่แสลงใจแฟนคลับ "มาร์ค อภิสิทธิ์"

เมื่อมีคนตาดีไปเห็นข้อความฝีมือหนุ่มมาร์ค โพสต์ถึงนายกฯ มาร์คลงในเฟซบุ๊ก เมื่อช่วงเช้าวันที่ 20 พ.ค.2553 ไล่ให้ลาออก กรณีสั่งสลายการชุมนุมของคนเสื้อแดงเมื่อ 19 พ.ค.2553

ตกเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ของสังคม ตามมาด้วยการถูกสั่งงดขึ้นแสดงคอนเสิร์ต เอเอฟ



หนุ่มมาร์คควงบิดา-มารดาออกมาแสดงความรับผิดชอบ

ประกาศถอนตัวจากบ้านเอเอฟ 7 เพื่อลดกระแสสังคม หวังให้ทุกฝ่ายหันหน้าเข้าหากัน ให้เกิดความสมานฉันท์ในสังคม

แต่ยืนยันไม่ใช่ผู้โพสต์ข้อความหมิ่นสถาบันเบื้องสูง



-สรยุทธ สุทัศนะจินดา : 'แย่งซีนนายกฯ'

สรยุทธ สุทัศนะจินดา จากพิธีกรรายการข่าวชื่อดัง กลายเป็น 'ฮีโร่' ของคนไทยที่ประสบภัยน้ำท่วมใหญ่ในเดือนต.ค.2553

อดีตนักข่าวประจำรัฐสภาและทำเนียบรัฐบาล

โด่งดังจากพิธีกรรายการ ถึงลูกถึงคน, คุยคุ้ยข่าว ทาง โมเดิร์น ไนน์ ทีวี

ถูกวิกค่ายพระรามสี่ ดึงตัวมาจัดรายการ เรื่องเล่าเช้านี้, เรื่องเด่นเย็นนี้

นอกจากทำหน้าที่เล่าข่าว ยังชิงลงพื้นที่ช่วยผู้ประสบอุทกภัยอย่างต่อเนื่อง ด้วยมาดกางเกงขาสั้น รองเท้าแตะ ลุยน้ำท่วม

ถูกมองว่าแย่งซีนท่านผู้นำ

ชาวบ้านจำชื่อได้แม่น เพราะโดนใจวิธีทำ งานมากกว่า

เปิดเวทีให้ชาวบ้านที่เดือดร้อนสารพัดเรื่องได้ระบายผ่านรายการ เรื่องเด่นเย็นนี้ ทั้งคดีทำแท้ง 2002 ศพ, แอนนี่ บรู๊ค หรือพ่อค้ายาเสพติด จิ๊บ ไผ�เขียว หรือนายนพดล ประสงค� ศิล น้องชายมือปืนที่ยิงน้องโตมี่ จนเสียชีวิต เคยติดต่อขอมอบตัวผ่านรายการ

ทำหน้าที่สื่อเกาะติดทุกสถานการณ์ แต่ทำไปทำมา โดดเด่นได้ใจชาวบ้านเหนือกว่านายกฯ ด้วยซ้ำ



-'เสธ.แดง'พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล

ปิดฉาก'แดงฮาร์ดคอร์'

เสธ.แดง หรือ พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล ฮาร์ดคอร์แถวหน้าของกลุ่มคนเสื้อแดง เสียชีวิตเมื่อ 17 พ.ค.2553

หลังถูกลอบยิงด้วยปืนติดกล้องบาดเจ็บสาหัสระหว่างยืนให้สัมภาษณ์สำนักข่าวต่างประเทศ บริเวณแยกศาลาแดง ค่ำวันที่ 13 พ.ค.

ส่งผลให้พื้นที่ชุมนุมแยกราชประสงค์ร้อนระอุขึ้นทันที เพราะวันเดียวกันมีมือดีลอบยิงเอ็ม 79 ถล่มซ้ำ ผู้คนบาดเจ็บกว่า 20 ราย

ตามด้วยเหตุการณ์กระชับพื้นที่ เมื่อ 19 พ.ค. มีการก่อวินาศกรรมหลายแห่ง ฝ่ายรัฐบาลโยงใยว่าเป็นฝีมือของลูกน้องเสธ.แดง

อดีต ตท. 11 จปร.รุ่น 11

วิจารณ์การทำงานของ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. จนถูกสั่งพักราชการตั้งแต่เดือนม.ค. 2553

ประกาศตัวเป็นกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ตระเวนขึ้นเวทีเสื้อแดง ระดมทหารพรานภาคอีสานมาร่วมขบวนทำหน้าที่การ์ด เป็นที่ชื่นชอบของกลุ่มฮาร์ดคอร์เสื้อแดง

แม้จะสวมเสื้อเกราะ แต่โดนกระสุนเจาะเข้าที่ศีรษะ 1 นัด ทนพิษบาดแผลไม่ไหว ปิดฉากแกนนำแดงสายฮาร์ดคอร์



-โคทม อารียา : เดินธรรมดับไฟ

ถือฤกษ์ช่วงเดือนศักดิ์สิทธิ์คือเข้าพรรษาและรอมฎอน โคทม อารียา เคลื่อนขบวนธรรมยาตรา จากศาลายาสู่ปัตตานี

ความหวังสูงสุด สันติวิธีดับไฟใต้

นักวิชาการประชาธิปไตย ผอ.ศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติ วิธี มหาวิทยาลัยมหิดล

ระบุ ความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 4,000 คน เพราะฝ่ายหนึ่งต้องการให้เกิดการผสมผสานกลมกลืน แต่อีกฝ่ายต้องการความยุติธรรม ตลอดจนการคงรักษาความเป็นชาติพันธุ์ และอัตลักษณ์อื่นๆ

ดังนั้น หากมุ่งให้เกิดการแพ้ชนะ ความขัดแย้งจะยืดเยื้อต่อไป

ขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายยุติความรุนแรง แก้ข้อขัดแย้ง เอาใจเขามาใส่ใจเรา อันจะนำไปสู่การเจรจาและแก้ไขปัญหาโดยสันติวิธี

พระสงฆ์ นักกิจกรรมทางสังคม ภาคประชาชน เหล่าเยาวชน จึงรวมขบวนเดินเท้า 1,100 กิโลเมตร เป็นสัญลักษณ์

เปิดใจ "ผมเป็นคนข้างนอก ทำได้เพียงสนับสนุนให้กำลังใจ หรือนำข้อมูลข่าวสารไปเผยแพร่เท่านั้น เชื่อว่าถ้าเรามีความหวังที่จะแก้ปัญหา มีกำลังใจที่จะทำกิจกรรมอื่นๆ แค่นี้ก็คุ้มค่าแล้วสำหรับการเดินทาง"



-พสิษฐ์ ศักดาณรงค์ : ฉากเบื้องหน้า บทเบื้องหลัง

คลิปฉาวใดๆ ไม่เท่าคลิปที่ระบุว่า พสิษฐ์ ศักดาณรงค์ อำนวยการผลิต ทั้งแสดงนำเอง

อดีตเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญ กับคลิปวิดีโอที่เมื่อสิ้นภาพ สิ้นเสียง รับผลกระทบกระเทือนรุนแรงคือตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

นับตั้งแต่รายการ วิรัช ร่มเย็น ทีมกฎหมายสู้คดียุบพรรคประชา ธิปัตย์ คุยแท็กติกกัน

ประชาธิปัตย์โวยวาย เป็นการขุดบ่อล่อปลา

แต่แจงไม่ออก ทำไมปลาจึงว่ายรี่ไปตกบ่อเสียเอง

ตามด้วยเปิดบทสนทนาตุลาการศาลรัฐ ธรรมนูญกรณีข้อสอบข้าราชการระดับ 3 รั่วไหล ที่ตุลาการเรียงหน้าออกมาโต้เป็นความเท็จ

เจ้าตัวก็มีคลิปส่วนตัวเหมือนกัน ชื่อ "เปิดใจพสิษฐ์ผู้ปิดทองหลังพระ"

ไม่พูดถึงศาลสักคำ แต่พูดถึงประธานบริษัทแห่งหนึ่งที่อยู่ในนิคมอุตสาหกรรม และกระแสจากบุคคลภายนอกบริษัท สามารถจะบอกให้บริษัทนั้นซ้ายหันขวาหันได้ ทั้งที่ทุกอย่างควรมีความตรงไปตรงมา ในการดูแลบริษัทที่เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ในมาตรฐานเดียวกัน

แล้วสรุป "กระผมเป็นเพียงแค่นาฬิกาปลุก มากราบเรียนทุกท่านทราบ"



-พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา : ผลักไสคนเสื้อแดง

ตลอดปี 2553 บทบาทของ บิ๊กตู่ - พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ทหารเสือราชินีและหนึ่งในบูรพาพยัคฆ์ ผบ.ทบ.คนที่ 37 โดดเด่นและถูกจับตาในทุกการเคลื่อนไหว

แม้พยายามลอย ตัว ขณะเป็นรองผบ.ทบ.

