WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, August 12, 2011

"ดนุพร ปุณณกันต์-แซม ยุรนันท์"แต่งตัวรอ จ่อเป็นส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ เปิดชื่อใครบ้างมีสิทธิ์ลุ้นส.ส.ใหม่

ที่มา มติชน

วันที่ 12 สิงหาคม นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังการประชุมที่พรรคเพื่อไทยในช่วงบ่ายว่า กรณีมีข่าวว่า ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย ที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี จะลาออกจากการเป็น ส.ส.ว่า เป็นเรื่องจริง แต่ยังไม่สามารถระบุจำนวนที่แน่ชัดได้ คาดว่ามีจำนวนไม่น้อย โดยจะมีการหารือเรื่องนี้อีกครั้ง และพรรคมีข้อกำหนดภายในอยู่แล้วว่า หาก ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อได้เป็นรัฐมนตรี ลาออกจากตำแหน่ง เพื่อให้ ส.ส.บัญชีรายชื่อลำดับถัดไปเข้ามาทำหน้าที่

ปัจจุบัน โควต้ารัฐมนตรี 35 ที่นั่ง ปัจจุบันเป็นรัฐมนตรีของพรรคเพื่อไทย 30 ที่นั่ง ถ้ารัฐมนตรีลาออกจากส.ส. ย่อมทำให้ส.ส.บัญชีรายชื่อถัดไปได้เป็นส.ส. ทันที

ลองมาดูรายชื่อว่าที่ส.ส. พรรคเพื่อไทย

ล่าสุด ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ พรรคเพื่อไทย อยู่ที่อันดับที่ 61 คือ นายประวัฒน์ อุตโมท

ถ้ามีรัฐมนตรีลาออกจาก ส.ส. 10 คน จะมีส.ส.ใหม่ ดังนี้

62. นายดนุพร ปุณณกันต์

63. นายยุรนันท์ ภมรมนตรี

64. นางบุศริณธญ์ วรพัฒนานันท์

65. นายกิตติศักดิ์ หัตถสงเคราะห์ รมช. กระทรวงคมนาคม

66. นางอุดมรัตน์ อาภรณ์รัตน์

67. นายชวลิต วิชยสุทธิ์

68. นายธวัชชัย สุทธิบงกช

69. นายทวีศักดิ์ อนรรฆพันธ์

70. นายสรรพภัญญู ศิริไปล์

ถ้าลาออก 20 ว่าที่ส.ส. ใหม่ มีรายชื่อต่อไปนี้

71. นางมาลินี อินฉัตร

72. นายชินวัฒน์ หาบุญพาด

73 . นายเอกธนัช อินทร์รอด

74 . นายถิรชัย วุฒิธรรม

75. นายสมเกียรติ ศรลัมพ์

76. นายอับดุลเร๊าะมาน อับดุลสมัด

77. นายชนะศักดิ์ อัตถาวงศ์


78. นายกมล บันไดเพชร

79. นางฉวีวรรณ คลังแสง

80. นายโสภณ เพชรสว่าง

ยัดข้อหามั่วไร้หลักฐานคอป.พบ53ผู้ต้องหาเสื้อแดงถูกขังเกินจำเป็น

ที่มา thaifreenews

โดย bozo



คอป. เผยตรวจสอบพบผู้ต้องหาเสื้อแดงที่ถูกจับกุม 53 ราย
ที่ถูกตั้งข้อหาเกินเลยจากความเป็นจริงทั้งที่ไร้พยานหลักฐานยืนยันความผิด
ซึ่งเป็นเพราะตำรวจ อัยการถูกกดดันการทำงานจากผู้คุมนโยบาย
ระบุมีการจับกุมแบบเหวี่ยงแหทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด
ชี้ความไม่เท่าเทียมกันในกระบวนการยุติธรรมทำให้ผู้ชุมนุมยังเกิดความรู้สึกโกรธแค้น
เพราะถูกกระทำอยู่ฝ่ายเดียว ขณะที่ฝ่ายเจ้าหน้าที่รัฐยังไม่มีใครถูกดำเนินคดี
ขณะที่ผู้อยู่ในเรือนจำร้อยละ 10 อยู่ในภาวะเครียด และมี 2 รายเสี่ยงฆ่าตัวตาย
เตรียมทำรายงานฉบับที่ 2 เสนอต่อรัฐบาล พร้อมแนบแนวทางให้ปฏิบัติเพื่อเกิดความสมานฉันท์ปรองดอง

วันที่ 11 ส.ค. 2554 ที่โรงแรมรามาการ์เด้นส์ คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริง
เพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) จัดเสวนา
เรื่อง “การเยียวยาและฟื้นฟูผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรงตามหลักสากล”
เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากนักวิชาการ นักกฎหมาย และผู้แทนองค์กรต่างประเทศ

นพ.รณชัย คงสกนธ์ ประธานอนุกรรมการการเยียวยา ฟื้นฟู และป้องกันความรุนแรง กล่าวว่า
จากการลงพื้นที่สำรวจประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองพบว่า
คนเหล่านี้ยังมีปัญหาเรื่องการได้รับการเยียวยาตามหลักสากลอยู่ แม้เหตุการณ์จะผ่านมานานแล้ว

ยังไม่ได้รับเยียวยาที่เหมาะสม

“ทหาร ตำรวจจำนวนมากที่ปฏิบัติหน้าที่ในวันเกิดเหตุยังมีความเครียด
และภาพเหตุการณ์ยังฝังอยู่ในความทรงจำ กลุ่มยังไม่ได้รับการเยียวยาด้านจิตใจ
ขณะที่กลุ่มผู้ค้า 643 รายร้องเรียนว่าพวกเขายังไม่ได้รับการเยียวยาความเสียหาย
ส่วนชุมชนและโรงเรียนที่ได้รับผลกระทบยังไม่ได้รับค่าชดเชยที่ควรจะได้”

นพ.รณชัยกล่าวอีกว่า ในส่วนของผู้ชุมนุมมีผู้ถูกคุมขังอยู่ 105 คน
การลงพื้นที่ล่าสุดเมื่อวันที่ 22 ก.ค. ที่ผ่านมาพบว่าร้อยละ 10 มีอาการเครียดมาก
และพบว่ามี 2 คนมีแนวโน้มอยากฆ่าตัวตาย

เสนอรัฐบาลทำ 8 ข้อเบื้องต้น

ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการการเยียวยาฯมีข้อเสนอแนะเบื้องต้น
ให้รัฐบาลใหม่เร่งดำเนินการ 8 ข้อ ประกอบด้วย
1.ต้องเยียวยา ฟื้นฟูอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะมีส่วนช่วยในการสร้างความสมานฉันท์ปรองดอง

2.ต้องเร่งตั้งองค์กรขึ้นมาทำหน้าที่บริหารจัดการงบประมาณเยียวยาที่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง
เพราะผู้ได้รับผลกระทบมีความเดือดร้อนมาก เช่น
ผู้ถูกจับกุมบางรายญาติต้องไปกู้เงินนอกระบบดอกเบี้ยแพงมาเพื่อใช้ประกันตัว

3.รัฐบาลควรประเมินตัวเลขความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจอย่างแท้จริง
รวมถึงประเมินผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์และครอบครัว

4.รัฐบาลควรขยายขอบเขตการเยียวยา ฟื้นฟูแต่ละกลุ่มอย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม

จี้เผยแพร่ข้อเท็จจริงต่อผู้ได้รับผลกระทบ

5.ต้องจัดทำข้อเท็จจริงเผยแพร่ไปยังผู้ที่ได้รับผลกระทบ เพื่อให้เกิดทัศนคติที่ดี ให้อภัย
เกิดความเห็นใจ รวมถึงจัดกิจกรรมเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ให้กับทุกฝ่าย

6.เร่งช่วยเหลือผู้ที่ถูกคุมขังตามแนวทางของกฎหมาย
เพราะบางรายมีภาวะของความเครียด ซึมเศร้า และมีแนวโน้มจะฆ่าตัวตาย

7.รัฐบาลต้องเร่งรัดการประกันสิทธิผู้ที่ถูกคุมขัง รวมถึงตรวจสอบและจำแนกโทษที่แท้จริง

8.ควรประสานความร่วมมือไปยังองค์กร หน่วยงาน และทุกภาคส่วน เพื่อบูรณาการการแก้ปัญหา
โดยให้มีองค์กรกลางที่ดูเรื่องข้อพิพาททางการเมืองขึ้นมาป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นอีกในอนาคต
เพื่อให้การทำงานเกิดขึ้นเป็นรูปธรรม

53 เสื้อแดงถูกตั้งข้อหาเกินเลย

นายสมชาย หอมลออ กรรมการ คอป. กล่าวว่า การตรวจสอบในด้านกฎหมายนั้นพบว่า 53 คน
ถูกคุมขังด้วยข้อหาที่เกินกว่าความเป็นจริง
โดยมีข้อหาหนักคือ ก่อการร้ายและวางเพลิง มีอัตราโทษถึงประหารชีวิต

“จากการตรวจสอบพบว่าการตั้งข้อกล่าวหาของพนักงานสอบสวนและอัยการ
ได้รับแรงกดดันจากผู้กำหนดนโยบาย
ทั้งที่บางเรื่องไม่สามารถมีพยานหลักฐานพิสูจน์ความผิดได้
การจับกุมก็ทำในลักษณะเหวี่ยงแหทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด”

ยังโกรธแค้นเพราะยังไม่เป็นธรรม

นายสมชายกล่าวอีกว่า ที่ความรู้สึกโกรธแค้นของผู้ชุมนุมยังดำรงอยู่
เพราะเขารู้สึกว่าเป็นผู้ถูกกระทำอยู่ฝ่ายเดียว
และไม่ได้รับความเป็นธรรมในกระบวนการยุติธรรม
โดยเฉพาะกรณีที่เจ้าหน้าที่รัฐที่เชื่อว่า
มีส่วนกระทำความผิดด้วยไม่มากก็น้อยยังไม่มีใครถูกดำเนินคดี

“ธาริต” ไม่มีผลต่อความปรองดอง

นายคณิต ณ นคร ประธาน คอป. กล่าวถึงข้อเรียกร้องของคนเสื้อแดง
ให้ปลดนายธาริต เพ็งดิษฐ์ ออกจากตำแหน่งอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ว่า
คอป. ไม่ขอก้าวล่วง อย่างไรก็ตาม ส่วนตัวเห็นว่า
การจะอยู่หรือไม่อยู่ในตำแหน่งอธิบดีดีเอสไอของนายธาริตไม่เกี่ยวข้องกับการสร้างความปรองดอง
เพราะนายธาริตมีสถานะเป็นเพียงฝ่ายสืบสวนสอบสวนเท่านั้น

เตรียมชงรายงานฉบับ 2 ให้รัฐบาลใหม่

ผู้สื่อข่าวถามว่าการที่พรรคเพื่อไทยเข้ามาเป็นรัฐบาล
จะทำให้ คอป. ทำงานได้ง่ายขึ้นหรือไม่
เพราะก่อนหน้านี้ไม่ค่อยได้รับความร่วมมือในการให้ข้อมูลจากหน่วยงานราชการ
นายคณิตกล่าวว่า ไม่เกี่ยวกับใครมาเป็นรัฐบาล การทำงานของ คอป.
ที่ผ่านมาพิสูจน์ให้ประชาชนเห็นแล้วการร่วมมือกับ คอป. เป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายควรกระทำ
เพราะจะทำให้บ้านเมืองมีสติมากขึ้น

“เร็วๆนี้ คอป. จะทำรายงานฉบับที่ 2 เสนอต่อรัฐบาล
พร้อมกับมีข้อเสนอให้ไปปฏิบัติเพื่อให้งานต่างๆออกมาเป็นรูปธรรม”



http://www.dailyworldtoday.com/newsblank.php?news_id=11702

กระแส หยามหมิ่น ครม. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กระแส "เมอร์ลิน"

ที่มา มติชน



(ที่มา หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับประจำวันที่ 12 สิงหาคม 2554)


ยิ่งดาหน้ากันออกมาสบประมาทมากเพียงใด ไม่ว่าจะมาจาก นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ไม่ว่าจะมาจากนายกรณ์ จาติกวณิช ต่อ ครม.ของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ยิ่งจะเป็นเรื่องดี

ไม่เพราะเพียง 1 หวานเป็นลม ขมเป็นยา

หากที่สำคัญเป็นอย่างมากอีก 1 คือ การประเมินต่ำ ย่อมนำไปสู่การคาดหวังต่ำ และจะกลับกลายเป็นโอกาส

หากแท้จริงแล้ว คุณภาพของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มิได้เป็นอย่างที่ถูกประเมิน

หาก แท้จริงแล้ว พิมพ์เขียวอันกำหนดผ่านแนวทางนโยบายพรรคเพื่อไทยได้ประมวลความจัดเจนมา ตั้งแต่ยุคพรรคไทยรักไทย (2543-2550) ได้ประมวลความจัดเจนมาตั้งแต่ยุคพรรคพลังประชาชน (2550-2551)

การถูกสบประมาทแม้เป็นเรื่องไม่ดี แม้เป็นเรื่องมิอาจทำใจให้ยอมรับได้ แต่อย่าลืมภาษิตโบราณที่ว่า "หวานเป็นลม ขมเป็นยา" อย่าลืมคำขวัญในวัยเยาว์ของนักเรียนแต่ละคน "ศัตรูคือยาชูกำลัง" อย่างเด็ดขาด

ยิ่งถูกสบประมาทยิ่งทำให้มีสติ ขณะเดียวกัน ก็แปรคำสบประมาทให้กลายเป็นพลังในการขับเคลื่อนการทำงานให้บรรลุเป้าหมาย

ขอให้ศึกษากระบวนการของเมอร์ลิน ขอให้ศึกษากระบวนการของไกอัส

ต้องยอมรับว่า ทั้ง ไกอัส และ เมอร์ลิน เป็นคนในยุคของกษัตริย์อูเธอร์ ผู้ปกครองคาเมล็อตและเป็นบิดาของกษัตริย์อาเธอร์

กษัตริย์อาเธอร์ซึ่งสถาปนาอัศวินแห่งโต๊ะกลมขึ้นมา

ไกอัส เป็นคนรู้เวทมนตร์ แต่เนื่องจากอยู่ในคาเมล็อตซึ่งกษัตริย์อูเธอร์เป็นปฏิปักษ์อย่างรุนแรงกับประดาพ่อมดนักเล่นรสายนเวททั้งหลาย

ทำให้ไกอัสจำเป็นต้องงำประกาย

แทนที่จะสำแดงตนว่ามีเวทมนตร์ แทนที่จะยอมรับว่าตนเป็นหมอผี ตรงกันข้าม ไกอัสเรียกตนเองว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์

ใช้วิทยาศาสตร์ในการรักษา เยียวยา และช่วยเหลือคนในฐานะ "หมอหลวง"

ไกอัส
รับรู้ความเป็นจริงว่า เมอร์ลิน คือคู่บุญในการสร้างความยิ่งใหญ่ให้กับกษัตริย์อาเธอร์ นั่นก็คือ รับรู้ในความสามารถทางด้านเวทมนตร์ของเมอร์ลิน แต่ด้วยความจัดเจนอันยาวนานเขาเรียกร้องให้เมอร์ลินงำประกาย

งำประกายในฐานะนักวิทยาศาสตร์ งำประกายในฐานะคนรับใช้กษัตริย์อาเธอร์

กระบวนการงำประกายของทั้งไกอัสและเมอร์ลิน เป็นกระบวนการอันผ่านการหล่อหลอมภายใต้สถานการณ์อันเลวร้ายมากมาย

ที่สำคัญก็คือ สถานการณ์หมิ่นหยามดูแคลน

ไม่มีอะไรเจ็บปวดเท่ากับคนเก่งกล้าสามารถดูหมิ่นหยามดูแคลน ไม่มีอะไรเจ็บปวดเท่ากับคนเฉลียวฉลาดถูกหมิ่นหยามดูแคลน

แต่ความเจ็บปวดจะค่อยผ่อนคลายหากดำรงอยู่อย่างเข้าใจสถานการณ์

เข้าใจสถานการณ์เหมือนกับท่านหานซิ่นในรุ่นหนุ่มยอมให้อันธพาลประจำหมู่บ้านหยามหมิ่นไยไพ

ยอมถึงระนาบที่ลอดใต้หว่างขาของคนพาลสันดานหยาบเหล่านั้น

อย่าได้แปลกใจหากในกาลต่อมา หานซิ่นคือแม่ทัพใหญ่ของเล่าปัง เป็นบุรุษซึ่งมีส่วนอย่างสำคัญในการร่วมสถาปนาเล่าปังขึ้นเป็นพระเจ้าฮั่นโกโจ

หานซิ่นเจ็บปวดเช่นใด ไกอัสและเมอร์ลินก็เจ็บปวดเช่นนั้น

ไกอัสอาจงำประกายใต้ความสุขุม เยือกเย็นเพราะอาวุโสอย่างยิ่ง ขณะที่เมอร์ลินยังเยาวเรศรุ่นเจริญศรี เมื่อประสบกับการหยามหมิ่นจากผู้คนไม่เว้นแม้แต่อาเธอร์ซึ่งเป็นเจ้านายโดยตรง แต่ก็ค่อยๆ ผ่านแต่ละด่านมาด้วยความยากลำบาก

ที่สำคัญก็คือ ทำให้อีกฝ่ายไม่รู้ความเฉลียวฉลาดสามารถที่เป็นจริงอันดำรงอยู่

เมื่อ อีกฝ่ายประมาทมึนชา และมองไม่เห็น ไม่สามารถรับรู้ถึงสภาพความเป็นจริงอันเข้มแข็ง เกรียงไกร ความเฉลียวฉลาด และความสามารถที่มีอยู่

จึงไม่ยากเลยที่จะสำแดงฝีมือและผลงานให้เป็นที่ประจักษ์ในเวลาอันเหมาะสม

ปล่อยให้ปรปักษ์หยามหมิ่นดูแคลนไปเถิด ปล่อยให้เสียงเยาะเย้ยดังขึ้นอย่างกึกก้องรอบข้าง

ที่สำคัญ ภายใน ครม.ของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มากด้วยความสามารถ มากด้วยพลังขับเคลื่อนอย่างเป็นทีมเวิร์กและด้วยความเป็นเอกภาพหนึ่งเดียวแท้จริงหรือไม่

"กึ๋น" ตรงนี้ต่างหากที่จำเป็นต้องสำแดงออกมาและตบปากที่หยามหยันอย่างมีพลัง

งามไส้อีกแล้วกองทัพบกถึงคิวเรือเหาะร่วงตามฮ.

