WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, July 28, 2012

เปิดวงจรปิด โจรใต้ไล่ยิงทหารปัตตานีเสียชีวิต 4 นาย

ที่มา Voice TV



เขมินท์  เกื้อกูล วีรีพอร์ตจังหวัดปัตตานี รายงาน ตำรวจเปิดเผยภาพกล้องวงจรปิด เหตุการณ์คนร้าย 16 คนยิงถล่มเจ้าหน้าที่ในช่วงเวลากลางวัน เป็นเหตุให้เสียชีวิต 4 รายและได้รับบาดเจ็บอีก 2 คน 

ตำรวจสถานีตำรวจ ภูธรมายอ จังหวัดปัตตานี เปิดเผยภาพเหตุการณ์กลุ่มคนร้าย 16 คน พร้อมอาวุธครบมือใช้รถยนต์กระบะ 3 คัน ประกบยิงทหาร 4 นาย คือ
- สิบเอกลือชัย จุลทอง
- พลทหารเบญจรงค์ สีแก้ว
- พลทหารเอกลักษณ์  สีดอกไม้
- พลทหารภาคิน หงส์มาก
เสียชีวิตทันทีในที่เกิดเหตุ บริเวณถนนสายปาลัส-มายอ หมู่1 บ้านดูวา

ขณะที่มีผู้บาดเจ็บสาหัสอีก 2 รายคือ สิบเอกปรีดา นพคุณ และ พลทหารอาคม ชูกล่อม และขณะนี้พักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลปัตตานี

และ จากภาพดังกล่าวที่เห็นใบหน้าและกลุ่มคนร้ายค่อนข้างชัดเจน ชุดสืบสวนสอบสวน  ได้นำภาพไปตรวจกับแฟ้มประวัติ เพื่อนำข้อมูลไปติดตามตัวมาดำเนินคดีอย่างเร่งด่วนแล้ว

เบื้อง ต้น คนร้ายยังได้ขโมยอาวุธปืน เอ็ม 16 ของทหารไป 4 กระบอกด้วย พร้อมโปรยตะปูเรือใบ เพื่อป้องกันการติดตามของเจ้าหน้าที่ ขณะที่ตำรวจสั่งระดมกำลังปิดล้อมบริเวณที่เกิดเหตุในรัศมี 500 เมตร  เพื่อตรวจค้นเป้าหมายที่อยู่ในเครือข่ายเนื่องจากเชื่อว่าคนร้ายน่าจะใช้ บ้านของแนวร่วมเป็นสถานที่หลบซ่อนตัว และน่าจะมีการวางแผนไว้ล่วงหน้า เพราะทราบความเคลื่อนไหวของเจ้าหน้าที่



Source : dailynews

28 กรกฎาคม 2555 เวลา 17:31 น.

ทิศทางการทำงานการเมืองของพรรคเพื่อไทย

ที่มา Voice TV


ส.ส.พรรคเพื่อไทย ร่วมงานสัมมนา 'ทิศทางการทำงานการเมืองของพรรคเพื่อไทย' อย่างคึกคัก ขณะที่นายกฯปาฐกถาพิเศษ ช่วงบ่าย ส่วนร.ต.อ.เฉลิม เสนอ 5 แนวทาง แก้รัฐธรรมนูญ

การสัมมนาพรรคเพื่อไทย ที่โรงแรมแอมบาสเดอร์ จอมเทียนพัทยา จังหวัดชลบุรี บรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคัก เนื่องจาก ส.ส.พรรคเพื่อไทย และแกนนำพรรคทยอยเดินทางเข้าร่วมอย่างพร้อมเพียง เช่น นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ์ หัวหน้าพรรค ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง และนายแพทย์สุรวิทย์ คนสมบูรณ์  ทั้งนี้ การสัมมนา 'ทิศทางการทำงานการเมืองของพรรคเพื่อไทย' ในช่วงเช้า หลังจาก พิธีเปิดการสัมมนา 'ทิศทางการทำงานการเมืองของพรรคเพื่อไทย' โดยนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ์ หัวหน้าพรรคแล้ว จากนั้นจะเป็นการสัมมนาในหัวข้อ '1 ปีรัฐบาลเพื่อไทย : ผลสำเร็จและความพึงพอใจ' โดย ร้อยตำรวจเอกเฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และนายสุรนันท์ เวชชาชีวะ เลขาธิการนายกรัฐมนตรีแล้ว ในช่วงบ่าย นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จะเข้าร่วมปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ 'ก้าวต่อไป... รัฐบาลเพื่อไทย : มุ่งมั่น ตั้งใจ รับใช้ประชาชน' ด้วย
ร้อยตำรวจเอกเฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการสัมมนาพรรคเพื่อไทยในวันนี้ว่าจะมีการหารือถึงแนวทางการแก้ไขรัฐ ธรรมนูญ โดยตนจะขอหารือถึงข้อเสนอ 5 แนวทาง และไม่เห็นด้วยหากจะเดินหน้าลงมติวาระ 3 พร้อมตั้งข้อสังเกตถึงการเผยแพร่คำวินิจฉัยส่วนตนของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ที่เพิ่งเผยแพร่ในเวลานี้ว่าอาจทำให้มีการปรับเปลี่ยนถ้อยคำ โดยขอยืนยันแนวคิดในการควบรวมศาล เพื่อให้สามารถตรวจสอบการทำงานได้

ด้านนายอุดมเดช รัตนเสถียร ประธานวิปรัฐบาล กล่าวถึงการเผยแพร่คำวินิจฉัยส่วนกลางและส่วนตนของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญว่า เท่าที่หารือกับสมาชิกมีความกังวลถึงอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ เพราะหากเดินหน้าลงมติวาระ 3 ก็เสี่ยงที่จะถูกร้องในเรื่องเดิมอีก อย่างไรก็ตามวันนี้จะหารือกับ ส.ส.พรรคเพื่อไทยว่าจะเดินหน้าแก้รัฐธรรมนูญในแนวทางใด โดยเป็นไปได้ว่าอาจแก้รัฐธรรมนูญรายมาตรา แต่ต้องหารือกับพรรคร่วมรัฐบาลอีกครั้งในวันที่ 31 กรกฎาคมนี้ เพราะพรรคเพื่อไทยเพียพรรคเดียวคงไม่สามารถขับเคลื่อนการแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ แต่ต้องอาศัยเสียง ส.ว.และ ส.ส.ถึง 326 เสียง

28 กรกฎาคม 2555 เวลา 11:07 น.

Patani Design 1: สื่อทางเลือก เลือกสื่อทางยุติธรรม

ที่มา ประชาไท

 

กระแสของความเป็นสื่อทางเลือกในพื้นที่ความขัดแย้ง ในแนวทแยง แนวราบ และแนวดิ่ง ของพื้นที่ปาตานี (จังหวัดชายแดนใต้) ถูกจุดให้ลุกขึ้นมาเป็นประเด็นให้กดไลค์อีกครั้ง ในหน้าสมุด(facebook)เมื่อคนทำงานด้านสื่อทางเลือกถูกเชิญตัวไปสอบสวนยัง ค่ายทหารสังกัด ร้อย.ร.2531 ฉก.ปน.24 จังหวัดปัตตานี เมื่อวันที่ 24 ก.ค. ที่ผ่านมา และถูกปล่อยตัวออกมาเมื่อเวลาประมาณ 18.35 น. ด้วยเหตุที่ผู้ที่ถูกเชิญตัวเป็นอดีตแกนนำนักศึกษาในการชุมนุมที่มัสยิดกลาง จังหวัดปัตตานี เมื่อปี 50 และเป็นประธานชมรมมุสลิมมหาวิทยาลัยรามคำแหง มีส่วนเกี่ยวข้องกับความรุนแรงบางเหตุการณ์
นายซาฮารี เจ๊ะหลง เจ้าหน้าที่อาสาสมัครสื่อสันติภาพชายแดนใต้ (Southern Peace Media Volunteer Network) อดีตนักกิจกรรมนักศึกษา ประธานชมรมมุสลิมมหาวิทยาลัยรามคำแหง และแกนนำนักศึกษาในการชุมนุมที่มัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี เมื่อปี 50 ดีกรีเหล่านี้เหมาะสมกับการที่จะถูกเชิญเพื่อทำการสอบสวนในฐานะต้องสงสัย เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่แล้วหรือยัง
เมื่อประเด็นในการสอบสวน หรือ ที่ถูกเรียกว่าการพูดคุย ถูกเปลี่ยนไป เมื่อนายซาฮารีไปพบกับเจ้าหน้าที่เป็นวันที่สอง เมื่อเช้าวันรุ่นขึ้น (25 ก.ค.) เป็นการสอบถามเกี่ยวกับการบทบาท การทำงานในฐานะสื่อทางเลือกที่นำเสนอข้อมูลผ่านช่องทางสื่อออนไลน์ ออกแนวว่าทำไมสื่อทางเลือก ถึงเลือกข้างเวลานำเสนอเสมอ?
นับว่าเป็นเรื่องที่ไม่ใช่เพียงแค่การเป็นแกนนำชุมนุมใหญ่ที่มัสยิดกลาง ปัตตานีเพียงประเด็นเดียวแล้ว และไม่ใช่เรื่องที่นายซาฮารี จะต้องตอบคำถามนี้เพียงลำพังคนเดียวอีกแล้ว
เจตนารมณ์ในการก่อตั้ง และการสร้างสรรค์ผลงานของแต่ละกลุ่ม องค์กรภาคประชาสังคมโดยเฉพาะงานด้านสื่อในพื้นที่ปาตานี ล้วนพร้อมที่จะผลักดันให้เกิดสันติสุขโดยไว และสื่อทางเลือกพร้อมที่จะเลือกข้างฝ่ายยุติธรรม เพื่อยุติ ความอธรรม จากฝ่ายอธรรม ในคำกล่าวอ้างของเจ้าหน้าที่ที่ว่าสื่อทางเลือกนำเสนอข้อมูลเฉพาะเมื่อประชา ชนเมอลายูมุสลิมถูกกระทำแต่เพียงอย่างเดียว หรือการนำเสนอจะออกไปทางการด่าว่ารัฐซะส่วนใหญ่ เมื่อเราเปิดดูในแต่ละคลิปวีดีโอ ที่ทางกลุ่มเครือข่ายอาสาสมัครสื่อสันติภาพชายแดนใต้ ได้นำเสนออกมา เป็นการนำเสนอเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ระดับ ปฏิบัติการ เพราะกระแสในแต่ละครั้งที่ออกมา เมื่อเกิดข้อสงสัยต่างๆ ต่อการกระทำของเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงต่อผู้ต้องสงสัยที่ถูกควบคุมตัว ทำให้ผู้ที่เสียหายนอกเสียจากจะเป็นผู้ต้องสงสัยเองแล้ว สถาบันความมั่นคงของรัฐก็ถูกมองว่าเป็นผู้กระทำผิด และเสียหายอีกด้วย กลายเป็นว่าการนำเสนอของสื่อทางเลือกไม่ได้ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแต่ อย่างใด กลับเป็นผลเสียทางด้านจิตใจของเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง ที่จะต้องมานั่งเฝ้าหน้าจอ เพื่อตรวจสอบทุกๆคลิป ตรวจสอบทุกความเคลื่อนของคนทำงานด้านสื่อทางเลือก ที่เลือกข้างฝ่ายยุติธรรม
เมื่อเรามองลงไปถึงการออกแบบ ดีไซน์โลโก้องค์กรของ เครือข่ายอาสาสมัครสื่อสันติภาพชายแดนใต้ (Southern Peace Media Volunteer Network) ซึ่งสามารถมองลงลึกไปยังแนวคิด ความตั้งใจในการค้นหาบางอย่างแล้ว โลโก้ที่มีรูปนกเงือก ในตาเป็นสัญลักษณ์สันติภาพ (Peace) ซึ่งนกนี้มิใช่นกที่สามารมองเห็นได้ง่ายนอกเสียจากป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ แม้ในป่าที่สมบูรณ์ก็ยังคงมองเห็นได้ยาก ต้องอาศัยความตั้งใจจริง เสมือนกับการมองหาความสันติ ความยุติธรรม ในสังคมที่มีความขัดแย้ง จนเกิดความรุนแรง แม้กระทั้งในสภาพสังคมปกติก็ยังคงมองไม่เห็นซึ่งความยุติธรรม
รูปร่างของนกเงือก ยังเป็นตัว P ที่เชื่อมไปยังตัว eace เมื่อรวมกันกลายเป็นคำว่า Peace หมายถึง สันติภาพ
เป็นความพยายามในผสมผสานกันระหว่างความเป็นท้องถิ่น คือ นกเงือกที่มีเหลืออยู่ไม่มากในป่าของพื้นที่จังหวัดนราธิวาส กับตัวฟอนต์ภาษาอังกฤษที่ทันสมัย ยังกับการเชื่อมกันระหว่างความเสมอภาคในพื้นที่ ต่อสนธิสัญญาด้านสิทธิต่างๆที่ทางรัฐบาลไทยได้ให้สัญญาไว้ว่าจะปฏิบัติตาม
การกลั่นกรองแนวคิด ความตั้งใจ อุดมการณ์ ผ่านงานดีไซน์ออกมาเป็นโลโก้ขององค์กร ที่มิใช่แค่เพียงความสวยงามแต่เพียงอย่างเดียว ยังซ่อนด้วยความหมาย หลักการในการทำงาน สะท้อนถึงหมุดหมายในการทำงานที่จะต้องค้นหานกเงือกให้เจอภายใต้สภาพสังคม ปัจจุบัน
เมื่อความตั้งใจในการทำงานเหล่านี้ กลายเป็นว่าไปบั่นทอนต่อความมั่นคงของหน่วยงานความมั่นคง นักสื่อทางเลือกก็ควรถูกเรียกเชิญตัวไปสอบสวน หรือ พูดคุยกันในสถานที่สอบสวนกระนั้นหรือ? กระทั้งส่งผลให้ความมั่นคงของสื่อทางเลือกขาดความมั่นคง
ดังนั้น ทั้งความมั่นคงของฝ่ายความมั่นคงของรัฐ
กับ ความมั่นคงของนักสื่อทางเลือก ภาคประชาสังคมปาตานี
จะเดินทางบนถนนเส้นขนานต่อไป หรือ จะสามารถเข้าเลนส์เดียวกันแล้วบรรจบทักทายกันสักพัก แต่ไม่ก่อเกิดอุบัติเหตุจนบาดเจ็บทั้งสองฝ่าย แล้วขนานต่อ เพื่อให้เกิดการตรวจการกระทำซึ่งกันและกัน
หากฝ่ายความมั่นคงจะดีไซน์รูปร่างของโต๊ะเจรจาพูดคุยคงจะไม่ใช่เฉพาะกับ ฝ่ายขบวนการฯ แต่เพียงอย่างเดียวเสียแล้ว เมื่อฝ่ายความมั่นคงมองว่าสื่อทางเลือกชายแดนใต้เป็นภัยต่อความมั่นคงของตน รูปร่างการดีไซน์ของโต๊ะเจรจาต่อไปคือ สื่อทางเลือกปาตานี ชายแดนใต้ จะเป็นรูปแบบไหน สัญลักษณ์ใดจะเกิดขึ้นมาอีก
ก็ขอให้ดินสอเพียงด้ามเดียว ยางลบเพียงก้อนเดียวเพียงพอสำหรับการดีไซน์สันติภาพในปาตานี

