WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, September 29, 2012

นายกฯ แจงภารกิจประชุมสมัชชา UN

ที่มา Voice TV



รายการ"รัฐบาลยิ่งลักษณ์พบ ประชาชน"วันนี้เป็นการบันทึกเทปจากนครนิวยอร์ค โดยนายกรัฐมนตรี ระบุว่าได้ใช้เวที ประชุมสมัชชาสหประชาชาติสร้างความเชื่อมั่นเรื่องเด็ก-สตรีและหารือทวิภาคี กับหลายประเทศ
นางสาว ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ออกรายการรัฐบาลยิ่งลักษณ์พบประชาชน โดยเป็นการบันทึกเทปไว้ ซึ่งกล่าวถึงการเดินทางร่วมประชุมสมัชชาสหประชาชาติ ที่สหรัฐอเมริกา ซึ่งนายกรัฐมนตรี ระบุว่า ได้ใช้โอกาสในการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ ในการแสดงความมั่นใจของประเทศไทยในการฟันฝ่าวิกฤติต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน และแผนการลงทุน ซึ่งยอมรับว่าเหนื่อยในการปฏิบัติภารกิจ 4 วัน และจะนำมาทำประโยชน์ให้กับประชาชน ทั้งนี้ ในเวทีสหประชาชาติมีผู้นำเข้าร่วมกว่า 190 ประเทศ ได้มีพูดถึงประเด็นความมั่นคง ความสงบ และสวัสดิการ มีการลงนามอนุสัญญาเพื่อการดูแลเด็กและสตรี


นอกจากนี้ ยังมีการหารือทวิภาคีกับประธานาธิบดีแห่งสหภาพเมียนมาร์ เกี่ยวกับความคืบหน้าโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายร่วมกัน เพื่อต่อยอดการทำเอ็มโอยูไปสู่การปฏิบัติ มีการพูดคุยกับรัฐมนตรีจากสหภาพยุโรปเรื่องการลงทุน รวมถึงการเข้าพบนายกเทศมนตรีนครนิวยอร์กเพื่อศึกษาเรื่องระบบผังเมือง การหารือกับนักธุรกิจสหรัฐฯเพื่อโอกาสทางการค้า รวมถึงได้มอบนโยบายครัวไทยสู่ครัวโลกแก่ผู้ประกอบการร้านอาหารไทยในนคร นิวยอร์ก


นางสาวยิ่งลักษณ์ กล่าวอีกว่า ในเรื่องการค้าการลงทุนพบว่าหลายประเทศมองว่าการเปิดการค้าเสรีจะสามารถ กระตุ้นเศรษฐกิจได้ โดยมีนักลงทุนสนใจลงทุนในไทย รวมถึงการท่องเที่ยวในไทย ได้มีการหารือในการส่งนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยว ส่วนภารกิจอื่นๆยังได้เยี่ยมสถานศึกษาเด็กเล็กย่าน Harlem Children นครนิวยอร์ก ซึ่งเป็นการบริหารของท้องถิ่นร่วมกับรัฐบาล เน้นการดูแลพัฒนาการของเด็กตามช่วงอายุ พัฒนาการด้านการศึกษา รวมถึงด้านสาธารณสุข ซึ่งมองว่าเป็นประโยชน์โดยจะมีการนำมาต่อยอดใช้กับประเทศไทย เช่นเดียวกับเรื่องผังเมือง ความปลอดภัยจะนำมาประยุกต์ใช้กับ กทม. และจากการเยี่ยมชมไฮไลน์ พาร์ค (Highline Park) ซึ่งเป็นการแปลงสถานีรถไฟเก่ามาเป็นสวนสาธารณะลอยฟ้า มีพื้นที่สีเขียว และสนามเด็กเล่น ซึ่งชื่นชมในการนำความคิดที่สร้างสรรค์มาใช้


29 กันยายน 2555 เวลา 10:36 น.

สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ: บทเรียนทักษิณ ชินวัตรกับปรีดี พนมยงค์

ที่มา ประชาไท

 

 
กรณีของปัญหาเริ่มจากการที่ นายคณิต ณ นคร ประธานคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อความปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ได้กล่าวในวันที่ ๑๗ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๕ นี้ว่า  เขาได้เขียนบันทึกส่วนตัวถึง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า ถ้าอยากเป็นรัฐบุรุษ ต้องรู้จักคำว่าเสียสละ แม้ว่าจะไม่กลับประเทศ ก็สามารถเป็นรัฐบุรุษได้เช่นกัน เหมือนนายปรีดี พนมยงค์ ที่ทำงานเพื่อประเทศโดยที่ไม่เคยกลับประเทศ เพียงเพราะอยากให้บ้านเมืองสงบ
 
 ข้อเสนอของนายคณิต ได้รับการวิจารณ์ทันทีว่า เป็นข้อเสนอที่มาจากความรู้ทางประวัติศาสตร์ที่ผิดพลาด และยังไม่ได้เป็นการแก้ปัญหาที่แท้จริงของสังคมไทย ส่วนหนึ่ง ก็มาจากทัศนะของนายคณิตเอง ที่เห็นว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นต้นเหตุของปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้น แต่นี่เป็นทัศนะแบบด้านเดียว เพราะปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ฝ่ายอำมาตยาธิปไตย และกลุ่มอนุรักษ์นิยมที่สนับสนุนการรัฐประหาร ก็เป็นสาเหตุสำคัญอีกด้านหนึ่งเช่นกัน ยิ่งกว่านั้น ในรายงานของ คอป.เอง ก็ระบุว่า สังคมไทยมีปัญหารากฐานในทางเศรษฐกิจและสังคมจำนวนมาก เช่น ปัญหาช่องว่างระหว่างรายได้ ปัญหาความแตกต่างระหว่างเมืองกับชนบท ปัญหาความไม่เป็นประชาธิปไตยทางการเมือง ฯลฯ กรณีเหล่านี้ คงแก้ไม่ได้ด้วยการเสียสละของ พ.ต.ท.ทักษิณ
 
แต่ที่สำคัญในทางประวัติศาสตร์นั้น นายปรีดี พนมยงค์ ต้องเดินทางออกจากประเทศ เพราะถูกรัฐประหารเมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๙๐ ในครั้งนั้น กำลังของฝ่ายรัฐประหารได้ใช้รถถังบุกทำเนียบท่าช้างอันเป็นที่พำนักของนาย ปรีดี ทำให้นายปรีดีต้องลี้ภัยออกจากประเทศ หลังจากนั้น นายปรีดีก็ได้พยายามที่จะกลับประเทศหลายครั้ง ครั้งสำคัญ ก็คือ ได้เดินทางกลับมาเพื่อที่จะยึดอำนาจคืนในกรณี "ขบวนการประชาธิปไตย ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๒" แต่ล้มเหลว ถูกปราบปรามอย่างหนัก ซึ่งกรณีนี้จะรู้จักกันนามว่า "กบฏวังหลวง" นายปรีดีต้องหลบซ่อนอยู่ในบ้านแถวฝั่งธนฯ ๖ เดือน แล้วจึงหลบหนีออกไปได้ แล้วจึงไม่ได้กลับมาเมืองไทยได้อีกเลย
 
ประเด็นสำคัญต่อมา ก็คือ นายปรีดีถูกฝ่ายอนุรักษ์นิยมสร้างคดีใส่ร้ายป้ายสีว่า เป็นผู้อยู่เบื้องหลังกรณีสวรรคตของในหลวงรัชกาลที่ ๘ และใช้ศาลเป็นเครื่องมือ ในการตัดสินประหารชีวิตผู้บริสุทธิ์ ๓ คน คือ นายชิต สิงหเสนี นายบุศย์ ปัทมศริน และ นายเฉลียว ปทุมรส เพื่อเป็นการข่มขู่ไม่ให้นายปรีดีกลับประเทศ
 
ความจริงแล้วเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ในเรื่องของนายปรีดี พนมยงค์ ก็มีบทเรียนอันอุดม จากการที่นายปรีดีนั้นมีพื้นฐานเป็นลูกชาวนา แต่อาศัยความสามารถทางการศึกษาเป็นเครื่องมือสร้างโอกาสจนได้ไปศึกษาต่าง ประเทศ และกลายเป็นคนแรกของประเทศไทยที่สำเร็จถึงขั้นปริญญาเอกวิชากฎหมายจากประเทศ ฝรั่งเศส แต่นายปรีดีมิได้มุ่งที่จะนำเอากฎหมายมาใช้เป็นเครื่องมือในการรักษาอำนาจชน ชั้นนำสถาบันหลัก และทำร้ายประชาชนเหมือนนักกฎหมายจำนวนมากในยุคปัจจุบัน หากแต่ต้องการที่จะใช้กฎหมายในการสร้างความเป็นธรรมให้กับสังคม และในสมัยที่บ้านเมืองยังไม่เป็นประชาธิปไตย นายปรีดีก็ได้ร่วมก่อตั้งคณะราษฎร ซึ่งกลายเป็นสมาคมที่มีบทบาทนำในการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงประเทศจากระบอบ สมบูรณาญาสิทธิราชย์มาสู่ประชาธิปไตย เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๗๕
 
หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง นายปรีดี พนมยงค์ ก็ยังเป็นผู้มีบทบาทสำคัญอีกหลายประการในการสร้างระบอบใหม่ ตั้งแต่การมีส่วนร่วมในการร่างรัฐธรรมนูญที่ใช้กันต่อมา มีส่วนในการปฏิรูปกฎหมายให้ประเทศไทยมีความทันสมัย และมีระบอบนิติรัฐอย่างแท้จริง จากนั้น ก็เป็นผู้ผลักดันหลักการปกครองท้องถิ่นเพื่อการกระจายอำนาจ เป็นรัฐมนตรีต่างประเทศที่เดินทางไปเจรจาเลิกสัญญาไม่เป็นธรรมกับมหาประเทศ ทำให้ประเทศไทยมีเอกราชสมบูรณ์ เป็นผู้ผลักดันการปฏิรูปปฏิรูปเศรษฐกิจ สร้างเศรษฐกิจชาตินิยม สร้างระบบภาษีใหม่ให้มีความเป็นธรรม และเพิ่มรายได้ให้กับรัฐ เป็นต้น
 
ต่อมา เมื่อเกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา นายปรีดี พนมยงค์ ได้รับตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ของรัชกาลที่ ๘ และกลายเป็นผู้ก่อตั้งขบวนการเสรีไทย ซึ่งมีส่วนสำคัญที่ทำให้ไทยรอดพ้นจากฐานะที่จะเป็นผู้แพ้ในสงครามโลก เป็นผู้ผลักดันให้การเมืองไทยเป็นประชาธิปไตยสมบูรณ์ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๘๘ เป็นต้นมา และเมื่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๘ เสด็จนิวัติพระนครก็ได้รับตำแหน่งเป็นรัฐบุรุษอาวุโส และเป็นนายกรัฐมนตรี จึงสรุปได้ว่า นายปรีดี พนมยงค์ได้มีบทบาทสำคัญ และสร้างคุณูปการให้กับสังคมไทยเป็นอย่างมาก
 
ความเป็นนักประชาธิปไตยของนายปรีดี พนมยงค์ ยังเห็นได้จากความพยายามในการประนีประนอมกับฝ่ายอนุรักษ์นิยม โดยการนิรโทษกรรมให้นักโทษการเมืองฝ่ายนิยมเจ้าเมื่อ พ.ศ.๒๔๘๘ และยังเปิดให้กลุ่มอนุรักษ์นิยมออกหนังสือพิมพ์เพื่อเผยแพร่แนวคิดของตน และให้ตั้งพรรคการเมืองลงแข่งขันในการเลือกตั้ง โดยหวังว่าจะใช้กติกาประชาธิปไตยเข้ามาคลี่คลายความขัดแย้งทางการเมือง หมายถึงว่า ถ้าพรรคฝ่ายอนุรักษ์นิยมได้รับความนิยมจากประชาชนด้วยคะแนนเสียงที่มากเพียง พอ ก็สามารถที่จะเข้ามาจัดตั้งรัฐบาลได้เช่นกัน
 
แต่กรณีนี้กลายเป็นความผิดพลาด เพราะกลุ่มอนุรักษ์นิยมนั้น มิได้มีจิตใจเป็นประชาธิปไตย เมื่อเปิดทางให้ฝ่ายนี้มีบทบาททางการเมือง กลุ่มอนุรักษ์นิยมก็ใช้การเมืองแบบใส่ร้ายป้ายสี เพื่อทำลายภาพลักษณ์ของนายปรีดีและรัฐบาลพลเรือน โดยเฉพาะการสร้างกระแสใส่ร้ายเรื่องกรณีสวรรคตของรัชกาลที่ ๘ จากนั้น ก็ได้สนับสนุนให้ฝ่ายทหารก่อรัฐประหาร เพื่อทำลายคณะราษฎร ฉีกรัฐธรรมนูญ และทำลายประชาธิปไตย และผลจากการรัฐประหารนี้เอง ที่ทำให้ปรีดี พนมยงค์ต้องลี้ภัยต่างประเทศดังที่กล่าวมา
 
ดังนั้น ถ้า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จะรับบทเรียนจากนายปรีดี พนมยงค์ คงไม่ใช่เรื่องการลี้ภัยต่างประเทศโดยไม่กลับ ตามที่นายคณิต ณ นคร นำเสนอ แต่เป็นเรื่องที่ต้องสรุปว่า พวกอนุรักษ์นิยมอำมาตยาธิปไตยนั้น ไม่มีแนวคิดประชาธิปไตย ชอบสนับสนุนรัฐประหาร เข่นฆ่าประชาชน และไว้ใจไม่ได้ คนเหล่านี้ ชอบอ้างสถาบันหลักเพื่อใส่ร้ายทำลายผู้บริสุทธิ์ ดังนั้น ถ้าหากต้องการปฏิรูปประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง จะต้องอาศัยการสนับสนุนจากประชาชนไปดำเนินการ การประนีประนอมอ่อนน้อมต่อฝ่ายกระแสหลักนั้น ไม่ได้ช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้นแต่อย่างใด
 
บทเรียนในระยะ ๖ ปี สำหรับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เองก็บอกความข้อนี้ เพราะถ้าหากไม่มีการต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตยของประชาชนคนเสื้อแดงแล้ว พ.ต.ท.ทักษิณก็คงหมดบทบาทไปแล้ว คุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็คงไม่สามารถที่จะมาเป็นนายกรัฐมนตรีได้ กลุ่มชนชั้นนำอำมาตยาธิปไตยก็คงมีอำนาจนำได้อย่างสมบูรณ์ การตื่นตัวและการต่อสู้ของประชาชน จึงเป็นเงื่อนไขสำคัญแห่งอนาคต ที่จะทำให้สังคมไทยก้าวหน้าต่อไป

Silent Spring 50ปี หนังสือเปลี่ยนโลก

ที่มา ประชาไท

 


เพื่อทำความเข้าใจว่าสงครามที่กระทำ ต่อธรรมชาตินั้นเป็นฝีมือของมนุษย์เราทั้งสิ้น นักชีววิทยานาม ราเชล คาร์สัน (Rachel Carson) จึงพาหัวใจที่กล้าหาญประกาศก้องความจริง