ที่มา Thai E-News



โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
12 สิงหาคม 2554


เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 11 สิงหาคม เรือเหาะชือ " มังกรผงาดฟ้า" เรือเหาะแสนอื้อฉาว ได้ร่วงอีกหนึ่งลำที่อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี โดยไม่มีการรายงานข่าวใดๆ ทั้งสิ้นในสื่อมวลชนกระแสหลัก ยกเว้น มีรายงานข่าวภาษาอังกฤษ หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์

เหตุเกิดตอนราว 11.00 น.เมื่อเกิดเหตุขัดข้องกะทันหันและต้องนำลงจอดฉุกเฉิน จนใบพัดกับเครื่องยนต์และส่วนท้องเรือเหาะกระแทกกับพื้นได้รับความเสียหาย บางส่วน

แม่ทัพภาคที่ 4 พลโทอุดมชัย ธรรมสาโรจน์ ยอมรับเพียงว่าเรือเหาะลำดังกล่าว"ลงจอดฉุกเฉิน"ไม่มีใครบาดเจ็บจากการนี้ และเรือเหาะเสียหายไปเพียงเล็กน้อย ประเดี๋ยวช่างของกองทัพก็จะซ่อมได้

แต่กองทัพบกต้องจ่ายเงินซ่อมเอง เพราะประกันหมดอายุไปแล้วตั้งแต่วันที่ 23 กรกฎาคมที่ผ่านมา
ภาพขำๆ ที่เด็กปัตตานี เรียก ..ขี่ UFO จับตั๊กแตน (ภาพ:Internet Freedom)

กองทัพบกซื้อเรือเหาะมาใช้บินตรวจการณ์เหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และมีปัญหาอื้อฉาวมาตั้งแต่ต้นนับตั้งแต่ว่ามันบินขึ้นไปไม่ได้ หรือไร้ประสิทธิภาพ จากนั้นก็เต็มไปด้วยข่าวอื้อฉาวการคอรัปชั่นในการจัดซื้อ

คุณดวงจำปา ได้วิพากษ์วิจารณ์กรณีดังกล่าวใน บอร์ดInternet Freedomว่า เราไม่สามารถสะกัดกั้น การโพสต์สั้นๆ อีกเรื่องหนึ่ง เกี่ยวกับ เรือเหาะอันแสนอาภัพของกองทัพบกไทย มันได้ “ร่วง” ลงมาอีกหนึ่งลำแล้ว

เอาละ, มันเป็นการลงจอดสู่พื้นดินแบบฉุกเฉินซึ่งมีการควบคุม, เนื่องจากความเสียหายต่อตัวเรือเหาะ

แต่สำหรับผู้สังเกตการณ์เกือบทุกคนนั้น มีความเห็นว่า มันก็คือ การ “ร่วง” นั่นเอง

หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ ได้ ลงข่าวในเรื่องนี้ไว้ เรื่องของความล้มเหลวและความสิ้นหวังนี้ได้เกิดขึ้นมานานพอสมควรแล้ว เป็นการเสียเงินไปโดยเปล่าประโยชน์เหมือนกับการตำน้ำพริกไปละลายในแม่น้ำ

เรือเหาะที่เรียกชื่อว่า “มังกรผงาดฟ้า” นั้น ดูเหมือนว่า มันจะไม่สามารถใช้งานได้อีกมากน้อยเท่าไรแล้ว

หลังจากที่เฮลิคอปเตอร์สามลำได้ตกลงมา, มันก็ถึงเวลาแล้วที่จะต้องถามกองทัพบกว่า ทำไม่ถึงดันไปมีการฝึกอบรมสอนการยิงแบบซุ่มยิง (สไนเปอร์) กัน ทั้งๆ ที่กองทัพบกเองในตอนนี้ ควรจะมีการสอนอบรมในเรื่องการปฏิบัติการซ่อมแซมและการบำรุงรักษาเครื่องไม้ เครื่องมือต่างๆ ของตนเอง เพื่อที่จะดำเนินการในทางทหารได้อย่างเป็น “ปรกติ”

กองทัพบกไทยนี้ ไม่เคยมีเรื่องเกี่ยวกับการปฎิบัติการทางทหารอย่างเป็นปรกติเลย บทบาทของกองทัพบก และที่ชอบหลงสนุกสนานไปกับการปราบปรามประชาชนชาวรากหญ้าและรักษาการ คอรัปชั่นให้คงอยู่ในกลุ่มของพวกตนเท่านั้นเอง

ล้านคำบรรยาย การ์ตูนเซีย 12/08/54 ช่วยกันพา..ช่วยกันส่ง ให้ตลอดรอดฝั่ง

ที่มา blablabla

โดย

ภาพถ่ายของฉัน


"มะลิร้อย เรียงรัก วางตักแม่
อบอุ่นแท้ ล้นทรวง คำห่วงหา
แม้ วัน เดือน ปี ผ่าน เนิ่นนานมา
ยังล้ำค่า คำอิ่มอุ่น ละมุนรัก...."

รอดปากเหยี่ยว ปากกา มาดูโลก
ผ่านวิปโยค ถาโถม โหมจนหนัก
ยังมีแม่ โอบอุ้ม คอยฟูมฟัก
จนประจักษ์ โลดแล่น บนแผ่นดิน....

ยุคนารี ครองเมือง สู่เรืองโรจน์
ลืมเกลียดโกรธ กองไว้ ให้หมดสิ้น
มาช่วยกัน ซับน้ำตา ที่บ่าริน
แล้วโบยบิน ถึงฝั่งฝัน อันแสนดี....

ล้านความคิด สถิตหลอม พร้อมผงาด
สิ่งที่ขาด ช่วยต่อเติม เพิ่มศักดิ์ศรี
ทั้งปัญหา หลายหลาก มันมากมี
ต้องเร็วรี่ ร่วมผลักดัน ให้มั่นคง....

ทั้งเศรฐกิจ การเมือง เรื่องเก่าค้าง
ต้องสะสาง เดินหน้า พาประสงค์
แก้ปัญหา ของประเทศ ตามเจตจำนง
ให้จบลง ด้วยความรัก สามัคคี....

มาร่วมด้วย ช่วยกัน ผลักดันส่ง
ให้ยืนยง ถึงฝั่ง ดั่งวิถี
นำความสุข คืนมา อย่ารอรี
สมกับที่ ประชาชน คนวางใจ....

๓ บลา / ๑๒ ส.ค.๕๔

ราษฎรทั้งหลายพึงรู้เถิดว่า 12สิงหาฯมาน้อมรำลึกถึงบรรพชนปฏิวัติ นายพันเอกพระยาทรงสุรเดช

ที่มา Thai E-News



ราษฎรทั้งหลายพึงรู้เถิดว่า-นายทหารอ่านประกาศคณะราษฎรฉบับที่1 เมื่อรุ่งเช้าวันที่ 24 มิถุนายน 2475 โดยมีนายพันเอกพระยาทรงสุรเดช(ซ้ายสุดภาพล่าง)เป็นนักยุทธวิธีคนสำคัญในการวางแผนยึดอำนาจโดยปราศจากการสูญเสียเลือดเนื้อ

โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
12 สิงหาคม 2554

กล่าวแบบฟันธงก็ต้องว่า หากการปฏิวัติ 24 มิถุนายน 2475 ไม่ได้นายพันเอกพระยาทรงสุรเดชเป็นผู้บัญชาการ ก็คงไม่ประสบความสำเร็จอย่างที่เราชนรุ่นหลังรับรู้ ฝ่ายประชาธิปไตยและสนับสนุนคณะราษฎร์ได้พากันถือเอาวันที่ 12 สิงหาฯอันเป็นวันเกิดของนักปฏิว้ติผู้อาภัพนี้ เป็น"วันรำลึกพระยาทรงสุรเดช" ด้วยเหตุที่ว่าเมื่อมีการรำลึกถึงสามัญชนไทย มักนับเอาวันเกิดเป็นวันสำคัญของท่านผู้นั้น ดังเช่น กรณีของสุนทรภู่ที่เกิดวันที่ 26 มิถุนายน ก็นับเป็นวันสุนทรภู่ เป็นต้น

เมื่อวันที่12 สิงหาคมของทุกปีเวียนมาถึง ก็ย่อมจะทำให้ประชาชนไทย ผู้รักชาติรักประชาธิปไตยทั้งมวล อดหวนรำลึกนึกถึงพระคุณบรรพชนนักปฏิวัติผู้นำสยามประเทศก้าวสู่ระบอบ ประชาธิปไตยไม่ได้
4ทหารเสือคณะราษฎร์-(จากซ้าย) นายพันเอกพระยาทรงสุรเดช,นายพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา,นายพันเอกพระยาฤทธิอาคเนย์ และนายพันโทพระประศาสน์พิทยายุทธ์
นอก จากคุณูปการต่อบ้านเมืองแล้ว ยังนับเป็นบุคคลที่นักการทหาร นักการเมืองเอาเป็นเยี่ยงอย่างในการใช้ชีวิตด้วย เพราะท่านได้ชื่อว่าทำการเพื่อชาติ ไม่เบียดบังชาติและราษฎรแม้แต่น้อย

นายพันเอกพระยาทรงสุรเดช เป็นผู้นำสำคัญในการเปลี่ยนแปลงการปกครองพ.ศ.2475 โดยหากขาดท่านผู้นี้ ก็ต้องฟันธงได้เลยว่าการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 จะไม่มีวันสำเร็จได้เลยในวันนั้น เนื่องจากเป็นผู้วางแผนบัญชาการปฏิวัติ

หลังการปฏิวัติสำเร็จลง พระยาทรงฯไม่ขอรับตำแหน่งใดในรัฐบาล ไม่ขอเพิ่มยศเป็นนายพล ไม่ขอคุมกำลังทางทหาร แต่ท่านถูกขอให้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จึงจำต้องรับเป็น เพราะแสดงถึงความศรัทธาต่อระบอบการปกครองใหม่

แต่ในภายหลังสถานการณ์พลิกผันทำให้ชะตากรรมของพระยาทรงฯต้องถูกเนรเทศไป อยู่ ในอินโดจีนของฝรั่งเศส คือเวียดนาม และสุดท้ายที่เขมร อย่างอนาถา ส่วนลูกน้องถูกประหารชีวิตไป 18 ศพ ( อ่านรายละเอียดกรณีนี้ คลิ้กที่นี่ )

แม้กระทั่งยามยากช่วงเกิดสงครามโลกครั้งที่2ขณะพำนักลี้ภัยในญวนและเขมร ต้องอยู่บ้านเช่าโกโรโกโส ปั่นจักรยานถีบ และทำขนมไทยขายเลี้ยงประทังชีวิต แต่เมื่อไทยตกอยู่ใต้การยึดครองของญี่ปุ่น ก็พยายามอย่างโดดเดี่ยวที่จะขับไล่ญี่ปุ่นอย่างมืดมนลำพัง

แม้ว่าต้องตกระกำลำบากในเขมรขนาดนั้น และเป็นเวลาที่ญี่ปุ่นเข้ายึดครองทั่วเอเชีย รวมทั้งเขมรและไทยด้วยนั้น ญี่ปุ่นได้ติดต่อลับๆจะให้นายพันเอกพระยาทรงสุรเดชกลับไปมีอำนาจโค่นล้ม ปฏิปักษ์ทางการเมืองของท่าน คือจอมพลป.พิบูลสงคราม ซึ่งญี่ปุ่นชักไม่ไว้ใจ แต่พระยาทรงฯปฏิเสธ เพราะเห็นเป็นการทรยศบ้านเมือง ยอมระกำลำบากดีกว่า อันนี้นับเป็นจิตใจที่น่าเชิดชูยิ่ง

สุดท้ายเมื่อสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 ผู้มีอำนาจขณะนั้นส่งนายทหารคนหนึ่งไปลอบวางยาพิษพระยาทรงฯถึงแก่ความตายใน เขมร ทั้งที่มีหวังกำลังจะได้กลับจากการลี้ภัย สุดท้ายคุณหญิงของท่านและทหารคนสนิทต้องทำพิธีศพอย่างอนาถา ไร้กองเกียรติยศใดๆในต่างแดน

พระยาทรงฯเกิดเมื่อ 12 สิงหาคม 2435 หรือเมื่อ 119 ปีที่แล้ว

ขณะเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ท่านอายุย่าง 40 ปี และได้ชื่อว่าเป็นมันสมองในการทำปฏิวัติ 2475 และมีกำลังในการปฏิวัติจริงๆ โดยอาศัยยุทธวิธีลวงทหารมายึดอำนาจเปลี่ยนแปลงการปกครอง

คนไทยค่อนประเทศอาจจะลืมพระยาทรงฯไปแล้ว แต่วันที่12สิงหาคมนั้นได้ชื่อว่าเป็นวันที่คนไทยต้องรำลึกถึงพระยาทรงฯ บรรพชนปฏิวัติไทย

ความต่อไปนี้ เก็บความจากหนังสือ"ชีวิตพระยาทรงฯในต่างแดน"เขียนโดยร้อยเอกสำรวจ กาญจนสิทธิ์ ทส.พระยาทรงฯซึ่งตีพิมพ์เผยแพร่มาร่วมๆ 30 ปีแล้ว หากคลาดเคลื่อนประการใด ขอให้ผู้รู้ได้เสริมเพิ่มหรือแก้ไขด้วย

นายพันเอก พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน)[12 สิงหาคม พ.ศ. 2435 - 1 มิถุนายน พ.ศ. 2487]

นักยุทธวิธีของคณะราษฎร์

หากเทียบกับการปฏิวัติใหญ่ในรัสเซีย มีเลนินเป็นผู้ชี้นำทางความคิด มีทร็อตสกี้เป็นนักยุทธวิธีปฏิวัติ ในเหตุการณ์2475นายปรีดี พนมยงค์ ก็คือผู้ชี้นำทางความคิด ส่วนนักยุทธวิธีที่วางแผนและลงมือปฏิวัติก็คือนายพันเอกพระยาทรงสุรเดช

พระยาทรงฯมีชื่อเดิมคือเทพ พันธุมเสน เป็นบุตรของร้อยโท ไท้ นายทหารกรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 จบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยทหารบก จากนั้นได้ทุนไปศึกษาต่อวิชาทหารช่าง ที่ประเทศเยอรมนี เมื่อจบแล้วได้ยศนายสิบ แล้วจึงเรียนต่อระดับสัญญาบัตร ได้ยศร้อยตรี ก่อนไปประจำการที่กองทหารในเมืองมักเคเบอร์ก และเดินทางกลับประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2458

จากนั้นเริ่มรับราชการทหารจนได้รับพระราชทานยศเป็น ร้อยเอกหลวงรณรงค์สงคราม เมื่อ พ.ศ. 2461 และย้ายไปเป็นผู้บังคับการทหารช่างรถไฟ กองพันที่ 2 กรมทหารบกที่ 3 มีผลงานสำคัญคือ ก่อสร้างทางรถไฟสายเหนือ จากถ้ำขุนตานถึงสถานีรถไฟเชียงใหม่ ก่อสร้างทางรถไฟสายตะวันออก จากแปดริ้วถึงสถานีรถไฟอรัญประเทศ ก่อสร้างทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงนครราชสีมา ได้รับพระราชทานยศนายพันเอก และบรรดาศักดิ์เป็นพระยาทรงสุรเดช

เมื่อปี พ.ศ. 2475 ในการก่อการ2475ปัญหาคือคณะราษฎร์ไม่มีคนคุมกำลังทหารในมือเลย พระยาทรงฯซึ่งเป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนนายร้อย จึงลวงนักเรียนนายร้อยด้วยการปลุกให้ตื่นตั้งแต่ตี3แล้วบอกว่าจะพาไปฝึกภาค สนามที่พระที่นั่งอนันต์ พร้อมกับการที่นายพันเอกพระยาพหลฯไปลวงค่ายทหารให้นำกำลังทหารและรถทหารออก มาสมทบกัน และพระประศาสน์(ซึ่งใกล้ชิดกับพระยาทรง)ไปควบคุมตัวกรมพระนครสวรรค์ฯซึ่งทรง อำนาจในประเทศมาเป็นตัวประกัน

