WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, September 6, 2008

สมัคร คือตัวเลือกที่ดีที่สุดของระบอบทักษิณและศักดินาอำมาตยาธิปไตย

บทความ โดย ลูกชาวนาไทย

ผมประเมินว่าสถานการณ์ทางการเมืองในในขณะนี้ สมัครตัวเลือกที่ดีที่สุดของคู่ขัดแย้งทั้งสองฝ่าย

แม้นายกฯสมัคร จะไม่ใช่คนที่มวลชนที่สนับสนุนกลุ่มอำมาตย์ ให้ความชื่นชมนัก สื่อมวลชนไทยก็ไม่ได้ชอบนายกฯสมัครเลย

แต่สถานการณ์ทางการเมืองตอนนี้ "แกนนำ" ระดับบนของคู่ขัดแย้งทั้งสองฝ่าย ต้องการสะพานเชื่อมที่สามารถจะสื่อสารถึงกันได้ ต้องการ "ช่องทางการสื่อสาร" โดยไม่คิดว่าจะปิดช่องทางการสื่อสารทั้งหมด เพราะไม่อย่างนั้น เ่ท่ากับทิ้งให้ทั้งสองฝ่ายต้องตัดสินใจและดำเนินการต่อสู้ทางการเมือง โดยไม่รับทราบความตั้งใจและความต้องการของอีกฝ่ายหนึ่ง

เครื่องมือสื่อสารอื่นๆ เช่น ป.สี่เสา เป็นต้น เดี้ยงหมดแล้ว

ผมว่าในตอนนี้ "แกนนำระดับสูง (ต้องสูงอย่างแท้จริง)" ของกลุ่มศักดินาอำมาตยาธิปไตย คงประเมินได้แล้วว่า ไม่อาจกำจัดระบอบทักษิณออกไปจากประเทศไทยได้อย่างแน่นอน และทำอย่างไร ก็ไม่สามารถมีประเทศไทยอยู่ได้ โดยไม่มีอีกฝ่ายหนึ่ง ดังนั้น ยุทธวิธี การไล่บดขยี้ให้สูญพันธุ์ไปอย่างที่ดำเนินการมา 3 ปีแล้ว ก็ไม่อาจบรรลุผลได้ มีแต่สร้างความวุ่นวายและไร้เสถียรภาพทางการเมือง และภาวะอนาธิปไตยให้กับประเทศไทย

เมื่อไม่สามารถกำจัดออกไปได้ การประนีประนอมในระดับหนึ่ง ย่อมเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

แกนนำระดับสูงมากของของกลุ่มศักดินาอำมาตย์ คงเห็นแล้วว่า "แม้ทักษิณจะออกไปจากวังวนการเมืองไทย" แล้ว แต่สถานการณ์ก็ไม่ได้ดีขึ้นแต่อย่างใด แต่มีทีท่าจะเลวร้ายลงไปกว่าเดิมอีก สถานการณ์ได้เลยพ้นไปจากทัีกษิณแล้ว


250

ตอนนี้ผมคิดว่า สถานภาพของนายกฯสมัคร สุนทรเวช ที่วางบทบาททำหน้าที่ประสานทั้งสองฝ่าย นั้น น่าจะเป็นสิ่งที่จำเป็นของ แกนนำีระดับสูงมาก ของกลุ่มศักดินาอำมาตยาธิปไตย เราจะเห็นได้ว่านายสมัครได้เดินทางไปบางที่หลายครั้ง และมีการประเมินว่าจะลาออก แต่นายกฯสมัคร ก็ไม่ได้ลาออกแต่อย่างใด แสดงว่าการสนับสนุนยังมีอยู่

การกำจัดนายสมัครออกไป จะทำให้ช่องทางการสื่อสารขาดสะบั้นลง ไม่มีใครสามารถเชื่อมโยงกับพรรคพลังประชาชน และแกนนำทางอำนาจของกลุ่มระบอบทักษิณได้ดีอีก ไม่มีใครสามารถสื่อกับ สส. กว่า 200 คนได้อย่างมีประสิทธิภาพอีก

หากนายสมัคร สุนทรเวช ลาออกจากตำแหน่งนายกฯ ข้อเท็จจริงทางการเมืองขณะนี้ ที่ "รัฐธรรมนูญปี 2550" ยังคงบังคับใช้อยู่ นายกฯ ต้องมาจาก สส. และรัฐบาลต้องมาจากเสียงข้างมากในสภา ซึ่งในที่สุด นายกฯก็ต้องเป็นคนของพรรคพลังประชาชน ซึ่งอาจเป็น นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงลี หรือ นายสมชาย วงษ์สวัสดิ์ หรืออาจเป็นคนอื่นๆ

แต่ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม ความใกล้ชิดต่อแกนอำนาจเบื้องบนก็ต่ำกว่านายสมัคร ซึ่งการยกหูโทรศัพท์อาจทำไม่ได้อีกต่อไป ซึ่งสภาวะเช่นนี้ ย่อมคุมไม่ได้อย่างแน่นอน และอะไรก็เกิดขึ้นได้ ซึ่งไม่น่าจะเป็นผลดีต่อ "โครงสร้างอำนาจส่วนบน" มากมายนัก

ดังนั้น นายสมัคร สุนทรเวช ยังคงเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดภายใต้สถานการณ์เช่นนี้ อย่างน้อยก็ทำให้การเมืองมีเสถียรภาพได้ในระดับหนึ่ง


เมื่อเป็นอย่างนี้ จะทำอย่างไรกับกลุ่ม "นักรบรับจ้าง" ที่จ้างมาเพื่อโค่นล้มทักษิณ

สถานการณ์ของกลุ่มนักรบรับจ้างเช่น พธม.นี้ เข้าขั้นอนาธิปไตย เกินกว่าที่จะควบคุมได้แล้ว เกิดภาวะสูญเสียการควบคุมไปอย่างสิ้นเชิง

ผมว่า นักรบรับจ้างที่สงครามเลิกแล้ว แต่ยังไม่ยอมหยุดรบ ท้ายที่สุดก็ต้องกำจัดทิ้ง อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้่ ของใช้แล้วที่เหลือเกินความจำเป็น และอาจจะเป็นอันตรายต่อผู้ใช้ ต้องมีการกำจัดทิ้งอย่างแน่นอน

แต่ผมไม่คาดว่า พวกศักดินาอำมาตยาธิปไตย จะสามารถกำจัดกลุ่มพันธมิตรและแกนนำออกไปได้อย่างง่ายดายนัก คงต้องใช้เวลา

การยอมให้ออกหมายจับ หรือยืนยันหมายจับ นั้นผมคาดว่านั้นคือ "เชือกที่จะเอาไว้รัีดคอ" แกนนำกลุ่มพันธมิตร เมื่อเวลามาถึงแล้ว


สภาพในขณะนี้ ม็อบยังคงร้อนแรงอยู่ การดับไฟยังคงทำได้ไม่รวดเร็วนัก คงต้องทอดระยะเวลาไปอีกพักหนึ่ง

การเสนอการเมืองใหม่ เช่น ระบบ 70/30 ในขณะนี้มันย่อมไม่อาจเกิดขึ้นได้ โดยไม่ฉีกรัฐธรรมนูญปี 2550 ทิ้งไปก่อน ซึ่งการฉีกรัฐธรรมนูญ ก็ไม่แคล้วที่จะต้องทำรัฐประหาร

การทำรัฐประหาร ต้องถาม พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ว่าจะรับมือกับแรงกดดันจากทั้งภายในและภายนอกประเทศอย่างรุนแรงได้หรือไม่

การเปลี่ยนแปลงระับบการเมือง โดยไม่ฉีกรัฐธรรมนูญทิ้งย่อมทำไม่ได้

จะคิดว่าจะกระทำโดย "การปฎิวัติโดยประชาชน" อย่างฝรั่งเศส หรือ สมัย 14 ตุลาคม 2516 นั้น ผมว่าสถานการณ์ยังห่างไกลยิ่งนัก

มันจึงเป็นแ่ค่ความฝันจาก "คุกในทำเนียบรัฐบาล" ของคนที่อยู่ในสนามรบกว่า 100 วัน ที่กำลังเริ่มบ้าแล้วเท่านั้น

ยุทธศาสตร์รับมือกับคนกลุ่มนี้ของนายสมัครคือ ไม่ออก ไม่ยุบ ไม่สลายม็อบ ปล่อยให้แห้งตายไปเอง

และนายสมัคร ก็หาสถานการณ์มาเพื่อดึงความสนใจของผู้คนในบ้านเมืองออกไปจากกลุ่มพันธมิตรเรื่อยๆ เช่น ในช่วงนี้มีการประชุมงบประมาณประจำปีของสภา แล้วอาจตามด้วย การเปิดสภาอภิปราย ไม่ลงมติ

การเสนอให้มีการลงประชามติ จะทำได้หรือไม่ได้ ผมคิดว่าไม่สำคัญเท่าใดนั้น แต่มันก็ทำให้สังคมมาถกกันในประเด็นเหล่านี้แทน หมดประเด็นเหล่านี้ก็น่าจะหาประเด็นอื่นๆ มาอีก เช่น การไปบูมการเลือกผู้ว่า กทม. ใครจะชนะ ก็ไม่ได้สำคัญมากมายอะไรนัก สำหรับสภาพการเมืองในขณะนี้ แต่มันก็ดึงประชาชนให้หันเหความสนใจออกไปจาก พันธมิตรได้

ปล่อยให้พันธมิตร แห้งตายอยู่ในทำเนียบรัฐบาล ที่แปรสภาพ เป็น คุก ไปโดยเรียบร้อยแล้ว

จาก thaifreenews

ผมไม่ตำหนิ พล.อ.อนุพงศ์ เผ่าจินดา แค่ไม่ทำรัฐประหาร ผมก็โอเคแล้วละครับ


บทความ โดย ลูกชาวนาไทย

ไม่ทำรัฐประหาร ไม่สลายม็อบ ขอเป็นแค่กรรมการห้ามมวย คือ สาระัที่ พล.อ.อนุพงษ์ แถลงข่าววันนี้ ที่กองบัญชาการกองทัพบก แม้ว่าจะพูดอย่างยืดยาว แต่ผมก็สรุปได้สั้นๆ ว่าสาระที่พูดคือ ทหารจะไม่ทำรัฐประหารโดยเด็ดขาด ทหารจะไม่ใช้กำลังสลายม็อบ ทหารจะป้องกันไม่ให้ม็อบมีการปะทะกัน


ซึ่งผมก็คิดว่านั้นคือ สิ่งที่ดีแล้ว เพราะผมไม่คิดว่าการสลายม็อบในขณะนี้จะทำให้ปัญหาคลี่คลายลงไปได้ เพราะเมื่อเงื่อนไขยังคงอยู่ การปลุกม็อบก็จะกระจัดกระจายโดยทั่วไป

แต่ ผมก็คิดว่าทหารก็ต้องดำเนินการให้มีความเรียบร้อย เช่น ป้องกันไม่ให้มีการวางระเบิด หรืออาจเข้าควบคุมสถานที่ต่าง ๆ ไม่ให้มีการเผาทำลาย หรือแม้แต่การนัดหยุดงานของรัฐวิสาหกิจ


ส่วนม็อบยึดทำเนียบนั้น ผมไม่คิดว่าเป็นปัญหาใหญ่โตอะไรนัก ปล่อยให้ยึดไปอย่างนั้นสักสองสามเดือนก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร

หากผมเป็น ผบ.ทบ.เองในตอนนี้มันก็ตัดสินใจยากเหมือนกัน แม้ว่าผมจะไม่ชอบพันธมิตรก็ตาม เพราะหากตัดสินใจสลายม็อบ ปัญหามันก็คงยังไม่จบแน่นอน เพราะแม้จะสลายม็อบออกจากทำเนียบได้ แต่ม็อบก็จะไปชุมนุมกันที่อื่นๆ อีก และเกิดความวุ่นวายตามมากอีกมากมาย และทหารก็จะถูกต่อต้าน และความขัดแย้งก็ขยายตัวต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด

เมื่อเงื่อนไขทางการเมืองยังไม่จบ ประชาชนยังแตกแยกและต่อสู้กันทางการเมืองอยู่ การเข้าสลายม็อบ ย่อมไม่ทำให้ปัญหาจบลงไปอย่างแน่นอน และ พล.อ.อนุพงศ์ เองก็ต้องยืนอยู่บนเขาควายของทั้งสองฝ่าย

ทั้งสองฝ่ายต่างก็เีรียกร้องให้ทหารเข้าข้างตัวเอง สลายม็อบก็หาว่าเป็นพวกระบอบทักษิณ ทำรัฐประหาร ก็โดนต่อต้าน กลายเป็นพวกอำมาตยาธิปไตยหลงยุค

ดังนั้น การเลือกที่จะไม่ทำรัฐประหาร และไม่สลายม็อบ จึงหน้าจะเป็นทางเลือกที่ถูกต้องแล้ว แค่คอยป้องกันไม่ให้เหตุจลาจลขยายตัวต่อไป ก็น่าจะโอเคแล้วสำหรับบทบาทของทหารในขณะนี้





แต่สำหรับปัญหาทางการ เมือง ผมก็ไม่ทราบว่าจะจบที่ใดเหมือนกัน เพราะตอนนี้กำลังอยู่ช่วง Height ของสถานการณ์ ไม่ว่าจะเลือกทางใด เสนอทางออกอย่างไร มันก็ไม่มีทางจบสิ้นไปได้

การปิด ASTV ผมก็ไม่คิดว่าปัญหาจะจบ เพราะผมเชื่อว่า กลุ่มพันธมิตรนั้น มีช่องทาง และเครือข่ายสื่อสารของตนอยู่แล้ว (ส่วนใหญ่ก็ผ่าน สส. ปชป. นั่นแหละที่เกณฑ์คนมา) ASTV จึงเป็นแค่ลำโพงดังๆ ตัวหนึ่งเท่านั้น

ผม ไม่คิดว่า ASTV จะล้างสมองใครได้มากมายนัก แต่คนที่เชื่อ ASTV เขามีแนวโน้มที่จะเชื่ออย่างนั้นอยู่แล้ว พวกนี้คือ พวกที่เกลียดทักษิณแต่ต้นแล้ว และหา "สื่อที่ถูกใจตน" มาจรรโลงใจ ก็เหมือน พวกเราที่ชอบทักษิณ ก็จะชอบใจรายการ "ความจริงวันนี้" ไม่ใช่เพราะคุณวีระกล่อมให้เราเชื่อ แต่คุณวีระ และสองสหายที่เหลือ พูดตรงกับใจเราที่เชื่ออยู่แล้วเท่านั้นเอง

ASTV ดูเหมือนจะมีอิทธิพลแค่ทำให้คนที่สนับสนุนประชาธิปัตย์อยู่แล้ว มีความคิดที่ก้าวร้าวรุนแรงขึ้น และไม่เคารพกติกา พวกที่ติด ASTV ก็ พวกสนับสนุน ปชป. นั่นแหละ พวกชอบ ปชป. ไม่ได้ขยายจำนวนขึ้นมากมายแต่อย่างใด แต่พวกสนับสนุน ปชป. ยังไม่ได้ดู ASTV ทั้งหมดเท่านั้น เมื่อขยายเต็มแล้ว ASTV ก็ได้สมาชิกอย่างมากก็เท่ากับจำนวนผู้สนับสนุน ปชป. นั้นเอง

ผมก็ไม่คิดว่ารายการความจริงวันนี้ จะสามารถเกลี้ยกล่อมให้พวกที่ชอบ ASTV กลายมาเป็นคนสนับสนุน พรรคพลังประชาชนได้เช่นกัน

ดังนั้น เมื่อปิดไม่ได้ ก็คงต้องทำใจ

ความขัดแย้งทางการเมือง ยังคงมีอยู่ต่ออีกนาน อย่าด่วนคิดว่ามันจะจบวันสองวันนี้ มันจะอยู่กับเราไปอีกหลายปี จนกว่าทั้งสองฝ่ายจะเรียนรู้และเริ่มเบื่อหน่าย และหันมาตกลงกติกากันใหม่อีกที