สสส. – องค์กรที่เข้มแข็งขึ้นทุกปีจากภาษีเหล้า-บุหรี่

ที่มา ประชาไท

 

เมื่อถามถึงชาวบ้านทั่วไปแล้ว คงเข้าใจว่า สสส. คือองค์กรที่รณรงค์งดสูบบุหรี่และงดเหล้า เพราะด้วยผลงานที่โดดเด่นชัดเจนจากการรณรงค์ผ่านทั้งสปอตโฆษณาทางวิทยุ โทรทัศน์ หรือการเปิดให้ทุนเปิดให้รางวัลการแข่งขันต่างๆเพื่อรณรงค์งดบุหรี่และเหล้า ผู้เขียนอยากทราบองค์การ สสส. มากขึ้นเลยเข้าไปหารายละเอียดเปิดในเวปไซต์ทางการของ สสส http://www.thaihealth.or.th/about/get-to-know ซึ่งเขียนไว้ว่า “สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เป็นหน่วยงานของรัฐที่มิใช่ส่วนราชการหรือรัฐ วิสาหกิจจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ.2544 อยู่ภายใต้การ กำกับดูแลของนายกรัฐมนตรี มีรายได้จากภาษีสรรพสามิตยาสูบและสุราในอัตราร้อยละ 2 ต่อปี ทำหน้าที่ จุดประกาย กระตุ้น สนับสนุน และประสานความร่วมมือกับกลุ่มบุคคล องค์กร และชุมชนทั่วไป (ภาคี สร้างเสริมสุขภาพ) โดยมุ่งหวังให้คนไทยมีสุขภาพดีครบสี่ด้าน กาย จิต ปัญญา สังคม เพื่อร่วมสร้าง ประเทศไทยให้น่าอยู่ โดยไม่จำกัดกรอบวิธีการ และยินดีเปิดรับแนวทาง ปฏิบัติการใหม่ๆ ที่เป็นความคิด สร้างสรรค์สามารถนำไปสู่การขยายค่านิยมและการสร้างพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ แก่ประชาชนได้ อย่างมีประสิทธิภาพและกว้างขวาง ซึ่งนับเป็นองค์กรด้านสุขภาพรูปแบบใหม่ที่สอดคล้องกับมติของ สมัชชาสุขภาพโลก ด้านการสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ”
ผู้เขียนมาชะงักตรงที่ว่าแหล่งเงินทุนของ สสส. มาจาก ภาษีสรรพสามิตยาสูบและสุราในอัตราร้อยละ 2 ต่อปีนี่แหละ เอ ตกลง สสส. นี่มีเพื่อสนับสนุนหรือรณรงค์การงดเหล้างดบุหรี่กันแน่?

หน้าที่ขององค์กรขัดกับแหล่งเงินทุน

แต่เมื่อพิจารณาโดยละเอียดอีกครั้ง จะพบว่านโยบายงดเหล้างดบุหรี่นั้นขัดกับแหล่งเงินทุน สสส. เอง ถ้านโยบายการลดเหล้าลดบุหรี่ได้ผลแล้ว การเก็บภาษีสรรพสามิตเหล้าบุหรี่ย่อมลดลงๆในแต่ละปี และย่อมส่งผลให้แหล่งเงินทุนของ สสส. ลดลงเป็นเงาตามตัว เมื่อไม่มีเงินทุนแล้วก็ไม่มีเงินมาจ่ายเงินเดือนให้เจ้าหน้าที่พนักงานใน องค์กร และจำเป็นต้องไล่ออก และขนาดองค์กรเล็กลงๆตามลำดับ และถ้าการรณรงค์งดเหล้าบุหรีสำเร็จจนเหลือศูนย์เมื่อไร แสดงว่า สสส. จะไม่มีเงินทุนและองค์กรต้องถูกยุบไปในที่สุด แลละถ้าผู้อ่านเป็นพนักงาน สสส ก็เตรียมตัวหางานใหม่ได้เลย ตรงกันข้ามถ้านโยบายงดเหล้างดบุหรี่ไม่สำเร็จ เงินสรรพสามิตเหล้าบุหรี่ก็เพิ่มขึ้นทุกปี เงินทุนองค์กรก็เพิ่มขึ้นทุกปี กิจการขององค์กรรุ่งเรืองทุกปี พนักงานก็อาจได้โบนัสทะลุเป้า หน้าที่การงานพนักงานก็มั่นคง ถ้าผู้อ่านเป็นพนักงานขององค์กร ผู้อ่านจะเลือกให้นโยบายงดเหล้างดบุหรี่สำเร็จหรือล้มเหลว
แต่กิจการขององค์กรกลับรุ่งเรืองขึ้น สสส. เกิดขึ้นมาใน ปี 2544 จนถึงปัจจุบันก็ศิริรวมเวลาเกือบสิบปีแล้ว เมื่อพิเคราะห์ในฐานะองค์กรหนึ่งนับว่ามีอนาคตสดใส สามารถดำรงอยู่ผ่านความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจไทยในประเทศโดยไม่มีการลดขนาด องค์กร หรือ เลย์เอาท์พนักงาน ตลอดจนไม่มีปัญหาทางด้านการเงิน เมื่อพิเคราะห์ด้านผลงานนโยบายขององค์กรแล้ว ใน thaipublica (http://thaipublica.org/2012/05/hsri-researched-thaihealth/ ) ระบุว่า “พบว่าคนไทยเกือบครึ่งประเทศรู้จัก สสส. ในฐานะองค์กรที่ทำประโยชน์ให้สังคมด้วยการสร้างเสริมสุขภาพ ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน” “ในสายตาของประชาชน สังคมได้กำไรจากการมีองค์กรเช่น สสส.” และจากข้อมูลจากเว็บไซท์เดียวกันปรากฎว่า ภาษีสรรพสามิตเหล้าบุหรี่เพิ่มขึ้นทุกปี และเรายได้จาก สสส. ก็เพิ่มขึ้นทุกปีเป็นเงาตามตัว

ถ้าเปรียบ สสส. เป็น บริษัทแล้ว คนกินเหล้าสูบบุหรีก็คือลูกค้าขององค์กรที่มีพระคุณในการสนับสนุนสินค้าและ ด้านการเงินให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับคนในองค์กร ถ้าบังเอิญบรรดาผู้มีส่วนได้กับ สสส. เดินผ่านบนถนนพบปะคนกินเหล้าสูบบุหรี่ละก็อย่าลืม ไหว้พี่เขาสิครับ

คำวินิจฉัยพร่าๆ ในพายุที่พรำๆ

ที่มา ประชาไท

 

ครบ 13 วัน นับจาก ‘ศุกร์ที่ 13’ ที่ศาลได้อ่านคำวินิจฉัย ก็ประจวบกับคลื่นลม ‘จากแดนไกล’ ที่พัดเข้าใกล้การเมืองไทยมากขึ้นทุกที
เอกสารคำวินิจฉัยที่ศาลเผยแพร่หลังพ้น 13 วันนี้ มีสาระการวินิจฉัยตรงตามที่ศาลอ่าน สิ่งที่อ่านไม่ชัดเจน ก็ยังคงเขียนไม่ชัดเจน และศาลก็ไม่ระบุจำนวนมติตุลาการซึ่งขัดแนวปฏิบัติสากลที่ศาลรัฐธรรมนูญไทยใน อดีตเคยยึดถือ อีกทั้งยังไม่เปิดเผยคำวินิจฉัยส่วนตนให้อ่านประกอบได้ ในเบื้องต้นผู้เขียนจึงไม่มีประเด็นเพิ่มเติมจากที่กล่าวไปก่อนหน้านี้ (ดู http://bit.ly/VPCONS)
แต่สังเกตว่า ศาลได้ปรับถ้อยคำอย่างมีนัยสำคัญบางจุด เริ่มตั้งแต่หน้าแรก ที่ระบุเพิ่มว่า ผู้ถูกร้องที่ 1 ไม่ใช่ ‘ประธานรัฐสภา’ แต่เป็น ‘ประธานรัฐสภา ในฐานะรัฐสภา’
ถ้อยคำนี้ถูกปรับให้ต่างไปจาก ‘หนังสือเรียกเอกสารฯ’ ที่ประธานศาลเคยลงนามพร้อมระบุว่า ผู้ถูกร้องที่ 1 คือ ‘ประธานรัฐสภา’ (เฉยๆ ดู http://bit.ly/VPC1June ) ซึ่งตรงกับที่ประธานศาลชี้แจงว่าตนออกหนังสือแจ้งไปยังประธานรัฐสภา แต่มิได้สั่งสภา อีกทั้งตรงกับคำในเอกสารข่าวของสำนักงานศาล และสอดรับกับการไต่สวนพยานที่ให้ ‘คุณวัฒนา เซ่งไพเราะ’ มาศาล ‘แทนประธานรัฐสภา’ (แต่ไม่ได้มาแทนรัฐสภา)
การปรับถ้อยคำเช่นนี้ จึงเป็นเครื่องยืนยัน ‘ความผิดรูปผิดรอย’ ของคดีที่หลุดเลยจาก ‘ปริมณฑลทางกฎหมาย’ มาแต่ต้น และทำให้เห็นว่า ศาลเองก็สับสนในข้อกฎหมายมาตั้งแต่วันรับคำร้องแล้วเช่นกัน
แต่คำถามที่สำคัญในเวลานี้ ก็คือ สภาจะเดินหน้าต่ออย่างไร ?

คำวินิจฉัยศาล มีผลทางกฎหมายหรือไม่ ?
แม้ผู้เขียนจะค้านว่า ศาลไม่มีอำนาจพิจารณาคดีนี้มาแต่ต้น แต่ก็ค้นจิตสำนึกทางกฎหมายไว้พร้อมแล้วว่า ไม่ว่าสุดท้ายศาลจะวินิจฉัยข้อกฎหมายอย่างไร ผู้เขียนก็พร้อมจะสนับสนุนให้คำวินิจฉัยนั้นต้องเด็ดขาดและเป็นที่สิ้นสุด
กล่าวคือ หากศาลวินิจฉัยว่า รัฐธรรมนูญ ‘กำหนดให้’ รัฐสภาต้องทำ ‘ประชามติ’ ก่อนการ ‘ยกร่างแก้ไขใหม่ทั้งฉบับ’ แม้ว่าผู้เขียนเองจะไม่เห็นด้วยกับศาลเลยก็ตาม แต่ก็พร้อมจะหนุนศาลว่า สภาก็ต้องไปหาวิธีทำประชามติเพื่อปฏิบัติตามที่ศาลได้ชี้ขาด
เหตุผลที่ผู้เขียนมองเช่นนี้ ไม่ใช่เพราะลุ่มหลงกับ มาตรา 216 วรรค 5 แห่งรัฐธรรมนูญ ที่บัญญัติให้คำวินิจฉัยนั้นต้องเด็ดขาดและผูกพันรัฐสภา แต่เป็นเพราะผู้เขียนเชื่อในหลักการที่ใหญ่กว่านั้น
หลักการที่ว่า ก็คือ ‘หลักกระบวนการเรียนรู้ทางประชาธิปไตย’ กล่าวคือ ประชาธิปไตยต้องอาศัยเวลาในการเรียนรู้ร่วมกันภายใต้กติกาที่แน่นอน แม้จะกติกาที่ว่าจะไม่สมบูรณ์และไม่เป็นที่ถูกใจทุกฝ่ายก็ตาม ดังนั้น เมื่อสภาปฎิบัติตามศาลแล้ว สภาจะไปแก้ไขรัฐธรรมนูญ หรือจะไปปฏิรูปศาลอย่างไร ก็เป็นเรื่องกระบวนการประชาธิปไตยที่ทั้งสภาและศาลจะต้องเรียนรู้ร่วมกัน โดยไม่มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไปตัดตอนผลคำวินิจฉัย ซึ่งเป็นสาระของการเรียนรู้เสียเอง
ฉันใดก็ฉันนั้น หากจะมี ‘พายุแดนไกล’ ลูกใด ที่ถูกถูกมองว่ารุนแรงและเลวร้ายต่อการเมืองไทย แต่หากเรามีศาลเป็นที่พึ่ง มีกติกาที่แน่นอน ผู้เขียนก็เชื่อว่า คนไทยก็มิได้โง่เขลาขนาดจะปล่อยให้บ้านเมืองถูกพัดทำลายจนชาติสลาย ดังนั้น จึงไม่มีพื่นที่ใดที่จำเป็นสำหรับ ‘ลัทธิรัฐประหาร’ ที่มาตัดตอนการสู้คลื่นลมโดยประชาชน ที่มีกฎหมาย ศาล สภา และองค์กรอื่นๆ เป็นที่พึ่ง (ดูเพิ่มที่ http://bit.ly/VPProcess)
ส่วนข้อโต้แย้งที่ว่า ‘คำวินิจฉัยที่มีผลผูกพันทางกฎหมาย’ จะต้องชอบด้วยรัฐธรรมนูญเท่านั้น หากต่างฝ่ายต่างอ้างกันได้เช่นนี้ สังคมก็คงขัดแย้งบานปลาย เพราะทุกคนชี้เองได้ แต่ชี้ไปกี่สิบกี่พันนิ้ว ก็ไม่ขาดเสียที
และแม้จะคิดให้ไกลกว่านั้น ผู้เขียนก็ได้หาเหตุผลมารอหนุนศาลไว้ โดยหากศาลวินิจฉัยว่า ‘ต้องทำประชามติ’ ผู้เขียนก็จะอธิบายว่า ศาลได้วินิจฉัยให้การได้ลงประชามติที่ว่าเป็น “สิทธิโดยปริยาย” ตาม มาตรา 27 แห่งรัฐธรรมนูญ ซึ่งมาตรา 27 ที่ว่านี้ หากศาลใช้เป็น ก็จะเป็นฐานอำนาจที่ทรงอานุภาพยิ่งกว่า มาตรา 68 อีกหลายเท่า