เป็นเวลาเกือบ 50 ปีมาแล้ว นับตั้งแต่หนังสือ Silent Spring ได้รับการตีพิมพ์เป็นครั้ง หนังสือเล่มจุดให้เกิดกองเพลิงใหญ่ลุกไหม้ท้าทายให้เกิดการถกเถียงทั้งใน สื่อสิ่งพิมพ์และสื่อโทรทัศน์ กว่าหนึ่งปีเต็มที่ทั้งโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์และนิตยสารในสหัฐอเมริกาต่างเต็มไปด้วยการแจ้งข้อหาและการแจ้ง ข้อหากลับ หนังสือเล่มนี้เป็นประเด็นหน้าหนึ่งในหนังสือพิมพ์และจุดให้เกิดการถกเถียง กันในพื้นที่สาธารณะ ตั้งแต่ห้องนั่งเล่นไปจนถึงห้องประชุมบริษัท และได้กลายมาเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจตรวจสอบตั้งแต่ระดับประธานาธิบดี ไปจนถึงระดับสภาผู้แทนราษฏรสหรัฐ
หนังสือ Silent Spring ตีพิมพ์ครั้งแรกที่อังกฤษ และในปีต่อมาก็ตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ Hamish Harmilton และในที่สุดก็ได้รับการแปลเป็นภาษาต่างๆมากกว่า 15 ภาษา จนกลายเป็นปรากฏการณ์ในแวดวงสื่อสิ่งพิมพ์ทั่วโลก ช่วงครึ่งศตวรรษนับแต่การตีพิมพ์ครั้งแรก หนังสือเล่มนี้ตีพิมพ์ออกมาไม่เคยขาด และไม่เคยห่างหายไปจากแวดวงการถกเถียง ที่มีกำเนิดจากเนื้อหาภายในเล่ม เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร
คำตอบอยู่ในลักษณะและความตั้งใจของผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ ราเชล คาร์สันเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีมุมมองกว้างไกลและเป็นเขียนฝีมือฉกาจ ที่สามารถถ่ายทอดให้เห็นภาพนิเวศวิทยาของชีวิตและนำภาพนั้น มารวมกับแนวคิดว่ามนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของระบบในโลกที่มีชีวิต เธอนำสิ่งเหล่านี้เข้าไปประทับในความคิดและจิตใจของผู้อ่านโดยที่ไม่มีใครทำ ได้มาก่อน ก่อนหน้าที่จะเขียนและตีพิมพ์หนังสือ Silent Spring ราเชลก็เป็นนักเขียนที่มีชื่อเสียงและผลงานได้รับความนิยม หนังสือที่เธอเขียนเป็นจดหมายรักที่เธอเขียนถึงทะเลที่เคลื่อนไหวเวียนวน เป็นวัฏจักร ในหนังสือชื่อ Under the Sea-Wind (พิมพ์เมื่อปี 1941) เธอเชื้อเชิญให้ผู้อ่านเข้าไปสัมผัสกับการอยู่กับทะเลเยี่ยงปลาและนก ราเชลเขียนว่า “ในคืนที่สี่หลังพายุหิมะพัดกระหน่ำ ดวงจันทร์ส่องแสงแรงกล้ามาที่ผิวน้ำ สายลมพัดแสงนั้นให้เป็นเส้นแสงกระเพื่อม บนอากาศบริเวณเหนืออ่าวมีเส้นแสงกำลังเริงระบำอยู่ไหวๆ คืนนี้ปลาเทร๊าท์มองเห็นปลาอื่นนับหลายร้อยแหวกว่ายลงสู่ห้วงน้ำที่ลึกลงไป มีหญ้าทะเลลอยมา มองดูเป็นเงาสีดำอยู่ใต้ผิวน้ำส่องประกายสีเงิน”
หนังสือ The Sea Around Us (พิมพ์เมื่อปี 1941) เป็นการค้างอ้างแรมเคล้าอารมณ์กวี สู่ลักษณะทางกายภาพของทะเล ในหนังสือเล่มนี้ ราเชลอธิบายว่า “สำหรับทั้งหมดทั้งมวลของโลก มหาสมุทรเป็นเสมือนผู้ตรวจสอบดูแล คอยรักษาระดับอุณหภูมิไม่ให้ผันผวน มีคนกล่าวว่ามหาสมุทรเป็นธนาคารเก็บรักษาพลังงานแสงอาทิตย์ รับฝากสิ่งต่างๆในยามที่มีล้นเกิน และคืนให้ในยามที่ต้องการใช้ “หากปราศจากมหาสมุทร โลกเขาจะต้องเผชิญกับความเลวร้ายของอุณหภูมิที่ผันผวนชนิดที่เราไม่เคยพบ เห็นมาก่อน ส่วนน้ำที่ปกคลุมสามส่วนสี่ของพื้นผิวที่เหมือนห่มด้วยเสื้อคลุมของโลก ช่างเป็นสิ่งที่มีคุณค่าสุดอัศจรรย์เหลือเกิน
หนังสือ The Edge of the Sea (1955) ทำให้ผู้อ่านสัมผัสได้ถึงสิ่งมีชีวิตบนชายฝั่ง ราเชลเก็บสิ่งที่สัมผัสได้นี้ได้อย่างรวดเร็ว “ขณะเดินสำรวจชายหาดยามค่ำคืนอยู่นั้น ดิฉันสร้างความประหลาดใจให้กับปูผีตัวเล็กตัวหนึ่งด้วยแสงจากคบไฟ ปูผีตัวนี้นอนอยู่ในรูตื้นๆ เหนือคลื่นที่ซัดฝั่ง ราวกับว่ามันกำลังมองทะเลอย่างเฝ้ารอ สีดำของรัตติกาลปกคลุมผืนน้ำ อากาศและชายหาดจนหมดสิ้น มันคือสีดำของโลกแบบเก่าก่อนมีมนุษย์ ไม่ปรากฏเสียงอื่นใด คล้ายกับสรรพสิ่งมีสิ่งที่ห่มคลุมกายอยู่ทั้งสิ้น มีเพียงเสียงลมโบราณพัดเหนือผืนน้ำและผืนทราย และเสียงของคลื่นกระทบฝั่ง ไม่มีสิ่งมีชีวิตใดๆปรากฏให้เห็น มีเพียงปูตัวเล็กตัวหนึ่งอยู่ที่ชายทะเล ดิฉันเห็นปูผีนับหลายร้อยตัวในที่อื่นๆ แต่ทันใดนั้น ฉันก็เกิดความรู้สึกอย่างประหลาดเป็นครั้งแรกว่า สิ่งมีชีวิตต่างมีโลกเป็นของตนเอง ดิฉันก็เข้าใจอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนถึงแก่นแท้ของชีวิต
ในหนังสือเหล่านี้ของราเชล มีการรวบรวมความรู้ทางวิทยาศาสตร์ด้วยความรู้สึกที่ลึกล้ำกว่า อุดมด้วยความหมาย ฝังแน่นอยู่ในความรู้นั้น เนื้อหาที่แม้ไม่ได้เขียนแต่ก็รู้สึกได้ว่า เราทุกคนล้วนเป็นสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่บนโลก ไม่ว่าจะเป็นปูหรือหอยทาก เป็นนกนางนวลหรือมนุษย์ก็ตาม ความเต็มเปี่ยมของกาลเวลา หลังจากใช้ไปกับการระลึกตรึกตองและอธิบายออมาเป็นองค์รวมของโลกแห่งธรรมชาติ ราเชลตระหนักเสมอว่า การทำร้ายโลกในนามของการควบคุมศัตรูพืชและการเกษตรแบบเข้มข้น แม้เวลาที่ใช้ไปจะไม่มากนัก ราเชลรู้ว่ากำลังเกิดสงครามทำลายธรรมชาติ มันคือสงครามที่ไม่วันชนะ เนื่องจากเป็นสงครามที่ก่อขึ้นด้วยความโง่เขลาไม่รู้จักโครงสร้างและหน้าที่ ของธรรมชาติ สำนึกภายในทำให้ราเชลต้องประกาศออกมาว่า เธอจะต้องทำให้เห็นความสูญเสียที่แท้จริงและความล้มเหลวของการใช้สารเคมี ด้วยเหตุนี้จึงเป็นกำเนิดของ Silent Spring
ในหนังสือเล่มนี้ ราเชลเขียนว่า “ภายใต้การทำเกษตรกรรมแบบดั้งเดิม เกษตรกรแทบไม่มีปัญหาเรื่องแมลงศัตรูพืช แต่แมลงระบาดเพราะมีการปลูกพืชเชิงเดียวกันอย่างมหาศาล ระบบการทำเกษตรแบบนี้ก่อให้เกิดการระบาดของแมลง การปลูกพืชเชิงเดี่ยวไม่ได้นำหลักการทำงานของธรรมชาติมาใช้ แต่เป็นการทำเกษตรกรรมแบบวิศวกรรมที่ปรับแต่งอย่างไรก็จะทำ ธรรมชาติได้สร้างสรรค์ผืนดินประเภทต่างๆ แต่มนุษย์มักจะแสดงให้เห็นว่าหลงไหลการทำให้สิ่งต่างๆเหลืออยู่ไม่กี่อย่าง และไม่ซับซ้อน ดังนั้นมนุษย์จึงละเลยระบบการตรวจสอบถ่วงดุลย์ ซึ่งธรรมชาติได้โอบอุ้มสรรพชีวิตมากมายเอาไว้
มีสื่อเขียนถึง ถ่ายทอดเป็นรายการและพูดถึงเมื่อหนังสือ Silent Spring เกิดการฟ้องร้องและการฟ้งอกลับ มีข้อมูลจริงและที่รับมาผิด มีทั้งการประณามอย่างรุนแรงและการหลงไหลไร้เหตุผล สรุปว่าหนังสือกล่าวถึงอะไรกันแน่
หนังสือ Silent Spring มุ่งความสนใจไปที่การปนเปื้อนของสารเคมีในสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ยาฆ่าแมลงและยาปราบวัชพืช หนังสือเล่มนี้บรรยายอย่างชัดเจนให้เห็นรายละเอียดของผลกระทบที่เกิดจากการ ปล่อยสารพิษเหล่านี้ออกไปสู่ธรรมชาติ ราเชลอธิบายให้เห็นเป็นข้ออย่างละเอียดดังนี้
·         มีคนหลายล้านคนสัมผัสกับสารพิษเหล่านี้โดยไม่รู้ตัวหรือโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์
·         สารพิษเหล่านี้ที่แท้คือ สารสังหารชีวิต (biocide) ออกฤทธิ์ฆ่าทุกอย่างกว้างขวางกว่าเป้าหมาย
·         สิ่งมีชีวิตที่มีประโยชน์ถูกฆ่าพร้อมกับสิ่งมีชีวิตที่เป้าหมายของยา
·         น้ำ อากาศ และดินเป็นระบบหนึ่งเดียวที่เชื่อมโยงกัน ผลของสารพิษที่เกิดกับสิ่งมีชีวิตใด สุดท้ายย่อมกระจายตัวอยู่ทั่วทั้งระบบ มนุษย์เองก็อาศัยอยู่ในระบบ จึงกลายเป็นผู้ที่วางยาพิษตัวเอง
·         สารพิษสะสมในห่วงโซ่อาหาร สารพิษเข้มข้นเพียงเล็กน้อยเมื่อปนเปื้อนแหล่งน้ำ ก็จะสะสมมากขึ้น ณ แต่ละจุดของห่วงโซ่ ปริมาณสารพิษก็จะเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ มนุษย์เราอยู่บนสุดของห่วงโซ่อาหาร
·         ถ้าหากสิ่งที่ยกมาข้างต้นยังเลวร้ายไม่พอ ยาฆ่าแมลงยังมีผลสะท้อนกลับ สิ่งมีชีวิตที่ต้องการกำจัดจะปรับตัวให้ต่อต้านฤทธิ์ยา เมื่อแมลงระบาดเพราะดื้อยาก็จำเป็นที่จะต้องใช้ยามากขึ้น ด้วยชนิดยาที่ร้ายแรงมากยิ่งขึ้นเพื่อกำจัดแมลงดื้อยาเหล่านั้น
·         มีทางเลือกอื่น เป็นทางเลือกที่เกิดจากความเข้าใจโลกของธรรมชาติ เป็นโลกที่มีสัมพันธภาพ เชื่อมร้อยกันอย่างบรรสารสอดคล้อง คำตอบบอกให้เราทราบว่ามนุษย์คือส่วนหนึ่งของธรรมชาติและผลของการทำสงครามกับ ธรรมชาติ ก็คือการห้ำหั่นชีวิตตนเอง

หนังสือเล่มนี้เกิดจากการกลั่นกรองหลักฐานทางวิทยาศาสตร์จนสามารถอธิบาย เรื่องราวได้อย่างแจ่มแจ้ง จากการค้นคว้าข้อมูลอย่างครบถ้วน หนังสือเล่มนี้รวบรวมเนื้อหาจากเอกสารและงานที่นำมาอ้างอิงกว่าห้าสิบหน้า แสดงให้เห็นถึงแก่นแท้ของการมองโลกอย่างเห็นคุณค่าของระบบนิเวศ ด้วยภาษาที่ใครก็อ่านได้ นับเป็นครั้งแรกในโลกปัจจุบันเลยก็ว่าได้ ที่หนังสือเล่มนี้ได้แจกจ่ายไปสู่มือนักอ่านจำนวนมาก จนเกิดเป็นหัวข้อโต้เถียงที่ทรงพลังและสร้างสรรค์ให้เห็นสัมพันธภาพ ระหว่างโลกของธรรมชาติกับสภาวะการพึ่งพาธรรมชาติของมนุษย์เรา เนื้อหาในเล่มครอบคลุมกว้างขวางกว่าแค่จะมุ่งเน้นเรื่องยาฆ่าแมลง ราเชล คาร์สัน แสดงให้เห็นบทเรียนที่ล้ำลึกซึ่งเกิดจากการเฝ้าศึกษาธรรมชาติมาตลอดชีวิต จนได้ข้อคิดว่า โลกไม่ใช่ของเรา เราต่างหากที่เป็นส่วนหนึ่งของโลก ทุกวันนี้ในโลกที่เราจะต้องสู้กับทั้งสิ่งมีชีวิตตัดต่อพันธุกรรม (GMOs) และภูมิอากาศแปรปรวน ราเชลช่างนำเสนอเนื้อหาได้ร่วมสมัย ใช่แล้ว ระดับของการทำลายมันกว้างขึ้นและลงลึกไปเรื่อยๆนับตั้งแต่สมัยที่ราเชลยัง อยู่ ใช่แล้ว เราอยู่ในโลกแห่งวิกฤติ แต่ทุกช่วงเวลาที่ผ่านไป มีมนุษย์จำนวนมากขึ้นทั่วโลกต่างเดินทางไปสู่แสงแห่งความเข้าใจ ถ้าเราช่วยกันเราจะทำสำเร็จได้ และเราจะสร้างอนาคตในแบบที่เราจะสามารถกลับมายังที่อาศัยภายในอ้อมกอดอัน แสนอบอุ่นของโลกที่มีชีวิต


ที่มา:นิตยสาร Resurgence ฉบับที่ 271 (มีนาคม – เมษายน 2012)
หมายเหตุ :
1.บทความนี้ตีพิมพ์ลงใน ปาจารยสาร (ปีที่ 36 ฉบับที่ 2 มิถุนายน – สิงหาคม พ.ศ.2555)
2.Silent Spring เคยมีการแปลเป็นไทยแล้ว ในชื่อ “เงามฤตยู” แปลโดย คุณหญิงดิฐการภักดี และ หม่อมวิภา จักรพันธุ์ เมื่อปี 2517 และก็ไม่ได้มีการพิมพ์ซ้ำ หรือ แปลใหม่อีกเลย

กฤษณะ ฉายากุล: ทรัพย์ของใคร ?

ที่มา ประชาไท

 



การขุดดิน และการถมดินที่มีกฎหมายกำหนดหลักการให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ.2543 ซึ่งสามารถออกกฎกระทรวงกำหนดกิจการต่างๆ ในการขุดดินและถมดินเพื่อรักษาประโยชน์ของการผังเมือง การอนุรักษ์โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม รวมตลอดถึงการป้องกันการพังทลายของดิน และสิ่งปลูกสร้าง เป็นต้น
      
กฎหมาย นี้ได้มีการบังคับใช้มากว่าสิบปีแล้ว แต่ความร่วมมือของประชาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมตลอดถึงรัฐบาลหลายรัฐบาลที่ผ่านมา ยังเห็นความสำคัญของกฎหมายฉบับนี้น้อยมาก ทั้งๆที่เป็นเรื่องสำคัญ เห็นได้จากการออกกฎกระทรวง และการออกข้อบัญญัติท้องถิ่นเพื่อกำหนดให้การขุดดินและการถมดินต้องแจ้งขอ อนุญาตต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก่อนที่จะมีการขุดดิน และการถมดินตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด ตรวจสอบได้เลยว่า มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสักกี่แห่งที่ได้ออกข้อบัญญัติท้องถิ่นตามกฎหมาย นี้
      
ปัญหาการพบโบราณวัตถุในหลายท้องที่ กฎหมายฉบับนี้กำหนดไว้ชัดเจนว่า ในการขุดดินนั้น ถ้ามีการพบโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ซากดึกดำบรรพ์ หรือพบแร่ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจหรือทางการศึกษาในด้านธรณีวิทยา ให้ผู้ขุดดินหยุดการขุดดินไว้ก่อนแล้วรายงานให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบภาย ในเจ็ดวัน นับแต่วันที่พบ และให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้กรมศิลปากร หรือกรมทรัพยากรธรณีแล้วแต่กรณีทราบโดยด่วน และให้ผู้ที่ขุดดินนั้นปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 หรือกฎหมายที่เกี่ยวอื่นอื่นแล้วแต่กรณี
      
ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการอนุรักษ์ และจัดทำทะเบียนโบราณวัตถุ หรือศิลปวัตถุที่มีอายุตั้งแต่สมัยอยุธยาขึ้นไป กฎหมายได้กำหนดให้อธิบดีกรมศิลปากรมีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดเขต ท้องที่ใดเป็นเขตสำรวจโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุนั้น โดยให้เจ้าของแจ้งปริมาณ รูปพรรณ และสถานที่เก็บรักษาโบราณวัตถุ หรือศิลปวัตถุนั้นต่ออธิบดีกรมศิลปากรตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดได้
      
การพบโบราณวัตถุ หรือศิลปวัตถุนั้น หากพิจารณาข้อความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1328 ความว่า สังหาริมทรัพย์มีค่าซึ่งซ่อนหรือฝังไว้นั้น ถ้ามีผู้เก็บได้โดยพฤติการณ์ซึ่งไม่มีผู้ใดสามารถอ้างว่าเป็นเจ้าของได้ให้ กรรมสิทธิ์ตกเป็นของแผ่นดิน ผู้เก็บได้ต้องส่งมอบทรัพย์นั้นแก่เจ้าพนักงานตำรวจหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ อื่น แล้วมีสิทธิจะได้รับรางวัลหนึ่งในสามแห่งค่าทรัพย์นั้น
      
การ ให้ความร่วมมือของประชาชน และความตั้งใจบังคับใช้กฎหมายที่กล่าวมาข้างต้นนี้อย่างเป็นธรรม มีค่าเป็นอย่างยิ่งในการรักษาทรัพยากรของชาติให้เป็นประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่ อย่างยั่งยืน..

PATANI FORUM; ความสัมพันธ์อันซับซ้อนระหว่างอิสลามนิยมและประชาธิปไตย

ที่มา ประชาไท

 