ฝ่ายเราก็อยากได้ทหารเป็นพวก
พวกอำมาตย์ ก็ต้องการให้ทหารเป็นพวก

ก็มีข่าวลือ ข่าวปล่อย ที่เราได้ยินมาตลอดว่าจะมีการทำรัฐประหาร เมื่อโน้นเมื่อนี้ แต่อนุพงศ์ก็ไม่เอาด้วยกับคนที่สั่ง (คาดว่าไม่ใช่เปรม) สักที

ดังนั้น การที่จะคาดหวังว่า อนุพงศ์ จะมาเข้าข้างฝ่าย พปช. และเร่งสลายม็อบพันธมิตรนั้น ผมว่าเป็นความคาดหวังที่มากจนเกินไป

ความขัดแย้งการเมืองไทยครั้งนี้ "ผู้เล่นไม่ใช่เฉพาะที่เรามองเห็นเท่านั้น" มีผู้เล่นที่มอง "มือไม่เห็น" อยู่อีก อนุพงศ์ ก็ต้องยืนอยู่ระหว่างเขาควายให้ได้ก็แล้วกัน

ผมดูสถานะแล้วน่าสงสารเหมือนกัน เพราะเลือกทางใด ก็โดนด่าทั้งสิ้น

แต่ผมเชื่อว่า หากมีการ "จลาจลหนักขึ้น" เช่น เผาทำเนียบรัฐบาล วางระเบิดหลายจุด ทหารก็จำเป็นต้องเคลื่อนไหวเหมือนกัน สถานการณ์มันพาไป

ในชั้นต้นนี้ ไม่ฉวยโอกาสทำรัฐประหาร ผมก็พอใจแล้ว

และ พล.อ.อนุพงศ์ ก็พูดได้ดีว่า "การรัฐประหารมันไม่ใช่ประตูที่ปิดตาย" เท่านั้น แต่มันเป็นกำแพงที่ไม่มีประตูให้เลือกอีกด้วย

หวังว่าคงทำตามที่พูด แค่นี้ผมก็โอเคแล้ว

ยอมรับจริงๆ ว่าผมก็ไม่ไว้ใจทหารเหมือนกัน ไม่ต้องมาเป็นพวก แต่ยืนอยู่เฉยๆ ป้องกันคนตีกัน และการเผาเมืองก็พอแล้ว

คิดว่าขอแค่นี้ คงไม่ได้มากมายอะไรนัก

เมื่อไม่มีรัฐประหาร และนายกฯสมัคร ไม่ลาออก ฝ่ายพันธมิตรก็ยังไม่ชนะเหมือนเดิม และฝ่ายประชาธิปไตยก็ยังไม่แ้พ้


จาก thaifreenews

สมัคร เผยจะทบทวนประกาศภาวะฉุกเฉินเร็ว ๆ นี้

สนามหลวง 5 ก.ย.- “สมัคร สุนทรเวช” ย้ำการประกาศภาวะฉุกเฉินเป็นไปตามขั้นตอน มอบอำนาจ ผบ.ทบ.จัดการ ยืนยันไม่ได้ยึดอำนาจคืนอย่างที่สื่อฯ เสนอข่าว เผยอาจจะทบทวนประกาศภาวะฉุกเฉินใน 1-2 วันนี้ ระบุเมื่อคนไม่เคารพ ก็ไม่จำเป็นต้องมี

นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ยืนยันว่า การประกาศใช้ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เป็นไปตามขั้นตอน และได้มอบอำนาจให้กับ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก ดูแลสถานการณ์ในช่วงที่มีการประกาศใช้ พ.ร.ก.ดังกล่าว แต่พอมีมติคณะรัฐมนตรี เรื่องกำหนดอำนาจหน้าที่รัฐมนตรีเป็นอำนาจนายกรัฐมนตรี ก็ไปลงข่าวว่าตนยึดอำนาจจากผู้บัญชาการทหารบก

“ผมและ ผบ.ทบ.คุยกันเมื่อวานนี้ (4 ก.ย.) ว่า ที่สื่อฯ ลงข่าวไม่เป็นความจริง สื่อฯ ไปลงข่าวให้มีความเสียหาย ทำไมไม่ดูช่วงท้ายประกาศว่า อำนาจทั้งหมดให้กับ ผบ.ทบ.เป็นคนใช้ ความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ผมก็เห็นใจฝ่ายทหาร ที่อาจจะทำงานลำบาก สังคมไทยทุกวันนี้ไม่ยอมรับอะไรที่ถูกต้อง” นายสมัคร กล่าว

ส่วนการยกเลิกการประกาศใช้ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ในพื้นที่กรุงเทพฯ นั้น นายสมัคร กล่าวว่า ก่อนประกาศใช้ ได้ดูเหตุการณ์ทั้งหมดอย่างรอบคอบแล้ว จึงประกาศออกมา เพื่อเฝ้าระวังสถานการณ์ ตามกฎหมายการประกาศใช้ พ.ร.ก.ดังกล่าว จะอยู่ได้ 3 เดือน แต่คงจะไม่ลากให้ถึงขนาดนั้น “ผมคิดมานานแล้ว หากทำอะไรแล้วคนขัดขืน แล้วเสียหาย ก็จะหารือภายใน 1-2 วันนี้ เพราะเมื่อคนไม่เคารพ ก็ไม่ต้องออกก็ได้ แต่ถ้าจะยกเลิกต้องปรึกษาก่อน เพราะก่อนที่จะประกาศก็มีการหารือ ผมยืนยันว่า แนวทางที่ทำมาทุกอย่างเป็นเรื่องที่ถูกต้อง ผมไม่ได้เป็นคนสร้างความแตกแยกให้บ้านเมือง ต้องย้อนถามพันธมิตรฯ ด้วย ทำไมไม่มีคนเอ่ยถึงต้นเหตุของปัญหา” นายสมัคร กล่าว

เมื่อถามว่า หากทิ้งปัญหาให้ค้างคาอย่างนี้จะทำให้เกิดสงครามกลางเมืองหรือไม่ นายสมัคร ย้อนถามว่า จะเกิดได้อย่างไร ในเมื่อต่างฝ่ายต่างไม่มีอาวุธ ตำรวจและทหารไม่ใช้อาวุธ บ้านเมืองสงบเรียบร้อย และหากทุกคนเป็นคนไทยจะต้องไม่เอ่ยถึงคำคำนี้ ส่วนความเป็นไปได้ที่จะเจรจากับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย นายสมัคร ยืนยันว่า ไม่เจรจา และว่า “ พันธมิตรฯ บอกว่า จะไม่เจรจากับรัฐบาล ไม่เจรจากับผม ผมก็ไม่เจรจาด้วย ถ้าประธานวุฒิสภาจะเป็นคนกลางไกล่เกลี่ย ก็เป็นเรื่องของท่าน วันนี้ไม่ใช่เรื่องของผม”

นายสมัคร ยังกล่าวด้วยว่า รู้สึกประหลาดใจที่คนในบ้านเมืองนี้ไม่ยอมยึดถืออะไรที่เป็นหลักการ รวมถึงนักวิชาการที่มีความรู้ ก็ยังเข้าข้างกลุ่มคนที่ทำผิดกฎหมายมายึดทำเนียบรัฐบาล พร้อมย้ำว่า สิ่งที่ได้พยายามทำอยู่ทุกวันนี้ คือ สร้างกฎเกณฑ์ให้ดี ทำเพื่อสถานการณ์บ้านเมือง ไม่ให้ถูกชาวโลกดูแคลน ว่าเป็นบ้านป่าเมืองเถื่อน และว่า “ผมประกาศจะไม่มีวันยอมแพ้ และไม่ยอมให้สถานการณ์อย่างนี้เกิดขึ้น คนทั่วประเทศเฝ้ารอดู ถึงได้อยากให้ประชาชนวินิจฉัยด้วยการลงประชามติ”.-สำนักข่าวไทย


อัพเดตเมื่อ 2008-09-05 17:34:09

ยุ่งไม่เลิก

ต้องยอมรับว่าการจะโค่นล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งไม่ใช่เรื่องง่ายๆ

แต่การกดดันให้นายกฯ สมัคร สุนทรเวช ลาออก ยิ่งยากกว่า 2 เท่า!!

เพราะเสือเฒ่าลายพาดกลอนตัวนี้ ทั้งดุทั้งดื้อ แถมหนังเหนียวเคี้ยวยากอีกตะหากด้วย

ฉะนั้น ถ้ายังดิ้นสู้ฟัดต่อไปได้ “สมัคร” ไม่ยอมลาออกแน่ๆ!!

แถม 6 พรรคร่วมรัฐบาลยังเกาะกลุ่มกันเหนียวแน่น โอกาสจะสลายขั้วการเมืองจึงมีความเป็นไปได้น้อยมาก

แต่ในสถานการณ์ที่รัฐบาลถูกกดดันรอบด้าน “สมัคร” ก็ยังมีกลยุทธ์ ที่จะทำให้ ปัญหายืดเยื้อไปเรื่อยๆ

การที่คณะรัฐมนตรีประกาศเดินหน้าจัดออกเสียงประชามติ เพื่อให้ประชาชนทั่วประเทศตัดสินชี้ขาดต่อปัญหาขัดแย้งที่เกิดขึ้น ก็เป็นเกมซื้อเวลา โดยใช้กระบวนการยุติความขัดแย้งที่รัฐธรรมนูญมาตรา 165 เปิดช่องให้ทำได้

ความจริงไม่ใช่ครั้งแรกที่รัฐบาลเสนอให้ออกเสียงประชามติเพื่อฟัง ความเห็นของคนไทยทั้งประเทศ

เพราะช่วงที่เกิดกระแสต่อต้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ “นายกฯสมัคร” ก็เคยเสนอให้จัดออกเสียงประชามติเพื่อฟังว่าเสียงประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยหรือไม่??

แต่เนื่องจากติดปัญหาร่าง พ.ร.บ.ออก เสียงประชามติของ กกต.ยังไม่คลอด

เมื่อยังไม่มีกฎหมายรับรอง การจัดออกเสียงประชามติประเด็นแก้รัฐธรรมนูญจึงทำไม่ได้!!

ในความเห็นของ “แม่ลูกจันทร์” การทำประชามติเพื่อผ่าทางตันวิกฤติชาติอาจจะสายเกินแก้??

ถึงแม้รัฐธรรมนูญเปิดช่องให้ทำได้ แต่ไม่สามารถทำได้รวดเร็วทันใจ เนื่องจากกฎหมายกำหนดให้รัฐบาลต้องเสนอประเด็นที่จะขอประชามติ ให้ประชาชนทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 20 วัน

ถ้ารวมเวลาที่ กกต.จะต้องเตรียมการจัดออกเสียงประชามติอีก 30 วัน

เท่ากับต้องใช้เวลาอีกเดือนครึ่ง!!

หรืออย่างเร็วที่สุดก็ปลายเดือนหน้า

คำถามก็คือ กว่าจะถึงวันออกเสียงประชามติปลายเดือนตุลาคม รัฐบาลจะประคองตัวรอดไปถึงวันนั้นหรือไม่??

และยังมีอุปสรรคสำคัญที่ทำให้การออกเสียงประชามติเกิดขึ้นไม่ได้...

เพราะถึงแม้ร่าง พ.ร.บ.ประชามติผ่านความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรไปแล้ว แต่ยังติดค้างคอขวดอยู่ที่วุฒิสภา ซึ่งจะมีการพิจารณาเห็นชอบกฎหมายฉบับนี้ในวันจันทร์หน้า

คาดว่าที่ประชุมวุฒิสภาคงไม่ยอมให้ พ.ร.บ.ประชามติผ่านออกไปง่ายๆ

เพราะตามกติกา วุฒิสภามีเวลา 90 วันในการทำคลอด!!

เอาเถอะ...ถึงจะคลอดผ่านวุฒิสภาออกมาได้ ก็จะมีนักเลงดียื่น ศาลรัฐธรรมนูญตีความ ก.ม.ประชามติ ว่าขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่??

เนื่องจากมาตรา 165 วรรค 2 มีข้อห้ามว่าการออกเสียงประชามติในประเด็นขัดแย้งการเมือง หรือขัดแย้งตัวบุคคล ไม่สามารถทำได้

สรุปว่า รัฐบาลจะทำอะไรก็ติดขัดไปทุกเรื่อง

แต่เหรียญย่อมมี 2 ด้าน คนที่สนับสนุนให้ทำประชามติก็มีมาก

เพราะจะได้รู้คำตอบที่แท้จริงว่าคนส่วนใหญ่คิดอย่างไรต่อปัญหาขัดแย้งที่เกิดขึ้น??

ข้อสำคัญ เมื่อรัฐบาลจะเดินหน้าจัดออกเสียงประชามติ การประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินก็ต้องถูกยกเลิก!!

แต่ก็มาติดขัดปัญหาสุดท้ายคือ พรรคฝ่ายค้านและกลุ่มพันธมิตรฯจะยอมรับผลประชามติหรือไม่??

ถ้าไม่ยอมรับ...สองพันล้านบาทที่ใช้จัดออกเสียงประชามติ ก็สูญฟรีน่ะซีท่าน.

แม่ลูกจันทร์


ตั้ง สาโรจน์ อดีตปลัด กต. เป็น รมต.

ผู้สื่อข่าวรายงานเมื่อวันที่ 5 ก.ย.ว่า นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ได้ลงนามในหนังสือความขึ้นกราบบังคมทูลเกล้าฯถวายเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศคนใหม่แทนนายเตชบุนนาค ที่ได้ยื่นใบลาออกไปตั้งแต่เมื่อวันที่ 3 ก.ย.ที่ผ่านมา โดยนายสมัครได้เสนอแต่งตั้งนายสาโรจน์ ชวนะวิรัช อดีตปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เข้ามาเป็น รมว.ต่างประเทศคนใหม่ ทั้งนี้ เมื่อเวลา 15.45 น. นายสุรชัย ภู่ประเสริฐ เลขาธิการ ครม.ได้มารับหนังสือเพื่อส่งไปยังสำนักราชเลขาธิการเพื่อดำเนินการตามขั้นตอนนำความขึ้นกราบบังคมทูลเกล้าฯถวายเรียบร้อยแล้ว

ทั้งนี้ เหตุผลที่สมัครเสนอแต่งตั้งนายสาโรจน์เข้ามารับตำแหน่ง เนื่องจากเห็นว่าเป็นบุคลากรทางด้านการทูต มีประสบการณ์การทำงานด้านการต่างประเทศโดยตรง รับราชการในกระทรวงจนเกษียณอายุราชการในตำแหน่งปลัดกระทรวงการต่างประเทศและเคยดำรงตำแหน่งสำคัญๆ อาทิ อดีตเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มประจำสาธารณรัฐฝรั่งเศส (กรุงปารีส)

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับการแต่งตั้งนายสาโรจน์ มาเป็น รมว.ต่างประเทศคนใหม่นั้น แกนนำสำคัญที่ใกล้ชิดนายสมัครได้หารือร่วมกัน และได้รับคำปรึกษาแนะนำจากนายประจวบ ไชยสาส์น อดีตรองหัวหน้าพรรคไทยรักไทยและอดีต รมว.ต่างประเทศ แนะนำชื่อนายสาโรจน์เข้ามาให้พิจารณา ทุกคนเห็นว่ามีคุณสมบัติเหมาะสม เนื่องจากเป็นนักการทูตตรงตามสายงาน จึงแจ้งให้นายสมัครเป็นผู้ไปติดต่อทาบทามด้วยตนเอง การที่สามารถหาคนมาเป็น รมว.ต่างประเทศคนใหม่ได้อย่างรวดเร็ว แกนนำในรัฐบาลวิเคราะห์ว่าจะเป็นผลดีต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาล เพราะที่ผ่านมามักถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าไม่มีใครที่อยากจะเข้ามารับตำแหน่งในรัฐบาลชุดนี้


