WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, July 3, 2010

ความโปร่งใสของแบงก์ชาติ

ที่มา มติชน

โดย ประสงค์ วิสุทธิ์

กรณ์ จาติกวณิช

เป็นโอกาสอันดีในโอกาสในช่วงที่มีการสรรหาผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยคนใหม่ ตามพ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2551 ปรับปรุงการทำงานของธนาคารแห่งประเทศไทยและกลไกต่างๆให้มีความโปร่งใสและตรวจสอบได้มากยิ่งขึ้น


เริ่มจากกระบวนการสรรหาผู้ว่าฯคนใหม่ หลังจากที่การสรรหาเสร็จสิ้นแล้ว นายกรณ์ จาติกวาณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังควรเปิดเผยข้อกระบวนการสรรหาทั้งหมด รวมทั้งวิสัยทัศน์ของผู้สมัครทั้งหมดเพื่อให้สาธารณชนได้ตรวจสอบว่า การใช้ดุลพินิจของรัฐมนตรีคลังในการตรวจ"ข้อสอบ"เป็นไปอย่างมีมาตรฐาน มีเหตุมีผล จะได้ไม่มีข้อครหาว่า เล่นพรรคเล่นพรรคหรือถูกบีบจากผู้มีบารมีนอกพรรคประชาธิปัตย์


ในด้านการทำงานของธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้ว่าฯคนใหม่ควรปรับปรุงการทำงานและกลไกต่างๆโดยเฉพาะคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)ซึ่งการตัดสินใจของคณะกรรมการมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและมีผลได้ผลเสียสูง


ในการประกาศใช้ พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2551 ให้เหตุผลในตอนหนึ่งว่า


"โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงวัตถุประสงค์อำนาจหน้าที่ และโครงสร้างของธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อให้เหมาะสม...ในการดำรงไว้ซึ่งเสถียรภาพทางการเงิน เสถียรภาพของระบบสถาบันการเงิน และระบบการชำระเงิน ตลอดจนสอดคล้องกับมาตรฐานสากล ประกอบกับ สมควรให้มีคณะกรรมการที่ทำหน้าที่ในการกำหนดนโยบาย และมาตรการต่างๆ เฉพาะที่จำเป็นในแต่ละด้าน ได้แก่ คณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย คณะกรรมการนโยบายการเงิน คณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน และคณะกรรมการระบบการชำระเงิน เพื่อให้การดำเนินงานของธนาคารแห่งประเทศไทยในการรักษาเสถียรภาพทางการเงินและระบบสถาบันการเงินมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทันต่อเหตุการณ์และสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจทางการเงินของโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และให้ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยมีความเป็นอิสระในการบริหารจัดการกิจการของธนาคารแห่งประเทศไท.. รวมทั้งกำหนดการป้องกันการมีส่วนได้เสียของผู้ว่าการ กรรมการ พนักงาน และลูกจ้าง เพื่อให้การบริหารงานของธนาคารแห่งประเทศไทยมีความโปร่งใส ........"


แต่นั่นเป็นเพียงหลักการในกฎหมาย ในทางปฏิบัติ การดำเนินงานภายใต้คณะกรรมการชุดต่าง ๆ อาจจะไม่เป็นอิสระจากการแทรกแซงของภาคการเมือง(ดูตัวอย่างจากการสรรหาคณะกรรมการธนาราชุดแรก)ได้อย่างแท้จริง หากกรรมการคนใดหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมีส่วนได้ส่วนเสีย มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดและรับอิทธิพลจากฝ่ายการเมืองมาประกอบการตัดสินใจในทางนโยบาย อาจเกิดผลเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจอย่างร้ายแรง


ดังนั้น น่าจะมีกระบวนการการตรวจสอบกระบวนการตัดสินใจของคณะกรรมการชุดต่างๆ โดยเฉพาะ กนง.ที่ควรให้สาธารณชนรับรู้ว่า กรรมการคนไหนคิดและตัดสินใจอย่างไร เพราะในทางข้อเท็จจริง ไม่มีทางทราบได้ว่า "ผู้ทรงคุณวุฒิ"คนใด มีความใกล้ชิดกับนักธุรกิจ นักการเมืองคนใด มีการนำเอาข้อมูลภายใน(insider) ไปใช้ประโยชน์ส่วนตัวหรือไม่


ตัวอย่าง เช่น การตัดสินใจควบคุมการเคลื่อนย้ายเงินทุนเมื่อปลายปี 2549 (มาตรการกันสำรอง 30%) นั้น ถ้าเกิดกรรมการคนใดนำข้อมูลภายใน ในวันที่ตัดสินใจไปให้ตัวแทนทำการซื้อขายหลักทรัพย์ในจังหวะเวลาที่เหมาะสม (มีคำสั่งขายก่อนที่จะมีการประกาศการตัดสินใจ และช้อนซื้อในวันต่อมาหลังประกาศคำสั่งแล้ว) ก็เป็นการนำข้อมูลภายในไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัว ครอบครัว และพวกพ้อง


ความเป็นอิสระและความโปร่งใสของ กนง.นั้นไม่ควรกล่าวอ้างกันลอย ๆ แต่ ควรมีการเปิดเผยบันทึกการประชุม หรือที่เรียกว่า "minutes" เช่นประเทศที่าทำนโยบายการเงินอย่างโปร่งใสและอิสระซึ่งมีการเผยแพร่บันทึกรายงานการประชุมว่า กรรมการคนไหนพูดอะไร และตัดสินใจอย่างไรบนเหตุผลข้อเท็จจริงอะไร ให้ประชาชนอย่างเราได้รับทราบภายใน 1 เดือนภายหลังการประชุมเสร็จสิ้น อาทิ ธนาคารกลางประเทศออสเตรเลียนั้นเผยแพร่รายงานการประชุมใน 2 สัปดาห์หลังการประชุม ญี่ปุ่นกำหนดเวลา 1 เดือน ธนาคารกลางสหรัฐฯ ภายใน 3 สัปดาห์ และธนาคารกลางอังกฤษภายใน 2 สัปดาห์ หรือแม้แต่บราซิลซึ่งมาตรฐานด้านความโปร่งใสไม่น่าจะสูงมากก็ยังมีการเผยแพร่ภายใน 1 เดือนเลย


สำหรับประเทศไทย หวังว่า คงไม่ต้องมีกระชับพื้นที่ทวงความโปร่งใสให้เป็นที่ขายหน้าประเทศอื่นๆอีก

ทิศทางการเปลี่ยนแปลงการเมืองไทย : ก่อนเมษา-พฤษภาอำมหิต

ที่มา มติชน

โดย เกษียร เตชะพีระ



กาลียุค (ค.ศ.๑๙๑๙)

ควงสว่านเวียนคว้างขึ้นกลางหาว

เหยี่ยวเหินพ้นเสียงกร้าวของคนสั่ง

สรรพสิ่งแตกสลายมลายพัง

ศูนย์กลางไม่อาจรั้งให้ยืนยง

อนาธิปไตยท่องคะนองโลก

ทะเลเลือดชุ่มโชกทะลักส่ง

พิธีกรรมใสพิสุทธิ์ทรุดจมลง

คนชั่วคลั่งคนดีปลงและถอดใจ.....

(ปรับปรุงเรียบเรียงจากคำบรรยายบางตอนของผู้เขียนในโครงการอบรมหลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับกลาง ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 5 มิถุนายนนี้)


เหตุการณ์ขัดแย้งรุนแรงช่วงเมษา-พฤษภาอำมหิตที่ผ่านมา ทำให้ผมนึกถึงบทกวีภาษาอังกฤษบทหนึ่งซึ่งมักถูกยกมาอ้างอิงเวลาเกิดสถานการณ์สงครามหรือการปฏิวัติในโลกตะวันตก มันถูกแต่งขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1919 โดย William Butler Yeats (ค.ศ.1865-1939) กวีและนักแต่งบทละครชาวไอริชชาตินิยมผู้ได้รางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมปี ค.ศ.1923 เพื่อสื่อสะท้อนแง่คิดความรู้สึกต่อการปฏิวัติรัสเซียปี ค.ศ.1917 และสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ค.ศ.1914-1918


บทกวีนั้นชื่อ "The Second Coming" ซึ่งผมขอแปล/แปลงเป็นไทยตามข้อคิดดลใจที่ได้จาก อ.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ว่า "กาลียุค" ("เราจะหลีกเลี่ยงกาลียุคได้อย่างไร?", 20 สิงหาคม 2552) ดังข้างต้น


ก่อนเหตุการณ์เมษา-พฤษภาอำมหิต 2553 ผมเห็นว่ามีแนวโน้มใหญ่ๆ ของทิศทางการเปลี่ยนแปลงการเมืองไทยอยู่ 4 ประการ, 2 ประการแรกปรากฏในช่วงระบอบทักษิณ, ส่วนอีก 2 ประการปรากฏในช่วงความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างสีต่อมา


ผมขอกล่าวถึงแนวโน้ม 2 ประการแรกก่อน


ในช่วงทศวรรษก่อนเกิดระบอบทักษิณ, วิกฤตและปัญหาการเมือง-เศรษฐกิจแห่งยุคของไทยได้แก่ :


ก) วิกฤตรัฐประหาร รสช. พ.ศ.2534 และการลุกฮือพฤษภาประชาธรรม พ.ศ.2535อันเป็นอาการแสดงออกซึ่งปัญหาความบกพร่องไม่พอเพียงของนักการเมืองจากการเลือกตั้งและระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทนหรือที่เรียกว่าปัญหา "นักเลือกตั้ง/ระบอบเลือกตั้งธิปไตย"


ชาวบ้านรู้สึกว่าปัญหาเดือดร้อนเร่งด่วนสำคัญที่สุดของตนแทบไม่เคยถูกหยิบยกขึ้นถกอภิปรายในสภาผู้แทนราษฎรเลย สภากลายเป็นเวทีตีฝีปากประคารมยกมือประท้วงวางท่านักเลงก้าวร้าวถกเถียงหมกมุ่นเรื่องข้อบังคับการประชุมและผลประโยชน์เฉพาะมุ้งกลุ่มก๊วนอะไรก็ไม่รู้ที่แสนน่าเบื่อและไม่เกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเขา


ข) วิกฤตค่าเงินบาทและเศรษฐกิจตกต่ำหรือที่เรียกว่าวิกฤต "ต้มยำกุ้ง" พ.ศ.2540


อันเป็นอาการบ่งชี้ปัญหาผลกระทบของทุนนิยมโลกาภิวัตน์ต่อประเทศไทยว่าการเปิดเสรีต่อเงินทุนชีพจรลงเท้า, กระแสบริโภคนิยมและการเอนเอียงทุ่มเทผลิตเพื่ออุตสาหกรรมส่งออกสุดตัวนั้นเสี่ยงสูง ผันผวนและอันตรายร้ายแรงถึงขั้นล่มจม ไม่แน่ว่าจะนำมาซึ่งความร่ำรวยรุ่งเรืองดังที่ฝันหวานง่ายๆ ถ่ายเดียวเสมอไป


คำตอบแห่งยุคสมัยที่สังคมไทยเสนอต่อปัญหาการเมือง-เศรษฐกิจดังกล่าวตอนนั้น ได้แก่ : -


--> การเมืองภาคประชาชนหรือประชาธิปไตยแบบมีส่วนรวม/ทางตรง เพื่อแก้ไขบำบัดจุดอ่อนข้อบกพร่องของระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทน


--> เศรษฐกิจพอเพียง/ชุมชน เพื่อบรรเทาป้องกันความผันผวน, เสี่ยงสูง, สิ้นเปลือง, สุดโต่งเกินเลยของทุนนิยมโลกาภิวัตน์


ปรากฏว่าหลังขึ้นสู่อำนาจ ระบอบทักษิณได้ข้ามพ้นชุดคำตอบข้างต้น โดยเสนอคำตอบชุดใหม่ผ่านแนวนโยบายและมาตรการปฏิบัติของรัฐบาล ได้แก่ : -


-ฝ่ายบริหารมีอำนาจเข้มแข็งครอบงำเหนือรัฐสภา


-ผลักดันผ่านนโยบายและงบประมาณประชานิยมต่างๆ ส่งผลให้...


