ที่มา มติชน เนอร์มาล โกช ผู้สื่อข่าวประจำประเทศไทยของหนังสือพิมพ์ "สเตรทส์ ไทม์ส" ประเทศสิงคโปร์ ได้เปิดเผยผ่านบล็อกของตนเองในเว็บไซต์สเตรทส์ ไทม์ส ว่า เขาเพิ่งได้สัมภาษณ์ "2 แกนนำ" ที่เคยมีบทบาทสำคัญในการเคลื่อนไหวของกลุ่มคนเสื้อแดง ซึ่งไม่ขอเปิดเผยชื่อจริง เพราะปัจจุบัน ทั้งคู่กำลังอยู่ในระหว่างการหลบซ่อนตัว
อย่างไรก็ตาม โกชระบุว่า แกน นำสองคนนี้ คงไม่สามารถเป็นตัวแทนของขบวนการคนเสื้อแดงทั้งหมดได้ เพราะคนเสื้อแดงกลุ่มต่างๆ ได้เข้ามาร่วมขบวนการด้วยวาระทางความคิดอันหลากหลาย เช่นกันกับความแตกต่างทางความคิดของบรรดาแกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อ ต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.)
ประเด็นสำคัญที่ผู้สื่อ ข่าวจากสิงคโปร์นำเสนอก็คือ แกนนำเสื้อแดงทั้งสองรายไม่ได้ปฏิเสธถึงความเชื่อของรัฐบาลชุดปัจจุบัน และ กองทัพ ที่เห็นว่ามีกลุ่มคนเสื้อแดงส่วนหนึ่งซึ่งเป็นภัยคุกคามต่อสถาบันสำคัญของ ชาติ โดยหนึ่งในแกนนำที่ให้สัมภาษณ์กล่าวว่า ความ วิตกกังวลเกี่ยวกับประเด็นนี้ ซึ่งพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก เคยแสดงออกมาผ่านการให้สัมภาษณ์ผ่านกับสื่อมวลชน อาจไม่ใช่ "ปฏิกิริยาตอบโต้คนเสื้อแดงอย่างรุนแรงเกินจริง" (โอเวอร์รีแอ๊ค)
ข้อมูลดังกล่าวดูเหมือนจะขัดแย้งกับ ประสบการณ์ทำงานในภาค สนามของสื่อมวลชนต่างประเทศผู้นี้อยู่บ้าง เพราะโกชระบุว่า คนเสื้อแดงจำนวนมากที่เขาเคยเดินทางไปพบปะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ยังคงติดพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอยู่ที่ฝาผนังบ้าน โดยชาวบ้านเหล่านั้นยืนยันว่าพวกตนยังคงจงรักภักดีและเคารพนับถือในสถาบัน พระมหากษัตริย์
แต่โกชก็ไม่ปฏิเสธว่า เริ่มมีการเขียน "ข้อความไม่บังควร" เกิดขึ้นบ้างในการชุมนุมครั้งหลังๆ ของกลุ่มคนเสื้อแดง
ประเด็นสำคัญต่อมา ที่สองแกนนำเสื้อแดงคู่นี้แสดงความเห็นก็คือ พวกเขายังไม่เชื่อว่าการปฏิวัติโค่นล้มระบอบอำมาตยาธิปไตยโดยคนเสื้อแดงจะประสบความสำเร็จในเร็ววันนี้ โดย ทั้งสองยอมรับว่ามีกองกำลังติดอาวุธในขบวนการเสื้อแดงจริง แต่กองกำลังดังกล่าวมิได้ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อให้มีศักยภาพในการยึดอำนาจรัฐ แต่ถูกจัดตั้งขึ้นมาเพื่อต่อรองอำนาจกับรัฐเพียงเท่านั้น
ทั้ง คู่เชื่อว่า วิถีทางเดียวที่จะทำให้ "การปฏิวัติประชาชน" ประสบความสำเร็จ ก็ได้แก่การก้าวข้ามพ้นจากเงาของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เพราะในขณะที่ขบวนการเสื้อแดงเติบโตขึ้นเกินกว่าการต่อสู้เพื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ เพียงคนเดียว แต่กลับยังไม่มี "ผู้นำทางเลือก" คนอื่นๆ ที่มีความน่าเชื่อถือ ถือกำเนิดขึ้นตามมา คล้ายกันกับการที่พรรคเพื่อไทยต้องประสบความล้มเหลวจากการไร้ซึ่งผู้นำที่จะ พอมีศักยภาพเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไปได้
ประเด็นน่าสนใจข้อสุดท้าย ที่ผู้สื่อข่าวสเตรทส์ ไทม์ส ถามแกนนำเสื้อแดงทั้งสองคน ก็คือ "ทั้งคู่คิดว่าตนเองเป็นพวกสาธารณรัฐนิยมหรือไม่?"