ตกลงสภาต้องทำ ‘ประชามติ’ หรือไม่ ?
แม้ผู้เขียนมีหลักการและเหตุผลที่พร้อมจะหนุนศาล แต่ชะตากลับเล่นตลก เมื่อศาลท่านกลับไม่ยอมวินิจฉัยให้เด็ดขาดว่าสภา ‘ต้องทำประชามติ’ หรือไม่
แต่ศาลกลับอ้างเจตนารมณ์โดยไม่มีบทบัญญัติอ้างอิงชัดแจน เพื่อกล่าวเอาเองอย่างสะดวกว่า “ก็ควรจะได้ให้ประชาชน...ได้ลงประชามติเสียก่อนว่าสมควรจะมีรัฐธรรมนูญฉบับ ใหม่หรือไม่”
คำว่า ‘ควร’ ที่ศาลกล่าวมานี้ ต้องมองให้ทะลุถึงความหมายสองชั้น
ชั้นแรก คือ ‘ควร’ ให้ประชาชนลงประชามติ (กล่าวคือ ศาลไม่บังคับว่าจะต้องลงประชามติ)
ชั้นที่สอง คือ ประชามติก็เพียงถามว่า ‘สมควร’ มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ (กล่าวคือ ศาลไม่บังคับว่าผลการลงประชามติจะต้องเป็นข้อยุติที่ผูกพันสภา แต่อาจเป็นเพียงความเห็นของประชาชน ซึ่งแสดงว่าตรรกะและการใช้คำของศาลนั้น ก็ขัดแย้งกันเอง)
เมื่อศาล ‘เลือก’ ให้คำแนะนำทางการเมืองอย่างกำกวม แทนการชี้ข้อกฎหมายให้เด็ดขาด ผู้เขียนจึงไม่อาจนำหลักการที่เตรียมหนุนศาลมาใช้ได้ แต่กลับกัน ผู้เขียนกลับต้องไปหนุนสภาให้เดินหน้าสร้างกระบวนการเรียนรู้ทางประชาธิปไตย โดยการ ‘ยึดรัฐธรรมนูญให้อยู่เหนือศาลรัฐธรรมนูญ’ เพื่อยืนยันว่าศาลย่อมต้องเป็นศาลที่ชี้กติกาให้ชัด แต่จะมาเล่นการเมืองแบบกำกวมไม่ได้
ดังนั้น สภาจึง ‘ไม่มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม’ คำแนะนำของศาล ตรงกันข้าม สภาต้องปฏิบัติตามการชี้ขาดของศาลที่วินิจฉัย ‘ยกคำร้อง’ หมายความว่า การดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ที่กระทำมาค้างที่ วาระ 2 ก็ต้องเดินต่อไปสุดที่ วาระ 3 โดยสภาไม่มีหน้าที่ต้องทำประชามติแต่อย่างใด

การเมืองไทย จะเดินต่ออย่างไร ?
แม้สภาจะเปิดประชุม 1 สิงหาคมนี้ แต่สภาก็คงจะอาศัยภารกิจในวโรกาสมหามงคล ประกอบกับการลุ้นชิงตำแหน่ง ‘ประธานวุฒิสภา’ คนใหม่ มาเป็นเครื่องต่อเวลา เพื่อไม่ต้องตัดสินใจทันทีว่าจะเดินต่อตามคำวินิจฉัยหรือไม่อย่างไร
แต่ในระยะยาว แม้ผู้เขียนจะเสนอให้สภาต้องเดินหน้าต่อสู่ วาระ 3 แต่ความพร่ามัวของคำวินิจฉัยก็ทำให้หลายฝ่ายกลับต้องกังวลว่า หากเดินหน้าต่อไป ไม่ว่าจะทางใด จะทำผิดกฎหมายหรือไม่ หรือพลาดพลั้งในทางการเมืองอย่างไร ?
หากเดินหน้าต่อวาระ 3 ก็จะมีผู้กล่าวหาว่าทำผิดรัฐธรรมนูญ เพราะศาลตีความรัฐธรรมนูญเอาไว้แล้วว่าควรต้องทำประชามติก่อน จะอ้างว่าศาลเพียงเสนอแนะ ก็ไม่มีใครรับประกันผลที่ตามมาได้
แต่หากเดินหน้าทำประชามติ หรือปล่อย วาระ 3 ทิ้งไว้ ก็จะมีผู้กล่าวหาว่าทำผิดรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ที่บังคับชัดเจนว่าต้องดำเนินการให้ครบ 3 วาระ ครั้นจะอ้างศาลมากำบัง ก็จะมีการอ้างว่าข้อเสนอแนะย่อมไม่มีผลผูกพัน
หรือหากสภาจะเลือกเดินหน้าไปสู่วาระ 3 และยอมลงมติไม่เห็นชอบ เพื่อให้กระบวนการตั้ง ส.ส.ร. เป็นอันต้องล้มเลิกไป (จากนั้นจึงไปแก้ไขรายมาตรา) แม้สภาย่อมทำได้ในทางกฎหมาย แต่สภาก็คงต้องคิดถึงผลทางการเมืองที่หนักหนายิ่งกว่า
หรือหากมองโลกให้ร้ายที่สุด ความพร่ามัวของคำวินิจฉัย อาจกลายมาเป็น ‘ใบเบิกทาง’ การรอมชอมระหว่างกลุ่มอำนาจ ทำนองว่า หากสภาไม่แก้รัฐธรรมนูญไม่ลดอำนาจศาล ศาลก็จะไม่แตะอำนาจนิรโทษกรรมของสภา ซึ่งการรอมชอมที่ว่า จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย หากกฎหมายมีความชัดเจน ยุติเป็นที่สิ้นสุด แม้พายุทางการเมืองจะพัดพรำๆ ก็ตาม

VOTE NO: ทางออกที่เป็นไปได้ และควรเป็น ?
 
 
หากสภาต้องการยึดกฎหมายให้อยู่เหนือศาล แต่น้อมฟังความห่วงใยของศาลไปพร้อมกัน โดยไม่ต้องไปสุ่มเสี่ยงกับความวุ่นวายทางกฎหมายและการเมืองที่อธิบายมา ผู้เขียนก็ขอเสนอทางออกดังนี้
ประการแรก ยึดหลักกฎหมายให้มั่นว่า สภามีหน้าที่ต้องเดินต่อไปสู่วาระที่ 3 และกฎหมายย่อมอยู่เหนือการเมืองหรือข้อเสนอแนะใดๆ
ประการที่สอง หากสภาอ่านคำวินิจฉัยให้ดี จะพบว่าถ้อยคำของศาลที่ว่า “ก็ควรจะได้ให้ประชาชน...ได้ลงประชามติเสียก่อนว่าสมควรจะมีรัฐธรรมนูญฉบับ ใหม่หรือไม่” นั้น ศาลไม่ได้ระบุว่าควรมีการลงประชามติ “ก่อนการลงมติ วาระ 3” ดังที่บางฝ่ายเข้าใจ ศาลกล่าวเพียงว่า การลงประชามตินั้นควรมี “ก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญโดยการยกร่างใหม่ทั้งฉบับ” (โปรดดูคำวินิจฉัยหน้า 25 ย่อหน้าสุดท้ายที่ http://bit.ly/VP26July )
ดังนั้น แม้สภาจะลงมติ ‘วาระ 3’ ไปแล้ว แต่หากการแก้ไขโดยยกร่างใหม่ทั้งฉบับ (โดย ส.ส.ร.) ยังไม่เริ่มต้นขึ้น สภาก็ย่อมชอบที่จะหามติจากประชาชนได้ และก็มิได้เป็นการขัดแย้งกับคำแนะนำของศาลเสียทีเดียว
ประการที่สาม สภาจะมีวิธีการถามมติจากประชาชน ‘หลังการลงมติในวาระ 3’ อย่างไร จึงถูกกฎหมาย และไม่เป็นการไปยอมรับคำแนะนำที่ขัดต่อหลักการเสียเอง ?
ทางออกที่เป็นไปได้ คือ การให้สภาประกาศ ‘คำมั่นทางการเมือง’ แก่ประชาชน ดังนี้
(1) ในวันเลือกตั้ง ส.ส.ร. (หลังการลงมติวาระ 3) หากประชาชนได้กาช่อง ‘ไม่ประสงค์ลงคะแนน’ (Vote No) รวมกันสูงเป็นลำดับที่ 1 จากคะแนนทั้งหมด รัฐสภาจะยอมรับว่า ประชาชนมีมติไม่ต้องการให้มี ส.ส.ร. มายกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ และสภาก็จะไปแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อยกเลิกการตั้ง ส.ส.ร. (โดยยอมรับข้อจำกัดว่า อาจมีประชาชนบางส่วนต้องการให้มี ส.ส.ร. แต่ไม่ประสงค์เลือก)
(2) ตรงกันข้าม หากประชาชนเสียงข้างมากตัดสินใจลงคะแนนเลือก ส.ส.ร. สภาก็ย่อมเคารพมติของประชาชนในการเดินหน้าให้มี ส.ส.ร. มายกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ 
วิธีที่นำเสนอมามานี้ เป็นการอำนวยให้ประชาชนสามารถ ‘ลงมติยับยั้ง’ การแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับได้ตั้งแต่ก่อนการแก้ไขทั้งฉบับจะเริ่มขึ้น ซึ่งเป็นขั้นตอนที่มีกฎหมายรองรับ อีกทั้งประหยัดงบประมาณ เพราะทำไปในคราวเดียวกับการเลือกตั้ง ส.ส.ร.อีกทั้งไม่มีเหตุผลให้ศาลหรือใครจะมาคัดค้าน หากใครไม่ต้องการให้มี ส.ส.ร. มายกร่างทั้งฉบับ ก็ออกไปรณรงค์ Vote No ได้เต็มที่ หรือจะส่งพวกมาสมัครเป็น ส.ส.ร. ที่พร้อมลาออก ก็ทำได้
หากสภาทำได้เช่นนี้ ‘กระบวนการเรียนรู้ทางประชาธิปไตย’ ของไทยก็จะพัฒนาไปสู่การใช้กฎหมายอย่างลึกซึ้งแยบยล เพื่อบรรลุเป้าหมายทางการเมืองที่น่าปราถนา แทนที่จะมาติดกับดักเรื่อง หลักนิติศาสตร์ / รัฐศาสตร์ ซึ่งเป็นวาทกรรมที่ไร้แก่นสารและโบราณเกินไปเสียแล้ว.

เราเรียนรู้อะไรจากการแก้รัฐธรรมนูญครั้งนี้ ?

ที่มา ประชาไท

 

บทความนี้เขียนขึ้น หลังจากการประชุมแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อให้มีการยกร่างใหม่ทั้งฉบับด้วยการตั้ง สสร.ผ่านวาระสองแล้วมีการเสนอ ให้ศาลรัฐธรรมนูญ แล้วมีการถกเถียงว่าศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจไม่มีอำนาจ การตัดสินควรไม่ควร เหมาะสมไม่เหมาะสม ซึ่งผู้เขียนมีความเห็นว่า เป็นการกระทำเหมือนกับการถามพระพุทธเจ้าเรื่องผี ซึ่งในพุทธศาสนาได้ให้แนวคิดว่า เป็นเรื่องที่สงสัยได้ แต่ไม่ควรเสียเวลาได้สืบค้น

รัฐธรรมนูญเป็นแก่นของประชาธิปไตย
ก่อนที่จะวิพากษ์วิจารณ์เรื่องนี้ ขออนุญาตแสดงความรู้สึกและความเข้าใจที่เป็นพื้นฐานของการแสดงความคิดเห็น ดังนี้ ระบบประชาธิปไตยเป็นระบบที่มีสัญญาประชาคมเป็นหลักของทุกเรื่องในความ สัมพันธ์ระหว่าง มนุษย์ต่อมนุษย์ มนุษย์ต่อชุมชน ชุมชนต่อชุมชน ภายใต้สิทธิและหน้าที่ โดยมีการมอบอำนาจรัฐให้กับ รัฐบาล สภานิติบัญญัติและศาลสถิตยุติธรรม ภายใต้ระบบแบ่งและคานอำนาจกัน
สัญญาประชาคมในระบบประชาธิปไตยมีได้ ดังนี้ คือ 1) รัฐธรรมนูญ 2) จารีตและวัฒนธรรมประชาธิปไตย 3) เจตนารมณ์ที่ผู้ได้รับมอบอำนาจที่ต้องทำและควรทำทั้งที่ประกาศเป็นการเฉพาะ กิจและกำหนดไว้ในกฎหมายต่าง
รัฐธรรมนูญโดยนัยยะแล้วเป็นสัญญาประชาคมที่เป็นลายลักษณ์อักษร ที่ครอบคลุมทุกมิติและทุกคน ดังนั้น รัฐธรรมนูญในเชิงอุดมคติแล้ว ก็คือ อุดมการณ์ของชาติหรือความเป็นชาติไทย ซึ่งต้องหลอมรวมทุกความคิดทุกมิติให้คนในชาติจนทำให้ทุกคนรู้สึกเป็นเจ้าของ มิใช่”ในโลกประชาธิปไตยที่ไหนจะทำตามเสียงข้างน้อย การกระทำอะไรก็ต้องเป็นไปตามเสียงส่วนใหญ่” ถ้าจะใช้หลักการนี้จริงๆรัฐธรรมนูญจะต้องอายุสั้นแน่นอน เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงเสียงข้างมาก อุทาหรณ์ในเรื่องนี้ คือ ปัญหาเยาวชนเกือบครึ่งหนึ่งเกิดจากเสียงของขาใหญ่ที่เป็นพ่อแม่ที่ใช้เสียง ส่วนใหญ่ดูแลลูกโดยไม่ให้ลูกมีส่วนร่วมที่มากพอ
ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในการแก้ไขรัฐธรรมนูญคำตอยอยู่ที่คำถามที่ทุกคนตอบ ได้ในใจว่า การแก้ไขครั้งนี้เป็นสัญญาประชาคมที่มีลักษณ์อุดมการณ์ของชาติหรือไม่? ข้อสรุปที่ผ่านวาระสองมีที่ยืนให้ทุกฝ่ายหรือไม่? สัญญาประชาคมที่เป็นอุดมการณ์ของชาติมีพื้นฐานการมีส่วนร่วมของประชาชนแค่ ไหนเพียงไร?