ไม่ออกนอกหน้ากรณีต่อกรกับม็อบคนเสื้อแดง ทั้งที่สี่แยกคอกวัวและแยกราชประสงค์ ในเดือนเม.ย.-พ.ค.

ด้วยความที่เชื่อมั่นในตัวเองสูง เป็นคนแรง กล้าชน สุขุม จึงได้รับความไว้วางใจจากบิ๊กในรัฐบาลและกองทัพ

แต่ก็ผลักไสให้แกนนำกลุ่มคนเสื้อแดงเป็นผู้ก่อการร้าย และไม่จงรักสถาบัน

ชนม็อบแดงตอนเป็นแม่ทัพภาค 1 ทุกช็อต

เมื่อมาเป็นผบ.ทบ.สมใจ ก็ต่อกรทุกเม็ดเช่นกัน

จนหลายคนไม่สบายใจ



-นที สรวารี : ราชประสงค์'ที่นี่มีคนตาย'

นที สรวารี นักกิจกรรมผู้เข้าร่วมการรำลึกถึงคนตายจากเหตุการณ์ พ.ค.2553

ถูกตำรวจนอกเครื่องแบบอุ้มขึ้นรถขนผู้ต้องหาของสน.โพงพาง ขณะตะโกน "เราเห็นคนตาย ที่นี่มีคนตาย เพื่อนเราถูกฆ่า เอาชีวิตเพื่อนเราคืนมาแล้วพวกเราจะปรองดองด้วย" บริเวณแยกราชประสงค์ เมื่อ 18 ก.ค. 2553

ระหว่างการทำกิจกรรมวันอาทิตย์สีแดง เรียกร้องขอสิทธิในการแสดงออก

ถูกขังนานหลายชั่วโมง ปรับ 100 บาท ก่อนปล่อยตัว ฐานส่งเสียงดังในที่สาธารณะ

จบศิลปศาสตรบัณฑิต สถาบันราชภัฏพระนคร ปี 2537

บัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทำงานกับเด็กชนบท เป็นครูข้างถนน

ทำงานเพื่อสังคมตลอด ตั้งสมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน ช่วยเหลือคนเร่ร่อนสนามหลวง

เจ้าของรางวัลคนดีคู่สังคม ปี 2549 และ 2551 ทางทรูวิชั่นส์

ฝากถึงเจ้าหน้าที่ตำรวจทุกคน มีสิทธิที่จะมีความเห็นที่แตก ต่าง ถ้าดำเนินการรุนแรงใดๆ บนความต่าง นั่นคือการยอมรับว่าประเทศนี้ไม่ได้ปกครองในระบอบประชาธิปไตย



-สมบัติ บุญงามอนงค์ : กำเนิด'อาทิตย์สีแดง'

เป็น "หนูหริ่ง" เจ้าตำนานบุกเบิก "สีแดง" เป็นสัญลักษณ์รำลึกราชประสงค์

นำสู่การชุมนุมเสื้อแดงมืดฟ้ามัวดินขัดตารัฐบาลในเวลาต่อมา และนั่นนำเขาไปสู่คุกคลองห้า ของตชด. ฐานฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

เจ้าของฉายา "บ.ก.ลายจุด" ในอินเตอร์ เน็ต เคลื่อนไหวทำงานในภาคเอ็นจีโอ จากกลุ่มมะขามป้อมสู่มูลนิธิกระจกเงา ซึ่งมีบทบาทอย่างสูงในการเสาะหาคนที่สูญหายในเหตุการณ์นองเลือดเดือน พ.ค.2535

กลุ่มแรกที่ออกมาประท้วงรัฐประหาร ก.ย.2549 สวมเสื้อแดงต้านร่างรัฐธรรมนูญฉบับคมช.

ล่าสุด กำเนิดขบวนการ "อาทิตย์สีแดง" รำลึกถึงการล้อมปราบและสังหารหมู่กลางเมือง 19 พ.ค.53

ประกาศ "เราเห็นคนตาย และมีคนตายที่นี่ที่แยกราชประสงค์" แล้วแข็งขันจัดกิจ กรรมต่อเนื่อง บอกย้ำ "เราไม่ลืม"

ผูกผ้าแดง กินข้าวแดง ลูก โป่งสีแดง และกิจกรรมวันอาทิตย์สีแดงสัญจร

ถูกขวางกดดัน จนต้องล้มเลิกทอล์กโชว์

ไม่มีใครสั่ง หรือเป็นนอมินีให้ใคร "ทั้งหมดเป็นกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ ทุกคนมาด้วยใจเพื่อมาพบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน และกิจกรรมที่จัดแต่ละครั้งถึงจะเป็นกลุ่มเล็กๆ ก็สามารถทําให้สะเทือนไปถึงรัฐบาลได้"

แล้วก็จริง

บทความข่าวสด : การตาย ที่ไม่ตาย ของ“แดง คชสาร”วีรชนคนรากหญ้า

ที่มา thaifreenews

โดย lovethai

การตาย ที่ไม่ตาย การตาย ของ แดง คชสาร ตาย เพื่อ อุดมการณ์



ไม่ว่าจะเอ่ยนาม น้อย บรรจง ไม่ว่าจะเอ่ยนาม แดง คชสาร

ยากเป็นอย่างยิ่งที่ชุมชน โซเชียล เน็ตเวิร์ก อย่าง ทวิต เตอร์ หรือ เฟซบุ๊ก จะขานรับอย่างคนคุ้นเคย

นามของ แดง คชสาร แปลกหน้าอย่างยิ่ง

นามสกุล บรรจง ของเขาอาจรู้จักเพียงในหมู่บ้านเล็กๆ ของตำบลแห่งหนึ่ง อำเภอแห่งหนึ่งในจังหวัดชัยภูมิ

ไม่มี "สาแหรก" สืบสายยาวไปได้แม้เพียง 3 สาแหรก อย่าว่าแต่ 8 เลย

แต่เชื่อหรือไม่ว่างานเผาศพของ น้อย บรรจง หรือ แดง คชสาร ณ วัดศรีบุญเรือง ต.หนองหอย อ.สารภี จ.เชียงใหม่ มีผู้ไปร่วมงานศพอย่างชนิดมืดฟ้า มัวดิน

ทั้งๆ ที่ไม่ใช่ดารา ทั้งๆ ที่ไม่ใช่นักร้อง

ไทยรัฐรายงานว่ามีผู้เข้าร่วมงานศพจนเต็มทั้งวัด ขณะที่ข่าวสดรายงานว่ามีผู้มาร่วมงานกว่า 5,000 คน

ทำไม


น้อย บรรจง เป็นคนขับรถตุ๊กตุ๊ก แต่บทบาทเด่นประการหนึ่งของเขา คือ บทบาทในฐานะดีเจ.ผ่านสถานีวิทยุชุมชนกลุ่มรักษ์เชียงใหม่ 51

หลายคนจึงรับรู้นามของเขาผ่าน ดีเจ.แดง

ยิ่งกว่านั้น เขาเป็นคนขับรถตุ๊กตุ๊กที่ร่วมเรียกร้องประชา ธิปไตยเรียกร้องความเป็นธรรมกับกลุ่มเสื้อแดงอย่างเอาการเอางาน

