WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, August 20, 2011

จรัล ดิษฐาอภิชัย:ไทยส่งอภิสิทธิ์-สุเทพขึ้นศาลอาญาระหว่างประเทศได้ แม้ยังไม่ลงนามสัตยาบัน

ที่มา Thai E-News

ตาม มาตรา ๑๒ อนุ๓ ศาลอาญาระหว่างประเทศก็รับพิจาณาคดีประเทศที่ยังไม่เป็นภาคีธรรมนูญกรุงโรม ได้ หากรัฐบาลประเทศนั้นๆแถลงยอมรับอำนาจตุลาการของศาลฯเหนือดินแดนของประเทศตน เช่น คดีไอวอรีโคต.. จากที่ผมได้ไปสังเกตการณ์การพิจารณาคดีน่าสนใจยิ่ง ทำให้ผมจินตนาการว่า ถ้าอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สุเทพ เทือกสุบรรณ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นจำเลย คงจะดูไม่จืด

โดย จรัล ดิษฐาอภิชัย

เมื่อวันที่๑๘ สิงหาคม ที่ผ่านมา ผมไปเยี่ยมศาลอาญาระหว่างประเทศ(International Criminal Court -ICC )ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์

ที่แรก ผมขอให้คณะรณนรงค์เพื่อศาลอาญาระหว่างประเทศ ติดต่อ ฟาดิ เอล อัลดาลาห์ ( Fadi.EL Abdallah ) โฆษกของศาลฯเพื่อขอพบ และถามความคืบหน้าคดีเมษายน- พฤษภาคม ๒๕๑๐ ซึ่งโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ทนายความของนปช.ยื่นฟ้องเมื่อเดือนมีนาคม ที่ผ่านมา

แต่เนื่องจากเวลากระชั้นชิด โฆษกไม่ว่าง ผมจึงขอไปฟังการพิจารณาคดีคองโก เพื่อรู้จักศาลสิทธิมนุษยชนนี้เพิ่มเติม

ศาลอาญาระหว่างประเทศ ตั้งขึ้นตามธรรมนูญกรุงโรมเมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๔๕ ถึงปัจจุบัน มี ๑๑๖ ประเทศให้สัตยาบัน

ศาลอาญาระหว่างประเทศมีอำนาจพิจารณาคดี ๔ ประเภท คือ คดีฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ คดีอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ คดีอาชญากรสงคราม และคดีอาชญากรรมการรุกราน

มีคณะผู้พิพากษามี๑๘ คน ประธานศาลเป็นคนเกาหลีใต้ และขณะนี้กำลังพิจารณา ๖ คดี เช่น คดีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในอูกานดา คดีคองโก คดีดาร์เฟอร์ ซูดาน คดีอาฟริกากลาง คดีเคนยา คดีไอวอรีโคต คดีสุดท้าย คดีลิเบีย ศาลอาญาระหว่างประเทศได้ออกหมายจับไปแล้ว ๑๕ ใบ มีจำเลยถูกคุมขังอยู่ ๕ คน

คดีคองโกทีผมไปฟังการพิจารณา เกิดมาตั้งแต่ปี ๒๕๔๕ จำเลย คือเจอร์เมน คาตังกา ( Germain Katanga) และมาธิว นกูโจโล ซู ( Mathieu Ngudjolo Chui )

คนแรกเป็นผู้บัญชาการกองกำลังรักชาติต่อต้านรัฐบาล คนที่สอง เป็นผู้นำแนวร่วมแห่งชาติของชนเผ่า

ศาลอาญาระหว่างประเทศออกหมายจับจำเลยทั้ง๒ เมื่อปี ๒๕๕๐ เจอร์เมนมอบตัวเมื่อเดือนตุลาคม ๒๕๕๐ และ มาธิวถูกทางการคองโกจับได้เมื่อเดือนกุมาพันธ์ ปี ๒๕๕๑

ทั้งสองถูกส่งมาศาลฯกรุงเฮก ซึ่งศาลเริ่มพิจารณาคดีนี้มาตั้งแต่เดือนกันยายน ๒๕๕๑ จำเลยทั้งสองถูกฟ้องข้อหาฆ่าล่างเผ่าพันธุ์ อาชญากรรมต่อต้านมนุษยชาติ และอาชญากรรมสงคราม โดยมีการกระทำฆ่าหมู่และเผาหมู่บ้านของพลเรือน ใช้ทหารเด็ก ฯลฯ

ช่วงที่ผมเข้าไปนั่งฟัง เป็นช่วงที่อัยการหญิงการซักถามพยานจำเลย โดยพยานจำเลยมิได้มายืนในห้องพิจารณา คงอยู่ในห้องลับ อัยการถาม พยานตอบด้วยวิดิโอภาพเลือนราง ไม่เห็นตัวเห็นหน้าตา เช่น พยานเคยไปฝึกทหารกับจำเลยหรือไม่ พยานรู้เห็นทหารเผาหมู่บ้านได้อย่างไร เหล่านี้เป็นต้น

โดยมีทนายจำเลยคอยแย้ง และท้วงติง ตลอดเวลา จำเลยทั้งสองนั่งนั่งแถวหลังสุดของคณะทนายของตน มีตำรวจ๒ คนถือกุญแจมือนั่งขนาบข้าง

การพิจารณาคดีน่าสนใจยิ่ง ทำให้ผมจินตนาการว่า ถ้าอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สุเทพ เทอือกสุบรรณ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นจำเลย คงจะดูไม่จืด

ความจริงมีเรื่องเล่ามากว่านี้ แต่ขอกลับไปยังคดีสังหารหมู่เดือนเมษายนและพฤษภาคม ๒๕๑๐ คนเสื้อแดง รวมทั้งผมอยากรู้ว่าศาลอาญาระหว่างประเทศรับฟ้องหรือยัง

ผมพยายามหาคำตอบ ก็ได้ความว่า อัยการยังไม่ส่งฟ้อง เขาคงรอให้ประเทศไทยให้สัตยาบันธรรมนูญกรุงโรม ก่อน แต่ทว่า ตามมาตรา ๑๒ อนุ๓ ศาลอาญาระหว่างประเทศก็รับพิจาณาคดีประเทศที่ยังไม่เป็นภาคี ธรรมนูญกรุงโรมได้ หากรัฐบาลประเทศนั้นๆแถลงยอมรับอำนาจตุลาการของศาลฯเหนือดินแดนของประเทศตน เช่น คดีไอวอรีโคต เมื่อรัฐบาลที่นั่นแถลงยอมรับอำนาจตุลาการของศาลอาญาระหว่างประเทศเมื่อวัน ที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๔๖ และต่อมา ประธานาธิบดีคนใหม่แถลงยืนยันอีกครั้งเมื่อต้นปีนี้ อัยการของศาลอาญาระหว่างประเทศจึงเริ่มดำเนินการสอบสวน

ฉะนั้น หากรัฐบาลใหม่ของไทยยื่นคำแถลงต่อฝ่ายทะเบียนของศาลอาญาระหว่างประเทศ ศาลจะรับพิจารณาคดี ไม่ต้องรอให้สัตยาบันหรือคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติร้องขอเหมือนกรณี ลิเบีย

ผมเชื่อว่าโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม จะเดินหน้าคดีเมษา พฤษภา ต่อไป และขอเสนอความคิดเห็นต่อรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ให้พิจารณาเรื่องนี้อย่างจริงจัง

********
เรื่องเกี่ยวเนื่อง:กก.สิทธิฯดิ้นช่วยฆาตกรสังหารเสื้อแดง ทนายฝรั่งไม่ไหวจะเคลียร์จ่อมาไทยคุ้ยข้อมูลเด็ดส่งศาลICC


-1ปี3เดือนฆ่าหมู่ราชประสงค์ ฮิวแมนไรต์ฯกดดันปูเอาผิดฆาตกร-ฟันหัวโจกพธม.หลังดองคดี3ปีลอยนวล

คนเสื้อแดงกับพรรคเพื่อไทย (ภาคพิสดาร)

ที่มา Thai E-News



โดย หรี่ฟุน
20 สิงหาคม 2554


จะเห็นว่า เซี่ยมก่ก มีเหล่าอำมาตย์เฒ่าเจ้าเล่ห์ และกองกำลังทหารมากมาย แต่หาเป็นประโยชน์กับการชิงชัยของ มวลชนคนเสื้อแดง ไม่!

จึงกล่าวกันว่า ชัยชนะนั้นสร้างขึ้นได้ กองทัพทหารและเหล่าขุนนางอำมาตย์เฒ่ามีกำลังมหาศาลก็จริง แต่เราสามารถทำให้กองทัพและอำมาตย์ต่อกรกับเราไม่ได้

ดังนั้นต้องวิเคราะห์ เพื่อทราบจุดอ่อนจุดแข็งของแผนการ ต้องเคลื่อนไหว เพื่อหยั่งรู้กฎเกณฑ์การเคลื่อนกำลังของอำมาตย์เฒ่าเจ้าเล่ห์ กองกำลังขุนทหาร นักรบรับจ้างนอกถนน และบรรดากลุ่มเกี๋ยวกุ๊ยที่ออกมาปลุกกระดม

ดังนั้น พลังมวลชนคนเสื้อแดง จึงต้องกำหนดตัว “ยิ่งลักษณ์” เพื่อทราบจุดเป็นจุดตาย และต้องสู้รบเพื่อหยั่งรู้จุดอ่อนจุดแข็งของทั้งสองฝ่าย สุดยอดแห่งการกำหนดตัว “ยิ่งลักษณ์” ก็คือทำให้ (ฝ่ายเรา) ไร้ “ยิ่งลักษณ์” เมื่อไร้ ”ยิ่งลักษณ์” ยอดจารชนก็ไม่อาจสืบสภาพที่แท้จริงฝ่ายเราได้

ผู้มีสติปัญญาจึงไม่สามารถวางแผน (รบกับเรา) เพราะว่ากำหนด “ยิ่งลักษณ์” จึงอำนวยชัยแก่นักรบไพร่พล แต่นักรบไพร่พลหาดูออกไม่ คนทั้งหลายล้วนทราบ “ยิ่งลักษณ์” เหตุแห่งชัยของเรา แต่หารู้วิธีใช้ “ยิ่งลักษณ์” แห่งชัยของเราไม่ ก็เพราะเรารบชนะโดยเปลี่ยน “ยิ่งลักษณ์” พลิกแพลงไร้ขอบเขต ไม่ซ้ำ “ยิ่งลักษณ์” เดิม

“ยิ่งลักษณ์” แห่งมวลชนคนเสื้อแดงคล้ายน้ำ น้ำไหลโดยหลีกที่สูงลงสู่ที่ต่ำ มวลชนคนเสื้อแดงชนะโดยเลี่ยงจุดแข็งตีจุดอ่อน น้ำไหลตามสภาพการเปลี่ยนแปลงของมวลชนคนเสื้อแดง คือกองทัพแห่งเทพ ธาตุทั้งห้าไม่มีธาตุใดชนะเสมอ (ธาตุทั้งห้าจะให้กำเนิดและข่มซึ่งกันและกัน) สี่ฤดูหมุนเวียนเคลื่อนคลาด กลางวันมีสั้นมียาว พระจันทร์มีเต็มมีเว้า

ที่โบราณเรียกว่าผู้สันทัดการรบนั้น คือผู้ที่เอาชนะได้ง่าย ฉะนั้น ชัยชนะของผู้สันทัดการรบ จึงมิได้ชื่อว่ามีสติปัญญา มิมีความชอบในเชิงกล้าหาญ ฉะนั้น ชัยชนะของเขาจึงมีพึงกังขา เหตุที่มิพึงกังขา ก็เพราะปฏิบัติการของเขาจักต้องชนะ จึงชนะผู้ต้องพ่ายแพ้ ฉะนั้น ผู้สันทัดการรบจึงตั้งอยู่ในฐานะไม่แพ้ และไม่สูญเสียโอกาสทำให้ข้าศึกต้องแพ้

เหตุนี้ ฝ่ายชนะรู้ว่าชนะก่อนจึงออกรบ ฝ่ายแพ้รบก่อนแล้วจึงหวังว่าจะชนะ ฉะนั้น ผู้สันทัดการบัญชาทัพ จักจรรโลงไว้ซึ่งมรรคและกฎระเบียบ ฉะนั้น จึงสามารถกำหนดชัยชนะและพ่ายแพ้ได้ หลักแห่งการทำศึก มี หนึ่งคือวินิจฉัย สองคือคำนวณ สามคือปริมาณ สี่คือเปรียบเทียบ ห้าคือชัยชนะ

พื้นที่และความสูญเสียก่อให้เกิดการวินิจฉัย การวินิจฉัยก่อให้เกิดการคำนวณ การคำนวณก่อให้เกิดปริมาณ ปริมาณก่อให้เกิดการเปรียบเทียบ การเปรียบเทียบก่อให้เกิดชัยชนะ นี่คือหัวใจการทำศึกของมวลชนคนเสื้อแดง

ฉะนั้น มวลชนคนเสื้อแดงและพรรคเพื่อไทยที่ชนะ จึงประดุจเอาหนึ่งอี้ไปเปรียบกับหนึ่งจู พรรคประชาธิปัตย์รวมทั้งเหล่าอำมาตย์เฒ่าและขุนทหารที่แพ้ จึงประดุจเอาหนึ่งจูไปเปรียบกับหนึ่งอี้ ไพร่พลของฝ่ายมวลชนคนเสื้อแดง จึงเสมือนปล่อยน้ำที่กักในลำธารสูงแปดพันเซียะ ให้ทะลักกระโจนลงมา นี้คือรูปลักษณ์ของการรบ
สรุปอย่าปล่อยน้ำให้มากไปทางเหนืออีสานขุมข่ายพลังแดงจะเดือดร้อน......


**********
เรื่องเกี่ยวเนื่อง:พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์:คนเสื้อแดงกับพรรคเพื่อไทย

"จุดอ่อน" ที่รีบเผย "เพื่อไทย"อายุสั้นเพราะ "สภา" ?

ที่มา มติชน





เพียง 2 สัปดาห์ ที่ "ขุนค้อน-สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์" รับตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร ก็คงจะได้รู้แล้วว่าภาระที่ได้รับ น่าจะหนักไม่น้อยไปกว่าการ "เข็นครกขึ้นภูเขา"

แม้ล่าสุด "พรรคเพื่อไทย (พท.)" จะสามารถชนะเกมงัดข้อกับ "พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.)" ในการกำหนดวันและเวลาในการประชุมสภาได้ ด้วย "จำนวนมือ" ที่มีมากกว่าเกือบ 1 เท่าตัว

แต่กว่าจะ "ชนะโหวต" ได้ ก็เล่นเอา "คนบนบัลลังก์" อ่วมไปพอสมควร

หลัง จาก ปชป.ส่ง ส.ส.รุ่นใหม่-รุ่นกลาง ออกมาลองของ "ท่านประธานมือใหม่" อย่างต่อเนื่อง จนเจ้าตัวต้องรีบสั่งปิดประชุมทันทีเมื่อสิ้นวาระ

เป็นการส่งสัญญาณชัดเจนว่าจากนี้ไป "รัฐบาล 300 เสียง" จะต้องเผชิญสารพัดด่านทดสอบ "น้ำลาย" แบบนอนสต๊อบ

อย่า ลืมว่า แม้อำนาจบริหารจะอยู่ในมือ "ครม.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" แต่งานหลายอย่างจะต้องผ่านเวทีนิติบัญญัตินี้ โดยเฉพาะการออกกฎหมายสำคัญ

อย่า คิดว่าทุกอย่างจะง่าย เหมือนการขอหนังสือเดินทาง (วีซ่า) เข้าประเทศญี่ปุ่นให้ "นายใหญ่ดูไบ" ที่เพียงเรียกทูตมาคุยกัน 2 ต่อ 2 ก็ฉลุย

เพราะในสภามีหู-ตาของฝ่ายค้านอย่างน้อย 159 คู่ จับจ้อง-จับผิด การกระทำของ "รัฐบาลโคลนนิ่ง" ทุกฝีก้าว

หากไล่เวทีที่ ปชป.จะได้แสดง "แสนยานุภาพทางปาก" บอกได้คำเดียวว่า "พรรคขวัญใจคนเสื้อแดง" สาหัสแน่!

ไม่ ว่าจะเป็น การแถลงนโยบายต่อที่ประชุมรัฐสภา ระหว่างวันที่ 23-24 สิงหาคมนี้ ที่ทุกฝ่ายจับตาว่านโยบายร้อน อาทิ ขึ้นค่าแรง 300 บาท ขึ้นค่าตอบแทนปริญญาตรี 15,000 บาท จะไปอยู่ในหมวด "เร่งด่วน-ทำทันที" หรือไม่

รวมถึงการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2555 ที่คาดว่าพิจารณาได้ราวปลายปีนี้ ก็เป็นเวที "โชว์ของ" ของฝ่ายค้านดีๆ นี่เอง

ยังไม่รวมถึงการตรวจสอบผ่านคณะกรรมาธิการ (กมธ.) สามัญชุดต่างๆ ที่ "ขุนพล ปชป." เตรียมยื้อ-แย่ง กมธ.คณะดีๆ มาไว้ในกำมือ สำหรับเป็น "หอกข้างแคร่" ไว้เตะตัดขา "ครม.ปูจ๋า" ให้ล้มได้ทุกเวลา

ที่ไล่มาข้างต้น เป็นเพียงภารกิจปกติ-งานประจำเท่านั้น หากรวมถึง "ภารกิจพิเศษ" ทั้งการแก้ไขรัฐธรรมนูญ หรือออกกฎหมายนิรโทษกรรม

เชื่อว่าหาก "ดัน" เข้า "สภา 500" เมื่อไร อาจมีใครบางคนเมาน้ำลาย จนถูก "น็อกกลางสภา" ได้ง่ายๆ

เพราะ ต้องไม่ลืมว่า แม้สังคมบางจะแหนงหน่าย ปชป.สมัยเป็นรัฐบาล แต่น่าแปลก เมื่อกลับมาเป็นฝ่ายค้าน "เสียงเชียร์" มักกระหึ่มทุกครั้งที่พรรคเก่าแก่นี้ออกอาวุธ

และแม้หลายวาระของรัฐบาลจะใช้ "เสียงข้างมากลากถู" ไปได้ แต่ "ความชอบธรรมทางสังคม" ก็มีความสำคัญต่อเสถียรภาพของรัฐบาลเช่นกัน

เคยมีตัวอย่างมาแล้วในยุค "รัฐบาลทักษิณ 2" ที่มี 377 เสียงในสภา มากที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทย แต่ท้ายสุดก็ยังอยู่ไม่ได้

ยิ่ง เวลานี้ ปชป.เตรียมวาง "ตาข่ายฟ้าดิน" ไว้ดักจับการทำงานของรัฐบาลหลายชั้น ทั้งวิปฝ่ายค้าน ครม.เงา กมธ.ชุดต่างๆ ศูนย์ติดตามนโยบายและการทุจริต รวมไปถึงกองกำลังอิสระ-หมู่บ้านอำมาตย์ที่นำโดย "สุเทพ เทือกสุบรรณ"

เมื่อเจอ "เขี้ยวลากดิน" ระดับนี้ พท.ได้เหงื่อตกแน่

และ แน่นอนว่า เมื่อถึงเวลานั้น "ยิ่งลักษณ์" จะหนีการตรวจสอบ-เดินแหวกวงล้อม หลังเจอ "คำถาม" ที่ "ตอบไม่ได้" เหมือนที่ชอบทำกับนักข่าว ไม่ได้แล้ว

พท.ได้หวนคืนอำนาจไม่ถึง 1 เดือน ก็แสดงให้เห็นถึง "จุดอ่อน" เดิมๆ นั่นคือ "กลเกมในสภา"

แม้มี "ดาวไฮด์ปาร์ก-แกนนำม็อบ" อยู่เต็มพรรค แต่งานสภานั้น ต่างจากการนำมวลชนแบบ "คนละเรื่อง"

เปรียบเทียบง่ายๆ สมัย "ชัย ชิดชอบ" นั่งอยู่บนบัลลังก์ หากมี ส.ส.ฝ่ายค้านลองดีประธานมากๆ ก็จะมีคน ปชป.ยกมือขึ้นช่วยแล้ว

แต่ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา "ขุนค้อน" กลับถูกกระหน่ำอยู่แบบ "วัน แมน โดน (ถล่ม)" ทั้งๆ ที่ "ประธานสภา" เป็นผู้กำหนดเกมในสภาแทบทุกอย่าง เหมือนที่ "ปู่ชัย" เคยทำจนได้รับฉายา "ตลกเฒ่าร้อยเล่ห์" นับแต่การปิด-เปิดไมค์ ชี้นิ้วให้ใครพูด-ไม่พูด ไปจนถึงการดึงวาระว่าอันไหนควรพิจารณาก่อน-หลัง

จะทำตลกลดแรงกดดันจากฝ่ายค้าน หรือสวมบทโหด รวบรัดโหวต-ปิดประชุม ก็ยังได้

แต่ พท.กลับแสดงให้เห็นถึง "จุดบอด" นี้ เร็วเกินไป หากไม่รีบปรับตัว อาจกลายเป็น "จุดตาย" และทำให้รัฐบาล "ยิ่งลักษณ์" มีอันเป็นไปก่อนเวลาอันควร!!!

