WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, September 12, 2008

คอลัมน์ : สามเหลี่ยมดินแดง


คอลัมน์ : สามเหลี่ยมดินแดง

00 หนังสือพิมพ์ประชาทรรศน์ สื่อทางเลือกของประชาชน เพื่อประชาธิปไตย เจตนารมณ์แน่วแน่มั่นคง ขัดขวางทุกวิถีทางกับกระบวนการพยายามนำลัทธิอุบาทว์ในคราบของการเมืองใหม่เข้ามาแทนการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับวันศุกร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ.2551

00 แพลมออกมาแล้วจากปาก พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก ผู้รับผิดชอบประกาศพระราชกำหนดภาวะฉุกเฉิน จะเสนอให้มีการยกเลิก เพราะมวยเลิกชกกัน ตั้งเวทีชุมนุมกันคนละจังหวัด จึงไม่มีประโยชน์อันใดที่จะต้องมีกรรมการห้ามมวยไม่ให้ชกกัน

00 ว่าไปแล้ว พ.ร.ก.ฉุกเฉิน น่าจะยกเลิก หลังจากที่ กลุ่มพันธมิตรฯ ยังคงขัดคำสั่งยึดทำเนียบรัฐบาล โดยที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบแถลงชัดเจน ทหารจะไม่ใช้ความรุนแรง จะใช้วิธีการเจรจา ภารกิจหลักจะห้ามไม่ให้ผู้ชุมนุมทั้งสองฝ่ายปะทะกัน ผลของประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เห็นผลชัดเจนประการเดียวเท่านั้น คือ กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช. ประกาศสลายการชุมนุมที่ท้องสนามหลวง ไปปักหลักชุมนุมต่อต้านกระบวนการทำลายประชาธิปไตยกันที่ท่าน้ำนนทบุรี นอกเขตพื้นที่ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน บังคับใช้ แค่นั้นเอง คุ้มกันหรือกับที่ อุตส่าห์สุมเศียรประชุมหามาตรการกันครึ่งค่อนวัน หากมองอีกด้าน คุ้มเกินคุ้มสำหรับหัวหน้าผู้รับผิดชอบ ได้คะแนนจากประชาชนไปเต็มเม็ดเต็มหน่วย ขณะที่คนออกคำสั่งถูกประณามต่างๆ นานา

00 วันนี้สายๆ ประเทศไทยจะได้ นายกรัฐมนตรีคนใหม่ จะเป็นคนหน้าเดิมหรือหน้าใหม่ ขึ้นอยู่กับสามัญสำนึกของบรรดาท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้ทรงเกียรติ เพราะรัฐธรรมนูญให้เอกสิทธิ์เต็มที่ในการเลือกนายกรัฐมนตรี นายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร คิดถูกทำถูกแล้ว ที่เรียกประชุมด่วนในวันนี้ ขืนยืดเวลาออกไปตามเสียงเรียกร้องของพลพรรคประชาธิปัตย์ ยิ่งสร้างความเสียหายมากขึ้น

00 แต่ ช้า แต่ ไม่ว่านายกรัฐมนตรีคนใหม่จะเป็นคนหน้าเก่าหรือหน้าใหม่ เอกฉัตร ปลงได้แล้วว่า ไม่สามารถแก้วิกฤติให้กับการเมืองไทยได้ในระยะสั้น เพราะต้นตอของปัญหาวิกฤติการเมืองไทย เกิดจากการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรทำลายประชาธิปไตย ตั้งเงื่อนไขเรียกร้องไม่มีที่สิ้นสุด ได้คืบจะเอาศอก ได้ศอกจะเอาวา จนสุดท้ายบุกยึดทำเนียบรัฐบาล ประกาศชัยชนะอย่างเด็ดขาด จึงเสนอลัทธิอุบาทว์ขึ้นมา ไม่ยอมรับอำนาจของประชาชนหากมีการยุบสภา แต่เป็นเรื่องแปลกที่ต้นตอของวิกฤติการเมืองไทย ไม่มีใครกล้าพาดพิงถึง

00 ฟังแถลงการณ์ของ ฯพณฯ ทั่นสุริยะใส กตะศิลา 1 ใน 9 กบฏ ไม่ต้องแปลความให้เปลืองสมอง ไม่ว่านายกรัฐมนตรีจะเป็นใคร??? หากเป็นคนในพรรคพลังประชาชน กลุ่มพันธมิตรฯ รับไม่ได้ นอกจากจะตั้งรัฐบาลแห่งชาติ เพื่อเดินไปสู่เป้าหมายลัทธิอุบาทว์ที่เรียกกันว่าการเมืองใหม่

00 เพราะงั้น เอกฉัตร ในฐานะกองเชียร์รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย หนุนสุดตัวให้พรรคพลังประชาชน เสนอให้ นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี อีกครั้ง โดยที่ อดีต นายกฯสมัคร ลุกขึ้นประกาศไม่ขอรับตำแหน่ง แค่นี้ก็ได้ใจประชาชนไปเต็มๆ จากนั้นให้คนไทย ร่วมกันทวงถาม 9 กบฏ ยังจะทำร้ายทำลายประเทศไทยไปถึงไหน หากยังยึดทำเนียบรัฐบาลต่อไป แต่ต้องทำใจไว้ล่วงหน้า คงเป็นไปได้ยาก เพราะหากไม่มี ผ้าถุงผู้หญิงกับจีวรสีกรักคุ้มกะลาหัวไว้ ทั้ง 9 กบฏก็จะต้องถูกจับกุมทันที

00 ขำกลิ้งยิ่งกว่าดูสารคดีขำกลิ้งลิงกับหมา กับ ข้อแก้ตัวน้ำขุ่นๆ ที่กลุ่ม 9 กบฏ ไม่ยอมมอบตัวตามหมายจับ ไม่อยากจะทิ้งประชาชนที่ถูกปลุกระดมให้มาชุมนุมยึดทำเนียบรัฐบาลไว้ทำนา แต่ข้อเท็จจริงนั้น แต่ละคนอยู่ในสภาพปากกล้าขาสั่น คงจำกันได้ นายสนธิ ลิ้มทองกุล หัวหน้ากบฏเคยประกาศไว้ หากถูกจับกุมตัว จะไม่ขอประกันตัวชั่วคราว ขืนมอบตัวหรือถูกจับกุมวันนี้ ก็ต้องนอนคุกแน่นอน หากไม่ยอมกลืนน้ำลายตัวเอง

00 เมื่อครั้งเสนอมาตรา 7 ขอพระราชทานนายกรัฐมนตรี แก้ปัญหาวิกฤติ ก็เป็นงงพออยู่แล้วสำหรับแนวคิดของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ พรรคการเมืองเก่าแก่ที่สุดของประเทศนี้ และยึดมั่นอุดมการณ์ไม่เปลี่ยนแปลง มาวันนี้ยิ่งงงหนักจนเดินไม่เป็น กลับบ้านไม่ถูก กับข้อเสนอ ตั้งรัฐบาลแห่งชาติ โดย มาร์ค มอเจ็ด ตัวสั่นอาสาเป็นนายกรัฐมนตรีของรัฐบาลแห่งชาติ ทั้งที่ก่อนหน้านี้ปฏิเสธ ไม่เอ๊า ไม่เอา ก็ดีไปอย่าง แก้ผ้าให้เห็นกันล่อนจ้อนอย่างนี้ อย่างน้อยอายุแค่ 44 ปี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สามารถเป็นนายกรัฐมนตรีได้แล้ว ทั้ง นายกรัฐมนตรีเงา และ นายกรัฐมนตรีแห่งชาติ แต่นายกรัฐมนตรีตัวจริง ตามระบอบประชาธิปไตย คงอีกนานนะ มาร์ค มอเจ็ด

00 เอกฉัตร อุตส่าห์เผลอตัวชมเชย เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เปิดตัวเป็นผู้เสียสละ เสนอให้ นายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี ยุบสภา แต่มาวันนี้กลับ ดี๊ดด๊าดดี๊ด๊า จะเป็นนายกรัฐมนตรีรัฐบาลแห่งชาติ สอดรับกับข้อเสนอของกลุ่มพันธมิตรฯ ที่ มาร์ค มอเจ็ด ยกโขยงไปเยี่ยมเยียนให้กำลังใจกันถึงทำเนียบกบฏ ชะเอย

00 เปิดตัวไม่หวือหวาตามสไตล์นักบริหาร ถนัดทำงานมากกว่าคุยโม้สร้างภาพ ทำให้คะแนนของ นายประภัสร์ จงสงวน ผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หมายเลข 10 พรรคพลังประชาชน ดีวันดีคืน นี่ไงที่เรียกกันว่า ลูกผู้ชายไม่ได้ดูกันที่นุ่งกางเกง รู้ทั้งรู้ว่า อนาคตของพรรคพลังประชาชนอยู่ในอัตราเสี่ยงถูกยุบพรรค แต่สมัครใจที่จะร่วมงานกับพรรคพลังประชาชน คนอย่างนี้หาได้ไม่ง่ายนักในสังคม อ.ต.ร. แปลว่า เอาตัวรอด

00 บรรทัดนี้ เอกฉัตร ขอใช้พื้นที่ตรงนี้สมมติเป็นผ้าขาว กราบขอบคุณท่านผู้มีอุปการคุณทุกท่านที่ยังให้การสนับสนุนหนังสือพิมพ์ประชาทรรศน์ แม้จะขึ้นราคาเป็น 10 บาท และขอบคุณบริษัทห้างร้านและทุกหน่วยงานที่แจ้งความจำนงแสดงความยินดีในโอกาสหนังสือพิมพ์ประชาทรรศน์ ครบขวบปี ในวันที่ 1 ตุลาคมนี้ ขอบคุณครับ ขอบคุณ

เอกฉัตร


ข้อเสนอต่อสถานการณ์ปัจจุบัน


คอลัมน์ : สิทธิประชาชน

คงปฏิเสธไม่ได้ว่า สถานการณ์ปัจจุบันได้กลายเป็นวิกฤตการณ์ครั้งสำคัญที่ยากจะฝ่าข้ามพ้นไป นำมาซึ่งความโกลาหลวุ่นวายทางการเมือง ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ ความแตกแยกในสังคม อันล้วนเป็นเหตุที่เกิดมาจากสภาวะอนารยะไร้กฎหมาย และการละเมิดสิทธิเสียงของประชาชนส่วนใหญ่อย่างต่อเนื่อง โดยกลุ่มบุคคลคณะเดิมๆ ที่เคยสร้างสถานการณ์จนเกิดการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 มาแล้ว

วิกฤตการณ์ครั้งนี้ได้กลายเป็นเหตุรุนแรงจนถึงเลือดเนื้อและชีวิต เมื่อเกิดการปะทะกันระหว่าง แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) กับ พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และติดตามมาด้วยการฆาตกรรมกลางเมืองโดยกลุ่มฆาตกรโหดเสื้อเหลือง "การ์ดพันธมิตรฯ" ที่กลุ้มรุมทำร้าย นายณรงศักดิ์ กรอบไธสง อย่างทารุณโหดร้าย อำมหิตผิดมนุษย์ ด้วยพฤติกรรมขี้ขลาด "หมาหมู่" ทุบตีด้วยอาวุธจนนายณรงศักดิ์เสียชีวิต ณ ที่เกิดเหตุข้างถนนอย่างน่าเวทนา ไม่ผิดกับวีรชน 6 ตุลาคม 2519 ที่ได้สละชีวิตเพราะฝีมือของมวลชน "ขวาคลั่ง" ในอดีต (ซึ่งไม่น่าแปลกใจที่กลุ่มฆาตกรโหดเมื่อ 32 ปีก่อนกับปีนี้ ล้วนได้รับการหนุนหลังโดยคนคนเดียวกัน นั่นคือ 1 ในแกนนำพันธมิตรฯ – พล.ต.จำลอง ศรีเมือง)

ยิ่งไปกว่านั้น สถานการณ์ยังมีทีท่าว่าจะรุนแรงขึ้นจนอาจไปจบลงที่การรัฐประหาร และ/หรือสงครามกลางเมือง ก็ไม่มีใครกล้าจะคาดเดากับสถานการณ์เช่นนี้ ทางกลุ่ม "ปีกซ้ายพฤษภาฯ" มีข้อเสนอเพื่อยุติความรุนแรง และฟื้นฟูสภาพบ้านเมืองให้กลับมาเป็นปกติสุข ดังนี้

1.ข้อเสนอต่อ "พันธมิตรฯ"
1.1 มอบตัวกับทางเจ้าหน้าที่ตำรวจอย่างสงบ และโดยไม่มีเงื่อนไข
1.2 ออกจากทำเนียบรัฐบาลทันที
1.3 ยุติการละเมิดสิทธิของประชาชนไทยตลอดไป

2.เมื่อ "พันธมิตรฯ" ได้กระทำการตามข้อ 1 แล้ว ทางรัฐบาลจะต้องประกาศยกเลิกพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินโดยทันทีเช่นกัน

3.เจ้าหน้าที่รัฐจะต้องดำเนินคดีกับกลุ่มฆาตกรโหดเสื้อเหลือง "การ์ดพันธมิตรฯ" ให้ถึงที่สุด

4.ผู้นำ นปช. ที่สั่งเคลื่อนขบวน จะต้องรับผิดชอบกับการเคลื่อนขบวนไปปะทะกับพันธมิตรฯ ด้วยเช่นกัน ทั้งทางอาญา แพ่ง และทางการเมือง

5.สถานบันหลักต่างๆ ของชาติ ไม่ควรวางเฉยหรือหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบต่อสถานการณ์ในปัจจุบัน ดังนี้
5.1 สถาบันศาสนา ไม่ว่าจะเป็นศาสนาใดก็ตาม สมควรออกมาให้สติกับสังคม ต่อต้านความรุนแรงทั้งทางกาย วาจา ใจ และความรุนแรงทางโครงสร้าง รวมทั้งต้องหลีกเลี่ยงการถือฝักฝ่ายทางการเมือง
5.2 ส่วนหนึ่งที่สำคัญยิ่งที่ทำให้ปัญหาทางการเมืองในช่วง 5 ปีนี้รุนแรงขึ้น ล้วนเกิดจากการที่ฝ่ายพันธมิตรฯ แอบอ้างสถาบันเบื้องสูงเป็นเครื่องมือในการทำลายล้างศัตรูทางการเมือง และสร้างความชอบธรรมกับฝ่ายตนเองที่จะทำอะไรก็ได้ตามอำเภอใจ

สภาพเช่นนี้ทำให้ตลอดช่วงวิกฤติทางการเมืองที่ผ่านมา สถาบันพระมหากษัตริย์ต้องเสื่อมพระเกียรติลงอย่างมาก ทั้งในสายตาของชาวโลกและในสายตาของประชาชนไทยเราเอง เพราะข้ออ้างของพันธมิตรฯ ทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์ถูกมองว่าเข้ามาแทรกแซงทางการเมือง และทางอื่นๆ

ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักพระราชวัง และสำนักราชเลขาธิการ ต้องมีความกล้าหาญและฉับไวที่จะปฏิเสธหรือแก้ข้อกล่าวอ้างสามานย์เหล่านั้น เพื่อรักษาพระเกียรติ และเพื่อป้องกันมิให้สถาบันพระมหากษัตริย์ถูกใช้เป็นเครื่องมือเข่นฆ่าทำลายล้างกันทางการเมืองอีก

5.3 ศาลยุติธรรมต้องยุติกระบวนการ "ตุลาการภิวัตน์" ทันที หันกลับมาสู่การตัดสินพิจารณาคดีตามหลักกฎหมาย อวยความยุติธรรมให้เสมอหน้ากับทุกกลุ่มทุกชนชั้น

5.4 สื่อมวลชนควรทบทวนบทบาทการ "เลือกข้าง" ของตน เราเห็นด้วยว่าสื่อมวลชนมีสิทธิที่จะเลือกข้างได้ แต่สิ่งนี้จะต้องมีเฉพาะในส่วนของ "ความเห็น" เท่านั้น สื่อมวลชนไม่มีสิทธิ์ที่จะบิดเบือน "ข้อเท็จจริง" ปกปิด "ข้อเท็จจริง" หรือแต่ง "ความเท็จ" ประเด็นการแต่งภาพ "ปืนจ่อหัว" ควรได้รับการตรวจสอบทั้งจากสภาวิชาชีพ และกรรมการที่เป็นกลางอย่างเร่งด่วน

5.5 นักวิชาการไทยสมควรมีความกล้าหาญที่จะ "สวนกระแส" กล้าหาญที่จะยืนยันจุดยืนทางวิชาการต่อหน้ากล้องโทรทัศน์ กล้าที่จะยืนหยัดอยู่ร่วมฝ่ายเดียวกับประชาชนและระบอบประชาธิปไตย ให้สติปัญญากับสังคมโดยปราศจากอคติ

ข้อเสนอเหล่านี้เป็นเพียงข้อเสนอเฉพาะหน้า เพื่อป้องกันความรุนแรง และสงครามกลางเมืองที่กำลังจะเกิดขึ้น หวังว่าจะได้รับการพิจารณาจากทุกฝ่ายในสังคมไทยด้วยสติไตร่ตรอง

นพ.กิติภูมิ จุฑาสมิต
กลุ่มปีกซ้ายพฤษภาฯ


ยิ่งต่อต้าน ยิ่งทานทน !