จารีตและวัฒนธรรมประชาธิปไตย
จากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในขบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตลอดขบวนการที่เกิดขึ้นในรัฐสภาและศาลรัฐธรรมนูญ แม้ว่าจะมีความขรุขระไม่ราบรื่น เกิดข้อขัดแย้ง การวิวาทะในทุกระดับก็ตาม แต่ก็มีวัฒนธรรมประชาธิปไตยที่มีความชัดเจนและถูกนำมาใช้ ซึ่งเป็นหลักและเป็นรากฐานในอนาคตได้ ดังนี้
1. การรับฟังกันมากขึ้น ที่เกิดขึ้นในรัฐสภา แม้ว่าการยอมรับข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะจะน้อมมากก็ตาม แต่เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ซึ่งถ้าขบวนการอย่างนี้กลายเป็นวัฒนธรรมที่ต้องรับฟังแล้ว ขบวนการที่จะหลอมความเห็นที่แตกต่างจนทำให้ทุกฝ่ายมีที่ยืนในแต่ละเรื่อง “วันเสียงปืนแตกที่นครพนม” ก็จะเป็นอดีตที่ตายแล้งไม่มีวันฟื้นกลับมาในสังคมไทยอีก
2. ขบวนการคานอำนาจได้ทำงานในระบบแล้ว แม้ว่าการทำงานครั้งนี้จะสร้างความความคลางแคลงใจ ข้อสงสัย ความงุนงงก็ตาม แต่สิ่งที่ควรดีใจก็ คือ ระบบการคานอำนาจในระบบประชาธิปไตยได้เริ่มขึ้นแล้ว ซึ่งเป็นเรื่องที่ควรให้กำลังใจเหมือนกับเด็กที่ตั้งไข่ ความเชื่อโดยบริสุทธิใจ (ไม่ใช่เห็นด้วยกับสาระของการตัดสินใจ) ถ้าวัฒนธรรมการคานอำนาจนี้แข็งแรงขึ้นเหมือนกับความเชื่อของทหารปืนใหญ่ ที่เชื่อว่าการยิงปืนใหญ่นัดต่อไปผลจะดีขึ้นเรื่อยๆหรือเข้าเป้า จากการประสานงานกับทหารที่ตรวจการณ์หน้า
ประเด็นพื้นฐานที่ต้องยอมรับกันในเบื้องต้น คือ การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ไม่ใช่สัญญาประชาคมที่มีลักษณ์อุดมการณ์ชาติ จากปรากฏการณ์ที่มีอีกฝ่ายที่ยอมไม่ได้ โดยใช้ทุกวิธีที่จะยับยั้งหรือชลอขบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ดังนั้นการมีศาลรัฐธรรมนูญมาทำหน้าที่คนกลาง จึงเป็นระบบที่น่าจะเหมาะสมและดีที่สุด แต่การจะทำหน้าที่ดีที่สุดหรือไม่เป็นเรื่องที่สังคม ทั้งสังคมจะเพาะบ่มทั้งคนที่จะมาทำหน้าที่และสร้างระบบในเชิงวัฒนธรรมขึ้นมา แต่อย่างไรก็ตามทุกอย่างในโลกก็ยังอยู่ภายใต้กฎของความอนิจจัง ที่อาจจะมีบางช่วงเวลาที่ศาลรัฐธรรมนูญรุ่งเรืองแล้วตกต่ำ
อย่างไรก็ตามการทำหน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญในกรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญในครั้ง นี้ ตุลาการได้ทำหน้าที่อย่างสมบูรณ์ในระดับปุถุชนพึงกระทำ ทำให้เกิด “อันนินทากาเลเหมือนเทน้ำ ไม่ชอกช้ำเหมือนเอามีดมากรีดหิน แม้องค์ปฏิมายั้งราคิน มนุษย์เดินดินหรือจะพ้นคนนินทา”
ประชาธิปไตยของไทยผ่านการเวลามา 80 ปี มีรัฐธรรมนูญมาแล้ว 18 ฉบับ ยังคงมีความต้องการรัฐธรรมนูญใหม่อีกเนืองๆ ในบางมุมอาจจะต้องถามตัวเองว่า มีบางคนที่ต้องการใช้รัฐธรรมนูญเป็นอนุสาวรีย์หรือเปล่า? หรือเราต้องการรัฐธรรมนูญที่เป็นสัญญาประชาคมอย่างแท้จริง? ผลที่เกิดทุกวันนี้เป็นไปดั่ง “ปลูกถั่วได้ถั่ว ปลูกงาได้งา” ท้ายที่สุดต้นประชาธิปไตยตรงไหนมีปัญหาก็แก้ปัญหาตรงนั้น การเปลี่ยนต้นประชาธิปไตยบ่อยครั้ง วงปีของต้นประชาธิปไตยจะเพิ่มขึ้นได้อย่างไร?

กวีประชาไท: ประ... ชะ... ชา... ธะ... ธิป... ปะ... ไตย

ที่มา ประชาไท Fri, 2012-07-27 16:06 รางชางฯ เขาว่า คำพูดของผมตะกุกตะกัก ประโยคขาดห้วงถมคั่นด้วยคำมาดร้าย แม้ในยามที่ผมร่ำไห้ ผมบอกเขา เรื่องเล่าของเขาเองก็วกวน คำพูดที่เคยเป็นของผมครึ่งหนึ่งถูกเขาครอบครอง ผมจำต้องพูดด้วยภาษาของเขา ใต้ตะกอนประวัติศาสตร์ที่บูดเน่า เมื่อเขาพูด ถ้อยคำของผมพลันไร้น้ำหนัก เสรีภาพกลายเป็นภาระที่หนักอึ้ง สันติวิธีมีไว้เพื่อตั้งข้อกล่าวหา ช่างเถอะ ผมจะยกให้เขาทั้งหมด ทั้งถ้อยคำและแท่งคอนกรีตเย็นชืด เพราะรู้ว่าที่สุดแล้วไม่มีใครครอบครองมันได้ ผมรักแท่งคอนกรีตกลางถนนแห่งนั้น ค่าที่มันไม่ใช่ชื่อของใครคนใดคนหนึ่ง ไม่มีคำแสดงเหตุการณ์เฉพาะเจาะจง ชื่อของมันโรยหน้าด้วยความหมายที่เปลือยเปล่า คงพอมีที่ว่างเหลืออยู่ให้ผมยืนเปล่งถ้อยคำ ด้วยสุ้มเสียงของผมเอง ไม่ใช่ด้วยความปราดเปรื่องของริมฝีปาก แต่ด้วยจังหวะเต้นของเลือดเนื้อข้างใน ผมจะควานลึกเข้าไปในหัวใจมนุษย์ ในลมหายใจของการต่อสู้ดิ้นรน ในถ้วยแจ่วบอง สลิปเงินเดือน ตลาดสด ห้องคลอด ฯลฯ แม้ว่าผมจะพูดตะกุกตะกัก หรือเปล่งคำที่เขาขโมยไปไม่ได้อีกเลยตลอดชีวิต รางชางฯ

คลิปเสวนาที่ Book Re:public "จาก ตลก.ภิวัฒน์ สู่ ตลก.พิทักษ์รัฐธรรมนูญฯ"

ที่มา ประชาไท

 
เมื่อวันที่ 21 ก.ค. ที่ผ่านมา ที่ร้าน Book Re:public มีการจัดเสวนาหัวข้อ "จาก ตลก.ภิวัฒน์ สู่ ตลก.พิทักษ์รัฐธรรมนูญ (รัฐประหาร)" วิทยากรโดย พนัส ทัศนียานนท์ อดีตคณบดีคณะนิติศาสต์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และอดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญปี 2540 พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ นิธิ เอียวศรีวงศ์ นักคิด นักเขียน นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ และปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยร้าน Book Re:public ได้เผยแพร่รายละเอียดของการเสวนาในรูปแบบของวิดีโอคลิปมีรายละเอียดดังนี้ สำหรับข่าวที่เกี่ยวข้องโปรดอ่านที่นี่



ช่วงที่ 1 อภิปรายโดยพนัส ทัศนียานนท์



ช่วงที่ 2 อภิปรายโดย พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย



ช่วงที่ 3 อภิปรายโดยนิธิ เอียวศรีวงศ์



ช่วงที่ 4 อภิปรายและการตอบคำถาม

ไม่ต้องห่วง..เทือกดูแลเอง

ที่มา การ์ตูนมะนาว


ล้านคำบรรยาย การ์ตูนเซีย 28/07/55 อดีต..ตามมากระชากเก้าอี้ในปัจจุบัน

ที่มา blablabla

โดย 

 ภาพถ่ายของฉัน




ขึ้นเงินเดือน ให้ตัวเอง ละเลงบาป
ต้องคำสาป อดิตกาล ที่ผ่านพ้น
เป็นกงกรรม กงเกวียน หมุนเวียนวน
ทุกตัวตน ทำแบบไหน ได้อย่างนั้น....


จงทำดี มีคุณธรรม ย้ำถูกผิด
แล้วใช้สิทธิ์ ตามทาง ที่สร้างสรรค์
หากหูเบา ตายแน่ แย่ทันควัน
ถูกดับฝัน จบสิ้น ดับดิ้นไป....


อย่าระเริง เหลิงอำนาจ วาสนา
แล้วเดินหน้า โลภโกง ไม่โปร่งใส
สิ่งตนทำ ล้วนรู้ อยู่แก่ใจ
กับชื่อเสียง ที่ทำไว้ คุ้มไหมคุณ....


อันชีวิต มนุษย์นั้น มันสั้นนัก
จงรู้จัก โอบเอื้อ ช่วยเกื้อหนุน
คุณความดี ที่ทำ ช่วยค้ำจุน
อย่าหมกมุ่น เอาแต่ได้ ใฝ่อธรรม....


อดีตกาล ตามกระชาก ลากเก้าอี้
สิ้นศักดิ์ศรี คนระอา ช่างน่าขำ
เป็นบทเรียน ล้ำค่า น่าจดจำ
สิ่งที่ทำ ล้วนชี้ชัด วัดตัวคน....