ท้องอิ่ม .. แต่กินไม่มีความสุข

ที่มา มติชน



โดย นายปราบ รักไฉไล

ในขณะที่รัฐบาล "ปู1" มีนโยบายด้านเศรษฐกิจอยู่เป็นจำนวนมาก


มีขุนพลทางเศรษฐกิจฝีมือดีพร้อมทำงานอยู่หลายคน


แต่สำหรับพรรคเพื่อไทย ที่ถูกฝ่ายตรงข้ามเล่นงานทางการเมืองตลอดหลายปี


กลับมีนโยบายทาง "การเมือง" น้อยเหลือเกิน


ไม่ใช่แค่นักการเมืองเท่านั้นที่โดนเล่นงาน


ประชาชนที่สนับสนุน ต่างก็โดนด้วยกันมาทั้งสิ้น


รัฐบาลชุดนี้ จะทำอย่างไรกับรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 ที่มาจากการรัฐประหาร ?


จะทำอย่างไรกับการปิดกั้นเสรีภาพสื่อทั้งจากกระทรวงวัฒนธรรมและกระทรวง ICT ?


จะทำอย่างไรกับกฎหมายอาญามาตรา 112 ?


คำตอบที่ได้จาก "ปู1" ไม่เคยชัด มาตั้งแต่ก่อนชนะเลือกตั้ง


แม้ระหว่าง "การเมือง" กับ "ปากท้อง" คนส่วนใหญ่ย่อมต้องเลือกปากท้องก่อนเสมอ


มนุษย์ต้องกินเพื่อความอยู่รอด


แต่คำถามคือ หากมนุษย์กินเพื่อมีชีวิตอยู่


มนุษย์จะมีชีวิตอยู่เพื่ออะไร แล้วมนุษย์ควรมีชีวิตอยู่แบบไหน


คำตอบนี้อยู่ใน "การเมือง"


เราจะอยู่กันอย่างไร จะให้ประชาชนมีเสรีภาพในการพูด


จะส่งเสริมให้เคารพศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์


หรือจะปกครองด้วยความกลัว และความเกลียดชังอย่างที่ผ่านมา


ล้วนเป็นสิ่งที่รัฐบาลต้องให้ความสนใจ

และถ้าหากรัฐบาลจะเน้นแต่การแก้ปัญหาและพัฒนาเศรษฐกิจจริงๆ


นโยบายทาง "การเมือง" ก็เป็นปัจจัยหนุนเสริม "เศรษฐกิจ" ที่รัฐบาลไม่ควรมองข้าม


เมื่อเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน ไม่เหมาะกับการผลิตที่เน้นแรงงานราคาถูกอีกต่อไป


ถ้าจะเปลี่ยนเศรษฐกิจไทยให้เป็น "เศรษฐกิจสร้างสรรค์"


สังคมไทยต้องเปลี่ยนจากสังคมแห่งความกลัว เป็นสังคมแห่ง "ความกล้า" เสียก่อน


สินค้าที่เปี่ยมไปด้วยความคิด ต้องเกิดจากสังคมที่เสรีภาพในการแสดงความคิด ได้รับการปกป้อง

และเป็นหน้าที่ของรัฐบาล ที่จะปกป้องเสรีภาพนั้นให้กับประชาชน

จะเป็นอย่างไร หากนักเขียน นักวิชาการ สามารถเขียนหนังสือหรือผลิตผลงานทางวิชาการ


โดยไม่ต้องระวาดระแวง กลัวจะโดนกลั่นแกล้งด้วยกฎหมายมาตราใดๆ


เราคงมีหนังสือดีๆ ออกสู่ตลาดอีกหลายเล่ม


และจะเป็นอย่างไร หากผู้กำกับภาพยนตร์ สามารถผลิตหนังโดยไม่ต้องกังวลว่า ทำออกมาแล้ว จะถูกห้ามฉายหรือไม่


เราคงมีภาพยนตร์ดีๆ และหลากหลายอีกมากให้ได้ชม



นี่คือเหตุผลว่าทำไม นโยบายทางการเมือง เป็นสิ่งที่รัฐบาลไม่ควรมองข้าม


เพราะกินดีอยู่ดีไม่พอ พวกเราขอชีวิตที่ "ดี" ด้วย

บัญชีดำยุ่น

ที่มา ข่าวสด

คอลัมน์ เหล็กใน
มันฯ มือเสือ



กรณีทางการญี่ปุ่นอนุมัติวีซ่าให้พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

กลายเป็นประเด็นการเมืองบานปลาย ถึงขนาดพรรคประชาธิปัตย์นำเรื่องเข้าแจ้งความเอาผิดนายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รมว.การต่างประเทศ และเตรียมยื่นถอดถอนพ้นตำแหน่ง

ความจริงเรื่องทักษิณเตรียมเดินทางเข้าญี่ปุ่นนั้น เป็นข่าวมาตั้งแต่ก่อนพรรคเพื่อไทยจะชนะเลือกตั้งด้วยซ้ำ แต่ไม่มีรายละเอียดมากนักว่าไปทำอะไร

กระทั่งเรื่องนี้กลับมาเป็นประเด็นร้อนอีกครั้ง จึงรู้รายละเอียดเพิ่มเติมทั้งจากพรรคเพื่อไทย และหนังสือพิมพ์ญี่ปุ่นที่พากันประโคมข่าว

จับความได้ว่าภาคเอกชนญี่ปุ่นที่เชื้อเชิญทักษิณ คือ สถาบันเศรษฐกิจและวัฒนธรรมญี่ปุ่น จีน อาเซียน โดยเชิญไปเป็นวิทยากรบรรยายเรื่องความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างญี่ปุ่น-ไทย

นอกจากนี้ ทักษิณยังจะเดินทางไปดูพื้นที่ประสบภัยสึนามิ และมีนัดเลี้ยงมื้อค่ำกับส.ส.พรรครัฐบาลและส.ส.พรรคฝ่ายค้านบางส่วนของ ญี่ปุ่นด้วย

บรรยากาศประเทศยักษ์ใหญ่เปิดประตูรับทักษิณเข้าบ้านอย่างนี้ น่าจะเป็นเหตุให้พรรคประชาธิปัตย์เกิดอาการหมั่นไส้รัฐบาลเพื่อไทยขึ้นมาติด หมัด

แต่การจะไปต่อว่าทางการญี่ปุ่น เป็นเรื่องอยู่นอกเหนืออำนาจหน้าที่พรรคประชาธิปัตย์ เนื่องจากการให้วีซ่าใครหรือไม่ให้ใคร เป็นเรื่องของทางการญี่ปุ่นจะพิจารณาเอง

รัฐบาลไทยไม่มีสิทธิ์เข้าไปแทรกแซง ชี้นำหรือขอร้องให้ทางการญี่ปุ่นแหกกฎเกณฑ์ของตัวเองไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นระดับนายกรัฐมนตรีหรือรมว.การต่างประเทศก็ตาม

อย่างในสมัยรัฐบาลประชาธิปัตย์ที่ปฏิบัติการไล่ล่าทักษิณดำเนินไปอย่างเข้มข้น

ปากนายกฯอภิสิทธิ์ ยังบอกว่า การที่ต่างประเทศจะอนุญาตให้ทักษิณเข้าประเทศหรือไม่ เป็นเรื่องที่ประเทศนั้นๆ จะพิจารณาตามกฎเกณฑ์ของตนเอง

ตอนนั้นก็มีข่าวว่าญี่ปุ่นไม่ให้ทักษิณเข้าประเทศเพราะมีชื่อในบัญชีผู้ต้องโทษ

เชื่อหรือไม่ว่าการที่ประชาธิปัตย์หยิบยกเรื่องทักษิณ-ญี่ปุ่น ญี่ปุ่น-ทักษิณขึ้นมาพูดบ่อยๆ

ก็จะต้องมีคนรื้อฟื้นเรื่องที่รัฐบาลชุดก่อนปล่อยให้นายฮิโรยูกิ มูราโมโตะ ช่างภาพชาวญี่ปุ่นถูกยิงตายฟรี ในเหตุการณ์สลายม็อบ 10 เมษาฯ 2553 ขึ้นมาสวนคืนเข้าจนได้

แล้วก็ต้องมีการตั้งคำถามกลับไปว่า

ใครกันแน่ที่ทางการญี่ปุ่นสมควรขึ้นบัญชีดำ ไม่ให้เข้าประเทศ?

จากพี่ถึงน้อง

ที่มา ข่าวสด

คอลัมน์ ทิ้งหมัดเข้ามุม
สับไก กระสุนธรรม



หากไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ต้นสัปดาห์หน้า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีจะไปปรากฏตัวที่ญี่ปุ่น

ตามรายงานข่าวที่ออกมาทั้งในฝั่งไทยและในญี่ปุ่น อดีตนายกฯ มีหมายบรรยายเรื่องเศรษฐกิจโลกที่สถาบันเศรษฐกิจญี่ปุ่น-จีน-อาเซียน และอีกหมายบรรยายปัญหาแผ่นดินไหวและสึนามิ

รวมถึงจะไปเยือนพื้นที่ประสบภัยแผ่นดินไหว-สึนามิ

ถ้าตัดประเด็น 'การอนุญาตเข้าเมือง' ของญี่ปุ่นออกไปก่อน น่าสังเกตว่า หัวข้อที่ทักษิณไปญี่ปุ่นครั้งนี้เน้นคือเรื่องสึนามิ

ในฐานะที่มีประสบการณ์ 'รับมือ' ในช่วงเป็นผู้นำประเทศ

ผลงานการกู้ภัยและฟื้นฟูของรัฐบาลเมื่อปี 2547-2548 ในเหตุแผ่นดินไหวและสึนามิกวาดซัดชายฝั่งรอบมหาสมุทรอินเดียวันที่ 26 ธ.ค. 2547 ในตอนนั้นเป็น 'บวก'

โดยเฉพาะเรื่องความรวดเร็วในการกู้ภัย ซึ่งของไทย มีผู้เสียชีวิตเกิน 5,300 ราย เป็นชาวต่างชาติจำนวนมาก

การที่พ.ต.ท.ทักษิณเลือกมาญี่ปุ่นด้วยประเด็นสึนามิ นอกจากอาจเป็นผลดีกับญี่ปุ่นแล้ว ยังเหมือนย้อนผลงานดีเด่นของรัฐบาลตนเองด้วย

ส่วนการที่รัฐบาลญี่ปุ่น ประเทศประชาธิปไตยของเอเชีย อนุญาตให้เข้าประเทศเป็นกรณีพิเศษ ถือเป็นเครดิตอีกส่วน

แต่จะคุ้มค่ากับน.ส.ยิ่งลักษณ์ น้องสาว หรือไม่ เป็นเรื่องที่มีความเสี่ยงสูง

สื่อต่างประเทศต่างรายงานความเห็นนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญในภูมิภาคเอเชีย

ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ จากสถาบันศึกษาอาเซียนในสิงคโปร์ เห็นว่า พ.ต.ท.ทักษิณเร่งแสดงตัวกับโลกว่า ตนเองเป็นนายกรัฐมนตรีของไทยโดยพฤตินัย

ส่วนไมเคิล มาเตซาโน จากสถาบันเดียวกัน มองว่า พ.ต.ท.ทักษิณยังคงอดกลั้นไม่เป็น ทำให้ความเคลื่อนไหวครั้งนี้เป็น "เกมอันตราย"

โดยเฉพาะกับน้องสาว

ล่าสุด พรรคประชาธิปัตย์มอบหมายให้ทีมกฎหมายของพรรค ดำเนินการเอาผิดกับนายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รมว.ต่างประเทศ ว่า มีส่วนในการขอวีซ่าเข้าญี่ปุ่น

ส่วนกลุ่ม 'เสื้อหลากสี' ชุมนุมหน้าสถานทูตญี่ปุ่น ประท้วงที่ญี่ปุ่นให้วีซ่าทักษิณเข้าประเทศ

ไม่ว่าความเคลื่อนไหวเหล่านี้จะปลุกกระแสได้หรือไม่ได้ ก็เป็นเงื่อนไขให้นายกฯ ยิ่งลักษณ์เจ็บตัว

โดยไม่จำเป็น

"แม่เกด"จุดเทียนรำลึกเหยื่อปราบแดง 91 ศพ

ที่มา ข่าวสด





ช่วงค่ำวันที่ 19 ส.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่เวทีเล็กสี่แยกราชประสงค์ นางพะเยาว์ อัคฮาด มารดาน.ส.กมนเกด อัคฮาด หรือ น้องเกด พยาบาลอาสาที่ถูกยิงเสียชีวิตในวัดปทุมวนาราม พร้อมกลุ่มญาติผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์สลายการชุมนุมเมื่อเดือนเม.ย.-พ .ค.2553 หลายร้อยคน ร่วมจุดเทียนรำลึกผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าว

ก่อน หน้านี้ เวลา 17.00 น. ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศการรำลึกครบ 15 เดือนให้กับผู้เสียชีวิต 91 ศพ ในช่วงเหตุการณ์สลายการชุมนุมปีที่ผ่านมาบริเวณสี่แยกราชประสงค์ว่า มีสมาชิกเสื้อแดงและญาติผู้เสียชีวิตทยอยมาร่วมงานหลายร้อยคน โดยตั้งเวทีปราศรัยบนฟุตปาธหน้าห้างเซ็นทรัลเวิลด์ และเจ้าหน้าที่ได้ปิดการจราจร 2 ช่องทาง พร้อมจัดกำลังตำรวจดูแลทั้งด้านล่างและบนสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส ขณะเดียวกันนางพะเยาว์ อัคฮาด และนางจินตนา คชเดช เจ้าของวลี “ดีแต่พูด” (ประท้วงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกฯ) พร้อมญาติผู้ตาย ร่วมกันประกอบพิธีรำลึกบริเวณป้ายราชประสงค์ โดยเผากระดาษเงิน กระดาษทองหรือกงเต๊ก จากนั้นก็ทำพิธีสาปแช่งรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ โดยนำภาพนายอภิสิทธิ์ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกฯ และอดีตผอ.ศอฉ. มาเผา พร้อมข้อความชื่อหน่วยงานที่รับผิดชอบในการตรวจสอบข้อเท็จจริงของการเสีย ชีวิตของคนเสื้อแดง อาทิ ดีเอสไอ กก.สิทธิมนุษยชน และศอฉ. ก่อนกลับมารวมตัวหน้าเวทีอีกครั้ง

"อนุดิษฐ์" โดนรับน้อง กับ "ความหวัง" หนักอึ้ง บนบ่า "รมว.ไอซีที"

ที่มา มติชน

ในประเทศ

ภาย หลังเข้ารับตำแหน่ง รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เพียงไม่กี่วัน น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ ได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชน

รม ว.ไอซีทีคนใหม่ เปิดเผยว่า จะกำชับให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของกระทรวง มีความเข้มงวดมากยิ่งขึ้นในการกำกับดูแลปราบปรามการกระทำผิด พ.ร.บ.เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ และการหมิ่นสถาบันผ่านเว็บไซต์ต่างๆ โดยจะดำเนินการบังคับใช้กฎหมายอย่างเด็ดขาด

ข่าวดังกล่าวถูกเผยแพร่ออกไปอย่างรวดเร็วผ่านทางเว็บไซต์และเครือข่ายทางสังคมออนไลน์

กระทั่งเกิดปฏิกิริยาตอบสนองจากเหล่าพลเมืองเน็ตตามมาอย่างทันควัน


มี ผู้เข้าไปโพสต์ข้อความสนทนาและตั้งคำถามที่หน้าเฟซบุ๊กส่วนตัวของ น.อ.อนุดิษฐ์ ซึ่งส่วนใหญ่แสดงความวิตกกังวลว่า การที่ รมว.ไอซีทีออกมาพูดเรื่องการบังคับใช้กฎหมาย โดยไม่พูดเรื่องการปฏิรูปหรือแก้ไขกฎหมายบางมาตราที่บางฝ่ายเห็นว่ามีปัญหา นั้น เหมือนเป็นการส่งสัญญาณว่า กระทรวงไอซีทีของรัฐบาลพรรคเพื่อไทย จะเข้าร่วมกับขบวนการล่าแม่มดออนไลน์เพื่อล่าล้างกลุ่มคนเสื้อแดงบางสาย

น.อ.อนุ ดิษฐ์ ได้เข้ามาตอบคำถามด้วยตัวเอง โดยอธิบายว่า จากข่าวที่ออกไป สื่อมวลชนได้ตั้งคำถามกับตนในฐานะผู้ใช้กฎหมาย เรื่องมีคนกระทำผิดกฎหมาย ตนจึงต้องตอบคำถามกลับไปในเรื่องของ "การบังคับใช้กฎหมาย" และไม่ได้พูดเรื่อง "การแก้ไขกฎหมาย" แต่อย่างใด เนื่องจากไม่ใช่ประเด็นที่ถูกสัมภาษณ์

จากนั้น สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เข้ามาโพสต์ในหน้าเฟซบุ๊กของ รมว.ไอซีที โดยแสดงความเห็นว่าเรื่องการบล็อกเว็บไซต์นั้น รัฐบาลชุดที่แล้วไม่ได้ทำ "ตามกฎหมาย" เสียทีเดียว เนื่องจากมีเว็บไซต์ที่ถูกบล็อกด้วยข้อหา "หมิ่น" จำนวนมาก ซึ่งไม่ได้ทำอะไร "ผิดกฎหมาย"

ขณะเดียวกัน ภาครัฐก็ไม่ได้ฟ้องร้องเจ้าของเว็บไซต์ที่ถูกบล็อกเหล่านั้น เพราะเป็นกรณีที่ไม่มี "น้ำหนัก" มากพอ

อาจารย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ยังเห็นว่า ในบริบทของเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตยุคปัจจุบัน การบล็อกเว็บไซต์ของกระทรวงไอซีที นั้น ไม่สามารถทำให้เกิดผลได้จริง ด้วยเหตุนี้ นโยบายดังกล่าวจึงถือเป็นการใช้ทรัพยากรไปโดยเปล่าประโยชน์

"ทั้ง หมดนี้ มองในแง่ common sense (สามัญสำนึก) ผมว่า ก็สมควรที่ไอซีทีจะได้ "ทบทวน" นโยบายในเรื่องนี้ ไม่ใช่เพียงแค่ยืนยัน (ที่จะ) คงนโยบายที่เรียกว่า "เล่นงานเว็บหมิ่น" น่ะครับ" สมศักดิ์โพสต์ข้อความ

ซึ่ง รมว.ไอซีที ได้แสดงความเห็นด้วยกับนักวิชาการผู้นี้ และระบุว่าตนจะเน้นให้การบังคับใช้กฎหมายคอมพิวเตอร์เป็นไปอย่างถูกต้องและ เท่าเทียม สำหรับเว็บไซต์ที่ถูกบล็อกอย่างไม่ถูกต้องและไม่เป็นธรรม ก็ย่อมไม่มีเหตุผลอะไรที่รัฐจะไปบล็อกเว็บไซต์เหล่านั้นอีก

รมว.ไอซี ที ยังกล่าวกับผู้ร่วมสนทนาทางเฟซบุ๊กทุกคนด้วยว่า "ผมอ่านทุกความเห็นที่กรุณาสละเวลามาพูดกันในวันนี้ และต่อประเด็นที่พูดกันนอกเหนือจากเรื่องการบังคับใช้กฎหมายก็คือ เรื่องความไม่ยุติธรรมของกฎหมาย ซึ่งทุกท่านก็มีสิทธิและเสรีภาพในการแสดงความเห็น และผมก็รับฟังด้วยความเต็มใจครับ"



แม้การสนทนาแลกเปลี่ยนความเห็นระหว่าง น.อ.อนุดิษฐ์และเหล่าพลเมืองเน็ต จะจบลงอย่างค่อนข้างมี "ความหวัง" อยู่บ้าง

แต่ "ความหวัง" ดังกล่าวนี่เอง ที่ดูเหมือนจะเป็น "การบ้านข้อยาก" สำหรับเจ้ากระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

"ความหวัง" เดียวกันนี้นี่เอง ที่ก่อให้เกิด "การรับน้อง" รมว.ไอซีที ขึ้น

ดังหนึ่งในความคิดเห็นในเฟซบุ๊ก ที่ระบุว่า

"ท่าน รัฐมนตรีแถลงเช่นนั้นก็ไม่ผิดอะไรหรอกครับ และจริงๆ ถ้าเป็นคนอื่น เช่น ท่านระนองรักษ์ แถลง ก็คงไม่มีใครสนใจ (เพราะเข้าใจขีดจำกัดของแต่ละบุคคล) แต่บังเอิญ ประชาชนจำนวนมากคาดหวังว่าท่านจะมีแนวคิด และกรอบในการทำงานที่แตกต่างออกไป

"ต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่า กฎหมายของกระทรวงไอซีที (และที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวเนื่อง) จำนวนมาก มีปัญหา ประชาชนไม่น้อยคับข้องใจในกฎหมาย (หรือในดุลพินิจของเจ้าพนักงานตามกฎหมาย) อาทิ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ทั้งฉบับเก่า และ (ร่าง) ฉบับใหม่ ...