เมื่อนักเรียนทหารที่นายพันเอกพระยาทรงฯลวงมาสมทบกับรถทหาร และทหารจากค่ายที่นายพันเอกพระยาพหลฯลวงมา กับนายพันโทพระประศาสน์ฯควบคุมกรมพระนครสวรรค์มาที่นั่งอนันต์ฯได้ การปฏิวัติที่ปราศจากเลือดเนื้อก็กลายเป็นประวัติศาสตร์ของไทย

ในหนังสือบันทึกชีวิตพระยาทรงฯในต่างแดนนั้น พระยาทรงแสดงความเป็นนักยุทธวิธีอย่างเต็มที่ โดยพระยาทรงฯได้กล่าวว่าการปฏิวัติ2475เป็นเรื่องของยุทธวิธี ไม่ใช่ยุทธศาสตร์ ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน ไม่ได้มาจากการตื่นตัวต้องการปฏิวัติของประชาชนเลย เพราะหากไปปลุกเร้าให้ประชาชนตื่นตัวขึ้นปฏิวัติ การกระทำเช่นนั้นจะทำให้ความลับรั่วไหลแล้วจะกลายเป็นกบฎ เหมือนเหตุการณ์กบฎร.ศ.130 (อ่านเพิ่มเติม:กรณีกบฎร.ศ.130ประวัติศาสตร์ยังคงตื่นอยู่เพื่อคนชั้นหลังเสมอ )

หลังการปฏิวัติพระยาทรงฯปฏิเสธที่จะขอรับยศเพิ่ม เช่นเดียวกับนายพันเอกพระยาพหลฯและคณะทุกๆคน ไม่ขอรับตำแหน่งคุมกำลังใดๆ ไม่ขอรับตำแหน่งทางการเมือง แต่ที่สุดก็จำนนรับตำแหน่งส.ส.จากการแต่งตั้ง เพื่อแสดงถึงความศรัทธาเชื่อมั่นต่อระบอบปกครองใหม่

ขัดแย้งกับปรีดีและแตกหักกับจอมพลป.ก่อนถูกเนรเทศ


เมื่อแรกหลังปฏิว้ติ นายพันเอกพระยาทรงฯอยู่ในปีกที่ไม่เห็นด้วยกับสมุดปกเหลืองเค้าโครงเศรษฐกิจ ของนายปรีดี พนมยงค์ ซึ่งมีนโยบายรัฐสวัสดิการ โดยฝ่ายปฏิกริยาปฏิวัติโจมตีว่าเป็นนโยบายคอมมิวนิสต์แบบเดียวกับรัสเซีย อันมีผลให้นายปรีดีถูกเนรเทศไปฝรั่งเศสระยะหนึ่ง ก่อนจะได้กลับมามีอำนาจอีกครั้ง

ในพ.ศ.2476 เกิดกบฎบวรเดช นายพันโทแปลก ขีตสังคะ มีบทบาทสำคัญเป็นคนนำปราบปรามกบฎ และเปล่งบารมีขึ้นมา ในสายตาของพันเอกพระยาทรงเห็นว่านายพันโทแปลกนั้นเป็น"ทหารยศต่ำ แต่มักใหญ่ใฝ่สูง" ต่อมานายพันโทแปลกเพิ่มยศพรวดพราดและก้าวขึ้นเป็นนายกฯ แล้วถูกลอบสังหารหลายหน

นายพันเอกหลวงพิบูลฯ(ต่อมาเป็นจอมพลป.)สงสัยว่านายพันเอกพระยาทรงฯน่าจะ เป็น ผู้อยู่เบื้องหลัง จึงได้มีคำสั่งให้พ้นจากราชการโดยไม่มีเบี้ยหวัดบำนาญ และบังคับให้เดินทางออกนอกประเทศ พร้อมด้วยร้อยเอกสำรวจ กาญจนสิทธิ์ ทส. ประจำตัว พร้อมกันนั้นได้มีการกวาดล้าง จับกุมผู้ที่ต้องสงสัย จำนวน 51 คน เมื่อเช้ามืด ของวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2482 และสั่งประหารไป18 ราย จึงเรียกกันต่อมาว่ากบฎ18ศพ (เดิมจะประหาร 21 ราย แต่ปล่อยไป3 ซึ่ง 1 ในนั้นคือกรมขุนชัยนาทฯ ซึ่งเป็นพระปิตุลาฯของในหลวง)

บั้นปลายอนาถาของนักปฏิวัติที่โลกลืม

นายพันเอกพระยาทรงสุรเดชพร้อมนายทหารคนสนิทเมื่อถูกกล่าวหาว่าเป็นกบฏ จึงถูกให้ออกจากราชการโดยไม่มีเบี้ยหวัดและถูกบีบให้เดินทางออกนอกประเทศ ไปพร้อมกับ ร.อ.สำรวจ กาญจนสิทธิ์ โดยถูกควบคุมตัวขึ้นรถไฟไปที่ อ.อรัญประเทศ และเดินทางข้ามพรมแดนต่อไปยังกัมพูชา ซึ่งในขณะนั้นเป็นดินแดนในอาณานิคมของฝรั่งเศส และไปพำนักในเวียดนามระยะหนึ่ง

โดยคุณหญิงทรงสุรเดช ต้องขายสมบัติเก่าส่งไปให้ประทังชีพ เมื่อสมบัติพร่องลง ต้องย้ายกลับมากัมพูชา อาศัยห้องเช่าโกโรโกโส ก่อนที่ต่อมาจะได้พักในตำหนักร้างของอดีตเจ้าอาณานิคมฝรั่งเศสที่พระยาทรงฯ เคยช่วยชีวิตให้พ้นคมหอกคมดาบของญี่ปุ่นระหว่างการยึดครองในคราวสงครามมหา เอเชียบูรพา

ชีวิตพระยาทรงสุรเดชที่กัมพูชา ไม่มีทรัพย์เงินทองเหลือติดตัวอยู่เลย ต้องหาเลี้ยงชีพด้วยการทอดแหหาปลาเลี้ยงตัว และทำขนมกล้วยขนมไทยขายในตลาดสด ซึ่งต้องโม่แป้งด้วยตนเอง จากนั้นต้องปั่นจักรยานถีบไปมาเพื่อขายขนม(ซึ่งจะเห็นว่าต่างจากนายทหารนัก ทำรัฐประหารในระยะหลังที่มีทรัพย์สินเป็นร้อยล้านพันล้าน ทั้งที่ก็มักกล่าวหาว่านักการเมืองขี้โกง เลยเข้ามายึดอำนาจ...ประหลาดไหม?)

ช่วงสงครามไทยตกอยู่ใต้การยึดครองญี่ปุ่น นายพันเอกพระยาทรงฯไม่ล่วงรู้เลยว่าคนไทยทั่วโลกมีขบวนการใต้ดินเสรีไทยต่อ ต้านญี่ปุ่น เพราะถูกตัดขาดจากโลกภายนอก แต่ก็อุตสาหะดิ้นรนที่จะต่อต้านญี่ปุ่นเพียงลำพัง โดยคิดจะเดินข้ามประเทศไปแสวงหาความร่วมมือจากอเมริกาที่ตั้งฐานในจีน แต่ก็ต้องระงับไว้เพราะมืดแปดด้านอยู่คนเดียว

หลังสงครามจบลงด้วยความพ่ายแพ้ของญี่ปุ่น จอมพลป.พิบูลสงคราม ซึ่งเดินนโยบายเป็นมิตรกับญี่ปุ่น ต้องพ้นตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และถูกดำเนินคดีอาชญากรสงคราม นายพันเอกพระยาทรงฯซึ่งนับวันเดือนปีจะได้กลับสู่มาตุภูมิก็กลับไม่มีโอกาส นั้นเลย เมื่อมีนายทหารไทยคนหนึ่งอ้างว่า ไปศึกษาที่ญี่ปุ่นก่อนกลับไทยเลยแวะมาเยี่ยม แล้ววางยาพิษพระยาทรงฯตายด้วยความทรมานอนาถา และจัดทำพิธีศพเยี่ยงคนไร้ญาติ โดยถึงแก่อนิจกรรมลงในปี พ.ศ. 2487 ขณะมีอายุเพียง 52 ปี ที่ตำหนักร้างในกรุงพนมเปญ ซึ่งแพทย์ลงความเห็นว่าเสียชีวิตด้วยอาการโลหิตเป็นพิษ

ทส.พระยาทรงเขียนไว้ให้แปลความระหว่างบันทัด โดยตั้งข้อสงสัยไปในทำนองว่า ปฏิปักษ์ทางการเมืองคือจอมพลป.อาจจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับความตาย เพราะเมื่อสงครามมหาเอเชียบูรพายุติลง จอมพลป.ถูกดำเนินคดีอาชญากรสงคราม หากพระยาทรงได้กลับไทยและกลับสู่อำนาจ อาจเป็นอันตรายต่อจอมพลป.ได้

กระดูกของพระยาทรงฯกลับถึงประเทศไทย พร้อมกับบันทึกส่วนตัวที่กล่าวถึงการปฏิวัติ2475 และกลายมาเป็นหนังสือชื่อ "บันทึกพระยาทรงฯ:เมื่อวันปฏิวัติ24มิถุนายน2475"(อ่านบันทึกบางส่วน คลิ้กที่นี่ ) และหนังสือ "ชีวิตในต่างแดนของพระยาทรงฯ"ออกเผยแพร่ราวปีพ.ศ.2525

อัฐิของพระยาทรงฯถูกนำมาบรรจุไว้ที่วัดประชาธิปไตย หรือวัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน ซึ่งคณะราษฎรได้สร้างขึ้นหลังปฏิวัติ2475 ซึ่งบรรพชนปฏิวัติผู้วายชนม์ล้วนถูกนำอัฐิมาบรรจุที่วัดนี้ รวมถึงอัฐิของจอมพล ป. พิบูลสงคราม นาวาเอกหลวงศุภชลาศัย นายพันเอกพระยาฤทธิอัคเนย์ นายพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา นายพันโทหลวงอำนวยสงคราม นายปรีดี พนมยงค์ นายเฉลียว ปทุมรส นายทวี บุญยเกตุ นายดิเรก ชัยนาม รวมทั้งนายกระจ่าง ตุลารักษ์ สมาชิกคณะราษฎรคนสุดท้ายที่เสียชีวิตลงเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2552ที่ผ่านมา

ฝ่ายจารีตนิยมและจิตนิยมบอกว่าเพราะพระยาทรงฯทรยศพระมหากรุณาธิคุณทำการล้มล้างระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ จึงพบเคราะห์กรรมเลวร้าย

แต่ฝ่ายที่สนับสนุนและโปรประชาธิปไตยนับเอาว่าพระยาทรงฯเป็นบุคคลสำคัญ ของ ชาติ เพราะหากไม่มีพระยาทรงฯที่เป็นดั่งเสนาธิการในการปฏิวัติ ก็ไม่แน่นักว่าการปฏิวัติ24มิถุนายน2475จะสำเร็จราบรื่นไร้การนองเลือดอย่าง ที่เรารับรู้หรือไม่

ประกอบกับคุณงามความดีไม่ฉ้อราษฎร์ ไม่บังหลวง ฝ่ายประชาธิปไตยและสนับสนุนคณะราษฎร์ได้พากันถือว่าวันที่ 12 สิงหาฯอันเป็นวันเกิดของนายพันเอกนักปฏิว้ติผู้อาภัพนี้ เป็น"วันพระยาทรงสุรเดช" ด้วยเหตุดังนี้

อนึ่งสำหรับสามัญชนไทยมักนับเอาวันเกิดเป็นวันรำลึกถึงของท่าน ผู้ นั้น ดังเช่น กรณีของสุนทรภู่ที่เกิดวันที่ 26 มิถุนายน ก็นับเป็นวันสุนทรภู่ ดังนั้นจึงถือเอาวันเกิด 12 สิงหาคม เป็นวันพระยาทรงสุรเดชด้วยประการฉะนี้

0000000


บันทึกพระยาทรงสุรเดช:ในวันปฏิวัติ 24 มิถุนายน 2475

พระยาทรงสุรเดชได้บันทึกจากความทรงจำถึงเหตุการณ์ปฏิวัติ 2475 ไว้ระหว่างลี้ภัยในเวียดนามและกัมพูชา เมื่อถึงแก่อสัญกรรมลง นายทหารคนสนิทได้นำบันทึกนี้กลับประเทศไทย และตีพิมพ์เผยแพร่ในระยะต่อมาอีกหลายสิบปี

โดยได้บันทึกเหตุการณ์ปฏิวัติ24มิถุนายนไว้อย่างละเอียด ซึ่งในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 นั้น พระยาทรงสุรเดชเป็นผู้ที่เชื่อมให้นายทหารระดับสูงที่มีแนวคิดเดียวกัน เช่น พระยาพหลพลพยุหเสนา เข้าร่วมกับคณะราษฎร ซึ่งตัวพระยาทรงสุรเดชเองเคยพูดว่า "
พวกข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ แทบทั้งหมด มุ่งแต่เพียงทำตัวให้โปรดปรานไว้เนื้อเชื่อใจจากพระเจ้าแผ่นดินไม่ว่าด้วย วิธีใด ตลอดทั้งวิธีที่ต้องสละเกียรติยศด้วย..."


ในแผนการเปลี่ยนแปลงการปกครองนั้น การประชุมในประเทศไทย คณะราษฎรได้ประชุมกัน 2 ครั้ง ครั้งแรกประชุมกันเพียงไม่กี่เดือนก่อนลงมือ ที่บ้านพักของพระยาทรงสุรเดชที่สะพานควาย

และครั้งที่ 2 ที่บ้านพักของ ร้อยโทประยูร ภมรมนตรี ที่ถนนเศรษฐศิริ ซึ่งพระยาทรงสุรเดชในตอนแรกนั้นได้เสนอแผนการว่า ใช้ทหารยึดพระที่นั่งอัมพรสถานซึ่งเป็นที่ประทับของรัชกาลที่ 7 ในเวลากลางคืน และขอถวายความอารักขาแก่ในหลวงในฐานองค์ประกัน แล้วบังคับให้ลงพระปรมาภิไธยพระราชทานรัฐธรรมนูญแก่ปวงชนชาวไทย แต่แผนนี้มีผู้ไม่เห็นด้วย เพราะระหว่างที่บุกเข้าไปอาจเกิดการปะทะกันกับทหารมหาดเล็กจนถึงขึ้นนอง เลือด และผู้ก่อการได้ตกลงในหลักการของการปฏิวัติครั้งนี้คือ จะต้องพยายามมิให้เกิดการนองเลือด จะต้องไม่กระเทือนต่อพระเกียรติยศของพระมหากษัตริย์เกินควร และตกลงว่าจะทำการปฏิวัติในช่วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จแปรพระราชฐานประทับที่พระราชวังไกลกังวล

การประชุมกันหนที่ 2 ที่บ้านของร้อยโทประยูร ในวันที่ 12 มิถุนายน พระยาทรงสุรเดชจึงเสนอแผนการทั้งหมด 3 แผน

แผนที่ 1 ให้นัดประชุมบรรดานายทหารที่กรมเสนาธิการ หรือที่กรมยุทธศึกษา หรือที่ศาลาว่าการกลาโหม เพื่อประกาศว่าจะเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดิน ผู้ใดไม่เห็นด้วยก็จะเข้าควบคุมตัวไว้ ในระหว่างนั้นคณะผู้ก่อการฝ่ายทหารเรือและพลเรือนแยกย้ายกันไปคุมตัวเจ้านาย และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่มากักตัวไว้ในพระที่นั่งอนันตสมาคมหรือบนเรือรบ

แผนที่ 2 ให้จัดส่งหน่วยต่าง ๆ ไปคุมตามวังเจ้านายและข้าราชการคนสำคัญ ในขณะเดียวกันให้จัดหน่วยออกทำการตัดการสื่อสารติดต่อ เช่น โทรเลข โทรศัพท์ และให้จัดการรวบรวมกำลังทหารไปชุมนุม ณ ลานพระบรมรูปทรงม้า โดยวิธีออกคำสั่งลวงในตอนเช้าตรู่แล้วประกาศเปลี่ยนแปลงการปกครองต่อหน้า ทหารเหล่านั้น และจัดนายทหารฝ่ายก่อการเข้าควบคุมบังคับบัญชาทหารเหล่านั้นแทนผู้บังคับ บัญชาคนเดิมแล้ว ทหารก็คงจะฟังคำสั่งผู้บังคับบัญชาคนใหม่ต่อไป การณ์ก็คงสำเร็จลงโดยเรียบร้อยโดยมิต้องมีการต่อสู้จนเลือดนองแผ่นดิน

แผนที่ 3 ให้หน่วยทหารหนึ่งจู่โจมเข้าไปในวังบางขุนพรหม และเข้าจับกุมพระองค์กรมพระนครสวรรค์วรพินิตมาประทับที่พระที่นั่งอนันต สมาคม เพื่อเป็นประกันความปลอดภัยของคณะราษฎร และให้ดำเนินการอย่างอื่น ๆ ตามที่กล่าวแล้วในแผนที่ 2