๓ บลา / ๒๘ ก.ค.๕๕

อาลัยนักรบไซเบอร์ นิต เสรีชน

ที่มา Thai E-News





โดย เว็บไซต์เสรีชน


 พี่นิต ณ โชคอนันต์ หรือ นิต  เสรีชน   เป็นนักรบไซเบอร์ ที่ก้าวออกมาสู้ภาคสนาม ทุกที่ในการชุมนุม จะเห็นคุณนิตอยู่ที่นั้นเสมอ  

พี่นิตทำหน้าที่เก็บภาพ เก็บหลักฐานสำคัญต่างๆ  พี่นิต ไม่เคยย่อท้อ และหวาดกลัวต่อลูกกระสุนที่วิ่งผ่านผิวกาย และเสี่ยงตายนับครั้งไม่ถ้วน 

วันนี้เราสูญเสียบุคลากรสำคัญ นักสู้คนสำคัญ   ด้วยอุบัติเหตุทางรถยนต์  จากไปอย่างไม่มีวันกลับ  ทิ้งไว้แต่ภรรยาและลูกเล็กอีก 2คน 

เว็บไซต์เสรีชน ขอเรียนเชิญทุกท่าน ร่วมงานไว้อาลัย และ สวดพระอภิธรรม  คุณ นิต  ณ โชคอนันต์  หรือ นามจริง คุณคุณสนอง สุวรรณน้อย  ณ วัดลาดปลาเค้า  .ศาลา 1 

ตั้งสวดพระอภิธรรม ถึงวันจันทร์ที่ 30 กค. และฌาปนกิจวันอังคารที่ 31 ก.ค. เวลา 16.00 น  

และ ร่วมกันสร้างกองทุนเพื่อครอบครัวพี่นิต โดยโอนผ่าน
 ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาบิ๊กซีลำลูกกา
 ชื่อบัญชี มานิต ทชภา เลขที่บัญชี 270-211-601-0 **** กรุณาระบุ เพื่อกองทุนครอบครัว นิตเสรีชน  

โดยกองทุนนี้ จะทำการการเปิดบัญชีในชื่อของลูกชายคุณนิต เพื่อใช้ในการศึกษาต่อไป  

คุณนิต เสรีชน หนึี่งในสมาชิกเวปเสรีชนที่ต่อสู้กับคมช.มาตั้งแต่แรกเมื่อปี 2550 
เมื่อช่วงที่เสื้อแดงโดนขอคืนพื้นที่ผ่านฟ้า คุณนิต เสรีชน ได้ถูกยิงด้วยกระสุนยางเข้าข้างขาทำให้เดินเป๋ไปอยู่​นานพอสมควร 
บัดนี้ได้ประสพอุบัติเหตุรถเสีย หลัก ชนเสาไฟฟ้าศีรษะกระแทก เสียชีวิตทันที ร่างกระเด็นออกมานอกรถ เมื่อคืนวันที่ 26-07-2012 โดยมีกำหนดนำศพออกจากรพ.นครนายกในเวลาบ่าย แล้วนำศพมารดน้ำศพที่วัดลาดปลาเค้า ซอยลาดปลาเค้า กทม.ในเย็นวันนี้ 27-07-2012 ขอเชิญพี่น้องเสื้อแดงที่สามารถไปได้ไปร่วมบำเพ็ญกุศล โดยวันแรกทางเวปเสรีชนรับเป็นเจ้าภาพ ครับ เศร้าเขียนไม่ถูกแล้ว


เขาเป็นช่างภาพอิสระ เคยอยู่สำนักพิมพ์มาหลายแห่ง เป็นเสื้อแดง100% อยู่เวปเสรีชนมาตั้งแต่ปี50 โดนยิงด้วยกระสุนยางเมื่อปี53 เฉียดอวัยวะเพศไปนิดเดียว
ถ้าเป็นงานเสื้อแดงเขาไปถ่ายภาพให้ทั้งภาพเคลื่อนไหวภาพนิ่ง โดยไม่ยอมรับเงินสักบาทเดียวครับ

images by free.in.th
วันนี้เขาเหลือแต่ร่างที่ไร้วิญญานไปแล้ว นิต เสรีชนเพื่อนผม

ทัศนะความคิดต่อสื่อ 'สารคดีเพื่อเจ้าของประเทศทุกคน 2475'

ที่มา uddred

 กรุงเทพธุรกิจ 28 กรกฎาคม 2555 >>>



ความเห็นของผู้ชม "สารคดีเพื่อเจ้าของประเทศทุกคน 2475 ออกอากาศทางไทยพีบีเอส" ต่อคำถามถึงสื่อในการทำคดีชุดนี้

ผู้เขียนได้ติดตามสารคดีเรื่อง.."สารคดีเพื่อเจ้าของประเทศทุกคน 2475" ออกอากาศวันที่ 25-27 กรกฎาคม 2555 เวลา 22.00-23.00 น. ทางไทยพีบีเอส ซึ่งเป็นสารคดีเชิงประวัติศาสตร์ ทำให้ชวนคิดเห็นและนิ่งนอนใจไม่ได้ที่นำมาเสนอต่อ เพราะทำให้เห็นว่า "สารคดีประวัติศาสตร์" ชิ้นนี้ หากพูดว่าผู้ทำสื่อพยายามบิดเบือนก็ตรงเกินไป แต่สิ่งหนึ่งที่มันสะท้อนออกมา ก็คือหากไม่มีการวิจารณ์กัน มันเท่ากับว่าเป็นการพยายามครอบงำความคิดของคนในสังคม ที่ผู้ทำสารคดีชุดนี้ไปสัมภาษณ์จากอาจารย์หลายๆท่าน แล้วพยามขมวดความคิด เหมือนกับให้คนเข้าใจอีกความรู้ชุดความคิดหนึ่งโดยผ่านการตัดต่อเท่านั้น ซึ่งทำให้ประวัติศาสตร์ถูกบิดเบือน คลุมเครือ ซึ่งเป็น "อันตรายที่สุด"
แต่สำหรับนักประวัติศาสตร์แล้ว มันจำเป็นอย่างยิ่ง ที่ต้องมีการวิพากษ์วิจารณ์ เพื่อไม่ให้ความคิดถูกครอบงำ ผู้เขียนได้ดูสารคดี และติดตามผู้คนที่มีความเห็นต่อคลิปที่ถ่ายทำออกมา....
นายธนาพล อิ๋วสกุล บก.ฟ้าเดียวกัน ระบุว่า หลังจากใช้เวลา 58 นาที 8 วินาที ดูสารคดีเรื่องดังกล่าว ผมมีความเห็นดังต่อไปนี้

1. สารคดีประวัติศาสตร์ ?

ความคาดหวังสำหรับสารคดีประวัติศาสตร์อย่างน้อยต้องมี เอกสาร ข้อมูล รูปภาพ เสียง ที่ร่วมสมัยในประวัติศาสตร์มาบ้างปรากฎว่าตลอดเวลากว่า 1 ชั่วโมงวนเวียนอยู่ที่บริเวณ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ไม่มีแม้ไปเหยียบจุดที่พระยาพหลยืนอ่านประกาศคณะราษฎร นี่ไม่ต้องพูดถึงประกาศณะราษฎร ที่เป็นเอกสารสำคัญที่สุดของเหตุการณ์ 2475 ไม่มีพูดถึงแม้แต่คำเดียว
ลองนึกดูว่าจะทำสารดคีการปฏิวัติอเมริกา 1776 โดยไม่มีคำประกาศอิสรภาพได้อย่างไร ? หรือเอกสารชิ้นสำคัญชิ้นนี้แสลงใจคนทำเกินไป เราไม่ได้ยินเพลง 24 มิถุนาฯลฯ แต่เอาบทเพลงอะไรก็ไม่รู้ เขียนโดยไม่มีพลัง ไม่ต่างจากเพลงอกหักธรรมดาๆ เพลงหนึ่งที่สันสน เหงา วังเวง
นี่ยังไม่พูดถึงรายละเอียด "เล็กๆ" น้อย ๆ เช่น พูดถึงบทบาทหนังสือพิมพ์ก่อน 2475 แต่ไปเอารูปหนังสือพิมพ์ปี 2482 มาขึ้นเฉย (พาดหัวประกาศสงคราม นั่นคือข่าวการเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในยุโรป) หรือการเอาภาพเหตุการณ์มาผสมเพนเปกันให้มั่วไปหมด

2. ถ่ายทำ (จงใจให้ดู) แย่

แม้ทีมงานจะเป็น "มืออาชีพ"แต่งานที่ออกมาไม่มีพลังแม้แต่นิดเดียว เริ่มจากมุมกล้องที่ทำเหมือนกับสารคดี "ท่องเทียว" เดินไปเรื่อย ๆ เหนื่อยก็หยุด ไม่มีจุดหมาย ดนตรีประกอบดังที่พูดไปแล้ว ว่าไม่สื่ออะไร หรือเทคนิค เปิดสมุดเปล่า นั้นผมคิดว่าให้เด็กเริ่มหัดทำหนังสั้น ยังทำออกมาได้ดีกว่าอีก 
แต่ถึงที่สุดแล้วผมคิดว่านี่เป็นผลสำเร็จของทีมงานถ่ายทำ หรืออาจจะเป็นสถานีด้วยที่ทำให้เรื่อง 2475 เป็นเรื่องของความสันสนวุ่นวาย ไม่จบไม่สิ้น และดูไม่เป็นความหวังอะไรได้เลยมุกบิลกาแฟ 130 เพื่อจะโยงไป ร.ศ.130 ภาษาวัยรุ่นเขาเรียก "มุกควาย"

3. (ตั้งใจ) จับแพะชนแกะ

อาจจะเป็นเหตุที่คนทำมีธงอยู่ในใจอยุ่แล้วว่าจะให้ใครเป้นพระเอก ใครเป็นผู้ร้าย การใช้เทคนิค ตัดต่อ พูดสลับไปมา ต่างบริบท ต่างคำถามแต่ให้เป็นเรื่องเดียวกัน ยกตัวอย่างกรณี รศ.ศรีศักร พูดเรื่องความเหลือมล้ำว่า 80 ปี ประชาธิปไตยไทยไม่ได้แก้ปัญหาความเหลือมล้ำ แต่หนักกว่าก่อน 2475 เสียอีก แล้วสลับมาที่ ดร.ชาญวิทย์ บอกว่าสังคมมมีความเหลื่อมล้ำ จนกลายเป็นว่า ดร.ชาญวิทย์ พูดสนับสนุนศรีศักดิ์เฉยเลย ทั้งๆที่จุดยืน รศ.ศรีศักดิ์ กับ ดร.ชาญวิทย์ แตกต่างกันในการประเมินการเปลี่ยนแปลง 2475
หรือการเบรคของ อ.สุลักษณ์ ที่บอกว่าต้องกลับไปดูว่าต้องย้อนกลับไปดูว่าเหตุการณ์ 2475 มันมีการบิดเบือนอย่างไร แต่ผู้สร้างทำให้ อ.สุลักษณ์ เป็นตัวตลกไป โดยไปตัดเอาชอตที่ ดร.ชาญวิทย์ บอกว่าต้องกลับไปดูเป็น 100 ปี 150  ปี สิ่งเหล่านี้เห็นตลอดทั้งเรื่อง
ดร.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อาจารย์คณะศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ มองว่า ยังไม่ได้ดูจริงๆ ไม่มีเวลา ได้ดูคลิป (ไม่สด) ตอนต้น ราว 3 นาทีกว่า เบื่อชิบหาย เวิ่นเว้อ เรื่องถนนราชดำเนินอะไรก็ไมรู้ เสียเวลา เลยหยุดดู ไว้มีเวลาว่างๆ ค่อยกลับมาดูทีเดียวใหม่
แต่ถ้าเป็นอย่างทีคุณ ธนาพล อิ๋วสกุล ว่า ในข้อ 1 ที่ว่า ไม่มีคำประกาศคณะราษฎรเลย ผมว่าสารคดีนี้ ก็น่าโยนทิ้งขยะ ชอบที่เปรียบเทียบว่า ไม่มีใครทำเรื่อง 4 กรกฎา 1776 โดยไม่พูดถึงประกาศอิสรภาพ
อ.วัฒนชัย วินิจจะกูล อาจารย์คณะนวตกรรม ม.รังสิต กล่าวว่า สารคดีชุดนี้ทำได้แย่กว่าที่่คาดหวังจริงๆ แต่ผมก็จะพยายามดูตอนสุดท้า​ยคืนนี้ว่า (คนทำสารคดี) จะลง​เอยยังไง แต่ผมชอบที่ อ.ธำรงศักดิ์ หยิ​บเอา "รธน." ที่พูดกันว่ารัชกาลที่ 7 เ​ตรียมไว้จะพระราชทานให้ แต่ถูกพวกชิงสุกก่อนห่ามปฏิ​วัติตัดหน้าไปก่อน มาให้ดูนะครับ แม้ว่าคงไม่ได้ช่วยให้พวกที่่ชอบพูดตรรกะนี้เลิกพูด แต่ใครที่ได้ฟังตรรกะนี้มาน​านจะได้ตาสว่างเห็นกันจะจะ

Friday, July 27, 2012

"นิคม" รอสำนวน ป.ป.ช. ก่อนนัด "สุเทพ" ชี้แจง คาดใช้เวลาทั้งกระบวนการเดือนเศษ

ที่มา uddred

 มติชน 27 กรกฎาคม 2555 >>>


ที่รัฐสภา นายนิคม ไวยรัชพานิช รองประธานวุฒิสภาคนที่ 1 ในฐานะรักษาการประธานวุฒิสภา กล่าวว่า หลังจากที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีมติชี้มูลความผิดนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ส.ส.สุราษฎร์ธานี พรรคประชาธิปัตย์ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 268 ประกอบรัฐธรรมนูญ มาตรา 266 (1) กรณีใช้อำนาจครั้งดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี ในสมัยรัฐบาลประชาธิปัตย์ แต่งตั้งนักการเมืองเข้าช่วยปฏิบัติราชการในกระทรวงวัฒนธรรม ถือเป็นการแทรกแซงการทำงานนั้น ตามข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา หลังจากได้รับสำนวนจาก ป.ป.ช. จะนัดประชุมวุฒิสภาเพื่อนำเรื่องเข้าสู่กระบวนการพิจารณา โดยให้นายสุเทพมาชี้แจงต่อที่ประชุมว่า มีประเด็นใดหรือมีพยานใหม่ที่ต้องชี้แจงเพิ่มเติมหรือไม่ ก่อนให้ ส.ว. พิจารณาลงมติว่าจะถอดถอนหรือไม่ โดยถือมติ 3 ใน 5 หรือประมาณ 90 เสียง ถึงจะสามารถถอดถอนออกจากตำแหน่งได้ โดยกรอบเวลาที่จะดำเนินการคาดว่าประมาณ 1 เดือนเศษ

ทุกวันพุธเยี่ยมนักโทษการเมือง เราไม่ทอดทิ้งเพื่อน

ที่มา Thai E-News




โครงการ อชป.-ไซเบอร์เรนเจอร์-เยาวชน เยี่ยมนักโทษการเมืองร่วมกับพี่น้องผู้รักประชาธิปไตย ณ เรือนจำชั่วคราวหลังสโมสรตำรวจ หลักสี่ เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2555 


ภาพกิจกรรมเยี่ยมพี่้น้องที่เรือนจำ 25 ก.ค. ทำส้มตำเลี้ยง แซ่บหลายยยยยย (ภาพจาก:


โครงการ อชป. เยี่ยมนักโทษการเมือง)















************
เ้รื่องเกี่ยวเนื่อง:


-จาก 'ห้องกรง' ถึง ฮ่องกง นักโทษการเมืองอวยพรวันเกิด ทักษิณ ชินวัตร


-“เราไม่ทอดทิ้งกัน” อชป. มอบเงินเยียวยา พี่น้องเสื้อแดงผู้ต้องขังคดีทางการเมือง….