แกนนำคนหนึ่งไม่ยอมตอบคำถามดังกล่าว ขณะที่อีกคนยืนกรานปฏิเสธว่า ตน เองไม่ได้ต้องการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองของประเทศไทยให้กลายเป็น สาธารณรัฐ เขาเพียงแต่ต้องการให้อำนาจในสังคมไทยอยู่ในมือของ "กลุ่มอำนาจเดิม" น้อยลง และถูกโอนย้ายมาอยู่ที่ฝ่ายประชาชนมากขึ้นเท่านั้น
5 ปีหลังรัฐประหาร
ซื้อ7หมื่น3-คืนทุนแล้ว 6หมื่นห้า!!
เวลา ตลาดหุ้นไทยขยับตัวสูงขึ้น ดูเหมือนว่ารัฐบาล โดยเฉพาะนายกรณ์ จาติวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จะตีปีก ว่าเป็นผลงาน เป็นความเชื่อมั่นที่นักลงทุนมีต่อรัฐบาล
ทั้งๆที่ในความเป็นจริง ตลาดหุ้นไทยนั้นปรับตัวเพิ่มขึ้น ล้วนแล้วแต่เป็นผลมาจากการที่มีเม็ดเงินทุนต่างประเทศไหลเข้ามา เพื่อเก็งกำไรค่าเงินบาท และเก็งกำไรในตลาดหุ้นของไทยเป็นหลัก
เนื่อง จากการลงทุนในสหรัฐ และในยุโรป อยู่ในภาวะที่ไม่เพียงยากที่จะทำกำไร แต่ยังมีความเสี่ยงสูงอีกด้วย เพราะการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของสหรัฐและในยุโรปยังไม่คลี่คลาย สหรัฐยังคงมีการพิมพ์ธนบัตรดอลลาร์ออกมาเพิ่มขึ้นตลอดเวลา จนทำให้ค่าเงินดอลลาร์อ่อนตัวลง เป็นผลให้ค่าเงินของประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศไทย มีค่าเงินที่แข็งค่าขึ้นไปเรื่อยๆ
เมื่อ นักลงทุนเห็นว่าทิศทางค่าเงินบาทของไทยอ่านเกมง่าย เนื่องจากรัฐบาลไทยซึ่งมีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี มักจะเลือกทำตัวเป็น “Good Boy” ในสายตาของรัฐบาลสหรัฐในแทบทุกเรื่อง แม้กระทั่งการกระตือรือล้นรีบส่งตัวนายวิคเตอร์ บูท อย่าทันอกทันใจอเมริกา จนแม้แต่ภรรยาของวิคเตอร์ บูท ยังมาร่ำลาสามีไม่ทัน
ดังนั้นเมื่อ รัฐบาลอภิสิทธิ์ เลือกที่จะเล่นบทเป็นเด็กดีให้สหรัฐพอใจเช่นนี้ การแข็งขึ้นของค่าเงินบาท จึงเป็นเรื่องที่บรรดากองทุนต่างชาติ และนักลงทุนต่างประเทศอ่านได้ไม่ยาก จึงมีเงินทุนไหลเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทยเป็นจำนวนมาก เนื่องจากได้ 2 เด้งง 3 เด้ง ทั้งกำไรค่าเงินบาท กำไรจากอัตราดอกเบี้ยไทยที่สูงกว่าดอกเบี้ยในสหรัฐและในอังกฤษ ซ้ำยังมีกำไรจากแคปปิตอล เกน จากดการที่ตลาดหุ้นไทยปรับตัวสูงขึ้น เพราะมีเงินทุนต่างชาติไหลเข้ามา
ซึ่งรัฐมนตรีคลัง นายกรัฐมนตรี แะ ครม.ของไทย ก็พากันเป็นปลื้มเอาดื้อๆว่าเป็นเพราะผลงานของรัฐบาลทำให้ตลาดหุ้นไทยปรับตัวสูงขึ้น
