WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, August 18, 2012

พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์: โครงการรับจำนำข้าว ใครได้ประโยชน์?

ที่มา ประชาไท

 

โครงการรับจำนำข้าวนับเป็นนโยบายที่ได้รับ ความนิยมมากที่สุดจากเกษตรกร และถูกโจมตีมากที่สุดจากนักวิชาการ สื่อมวลชนกระแสหลัก และพ่อค้าข้าว
นักวิชาการเศรษฐศาสตร์บางสำนักได้เรียงหน้ากันออกมา วิจารณ์ว่า โครงการนี้เป็นการทำลายตลาดค้าข้าวและการส่งออกข้าวของประเทศ เกิดทุจริตคอรัปชั่นมโหฬาร รัฐขาดทุนหลายแสนล้านบาท และชาวนาไม่ได้ประโยชน์ มี
แต่ความเลวร้าย ประสานกับเสียงต่อต้านจากบรรดาพ่อค้าผู้ส่งออกข้าว
แต่คนกลุ่มเดียวกันนี้กลับไปสนับสนุนโครงการประกันรายได้ชาวนาของรัฐบาล พรรคประชาธิปัตย์ ทั้งที่ก็มีข้อครหาเรื่องทุจริตในการลงทะเบียนชาวนาและพื้นที่เพาะปลูก รวมทั้งสูญเสียงบประมาณไปถึงห้าหมื่นล้านบาท!
สาเหตุคือ โครงการประกันรายได้ชาวนาเป็นประโยชน์ต่อพ่อค้าและผู้ส่งออกข้าว เพราะรัฐบาลตั้งราคาประกันขั้นสูงไว้ ขณะที่พ่อค้าสามารถกดราคาข้าวจากชาวนาได้เต็มที่ โดยรัฐบาลรับภาระจ่ายเงินชดเชย “ส่วนต่าง” ให้ ยิ่งพ่อค้ารับซื้อข้าวจากชาวนาในราคาต่ำเท่าไร รัฐบาลก็ต้องควักเงินมาจ่ายชดเชยให้เท่านั้น ฉะนั้น พ่อค้าผู้ส่งออกได้ประโยชน์เต็มที่ สามารถซื้อข้าวได้ในราคาถูก ข้าวในตลาดเกือบทั้งหมดอยู่ในกำมือของพวกเขา สามารถส่งออกไปตลาดโลก กินกำไรส่วนต่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย
ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า โครงสร้างตลาดข้าวของประเทศไทยที่พวกนัก วิชาการเศรษฐศาสตร์บางค่ายอ้างว่า “เป็นตลาดเสรี รัฐบาลไม่ควรแทรกแซง” นั้น ความจริงเป็นตลาดผูกขาดที่สุดตลาดหนึ่งของประเทศไทย มีอำนาจกระจุกอยู่ที่ผู้ส่งออกรายใหญ่เพียงไม่กี่ราย รวมหัวกันผูกขาดการส่งออกข้าวทั้งหมดของประเทศ โดยเอาราคาส่งออกเป็นตัวตั้ง แล้วกดราคาในประเทคลดหลั่นกันลงมาผ่านพ่อค้าไปถึงชาวนา
โครงการประกันรายได้ยังเป็นการทำลายแรงจูงใจในการผลิตของชาวนา เพราะรัฐบาลกำหนดผลผลิตต่อไร่สูงสุดไว้ตายตัวแตกต่างไปตามพื้นที่ (เช่น ข้าวเปลือก 400 กก.ต่อไร่ในจังหวัดสุรินทร์) และชาวนาแต่ละครัวเรือนจะลงทะเบียนจำนวนพื้นที่เพาะปลูกไว้คงที่ (เช่น นายเขียวเพาะปลูก 50 ไร่) ผลก็คือ ชาวนาไม่มีแรงจูงใจปรับปรุงประสิทธิภาพเพื่อเพิ่มผลผลิต เพราะถึงจะผลิตได้มากกว่า 400 กก.ต่อ ไร่ ก็ไม่ได้อะไรตอบแทนเพิ่ม ในทางตรงข้าม ถ้าชาวนาผลิตได้น้อยกว่าหรือปลูกไม่เต็มพื้นที่ ก็ยังได้รับชดเชยตามเกณฑ์ที่กำหนดเหมือนเดิม
ปัญหาอีกประการหนึ่งของโครงการประกันรายได้ชาวนาคือ ชาวนาไม่เคยได้รับตามราคาประกันจริง สาเหตุคือ รัฐบาลไม่มีทางรู้ได้ว่า ชาวนาขายข้าวให้กับพ่อค้าในราคาจริงเท่าไร เนื่องจากราคาขายจริงนั้นขึ้นอยู่กับคุณภาพข้าว ระยะทางไปถึงตลาด และช่วงเวลาที่ชาวนาขายข้าว ทางออกของรัฐบาลขณะนั้นคือ กำหนด “ราคาอ้างอิง” เพื่อใช้แทนราคาขายจริงของชาวนา แต่ปรากฏว่า ราคาอ้างอิงของทางการกลับสูงกว่าราคาขายจริง เช่น ประกันราคาไว้ที่ตันละ 15,000 บาท ชาวนาขายได้จริงตันละ 10,000  บาท ก็ควรจะได้รับชดเชยตันละ 5,000 บาท  แต่ราคาอ้างอิงทางการอยู่ที่ 13,000 บาท ผลก็คือ ชาวนาได้รับชดเชยจริงแค่ตันละ 2,000 บาท รวมเป็นราคาที่ชาวนาได้รับจริงตันละ 12,000 บาท ไม่ใช่ตันละ 15,000 บาทตามที่รัฐบาลประกันไว้
ยิ่งกว่านั้น ราคาประกันของทางการกลับกลายเป็น “ราคาเพดาน” ที่คอยกดราคาตลาดในประเทศไว้อีกด้วย เพราะพ่อค้าจะไม่รับซื้อข้าวจากชาวนาในราคาเกินกว่าราคาประกัน แม้ว่าราคาในตลาดโลกจะขึ้นสูงไปสักเท่าใด
พวกนักวิชาการเศรษฐศาสตร์ “อีแอบ” ที่หากินกับรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์มาทุกยุคสมัยและได้ประโยชน์จากรัฐประหาร 2549 พวกนี้ทำเป็นลืมไปว่า ในปลายรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ มีชาวนาออกมาประท้วงปิดถนนกันทั่วไป เรียกร้องให้รัฐบาลรับจำนำข้าวแทนการประกันรายได้ ก็เพราะสาเหตุดังกล่าวนี่เอง รัฐบาลขณะนั้นแก้ปัญหาเฉพาะหน้าด้วยการเอา “มาตรการรับจำนำข้าว” กลับมาใช้เป็นบางส่วน แต่ก็ไม่ยอมเลิกโครงการประกันรายได้เพราะกลัวเสียหน้า ผลท้ายสุดคือ รัฐบาลทำทั้งสองอย่าง ทั้งประกันรายได้ ทั้งรับจำนำ เป็นที่สับสนต่อชาวนาและข้าราชการที่เกี่ยวข้อง
โครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลพรรคเพื่อไทยเป็นมาตรการแทรกแซงตลาดข้าวโดย รัฐที่ใหญ่ที่สุด เพราะรัฐบาลประกาศรับจำนำข้าวเปลือกทุกเมล็ดในราคาที่กำหนด (ข้าว 100% ที่ตันละ 15,000 บาท ข้าวหอมมะลิที่ตันละ 20,000 บาท ปรับลดด้วยความชื้น) ในทางปฏิบัติ รัฐบาลได้กลายเป็นผู้ซื้อข้าวรายใหญ่ที่สุดของประเทศ พ่อค้าผู้ส่งออกเสียประโยชน์เพราะรัฐบาลมาแข่งรับซื้อข้าวในราคาสูง ถ้าพ่อค้าต้องการข้าวไปส่งออก ก็ต้องซื้อในราคาสูงด้วย ทำให้ส่งออกได้กำไรลดลง ที่นักวิชาการเศรษฐศาสตร์ “อีแอบ” พวกนี้อ้างว่า รัฐบาลกำลังทำลายตลาดข้าวไทยนั้น ที่แท้จริงคือ รัฐบาลทำให้พ่อค้าผู้ส่งออก “อิ่มหมีพีมัน” น้อยลงนั่นเอง




ส่วนตัวเลขที่โจมตีว่า รัฐบาลจะขาดทุนถึง 2.6 แสนล้านบาทนั้น นักเศรษฐศาสตร์ที่อ้างข้อนี้สอบตกวิชาเศรษฐศาสตร์พื้นฐาน ในทางปฏิบัติ รัฐบาลไม่ต้องรับจำนำข้าวหมดทั้งประเทศ เพราะเมื่อข้าวตกอยู่ในมือของรัฐบาลมากขึ้น ตลาดเอกชนก็จะมีข้าวน้อยลง ทำให้ราคาตลาดเอกชนสูงขึ้นไปเอง ชาวนาทั่วไปก็จะขายข้าวในตลาดเอกชนได้ราคาสูงตามไปด้วยโดยไม่ต้องเข้าโครงการจำนำของรัฐบาล นี่คือเหตุผลที่ว่า แม้รัฐบาลจะตั้งงบประมาณรับจำนำข้าว 25 ล้านตันไว้ถึงกว่าสี่แสนล้านบาทสำหรับฤดูเพาะปลูก 2554/55 แต่มีข้าวจำนำจริงเพียง 7 ล้านตัน หรือราวร้อยละ 30 ของผลผลิตข้าวทั้งหมด รัฐจึงใช้งบประมาณไปเพียง 140,000 ล้านบาทเท่านั้น
ส่วนรัฐบาลจะขาดทุนเท่าไรนั้นสามารถคำนวณได้คร่าว ๆ คือ ข้าวเปลือกจำนำ 7 ล้านตันแปรเป็นข้าวสาร 4.6 ล้านตัน ข้าวขาว 100% ราคาปัจจุบันอยู่ที่ตันละ 580 ดอลลาร์ (ราว 18,000 บาท) ฉะนั้นข้าวสาร 4.6 ล้านตันคิดเป็น 83,000 ล้าน บาท รัฐบาลจะขาดทุนทั้งสิ้นหกหมื่นล้านบาท และจะขาดทุนมากกว่านี้ถ้ารัฐบาลระบายข้าวด้วยการขายราคาต่ำเพื่อให้เอกชนไป ส่งออกอีกทอดหนึ่ง แต่รัฐบาลก็อาจขาดทุนน้อยกว่านี้ถ้าราคาข้าวในตลาดโลกขึ้นสูง