อีกบทบาทหนึ่งของ แดง คชสาร นอกเหนือจากดีเจ. คือ เป็นการ์ด

เมื่อแกนนำกลุ่มรักษ์เชียงใหม่ 51 แตกกระจายไปพร้อมกับการปราบปรามเมื่อเดือนพฤษภาคม 2553 แดง คชสาร เป็นคนหนึ่งที่เข้ามาดำรงอยู่ในสถานะแห่งแกนนำกลุ่มรักษ์เชียงใหม่ รุ่น 2

ตรงนี้เองที่กลายเป็นเป้าของกระสุน


มองในแง่การเติบใหญ่ที่ผ่านมา น้อย บรรจง อาจเป็นแรงงานรับจ้างคนหนึ่งท่ามกลางความเจริญของมหานครเชียงใหม่

แต่การตัดสินใจ "เลือก" เส้นทางตามความเชื่อต่างหากที่ทรงความหมาย

ขณะเดียวกัน การเลือกจากฝ่ายผู้มีอำนาจให้เขาตกเป็น "เป้า" แห่งการไล่ล่าและลอบสังหารได้ทำให้การเสียสละของ น้อย บรรจง หรือ แดง คชสาร มิได้เบาดั่งขนนก หากแต่หนักแน่นดังดอยอินทนนท์

ผู้มีอำนาจต้องการ "ฆ่า" น้อย บรรจง และ แดง คชสาร

แต่ น้อย บรรจง และ แดง คชสาร ก็ตายเพียงร่าง หากความคิด ความเสียสละ ยังดำรงอยู่


คนธรรมดาสามัญระดับรากหญ้าคนหนึ่งได้รับการให้เกียรติจากสังคมหนักแน่นถึงเพียงนี้

แจ่มชัดอย่างยิ่งว่าเป็นการให้เกียรติจากบทบาทและการเติม "ความหมาย" จากการลงมือปฏิบัติที่เป็นจริง ด้วยการลงมือต่อสู้ตามความเชื่อทางการเมืองของตน

การตายของ น้อย บรรจง และ แดง คชสาร จึงเป็นการตายที่ไม่ตาย


(ที่มา ข่าวสดรายวัน , 28 ธันวาคม 2553)

อุบัติเหตุรถตู้เก้าศพ ปรากฎการณ์นางสาวเอ และสังคมไทย

ที่มา ประชาไท

หมายเหตุ: *ผู้เขียนเลือกที่จะใช้ชื่อนางสาวเอ แทนการใช้ชื่อจริงเพื่อปกป้องสิทธิของผู้ต้องหาในฐานะเป็นผู้เยาว์

เราปฏิเสธไม่ได้ว่า อุบัติเหตุรถตู้เก้าศพสร้างความโกรธ โมโห และความรู้สึกสงสารครอบครัวผู้เสียชีวิตไม่มากก็น้อยจากคนไทยจำนวนมาก (โดยเฉพาะชนชั้นกลางที่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้) อุบัติเหตุนี้ได้เกิดปรากฎการณ์ความโกรธแค้น โมโห และความรู้สึกที่รุนแรงต่อนางสาวเอ เช่น การตั้งกลุ่มแสดงความโมโหและการใช้คำหยาบประนามนางสาวเอใน Facebook ขึ้นและตามเว็ปบอร์ดต่างๆ

หลังจากที่มีผู้ใช้ Facebook ตั้งกลุ่ม เรา “มั่นใจว่าคนไทยเกินล้านไม่พอใจนางสาวเอ” ขึ้นตอนนี้มีสมาชิกมากกว่า 204,982 คนภายในระยะเวลา 2-3 วัน หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์รายงานว่าภายในระยะเวลา 18 ชั่วโมง กลุ่มนี้มีสมาชิกเพิ่มขึ้น 150,000 คน ในขณะเดียวกันนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้มีการตั้งกลุ่ม “มั่นใจว่าเด็ก มธ.ทั้งมหาลัยเกลียด นางสาวเอ” ที่ปัจจุบันมีสมาชิก 15,298 คน

นอกจากนี้ยังมีการเขียนแฮชแท็กใน Twitter ว่า #ihate (ชื่อของคนขับ) และมีความพยายามค้นหา Twitter ของนางสาวเอเพื่อที่ผู้ใช้ Twitter จะสามารถเขียนประณามเธอได้ รวมถึงการเกิดการตั้งกระทู้ที่หยาบคายประณามการกระทำของนางสาวเอคล้ายกับว่าผู้เขียนข้อความเหล่านั้นได้เชื่ออย่างแน่แท้ว่าว่า การขับรถชนรถตู้โดยสารจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (รังสิต) ถึงหมอชิตเป็นสิ่งเธอได้วางแผนไว้อย่างไตร่ตรองไว้ก่อนเพื่อที่ต้องการให้มีผู้เสียชีวิตแปดคน หาใช่อุบัติเหตุที่เธอไม่ได้คาดคิดหรือตั้งใจไม่

ตลกร้ายก็คือ มีผู้ใช้ทวิตเตอร์รายหนึ่งกลายเป็น “แพะ” หลังจากเขียนข้อความแซวประหนึ่งว่าเป็นคนที่เพิ่งขับรถชนคนแล้วมาทวีต ข้อความแซวดังกล่าวถูกขยายซ้ำ เขาถูกเข้าใจผิดว่าเป็นผู้ที่ขับรถชนเสียเอง สังคมโซเชียลมีเดียจึงกลายร่างเป็นศาลเตี้ยแบบไทยๆ ลุกขึ้นมาเชือดแพะทันที

บทความนี้มีความมุ่งหมายในการตั้งคำถามกับสังคมไทย (โดยเฉพาะผู้ใช้อินเตอร์เน็ต) และพยายามจะอธิบายว่าปรากฎการณ์ “นางสาวเอ” นี้จะสามารถนำมาอธิบายสังคมไทยได้อย่างไร

(1)

การตัดสินใจหลายๆ กรณีในสังคมไทยเกิดขึ้นผ่านการใช้ข่าวลือ การพูดต่อๆ กัน มากกว่าการใช้เหตุผล

กรณีนี้มีการสร้างข่าวลือจำนวนมากที่ไม่สามารถตรวจสอบได้หรือไม่มีหลักฐานสนับสนุน เช่น การสร้างข่าวลือว่านางสาวเอหลบหนีออกนอกประเทศแล้ว ข่าวลือว่ามีความพยายามเปลี่ยนอายุของเธอจาก 16 ปีเป็น 18 ปี ข่าวลือว่าเธอขับรถชนเพราะกำลังเล่นบีบีอยู่ ข่าวลือการพูดคุยระหว่างเธอกับเพื่อนในบีบีที่ไม่ได้แสดงความเสียใจกับเหตุการณ์ ข่าวลือว่าเธอขับรถชนเสร็จแล้วลงมาเล่นบีบี (ซึ่งในกรณีนี้หลังนี้ได้มี Netizen ท่านหนึ่งได้ชี้ให้เห็นว่าภาพที่นางสาวเอกำลังกดบีบีนี้ เหมือนกับว่าเธอกำลังกดโทรศัพท์มากกว่า เพราะภาพต่อมาที่วิดีโอแสดงคือภาพที่เธอกำลังเอาโทรศัพท์ขึ้นมาแนบหูและเช่นเดียวกันการให้ข่าวของพี่ชายต่างมารดาของเธอว่ากำลังติดต่อบิดาของเธอ)

(2)

สังคมไทยขาดวุฒิภาวะในการพูดคุยกัน ถกเถียง แลกเปลี่ยนด้วยเหตุผล และการแลกเปลี่ยนอย่างไม่สนับสนุนความรุนแรง