คุณสงคราม เลิศกิจไพโรจน์ ประธาน “องค์กรช่วยเหลือประชาชน จากการเรียกร้องประชาธิปไตย” (อชป.) ได้จัดตั้งอชป.ขึ้นเพื่อเยียวยานักโทษคดีการเมือง ทั้งการเยี่ยมให้กำลังใจและมอบเงินเยียวยาให้กับกลุ่มพี่น้องเสื้อแดงผู้ต้องขังคดีทางการเมือง ซึ่งยังอยู่ในเรือนจำทั้ง 2 แห่ง เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ และเรือนจำหลักสี่  โดยผู้ต้องขังแจ้งความจำนงในการมอบให้กับญาติพี่น้องบ้าง เข้าบัญชีส่วนตัวบ้าง  

เมื่อ อชป. ซึ่งจัดกิจกรรมเยี่ยมพี่น้องทั้ง 2 แห่งทุกวันพุธ จึงถือโอกาสได้มอบให้ญาติต่อหน้าผู้ต้องขัง ยังความนเพื่อปลาบปลื้มใจ และกำลังใจกับพี่น้องทั้งที่อยู่หลังกรงเหล็ก และกลุ่มพี่น้องที่ได้ไปเยี่ยมก็อดปาดน้ำตาไม่ได้  ที่พวกเรามิได้ทอดทิ้งกันจริงๆ 

ส่วนที่เหลือได้มอบที่เวทีแถลงข่าว อิมพีเรียล ลาดพร้าว ชั้น 5
ทุกวันพุธ...กลายเป็นการรอคอย ด้วยกำลังใจของพี่น้องที่ต้องขังไปเสียแล้ว
อชป. ขอเชิญชวน พี่น้องเสื้อแดง ร่วมเลี้ยงอาหารและเยี่ยมผู้ต้องขังทุกวันพุธ ที่เรือนจำทั้ง 2 แห่ง มีรถตู้ออกจากข้างอิมพีเรียล ลาดพร้าว 

เวลา 10.00 น. เยี่ยมเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯเวลา 11.00 น. เยี่ยมเรือนจำหลักสี่ 12.00 น. ร่วมเป่านกหวีด ถือป้ายและร้องเพลงให้กำลังใจ  โบกไม้โบกมือกับพี่น้องที่ยืนอยู่ในระเบียงห้องขัง  

พี่สมยศ พฤกษาเกษมสุข ได้ฝากบอกมาว่า “ทุกวันพุธจะเป็นที่รู้กัน ทุกคนจะกระตือรือร้น รอการมาเยี่ยมของพี่น้อง จากบางคนที่เคยซึมเศร้า ไม่พูดกับใคร อยากฆ่าตัวตาย บางคนเริ่มมีอาการทางประสาท ก็มีอาการดีขึ้น ออกมา พูดคุยกับพี่น้องที่มาเยี่ยมอย่างสดชื่น ซึ่งดีมากๆ”  อาจารย์หวาน กรรมการท่านหนึ่งของ อชป. กล่าวว่า “ตั้งใจจะจัดกิจกรรมอย่างนี้ไปจนกว่า พี่น้องคนสุดท้ายจะได้รับอิสรภาพ” 
ทุกวันพุธจะมีกลุ่มนักรบไซเบอร์ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันร่วมเยี่ยม รวมถึงแกนนำบางท่านที่ว่าง เช่น ที่ผ่านมา บก.ลายจุด และที่ขาดไม่ได้คือ ประธาน อชป. คุณสงคราม เลิศกิจไพโรจน์ แม้งานจะยุ่ง ก็ยังไปด้วยแทบทุกครั้ง โดยยึดโทรโข่ง คอยพูดให้กำลังใจ สู้สู้ครับพี่น้องงงงง

หม่อมเต่านาชวนอ่านบทความในไทยอีนิวส์

ที่มา Thai E-News






ข่าวสารเกี่ยวกับประเทศไทยที่คุณไม่อาจหาอ่านได้จากสื่อ หยัดยืนชูธงสัจธรรมโต้กระแสทวน ปรับ

'สุเทพ' ลั่นหากถูกถอดถอนเลิกเล่นการเมือง

ที่มา Voice TV

 'สุเทพ' ลั่นหากถูกถอดถอนเลิกเล่นการเมือง



'สุเทพ' ลั่นเลิกเล่นการเมืองกลับไปเลี้ยงหลานถ้าถูกถอดถอน น้อมรับมติป.ป.ช. แจงดึงหนังสือกลับแล้ว

นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ส.ส.สุราษฎร์ธานี พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีมติชี้มูลความผิดตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 268 ประกอบรัฐธรรมนูญมาตรา 266(1) ฐานจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขณะดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในการแต่งตั้งส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ 19 คน เข้าช่วยราชการในกระทรวงวัฒนธรรม ถือเป็นการแทรกแซงการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการประจำ ว่าพร้อมยอมรับเพราะต้องเคารพกติกา และกฎหมาย และไม่ว่าส.ว.จะมีมติอย่างไรก็ต้องปฏิบัติตาม

อย่างไรก็ตามยืนยันว่าการจะส่งส.ส.ไปช่วยงานกระทรวงวัฒนธรรม ยังไม่ได้ดำเนินการ เพียงแต่ได้ทำหนังสือถึงกระทรวงวัฒนธรรมให้พิจารณา แต่เมื่อเปิดข้อกฎหมายดูเห็นว่าหมิ่นเหม่จึงถอนหนังสือกลับ แต่หากป.ป.ช.เห็นว่าเป็นความผิดสำเร็จ ก็ต้องยอมรับมติ.ป.ป.ช.

"ผมไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะถูกวุฒิสภาถอนถอดหรือไม่ แต่ขณะยังทำหน้าที่อยู่ ก็ไม่กังวลแต่อย่างใด และหากถูกถอดถอนจริงก็จะถูกตัดสิทธิทางการเมือง 5 ปี ปัจจุบันอายุ 64 ปีแล้ว อีก5ปี ก็จะอายุครบ 69 ปี ผมคงเลิกเล่นการเมือง และกลับไปเลี้ยงหลาน"

ถามว่าตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 102 กำหนดคุณสมบัติของบุคคลที่จะดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรี ส.ส. และส.ว. จะต้องไม่เคยถูกวุฒิสภาถอดถอนออกจากตำแหน่งและหากถูกถอดถอนจริงจะทำให้ไม่ สามารถเล่นการเมืองได้อีก นายสุเทพ กล่าวว่า ยังไม่ทราบรายละเอียด แต่ถ้าถึงเวลานั้นก็คงต้องเลิกเล่นการเมืองอยู่แล้ว


Source : News Center / Matichon / chaoprayanews (image)
27 กรกฎาคม 2555 เวลา 11:06 น.

กลาโหมสั่งถอดยศร.ต.อภิสิทธิ์ เรียกเงินเดือนคืน

ที่มา Voice TV

 กลาโหมสั่งถอดยศร.ต.อภิสิทธิ์ เรียกเงินเดือนคืน



รมว.กลาโหม แถลง อภิสิทธิ์ ใข้ สด.9 ปลอม สมัครเข้าร.ร.จปร. สั่งกรมพระธรรมนูญพิจารณาขั้นตอนถอดยศ ร้อยตรี และเรียกเงินเดือนขึ้น ย้ำต้องทำอย่างรอบคอบ ไม่มีการเมืองเกี่ยว

วันนี้ (27 ก.ค.) ที่กระทรวงกลาโหม พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้แถลงข่าวกรณี นายกล บันไดเพชร สมาชิกพรรคเพื่อไทย ร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดินประจำรัฐสภา ให้ตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของตน ต่อการตรวจสอบกรณีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี หนีทหารและการใช้หลักฐานปลอมในการสมัครเข้ารับราชการโรงเรียนนายจ้อยจรป. โดยระบุว่า ยอมรับว่า ในวันที่ 2 เมย.2532 นายอภิสิทธิ์ เป็นร้อยตรี แต่ต่อมาได้ลาออก ซึ่งขณะรับราชการในตอนนั้น ในตำแหน่งอาจารย์ที่โรงเรียนนายร้อยจปร. ได้ลาไปต่างประเทศ 3 ครั้ง รวมลากิจ 221 วัน มีเวลาทำงานแค่ 35 วัน ก็ต้องถามว่า พฤติกรรมแบบนี้รักอาชีพทหารจริงหรือไม่ อย่างไรก็ตาม ตนคงไม่ถามหาจริยธรรมในเรื่องนี้ เพราะอยู่ที่จะพิจารณา ส่วนกรณีที่มีคนกล่าวหาว่า ตนไม่กล้าหรือไม่อยากแถลง ตนขอเรียนว่า การแถลงและการตรวจสอบก็แจงในกรอบของกลาโหม

รมว.กลาโหม ยังกล่าวว่า ทั้งนี้จากการตรวจสอบพบว่ามีการใช้หลักฐาน สด.9 ปลอม ในการขึ้นทะเบียนบัญชีทหาร จึงมีคำสั่งไปยังกรมพระธรรมนูญ ให้ทำเรื่องเสนอขอถอดยศ ร.ต.อภิสิทธิ์ เรียกเงินเดือนคืน โดยให้ทำอย่างรอบคอบ นอกจากนี้ ขอยืนยันว่า การดำเนินการเรื่องนี้ ไม่มีเบื้องหลังใดๆ

อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่า วันนี้ พล.อ.อ.สุกำพล มีสีหน้าผ่อนคลายลงไปมาก พร้อมนำหลักฐานทางการทหารทั้งหมดมาแสดงประกอบการแถลงข่าว โดยแสดงเอกสารต้นขั้วเทียบกับข้อมูลเอกสารที่มีการนำมาเปิดเผยต่างๆ เพื่อให้เกิดความกระจ่างอย่างชัดเจน พร้อมกันนี้ ยังเป็นผู้ถือเอกสารต้นขั้ว สด.9 โชว์ด้วยต้นเองอีกด้วย



ขอบคุณภาพจาก MaysaaNitto Org-home's Photos
27 กรกฎาคม 2555 เวลา 11:55 น.

นายกฯทักษิณ นายกรัฐมนตรีของประชาชน 26 7 2012

ที่มา speedhorse



สารคดี 2475 ตอน 1-2 "ความทรงจำ"

ที่มา speedhorse

 สารคดี 2475 ตอน 1 "ความทรงจำ"
ออกอากาศทางช่อง Thaipbs เมื่อ 25 ก.ค. 2555





ขอขอบคุณเทปจาก putthawutt

อะเจห์ใต้เงามืดของภัยพิบัติ : สงครามกลางเมือง ความขัดแย้ง และสึนามิ

ที่มา ประชาไท

 

ถ้าเป็นคนไทยจะพูดว่า “ทำไมมันซวยซ้ำซวยซ้อนอย่างนี้”
แต่นี่เป็น อะเจห์ แถมไม่รู้ภาษาท้องถิ่น ก็เลยไม่รู้ว่าจะยกวลีใดมาเพื่อทำให้เห็นภาพความซ้ำซ้อนของหายนะที่เคยเกิด ขึ้น เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2547 [1] ที่ผ่านมา
โดยทั่วไปนักวิชาการด้านสังคมวิทยาแบ่งลักษณะของภัยพิบัติไว้ 3 ประเภท คือ ภัยพิบัติจากธรรมชาติ ภัยพิบัติจากน้ำมือของมนุษย์ และภัยพิบัติที่เป็นลูกผสมระหว่างธรรมชาติและน้ำมือของมนุษย์
ในอะเจะห์ถือเป็นภัยพิบัติประเภทที่ 3 คือ ภัยพิบัติที่เป็นลูกผสมระหว่างธรรมชาติและน้ำมือของมนุษย์
จะว่าไป...สันติภาพในวันนี้ของอะเจห์ มี ‘จุดเปลี่ยน’ หรือภาษาอังกฤษใช้คำว่า turning point ที่สำคัญส่วนหนึ่งมาจากเหตุการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ซึ่งมีทั้งแผ่นดินไหวและสึนามิ เกิดขึ้นพร้อมกันเมื่อกว่า 7 ปีที่ผ่านมา เพื่อนอะเจห์บางคนอธิบายว่า ในความเป็นจริงแล้ว กระบวนการเจรจาเพื่อสันติภาพในอะเจห์นั้น ได้ดำเนินการมาตลอดอย่างต่อเนื่องยาวนานควบคู่ไปกับสถานการณ์ความรุนแรง นี่ก็เป็นเหตุสำคัญที่ทำให้อะเจห์เกิดสันติภาพได้เร็วขึ้นเพราะมีข้อมูล ทุกอย่างอยู่ในมือพร้อมแล้ว รอเพียงแต่ว่าเมื่อไหร่จะทำให้คู่ความขัดแย้งตกลงปลงใจพร้อมกันและทำให้ สันติภาพสัมฤทธิ์ผลขึ้นมาเท่านั้นเอง
ภาพ : การเซ็นสัญญาข้อตกลงสันติภาพ (Memorandum of Understanding-MOU) เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2548 ณ เมืองเฮลซิงกิ ประเทศสวีเดน การเซ็นสัญญามีใจความสำคัญ 2 ประการ คือ รัฐบาลจาร์การ์ต้าจะยอมผ่านกฎหมายว่าด้วย การให้จังหวัดอะเจห์เป็นเขตปกครองตนเอง และสามารถจัดการทรัพยากรของตัวเองได้
ที่มา : Okezone.com news &entertainment สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2555 สืบค้นจาก http://news.okezone.com/read/2010/08/15/337/363154/aceh-gelar-cerdas-cermat-5-tahun-mou-helsinki
การทำข้อตกลงร่วมกัน (Memorandum of Understanding-MOU) สามารถดึงเอาผู้นำรัฐบาลจาร์การ์ต้าและกลุ่มเคลื่อนไหวเพื่อสันติภาพอะเจห์ (Free Aceh Movement)มาทำความตกลงกันที่เมืองเฮลซิงกิ (Helsinki) ประเทศสวีเดนเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2548 ตอนแรกถือเป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากผู้นำการเจรจาก็ยังเคลือบแคลงและสงสัยอยู่ ว่า สันติภาพ จะเกิดขึ้นได้ไหม? รัฐบาลจาร์การ์ต้าจะยอมหรือเปล่า? ฝ่ายกลุ่มเคลื่อนไหวเพื่อสันติภาพจะยอมทิ้งอาวุธหรือไม่?
แต่เป็นที่แน่ชัดว่า การเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติทั้งแผ่นดินไหวขนาดใหญ่และสึนามิที่ทำให้เกิด การสูญเสียคนกว่าแสนคนที่มีทั้งฝ่ายรัฐ [2] และฝ่ายเคลื่อนไหวเลิกคิดที่จะรบกันแต่อยากจะกลับมาสร้างบ้านและฟื้นฟูชุมชนของตัวเองเหนือสิ่งอื่นใด
ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ได้พัดพาอัตลักษณ์ของความเป็นรัฐและกลุ่มเคลื่อนไหวออกไป จนเหลือเพียงแต่อัตลักษณ์ของความเป็นปุถุชนธรรมดาที่เกิดความรู้สึกทุกข์และ สูญเสียร่วมกันภัยพิบัติทางธรรมชาติทำให้เกิดความอ่อนล้าและหมดเรี่ยวแรงจะ รบราฆ่าฟันและเห็นพ้องต้องกันว่า ถึงเวลาแล้วที่จะหันหน้าเข้าหากันยุติความรุนแรงที่มาอย่างยาวนานหลายสิบปี ด้วยเหตุดังกล่าวสันติภาพจึงเกิดขึ้นหลังจากเหตุการณ์สึนามิเพียง 7 เดือน