จึงไม่น่าแปลกใจถ้าประเทศไทยจะส่งออกข้าวได้น้อยลงในปีนี้ เพราะการที่รัฐบาลรับจำนำข้าวในราคาสูงทำให้พ่อค้าผู้ส่งออกไม่สามารถแข่ง ตัดราคากับประเทศที่มีต้นทุนการผลิตต่ำได้ เช่น อินเดียและเวียดนาม ที่ผ่านมา การไปแข่งตัดราคากับอินเดียและเวียดนามนี่แหละที่ทำให้ราคาข้าวในตลาดโลกไม่ สูงเท่าที่ควร เป็นผลสะท้อนกลับมาถึงราคาข้าวต่ำของชาวนาไทย การไปช่วงชิงตำแหน่ง “ผู้ส่งออกข้าวอันดับหนึ่ง” จึงไม่ใช่เรื่องน่าภาคภูมิใจ หากแต่เป็นเรื่องหลอกลวงของพวกพ่อค้า สื่อมวลชนและนักวิชาการเท่านั้น
หนทางที่ควรจะเป็นนั้น ไม่ใช่ตั้งหน้าส่งออกข้าวคุณภาพต่ำราคาถูกไปขายแข่งกับประเทศอื่น แต่เป็นการปรับปรุงคุณภาพข้าวส่งออก ทั้งเมล็ดพันธุ์ ผลผลิตต่อไร่ การบรรจุหีบห่อ ให้ปลอดสารเคมีตกค้างและปลอมปน มุ่งขายในตลาดข้าวคุณภาพสูงที่ไทยได้เปรียบอยู่แล้ว ให้เป็นประเทคที่ขายข้าวได้ราคาดีที่สุด ไม่ใช่ส่งออกได้จำนวนตันสูงสุด
สิ่งที่รัฐบาลต้องสนใจอย่างจริงจังคือ การทุจริตในทุกขั้นตอนตั้งแต่การรับจำนำ ปริมาณและคุณภาพของสต็อกข้าว และการระบายให้เอกชนไปส่งออก ซึ่งแม้จะหลีกเลี่ยงได้ยาก แต่สามารถลดหรือปรามได้ โดยให้รั่วไหลน้อยที่สุด
ถ้าถามว่า มีหนทางอื่นหรือไม่ที่รัฐบาลจะช่วยเหลือชาวนาโดยไม่ต้องเข้าแทรกแซงตลาดใน ลักษณะดังกล่าว เพื่อลดค่าใช้จ่ายและปราศจากการทุจริต คำตอบคือ มีหนทางอยู่ ซึ่งก็คือ การปฏิรูปตลาดข้าวไทย ทำลายการรวมหัวผูกขาดของกลุ่มทุนเก่าที่หากินบนหลังชาวนาไทยมาหลายชั่วคน เปิดเสรีการส่งออกข้าว ให้ข้าวกระจายไปยังผู้ส่งออกจำนวนมาก โดยรัฐบาลเข้าแทรกแซงตลาดในขอบเขตจำกัดเพื่อลดลักษณะขึ้นลงตามฤดูกาลของราคา ข้าว แต่จะกระทำเช่นนี้ได้ ก็ต้องทำลายอำนาจทางการเมืองของกลุ่มทุนเก่าไปพร้อมกันด้วย

ที่มา: “โลกวันนี้วันสุข” ฉบับวันศุกร์ที่ 17 สิงหาคม 2555

สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์: กสทช. กับบทบาท “ผู้จัดฮั้ว” ประมูลคลื่น 3G

ที่มา ประชาไท

 

 กสทช. ได้เตรียมการประมูลคลื่นความถี่โทรศัพท์ 3G โดยแบ่งคลื่นความถี่ที่มีอยู่ 45 MHz ออกเป็น 9 ชิ้น (หรือ 9 สล็อต) ชิ้นละ 5 MHz โดยกำหนดราคาประมูลตั้งต้นไว้ที่ชิ้นละ 4,500 ล้านบาท ทั้งนี้ จะมีการกำหนดปริมาณคลื่นความถี่ที่โอเปอเรเตอร์แต่ละรายจะสามารถประมูลได้ ไม่ให้เกิน 4 ชิ้นหรือ 20 MHz ซึ่งหมายความว่า โอเปอเรเตอร์ที่เข้าประมูลอาจได้คลื่น 20, 15, 10 หรือ 5 MHz แล้วแต่ผลการประมูล ผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับแนวทางนี้นัก เพราะไม่แน่ใจว่า ลำพังความแตกต่างของปริมาณคลื่นที่ได้จะสามารถป้องกันการ “ฮั้ว” ซึ่งเป็นปัญหาที่พบบ่อยและสำคัญที่สุดในการประมูล แต่ก็พอยอมรับได้ หากมีการกำหนดราคาประมูลตั้งต้นที่สูงกว่าที่เป็นอยู่ ซึ่งจะช่วยลดความเสียหายในกรณีที่มีการฮั้วกันเกิดขึ้น
นอกจากจะไม่ปรับราคาประมูลตั้งต้นให้สูงขึ้นแล้ว ในช่วงหลัง ท่าทีของ กสทช. โดยเฉพาะ ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ประธาน กทค. ก็กลับเปลี่ยนไปในทางตรงกันข้าม โดยมีแนวโน้มว่าจะลดปริมาณคลื่นสูงสุดที่โอเปอเรเตอร์แต่ละรายจะสามารถ ประมูลได้ให้เหลือไม่เกิน 15 MHz ท่าทีดังกล่าวสอดคล้องกับข้อเรียกร้องของกลุ่มโอเปอเรเตอร์ที่จะเข้าประมูล ซึ่งอ้างว่า ควรลดปริมาณคลื่นสูงสุดของแต่ละรายลงเหลือ 15 MHz เพื่อให้ทุกรายได้คลื่นเท่ากันคือ 15 MHz จะได้เกิดการแข่งขันอย่างเท่าเทียม และเพื่อป้องกันไม่ให้ราคาประมูลสูงเกินไปจนเป็นภาระแก่ผู้บริโภค
ผู้เขียนเห็นว่า หาก กสทช. ดำเนินการตามแนวทางดังกล่าว การประมูลที่จะมีขึ้นก็จะกลายเป็นเรื่องตลกระดับชาติทันที เพราะไม่มีประโยชน์ที่จะแบ่งคลื่นออกเป็นชิ้น ชิ้นละ 5 MHz เนื่องจากไม่ว่าจะแบ่งหรือไม่แบ่งอย่างไร ก็จะทำให้โอเปอเรเตอร์แต่ละรายได้คลื่นเท่ากันคือ รายละ 15 MHz อยู่ดี ที่สำคัญ จะเกิดการฮั้วกันในการประมูลค่อนข้างแน่นอน ซึ่งจะสร้างความเสียหายแก่ประชาชนทุกคนในฐานะผู้เสียภาษี เพราะราคาประมูลจะใกล้เคียงกับราคาตั้งต้น ทำให้รัฐมีรายได้จากการประมูลน้อยลงเมื่อเทียบกับการประมูลที่มีการแข่งขัน อย่างแท้จริง
ความพยายามในการดำเนินการดังกล่าวของ กสทช. จะไม่ประสบความสำเร็จ หากประชาชนมีความเข้าใจที่ถูกต้องต่อข้อเท็จจริงที่สำคัญ 2 ประการ คือ การประมูลไม่สร้างภาระแก่ผู้บริโภค และราคาประมูลตั้งต้นที่ กสทช. กำหนดไว้ต่ำกว่าราคาที่ควรจะเป็นมาก

การประมูลไม่สร้างภาระแก่ผู้บริโภค
ในทางเศรษฐศาสตร์ เป็นที่ทราบกันดีว่า การประมูลคลื่นความถี่เพื่อมาใช้ให้บริการโทรคมนาคมจะไม่สร้างภาระแก่ผู้ บริโภค เพราะราคาประมูลไม่ว่าจะสูงหรือต่ำ ก็จะไม่กระทบต่ออัตราค่าบริการของผู้บริโภค เนื่องจาก ค่าใช้จ่ายในการประมูลคลื่นความถี่เป็นส่วนที่หักจากกำไรส่วนเกิน (economic rent) ของผู้ประกอบการที่จะได้รับจากการใช้คลื่นความถี่ในการทำธุรกิจ ไม่ใช่เป็นต้นทุนที่จะสามารถผลักไปยังผู้บริโภคได้ ดังที่ผู้เขียนเคยอธิบายในบทความเรื่อง “จริงหรือ ถ้าค่าประมูลคลื่น 3G แพงแล้ว ผู้บริโภคจะเดือดร้อน?” (ผู้สนใจสามารถสืบค้นหาได้ในอินเทอร์เน็ต)
มีหลักฐานทางวิชาการมากมายที่ยืนยันว่า การประมูลไม่สร้างภาระแก่ผู้บริโภค ตัวอย่างเช่น การวิจัยของ Minsoo Park และคณะเมื่อปี 2010 ซึ่งศึกษาตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G ใน 21 ประเทศ ทั้งประเทศที่ใช้การประมูลคลื่น และประเทศที่ใช้แนวทางอื่นในการจัดสรรคลื่น การศึกษาดังกล่าวพบว่า ประเทศที่มีการประมูลคลื่นไม่ได้มีอัตราค่าบริการที่แพงกว่าประเทศที่ใช้แนว ทางอื่นในการจัดสรรคลื่น นอกจากนี้ การประมูลยังไม่มีผลทำให้ผู้ประกอบการลงทุนวางโครงข่ายช้าลง และไม่มีผลในการลดการแข่งขันในตลาดจนเกิดการกระจุกตัวแต่อย่างใด การศึกษาดังกล่าวเป็นเพียงการศึกษาหนึ่งในหลายๆ ชิ้นที่ยืนยันซ้ำแล้วซ้ำอีกว่า การประมูลไม่ได้สร้างภาระแก่ผู้บริโภค ดังที่โอเปอเรเตอร์ในประเทศไทยพยายามทำให้เราเข้าใจผิด
สาเหตุสำคัญที่การประมูลไม่ทำให้อัตราค่าบริการของผู้บริโภคแพงขึ้น ก็เพราะปัจจัยที่กำหนดอัตราค่าบริการก็คือ ความสามารถในการจ่ายของผู้บริโภค (อุปสงค์) และสภาพการแข่งขันในตลาด (อุปทาน) โดยหากตลาดไม่มีการแข่งขัน ในขณะที่ผู้บริโภคมีกำลังจ่ายมาก แม้โอเปอเรเตอร์จะได้คลื่นความถี่มาฟรี ก็จะไม่ทำให้ค่าบริการลดลงแต่อย่างใด เพราะโอเปอเรเตอร์ย่อมจะเก็บค่าบริการที่ทำให้ตนมีกำไรมากที่สุดอยู่นั่นเอง
อนึ่ง มีนักวิชาการไทยบางคนที่อ้างว่า มีผลการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม (behavioral economics) ที่ชี้ไปในทางตรงกันข้าม โดยให้เหตุผลที่สามารถสรุปเป็นขั้นๆ ดังนี้ หนึ่ง ราคาประมูลคลื่นเหมือนกับราคาบุฟเฟต์ที่ถูกกำหนดตายตัวและไม่สามารถเอาคืน ได้ ไม่ว่าเราจะรับประทานอาหารมากหรือน้อย สอง บุฟเฟต์มักทำให้เรารับประทานอาหารมากขึ้นกว่าปรกติ สาม การรับประทานอาหารมากขึ้นเปรียบเหมือนการเก็บค่าบริการโทรศัพท์เพิ่มขึ้น ดังนั้น ราคาประมูลคลื่นความถี่ที่สูงขึ้นก็อาจทำให้ค่าบริการเพิ่มขึ้นได้
การเปรียบเทียบดังกล่าวมีความผิดพลาดอย่างยิ่ง เพราะโอเปอเรเตอร์โทรศัพท์ 3G ต้องแข่งขันกันในตลาด จึงอยู่ภายใต้กฎอุปสงค์และอุปทานของตลาดดังกล่าวข้างต้น และไม่สามารถเก็บค่าบริการสูงสุดตามที่ต้องการได้ ในขณะที่ผู้รับประทานบุฟเฟต์ไม่ถูกควบคุมใดๆ จากอุปสงค์และอุปทานของตลาด จึงมักรับประทานมากเกินไป ข้อโต้แย้งที่ว่า การประมูลคลื่นจะสร้างภาระแก่ผู้บริโภคนั้น จึงไม่เป็นความจริง