"ประชาชน คาดหวังว่า กระทรวงไอซีที จะเปิดรับความคิดเห็นของประชาชนมากขึ้น เลิกทำตัวเป็นตำรวจ แต่ทำตัวเป็นผู้สนับสนุนส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีไอซีทีให้ขยายวงกว้างขึ้น ยกเลิกการควบคุมโดยการปิดกั้น แต่ส่งเสริมให้ใช้อย่างถูกวิธี ถูกกฎหมาย ตีกรอบให้ชัดเจน ว่าขอบเขตของกฎหมายมีอยู่แค่ไหน

"เรื่องนี้เป็นอะไรที่ต้องใช้คนมีฝีมือ มีความสามารถ มากกว่าการไล่ปิดเว็บแบบรัฐมนตรีในรัฐบาลที่แล้วเคยทำ ด้วยความเคารพครับท่าน"

เช่น กันกับข้อโต้แย้งของ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ที่มีต่อการวิพากษ์วิจารณ์ น.อ.อนุดิษฐ์ โดยใจ อึ๊งภากรณ์ อดีตอาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งปัจจุบันพำนักอยู่ในประเทศอังกฤษ

ใจระบุ ผ่านเฟซบุ๊กว่า "รัฐบาลยิ่งลักษณ์ตั้งแล้ว แต่อำมาตย์ยังครองเมือง น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) รับใช้อำมาตย์ เปิดเผยว่า นับจากนี้ไป จะมีการกำชับให้ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ของกระทรวง ในทุกระดับ มีการเข้มงวดมากยิ่งขึ้น ในการกำกับดูแลปราบปรามการกระทำผิด พ.ร.บ.เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์"

ขณะที่สมศักดิ์โต้แย้งว่า "ผมเพิ่งเห็นว่า อ.ใจ "วิพากษ์" คุณอนุดิษฐ์ นาครทรรพ ว่า "รับใช้อำมาตย์" ไปโน่นเลย

"พูด จริงๆ นะครับ ผมไม่เคยคิดจะ หรือคิดว่า ควรจะ "รีบ" วิพากษ์ในลักษณะนี้เลย ในแง่หนึ่ง ผม "เข้าใจ" หรือกระทั่งจะ "เห็นใจ" ด้วยซ้ำว่า ใครเป็น รมต.ไอซีที จะต้องเจอปัญหานี้แน่ และผม "เข้าใจ" เช่นกันว่า ไม่สามารถพูดได้ว่า "ต่อไปนี้เราจะเลิกการบล็อกเว็บ..." อะไรแบบนั้น"

อย่างไรก็ตาม นักวิชาการจากธรรมศาสตร์ยังมีความหวังว่า รมว.ไอซีทีจากพรรคเพื่อไทย จะทบทวนนโยบายบล็อกเว็บไซต์เสียใหม่

นี่เป็นความหวังอัน "หนักอึ้ง" ที่วางอยู่บนบ่าของ น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ

ขอวีซ่า-คืนพาสปอร์ต เบิกทาง "ทักษิณ" "ข้อสงสัย" รบ.ยิ่งลักษณ์

ที่มา มติชน

ในประเทศ

เป็นเรื่องจนได้

เมื่อ คำพูดของ "สุรพงษ์ โตวิจักษ์ชัยกุล" รมว.ต่างประเทศ ขัดกับทางการญี่ปุ่น ในการออก "วีซ่า" เข้าประเทศให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เพื่อไปบรรยายเรื่องเศรษฐกิจและการแก้ไขปัญหา "สึนามิ" ช่วงปลายเดือนสิงหาคม

"สุรพงษ์" ยืนยันว่า ทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย เข้ามาขอความเห็นเกี่ยวกับการออก "วีซ่า" ให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งบอกไปว่าแล้วแต่การพิจารณาของทางการญี่ปุ่น

ขณะที่ ยูกิโอะ เอดาโนะ เลขาธิการคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น แถลงว่า รัฐบาลของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นผู้ร้องขอต่อทางการญี่ปุ่น

เมื่อคำพูด "ขัดกัน" จึงไม่น่าแปลกใจที่พรรคประชาธิปัตย์ จะเรียงหน้าออกมารุมกระหน่ำ

"อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ตั้งข้อสังเกตว่า รัฐบาลไทยโดย "สุรพงษ์" เป็นคนดำเนินการในการร้องขอให้ทางการญี่ปุ่นออก "วีซ่า" ให้ พ.ต.ท.ทักษิณ

เหตุเพราะ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นผู้ต้องหา "หนีคดี" หลังศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตัดสินจำคุก 2 ปีคดีซื้อที่ดินถนนรัชดาภิเษก จากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน

การกระทำของ "สุรพงษ์" จึงถูกพรรคประชาธิปัตย์มองว่า เป็นการกระทำที่อาจละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ตามมาตรา 157

เพราะหน้าที่ของรัฐบาลไทยคือ การประสานให้ทางการญี่ปุ่นจับกุมตัว พ.ต.ท.ทักษิณ กลับมาดำเนินคดีในประเทศไทย

ไม่ใช่ช่วยเหลือ อำนวยความสะดวกทุกวิถีทาง



จุดนี้ รัฐบาล "ยิ่งลักษณ์" จึงตกเป็นเป้าสายตา และถูกตั้งข้อสงสัยจากผู้คนในสังคม

ไม่ใช่แค่เรื่องการประสานงานทางการญี่ปุ่นเปิดไฟเขียวขอ "วีซ่า" ให้ พ.ต.ท.ทักษิณ เท่านั้น

ยัง มีเสียงเล็ดลอดออกมาจากกระทรวงการต่างประเทศ ทั้งที่ รมว.ต่างประเทศ ยังไม่ทันเข้าทำงานว่า มีข้าราชการเตรียมชงเรื่องไว้รอเพื่อให้พิจารณา "คืนพาสปอร์ต" เล่มสีแดง ให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ในฐานะอดีตนายกรัฐมนตรี ที่ถูกยึดไปตั้งแต่ 12 เมษายน 2552

ว่ากันว่า งานนี้ "นพดล ปัทมะ" ที่ปรึกษากฎหมายของ พ.ต.ท.ทักษิณ และอดีต รมว.ต่างประเทศ เป็นคนต้นเรื่อง

จะด้วยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือเอาใจนายเกินเหตุ หรือไม่ไม่ทราบ

ข้อเสนอดังกล่าว ทำให้เกิดการตั้งคำถามขึ้นมาเป็นคำรบสองว่า เกิดอะไรขึ้นกับ "สุรพงษ์" ในฐานะเจ้ากระทรวงการต่างประเทศ

จริงอยู่ แม้นายกฯ ยิ่งลักษณ์จะปฏิเสธว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง เป็นหน้าที่ของหน่วยงานราชการ

เช่นเดียวกับ "สุรพงษ์" ที่พูดออกมาในลักษณะเดียวกัน

แต่เมื่อเรื่องสองเรื่องเดินทางมาบรรจบกัน "ความสงสัย" จึงเพิ่มเท่าทวีคูณ

ถือเป็น "ศึกนอก" ศึกแรกที่รัฐบาลพรรคเพื่อไทยจะต้องตอบคำถามสังคม

เพราะความสงสัย ความเคลือบแคลง เป็นเรื่องที่แก้ยากยิ่ง



"เหตุผล" ในการถอนพาสปอร์ตเล่มสีแดงของ พ.ต.ท.ทักษิณ ครั้งนั้นเป็นไปตามระเบียบของกระทรวงการต่างประเทศว่าด้วยการถอนพาสปอร์ตที่ มีระเบียบในปี 2548 ว่าด้วยการออกหนังสือเดินทาง ว่า รัฐบาลสามารถที่จะยกเลิกและถอนหนังสือเดินทางสำหรับบุคคลที่ทำความเสียหาย ให้กับประเทศได้"

ต้นตอมาจากความเชื่อของรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ที่ ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นคนสั่งการให้กลุ่มคนเสื้อแดงชุมนุมต่อต้านการประชุมอาเซียนซัมมิต เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2552 ที่พัทยา จ.ชลบุรี จนต้องยกเลิกกลางคัน

อาศัยอำนาจตามระเบียบ กระทรวงการต่างประเทศ ว่าด้วยการออกหนังสือเดินทาง พ.ศ.2548 ในหมวด 8 ว่าด้วยการยกเลิกหนังสือเดินทาง ข้อ 23(7)

ซึ่ง ระบุว่าสามารถยกเลิกและเรียกคืนหนังสือเดินทางได้ เมื่อปรากฎภายหลังว่า "พิจารณาเห็นว่า หากให้ผู้ถือหนังสือเดินทางยังคงอยู่ในต่างประเทศต่อไปอาจก่อให้เกิดความ เสียหายแก่ประเทศไทยหรือต่างประเทศได้"

เป็นการจำกัดพื้นที่ การจำกัดความเคลื่อนไหวของ พ.ต.ท.ทักษิณ ในประเทศต่างๆ ซึ่งเป็นยุทธวิธีหนึ่ง ที่รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ใช้กดดันไม่ให้ พ.ต.ท.ทักษิณ เคลื่อนไหวสั่งการกลุ่มคนเสื้อแดง

จริงอยู่ "ข้อกล่าวหา" พ.ต.ท.ทักษิณ ครั้งนั้น ชัดเจนว่าเป็นข้อกล่าวหาทางการเมือง ที่มีองค์ประกอบมากมายกว่าแค่ พ.ต.ท.ทักษิณ เพียงคนเดียว

ครั้งนั้น รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ที่มีพรรคภูมิใจไทยเป็นพรรคร่วมรัฐบาล ได้ตั้งกลุ่มคนเสื้อน้ำเงิน ออกมาสร้างแรงยั่วยุจนเกิดปัญหา

แน่ นอน หากดูตามระเบียบกระทรวงการต่างประเทศว่าด้วยการออกหนังสือเดินทาง 2548 โดยอาศัยอำนาจตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ 2545 เท่านั้น ไม่ใช่เป็นการใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติ

เมื่อเหตุการณ์เข้ารูปเข้ารอย รัฐบาลใหม่เดินสู่เป้าหมายเส้นทางแห่งความปรองดอง เช่นเดียวกับสิ่งที่ พ.ต.ท.ทักษิณ เรียกร้อง

ในฐานะอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ มีสิทธิได้หนังสือเดินทางทูต หรือพาสปอร์ตแดง ตามระเบียบข้อ 6(5)

และในฐานะประชาชนก็มีสิทธิจะได้หนังสือเดินทางของบุคคลทั่วไป หรือพาสปอร์ตสีน้ำตาล ตามระเบียบข้อ 13



แต่หากมองเหตุผลในหมวด 8 ว่าด้วยการยกเลิกหนังสือเดินทางของ พ.ต.ท.ทักษิณ ข้อ 23(7) ให้ชัดๆ แน่นอนเป็นข้อกล่าวหาทางการเมือง

เมื่อสถานการณ์เปลี่ยน เวลาเปลี่ยน ข้อกล่าวหาทางการเมือง ก็สามารถแก้ด้วยการเมือง ด้วยหลักนิติธรรม อย่างมีเหตุและผล

หากนำระเบียบข้อ 23(7) มาจับ ต้องถือว่า พ.ต.ท.ทักษิณ มีสิทธิที่จะได้คืนพาสปอร์ตทั้งสองเล่มในฐานะประชาชนคนไทย

แต่อาการของรัฐบาล "ยิ่งลักษณ์" ไม่เนียน และไม่ศึกษากฎหมายให้รอบด้าน

เพราะอย่าลืมว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ยังมี "หมายจับ" คดีที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตัดสินจำคุก 2 ปี

และอีกหลายคดีที่ติดค้างอยู่

ด้วยข้อกล่าวหาทาง "คดีอาญา" ที่ยังติดตัว พ.ต.ท.ทักษิณ

ทำ ให้เข้าล็อกระเบียบกระทรวงการต่างประเทศ ข้อ 23(2) ที่ระบุว่า ผู้ถือหนังสือเดินทางเป็นบุคคลซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่อาจออกหนังสือเดิน ทางให้ดังกรณีต่อไปนี้

"...เมื่อได้รับแจ้งว่าผู้ร้องเป็นผู้ซึ่ง กำลังรับโทษในคดีอาญา หรืออยู่ระหว่างการปล่อยตัวชั่วคราว หรือเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญาที่ได้มีการออกหมายจับไว้แล้ว ซึ่งศาลหรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจเห็นว่าไม่ควรจะออกหนังสือเดินทาง ให้..."

เป็นก้าวที่พลาด ในการออกตัวแรงเกินไปของเจ้ากระทรวงการต่างประเทศ

ที่ทำให้ "ศึกนอก" ที่ดูไม่น่าจะมีอะไร กับมี "ประกายไฟ" ให้ต้องพูดถึง

เสื้อแดง "วางบิล" 91 ศพ ทวงเยียวยา-ศพละ 10 ล. จตุพรเปิด "บันทึกช่วยจำ" "รัฐบาลปู" อย่าลืมใช้หนี้

ที่มา มติชน

ในประเทศ

กรณี นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และแกนนำเสื้อแดง ออกมาเปิดประเด็นเรียกร้องรัฐบาล

จ่ายค่าเยียวยาผู้เสียชีวิต 91 ศพ และผู้ได้รับบาดเจ็บเกือบ 2,000 คน จากเหตุการณ์สลายการชุมนุมเมื่อเดือนเมษายน-พฤษภาคมปีที่แล้ว

มี ขึ้นภายหลังการจัดตั้งรัฐบาล "ยิ่งลักษณ์ 1" ที่ไม่ปรากฏรายชื่อ ส.ส. ในส่วนที่เป็นแกนนำ นปช. ได้เป็นรัฐมนตรีแม้แต่คนเดียว ทั้ง นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ และ นายจตุพร พรหมพันธุ์ สองแกนนำสำคัญ

เป็น 2 คนที่ได้รับการคาดหมายว่าจะได้เข้ามามีตำแหน่งในรัฐบาล เพื่อตอบแทนการต่อสู้ที่ผ่านมา และเพื่อทำหน้าที่ตัวเชื่อมระหว่างรัฐบาลพรรคเพื่อไทยกับคนเสื้อแดง ไม่ให้ห่างเหินกันไปภายหลังภารกิจเลือกตั้งจบลง

กระทั่งท้ายที่สุด เมื่อไม่ปรากฏชื่อแกนนำเสื้อแดงเป็นรัฐมนตรี จึงทำให้หลายฝ่ายเริ่มจับตาความสัมพันธ์ระหว่างพรรคเพื่อไทยกับคนเสื้อแดง จะเปลี่ยนไปในลักษณะเป็นผลร้ายต่อเสถียรภาพรัฐบาลอย่างไร หรือไม่

แม้มีความพยายามจะบอกว่า การไม่มีแกนนำเสื้อแดงเป็นรัฐมนตรี ข้อดีคือทำให้แกนนำพ้นจากข้อครหาต่อสู้เพื่ออำนาจและผลประโยชน์ตนเอง

อัน เป็นข้อครหาที่ฝ่ายตรงข้ามจ้องหยิบยกขึ้นมาย้อนศรโจมตี เหมือนเมื่อครั้งพรรคเพื่อไทยมุ่งโจมตีรัฐบาลประชาธิปัตย์ ที่ดึงเอาคนของกลุ่มพันธมิตรฯ เข้ามามีตำแหน่งทางการเมืองจำนวนมาก

แต่ ข้อวิเคราะห์ที่สร้างความสั่นสะเทือนให้กับความสัมพันธ์ระหว่างพรรคเพื่อไทย กับคนเสื้อแดงมากที่สุด คือข้อวิเคราะห์ที่ว่า พรรคเพื่อไทยที่บริหารงานโดย "นายใหญ่Ž" ผ่านทาง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และคนใกล้ชิดอีกจำนวนหนึ่ง

เลือก จะจัดตั้ง ครม. ที่เน้นภาพความปรองดองกับกลุ่มอำนาจเก่า มากกว่าจะตั้ง ครม. ที่มีภาพ "ต่างตอบแทน" Žให้กับคนเสื้อแดงอันนำมาสู่การตั้งข้อสังเกตว่า

พรรคเพื่อไทยพยายามหาทาง "ชิ่ง" คนเสื้อแดง แล้วหันไป "เกี้ยเซียะ" กับอำนาจกลุ่มเก่าหรือไม่

และ ถึงแกนนำเสื้อแดงหลายคนทั้งที่เป็น ส.ส. และไม่ได้เป็น ส.ส. พยายามซ่อนความน้อยอกน้อยใจที่พรรคพวกของตนเองไม่ได้เป็นรัฐมนตรี โดยยืนยัน แกนนำเสื้อแดงเคารพการตัดสินใจของนายกฯ และพรรค พร้อมสนับสนุนการทำงานของรัฐบาลต่อไป

แต่กระนั้นก็ตามยังมีหลายคนที่ห่วงว่า นับจากนี้ระหว่างรัฐบาลพรรคเพื่อไทยกับคนเสื้อแดง ความสัมพันธ์อาจจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป

ส่วนจะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใดนั้นขึ้นอยู่กับ 2-3 ประเด็นต้องติดตาม



กรณี นายนายจตุพร พรหมพันธุ์ ออกมาเปิดประเด็นค่าเยียวยา 91 ศพ ศพละ 10 ล้านบาท

ไม่ ว่าผู้เสียชีวิตจะเป็นประชาชน คนเสื้อแดง หรือเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ ส่วนผู้พิการบาดเจ็บจะได้รับลดหลั่นกันไปตามสภาพของแต่ละรายนั้น

เป็นการจุดประเด็นขึ้นมาในจังหวะที่แกนนำเสื้อแดง เพิ่ง "อกหัก" จากการไร้ตำแหน่งใน ครม. "ยิ่งลักษณ์ 1" มาหมาดๆ

ทำให้ถูกมองว่าแกนนำเสื้อแดงต้องการกระตุ้นต่อมความจำของรัฐบาลเพื่อไทย ไม่ให้ลืม "หนี้สิน" ที่ติดค้างไว้กับคนเสื้อแดง

ซึ่ง ในประเด็นนี้ นายจตุพร ยอมรับว่าการเข้าทวงถามเรื่องเงินเยียวยา 91 ศพกับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ก็เหมือนเป็น "บันทึกช่วยจำ"Ž ว่ารัฐบาลมีภาระต้องช่วยในเรื่องนี้ เพราะรัฐบาลนี้มาได้ก็ด้วยความเสียสละและชีวิตของวีรชน

ขณะเดียวกัน นายจตุพร ได้ปฏิเสธว่า การออกมาพูดเรื่องนี้ ตอนนี้ ไม่เกี่ยวกับการที่แกนนำเสื้อแดงไม่ได้เป็นรัฐมนตรี

"ไม่ เกี่ยวกันเลย ไม่ใช่การต่อรองอะไรทั้งนั้น เราไม่ได้เรียกร้องเพื่อตัวเอง เราไม่ได้มีส่วนสักบาท เราเรียกร้องให้วีรชนผู้เสียสละ ไม่ใช่ว่าพอได้มาเป็นรัฐบาลแล้วก็เงียบเป็นเป่าสาก เราต้องรักษาคำพูด"

ส่วนเงินเยียวยาที่ตั้งไว้ศพละ 10 ล้านบาทนั้น

นายจตุพร ยอมรับว่า ยังไม่ได้พูดคุยกันในรายละเอียดตัวเลขกับนายกฯ ยิ่งลักษณ์ คุยกันแต่เฉพาะในหลักการเท่านั้น

ซึ่ง ก็สอดคล้องกับคำให้สัมภาษณ์ของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ที่ออกมาในลักษณะ "แบ่งรับแบ่งสู้" ว่าได้มีการหารือเรื่องเยียวยาประชาชน เจ้าหน้าที่รัฐ และภาคเอกชนในภาพรวมจริง

แต่ยังไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์ว่าจะเยียวยา เมื่อไหร่ และอย่างไร "ตอนนี้คงเป็นการหารือเชิงนโยบายก่อน เรื่องตัวเลขเราต้องคุยกัน ทั้งงบประมาณและความเหมาะสมอีกครั้ง"

อย่าง ไรก็ตาม การที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ไม่ผลีผลามตอบตกลงตัวเลขค่าชดเชยศพละ 10 ล้านบาทนั้น ด้านหนึ่งอาจมองได้ว่านายกฯ ยิ่งลักษณ์ ยังไม่อยากพูดอะไรที่เป็นการผูกมัดตัวเองจนเกินไป

ทั้งยังจะทำให้ภาพ ลักษณ์เสียหายในแง่ที่ว่านายกรัฐมนตรีตกเป็น "เบี้ยล่าง" ให้กับคนเสื้อแดง ต้องคอยเออออ ทำตามทุกอย่างที่แกนนำเสื้อแดงบอกให้ทำ

แต่อีกด้านหนึ่ง ท่าทีของนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ก็อาจทำให้คนเสื้อแดงเกิดความคลางแคลงใจพรรคเพื่อไทยซ้ำสอง

ต่อจากกรณีที่แกนนำของพวกเขาถูกตัดชื่อออกจากคณะรัฐมนตรี



จริงอยู่ที่แกนนำ นปช. ยืนยันให้ความเคารพการตัดสินใจของนายกฯ และพรรคเพื่อไทย และได้ปฏิเสธ

ไม่ต้องการให้รัฐบาลเพื่อไทยมุ่งเอาใจแต่เฉพาะคนเสื้อแดง แต่ควรทำตัวเป็นรัฐบาลของ "คนทุกสี"

แต่ ในโลกความเป็นจริงที่คนเสื้อแดงคือฐานมวลชนขนาดใหญ่ของพรรคเพื่อไทย และเป็นปัจจัยสำคัญช่วยให้พรรคเพื่อไทยชนะเลือกตั้งได้เป็นรัฐบาล

