WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, August 27, 2011

เสียงจากผู้นิยมกษัตริย์ในอเมริกา

ที่มา มติชน



โดย เกษียร เตชะพีระ

(ที่มา หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับประจำวันที่ 26 สิงหาคม 2554)


J. Anthony McAlister & Charles A. Coulombe

แกนนำสันนิบาตนิยมกษัตริย์สากล สาขาลอสแองเจลิส สหรัฐอเมริกา

ระเบียบการ เมืองหนึ่งจะจัดการกับผู้มีแนวคิดแหกคอกนอกลู่นอกทางทวนกระแส สุดโต่งสุดขั้วอย่างไรดี? ปราบปรามขับไล่เขาออกไปอยู่นอกกฎหมายใต้ดิน? หรือจะให้เขาอยู่ได้อย่างถูกกฎหมายบนดินแต่นอกระบบ? หรือจะให้เขาเข้ามาในระบบ มาต่อสู้กับคนอื่นทางความคิดด้วย เหตุผลข้อถกเถียงอย่างถูกกฎหมายโดยสันติและเปิดเผยตามความเชื่อของตน?

น่า สนใจที่สหรัฐอเมริกาเลือกให้ผู้นิยมระบอบกษัตริย์อย่าง เจ. แอนโธนี แมคคาลิสเตอร์ กับพวกเข้ามารณรงค์ต่อสู้ทางความคิดตามความเชื่อของตนอย่างเปิดเผยและถูก กฎหมายในระบบ กับชาวอเมริกันส่วนใหญ่ซึ่งนิยมระบอบประธานาธิบดีที่มีมาตั้งแต่ก่อตั้ง ประเทศเมื่อ 230 ปีก่อน

โดยที่ฝ่ายความมั่นคงไม่ว่ารัฐมนตรีกลาโหม หรือเสนาธิการทหารแม่ทัพนายกองอเมริกันไม่ได้แสดงปฏิกิริยาหวาดวิตกเดือด เนื้อร้อนใจแต่อย่างใด

ทำให้ชาวอเมริกันและผู้ฟังทั่วไปได้ มีโอกาสสดับตรับฟังทรรศนะเหตุผลของเขาในรายการ The Changing World ตอน For King or Country? Part 2 ทางสถานีวิทยุ BBC เมื่อ 5 เมษายนศกนี้ ว่าทำไมอเมริกาจึงควรเปลี่ยนไปปกครองในระบอบกษัตริย์แทน?

(http://www.thechangingworld.org/archives/2011/wk17.php)

เจ. แอนโธนี แมคคาลิสเตอร์ หนุ่มอเมริกันผิวดำเชื้อสายสก๊อตกับแคนาดาวัย 29 ปี ผู้เกิดที่ลอสแองเจลิสคนนี้เป็นนักดนตรีเชลโลคลาสสิกโดยวิชาชีพ และเป็นประธานสันนิบาตนิยมกษัตริย์สากล สาขาลอสแองเจลิส (International Monarchist League, Los Angeles Chapter http://www.monarchistleaguela.org/) โดยอุดมการณ์ทางการเมือง

เขา ชี้แจงเพื่อความเข้าใจที่ชัดเจนแต่ต้นว่าระบอบกษัตริย์ที่เขาสนับสนุนนั้น คือระบอบราชาธิปไตยใต้รัฐธรรมนูญ หรือ Constitutional Monarchy, ไม่ใช่ระบอบเจ้าแผ่นดินที่ปกครองด้วยอาญาสิทธิ์แบบโบราณ,

พูด ง่ายๆ ว่าเขาอยากได้ระบอบกษัตริย์เหมือนที่อังกฤษมีทุกวันนี้นั่นแหละ กล่าวคือกษัตริย์ทรงมีบทบาทเพียงเท่าที่ประชาชนเห็นชอบด้วย, มีตัวบทกฎหมายระบุรองรับบทบาทนั้นๆ ของพระองค์อย่างชัดเจน, และมีสภาผู้แทนราษฎรคอยประกบประกอบอยู่

แมคคาลิสเตอร์ลำดับเรียบเรียงเหตุผล 3 ประการที่รองรับสนับสนุนระบอบกษัตริย์ว่า: -

1) ธรรมชาติของมนุษย์

มนุษย์ มีความปรารถนาโดยธรรมชาติที่จะเฉลิมฉลองชนชั้นนำในหมู่พวกตน, ต้องการความรู้สึกอัศจรรย์ใจ, โหยหาความวิเศษสง่างามแห่งพระราชาและราชสำนัก

ดัง นั้นเองจะเห็นได้ว่าในอเมริกา เมื่อไม่มีเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินหรือนัยหนึ่งราชบัลลังก์ว่างเปล่า ชาวอเมริกันก็เอาดาราเซเล็บฮอลลีวู้ดมายกย่องปลาบปลื้มเทิดทูนเสมือนหนึ่ง เป็นเจ้าแทน เพราะดาราเหล่านี้แสดงออกซึ่งความรวยหรูเลิศอลังการ มีคฤหาสน์พำนักโอ่โถงสง่างามเยี่ยงราชวัง

หรือในกรณีประธานาธิบดี อเมริกัน ก็มีธรรมเนียมประเพณีประพฤติปฏิบัติหลายอย่างเทียบเคียงเลียนเยี่ยงกษัตริย์ อาทิ Camp David อันเป็นค่ายพักผ่อนสำหรับประธานาธิบดี ก็เลียนแบบพระตำหนักแปรพระราชฐานตามหัวเมือง, State of the Union Address อันเป็นคำปราศรัยสำคัญของประธานาธิบดีเพื่อรายงานสถานการณ์ของประเทศประจำปี ต่อสภาคองเกรส ก็เทียบได้กับพระราชดำรัสเปิดประชุมรัฐสภา, การจุดพลุและเดินขบวนพาเหรดฉลองวันชาติสหรัฐ ก็เทียบได้กับงานฉลองวันเฉลิมพระชนมพรรษา, หรือการตั้งสมญาทำเนียบประธานาธิบดีสมัยเคนเนดี้ว่าเปรียบประดุจปราสาทราช วัง Camelot ในตำนานสมัยพระเจ้าอาเธอร์ของอังกฤษ เป็นต้น

เหล่านี้ ว่าไปแล้วก็คือการสร้างเรื่องเล่าเพื่ออวยเกียรติยศศักดิ์ศรีให้สามัญชนที่ ขึ้นกุมอำนาจรัฐ มันสะท้อนความโหยหาที่จะปลาบปลื้มเฉลิมฉลองชนชั้นนำซึ่งแฝงฝังลึกอยู่ในดี เอ็นเอของคนเรา

2) วิพากษ์ทรรศนะแบบฉบับของฝ่ายนิยมสาธารณรัฐประชาธิปไตยต่อระบอบกษัตริย์

พวก นิยมสาธารณรัฐประชาธิปไตยในอเมริกามักแสดงท่าทีเกลียดกลัวและโจมตีระบอบ กษัตริย์ว่าเป็นยุคมืด กดขี่ราษฎร ดังที่ชาวอเมริกันเคยลุกขึ้นก่อกบฏต่อกษัตริย์อังกฤษเพื่อกู้อิสรภาพมาแล้ว ในอดีต

พวกเขากล่าวอ้างว่าเมื่อเทียบกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยแล้ว ระบอบกษัตริย์ไม่สามารถผนวกรวมประชาชนเข้ามาด้วยกันได้มากเท่า เพราะเป็นระบอบปกครองทรราชย์อาญาสิทธิ์

แมคคาลิสเตอร์มองสวนทรรศนะ แบบฉบับอเมริกันดังกล่าวว่า เอาเข้าจริงสถาบันกษัตริย์ เป็นศูนย์รวมเอกภาพ ความสามัคคี ความมั่นคงและอุ่นใจของคนในชาติต่างหาก

ในทางกลับกัน นักการเมืองมาแล้วก็ไป และต่อให้ระบอบสาธารณรัฐประชาธิปไตยที่ประสบความสำเร็จที่สุด ก็ยังบกพร่องอย่างลึกซึ้ง

เกี่ยว กับเรื่องนี้ Charles A. Coulombe นักประวัติศาสตร์และนักวิชาการสังกัดสันนิบาตนิยมกษัตริย์สากลได้วิพากษ์ วิจารณ์ฝ่ายนิยมสาธารณรัฐประชาธิปไตยกลับคืนว่าการเลือกตั้งก่อเกิดมายาคติ แห่งประชาธิปไตยว่าลำพังเพียงแค่หย่อนบัตรลงหีบเท่านั้น.....

1) มันก็สามารถเชื่อมต่อประชาชนผู้ออกเสียงเข้ากับนักการเมือง และ

2) มันช่วยให้ประชาชนคุมนักการเมืองได้จริงๆ

ซึ่ง ดูจากประสบการณ์ก็จะพบว่ามันหาได้จริงเช่นนั้นไม่ ดังปรากฏนักการเมืองทุจริต บิดเบือนฉวยใช้อำนาจในทางมิชอบ ทรยศหักหลังประชาชนมากมาย อย่างไรก็ตาม ด้วยมายาคติข้างต้นนี้ เราก็ให้อำนาจมหาศาลแก่นักการเมืองที่ได้รับเลือกตั้ง เช่น อำนาจประกาศสงคราม, อำนาจในการเปลี่ยนตัวผู้นำ ฯลฯ

ทั้งที่หากอำนาจทำนองเดียวกันตกเป็นของผู้นำที่สืบเชื้อสายสันตติวงศ์มาแล้ว เรากลับหวาดระแวงและคอยจับตาดูตลอดเวลา

นอกจากนี้ ฝ่ายนิยมสาธารณรัฐประชาธิปไตยมักโจมตีว่าจุดอ่อนข้อบกพร่องของระบอบกษัตริย์คือเราไม่อาจโหวตให้กษัตริย์พ้นจากตำแหน่งได้

ต่อ เรื่องนี้ Coulombe ตอบว่าหากกษัตริย์พระองค์ใดไม่ดีจริงก็มักอยู่ในอำนาจได้ไม่นาน โดยสมาชิกราชวงศ์ที่เหลือจะช่วยกันแก้ไขปัญหาให้พ้นไป ทว่าเหตุทำนองนี้ก็ไม่เกิดบ่อยนัก เพราะเอาเข้าจริงระบอบกษัตริย์มักปรับปรุงแก้ไขตัวเองได้มาก แม้ว่าลักษณะดังกล่าวจะสรุปถอดถอนออกมาเป็นสูตรสำเร็จทางวิชาการไม่ได้และ ค่อนข้างยุ่งเหยิงยุ่งยากก็ตาม

ในทางกลับกัน ตัวประธานาธิบดีจากการเลือกตั้งต้องคอยระวังตัวกลัวถูกคนอื่นแย่งอำนาจ มันสะท้อนว่าเนื้อแท้แล้วระบอบสาธารณรัฐประชาธิปไตยแบ่งแยกคนให้แตกกัน ก่อเกิดบาดแผล แก่ระเบียบการเมืองซึ่งต้องค่อยๆ เยียวยาอยู่ช้านานกว่าจะหาย ยกตัวอย่างเช่นการกล่าวร้ายโจมตีกันวุ่นวายระหว่างนักการเมืองพรรคเดียวกัน และต่างพรรคในช่วงรณรงค์หาเสียงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของอเมริกาที่กำลัง เริ่มต้นขึ้นในปีนี้เป็นต้น

ฉะนั้น ในบรรดาประเทศที่โค่นกษัตริย์ออกไปแล้ว สิ่งที่พวกเขาได้มาแทนมักจะเป็นแก๊ง ก๊วนต่างๆ ที่แก่งแย่งกันทุจริตรีดไถเหมือนๆ กัน

ผู้นิยมสาธารณรัฐมองว่าประชาธิปไตยเป็นระบอบแทนตนที่ชอบธรรมแต่เพียงระบอบเดียว เป็นวิธีการเดียวที่จะป้องกันไม่ให้เกิดทรราชได้

แต่ เอาเข้าจริงประชาธิปไตยบรรลุได้เพียงแค่อำนาจสูงสุดของเสียงข้างมากชั่วคราว เท่านั้น (the supremacy of a temporary majority) ขณะที่ระบอบกษัตริย์ปกครองจากหลักการที่สูงส่งกว่าแค่การเดินตามกระแสเลือก ตั้ง และในระบอบที่ผสมผสานสถาบันกษัตริย์เข้ากับประชาธิปไตยนั้น ส่วนที่เกี่ยวข้องกับสถาบันกษัตริย์ต่างหากที่คอยพิทักษ์ปกป้องส่วนที่เป็น ประชาธิปไตยเอาไว้

สำหรับฐานะบทบาทของสถาบันกษัตริย์ในระบอบผสมผสาน ดังกล่าว ปกติกษัตริย์จะไม่ทรงมีอำนาจจริงในการเมืองประจำวัน แต่ทรงมีศักยภาพทางอำนาจในภาวะวิกฤตคับขันเมื่อรัฐบาลทำงานไม่ได้

นอก จากนี้กษัตริย์ยังทรงมีบทบาทถ่วงดุล-ปรับดุลในการเมืองประจำวันด้วย เพราะพระองค์เป็นหลักเป็นแกนมาตรฐานของบ้านเมืองให้นักการเมืองเจริญรอยตาม เบื้องพระยุคลบาท จึงทรงมีผลต่อการเมืองที่เหลือ

ในฐานะนักดนตรี คลาสสิก แมคคาลิสเตอร์เปรียบเปรยว่ากษัตริย์ยังทรงดูแลผลประโยชน์ของประชาชนโดยรวม เสมือนวาทยกรวงซิมโฟนีออเคสตราคอยกำกับดูแลไม่ให้เครื่องดนตรีชิ้นหนึ่งชิ้น ใดเล่นผิดโน้ตหรือดังสนั่นเกินขนาดจน (ผลประโยชน์ของคนใดคนหนึ่ง) ไปกลบเสียงเครื่องดนตรีชิ้นอื่นหรือไม่สอดคล้องกลมกลืนกับผลประโยชน์ส่วนรวม โดยเฉพาะไปกลบกดทับผลประโยชน์ของชนส่วนน้อย

ฉะนั้น หากไร้กษัตริย์ ประเทศก็จะแตกแยก คนส่วนหนึ่งในวงก็อาจจะยึดเอาทั้งประเทศไปครอง

ส่วน ที่หาว่ากษัตริย์ย่อมเหินห่างและฉะนั้นจึงไม่สนองผลประโยชน์ของประชาชนก็ไม่ จริง ดังจะเห็นได้ว่าทรงสามารถบันดาลใจให้ราษฎรภักดีต่อชาติได้ผ่านการภักดีต่อ พระองค์ อีกทั้งราษฎรก็รู้สึกว่าการสัมพันธ์กับพระองค์มีความหมายอิ่มเอิบลึกซึ้งกิน ใจกว่าสัมพันธ์กับนักการเมืองธรรมดา โดยแมคคาลิสเตอร์ได้อ้างคำสัมภาษณ์ของหญิงไทยวัยกลางคนผู้หนึ่ง ณ วัดไทยในลอสแองเจลิส เกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาประกอบว่า (แม้ไวยากรณ์และศัพท์แสงอังกฤษของเธออาจผิดเพี้ยนไปบ้าง แต่เนื้อความชัดเจนจนไม่จำต้องแปลเป็นไทย):

"The King is the best of the whole world. I love the King the most of the whole world. I love him more than my own life. Everybody do that, believe me. I can die for him. 100%."

ทำไมพระองค์จึงบันดาลใจคนไทยให้เกิดความรู้สึกอันแรงกล้าได้มากขนาดนั้นล่ะครับ?

"Because he do a lot of good things. It′s not he talk only but he do it. You know you are a king, why do you have to go to the forest, to the jungle, to the mountain. You are the King you can stay very good in the palace. But he don′t. He pity on the people. He want the people to live in a good life."

อนึ่ง ชนชั้นนักการเมืองนั้นมีบุคลิกโดยธรรมชาติที่ทะเยอทะยานมักใหญ่ใฝ่สูง ทุ่มสุดตัว หิวอำนาจ เหี้ยมเกรียม ไม่ยับยั้งชั่งใจ ไม่สงสารผู้แพ้ แรงขับเคลื่อนในจิตใจสูงมาก ซึ่งก็ดีต่อการเป็นผู้นำพาประเทศให้ก้าวรุดหน้าไป ทว่าก็ต้องมีคนคอยถ่วงดุลไว้บ้าง ซึ่งก็คือกษัตริย์นั่นเอง

3) กษัตริย์ทรงเป็นผู้นำทางจิตใจ

กษัตริย์ ยังทรงเป็นผู้นำทางจิตใจ เป็นตัวแทนศีลธรรมที่ถูกที่ชอบทางจิตใจ ด้วยความที่สถาบันกษัตริย์มีรากเหง้าอยู่ในประวัติศาสตร์แต่อดีต และเป็นตัวแทนความต่อเนื่องไปในอนาคต สถาบันกษัตริย์จึงดำรงอยู่เกินกว่าผลประโยชน์เฉพาะหน้าปัจจุบัน อยู่เหนือความผูกพันกับการดำรงอยู่ของเราในฐานะปัจเจกบุคคล แมคคาลิสเตอร์อุปมาอุปไมยว่าในแง่นี้กษัตริย์จึงเปรียบเสมือน

พ่อแม่ที่อยู่เหนือกาลเวลา

แมคคาลิสเตอร์ และ Coulombe ผลัดกันสรุปตบท้ายว่าผู้นิยมสาธารณรัฐประชาธิปไตยมักอ้างเรื่องสิทธิของ ประชาชนที่จะปกครองตนเอง แต่เอาเข้าจริงใครล่ะที่ได้ปกครองในทางปฏิบัติ? ก็คนคนเดียวที่มาจากการเลือกตั้งนั่นแหละ คือตัวประธานาธิบดีไง ซึ่งก็มีอำนาจราวกับกษัตริย์แต่ก่อน ชั่วแต่ว่ากษัตริย์ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง หากสืบสันตติวงศ์มา, อยู่เหนือการเมืองเรื่องแบ่งพรรคฝักฝ่าย และยึดถือผลประโยชน์ของทุกคน

สาธารณรัฐ นั้นเข้าท่าบนแผ่นกระดาษ, ส่วนประชาธิปไตยก็ดีในเชิงนามธรรม แต่เมื่อใดเราว่ากันบนพื้นฐานความเป็นจริงและประสบการณ์แล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือการต่อสู้แย่งชิงอำนาจ กำจัด กวาดล้างกัน ส่วนฝ่ายค้านก็ถูกข่มเหงรังแก

ฉะนั้น หากถามว่าจะ For King or Country ดีแล้ว? แมคคาลิสเตอร์ตอบในทำนองราชาชาตินิยมว่าเอาทั้งคู่นั่นแหละ เพราะแยกจากกันไม่ได้

แน่ นอนว่าย่อมมีชาวอเมริกันและผู้ฟังทั่วไปทั้งที่เห็นด้วยและเห็นต่างจาก ทรรศนะเหตุผลประการต่างๆ ของแมคคาลิสเตอร์กับพวกดังยกมาข้างต้นเป็นธรรมดา อาทิ ข้อคิดเห็นโต้แย้งของ Mona Broshammar กับพวกที่สังกัดสมาคม Republikanska Foreningen ในสวีเดน (http://www.repf.se/) ซึ่งปรากฏในตอน For King or Country? Part 1, 29 มีนาคม 2011

ทว่าประเด็นสำคัญอยู่ ตรงระเบียบสถาบันการเมืองอเมริกันยินดีเปิดรับการท้าทายโต้แย้ง ด้วยเหตุผลข้อถกเถียงดังกล่าวอย่างเปิดเผยตรงไปตรงมา อันจะนำไปสู่การสานเสวนาแลกเปลี่ยน เรียนรู้หรือนัยหนึ่งทะเลาะกันอย่างสันติที่อาจก่อตัวเป็นพลังพลวัตทางปัญญา ในสังคมและจุดประกายให้เกิดกระแสการปรับตัวเปลี่ยนแปลงปฏิรูประเบียบสถาบัน การเมืองในที่สุด

มันอาจไม่นำไปสู่ระบอบราชาธิปไตยใต้รัฐธรรมนูญ อย่างที่แมคคาลิสเตอร์กับพวกมุ่งหวัง แต่มันย่อมมีส่วนช่วยเปิดเผยบ่งชี้จุดอ่อนช่องโหว่ข้อบกพร่องในระบอบ สาธารณรัฐประชาธิปไตยอเมริกันดังที่เป็นอยู่ และเป็นโอกาสในการแก้ไขปรับปรุงตัวมันเองให้ดีขึ้นได้บ้างไม่มากก็น้อย

เทียบ กับการตวาดข่มขู่ปิดกั้นเหยียบกดผู้เห็นต่างสุดโต่งให้เงียบด้วยความกลัว แล้ว วิธีแบบอเมริกันนับว่าฉลาดกว่าและเป็นคุณต่อระเบียบการเมืองและสังคมของตัว เองยิ่งกว่ามากมายนัก

2หมอ

ที่มา ข่าวสด

คอลัมน์ เหล็กใน
สมิงสามผลัด



ยังเป็นที่กังขาในสังคมอย่างต่อเนื่อง

กรณีคณะอนุกรรมการฯชุดหมอวิชัย โชควิวัฒน สอบกรณีอีเมล์สินบนสื่อแล้วพบว่าผู้ถูกกล่าวหา 2-3 คนในเครือ"มติชน-ข่าวสด"ไม่มีความผิด

แต่ดันไปสอบนอกประเด็น ไปนับชิ้นโฆษณา นับรูปหน้า 1 นับชิ้นคอลัมน์ต่างๆ

แล้วไปเหมารวมสรุปว่า"มติชน-ข่าวสด"เสนอข่าวเอนเอียงเข้าข้างพรรคเพื่อไทย

หรืออีกนัยก็คือ"มติชน-ข่าวสด"ไม่เสนอข่าวเข้าข้างนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และพรรคประชาธิปัตย์

น่าจะตั้งข้อหาไม่เอนเอียงประชาธิปัตย์มากกว่า !?

ดังนั้นก็เกิดคำถามตามมาอีกว่าแล้วสื่อบางสื่อที่ได้รับสัมปทานรัฐในยุครัฐบาลประชาธิปัตย์

เสนอข่าวเชียร์นายอภิสิทธิ์มาตลอด

เป็นอุดมการณ์สื่อล้วนๆ ไม่มีความเอนเอียงเลยหรือ !?

ในกรณีการกล่าวหา"มติชน-ข่าวสด"เอนเอียง คอลัมน์ ต่างๆ เขียนโจมตีนายอภิสิทธิ์นั้น

ก็ต้องชี้แจงว่าตลอดระยะเวลา 2 ปีที่เกิดเหตุการณ์วิกฤตขึ้นในบ้านเมือง

การสลายม็อบแดงจนมีผู้เสียชีวิต 91 ศพ บาดเจ็บอีกกว่า 2 พันคน

มีคนเสื้อแดงถูกจองจำอีกหลายร้อยคน

"ข่าวสด-มติชน"ยืนหยัดตรวจสอบอำนาจรัฐ และทวงความยุติธรรมมาตลอด

เป็นความจริงที่เกิดขึ้น ไม่ใช่การใส่ร้ายป้ายสี

ฉะนั้น จะมาเหมาว่า"มติชน-ข่าวสด"มุ่งโจมตีรัฐบาล อภิสิทธิ์ไม่ได้

และในกรณีการทวงความยุติธรรม 91 ศพ

ก็ทำให้นึกถึงรายงานการสอบสวนกรณี 91 ศพของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่มีการนำมาเปิดเผยเมื่อเดือนก.ค.ที่ผ่านมา

เพราะรายงานชิ้นนั้นก็"อุ้ม"รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ว่าไม่มีความผิด

ไม่ต้องรับผิดชอบการตายถึง 91 ศพ

เพราะผู้ชุมนุมเป็นคนก่อความรุนแรงเอง

ที่สำคัญรายงานชิ้นนี้เป็นฝีมือการรวบรวมและสรุปของหมอชูชัย ศุภวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการสิทธิฯนั่นเอง

พอเห็นชื่อหมอชูชัยก็ทำให้นึกถึงหมอวิชัย

นึก ถึงจดหมายที่หมอวิชัยเขียนถึงนายอภิสิทธิ์สมัยที่เป็นนายกฯ ฝากฝังหมอชูชัยเป็นปลัดสาธารณสุข ด้วยเหตุผลว่าเป็นผู้ที่ทุ่มเททำงานให้พรรคประชาธิปัตย์มาอย่างยืนหยัดยาว นาน !?