แต่ การที่ดัชนีหุ้นไทยร่วงหนักติดๆกันในรอบนี้ เป็นการสะท้อนได้อย่างชัดเจนว่าที่ผ่านมา ตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นเพราะเงินทุนไหลเข้าไม่ใช่เพราะฝีมือรัฐบาลนาย อภิสิทธิ์ เนื่องจากว่าพอต่างชาติพร้อมใจกันเทขาย เพราะเกิดความกังวลว่าประเทศจีนเตรียมขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อคุมเงินเฟ้อ
รวม ถึงความวิตกในเรื่องปัญหาหนี้ในยุโรป ส่งผลให้มีแรงเทขายหุ้นออกมาทั่วภูมิภาคเอเซีย ดัชนีหุ้นของไทยจึงร่วงทะลุระดับดัชนี 1,000 ขุด ลงมาแอ้งแม้ง ที่ 990.13 จุด ต่ำกว่าระดับพันจุดไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
เพราะในวันที่ 16 พฤศจิกายน ต่างชาติมีการขายหุ้นไทยเป็นจำนวน 5,515.76 ล้านบาท ในขณะที่วันที่ 17 พย. ต่างชาติก็ยังคงมีการขายหุ้นไทยทิ้งออกมาอย่างต่อเนื่องอีก 6,415.83 ล้านบาท หุ้นไทยจึงยืนไม่อยู่
ฉะนั้นจึงเป็นข้อพิสูจน์ได้อย่าง ชัดเจนว่า ที่ผ่านมาหุ้นขึ้นไม่ใช่เพราะฝีมือของนายกรณ์ นายอภิสิทธิ์ แต่ขึ้นเพราะเงินทุนไหลเข้ามาจำนวนมาก ดังนั้นเมื่อต่างชาติเทขายหุ้น จึงทำให้ดัชนีหุ้นไทยร่างลงมาต่ำกว่า 1,000 จุดอย่างที่เห็น
อย่างไร ก็ตามในความเป็นจริงอีกประการหนึ่งที่ตลาดหุ้นไทยช่วงที่ผ่านมามี การปรับตัวสูงขึ้น ก็เป็นเพราะความแข็งแกร่งของบรรดาบริษัทในตลาดหุ้นเอง ไม่ใช่เพราะผลงานของรัฐบาล
โดยนายจรัมพร โชติกเสถียร กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวถึงการที่ดัชนีราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯ ลดลงในช่วงที่ผ่านมา ปัจจัยหลักเกิดจากความกังวลเกี่ยวกับปัจจัยภายนอกที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ ทั้งมาตรการที่ดูแลเกี่ยวกับค่าเงินในเอเชีย รวมทั้งความวิตกเกี่ยวกับการแก้ปัญหาหนี้ในยุโรป ซึ่งมีผลกระทบต่อตลาดหลักทรัพย์ในหลายภูมิภาค ไม่เฉพาะตลาดหุ้นไทยเท่านั้น
ทั้ง นี้ พื้นฐานของตลาดหลักทรัพย์ไทยยังคงมีความน่าสนใจ โดยเฉพาะผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในภาพรวมของไตรมาส 3 ของปีนี้ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วเพิ่มขึ้นถึง 25% และหากเทียบกับไตรมาส 2 ที่ผ่านมาเพิ่มขึ้น 17%
ดังนั้นจึงขอให้ ผู้ลงทุนมั่นใจในพื้นฐานที่แข็งแกร่งของบริษัทจดทะเบียน ซึ่งยังคงมีโอกาสที่ดี สำหรับผู้ที่ต้องการหาผลตอบแทนจากการลงทุน นอกจากนี้ ในช่วงนี้ยังเป็นช่วงที่ยังมีเม็ดเงินเข้ามาในตลาดหลักทรัพย์ เพื่อลงทุนในกองทุนรวม LTF และ RMF จึงถือเป็นจังหวะที่ผู้ลงทุนจะเลือกตัดสินใจลงทุนได้
นี่จึงเป็นอีกประจักษ์พยานหนึ่งที่ชัดเจนว่า ที่ผ่านมาหุ้นไทยขึ้นเพราะอะไร ขึ้นเพราะฝีมือรัฐบาลชุดนี้จริงๆหรือ???