ซึ่งทั้งหมดเห็นด้วยกับแผนที่2ควบกับแผนที่ 3 จึงตกลงทำตามนี้ และได้กำหนดวันดำเนินการในชั้นแรกว่าให้เป็นวันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน

โอกาสในการลงมือยึดอำนาจการปกครองนั้น ต้องอยู่ในช่วงระยะที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานไปหัวหิน เพื่อทอดพระเนตรการทดลองการยิงปืนใหญ่ ซึ่งมีนายทหารชั้นผู้ใหญ่ แม่ทัพ นายกอง ไปร่วมในการประลองอาวุธในครั้งนั้นเป็นส่วนมาก

ส่วนการเข้าควบคุม จอมพล สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิตนั้น คณะผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองได้สืบทราบมาว่า จอมพล สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิตมักจะเสด็จประพาสลำน้ำเจ้าพระยาในวัน เสาร์และจะเสด็จกลับในวันจันทร์ ถ้าดำเนินการในวันอาทิตย์ก็อาจจะไม่ได้พระองค์ท่านมาเป็นองค์ประกันจึงได้ เลื่อนการปฏิบัติการไปเป็นวันอังคารที่ 21 มิถุนายน

ต่อมาที่ประชุมได้ตกลงเลื่อนวันปฏิบัติการไปเป็นวันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน เนื่องจากได้รับรายงานว่า ในวันอังคาร เรือรบยามฝั่งยังไม่กลับ หากตกลงทำการในวันพฤหัสบดีที่ 23 ก็จะขาดทหารเรือ

ในวันที่ 22 มิถุนายน ก็มีรายงานว่า บรรดาสมาชิกคณะราษฎรยังไม่พร้อมที่จะทำการยึดอำนาจในวันที่ 23 มิถุนายน ดังนั้นวันปฏิบัติจึงเลื่อนไปวันที่ 24 มิถุนายน แทน แต่ทั้งหมดก็ยังไม่รู้ว่า พระยาทรงสุรเดชจะนำทหารออกมาใช้ยึดอำนาจได้อย่างไร

บทบาทของพระยาทรงสุรเดชในวันที่เปลี่ยนแปลงการปกครองนั้น คือ การปล่อยข่าวลวงและล่อหลอก เพื่อชักนำให้ทหารแต่ละกรมกองมาชุมนุมร่วมกันที่ลานพระบรมรูปทรงม้า เพื่อให้เข้าร่วมในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง อย่างไม่ขัดขืน

วันที่ 23 มิถุนายน พระยาทรงสุรเดชในฐานะเป็นอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิชาทหาร ของโรงเรียนนายร้อยทหารบก ได้ไปพบ พันโทพระเหี้ยมใจหาญ ผู้บังคับการโรงเรียนนายร้อย เพื่อขอให้นำนักเรียนนายร้อยทั้งหมดพร้อมอาววุธปืนบรรจุกระสุนไปที่ลานหน้า พระบรมรูปทรงม้าในตอนเช้าตรู่วันที่ 24 มิถุนายน เพื่อฝึกยุทธวิธีทหารราบต่อสู้รถถัง โดยจะใช้นักเรียนนายร้อยทำหน้าที่ทหารราบและนำรถถังจากกรมทหารม้ามาใช้ในการ ฝึก ต่อจากนั้นได้ไปพบผู้บังคับกองพันทหารราบที่รู้จักอีกสองคน เพื่อขอร้องให้นำทหารไปฝึกหน้าลานพระบรมรูปทรงม้าเวลาหกโมงเช้า และไปพบผู้บังคับการกองพันทหารช่างที่บางซื่อ เพื่อขอร้องให้นำทหารมาที่สนามหน้าโรงทหารในเวลาหกโมงเช้าเช่นกัน เพื่อจะนำไปฝึกต่อสู้กับรถถัง

เช้าวันที่ 24 มิถุนายน พระยาทรงสุรเดชตื่นตั้งแต่เวลา 4.00 น. และได้รับประทานข้าวผัดที่เหลือจากมื้อเมื่อคืน ก่อนออกจากบ้านไปพร้อมกับ ร้อยเอกหลวงทัศนัยนิยมศึก (ทัศนัย มิตรภักดี) ที่มารับถึงบ้านตามแผนที่วางได้ โดยได้บอกกับภรรยาตั้งแต่คืนก่อนว่าจะไปดู การสวนสนามที่หน้าพระลาน

จากนั้นแผนการนำทหารออกมาใช้เปลี่ยนแปลงการปกครองของพระยาทรงสุรเดชก็ ได้ เปิดเผยออกมาเป็นลำดับ ทั้งหมดในเวลา 5.00น. ก็ได้มุ่งหน้าไปยังกรมทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์ สี่แยกเกียกกาย มีเป้าหมายเพื่อยึดรถเกราะ ยึดรถรบ ยึดคลังกระสุน และหลอกพาทหารเดินมาขึ้นรถบรรทุกของกรมทหารปืนใหญ่ ภายใต้การบังคับบัญชาของพระยาฤทธิอัคเนย์ ที่อยู่ใกล้กัน ก่อนจะเคลื่อนขบวนไปลานพระบรมรูปทรงม้า

เมื่อไปถึงกรมทหารม้า ด่านแรกที่จะต้องฝ่าไปให้ได้คือกองรักษาการณ์ที่ด้านหน้า สามทหารเสือ คือ พระยาทรงสุรเดช พระยาพหลพลพยุหเสนา และพระประศาสน์พิยายุทธ เข้าไปในกองรักษาการณ์ ถามหาตัวผู้บังคับการกองรักษาการณ์ แล้วผู้ก่อการก็พูดด้วยเสียงดุว่า

"เวลานี้เกิดกบฏกลางเมืองขึ้นแล้ว มัวแต่หลับนอนอยู่ได้ เอารถเกราะ รถรบ เอาทหารออกไปช่วยเดี๋ยวนี้"

ฝ่ายผู้บังคับการที่เป็นนายทหารชั้นผู้น้อย เมื่อเผชิญหน้ากับนายทหารชั้นผู้ใหญ่ซึ่งเคยเป็นอาจารย์มาก่อน ก็หลงเชื่ออย่างสนิทใจ ชั่วอึดใจเดียวเสียงเป่าแตรแจ้งสัญญาณเหตุสำคัญก็ปลุกทหารทั้งกรมตื่นขึ้นมา ด้วยความโกลาหล

ช่วงเวลาแห่งความระทึกนี้ นายทหารผู้ก่อการต่าง ๆ ที่ได้รับมอบหมายหน้าที่ก็แยกย้ายกันไป

พระยาพหลพลพยุหเสนา ใช้กรรไกรตัดเหล็กที่เตรียมมาตัดโซ่กุญแจคลังกระสุนได้สำเร็จ ช่วยกันลำเลียงกระสุนออกมาอย่างรวดเร็ว

พระประศาสน์พิทยายุทธ ตรงไปยังโรงเก็บรถพร้อม ร.อ.หลวงทัศนัยนิยมศึก เร่งระดมให้ทหารสตาร์ตรถถัง รถเกราะ ออกมาโดยเร็ว

ร้อยเอกหลวงรณสิทธิชัย และพรรคพวกพากันขึ้นไปยังโรงทหาร เร่งให้ทหารแต่งเครื่องแบบโดยเร็วด้วยคำสั่งที่ว่า "ทหารไม่ต้องล้างหน้า แต่งเครื่องแบบทันที"

ไม่กี่นาทีต่อมา ทหารม้าก็พร้อมแล้วที่ออกเดินทางไปขึ้นรถบรรทุกทหารภายในกรมทหารปืนใหญ่ที่ ได้นัดแนะเอาไว้แล้ว พระยาฤทธิอัคเนย์สั่งให้ทหารปืนใหญ่ขึ้นรถ พระประศาสน์พิทยายุทธ นำขบวนรถถัง รถเกราะ รถขนกระสุนและปืนกลเบาราว 15 คัน ออกมาจากที่ตั้งกรม นำหน้าขบวนรถทั้งหมด มุ่งหน้าตรงไปยังลานพระบรมรูปทรงม้า สมทบกับทหารหน่วยอื่น ๆ ที่นัดหมายกันไว้

เมื่อขบวนรถบรรทุกทหารแล่นผ่านกองพันทหารช่าง ซึ่งเหล่าทหารกำลังฝึกอยู่บนสนามหน้ากองพัน พระยาทรงสุรเดชก็กวักมือพลางตะโกนเรียกให้ขึ้นรถ ผู้บังคับการทหารช่างเข้าใจว่าได้เวลาที่จะไปฝึกการต่อสู้รถถังตามที่ตกลง กันเมื่อเย็นวาน จึงสั่งทหารช่างขึ้นรถบรรทุกไปด้วย

ปฏิบัติการยึดกรมทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์สำเร็จลงอย่างรวดเร็วตามความคาดหมายภายในเวลาไม่ถึงครึ่ง ชั่วโมง มีคำถามมากมายว่า เพราะเหตุใดกองรักษาการณ์กรมทหารม้าจึงไม่ได้ทำอะไรเลย ทำไมยามคลังกระสุนจึงปล่อยให้พระยาพหลพลพยุหเสนา งัดประตูเอากระสุนออกไปได้ ทำไมนายทหารในกรมนี้จึงปล่อยให้นายทหารที่อื่นนำทหารของตัวออกไปได้โดยไม่ แสดงปฏิกิริยาอันใดเลย

สำหรับคำตอบของคำถามนี้ พระยาทรงสุรเดชได้บันทึกเหตุการณ์ครั้งนี้ไว้ชัดเจนว่า

เป็นเพราะนายทหาร นายสิบ พลทหารเหล่านั้นเห็นด้วยในการปฏิวัติหรือ...เปล่าเลย ทั้งนายทหาร นายสิบ พลทหาร ไม่มีใครรู้เรื่องอะไรเลย ตั้งแต่เกิดมาก็ไม่มีใครเคยได้เห็นได้รู้ การปฏิวัติทำอย่างไร เพื่ออะไร มีแต่ความงงงวยเต็มไปด้วยความไม่รู้ และข้อนี้เองเป็นเหตุสำคัญแห่งความสำเร็จ ! สำหรับพลทหารทั้งหมดไม่ต้องสงสัยเลย เขาทำตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาของเขาโดยไม่มีข้อโต้แย้ง เขาถูกฝึกมาเช่นนั้น และหากนายทหารอื่นมาสั่งให้ทำโดยอ้างว่าเป็นคำสั่งของผู้บังคับบัญชา เขาก็ทำเช่นเดียวกัน ทำไมเขาจะไม่ทำ เพราะในชีวิตเป็นทหารของเขา เขายังไม่เคยถูกเช่นนั้น เพราะฉะนั้นเขาจะรู้ไม่ได้เลยว่าเป็นการลวง ในเมื่อเขาโดนเป็นครั้งแรก ...นายทหารทั้งหมดส่วนมากได้เรียนในโรงเรียนนายร้อยในสมัยที่ผู้อำนวยการ ฝ่ายทหารเป็นอาจารย์ใหญ่ เพราะฉะนั้นจึงมีความเคารพและเกรงในฐานผู้ใหญ่
00000000000000000000000

อ่านข่าวเกี่ยวข้อง บรรพชนปฏิวัติ2475
-ฌาปณกิจคณะราษฎร์คนสุดท้าย ปลายทางบรรจุอัฐิกับผู้ร่วมก่อการ เผยวีรกรรมตำนานเสรีไทย
-ทายาท 24 มิถุนา(ตอน1) ศุขปรีดา พนมยงค์:เขาพยายามทำลายชื่อเสียงผู้ก่อการ เขามีทั้งกำลังคนกำลังทรัพย์แน่นหนามาก
-ทายาท24มิถุนา(ตอน2)พ.ต.พุทธินาถ พหลพลพยุหเสนา:ไม่มีหรอกที่ราชาธิปไตยจะเอาประชาธิปไตยมาให้
-ทายาทจอมพลป.:พอรัฐประหาร2490ก็หมดแล้วปฏิวัติ2475 และทายาทพระประศาสน์ผู้จับกรมพระนครสวรรค์วันปฏิวัติ

12 สิงหา " วันแม่แห่งชาติ วันแม่เพื่อสันติภาพ"

ที่มา Voice TV



Wake Up Thailand ประจำวันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม 2554

นำเสนอประเด็น

- ประวัติวันแม่ทั่วโลก
- ประวัติวันแม่ของไทย
- บทบาทความเป็น "แม่" ของ นายกฯ หญิง
- สุรพงษ์ปัดคืนพาสสปอร์ตทักษิณ
- รีวิวิว นิตยสารการเมืองรายสัปดาห์
- สุรวิทย์แย้มคุมสื่อได้
- นักโทษเรือนจำนราธิวาสก่อจราจล
- "ทักษิณ" โผล่เยี่ยมเสื้อแดงเยอรมัน
- ผลประชุมรัฐสภาอังกฤษ มาตรการรับมือเหตุจราจล

′ครู′ กับ ′ศิษย์′

ที่มา มติชน



โดย ปราปต์ บุนปาน

(ที่มา คอลัมน์สถานีคิดเลขที่ 12 หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับประจำวันที่ 11 สิงหาคม 2554)

ขอหลบกระแส "ครม.ยิ่งลักษณ์ 1"

ที่คงจะต้องพิสูจน์คุณภาพกันด้วย "ผลงาน" มากกว่า "ชื่อ-ชั้น" ของสมาชิก ครม.

มาพูดถึงข่าวเล็กๆ ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา

เมื่อบัณฑิตจบใหม่จากมหาวิทยาลัยรัฐแห่งหนึ่ง ถูกจับกุมตัวในฐานะเป็นผู้ต้องหาว่ากระทำความผิดตามข้อกฎหมายที่มีผลกระทบ "รุนแรง" เหลือเกิน

ทั้งในแง่โทษ และในแง่ความรู้สึกของสังคมที่มีต่อผู้ต้องหาในคดีความลักษณะนี้

ที่น่าสนใจคือ ผู้ฟ้องร้องกล่าวหาบัณฑิตรายนี้ กลับมีสถานะเป็น "ครู" ในมหาวิทยาลัยที่เขาเพิ่งจบการศึกษามา

ไม่แปลกที่ "ครู" จะมีสถานะหรือเลือกดำรงตนเป็น "กลไก" หนึ่งในการเผยแพร่/ผลิตซ้ำ/บังคับใช้อุดมการณ์ของรัฐ

แต่ไม่ว่าจะเลือกอยู่ข้างรัฐเพียงใด

"ครู" ในสถาบันอุดมศึกษา ก็น่าจะมีวิธีการจัดการกับปัญหานี้หรือนักศึกษาผู้มีความคิดเช่นนี้ ได้มากกว่า "1 ทางเลือก"

ใน "พื้นที่วิชาการ" เช่น มหาวิทยาลัย ถ้า "ศิษย์" มีความคิดเห็นเรื่องสังคมการเมืองต่างจากคุณ

หนึ่ง คุณต้องให้เสรีภาพในการถกเถียงแก่เขาอย่างเต็มที่ รวมทั้งต้องรับฟังเขาอย่างเต็มใจและตั้งใจ

สอง หากคุณเห็นต่างจากเขา ก็สามารถโต้แย้งกลับไปตามหลักเหตุผล

โดยยังมิต้องพิจารณาว่า คุณมี "เครื่องมือ" ในระบบการศึกษาอีกหลายประการ ที่สามารถนำมาใช้ "ตบแต่ง" ความคิดความเชื่อของ "ศิษย์" ได้

สาม ไม่ว่า "ศิษย์" จะยอมเปลี่ยนแปลงความคิดของเขาตามที่คุณโน้มน้าวหรือไม่

แต่อย่างน้อยในฐานะ "ครู" คุณควรช่วยฝึกฝนประคับประคองให้เขารู้จักแสดงความเห็นของตนเองอย่างรอบคอบ ระมัดระวัง ไม่แสดงอาการดูหมิ่นเกลียดชังหรือเหยียดหยามความเป็นมนุษย์ของผู้อื่น และไม่ผิดกฎหมาย

(ถ้ากฎหมายมีความเป็นธรรมและไม่มีปัญหาที่ตัวบทหรือการบังคับใช้)

นี่คืออีก "1 ทางเลือก" ซึ่งสามารถนำมาใช้จัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นได้ หากคุณเป็น "ครู" ในสถาบันอุดมศึกษา

แทนที่จะเลือกใช้วิธีการฟ้องร้องกล่าวหา "ศิษย์" ของตนเอง

ทั้งนี้ "ศิษย์" ของคุณก็เป็นมนุษย์คนหนึ่ง ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงอุดมการณ์ความคิดเชื่อของตนได้ ตามอายุ, หน้าที่การงาน, ภาระรับผิดชอบ และรูปแบบความสัมพันธ์ทางอำนาจที่เจ้าตัวจะต้องเผชิญหน้า ที่ย่อมแปรผันไปเรื่อยๆ

แม้ไม่มีโอกาสย้อนเวลากลับไปเป็น "เด็กน้อยที่ว่านอนสอนง่าย" สมัยอนุบาล-ประถม-มัธยม

แต่ "ศิษย์" ของคุณยังมีโอกาสที่จะ "ประสานประโยชน์" กับ "รัฐไทย"