ในกลุ่มที่ตั้งขึ้นมาเพื่อแสดงความเกลียดแค้นต่อเธอ มีการใช้คำหยาบอย่างเช่น “สัตว์หนักแผ่นดิน” “อยากเอาบีบีตบหน้ามันจัง อีกระหรี่ซีวิค” “อีฆาตกร” และอีกหลายคำกล่าวรวมถึงการโพสต์เบอร์โทรศัพท์ของเธอและของบิดาของเธอเพื่อเรียกร้องให้มีการโทรไปด่า แทนการพูดคุย ถกเถียงเพื่อหาข้อเท็จจริงและอธิบายสถานการณ์โดยใช้ข้อมูลที่ตรวจสอบได้

ผู้เขียนโดยส่วนตัวเชื่อว่าผู้ที่ทำผิดในกรณีนี้ควรจะต้องได้รับโทษตามกระบวนการยุติธรรม การจะติดตามและตรวจสอบให้ที่มีการดำเนินการอย่างโปร่งใสเป็นสิ่งที่สามารถทำได้และควรกระทำ แต่การตรวจสอบกับการเรียกร้องให้มีการรุมทำร้ายหรือประชาทัณฑ์ผู้ต้องหาเป็นสิ่งที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

(3)

ปรากฎการณ์นี้เป็นตัวอย่างหนึ่ง (ในหลายๆ ตัวอย่าง) ที่แสดงปัญหาของระบบการขนส่งมวลชนในกรุงเทพฯ ที่ไร้ซึ่งความปลอดภัยและไม่มีมาตรฐาน

ระบบรถเมล์ รถมอเตอร์ไซค์ รถตู้ปรับอากาศ ที่คนเดินทางส่วนใหญ่เป็นชนชั้นล่าง ชนชั้นกลางในเมืองไม่มีมาตรฐานเรื่องความปลอดภัยเลย การเกิดอุบัติเหตุกับรถโดยสารเหล่านี้แทบทุกอาทิตย์ แต่ยังคงไม่ได้มีการปรับปรุงอย่างเต็มที่ เป็นเรื่องที่น่าเศร้าที่เวลาเกิดอุบัติเหตุทีไรก็จะมีการเรียกร้องจากฝ่ายญาติผู้เสียชีวิตว่า “ขอให้กรณีนี้เป็นกรณีสุดท้าย”

เหตุการณ์กรณีนี้อาจจะไม่เกิดขึ้น หากรถตู้โดยสารจะมีบังคับที่ชัดเจนตามกฎหมายว่ารถตู้ทุกคันต้องมีเข็มขัดนิรภัยและผู้โดยสารต้องใส่เข็มขัดนิรภัยด้วย เนื่องจากเหยื่อที่เสียชีวิตส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากการเหวียงของรถทำให้เหยือกระเด็นออกมานอกตัวรถ

(4)

สังคมไทยให้ความสำคัญของชีวิตคนที่แตกต่างกัน ตามชนชั้นทางสังคม ตามกลุ่มทางสังคม ตามองค์กรทางสังคมที่ตน เป็นสมาชิก

ในกลุ่ม เรา “มั่นใจว่าเด็ก มธ. ทั้งมหาลัยเกลียดนางสาวเอ” มีคำถามที่น่าสนใจว่าหากคนที่เสียชีวิตไม่ได้เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บุคคลที่เข้ามาเป็นสมาชิกกลุ่ม (ที่ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาหรือศิษย์เก่ามหาวิทยาลัย) จะให้ความสำคัญกับการเสียชีวิตครั้งนี้ไหม?

เช่นเดียวกันที่มีการตั้งคำถามว่าถ้าหากผู้เสียชีวิตเหล่านี้เป็นตาสีตาสา แรงงานพม่า ขอทาน แต่ไม่ใช่นักศึกษา-อาจารย์มหาวิทยาลัยชั้นนำ นักเรียนนอก นักวิจัย สังคมไทยจะให้ความสำคัญเช่นนี้หรือไหม

เราคงจำได้ถึงการเสียชีวิตของแรงงานพม่า 54 ศพที่หาเป็นวาระแห่งชาติในหมู่ชนชั้นกลางไม่

การเสียชีวิตของคนจำนวนเก้าคนเป็นเรื่องที่น่าเศร้า แต่ในกรณีเดียวกันเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในประเทศไทย (เช่น ในกรณีสามจังหวัดชายแดนใต้ที่มีคนเสียชีวิตแทบทุกวัน ปัจจุบันมีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์มากกว่า 4 พันคน)

แต่การที่เหยื่อเป็นชนชั้นกลางในเมืองอาจจะเป็นเหตุผลที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาที่รุนแรงจากชนชั้นกลางด้วยกัน ตัวอย่างที่สามารถอธิบายได้กับกรณีนี้ คือ อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์เคยอธิบายว่าโสเภณีในกรุงเทพฯ ที่เป็นคนจนเป็นปรากฎการณ์ที่ปกติและเกิดขึ้นมานานแล้วและเป็นสิ่งที่ชนชั้นกลางยอมรับได้ แต่เมือเกิดปรากฏการณ์โสเภณีนักศึกษาไซด์ไลน์ ชนชั้นกลางไม่สามารถรับได้เพราะเป็นชนชั้นเดียวกัน

(5)

สังคมไทยเคารพสิทธิผู้ต้องหาต่ำมาก

สังคมไทยขาดความเข้าใจว่าไม่รู้ว่าผู้ต้องหาไม่ว่าจะกระทำผิดรุนแรงแค่ไหนก็ต้องมีสิทธิ มีความเป็นมนุษย์เหมือนประชาชนทุกคนตามหลักรัฐธรรมนูญ

ดังนั้นเมือเราเปรียบเทียบกับกรณีอื่นๆ เช่น กรณีผู้ต้องหายาเสพติด สังคมไทยส่วนใหญ่ (ไม่ว่าคุณจะอยู่สีเหลืองหรือสีแดง) จะให้ความยอมรับวิธีการวิสามัญฆาตกรรม แทนการนำผู้ต้องหามาขึ้นศาลตามกระบวนการยุติธรรม อีกกรณีหนึ่ง คือ ในฐานะที่ผู้ต้องหาเป็นผู้เยาว์ควรจะได้รับการปกป้องชื่อเสียงและสิทธิโดยไม่มีการเปิดเผยชื่อจริง แต่สื่อมวลชนไทยจำนวนมากได้เปิดชื่อจริง นามสกุลจริงของเธอไปแล้ว

เป็นเรื่องที่น่าเศร้ามากที่ครอบครัวนางสาวเอได้ให้สัมภาษณ์ถึงการที่ครอบครัว ไม่ได้นอนในหลายวันที่ผ่านมา เพราะต้องพานางสาวเอย้ายโรงพยาบาลสามแห่งหลังจากถูกขู่ฆ่าและมีการพยายามบุกเข้ามาในห้องของเธอ รวมถึงการโทรศัพท์ไปที่บ้านเพื่อประณามทั้งคืน

(6)
การเกิดขึ้นของปรากฎการณ์ครั้งนี้อาจจะมีส่วนสำคัญ คือ สังคมไทยมีความเชื่อถือต่อกระบวนการยุติธรรมโดยเฉพาะกระบวนการยุติธรรมของตำรวจต่ำมาก และในอีกด้านหนึ่ง ปรากฏการณ์ครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ยังมีค่านิยมที่ตายตัว เช่น คนรวยมักทำผิด นักการเมืองเลว

หลายๆ ครั้งมีความเชื่อว่า หากผู้กระทำเป็นผู้มีอำนาจหรือมีอิทธิพล เช่น คนมีนามสกุลดัง มีพ่อเป็นนักการเมือง เป็นคนรวยหรือลูกคนรวย ความยุติธรรมกับผู้เสียชีวิตจะเกิดขึ้นได้ยาก ประสบการณ์ที่ลูกของนักการเมือง ผู้มีอิทธิพลจะได้รับโทษเบาๆ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างบ่อยครั้งตามหน้าหนังสือพิมพ์

การเกิดปรากฎการณ์นี้ขึ้นมาอาจจะเป็นความไม่มั่นใจของสังคมว่ากระบวนการยุติธรรมจะสามารถให้ความเป็นธรรมกับเหยือได้จริงหรือเปล่า

(7)