คอลัมน์ : ละครชีวิต

วันเวลาผ่านไปด้วยความเครียด อึดอัด และสับสน นี่ก็จะ 4 เดือนแล้วที่ม็อบอันธพาลประท้วง ไม่ยอมเลิกรา

ประเทศไทยจะเป็นเช่นนี้ไปอีกกี่เดือน กี่ปี เดาไม่ออกเลยครับ

ยิ่งช่วงนี้ยิ่งร้อนแรง ภายหลังที่ประชุมพรรคพลังประชาชนมีมติให้เสนอชื่อ นายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคกลับเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง

ภายหลังตุลาการศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ นายสมัคร พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

เป็นที่น่าเหนื่อยใจและหดหู่ใจ เมื่อมีหลายฝ่ายออกมาต่อต้าน แม้จะมีมติจากพรรคร่วมรัฐบาล

ในประวัติศาสตร์การเมืองไทยนั้น นายกรัฐมนตรีตามระบอบประชาธิปไตย ส่วนใหญ่ล้วนมาจากหัวหน้าพรรคการเมืองที่มีคะแนนเสียงเป็นอันดับ 1 แทบทั้งสิ้น

ยกเว้นบางสมัย เช่น ปี 2518 ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช หัวหน้าพรรคกิจสังคม ที่มี ส.ส.18 เสียงสามารถรวบรวมเสียงข้างมากได้เป็นนายกรัฐมนตรี

นายกรัฐมนตรีตามระบอบประชาธิปไตยที่มาจากหัวหน้าพรรคการเมืองที่มีคะแนนเสียงเป็นอันดับ 1 นั้น

เอาเท่าที่จำได้ ไม่ว่าจะเป็น นายชวน หลีกภัย หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ นายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ หัวหน้าพรรคความหวังใหม่ และ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร หัวหน้าพรรคไทยรักไทย

ประวัติศาสตร์ต่างๆ เหล่านี้แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยยึดมั่นการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอย่างเสมอมา

ดังนั้นท่ามกลางสถานการณ์บ้านเมืองที่มีผู้ปลุกระดม ต่อต้านห้ามไม่ให้นายกรัฐมนตรีมาจากระบอบประชาธิปไตย

เช่น การเมืองใหม่ 70% ของรัฐสภาจะมาจากการแต่งตั้ง และ 30% มาจากการเลือกตั้ง

หรือแม้กระทั่งเรียกร้องให้มี “รัฐบาลแห่งชาติ” โดยนำเอาหัวหน้าพรรคฝ่ายค้านมาเป็นนายกรัฐมนตรี

ทั้งหมดจึงเป็นสิ่งที่รับไม่ได้ในฐานะที่ประเทศไทยปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

วันนี้ นายสมัคร สุนทรเวช ในฐานะหัวหน้าพรรคที่ได้รับเสียงข้างมากจะต้องได้เป็นนายกรัฐมนตรีตามระบอบประชาธิปไตย ไม่มีทางที่คนอื่นจะมานั่งตำแหน่งนี้

การต่อสู้กับแรงต่อต้านครั้งนี้ของนายสมัครจึงเป็นการต่อสู้เพื่อรักษาระบอบประชาธิปไตย ไม่ใช่เพียงการต่อสู้เพื่อรักษาอำนาจ

นายสมัครต้องต่อสู้เพื่อรักษาสัจจะกับประชาชน เพราะถือเป็นเรื่องใหญ่

ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ไว้วางใจเลือกนายสมัครเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรี

ดังนั้นวันนี้อยากประกาศดังๆ ว่า คนที่ยืนอยู่ข้างพวกเรา กำลังสู้กับอำนาจที่ต้องการทำลายประชาธิปไตยโดยเฉพาะลัทธิการเมืองใหม่

นายสมัครจะเป็นปราการด่านสุดท้ายที่ยืนสู้อย่างมั่นคงเพื่อปกป้องประชาธิปไตยต่อไป

ผู้รักประชาธิปไตยต้องช่วยกันรักษา และให้กำลังใจนายสมัคร

รวมทั้งต้องช่วยกันขับไล่เผด็จการ ที่กำลังสร้างบรรทัดฐานผิดๆ เพราะไม่เชื่อมั่นในระบบรัฐสภา

ไล่พวกกบฏให้ออกไปจากแผ่นดินไทย เพื่อความวุ่นวายจะได้จบลงโดยเร็ว

ลวดหนาม

“ประชาธิปัตย์จงฟัง อย่าให้คนเขาลือกันว่าเป็น...พรรคก่อการร้าย!!!”


คอลัมน์ : ประชาทรรศน์วิชาการ

สุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ตั้งใจจะขับรถไปเยี่ยมชมสถานที่ชุมนุมของพวก “ม็อบสังคัง” ว่าโสโครกดังคำที่เขาร่ำลือหรือไม่ แต่บังเอิญต้องขับรถไปสนามบินดอนเมืองเสียก่อน เลยพลาดไป แต่ถ้าเขายังยืดเยื้อต่อไปคงจะได้ไปสังเกตการณ์ แล้วเก็บแง่มุมต่างๆ มาเล่าให้ท่านผู้อ่านได้ฟังกัน

ระหว่างทางไปดอนเมืองได้สังเกตเห็นป้ายโฆษณาหาเสียงของผู้สมัครชิงตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม. ซึ่งเห็นแผ่นโฆษณาใบใหญ่ที่ประดับอยู่ริมถนน เท่าที่เห็นมีอยู่ 3 คนด้วยกัน คือ นายอภิรักษ์ เจ้าเก่า นายชูวิทย์ เสี่ยอ่างแตก และ ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์

ทั้ง 3 คนนี้ ผมไม่รู้จักเป็นการส่วนตัว แต่คนที่ทำให้สนใจในป้ายได้คือ คุณเกรียงศักดิ์ ที่ป้ายของเขามีการเขียนนโยบายเอาไว้ไม่ซ้ำกัน แต่ป้ายหนึ่งที่น่าสนใจคือ เขาบอกว่า "หนูลาจาก แมลงสาบลาตาย" อะไรทำนองนี้

ทำให้ผมนึกขึ้นมาได้ทันทีว่า

นิตยสารรีดเดอร์ ไดเจสท์ ที่ทรงอิทธิพล จัดกรุงเทพฯ ติดกลุ่มประเทศสกปรกมากที่สุดในโลก ทั้งคุณภาพน้ำ อากาศ ตรงนี้โทษใครไม่ได้ นอกจาก “นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน” นั่นเอง!

กระนั้น นายคนนี้ก็ยังไม่รู้สึกรู้สา ลอยหน้าลอยตาอยู่ โดยพยายามไม่พูด หรือยกเอาความสกปรกของเมืองหลวงเรามาเป็นประเด็นสำคัญ คงมุ่งหน้าสร้างภาพตนเองโดยใช้งบโฆษณาของ กทม. ไปเป็นเงินก้อนโตเลยทีเดียว

ผมนึกไม่ออกว่านักการตลาดที่มาเป็นผู้ว่าฯ มีผลงานอะไรดีเด่น ที่มีความโปร่งใส ถูกใจชาวบ้าน โดยไม่ต้องมีเรื่องทุจริตไล่จิกติดตูดมาบ้าง

บอกตรงนี้กันชัดๆ เลยว่า

เรื่องการทุจริตของ กทม. ยุคผู้ว่าฯ ชื่ออภิรักษ์นั้น ช่างแผ่กว้างไพศาลนัก โครงการใหญ่ๆ มีแต่เรื่องความไม่โปร่งใส โผล่หางแดงโร่ออกมาให้ประชาชนเห็นหลายต่อหลายเรื่อง เช่น

ความอื้อฉาวในเรื่องรถเรือดับเพลิงทำให้ชาติต้องเสียเงินไป 6 พันล้าน แต่ไม่ได้รถ/เรือมาใช้แม้แต่คัน/ลำเดียว
รถบีอาร์ทีถูก คุณหญิงณฐนนท ทวีสิน อดีตปลัด กทม. ร้องทุกข์ว่าขาดความโปร่งใส ก็อีกกว่า 6 พันล้าน ตรวจรับกันไม่ได้แน่นอน เพราะผิดสเป็ก ใครดันรับเข้า

อาจต้องติดคุก!

อยากจะถามนายอภิสิทธิ์ หัวหน้าพรรคดักดานว่า แค่เรื่องรถและเรือ 2 เรื่องนี้เท่านั้น ที่เงินของชาติต้องฉิบหายสูญเปล่ากว่าหมื่นล้านเข้าไปแล้ว

นี่เป็นเพราะผลงานการบริหารที่ไม่โปร่งใสของนายอภิรักษ์จากพรรคประชาธิปัตย์...ใช่หรือไม่ล่ะ?

อยากจะให้นายมาร์ค ม.7 หัวหน้าพรรคของนายอภิรักษ์ลองนึกดู แล้วช่วยบอกพี่น้องประชาชนคนไทยให้ทราบกันสักหน่อยว่า

ตั้งแต่พรรคฝ่ายค้านดักดานของคุณนั้นถือกำเนิดเกิดมาหลายปี มีโครงการใดที่ฝากไว้เป็นเรื่องที่น่าชื่นใจของพี่น้องประชาชนในแผ่นดินนี้บ้าง?

ถ้ายังนึกไม่ออก ผมอยากจะเล่าให้นายมาร์ค ม.7 ฟังว่า...

มีพรรคพวกของผมที่เขาอยู่ปักษ์ใต้ ภาคที่พรรคนี้มีอิทธิพลสูง ได้สรุปผลงานความเจริญก้าวหน้าที่เป็นรูปธรรม โดยเขาไล่เรียงให้ดู จึงได้รู้ว่า ส.ส. ของพรรคนายมาร์คสร้างผลงานให้กับภูมิภาคแห่งนี้อย่างไรบ้าง เขาลำดับให้ดูชัดๆ อย่างนี้ครับ

- ท่าเทียบเรือที่เขาแดง อ.เมืองสงขลา ก็เกิดขึ้นเพราะฝีมือ นายบรรหาร
ศิลปอาชา แห่งพรรคชาติไทย

- ถนนสายนครศรีธรรมราช-กระบี่ ที่เชื่อมระหว่างอ่าวไทยกับทะเลอันดามัน ก็เกิดขึ้นเพราะความเอาใจใส่ของ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ แห่งพรรคชาติไทย

- สะพานติณสูลานนท์ ก็เกิดขึ้นเพราะนายทหารอย่าง พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์

- ถนนสายกรุงเทพ-ภาคใต้ ที่เป็นช่องทาง 4 เลน ก็ดำเนินการและเร่งรัดจนสำเร็จเสร็จสิ้นในสมัย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

- ถนนสายสุราษฎร์ธานี-นครศรีธรรมราช-สงขลา (สายเก่า) ที่กำลังก่อสร้างอยู่ขณะนี้ ก็เกิดขึ้นในรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์

- โครงการพระราชดำริลุ่มน้ำปากพนัง ก็เกิดขึ้นในสมัย นายบรรหาร ศิลปอาชา เป็นนายกรัฐมนตรี

- มหาวิทยาลัยที่เกิดขึ้นในภาคใต้ทุกแห่ง ไม่มีสักแห่งที่เกิดขึ้นได้เพราะฝีมือ ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์

- เมื่อครั้งที่ทหารกองทัพภาคที่ 4 นครศรีธรรมราช ไม่ยอมตัดต้นไม้ ทำให้เครื่องบินซึ่งบินระหว่างนครศรีธรรมราช-กรุงเทพฯ-นครศรีธรรมราช ลงจอดไม่ได้ ส.ส. ทุกคนของนครศรีธรรมราช ก็ไปขึ้นเครื่องบินที่หาดใหญ่แทน ไม่ได้แก้ปัญหาอะไรเลย ร้อนถึง นายบรรหาร ศิลปอาชา ต้องลงไปแก้ปัญหาด้วยตนเอง เรื่องจึงจะเรียบร้อย

จริงหรือเปล่าล่ะ?

เขาบอกว่า นี่แค่ “น้ำจิ้ม” เท่านั้นนะ!

พรรคพวกของผมบอกว่า คนใต้เลือก ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์จนถึงปัจจุบัน แต่พวกเขายังไม่เห็นเลยว่า บรรดา ส.ส. ประชาธิปัตย์ ได้สร้างความเจริญให้กับภูมิภาคของพวกเขาอย่างไรกันบ้าง?

ส.ส. ในพรรคดักดานนี้ บุญพาวาสนาส่ง เคยมีทั้งที่ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี มีรัฐมนตรีคมนาคม รัฐมนตรีอีกหลายกระทรวง แต่โครงการดีๆ ที่มีประโยชน์อย่างจริงจังจากนักการเมืองเหล่านี้ พอจะให้คนใต้จดจำได้

กลับหาแทบไม่ได้เลย!

เพื่อนเขาบอกต่อไปอีกว่า ที่สำคัญคือเรื่องยางพารา ที่ประชาธิปัตย์บริหารบ้านเมือง ราคายางก็ยังดานดักอยู่ 18 บาท แต่เมื่อทักษิณเข้ามาบริหารประเทศ ราคายางเพิ่มพรวดขึ้นไปเป็น 80 บาท และอยู่ในระดับสูงอย่างน่าพอใจ ชาวบ้านร่ำรวยขึ้น แต่พรรคฝ่ายค้านดักดานก็แถไปว่า

เป็นเพราะ...กลไกตลาด!

บอกตรงๆ ว่ายังไม่มีเวลาตรวจสอบข้อมูลที่เพื่อนเล่าให้ฟังอย่างละเอียด แต่เจ้าตัวก็ยืนยันเป็นมั่นเหมาะว่า

ข้อมูลของเขา ถูกต้องแน่!!

หากคนในพรรคประชาธิปัตย์เห็นว่าไม่ถูกต้อง หรือไม่ตรงข้อไหนบ้าง ลองโต้แย้งมาดู จะได้รับฟังกัน

แม้พรรคประชาธิปัตย์จะไม่มีผลงานที่เป็นประโยชน์กับประชาชนให้เห็นเป็นรูปธรรม แถม กทม. ที่คนของพรรคมีโอกาสเข้าไปบริหารในยุคที่ผ่านมาหมาดๆ ยังอุดมไปด้วยเรื่องทุจริตที่โผล่ออกมาให้ผู้คนได้ตกใจกัน...

...แต่ที่กลับมาโดดเด่นมากในระยะนี้ก็คือ

การที่แสดงออกถึงการ “จับมือ” กันอย่างแน่นแฟ้น ระหว่างฝ่ายค้านดักดานพรรคนี้ กับแก๊งกบฏสังคัง เช่น
- ส.ส. ของพรรคไม่สมัครใจเล่นการเมืองในสภา แต่กระโจนไปขึ้นเวที ดำเนินการเป็นแกนนำในแก๊งกบฏ

- ส.ส. สอบตกแห่กันเข้าไปเป็นตัวจักรในม็อบสังคัง...กว่าครึ่งโหล

- ผู้แทนราษฎรพรรคเก่าแก่นี้แห่กันไปเชียร์ฝ่ายกบฏติดขอบเวที สนับสนุนกันออกนอกหน้าอย่างเกรียวกราวเอิกเกริก โดยไม่ปิดบัง แถมคนสำคัญของพรรคยังไปแจมบนเวทีกับเขาด้วย

- ถูกกล่าวหาโดยมีหลักฐานชัดเจนว่า มีสมาชิกของพรรคประชาธิปัตย์ถูกจับกุม เพราะร่วมขบวนการ บุกรุกเข้ายึดทำลาย NBT อีก 8 คน

- มีข้อมูลจากฝ่ายข่าวกรองของรัฐบาลว่า สมาชิกพรรค ปชป. ในต่างจังหวัด สนับสนุนการดำเนินการชุมนุม “ม็อบสังคัง” ของ “กบฏเส็งเคร็ง” ด้วยการจัดหาผู้คนเข้าร่วมการชุมนุมกับม็อบสังคังใน กทม. มีหลักฐานทั้งภาพถ่าย และภาพเคลื่อนไหว บางส่วนผู้สื่อข่าวได้นำออกแสดงทางโทรทัศน์ให้ผู้คนทางบ้านเห็นด้วยซ้ำ!

อย่างนี้เป็นต้น

การเดินเกมการเมืองนอกสภาของพรรคประชาธิปัตย์ ดังที่ได้แจงให้ฟังกันนี้ ได้ก่อให้เกิดความปั่นป่วนขึ้นมาในบ้านเมืองนั้น ยังไม่ร้ายกาจเท่ากับเสียงร่ำลือกันหนาหู เรื่องพรรคเก่าแก่นี้ตกเป็นที่ต้องสงสัยของผู้คนว่า

อยู่เบื้องหลัง...การยึดสนามบินที่ภาคใต้ของประเทศ!

นี่เป็นเรื่องใหญ่โตมโหฬาร แต่มาถึงวันนี้ผู้คนบ้านเราพูดถึงราวกับว่ามันเป็นเรื่องไม่ใหญ่ และไม่แตกต่างอะไรกับการกระทำความผิดของบรรดาสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ 8 คน ที่ตกเป็นผู้ต้องหาในการบุกเข้ายึดสถานีโทรทัศน์ NBT

เรื่องอย่างนี้ฝรั่งต่างด้าวท้าวต่างแดนถือว่า “เป็นเรื่องใหญ่นัก ยอมกันไม่ได้” เพราะการใช้กำลังเข้ายึด “สนามบินนานาชาติ” นั้น สังคมระหว่างประเทศเขาถือว่าเป็นการ

“ก่อการร้าย!” หรือพูดให้เต็มยศหน่อยคือ “การก่อการร้ายสากล!!”

เดิมประเทศของเรานั้นก็ไม่ได้มีบทบัญญัติในเรื่องนี้เป็นพิเศษ แต่ปัจจุบันนี้ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 135/1 บัญญัติให้การกระทำลักษณะนี้เป็นการ “ก่อการร้าย” เช่นเดียวกับอีกหลายประเทศ

ดังนั้น หากการสอบสวนอย่างจริงจังแล้วข้อเท็จจริงฟังได้ว่า การยึดสนามบินครั้งนี้มีพรรคการเมืองใดๆ ไม่ว่าจะเป็นก๊วนเก่าแก่ หรือกลุ่มการเมืองใหม่ที่ไหนก็ตาม ดันไปหนุนหลังการกระทำเช่นว่านั้นเข้าแล้ว แม้คนไทยจะให้ความสำคัญน้อย

...แต่โลกอารยะยอมรับไม่ได้เด็ดขาด!

นี่จึงเป็นเรื่องที่ใหญ่มหึมา และมีความสำคัญมาก จึงต้องขอแจ้งเตือนไปยังบรรดาสมาชิกพรรคของนายอภิสิทธิ์ให้รับทราบทั่วกันว่า

ประเทศมหาอำนาจเขามีหน่วยงานข่าวกรองที่ทรงประสิทธิภาพยิ่ง นึกว่าพวกเขาจะไม่รู้เลยเชียวหรือว่า

นักการเมือง พรรคการเมืองใด ที่อยู่เบื้องหลังการยึดสนามบิน!?