1) ประชาธิปไตยแบบตัวแทน สามารถดำเนินนโยบายสนองตอบผลประโยชน์ที่เป็นรูปธรรมแก่ประชาชนผู้เลือกตั้งโดยตรง เช่น การเข้าถึงแหล่งเงินทุน-เงินกู้ของภาครัฐและภาคเอกชน, การพักชำระหนี้, บริการการแพทย์ย่อมเยาถ้วนหน้า, โครงการเอื้ออาทรต่างๆ ฯลฯ


2) เปิดช่องทางโอกาสและฐานทุน-เงินกู้ให้ชาวบ้านที่ถูกผลักไสหรือดึงดูดเข้าสู่กระแสคลื่นเศรษฐกิจตลาดเสรีอันผันผวนเสี่ยงสูง, ผ่านการหันไปประกอบอาชีพปลูกพืชเศรษฐกิจ/รับจ้างชั่วคราว/ประกอบธุรกิจรายย่อยต่างๆ, แล้วมักตกอยู่ในอาการปริ่มน้ำ จวนจะล่มจมมิจมแหล่ ไม่รู้แน่ว่าจะว่ายถึงฝั่งหรือไม่ - ได้อาศัยมันเป็นห่วงชูชีพประคองตัวลอยคออยู่รอดและพอมีหวังที่จะสู้แล้วรวยได้ในเศรษฐกิจทุนนิยมโลกาภิวัตน์ต่อไป


ขณะที่ความถูกต้องยั่งยืนแห่งแนวนโยบายข้างต้นของระบอบทักษิณยังคงเป็นที่โต้แย้งถกเถียงกันได้ไม่ยุติ แต่ก็ประจักษ์ชัดว่ามันจับใจยึดกุมจินตนาการของมวลชนผู้เลือกตั้งที่เป็นคนชั้นกลางระดับล่างจำนวนมากทั้งในเมืองและชนบท จนพวกเขาพร้อมแปรความเรียกร้องต้องการของตนเป็นพลังการเมืองเพื่อปกป้องแนวนโยบายดังกล่าวและรัฐบาลทักษิณทั้งด้วยคะแนนเสียงเลือกตั้งและการเคลื่อนไหวชุมนุม


ช่องทางใหม่ในกรอบของประชาธิปไตยแบบตัวแทน และเศรษฐกิจทุนนิยมโลกาภิวัตน์ ที่ถูกเปิดขึ้นภายใต้การบริหารจัดการกำกับควบคุมโดยระบอบทักษิณ จนก่อเกิดประโยชน์โภคผลและความหวังแก่ประชาชนผู้เลือกตั้ง คือแนวโน้ม 2 ประการแรกของทิศทางการเปลี่ยนแปลงการเมืองไทย


ผมขอกล่าวถึงแนวโน้มใหญ่ 2 ประการต่อไป


ความขัดแย้งการเมืองระหว่างสีจากปี พ.ศ.2548 - ปัจจุบันทำให้เกิดปรากฏการณ์ใหม่ที่น่าสนใจของการก้าวข้ามเส้นแบ่งเดิมในสังคมการเมืองไทยอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน แม้จะยังไม่แน่ใจว่าควรประเมินค่ามันอย่างไรดี กล่าวคือ : -


3) เกิดการก้าวข้ามเส้นแบ่งและเชื่อมต่อโดยตรงระหว่าง


[การเมืองบนท้องถนน <-- --> การเมืองในรัฐสภา]


4) เกิดการก้าวข้ามเส้นแบ่งและคลุมเครือกลืนกลายระหว่าง


[การเมืองบนท้องถนน <-- --> การต่อสู้ด้วยอาวุธ]


เราจะสังเกตเห็นได้ว่ามีการแลกเปลี่ยนบุคลากรหรือเล่นบททับซ้อนกันระหว่างแกนนำ-ผู้ปราศรัยในการชุมนุมประท้วงของมวลชนสีต่างๆ กับ ส.ส. และ ส.ว. มากขึ้นอย่างเด่นชัดถนัดตา


ด้านพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ก็มี ส.ส. สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์, ส.ส. บุญยอด สุขถิ่นไทย, ส.ว. คำนูณ สิทธิสมาน เป็นต้น


และในทางกลับกัน ซีกฝ่ายแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ก็มี ส.ส. จตุพร พรหมพันธุ์, ส.ส. มานิตย์ จิตต์จันทร์กลับ, รองประธานสภาผู้แทนราษฎร พ.อ.ดร.อภิวันท์ วิริยะชัย ฯลฯ เช่นกัน แม้แต่ ส.ส. การุณ โหสกุล และ ส.ส. ร.ต.ท. เชาวริน ลัทธศักดิ์ศิริ แห่งพรรคเพื่อไทยก็ไปขึ้นปราศรัยเวทีชุมนุม นปช.ที่ราชดำเนินและราชประสงค์ด้วยเหมือนกัน


สภาพเดิมที่การเมืองบนท้องถนน - อันเป็นรูปการต่อสู้หลักของการเมืองภาคประชาชนนับจากสมัชชาคนจนเป็นต้นมา - แยกขาดจากการเมืองในรัฐสภา ได้เปลี่ยนไป สมาชิกรัฐสภาทยอยหันไปร่วมต่อสู้ทางการเมืองในวิถีทางนอกสภาบนท้องถนนมากขึ้นเรื่อยๆ


และในทางกลับกัน ปัญหาเดือดร้อนคับข้องใจ ข้อเรียกร้องห่วงใยของการเคลื่อนไหวชุมนุมมวลชนนอกสภาที่แต่ก่อนนี้แทบไม่เคยเป็นประเด็นอภิปรายในเวทีรัฐสภาเลยนั้น ก็กลับกลายเป็นหัวข้อเด่นประเด็นหลักที่ถูก ส.ส. และ ส.ว. หยิบยกมาเป็นญัตติอภิปรายอย่างเข้มข้นจริงจังเผ็ดร้อนในสภา ทำให้มวลชนผู้ต่อสู้เคลื่อนไหวนอกสภาและแนวร่วมหันมาใส่ใจเกาะติดการอภิปรายเรื่องของพวกเขาเองในสภาอย่างเร่าร้อนกระตือรือร้น ตั้งแต่เรื่องการแก้/ไม่แก้รัฐธรรมนูญ, ยุบ/ไม่ยุบสภาเลือกตั้งใหม่, การดำเนินการของรัฐบาลกับการชุมนุมประท้วงของมวลชนฝ่ายค้าน ฯลฯ


เช่น เมื่อเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลอภิสิทธิ์ในสภาผู้แทนราษฎรปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา นักเคลื่อนไหวแรงงานท่านหนึ่งได้ส่งอี-เมลเวียนให้เพื่อนๆ ด้วยข้อความว่า :


"ส.ส.สุนัย (จุลพงศธร - พรรคเพื่อไทย) เริ่มอภิปรายเรื่อง อ.สุธาชัย แล้วครับ"


"และพี่สมยศ พฤกษาเกษมสุข ประเด็นกระบวนการยุติธรรมกำลังเละแล้ว ตามต่อๆ และพูดประเด็นที่ห้ามอ่านหนังสือ และการไม่ให้ไปเยี่ยม มีเพียงญาติที่เข้าได้ มีการเฝ้าเวลาเยี่ยม นอกจากความล้มเหลวของขบวนการยุติธรรม บวกกับมีคนที่ถูกกักขังจำนวนมาก พูดถึงกรรมการสิทธิที่หายหัวไปไหน? และพูดถึงการปิดสื่อ..." (31 พฤษภาคม 2553, 12:18)


การเชื่อมประสานกันโดยตรงระหว่างการเมืองในสภา-นอกสภา ในด้านหนึ่งก็เป็นสัญญาณใหม่ว่าสถาบันรัฐสภาอันเป็นองค์อำนาจนิติบัญญัติของตัวแทนราษฎรไม่โดดเดี่ยวห่างเหินแปลกแยกจากขบวนการเคลื่อนไหวประท้วงของมวลชนดังก่อน


แต่ในทางกลับกัน ก็น่าคิดว่ามันจะนำไปสู่อาการขี้แพ้ในสภาก็เลยไปชวนตีนอกสภา, ดื้อรั้นแข็งขืนปฏิเสธข้อยุติ/แพ้-ชนะของเกมต่อสู้ขัดแย้งทางการเมืองตามกฎกติกาของระบอบรัฐสภาแบบหัวชนฝา, อันจะเป็นการกัดกร่อนบ่อนเบียนลดทอนบทบาทและประสิทธิผลของระบอบรัฐสภาในฐานะสถาบัน-เครื่องมือ-เวที-วิถีทางต่อสู้ทางการเมืองอย่างสันติในกรอบประชาธิปไตยลงหรือไม่อย่างไร


ในอีกแง่หนึ่ง รูปแบบการต่อสู้ชุมนุมประท้วงบนท้องถนนซึ่งเดิมทีเคยถูกใช้ในแนวทางอหิงสา-สันติวิธีโดยสมัชชาคนจนและชุมชนชาวบ้านต่างๆ ก็เริ่มถูกนำไปปรับแปลงใช้โดยขบวนการการเมืองสีต่างๆ ในลักษณะที่มีอาวุธและการใช้ความรุนแรงทำร้ายฝ่ายตรงข้าม/เจ้าหน้าที่รัฐเข้ามาเจือผสมอย่างชัดเจนเป็นประจำและอย่างมีการจัดตั้งเป็นระบบมากยิ่งขึ้น แม้จะยังกำกวมคลุมเครือว่ามันเป็นส่วนหนึ่งของการเคลื่อนไหวชุมนุมที่แกนนำรับรู้-เห็นชอบ-ควบคุม-สั่งการได้จริงหรือไม่? มิไยว่าแกนนำการชุมนุมจะประกาศยึดมั่นการต่อสู้แบบอหิงสา-สันติวิธีไม่ขาดปากก็ตามที


ดังที่อาจารย์ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ นักวิชาการสันติศึกษา ได้ตั้งข้อสังเกตถึงการชุมนุมของขบวนการมวลชนฝ่ายสีหนึ่งว่าเป็น "อารยะขัดขืนแบบแมงป่อง" คือยึดอหิงสา-สันติวิธีอยู่ แต่ก็ใช่ว่าจะปราศจากอาวุธรุนแรงอย่างสิ้นเชิงเลยทีเดียว หากมีอาวุธพอเหมาะอย่างไม้กอล์ฟเงื้อง่าชูหราให้เห็นอยู่ด้วย เพื่อขู่ขวัญและเตรียมพร้อม "ป้องกันตนเอง" ในยามจำเป็น


สำหรับความเหมาะสมของอาวุธและระดับความรุนแรงของฝ่ายผู้ชุมนุม หากอิงตามแนวการวิเคราะห์ของคุณจาตุรนต์ ฉายแสง แล้ว ("จาตุรนต์ ฉายแสง "แดง" อย่าเสียแนวร่วม", ไทยโพสต์, 12 เมษายน 2552; "3 ปี...หลังปฏิวัติ 19 กันยา ประชาชนเสียอะไร", สถาบันศึกษาการพัฒนาประชาธิปไตย, 22 กันยายน 2552) ก็คงจะกำหนดจากศัตรูที่เป็นไปได้ ในกรณีนี้มีเพียงผู้ชุมนุมสีตรงข้ามและตำรวจเท่านั้น (กระบอง, โล่, แก๊สน้ำตา ฯลฯ) แต่ไม่รวมไปถึงทหาร เพราะผู้นำกองทัพยืนกรานว่าการเมืองต้องแก้ด้วยการเมือง ปฏิเสธไม่ยอมใช้ความรุนแรงสลายการชุมนุมให้แก่รัฐบาลตอนนั้น จึงไม่ต้องห่วง


ส่วนขบวนการมวลชนอีกสีหนึ่งได้รับบทเรียนอย่างชัดเจนเป็นรูปธรรมในการชุมนุมใหญ่รอบแรกว่ากองทัพมีท่าทีแนวทางและมาตรการจัดการต่อการชุมนุมฝ่ายตนด้วยมาตรฐานแตกต่างออกไป (M16, อาวุธสงคราม)