ความเชื่อมโยง ความสัมพันธ์ และการทุ่มเทข้างต้น

สังคมก็มีสิทธิ์ตั้งคำถามถึง"ความเที่ยงตรง" ในการสอบสวนกรณีอีเมล์สินบน-กรณี 91 ศพ ด้วยเช่นกัน

2 มุมมองคนข่าวเครือ "เนชั่น" คำด่า "สื่อหัวหงอก" ของ "กนก" บทวิพากษ์ "สื่อโง่" ของ "นิธินันท์"

ที่มา มติชน

ในประเทศ

ภาย หลังกรณีร้อนจากผลการสอบสวนของ "คณะอนุกรรมการเฉพาะเรื่องตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีการส่งอีเมลของนักการเมืองระบุการให้เงิน และผลประโยชน์แก่ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน" ที่ออกมาระบุว่าการนำเสนอข่าวสารและบทความในช่วงหาเสียงเลือกตั้งของหนังสือ พิมพ์ "ข่าวสด-มติชน" นั้น น่าจะมีความเอนเอียงในการก่อให้เกิดประโยชน์แก่พรรคเพื่อไทยอย่างเป็นระบบ

ก็มีเสียงสะท้อนจากเพื่อนร่วมวิชาชีพสื่อมวลชนหลายรายเกิดขึ้นตามมา โดยเสียงแรกๆ ที่ดังขึ้น นั้นมีที่มาจากฝั่งเนชั่น

เมื่อ "กนก รัตน์วงศ์สกุล" ผู้อำนวยการส่วนงานผู้ประกาศข่าว และ "นิธินันท์ ยอแสงรัตน์" บรรณาธิการอาวุโสฝ่ายบริหาร บริษัท เนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้แสดงความเห็นต่อกรณีดังกล่าวในช่วงเวลาใกล้ๆ กัน

แต่ด้วยมุมมองที่ผิดแผกจากกันอย่างสิ้นเชิง ดังนี้



กนกได้เขียนบันทึกลงในเฟซบุ๊กส่วนตัว 2 ชิ้นติดต่อกัน เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม

โดยบันทึกชิ้นแรกมีชื่อว่า "ชาตินี้อย่าหวังจะได้เหรียญสิบจากกู" ซึ่งระบุว่า

"ผล การตรวจสอบอีเมลปริศนาจาก นายวิม รุ่งวัฒนะจินดา รองโฆษกพรรคเพื่อไทย ไม่สงสัยเลยว่าทำไมพรรคประชาธิปัตย์ถึงพ่ายแพ้หมดรูป เพราะพรรคนี้ต้องสู้กับนักธุรกิจการเมืองที่รวยที่สุด มีคดีฉ้อโกงมากที่สุด สู้กับกฎหมู่ สู้กับการปล่อยข่าว-ปลุกระดม และสู้กับ ข่าวสด มติชน ไทยรัฐ ชาตินี้ผมจะไม่เสียตังค์ซื้อ น.ส.พ. ทั้ง 3 ฉบับนี้ แม้ไปเจอกล้วยแขกที่ขายตามสี่แยก ถ้าเห็นถุงใส่กล้วยแขกเป็น น.ส.พ. 3 หัวนี้ ผมก็จะไม่ซื้อกล้วยแขกเจ้านั้นด้วย"

ขณะที่บันทึกชิ้นต่อมามี ชื่อว่า "เสียชาติเกิดเป็นนักหนังสือพิมพ์" ซึ่งนักอ่านข่าวชื่อดัง เขียนชื่นชมผู้สื่อข่าวจากสถานีโทรทัศน์ช่องหนึ่ง ที่ตั้งคำถามหลายข้อกับ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จนนายกรัฐมนตรีต้องเดินหนี รวมทั้งสอบถามชื่อและสังกัดของนักข่าวรายนั้นจากคณะติดตามนายกฯ

ก่อนจะเปรียบเปรยว่า

"ยัง มีน้องๆ นักข่าวอีกหลายคน ที่ถามอย่างมีเกียรติภูมิ มีศักดิ์ศรี มีสำนึกแยกแยะดี-เลวได้ ไม่เหมือนไอ้นักหนังสือพิมพ์หัวหงอกที่ทรยศวิชาชีพ อุตส่าห์ก่อตั้งหนังสือพิมพ์คุณภาพมา 30 กว่าปี ต้องมาเสียผู้เสียคน เดี๋ยวนี้เห็นหนังสือพิมพ์หัวนี้วางอยู่ จะถ่มถุย...ยังเสียดายน้ำลาย"



ส่วนนิธินันท์ได้เขียนข้อความต่อเนื่องกันหลายสิบประเด็นลงในสถานะเฟซบุ๊กของตนเอง ซึ่งมีรายละเอียดส่วนหนึ่งดังนี้

"เห็น ด้วยว่าผลสอบมีปัญหา อ่านแล้วคลื่นไส้มาก สรุปว่าถ้าเป็น "พวกเรา" ทำอะไรก็ถูกหมด ดีหมด ถ้าทำท่าว่าไม่ใช่พวกเรา พวกมันต้องทุจริตแน่ๆ สื่อเชียร์พรรคประชาธิปัตย์ เชียร์กลุ่มอภิสิทธิ์ชนออกนอกหน้า หรือด่าพรรคเพื่อไทยและชาวบ้านที่ไม่เอาด้วยกับอภิสิทธิ์ชนอย่างสาดเสียเท เสีย ใส่ร้ายป้ายสีเขาชนิดไม่มีความเที่ยงธรรมแม้แต่น้อยก็ได้ ไม่เป็นไร ไม่มีปัญหา ถือเป็นสื่อดีวิเศษ แต่สื่อที่ทำต่างจากนี้ มีปัญหา พวกมันมีแนวโน้มโกง เลว..."

"สื่อทุกวันนี้ก็เหมือนกันหมด ไอ้เรื่องประเภทสื่อขายตัว รับเงิน ฯลฯ งี่เง่าเหล่านั้น มันเป็นคำใหญ่โตเอาไว้หลอกด่า เอาดีใส่ตัวเอาชั่วใส่คนอื่น ทุกสื่อทำมาหากินแบบธุรกิจ และอาจ "เลือกข้าง" แนวคิด อุดมคติทางการเมือง สิ่งที่จะพิสูจน์ว่าสื่อทำหน้าที่สื่อหรือไม่แม้คุณจะเลือกข้างก็คือ คุณรายงานข่าวรอบด้านอย่างเที่ยงธรรมเพียงใด หรือคุณระงับใจคุณไม่ให้อคติจนกลายเป็นไส่ร้ายป้ายสี สร้างข่าวขึ้นมาเองเพื่อให้ร้ายฝ่ายตรงข้ามอย่างไรมากกว่า ไอ้ประเภทมาชี้หน้าหาเรื่องกันว่า คนนั้นคนนี้เป็นสื่อเลวเพราะทักษิณ อันนี้ทุเรศ เพราะคนที่เชียร์ฝ่ายตรงข้ามทักษิณอย่างออกนอกหน้าก็มีเยอะ ทำไมไม่ด่ากันบ้างละคะ นี่ก็เป็นอีกตัวอย่างของสองมาตรฐานในสังคมไทยที่ไร้หลักการ"

"เคสนาย วิม นึกๆ ก็ประหลาดใจนะ เขียนเมลถึงหัวหน้าตัวเอง "สั่งการ" ให้ไปบอกทักษิณอย่างนั้นอย่างนี้ มันไม่เป็น "ธรรมชาติ" มากๆ ใครสั่งทักษิณได้หรือ ทักษิณคนที่ภาพลักษณ์ชัดเจนว่า ไม่รู้จักนิ่ง ไม่รู้จักอ่อนน้อมถ่อมตนนี่นะ สั่งได้ แถมเงินที่ว่าจ่าย "ซื้อนักข่าว" รายละสองหมื่นนี่ก็ "ตลกมาก" และอ่านในผลสอบก็ชัดๆ ว่า แต่ละคนที่ถูกกล่าวหานั้น ไม่ได้รับผิดชอบข่าวประจำวันของหนังสือพิมพ์ฉบับนั้นๆ เลย มองดีๆ สิคะ มันเป็นรายการ "สร้างเรื่อง" "หาเรื่อง" ชัดๆ หาเรื่องและสร้างเรื่องบนความอ่อนไหวเชิงดรามาของคนไทยเรื่อง "อุดมคติและจริยธรรมอันยิ่งใหญ่ของคนดี""



"ที่กล่าวมานี้ไม่ ได้หมายความว่า สื่อ "รับเงิน-ขายตัว" เป็นเรื่องธรรมดาตามที่ว่ากันมาเป็น cliche (ความคิดที่คร่ำครึ/ข้อกล่าวอ้างซ้ำซาก) แต่หมายความว่า ข้อกล่าวหาอย่างนั้น เป็นเรื่องตลกไปเสียแล้ว สื่อก็ทำงานรับเงินเดือน บริษัทสื่อก็ทำธุรกิจ การทำงานสื่อก็เป็นองค์กร เป็นระบบกองบรรณาธิการ ดังนั้น มันก็ไม่ใช่เรื่องประเภท นักการเมืองไปเรียกคนทำสื่อมาสักคน จ่ายเงินแล้วบอกว่า เขียนเชียร์ฉันหน่อยนะ เพราะรูปแบบอย่างนั้นเป็นเรื่องตื้นเกินไป

"ข้อเท็จจริงที่เป็นอยู่ คือบริษัทสื่อรับเงินโฆษณา ฝ่ายธุรกิจซื้อพื้นที่สื่อลงโฆษณาสินค้าของตน ธุรกิจสื่อก็อยู่รอด และเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องรับซอง เป็นเรื่องธุรกิจ สมัยก่อน ฝ่ายโฆษณาไม่บอกฝ่ายบรรณาธิการว่าช่วยทำข่าวเรื่องนั้นเรื่องนี้ แยกกันเด็ดขาด แต่สมัยนี้ บางทีฝ่ายโฆษณาก็มาบอกฝ่ายข่าวว่าทำเรื่องนั้นนี้ให้บ้าง เส้นแบ่งข่าวกับธุรกิจมันก็ค่อยๆ บางลง

"พอถึงยุคการเมืองเข้ม ก็มีอีก สมัยที่รัฐบาลทักษิณยังไม่ถูกรัฐประหาร สื่อบางกลุ่มก็ไปประชุมร่วมกับฝ่ายจะล้มรัฐบาล วางแผนกันเสร็จสรรพ จะทำทุกวิธีล้มให้ได้ ฝ่ายธุรกิจที่เกลียดรัฐบาลก็สนับสนุนซื้อพื้นที่สื่อนั้น สื่อนั้นก็ได้โฆษณาจากฝ่ายธุรกิจที่เป็นพวกเดียวกัน พอรัฐบาลใหม่มา ก็มีงบฯ จากกระทรวงต่างๆ ให้สื่อมาจัดกิจกรรมหาเงินที่เรียกว่าจัด event อีก ถ้าไม่เกี่ยวกับทักษิณ ทำได้ ไม่มีผิดเลย ไม่มีการกล่าวหาใดๆ เลย เพราะบอกกันว่า นี่แหละธุรกิจ

"แต่พอจะหาเรื่องกัน ก็บอก นี่พวกทักษิณนี่ บริษัททักษิณ พรรคทักษิณมาซื้อพื้นที่สื่อนี้เยอะ มันต้องเข้าข้างทักษิณแน่เลย...อ้าว แล้วพวกที่ได้จากอีกฝ่ายละคะ พวกที่ร่วมประชุมวางแผนล้มรัฐบาลทักษิณล่ะ???

"สื่อที่รับโฆษณาจาก ฝ่ายที่เกลียดทักษิณก็บอกว่า โอ๊ย ฉันเที่ยงธรรม ฉันไม่เชียร์ประชาธิปัตย์ออกนอกหน้าหรอก ซึ่งเขาก็อาจจะพยายามเที่ยงธรรมจริง แต่ถ้าอย่างนั้น ทำไมไม่คิดละคะว่า สื่อที่รับโฆษณาจากฝ่ายชอบทักษิณเขาก็พูดได้เหมือนกันว่าเขาเที่ยงธรรม

"เห็น ไหมว่า ความเกลียดทักษิณในสังคมไทยนี้มันทำให้คนไทยโง่และบ้ากันหมด ไร้หลักการโดยสิ้นเชิง แถมยังงี่เง่าพอที่จะยกหลักการหรูๆ คำพูดสวยๆ ใหญ่โตต่างๆ มาอ้างว่าตนเป็นคนดีกว่า มีจริยธรรมกว่า ไปข่มทับคนอื่นแบบไร้หลักการด้วย

"แน่นอนว่าคนก็อ้าง "อุดมการณ์" กันทั้งนั้น แต่ไหนๆ ก็ไหนๆ นะ ควรจะตาสว่างฉลาดเฉลียว มองให้เห็นความแตกต่างระหว่างอุดมการณ์แบบอนุรักษนิยม ยอมจำนนให้อภิสิทธิ์ชนซึ่งอ้างตัวเป็นคนดีควบคุมดูแลประเทศ กับอุดมการณ์เสรีนิยมประชาธิปไตย ที่เชื่อมั่นและเคารพในเสรีภาพของปัจเจก เคารพในสิทธิเสียงของสามัญชน คนเกิดมามีเสรีภาพ เราก็มีสิทธิเลือกอุดมการณ์ของเรา มันเรื่องอะไรเอาสื่อไปมอมเมาผู้คนให้ยอมจำนน และสื่อที่อ้างอุดมการณ์เหล่านั้นก็ได้เงินสนับสนุนจากกลุ่มอนุรักษนิยม อย่างนี้จะถือว่า ขายตัวให้อนุรักษนิยมไหม หรือถือว่ามีอุดมการณ์ร่วมกัน"

"ถ้าอย่างนั้น มันเรื่องอะไรไปชี้หน้ากล่าวหาคนอื่นที่มีอุดมการณ์แตกต่างว่าขายตัว"



"ความ คิด cliche หนึ่งที่สื่อไทยใส่หัวคนในสังคมมาตลอดเพราะคนทำสื่อจำนวนหนึ่งก็ดัน "โง่" เชื่ออย่างนั้นจริงจังก็คือ คนซื้อได้ คนไม่มีหัวคิดเป็นของตัวเอง ใครคิดอะไรไม่เหมือนเรา ไม่คิดถึงสถาบันชาติในแนวเดียวกับเรา แปลว่า มัน "ขายตัว"...คิดอัตโนมัติกันแบบนั้น จึงไม่มีทางมองเห็นภาพรวมเลย ไม่เห็นประเด็นปัญหาจริงๆ เลย เพราะมันฝังหัวอยู่แค่นั้น ในกรอบจำกัดแค่นั้น..."

"แต่ตอนนี้ที่เราคิดว่าตลกมาก คือ วิธีและแนวคิดสอบสวนเรื่องสื่อรับสินบนจากพรรคการเมืองของสภาการหนังสือ พิมพ์ ซึ่งกำลังโกโซบิ๊กไปใหญ่โต และมีคนทำสื่อกระแสหลักจำนวนมากแสดงท่าทีว่าเราต้องเป็น "เด็กดี" เชื่อฟังสภา และคณะกรรมการสอบสวนของสภาซึ่งล้วนแต่มี "คุณวุฒิสูงส่ง"...เอิ่ม...นะ...ต้องเชื่อฟัง ต้องเคารพ แม้ว่าวิธีสอบสวนจะอคติขนาดนั้นน่ะนะ"

ปะทะ สัประยุทธ์ เพื่อไทย ประชาธิปัตย์ พลังใหม่ พลังเก่า

ที่มา มติชน



บรรยากาศการประชุมรัฐสภาเพื่อแถลงนโยบาย ของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร "คล้าย" อย่างยิ่งกับบรรยากาศการประชุมรัฐสภาเพื่อแถลงนโยบายของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เมื่อปี 2544

คล้ายตรงที่ฝ่ายค้านเป็นพรรคประชาธิปัตย์

จะ ต่างก็เพียงแต่เมื่อปี 2544 นายชวน หลีกภัย เป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ขณะที่ในปี 2554 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์

จะ ต่างก็เพียงแต่เมื่อปี 2544 รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นรัฐบาลของ พรรคไทยรักไทย ขณะที่ในปี 2554 รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นรัฐบาลของพรรคเพื่อไทย

แต่ที่ "คล้าย" เป็นอย่างมากคือระงมแห่งเสียงไม่เห็นด้วย ทำไม่ได้

ตอน ที่รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นำเสนอนโยบาย 30 บาท รักษาทุกโรค นโยบายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง นโยบายพักการชำระหนี้ เสียงจาก นายชวน หลีกภัย เสียงจาก นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ คือ เป็นไปไม่ได้

คำถาม คือ จะเอาเงินมาจากไหน

หลาย คนที่ความจำยังดีน่าจะระลึกถึงการโต้ตอบระหว่าง นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี กับ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้ในประเด็นอันเกี่ยวกับ 30 บาท รักษาทุกโรค

แล้วผลเป็นอย่างไร



กรณีของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความเด่นชัดอย่างยิ่งแล้วด้วยชัยชนะจากการเลือกตั้งทั่วไปเดือนกุมภาพันธ์ 2548

นั่นก็คือ พรรคไทยรักไทยได้รับเลือก 377 จากจำนวน ส.ส.ทั้งสิ้น 500

ความ ต่อเนื่องแห่งความสำเร็จของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ไม่เพียงแต่ทำให้ปรปักษ์ทางการเมืองกระบอกตาร้อนผ่าว ต้องงัดเอาวิธีการรัฐประหารมาโค่นล้มในเดือนกันยายน 2549 แล้วใช้กระบวนการทางการเมืองเล่นงานด้วยความอาฆาตแค้น

หวังตอกฝาโลงให้กับเกียรติภูมิทางการเมืองของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

ผล กลับไม่เป็นไปตามความปรารถนา เพราะในการเลือกตั้งทั่วไปเดือนธันวาคม 2550 พรรคพลังประชาชนอันเป็นความต่อเนื่องจากพรรคไทยรักไทยก็ยังได้รับชัยชนะ

เพราะ ในการเลือกตั้งทั่วไปเดือนกรกฎาคม 2554 พรรคเพื่อไทย อันเป็นความต่อเนื่อง จากพรรคพลังประชาชน พรรคไทยรักไทย ก็ยังได้รับชัยชนะอย่างขาดลอยบนพื้นฐานแห่งคำขวัญ "ทักษิณคิด เพื่อไทยทำ"

เสียงคัดค้านนโยบายพรรคเพื่อไทย ก็เป็นเสียงเดียวกันกับที่เคยพ่ายแพ้พรรคไทยรักไทย พ่ายแพ้พรรคพลังประชาชนมาแล้ว

เพียงแต่เป็นการคัดค้านนโยบายใหม่อันนำเสนอโดยพรรคเพื่อไทยเท่านั้น



ใน ความเป็นจริง การนำเสนอนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท เงินเดือนเริ่มต้นปริญญาตรี 15,000 บาท ตลอดจนการนำร่องแจกแท็บเล็ตให้นักเรียน และบัตรเครดิตชาวนา บัตรเครดิตน้ำมัน

คือ ความต่อเนื่องจากที่เคยเสนอ 30 บาท รักษาทุกโรค เมื่อปี 2544

คือ ความต่อเนื่องจากที่เคยเสนอกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง หมู่บ้านละ 1 ล้านบาท ชุมชนละ 1 ล้านบาท เมื่อปี 2544

คือ ความต่อเนื่องจากธนาคารเพื่อประชาชน

ทุกอย่างยังดำเนินไปตามหลักการ เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ตามแนวทาง "ดูอัล แทรก" ระหว่างเมืองกับชนบท ระหว่างคนชั้นกลางกับรากหญ้า

หรือที่เรียกว่า "ทักษิโนมิก" หรือที่เรียกว่า "ระบอบทักษิณ"

นโยบาย พรรคไทยรักไทยได้รับการ พิสูจน์มาแล้วระหว่างการบริหารเมื่อปี 2544-2549 ถือเป็นความสำเร็จของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ขณะที่นโยบายพรรคเพื่อไทยโดยการขับเคลื่อนของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ยังไม่ผ่านการพิสูจน์

เป็นการตั้งท่าตั้งทางเหมือน นายสมัคร สุนทรเวช และ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ตั้งท่าตั้งทาง

กระนั้น แก่นแท้ของหลักการก็คือความต่อเนื่องจากพรรคไทยรักไทย ต่อเนื่องจากทักษิโณมิก อันเคยขับเคลื่อนโดย พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร

เพียงแต่จะเจอกระแสต้านเหมือน นายสมัคร สุนทรเวช และนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์หรือไม่



ในที่สุดแล้ว การปะทะระหว่างพรรคเพื่อไทยกับพรรคประชาธิปัตย์ก็อยู่ใน ปริมณฑลเดิม

นั่น ก็คือ การปะทะระหว่างพลังใหม่ กระแสใหม่ กับ พลังเก่า กระแสเก่า การปะทะระหว่างทุนใหม่ กับ ทุนเก่า การปะทะระหว่างคนรุ่นใหม่กับคนรุ่นเก่า

พรรคประชาธิปัตย์เป็นตัวแทนทุนเก่า พรรคเพื่อไทยเป็นตัวแทนทุนใหม่

"ปู"ปลุกข้าราชการ ทำงานเป็นทีมเวิร์ก กางนโยบายเร่งด่วน-สั้น-ยาว ดึง"ต่างชาติ"กลับมามองเมืองไทย

ที่มา มติชน




หมายเหตุ - น.ส.ยิ่ง ลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวในการประชุมชี้แจงนโยบายของรัฐบาลและแนวทางจัดทำแผนบริหารราชการแผ่น ดินต่อคณะรัฐมนตรี ปลัดกระทรวง ผู้บัญชาการเหล่าทัพ หัวหน้าส่วนราชการและหน่วยงานต่างๆ ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม

การประชุมวันนี้มีวัตถุประสงค์ที่อยากจะพบปะ กัน เพื่อให้รู้จักจะได้ทำงานเป็นทีมเวิร์กเดียวกัน เพราะทุกคนคือกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาล สำหรับการแถลงนโยบายรัฐบาลต่อรัฐสภานั้น หลักคิดสำคัญคือ ที่ผ่านมาประเทศยังพึ่งพาเศรษฐกิจในต่างประเทศ แต่รัฐบาลต้องการให้การเติบโตทางเศรษฐกิจมีหลักมาจากฐานรากของเศรษฐกิจใน ประเทศ เพื่อให้เกิดความแข็งแรงและยั่งยืน ดังนั้น นโยบายส่วนใหญ่ของรัฐบาลจึงเป็นการกระตุ้นการเติบโตเศรษฐกิจในประเทศ ในส่วนของโครงการเมกะโปรเจ็กต์ก็เป็นการวางรากฐานเพื่ออนาคต ที่เป็นความยั่งยืนของระบบเศรษฐกิจในประเทศ เพื่อให้สามารถแข่งขันได้กับประเทศต่างๆ และอยากเห็นประเทศกลับสู่ความสามัคคีปรองดอง ซึ่งจะเป็นหนทางที่ทำให้ต่างประเทศกลับมามองเมืองไทย

