ที่มา ประชาไท
นัก ปรัชญาเมธีชาวกรีกโบราณ ที่สำคัญสามคน อันได้แก่ โสเครติส เพลโต อริสโตเติล เหล่าผู้รักในความรู้เหล่านี้พยายามแสวงหาความจริงอันเป็นนิรันดร์ ว่าการเมืองการปกครองแบบใดกันแน่ที่เหมาะสมกับมนุษย์ เหล่าอาจารย์ศิษย์เหล่านี้พยายามค้นหา แต่ก็มีข้อสรุปที่ต่างกัน การพยายามหาข้อสรุปในเรื่องการเมืองการปกครองที่ดีที่สุดสำหรับมนุษย์ ยังคงมีอยู่เรื่อยมา
มีบ้างที่ได้ข้อสรุปอย่างเพ้อฝัน เลื่อนลอย การปกครองในอุดมคติที่เรียกว่า ราชาปราชญ์ (Philosopher King) ที่เพลโตสรุปได้ในท้ายที่สุด ช่างเป็นการปกครองในฝันเสียนี่กระไร เพลโตเชื่อว่ารัฐที่ดีที่สุดคือรัฐที่มีความยุติธรรมเป็นหัวใจหลักของรัฐ นั่นคือ คนในรัฐทุกคนทำหน้าที่ตามที่ของตน โดยไม่ก้าวก่ายหน้าที่ซึ่งกันและกันเพลโตกำหนดให้ราชาปราชญ์ (Philosopher King) ผู้ที่ทรงปัญญา รู้ซึ้งถึงความจริงเป็นผู้ปกครองรัฐ เพราะเพลโตเห็นว่าการเมืองเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง
ดังนั้นผู้ที่จะรู้ ซึ้งและเข้าถึงศิลปะแห่งการเมืองได้นั้น จะต้องเป็นผู้ที่มีความรอบรู้อย่างดีเลิศ และในการปกครองนั้นจะต้องใช้ความรู้ในหลักการปกครองด้วย ซึ่งผู้ทรงปัญญาก็สามารถที่จะเรียนรู้ได้โดยใช้เหตุผลเพลโตมีความเชื่อมั่น ในตัวของนักปรัชญามาก เพราะเขาเห็นว่านักปรัชญาคือผู้ที่กระหายที่จะได้มาซึ่งความรู้อย่างไม่มี วันจบสิ้น จึงทำให้เขาเห็นว่านักปรัชญาเท่านั้นที่จะมีความรู้ความสามารถเพียงพอที่จะ เป็นผู้ปกครองและนำความยุติธรรมมาสู่รัฐได้
รัฐในอุดมคติอาจจะปกครอง ในระบบราชาธิปไตย หรืออภิชณาธิไตยก็ได้ ขึ้นอยู่กับจำนวนของผู้ปกครอง ถ้าปกครองโดยราชาปราชญ์เพียงองค์เดียวก็เป็นราชาธิปไตย แต่ถ้าปกครองโดยคณะราชาปราชญ์ก็จะกลายเป็นอภิชนาธิปไตย รัฐในอุดมคติตามจุดประสงค์ที่แท้จริงของเพลโตนั้น เขาต้องการให้อำนาจในการปกครองขึ้นอยู่กับคณะหรือกลุ่มบุคคลจำนวนพอสมควร มากกว่าที่จะขึ้นอยู่กับคนเพียงคนเดียวหรือสองสามคน เพราะเพลโตเห็นว่า การปกครองโดยคนๆเดียวหรือสองสามคน อาจจะร่วมกันใช้อำนาจไปในทางที่ไม่สุจริต กดขี่ประชาชนและแสวงหาประโยชน์เข้าตัวเองได้
ผู้เขียนเคยเชื่อว่า การปกครองแบบนี้ดีที่สุด แต่เราจะหา ราชาปราชญ์ ที่แสนดี เก่งกาจ ฉลาดเฉลียว ได้ที่ไหนในปัจจุบันและเราจะทราบได้อย่างไรว่าคนดีผู้ฉลาดดั่งปราชญ์ผู้นี้ จะทำเพื่อประชาชนและทำให้ประชาชนมีความสุขได้จริงๆ แค่คุณสมบัติที่ว่าคนดีนั้น ก็ต้องมานั่งตีความเรื่องความดีว่ามันดียังไง ดีจริงรึป่าว ประชาธิปไตยจึงเป็นการตอบคำถามเหล่าประชาชน ว่าเมื่อในรัฐประชาชน