การ ที่รัฐบาลจะมุ่งเอาใจคนทุกสี แล้วละเลยคนเสื้อแดงที่นับเป็น "สหายร่วมรบ" นั้น อาจเป็นเรื่องที่คนเสื้อแดงสามารถพูดได้ แต่รัฐบาลไม่สามารถทำได้

นาง ธิดา โตจิราการ รักษาการประธาน นปช. กล่าวว่า เรื่องเงินเยียวยาศพละ 10 ล้านบาทที่ นายจตุพร พรหมพันธุ์ หยิบยกขึ้นมาพูดถึงนั้น ยังไม่ใช่ข้อสรุปร่วมระหว่างคนเสื้อแดงกับรัฐบาล

แต่ในช่วงการหา เสียงเลือกตั้ง พรรคเพื่อไทยได้เปิดประเด็นและพูดถึงเรื่องนี้ไว้เช่นกัน ถึงจะไม่ได้ระบุตัวเลขเงินค่าเยียวยาไว้ชัดเจนก็ตาม

อย่างไรก็ตาม ที่สำคัญกว่าก็คือ สิ่งที่คนเสื้อแดงต้องการทวงถามจากรัฐบาล ไม่ใช่แค่ในรูปของ "เงินเยียวยา" เพียงอย่างเดียว แต่ยังมีในรูปของการ "เยียวยาความยุติธรรม"

ทั้งจากกรณีคนเสื้อแดงยังถูกจับกุมคุมขังอยู่ในเรือนจำทั่วประเทศอย่างไม่เป็นธรรมอีกกว่า 130 คน

รวมถึงการนำตัวบุคคลที่กระทำผิด สั่งการสลายการชุมนุมจนมีคนตาย 91 ศพ บาดเจ็บอีกร่วม 2,000 คน มาตัดสินลงโทษทางอาญา

ถึงล่าสุดพรรคเพื่อไทยจะวางแนวทางให้ ส.ส. ของพรรคในพื้นที่จังหวัดซึ่งมีคนเสื้อแดงถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำ

ใช้ ตำแหน่ง ส.ส. เป็นหลักประกันในการยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว หรือเป็นผู้ประสานการจัดหาหลักทรัพย์ประกันตัวในจำนวนตามที่แล้วแต่ศาล พิจารณากำหนด

ตามที่กระทำสำเร็จมาแล้วในกรณีเสื้อแดง จ.อุดรธานี จำนวน 22 คน และเตรียมขยายผลไปยังคนเสื้อแดงอีก 110 รายที่เหลือ

ซึ่งเรื่องนี้น่าจะช่วยกอบกู้ความรู้สึกของคนเสื้อแดงที่มีต่อรัฐบาลเพื่อไทยขึ้นมาได้บ้าง

แต่ ความรู้สึกจะกลับไปเหมือนเดิมเหมือนก่อนการเลือกตั้งหรือไม่ รัฐบาลยังต้องพิสูจน์ตัวเองในอีก 2 เรื่อง ตามที่นายจตุพรเรียกว่าเป็นบันทึกช่วยจำ หรือ "เอ็มโอยู" ระหว่างรัฐบาลกับคนเสื้อแดง

นั่นคือการช่วยเหลือเยียวยาครอบครัวผู้เสียชีวิตและผู้ได้รับบาดเจ็บ และการเร่งเดินหน้าหาคนทำผิดในการออกคำสั่งสลายการชุมนุมมารับโทษ

ร่งด่วน!!พ.ย.นี้ ITU ยึดวงโคจรดาวเทียม ..อย่าชะล่าใจล่ะ

ที่มา thaifreenews

โดย fee-faw-fum

เร่งด่วน!!พ.ย.นี้ ITU ยึดวงโคจรดาวเทียม ..อย่าชะล่าใจล่ะ

เห็นสัญญาณมาจากหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในเรื่องซีดาร์ โฮลดิ้งบริษัทลูก
ของ เทมาเส็ก โฮลดิ้งส์ สั่งขายหุ้นชินคอร์ปประมาณ 8% จำนวน 169 ล้านหุ้นราคา หุ้นละ 35.50-37.25 บาท คิดเป็นมูลค่าราว 200 ล้านดอลลาร์ ก็ร่วม 6 พันล้าน ทั้งที่ก่อนจะเข้ามา takeover ชินคอร์ป 49.6% ในปี 2549 ตกลงราคาอยู่ที่ 49.25 บาท เรียกว่าซื้อแพงขายถูก อย่างนี้ก็เจ๊งบ้งซิเจ้านาย อ้าว!!!ค่อยๆทยอยหนีกลับไปเจี๊ยะลอดช่องสิงคโปร์ดีกว่า แน่นอนลอดช่องไทยคงขมไม่หวานเหมือนลอดช่องของตัวเอง

มีแนวโน้มจะขาย ออฟชั่นเพิ่มอีก 85.5 ล้านหุ้น แล้วใครล่ะจะไป deal หุ้นจำนวนมากเงินก็มากด้วย ต้องมีคนที่ถือหุ้นนี้อยู่แล้วถึงต้องรับซื้อไปเต็มๆ เป็นใครเขาจะไปซื้อ ต้องไปสุ่มเสี่ยงในเรื่องระยะเวลาของการถอนทุน จึงต้องเป็นบุคคลที่มีเงินและถือหุ้นใหญ่ถึงต้องการจะซื้อ

เหตุผล เพราะระยะเวลาที่ ITU ฮึ่มๆๆ จะยึดวงโคจรดาวเทียม 120 องศาตะวันออกของไทยคม 1 มันใกล้เข้ามาแล้ว เดือนพ.ย.ที่จะถึงนี้ และดาวเทียมไทยคม 4 ไอพีสตาร์ อีกกลางปีหน้า (อันนี้สำคัญลูกค้าญี่ปุ่นกับจีนประมาณ 90%) ก็ต้องยิงขึ้นไปทดแทนวงโคจรเดียวกัน ถ้าไม่ยิงตายแน่ๆ ญี่ปุ่นกับจีนจ้องดูจนน้ำตาไหล อยากได้วงโคจรดาวเทียมสัมปทานนี้จาก ITU ใจจะขาด แต่คงช้าไปแล้วต๋อย เผอิญนารีขี่ดาวเทียม เข้ามาถูกจังหวะจะโคนพอดี ก็งานของเขาเคยคลุกคลีมากับมือ ลูกน้องเก่าๆยังอยู่ครบครัน ต่อให้ดับเบิ้ลโครตของหล่อหลักลอยเข้ามาทำงานเรื่องนี้ ก็ยากที่จะทำได้และสำเร็จ คุณปูถึงได้จูงมือคุณ นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล ลูกหม้อของตระกูล “ชินวัตร เข้ามาติดสอยห้อยตาม
เป็นไงสาวกพันธมารผู้ภักดีทั้งหลาย

ถูก เป่าหูทุกวี่ทุกวันจากศาสดาลิ้ม แห่งเขาโงลังกั๋ง เทมาเส็ก โฮลดิ้งจากสิงคโปร์มาเอาดาวเทียมไปจากการขายหุ้นไม่เสียภาษีของท่านทักษิณ แล้วทำไมแบนด์ใหม่ “อินทัช-INTOUCH” เป็นแบนด์ใหม่ของบริษัทอะไรที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับ บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)ของท่านทักษิณ

นายบุญคลี ปลั่งศิริ, เป็น 1 ใน
6 คุณบุญคลี ปลั่งศิริ เป็นผู้บริหารที่ได้รับเงินจากการขายหุ้น SHIN มากที่สุดเป็นจำนวน 1,022,808,482 บาท และเขาเป็นใครมาจากไหน ไม่ค่อยมีใครรู้จักทั้งลึกทั้งหนาทั้งบางกันมากนัก คุณบุญคลี ปลั่งศิริคือคนที่ได้ทำให้ท่านทักษิณมีฐานะการเงินขึ้นมาอยู่อันดับต้นๆของ ประเทศไทย ประวัติการทำงานของเขาเริ่มจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯได้รับทุนการศึกษา จนมาใช้ทุนที่กองโทรเลข กรมไปรษณีย์โทรเลข โดยเป็นนายช่างโท มีความเชี่ยวชาญเครื่องแฟ๊กซ์และเทเล็กซ์ที่ใช้ในสมัยนั้น และต่อมาก็ได้รับตำแหน่งที่สูงขึ้นเรื่อยๆ จนได้เป็นผู้อำนวยการกองโทรศัพท์ระหว่างประเทศ การสื่อสารแห่งประเทศไทย (หรือ บริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ในปัจจุบัน) เคยคลุกคลีตีโมงกับเรื่องดาวเทียมระหว่างประเทศ ก่อนลาออกมาอยู่กับท่านทักษิณ คุ้นๆมั๊ย บุคคลนี้ใช่เลยที่ทราบเรื่องดาวเทียมดีที่สุด

ยังมีบุคคลที่ทราบ เรื่องดีและรู้จักมักคุ้นคนในสหภาพฯ ที่ต้องไปประชุมร่วมกับสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ(ITU)หรือ International Telecommunication Union ที่สวิสฯเป็นประจำนั้น ไม่น่าจะพลาดไปจากบุคคลท่านนี้ คือคุณเศรษฐพร คูศรีพิทักษ์ อดีตอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลขและอดีตผู้อำนวยการฝ่ายบริหารความถี่วิทยุ(รู้ ดีเรื่องวงจรดาวเทียมจับงานนี้เริ่มแรก-สิ้นสุดมากับมือ) ที่เทียวไล้เทียวขื่อกับบรรดาพวกที่มีวิทยุเถื่อนครอบครองใช้ในสมัยหนึ่งและ เดียวนี้เป็นที่ตั้งกทช.ไปแล้ว มีการจัดสรรคนที่โอนจากกรมไปรษณีย์โทรเลขมาสังกัด กทช. อยู่ในซอยสายลม ถนนพหลโยธิน
ไปดูบริษัทที่ถูกลากเข้ามาเกี่ยวข้อง โยงใยและมีความสัมพันธ์กันมาอย่างไรและควรดูเส้นทางการเงินของ บ.กุหลาบแก้ว จำกัด เดินทางมาจากธนาคารใดแถว ถ.รัชโยธิน ทุกคนน่าจะถึงบางอ้อไม่ใช่บังสามจิ๋ม

ยังมีเหตุผลที่ทะเอี้ยชอบไปคุก คามปิดสัญญาณสถานีดาวเทียมภาคพื้นดิน ไม่ว่าจะเป็นที่แคราย เยื้องศาลากลาง จ.นนทบุรีและที่ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี ทำให้บริษัทหน่วยงานจากประเทศต่างๆในเอเซียและภาคพื้นแปซิฟิกต้องได้ความ เสียหาย คงได้ร้องเรียนไปยัง ITU ต่อการกระทำของบรรดาเหล่าทะเอี้ย ถึงมิน่าต้องเส้นก๋วยจั๊บจริงๆถึงได้กล้ากระทำเช่นนั้น และคงเป็นเหตุผลหนึ่งที่ ITU ถึงจะมายึดวงโคจรดาวเทียมของไทย

ที่มา http://webwarper.net/ww/~av/www.go6tv.com/2011/07/itu.html
และ
ที่มา http://lyrics.ohozaa.com/?search=bob%20seger&search_song=against%20the%

20wind&search_artist=bob%20seger&action=noadd
และ
ที่มา http://www.arip.co.th/businessnews.php?id=410578
และ
ที่มา http://www.thaicom.net/thai/satellite_thaicom4.aspx

จลาจลอังกฤษในสายตานักสังคมวิทยา

ที่มา ประชาไท

ภัค วดี วีระภาสพงษ์ แปลจาก Fernando Duarte, “Interview – Zygmunt Bauman on the UK Riots,”http://www.social-europe.eu/2011/08/interview-zygmunt-bauman-on-the-uk-riots/ (ผู้แปลแปลมาเฉพาะบางส่วนเท่านั้น)

ซิก มุนท์ บาวมัน (Zygmunt Bauman) ศาสตราจารย์กิตติคุณแห่งมหาวิทยาลัยลีดส์และนักสังคมวิทยาระดับแถวหน้าของ ยุโรป ผู้เชี่ยวชาญในประเด็นสังคมมนุษย์ร่วมสมัย มีผลงานหนังสือหลายเล่ม อาทิ Liquid Modernity, 44 letters from the liquid-modern world, Living on borrowed Time เป็นต้น

ถ้า มองจากแนวคิดในงานเขียนของคุณเกี่ยวกับยุคโพสต์โมเดิร์นและ ลัทธิบริโภคนิยม มันเป็นเรื่องน่าขบคิดมากน้อยแค่ไหนจากข้อเท็จจริงที่การจลาจลครั้งนี้มุ่ง ไปที่การปล้นสินค้าบริโภคเป็นหลัก?

กล่าวได้ว่า การจลาจลครั้งนี้คือการระเบิดที่จะต้องเกิดขึ้นไม่ช้าก็เร็ว.....อุปมาดัง เช่นทุ่งระเบิด ทุกคนรู้ดีว่ากับระเบิดบางอันจะต้องระเบิดขึ้นมาจนได้ไม่วันใดก็วันหนึ่ง เพียงแต่ไม่มีใครรู้ว่าตรงจุดไหนและเมื่อไร อย่างไรก็ตาม ในกรณีของทุ่งระเบิดทางสังคม การระเบิดมักแพร่กระจายออกไปในทันที สืบเนื่องมาจากเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลในแบบ “เรียลไทม์” ของยุคสมัยใหม่ ซึ่งกระตุ้นให้เกิด “พฤติกรรมเลียนแบบ” ทุ่งระเบิดทางสังคมนี้เกิดขึ้นมาจากการผสมผสานของลัทธิบริโภคนิยมกับความไม่ เท่าเทียมที่เพิ่มมากขึ้น การจลาจลครั้งนี้ไม่ใช่การกบฏหรือการลุกฮือของประชาชนที่อดอยากยากไร้หรือ ชนกลุ่มน้อยทางศาสนาหรือชาติพันธุ์ที่ถูกกดขี่ แต่เป็นการก่อความวุ่นวายของผู้บริโภคที่ขาดแคลนกำลังซื้อและถูกกีดกัน (defective and disqualified consumers) ต่างหาก ประชาชนที่ขุ่นแค้นและถูกเหยียบย่ำจากภาพหรูหราฟู่ฟ่าของความมั่งคั่ง ซึ่งพวกเขาถูกกีดกันออกไป เราต่างถูกคุกคามและโน้มน้าวให้มองว่าการช้อปปิ้งคือสูตรสำเร็จของชีวิตที่ ดีและเป็นวิธีที่สำคัญที่สุดในการแก้ปัญหาชีวิตทุกอย่าง แต่ประชากรส่วนใหญ่กลับถูกกีดกันจากการใช้สูตรสำเร็จนี้ เราจะเข้าใจการจลาจลตามเมืองใหญ่ ๆ ในอังกฤษได้ชัดเจนที่สุด เมื่อมองว่ามันเป็นการกบฏของผู้บริโภคที่คับข้องใจ

มีการ วิเคราะห์วิจารณ์กันมากมายถึงรากเหง้าปัญหาทางสังคมเบื้อง หลังการจลาจล และการวิเคราะห์แบบหนึ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คือการใช้สมมติฐานเกี่ยวกับ ความไม่เท่าเทียม รัฐบาลจะต้องเผชิญกับภารกิจที่ซับซ้อนมากแค่ไหนในการแก้ไขปัญหานี้ ในเมื่อมโนทัศน์เกี่ยวกับ “คนที่มี” กับ “คนที่ไม่มี” ดูเหมือนจะเปลี่ยนแปลงไปมากในสองสามทศวรรษที่ผ่านมาก

ใน กรณีนี้ก็เช่นเดียวกับวิธีการที่รัฐบาลแก้ปัญหาภาวะเศรษฐกิจตกต่ำที่ เกิดจากการพังทลายของระบบสินเชื่อ (วิธีการของรัฐบาลก็คือ ปรับโครงสร้างหนี้ของกลุ่มธนาคารเพื่อให้ “คืนสู่ภาวะปรกติ” แต่ภาวะปรกติก็คือการดำเนินการแบบเดิม ๆ ที่เป็นสาเหตุหลักของการพังทลายและภาวะเศรษฐกิจตกต่ำนั่นแหละ!) ฉันใดก็ฉันนั้น วิธีการของรัฐบาลอังกฤษที่ปฏิบัติต่อการก่อความวุ่นวายของกลุ่มประชาชนที่ ถูกเหยียบย่ำกลับจะยิ่งซ้ำเติมการเหยียบย่ำที่เป็นสาเหตุของการจลาจลให้ฝัง ลึกลงไปอีก ขณะเดียวกันก็ไม่ยอมแตะต้องต้นตอของการเหยียบย่ำนั้น ซึ่งก็คือลัทธิบริโภคนิยมอย่างบ้าคลั่งควบคู่กับความไม่เท่าเทียมที่ถ่าง กว้างขึ้น ๆ มาตรการเด็ดขาดไม่ปรานีที่รัฐบาลนำมาใช้อาจหยุดยั้งการระเบิดได้ชั่วครั้ง ชั่วคราว แต่ไม่ได้ถอดชนวนทุ่งระเบิดที่เป็นสาเหตุและไม่ได้ป้องกันการปะทุระเบิด ครั้งต่อไป ปัญหาสังคมไม่เคยถูกแก้ไขจากการบังคับใช้เคอร์ฟิว มันรังแต่จะกลบฝังปัญหาให้เน่าเปื่อยและพุหนองต่อไป.....วิธีการของรัฐบาล อังกฤษเป็นแค่ความพยายามอันผิดพลาดที่คิดว่าจะแก้ไขความป่วยไข้เรื้อรังของ สังคมได้ด้วยยาแรงขนานเดียว การเยียวยาความป่วยไข้ให้หายขาดได้ จำเป็นต้องอาศัยการปฏิรูปกลไกการทำงานของสังคมอย่างจริงจัง รวมไปถึงการปฏิวัติทางวัฒนธรรมอย่างแท้จริง ซึ่งเป็นสิ่งที่ Edgar Morin (นักปรัชญาและนักสังคมวิทยาชาวฝรั่งเศส) เคยชี้แนะไว้ในครั้งล่าสุดที่เขาไปอภิปรายที่เมืองเซาเปาลู

เมื่อ สัมภาษณ์เยาวชนที่มาจากครอบครัวยากจน พวกเขาแสดงความขุ่นเคืองอย่างชัดเจนต่อการขาดโอกาสในการศึกษาและการทำงาน แต่เรากลับไม่เห็นมีมหาวิทยาลัยไหนถูกเผา เราพอจะตั้งสมมติฐานได้ไหมว่า มีสัญลักษณ์บางอย่างแฝงอยู่ในการเผาห้างดิ๊กสัน

เมื่อถูกกด ดันให้อธิบายว่าทำไมจึงโกรธแค้น ไม่ว่าคนหนุ่มสาวเหล่านี้จะตอบว่าอะไรก็ตาม (ซึ่งส่วนใหญ่ก็พูดซ้ำคำอธิบายที่ได้ยินมาจากทีวีหรืออ่านมาจากหนังสือ พิมพ์....) ข้อเท็จจริงก็คือ ขณะที่ปล้นและเผาร้านค้า พวกเขาไม่ได้พยายาม “เปลี่ยนแปลงสังคม” ไม่ได้พยายามแสวงหาระบบระเบียบอื่นมาแทนที่ของเก่า ไม่ได้พยายามแสวงหาระบบระเบียบอื่นที่มีมนุษยธรรมกว่าและเอื้อต่อการดำรง ชีวิตที่ดีและมีศักดิ์ศรียิ่งกว่า พวกเขาไม่ได้ขบถต่อลัทธิบริโภคนิยม แต่พยายามหาหนทาง (ที่ผิดพลาดและเลวร้าย) ที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมต่างหาก ถึงแม้จะเป็นชั่วขณะอันแสนสั้นก็ตามที พวกเขาต้องการเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในแถวขบวนของผู้บริโภคที่ตัวเองถูกกีดกัน มาตลอด การก่อความวุ่นวายของพวกเขาไม่ได้มีการวางแผนล่วงหน้า ไม่มีการประสานกัน มันเป็นแค่การระเบิดขึ้นมาอย่างปัจจุบันทันด่วนจากความคับข้องใจที่สั่งสมมา นาน ซึ่งสามารถอธิบายได้ในแง่ของ “เพราะอะไร” ไม่ใช่ในแง่ของ “เพื่ออะไร” ผมสงสัยว่าคำถาม “เพื่ออะไร” ไม่น่าจะมีบทบาทใด ๆ ในงานเลี้ยงฉลองการทำลายล้างอย่างบ้าคลั่งครั้งนี้

นโยบาย สาธารณะที่ทำให้เกิดการเคหะชุมชนขึ้นมา ซึ่งตอนนี้ถูกวิจารณ์ว่าทำให้เกิดหย่อมย่านในเมืองที่เต็มไปด้วยการแบ่งแยก กีดกัน เป็นนโยบายที่สมควรถูกวิพากษ์วิจารณ์ในฐานะส่วนหนึ่งของปัญหาหรือไม่

(การ เคหะชุมชนหรือ council estates เป็นนโยบายที่ใช้ในอังกฤษมานาน จุดประสงค์คือการสร้างบ้านหรือที่อยู่อาศัยราคาถูกให้ชนชั้นแรงงานเช่าโดยมี เงื่อนไขต่าง ๆ)

รัฐบาลอังกฤษที่ผ่านมาหลายชุดยกเลิกการสร้าง “การเคหะชุมชน” มานานแล้ว และปล่อยให้การกระจายของประชากรในพื้นที่ รวมทั้งปัญหาต่าง ๆ เป็นเรื่องของกลไกตลาดโดยสิ้นเชิง การกระจุกตัวของประชาชนที่เสียเปรียบและยากจนในบางพื้นที่ของเมือง ซึ่งไม่ต่างจากสลัมมากนัก มันไม่ได้เกิดมาจากแนวนโยบายสังคม แต่เกิดมาจากปัญหาราคาบ้านและที่อยู่อาศัย ปัญหานี้ยิ่งถูกซ้ำเติมจากแนวโน้มของประชากรเมืองส่วนที่มีฐานะที่มักสร้าง กำแพงล้อมตัวเองให้พ้นจากปัญหาของเมืองใหญ่ ด้วยการไปซื้อบ้านอยู่ในพื้นที่ที่เรียกกันว่า “ชุมชนล้อมรั้ว” การแบ่งแยกและการแบ่งขั้วตามเมืองใหญ่ ๆ ในปัจจุบันเป็นผลลัพธ์มาจากกลไกตลาดเสรีที่ไม่ถูกควบคุมทางการเมือง ถ้าหากนโยบายรัฐจะมีส่วนซ้ำเติมปัญหาบ้าง ก็คงเพียงในแง่ที่รัฐบาลไม่ยอมเข้ามารับผิดชอบโดยตรงต่อสวัสดิภาพของชีวิต มนุษย์ และตัดสินใจ “โยนภาระ” ไปให้ทุนเอกชนมีบทบาทแทน

ในบทความที่คุณเขียนลงในวารสาร Social Europe Journal (http://www.social-europe.eu/2011/08/the-london-riots-on-consumerism-coming-home-to-roost/) คุณไม่ยอมนิยามการจลาจลครั้งนี้ว่าเป็นการปฏิวัติทางสังคม จริง ๆ แล้วในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ มีความปรารถนาที่จะทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางสังคมอยู่บ้างสักน้อยนิดหรือ ไม่ หรือมีเพียงแค่ความไม่สมดุลระหว่างภาวะความอยากของมวลชนเท่านั้น?