นโยบายเร่ง ด่วนจะแบ่งเป็น 2 ด้าน ซึ่งรัฐบาลมองถึงวิธีการทำงาน คือส่วนไหนที่เร่งด่วนจริงๆ และสามารถทำได้เลย ก็จะบรรจุไว้ในนโยบายเร่งด่วน อีกส่วนคือ ไม่เร่งด่วน แต่อาจจะใช้เวลานาน แต่เราสามารถทำไปก่อนได้เลย เช่น การร่างรัฐธรรมนูญ สามารถดำเนินการได้เลยในปีแรก เพราะอาจจะต้องใช้เวลาในการดำเนินการแก้ไขยาวนาน โดยการยกร่างรัฐธรรมนูญนั้นจะเป็นการยกร่างโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ ที่เป็นสภาอิสระ เลือกมาจากประชาชน มีความอิสระตามหลักการเช่นเดียวกับ คอป. (คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริง เพื่อการปรองดองแห่งชาติ)

สำหรับ นโยบายเร่งด่วนนั้น แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ปัญหาปากท้องประชาชน รัฐบาลจะให้ความสำคัญมาก แต่บรรยากาศปรองดองก็จะเป็นสิ่งที่จะเอื้อให้การดำเนินการทางเศรษฐกิจดีขึ้น เราจึงบรรจุทั้งสองเรื่องไว้ด้วยกัน ด้านการเยียวยาและฟื้นฟูประชาชน ที่จะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรกการเยียวยาที่เกิดจากผลกระทบทางการเมือง จะเป็นการเยียวยาทั้งประชาชน ภาครัฐและเอกชน ซึ่งจะดูแลทั้งหมดโดยไม่มีการแยก ส่วนที่สองการเยียวยาเหตุการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ ซึ่งก็จะเป็นส่วนสำคัญในการสร้างความสามัคคีปรองดองในชาติเช่นกัน สำหรับการตรวจสอบและค้นหาความจริง โดยเฉพาะการทำงานของ คอป.ที่จะให้ความอิสระและสนับสนุนการทำงาน ตามที่ คอป.ร้องขอ

กลุ่ม ที่ 2 การแก้ไขปัญหาค่าครองชีพของประชาชน ซึ่งเป็นสิ่งที่เร่งด่วนจริงๆ ซึ่งเราจะต้องสร้างโอกาสสร้างรายได้ให้เข้าถึงแหล่งทุน โดยจะมีการเพิ่มเงินในกระเป๋าเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายในประเทศก็จะมีนโยบาย เรื่อง 300 บาท และรายได้ของปริญญาตรี 15,000 บาท รวมไปถึงราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและราคาน้ำมัน ที่เป็นตัวกำหนดราคาสินค้าต่างๆ ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาระยะสั้น ในส่วนของระยะยาวคือ การลดค่าใช้จ่าย ด้วยการวางระบบขนส่งทั้งหมด รัฐบาลจะเน้นการสร้างอาชีพและช่วยเหลือในระยะยาว โดยเปิดโอกาสให้เข้าถึงกองทุนเพื่อให้ตั้งตัวได้ในระยะยาวและพัฒนาเรื่อง ประสิทธิภาพ ซึ่งจะเป็นวัตถุประสงค์ของกองทุนทุกกองทุน

กลุ่มที่ 3 คือนโยบายเร่งด่วน เพื่อวางโครงสร้างในระยะยาว อาทิ การวางระบบน้ำ อย่างเรื่องน้ำท่วมที่ทำให้รัฐบาลต้องเจอปัญหาเฉพาะหน้า เราจะต้องบูรณาการการแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำอย่างแท้จริง รวมทั้งการช่วยเหลือภาคผู้ประกอบการ คือจะทำอย่างไรที่จะลดภาษีนิติบุคคล ซึ่งปัจจุบันภาษีตัวนี้ยังอยู่ที่ 30% ซึ่งถือว่าเสียภาษีสูงมากเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน หากเราลดภาษีได้ 23% ในปีแรก และ 20% ในปีที่สอง ทำให้เกิดการแข่งขันและกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศได้

สำหรับด้านอื่นๆ อย่างนโยบายด้านความมั่นคง คืออยากเห็นการเทิดทูนและปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งต้องขอความร่วมมือกับทุกคน รวมไปถึงการเสริมสร้างศักยภาพของกองทัพให้เป็นที่พึ่งของประชาชนได้ นโยบายด้านเศรษฐกิจก็ส่วนใหญ่เป็นเรื่องเร่งด่วน แต่อยากเห็นการลงทุนทางเศรษฐกิจในภาคเศรษฐกิจและบริหาร รวมไปถึงภาคเกษตรที่เป็นการส่งเสริมการผลิต ที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มและการต่อยอด โดยเฉพาะในส่วนของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ส่วนนโยบายด้านสังคมคุณภาพและอาชีพนั้นอยากเห็นการพัฒนาการศึกษาทั้งระบบ สำหรับด้านสังคมอื่นๆ อยากจะแตะในเรื่องนโยบายสตรี ซึ่งอยากเห็นหน่วยงานที่รับผิดชอบบูรณาการเกี่ยวกับเรื่องเด็กและสตรีอย่าง จริงจังทั้งระบบ การพัฒนาของแม่และลูกตั้งแต่อยู่ในครรภ์ รวมไปถึงสตรีที่ถูกรังแกในเรื่องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ จึงอยากขอให้ทุกหน่วยงานมาทำงานบูรณาการ

นโยบายด้านทรัพยากรธรรมชาติ อยากเห็นการรณรงค์และเสริมสร้างการป้องกันการแก้ไขปัญหาในอนาคต ซึ่งอยากจะเห็นหน่วยงานที่เข้ามาทำหน้าที่ในการป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นใน อนาคต นโยบายด้านวิทยาศาสตร์ อยากสร้างนักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์ อีกทั้งโลกที่เปลี่ยนแปลงไป จึงอยากให้พิจารณาศาสตร์ใหม่ๆ เข้ามาเรียนรู้ อีกทั้งการพัฒนาของประเทศ อาเซียนและโลกนั้นอาจจะต้องเข้ามาปรับนโยบายให้สอดคล้อง แต่ต้องระวังไม่ให้เทคโนโลยีต่างๆ มาทำลายความเป็นไทย

ส่วนโยบาย ด้านต่างประเทศ โดยเฉพาะความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งละเอียดอ่อนและรอบคอบ คงต้องฝากทุกหน่วยงานในการเร่งฟื้นฟูความสัมพันธ์ ซึ่งอยากเห็นความร่วมมือทางเศรษฐกิจและความร่วมมือต่างๆ เพื่อสร้างความแข็งแรง และในภูมิภาคอาเซียนเราควรยืนให้ได้ในฐานะของผู้นำ สำหรับนโยบายด้านการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีนั้นก็จะต้องพัฒนาบุคลากร เพราะอยากจะเสริมเครื่องมือเครื่องไม้และบุคลากร และอยากเห็นความเป็นมืออาชีพในการบริการประชาชน

รัฐบาลอยากให้ทุก ท่านสบายใจ รัฐบาลนี้ไม่แก้แค้น เพราะอยากเห็นความสามัคคีปรองดองเกิดขึ้น ขอให้ทุกท่านทำงานอย่างเต็มที่ เพื่อสนองความต้องการของพี่น้องประชาชน ทำงานเพื่อสนองการบริการอย่างมืออาชีพ และที่สำคัญคือ อยากจะขอให้ทำตามนโยบายที่รัฐบาลได้สัญญาไว้กับประชาชน และอยากให้ทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และโปร่งใส ยุติธรรม เพราะวันนี้ ตัวเลขบางตัวดูน่ากลัวสำหรับคนไทย โดยเฉพาะดัชนีความโปร่งใสของประเทศไทยในปี 2553 อยู่ที่ 3.5 จาก 10 จึงต้องมาแก้ไขตรงนี้โดยเร่งด่วน เพื่อกอบกู้ชื่อเสียงคนไทยกลับคืนมา โดยไม่มีการทุจริตคอร์รัปชั่น และระบบการตรวจสอบการทุจริตต่างๆ จะทำอย่างจริงจัง และให้สบายใจ เพราะจะไม่มีระบบการซื้อขายตำแหน่ง และดิฉันพร้อมที่จะเปิดรับคำร้องเรียนจากทุกท่าน ขอให้สบายใจและทำงานอย่างเต็มที่ เราพร้อมให้การสนับสนุน เนื่องจากวันนี้เราเป็นทีมงานเดียวกัน

สำหรับปัญหาเร่งด่วนขณะนี้คือ ปัญหายาเสพติด ที่เราจะต้องป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นมาอีก รวมทั้งปัญหาภาคใต้ ที่เราจะเน้นการสร้างเศรษฐกิจ ส่งเสริมให้มีความเป็นอยู่ดีขึ้น เพื่อบรรเทาปัญหาความวุ่นวายที่เกิดขึ้นได้ โดยยึดแนวทางพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คือเข้าใจ เข้าถึง และพัฒนาร่วมกัน

ประเด็นเร่งด่วนขณะนี้คือ การจัดทำนโยบายของบใหม่ และจัดทำงบประมาณและแผนการบริหาราชการแผ่นดิน จึงต้องขอร้องนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เร่งการประชุมคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบ บูรณาการ (กนจ.) โดยยึดนโยบายที่แถลงไว้กับสภาเป็นที่ตั้ง และขอให้ผู้ว่าฯซีอีโอต่างๆ ไปทบทวนดูว่าแผนที่ได้จัดทำเอาไว้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลหรือไม่ และส่วนไหนที่ไม่ได้กระตุ้นเศรษฐกิจก็ต้องขอร้องให้ประหยัดงบประมาณ นอกจากนี้กลไกการทำงานของรัฐบาล ซึ่งล่าสุดได้ทราบมาว่า มีคณะกรรมการด้านต่างๆ กว่า 282 คณะ จึงขอให้ส่วนราชการต่างๆ ไปทบทวนปรับลดจำนวนคณะทำงานต่างๆ เพราะจะต้องเสียเวลาไปกับการประชุมแต่ละคณะมากมาย ขอให้เน้นประสิทธิภาพมากกว่าปริมาณ จึงขอให้หัวหน้าส่วนราชการทบทวนและหารือกับเจ้ากระทรวง แล้วให้ยืนยันกลับมาก่อน 13 กันยายน 2554

นอกจากนี้อยากจะขอให้ทุก ฝ่ายมีเอกภาพในการแต่งผ้าไทยมาปฏิบัติงาน จึงอยากจะปรึกษาว่า ควรใส่ผ้าไทยวันไหน ซึ่งอาจจะเป็นทุกวันอังคาร หรือวันใดวันหนึ่ง เพราะเดิมเคยมีมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 7 มิถุนายน 2554 แล้วว่าเห็นชอบให้ ครม. ข้าราชการ รัฐวิสาหกิจและเจ้าหน้าที่ของรัฐ นำรูปแบบเสื้อกระดุม 5 เม็ด หรือตัดเย็บผ้าไทยมาใช้ในโอกาสต่างๆ อยู่แล้ว

พัลลภ-ชัยสิทธิ์-โอฬารกุนซือนายกฯ

ที่มา thaifreenews

โดย bozo

เมื่อวันที่ 26 ส.ค.ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การประชุมครม.วันที่ 25 ส.ค.ที่ผ่านมา
ครม.แต่งตั้งข้าราชการการเมือง 7 ตำแหน่ง รวม 32 ราย
ตามที่สำนักเลขาธิการนายกฯ เสนอ ประกอบด้วย

1.ที่ปรึกษานายกฯ จำนวน 4 ราย คือ

พล.อ.พัลลภ ปิ่นมณี
นายโอฬาร ไชยประวัติ
นายสุชน ชาลีเครือ
พล.อ.ชัยสิทธิ์ ชินวัตร


2.รองเลขาธิการนายกฯ ฝ่ายการเมือง 5 ราย คือ
นายสุชาติ ลายน้ำเงิน(ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกฯ)
นายสุรเชษฐ์ ชัยโกศล(นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯ)
นายประสิทธิ์ ชัยวิรัตนะ
นายนิรุตติ คุณวัฒน์
พล.ต.ต.ธวัช บุญเฟื่อง


3.ตำแหน่งที่ปรึกษารองนายกฯ 4 ราย คือ

นายสุชน ชามพูนท(นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกฯและรมว.มหาดไทย)
พล.ต.ต.บุญเลิศ นันทวิสิทธิ์(ร.ต.อ.เฉลิม)
ร.ต.ท.เชาวรินธร์ ลัทธศักย์ศิริ(พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ รองนายกฯ)
พล.ต.ต.ไพฑูรย์ เชิดมณี(นายกิตติรัตน์)

ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ 1 ราย คือ
นายสุวัฒน์ ม่วงศิริ(น.ส.กฤษณา สีหลักษณ์ รมต.ประจำสำนักนายกฯ)

ครม.ยังเห็นชอบแต่งตั้งรองโฆษกประจำสำนักนายกฯ 3 ราย คือ

นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด
น.ส.อนุตตมา อมรวิวัฒน์

และ
นายชลิตรัตน์ จันทรุเบกษา

ตำแหน่งเลขานุการรมต.ประจำสำนักนายกฯ 2 ราย คือ

นายจารุวงศ์ เรืองสุวรรณ(นายสุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รมต.ประจำสำนักนายกฯ)
นายวิม รุ่งวัฒนจินดา(น.ส.กฤษณา)

ตำแหน่งประจำสำนักเลขาธิการนายกฯ 13 ราย คือ

น.ส.ชยิกา วงศ์นภาจันทร์
นายเบญจพล สวัสดิ์พาณิชย์
นายอิทธิ์ณณัฏฐ์ หงษ์ชูเวช
นายวีระ ชูสถาน
นายจักรพงษ์ แสงมณี
นายชวรัชต์ อุรัสยะนันทน์
นางไพจิตร อักษรณรงค์
นายธนกฤต ชะเอมน้อย
นายรังษี เสรีชัยใจมุ่ง
พ.ต.ต.เสงี่ยม สำราญรัตน์
นายพิพัฒน์ชัย ไพบูลย์
นายวรวุฒิ วิชัยดิษฐ
นายอรรถชัย อนันตเมฆ


ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 25 ส.ค. 2554 เป็นต้นไป



http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROd01ERXdNakkzTURnMU5BPT0=&sectionid=TURNd01RPT0=&day=TWpBeE1TMHdPQzB5Tnc9PQ==

ทั้ง"ดีเซล-เบนซิน" "ลด"วันนี้! ถูกลงลิตรละ3-8บาท

ที่มา ข่าวสด

งดเก็บ"กองทุนน้ำมัน" สั่งปรับลงค่าโดยสาร ขสมก.-บขส.-เรือเมล์ ทองขยับบาทละ1,050



แห่ซื้อ - บรรยา กาศร้านทองย่านเยาว ราชคึกคัก ประชาชนแห่เลือกซื้อทองรูปพรรณเพื่อเก็งกำไร หลังราคาดีดขึ้นมาอีกบาทละ 1,050 บาท ส่งผลให้ราคาทองอยู่ที่บาทละ 25,900 บาท เมื่อ 26 ส.ค.

ลด ราคาน้ำมันทันทีมีผลเช้าวันนี้ เบนซิน 95 ลด 8 บาท เบนซิน 91 ลด 7 บาท ส่วนดีเซลลดลง 3 บาท หลัง "ยิ่งลักษณ์" ประชุมกพช.ชะลอเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันทุกประเภท คมนาคมเด้งรับสั่งรถเมล์-บขส.-เรือลดค่าโดยสารด้วย ด้านผู้ประกอบการน้ำมันห่วงกระทบแก๊สโซฮอล์เนื่องจากราคาเบนซินปรับลดลงมา ใกล้เคียงกัน ส่วนราคาทองคำปรับเพิ่มขึ้น 1,050 บาท

"ปู"เรียกประชุมลดราคาน้ำมัน

เมื่อ เวลา 13.00 น. วันที่ 26 ส.ค.ที่ทำเนียบรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) โดยมีวาระสำคัญคือการพิจารณาชะลอการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง

จาก นั้นเวลา 14.50 น. น.ส.ยิ่งลักษณ์เปิด เผยภายหลังการประชุม ว่า ได้ให้นโยบายต่อที่ประชุมว่ารัฐบาลจะดำเนินการตามนโยบายที่แถลงต่อรัฐสภาไว้ ในเรื่องการชะลอการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมัน แต่ในรายละเอียดจะดำเนินการอย่างไรนั้น ได้มอบให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ไปพิจารณาว่าจะลดการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันสำหรับเบนซิน 95 เบนซิน 91 และดีเซลในอัตราเท่าใด รวมทั้งให้ดูปัญหาและผลกระทบโดยรวมที่จะมีต่อน้ำมันแก๊สโซฮอล์และให้นำมา เสนอต่อไปด้วย

ภายหลังการประชุม กพช.เสร็จสิ้น นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รมว.พลังงาน ได้เรียกประชุม กบง. ในทันที โดยใช้เวลาไม่ถึงครึ่งชั่วโมง

ลดทันทีวันนี้"8-3 บ."-เว้นโซฮอล์

จาก นั้นนายพิชัยแถลงว่า ที่ประชุมมีมติตามที่ กพช.อนุมัติให้ลดการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเป็นการชั่วคราว จากน้ำมัน 3 ประเภท คือ เบนซิน 95 ที่จัดเก็บอยู่ที่ 7.50 บาทต่อลิตร รวมภาษีมูลค่าเพิ่มเป็น 8.02 บาทต่อลิตร, เบนซิน 91 จัดเก็บอยู่ที่ 6.70 บาทต่อลิตร รวมภาษีมูลค่าเพิ่มเป็น 7.17 บาทต่อลิตร และน้ำมันดีเซล จัดเก็บอยู่ที่ 2.80 บาทต่อลิตร รวมภาษีมูลค่าเพิ่มเป็น 3 บาทต่อลิตร ซึ่งการปรับลดการจัดเก็บเงินดังกล่าวจะส่งผลให้ราคาหน้าสถานีบริการน้ำมัน ปรับลดลงทันที ในวันที่ 27 ส.ค. หลังเวลา 06.00 น.

ราคาน้ำมัน เบนซิน 95 อยู่ที่ 39.32 บาทต่อลิตร น้ำมันเบนซิน 91 อยู่ที่ 34.77 บาทต่อ ลิตร และดีเซล อยู่ที่ 26.99 บาทต่อลิตร โดยไม่กำหนดระยะเวลาในการใช้มาตรการนี้ และจะพิจารณาความเหมาะสมอีกครั้งว่าจะกลับมาจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมัน แต่มีกำหนดว่าจะใช้มาตรการนี้ไม่เกิน 1 ปี

"การลดการจัดเก็บเงินดัง กล่าวจะทำให้รายได้ของกองทุนน้ำมันหายไป 6,160 ล้านบาท แบ่งเป็นรายได้จากน้ำมันเบนซิน 1,530 ล้านบาท น้ำมันดีเซล 4,629 ล้านบาท แต่เนื่องจากกองทุน มีรายได้จากส่วนอื่นด้วย จึงทำให้รายได้กองทุนจะหายไปจากการลดราคาน้ำมันครั้งนี้เพียง 3,000 ล้านบาท ทั้งนี้ กองทุนน้ำมันได้เตรียมเงินไว้สำหรับการชดเชยน้ำมันที่คงค้างในสถานีบริการ ประมาณ 3,000 ล้านบาท"นายพิชัยกล่าว

เตรียมตรึงดีเซลไม่ให้เกิน 30 บ.

นาย พิชัยกล่าวถึงการกำหนดเพดานน้ำมันดีเซลว่า มีการกำหนดเพดานราคาน้ำมันดีเซลให้ไม่เกิน 30 บาทต่อลิตร จนถึงเดือนก.ย.นี้ จึงสั่งการให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ไปพิจารณาว่า หากราคาสูงขึ้นจะเกินกว่า 30 บาทต่อลิตร ต้องไปดูความเหมาะสมอีกครั้งหนึ่งว่าจะคงเพดานเดิมหรือไม่ หรือจะหามาตรการอื่นมาตรึงไม่ให้ราคาดีเซลสูงขึ้น

"ฐานะกองทุนน้ำมัน ที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้สามารถที่จะใช้ไปได้ถึงสิ้นปีนี้ โดยที่ไม่ต้องกู้เงิน แต่คาดว่าจะเริ่มใช้เงินกู้ในกรอบวงเงิน 20,000 ล้านบาท ในเดือนม.ค.ปีหน้า โดยคาดว่าวงเงินกู้ 20,000 ล้านบาทจะใช้ดูแลราคาน้ำมันประมาณ 6 เดือน"นายพิชัยกล่าว

ส่วนผล กระทบกับการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ นายพิชัยกล่าวว่า คงต้องติดตามว่า การลดราคาน้ำมันเบนซินลงครั้งนี้จะมีผลต่อการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ลดลงอย่าง ไร โดยขอรอดู 1-2 สัปดาห์ก่อน แต่อยากให้ประชาชนใช้แก๊สโซฮอล์ต่อไป เพราะมาตรการดังกล่าวรัฐบาลต้องการช่วยกลุ่มเกษตรกรเป็นอันดับแรก โดยระหว่างนี้ยังไม่มีมาตรการอะไร ขอรอดูข้อมูลที่แท้จริงก่อน ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เตรียมพร้อมสำหรับเรื่องนี้ไว้แล้ว

รม ว.พลังงานกล่าวอีกว่า หลังราคาน้ำมันลดลงแล้วหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมเข้าไปดูต้นทุนสินค้าและ บริการที่ลดลง และจะต้องปรับลดราคาตามความเป็นจริง โดยขณะนี้กระทรวงคมนาคมจะเข้าไปดูต้นทุนด้านขนส่ง ขณะที่กระทรวงพาณิชย์จะเข้าไปตรวจสอบราคาสินค้าว่าจะลดลงได้อย่างไร

"การ ลดราคาน้ำมันเบนซินลงจะช่วยให้ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์กว่า 10 ล้านคันลดรายจ่ายลงได้ 20% และรถยนต์เก่าที่ใช้แก๊สโซฮอล์ไม่ได้อีก 1 ล้านคัน ขณะที่ดีเซลช่วยลดรายจ่ายได้อีก 7 ล้านคัน การดำเนินการครั้งนี้ทำได้อย่างรวดเร็ว เพื่อตั้งใจให้เห็นภาพของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ที่ทำตาม นโยบายที่หาเสียงไว้โดยเร็วที่สุด" นายพิชัยกล่าว

ราคาลงมาใกล้เคียงแก๊สโซฮอล์

รายงาน ข่าวเปิดเผยว่า สำหรับการตรวจสต๊อกน้ำมันที่คงค้างอยู่ในสถานีบริการ จะปล่อยคารา วานเจ้าหน้าที่ออกตรวจสอบสต๊อกน้ำมันตามสถานีบริการน้ำมันทั่วประเทศ ซึ่งมีประมาณ 17,000 สถานีบริการ ตั้งแต่เวลา 22.00 น. ของวันที่ 26 ส.ค. จนถึง 06.00 น. ของวันที่ 27 ส.ค. ก่อนที่จะมีการจ่ายเงินชดเชยให้กับสถานีบริการน้ำมัน และผู้ค้าน้ำมัน โดยนายพิชัยจะเป็นประธานปล่อยคาราวานด้วย ที่กระทรวงพลังงาน ถ.วิภาวดีรังสิต ในเวลา 22.00 น.ด้วย