ในการชุมนุมใหญ่รอบต่อมา ก็เกิดปรากฏการณ์การชุมนุมแบบ "มีตัวช่วย" พร้อมอาวุธหนักขึ้น (M79...ความหนักเบาของอาวุธถูกกำหนดจากศัตรูของการชุมนุมที่เป็นไปได้อีกเช่นกัน) ซึ่งแกนนำการชุมนุมก็ปัดปฏิเสธว่าไม่ใช่และไม่เกี่ยวข้องกับขบวนการชุมนุมของตน (อาจพิจารณาเปรียบเทียบความเห็นประเด็นนี้ของ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล, "วิเคราะห์สถานการณ์ ในวันคืนสุดท้ายก่อนการนองเลือดใหญ่", ประชาไท, 28 เมษายน 2553; กับ สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ, "มองจากมุม "อ.ยิ้ม-สุธาชัย" แดงเพลี่ยงพล้ำ-พ่ายแพ้-ฟื้นตัวยาก และไม่มีอำมาตย์ใดอยู่ค้ำฟ้า", ประชาชาติธุรกิจ, 10 มิถุนายน 2553)


ขณะที่การป้องกันชีวิตตนเองตามความจำเป็นและสมควรแก่เหตุเป็นทั้งสัญชาตญาณและสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ทุกรูปทุกนามทุกสีที่เข้าใจได้ การปล่อยให้เกิดการก้าวข้ามกลืนกลายเส้นแบ่งแยกระหว่างการเมืองอหิงสา-สันติวิธีบนท้องถนน กับการต่อสู้ด้วยอาวุธ ย่อมทำลายพลังทางศีลธรรมและความชอบธรรมทางการเมืองอันเป็นจุดแข็งที่สุดและหลักการสำคัญที่สุดของแนวทางการต่อสู้แบบอหิงสา-สันติวิธีลง แทนที่จะสามารถอาศัยพื้นภูมิทางศีลธรรมที่เหนือกว่าค่อยๆ สะเทือนใจ-กัดกร่อนใจและเปลี่ยนใจฝ่ายตรงข้ามและมวลชนที่เป็นกลาง


กลับปล่อยให้การต่อสู้ของตัวเองถูกลดฐานะลงไปอยู่ในระดับเดียวกับฝ่ายตรงข้ามที่ถือการแพ้/ชนะทางการเมืองสำคัญกว่าชีวิตของผู้คนไม่ว่าฝ่ายใดสีใด


เกิดบรรยากาศที่แปลกแยกมวลชนที่เป็นกลางหรือเป็นมิตรออกไป เปิดช่องให้จุดแข็งทางศีลธรรม-การเมืองของตนถูกลบเหลี่ยมจนทื่อ และถูกผลักให้เข้าไปต่อสู้ในแนวทางที่ตนอ่อนด้อยกว่าและสูญเสียมากมายอย่างน่าเสียดายและเศร้าใจที่สุด


การก้าวข้ามกลืนกลายอหิงสา-สันติวิธีกับการต่อสู้ด้วยอาวุธในลักษณะนี้หากเกิดขึ้นสืบต่อไปย่อมบ่อนทำลายพลังความชอบธรรมและประสิทธิภาพของรูปแบบการชุมนุมประท้วงโดยสันติอันเป็นอาวุธของผู้ยากไร้อ่อนแอในระบอบเสรีประชาธิปไตยลง จนยากจะหยิบมันมาใช้ได้อีก เท่ากับตัดตีนสินมือกลุ่มพลังที่อ่อนด้อยที่สุดในสังคมการเมืองให้อับจนหนทางลงไป


(ต่อตอนหน้า "ทิศทางการเปลี่ยนแปลงการเมืองไทย : หลังเมษา-พฤษภาอำมหิต")

บทเรียนไอร์แลนด์เหนือ...จากมิคสัญญีสู่สันติภาพ

ที่มา มติชน



ท่ามกลางบรรยากาศการคลำทางสู่ความปรองดอง สมานฉันท์ และสันติภาพในสังคมไทย ทั้งจากปมปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองในส่วนกลาง และปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่แทบมองไม่เห็นแสงสว่าง ยังคงมีตัวอย่างความขัดแย้งขนาดใหญ่ที่จบลงได้ด้วยกระบวนการเจรจาให้ศึกษาและถอดบทเรียน

เมื่อกลางเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา ในการเรียนการสอนหลักสูตรเสริมสร้างสังคมสันติสุข หรือ "4 ส." รุ่นที่ 2 สถาบันพระปกเกล้าได้จัดเวทีพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับสมาชิกสภาไอร์แลนด์เหนือ และอดีตสมาชิกขบวนการไอร์อาร์เอ (Irish Republican Army) ซึ่งเคยมีปัญหาขัดแย้งถึงขั้นเข่นฆ่ากันมาก่อน แต่ปัจจุบันได้หันหน้ามาร่วมมือกันสร้าง "กระบวนการสันติภาพ" อันนำมาสู่การยุติความรุนแรงยืดเยื้อในไอร์แลนด์เหนือได้ในที่สุด

ไอร์แลนด์เหนือตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเกาะไอร์แลนด์ และอยู่ทางฝั่งตะวันตกของอังกฤษ ปัญหาบนเกาะเล็กๆ แห่งนี้ปะทุขึ้นมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 เมื่อชาวอังกฤษและสก็อตแลนด์ซึ่งนับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรแตสแตนท์จำนวนมากได้อพยพเข้าไปตั้งถิ่นฐานอยู่ทางตอนเหนือของเกาะไอร์แลนด์ ทำให้ประชากรดั้งเดิมซึ่งเป็นชาวไอริชนับถือศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิกรู้สึกว่าถูกขโมยดินแดนไป และเริ่มเคลื่อนไหวต่อต้านเพื่อเรียกร้องอิสระในการปกครองตนเอง

กระทั่งปี ค.ศ.1921 อังกฤษและไอร์แลนด์ได้ลงนามในสนธิสัญญา Government of Ireland Act โดยอังกฤษยินยอมให้ 26 แคว้นบนเกาะไอร์แลนด์แยกตัวเป็นรัฐอิสระไอร์แลนด์ ขณะที่อีก 6 แคว้นทางตอนเหนือของเกาะยังคงเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักรต่อไป

การแบ่งประเทศครั้งนั้นทำให้ไอร์แลนด์เหนือซึ่งมีประชากรโปรแตสแตนท์ประมาณร้อยละ 60 และประชากรคาทอลิกราวร้อยละ 40 กลายเป็นพื้นที่ขัดแย้งรุนแรงระหว่างกลุ่ม Unionist ซึ่งเป็นชาวโปรแตสแตนท์ที่ต้องการเป็นส่วนหนึ่งของอังกฤษ กับกลุ่ม Nationalist ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคาทอลิก และต้องการแยกตัวเป็นอิสระจากอังกฤษเพื่อไปผนวกกับสาธารณรัฐไอร์แลนด์

กลุ่ม Unionist เป็นเสียงส่วนใหญ่ในไอร์แลนด์เหนือ กุมอำนาจทั้งการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมมานานเกือบ 50 ปี กระทั่งปี ค.ศ.1968 ได้เกิดการเดินขบวนประท้วงเรียกร้องความเท่าเทียมทางสังคม และยุติการกดขี่ชาวคาทอลิก

การประท้วงขยายตัวเป็นความรุนแรงถึงขั้นปะทะกันระหว่างกองกำลังประชาชนทั้งสองฝ่าย หรือที่รู้จักกันในชื่อ The Troubles กินเวลานานถึง 30 ปี ก่อให้เกิดความสูญเสียกว่า 3,600 ชีวิต บาดเจ็บทั้งร่างกายและจิตใจหลายหมื่นคน ทั้งยังมีผู้ถูกจับกุม 36,000 คน

แต่แล้วสิ่งที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นได้ก็เริ่มก่อตัวขึ้น เมื่อมีกระบวนการเจรจาสันติภาพระหว่างไออาร์เอกับรัฐบาลอังกฤษ รวมทั้งกลุ่มที่ไม่มีอำนาจรัฐ (Non State Holder) ในปี ค.ศ.1994 นำไปสู่สัญญาณที่ดีของการเริ่มหยุดยิงในบางช่วง

กระทั่งปี ค.ศ.1998 ทั้งสองฝ่ายสามารถบรรลุข้อตกลงสันติภาพจากความพยายามแก้ไขปัญหาทางการเมืองด้วยสันติวิธี โดยให้อังกฤษถ่ายโอนอำนาจการปกครองให้แก่คณะผู้บริหารและสภาของไอร์แลนด์เหนือ ในลักษณะของการแบ่งสรรอำนาจระหว่างพรรคการเมืองหลักของทั้งสองฝ่าย

ผลจากข้อตกลงสันติภาพ ทำให้วันนี้คนที่เคยอยู่คนละขั้วคนละฝ่ายกัน และเคยไล่เข่นฆ่ากัน กลับมานั่งอยู่บนเวทีเดียวกันได้!

"ฟัง"เพื่อสันติภาพ

วิทยากรจากไอร์แลนด์เหนือที่มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ประกอบด้วย Alex Maskey สมาชิกสภาไอร์แลนด์เหนือจากเขตเบลฟาสต์ใต้ สังกัดพรรค Sinn Fein มีอุดมการณ์แยกดินแดนจากอังกฤษเพื่อตั้งรัฐอิสระ, Jimmy Spratt สมาชิกสภาไอร์แลนด์เหนือจากเขตเบลฟาสต์ใต้ สังกัดพรรค Democratic Unionist มีจุดยืนต้องการอยู่กับอังกฤษต่อไป, Michael Culbert อดีตสมาชิกขบวนการไออาร์เอ และนักโทษการเมือง ซึ่งวันนี้เป็นผู้อำนวยการ Coiste องค์กรที่ดูแลนักโทษการเมืองของไออาร์เอ และ Ian White ผู้อำนวยการศูนย์ Glencree ซึ่งเป็นเอ็นจีโอไอร์แลนด์เหนือ ทำหน้าที่สร้างพื้นที่ปลอดภัยให้ทุกฝ่ายสามารถพูดคุยกันได้

ความน่าทึ่งก็คือ คนเหล่านี้มานั่งบนเวทีเดียวกัน และพูดกันเรื่องสันติภาพ!

Ian White ถอดประสบการณ์ให้ฟังว่า ปัจจัยสำคัญของกระบวนการสันติภาพคือทุกคนต้องมีส่วนร่วม เพราะทุกฝ่ายล้วนมีคุณูปการต่อกระบวนการสันติภาพ แต่การสร้างกระบวนการสันติภาพนั้น เขาใช้คำว่า "Easy to say but difficult to do" หรือ “พูดง่ายแต่ทำยาก” เพราะมักจะมีคำถามว่าไปคุยกับคนที่ฆ่าเราได้อย่างไร

"ความยากคือการดึงคนที่ไม่ใช่เพื่อนเข้าสู่กระบวนการสันติภาพ" เขาบอก และว่า การส่งกำลังทหารเข้าไปแก้ปัญหาความขัดแย้งไม่ใช่คำตอบอย่างแน่นอน เพราะเป็นเรื่องที่พิสูจน์แล้วจากหลายๆ พื้นที่ ยิ่งไปกว่านั้น รากเหง้าของปัญหาที่ไอร์แลนด์เหนือคือความไม่เท่าเทียม ความพยายามปลูกฝังให้ยอมรับอัตลักษณ์ของอีกฝ่าย ฉะนั้นทางแก้จึงไม่ใช่อาวุธปืน

Alex Maskey เสริมว่า เคล็ดลับความสำเร็จของกระบวนการสันติภาพ คือประชาชนต้องรู้ว่ากำลังเจรจาเรื่องอะไร มีความเข้าใจ และต้องเป็นรูปธรรม ผลของกระบวนการต้องทำให้ชีวิตของประชาชนทุกฝ่ายดีขึ้น

ขณะที่ Jimmy Spratt อดีตตำรวจ ให้ทัศนะว่า กระบวนการสันติภาพใช้เวลายาวนาน ฉะนั้นแต่ละฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นพรรคการเมืองหรือประชาชนทั่วไปต้องแสดงให้เห็นว่าต้องการสันติภาพจริงๆ ก่อน การจะแสวงหาทางออกต้องเปลี่ยนวิธีคิด ต้องรู้จักรับฟังความเห็นของคนอื่นที่ไม่เหมือนกับเรา ต้องฟังว่าคนอื่นมีปัญหาอะไรบ้าง จะได้ช่วยกันแก้ แม้ปัญหาที่เจอจะไม่เหมือนกับเราก็ตาม