(มุสลิมชาวปากีสถานยกมือพร้อมกันระหว่างขบวนเคลื่อนไหวทางศาสนาในลาฮอร์)
(ภาพโดย Getty Images)
การ สังหารหมู่มุสลิมชีอะห์กว่า 20 คน และการโจมตีของกลุ่มตาลีบันที่ฐานทัพเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เป็นเพียงกรณีล่าสุดของเหตุการณ์ความรุนแรงทางศาสนาที่เกิดขึ้นในปากีสถาน ไม่น่าแปลกใจที่บ่อยครั้งประเทศนี้จะถูกกล่าวถึง ว่าเป็นตัวอย่างอันเลวร้ายที่สุดที่การเมืองอิสลามในบริบทของความรุนแรงจะ เกิดขึ้นได้ แต่หากจะสังเกตกันให้ดีจะพบว่า ไม่มีพรรคการเมืองอิสลามในปากีสถานพรรคใดเลยที่มีโอกาสชนะการเลือกตั้งระดับ ชาติ แท้จริงแล้วความรุนแรงของเหตุการณ์ที่กระทำโดยกลุ่มอิสลามหัวรุนแรงที่เพิ่ม ขึ้นนั้น ไม่ได้เป็นสัญญาณของชัยชนะทางการเมืองแต่อย่างใด แต่กลับเป็นความล้มเหลวโดยสิ้นเชิง
กระบวน การประชาธิปไตยที่ขรุขระของปากีสถาน และกลุ่มศาสนาที่แตกแยกเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้พรรคการเมืองที่มีความชัดเจน ในเรื่องความเป็นกลางทางศาสนาไม่สามารถชนะการเลือกตั้งได้ ทั้งๆที่พรรคดังกล่าวน่าจะเป็นความหวังในการสื่อสารจุดยืนทางศาสนา ผ่านกระบวนการที่ชอบธรรมและไร้ความรุนแรง กลับกันความเชื่อเรื่องการแบ่งพรรคแบ่งพวกที่มักจะแข่งขันกันเองและแสดงออก ถึงจุดยืนด้วยความรุนแรง ก็ยังคงนำพาประเทศปากีสถานไปสู่สถานการณ์วิกฤตอยู่เรื่อยมา เห็นได้จากการแสดงทัศนคติทางศาสนาอันคับแคบ และแสดงความไม่พอใจต่อความพ่ายแพ้ในเวทีเลือกตั้งของกลุ่มย่อยต่างๆ โดยการโจมตีชนกลุ่มอื่นๆ ใช้อาวุธ และข่มขู่คู่แข่งในการประท้วงตามถนนสายต่างๆ กระทำการท้าทายกฎหมายและอำนาจรัฐแทนที่จะแสดงบทบาทของตนตามกรอบทางการ เมืองอย่างที่ควรจะเป็น
ผู้ สนับสนุนแนวคิดอิสลามนิยมคนแรกคือ อับดุล เอลา มาอุดูดิ นักหนังสือพิมพ์และนักเผยแพร่ศาสนาที่เกิดในต้นศตวรรษที่ 19 ในแคว้นออรันกาบัด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของประเทศอินเดียหลังยุครวมชาติ ในช่วงการเคลื่อนไหวเพื่อหลวมรวมเป็นรัฐชาตินั้น มาอุดูดิปฏิเสธแนวคิดการรวมชาติปากีสถาน เพราะเขาเห็นว่าแนวคิดดังกล่าวถูกชักนำโดยนักการเมืองที่มีพื้นฐานคิดแบบโล กีนิยมตะวันตกอย่างเช่น โมฮัมเมด อาลี จินนะห์ เขามองว่าชาวมุสลิมควรอยู่ในสังคมที่ปกครองด้วยกฎหมายอิสลามเท่านั้น และมิควรให้องค์ความรู้หรือส่วนประกอบใดๆที่ไม่ใช่อิสลามมาเกี่ยวข้องในการ ปกครองนั้น ทั้งที่เขาเองก็ไม่เคยยอมรับต่อการรวมชาติ เขาก็ได้ย้ายไปอาศัยอยู่ในปากีสถานเมื่อ ค.ศ. 1947 และใช้ชีวิตที่เหลือของเขาต่อสู้เพื่อรัฐธรรมนูญที่แปลความอย่างเคร่งครัด จากพื้นฐานกฎหมายชารีอะห์ (Shari’a) และปราศจากอิทธิพลของวัตถุนิยมตะวันตก ซึ่งนั่นหมายรวมถึงรัฐธรรมนูญที่ปราศจากเสรีประชาธิปไตยด้วย เขาโต้แย้งว่า กฎของศาสนาย่อมแทนที่การปกครองโดยคำนึงถึงคำสอนทางศาสนา (Theo-democracy) ทั่วไปได้
ด้วย การเน้นจุดต่างที่ชัดเจนระหว่างอิสลามและระบบไม่นับถือพระเจ้าแบบตะวันตก แนวคิดอิสลามนิยมของมาอุดูอิกลายเป็นต้นแบบความคิดที่นิยมแพร่หลายสำหรับการ ปฏิวัติที่เกิดขึ้นในรัฐเกิดใหม่หลังยุคอาณานิคม เพราะประชากรมุสลิมส่วนใหญ่ที่นั่น เคยถูกปกครองโดยผู้ปกครองเผด็จการโลกีนิยมที่หนุนหลังโดยตะวันตก มุสลิมในประเทศที่มีประชากรหลากหลายเชื้อชาติ ศาสนา เช่น อิหร่าน ตุรกี อียิปต์ ต้องยอมรับคำกล่าวอ้างที่ว่า ศาสนาของพวกเขาอยู่ร่วมกับการเมืองสมัยใหม่ไม่ได้ ไม่ว่าเผด็จการหรือประชาธิปไตยก็ตาม
อย่าง ไรก็ตาม ตั้งแต่ปลายทศวรรษ 1970 กลุ่มชนชั้นนำที่ส่งเสริมแนวคิดโลกียนิยมในรัฐที่มีประชากรมุสลิมเป็นส่วน ใหญ่ก็ลดบทบาทลง เมื่อมีการเคลื่อนไหวของประชาชนที่สนับสนุนให้อิสลามเป็นศูนย์กลางของแนวคิด ทางการเมืองมากขึ้น อย่างไรก็ตามทั้งการเคลื่อนไหวทางเมืองเพื่อประชาธิปไตยและการปฏิวัติ ไม่มีครั้งใดเลยที่อิสลามนิยมจะเกิดขึ้นในรูปแบบอำนาจบนลงล่างตามที่เข้าใจ กัน
ใน ประเทศตุรกี พรรคอิสลามเพื่อยุติธรรมและการพัฒนา (เอ.เค.พี) ก่อตั้งขึ้นจากกระบวนการปฏิรูปในชนบทของอนาโตเลีย ซึ่งมีความเกี่ยวโยงกับอิทธิพลจากประชาชนรากหญ้าที่เชื่อในคำสอนซูฟิ (Sufi Order) ที่เรียกว่า Naqshbandiyya-Khalidiyya ในประเทศอียิปต์ พรรคภราดรภาพมุสลิม (the Muslim Brotherhood) ได้เรียนรู้และเชื่อว่า การเคลื่อนไหวที่จะประสบความสำเร็จ ต้องพัฒนามาจากกลุ่มผู้ปฏิวัติที่ต่อต้านประชาธิปไตย และให้เขาเหล่านั้นตั้งตนเป็นผู้ดำเนินการทางการเมือง ถึงแม้ว่าพวกเขาจะต่อต้านพหุนิยมหรือระบบหลายพรรค พรรคภราดรภาพมุสลิมก็เริ่มจะหันมายึดถือแนวทางดังกล่าวบ้างแล้ว ทั้งในทางทฤษฎีและทางปฏิบัติ “อิสลามคือทางออก” (“al-Islam huwa al-Hall”) ซึ่งเดิมทีเป็นสโลแกนเพื่อการหาเสียงเลือกตั้งก็กลายเป็นวลีที่ก่อให้เกิด ความไม่สงบในอินเดียตะวันตกเรื่อยมา แม้กระทั่งผู้นำการปฏิวัติในประเทศอิหร่านเองก็ใช้ประโยชน์จากพลังสนับสนุน ดั้งเดิมในยุค ค.ศ. 1970 ที่มีพื้นฐานจากอำนาจในทางศาสนาเพื่อแผ่ขยายคำสอนของอะยาโตเลาะห์ โคเมนี (Ayatollah Khomeini) การเปลี่ยนแปลงทางสังคมของประเทศเหล่านี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของแนวคิดการ เคลื่อนไหวทางการเมืองอิสลามซึ่งได้กดทับพลังแห่งประชาธิปไตยเอาไว้นั่นเอง
อย่าง ไรก็ตาม ในประเทศปากีสถาน อิสลามนิยมมิได้กลายเป็นรากฐานของสังคม มุสลิมที่นั่นแบ่งเป็นหลายกลุ่ม เช่น กลุ่มโลกีนิยม กลุ่มภาษา และกลุ่มชาติพันธุ์ ดังนั้น แม้พรรคการเมืองอิสลามต้องต่อสู้กันในทุกสนามการเลือกตั้งดั่งปรากฏให้เห็น ในประวัติศาสตร์ของปากีสถานที่ผ่านมา พวกเขาก็ไม่เคยชนะด้วยคะแนนเสียงที่มากพอสักครั้ง เพราะโครงสร้างแห่งอำนาจที่แข็งแรง และแรงจูงใจทางวัตถุที่พรรคโลกีนิยมมักนำเสนอ สามารถเอาชนะความพยายามที่จะบังคับใช้กฎหมายชาเรียได้อยู่ร่ำไป ใน ค.ศ. 2002 ความร่วมมือของพรรคการเมืองอิสลามทำให้พวกเขาสามารถจัดตั้งรัฐปกครองส่วน จังหวัดในจังหวัดชายแดนทางตะวันตกเฉียงเหนือได้สำเร็จ แต่กระนั้นก็ต้องล้มเหลวเมื่อเวลาผ่านไปเพียงสามปี เพราะว่า ฝ่ายดีโอบันดี บาเรลวี และชีอะห์ ตกลงกันไม่ได้ว่าจะปกครองรัฐอิสลามอย่างไร
เป็น ที่น่าสังเกตว่า พรรคการเมืองอิสลามในปากีสถานจะได้รับการสนับสนุนอย่างแพร่หลาย เมื่อใดก็ตามที่พรรคเหล่านั้นเข้าร่วมการเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตย ยกตัวอย่างเช่น ในช่วงทศวรรษ 1980 พรรคจามาอัด อิสลามิ (Jamaat-I Islami) ของมาอุดูอิ ได้เข้าร่วมกับเบนาเซีย ภูโต ในการต่อสู้กับเผด็จการ และเมื่อไม่นานมานี้สมาชิกของพรรคก็ได้เข้าร่วมขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อความ ยุติธรรมของอิมราน คาน (พีทีไอ) ซึ่งพยายามขจัดพฤติกรรมของนักการเมืองฉ้อชลในปากีสถาน การผสมผสานกันของประชานิยมและอิสลามนิยมแสดงให้เห็นแล้วว่า ความรุนแรงไม่ใช่พันธุกรรมแฝงในผู้เชื่อถืออิสลามนิยม หากแต่ว่าความสำเร็จของอิสลามนิยมย่อมต้องอยู่บนพื้นฐานของความสามารถในการ จัดการปัญหาของคนหมู่มากโดยเฉพาะคนระดับรากหญ้า มิใช่การบังคับขู่เข็ญแต่อย่างใดคาน ลื่อนไหวเพื่อความยุติธรรมของอิมรานปากีสถานจะได้รับการสนับสนุนอย่างแพร่ หลาย เมื่อใดก็ตามที่พรรคเหล่านั้นเข้าร่วมการเคลื่อนไหว
แทนที่เราจะกลัวเกรงกระแสอิสลามนิยม เราควรจะมองให้เป็นวิถีทางแห่งการรักษาและนิยมศาสนาอย่างเป็นระบบ ผลลัพธ์ ของประชาธิปไตยที่เกิดขึ้นอาจไม่เป็นไปอย่างใจของพวกเสรีนิยมเสียทีเดียว เพราะประชาธิปไตยในแบบเฉพาะของตุรกี บังคลาเทศ อินโดนีเซีย และมาเลเซียนั้น เกิดจากอิทธิพลของพรรคการเมืองที่ผสมผสานศาสนาเข้ากับนโยบายของพรรคที่สนับ สนุนสิทธิทางเศรษฐกิจเป็นศูนย์กลาง คะแนนนิยมและความสำเร็จในเวทีเลือกตั้งของพรรคเพื่อยุติธรรมและการพัฒนาใน ตุรกี พรรคชาตินิยมในบังคลาเทศ แนวร่วมโดยการนำของโกลคาร์ในอินโดนีเซีย รวมถึงองค์การสหมาเลย์แห่งชาติในมาเลเซีย ต่างเป็นสิ่งยืนยันของข้อสรุปและแนวโน้มดังกล่าวได้เป็นอย่างดี คะแนนนิยมที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของกลุ่มอนุรักษ์ศาสนา (พีทีไอ) ของอิมราน คาน ชี้ให้เห็นว่าปากีสถานกำลังดำเนินรอยตามวิถีทางที่คล้ายคลึงกัน
(1) แดเนียล จาค็อบเบียส มอร์แกน คือ นักวิจัยแห่งเกตเวย์เฮ้าส์ ประจำสภาเพื่อความสัมพันธ์ระดับโลก (Gateway House: Indian Council on Global Relations) ปัจจุบันเขาทำงานให้กับศูนย์เอเชียใต้ศึกษาแห่งมหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด (South Asian Studies at Oxford University)
ที่มา: PATANI FORUM

"ยงยุทธ" ลาออกจากตำแหน่งรองนายกฯ-รมว.มหาดไทย มีผล 1 ต.ค.นี้

ที่มา ประชาไท

 

28 ก.ย. 55 - สำนักข่าวไทยรายงาน ว่านายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เดินทางมาที่วัดสระเกศราชวรวิหาร เพื่อกราบนมัสการสมเด็จพระพุฒาจารย์ หรือสมเด็จเกี่ยว เจ้าอาวาสวัดสระเกศ ท่ามกลางการจับตามองจากหลายฝ่าย หลังมีกระแสข่าวมาตลอดทั้งวันว่าจะประกาศลาออกจากตำแหน่งเพื่อยุติปัญหา เรื่องสถานะการดำรงตำแหน่งทางการเมือง หลังถูกมติ อ.ก.พ. กระทรวงมหาดไทย ให้ออกจากตำแหน่งรองปลัดกระทรวงมหาดไทยย้อนหลัง จากกรณีที่ดินสนามกอล์ฟอัลไพน์ และจนถึงขณะนี้ยังไม่ออกมาแถลงข่าว ซึ่งเลยเวลาที่ระบุไว้ในเวลา 15.00 น. ที่ผ่านมา

ขณะที่นายนิวัฒ น์ธำรง บุญทรงไพศาล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งมีข่าวว่าจะมารักษาการตำแหน่งรัฐมนตรีแทนนายยงยุทธ มองว่า นายยงยุทธยังเหมาะสมที่จะทำงานในตำแหน่งต่อ เพราะคณะกรรมการกฤษฎีกาก็ยืนยันว่านายยงยุทธสามารถทำงานการเมืองต่อไปได้

เครือข่ายญาติ 112 ยื่นหนังสืออธิบดีศาลอาญา จี้ปฏิบัติตามข้อเสนอ คอป.

ที่มา ประชาไท

 
ญาติ 112 ยื่นหนังสืออธิบดีศาลอาญา เรียกร้องให้ดำเนินการให้สิทธิประกันตัวผู้ต้องหา 112 ตามที่ คอป.เสนอ พร้อมชวนประชาชน นักวิชาการร่วมเขียนจดหมายถึงศาล

28 ก.ย.55  ที่ศาลอาญา รัชดา นางสุกัญญา พฤกษาเกษมสุข ตัวแทนเครือข่ายญาติและผู้ประสบภัยจากมาตรา 112 เดินทางมายื่นหนังสือถึงอธิบดีศาลอาญา  เรียกร้องให้ให้ศาลยุติธรรมพิจารณาข้อเสนอของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้น หาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) เกี่ยวกับคดีหมิ่นสถาบัน หรือ การใช้มาตรา 112  และเร่งอำนวยความยุติธรรมในเรื่องสิทธิการประกันตัวให้ผู้ต้องขังในคดีนี้ ที่ยังอยู่ระหว่างต่อสู้คดี 3 ราย คือ นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข, นายสุรภักดิ์

หนังสือ ดังกล่าว อ้างถึงข้อเสนอในรายงานของ คอป. ที่ระบุข้อเรียกร้องให้ทุกฝ่ายยุติการกล่าวอ้างสถาบันกษัตริย์เพื่อประโยชน์ ทางการเมือง ยุติการใช้กฎหมายหมิ่นสถาบันกษัตริย์ รัฐบาลและรัฐสภาควรพิจารณาแก้ไขกฎหมายหมิ่นสถาบันกษัตริย์ ซึ่งมีปัญหาการบังคับใช้ที่มีบทลงโทษสูงเกินสัดส่วนของความผิด รวมทั้งเสนอให้ดำเนินการจริงจังให้สิทธิการประกันตัวผู้ถูกกล่าวหา

นาง สุกัญญา กล่าวว่า ต้องการเรียกร้องให้หน่วยปฏิบัติพิจารณาและดำเนินการตามข้อเสนอของ คอป.อย่างจริงจัง รวมทั้งอยากให้ คอป.เอง  นักวิชาการ หรือประชาชนทั่วไป ช่วยกันเรียกร้องไปยังศาล หรือหน่วยงานยุติธรรมต่างๆ ให้นำข้อเสนอคอป.ไปปฏิบัติ โดยอาจจะทำหนังสือ ทำจดหมาย ส่งตรงไปยังศาลอย่างเช่นที่เครือข่ายญาติได้ดำเนินการในครั้งนี้

นายกรัฐมนตรีมาเลเซียทุ่มงบประมาณปูพรมก่อนเลือกตั้ง

ที่มา ประชาไท

 
นายกรัฐมนตรีมาเลเซียอภิปรายงบประจำปี 56 ตั้งงบไว้ 2.29 ล้านล้านบาท ขาดดุล 4% พร้อมมาตรการอัดฉีดก่อนศึกเลือกตั้ง ทั้งแจกโบนัส ขรก. เพิ่มเบี้ยเลี้ยงทหาร ลดภาษี แจกเงินครัวเรือน-นักเรียน คืนเงิน 1,800 บาทเมื่อซื้อสมาร์ทโฟน ขณะที่หนี้ภาครัฐแตะ 4.57 ล้านล้านบาท สูงสุดเป็นประวัติการณ์
เย็นวานนี้ (28 ก.ย.) นาจิป ราซัก (Najib Razak) นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ได้แถลงสรุปงบประมาณประจำปี 2013 (พ.ศ. 2556) ที่สภา โดยมีการถ่ายทอดสดไปทั่วประเทศ โดยการอภิปรายดังกล่าวเปรียบเสมือนมาตรวัดความไว้วางใจของรัฐบาล
ทั้งนี้เป็นการแถลงงบประมาณประจำปี ก่อนที่จะมีการเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 13 ที่จะมีการเลือกตั้งภายในเดือนมิถุนายนปีหน้า หากไม่มีการยุบสภาเสียก่อน โดยในปัจจุบัน นาจิปและพรรคร่วมรัฐบาล "แนวร่วมแห่งชาติ" (Barisan Nasional) ซึ่งครอง 140 ที่นั่งในสภาจาก 222 ที่นั่ง กำลังเผชิญความท้าทายจากพรรคฝ่ายค้าน "ภาคีประชาชน" (Pakatan Rakyat) ซึ่งนำโดยอดีตรองนายกรัฐมนตรีอย่างอันวาร์ อิบราฮิม (Anwar Ibrahim) ซึ่งในการเลือกตั้งเมื่อปี 2551 ที่ผ่านมา พรรคฝ่ายค้านสามารถเพิ่มที่นั่งได้มากขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการถึง 82 ที่นั่ง และปกครองรัฐบาลท้องถิ่น 4 รัฐจาก 13 รัฐในมาเลเซีย

นายกรัฐมนตรีมาเลย์อ้างประชาชนเลือกมาเป็นรัฐบาล 12 รอบ เป็นตัวชี้วัดว่ารัฐบาลทำถูกต้อง
โดยนายกรัฐมนตรีนาจิป ราซัก เริ่มอภิปรายว่า "55 ปีที่ผ่านมา ประชาชนมาเลเซียให้ความไว้วางใจต่อรัฐบาลเดียวในการพัฒนาประเทศมาโดยตลอด เราขอขอบคุณในความไว้วางใจนี้ เราจะไม่ทรยศประชาชน ขณะเดียวกันก็จะตอบแทนความไว้วางใจที่ได้รับอย่างเพิ่มทวี"
รัฐบาลนี้ไม่เคยสัญญาว่าจะให้พระจันทร์ ดวงดาว หรือแกแลกซี่ เราไม่เคยวาดภาพสวยงามที่อยู่บนพื้นฐานของความคิดปรารถนาดี แต่ในฐานะของรัฐบาลที่มีความรับผิดชอบ เรายังคงพูดแต่ความจริงที่อาจไม่น่าพอใจ
"เราไม่เคยชักนำประชาชนด้วยนิยายเหลือเชื่อ ในทางกลับกันเราหาทางออกและความเป็นผู้นำที่ดีให้กับทุกปัญหาที่ประชาชนเผชิญ"
"การบริหารประเทศที่มีความซับซ้อนหลากหลายทางเชื้อชาติอย่างมาเลเซียไม่ ใช่สิ่งง่าย จำเป็นต้องมีความจริงใจและมีปัญญา เพราะคนมาเลเซียมีวิสัยทัศน์มากๆ ในทางข้อเท็จจริง ประชาชนได้ลงมติให้รัฐบาลพรรคเดียวมาเป็นเวลา 12 ครั้งนับตั้งแต่ปี 1959 (พ.ศ. 2502) เป็นตัวชี้วัดว่ารัฐบาลทำในสิ่งที่ถูกต้อง
"ความไว้วางใจที่ดำรงอยู่ระหว่างประชาชนกับรัฐบาลจะไม่หักสลายไม่ว่าความ หลอกลวงจะแข็งขันอย่างไร ในความปรารถนาดีนี้ งบประมาณที่ข้าพเจ้าจะแจกแจงนี้จะเป็นเหมือนการตอบแทนสำนึกบุญคุณต่อชาว มาเลเซียทั้งมวลที่ได้มอบความไว้วางใจให้กับพวกเรามาเป็นเวลายาวนาน"