หรือเป็นผู้มีความคิดความอ่านวิพากษ์ "รัฐ" อย่างมีเหตุผลและไม่แข็งกร้าวรุนแรงได้

หากคุณเลือกเผชิญหน้ากับเขา ผ่าน "กลไก" ที่ปัญญาชนพึงใช้กันในพื้นที่มหาวิทยาลัย

อย่างไรก็ตาม เมื่อคุณเลือกนำ "กฎหมาย" มาจัดการ "ศิษย์"

เขาอาจถูกกดดันให้เงียบเสียง หวาดกลัว หรือเก็บตัวในซอกหลืบเร้นลับของสังคม

ทว่าการใช้ "ไม้แข็ง" เช่นนั้น กลับมีแนวโน้มจะส่งผลให้ "ศิษย์" ของคุณ "เปลี่ยน" ไปตลอดกาล

จนมิใช่เพียงแค่กลับมาเป็น "เด็กดีคนเดิม" ไม่ได้

แต่ยังมีโอกาสน้อยมากที่เขาจะกลับมาเป็น "พลเมือง" อันพึงปรารถนาของ "รัฐไทย"

อังเกลา แมร์เคิล - ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

ที่มา มติชน



โดย สมหมาย ปาริจฉัตต์

(ที่มา หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับประจำวันที่ 11 สิงหาคม 2554)

วิลเลียม ลี อดัมส์ คอลัมนิสต์นิตยสารไทม์ ยกคุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของไทยขึ้นอันดับ เป็น 1 ใน 12 ผู้นำหญิงโลก ตามหลัง อังเกลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีเยอรมนี

คริสตินา เฟอร์นันเดซ เดอ เคิร์ชเนอร์ ประธานาธิบดีอาร์เจนตินา, ดิลมา รูสเซฟฟ์ ประธานาธิบดีบราซิล, จูเลีย กิลลาร์ด นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย, เอลเลน จอห์นสัน เซอร์ลีพ ประธานาธิบดีไลบีเรีย ฯลฯ

เป็น ทั้งความชื่นชมและท้าทายในเวลาเดียวกัน เพราะยิ่งผู้นำระดับโลกเหล่านี้ ทำเพดานบินไว้สูงเท่าไหร่ ยิ่งเพิ่มแรงเสียดทาน และความคาดหวังต่อคุณยิ่งลักษณ์ ต้องทำงานหนักมากขึ้น

เพราะสายตาที่จับจ้องไม่ได้มีแค่เฉพาะผู้คนในสังคมไทยเท่านั้นแต่กลายเป็นเป้าของคนทั่วทั้งโลก

โดยเฉพาะประเด็นที่ ลี อดัมส์ ชี้ว่า คุณยิ่งลักษณ์นอกเหนือจากจะต้องเอาชนะเสียงวิจารณ์ว่าพี่ชายคือผู้อยู่ เบื้องหลังในการบริหารประเทศแล้ว จะต้องทำตามนโยบายที่หาเสียงเอาไว้ให้ได้

ต้องบริหารคนรอบข้างทุกทิศทุกทางและบริหารนโยบาย ให้ประสบผลสำเร็จ ซึ่งไม่ง่าย

ยิ่งยกเอา อังเกลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของเยอรมนีและเป็นคนแรกที่มาจากฝั่งเยอรมันตะวันออก ขึ้นมาเป็นต้นแบบด้วยแล้ว น่าเห็นใจคุณยิ่งลักษณ์มากขึ้นไปอีก

อังเกลา แมร์เคิล เธอสั่งสมประสบการณ์ทางการเมืองและการบริหารมายาวนานในฐานะสมาชิกพรรค Christian Democratic Union พรรคแกนนำรัฐบาลเยอรมนี จนกระทั่งได้รับเลือกเป็นหัวหน้าพรรค และเป็นนายกรัฐมนตรีติดต่อกันสองสมัย ขณะที่คุณยิ่งลักษณ์เพิ่งเริ่มต้นสมัยแรก

แต่ไม่เป็นไร เส้นทางต่างกันเป็นเรื่องธรรมดา ถ้ายึดคติที่ว่า คนฉลาดเรียนรู้จากผู้อื่น คนโง่เอาตัวเองเป็นใหญ่เสียแล้ว มีโอกาสก้าวเดินต่อไปได้

นโยบาย หนึ่ง ที่อังเกลา แมร์เคิล เพิ่งสร้างความฮือฮาไปทั่วโลก แต่ก็สามารถผลักดันได้สำเร็จจนสภาผู้แทนและวุฒิสภาเยอรมนีออกกฎหมายรองรับ เมื่อไม่นานมานี้ก็คือ การปิดโรงไฟฟ้าปรมาณูทั่วประเทศ 17 โรง ภายในปี ค.ศ.2022

เป็นคำประกาศที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อน สดๆ ร้อนๆ ภายหลังเกิดเหตุพายุสึนามิถล่มญี่ปุ่น โรงไฟฟ้าปรมาณูเสียหาย กัมมันตรังสีรั่วไหล จนคนเยอรมันบางส่วนรู้สึกว่าเธอตัดสินใจ ยูเทิร์น เร็วเกินไป

เพราะก่อนหน้านี้เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2552 หลังจากที่เธอได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยที่ 2 ใหม่ๆ เธอแถลงนโยบายต่อรัฐสภาว่า การใช้พลังงานนิวเคลียร์ยังคงเป็นสิ่งจำเป็น รัฐบาลจะขยายเวลาการดำเนินการของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ออกไปอีก

เวลา ผ่านไป เพียงปีเศษๆ กลับหลังหันทันที แต่แทนที่จะเกิดการต่อต้านเนื่องจากเยอรมนีเป็นประเทศอุตสาหกรรมต้องใช้ พลังงานไฟฟ้าจากนิวเคลียร์เป็นฐานการผลิต ชาวเยอรมันส่วนใหญ่กลับเห็นด้วยและให้การสนับสนุนเธอ

การตัดสินใจ ใช้ Strong Policy กลับมาหาพลังงานทางเลือก คิดถึงสภาพแวดล้อม ชีวิตความปลอดภัยของคนส่วนใหญ่ ก่อนตัวเลขการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความร่ำรวยของผู้ประกอบการธุรกิจ อุตสาหกรรม ทำให้คะแนนนิยมของอังเกลา แมร์เคิล เพิ่มขึ้น

ย้อนกลับมาเมืองไทย การบริหารนโยบายพลังงานเป็นปัจจัยที่มีผลต่อเสถียรภาพรัฐบาลมาตลอด ไม่น้อยกว่านโยบายเศรษฐกิจอื่นๆ

คณะ กรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ เคยให้ความเห็นชอบโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ไว้ในแผนพัฒนากำลังผลิต ไฟฟ้า จะเริ่มใช้พลังงานนิวเคลียร์ใน พ.ศ.2563 พ.ศ.2564 พ.ศ.2569 พ.ศ. 2570 และ พ.ศ.2573 กำหนดให้เข้าระบบเพียงปีละ 1 โรง ขนาด 1,000 เมกะวัตต์ ควบคู่ไปกับการจัดหาพลังงานสำรองจากแหล่งอื่น

รัฐบาลยิ่ง ลักษณ์จะกำหนดนโยบายเรื่องนี้อย่างไร เป็นบททดสอบความสามารถการบริหารจัดการของคุณยิ่งลักษณ์ ที่น่าสนใจติดตามบทหนึ่งทีเดียว

เพราะการแข่งขันเรื่องต้น ทุนการผลิต ราคาพลังงานไฟฟ้า กับประเทศที่ก้าวขึ้นมาเป็นคู่แข่งของไทย อย่างเวียดนาม เป็นสิ่งที่ผุู้บริหารนโยบายพลังงานไทยคำนึงถึง เทียบเคียงมาตลอด

ตามแผนผลิตพลังงานเดิม เวียดนามจะสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ส่งกระแสไฟเข้าสู่ระบบภายในเวลาไล่เลี่ยกับไทย

ถ้าเวียดนามยังเดินหน้าต่อไป ไม่ทบทวนนโยบาย ทางเลือกของไทยจะเป็นอย่างไร

คุณ ยิ่งลักษณ์ยังไม่ได้แสดงท่าทีเรื่องนี้ ขณะนายปลอดประสพ สุรัสวดี รองหัวหน้าพรรค ว่าที่รัฐมนตรีทรัพยากรธรรมชาติ ประกาศล่วงหน้าแล้วว่าจะปิดฉากแผนสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อย่างสิ้นเชิง

คุณยิ่งลักษณ์จะประสานให้นโยบายเกิดความพอดี และเป็นประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่ ไม่ใช่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ได้อย่างไรต้องติดตาม

สุขสันต์วันแม่กับคำถาม ลูกชายของ "นายกฯปู" มีชื่อเล่นว่า "ไปค์" หรือ "ไปป์" ?

ที่มา มติชน









เจ้าตัวและบิดาบังเกิดเกล้าจะเป็นผู้ให้คำตอบ...

วันแม่แห่งชาติกำลังเวียนมาบรรจบอีกครั้งหนึ่งในวันศุกร์นี้ เช่นเดียวกับที่ประเทศไทยเพิ่งได้นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศนาม "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร"


วันที่ 11 สิงหาคมที่ผ่านมา "แม่ปู" ก็เพิ่งเข้าร่วมกิจกรรมงานวันแม่แห่งชาติที่โรงเรียน ณ ดรุณ ซึ่งเป็นโรงเรียนที่ "ด.ช.ศุภเสกข์ อมรฉัตร" บุตรชาย ไปเรียนภาษาไทยในช่วงที่โรงเรียนนานาชาติฮาร์โรว์ ปิดภาคเรียน


คำถามที่ยังค้างคาใจใครหลายคนก็คือ ตกลง ด.ช.ศุภเสกข์ นั้นมีชื่อเล่นว่าอะไรกันแน่???


"ไปค์" หรือ "ไปป์"


แม้แต่วงการสื่อมวลชนเองก็ยังไม่มีฉันทามติในประเด็นดังกล่าว


เพราะในขณะที่ดูเหมือนจะมีเพียง "หนังสือพิมพ์ข่าวสด" ซึ่งยืนกรานที่จะเรียก ด.ช.ศุภเสกข์ ว่า "น้องไปค์"


ทว่าหนังสือพิมพ์หรือสื่ออื่นๆ ส่วนใหญ่ ดูคล้ายจะพร้อมใจกันเรียกลูกชายคนเดียวของนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ว่า "น้องไปป์"


มติชนออนไลน์จึงตัดสินใจค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับชื่อเล่นของ "ลูกชายแม่ปู" มานำเสนอ


เป็นข้อมูลจากหนังสือ "49 วัน ยิ่งลักษณ์ สู่นายกฯ หญิง คนแรกของประเทศไทย" โดยกองบรรณาธิการข่าวสด จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์มติชน


ซึ่งน่าจะเป็นสื่อเดียวที่พยายามค้นคว้าหาคำตอบเกี่ยวกับปมปัญหาว่าด้วยชื่อ "ไปค์/ไปป์" ผ่านการสัมภาษณ์ตัวเจ้าของชื่อเอง


ในหน้า 26 ของหนังสือเล่มดังกล่าว ด.ช.ศุภเสกข์ ให้สัมภาษณ์กองบรรณาธิการข่าวสดเกี่ยวกับชื่อเล่นของตนเองไว้ว่า "ชื่อไปค์ หมายถึงปลาชนิดหนึ่งครับ"


ก่อนที่หนังสือเล่มนี้จะขยายความว่า น้องไปค์หมายถึงปลาไพค์ (pike)


แน่นอนว่าในดิกชันนารีภาษาอังกฤษ ไม่มีคำว่า "ไปป์" ที่หมายถึงปลาชนิดหนึ่งปรากฏอยู่แต่อย่างใด


มีแต่ "ไปป์" ที่หมายถึง กล้องยาเส้น, หลอด, ท่อ หรือ ปี่


ยิ่งไปกว่านั้น ชื่อ "ไปค์" ยัง ถูกยืนยันตอกย้ำในการ์ดวันเกิดที่เด็กน้อยเขียนอวยพรให้คุณแม่ และการ์ดที่ "ป๊อป-อนุสรณ์ อมรฉัตร" บิดาบังเกิดเกล้าของ "น้องไปค์" เขียนอวยพรภรรยา


หน้า 24-25 ของหนังสือเล่มเดียวกัน ระบุว่า เมื่อวันเกิดของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ในวันที่ 21 มิถุนายนที่ผ่านมา ด.ช.ศุภเสกข์ได้ทำการ์ดอวยพรคุณแม่ พร้อมทั้งเขียนอวยพรว่า


"ถึงคุณแม่ ไปค์ขอให้คุณแม่สำเร็จในสิ่งที่คุณแม่หวัง ขอให้คุณแม่สุขภาพแข็งแรง ไปค์รักคุณแม่มาก รักที่สุดในโลกและขอให้มีความสุขครับ ลูกไปค์"


ส่วน ป๊อป-อนุสรณ์ ได้เขียนคำอวยพรให้ภรรยาว่า


"ขอให้น้องปูมีความสุขมากๆ สุขภาพแข็งแรง สมหวังในสิ่งที่ตั้งใจ พี่ POP และ PIKE จะคอยให้กำลังใจและสนับสนุนตลอดไป รัก พี่ POP"


เมื่อเจ้าตัวและพ่อของเขาบอกเองว่า ด.ช.ศุภเสกข์ มีชื่อเล่นว่า "ไปค์" (PIKE)


เราก็คงต้องเขียนชื่อเขาว่า "ไปค์" ตามนั้นแหละ

อย่าลืม91ศพ

ที่มา ข่าวสด

คอลัมน์ เหล็กใน
สมิงสามผลัด



เห็นโฉมหน้าครม."ยิ่งลักษณ์1"กันเรียบร้อยแล้ว ทั้ง 35 คน

ก็ถือว่ากลางๆ

ไม่ได้โดดเด่นมากนัก แต่ก็ไม่ถึงกับ"ยี้"จนรับไม่ได้

จะมีรัฐมนตรีบางตำแหน่งที่ถูกวิจารณ์ว่าเป็นการเลือก"คน"ไม่เหมาะกับ"งาน"

โดยเฉพาะรมว.ต่างประเทศ ถูกฝ่ายค้านเล่นงานเสียอ่วมตั้งแต่วันแรก

ซึ่งเป็นเรื่องที่ นายกฯยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ต้องตอบสังคมให้ได้

และต้องรับผิดชอบไปเต็มๆ

หากมีการพิสูจน์แล้วว่าเป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาด !

ความจริงมีบทเรียนจากรัฐบาลชุดก่อนอยู่แล้ว

เห็นกันอยู่ตำตาว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สมัยที่เป็นนายกรัฐมนตรีก็เคยเลือกใช้คนผิดๆ

จนส่งผลกระทบต่อชาติอย่างใหญ่หลวงมาแล้ว

ปัญหาความสัมพันธ์ของไทยกับนานาชาติที่ผ่านมา

ตอบโจทย์ตรงนั้นไปแล้ว

อีกเรื่องที่วิพากษ์วิจารณ์เช่นกัน เพราะครม.ชุดนี้ไม่มีคนเสื้อแดงเป็นรมต.แม้แต่คนเดียว

มีการคาดการณ์กันไว้ล่วงหน้าแล้ว

เพราะนายกฯยิ่งลักษณ์ ซึ่งย้ำมาตั้งแต่ก่อนเลือกตั้งแล้วว่าต้องการให้เกิดความปรองดอง

คิดแก้ไข ไม่แก้แค้น

จึงไม่อยากให้ภาพครม.ออกมา"แดง"เกินไป !?

ถ้าด้วยเหตุผลนี้ คนเสื้อแดงคงพอรับได้

ขณะเดียวกัน ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ที่เป็นคนเสื้อแดงเองก็ไม่ได้แสดงออก หรือเรียกร้องตำแหน่งรมต.

จึงเชื่อว่าไม่น่าจะเป็นชนวนเหตุให้ความสัมพันธ์ระหว่าง"ยิ่งลักษณ์-เสื้อแดง"ร้าวฉาน

เพราะนายกฯยิ่งลักษณ์รู้อยู่แก่ใจว่าคะแนนเสียงที่เลือกพรรคเพื่อไทยจนได้เป็นแกนนำตั้งรัฐบาล

ส่วนหนึ่งเป็นเสียงของคนเสื้อแดงทั้งประเทศ !

รู้ดีว่าคนเสื้อแดงต้องการให้รัฐบาลใหม่เข้ามาเปลี่ยนแปลงความเป็น 2 มาตรฐาน

ทวงความยุติธรรมให้ 91 ศพและผู้บาดเจ็บอีก 2 พันคนจากเหตุการณ์สลายการชุมนุมเดือนเม.ย.-พ.ค.2553

เยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบ เยียวยาผู้บริสุทธิ์อีกหลายร้อยคนที่ยังถูกจองจำอยู่

สุดท้ายต้องการให้เอาผิด"คนสั่งการ"สลายม็อบ 91 ศพให้ได้

ฉะนั้น นายกฯยิ่งลักษณ์อาจจะไม่เลือกคนเสื้อแดงเป็นรมต.ได้

แต่จะไปฮั้วกับกลุ่มอำนาจเก่า หรือสมยอมกับพวกอำมาตย์

แล้วไม่ให้ความเป็นธรรมกับ 91 ศพ-ไม่ได้เด็ดขาด

๑๙ สิงหาคม นี้ เยี่ยมเพื่อนนักโทษเสื้อแดงทั่วประเทศโดยพร้อมเพรียงกัน !