กลุ่มการเมืองไหน ธนาคารใด ที่เอื้อเฟื้อเงินทองสนับสนุนการก่อการร้าย และเป็นตัวการชักใยให้มีการทำลายเมืองไทยของเราได้อย่างโหดร้ายอย่างนี้?

จึงต้องขอบอกกล่าวย้ำไปถึงนายอภิสิทธิ์ จงฟังเอาไว้ให้ดีว่า

ข้อหาก่อการร้ายนั้นเป็น ความผิดมูลฐานของกฎหมายฟอกเงิน ที่เพิ่งเพิ่มเข้าไปใหม่เป็น ความผิดมูลฐานที่ 8 ซึ่งจะต้องติดตามมาด้วยการ...

ยึดทรัพย์ของทั้งผู้ก่อการ ผู้ร่วมหรือสนับสนุนการกระทำความผิด!

ไม่รู้ว่านักการเมืองพรรคฝ่ายค้าน รวมทั้งนายทุน นายธนาคาร ที่กำลังถูกระแวงสงสัยว่าได้มีส่วนในการสนับสนุนการก่อการร้ายนั้น

สำเหนียกกันบ้างหรือเปล่า?

ผมเชื่อว่าหากทางการเปิดการสอบสวนขึ้น และดำเนินการอย่างตรงไปตรงมาด้วยความกล้าหาญและจริงจัง และเมื่อการสอบสวนกระจ่างแล้ว เผลอๆ อาจมีคนดังหลายๆ คนถูกกล่าวหาในข้อหา “ก่อการร้าย หรือสนับสนุนการก่อการร้าย”
ไม่เชื่อก็ต้องคอยดูกันไป เพราะอายุความนั้นยังอีกยาวไกลนัก!

สำหรับข้อหาเรื่องการก่อการร้ายนั้น ต้องขอเตือนนายอภิสิทธิ์ในฐานะหัวหน้าฝ่ายค้านดักดาน พึงตระหนักให้จงดีว่า
เมื่อข่าวแพร่ออกไป และประชาคมโลกได้ล่วงรู้ถึงข้อสงสัยเรื่องการเล่นการเมืองแบบเอาความมั่นคงของชาติมาเป็นเดิมพัน โดยมีสมาชิกพรรคร่วมเคลื่อนไหวกับกลุ่มแกนนำกบฏ พร้อมพยานแวดล้อมอื่นๆ ประกอบกับมีเสียงเล่าลือของผู้คนที่มีความเคลือบแคลงใจว่า พรรคเก่าแก่อาจมีส่วนสนับสนุนในการยึดสนามบิน อันเป็นการกระทำที่กฎหมายบัญญัติในหมวดความผิดฐานก่อการร้ายนั้น ใช่แต่คนไทยเราเท่านั้นที่จะรับไม่ได้

แต่สังคมโลกก็ยอมรับกันไม่ได้...เด็ดขาด!

เมื่อมีข้อสงสัยและหลักฐานสนับสนุนต่างๆ นานานี่เอง อาจเป็นสาเหตุที่พรรคซึ่งนายอภิสิทธิ์เป็นผู้นำ ตกเป็นเป้าที่สื่อต่างชาติวิพากษ์วิจารณ์ให้อื้ออึง ตัวอย่างที่เห็นกันจะจะคือ The Economist ที่ออกมาวิจารณ์พรรคประชาธิปัตย์ในทางลบอย่างแรง

นายมาร์ค ม.7 จึงต้องคิดให้ดีว่า

พรรคฝ่ายค้านของตนนั้น จะมีภาพลักษณ์อย่างไรในสายตาของสังคมระหว่างประเทศ?

ลองไปใคร่ครวญเอาเองก็แล้วกัน เพราะโตๆ กันแล้ว!

ผมเชื่อว่าจะต้องมีคนเผยแพร่บทความนี้ไปยังประชาคมโลก ไม่ว่าจะเป็นสถานทูต องค์กรระหว่างประเทศ

ทั้งนี้ เพื่อแจ้งให้โลกอารยะได้รู้ซึ้งถึงสันดานของพรรคการเมืองฝ่ายค้านดักดานของประเทศไทย ที่ชื่อ...“ประชาธิปัตย์”
แล้วมาคอยดูผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นต่อไปนี้กันให้ดีๆ!!!

...แฟนๆ ที่สั่งซื้อ “เหี้ยส่องกระจก ถึงจุดจบรัดทำมะนวย” ทาง vattavan.com โดยไม่ได้สั่งซื้อ “รัดทำมะนวย ฉบับหัวคูณ” ต้องย้อนกลับไปสั่งอีกหลายท่าน

ดังนั้น เพื่อประหยัดเวลา และไม่ต้องการรอคอย จะสั่งควบทั้ง 2 เล่มก็ไม่ผิดกติกาอันใด...

วาทตะวัน สุพรรณเภษัช

นักวิชาการ NATO


คอลัมน์ : ตาต่อตา ฟันต่อฟัน

“...อย่ามาดัดจริตเรื่องจริยธรรมกันเลยครับขอร้อง เพราะ นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ ไปยึดทำเนียบ เป็นผู้ต้องหาคดีกบฏอยู่ ก็ไม่เห็นนักวิชาการคนไหนออกมาพูดเรื่องจริยธรรมของประชาธิปัตย์ ส.ส. ประชาธิปัตย์ และ ส.ว. กว่า 30 คนไปเยี่ยมกบฏในทำเนียบ โดยเดินแหวกหมายศาลไป ก็ไม่มีใครบ่นเรื่องจริยธรรมกันเลย...”

วันนี้สภาผู้แทนราษฎรได้มีนัดหมายเปิดประชุมเพื่อโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่แทน นายสมัคร สุนทรเวช ที่ถูกคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญให้พ้นจากตำแหน่ง ตามความผิดในคดี “ชิมไปบ่นไป” ที่เป็นความผิดเฉพาะตัว อันเป็นผลให้คณะรัฐมนตรีทั้งชุดต้องหมดวาระการทำงานลง แต่ยังให้รักษาการได้จนกว่าจะมีการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี และแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่

นักวิชาการหลายคนได้ออกมาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเลือกนายกรัฐมนตรีใหม่กัน อย่าง ดร.อัมมาร สยามวาลา รักษาการประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนา หรือ ทีดีอาร์ไอ กล่าวให้สัมภาษณ์ว่า การดำเนินการทางการเมืองเพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีใหม่ ต้องมีมารยาทที่จะไม่เลือกคนเก่าที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้พ้นจากตำแหน่ง เพราะขาดคุณสมบัติความเป็นรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 กันยายน ที่ผ่านมา โดยเห็นว่าความขัดแย้งทางการเมืองในขณะนี้ ควรแก้ปัญหาโดยการยุบสภาแล้วมีการเลือกตั้งใหม่ เพื่อยุติปัญหาโดยเร็วที่สุด เพราะเมื่อเห็นว่าประชาชนหลายกลุ่มไม่ยอมรับก็ควรจะยุบสภาเสีย ซึ่งหากปล่อยให้เหตุการณ์ยืดเยื้อต่อไปจะทำให้ประชาชนในประเทศเกิดความแตกแยกกันมากขึ้น ดังนั้น ควรจะทำให้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองลดความรุนแรงหรือไม่ ขึ้นอยู่กับพรรคพลังประชาชน ซึ่งหากสนับสนุนให้ นายสมัคร สุนทรเวช กลับเข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง ก็จะทำให้สถานการณ์ทางการเมืองยังเหมือนเดิม เพราะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ เกิดขึ้นเลย

ขณะที่ ดร.ผาสุก พงษ์ไพจิตร อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า สถานการณ์ทางการเมืองต่อจากนี้ไป ถือเป็นความขัดแย้งที่นักการเมืองไทยควรจะต้องผ่านกระบวนการเรียนรู้ โดยภายในแต่ละพรรคจะต้องมีประชาธิปไตยมากกว่านี้ เพื่อให้มีการรับฟังความคิดเห็นของสมาชิกพรรคที่หลากหลาย แต่เนื่องจากในแต่ละพรรคจะมีกลุ่มที่มีอำนาจ สามารถรวบรัดตัดสินใจในการกำหนดทิศทางของพรรค โดยมีความเห็นว่ามีความเป็นไปได้ที่อาจต้องยุบสภา ซึ่งอาจไม่เกิดขึ้นทันทีทันใด จากผลทางกฎหมายที่รัฐบาลยังอยู่ต่อไปได้ ทั้งที่ในทางปฏิบัติรัฐบาลเสียความชอบธรรมไปแล้ว เพราะการกำหนดนโยบายหรือการบริหารจัดการไม่สามารถสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนได้

ทั้งนี้ ที่สำคัญ อ.ผาสุก เห็นว่า ต้องนำความสันติมาให้กับสังคมหรือปวงชน โดยรัฐบาลต้องทำหน้าที่ให้มีประสิทธิภาพ ในการป้องกันไม่ให้เกิดการปะทะกันของกลุ่มคนที่ขัดแย้งกัน

นอกจากนี้แล้วยังมีหลายคนได้มีการออกมาแสดงความคิดเห็นว่า นายสมัคร สุนทรเวช ขาดจริยธรรม หากจะเข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง

ภายในวันนี้ เราคงจะได้ทราบกันว่า สภาผู้แทนราษฎรได้เลือกสมาชิกท่านใดขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่ผมเห็นเกี่ยวกับการแสดงความคิดเห็นของนักวิชาการทั้ง 2 ท่านข้างต้นนั้น ก็คือ คนเป็นนักวิชาการก็ยังคงเป็นนักวิชาการ (แบบไทยๆ) อยู่นั่นเอง คือ นั่งอยู่บนหอคอยงาช้าง (Ivory Tower) และเป็นอย่างที่เขาชอบพูดล้อเลียนบรรดานักวิชาการบางคนว่า เป็นพวกนาโต้ (NATO) ซึ่งมิได้หมายถึงองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ หากแต่คือ No Action Talk Only ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยว่า ไม่ทำอะไร พูดอย่างเดียว หรือหากให้ฟังดูเป็นสุภาษิตหน่อยก็ต้องว่า มือไม่พาย แต่เอาเท้าราน้ำ เพราะทั้ง 2 ท่านมิได้แสดงความคิดเห็นอย่างใดเลยว่า กลุ่มแก๊งอันธพาลกบฏเข้ายึดทำเนียบรัฐบาลอันเป็นการทำผิดกฎหมายนั้น ควรจะต้องดำเนินการอย่างใด และการที่รัฐบาลได้ใช้ความพยายามประคับประคองละมุนละม่อม โดยยึดหลักกฎหมายดำเนินการต่อกลุ่มต่อต้านกฎหมาย พวกอนาธิปไตยเหล่านั้น ก็คือ การใช้หลักสันติวิธีที่น่าชมเชย

ประการสำคัญก็คือ ท่านนักวิชาการทั้งสองคิดไม่ออกหรืออย่างไรว่า รัฐบาลนี้มีความชอบธรรมยิ่งกว่ารัฐบาลใดๆ เพราะมีที่มาจากมติประชาชนทั้งประเทศ ดังนั้นจู่ๆ กลับเห็นว่าควรจะต้องยุบสภาเสียเพื่อยุติปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองนั้น ขอถามหน่อยเถอะครับ เวลานี้ในระบบรัฐสภานั้นเขามีความขัดแย้งกันตรงไหนละครับ ก็เห็นเขาทำงานดีกันอยู่ มีฝ่ายค้าน มีฝ่ายรัฐบาล ว่าไปตามปกติของระบบ ไม่เห็นเขามีความขัดแย้งกันจนถึงขนาดจะต้องยุบสภาตรงไหนเลย

หรือว่าท่านนักวิชาการยกย่องยอมรับให้พวกล่วงละเมิดกฎหมาย หนีหมายจับข้อหากบฏ เป็นกลุ่มสำคัญที่จะต้องให้สภายุบ ถามตรงๆ เถอะครับ ท่านอาจารย์คิดเช่นนั้นจริงๆ หรือ อาจารย์ นักวิชาการ ไม่มีความคิดหรือข้อเสนอแนะอย่างอื่นหรือ ประการสำคัญก็คือ จะทำให้ปัญหาจบหรือ เพราะพันธมิตรฯ เขาประกาศโต้งๆ อยู่ว่าเขาไม่เลิกชุมนุมจนกว่าจะได้การเมืองใหม่ของเขา หรือคนเป็นนายกรัฐมนตรีจะร้องเป็นคนที่เขาทั้งหลายเห็นสมควร

สิ่งซึ่งน่าหงุดหงิดสำหรับประเทศไทยของเรานี้ก็คือ การชอบพูดอ้างอิงถึงจริยธรรม หรือการต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ถามจริงๆ เถอะครับ การจัดรายการ “ชิมไปบ่นไป” มันผิดตรงไหนครับ

ตามหลักกฎหมายนั้น ความผิดแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ เป็นความผิดในตัวมันเอง เช่น ลักทรัพย์ ฆ่าคนตาย ที่เรียกเป็นภาษาละตินว่า MALA IN SE กับปกติการกระทำนั้นไม่เป็นความผิด แต่ที่ผิดเพราะกฎหมายบอกว่าเป็นความผิด เช่น ปกติเราจะขับรถเลนซ้ายหรือเลนขวา มันไม่ผิดในตัวมันเอง แต่ประเทศไทยกฎหมายจราจรบังคับว่าจะต้องขับรถเลนซ้าย ดังนั้นถ้าขับรถเลนขวา กฎหมายบอกว่าผิด ละตินเรียกว่า MALA IN HABITA ถือว่าเป็นกฎหมายเทคนิค

ดังนั้น การจัดรายการ “ชิมไปบ่นไป” มันไม่ผิดกฎหมายหรอกครับ แต่ที่ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่าผิดก็เพราะรัฐธรรมนูญบัญญัติว่า หากมีการกระทำลักษณะที่ว่าแล้วถือว่าต้องพ้นจากตำแหน่ง เมื่อศาลรัฐธรรมนูญตีความตามพจนานุกรมแล้วเห็นว่า นายกฯ สมัครเป็นลูกจ้าง จึงต้องพ้นจากตำแหน่ง ก็พ้นไปแล้วนี่ครับ แต่จะพูดจากันถึงขนาดว่า การจัดรายการของนายกฯ คือการกระทำที่ไม่ชอบต่อกฎหมาย ดูเสมือนเป็นเรื่องเลวร้ายชั่วช้า มันเวอร์ไปครับ

ส่วนที่บอกว่า หากจะกลับมาเป็นนายกฯ อีกครั้งเป็นการขาดจริยธรรมนั้น เป็นความคิดที่คับแคบเกินไปไหม เพราะการกระทำของนายกฯ นั้น อย่าลืมนะครับว่ารัฐธรรมนูญไม่เห็นว่าเป็นความผิดร้ายแรง มิฉะนั้นแล้วผู้ร่างรัฐธรรมนูญคงกำหนดเรื่องการเว้นวรรคทางการเมืองไปแล้ว ก็รัฐธรรมนูญไม่ห้าม หากนายกรัฐมนตรีจะชื่อ สมัคร สุนทรเวช แล้วจะเป็นไรไป

อย่ามาดัดจริตเรื่องจริยธรรมกันเลยครับขอร้อง เพราะ นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ ไปยึดทำเนียบ เป็นผู้ต้องหาคดีกบฏอยู่ ก็ไม่เห็นนักวิชาการคนไหนออกมาพูดเรื่องจริยธรรมของประชาธิปัตย์ ส.ส. ประชาธิปัตย์ และ ส.ว. กว่า 30 คน ไปเยี่ยมกบฏในทำเนียบ โดยเดินแหวกหมายศาลไป ก็ไม่มีใครบ่นเรื่องจริยธรรมกันเลย

ผมว่าหากนายสมัครจะเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง ก็ย่อมมีความชอบธรรม และไม่เห็นจำเป็นเลยที่จะต้องสนใจบรรดานักวิชาการ NATO

ศุภชัย ใจสมุทร


ชิมไป ซวยไป


คอลัมน์ : รายงานพิเศษ

ชายหญิงคนอื่นๆ เขามี “เสน่ห์” เป็น “ปลายจวัก”

แต่ “นายกฯ หมัก” สมัคร สุนทรเวช ของพ่อแม่พี่น้อง กลับมี “จวัก-ตะหลิว-กระทะฯลฯ” เป็นอาวุธย้อนกลับมาทำลายตัวเองเสียอย่างนั้น...

จะหาใครซวยซ้ำซวยซ้อนเท่านายกฯ และรัฐบาลบ้านนี้ (และต้อง พ.ศ.นี้) ไม่มีอีกแล้ว

ไม่รู้ว่าบรรดาคนที่กรี๊ดกร๊าด เฮฮา เป่าปาก กระทืบเท้าด้วยความดีใจทั้งหลายนั้น...มันน่าปลื้มปีติถึงเพียงนั้นกันจริงๆ หรือ ที่สามารถเอานายกฯ คนหนึ่งออกจากเก้าอี้ได้ ด้วยเหตุผลว่า “ทำอาหาร” !?!

เห็นภาพข่าวที่หลายคนตื้นตันแทบน้ำตาไหลแล้วก็พลอยผสมโรงหัวเราะกับเขาไปด้วย...เออหนอ อาการหนักเหมือนกันนะคนประเทศนี้

ที่สำคัญ มีหลายคนรีบออกมา “ตีกัน” ไม่ให้สภาโหวตเลือก สมัคร สุนทรเวช กลับมาทำหน้าที่นายกรัฐมนตรีใหม่

โดยอ้างเหตุแห่งความ “ละอายใจ” หวังให้พรรคพลังประชาชนและอดีตนายกฯ สมัคร พิจารณาตัวเอง...

ทั้งที่ภายใต้หลังคาสภาเดียวกัน มีความผิดร้ายแรงกว่าประเภทเข้าข้างอำนาจรัฐประหาร ไม่เคารพหลักการประชาธิปไตย ฯลฯ ไม่มีใครมาพูดเรื่อง “ความละอาย” สักแอะเดียว

อีกกระแสที่ถูกพูดถึงพอกัน คือความเป็นไปได้ในการ “เปลี่ยนขั้ว” การเมือง

ถามถึงความ “เป็นไปได้” ก็ต้องบอกว่า เป็นไปได้ ...