แต่ในขณะเดียวกันสังคมไทยมีการมองปัญหาแบบฉาบฉวยและมีการใช้ค่านิยมแบบฉาบฉวย เช่น มองว่าลูกคนรวย คนที่มีนามสกุลใหญ่จะเลวหมด เป็นอภิสิทธิ์ชนหมด คล้ายกับแนวคิดที่เชื่อว่าข้าราชการและนักการเมืองจะเลวหมด

สังคมไทยพร้อมที่จะออกมาก่นด่าคนจนทำให้ผู้วิจารณ์รู้สึกว่าตัวเองเป็นคนดีมีศิลธรรม และมองข้ามข้อเท็จจริงที่สำคัญ ซึ่งค่านิยมที่เหมารวมเช่นนี้ไม่เป็นประโยชน์เพราะผู้วิจารณ์ก็จะสามารถติด่าแต่ไม่สนใจรายละเอียดหรือโครงสร้างของปัญหา

และที่สำคัญที่สุด ปรากฎการณ์นี้อาจแสดงให้เห็นว่า สังคมไทยในตอนนี้อยู่ในสภาวะที่ไม่มั่นคง ที่เราต้องมีกลุ่มคนที่เราเกลียดแค้นตลอดเวลา เช่น การเกลียดแค้นกลุ่มคนเสื้อแดงโดยคนเสื้อเหลือง คนเสื้อเหลืองโดยคนเสื้อแดง การเกลียดแค้นโจ๊ก ไผ่เขียว จนมาถึงการเกลียดแค้นนางสาวเอในตอนนี้ อาจเพราะคนจะรู้สึกสบายใจเมื่อได้พูดว่า "เธอนั่นล่ะ ผิด"

พุทธศาสนากับปัญหาสังคมและการเมือง (4): เมื่อพุทธศาสนาถูกครอบงำด้วยอำนาจทางโลก

ที่มา ประชาไท

จากการเสวนา "พุทธศาสนากับปัญหาสังคมและการเมือง" โดย ส.ศิวรักษ์ ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ และวิจักขณ์ พานิช เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2553 ณ ป๋วยเสวนาคาร วัดปทุมคงคา กรุงเทพฯ

(๔) เมื่อพุทธศาสนาถูกครอบงำด้วยอำนาจทางโลก

วิจักขณ์ พานิช: คุณศิโรตม์ได้ช่วยตั้งคำถามมากมายเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทั้งทางตรงและทางอ้อมที่พุทธศาสนามีต่อสังคมและการเมือง ไม่ว่าจะเป็นในส่วนขององค์กรทางศาสนจักร บทบาทของนักบวช หรือตัวคำสอนเอง ซึ่งหลายๆคำถามได้แสดงถึงแนวโน้มที่ขัดแย้งกับจิตวิญญาณของพุทธศาสนาเถรวาทมากๆเลยนะครับ ซึ่งอย่างที่ได้เกริ่นไว้ในตอนต้น ผมได้ตั้งข้อสังเกตว่าพุทธศาสนาในประเทศไทย ได้แปรจากความเป็นเถรวาทไปสู่รูปแบบพุทธศาสนาแบบอื่นไปแล้วในช่วงไม่กี่สิบปีมานี้เอง จนเราอาจเรียกพุทธศาสนาแบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ได้ว่า พุทธศาสนาแบบราชสำนัก

พุทธศาสนาแบบราชสำนักนี้จริงๆมันก็มีอยู่แต่ไหนแต่ไรนะครับ เพียงแต่อำนาจรัฐในอดีตไม่สามารถครอบงำจนพุทธศาสนาได้รับผลกระทบจนเป็นพิมพ์เดียวกันได้ขนาดนี้ การเปลี่ยนแปลงที่ผมมองว่ามีอิทธิพลมากที่สุด คือ การเปลี่ยนแปลงในสมัยรัชกาลที่ ๔ คือ อย่างที่ทุกคนคงรู้นะครับว่า ก่อนขึ้นครองราชย์ รัชกาลที่ ๔ นั้นบวชเป็นพระอยู่หลายปี และได้ก่อตั้งนิกายธรรมยุติขึ้นมา ด้วยความต้องการที่จะปฏิรูปพุทธศาสนาให้ “ถูกต้อง” ก้าวหน้าและทันสมัยมากขึ้น ซึ่งในขณะนั้นพุทธศาสนาเถรวาทที่กระจายอยู่ตามภูมิภาคต่างๆของประเทศ ถือว่ามีความหลากหลายสูงมาก แต่การเปลี่ยนแปลงครั้งนั้นได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรง คือ มีการรวมศูนย์อำนาจทางศาสนจักร มีรูปแบบการสร้างวัด อุโบสถเป็นแบบมาตรฐาน มีการจัดการศึกษาแบบใหม่ให้กับคณะสงฆ์ มีการนำความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่มาผนวกเข้ากับการอธิบายทางพุทธปรัชญา ทำให้เป็นตรรกะและพิสูจน์ได้ แล้วตัดมิติในเรื่องของคุณค่าทางจิตวิญญาณที่ลึกซึ้งบางอย่างออกไป ด้วยเหตุผลว่าเป็นเรื่องงมงายและพิสูจน์ไม่ได้ เช่น เทพปกรณัม ภพภูมิ นรกสวรรค์ เทวดา บุคลาธิษฐาน พิธีกรรม สิ่งเหล่านี้เคยมีในพุทธศาสนาแบบพื้นบ้านและได้ถูกลดทอนคุณค่าไปในยุคนั้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงตรงนี้มันมีผลอย่างมากต่อบรรยากาศและทิศทางของพุทธศาสนาเถรวาทที่เคยงอกงามอย่างหลากหลายในท้องถิ่น อาจเรียกได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของทิศทางที่พุทธศาสนาได้ถูกครอบงำโดยอำนาจรัฐก็ได้ จนศาสนามีความใกล้ชิดและยึดโยงอยู่กับอำนาจรัฐอย่างแนบแน่น และได้รับการสนับสนุนโดยตรงจากพระมหากษัตริย์อย่างต่อเนื่อง และปัจจุบันก็ได้กลายเป็นหนึ่งในสถาบันหลักทางสังคม ซึ่งก็หมายถึงการมีสถานะทางสังคมที่สูง และมีอำนาจทางสังคมและการเมืองอย่างจะปฏิเสธไม่ได้เลย

อำนาจและสถานะที่พุทธศาสนาได้รับมาตรงนี้ ถ้าลำพังอยู่แต่ในเมืองหลวงมันก็ไม่ได้มีผลกระทบอะไรมากหรอกนะครับ อย่างที่เคยเป็นมาก่อนรัชกาลที่ ๔ แต่พอมันไปผนวกกับรูปแบบรัฐชาติสมัยใหม่มันก็ได้พัฒนารูปแบบของมันกว้างขวางออกไป จนบทบาทของพระสงฆ์ก็ค่อยๆเปลี่ยนไป ตัวคำสอนเปลี่ยนไป แนวโน้มของการมองมนุษย์ไม่เท่ากัน ศาสนาไม่เท่ากับคน และอื่นๆ ที่คุณศิโรตม์ได้ตั้งคำถามไว้ก็เริ่มแพร่หลายกลายเป็นเรื่องธรรมดาไป อันนี้ก็ลองสังเกตกันดูครับว่าพุทธศาสนาแบบนี้มันยังมีรากฐานอะไรของพุทธศาสนาเถรวาทเหลืออยู่บ้างหรือไม่ ความอ่อนน้อมหายไปไหน และที่สำคัญมิติของการสละสิทธิ์ และไม่ถือครองอำนาจนั้นมันหายไปไหน อำนาจนี่มันอันตรายนะครับ หวงไว้ไม่กระจายออกไปให้เกิดประโยชน์แก่ผู้อื่นมันก็ทำลายตัวเอง และการมีอำนาจมากๆก็มักทำให้เกิดความประมาท และภาวะเสื่อมถอยทางสติปัญญา