จน ถึงตอนนี้ ผมก็ยังไม่เห็นหลักฐานใด ๆ ที่บ่งบอกว่ามีความปรารถนาเช่นว่านี้......การสร้างภาพโรแมนติกเกี่ยวกับ ชีวิตอันสมถะและปฏิเสธกิเลสตัณหาคืออุดมการณ์ที่พวกคนร่ำรวยและสุขสบายสร้าง ขึ้นมาเสมอ ตราบเท่าที่ความสุขสบายของพวกเขาไม่ได้รับผลกระทบ พวกเขาก็ชอบแสดงออกว่าอยากเลียนแบบอุดมคตินี้ (ซึ่งเป็นความเพ้อฝันที่ไร้เหตุผล อันจะบรรลุได้ก็ด้วยวิธีการที่ไร้เหตุผลเท่านั้น!) แต่ไม่มีวันยอมแลกไลฟ์สไตล์ของตนกับวิถีชีวิตที่ตัดกิเลส พอเพียงและสมถะจริง ๆ หรอก ดังที่ Neal Lawson (http://www.social-europe.eu/author/neal-lawson/) ตั้งข้อสังเกตได้อย่างเฉียบคมว่า “การที่บางคนติดป้ายฉลากให้อย่างไร้น้ำใจว่า ‘ชนชั้นต่ำที่ป่าเถื่อนบ้าคลั่ง’ คำพูดนี้เป็นแค่กระจกเงาที่สะท้อนภาพของชนชั้นนำที่ป่าเถื่อนบ้าคลั่งเหมือน กัน” ถึงแม้มันจะเป็นกระจกเงาที่บิดเบือนและบิดเบี้ยว แต่กระจกก็เป็นกระจกที่สะท้อนเงาวันยังค่ำ.....

ตำรวจย่อม ไม่สามารถเฝ้าอยู่ตามท้องถนนเป็นจำนวนมากไปได้อีกนาน สักเท่าไร และชีวิตก็จะกลับมาเป็น “ปรกติ” ในเร็ววัน เมื่อดูจากการที่การจลาจลของผู้บริโภคครั้งแรกนี้มีการแพร่ขยายไปอย่างรวด เร็ว ชาวลอนดอนควรกริ่งเกรงมากน้อยแค่ไหนว่าปัญหาอาจจะเกิดตามมาอีกในอนาคต

คุณ กับผมต่างก็ได้แต่คาดเดา......แต่เราทุกคนทราบดีจากประสบการณ์ที่มี มากมายว่า การลงโทษหนัก ๆ สามารถดับไฟได้สักกองสองกอง แต่มันไม่มีทางฟื้นฟูบูรณะพื้นที่ไฟไหม้ให้มอดสิ้น “เชื้อไฟทางสังคม” ได้อย่างเด็ดขาด ผลกระทบเพียงอย่างเดียวที่เกิดจากปฏิบัติการของตำรวจในการตอบโต้สถานการณ์ เฉพาะหน้าครั้งนี้ ก็คือจะทำให้เกิดเสียงเรียกร้องอยากให้มีปฏิบัติการของตำรวจมากขึ้น กล่าวอีกอย่างหนึ่งคือ ปฏิบัติการของตำรวจมีความสามารถอันยอดเยี่ยมในการผลิตซ้ำความจำเป็นที่จะ ต้องมีมันไปเรื่อย ๆ อย่าลืมว่าในกรณีของผู้บริโภคที่คับข้องใจและถูกกีดกัน การนำพวกเขาคืนสู่ “ภาวะปรกติ” หมายถึงการผลักพวกเขากลับไปอยู่ในสภาพที่เหมือนทุ่งระเบิดดี ๆ นี่เอง!

สุดท้ายแต่ไม่ใช่สำคัญน้อยสุด นิตยสาร New Statesman ได้ตั้งคำถามตบท้ายอันลือลั่นว่า ในเมื่อลัทธิบริโภคนิยมได้ฝังลึกลงในสังคมโพสต์โมเดิร์นเสียแล้ว หรือว่าชีวิตเราจะไม่มีทางเลือกอื่นอีก? เราจะวิจารณ์อย่างไรต่อความคิดที่ว่า “การช้อปปิ้งคือภาพของภาวะปรกติ”?

เมื่อ ไม่กี่เดือนก่อน François Flahaut ได้ตีพิมพ์ผลงานศึกษาที่โดดเด่นมากเกี่ยวกับแนวคิดของประโยชน์สาธารณะ (common good) และแนวคิดนี้สะท้อนอะไรในความเป็นจริง (Où est passé le bien commun ?, Éditions Mille et une nuits, 2011) สาระสำคัญของงานเขียนชิ้นนี้ มุ่งเน้นประเด็นไปที่ลักษณะสังคมในปัจจุบันที่มีความเป็น “ปัจเจกชนนิยม” อย่างรุนแรง กล่าวคือ การที่แนวคิดเกี่ยวกับ “การเมืองที่ดี” ถูกกำจัดทิ้งไปและแนวคิดของสิทธิมนุษยชนถูกนำมาใช้แทนที่ ทั้ง ๆ ที่หากมองตามความเป็นจริงแล้ว แนวคิดสิทธิมนุษยชนจะมีได้ ก็ต้องมีแนวคิดของ “ประโยชน์สาธารณะ” เป็นพื้นฐานก่อน การดำรงอยู่ร่วมกันของมนุษย์และชีวิตทางสังคมคือองค์ประกอบที่ทำให้เกิด ประโยชน์สาธารณะ และจากประโยชน์สาธารณะนี้เองที่ทำให้เกิดวัฒนธรรมและคุณความดีทางสังคมตาม มา ด้วยเหตุผลนี้เอง การแสวงหาความสุขจึงควรมุ่งเน้นไปที่การส่งเสริมประสบการณ์ชีวิต สถาบัน วัฒนธรรมและสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติอื่น ๆ ที่เป็นชีวิตส่วนรวม แทนที่จะไปมุ่งเน้นที่ดัชนีความมั่งคั่ง ซึ่งบั่นทอนการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ให้เหลือเพียงแค่การแข่งขันและชิงดีชิง เด่นระหว่างปัจเจกบุคคล

ดังนั้น ประเด็นสำคัญที่เรายังไม่มีคำตอบที่น่าเชื่อถือและมีหลักฐานชัดเจนในเชิง ประจักษ์ก็คือ ความสุขของการมีความเอื้ออาทรต่อกันจะสามารถแทนที่การแสวงหาความมั่งคั่ง ความพึงพอใจจากการได้บริโภคสินค้าที่ตลาดนำเสนอและการเอาชนะเหนือคนอื่น ทั้งหมดนี้ก็คือแนวคิดของความเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างไม่มีที่สิ้นสุดนั่น เอง ซึ่งกลายเป็นสูตรสำเร็จที่เกือบจะได้รับการยอมรับเป็นสากลแล้วว่านี่แหละคือ ชีวิตที่ดีมีความสุข กล่าวโดยสังเขปก็คือ ความปรารถนาที่มนุษย์เรามีต่อการอยู่ร่วมกันอย่างเอื้ออาทร ถึงแม้จะเป็นความปรารถนา “ตามธรรมชาติ” “มีร่วมกัน” และ “เกิดขึ้นมาเอง” แค่ไหนก็ตาม แต่มันจะเกิดเป็นจริงขึ้นมาได้หรือไม่ภายในสังคมปัจจุบัน โดยไม่ตกเป็นเหยื่อของหลุมพรางกับดักจากลัทธิประโยชน์นิยมและถูกตลาดฉกฉวยไป ใช้ประโยชน์? ถ้าเราไม่เลือกหนทางด้วยเจตจำนงของเรา เราก็อาจถูกบังคับให้ยอมรับสิ่งที่ยัดเยียดให้จากผลร้ายแห่งการปฏิเสธของเรา เอง......

ในหนังสือเล่มล่าสุดชื่อ Redefining Prosperity ของศาสตราจารย์ Tim Jackson แห่งมหาวิทยาลัยเซอร์เรย์ เขาเตือนเราว่า รูปแบบความเติบโตอย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้จะสร้างความเสียหายที่แก้ไขไม่ ได้ ทั้งนี้เพราะ “ความเติบโต” ถูกวัดด้วยการเพิ่มขึ้นของการผลิตเชิงวัตถุมากกว่าการบริการ เช่น เวลาว่าง สุขภาพ การศึกษา...... ทิม แจ็กสันเตือนเราว่า ในปลายศตวรรษนี้ “ลูกหลานของเราจะต้องเผชิญกับสภาพบรรยากาศโลกที่เลวร้าย ทรัพยากรที่ร่อยหรอ การทำลายธรรมชาติที่อยู่อาศัยของพืชและสัตว์ การลดจำนวนลงของสปีชีส์ต่าง ๆ ความขาดแคลนของอาหาร การอพยพย้ายถิ่นฐาน และสิ่งที่ไม่น่าจะหลีกเลี่ยงได้ก็คือสงคราม” การบริโภคของเราที่ถูกกระตุ้น/ส่งเสริม/ผลักดันจากระบบสินเชื่อและบรรดาผู้ มีอำนาจ “เป็นสิ่งที่ไม่ยั่งยืนทางนิเวศวิทยา มีปัญหาทางสังคมและไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจ” ข้อสังเกตที่น่าตกใจอีกประการหนึ่งจากศาสตราจารย์แจ็กสันก็คือ ในสภาพสังคมที่เป็นอยู่นี้ ซึ่งคนรวยที่สุดจำนวนหนึ่งในห้าของประชากรโลกครอบครองรายได้ต่อปีถึง 74% ของรายได้ทั้งหมดในโลก ในขณะที่คนจนที่สุดหนึ่งในห้าของประชากรโลกต้องดำรงชีวิตด้วยรายได้เพียง 2% การทำลายธรรมชาติเพื่อนโยบายความเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งชนชั้นสูงอ้างว่าทำไปเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนนั้น เป็นแค่ความมือถือสากปากถือศีลและขัดต่อเหตุผลอย่างไม่น่าให้อภัย แต่ข้อเท็จจริงทั้งหมดนี้กลับถูกเพิกเฉยจากช่องทางการไหลเวียนของข้อมูล (หมายถึงสื่อมวลชน—ผู้แปล) ที่เข้าถึงประชาชนจำนวนมาก (และมีประสิทธิภาพ) หรืออย่างดีที่สุดก็นำเสนอข้อเท็จจริงด้วยน้ำเสียงที่ปรับแต่งให้ประนี ประนอม จนชะตาชีวิตอันรันทดของมนุษย์เป็นแค่เสียงร้องในป่าชัฏรกร้างที่ไม่มีใครได้ ยิน

เมื่อ ว. วชิรเมธี ฝึกเณรให้เป็นชายและให้มีสมบัติผู้ดี

ที่มา ประชาไท

สมภาร พรมทา เคยกล่าวบนเวทีอภิปรายเดียวกันกับ พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี) คราวหนึ่งว่า