ตั้งงบ 2.5 แสนล้านริงกิต ขาดดุลร้อยละ 4 - หนี้ต่อ GDP สูงสุดเป็นประวัติการณ์
โดยนายกรัฐมนตรีมาเลเซียแถลงว่าจะใช้งบประมาณในปีงบประมาณ 2556 ทั้งสิ้น 251,600 ล้านริงกิต (2.29 ล้านล้านบาท) ใช้จ่ายมากกว่าปีงบประมาณ 2012 อยู่ 19,600 ล้านริงกิต (1.78 แสนล้านบาท) สำหรับงบประมาณแบ่งเป็นงบประมาณด้านการดำเนินงาน 201,900 ล้านริงกิต และงบประมาณด้านการพัฒนา 49,700 ล้านริงกิต
โดยในปีงบประมาณ 2556 รัฐบาลมาเลเซียพยายามลดการขาดดุลงบประมาณลง เหลือขาดดุลคิดเป็นร้อยละ 4 ของรายได้ที่จัดเก็บ ซึ่งลดลงร้อยละ 0.5 จากปีนี้ที่ขาดดุลร้อยละ 4.5 และจะพยายามลดไปให้เหลือร้อยละ 3 ในปี 2558
ขณะเดียวกันปีนี้รัฐบาลกลางมาเลเซียมีสัดส่วนหนี้ต่อ GDP สูงสุดนับในช่วงทศวรรษที่ 1990 โดยมีหนี้สาธารณะอยู่ 502,400 ล้านริงกิต (4.57 ล้านล้านบาท) คิดเป็นร้อยละ 53.7 (ดูอินโฟกราฟิกจาก Malaysiakini ที่นี่)

อันวาร์ อิบราฮิม จวกนายกรัฐมนตรีไม่แตะเรื่องงบประมาณขาดดุลขยายตัว และธุรกิจผูกขาด
ด้านนายอันวาร์ อิบราฮิม ผู้นำพรรคฝ่ายค้าน อภิปรายในสภาว่า การประกาศงบประมาณดูเหมือนจะเป็นสิ่งน่าดึงดูดใจ แต่ก็แฝงเรื่องการเลือกตั้งอยู่เป็นส่วนผสมเล็กน้อย ปัญหาพื้นฐานของประเทศก็คือ กลุ่มอุปถัมภ์ที่่ร่ำรวยและครอบครัวสะสมกำไรนับพันล้านริงกิต ผ่านวิธีการที่ไม่เหมาะสมและไม่ถูกตรวจสอบ ซึ่งรวมไปถึงการผูกขาดธุรกิจผู้ผลิตพลังงานอิสระ และหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
โดยที่เราได้เห็นการประกาศอย่างหนักแน่นว่าจะประกันผลประโยชน์สาธารณะ ทั่วไปของมาเลเซีย แต่นาจิปก็ล้มเหลวในเรื่องนี้ เขาไม่กล้าหาญที่จะอภิปรายในเรื่องการผูกขาด
นอกจากนี้อันวาร์ อิบราฮิมยังอภิปรายในเรื่องที่นายรัฐมนตรีไม่ได้พิจารณาในเรื่องสถานการณ์ ทางเศรษฐกิจและงบประมาณขาดดุลที่ขยายตัวมากขึ้นด้วย

กางงบประมาณมาเลเซีย 2013 ผุดมาตรการส่งเสริม – อัดฉีด กระตุ้นเศรษฐกิจ
สำหรับงบประมาณประจำปี 2556 ของมาเลเซีย กระทรวงการคลังได้งบประมาณมากที่สุดคือตกราว 4 หมื่นล้านริงกิต รองลงมาคือกระทรวงศึกษาธิการ 3.8 หมื่นล้านริงกิต กระทรวงสาธารณสุข 1.8 หมื่นล้านริงกิต สำนักนายกรัฐมนตรี 1.7 หมื่นล้านริงกิต กระทรวงกลาโหม 1.5 หมื่นล้านริงกิต กระทรวงการศึกษาขั้นสูง 1.3 หมื่นล้านริงกิต กระทรวงมหาดไทย 1 หมื่นล้านริงกิต และกระทรวงอื่นๆ
ในด้านรายละเอียด มีหลายโครงการที่เน้นกระตุ้นเศรษฐกิจ เช่น ตั้งงบประมาณ 1 พันล้านริงกิต  เป็นงบพัฒนากิจการ SME กองทุนสำหรับผู้ค้ารายย่อย และรัฐบาลจะจ่ายเงินอุดหนุนส่วนที่เป็นดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 2 ให้กับผู้ที่กู้เงินจากกองทุนกู้ยืมสำหรับผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ที่กู้มาในวงเงินสูงสุดไม่เกิน 100,000 ริงกิต
มาตรการส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่ตั้งเป้าให้มีจำนวนนักท่อง เที่ยว 26.8 ล้านคน โดยจะยกเว้นการเก็บภาษี 3 ปีสำหรับบริษัทนำเที่ยวที่สามารถดึงจำนวนลูกค้าในประเทศ 1,500 คน และมีลูกค้าต่างประเทศ 750 คน

จ่ายเบี้ยเลี้ยง 200 ริงกิตต่อเดือนสำหรับชาวประมง ตั้งงบอุดหนุนการเพาะปลูก
ด้านการเกษตร นายกรัฐมนตรีมาเลเซียแถลงว่าเพื่อส่งเสริมความมั่นคงทางอาหาร รัฐบาลจะจ่ายเบี้ยเลี้ยง 200 ริงกิตต่อเดือนสำหรับชาวประมง และใช้งบประมาณ 2.4 พันล้านริงกิต เพื่อช่วยชาวนาลดต้นทุนในการปลูกข้าว โดยจะจ่ายเงินอุดหนุนพื้นที่เพาะปลูก อุดหนุนค่าปุ๋ย อุดหนุนการเพิ่มพื้นที่เพาะปลูก และอุดหนุนราคาข้าว และสนับสนุนเมล็ดพันธุ์คุณภาพสูง
รัฐบาลมาเลเซียจะยังคงจ่ายอุดหนุนราคาน้ำตาล  0.2  ริงกิตต่อกิโลกรัม ทำให้ราคาขายอยู่ที่ กิโลกรัมละ 2.5 ริงกิต ในเขตคาบสมุทรมลายา และกิโลกรัมละ 2.6 ริงกิตในรัฐซาบาห์และรัฐซาราวักที่เกาะบอร์เนียว

ตั้งงบปรับปรุงสาธารณูปโภคในโรงเรียน และจ่ายเงินอุดหนุนการปลดระวางรถรับส่งนักเรียนรุ่นเก่า
ด้านการศึกษา ตั้งงบ 1 พันล้านริงกิต เพื่อปรับปรุงสาธารณูปโภคในโรงเรียน งดเว้นภาษี 5 ปี สำหรับผู้ประกอบกิจการโรงเรียนอนุบาล เพิ่มเบี้ยเลี้ยงคิดเป็นงบประมาณทั้งสิ้น 500 ล้านริงกิต เพื่อพัฒนาครูผู้สอนในวิชาหลักได้แก่ภาษามลายู ภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์
มีการออกมาตรการปลดระวางรถรับส่งนักเรียนที่มีสภาพเก่า โดยนายกรัฐมนตรีมาเลเซียแถลงว่า เนื่องจากห่วงใยความปลอดภัยของนักเรียนที่โดยสารรถรับส่งนักเรียน ซึ่งรถรับส่งนักเรียนหลายคันอยู่ในสภาพย่ำแย่ ผู้ประกอบการไม่สามารถจ่ายค่าบำรุงรักษาที่เพิ่มขึ้น และรถก็หมดอายุการใช้งานแล้ว รัฐบาลจึงจะจ่ายเงินชดเชย 10,000 ริงกิต และจ่ายอุดหนุนดอกเบี้ยร้อยละ 2 สำหรับการกู้เงินเพื่อซื้อรถโรงเรียนขนาดระหว่าง 12 - 18 ที่นั่ง คันใหม่ เพื่อแทนที่รถโรงเรียนคันเก่าที่มีอายุการใช้งาน 25 ปีขึ้นไป
ในด้านส่งเสริมการวิจัย มีการตั้งงบประมาณ 600 ล้านริงกิต เป็นกองทุนวิจัยและการพัฒนาสำหรับมหาวิทยาลัย 5 แห่งโดยมุ่งเน้นเรื่องนาโนเทคโนโลยี วิศวกรรมยานยนต์ เทคโนโลยีชีวภาพ และเทคโนโลยีอวกาศ  และออกมาตรการงดเว้นภาษีให้กับการลงทุนเพื่อการวิจัยและการพัฒนา ตั้งงบอุดหนุน 2 พันล้านริงกิตสำหรับเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

สร้างคลินิกเพิ่ม พัฒนาชนบท ติดตั้งไฟฟ้า ประปาหลายหมื่นครัวเรือน
ด้านการพัฒนาชนบท มีการตั้งงบประมาณ 88 ล้านริงกิตสำหรับการพัฒนาชุมชนชาวโอรัง อัสลี (ชาวซาไก) สร้างแท็งก์น้ำ 40,000 แห่งในรัฐซาบาห์ และรัฐซาราวัก ซึ่งอยู่ห่างไกลบนเกาะบอร์เนียว ติดตั้งไฟฟ้าสำหรับ 19,000 ครัวเรือน และติดตั้งประปา 24,000 ครัวเรือน จะตัดถนนในพื้นที่ชนบทเป็นระยะทางรวม 441 กิโลเมตร
ด้านสาธารณสุข ตั้งงบประมาณ 100 ล้านริงกิต เพื่อปรับปรุงคลินิกของรัฐบาล 350 แห่ง เปิดคลินิก "Klinik 1Malaysia" เพิ่มอีก 70 แห่ง ทำให้มีจำนวนรวมทั่วประเทศเป็น 240 แห่ง
นอกจากนี้จะมีการสร้างศูนย์บริการอินเทอร์เน็ตบรอดแบรนด์ 100 แห่ง ภายในปี 2558 ใช้งบประมาณ 150 ล้านริงกิต

ส่งเสริมแม่เลี้ยงเดี่ยวเป็นผู้ประกอบการ และโครงการสนับสนุนให้ผู้มีรายได้น้อยเพิ่มรายได้
ด้านกิจการส่งเสริมสตรี ครอบครัว และชุมชน นายกรัฐมนตรีมาเลเซียแถลงว่า จะมีโครงการส่งเสริมแม่เลี้ยงเดี่ยว ให้ปรึกษาและอบรมแม่เลี้ยงเดี่ยวเป็นผู้ประกอบการ ตั้งงบประมาณ 50 ล้านริงกิต สำหรับโครงการธุรกิจออนไลน์ เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยโดยเฉพาะสตรี เพื่อใช้ธุรกิจออนไลน์เพิ่มยอดขาย โดยจะให้ทุน 1,000 ริงกิต
ตั้งงบประมาณ 1.2 พันล้านริงกิต ในโครงการ "1Malaysia Welfare Programe" ภายใต้กระทรวงการพัฒนาสตรี ครอบครัว และชุมชน เพื่อช่วยเหลือผู้สูงอายุ เด็ก และแรงงานพิการ โดยเฉพาะผู้ป่วยเรื้อรัง ตั้งงบประมาณ 400 ล้านริงกิตสำหรับโครงการ "1Azam" เพื่อช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยให้สามารถเพิ่มรายได้
นอกจากนี้จะเพิ่มศูนย์ดูแลอีก 6 แห่ง สำหรับผู้สูงอายุ เด็กข้างถนนและผู้ที่ต้องการที่พักชั่วคราว และสร้างโรงพยาบาลที่เมืองอีโปสำหรับผู้ป่วยยากจน

สร้างที่อยู่อาศัยชานเมืองกัวลาลัมเปอร์ 1.23 แสนยูนิต
งบประมาณด้านที่อยู่อาศัย จะสร้างที่อยู่อาศัย 123,000 ยูนิต ในพื้นที่ชานเมืองทางตะวันตกและทางใต้ของกัวลาลัมเปอร์ ส่วนโครงการบ้านหลังแรก ผู้ที่จะเข้าร่วมโครงการต้องมีรายได้ขั้นต่ำระหว่าง 3,000 ถึง 5,000 ริงกิต และสำหรับคู่สมรสจะต้องมีรายได้รวมกันไม่เกิน 10,000 ริงกิต โดยจะสามารถซื้อบ้านที่มีราคาไม่เกิน 400,000 ริงกิต
ส่วนภาษีที่อยู่อาศัย ในสองปีแรกจะเก็บร้อยละ 15 ของมูลค่าและ ที่อยู่อาศัยที่ซื้อมาแล้ว 2-5 ปี จะเก็บภาษีร้อยละ 10 ของมูลค่า และไม่มีการเก็บภาษีที่อยู่อาศัยอีกหลังจากซื้อมาแล้ว 5 ปี

ออกซุปเปอร์ประชานิยม แจกเงินช่วยเหลือก่อนเลือกตั้ง
ขณะเดียวกัน  ก็มีมาตรการ “ซุปเปอร์ประชานิยม” ทิ้งทวนก่อนถึงการเลือกตั้งทั่วไปที่มาถึง  สำหรับครอบครัวที่มีรายได้รวมกันไม่เกิน 3,000 ริงกิตต่อเดือน จะได้รับเงินช่วยเหลือ 500 ริงกิต และสำหรับผู้ที่มีอายุ 21 ขึ้นไป ยังไม่ได้แต่งงาน และมีรายได้ไม่ถึง 2,000 ริงกิตต่อเดือน จะได้รับเงินช่วยเหลือ 250 ริงกิต โดยจะจ่ายให้ในต้นปี 2556 โดยมาตรการจ่ายเงินช่วยเหลือแบบให้เปล่านี้ คล้ายกับที่นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ ลี เซียน ลุง เน้นย้ำมาตรการช่วยเหลือในถ้อยแถลงเนื่องในวันชาติสิงคโปร์เมื่อ 9 สิงหาคมที่ผ่านมา (ลิ้งที่เกี่ยวข้อง)
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีมาเลเซียยังออกมาตรการลดค่าโดยสารรถไฟชานเมือง (Komuter) ลงครึ่งราคา สำหรับผู้มีรายได้น้อยกว่า 3,000 ริงกิตต่อเดือน และจ่ายเงินคืน 200 ริงกิต ให้ผู้ที่มีอายุระหว่าง 21 ถึง 30 ปีที่ซื้อโทรศัพท์แบบสมาร์ทโฟน และจะตรวจมะเร็งเต้านมฟรีสำหรับสตรีที่อายุ 40 ปีขึ้นไป หรือคิดเป็นมูลค่า 25,000 ริงกิต

จ่ายโบนัสเดือนครึ่งให้ข้าราชการ เพิ่มเบี้ยเลี้ยงทหาร 200 ริงกิต
โดนมาเลเซีย ประเทศซึ่งมีข้าราชการ 1.4 ล้านคน อันเป็นสัดส่วนข้าราชการต่อประชากรสูงที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น นายกรัฐมนตรีมาเลเซียแถลงว่าจะมีการจ่ายโบนัสให้กับข้าราชการ 1 เดือนครึ่ง โดยใช้วิธีทยอยจ่าย 3 งวด ได้แก่สิ้นสุดเดือนรอมฎอนที่ผ่านมา 1 งวด สิ้นเดือนธันวาคม 1 งวด และเดือนมกราคมปีหน้า อีก 1 งวด
สำหรับข้าราชการในกองทัพ จะมีการเพิ่มเบี้ยเลี้ยงพิเศษสำหรับทหารประจำการเป็นคนละ 200 ริงกิตต่อเดือน มีการตั้งเบี้ยเลี้ยงแบบจ่ายงวดเดียว 1 พันริงกิตต่อรายให้กับทหารผ่านศึกจำนวน 224,000 นาย ที่รับราชการมาแล้ว 21 ปี และจะเพิ่มเบี้ยเลี้ยงให้ทหารกองหนุน จากเดิมชั่วโมงละ 4 ริงกิต เป็นชั่วโมงละ 7.8 ริงกิต  นอกจากนี้มีการตั้งงบประมาณตัดเครื่องแบบใหม่ให้กับหน่วยอาสาสมัครพลเรือน (RELA Corp) 300,000 คน

ออกมาตรการผ่อนคลายทางภาษี คืนภาษี และลดอัตราภาษีลงร้อยละ 1
สำหรับมาตรการภาษี นายกรัฐมนตรีมาเลเซียแสดงความกังวลต่อค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นและรายการภาษี ที่ประชาชนต้องจ่าย จึงมีการออกมาตรการผ่อนคลายภาระทางภาษี 20 รายการ และมาตรการคืนภาษี 2 รายการ ซึ่งจะทำให้มีผู้ที่ถึงเกณฑ์จ่ายภาษีอยู่ที่ 1.7 ล้านคน จากจำนวนประชากรวัยทำงานทั้งประเทศ 12 ล้านคน โดยมาตรการสำคัญคือจะลดอัตราภาษีเงินได้ลงร้อยละ 1 สำหรับผู้ต้องจ่ายภาษีเงินได้ระหว่าง 2,500 ริงกิต ถึง 50,000 ริงกิต และมาตรการลดภาษีสำหรับสหกรณ์ ประมาณจะลดลงอยู่ระหว่างร้อยละ 1 ถึง ร้อยละ 7 โดยนายกรัฐมนตรีมาเลเซียกล่าวว่าจะทำให้สมาชิกสหกรณ์ในประเทศ 7 ล้านคน ได้รับประโยชน์และเป็นส่งเสริมกิจการสหกรณ์

เด็กเล็กได้เงินช่วยเหลือ 100 ริงกิต เด็กโตได้คูปองซื้อหนังสือ 250 ริงกิต และส่วนลดเงินกู้เพื่อการศึกษา
ในด้านการลดค่าใช้จ่ายด้านการศึกษา จะตั้งงบประมาณ 2.6 พันล้านริงกิต เพื่อช่วยเหลือด้านสวัสดิการสำหรับนักเรียน เพื่อเป็นค่าอาหาร ตำราเรียน ค่าธรรมเนียมเบ็ดเตล็ดของนักเรียน และตั้งงบประมาณไว้ 540 ล้านริงกิต เพื่อจ่ายเงินช่วยเหลือให้กับนักเรียนโรงเรียนประถมและมัธยมทุกคน รายละ 100 ริงกิต หรือจะมีนักเรียน 5.4 ล้านคนทั่วประเทศที่ได้รับประโยชน์จากมาตรการนี้
นอกจากนี้รัฐบาลจะดำเนินนโยบายบัตรกำนัลสำหรับซื้อหนังสือ "1Malaysia Book Voucher" สำหรับนักเรียนที่เรียนในระดับวิทยาลัยและเตรียมอุดมศึกษา โดยจะเพิ่มมูลค่าของบัตรกำนัลจาก 200 ริงกิต เป็น 250 ริงกิต สำหรับนักเรียน 1.3 ล้านคน หรือคิดเป็นงบประมาณทั้งสิ้น 325 ล้านริงกิต
ผู้ที่สามารถชำระเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา จากกองทุนการศึกษาขั้นสูงแห่งชาติ (PTPTN) ได้ทั้งหมดที่กู้ยืมมา จะได้รับส่วนลดร้อยละ 20 ของจำนวนที่ต้องชำระ ทั้งนี้จะต้องชำระคืนระหว่างวันที่ 1 ต.ค. นี้ ถึง 30 ก.ย. 56 ส่วนผู้ที่ชำระเงินกู้ยืมอย่างสม่ำเสมอทุกงวดจะได้รับส่วนลดร้อยละ 10