"การแก้ปัญหาไม่จำเป็นต้องใช้อาวุธ แต่ใช้จิตใจ การดึงทุกฝ่ายมานั่งด้วยกันเป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะทำให้เกิดการถ่วงดุลและได้รับการยอมรับในที่สุด"

ในฐานะอดีตตำรวจ เขาบอกว่า "จุดเปลี่ยน" ในทัศนะของเขาเอง คือการที่ได้ไปงานศพแล้วเห็นน้ำตาของผู้สูญเสีย ไม่ว่าจะฝ่ายไหนทุกคนก็ร้องไห้เหมือนกัน ความสูญเสียร่วมกันทำให้ต้องเข้าสู่กระบวนการสันติภาพ ขณะที่กฎหมายควบคุมสถานการณ์ฉุกเฉินแก้ไขได้ชั่วคราว แต่ไม่ยั่งยืน

Michael Culbert อดีตสมาชิกไออาร์เอ ซึ่งเคยติดคุกนานถึง 16 ปี บอกว่า ในอดีตรัฐบาลอังกฤษไม่เคยรู้เลยว่าอะไรทำให้ ไออาร์เอ ต้องต่อสู้และต้องการประกาศเอกราชจากอังกฤษ หนำซ้ำอังกฤษยังแก้ปัญหาด้วยการสนับสนุนให้คนไอริชบางกลุ่มมีอำนาจปกครอง ประชาชนส่วนที่เหลือจึงต้องต่อสู้

"อังกฤษมองไม่ออกว่าอะไรเป็นปัญหาหลัก อะไรเป็นปัญหารอง อังกฤษมองแบบผู้ปกครอง สร้างโรงเรียนให้ สร้างบ้านจัดสรรให้ แต่ไม่รู้ว่าอะไรที่ประชาชนต้องการอย่างแท้จริง เมื่อคนโดนกดขี่ ก็ต้องหยิบอาวุธขึ้นต่อสู้ เป็นความคิดทั่วๆ ไปที่เกิดขึ้นได้ในทุกๆ ประเทศ ฉะนั้นการใช้กำลังทหารตำรวจเข้าแก้ปัญหา จะทำให้ปัญหายิ่งหนักและบานปลาย”

อดีตสมาชิกไออาร์เอ เสนอว่า แนวทางแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนคือต้องสร้างเงื่อนไขที่เอื้อต่อการเจรจา และเอื้อต่อกระบวนการสร้างสันติภาพด้วย สิ่งสำคัญคือทุกฝ่ายต้องฟังกันและกัน...

หลายประโยคจากวิทยากรที่สะท้อนปัญหาความขัดแย้ง บางมุมก็ไม่ต่างอะไรกับที่ประเทศไทยกำลังเผชิญ ไม่ว่าจะในบริบทของม็อบเสื้อแดง หรือสามจังหวัดภาคใต้ก็ตาม แต่ความต่างก็คือประเทศอื่นเขาเริ่มสร้างกระบวนการสันติภาพกันแล้ว หลายชาตินับไปถึงสิบแล้วด้วยซ้ำ...

เมื่อไหร่ไทยจะเริ่มนับหนึ่ง?!?

( หมายเหตุ รายงานชิ้นนี้ ผลิตโดย ทีมข่าวอิศรา โต๊ะข่าวภาคใต้ สถาบันอิศรา )

เปิดจม.ตัวอักษรแดง "บก.ลายจุด" เขียนจากที่คุมขัง ชี้หากจะห้ามพูด พิมพ์ เขียน คิด ก็ต้องห้ามหายใจ

ที่มา มติชน







หลังจากนายสมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ "บก.ลายจุด" อดีตประธานมูลนิธิกระจกเงา และแกนนำนปช.รุ่น 2 ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าจับกุมข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ระหว่างเดินทางไปรณรงค์โครงการ "วันอาทิตย์สีแดง" เมื่อวันที่ 27 มิถุนายนที่ผ่านมา และถูกนำตัวไปควบคุมที่กองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดน ภาค 1 จ.ปทุมธานี


นายสมบัติก็ได้เขียนข้อความสั้น ๆ ด้วยตัวอักษรสีแดง ผ่านกระดาษโน้ตหลายแผ่น เพื่อทำการสื่อสารกับมิตรสหายทางเฟซบุ๊กของเขา โดยข้อความสั้น ๆ เหล่านั้นมีเนื้อหาที่น่าสนใจ เช่น

ฉันหยิบเสื้อแดงตัวเก่าที่ยังไม่ได้ซักมาใส่

เพื่อต้อนรับเสื้อแดงที่มาเยี่ยม

มันคงไม่สกปรกไปกว่ามือที่เปื้อนเลือดของใครบางคนที่ล้างไม่มีทางออก

เมื่อผู้ใหญ่พูด ฉันฟัง แต่ฉันไม่เชื่อ

เมื่อฉันพูด ผู้ใหญ่ไม่ฟัง เขาไม่มีโอกาสที่จะเชื่อ

ยุงกินเลือดเราแต่น้อยเพื่อมันดำรงอยู่

กระสุนปืนกินเลือดเราหมดร่างเพื่ออำนาจ

ผู้สั่งการดำรงอยู่

ห้ามฉันพูด ฉันก็จะพิมพ์

ห้ามฉันพิมพ์ ฉันก็จะเขียน

ห้ามฉันเขียน ฉันก็จะยังคิด

หากจะห้ามฉันคิด ก็ต้องห้ามลมหายใจฉัน

พระราชทานอภัยโทษ "สุวิชา ท่าค้อ"มือโพสท์หมิ่นเบื้องสูง

ที่มา มติชน


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน นายกอบเกียรติ กสิวิวัฒน์ รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์ เปิดเผยว่า นาย ผู้ต้องขังในคดีหมิ่นสถาบันเบื้องสูง ด้วยการโพสท์ข้อความลงในอินเตอร์เน็ต ถูกศาลอาญาตัดสินลงโทษจำคุก 10 ปี ได้ทูลเกล้าฯถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ โดยในวันที่ 28 มิถุนายนที่ผ่านมา ได้มีการพระราชทานอภัยโทษให้กับนายสุวิชา เรือนจำกลางคลองเปรมจึงปล่อยตัวนายสุวิชาเป็นอิสระ


อนึ่ง นายสุวิชา ท่าค้อ อายุ 34 ปี ทำงานตำแหน่งวิศวกรเครื่องจักรของบริษัทขุดเจาะน้ำมันแห่งหนึ่ง ถูกเจ้าหน้าที่จากกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) และฝ่ายสืบสวน สำนักคดีอาชญากรรมระหว่างประเทศ จับกุมตัวที่อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2552 และถูกศาลตัดสินจำคุกวันที่ 3 เมษายน 2552 ในความผิด 2 กระทง รวม 20 ปี แต่เนื่องจากรับสารภาพจึงให้ลดโทษเหลือ 10 ปี

นายกฯ รับโทรศัพท์เจอหนุ่มขอนแก่นถาม"ทำไมไม่ยุบสภา" รมว.คลังรับสายถูกด่า2มาตรฐาน จ๋อยโดนไล่ให้ออกไป

ที่มา มติชน

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

กรณ์ จาติกวณิช

นายกฯ รับโทรศัพท์เจอหนุ่มขอนแก่นถาม"ทำไมไม่ยุบสภา" รมว.คลังรับสายถูกด่า2มาตรฐาน จ๋อยโดนไล่ให้ออกไป

นายกฯ รับโทรศัพท์จากชาวบ้านวันที่2 โครงการ"6วัน63ล้านความคิด" เจอหนุ่มขอนแก่นถาม"ทำไมไม่ยุบสภา" "รมว.คลัง"รับสายร้องเรียนถูกด่า 2 มาตรฐาน จ๋อยโดนไล่ให้ออกไป

นายกฯ รับโทรศัพท์เอง เจอหนุ่มขอนแก่นถาม"ทำไมไม่ยุบสภา"

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 2 กรกฏาคม นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ไปร่วมรับโทรศัพท์ในโครงการ "6 วัน 63 ล้านความคิด ร่วมเดินหน้าปฏิรูปประเทศไทย" ที่จัดขึ้นเป็นวันที่สอง ภายหลังวันแรกเกิดเหตุขัดข้อง จนสายหลุดถึง 3 ครั้ง แต่ครั้งนี้นายอภิสิทธิ์ได้รับสายทั้งหมด 4 สาย มีทั้งขอให้เพิ่มจุดค้าขายย่านบางแค ร้องเรียนลูกถูกไล่ออกจากโรงเรียน ขอให้ปรับปรุงรพ.ราชวิถี โดยมีสายหนึ่งเสียงถามว่าเมื่อไรถึงจะยุบสภา นายอภิสิทธิ์ตอบว่า “ในปีหน้าก็คงมีการเลือกตั้ง” ปลายสายถามย้ำอีกครั้งว่า ทำไมนายกฯไม่ยุบสภาสักที นายอภิสิทธิ์จึงกล่าวว่า “ก็ต้องช่วยกันทำให้บ้านเมืองสงบสุขแหล่ะครับ”


จากนั้นนายอภิสิทธิ์ให้สัมภาษณ์สดกับผู้สื่อข่าวสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ตอนหนึ่งว่า โครงการดังกล่าวคงไม่สามารถฟังเสียงสะท้อนจากคนทั้ง 63 ล้านคนได้ แต่ถือว่าทุกสายเป็นตัวแทนของ 63 ล้านความคิด สิ่งที่เราคาดหวังคือเห็นแนวโน้มว่าประชาชนคิดอะไร ซึ่งวันแรกมีกว่า 5 พันสาย วันที่สองกว่า 4 พันสาย ส่วนใหญ่ร้องเรียนเรื่องอาชีพ รายได้ เศรษฐกิจครัวเรือน รองลงมาเรื่องการเมือง โดยมีอยู่ประมาณ 10% จากสายที่เข้ามาทั้งหมด โดยสายหนึ่งชื่อนายสมโภช จากจ.ขอนแก่นโทร.มาถามว่า จะเลือกตั้งเมื่อไร ทำไมไม่ยุบสภา


"ผมก็เสนอมุมมองไปว่า ถ้าเลือกตั้งแล้วปัญหาบางอย่างยังไม่ได้แก้ไข หรือสถานการณ์ยังไม่สงบจริง ปัญหาก็จะยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น เขาก็บอกว่าไม่เห็นด้วย น่าจะลองเลือกตั้งดู สุดท้ายผมก็บอกว่า ความจริงรัฐบาลไม่ได้ปิดกั้นการยุบสภาหรือเลือกตั้งเร็ว แต่อยากเห็นบรรยากาศบ้านเมืองปรองดองมากกว่านี้ คุณสมโภชก็เชื่อว่าคนส่วนใหญ่อยากเห็นความสงบ ดังนั้นถ้าทุกฝ่ายมาช่วยกันทำให้บ้านเมืองสงบสักระยะ การเลือกตั้งก็จะเกิดขึ้นได้ ถ้าทุกคนสะท้อนความเห็นออกมา โดยรู้สึกว่าเป็นเจ้าของประเทศ ไม่ใช่แค่การหย่อนบัตร หรือชุมนุมประท้วง" นายอภิสิทธิ์ กล่าว


เมื่อถามว่า พูดได้ชัดเจนหรือไม่จะไม่มีเลือกตั้งในปีนี้ นายกฯกล่าวว่า ตนไม่ตั้งใจยุบสภาก่อนสิ้นปี เพราะคิดว่าถ้าเรามีเสถียรภาพผลักดันแผนระยะหนึ่ง อย่างน้อยจนถึงสิ้นปี เพื่อปูทางให้การปรองดอง แต่จะให้หลักประกัน 100% เลยคงไม่ได้ เพราะเราอยู่ในระบบรัฐสภา การยุบสภาก็อาจเกิดขึ้นได้ เมื่อถามถึงข่าวลอบทำร้าย นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ขณะนี้เจ้าหน้าที่ทุกคนดูแลความปลอดภัยเต็มที่ ส่วนเรื่องการต่ออายุ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน รัฐบาลจะหาความพอดี ซึ่งแนวโน้มโดยรวมก็เป็นไปในทางที่ดีขึ้น เชื่อว่าจะทยอยยกเลิกบางส่วนได้ตั้งแต่วันที่ 7 ก.ค.เป็นต้นไป ส่วนกลุ่มคนที่อาจเกี่ยวข้องกับการก่อการร้าย หรือก่อวินาศกรรมก็ยังมีอยู่ ก็เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ติดตามอย่างใกล้ชิด