ราคาประมูลตั้งต้นต่ำกว่าที่ควรจะเป็นมาก
ราคาประมูลตั้งต้นซึ่ง กสทช. กำหนดไว้ที่ชิ้นละ 4,500 ล้านบาทนั้น ต่ำกว่ามูลค่าจริงที่มีการประมาณการไว้มาก การศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยซึ่งสำนักงาน กสทช. เป็นผู้ว่าจ้างเอง ชี้ว่า มูลค่าของคลื่นดังกล่าวอยู่ที่ประมาณ 6,440 ล้านบาท ราคาประมูลตั้งต้นของ กสทช. จึงต่ำกว่ามูลค่าที่ประเมินไว้ถึงร้อยละ 30 และจะยิ่งต่ำกว่าความเป็นจริงมากขึ้น หากเราคิดรวมเอาประโยชน์ที่โอเปอเรเตอร์จะได้รับจากการไม่ต้องจ่ายค่า สัมปทานให้รัฐเข้าไปด้วย ทั้งนี้ เฉพาะในปี 2011 ที่ผ่านมาปีเดียว ค่าสัมปทานดังกล่าวมีมูลค่าถึง 4.8 หมื่นล้านบาท ซึ่งหมายความว่า ลำพังการไม่ต้องจ่ายค่าสัมปทาน ก็แทบจะทำให้โอเปอเรเตอร์สามารถถอนทุนจากการประมูลคลื่นได้ภายในปีเดียว ราคาประมูลตั้งต้นที่ กสทช. กำหนดไว้จึงต่ำแสนต่ำ
ราคาประมูลตั้งต้นที่ต่ำดังกล่าวจะไม่เป็นปัญหาแต่อย่างใด หากในการประมูลที่จะมีขึ้น มีการแข่งขันอย่างเต็มที่ระหว่างโอเปอเรเตอร์ เพราะราคาที่ประมูลได้จะขยับขึ้นไปเองตามการแข่งขัน ทั้งนี้ เหตุผลที่อาจจะพอทำให้มีการแข่งขันในการประมูลในสภาพที่มีการออกใบอนุญาต 3 ใบให้แก่โอเปอเรเตอร์ 3 รายก็คือ แต่ละรายอาจได้คลื่นความถี่ไม่เท่ากันนั่นเอง
ดังนั้น หาก กสทช. ลดปริมาณคลื่นสูงสุดที่โอเปอเรเตอร์แต่ละรายจะสามารถประมูลได้ลงเหลือ 15 MHz การประมูลที่จะเกิดขึ้น ก็แทบจะไม่มีเรื่องที่ต้องแข่งขันกันอีกเลย เพราะโอเปอเรเตอร์แต่ละรายต่างจะได้คลื่นไปเท่ากันคือ 15 MHz เหลือเพียงเรื่องเดียวเท่านั้นที่อาจทำให้มีการแข่งขันกันได้บ้างก็คือ ย่านความถี่ที่โอเปอเรเตอร์แต่ละรายได้รับจะแตกต่างกัน แต่ก็เป็นเรื่องที่สำคัญน้อยกว่าปริมาณคลื่นความถี่มาก เพราะย่านความถี่ทั้งหมดล้วนอยู่ใกล้กันมาก
ลำพังต่อให้มีการออกแบบประมูลที่ดี โอเปอเรเตอร์ก็ยังพยายามจะฮั้วกันอยู่ แต่ความพยายามฮั้วกันก็มีความเสี่ยงคือ อาจจะมีบางราย “เบี้ยว” หันไปประมูลคลื่นให้ได้ปริมาณ 20 MHz เพื่อให้ตนได้เปรียบคู่แข่ง จนทำให้ ”ฮั้วแตก” ซึ่งทำให้ทุกรายต้องจ่ายค่าประมูลสูงขึ้น ผู้เขียนจึงไม่แปลกใจที่โอเปอเรเตอร์ทั้งสามรายจะพร้อมใจกันเรียกร้องให้ กสทช. ลดปริมาณคลื่นสูงสุดที่แต่ละรายจะประมูลได้ให้เหลือเพียง 15 MHz หาก กสทช. ทำตามข้อเรียกร้องดังกล่าว กสทช. ก็จะมีบทบาทเป็นเสมือน “ผู้จัดฮั้ว” (cartel leader) ให้แก่โอเปอเรเตอร์ทั้งสาม โดยเป็นผู้รับประกันว่า จะไม่มีการ “เบี้ยว” กัน เพราะแทบจะไม่มีอะไรเหลือให้แข่งขันกันในการประมูล
ผู้เขียนจึงอยากเตือนให้ กสทช. เลิกแนวคิดที่จะดำเนินการดังกล่าวเสีย เพราะจะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใดๆ ต่อประชาชนทั้งในฐานะผู้บริโภค และผู้เสียภาษีเลย แต่จะเป็นการเอื้อประโยชน์ให้โอเปอเรเตอร์อย่างโจ่งแจ้ง ที่สำคัญ กสทช. เองก็จะเข้าข่ายผิดกฎหมายว่าด้วยการเสนอราคาต่อหน่วยงานรัฐ และกฎหมายอื่นๆ ซึ่งอาจนำไปสู่การถูกดำเนินคดีอาญา หรือถูกประชาชนเข้าชื่อกันเพื่อยื่นให้วุฒิสภาถอดถอนจากตำแหน่งได้
จึงขอเตือนมาด้วยความหวังดีว่า อย่าทำเช่นนั้นเลย.

คำสั่งรักษาด่านศอฉ.ใช้ "พลแม่นปืน" หากผู้ก่อเหตุปะปนผู้ชุมนุม - หากยิงไม่ได้ให้ใช้ "สไนเปอร์"





เปิดเอกสาร “ศอฉ.” เผยแนวทางปฏิบัติการใช้อาวุธเพื่อรักษาที่ตั้งสำคัญ จุดตรวจ ด่านตรวจ ของช่วงสลายชุมนุม เม.ย. – พ.ค. 53 ระบุหากมีผู้ก่อเหตุใช้อาวุธแล้วอยู่ปะปนกับผู้ชุมนุม ให้เจ้าหน้าที่งดใช้อาวุธยกเว้นถ้าในหน่วยมี “พลแม่นปืน” ให้ทำการยิงเพื่อหยุดยั้งการก่อเหตุได้ และหากไม่สามารถยิงได้ สามารถร้องขอ “พลซุ่มยิง (Sniper)” จาก ศอฉ. ได้
18 ส.ค. 55 – ผู้สื่อข่าวประชาไท ได้รับเอกสาร ส่วนราชการ สยก.ศอฉ. ที่ กห.1407.55 (สยก.) ลงวันที่ 17 เม.ย. 53 เรื่อง “ขออนุมัติแนวทางการปฏิบัติในการใช้อาวุธเพื่อ รปภ. ที่ตั้งหน่วยและสถานที่สำคัญ รวมทั้งการปฏิบัติ ณ จุดตรวจ/ด่านตรวจและสายตรวจเคลื่อนที่” ลงนามโดย พล.ท.อักษรา เกิดผล หน.สยก.ศอฉ. เสนอ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ผอ.ศอฉ. ในเวลานั้น
โดยเอกสารมีทั้งหมด 5 หน้า ใจความสำคัญคือการระบุแนวทางปฏิบัติ หากมี “ผู้ก่อการร้ายแฝงตัวมากับกลุ่มผู้ชุมนุม และใช้อาวุธ/วัตถุระเบิดต่อเจ้าหน้าที่ และประชาชนผู้บริสุทธิ์”
เอกสาร ส่วนราชการ สยก.ศอฉ. ที่ กห.1407.55 (สยก.) ลงวันที่ 17 เม.ย. 53 เรื่อง “ขออนุมัติแนวทางการปฏิบัติในการใช้อาวุธเพื่อ รปภ. ที่ตั้งหน่วยและสถานที่สำคัญ รวมทั้งการปฏิบัติ ณ จุดตรวจ/ด่านตรวจและสายตรวจเคลื่อนที่” ลงนามโดย พล.ท.อักษรา เกิดผล หน.สยก.ศอฉ. เสนอ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ผอ.ศอฉ. 
โดยในข้อ 2.5 ระบุว่า “ในกรณีพบ ความผิดซึ่งหน้าในลักษณะผู้ก่อเหตุใช้อาวุธยิงใส่เจ้าหน้าที่ หรือใช้อาวุธ/วัตถุระเบิดต่อที่ตั้งหน่วยและสถานที่สำคัญที่ ศอฉ. กำหนด ได้กำหนดให้เจ้าหน้าที่สามารถใช้อาวุธยิงผู้ก่อเหตุ เพื่อหยุดยั้งการปฏิบัติได้ แต่หากผู้ก่อเหตุอยู่ปะปนกับผู้ชุมนุมจนอาจทำให้การใช้อาวุธของเจ้าหน้าที่ เป็นอันตรายต่อประชาชนผู้บริสุทธิ์ ให้งดเว้นการปฏิบัติ ยกเว้นในกรณีที่หน่วยได้จัดเตรียมพลแม่นปืน (Marksmanship) ที่มีขีดความสามารถเพียงพอให้ทำการยิงเพื่อหยุดยั้งการก่อเหตุได้ นอกจากนี้หากหน่วยพบเป้าหมายแต่ไม่สามารถทำการยิงได้ เช่น เป้าหมายอยู่ในที่กำบัง ฯลฯ หน่วยสามารถร้องขอการสนับสนุนพลซุ่มยิง (Sniper) จาก ศอฉ. ได้”