รายงานข่าวระบุว่า สถานะกองทุนน้ำมันขณะนี้มีเงินสดประมาณ 15,613 ล้านบาท มีหนี้สิน 14,617 ล้านบาท ทำให้เหลือเงินสดสุทธิ 808 ล้านบาท ส่วนเงินไหลเข้าปัจจุบันอยู่ที่เดือนละ 7,346 ล้านบาท มีเงินไหลออก 4,604 ล้านบาท กองทุนมีฐานะเป็นบวกเดือนละ 2,742 ล้านบาท โดยกองทุนน้ำมันฯ จะดูแลราคาน้ำมันได้จนถึงเดือนมกราคมปีหน้า ซึ่งในเวลานั้นอาจจะต้องมีการพิจารณากู้เงินหรือออกพันธบัตร

ผู้ สื่อข่าวรายงานว่า การลดราคาน้ำมันเบนซินลงมาครั้งนี้ทำให้มีราคาขายปลีกใกล้เคียงกับแก๊สโซ ฮอล์ ซึ่งราคาขายปลีกแก๊สโซฮอล์ 95 ปัจจุบันอยู่ที่ลิตรละ 37.04 บาท/ลิตร แก๊สโซฮอล์ 91 อยู่ที่ลิตรละ 34.54 บาท/ลิตร โดยหลายฝ่ายห่วงว่า จะทำให้นโยบายที่สนับสนุนสินค้าเกษตรที่นำมาผลิตเป็นพืชน้ำมันได้มีผลกระทบ เช่น อ้อย มันสำปะหลัง ที่นำมาผลิตเป็นแก๊สโซฮอล์

ปตท.แนะรีบเช็กสต๊อกน้ำมัน

ด้าน นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปตท.พร้อมที่จะดำเนินการตามนโยบายทันที แต่เห็นว่าควรเช็ก สต๊อกน้ำมันคงค้างก่อนและหลังมาตรการมีผล เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย รวมทั้งเชื่อว่าแนวทางรักษาส่วนต่างราคาระหว่างเบนซินกับแก๊สโซฮอล์ ไม่ว่าจะเป็นการใช้เงินจากกองทุนน้ำมัน หรือการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันจะไม่กระทบต่อฐานะกองทุนน้ำมันเพราะเป็นมาตร การระยะสั้นเท่านั้น หากรัฐบาลยังคงต้องการตรึงราคาเอ็นจีวีให้อยู่ที่ระดับ 8.50 บาทต่อกิโลกรัมต่อไป จำเป็นต้องมีมาตรการเสริมมาสนับสนุน เพราะในช่วงปลายปีนี้ สถานีบริการเอ็นจีวีของ ปตท. จะขยายเป็น 500 แห่งทั่วประเทศ และจะมีการใช้มากขึ้นกว่า 200 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน หากไม่มีมาตรการรองรับ จะทำให้ปตท.ต้องแบกรับภาระขาดทุนมากขึ้น

นาย สรัญ รังคสิริ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่กลุ่มธุรกิจน้ำมัน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า แนวโน้มราคาน้ำมันในตลาดโลกสัปดาห์หน้า มีโอกาสปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่ค่าการตลาดน้ำมันทั้งเบนซินและดีเซลเฉลี่ยอยู่ในระดับต่ำกว่า 1 บาทต่อลิตร จึงมีโอกาสที่ปตท. อาจพิจารณาปรับขึ้นราคาน้ำมันอีก 40-50 สตางค์ต่อลิตร แต่จะต้องรอให้การปรับลดการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันมีความชัดเจนก่อน

บางจากหวั่นกระทบโซฮอล์

ด้าน นายอนุสรณ์ แสงนิ่มนวล กรรมการ ผู้จัดการใหญ่ บริษัทบางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า หนักใจมากกับนโยบายลดกองทุนน้ำมันของรัฐบาล ที่จะกระทบต่อยอดขายแก๊ซโซฮอล์ที่ต้องลดลงแน่นอน โดยบางจากมีปั๊มน้ำมันที่ไม่ได้ขายน้ำมันเบนซิน 600 แห่ง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นปั๊มของดีลเลอร์เกือบทั้งหมด บางจากต้องหามาตรการเฉพาะหน้าเพื่อช่วยเหลือดีลเลอร์เหล่านี้ให้อยู่ได้ก่อน โดยในสัปดาห์หน้าบางจากจะเตรียมออกมาตรการทางการตลาดมากระตุ้นยอดขายแก๊สโซ ฮอล์ น่าจะรวมถึงบริษัทน้ำมันอื่นๆ ที่ไม่มีการขายเบนซินในปั๊มด้วย

นายอนุสรณ์ กล่าวว่า หากยอดขายแก๊สโซฮอล์ลดลงจะส่งผลกระทบไปถึงแผนการซื้อ เอทานอลในช่วงไตรมาส 4 ที่จะต้องลดลง จะกระทบต่อผู้ผลิตเอทานอล นโยบายที่ออกมาในครั้งนี้คงจะเห็นผลกระทบชัดเจนในวันเสาร์-อาทิตย์นี้ที่คน ใช้แก๊สโซฮอล์จะแห่ไปเติมเบนซินแทนแก๊สโซฮอล์ เพราะมีราคาต่างกันไม่มาก ทั้งที่ปกติราคาเบนซินควรแพงกว่าแก๊สโซฮอล์ 2.50 บาท/ลิตร จึงจะจูงใจให้ใช้ รู้สึกเสียดายกับการส่งเสริมแก๊สโซฮอล์ที่ทำมากว่า 10 ปี และสามารถสร้างความมั่นใจในการใช้มากขึ้น มองว่า หากคนหันไปใช้เบนซินอีกครั้ง การจะกลับมาใช้แก๊สโซฮอล์คงไม่ใช่เรื่องง่ายนัก

เชลล์แนะไม่ควรใช้เกิน 3 เดือน

นาง พิศวรรณ อัชนะพรกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า นโยบายยกเว้นการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันในส่วนของเบนซิน 95 เบนซิน 91 และดีเซลนั้น จะส่งผลกระทบต่อยอดขายน้ำมันแก๊สโซฮอล์แน่นอน ดังนั้น มาตรการนี้จึงไม่ควรใช้เกิน 3 เดือน ซึ่งรัฐบาลควรให้ความสำคัญกับผู้ใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์บ้าง เพราะที่ผ่านมาก็มีนโยบายส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนมาตลอด ซึ่งเชลล์ขายแก๊สโซฮอล์มา 5 ปีแล้ว และปัจจุบันคิดจากการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ก็มีสัดส่วนสูงถึง 70% ของกลุ่มผู้ใช้เบนซิน ซึ่งถือเป็นอัตราที่สูง ดังนั้น รัฐบาลควรให้การดูแลผู้ใช้กลุ่มใหญ่นี้ด้วย

นางพิศวรรณกล่าวต่อว่า การลดราคาน้ำมันเฉพาะเบนซินจะทำให้มีการนำเข้าน้ำมันมากขึ้น ไม่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ให้ลดการพึ่งพาน้ำมันจากต่างประเทศ อยากให้รัฐบาลทบทวนว่าจะยังคงนโยบายส่งเสริมการใช้แก๊สโซฮอล์ต่อหรือไม่ เพื่อให้เอกชนได้มีเวลาปรับตัวได้ทัน

คมนาคมรับลูกลดค่าโดยสาร

วัน เดียวกัน พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รมว.คมนาคม กล่าวว่า หลังจากกพช.มีมติปรับลดการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ทำให้ดีเซลปรับลดลงลิตรละ 3 บาท ตนได้สั่งการให้หน่วยงานที่อยู่ในความดูแล ไปดำเนินการปรับลดอัตราค่าโดยสารลงทันทีตามขั้นตอน ได้แก่ รถเมล์ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และรถโดยสารประจำทางของบริษัทขนส่ง จำกัด (บขส.) ส่วนรถร่วมเอกชนของ ขสมก. และ บขส. ส่วนค่าโดยสารเรือซึ่งเป็นผู้ประกอบการ เอกชน คงจะต้องหารือและขอความร่วมมือต่อไป

"สั่งการไว้แล้วว่าเรื่องค่า โดยสารรถเมล์ของ ขสมก.และรถ บขส. มีกรอบกติกาตกลงกันไว้อย่างไรให้ยึดตามนั้น ยิ่งเป็นหน่วยงานของเราเอง ต้องปรับลดลงโดยเร็วที่สุด แต่ต้องไปดูขั้นตอนดำเนินว่าจะต้องทำอย่างไร แต่ได้สั่งให้ทำทันที" พล.อ.อ.สุกำพล กล่าว

ลดราคาหมดรถเมล์-บขส.-เรือ

นาย สุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ราคาน้ำมันดีเซลที่ปรับลดลงลิตรละ 3 บาท อยู่ในเงื่อนไขที่ต้องปรับลดค่าโดยสารลง ซึ่งในการประชุมหารือ เพื่อรับมอบนโยบายการทำงานในวันจันทร์ที่ 29 ส.ค. จะนัดหารือเรื่องนี้เป็นการเร่งด่วน แต่ต้องไปดูในกรอบเงื่อนไขตารางขั้นบันไดในการปรับลดหรือเพิ่มค่าโดยสาร หากจะต้องปรับคงต้องดำเนินการทันที

นายถวัลย์รัฐ อ่อนศิระ อธิบดีกรมเจ้าท่า กล่าวว่า ได้แจ้งไปยังผู้ประกอบการเรือทุกประเภท คือ เรือด่วนเจ้าพระยา เรือคลองแสนแสบ และเรือข้ามฟากเพื่อให้ปรับลดราคาลง ซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขที่ผู้ประกอบการได้ตกลงกับคณะกรรม การเพื่อพิจารณาเกี่ยวกับเรือเดินประจำทางที่ระบุว่า หากราคาน้ำมันดีเซลต่ำกว่าลิตรละ 29 บาท ผู้ประกอบการจะต้องปรับลดราคาลงทันที ซึ่งผู้ประกอบการเรือคลองแสนแสบได้ตอบตกลงที่จะปรับลดราคาลงทันที ส่วนผู้ประกอบการเรือด่วนเจ้าพระยา และเรือข้ามฟาก ขอไปพิจารณา และจะกลับมาหารืออีกครั้งในสัปดาห์หน้า เนื่อง จากระบุว่า ต้นทุนการบริหารต่างๆ เริ่มเปลี่ยนไป เช่น ค่าแรง ค่าอะไหล่ ไม่ใช่มีเฉพาะราคาน้ำมันเท่านั้น ซึ่งกรมได้ยืนยันว่า จะต้องปรับลดราคาลง

เผยรถเมล์ขสมก.ลดได้ 1 บาท

นายโอภาส เพชรมุณี ผู้อำนวยการ ขสมก. กล่าวว่า อัตราค่าโดยสารของ ขสมก.ในปัจจุบันคิดบนฐานราคาน้ำมันดีเซลที่ลิตรละ 24 บาท ต่ำกว่าค่าโดยสารของรถร่วมบริการ ขสมก. ซึ่งจัดเก็บค่าโดยสารบนฐานราคาน้ำมันที่ลิตรละ 27 บาท เนื่องจากรัฐบาลในขณะนั้นไม่อนุมัติให้ ขสมก.ขึ้นค่าโดยสาร ทั้งนี้ในหลักการเมื่อราคาน้ำมันดีเซลปรับลดลงลิตรละ 3 บาท อัตราค่าโดยสารก็ต้องปรับลดลงอย่างน้อย 1 บาท แต่ขสมก.จะต้องนำเสนอแนวทางการปรับอัตราค่าโดยสารผ่านไปยังคณะกรรมการขนส่ง ทางบกกลาง และรมว.คมนาคมก่อน

นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร กรรมการผู้จัดการ บขส. กล่าวว่า บขส.เป็นหน่วยงานแรกที่จะนำ ร่องในการปรับลดอัตราค่าโดยสาร เพื่อให้สอด คล้องกับนโยบายปรับลดราคาน้ำมันดีเซลของรัฐบาล โดยขณะนี้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ไปคำนวณอัตราค่าโดยสารใหม่ทั้งหมด คาดว่าจะสามารถประกาศและบังคับใช้อัตราค่าโดยสารใหม่ ได้ในวันที่ 29 ส.ค.นี้

ธปท.ห่วงราคาทองผันผวน

ส่วนความเคลื่อนไหว ราคาทองคำนั้น นาย จิตติ ตั้งสิทธิ์ภักดี นายกสมาคมค้าทองคำ เปิดเผยว่า วันเดียวกันนี้ นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เชิญตัวแทนสมาชิกสมาคมกว่า 10 ราย มาหารือถึงการบริหารความเสี่ยงและมาตรการรองรับสถานการณ์ราคาทองคำที่ผันผวน มาก ซึ่งสมาคมยืนยันว่าร้านค้าทองคำ รวมถึงผู้นำเข้าและส่งออกทองคำรายใหญ่มีมาตรการป้องกันและบริหารความ เสี่ยงอยู่แล้ว รวมทั้งติดตามสถานการณ์ราคาทองคำในตลาดโลกอย่างใกล้ชิดทุกนาที

"ธปท.เป็น ห่วงราคาทองคำที่ปรับขึ้นและลงอย่างรุนแรง จึงเกรงว่าร้านค้าทองคำจะมีมาตร การดูแลความเสี่ยงอย่างไรหรือไม่ ซึ่งยืนยันว่าร้านค้าทองรายใหญ่ได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดแบบนาทีต่อ นาที เพราะถ้าไม่รีบจัดการผู้ค้าก็มีโอกาสขาดทุน และยืนยันว่าการตั้งราคาซื้อขายทองคำในประเทศนั้น สมาคมได้ประชุมกันก่อนตั้งราคาอย่างรอบคอบทุกวัน โดยเฉพาะมีความระมัดระวังอย่างมากในช่วงที่ราคาทองคำผันผวนขึ้นลงเร็ว โดยอ้างอิงกับราคาในต่างประเทศ และค่าเงินบาทในช่วงเวลานั้น เพื่อป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนด้วย ไม่ใช่นายกสมาคมพอใจจะตั้งราคาเท่าไหร่ก็ได้" นายจิตติ กล่าว

สมาคมค้าทองเตือนนักลงทุน

นาย จิตติ ยอมรับว่า ขณะนี้นักลงทุนทั่วโลกกำลังแห่เข้าซื้อทองคำจำนวนมาก จนตลาดทองคำในต่างประเทศเริ่มเกิดภาวะทองคำขาดตลาด และเกิดภาวะตื่นทองคำ ซึ่งบางช่วงราคาทองคำอาจปรับสูงขึ้นแบบไม่มีเหตุมีผล โดยในช่วง 40 วันที่ผ่านมา ราคาทองคำปรับเพิ่มขึ้นบาทละประมาณ 5,000 บาท แต่ภายใน 2 วัน ราคาทองคำก็ปรับลดลงกว่า 2,000 บาท และมองว่าราคายังมีโอกาสที่จะลดลงได้อีก จึงอยากเตือน นักลงทุนและประชาชนทั่วไปให้เพิ่มความระมัด ระวัง ศึกษาข้อมูลและติดตามการเคลื่อนไหวราคาทองคำอย่างใกล้ชิดก่อนลงทุน อย่าเชื่อข่าวโคมลอย

"ส่วนหนึ่งเป็นผลจากกองทุนขนาดใหญ่หลายรายเข้า เทกโอเวอร์เหมืองทองขนาดใหญ่หลายแห่ง จึงเกิดการเก็งกำไร ทำให้ทองคำในตลาดต่างประเทศเริ่มขาดตลาด ผู้นำเข้าทองคำก็ไม่มีทองมาขายในประเทศ บางร้านต้องแจกบัตรจองไว้ก่อน แล้วจึงให้ลูกค้ามารับทองในอีก 1-2 สัปดาห์ข้างหน้า เพราะผู้ค้าทองคำผลิตไม่ทัน ทางสมาคมยืนยันว่าไม่เคยบอกให้ใครหยุดขายหรือกักตุนทองแน่นอน โดยประเมินว่าแนวโน้มราคาทองคำยังคงผันผวนต่อไปขึ้นอยู่กับภาวะตลาด" นายจิตติกล่าว

เผยปรับขึ้นบาทละ 1,050 บ.

ผู้สื่อข่าว รายงานว่า หลังจากราคาทองคำในประเทศร่วงลงแรงถึงบาทละ 1,800 บาท เมื่อวันที่ 25 ส.ค. ซึ่งเกิดจากตลาดซื้อขายโกลด์ฟิว เจอร์สของ COMEX ในนิวยอร์กซึ่งเป็นตลาดขนาดใหญ่ที่สุด ได้ปรับเพิ่มอัตราเงินประกันขั้นต่ำ (มาร์จิ้น) ในการซื้อขาย ทำให้นักลงทุนเทขายออกมา ปรากฏว่าเมื่อวันที่ 26 ส.ค. ราคาได้ดีดขึ้นตลอดวันจนปิดตลาดราคาขึ้นมา 1,050 บาท โดยทองคำแท่งรับซื้อบาทละ 25,400 บาท ขายออกบาทละ 25,500 บาท ทองรูปพรรณรับซื้อบาทละ 25,029.16 บาท ขายออกบาทละ 25,900 บาท ซึ่งนักวิเคราะห์ระบุว่า สาเหตุสำคัญมาจากการที่สหรัฐประกาศตัวเลขคนว่างงานเพิ่มขึ้น ทำให้นักลงทุนไม่มั่นใจเศรษฐกิจสหรัฐ จึงหันกลับมาลงทุนในทองคำ ซึ่งมีความเสี่ยงต่ำอีกครั้ง



พัลลภ-ชัยสิทธิ์-โอฬารกุนซือนายกฯ

เมื่อ วันที่ 26 ส.ค.ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การประชุมครม.วันที่ 25 ส.ค.ที่ผ่านมา ครม.แต่งตั้งข้าราชการการเมือง 7 ตำแหน่ง รวม 32 ราย ตามที่สำนักเลขาธิการนายกฯ เสนอ ประกอบด้วย 1.ที่ปรึกษานายกฯ จำนวน 4 ราย คือ พล.อ.พัลลภ ปิ่นมณี นายโอฬาร ไชยประวัติ นายสุชน ชาลีเครือ พล.อ.ชัยสิทธิ์ ชินวัตร 2.รองเลขาธิการนายกฯ ฝ่ายการเมือง 5 ราย คือ นายสุชาติ ลายน้ำเงิน(ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกฯ) นายสุรเชษฐ์ ชัยโกศล(นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯ) นายประสิทธิ์ ชัยวิรัตนะ นายนิรุตติ คุณวัฒน์ พล.ต.ต.ธวัช บุญเฟื่อง

3.ตำแหน่งที่ปรึกษารอง นายกฯ 4 ราย คือ นายสุชน ชามพูนท(นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกฯและรมว.มหาดไทย) พล.ต.ต.บุญเลิศ นันทวิสิทธิ์(ร.ต.อ.เฉลิม) ร.ต.ท.เชาวรินธร์ ลัทธศักย์ศิริ(พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ รองนายกฯ) พล.ต.ต.ไพฑูรย์ เชิดมณี(นายกิตติรัตน์) ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ 1 ราย คือนายสุวัฒน์ ม่วงศิริ(น.ส.กฤษณา สีหลักษณ์ รมต.ประจำสำนักนายกฯ)

ครม.ยัง เห็นชอบแต่งตั้งรองโฆษกประจำสำนักนายกฯ 3 ราย คือ นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด น.ส.อนุตตมา อมรวิวัฒน์ และนายชลิตรัตน์ จันทรุเบกษา ตำแหน่งเลขานุการรมต.ประจำสำนักนายกฯ 2 ราย คือ นายจารุวงศ์ เรืองสุวรรณ(นายสุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รมต.ประจำสำนักนายกฯ) นายวิม รุ่งวัฒนจินดา(น.ส.กฤษณา) ตำแหน่งประจำสำนักเลขาธิการนายกฯ 13 ราย คือ น.ส.ชยิกา วงศ์นภาจันทร์ นายเบญจพล สวัสดิ์พาณิชย์ นายอิทธิ์ณณัฏฐ์ หงษ์ชูเวช นายวีระ ชูสถาน นายจักรพงษ์ แสงมณี นายชวรัชต์ อุรัสยะนันทน์ นางไพจิตร อักษรณรงค์ นายธนกฤต ชะเอมน้อย นายรังษี เสรีชัยใจมุ่ง พ.ต.ต.เสงี่ยม สำราญรัตน์ นายพิพัฒน์ชัย ไพบูลย์ นายวรวุฒิ วิชัยดิษฐ นายอรรถชัย อนันตเมฆ ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 25 ส.ค. 2554 เป็นต้นไป



มท.ยุทธแบ่งงานชูชาติ-ฐานิสร์

เมื่อ วันที่ 26 ส.ค.นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกฯ และรมว.มหาดไทย กล่าวว่า ตนลงนามแบ่งงานรมช.มหาดไทยเรียบร้อยแล้ว โดยให้มีผลทันที ทั้งนี้ตนจะกำกับดูแลสำนักงานรมว.มหาดไทย สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย กรมการปกครอง กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กรมโยธาธิการและผังเมือง การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค งานนโยบายและงานบริหารงานบุคคล และเรื่องที่ต้องเสนอนายกฯ และครม.