"รมว.คลัง"รับสายร้องเรียนถูกด่า 2 มาตรฐาน จ๋อยโดนไล่ให้ออกไป

ก่อนหน้านี้ ที่ทำเนียบรัฐบาล ตั้งแต่เวลา 08.00 น. ยังคงมีประชาชนโทรศัพท์เข้ามาแสดงความคิดเห็นในโครงการ "6 วัน 63 ล้านความคิดร่วมเดินหน้าปฏิรูประเทศไทย" อย่างต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 โดยในเวลา 09.30 น. นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้เดินทางมาทำหน้าที่อาสาสมัครรับโทรศัพท์จากประชาชน ประมาณ 20 นาที ซึ่งปรากฏว่าในระหว่างนั้น ได้มีสายจากผู้หญิงรายหนึ่ง ซึ่งไม่ยอมบอกชื่อและจังหวัด ต่อว่านายกรณ์ว่า "รัฐบาล 2 มาตรฐาน ถ้าออกไปได้ก็ออกไปเลย" แล้ววางหูโทรศัพท์ทันที ซึ่งนายกรณ์ถึงกับหน้าเจื่อนลงทันที และได้หันมาพูดกับผู้สื่อข่าวว่า "ความคิดเห็นก็มีหลากหลาย" นอกจากนี้ยังมีประชาชนร้องเรียนเรื่องของแพง ค่าครองชีพต่ำ ซึ่งบางคนถึงกับพูดว่า "รัฐบาลชุดนี้รวยอย่างเดียว ซึ่งไม่ถูก ขอให้ไปบอกนายกฯ ด้วยว่าพวกนายเนวินมีเป็นพันๆล้าน แต่ชาวบ้านไม่มีเงินจะกิน"


นายกรณ์ ให้สัมภาษณ์ว่า เท่าที่รับฟังความเห็นของประชาชน มีประเด็นการเมืองเพียงสายเดียวที่พูดตรงๆ ว่าขอให้ยุบสภา นอกนั้นจะร้องเรียนเรื่องใกล้ตัว ทั้งค่าครองชีพ หนี้สิน รายได้ ดังนั้นน้ำหนักที่รัฐบาลจะต้องให้ความสำคัญในการเข้าไปแก้ปัญหาคือเรื่องปากท้องของประชาชนมากกว่าเรื่องการเมือง

จดหมายจากคุก

ที่มา ข่าวสด


คอลัมน์ ทิ้งหมัดเข้ามุม

คาดเชือก คาถาพัน



สดับตรับฟังมาจากเหล่านักสังเกตการณ์ทางการเมืองระดับขอบเวที ซึ่งมีประสบ การณ์ผ่านมาหลายยุค บ้างก็ว่า เส้นทางที่อภิสิทธิ์-สุเทพกำลังเดินอยู่ในเวลานี้

คือเส้นทางเดียวกันกับรัฐบาลธานินทร์ กรัยวิเชียร หลังวันสังหารหมู่นกพิราบ 6 ตุลาฯ 2519

คือ ต้องคอยลบล้างรอย เลือดและกลบเกลื่อนหลุมศพ

ด้วยการใช้อำนาจพิเศษ ที่สามารถเหวี่ยงแหได้กว้างไกล

แต่สุดท้ายเพราะความอึดอัดคับข้องใจของคนทั้งบ้านทั้งเมือง จะทำให้อำนาจนั้นสั่นคลอนจนพังทลาย!

บ้างก็ชี้ว่า เป็นเส้นทางเดียวกับรัฐบาลทักษิณ ที่ใช้อำนาจอย่างฟุ่มเฟือย มันมือ

เลยสำลักอำนาจจนหมดสภาพไปเองในที่สุด

กล่าวสำหรับนายกฯ อภิสิทธิ์ อายุยังน้อยนัก อาจจะยังไม่ผ่านร้อนหนาวมาเพียงพอ พึงศึกษารัฐบาลที่ใช้อำนาจบ้าระห่ำรุ่นพี่ๆ เป็นบทเรียนเอาไว้ เพื่อเป็นประโยชน์ต่ออนาคตของตนเอง

เรื่องล่าสุดที่ไม่น่าจะเกิด แต่ก็เกิดขึ้นจนได้ คือการไปคุมขัง บก.ลายจุด ของเหล่าคนรักเสรีภาพในโลกไซเบอร์

หรือนักกิจกรรมสังคม ที่มีประวัติการทำงานมายาวนาน ในหมู่นักคิดทางสังคม

"สมบัติ บุญงามอนงค์" ไม่ได้มีอายุอานามมากมาย แต่ชื่อนี้นักเคลื่อนไหวทางสังคมรู้จักก่อนชื่ออภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ด้วยซ้ำ!!

เพราะทำงานเอ็นจีโอ ทำงานด้านสันติวิธีมานานแล้ว

แค่คนคิดต่างกับอำนาจรัฐจริงๆ ก็โดนจับไปขัง

จดหมายที่เขียนด้วยลายมือจากค่ายตชด.คลอง 5 มีถ้อยความที่กินใจ

"เบื้องบนมีเพดาน เบื้องล่างมีพื้นปูน เบื้องหน้ามีลวดหนาม เบื้องลึกยังมีความคิดจักยังต่อสู้"

"ห้ามฉันพูด ฉันก็จะพิมพ์ ห้ามฉันพิมพ์ ฉันก็จะเขียน ห้ามฉันเขียน ฉันก็จะยังคิด หากจะห้าม ฉันคิด ก็ต้องห้ามลมหาย ใจฉัน"

แต่ฉบับนี้น่าสนใจที่สุด!

"ขอบคุณอภิสิทธิ์ที่พาฉันมาปรองดองที่ค่ายตำรวจตระเวนชายแดน วันหนึ่งคุณคงได้มีโอกาสมานอนปรองดองที่นี่บ้าง"

"ฉันจะรอ"

ขอคืน"เขาแพง"

ที่มา ข่าวสด


คอลัมน์ เหล็กใน




ไปๆ มาๆ เรื่องที่ดินเขาแพง จ.สุราษฎร์ธานี ที่ฝ่ายค้านเปิดประเด็นพุ่งเป้าไปยังการถือครองที่ดิน 22 ไร่เศษของนายแทน เทือกสุบรรณ ลูกชายรองนายกฯ สุเทพ เทือกสุบรรณ ในการอภิปรายไม่ไว้วางที่ผ่านมา

แล้วยังมีการเปิดโปงขยายผลต่อไปถึง นายนิพนธ์ พร้อมพันธุ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งถือครองที่ดิน 10 ไร่เศษ ติดแปลงของนายแทน

ท่าทางจะไม่จบง่ายๆ

ฝ่ายค้านกล่าวหาว่าที่ดินของนายแทนและนายนิพนธ์มีประวัติที่มาไม่ถูกต้อง

ถึงอ้างว่าปัจจุบันมีน.ส.3ก. ถูกต้อง

แต่พอตรวจสอบย้อนหลังกลับไปเมื่อปี 2544 ก่อนคนขายจะนำที่ดินมาขายต่อให้ทั้ง 2 คน

กลับไม่พบส.ค.1 ซึ่งเป็นต้นขั้วนำไปออกน.ส.3ก.

เมื่อไม่มีส.ค.1 แล้วออกน.ส.3ก. ได้อย่างไร?

สอบถามเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสุราษฎร์ธานี สาขาเกาะสมุย บอกว่าส่งหลักฐานต้นขั้วส.ค.1 ให้นายนิพนธ์แล้ว

แต่ไม่ได้รับหรืออย่างไรไม่ทราบได้

นายนิพนธ์ เลยไม่รู้ว่าที่ดินตัวเองมีส.ค.1 หรือไม่

สุดท้ายเรื่องเลยออกมาแบบทื่อๆ

หัวหน้าสำนักงานที่ดินจังหวัดสุราษฎร์ธานี สาขาเกาะสมุย อ้างว่าส.ค.1 ที่ดินของนายนิพนธ์ ก่อนนำไปออกน.ส.3ก. และออกเป็นโฉนด

หายไปจากสารบบสำนักงานที่ดิน

ซึ่งยังไม่รู้ว่าหายจริงหรือหายหลอก เพราะอยู่ระหว่างการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยอธิบดีกรมที่ดิน

อย่างไรก็ตาม เรื่องทั้งหมด นายนิพนธ์เคยให้สัมภาษณ์ว่าหากผลตรวจสอบออกมาว่าตนเองครอบครองที่ดินไม่ถูกต้องจริง

ก็พร้อมคืนที่ดินให้ทางการ

ฝ่ายค้านเห็นนายนิพนธ์เริ่มใจฝ่อก็เดินเกมรุกหนัก ไปยื่นหนังสือร้องเรียนกับหลายหน่วยงานรวมถึงองค์กรตรวจสอบอิสระ

กะว่าจะกดดันให้นายนิพนธ์คืนที่ดินให้ได้

ตรงจุดนี้คนที่รู้จักนิสัยนายนิพนธ์ดี เชื่อว่านายนิพนธ์ไม่มีปัญหาหากต้องคืนที่ดิน

ไม่ใช่เพราะร่ำรวยเป็นเศรษฐีอยู่แล้วหรือว่าใจเสาะ แต่เพราะไม่อยากให้มีรอยด่างในชีวิตทางการเมือง

ทีนี้ปัญหาติดอยู่ตรงที่ถึงนายนิพนธ์อยากจะคืนที่ดิน

แต่มีคนในพรรคประชาธิปัตย์ไม่อยากให้ทำอย่างนั้น

เพราะจะกลายเป็นมาตรฐานให้คนอื่นในพรรคหรือเกี่ยวข้องกับพรรคต้องทำตาม

นายนิพนธ์อึดอัดขนาดไหน

ก็เลยต้องเฉยไว้ก่อน

มะเขือเทศพูด

ที่มา ข่าวสด


คอลัมน์ ชกไม่มีมุม

วงค์ ตาวัน



ใครที่ได้อ่านข้อมูลของ พล.ต.ต.ศักดา เตชะเกรียงไกร รองผบช.ภาค 4 รักษาการผบก.ขอนแก่น พล.ต.ต.ปราโมทย์ เอี่ยมทัศน์ ผบก.มุกดาหาร พล.ต.ต.เดชา ชายบุญชม ผบก.อุดรธานี พล.ต.ต.สมพงษ์ ทองวีระประเสริฐ ผบก.อุบลราชธานี ที่เข้าให้การต่อคณะกรรมการติดตามสถานการณ์บ้านเมืองวุฒิสภา

ถึงเหตุการณ์วันเสื้อแดงเผาสถานที่ราชการใน 4 จังหวัดดังกล่าวแล้ว

น่าจะได้คำตอบใน 2 ประเด็น

คือ เนื้อแท้ของผู้ชุมนุม และข้อกล่าวหาตำรวจมะเขือเทศ

การเผาที่อีสาน เกิดขึ้นในวันที่ 19 พ.ค. หลังจากรัฐบาลสั่งทหารเคลื่อนทัพรถหุ้มเกราะและหน่วยรบเข้าสู่ราชประสงค์

นายพลทั้งสี่ยืนยันว่า ไม่มีการแจ้งข่าวจากศอฉ.มาให้ทราบก่อน

มิหนำซ้ำ ภาพข่าววันที่ 18 พ.ค. ซึ่งตัวแทนวุฒิสภาเข้าเจรจากับแกนนำม็อบราชประสงค์ จนได้ข้อสรุปที่น่าจะทำให้ยุติการชุมนุมได้ โดยไม่ต้องเสียเลือดเนื้อ!

ทำให้คนทั่วประเทศสบายใจและเชื่อว่าคงจบแล้วด้วยดี

ใครจะไปนึกว่าหาทางลงได้ขนาดนั้นแล้ว

แต่พอเช้ามืด รัฐบาลไม่ยอมฟัง กลับรีบสั่งทหารเข้าจัดการม็อบ!?!