ต่อมามี ที่การออกหนังสือที่ กห.0407.45 (สยก./130) ลงวันที่ วันที่ 17 เม.ย. 53 “เรื่อง ขออนุมัติแนวทางการปฏิบัติการใช้อาวุธเพื่อ รปภ. ที่ตั้งหน่วยและสถานที่สำคัญ รวมทั้งการปฏิบัติ ณ จุดตรวจ ด่านตรวจ และสายตรวจเคลื่อนที่” เรียน ผอ. ศอฉ. โดย พล.อ. รอง เสธ.ศอฉ. (3) 18 เม.ย. 54
โดยในท้ายเอกสารมีข้อความว่า “อนุมัติตามเสนอในข้อ 4” ลงนามโดย “สุเทพ เทือกสุบรรณ” ในฐานะ ผอ.ศอฉ. โดยลงนามวันที่ 18 เม.ย. 53
โดยก่อนหน้านี้ ในการแถลงข่าวของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เมื่อ 16 ส.ค. 55 กล่าวปฏิเสธว่าไม่มีการใช้สไนเปอร์ เป็นเพียงปืนติดลำกล้องเพื่อใช้ระวังป้องกัน ซึ่งในตลาดนัดก็มีขายสำหรับใช้ยิงนก ขณะที่เมื่อ 16 พ.ค. 53 พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษก ศอฉ. ก็ปฏิเสธว่าไม่มีการใช้สไนเปอร์ มีเพียง “พลแม่นปืนระวังป้องกัน” ทำหน้าที่คุ้มครองการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ ทหาร ตำรวจ ที่ปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่ต่ำหรือตามถนนหนทางโดยทั่วไป เจ้าหน้าที่เหล่านี้จะมีหน้าที่ในการตรวจสอบว่ามีบุคคลผู้ใดถืออาวุธหรือจะ เข้าทำร้ายเจ้าหน้าที่ และจะใช้การยิงคุ้มครอง (อ่านข่าวย้อนหลัง)
ต่อมาเมื่อ 18 มี.ค 54 พ.ต.ท.สมชาย เพศประเสริฐ ส.ส.นครราชสีมา พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการทหาร สภาผู้แทนราษฎร ได้นำรายงานบัญชีสรุปรายการเบิกจ่ายกระสุนจากหน่วยคลังแสงสรรพาวุธทหารบก เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ตั้งแต่ 11 มี.ค. 53 จนถึงเสร็จสิ้นการโดยมีการเบิกกระสุนจากคลังแสงทหารบกกว่า 597,500 นัด ส่งคืน 479,577 นัด ใช้ไป 117,923 นัด เผยมีการเบิกกระสุนปืนซุ่มยิง 3,000 นัด คืนเพียง 880 นัด ขณะที่เบิกกระสุนซ้อมเพียง 10,000 นัด ส่งคืน 3,380 นัด (อ่านข่าวย้อนหลัง)
สำหรับรายละเอียดเอกสาร  สยก.ศอฉ. ที่ กห.1407.55 มีรายละเอียดดังที่ปรากฏในท้ายข่าว
000
บันทึกข้อความ
ส่วนราชการ สยก.ศอฉ.
ที่ กห. 1407.55 (สยก.)/130 วันที่ 17 เม.ย. 53

เรื่อง ขออนุมัติแนวทางการปฏิบัติในการใช้อาวุธเพื่อ รปภ. ที่ตั้งหน่วยและสถานที่สำคัญ รวมทั้งการปฏิบัติ ณ จุดตรวจ/ด่านตรวจและสายตรวจเคลื่อนที่
เรียน ผอ.ศอฉ.
อ้างถึง 1. หนังสือ สยก.ศอฉ. ที่ กท. 0407.45 (สยก.)/13 ลง 8 เม.ย. 53
2. หนังสือ สยก.ศอฉ. ลับ - ด่วนที่สุด ที่ คห.0407.45 (สยก.)/106 ลง 15 เม.ย. 53

สิ่งที่ส่งมาด้วย แนวทางการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ ศอฉ. ในการใช้อาวุธสำหรับการรักษาความปลอดภัยที่ตั้งหน่วยและสถานที่สำคัญ รวมทั้งการปฏิบัติ ณ จุดตรวจ/ด่านตรวจ และสายตรวจเคลื่อนที่
1. ตามที่ รอง นรม./ผอ.ศอฉ. ได้กรุณาอนุมัติแนวทางการปฏิบัติในการใช้อาวุธของเจ้าหน้าที่ ศอฉ. เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารซึ่งทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยสถานที่สำคัญ และประจำจุดตรวจ/ด่านตรวจในพื้นที่ นำไปใช้ยึดถือปฏิบัติ รายละเอียดตามอ้างถึง 1 นั้น
2. เนื่องจากสถานการณ์ปัจจุบัน ปรากฏว่ามีผู้ก่อการร้ายแฝงตัวมากับกลุ่มผู้ชุมนุม และใช้อาวุธ/วัตถุระเบิดต่อเจ้าหน้าที่ และประชาชนผู้บริสุทธิ์ ดังนั้น เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารซึ่งทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยที่ตั้งหน่วย และสถานที่สำคัญ รวมทั้งการปฏิบัติ ณ จุดตรวจ/ด่านตรวจ และสายตรวจเคลื่อนที่ ได้มีกรอบแนวทางการปฏิบัติที่เหมาะสมกับสถานการณ์ดังกล่าว สยก.ศอฉ. จึงได้พิจารณาปรับปรุงแนวทางการปฏิบัติโดยเพิ่มเติมและแก้ไขรายละเอียดการ ปฏิบัติฯ ตามข้อ 1 ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น รายละเอียดตามสิ่งที่ส่งมาด้วย สรุปสาระสำคัญ ได้ดังนี้.-
2.1 แนวทางปฏิบัติทั่วไป ในหัวข้อการใช้อาวุธในการป้องกันตนเองและรักษาความปลอดภัยฯ ได้เพิ่มเติมข้อความเกี่ยวกับการป้องกันบุคคลอื่น หรือทรัพย์สินของทางราชการ และเอกชนที่อยู่ในความคุ้มครองของเจ้าหน้าที่ รวมทั้ง ให้หน่วยกำหนดแนวห้ามผ่านเด็ดขาด โดยให้ทำเครื่องหมายหรือประกาศให้กลุ่มผู้ชุมนุมที่มากดดันทราบ และในหัวข้อการปฏิบัติภายหลังเกิดเหตุ ได้แก้ไขให้เจ้าหน้าที่ทำการปฐมพยาบาลผู้ก่อเหตุตามหลักมนุษยธรรม ภายหลังจากที่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้แล้ว
2.2 แนวทางปฏิบัติเฉพาะเหตุการณ์ ในกรณีผู้ชุมนุมพยายามที่จะบุกรุกเข้ามาในที่ตั้งหน่วยและสถานที่สำคัญที่ ศอฉ. กำหนด: ได้เพิ่มเติมรายละเอียดการปฏิบัติโดยให้เจ้าหน้าที่สามารถใช้โล่และไม้พลอง ยาว เพื่อต้านทานการบุกรุก และเมื่อมีแนวโน้มจะต้านทานไม่อยู่ให้ใช้การฉีดน้ำ และ/หรือคลื่นเสียงได้ แต่ถ้าผู้ชุมนุมยังสามารถปีนรั้ว/เครื่องกีดขวาง/ฝ่าแนวห้ามผ่านเด็ดขาดเข้า มาได้ หากมีผู้บุกรุกมีจำนวนน้อยและไม่มีอาวุธ ให้เข้าทำการจับกุม หากมีจำนวนมาก ให้ใช้แก๊สน้ำตา, กระบอง, กระสุนยาง และยิงเตือนตามลำดับและเมื่อปฏิบัติตามขั้นตอนแล้ว ผู้ชุมนุมยังคงบุกรุกเข้ามาจนอาจก่อให้เกิดอันตราย ให้เจ้าหน้าที่สามารถใช้อาวุธตามสมควรแก่เหตุ โดยการใช้กระสุนจริงจาก ปลซ. และ ปลย. ตามลำดับ ทั้งนี้ หากผู้บุกรุกมีอาวุธเช่น มีด, ปืน, วัตถุระเบิด ฯลฯ และฝ่าแนวห้ามผ่านเด็ดขาดเข้ามาได้ เจ้าหน้าที่สามารถข้ามขั้นตอนการใช้แก๊สน้ำตา, กระบอง หรือกระสุนยาง ไปสู่การใช้กระสุนจริงได้ โดยในการใช้อาวุธกระสุนจริง ทั้งสองกรณี ผู้มีอำนาจตกลงใจสั่งการ คือ ผบ.หน่วยที่รับผิดชอบสถานที่นั้น หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
2.3 แนวทางการปฏิบัติเฉพาะเหตุการณ์ในกรณีการปฏิบัติ ณ จุดตรวจ/ด่านตรวจ: ได้เพิ่มเติมข้อความ ในกรณีพบผู้ต้องสงสัย ซึ่งไม่ยอมให้ตรวจค้น/จับกุม และกำลังจะหลบหนี ให้ทำการยิงเตือน, ติดตาม และสกัดจับ รวมทั้งใช้อาวุธตามหลักเกณฑ์ในการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย และสมควรแก่เหตุ
2.4 แนวทางปฏิบัติเฉพาะเหตุการณ์ ในกรณีพบความผิดซึ่งหน้าในลักษณะผู้ก่อเหตุเตรียมใช้อาวุธ/วัตถุระเบิด: ได้เพิ่มเติมรายละเอียดในการเข้าจับกุม โดยเจ้าหน้าที่สามารถใช้อาวุธประจำกายเล็งไปยังผู้ก่อเหตุได้ และถ้าผู้ก่อเหตุพยายามหลบหนีให้ใช้เทคนิคการต่อสู้ระยะประชิด, การยิงเตือน และการใช้อาวุธยิงในจุดที่ไม่สำคัญของร่างกาย เพื่อหยุดการเคลื่อนที่ของผู้ก่อเหตุตามลำดับ
2.5 แนวทางปฏิบัติเฉพาะเหตุการณ์ ในกรณีพบความผิดซึ่งหน้าในลักษณะผู้ก่อเหตุใช้อาวุธยิงใส่เจ้าหน้าที่ หรือใช้อาวุธ/วัตถุระเบิดต่อที่ตั้งหน่วยและสถานที่สำคัญที่ ศอฉ. กำหนด ได้กำหนดให้เจ้าหน้าที่สามารถใช้อาวุธยิงผู้ก่อเหตุ เพื่อหยุดยั้งการปฏิบัติได้ แต่หากผู้ก่อเหตุอยู่ปะปนกับผู้ชุมนุมจนอาจทำให้การใช้อาวุธของเจ้าหน้าที่ เป็นอันตรายต่อประชาชนผู้บริสุทธิ์ ให้งดเว้นการปฏิบัติ ยกเว้นในกรณีที่หน่วยได้จัดเตรียมพลแม่นปืน (Marksmanship) ที่มีขีดความสามารถเพียงพอให้ทำการยิงเพื่อหยุดยั้งการก่อเหตุได้ นอกจากนี้หากหน่วยพบเป้าหมายแต่ไม่สามารถทำการยิงได้ เช่น เป้าหมายอยู่ในที่กำบัง ฯลฯ หน่วยสามารถร้องขอการสนับสนุนพลซุ่มยิง (Sniper) จาก ศอฉ. ได้
3. สยก.ศอฉ. พิจาณาแล้วมีความเห็น ดังนี้
3.1 แนวทางการปฏิบัติในการใช้อาวุธของเจ้าหน้าที่ ศอฉ. สำหรับการรักษาความปลอดภัยที่ตั้งหน่วยและสถานที่สำคัญ รวมทั้งการปฏิบัติ ณ จุดตรวจ/ด่านตรวจ และสายตรวจเคลื่อนที่ ตามข้อ 2 ได้ปรับปรุงในรายละเอียดการปฏิบัติให้มีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพยิ่ง ขึ้น โดยสอดคล้องกับการพัฒนาของสถานการณ์ ซึ่งปรากฏว่ามีผู้ก่อการร้ายแฝงตัวมากับกลุ่มผู้ชุมนุม และใช้อาวุธ/วัตถุระเบิดโจมตีต่อเจ้าหน้าที่ และประชาชนผู้บริสุทธิ์ ทำให้เจ้าหน้าที่มีความจำเป็นต้องใช้อาวุธในการป้องกันตนเองและบุคคลอื่น รวมทั้ง ทรัพย์สินของทางราชการและเอกชนที่อยู่ในความคุ้มครอง ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น จึงเห็นสมควรอนุมัติให้ยกเลิกแนวทางการปฏิบัติในการใช้อาวุธของเจ้าหน้าที่ ศอฉ ตามข้อ 1 และอนุมัติให้หน่วยที่เกี่ยวข้องใช้แนวทางการปฏิบัติในการ รปภ. ที่ตั้งหน่วย และสถานที่สำคัญฯ ตามข้อ 2 เป็นแนวทางการปฏิบัติต่อไป
3.2 สำหรับแนวทางการปฏิบัติในการใช้อาวุธเพื่อ รปภ. ที่ตั้ง บก.ศอฉ ตามที่อ้างถึง 2 นั้น ได้กำหนดแนวทางการใช้อาวุธ และแนวทางการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ต่อกลุ่มก่อการร้ายแฝงตัวปะปนมากับกลุ่ม ผู้ชุมนุม ซึ่งยังคงมีความเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันจึงเห็นสมควรให้หน่วยยึดถือเป็น แนวทางปฏิบัติ ในการ รปภ. ที่ตั้ง บก.ศอฉ. ได้ต่อไป
4. ข้อเสนอ เห็นสมควรดำเนินการตามการพิจารณาในข้อ 3 ดังนี้
4.1 ยกเลิกแนวทางการปฏิบัติในการใช้อาวุธของเจ้าหน้าที่ ศอฉ. ตามข้อ 1
4.2 อนุมัติแนวทางการปฏิบัติในการใช้อาวุธของเจ้าหน้าที่ ศอฉ. สำหรับการรักษาความปลอดภัยที่ตั้งหน่วย และสถานที่สำคัญ รวมทั้งการปฏิบัติ ณ จุดตรวจ/ด่านตรวจ และสายตรวจเคลื่อนที่ ตามข้อ 2
จึงเรียนมาเพื่อกรุณาพิจารณาอนุมัติตามเสนอในข้อ 4
(ลายมือชื่อ) พล.ท.อักษรา เกิดผล
หน.สยก.ศอฉ.