นายยงยุทธกล่าวอีกว่า ส่วนนายชูชาติ หาญสวัสดิ์ รมช.มหาดไทย รับผิดชอบกรมการพัฒนาชุมชน กรมที่ดิน การประปานครหลวง และองค์การตลาด นายฐานิสร์ เทียนทอง รมช.มหาดไทย รับผิดชอบกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานคร การประปาส่วนภูมิภาค และการประสานงานส่วนราชการในสังกัดกระทรวงมหาดไทย ตามพ.ร.บ.การบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ.2553

นายยงยุทธ กล่าวถึงตำแหน่งที่ปรึกษา และเลขานุการรมว.และรมช.มหาดไทย ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างหารือกับน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกฯ เพราะพรรคเพื่อไทยมอบหมายนายกฯ และตนเป็นผู้พิจารณาบุคคลที่จะมาดำรงตำแหน่งทางการเมือง ซึ่งจะหารือกันสัปดาห์หน้า

นายยงยุทธกล่าวถึงการแต่งตั้งโยกย้ายข้า ราชการระดับ 10 ของกระทรวงมหาดไทย ทดแทนผู้ที่เกษียณอายุ 20 กว่ารายในเดือนก.ย.นี้ ว่า เริ่มหารือกับนายวิเชียร ชวลิต ปลัดกระทรวงมหาดไทยเบื้องต้นแล้ว ค่อยๆ พิจารณาไปเพราะยังมีเวลา ทั้งนี้การย้ายผู้บริหารระดับสูงต้องใช้ระบบคุณธรรม ที่ผ่านมาการโยกย้ายมี 2 ระบบคือ ระบบคุณธรรมและระบบอุปถัมภ์ ตนยืนยันว่าจะใช้ระบบคุณธรรม

ผู้ สื่อข่าวถามว่าการโยกย้ายมีเรื่องสิงห์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยหรือไม่ เพราะนายยงยุทธ จบรัฐศาสตร์ จุฬาฯ หรือสิงห์ดำ นายยงยุทธ กล่าวว่า ตนมีสิทธิ์เลือกใช้ใครก็ได้ แต่จะไม่แบ่งแยกเรื่องสถาบันอย่างแน่นอน เพราะหากมีความรู้ความสามารถที่จะทำงานกับตนได้ ก็ไม่มีผลไม่ว่าจะมาจากสถาบันใด ขณะนี้คนที่ทำงานอยู่กับตนก็เป็นคนเก่าที่แต่งตั้งจากรัฐบาลที่แล้ว ดังนั้นอดีตจะเป็นตัวบอกปัจจุบัน ยังมีอีกหลายคนที่เป็นสิงห์แดงแล้วอยู่กับตนมาหลายปี ตนไม่เคยยึดติดกับเรื่องนี้

ถอด(สี)เสื้อ"อนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด" จากนักโต้คารมสู่โทรโข่งรัฐบาล

ที่มา มติชน



"ยิ่ง ลักษณ์ ชินวัตร" นายกรัฐมนตรี ตอบคำถามผู้สื่อข่าวถึงเหตุผลความจำเป็นในการแต่งตั้ง "อนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด" พิธีกรรายการโทรทัศน์ และดีเจรายการวิทยุคนเสื้อแดงหลายคลื่น เป็น "รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี"

โดยบอกว่าควรดูที่ "ความสามารถ" มากกว่า "สีเสื้อ"

"อนุสรณ์" หรือ "โอปอ" เกิดเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2518 อายุ 37 ปี

ปัจจุบัน เป็นพิธีกรรายการทีวีดาวเทียม 2 รายการคือ รายการ "จับข่าวเล่าความ" ออกอากาศเวลา 18.30-19.30 น.ของทุกวัน ทางช่องไอนิวส์ ชาแนล ซึ่งเป็นรายการเล่าข่าวและวิเคราะห์ปมร้อนทางการเมือง

ส่วนอีกรายการคือ "ที่นี่เอ็มวี 5" เป็นรายการสนทนาและวิเคราะห์ข่าว ออกอากาศ เวลา 21.30-23.00 น. ของวันจันทร์-ศุกร์

ทว่า ชื่อ "อนุสรณ์" กลับเป็นที่รู้จักในหมู่คนเสื้อแดงในฐานะ "ดีเจเสื้อแดง" บนเวเทีกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) มากกว่ารู้จักในฐานะ "สื่อมวลชน"

แต่ "โอปอ" ยืนยันว่าตนเป็นสื่อมวลชนคนหนึ่งที่ทำหน้าที่อย่างตรงไปตรงมา

"จริงๆ ผมเป็นสื่อมวลชนคนหนึ่ง มีใบผู้ประกาศจากช่อง 3 การันตี เคยเป็นพิธีกรรายการ "ข่าวหน้า 4" ออกอากาศทางช่อง 11 ก่อนจะออกมาทำรายการ "ความจริงวันนี้" ทางช่องดาวเทียมพีทีวี แต่ทันทีที่มีชื่อผมปรากฏว่าจะมาเป็นรองโฆษกฯ สื่อก็ประโคมข่าวว่าผมเป็นดีเจคลื่นวิทยุชุมชนคนเสื้อแดง ซึ่งไม่ใช่ ผมขึ้นเวทีเสื้อแดงจริง ผมเป็นเสื้อแดง แต่เป็นการแสดงออกของผม แต่หน้าที่สื่อมวลชน ผมทำอย่างตรงไปตรงมา วิพากษ์เสื้อแดงได้อย่างตรงไปตรงมาเช่นกัน ถามว่าวันนี้เปิดทีวีช่องไหนๆ ดู ก็รู้ว่าทีวีเลือกข้างกันหมด เพียงแต่กำหนดกันเองว่าใครเลือกข้างถูกเป็นสื่อแท้ ใครเลือกข้างผิดเป็นสื่อเทียม" โอปอย้ำชัด

หากย้อนเส้นทางก่อนเข้า สู่วิชาชีพสื่อมวลชน และมุ่งสู่วิถีการเมือง พบว่าชื่อ "อนุสรณ์" แจ้งเกิดครั้งแรกในตั้งแต่ "วัยขาสั้น" สมัยศึกษาอยู่โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย จ.นครราชสีมา เมื่อคว้าตำแหน่ง "นักโต้คารมฝ่ายชายยอดเยี่ยม" จากรายการ "โต้คารม มัธยมศึกษา" ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 เมื่อหลายสิบปีก่อน

โดยคนการเมือง หลายคนแจ้งเกิดจากเวทีนี้ ไม่ว่าจะเป็น "ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ" ส.ส. บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย "ณัฏฐ์ บรรทัดฐาน" ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ฯลฯ

แม้ "โอปอ" จะเป็น "รุ่นน้อง" ของนักโต้คารม "รุ่นพี่" นาม "ณัฐวุฒิ" แชมป์โต้คารมฯ รุ่น 2 แต่เขากลับได้รับการโหวตจากผู้ชมทางบ้านให้เป็นหนึ่งเดียวของนักโต้คารมยอด เยี่ยมฝ่ายชายจากทั้ง 12 รุ่นในขณะนั้น

"พี่เต้น (นายณัฐวุฒิ) อาจจะเป็นนักโต้คารมแบบแนวบู๊ แต่ผมเรียกได้ว่าเป็นแนวบุ๋น ซึ่งนักโต้คารมถูกสอนมาในเรื่องการเตรียมเนื้อหา ข้อมูลอย่างมีน้ำหนัก ส่วนบุคลิกภาพ การนำเสนอ และไหวพริบปฏิภาณเป็นเรื่องที่มีอยู่แล้วในตัว"

ส่วน การได้มาซึ่งตำแหน่ง "รองโฆษกฯ" อาจเป็นที่เหนือความคาดหมายของ "คนวงนอก พท." แต่สำหรับ "คนวงใน" ต่างรู้กันอยู่นานแล้วว่าชื่อของ "อนุสรณ์" เคยถูกทาบทามหลายครั้ง ตั้งแต่สมัยพรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน กระทั่งมาลงเอยที่ พท.

"โอปอ" ยอมรับว่ายังคงตื่นเต้นกับตำแหน่งไม่หาย เหมือนทุกครั้งที่ได้การทาบทาม แต่ต่างกันตรงที่ครั้งนี้เขาได้ตำแหน่งนั้นมาครอบครองจริงๆ

"มันเป็น การตื่นเต้นที่มีความสุข ซึ่งมันเป็นเรื่องดีสำหรับการทำงาน ตื่นเต้นกับประหม่า ไม่เหมือนกันนะ ผมตั้งเป้าว่าผมจะไม่เป็นรองโฆษกฯ ที่แค่จับประเด็นแถลงข่าว แต่จะเป็นรองโฆษกฯ ที่บูรณาการการมีส่วนร่วมของประชาชน ให้ความรู้และให้ประชาชนเข้าใจการเมืองมากขึ้น"

"งานนี้ไม่ใช่งานยาก แต่ก็ประมาทไม่ได้"

คือคำทิ้งท้ายจาก "โทร่โข่ง(เสริม)ของรัฐบาล" และอาจเป็นสายล่อฟ้าลำดับต้นๆ ของทำเนียบรัฐบาล!!!

ล้านคำบรรยาย การ์ตูนเซีย 27/08/54 หมาป่ากับลูกแกะ'54..อำนาจนอกระบบ

ที่มา blablabla

โดย

ภาพถ่ายของฉัน



พฤติกรรม ต่ำทราม พูดหยามหยัน
นั่นแหละ..มัน พรรคชั่ว หัวถึงหาง
พูดแต่ดี เอาใส่ตัว มั่วอำพราง
เลวทิ้งขว้าง โยนให้เพื่อน เหมือนเคยทำ....


วิชามาร สารพัด งัดเสแสร้ง
หวังแสดง กลยุทธ์ สุดเกินกล้ำ
เผยทาสแท้ พวกจัญไร ใจระยำ
เพื่อเหยียบย่ำ ทำลาย ป้ายราคี....


เล่นการเมือง เหมือนอีแอบ แบบสกปรก
ดั่งนรก กำหนดให้ ไร้ศักดิ์ศรี
ใช้วาจา สับปลับ แสนอัปรีย์
ทำเด่นดี ที่แท้ แค่คุยโว....


หวังอำนาจ ย้อนยอก นอกระบบ
สร้างบัดซบ หลอกประชา พวกหน้าโง่
ใช้โวหาร อวดเก่ง นักเลงโต
แม้นฉาวโฉ่ ก็อุ้มกัน ดันทุรัง....


เหมือนหมาป่า เตรียมขย้ำ หม่ำลูกแกะ
เพิ่งเตาะแตะ สลายทุกข์ สร้างสุขหวัง
แต่พวกมาร กลับล่าไล่ เพื่อให้พัง
คือความงั่ง พวกสิ้นคิด จิตโสมม....


เชิญลูกแกะ เดินหน้า นำพาฝัน
ต่อเติมวัน ทุกเส้นทาง อย่างเหมาะสม
เพื่อพี่น้อง ผองไทย ได้อภิรมย์
ด้วยชื่นชม ความมุ่งมั่น อย่าหวั่นเกรง....


๓ บลา / ๒๗ ส.ค.๕๔

หกกลับ ชีวิตอำมาตย์ หกรอบนักษัตร ‘สุเมธ ตันติเวชกุล’

ที่มา ประชาไท

"ผม เป็นอำมาตย์ 100% ในชีวิตไม่เคยทำอะไร นอกจากเป็นข้าราชการ อำมาตย์ก็คือข้าราชการ มียศ มีศักดิ์ ใช่...แล้วไง แล้วตอนบ้านเมืองจนมุม ก็มีแต่พวกอำมาตย์กู้ชาติ ถ้าผมตายก็ตาย ไม่รู้จะเตือนอย่างไร จำนวนคนอวิชชามันเยอะ ถ้าเขาฟังก็ฟัง เขาด่าเราก็ไม่ด่าตอบ ทำตามบทบาทหน้าที่ ทำได้เท่านี้ แล้วก็ทำไม่เคยหยุด เสาร์-อาทิตย์ ก็ทำงาน" [1]

สุเมธ ตันติเวชกุล นับเป็นบุคคลสำคัญของป้อมค่ายฝั่งอนุรักษ์นิยมที่ชีวิตมีสีสันอย่างมาก เขาเรียนระดับปริญญาตรีที่เวียดนาม มีประสบการณ์ที่ฝรั่งเศส ก่อนจะกลับมาลุยงานต่อสู้คอมมิวนิสต์ และคุมโครงการในพระราชดำริ ว่ากันว่าเขาทำงานไม่หยุด แม้อายุจะเลยวัยเกษียณมาแล้วก็ตาม ด้วยความที่เขาเป็นคนทำอะไรจริงจัง เป็นผู้ใหญ่เสียงดังโผงผาง พูดจาขวานผ่าซาก แต่ก็เปี่ยมไปด้วยบารมีอันเป็นที่เกรงใจแก่ผู้น้อยทั้งหลาย

ระยะ หลังพบว่า เขามีพฤติกรรมที่น่ากังขา และมีความลักลั่นไม่สมเหตุสมผลในคำเทศนา ดุจจะสวนทางกับสิ่งที่เขากระทำ แต่ด้วยขนบของสังคมไทยที่ยังคงรักษาลำดับชั้นของสังคม มักจะละเว้นการวิพากษ์วิจารณ์ “ผู้อาวุโส” “คนดี” นี่จึงทำให้ “ผู้อาวุโส” “คนดี” จึงทำหน้าเคร่งขรึมลอยหน้าลอยตาเข้ามามีบทบาทสำคัญในสถาบันทางสังคมมากขึ้น เรื่อยๆ ไม่ว่าจะด้วยความเกรงใจหรือเกรงกลัวก็ตาม ขณะที่หากเป็นคนที่ไม่มีต้นทุนทางสังคมและอยู่ในวัยเยาว์ กลับต้องเผชิญกับคำปรามาส และดูถูก การอ้างเหตุผลและถกเถียงกันอย่างอิสระ เป็นหนทางที่น้อยครั้งที่จะนำไปสู่การหาคำตอบ ขณะที่ข้ออ้างของการอาบน้ำร้อนมาก่อน ประสบการณ์ เส้นสายและการอุปถัมภ์ กลับเป็นยาสามัญประจำบ้านในการแก้ปัญหาตั้งแต่ระดับเล็กๆ ไปจนถึงปัญหาของชาติ

สุเมธจึงเป็นอีกหนึ่งในคนดีและผู้อาวุโสที่ผู้ เขียนเห็นว่า ควรถูกตั้งคำถามจากพฤติกรรมและปรากฏการณ์ที่ผ่านมา การที่ใครคนใดคนหนึ่งผลิตข้อเขียนและอุดมการณ์ อันส่งผลกระทบต่อสังคมสาธารณะ โดยไร้การตรวจสอบและการตั้งคำถามนั้น มิใช่สัญญาณที่ดีของสังคมประชาธิปไตย มิใช่หนทางของสังคมแห่งความหวังและจินตนาการ ผู้เขียนเชื่อว่าการที่เราจะปิดตาแกล้งทำตาบอดข้างเดียวให้กับ “การเมืองของคนดี” อาจทำให้เรามืดบอดไปจริงๆ กับหนทางการไปข้างหน้า และนั่นคือ ความฉิบหายที่เราต้องแบกรับ

บทความนี้ตั้งใจเสนอ เนื่องในโอกาสที่ครบ 6 รอบนักษัตรชีวิตของสุเมธใน วันที่ 26 สิงหานี้ โดยใช้ข้อมูลหลักมาจากหนังสือ 72 ปี แห่งประสบการณ์ หลักคิด และแรงบันดาลใจ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ที่จัดทำโดยคณะทำงานมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ระบุไว้ว่าจัดทำ “เพื่อระลึกถึงคุณูปการที่ท่านได้ผลักดันมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว มั่นคง และต่อเนื่อง” [2]

หกกลับ ชีวิตอำมาตย์ หกรอบนักษัตร ‘สุเมธ ตันติเวชกุล’

72 ปี แห่งประสบการณ์ หลักคิด และแรงบันดาลใจ
ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล
จัดทำโดย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ถือกำเนิดในตระกูลอำมาตย์

สุเมธ เกิดในตระกูลโบราณที่เคยเป็นเจ้าเมืองและคหบดีเมืองเพชรบุรีมาก่อน เขาลืมตาดูโลกเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2482 สุเมธเล่าว่า เขาได้รับการสอนมาเป็นอย่างดีในคุณสมบัติที่ต้องนอบน้อมถ่อมตน ถึงขนาดว่า เวลาทวดพาไปตลาด เจอแม่ค้าทวดสอนให้ยกมือไหว้แม่ค้า สุเมธเข้าใจว่า “ถูกเลี้ยงดูและโตขึ้นมาอย่างแบบนั้น คือไม่ลืมตัว ถ่อมตน ถือว่าทุกคนเท่าเทียมกันในสังคม” [3]

เขา เล่าว่า เติบโตขึ้นมาในสภาพแวดล้อมของบ้านเรือนไทยหมู่ที่มีอยู่ด้วยกัน 5 หลัง ขณะที่มารดาคือ ประสานสุข ตันติเวชกุล ที่มีคำนำหน้าเป็นท่านผู้หญิง ทำงานเป็น “ต้นเครื่อง” ในวังสวนจิตรลดา เป็นข้าราชบริพารในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว [4] ขณะที่บิดาคือ อารีย์ ตันติเวชกุล อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลถนอม กิตติขจร [5] ในปี 2501 เป็นรัฐบาลที่ 2 หลังจากที่สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ใช้กำลังทหารยึดอำนาจจากรัฐบาลพิบูลสงครามในปี 2500 อย่างไรก็ตามจากการสัมภาษณ์ได้ระบุว่า พ่อและแม่ของเขาแยกทางกันอยู่ตั้งแต่เขายังอายุ 5 ปี ได้ส่งผลต่อบุคลิกภาพของเขาด้วย [6] นั่นคือ

“โชค ดีที่มีแม่เป็นหลัก แม่แทนทุกสิ่งทุกอย่าง ถ้าสังเกตให้ดีกิริยามารยาทของผมบางทีเป็นผู้หญิง เพราะถูกแม่สอนมาตลอด เดินดังก็ไม่ได้ต้องโดนเอ็ด" แม้เขาจะไม่ได้ตัดพ้อและฟูมฟาย แต่ก็ตระหนักถึงสภาพแวดล้อมที่ดีงามรายล้อมตัวเขาอยู่ ถึงขนาดกล่าวว่า “หากเกิดมาในสลัมแล้วชีวิตต้องแก่งแย่งปากกัดตีนถีบ เพื่อความอยู่รอด เมื่อโตมาก็ต้องมีชีวิตแบบนั้น ฉันใดก็ฉันนั้นขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม”

ในสภาพแวดล้อมเช่นนี้ ความเท่าเทียมในสายตาของสุเมธนั้นเป็นอย่างไรกันแน่?

ชีวิต ของสุเมธในวัยเรียน ถูกส่งไปเรียนโรงเรียนสาธิตละอออุทิศ ที่กรุงเทพฯ ก่อนจะกลับมาที่เพชรบุรีเพื่อหลบไฟสงคราม พอจบสงครามโลกครั้งที่ 2 สุเมธก็กลับไปเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ณ โรงเรียนอัสสัมชัญ บางรัก [7] จากนั้นเขาได้ศึกษาต่อ ณ โรงเรียน “ผู้ดี” วชิราวุธวิทยาลัย ราวๆปี 2497-2498 คนดังร่วมรุ่นก็คือ อดิศัย โพธารามิก, พล.อ. แป้ง มาลากุล ณ อยุธยา ฯลฯ [8] และในสถาบันแห่งนี้เองที่เป็นโอกาสที่ทำให้เขาได้เฝ้ารับเสด็จในหลวงรัชกาลที่ 9 เป็นครั้งแรก

หกกลับ ชีวิตอำมาตย์ หกรอบนักษัตร ‘สุเมธ ตันติเวชกุล’

สุเมธ ตันติเวชกุล ในเครื่องแบบโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย

เล่าเรียนถึงเวียดนาม ลาว ฝรั่งเศส

หลัง จากจบวชิราวุธวิทยาลัย สุเมธมีโอกาสไปศึกษาต่อระดับมหาวิทยาลัยที่ประเทศเวียดนาม ในขณะนั้นยังอยู่ในสถานการณ์สงครามที่เวียดนามต้องการจะปลดปล่อยตนเองจาก ประเทศเจ้าอาณานิคมฝรั่งเศส ทำให้เขาต้องย้ายเข้าไปเรียนต่อในลาว และฝรั่งเศสตามลำดับ [9] สุเมธบันทึกว่า ในครั้งนั้นได้โอกาสรับเสด็จในหลวง รัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระบรมราชินีนาถฯ ที่ทั้งสองพระองค์เสด็จเวียดนามเมื่อ วันที่ 18-21 ธันวาคม 2502

หลังจากที่ได้อนุปริญญาตรีทางปรัชญาที่ลาวแล้ว จากนั้นก็ไปเรียนต่อที่ฝรั่งเศส เขาสำเร็จการศึกษาปริญญาตรีทางรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกรอนอบ ปริญญาโทและเอกทางรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมองเปลิเอ วิทยานิพนธ์ของสุเมธทำเรื่อง ระบบการปกครองแบบทหาร เป็นตัวจบการศึกษาในปี 2512 [10] วิทยานิพนธ์นี้ได้รับพิจารณาให้เป็นวิทยานิพนธ์เกียรตินิยม พร้อมคำสดุดีจากคณะกรรมการ สำหรับการใช้ชีวิตอยู่ในฝรั่งเศสนั้น เป็นสิ่งที่แตกต่างไปจากสังคมไทย ทำให้ได้พบเจอประสบการณ์ที่เขาไม่อาจหาได้ สุเมธเล่าว่าเมืองที่เขาเคยอยู่ Lyon มีการนัดหยุดงานประท้วงอยู่ตลอดเวลา นอกจากนั้นเขายังเคยทำงานพิเศษเป็นกรรมกรในโรงงานน้ำแร่ Evian ที่นั่นทำให้เขาเห็นความแตกต่างจากสังคมไทยอีกรูปแบบหนึ่ง นั่นก็คือ การที่ประธานบริษัทที่เข้ามาตรวจงาน หากเห็นว่างานล้นก็จะเข้ามาช่วย [11] สุเมธเลือกอธิบายว่า นั่นคือการปกครองบริหารคนอย่างเข้าถึงจิตวิทยา ว่า “อย่าสั่งอย่างเดียวต้องร่วมทำ” ด้วย นั่นคือวิธีคิดแบบคนที่ถูกฝึกมาให้เป็นเจ้าคนนายคน ขณะที่โอกาสการทำงานของสุเมธนั้น มาจากโครงสร้างระบบการหมุนเวียนแรงงานที่เปิดโอกาสให้กรรมกรหยุดพักร้อน และเป็นช่วงที่รับนักศึกษาเข้ามาทำงานแทน

หกกลับ ชีวิตอำมาตย์ หกรอบนักษัตร ‘สุเมธ ตันติเวชกุล’

ขณะศึกษาอยู่ที่ประเทศฝรั่งเศส

อย่าง ไรก็ตามประสบการณ์กรรมกรครั้งนั้นสุเมธถือว่า ได้สอนอะไรหลายอย่างให้กับเขา “ให้ความรู้สึกมากมาย รู้สึกถึงความเหนื่อยยากของชีวิตกรรมกร เงินแต่ละสิบแต่ละร้อยต้องแลกกับหยาดเหงื่อท่วมกาย รู้สึกและรู้ค่าของเงินอีกมาก” [12] ขณะที่ก่อนการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2554 พรรคการเมืองอย่าง เพื่อไทย นำเสนอนโยบายค่าแรง 300 บาท รวมถึงพรรคการเมืองอื่นๆเสนอนโยบายประชานิยม สุเมธกลับชี้ว่า

“ผมเหมือนอยู่ในความฝันเวลาขับรถไป เห็นทุกป้ายสร้างความฝันให้ผมว่าแรงงานระดับล่างกำลังจะได้รับเงิน 300 บาทต่อวัน และจะปลดหนี้ไม่มีหนี้แล้ว...แต่เผลอแป๊บเดียวความฝันผมก็หายไป นโยบายต่างๆ กำลังบอกว่าเศรษฐกิจดี แต่มองว่าจะส่งผลเสียนานัปการไม่เหลืออะไรเลย คนไทยแม้แต่เด็กเล็ก ผู้ใหญ่ตามบ้านนอกมีคนเอาของไปล่อ เกิดความอยากได้ กลายเป็นคนหิวกระหายและนิสัยเสียไปหมด” [13]

กลับเมืองไทย การเข้าเฝ้า และชีวิตที่ถูกลิขิต

สุเมธ กลับมาอยู่เมืองไทยในปี 2512 ด้วยความที่จบรัฐศาสตร์การทูตจึงได้งานที่กระทรวงต่างประเทศ เข้าใจว่าก่อนจะเข้าทำงาน ได้ไปกราบในหลวงที่หัวหินด้วย ในฐานะที่สุเมธเป็นลูกข้าราชบริพาร การเข้าเฝ้าครั้งนั้น ในหลวงรับสั่งถามเรื่องการศึกษาและสถานที่ทำงาน เมื่อทรงทราบว่าเป็นกระทรวงต่างประเทศพระองค์ก็ทรงเฉยและไม่ทรงคุยต่อ ในเวลาต่อมา ก่อนที่สุเมธจะเข้าทำงาน ณ กระทรวงต่างประเทศ ก็ได้ข่าวจากเพื่อนว่า ที่สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ต้องการคนเรียนจบปริญญาเอก และได้ชักชวนสุเมธให้มาทำงานร่วมกัน สุเมธจึงกลับไปเข้าเฝ้าในหลวงอีกครั้ง และกราบบังคมทูลเรื่องดังกล่าว ในครั้งนี้พระองค์ทรงรับสั่งว่า “ดีนะสภาพัฒน์ฯ ช่วยเหลือประเทศที่นี้ดีๆ” จากนั้นก็มีพระกระแสรับสั่งคุณหญิงมณีรัตน์ บุนนาค [14] ว่า “ส่งสุเมธไปพบคุณหลวงเดชสนิทวงศ์ พรุ่งนี้”