สังคมไทยได้ตัดขาดจากรากของพุทธศาสนาเถรวาทที่เราเคยมีในอดีต และหลุดลอยไปสู่รูปแบบอำนาจทางศาสนาที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือหรือถูกครอบงำโดยอำนาจทางโลก เราจึงกำลังเป็นสังคมพุทธที่ไม่มีรากฐานทางปัญญา แต่พร้อมจะศรัทธาและเชื่อคนที่มีสถานะสูง ซึ่งรวมถึงสถานะทางศาสนา ความเป็นคนดีมีศีลธรรม และการเป็นที่ยอมรับทางสังคม ซึ่งผนวกกับเรื่องความเชื่อและชนชั้นทางสังคมโดยตรงนะครับ ซึ่งมันแสดงให้เห็นว่าพุทธศาสนาได้ถูกตัดขาดจากรากหรือต้นธารใน “ป่า” ไปแล้ว แต่คนทั่วไปกลับไม่เห็นว่าเป็นปัญหา กลับมองว่า ก็ดีเสียอีกที่พุทธศาสนามีอำนาจ เป็นที่ยอมรับมากขึ้น มีสมณศักดิ์ มีสถานะทางสังคมมากขึ้น สามารถสอนสั่ง ชี้แนะ ชี้ถูกชี้ผิดแก่สังคมได้มากขึ้น ซึ่งตรงนี้ผมมองว่ามันเป็นความประมาทอย่างมาก และผลของความประมาทนี้กำลังส่งผลถึงบทบาทที่พุทธศาสนามีต่อสังคม และตัวคำสอนของพุทธศาสนาเองในปัจจุบัน

คนที่ท้าทายพุทธศาสนาแบบราชสำนัก และมีอิทธิพลต่อสังคมไทยมากที่สุดคนหนึ่ง ก็คือ ท่านอ.พุทธทาส ท่านพุทธทาสถือได้ว่าเป็นพระรูปแรกเลย ที่กล้าท้าทายรูปแบบพุทธศาสนาแบบราชสำนัก แม้จะไม่ได้เป็นโดยการวิพากษ์วิจารณ์หรือการแสดงออกที่รุนแรงอย่างสันติอโศก แต่ผมมองว่ามันได้ส่งผลสะเทือนให้คนได้สติและย้อนกลับไปหารากเหง้าของเราไม่น้อยเลยนะครับ ในประวัติของท่านอ.พุทธทาส อย่างที่เรารู้กันดี สมัยหนุ่ม ท่านมาเรียนหนังสือที่กรุงเทพฯ ที่วัดแห่งนี้ (วัดปทุมคงคา) แล้วก็ได้มาเห็นรูปแบบของพุทธศาสนาแบบราชสำนักในเมืองหลวง การศึกษาสมัยใหม่ของคณะสงฆ์ การแก่งแย่งแข่งขัน อำนาจ สถานะ สมณศักด์ต่างๆ พอท่านเห็น ท่านก็บอกว่านี่มันไม่ใช่แล้ว นี่มันไม่ใช่พุทธศาสนาที่พระพุทธเจ้าประกาศไว้ มันไม่ใช่วิถีของสมณะ วิถีของการสละละวาง จิตวิญญาณที่ไปพ้นอำนาจหรือการปรุงแต่งทางโลก มันได้กลายเป็นอะไรไม่รู้นะครับ ท่านไม่เอาเลย พอกันที เลิกเรียน กลับไปบ้านเกิดที่พุมเรียง ร่วมกับน้องชายและสหายห้าหกคน กับเงินส่วนตัว ซื้อที่ ตั้งสวนโมกข์ขึ้นมา เพื่อกลับไปหาจิตวิญญาณของพุทธศาสนาเถรวาท ตีความพระไตรปิฎกใหม่ อยู่กันอย่างเรียบง่าย ตั้งวัดในป่า อยู่ร่วมกับธรรมชาติ แล้วย้อนกลับไปหารากเหง้าของพุทธศาสนาที่เคยเป็นรากฐานทางจิตใจของบรรพบุรุษที่สืบทอดต่อกันมา

ดังนั้นถ้าเราพูดกันถึงพุทธศาสนาเถรวาทกับสังคมและการเมือง จิตวิญญาณของพุทธศาสนาเถรวาทมีความลึกซึ้งไม่น้อยนะครับ แม้จะไม่ได้เป็นไปเพื่ออำนาจต่อรองทางการเมือง แต่โดยมิติทางสังคมแล้ว พุทธศาสนาเถรวาทนั้นถือว่า เป็นคุณค่าทางจิตวิญญาณที่สามารถปรับเข้าหาวัฒนธรรม และผู้คนที่หลากหลายได้ดีมาก ด้วยความที่มันตั้งอยู่บนฐานของการ “สละสิทธิ์” นี่แหละครับ มันเลยเปี่ยมด้วยศักยภาพในการเข้าไปกับผู้คนทุกชนชั้นวรรณะได้ดีมาก คือ เข้าไปเปล่าๆ เปิดใจเรียนรู้เอา โดยไม่หวังว่าจะได้อะไร จะเรียกว่าเป็นอำนาจของความกรุณาก็ได้ ที่ทำให้พุทธศาสนาแบบนี้สามารถเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม ศิลปะ ประเพณี พิธีกรรม ได้อย่างกลมกลืน สำคัญคือการปรับเข้าหาไม่ได้เป็นไปการปรับอย่างหลับหูหลับตา แล้วไปรับใช้อำนาจทางโลกเพื่อสถานะของศาสนาเอง แต่ปัจจุบันจิตวิญญาณแบบนี้มันเลือนหายไปหมดเลยครับ เพราะอำนาจทางโลกที่พุทธศาสนาได้รับมา แล้วยึดถือมันไว้จนพอกพูนทับถม รวมถึงความใกล้ชิดต่อราชสำนักที่มีมากเกินไป มันได้ส่งผลต่อพฤติกรรมบางอย่าง ที่เราอาจจะเข้าใจไม่ได้เลยหากมองจากจิตวิญญาณของพุทธศาสนาเถรวาท เช่น การสอนสั่งหรือสื่อสารทางเดียว การมองคนว่าด้อยหรือต่ำกว่าศาสนา การวิพากษ์วิจารณ์ไม่ได้ สถานะที่สูงส่งเหนือมนุษย์ราวกับสมมติเทพ การดูถูกผู้หญิง ฯลฯ ผมมองว่าสิ่งเหล่านี้มันเป็นผลจากอำนาจที่พุทธศาสนาได้รับมาจากรัฐ ซึ่งแน่นอนว่าส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความสัมพันธ์เชิงอำนาจในฐานะสถาบันหลัก คือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ที่ยึดโยงสัมพันธ์กันอย่างแยกจากกันไม่ออกในสังคมปัจจุบัน

ผมจึงอยากจะตั้งคำถามตรงนี้นะครับ เวลาที่เราพูดถึงพุทธศาสนากับปัญหาสังคมและการเมือง เรากำลังพูดถึงพุทธศาสนาแบบไหน เป็นอำนาจของสถาบันศาสนาที่ไปเป็นส่วนหนึ่งของอำนาจรัฐอย่างแยกจากกันไม่ได้ หรือเป็นคุณค่าของพุทธศาสนาเถรวาทที่เรามีเป็นรากเหง้าของวัฒนธรรมจริงๆ เพราะถ้าเราฟันธงแล้วว่าพุทธศาสนาที่เรามีอยู่มันเสื่อมสมรรถภาพแล้วจริงๆ เราก็จะได้พูดคุยถึงพุทธศาสนาแบบอื่นไปเลย หรือไม่ต้องมีศาสนากันไปเลยก็ยังได้ การมีอยู่ของสถาบันศาสนาในฐานะสถาบันหลักทางสังคมนั้นมีอำนาจและต้นทุนไม่น้อยทั้งทางการเมือง ทางสังคม และทางวัฒนธรรม ซึ่งเราอาจต้องช่วยกันตั้งคำถามต่อบทบาทของศาสนา โดยเฉพาะคุณค่าทางจิตวิญญาณของศาสนาที่มีต่อสามัญชนให้มากขึ้น แต่โดยส่วนตัวผมยังมองว่าหากเราย้อนกลับไปหาจิตวิญญาณของพุทธศาสนาแบบเถรวาทจริงๆ มันยังมีอะไรที่ดี ที่เราสามารถนำมาใช้ได้ อีกทั้งยังจะเป็นรากฐานให้กับการต่อยอดของพุทธศาสนาแบบอื่นๆ ที่จะเสริมให้พุทธศาสนาเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ทางการเมือง และเกื้อกูลสังคมประชาธิปไตยในทางที่สร้างสรรค์ยิ่งขึ้น