“นิสิต” ลั่นชุมนุมทั่วประเทศจนกว่า “กบฏ” จะยอมมอบตัวตำรวจ


เริ่มแล้ว ! เวทีแนวร่วมปกป้องประชาธิปไตยคึกคัก ประชาชนหนุนแสดงพลังปกป้องประชาธิปไตยทุกวัน ที่ลานท่าน้ำนนท์ ด้าน “อดิศร เพียงเกษ” ประเดิมขึ้นเวที ปลุกพลังเงียบไล่เผด็จการ ขณะที่ “นิสิต สินธุไพร” ลั่นชุมนุมจนกว่ากบฏทั้ง 9 คนจะยอมมอบตัวกับตำรวจ คาดมีประชาชนเข้าร่วมฟังการปราศรัยไม่ต่ำกว่า 5 พันคน พร้อมเปิดเวทีทุกจังหวัดทั่วประเทศ

บรรยากาศวันเปิดเวทีแนวร่วมปกป้องประชาธิปไตยที่ลานท่าน้ำนนท์ จังหวัดนนทบุรี เป็นไปอย่างคึกคัก แม้ช่วงแรกจะเกิดพายุฝนกระหน่ำอย่างหนัก แต่หลังจากฝนหยุดตก นาย “อดิศร เพียงเกษ” อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย ได้ขึ้นเวทีปราศรัยขอมติจากพี่น้องประชาชนที่จะเปิดเวทีทุกวัน ปรากฏว่าได้รับเสียงตอบรับอย่างกึกก้อง

นายอดิศร กล่าวว่า จากนี้ไปจะมีการปราศรัยทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ โดยมีเป้าหมายชัดเจน ไม่นำคนมาปะทะกันและทำความเข้าใจประชาชนเกี่ยวกับการทำประชามติที่เป็นแนวทางหนึ่งที่จะยุติความขัดแย้งในบ้านเมืองได้

ขณะที่ นายนิสิต สินธุไพร ส.ส.ร้อยเอ็ด กล่าวว่าการชุมนุมครั้งนี้นอกจากได้จัดขึ้นที่บริเวณท่าน้ำนนท์ทุกวันแล้ว ในต่างจังหวัดก็จะจัดอย่างยิ่งใหญ่โดยเฉพาะใน 19 จังหวัดภาคอีสานที่พ่อแม่พี่น้องจะต้องออกมาร่วมแสดงพลังเพื่อปกป้องประชาธิปไตย ซึ่งพี่น้องต้องไม่ยอมให้อำนาจเผด็จการเข้ามายึดประเทศอย่างเด็ดขาด เราต้องร่วมมือกันอย่างเข็มแข็ง ทั้งนี้การชุมนุมจะยืดเยือแค่ไหนนั้นก็อยู่ที่ว่ากลุ่มกบฏทั้ง 9 คนจะยอมมอบตัวกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อรับโทษอาญาแผ่นดินต่อไป

นายสุทิน คลังแสง ส.ส.มหาสารคาม กล่าวว่า ตั้งแต่เข้ามาเล่นการเมืองตนเป็นมาแล้วทุกอย่าง รวมทั้งได้ต่อสู้ทางการเมืองมาแล้วทุกรูปแบบ ดังนั้นวันนี้ตนจะขอเป็นหัวหน้าม็อบดูบ้าง เพราะประเทศชาติบอบช้ำมามากแล้ว โดนกลุ่มที่อ้างตัวว่าเป็นพันธมิตรเพื่อประชาธิปไตย แต่กลับเรียกร้องการเมืองแบบ 70 30 ซึ่งเป็นสิ่งที่รับไม่ได้ อีกทั้งพรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคการเมืองเก่าแก่ ไม่เคยเข้าใจประชาชนเลย ที่ผ่านมามักจะเข้าใจแต่กลุ่มพันธมิตรฯ เท่านั้นขอให้พ่อแม่พี่น้องจงจำเอาไว้

ด้านนายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ ส.ส.นครราชสีมา พรรคพลังประชาชน กล่าวว่า ได้มีการประชุมแกนนำของพรรค โดยมีมติตั้ง กลุ่มปกป้องประชาธิปไตยหยุดคนทำลายประเทศ และเปิดตัวกลุ่มครั้งแรกในวันที่ 5 ก.ย.นี้ที่ท่าน้ำนนทบุรี จะมีนักวิชาการ ส.ส.ของพรรค รวมถึงอดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย111 คนเข้าร่วม เช่น นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ร่วมขึ้นเวทีปราศรัย เพื่อเชิญชวนพลังเงียบปกป้องประชาธิปไตยคาดว่าจะมีประชาชนเข้าร่วมฟังการปราศรัยไม่ต่ำกว่า 5 พันคน และจะมีการเปิดเวทีปราศรัยแบบนี้ทุกจังหวัดทั่วประเทศเริ่มวันเสาร์นี้ในจังหวัดใหญ่ และจังหวัดที่มีความพร้อม เช่น จ.นครราชสีมา อุบลราชธานี ขอนแก่น เชียงใหม่

ผู้สื่อข่าวรายงานจากที่ทำการพรรคพลังประชาชนว่า มีการประชุมแกนนำพรรคพลังประชาชนเพื่อประเมินสภานการณ์ทางการเมือง และหารือแนวทางการต่อสู้ของพรรคในสถานการณ์ปัจจุบัน โดยมีนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตี และ รมว.ศึกษาธิการ ฐานะรองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน เป็นประธานการประชุม พร้อมแกนนำเช่น นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ ร.ท.กุเทพ ใสกระจ่าง โฆษกพรรค นายสุทิน คลังแสง ส.ส.มหาสารคาม นายสงคราม กิจเลิศไพโรจน์ เหรัญญิกพรรค เป็นต้นเข้าร่วมประชุม

ร.ท.กุเทพ ใสกระจ่าง โฆษกพรรคพลังประชาชน แถลงหลังการประชุมว่า ที่ประชุมได้ตั้งคณะทำงานด้านยุทธศาสตร์ทำงานการเมืองของพรรคมีนายสมชาย เป็นหัวหน้า เพื่อเดินหน้ารักษาประชาธิปไตย ระบบ และกฎหมาย เพื่อทำงานให้ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าพรรคพลังประชาชน ยืดหยัดอยู่ได้อย่างไร หากถูกกดดันจากกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและสนับสนุนให้นายกรัฐมนตรีอยู่ต่อไป ไม่ลาออกหรือยุบสภา เพื่อรักษาระบอบประชาธิปไตย

นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้ตั้งทีมทำงานย่อยประกอบด้วย 1.ด้านสื่อสารมวลชน และการประชาสัมพันธ์เพื่อเชื่อมโยงกับรัฐมนตรีของพรรคให้ออกมาแสดงบทบาท ต่อสาธารณะในด้านต่างๆ ให้ประชาชนได้รับทราบ โดยเฉพาะผลเสียของการชุมนุม ของกลุ่มพันธมิตรฯทำให้ประเทศชาติเสียหายอย่างไร มีตนเป็นหัวหน้าทีมและยังมีคณะทำงาน อาทิ นายสุทิน คลังแสง ส.ส.มหาสารคาม นายนิสิต สินธุไพร ส.ส.ร้อยเอ็ด นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล ส.ส.แพร่

2.ทีมงานมวลชน ทำหน้าที่ประสานงานมวลชนกลุ่มต่างๆ ที่สนับสนุนรัฐบาล และพรรคพลังประชาชนเราจะต้องเข้าไปมีส่วนกับมวลชนเหล่านั้นด้วยโดยมีรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้น และส.ส.ในพื้นที่ของมวลชนนั้นรับผิดชอบเป็นกรณีๆไป 3.ทีมทำงานด้านกฎหมาย มีนายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นหัวหน้าทีม มีหน้าที่ชี้แจงถึงเรื่องต่างๆ ในตามหลักนิติรัฐ นอกจากนี้ยังมีแกนนำของพรรคคนอื่น พร้อม111 อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย ที่จะมาร่วมในการแสดงความคิดเห็นในด้านต่างๆ ด้วยเช่น นายจาตุรงค์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย นายอดิศร เพียงเกษ นายพงษ์เทพ เทพกาญจนา อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย


กลุ่มโดมแดงมธ.ออกแถลงการณ์หนุนรัฐทำประชามติจี้พธม.มอบตัว-ออกพ้นทำเนียบ

แถลงการณ์กลุ่มโดมแดง ฉบับที่ 1/2551

“กล้าทำ กล้ารับ” ตามแนวทางอารยะขัดขืน, ต่อต้านการพราก/ยึดอำนาจในการตัดสินใจของเรา, รักษาไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตย

สืบเนื่องจากความพยายามในการขับไล่ “โค่นล้ม” รัฐบาลของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้นำมาซึ่งปัญหาความยุ่งยากและความรุนแรงดังที่ปรากฏ และมีแนวโน้มที่ชัดแจ้งว่า จะนำไปสู่การทำลายหลักการและระบอบประชาธิปไตย อย่างที่เคยเกิดขึ้นในอดีต

เรา “กลุ่มโดมแดง” เป็นกลุ่มอิสระเล็กๆ ที่เป็นการรวมตัวกันของนักศึกษาธรรมศาสตร์ และศิษย์เก่า ในฐานะสมาชิกของชุมชนทางการเมืองนี้ มีความเห็นและข้อเรียกร้องดังต่อไปนี้

1. ต่อความขัดแย้งทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย ความเห็นที่แตกต่างและความขัดแย้งทางการเมืองเป็นเรื่องปกติในสังคมประชาธิปไตย และสามารถที่จะแสดงออกได้ด้วยวิธีการต่างๆ แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นเพราะผู้ที่มีส่วนในความขัดแย้งใช้ความรุนแรงเป็นเครื่องมือ/วิธีการเพื่อบรรลุเป้าหมายของตน ไม่ว่าจะเป็นการใช้ความรุนแรงโดยตรงหรือสร้างเงื่อนไขให้เกิดความรุนแรงเพื่อบรรลุเป้าหมาย

2. ต่อพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย การแสดงออก การชุมนุมทางการเมืองเป็นสิทธิที่สามารถกระทำได้ แต่ต้องเป็นไปโดยสันติและปราศจากอาวุธเท่านั้น ดังนั้น หากพันธมิตรฯ มีความบริสุทธิ์ใจ ต้องปลดอาวุธกองกำลัง/ผู้เข้าร่วมชุมนุมของตนเอง หรืออนุญาตให้เจ้าหน้าที่รัฐทำการปลดอาวุธให้ในกรณีที่ไม่สามารถควบคุมหรือจัดการเองได้
นอกจากนั้น เจ้าหน้าที่รัฐที่ปฏิบัติหน้าที่ดูแลการชุมนุม ต้องปลดอาวุธของตนเอง และกลุ่มอื่นๆ ทุกกลุ่มที่ออกมาเคลื่อนไหวเพื่อป้องกันไม่ให้มีการใช้อาวุธมาห้ำหั่น/เข่นฆ่ากันอย่างที่เกิดขึ้น

ทั้งนี้ เนื่องจากพันธมิตรฯ ระบุว่าการกระทำของตน ไม่ว่าจะเป็นการยึดทำเนียบรัฐบาลหรือสถานีโทรทัศน์ เป็น “อารยะขัดขืน” อันเป็น “การกระทำทางการเมืองซึ่งมีลักษณะเป็นสาธารณะ (public) สันติวิธี (nonviolent) และมีมโนธรรมสำนึก (conscientious) ที่ขัดต่อกฎหมาย (contrary to law) ปกติเป็นสิ่งที่ทำโดยมุ่งให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในกฎหมาย (in the law) หรือนโยบายของรัฐบาล” ซึ่ง “ต้องยอมรับผลที่เกิดขึ้นจากการละเมิดกฎหมายนั้น” ด้วย
ดังนั้น เราขอเรียกร้องให้ผู้นำพันธมิตรฯ หยุดการใช้ความรุนแรงเป็นเครื่องมือ เอาชีวิตและเลือดเนื้อของประชาชนเป็นตัวประกัน เพื่อโค่นล้มรัฐบาล ด้วยการแสดงความกล้าหาญและมี “อารยะ” ตามคำกล่าวอ้าง โดยการมอบตัวแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจตามหมายศาล เพื่อเผชิญหน้ากับกระบวนการยุติธรรมตามปกติ ตามหลัก “กล้าทำ ต้องกล้ารับ” ส่วนการชุมนุมประท้วงรัฐบาลยังคงดำเนินต่อไปได้ในที่อื่นที่เหมาะสมกับการแสดงออกตามสิทธิเสรีภาพในระบอบประชาธิปไตย ไม่เช่นนั้นการกระทำของพันธมิตรฯ ก็ไม่แตกต่างจากการกระทำของอันธพาลการเมืองที่วางอำนาจบาตรใหญ่อยู่เหนือกฎหมาย

3. ต่อประชาชน ข้อเรียกร้องให้รัฐบาลลาออกโดยไม่มีเงื่อนไข รวมทั้งการใช้ความรุนแรงเป็นเครื่องมือ เอาชีวิตและเลือดเนื้อของประชาชนเป็นตัวประกัน ข่มขู่ กดดัน เพื่อโค่นล้มรัฐบาล ของพันธมิตรฯ และเครือข่ายไม่ว่าจะในนามใด เป็นข้อเรียกร้องและการกระทำที่ขาดความชอบธรรมและฉวยโอกาส แม้ว่าผู้คนอาจจะมีท่าทีต่อรัฐบาลที่แตกต่างกัน แต่การยินยอมให้พันธมิตรฯ ใช้ “กฎหมู่” บีบบังคับรัฐบาล และผู้คนในสังคมให้ยอมรับข้อเรียกร้องของตน เป็นการทำลายระบอบประชาธิปไตย เป็นการยึด ลิดรอน สิทธิ เสรีภาพ และอำนาจอธิปไตยที่เป็นของเราทุกคนไปพร้อมกันด้วย ดังนั้น หากใครไม่เห็นด้วยกับการกระทำของพันธมิตรฯ ควรร่วมกันแสดงออกอย่างสันติเพื่อคัดค้านการนำสังคมการเมืองไปสู่ “อนาอารยะ” ของพันธมิตรฯ ทั้งหมดนี้ มิใช่เพื่อปกป้องรัฐบาลที่เราชอบหรือไม่ชอบ แต่เป็นไปเพื่อรักษาระบอบประชาธิปไตยไว้

4. ต่อรัฐบาล รัฐบาลและเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องมีความอดทนและระมัดระวังในการดำเนินการหรือบังคับใช้กฎหมาย ป้องกัน ระงับไม่ให้เกิดความรุนแรง และยุติวิธีการใดๆ ที่อาจจะนำไปสู่ความรุนแรง เพราะรัฐมีหน้าที่ในการปกป้อง พิทักษ์ สิทธิ เสรีภาพ ชีวิตและทรัพย์สินของพลเรือน ความรุนแรงจะทำให้รัฐบาลสูญเสียความชอบธรรม และถูกใช้เป็นเครื่องมือของฝ่ายต่อต้านในการล้มล้างรัฐบาล หรือถูกฉกฉวยโดยอำนาจอื่นในการใช้อำนาจนอกระบบมาแทรกแซงหรือทำลายระบอบประชาธิปไตยได้ ดังที่ปรากกฎมาก่อนหน้านี้

สำหรับการริเริ่มของรัฐบาลในการเสนอให้มีการจัดทำประชามติเพื่อสอบถามความเห็นของประชาชนตามรัฐธรรมนูญในมาตรา 165 (1) นั้น ในทางหลักการ เป็นแนวคิดที่ดี แต่จะต้องมีการกำหนดประเด็นที่ชัดเจนและมีกระบวนการที่ยุติธรรม เปิดกว้างให้มีการรณรงค์แสดงความคิดเห็นทั้งสนับสนุนและคัดค้านอย่างกว้างขวางตามหลักสากล โดยมีระยะเวลาที่เพียงพอเหมาะสม ไม่ใช่ประชามติแบบ “มัดมือชก” อย่างการประชามติรัฐธรรมนูญฉบับ คมช.