ผม เคยอ่านบทสัมภาษณ์ของพระมหาวุฒิชัยครั้งหนึ่ง เมื่อมีผู้ถามว่าท่านเป็นพระหนุ่มท่านรู้สึกอย่างไรกับความรู้สึกทาง กามารมณ์ ดูเหมือนท่านจะตอบว่า “อย่าไปคิดถึงมัน ทุกอย่างก็จบ” ความรู้สึกทางกามารมณ์นั้นชีววิทยาถือว่าเป็นกลไกหนึ่งในการสืบเผ่าพันธุ์ ธรรมชาติสร้างสิ่งนี้ให้เราโดยไม่ได้ขอ นอกจากไม่ได้ขอแล้วยังปฏิเสธไม่ได้ด้วย มันฝังอยู่ในเราทุกคน เวลาที่คนคนนั้นไปสวมจีวรพระ สิ่งนี้ก็ยังฝังอยู่ ผมคิดว่าถ้าเราสนใจชีววิทยา เราจะทราบว่าไม่ง่ายที่จะเอาชนะมัน [1]
สัญชาตญาณ ทางกามารมณ์เป็นปัญหาใหญ่สำหรับพระสงฆ์สายเถรวาท (หรือนักบวชทุกศาสนาที่ห้ามเรื่องเพศสัมพันธ์) ที่มองกามารมณ์ด้วยทัศนะแบบประเมินค่าทางศีลธรรมว่า เป็นกิเลสตัณหา เป็นอกุศลธรรมที่พึงละหรือต้องเอาชนะให้ได้จึงจะเป็นผู้บริสุทธิ์หลุดพ้น กามารมณ์ที่ตรงข้ามกับ “ความบริสุทธิ์” จึงหมายถึง “ของสกปรก” ที่ไม่พึงแม้แต่จะคิดถึงมัน
แต่ในทางชีววิทยา สัญชาตญาณทางกามารมณ์ (การมีเซ็กซ์เป็นเพียงเสี้ยวหนึ่งของการแสดงออกของสัญชาตญาณนี้) เป็นข้อเท็จจริงทางธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตที่ถูกโปรแกรมเอาไว้แล้วในยีนหรือ ดีเอ็นเอของเรา ข้อเท็จจริงทางธรรมชาตินี้ไม่มีค่าเป็นบวกหรือลบ หรือไม่ได้มีความหมายดี-ชั่วทางศีลธรรมในตัวของมันเอง การตอบสนองทางกามารมณ์ก็เป็นไปตามกลไกทางธรรมชาติของร่างกายไม่ต่างอะไรกับ การกินอาหาร การกินอาหารจะมีความหมายว่าไม่ดีในทางศีลธรรม ก็ต่อเมื่อคุณไปขโมยเขากิน หรือการกินของคุณไปสร้างความเดือดร้อนแก่คนอื่นเป็นต้น การตอบสนองทางกามารมณ์ก็เช่นกัน มันจะมีความหมายว่าไม่ดีทางศีลธรรม ก็ต่อเมื่อไปล่วงละเมิด หรือก่อปัญหาแก่ผู้อื่น เป็นต้น
ไม่ ว่าเราจะคิดถึงมันหรือไม่ สัญชาตญาณทางกามารมณ์ในเนื้อตัวของเรามันก็ยังคงทำงานของมันอยู่อย่างเงียบ เชียบภายในจิตใต้สำนึกของเรา และมีพลังอำนาจเหนือชีวิตเรา ใครเคยอ่านงานของซิกมันด์ ฟรอยด์ คงจำกันได้ที่เขาบอกว่า ทารกดูดนม ดูดนิ้วมือ หรือเด็กเล่นอวัยวะเพศของตนเองก็เป็นอาการตอบสนองสัญชาตญาณทางเพศ ศิลปินที่สร้างงานศิลปะ หรือนักบวชที่เทศนาอุดมคติอันสูงส่งสวยงามทางศาสนาเป็นต้นนั้น ก็ล้วนแต่ถูกขับเคลื่อนด้วยแรงขับทางเพศทั้งสิ้น ในหนังสือ “ปมเขื่อง” ท่านพุทธทาสก็อธิบายว่าสัญชาตญาณดังกล่าวนี้ฝังลึกอยู่ในสัญชาตญาณพื้นฐาน ที่สุดของมนุษย์คือ “อหังการ” หรือความรู้สึกว่ามี “ตัวกู” ซึ่งมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมต่างๆ ทั้งด้านบวกหรือลบของมนุษย์อย่างลึกซึ้ง
ใน ทางพุทธเถรวาท มีหลักฐานมากมายในวินัยปิฏกที่แสดงให้เห็นว่า ภิกษุพ่ายแพ้ต่อสัญชาตญาณทางกามารมณ์ เมื่อพระพุทธเจ้าห้ามภิกษุเสพเมถุน ภิกษุบางรูปก็หาทางออกด้วยการจับต้องกายหญิง เมื่อถูกห้ามจับต้องกายหญิง ภิกษุบางรูปก็ให้ภิกษุณีมายืนเปลือยกาย แล้วชักว่าว เมื่อมีวินัยห้ามทำเช่นนั้นอีก ภิกษุบางรูปก็บำบัดความต้องการทางเพศด้วยการข่มขืนศพ เสพเมถุนกับลิงตัวเมีย และยังมีเรื่องราวการบำบัดความต้องการทางกามารมณ์ของภิกษุทั้งทางปาก ทางช่องหู ซอกรักแร้ ทวารหนัก ฯลฯ ถูกบันทึกไว้อย่างวิจิตรพิสดารในอรรกถาวินัยปิฎก ซึ่งแสดงให้เห็นว่า พลังอำนาจของสัญชาตญาณทางกามารมณ์นั้นเอาชนะได้ยากเย็นแสนเข็ญเพียงใด
นอก จากนี้ในวินัยปิฎกยังมีข้อมูลบันทึกว่า “พระอรหันต์ถูกลักหลับ” เรื่องราวมีว่าพระอรหันต์รูปหนึ่งท่านนอนหลับอยู่ในกุฏิโดยเปิดประตูทิ้งไว้ ขณะหลับถูกลมรำเพยองคชาตของท่านจึงตึงตัว เมื่อสตรีสองสามคนเดินผ่านมาเห็นเข้า จึงจัดการลักหลับขึ้นคร่อมจนสำเร็จความใคร่ แถมก่อนจากยังชมว่า “หลวงพี่นี่สุดยอดจริงๆ” (คัมภีร์ว่าไว้ ได้ “ใจความ” ประมาณนี้จริงๆ) ท่านตื่นขึ้นมาเห็นคราบเปรอะอวัยวะเพศจึงไปถามพระพุทธเจ้าว่าต้องอาบัติหรือ ไม่ ได้รับคำตอบว่าบรรลุอรหันต์แล้วจิตไม่ยินดี ไม่ต้องอาบัติ และพระพุทธเจ้าก็เตือนให้ระมัดระวังว่าภิกษุจะนอนต้องปิดประตูลงกลอนให้ เรียบร้อย
ตัวอย่างนี้แสดงให้เห็นว่า แรงขับทางเพศเป็นกลไกตามธรรมชาติทางกายภาพ พระอรหันต์ที่จิตหลุดพ้นจากกิเลสก็มีธรรมชาติทางกายภาพเหมือนคนทั่วไป เช่นเมื่อหิวต้องกินอาหาร เมื่อเจ็บป่วยต้องกินยา พระพุทธเจ้าก็มีโรคประจำตัว คือโรคทางเดินอาหารอันเป็นผลจากการบำเพ็ญทุกกริกิริยามาอย่างหนัก ต้องให้หมอชีวกปรุงโอสถให้อยู่บ่อยๆ และเมื่อร่างกายหมดสภาพที่จะใช้งานได้ต่อไปก็ต้องตาย แต่พระอรหันต์ต่างจากปุถุชนตรงที่จิตท่านไม่ยินดี ยินร้าย ไม่เป็นทุกข์ไปตาม “อาการ” ของทุกข์ตามธรรมชาติทางกายภาพต่างๆ นั้น
ส่วน พุทธศาสนานิกายวัชรยาน และนิกายเซ็น มองสัญชาตญาณทางกามารมณ์เป็นเรื่องธรรมชาติไม่ได้มีความหมายดีชั้วในตัวมัน เอง ยอมรับว่ามันเป็นกลไกตามธรรมชาติของร่างกาย หากพระอรหันต์จะฝันเปียกก็ถือเป็นเรื่องปกติ ของที่เป็นธรรมชาติทางกายเราต้องเข้าใจมัน อยู่กับมันอย่างเป็นมิตร ในขณะเดียวกันก็เรียนรู้ที่จะแปรเปลี่ยนมันให้เป็นพลังสร้างสรรค์ เช่นเรียนรู้ความรักในสัญชาตญาณทางกามารมณ์ เรียนรู้ธรรมชาติความเป็นหญิงเป็นชาย ความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมผ่านกามารมณ์ แปรเปลี่ยนความรักแบบกามารมณ์ให้ประณีตงดงามเป็นสายใยความผูกพันระหว่างคู่ ชีวิต พ่อ แม่ ลูก ขยายออกไปเป็นความรักความเข้าใจในมิติที่ซับซ้อนของความเป็นมนุษย์ และมนุษยชาติ กระทั่งเรียนรู้การบรรลุนิพพานผ่านความเข้าใจกระจ่างแจ้งในสัญชาตญาณทาง กามารมณ์จนถึงจุดที่จิตหลุดพ้นจากอำนาจบงการของสัญชาตญาณดังกล่าวนั้น
หาก มองตามทฤษฎีของฟรอยด์ การเก็บกดแรงขับทางเพศ มันเหมือนกับการบีบลูกโป่งพอเราบีบด้านหนึ่งมันจะโป่งอีกด้านหนึ่ง ส.ศิวรักษ์ เคยตั้งข้อสังเกตว่าพระสงฆ์เถรวาทไทยเก็บกดความต้องการทางเพศเอาไว้จึงทำให้ ไปโป่งด้านโลภะ และโทสะ หรือความต้องการอำนาจยศถาบรรดาศักดิ์ ตอนผมเป็นสามเณรผมสงสัยว่าทำไมห้องชั้นบนของกุฏิหลวงพ่อซึ่งเป็นพระผู้ใหญ่ จึงอัดแน่นไปด้วยเครื่องสังฆทาน กล่องมาม่า ปลากระป๋อง จีวร บริขารต่างๆ รกรุงรังเต็มไปหมด ทำไมท่านไม่ยอมแจกจ่ายสิ่งของส่วนเกินเหล่านี้แก่พระ เณร ศิษย์วัดที่ขาดแคลน ส่วนเรื่องเจ้ายศเจ้าอย่าง การวิ่งเต้นเรื่องสมณศักดิ์ จัดงานฉลองยศ แฮปปี้เบิร์ธเดย์ของพระผู้ใหญ่เป็นต้น ก็เป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย
เป็น ไปได้ว่าความโป่งทางสัญชาตญาณต้องการอำนาจนี่เองที่เป็นแรงขับใน การเผยแพร่ “ศีลธรรมเชิงอำนาจ” คือภาษา วาทกรรมทางศีลธรรมแบบโบยตี ข่มขู่ กด ข่ม เพื่อเรียกร้องความเชื่อฟัง ศรัทธา สยบยอมเพื่อปกป้องความศักดิ์สิทธิ์ ความเป็นสัจธรรมของศาสนา และสถานะอันน่าศรัทธาหรือความเป็นผู้ทรงอำนาจในการตัดสินถูกผิดทางศีลธรรมใน นามของปราชญ์หรืออภิมนุษย์ก็ตาม เช่น ศีลธรรมที่ขู่ด้วยบุญ บาป นรก สวรรค์ การอวดศาสนาตนเองว่ามีสัจธรรมสูงส่งเหนือศาสนา และ/หรือองความรู้ ภูมิปัญญาใดๆ ในโลก การเรียกร้องการละกิเลสตรงๆ ทื่อๆ กระทั่งเรียกร้องให้ละตัวกูของกูในการต่อสู้ทางสังคมการเมือง ฉะนั้น ศีลธรรมเชิงอำนาจแบบโปรโมทความสูงส่งพร้อมสำทับด้วยการข่มขู่กลายๆ ไปด้วยเสมอ เช่นนี้จึงเป็นศีลธรรมที่แข็งทื่อ ไร้พลังดึงดูดความเชื่อถือของมนุษย์ในโลกเสรีที่คิดเป็น ต้องการเหตุผล และมีความนับถือตนเองสูง
โปรดสังเกตนะครับว่า เมื่อพระพุทธเจ้าพูดถึงเรื่อง “ศีลธรรมทางสังคมการเมือง” ท่านไม่ได้พูดเรื่องการละตัวกู ไม่ว่าจะเป็นทศพิธราชธรรม จักรวรรดิวัตร วัชชีธรรม หรืออปริหานิยธรรม ไม่มีข้อใดเรียกร้องให้ละตัวกูของกู มีแต่เรื่องของบทบาทหน้าที่และกติกาในการอยู่ร่วมกัน ทั้งนี้เพราะพระองค์เห็นว่า ธรรมชาติหรือความเป็นจริงของ “ชีวิตทางสังคมการเมือง” เป็นเรื่องของ “สมมติบัญญัติ” หรือเรื่องของข้อตกลงทางสังคมที่สมาชิกของสังคมจำเป็นต้องถูกนับว่ามี “ตัวตน” รองรับการมีสิทธิ อำนาจ บทบาท หน้าที่ ข้อผูกพันต่อกันและกัน และต่อรัฐ
ฉะนั้น ข้อเรียกร้องเรื่องการละตัวกู ของกูในทางสังคมการเมืองจึงเป็นเรื่องไร้เหตุผลรองรับ พระพุทธองค์จึงพูดถึงเรื่องการละตัวกูของกูเฉพาะเมื่อพูดถึงเรื่องที่เกี่ยว โดยตรงกับการตรัสรู้ของปัจเจกบุคคล เช่นในอริยสัจสี่เป็นต้น การละตัวกูของกูจึงเป็นจริยธรรมเชิงปัจเจกที่ปัจเจกแต่ละคนเท่านั้นควรจะ เรียกร้อง (Requirement) กับตนเอง (หากเขาต้องการพ้นทุกข์ทางจิตใจ)
แต่ เมื่อเราอ่านงานทางวัชรยานและเซ็นที่แรงขับทางศีลธรรมไม่ได้เกิดจาก ความเก็บกดสัญชาตญาณทางกามารมณ์ เราจะไม่พบ “ศีลธรรมเชิงอำนาจ” หรือการโอ้อวดตนเอง แต่จะเห็นลักษณะเชิงวิพากษ์อย่างเสรี ทว่าเป็นมิตร เรียนรู้จากภูมิปัญญาที่หลากหลายถึงขนาดกล้าพูดว่า “พุทธธรรมคือทุกสิ่งที่ไม่ใช่พุทธธรรม” ในขณะที่เน้นไปสู่การเกิดปัญญาและกรุณา การตรัสรู้หรือมีสติรู้เท่าทันความจริงของโลกและชีวิตตามที่มันเป็น ฉะนั้น ศีลธรรมบนฐานของความเข้าใจ เป็นมิตร และแปรเลี่ยนพลังสัญชาตญาณทางกามารมณ์อย่างเหมาะสมและสร้างสรรค์ จึงมีชีวิตชีวามีพลังกระตุ้นความรู้สึก จินตนาการ และการเกิดปัญญาและกรุณาที่หมายถึงความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง และความอ่อนโยนต่อความเป็นไปโลกและชีวิต
ที่ว่ามา เสียยืดยาวนี้เพื่ออธิบายให้เห็นเหตุผลที่ซับซ้อน ที่ผมต้องการใช้อ้างอิงในการตั้งข้อสังเกตต่อ “แนวคิด” (concept) ของพระมหาวุฒิชัยที่เปิด “หลักสูตรอบรมความเป็นชายแก่สามเณร อายุระหว่าง 11-18 ปี” [2] เพื่อแก้ปัญหาที่ปัจจุบันมีสารเณรเบี่ยงเบนทางเพศเป็นกะเทยมากขึ้น และ “หลักสูตรอบรมสมบัติผู้ดีแก่สามเณร” [3] เพื่อให้สามเณรมีบุคลิกภาพดี มีกิริยามารยาทแบบ “สมบัติผู้ดี” สมกับเป็นผู้นำทางปัญญา ทางจิตใจ อันจะยังความศรัทธาเลื่อมใสแก่คนทั่วไป
ที่ ไม่เห็นด้วยกับหลักสูตรแรก เพราะเห็นว่าแนวคิดดังกล่าวกำลังเข้าไปรุกล้ำแทรกแซงอำนาจของธรรมชาติทาง ชีวภาพ เพราะเมื่อสัญชาตญาณทางกามารมณ์มันเป็นข้อเท็จจริงทางชีววิทยาที่ฝังอยู่ใน ยีนหรือดีเอ็นเอของเรา “ความเป็นเพศ” ตามธรรมชาติทางกายภาพและความสำนึกรู้ของบุคคล ก็เป็นข้อเท็จจริงทางชีวภาพที่เราไม่ได้เลือกเช่นกัน เหมือนเราเกิดมาหน้าตาแบบนี้เราไม่ได้เลือก ธรรมชาติหรือกฎธรรมชาติเลือกให้เรา เพศก็เป็นสิ่งที่ธรรมชาติเลือกให้เรา สิ่งที่เราเลือกไม่ได้มันไม่ได้มีความหมายว่าดีหรือชั่ว ผิดหรือถูกในตัวของมันเอง เราจึงควรยอมรับ มีเสรีที่จะอยู่กับสิ่งที่เราเป็น และใช้สิ่งที่เราเป็นที่ธรรมชาติเลือกให้เราอย่างเต็มตามศักยภาพของสิ่งนั้น อย่างมีศักดิ์ศรี และอย่างเท่าเทียมในฐานะที่เป็นมนุษย์เหมือนกันไม่ว่าเราจะเป็นเพศไหนๆ ก็ตาม
ไม่ว่าคุณจะเป็นเพศหญิง ชาย เพศที่สามที่สี่ แต่ตามข้อเท็จจริงทางชีววิทยาเพศที่คุณเป็นก็คือสิ่งที่คุณไม่ได้เลือกเสมอ เหมือนกัน ความเป็นมนุษย์ของทุกเพศจึงมีอย่างเท่าเทียมกัน เราจึงควรจะมีสิทธิ เสรีภาพ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ในการมีชีวิตอยู่ในสังคมอย่างเท่าเทียมกัน ฉะนั้น การอบรมความเป็นชายแก่ผู้ที่มีธรรมชาติเป็นเพศที่สามจึงเป็นการใช้ศีลธรรม เชิงอำนาจ (ศีลธรรมที่อิงความเป็นใหญ่ของเพศชาย) เข้าไปแทรกแซงธรรมชาติที่มีอำนาจยิ่งใหญ่กว่ามนุษย์มาก ซึ่งในที่สุดแล้วอาจก่อผลเสียหายต่อสภาพจิตใจและบุคลิกภาพของผู้ที่ถูกอบรม โดยตรงด้วย และไปส่งเสริมค่านิยมผู้ชายเป็นใหญ่ ส่งเสริมความไม่เท่าเทียมทางเพศซึ่งลึกๆ หมายถึงความไม่เท่าเทียมในความเป็นมนุษย์
ส่วนที่ ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดในการจัดหลักสูตรที่สอง เพราะฐานคิดเรื่อง “สมบัติผู้ดี” ไม่ใช่ฐานคิดเดียวกับที่พระพุทธเจ้าบัญญัติหลัก “เสขิยวัตร” พระมหาวุฒิชัยอ้างถึงการใช้หลักเสขิยวัตรตามที่พระพุทธเจ้าบัญญัติเป็นองค์ ความรู้สำหรับฝึกอบรมกิริยามารยาทของสามเณรนั้นถูกต้อง แต่อย่าลืมว่าพระพุทธเจ้าไม่ได้กำหนดหลักเสขิยวัตรขึ้นบนฐานคิดเรื่อง “สมบัติผู้ดี” ที่มีความหมายตรงข้ามกับ “สมบัติไพร่” ในวัฒนธรรมอำนาจนิยมของไทยนั้น เรารู้กิริยามารยาทของ “ผู้ดี” ได้เมื่อเปรียบเทียบเทียบกับกิริยาเยี่ยง “ไพร่” และผู้ดีในสังคมไทยนั้นก็ขึ้นกับชาติตระกูล หรือระบบชนชั้นแบบศักดินา ฉะนั้น ฐานคิดเรื่องสมบัติผู้ดีจึงเป็นฐานคิดของ “ศีลธรรมเชิงอำนาจ” ที่ปลูกฝังให้สยบยอมต่อคนชั้นสูง หรือชนชั้นปกครอง
แต่ ฐานคิดของหลักเสขิยวัตร เป็นเรื่องกิริยามารยาทของสมณสารูปที่สงบเสงี่ยมเรียบร้อย เคารพตนเองและผู้อื่นโดยไม่ถือชั้นวรรณะ เมื่อจะอบรมเสขิยวัตรจึงไม่ควรใช้คำว่า “อบรมสมบัติผู้ดี” หรือสร้างกระบวนการอบรมบนฐานคิดของศีลธรรมเชิงอำนาจแบบ “สมบัติผู้ดี”
ผม เองไม่ได้สงสัยใน “เจตนาดี” ของผู้จัดหลักสูตรดังกล่าว แต่พุทธศาสนานั้นสอนเรื่องสัจจะหรือความจริง การดับทุกข์หรือแก้ปัญญาใดๆ จำเป็นต้องรู้ความจริงของทุกข์หรือปัญหานั้นๆ อย่างชัดแจ้ง ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เช่นชีววิทยาเป็นต้น ถือว่าให้ความจริงที่ก้าวหน้าที่ชาวพุทธสามารถนำมาใช้ในการทำความเข้าใจ ธรรมชาติของชีวิตในมิติต่างๆ ได้ดี เพื่อแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม ในขณะเดียวกันความจริงหรือคุณค่าทางสังคมการเมือง เช่น เสรีภาพ ความเท่าเทียม ความเป็นธรรม ก็เป็นสิ่งที่ชาวพุทธต้องทำความเข้าใจและคำนึงถึงอย่างยิ่งด้วยเช่นกันในการ แสดงท่าที ทัศนะ หรือบทบาททางสังคม และกิจกรรมทางศีลธรรมใดๆ ที่เป็นการพัฒนาความเป็นมนุษย์ในบริบทของโลกตามเป็นจริง
ฉะนั้น การอบรมสามเณรกะเทยให้เป็นชาย หรืออบรมสารเณรชายให้เป็นชายเพราะเกรงว่าจะเบี่ยงเบนไปเป็นกะเทย และการอบรม “สมบัติผู้ดี” แก่สามเณร (ซึ่งส่วนใหญ่มีรากเหง้ามาจาชนชั้นรากหญ้า รวมทั้งพระมหาวุฒิชัยด้วย) หากไม่คิดละเอียดรอบคอบเพียงพอ อาจเป็นการใช้ ศีลธรรมเชิงอำนาจเข้าไปแทรกแซง/กดทับข้อเท็จจริงทางชีวภาพ และแทรกแซง/กดทับ ความภาคภูมิใจในกำพืดตนเอง ในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่ทุกคนพึงมีอย่างเท่าเทียม ไม่ว่าเขาจะเกิดมาเป็นเพศไหน และ/หรือมีสถานะทางสังคมเช่นไร


[1] สมภาร พรมทา.รากเหง้าเราคือทุกข์.สำนักพิมพ์วารสารปัญญา.หน้า 230.(ดาวน์โหลดฟรีในวารสารปัญญา วารสารออนไลน์)
[2] ข่าวสดรายวัน 24 กรกฎาคม 2554 ปีที่ 21 ฉบับที่ 7542 หน้า 29
[3] ข่าวสดรายวัน 9 สิงหาคม 2552 ปีที่ 19 ฉบับที่ 6828 หน้า 29

สถานทูตอเมริกาผิดหวังอัยการไทยฟ้อง โจ กอร์ดอน

ที่มา ประชาไท

สถานเอกอัครราชทูตทูตเอสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทย แถลงผ่านเว็บไซต์ของสถานทูตแสดงความผิดหวังที่อัยการดำเนินการฟ้องพลเมืองสห รัฐอเมริกาใหข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

แถลงดังกล่าวระบุว่า ทางการสหรัฐผิดหวังต่อกรณีที่อัยการไทยงฟ้องพลเมืองสหรัฐอเมริกาใหข้อหา หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ทั้งยังระบุด้วยว่าที่ผ่านมา ทางการสหรัฐได้ถกเถียงแลกเปลี่ยนกับเจ้าหน้าที่ทางการของไทยเกี่ยวกับคดีของ นายโจ กอร์ดอน โดยย้ำถึงโอกาสของเขาในการใช้สิทธิในฐานะพลเมืองสหรัฐ

"เรา ขอเรียกร้องให้ทางการไทยให้ความมั่นใจว่าเสรีภาพในการแสดงความเห็น เป็นสิ่งที่ได้รับการเคารพ และนายกอร์ดอน ซึ่งเป็นพลเมืองสหรัฐจะได้รับการปฏิบัติที่เป็นธรรม"

สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาปกระจำประเทศไทยระบุในคำแถลง

ความคืบหน้า "เผาบ้าน-ยุ้งข้าว" ชาวกะเหรี่ยง ก่อน ฮ.ตก 3 ลำที่แก่งกระจาน

ที่มา ประชาไท

หน่วย งานสิทธิมนุษยชนขานรับเรื่องร้องเรียนเจ้าหน้าที่อุทยานแห่ง ชาติแก่งกระจาน และทหาร เผาบ้าน ยุ้งข้าวชาวกะเหรี่ยงแก่งกระจาน ตามแผนปฏิบัติการผลักดันชนกลุ่มน้อยออกจากป่าแก่งกระจาน ก่อนเกิดเหตุการณ์ เฮลิคอปเตอร์ตก 3 ลำ ทำให้มีผู้เสียชีวิตทั้งทหารและช่างภาพสื่อมวลชนรวม 17 นาย ประธานอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนด้านชนชาติ ฯ สภาทนายความจวกยับ เป็นการกระทำต่อกลุ่มชาติพันธุ์ที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ เตรียมลงพื้นที่หาหลักฐาน ขณะที่กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติรับลูก เตรียมเรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประชุมเพื่อหาทางแก้ปัญหาการละเมิดสิทธิ มนุษยชน

จากเหตุการณ์เฮลิคอปเตอร์กองทัพบกตกที่ชายแดนไทย-พม่า 3 ลำ สืบเนื่องมาจากการปฏิบัติการตามแผนผลักดันชนกลุ่มน้อยชาวกะเหรี่ยงที่ลักลอบ เข้ามาปลูกพืชไร่หมุนเวียน เกี่ยวข้องกับยาเสพติดและมีอาวุธสงคราม ตามข่าวที่ปรากฎทางสื่อมวลชน ซึ่งต่อมาเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม ที่ผ่านมา สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับสถาบันอิสรา มูลนิธิเพื่อพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย ได้จัดการเสวนาในหัวข้อ " ฮ.ตก กับปัญหาอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน โดยมีนายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน นายสุรพงษ์ กองจันทึก ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษากะเหรี่ยงและพัฒนา และนายวุฒิ บุญเลิศ ประธานประชาคมอำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี ร่วมเสวนา ในการเสวนามีประเด็นสำคัญประเด็นหนึ่งคือการปฏิบัติการตามแผนของอุทยานแห่ง ชาติแก่งกระจาน เป็นการกระทำต่อชนกลุ่มน้อยที่รุนแรงเกินไปหรือไม่ เนื่องจากมีการแสดงภาพถ่ายเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการใช้ไฟเผาบ้านเรือนของ ชนกลุ่มน้อย รวมไปถึงมีการอ้างถึงการเผายุ้งฉางข้าวของคนเหล่านั้นอีกด้วย

หลัง การเสวนา นายวุฒิ บุญเลิศ ได้ยื่นหนังสือร้องเรียน ผ่านนายสุรพงษ์ กองจันทึก ผอ.ศูนย์ศึกษากะเหรี่ยงเพื่อการพัฒนา ซึ่งเป็นประธานอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนด้านชนชาติ ผู้ไร้สัญชาติ แรงงานข้ามชาติ และผู้พลัดถิ่น สภาทนายความ โดยเนื้อหาการร้องเรียนระบุว่าการกระทำของเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติ แก่งกระจานกับหน่วนงานอื่น เป็นการกระทำรุนแรงต่อชาวกะเหรี่ยงซึ่งเป็นกะเหรี่ยงดั้งเดิมในอุทยานแห่ง ชาติแก่งกระจาน ไม่ใช่ชนกลุ่มน้อยชาวกะหร่างนอกประเทศที่อ้างถึงแต่อย่างใด โดยการเผาบ้าน เผายุ้งข้าวของชาวกะเหรี่ยงน่าจะเข้าข่ายการกระทำที่ผิดกฎหมาย ขอให้สภาทนายความช่วยเหลือ