แต่ไม่รับประกันว่าจะไปได้สักกี่น้ำ

รัฐบาลที่รวมกันแล้วมีเสียงนำหน้าฝ่ายค้านไปแค่เส้นยาแดง...ก็ไม่ต้องถามหาคำว่าเสถียรภาพรัฐบาลอีกต่อไป

อย่าว่าแต่จะได้ทำงานบริหารประเทศให้เป็นเรื่องเป็นราวเลย สภาพการเป็นรัฐบาลที่ต้องรับมือ “การเมือง” ตลอดเวลาโดยไม่มีเวลาทำอย่างอื่นนั้น รัฐบาลนี้ก็มีตัวอย่างให้เห็นอยู่

ดังนั้นสำหรับหลายคน ทางเลือกเรื่องเปลี่ยนขั้วจึงพับเก็บไปได้

ปัญหาสำคัญเวลานี้ จึงอยู่ที่ “ปัจจัยภายนอก” อย่างการชุมนุมของกลุ่มมวลชนที่ทำเนียบรัฐบาลมากกว่า

เพราะไม่ว่าการเมืองจะออกไปรูปแบบใด มวลชนกลุ่มนี้จะไม่ยอมรับ ไม่ทำความเข้าใจ และไม่มีวันยอมถอยจนกว่าจะได้ในสิ่งที่ตัวเองต้องการ นั่นคือสถาปนาการเมืองใหม่

ทั้งที่ตอนนี้พวกเขาก็ยังตอบไม่ได้เต็มปากว่า “ใคร” จะเป็นคนเข้ามาจัดการให้เกิด “การเมืองใหม่” และจะจัดการกันอย่างไร

เมื่อทางออกของมวลชนกลุ่มนี้เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ในทางปฏิบัติ รู้ว่าแพ้แล้วแต่หาบันไดลงไม่ได้... จึงอยู่ที่รัฐและสังคมจะร่วมด้วยช่วยกัน “ยื่นบันได” ให้

ยื่นไปแล้วไม่ยอมลงมาเอง ต้องส่งใครไปกระชากลงมาก็ค่อยว่ากันอีกที ที่สำคัญเวลานั้นอาจต้องใช้มาตรการที่รุนแรงในสายตาใครไปบ้างแต่เพื่อความสงบสุขของส่วนรวมก็จำต้องตัดสินใจกระทำ…

เพราะท่าทีหลังได้ยินคำสั่งศาลปลดนายกฯ โห่ร้องดีใจแต่กลับปิดท้ายว่าจะชุมนุมกันต่อไปนั้น มันบอกชัดแล้วว่าท้ายที่สุดคนพวกนี้ก็คือคนที่มนุษย์ทั่วไปพูดคุยด้วยไม่รู้เรื่อง หนักข้อยิ่งกว่าคำว่าได้คืบจะเอาศอก...

ได้แต่หวังว่า “นายกฯ รักษาการ” หรือกระทั่งผู้มีอำนาจสั่งการตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน จะหาทางลงให้คนพวกนี้โดยเร็วที...

ก่อนที่ “ประชาชน” จะทนไม่ได้แล้วลุกฮือขึ้นมาเอง


วิพากษ์คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญกรณีคุณสมัคร!


คอลัมน์ : ฮอตสกู๊ป

พลันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้ คุณสมัคร สุนทรเวช ต้องพ้นตำแหน่งเพราะเหตุไปทำกับข้าวออกรายการโทรทัศน์ด้วยข้อหาว่ากระทำผิด ตามรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 267 ที่ว่านายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีจะดำรงตำแหน่งใดในห้างหุ้นส่วน บริษัท หรือองค์การที่ดำเนินธุรกิจโดยมุ่งหาผลกำไรหรือรายได้มาแบ่งปันกัน หรือเป็นลูกจ้างของบุคคลใดมิได้

จากการอ่านคำวินิจฉัยที่มีความยาวเกือบ 45 นาที ที่ผลัดกันอ่านอย่างตะกุกตะกัก ไม่มีคำควบกล้ำชนิดที่อาจารย์ภาษาไทยแทบจะกลั้นใจตายไปเสียให้รู้แล้วรู้รอด หลายคนโห่ร้องด้วยความยินดี หลายคนตกใจในผลของคำวินิจฉัยที่กระทำด้วยความรวดเร็วเป็นพิเศษ (ขอย้ำว่าเป็นพิเศษจริงๆ) และยิ่งเมื่อดูเหตุผลประกอบคำวินิจฉัยแล้วแทบไม่น่าเชื่อว่าเป็นคำอธิบายของศาลที่ได้คำวินิจฉัยถือเป็นที่สุด ไม่มีผู้ใดสามารถอุทธรณ์หรือฎีกาได้อีกแล้ว

สำนักข่าวหลายๆ ประเทศให้ความเห็นว่าค่อนข้างแปลกใจต่อเหตุผลของคำวินิจฉัยเช่นนี้ ไม่ว่าจะเป็น CNN หรือ Yahoo แม้แต่สำนักข่าว INN ของไทยเราก็รายงานข่าวทางเอสเอ็มเอสว่า “นักกฎหมายอเมริกันบอกโคตรฮา นายกฯ ไทยทำกับข้าวจนหลุดตำแหน่ง ขำที่สุดในโลก”

อย่างไรก็ตามเมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยออกมาแล้ว เราก็ต้องยอมรับ เพราะไม่เช่นนั้นสังคมจะหาข้อยุติไม่ได้ แต่แน่นอนว่าการวิพากษ์วิจารณ์ในเชิงวิชาการโดยสุจริตย่อมสามารถที่จะกระทำ ได้ ทั้งนี้ เพื่อความเจริญงอกงามทางวิชาการนั่นเอง

ในคำอธิบายตอนแรกที่เท้าความว่า ศาลได้นำเอาจริยธรรมมาตีความเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญว่าไม่ต้องการให้เกิดการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนตัวกับประโยชน์สาธารณะนั้น ผมเห็นด้วย แต่การที่บอกว่าไม่ควรตีความตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ กฎหมายแรงงานฯ หรือประมวลรัษฎากรฯ แต่กลับนำคำนิยามในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานมาใช้แทนนั้น ผมไม่เห็นด้วย

ที่ผมไม่เห็นด้วยกับการตีความเช่นนี้ก็เพราะว่าศาลรัฐธรรมนูญควรตีความอย่างจำกัด เพราะเป็นการตีความที่มีผลเป็นโทษต่อผู้ที่ได้รับผลแห่งการตีความ และการตีความนั้นควรที่จะต้องตีความตามความเข้าใจของวิญญูชนทั่วไปที่ เข้าใจตามหลักกฎหมายแพ่งฯ กฎหมายแรงงานฯ และประมวลรัษฎากรฯ ว่าลูกจ้างคือผู้ที่ได้รับค่าตอบแทนเป็นประจำ และในกรณีนี้คุณสมัคร (ซึ่งโดยส่วนตัวแล้วไม่ชอบแกเลย) เมื่อเห็นว่ามีปัญหา ก็ได้หยุดการกระทำดังกล่าวแล้ว ซึ่งแสดงให้เห็นถึงเจตนาว่ามิได้จงใจฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ เหตุแห่งการฟ้องคดีก็น่าจะหมดไปแล้ว

แม้จะไม่ถือว่าเหตุแห่งการฟ้องคดีหมดไปแต่ถือว่าเป็นความผิดสำเร็จแล้ว ต้องได้รับการลงโทษให้พ้นตำแหน่งไป แต่ทว่าก็ยังสามารถกลับมาดำรงตำแหน่งใหม่ได้อีกอยู่ดี (ถ้าไม่เจอแรงต้านเสียก่อน) ซึ่งหากมองในแง่ของความศักดิ์สิทธิ์ของการบังคับใช้กฎหมายแล้วแทบจะไม่มีความศักดิ์สิทธิ์เลย การวางบรรทัดฐานเช่นนี้ย่อมที่จะสร้างความยุ่งยากตามมาต่อผู้ที่ดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีอีกมากมาย อาทิ การไปเป็นอาจารย์หรือผู้บรรยายพิเศษในมหาวิทยาลัยเอกชน หรือการเป็นเป็นคอลัมนิสต์หรือนักเขียนโดยไม่ว่าจะใช้ชื่อจริงหรือนามแฝงก็ตาม ย่อมเข้าข่ายการเป็นลูกจ้างตามที่ศาลรัฐธรรมนูญตีความกรณีคุณสมัครทั้งสิ้น

ส่วนคำอธิบายที่ว่าคุณสมัครมีพิรุธส่อแสดงว่าเป็นการสร้างหลักฐานย้อนหลังเพื่อปกปิดข้อเท็จจริง (ซึ่งก็อาจเป็นจริงตามคำอธิบายนั้น) ซึ่งผมก็ค่อนข้างแปลกใจว่าโดยทั่วไปแล้วศาลก็มักจะใช้ว่า “ฟังไม่ขึ้น” หรือ “รับฟังไม่ได้” ฯลฯ แต่ถึงขนาดวินิจฉัยว่าเป็นการสร้างหลักฐานย้อนหลังก็ควรจะต้องมีการดำเนินคดีตามมาแล้วล่ะครับ

คำ วินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่มาตรา 216 วรรคห้า ของรัฐธรรมนูญ จะบัญญัติไว้ว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กรอื่นของรัฐ ก็จริงอยู่ แต่การยอมรับนับถือในเหตุผลของคำวินิจฉัยนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าจะสามารถอธิบายให้แก่วิญญูชนทั่วไปให้การยอมรับมากน้อยแค่ไหน เพียงใด นั่นเอง

ชำนาญ จันทร์เรือง
ที่มาประชาไท


คปส. ตั้งข้อสังเกต...คำวินิจฉัยศาล รธน.

คอลัมน์ : รายงานพิเศษ

ท่าทีของกลุ่มเครือข่ายนักวิชาการเพื่อประชาธิปไตยและสันติวิธี (คปส.) นำโดย รศ.ดร.วรพล พรหมิกบุตร อาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผศ.เสถียร วิพรมหา จากมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย และชมรมนักกฎหมายเพื่อประชาชน นำโดย นายคารม พลทะกลาง ที่ออกมาตั้งข้อสังเกตถึงคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ และการแสดงความคิดความเห็นสนับสนุน นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง เป็นอีกมุมมองหนึ่งที่น่าสนใจ เพราะเป็นข้อคิดเห็นที่ถูกกลั่นกรอง ผ่านการวิเคราะห์ตามหลักวิชาการ ผ่านข้อเขียนและบทความหลายชิ้นประกอบกัน

บทประมวลสรุปการวิเคราะห์ความขัดแย้งการเมืองปัจจุบัน
วันพุธที่ 10 กันยายน 2551
1.ความขัดแย้งทางการเมืองที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ประกาศการต่อต้านขับไล่รัฐบาล นายสมัคร สุนทรเวช ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน เป็นความต่อเนื่องของความขัดแย้งระหว่าง “นักการเมืองภาคประชาชน” กับ “นักการเมืองภาคอภิสิทธิ์ชน”

2.ภายหลังการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 และการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2550 นักการเมืองภาคอภิสิทธิ์ชนใช้ประโยชน์จากอำนาจรัฐประหาร และรัฐธรรมนูญดังกล่าว ในการยึดครองอำนาจตุลาการบางส่วน อำนาจนิติบัญญัติบางส่วน และอำนาจพิเศษขององค์กร (ที่อ้างความเป็น) อิสระตามรัฐธรรมนูญ ในการควบคุมทางการเมืองเหนือประเทศชาติและประชาชน

3.ภายหลังการเลือกตั้งทั่วไป 23 ธันวาคม 2550 นักการเมืองภาคประชาชน (กลุ่มที่ถูกคุกคามโดยอำนาจรัฐประหาร) สามารถชนะการเลือกตั้ง เป็นเสียงส่วนใหญ่ที่ครองอำนาจนิติบัญญัติสายสภาผู้แทนราษฎร และยังประสบความสำเร็จในการจัดตั้งรัฐบาลผสม ควบคุมอำนาจบริหารตามครรลองประชาธิปไตย ทำให้กลุ่มนักการเมืองภาคอภิสิทธิ์ชนไม่สามารถควบคุมอำนาจเบ็ดเสร็จในการเมืองไทย พ.ศ.2551 ได้สำเร็จเด็ดขาด

4.“กลุ่มพันธมิตรฯ” (รวมทั้งเครือข่ายองค์กรสื่อสารมวลชน เอ็นจีโอ นักการเมืองอาชีพ และนักวิชาการมหาวิทยาลัยจำนวนหนึ่ง) ดำเนินการเคลื่อนไหวเป็นเครื่องมือทางการเมืองฝ่ายตรงข้ามกับรัฐบาลผสมข้างต้น โดยกลุ่มพันธมิตรฯ ดังกล่าว พยายามใช้วิธีการก่อสถานการณ์ทางมวลชนและข่าวสารข้อมูล มุ่งหวังผลในการขับไล่รัฐบาลประชาธิปไตยข้างต้นออกจากอำนาจบริหาร (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน “ทำไมข้อเสนอแนะให้นายกรัฐมนตรีลาออก หรือยุบสภา จึงไม่ใช่ทางออกหรือการผ่าทางตันแก้ไขวิกฤติความขัดแย้งทางการเมืองปัจจุบัน” วันอังคารที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2551) แต่ขบวนการเคลื่อนไหวขับไล่รัฐบาลให้ลาออก หรือยุบสภา (ก่อนวันที่ 9 ก.ย. 51) ประสบความล้มเหลวในปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา และถูกประณามทั้งในหมู่ประชาชนเสียงส่วนใหญ่ในประเทศ และจากแวดวงสื่อมวลชนต่างประเทศ

5.คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญวันที่ 9 กันยายน 2551 ทำให้ นายสมัคร สุนทรเวช ต้องพ้นตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จึงเป็นคำวินิจฉัยที่เป็น “โทษ” ต่อนายสมัครและพรรคพลังประชาชน (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน “นัยของคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ 9 กันยายน 2551” วันอังคารที่ 9 กันยายน 2551) อย่างไรก็ตาม รัฐธรรมนูญ 2550 บังคับว่าศาลต้องใช้อำนาจตุลาการอย่างยุติธรรม “ตามกฎหมาย” และในพระปรมาภิไธยฯ

ดังนั้นปวงชนชาวไทยผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยตามรัฐธรรมนูญดังกล่าว สามารถขอให้ศาลรัฐธรรมนูญชี้แจงว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เช่น คำวินิจฉัยที่ถือว่านายสมัครมีสถานะเข้าข่ายความเป็น “ลูกจ้าง” ตามที่มีผู้ยื่นคำร้องกล่าวหานายสมัครนั้นเป็นการวินิจฉัยตาม “กฎหมาย” ว่าด้วยลูกจ้างฉบับใด หรือเป็นเพียงการสร้างนิยามทางกฎหมายขององค์คณะศาลรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่ เป็นต้น หากพบว่าการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญไม่เป็นไปตาม “กฎหมาย” ข้อใดทั้งสิ้น ปวงชนชาวไทยก็อาจพิจารณาดำเนินการให้ตรวจสอบการใช้อำนาจตุลาการในกรณีนี้ได้ ว่าเป็นการใช้อำนาจโดยชอบตามรัฐธรรมนูญหรือไม่

6.สภาวการณ์ขัดแย้งข้างหน้าไม่นานนักจะปรากฏให้เห็นความต่อเนื่องของการขัดขวางไม่ให้พรรคพลังประชาชนจัดตั้งรัฐบาลใหม่ได้สำเร็จ ควบคู่ไปกับความพยายามเปิดทางให้นักการเมืองภาคอภิสิทธิ์ชนสามารถเป็นแกนนำต่อรอง เพื่อเข้าครองอำนาจบริหารประเทศ (ซึ่งจะทำให้เกิดภาวะรวบอำนาจเบ็ดเสร็จ) และพรรคพลังประชาชนจะเผชิญปัญหาการยุบพรรคโดยอำนาจตุลาการภิวัตน์เข้มข้นยิ่งขึ้น ควบคู่กับความพยายามของนักการเมืองภาคประชาชนในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 ให้มีความเป็นประชาธิปไตยมากกว่าปัจจุบัน ผู้วิเคราะห์ยังไม่อาจคาดคะเนผลรูปธรรมของความขัดแย้งดังกล่าวได้ในขณะนี้

ทำไมข้อเสนอแนะให้นายกรัฐมนตรี “ลาออก” หรือ “ยุบสภา” จึงไม่ใช่ “ทางออก” หรือ “การผ่าทางตัน” แก้ไขวิกฤติความขัดแย้งทางการเมืองปัจจุบัน

(แต่เป็นข้อเสนอแนะที่ขัดต่อหลักการว่าด้วย “อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย” ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของระบอบประชาธิปไตย)

การยุบสภาหรือลาออกในบริบทความขัดแย้งที่กลุ่ม “พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย” (และกลุ่มอำนาจที่อยู่เบื้องหลังร่วมมือกัน) สร้างขึ้นตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา จะมีผลเป็นการทำลายหลักการว่าด้วย “อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย” ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของระบอบประชาธิปไตย ดังเหตุผลต่อไปนี้

1.รัฐบาล นายสมัคร สุนทรเวช ขึ้นสู่อำนาจบริหารจากการรับรองของที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร (อำนาจนิติบัญญัติ) ซึ่งได้รับการเลือกตั้งตามหลักการ “อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย” และตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ 2550

2.“พันธมิตรฯ” เป็นองค์กรการเมืองที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือโดย “กลุ่มอำนาจอื่น” ที่ต้องการล้มล้าง “อำนาจบริหาร” ของรัฐบาลในข้อ 1 ข้างต้น เพื่อเปิดช่องทางให้ “กลุ่มอำนาจอื่น” หรือตัวแทนของกลุ่มอำนาจดังกล่าว เข้ายึดกุมอำนาจบริหารต่อไปโดยไม่สนใจผลของการเลือกตั้ง 23 ธันวาคม 2550 และไม่สนใจผลของความเสียหายทางเศรษฐกิจ การเมือง และความรู้สึกนึกคิดของปวงชนชาวไทยที่ใช้อำนาจอธิปไตยของตนในการเลือกตั้งทั่วไปดังกล่าว ทั้งนี้ “พันธมิตรฯ” แสดงตนให้เห็นชัดเจนตามลำดับว่า กลุ่มตนอาจใช้ความรุนแรงและฝ่าฝืนกฎหมายอย่างร้ายแรง เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ทางการเมืองของตนโดยไม่คำนึงถึงหลักนิติธรรมและมนุษยธรรม