แนวทางการปฏิบัติของ เจ้าหน้าที่ ศอฉ. ในการใช้อาวุธสำหรับการรักษาความปลอดภัยที่ตั้งหน่วยและสถานที่สำคัญ รวมทั้งการปฏิบัติ ณ จุดตรวจ/ด่านตรวจ และสายตรวจเคลื่อนที่
1.แนวทางการปฏิบัติทั่วไป
1.1 แนวทางการปฏิบัตินี้ ใช้บังคับกับเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารที่ปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาที่ตั้ง หน่วย และสถานที่สำคัญ รวมทั้งปฏิบัติหน้าที่บริเวณจุดตรวจ/ด่านตรวจ และสายตรวจเคลื่อนที่ซึ่งอนุญาตให้กำลังพลสามารถใช้อาวุธประจำกายและอาวุธ ปืนพกได้ตามความจำเป็นของสถานการณ์
1.2 การใช้อาวุธในการป้องกันตนเอง และรักษาความปลอดภัยฯ ต้องการเป็นป้องกันอันตรายที่ใกล้จะมาถึง และเป็นอันตรายต่อชีวิตของเจ้าหน้าที่ รวมทั้งบุคคลอื่นหรือทรัพย์สินทางราชการ และเอกชนที่อยู่ในความคุ้มครองของเจ้าหน้าที่ ยกตัวอย่างเช่น ผู้ก่อเหตุกำลังระเบิดใส่ กำลังเล็งปืนใส่ กำลังถือมีดเข้าทำร้ายร่างกาย เป็นต้น
1.3 การป้องกันตนเองและรักษาความปลอดภัยฯ ต้องเป็นการกระทำเพื่อป้องกันตนเองหรือผู้อื่น และสมควรแก่เหตุ รวมทั้งการใช้อาวุธนั้น ต้องใช้เท่าที่จำเป็น จากเบาไปหาหนัก และมีแจ้งเตือนการปฏิบัติกับผู้ก่อเหตุก่อนเสมอ
1.4 การใช้อาวุธจะไม่อนุญาตให้ใช้ในสถานการณ์ที่ไม่กระจ่างชัด หรือการใช้อาวุธที่ปราศจากความแม่นยำ ซึ่งอาจจะเป็นอันตรายต่อผู้ไม่เกี่ยวข้องได้ เช่น การยิงกราด การยิงสุ่ม และการยิงที่ไม่เล็ง รวมทั้งไม่อนุญาตให้ใช้การยิงอัตโนมัติ โดยหากจะใช้อาวุธต้องทำการยิงทีละนัดเท่านั้น และห้ามใช้อาวุธเล็งศีรษะหรือส่วนสำคัญของร่างกายโดยเด็ดขาด
1.5 ให้หน่วยกำหนดแนวทางห้ามผ่านเด็ดขาดบริเวณที่ตั้งหน่วย และสถานที่สำคัญ รวมทั้งใช้เครื่องหมายหรือประกาศให้กลุ่มผู้ชุมนุมที่มากดดันทราบ
1.6 หากมีความจำเป็นในการใช้อาวุธแล้ว ต้องใช้ตามลำดับขั้น ดังนี้
ขั้นที่ 1 แจ้งเตือนด้วยวาจา ด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย มีระดับความดังเสียงที่ผู้ก่อเหตุได้อย่างชัดเจน และกล่าวซ้ำหลายๆ ครั้ง อย่างน้อย 3 ครั้ง เพื่อให้ผู้ก่อเหตุหยุดการกระทำดังกล่าว ... "หยุดนี่คือเจ้าหน้าที่"
ขั้นที่ 2 การยิงเตือนขึ้นฟ้า หรือเป็นการยิงในทิศทางที่ปลอดภัย
ขั้นที่ 3 การใช้อาวุธตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายและสมควร แก่เหตุ สรุปคือเป็นการยิงที่ไม่ประสงค์ให้ผู้ก่อเหตุเป็นอันตรายถึงชีวิต
ทั้งนี้ การปฏิบัติตามขั้นตอนดังกล่าวอาจปฏิบัติข้ามการปฏิบัติเป็นขั้นที่ 2 หรือ 3 โดยทันที ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ได้ประสบกับภัยคุกคามที่ใกล้จะมาถึงและเป็นอันตรายต่อ ชีวิตของตนเองและบุคคลอื่นที่อยู่ในความคุ้มครองของเจ้าหน้าที่


เหตุการณ์ การปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ที่อนุญาตให้ทำได้
ผู้ก่อเหตุใช้อาวุธยิงใส่เจ้าหน้าที่ หรือใช้อาวุธวัตถุระเบิดต่อที่ตั้งหน่วยหรือสถานที่สำคัญ
1) ใช้อาวุธตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย และสมควรแก่เหตุโดยสามารถใช้อาวุธยิงผู้ก่อเหตุ เพื่อหยุดยั้งการปฏิบัติได้
2) หากผู้ก่อเหตุอยู่ปะปนกับผู้ชุมนุมจนอาจทำให้การใช้อาวุธของเจ้าหน้าที่ เป็นอันตรายต่อประชาชนผู้บริสุทธิ์แล้ว ให้งดเว้นการปฏิบัติยกเว้นในกรณีที่หน่วยได้จัดเตรียมพลแม่นปืน (Marksmanship) ที่มีขีดความสามารถเพียงพอให้ทำการยิงเพื่อหยุดยั้งการก่อเหตุได้
3) ในกรณีที่หน่วยพบเป้าหมายแต่ไม่สามารถทำการยิงได้ เช่น เป้าหมายอยู่ในที่กำบังหน่วยสามารถร้องขอการสนับสนุนพลซุ่มยิง (Sniper) จาก ศอฉ. ได้
หมายเหตุ:
1. เมื่อผู้ชุมนุมมีการรวมตัวที่บริเวณภายนอกที่ตั้งหน่วย หรือสถานที่สำคัญให้ใช้เครื่องขยายเสียงประกาศให้ผู้ชุมนุทราบว่า หากมีการบุกรุกเข้ามา เจ้าหน้าที่จะมีขั้นตอนการปฏิบัติและการใช้อาวุธอย่างไร โดยให้มีการประกาศซ้ำหลายๆ ครั้ง
2. แนวทางการใช้อาวุธตามคำแนะนำฯ นี้ ไม่จำกัดสิทธิ์ในการใช้อาวุธเพื่อป้องกันตนเองและบุคคลอื่นจากการกระทำของ ผู้ก่อเหตุ ที่เป็นไปโดยสมควรแก่เหตุ
3. กรณีประสบเหตุการณ์เฉพาะหน้าที่เป็นอันตรายต่อชีวิต หรือก่อให้เกิดการบาดเจ็บสาหัสให้เจ้าหน้าที่ที่ประสบเหตุสามารถใช้อาวุธ เพื่อระงับเหตุการณ์นั้นๆ ได้ โดยไม่ต้องรอฟังคำสั่งใดๆ
4. ห้ามใช้อาวุธยิงใส่ยานพาหนะต้องสงสัยใดๆ ที่ขับฝ่าด่านตรวจ/จุดตรวจ/จุดสกัด โดยให้จดจำเลขทะเบียนและลักษณะที่สำคัญแจ้งให้หน่วยในพื้นที่ใกล้เคียง (ทั้งทหาร - ตำรวจ) ดำเนินการสกัดให้หยุดและตรวจค้น เว้นแต่ได้รับแจ้งยืนยันแน่ชัดแล้วว่ายานพาหนะนั้นเป็นการหลบหนีของผู้ก่อ เหตุ จึงสามารถใช้อาวุธยิงโดยเล็งที่บริเวณเครื่องยนต์หรือหม้อน้ำของยานพาหนะ เพื่อสกัดให้หยุดการเคลื่อนที่
5. ยานพาหนะที่จงใจขับพุ่งชนเพื่อฝ่าแนวต้านทานเข้ามาในที่ตั้งหน่วย หรือสถานที่สำคัญที่ ศอฉ. กำหนด ให้สามารถใช้อาวุธยิงเพื่อหยุดยานพาหนะนั้นได้โดยเล็งที่บริเวณเครื่องยนต์ หรือหม้อน้ำของยานพาหนะ ทั้งนี้ให้คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติเป็นสำคัญ รวมทั้งต้องประกาศให้ผู้ก่อเหตุทราบ ในลักษณะ "หยุด ถ้าไม่หยุดเจ้าหน้าที่มีความจำเป็นต้องใช้อาวุธ"

ล้านคำบรรยาย การ์ตูนเซีย 18/08/55 ถึงเวลามอบเหรียญให้นักกีฬาทีมนี้...