ที่มา: แปลและเรียบเรียงจาก
Dato' Sri Mohd Najib Tun Haji Abdul Razak Perdana Menteri Malaysia, The 2013 Budget Speech, Office of the Prime Minister of Malaysia, 28 September 2012  http://www.pmo.gov.my/?menu=speech&news_id=628&page=1676&speech_cat=2
Anwar: Budget fails to address cronyism, monopolies, 7.59PM Sep 28, 2012, Malaysiakini http://www.malaysiakini.com/news/210235
Budget 2013 at a glace, Azlan Zamhari, Keuk Ser Kuang Keng, Prasadh Michael Rao and Denise Ch'ng, Malaysiakini http://www.malaysiakini.com/news/210177

พระองค์เจ้าหญิงสิริวัณณวรี ติดอันดับ 7 เจ้าหญิงโดดเด่นที่สุดในโลก

ที่มา ประชาไ่ท

 

พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ ทรงขยับอันดับจากปีแล้วซึ่งอยู่อันดับที่ 9 มาสู่อันดับที่ 7 ในปีนี้จากการสำรวจของ askmen โดยเว็บไซต์ดังกล่าวระบุเหตุผลที่ทรงเป็นเจ้าหญิงมาแรงที่สุดในอันดับ 7 ว่าทรงสำเร็จการศึกษาด้านแฟชั่นและการออกแบบเสื้อผ้าจากคณะศิลปกรรมศาสตร์ และทรงแสดงพระปรีชาสามารถด้านแฟชั่นผ่านงานแฟชั่นโชว์ที่ปารีส
โดยปีที่ผ่านมา ซึ่งทรงติดอันดับ 9 นั้น askmen ให้เหตุผลว่า   ความทรงเสน่ห์ที่เหนือกว่าการเป็นเจ้าหญิงต่างแดนนั้นก็คือ การที่ทรงเป็นราชวงศ์ที่ครองทรัพย์สินสูงถึง 35,000 ล้านเหรียญสหรัฐ, พระเจ้าหลานเธอ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระมหากษัตริย์ของไทย ทรงเป็นนักออกแบบที่ประสบความสำเร็จและได้แสดงพระปรีชาสามารถในด้านงานออก แบบทั้งที่ปารีสและกรุงเทพ
สำหรับเจ้าหญิงพระองค์อื่นๆ ที่ติดอันดับในปีนี้ได้แก่
อันดับ 10 ซาร่า ฟิลิป แห่งราชวงศ์อังกฤษ
ทรงเป็นพระธิดาองค์โตของเจ้าหญิงแอน และมาร์ก ฟิลิป ทรงอยู่ในลำดับที่ 14 ในการสืบสันตติวงศ์ อภิเษกสมรสกับไมค์ ทินดัล นักกีฬารักบี้ทีมชาติ เมื่อเดือนกรกฎาคม ปีที่แล้ว
อันดับ 9. เจ้าหญิงโซนัม เดเชน วังชุก แห่งภูฏาน
30 ชันษา, ทรงสมบูรณ์พร้อมทั้งสิริโฉมและปรีชาสามารถ สำเร็จการศึกษาด้านการระหว่างประเทศจากสแตนฟอร์ด และปริญญาโทด้านกฎหมายจากฮาวาร์ด ทรงเป็นประธานสถาบันกฎหมายแห่งชาติสังกัดกระทรวงยุติธรรม ราชอาณาจักรภูฏาน พระสวามีคือ ดาชู พับ ดับลิว ดอร์จิ ซึ่งมีความสามารถทัดเทียมกัน ทำงานในกระทรวงการคลัง
อันดับ 8 เจ้าหญิงธีโอโดรา
พระธิดาในอดีตกษัตริย์คอนสแตนตินที่ 2 แห่งกรีซ (King of Greece Constantine II ) และเจ้าหญิง แอนน์-มารี แห่งเดนมาร์ก (Princess Anne-Marie of Denmark) แม้ประเทศกรีซจะยกเลิกสถาบันพระมหากษัตริย์ไปแล้ว แต่พระองค์ยังคงพระยศเดิมไว้ จุดเด่นที่สำคัญคือ "ความกล้าและความสวย" ซึ่งใครได้พบเห็น ย่อมไม่อาจปฏิเสธ
อันดับ 7 พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์
อันดับ 6. เจ้าหญิงชาร์ลีน แห่งโมนาโค
34 ชันษา,  ได้รับการขนามนามว่าเป็น “เจ้าหญิงอย่างไม่เต็มใจ” เนื่องจากมีข่าวหลายครั้งว่าพยายามหนีกลับประเทศแอฟริกาก่อนการพิธีอภิเษก อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันนี้ทรงดำรงตำแหน่ง เจ้าหญิงแห่งโมนาโค พระชายาในเจ้าชายอัลแบร์ที่ 2 แห่งโมนาโค
ก่อนหน้านี้ เจ้าหญิชาร์ลีนเป็นนักกีฬาว่ายน้ำทีมชาติแอฟริกา
อันดับ 5 เจ้าหญิงเลติเซียแห่งสเปน
39 ชันษา, ทรงสามารถทำให้ผู้พบเห็นต้องอ้าปากค้างในสไตล์ที่โดดเด่น ก่อนที่จะอภิเษกกับเจ้าชายฟิลลิปแห่งออสเตรีย ทรงเป็นผู้สื่อข่าว และเคยแต่งงานกับครู ทรงมีธิดา 2 องค์ ไม่เพียงทรงงานอย่างเต็มพระปรีชาสามารถ แต่ทรงเป็นผู้นำด้านแฟชั่นด้วย
อันดับ 4 เจ้าหญิงอเล็กซานเดรียแห่งลักแซมเบิร์ก
21 ชันษา, พระนัดดาแกรนด์ดัชเชสมาเรีย เทเรซา และดยุคแห่งลักแซมเบิร์ก ทรงขยับลำดับสืบสันตติวงศ์จากอันดับ 4 มาเป็นอันดับ 3 หลังจากพระเชษฐาสละสิทธิ์ โปรดเทนนิส สกี ว่ายน้ำ และเต้นรำ
อันดับ 3. เจ้าหญิงแมดเดอลีน แห่งสวีเดน
29 ชันษา, ทรงมีสิริโฉมงดงาม และอยู่ในลำดับ 4 ในการสืบสันตติวงศ์ ทรงหมั้นกับโจนาส เบิร์กสตอร์ม นักกฎหมายอยู่ 7 ปี ก่อนที่จะถอนหมั้นไปเนื่องจากถูกจับได้ว่าทรงนอกใจคู่หมั้น ไปมีใจให้กับเพื่อนนักเรียนด้วยกัน ปัจจุบันนี้ทรงพำนักอยู่ในนิวยอร์ก และมีความสัมพันธ์กับ คริส โอเนียล นักการเงิน
อันดับ 2. เจ้าหญิงฮายา แห่งดูไบและจอร์แดน
37 ชันษา, พระชายาแห่งชีคโมฮัมเหม็ด บิน ราชิด อัล มัคทุม แห่งดูไบ ทรงเป็นธิดาแห่งกษัตริย์ฮุสเซ็นแห่งจอร์แดน ทรงมีพระปรีชาสามารถหลายด้าน ร่วมการแข่งขันกีฬาหลายชนิด ปัจจุบันทรงดำรงตำแหน่งประธานสมาคมกีฬาและวัฒนธรรมนานาชาติแห่งจอร์แดน และประธานสหภาพนักกีฬาขี่ม้านานาชาติ และทรงเข้าร่วมในกิจกรรมด้านมนุษยธรรมบ่อยครั้ง ทรงโดดเด่นด้วยแฟชั่นที่ทันสมัยและน่าจะเป็นผู้ที่นำแฟชั่นที่สุดในลิสต์นี้ แม้จะทรงมีพระชนมายุมากที่สุดก็ตาม
อันดับ 1. ชาร์ล็อต คาซีรากี
25 ชันษา, พระธิดาของเจ้าหญิงคาโรลีนแห่งโมนาโค และสเตฟาโน คาซีรากี ด้วยรูปลักษณ์ทีงดงามนั้นทำให้หวนนึกถึงพระอัยกา คือพระราชินีเกรซ เคลลี ทรงเป็นนักเขียนพิเศษ (editor-at-large) ให้กับ Above นิตสารหรูที่ตีพิมพ์ในลอนดอน


เด็กไทยเสี่ยงภัยถาวรจากสารพิษในสิ่งแวดล้อม

ที่มา ประชาไท

 
งานวิจัยยืนยัน สารเคมีจากอุตสาหกรรมและผลิตภัณฑ์ปนเปื้อนถ่ายทอดสู่เด็ก ส่งผลต่อพัฒนาการผิดปกติ

28 กันยายน 2555 (กรุงเทพฯ) – ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก ภาควิชากุมารแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดีพบเด็กที่อาศัยใกล้โรงงานอุตสาหกรรมมีสารตะกั่วในเลือด สูงถึงขั้นอันตราย  และมูลนิธิบูรณะนิเวศนำเสนองานวิจัยยืนยัน สารพิษในสิ่งแวดล้อมส่งผลให้พัฒนาการทางสมองของเด็กผิดปกติอย่างถาวร

สืบ เนื่องจากกรณีทารกวัย 8 เดือน ซึ่งเติบโตในโรงงานคัดแยกขยะอุตสาหกรรมแห่งหนึ่งในอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาครถูกส่งตัวมาโรงพยาบาลรามาธิบดีด้วยอาการชักจากพิษสารตะกั่ว โดยมีปริมาณตะกั่วในเลือดสูงกว่าค่ามาตรฐานถึง 17 เท่า ศูนย์วิจัยฯ โรงพยาบาลรามาธิบดีได้ลงพื้นที่ตรวจวิเคราะห์ปริมาณสารตะกั่วในเลือดของเด็ก เล็ก165 คน ที่อาศัยในบริเวณใกล้เคียงโรงงานดังกล่าว พบเด็กผู้ชาย 1 ใน 2 มีสารตะกั่วในเลือดสูงเกินค่ามาตรฐาน (50 ใน 86 คน หรือ ร้อยละ 58.1) และเด็กผู้หญิง 1 ใน 3 มีสารตะกั่วในเลือดสูงเกินค่ามาตรฐาน (24 ใน 79 คน หรือ ร้อยละ 30.4)ทั้งนี้ ค่ามาตรฐานของตะกั่วในเลือดที่ยอมรับได้ แม้ไม่อาจพิสูจน์ได้ว่าปลอดภัยแน่นอน คือ10 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (mg/dL)

แพทย์ สันนิษฐานว่าสารตะกั่วจากโรงงานฟุ้งกระจายตามลม ตกสู่ดินและแหล่งน้ำ จนเข้าสู่ร่างกายเด็กผ่านระบบทางเดินหายใจและระบบทางเดินอาหารโดยเด็กผู้ชาย มีสารตะกั่วในเลือดสูงกว่าเด็กผู้หญิงอาจเกิดจากพฤติกรรมการเล่นของเด็ก ผู้ชายที่สัมผัสกับฝุ่นและดินมากกว่า

“การได้รับสารตะกั่วเกินค่า มาตรฐานจะทำให้ระดับไอคิวในเด็กลดลง และยังทำให้ระบบประสาทผิดปกติ เกิดภาวะสมาธิสั้น ความสามารถในการเรียนรู้ผิดปกติ” รศ.นพ. อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยฯ รพ. รามาธิบดี กล่าว“กรณีสมุทรสาครเป็นตัวอย่างว่าผู้ประกอบการทำไม่ถูก แม้โรงงานจะถูกสั่งปิด แต่เด็กจะโง่ไปอีกนาน ไม่มีการชดเชย และยังมีโรงงานอื่นๆ อีกจำนวนมาก”

“การตรวจคัดกรองปริมาณตะกั่วใน เลือดเด็กควรบรรจุในการตรวจสุขภาพประจำ โดยเฉพาะสำหรับเด็กที่อาศัยในพื้นที่อุตสาหกรรม” รศ.นพ. อดิศักดิ์ กล่าวเสริม “อาจตรวจเมื่อเด็กเข้ารับวัคซีนเมื่อครบ 1 ขวบและ 5 ขวบ และควรพิจารณาว่าภาคเอกชนจะร่วมแบกรับภาระค่าใช้จ่ายนี้อย่างไร”

ผล งานวิจัยด้านประสาทพิษวิทยาที่เพิ่มขึ้นในยุคหลัง ซึ่งรวบรวมไว้ในหนังสือเรื่อง “บนทางแห่งภัย: เมื่อสารพิษคุกคามพัฒนาการเด็ก” จัดแปลเป็นไทยโดยมูลนิธิบูรณะนิเวศ ยังชี้ชัดว่า “ค่ามาตรฐาน” ไม่ปลอดภัยอย่างที่คิด เนื่องจากเด็กและทารกในครรภ์อยู่ระหว่างการสร้างเซลล์สมองและระบบประสาทอัน อ่อนไหวต่อสารเคมีหลายชนิด

ยกตัวอย่างเช่น งานวิจัยในสหรัฐฯ หลายฉบับ พบว่าการได้รับสารตะกั่วแม้ในปริมาณน้อย หากเกิดต่อทารกในครรภ์และเด็กเล็ก จะเกิดผลกระทบระยะยาว ซึ่งอาจปรากฏผลภายหลังเมื่อเด็กเติบโตเป็นวัยรุ่น เช่น ภาวะสมาธิสั้น ความสามารถยั้งคิดบกพร่อง หงุดหงิดง่าย และอาจถึงขั้นมีพฤติกรรมก้าวร้าว

“เป็น ที่น่าตกใจว่าระดับตะกั่วในเลือดที่จะไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพคือศูนย์นั่นคือ ต้องไม่มีตะกั่วในเลือดเลยเด็กไทยจึงจะปลอดภัย” ดร. อาภา หวังเกียรติ รองคณบดี วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าว  “ถึงเวลาจริงๆแล้วที่หน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องต้องหามาตรการป้องกันอย่าง เร่งด่วน ก่อนที่เด็กไทยจะใช้ชีวิตและร่างกายเป็นเครื่องทดสอบสารพิษ จนสังคมไทยเต็มไปด้วยเด็กและผู้ใหญ่ที่มีความบกพร่องของสมองมากเหมือนสหรัฐ อเมริกา”

ค่ามาตรฐานความปลอดภัยของสารปรอทลดลงเช่นกันตลอดหลายสิบปี ที่ผ่านมา เมื่อปี พ.ศ. 2515 สหรัฐฯ กำหนดค่าความปลอดภัยของการได้รับสารปรอทไว้ที่ 34 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักตัวหนึ่งกิโลกรัม ต่อวัน (mg/kg/วัน) โดยกำหนดจากปริมาณสารปรอทที่เป็นเหตุให้ทารกปัญญาอ่อนอย่างรุนแรงแต่กำเนิด ต่อมา นักวิทยาศาสตร์พบว่าเด็กที่ได้รับสารปรอทในปริมาณต่ำกว่าค่าความปลอดภัยดัง กล่าว มีไอคิวต่ำ เริ่มพูดและเริ่มเดินช้ากว่าเด็กทั่วไป

"ติมอร์ตะวันออก: เส้นทางสู่เอกราช" แนะนำโดยสิทธา เลิศไพบูลย์ศิริ

ที่มา ประชาไท



แนะนำหนังสือ "ติมอร์ตะวันออก: เส้นทางสู่เอกราช" โดย สิทธา เลิศไพบูลย์ศิริ ผู้แปลหนังสือ

"ติมอร์ตะวันออก: เส้นทางสู่เอกราช" แปลจาก "East Timor : The Price of Freedom" ของ John G. Taylor เป็นหนังสือแปลฉบับภาษาไทยเกี่
ยวกับประวัติศาสตร์ของติมอร์ตะวันออกเล่มแรกถึงเรื่องราวความเป็นมาของการต่อสู้อันยาวนานเพื่อเอกราชของติมอร์ตะวันออก แปลโดย สิทธา เลิศไพบูลย์ศิริ และอรพรรณ ลีนะนิธิกุล
วิดีโอนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานเสวนา / เปิดตัวหนังสือ -- Book launch "ติมอร์ตะวันออก: เส้นทางสู่เอกราช" จัดโดย มูลนิธิโครงการตำรสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ร่วมกับคณะศิลปศาสตร์ มธ, โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา ศศ.มธ. และสมาคมจดหมายเหตุสยาม เนื่องในโอกาส 45 ปี อาเซียน และร่วมเฉลิมฉลอง 50 ปี ศิลปศาสตร์ มธ.วันที่ 25 ก.ย.2555 ที่คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

ช่วยไล่ต้อนไอ้พวกที่ออกมาคัดค้าน..ราคาข้าวไปไถนาดำข้าวแทนชาวนากันเร็ว

ที่มา thaifreenews

 

 วันนี้ขอเขียนเกี่ยวกับเรื่องราวของชาวนาไทยผู้ยากไร้ในโลก 
ชีวิตของชาวนาไม่ใช่เป็นชีวิตที่สุขสบาย 
ทุกๆวันต้องหลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดินก้มหน้าดำนาเพื่อที่จะให้พี่น้องชาวไทยได้มีข้าวรับประทาน 
กว่าจะได้ข้าวมาแต่ละเมล็ดต้องเหน็ดเหนื่อยสายตัวแทบขาด 
การดำนาใช่ว่าจะดำกันง่ายๆป้าพลอยทดลองด้วยเองมาแล้วสมัยสาวๆ แค่ไม่ถึงชั่วโมงขาทั้งสองข้าง
พร้อมทั้งหลังเจ็บปวดไปหมด เนื่องจากต้องก้มจิ้มต้นข้าวลงในเหลน ก้มสุดตัวเป็นเวลานาน 
คนที่ไม่เคยชินกับสภาพนี้ วันรุ่งขึ้นเห็นผลของมัน เดินก้อลำบากเข้าไปนั่งในส้วมก้อทรมาน



แล้วลองนึกถึงชาวนาต้องอุตสาหะเพียงใด ที่ต้องก้มหน้าดำนาข้าวในขี้เหลนทั้งวัน 
กว่าจะเต็มท้องทุ่งนา บางแห่งอาจใช้หว่าน แต่นาข้าวใช้หว่านได้ผลน้อยกว่านาดำ 
เนื่องจากนาหว่านเมล็ดขึ้นหนาติดกัน ไม่เหมือนนาดำที่มีการกะระยะการ
จิ้มของต้นข้าว ให้ห่างกันเวลาต้นข้าวโตขึ้นมาไม่แออัดเหมือนใช้หว่านนะคะ อาชีพทำนามีแต่งานที่ต้องดูแลต้นข้าวที่งอก
ขึ้น มาว่ามีหอยมากัดกินต้นข้าวไหม มีแมลงอะไรที่ทำให้ต้นข้าวไม่เติมโตไหม ชาวนาต้องระแวดระวังสิ่งต่างๆในนาข้าวของตนทุกวัน ฉะนั้นชาวนากว่าจะได้ข้าวมาให้คนไทยได้รับประทานมีหลายขั้นตอน