รากเหง้าความรุนแรงในอะเจห์ [3]

ประวัติศาสตร์ช่วงยุคอาณานิคมและผลประโยชน์ด้านทรัพยากร คือ เหตุสำคัญที่ทำให้ปัญหาในอะเจห์บานปลายและขยายเป็นวงกว้าง
อะเจห์มักจะกล่าวว่า ตนเองไม่เคยเป็นอาณานิคมของใครหรือแม้แต่ของดัชท์ เพราะในช่วงดังกล่าว อะเจห์ได้มีความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างยุโรปและกลุ่มตะวันออกกลาง เพียงแต่ว่าได้เข้าร่วมต่อสู้เพื่อปลดแอกความเป็นเอกราช
ภาพ : กองกำลังเคลื่อนไหวเพื่อสันติภาพ มีทั้งผู้หญิงและผู้ชาย
ที่มา: สืบค้นจากhttp://en.wikipedia.org/wiki/File:Free_Aceh_Movement_women_soldiers.jpg
สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2555
ในช่วงยุคล่าอาณานิคม ก่อนประเทศอินโดนีเซียจะเรียกตัวเองว่า ‘ประเทศ’ และเป็น ‘อินโดนีเซีย’ดังเช่นทุกวันนี้ อินโดนีเซียเป็นเพียงชนเผ่า และหมู่เกาะ เกือบทั้งหมดตกเป็นเมืองขึ้นของดัชท์ (Dutch)
อะเจห์เข้าร่วมต่อสู้กับกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในหมู่เกาะอินโดนีเซีย ในปี พ.ศ. 2549 และจาร์การ์ต้าเองก็ยกให้อะเจห์อยู่ในสถานะเป็น ‘เขตพิเศษ’ เพื่อนชาวอะเจห์บอกว่า อะเจห์ร่ำรวยอยู่แล้ว มีทองมากมายขุดแทบไม่หวาดไม่ไหว สามารถซื้อเครื่องบินให้จาร์การ์ต้าช่วยรบกับดัชท์ได้ด้วยซ้ำ ทั้งยังเป็นเสนาธิการ ช่วยวางแผนกลยุทธ์ทางทหารจนได้ชัยชนะ สามารถปลดแอกจากการเป็นเมืองขึ้นได้ในท้ายที่สุด และเนื่องจากอะเจห์มีทรัพยากรทางธรรมชาติที่สำคัญ คือ ป่าไม้ แก๊ส และน้ำมันนี้เองทำให้จาร์การ์ต้ากลับลำ ไม่ยอมปล่อยอะเจห์ให้เป็นอิสระหลังจากได้เป็นเอกราชจากดัชท์แล้ว และนี้คือที่มา ทำให้เกิดขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องอิสรภาพของอะเจห์ หรือกลุ่ม ‘กัม’ (GAM-Geakan Aceh Merdeka)ซึ่งเริ่มขึ้นในช่วงกลางทศวรรษที่ 1970 และความขัดแย้งได้ขยายตัวเพราะรัฐบาลอินโดนีเซียเริ่มใช้กำลังทางทหารและ จัดการด้วยความรุนแรง กวาดล้างไม่เลือกแม้แต่ชาวบ้านธรรมดาก็ติดร่างแหเข้าไปด้วยสถานการณ์ดัง กล่าวได้ผลักดันให้ชาวบ้านธรรมดาเริ่มเข้าร่วมกับกลุ่มกัมและเห็นชอบให้ อะเจห์แยกตัวออกมาจากประเทศอินโดนีเซียมากขึ้น
ในช่วงเวลาดังกล่าว ได้มีความพยายามสร้างกระบวนการสันติภาพ แต่ก็ยังไม่มีใครยอมใคร ฝ่ายกลุ่มกัมเองก็อ้างเรื่องการเป็นเอกราชและไม่เคยอยู่ในอาณัติใคร ฝ่ายรัฐบาลเองก็ได้รับความกดดันจากฝ่ายรักษาความมั่นคงให้เร่งรัดการกำจัด ฝ่ายกบฎมากกว่าการเจรจา

ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของสันติภาพ

แผ่นดินไหวและสึนามิ เป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญ
ประธานาธิบดีซูซิโล บัมบัง โยโดโน ตัดสินใจช่วยเหลืออะเจห์อย่างไม่ลังเลใจ ท่านได้สั่งการและเปิดช่องทางให้ทหารจากต่างประเทศรวมทั้งความช่วยเหลือจาก ประเทศต่างๆ เข้าไปในอะเจห์ ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้รัฐบาลจาร์การ์ต้าไม่เคยอนุญาติให้ชาวต่างชาติเข้าไปทำวิจัย [4] หรือเหยียบย่างเข้าไปให้ความช่วยเหลืออะเจห์ ในฐานะดินแดนต้องห้ามอันเป็นคู่กรณีของรัฐมาก่อน
ดังนั้นความช่วยเหลือจากประเทศต่างๆจึงไหลบ่าเข้าไป สนามบินในเมืองอะเจห์เต็มไปด้วยสายการบินจากนานาชาติ ไม่ว่าจะเป็น จีน สเปน รัสเซีย เครื่องบินทหารจากสิงคโปร์ มาเลเซีย อังกฤษ สหรัฐอเมริกา เข้ามาให้ความช่วยเหลืออย่างไม่ขาดสาย และนี้ทำให้ความขัดแย้งที่มีเหตุมาจากศาสนาและชาติพันธุ์ของทั้งฝ่ายรัฐบาล จาร์การ์ต้าและอะเจห์ ได้ขาดสะบั้นลง และสามารถดึงทุกฝ่ายเข้าร่วมเจรจาสันติภาพได้อย่างไม่น่าเชื่อ

ความรู้และการกระทำซ้ำๆเพื่อป้องกันภัย

การเรียนรู้เพื่อป้องกันภัยพิบัติไม่ว่าจะเป็นจากธรรมชาติหรือภัยพิบัติ ที่มาจากน้ำมือของมนุษย์นั้น จะได้มาด้วย 2 ปัจจัยสำคัญ คือ ความรู้และการฝึกปฏิบัติซ้ำๆ
ความรู้แบบสหสาขาวิชา คือ สิ่งที่จะเข้ามาช่วยให้เข้าใจรากเหง้าของปัญหาและนำมาซึ่งการป้องกันและ แก้ไขปัญหา เพราะสังคมไม่ได้อยู่ที่องค์ความรู้สาขาใดสาขาหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น การจัดการภัยพิบัติที่มาจากธรรมชาติไม่ได้อยู่ในมือของนักวิทยาศาสตร์หรือ วิศวกร เช่นเดียวกันกับการจัดการภัยพิบัติที่มาจากน้ำมือของมนุษย์ก็ไม่ได้อยู่ใน มือของนักรัฐศาสตร์เท่านั้น เพราะเมื่อเวลาเกิดผลกระทบกับสังคมทุกความรู้ที่เป็นสหสาขาวิชา ได้แก่ สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา เศรษฐศาสตร์ นิเทศศาสตร์ รัฐศาสตร์ วิทยาศาสตร์ แพทย์ศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ และอื่นๆ ล้วนแล้วแต่มีความสำคัญและจำเป็นทั้งสิ้น ทั้งนี้เมื่อความรู้ที่เป็นจริงรวมกันเข้า ความรู้ทั้งหมดนี้จะกลายเป็น ‘สัจธรรม’ (true knowledge is truth)ที่ใช้ในการแก้ปัญหาทั้งหลายอย่างไรก็ตาม ความรู้และสัจธรรมที่มีอยู่ ยังต้องการการปฏิบัติซ้ำๆ เพื่อทำให้เกิดความเคยชินจะว่าไปการสอนมนุษย์ก็เหมือนกับการสอนเด็ก กว่าเราจะเขียนเป็นประโยคได้หรืออ่านหนังสือเป็นหน้าๆ ได้ ต้องอาศัยการฝึกเขียน ก. ไก่ ข.ไข่ มาโดยตลอดในช่วงเวลาวัยเยาว์ ดังนั้นการได้มาซึ่งสันติภาพและความสามารถในการป้องกันตัวเองจากภัยพิบัติ นอกจากความรู้แล้วยังต้องอาศัยการกระทำซ้ำๆ อย่างต่อเนื่องและยาวนานเพียงพอ ถ้าจะให้จังหวัดชายแดนภาคใต้มีสันติภาพคงต้องปลูกเมล็ดพันธุ์สันติภาพ [5] ตั้งแต่วัยเยาว์ หรือจะให้สังคมไทยเรียนรู้รับมือกับภัยพิบัติ อย่างน้อยก็คงต้องมีบรรจุอยู่ในหลักสูตรการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล และกระทำเรื่อยมาจนถึงมหาวิทยาลัย
สังคมไทย ณ ตอนนี้เรามีความขัดแย้งเกิดขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็น เสื้อเหลือง-เสื้อแดง หรือเหตุการณ์ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้จะว่าไปความขัดแย้งที่เกิด ขึ้น ก็เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ด้วยเช่นกัน อีกทั้งมีการผลิตซ้ำจนเชื่อว่า การแก้ไขปัญหาด้วยความรุนแรง คือสิ่งที่ชอบธรรมและถูกต้องความรู้และการปฏิบัติซ้ำๆ ที่ก่อให้เกิดการแก้ปัญหาด้วยความรุนแรงและความประมาณไม่เตรียมพร้อมกับภัย พิบัติเกิดขึ้นได้ฉันใด ความรู้และการปฏิบัติซ้ำๆ เพื่อนำมาสร้างกลไกแห่งสันติภาพและการป้องกันภัยพิบัติที่มาจากธรรมชาติก็ สามารถเกิดขึ้นได้ด้วยฉันนั้น ผู้เขียนหวังเล็กๆ ว่า สังคมไทยคงไม่น่าจะต้องรอให้ถึงคนรุ่นถัดไปมาเรียนรู้ความขัดแย้งและความ ประมาทของพวกเราผู้ใหญ่ในยุคปัจจุบัน สันติภาพและความไม่ประมาทจึงถึงจะเกิดขึ้น

ภาพ: ความเสียหายหลังสึนามิ ณ ลัมโน (Lamno) จังหวัดอะเจห์ ประเทศอินโดนีเซีย ถ่ายเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2548 โดย Christian Aslund
ที่มา : Christian Aslund สืบค้นจาก http://www.google.com.au/imgres?um=1&hl=en&sa=N&biw=1090&bih=619&tbm=isch&tbnid=mTznHDuGy16P-M:&imgrefurl=http://www.lightstalkers.org/images/show/112084&docid=K6w92KyBOz2AyM&imgurl=http://s3.amazonaws.com/lightstalkers/images/112084/2005Aceh01_large.jpg&w=800&h=521&ei=4bkQUIPRK-2NiAfOj4BA&zoom=1&iact=hc&vpx=478&vpy=278&dur=164&hovh=181&hovw=278&tx=203&ty=116&sig=103733211876075597306&page=5&tbnh=132&tbnw=174&start=75&ndsp=20&ved=1t:429,r:7,s:75,i:340
สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2555

ภาพ: ความเสียหายจากสึนามิบริเวณมัสยิดกลางของอะเจห์
ที่มา : ngecampสืบค้นจาก http://ngecamp.blogspot.com.au/2012/04/sumatera-earthquarke-89-sr-stunami-2012.html สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2555
บรรณานุกรม
  • Vatiliotis, M. (2007) ‘Civil War, Conflicts and Natural Disasters’, in Ananta, A. and Onn, L. P. (eds) Aceh a New Dawn, Singapore, Institute of Southeast Asian Studies, pp. 6 – 13.
ข้อมูลเพิ่มเติม:
  1. ผู้เสียชีวิตประมาณ 180,000 คน มีคนไร้บ้านกว่าครึ่งล้าน และหมู่บ้านกว่า 600 หมู่หายวับไปในวันเดียว
  2. ทหารมักจะตั้งค่ายริมทะเล และมีจำนวนมากที่ประจำการในพื้นที่
  3. อ่านเพิ่มเติมได้ใน อลิสา หะสาเมาะ. (2007)‘อัตลักษณ์ของชาวอะเจห์ในประเทศอินโดนีเซีย’ http://www.deepsouthwatch.org/node/164
  4. ผู้เขียนเข้าไปทำวิจัยในอะเจห์ช่วงปีพ.ศ. 2548 ถึงกระนั้นก็ตามยังมีป้ายประกาศห้ามไม่ให้วีซาสกับนักวิจัยชาวต่างชาติเข้า ไปศึกษาในอะเจห์
  5. อย่างที่ศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดลได้พยายามทำมาตลอดในทุกๆ ที่ ดูเพิ่มเติมhttp://www.peace.mahidol.ac.th /th/index.php?option=com_content&task=view&id=841&Itemid=172