พอปราบในกทม. ทำให้แดงต่างจังหวัดลุกฮือ ฝ่ายตำรวจก็ระดมกำลังมารับมือแต่ไม่พอ

เพราะกำลังส่วนใหญ่เข้าไปเสริมในกทม.นับเดือนแล้ว

นอกจากกำลังน้อยกว่าแล้ว ตำรวจยังมีนโยบายไม่ใช้ความรุนแรง เพราะม็อบคือคนในพื้นที่ ไม่ใช่ผู้ก่อการร้าย ไม่ใช่ขบวนการล้มสถาบัน

นายตำรวจทั้งสี่ย้ำว่า ตำรวจไม่ใช่มะเขือเทศ แต่ไม่สามารถยิงประชาชนได้

เพราะเสร็จจากนี้ ตำรวจยังต้องทำงานสัมผัสกับประชาชนต่อไป

จึงมีข้อเสนอว่า จะต้องตั้งหน่วยปราบจลาจลเป็นการเฉพาะไปเลย อย่าเอาตำรวจจากโรงพักไปเกี่ยว เพราะตำรวจโรงพักกับชาวบ้านต้องเห็นหน้ากันทุกวัน

อีกทั้งตำรวจยังรู้ที่มาของผู้ชุมนุมว่า ส่วนใหญ่ไม่พอใจปัญหา 2 มาตรฐาน ต้องการประชาธิปไตย ทุกคนเคารพรักสถาบัน

ยิ่งไม่สามารถใช้ความรุนแรงได้

ส่วนสถานการณ์ในภายหน้า นายตำรวจเหล่านี้เห็นว่า ถ้าปากปรองดอง แต่ความจริงยังไล่ล่า ปัญหาไม่จบ

ฟังปากคำของ 4 นายพลนี้แล้ว ไม่รู้สึกว่าจะต้องปฏิรูปตำรวจเลย

เพราะตำรวจเห็นคุณค่าชีวิตประชาชนมากกว่านักการเมือง!

กก.สิทธิฯล้มเหลว

ที่มา ข่าวสด


คอลัมน์ บทบรรณาธิการ



ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากสังคมมาตั้งแต่ ไม่แสดงท่าทีอะไรเมื่อรัฐบาลสั่งเคลื่อนกำลังทหารจำนวนนับหมื่นคน เพื่อเตรียมการสลายการชุมนุมของประชาชน

มาจนกระทั่งถึงการวางเฉยต่อกรณีที่มีผู้เสียชีวิตจากการสลายการชุมนุมและการปะทะกันถึง 90 ราย ในขณะที่มีผู้ได้รับบาดเจ็บอีกกว่า 2,000 คน

ล่าสุด คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติก็ถูกทวงถามถึงความตระหนักในภาระหน้าที่ของตนเอง ต่อกรณีที่รัฐบาลใช้อำนาจตามพระราชกำหนดฉุกเฉินจับกุมคุมขังประชาชนโดยไม่มีการตั้งข้อหา

ไม่ว่าจะเป็นกรณีของนายสุธาชัย ยิ้มประเสริฐ นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข

มาจนถึงกรณีของนายสมบัติ บุญงามอนงค์



เพราะไม่ว่าจะโดยภาระหน้าที่ หรือคุณสมบัติส่วนตัว ผู้ที่เข้ามาดำรงตำแหน่งกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติก็จะต้องมีตระหนักสำนึกในเรื่องสิทธิมนุษยชนสูงกว่าผู้อื่น

การไม่แสดงออกถึงความรับผิดชอบในหน้าที่ จนกระทั่งต้องมีประชาชนลุกขึ้นมาทวงถามก็ดี หรือมีองค์กรสิทธิมนุษยชนต่างประเทศต้องยื่นมือเข้ามาทำหน้าที่แทนก็ดี

มิได้เป็นเพียงความล้มเหลวส่วนบุคคลของกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติแต่ละคนเท่านั้น แต่ยังเป็นความล้มเหลวขององค์กรและระบบ

ซึ่งท้ายที่สุดจะทำให้ประชาชนหมดความเชื่อถือศรัทธาในหลักการสิทธิมนุษยชนไปด้วย



ถ้าไม่มีความพร้อมหรือไม่มีความกล้าหาญเพียงพอในการปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลัง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติชุดปัจจุบันก็น่าจะลาออก เพื่อเปิดทางให้ผู้มีความพร้อมหรือความกล้าหาญมากกว่าเข้ามาปฏิบัติหน้าที่แทน

ยิ่งในสถานการณ์ปัจจุบันที่ประชาชนขาดที่พึ่ง สังคมเกิดความลังเลไม่แน่ใจว่าจะสามารถถืออะไรเป็นหลักยึดเหนี่ยวได้

ถ้าองค์กรที่ควรจะมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการผดุงความเป็นธรรมอย่างคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามภารกิจของตนเองอย่างเต็มกำลัง

ความล้มเหลวในการไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ควรจะเป็นนั้น

จะยิ่งฉุดลากสังคมให้ดิ่งลึกลงไปในหุบเหวแห่งหายนะ

รอลุ้นสูตรรัฐบาลใหม่

ที่มา ไทยรัฐ

อย่างน้อยรัฐบาลก็ออกตัวได้ว่า ไม่ได้สร้างภาพไปซะทั้งหมด

กับช็อตธรรมชาติ "นอกสคริปต์" ที่แผนกรับสายโครงการ "6 วัน 63 ล้านความคิด ร่วมเดินหน้าปฏิรูปประเทศไทย" ได้รายงานตรงๆกับนายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รมต.ประจำสำนักนายกฯ ต่อหน้านักข่าวเป็นจำนวนมากว่า มีป้าคนหนึ่งโทร.เข้ามาด่ารัฐบาล

"ขอโทษนะคะ อย่าโกรธป้า แต่ขอให้อภิสิทธิ์ไปลงนรก"

โชคดีที่สายนี้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ไม่ได้รับโทรศัพท์เอง

แต่กระนั้น ก็ยังทำใจดีสู้เสือ "อภิสิทธิ์" แวบไปนั่งรับโทรศัพท์เองเป็นวันที่ 2 หลังจากวันแรกขัดข้องทางเทคนิค โทรศัพท์สายหลุดตลอด

ไม่ยอมให้แฟนคลับผิดหวัง

ทั้งหมดทั้งปวงมันก็แค่ฉากสีสัน ตามมุกที่บริษัท "ออแกไนซ์" จัดให้ โดยคิวที่นายกฯอภิสิทธิ์ และทีมงานสนุกกับงาน "อีเวนต์" เล่นกระแสไปวันๆ

ยังไม่ได้มีอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน

ในสถานการณ์วิกฤติ "ไข่มาร์ค" สะท้อนกึ๋นแก้เศรษฐกิจ ราคาไข่ไก่พุ่งขึ้นสูงเป็นประวัติการณ์ รัฐบาลยังตั้งรับกันไม่เป็นขบวน

ถึงจังหวะจวนตัวก็ออกอาการเงอะๆงะๆ

ตามฟอร์มบริหารไม่ค่อยเชี่ยว แต่อยู่ได้เพราะเหลี่ยมเขี้ยวทางการเมืองบวกกับผลประโยชน์ที่ลงตัว ตามโปรแกรมที่ "เทพเทือก" นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ ผู้จัดการใหญ่รัฐบาล กำกับฉากร่วมกับคู่หูยี่ห้อ "เนวิน ชิดชอบ" นายใหญ่ค่ายภูมิใจไทย

ปิดวิกลิเกข้ามปี

โดยมี "บิ๊กป้อม" พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม กับน้องรัก "บิ๊กป๊อก" พล.อ. อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก คุมแถวทหาร "บูรพาพยัคฆ์" เป็นหน่วยรักษาความปลอดภัยรอบๆเวที

ตามบทให้พระเอกอย่าง "อภิสิทธิ์" รำป้อโชว์พ่อยกแม่ยก ตามท้องเรื่อง "ถ่วงหม้อผีทักษิณ" ลากยาวเกมอำนาจไปเรื่อยๆ

ต่ออายุรัฐบาลไปจนถึงเดือนสิงหาคมปีหน้า

อย่างที่นายกฯอภิสิทธิ์ยืนยันกับปากเองแล้วว่า จะไม่มีการยุบสภาภายในสิ้นปีนี้อย่างแน่นอน แต่ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงมักเกิดขึ้นได้เสมอ ต้องขึ้นอยู่กับสถานการณ์ด้วย

สรุปว่า ต้องปรับบทเล่น ยื้อกันวันต่อวัน

ตามจังหวะรัฐบาลยังเบาตัวไปจนกว่าจะหมดเทศกาลฟุตบอลโลกกลางเดือนกรกฎาคม "อภิสิทธิ์" นำทีมสับขาหลอกไปได้อีกระยะ

หลังจากนั้นการเมืองไทยก็จะกลับมา "โม่แข้ง" กันแบบมันๆ

ในสถานการณ์ที่ขาใหญ่พรรคร่วมรัฐบาล ไล่ตั้งแต่ "บิ๊กเติ้ง" นายบรรหาร ศิลปอาชา หลงจู๊ใหญ่พรรคชาติไทยพัฒนา นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ บอสใหญ่พรรครวมชาติพัฒนา นายสุวิทย์ คุณกิตติ หัวขบวนพรรคกิจสังคม รวมไปถึงนายสมศักดิ์ เทพสุทิน แกนนำกลุ่มมัชฌิมา ในค่ายภูมิใจไทย ไม่มีใครแฮปปี้

ตกอยู่ในอาการหวาดระแวงประชาธิปัตย์ ไม่มั่นใจว่า สักวันอาจโดนเข้ากับตัวเอง

หลังจากเกมโหดๆของ "อภิสิทธิ์-เทพเทือก" เขี่ยทิ้งพรรคเพื่อแผ่นดินในปีกของ "พินิจ จารุสมบัติ-ปรีชา เลาหพงศ์ชนะ-ไพโรจน์ สุวรรณฉวี"

ทั้งๆที่เสี่ยงเป็นเสี่ยงตาย ช่วยโหวตพลิกขั้วกันมา

บทสรุปก็คือ ยี่ห้อประชาธิปัตย์ไม่เคยให้ใจเพื่อน ไม่เผื่อเครดิตในอนาคตกับใคร

ทำได้ทุกอย่างเพื่อเอาตัวรอดเฉพาะหน้า

และก็เป็นอะไรที่เซียนการเมืองอ่านทางกันได้ อย่างไรเสีย "อภิสิทธิ์" กับ "เทพเทือก" ก็ต้องเลือกกอดคอเป็นกอดคอตายกับยี่ห้อ "เนวิน" เพราะนอกจากเรื่องของตัวเลขเสียงสนับสนุนแล้ว มันยังน่าจะมีอะไรลึกไปกว่านั้น

กับความลับที่ "กำไว้" ในคิวแท็กทีมสลายม็อบเสื้อแดง

ไฟต์บังคับ "เทพเทือก-เนวิน" แยกจากกันไม่ได้ ต้องเกาะเอวถูลู่ถูกังกันไป ในสถานการณ์ที่รัฐบาลศรัทธาหาย

"อภิสิทธิ์" ต้นทุนหดลงทุกวัน

ภายใต้สัญญาณใหม่ล่าสุด ฝ่ายคุมเกมอำนาจประเทศไทยยังไม่ปล่อยให้มีการเลือกตั้ง แม้จะครบเทอมสภาผู้แทนราษฎรในปีหน้า

ไม่กล้าเสี่ยงเปิดทางให้ยี่ห้อ "ทักษิณ ชินวัตร" กลับมายึดประเทศไทย

ส่วนโฉมหน้ารัฐบาลใหม่ กำลังคิดสูตรกันอยู่.