ที่มา thaifreenews

โดย สุรชัย..namome




“เราผ่านบทเรียนอันเจ็บปวดมาด้วยกัน ทว่าเราโชคดีที่วันนั้นคนที่ตายไม่ใช่เรา คนที่โดนจับกุมไม่ใช่เรา”
สำนัก กฎหมายราษฎรประสงค์ ได้คุยกับเพื่อนที่ทำงานกับเพื่อนผู้ต้องขังทั่วประเทศได้รับข้อสรุปตรงกัน ว่า เพื่อนผู้ต้องขังเหล่านั้นปัจจุบันลำบากมาก ทั้งไม่มีโอกาสได้รับการประกันตัว โดยเฉพาะพี่น้องเสื้อแดงในต่างจังหวัดที่มีฐานะยากจนเป็นทุนอยู่แล้วยิ่ง ลำบากใหญ่ หลายครอบครัวบ้านแตกสาแหรกขาด เช่นเพื่อผู้ต้องขังที่ จ.อุดร ที่ถูกจับทั้งคู่สามี-ภรรยา และมีพ่อที่พิการ แม่ที่แก่ชรา หรือแม้กระทั่ง เพื่อนเราที่ถูกจับผิดตัวที่ จ.อุบล ที่ศาลยังไม่ให้ประกันตัว รวมทั้งเพื่อนที่ จ.ขอนแก่นที่ติดเชื้อวรรณโรคในเรือนจำ แต่ศาลก็ไม่ให้ประกันตัว…
ด้วย กระบวนการยุติธรรมแบบไทยๆ หรือเงือนไขใดๆก็ตาม เรา ซึ่งมีโอกาสได้ไปหย่อนบัตรเลือกตั้ง มีโอกาสดำเนินชีวิตแบบปกติสุข จะลืมพวกเขาที่ร่วมต่อสู้มาด้วยกันเชียวหรือ !



สำนัก กฎหมายราษำรประสงค์ ร่วมกับ กลุ่ม เรดแคมฟ็อก , พี่นกแดง , ไทยฟรีนิวส์ , สหายสีแดง และพี่น้องผองเพื่อน รวมทั้งอีกหลายๆท่าน จึงร่วมกันทำโครงการ “ของขวัญสีแดง แด่เพื่อนสีแดง” ขึ้น และได้ดำเนินกิจกรรมครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๕ กรกฎาคม ที่ผ่านมา ซึ่งได้รับเสียงตอบรับ และการสนับสนุนอย่างดีเยี่ยม จึงเห็นตรงกันว่า เราควรจัดให้ทุกวันที่ ๑๙ ซึ่งตรงกับวันสังหารหมู่ประชาชน ในเหตุการร์พฤษภา ๕๓ เป็นวันที่พวกเราจะแสดงพลังและแสดงน้ำใจเพื่อเพื่อนเราในเรือนจำ
กิจกรรม นี้จะจัดขึ้นพร้อมๆกันทั่วประเทศ คือ เราจะเข้าเยี่ยมผู้ต้องขังในเรือนจำ ทั้วประเทศ พร้อมๆกัน และจะมอบน้ำใจ เป็น ของใช้ที่จำเป็นแด่เพื่อนผู้ต้องขังในเรือนจำ ดังที่เราเคยทำมาแล้ว
เพื่อ ให้เพื่อนผู้ต้องขังมีกำลังใจ และเพื่อยืนยันว่า “เราไม่ทอดทิ้งกัน” สำนักกฎหมายราษฎรประสงค์หวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะได้รับการสนับสนุน อีกครั้ง
กิจกรรม : วันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๔ หน้าเรือนจำทั่วประเทศ !
๐๙.๐๐ น. : ”จุดเทียนกลางวัน ขับไล่อำนาจมืดที่ซ่อนเร้น” เรียกร้องให้ปล่อยนักโทษการเมืองหน้าเรือนจำทั่วประเทศ
๑๐.๐๐ น. : เข้าเยี่ยม ถามไถ่สารทุกข์ มอบกำลังให้เพื่อนในเรือนจำ
๑๑.๐๐ น. : พบปะพูดคุย ทำความรู้จักกันระหว่างเพื่อนที่เข้าเยี่ยม กำหนดกิจกรรมรณรงค์ร่วมกัน

หมายเหตุ : ”ของขวัญสีแดง แด่เพื่อนสีแดง” กล่องละประมาณ ๕๐๐ บาท
สำหรับผู้ต้องขังมั่วประเทศ ๑๒๕ คน
ปัจจุปันได้รับการสนับสนุนจาก พี่ๆกลุ่มเรดแคมฟ็อกแล้ว ๕,๐๐๐ บ. และกลุ่มพี่นกแดง ๕,๐๐๐ บาท
ที่เหลือจากกองทุน “ของขวัญสีแดง แด่เพื่อนสีแดง” สำนักกฎหมายราษฎรประสงค์
ท่านที่ประสงค์สมทบทุนเพิ่มเติม

ชื่อบัญชี นายยุทธการ โสภัณนา และ/หรือ นายอานนท์ งามสนิท และ/หรือ นายอานนท์ นำภา
บัญชีออมทรัพย์ ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาสี่แยกศรีวรา
เลขบัญชี ๑๔๐ – ๒๕๖๕๙๗ – ๙
ติดต่อ anonnumpa@gmail.com

เชื่อมั่น และศรัทธา
สำนักกฎหมายราษฎรประสงค์

http://rli.in.th/2011/08/03/%E0%B9%91%E0%B9%99-%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A1-%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%89-%E0%B9%80%E0%B8%A2%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7/

Re:



วันที่ 19 นี้ เป็นวันสำคัญ ที่พวกเราไม่เคยลืม
ประชาชนหวังว่ารัฐบาลประชาธิปไตย ก็คงไม่ลืมเหมือนกัน
พี่น้องของเรายังโดนจับกุมคุมขังอย่างไร้เหตุผล โดนกระทำโดยกลุ่มอำนาจแห่งความชั่วของรัฐบาลที่ผ่านมา
ประชาชนอยากเห็นความเป็นธรรม
อยากขอให้รัฐบาลคืนความเป็นธรรมให้กับนักโทษการเมืองทุกคน
จุดเริ่มต้นอยู่ ณ จุดนี้ สำหรับคนที่เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บ
คนที่หนีตายจากการถูกไล่ล่า
รัฐบาลต้องจัดการทันที
การประชุม ค.ร.ม. ครั้งแรกเรื่องนี้ต้องถูกหยิบขึ้นมาพิจารณา
เพราะผมคิดว่า ความเป็นคนต้องมีมนุษยธรรม
ประชาชนรอมานานที่จะได้รัฐบาลของประชาชน เพื่อจะพิจารณาเรื่อง วีรชน ผู้เสียสละ
ผมจะไม่เสียเวลาวิจารณ์ รัฐบาลว่าดีหรือไม่ดี
ผมเชื่อว่ามีคุณภาพในระดับที่เหนือกว่าชุดที่แล้วอย่างมาก
งาน ต่อไปของค.ร.ม.คือทำตามความปรารถนาทางการที่เป็นประชาธิปไตย ตามที่ประชาชนต้องการ นั้นคือประโยชน์สูงสุด วัดที่ความพึงพอใจของประชาชน ไม่มีใครกดดัน
แต่รัฐบาลต้องเสนอแผนกำหนดเวลาว่าแต่ละเรื่อง ควรใช้เวลาเท่าไร
ควรจะแจ้งให้ประชาชนทราบด้วย
ความสำเร็จของรัฐบาล อยู่ที่ความจริงใจ ตั้งใจจะดำเนินการปฏิบัติตามนโยบาย
ที่ตั้งปณิธานไว้ก่อนที่จะมาเปํนรัฐบาล
ผมและคนเสื้อแดงทุกคนขอให้กำลังใจ
รวมทั้งสมาชิก 785,220 คน ให้การสนับสนุนการทำงานรัฐบาลอย่างเต็มที่

จาก ....อริสมันต์ ปลดแอกประเทศไทย

Re:

ไม่ล้างแค้น แต่จะล้างคุก : ก่อแก้ว ไล่บี้‘มาร์ค’รับโทษคดี91ศพ ชดใช้กรรม

โดยราษฎร์ ประสงค์เมื่อ 10 สิงหาคม 2011 เวลา 16:56 น.

ก่อแก้ว พิกุลทอง กล่าวถึงคดี 91 ศพ ว่า
เป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการตามกฎหมาย อย่างตรงไปตรงมา
ใครผิดว่ากันไปตามกฎหมาย ใครไม่ผิดก็อย่ากลั่นแกล้ง
เชื่อได้ว่าอภิสิทธิ์และสุเทพเป็นผู้สั่งการสลายการชุมนุม
โดยไม่สนใจใยดีถึงความปลอดภัยของคนไทยด้วยกัน
ดังนั้นทั้งคู่ต้องได้รับโทษในฐานะผู้สั่งการจนนำไปสู่การบาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก

http://www.facebook.com/#!/notes/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%8E%E0%B8%A3%E0%B9%8C-%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C/%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%99-%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%81-%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%A7-%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%9A%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%82%E0%B8%97%E0%B8%A9%E0%B8%84%E0%B8%94%E0%B8%B591%E0%B8%A8%E0%B8%9E-%E0%B8%8A%E0%B8%94%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1/174813315924666

งานศิลปะ บทกวี ดนตรี แนวรบวัฒนธรรมไพร่ เที่ยงวัน ยัน เที่ยงคืน

ที่มา thaifreenews

โดย สุรชัย..namome

อ.14 สิงหาคม 2554 อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา แยกคอกวัว

วัฒน์ วรรลยางกูร ทอม ดันดี ประกายไฟการละคร ฯลฯ

เสวนากลางวันเป็นงานของ คปต.
เย็นย่ำเป็นงานของนวไพร่



รูปภาพบนกระดาน
โดย Thailand Mirror

http://www.facebook.com/#!/photo.php?fbid=260769777266822&set=a.108727282471073.15147.100000014066831&type=1&theater

นายกฯหญิง "ดาบก็แกว่ง เปลก็ไกว" แต่กลัวอะไรมากถึงมากที่สุด555

ที่มา thaifreenews

โดย สุรชัย..namome

ประชุม ครม ครั้งแรก 11/085/54
http://www.youtube.com/watch?v=kS_Bt-dDsjw&feature=player_embedded



น้องไปค์กับคุณแม่ยิ่งลักษณ์ 11/08/54
http://www.youtube.com/watch?v=E7bN5JmlJR8&feature=player_embedded



ประเด็นร้อน ไลฟ์สไตน์ของนายกหญิง
http://www.youtube.com/watch?v=wXLuWW88n0M&feature=player_embedded


ฮอร์ นัมฮงเชิญรมต. ต่างประเทศของไทยเยือนกัมพูชาอย่างเป็นทางการ

ที่มา ประชาไท

เว็บไซต์พนมเปญโพสต์ รายงานเมื่อเวลา 15.01 น. วันที่ 11 สิงหาคม ระบุโอกาสแห่งการรื้อฟื้นสัมพันธ์และการทูตระหว่างไทยกับกัมพูชาเปิดกว้าง ขึ้นอีกครั้งหลังจากที่รัฐบาลกัมพูชาส่งจดหมายเชิญรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการ ต่างประเทซของไทยที่เพิ่งได้รับการแต่งตั้งเยือนประเทศกัมพูชาอย่างเป็นทาง การ

โดยพนมเปญโพสต์ระบุว่า เจตจำนงแห่งการร่วมมือกันของสองประเทศนั้นงอกงามขึ้นเมื่อน.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ผู้นำของพรรคเพื่อไทยได้รับการเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรี และวานนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของกัมพูชา ฮอร์ นัมฮง ได้ส่งจดหมายเชิญรัฐบาลไทยในการเยือนประเทศกัมพูชาอย่างเป็นทางการ

ข้อ ความตอนหนึ่งของจดหมายเชิญที่ ฮอร์ นัมฮง เขียนถึงส่งถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยคนใหม่ นายสุรพงษ์ โตวิจักษ์ชัยกุล ระบุว่า “เพื่อเป็นการเริ่มต้นที่ดีของการร่วมมือระหว่างกัน ผมจะยินดียิ่งหากหากท่านรับคำเชิญมาเยือนกัมพูชาอย่างเป็นทางการในอนาคตอัน ใกล้นี้ตามวันที่ท่านสะดวก”

จดหมายดังกล่าวระบุด้วยว่า ฮอร์ นัมฮง คาดหวังว่าไทยและกัมพูชาจะรื้อฟื้นความสัมพันธ์ฉันมิตรและฟื้นความร่วมมือ ที่จะก่อประโยชน์แก่ทั้งสองรัฐบาล

“ผมเชื่อมั่นอย่างเต็มที่ในความ พยายามระหว่างผมและ ฯพณฯ ว่าจะสามารถเติมเต็มซึ่งความมุ่งมาดปรารถนาแก่ประชาชนในประเทศของเราทั้งสอง ในอันที่จะอยู่ร่วมกันอย่างปรองดองกลมกลืนและแบ่งปันความรุ่งเรืองแก่กันและ กัน”

หนึ่งวันก่อนหน้านี้ เว็บไซต์บางกอกโพสต์รายงานว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของไทย พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภาออกมาคาดการณ์ถึงการพบปะกันระหว่างนายกรัฐมนตรีสองประเทศ โดยระบุว่าการพบปะกันดังกล่าวตะเป็นการปูทางไปสู่การเริ่มประชุมของ คณะกรรมการการชายแดนทั่วไปไทย-กัมพูชา หรือ GBCอีกครั้ง

โดย พล.อ.ยุทธศักดิ์ กล่าวว่า การแก้ปัญหาชายแดนนั้นเป็นความสำคัญอันดับต้นๆ โดยอาจจะมีการเดินทางไปยังบริเวณชายแดน จ.ศรีษะเกส และหวังด้วยว่าจะได้พบกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของกัมพูชาเพื่อขอไฟ เขียวให้กับการเข้ามาทำหน้าที่ของคณะกรรมการชายแดนทั่วไป ไทย-กัมพูชา

ใน ประเด็นดังกล่าว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของกัมพูชา พล.อ. เตีย บันห์ กล่าวว่ายังคงเป็นเรื่องที่เร็วเกินไปที่จะพูดถึงการไฟเขียวให้กับการแก้ ปัญหาเส้นเขตแดน อย่างไรก็ตาม เขากล่าวว่าจะส่งจะหมายแสดงความยินดีต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของไทย เช่นกัน

สำหรับท่าทีของนายกรัฐมนตรีกัมพูชานั้น ผู้จัดการออนไลน์รายงานระบุ ฮุนเซนกล่าวปาฐกถาในการประสาทปริญญาบัตรมหาวิทยาลัยทรัพยากรมนุษย์ ในกรุงพนมเปญ

ว่า “วันนี้เป็นโอกาสอันดี ผมขอประกาศเกี่ยวกับยุคใหม่แห่งความร่วมมือระหว่างรัฐบาลราชอาณาจักรกัมพูชา กับรัฐบาลราชอาณาจักรไทย ที่นำโดยพรรคเพื่อไทย”

ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีของกัมพูชาเปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไปกัมพูชา-ไทย และ คณะกรรมาธิการชายแดนร่วมของสองฝ่ายกำลังจะดำเนินต่อไปเมื่อรัฐมนตรีกลาโหมคน ใหม่ของไทยไปเยือนกัมพูชา ซึ่งคราวนี้จะไม่ต้องมีอินโดนีเซียเข้าร่วมด้วย ฮุนเซน กล่าว

อย่างไรก็ตาม สำหรับพื้นที่ 17 ตร.กม.เขตปลอดทหารชั่วคราวตามแนวชายแดนสองประเทศนั้น ยังจำเป็นจะต้องมี คณะสังเกตการณ์อินโดนีเซียเข้าประจำ เนื่องจากเป็นวาระของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ และเป็นคำสั่งของศาลระหว่างประเทศ และของอาเซียนเพื่อฟื้นฟูความเชื่อมมั่นต่อกัน และสันติภาพตามแนวชายแดนให้กลับไปสู่สภาพก่อนวันที่ 15 ก.ค.2551 การเจรจาในทุกระดับจะต้องดำเนินต่อไป

ทั้งนี้ ฮุนเซนกล่าวด้วยว่าความตึงเครียดที่ชายแดนกัมพูชา-ไทย ได้ลดลงนับตั้งแต่พรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้งแบบท่วมท้นในเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคมที่ผ่านมา

“ผมคิดว่า ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตเป็นเพียงฝันร้ายในความสัมพันธ์ระหว่างกัมพูชา และไทย และจากนี้เป็นต้นไปความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจะดีขึ้น” สำนักข่าวเอเอฟพีอ้างคำพูดของฮุนเซนในวันเดียวกัน

ผู้นำกัมพูชา กล่าวอีกด้วยว่า จะมองหาทุกวิถีทางที่จะปรับปรุงสถานการณ์พรมแดนและตนเองไม่คิดว่าความขัด แย้งจะเป็นประเด็นความวิตกกังวลในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียนอีกต่อไป โดยกัมพูชากำลังจะเข้ารับหน้าที่เป็นประธานกลุ่มอาเซียนต่อจากอินโดนีเซียใน ปีหน้านี้.