การที่มีนักวิชาการสถาบัน นิด้า ออกมาขัดขวางรัฐบาลเรื่องการประกันราคาข้าว ไม่ทราบว่านักวิชาพวกนี้กินข้าวหรือเปล่า?
หาก กินข้าวของชาวนาไทย แล้วพวกคุณจะกลืนข้าวลงคอหรือคะหากคุณมาเห็นสภาพชาวนาที่เขาลำบากยากเข็น กว่าจะได้ข้าวมาให้คุณกินเพื่อไม่ให้คุณตาย 
การทำนาบนหลังชาวนา ฉวยโอกาสกดขี่เอาเปรียบชาวนาไทย มันน่าระอายสุดๆ และแทบทุกๆสมัย มาฟื้นฟูเอาสมัย ท่าน ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายก ที่ชาวนาขายข้าวได้ราคาได้เงินเป็นกอบเป็นกำ ชีวิตชาวนาดีขึ้นไม่ต้องเป็นหนี้ธนาคารอีกต่อไป คุณทราบไหม อาชีพเกษตรกรไทยไม่ว่า ชาวสวน ชาวไร่ ชาวนา ต้องกู้หนี้ยืมสินจากธนาคารนำเอามาลงทุนด้วยดอกเบี้ยมหาโหด



บาง ปีราคาผลผลิตต่ำ ชาวเกษตรกรไม่มีเงินเหลือ ที่จะเอาไปใช้หนี้ธนาคาร ต้องเป็นหนี้ต่อพอกยาวเป็นหางว่าว ใครรวยละไม่ใช่ธนาคารรวยหรือ? บางครอบครัวต้องแบ่ง ขายที่นา ที่สวน เพื่อนำเงินมาใช้หนี้ให้ธนาคารที่เร่งจะยึดทรัพย์สินเพราะไม่มีเงินมาจ่าย ค่าดอกเบี้ย นี่คือความทุกข์ยากของอาชีพเกษตรกรไทย ที่ปากกัดตีนถีบมาทุกๆสมัยนับหกสิบกว่าปีแล้ว เพิ่งมาฟื้นตัวเมื่อครั้งรัฐบาล ไทยรักไทย ที่ช่วยเกษตรกรอย่างจริงจัง แล้วใครเป็นผู้นำนาบนหลังชาวเกษตรกรไทย? ทั้งๆชาวเกษตรกรทำงานกันไม่เคยมีวันและเวลาหยุดเลย แต่ยากจนกันถ้วนหน้า เนื่องจากถูกกดขี่ราคาของเกษตรกรจากพวกหน้าด้านทั้งหลาย



เรา จึงได้เห็นวิธีทำนาบนหลังชาวเกษตรกรที่ดาหน้ากันออกมาขัดขวาง ไม่ว่าเกษตรกรชาวสวนยาง เกษตรกรไร่มัน ไร่ข้าวโพดไร่อ้อย มันกดราคาทุกอย่าง  ทั้งที่ส่งออกต่างประเทศราคาสูง แต่พวกพ่อค้าคนกลางรับซื้อกดราคา ซื้อจากเกษตรกรในราคาต่ำสุดแล้วเกษตรกรไทยจะไม่ยากจนได้อย่างไร หากประเทศไทยล้างบางไอ้พวกทำนาบนหลังเกษตรกรออกไปได้ คนยากคนจนที่มีอาชีพเกษตรกร คงมีอันจะกินทัดเทียมกันทั่วประเทศ แต่นี่เพราะมีพวกเห็นแก่ตัว ดังที่เห็นเวลานี้ขัดขวางรัฐบาลประกันราคาข้าวให้ชาวนา เพราะมันกลัวรัฐบาลจะถูกทุบหม้อข้าวของมัน ที่มันอยู่ดีกินอย่างสมบรูณ์จากน้ำพักน้ำแรงชาวนา



นี่คือความเห็นแก่ตัวของพวก ทำนาบนหลังคน ต้องการให้ชาวเกษตรกรเป็นทาสใต้เท้าตลอดไป ไม่ต้องการให้คนที่มีอาชีพนี้ลืมตาอ้าปาก หันไปมองชาวเกษตรกรโลก เขาให้โอกาสชาวเกษตรกรไปดูวิธีทำเกษตรทางต่างประเทศ ทุกๆปี ป้าพลอย พบชาวเกษตรกร ชาวจีน และชาว ญี่ปุ่น มาดูการสาทิตการทำเกษตรกรรมในประเทศฝรั่งเศส มากันประมาณสองรถบัส ซึ่งเห็นแล้วน่าชื่นชม และเขาพาไปชมไร่ดอกลาวินเดอร์ที่ภูเขา Provence พอดีป้าไปที่นั่นจึงได้เห็นคะ แล้วชาวเกษตรกรไทยละทำไมไม่ให้โอกาสเขาไปดูและศึกษายังต่างประเทศบ้างละ? เห็นแก่ตัวไม่ว่าแถมใจดำอีกต่างหาก



แล้ว ลองสังเกตุซินะ ถ้าเป็นรัฐบาลของประชาชนที่เลือกมา ที่จะช่วยเหลือชาวนา ชาวไร่ ชาวสวน จะมีพวกคนเหล่านี้ออกมาขัดขวางไม่ให้รัฐบาลทำนั่นทำนี่ และจะออกมาบอกว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญ เนื่องจากไปขวางทางทำนาบนหลังคนของมันนั่นเอง ชาวเกษตรกรไทยเลยไม่มีโอกาสได้ลืมตาเหมือนในประเทศอื่นๆ ครั้งรัฐบาลไทยรักไทย ราคายางสูงเป็นประวัติการที่ไม่เคยมีมาก่อน ชาวสวนยางขายยางพาราได้เป็นกอบเป็นกำ แต่แล้วรัฐบาลไทยรักไทยก้อต้องถูกเตะกระเด็น เพราะหากอยู่ต่อไปหม้อข้าวคนที่ทำนาบนหลังคนกิน ไม่มีข้าวกรอกหม้อแน่ นี่คือความจริงที่เราคนไทยรู้แจ้งเห็นชัดกันทุกคน ว่าประเทศไทยเรามันมีปีศาจ..ที่หิวกระหาย..กินไม่เลือก สิ่งเดียวมันไม่แตะคือ....อักษร ข.

แดงสุรินทร์แตกคอซัดกันแหลก

ที่มา uddred

โพสท์ทูเดย์ 29 กันยายน 2555 >>>


แดงสุรินทร์แตกคอถล่มเดือด "เทพพนม" เป็นได้แค่ม็อบรับจ้าง ด้าน เทพพนม จองกฐิน ลั่นเจอจัดหนักแน่

ผู้ สื่อข่าวรายงานว่า ที่หอประชุมสหกรณ์ออมทรัพย์ครูสุรินทร์ จำกัด ต.นอกเมือง อ.เมือง จ.สุรินทร์ นพ.สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รมช.สาธารณสุข เป็นประธานเปิดงาน "วาระคนอีสาน คนสุรินทร์ กินปลาร้าสุก” มี จ.ส.ต.ประสิทธิ์ ไชยศีรษะ ส.ส.สุรินทร์ พรรคเพื่อไทย ว่าที่ ร.ต.สุริยะศักดิ์ ฉัตรพิทักษ์กุล ประธาน นปช.สุรินทร์ พร้อมกลุ่มคนเสื้อแดงมาร่วมให้การต้อนรับ จากนั้น จ.ส.ต.ประสิทธิ์ ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่า ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับคนเสื้อแดงสุรินทร์ที่นายเทพพนม นามลี อ้างตัวเองว่าเป็น ประธาน นปช.แดงสุรินทร์ได้เข้ายื่นหนังสือต่อ กกต. เพื่อกดดันให้นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี รมว.มหาดไทย และหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ลาออกจากตำแหน่งจากกรณีที่ ปปช. ชี้มูลความผิด คดีการจัดซื้อที่ดินสนามกอล์ฟอัลไพน์ ขอแจ้งให้พี่น้องคนเสื้อแดงทราบว่านายเทพพนม เป็นคนไม่มีอุดมการณ์ แสวงหาผลประโยชน์เพื่อตนเอง เป็นม็อบรับจ้าง ขณะนี้ศาลจังหวัดรัตนบุรี จ.สุรินทร์ ได้มีคำพิพากษาจำคุก 3 ปี โดยไม่รอลงอาญา และศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายืนตามศาลชั้นต้น จากคดีเทข้าวเปลือกปิดถนนประท้วงที่บริเวณสี่แยกอ.ท่าตูม จ.สุรินทร์ ขอให้นายเทพพนมเตรียมตัวเข้าคุกได้เลย ถ้านายเทพพนมไปแอบอ้างว่าเป็นประธาน นปช.สุรินทร์ ข่มขู่เพื่อตบทรัพย์ ขอให้ผู้เสียหายแจ้งความดำเนินคดีได้เลย อย่าปล่อยให้คนชั่วอาศัยคราบคนเสื้อแดงหากินได้ลอยนวลอีกต่อไป
ด้าน ว่าที่ ร.ต.สุริยะศักดิ์ ได้อ่านแถลงการณ์ของ นปช.สุรินทร์ ว่า สืบเนื่องจาก เมื่อวันที่ 25 ก.ย. 55 มีกลุ่มบุคคลหนึ่งได้แอบอ้างว่าเป็น นปช.สุรินทร์ เดินทางเข้า กรุงเทพ เพื่อเข้ายื่นหนังสือ ขอให้นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ต่อ กกต. ซึ่งเรื่องดังกล่าว ทาง นปช.แดงสุรินทร์ ทราบข่าวว่ากลุ่มบุคคลดังกล่าว นำโดยนายเทพพนม นามลี ผู้นี้เป็นกลุ่มม็อบรับจ้าง ไม่มีตำแหน่งใดๆใน นปช.สุรินทร์ และรับงานการเมือง ฝ่ายตรงข้ามของพรรคเพื่อไทย เพื่อสร้างสถานการณ์ให้เกิดความปั่นป่วน วุ่นวาย เพื่อจะได้หาทางให้เกิดอุบัติเหตุทางการเมือง โดยมีการตกลงรับจ้าง กลุ่มดังกล่าว นำพามวลชน เดินทางไปที่ กกต. กรุงเทพฯ ทางกลุ่ม นปช.แดงสุรินทร์ ขอแถลงการณ์รวมกันว่า มิได้มีส่วนร่วมกับกลุ่มดังกล่าว เพราะกลุ่มเทพพนม มิใช่คนเสื้อแดง เพราะที่ผ่านมาก็เคยออกรายการ ASTV ผู้จัดการออนไลน์ ประกาศว่าจะไม่สนับสนุนเกี่ยวกับ นปช.ส่วนกลาง แต่ก็กลับคำพูดตนเองขึ้นมา ไปเปิดสำนักงาน นปช.แดงสุรินทร์ อีก ที่ผ่านมานายเทพพนม นามลี ก็ได้สร้างความเดือดร้อนให้กับทางจ.สุรินทร์มาตลอด
จากนั้นกลุ่มคนเสื้อ แดงประมาณ 100 คนได้เดินทางมาที่บริเวณด้านหน้าสำนักงาน นปช.แดงสุรินทร์ อยู่ตรงข้าม กองกำกับการตำรวจภูธรจ.สุรินทร์ ถ.หลักเมือง ต.ในเมือง อ.เมือง จ.สุรินทร์ ของนายเทพพนม นามลี ซึ่งมีนายธีรสิทธ์ แก้วขาว อ้างตนเองว่าเป็นประธานที่ปรึกษา นปช.แดงสุรินทร์ อยู่เฝ้าสำนักงานแต่เพียงผู้เดียว นายธีรสิทธิ์ กล่าวว่า ทราบจากกระแสข่าวว่าจะมีกลุ่มคนเสื้อแดงหลายกลุ่ม แดงอมน้ำเงิน อมเหลือง แดงหลากสี มาเยี่ยมสำนักงาน ตนยินดีต้อนรับแต่ถ้าหากว่าการมาเยี่ยมนำพวงหรีดมาด้วยตามกระแสข่าว ตนจะนำหรีดส่งต่อให้ผู้หลักผู้ใหญ่เพื่อส่งต่อให้คนบงการเบื้องหลังต่อไป แดงสุรินทร์ ของพวกตน ก่อตั้งสมัยไปรับ พ.ตท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ จ.เสียมราฐ ประเทศกัมพูชา เมื่อวันที่ 15 เม.ย. 55 เวลา 21.35 น. แต่งตั้งเรียบร้อย ซึ่งมีนายยงยุทธ ติยไพรัตน์เป็นที่ปรึกษามาโดยตลอด จนดำเนินการแต่งตั้งคณะทำงานแรลลี่ช่องจอม-เสียมราฐ เดินทางเข้ารดน้ำดำหัวและอวยพรปีใหม่ไทยให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ จนแล้วเสร็จ จนคนเสื้อแดงทั้งแผ่นดิน รู้จักเทพพนม นามลี และกลุ่ม นปช.แดงสุรินทร์ ทำกิจกรรมทางการเมืองเชิงประจักตลอดมา
ทั้งนี้หลังคนเสื้อแดงที่นำโดยว่า ที่ ร.ต.สุริยะศักดิ์ ได้อ่านแถลงการณ์ของ นปช. ได้อ่านแถลงการณ์ด้านหน้าสำนัก นปช.แดงสุรินทร์ ของนายเทพพนม เสร็จแล้วได้ติดประกาศแถลงการณ์ฉบับดังกล่าวไว้ที่กระจกหน้าสำนักงานและทำ การปราศรัยกล่าวโจมตีพฤติกรรมของนายเทพพนม กว่าชั่วโมง เป็นเหตุให้การจราจรเมืองสุรินทร์ติดขัดอย่างหนัก ก่อนแยกย้ายกลับบ้านอย่างสงบ
ด้านนายเทพพนม นามลี ประธาน นปช.แดงสุรินทร์ ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ว่า ขอบคุณทุกคนที่มาชุมนมประท้วงและอ่านแถลงการณ์งี่เง่าหน้าสำนักงานของตน ทำให้คนทั่วประเทศรู้ว่าตนมีความสำคัญและความสามารถ ในการก่อม็อบเพื่อช่วยเหลือพี่น้องประชาชนผู้เดือดร้อน ต่างจากจ่าประสิทธิ์ ไชยศีรษะ ส.ส.สุรินทร์ พรรคเพื่อไทย ที่เป็นคนเนรคุณเคยให้ตนเป็นคนนำม็อบจากสุรินทร์เข้ากรุงเทพ เพื่อกดดันพรรคเพื่อไทยให้ส่งตัวเองลงสมัคร ส.ส.สุรินทร์ เบี้ยเลี้ยงและค่าใช้จ่ายต่างๆที่จะให้ตนนำไปให้ม็อบที่ร่วมเดินทางในครั้ง นั้น กว่า 2 ปีแล้วก็ยังไม่จ่ายแม้แต่สลึงเดียว การประท้วงตนในวันนี้ถือว่าเป็นการแสดงออกทางประชาธิปไตย และใครจะปลดป้ายสำนักงาน นปช.แดงสุรินทร์ไม่ว่ากันอยู่แล้วแต่ขอให้รู้ว่าตนขอจองกฐินจ่าประสิทธิและ พวกที่มาในวันนี้ อย่าให้เจอก็แล้วกัน จะจัดหนักให้ ทั้งนี้จะเรียกประชุมคนเสื้อแดงภาคอีสาน สาย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ภายในสัปดาห์นี้เพื่อกำหนดบทบาทในการเคลื่อนไหวในการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย อย่างแท้จริง หลัง นปช.แดงทั้งแผ่นดินภายใต้การนำของนางธิดา ถาวรเศรษฐ ประธาน นปช. แปลงร่างเป็นอำมาตย์เสียเอง

Friday, September 28, 2012

ยงยุทธแถลงข่าวลาออกจากตำแหน่งรองนายกฯ รมว มหาดไทย 28 9 55

ที่มา



มิเชล มาสส์ พยานคดีสลายม็อบ98ศพ..."ผมไม่เห็นชายชุดดำในบริเวณนั้นเลย"

ที่มา มติชน



ข่าวสด สัมภาษณ์พิเศษ 28 ก.ย. 2555




"...ผมไม่เห็นชายชุดดำในบริเวณนั้นเลย

ทิศทางกระสุนที่ยิงมาที่ผมก็มาจากฝั่งทหาร"


การสอบสวนในคดี 98 ศพ ของกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ คืบหน้าตามลำดับ



ล่าสุด ดีเอสไอเชิญ นายมิเชล มาสส์ ผู้ สื่อข่าวชาวเนเธอร์แลนด์ สังกัดหนังสือพิมพ์โฟล์กส์แรนต์ และเรดิโอเวิลด์ไวด์ วิทยุเนเธอร์แลนด์ ที่ถูกยิงในเหตุการณ์ดังกล่าวมาให้ข้อมูล



หลังให้ปากคำกับดีเอสไอ นายมิเชล มาสส์ ให้สัมภาษณ์ถึงเหตุการณ์วันที่ 19 พ.ค.2553 และความรู้สึกกับน.ส.พ. ข่าวสด ไว้ดังนี้



การมาให้ปากคำได้รับการประสานจากฝ่ายไหน


ตอน แรกสถานทูตเนเธอร์แลนด์ติดต่อมาที่ผมว่ามีการเยียวยาผู้บาดเจ็บจากเหตุการณ์ ให้ลองทำเรื่องเสนอมา ตอนแรกผมคิดว่าส่งๆ ไปคงไม่มีอะไรเกิดขึ้น แต่ปรากฏว่าได้รับการติดต่อจากสถานทูตและดีเอสไอ นอกจากนี้ ยังได้รับการประสานจาก น.ส.จารุพรรณ กุลดิลก อีกทางหนึ่ง



ดี เอสไอพบจากไฟล์ว่าผมเป็นอีกคนที่ถูกยิงในจุดเดียวกับฟาบิโอ และผมยังมีหัวกระสุนเก็บไว้ด้วย ดีเอสไอเลยเห็นว่าผมน่าจะมีประโยชน์ต่อคดีฟาบิโอ ผมก็ยินดีที่จะมาให้การเพราะสัญญากับน้องสาวฟาบิโอไว้ จึงยินดีมาทำให้เกิดความกระจ่างตามที่สัญญา



ที่จริงก่อน หน้านี้ผมเคยให้การกับดีเอสไอไปครั้งหนึ่งแล้วเมื่อตอนเดือน พ.ค. 2554 จากนั้นเรื่องก็เงียบไปเลย กระทั่งมีการเชิญมาให้ข้อมูลครั้งนี้



การให้ข้อมูลแล้วเป็นอย่างไรบ้าง


เจ้า หน้าที่ฝ่ายสอบสวนได้ลำดับเหตุการณ์ให้ผมฟังและถามว่าเป็นอย่างที่เล่ามา หรือไม่ เจ้าหน้าที่ลำดับเหตุการณ์และสอบถามอย่างละเอียดทุกขั้นตอน เพื่อต้องการให้แน่ใจว่ารายละเอียดทุกจุดถูกต้อง



ผมว่าดีที่เจ้าหน้าที่มาลำดับเหตุการณ์ใหม่ให้ฟัง เพราะเป็นการช่วยรื้อฟื้นความจำเนื่องจากเหตุการณ์ผ่านมา 2 ปีแล้ว