ที่ สำคัญ ในอดีตที่ผ่านมา โดยเฉพาะปัญหาการขัดแย้งทางการเมือง การปลุกเร้ากลุ่มม็อบพันธมิตร รวมทั้งการทำรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ต่างหากที่ทำให้ตลาดหุ้นไทยมีปัญหา
และยังทำให้เกิดผลกระทบทางธุรกิจ ตามมาสารพัด อย่างเช่นกรณีของกลุ่มชิน ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งตกเป็นเหยื่อเกมการเมือง เกมปลุกเร้าม็อบของกลุ่มพันธมิตร
แต่จะเห็นว่าล่าสุด นายสมประสงค์ บุญยะชัย กรรมการ บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงผลประกอบการประจำไตรมาส 3 ปี 2553 ว่า บริษัทมีผลกำไรส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นบริษัทใหญ่ 1,844.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 16.8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากส่วนแบ่งกำไรในบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส เพิ่มขึ้น 25.2%
ดังนั้น คณะกรรมการบริษัทมีมติวันที่ 11 พฤศจิกายนที่ผ่านมา อนุมัติจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลเป็นกรณีพิเศษจากกำไรสะสมในอัตรา 2.37 บาทต่อหุ้น รวมเป็นจำนวนเงิน 7,586 ล้านบาท ซึ่งเป็นการจ่ายจากเงินปันผลพิเศษที่บริษัทจะได้รับจากเอไอเอส ในอัตราหุ้นละ 6.00 บาท กำหนดปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหุ้น 26 พฤศจิกายนนี้ และจ่ายปันผลในวันที่ 9 ธันวาคมนี้
ซึ่งจากการรวบรวมผลประกอบการใน ช่วงไตรมาส 3 ของกลุ่มชินฯ 4 บริษัท คือ ชินฯ เอไอเอส บริษัทไทยคม จำกัด(มหาชน) และ บริษัท ซีเอส ล็อกซอินโฟ จำกัด (มหาชน) พบว่ามีกำไรสุทธิรวม 6,496.72 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10.24% จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยเอไอเอส มีกำไรสุทธิ 4,892.02 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 16.9% ชินฯกำไร 1,844.50 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 16.8% ไทยคม ขาดทุน 313.26 ล้านบาท ลดลง 716.89% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไร 50.78 ล้านบาท และซีเอสฯ มีกำไร 73.46 ล้านบาท ลดลง 6.97% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
และบริษัทชินฯและเอไอเอสได้มีการจ่ายเงิน ปันผลพิเศษเป็นครั้งที่ 2 หลังจากที่ไม่ได้มีการลงทุนโครงการ 3 จี ส่งผลให้กลุ่มเทมาเส็ก สิงคโปร์ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ได้รับเงินปันผลจำนวนมาก
โดยหากนับ ตั้งแต่ปี 2549 ที่กลุ่มเทมาเส็ก เข้ามาถือหุ้นใหญ่ในชินฯโดยการซื้อหุ้นจากครอบครัว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ผ่านบริษัท ซีดาร์ โฮลดิ้งส์ จำกัด ( 54.43%) และบริษัท แอสเพน โฮลดิ้งส์ จำกัด (41.68%) รวมเป็นสัดส่วน 96.11% กลุ่มเทมาเส็กฯได้รับเงินปันผลจากบริษัทชินฯแล้ว 11.8 บาทต่อหุ้น รวมเงินปันผลพิเศษครั้งล่าสุด 2.37 บาทรวมเป็น 14.17 บาทต่อหุ้น คิดเป็นมูลค่า 43,597.71 ล้านบาท
นอกจากนี้ ยังได้รับเงินปันผลทางอ้อมจากการปันผลของเอสไอเอส ผ่าน SINGTEL STRATEGIC INVESTMENTS PTE LTD. ซึ่งถือหุ้นเอไอเอสอยู่ 568,000,000 หุ้น หรือ 19.14% อีก 33.2 บาทต่อหุ้น รวมปันผลพิเศษครั้งนี้อีก 6 บาท รวมเป็น 39.2 บาทต่อหุ้น คิดเป็นมูลค่า 22,265.60 ล้านบาท
รวมเงินปันผลที่กลุ่ม เทมาเส็กได้รับจากการลงทุนใน 2 บริษัทตั้งแต่ปี 2549 จนถึงปัจจุบัน ประมาณ 65,863.31 ล้านบาท จากวงเงินที่ใช้ในการซื้อชินคอร์ปจาก ครอบครัวชินวัตร ทั้งสิ้น 73,000 ล้านบาท
เท่ากับว่าระยะเวลาประมาณ 5 ปี กลุ่มเทมาเส็กก็แทบจะคืนทุนได้แล้วจากเงินปันผลที่ได้รับ โดยที่ไม่ต้องทำอะไร และไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยววุ่นวายกับธุรกิจอย่างที่กลุ่มขั้วอำนาจที่ชิงอำนาจ ทางการเมืองมาได้หลังรัฐประหาร 19 กันยายน 49 พยายามกล่าวอ้างว่า การขายหุ้นในครั้งนั้นไม่ใช่เป็นเรื่องของธุรกิจปกติ แต่เป็นการขายชาตินั้น ล้วนแล้วแต่เป็นเกมทำลายล้างกันทางการเมืองทั้งสิ้น
เพราะมาวันนี้ ผลประกอบการและการได้รับเงินปันผล ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า ที่กลุ่มเทมาเส็กตัดสินใจซื้อหุ้นชินในครั้งนั้น เป็นการมองเฉพาะอนาคตทางธุรกิจเป็นหลัก
ไม่ได้คิดจะฮุบหรือครอบงำ อะไรอย่างที่มีการพยายามกล่าวหาเลย เพราะ 5 ปีที่ผ่านมาก็เห็นแล้วว่ากลุ่มเทมาเส็กไม่ได้ดิ้นรนทำอะไรเลย รับแต่เงินปันผลเท่านั้นเอง