ที่มา blablabla

โดย 

 ภาพถ่ายของฉัน



ถึงเวลา เวรกรรม ตามสนอง
จะปกป้อง อย่างไร ก็ไร้ผล
คำอวดโอ้ มารยา พาวกวน
ก็แค่หลอก พรรคพวกตน ใครสนใจ....

เสียงพร่ำเพ้อ เฉไฉ ไม่รู้จัก
ภาพประจักษ์ แม่นมั่น จนหวั่นไหว
สไนเปอร์ นั่นหรือ คืออะไร?
ช่างจัญไร แถแถก พูดแดกดัน....

DSI จงขุดคุ้ย ลุยเปิดเผย
รีบเฉลย พวกวิปริต ผิดมหันต์
เตรียมลากคอ พวกชั่วโฉด รับโทษทัณฑ์
มอบรางวัล เหรียญตอแหล แห่รอบเมือง....

หัวยันหาง หมดท่า หมาจนตรอก
คำสำรอก ปากกล้า จนหน้าเหลือง
ผ้าถุงลาย รีบจัดหา อย่าขัดเคือง
สมลือเลื่อง ทะเฮี่ยไทย จิตใจทราม....

ประชาชน ถูกฆ่า อย่างบ้าเลือด
มันดีเดือด แค่ไหน ไม่ต้องถาม
คนสั่งฆ่า ช่างสัปดน จนลุกลาม
ร่วมประณาม ตามผลกรรม ที่ทำไว้...

๓ บลา / ๑๘ ส.ค.๕๕

“นิคม” หนุน “ดิเรก” ขึ้นชิงรอง ปธ.วุฒิฯ ชม เป็นคนที่สง่างามมากที่สุดในรายชื่อแคนดิเดต

ที่มา uddred

 มติชน 18 สิงหาคม 2555 >>>






นายนิคม ไวยรัชพานิช  ในฐานะว่าที่ประธานวุฒิสภา กล่าวถึงกรณีการคัดเลือกบุคคลมาดำรงตำแหน่งรองประธานวุฒิสภาคนที่ 1 แทนตำแหน่งที่ว่าง ว่า ควรจะเป็นบุคคลที่สมาชิกวุฒิสภาให้ความเชื่อถือ และมีความเหมาะสมทั้งด้านคุณวุฒิ วัยวุฒิ ประสบการณ์ และที่สำคัญคือ ต้องเป็นบุคคลที่ทุกฝ่ายให้การยอมรับ เนื่องจากตำแหน่งรองประธานวุฒิสภา ต้องดำรงตำแหน่ง ประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) กิจการวุฒิสภา (วิปวุฒิสภา) ซึ่งต้องทำหน้าที่ประสานงานกับทั้งฝ่ายรัฐบาล และฝ่ายค้าน ดังนั้นนอกจากจะต้องมีความเป็นกลาง และ พยายามแก้ปัญหาให้ทุกฝ่ายแล้ว จะต้องมีความประนีประนอมอีกด้วย
“ผมทราบว่า มีส.ว.หลายคนที่เสนอตัวจะเข้ารับการคัดเลือก ซึ่งในส่วนของส.ว.เลือกตั้ง มี นายดิเรก ถึงฝั่ง ส.ว.นนทบุรี นายสุรเดช จิรัฐิติเจริญ ส.ว.ปราจีนบุรี นายประเสริฐ ประคุณศึกษาพันธ์ ส.ว.ขอนแก่น และ นายกฤช อาทิตย์แก้ว ส.ว.กำแพงเพชร ส่วน ส.ว.สายสรรหา มี นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย นายสมัคร เชาวภานันท์ ม.ล.ปรียาพรรณ ศรีธวัช และนายบุญชัย โชควัฒนา เบื้องต้นผมมองว่าชื่อของนายดิเรก น่าจะมีความสง่างามที่สุด เพราะนายดิเรก เคยผ่านการทำหน้าที่ในบทบาทสำคัญๆ มาก่อน” นายนิคม กล่าว

อ. นิติราษฎร์ สุดทนถูกคุกคามถึงหน้าห้องทำงาน เข้าแจ้งความที่ สน.​ชนะสงคราม

ที่มา Thai E-News

 18  สิงหาคม 2555



เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2555 อ. วรเจตน์​ ภาคีรัตน์ ตัดสินใจเข้าแจ้งความหลังจากมีชายลึกลับเข้ามาถามหาและถ่ายภาพที่คณะและหน้า ห้องทำงาน นอกจาก อ. วรเจตน์แล้ว อีกหนึ่งนักวิชาการนิติราษฎร์​อ.ธีระ สุธีวรางกูร  ก็โพสต์เรื่องราวการถูกคุกคามไว้ด้วยเช่นกัน


ภาพ อ. วรเจตน์ ที่ สน.​ชนะสงคราม แชร์ในเฟซบุ๊ค

ที่มา ประชาไท "นักวิชาการนิติราษฎร์ ลงบันทึกประจำวันสน. ชนะสงคราม หลังชายลึกลับบุกถ่ายภาพหน้าห้องพักอาจารย์"

นักวิชาการกลุ่มนิติราษฎร์ตัดสินใจลงบันทึกประจำวันที่สน. ชนะสงคราม หลังมีชายลึกลับเข้ามาถามหาและถ่ายภาพที่คณะและหน้าห้องทำงานไม่ต่ำกว่าสอง ครั้งในเดือนนี้

15.30 น. นายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ นักวิชาการกลุ่มนิติราษฎร์ ให้สัมภาษณ์กับประชาไทระหว่างกำลังเดินทางไปลงบันทึกประจำวันที่สน. ชนะสงคราม โดยระบุว่า ช่วงเช้าของวันนี้ มีชายลึกลับมาถ่ายรูปที่หน้าห้องพักของเขา ซึ่งมีป้ายระบุช่วงเวลาที่นักศึกษาสามารถเข้าพบได้ จากนั้นจึงเดินออกไปขึ้นรถทางโรงละครแห่งชาติ ซึ่งเจ้าหน้าที่ของคณะสังเกตเห็นและถ่ายคลิปเอาไว้จึงตัดสินใจเดินทางลง บันทึกประจำวันที่ สน. ชนะสงคราม เพื่อเป็นให้เจ้าหน้าที่รับทราบความเคลื่อนไหวดังกล่าวและดำเนินการตรวจสอบ หลักฐานจากกล้องวงจรปิดของคณะ

โดยนายวรเจตน์กล่าวด้วยว่า ส่วนหนึ่งที่ทำให้ตัดสินใจเดินทางมาลงบันทึกประจำวันครั้งนี้ เพราะรู้สึกว่ามีเหตุการณ์ทำนองเดียวกันเกิดขึ้นที่คณะนิติศาสตร์ ท่าพระจันทร์ บ่อยครั้งขึ้น

ก่อนหน้านี้ ในวันที่ 10 สิงหาคม นายธีระ สุธีวรางกูร นักวิชาการในกลุ่มนิติราษฎร์ โพสต์ในเฟซบุ๊กของเขาว่า แม่บ้านที่คณะให้ข้อมูลกับเขาว่าในช่วงต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมามีผู้ชายรูป ร่างสันทัด ผมสั้น อายุประมาณ 20 ปีเศษ อ้างว่าเป็นนักศึกษา เดินถามหานักวิชาการกลุ่มนิติราษฎร์ และเมื่อไม่พบก็ถ่ายรูปหน้าห้องทำงานเอาไว้

ใต้เท้าขอรับ: พลังของชนชั้นกลาง แรงสวิงของความตาสว่าง

ที่มา ประชาไท

 