3.“กลุ่มอำนาจอื่น” อาจครอบคลุมถึง “พรรคการเมืองฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร” ที่ต้องการ “อำนาจบริหาร” เพิ่มเติมจากอำนาจนิติบัญญัติ ซึ่งขณะนี้กลุ่มตนก็มีอยู่พอสมควรตามกฎหมาย (แต่ถ้ามีการยุบสภาต่อไป พรรคดังกล่าวก็ไม่จำเป็นต้องรอเวลาอีก 3 ปีครึ่งกว่าจะมีการเลือกตั้งทั่วไปครั้งใหม่ หรือถ้านายกรัฐมนตรีลาออกจากตำแหน่ง พรรคดังกล่าวก็สามารถเจรจาต่อรองกับพรรคร่วมรัฐบาลเดิมให้ถอนตัวจากการสนับสนุนพรรคพลังประชาชน) ในกรณีนี้ การเสนอให้ยุบสภา หรือลาออก เป็นข้อเสนอที่เห็นแก่ประโยชน์ทางการเมืองของกลุ่มอำนาจตนมากกว่าเห็นแก่ประโยชน์ของประชาชนซึ่งแบกรับ “ภาระต้นทุนสาธารณะ” ทั้งทางเศรษฐกิจและการเมืองจากการเลือกตั้งทั่วไปครั้งก่อน และที่จะต้องรับภาระในการเลือกตั้งทั่วไปครั้งต่อไป นอกจากนี้ยังสะท้อนถึงอุดมการณ์ของผู้เสนอแนะที่ไม่เห็นความสำคัญของหลักการว่าด้วย “อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย” รวมทั้งดูถูกดูแคลนสติปัญญาและวุฒิภาวะของประชาชนเสียงส่วนใหญ่ ที่ลงคะแนนเลือกตั้งสมาชิกพรรคร่วมรัฐบาลชุดปัจจุบัน

4.“กลุ่มอำนาจอื่น” ย่อมหมายความรวมถึง “กลุ่มอำนาจนอกระบอบประชาธิปไตย” ที่อยู่เบื้องหลังการเคลื่อนไหวทางการเมืองของ “พันธมิตรฯ” และน่าจะเป็นกลุ่มเครือข่ายบุคคลระดับสูงที่อยู่เบื้องหลังการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ในกรณีความขัดแย้งครั้งใหม่นี้ (พันธมิตรฯ กับรัฐบาล นายสมัคร สุนทรเวช) เป็นความพยายามที่จะเข้ายึดกุมอำนาจบริหาร (รัฐบาล) ให้ได้รวบรัดเบ็ดเสร็จ หลังจากประสบความสำเร็จในการยึดกุมอำนาจแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสมาชิก 74 คน (อำนาจนิติบัญญัติ) รวมทั้ง “อำนาจตุลาการ” บางส่วน และ “อำนาจองค์กรอิสระและองค์กรตามรัฐธรรมนูญ” ตามรัฐธรรมนูญเกือบทั้งหมด โดยอาศัยบทเฉพาะกาลในรัฐธรรมนูญ 2550 ที่พวกตนร่างขึ้นตามอุดมการณ์คณาธิปไตย

5.“กลุ่มอำนาจนอกระบอบประชาธิปไตย” อาจยกระดับการเคลื่อนไหวไปสู่ “ภาวะจลาจลทั่วประเทศ” (หรือ “กลียุค” ตามที่ “พันธมิตรฯ” ระบุถึงในแถลงการณ์ของตนตั้งแต่ช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม ที่ผ่านมา) หากเครือข่ายองค์กรการเมือง วิชาการ และสื่อสารมวลชนของตน ไม่สามารถกดดันให้เกิดการยุบสภาหรือลาออกข้างต้นได้ และอาจหมายถึงการยกระดับการขับเคลื่อนไปสู่ “การเมืองระบบใหม่” ที่เป็นไปตาม “ทฤษฎีการถอดรื้อโครงสร้างสังคมไทย” แบบถึงรากถึงโคน ต่อทุกสถาบันในสังคมไทย ทั้งนี้ นักยุทธศาสตร์การปฏิวัติด้วยวิถีรุนแรงดังกล่าว อาจใช้วิธี “ยืมดาบสนองคืน” กล่าวคือ นักคิดที่อยู่เบื้องหลังกลุ่มอำนาจนอกระบอบประชาธิปไตยดังกล่าว อาจพยายามหาช่องทางกระตุ้นโทสะให้พลังการชุมนุมของปวงชนชาวไทยฝ่ายประชาธิปไตย เคลื่อนเข้าสู่การก่อภาวะจลาจล ต่อสู้กับพลังมวลชนเสียงข้างน้อยของฝ่าย “พันธมิตรฯ” ซึ่งย่อมนำไปสู่ผลลัพธ์ที่สำคัญคือ การทำลายระบอบประชาธิปไตยอย่างรุนแรงนั่นเอง

6.การยุบสภาหรือลาออกตามเสียงเรียกร้องข้างต้น ย่อมเป็นการส่งเสริมอำนาจการเมืองแบบเบ็ดเสร็จของกลุ่มคณาธิปไตย ซึ่งจะทำให้สังคมไทยและปวงชนชาวไทยตกอยู่ในภยันตรายร้ายกาจยิ่งกว่า “ระบอบเผด็จการทหาร” ของไทยในอดีต

นัยของคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ 9 กันยายน 2551
รศ.ดร.วรพล พรหมิกบุตร
วันที่ 9 กันยายน 2551 เวลา 14.00 น. ศาลรัฐธรรมนูญแจ้งกำหนดจะอ่านคำวินิจฉัยกรณีที่สมาชิกวุฒิสภาประเภทแต่งตั้ง (นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ) ยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี กระทำผิดรัฐธรรมนูญหรือไม่ กรณีที่นายสมัครเป็นพิธีกรรายการทางโทรทัศน์ “ชิมไปบ่นไป”

ผู้วิเคราะห์คาดการณ์ว่า ศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัยไปในทางที่เป็นโทษต่อนายสมัคร ทั้งนี้ โดยอาศัยมติเสียงข้างมากแบบไม่เป็นเอกฉันท์ (ขณะนี้เวลา 13.15 น. และศาลยังไม่อ่านคำวินิจฉัย) นอกจากนี้ ผู้วิเคราะห์มีข้อสังเกตดังนี้

1.องค์คณะศาลรัฐธรรมนูญชุดปัจจุบัน มีสมาชิกเสียงส่วนใหญ่ที่ได้รับการสรรหาแต่งตั้งโดยอาศัยความเชื่อมโยงกับบทเฉพาะกาลในรัฐธรรมนูญ 2550 ซึ่งรองรับการใช้อำนาจแบบคณาธิปไตยของคณะรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 และกลุ่มอำนาจดังกล่าวเคยประกาศจุดยืนทำลายโครงสร้างพรรคไทยรักไทย และพรรคการเมืองที่สืบทอดโครงสร้างพรรคไทยรักไทย (คือพรรคพลังประชาชน ที่ขณะนี้ นายสมัคร สุนทรเวช เป็นหัวหน้าพรรค)

2.กลุ่มพลังการเมืองหลายองค์กร รวมทั้งองค์คณะศาลรัฐธรรมนูญเสียงส่วนใหญ่ดังกล่าว อาจคาดการณ์ได้ชัดเจนก่อนวันอ่านคำวินิจฉัยแล้วว่า ประชาชนจำนวนมาก (ซึ่งอาจขับเคลื่อนกระบวนการ “ประชาภิวัตน์” ต่อต้านอำนาจ “ตุลาการภิวัตน์”) จะบันดาลโทสะ กระด้างกระเดื่อง และต่อต้านคำวินิจฉัยที่เป็น “โทษ” ต่อนายสมัคร และพรรคพลังประชาชน สิ่งซึ่งอาจเกิดขึ้นตามมาคือ การยกระดับการต่อต้านดังกล่าวเป็น “ภาวะกระด้างกระเดื่องของมวลชน” ในวงกว้าง รวมทั้งการยั่วยุอารมณ์มวลชนฝ่ายประชาธิปไตยต่อไปด้วยการแปรเปลี่ยน “ข้อเรียกร้องให้นายสมัครลาออกหรือยุบสภา” ก่อนหน้านี้ ให้เป็น “ข้อเรียกร้องไม่ให้นายสมัครและพรรคพลังประชาชนจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่” ภายหลังคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ภาวะดังกล่าวหากลุกลามขยายวงกว้างเป็นความรุนแรง ก็อาจนำไปสู่จุดมุ่งหมาย “กลียุค” หรือการจลาจล ที่มีผลล้มล้างรัฐบาลร่วมพรรคพลังประชาชน และยังอาจลุกลามไปสู่การทำลายความมั่นคงทางสังคม และสถาบันสังคมที่สำคัญบางส่วน เพื่อการสถาปนา “ระบบการเมืองใหม่” ตามเจตนารมณ์ของกลุ่มผู้อยู่เบื้องหลังการเคลื่อนไหวของ “พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย” ต่อไป ผู้วิเคราะห์เห็นว่า สมมติฐานข้อหลังนี้ยังจำเป็นต้องได้รับการตรวจสอบด้วยความระมัดระวัง

อำนาจและขอบเขตการใช้อำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ
กับอำนาจการตรวจสอบของการเมืองภาคประชาชน

รศ.ดร.วรพล พรหมิกบุตร

ประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เป็น “เจ้าพนักงานในการยุติธรรมตามกฎหมาย” (รัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 208 วรรคสาม) ซึ่งมีอิสระในการพิจารณาพิพากษา แต่ “ต้องดำเนินการให้เป็นไปโดยยุติธรรม ตามรัฐธรรมนูญ ตามกฎหมาย และในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์” (รัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 197)

หากประชาชนหรือผู้มีส่วนได้เสียเกี่ยวข้องรายใดมีข้อสงสัย เช่น (1) ศาลรัฐธรรมนูญดำเนินการ “ตามกฎหมาย” ใด ในการวินิจฉัย ตีความ พิพากษาว่า นายสมัคร สุนทรเวช เป็น “ลูกจ้าง” ตามความในรัฐธรรมนูญ มาตรา 267 หรือ (2) ในการวินิจฉัยว่า “บันทึกคำแถลงร่วม” กรณีปราสาทเขาพระวิหาร เป็น “สัญญา” ตามกฎหมายใด และทำให้เกิดการสูญเสียอธิปไตยอย่างไร หรือ (3) หากมีมูลเหตุพอเพียงจะสงสัยว่าศาลรัฐธรรมนูญอาจใช้อำนาจเกินเลยขอบเขตของกฎหมาย และขอบเขตที่รัฐธรรมนูญอนุญาตให้ใช้อำนาจ บุคคลที่เสียหายน่าจะสามารถใช้บทบัญญัติรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 275 ให้ไต่สวนการใช้อำนาจตุลาการดังกล่าวได้


ปชป.หน้าแหก ลักไก่เสนอชื่อ “อภิสิทธิ์” แต่สภาโนโหวตไม่รับเป็นนายกฯ


พรรคประชาธิปัตย์ลักไล่เสนอชื่อ “อภิสิทธิ์” ทั้งที่เคยประกาศไม่คิดตั้งรัฐบาลแข่ง แต่ก็ต้องฝันสลายเมื่อสภาไม่ครบองค์ประชุม “จรัล ดิษฐาอภิชัย” ระบุเลื่อนโหวตเป็นเรื่องดี เชื่อ “สมัคร” จตักลับมาอีกครั้งแน่นอน

นายจรัล ดิษฐาอภิชัย กรรมการสิทธิมนุษยชน และคณะกรรมการประชาชนเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 (คปพร.) กล่าวถึงกรณีที่พรรคประชาธิปัตย์ออกมาประกาศก่อนหน้านี้ว่าจะไม่มีการตั้งรัฐบาลแข่งกับพรรคพลังประชาชน แต่ภายหลังที่ได้มีการประชุมที่รัฐสภา ปรากฏว่าทางพรรคประชาธิปัตย์ได้มีการเสนอชื่อนายอภิสิทธิ์เอรับการพิจารณารับโหวะเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่

นายจรัล กล่าวว่า โดยหลักการ พรรคก็จะต้องมีการนำเสนอหัวหน้าพรรคของตนเองอยู่แล้ว ทั้งๆ ที่ก็รู้ว่าเสนอชื่อนายอภิสิทธิ์ไปก็ไม่ได้ วันนี้อาจจะมีปัญหาในเรื่องของการช่วงชิงความได้เปรียบเสียเปรียบทางการเมืองกัน เพราะเขาเห็นว่าวันนี้ ส.ส.ไม่ค่อยเข้าร่วมชุมนุม และส่วนใหญ่ส.ส.ที่เขาร่วมชุมนุมก็เป็นสมาชิกของพรรคประชาธิปัตย์ จึงเสนอชื่อหัวหน้าพรรค เพื่อจะได้รับเสียยงโหวตมาก แต่เข้าคงลืมไปว่าคะแนนโหวตที่ได้ต้องมีจำนวนเป็นกึ่งหนึ่งของสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรทั้งหมด นี้โหวตเท่าไรก็ไม่ถึงครึ่งอยู่ดี

“การเสนอชื่อหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์เป็นการแสดงบทบาทอยากเป็นรัฐบาลของพรรคประชาธิปัตย์เอง ถึงรู้ว่าเสนอชื่อนายอภิสิทธิ์ก็ไม่ได้รับโหวตแต่มันเป็นเรื่องของธรรมเนียม เป็นเรื่องของมารยาทที่ลูกพรรคต้องเสนอหัวหย้าพรรคของตัวเอง” นายจรัลกล่าว

นายจรัลได้กล่าวถึงประเด็นที่วันนี้มีการประชุมรัฐสภาไม่บรรลุผล และได้เลื่อนการพิจารณาเลือกนายกฯเป็นวันที่ 17 กันยายน ตนเห็นว่าการเลื่อนออกไปอีก 3-4 วันเป็นเรื่องที่ดี เพราะว่าจะได้มีเวลาไปศึกษาและทบทวนอะไรหลายๆ เรื่องภายในพรรค เพราะตอนนี้ปัญหาใหญ่อยู่ที่พรรคพลังประชาชน ที่ส.ส.ภายในพรรคยังไม่มีความคิดเห็นที่เป็นหนึ่งเดียวกัน เนื่องด้วยจากสถานการณ์ในตอนนี้ อยู่ในช่วงของวิกฤตทางการเมืองทำให้ความคิดของแต่ละคนอาจจะแตกต่างกัน เนื่องจากแต่ละคนก็เป็นกังวลและเป็นห่วงสถานภาพในปัจจุบัน

“ส.ส.บางกลุ่มอาจจะมองว่าถ้าเสนอนายสมัครเป็นนายกฯ อีกครั้งอาจจะทำให้ปัญหาที่มีอยู่บานปลายมากยิ่งขึ้น ปัญหาจะไม่รู้จบ และอาจจะมีส่วนในเรื่องของผลประโยชน์ในแต่ละพรรคด้วยที่เป็นอีกสาเหตุหนึ่ง” นายจรัลกล่าว
นอกจากนี้นายจรัลยังกังวลว่าถ้าภาย 30 วันแล้วยังไม่สรุปว่าจะเลือกใครมาเป็นนายกรัฐมนตรี ตามระเบียบของรัฐธรรมนูญ 2550 ระบุให้คนที่ได้มีคะแนนเสียงในช่วงเลือกตั้งที่ผ่านมาได้เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งตรงนั้นตนก็ไม่ทราบเหมือนกันว่า ส.ส.ท่านใดของพรรคใดได้รับเสียงมากที่สุด แต่อย่างไรก็ตามตนเชื่อว่าอย่างไรในวันที่ 17 กันยายนนี้น่าจะได้ข้อสรุป และนายสมัคร สุนทรเลชน่าจะได้กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง


คนเสื้อแดงพรึบหน้ารัฐสภา หนุน


ผู้ชุมนุมกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ จำนวนกว่า 2,000 คน และยังคงทยอยเดินทางมาสมทบกันที่หน้ารัฐสภา โดยได้เข้าปักหลักชุมนุมบริเวรทางเท้าฝั่งตรงข้ามอาคารรัฐสภา และมีการตั้งเวทีปราศรัยสนับสนุนให้พรรคพลังประชาชนโหวตเลือก นายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี ให้กลับเข้าสู่ตำแหน่งอีกครั้ง

ซึ่งการปราศรัยเป็นไปอย่างคึกคัก ท่ามกลางกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดปราบจลาจล และเจ้าหน้าที่ตำรวจนครบาล คอยดูแลและรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรเพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่ในเช้าวันนี้

ทั้งนี้ กลุ่มผู้ชุมนุมที่สนับสนุนรัฐบาลเกือบทั้งหมดได้สวมเสื้อสีขาว สีแดง และสีเขียว เป็นสัญลักษณ์ รวมถึงมีการใช้ผ้าพันคอหลากสี มีข้อความเขียนว่า ปกป้องประชาธิปไตย พร้อมกับถือธงโครงการจากวันแม่ถึงวันพ่อ 116 วัน และนำป้ายสนับสนุน นายสมัคร กลับเข้าสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี มาติดไว้บริเวณแผงกั้นเหล็กฝั่งตรงข้ามรัฐสภาอีกด้วย ซึ่งขณะนี้ยังมีกลุ่มผู้สนับสนุนทยอยเดินทางมารวมตัวกันอย่างต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของกลุ่มพันธมิตรฯ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำพันธมิตร ได้ประกาศห้ามกลุ่มพันธมิตรเดินทางมาคัดค้านที่หน้ารัฐสภาในวันนี้ เนื่องจากเกรงว่าจะไม่ปลอดภัย และอาจเกิดเหตุรุนแรงขึ้นได้