อัยการยื่นฟ้อง 10 เอ็นจีโอปีนสภา สมัย "สนช." - ศาลยอมให้ประกันตัว

ที่มา ประชาไท

อัยการมีความเห็นสั่งฟ้อง 10 เอ็นจีโอ ปีนสภาคัดค้านการออกกฎหมายสมัย สนช.เมื่อปี 50 จำเลยนัดยื่นขอประกันตัวในวันเดียวกัน ศาลอนุญาตให้ประกัน-นัดตรวจพยานหลักฐาน 28 ก.พ.ปีหน้า

วันนี้ (30 ธ.ค.53) ที่ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก เมื่อเวลาประมาณ 10.00 น.นายธงชัย รุ่งเจริญวิวัฒนา พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 10 เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายจอน อึ๊งภากรณ์ กับพวกรวม 10 คน เป็นจำเลยในความผิดฐาน ร่วมกันร่วมกันกระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือ หรือวิธีอื่นใดอันมิใช่การกระทำภายใต้ความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญหรือมิใช่ เพื่อแสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริต เพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้าย ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย หรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง โดยเป็นหัวหน้าหรือเป็นผู้มีหน้าที่สั่งการในการกระทำความผิดนั้น และร่วมกันบุกรุกโดยใช้กำลังประทุษร้าย

จากกรณี เมื่อวันที่ 12 ธ.ค.2550 กลุ่มภาคประชาชนได้ร่วมกันปิดล้อมรัฐสภา และบุกเข้ามาภายในเพื่อขัดขวางสมาชิกสภานิติบัญญัติ (สนช.) ไม่ให้พิจารณากฎหมาย จนต้องงดการประชุม โดยศาลรับคำฟ้องไว้พิจารณาเป็นคดีดำที่ อ.4383/2553

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันเดียวกันนี้ จำเลยทั้ง 10 คน ได้นัดหมายมาพร้อมกันที่ศาลอาญาตั้งแต่เมื่อเวลา 9.00 น.เพื่อยื่นขอประกันตัวต่อศาล โดยมีญาติ และผู้มาให้กำลังใจกว่า 30 คน โดยในจำนวนนี้มีนางรสนา โตสิตระกูล ส.ว.กรุงเทพมหานคร น.พ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.) และนายวัชระ เพชรทอง ส.ส.กรุงเทพฯ พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเดินทางมาให้กำลังใจและเตรียมพร้อมมาเป็นนายประกันด้วย

ทั้งนี้ คดีดังกล่าวเลื่อนนัดจากเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2553 เพราะมีปัญหาเรื่องการใช้บุคคลเป็นหลักประกันในการขอปล่อยตัว เนื่องจากหากผู้ใช้ตำแหน่งประกันไม่ได้เป็นญาติกับจำเลย ศาลอาจใช้ดุลพินิจไม่ให้ประกันตัว และคดีนี้จำเลยจำนวน 6 คนใช้ตำแหน่งนักวิชาการ สส. และ สว.ซึ่งไม่ใช่ญาติเป็นหลักประกัน จึงมีประเด็นว่าศาลจะอนุญาตให้ประกันตัวหรือไม่ ส่วนกรณีการใช้หลักประกันอิสรภาพ จำเลยจะต้องใช้หลักทรัพย์คนละ 2 แสนบาท

จันทร์จิรา จันทร์แผ้ว ผู้อำนวยการเครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (คนส.) หนึ่งในทีมทนายฝ่ายจำเลย กล่าวให้ข้อมูลว่า หลังจากที่มีการแจ้งข้อกล่าวหาและสอบคำให้การจำเลยแล้ว จำเลยทั้งหมดให้การปฏิเสธและได้ยื่นขอประกันตัวต่อศาล ซึ่งศาลอนุญาตให้ประกันตัวทั้งหมด และนัดตรวจพยานหลักฐานในวันที่ 28 ก.พ.54 เวลา 09.00 น.โดยจำเลยทุกคนต้องมาศาลอีกครั้ง ก่อนจะมีการนัดสืบพยานในครั้งต่อไป

อนึ่ง จำเลยทั้ง 10 คน ประกอบด้วย นายจอน อึ๊งภากรณ์ ประธานมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม นายสาวิทย์ แก้วหวาน ประธานสหภาพพนักงานรัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) นายศิริชัย ไม้งาม ปี ประธานสหภาพพนักงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) นายพิชิต ไชยมงคล นายอนิรุทธ์ ขาวสนิท นายนัสเซอร์ ยีหมะ นายอำนาจ พละมี นายไพโรจน์ พลเพชร ประธานคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) นางสาวสารี อ๋องสมหวัง และนางสาวสุภิญญา กลางณรงค์

จำคุก "85 นักรบศรีวิชัย" คดีบุกเอ็นบีที

ที่มา ประชาไท

คดี 85 นักรบศรีวิชัย บุกเอ็นบีที ศาลสั่งจำคุกโทษสูงสุด 2 ปี 6 เดือน ต่ำสุด 6 เดือน ขณะเยาวชน 6 คนรอลงอาญา 2 ปี ล่าสุดทนายจำเลยยื่นขอประกันตัว สู้คดีชั้นอุทธรณ์

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (30 ธ.ค.53) เมื่อเวลาประมาณ 11.00 น. ที่ศาลอาญาห้องพิจารณาคดี 704 ศาลอ่านคำพิพากษาในคดีหมายเลขดำ อ.4486/2551 กรณีเหตุการณ์ผู้ชุมนุมพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย บุกสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (เอ็นบีที) และสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (สวท.) หน่วยงานสื่อมวลชนของภาครัฐในสังกัดกรมประชาสัมพันธ์ เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ.2551 โดยมีพนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 4 เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง นายธเนศ คำชุม กับพวกรวม 85 คน ซึ่งเป็นกลุ่มนักรบศรีวิชัย การ์ดพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย

โดยในวันนี้มีนายสมศักดิ์ โกศัยสุข หัวหน้าพรรคการเมืองใหม่ และแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเดินทางมาฟังคำพิพากษา และให้กำลังใจจำเลยทั้งหมดด้วย

ทั้งนี้ จำเลยทั้งหมดถูกยื่นฟ้องในความผิดฐานสมคบกันตั้งแต่ห้าคนขึ้นไปเพื่อกระทำความผิดฐานเป็นซ่องโจร, มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปใช้กำลังประทุษร้าย หรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง, ร่วมกันไม่มีเหตุอันสมควรเข้าไปหรือซ่อนตัวในเคหสถาน หรือสำนักงานในความครอบครองของผู้อื่นโดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือโดยมีอาวุธในเวลากลางคืน, ร่วมกันทำให้เสียทรัพย์, ร่วมกันข่มขืนใจผู้อื่นให้กระทำการใด หรือจำยอมต่อสิ่งใด โดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ หรือทรัพย์สิน โดยใช้กำลังประทุษร้ายโดยมีอาวุธ, ร่วมกันพาอาวุธไปในเมืองหรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุอันสมควร ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32, 33, 83, 91, 92, 210, 215, 309, 358, 364, 365 และ 371 พ.ร.บ.อาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนฯ พ.ศ.2490, พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2545 และ พ.ร.บ.วิทยุคมนาคม พ.ศ.2535