การแคมเปญต่อต้านการแก้ไขกฎหมายคอมพิวเตอร์ของมาเลเซีย เมื่อวันที่ 14 ส.ค. ที่ผ่านมา ส่งผลให้นายกรัฐมนตรีออกมารับปากว่าจะทบทวนเรื่องดังกล่าว
กฎหมายที่จะถูกแก้ไขนั้นเปรียบได้กับปัญหาของพ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ของไทย ซึ่งใช้กำกับเสรีภาพในโลกออนไลน์ โดยมาตรา 114A ที่จะทำการแก้ไขนั้น จะผลักภาระการพิสูจน์ความบริสุทธิ์ให้กับผู้ถูกกล่าวหา โดยระบุว่า (1) ผู้ใดซึ่งเป็นเจ้าของ บริหาร หรือสร้างเว็บไซต์ ซึ่งเปิดให้ผู้ใช้ทั่วไปเข้ามาสร้างเนื้อหา เช่น ฟอรั่มออนไลน์ บล็อก (2) ผู้ให้บริการเว็บโฮสติง หรือบริการอินเทอร์เน็ต และ (3) เจ้าของคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์เคลื่อนที่ที่เผยแพร่เนื้อหาออนไลน์ ต้องรับผิดชอบต่อเนื้อหาที่เผยแพร่ผ่านบริการ เว็บ หรือ "ในนาม" ของพวกเขา นอกจากนี้ ผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าโพสต์เนื้อหาที่ผิดกฎหมายหรือทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง จะถูกถือว่ามีความผิดจนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่าบริสุทธิ์ ซึ่งขัดกับหลักทั่วไปในกระบวนการยุติธรรมที่บุคคลจะต้องบริสุทธิ์จนกว่าจะ พิสูจน์ได้ว่าผิดด้วย
เรื่องที่น่าสนใจ มีอยู่ว่า พลังที่ขับเคลื่อนเรื่องดังกล่าวนั้เนป็นพลังชนชั้นกลางโดยแท้ คือผู้ผลิตสื่อออนไลน์ นักกิจกรรมทางสังคมและบล็อกเกอร์ที่เคลื่อนไหวร่วมกันในประเด็นอื่นๆ มาก่อนหน้านี้ เช่น กรณีทุจริตคอร์รัปชั่นของรัฐบาล การรวมตัวกันเป็นขบวนการ Bersih ที่เรียกร้องการเลือกตั้งที่เสรีและเป็นธรรม ออกมาเดินขบวนครั้งใหญ่เมื่อเดือนกรกฏาคมที่ผ่านมา
ที่กล่าวมาข้างต้น ขอใช้ท่าทีแบบชนชั้นกลางตาสว่างที่ชีวิตทางการเมืองเคลื่อนไหวอยู่ในเฟซบุ๊ก กล่าวต่อไปเป็นคำถามว่า แล้วพลังชนชั้นกลางไทยอยู่ตรงไหนในขบวนการเสรีภาพและประชาธิปไตยของประเทศ นี้
กล่าวเฉพาะกรณีที่คล้ายคลึงกันอย่างยิ่ง กรณีรณรงค์แก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ในช่วงแรกที่ยังไม่มีการลงพื้นที่รณรงค์ในต่างจังหวัด มีคนร่วมลงชื่อเสนอแก้ไขกฎหมายดังกล่าวเพียงหลักพัน แต่เมื่อคณะรณรงค์เดินสายออกต่างจังหวัด และมีการประสานงานกับพื้นที่นั้นแหละ ตัวเลขจึงใกล้เคียงความเป็นจริงอย่างรวดเร็ว และเลยไปจากที่กฎหมายกำหนดไว้อีกเกือบ 2 เท่าตัว บางจังหวัดทางภาคอิสานนั้นมีผู้ร่วมลงชื่อเกินกว่าหมื่นรายชื่อเลยทีเดียว ตัวเลขเช่นนี้ ถ้าเอามาทำเป็นกราฟคงยิ่งน่าใจหาย ว่าพลังของคนต่างจังหวัดโดยเฉพาะอิสานมีมากกว่าคนชั้นกลางในเมืองกรุงมากมาย เพียงใด มิพักต้องกล่าวว่านี่เป็นประเด็นที่ท้าทาย และรัฐบาลที่พวกเขาเลือกมาเองประกาศไม่ยุ่งไม่สนับสนุนก็ตาม
นี่ทำให้ย้อนคิดและเขียนจากความทรงจำ ถึงคราวที่เว็บบอร์ดฟ้าเดียวกันเผชิญปัญหาถูกฟ้องร้อง และเว็บมาสเตอร์ขณะนั้นต้องโพสต์แจ้งข่าวว่า ไม่สะดวกจะดำเนินการต่อไปต้องการหาอาสาสมัคร ปฏิกริยาที่เกิดขึ้นทันทีคือการเข้ามาฟูมฟายก่นด่าการปิดกั้นและคุกคาม เสรีภาพของรัฐ จำนวนนับสิบความเห็น แต่ไม่มีใครอาสาทำหน้าที่เว็บมาสเตอร์เพื่อรักษาพื้นที่เสรีภาพในการแสดงออก ของพวกเขาเอง กระทั่งเว็บมาสเตอร์ต้องกลับมาโพสต์แสดงความแปลกใจอีกครั้งว่า เขาคิดไม่ถึงและคิดว่าเมื่อประกาศออกไปจะมีแต่คนขออาสาทำหน้าที่นี้เสียอีก
ลงทุนน้อยหวังผลตอบแทนสูง
เราอาจจะวิพากษ์วิจารณ์กันมาตลอด 6 ปีว่า ชนชั้นกลางไทยที่ไปมีใจให้กับการเคลื่อนไหวสนับสนุนอำนาจนอกระบอบ ประชาธิปไตย และพวกคลั่งเจ้านั้น เมื่อครั้งที่พวกเขาออกมาในนามของมวลชนพันธมิตร ก็ไม่มีน้ำอดน้ำทนพอที่จะต่อสู้ด้วยพลังของตัวเองกระทั่งเรียกหาอำนาจนอก ระบบ ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นการรัฐประหารในที่สุด
ชนชั้นกลางที่มีใจให้กับขบวนการคนรักทักษิณ และกลุ่มคนที่เรียกร้องประชาธิปไตย ในนามของคนเสื้อแดง และนปช. ล่ะ เอาเข้าจริงก็อาจไม่ต่างกัน พวกเขาพาตัวเองไปอิงแอบกับขบวนการที่มาจากต่างจังหวัดซึ่งมีศักยภาพในการรวม ตัวกันเป็นกลุ่มก้อน ขนาดมหึมา และเคลื่อนไหวได้ทรงพลังกว่า แม้ลึกๆ ก็รู้แก่ใจว่า คนส่วนใหญ่ที่มาใส่เสื้อแดงนั้นเอาทักษิณ และถ้าจัดลำดับความสำคัญ ก็เอาความอยู่รอดของพรรคเพื่อไทยก่อนเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็น ประชาธิปไตยมากขึ้นด้วย
แล้วคนชั้นกลางที่บางคนเคยไม่เอาทักษิณมาก่อน บางคนเคยร่วมกับพันธมิตรขับไล่ทักษิณมาก่อน ที่หันมาสวมเสื้อแดงเพราะมีรัฐประหารบ้าง มีการล้อมปราบบ้าง มีคนตายบ้าง...พูดแบบบ้านๆ คือมาทีหลังแล้วจะกำหนดท่าทีของขบวนผ่านการพร่ำบ่นก่นด่า น่าจะเป็นการลงทุนที่น้อยเกินไปสักหน่อย ยิ่งเมื่อรัฐบาลทำไม่ถูกใจ ยิ่งรู้สึกถูกหลอก อึดอัดกับท่าทีของชาวบ้านที่ถูกหลอกด้วยกัน ว่าไม่รู้สึกรู้สมอะไรบ้าง หลับหูหลับตาเชียร์กันอยู่ได้ แต่หากย้อนคิดและตั้งคำถามกับตัวเองดู ชัยชนะที่ได้ และรัฐบาลที่มีอยู่นี่ ตัวเองออกแรงไปมากน้อยแค่ไหนในการเคลื่อนไหวทางการเมือง ถ้าไม่นับการ “นั่ง” หน้าจอ
ตาสว่างจนทนความเป็นไทยไม่ได้
พวกเขาจำนวนหนึ่งเรียกตัวเองว่า ลิเบอรัล ซึ่งไม่แน่ใจความหมายนักเพราะมันถูกใช้อย่างเบลอๆ จึงขอเรียกพวกเขาว่า ชนชั้นกลางตาสว่าง ไปพลางก่อน หลักๆ คือยืนข้างหลักประชาธิปไตยและเสรีนิยม (แม้หลายคนแสดงให้เห็นจากสเตตัสว่า ถ้าจะจัดสำนักคิดกันจริงๆ น่าจะกระเดียดไปทางนีโอคอนเซอร์เวทีฟมากกว่า)
การรัฐประหารอาจจะเปิดแผลของประเทศนี้ขึ้นมาอีกครั้ง ทำให้มองเห็นผู้เล่น และวิธีเล่นในสังคมการเมืองไทยชัด เมื่อรู้สึกว่าตัวเองตาสว่างก็ไม่อยากจะดูโง่และกลัวจะถูกหลอกอีกและแม้จะ เป็นคนจำนวนไม่มากของประเทศนี้ แต่พวกเขาก็คิดได้เป็นเหตุเป็นผล อยู่บนฐานข้อมูลมีความรู้ ทว่าคนที่เต็มไปด้วยข้อมูล มีการศึกษา แต่เก็บกดหวาดระแวงหลายๆ ครั้งแสดงความเกลียดชังประเทศที่เขาอยู่ พยายามต่อต้านทุกสิ่งที่เป็นสังคมของตัวเอง สังคมที่พวกเขาได้ประโยชน์จากมันมากกว่าคนจำนวนมากของประเทศ
วิธีปฏิบัติต่อโอกาสที่มากกว่าในเชิงบวกคือแชร์ข้อมูลข่าวสารพร้อมคำ แปล/อธิบายประกอบเล็กน้อยในเฟซบุ๊ก ในทางตรงข้ามกัน ก็ใช้ความรู้ที่มีกลับมาบลัฟสรรพสิ่งในประเทศตัวเองด้วยข้อมูลด้านเดียว
หลายๆ ครั้งพวกเขาพูดราวกับประเทศอื่นไม่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน ไม่มีความรุนแรง ไม่มีคอร์รัปชั่น ไม่มีการเลือกฏิบัติ ไม่มีกลุ่มชาตินิยมสุดโต่ง ไม่มีคนที่คิดคับแคบ ไม่มีนักการเมืองกลับกลอกและแสดงออกแบบโง่เขลา ไม่มีความเหลื่อมล้ำ ไม่มีคนที่ไม่เคารพกติกา ไม่มีมาเฟีย ฯลฯ ราวกับว่าทุกความเลวร้ายที่เกิดขึ้นในโลกหาได้ที่นี่ที่เดียว ประเทศไทย
การกล่อมตัวเองด้วยวิธีคิดแบบนี้ทำให้อายที่จะบอกว่าเป็นคนไทย ด้วยฐานคิดว่าคนไทยนั้นโง่และคับแคบ ในทางกลับกัน พวกเขาอาจจะไม่ฉุกคิดว่าทัศนคติคับแคบเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้กับมนุษย์ ทั้งโลก
ความรู้มาก และอับอายกับพฤติกรรมที่ไม่เป็นเหตุเป็นผลของเพื่อนร่วมชาติ อาจะทำให้ลืมไปด้วยว่า ชาตินิยมแบบญี่ปุ่นช่วยผลักดันให้ประเทศที่ล้มไม่เป็นท่าจากสงครามให้ลุก ขึ้นยืนได้ ชาตินิยมแบบเกาหลีที่พยายามปลดโซ่ตรวนออกจากญี่ปุ่นทำให้เกาหลีกลายเป็น ประเทศอุตสาหกรรมใหม่ และกลายเป็นผู้บริจาคเงินรายใหญ่ให้กับองค์การสหประชาชาติในปัจจุบัน แน่นอนว่าทั้งสองประเทศแข่งกันครองสถิติคนฆ่าตัวตายสูงที่สุดในโลกด้วย
หลายๆ ครั้งที่พบเห็นข้อความทำนองเบื่อความเป็นไทย อายความเป็นคนไทยมากๆ ก็อยากจะแนะนำอย่างจริงใจเลยว่า ถ้าคุณมีทักษะทางวิชาชีพดี ภาษาดี และหาช่องทางได้ ก็ควรจะไปหาประเทศที่คุณจะอยู่ได้อย่างมีความสุขจะดีกว่า ซึ่งคุณอาจจะดูแบบอย่างได้จากประชาชนของประเทศฟิลิปปินส์ ที่คนจบแพทย์ยอมไปทำงานเป็นบุรุษพยาบาลในสหรัฐจำนวนมาก (นี่น่าจะไม่เข้าข่ายความเป็นไทย น่าจะเลียนแบบได้ไม่ต้องอาย เพราะคนที่ออกไปหางานทำในต่างประเทศของไทยนั้นส่วนใหญ่เป็นแรงงานไร้ฝีมือ จากทางภาคอิสาน)
เสียงข้างน้อยที่สุดและความอึดอัดคับข้องใจ
ไม่ใช่จะโยนความผิดให้กันเสียหมด ความอึดอัดนั้นเข้าใจได้ ในฐานะที่เป็นผู้มีสติปัญญาดี มีการศึกษา แต่เป็นเสียงข้างน้อยอย่างยิ่ง ส่วนชนชั้นกลางคลั่งชาตินั้นมีพื้นที่ในการเสพและแสดงออกซึ่งความเป็น ไทยอย่างล้นเฝือแล้วทั้งจากหนังละครและข่าวสารแบบละครทุกเมื่อเชื่อวัน
คนชั้นกลางตาสว่างจึงน่าจะเป็นกลุ่มที่อึดอัดคับข้องใจที่สุดเมื่อเทียบ กับบรรดากลุ่มทางการเมืองอื่น ถ้าเป็นตาสีตาสีบ้านนอก อย่างน้อยยังเกาะเกี่ยวตัวเองเข้ากับแกนนำในท้องถิ่น เผลอๆ แกนนำเป็นนายกอบต. ซะอีก หารือกันได้ทั้งการเมืองระดับบนและการเมืองระดับท้องถิ่น มีสื่อวิทยุชุมชนให้ติดตามฟัง และให้ต้องคอยปกป้องถ้าถูกปิด (เราเคยเห็นชนชั้นกลางไทยที่ไหนไปปกป้องเว็บไซต์ที่ถูกปิดล่ะ)
ชนชั้นกลางตาสว่างไม่มีเครือข่ายที่แน่นแฟ้นเช่นนี้ ครั้นจะคุยกับนักการเมืองที่ไหนก็ดูไว้ใจไม่ได้ทั้งนั้น แต่พอคุยกันเองก็พาลทะเลาะกันด้วยเรื่องขี้หมูราขี้หมาแห้ง สงวนท่าที จุดยืน การตีความ รายละเอียดปลีกย่อย สะดุดขาตัวเองล้มกันไปก่อนจะคิดการอะไรต่อไปอย่างเป็นเรื่องเป็นราว
แม้แต่สื่อก็หาที่เป็นกระบอกเสียงให้ตัวเองได้ยาก เพราะสื่อมันมัวแต่ขายข่าวห่วงความอยู่รอดของตัวเองกันอยู่ และคุณภาพระดับที่มี อ่านฟรีก็บุญแล้ว ความอึดอัดนี้อาจเยียวยาได้ด้วยการโพสต์ตามเว็บบอร์ดและเฟซบุ๊กระบายออกมา เป็นการบำบัดชั้นดี
คำถามอย่างสุดโต่งและออกจะดูถูกดูแคลน เราจะหวังอะไรจากชนชั้นกลางตาสว่างของไทย ในเมื่อวันๆ เขาต้องประกอบวิชาชีพ ตามข่าวสารเศรษฐกิจ และอื่นๆ ที่ส่งเสริมต่อการประกอบวิชาชีพก่อนเป็นเบื้องต้น จากนั้นแชร์ลิงก์ข่าว และก่นด่าประเทศตัวเองและเพื่อนร่วมชาติ ก็ดูเหมือนเวลาจะหมดเสียแล้ว....
แต่...หรือเราอาจจะไม่ต้องคิดเรื่องการเคลื่อนไหวทางการเมืองที่มีคุณภาพ เป็นขบวนจากคนเหล่านี้หรอก เพราะถึงยังไง จำนวนที่พวกเขามีอยู่ ต่อให้รวมกันแล้วก็ได้ไม่ถึงหนึ่งเขตเลือกตั้งด้วยซ้ำ!!!