แล้ววันที่ 19 พ.ค. 2553 เกิดอะไรขึ้น


ตอน นั้นผมพักอยู่ที่โรงแรมย่านประตูน้ำ คืนวันก่อนหน้าวันที่ 19 พ.ค. เหตุการณ์ค่อนข้างสงบ จนผมคิดว่าไม่น่าจะมีเหตุการณ์อะไรอีกแล้ว น่าจะสงบแล้ว ผมยังโทร.บอกภรรยาที่อินโดนีเซีย ว่าวันที่ 19 พ.ค. ผมจะกลับบ้านแล้ว



แต่พอเช้าตรู่วันที่ 19 พ.ค. ผมเปิดทีวีเห็นข่าวทหารบุกเข้ามายังแนวป้องกันที่ลุมพินี ผมจึงเดินผ่านค่ายผู้ชุมนุมที่ราชประสงค์ไปดูเหตุการณ์



พบ ผู้ชุมนุมบางส่วนจับกลุ่มดูความเคลื่อนไหวของทหารจากทีวี ขณะที่ส่วนใหญ่แห่กันไปที่ราชดำริเพื่อผนึกกำลังเป็นแนวป้องกัน เพราะทราบข่าวว่าทหารกำลังจะมา ผมจึงตามไปด้วยและมาถูกยิงที่หน้าตึก 185 ราชดำริ



มั่นใจใช่หรือไม่ว่าถูกทหารยิง


ค่อน ข้างมั่นใจ เพราะผมไม่เห็นชายชุดดำในบริเวณนั้นเลย ทิศทางกระสุนที่ยิงมาที่ผมก็มาจากฝั่งทหาร กระสุนปืนจากบาดแผลก็เป็นกระสุนเอ็ม 16



คาดคิดหรือไม่ว่าจะถูกยิง


ไม่ เลย เพราะคิดอยู่เสมอว่าหากทหารจะทำอะไรก็จะเตือนประชาชนและผู้สื่อข่าวที่อยู่ ในเหตุการณ์ก่อน ทหารจะใช้โทรโข่งแจ้งเตือนก่อน และคิดว่าหากจะยิงก็คงยิงขึ้นฟ้า ผมคงมองแง่ดีเกินไป



วินาที แรกที่ถูกยิงจากด้านหลังผมยังคิดว่าเป็นกระสุนยางที่ยิงมาถูกผม ฉะนั้นกรณีของผมจึงเป็นบทเรียนสำหรับนักข่าวเหมือนกันว่าในสถานการณ์ความ วุ่นวายคุณไม่รู้หรอกว่าจะมีอะไรเกิดขึ้น



รู้สึกอย่างไรบ้างที่กลายเป็นข่าวเสียเอง


รู้สึก แปลกมาก เพราะตอนแรกตั้งใจจะมาให้ข้อมูลกับดีเอสไอเท่านั้น ผมตั้งใจมาบอกว่าเห็นอะไร รู้สึกอะไร แต่พอมาถึงตกใจที่มีสื่อมวลชนจำนวนมากสนใจมาทำข่าว ซึ่งผมไม่รู้มาก่อนว่ามีความสนใจในหมู่ประชาชนมากขนาดนี้



ที่ จริงผมไม่สบายใจที่ตัวเองกลายเป็นข่าวไปด้วยเพราะกลัวจะถูกนำไปโยงกับการ เมือง เพราะที่เมืองไทยยังมีการนำประเด็นการสลายการชุมนุมมาโจมตีกันเพื่อหวังผล ทางการเมือง



คิดอย่างไรต่อสถานการณ์ความขัดแย้งในเมืองไทย


เป็นเรื่องที่พูดยาก เป็นเรื่องของอำนาจและเป็นเรื่องของความรู้สึกของประชาชนจำนวนมากที่ไม่พอใจต่อการเลือกปฏิบัติต่อเขา



เรื่อง นี้มันไม่ใช่ขาว หรือดำ ผมเข้าใจว่าสังคมที่อยู่ระหว่างการพัฒนาไปสู่ประชาธิปไตยก็จะมีเรื่องอย่าง นี้ เป็นช่วงรอยต่อระหว่างเก่ากับใหม่



ที่ผมกังวลคือ ผมตกใจมากที่ความขัดแย้งนี้ผู้คนมีอารมณ์ร่วมด้วยอย่างรุนแรง และสองฝ่ายไม่พร้อมจะใช้การพูดคุยเพื่อแก้ปัญหา หากยังไม่ใช้การเจรจาเรื่องก็ไม่จบ



การทำหน้าที่นักข่าวก่อนหน้านี้เคยได้รับบาดเจ็บมาก่อนหรือไม่

ไม่ เลย นี่เป็นครั้งแรกระหว่างการปฏิบัติหน้าที่เป็นนักข่าว ทั้งๆ ที่ผมเคยไปทำข่าวในจุดที่อันตรายกว่านี้ เช่น ข่าวสงครามกลางเมืองที่โคโซโว



อย่างไรก็ตามแม้จะถูกยิงได้รับบาดเจ็บ ผมก็ยังโชคดีเพราะเพิ่งทราบจากแพทย์ภายหลังว่ากระสุนเฉียดปอดไปเพียง 3 ม.ม.



ดัง นั้นแทนที่จะมานั่งเสียใจ หรือรู้สึกไม่ดีที่ถูกยิงก็ถือว่าโชคดีที่ไม่ตาย และไม่อยากคิดมากเพราะรู้มาว่ามีนักข่าวคนหนึ่งถูกยิงเหมือนกัน



เหตุการณ์ครั้งนี้จะยังอยากเป็นนักข่าวอยู่หรือไม่


ถึง เจออย่างนี้ก็ยังจะเป็นนักข่าวอยู่ เพียงแต่ต่อไปนี้ก็จะระมัดระวังให้มากขึ้น ผมเป็นนักข่าวมาตั้งแต่อายุ 19 ปี ไม่เคยคิดว่าจะเลิกเป็นนักข่าว ผมชอบอาชีพนี้ เพราะทำให้ตัวเองได้เห็น ได้พบผู้คน ได้เจอเหตุการณ์ที่น่าสนใจ



ประจำอยู่ที่ไหนและมาทำข่าวในเมืองไทยนานแค่ไหน


ผม ปฏิบัติหน้าที่อยู่ที่อินโดนีเซียเป็นหลัก แต่เป็นนักข่าวของสำนักข่าว DE VOLKSKRANT ที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ ผมมาถึงเมืองไทยเมื่อวันที่ 25 ก.ย. จะเดินทางกลับเช้าวันที่ 27 ก.ย.นี้



มารายงานข่าวในเมือง ไทยตั้งแต่ปี 2546 ผมอยู่มาตั้งแต่สมัยพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็น นายกฯ ได้ทำข่าวตอนรัฐประหารด้วย นอกจากนี้ ยังเคยทำข่าวเหตุการณ์ความรุนแรงที่ภาคใต้

ด่วน ! ศาลปล่อยตัวเจ๋งดอกจิกแล้ว

ที่มา uddred

 ทีมข่าว นปช.
28 กันยายน 2555




วันนี้ (28 กันยายน 2555 ) ที่ศาลอาญา ศาลนัดฟังคำสั่งการขอปล่อยตัวชั่วคราว ของเจ๋ง ดอกจิก แกนนำ นปช. ศาลมีคำสั่งอนุญาติให้ปล่อยตัวชั่วคราว ระบุเห็นว่าสำนึกผิดแล้ว

จับตา'ยงยุทธ'ประกาศลาออกจากตำแหน่ง

ที่มา Voice TV

จับตา'ยงยุทธ'ประกาศลาออกจากตำแหน่ง


จับตา "ยงยุทธ วิชัยดิษฐ" เตรียมประกาศลาออกจากตำแหน่ง เพราะปมอัลไพน์ วันนี้ หลังจากนายกรัฐมนตรีมีคำสั่งด่วน

หลังจากที่ นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้รับแรงกดดันจากหลายฝ่าย จากกรณี ที่ดินสนามกอล์ฟอัลไพน์ มาตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้ล่าสุดมีกระแสข่าวว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ติดต่อมาถึง นายยงยุทธ เพื่อประสานงานให้ลาออกจากตำแหน่ง จึงทำให้เราต้องมาเกาะติดกันตลอดทั้งวัน ว่า วันนี้ นายยงยุทธ จะแถลงข่าวในเรื่องดังกล่าวหรือไม่


Source : INNnews

28 กันยายน 2555 เวลา 08:38 น.

สะท้อนย้อนคิดฯ ที่เชียงใหม่: จินตนาการใหม่ทางมานุษยวิทยา

ที่มา ประชาไท

 
ช่วงหนึ่งจากเสวนา "จินตนาการใหม่ทางมานุษยวิทยา" ในงานประชุม "สะท้อนย้อนคิดสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาเชียงใหม่"  ยศ สันตสมบัติ เสนอจินตนาการใหม่ต้องการหลักการใหม่ - กรอบกติกาใหม่ที่พร้อมให้คนสามารถสร้างทางเลือกใหม่ในชีวิต ความคิด และการจัดองค์การสังคม
21 ก.ย. 2555 ณ ห้องประชุมชั้น 2 คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทางภาควิชาสังคมวิทยามานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) และสำนักพิมพ์คบไฟ จัดการประชุมวิชาการ "สะท้อนย้อนคิดสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาเชียงใหม่" โดยมีการเสวนาในหัวข้อ “จินตนาการใหม่ทางมานุษยวิทยา”
มีวิทยากรคือ ศ.ดร.ยศ สันตสมบัติ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ดร.ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล อดีตผู้อำนวยการศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร, ดร.สายพิณ ศุพุทธมงคล คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสาตร์ และมี ดร.อภิญญา เฟื่องฟูสกุล ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นผู้ดำเนินรายการ


ศ.ดร.ยศ สันตสมบัติ เริ่มอภิปรายโดยเสนอว่ามีสิ่งที่เรียกว่ามานุษวิทยาไทย (Thai Anthropology) โดยนักวิชาการรุ่นหลังๆ มักจะยึดติดกับวิกฤติเชิงอัตลักษณ์ (Identity Crisis) ไม่มีความเป็นตัวของตัวเอง คิดว่าการเอาแนวคิดทฤษฎีฝรั่งมาใช้เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ แล้วพยายามแสวงหาแนวทางของไทย ซึ่งในความเป็นจริง 50 ปีที่ผ่านมา มานุษยวิทยาไทยมีอะไรเป็นของตัวเองเยอะมาก ในแง่สังคมศาสตร์เราทำงานวิจัย เราสร้างแนวคิด (Concept) เยอะมาก สมัยตนเรียนปริญญาตรี เวลาคนพูดถึงมานุษยวิทยาคลาสสิก คนมักจะพูดถึงพระยาอนุมานราชธน แต่ตนกลับคิดว่างานคลาสสิกของมานุษยวิทยาจริงๆ คือ “โฉมหน้าศักดินาไทย” (โดยจิตร ภูมิศักดิ์) ซึ่งได้ปรับ Concept แล้วเอามาใช้ในบริบทของสังคมไทย
สิ่งที่เราเห็นคือมานุษยวิทยาไทยมันบรรลุวุฒิภาวะ ถึงระดับที่มันมี Dialogue กับโลก สมัยก่อนฝรั่งมาทำวิจัยเมืองไทย คนไทยเป็นผู้ช่วยวิจัย เดี๋ยวนี้เรานั่งเถียงกับฝรั่งตลอดเวลา ไม่ใช่การพูดข้างเดียวแล้ว ดังนั้นวิกฤติอัตลักษณ์จึงเป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นเอง นอกจากนั้นเรามีภาควิชาเกิน 10 มหาวิทยาลัย มีแหล่งที่สอนสังคมวิทยามานุษยวิทยาเยอะมาก แล้วแต่ละแห่งก็มีจุดแข็งในตัวเอง เรามีศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ที่ทำให้มานุษยวิทยาไทยเติบโตเยอะมาก มีงานประชุมประจำปีทุกปี มีการนำเสนองานวิจัยใหม่ๆ ตลอด สิ่งที่เรียกว่ามานุษยวิทยาไทยจึงเกิดและดำรงอยู่
ส่วนที่สำคัญคือภาษาของมานุษยวิทยาได้ถูกใช้โดยคนทั่วไป ซึ่งหมายความว่ามันขายได้ เช่น เรื่องการเปิดพื้นที่, สิทธิชุมชน ชาวบ้านก็พูด ทั้งที่เป็นแนวคิดชั้นสูงในทางมานุษยวิทยา การที่แนวคิดมันถูกนำไปใช้เป็นสัญญาณบ่งบอกว่าเนื้อหาของวิชาการมันไปรับใช้ สังคม คนสามารถเอามันไปใช้ ไม่ใช่เฉพาะนักวิชาการ
แต่ทั้งนี้เราไม่ควรคิดถึงมานุษยวิทยาในแง่แยกออกเด็ดขาดจากวิชาอื่นๆ เช่น รัฐศาสตร์,ประวัติศาสตร์, จิตวิทยา, ภูมิศาสตร์ เป็นต้น มันไปด้วยกัน สังคมไทยเป็นสังคมที่บางครั้งมักจะขีดอาณาจักรของตัวเอง แม้แต่ในภาคเดียวกันก็แยก ซึ่งเป็นการคิดแคบ สมัยปี 1980 ที่ตนเรียนมีบทความของ Clifford Geertz ชื่อ “Blurred Genres” พูดถึงว่าสาขาวิชา (Discipline) ต่างๆ ในโลก ว่าพรมแดนมันเริ่มเบลอ พร่ามัว ฉะนั้นวิธีคิดแบบ Trans-discipline มันเข้ามาแทนที่การแยกสาขาวิชา แต่ไม่ได้หมายความว่าสาขาวิชาไม่จำเป็น แต่สาขาวิชามันจะต้องมองออกไปว่าใครคนอื่นเขาทำอะไรบ้าง  ในต่างประเทศมันเปลี่ยนสาขากันเป็นว่าเล่น พรมแดนทางวิชาการมันพร่ามัว แต่มันทำให้จินตนาการมันแจ่มชัดขึ้น เป็นเหมือน paradox เพราะพอสาขาวิชามันเบลอ จินตนาการมันชัด

ยศกล่าวต่อว่าเมื่อพูดถึง “จินตนาการ” ตนก็กลับไปหางานของ C.Wright Mills เป็นนักสังคมวิทยาในอเมริกา เขียนเรื่อง “จินตนาการทางสังคมวิทยา” [Sociological Imagination (1959)] อธิบายว่าจินตนาการคืออะไร เขาบอกว่ามันคือการตั้งคำถาม เพื่อทำความเข้าใจต่อความเคลื่อนไหวของสังคมโลก แล้วเอาจินตนาการนั้นมาทำความเข้าใจตัวเอง ในฐานะที่เราเป็นมนุษย์ในกระแสโลกปัจจุบัน และจินตนาการเป็นพลังที่จะปลดเปลื้องโซ่ตรวนทางความคิด เพราะโลกทำให้เรายึดติดกับความเจริญทางวัตถุ  Mills ซึ่งเป็นมาร์กซิสต์ที่ไม่ได้รับการยอมรับในอเมริกา ก็จะพูดถึง Emancipation โดยเชื่อว่าเราต้องทะลวงโซ่ตรวนเพื่อไปสู่เสรีภาพ โดยการใช้จินตนาการ สำหรับ Mills การตั้งคำถามคือพลังเพื่อปลดปล่อยมนุษย์ออกจากความไม่รู้และความประมาท ไปสู่เสรีภาพที่จะกำหนดชะตาชีวิตตนเอง

นอกจากนั้น จินตนาการยังมีบริบทของมัน ในทางมานุษยวิทยาจินตนาการเกิดขึ้นในคลื่นความคิด 3 ระลอกด้วยกัน ระลอกแรกคือเศรษฐศาสตร์การเมือง ระลอกสองประมาณปี 80 ขึ้นไป อเมริกาเข้าสู่วิกฤติของความคิด แล้วเกิดสกุลต่างๆ เช่น Cultural Critique, Writing Culture, Post Modernism ระลอกที่สามก็คือทุนนิยมยุคหลัง หรือ Globalization, Tran-Nationalism  บริบทที่เปลี่ยน ทำให้จินตนาการทางสังคมเปลี่ยน คนก็ต้องพยายามวิ่งตามบริบทที่เปลี่ยน เพื่อทำความเข้าใจ

ยศเสนอว่าสามารถแยกจินตนาการออกเป็นมิติต่างๆ 6 ระดับ ได้แก่ ระดับแรกคือชื่อของงาน “สะท้อนย้อนคิด” (Reflexivities) หรือไปอีกขั้นคือการวิจารณ์วัฒนธรรม  มิติที่สองคือการทำลายมายาคติ เปิดโปงสิ่งที่ยึดมั่นถือมั่นมันว่างเปล่า หรือไม่ได้ช่วยให้เราเข้าใจความเป็นจริง  มิติที่สามคือการเปิดพื้นที่ โยงไปถึงเรื่องตัวตน อัตลักษณ์ทางสังคม ทางชาติพันธุ์  มิติที่สี่คือเรื่องการสร้างความเข้าใจ มานุษยวิทยามีหน้าที่ในการสร้างความเข้าใจ ให้มนุษย์มันเข้าใจกัน ให้คนเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์  มิติที่ห้าคือสร้างหรือนำเสนอทางเลือกเชิงโยบาย และมิติสุดท้ายคือการนำเสนอหลักการหรือวิธีคิดใหม่ ซึ่งยังทำกันค่อนข้างน้อย
จุดแข็งของมานุษยวิทยา คือการพยายามสร้างเสียงให้กับคนตัวเล็กตัวน้อย ซึ่งเวลาที่เขาพูดเองไม่ค่อยมีคนฟัง จินตนาการเก่าที่ทำกันมา 30 ปี ก็คือเราก็พูดวิพากษ์ปัญหาการพัฒนา พูดถึงการพัฒนาที่เหลื่อมล้ำ ความเหลื่อมล้ำระหว่างเมืองชนบท พูดถึงอุตสาหกรรม พูดถึงการดูดซับทรัพยากรของกทม. พูดถึงเกษตรชนบทล้มละลาย การเปลี่ยนมือของที่ดิน จนกระทั่งเราพูดถึงการเปลี่ยนองค์กร เช่น ภาคเหนือองค์กรเหมืองฝายมันเข้มแข็ง เดี๋ยวนี้ไม่มีแล้ว จะเอาอะไรมาแทน จะสร้างองค์กรอย่างไร เป็นจินตนาการที่จะต้องคิดกันต่อไป