5. ท้ายที่สุด เราเห็นว่า “การใช้สันติวิธีของทุกฝ่าย” ในการรับมือกับความขัดแย้งแม้จะไม่สามารถการันตีผลลัพธ์ที่ต้องการของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือยุติความขัดแย้งและความคิดเห็นที่แตกต่างทางการเมืองได้ แต่จะไม่พรากชีวิตของผู้ใดในการต่อสู้แข่งขันทางการเมืองอีก ทำให้เราอยู่กับความขัดแย้งอย่างมีอารยะ และธำรงไว้ได้ซึ่งระบอบประชาธิปไตยได้
เชื่อมั่นในระบอบประชาธิปไตย

กลุ่มโดมแดง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
5 กันยายน 2551



Friday, September 5, 2008

สงครามครั้งสุดท้าย

คอลัมน์ : ตาต่อตา ฟันต่อฟัน

“...ประชาชนที่ให้การสนับสนุนกลุ่มพันธมิตรฯ ไม่ว่าการเข้าร่วมชุมนุม เงินหรือสิ่งของ การก่อความวุ่นวาย ทำผิดกฎหมายโดยปิดถนน ปิดสนามบิน หรือแม้กระทั่งสนับสนุนอยู่กับบ้าน โดยการรับฟังผ่านสื่อที่ปลุกระดมอยู่นั้น ได้ฉุกคิดหรือไม่ว่า กำลังให้การสนับสนุนกลุ่มคนที่มีเจตนาล้มล้างอำนาจอธิปไตยของประเทศนี้...”

ผมเริ่มต้นเขียนบทความนี้ด้วยความยากลำบาก มิใช่เพราะไม่มีอะไรจะเขียน หรือไม่มีข้อมูลหรือเรื่องราวที่จะนำมาบอกเล่าให้กับท่านผู้อ่านได้รับรู้

หากแต่เป็นเพราะจิตใจที่รู้สึกสลดหดหู่กับสภาวการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ในห้วง 2-3 วันที่ผ่านมา

เป็นความรู้สึกที่ผมมั่นใจว่าคงจะเหมือน และไม่แตกต่างจากพี่น้องชาวไทยจำนวนมาก ที่เห็นว่าขณะนี้บ้านเมืองต้องประสบกับความเลวร้ายรุนแรง และสิ่งที่เกิดขึ้นเพราะกลุ่มคนบางกลุ่มได้สร้างความวุ่นวายอย่างยืดเยื้อยาวนาน ที่ล่วงละเมิดต่อกฎหมาย โดยเริ่มต้นจากการทำผิดกฎหมายที่มีโทษไม่รุนแรง จนถึงขนาดกระทำผิดต่อความมั่นคงของรัฐ เป็นกบฏ แต่ทว่าจนถึงวันนี้กลับยังคงลอยนวลอยู่ และกฎหมายก็ยังทำอะไรไม่ได้กับกลุ่มคนเหล่านี้

มิหนำซ้ำยังเหิมเกริม ท้าทายอำนาจรัฐอยู่ โดยมิยำเกรง และคงจะกล่าวได้ว่า อำนาจอธิปไตยทั้งสามได้ถูกกระทำย่ำยีจนหมดความหมายไปแล้ว จากกลุ่มคนที่เรียกตัวเองว่า พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย

การแสดงการไม่ยอมรับต่ออำนาจนิติบัญญัติ หรืออำนาจบริหาร เป็นเรื่องที่พอเข้าใจได้ เพราะกลุ่มดังกล่าวได้แสดงท่าทีชัดเจนว่า ไม่รับรัฐบาลที่มีนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันเป็นผู้นำ และไม่ยอมรับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคร่วมรัฐบาล

แต่การปฏิเสธไม่ยอมรับต่อหมายของศาล ไม่ว่าศาลอาญา หรือศาลแพ่ง เป็นเรื่องยากยิ่งที่กลุ่มคนดังกล่าวจะอธิบายให้ผู้คนทั้งประเทศเข้าใจ เพราะในขณะที่กลุ่มคนดังกล่าวพยายามเรียกร้องให้มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดกับคนอื่นๆ แต่ตัวเองกลับปฏิเสธอำนาจศาล ซึ่งเป็นอำนาจอธิปไตยสำคัญที่อยู่เป็นหลักคู่บ้านเมือง และเป็นที่ยอมรับของประชาชนคนไทยทั่วประเทศว่า เป็นที่พึ่งสุดท้ายของประชาชน

การกระทำเช่นว่านี้ของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จะเป็นอะไรไปไม่ได้ นอกจากการสำแดงให้เห็นถึงการปฏิเสธต่ออำนาจรัฐ ซึ่งหมายรวมถึงอำนาจอธิปไตยทั้งสามอำนาจ ตามกระบวนการปกครองของประเทศนี้ กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้สำแดงให้เห็นว่า กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยปฏิเสธระบอบประชาธิปไตย เพราะกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย คือ อนาธิปไตย

มิเพียงเท่านั้น ยังปลุกปั่นยุยงประชาชนเพื่อให้ออกมาต่อต้านรัฐ โดยการสร้างความปั่นป่วน ก่อให้เกิดความกระด้างกระเดื่อง ซึ่งเป้าหมายก็คือ การล้มอำนาจรัฐ อันหมายถึงอำนาจอธิปไตยทั้งสาม ซึ่งภายใต้รัฐธรรมนูญ พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจผ่านคณะรัฐมนตรี รัฐสภา และศาล

เวลานี้ กลุ่มประชาชนที่ให้การสนับสนุนกลุ่มพันธมิตรเพื่อประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ไม่ว่าการสนับสนุนโดยการเข้าร่วมชุมนุม เงินหรือสิ่งของ การก่อความวุ่นวาย ทำผิดกฎหมายโดยปิดถนน ปิดสนามบิน หรือแม้กระทั่งสนับสนุนอยู่กับบ้านโดยการรับฟังผ่านสื่อที่ปลุกระดมอยู่นั้น ได้หันมาฉุกคิดหรือไม่ว่า ท่านกำลังให้การสนับสนุนกับกลุ่มคนที่มีเจตนาเป้าหมายเพื่อล้มล้างอำนาจอธิปไตยของประเทศนี้

บรรดานักวิชาการ ปัญญาชน และกลุ่มชนชั้นนำของสังคม ได้หันมาพิจารณาทบทวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมด นับจากจุดเริ่มต้นบ้างหรือไม่ว่า แท้จริงแล้ว เป้าหมายของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย มีอะไรซ่อนเร้นอยู่ และการที่ท่านได้เผลอตัวเผลอใจให้การสนับสนุน

ไม่ว่าการแสดงความคิดเห็นที่อ้างว่าเป็นความคิดเห็นทางวิชาการนั้น จะก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญต่อประเทศนี้อย่างไร และการที่นักวิชาการอย่างท่านทั้งหลายมิได้แสดงให้เห็นว่าท่านปฏิเสธ หรือไม่เห็นด้วยกับกลุ่มคนที่ล่วงละเมิดต่อกฎหมายอย่างร้ายแรงนั้น คือการสร้างจุดด่างให้กับแวดวงวิชาการของท่านแล้ว หรือท่านตัดสินใจเลือกข้างเพราะอคติ ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น ท่านได้โปรดอย่าได้อ้างความเป็นนักวิชาการต่อไปเลย เพราะหากเป็นเช่นนั้นแล้ว ท่านก็คงไม่ต่างกับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่ต่อต้านและล้มล้างอำนาจรัฐ และท่านยอมรับอนาธิปไตย

คนไทยทุกคนควรจะใช้เวลาตรึกตรองถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหรือยังว่า นับแต่นี้ต่อไป ประเทศไทยจะเดินต่อไปอย่างไร หากรัฐบาลลาออกหรือมีการยุบสภาตามความเห็นของใครหลายคนแล้ว จะทำให้ปัญหาทั้งหลายหมดไปจริงหรือ

หรือวันนี้เราต้องยินยอมพร้อมใจให้กับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เป็นผู้ตัดสินอนาคตของเราทุกคน เพราะเราทุกคนเห็นว่า ระบอบการปกครองของเราที่เป็นอยู่ล้มเหลว และไม่อาจจะใช้ได้อีกต่อไป ตามแนวคิดของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย

ใครจะยอมศิโรราบต่อกลุ่มอำนาจเถื่อนนี้ ผมคงไม่ว่าอะไรหรอกครับ แต่ผมคนหนึ่งที่ขอปฏิเสธ และจะไม่ขอสลดหดหู่จมปลักกับสถานการณ์นี้ จนไม่คิดจะทำอะไรหรอกครับ

แต่ผมจะยืนสู้กับกลุ่มนี้อย่างไม่เกรงกลัว และขอเรียกร้องให้ประชาชนทุกคนได้ลุกขึ้นสู้ร่วมกับผม

เรามาร่วมกันลุกขึ้นต่อสู้กับอำนาจเถื่อนนี้กันเถอะครับ มาร่วมกันแสดงพลังให้เห็นว่า เราจะปกป้องอำนาจอธิปไตย ปกป้องการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขกัน

เป็นการลุกขึ้นสู้ชนิดตาต่อตา ฟันต่อฟัน เพื่อให้ “สงครามครั้งสุดท้าย” ของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เป็นสงครามแห่งความพ่ายแพ้อย่างราบคาบ

ศุภชัย ใจสมุทร



ขอเป็น (นิ้ว) กลาง

คอลัมน์: คิดในมุมกลับ

“พี่…สงสารรัฐบาลด้วยหรือ”

รุ่นน้องคนหนึ่งถามอย่างซื่อๆ เมื่อได้ยินฉันรำพึงว่าสงสารรัฐบาล…จะไม่ให้สงสารได้อย่างไร อุตส่าห์ลงสมัครรับเลือกตั้ง เดินหาเสียงปราศรัยกันแทบตาย พอได้เข้ามาทำงานสมความตั้งใจ ก็กลับถูกคนแพ้รวมกลุ่มขับไล่เหมือนหมูเหมือนหมาซะงั้น

ที่น่าสงสารมากกว่ารัฐบาลคือ ชาวบ้านตาดำๆ ที่เลือกรัฐบาลเข้าไปทำงาน…1 เสียงเท่ากัน แต่เสียงดังไม่เคยเท่ากัน

รุ่นน้องของฉันคนนี้ สุดท้ายก็อาจคิดเหมือนอีกหลายๆ คน คือ สิ่งเดียวที่เรา (ปัญญาชน) จะสงสารเขา (ชาวบ้าน) ได้ คือสงสารที่เขาไม่รู้ข้อมูล ยากจน จึงจ้องขายเสียง รับเงินไปกากบาทให้รัฐบาลนี้ (และรัฐบาลอื่นๆ)

ฉันไม่อยู่ในอารมณ์จะเถียงกับใคร จึงไม่ได้ถามต่อว่า ชาวบ้านที่เลือกรัฐบาลนี่ไม่ใช่ “ประชาชน” ใช่มั้ย (เพราะถ้าใช่ คงไม่มีใครพูดว่ารัฐบาลต้องลาออกเพื่อเห็นแก่ประชาชน!!!) แล้วคนที่เลือกรัฐบาล ก็ต้องเป็นเพราะมันโง่ มันรับเงิน มันขายเสียงเท่านั้นด้วยใช่ไหม…

เพราะไม่อยู่ในอารมณ์จะทะเลาะกับใครโดยเฉพาะรุ่นน้อง ฉันจึงไม่ได้บอกกลับไปว่า ต้องเป็นปัญญาชน (นักศึกษา นักวิชาการ ชนชั้นกลาง) อย่างพวกมึง (และกู) เท่านั้นใช่ไหมจึงจะเป็น “ประชาชน” ได้ จึงจะมีสิทธิไล่ใครออกจากการเป็นรัฐบาลก็ได้ แม้ว่าใครอีกหลายล้านคนจะเป็นผู้เลือกเข้ามาก็ตาม

ไม่รู้ว่าน้องมันจะเข้าใจหรือเปล่าว่าทำไมฉันจึงสงสารรัฐบาล รุ่นน้องอีกคนที่นั่งไม่ห่างกันก็ประกาศออกมาว่า “เราต้องเป็นกลาง ยิ่งเกิดความรุนแรงเราต้องไม่เข้าข้างฝ่ายใด” อันที่จริงรุ่นน้องคนนี้ยังพูดอีกมากกว่านั้น แต่มันทำร้ายจิตใจเกินไป ฉันจึงไม่ขอนำมาถ่ายทอด

ฉันสงสัยเพียงแค่ว่า หากเราเป็นกลางกันจริงๆ เราจำเป็นแค่ไหนที่ต้องประกาศมันออกมา (รุ่นน้องคนนี้ ภายหลังเขาและเพื่อนๆ ออกแถลงการณ์เพื่อประกาศ ‘ความเป็นกลาง’) ในความเป็นกลางที่มีเพียงหลักการพื้นๆ จำพวกไม่สนับสนุนการใช้ความรุนแรง ฯลฯ สุดท้ายแน่ใจหรือว่ามันจะไม่เป็นการเข้าข้างใครฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง…

หรือเพราะที่จริง ก็อยากจะประกาศเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งใจจะขาด แต่กลัวดูไม่สะอาด กลัวดูไม่ดี ไม่เป็นปัญญาชน จึงต้องทำกั๊กไม่อาจเข้าข้างใคร

หรือเป็นกลางเพราะแท้จริงในสมองก็ไม่มีข้อมูลอะไร ว่างเปล่า แต่กลัวไม่เป็นข่าว กลัวตกกระแส จึงต้องออกมาเกาะกระแสประกาศจุดยืนแบบกลางๆ กับเขาด้วยคน

ไม่รู้ ไม่ได้ถาม จึงได้แต่กลับมาสำลักความเป็นกลางของคนรอบข้างอยู่จนนาทีนี้นี่แหละ

ปฏิญา ยอดเมฆ



ทางออกธรรมดาๆ ที่ตรงไปตรงมา


คอลัมน์: ประชาทรรศน์วิชาการ

ระหว่างวันที่ 1-2 กันยายน 2551 มีแถลงการณ์จากกลุ่มบุคคลใหญ่น้อยสารพัด พยายามเสนอทางออกต่อสถานการณ์ขณะนี้รวม 17 ฉบับ ผมได้รับร่างที่ส่งผ่านกันมาให้พิจารณาอีก 2 ฉบับ รวมเป็น 19 ฉบับ

ในจำนวนนี้ 11 ฉบับ เสนอให้นายกรัฐมนตรีลาออก อีก 3 ฉบับ เสนอให้ยุบสภา อีก 2 ฉบับ เสนอว่ายุบสภาก็ได้ นายกฯ ลาออกก็ได้ อีก 3 ฉบับ ไม่เสนออะไรเลย ข้อเสนอเหล่านี้ให้เหตุผลไปต่างๆ กัน ผู้สนใจการเมืองคงคิดคำนวณข้อดีข้อเสียของแต่ละทางออกด้วยความลำเอียง เลือกข้างตามจริตของตน

น่าดีใจที่ไม่มีใครเสนอทางออก ซึ่งอาจอยู่ในใจบางคน แต่ไม่กล้าพูดออกมา นั่นคือรัฐประหาร อย่างน้อยก็ยังมีความละอายใจกันอยู่บ้าง

น่าดีใจที่ไม่มีใครเสนอทางออกอีกอย่างซึ่งอาจอยู่ในใจหลายคน แต่มิอาจเอื้อมเสนอ อย่างน้อยก็ยังมีความยับยั้งชั่งใจกันอยู่บ้าง

แต่น่าตกใจที่มีไม่กี่คนที่เสนอทางออกอีกอย่าง ซึ่งอาจจะง่ายที่สุดและถูกต้อง ชอบธรรมที่สุด (เกษียร เตชะพีระ เสนอความคิดนี้ในบทความของเขา แต่โดนปัญญาชนพันธมิตรฯ โจมตีราวเป็นศัตรู นักวิชาการจำนวนหนึ่งก็เสนอในการประชุมเร็วๆ นี้ที่จุฬาฯ ก่อนการปะทะกัน) นั่นคือ

ผู้นำพันธมิตรฯ ควรมอบตัวแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจตามหมายศาล เพื่อให้เผชิญกับกระบวนการยุติธรรมตามปกติ ส่วนการชุมนุมประท้วงรัฐบาลยังคงดำเนินต่อไปได้ในที่อื่น ที่เหมาะสมกับการแสดงออกตามสิทธิเสรีภาพในระบอบประชาธิปไตย (ที่ไม่ใช่เพื่อยึดอำนาจรัฐ)