ศาลอาญานัดฟังคำตัดสินคดีฆ่าตัดตอน สงครามยาเสพติด 30 ก.ค. นี้

ที่มา ประชาไท

 
เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน เผยแพร่ใบแจ้งข่าวว่า ในวันที่ 30 กรกฎาคม 2555 เวลา 09.00 น. ณ ห้องพิจารณาคดีที่ 913 ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ศาลนัดฟังคำพิพากษาในคดีหมายเลขดำที่ อ.3252/2552 ระหว่างพนักงานอัยการ โจทก์ กับ ด.ต.อังคาร คำมูลนา ที่ 1 กับพวกรวม 6 คน จำเลย โดยคดีดังกล่าวโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยในฐานความผิดร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรอง ไว้ก่อน ย้ายศพเพื่อปิดบังเหตุแห่งการตาย และเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญากระทำการในตำแหน่งอันเป็นการมิชอบ เพื่อช่วยเหลือบุคคลหนึ่งบุคคลใดมิให้ต้องรับโทษ สืบเนื่องจากกรณีนายเกียรติศักดิ์ ถิตย์บุญครอง อายุ 17 ปี เด็กนักเรียน จ.กาฬสินธุ์ เสียชีวิตด้วยการฆ่าแขวนคอที่กระท่อมกลางทุ่งนาใน จ.ร้อยเอ็ด หลังจากได้รับการปล่อยตัวจาก สภ.เมืองกาฬสินธุ์ เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2547
อนึ่ง ในช่วงปี 2544-2549 รัฐบาลมีนโยบายประกาศทำสงครามยาเสพติด เกิดคดีฆ่าตัดตอนกว่า 2,500 ศพ และในช่วงเวลาดังกล่าวมีประชาชนในพื้นที่ จ.กาฬสินธุ์ เสียชีวิตและสูญหายจำนวนมาก โดย 1 ในจำนวนผู้เสียชีวิตดังกล่าว คือ นายเกียรติศักดิ์ ถิตย์บุญครอง ซึ่งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้ลงพื้นที่ไปตรวจสอบข้อเท็จจริงและได้ มีรายงานผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนเมื่อปี 2549 โดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีข้อเสนอให้รัฐบาลเยียวยาความเสียหายจาก การเสียชีวิตของนายเกียรติศักดิ์ ถิตย์บุญครอง อันเนื่องมาจากการควบคุมตัวของเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เมืองกาฬสินธุ์ ให้แก่ครอบครัวของนายเกียรติศักดิ์ ถิตย์บุญครอง
ในปี 2548 กรมสอบสวนคดีพิเศษได้มีมติให้กรณีการเสียชีวิตของนายเกียรติศักดิ์ ถิตย์บุญครอง เป็นคดีพิเศษ และเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2552 พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีพิเศษ 1 ได้ยื่นฟ้อง ด.ต.อังคาร คำมูลนา ที่ 1 ด.ต.สุดธินัน โนนทิง ที่ 2 ด.ต.พรรณศิลป์ อุปนันท์ ที่ 3 พ.ต.ท.สำเภา อินดี ที่ 4 พ.ต.อ.มนตรี ศรีบุญลือ ที่ 5 พ.ต.ท.สุมิตร นันท์สถิต ที่ 6 เป็นจำเลยในคดีดังกล่าว นับเป็นระยะเวลากว่า 8 ปี ในการตรวจสอบข้อเท็จจริง การรวบรวมพยานหลักฐาน และการพิสูจน์ความจริงในชั้นศาลจนกระทั่งวันนัดฟังคำพิพากษานี้

จาก 'ห้องกรง' ถึง ฮ่องกง นักโทษการเมืองอวยพรวันเกิด ทักษิณ ชินวัตร

ที่มา ประชาไท

 
นักโทษการเมืองที่เรือนจำชั่วคราวหลักสี่ร่วมเป่าเค้กอวยพรวันเกิด พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ขอให้สุขภาพแข็งแรง กลับไทยอย่างเท่ๆ เร็วๆ

 
ภาพโดย facebook “กัลยา วิ”

10.00 น. 26 ก.ค. 55 ที่เรือนจำชั่วคราวหลักสี่ กลุ่มเสื้อแดงมีนบุรีจัดกิจกรรมเป่าเค้กอวยพรวันคลายวันเกิด ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร พร้อมกิจกรรมสันทนาการให้กำลังใจนักโทษการเมือง 20 คน ที่อยู่ในเรือนจำดังกล่าวและกิจกรรมยุติในเวลา 15.30 น. นอกจากนี้นักโทษการเมืองยังได้มีการเขียนข้อความอวยพรวันเกิดถึง พ.ต.ท.ทักษิณ ด้วย
ทั้งนี้ กลุ่มเสื้อแดงมีนบุรี และกลุ่มอื่นๆ ได้เวียนกันจัดกิจกรรมที่เรือนจำชั่วคราวเพื่อเป็นกำลังใจให้นักโทษการเมือง ที่ยังไม่ได้รับกาประกันตัวเป็นประจำ เช่น เลี้ยงอาหารกลางวัน จัดคอนเสิร์ต ฯ

ตัวอย่างบางส่วนของคำอวยพรที่ผู้ต้องขังเขียนใส่กระดาษ

“เนื่องในวันคล้ายวันเกิด 63 ปี ในวันที่ 26 ก.ค.นี้ ขอให้ท่านจงมีแต่ความสุขความเจริญ คิดสิ่งใดก็ให้สมหวังทุกประการและมีสุขภาพ พลานามัยแข็งแรง ได้กลับมาเมืองไทยโดยเร็ววัน”
อเนก สิงขุนทด (ตาบอด)

“..ขอให้ท่านได้กลับบ้านเร็วๆ เพราะยังมีคนไทยส่วนใหญ่ยังคอยให้ท่านกลับมาพัฒนาประเทศและคนเสื้อแดงรอคอยการกลับมาของท่านเสมอ”
บัวเรือน แพงสา จากจังหวัดอุดรธานี

“..ขอให้พระบารมี 16 ชั้นฟ้า 15 ชั้นดิน พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ พระสยามเทวาธิราชและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายช่วยไปคุ้มครอง คนดี ที่ประชาชนรักใคร่ดังชีวิต ให้ท่านได้กลับมาดูแล พัฒนาประเทศชาติ สร้างอนาคต ประชาชนได้อยู่ดีกินดี ให้พ่อแม่พี่น้องได้อยู่กันแบบสันติภาพ รักกันอย่างอบอุ่น สามัคคี ปรองดองอย่างเข้าใจกันแบบดังเดิมก็พอ และขอให้ท่านมีสุขภาพพลานามัยแข็งแรงดังก้อนหินครับ”
สายชล แพบัว

“..ขอให้ท่านกลับบ้านเร็วๆ นะครับ พวกผมรอท่านกลับแบบเท่อยู่ ขอบคุณครับ”
ธีรวัฒน์ สัจสุวรรณ

“..พวกผมถึงแม้จะอยู่ข้างในก็ยังเฝ้ารอคอยวันที่ท่านจะกลับคืนสู่ประเทศ ไทย ขอกราบขอบพระคุณท่านที่ยังห่วงใยประชาชนอย่างพวกผม อย่างน้อยพวกผมก็ยังมีกำลังใจจากความห่วงใยของท่านและจะคอยเป็นกำลังใจให้ ท่านตลอดไป”
คำหล้า ชมชื่น

“..ผมไม่เคยเสียใจเลยที่ผมเคยสู้ประชาธิปไตย สู้เพื่อความเป็นธรรม และที่ที่ผมเสียใจคือท่านทักษิณ ชินวัตร ยังไม่ได้กลับประเทศไทย ถ้าผมมีโอกาสอีกครั้ง ผมก็จะสู้อีกครั้งครับ”
นายกิติพงษ์ ชัยกัง จากจังหวัดอุดรธานี

“..ชีวิตของพวกผมเปรียบดังนกที่ถูกขังอยู่ในกรง จึงไม่รู้ชะตากรรมว่าวันใดถึงจะได้รับอิสรภาพ รอแล้วรอเล่าก็ไร้วี่แวว จะมีใครเข้าใจในส่วนลึกของหัวใจที่เจ็บปวดทรมานกับการสูญเสียทุกสิ่ง ทุกอย่างจากขบวนการยุติธรรมที่ไม่ยุติธรรม ฉะนั้นเราคนไทยต้องช่วยกันแก้ไขกับการผิดพลาดของขบวนการเหล่านั้นเสียเพื่อ ไม่ให้ผิดพลาดอีกต่อไป..”
สนอง เกตุสุวรรณ์ จากจังหวัดอุบลราชธานี

ภาพบรรยากาศกิจกรรม

 


ลำดับ

ชื่อ-นามสกุล

วันที่ถูกจับกุม

ข้อหา

สถานะทางคดี

อัตราโทษ

1

นายสายชล แพรบัว    

10 มิ.ย. 53

ร่วมกันวางเพลิงเผาทรัพย์(CTW)อันเป็นที่เก็บสินค้า/จนเป็นเหตุให้คนตาย, พรก.

ชั้นต้น


2

นายพินิจ จันทร์ณรงค์

19 พ.ค. 53

ชั้นต้น


3

นายเพชร แสงมณีหรือเฮ่น มณีเพชร

21 พ.ค. 53

มั่วสุมตั้งแต่10 คนขึ้นไป,วางเพลิงเผาทรัพย์(ธ.กรุงเทพฯสาขาพระโขนง),พรบ.คนเข้าเมือง, พรก.

อัยการอุทธรณ์

6 ปี 6 ด.

4

นายคำหล้า ชมชื่น

29 พ.ค. 53

ร่วมกันปล้นทรัพย์ของกรมทหารราบที่ 1 รอ.

อุทธรณ์

10 ปี

5

นายประสงค์ มณีอินทร์

17-พ.ค-.53

พรบ.อาวุธปืนฯ, พรบ.วิทยุคมนาคม, พรก., ลักทรัพย์, พาอาวุธไปในเมือง

อุทธรณ์

11 ปี 8 ด.

6

นายโกวิทย์ แย้มประเสริฐ

17.พ.ค.53

อุทธรณ์

11 ปี 8 ด.

7

สต.บัณฑิต สิทธิทุม

30 เม.ย.53

ก่อการร้าย,มีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืน,พาอาวุธไปในเมือง

อุทธรณ์

38 ปี

8

จ.ส.ต.ปริญญา มณีโคตม์

29 เม.ย.53

พรบ.อาวุธปืน,เครื่องกระสุนปืนฯ

ชั้นต้น


9

นางสาวปัทมา มูลมิล

24 พ.ค.53

พรก.,ก่อความวุ่นวาย,ร่วมกันบุกรุก,วางเพลิงเผาศาลากลาง,ทำให้เสียทรัพย์

อุทธรณ์

33 ปี 12 ด.

10

นายธีรวัฒน์ สัจสุวรรณ

27 พ.ค.53

พรก.,ก่อความวุ่นวาย,ร่วมกันบุกรุก,วางเพลิงเผาศาลากลาง,ทำให้เสียทรัพย์

อุทธรณ์

33 ปี 12 ด.

11

นายสนอง เกตุสุวรรณ์

9 มิ.ย. 53

พรก.,ก่อความวุ่นวาย,ร่วมกันบุกรุก,วางเพลิงเผาศาลากลาง,ทำให้เสียทรัพย์

อุทธรณ์

33 ปี 12 ด.

12

นายสมศักดิ์ ประสานทรัพย์

9 ก.ค. 53

พรก.,ก่อความวุ่นวาย,ร่วมกันบุกรุก,วางเพลิงเผาศาลากลาง,ทำให้เสียทรัพย์

อุทธรณ์

33 ปี 12 ด.

13

นายอาทิตย์ ทองสาย

19 พ.ค.53

ร่วมกันวางเพลิงเผาทรัพย์,บุกรุกโดยมีอาวุธ,ทำให้เสียทรัพย์

อุทธรณ์

22 ปี 6 ด.

14

นายวันชัย รักสงวนศิลป์

19 พ.ค.53

ร่วมกันวางเพลิงเผาทรัพย์,บุกรุกโดยมีอาวุธ

อุทธรณ์

20 ปี 6 ด.

15

นายกิตติพงษ์ ชัยกัง

16 มิ.ย.53

ร่วมกันวางเพลิงเผาทรัพย์,บุกรุกโดยมีอาวุธ,ทำให้เสียทรัพย์,พรก.

อุทธรณ์

11 ปี 3 ด.

16

นายเดชา คมขำ

16 มิ.ย.53

ร่วมกันวางเพลิงเผาทรัพย์,บุกรุกโดยมีอาวุธ,พรก.

อุทธรณ์

20 ปี 6 ด.

17

นายบัวเรียน แพงสา

16 มิ.ย.53

ร่วมกันวางเพลิงเผาทรัพย์,บุกรุกโดยมีอาวุธ,พรก.

อุทธรณ์

20 ปี 6 ด.

18

นายเอนก สิงขุนทด      


พรบ.อาวุธปืน, พาอาวุธไปในเมือง

รออุทธรณ์

35 ปี

19

นายเอกชัย มูลเกษ

 8 มี.ค.53

พรบ.อาวุธปืนฯ

อุทธรณ์

8 ปี

20

นายชาตรี ศรีจินดา




           
ขอบคุณข้อมูลจาก ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์สลายการชุมนุม เม.ย.-พ.ค.53 (ศปช.)