ทีมข่าวการเมือง

ประชานิยมชั่วคราว

ที่มา ไทยรัฐ


กรณีรัฐสวัสดิการหรือนโยบาย อภิมหาประชานิยม ในขณะนี้ จะได้เนื้อได้น้ำหรือจะเป็นแค่ การสร้างภาพตามฤดูกาล ของรัฐบาล ต้องติดตามกันต่อไป ขึ้นเงินเดือนข้าราชการ ให้โบนัสข้าราชการ มาตรการลดค่าครองชีพ เยอะแยะไปหมด ส่วนจะนำมาปฏิบัติได้แค่ไหน เป็นอย่างไร ก็เป็นอีกเรื่อง ดูอย่างการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบย่านราชประสงค์นั่นปะไร พอชาวบ้านออกมาโวยก็หาโครงการอื่นมาล่อตาล่อใจกันต่อไป

มีหลายสิบโครงการประชานิยมที่เงียบไปพร้อมกับ ความไม่ ชอบมาพากล อาทิ ต้นกล้าอาชีพ ตามใช้หนี้กันหมดหรือยังก็ไม่รู้ ที่แน่ๆ ทั้งนี้ทั้งนั้น รัฐบาลจะเอาเงินมาจากไหน ซึ่งอันที่จริงชาวบ้าน ไม่ได้ต้องการอะไรที่เกินขีดความสามารถของรัฐบาล เอาแค่มาตรฐานการครองชีพในพื้นฐานเบื้องต้นให้มีประสิทธิภาพก็พอแล้ว เรื่องปากท้องชาวบ้านสำคัญที่สุด

ไม่ใช่ปล่อยให้ไข่แพงได้ลงคอ

จะมาอ้างเหตุผลว่าจะได้เป็นประโยชน์กับเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ ดูจะหน่อมแน้มไปหน่อย ชาวบ้านที่เลี้ยงไก่ทั่วไปก็ไม่ได้ประโยชน์ อะไรในระยะเวลาสั้นๆ ที่ไข่ราคาแพงขึ้นเป็นไปตามฤดูกาลเท่านั้น เพราะถ้าจะพูดถึงเรื่องการขาดทุนของผู้เลี้ยงไก่แล้ว ขาดทุนมาโดยตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา

จะช่วยเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ก็เป็นอีกเรื่อง จะแก้ปัญหาเรื่องไข่แพงก็ต้องแก้อีกประเด็น ซึ่งกลไกของตลาดไม่มีอะไรพิสดาร ระหว่างดีมานด์กับซัพพลาย เป็นตัวกำหนดราคาไข่ในตลาดอยู่แล้ว

ปัจจุบัน มีแม่ไก่อยู่ประมาณ 35-36 ล้านตัว ลดลงประมาณร้อยละ 20 ปริมาณไข่ไก่ในประเทศอยู่ที่ประมาณ 25-26 ล้านฟองต่อวัน จากเดิม 28-30 ล้านฟองต่อวัน ย่อมต้องส่งผลกระทบแน่นอน และที่มีอะไรมากกว่านั้นก็คือ ที่มาของแม่ไก่ ว่ากันว่ามีบริษัทที่นำเข้าแม่ไก่อยู่ไม่กี่ราย แถมราคายังสูงขึ้นด้วย

ถ้าจะแก้ก็ต้องแก้กันทั้งระบบ

รัฐบาลจะต้องช่วยบรรเทาความเดือดร้อนเฉพาะหน้าให้กับผู้บริโภคที่กำลังเดือดร้อนเรื่องปากท้องอย่างไรมากกว่า ก็ต้องโทษกระทรวงพาณิชย์ของ คุณพรทิวา นาคาศัย การบริหารงานจะอื้อฉาวอย่างไร จะทำงานเป็นหรือไม่ ก็เป็นอีกเรื่อง จะมัวนั่งแถลงข่าวตัวเลขส่งออกนำเข้า จะวุ่นวายกับโควตาข้าว น้ำตาล มันสำปะหลังก็ไม่ว่ากัน

แต่ชาวบ้านต้องไม่เดือดร้อนจากการขึ้นราคาสินค้าโดยไม่เป็นธรรม การนำนโยบายประชานิยมมาเพื่อเป็นประโยชน์ทางการเมืองย่อมจะผิดความมุ่งหมายเพราะไม่ต่างอะไรจากการนำงบประมาณมาใช้หาเสียงกับชาวบ้านชั่วคราวเท่านั้น ไม่ยั่งยืน แม้รัฐบาลชุดนี้จะพยายามลอกเลียนแบบนโยบายประชานิยมของรัฐบาลอื่นมาใช้ก็ไม่เป็นปัญหา แต่ ปัญหาอยู่ที่ว่าใช้เป็นหรือเปล่าเท่านั้น หรือตั้งใจตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ.