คำฟ้องระบุว่า ระหว่างวันที่ 22-25 ส.ค.51 จำเลย 85 คน ร่วมกันประชุมวางแผนนัดแนะระดมพลจากสะพานมัฆวานรังสรรค์และสถานที่อื่น ตกลงกันไปเพื่อกระทำความผิดฐานร่วมกันบุกรุกอาคารสำนักงานสถานีโทรทัศน์เอ็นบีที และระหว่างวันที่ 25-26 สิงหาคม 2551 จำเลยทั้งหมดได้พกพาอาวุธปืน เครื่องกระสุน มีดดาบ มีดพก ร่วมกันไปทำลายทรัพย์สินและบุกรุกสถานีโทรทัศน์เอ็นบีที โดยไม่ได้รับอนุญาต และร่วมกันทำลายทรัพย์สินกว่า 15 รายการ รวมความเสียหายกว่า 6 แสนบาท โดยเมื่อเจ้าพนักงานสั่งให้หยุดการกระทำจำเลยทั้งหมดก็ไม่หยุด อีกทั้งจำเลยยังร่วมข่มขืนใจ นางสาวตวงพร อัศววิไล และนายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ซึ่งเป็นพนักงานสถานีโทรทัศน์เอ็นบีที และพนักงานคนอื่นๆ ที่กำลังปฏิบัติหน้าที่ ไม่ให้จัดรายการออกอากาศ และขับไล่ให้ออกจากที่ทำการ

ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า จำเลยที่ 1 รับว่าได้ร่วมกับพวกเกินกว่า 5 คน บุกรุกเข้าไปที่สถานีโทรทัศน์เอ็นบีที พร้อมกับพกพาอาวุธเข้าไป อันเป็นการกระทำความผิดฐานซ่องโจร แม้ว่าโจทก์จะไม่มีพยานหลักฐานแต่ตามพฤติการณ์บ่งชี้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำผิดดังกล่าว และมีความผิดฐานมีวิทยุสื่อสารในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต นอกจากนี้จำเลยที่ 1 และ 2 ยังกระทำผิดฐานมีอาวุธปืน และพกพาปืนไปในที่สาธารณะ

ส่วนจำเลยอื่นนั้นโจทก์ไม่ได้นำสืบให้เห็นว่าจำเลยคนใดพกพาอาวุธชนิดไหน ข้อเท็จจริงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้อง จึงลงโทษจำเลยอื่นไม่ได้ ส่วนความผิดฐานมั่วสุม บุกรุก และทำให้เสียทรัพย์นั้น รวมทั้งร่วมกันข่มขืนใจ เห็นว่าการวินิจฉัยว่าจำเลยคนใดกระทำความผิดนั้น ต้องพิจารณาไปตามข้อเท็จจริง ทั้งนี้ ศาลลงความเห็นว่ากรณีดังกล่าวเป็นเพียงการที่จำเลยร่วมกันบุกรุกสถานีโทรทัศน์เอ็นบีทีเท่านั้น เนื่องจากโจทก์ไม่นำสืบให้เห็นว่าจำเลยคนใดกระทำผิดในความผิดฐานดังกล่าว ส่วนจำเลยที่ 39 และ 80 มีความผิดฐานยาเสพติดใบกระท่อมในครอบครอง

นอกจากนี้ ในความผิดฐานกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง เห็นว่าจากการนำสืบของพนักงานสอบสวน พยานโจทก์ระบุว่า นายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรฯ ประกาศชักชวนอาสาสมัครที่จะไปชุมนุมที่สถานีโทรทัศน์เอ็นบีทีให้ไปรวมกลุ่มที่ลานพระบรมรูปรัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 26 ส.ค.51 ซึ่งเกิดหลังจากที่กลุ่มจำเลยกระทำการดังกล่าวไปแล้วตั้งแต่เมื่อวันที่ 25 ส.ค.51 จึงไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยทั้งหมดจะมีเจตนาร่วมกันกับแกนนำได้ อีกทั้งไม่ปรากฏว่าเกิดความวุ่นวายในบ้านเมืองตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 215 แม้จะปรากฏข้อเท็จจริงว่ามีการบุกรุกสถานีโทรทัศน์เอ็นบีทีก็ตาม

พิพากษาว่าจำเลยที่ 1-41 และ 43-85 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 210 วรรคแรก มาตรา 365 (1) (2) (3) ประกอบมาตรา 364 และมาตรา 83 ขณะกระทำผิด จำเลยที่ 30, 47, 81 อายุยังไม่เกิน 20 ปี เห็นสมควรลดโทษมาตราส่วนโทษ 1 ใน 3 ส่วนจำเลยที่ 83-85 อายุต่ำกว่า 18 ปี เห็นสมควรละโทษให้กึ่งหนึ่ง ความผิดฐานเป็นซ่องโจร จำคุกจำเลยที่ 1-29 ที่ 31-41 ที่ 43-46 ที่ 48-80 ที่ 82 จำคุกคนละ 1 ปี จำคุกจำเลยที่ 30 ที่ 47 ที่ 81 คนละ 8 เดือน สั่งจำคุกจำเลยที่ 83-85คนละ 6 เดือน ฐานบุกรุก จำคุกจำเลยที่ 1-29, 31-41, 43-46, 48-80 และที่ 82 คนละ 1 ปี จำคุกจำเลยที่ 30, 47, 81 คนละ 8 เดือน จำคุกจำเลยที่ 83-85 คนละ 6 เดือน

จำเลยที่ 1 มีความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน พ.ศ. 2490 มาตรา 8 ทวิวรรคหนึ่ง, 72 วิ วรรคสอง ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 371 เป็นการกระทำความผิดกรรมเดียว ผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุด ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 90 จำคุก 1 ปี และความผิด พ.ร.บ.วิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 มาตรา 6 และ 23 สั่งจำคุก 1 ปี

จำเลยที่ 2 มีความผิด พ.ร.บ.อาวุธปืน มาตรา 7 และ 72 วรรคสอง สั่งปรับ 1 พันบาท ส่วนจำเลยที่ 39 และ 80 มีความผอดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง 76 วรรคสอง สั่งปรับคนละ 1 พันบาท เพิ่มโทษจำเลยที่ 24 1ใน3 ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 92 รวมเป็นจำคุกกระทงละ 1ปี 4 เดือน การกระทำของจำเลยที่ 1-41 และ 43-85 เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 91 จำเลยรับข้อเท็จจริงว่าได้ร่วมกันบุกรุกอาคารสำนักงานสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย NBT และสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน

จำเลยที่ 1 และ 2 ให้การรับสารภาพ ความผิดตาม พ.ร.บ.วิทยุคมนาคม จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพ และความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ จำเลยที่ 39 และ 80 ให้การรับสารภาพ ซึ่งเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 78 คงจำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 1 ปี 18 เดือน และจำเลยที่ 2 มีกำหนด 1 ปี 6 เดือน และสั่งปรับ 500 บาท

ส่วนจำเลยที่ 3-29, 31-38, 40, 41, 43-46, 48-79 และ 82 มีกำหนด 1 ปี 6 เดือน จำเลยที่ 39 และ 80 มีกำหนด 1 ปี 6 เดือน ปรับ 500 บาท จำเลยที่ 30, 47 และ 81 มีกำหนด 12 เดือน จำเลยที่ 83-85 มีกำหนด 9 เดือน จำเลยที่ 24 มีกำหนด 1 ปี 12 เดือน

ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 30, 47, 81, 83-85 ได้รับโทษจำคุกมาก่อน ขณะกระทำความผิดจำเลยที่ 30, 47 และ 81 อายุยังไม่เกิน 20 ปี จำเลยที่ 83-85 ยังเป็นเยาวชน จึงเห็นควรให้โอกาสกลับตนเป็นพลเมืองดี โทษจำคุกให้รอการลงโทษจำเลยดังกล่าวไว้มีกำหนด 2 ปี ให้ไปรายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติ 4 ครั้ง ภายในกำหนดเวลา 1 ปี ข้อหาและคำร้องอื่นให้ยก

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมด้วยว่า หลังศาลอ่านคำพิพากษา ทนายความของจำเลยได้ยื่นคำประกันตัวจำเลยทั้งสิ้น 79 คน เพื่อขอปล่อยตัวชั่วคราว โดยทนายเตรียมยื่นอุทธรณ์คดีต่อไป