ทางออกนี้ต้องการความกล้าหาญและความรับผิดชอบของผู้นำพันธมิตรฯ เมื่อกล้าก่อปัญหา กล้าขัดขืน ก็สมควรกล้าเผชิญหน้ากับกฎหมายอย่างมีอารยะ ต้องทำเช่นนี้ต่างหาก การประท้วงของพันธมิตรฯ จึงจะนับเป็นอารยะขัดขืน

หากไม่ทำเช่นนี้ การกระทำของพันธมิตรฯ ย่อมนับเป็นการกระทำของอันธพาลการเมืองที่วางอำนาจบาตรใหญ่อยู่เหนือกฎหมาย ถึงจะใหญ่โตแค่ไหนก็เป็นแค่กุ๊ยการเมืองระดับชาติที่น่ารังเกียจ

ในสังคมไทย แม้แต่พระมหากษัตริย์ยังอยู่ใต้กฎหมาย ผู้นำพันธมิตรฯ เป็นใครยิ่งใหญ่มาจากไหนกัน จึงวางอำนาจบาตรใหญ่เหนือกฎหมายได้

เกลียดทักษิณก็อย่าทำตัวอย่างเดียวกับที่ตนกล่าวหาทักษิณ

ผมอยากเห็นท่าน ผบ.ทบ. หรือคนระดับนั้นไปเชิญตัวผู้นำพันธมิตรฯ ถึงที่ชุมนุม ไปมือเปล่าๆ ขอให้ผู้ชุมนุมเปิดทางให้มีการมอบตัวกันแต่โดยดี จากนั้นเป็นเรื่องของศาล

ผู้นำพันธมิตรฯ ควรกล้าหาญรับผิดชอบความบกพร่องของตน (หรือใครคิดว่าพวกเขาไม่มีความบกพร่อง?) อย่าเอาชีวิตเลือดเนื้อของมวลชนผู้สนับสนุนตน เข้าเสี่ยงตายแทนตัวเองเลย

ความกล้าหาญอาจช่วยให้ผู้นำพันธมิตรฯ กลายเป็นวีรบุรุษในฉับพลันอีกด้วย

อาจมีข้อโต้แย้งว่าเป็นไปได้ยาก เพราะผู้นำพันธมิตรฯ คงไม่ยอม เหตุผลนี้ฟังไม่ขึ้น เพราะทางออกอื่นก็ไม่ง่ายสักข้อ และก็คงมีคนอื่นไม่ยอมเช่นกัน ผู้นำพันธมิตรฯ เป็นใครยิ่งใหญ่มาจากไหนกันที่เราต้องคอยเอาใจ

อาจมีข้อโต้แย้งว่า ทางออกนี้ไม่ยุติความขัดแย้งในปัจจุบันอย่างถึงราก เหตุผลนี้ฟังไม่ขึ้น เพราะทางออกอื่น ไม่ว่ายุบสภาหรือลาออก ก็ไม่ยุติความขัดแย้งพื้นฐานแต่อย่างใด เรากำลังหาทางเพียงแค่ลดการประจันหน้า และลดอุณหภูมิทางการเมืองลง ทุกทางออกหวังผลแค่ต่อสถานการณ์เฉพาะหน้าด้วยกันทั้งนั้น

อาจมีข้อโต้แย้งว่า มวลชนของพันธมิตรฯ คงยอมไม่ได้ เหตุผลข้อนี้ฟังไม่ขึ้น เพราะขึ้นอยู่กับผู้นำพันธมิตรฯ จะกล้าหาญทำความเข้าใจกับคนของตนหรือไม่ต่างหาก มวลชนของพันธมิตรฯ เป็นคนมีการศึกษาและโตๆ กันแล้วทั้งนั้น

ทั้งทางออกอื่นก็คงมีมวลชนของฝ่ายตรงข้ามพันธมิตรฯ ไม่ยอมรับเช่นกัน ไม่เห็นมีปัญญาชนนักวิชาการคิดถึงเขาบ้างเลย

ทางออกที่เสนอนี้ยังเป็นการรักษาระบอบประชาธิปไตย และไม่ทำลายความน่าเชื่อถือของศาลอีกด้วย ในทางกลับกัน การทำตัวอยู่เหนือกฎหมายของพันธมิตรฯ เป็นการทำร้ายอำนาจตุลาการที่ตนยกย่องเชิดชู

อยากจะสร้างการเมืองใหม่ ก็กรุณาอดทนจนกว่าประชาชนจะเห็นด้วย มิใช่ใช้อำนาจบาตรใหญ่ บังคับขู่เข็ญ ยัดเยียดให้คนครึ่งค่อนประเทศจำต้องยอมรับ

ทางออกง่ายๆ ตรงๆ และถูกต้องชอบธรรมตามกฎหมายข้อนี้ถูกมองข้ามเสียสิ้น เพราะความลำเอียงที่แผ่ซ่านจนน่ากลัว จนไม่ฟังกันอีกต่อไป

น่าตกใจที่ปัญญาชน นักวิชาการ สื่อมวลชน นักกฎหมาย ทนายความ และนักสิทธิมนุษยชน ทิ้งหลักการ หลักวิชาชีพ กลายเป็นนักเคลื่อนไหวมวลชนที่มุ่งเอาชนะกันไปหมด ต่างลำเอียงกระเท่เร่ให้ท้ายการวางอำนาจบาตรใหญ่อยู่เหนือกฎหมาย ลำเอียงจนขาดความยั้งคิด เอาแต่ได้ เลือกปฏิบัติ ขาดหลักการ เกลียดชังทักษิณจนขาดสติ ทำลายทุกอย่างและใครก็ตามที่ขวางหน้า

พวกตนข่มขู่คุกคามคนอื่นก็ถือเป็นความรักชาติ ใช้ความรุนแรงก็ถือเป็นการแสดงออกตามรัฐธรรมนูญ พกอาวุธก็ถือเป็นสันติวิธี รวมกันแล้วก็ถือเป็น “ข้ออ่อนที่มีอยู่บ้าง” พอรับได้ หากฝ่ายตรงข้ามตนทำผิดก็เรียกร้องเอาผิดราวจะกินเลือดกินเนื้อ

คนมากมายไม่กล้าทักท้วงทัดทาน เพราะไม่อยากโดนก่นด่าทำลาย เสียเพื่อน เปลืองตัว

ประชาชนหลายสิบล้านที่กำลังเฝ้าดูพันธมิตรฯ และปัญญาชนชาวกรุง จะให้พวกเขาเข้าใจว่าประชาธิปไตยคืออะไรกัน พวกเขาย่อมคิดว่าประเทศชาติไม่ใช่ของเขา แต่เป็นของเทวดาชาวกรุงที่เห็นแก่ตัว เอาแต่ใจตัวเอง แถมยังมีนิสัยเด็กๆ คือ เอาแต่ได้แต่ไม่กล้ารับผิดชอบ

พวกเขากำลังอัดอั้นตันใจจนกำลังจะระเบิดสักวันว่า พวกเขาเป็นแค่ไพร่ทาส เป็นพลเมืองชั้นต่ำกว่าพันธมิตรฯ และปัญญาชนชาวกรุงหรืออย่างไร

ทางออกที่ถูกมองข้ามนี้ เป็นวิถีปฏิบัติปกติที่ใช้กันอยู่เป็นประจำในนานาอารยประเทศที่ถือกฎหมายเป็นใหญ่ เพื่อไม่ให้การประท้วงลามปามกลายเป็นการนองเลือด เป็นทางออกอย่างแรกๆ ที่ใครๆ ก็นึกได้จนเป็นสามัญสำนึก

ประเทศไทยประหลาดกว่าใครอื่นขนาดไหนกัน จึงมองข้ามทางออกธรรมดาๆ และตรงไปตรงมาข้อนี้กันหมด หรือประเทศไทยมีระดับอารยธรรมสูงต่ำผิดปกติกว่าคนอื่น จึงถือกฎหมายเป็นของเล่น ที่จะใช้เมื่อไรก็ได้ ทิ้งเมื่อไรก็ได้ตามใจชอบ

หรือปัญญาชนประเทศไทยมีระดับสติปัญญา ความเที่ยงตรง และความยึดมั่นในหลักการ อยู่ในระดับสูงต่ำผิดปกติต่างจากที่อื่นๆ ในโลก จึงนึกไม่ถึงทางออกอย่างแรกๆ ที่น่าจะเป็นสามัญสำนึก

ผมพบว่า มีหลายคนยอมรับว่าตนลำเอียง และเห็นว่าการเลือกปฏิบัติและเลือกใช้กฎหมายตามแต่ประโยชน์ของฝ่ายตนเป็นสิ่งจำเป็น เพราะเขาเห็นว่ามีภารกิจที่สำคัญกว่ากฎหมายซึ่งต้องเอาชนะให้ได้

พวกเขาจึงจงใจมองข้ามทางออกธรรมดาๆ และตรงไปตรงมาข้อนี้ เพราะเขาหวังบรรลุชัยชนะที่ยิ่งใหญ่กว่าการเคารพกฎหมาย

ความขัดแย้งทางการเมือง 2-3 ปีที่ผ่านมา วนเวียนอยู่กับหายนะก็เพราะความคิดสั้นพรรค์นี้แหละ

สรุป ยุบสภา? ลาออก? หรือมอบตัวแล้วเชิญชุมนุมกันต่อไปในสถานที่อื่นที่เหมาะสม?

ขอความกรุณาพิจารณาอย่างมีสติ อย่าเอาแต่ได้ อย่าคิดแต่จะเอาชนะกันจนทำลายทุกอย่างที่ขวางหน้า อย่าเกลียดกลัวจนถูกอวิชชาครอบงำ

ขณะนี้สายไปแล้วสำหรับทางออกที่สมบูรณ์ มีแต่ทางออกที่ก่อความเสียหายมากกว่ากับน้อยกว่า รักษาระบบสถาบันหลักต่างๆ มากกว่ากับน้อยกว่า และเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์เฉพาะหน้า เพื่อหลีกเลี่ยงการปะทะกัน

ผมเบื่อแถลงการณ์ทั้งหลายเต็มทน แต่หากมีใครเสนอทางออกนี้ ผมจะขอกราบขอบพระคุณอย่างสูง และขอจองลงชื่อล่วงหน้าตั้งแต่ยังไม่ทันร่างไว้เลย

ธงชัย วินิจจะกูล
ที่มาประชาไท


คอลัมน์ : สามเหลี่ยมดินแดง

คอลัมน์ : สามเหลี่ยมดินแดง

00 หนังสือพิมพ์ประชาทรรศน์ สื่อทางเลือกของประชาชน เพื่อประชาธิปไตย ต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ ฉบับวันพฤหัสบดีที่ 4 กันยายน พ.ศ.2551 ราคา 10 บาท ต้องขอขอบคุณทุกท่านที่ยังสนับสนุนเหมือนเดิม และเราจะเพิ่มยอดจำหน่ายตามเสียงเรียกร้อง แต่วันนี้ ขอเชิญชวนประชาชนทั่วประเทศร่วมกันประณาม 9 กบฏ ปลุกระดมให้ไทยฆ่าไทย ยึดทำเนียบรัฐบาลเป็นฐานที่มั่นของกลุ่มกบฏ เพื่อหลบเข้าไปซุกใต้ผ้าถุงอาซิ้มอาซ้อ เมื่อศาลอาญาออกหมายจับ

00 ช็อกกันทั้งทำเนียบรัฐบาล ที่ 9 กบฏและบริวารยึดเป็นฐานที่มั่น เมื่อ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ประกาศผ่านสถานีวิทยุกรมประชาสัมพันธ์ ไม่ลาออก ยังไม่ยุบสภา เพื่อรักษาระบอบประชาธิปไตย ต่อสู้กับกลุ่มพันธมิตรทำลายประชาธิปไตย ที่คิดจะนำลัทธิใหม่มาใช้แทนระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

00 ตลอดทั้งคืนบรรดาแกนนำทั้งรุ่นแรกรุ่นสองสลับกันขึ้นไปพ่นน้ำลายบนเวที ให้ประชาชนอดใจรอนาทีประวัติศาสตร์ เช้าวันที่ 5 กันยายน นายกฯ สมัคร สุนทรเวช จะต้องประกาศลาออกแน่นอน ให้อดใจรอ เพราะขณะนี้ นายกฯ สมัคร ถูกทหารล็อกตัว ไว้เรียบร้อยแล้ว ลือกันหึ่งตลอดทั้งคืน ทำเอาคนนอกอย่าง เอกฉัตร พลอยอดนอนไปด้วย เมื่อพรรคพวกเพื่อนฝูงยกหูถามกันทั้งคืน

00 ถามมาตอบไป ถ้ายังขืนดูเคเบิลทีวีเอเอสทีวี สมองรับแต่ข่าวลือข่าวเท็จ ทหารในยุค พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา เป็นผู้บัญชาการทหารบก ไม่ทำอะไรโง่ๆ เหมือนทหารในอดีตที่ผ่านมาเร็วๆ นี้ แค่กลุ่ม 9 กบฏปฏิบัติการยึดทำเนียบรัฐบาล ก็ขายขี้หน้าชาวต่างชาติมากพอแล้ว ทหารยุคนี้คงไม่ซ้ำเติมประเทศไทยให้บอบช้ำสุดเยียวยาลงไปอีกแน่นอน

00 เหตุผลเข้าใจง่าย หาก นายกฯ สมัคร ลาออกวันนี้วันพรุ่ง สถานการณ์ที่กลุ่มพันธมิตรทำลายประชาธิปไตยก่อขึ้นมา ไม่มีทางจะสงบเข้าสู่ภาวะปกติ อย่างที่บรรดาสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการลากตั้ง พยายามแสดงความคิดเห็นขี้เท่อให้ประชาชนเห็นคล้อยตาม

00 ประกาศออกมาอย่างชัดเจนจาก นายสมศักดิ์ โกศัยสุข หนึ่งในเก้ากบฏ ยืนยันความต้องการของกบฏ ห้ามยุบสภา ต้องให้นายกฯ สมัครลาออก แล้วให้มีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ โดยห้ามพรรคร่วมรัฐบาลกับพรรคพลังประชาชนในวันนี้ร่วมรัฐบาลเด็ดขาด และให้ใช้การเมืองใหม่

00 คำยืนยันของ นายสมศักดิ์ โกศัยสุข มองอย่างไงก็ไม่มีความเป็นไปได้ ในเมื่อวันนี้ในสภามีเพียงพรรคประชาธิปัตย์พรรคเดียวเท่านั้นที่เป็นฝ่ายค้าน เสียง ส.ส. ไม่พอที่จะตั้งรัฐบาล แล้วจะให้ตั้งรัฐบาลใหม่ได้อย่างไร หากไม่เอาพรรคร่วมรัฐบาลขณะนี้มาร่วม เห็นกันชัดแล้ว ข้อเสนอของเก้ากบฏ ไม่มีทางเป็นไปได้

00 ยิ่งข้อเสนอต้องการให้ เปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยเป็นลัทธิการเมืองใหม่ ยิ่งเป็นไปไม่ได้เลย ที่ใช้สูตรราคาอ้อย 70-30 ให้ ส.ส.มาจากการลากตั้ง 70 เลือกตั้ง 30 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งกลุ่มพันธมิตรทำลายประชาธิปไตย เห็นชัดแล้วจากผลงานของ ส.ว. ที่มาจากการลากตั้งชุดนี้ สามารถป่วนรัฐบาลได้ตลอดเวลา