นั่นคือ ความเป็นมาของงานแรกที่สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในตำแหน่ง วิทยากรโท กองวางแผนกำลังคน เมื่อปี 2512 [15] ปีต่อมาเขาได้ย้ายไปสังกัด กองวางแผนเตรียมพร้อมทางเศรษฐกิจ ในบันทึกยังระบุว่า กองวางแผนเตรียมพร้อมนั้นมีไว้เตรียมรับกับสงคราม จนคลอดออกมาเป็น “แผนเตรียมพร้อมแห่งชาติ” ไว้แล้ว แต่อย่างไรก็ตามเขาแสดงความเห็นว่า แผนดังกล่าวเมื่อเสร็จแล้วก็เก็บอยู่ในตู้มิได้มีปฏิบัติการใดๆ สุเมธได้โต้เถียงกับพวกนายทหารที่ดูแลนโยบายด้านความมั่นคง เกี่ยวกับยุทธวิธีทางทหาร สุเมธไม่เห็นด้วยในการประเมินว่าจะต้องใช้สงครามเต็มรูปแบบต่อสู้กับการรบ แบบกองโจรของคอมมิวนิสต์ อย่างไรก็ตามในครั้งนั้น เขาถือว่า ได้รับการดูถูกว่าเป็นเพียงความเห็นของข้าราชการพลเรือน จึงทำให้เขามีมานะในการเรียนต่อที่วิทยาลัยการทัพบก ปรากฏว่าเขาสำเร็จการศึกษาในรุ่น 23 ที่มีเพื่อนร่วมรุ่นอย่าง ประมณฑ์ พลาสินธุ์ (อดีตผู้บัญชาการทหารบก) ศิรินทร์ ธูปกล่ำ ฯลฯ [16]

หลัง 6 ตุลาคม 2519 ยุครัฐบาลหอย ธานินทร์ กรัยวิเชียร ขณะนั้นสุเมธ อยู่ในตำแหน่งเจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน 6 และรักษาการหัวหน้ากองวางแผนเตรียมพร้อมและพัฒนาเพื่อความมั่นคง เขาเล่าว่า ได้เข้าพบเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ สิทธิ เศวตศิลา ในยศพลอากาศเอก เพื่อนำเสนอแนวทางการต่อสู้ว่า ควรเปลี่ยนเป็นแนวทางการพัฒนาในพื้นที่สีแดง ใช้การต่อสู้ทางความคิด ครั้งนั้น สิทธิ รับปากว่าจะนำเสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติ เงื่อนไขของสุเมธในการแก้ไขปัญหาก็คือ จะต้องมีอำนาจและงบประมาณอยู่ในมือ ส่วนอำนาจในระดับชาติ ใช้อำนาจของคณะกรรมการเตรียมพร้อมแห่งชาติอนุมัติแผนและโครงการ แล้วนำเรื่องขออนุมัตินายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรี ขณะที่อำนาจเชิงปฏิบัตินั้น ขอให้แต่งตั้งเขาเป็นเลขานุการคณะกรรมการพัฒนาเพื่อความมั่นคงในระดับ พื้นที่กองทัพภาคทั้ง 4 ภาค โดยมีแม่ทัพภาคเป็นประธาน โดยที่อำนาจก็ยังอยู่ใน อำนาจสั่งการของแม่ทัพภาคในฐาน ผู้บัญชาการกองอำนวยการรักษาความมั่่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ภาค [17]

ใน ที่สุด นายกรัฐมนตรีก็อนุมัติ การดำเนินการครั้งนั้นมี บุญญรักษ์ นิงสานนท์ เป็นมือขวา และพิมลศักดิ์ สุวรรณทัต เป็นมือซ้าย ครั้งนั้น สุเมธเองก็ได้บรรจุเป็นกำลังพลของ กอ.รมน. ความหมายของ การบรรจุ นั้นหมายถึง เป็นบุคลากรที่ต้องปฏิบัติการในพื้นที่สู้รบ [18]

สู้สงครามคอมมิวนิสต์ อ้างตัวว่าเป็นต้นตอคำสั่งที่ 66/23

สุเมธ กล่าวอย่างภูมิใจว่า ตั้งแต่ได้รับงานนี้จนถึงปี 2524 เขาได้ลงสนามรบทั่วประเทศที่มีการก่อการร้ายในทุกภาค ลงไปวางแผนวางโครงการโดยการเมืองนำการทหาร ซึ่งเขาอ้างว่า เป็นต้นตอของคำสั่งที่ 66/23 การลงพื้นที่เพื่อประสานกับแม่ทัพภาคต่างๆ ทำให้เขาเจอกับ เปรม ติณสูลานนท์ แม่ทัพภาคที่2 [19] เขายังเล่าต่อไปว่า “ชีวิตนอนกลางสนามรบ สะพายปืน โดดร่ม ถูกยิง เฉียดกับระเบิด เฮลิคอปเตอร์ตกกลางป่าที่อุทัยธานี”

สุเมธ พยายามบ่ายเบี่ยง กอ.รมน. ที่ได้เสนอบรรจุเป็นกำลังพล แต่ก็ไม่ยอม ซ้ำยังย้อนกลับไปว่า “ป้องกันชาติบ้านเมืองต้องจ้างกันด้วยหรือ” ผู้อ่านต้องเข้าใจเสียก่อนว่า ในสถานการณ์สงครามเช่นนี้ พวกข้าราชการเหล่านี้จะมีเบี้ยเลี้ยงพิเศษและวันราชการนับทวีคูณ การปฏิเสธคงแค่เป็นการแก้เกี้ยว เพราะในที่สุด กอ.รมน.ก็ตั้งการเบิกจ่ายน้ำมันให้เดือนละ 80 ลิตร เบี้ยเลี้ยงประมาณ 1,000 บาท และได้วันทวีคูณมา 9 ปี [20] ซึ่งกรณีสุเมธ เขาได้อายุราชการเพิ่มตอนเกษียณอีกต่างหาก

หกกลับ ชีวิตอำมาตย์ หกรอบนักษัตร ‘สุเมธ ตันติเวชกุล’

แม่ทัพภาคที่ 2 เปรม ติณสูลานนท์

แก้ไขแบบไม่ตามก้นฝรั่ง ก็ชนะคอมมิวนิสต์ได้

การ ทยอยเข้ามามอบตัวของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ หลังนโยบาย 66/23 แสดงให้เห็นชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ของรัฐไทย สุเมธบันทึกโดยไม่พูดให้หมดถึงปัจจัยสาเหตุความพ่ายแพ้ของพรรคคอมมิวนิสต์ แห่งประเทศไทย (พคท.) อย่างจริงจัง นั่นคือ สถานการณ์แตกหักระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์จีนและโซเวียตรัสเซีย ความคุกรุ่นของความขัดแย้งระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์ในอินโดจีน ขณะเดียวกันภายใน พคท.เองก็ประสบปัญหาการแตกแยกทางความคิดภายในพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย เอง โดยเฉพาะระหว่างคณะนำกับนักศึกษารุ่นใหม่ที่เข้าไปพยายามมีบทบาทในพรรค [21] สุเมธสรุปเอาเองอย่างไร้บริบททางประวัติศาสตร์ว่า ทฤษฎีโดมิโน่อันเป็นการอธิบายถึงการคุกคามของลัทธิคอมมิวนิสต์ที่ฝรั่งเสนอ มาหยุดที่เมืองไทย เพราะ “เราแก้แบบไทยไม่ตามฝรั่งเขาที่ใช้อาวุธมากมายมหาศาล แต่สุดท้ายต้องแก้ไข ‘คนและความคิดอุดมการณ์’ ” ชัยชนะที่ได้มาจากภาวะที่ง่อนแง่นของพคท. ทำให้ฝ่ายรัฐ โดยเฉพาะสุเมธย่ามใจในการนิยามความสำเร็จอย่างพิลึกพิลั่น เช่นการพูดว่า “เรา(ทำ)ให้สงครามมาร์กซิสต์ ว่าด้วยการต่อสู้ระหว่าง”คนมีกับคนไม่มี” มาเป็นการทำให้ “คนไม่มีเป็นคนมี”” [22]

ขณะที่การอธิบายว่า “เรา ชนะศึกโดยไม่ได้ใช้อาวุธ เราใช้แทรกเตอร์แทนรถถัง เราใช้จอบเสียมแทนเอ็ม 16 เราใช้ สทก. (หนังสือสิทธิทำกิน ในเขตป่าสงวน) ให้ทุกคนได้เป็นเจ้าของแผ่นดิน” [23] ก็เป็นการละเลยที่จะไม่พูดถึงการใช้อาวุธสงครามหนักถล่มฐานที่มั่นของ พคท. ซึ่งเป็นการกสกัดกั้นเชิงยุทธวิธีที่ต้องทำงานควบคู่กัน

ข้าราชการ ซี 22 รับงานโครงการในพระราชดำริควบสภาพัฒน์

หลัง การขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของเปรม ในปี 2523 ก็ได้มีการตั้ง สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) ซึ่งเคยเป็นหน่วยงานหนึ่งในกองวางแผนเตรียมพร้อมด้านเศรษฐกิจ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ [24] เปรมได้ทาบทามสุเมธให้มาดำรงตำแหน่งหัวหน้าหน่วย ขณะนั้นเขาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกองวางแผน สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ [25]

สุเมธ วิเคราะห์ว่า โครงการพระราชดำริมีลักษณะสนับสนุนยุทธศาสตร์การรักษาความมั่นคงภายในของ ฝ่ายทหาร ด้วยการรุกทางยุทธศาสตร์การเมือง เพื่อช่วงชิงพื้นที่เดิมใต้อิทธิพลคอมมิวนิสต์กลับมา และฟันธงว่า โครงการพัฒนาของโครงการพระราชดำริมีบทบาทสำคัญในการแก้ไขปัญหาความมั่นคงได้ มีประสิทธิภาพยิ่งกว่าการพัฒนาตามแนวทางของรัฐบาล ซึ่งแน่นนอนว่าโครงการฯ มีเป้าหมายหลักในการแก้ไขปัญหาความยากจนในชนบททุรกันดาร ในลำดับความสำคัญต่ำที่รัฐบาลมองข้ามไป [26]

ต่อ มาในปี 2531 สุเมธก็ได้รับตำแหน่งเลขามูลนิธิชัยพัฒนา ซึ่งมูลนิธิมีวัตถุประสงค์เพื่อ “เพื่อสนับสนุนช่วยเหลือประชาชนในลักษณะของการดำเนินงานพัฒนาต่างๆ ในกรณีที่ต้องถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขของกฎเกณฑ์ ระเบียบ หรืองบประมาณที่ระบบราชการไม่สามารถดำเนินการได้ทันที จนเป็นเหตุให้การแก้ไขปัญหาไม่สอดคล้อง หรือทันกับสถานการณ์ที่จำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องกระทำโดยเร็ว” มูลนิธินี้ในหลวงทรงดำรงตำแหน่งเป็นนายกกิตติมศักดิ์ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นองค์ประธาน [27] สุเมธได้รับความไว้วางใจในเรื่องการเงิน จนได้รับฉายาจากในหลวงว่า “ถุงเงิน” [28]

หกกลับ ชีวิตอำมาตย์ หกรอบนักษัตร ‘สุเมธ ตันติเวชกุล’

ตำแหน่งสำคัญในมูลนิธิชัยพัฒนา

ภารกิจ อันหนักหนาของสุเมธ ทำให้เกิดที่มาของคำว่า ข้าราชการ “ซี 22” ได้มาจากการทำงานควบ 2 ตำแหน่งงาน นั่นคือ เลขาธิการสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และกปร. ที่อยู่ในระดับ ซี 11 ทั้งคู่ และวลี ซี 22 ก็ยังปรากฏการอ้างอิงอยู่เสมอในหมู่คนรู้จักของสุเมธ ซี 22 จึงเป็นสิ่งที่สะท้อนภาพลักษณ์ของสุเมธว่า เป็นคนทุ่มเททำงานหนักและเอาจริงเอาจัง และมีความสำคัญเพียงใดในแวดวงราชการ

เดือน มีนาคม 2535 ก่อนเหตุการณ์นองเลือดในเดือนพฤษภาคม นายกรัฐมนตรี อานันท์ ปันยารชุน ที่มาจากการรัฐประหาร อนุมัติหลักการแยก กปร. ออกจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยยกฐานะเป็นหน่วยงานระดับกรม สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี หัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี อย่างไรก็ตามมีผลทางกฎหมายก็เมื่อ พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 9) พ.ศ.2536 มีผลบังคับใช้ในเดือน กันยายน 2536 แสดงให้เห็นได้ชัดถึงความสำคัญของหน่วยงานกปร.ที่โตเกินจะอยู่ในสภาพัฒน์ แล้ว

งานเขียน และการสัมมนา การผลิตซ้ำทางอุดมการณ์อนุรักษ์นิยมโดยสุเมธ

หาก เราจะดูพัฒนาการทางความคิดและการปฏิบัติผ่านร่องรอยที่เป็นลายลักษณ์ อักษรแล้ว จะเห็นได้ว่าในช่วงแรกที่เขาลงสนามรบกับคอมมิวนิสต์จะมีงานเขียนไม่มาก เท่าที่พบก็คือ การพัฒนาเพื่อความมั่นคงของชาติ (2521) การศึกษาเพื่อกำหนดแนวทางและมาตรการในการพัฒนาหมู่บ้านยากจนเพื่อความมั่นคง (2525) “การพัฒนาชนบทตามระบบ กชช.” ใน ชนบทไทย 2527 (2527) “บทบาทของโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในการสนับสนุนความมั่นคงของชาติใน พื้นที่ชนบทของประเทศ” (2529) สิ่งนี้แสดงให้เห็นถึงความสอดคล้องที่ชนิดา ชิดบัณฑิตได้นำเสนอว่า อุดมการณ์ด้านการพัฒนาของไทยมีความเชื่อมโยงกับสงครามเย็น [29]

โดยเฉพาะเมื่อเขาดำรงตำแหน่งเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนาในปี 2531 ทำให้เกิดงานเขียนแนวเทิดพระเกียรติในด้านการพัฒนาขึ้น ได้แก่ ในหลวงนักเศรษฐศาสตร์ (2530) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช กับงานพัฒนา (2531) ในปี 2536 เขาดำรงตำแหน่งเลขาธิการ คณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) [30] จึงทยอยมีงานทางด้านวิชาการที่เป็นระบบมากขึ้น นั่นคือการจัดสัมมนาดังนี้ การ ประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การพัฒนาการเกษตรยั่งยืน (2536 : ฉะเชิงเทรา) การสัมมนาเรื่อง การพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝกอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (2537 : ราชบุรี) บทความ “มูลนิธิชัยพัฒนา : พระราชดำริเพื่อนำปวงไทยให้บรรลุถึง “ชัยชนะแห่งการพัฒนา” “ ใน จิตวิทยาความมั่นคง (2538) “แนวพระราชดำริและการพัฒนาชนบท” ใน การ ประชุมวิชาการเรื่อง โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและเทคโนโลยีชนบท (2538) การสัมมนาเรื่อง การพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝกอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (ครั้งที่ 3 : 2542 : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) แม้กระทั่งการหนังสืออนุสรณ์งานศพในนาม โครงการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (2539) [31]

กระแส พระราชดำรัสเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2540 ทำให้คำว่า “เศรษฐกิจพอเพียง” ได้ถือกำเนิดอย่างเป็นทางการ (ขณะที่สุเมธอ้างว่า ในหลวงตรัสเรื่องนี้มาตั้งแต่ปี 2517) ด้วยความใกล้ชิดกับในหลวงและภารกิจงานที่เขารับผิดชอบมีส่วนเกี่ยวข้องอย่าง มากกับชุดความคิดนี้ สุเมธจึงถือว่า เป็นอรรถกถาจารย์ผู้เชี่ยวชาญในการเผยแพร่ความคิดนี้ออกสู่สาธารณะมากที่สุด คนหนึ่ง

คนดี มือสะอาด สมถะ ทำงานหนัก มีผลงาน

“การ ทำความดีนั้นน่าเบื่อ ประการถัดไป การทำความดีนั้นมันยาก ทำไมมันยากเพราะมันไปสวนกระแสชีวิตของมนุษย์ เพราะมนุษย์คือสัตว์อย่างหนึ่งที่ถูกกระตุ้นโดยแรงตัณหา แรงอาฆาต กิเลส ความอยาก” [32] นี่คือ นิยามความดีของสุเมธที่ได้เรียนรู้มาจากในหลวง ความดีเหล่านี้เป็นความบริสุทธิ์ที่อยู่ตรงข้ามกับกิเลส ตัณหา แต่กระนั้นก็มิได้หมายความว่า จะมุ่งให้ทุกคนละกิเลสได้หมด แต่การจะเป็นคนดีนั้นหัวใจสำคัญก็คือ ขอเพียงควบคุมกิเลสให้ได้

คำ สรรญเสริญที่เป็นรูปธรรมของสุเมธ ก็คือ การได้รับรางวัลการันตีความเป็น “คนดี” จากสถาบันต่างๆ ได้แก่ รางวัลบุคคลตัวอย่าง ประจำปี 2537 จาก มูลนิธิรัฐบุรุษ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ [33] รางวัลผู้บริหารราชการดีเด่น (ครุฑทองคำ) ปี 2538 จากสมาคมข้าราชการพลเรือน และได้รับโล่ห์รางวัลเชิดชูเกียรติ บุคคลผู้ประพฤติปฏิบัติตนชอบด้วยความซื่อสัตย์สุจริต จากสำนักงาน ป.ป.ป. ปี 2540 [34] ที่น่าสนใจก็คือ สุเมธระบุว่า รางวัลนี้ไม่มีใครได้มานานมากแล้วเพราะคนที่ได้ล่าสุดคือ สิทธิ จิระโรจน์ ซึ่งมีอายุห่างจากสุเมธกว่า 20 ปี [35]

แน่ นอนว่า “คนดี” นั้นจะต้องเอาใจใส่พุทธศาสนา ฝักใฝ่ต่อการขัดเกลาทางธรรมของตน สุเมธบันทึกเอาไว้ว่า เขาผ่านการบวชมา 4 ครั้ง เณร 1 ครั้ง และบวชพระ 3 ครั้ง โดยสองครั้งหลังเป็นการบวชวัดป่า เขาเล่าต่อไปว่า ครั้งล่าสุดคือเมื่ออายุได้ 65 ปี หากเทียบแล้วก็อยู่ราวๆปี 2547 ครั้งนั้นบวชอยู่ที่สกลนคร ในสายอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ซึ่งถือว่าเป็นอาจารย์ใหญ่ของพระป่านิกายธรรมยุตในยุคปัจจุบัน [36]

“การ บวชครั้งล่าสุดนี้ทำให้รู้สัจธรรมว่าร่างกายต้องการ อาหารน้อยนิด กินแบบอดอยาก มีน้ำตาลน้อยลง ไขมันก็ไม่อุดตัน ร่างกายก็แข็งแรงแม้ว่าน้ำหนักจะหายไปถึง 8 กก. ไม่ต้องมาอ่านหนังสือพิมพ์ ดูทีวี มีผ้านุ่งเพียง 4 ผืน กับบาตรเท่านั้น ทำให้ซึ้งสัจธรรมอีกข้อว่า ชีวิตเราเกิดมาจากการขอ อยู่ได้ด้วยความเมตตา มีความสุขที่สุดจากคนที่ไม่มีอะไร...ไม่ต้องรับรู้ในสิ่งที่ไร้สาระ นั่งสมาธิกระทั่งพบพลังจิตอันว่างเปล่า อันเป็นพลังบริสุทธิ์" [37]

หกกลับ ชีวิตอำมาตย์ หกรอบนักษัตร ‘สุเมธ ตันติเวชกุล’

บรรยายพิเศษเรื่อง “ตามรอยเท้าพ่อ”
โครงการบวชพุทธสาวิกาภาคฤดูร้อน 2553
ณ เสถียรธรรมสถาน

ปีที่บวชครั้งสุดท้ายยังตรงกับการที่เขาเริ่มดำรงตำแหน่ง ประธานมูลนิธิประเทศไทยใสสะอาด 2547 [38] ในวัตถุประสงค์ของมูลนิธิฯ ระบุว่า “เพื่อ ปลูกจิตสำนึกให้คนไทยมีจริยธรรม มีคุณธรรม รังเกียจการทุจริต ถือประโยชน์ของส่วนรวมเป็นสำคัญ รวมทั้งประกาศเกียรติคุณบุคคลและองค์กรที่มีความใสสะอาด” และ “เพื่อสร้างแนวร่วมในการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบในสังคมไทย” [39] นั่นจึงมิใช่เรื่องแปลกอันใดที่ สุเมธยังมีตำแหน่งกรรมการตรวจสอบ และกรรมการธรรมาภิบาล ในบริษัทเครือซิเมนต์ไทย (SCG) ด้วยในปัจจุบัน [40]

ดัง นั้นคนดีในเชิงการเมือง จึงมิได้เป็น “ความดี” ด้วยตัวของมันเอง แต่การเป็นคนดีเช่นนี้จะมีความสามารถในควบคุมกิเลสให้อยู่หมัดทั้งในกิเลส ส่วนตัว และครอบคลุมไปถึงกิเลสของสังคมด้วย การอธิบายเช่นนี้เข้ากันได้อย่างเป็นปี่เป็นขลุ่ยกับแนวคิด “เผด็จการโดยธรรม” ของพุทธทาส ที่เชื่อมั่นในตัวบุคคลที่มีศีลธรรมและความดีอยู่เต็มเปี่ยม ว่า เมื่อทุกอย่างเริ่มต้นด้วยคนดีแล้วปัญหาทุกอย่างก็ไม่ต้องห่วงแล้วว่าแก้ อย่างไร ซึ่งทัศนะเช่นนี้ได้สร้างความชอบธรรมให้กับการรัฐประหารทุกครั้งที่ผ่านมา และที่กำลังจะเกิดขึ้น

ตำแหน่งบริหารในองค์กรสำคัญในประเทศไทย เมื่อชีวิตเริ่มต้นที่ 60

ภารกิจ งานจำนวนมากที่สุเมธได้ทุ่มเท ตลอดชีวิตราชการ นอกจากจะสร้างผลงานอันเป็นที่ประจักษ์แล้ว ยังสร้างเครือข่ายการทำงานอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะการทำงานอุทิศให้กับในหลวงเรื่อยมา จึงไม่เรื่องแปลกที่สุเมธเป็นบุคคลต้นแบบที่สำคัญของคนรุ่นใหม่ (เมื่อเดือนเมษายน 2554 เขาได้ออกรายการ The Idol คนบันดาลใจ ทางช่อง Modern Nine ด้วย) ข้าราชการ และกลุ่มอนุรักษ์นิยม เขาถือเป็นทรัพยากรบุคคลอันมีค่ายิ่งสำหรับองค์กรต่างๆ ที่ต้องการเขาไปเป็นส่วนหนึ่ง สุเมธครบวาระเกษียณอายุเมื่อปี 2542 แต่เราพบว่าก่อนหน้านั้นสุเมธดำรงตำแหน่งสำคัญๆ ในส่วนที่เป็นหน่วยงานของรัฐได้แก่ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2537-2539) กรรมการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (2537-2539) ประธานกรรมการ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (2540-2541)

ในส่วนของธุรกิจเอกชน ได้แก่ กรรมการ บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) (2537-2544) กรรมการ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (2539-2540) ที่ปรึกษาของคณะกรรมการและคณะกรรมการบริหาร บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) (2540-2541) กรรมการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) (2540-2543)

หกกลับ ชีวิตอำมาตย์ หกรอบนักษัตร ‘สุเมธ ตันติเวชกุล’

ร่วม งานแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ “รวมใจ รวมไมล์ เพื่อชัยพัฒนา” ซึ่งการบินไทยจัดขึ้น เพื่อขอรับการบริจาคไมล์จากสมาชิกรอยัล ออร์คิด พลัส เพื่อมอบให้มูลนิธิชัยพัฒนา 24 มิถุนายน 53

ที่พึ่งของสถานศึกษา กับ 6 ปี ในตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