เป็นผู้อยู่อาศัย เป็นเจ้าของด้วยการเสียภาษีร่วมกัน การจะให้ใครมาปกครองพวกเค้าต้องผ่านความเห็นชอบจากประชาชนเสียก่อน เพราะประชาชนเท่านั้นที่จะรู้ได้ดีว่า ผู้นำผู้ปกครองคนไหนทำให้ประชาชนมีความสุข อย่างน้อยก็สุขที่จะได้เลือกด้วยตัวเองไม่ใช่ให้ใครก็ไม่รู้สถาปนาอำนาจ เหนือประชาชน แล้วยัดเยียดคนที่บอกว่าเป็นคนดี แล้วบอกให้เอาคนดีที่เค้าเลือกให้มาปกครองบ้านเมือง
แล้วบอกว่าไอ้คน ที่ประชาชนรากหญ้ารากเน่าเลือกนั้นมันไม่ดี มันเลวอย่าไปเลือกมัน ทำไมต้องมายัดเยียดความคิดให้ประชาชน ทำไม ต้องเอากรงขังเรื่องดีเลว มากักขังเสรีภาพทางความคิดของประชาชน เมื่อบ้านนี้เมืองนี้ได้ตกลงกัน จะปกครองโดยเคารพเสียง และยกอำนาจสูงสุดให้กับประชาชน ทำไมต้องครอบงำดูถูกประชาชนด้วย เสียงส่วนใหญ่จะด้อยคุณภาพ หรือ จะทรงคุณภาพ ไม่ได้สำคัญ วาทกรรม ดูถูกสติปัญญา ชาวบ้านพรั่งพรูออกมาหลังทราบผลคะแนนเลือกตั้งมากมาย ไม่รู้ว่าประเทศนี้คนมันโง่ลง หรือจิตใจความเป็นประชาธิปไตยมันเสื่อมถอยลงกันแน่ (จริงอยากใช้คำว่าจิตใจมนุษย์ด้วยซ้ำ) แนวคิดประเภทใครไม่จบ ปริญญาตรีห้ามเลือกตั้ง รายได้ต่ำกว่าเท่านี้ห้ามเลือกตั้ง คนภาคนั้นภาคนี้โง่ มันออกมาจากปากผู้มีการศึกษาได้อย่างไร
ถ้าจะ อธิบายให้โรแมนติก คงต้องอธิบายว่า เมื่อ อคติ และ โทสะ ฝังลงในความคิดทางการเมืองของคน เค้าก็จะไม่เลือกมองเหตุผลใดๆทั้งนั้น มองการเมืองแบบพระแอก แบบผู้ร้าย เมื่อพระเอกหนุ่มหล่อถูกรังแก คนเหล่านี้ไม่สนว่าไอ้พระเอกคนนี้จะเลวทราม ระยำแค่ไหน เพราะคนเหล่านี้เกลียดพวกผู้ร้ายในสายตาเข้า พระเอกหนุ่มหล่อลากไส้จะลากปืนมายิงผู้ร้าย ตายกลางเมืองก็ได้ จะโกหกตอแหลอะไร คนเหล่านี้ก็พร้อมเชื่อ แต่เมื่อผู้ร้ายในสายตาเขาเกิดเป็นฝ่ายชนะ (ตามกติกา) เขาก็จะออกมาดราม่าว่า ไอ้พวกที่เลือกมันโง่ เห็นแก่เงิน โดยล่ะสายตาและสมองเพื่อตรองถึงเหตุผลว่าทำไมคนไม่เลือกพระเอกรูปหล่อคนนั้น
ประชาชน คงต้องสู้กันอีกหลายยก เพราะเป็นธรรมดาที่ฝ่ายมีอำนาจนำประเทศก็ยังคงหวงอำนาจเค้าอย่างเหนียวแน่น ชัยชนะในการเลือกตั้งนี้เป็นเพียงเบื้องต้นที่ไม่ยั่งยืน ตราบใดที่ ความหมายคำว่าประชาธิปไตยคนไทยยังเข้าใจไม่เหมือนกัน การต่อสู้ยังคงมีต่อไป แต่ถ้าการต่อสู้เป็นไปโดยกติกาที่รับฟังเสียงประชาชนส่วนใหญ่แล้วจบแล้วถือ เอาอำนาจของประชาชนคืออำนาจสูงสุดของประเทศ ก็ถือเป็นธรรมดาของประเทศประชาธิปไตยแต่เมื่อใดมีใครลากปืนลากรถถัง หรือลากปากออกมายัดเยียดคนดีให้ประชาชนโดยประชาชนไม่ต้องการอีก เมื่อนั้นประชาชนก็จะลุกขึ้นมาบอกท่านดังๆ ให้ฟังชัดๆ ว่า “อย่าเสือก”