คนเชียงดาวโวยเมื่อรัฐผุดโครงการเขื่อนกั้นแม่น้ำปิงตอนบน (ตอน 3)

ที่มา ประชาไท

แผนที่แสดงลุ่มน้ำแม่น้ำปิงตอนบน

ฝายชลประทานโป่งอาง ที่ชาวบ้านใช้กันอยู่

เรียนรู้ที่มาของโครงการ
จากข้อมูลของกรมชลประทาน ระบุถึงความเป็นมาของโครงการอ่างเก็บน้ำแม่น้ำปิงตอบนน หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า เขื่อนกั้นน้ำปิงที่โป่งอาง นี้ว่า ‘ลุ่มน้ำปิง’ เป็นลุ่มน้ำที่มีความสำคัญตั้งอยู่ทางภาคเหนือของประเทศไทย มีพื้นที่รับน้ำประมาณ 3,896 ตารางกิโลเมตร โดยมีพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเขต 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ตาก กำแพงเพชร และนครสวรรค์

สภาพ ภูมิประเทศตอนบนของลุ่มน้ำเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน ต้นกำเนิดของแม่น้ำปิง เกิดจากทิวเขาผีปันน้ำในเขตอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ แล้วไหลผ่านหุบเขาลงมาสู่ที่ราบลุ่มกว้างใหญ่ในเขตจังหวัดเชียงใหม่ ผ่านจังหวัดลำพูน จากนั้นไหลไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ผ่านอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ แล้วไหลลงทางทิศใต้ผ่านอำเภอฮอด ก่อนจะไหลลงสู่อ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล

ส่วนแม่น้ำปิงตอนล่างใต้ เขื่อนภูมิพลจะไหลผ่านที่ราบมาถึงบริเวณที่แม่ น้ำวังไหลมาบรรจบ แล้วไหลผ่านที่ราบกว้างใหญ่ในเขตจังหวัดกำแพงเพชร ก่อนจะไปรวมกับแม่น้ำยมและแม่น้ำน่าน เป็นแม่น้ำเจ้าพระยา ที่อำเภอปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์

ลำน้ำสาขาที่สำคัญของแม่น้ำปิง ได้แก่ น้ำแม่งัดมีต้นกำเนิดจากเทือกเขาแดนลาวทางตอนเหนือของลุ่มน้ำไหลมาบรรจบกับ แม่น้ำปิงทางฝั่งซ้าย,น้ำแม่แตงไหลจากเทือกเขาแดนลาวลงมาบรรจบแม่น้ำปิงทาง ฝั่งขวา,แม่น้ำกวงไหลมาบรรจบแม่น้ำปิงทางฝั่งซ้ายที่จังหวัดลำพูน, แม่น้ำลี้ไหลจากอำเภอลี้ขึ้นไปทางทิศเหนือบรรจบแม่น้ำปิงทางฝั่งซ้ายที่ อำเภอจอมทอง,น้ำแม่แจ่มไหลจากเทือกเขาถนนธงชัยทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของ ลุ่มน้ำลงมาบรรจบแม่น้ำปิงทางฝั่งขวาที่อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่

ข้อมูล กรมชลประทาน ระบุต่อว่า ปัจจุบันได้เกิดสภาพความเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินในบริเวณลุ่มน้ำแม่น้ำปิง ตอนบน โดยพื้นที่บริเวณป่าต้นน้ำถูกบุกรุกเปลี่ยนเป็นพื้นที่ทำกินและที่อยู่อาศัย ส่งผลให้เกิดปัญหาทางด้านทรัพยากรน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่ปิง เช่น ปัญหาการขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง และปัญหาอุทกภัยในฤดูฝน ในอดีตลุ่มน้ำปิงเคยประสบปัญหาน้ำท่วมในเขตชุมชนหลายครั้ง เช่น ปี พ.ศ.2538 ในปี พ.ศ.2545 ได้เกิดเหตุการณ์ฝนตกหนักในบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำปิง เป็นเหตุให้เกิดปริมาณน้ำหลากในแม่น้ำปิงลำนน้ำสาขาไหลเข้าท่วมพื้นที่อำเภอ เชียงดาวและไหลลงมาท่วมพื้นที่ตัวเมืองเชียงใหม่ และพื้นที่การเกษตรเป็นบริเวณกว้าง

และในปี พ.ศ.2548 ได้เกิดเหตุการณ์ฝนตกหนักทางตอนบนของลุ่มน้ำปิง และได้เกิดอุทกภัยในบริเวณภาคเหนือ โดยเฉพาะเกิดน้ำท่วมจังหวัดเชียงใหม่หลายระลอก ก่อให้เกิดความสูญเสียต่อทรัพย์สินของทางราชการ ภาคเอกชน และราษฎร สร้างความเสียหายต่อสภาพเศรษฐกิจ โดยเฉพาะรายได้จากการท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก

จากปัญหาการขาดแคลนน้ำ และอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่น้ำปิงตอนบน กรมชลประทานจึงเห็นสมควรให้มีการดำเนินงาน การศึกษาการแก้ไขปัญหาน้ำในลุ่มน้ำแม่น้ำปิงตอนบน และการศึกษาความเหมาะสมและวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการอ่างเก็บน้ำแม่น้ำปิงตอนบน อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ในการบรรเทาปัญหาน้ำในเขตลุ่มน้ำแม่น้ำปิงตอนบน อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่

ย้ำวัตถุประสงค์ของการศึกษา แก้ปัญหาน้ำท่วม-ขาดแคลนน้ำ
จัดทำรายงานการศึกษาความเหมาะสมของโครงการอ่างเก็บน้ำแม่น้ำ ปิงตอน บน อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ การกำหนดทางเลือกของแผนการพัฒนาแหล่งน้ำที่ให้ประสิทธิผลที่ดีในการแก้ไข บรรเทาปัญหาอุทกภัยของลุ่มน้ำปิงตอนบนและในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ และการขาดแคลนน้ำสำหรับการเกษตร การอุปโภคบริโภคการรักษาระบบนิเวศน์ท้ายน้ำ โดยต้องคำนึงถึงการป้องกันบรรเทาอุทกภัยของพื้นที่ชุมชน และพื้นที่การเกษตรสองฝั่งลำน้ำแม่ปิง ผลกระทบต่อปริมาณน้ำในแม่น้ำปิง

จัด ทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment; EIA) และแผนการป้องกันแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและแผนติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวด ล้อม (Environmental Impact Mitigation Plan; EIMP)ตามแนวทางของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(สผ.)

ส่ง เสริมให้ประชาชนและกลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วมในการศึกษาพัฒนาโครงการ ตั้งแต่เริ่มต้น ซึ่งอาจดำเนินการในรูปของคณะทำงานหรือคณะอาสาผู้วิจัยท้องถิ่น

ดำเนิน งานประชาสัมพันธ์ มวลชนสัมพันธ์ การมีส่วนร่วมของประชาชน โดยจัดทำเป็นแผนงานที่ชัดเจน เพื่อแสดงให้เห็นว่ากรมชลประทานมีความมุ่งมั่นในการแก้ไขปัญหาด้านการบรรเทา อุทกภัยและการขาดแคลนน้ำในพื้นที่ให้แก่ราษฎรอย่างโปร่งใส และสร้างโอกาสการมีส่วนร่วมของสาธารณชนอย่างจริงจัง โดยให้สอดคล้องกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของ ประชาชน พุทธศักราช 2548 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550

เผยเน้นแนวทางการศึกษาครอบคลุมทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและเศรษฐศาสตร์
แนวทางการศึกษาโครงการอย่างน้อยให้เป็นไปตามมาตรการวางแผนพัฒนาลุ่ม น้ำ และโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2 มิถุนายน 2552 และแนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการพัฒนาแหล่ง น้ำ ปี 2551 ของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและจะต้องครอบคลุม ประเด็นและเนื้อหาเหล่านี้ คือ

ศึกษาบริบทชุมชนในพื้นที่และ วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายจัดทำมวลชนสัมพันธ์ สร้างความคุ้นเคยและเครือข่าย เพื่อกำหนดรูปแบบการศึกษาอย่างมีส่วนร่วมตั้งแต่เริ่มต้นโครงการ โดยถือเป็นกิจกรรมหลักเพื่อให้สามารถดำเนินการศึกษาได้อย่างต่อเนื่อง

ให้ จัดทำแผนงานของการดำเนินการประชาสัมพันธ์ มวลชนสัมพันธ์ การมีส่วนร่วมของประชาชน กลุ่มอนุรักษ์ และหน่วยงานราชการในการศึกษาพัฒนาโครงการตั้งแต่เริ่มต้น มุ่งให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับสาเหตุ ปัญหา และแนวทางแก้ไขปัญหาอุทกภัยและภัยแล้ง เพื่อสร้างความเข้าใจและมั่นใจให้กับประชาชนในเรื่องประโยชน์ของโครงการ รวมถึงเทคนิคและสื่อที่ใช้ดำเนินการ อาทิ ประชุม การผลิตสื่อต่างๆ เอกสาร วีดิทัศน์ จดหมายข่าว รวมทั้ง ข่าว บทความ สารคดี เพื่อเผยแพร่ทางสื่อมวลชน (หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์) เป็นต้น โดยดำเนินการอย่างเปิดเผย โปร่งใส สอดคล้องกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พุทธศักราช 2548 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 และสุดท้ายให้มีการประเมินผลความคิดเห็นของประชาชนเป็นระยะหรือทุกครั้งที่ มีกิจกรรม

ศึกษาทบทวนแผนงานพัฒนาลุ่มน้ำข้างเคียงที่เกี่ยวข้องกับ ลุ่มน้ำปิงตอนบน รวมถึงการพัฒนาแหล่งน้ำที่ได้พัฒนาและใช้ประโยชน์อยู่แล้ว โดยให้ความสำคัญในประเด็นที่เกี่ยวกับการวางแผนพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการบรรเทา อุทกภัย

สำรวจ ศึกษาและวางแผนทางเลือกของการพัฒนาโครงการอ่างเก็บน้ำแม่น้ำปิงตอนบน จังหวัดเชียงใหม่ ที่มีแนวโน้มที่เหมาะสมในการสนองตอบต่อการบรรเทาอุทกภัยและความต้องการใช้ น้ำ วิเคราะห์ความพอเพียงของแหล่งน้ำต้นทุน วิเคราะห์รายละเอียดเกี่ยวกับตำแหน่งที่ตั้ง ชนิด ขนาด และระดับของอาคาร องค์ประกอบที่มีความเหมาะสมทั้งด้านวิศวกรรม ด้านค่าลงทุน/ความคุ้มทุน ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสังคม และด้านอื่นๆ

ศึกษาวิเคราะห์ ประสิทธิผลของโครงการในการบรรเทาอุทกภัยทั้งด้านระยะเวลาและระดับน้ำท่วม รวมถึงประสิทธิผลในการบรรเทาปัญหาภัยแล้ง ผลประโยชน์ที่ได้รับทั้งที่อยู่และไม่อยู่ในรูปตัวเงิน (Intangible Benefits Assessment)

กำหนดเกณฑ์การออกแบบ (Design Criteria) และออกแบบเบื้องต้นโครงการซึ่งอย่างน้อยต้องครอบคลุมหัวงาน ระบบชลประทานและระบายน้ำ

ใน การศึกษาความเหมาะสมจะต้องมีการใช้แบบจำลองคณิตศาสตร์ด้านแหล่งน้ำให้ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการศึกษาโดยแบบจำลองทั้งหมดจะต้องสามารถใช้งาน ได้อย่างสะดวกมีการจัดระบบฐานข้อมูลที่ดี เพื่อนำผลมาใช้ประกอบในการตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้กำหนดกฎเกณฑ์การบริหารจัดการน้ำอย่างสอดคล้องกับระบบโทรมาตรที่มี การศึกษาในลุ่มน้ำปิง อนึ่ง หากมีการพัฒนาแบบจำลองขึ้นใช้ในการศึกษา แบบจำลองจะต้องเป็นลิขสิทธิ์ของกรมชลประทานเพื่อเผยแพร่ใช้งานต่อไป

ศึกษาและจัดทำคู่มือการบริหารจัดการอ่างเก็บน้ำแม่ปิงตอนบน เพื่อบรรเทาปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งในสภาวะปริมาณน้ำต่างๆ

ศึกษาและจัดทำคู่มือการบริหารจัดการอ่างเก็บน้ำแม่ปิงตอนบน เพื่อบรรเทาปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งในสภาวะปริมาณน้ำต่างๆ

ศึกษา ด้านเศรษฐกิจ สังคม วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานด้านเศรษฐกิจและสังคม (Social and Economic Base Data) ศึกษาเปรียบเทียบข้อมูลระดับโครงการ จังหวัดและประเทศไทยในภาพรวม วิเคราะห์ข้อมูลเจาะลึกในพื้นที่รับผลกระทบ พื้นที่ชลประทาน พื้นที่รับประโยชน์และพื้นที่อื่นๆ (ถ้ามี) วิเคราะห์ถึงสถานะของครัวเรือน การใช้แรงงาน การกระจายรายได้ และผลที่สังคมได้รับจากการพัฒนาโครงการ หลักการกระจายผลประโยชน์สู่สังคม รวมทั้งผลกระทบต่อทัศนคติหรือค่านิยมของประชาชนต่อโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ วิเคราะห์หลักการกระจายผลประโยชน์สู่สังคมและผลที่สังคมได้รับจากโครงการ ซึ่งต้องมีตัวชี้วัดและหลักเกณฑ์ ที่สมเหตุสมผล

ด้านเศรษฐศาสตร์ วิเคราะห์โครงการด้านเศรษฐศาสตร์/เศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อม (ถ้ามี) โดยครอบคลุมถึงค่าลงทุนหรือต้นทุนโครงการและผลประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม (Direct and indirect) ทั้งกรณี Tangible และ Intangible วิเคราะห์ Farm Model การคืนทุน การเสนออัตราที่เหมาะสมและอื่นๆ และความอ่อนไหวกรณีต่างๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ การเงินและผลตอบแทนทางสังคมที่สามารถชี้แจงหรือให้คำตอบที่ชัดเจนแก่สังคม ได้

จัดทำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) และพจนานุกรมข้อมูลของโครงการ เพื่อให้ใช้งานได้สะดวกและสามารถใช้ร่วมกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ที่กรมชล ประทานได้พัฒนาไว้แล้ว

จัดทำการศึกษาลักษณะและความเป็นไปได้ในการ พัฒนาระบบไฟฟ้าพลังน้ำ โดยกำหนดรูปแบบที่เหมาะสมและสอดคล้องกับการบริหารจัดการน้ำ ที่ปรึกษาต้องวิเคราะห์ด้านวิศวกรรม ด้านเศรษฐศาสตร์และการเงิน ของโครงการพร้อมทั้งเสนอแนวทางตามหลักเกณฑ์ กฎระเบียบ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ในเอกสารประกอบโครงการ ยังได้ระบุไว้ในตอนท้ายด้วยว่า- -จัดทำแผนงานแสดงกิจกรรมหลัก กิจกรรมรอง ความเชื่อมโยงของกิจกรรมและภาระงานของบุคลากรหลัก ระยะเวลาดำเนินงานที่ชัดเจน และแผนงานดังกล่าวจะต้องระบุถึงจุดวิกฤตของกิจกรรมที่สำคัญ (โดยเฉพาะงานด้านการมีส่วนร่วม) รวมทั้งจุดวัดผลสำเร็จของงานในแต่ละช่วงอย่างครบถ้วน ทั้งนี้เพื่อใช้ในกรณีการรายงานผลงาน และการปรับปรุงแผนการดำเนินงานหรือยุติการศึกษาโครงการหากไม่สามารถเข้า ดำเนินการสำรวจในพื้นที่ได้

ตัวแทนชาวบ้านเชียงดาว เสนอความเห็นให้ทบทวนโครงการ
ปรุงปรุงแก้ไขฝายยางเชียงดาว-ฝายชลประทานบ้านโป่งอาง
จากรายงานสรุปผลการประชุมปฐมนิเทศและการรับฟังความคิดเห็นเพื่อ กำหนดขอบ เขตและแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (Public Scoping) การศึกษาความเหมาะสมและวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการอ่างเก็บน้ำแม่ปิงตอนบน อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 21 มกราคมพ.ศ. 2554 ที่ผ่านมา ซึ่งจัดขึ้น ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลเชียงดาว อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่

โดย ในเอกสารได้สรุปไว้ว่า จากการประชุมครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถแสดงความคิดเห็นและให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับโครงการ จากช่องทางรับฟังความคิดเห็นหลังจากการประชุมอีก 15 วัน แต่ไม่มีผู้แสดงความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ดังนั้นสามารถสรุปประเด็นจากการประชุมได้ดังนี้

อย่างไรก็ตาม ในการดำเนินการประชุม ผู้เข้าร่วมประชุมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับโครงการและให้ข้อเสนอแนะเพิ่ม เติมจำนวนมากทั้งจากการอภิปรายในช่วงการประชุมและตอบแบบสอบถาม โดยประเด็นหลักที่มีผู้แสดงความคิดเห็นและเสนอแนะมี ดังนี้