ปธ.สภาฯเลื่อนโหวตเลือกนายกฯ เป็น 17 ก.ย.หลังไม่ครบองค์ประชุม


นายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประกาศเลื่อนการประชุมสภาฯ เพื่อโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่ไปเป็นวันที่ 17 ก.ย. หรือวันพุธหน้า เนื่องจากไม่ครบองค์ประชุมในช่วงเช้าวันนี้

ก่อนหน้านี้ประธานสภาฯ สั่งเริ่มการประชุมสภาฯ เพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่ในเช้าวันนี้ตามกำหนดในเวลาประมาณ 9.30 น.หลังจากจำนวนผู้ลงชื่อเข้าประชุมเกินครึ่งหนึ่งของจำนวน ส.ส.หรือ 236 เสียง โดยแกนนำและส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ส่วนใหญ่เข้าร่วมประชุม ขณะที่ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาลยังเข้าประชุมกันอย่างบางตา มีเพียงส.ส.พรรคพลังประชาชนส่วนหนึ่งเท่านั้น

จากนั้น นายบัญญัติ บรรทัดฐาน รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เสนอชื่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรค ให้ที่ประชุมออกเสียงเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ขณะที่ นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ ส.ส.พรรคพลังประชาชน ในฐานะประธานวิปรัฐบาล เสนอให้นับองค์ประชุมก่อนที่สภาจะดำเนินการประชุม ปรากฎว่ามีองค์ประชุมเพียง 161 คน จึงถือว่าไม่ครบองค์ประชุม

จี้ต่อมสำนึก‘จรัญ’ลาออกก่อนถูกไล่ชี้ชัดดอดรับจ๊อบ


โอว! ไม่น่าเชื่อ ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง “จรัญ ภักดีธนากุล” หนึ่งในตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่เพิ่งชี้ขาดนายกฯ สมัคร ไปหมาดๆ กลับพบว่ารับจ้างสอนหนังสืออยู่หลายมหา’ลัย แถมยังจัดรายการวิทยุ ทั้งที่รธน.มาตรา 207 กำหนดสเปกตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ไว้ไม่ต่างจากนายกรัฐมนตรี “นักวิชาการ-นักกฎหมาย” จี้ออกมาชี้แจงให้ประชาชนหายกังขา และทางที่ดีควรลาออกเสียก่อนที่จะถูกประชาชนเข้าชื่อไล่

การตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญให้นายสมัคร สุนทรเวช พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จากการไปจัดรายการชิมไปบ่นไป ตามความเกห็นของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้ง 9 คน นั้น ได้กลายเป็นบรรทัดฐานใหม่ ที่ฮือฮาอย่างยิ่งสำหรับกระบวนการยุติธรรมของไทย

ขณะเดียวกันบนบรรทัดฐานเดียวกันก็ได้ถูกย้อนเป็นคำถามกลับไปที่ตุลาการรัฐธรรมนูญบางคน โดยเฉพาะนายจรัญ ภักดีธนากุล ซึ่งเป็นอาจารย์พิเศษสอนหนังสือในมหาวิทยาลัยหลายแห่ง และเชื่อได้ว่ายังคงสอนอยู่ในปัจจุบัน ทั้งที่ตำแหน่งตุลาการ ก็มีการห้ามความเป็นลูกจ้างไว้เช่นเดียวกัน

ผศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่าการเป็นอาจารย์สอนพิเศษตามมหาวิทยาลัยต่างๆ จะต้องเป็นหลักฐานที่แสดงถึงการปฏิบัติจริงภายหลังการดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ หลักฐานทั้งหมดถือว่าสำคัญมาก เพราะในกฎหมายรัฐธรรมนูญ ได้ระบุไว้อยู่หนึ่งข้อที่รัดกุมมาก ว่าห้ามไม่ให้ผู้ที่ดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญประกอบอาชีพอิสระอื่นใดทั้งสิ้น

ทั้งนี้จากการที่ได้ฟังคำชี้แจงจากผู้สื่อข่าว และพอทราบมาว่านายจรัญ ได้ดำรงตำแหน่งเป็นอาจารย์พิเศษสอนในมหาวิทยาลัยอยู่หลายแห่ง ซึ่งขอกล่าวก่อนว่าหากแค่มีชื่อเป็นอาจารย์พิเศษที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยต่างๆ อาจจะมีการโต้แย้งได้ว่า ตัวนายจรัญได้ลาออกมานานแล้ว แค่มีชื่อเฉยๆ มหาวิทยาลัยอาจไม่ได้ลบชื่อออก ดังนั้นจะกลายเป็นขอโต้แย้งได้

แต่เท่าที่ทราบข้อมูลการสอนของนายจรัญ พบว่ายังคงสอนหนังสืออยู่ที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ หลักสูตรปริญญาโท ทุกวันเสาร์ในภาคการศึกษานี้ด้วย ทั้งนี้ หลังจากดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแล้ว ก็คงต้องใช้มาตรฐานเดียวกันกับที่ตัวเองเป็นคนตัดสินนายสมัคร

“ในกรณีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ การกระทำหน้าที่ต้องกระทำหน้าที่เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอย่างเดียวเท่านั้น เพราะการที่รับเป็นอาจารย์พิเศษสอนวิชาให้นักศึกษานั้น เป็นที่ทราบกันดีว่าจะต้องได้รับเงิน หรือค่าจ้างสอน”

กรณีดังกล่าว ไม่จำเป็นต้องมีการยื่นคำร้อง แต่สามารถเข้าชื่อถอดถอนได้เลย ถึงอย่างไรเห็นว่าก่อนที่จะมีการเข้าชื่อถอดถอน ซึ่งอาจจะดูเป็นเรื่องราว ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ หรือนายจรัญเอง จะต้องนึกถึงได้เสียก่อนว่า ตัวเองดำรงตำแหน่งนี้แล้วยังทำอะไรขัดรัฐธรรมนูญอยู่หรือไม่ ผู้ที่ดำรงตำแหน่งนี้ต้องมีความน่าเชื่อถือ และสามารถอธิบายได้

ดังนั้น นายจรัญควรจะออกมาอธิบายต่อสังคม ถึงแม้จะมาแสดงความรับผิดชอบโดยการลาออก ก็เห็นว่าไม่มีผลอะไร เพราะว่าถึงแม้ไม่ลาออกแต่บทลงโทษสูงสุดในกรณีกระทำการขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญ ถือให้ผู้นั้นต้องพ้นจากตำแหน่งที่ดำรงอยู่ ทั้งนี้ ยังไม่สามารถกลับเข้ามารับตำแหน่งเดิมได้อีก เนื่องจากตำแหน่งศาลรัฐธรรมนูญมีกฎหมายว่าให้ดำรงได้แค่วาระเดียว ส่วนต่อจากนี้นายจรัญจะไปดำรงตำแหน่งหน้าที่การงานอื่นใด ก็ต้องขึ้นอยู่กับกฎระเบียบนั้นๆ แล้ว

นายยงเกียรติ อดิเศรษฐกุล ผู้อำนวยการสำนักกฎหมายและคดี คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กล่าวว่าบรรทัดฐานของศาลรัฐธรรมนูญ หลังจากนี้ก็ถือว่ามีผลต่อหลายๆ คดี เพราะโดยหลักแล้วศาลรัฐธรรมนูญถือว่าเป็นคำตัดสินที่สูงสุด นับจากนี้ไปก็คงต้องยึดเป็นบรรทัดฐาน และเกิดเป็นมาตรฐานเดียวกันของสังคมแล้ว

อนึ่ง จากการตรวจสอบพบว่า นายจรัญ ภักดีธนากุล มีชื่อเป็นอาจารย์พิเศษ และยังสอนหนังสืออย่ในหลายสถาบัน คือที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต วิชาที่สอน LAW 312 กฎหมายลักษณะพยาน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ วิชาที่สอน 300-306 กฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิชาที่สอน 0801236 พยาน และคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต และยังจัดรายการเวทีความคิด วิทยุเอฟเอ็ม 96.5 เมกะเฮิรตซ์ เวลา 20.00-21.00 น.

ซึ่งรายชื่ออาจารย์พิเศษดังกล่าวสามารถเข้าไปดูได้ในเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยต่างๆ อาทิ
http://law.hcu.ac.th/personal.htm , http://www.viphavadeecenter.com/news_detail.php?id=86 , http://www.thaicounsel.com/aboutUs.htm , http://eportfolio.hu.ac.th/law/index.php?option=com_content&task=category§ionid=9&id=54&Itemid=82 , http://member.rsu-lawonline.com/content.php?ct_id=72 , http://radio.mcot.net/fm965/__programView.php?cliptype=25 , http://www.tsu.ac.th/law/lawtsu/person.php?cId=2 และ http://www.dpu.ac.th/graduate/llm/page.php?id=2076


นักวิชาการติง “รัฐบาลแห่งชาติ” เสมือนฉีกรัฐธรรมนูญอีกรอบ

นักวิชาการติงรัฐบาลแห่งชาติ ถือเป็นการฉีกรัฐธรรมนูญ อีกรอบ เหมือน 19 ก.ย. ชี้บ้านเมืองวุ่นวายเพราะนักวิชาการและสื่อเอนเอียง

ผศ.เสถียร วิพรมหา จากมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย และ ตัวแทนเครือข่ายนักวิชาการเพื่อประชาธิปไตยด้วยสันติวิธี (คปส.) ขึ้นเวทีปกป้องประชาธิปไตย หยุดคนทำลายประเทศ บริเวณท่าน้ำนนท์ แสดงความคิดเห็นถึงแนวทางรัฐบาลแห่งชาติว่า รัฐบาลแห่งชาติเป็นแนวคิดที่ไม่อาจเกิดขึ้นจริงได้ ถ้าหากจะมีการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ ก็ทำกับเป็นการฉีกรัฐธรรมนูญ อีกรอบ ซึ่งไม่ต่างกับเหตุการณ์เมื่อ 19 กันยายน 2549 ที่ไม่เคยให้สิ่งที่ดี ๆ กับประชาชนเลย

ทั้งนี้ การที่พันธมิตรฯชี้ให้เห็นว่าการจัดตั้งรบ.แห่งชาตินั้นเป็นทางออก นั้นคงสามารถทำได้อยู่ที่เดียวคือที่พันธมิตรฯชุมนุมอยู่โดยพรรคพันธมิตรฯ มีโพธิรักษ์เป็นผู้นำสูงสุดมี 9 แกนนำเป็นคณะทำงาน ผศ.เสถียร ยังกล่าวอีกว่า ที่บ้านเมืองวุ่นวายอยู่ในขณะนี้ เกิดขึ้นเพราะนักวิชาการและสื่อที่เอนเอียง ดังนั้นจึงอยากจะขอฝากไปถึงว่า ควรที่จะทำหน้าที่ให้เป็นกลางไม่ควรนำเอาสิ่งที่เป็นมุมมองของตนเองมาชี้นำประชาชน



ซัดมือที่มองไม่เห็นยังอยู่ จ้องเล่นงาน “สมัคร” เป็นขบวนการ


“ดร.เมธาพันธ์” ขึ้นเวทีท่าน้ำนนท์ ระบุที่ “สมัคร” ถูกเล่นงาน เป็นกับดักเผด็จการที่มีการวางไว้แล้ว เชื่อมือที่มองไม่เห็นยังมีอยู่ ทั้งกกต.-ปปช.-ศาลรัฐธรรมนูญ ล้วนน่ากังวล

ดร.เมธาพันธ์ โพธิธีรโรจน์ แกนนำเครือข่ายประชาชนปกป้องประชาธิปไตย เปิดเผยบนเวที ท่าน้ำนนท์ ถึงกรณีนายสมัคร สุนทรเวช ถูกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้สิ้นสภาพความเป็นนายกฯ เชื่อว่าเหตุที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะสิ่งที่เผด็จการวางกับดักเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็น รธน.50 และอีกสิ่งที่เป็นเครื่องมือชิ้นใหม่ให้ ผู้ที่ต้องการทำลายประชาธิปไตยนั่นก็คือ กฎหมาย ทุกวันนี้ ยังคงมีมือที่มองไม่เห็น หยิบยื่นสิ่งเครื่องมือต่างๆ เหล่านี้ เพื่อให้กำจัดพรรคที่เป็นคู่แข่งพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรอิสระอย่างเช่น กกต. ปชช. หรือจะเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เองล้วนแล้วแต่ทำทุกอย่างเพื่อให้ หน้าที่ที่ได้รับมอบหมายลุล่วง ถ้าเรื่องใดที่เป็นเรื่องของพรรคฝ่ายตรงข้าม กับพวกเดียวกันเรื่องจะกลายเรื่องที่ผิดทันที

ดร.เมธาพันธ์ กล่าวต่ออีกว่า หลังจากที่ศาล รธน.ตัดสินนายสมัคร เสร็จสิ้น ก็ส่งไม้ต่อให้สื่อหลักที่มีความเป็นพวกเดียวกัน พยายามนำเรื่องมาบิดเบือนความเป็นจริงทำให้นายสมัคร เลวอย่างนี้บ้าง ไม่ดีอย่างบ้าง เพื่อต้องการไม่ให้นายสมัคร กลับเข้ามารับตำแหน่งนายกฯได้อีก พยายามนำเอานักวิชาการในสายของตัวเอง มาให้ความเห็นที่ไม่เป็นกลาง ชักจูงว่าหากนายสมัคร กลับเข้ารับตำแหน่งอีก จะเป็นการไม่สมควร ดังนั้น ตนอยากเรียนถามว่าคนที่เป็นนักวิชาการเหล่านี้ว่า การนำเอาความคิดเห็นของตนเองมาเป็นยัดเยียดประชาชน แทนที่จะทำหน้าที่ชี้ถูกผิดให้กับผู้รับข้อมูลอย่างประชาชนเหล่านี้ พวกคุณมีจริยธรรมอย่างนั้นหรือ? ทำเช่นนี้ แค่อ้าปากก็เห็นลิ้นไก่ แล้ว


Thursday, September 11, 2008

"อนุพงษ์”เสนอ"สมชาย"ยกเลิกพรก.ฉุกเฉินฯ

“อนุพงษ์” เสนอ “สมชาย” ยกเลิกพรก.ฉุกเฉิน ชี้ผลกระทบต่อสังคม ยันใช้กฎหมายปกติคุมสถานการณ์ได้ ขณะที่สถานการณ์บ้านเมืองจะวุ่นวายมากขึ้นหรือลดลงขึ้นอยู่กับการจัดตั้งรัฐบาล ระบุ นายกฯคนใหม่ต้องทำให้สถานการณ์ดีขึ้น และลดความขัดแย้ง เชื่อตั้งรัฐบาลแห่งชาติแก้วิกฤติบ้านเมืองที่ดีสุด

ที่กรมการขนส่งทหารบก (ขส.ทบ.) พล.อ. อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก และหัวหน้าผู้รับผิดชอบแก้ไขสถาน การณ์ฉุกเฉิน ตาม พรก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ให้สัมภาษณ์ ก่อนเดินทางไปตรวจเยี่ยมพื้นที่ภาคใต้ ถึงการประกาศยกเลิกพรก.ฉุกเฉินว่า ในเรื่องนี้ตนเรียนนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รักษาการรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษา ธิการ ซึ่งตามที่ได้ประเมินสถานการณ์แล้ว มีความเหมาะสมที่จะยกเลิกการใช้พรก.ฉุกเฉิน ในพื้นที่กทม. ทั้งนี้เนื่องมาจากผลกระทบในด้านต่าง ๆ มีผลกระทบต่อสังคม จึงน่าจะประกาศยกเลิก

ในส่วนของคณะกรรมการชุดดังกล่าว ได้นำ พรก. ฉุกเฉิน ในแต่ละข้อมาวิเคราะห์ ว่าสามารถดำเนินการได้มากน้อยเพียงใด โดยยึดถือเจตนาของการประกาศ พรก. ดังกล่าว เพื่อมุ่งที่จะทำให้ปัญหาความวุ่นวายที่มีอยู่ในขณะนี้ลดน้อยลง อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการประเมินแล้วว่าการทำตามข้อกำหนดใด ๆ ใน พรก.ฉุกเฉิน น่าจะทำให้ความวุ่นวายตามมามากขึ้น เพราะฉะนั้นในแต่ละข้อกำหนดในบางเรื่องจะเป็นการแจ้งให้สาธารณะชนทราบถึงการที่ไปรวมกัน โดยเฉพาะตาม พรก. ฉุกเฉิน ข้อที่ 1. ที่ระบุว่า ห้ามไม่ให้มีการชุมนุมกันเกิน 5 คน แต่เมื่อมีการไปรวมกันเกิน 5 คน จะเป็นความผิดตามข้อกฎหมาย ก็จะมีการแจ้งสาธารณะชนเช่นนั้น

ต่อข้อถามที่ว่า เมื่อมีการประกาศยกเลิกพรก.ฉุกเฉินแล้วจะมีกฎหมายใดมารองรับหากสถานการณ์บ้านเมืองเกิดความวุ่นวาย พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า ได้มีการหารือกันระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจ และทางทหารก็ประเมินว่ากฎหมายปกติสามารถดูแลสถานการณ์ได้ โดยให้เจ้าหน้าที่ตำรวจร้องขอและให้ทหารเป็นผู้ช่วยเจ้าพนักงานก็น่าจะควบคุมสถานการณ์ที่น่าจะเกิดขึ้นได้ เช่นการปะทะกันของคน 2 กลุ่ม ทั้งนี้หากสถานการณ์มีความรุนแรง การประกาศใช้ พรก.ฉุกเฉินอีกครั้ง เป็นหน้าที่ของรัฐบาล

เมื่อถามว่า ความคืบหน้าในการเจรจากับกลุ่มพันธมิตรและรัฐบาล พล.อ อนุพงษ์ กล่าวว่า ในปัญหาที่เกิดขึ้น อยากให้สังคมหลีกเลี่ยงการปะทะกันหรือยืนกรานที่จะทำความต้องการของพวกตัวเองอย่างเดียว จึงต้องให้ทางรัฐสภารับผิดชอบ ซึ่งขณะนี้ก็ทราบว่ามีการดำเนินการตามลำดับขั้น แต่จะเป็นอย่างไรก็ต้องทำกันไป