ส่วนสิ่ง ที่เป็นจินตนาการในปัจจุบัน อาจจะไม่ใหม่ ก็คือปัญหาของโลกมันบีบคั้นเข้ามา การว่างงานในยุโรป-สหรัฐ จีนก็ขยายอิทธิพลในอาเซียน ประสิทธิภาพการแข่งขันท่ามกลางเศรษฐกิจโลก ในบ้านเราปัญหาก็ยังอยู่ ทั้งการแย่งชิงทรัพยากรดินน้ำป่า ความขัดแย้งรุนแรงขึ้น เรามีระบบจัดการทรัพยากรที่ยังคงป่าเถื่อนล้าหลัง เรามีสื่อที่ไม่มีเสรีภาพ เรามีระบบกฎหมายที่ล้าหลัง
จินตนาการอีกส่วนที่ยังไม่ค่อยมี อ.อานันท์ (กาญจนพันธุ์) ใช้คำว่า Invisible People คือคนชั้นล่างที่เคยเป็นเกษตรกรมาก่อน พอเปลี่ยนไม่ทำการเกษตรแล้ว เราเริ่มมองไม่เห็น ประเด็นคือเราต้องทำความเข้าใจสังคมชนบทแบบใหม่ ซึ่งมันเปลี่ยนเยอะมาก ชนชั้นมันซับซ้อนหลากหลายมากขึ้น ชนชั้นกลางเราก็ยังไม่รู้จัก ชนชั้นที่ไม่ใช่ชั้นกลางก็ยิ่งไม่รู้จัก หรือชนชั้นผู้ประกอบการที่เกิดขึ้นมากมาย ซึ่งไม่ใช่ตาสีตาสา แต่เป็นคนที่สนใจการเมือง สนใจนโยบาย พยายามรักษาผลประโยชน์ของเขา เราอาจจะต้องสร้างจินตนาการใหม่ๆ ที่พูดถึงคนเหล่านี้
ยศเสนอต่อไปว่าการเมืองก็ไม่ได้ง่ายเหมือนเดิม ต้องใช้จินตนาการมาก การบริหารจัดการสังคมไทยอาจต้องปฏิรูปใหม่ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของระบบการเมือง ตุลาการ สถาบันพระมหากษัตริย์ ระบบราชการ ประเด็นที่ตนคิดว่าอาจต้องใช้จินตนาการมากที่สุดก็คือเรื่องของอำนาจนำ (Hegemony) ตั้งแต่น้ำท่วมปีที่แล้ว เห็นชัดว่าไม่มีใครฟังใครอีกแล้ว อย่างเรื่องรื้อบิ๊กแบ็ค สะท้อนให้เห็นว่าอำนาจนำมันล้มเหลว ที่มันลึกกว่านั้นคือคนมันไม่คุยกัน ไม่มีเวทีจะพูดคุย จะทำอะไรจึงต้องปิดถนน นำไปสู่ความรุนแรง อำนาจนำแบบเดิมๆ ตั้งแต่นาฏรัฐ รัฐราชการ ไปถึงการปฏิวัติของทหาร มันใช้ไม่ได้อีกต่อไป ทหารจะปฏิวัติก็ได้ แต่ปฏิวัติแล้วคุณจะทำอะไร ทหารก็เข้าใจ แต่บางครั้งโดนสั่งมาก็ทำ

จินตนาการ ใหม่นี้ต้องพูดถึงเรื่องการนำเสนอหลักการใหม่ เพราะสังคมตอนนี้ต้องการหลักการใหม่ ต้องการกรอบกติกาใหม่ กติกาที่พร้อมให้คนสามารถสร้างทางเลือกใหม่ในชีวิต ทางเลือกในทางความคิด ซึ่งสังคมไทยอับจนมาก จะพูดอะไรก็ต้องระวัง และทางเลือกในการจัดองค์การสังคม รวมทั้งทางเลือกในการบริหารจัดการความขัดแย้ง สิ่งเหล่านี้ล้วนต้องอาศัยจินตนาการทั้งสิ้น ดังนั้นแล้วจินตนาการทางสังคมจำเป็นต้องมองในทุกมิติทุกสังคม ตั้งแต่ระดับเล็กไปถึงระดับใหญ่


ดร.ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล กล่าวถึงหนังสือ “จินตนาการทางมานุษยวิทยา แล้วย้อนมองสังคมไทย” ของอานันท์ กาญจนพันธุ์ โดยจะหยิบยกสามเรื่องจากหนังสือมาสนทนา และคิดต่อหรือจินตนาการต่อ ได้แก่เรื่องความซ้อน เรื่องพื้นที่ความรู้ และเรื่องจินตนาการ
ประเด็นแรกเรื่องความซ้อน ในหนังสือเล่มนี้ มีการใช้คำว่า “ซ้อน” หลายรูปแบบ เช่น ซับซ้อน เชิงซ้อน กลไกเชิงซ้อน วิธีคิดเชิงซ้อน ทีนี้การซ้อนแปลว่าอะไร เท่าที่อ่านอย่างน้อยถูกใช้ในสามด้าน ด้านแรกคือใช้เมื่อพูดถึงปรากฏการณ์ในโลกปัจจุบัน โดยปรากฏการณ์ที่ซับซ้อนนี้อาจแบ่งได้สามแบบ แบบแรกคล้ายๆ ขนมชั้น คือมีหลายสิ่งในบริเวณเดียวกัน แต่อาจจะไม่ขัดแย้งกัน เช่น วัฒนธรรมลูกผสม หรืออัตลักษณ์ แบบที่สองใช้ในกรณีที่กล่าวถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลายๆ ทิศทางในบริเวณเดียวกัน เช่น การกล่าวถึงพื้นที่ชนบท ที่มีทั้งคนชนบทออกมาในเมือง คนในเมืองกลับไปทำเกษตรในชนบท แบบที่สามคือเรื่องการอ้างสิทธิในพื้นที่เดียวกัน เช่นในป่า รัฐบาลก็จะอ้างสิทธิว่าเป็นอุทยานฯ เป็นสมบัติของชาติ ขณะชาวบ้านที่อยู่มาก่อนก็อ้างสิทธิการอยู่อาศัยมาก่อน วิธีที่ใช้ป่าก็มีความแตกต่างกัน ขณะที่รัฐมองว่าคนอยู่กับป่าไม่ได้ ชาวบ้านมองว่าอยู่ได้
ด้านที่สองคือซ้อนในฐานะที่เป็นวิธีคิด แต่ในหนังสือก็ไม่ได้นิยามว่าวิธีคิดเชิงซ้อนเป็นอย่างไร แต่นิยามในเชิงตรงข้าม คือนิยามว่าวิธีคิดแบบไหนไม่เอา ซึ่งมีสองแบบ หนึ่ง ก็คือไม่ยึดกรอบเดี่ยว และสองคือไม่ติดกับคู่ตรงข้าม มีข้อสังเกตว่าถ้ามองว่าปรากฏการณ์ในโลกปัจจุบันมันมีความซ้อน ทำให้นึกถึงคำที่เคยได้ยิน คือคำว่า Multiple-relationship คล้ายๆ ความสัมพันธ์เชิงซ้อนของอานันท์ แต่เขาพูดถึงสังคมโบราณมาก ที่พูดถึงความสัมพันธ์ของผู้ชายคนหนึ่งกับลูก มันก็เป็นทั้งพ่อ-ลูก, คนที่สอนการล่าสัตว์, สอนการเลี้ยงวัว, เป็นคนทำพิธี, เป็นผู้ปกครอง มันมีหลายมิติซ้อนอยู่ในความสัมพันธ์ ดังนั้นมันก็ซ้อนมาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์แล้ว คำถามคือมันซ้อนต่างจากเดิมอย่างไร
ด้านที่สามคือซ้อนในฐานะยุทธศาสตร์หรือกลวิธีที่ผู้เขียนใช้ เช่น กล่าวว่าเรื่องที่เขียนมัน “ซับซ้อนอยู่สักหน่อย” ต้องตั้งใจอ่าน เป็นกลวิธีให้ผู้อ่านเจริญสติ คือต้องอ่านอย่างมีสมาธิ ไอ้ซ้อนๆ ก็กลัวอ่านไม่รู้เรื่อง ดร.ปริตตาได้ยกตัวอย่างถึงทฤษฎี “ไข่มดแดง” ที่อธิบายความซับซ้อนของความสัมพันธ์เรื่องสิทธิ และประเด็นเรื่องเสียงของบุคคลต่างๆ ในการอ้างสิทธิ
เรื่องที่สอง คือเรื่องพื้นที่ความรู้ เท่าที่เข้าใจคือหมายถึงความรู้ทางมานุษยวิทยาจะเกิดหรือถูกสร้างขึ้นมาได้ อย่างแท้จริง ก็ต่อเมื่อมันมีปฏิบัติการ จะนั่งอ่านหนังสือหรือไปภาคสนามแล้วเอามาเขียนอย่างเดียว ยังมีข้อจำกัดอยู่ สิ่งที่จะเกิดความรู้อย่างแท้จริง และเป็นความรู้ที่เป็นมรรคผลกับคนที่ด้อยโอกาส จะต้องไปร่วมทุกข์ร่วมสุข ร่วมปฏิบัติการ ร่วมรณรงค์ ร่วมต่อสู้ ร่วมหาทางออกด้วย ในกิจกรรมทั้งหมดนี้ บริเวณของการแลกเปลี่ยนกันคือสิ่งที่เรียกว่า “พื้นที่ความรู้” หรือ “พื้นที่สังคม”
ในพื้นที่นี้ ไม่มีใครใหญ่กว่าใคร ทุกคนต้องถอดหัวโขน จะเป็นอาจารย์ เป็นอธิบดี เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ ก็จะต้องมาคุยอย่างเท่าเทียมกัน สองคือจะต้องมีการใช้ภาษา ใช้ความรู้ความคิดที่หลากหลาย ไม่ได้ใช้แต่กระแสหลัก ไม่ใช่ภาษาของราชการ ของนักกฎหมาย แต่เป็นภาษาที่มีการแลกเปลี่ยนกัน สามคือมีการตัดสินใจร่วมกัน สี่คือมีการหาทางออกโดยการจัดการอย่างมีส่วนร่วม
ปริตตาเห็นว่าเรายังต้องช่วยบ่มเพาะความคิด คำอธิบายว่าทั้งหมดนี้มันนำไปสู่อะไร นำไปสู่คำอธิบายใหม่ จินตนาการใหม่ หรือไม่ ชนิดของความรู้มานุษยวิทยาใหม่หรือเปล่า หรือทั้งหมดก็ไม่ต่างจากที่เอ็นจีโอทำมาก่อน และทำเก่งกว่าตั้งเยอะ
เรื่องที่สาม คือเรื่องจินตนาการ คำถามคือจินตนาการหน้าตาเป็นอย่างไร มานุษยวิทยาใช้จินตนาการอย่างไร หรือจินตนาการมานุษยวิทยาแตกต่างจากใครต่อใคร เช่น นักวิทยาศาสตร์ ศิลปิน หรือคนทั่วไปอย่างไร ดร.ปริตตากล่าวถึงงานของ C.Wright Mills ซึ่งเสนอว่าจินตนาการทางสังคมวิทยาคือความสามารถในการที่จะเชื่อมโยงข้อเท็จ จริงที่มีปริมาณมากมายมหาศาล ออกมาเป็นภาพบางอย่างว่าโลกเราหน้าตาเป็นอย่างไร มันจะเคลื่อนไปอย่างไร เราเป็นส่วนไหนของโลก มันกำลังเกิดอะไรขึ้นในโลก และมันจะเกิดอะไรขึ้นกับเรา
Mills ยังกล่าวถึงยุคสมัยที่อยู่ว่าเป็นยุคของความอึดอัด และไม่อยากจะแยแสกับอะไร ในยุคแบบนี้ ที่ยุคที่เราถูกบดบังท่วมท้นด้วยข้อมูล การจะมีจินตนาการสังคมวิทยา จะต้องมี หนึ่ง ความสามารถในการเปลี่ยนมุมมอง จากมุมหนึ่งไปยังอีกมุม สลับไปมาได้ เห็นความเชื่อมโยงระหว่างมุมมอง สองคือมีวิธีคิดใหม่ๆ สาม Trans-valuation คล้ายๆ คือการสร้างวิธีที่จะข้ามขัดแย้งของคุณค่าต่างๆ สร้างวิธีที่จะหาคุณค่าท่ามกลางความขัดแย้งของคุณค่า และสุดท้ายคือการเชื่อมโยงกับปัญหาความทุกข์ยากของบุคคล ซึ่งเป็นเรื่องเฉพาะตัว กับโครงสร้างสังคม ซึ่งเป็นประเด็นสาธารณะ
ช่วงท้าย ปริตตาได้ทดลองเสนอว่าจินตนาการของศิลปิน กับจินตนาการทางมานุษยวิทยามีความใกล้เคียงกัน เวลาศิลปินวาดรูป มันไม่ได้มีภาพชัดๆ มีเป็นคำๆ ทฤษฎี จินตนาการไม่สมบูรณ์ในตัวเอง แต่ในกระบวนการที่เราปั้น เราวาด เราเขียนแต่ละครั้ง มันเป็นการโต้ตอบระหว่างจินตนาการกับปฏิบัติการ ขณะเดียวกันจินตนาการเป็นการโต้ตอบระหว่างตัวเรากับ subject ที่เราถ่ายทอด จินตนาการจึงมีการโต้ตอบกับหลายๆ สิ่ง ไม่ใช่สิ่งสมบูรณ์แต่ต้น  แต่สำหรับนักสังคมวิทยา ภารกิจคือการแสดงให้เห็นว่ามันมีความเปลี่ยนแปลงอะไร กระแสอะไรในโลก แต่มานุษยวิทยาอาจจะอยู่ตรงกลางระหว่างสองอันนี้ ระหว่างจินตนาการที่ Mills พูดถึงระบบพูดถึงโครงสร้าง ให้ภาพรวมใหญ่ๆ กับจินตนาการของศิลปิน ที่จะเจาะจะดึงเอาความรู้สึกของคนออกมา อย่างมีชีวิต อย่างสะเทือนอารมณ์

ดร.สายพิณ ศุพุทธมงคล กล่าวว่าเมื่ออ่านงานอาจารย์ อานันท์และงานของ C.Wright Mills รู้สึกสองอย่าง คือเรื่องแรก รู้สึกถึงเสียงวิพากษ์ โดยเฉพาะการวิพากษ์ว่าการทำงานสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาที่ผ่านมาและกำลัง เป็นอยู่ ว่ามีปัญหาและข้อจำกัดอย่างไร ในกรณีของ Mills ได้วิพากษ์การวิจัยและเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ ซึ่งในช่วงที่ Mills เขียนกำลังสถาปนาอำนาจ และในที่สุดเปลี่ยนทิศทางการวิจัยของสังคมวิทยาในอเมริกาให้เป็นในเชิง ปริมาณ
Mills ยังวิจารณ์ทฤษฎี โดยเฉพาะทฤษฎีใหญ่ Grand Theory ทั้งหลาย อันที่หนึ่งคือพวกนี้เขียนทฤษฎีจนไม่มีใครเข้าใจเลยว่าเขียนอะไร เขียนแล้วต้องแปล สองคือมันใหญ่เกินไป General ทั่วไปเกินไป จนมองไม่เห็น ทำให้ไม่รู้ว่าจะทำอะไร พอมาถึงยุคนี้ Grand Theory มันพินาศไปหมดแล้ว ตอนนี้ที่มีคือตลาดของมโนทัศน์ คล้ายๆ ตำราทางวิชาการ มีมโนทัศน์หลากหลายให้หยิบฉวยมาเลือกใช้ มันจะละเอียดเล็กๆ เช่น เรื่อง Identity ของผู้หญิง ของผู้ชาย ของเด็ก ของคนแก่ ของคนชายชอบ ฯลฯ
ยุคสมัยของเรามันจึงไม่ได้อับจนเรื่องทฤษฎี แต่ถูกทฤษฎีมโนทัศน์ท้วมทับ จนไม่รู้จักอะไรอีกต่อไปแล้ว มันอาจจะมาพร้อมบริบท ที่สังคมตอนนี้ถูกมองว่ามัน fragmented-fluid มันซ้อนไปหมด มโนทัศน์ที่เกิดก็เอาไปจับปรากฏการณ์เล็กๆ เหล่านี้ ปัญหาก็คือมันก็จินตนาการอะไรไม่ออก เพราะมันเล็กเกินไปหรือไม่
Mills ยังพูดว่าตั้งแต่ยุคนั้นแล้ว ที่เป็นเวลาเป็นยุคของความอึดอัด ความเฉยเมย ไม่แยแสว่าคนอื่นจะเป็นอย่างไร เฉื่อยเนือย แต่ขณะเดียวกันคนจำนวนมากก็จะมีอาการรู้สึกกลัดกลุ้ม กระวนกระวาย แต่ไม่เข้าใจว่าไม่พอใจอะไร ปัญหาอันนี้ Mills เห็นว่าทำให้จินตนาการทางสังคมวิทยามีความสำคัญ ถามว่าปรากฏการณ์แบบนี้เกิดขึ้นหรือไม่ในบ้านเรา
สายพิณเห็นว่าจากแวดวงเล็กๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งนักศึกษานักวิจัยก็จะมีปัญหาแบบนี้ มีลักษณะที่เป็นผลมาจากความเข้าใจโลกว่ามันแตกกระจาย แยกเป็นชิ้นเล็กๆ personal is political เรื่องของคนๆ หนึ่งก็เป็นเรื่องทางการเมือง แต่ไม่ได้ชี้ว่าเรื่องการเมืองก็เป็นประเด็นสาธารณะได้ อะไรที่ขาดไป Mills ก็บอกว่าต้องดูประวัติศาสตร์ ว่าแต่ละยุคสมัยมันมีเงื่อนไขที่ทำให้ชีวิตของเขาเป็นแบบนั้น เช่น จะทำความเข้าใจคนทีไปทำศัลยกรรมเสริมความงาม ก็อาจไม่ใช่แค่ไปฟังเสียงของผู้หญิงหรือผู้ชายที่ไปทำ อาจจะต้องมองบริบททางประวัติศาสตร์ ในโลกยุคนี้แล้วความหมายของศัลยกรรมมันเคลื่อนไปแล้ว หรือการทำศัลยกรรมมันไปเกี่ยวข้องกับสถาบันทางสังคม โครงสร้างทางสังคมอย่างไรบ้าง  ถามว่าจินตนาการคืออะไร มันจึงอาจคือวิธีคิด การคิด การเชื่อมโยง โดย “คิด” อาจฟังดูเป็นวิชาการดูซีเรียส แต่ “จินตนาการ”ฟังดูเหลวๆ ฟุ้งๆ ไม่มีรูป
เรื่องที่สอง โจทย์คล้ายๆ ว่าเราจะไปทางไหนกัน ตอนนี้เราต้องทนกับอะไรบ้าง หลายคนพูดถึงระบบราชการ ที่เป็นปัญหามา หรือระบบประกันคุณภาพการศึกษา TQF ที่พูดถึงกัน เป็นภาวการณ์ที่เราต้องทน คำถามคือเราต้องทำอะไร ก็ต้องสอนหนังสือ และทำวิจัยด้วย เมื่ออ่านหนังสือของอ.อานันท์ ก็พบว่าข้อมูลจำนวนมากที่พูดถึง เป็นผลจากการทำงานร่วมกันระหว่างอาจารย์กับนักศึกษา ในยุคนี้ที่มีข้อเรียกร้องในทางวิชาการ ทางสังคมเยอะแยะ คิดว่าเราคงต้องทำงานด้วยกัน อาจารย์ทั้งสองท่านที่พูดก่อนหน้าก็ทำให้รู้สึกว่างานทางมานุษยวิทยามันไม่ ใช่เรื่องที่เรียนรู้ในห้องเรียน ส่วน Mills เสนอว่าการวิจัยทางสังคมศาสตร์มันเป็นงานฝีมือ ตั้งแต่การได้ข้อมูลมา การค้นหาความรู้ การนำเสนอความรู้ นี่คือสิ่งที่ตัวเองเรียนรู้ งานมานุษยวิทยาก็น่าจะเป็นแบบนั้น