00 นอกจากนั้นในการที่กลุ่มพันธมิตรทำลายประชาธิปไตย จะเอาลัทธิการเมืองใหม่มาปกครองประเทศไทย ก็ต้องแก้รัฐธรรมนูญ ซึ่งต้องใช้เสียง ส.ส. และ ส.ว. ในสภาชุดปัจจุบัน ขณะนี้ที่ เก้ากบฏที่ยึดทำเนียบรัฐบาลอยู่เวลานี้ มีคนเป็น ส.ส.อยู่เพียงคนเดียวคือ นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ ส.ส.สัดส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ หรือแม้ สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ เห็นดีเห็นงามกับลัทธิใหม่ เสียงสนับสนุนก็ยังไม่พออยู่ดี แล้วไม่รู้จะเพ้อฝันไปถึงไหน เพราะงั้น เอกฉัตร เห็นด้วยกับคำยืนยันของ นายกฯ สมัคร สุนทรเวช ไม่ยอมลาออกตามกระแสเรียกร้องของคนหยิบมือเดียว

00 พูดอีกก็ถูกอีก พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. บอกว่า สถานการณ์วิกฤติขณะนี้ ต้องแก้ด้วยระบบรัฐสภา แต่วันนี้สภาไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ก็ โถ...โถ...เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา นายกฯ สมัคร ขอเปิดประชุมร่วมสองสภา เพื่อให้ ส.ส. และ ส.ว. ช่วยกันแสดงความเห็นหาทางออกให้กับประเทศ แต่ผลที่ออกมา กลายเป็นรายการ พรรคประชาธิปัตย์ และ ส.ว.สายลากตั้ง ได้ตีตั๋วด่ารัฐบาลฟรี 12 ชั่วโมง ข้อเสนอที่ออกมาให้ นายกฯ สมัครลาออกหรือยุบสภา แล้วไม่รู้จะเปิดประชุมร่วมสองสภาทำไม

00 วังเวง อ่านว่า วังเวง เอกฉัตร มั่นใจว่าทุกปัญหามีทางออก แต่ถ้านั่งนึกไปไกลถึงอนาคตข้างหน้า ประเทศไทยจะอยู่กันอย่างไร เมื่อแต่ละคนอ้างสิทธิ์ของตัวเองในการชุมนุมขับไล่รัฐบาล ยกกำลังบุกยึดทำเนียบรัฐบาล โดยยอมฟังคำสั่งศาลแต่ไม่ปฏิบัติตาม ซ้ำร้ายกว่านั้นเมื่อ นายกฯ สมัคร สุนทรเวช งัดพระราชกำหนดสถานการณ์ฉุกเฉิน หวังจะให้กลุ่มเก้ากบฏยุติการชุมนุม เลิกยึดทำเนียบรัฐบาล ไม่ใช้สถานีโทรทัศน์เคเบิลทีวีปลุกระดมประชาชนให้หลงเชื่อสร้างความแตกแยก แทนที่กลุ่มกบฏจะปฏิบัติตาม กลับทำสวนทาง ไม่ต่างจากรับฟังคำสั่งศาลแต่ไม่ปฏิบัติตาม กฎหมายไม่เป็นกฎหมาย แล้วประเทศชาติจะอยู่กันอย่างไร

00 เอกฉัตร บอกตรงๆ เป็นงงกับถ้อยแถลงของ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ในฐานะ หัวหน้าผู้รับผิดชอบ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ไม่รู้ว่าสุขุมนุ่มลึกหรือแทงกั๊ก ยืนยันจะใช้วิธีเจรจากับทุกฝ่าย แต่จะเน้นหนักไม่ให้ผู้ชุมนุมทั้งสองฝ่ายปะทะกัน ก็รู้ทั้งรู้กลุ่มกบฏปฏิเสธการเจรจากับทุกกลุ่ม นอกจากนายกฯ สมัคร สุนทรเวช จะลาออกเท่านั้น แล้วยังจะใช้วิธีเจรจาทำไม

00 ข้อสำคัญไม่ให้ม็อบชนม็อบนั้น เพื่อไม่ให้คนไทยต้องฆ่ากัน ไม่ต้องออก พ.ร.ก.ฉุกเฉินหรอกครับ ให้กรรมการสนามมวยราชดำเนิน ซึ่งตั้งอยู่ตรงข้ามกองบัญชาการกองทัพบก มาทำหน้าที่ก็ได้ งงจริงๆ พับผ่าเหอะ

เอกฉัตร

“ผู้นำ” ที่ประชาชนโหยหา!


คอลัมน์ : ละครชีวิต

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า สื่อมวลชนไทยในวันนี้ทำให้ประเทศถอยหลัง และนำความเสื่อมเสียมาสู่ประเทศชาติมากที่สุด

เพราะไม่เคยมียุคไหนที่สื่อหันไปเข้าข้าง “เผด็จการ” ได้มากมายขนาดนี้!

ทำให้ประชาชนที่รักประชาธิปไตยเกิดความท้อแท้ และเบื่อหน่ายต่อการเมืองที่ไร้กฎระเบียบ และเล่นนอกกติกาด้วยความ “หดหู่”

ประเทศไทยค่อนข้าง “โชคร้าย” ที่มี “สื่อมวลชน” และ “นักประท้วง” ที่ขยันเกินไป

เพราะเวลามีการนำเสนอโครงการดีๆ เป็นประโยชน์ต่อประเทศมหาศาล พวกนักประท้วง สื่อมวลชน จะร่วมกันคัดค้าน เขียนข่าวด่าสาดเสียเทเสีย เสี้ยมให้ทะเลาะเบาะแว้งกัน ไม่มีใครยอมใคร เก่งหมดทุกคน

เมื่อสื่อมวลชนเป็นแบบนี้ ไม่สนประชาธิปไตย ก็ไม่รู้ว่าบ้านนี้เมืองนี้จะไปได้ไกลแค่นี้

เอาเป็นว่าใครที่อึดอัด ผมอยากให้หูตากว้างไกลกันหน่อย เพราะโลกเราวันนี้ไม่ใช่ยุคโบราณที่จะมาปิดหูปิดตาเหมือน “กบอยู่ในกะลา”

โลกอินเตอร์เน็ตมีข่าวคราวความเคลื่อนไหวให้ได้เรียนรู้กันมากมายว่า “การเมือง” หรือ “ผู้นำ” แบบนี้ ที่จะนำพาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้า

ช่วงนี้ใครมีลูกมีหลาน เพื่อนฝูงก็แนะนำให้เลือกเสพสื่อกันหน่อย โดยเฉพาะสื่อต่างประเทศ ที่เวลานี้ดูเหมือนจะเป็นกลางมากที่สุด

อย่างเช่น นิวส์วีค นิตยสารชื่อดังของสหรัฐ ที่วางจำหน่ายทั่วโลก ฉบับล่าสุดขึ้นปก 4 ผู้นำในเอเชีย

หนึ่งในนั้นคือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีของไทย ที่ให้ประชาชนทั้งชนชั้นรากหญ้าและชนชั้นกลาง คนทำงานทั่วไป ได้ลืมตาอ้าปาก และตาสว่างกับอะไรหลายๆ อย่าง และหวงแหนสิทธิของตัวเองมากขึ้น

นอกจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ยังมี นายหม่า อิง จิ่ว ผู้นำของประเทศไต้หวัน นายลี เมียง บัก ประธานาธิบดีของประเทศเกาหลีใต้ และ นายอันวาร์ อิบราฮิม อดีตรองนายกรัฐมนตรีของประเทศมาเลเซีย ซึ่งนำพรรคฝ่ายค้านผงาดขึ้นท้าทายพรรคอัมโนเป็นครั้งแรก

ประเด็นที่นิวส์วีคนำเสนอก็คือ The Politics of Practical Nostalgia หรือ “การเมืองแห่งการโหยหาอดีตที่ทำได้จริง”

การเลือกตั้งที่ผ่านมาของทั้ง 4 ประเทศ สะท้อนให้เห็นว่า ในยามที่ปัญหาเศรษฐกิจกำลังบีบรัดทั้งในบ้านและนอกบ้าน

สิ่งที่ชาวเอเชียกำลังโหยหาก็คือ วันคืนเก่าๆ ที่เศรษฐกิจของประเทศขยายตัวอย่างรวดเร็ว ชาวบ้านชาวเมืองมีการงานมั่นคง มีการเลื่อนชั้นทางสังคม และผู้นำที่สัญญาว่าจะนำ Good Old Days เหล่านั้นกลับมาก็คือ คนที่ประชาชนจะเทคะแนนให้

ในเอเชียเวลานี้ ดูเหมือนว่าการกำหนดนโยบายที่มองโลกในแง่ความเป็นจริง และมีการเปลี่ยนแปลงได้ เพื่อผลลัพธ์ที่สร้างความพึงพอใจให้แก่ประชาชน กำลังอยู่เหนืออุดมการณ์และนโยบายที่ไม่ยืดหยุ่นของอำนาจเก่าในอดีต

ในช่วงทศวรรษ 1980 เศรษฐกิจของเกาหลีใต้ และไต้หวัน เคยขยายตัวถึง 8-9% แต่ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เศรษฐกิจของสองดินแดนนี้เติบโตเฉลี่ยแค่ 5% ล้าหลังอัตราเฉลี่ยของตลาดเกิดใหม่ซึ่งอยู่ที่ 6.5%

นายลี เมียง บัก ให้คำมั่นสัญญาแบบเห็นภาพเป็นตัวเลขด้วยแผน 747 ว่า เขาจะผลักดันให้เศรษฐกิจเกาหลีใต้ขยายตัว 7% ประชาชนมีรายได้ต่อหัว 40,000 ดอลลาร์ ภายในหนึ่งทศวรรษ และเศรษฐกิจเกาหลีจะมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 7 ของโลก

กล่าวกันถึงปฏิกิริยาในมาเลเซียและไทย ผู้เขียนบทความชิ้นนี้ของนิวส์วีค บอกว่า "ดราม่า" และเห็นได้ชัดกว่ากรณีของไต้หวันและเกาหลีใต้เสียอีก

ในมาเลเซีย พรรคฝ่ายค้าน 3 พรรคเล็กๆ เกือบจะโค่นพรรคพันธมิตรรัฐบาลที่ครองอำนาจมาตั้งแต่ครั้งประกาศเอกราชเมื่อเกือบ 40 ปีก่อน ได้อย่างหวุดหวิด

ขณะที่ นายอันวาร์ อิบราฮิม ซึ่งเคยงัดข้อกับอดีตนายกรัฐมนตรี มหาเธร์ โมฮัมหมัด ในหลายประเด็น รวมทั้งเรื่องการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจ ก็ผงาดขึ้นมาท้าทายรัฐบาลอีกครั้ง และนโยบายต่างๆ ที่เคยถูกมองว่าเป็นประเด็นอ่อนไหวทางการเมือง อาทิ นโยบาย "ภูมิบุตร" ที่เอื้อประโยชน์ให้แก่ประชาชนเชื้อสายมาเลย์ ก็กำลังถูกหยิบยกขึ้นมาพิจารณาใหม่

ในประเทศไทย นิวส์วีค บอกว่า ประชาชนผู้มีสิทธิออกเสียงได้ทำลายวงจรของการปฏิวัติที่ล้าหลัง

โดยในอดีตนั้น ผู้นำทหารจะอยู่ในอำนาจให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ แล้วค่อยตั้งรัฐบาลพลเรือนที่เป็นพรรคพวกกันขึ้นมาสืบทอดอำนาจ

แต่ในปัจจุบัน เพียงแค่ 14 เดือนหลังจากทำรัฐประหาร อดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ฝ่ายผู้นำทหารก็ถูกกดดันโดยกระแสสังคมให้จัดการเลือกตั้งในวันที่ 23 ธันวาคม ที่ผ่านมา ซึ่งผลปรากฏว่า ชัยชนะเป็นของฝ่ายที่สนับสนุนอดีตนายกฯ ทักษิณ

บทความของนิวส์วีคอ้างคำกล่าวของ ธิตินันท์ พงศ์สุทธิรักษ์ จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งระบุว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ได้เปลี่ยนแปลงวิถีที่เคยเป็นในประเทศไทย ตอนนี้กระแสทั้งในประเทศและนอกประเทศ อยู่ข้างทักษิณ

บทความของนิวส์วีคยังบรรยายต่อว่า ความสำเร็จในการใช้นโยบายเศรษฐกิจเพื่อตอบรับกระแสโลกาภิวัตน์คือ ปัจจัยหลักที่ทำให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ขึ้นสู่อำนาจ และเป็นเครื่องอธิบายการกลับมาของเขา

ในช่วง 5 ปีภายใต้การบริหารของ พ.ต.ท.ทักษิณ เศรษฐกิจไทยมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว!

ชนบทเติบโตขึ้น และไทยเป็นเพียงประเทศเดียวในเอเชีย ที่สามารถลดช่องว่างระหว่าง “คนจน” กับ “คนรวย” พรรคไทยรักไทยได้รับความนิยมจากการทุ่มงบประมาณด้านสาธารณูปโภคและการช่วยเหลือคนจน

เช่น การจัดตั้งกองทุนหมู่บ้าน และการประกันสุขภาพ แต่ขณะเดียวกันก็ยังเปิดให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุน และส่งเสริมการค้าอย่างแข็งขัน

บทความของนิวส์วีคชิ้นนี้ ทำให้คนไทยเริ่มมีความหวังขึ้นมาบ้างแล้วใช่ไหมครับ!

ลวดหนาม

ไม่ออก-ไม่ยุบ


คอลัมน์ : บทบรรณาธิการ

สถานการณ์ทางการเมืองในขณะนี้กำลังงวดเข้ามาทุกระยะ อันเนื่องจากการดำเนินการของกลุ่มพันธมารธิปไตย ที่ไม่ยึดมั่นในตัวบทกฎหมาย ซึ่งเป็นกติกาของสังคม ซึ่งทุกคน ทุกฝ่าย ต้องยึดมั่นและปฏิบัติ

หากคนในชาติไม่ยึดมั่นกฎหมาย ซึ่งเป็นเครื่องมือในการบังคับให้คนในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีระเบียบ จะปล่อยให้คนกลุ่มหนึ่ง “ดื้อแพ่ง” และ ปลุกระดมประชาชนออกมาเป็นเครื่องมือในการผ่านสาขาพรรคการเมืองเก่าแก่พรรคหนึ่ง จ้างกันมาหัวละ 200-300-500 บาท โดยใช้สื่อสารทางเดียวของตัวเอง โดยอ้างความเป็นเอกชน คงไม่ถูกต้องนัก

มีการผลิตวาทกรรมทางการเมืองใหม่ นั่นคือ กล่าวร้าย ว่า ปัญหาอยู่ที่คนคนเดียว จึงให้คนคนเดียว ลาออก จะง่ายกว่า ซึ่งเป็นสิ่งโง่เง่าเบาปัญญา เพราะคนคนเดียวที่ว่านี้ มิได้ทำผิดคิดชั่วอะไรแม้แต่นิดเดียว กระทำทุกอย่างถูกต้องตามครรลองของกฎหมายบ้านเมือง!!!

ไม่ได้มีเหตุผลอะไรที่จะต้องไปยอมให้กับวิธีการ กฎหมู่อยู่เหนือกฎหมาย อีกต่อไป

เราเชื่อว่าประชาชนส่วนใหญ่จะงุนงงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในค่ำคืนวันที่ 2 กันยายน 2551 ที่ผ่านมา ว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไร และทำไมจึงจบลงที่การที่คนไทยต้องฆ่ากันเอง

ฝ่ายโจรกบฏ...บุกรุกสถานที่ราชการมาหลายวันโดยไม่มีเหตุผล จะเรียกร้องทำการเมืองใหม่ 70 : 30 คือ เลือกตั้ง 30 ลากตั้ง 70 ซึ่งเป็นทฤษฎีการเมืองล้าหลังที่ไม่มีใครเอาด้วย เพราะคนกลุ่มนี้คุ้นเคยได้ดิบได้ดีกับวิธีการ “ลากตั้ง” จนเคยตัว

ฝ่ายประชาธิปไตย...จะไปปกป้อง ไล่คนบุกรุกสถานที่ราชการ เพื่อ รักษาระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รักษาอำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทย 63 ล้านคน ซึ่งมีที่มาถูกต้องตามครรลองในระบอบประชาธิปไตย โดยผ่านระบบการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นอำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทย วันนี้มีคนคิดจะล้มล้าง “อำนาจอธิปไตย” เพียงเพราะฝ่ายตนพ่ายแพ้การเลือกตั้ง จึงทำใจไม่ได้

การเมืองในระบบรัฐสภาไม่สามารถเดินต่อไปได้จริงหรือ หากมีพรรคฝ่ายค้านซึ่งทำตัวเป็นพรรคภาคนิยม กลิ่นสะตอเหม็นหึ่ง ทำงานด้วยการเตะตัดขา เล่นนอกกติกา ไม่ลงพื้นที่ในภาคอีสาน ภาคเหนือ โอ้ประโลมแต่ภาคใต้แล้วจะได้รับชัยชนะเป็นรัฐบาลได้อย่างไร ยังมองไม่เห็น แต่พอแพ้เลือกตั้งกลับไม่ปรับปรุงตัว ต้องการจะประสบความสำเร็จโดยวิธีลัดเป็น “มะม่วงจำบ่ม” แบบนี้บ้านเมืองไม่มีวันสงบ

การเมืองในระบบต้องเล่นกันในระบบ

หากเล่นการเมืองนอกระบบ ใช้วิธีการนอกระบบ ไม่เคารพกฎ กติกา มารยาท สังคมไทยเป็นสังคมแห่งภูมิปัญญา ย่อมจะดูออกว่าอะไรเป็นอะไร

ใครคือฝ่ายผิด ใครคือฝ่ายถูก

ใครทำตามกติกา ใครทำนอกกติกา

ใครต้องการก่อความรุนแรง ใครต้องการรักษาความสงบ สันติ

ใครพกอาวุธปืนมาชุมนุม ใครพกยาเสพติดมาชุมนุม

วันนี้เราอย่าไปหวังพึ่งสื่อกระแสหลักที่ยังจงใจบิดเบือนข้อมูลข่าวสารอยู่ เพราะ พิธีกร ผู้ประกาศข่าว ต่างปลูกฝังกับกลุ่มป่วนบ้านป่วนมืองรายงานข่าวด้วยความอคติ เข้าข้างฝ่ายกระทำผิดกฎหมายของบ้านเมือง ที่เรียกกันว่า “โจรกบฏ” อย่างหน้าด้านๆ ไม่ละอายในวิชาชีพที่ตนเองต้องปฏิบัติ ทั้งสถานีโทรทัศน์ และสถานีวิทยุ

วันนี้ ฯพณฯ สมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ทำถูกต้องแล้วที่ไม่ลาออก ไม่ยุบสภา ไม่หักหลังประชาชน เพราะท่านไม่ได้ผิดอะไร ฝ่าย “ทุรชน” มากระทำย่ำยีบีฑาบ้านเมือง หวังให้เกิดความปั่นป่วน แล้วจะให้ทหารมาปฏิวัติรัฐประหาร เพื่อพวกพ้องวงศ์วานว่านเครือของตัวเองจะได้เข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ดังที่ผ่านมา

เป็น...รัฐบาลในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

เป็น...รัฐบาลที่ถูกต้องตามกฎหมาย

เป็น...รัฐบาลที่ประชาชนส่วนใหญ่ตัดสินให้ท่านได้เป็นนายกรัฐมนตรี

ท่านนายกฯ สมัคร สุนทรเวช จะตัดสินใจอย่างไร ในฐานะประชาชนตามวิถีทางประชาธิปไตยต้องเคารพดุลพินิจของท่าน แต่อยากให้ท่านนึกถึงพรที่ได้รับประทานจากฟ้า...“ขอให้เข้มแข็ง อดทน อย่าหวั่นไหว”

ตำรวจเชื่อ “มือที่ 3” ยิงกลุ่มนักศึกษารามฯ ป่วนสถานการณ์!


รอง ผบ.ตร.เชื่อมือที่ 3 ยิงใส่กลุ่มนักศึกษา ม.รามฯ ที่จะเดินทางไปประท้วงที่หน้าบ้านนายกรัฐมนตรี ขณะที่แนวทางการสอบสวนสืบสวน ตำรวจยังคงตั้งประเด็นไว้หลากหลายประเด็น ทั้งความไม่พอใจที่ นศ.ออกมาชุมนุมในกลางคืน การเมืองในมหาวิทยาลัย เรื่องส่วนตัว และมือที่ 3 สร้างสถานการณ์

พล.ต.อ.จงรัก จุฑานนท์ รอง ผบ.ตร. รักษาการ ผบช.น. กล่าวถึงกรณีคนร้ายยิงใส่กลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นเหตุให้มีผู้บาดเจ็บ 2 คน ที่แฟลตคลองจั่น 11 ขณะเดินทางไปประท้วงและขับไล่ให้นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ลาออก ที่หมู่บ้านโอฬาร เมื่อค่ำวันที่ 4 กันยายนที่ผ่านมาว่า น่าจะเป็นผู้ไม่พอใจที่มีการเดินขบวน หรืออาจเป็นมือที่ 3 ส่วนรายละเอียดเรื่องปูมหลังของนักศึกษาว่าเป็นใครมาจากไหนยังไม่ทราบ แต่จะพยายามดูแลเรื่องความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เรื่องการเมือง เบื้องหลังอย่างไรก็คงยากที่จะไปดู เวลานี้เดือดร้อนมากมาย การที่ตำรวจจะจับคนสักคนไปดำเนินคดีไม่ใช่เรื่องง่าย มันวุ่นวายมากขึ้น

ขณะที่ พ.ต.อ.สมศักดิ์ บุญแสง ผกก.สน.ลาดพร้าว กล่าวว่า ขณะที่นักศึกษาเดินขบวนมีคนร้ายยิงใส่ 3 นัด บาดเจ็บ 2 คน ซึ่งตรวจสอบพบเป็นอาวุธปืนขนาด .22 โดยประเด็นยังตั้งเรื่องกว้างๆ น่าจะไม่พอใจที่กลุ่มนักศึกษาออกมาชุมนุมกันในช่วงกลางคืน การเมืองภายในมหาวิทยาลัย เรื่องส่วนตัว หรืออาจจะเป็นมือที่ 3 ส่วนเรื่องความขัดแย้งเรื่องกลุ่มการเมืองก็อาจมีส่วน อย่างไรก็ตาม ต้องหารายละเอียดเพิ่มเติมอย่างละเอียด เพราะไม่มีใครสามารถจำรูปพรรณสัณฐานของคนร้ายได้เลยโดยหากมีการชุมนุมเดินขบวนอีกก็ต้องหาทางป้องกัน เพราะประชาชนใกล้เคียงอาจเดือดร้อนได้ เมื่อคืนที่ผ่านมาตำรวจก็จัดรถนำไปส่งที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง เพราะไม่อยากให้เกิดความรุนแรงขึ้น


ตร.สน.สุทธิสาร ยื่นคำร้องฝากขังกลุ่มนักรบศรีวิชัยต่อเนื่อง

พนักงานสอบสวน สถานีตำรวจนครบาลสุทธิสาร ยื่นคำร้องต่อศาลอาญา ขอฝากขังผู้ต้องหานับรบศรีวิชัย ทั้ง 82 รายอย่างต่อเนื่อง ระบุการสอบสวนยังไม่เสร็จสิ้นเกรงว่าหากปล่อยตัวอาจหลบหนีได้

พันตำรวจโทอรุณ อุ่นเมตตาอารี พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลสุทธิสาร เดินทางมายื่นคำร้องต่อศาลอาญาขอฝากขังผู้ต้องหานักรบศรีวิชัย ครั้งที่ 2 จำนวน 82 ราย ในความผิดฐานร่วมกันบุกรุกสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย NBT เมื่อวันที่ 26 สิงหาคมที่ผ่านมา โดยระบุว่าตามที่ได้ขอฝากขังผู้ต้องหานั้นมีกำหนดครบ 12 วันในวันที่ 6 กันยายนนี้ เนื่องจากคดีนี้พนักงานสอบสวนยังสอบสวนไม่เสร็จ โดยต้องสอบสวนพยานเพิ่มเติมอีกประมาณ 12 ปาก ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย NBT รวมทั้งเจ้าพนักงานตำรวจ

ทั้งนี้ ต้องรอผลการพิสูจณ์อาวุธปืนของกลางจากกองพิสูจณ์หลักฐานของสำนักงานตำรวตแห่งชาติ รวมทั้งรอผลการตรวจสอบประวัติผู้ต้องหาและต้องทำการแจ้งข้อกล่าวหาให้ผู้ต้องหาทราบและสอบปากคำผู้ต้องหาเพิ่มเติม จึงจำเป็นต้องฝากขังผู้ต้องหาทั้ง 82 ราย ต่อไปอีก จนกว่าการสอบสวนจะเสร็จสิ้น เพราะหากมีการปล่อยตัวชั่วคราวซึ่งผู้ต้องหามีพฤติกรรมและการกระทำที่อุจอาจจงใจฝ่าฝืนกฏหมายเกรงว่าอาจจะหลบหนีได้



หัวหน้าพรรคมัฌชิมาฯยืนยันร่วมรัฐบาลบริหารประเทศต่อไป


หัวหน้าพรรคมัฌชิมา ยืนยันร่วมกับรัฐบาลในการบริหารประเทศต่อไป เพราะหากถอนตัวในขณะนี้คงไม่ดี ส่วนกรณีทำประชามติ ควรคืนความคิดให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสิน

นางอนงค์วรรณ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และหัวหน้าพรรคมัฌชิมาธิปไตย เผยหลังจากเดินทางมาเป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ สวนสัตว์สัญจร สวนสัตว์เปิดเขาเขียว จังหวัดชลบุรี ว่า สถานการณ์การเมืองในขณะนี้ ตนในฐานะหัวหน้าพรรคมัฌชิมาธิปไตย พร้อมที่จะร่วมทุกข์ร่วมสุขกับคณะรัฐบาลที่บริหารประเทศอยู่ในขณะนี้ แต่หากพรรคจะถอนตัวในช่วงที่มีเหตุการณ์บ้านเมืองในขณะนี้ คงไม่ดีเท่าไรนัก

“ทางพรรคมีจุดยืนเหมือนเดิม ตั้งแต่สมัยรัฐบาลที่ผ่านมา ซึ่งพรรคเห็นว่าใครก็ตามที่ร่วมมือในการทำงาน พรรคพร้อมให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ และขณะนี้ก็ไม่เห็นมีพรรคใดกลุ่มใด เกิดความแตกแยกกัน ซึ่งหากทุกฝ่ายยอมรับในกฎกติกาและมีเหตุผล ปัญหาต่างๆก็จะไม่เกิดขึ้น เพราะทุกๆคนเป็นคนไทยด้วยกันทั้งสิ้น ซึ่งสามารถจะพูดคุยและตกลงเจรจากันได้ปัญหาเหตุการณ์ต่างๆก็คงมีทางออกไปในทางที่ดีขึ้น “ นางอนงค์วรรณ กล่าว

นางอนงค์วรรณ กล่าวต่อถึงกรณีปัญหาคดียุบพรรค ซึ่งเรื่องนี้พรรคจะปล่อยให้เป็นไปตามกฎหมาย หากไม่ยอมรับแล้วเรียกร้องกดดันต่อศาลหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบ ก็เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง โดยขณะนี้ต้องรอเพียงคำตัดสินของศาลว่าจะออกมาในรูปแบบใดเท่านั้น ซึ่งต้องคอยรับฟังต่อไป โดยหากจะออกมาในรูปแบบใดนั้นก็ต้องยอมรับ

ส่วนกรณีที่คณะรัฐมนตรี จะทำประชามติสอบถามความคิดเห็นจากประชาชน ถึงเหตุการณ์และปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ว่าจะให้เป็นในรูปแบบใด ซึ่งเรื่องนี้ทางครม.ได้หารือกัน เพื่อเป็นการแก้ปัญหาให้ดีขึ้น เพราะในขณะนี้หลายๆฝ่ายต่างก็ไม่ยอมรับในปัญหาและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จึงต้องทำประชามติ เพื่อให้เป็นที่ยอมรับของทั้ง 2 ฝ่าย โดยคืนความคิดไปให้กับประชาชน เพื่อพิจารณาปัญหาดังกล่าวต่อไป ที่ผ่านมานักวิชาการมองว่าเป็นการยื้อเวลาในการบริหารประเทศ ซึ่งเรื่องนี้ อยู่ใน 165 วันในการพิจารณา ซึ่งจะต้องหาทางออกในการแก้ไขปัญหา


“ณัฐวุฒิ” ชี้นายกฯไม่ได้ยึดอำนาจทหารหลังประกาศเพิ่ม 2 ฉบับ


“ณัฐวุฒิ” ชี้แจง“นายกฯ”ไม่ต้องการยึดอำนาจทหารมาจาก ผบ.ทบ.หลังออกประกาศเพิ่มอีก 2 ฉบับตาม พ.ร.ก.สถานการณ์ฉุกเฉิน ยันการทำประชามติของรัฐบาลไม่ต้องการให้เกิดการเลือกข้างของประชาชน เตือนแกนนำพันธมิตรฯให้คำนึงถึงสิทธิของประชาชนในการชุมนุมในทำเนียบ

นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ชี้แจงกรณีที่คณะรัฐมนตรีนัดพิเศษ ออกประกาศเพิ่มเติมอีก 2 ฉบับตาม พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินว่า ยังมีสื่อบางฉบับเข้าใจผิดว่านายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ต้องการยึดอำนาจจาก พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก(ผบ.ทบ.) โดยใช้อำนาจผ่านประกาศฉบับที่ 2 ว่าด้วยการโอนอำนาจของคณะรัฐมนตรีหรือผู้รักษาการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการป้องกัน แก้ไข ปราบปราม ระงับยับยั้งในสถานการณ์ฉุกเฉินให้โอนอำนาจเป็นของนายกรัฐมนตรีทั้งหมดนั้น ขอยืนยันว่าการสั่งการด้านทหารยังขึ้นตรงกับ ผบ.ทบ. และนายกรัฐมนตรีไม่มีความคิดที่จะยึดอำนาจคืนจาก ผบ.ทบ.

“จากการรายงานของสื่อบางฉบับ ทำให้มีการเข้าใจคลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริง ซึ่งอำนาจนายกรัฐมนตรีที่มอบให้ ผบ.ทบ.จะเป็นผู้ใช้อำนาจตามประกาศนี้แทน เพราะฉะนั้นจะไม่มีการยึดอำนาจคืน หรือไม่มีความไม่สบายใจในท่าทีของ ผบ.ทบ.จนต้องยึดอำนาจคืน” นายณัฐวุฒิ กล่าว

สำหรับการลงประชามตินั้น นายณัฐวุฒิ กล่าวว่า รัฐบาลไม่มีนโยบายหรือเป็นความตั้งใจของนายกรัฐมนตรีที่จะเร่งรัดให้มีการดำเนินการจัดทำประชามติ แต่มองว่าเป็นช่องทางกฎหมายที่จะมีส่วนช่วยหาทางออกเกี่ยวกับวิกฤติบ้านเมือง ซึ่งขณะนี้ขึ้นอยู่กับวุฒิสภาที่จะใช้เวลาพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงการจัดทำประชามติ และขอยืนยันว่าการจัดทำประชามติของรัฐบาลไม่ได้ต้องการให้เกิดการเลือกข้างของประชาชน แต่ต้องการให้สอบถามความต้องการและเจตจำนงของประชาชนเกี่ยวกับทางออกของบ้านเมือง ส่วนระยะเวลาที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)มองว่าอาจต้องใช้เวลานานถึง 7 เดือน เชื่อว่าเรื่องเวลาจะสามารถพิจารณากันได้ และแม้จะใช้เวลานาน 7 เดือน รัฐบาลก็ยังไม่มีมาตรการใดเพิ่มเติมออกมา

“ส่วนการสอบถามประชาชน เพื่อขอประชามติ ขณะนี้ยังไม่ได้มีการกำหนดหัวข้อที่ชัดเจนใดๆ” นายณัฐวุฒิ ระบุ

นายณัฐวุฒิ ได้เตือนแกนนำกลุ่มพันธมิตรฯให้คำนึงถึงสิทธิของประชาชนในการชุมนุมในทำเนียบรัฐบาล เพราะได้รับรายงานทางการข่าวพบว่า ประชาชนที่จะเดินทางไปชุมนุมสามารถเข้าภายในทำเนียบรัฐบาลได้โดยสะดวก แต่ประชาชนที่จะเดินทางออกจากทำเนียบกลับถูกสะกัดกั้น ขัดขวาง โดยอ้างว่าแกนนำจะถูกจับตัวนั้นถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิประชาชน พร้อมเรียกร้องให้กลุ่มพันธมิตรฯ ประกาศเป้าหมายของการชุมนุมให้ชัดเจนถึง และจะใช้เวลาในการชุมนุมไปอีกนานเท่าใด


ลามถึงเยาวชนแล้วม็อบชั่วปลุกระดมชวนเด็กหยุดเรียน


ม็อบโคตรชั่ว ทำบ้านเมืองฉิบหายพากันนัดหยุดงาน หวังสร้างความปั่นป่วนในบ้านเมืองยังไม่พอ ยังลามไปถึงเด็กนักเรียน ปลุกระดมชักชวนให้หยุดเรียนหนังสือกู้ชาติ โดยนัดกันวันนี้ อ้างมี 20 สถาบันแล้วที่เห็นด้วย แฉกลอุบายพันธมารดึงคนทุกกลุ่มเป็นเครื่องมือหวังสื่อเป็นสัญลักษณ์

การชุมนุมกลุ่มพันธมิตรทำลายประชาธิปไตย ไม่เพียงสร้างความปั่นป่วนวุ่นวายในบ้านเมือง บุกรุกทำลายสถานที่ราชการและชักชวนพนักงานรัฐวิสาหกิจ ให้หยุดงาน แต่ล่าสุดยังล่อลวงนักเรียน นักศึกษา ให้ออกมาร่วมกิจกรรมการเมือง ด้วยการหยุดเรียนหนังสือ ซึ่งมีการอุปโลกน์เครือข่ายเยาวชนกู้ชาติขึ้นมา โดยมีผู้ใหญ่คอยชักใยอยู่เบื้องหลัง

โดยในวันที่ 4 กันยายน ที่ผ่านมา เครือข่ายเยาวชนกู้ชาติ ได้ออกแถลงการณ์ประณามกลุ่มบุคคลที่เป็นต้นเหตุทำให้เกิดความรุนแรง กรณีการปะทะของกลุ่มต่อต้าน และกลุ่มพันธมิตรฯ โดยเฉพาะนายกรัฐมนตรีและ ส.ส. พรรคพลังประชาชนที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ดังกล่าว ขอให้ลาออกจากตำแหน่งทางการเมือง

นายวสันต์ วานิชย์ ผู้ประสานงานเครือข่ายเยาวชนกู้ชาติ กล่าวว่า ทางเครือข่ายจะประกาศหยุดเรียนทั่วประเทศภายในสัปดาห์นี้ โดยขณะนี้มีแนวร่วมแล้วจาก 20 สถาบัน และกำลังประสานให้ได้แนวร่วม 50 สถาบัน เพื่อประท้วง และกดดันให้รัฐบาลลาออก

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า กลุ่มเครือข่ายเยาวชนกู้ชาติยังได้ประกาศเชิญชวนให้นักเรียน นักศึกษาทั่วประเทศ ไปรวมตัวกันที่ลานหน้าห้างเซ็นทรัล เวิลด์ ในวันที่ 5 กันยายนนี้ เวลา 13.00 น. เพื่อขับไล่นายกฯ และรัฐบาลออกจากตำแหน่งให้ได้

ขณะเดียวกันกลุ่มนักเรียน นิสิต นักศึกษา จากสถาบันต่างๆ ในนามโรงเรียนสาธิตมัฆวาน แห่งมหาวิทยาลัยราชดำเนิน ประมาณ 50 คน นำโดย นายแสงธรรม ชุนชฎาธาร นักศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยาลัยรังสิต ได้นำหรีดดำไปประท้วง นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รมว.ศึกษาธิการ ที่ให้ห้ามนักศึกษาออกมาเคลื่อนไหวทางการเมือง

พร้อมกับเรียกร้องให้นายสมชายขอโทษ และลาออก ซึ่งนายสมชายให้สัมภาษณ์ภายหลังว่า ไม่ได้ห้ามนักเรียนนักศึกษามาชุมนุม เพียงแต่เตือนด้วยความหวังดี เพราะเป็นห่วงความปลอดภัยเท่านั้น

ทั้งนี้ กลุ่มพันธมิตรฯ กำลังขยายวงการเรียกร้องต่างๆ โดยพยายามสร้างความชอบธรรมว่ามีประชาชนทุกภาคส่วน ทุกภูมิภาคไม่พอใจรัฐบาล แม้ว่าบางกลุ่มจะมีเพียงไม่กี่คนก็ตาม ซึ่งเป็นการพยายามสร้างภาพและเป็นการสื่อในเชิงสัญลักษณ์ ให้ประชาชนทั่วไปหลงเชื่อและเห็นคล้อยตาม


Thursday, September 4, 2008

เอาไม่อยู่

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ ทรงมีพระราชดำรัสว่า "ความสามัคคีปรองดองเป็นกำลังอย่างสูงสุดของชนชาวไทยทุก หมู่เหล่า ความรู้รักสามัคคีของคนในชาติจะทำให้ชาติบ้านเมืองผ่านพ้นอุปสรรค และทำให้สังคมไทยร่มเย็นเป็นสุข"

น่าเศร้าใจที่คนไทยไม่น้อมนำพระราช ดำรัสของพระองค์ท่านมาปฏิบัติ

บ้านเมืองของเราจึงเกิดวิปริต คนไทยเห็นคนไทยกันเองเป็นศัตรูต้องฆ่ากันให้ตายไปข้างหนึ่ง

ล่าสุดก็ตายจริงไปแล้ว 1 ศพ

ถ้ายังดุเดือดเลือดพล่านกันอย่างนี้ก็อาจจะตายอีกหลายศพ??

“แม่ลูกจันทร์” เห็นสภาวะบ้านเมืองแล้วสลดหดหู่

โฆษกรัฐบาลจีนและโฆษกรัฐบางสิงคโปร์ ออกมาแสดงความห่วงใยต่อสถานการณ์ในประเทศไทย และเรียกร้องให้คนไทยยุติความขัดแย้งเพื่อให้การเมืองไทยเกิดเสถียรภาพโดยเร็วที่สุด

ต่างชาติเรียกร้องให้คนไทยหยุดทะเลาะกัน อายเค้าบ้างมั้ยถามหน่อย??

ต้องยอมรับว่าประเทศชาติของเรากำลังป่วยหนัก ถึงจะใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินเป็นยารักษาโรค ก็ยังไม่ค่อยแน่ใจว่ายาขนานนี้ถูกโรคหรือเปล่า??

คือเชื้อโรคมันดื้อยาซะแล้วว่างั้นเถอะ

ข้อสำคัญ...ตัวยาบางตัวที่ผสมอยู่ใน พ.ร.ก.สถานการณ์ฉุกเฉินอาจจะเกิดโรคแทรก ซ้อนอีกตะหาก

ตรงนี้แหละที่หลายฝ่ายยังเป็นห่วง

แต่ “แม่ลูกจันทร์” ยังมั่นใจว่า “พล.อ. อนุพงษ์ เผ่าจินดา” ผบ.ทบ. ในฐานะผู้ใช้ อำนาจตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน จะใช้ความพยายามสุดฝีมือเพื่อให้สถานการณ์วุ่นวายคลี่คลายไปได้ระดับหนึ่ง

ระดับหนึ่ง...คือไม่เลวร้ายยิ่งกว่าที่เป็นอยู่

เพราะ “พล.อ.อนุพงษ์” เปิดอกยอมรับเองว่า สถานการณ์เผชิญหน้าระหว่างคนไทย 2 กลุ่ม เป็นปัญหาที่ละเอียดอ่อน

ขนาดรัฐบาลเอาไม่อยู่ ศาลก็เอาไม่อยู่ สภาฯก็เอาไม่อยู่ ถ้าจะหวังให้ ผบ.ทบ. ต้องเอาให้อยู่ก็คงลำบาก!!

ฉะนั้น สิ่งที่น่าจะทำได้คือการป้องกันไม่ให้คนไทย 2 กลุ่มใช้กำลังปะทะกันอีก

ส่วนการที่จะทำให้ปัญหาขัดแย้งยุติ เพื่อให้บ้านเมืองกลับคืนสู่ความสงบ ถ้าหากใช้มาตรการรุนแรงเกินไปก็อาจบานปลายมากกว่าเก่า

ในฐานะผู้ได้รับมอบหมายใช้อำนาจตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ก็จะเลือกวิธีเจรจาขอร้องในฐานะคนไทยด้วยกันก่อน

รวมทั้งการใช้กลไกทางกฎหมายตามกรอบกติกาที่มีอยู่

โดยกองทัพจะอยู่ตรงกลางไม่เอียงข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

ขอให้ทุกฝ่ายมั่นใจได้ว่าทหารจะไม่ใช้ ความรุนแรงสลายการชุมนุมอย่างเด็ดขาด!!

สรุปว่า...การประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินไม่ใช่ยาวิเศษ

ทำท่าจะเป็นยาหมดอายุไปซะฉิบ

มาตรการ 5 ข้อที่ประกาศใช้ตาม พ.ร.ก. ฉบับนี้ ก็ใช้บังคับไม่ได้ซักอย่าง

เอวังก็มีประการฉะนี้แหละ

ป.ล. หลังจากลุ้นเสียวมา 2 เดือนกว่า ในที่สุดที่ประชุมใหญ่ กกต.ก็ลงมติเป็น “เอกฉันท์” ให้ส่งคดียุบพรรคพลังประชาชนให้อัยการสูงสุดยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาตามระเบียบ

พรรคพลังประชาชนของนายกฯ “สมัคร สุนทรเวช” จึงเป็นพรรคการเมืองที่ 3 ต่อจากพรรคมัชฌิมาฯ และพรรคชาติไทยที่โดนจองกฐินไปก่อน

โดยมีพรรคเพื่อแผ่นดินที่ติดกับดักรัฐธรรมนูญรอคิวโดนยุบพรรคเป็นพรรคที่ 4 ??

กัมมุนา วัตตะตีโลโก...สัตว์โลกทั้งหลายจงปลงซะเถิด.

แม่ลูกจันทร์

ส.ส.พปช.เตรียมยื่น อสส.พิจารณา ส.ว.ขึ้นเวทีพันธมิตรฯ ผิด ม.68

รัฐสภา 4 ก.ย.- ส.ส.พลังประชาชน เตรียมยื่นหนังสือถึงอัยการสูงสุด พิจารณาการขึ้นเวทีพันธมิตรฯ ของกลุ่ม ส.ว. ผิดรัฐธรรมนูญ ม.68 หรือไม่ หนุน “สมัคร” ทำถูกแล้วไม่ต้องลาออกหรือยุบสภา จี้ "พล.อ.อนุพงษ์" ไม่ทำตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน อาจเจอข้อหาละเว้นปฏิบัติหน้าที่

นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล ส.ส.เชียงใหม่ พรรคพลังประชาชน แถลงว่า ส.ส.พรรคพลังประชาชนรวม 17 คน ร่วมกันลงชื่อ เพื่อยื่นหนังสือต่ออัยการสูงสุด (อสส.) พร้อมแนบดีวีดีบันทึกภาพ ส.ว.ที่ขึ้นปราศรัยบนเวทีกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เมื่อค่ำวันที่ 29 ส.ค.ที่ผ่านมา เพื่อให้ อสส.พิจารณาว่า การขึ้นเวทีปราศรัยดังกล่าว ถือว่า ส.ว.กลุ่มนี้ร่วมกระทำความผิดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 68 ในหมวดสิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ ที่ระบุว่าบุคคลจะใช้สิทธิในการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยไม่ได้ เนื่องจากการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ ได้อ้างการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญมาตรา 63 ที่ระบุว่า การชุมนุมโดยปราศจากอาวุธ แต่กลับพบว่ามีอาวุธและสิ่งเสพติดในการชุมนุม และบุกรุกสถานที่ราชการ โดยมีเป้าหมายที่จะล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขหรือเพื่อให้ได้ซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ โดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญ

นายสุรพงษ์ กล่าวว่า มี ส.ว.บางคนระบุว่า ได้เป็น ส.ว.เพราะร่วมเวทีพันธมิตรฯ ถือเป็นการยอมรับว่า ร่วมกระทำความผิดข้อหากบฏต่อแผ่นดินเช่นเดียวกับกลุ่มพันธมิตรฯ ทั้งที่ ส.ว.ต้องวางตัวเป็นกลาง อย่างไรก็ตาม ข้อมูลที่จะยื่นต่ออัยการสูงสุด วันนี้ (4 ก.ย.) จะไม่ระบุชื่อกลุ่ม ส.ว. เพราะภาพบันทึกในดีวีดีนี้มีการแนะนำตัวชัดเจน โดยระบุแค่ว่าเป็นกลุ่ม ส.ว.ที่ปรากฏในภาพข่าวบ่อย ๆ

ผู้สื่อข่าวถามว่า ส.ส.ในพรรคพลังประชาชน มีความเห็นอย่างไรต่อกระแสเรียกร้องให้นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ลาออกจากตำแหน่ง นายสุรพงษ์ กล่าวว่า ส่วนตัวไม่เห็นด้วยกับแนวคิดนี้ และนายกรัฐมนตรีไม่ควรลาออก เพราะเป็นความเห็นของคนเพียงกลุ่มเดียว หรือแม้แต่การยุบสภาก็ไม่สามารถแก้ปัญหาอะไรได้ การที่นายสมัครแสดงศักยภาพในการแก้ปัญหาวิกฤติการเมืองขณะนี้ สร้างความเชื่อมั่นต่อ ส.ส.ของพรรค ซึ่ง ส.ส.ภาคเหนือของพรรคยังยืนหยัดสนับสนุนนายสมัคร และจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม

ต่อข้อถามว่า หากนายสมัคร ถูกตัดสินว่ามีความผิดจากคดีความต่าง ๆ จนต้องหลุดจากตำแหน่ง จะยังเลือกนายสมัครกลับมาเป็นหัวหน้าพรรคอีกหรือไม่ นายสุรพงษ์ กล่าวว่า ส.ส.ยังเชื่อมั่นในการดูแลปัญหาของนายสมัคร ซึ่งนายสมัครได้พิสูจน์ตัวเอง ส่วนสถานการณ์ในอนาคตต้องไปดูกันอีกครั้ง สำหรับข้อเสนอที่จะให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญบางมาตรา เพื่อนำคนนอกมาเป็นนายกรัฐมนตรีนั้น พรรคพลังประชาชนไม่เห็นด้วยแน่นอน เพราะขัดหลักประชาธิปไตย

นายสุรพงษ์ กล่าวว่า ส.ส.ส่วนใหญ่ในพรรคเห็นด้วยกับการหารือ เพื่อแก้วิกฤติการเมือง โดยการเปิดประชุมร่วม 2 สภาอีกครั้ง แต่ต้องการให้ไปดูเลยว่า ถ้ากฎหมายฉบับใดไม่สามารถบังคับใช้ได้ ก็ให้ฉีกทิ้งไป อย่างไรก็ตาม ถ้า พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก มีท่าทีที่อ่อนต่อการบังคับใช้ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 อาจเข้าข่ายละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ได้.-สำนักข่าวไทย


อัพเดตเมื่อ 2008-09-04 13:53:01

สมัคร ประกาศไม่ลาออก ยันอยู่รักษาประชาธิปไตย

กรุงเทพฯ 4 ก.ย. - "สมัคร สุนทรเวช" แจงผ่านวิทยุกรมประชาสัมพันธ์ ประกาศไม่ลาออก เพราะต้องอยู่เพื่อรักษาระบอบประชาธิปไตยของประเทศ ยืนยันไม่ได้ทำอะไรผิด ส่วนประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อต้องการดับชนวน ยุติความรุนแรง.

ชมรายละเอียด สำนักข่าวไทย

อัพเดตเมื่อ 2008-09-04 08:05:59