นายสุรพงษ์ กองจันทึก เปิดเผยว่า หลังจากได้รับหนังสือร้องเรียนแล้ว ได้นำเรื่องเข้าที่ประชุมของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน สภาทนายความ และมีมติให้ตนเป็นหัวหน้าคณะทำงานดำเนินการให้ความช่วยเหลือ โดยจะเรียกประชุมคณะอนุกรรมการทั้งชุดในวันที่ 24 สิงหาคม ที่จะถึงนี้ เพื่อแบ่งงานและมอบหมายงาน จากนั้นจะลงพื้นที่หาหลักฐานมาประกอบการดำเนินการให้ความช่วยเหลือ

" ตัวแทนชาวกะเหรี่ยงแก่งกระจานได้ร้องเรียนมายังสภาทนายความ เบื้องต้นเห็นว่า การที่เจ้าหน้าที่อุทยานฯกับหน่วยงานอื่น เผาบ้าน เผายุ้งข้าว เพื่อผลักดันชาวกะเหรี่ยงออกไปจากป่าแก่งกระจาน อาจจะเข้าข่ายกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ฐานบุกรุกเข้าไปในเคหะสถาน วางเพลิงเผาทรัพย์ ร่วมกันปล้นทรัพย์ตั้งแต่ 3 คนโดยมีอาวุธ นอกจากนี้ยังเข้าข่ายใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่ 3 ทำให้ผู้อื่นเสี่ยมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง"

" ตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นมา ได้มีการผลักดันชาวกะเหรี่ยง โดยการเผาบ้าน เผายุ้งข้าว และสิ่งปลูกสร้างของชาวกะเหรี่ยง โดยในระหว่างวันที่ 5-9 พ.ค.2544 ยุ้งข้าวของชาวกะเหี่ยงถูกทำลาย 98 หลัง วันที่ 23-26 มิ.ย.เผาอีก 21 หลังใน 14 จุด ทั้งยังมีการยึดทรัพย์สินต่างๆไปด้วย เช่นมีด ขวาน เคียว สร้อยลูกปัด กำไรข้อมมือ รวมทั้งเครื่องดนตรีของชาวกะเหรี่ยง" ประธานอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนด้านชนชาติ ฯสภาทนายความ กล่าว

นายสุ รพงษ์ กล่าวด้วยว่า จากข้อเท็จจริงปรากฏว่านโยบายขับไล่และจับกุมชนกลุ่มน้อย ซึ่งเป็นชาวกะเหรี่ยงดั้งเดิม มีหลักฐานว่ามีเหรียญชาวเขายืนยันว่าเป็นชาวกะเหรี่ยงในประเทศไทย ยังเข้าข่ายการกระทำที่ขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ว่าด้วยสิทธิ เสรีภาพและความเสมอภาคของบุคคลอีกด้วย

"ความจริงก็คือ ชาวกะเหรี่ยงที่ถูกผลักดันเป็นชาวกะเหรี่ยงดั้งเดิมใน พื้นที่ อยู่กันมานานหลายร้อยปี เป็นชนพื้นเมืองที่เกือบทั้งหมดมีทะเบียนสำรวจบัญชีบุคคลในบ้านหรือทะเบียน ราษฎรชาวเขา ไม่ได้อพยพมาจากประเทศอื่น" นายสุรพงษ์กล่าว

มีรายงาน เพิ่มเติมว่า นอกจากสภาทนายความจะดำเนินการให้ความช่วยเหลือชาวกะเหรี่ยงเหล่านั้นแล้ว กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ ซึ่งรับผิดชอบเป็นประธานคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจด้านที่ดินและป่า ได้รับเรื่องร้องเรียนด้วยเช่นกัน ซึ่งจะมีการจะเชิญผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมเพื่อรับฟังข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นและหาทางแก้ปัญหา ในวันที่ 26 สิงหาคม นี้ ที่สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

สำหรับภาพการเผาบ้าน เผายุ้งข้าวชาวกะเหรี่ยง เป็นภาพถ่ายของเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ในช่วงปฏิบัติงานตามแผนผลักดันชาวกะเหรี่ยง ซึ่งส่วนหนึ่งได้นำมาแสดงต่อสื่อมวลชน ในการเสวนา “ฮ.ตกกับปัญหาอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน” เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม ที่ผ่านมา และเป็นภาพเหตุการณ์ต่อเนื่องเชื่อมโยงไปจนถึงเหตุการณ์ เฮลิคอปเตอร์ ตก 3 ลำ ตามที่เป็นข่าวใหญ่ไปก่อนหน้านี้

อ่าน status นิธินันท์ ยอแสงรัตน์ กรณีผลสอบมติชน

ที่มา ประชาไท

บรรณาธิการอาวุโสฝ่ายบริหาร บริษัท เนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) วิพากษ์สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติสะท้อนอาการปากว่าตาขยิบ สองมาตรฐานขององค์กรวิชาชีพสื่อไทย เสนอสอบสื่อที่มีพฤติกรรมสนับสนุนเผด็จการและต่อต้านประชาธิปไตย

บรรณาธิการอาวุโสฝ่ายบริหาร บริษัท เนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) วิพากษ์ผลการสอบสวนสื่อเครือมติชนโดยสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สะท้อนอาการปากว่าตาขยิบ สองมาตรฐานขององค์กรวิชาชีพสื่อไทย เสนอสอบสื่อที่มีพฤติกรรมสนับสนุนเผด็จการและต่อต้านประชาธิปไตย

นิธิ นันท์ ยอแสงรัตน์ บรรณาธิการอาวุโสฝ่ายบริหาร บริษัท เนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) แสดงความเห็นผ่านสเตตัสในเฟซบุ๊ก วิพากษ์สองมาตรฐานสื่อไทย กรณีอนุกรรมการ ซึ่งแต่งตั้งโดยคณะกรรมการสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติแต่งตั้งระบุว่า สื่อในเครือมติชน เสนอข่าวเอนเอียงเข้าข้างพรรคเพื่อไทย พร้อมเรียกร้องให้ตั้งคณะกรรมการสอบสื่อที่เอียงข้างเผด็จการบ้าง

ทั้ง นี้ คณะอนุกรรมการฯ ชุดดังกล่าวถูกตั้งขึ้นเพื่อสอบสวนกรณีที่มีข่าวว่า พรรคเพื่อไทยจ่ายเงินให้กับผู้สื่อข่าวเพื่อให้มีการสนับสนุนพรรคในช่วงเวลา หาเสียงเลือกตั้ง โดยมีการเผยแพร่อีเมล์ที่อ้างว่าเป็นของนายวิม รุ่งวัฒนะจินดา รองโฆษกพรรคเพื่อไทย ระบุรายละเอียดในการจ่ายเงินให้กับสื่อมวลชน

โดยคณะอนุกรรมการฯ สอบแล้วไม่พบว่าบุคคลที่ปรากฏในข่าวมีการกระทำผิดตามที่กล่าวหา แต่ได้ตั้งข้อสังเกตว่า สื่อเครือมติชนนำเสนอข่าวมีลักษณะเอนเอียงเข้าข้างพรรคเพื่อไทย และวานนี้ นายปิยะชาติ มงคลไชยสิทธิ์ กรรมการผู้จัดการมติชน ได้ออกมาตั้งข้อสังเกตว่า ผลการสอบสวนดังกล่าว “น่าสงสัยในวิธีการและเจตนาหลายประการ โดยเฉพาะการสรุปว่า สื่อในเครือมติชน ได้แก่ ข่าวสด มติชน เสนอข่าวเอนเอียงเข้าข้างพรรคเพื่อไทย โดยนำภาพข่าวนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่ลงในสื่อ มาเปรียบเทียบจำนวน และตำแหน่งในการวางภาพ”

ประชาไทขออนุญาตนิธินัน ท์ นำสเตตัสที่โพสต์ในเฟซบุ๊กส่วนตัวมาเผยแพร่อีกครั้งโดยรวบรวมและเรียบเรียง สเตตัสที่นิธินันท์เขียนขึ้นในวันที่ 18 ส.ค. 2554 จำนวน 14 ข้อความ โดยเธอแสดงความเห็นด้วยต่อการตั้งข้อสังเกตของกรรมการผู้จัดการมติชนว่าผล การสอบสวนดังกล่าว “มีปัญหา” และเธอขอเสนอเพิ่มเติมว่าองค์กรวิชาชีพสื่อไทยควรมีการสอบสวนสื่อมวลชนอีก ประเด็นหนึ่งที่สำคัญมากคือ สื่อที่มีพฤติกรรมสนับสนุนเผด็จการและต่อต้านประชาธิปไตย

เห็นด้วยกับข้อวิจารณ์ว่าการผลการสอบดังกล่าวมีปัญหา

“เห็น ด้วยว่าผลสอบมีปัญหา อ่านแล้วคลื่นไส้มาก สรุปว่าถ้าเป็น "พวกเรา" ทำอะไรก็ถูกหมด ดีหมด ถ้าทำท่าว่าไม่ใช่พวกเรา พวกมันต้องทุจริตแน่ๆ สื่อเชียร์พรรคประชาธิปัตย์ เชียร์กลุ่มอภิสิทธิชนออกนอกหน้า หรือด่าพรรคเพื่อไทยและชาวบ้านที่ไม่เอาด้วยกับอภิสิทธิชนอย่างสาดเสียเท เสีย ใส่ร้ายป้ายสีเขาชนิดไม่มีความเที่ยงธรรมแม้แต่น้อยก็ได้ ไม่เป็นไร ไม่มีปัญหา ถือเป็นสื่อดีวิเศษ แต่สื่อที่ทำต่างจากนี้ มีปัญหา พวกมันมีแนวโน้มโกง เลว.....

“การที่แต่ละพรรคการเมืองมีนโยบาย บริหารจัดการสื่อ ไม่ได้แปลว่า สื่อต้องไปรับนโยบายของพรรคการเมือง การบริหารจัดการของพรรคก็เป็นเรื่องของพรรค เช่นวางแผนว่าช่วงนี้พรรคจะเสนอเรื่องอะไร จะทำอะไร จะบอกอะไรกับสาธารณะ พรรคการเมืองเป็นองค์กร ถ้าไม่มีแผนบริหารจัดการกระทั่งด้านสื่อสารมวลชน ประชาสัมพันธ์ ต้องเรียกว่าห่วย ทำงานไม่เป็น”

“สื่อขายตัว” “ รับเงิน” ล้วนเป็นคำใหญ่โตเอาไว้หลอกด่า เอาดีใส่ตัวเอาชั่วใส่คนอื่น

“สื่อ ทุกวันนี้ก็เหมือนกันหมด ไอ้เรื่องประเภทสื่อขายตัว รับเงิน ฯลฯ งี่เง่าเหล่านั้น มันเป็นคำใหญ่โตเอาไว้หลอกด่า เอาดีใส่ตัวเอาชั่วใส่คนอื่นทุกสื่อทำมาหากินแบบธุรกิจ และอาจ "เลือกข้าง" แนวคิด อุดมคติทางการเมือง สิ่งที่จะพิสูจน์ว่าสื่อทำหน้าที่สื่อหรือไม่แม้คุณจะเลือกข้างก็คือ คุณรายงานข่าวรอบด้านอย่างเที่ยงธรรมเพียงใด หรือคุณระงับใจคุณไม่ให้อคติจนกลายเป็นไส่ร้ายป้ายสี สร้างข่าวขึ้นมาเองเพื่อให้ร้ายฝ่ายตรงข้ามอย่างไรมากกว่า ไอ้ประเภทมาชี้หน้าหาเรื่องกันว่า คนนั้นคนนี้เป็นสื่อเลวเพราะทักษิณ อันนี้ทุเรศ เพราะคนที่เชียร์ฝ่ายตรงข้ามทักษิณอย่างออกนอกหน้าก็มีเยอะ ทำไมไม่ด่ากันบ้างละคะ นี่ก็เป็นอีกตัวอย่างของสองมาตรฐานในสังคมไทยที่ไร้หลักการ”

ข้อสังเกตถึงกรณีอีเมล์รั่ว “ไม่เป็นธรรมชาติ” มากๆ

“เคส นายวิม นึกๆ ก็ประหลาดใจนะ เขียนเมลถึงหัวหน้าตัวเอง "สั่งการ" ให้ไปบอกทักษิณอย่างนั้นอย่างนั้นอย่างนี้ มันไม่เป็น "ธรรมชาติ" มากๆ ใครสั่งทักษิณได้หรือ ทักษิณคนที่ภาพลักษณ์ชัดเจนว่า ไม่รู้จักนิ่ง ไม่รู้จักอ่อนน้อมถ่อมตนนี่นะ สั่งได้ แถมเงินที่ว่าจ่าย "ซื้อนักข่าว" รายละสองหมื่นนี่ก็ "ตลกมาก" และอ่านในผลสอบก็ชัดๆ ว่า แต่ละคนที่ถูกกล่าวหานั้น ไม่ได้รับผิดชอบข่าวประจำวันของหนังสือพิมพ์ฉบับนั้นๆ เลย มองดีๆ สิคะ มันเป็นรายการ "สร้างเรื่อง" "หาเรื่อง" ชัดๆ หาเรื่องและสร้างเรื่องบนความอ่อนไหวเชิงดรามาของคนไทยเรื่อง "อุดมคติและจริยธรรมอันยิ่งใหญ่ของคนดี"

“คนไทยโดยเฉพาะคนชั้นกลางใน กรุงเทพฯ ที่คิดว่าชีวิตของฉันต้องดีพร้อมนั้น ตื่นตระหนกตกใจง่าย เพ้อเจ้อ เพ้อฝัน ไม่ค่อยคิดใคร่ครวญ มองทุกอย่างเป็นสูตรสำเร็จ

“ทั้งสมาคมฯ ทั้งสภาฯ....น่าคลื่นไส้ ทำท่าจริยธรรมกันสูงส่ง แต่ปากว่าตาขยิบกันมากมาย ฉันทำได้ เธอทำไม่ได้”

ความเกลียดชังทักษิณทำให้คนทำสื่อไร้หลักการ และข่มทับคนอื่นด้วยคำว่า จริยธรรม

“ที่ กล่าวมานี้ไม่ได้หมายความว่า สื่อ "รับเงิน"-ขายตัว" เป็นเรื่องธรรมดาตามที่ว่ากันมาเป็น cliche (ความคิดที่คร่ำครึ/ข้อกล่าวอ้างซ้ำซาก) แต่หมายความว่า ข้อกล่าวหาอย่างนั้น เป็นเรื่องตลกไปเสียแล้ว สื่อก็ทำงานรับเงินเดือน บริษัทสื่อก็ทำธุรกิจ การทำงานสื่อก็เป็นองค์กร เป็นระบบกองบรรณาธิการ ดังนั้นมันก็ไม่ใช่เรื่องประเภท นักการเมืองไปเรียกคนทำสื่อมาสักคน จ่ายเงินแล้วบอกว่า เขียนเชียร์ฉันหน่อยนะ เพราะรูปแบบอย่างนั้นเป็นเรื่องตื้นเกินไป

“ข้อเท็จจริงที่เป็นอยู่ คือบริษัทสื่อรับเงินโฆษณา ฝ่ายธุรกิจซื้อพื้นที่สื่อลงโฆษณาสินค้าของตน ธุรกิจสื่อก็อยู่รอด และเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องรับซอง เป็นเรื่องธุรกิจ สมัยก่อน ฝ่ายโฆษณาไม่บอกฝ่ายบรรณาธิการว่าช่วยทำข่าวเรื่องนั้นเรื่องนี้ แยกกันเด็ดขาด แต่สมัยนี้ บางทีฝ่ายโฆษณาก็มาบอกฝ่ายข่าวว่าทำเรื่องนั้นนี้ให้บ้าง เส้นแบ่งข่่าวกับธุรกิจมันก็ค่อยๆ บางลง

“พอถึงยุคการเมืองเข้ม ก็มีอีก สมัยที่รัฐบาลทักษิณยังไม่ถูกรัฐประหาร สื่อบางกลุ่มก็ไปประชุมร่วมกับฝ่า่ยจะล้มรัฐบาล วางแผนกันเสร็จสรรพ จะทำทุกวิธีล้มให้ได้ ฝ่ายธุรกิจที่เกลียดรัฐบาลก็สนับสนุนซื้อพื้นที่สื่อนั้น สื่อนั้นก็ได้โฆษณาจากฝ่ายธุรกิจที่เป็นพวกเดียวกัน พอรัฐบาลใหม่มา ก็มีงบจากกระทรวงต่างๆ ให้สื่อมาจัดกิจกรรมหาเงินที่เรียกว่าจัด event อีก ถ้าไม่เกี่ยวกับทักษิณ ทำได้ ไม่มีผิดเลย ไม่มีการกล่าวหาใดๆ เลย เพราะบอกกันว่า นี่แหละธุรกิจ

“แต่พอจะหาเรื่องกัน ก็บอก นี่พวกทักษิณนี่ บริษัททักษิณ พรรคทักษิณมาซื้อพื้นที่สื่อนี้เยอะ มันต้องเข้าข้างทักษิณแน่เลย...อ้าว แล้วพวกที่ได้จากอีกฝ่ายละคะ พวกทีร่วมประชุมวางแผนล้มรัฐบาลทักษิณละ ???

“สื่อที่รับโฆษณาจาก ฝ่ายที่เกลียดทักษิณก็บอกว่า โอ๊ย ฉันเที่ยงธรรม ฉันไม่เชียร์ประชาธิปัตย์ออกนอกหน้าหรอก ซึ่งเขาก็อาจจะพยายามเที่ยงธรรมจริง แต่ถ้าอย่างนั้น ทำไมไม่คิดละคะว่า สื่อที่รับโฆษณาจากฝ่ายชอบทักษิณเขาก็พูดได้เหมือนกันว่าเขาเที่ยงธรรม

“เห็น ไหมว่า ความเกลียดทักษิณในสังคมไทยนี้มันทำให้คนไทยโง่และบ้ากันหมด ไร้หลักการโดยสิ้นเชิง แถมยังงี่เง่าพอที่จะยกหลักการหรู ๆ คำพูดสวยๆ ใหญ่โตต่างๆ มาอ้างว่าตนเป็นคนดีกว่า มีจริยธรรมกว่า ไปข่มทับคนอื่นแบบไร้หลักการด้วย

“แน่นอนว่าคนก็อ้าง "อุดมการณ์" กันทั้งนั้น แต่ไหนๆ ก็ไหนๆ นะ ควรจะตาสว่างฉลาดเฉลียว มองให้เห็นความแตกต่างระหว่างอุดมการณ์แบบอนุรักษ์นิยม ยอมจำนน ให้อภิสิทธิชนซึ่งอ้างตัวเป็นคนดีควบคุมดูแลประเทศกับอุดมการณ์เสรีนิยม ประชาธิปไตย ที่เชื่อมั่นและเคารพในเสรีภาพของปัจเจก เคารพในสิทธิเสียงของสามัญชน คนเกิดมามีเสรีภาพ เราก็มีสิทธิเลือกอุดมการณ์ของเรา มันเรื่องอะไรเอาสื่อไปมอมเมาผู้คนให้ยอมจำนน และสื่อที่อ้างอุดมการณ์เหล่านั้นก็ได้เงินสนับสนุนจากกลุ่มอนุรักษ์นิยม อย่างนี้จะถือว่า ขายตัวให้อนุรักษ์นิยมไหม หรือถือว่ามีอุดมการณ์ร่วมกัน ถ้าอย่างนั้น มันเรื่องอะไรไปชี้หน้ากล่าวหาคนอื่นที่มีอุดมการณ์แตกต่างว่าขายตัว”

สื่อยัดเยียดความเชื่อเรื่อง “คนโง่ ซื้อได้ ผลประโยชน์คือความเลว” แต่สื่อเองก็ทำมาหากินเพื่อผลประโยชน์

“ความ คิด cliche หนึ่งที่สื่อไทยใส่หัวคนในสังคมมาตลอดเพราะคนทำสื่อจำนวนหนึ่งก็ดัน "โง่" เชื่ออย่า่งนั้นจริงจังก็คือ คนซื้อได้ คนไม่มีหัวคิดเป็นของตัวเอง ใครคิดอะไรไม่เหมือนเรา ไม่คิดถึงสถาบันชาติในแนวเดียวกับเรา แปลว่า มัน "ขายตัว".....คิดอัตโนมัติกันแบบนั้น จึงไม่มีทางมองเห็นภาพรวมเลย ไม่เห็นประเด็นปัญหาจริงๆ เลย เพราะมันฝังหัวอยู่แค่นั้น ในกรอบจำกัดแค่นั้น

“cliche อีกอย่างที่คนทำสื่อยัดเยียดใส่หัวคนก็คือ เงิน และ ผลประโยชน์ เป็นความเลว แต่ขอโทษ สื่อก็ทำมาหากินเพื่อเงินและผลประโยชน์ ทุกคนก็ทำงานเพื่อเงินเป็นตัวกลางในการจับจ่ายใช้สอยเพื่อการอุปโภคบริโภค เพื่อการดำรงอยู่ของชีวิต แต่ถ้าจะส่งเสริมในแง่ว่า เราทุกคนก็ควรใช้เงินและคิดถึงผลประโยชน์ที่จะได้อย่างพอดี ก็สื่อเองอีกนั่นแหละที่เชิดชูบูชาความฟุ่มเฟือยหรูหราต่างๆ นานา...ปากว่าตาขยิบที่สุดในโลกจึงเป็นสื่อนี่เอง”