การ ทำงานมาตลอดชีวิตราชการ ทำให้เขาเป็นที่กว้างขวาง ดังที่พบว่าเขาได้รับเชิญให้เป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยหลายแห่ง ต้องเข้าใจเสียก่อนว่าตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัยนั้น เดิมเป็นเพียงตำแหน่งทางเกียรติยศ ถือได้ว่าเป็นสภาเกียรติยศ หรือสภาตรายางที่ไม่มีอำนาจ [41] ที่น่าสนใจก็คือ หลังการปฏิรูปการศึกษาในช่วงปี 2542 สภามหาวิทยาลัยได้รับการกระจายอำนาจการบริหารจากสำนักงานคณะกรรมการอุดม ศึกษา (สกอ.) และคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในอุดมศึกษา (กพอ.) ได้โอนอำนาจบริหารให้มาอยู่กับสภามหาวิทยาลัย ยกเว้นแต่ การของบประมาณจากรัฐบาล และการแต่งตั้งที่ต้องสู่ระบบโปรดเกล้าฯ ก็คือ การแต่งตั้งตำแหน่งนายกสภาและกรรมการสภามหาวิทยาลัย อธิการบดี และศาสตราจารย์ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากสภาตรายาง มาเป็น “สภารับผิดชอบ” ที่ต้องรับผิดชอบมากขึ้นทางกฎหมาย [42] ดังนั้นตำแหน่งในสภามหาวิทยาลัยจึงมีความสำคัญมากขึ้นหลังปี 2542 ผลของการกระจายอำนาจ ทำให้แต่ละสถานศึกษา ปรับตัวในการดึงบุคลากรที่มีบารมี ความรู้ความสามารถเข้ามาร่วมทำงานมากขึ้น ผู้ที่จะมาอยู่ในสภายิ่งจำเป็นก็ต้องมีพลังขับเคลื่อนมากพอสำหรับ มหาวิทยาลัยนั้นๆด้วย

ประจวบเหมาะกับที่ช่วงสุเมธ เกษียณอายุราชการในปี 2542 เขาได้รับตำแหน่งกรรมการสภามหาวิทยาลัยหลายแห่ง บางแห่งก็เป็นกรรมการตั้งแต่ก่อนเกษียณ เช่น กรรมการสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (2541-2543) กรรมการสภามหาวิทยาลัยทักษิณ (2542-2544) กรรมการสภามหาวิทยาลัยบูรพา (2544-?) กรรมการสภามหาวิทยาลัยศิลปากร (2549-2551) เชื่อได้ว่า สิ่งเหล่านี้สอดคล้องกับการปรับตัวของมหาวิทยาลัยจากการปฏิรูปการศึกษาที่ เน้นการกระจายอำนาจดังที่กล่าวมาแล้ว การได้รับการเชิญไปเป็นกรรมการสภา คาดว่าเนื่องมาจากการที่เป็นคนที่มีทุนทางสังคมสูงและมีเครือข่ายที่น่าจะ เป็นประโยชน์กับมหาวิทยาลัยต่างๆได้ โปรดสังเกตว่าอำนาจที่จะเชื่อมกับการโปรดเกล้าฯ ไม่ได้อยู่ในมือของมหาวิทยาลัย สภามหาวิทยาลัย แต่ไปอยู่กับเครือข่ายภายนอก

อย่าง ไรก็ตาม ในสายตาผู้เขียนเห็นว่า ช่วงเวลาที่มีนัยทางการเมืองอย่างมากก็คือ การที่สุเมธ ดำรงตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กินเวลาถึง 3 วาระ เป็นระยะเวลา 6 ปี (2548-2554) เพียงการเสนอชื่อ สุเมธ จากกรรมการสรรหานายกสภามหาวิทยาลัย ก็เกิดข้อสงสัยจากประชาคมธรรมศาสตร์ต่างๆกันไปว่า “ใครเป็นคนเสนอชื่อ” “ชื่อนี้มาได้อย่างไร” “ไม่ใช่คนธรรมศาสตร์ จะเป็นนายกสภามหาวิทยาลัยได้หรือ” “มีเสรีภาพทางวิชาการไม่ได้ใช้ระบบบังคับบัญชา จะทำได้หรือ” [43] แต่อย่างไรก็ตามไม่พบว่า นอกจากข้อสงสัยดังกล่าวแล้ว มีอุปสรรคใดๆหรือไม่ที่ขัดขวางการเข้ามาดำรงตำแหน่งของสุเมธ นอกจากนั้นความเชื่อมโยงระหว่างสุเมธกับธรรมศาสตร์นั้น อาจนับได้ตั้งแต่ปี 2513 ที่เขาไปสอน เขาเริ่มไปสอนทฤษฎีการเมือง ที่คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ จุดนั้นน่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่เขามีความสัมพันธ์กับธรรมศาสตร์ เขาอ้างว่า ลูกศิษย์รุ่นแรกเขาคือ นพดล เฮงเจริญ ซึ่งได้ดำรงตำแหน่งถึง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ [44] ดังนั้นในทางคอนเนคชั่นไม่น่าจะเป็นที่กังขาเท่าใดนัก การเข้ามาของสุเมธ อยู่ในช่วงที่สังคมไทยกำลังเผชิญหน้ากับวิกฤตทางการเมือง การนัดพบระหว่างสุรพล นิติไกรพจน์ อดีตอธิการบดีกับสุเมธ เพื่อทาบทามอย่างให้ดำรงตำแหน่งนายกสภาฯ มีการบันทึกไว้ว่าม ประเด็นที่พูดคุยของสุเมธแสดงความเป็นห่วงของสถานการณ์ของบ้านเมืองตั้งแต่ เมื่อแรกพบ [45]

หกกลับ ชีวิตอำมาตย์ หกรอบนักษัตร ‘สุเมธ ตันติเวชกุล’

สุเมธ ตันติเวชกุล นายกสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(มธ.)
เป็นประธานพิธีถวายสังฆทานพระสงฆ์ เนื่องในวัน ปรีดี ประจำปี 2554
ภาพจาก มติชนออนไลน์

การถ่ายทอด อุดมการณ์ “เศรษฐกิจพอเพียง” ในธรรมศาสตร์อย่างเป็นระบบนั้น เข้าใจได้ว่ามาจากสุเมธนั่นเอง พบการบันทึกจาก สมคิด เลิศไพฑูรย์ว่า สุเมธเป็นผู้ถ่ายทอดแนวคิดดังกล่าวให้นักศึกษาหลายคณะฟัง โดยเฉพาะคณะนิติศาสตร์ ที่ระบุว่าจะมีการบรรยายในช่วงที่มอบประกาศนียบัตรแก่ผู้จบการศึกษา ประกาศนียบัตรกฎหมายมหาชน ปีละ 2 รุ่น [46] บารมีและความสามารถที่โดดเด่นของสุเมธในตำแหน่งนายกสภาฯ ทำให้เป็นที่รักใคร่แก่เหล่าอาจารย์นักบริหาร ดังที่เราพบว่า สมคิด เลิศไพฑูรย์ เชิดชูสุเมธอย่างสูงส่งในกรณีที่สุเมธปฏิเสธไม่รับตำแหน่งนายกสภา มหาวิทยาลัยอีกวาระหนึ่งนั้นว่าเป็นเรื่องไม่ธรรมดาอย่างยิ่ง และความเหนือชั้นของสุเมธเป็นเรื่องที่นำทฤษฎีการแบ่งอำนาจ ของ Montesquieu มาเทียบใช้ยังไม่ได้ เพราะมีการระแวดระวังเรื่องการหลงอยู่ในอำนาจเป็นอย่างดี

“ดูเหมือนสมมุติฐานของ Montesquieu จะใช้ได้กับคนทั่วไป แต่ใช้ไม่ได้เลยกับนายกพอเพียงที่ชื่อสุเมธ ตันติเวชกุล ของพวกเรา” [47]

สมคิดคงลืมไปว่า สุเมธอยู่ในตำแหน่งนี้มาแล้วถึง 3 วาระ 6 ปี

พลังอนุรักษ์นิยมเผชิญหน้ากับกลุ่มทุนและการเมือง

ต้น ทศวรรษ 2540 กลายเป็นยุคหายนะของเศรษฐกิจทุนนิยมฟองสบู่ของไทย ในอีกด้านหนึ่งมันได้แผ้วถางให้แก่อุดมการณ์อนุรักษ์นิยมรูปแบบใหม่ขึ้นมาบน ซากศพทุนนิยมที่เต็มไปด้วยหนี้เน่าและหายนะทางเศรษฐกิจ ในเวลาเดียวกัน สังคมไทยเริ่มกลับมาเงี่ยหูฟังเสียงก้องตะโกนจาก นักพัฒนาเอกชน เอ็นจีโอ ที่สมาทานความคิดสำนักคิดชุมชนนิยม หมู่บ้านนิยม ชนบทนิยม และนั่นคือโอกาสทองของการสถาปนาความรู้และอำนาจกระแสรองของพวกเขา แต่อย่างไรก็ตามการเฟื่องฟูของภูมิปัญญาสายนี้ มิได้ยืนได้ด้วยตัวของมันเอง แต่ยังมีพลังทางอนุรักษ์นิยมและพลังทางการเมืองขนาดมหาศาลที่หนุนเสริมอีก ด้วย

สุเมธบันทึกไว้ถึงความสำเร็จของการจับมือกับคนหลายฝ่ายในการจัด ทำ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (2540-2544) เขาร่วมกับคนอย่างประเวศ วะสี ในฐานะผู้อาวุโสแห่งค่าย “ภาคประชาชน” ที่แผนนี้เปลี่ยนมาใช้คำว่า “เอาคนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา” รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 ที่เคยเรียกกันว่า “รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน” ก็เกิดขึ้นจากสสร. อันเป็นการร่วมมือกันระหว่าง “ภาคประชาชน” นักพัฒนาเอกชน และผู้ตื่นตัวทางการเมืองทั่วประเทศ ความสำเร็จนี้ยังถูกอ้างอิงเรื่อยมาจากองค์กรพัฒนาเอกชน ที่หวังจะเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาประเทศ เช่น สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนาที่ พลเดช ปิ่นประทีป เป็นเลขาธิการ อ้างว่า การดำเนินการจัดทำแผน 8 ถือว่าเป็นเวทีสาธารณะครั้งแรกของประเทศไทยที่ระดมความเห็นจากทั้ง 8 ภาคทั่วประเทศ [48]

นอก จากนี้สุเมธยังได้เดินสายไปบรรยายที่ต่างๆเรื่องเกี่ยวกับ “เศรษฐกิจพอเพียง” โดยอิงอยู่กับในหลวง และชุดคุณค่าทางศีลธรรมแบบชาติ-ศาสนาพุทธเถรวาทนิยม สุเมธได้เดินสายบรรยายเรื่องราวดังกล่าวอย่างไม่ย่อท้อ อุดมการณ์อนุรักษ์นิยมเช่นนี้ที่มีศูนย์กลางอยู่ที่ “อดีตอันดีงาม” “พุทธศาสนาแบบเถรวาทไทย” และมีศัตรูที่สำคัญก็คือ “ฝรั่งตะวันตก”

แต่ พลังเหล่านี้ดูจะเป็นคู่ตรงข้ามกับพลังของกลุ่มทุนและการเมืองสาย พันธุ์ใหม่ ที่ถือกำเนิดมาจากรัฐธรรมนูญ 2540 อย่างรัฐบาลพรรคไทยรักไทย ที่นำโดย ทักษิณ ชินวัตร ที่แต่เดิมอาจกล่าวได้ว่า เหล่านักคิดแนวท้องถิ่นนิยม นักเคลื่อนไหวทางสังคมจำนวนไม่น้อย มีส่วนร่างนโยบายให้กับพรรคไทยรักไทยด้วย อย่างไรก็ตาม แนวทางการพัฒนาของไทยรักไทยที่เน้นไปทั้งสองขา คือ ทั้งเน้นการค้าขายกับตลาดต่างประเทศ และกระตุ้นการใช้เงินภายในประเทศ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ในสายตาของสุเมธแล้ว ถือว่าเป็นการกระตุ้นให้เกิดความละโมบ แน่นอนว่าขัดกับหลักการของความดีที่ต้องพยายามควบคุมกิเลส นโยบายทางเศรษฐกิจเช่นนี้จึงขัดแย้งกันอย่างสิ้นเชิงกับอุดมการณ์ที่สุเมธ สมาทาน

หลังช่วงฮันนีมูนกับรัฐบาล ก็เริ่มมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ต่อรัฐบาลไทยรักไทย สุเมธเคยบรรยายในปี 2545 ว่า สังคมไทยมีโรค 4 บ้า นั่นก็คือ บ้าเงิน บ้าอำนาจ บ้าวัตถุ และบ้าฝรั่ง (ตะวันตก) [49] แต่ก็ยังไม่ได้เป็นการเจาะจงเท่าในปี 2547 ที่เขาเขียนบทความที่ชื่อ "เศรษฐกิจพอเพียง หัวใจเศรษฐกิจไทย ไม่ใช่ dual track " [50] การจั่วหัวเช่นนี้เป็นการวิจารณ์นโยบายทางเศรษฐกิจของรัฐบาลไทยรักไทยโดยตรง ในบทความได้ตอกย้ำถึงหลักคิดของเขาอย่างชัดเจน

"พระ เจ้าอยู่หัวทรงเริ่มต้นที่ฐานราก แต่ไม่รากหญ้า ผมเกลียดคำนี้มาก ไม่เคยพูดมาที่สาธารณะเลย เพราะอะไร เพราะเราแปลมาจาก grass root ของฝรั่ง ตามฝรั่งจนเนรคุณคนที่เลี้ยงดูเรามา เราเคยให้เกียรติชาวไร่ชาวนามาตลอด เคยเรียกว่ากระดูกสันหลังของชาติ พอถึงยุคนี้ไม่สำนึกบุญคุณ ดูถูกดูแคลนพวกเขาว่ารากหญ้า เดี๋ยวนี้คนไทยขาดสติอย่างแรง เอะอะอะไรก็ตามฝรั่งจนลืม ความหมายของตัวเอง"

ในฐานะ ประธานมูลนิธิประเทศไทยใสสะอาด ได้แสดงข้อมูลตัวเลขเกี่ยวกับการทุจริตคอร์รัปชั่น ต่อรัฐบาลทักษิณ เนื่องในโอกาสที่รัฐบาลตั้งแคมเปญประกาศสงครามกับคอรัปชั่นในวันที่ 1 ตุลาคม 2547 ขณะที่ภาพลักษณ์ของรัฐบาลและตัวทักษิณเอง กำลังมีปัญหามากขึ้นทุกทีในสายตาของนักวิชาการ มีการแสดงความเห็นวิพากษ์วิจารณ์ทักษิณในหลายกรณี ไม่ว่าจะเป็น กรณีปราบปรามยาเสพติดจนมีผู้เสียชีวิตจำนวนมากในช่วงปี 2546 ประเด็นการลุกฮือของชาวมลายูในภาคใต้ กรณีมัสยิดกรือเซะ เมษายน 2547 กรณีตากใบ 2547 กรณีที่รัฐบาลมีความพยายามจะออกสลากเพื่อซื้อสโมสรลิเวอร์พูลเป็นจำนวนเงิน กว่า 46,000 ล้านบาท ในปีเดียวกัน

ข่าวลือ เรื่องนายกพระราชทาน คนดีที่จะมาแทนนักการเมืองที่แสนชั่วช้า

รัฐบาล ทักษิณยิ่งประสบกับปัญหาอย่างหนักหน่วง เมื่อเครือข่ายต่อต้านทักษิณ ชินวัตร ขยายตัวเป็นทวีคูณ จากการที่สนธิ ลิ้มทองกุล และเครือข่ายผู้จัดการ ลงสนามต่อต้านทักษิณด้วยในปี 2548 มีการวิพากษ์วิจารณ์การคอรัปชั่น และยกประเด็นการละเมิดอำนาจพระมหากษัตริย์ ในปีต่อมา การขายหุ้นชินคอร์ปก็ยิ่งกลายเป็นผลลบอย่างมากต่อทักษิณ และครอบครัว ในกรณีเลี่ยงภาษีและขายหุ้นให้ต่างชาติซึ่งเชื่อกันว่ามีผลต่อความมั่นคงของ ชาติ ความง่อนแง่นของรัฐบาลทำให้ในที่สุดทักษิณแก้เกมด้วยการยุบสภาเพื่อเลือก ตั้งใหม่ ในด้านหนึ่งทักษิณก็ถูกกล่าวหาว่า ยุบสภาเพื่อหนีการตรวจสอบ การเลือกตั้งทั่วไปในเดือน เมษายน 2549 ขณะที่พรรคฝ่ายค้าน อย่างพรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทยและพรรคมหาชน ประกาศคว่ำบาตรการเลือกตั้ง พรรคไทยรักไทย กลับมาเป็นรัฐบาลอีกครั้ง อย่างไรก็ตามความตึงเครียดทางการเมืองก็ยังไม่จบสิ้น เมื่อรัฐบาลถูกกล่าวหาจากเครือผู้จัดการกรณี “ปฏิญญาฟินแลนด์” ในเดือนมิถุนายน 2549

ข่าวและข้อมูลการทุจริตและฉ้อฉลของทักษิณ ชินวัตร ได้โหมกระแสไฟแห่งการเกลียดชังของชนชั้นนำ ชนชั้นกลาง นักคิด นักวิชาการจำนวนมาก ความอึดอัดทางการเมืองเหล่านี้เองนำไปสู่การเรียกร้องหาข้อยุติที่มีธงอยู่ แล้วคือให้ “ทักษิณ...ออกไป” โดยไม่สนใจวิธีการว่า จะเป็น “ประชาธิปไตย” หรือไม่

วิธีการ “อประชาธิปไตย” ข้อแรก ก็คือ ข้อเสนอการแก้ไขปัญหาด้วย “นายกรัฐมนตรีพระราชทาน” จาก มาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ทักษิณเว้นวรรคทางการเมือง สิ่งนี้เป็นการเสนอโดยหลายฝ่าย ทั้งนักวิชาการและนักการเมือง หนึ่งในนั้นก็มี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในฐานะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ด้วย [51] ซึ่งกรรมนี้เอง เป็นที่มาของการถูกล้อเลียนในนามของ “มาร์ค ม.7” แน่นอนว่า ภาพลักษณ์ที่ย่ำแย่ของทักษิณ ยังส่งผลต่อความเน่าเหม็นของนักการเมืองคนอื่นในระบบด้วย ดังนั้นการที่จะหาคนมาเป็นนายกรัฐมนตรี จึงควรจะเป็นคนนอกที่ ไม่มีผลประโยชน์ เป็นกลาง และจะต้องมีคุณสมบัติที่ถึงพร้อมในความเป็น “คนดี” ที่มีศีลธรรม ไม่โกงกิน และอาจรวมถึงเป็นผู้มีสกุลรุนชาติ ได้รับการอบรมมารยาทเป็นอย่างดีด้วย

หกกลับ ชีวิตอำมาตย์ หกรอบนักษัตร ‘สุเมธ ตันติเวชกุล’

ฎีกาขอนายกฯพระราชทาน ลงนามโดย
นายแพทย์ มงคล ณ สงขลา และ
ม.ร.ว.ยงยุทลักษณ์ เกษมสันต์
วันที่ 5 มีนาคม 2549

ในขณะนั้นมีข่าวลือว่า คนที่มีคุณสมบัติที่จะดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรีพระราชทาน ก็คือ สุเมธ ตันติเวชกุล [52] จากการให้สัมภาษณ์ สุเมธ ก็ใช้เทคนิคเดิมก็คือ กล่าวปฏิเสธทั้งยังยกเหตุผลมาอ้างพัลวันว่า "คุณ พ่อผมเล่นการเมืองจนหมดตัว สมัยก่อนนักการเมืองเล่นการเมืองจนหมดเนื้อหมดตัว ไม่เหมือนเดี๋ยวนี้ ผมสาบส่งการเมือง ไม่เอาเด็ดขาด ใจมันไม่ชอบทางนี้เลย ผมว่าช่วงเวลาทำงานที่สุขที่สุดคือ การเป็นข้าราชการระดับ ซี 4 สบายสุดๆ แต่พอยิ่งใหญ่ ยิ่งมีอำนาจ ยิ่งเครียด"

กระนั้น วิธีการขอนายกพระราชทานก็มีอันตกไป พวกรักบ้านเมืองจนหน้ามืดตามัวมีอันฝันสลาย เมื่อในหลวงทรงปฏิเสธทางอ้อม ผ่านพระราชดำรัสต่อคณะผู้พิพากษาที่ว่า "...เขาอยากจะได้นายกฯ พระราชทาน เป็นต้น จะขอนายกฯ พระราชทาน ไม่ใช่เป็นเรื่องการปกครองแบบประชาธิปไตย..." [53]

อย่าง ไรก็ตาม ความสั่นคลอนของรัฐบาลถูกขย่มด้วยการปฏิบัติการทางการเมือง และสงครามข่าวอย่างมหาศาล แม้กรณีคาร์บอมบ์ เดือนสิงหาคม 2549 ที่มุ่งร้ายเอาชีวิตนายกรัฐมนตรี ก็ถูกทำให้เป็นเรื่องตลกในนาม “คาร์บ๊อง” ความอึมครึมและคลุมเครือทางการเมืองที่ผูกติดแน่นเป็นเงื่อนตายเหล่านี้ ในที่สุดก็ถูกทะลวงด้วยอำนาจของปากกระบอกปืน รถถังได้ออกมายาตรายึดสถานที่สำคัญ ควบคุมการสื่อสารสาธารณะในจุดใหญ่ นี่เป็นวิธีการ “อประชาธิปไตย” ข้อที่สองที่ได้ผลอย่างชะงัด ด้วยฐานคิดที่เชื่อว่าการเอาคนเลวๆหนึ่งออกจากอำนาจ แล้วทุกอย่างจะจบ

หกล้มหกลุก กับ รัฐประหาร 2549

อย่าง ไรก็ตามเรื่องข่าวลือดังกล่าวก็คงส่งผลต่อข้อมูลในการวิเคราะห์ข่าว อื่นๆด้วย ดังที่พบกว่าหลังการรัฐประหาร Shawn W. Crispin นักข่าวจาก Asia Times เขียนวิเคราะห์ว่า สุเมธ เป็นผู้มีความเป็นไปได้ที่จะถูกเลือกเป็นนายกรัฐมนตรี คู่กับอีกคนคือ พลากร สุวรรณรัฐ ในวันที่ 21 กันยายน 2 วันหลังจากรัฐประหาร [54] แต่แล้ว นายกรัฐมนตรีจากรัฐประหาร กลับมาหวยออกที่ สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายทหารยศพลเอก อดีตผู้บัญชาการทหารบก และขณะนั้นดำรงตำแหน่งองคมนตรี ซึ่งสุรยุทธ์ก็เข้าข่าย คนดีมีศีลธรรม จริยธรรม ฝักใฝ่พุทธศาสนา แต่อย่างไรก็ตามเมื่อเข้ามาสู่แวดวงการเมืองในระบบ ทำให้ “คนดี” อย่างเขาถูกตรวจสอบ กรณีที่โด่งดังเป็นอย่างมาก และทำให้สุรยุทธ์เปลืองตัวและเกือบเสียคน ก็คือ คดีละเมิดป่าสงวน ณ เขายายเที่ยง การที่คนดีได้มาอยู่ในระบบการเมืองแบบรัฐสภาที่ทำให้เกิดการตรวจสอบต่อ สาธารณะได้ก็ทำให้คนดีเกิดอาการไม่เป็นเหมือนกัน [55] หรือนี่จะเป็นคราวเคราะห์ของสุรยุทธ์ แต่เป็นโชคดีของสุเมธ?