-ขอให้ปรับปรุงฝายยางเชียงดาวให้ใช้ประโยชน์ได้เสียก่อน
ฝายยางเชียงดาว หมายถึง ฝายลูกยางกั้นแม่น้ำปิง ที่กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน (พ.พ.) กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมดำเนินการสร้างฝายลูกยางกั้นลำ น้ำปิง บริเวณบ้านม่วงฆ้อง ต.เชียงดาว อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ซึ่งเริ่มดำเนินการก่อสร้างมาตั้งแต่ปี 2542 โดยใช้งบประมาณจำนวน 311.89 ล้านบาท การดำเนินการดังกล่าวเป็นการสร้างเพื่อทดแทนฝายดั้งเดิมของชุมชนเพราะมีสภาพ ทรุดโทรมและต้องซ่อมแซมทุกปี

ปัจจุบันบริษัทรับเหมาดำเนินการเสร็จ แล้ว และจะมีการส่งมอบให้กับกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานในวันที่ 31 พ.ค.2546 แต่เมื่อกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานเริ่มทดลองกักเก็บน้ำ แต่เนื่องจากจากฝายที่สร้างเสร็จมีขนาดใหญ่กว่าฝายดั้งเดิมมาก โดยมีความกว้างถึง 72 เมตร ความสูงของสันเขื่อนประมาณ 3 เมตร ทำให้ระดับน้ำที่กักเก็บเริ่มท่วมพื้นที่ทำกินของชาวบ้านเป็นพื้นที่นับสิบ ไร่

จากเหตุการณ์ดังกล่าว ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ ได้จี้ให้ทางกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานแสดงความรับผิดชอบ แต่ทางรัฐก็ไม่ได้ใส่ใจ ไม่สนใจเสียงเรียกร้องชาวบ้านแต่อย่างใด

ว่า กันว่า ทุกวันนี้ ฝายยางเชียงดาว ไม่ได้ก่อประโยชน์อันใดแก่ชาวบ้านเกษตรกรในพื้นที่ใดๆ เลย ในขณะที่ต้องสูญเสียงบประมาณไปมากถึง 311.89 ล้านบาท จนชาวบ้านในพื้นที่อำเภอเชียงดาวเรียกฝายยางนี้ เป็นอนุสาวรีย์อัปยศแสดงความล้มเหลวของโครงการรัฐอีกแห่งหนึ่งของประเทศไทย

และ ชาวบ้านในพื้นที่อำเภอเชียงดาว ยังได้เสนอความเห็นอีกว่า ขอให้ซ่อมแซมฝายในพื้นที่บ้านโป่งอางให้ใช้ประโยชน์ได้ โดยไม่จำเป็นต้องสร้าวอ่างเก็บน้ำหรือเขื่อนกั้นแม่น้ำปิง เพราะว่า ทุกวันนี้ ภายในพื้นที่หมู่บ้านโป่งอาง หมู่ที่ 5 ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ นั้นมีฝายชลประทานอยู่แล้ว ซึ่งยังคงใช้การได้ เพียงแต่แก้ไขปัญหาการตกตระกอนหน้าดิน มีการขุดลอก ก็สามารถกักเก็บน้ำและใช้ในการเกษตรได้ตามปกติ

-ควรกระจายงบประมาณของโครงการขนาดใหญ่นำมาพัฒนาโครงการขนาดเล็กให้ทั่วทุกพื้นที่
-การดำเนินการพัฒนาโครงการควรคำนึงถึงประโยชน์ของชุมชนให้มากที่สุดและเกิดผลกระทบน้อยที่สุด
-ควรจัดอบรมเรื่องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้กับเยาวชน
-ควรให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการศึกษาทุกด้านของโครงการ ฯลฯ

ซึ่ง ทำให้ชาวบ้านในพื้นที่ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า- -ข้อเสนอและการแสดงความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ดังกล่าวข้างต้นนั้น กลับเงียบหาย ไม่มีการตอบสนอง

แต่กรมชลประทาน และทีมงานศึกษาชุดดังกล่าว ยังคงจะดำเนินการเดินหน้าโครงการอ่างเก็บน้ำแม่น้ำปิงตอนบน หรือเขื่อนกั้นแม่น้ำปิงตอนบนที่อำเภอเชียงดาว ต่อไป

ข้อมูลประกอบ
โครงการอ่างเก็บน้ำแม่น้ำปิงตอนบน อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่,สำนักบริหารโครงการ กรมชลประทาน
ฝายยางกั้นน้ำปิงกักน้ำแล้วชาวบ้านโวยน้ำท่วมพื้นที่ทำกิน
http://www.prachatham.com/detail.htm?code=n_30052003_01

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
คนเชียงดาวโวยเมื่อรัฐผุดโครงการเขื่อนกั้นแม่น้ำปิงตอนบน (ตอน 1)
http://www.prachatai.com/journal/2011/07/36153
คนเชียงดาวโวย เมื่อรัฐผุดโครงการเขื่อนกั้นแม่น้ำปิงตอนบน (2)
http://prachatai.com/journal/2011/07/36193

โชคดีที่เกิดเป็นคนไทยใต้ร่มบรมโพธิสมภารยิ่งแล้ว

ที่มา Thai E-News

"พระ ราชินี" เสด็จพระราชดำเนินลง ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชทานพระราชวโรกาสให้คณะบุคคลต่างๆ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ทรงตรัสพระพลานามัยในหลวง ทรงสบายดีขึ้นมาก ทรงติดตามห่วงผู้ประสบภัยธรรมชาติอย่างใกล้ชิด ได้พระราชทานสิ่งของไปช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่น้ำท่วมหลายแห่ง ขณะเดียวกัน ได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาประชุมปรึกษาหารือถึงแนวทางที่จะช่วยเหลือ ประชาชน ทรงห่วงป่าถูกทำลาย เป็นเหตุทำให้น้ำท่วมพร้อมยกย่องทหารกล้า-ช่างภาพ ฮ.ตก ชม จนท.กู้ศพเสียสละ ทรงห่วงเรื่องยาเสพติด ขอให้รัฐบาลนำไปดำเนินการสานต่อจากรัฐบาลที่แล้ว โดยทุกคนช่วยกันเป็นหูเป็นตาขอให้ทุกฝ่ายช่วยคิดหาวิธีทำให้ภาคใต้กลับคืน ความสงบสุขโดยเร็ว(ภาพข่าว:ASTVผู้จัดการ)


โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
12 สิงหาคม 2554

จากพระราชเสาวนีย์ข้างต้นนั้น พสกนิกรไทยต่างน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อพสกนิกรทุกหมู่เหล่านับ เป็นบุญที่ได้เกิดมาเป็นคนไทย ได้อาศัยพระบรมโพธิสมภารเป็นที่พึ่ง โดยเฉพาะในยามที่บ้านเมืองมีวิกฤตการณ์แตกแยกออกเป็นหลายฝ่ายช่วงหลายปีมา นี้

ทั้งนี้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นอันหาที่สุดมิได้ต่อพสกนิกรทุกหมู่เหล่าที่อาศัยอยู่ใต้พระบรมโพธิสมภาร

พระมหากรุณาธิคุณ-พระราชินี เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ในการวางพวงมาลา และพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ พ.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม ที่เสียชีวิตจากการปฏิบัติการยึดคืนพื้นที่จากกลุ่มผู้ชุมนุม นปช. เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2553 ในการนี้มีรับสั่งว่า เสียใจ เสียดายนายทหารที่ดี นับว่าเป็นการสูญเสียทหารที่ทำหน้าที่ปกป้องบ้านเมือง และขอขอบคุณพ่อแม่ที่เลี้ยงลูกมาเป็นอย่างดี มีความภักดีต่อราชวงศ์ (รายละเอียดข่าว)

ในคราวเกิดเหตุการณ์จลาจลขึ้นในบ้านเมืองเมื่อปีที่แล้ว ในส่วนของเจ้าหน้าที่ที่เสียชีวิตขณะปฏิบัติหน้าที่นั้น เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2553 ที่ผ่านมา ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เป็นกรณีพิเศษ ดังนี้

ประกาศสำนักนายกฯ ระบุว่า ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เป็นกรณีพิเศษ ให้แก่ ข้าราชการทหารสังกัดกองทัพบก ซึ่งเสียชีวิตเนื่องจากปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการใน สถานการณ์ฉุกเฉิน ด้วยความเสียสละและฝ่าอันตรายจนถึงแก่ชีวิต ซึ่งการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว ได้ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ทางราชการและเป็นแบบอย่างอันควรแก่การยกย่อง สรรเสริญสืบไปจำนวน 5 ราย ดังนี้

ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก
1. พลเอก ร่มเกล้า ธุวธรรม
เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย
2 . ร้อยเอก ภูริวัฒน์ ประพันธ์
3. ร้อยเอก อนุพนธ์ หอมมาลี
4. ร้อยโท อนุพงษ์ เมืองอำพัน
5. ร้อยตรี สิงหา อ่อนทรง
ประกาศ ณ วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2553
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
สุเทพ เทือกสุบรรณ
รองนายกรัฐมนตรี

เย็นศิระ เพราะพระบริบาล-เมื่อเวลา19.00น.เมื่อวันที่
15 เมษายน 2553 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์ยังอาคารเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ถนนราชวิถี เพื่อทรงเยี่ยมทหารที่ได้รับบาดเจ็บระหว่างปฏิบัติการขอพื้นที่คืนจากผู้ ชุมนุมกลุ่มคนเสื้อแดง เมื่อวันที่ 10 เมษายน
โดยมีประชาชนมาเฝ้ารับเสด็จเป็นจำนวนมาก(ภาพข่าว:ASTVผู้จัดการ)

ทรงมีพระราชหัตถเลขาชมเชยสตรีไทยช่วยฟื้นฟูภาพลักษณ์ของชาติ

อีกเรื่องหนึ่งที่นำความปลาบปลื้มปิติเป็นล้นพ้นต่อปวงพสกนิกรชาวไทยก็ คือในคราวที่เกิดจลาจลในกรุงเทพฯเมื่อปีที่แล้วนั้น ท่านผู้หญิงจรุงจิตต์ ทีขะระ นางสนองพระโอษฐ์ และรองราชเลขานุการในพระองค์ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถได้อัญเชิญพระราชหัตถเลขา ในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระราชทานให้กับคุณนภัส ณ ป้อมเพชร






พระราชหัตถเลขา ลงวันที่ 24 กรกฎาคม 2553 มีความรายละเอียดว่า


ถึง คุณนภัส ณ ป้อมเพ็ชร์

ฉันได้อ่านจดหมายของคุณที่เขียนถึงสำนักข่าว CNN แล้ว รู้สึกภูมิใจที่คุณยืนขึ้นทำหน้าที่ของคนไทยตอบโต้นักข่าวต่างชาติอย่าง องอาจตรงไปตรงมา แต่ก็ด้วยความสุภาพและมีเหตุผลที่ชัดเจนพอที่จะทำให้ประชาคมโลกที่ได้อ่าน จดหมายของคุณต้องทบทวนความเชื่อถือที่มีต่อ CNN

ชื่นชมยิ่งที่คุณช่วยฟื้นฟูภาพลักษณ์ของประเทศชาติ

( ลายพระราชหัตถเลขาในสมเด็จพระนางเจ้าฯ )


น้ำพระทัยแผ่ไพศาลต่อพสกนิกรยามบ้านเมืองแตกแยก


พระมหากรุณาธิคุณต่อพสกนิกร-ไม่เพียงแต่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อฝ่ายเจ้าหน้าที่
ยังทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อพสกนิกรทุกหมู่เหล่า โดยเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2551 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์อัครราชกุมารี ไปในการพระราชทานเพลิงศพนางสาวอังคณา ระดับปัญญาวุฒิ หรือน้องโบว์ ผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์กลุ่มผู้ชุมนุมพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จัดการชุมนุมและปะทะกับตำรวจ เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม2551 ณ เมรุวัดศรีประวัติ ต.ปลายบาง อ.บางกรวย จ.นนทบุรี

ในโอกาสดังกล่าวนายจินดา ระดับปัญญาชาติวุฒิ บิดาของนางสางอังคณา พร้อมด้วยนางสาวดารณี นางสาววิชชุดา บุตรสาวทั้งสองเข้าเฝ้าฯสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่พลับพลาที่ประทับ
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชปฏิสันถารกับครอบครัวระดับปัญญาวุฒิ ประมาณ 15 นาทีก่อนที่ทั้งสองพระองค์จะเสด็จพระราชดำเนินกลับ

หลังจากที่ทั้งสองพระองค์เสด็จฯกลับ นายจินดาให้สัมภาษณ์ โดยที่หนังสือ พิมพ์มติชนรายงานว่า สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงรับสั่งว่า นางสาวอังคณาเป็นคนดีเป็นคนเก่ง และขอชื่นชมที่ได้ทำหน้าที่ปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ขอเป็นกำลังใจให้ครอบ ครัวสู้ต่อไป

"พระองค์ทรงรับสั่งว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับนางสาวอังคณา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงรับรู้เรื่องราวโดยตลอด รวมทั้งกรณีพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานทรัพย์ช่วยเหลือมาด้วย ซึ่งผมและครอบครัวระดับปัญญาวุฒิรู้สึกภาคภูมิใจอย่างหาที่สุดมิได้
ที่ทั้งสองพระองค์เสด็จในงานพระราชทานเพลิงของลูกสาว ซึ่งผมและครอบครัวจะน้อมนำเอาพระราชดำรัสที่ทรงห่วงใยมาเป็นกำลังใจในการ ดำเนินชีวิตต่อไป"

ต่อมานายจินดาให้สัมภาษณ์อีกครั้งว่า "พระองค์ตรัสว่า อังคณาเขาทำดีน่ะ รักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ พระองค์ท่านตรัสว่า เสียใจไม่น่าเกิดเหตุการณ์อย่างนี้เลย"

"สมเด็จพระราชินีทรงถามสารทุกข์สุกดิบของครอบครัว พระองค์ตรัสถามถึงอาการของภรรยาผมเป็นอย่างไรบ้าง ผมทูลฯตอบไปว่า รักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลศิริราช อยู่ในพระราชินูปถัมภ์ พระองค์ท่านยังทรงกล่าวอีกว่า ยังไงก็ต้องมางานนี้ เพราะทำเพื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระองค์ด้วย"

พระมหากรุณาธิคุณต่อพสกนิกรชาวไทยทุกหมู่เหล่า


"ตี๋ ชิงชัย" วาดพระสาทิสลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าฯ
ด้วยมือซ้าย


พระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนางเจ้าฯต่อพสกนิกรนั้นยังแผ่ไพศาลต่อมา อย่างสืบเนื่อง ในคราววันเฉลิมพระชนมพรรษา12สิงหามหาราชินีเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2552
เวบไซต์ผู้จัดการASTV
รายงานข่าวว่า "พระราชินีตรัสชื่นชม"ตี๋ ชิงชัย"วาดพระสาทิสลักษณ์"เก่งมาก" โดยรายละเอียดข่าวมีว่า เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2552 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานพระราชวโรกาสให้ นายชิงชัย อุดมเจริญกิจ หรือ ตี๋ ชิงชัย ศิลปินผู้สูญเสียมือขวาจากเหตุการณ์ 7 ตุลาคม 2551 พร้อมภรรยาเข้าเฝ้าฯ
เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายพระบรมสาทิสลักษณ์ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ ที่นายชิงชัยวาดด้วยมือซ้าย ซึ่งพระองค์ทรงมีพระราชปฏิสันถารว่า "เก่งมาก"


พระบรมสาทิสลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ผลงานการวาดด้วยมือซ้ายของนายชิงชัย อุดมเจริญกิจ ศิลปินผู้สูญเสียมือขวาจากเหตุการณ์ 7 ตุลา 51

"ตี๋ ชิงชัย" เป็นหนึ่งในศิลปินนักสู้ที่เข้าร่วมชุมนุมกับพันธมิตรเมื่อวันที่ 7 ตุลาคมนั้น "ตี๋ ชิงชัย" ถูกระเบิดแก๊สน้ำตาจากเจ้าหน้าที่ตำรวจจนมือข้างขวาที่เคยใช้วาดรูป ขาดกระจุยและกล่องเสียงถูกทำลาย แต่มีตำรวจบางคนและสื่อมวลชนบางฉบับ ได้รายงานว่านายชิงชัยว่ากำระเบิดมาเอง แต่ผู้จัดการASTVระบุว่า ในความเป็นจริงสิ่งที่เขากำอยู่ในมือคือพวงกุญแจหนัง

ด้วยน้ำพระทัยแผ่ไพศาล ทำให้บ้านเมืองที่เคยรุ่มร้อน ก็ผ่อนคลายร่มเย็นสงบลงด้วยพระบารมีเป็นที่ตั้ง
ปวงข้าพระพุทธเจ้าต่างน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ ขอถวายความจงรักภักดี เป็นข้ารองบาทราชจักรีวงศ์ทุกชาติไป

ในอภิลักขิตสมัย เฉลิมพระชนมพรรษา 12 สิงหามหาราชินีเวียนมาบรรจบอีกครั้ง ขอพระองค์จงทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด