WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, September 18, 2010

ใบตองแห้งออนไลน์: สิบเก้าเดือนเก้า

ที่มา ประชาไท

สิบเก้าเดือนเก้าปีสี่เก้า
ปัญหาเชาว์เข้าเนื้อแบ่งเสื้อสี
ไม่น่าเชื่อเมื่อผ่านไปได้สี่ปี
มิคสัญญียังไม่หยุดจุดฆ่าฟัน
เมื่ออำนาจนิยมล้มอำนาจ
เพิ่มพิพาทอ้างศรัทธามาห้ำหั่น
จึงปั่นป่วนทุกองค์กรสถาบัน
เข้าทางตันเกิดวิกฤติติดหลุมดำ
อำนาจปืนและกฎหมายแม้ใช้ปราบ
ไม่ราบคาบยิ่งเคียดแค้นแน่นกระหน่ำ
เพราะตราบใดแผ่นดินไร้ยุติธรรม
อย่าเอ่ยคำสามัคคีไม่มีทาง
เมื่อเกิดสองมาตรฐานประจานโลก
เมื่อสาเหตุวิปโยคยังคั่งค้าง
เมื่อประชาธิปไตยถูกอำพราง
จงอย่าอ้างสิ่งศักดิ์สิทธิ์คิดกดดัน
คิดให้ดีสี่ปีแสนประหลาด
ทักษิณเสื่อมจากอำนาจไม่คาดฝัน
ถึงวันนี้เหมือนสลับกลับขั้วกัน
ความเสื่อมนั้นไม่เลือกข้างอ้างชั่วดี
อันปรัชญาแห่งอำนาจปราชญ์ว่าไว้
ทักษิณใช้พร่ำเพรื่อหมดเร็วจี๋
อำนาจหากไม่ใช้ได้บารมี
ถ้าใช้เอง ใช้ถี่ มีแต่จม
โปรดคืนสมดุลแห่งอำนาจ
ประชาธิปไตยไม่คิดคาดจะโค่นล้ม
เพียงหวังอยู่ร่วมในสังคม
อย่างเหมาะสมมีเสียงสิทธิไม่ปิดกั้น
แต่หากขืนฝืนหวนทวนกระแส
ไม่มีใครรู้แน่ความพลิกผัน
ที่ไหนมีแรงกดเกิดแรงดัน
ระเบิดลั่นอีกครั้งยังหวั่นกลัว
ใบตองแห้ง
18 ก.ย.53

สี่ปีได้กี่ก้าว โดย กาหลิบ

ที่มา Thai E-News

โดย กาหลิบ
คอลัมน์ เมืองไทยหรือเมืองใคร?
ที่มา Democracy100%
17 กันยายน 2553

เขา ประมาณกันไว้ว่าต้องสิบปีขึ้นไปกว่าจะถือว่าอะไรเป็นประวัติศาสตร์ได้ เหตุการณ์บางอย่างเร้าอารมณ์ความรู้สึกของผู้มีส่วนร่วมอย่างรุนแรง จนคิดว่าสำคัญและเป็นประวัติศาสตร์ไปหมดในขณะที่เกิด จนเวลาผ่านไปนานพอจึงเกิดระลึกรู้ได้ว่า อะไรสำคัญมากน้อย อะไรอยู่นานพอที่จะช่วยกำกับสติของเราไปชั่วชีวิต (อันสั้น) ได้ และอะไรจะเลือนหายไป

แต่สี่ปีหลังรัฐประหาร ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ น่าจะเริ่มนับหนึ่งในความเป็นประวัติศาสตร์ได้ เวลาเพียงสี่ปีย่อมไม่ใช่สิบปี แต่ความครบวงจรครั้งแล้วครั้งเล่าของเหตุการณ์การเมืองในเมืองไทย ทำให้เราย่นย่อประวัติศาสตร์ที่ควรต้องยาวนานกว่านั้นมาพิจารณากันในเวลาอัน สั้นได้

เราเห็นการรัฐประหารโค่นล้มทำลายระบบรัฐสภาและระบอบ ประชาธิปไตยโดยสิ้นเชิง และการก่อรูปใหม่ของสภาผู้แทนราษฎรและรัฐบาลที่เกิดจากสภานั้นถึงสองรัฐบาล ก่อนจะเห็นประชาธิปไตยถูกบิดเจตนารมณ์ไปอีกครั้งในรัฐบาลที่สามของสภาเดียว กัน

เราได้เห็นการกำเนิดของมวลชนธรรมชาติ ผสมผสานกับกิจกรรมของนักการเมืองและนักเลือกตั้งในระดับที่ไม่เคยเห็นกันมา ก่อน จนกลายเป็นต้นทุนใหม่ของระบอบประชาชน และเราก็ได้เห็นการล้อมฆ่าประชาชนเหล่านั้นอย่างเลือดเย็นและไม่แสดงความ รู้สึกผิดชอบชั่วดีใดๆ

เราได้เห็นนักการเมืองฝ่ายประชาธิปไตยแบ่ง เป็น ๒ กลุ่ม คือกลุ่มที่เห็นว่าระบอบประชาชนเกิดขึ้นแล้วจริงและพร้อมทำงานใหญ่ในการ เปลี่ยนแปลงประเทศไทยร่วมกับมวลชนเหล่านั้น กับกลุ่มที่ไม่เชื่อว่าเมืองไทยจะสามารถพัฒนาการเมืองไปได้มากกว่าที่เป็น อยู่ และพร้อมกระโดดกลับไปร่วมเตียงกับมหาอำมาตย์และบริษัทบริวารที่ประชาชนลุก ขึ้นสู้และถูกเขาฆ่าตายไปเป็นร้อยๆ เพื่อความอยู่รอดและความรุ่งเรืองของตน

นี่คือตัวอย่างของความครบวงจรและการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ไทยในเวลาอันสั้นจากรัฐประหารครั้งที่ ๑๐ ของประวัติศาสตร์การเมืองไทย

แล้วเราเดินสู่ถนนสายประชาธิปไตยได้เพิ่มอีกกี่ก้าวในสี่ปีนี้?

๑. การกำเนิดขึ้นของระบอบประชาชน/มวลชนที่ไม่ต้องคอยรับน้ำเลี้ยงและวิ่งหาพ่อแม่ทางการเมืองจากหน้าไหน

๒. การเปิดเผยปัญหาของระบอบการเมืองไทยจนถึงที่สุดและมีความกล้าหาญในการ แสดงออกเพิ่มขึ้นทุกวันโดยไม่หวั่นเกรงอิทธิพลและบารมีใดๆ เหมือนก่อน

๓. การคัดกรองนักการเมืองและผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในใจประชาชน โดยแบ่งออกเป็นพวกที่สู้ถึงที่สุดและไม่ถึงที่สุด (บางคนใช้คำว่า “บางซื่อ/หัวลำโพง”)

๔. มวลชนผู้มีความรู้และทักษะต่างระดับถูกนำมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพในขบวนประชาธิปไตย

๕. ความสนใจและการมีส่วนร่วมทางการเมืองแผ่กว้างและลงลึกในสังคมไทย โดยไม่แบ่งชนบทและเมือง ไม่แบ่งอายุ เพศ ภูมิหลังของชีวิต ศาสนา และแม้กระทั่งระดับการศึกษา อย่างไม่เคยปรากฎมาก่อนในสังคมของเรา

ก้าว เดินเหล่านี้เดิมเป็นเพียงฝันของบรรพบุรุษประชาธิปไตยอย่างคณะเปลี่ยนแปลง การปกครองเมื่อ รศ. ๑๓๐ และคณะราษฎร์ใน พ.ศ.๒๔๗๕ แต่บัดนี้กำลังเกิดขึ้นและเข้มแข็งขึ้นด้วยสถานการณ์ จนแทบจะบอกไม่ได้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นต่อไป

แน่นอนว่ายังอีกหลายก้าว นักกว่าจะถึงหลักชัยอันสมบูรณ์ แต่อย่างน้อยก็ทำให้รู้ว่าก้าวเดินเหล่านั้นประกอบด้วยอะไรบ้าง เพราะเส้นทางสว่างขึ้นจากก้าวที่เราเดินร่วมกันมาแล้ว และจุดคบมาเรื่อยๆ ตามรายทาง

ความใส่ใจและมีส่วนร่วมของประชาชนต้องกลายเป็นความมั่นใจและกล้าหาญพอที่จะลุกขึ้นสู้

นักการ เมือง/นักเลือกตั้งที่ไม่ยอมพัฒนา เอาประโยชน์เฉพาะหน้าของตนและเครือข่ายเป็นหลักจนเสียระบอบประชาธิปไตยครั้ง แล้วครั้งเล่า ต้องออกไปจากการเมือง

ต้องประกาศศัตรูตัวจริงของระบอบ ประชาธิปไตยไทยอย่างไม่คลุมเครือ อธิบายทักษะทางการเมืองและวิถีอำนาจของเขาจนเป็นที่แจ่มแจ้งโดยทั่วกันเพื่อ เป็นฐานการต่อสู้ของฝ่ายประชาชน

และอื่นๆ อีกมาก

รัฐประหาร เมื่อวันอังคารที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙ คือความมืดมิดของบ้านเมืองจริง แต่เป็นเพียงการดับเทียนดวงเล็กๆ ที่ทำให้มืดลงชั่วคราว ก่อนที่ประชาชนจะช่วยกันหล่อเทียนพรรษาขึ้นทั่วประเทศและจุดจนสว่างไสวเท่า นั้น.



---------------------------------------------------------------------------------
ข่าว SMS ของฝ่ายประชาธิปไตย เชิญสมัครสมาชิก SMS-TPNews โดยทีมงานเสื้อแดง เที่ยงตรง ไม่บิดเบือน ส่งตรงถึงมือถือทุกวัน สมัครวันนี้ ใช้ฟรี 14 วัน พิมพ์ PN ส่งมาที่เบอร์ 4552146 ทุกระบบ เพียง 29 บาท/เดือน Call center: 084-4566794-5 (จ.- ศ. 9.30-17.30 น.)/e-mail : tpnews2009@gmail.com บล็อก : wwwthaipeoplenews.blogspot.com

แดงอเมริกาจี้นำผู้บงการ-ฆาตกรขึ้นศาลอาชญากรโลก ปล่อยนักโทษการเมืองคายประชาธิปไตยคืน

ที่มา Thai E-News



โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
18 กันยายน 2553

ข่าวเกี่ยวเนื่อง:

-กำหนดการทั่วโลกล่าสุด มหกรรม19กันยารำลึก 4ปีปล้น 4เดือนฆ่า
-Conor Purcellหนุ่มฮีโร่แดงออสซี่ร่วมไทยเรดออสเตรเลีย รำลึก4ปีปล้น4เดือนฆ่าฟ้องประจานโลก
-แดงยุโรปคึกออกแถลงการณ์ไม่ยอมรับระบอบปกครองเถื่อนมือเปื้อนเลือดปล้นฆ่าชาวไทย

One World One Poster-เสื้อ แดงอเมริกาได้จัดทำโปสเตอร์ขนาดใหญ่ หัวข้อ Tragedy In Thailand เพื่อให้เสื้อแดงทุกประเทศทั่วโลกนำไปพิมพ์แล้วติดตามแต่ละเมืองเพื่อกดดัน ระบอบอำมาตย์ให้คายอำนาจและประชาธิปไตยคืนประชาชน สำหรับเสื้อแดงอเมริกาที่เข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ เช่น แอลเอ,นิวยอร์ก,ชิคาโก้,ฟลอริด้า,ซานดิเอโก้ และ เท็กซัส เป็นต้น


คนไทยทั่วโลกขยายวงจัดงานรำลึก4ปีปล้น4เดือนฆ่าฟ้องโลก

คน ไทยผู้รักชาติ รักประชาธิปไตยและความเป็นธรรมทั่วโลกได้เข้าร่วมกิจกรรมRed Around The World สอดประสานกับชาวไทยในประเทศขึ้นในวันที่ 19 กันยายนนี้

โดย มีคนไทยที่เข้าร่วมการจัดงานในเวลานี้คือ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา อังกฤษ สวีเดน เดนมาร์ค นอร์เวย์ เบลเยียม และฝรั่งเศส เป็นต้น

โดย นอกจากมีการจัดกิจกรรมรวมตัวกันใส่เสื้อแดง แต่งตัวเป็นคนตายจากเหตุการณ์เดือนเมษายน-พฤษภาคมที่ผ่านมา การปล่อยลูกโป่งฟ้องฟ้าแล้ว ยังได้มีการจัดแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนของแต่ละประเทศเพื่อฟ้องต่อชาวโลกให้ ร่วมกันกดดันต่อระบอบปกครองที่กดขี่ของไทยได้คืนอำนาจที่แท้จริงสู่ประชาชน ปลดปล่อยนักโทษการเมืองที่มีการจับกุมคุมขังมานับตั้งแต่หลังรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 การเยียวยาเหยื่อที่เสียชีวิตและบาดเจ็บ รวมทั้งการลงโทษต่อผู้กระทำผิดฐานสังหารหมู่ประชาชนตามกระบวนการยุติธรรม สากลที่น่าเชื่อถือ

คนไทยในอเมริกาหลายมลรัฐร่วมกันจัดงานและออกข่าวแถลงการณ์ฟ้องโลก

คน ไทยในหลายเมืองและหลายมลรัฐที่เข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ เช่น ดัลลัส เท็กซัส ,ซานดิเอโก้,ขิคาโก้ อิลลินอยส์,ฟลอริด้า,นิวยอร์ก และ แอลเอ.

นอก จากนั้นได้มีการออกแถลงการณ์ฉบับหนึ่ง และเป็นเอกสารแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนต่างประเทศ โดยมีเนื้อหาลำดับเรื่องราววิกฤตการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เพราะระบอบปกครองอำมาตย์ปล้นอำนาจประชาชน โค่นล้มรัฐบาลจากการเลือกตั้งของประชาชนลงไป ใช้เพทุบายอันมิชอบจัดตั้งรัฐบาลหุ่นเชิดของตนขึ้น เมื่อประชาชนรวมตัวกันเรียกร้องขับไล่ ด้วยการเรียกร้องให้ยุบสภาเลือกตั้งใหม่ตามครรลองประชาธิปไตย ก็มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนปราบปรามเข่นฆ่ามีผู้ล้มตาย 91 ศพ บาดเจ็บกว่า 2,000คนจับกุมคุมขังนักโทษการเมืองโดยไม่ให้ประกันตัว ขณะที่ไม่มีการสอบสวนหาผู้รับผิดชอบในการฆ่า และเหยื่อที่บาดเจ็บสูญเสียจากเหตุการณ์นี้

ดังนั้นประชาคมโลกจึง ต้องร่วมกันกดดันให้นำผู้บงการสังหารหมู่ครั้งนี้เข้าสู่การพิจารณากระบวน การยุติธรรมสากล โดยนำขึ้นศาลอาชญากรระหว่างประเทศ และต้องปลดปล่อยนักโทษการเมืองอย่างไม่มีเงื่อนไข ทั้งนี้ตามรายละเอียดแถลงการณ์ต่อไปนี้




FOR IMMEDIATE RELEASE


Rally for Democracy and Accountability

(Chicago) The Union for Thai Democracy, a collective of Thai-American, plans a Candle Light Vigil and Rally for Democracy and Accountability in front of the Millennium Park, Michigan Avenue, Chicago on Saturday, September 18, 2010 at 6.00 pm.

This event is part of the 'RED AROUND THE WORLD' organized by the Red Shirts (a pro-democracy movement) in Thailand and their supporters around the world. We call for International support for the Struggle for Genuine Democracy in Thailand. We also call for the accountability of the massacres in Bangkok and Everywhere, and we demand that the Thai government free All Political Prisoners. September 19 marks the 4th anniversary of the military coup and 4 months after the massacres at Rachaprasong in Bangkok, Thailand.

The Bangkok Massacres: A Call for Accountability

For four years, the people of Thailand have been the victims of a systematic and unrelenting assault on their most fundamental right — the right to self-determination through genuine elections based on the will of the people. The assault against democracy was launched with the planning and execution of a military coup d’état in 2006. In collaboration with members of the Privy Council, Thai military generals overthrew the popularly elected, democratic government of Prime Minister Thaksin Shinawatra, whose Thai Rak Thai party had won three consecutive national elections in 2001, 2005 and 2006. The 2006 military coup marked the beginning of an attempt to restore the hegemony of Thailand’s old moneyed elites, military generals, high-ranking civil servants, and royal advisors (the “Establishment”) through the annihilation of an electoral force that had come to present a major, historical challenge to their power. The regime put in place by the coup hijacked the institutions of government, dissolved Thai Rak Thai and banned its leaders from political participation for five years.

When the successor to Thai Rak Thai managed to win the next national election in late 2007, an ad hoc court consisting of judges hand-picked by the coup-makers dissolved that party as well, allowing Abhisit Vejjajiva’s rise to the Prime Minister’s office. Abhisit’s administration, however, has since been forced to impose an array of repressive measures to maintain its illegitimate grip and quash the democratic movement that sprung up as a reaction to the 2006 military coup as well as the 2008 “judicial coups.” Among other things, the government blocked some 50,000 web sites, shut down the opposition’s satellite television station, and incarcerated a record number of people under Thailand’s infamous lèse-majesté legislation and the equally draconian Computer Crimes Act. Confronted with organized mass demonstrations that challenged its authority, the government called in the armed forces and suspended constitutional freedoms by invoking the Internal Security Act and a still more onerous Emergency Decree. Since April 7, 2010, the country’s new military junta — the Center for the Resolution of the Emergency Situation (“CRES”) — rules without any form of accountability, under a purported “state of emergency” that was declared improperly, implemented disproportionately, and continued indefinitely with the purpose of silencing any form of opposition to the unelected regime. Once again, the Establishment could not deny the Thai people’s demand for self-determination without turning to military dictatorship.

In March 2010, massive anti-government protests were organized in Bangkok by the “Red Shirts” of the United Front for Democracy against Dictatorship (UDD). The Red Shirt rally was sixty-six days old on May 19, 2010, when armored vehicles rolled over makeshift barricades surrounding Bangkok’s Rachaprasong intersection and penetrated the Red Shirts’ encampment. Weeks earlier, on April 10, 2010, units had carried out a failed attempt to disperse a Red Shirt gathering at the Phan Fa Bridge, resulting in the death of twenty-seven people. At least fifty-five more people died in the dispersal of the Ratchaprasong rally between May 13 and May 19. By the time the site of the demonstrations was cleared, several major commercial buildings stood smoldering, more than eighty people lay dead, and over fifty alleged UDD leaders faced possible death sentences on “terrorism” charges. Hundreds of other protesters remain detained, for violating the Internal Security Act and the Emergency Decree, which the Thai authorities wield in an effort to criminalize legitimate political protest.

Thailand has obligations under International Law, including treaty obligations under the International Covenant of Civil and Political Rights (ICCPR), to investigate all serious human rights violations during the Red Shirts demonstrations and, if applicable, to prosecute members of the military and its civilian chain of command for crimes such as the summary and arbitrary executions of more than eighty civilians in Bangkok in April-May 2010. The facts strongly suggest violations of International Law through a disproportionate use of force by the Thai military, prolonged arbitrary detention and disappearances, and a repressive system of political persecution that denies freedom of political participation and expression to its citizens, including the Red Shirts. There is ample evidence of serious human rights abuses to trigger an independent and impartial investigation into the facts, so that those who are guilty of international crimes may be brought to justice.

Additionally, the use of military force against the Red Shirts in April-May 2010 is the kind of systematic or widespread attack on civilian populations that might rise to the level of crimes against humanity under the Rome Statute that created the International Criminal Court in The Hague. While Thailand has not acceded formally to the Rome Statute, these kinds of attacks might warrant consideration for a referral to the International Criminal Court if they were carried out knowingly under a policy to acquiesce in or encourage unnecessary loss of life, or if they are designed to target a specific political group. There is substantial evidence that the four-year campaign of attacks against the Red Shirts is being carried out under a policy approved by the Abhisit government, and that the recent Red Shirt massacres are only the latest manifestation of that policy.

Lastly, the Thai government’s purported investigation into the Red Shirt massacres in April-May 2010 promises to be neither independent nor objective, as required by International Law. While Thailand may be guilty of additional violations of the ICCPR and of customary international law for its failures to ensure a fair and complete investigation into the massacre, international pressure is necessary to ensure its compliance and pre-empt the government’s ongoing attempts to whitewash the incidents.

There is no dispute that Thailand must move beyond violence and work toward reconciliation. Reconciliation, however, necessarily begins with the restoration of the Thai people’s fundamental right to self-governance; moreover, it requires full accountability for serious human rights violations committed in the attempt to repress that right. International Law mandates nothing less.

###

Source: A White Paper by Amsterdam & Peroff LLP
http://robertamsterdam.com/thailand/?p=211

For More Information on the Red Shirts’ Struggle for Thai Democracy, please visit:
http://www.illinoisredshirts.blogspot.com/ - a bilingual website of the Union for Thai Democracy, a not-for-profit organization promoting genuine democracy in Thailand.


สำหรับกิจกรรมของเสื้อแดงในอเมริกาแต่ละเมือง และมลรัฐต่างๆ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

แอลเอ-RedUSA นัดกันมาแดง "Red Around The World" One World One Poster โปสเตอร์ฟ้องโลก ลูกโป่งฟ้องฟ้า

ครบ รอบ 4 ปี รัฐประหาร 4 เดือน สังหารหมู่อำมหิต พบปะพูดคุย นัดกินข้าว เล่าสู่กันฟัง เพียงหยิบเสื้อแดงสวมใส่ นำโบว์แดงติดตัวมาผูกที่ป้ายราชประสงค์จำลอง ทำป้ายโดนใจติดมือมาร่วมกิจกรรม ในงานสัมผัสอุปกรณ์ที่ใช้สังหารประชาชน ชม CD ชุดเด็ด

และ ร่วมกันร้องเพลงนักสู้ธุลีดิน ใครสั่งฆ่า กราบหัวใจ..จาก ดร.ประแสง จิ้น กรรมาชน และ แป๊ะ บางสนาน


โฟนอินจากท่านอาจารย์พระดร.มหาโชว์ , บก.ลายจุด , แป๊ะ บางสนาน แกนนำหลสยท่าน ฯลฯ และร่วมจุดเทียนแดงเพื่อรำลึกถึงวีระชนผู้กล้า...

เสาร์ 18 กันยายนนี้ มาตาสว่าง 4 โมงเย็นถึงสี่ทุ่ม (เวลาLA.)ที่ร้านThai Kitchen, Burbank ติดต่อสอบถามได้ที่ คุณเบญจะ 310 / 516-7671 คุณสนั่น เมลโรส 323 / 286-8722 คุณประเสริฐ 818 / 251-0893 คุณวาสนา 818 / 731-1738

Texas @ Dallas ร่วมแสดงพลัง Red Around the World ในวันที่ 19 กันยายน นี้

6:00 PM พบกันที่ 1927 E. Beltline, Carrollton, TX 75006 - at Northeast Corner of Josey Lane & Belt Line Intersection

กิจกรรมประกอบด้วย

- อ่านแถลงการณ์ เนื่องในวันครบรอบ "4 years after the coup, 4 months after the massacre at Rajprasong"

- จุดธูปรำลึกวีรชนเสื้อแดง อ่านคำสดุดี แด่วีรชนผู้กล้า ผ่านฟ้า - ราชประสงค์
- ผูกผ้าแดงที่ป้ายราชประสงค์
- นิทรรศการภาพถ่าย ทหารใช้อาวุธสงครามสังหารโหดคนเสื้อแดง
- วีรชนคืนชีพปล่อยลูกโป่งแดง เรียกร้องความเป็นธรรม และประชาธิปไตย ผ่านประชาชนอเมริกัน และประชาคมโลก


ขอให้เสื้อแดงทุกคนที่มาร่วมงาน ทำหน้าที่เป็นสื่อ เชิญเพื่อนชาวต่างชาติ ให้ มา observe กิจกรรม Red Around the World ให้รับทราบเรื่องราว และตอบคำถามว่า คนเสื้อแดงได้รับความเป็นธรรมจากชนชั้นปกครองของประเทศไทยหรือไม่..

7:30 PM ร่วมรับประทานอาหารคํ่า หารือเรื่องแนวทางในการต่อสู้ของคนเสื้อแดงนอกราชอาณาจักรต่อไปในอนาคต และแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นกับชาวต่างชาติที่มาร่วมงาน ที่ Coconut Grill @ Web Chaple & Belt Line***

RedUSA ซานดิเอโก "Red Around The World" ขอเชิญพี่น้องที่รักประชาธิปไตยทุกท่านมาร่วมรำลึกถึงวันที่ประชาธิปไตย ของเราถูกทำลาย "A Tragedy In Thailand" และชมนิทัศการภาพถ่าย ของนักสู้เสื้อแดง เมื่อเมษายน 2552 , เมษายน และพฤษภาคม 2553 อย่างที่ท่านไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อน ในวันอาทิตย์ที่ 19 กันยายน ตั้งแต่เวลาบ่าย 3 โมง ถึง 6 โมงเย็น มาร่วมกันแดงเพื่อให้โลกทั้งโลกได้รู้ว่า เราชาวเสื้อแดง ไม่ได้หนีหายตายจากไปไหน..ยังอยู่ อยู่เพื่อทวงความยุติธรรมให้กับวีระชนคนกล้าของเราทั้ง 91 ศพ

มาร่วมกันปล่อยลูกโป่ง "โปสเตอร์ฟ้องโลก ลูกโป่งฟ้องฟ้า" ที่มีข้อความที่มีความหมายเชิงสัญลักษณ์ในการต่อสู้ และร่วมฟังความรู้สึกของนักสู้เสื้อแดงจาก แอลเอ และทุก ๆ ที่ ที่หัวใจสีแดง และพร้อมที่จะต่อสู้เรียกร้องเพื่อที่จะให้ได้มาซึ่งความยุติธรรม และให้ได้มาในสิ่งที่พวกเราชาวเสื้อแดงเรียกร้องคือ "ประชาธิปไตย"

เจอกันที่

THAI TIME BISTRO
1830 SUNSETCLIFFS BLVD.
SAN DIEGO, CA 92107
TEL. (619) 223-5000
FAX (619) 223-5001

สอบถามรายละเอียดได้ที่ นิดหน่อย (619) 549-1857


ฟลอริด้า-ขอเรียนเชิญพี่น้องเสื้อแดงในฟลอริด้า ร่วมทำกิจกรรม Red around the world พร้อมทั้งร่วมงานเสวนา 4 ปีรัฐประหาร 4 เดือนพฤษภาอำมหิต วัน ที่ 19 กันยายน 2553 ณ ห้องอาหาร Ayothaya thai cuisine 7555 west sand lake Ave., orlando, FL เวลา 12.00 น. ขอเชิญเพื่อนร่วมอุดมการณ์เข้าร่วมอย่างพร้อมเพรียงกัน ติดต่อสอบถามรายละเอียดที่่คุณอภิรมย์ ฟลอริด้าโทร. 321-3053776


ชิคาโก้/อิลลินอยส์ ขอพี่น้องผู้รักประชาธิปไตยทุกท่าน ที่อยู่ในรัฐอิลลินอยส์ และรัฐใกล้เคียง มาร่วมทํากิจกรรม "แดงทั่วโลก Red Around the World"

When: ในวันที่ 18 กันยายน 2010 เวลา 5 โมงเย็น

Where: The Bean - Millenium Park, N. Michigan Ave., Chicago, IL (between E. Washington & W. Madison)

ในงานเราจะมีการทํากิจกรรม คือ

*ถือป้ายรณรงค์ ให้ปล่อยนักโทษการเมือง และเรียกร้องประชาธิปไตย
*จุดเทียนแดง (ทางกรรมการจะเตรียมเทียนไว้ส่วนหนึ่ง พี่น้องที่มีเทียนแดง สามารถนํามาร่วมได้)
*ขอพี่น้องใส่เสื้อสีแดง และคาดผ้าสีดํา


พี่ น้องท่านใด ที่ปัญหาเรื่องการเดินทาง ขอให้แจ้งให้คณะกรรมการ เราจะจัดรถไปรับท่าน เช่นเดียวกับพี่น้องที่อยู่ต่างรัฐ และต้องการจะมาร่วมกับเรา ท่านสามารถติดต่อกับคณะกรรมการได้ในรายละเอียด ที่ redshirts.il@gmail.com

นิวยอร์ก-เสร็จจากงาน รำลึกแล้ว มีคิว"งานเข้า"เมื่อเสื้อแดงไทยในนิวยอร์ก และเสื้อแดงอเมริกา กำลังเตรียมการต้อนรับขับไสนายกฯทรราชที่จะบินมานิวยอร์กในวันที่ 22 กันยายนนี้ จุดนัดพบ ที่ 83-17 ร้านอาหาร New Broadway ขอเชิญติดต่อประสานงานได้ที่ คุณป้ายุพา 7186990688 (เบอร์ร้านอาหาร ขอสายป้ายุพา)

แดงยุโรปคึกออกแถลงการณ์ไม่ยอมรับระบอบปกครองเถื่อนมือเปื้อนเลือดปล้นฆ่าชาวไทย

ที่มา Thai E-News


แดงทั่วโลก-คน ไทยผู้รักชาติรักประชาธิปไตยและความเป็นธรรมหลายทวีปผนึกมือเสื้อแดงในไทย จัดกิจกรรมรำลึก 4 ปีปล้น 4เดือนฆ่าในว้นที่ 19 กันยายนนี้ สำหรับภูมิภาคยุโรปมีหลายประเทศเข้าร่วมทั้ง อังกฤษ เยอรมนี สวีเดน เดนมาร์ค นอร์เวย์ เบลเยียม ฝรั่งเศส เป็นต้น กิจกรรมมีหลายจุดสำคัญเช่นที่มหานครลอนดอน,ปารีส,ฮัมบวร์ก และโคเปนเฮเก้น โดยมีการออกแถลงการณ์และเผยแพร่ต่อสำนักข่าวต่างประเทศเพื่อกดดันระบอบ ปกครองเถื่อนในไทยด้วย


โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
18 กันยายน 2553

ข่าวเกี่ยวเนื่อง:
-กำหนดการทั่วโลกล่าสุด มหกรรม19กันยารำลึก 4ปีปล้น 4เดือนฆ่า
-Conor Purcellหนุ่มฮีโร่แดงออสซี่ร่วมไทยเรดออสเตรเลีย รำลึก4ปีปล้น4เดือนฆ่าฟ้องประจานโลก


คนไทยทั่วโลกขยายวงจัดงานรำลึก4ปีปล้น4เดือนฆ่าฟ้องโลก

คน ไทยผู้รักชาติ รักประชาธิปไตยและความเป็นธรรมทั่วโลกได้เข้าร่วมกิจกรรมRed Around The World สอดประสานกับชาวไทยในประเทศขึ้นในวันที่ 19 กันยายนนี้

โดย มีคนไทยที่เข้าร่วมการจัดงานในเวลานี้คือ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา อังกฤษ สวีเดน เดนมาร์ค นอร์เวย์ และเบลเยียม เป็นต้น โดยนอกจากมีการจัดกิจกรรมรวมตัวกันใส่เสื้อแดง แต่งตัวเป็นคนตายจากเหตุการณ์เดือนเมษายน-พฤษภาคมที่ผ่านมา การปล่อยลูกโป่งฟ้องฟ้าแล้ว ยังได้มีการจัดแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนของแต่ละประเทศเพื่อฟ้องต่อชาวโลกให้ ร่วมกันกดดันต่อระบอบปกครองที่กดขี่ของไทยได้คืนอำนาจที่แท้จริงสู่ประชาชน ปลดปล่อยนักโทษการเมืองที่มีการจับกุมคุมขังมานับตั้งแต่หลังรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 การเยียวยาเหยื่อที่เสียชีวิตและบาดเจ็บ รวมทั้งการลงโทษต่อผู้กระทำผิดฐานสังหารหมู่ประชาชนตามกระบวนการยุติธรรม สากลที่น่าเชื่อถือ

ซึ่งไทยอีนิวส์จะได้ทยอยนำเสนอกิจกรรมของแต่ละประเทศ และแต่ละภูมิภาคทั่วโลกนำเสนอ

ยุโรปคึกเสื้อแดงไทยเดนมาร์คออกแถลงการณ์ต้านรัฐบาลนอกกฎหมาย

กลุ่ม ThairedDenmark หรือ นปช.เสื้อแดงไทยในประเทศเดนมาร์ค ได้ออกแถลงการณ์ และเผยแพร่ข่าวไปยังสื่อมวลชนในเดนมาร์ค ดังมีเนื้อหารายละเอียดต่อไปนี้

ใน นามของ ประชาชนคนไทยนอกประเทศในภูมิภาคยุโรป เราต่างไม่ยอมรับฐานะความเป็นรัฐบาลที่มีนาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะเป็นนายกรัฐมนตรี ไม่ว่าด้านพฤตินัยและนิตินัย การกระทำใดๆของมวลชนคนเสื้อแดงต่อไปนี้ถือว่าเป็นการใช้สิทธิการชอบธรรม เพื่อต่อต้านรัฐบาลที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย คนเสื้อแดงไม่ยอมรับฐานะของรัฐบาลชุดนี้ต่อไปอีกแล้ว

พวกเราคือ กลุ่มคนไทยที่อาศัยในเดนมาร์ค ซึ่งเป็นดินแดนประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์(ราชินี)เป็นประมุข ซึ่งพวกเราคิดว่าเป็นระบอบที่ถูกต้องที่สุด เพราะเหมือนที่เมืองไทย แต่สถานการณ์ทางการเมืองที่ได้เกิดขึ้นในประเทศไทยในเวลานี้โดยเฉพาะนับ ตั้งแต่ พศ.2549 จนถึงปัจจุบัน ทำให้เรามองเห็นอย่างชัดเจนว่ามันไม่ใช่ประชาธิปไตยอย่างที่เราคิดว่าเป็น แต่มันเป็นระบอบเผด็จการชัดเจนเลย เพราะชีวิตที่ต้องสูญเสียไปเกินกว่า 92 ชีวิต และบาดเจ็บกว่า 2000 คน หาคนรับผิดชอบไม่ได้ สื่อต่าง ๆ ไม่ว่าเป็นหนังสือพิมพ์ สื่อวิทยุ โทรทัศน์ ตลอดจนเว็บไซด์ที่มีความเห็นแตกต่างจากรัฐบาลก็ถุกปิด เว็บไซด์ถูกบล๊อก แกนนำประชาชนออกมาเรียกร้องประชาธิปไตยก็ถูกขังลืม ซึ่งไม่ควรจะเกิดขึ้นเลยสำหรับประเทศประชาธิปไตย

พวกเราจึงรวมตัวใน ประเทศเดนมาร์คและทั่วยุโรปเรียกร้องให้รัฐบาลหรือผู้มีอำนาจบริหาร ประเทศโปรดคืนประชาธิปไตยให้กับพวกเราคนไทยเจ้าของประเทศโดยด่วน ข้อเรียกร้องของเราคือ

1.*ยกเลิก พรบ.ฉุกเฉินในกรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัดที่มีผลบังคับนี้อยู่
2.*ยกเลิกการปิดสื่อหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ตลอดจนเว็บไซด์ต่าง ๆ
3.*ปล่อยนักโทษการเมืองทั้งหมด แกนนำ ผู้ชุมนุมที่ถูกขังในเรือนจำและค่ายทหารกว่า 300 ชีวิตโดยทันที

ลงนาม กลุ่มThairedDenmark


เสื้อแดงสแกนดิเนเวียทำบุญให้วีรชนที่วัดไทยเดนมาร์ค


เสื้อ แดงเดนมาร์กยังได้เชิญชวนพี่น้องเสื้อแดงโซนสแกนดิเนเวีย(เดนมาร์ค ฟินแลนด์ สวีเดน นอร์เวย์)และใกล้เคียง หรือพี่น้องเสื้อแดงที่ยังท่องเที่ยวในโคเปนเฮเก้น ร่วมกับ น.ป.ช. แดงเดนมาร์ก กลุ่มอิสระเสรีชน เป็นเจ้าภาพ ขอเชิญ ร่วมทำบุญเพื่อรำลึก ถึงการสูญเสีย ผองเพื่อนพี่น้องผู้บริสุทร์ที่สละชีวิต ครอบ รอบ ๔ เดือน ในวันเสาร์ ๑๘ กันยา และ ๔ ปีรัฐประหาร ๑๙ กันยา ๒๕๕๓ ที่วัดไทยเดนมาร์ก พรหมวิหาร เบอร์ติดต่อ ๗๑๔๑๙๘๐๓ เรดไวกิ้ง (ในงานมีโฟนอินจากคุุณ จักรภพ เพ็ญแข )ด้วย

เสื้อแดงภูมิภาคยุโรปรวมพลังที่ Hamburg


ระหว่าง วันที่18-19กันยายนนี้ กลุ่มคนเสื้อแดงในภูมิภาคยุโรป ในนาม"ทัวร์นกขิ้นแดงแจ๊ด" ร่วมกับเสื้อแดงฮัมบวร์กจัดงาน ที่เมืองฮัมบวร์กในชื่องานครบรอบ4ปีรัฐประหารประเทศไทยได้อะไร? งานนี้เป็นการรวมพลังของแดงในยุโรปทั้งหมด โดยมีคนเสื้อแดงในหลายประเทศเข้าร่วม เช่น เยอรมนี สวีเดน เดนมาร์ค นอร์เวย์ เบลเยี่ยม เป็นต้น ทางเจ้าภาพมีที่พักและอาหารไว้บริการฟรี

ท่านที่สนใจจะเข้าร่วมงาน ขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

คุณแดงแจ๊ด 0151/51232320
คุณต้น 0176/23599174
คุณBaby 0176/62118631
คุณนิด 004552755791 (เดนมาร์ก)
คุณแดง 0032472989294 (เบลเยีี่ยม)
คุณอ้อ 004764877845 (นอรเวย์)
คุณกุ้ง 0046735052855 (สวีเดน)


กิจกรรมนี้มีขึ้นเพื่อ

1.*เพื่อระลึกถึงวีรชน คุณนวมทอง ไพรวัลย์ วีรชนคนขับแทกซี่ชนรถถังผู้รักประชาธิปไตยยุครัฐประหาร19 กันยายน
2.*เพื่อเรียกร้องให้มีการนำผู้บงการฆ่ามาลงโทษ และปลดปล่อยผู้ถูกทรราชคุมขังทุกข์ทรมาน
3.*เพื่อนำเหตุการณ์เรื่องราวที่ได้เกิดขึ้นจริงในเมืองไทย ช่วยกันประกาศให้คนไทยในต่างแดนและชาวโลกรับรู้
4*เพื่อมาร่วมกำหนดกิจกรรม ที่จะร่วมกันจัดของกลุ่มเสื้อแดงไทยทุกสายพันธ์ในยุโรป


นอกจากนั้นได้มีการออกแถลงการณ์และข่าวเผยแพร่สื่อมวลชน(เนื้อหาเดียวกับเสื้อแดงไทยเดนมาร์ค)ด้วย

เสื้อแดงทั่วสหราชอาณาจักรจัดกิจกรรมใหญ่ อาจารย์ใจร่วมด้วย

เสื้อ แดงไทยในสหราชอาณาจักร(อังกฤษ,สก๊อตแลนด์,ไอร์แลนด์)ร่วมจัดกิจกรรมแดงทั่ว โลก ในวันอาทิตย์ที่ 19 กันยายน 2553 ณ กรุงลอนดอน ขอเชิญชวนพี่น้องคนไทยในประเทศอังกฤษ ร่วมทำกิจกรรม"ผูกผ้าแดงที่ป้ายราชประสงค์จำลอง" และรับอาสาสมัครคนนอนตาย ติดต่อ ที่ อ.ใจ 07817034432 และ ป้าอุ๊ 07780801763 ตอนนี้ทางกลุ่มกำลังจะทำป้าย เพื่อทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ และเพื่อฟ้องประจานต่อชาวอังกฤษและชาวโลกให้ร่วมกันช่วยกดดันระบอบปกคครอง อำมาตย์ทรราชย์ของไทยยอมคืนอำนาจประชาธิปไตยที่แท้จริงให้กับประชาชนไทยทั้ง มวล ผูก

กิจกรรมนี้ชื่อ Red Shirt street theatre activity Sunday 19th September under the London Eye..."4 years after the coup, 4 months after the massacre at Rajprasong"



รายละเอียดกิจกรรม วันอาทิตย์ที่ 19 กันยาที่ลอนดอน

Meet at 12 noon.
Wear red, bring red ribbons, bring signs saying
“Soldiers killed people in Bangkok”
Bring a picnic to share, cameras and bring a piece of chalk

พบกัน ที่ใต้ London Eye ริมแม่น้ำ Thames ในเงาของ Big Ben นัดพบกัน เวลา 12.00 น .สิ่งที่อยากให้ผู้ร่วมงานเตรียมมา

1. ใส่เสื้อแดงมา
2. โบหรือเศษผ้าแดงสำหรับการผูก
3. ผ้าพันแผลชุบหมึกหรือสีแดงให้เหมือนเลือด (ถ้ามี)
4. ป้าย ภาษาไทย “เราเห็นทหารฆ่าคนที่ราชประสงค์”
5. ป้ายภาษาอังกฤษ “Soldiers killed people in Bangkok”
6. ชอล์ค แท่งสีขาวสำหรับวาดรูปคนตายบนทางเดินเท้า
7. กล้องถ่ายรูปกล้องวิดีโอ
8. อาหารและเครื่องดื่มเพื่อร่วมกัน picnic


แดงสวีเดนจัดนิทัศการภาพถ่ายแดงทั่วสวีเดนลงเวบไซต์

เวบไซต์แดงสวีเดน ขอ เชิญพี่น้องชาวเสื้อแดงในประเทศสวีเดนและทุกๆท่าน ที่สนับสนุนการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย, เพื่อความยุติธรรมและความถูกต้องในประเทศไทย เข้าร่วมแสดงจุดยืนของท่านโดยการส่งภาพถ่ายของท่านมาร่วมแสดงกับพวกเราแดง สวีเดนในวันที่ 19 กันยายน 2010 นี้.


สิ่งที่ท่านจะต้องทำ


1. นำผ้าแดงไปผูกที่จุดใดจุดหนึ่งของเมืองที่ท่านอาศัยอยู่ เช่น ป้ายชื่อเมือง หรือสถานที่ใกล้ๆบ้านท่าน อาจจะเป็น ต้นไม้, สิ่งปลูกสร้างแถวๆบ้านที่ท่านสามารถนำผ้าไปผูกได้ หรือสถานที่อื่นๆตามที่ท่านเห็นว่าเหมาะสมถ่ายรูปส่งมาให้เรา ที่สำคัญคือ ในรูปที่ถ่ายส่งมาให้เรานั้นต้องเห็นผ้าสีแดงผูกอยู่ตามสถานที่นั้นด้วย ( สำหรับท่านที่ไม่มีผ้าแดงก็สามารถใช้สิ่งอื่นที่มีสีแดง หรือสิ่งที่สามารถสื่อการสนับสนุนการต่อสู้ของคนเสื้อแดงแทนได้ ) หากท่านไม่แน่ใจว่าจะถ่ายภาพในแนวไหนส่งมา เราขอแนะนำให้ท่านโปรดลงไปดูภาพตัวอย่างที่กระดานข่าวล่างสุดใต้กระทู้

2. กรุณาเขียนกำกับมาให้ทราบด้วยว่า ภาพที่ถ่ายส่งมาให้เรานั้นถ่ายมาจาก ที่ไหน เมืองชื่ออะไร ไม่จำเป็นต้องใส่ชื่อผู้ถ่าย ( สำหรับท่านที่ไม่ประสงค์จะออกนาม )

3.ส่งภาพดังกล่าวข้างต้นจำนวนหนี่งที่ท่านถ่ายมาที่อีเมลล์ thairedsweden@live.com เราจะเลือกนำภาพของท่านมาลงในเว็บของเรา

4. กรุณาส่งภาพของท่านมาก่อนวันที่ 19 กันยายน นี้ เพื่อเราจะได้ทำการจัดลงในเว็บ Thai Red Sweden และทำการเผยแพร่ในวันแดงทั่วโลกที่จะถึงนี้

หาก ท่านไม่สามารถส่งรูปมาร่วมกับเราได้ ก็ขอเชิญแวะมาเยี่ยมชมหรือร่วมเขียนข้อความเล็กๆน้อยๆในเว็บแดงสวีเดนนี้ เพื่อเป็นกำลังใจและสนับสนุนการต่อสู้ของคนเสื้อแดงเพื่อประชาธิปไตยทั่ว โลก.

มีรายงานเพิ่มเติมว่าเสื้อแดงไทยในฝรั่งเศสก็จะเข้าร่วมกิจกรรม ครั้งนี้ โดยอาจจัดกิจกรรมบริเวณหอไอเฟล เหมือนที่เคยจัดกิจกรรมนี้มาหลายหนแล้ว

ลอบสังหาร

ที่มา ข่าวสด

คอลัมน์ ชกไม่มีมุม

วงค์ ตาวัน



ข่าว การลอบสังหารนายกฯ และผู้นำรัฐบาลนั้น เป็นเรื่องที่คาดเดาได้ไม่ยาก จึงมีการจัดกำลังอารักขานายกฯ ด้วยคนนับร้อยในทุกวี่ทุกวัน เป็นอย่างนี้มาตั้งแต่หลังเหตุการณ์ 19 พ.ค.แล้ว

เพียงแต่ที่จู่ๆ นำมาพูดถึงขั้น มีชายชุดดำฝึกจากเขมร เปิดคอนโดฯนอนใกล้บ้านนายกฯ นั้น ค่อนข้างพิสดารไปหน่อย!

ชัดเจนว่า มีเจตนาจะนำมาปั่นกระแส เพื่อทำลายกิจกรรมการเคลื่อนไหวในวันที่ 19 ก.ย.เท่านั้นเอง

ไปถามนักการทหารทั่วไป ก็คงจะขำกลิ้ง การฝึกซุ่ม ยิงลอบสังหารผู้นำ เคยมีสถาบันหรือมีประวัติเก่งกาจในประเทศดังกล่าวตั้งแต่เมื่อไร

ขณะเดียวกัน กิจกรรม 19 ก.ย. เป็นเรื่องของกลุ่มคน ที่ไม่ลืมคนตาย 91 ศพและคนเสื้อแดง

นายกฯ อภิสิทธิ์มีกำหนดต้องไปปรากฏตัวไปยืนปราศรัยในงานวันที่ 19 หรือ จึงจะมีแผนฆ่ากันในวันนั้น

เป็นไปไม่ได้ด้วยประการทั้งปวง!!

แต่แน่นอนว่า น่าเห็นใจนายกฯ และผู้นำรัฐบาลที่ต้อง มีชีวิตอยู่อย่างหวาดเสียว

อีกทั้งไม่เห็นด้วย กับวิธีใช้ความรุนแรงไล่ล่าชีวิตกันในทางการเมือง

แผนฆ่านายกฯ ในวันที่ 19 ก.ย. เป็นไปไม่ได้ แต่อันตรายของนายกฯและผู้นำรัฐบาลนี้ มีอยู่เป็นระยะ

ตราบใดที่ยังไม่คลี่คลายทางการเมือง ก็ต้องไปไหนมาไหน ท่ามกลางรปภ.นับร้อย ค่าใช้จ่ายวันละนับแสนไปเรื่อยๆ

เพราะต้นตอความแค้น มาจากเหตุการณ์รุน แรงเดือนเม.ย.-พ.ค.ที่ผ่านมา!

พี่น้องญาติมิตรของผู้สูญเสียเกือบร้อยชีวิตในเหตุการณ์ วันนั้น อยู่ในอารมณ์รู้สึกเช่นไร เดาได้ไม่ยาก

ถ้าไม่คลี่คลายปัญหาที่ต้นตอ

เราก็ต้องมีรัฐบาล ที่บริหารกันอยู่ในกทม. และ จังหวัดที่เป็นฐานของตนเองเท่านั้น

ตราบใดที่ 91 ศพยังอึมครึม

ตราบใดที่ยังไม่กล้ากำหนดวันยุบสภา คืนอำนาจให้ประชาชน

นายกฯ และรองนายกฯ ความมั่นคง ก็จะอยู่อย่างมั่นคงภายใต้วงแขนทหารเช่นนี้ต่อไป

น้ำจะท่วมหนักภาคเหนือ ภาคอีสาน พืชผลราคาตกต่ำ ไฟใต้จะลุกโชน

เป็นเรื่องยากที่จะให้ผู้นำรัฐบาลนี้เดินทางไป ดูแลแก้ไขปัญหา!!

เราก็จะมีรัฐบาล ที่มีภารกิจหลักคือรักษาอำนาจวันต่อวัน

ไม่ใช่รัฐบาลที่จะมาบริหารประเทศดูแลทุกข์สุขของประชาชน!

4ปีรัฐประหาร-ผลลัพธ์ประเทศไทย?

ที่มา ข่าวสด

คอลัมน์ รายงานพิเศษ



ครบรอบ 4 ปีการรัฐประหาร มีคำถามเกิดขึ้นมากว่าเมืองไทยได้อะไร

มีมุมมองจากนักวิชาการ สะท้อนผลกระทบจากเหตุการณ์ 19 กันยา 49

ทั้งในแง่การเมือง เศรษฐกิจ และสังคม

เมืองไทยดีหรือแย่ขึ้น

-โคทม อารียา

ผอ.ศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล

เราได้บทเรียนว่าการรัฐประหารไม่ช่วยแก้ปัญหาบ้านเมือง เราได้มรดกจากการรัฐประหาร คือ ประกาศ คปค. กฎหมายรัฐธรรมนูญ และกฎหมาย คมช.

ขณะ ที่ปัญหาที่ตั้งใจจะแก้ให้การเมืองดีขึ้น การฉ้อฉลน้อยลง การทำให้คนปรองดองกันมากขึ้น กลับไม่ได้เป็นไปอย่างที่ต้องการ วันนี้ความขัดแย้งยังอยู่

อย่างที่บอกว่าเป็นบทเรียน ที่คิดกันว่าการใช้กำลังจะแก้ปัญหาอะไรได้ ก็เห็นว่าแก้อะไรไม่ได้

ส่วนคำถามว่า 4 ปีที่แล้วหากไม่รัฐประหารประเทศจะเดินหน้าได้ดีกว่านี้หรือไม่ ผมไม่อยากตอบคำถามลักษณะนี้

แต่ เราเห็นว่าความขัดแย้งที่ปรากฏ ตอนนั้นมีการชุมนุม วันนี้ไม่มีการชุมนุม แต่มีการแบ่งเขาแบ่งเราอย่างมาก อาจมีคนถามว่ามีไม้บรรทัดอะไรมาวัด เอาอะไรประเมิน ผมไม่รู้ แต่ที่รู้คือวันนี้ความขัดแย้งยังดำรงอยู่

การ รัฐประหารเป็นปัจจัยหนึ่งของความขัดแย้ง ทำให้เรื่องยุ่งยากซับซ้อนมากขึ้น ผมไม่อยากกล่าวโทษใครว่าทำเศรษฐกิจเสีย แต่การพัฒนาประเทศก็เดินหน้าได้ตามลำดับอยู่แล้วถ้าเรามีความสามัคคีกัน

การ รัฐประหารเป็นอาการที่ปรากฏบนพื้นฐานความคิดว่าการแก้ปัญหาด้วยกำลังจะ ได้ผล ถ้าไม่เปลี่ยนความคิดพื้นฐาน แล้วใช้วิธีอื่นที่ดีกว่า เราจะย่ำอยู่กับที่ วนอยู่ในอ่าง

4 ปีมานี้ทำให้รู้ว่าทัศนคติคนในสังคมเรียนรู้ว่าการใช้กำลังไม่ได้ผล ไม่อย่างนั้นคงจะมีการเรียกร้องให้มีการใช้อำนาจ กำลัง แต่ตรงนี้ลดลง

ทาง สังคมที่เกิดการปริแยกแบ่งข้าง ยิ่งซับซ้อนมาก ยังไม่มีวี่แววที่จะคลี่คลาย ซึ่งผมไม่อยากจะโทษการรัฐประหาร แต่เพราะพวกเราเองทำให้ยุ่งยาก จนแก้ปมไม่ออก เรามีด้ายกลุ่มหนึ่ง เราช่วยกันแก้ แต่ยิ่งแก้ก็ยิ่งยุ่ง

สิ่งสำคัญต้องหาทางแก้ไขความขัด แย้ง ใช้ความคิดริเริ่ม เห็นอกเห็นใจ เอาประโยชน์ร่วมกันเป็นตัวตั้ง ต้องหันหน้ามาปรึกษาหารือกัน ซึ่งไม่ใช่เฉพาะกับคนที่เห็นเหมือนกันเท่านั้น ต้องปรึกษาหารือกับคนที่เห็นต่างกันด้วย

หากคิดได้อย่างนี้เรื่อง อื่นๆ เช่น โครงสร้างการเมืองก็ดูแลกันไป ถ้าหลักความคิดยังเป็นฉันถูกเธอผิด ใครมีกำลังมากกว่าก็ชนะ ก็ไม่ใช่คำตอบของสังคม

สังคมที่มีความขัดแย้งของหลายฝ่าย การเมืองควรอยู่ในกรอบประชาธิปไตย

การใช้กำลังเอาชนะกันไม่ช่วยแก้ปัญหาอะไรได้

-สมชาย ปรีชาศิลปกุล

อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ผลสืบเนื่องจากการรัฐประหารที่เห็นได้ในสังคมคือ คนบางกลุ่มไม่พยายามแก้ไขปัญหาด้วยการยืนอยู่บนหลักการประชาธิปไตย

การ รัฐประหาร 49 อาจได้รับการยอมรับจากทางการเมือง จากกลุ่มคนบางส่วน ได้ทำลายกติกา ทำลายหลักการแก้ไขปัญหาที่ถูกต้อง หันไปสู่การใช้อำนาจเข้าแก้ปัญหา

ผมมองในแง่ดีว่าถ้าไม่มีการรัฐ ประหารในตอนนั้น เราน่าจะเห็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ การเคลื่อนไหวทางสังคมสามารถคุมรัฐบาลได้ ทำให้ตัวกติกา หรือรัฐธรรมนูญ 40 เป็นรัฐธรรมนูญที่สักดิ์สิทธิ์มากขึ้น

ถ้า 4 ปีก่อน ไม่มีการรัฐประหาร ความขัดแย้งมีอยู่แต่จะนำมาสู่ความรุนแรงหรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่ง หากย้อนกลับไปเมื่อ 4 ปี มีการชุมนุมหลายครั้งแต่เป็นการชุมนุมที่ทุกคนรู้สึกว่าอยู่ใต้กติกา มีเส้นหรือกรอบที่ทุกคนเคารพอยู่ จะไม่เลยเถิดถึงขั้นยึดทำเนียบฯ ยึดสนามบิน ยึดราชประสงค์

เมื่อการรัฐประหารเกิด ทุกอย่างมันพลิก ทำให้กติกาล้มลง กลายเป็นเรื่องอำนาจนิยม

จาก นี้ไปผมคิดว่าการแก้ไขปัญหาจะยากยิ่งกว่าปี"49 เพราะสังคมไทยได้เดินเลยจุดที่ควรจะจัดการปัญหาได้ดีมาแล้ว พอเข้าสู่หลังเหตุการณ์ เม.ย.52 พ.ค.53 การจะแก้ปัญหาก็ยากมากขึ้น มีกลุ่มคนที่ไม่ยอมรับการปกครองของรัฐธรรมนูญเกิดขึ้น

รัฐประหาร 49 ก็เป็นจุดที่ตกต่ำแล้ว แต่ผมว่าสถานการณ์ปีนี้จะตกต่ำกว่า ปี"49 บางอย่างพอเห็นความหวังแต่ปีนี้มันไม่เห็นความหวังในการแก้ไขปัญหา

การ ยุบสภาเลือกตั้งคงจัดการปัญหาได้ไม่มากเท่าไหร่ หากยุบก่อนนองเลือด ความหมายต่างกัน เพราะตอนนั้นยังไม่เกิดการสูญเสีย ไม่มีคนเจ็บแค้น

กระบวน การยุติธรรม หลังจากนี้ก็ต้องถูกปฏิรูปด้วย เพระที่ผ่านมาถูกลากเป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้ง และที่ผ่านมาก็ไม่ได้แสดงให้เห็นว่าเป็นสถาบันที่ศักดิ์สิทธิ์ แต่ทำให้เกิดความรุนแรงมากขึ้น ทำให้เกิดการเกลียดชังระบบเพราะเอียงข้างกันหมด

การทำงานของคณะ กรรมการปฏิรูปทั้งหมด คงทำอะไรไม่ได้มาก ข้อเสนอของกรรมการแต่ละชุด สุดท้ายจะเป็นข้อเสนอกว้างๆ เช่น ปัญหาเกิดจากความเหลื่อมล้ำ ต้องแก้โครงสร้าง เรื่องเหล่านี้เป็นปัญหาที่สังคมไทยเผชิญ แต่ไม่ใช่เรื่องเป็นตาย

แต่การคุกคามกลุ่มคนที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล หรือกรณี 91 ศพ รัฐบาลยังไม่ได้ทำอะไรเลย นี่คือปัญหาเฉพาะหน้าที่ต้องได้รับการแก้ไข ต้องเคลียร์ให้เห็นว่ามีอะไรเกิดขึ้น ใครต้องรับผิดชอบ ต้องทำโดยองค์กรที่เป็นอิสระจากรัฐบาล

หากทำเรื่องนี้แล้ว เรื่องอื่นก็จะเดินตามกันมา ถ้าไม่ดำเนินการเรื่องนี้การพูดเรื่องความปรองดอง พูดไปก็เปลืองน้ำลาย ไม่ว่าคนพูดจะเป็นใคร

สังคมการเมืองไทย มันเดินหน้าได้ง่ายกว่าหากเคลียร์ปัญหา 91 ศพ ตามหาคนรับผิดชอบ

-ตีรณ พงศ์มฆพัฒน์

คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

4 ปี ที่เปลี่ยนคือแนวโน้มการคอร์รัปชั่นหนักขึ้นตามระยะเวลาที่ผ่านมาไป

ปัญหา คือแม้จะมีการรัฐประหาร แต่ช่วงที่มีรัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นรัฐบาลชั่วคราวเน้นความสมานฉันท์และการดำเนินการเพื่อไปสู่การเลือกตั้ง เร็วที่สุด มากกว่าดำเนินการตามความตั้งใจของคณะรัฐประหาร

ทำให้ความ ชัดเจนเรื่องการแก้ปัญหา บทบาทไปอยู่ที่คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) การแก้ปัญหาคอร์รัปชั่นอาศัยคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ซึ่งไม่มีอำนาจอิสระ

กระบวนการแก้คอร์รัปชั่นที่เป็นเหตุผล หนึ่งของการรัฐประหาร จึงเป็นแค่การเร่งกระบวนการกลั่นกรอง และวิทยาการในการแก้ไขก้าวไม่ทันปัญหาคอร์รัปชั่นที่บานปลายออกไป

ความ จริงปัญหาเศรษฐกิจมีสัญญาณชะลอตัวมาก่อนหน้าการรัฐประหาร 6 เดือน แต่เมื่อเกิดการรัฐประหารรอเลือกตั้งใหม่ ความเชื่อมั่นภาคเอกชนจึงไม่มากนัก

แต่ที่พิเศษคือรัฐบาลพล.อ.สุ รยุทธ์ ดำเนินมาตรการเงินทุนสำรอง 30 เปอร์เซ็นต์ ให้ยาแรงเกินขนาดหลายเท่า ทำให้เกิดปฏิกิริยาจากภาคเอกชน ท้ายสุดต้องยกเลิก

เศรษฐกิจ ที่ชะลอตัวช่วงที่ผ่านมาไม่ได้เกิดจากการรัฐประหาร แต่ประเด็นสำคัญคือเกิดวิกฤตในสหรัฐที่เข้ามาซ้ำเติม หากไม่มีการรัฐประหารก็ไม่ได้หมายความว่าสถานการณ์เศรษฐกิจไทยจะไม่มีปัญหา

แต่จะกระทบต่อความไม่เชื่อมั่นของนักลงทุน และขณะเดียวกันก็มีตัวแปรที่ทำให้เกิดความรุนแรงทางการเมือง ทำให้เกิดการแปรปรวน

เรา บอกไม่ได้ว่าการรัฐประหารไปเติมความรุนแรง หรือความแปรปรวน แต่การรัฐประหารทำให้คู่ความขัดแย้งเปลี่ยนไปชั่วคราว แต่หลังรัฐบาลสุรยุทธ์ คู่ความขัดแย้งก็กลับมาสู่จุดเดิม

สิ่งที่ กระทบต่อระบบเศรษฐกิจ หลักใหญ่เป็นสถานการณ์ในต่างประเทศ แต่ขณะนี้ภายในรัฐบาลก็เริ่มมีข้อจำกัดด้านการคลัง ดังนั้น เศรษฐกิจจะให้โตมากเหมือนในอดีตคงยาก

การเคลื่อนไหวต่อต้านที่พักยก ไปแล้วหากกลับมารุนแรงอีกก็จะกระทบเศรษฐกิจ ในส่วนของการท่องเที่ยวได้ แต่จะต่างจากในอดีตคือการทำนายความแปรปรวนจะยากกว่าที่เคยเกิดขึ้นที่ราช ประสงค์

ที่ราชประสงค์ เป็นการทำให้เศรษฐกิจศูนย์กลางเป็นอัมพาต แต่ในอนาคตจะไม่อยู่ในแง่การชุมนุมขนาดใหญ่ ทำให้เมืองอัมพาต แต่น่าจะเป็นเรื่องความไม่แน่นอน เช่น การก่อวินาศกรรม การก่อเหตุรุนแรงตามจุดต่างๆ ที่คาดเดาได้ยาก ซึ่งกระทบท่องเที่ยวทั้ง 2 แบบ

ศึกสายเลือดอีกไฟต์

ที่มา ไทยรัฐ


เผยไต๋เลยว่า เป็นคอหนังไทยรุ่นเดอะ

ในอารมณ์เหน็บๆของ "เทพเทือก" นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ ฝ่ายความมั่นคง ออกตัวเชิงสำทับข่าวร้อนๆ ทีมล่าสังหารชุดดำลงทุนเช่าห้องชุดตรงข้ามบ้านนาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี

ซุ่มประทุษร้ายผู้นำ ตามแผนล็อกเป้าวีไอพีระดับประเทศ

"เราได้ไปตามจับแล้วไม่ทัน ตำรวจไปตอนหนังจะจบทุกที"

สรุป ไม่เห็นแม้แต่เงา ทีมล่าสังหารเสื้อดำก็ยังเป็นแค่ข่าวลอยๆ ตามคิวที่ "เทพเทือก" ออกมารับมุกบิ๊กตำรวจสายตรงอย่าง พล.ต.ท.สัณฐาน ชยนนท์ ผบช.น. ตามโพยที่ พล.ต.ต.ธนพล สนเทศ ผู้บังคับการตำรวจปฏิบัติการพิเศษ 191 อดีตนายตำรวจติดตามอดีตนายกฯชวน หลีกภัย ไล่โยงเป็นฉากๆ

ตำรวจชงเอง เล่นเอง

ตาม รูปการณ์ก็อย่างที่แหล่งข่าวจากกองทัพบกกระซิบบอกนักข่าวหลังการประชุม ศอฉ. ที่มี "เทพเทือก" นั่งเป็นประธานใหญ่ ยังไม่มีหน่วยงานด้านความมั่นคงออกมายืนยันว่ามีกลุ่มคนชุดดำที่จะลอบสังหาร นายกฯตามที่เป็นข่าว

"หากจะมีการลอบทำร้ายนายกฯหรือบุคคลสำคัญ เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่น่าเอามาพูด ถ้าพูดก็ต้องพูดตอนที่จับได้แล้ว เมื่อพูดตอนที่คนร้ายหนีไปแล้วจะพูดทำไม เสียเครดิต ตัวเองเปล่าๆ"

ทหารสอนมวย ตบหน้าชาไป

เรื่อง ของเรื่อง "ปล่อยของผิดคิว" ถ้ามองในมุมที่กองทัพเป็นเจ้าภาพหลักในการคุมเกมบล็อกฝ่ายต่อต้านรัฐบาล แล้วปล่อยให้ทีมเสื้อดำบุกมาจ่อกันถึงรอบบ้านนายกรัฐมนตรี มันบ่งบอกถึงศักยภาพอ่อนด้อย

สะท้อนศักยภาพฝ่ายความมั่นคงไม่มีน้ำยา

แต่ทั้งหมดทั้งปวง สังเกตอาการของนายกฯอภิสิทธิ์ ที่ตกเป็นเป้าโดนหมายหัวลอบสังหาร ก็ไม่ได้เดือดเนื้อร้อนใจ ยังยิ้มได้สบายๆ

ไม่ได้เครียดเหมือนคนที่ต้องเสี่ยงตายทุกวินาทีซะที่ไหน

มัน จึงเป็นอะไรที่ลดระดับความเร้าใจลงไป ในจังหวะเบียดชิงพื้นที่ข่าวไปได้ 2-3 วัน ดักทางเครือข่ายคนเสื้อแดงที่ขยับรวมพลรำลึก 4 ปี "รัฐประหาร 19 กันยายน"

ก็แค่มุก "เสื้อดำ" แย่งซีน "เสื้อแดง" คนตามเกมทันไม่ค่อยตื่นเต้น

แต่ ที่ช็อกจริงๆน่าจะอยู่ที่กรณีล่าสุด ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตัดสินจำคุกนายชุมพล กาญจนะ ส.ส.สุราษฎร์ธานี และประธาน ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ เป็นเวลา 2 เดือน ปรับ 4,000 บาท โดยให้รอลงอาญา พร้อมตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี

ฐานปกปิดข้อเท็จจริงในบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน

อึ้งกันไปทั้งพรรคประชาธิปัตย์

แต่ ที่ซีเรียสกว่าใคร น่าจะเป็นรายของ "เทพเทือก" ในฐานะที่รู้กันทั้งจังหวัดสุราษฎร์ธานีว่า นายชุมพลเป็น "ห้องเครื่อง" คนสำคัญของนายสุเทพ

ระดับที่มองตาก็รู้ใจ

อย่างที่เห็นอาการ ตั้งหลักไม่ทัน "เทพเทือก" ยอมรับตรงๆ ตอนแรกไม่ได้คิดว่าจะเป็นเรื่องใหญ่โต ไม่คิดมาก่อนว่า นายชุมพลจะถูกศาลพิพากษาเช่นนี้ จึงไม่ได้เตรียมตัว

เอาเป็นว่า ขาดคนสนิทอย่างนายชุมพลไปอีกคน ฐานในประชา- ธิปัตย์ของ "เทพเทือก" ที่กำลังเริ่มลอย ก็ยิ่งแกว่งไปใหญ่

และตามคิวจะต้องว่ากันต่อไปในเรื่องเลือกตั้งซ่อม

ใน สถานการณ์ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีเสือ 2 ตัว จะต้องได้วัดกันทุกครั้งระหว่างเด็ก "เทพเทือก" กับสายของ "น้าหยัด" นายบัญญัติ บรรทัดฐาน

ตามจังหวะไม่ทันไร ก็มีรายงานข่าววงในปล่อยชื่อ โยนหิน ถามทางล่วงหน้า

เบื้องต้นมุ่งไปที่ลูกของนายชุมพล แต่อีกกระแสหนึ่งก็มีการเสนอชื่อของนายโกเมศ ขวัญเมือง อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ สายนายบัญญัติ

โดยอ้างว่าไม่อยากให้คนมองกันว่าให้ทายาทสืบทอดอำนาจ

ขณะ ที่อีกกระแสมีการพูดถึงชื่อนายแทน เทือกสุบรรณ บุตรชายของนายสุเทพ ที่ล่าสุดคนเป็นพ่อออกมายืนยัน ลูกชายชอบทำธุรกิจมากกว่าการเมือง

เรื่องของเรื่อง ประชาธิปัตย์ได้เปิดศึกสายเลือดกันอีกแล้ว.

ทีมข่าวการเมือง รายงาน

พร้อมจริงหรือ

ที่มา ไทยรัฐ

พรุ่ง นี้จะมีการชุมนุมใหญ่ของ คนเสื้อแดง เป็นครั้งแรกครบรอบ 4 ปียึดอำนาจ หลังจากที่รัฐบาลประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินเข้า ควบคุมประเทศอย่างยาวนานต่อเนื่อง บรรดา หน่วยงานความมั่นคง แอ็กชั่นกันเต็มที่ กองทัพจัดกำลังเฝ้าสถานที่สำคัญต่างๆให้สถานการณ์ ดูเข้มข้นมากขึ้น แม้แต่ตำรวจที่เคยเงียบๆ ได้ ผบ.ตร.คนใหม่ พล.ต.อ. วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ขยันเดินสายโชว์เพาเป็นข่าวรายวัน

นี่แหละประเทศไทย

นึก ถึงการที่นายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ไปเสนอตัวเป็นประเทศ เจ้าภาพจัดงานเวิลด์เอ็กซ์โป 2020 ในอีก 10 ปีข้างหน้า ฟังดูดี ประเทศไทยจะแสดงศักยภาพในระดับโลก แต่อีกด้านก็ตั้งคำถามอยู่ในใจว่า จะไหวหรือ ศักยภาพเราถึงขั้นที่จะจัดงานระดับโลกได้จริงหรือ เพราะลำพังปัจจุบันยังจะเอาตัวไม่รอด

งานเวิลด์เอ็กซ์โป 2010 ที่จัดขึ้นที่นครเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน ใช้พื้นที่การจัดงาน กลางนครเซี่ยงไฮ้กว่า 3,300 ไร่ ต้องรื้อที่อยู่อาศัยของประชาชน 2,000 กว่าครอบครัว โรงงานต่างๆอีก 200 กว่าโรงงาน เพื่อให้ได้ทำเลที่ดีที่สุด อลังการที่สุด

บนพื้นที่กว่า 3 พันไร่ บรรจุ อาคารแสดงนิทรรศการ ของแต่ละประเทศไว้ถึง 200 กว่าอาคาร แต่ละอาคารมีความใหญ่โตมโหฬาร กินพื้นที่ไม่น้อยกว่า 2-3 ไร่

ด้านระบบคมนาคม มี รถไฟความเร็วสูง จากสนามบินผู่ตงเข้ามายังนครเซี่ยงไฮ้ด้วยความเร็ว 430 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ระยะ ทาง 40-50 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางแค่ประมาณ 7 นาทีกว่าๆ มี รถไฟฟ้าใต้ดิน อีกประมาณ 10 สาย มีอุโมงค์ลอดใต้น้ำอีก 12 แห่ง ทางด่วนซ้อนกันถึง 5 ชั้น

ทั้งนี้ จำนวนผู้ที่จะเข้าชมงานทางประเทศเจ้าภาพตั้งเป้าไว้ที่ 70 ล้านคน เหลือเวลาอีกเดือนกว่า มีคนเข้าชมแล้วกว่า 60 ล้านคน เทียบจำนวนแล้วเท่ากับคนไทยทั้งประเทศ แค่จำนวนคนดูก็หวิวแล้ว

สำหรับ ประเทศเจ้าภาพปีต่อไป 2015 คืออิตาลี ไม่ต้องพูดถึงความพร้อมนิทรรศการที่นำมาโชว์อลังการไม่แพ้กับประเทศเจ้าภาพ และประกาศความพร้อมล่วงหน้าเต็มร้อย

กลับมาที่ประเทศไทยในอีก 10 ปีข้างหน้า จะเดินหน้า หรือถอยหลังก็ยังมองไม่เห็นอนาคต คำถามก็คือ ประเทศไทยพร้อมหรือไม่ จะต้องพร้อมทั้งประชาชนเจ้าของประเทศ พร้อมทั้งรัฐบาลและภาคเอกชน ที่สำคัญฝ่ายการเมืองพร้อมหรือยัง นี่ยังไม่นับรวมงบประมาณที่จะต้องทุ่มเทลงไปอย่างมหาศาล

องค์ประกอบ สำคัญของการจัดงานเวิลด์เอ็กซ์โปก็คือ กึ๋น ที่แต่ละประเทศนำไปโชว์ให้เห็นความสุดยอดของแต่ละประเทศจุดยืนและแนวคิด หรือธีมของประเทศนั้นๆมีอะไรบ้าง ไม่ใช่งานโชว์เทคโนโลยี โชว์ความเป็นมหาอำนาจ หรืองานแสดงสินค้าอย่างที่เข้าใจกัน

ตราบ ใดที่ประเทศไทยยัง ติดหล่มจมปลัก อยู่อย่างนี้ ไม่ได้ ดูถูกประเทศไทย แต่โอกาสที่จะเป็นประเทศเจ้าภาพคงอีกไกลเกินเอื้อม อาจจะเสนอตัวไปแบบขำๆก็เป็นอีกเรื่อง ท้ายนี้ต้องขอบคุณ ปตท. และคุณประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ที่พาไปเห็นความจริง.

หมัดเหล็ก

การ์ตูน เซีย 18/09/53

ที่มา ไทยรัฐ


การ์ตูน เซีย 18/09/53

ซ้ายเป็นผา ขวาเป็นเหว

ที่มา thaifreenews

โดย Porsche

เขียนโดย Siamคิด



ยิ่งใหญ่คับฟ้า บารมีคับเมือง

สำหรับท่าทีของรัฐบาลไทยภายใต้การนำของนายเนวิน เอ๊ย..ไม่ใช่ๆ
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กับจุดยืนอันแข็งกร้าวกับกรณี
แต่งตั้งพล.ต.ท.สมคิด บุญถนอม ขึ้นเป็น ผู้ช่วย ผบ.ตร.
ทำให้ความสัมพันธ์กับประเทศซาอุฯที่ไม่ดีอยู่แล้ว ยิ่งเลวร้ายไปกันใหญ่
อภิสิทธิ์เลือกที่จะเก็บเอา พล.ต.ท.สมคิด เอาไว้
เพื่อผลประโยชน์ของตัวเองมากกว่าผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศ
หากมามองดูความจำเป็นที่อภิสิทธิ์จะต้องเก็บ พล.ต.ท.สมคิด
ไม่ต้องมองไปไกล มองใกล้ๆนี่หล่ะ พล.ต.ท.สมคิด
ถือเป็นมือดีที่ไว้ใจได้คนนึง เป็นนายตำรวจที่มีจุดยืนตรงข้ามกับประชาชนอย่างชัดเจน
โดยมีหน้าที่หลักที่อภิสิทธิ์มอบหมายให้แบบชัดเจนเลยก็คือ
"ตามเช็คบิลแกนนำเสื้อแดงในภาคเหนือ"
นี่ล่ะคือสาเหตุสำคัญที่ทำให้อภิสิทธิ์กลืนไม่เข้าคายไม่ออก
หากว่าตัดสินใจพักราชการ พล.ต.ท.สมคิด ขึ้นมาจริงๆ
แล้วจะมีใครเล่าที่จะมีพาวเวอร์มากพอในการจัดการเสื้อแดงในภาคเหนือได้
แต่ถ้าตัดสินใจที่เก็บ พล.ต.ท.สมคิดเอาไว้
ความสัมพันธ์กับประเทศซาอุฯก็จะยิ่งเลวร้ายไปมากกว่านี้
และมีความเป็นไปได้ว่าประเทศซาอุฯจะเดินสายล็อบบี้ประเทศมุสลิมทั่วโลก
ให้บอยคอตประเทศไทยด้วย
ปัญหาภาคใต้ที่เดิมทีมันก็หาทางออกไม่ได้อยู่แล้วประชาชนตายทุกวัน
จากนี้ไปมันจะยิ่งแย่ไปมากกว่านี้อีก

อภิสิทธิ์ตอนนี้ประเทศไทยภายใต้การนำของคุณได้เดินมาถึงทางแยกแล้ว
ซ้ายเป็นผา ขวาเป็นเหว คุณหมดทางไปแล้วครับ


http://www.go6tv.com/2010/09/blog-post_2186.html

"ชัยชนะ" ที่ "พ่ายแพ้" . . เสียงจาก "ยังเติร์ก" ถึง "ผบ.ทบ"

ที่มา thaifreenews

โดย tongtata

รายงานพิเศษ . . .

"ชัยชนะ" ที่ "พ่ายแพ้"
เสียงจาก "ยังเติร์ก" ถึง "ผบ.ทบ."
บทเรียน "ราชประสงค์" ใครผิด - ใครพลาด - ใครมั่ว?



หลังการสลายชุมนุมของคนเสื้อแดง ที่สี่แยกราชประสงค์ เมื่อ 19 พฤษภาคม 2553
แม้ระดับผู้นำกองทัพ จะยังคงยินดีปรีดากับชัยชนะอย่างไม่คาดฝันของตนเอง ที่พารัฐนาวา
ฝ่าข้ามมรสุมแดงเดือด นั่งครองอำนาจอยู่ต่อไปได้

ในขณะที่ผู้นำกองทัพกำลังสาละวนอยู่กับตามล้างเผ่าพันธุ์คนเสื้อแดง ด้วยข้อหาก่อการร้าย
และล้มล้างสถาบัน จนเกิดการเสพติดอำนาจ จาก พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
เพื่อปิดบังความกลัวต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และคนเสื้อแดง

รอยยิ้มและเสียงหัวเราะ ยังไม่จางหายไปจากใบหน้าของบิ๊กป๊อก พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา
ผบ.ทบ. และ บิ๊กตู่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา รอง ผบ.ทบ.

แต่ความเครียด และการวิพากษ์วิจารณ์การปฏิบัติการทางทหารในการแก้ปัญหาการเมืองครั้งนี้
กำลังถูกวิพากษ์โดยนายทหารยังเติร์กของกองทัพ ตั้งแต่ระดับนายร้อย จนถึงพันเอก ที่มอง
ทะลุถึงความผิดพลาดที่ถูกฝังกลบไว้ใต้ชัยชนะ

ด้วยเพราะเขารู้ดีว่า มันไม่ใช่ชัยชนะของกองทัพ แต่มันเป็นเค้าลางแห่งหายนะและความเสื่อม
ที่กำลังจะอุบัติขึ้น อาจเป็นเสมือนความพ่ายแพ้ในชัยชนะ

[ปาฐกถาฉบับเต็ม] ผาสุก พงษ์ไพจิตร ทบทวนขบวนการสังคม-เสื้อเหลือง-เสื้อแดง: การต่อสู้ที่ไม่ใช่เฉพาะของชนชั้นนำอีกต่อไป

ที่มา ประชาไท


ผาสุก พงษ์ไพจิตร ศาสตราจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวปาฐกถาหัวข้อ "หนึ่งทศวรรษ วิถีชีวิต วิถีสู้: ขบวนการประชาชนร่วมสมัย" ในการเสวนาเรื่อง "ทบทวนขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมในประเทศไทย" ซึ่งจัดโดยกลุ่มจับตาขบวนการประชาสังคมไทย ร่วมกับศูนย์ติดตามประชาธิปไตยไทย คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักข่าวประชาธรรมและประชาไท ที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 17 กันยายน ที่ผ่านมา

00000

ที่ ผ่านมา ได้มีการประเมินขบวนการทางสังคมของไทยในช่วงทศวรรษ 2530-2540 ต้นๆ ไว้บ้างแล้ว จะไม่พูดมากนัก อาจจะสรุปให้ฟังในส่วนแรก ในส่วนที่สอง จะพูดถึงกระบวนการเกิดขบวนการทางสังคมเสื้อเหลืองและเสื้อแดง โดยพยายามจะอธิบายให้มุมมองด้านความหักเหทางการเมือง ส่วนที่สาม จะพูดถึงนัยของปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมไทยในเวลานี้กับการเมืองของไทย ที่อาจมีขึ้นต่อไปในอนาคต

ขบวนการเสื้อเหลืองและขบวนการเสื้อแดงเป็น สงครามความคิดและสงครามแย่งชิง มวลชน ปรากฏการณ์นี้จึงแตกต่างจากขบวนการทางสังคมเมื่อทศวรรษ 2530 และต้นทศวรรษ 2540 ในการอภิปรายถึงขบวนการทางสังคมในช่วงก่อนปี 2540 นักวิเคราะห์ได้มีข้อเสนอบางประการเกี่ยวกับขบวนการทางสังคมในสมัยนั้น โดยเรียกขบวนการสมัยนั้นว่าขบวนการทางสังคมใหม่ ในความหมายที่ว่า ขบวนการทางสังคมในบริบทของการเมืองภาคประชาชนตอนนั้นมีการจัดตั้งยึดโยงเป็น เครือข่ายแบบหลวมๆ ที่ใช้ปัญหาความล้มเหลวของรัฐเป็นตัวขับเคลื่อน และขบวนการดังกล่าวไม่ได้มีเป้าหมายที่จะแข่งขันเข้าเป็นรัฐบาล เป็นขบวนการที่ทำงานอยู่ข้างนอกระบบการเมืองอย่างเป็นทางการ ขบวนการทางสังคมดังกล่าวนี้มีองค์กรพัฒนาเอกชนเป็นหัวขบวนที่สำคัญ ที่ร่วมคิดร่วมสร้างยุทธศาสตร์และสร้างความมั่นใจให้กับขบวนการ เพราะฉะนั้น บางครั้งเมื่อพูดถึงขบวนการสมัยนั้น จึงมีการสลับไปมาระหว่างขบวนการภาคประชาชนและขบวนการเอ็นจีโอประหนึ่งเป็น เนื้อเดียวกัน

ในครั้งนั้น ขบวนการทางสังคมเป็นการรวมตัวกลุ่มของราษฎร เพื่อแสดงความคับข้องใจ เสนอข้อเรียกร้องและต่อรองให้รัฐบาลเข้ามาแก้ปัญหาต่างๆ ซึ่งเกิดจากการทำงานของรัฐบาล การเรียกร้องต่อรองนี้ประสบความสำเร็จในช่วงต้น เช่น การล้มโครงการ คจก. ที่กองทัพเป็นผู้ดำเนินการได้สำเร็จในต้นทศวรรษ 1990 แต่ต่อมา แม้องค์กรพัฒนาเอกชน จะทำงานหนักในการก่อร่างกระบวนการประชาชน แต่ไม่สำเร็จเป็นชิ้นเป็นอัน เพราะเมื่อฟากรัฐบาลตระหนักถึงพลังอำนาจของประชาชนจำนวนมาก ก็ไม่ต้องการให้ขบวนการดังกล่าวเข้มแข็งขึ้น จึงหาช่องทางแบ่งแยกและปกครอง รวมทั้งซื้อหรือสร้างพันธมิตรให้เอ็นจีโอบางส่วนเข้าเป็นพวก จึงเกิดกระบวนการกลืนกลายส่วนหัวของขบวนการทางสังคมในสมัยนั้น นำไปสู่สิ่งที่เรียกว่าความอ่อนแอ ไม่อยากเรียกว่าความล้มเหลว เพราะความอ่อนแอของขบวนการทางสังคมในสมัยนั้นยังมีสาเหตุอีกส่วนคือความไม่ ลงรอยกันระหว่างองค์กรพัฒนาเอกชนกับชาวบ้านว่าควรจะมีวิถีชีวิตอย่างไร ขณะที่ชาวบ้านส่วนใหญ่อาจไม่ได้ปฏิเสธโลกาภิวัตน์ ระบบตลาด แต่ต้องการเติบโตไปกับโลกาภิวัตน์ ขณะที่เอ็นจีโอจำนวนหนึ่งอาจจะมีโลกของตัวเองที่แตกต่างและไม่ปลื้มที่ ประชาชนจำนวนมากเข้ากันได้กับพรรคการเมืองบางพรรคเหมือนปลาได้น้ำ

อย่าง ไรก็ตาม ดิฉันไม่อยากพูดเหมือนอย่างที่นักวิเคราะห์บางท่านบอกว่า ขบวนการสมัยนั้นเป็นความล้มเหลว เพราะได้เปิดพื้นที่ทางการเมืองให้กับราษฎรภายใต้กรอบของระบอบรัฐสภา ประชาธิปไตย จนเรียกขานกันว่ายุคนั้นเป็นยุคของการเมืองภาคประชาชน แต่จุดอ่อนของขบวนการดังกล่าวเกิดความชัดเจนขึ้นเมื่อมีความหักเหทางการ เมืองเกิดขึ้น

ภาวะหักเหทางการเมืองซึ่งก่อให้เกิดขบวนการทางสังคม เสื้อเหลืองและเสื้อ แดงที่ได้ฉีกแนวออกไปจากการเมืองภาคประชาชนของทศวรรษ 2530 โดยเสนอว่าขบวนการทางสังคมเสื้อเหลืองและเสื้อแดงเป็นผลจากการหักเหที่สำคัญ ทางการเมือง ที่เกิดขึ้นเมื่อผู้ที่มีความคับข้องใจเริ่มแสวงหาทางออกผ่านกระบวนการเลือก ตั้ง แทนการเดินขบวนประท้วงแบบเดิมๆ จึงเปลี่ยนนี้เกิดขึ้นระหว่างปี 2543 และปี 2548 ซึ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะพูดถึงบุคคลสำคัญในกระบวนการนี้ คือ คุณทักษิณ ชินวัตร แต่ก่อนอื่น ต้องเกริ่นเล็กน้อยว่าเมืองไทยมีระบบการเมืองแบบรัฐสภาประชาธิปไตยสลับกับ การรัฐประหารมาโดยตลอดหลายทศวรรษ แต่รัฐสภาเป็นเพียงสมาคมของผู้มั่งมี คนธรรมดาทั่วไปก็ไม่ได้รู้สึกรู้สาว่าได้รับประโยชน์จากระบอบดังกล่าวเท่าใด นัก แต่เหตุการณ์สองสถานได้เปลี่ยนสภาพดังกล่าว

ประการที่หนึ่ง ปลายทศวรรษ 2530 การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นและการปฏิรูปที่โยงกัน ได้เพิ่มจำนวนของการเลือกตั้ง ก่อนหน้านี้การเลือกตั้งทั่วไปเกิดขึ้นเป็นครั้งคราวเท่านั้น แต่หลังการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ชาวบ้านจะเลือกตั้งปีละ 4-5 ครั้ง เลือกกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน นายกเทศบาล สมาชิก อบต. วุฒิสมาชิก และ ส.ส. สำหรับ ส.ส. อาจอยู่ห่างไกลจากชาวบ้าน แต่ผู้แทนในระดับองค์กรส่วนท้องถิ่นต่างๆ ที่ได้รับเลือกตั้งมาอยู่ใกล้ชิด กระบวนการเรียนรู้จึงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ชาวบ้านได้บทเรียนว่าการออกเสียงเลือกตั้งบุคคลสำคัญที่จะดำเนินนโยบายต่างๆ แทนการแต่งตั้งอย่างในอดีตเป็นอำนาจและเครื่องมือที่จะนำทรัพยากรของประเทศ ที่พวกเขามีส่วนก่อให้เกิดทรัพยากรเหล่านั้น ทั้งในรูปของภาษีมูลค่าเพิ่มและการทำงานต่างๆ ทำให้เขาสามารถปรับปรุงชีวิตของตนเองและลูกหลานได้ดีกว่าเดิม

อีก เหตุการณ์ที่อธิบายว่าเหตุใดการเมืองไทยว่าด้วยการเลือกตั้งในระดับ ประเทศจึงมีความสำคัญขึ้นโยงกับเส้นทางการเมืองของทักษิณ ผู้ซึ่งดิฉันคิดว่าได้หักเหทิศทางของการเมืองไทยดั้งเดิม โดยทำสัญญากับประชาชนผู้ออกเสียงเลือกตั้งโดยตรง ทั้งนี้ ออกตัวว่า ดิฉันไม่ใช่ผู้ที่นิยมคุณทักษิณและไม่ได้คิดว่าคุณทักษิณเป็นทางออกของ ประเทศไทย แต่ในการวิเคราะห์การปลี่ยนแปลงทางการเมือง ตั้งแต่ปี 2544 เป็นต้นมา หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องวิเคราะห์บทบาทของคนนี้ ขณะเดียวกันแต่ไม่อยากให้เข้าใจผิดว่า วิเคราะห์การเมืองแบบเฉพาะตัวบุคคล หรือ personalize politics

ภาวะสำคัญที่ทำให้เกิดการหักเหทางการ เมืองมีหลายองค์ประกอบ ทั้งวิกฤตเศรษฐกิจ 2540 และที่ปรากฏการณ์ที่ชนชั้นนำแตกขั้วและเคลื่อนไหวเพื่อระดมผู้สนับสนุนแบ่ง เป็นฟากฝ่าย แต่จะเข้าใจวิกฤตการณ์การเมืองปัจจุบันได้ถ่องแท้ ต้องเข้าใจว่า ในประวัติศาสตร์การเมืองไทยนั้นยังไม่เคยมีการเปลี่ยนแปลงที่นำโดยมวลชนเลย มีนักวิเคราะห์ที่บอกว่า ขบวนการเสื้อแดงในขณะนี้อาจจะเป็นขบวนการมวลชนที่กว้างขวางมากที่สุดที่ สังคมไทยเคยมีมา อาจจะต้องรอดูกันต่อไปว่า ขบวนการนี้จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอะไรที่สำคัญหรือไม่

ในประวัติ ศาสตร์การเมืองไทยไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่นำโดยขบวนการมวลชน เราไม่เคยมีขบวนการกู้ชาติจากเจ้าอาณานิคม เหมือนที่ประเทศเพื่อนบ้านของเรามีทั้งอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์และพม่า ล้วนมีขบวนการกู้ชาติที่นำเอาคนทั้งประเทศเข้ามามีประสบการณ์ในขบวนการทาง การเมืองและสำเร็จในการขับไล่เจ้าอาณานิคมออกไป แต่เราไม่มี เราไม่เคยทำสงคราม ซึ่งดิสเครดิตชนชั้นนำของเราอย่างถึงรากถึงโคน เช่น กรณีญี่ปุ่นเมื่อแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง

การปฎิวัติล้มระบอบ สมบูรณาญาสิทธิราชในปี 2475 มีผู้สนับสนุนเป็นจำนวนมากก็จริง แต่ไม่ได้ระดมมวลชนอย่างกว้างขวางเช่นที่เกิดขึ้นในรัสเซียหรือจีน สำหรับขบวนการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย เมื่อทศวรรษ 2500 และ 2510 ขยายใหญ่กว่าเหตุการณ์ 2475 แต่ก็จำกัดฐานที่มั่นอยู่ที่เขาทึบและป่าลึก อาจเข้ามาอยู่ในเมืองบ้างประปราย แต่ไม่สามารถเคลื่อนขบวน หากเปรียบเทียบกับสิ่งที่เกิดขึ้นในจีนหรือรัสเซีย ขบถชาวนาในอดีต ขบวนการเกษตรกรและกรรมกรในช่วงสมัยใหม่ก็จำกัดวงอยู่เฉพาะกลุ่ม ดังนั้น ระบบการเมืองไทยร่วมสมัยจึงลักษณะเป็นคณาธิปไตย หรือ Oligarchy การปกครองโดยคณะบุคคลจำนวนน้อยจำนวนหนึ่งซึ่งไม่เคยถูกท้าทายจากมวลชนอย่าง ถึงรากถึงโคน ดึงดูดส่วนหัวของกลุ่มอำนาจใหญ่ๆ เข้าเป็นพวกอยู่เสมอ โดยก่อร่างสร้างสายสัมพันธ์ร้อยรัดกันเข้าไว้ภายในผ่านระบบเครือข่าย ระบบอุปถัมภ์ และการทำธุรกิจหรือการแบ่งผลประโยชน์ต่างตอบแทนกัน

ขณะ ที่ภายใต้ระบบสมบูรณาญาสิทธิราช ชนชั้นนำได้แก่ ขุนนาง ข้าราชการได้พัฒนาขึ้นเมื่อต้นศตวรรษ 20 และได้ตกผลึกมีผลประโยชน์ร่วมกับรัฐศักดินาอย่างหนาแน่น ทศวรรษ 2470-2520 ชนชั้นนำฟากทหารพุ่งขึ้นสู่จุดสูงสุด ครั้นเมื่อเศรษฐกิจเฟื่องฟูสมัยพัฒนาหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ชนชั้นนำฝ่ายธุรกิจในเมืองก็ได้เข้าร่วมขบวนกับคณาธิปไตยกลุ่มนี้ ต่อมาเมื่อความมั่งคั่งและการคมนาคมสมัยใหม่กระจายสู่ต่างจังหวัดยึดโยงเขต รอบนอกเข้ากับกรุงเทพฯ นักธุรกิจชั้นนำระดับภูธรก็ได้ร่วมขบวนภายใต้กรอบของรัฐสภาประชาธิปไตย และเมื่อไม่นานมานี้เอง ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในกระบวนการตุลาการและส่วนอื่นๆ ของระบบข้าราชการก็ได้เข้าร่วมขบวน แม้ครอบครัวขุนนางและกลุ่มเงินเก่าจะมีบทบาทสูงในคณาธิปไตยนี้ แต่ไม่ได้เป็นกลุ่มปิด โดยความอยู่รอดของกลุ่มดังกล่าวโดยรวมส่วนหนึ่งเพราะมีความยืดหยุ่นสูง กลุ่มอำนาจใหม่ๆ จากภายนอกจะถูกดึงดูดเข้ามาร่วมขบวน ระบบรัฐสภาและการเมืองในระบอบการเลือกตั้งก็ไม่ได้ท้าทายคณาธิปไตยอย่างจริง จังจน กระทั่งเร็วๆ นี้ ทั้งนี้ ผู้เกี่ยวข้องกับระบอบใหม่ คือระบอบประชาธิปไตย ได้จำกัดวงของกลุ่มอื่นๆ นอกวงไว้ได้ เพราะพวกเขาได้ลงทุนสร้างระบบที่ต้องใช้เงินมากในการเลือกตั้ง ใครที่มีเงินไม่หนาพอก็ไม่อาจหาญจะร่วมขบวนในระบอบใหม่ได้

การก่อ ตั้งระบอบที่ต้องใช้เงินมหาศาลนี้ ไม่ใช่เพราะนักธุรกิจเข้ามา ในการเมืองสถานเดียว ก่อนหน้านั้น ถ้าอ่านงานของ อ.สมบัติ จันทรวงศ์ ได้พูดถึง "โรคร้อยเอ็ด" ที่มีการจัดองค์กร ใช้เงินมโหฬารเพื่อนำเอาผู้นำฝ่ายทหารเข้ามาสู่กระบวนการรัฐสภาประชาธิปไตย หลังจากนั้นโรคนี้ได้ระบาดและบานปลายออกกลายเป็นสิ่งที่เราต้องคิดว่าจะทำ อย่างไรกับมันในขณะนี้ อีกส่วนที่พบคือ ในระบบใหม่ ส.ส. ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีพื้นเพเป็นเจ้าของธุรกิจ มาจากกลุ่มคนที่มีสัดส่วนเพียงร้อยละ 3 ของประชากรทั้งประเทศ รัฐสภาจึงกลายเป็นสมาคมของคนรวม และกลายเป็นสถาบันหลักของเครือข่ายคณาธิปไตยที่ได้กล่าวถึงข้างต้น

วิกฤต เศรษฐกิจ 2540 มีความสำคัญมาก เพราะได้เปิดช่องให้มีการท้าทายโครงสร้างอำนาจแบบคณาธิปไตยนี้ได้ เศรษฐกิจไทยก่อนหน้านั้นไม่เคยติดลบมาเป็นเวลา 50 ปีนับแต่ปี 2493 เป็นต้นมา แต่ปี 2540 จีดีพีติดลบถึงเกือบร้อยละ 20 ทำให้ผู้ที่เป็นรัฐบาลหรืออยู่ในอำนาจขณะนั้นถูกดิสเครดิตอย่างสิ้นเชิง ในภาวะเช่นนั้นพลังนอกคณาธิปไตยจึงสามารถผลักดันให้เกิดการปฏิรูปการเมือง รวมทั้งรัฐธรรมนูญฉบับ 2540 และการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นที่ก้าวไปไกล เพราะเกี่ยวโยงกับการเอาทรัพยากรของงบประมาณจากส่วนกลางมาสู่รอบนอกที่มาก ขึ้น ภาวะเศรษฐกิจวิกฤตส่งผลให้แรงผลักดันสู่การเปลี่ยนแปลงจากชนชั้นล่างและกลาง นอกกลุ่มคณาธิปไตยมีความรุนแรงขึ้น แต่ผลสะเทือนของการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวต้องใช้เวลา

ทักษิณ ชินวัตรผันตัวเองให้เป็นหัวขบวนที่จะท้าทายคณาธิปไตยเดิม เริ่มต้น เขาเพียงแต่จะท้าทายระบบข้าราชการรวมศูนย์และพรรคประชาธิปัตย์ที่มีสไตล์การ ทำงานและอุดมการณ์แบบเดียวกับระบบข้าราชการ คงจำได้ว่าทักษิณสัญญาจะฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยจากวิกฤตและพัฒนาเมืองไทยให้เป็น สมาชิกประเทศ OECD ให้ได้ โดยจะบริหารประเทศเสมือนหนึ่งบริษัทธุรกิจ ซึ่งหมายถึงจะลดความสำคัญของระบบข้าราชการให้อยู่ในอาณัติของผู้บริหาร และทำการปฏิรูปเปลี่ยนให้สอดคล้องกับระบบบริหารใหม่ ซึ่งชุมชนธุรกิจของไทย ชนชั้นกลาง และฝ่ายซ้ายก็สนับสนุนทักษิณอย่างแข็งขัน ต่อมาทักษิณถูกมองว่าท้าทายส่วนอื่นๆ ของคณาธิปไตยทั้งหมด ข้าราชการไม่พอใจมาก ต่างต่อต้านการปฏิรูป และทักษิณรู้ดีว่าภัยของนักปฏิรูปคือการรัฐประหาร จึงพยายามเข้าควบคุมกองทัพ ซึ่งต่อมาได้พิสูจน์ว่าเขาไม่เก่ง และได้สร้างศัตรูในกลุ่มนายทหารชั้นผู้ใหญ่ที่มีอำนาจสูงและเป็นชนชั้นนำฟาก สำคัญของกองทัพ

ช่วงแรกๆ นักธุรกิจก็ตื่นเต้นกับการเปลี่ยนแปลง แต่เมื่อพบว่าผลประโยชน์ต่างๆ เริ่มกระจุกตัวกับกลุ่มนักธุรกิจที่ห้อมล้อมทักษิณและครอบครัวจำนวนหยิบมือ เท่านั้นก็เริ่มไม่พอใจ และในที่สุด ฝ่ายรอยัลลิสต์เริ่มมีเสียงบ่น สภาวะดังกล่าวเหมือนจะพัฒนาเป็นความขัดแย้งระหว่างชนชั้นนำด้วยกันเอง ดังที่เคยพบเห็นเสมอในประวัติศาสตร์การเมืองไทย แต่ครั้งนี้แตกต่างจากสิ่งที่เกิดขึ้นเดิมๆ เพราะมีตัวแปรใหม่ขึ้นในสาระบบการเมืองไทย คือ เสียงเรียกร้องจากมวลชนระดับกลางและล่างที่ประสบกับปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ 2540 และปัญหาอื่นๆ ที่ได้สะสมมา พวกเขาต้องการมีส่วนร่วมในอำนาจการปกครองประเทศอย่างแท้จริง ต้องการได้รับการปฏิบัติที่ดีกว่าเดิม และต้องการสินค้าสาธารณะต่างๆ เป็นเครื่องมือที่จะช่วยปรับปรุงชีวิตของเขาและลูกหลาน ทักษิณได้ฉวยโอกาสที่จะหาประโยชน์จากพลังสังคมเหล่านี้เพื่อนำตัวเองเข้าสู่ อำนาจ พ.ศ.2544 ก็ชนะการเลือกตั้งจากการเสนอนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค พักชำระหนี้เกษตรกร และโครงการสินเชื่อหนึ่งล้านบาทหนึ่งตำบล โดยนโยบายเหล่านี้คุณทักษิณไม่ได้คิดเอง มีสหายเก่าๆ ช่วยคิด เมื่อชนชั้นนำส่งเสียงไม่เห็นด้วยกับนโยบายเหล่านั้น คุณทักษิณก็รีบดำเนินการนโยบายตามที่สัญญาไว้อย่างรวดเร็วและได้รับความนิยม ล้นหลาม โดยเฉพาะจากมวลชนที่ภาคเหนือ อีสาน และชนชั้นกลางและล่างบางส่วนในเมือง นโยบายที่สำคัญคือ 30 บาทรักษาทุกโรค และนโยบายการให้เครดิตในราคาถูกในรูปแบบต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ตอบชีวิตการที่สังคมไทยได้เริ่มขยายตัวเป็นผู้ประกอบการรายย่อยรายเล็กใน เศรษฐกิจนอกภาคเกษตรมากขึ้น และแม้ในภาคเกษตรเองก็ต้องการเครดิตราคาถูกซึ่งไม่เคยได้รับมาก่อน

ทักษิณ ฉวยโอกาสที่จะหาประโยชน์จากพลังสังคมเหล่านี้ที่จะนำตัวเองเข้าสู่ อำนาจ จากนั้น เขาเสนอนโยบายอื่นๆ อีกเป็นระลอก รวมทั้งสัญญาจะขจัดความจน ดำเนินนโยบายอุดหนุนราคาพืชผลเกษตรอย่างต่อเนื่อง พ.ศ.2547-48 เมื่อเผชิญกับแรงต้านของกลุ่มคณาธิปไตยเดิมและผู้ที่เคยสนับสนุนเขามากขึ้น ด้วยเหตุผลหลายอย่าง ทักษิณก็ท้าทายต่อไป โดยเสนอตัวเองเป็นนักการเมืองประชานิยม ที่อิงความชอบธรรมสู่อำนาจเพราะได้รับเสียงเลือกตั้งจากประชาชนและเน้นภาพ พจน์นักการเมืองที่อุทิศตัวเพื่อประชาชน เป็นปรปักษ์กับกลุ่มที่พยายามปกป้องอำนาจเดิม อันได้แก่ ข้าราชการ นายธนาคาร นักวิชาการ นักหนังสือพิมพ์ และผู้พิพากษา

อย่างไรก็ตาม คุณทักษิณยังไม่เคยมีท่าทีมาก่อนลงสนามการเมืองว่าจะเป็นคนที่ต้องการ เปลี่ยนแปลงระบบแบบพลิกผัน จริงๆ แล้ว เขาอยากเข้ามาปกป้องผลประโยชน์ของตัวเองและครอบครัวในเรื่องธุรกิจ ฯลฯ แม้อาจมีความต้องการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยบ้างแต่ในขณะนั้นอาจไม่ค่อยชัดเจน เสียงเรียกร้องจากมวลชนชั้นล่างเป็นแรงจูงใจและแรงผลักที่สำคัญ การเลือกตั้งครั้งที่สองคุณทักษิณชนะถล่มทลาย เขาสัญญากับผู้สนับสนุนว่าจะเป็นรัฐบาลถึง 25 ปี ตามแบบมหาธีร์ที่มาเลเซียและลีกวนยูที่สิงคโปร์ ถือว่าเป็นผู้ประกอบการทางการเมืองอย่างแท้จริงที่สามารถฉวยประโยชน์จาก ภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป และทำให้ตัวเองอยู่ในความนิยมได้อย่างเนิ่นนาน

ณ จุดนี้ คณาธิปไตยกลุ่มเดิมร่วมมือกันเพื่อดีดทักษิณออกจากสาระบบ แต่มีตัวแปรใหม่ที่ทำให้ส่วนหัวของชนชั้นนำขยายขอบเขตออกไป นั่นคือ ชนชั้นกลางชาวกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่ที่ตอนต้นเคยสนับสนุนโครงการของคุณทักษิณ ภายหลังไม่เห็นด้วยกับแนวโน้มสู่การเมืองประชานิยม เพราะตระหนักดีว่ากลุ่มตนเสียเปรียบด้านจำนวน แต่ได้เปรียบในการเข้าถึงอภิสิทธิ์ต่างๆ จึงไม่ไว้ใจต่อแนวโน้มสู่นโยบายประชานิยม ด้วยเกรงว่าจะเป็นภัยกับเขาในอนาคต ขบวนการเสื้อเหลืองจึงเกิดขึ้นในปี 2548 เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของกลุ่มชนชั้นกลางเมือง กลุ่มคนเสื้อเหลืองอ้างว่า ทักษิณเป็นภัยกับสถาบันพระมหากษัตริย์เพื่อแสวงหาแนวร่วมและสร้างอารมณ์ความ รู้สึกที่เข้มข้นขึ้น

อันที่จริง ทักษิณค่อนข้างระแวดระวังที่จะไม่โจมตีหรือท้าทายสถาบัน แต่เสื้อเหลืองก็โพนทะนาว่าทักษิณมีแผนการล้มเจ้าที่ฟินแลนด์ และใช้เสื้อเหลืองเพื่อประกาศว่าเป็นผู้ปกป้องสถาบัน การเมืองคณาธิปไตยก่อนหน้านี้เมื่อเกิดความขัดแย้งในส่วนหัวของชนชั้นนำด้วย กันเองก็จะต้องตัดสินด้วยการรัฐประหาร และคราวนี้ก็ได้เกิดขึ้นจริงในเดือนกันยายน 2549 แต่การเมืองแบบเก่าใช้ไม่ได้แล้ว รัฐประหารจึงไม่ได้ผล กองทัพไทยร่วมสมัยดูเหมือนว่าจะขาดประสบการณ์ในเรื่องนี้ และรัฐบาลที่คณะรัฐประหารแต่งตั้งขึ้นก็ไม่ได้เรื่อง ดังที่พวกเดียวกันเองวิจารณ์กันอยู่ จึงสูญเสียความนิยมอย่างรวดเร็ว เนื่องจากเศรษฐกิจไทยโยงกับเศรษฐกิจโลกอย่างแนบแน่นและสังคมโลกไม่ยอมรับรัฐ ประหาร จึงต้องสถาปนารัฐบาลจากการเลือกตั้งโดยเร็ว และแม้ใช้เงินภาษีของประชาชนและใช้ข้าราชการรณรงค์เพื่อไม่ให้พรรคทักษิณชนะ การเลือกตั้ง ก็ไม่เป็นผล ฝ่ายทักษิณชนะการเลือกตั้ง จึงต้องยอมให้ก่อตั้งรัฐบาล

การโจมตีทักษิณและนโยบายประชานิยมยิ่ง ขยายตัวต่อไปและรุนแรงมากขึ้น รัฐบาลแต่งตั้งโดยคณะรัฐประหารร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ลดอำนาจของรัฐสภาและเพิ่มอำนาจให้กองทัพและฝ่ายตุลาการ กลุ่มคนเสื้อเหลืองขณะนั้นกลายเป็นม็อบที่มีกองทัพหนุนหลัง สามารถข่มขู่รัฐมนตรี เข้ายึดรัฐสภา ฝ่ายตุลาการตัดสินให้สองรัฐบาลเป็นโมฆะ รัฐมนตรีขาดคุณภาพที่จะเป็นรัฐมนตรี ยุบพรรคการเมืองสามพรรค ตัดสิทธิ ส.ส. 220 คนจากการเมืองเป็นเวลา 5 ปี สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเส้นขนานคือ กลุ่มคนเสื้อเหลืองก่นสร้างเหตุผลสนับสนุนอุดมการณ์ที่เป็นรากฐานให้เขาโจม ตีฝ่ายทักษิณ โดยชี้ว่านักการเมืองส่วนมากโกงกิน ชนะการเลือกตั้งเพราะซื้อเสียง ดังนั้น ผลการเลือกตั้งจึงขาดความชอบธรรม จึงเสนอแต่งตั้ง ส.ส. ทดแทนระบบการออกเสียงเลือกตั้ง หรือให้มีระบบตัวแทนตามสาขาอาชีพ หรือโอนอำนาจกลับไปที่สถาบันพระมหากษัตริย์ ระบบข้าราชการและตุลาการ มีข้อเสนอให้มีการแต่งตั้ง 70 เลือกตั้ง 30

ขบวนการคนเสื้อแดงได้ผุด ขึ้นเพื่อคานกับกลุ่มคนเสื้อเหลือง โดยก่อนหน้านี้มีการใช้สีแดงเพื่อเป็นสัญลักษณ์ต่อต้านรัฐประหาร 2549 มาก่อน แกนนำเสื้อแดงเป็นผู้นิยมทักษิณและพรรคไทยรักไทย ผู้สนับสนุนส่วนใหญ่ในระยะแรกมาจากภาคเหนือและอีสาน รวมทั้งแรงงานอพยพซึ่งทำงานที่กรุงเทพฯ แต่ก็มีผู้สนับสนุนที่เป็นนักวิชาการ นักธุรกิจ และชนชั้นกลางที่ไม่ได้รักคุณทักษิณ แต่เชื่อว่าต้องเข้าร่วมขบวนเพื่อปก ป้องประชาธิปไตย บางคนไม่เห็นด้วยกับรัฐประหาร 2549 จึงเข้าร่วม นอกจากนี้ยังมีกลุ่มพลเมืองเน็ต คนรุ่นใหม่ที่ไม่สนใจทักษิณเลย แต่สนใจประชาธิปไตยมากกว่า ขบวนการนี้ใช้สื่อมวลชนที่โยงกับวิทยุชุมชนและโทรทัศน์ดาวเทียมเช่นเดียวกับ เสื้อเหลือง ปลายปี 2552 ก่อตั้งโรงเรียน นปช. กลุ่มต่างๆ ที่สนับสนุนในพื้นที่จัดกิจกรรมหาเงินบริจาค รณรงค์เพื่อระดมมวลชนเป็นประจำ อาจมีบางส่วนที่มีแนวคิดสังคมนิยม หรือนิยม republicanism แต่จากการวิเคราะห์ของหลายสายพบว่าส่วนหลังนี้อาจเป็นกลุ่มน้อย

กลาง ปี 2551 เสื้อเหลืองและเสื้อแดงปะทะกันประปราย โดยฝ่ายเสื้อเหลืองอ้างว่าปกป้องสถาบันกษัตริย์ ปะทะกับเสื้อแดงซึ่งอ้างว่าปกป้องประชาธิปไตย ปลายปี 2551 รัฐบาลฝ่ายทักษิณซึ่งชนะการเลือก ตั้งเมื่อปี 2550 ถูกบีบให้ออก ด้วยแรงผลักดันจากกองทัพ คำพิพากษาของศาล และกระบวนการรัฐสภา ตั้งแต่นั้นมา ข้อเรียกร้องของกลุ่มเสื้อแดงคือ ให้การเลือกตั้งทั่วไปภายใต้หลักการหนึ่งคนหนึ่งเสียงเป็นตัวกำหนดว่าใครจะ เป็นรัฐบาลและต้องการให้แก้รัฐธรรมนูญ โดยอยากให้กลับไปหาฉบับรัฐธรรมนูญ 2540 โดยอาจมีการแก้ไข สร้างวาทกรรมเรียกตัวเองว่าไพร่ เรียกฝ่ายตรงข้ามว่าอำมาตย์ และประณามระบบสองมาตรฐาน เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าวาทกรรมเหล่านี้มีนัยของความไม่พอใจความไม่เท่าเทียม กันทางเศรษฐกิจ อำนาจ กระบวนการยุติธรรม โอกาสและวัฒนธรรมรวมอยู่ด้วย

โดย สรุป วิกฤตการเมืองมีองค์ประกอบของความขัดแย้งในส่วนหัวของชนชั้นนำที่ดำเนินอยู่ แต่มีประเด็นเรื่องการท้าทายโครงสร้างอำนาจเดิมจากพลเมืองที่ตระหนักในสิทธิ อำนาจทางการเมืองของตน ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยและต้องการปกป้องสิทธิอำนาจเหล่านั้นด้วย ทักษิณและพรรคพวกตั้งใจลดทอนอำนาจของระบบราชการและคณาธิปไตยเดิมที่มีพรรค ประชาธิปัตย์เป็นตัวแทน ณ จุดเริ่มต้น เป็นเพียงความขัดกันของบรรดาส่วนหัวของชนชั้นนำ พรรคประชาธิปัตย์ขณะนี้อยู่ในอำนาจและพยายามทุกวิถีทางเพื่อไม่ให้ทักษิณหวน คืนสู่อำนาจได้อีก แต่ความขัดแย้งดังกล่าวเอ่อล้นไปไกลกว่ากลุ่มชนชั้นนำ ทักษิณได้กลายเป็นตัวแทนของพลเมืองระดับล่างและกลางที่ต้องการสังคมที่ไม่ เลือกปฏิบัติ พลังพลเมืองตรงนี้เองที่ได้ผลักดันให้ทักษิณกลายเป็นนักการเมืองแนวประชา นิยมเหมือนที่เกิดในประเทศอื่นๆ ก่อนหน้าเช่นในละตินอเมริกาแต่เป็นเรื่องใหม่ของสังคมไทย ทักษิณผันตัวเองเป็นนักการเมืองประชานิยมที่อ้างอิงความชอบธรรมจากแรงสนับ สนุนของประชาชน ดังนั้น เขาจึงกลายเป็นเสมือนคบไฟให้มวลชนได้ใช้เสียงเลือกตั้งเป็นเครื่องมือปรับ ปรุงชีวิตและสถานะของกลุ่มเขา แต่ความเชี่ยวจัดในการใช้ประชานิยมเพื่อก้าวสู่อำนาจ ประกอบกับความมั่งคั่งมหาศาลของทักษิณ ทำให้ชนชั้นกลางต้องการยึดโยงกับสถาบันดั้งเดิมคือกองทัพและสถาบันพระมหา กษัตริย์ เพื่อทดแทนกับจำนวนอันน้อยนิดของกลุ่มตนเมื่อเทียบกับมวลชนระดับล่างและกลาง ที่สนับสนุนทักษิณ การระดมมวลชนของคนเสื้อเหลืองก็ได้ขยายมวลชนของคนเสื้อเหลือง ท้ายที่สุด ความขัดแย้งในหมู่ชนชั้นนำด้วยกันเองได้ขยายขอบเขตกลายเป็นความขัดแย้งเพื่อ หาผู้สนับสนุนของสองขบวนการที่ขัดกัน ดังที่ได้กล่าวว่า ขบวนการเสื้อเหลืองและเสื้อแดงเป็นสงครามความคิดและสงครามแย่งชิงมวลชนไปใน ท้ายที่สุด

ขบวนการสังคมทั้งสองนำไปสู่การอภิปรายในประเด็นที่ว่าการ เมืองไทยควร พัฒนาไปในแนวทางใด กลุ่มคนเสื้อแดงต้องการปกป้องระบบการเลือกตั้งให้ย้อนกลับสู่กรอบกติกา 2540 เป็นหลักเกณฑ์ในการลดสองมาตรฐาน ซึ่งเป็นหัวใจของอำนาจภายใต้ระบบคณาธิปไตยเดิม แต่กลุ่มคนเสื้อเหลืองก็ได้ย้อนแย้งอย่างมีประเด็นว่า ประชาธิปไตยที่ขาดระบบตรวจสอบและการคานอำนาจที่ได้ผลเป็นอันตรายและเป็นระบบ ที่ไร้ เสถียรภาพ พวกเขาต้องการกฎหมายที่เข้มแข็ง หลักการศีลธรรมที่สูงกว่านี้ มีการพูดถึงการเมืองจริยธรรม ต้องการกำกับควบคุมคอร์รัปชั่นและการแสวงหากำไรเกินควรอย่างโจ่งแจ้งของ นักการเมืองทั้งหลาย

ความขัดแย้งในบรรดาส่วนหัวของชนชั้นนำและขบวน การทางสังคมที่ก่อตัวขึ้น โยงเข้าด้วยกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยมีทักษิณ เป็นตัวเชื่อม ตรงนี้เพิ่มความซับซ้อนมากขึ้นไปอีก เพราะทักษิณมีบุคลิกเป็นบุคคลหลายแพร่งที่ขัดแย้งในตัวเอง แพร่งหนึ่ง เขาอาจจะนิยมความเป็นสมัยใหม่ และเป็นนักธุรกิจที่ผันตัวเป็นนักการเมืองประชานิยม อีกแพร่งหนึ่ง เป็นบุคคลที่หยามเหยียดประชาธิปไตยเป็นที่สุด แต่ได้กลายเป็นผู้ปกป้องประชาธิปไตย อีกแพร่งหนึ่ง เขาโกงกินเงินจากภาษีประชาชนได้อย่างหน้าตาเฉยและหาประโยชน์จากระบบสอง มาตรฐานตลอดเวลา แต่ให้ภาพว่า ด่าคอร์รัปชั่นและสองมาตรฐาน แต่ประวัติศาสตร์ก็เต็มไปด้วยบุคคลที่มีบุคลิกเหล่านี้มิใช่หรือ และทักษิณก็มิใช่คนเดียวที่มีบุคลิกเช่นนั้น

สำหรับบทสรุปเป็นเรื่อง ที่ยากมากและคิดไม่จบว่าจะสรุปอย่างไร ... เราคงต้องย้อนกลับไปสู่จุดเริ่มต้นที่พูดถึงขบวนการทางสังคมของทศวรรษ 2530 ที่ผจญกับความอ่อนแอและอาจถูกกลบกลืนไปโดยขบวนการทางสังคมเสื้อเหลืองเสื้อ แดงดังที่ได้กล่าวมา จุดอ่อนสำคัญประการหนึ่งของขบวนการประชาชนก่อน 2540 คือการที่ขบวนการประชาชนตัดสินใจว่าจะไม่เข้าแข่งขันเพื่อเป็นรัฐบาลด้วยตัว เอง แต่จะดำเนินการเมืองรอบนอก แบบใช้ยุทธศาสตร์ในท้องถนน ดาวกระจาย การผลักดันอะไรต่างๆ ตรงนี้นำเราไปสู่คำถามว่าเราจะมีบทเรียนจากจุดอ่อนนั้นอย่างไร

ขบวน การทางสังคมเสื้อเหลืองเสื้อแดงจะสามารถเข้าไปแข่งขันกันในระบบ รัฐสภาประชาธิปไตยได้หรือไม่ จริงๆ แล้วเรามีความเอือมระอากันตามสมควรกับการต่อสู้กันในท้องถนน หากสามารถเข้าไปต่อสู้กันในรัฐสภา คาดว่าจะมีผลในการลดการใช้ความรุนแรงได้มาก ดังนั้น ประเด็นสำคัญตอนนี้คือทำอย่างไรที่จะให้สงครามความคิดและสงครามการแย่งมวลชน หลุดออกจากถนนแล้วเข้าสู่กรอบกติกาทางการเมืองที่ทุกฝ่ายจะยอมรับกันได้ใน ระบบรัฐสภา ซึ่งก็ต้องยอมรับว่า เรายังมีประสบการณ์ในเรื่องนี้ไม่มากพอ ซึ่งส่วนหนึ่งเพราะถูกรบกวนด้วยพลังนอกรัฐสภาอยู่เสมอ โดยเฉพาะการรัฐประหาร การรัฐประหารเกิดขึ้นครั้งใดได้ทำลายกระบวนการเรียนรู้ที่สั่งสมมา และย้อนกลับไปสู่ระบอบเดิมและนำเอาความสัมพันธ์ในระบอบเดิมที่เหลวเละกลับ เข้ามาอยู่ตลอด

ดังนั้น ถ้าจะพูดกันต่อไปว่าอะไรเป็นอุปสรรคที่จะทำให้ขบวนการสังคมพัฒนาต่อไปในแนว ทางสร้างสรรค์ ก็คิดว่าน่าจะเป็นปัญหาที่เกี่ยวโยงกับกองทัพในการเมืองไทย สถาบันอื่นๆ ก็เริ่มปรับตัวและเปลี่ยนแปลง แต่กรณีกองทัพ รัฐประหาร 2549 ทำให้กองทัพเข้ามายืนใน ฐานของอำนาจอย่างเป็นทางการ และมีสถาบันรองรับคือ รัฐธรรมนูญ 2550 อีกเรื่องที่ต้องคิดกันคือ ความกลัวพลังของราษฎร หรือพลังของประชาชนในหัวใจของกลุ่มชนชั้นกลางและชนชั้นนำบางส่วนที่อาจยัง ยึดติดกับระบบคณาธิปไตย และไม่อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะทำให้สภาพของตัวเองเปลี่ยนแปลง ไป แต่ถ้าคิดในทางบวก การเปลี่ยนแปลงต้องเกิดขึ้น เพราะไม่มีเกมที่เป็น zero-sum game ถ้าจะ zero-sum game ก็ต้องตายกันครึ่งประเทศ ซึ่งจะเป็นความเสียหายอย่างมหาศาล ดังนั้น นักเศรษฐศาสตร์ที่พูดเรื่อง game theory อยากเสนอว่า ต้องเปลี่ยนจาก zero-sum game เป็นเกมที่จะก้าวไปด้วยกันและตกลงกันว่าต้องใช้กติกาอะไร

ดังนั้น ทางออกของการเมืองไทยขณะนี้จึงเป็นเรื่องที่ว่าจะมีการพัฒนาสู่พรรคการเมือง ทั้งสองฟากที่ข้ามพ้นทักษิณและการเมืองที่ใช้เงินจำนวนมาก ทั้งนี้ ตามที่มีนักวิเคราะห์และฝ่ายเสื้อแดงเสนอว่า เงินไม่ใช่ปัจจัยของการเลือกตั้งอีกต่อไป ข้อเสนอนี้ต้องการการพิสูจน์ รวมถึงทำอย่างไรจึงจะหาทางออกให้กองทัพได้ลดบทบาทของตัวเองอย่างสง่างามและ ไม่ทำให้ต้องเสียอกเสียใจมากนัก

--------------------------------------




ถาม-ตอบ

ประวิตร โรจนพฤกษ์ เดอะเนชั่น: อีก ปัจจัยที่สำคัญมากใน การพิจารณาสภาพการเมืองปัจจุบันคือ สภาพความเป็นจริงที่เรียกว่า การเมืองและสภาพสังคมยุคปลายรัชกาล ซึ่งมีนัยสำคัญในแง่ที่ว่าชนชั้นนำเก่ามีอาการพารานอยด์หรือวิตกจริตมาก และมันเป็นพลวัตรสำคัญที่จะผลักดันให้ความขัดแย้งปัจจุบันมีสภาพสลับซับซ้อน ยิ่งขึ้น โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสถาบันฯ ไม่สามารถพูดอย่างเท่าทันในที่สาธารณะโดยไม่สุ่มเสี่ยงได้ อยากถามว่ามองเรื่องนี้อย่างไร และสุดท้ายคิดว่า มี speculation เยอะมาก และเรื่องนี้เป็นการต่อสู้เรื่องที่ทางของสถาบันในอนาคต โดยเฉพาะมีการคาดการณ์ที่แตกต่างกันในสังคมไทยต่อที่ทางของสถาบันกษัตริย์ใน อนาคต โดยเฉพาะหลังการเปลี่ยนรัชกาล ซึ่งมีมุมมองที่แตกต่างกันไป

ผาสุก: ตอนที่กระบวนการโลกาภิวัตน์เกิดในเมืองไทยนำความตกใจมาสู่สังคมไทยอย่างมาก มีปฏิกิริยาต่างๆ มีผู้ต่อต้านหลายหัวขบวนตั้งแต่ระดับบนถึงระดับล่าง แต่เมื่อเวลาผ่านไป เขาก็พบว่าการต่อต้านความเปลี่ยนแปลง เป็นผลเสียกับตัวเอง จึงหาประโยชน์กับโลกาภิวัตน์ และขณะนี้สามารถกล่าวได้ว่าสังคมไทยไม่ได้ปฏิเสธโลกาภิวัตน์ แม้อาจมีส่วนย่อยบางกลุ่มที่ไม่ต้องการเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการโลกาภิวัต น์

การเปลี่ยนแปลงของสถาบันต่างๆ ในประเทศไทย ไม่เฉพาะสถาบันที่คุณพูด เป็นเรื่องธรรมดาที่อาจมีความเฉื่อย และไม่ต้องการเปลี่ยนแปลง และมีอาการต่างๆ ออกมา แต่ในท้ายที่สุด การปรับตัวและการเปลี่ยนแปลงก็จะต้องเกิดขึ้น ประเด็นอาจอยู่ที่ว่าจะปรับไปแบบไหน ในโลกก็มีโมเดลต่างๆ ในความเห็นของตนนี่อาจไม่ใช่ปัญหาที่ใหญ่ที่สุดในขณะนี้ แต่ปัญหาที่ใหญ่ที่สุดคือการที่กลุ่มต่างๆ ในสังคมแสวงหาประโยชน์จากภาวะของการเกิดช่องว่างหรือความวิตกกังวลในภาวะของ การเปลี่ยนแปลงนี้ต่างหาก ในเรื่องนี้จึงคิดว่า เราอาจต้องตั้งสติและพิจารณาสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้น โดยลดความมีอคติและความกลัวของเราเองลงไป

ทั้งนี้ ในบรรดากลุ่มคณะที่ต้องการแสวงหาผลประโยชน์จากภาวะความไม่แน่นอนที่กำลังจะ เกิดขึ้น ก็ยังคิดว่ากลุ่มที่มีอาวุธอยู่ในมือน่าจะน่ากลัวที่สุด ดังนั้น การจะช่วยกันหาทางให้พลังตรงนี้กลายเป็นพลังสร้างสรรค์จึงจำเป็นมาก

ก่อนหน้านี้ ได้คุยกับนักวิเคราะห์จากอินโดนีเซีย บอกว่า ขณะนี้ อินโดนีเซียก้าวข้ามเมืองไทยไปในหลายเรื่องตั้งแต่ 2540 ทั้งนี้เคยตามไทยมาตลอด เขาบอกว่า ในกรณีอินโดนีเซีย กลุ่มชนชั้นนำหลายกลุ่มมีเอกภาพต่อบทบาทของกองทัพในการเมืองอินโดนีเซีย โดยไม่ต้องการให้กองทัพมีบทบาทนำทางการเมืองหรือเป็นศูนย์กลางของการเมือง แต่กรณีเมืองไทย ไม่มีเอกภาพเรื่องนี้ เมื่อชนชั้นนำสำคัญของไทยไม่คิดเป็นเอกภาพเรื่องการจัดการบทบาทของกองทัพ จึงเกิดช่องว่างให้กองทัพเสนอตัวขึ้นมา คือใครใช้ใครต้องไปวิเคราะห์กัน ในท้ายที่สุดจะเห็นผลในงบประมาณประจำปี ที่โก่งขึ้นหลังปี 2549 นี่เป็นรูปธรรมที่ชัดเจน และมีการเปลี่ยนแปลงด้านสถาบัน หมายถึงกรอบกติกาที่จะกำกับในประเทศ ไม่มีประเทศประชาธิปไตยที่ไหนในโลกที่นายกฯ มีบทบาทแต่งตั้งหรือเลื่อนขั้นฝ่ายกองทัพน้อยลง เมื่อมีกระบวนการพัฒนาสู่ประชาธิปไตยมากขึ้นๆ

เสวนาโต๊ะกลม: ทบทวนขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมในประเทศไทย

ที่มา ประชาไท

(17 ก.ย.2553) ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กลุ่มจับตาขบวนการประชาสังคมไทย ร่วมกับศูนย์ติดตามประชาธิปไตยไทย คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ สำนักข่าวประชาธรรมและประชาไท จัดการเสวนาเรื่อง "ทบทวนขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมในประเทศไทย" โดยในช่วงเช้า มีการเสวนาโต๊ะกลมในหัวข้อเดียวกัน มีผู้เข้าร่วมเสวนาคือ ดร.อัจฉรา รักยุติธรรม อาจารย์คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร พฤกษ์ เถาถวิล อาจารย์คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และ ดร. เก่งกิจ กิตติเรียงลาภ อาจารย์คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยทั้งหมดเป็นนักวิชาการรุ่นใหม่ และต่างเคยทำงานหรือร่วมงานกับเอ็นจีโอและภาคประชาชนมาก่อน


กับดักจินตนาการ ‘ไม่เลือกเพื่อสร้างทางเลือก’ ของเอ็นจีโอ
อัจฉรา รักยุติธรรม อาจารย์คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร กล่าวถึงงานเขียนชิ้นนี้ว่า ไม่ใช่งานวิจัยแต่เขียนมาจากความคับข้องใจต่อบทบาทของเอ็นจีโอที่มีต่อสังคม ในช่วงสถานการณ์ทางการเมืองที่ผ่านมา โดยใช้เวลาประมาณ 3-4 เดือนในการรวบรวมข้อมูลมากมายจากหน้าเฟซบุ๊ค ซึ่งไม่ได้รับการอนุญาตจากเจ้าของ แต่ทุกคนที่อ้างถึงในงานเขียนมีตัวตนจริงและเป็นคนที่รู้จักกันในแวดวงของ เอ็นจีโอ

อัจฉรา กล่าวต่อว่าถึงประเด็นหลักที่ทำให้ต้องวิพากษ์เอ็นจีโอ คือสถานการณ์ปัจจุบันซึ่งเห็นได้ว่าเอ็นจีโอได้อาสาช่วยรัฐบาลแก้ปัญหาความ ขัดแย้งมากมาย แต่คำถามคือเอ็นจีโอจะมาช่วยแก้ปัญหาหรือมาสร้างปัญหาใหม่ เข้ามาเป็นผู้แก้ปัญหา หรือจริงๆ แล้วจะเป็นส่วนหนึ่งของปัญหา คิดว่าเรื่องนี้เอ็นจีโอหลายคนไม่ค่อยได้ทบทวนกันจึงมาช่วยทบทวนตรงนี้ให้

จาก นั้น อัจฉราได้ยกตัวอย่างบทกวีที่เพื่อนเอ็นจีโอที่อยู่ในรุ่นเดียวกัน แต่ตอนนี้ไปร่วมกับพันธมิตรฯ แล้ว ทั้งนี้เธอได้เห็นบทกวีชิ้นนี้หลังเหตุการณ์วันที่ 19 พ.ค.53 แต่บทความนี้เขียนขึ้น 3 วันก่อนที่จะมีเหตุการณ์ 10 เม.ย.53

รบเถิด ! อภิสิทธิ์
กี่วัน กี่คืนแล้ว ! อภิสิทธิ์ แผ่นดินต้องมืดมิดทั้งแปดด้าน
ระเบิดป่วนผสมม็อบอันธพาล กฎมารอยู่เหนือกฎหมายน่าอายนัก
กี่คำ กี่ครั้งแล้ว ที่ประกาศ คนในชาติรอช่วยด้วยใจรัก
แอบแบ่งใจแอบเชียร์กลัวเสียหลัก แม้อกหักก็ยังเชียร์ไม่เสียใจ

แต่ตอนนี้ ไม่ไหวแล้ว พระเจ้า !!! ข้า คนชั่วช้าก่อการร้ายเพื่อนายใหญ่
ยึดกรุงเทพฯ ขึงพืด ประเทศไทย พร้อมใส่ร้ายหมายล้มองค์สยมภู
รบเถิด ! อภิสิทธิ์ ทุกชีวิตจักยืนเคียงเพียงหยัดสู้
ล้มอันธพาลป่วนเมืองที่เฟื่องฟู นำบ้านเมืองคืนสู่เนื้อนาบุญ

รบเถิด ! อภิสิทธิ์ ก่อนมวลมิตรอิดหนาไม่มาหนุน
ก่อนสังคมไม่ช่วยเหลือมาเกื้อคุณ ก่อนต้นทุนจะไม่พอขอทำงาน
รบเถิด ! อภิสิทธิ์ ไม่ต้องอิทธิฤทธิ์อภินิหาร
แค่ประสานรวมพลล้มหมู่มาร โลกจะพร้อมอภิบาลช่วยท่านเอง

ภารดร-ภาพ
7 เมษายน 2553
http://www.oknation.net/blog/mataharee/2010/04/07/entry-1

อัจฉรา ขยายความว่า คำที่ถูกเน้นเหล่านี้เป็นคำที่ถูกนำมาใช้เรียกคนเสื้อแดงโดยเพื่อนเอ็นจีโอ ซึ่งขณะนี้ก็ยังเป็นเอ็นจีโออยู่ อีกทั้งยังได้ยกตัวอย่างเอ็นจีโอหลายคนที่พยายามออกมาบอกว่า “ไม่เลือกข้าง” ซึ่งส่วนตัวก็ได้พยายามทำความเข้าใจถึงเหตุผลที่ไม่เลือกข้าง แต่ว่าการที่คนเหล่านี้ไม่เลือกข้าง แต่กลับเลือกการปฏิรูปประเทศไทย ทำให้เกิดความสงสัยต่อสิ่งที่เกิดขึ้น

อัจฉรากล่าวต่อมาถึงเนื้อหาใน รายงานซึ่งตั้งคำถามว่า เอ็นจีโอมองประชาชนอย่างไร โดยยกตัวอย่างการแสดงความคิดเห็นในเฟซบุ๊คของเอ็นจีโอบางคนที่แสดงมุมมองต่อ คนเสื้อแดง อาทิ “ความตายของประชาชนจึงเป็นเพียงเบี้ย ในเกมของผู้มีอำนาจที่จะใช้ต่อรองทางการเมือง” นี่คือมุมมองที่มีกับประชาชนว่าเขาเหล่านั้นเป็นเพียงเบี้ย หรือ “การชุมนุมเรียกร้องทางการเมือง VS การชุมนุมเรียกร้องความเป็นธรรม” ซึ่งเอ็นจีโอชื่อดังทางภาคเหนือ สื่อสารว่าประชาชนที่มาชุมนุมกับพวกเขาคือประชาชนที่มาเรียกร้องความเป็น ธรรม แต่คนเสื้อแดงเป็นประชาชนที่เรียกร้องทางการเมือง ซึ่งแตกต่างกันอย่างมาก ทำให้ต้องตั้งคำถามกับถึงชาวบ้าน-ประชาชนที่มีภูมิปัญญา กับเบี้ยทางการเมืองว่ามีความต่างกันอย่างไร

“ตกลงประชาชนเสื้อแดง ที่มาจากชนบทเหล่านี้ไม่ได้เป็นผู้มีภูมิปัญญา เหมือนกับที่เอ็นจีโอคิด เป็นประชาชนนอกอุดมคติ เป็นประชาชนที่เป็นคนไม่จน เพราะว่าพี่น้องชาวบ้านของเอ็นจีโอเป็นคนจน และเป็นคนไม่พอเพียง เพราะว่าพี่น้องชาวบ้านของเอ็นจีโอทำเศรษฐกิจพอเพียง ทำเกษตรยั่งยืน เป็นประชาชนนอกสังกัด” อัจฉรากล่าว

อัจฉรากล่าวต่อมาว่า เอ็นจีโอมองว่าการเมืองภาคประชาชนจะต้องไม่แนบแน่นกับการเมืองในระบบ โดยบอกว่าการแนบแน่นคือหนทางนำไปสู่หายนะ ในขณะเดียวกันเอ็นจีโอก็มองว่าตัวเองคือผู้เสียสละ มีน้ำใจ เป็นพลังบริสุทธิ์ที่ไม่มีการเมืองแทรกแซง ต้องอยู่เหนือการเมือง ส่วนการเมืองคือเรื่องสกปรก กลุ่มผลประโยชน์ ฉ้อฉล การแก้ปัญหาการเมืองต้องแก้ด้วยระบบนอกการเมือง ด้วยการล็อบบี้ การสถาปนาคนดีมาช่วยแก้ปัญหา แล้วก็ต้องสร้างตัวแบบทางเลือกซึ่งจะมีทางเลือกใหม่ๆ ออกมาในสถานการณ์ฉุกเฉินในวิกฤติเศรษฐกิจ วิกฤติต่างๆ ซึ่งนี่เป็นวิธีคิดที่เอ็นจีโอหล่อหลอมกันมา ว่าจะต้องเป็นผู้เสนอทางเลือกใหม่ให้แก่สังคม แล้วก็ลดทอนความเป็นการเมือง หมายความว่าอะไรก็ได้ แก้ปัญหาโดยกลไกอะไรบางอย่างขึ้นมา

อัจฉรา กล่าวสรุปแนวคิดของงานเขียนว่า บทความนี้ไม่ได้ต้องการที่จะเรียกร้องให้เอ็นจีโอเลือกสีเลือกข้างที่ชัดเจน แต่พยายามทำความเข้าใจถึงเบื้องหลังวิธีคิดชุดหนึ่งของเอ็นจีโอ และสิ่งที่น่าพิจารณามากกว่าการไม่เลือกสีคือการเลือกที่จะนิ่งเฉยไม่ วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลที่ใช้กองกำลังเข้ากระชับพื้นที่จนทำให้มีผู้เสียชีวิต และบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก แต่กลับพบว่าเอ็นจีโอเหล่านั้นเลือกเข้าร่วมการปฏิรูปประเทศไทย ทั้งโดยการร่วมเป็นคณะกรรมการปฏิรูปฯ และโดยการผลักดันข้อเสนอให้เข้าไปบรรจุอยู่ในแผนปฏิรูปฯ ด้วยเชื่อว่าเป็นการดำเนินงานอันเกิดจากกระบวนการมีส่วนร่วมของตัวแทน ประชาชนภาคส่วนต่างๆ ภายใต้การนำของบรรดาผู้อาวุโสที่ขึ้นชื่อว่าเป็น “คนดี” และเป็น “ปัญญาชน” ของสังคมว่าจะช่วยลดปัญหาความเหลื่อมล้ำเชิงโครงสร้าง และแก้ปัญหาสังคมได้ดีกว่าการเข้าไปเกี่ยวพันกับความขัดแย้งทางการเมืองที่ สับสนอลหม่าน

บทความฉบับนี้ไม่ได้ต้องการถกเถียงว่าเอ็นจีโอนั้นดี หรือไม่ แต่มุ่งพิจารณาถึงความอันตรายที่เอ็นจีโอกำลังใช้อำนาจผ่านการอ้างความเป็น คนดีของตนเองเพื่อผลิตซ้ำลำดับชนชั้นทางสังคม ที่กดให้ประชาชนบางกลุ่มจำต้องสยบยอมอยู่ภายใต้การเป็นตัวแทนของตนเอง และเบียดขับประชาชนอีกบางกลุ่มที่ไม่สยบยอมให้หลุดออกไปจากขอบเขตการเป็น พลเมืองดี หรือแม้แต่ถูกละเมิดสิทธิพื้นฐานของการเป็นพลเมืองสามัญ

การ ผลิตซ้ำลำดับชนชั้นทางสังคม ทำให้เอ็นจีโอไม่แตกต่างไปจากกลุ่มชนชั้นนำอนุรักษ์นิยมที่พยายามทำเช่นนั้น มาโดยตลอด เพื่อให้ประชาชนเป็นพลเมืองเชื่องๆ ที่ไม่กระด้างกระเดื่องต่อผู้ปกครองและชนชั้นนำ การกระทำดังกล่าวทำให้ประชาธิปไตยไทยไม่เท่ากับความเสมอภาคและเท่าเทียมของ ประชาชนได้อย่างแท้จริง

อัจฉรากล่าวด้วยว่า บทความชิ้นนี้เสนอว่า ทางเลือกของเอ็นจีโอผู้นิ่งเฉยต่อการบาดเจ็บล้มตายของคนเสื้อแดง ที่อ้างว่าเป็นทางเลือกใหม่เพื่อข้ามพ้นความขัดแย้งทางสังคมในปัจจุบันนั้น ทำให้เอ็นจีโอกลายเป็นจักรกลต่อต้านการเมือง ที่ทำหน้าที่ช่วยรัฐลดทอนความเป็นการเมืองของความขัดแย้งในสังคม ให้กลายเป็นเพียงเรื่องทางเทคนิค ซึ่งต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญที่ถูกฝึกฝนมาอย่างดีในการจัดการแก้ไขและเอ็นจีโอ จำนวนหนึ่งก็สวมบทบาทเป็นผู้เชี่ยวชาญในการจัดการความขัดแย้งนั้นเสียเอง โดยการอ้างความดีงาม และความตั้งใจดีของตนเอง แต่มองข้ามว่าการกระทำของตนเองแท้ที่จริงก็เป็นส่วนหนึ่งของการเมืองด้วย เช่นกัน

บทความยังเสนออีกว่าจินตนาการว่าด้วยทางเลือกที่ 3 นี้ไม่ใช่ทางเลือกใหม่ แต่มันคือมรดกทางความคิดในการทำงานของเอ็นจีโอไทยซึ่งตกทอดมานานกว่า 3 ทศวรรษ ยิ่งไปกว่านั้นจินตนาการดังกล่าวนี้ไม่อาจช่วยให้เราไปพ้นจากปัญหาความขัด แย้ง หากมันเป็นเพียงการเดินคร่อมวิกฤติปัญหาที่มีอยู่ ซึ่งในที่สุดมันก็กลายเป็นกับดักที่ทั้งตอกย้ำปัญหาเดิมๆ และสร้างปัญหาใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นตามมาอีกมากมาย

“เขาบอกว่าพวกเราจะ กลายเป็นอิฐก้อนแรกที่ใช้ปาหัวอดีตเพื่อนๆ แล้วเราวิจารณ์ว่าการวิจารณ์เหล่านี้มีปัญหา ซึ่งการวิจารณ์นี้ดิฉันไม่ได้มีความแค้นส่วนตัวแต่อย่างใด” อัจฉรากล่าว

อัจฉรา กล่าวต่อว่า ผู้ปฏิบัติงานเอ็นจีโอจำนวนมากอธิบายว่าตนเองเป็นนักปฏิบัติซึ่งคลุกคลีอยู่ กับปัญหาและสถานการณ์จริง และบ่อยครั้งที่แสดงความไม่พอใจที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผู้วิจารณ์เป็นหรือเคยเป็น ผู้ร่วมขบวนการเดียวกัน ด้วยเห็นว่าการวิพากษ์วิจารณ์จะเป็นการลดทอนความน่าเชื่อถือที่สังคมมีต่อ สถานภาพและขบวนการเอ็นจีโอ ขณะที่มีผู้ปฏิบัติงานเอ็นจีโออีกเป็นจำนวนไม่น้อยเช่นกันที่ปรามาสข้อ วิพากษ์วิจารณ์ และนักวิจารณ์ว่าเป็นพวกที่ดีแต่พูด แต่ไม่รู้จักทำอะไร ข้อกล่าวหาดังกล่าวนี้เป็นตัวอย่างหนึ่งของวิธีคิดที่เปรียบเทียบและให้คุณ ค่าให้กับสิ่งที่ตนทำว่าดีกว่า สำคัญกว่า หรืออยู่เหนือกว่า เพื่อลดทอนคุณค่าของการเคลื่อนไหวทางสังคมในรูปแบบอื่นๆ ว่าเป็นสิ่งที่ไร้คุณค่าด้วยเช่นกัน

“ผู้เขียนไม่มีข้อโต้แย้งต่อข้อ กล่าวหานั้น ทั้งยังไม่อาจกล่าวอ้างว่าบทความฉบับนี้เป็นสิ่งมีคุณค่า และยิ่งไม่อาจหวังว่าบทความนี้จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใดในแวดวงเอ็นจี โอ นอกเสียจากว่ามันอาจมีส่วนช่วยกระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนถกเถียงในบรรดา นักกิจกรรมทางสังคม” อัจฉรากล่าว

“‘ภาคประชาชน’ กับก้าวที่ไม่ทันความเปลี่ยนไปของสังคมชนบท”
พฤกษ์ เถาถวิล อาจารย์คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กล่าวในหัวข้อ “‘ภาคประชาชน’ กับก้าวที่ไม่ทันความเปลี่ยนไปของสังคมชนบท” ว่า ในช่วง 3-4 ทศวรรษที่ผ่านมา มีการเปลี่ยนแปลงในชนบทอย่างมหาศาล โดยภาคชนบทไทยกลายเป็นสังคมที่เปิดเชื่อมกับสังคมระดับประเทศและระดับโลก เกิดการเปลี่ยนแปลงต่างๆ มีกลุ่มคนที่แตกต่างหลากหลาย มีความคิดมีอุดมการณ์ มีความคาดหวังที่ตื่นตัวในประเด็นต่างๆ โดยสรุป เราจึงไม่ได้มีชนบทที่ราบเรียบ เรียบง่าย กลมกลืน สมานฉันท์ หรือเป็นลูกไล่อยู่ภายใต้ระบบอุปถัมภ์หรือไร้จิตสำนึกทางการเมืองมานานแล้ว

ทั้ง นี้ พฤกษ์นิยาม "ภาคประชาชน" ว่าคือ มวลชนที่เกิดขึ้นภายใต้การส่งเสริมของเอ็นจีโอ หรือเป็นกลุ่มที่เอ็นจีโอได้เข้าไปทำงานส่งเสริมให้เกิดขึ้นมา ซึ่งเมื่อถึงทศวรรษ 2540 ก็เกิดปรากฎการณ์ที่เข้าร่วมกับภาครัฐด้วยตัวเชื่อมคือองค์กรกึ่งรัฐอย่าง SIF และ พอช. ในปัจจุบัน ผลคือเราได้เห็นเครือข่ายของปัญญาชนและชนชั้นกลาง ที่เรียกว่าตัวเองว่า ภาคประชาชน โดยมีจุดยืนและความคิดการพัฒนาร่วมกัน ซึ่งปัจจุบันถ้าจะมองหาให้ชัด ก็คือผู้ที่อยู่ในคณะกรรมการปฏิรูปและสมัชชาปฏิรูป

พฤกษ์ระบุว่า สาเหตุที่ภาคประชาชนก้าวไม่ทันกับความเปลี่ยนแปลงของสังคมชนบทนั้น หนึ่ง เกิดจากวิธีคิดหรือการทำงานที่ลดทอนความเป็นการเมืองจากการพัฒนา หรือ depoliticsize การพัฒนา คือการที่มองชนบทอย่างหยุดนิ่ง เรียบง่าย สมานฉันท์ ตรงกับที่ คำ ผกา เคยพูดว่าเป็นการ Romanticize ชนบท อีกด้านหนึ่งก็เป็นการมองปัญหาที่ลดทอนความซับซ้อน และคิดแบบขั้วตรงข้าม โยนความผิดให้ทุนนิยมไปหมด ขณะที่ชุมชนที่อยู่อีกด้านก็ดีงามไปหมด หรือที่ คำ ผกา เรียกว่า Dramatize ทุนนิยม ขณะเดียวกันก็คือการที่นักพัฒนาติดกับดักการมองการเมืองแบบชั้นกลาง ชั้นสูง มองว่า นักการเมือง การเลือกตั้งเป็นเรื่องน่ารังเกียจ ซึ่งการลดทอนการเมืองจากการพัฒนานี้คือหล่มที่ทำให้ภาคประชาชนติดแหงกและ ก้าวไม่ทันการเปลี่ยนแปลง และสาเหตุที่สอง คือวาทกรรมการพัฒนาภาคประชาชน ซึ่งพบว่ามีขบวนการผลิตความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาอย่างคึกคัก โดยมีตัวจักรที่สำคัญคือมหาวิทยาลัย ซึ่งมีหลักสูตรในการพัฒนาต่างๆ จนเกือบเป็นอุตสาหกรรมของการผลิตความรู้ว่าด้วยการพัฒนาภาคประชาชน

พฤกษ์ เล่าถึงประสบการณ์ร่วมในเวทีสัมมนาทางวิชาการที่ จ.ขอนแก่น โดยที่หน้างานจะพบหนังสือที่ตีพิมพ์จากงานวิจัย ดูหน้าปกจะพบเรื่องศักยภาพชุมชน การจัดการทรัพยากร เวทีเริ่มด้วยผู้ปาฐกถา นักพัฒนาอาวุโส ปัญญาชน อาจารย์ดอกเตอร์ที่มีชื่อเสียงที่สอนเรื่องการพัฒนา และมีการคุยประชุมกลุ่มย่อยในประเด็นสิทธิชุมชน ชุมชนเข้มแข็ง ธรรมาภิบาลกันทั้งวัน ขณะที่ถัดจากตรงนั้นไม่ถึง 4 กม. คือศาลากลางที่ถูกเผา จังหวัดนั้นอยู่ภายใต้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และมีผู้ต้องหาจำนวนหนึ่งในเรือนจำ ทั้งนี้ เขาอยากชี้ให้เห็นถึงสภาวะเกือบจะเป็นอุตสาหกรรมของแวดวงนี้ และความ absurd ของวงวิชาการที่พูดเรื่องการพัฒนาในขณะนั้น ซึ่งตัวเองก็เป็นหนึ่งในวิทยากรเหล่านั้นด้วย

ด้านเนื้อหาความรู้ พบว่างานเหล่านี้พูดถึงศักยภาพของชุมชนซึ่งเคยมีมาก่อนหรืออาจจะสร้างขึ้น ใหม่ อาจกล่าวถึงความขัดแย้งที่มาจากรัฐและทุนอยู่บ้าง แต่จะจบลงที่สิทธิชุมชน ธรรมาภิบาล ฯลฯ เขาย้ำว่า ไม่ได้กำลังพูดแบบเหมารวมและลดทอนความซับซ้อน ทั้งตระหนักว่ามีงานแบบนี้ไม่น้อยที่มีลักษณะวิพากษ์วิจารณ์ ริเริ่ม สร้างสรรค์และมีคุณภาพสูง แต่เขาต้องการพูดถึงงานสำเร็จรูปที่ว่าตามๆ กันในลักษณะสัจธรรมที่ไม่ต้องการพิสูจน์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถูกผลิตซ้ำจำนวนมากในเวที สิ่งพิมพ์และวงการพัฒนา

ใน ส่วนของผู้รู้หรือผู้เชี่ยวชาญ มีลักษณะเป็นแวดวงของชนชั้นนำในวงการพัฒนา โดยรวมศูนย์ที่นายแพทย์ท่านหนึ่ง ล้อมรอบด้วยลูกศิษย์มิตรสหาย มีอันดับลงมา ชนชั้นนำเหล่านี้มีหน้าที่ออกมาชี้นำทางสว่างเมื่อบ้านเมืองเกิดวิกฤตหรือมี การปฏิรูปสังคม โดยหากพิจารณาเนื้อสารหรือคำแนะนำของพวกเขาจะพบว่า ถ้าตั้งใจฟังดีๆ จะงง เพราะเต็มไปด้วยโวหารที่เอามาต่อๆ กันเข้าแล้วเสริมความขรึมขลังด้วยธรรมะ ผสมด้วยอุดมการณ์หลักของประเทศ ซึ่งนี่ไม่เป็นปัญหาเพราะมีคนคอยเชื่อและพร้อมนำไปเผยแพร่ต่อเป็นลำดับ

พฤกษ์ เน้นถึงนัยสำคัญของชนชั้นนำกลุ่มนี้ว่า มีลักษณะระบบพวกพ้องอย่างมาก ด้านหนึ่งอุ้มชูพวกเดียวกัน และมีธรรมเนียมไม่วิพากษ์วิจารณ์กันเอง โดยในระยะหลัง มีจัดการพวกที่วิจารณ์รุ่นใหญ่ บอยคอตพวกที่เป็นกบฎ และล่าแม่มดในวงการ ซึ่งผลคือ วงการพัฒนาเป็นวงการที่ไม่ค่อยเติบโตทางปัญญา และนับวันยิ่งทำงานตามประเพณีหนักเข้าอีก ไม่ต่างจากราชการ หากแต่ราชการไม่เคยประกาศว่าตัวเองเป็นกลุ่มก้าวหน้า ขณะที่เอ็นจีโอคิดว่าตัวเองเป็นกลุ่มก้าวหน้าและเสียสละมากกว่าคนอื่นเสมอ

ทั้ง นี้ องค์กรเหล่านี้แสดงตัวผ่านสถาบันให้เงินทุนหรือทุนวิจัย แหล่งที่สำคัญได้แก่ พอช. แหล่งทุนตระกูล ส. และ สกว. บางฝ่าย ในแต่ละปี องค์กรเหล่านี้มีงบประมาณมหาศาล และมีผลต่อการทำกิจกรรมขององค์กรหรือบุคคลอย่างมาก อย่างไรก็ตาม พฤกษ์ระบุว่า เขาไม่ได้จะเสนอถึงขั้นว่าชนชั้นนำเหล่านี้มีอำนาจชี้นำเบ็ดเสร็จเด็ดขาด แต่มองว่ามีลักษณะอิทธิพลกำกับทิศทางการให้ทุนอยู่ ซึ่งอาจกระทำผ่านระบบที่ไม่เป็นทางการ นอกจากนั้นการใช้อำนาจยังอาจมีศิลปะแบบอื่นๆ เช่น การใช้ภาษาในแวดวง การคัดกรองโครงการ การกำกับการตั้งโจทย์วิจัย การตั้งเป้าหมายองค์กร และประเมินโครงการ ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีคุณค่าบางอย่างกำกับเสมอ

สุด ท้าย ในภาคปฎิบัติของวาทกรรม คือ การเกิดสภาพัฒนาการเมืองและสภาองค์กรชุมชน โดยสำหรับสภาองค์กรชุมชนมีการตั้ง 1900 แห่งจากตำบล 7400 แห่ง สภานี้จะเป็นที่รวมของแกนนำชาวบ้าน ภาคราชการ และข้าราชการการเมืองท้องถิ่น โดยมีแนวตรวจสอบและกำกับการมีส่วนร่วม นี่คือภาคปฏิบัติที่ยืนยันถึงความมีอำนาจของวาทกรรมการพัฒนาดังกล่าว

ข้อ สรุป ที่กล่าวมาทั้งหมดขอย้ำว่าไม่ได้ต้องการสรุปอะไรอย่างสุดโต่ง หรือโจมตีการพัฒนาภาคประชาชนว่าไม่มีคุณูปการใดๆ ทั้งนี้ ยอมรับว่าสร้างพื้นที่ทางสังคมและสร้างอำนาจให้ภาคประชาชนอย่างสำคัญ แต่ที่จะวิจารณ์คือไม่รู้ว่าสิ่งที่ได้มาจะคุ้มกับสิ่งที่เสียไปหรือไม่ เพราะทำให้เกิดปัญหาจำนวนหนึ่งขึ้นด้วย โดยการลดทอนความเป็นการเมืองจากการพัฒนาทำให้มองไม่เห็นความขัดแย้งที่กำกับ ความเป็นไปของสังคมและการเมืองไทย มองไม่เห็นคู่ขัดแย้ง การหายไปของการเมืองทำให้การพัฒนากลายเป็นการดึงทุกฝ่ายมาร่วมมือกัน ทั้งที่ไม่ได้มีอำนาจและผลประโยชน์ที่ทัดเทียมกันแต่อย่างใด ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงสังคม เช่น เรื่องการต่อสู้ให้ได้มาซึ่งกฎหมาย สิทธิชุมชน สิทธิแรงงาน ซึ่งเคยมีความแหลมคม ท้าทาย กล้าปะทะอำนาจรัฐได้กลายเป็นกระบวนการรอมชอม หรือกระบวนการล็อบบี้ของนักพัฒนารุ่นใหญ่ที่ได้หลุดเข้าไปอยู่ในแวดวงอำนาจ รัฐ

"วาทกรรมพัฒนาภาคประชาชน ซึ่งควรจะต่อรองต่อสู้กับวาทกรรมภาครัฐ กลับถูกฝ่ายหลังปรับเปลี่ยนดัดแปลงสอดไส้ให้รับใช้อำนาจของชนชั้นปกครอง เราจึงได้ฟังเรื่องสิทธิชุมชน ชุมชนเข้มแข็ง ธรรมาภิบาลแบบสำเร็จรูป ซึ่งไปกันได้ดีกับความคิดจารีตแบบไทยๆ เช่น รู้รักสามัคคี ร่มเย็นเป็นสุข เศรษฐกิจพอเพียง เราจึงได้เห็นแนวคิดสิทธิชุมชนแบบพอเพียง ธรรมภิบาลแบบสนับสนุนรัฐประหาร ร่มเย็นเป็นสุขแบบเชียร์ให้อีกฝ่ายยิงหัวอีกฝ่าย และสิ่งที่ฝังอีกอย่างคือ ทำให้ผู้คนในภาคประชาชนรังเกียจการเมืองในระบบ แต่ก็ละเว้นการวิจารณ์การเล่นการเมืองและความน่ารังเกียจของชนชั้นสูงที่ไม่ เคยลงเลือกตั้ง"

สุดท้าย การปฏิรูปประเทศไทยในเวลานี้คือพัฒนาการขั้นสูงสุดของวาทกรรมภาคประชาชนที่ ได้ดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง นั่นจึงไม่น่าประหลาดใจที่การปฏิรูปการเมืองอย่างนี้จะเกิดขึ้น โดยไม่ตะขิดตะขวงกับการตายของ 91 ศพ เพราะพวกเขาคิดมานานแล้วว่าคนเหล่านี้ฝักใฝ่การเมืองแบบสกปรก

เขา เล่าว่าอาจารย์ท่านหนึ่งเคยกล่าวติดตลกว่า นี่คือยุคทอง เป็นสถานการณ์ในฝันของนักปฏิรูป ที่ดึงคนกลุ่มต่างๆ มานั่งคุยกันได้ เป็นสิ่งที่รอคอยมานานแล้ว สำหรับเขา พฤกษ์มองว่า ทั้งหมดนี้คงต้องเรียกว่าเป็นภาคประชาชนเอียงขวา หรือภาคประชาชนอนุรักษ์นิยม เพราะฉะนั้น ตอนนี้ภาคประชาชนไม่ใช่ก้าวไม่ทันภาคชนบท แต่เป็นปฎิกิริยาที่ขัดขวางการเปลี่ยนแปลงของภาคชนบทเสียเอง

เขาจบ ด้วยเรื่องเล่าที่อาจฟังดูเลือดเย็น โดยเล่าว่า ในการสนทนากับนักพัฒนาอาวุโสท่านหนึ่งในการประชุมที่ขอนแก่น ได้ถามว่า รัฐบาลเกี่ยวข้องกับการตายของคน 91 คน ยังคิดว่าจะร่วมปฏิรูปอีกหรือ และได้คำตอบว่า "ไม่เป็นไรไอ้น้อง รัฐบาลไหนก็เลวพอกัน แต่รัฐบาลนี้ให้อะไรกับชาวบ้านมากพอสมควร ตอนนี้เป็นโอกาสของเรา" ซึ่งเมื่อเขาได้ฟังอย่างนี้แล้ว เขาก็ไม่รู้ว่าใครเลวกว่ากัน

‘ภาคประชาชน’ กับท่าทีต่อการเมืองในระบบรัฐสภา
ดร.เก่ง กิจ กิติเรียงลาภ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวถึงข้อเสนอที่สำคัญว่า ข้อเสนอแรกซึ่งมีงานวิจัยสนับสนุนคือทุกวันนี้ขบวนการภาคประชาชน (Social movement) นั้นเป็นคนละเรื่องกับประชาธิปไตย และการพัฒนาประชาธิปไตยไม่เกี่ยวอะไรเลยกับการที่มีภาคประชาชน ไม่ได้เป็นตัวแปรที่แปรผันตามกันโดยอัตโนมัติ สิ่งที่เห็นคือสามารถมีภาคประชาชนที่อนุรักษ์นิยมและสนับสนุนการฆ่าประชาชน ได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ การเมืองไทยในยุค 20 ปีที่ผ่านมา ข้อเสนอคือการเมืองภาคประชาชนทุกวันนี้ไม่มีทฤษฎีรัฐ ไม่มีทฤษฎีในการเข้าใจลักษณะของสังคมไทยซึ่งตรงนี้ถือเป็นปัญหาใหญ่ที่สุด

เก่ง กิจ กล่าวต่อมาว่าหากมองจากงานเขียนหรือการโต้เถียงในแวดวงฝ่ายซ้าย (เรียกว่าภาคประชาชนหลังปี 2530) ในยุค 2520 สิ่งที่ฝ่ายซ้ายถกเถียงกัน คือ สังคมไทยมีลักษณะอย่างไร วิถีการผลิต (mode of production) ของสังคมไทยเป็นอย่างไร อยู่ในยุคทุนนิยม หรือศักดินา หรือกึ่งเมืองขึ้น กึ่งศักดินา หรือทุนนิยมด้อยพัฒนา มีการถกเถียงกันว่าสถาบันกษัตริย์อยู่ตรงไหนของความสัมพันธ์ทางการผลิตชุด นี้ ตกลงกองทัพขัดแย้งกับสถาบันกษัตริย์หรือไม่ ขบวนการแรงงานอยู่ตรงไหน ทุนมีกี่กลุ่ม เหล่านี้คือข้อถกเถียงในยุคทศวรรษ 20 (2520) ซึ่งอยู่ภายใต้ความคิดแบบมาร์กซิสม์อันเป็นแนวคิดที่ต้องการการปฏิวัติ

“การ วิเคราะห์สังคมในยุคนั้นมีเป้าหมายเพื่อหาจุดเปราะบางของโครงสร้าง ทางการเมืองและธุรกิจ เพื่อที่จะปฏิบัติการทางการเมืองไปที่จุดนั้น เพื่อการปฏิวัติทางสังคมไปสู่สังคมนิยมหรือความเป็นประชาธิปไตยที่ก้าวหน้า กว่าที่เป็นอยู่ นี้คือลักษณะสำคัญที่สุดของฝ่ายซ้ายในยุคทศวรรษ 2520” เก่งกิจกล่าว

เขาอธิบายเพิ่มเติมว่า ในส่วนความเข้าใจเรื่องรัฐในช่วงทศวรรษ 2520 มาจากงานของ 2 กลุ่ม คือมาจากพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย และมาจากแวดวงปัญญาชนซึ่งมีทั้งส่วนที่เคยอยู่ในพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศ ไทยและไม่เคยอยู่ แต่โตมาภายใต้แนวคิดแบบมาร์กซิสม์ และได้รับอิทธิพลจากมาร์กซิสม์ตะวันตก

ในปี 2528 มีข้อถกเถียงระหว่างเกษียร เตชะพีระ กับพิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ ในวารสารเศรษฐศาสตร์การเมือง ว่ารัฐมีหน้าตาอย่างไร สถาบันกษัตริย์ สถาบันอนุรักษ์นิยมอยู่ตรงไหนของโครงสร้างอำนาจรัฐ อุดมการณ์หลักของสังคมไทยคืออะไร ตอนนี้เราเป็นทุนนิยมที่มีความขัดแย้งเรื่องอะไร ชนชั้นปกครองเป็นอย่างไร กองทัพเป็นอย่างไร ขบวนการปฏิวัติมีหน้าตาเป็นอย่างไร แต่หลังจากนั้นแทบไม่เห็นงานที่มีการถกเถียงกันในลักษณะนี้อีกแล้ว เพราะฉะนั้นคิดว่างานชิ้นท้ายๆ ที่ถกเถียงกันเรื่องลักษณะของสังคมไทยเรื่องรัฐเพื่อกำหนดยุทธศาสตร์การ ปฏิวัติน่าจะจบลงที่งานถกเถียงชิ้นนี้

เก่งกิจกล่าวด้วยว่าหากดูข้อ เสนอของพิชิต ในปี 2534 หลังจากการรัฐประหารของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) พิชิตมีงานเขียนชื่อว่า “รัฐ: สิ่งปฏิกูลทางประวัติศาสตร์” ชิ้นที่ 3 แต่งานชิ้นนั้นไม่ได้รับความสนใจ หรือนำมาถกเถียงเพื่อกำหนดยุทธศาสตร์การปฏิวัติของขบวนการ คือไม่มีที่ทางของการโต้แย้งหรือนำมาวิเคราะห์สังคมไทย

สำหรับการถก เถียงเรื่องวิถีการผลิตนั้นสิ้นสุดในปี 2520 โดยมีงานของคน 3 กลุ่มที่พยายามจะโต้แย้งพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยที่วิเคราะห์ว่าประเทศ ไทยเป็นกึ่งเมืองขึ้นกึ่งศักดินา งานชิ้นแรก คือของทรงชัย ณ ยะลา ปี 2524 ซึ่งเสนอว่าประเทศไทยไม่ใช่กึ่งเมืองขึ้นกึ่งศักดินา แต่เป็นทุนนิยมล้าหลัง ด้อยพัฒนา กลุ่มที่ 2 คือกลุ่มขบวนการนักศึกษา หรือกลุ่มนักศึกษาที่เข้าไปอยู่กับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย และเริ่มทยอยออกจากพรรคฯ ในช่วงที่พรรคฯ กำลังจะล่มสลาย ในงานของธิกานต์ ศรีนารา

กลุ่มที่ 3 คือภายในพรรคคอมมิวนิสต์เอง คือบทบาทของระดับนำในพรรคฯ คือวิรัช อังคถาวร ซึ่งเขียนงานชิ้นนี้ในปี 2525 โดยเสนอว่าสังคมไทยไม่น่าจะใช่กึ่งเมืองขึ้นกึ่งศักดินาอีกแล้ว แต่ก็ไม่ชัดเจนว่าสังคมไทยเป็นวิถีการผลิตแบบไหน หากดูบรรยากาศของการคุยกันว่าลักษณะของสังคมไทยเป็นอย่างไร เจ้าอยู่ตรงไหน กองทัพอยู่ตรงไหน ทุนอยู่ตรงไหน ทุนมีกี่กลุ่ม สังคมชนบทเป็นอย่างไร สังคมในเมืองเป็นออย่างไร ความสัมพันธ์ทางการผลิตเป็นอย่างไร พลังทางการผลิตเป็นอย่างไร ซึ่งคิดว่าการถกเถียงเรื่องนี้สิ้นสุดลงไปในปี 2525

“ผมคิดว่านี่คือหัวใจของยุคสมัย เพราะว่าการศึกษาทั้งหมดเป็นไปเพื่อกำหนดยุทธศาสตร์การปฏิวัติ และหลังจากปี 2525-2528 เป็นต้นมา เราไม่เคยพูดถึงเรื่องการปฏิวัติ จนกระทั้งมีขบวนการเสื้อแดงในปัจจุบัน ซึ่งหลายๆ คนก็กำลังจะบอกว่าเรากำลังจะปฏิวัติสังคม โค่นล้มศักดินา ซึ่งผมก็ไม่รู้ว่ามีอยู่จริงหรือเปล่า อันนี้ก็ต้องรอการศึกษา” เก่งกิจกล่าว

เก่งกิจกล่าวต่อมาว่า ยุคหลังจากนั้นในช่วง 2530-2540 การศึกษาเรื่องรัฐแทบจะไม่มีที่ทางในการเมืองภาคประชาชนและวงการของปัญญาชน ภาคประชาชน แนวคิดในเรื่องนี้การศึกษาเรื่องรัฐอยู่ในกลุ่มคนจำนวนหนึ่ง คือนักวิชาการ เช่น ชัยอนันต์ สมุทรวานิช เขียนตำราเรื่องรัฐ (2530) และหนังสือ 100 ปีปฏิรูประบบราชการ (2538) ไชยรัตน์ เจริญศิลป์โอฬาร เขียนวิจารณ์ชัยอนันต์ สมุทรวานิช (2531) ทั้งหมดไม่ได้อยู่ในแวดวงของนักเคลื่อนไหว ภาคประชาชน

ทั้งนี้ งานชิ้นสำคัญอีกชิ้นหนึ่ง คือ การวิเคราะห์รัฐ ของอเนก เหล่าธรรมทัศน์ ซึ่งถือเป็นรากฐานของการเมืองภาคประชาชนในยุคที่ผ่านมา โดยอเนก เหล่าธรรมทัศน์ มีอิทธิพลทางความคิดหลังปี 2535 ได้เสนอ “ทฤษฏีประชาสังคม” ว่า ประชาสังคมเป็นพื้นที่ที่อยู่นอกภาครัฐ แต่ไม่เคยบอกว่ารัฐคืออะไร และไม่บอกว่าสถาบันกษัตริย์ กองทัพอยู่ตรงไหนในรัฐ บอกเพียงแต่ว่าประชาสังคมคือองค์กรนอกภาครัฐที่ทำหน้าที่ดูแลตนเอง ไม่พึ่งพารัฐ อยู่ภายใต้การเมืองแบบปกติ ซึ่งการพัฒนาประชาธิปไตยภายใต้แนวความคิดเช่นนี้คือการเพิ่มอำนาจหรือเพิ่ม พื้นที่ ที่เรียกว่าประชาสังคม ชุมชน ชาวบ้าน การเมืองบนท้องถนน ซึ่งคิดว่ามีรากเหง้าทางความคิดอันเดียวกันคือไม่รู้ว่ารัฐคืออะไร ไม่มีทฤษฏีรัฐ และพูดเสมือนว่าประชาสังคม ชุมชน หรือการเมืองบนท้องถนนเป็นสิ่งดีงาม สวยงาม เท่ากับประชาธิปไตย ซึ่งวันนี้ก็รู้แล้วว่ามันไม่เท่ากับประชาธิปไตย

ที่สำคัญ มีเอ็นจีโอจำนวนหนึ่งเสนอว่า ประชาสังคม ผู้นำของประชาสังคมควรจะเป็นสถาบันพระมหากษัตริย์ เช่น นพ.ประเวศ วะสี, นพ.พลเดช ปิ่นประทีป ที่เสนอว่าพระมหากษัตริย์คือศูนย์กลาง สุดยอดของพลังประชาสังคมไทยที่จะต่อกรกับพลังอำนาจรัฐ ตรรกะนี้ทำให้เห็นว่าพระมหากษัตริย์กลับมาอยู่ตรงข้ามกับอำนาจรัฐและมาอยู่ ฝ่ายเดียวกับภาคประชาชน และภาคประชาสังคม ซึ่งจะเห็นอิทธิพลความคิดอย่างนี้เรื่อยมา อยู่จนมาถึงการรัฐประหาร 19 กันยา 2549

“เมื่อดูการปฏิรูปการเมืองในปี 2535 ถึงรัฐธรรมนูญ 2540 วาทกรรมเกี่ยวกับเรื่องประชาธิปไตยทางตรง ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม การเมืองแบบรากหญ้า กลายเป็นอุดมการณ์สำคัญของการเมืองภาคประชาชนซึ่งล้วนแล้วแต่รังเกียจการ เมืองในระบบ การเมืองแบบรัฐสภา และไม่เคยวิพากษ์วิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์และกองทัพ” เก่งกิจกล่าว

เขา ยกตัวอย่าง ศ.ดร. ผาสุก พงษ์ไพจิตร ซึ่งกล่าวในช่วงเช้า โดยระบุว่าไม่มีช่วงไหนเลยที่พูดถึงบทบาทของกองทัพและบทบาทของสถาบันพระมหา กษัตริย์ ในขณะที่พูดถึงประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน นี่คือจิตสำนึกของยุคสมัยที่ไม่มีทฤษฏีเรื่องรัฐ และไม่เข้าใจว่ามีความขัดแย้งอะไรจริงๆ ในสังคมไทยเพิ่งจะมีการพูดถึงเรื่องสถาบันกษัตริย์เมื่อหลังปี 2549 และทุกคนก็ตื่นตัวที่จะพูดเรื่องนี้ แต่ในเหตุการณ์ก่อนหน้านี้เมื่อปี 2524 (กบฏยังเติร์ก หรือ กบฏเมษาฮาวาย), 2534 (รัฐประหาร รสช.), 2535 (พฤษภาทมิฬ) ไม่มีการวิเคราะห์อย่างเป็นระบบเลยโดยนักวิชาการฝ่ายภาคประชาชนและฝ่ายก้าว หน้าในประเทศไทย

เก่งกิจกล่าววิจารณ์ต่อมาถึง ผศ.ดร.ประภาส ปิ่นตบแต่ง ซึ่งถือเป็นผู้บุกเบิกทฤษฏี Social Movement คนสำคัญในประเทศไทย โดยระบุว่างานศึกษาของประภาส รวมถึงงานของผาสุก และลูกศิษย์ที่ทำเรื่องทฤษฏี Social Movement ในประเทศไทย ไม่มีส่วนไหนเลยที่วิเคราะห์ว่ารัฐคืออะไร ไม่มีระบุว่าสถาบันกษัตริย์อยู่ตรงไหน สิ่งที่งานแนวนี้โจมตีมากที่สุดคือ 1.ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา หรือการเมืองแบบตัวแทน 2.แนวทางการพัฒนาแบบอุตสาหกรรม และต้องการจะกลับไปสู่การปกป้องวิถีชุมชน ซึ่งคิดว่าอยู่ในรากเหง้าอันเดียวกับวิธีคิดแบบชุมชนนิยม

ย้อนกลับไป ดูยุคสมัย 2520 ฝ่ายซ้ายกำหนดยุทธศาสตร์การต่อสู้โดยเริ่มต้นจากการวิเคราะห์ลักษณะสังคม ดุลอำนาจทางชนชั้น รัฐ วิถีการผลิต แล้วค่อยกำหนดว่าจะสู้อย่างไร ฝ่ายภาคประชาชนในทศวรรษ 2530-2540 ไม่เริ่มต้นที่การวิเคราะห์สังคมไทยเพราะไม่มีทฤษฏีที่จะวิเคราะห์สังคมไทย หันมาวิเคราะห์ที่ตัวขบวนการหรือ Social Movement ด้วยตัวของมันเอง กำหนดว่าขบวนการแต่ละขบวนการต้องการอะไร แล้วจึงกำหนดยุทธศาสตร์ยุทธวิธีของการต่อสู้

“เอาเข้าจริงแนวคิด Social Movement ทั้งหลายของอาจารย์ประภาสไม่มีที่ทางแก่การนำเสนอในทางยุทธศาสตร์ แต่เน้นในเชิงยุทธวิธี การล็อบบี้ การทำแนวร่วมกับชนชั้นกลางซึ่งความจริงแล้วไม่รู้ว่าควรต้องทำแนวร่วมกับชน ชั้นกลางหรือเปล่าเมื่อชนชั้นล่างมีกว่า 40 ล้านคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งทุกวันนี้เราทำแนวร่วมกับสังคมอนุรักษ์นิยม จารีตนิยม และกองทัพ ซึ่งก็ไม่รู้ว่าภาคประชาชนเอาทฤษฏีอะไรมาวิเคราะห์ว่าต้องทำแนวร่วมกับกลุ่ม เหล่านี้” เก่งกิจกล่าว

เก่งกิจกล่าวในตอนท้ายว่า โดยสรุป ปัญหาใหญ่ของขบวนการภาคประชาชนคือไม่มีทฤษฎีรัฐและการวิเคราะห์ลักษณะสังคม ไทย แต่เป็นการเคลื่อนไหวต่อสู้ภายใต้ลักษณะแบบปฏิบัตินิยมคือทำรายวัน สู้รายวัน พูดง่ายๆ ว่าตอนนี้เราไม่มีองค์ความรู้อะไรเลยว่าสังคมไทยตอนนี้หน้าตาเป็นอย่างไร เมื่อไม่มีความรู้เหล่านี้ก็เคลื่อนไหวตามพวกอำมาตย์ไม่ทัน ดังนั้นจึงอยากชักชวนสังคมไทย โดยเฉพาะแวดวงของเรากลับมาสู่การถกเถียงกันว่าสังคมไทยหน้าตาเป็นอย่างไร สถาบันกษัตริย์อยู่ตรงไหน กองทัพอยู่ตรงไหน ทุนอยู่ตรงไหน มีกี่กลุ่ม วิถีการผลิตเป็นอย่างไร

หมายเหตุ: ติดตามความเห็นต่อบทความทั้งสามโดย อ.ดร. ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรีและ อ.ดร. นฤมล ทับจุมพล เร็วๆ นี้

ดาวโหลดบทความเสนอในงานเสวนาทางวิชาการ

“ทบทวนขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมในประเทศไทย”

“‘ภาคประชาสังคม’ ‘ภาคประชาชน’ กับกับดักจินตนาการ ‘ไม่เลือกเพื่อสร้างทางเลือก’”
โดย อ.ดร. อัจฉรา รักยุติธรรม (คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร)
http://www.mediafire.com/?943i4m7c8hvzs9m

“‘ภาคประชาชน’ กับก้าวที่ไม่ทันความเปลี่ยนไปของสังคมชนบท”
โดย อ.พฤกษ์ เถาถวิล (คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี)
http://www.mediafire.com/?5ip3nvv362682e6

“‘ภาคประชาชน’ กับท่าทีต่อการเมืองในระบบรัฐสภา”
โดย อ.ดร.เก่งกิจ กิติเรียงลาภ (คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)
http://www.mediafire.com/?f2nw5o354890prc