ตำนาน เฟอร์รารี่

ข้อ กล่าวหาที่อาจกล่าวได้ว่า เสียดสีกับสิ่งที่สุเมธเทศนาที่สุด นั่นก็คือ สุเมธขับรถสปอร์ตหรูหรา ยี่ห้อเฟอร์รารี่ มาบรรยายเรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียง” ซึ่งข้อความระบุต่อไปว่า สุเมธ ซื้อรถคันงามต่อมาจาก ชุมพล ณ ลำเลียง ด้วยราคา 500,000 บาท [56] ซึ่งจากการตรวจสอบเบื้องต้น เรื่องเล่านี้น่าจะเป็นเรื่องโจ๊กเสียมากกว่า อย่างไรก็ตามโจ๊กเรื่องนี้ ไม่ได้เป็นแค่เรื่องเล่ากันสนุกๆ หรือใช้นินทาลับหลังกันในวงแคบๆ เท่านั้น ความน่าจะร้อนไปถึงสุเมธ จนทำให้ต้องแก้ข้อกล่าวหาผ่านสื่อมวลชน ดังนี้

“ผมขับรถ แอคคอร์ดเก่าๆ ยามเห็นเขาก็ให้ผมไปจอดข้างหลัง แต่ถ้าลองเป็นเบนซ์มาเขาให้จอดข้างหน้า หรือผมไปซื้อรถโฟล์ก 37,000 บาท แต่ซ่อมไปแสนกว่าบาท แถมตอนออกจากราชการ ผมก็ใช้เงิน 5 แสน ซื้อรถสปอร์ต เพราะอยากได้ โคโรลล่า มือสอง แต่ใครไม่รู้ไปเขียนแซวมาผมถอยเฟอร์รารี่ กลายเป็นข่าวคึกโครมไปทั่ว” [57]

หกกลับ ชีวิตอำมาตย์ หกรอบนักษัตร ‘สุเมธ ตันติเวชกุล’

ภาพจาก ประชาชาติธุรกิจ

เงินบริจาคจากเทศกาลอาหารหรูหรา

เทศกาล Epicurean Masters of the World ที่จัดขึ้นในกรุงเทพฯ ตั้งแต่วันที่ 6-10 ก.พ.2550 ณ ภัตตาคาร The Dome ซึ่งอยู่บนยอดหอคอยงาช้างของตึกสเตททาวเวอร์นั้น เป็นการรับประทานอาหารมื้อค่ำราคาสุดโหด ตัวเลขกลมๆตกอยู่ที่มื้อละ 1 ล้านบาท และบวกค่าบริการอีก 7 เปอร์เซ็นต์ ข่าวนี้เป็นที่สนใจต่อสำนักข่าวบีบีซี [58] และหนังสือพิมพ์การ์เดียนของอังกฤษ อีกด้วย มีการตั้งข้อสังเกตว่า ในเวลาไล่เลี่ยกัน สุเมธ ในฐานะ เลขาธิการมูลนิธิ ชัยพัฒนา ได้แสดงบรรยายประกอบการสัมนา เนื่องในโอกาสครบรอบ 30 ปี วันคล้ายวันสถาปนาสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อวันที่ 6 หัวข้อ "ความพอเพียงด้านอาหารและโภชนาการ เพื่อสมดุลแห่งชีวิต" ซึ่งเขากล่าวไว้ว่า “ความจริงร่างกายมนุษย์ต้องการอาหารไม่มากนัก ทานให้อิ่มก็พอ แต่ที่เรากินกันเยอะอย่างทุกวันนี้ เป็นการกินส่วนเกิน เรียกว่า "โรคสังคม"” [59]

ที่ เหนือความคาดหมายก็คือ รายได้จากเทศกาลอาหารสุดหรูระดับโลก ส่วนหนึ่งนำมาสมทบแก่องค์กรที่ทำงานเพื่อสังคม หนึ่งในนั้นก็มีชื่อของ มูลนิธิชัยพัฒนา อยู่ด้วย

อำนาจของการปฏิเสธ กับการแก้เกี้ยว

สุเมธ มักจะแสดงให้เห็นในบันทึกถึงความใจกว้าง ไม่รับในสิ่งที่ไม่ควรจะได้ ดังเช่น สิทธิพิเศษของข้าราชการที่ปฏิบัติราชการในช่วงสงครามคอมมิวนิสต์ในปลาย ทศวรรษ 2510 ต่อต้นทศวรรษ 2520 เขากล่าวปฏิเสธไว้ในบันทึกด้วยเหตุผลว่า “ป้องกันชาติบ้านเมืองต้องจ้างกันด้วยหรือ”แต่สุดท้ายในบันทึกของเขาเองก็ ระบุว่าเขารับทั้งเบี้ยเลี้ยงและอายุราชการทวีคูณ [60]

เช่น เดียวกับรางวัลพ่อตัวอย่าง สุเมธปฏิเสธไม่รับเช่นเคย เนื่องจากว่าเขาไม่เคยมีเวลาได้เลี้ยงลูก เพราะไม่มีเวลาให้ อย่างไรก็ตามทางผู้มอบรางวัลก็อ้อนวอนให้ไปรับโดยให้เหตุผลว่า ถึงไม่ได้เลี้ยงลูกตัวเองก็เลี้ยงลูกคนอื่น ดูแลเด็กเล็กในต่างจังหวัด ในชนบท [61]

สุเมธก็เคยอิดออดที่จะไม่รับตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ด้วยเหตุผลที่ว่า ไม่ได้เรียนจบธรรมศาสตร์จะเป็นได้อย่างไร [62] ในที่สุดเขาก็ตัดสินใจรับตำแหน่งที่มีวาระ 2 ปีต่อครั้ง อีกกรณีหนึ่งก็คือ เมื่อครั้งสุเมธได้รับการทาบทามให้ดำรงตำแหน่งเป็นวาระที่สาม ในช่วงใกล้ครบวาระที่สองในปี 2552 สุเมธ แจ้งที่ประชุมสภาว่าจะไม่ขอรับหน้าที่ในวาระที่สาม แต่ด้วยความที่ผู้บริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ขอร้องให้อยู่ต่อ เนื่องจากเห็นว่าสุเมธมีศักยภาพมากพอที่จะผลักดันงานให้ลุล่วง โดยเฉพาะช่วงเปลี่ยนแปลงของมหาวิทยาลัยที่กำลังจะมีการเปลี่ยนแปลงอธิการบดี ในปลายปี 2553 และก็เป็นอีกครั้งที่สุเมธ กลับคำปฏิเสธ และมุ่งมั่นทำงานตามคำขอร้องต่อไป [63]

การรู้จักหยุด

“ "มีคนถามผมว่าจะกลับไปวงการเมืองอีกไหม ไม่แล้ว เหตุผลว่าไม่แล้วเพราะอะไร? ก็ให้พวกคุณเนี่ย เมืองไทย Next Generation, Go on Man! ไม่งั้น “ตาแก่คนนี้เอาอีกแล้ว”" [64]

พันศักดิ์ วิญญูรัตน์ อายุ 68 ปี

“ตลอด ชีวิตการทำงานจนถึงทุกวันนี้ ชีวิตผมไม่เคยลาพักร้อนเลย ตั้งแต่ทำงานราชการไม่เคยลาพักร้อน ไม่รู้จัก นี่ขนาดเกษียณมา 12 ปี ก็ยังไม่รู้จักคำว่าเกษียณ ทำงานทุกวัน เสาร์อาทิตย์ก็ต้องทำ โดยเฉพาะงานตามมหาวิทยาลัยต่างๆ ไปเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ บางที่ก็เชิญไปสอน ไปบรรยาย ซึ่งโครงการปริญญาโทชอบสอนวันเสาร์อาทิตย์ ก็ต้องไป ชีวิตไม่รู้จักคำว่าเสาร์อาทิตย์ ไม่รู้จักวันหยุด หรือปีใหม่ คือ ชีวิตมอบให้การทำงานจริงๆ” [65]

สุเมธ ตันติเวชกุล อายุ 72 ปี

คำถามก็คือ อะไรคือสิ่งที่เรียกว่าพอ?


อ้างอิง:

  1. คำต่อคำ อำมาตย์ ชื่อ "ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล" เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา บันทึกไว้ในแผ่นดิน...ตามเส้นทาง http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1260344414&grpid=no&catid=04 (9 ธันวาคม 2552)
  2. 72 ปี แห่งประสบการณ์ หลักคิด และแรงบันดาลใจ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์), 2554?, น.คำนำ
  3. 72 ปี แห่งประสบการณ์ หลักคิด และแรงบันดาลใจ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์), 2554?, น.4
  4. 72 ปี แห่งประสบการณ์ หลักคิด และแรงบันดาลใจ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล, 2554?, น.21
  5. รัตนบุรุษของแผ่นดิน http://lib.pbru.ac.th/th/gold/phetchaburi/sumet.htm (20 สิงหาคม 2554) อ้างจาก มนู อุดมเวช และคณะ. รัตนบุรุษของแผ่นดิน (กรุงเทพฯ : นานาสิ่งพิมพ์), 2545 จากการสืบค้นพบว่า อารีย์ มีชื่อเป็นรัฐมนตรีในช่วงปี 2501 http://www.cabinet.thaigov.go.th/bb2_main11.htm (22 สิงหาคม 2554 )
  6. "ถุงเงิน" ชื่อเล่นพระราชทานของ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล http://www.gotoknow.org/blog/inthaiheart/79216 (25 สิงหาคม 2554) อ้างอิงจาก เหมวดี พลรัฐ. เดลินิวส์ (8 ธันวาคม 2545)
  7. 72 ปี แห่งประสบการณ์ หลักคิด และแรงบันดาลใจ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล, 2554?, น.7
  8. 72 ปี แห่งประสบการณ์ หลักคิด และแรงบันดาลใจ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล, 2554?, น.8 และ 10
  9. 72 ปี แห่งประสบการณ์ หลักคิด และแรงบันดาลใจ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล, 2554?, น.13
  10. 72 ปี แห่งประสบการณ์ หลักคิด และแรงบันดาลใจ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล, 2554?, น.16
  11. 72 ปี แห่งประสบการณ์ หลักคิด และแรงบันดาลใจ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล, 2554?, น.16-19
  12. 72 ปี แห่งประสบการณ์ หลักคิด และแรงบันดาลใจ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล, 2554?, น.19
  13. มติชนออนไลน์. ดร.สุเมธชี้ไทย"รวยกระจุก-จนกระจาย" มุ่งแต่เจริญด้าน ศก. http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1310041118&grpid=03&catid=03 (7 กรกฎาคม 2554)
  14. หม่อมหลวงมณีรัตน์ บุนนาค (2265-2543) นามสกุลเดิมคือ สนิทวงศ์ เป็นพระมาตุฉา ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ
  15. รัตนบุรุษของแผ่นดิน http://lib.pbru.ac.th/th/gold/phetchaburi/sumet.htm (20 สิงหาคม 2554) อ้างจาก มนู อุดมเวช และคณะ. รัตนบุรุษของแผ่นดิน (กรุงเทพฯ : นานาสิ่งพิมพ์), 2545 ในนี้ระบุลำดับเหตุการณ์การรับตำแหน่งราชการในแต่ละปีอย่างละเอียด
  16. 72 ปี แห่งประสบการณ์ หลักคิด และแรงบันดาลใจ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล, 2554?, น.23-24
  17. 72 ปี แห่งประสบการณ์ หลักคิด และแรงบันดาลใจ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล, 2554?, น.24-25
  18. 72 ปี แห่งประสบการณ์ หลักคิด และแรงบันดาลใจ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล, 2554?, น.25
  19. 72 ปี แห่งประสบการณ์ หลักคิด และแรงบันดาลใจ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล, 2554?, น.25
  20. 72 ปี แห่งประสบการณ์ หลักคิด และแรงบันดาลใจ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล, 2554?, น.26-27
  21. ราย ละเอียดโปรดอ่านใน ธิกานต์ ศรีนารา. หลัง 6 ตุลา ว่าด้วยความขัดแย้งทางความคิดระหว่างขบวนการนักศึกษากับพรรคคอมมิวนิสต์แห่ง ประเทศไทย (กรุงเทพฯ : 6 ตุลารำลึก), 2552
  22. 72 ปี แห่งประสบการณ์ หลักคิด และแรงบันดาลใจ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล, 2554?, น.27 และ รัตนบุรุษของแผ่นดิน http://lib.pbru.ac.th/th/gold/phetchaburi/sumet.htm (20 สิงหาคม 2554)
  23. 72 ปี แห่งประสบการณ์ หลักคิด และแรงบันดาลใจ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล, 2554?, น.27 และ รัตนบุรุษของแผ่นดิน http://lib.pbru.ac.th/th/gold/phetchaburi/sumet.htm (20 สิงหาคม 2554)
  24. สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) http://www.rdpb.go.th/RDPB/front/RDPBHistory.aspx?p=9 (20 สิงหาคม 2554)
  25. 72 ปี แห่งประสบการณ์ หลักคิด และแรงบันดาลใจ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล, 2554?, น.27
  26. ชนิ ดา ชิตบัณฑิตย์. โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ : การสถาปนาพระราชอำนาจนำในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (กรุงเทพฯ : มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์), 2550, น.130-131
  27. 72 ปี แห่งประสบการณ์ หลักคิด และแรงบันดาลใจ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล, 2554?, น.28 และ มูลนิธิชัยพัฒนา (The Chaipattana Foundation). "ความเป็นมา" http://www.chaipat.or.th/chaipat/index.php?option=com_content&view=article&id=13&Itemid=184&lang=th (20 สิงหาคม 54)
  28. "ปรัชญา ความเป็นผู้นำเพื่อการบริหารในพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ" อ้างใน “ปาฐกถาพิเศษ” ซึ่ง ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ในฐานะเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนาได้บรรยายไว้ ณ โรงเรียนนายทหารอากาศอาวุโส สถาบันวิชาการทหารอากาศชั้นสูง 6พฤศจิกายน 2545 ใน สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ 49 : 27 (29 พฤศจิกายน-5 ธันวาคม 2545) : 11-12 http://thai.mindcyber.com/buddha/why1/1146.php (25 สิงหาคม 2554)
  29. ขนิดา ชิตบัณฑิตย์, เรื่องเดียวกัน นอกจากนั้นดูใน "เศรษฐกิจพอเพียง" กับ "การสถาปนาพระราชอำนาจนำ": เสวนาที่ ม.อุบลราชธานี http://prachatai.com/journal/2007/11/14954 (27 พฤศจิกายน 2550)
  30. รัตนบุรุษของแผ่นดิน http://lib.pbru.ac.th/th/gold/phetchaburi/sumet.htm (20 สิงหาคม 2554) อ้างจาก มนู อุดมเวช และคณะ. รัตนบุรุษของแผ่นดิน (กรุงเทพฯ : นานาสิ่งพิมพ์), 2545
  31. โครงการ พัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (2539) จัดพิมพ์ในวโรกาสสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินไป พระราชทานเพลิงศพ นางเอื้อนศรี ภักดีผดุงแดน ณ เมรุ วัดธาตุทอง กรุงเทพมหานคร วันพฤหัสบดีที่ 28 มีนาคม พุทธศักราช 2539
  32. "ปรัชญาความเป็นผู้นำเพื่อ การบริหารในพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ" อ้างใน “ปาฐกถาพิเศษ” ซึ่ง ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ในฐานะเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนาได้บรรยายไว้ ณ โรงเรียนนายทหารอากาศอาวุโส สถาบันวิชาการทหารอากาศชั้นสูง 6พฤศจิกายน 2545 ใน สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ 49 : 27 (29 พฤศจิกายน-5 ธันวาคม 2545) : 11-12 http://thai.mindcyber.com/buddha/why1/1146.php (25 สิงหาคม 2554)
  33. รัตนบุรุษของแผ่นดิน http://lib.pbru.ac.th/th/gold/phetchaburi/sumet.htm (20 สิงหาคม 2554) อ้างจาก มนู อุดมเวช และคณะ. รัตนบุรุษของแผ่นดิน (กรุงเทพฯ : นานาสิ่งพิมพ์), 2545 อารีย์ มีชื่อเป็นรัฐมนตรีในช่วงปี 2501 http://www.cabinet.thaigov.go.th/bb2_main11.htm (22 สิงหาคม 2554 )
  34. "ถุงเงิน" ชื่อเล่นพระราชทานของ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล http://www.gotoknow.org/blog/inthaiheart/79216 (25 สิงหาคม 2554) อ้างอิงจาก เหมวดี พลรัฐ. เดลินิวส์ (8 ธันวาคม 2545)
  35. "ปรัชญา ความเป็นผู้นำเพื่อการบริหารในพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ" อ้างใน “ปาฐกถาพิเศษ” ซึ่ง ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ในฐานะเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนาได้บรรยายไว้ ณ โรงเรียนนายทหารอากาศอาวุโส สถาบันวิชาการทหารอากาศชั้นสูง 6พฤศจิกายน 2545 ใน สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ 49 : 27 (29 พฤศจิกายน-5 ธันวาคม 2545) : 11-12 http://thai.mindcyber.com/buddha/why1/1146.php (25 สิงหาคม 2554)
  36. 72 ปี แห่งประสบการณ์ หลักคิด และแรงบันดาลใจ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล, 2554?, น.37
  37. "ถุงเงิน" ชื่อเล่นพระราชทานของ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล http://www.gotoknow.org/blog/inthaiheart/79216 (25 สิงหาคม 2554) อ้างอิงจาก เหมวดี พลรัฐ. เดลินิวส์ (8 ธันวาคม 2545)
  38. SCG. รู้จักกรรมการบริษัท สุเมธ ตันติเวชกุล. http://www.siamcement.com/th/01corporate_profile/board/sumet_tantivejkul.html (24 สิงหาคม 2554) อย่างไรก็ตามมีหลักฐานว่า มูลนิธิฯ มีการตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2544 ในครั้งนั้น นิรมล สุริยสัตย์ ที่มีคำนำหน้าเป็น “ท่านผู้หญิง” เป็นประธานมูลนิธิฯ ดูใน "ประกาศนายทะเบียนมูลนิธิ กรุงเทพมหานคร เรื่อง จดทะเบียนจัดตั้ง "มูลนิธิประเทศไทยใสสะอาด" " ใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 118 ตอนที่ 46 ง , 7 มิถุนายน 2544, น.36 และ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. "นิรมล สุริยสัตย์". http://th.wikipedia.org/wiki/นิรมล_สุริยสัตย์ (30 มกราคม 2554)
  39. "ประกาศ นายทะเบียนมูลนิธิ กรุงเทพมหานคร เรื่อง จดทะเบียนจัดตั้ง "มูลนิธิประเทศไทยใสสะอาด" " ใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 118 ตอนที่ 46 ง , 7 มิถุนายน 2544, น.35
  40. SCG. รู้จักกรรมการบริษัท สุเมธ ตันติเวชกุล. http://www.siamcement.com/th/01corporate_profile/board/sumet_tantivejkul.html (24 สิงหาคม 2554)
  41. ปอมท ที่ประชุมประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย. "บทบาทของกรรมการสภามหาวิทยาลัยกับการปฏิรูปอุดมศึกษา" http://thaifacultysenate.com/Regent_Board.aspx (23 สิงหาคม 2554)
  42. ปอมท ที่ประชุมประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย. "จากสภาเกียรติยศ สู่สภารับผิดรับชอบ" http://thaifacultysenate.com/Regent_Board.aspx (23 สิงหาคม 2554)
  43. 72 ปี แห่งประสบการณ์ หลักคิด และแรงบันดาลใจ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล, 2554?, น.51
  44. 72 ปี แห่งประสบการณ์ หลักคิด และแรงบันดาลใจ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล, 2554?, น.43-45
  45. 72 ปี แห่งประสบการณ์ หลักคิด และแรงบันดาลใจ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล, 2554?, น.67-68
  46. 72 ปี แห่งประสบการณ์ หลักคิด และแรงบันดาลใจ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล, 2554?, น.53
  47. 72 ปี แห่งประสบการณ์ หลักคิด และแรงบันดาลใจ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล, 2554?, น.55
  48. สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา. “ไม่รัฐประหาร ไม่นองเลือด” http://www.ldinet.org/2008/index.php?option=com_content&task=view&id=412&Itemid=28 (20 สิงหาคม 54)
  49. "ปรัชญา ความเป็นผู้นำเพื่อการบริหารในพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ" อ้างใน “ปาฐกถาพิเศษ” ซึ่ง ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ในฐานะเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนาได้บรรยายไว้ ณ โรงเรียนนายทหารอากาศอาวุโส สถาบันวิชาการทหารอากาศชั้นสูง 6พฤศจิกายน 2545 ใน สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ 49 : 27 (29 พฤศจิกายน-5 ธันวาคม 2545) : 11-12 http://thai.mindcyber.com/buddha/why1/1146.php (25 สิงหาคม 2554)
  50. Toxinomics – พิษทักษิณ (2547) อ้างถึงใน จรัญ ยั่งยืน. “เสียงจาก สุเมธ ตันติเวชกุล "เรารวยโดยไม่มีเสาเข็ม"” ใน ประชาชาติธุรกิจ http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2004q2/article2004june28p5.htm (28 มิถุนายน 2547 )
  51. The Nation .Prem stays silent on Democrats' latest call http://nationmultimedia.com/2006/03/26/headlines/headlines_30000239.php (27 March 2006)
  52. โอเพ่นออนไลน์. "วิธีแกะกล่องของขวัญแบบ สุเมธ ตันติเวชกุล" http://www.onopen.com/node/3828 (27 มีนาคม 2549)
  53. พระราชดำรัส พระราชทานแก่ผู้พิพากษาประจำศาลสำนักงานศาลยุติธรรม 25 เมษายน พ.ศ. 2549 http://th.wikisource.org/wiki/พระราชดำรัส พระราชทานแก่ผู้พิพากษาประจำศาลสำนักงานศาลยุติธรรม 25 เมษายน พ.ศ. 2549 (21 พฤษภาคม 2554 )
  54. เมื่อโลกจ้องมองไทยหลังรัฐประหาร และ coup d’etat Effect : เศรษฐกิจไทยจะไปทางไหน? http://prachatai.wordpress.com/2006/09/21/%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87e/ (21 กันยายน 2554)
  55. The Nation, Activists call on Surayud to resign for alleged forest encroachment (29 December 2006)
  56. ประชาไท.ลิปเล่ย์. การแสดงความคิดเห็น ในบทความ "รสนิยมเหนือระดับ กับอาหารค่ำ มื้อละ "1 ล้านบาท"!" http://prachatai.com/node/11561/talk (10 กุมภาพันธ์ 2550)
  57. ประชาชาติธุรกิจออนไลน์."อย่างผมน่ะหรือจะมี ′เฟอร์รารี่′ ลำพังตัวเองหาได้แค่ ′โคโรลล่า′. http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1272018509&grpid=no&catid=04 (27 เมษายน 2553)
  58. BBC NEWS. Bangkok banquet beckons for rich.http://news.bbc.co.uk/2/hi/asia-pacific/6335419.stm (7 February 2007)
  59. ประชาไท "รสนิยมเหนือระดับ กับอาหารค่ำ มื้อละ "1 ล้านบาท"!" http://prachatai.com/node/11561/talk (10 กุมภาพันธ์ 2550)
  60. 72 ปี แห่งประสบการณ์ หลักคิด และแรงบันดาลใจ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล, 2554?, น.26
  61. 72 ปี แห่งประสบการณ์ หลักคิด และแรงบันดาลใจ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล, 2554?, น.31
  62. 72 ปี แห่งประสบการณ์ หลักคิด และแรงบันดาลใจ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล, 2554?, น.45
  63. 72 ปี แห่งประสบการณ์ หลักคิด และแรงบันดาลใจ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล, 2554?, น.68-69
  64. siam intelligence. "Practical Utopia สัมภาษณ์ "พันศักดิ์ วิญญูรัตน์" "." http://www.siamintelligence.com/pansak-interview/ (2 ธันวาคม 2553)
  65. 72 ปี แห่งประสบการณ์ หลักคิด และแรงบันดาลใจ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล, 2554?, น.29