หมัดเหล็ก

การ์ตูน เซีย 03/07/53

ที่มา ไทยรัฐ

การ์ตูน เซีย 03/07/53

การ์ตูน เซีย 02/07/53

ที่มา ไทยรัฐ

การ์ตูน เซีย 02/07/53

ศาลไต่สวน อนุญาตขัง ‘สมบัติ’ ต่อ 7 วัน ยังซักถามไม่เสร็จ

ที่มา ประชาไท


วันนี้ 2 ก.ค.53 เมื่อเวลาประมาณ 10.00 น.ที่ศาลอาญารัชดา ศาลขึ้นบัลลังก์ไต่สวนกรณีทนายความของนายสมบัติ บุญงามอนงค์ (บก.ลายจุด) ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวนายสมบัติ ซึ่งถูกควบคุมตัวตามหมายควบคุมตัวตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (พ.ร.ก.ฉุกเฉิน) เนื่องจากการควบคุมตัวไม่ชอบ ทั้งนี้ ในเบื้องต้นศาลได้สั่งให้มีการไต่สวนผ่านระบบเทเลคอนเฟอร์เรนท์ แต่ภายหลังศาลมีคำสั่งอนุญาตตามคำร้องของทนายความ ให้นำตัวนาย สมบัติ มาไต่สวนต่อหน้าศาล เพื่อเปิดโอกาสให้สามารถแสดงพยานหลักฐาน เหตุผล และข้อเท็จจริงถึงความไม่ชอบด้วยกฎหมายของการควบคุมตัว
ตามคำร้องของนายสมบัติ ระบุว่าการควบคุมตัวดังกล่าวกระทำโดยมิชอบ และไม่มีเหตุจำเป็นที่ต้องใช้อำนาจตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เนื่องจากการจัดกิจกรรมเป็นไปเพื่อการแสดงออกซึ่งความเห็นทางการเมือง โดยวิธีการสันติและปราศจากอาวุธ ตามสิทธิเสรีภาพที่ได้รับการรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ซึ่งผูกพันประเทศไทย
สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 21 พ.ค.53 ศาลอาญาได้อนุมัติหมายจับนายสมบัติ จากนั้นเจ้าหน้าที่ได้เข้าควบคุมตัวนายสมบัติขณะทำกิจกรรมผูกผ้าแดงที่ป้ายราชประสงค์ เมื่อวันที่ 26 มิ.ย.53 และถูกนำตัวไปควบคุมที่กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน (บก.ตชด.) ภาค 1 คลอง 5 จ.ปทุมธานี ต่อมาเมื่อวันที่ 29 มิ.ย.53 นายสมบัติ ได้ยื่นคำร้องคัดค้านการควบคุมตัวและขอให้ปล่อยตัว โดยได้รับความช่วยเหลือทางกฎหมายจากศูนย์รับเรื่องร้องเรียนด้านกฎหมายและสิทธิมนุษยชน (ศรส.) มีนายอานนท์ นำภา ทำหน้าที่ทนายความ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในช่วงเช้ามีผู้ใกล้ชิด เพื่อน และประชาชนมารอในกำลังใจและเข้ารับฟังการไต่สวนราว 10 คน ขณะที่นายสมบัติ ถูกเบิกตัวจาก บก.ตชด.ภาค1 มายังศาลอาญา โดยสวมเสื้อยืดสีขาวด้านหน้าพิมพ์ข้อความ “I am RED วันอาทิตย์สีแดง”
สมบัติ ให้สัมภาษณ์ก่อนเริ่มการไต่สวนว่า เพิ่งได้ทราบจากเจ้าหน้าที่ตำรวจว่านอกจากการไต่สวนกรณีถูกควบคุมตัวโดยศอฉ.ตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ แล้ว ยังต้องขึ้นศาลกรณีที่ถูกฟ้องในคดีอาญาความผิดฐานฝ่าฝืนประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินอีกด้วย โดยในสำนวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจทราบมาว่ามีการระบุว่าเขาได้ปลุกระดมประชาชนให้นำยางรถยนต์มาเผาด้วยทั้งที่ไม่เป็นความจริง
ในการพิจารณาคดีทนายความได้เบิกตัวและซักถามเจ้าหน้าที่ตำรวจกองปราบ ผู้ยื่นขอต่อระยะเวลาการควบคุมตัวนายสมบัติ โดยเจ้าหน้าที่ชี้แจงเหตุผลการขอหมายจับต่อศาลว่า ผู้ต้องสงสัยได้ร่วมชุมนุมกับกลุ่มคนเสื้อแดงมาโดยตลอด ระหว่างชุมนุมมีเหตุการณ์ไม่สงบภายในบ้านเมืองตลอดมา มีคนร้ายก่อความไม่สงบหลายครั้งจนนายกฯ ต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ผู้ต้องสงสัยทราบถึง พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และข้อกำหนดต่างๆ ดีแต่ก็ยังร่วมชุมนุมฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เรื่อยมา ต่อมา ศอฉ.ได้กระชับวงล้อมแยกผู้ชุมนุมกับผู้ก่อการร้าย ผู้ชุมนุมได้ตอบโต้การทำงานของเจ้าหน้าที่จนมีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมาก หลังเหตุการณ์ดังกล่าวผู้ต้องสงสัยยังนำกลุ่มบุคคลมาชุมนุม ปราศรัยบนถนนประดิษฐ์มนูธรรม ชักชวน ปลุกระดม ให้ผู้ชุมนุมตอบโต้การกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ จึงออกหมายจับกุมผู้ต้องสงสัยในฐานะผู้สนับสนุนหรือร่วมกระทำให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน นอกจากนั้น วันที่ 26 มิ.ย.53 ผู้ต้องสงสัยยังนำกลุ่มบุคคลมาชุมนุมและผูกผ้าสัญลักษณ์สีแดงที่แยกราชประสงค์ ตำรวจจึงจับกุมตัวตามหมายจับมาควบคุมตัวตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน จะเห็นได้ว่าหลังเหตุการณ์ไม่สงบผู้ต้องสงสัยยังดำเนินการทางการเมืองโดยการปลุกระดมชักชวนให้มีการชุมนุมและทำกิจกรรมทางการเมืองที่ทำให้เกิดความแตกแยกในสังคมอันจะทำให้เกิดความไม่สงบ ขัดต่อหลักกฎหมาย แม้จะอ้างเรื่องสิทธิโดยชอบธรรมตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ แต่สิทธิดังกล่าวกระทบต่อการใช้ชีวิตปกติของประชาชนทั่วไป และมีกฎหมายคือ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน บัญญัติห้ามไว้
ส่วนเหตุที่ขอขยายเวลาการควบคุมตัวนั้น เจ้าหน้าที่ตำรวจระบุว่า เนื่องจากผู้ต้องสงสัยมีพฤติการณ์สนับสนุนการกระทำให้เกิดสถานการณ์ไม่สงบในบ้านเมือง และพนักงานผู้ซักถามยังซักถามผู้ต้องสงสัยไม่แล้วเสร็จจึงขอขยายระยะเวลาต่ออีก7 วัน ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจจากกองปราบปรามระบุด้วยว่า เขาไม่ได้อยู่ร่วมในเหตุการณ์การชุมนุมของนายสมบัติในวันที่ 21 พ.ค.ตามที่มีการตั้งข้อกล่าวหา ไม่ทราบรายละเอียดต่างๆ ทราบเพียงรายงานตามที่ตำรวจ สน.วังทองหลางส่งมาให้
จากนั้นในช่วงบ่าย นายสมบัติได้เข้าเบิกความกับศาล โดยกล่าวถึงเหตุการณ์เมื่อวันที่ 21 พ.ค.53 ซึ่งได้กระทำการจนทำให้เกิดเป็นคดีว่า ขณะนั้นเป็นช่วงเวลาหลังจากเมื่อวันที่ 19 พ.ค.35 มีการสลายการชุมนุมที่สี่แยกราชประสงค์ โดยเจ้าหน้าที่ในเครื่องแบบไล่ยิงประชาชนกลางเมือง แต่ในสื่อกลับเสนอแต่ข่าวของเจ้าหน้าที่ทหารและผู้สั่งการ แต่ไม่ได้มีการให้ข้อมูล ข้อเท็จจริงในด้านของผู้ชุมนุม สวนสาธารณะขนาดเล็กใต้ทางด่วน จึงกลายเป็นสถานที่ที่ประชาชนใช้ในการมานั่งพูดคุยกัน เพราะพวกเขาไม่รู้ว่าจะไปรับรู้ข้อมูลได้จากที่ไหน
“การที่ผู้คนออกมาเสาะหาข้อเท็จที่เขากำลังเป็นทุกข์ ถือเป็นปฏิกิริยาพื้นฐานของมนุษย์ แต่การที่รัฐบาลบอกให้พวกเขาเงียบอยู่กับบ้านต่างหากที่ขัดกับพื้นฐานของมนุษย์” นายสมบัติกล่าว
นายสมบัติกล่าวต่อมาว่าก่อนที่เขาจะเข้าร่วมกิจกรรมที่บริเวณสวนสาธารณะดังกล่าว มีประชามชนจำนวนหนึ่งได้ไปพบปะและทำกิจกรรมเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ร่วมทั้งภาพถ่ายกันอยู่ก่อนแล้ว ส่วนตัวเขาได้โพสต์ข้อความในอินเตอร์เน็ตก่อนที่จะไปร่วมพูดคุยกับผู้คนที่นั่น โดยไม่รู้ว่าคนจะมาเท่าไหร่ และเมื่อวันที่ 20 พ.ค.53 เขาก็ไปที่สวนสาธารณะแห่งนั้นด้วย
เมื่อทนายถามถึงจำนวนคนที่ไปรวมตัวกันนายสมบัติกล่าวว่าอยู่ที่ราว 10-80 คนแล้วแต่วันและช่วงเวลา ซึ่งเขาไม่รู้ว่าใครเป็นใคร เพราะต่างนั่งจับกลุ่มพูดคุยกันกระจัดกระจายอยู่ในสวนหย่อม เป็นการพูดคุยกันปกติ ไม่มีเวที และบอร์ดนิทรรศการภาพถ่าย เป็นการนำรูปของแต่ละคนที่มีไปติดตามกำแพง แต่ตัวเขาเป็นคนที่คนทั่วไปคุ้นหน้าเนื่องจากเป็น นกป.จึงมีคนนำโทรโข่งมาให้โดยขอให้พูดคุยกับคนที่มารวมตัวกัน นอกจากนั้นก็ยังมีผู้ที่อยู่ร่วมในเหตุการณ์ที่วัดปทุมฯ มาบอกเล่าถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นด้วย ทั้งนี้ เขายืนยันว่าไม่ได้มีความคิดที่จะจัดชุมนุมทางการเมืองหรือปลุกระดมแต่อย่างใด และไม่มีการพูดให้ระดมยาง หรือการยุยงให้เผาดังที่ถูกกล่าวหา
“ในฐานะที่มีความเป็นมนุษย์และมีความผูกพันกับผู้คนที่เสียชีวิต บาดเจ็บ และกำลังเสียขวัญ ไม่รู้ว่าตัวเองจะเป็นเช่นไรต่อไป จำเป็นที่จะต้องมีการพูดคุยแบ่งปันสิ่งที่เกิดขึ้น ให้คนที่รู้เรื่องราวมาบอกเล่าให้ฟัง” นายสมบัติกล่าว
นายสมบัติเล่าต่อมาว่า นับตั้งแต่เวลาประมาณ 12.00 น.ที่เขาเข้าไปร่วมกิจกรรมการพูดคุยดำเนินไปราว 2 ชั่วโมง จากนั้นได้มีเจ้าหน้าที่ตำรวจจำนวนกว่า 200 นาย เข้ามาในพื้นที่และขอให้ยุติกิจกรรมต่างๆ ซึ่งไม่เห็นประโยชน์ใดๆ ในการดื้อรั้น พวกเขากึงแยกย้ายกันเดินทางกลับ และในวันนั้นก็ไม่ได้มีการแจ้งข้อกล่าวหาใดๆ จากเจ้าหน้าที่ตำรวจ
“ผมไปเพราะสามัญสำนึก และคิดว่าเป็นสิทธิที่จะแสดงแดงออก โดยไม่ได้สร้างความเดือดร้อนให้ใคร” นายสมบัติกล่าว
ต่อคำถามของทนายว่าทราบหรือไม่ว่าตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ได้ห้ามไม่ให้มีการชุมนุมทางการเมือง นายสมบัติตอบว่าทราบ แต่ส่วนตัวเขาคิดว่าการประกาศบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวไม่สมเหตุสมผล แต่เกิดจากความต้องการที่จะใช้กำลังทหารปราบปราม อีกทั้งเห็นว่าการกระทำของเขาและประชาชนจำนวนหนึ่งในสวนหย่อม ไม่ได้เป็นการปิดถนน ไม่ได้สร้างความวุ่นวาย จึงไม่น่าจะเข้าข่ายการชุมนุมทางการเมืองที่ก่อให้เกิดความวุ่นวาย
นายสมบัติกล่าวด้วยว่า ส่วนตัวเขาคิดว่าการแจ้งความในข้อหายุยง ปลุกปั่น เป็นความต้องการของคนที่เชื่อมโยงกับรัฐบาลที่ต้องการใส่ความ รังแก โดยใช้อำนาจกฎหมายและกลไกของรัฐเพื่อมาละเมิดสิทธิของคนที่เห็นต่าง และเหตุผลที่เจาะจงที่ตัวเขานั้นเป็นเพราะตั้งแต่ที่การชุมนุมยุติลง เขาเป็นคนเดียวที่ออกมาเคลื่อนไหวต่อสู้ในเชิงสัญลักษณ์ ยกตัวอย่างเช่น กิจกรรมวันอาทิตย์สีแดง ซึ่งคิดว่ารัฐบาลมองว่าเป็นพฤติกรรมที่ต่อต้านรัฐ และอาจนำไปสู่การต่อสู้ในรูปแบบใหม่ๆ รัฐบาลต้องการกำจัดทุกคนที่เห็นต่างไม่ว่าจะเป็นสายเหยี่ยว หรือสายพิราบที่ใช้วิถีทางสันติวิธี
ทั้งนี้ นายสมบัติยังได้ให้ข้อมูลถึงการเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองในการต่อต้านรัฐประหาร 19 ก.ย.49 ร่วมรณรงค์ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 อีกทั้งเข้าร่วมเคลื่อนไหวทางการเมืองในนามแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปก.) ต่อต้านคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) แต่ในการเคลื่อนไหวของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เขาไม่ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการเคลื่อนไหวใดๆ
นายสมบัติ ให้ข้อมูลด้วยว่า หลังเหตุการณ์สลายการชุมนุมโดยกำลังทหารบนถนนราชดำเนิน เมื่อวันที่ 10 เม.ย.53 ซึ่งทำให้ผู้ชุมนุม นปช.และทหารบาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนไม่ต่ำกว่า 20 ราย เขาได้รับเชิญให้เข้าร่วมเป็นหนึ่งใน “คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจเพื่อพิจารณาตรวจสอบกรณีเหตุความรุนแรงจากการขอคืนพื้นที่จากกลุ่มผู้ชุมนุม เมื่อวันที่ 10 เม.ย.” ในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติและได้เข้าไปในพื้นที่การชุมนุมเพื่อดูข้อมูลหลักฐาน แต่หลังจากเข้าร่วมประชุม 2-3 ครั้งก็ได้ยื่นจดหมายลาออกเนื่องจากเห็นว่าการทำงานไม่ได้เอาจริงเอาจังและไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นายสมบัติกล่าวอีกว่าเขาทำงานเป็นนักเคลื่อนไหวทางสังคม โดยใช้วิธีรณรงค์เชิงสัญลักษณ์ และเป็นผู้เสนอแคมเปญ “แดงไม่รับ” ในการรณรงค์ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 และต่อมาสีแดงถูกใช้แทนการต่อสู่เชิงสัญลักษณ์ และนำมาขับเคลื่อนในกิจกรรมการเมืองจนถึงปัจจุบัน พร้อมยืนยันว่าไม่ได้มีพฤติกรรมในการยั่วยุหรือปลุกระดมให้เกิดความรุนแรง และไม่เห็นด้วยการใช้ความรุนแรงในการสลายการชุมนุมทางการเมืองไม่ฝ่ายต่อฝ่ายใด
“การต่อสู้ทางการเมือง ต้องใช้วิธีการทางการเมืองเท่านั้น” บก.ลายจุดกล่าว
เมื่อมีการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ในวันที่ 7 เม.ย.53 ทั้งที่ยังไม่ได้เกิดเหตุการณ์ร้ายแรงใดๆ ส่วนตัวมีความคิดว่ารัฐบาลต้องการใช้อำนาจทางการทหารกับผู้ที่คิดเห็นแตกต่างกับรัฐบาล และต่อมาก็เกิดเหตุการณ์ วันที่ 10 เม.ย.53 ซึ่งมีการใช้กำลังทหาร รถหุ้มเกราะ และอาวุธสงครามเต็มรูปแบบเพื่อสลายการชุมนุม
ส่วนข้อกล่าวหาจากเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ระบุถึงพฤติกรรมยั่วยุ ปลุกระดม นายสมบัติยืนยันว่าไม่เป็นความจริง แต่การแสดงออกของเขาเป็นไปเพื่อยืนยันสิทธิการแสดงความเห็นทางการเมือง พร้อมยกตัวอย่างกิจกรรมที่ชื่อ “เปลือยเพื่อชีวิต” เมื่อวันที่ 18 พ.ค.53 ที่บริเวณใต้ทางด่วนสามเหลี่ยมดินแดง โดยชักชวนกลุ่มผู้ชุมนุมเสื้อแดงมาถอดเสื้อผ้า เพื่อเป็นสัญลักษณ์สื่อสารไปยังคนทั่วไปในสังคมให้รู้ว่าพวกเขามีเพียงตัวเปล่า ไม่มีอาวุธ
นายสมบัติกล่าวว่าการกล่าวหาดังกล่าว ทำให้เขาเสื่อมเสียชื่อเสียง และขัดแย้งกับกิจกรรมที่เขาเคยทำมา อย่างไรก็ตาม หากได้รับการปล่อยตัว เขาก็จะทำกิจกรรมรณรงค์ต่อไป โดยยืนยันว่าสิทธิทางการเมืองคือสิทธิมนุษยชน
ศาลมีคำสั่งยกคำร้องขอปล่อยตัว เนื่องจากการควบคุมตัวไม่ชอบ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าภายหลังจากการไต่ส่วนเสร็จสิ้นลงเมื่อเวลาประมาณ 14.00 น.ศาลให้รอฟังคำสั่งในห้องพิจารณาคดี นายสมบัติก็ได้เขียนข้อความขนาดสั้นๆ ถึงความรู้สึกของเขาต่อการไต่สวนในวันนี้ และแจกจ่ายให้กับกลุ่มแฟนคลับที่มาฟังการพิจารณาคำร้อง อีกทั้งได้นั่งพูดคุยกันอย่างเป็นกันเอง
เมื่อเวลา 15.30 น.ศาลมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอปล่อยตัว โดยระบุว่าจากพฤติการณ์ของผู้ร้องที่ส่อให้เห็นว่าเป็นการชุมนุมทางการเมืองจริง ในระหว่างที่ยังมีการคง พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ โดยมีการนำรูปเหตุการณ์สลายการชุมนุมไปติดในบริเวณสถานที่ และได้พบกับคน 10-80 คน ดังนั้นการควบคุมตัวจึงชอบด้วยกฎหมาย ศาลจึงมีคำสั่งให้ยกคำร้อง
อีกทั้ง ในวันเดียวกันนี้ครบกำหนด 7 วันของการควบคุมตัว และเจ้าหน้าที่ตำรวจได้มีการยื่นขอควบคุมตัวต่อไปอีก 7 วันต่อผู้พิพากษาเวร ซึ่งศาลได้พิจารณาอนุญาตตามคำขอของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
อย่างไรก็ตาม ในวันนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจยังไม่มีการฟ้องคดีอาญากับนายสมบัติแต่อย่างใด