เมื่อถามว่า การเจรจาต้องค่อย ๆ เป็นค่อย ๆ ไปใช่หรือไม่ พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า ในขณะนี้เรื่องความขัดแย้งดังกล่าวไปอยู่ที่ในเรื่องของรัฐสภาคือการจัดตั้งรัฐบาลมากกว่า ปัจจัยในการที่จะเกิดความวุ่นวายเพิ่มขึ้นหรือลดลง จะขึ้นอยู่ที่การจัดตั้งรัฐบาลมากกว่า จึงทำให้การเจรจาลดความสำคัญลงไป

ต่อข้อถามที่ว่า ในฐานะที่เป็นคนไทยคนหนึ่งอยากได้นายกรัฐมนตรีแบบใด พล.อ อนุพงษ์ กล่าวว่า ผู้ที่สมควรที่จะมาเป็นนายกรัฐมนตรีจะต้องเป็นคนที่ทำให้สถานการณ์ดีขึ้น ความขัดแย้งจะต้องหมดไปและมีทางออกของสังคม และทำให้ผ่านวิกฤติในช่วงนี้ไป และช่วยกันรวมสร้างสิ่งดีๆให้กับสังคมรวมทั้งประชาชนด้วย

ต่อข้อถามที่ว่า พรรคพลังประชาชนควรเสนอใครเป็นนายกรัฐมนตรี พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า ใครก็ได้ที่ทำให้สถานการณ์และสังคมดีขึ้น ก็น่าจะเหมาะสม

ส่วนแนวทางการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติมีความเหมาะสมหรือไม่ พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า ตามความคิดส่วนตัว การจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติน่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด ซึ่งตนคิดว่าน่าจะยากที่จะเกิดขึ้นได้ แต่ถ้าเกิดขึ้นได้ก็น่าจะเป็นทางออกที่ดี ทั้งนี้นักการเมืองต้องเสียสละ



“สมชาย”ประกาศรับตำแหน่ง นายกฯ เผยรอสภาฯโหวต

"สมชาย วงศ์สวัสดิ์" ประกาศยินดีรับตำแหน่งนายกฯ หากเสียงส่วนใหญ่ในสภาโหวตให้ ส่วนการยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน รอหารือผู้ใหญ่ก่อน

นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รักษาการนายกฯ กล่าวถึง การประชุมพรรคพลังประชาชน เพื่อเปิดให้ ส.ส. ทั้ง 223 คน ลงมติเสนอชื่อบุคคลเป็นนายกฯ คนใหม่ ในวันที่ 11 ก.ย.นี้ โดยมีชื่อของตน อยู่ในหนึ่งแคนดิเดต นายกรัฐมนตรี คนใหม่ว่าพร้อมที่จะรับตำแหน่ง นายกฯคนใหม่ หากได้รับความไว้วางใจ จากสมาชิก ทั้งนี้ มองว่า สิ่งที่ควรยึดในขณะนี้คือ ความเป็นประชาธิปไตยใครจะคิดอย่างไรก็ไม่สำคัญ แต่บ้านเมืองต้องไปรอดให้ได้

ส่วนกรณีที่ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก ( ผบ.ทบ. ) เสนอยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ต่อ นายสมชาย ในฐานะรักษาการนายกฯนั้น นายสมชาย กล่าวว่า ต้องหารือกับผู้ใหญ่ในบ้านเมืองก่อน

ลุ้น!ระทึก กกต.ชี้ชะตา"วิฑูรย์"วันนี้

จับตา! คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)พิจารณาแจกใบแดง "วิฑูรย์ นามบุตร" วันนี้ "สดศรี"เผย ต้องดูข้อมูลวันนี้ก่อน

นางสดศรี สัตยธรรม กรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. กล่าวว่า การที่ประชุม กกต.วันนี้ จะสามารถลงมติให้ใบแดง นายวิฑูรย์ นามบุตร ส.ส.สัดส่วน ในฐานะรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับว่าวันนี้ กกต.จะยอมให้มีการสอบพยานเพิ่มเติมอีก 10 คนได้ตามที่ พรรคพลังประชาชน ในฐานะผู้ร้อง เสนอมาหรือไม่

หากที่ประชุม กกต.ลงความเห็นว่า จำเป็นต้องสอบพยานหลักฐานเพิ่มเติม กกต.คงยังไม่สามารถลงมติ กรณีใบแดงของนายวิฑูรย์ได้ทันในวันนี้ ตามกำหนดเดิม แต่หากที่ประชุม กกต.เห็นว่า สำนวนและข้อมูลหลักฐานต่าง ๆ มีความครบถ้วนสมบูรณ์เพียงพอแล้ว กกต.อาจลงมติได้ในวันนี้

"ฝ่ายผู้ร้อง (พปช.) ขอเพิ่มพยานอีก 10 คน คงต้องดูว่าที่ประชุม กกต.เช้านี้ จะพิจารณาตัดพยานหรือไม่ หากเห็นว่าหลักฐานเพียงพอฟังได้ ก็น่าจะลงมติ (ใบแดง นายวิฑูรย์) ได้ทันในวันนี้" นางสดศรี กล่าว

ทั้งนี้นายวิฑูรย์ ถูกพรรคพลังประชาชน ยื่นคำร้องต่อ กกต.เพื่อคัดค้านผลการเลือกตั้ง เนื่องจากมีหลักฐานพบว่า มีการแจกตั๋วชมภาพยนตร์ เพื่อจูงใจให้ประชาชนไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ที่ จ.อุบลราชธานี

ด้านนายประพันธ์ นัยโกวิท กรรมการ กกต. กล่าวว่า จะต้องฟังความเห็นจากที่ประชุม กกต.ก่อน ว่าจะเห็นพ้องให้มีการสอบสวนพยานเพิ่มเติมหรือไม่ เพราะหากประเด็นที่จะสอบสวนเพิ่ม ได้สอบสวนไปแล้ว คงไม่จำเป็นต้องสอบพยานเพิ่มอีก

ทั้งนี้ ส่วนตัวมองว่า สำนวนที่ได้รับ จาก กกต.จังหวัดอุบลฯ และจากอนุกรรมการสอบสวน ได้วินิจฉัย มาอย่างละเอียดครบถ้วนแล้ว และมีการสอบพยานจาก 2 ฝ่ายมามากกว่า 10 ปาก ดังนั้น อาจเป็นไปได้ว่า วันนี้ กกต.อาจจะลงมติได้ หากไม่มีการสอบพยานเพิ่ม

นายประพันธ์ ยืนยันว่า การลงมติของ กกต.จะดำเนินการอย่างตรงไปตรงมา โดยไม่มีความกดดัน และไม่สนใจว่าจะเป็นพรรคใด

คำวินิจฉัยที่ไม่สุจริตของศาลรัฐธรรมนูญ กรณี สมัคร สุนทรเวช


มีข้อพึงสังเกตบางประการเกี่ยวกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ผมเห็นว่าไม่ควรมองข้ามไป แม้จะเป็นเงื่อนงำเล็กๆ ที่ใครต่อใครก็มองข้าม แต่ผมเห็นว่าไม่อาจจะมองข้ามไปได้ เพราะผลของเงื่อนงำที่ถูกปิดบังไว้ด้วยความไม่สุจริตในคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญประการนี้ มีผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อประเทศชาติ และ ทุกองค์กร ในประเทศไทย หากวันหนึ่งข้างหน้ามีผู้ใดหยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็น ในอนาคต

เงื่อนงำบางประการที่ศาลรัฐธรรมนูญ ไม่กระทำให้มีความชัดเจนที่ผมกล่าวถึงนี้ก็คือ "นายสมัคร สุนทรเวช พ้นจากความเป็นนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรี ตั้งแต่วันใด"

ในคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ไม่ได้ระบุไว้ ซึ่งผมเข้าใจว่าเป็นความพยายามหลีกเลี่ยงที่จะระบุวันที่นายสมัคร สุนทรเวช พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม โดยมีความไม่สุจริตใจ เป็นที่ตั้ง

ผู้คนส่วนใหญ่อาจจะเห็นว่าประเด็นที่ผมนำเสนอเป็นประเด็นเล็กๆ ที่ไม่มีความสำคัญต้องนำมาพิจารณา จึงไม่มีใครนำมาเสนอให้ได้พิจารณากัน แต่ในมุมมองของผมกลับเห็นว่าเป็นประเด็นใหญ่มาก

ใหญ่มากกว่าการพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของนายสมัคร สุนทรเวช เสียอีก

เนื่องเพราะวันที่พ้นตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ของนายสมัคร สุนทรเวช มีความสัมพันธ์กับความถูกต้องตามกฎหมายของการปฏิบัติราชการในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ของนายสมัคร สุนทรเวช ทุกๆ กรณี

กรณีการแต่งตั้งรัฐมนตรี

กรณีการแต่งตั้งโยกย้ายนายทหารประจำปี

กรณีการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตำรวจ

กรณีการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการพลเรือนทุกกระทรวง ทบวง กรม

กรณีการเจรจากับประเทศต่างๆ

กรณีการประชุมคณะรัฐมนตรี และ มติคณะรัฐมนตรีทุกมติ

กรณีการรับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งบุคคลดำรงตำแหน่งสำคัญ

โดยเฉพาะ การรับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง นายประสพสุข บุญเดช เป็นประธานวุฒิสภา เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2551 และ การรับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งนายทหาร เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2551

ยังมีอีกหลายเรื่อง หลายกรณี หลายมติ หลายคณะกรรมการ ที่นายสมัคร สุนทรเวช เป็นประ ธาน และเป็นคณะกรรมการ ทำหน้าที่กำหนด ตัดสินใจ ลงมติ ในฐานะนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

เหล่านี้เป็นประเด็นสำคัญซึ่งผูกพันอยู่กับการสิ้นสุดความเป็นรัฐมนตรีของนายสมัคร สุนทรเวช ที่ศาลรัฐธรรมนูญ พยายามหลีกเลี่ยงเบี่ยงบ่ายที่จะไม่กล่าวถึง เพราะเกรงว่าหากมีการระบุวันสิ้นสุดความเป็นรัฐมนตรีของนายสมัคร สุนทรเวช แล้วจะส่งผลกระทบอย่างกว้างขวาง ใหญ่หลวง และ ก่อให้เกิดปัญหาติดตามอย่างมากมาย จนไม่อาจจะแก้ไขได้ เนื่องจากมีผลกระทบทั้งภายในประเทศและผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ กรณี นายสมัคร สุนทรเวช จึงไม่แตกต่างจากที่ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ ว่า เพียงเพื่อจะจับหนูหนึ่งตัว ทำไมต้องรื้อบ้านทั้งหลัง

เพียงเพื่อจะทำให้นายสมัคร สุนทรเวช พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ไม่คำนึงถึงผลกระทบ และความเสียหายที่จะติดตามมา

ถึงแม้ว่าตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จะไม่คำนึงถึงผลที่จะเกิดขึ้นกับศาลรัฐธรรมนูญ กระบวนการยุติธรรม และภาพลักษณ์ของศาลไทย ว่าจะเป็นอย่างไร ในสายตาของชาวไทย และชาวต่างประเทศ แต่ก็ควรจะต้องคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับบุคคล องค์กร และสถาบันอื่นๆ ที่จะต้องรับผลกระทบจากคำวินิจฉัยของตนบ้าง

ประเด็น "นายสมัคร สุนทรเวช สิ้นสุดความเป็นนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรี วันใด" เป็นประเด็นที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง และเป็นประเด็นที่ศาลรัฐธรรมนูญ ต้องทำให้มีความกระจ่างแจ้ง มิใช่คลุมเครือปล่อยให้ประชาชนไปตีความกันเอง โดยศาลรัฐธรรมนูญไม่รับผิดชอบไม่ได้

" ศาลรัฐธรรมนูญโดยมติเอกฉันท์ จึงวินิจฉัยว่าผู้ถูกร้องกระทำการอันต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญมาตรา 267 มีผลให้ความเป็นรัฐมนตรีของนาย สมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ผู้ถูกร้องสิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญมาตรา 182 วรรคหนึ่ง(7) และเมื่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่านายกรัฐมนตรีผู้ถูกร้องกระทำการอันต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญมาตรา 267 เป็นเหตุให้ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัวเมื่อความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 182 จึงเป็นเหตุให้คณะรัฐมนตรีทั้งคณะพ้นจากตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญมาตรา 180 วรรคหนึ่ง(1) แต่ด้วยความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีเป็นการสิ้นสุดลงเฉพาะตัว ทำให้รัฐมนตรีในคณะรัฐมนตรีที่เหลือ จึงอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไป จนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 181"

จะเห็นได้ว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ บอกเพียงว่านายสมัคร สุนทรเวช สิ้นสุดความเป็นรัฐมนตรี แต่ มิได้บอกว่าสิ้นสุดเมื่อใด ณ วันที่กระทำการอันเป็นเหตุให้คุณสมบัติ ขัดรัฐธรรมนูญ หรือ ณ วันที่ ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัย

เหตุที่ผมยกประเด็นนี้ขึ้นมาเป็นประเด็นสำคัญก็เพราะว่า เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2551 หรือ ก่อนหน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญ จะวินิจฉัยว่านายสมัคร สุนทรเวช สิ้นสุดความเป็นรัฐมนตรี นั้น ศาลรัฐธรรมนูญ โดยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ทั้ง 9 คนนี้ เพิ่งจะวินิจฉัยว่านายไชยา สะสมทรัพย์ สิ้นสุดความเป็นรัฐมนตรี กรณีภรรยา มิได้จัดการหุ้นในบริษัท ให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ โดยศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยว่านายไชยา สะสมทรัพย์ สิ้นสุดความเป็นรัฐมนตรี นับตั้งแต่วันที่กระทำการขัดรัฐธรรมนูญ ซึ่งหมายความว่านายไชยา สะสมทรัพย์ สิ้นสุดความเป็นรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 6 มีนาคม 2551 (วันสุดท้ายครบกำหนดการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของรัฐมนตรีและคู่สมรส)

คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ในกรณีนายไชยา สะสมทรัพย์ กำหนดวันสิ้นสุดความเป็นรัฐมนตรีของนายไชยา สะสมทรัพย์ ไว้ชัดเจน และ ระบุด้วยว่าการกระทำใดๆ ของนายไชยา สะสมทรัพย์ ภายหลังวันที่ 6 มีนาคม 2551 ไม่ได้รับรับรองตามรัฐธรรมนูญ เนื่องจากความเป็นรัฐมนตรี สิ้นสุดลงไปแล้ว

ความแตกต่างระหว่างคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ กรณีนายสมัคร สุนทรเวช กับ นายไชยา สะสมทรัพย์ อยู่ที่การระบุวันสิ้นสุดความเป็นรัฐมนตรีในกรณีของนายไชยา กับ การไม่ระบุในกรณีของนายสมัคร ซึ่งเป็นการวินิจฉัยแบบสองมาตรฐานของศาลรัฐธรรมนูญ อย่างเห็นได้ชัด และไม่อาจจะเข้าใจเป็นอื่นได้ นอกจากว่าตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีเจตนาอันไม่สุจริต มีเจตนาที่จะปกปิด ไม่ทำความกระจ่างในคำวินิจฉัยของตนเอง

ในกรณีของนายไชยา สะสมทรัพย์ ศาลรัฐธรรมนูญ (ชุดเดียวกัน) มีคำวินิจฉัยว่า...

"ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแล้วเห็นว่า เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังเป็นที่ยุติได้ว่า ผู้ถูกร้องได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2551 และได้ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินพร้อมเอกสารประกอบของตนเองและคู่สมรสต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2551 กรณีเข้ารับตำแหน่งดังกล่าว และไม่ปรากฏว่าผู้ถูกร้องได้แจ้งให้ประธานกรรมการ ป.ป.ช.ทราบว่าประสงค์จะได้รับประโยชน์จากการที่นางจุไร สะสมทรัพย์ คู่สมรสของผู้ถูกร้องถือหุ้นในบริษัท ทรัพย์ฮกเฮง จำกัด เกินกว่าร้อยละ 5 ของจำนวนหุ้น ที่จำหน่ายได้ในบริษัทภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ผู้ถูกร้องได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 269 แม้ว่าในปัจจุบันพระราชบัญญัติการจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ.2543 ยังมิได้มีการบัญญัติให้รวบถึงการถือครองหุ้นและได้รับประโยชน์จากกรณีดังกล่าวของคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของรัฐมนตรี แต่เมื่อรัฐธรรมนูญ มาตร 269 บัญญัติให้เป็นหน้าที่ของรัฐมนตรีผู้นั้นที่จะต้องแจ้งให้ประธานกรรมการ ป.ป.ช.ทราบ ดังนั้น รัฐมนตรีจึงมีหน้าที่ต้องแจ้งความประสงค์จะรับประโยชน์จากกรณีดังกล่าวของคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะด้วย กรณีจึงถือว่าการกระทำของผู้ถูกร้องในฐานะรัฐมนตรีเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 269 เป็นการกระทำการอันต้องห้ามตามมาตรา 182 วรรคหนึ่ง (7)ประกอบมาตรา 269

มีกรณีต้องวินิจฉัยต่อไปว่า ผู้ถูกร้องพ้นจากตำแหน่งเมื่อใด เห็นว่าความเป็นรัฐมนตรีของผู้ถูกร้องสิ้นสุดลงเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี เพราะรัฐธรรมนูญ มาตรา 182 วรรคหนึ่ง(7) บัญญัติให้ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัวเมื่อกระทำการอันต้องห้ามตามมาตรา 269 ซึ่งหมายถึงว่า เมื่อมีเหตุการใดเหตุการณ์หนึ่งตามที่กำหนดไว้เกิดขึ้น ความเป็นรัฐมนตรีย่อมต้องสิ้นสุดลงทันที ไม่ใช่สิ้นสุดลงในวันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย ส่วนมาตรา 92 นั้น เป็นการบัญญัติถึงการลาออกจากตำแหน่งไว้เพื่อแก้ปัญหาอันเกี่ยวกับกิจการที่รัฐมนตรีได้ทำไปหลังจากความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดแล้วถึงวันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย ไม่ให้กระทบกระเทือนกิจการที่กระทำไปในระหว่างนั้น หากความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย ย่อมไม่มีความจำเป็นต้องบัญญัติรับรองกิจการที่ทำไปก่อนการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ

อาศัยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ศาลรัฐธรรมนูญจึงวินิจฉัยว่า ความเป็นรัฐมนตรีของนายไชยา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขสิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 มาตรา 182 วรรคหนึ่ง(7) ประกอบมาตรา 269 ตั้งแต่วันที่พ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี

หากศาลรัฐธรรมนูญ มีมาตรฐานเดียวในการวินิจฉัยกรณีนายสมัคร สุนทรเวช กับกรณี นายไชยา สะสมทรัพย์ ศาลรัฐธรรมนูญ ก็ควรจะต้องกำหนดให้ชัดว่านายสมัคร สุนทรเวช สิ้นสุดความเป็นรัฐมนตรี ตั้งแต่วันใด เพราะประเด็นนี้เป็นประเด็นสำคัญ ยิ่งเป็นตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ยิ่งต้องได้รับความสนใจ ใส่ใจ ที่จะพิจารณาวินิจฉัยมากกว่าตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข แต่จากคำวินิจฉัยที่นำมาเสนอเปรียบเทียบ สองกรณีนี้ จะเห็นได้ว่าศาลรัฐธรรมนูญ มีสองมาตรฐานในการวินิจฉัย อย่างชัดเจน และมิอาจจะปฏิเสธได้

หากศาลรัฐธรรมนูญ ไม่มีสองมาตรฐาน และใช้มาตรฐานเดียวกันในสองกรณีนี้ นายสมัคร สุนทรเวช ก็จะต้องสิ้นสุดความเป็นรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่กระทำการอันเป็นเหตุให้มีคุณสม บัติขัดรัฐธรรมนูญ คือ ตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2551 ซึ่งเป็นวันที่นายสมัคร สุนทรเวช ทำการบันทึกเทปรายการชิมไปบ่นไป เป็นครั้งแรก หลังจากดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

เป็นการสิ้นสุดความเป็นนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ก่อนที่จะแถลงนโย บายบริหารราชการแผ่นดินต่อรัฐสภา ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2551

เป็นการสิ้นสุดความเป็นนายกรัฐมนตรี ก่อนที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นัดที่หนึ่งจนถึงนัดสุดท้ายเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2551 ที่ผ่านมา

เป็นการสิ้นสุดความเป็นนายกรัฐมนตรี ก่อนที่จะลงนามรับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายประสพสุข บุญเดช เป็นประธานวุฒิสภา เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2551

เป็นการสิ้นสุดความเป็นนายกรัฐมนตรี ก่อนที่จะลงนามรับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายทหารประจำปี เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2551

เป็นการสิ้นสุดความเป็นนายกรัฐมนตรี ก่อนที่จะปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรี

พิจารณาเพียงเท่านี้ ก็ทำให้เกิดคำถามขึ้นมากมายแล้วว่า เมื่อนายสมัคร สุนทรเวช สิ้นสุดความเป็นรัฐมนตรี ตามมาตรา 182 (7) แล้ว การบริหารราชการแผ่นดิน ในห้วงเวลาที่ผ่านมา 7 เดือน จะเป็นโมฆะหรือไม่

การลงนามในข้อตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลนานาชาติ ยังมีผลสมบูรณ์ชอบด้วยกฎหมายหรือเป็นโมฆะทั้งหมด

การรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานวุฒิสภา มีความถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ และตำแหน่งประธานวุฒิสภา ของนายประสพสุข บุญเดช มีความถูกต้อง มีผลสมบูรณ์หรือไม่ หากว่าผู้รับสนองพระบรมราชโองการเป็นผู้ที่ไม่มีคุณสมบัติ หรือ เป็นผู้ที่ไม่มีสถานะรับสนองพระบรมราชโองการ ได้

เช่นเดียวกับ การรับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งนายทหารประจำปี มีความถูกต้องหรือไม่ ในเมื่อนายสมัคร สุนทรเวช สิ้นสุดความเป็นนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2551

คำถามเหล่านี้ ศาลรัฐธรรมนูญต้องวินิจฉัยให้เกิดความกระจ่าง ก่อนที่จะมีการตีความแบบเข้าข้างตัวเอง ของฝ่ายต่างๆ คนต่างๆ อันจะก่อให้เกิดความสับสนวุ่นวายขึ้นมาอีก หลายร้อยพันเรื่อง

เช่นเดียวกันหากศาลรัฐธรรมนูญ ใช้มาตรฐานเดียวกับกรณีนายไชยา สะสมทรัพย์ ก็ต้องบอกว่าการกระทำใดๆ ของนายสมัคร ที่เกิดขึ้นหลังวันสิ้นสุดความเป็นรัฐมนตรี ย่อมไม่มีผลตามกฎ หมาย เนื่องจากนายสมัคร ไม่มีสถานะเป็นนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ตั้งแต่วันที่กระทำการขัดรัฐธรรมนูญ แล้ว มิใช่ วันที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย

พอจะมองเห็นเค้าลางความยุ่งยากที่จะเกิดขึ้นหลังจากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้นายสมัคร สุนทรเวช สิ้นสุดความเป็นรัฐมนตรี หรือยัง

พอจะมองเห็นความไม่สุจริตในคำวินิจฉัยแบบสองมาตรฐานของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ หรือยัง

พอจะมองเห็นความไม่น่าเชื่อถือของศาลรัฐธรรมนูญ ที่มีจุดมุ่งหมายทางการเมือง และ ใช้ศาล เป็นเครื่องมือกำจัดศัตรูทางการเมืองให้แก่ใครบางคนหรือยัง

พอจะมองเห็นหรือยังว่า ศาลรัฐธรรมนูญ มีเจตนาที่จะกำจัด นายสมัคร สุนทรเวช และรัฐบาลที่มาจากประชาชน และพยายามจำกัดความเสียหายให้อยู่ในวงจำกัดเฉพาะรัฐบาล ป้องกันไม่ให้ลุกลามไปถึงองค์กร บุคคลอื่น ที่เป็นพวกพ้องของตนเอง

ลองตอบตัวเองว่า เราจะเชื่อถือศาลรัฐธรรมนูญ และ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 9 คนนี้ ได้อีกหรือไม่ ?

ประดาบ

จาก thai-grassroots

เมื่อสมัคร หลุดจากตำแหน่งนายกฯ สมใจ พธม.แล้ว ผมก็ไม่เห็นเค้าว่าความแตกแยกในสังคมไทย จะจบลงแต่อย่างใด


บทความ โดย ลูกชาวนาไทย

วันนี้ข้อเรียกร้องของ พธม. และพวกอำมาตยาธิปไตยที่แฝงตัวในคราบนักวิชาการ หรือในหลายๆ กลุ่ม ก็บรรลุจุดมุ่งหมายแล้วคือ นายสมัคร สุนทรเวช ก็ได้หลุด จากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเรียบร้อยแล้ว ไม่ได้เกิดจากข้อร้องเรียนของ พธม. หรือใคร แต่เป็นไปตามหลักกฎหมาย หลักนิติรัฐทุกประการ

ผมก็ไม่เห็นเค้า หรือแนวโน้มว่า วิกฤตการณ์ความแตกแยกทางความคิดของคนในชาติ มีแนวโน้มที่จะจบลงแต่อย่างใด แต่ผมกลับเห็นว่า มันมีรอยร้าวที่หนักขึ้นเรื่อยๆ

แม้ผมจะไม่ชอบใจคำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญ เพราะผมเห็นว่าเป็นการพิพากษามีธงนำ แต่เมื่อ เล่นกันตามเกม เล่นในกติกา ผมก็พร้อมที่จะยอมรับคำตัดสินนั้น แม้ผมจะเห็นว่ามันไม่เป็นธรรมก็ตาม

เมื่อเล่นกันตามกติกาแล้ว ฝ่ายพลังประชาชน ก็มีทางเลือกให้เล่นได้อีกหลายอย่าง เช่น

การโหวตให้นายสมัคร สุนทรเวช กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งไม่ได้ผิดกฎหมายของศรีธนญชัยข้อใดทั้งสิ้น เมื่อตัดสินให้พ้นจากตำแหน่งนายกฯ แบบศรีธนญชัยได้ ด้วยข้อหาจัดรายการชิมไปบ่นไป ก็กลับมาแบบศรีธนญชัยได้ ไม่ได้ผิดกติกา ขาดความชอบธรรม หรือผิดจริยธรรมแต่อย่างใด


เมื่อศาลรัฐธรรมนูญ เล่นพวก พรรคพลังประชาชนที่คุมเสียงในสภาอยู่ ก็เล่นพวก และเล่นเกมบ้าง ไม่เห็นจะมีอะไร ถือว่าเป็นการสั่งสอนศาลรัฐธรรมนูญ และ ผู้มีอำนาจนอกรัฐธรรมนูญทั้งหลายว่า การเล่นเกมเด็กเล่นขายของ แบบนี้มันไม่ได้เกิดประโยชน์อันใดแก่ประเทศชาติทั้งสิ้น เมื่อประชาชนอยู่ข้างพรรคพลังประชาชน ความชอบธรรมทางการเมือง ย่อมสูงสุด และ Rule out อำนาจทุกอย่างในประเทศไป ไม่ว่าจะยิ่งใหญ่ มีบารมีมากมายแค่ไหนก็ตาม

ผมคิดว่า การเลือกนายสมัครกลับมาเป็นนายกฯ คือการตอกหน้า "ศาลรัฐธรรมนูญ" ด้วยครับ เป็นสิ่งที่ต้องทำ เพื่อให้ พวกอำมาตย์รู้ว่า การใช้ศาลตัดสินแบบศรีธนญชัย มันไม่ทำให้ปัญหาจบไปได้ เพราะอำนาจทางการเมืองยังอยู่ที่ฝ่ายเราไม่ได้อยู่ที่ศาล เรื่องการเมือง ต้องการให้ศาลตัดสิน มันไม่มีทางจบลงไปได้อย่างแน่นอน ดังนั้น หากจะเล่นเกมนี้กันต่อไป ก็ต้องให้มันพังกันทุกฝ่าย ผมจึงสนับสนุนให้พรรคพลังประชาชน เลือกนายสมัครกลับมาเป็นนายกฯอีกรอบ

อย่ายอมแพ้พวกอำมาตยาธิปไตยโดยเด็ดขาด



แนวทางนี้ควรเป็นแนวทางหลักที่พรรคพลังประชาชน ยืนกรานไว้ และไม่เป็นการทำลายน้ำใจของนายสมัคร สุนทรเวช ที่อุตส่าห์ อาสาขึ้นมาถือหางเสือ ยืนซดกับกลุ่มอำมาตยาธิปไตย และอำนาจนอกระบบได้อย่างยาวนาน และไม่ได้ถอดใจไปเสียก่อน

แต่หาก ท่านสมัคร สุนทรเวช ถอดใจ ไม่กลับมาเป็นนายกฯอีกครั้ง พรรคพลังประชาชน ก็อาจเสนอ นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี หรือคนอื่นๆ ขึ้นมาแทนไปก่อนก็ได้ ไม่ได้มีปัญหาอะไร

อำนาจรัฐยังอยู่ที่พรรคพลังประชาชน เกมยังอยู่ในมือพรรคพลังประชาชน ไม่ได้เสียหายอะไร

ท่านสมัคร สุนทรเวช ก็ยังคงเป็น สส.บัญชีรายชื่อ และเป็นหัวหน้าพรรคพลังประชาชนอยู่

หาก หมอเลี้ยบโดนเล่น เรื่อง คดีหวยบนดิน หลุดจากตำแหน่งอีก

ท่านสมัคร สุนทรเวช ซึ่งคาดว่าตอนนั้น คดีหมิ่นประมาท ผ่านไปแล้ว อยู่ในชั้นฎีกา ก็กลับมาเป็นนายกฯได้อีก




จะเล่นเกม เวียนเทียนกันก็ได้ ไม่มีปัญหาอะไรทั้งสิ้น

แต่ผมอยากถามปัญหา กับ สังคม และพันธมิตรว่า

วันนี้ สมัคร สุนทรเวช ก็ได้หลุดจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไปแล้ว วิกฤตการณ์ทางการเมืองของประเทศไทย ยุติหรือยัง

ผมเชื่อว่ายังไม่ยุติ

ก็เหมือนกับพวกที่คิดว่า ไล่ทักษิณออกไปจากประเทศไทยแล้ว ปัญหาทุกอย่างก็จบ แต่มันก็ไม่จบอย่างที่คิด วันนี้ไล่สมัครออกไปได้แล้ว ปัญหามันจบหรือไม่ มันก็ไม่ได้จบอย่างที่คิด

ปัญหาทั้งหลายทั้งปวงมันจึงอยู่ที่ การไม่ยอมรับกติกา และไม่ยอมรับเสียงข้างมากต่างหาก

ไม่ต้องมาอ้างเรื่องจริยธรรมทั้งสิ้น เพราะตอนนี้ทักษิณ ก็ไม่ได้อยู่เมืองไทยแล้ว สมัครก็ไม่ได้เป็นนายกฯแล้ว

แต่ประชาชนก็ยังเลือกพรรคพลังประชาชนอยู่ ไม่ได้หันไปเลือกพรรคประชาธิปปัตย์

พวกท่านยอมรับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองแล้วหรือยัง หากยังไม่ยอมรับเสียงข้างมาก คิดว่าประชาชนโง่ ประชาชนโดนซื้อ หรือ คนชั้นล่างไม่มีวิจารณญาณที่ดี ถูกชักจูงได้ง่าย เหมือนกับที่ อธิการบดี หรือ คณบดี ม.เชียงใหม่ บางคนกล่าวหาประชาชน ผมก็คิดว่า วิกฤตการณ์ครั้งนี้ไม่จบแน่ ๆ




เพราะไม่ว่าจะทำอย่างไร กลุ่มอำมาตยาธิปไตย ก็ไม่ได้อำนาจรัฐจากประชาชนแน่นอน

พระอาทิตย์มันตกดินไปแล้ว จะให้มันค้างอยู่บนฟ้าได้อย่างไร มันหมดยุคของอำมาตยาธิปไตยแล้ว จะยื้อยุด ให้มันดำรงอยู่ชั่วนิรันดร์ ฝืนกฎไตรลักษณ์ เรื่องอนิจจัง ได้อย่างไรกัน

ตอนนี้ ประเทศไทยมาถึงทางสองแพร่ง (ที่จริงมาถึงนานแล้ว) ว่า จะเอาระบบแต่งตั้ง (70/30) หรือ จะเอาระบบ เลือกตั้ง

หากคิดจะใช้ระบบ แต่งตั้ง เหมือนที่รณรงค์กันอยู่ สิ่งแรกที่จะต้องทำก่อนคือ การฉีกรัฐธรรมนูญ ปี 2550 ทิ้งไป ซึ่งไม่สามารถทำได้ โดยไม่มีรัฐประหารก่อน

ก็คิดดูก็แล้วกันว่าจะทำรัฐประหาร ได้อีกหรือไม่ ท่ามกลางกระแสโลกที่ไม่เป็นมิตร

ผมก็อยากจะรู้เหมือนกันว่า จะสามารถเอา ระบอบการเมืองที่ล้าหลังไปในยุคศตวรรษที่ 19 มาใช้ในปี 2008 ในศควรรษที่ 21 ไปได้สักกี่น้ำ ไม่ว่าประเทศไหน ก็พังมาแล้วทั้งสิ้น ใน พ.ศ. นี้

หากใช้ระบบเลือกตั้ง "จุดสำคัญ" จะอยู่ที่ "ผู้เลือกตั้ง" ที่ตื่นขึ้นมาแล้ว "หากเปลี่ยนใจผู้เลือกตั้งไม่ได้" การเมืองมันก็ยังเป็นเหมือนเดิม

และผมว่า การที่กลุ่มผู้มีบารมีนอกรัฐธรรมนูญ ในรัฐธรรมนูญทั้งหลาย จะใช้วิธี ตุลาการภิวัฒน์ ตุลาการวิบัติ ทั้งหลาย เหมือนที่ทำอยู่ในเวลานี้ ไม่มีทางปลี่ยนใจผู้เลือกตั้งได้อย่างแน่นอน

ไม่ว่า พรรคใดจะมา ก็ต้องใช้นโยบายประชานิยม และระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม อย่างแน่นอน หากทำได้ไม่ดี ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ที่เป็นชาวรากหญ้า ซึ่งเกิด จิตสำนึกทางการเมืองระดับชาติ ที่จะปกป้องผลประโยชน์ของตนเอง ก็จะลงคะแนนเป็นกลุ่มก้อน เลือกพรรคการเมืองพรรคเดียว 300 กว่าเสียง ส่งเข้ามารัฐสภา สร้างปัญหาให้ พวกอำมาตยาธิปไตย เหมือนกับขณะนี้อีกอย่างแน่นอน

สุดท้าย ก็จะเกิด ทักษิณ 2” ขึ้นมาแข่งบารมี กับหลายๆ คนอีก

แล้วต้องหาทาง กำจัด ทักษิณ 2 อีก

ไม่เหนื่อยหรือ แต่ประชาชน เขาเหนื่อย เขาอาจกำจัด ศักดินาอำมาตยาธิปไตย ไปก่อนก็ได้นะครับ เมื่อความอดทนมันถึงขีดสุด อะไรๆ มันก็เกิดขึ้นได้ทั้งสิ้น

เพราะประชาชน ไม่มีวันแพ้หรอกครับ พวกเขาไม่ต้องทำอะไร แค่วันเลือกตั้ง ไปออกคะแนน เลือก พรรคที่ชอบ และมีใจตรงกันค่อนประเทศ มันก็เกิดรัฐบาลพรรคเดียว อีกจนได้ ผู้มากบารมีทั้งหลาย ก็ต้องเหนื่อย ไปจนกว่าจะหมดบารมีกันไปนั้นแหละ

จาก thaifreenews