ลำดับเหตุการณ์กรณีสอบสวนสื่อเครือมติชน

30 มิถุนายน เว็บไซต์เมเนเจอร์ ออนไลน์ เสนอข่าวอีเมล์ 2 ฉบับ ระบุว่า มีอีเมล์หัวข้อ "จดหมายถึงท่านพงษ์ศักดิ์" ส่งเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2554 และหัวข้อ "ข้อเสนอ วิม?" ส่งเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน โดยพาดหัวว่า "กุนซือปู ซื้อสื่อที่ละ 2 หมื่น มีเนื้อหาพาดพิงถึงบุคคลหลายคน โดยเป็นบุคคลในสังกัดหนังสือพิมพ์"

5 กรกฎาคม คณะกรรมการสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ มีมติแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเฉพาะเรื่องตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีการส่งอีเมล์ ของนักการเมืองระบุการให้เงินและผลประโยชน์แก่ ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน มี นพ.วิชัย โชควิวัฒน เป็นประธาน นางบัญญัติ ทัศนียะเวช รศ.ดร.ดรุณี หิรัญรักษ์ ศ.พิเศษ สิทธิโชค ศรีเจริญ และ ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ เป็นกรรมการ

หลังจากนั้น ทางคณะอนุกรรมการส่งจดหมายเชิญผู้ถูกพาดพิงถึงไปให้ปากคำ โดยมีผู้เดินทางไปให้ปากคำ 5 คน และไม่ได้เดินทางไปให้ปากคำ 3 คน แต่ใช้วิธีส่งจดหมายไปให้แทน นอกจากนี้ ทางคณะอนุกรรมการยังได้เชิญนายวิม รุ่งวัฒนะจินดา รองโฆษกพรรคเพื่อไทย ตลอดจนผู้ควบคุมการเสนอข่าวทางเว็บไซต์เมเนเจอร์ ออนไลน์ มาให้ข้อมูลด้วย ผลการตรวจสอบสรุปว่า คณะอนุกรรมการเชื่อว่า อีเมล์ทั้ง 2 ฉบับน่าจะส่งมาจากบัญชีและรหัสผ่านของนายวิมจริง ส่วนผู้ที่ถูกพาดพิงทั้งหมดไม่สามารถสรุปได้ว่าเอนเอียงเข้าข้างพรรคเพื่อ ไทย

อย่างไรก็ตาม คณะอนุกรรมการ มีข้อสรุปเกี่ยวกับการเสนอข่าวของกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ โดยระบุว่า 1.ภาพข่าว หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ มติชน และข่าวสด นำเสนอภาพข่าวสนับสนุนพรรคเพื่อไทยและ น.ส.ยิ่งลักษณ์ 2.ข่าวเลือกตั้ง ข่าวสด มติชน ไทยรัฐ สนับสนุนพรรคเพื่อไทยและ น.ส.ยิ่งลักษณ์ 3.บทสัมภาษณ์พิเศษ รายงาน สกู๊ปข่าว มติชนสัมภาษณ์ฝ่ายพรรคเพื่อไทย 4 ครั้ง แต่สัมภาษณ์ฝ่ายพรรคประชาธิปัตย์ 2 ครั้ง เป็นบุคคลที่ไม่เป็นที่รู้จักเมื่อเปรียบเทียบกับพรรคเพื่อไทย หนังสือพิมพ์ข่าวสดเป็นหนังสือพิมพ์ฉบับเดียวที่แปลบทสัมภาษณ์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร 4.คอลัมน์การเมืองหนังสือพิมพ์ข่าวสด มีเนื้อหาโจมตีนายอภิสิทธิ์ ชัดเจนและมากที่สุด และยังสนับสนุนภาพลักษณ์เชิงบวกแก่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ 5.โฆษณาพรรคการเมืองในหนังสือพิมพ์ โดยพรรคเพื่อไทยลงพื้นที่โฆษณามากกว่าพรรคประชาธิปัตย์ และมีข้อสังเกตว่า พรรคเพื่อไทยลงโฆษณาเฉพาะในหนังสือพิมพ์เครือมติชนเท่านั้น

"จากผลการศึกษาดังกล่าว เชื่อได้ว่าพรรคเพื่อไทยน่าจะมีการบริหารจัดการสื่อมวลชนอย่างเป็นระบบ" รายงานของคณะอนุกรรมการระบุ

18 สิงหาคม นายปิยะชาติ มงคลไชยสิทธิ์ กรรมการผู้จัดการมติชน เปิดเผยว่า ได้เห็นผลการสอบของคณะอนุกรรมการเฉพาะเรื่องตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีการส่งอี เมล์ของนักการเมืองระบุการให้เงินและผลประโยชน์แก่ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวล ชน ที่มี นพ.วิชัย โชควิวัฒน เป็นประธานอนุกรรมการ ซึ่งคณะกรรมการสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติมีมติแต่งตั้งขึ้นแล้ว ผลการสอบระบุว่า บุคคลที่ถูกพาดพิงในอีเมล์ ไม่ได้กระทำผิด ข้อหารับสินบนตามอีเมล์นั้นตกไป เป็นเรื่องเข้าใจได้ และมติชนได้ยืนยันความบริสุทธิ์มาตั้งแต่ต้น แต่การตั้งประเด็นตรวจสอบการเสนอข่าวของสื่อ มีข้อน่าสงสัยในวิธีการและเจตนาหลายประการ โดยเฉพาะการสรุปว่า สื่อในเครือมติชน ได้แก่ ข่าวสด มติชน เสนอข่าวเอนเอียงเข้าข้างพรรคเพื่อไทย โดยนำภาพข่าวนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่ลงในสื่อ มาเปรียบเทียบจำนวน และตำแหน่งในการวางภาพ


ส.ส.เพื่อไทยประกันคดีหมิ่นเบื้องสูง “สมยศ-สุรชัย” ยังแห้ว ด้านแดงภูมิภาครอประกันอีกสัปดาห์หน้า

ที่มา ประชาไท

ส.ส.เพื่อไทยประกันแดงคดีหมิ่นเบื้องสูง “สมยศ-สุรชัย” ยังแห้วประกัน พร้อมส่งศาลอุทรณ์พิจารณาคำสั่งปล่อย 6 นปช. "ธวัชชัย เอี่ยมนาค" ให้ประกันปล่อยตัวชั่วคราว ขณะที่ทนายจะยื่นประกันตัวอีกครั้งในวันที่ 23 ส.ค.นี้ ด้าน 20 นปช.อุบลฯ ยังไม่ประกัน รอศาลตัดสิน 24 ส.ค. นปช.มหาสารคามคาดขอประกันสัปดาห์หน้า ส่วนศาลเลื่อนตัดสินประกันตัวแดงขอนแก่น
"ณัฐวุฒิ" นำทัพ ส.ส.เพื่อไทยประกันแดงคดีหมิ่นเบื้องสูง
19 ส.ค. 54 - ที่ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษกนางธิดา ถาวรเศรษฐ์ ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ( นปช.) พร้อมด้วยนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ,น.พ.เหวง โตจิราการ , นายก่อแก้ว พิกุลทอง , นายพายัพ ปั้นเกตุ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ และ นายวิญญัติ ชาติมนตรี ทนายความ เดินทางมายื่นคำร้องพร้อมหลักทรัพย์ ขอปล่อยตัวชั่วคราว นายสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ หรือแซ่ด่าน และนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข จำเลยคดีหมิ่นเบื้องสูง และจำเลยอีก 7 คน สำนวนคดีหมายเลขดำที่ อ.1678/2554 , อ.2440/2553 , อ.2417/2553 , อ.1610/2553 , อ.1814/2553 และ อ.2274/2553 ข้อหาร่วมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปปลุกปั่นยุงยุงให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง โดยใช้ตำแหน่ง ส.ส. ของพรรคเพื่อไทย 8 คน ประกอบด้วย นายจตุพร พรหมพันธุ์ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ น.พ.เหวง โตจิราการ นายพายัพ ปั้นเกตุ น.ส.ภูวนิดา คุนผลิน นายสุชาติ ชาดาธำรงเวช นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ ซึ่งเป็น ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ และ น.ส.ลีลาวดี วัชโรบล ส.ส.กทม. พร้อมเงินสดอีกรายละ 500,000 บาท
โดย นายวิญญัติ ทนายความ กล่าวว่า สำหรับเหตุผลในการยื่นประกันตัว เนื่องจากเห็นว่าขณะนี้สถานการณ์การเมืองได้เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น แล้ว ประกอบกับคดีมีความชัดเจนระดับหนึ่ง ดังนั้นเพื่อความสมานฉันท์ปรองดอง จึงต้องการให้ผู้ต้องหาได้ออกมาต่อสู้คดีตามกระบวนการยุติธรรม ขณะที่วันเดียวกันนี้ทีมทนายความจะยื่นแนวร่วม นปช. อีก 20 คนที่ถูกยื่นฟ้องคดีลักษณะเดียวกันนี้ ประกอบด้วยศาลอาญากรุงเทพใต้ 8 คนซึ่งมีคดีเผาศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ด้วย ศาลจังหวัดพระโขนง 4 คน ศาลจังหวัดมีนบุรี 4 คน ศาลจังหวัดสมุทรปราการ 2 คน และศาลจังหวัดนนทบุรี 2 คน โดยจะใช้ตำแหน่ง ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ และ ส.ส.เขต พรรคเพื่อไทย และเงินสดอีกรายละ 500,000 บาท ในการยื่นขอประกันตัวเช่นกัน
ศาลไม่ให้ประกันแนวร่วมเสื้อแดง "สุรชัย-สมยศ"
ล่า สุด เมื่อเวลา 15.00 น.ศาลอาญา ถ.รัชดาฯ มีคำสั่งให้ส่งคำร้องขอประกันตัว แนวร่วม นปช. 6 คน ไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาเพื่อมีคำสั่งต่อไป และให้ปล่อยตัวชั่วคราว 1 คน คือ นายธวัชชัย เอี่ยมนาค 37ปี ผู้ต้องหาคดีมีวัตถุระเบิดไว้ในครอบครอง โดยไม่ได้รับอนุญาต และกรณีพกวัตถุระเบิดแสวงเครื่อง เตรียมก่อเหตุบริเวณที่ชุมนุมกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 24 ม.ค. 2554 โดยตีราคาประกัน 3 แสนบาท
ส่วน อีก 2 ราย คือ นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข จำเลยคดีหมิ่นเบื้องสูงนั้น ศาลยกคำร้อง เนื่องจาก เห็นว่าศาลอุทธรณ์เคยมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวจำเลย กรณีจึงไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลง ให้ยกคำร้อง สำหรับ นายสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ หรือ แซ่ด่าน นั้น ศาลอาญาพิเคราะห์แล้วเห็นว่า จำเลยยังถูกคุมขังในคดีหมิ่นเบื้องสูง และคดีอื่นอีก กรณีจึงไม่มีเหตุให้ปล่อยตัวชั่วคราว
เช่นเดียวกับศาลจังหวัดสมุทรปราการ ที่มีคำสั่งให้ส่งคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว แนวร่วมนปช.2 คน ไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาประกันตัว
ขณะ ที่ศาลจังหวัดนนทบุรี มีคำสั่งไม่อนุญาตให้ประกันตัวชั่วคราว แนวร่วม นปช. 2 คน เนื่องจากพิจารณาแล้วเห็นว่า ก่อนหน้านี้ศาลอุทธรณ์เคยมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ประกันตัวมาแล้ว จึงให้ยกคำร้อง
ส่วนศาลจังหวัดมีนบุรี พิจารณาแล้ว มีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัวแนวร่วม นปช. 4 คน ซึ่งเป็นผู้ต้องหาคดีมีวัตถุระเบิดและกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับ อนุญาต โดยศาลตีราคาประกัน คนละ 2.5 แสนบาท โดยไม่ได้กำหนดเงื่อนไขใดๆ
ด้าน นายวิญญัติ ชาติมนตรี ทนายความ นปช.กล่าวว่า การยื่นประกันตัวที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ รวม 8 คนนั้น อยู่ระหว่างดำเนินการยื่นคำร้องต่อศาล ขณะที่การยื่นคำร้องขอประกันตัว แนวร่วม นปช.ต่อศาลจังหวัดพระโขนง 4 คนนั้น ไม่มีการยื่นคำร้องในวันนี้เนื่องจากรวบรวมเอกสารไม่แล้วเสร็จ โดยจะยื่นประกันตัวอีกครั้ง ในวันอังคารที่ 23 ส.ค.นี้
ยังไม่ยื่นประกันตัว 20 นปช.อุบลฯ รอศาลตัดสิน 24 ส.ค.
เมื่อ เวลา 10.00 น. วันนี้ (19 ส.ค.) นายวัฒนา จันทศิลป์ ทนายความของกลุ่ม นปช. จังหวัดอุบลราชธานี เดินทางมายังศาลจังหวัดอุบลราชธานี พร้อมชี้แจงกับญาติของผู้ต้องหาแนวร่วม นปช. กรณี ส.ส.เพื่อไทยเขตอีสานใต้ นัดหมายกันไว้ก่อนหน้านี้จะใช้ตำแหน่ง ส.ส.ประกันตัวผู้ต้องหา 20 คน ที่ถูกควบคุมอยู่ในเรือนจำกลางอุบลราชธานี คดีเหตุการณ์ชุมนุมและเผาสถานที่ราชการเมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2553 นั้น
กลุ่ม ส.ส.เห็นว่าศาลจังหวัดอุดรธานีจะมีคำพิพากษาในวันที่ 24 ส.ค. นี้ จึงยังไม่ขอยื่นประกันตัวผู้ต้องหาทั้ง 20 คน โดยจะรอฟังคำตัดสินก่อน ซึ่งเป็นการตัดสินของศาลชั้นต้นว่าจะออกมาอย่างไร ทั้งนี้ หลังฟังคำชี้แจงทางญาติของผู้ต้องหาจึงพากันเดินทางกลับ
นปช.มหาสารคามคาดสัปดาห์หน้าพร้อมยื่นขอประกันตัว 9 ผู้ต้องหา
ด้าน นางรังสิมา เจริญศิริ ส.ส. มหาสาร คาม แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย พร้อมนายอดิศร วัฒนบุตร แกนนำแนวร่วม นปช. และนายคม รม พลพรกลาง ทนายความ เยี่ยมผู้ต้องหา นปช. จำนวน 9 คน ที่ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำมหาสารคาม
โดยนายคารม กล่าวว่า คดีเหตุการณ์ชุมนุมเมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2553 มีแนวร่วมของ นปช. อีก 110 คน ทั่วประเทศ ที่ยังถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำหลายจังหวัด และเมื่อวันที่ 16 ส.ค.ที่ผ่านมา ศาลมีคำสั่งให้ปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหาที่จังหวัดอุดรธานีแล้วจำนวน 22 คน ซึ่งกลุ่ม นปช. จะดำเนินการยื่นประกันตัวผู้ต้องหากลุ่มแนวร่วมคนเสื้อแดงทุกจังหวัด ในส่วนของจังหวัดมหาสารคามมีผู้ต้องหาแนวร่วม นปช. อยู่จำนวน 9 คน คือ นายคมกฤษ คำวิแสง นายภานุพงษ์ นวลเสน นายสมโภชน์ สีกากุล นายอุทัย คงหา นายไพรัช จอมพรรษา นายมนัส วรรณวงศ์ นายสุชล จันปัญญา นายชรัญ เอกสิริ และ นายเดชอดุลย์ เดชบุรัมย์ ซึ่งทั้งหมดถูกศาลตัดสินเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2553 ข้อหาวางเพลิง-ตระเตรียมการวางเพลิง ถูกจำคุก 5 ปี 8 เดือน จากเหตุการณ์เตรียมเผาที่ว่าการอำเภอเมืองมหาสารคาม แต่วันนี้ยังไม่สามารถยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวให้กับผู้ต้องขังทั้ง 9 คนได้ เนื่องจากจังหวัดมหาสารคามมี ส.ส.อยู่ 6 คน ซึ่งจะต้องใช้ ส.ส. ทั้งหมด 9 คน และเงินประกันอีกคนละ 1 ล้านบาท โดยได้ประสานกับ ส.ส.ร้อยเอ็ด แล้วอีก 3 คน คาดว่าสัปดาห์หน้าจะสามารถยื่นขอประกันตัวได้
ศาลเลื่อนตัดสินประกันตัวแดงขอนแก่น
ที่ จ.ขอนแก่น ภายหลังเสร็จสิ้นการไต่สวนพิจารณาคดีแกนนำกลุ่ม นปช. ของศาลจังหวัดขอนแก่น ซึ่งได้ประทับรับคำร้องการยื่นขอประกันตัวและอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว กลุ่มเสื้อแดงทั้ง 4 คน ที่ถูกคุมขังภายในเรือนจำกลางขอนแก่น จากคดีการลอบวางเพลิง เผาศาลากลางจังหวัดขอนแก่น และสถานีโทรทัศน์เอ็นบีที ซึ่งทนายกลุ่ม นปช. ได้ใช้ตำแหน่ง ส.ส. 6 คน ประกันตัวแกนนำทั้ง 4 คน โดยศาลจังหวัดของแก่น ได้ประทับรับคำร้องและมีการไต่สวน โดยที่อัยการเจ้าของคดี ไม่มีการคัดค้านการประกันตัวดังกล่าว โดยศาลจังหวัดของแก่น จะมีการให้ฟังคำพิพากษา ว่าจะอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราวหรือไม่ ในวันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม นายธนิต มาสีพิทักษ์ ส.ส.พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ยังคงมั่นใจว่า ศาลจะใช้ดุลยพินิจ พิจารณาในการปล่อยตัวชั่วคราว ในวันจันทร์นี้
เสื้อแดงเชียงใหม่ชุมนุมหน้าคุก ร้องปล่อยตัว “นักโทษแดง”
ที่ จ. เชียงใหม่ กลุ่มคนเสื้อแดงจำนวนประมาณ 20 คนเดินทางมายังเรือนจำกลางเชียงใหม่ เพื่อเข้าเยี่ยมคนเสื้อแดงที่ต้องโทษอยู่ในเรือนจำกลาง พร้อมทั้งเรียกร้องให้มีการปล่อยผู้ต้องหาทั้ง 7 คนออกจากเรือนจำ
การ รวมตัวของกลุ่มคนเสื้อแดงในครั้งนี้นอกจากจะเป็นการรำลึกถึง เหตุการณ์การสลายการชุมนุมเมื่อวันที่ 19 พ.ค.53 แล้ว กลุ่มคนเสื้อแดงยังต้องการแสดงออกเพื่อเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวผู้ต้องหา ทั้ง 7 ราย ซึ่งกลุ่มคนเสื้อแดงมองว่าเป็นนักโทษในคดีการเมืองออกจากเรือนจำกลาง เชียงใหม่ เนื่องจากคนกลุ่มนี้ไม่ได้รับความยุติธรรมจากการตกเป็นผู้ต้องหาในคดีทางการ เมือง รวมทั้งยังไม่ได้รับการประกันตัวเพื่อออกมาต่อสู้คดีในสมัยของรัฐบาลชุดที่ ผ่านมาแต่อย่างใด
ทั้งนี้ ก่อนการชุมนุม มีรายงานว่าจะมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของ จ.เชียงใหม่บางคนเข้าร่วมในการชุมนุมดังกล่าวด้วย รวมทั้งอาจจะมีการติดต่อเพื่อขอยื่นประกันตัวผู้ต้องหาทั้ง 7 ราย เช่นเดียวกับที่มีการเคลื่อนไหวประกันตัวกลุ่มคนเสื้อแดงที่ต้องโทษของ ส.ส.จากพรรคเพื่อไทยที่ จ.อุบลราชธานีในช่วงที่ผ่านมา
อย่าง ไรก็ตาม เมื่อกลุ่มคนเสื้อแดงเดินทางมาถึงเรือนจำกลางเชียงใหม่ ได้มีการปรับเปลี่ยนกิจกรรมโดยมาชุมนุมกันบริเวณหน้าที่ทำการเรือนจำกลาง พร้อมกับชูป้ายข้อความ “ปล่อยตัวนักโทษการเมือง” แทน ส่วนการยื่นขอประกันตัวผู้ต้องหานั้นได้เปลี่ยนเป็นนำเรื่องมอบให้กับตัวแทน ส.ส.ไปดำเนินการต่อ เนื่องจากตามกระบวนการยื่นขอประกันตัวนั้น ผู้ต้องหาต้องเป็นฝ่ายยื่นเรื่องขอให้ ส.ส.ช่วยประกันตัวก่อน จากนั้น ส.ส.จึงจะสามารถดำเนินการใช้ตำแหน่งในการยื่นขอประกันตัวผู้ต้องหาได้ โดย ส.ส. 1 คนสามารถยื่นขอประกันตัวผู้ต้องหาได้ 2 ราย
รายงาน ข่าวแจ้งว่า หลังจากมีตัวแทนของ ส.ส.มารับเรื่องจากกลุ่มคนเสื้อแดงในวันนี้แล้ว คาดว่าจะมีการหารือกันในกลุ่ม ส.ส.เชียงใหม่ต่อไป ก่อนจะสรุปว่า ส.ส.คนใดบ้างที่จะเป็นผู้ยื่นขอประกันตัวให้กับกลุ่มคนเสื้อแดงที่ต้องโทษ อยู่ในเรือนจำในขณะนี้
ที่มาเรียบเรียงจาก: สำนักข่าวไทย, เนชั่นทันข่าว, ไอเอ็นเอ็น, ASTV ผู้จัดการออนไลน์