กำหนดการงานฌาปนกิจศพ ‘อากง’ 26 ส.ค.–นักโทษ 112 ร่วม ‘บวชใจ’ ไว้อาลัย

ที่มา ประชาไท

 

เมื่อวันที่ 16 ส.ค.55 ที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา คณะทำงานได้แถลงข่าวกำหนดการจัดงานฌาปนกิจนายอำพล หรือ อากง SMS อย่างเป็นทางการ โดยคณะทำงานประกอบด้วย สุดา รังกุพันธ์, อานนท์ นำภา, ไม้หนึ่ง ก.กุนที, เมย์ อียู, นิธิวัต วรรณศิริ
นางรสมาลิน หรือ ป้าอุ๊ ภรรยาอากง แจ้งว่าเหตุที่มีการเปลี่ยนแปลงจากวัดด่านสำโรงซึ่งเคยตั้งสวดอภิธรรมศพ มาเป็นวัดลาดพร้าว เนื่องจากเมรุของวัดด่านชำรุด และในโอกาสการแถลงข่าวจัดงานนี้ขอถือโอกาสเรียนเชิญทุกท่านเข้าร่วมงานดัง กล่าวเพื่อเป็นเกียรติแก่ครอบครัว
คณะทำงานแจ้งว่า จะมีการตั้งศพในวันที่ 25 ส.ค. และฌาปนกิจศพในวันที่ 26 ส.ค.เวลา 17.00 น.ที่วัดลาดพร้าว โดยในวันที่ 25 ส.ค.จะเคลื่อนศพจากวัดด่านสำโรงมายังวัดลาดพร้าว ถึงที่หมายในช่วงบ่าย สำหรับเส้นทางการเคลื่อนศพนั้นจะแจ้งรายละเอียดกับสื่อมวลชนอีกครั้งในภาย หลัง
เมื่อตั้งศพที่วัดลาดพร้าวแล้วจะมีการสวดอภิธรรม และกิจกรรมไว้อาลัยตลอดคืน โดยมีผู้เข้าร่วมทั้ง นักวิชาการ นักคิดนักเขียน นักกิจกรรม และประชาชนทั่วไป  โดยรูปแบบ จะมีทั้งการอ่านบทกวี การกล่าวไว้อาลัย การบรรเลงดนตรี
สุดา ยกตัวอย่างถึง นักวิชาการที่ยืนยันการเข้าร่วมแล้ว ได้แก่ ปวิณ ชัชวาลพงศ์พันธ์, ปิยบุตร แสงกนกกุล, ประวิตร โรจนพฤกษ์ ซึ่งจะมีการพูดคุยในหัวข้อ จาก ปอ ถึง ปอ (อากงชื่อเล่นว่าปอ)  ส่วนกลุ่มกิจกรรมต่างๆ ที่ยืนยันการเข้าร่วมอาทิ กลุ่มนักเขียนแสงสำนึก กลุ่มกวีราษฎร์ กลุ่ม ครก.112 วงดนตรีไฟเย็น เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีการประกาศเชิญชวนประชาชนกลุ่มต่างๆ ที่สนใจร่วมออกเต็นท์อาหารและน้ำดื่มภายในงานด้วย โดยสามารถประสานงานได้ที่เบอร์ 0879176743
สุดา กล่าวด้วยว่า สำหรับนักโทษการเมือง โดยเฉพาะผู้ต้องขังในคดี 112 ทั้งหมดภายในเรือนจำที่ดูแลอากงขณะอยู่ในเรือนจำ แม้ไม่สามารถมาร่วมงานไว้อาลัยครั้งสุดท้ายในครั้งนี้ได้ แต่ก็จะร่วมกันบวชเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ล่วงลับ อย่างไรก็ตาม พวกเขาไม่สามารถบวชได้ตามพิธีปฏิบัติเนื่องจากอยู่ภายในเรือนจำ จึงจะใช้วิธี “บวชใจ” ถือศีล 8 และโกนหัว แทนการบวชแบบปกติ

กรมน้ำฯ แจงแผนสร้างเขื่อน-ผันน้ำโขง ชาวบ้านหวั่นผลกระทบซ้ำรอย

ที่มา ประชาไท

 

กรมน้ำจัดประชุม แจงข้อมูลโครงการการสร้างระบบเครือข่ายน้ำทั้งอีสาน อ้างสร้างเขื่อนห้วยสามหมอ-ผันน้ำโขง พัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรแก้จน ชาวบ้านในพื้นที่เน้นต้องให้ชาวบ้านรู้ข้อมูลอย่างชัดเจน หวั่นผลกระทบซ้ำรอยโขง ชี มูล
 
 
วันนี้ (16 ส.ค. 55) เวลา 13.30 น. กรมทรัพยากรน้ำ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จัดประชุมกลุ่มย่อยครั้งที่ 1 พื้นที่ 10 ลำปาวตอนบน ประกอบด้วย จ.อุดรธานี จ.กาฬสินธุ์ และ จ.ขอนแก่น ของโครงการระบบเครือข่ายน้ำในพื้นที่วิกฤต 19 พื้นที่ ณ หอประชุมที่ว่าการอำเภอกู่แก้ว จ.อุดรธานี เพื่อทำการศึกษาความเหมาะสมของโครงการ (FS) ศึกษาการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) และการศึกษาการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (SEA) โดยมีผู้นำชุมชนและชาวบ้านเข้าร่วมรับฟังประมาณ 100 คน
 
 
 
การจัดประชุมในครั้งนี้มีตัวแทนทั้งจากกรมทรัพยากรน้ำ และบริษัทที่ศึกษาข้อมูลโครงการได้ให้ข้อมูลและชี้แจงโครงการแก่ผู้เข้าร่วม รับฟัง โดยให้ข้อมูลทั้งในส่วนการศึกษาความเหมาะสมของโครงการต่อการพัฒนาแหล่งน้ำ และการศึกษาผลกระทบทั้งทางสิ่งแวดล้อม สังคม และสุขภาพ
 
นายสุพจน์ เจียระนัยปรีเปรม วิศวกรแหล่งน้ำและเป็นผู้ศึกษาความเหมาะสมของโครงการ ให้ข้อมูลว่า พื้นที่ศักยภาพด้านการเกษตรของอีสานมีกว่า 71 ล้านไร่ แต่มีขีดจำกัดในการกระจายแหล่งน้ำให้เพียงพอต่อพื้นที่การเกษตร ดังนั้นจึงต้องมีการพัฒนาศักยภาพแหล่งน้ำในอีสานขึ้น ทั้งการปรับปรุงพื้นที่แหล่งน้ำเดิมให้เต็มศักยภาพ การผันน้ำหรือเติมน้ำจากแหล่งน้ำหรือพื้นที่อื่นสู่พื้นที่ที่ขาดแคลน การพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่เพื่อนำสู่การสร้างระบบเครือข่ายน้ำทั้งอีสาน
 
โดยการพัฒนา แบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะแรกเป็นการพัฒนาแหล่งน้ำระดับรายตำบลโดยผ่านการทำท่อส่งน้ำลงใต้ดินและ ขุดลอกคูคลองชักน้ำขนาดเล็ก และระดับใหญ่ ระยะที่สองคือการผันแม่น้ำโขงจากปากแม่น้ำเลย จ.เลย เพื่อนำน้ำเข้าสู่เขื่อนห้วยสามหมอ อ.แก้งคร้อ จ.ชัยภูมิ ที่มีแผนจะสร้างขึ้นเช่นกัน เพื่อกระจายสู่แหล่งน้ำทั่วทั้งภาคอีสาน
 
“เราจะพัฒนาในรูปของธนาคารน้ำ แหล่งน้ำขนาดใหญ่ เช่น แม่น้ำโขง หรือเขื่อนขนาดใหญ่ที่มีแผนจะสร้าง เช่น เขื่อนห้วยสามหมอ ที่ จ.ชัยภูมิ ที่จะมีความจุมากกว่าเขื่อนภูมิพลหลายเท่า จะเป็นตัวพักน้ำและกระจายน้ำสู่แหล่งน้ำสายย่อยหรือธนาคารน้ำระดับลุ่มน้ำ เข้าสู่ธนาคารน้ำระดับไร่นากระจายน้ำทั่วทั้งพื้นที่การเกษตรของอีสาน” นายสุพจน์กล่าว
 
 
ด้านนายทองหล่อ ทิพย์สุวรรณ ชาวบ้านตำบลนาม่วง อ.ประจักษ์ศิลปาคม จ.อุดรธานี แสดงความคิดเห็นว่า ที่มาเข้าร่วมเวทีในครั้งนี้แทบไม่รู้ว่าจะมีการจัดเวทีนี้เกิดขึ้น แต่เห็นใบประชาสัมพันธ์เวทีติดอยู่ที่ อบต.และที่นาของตนเองก็อยู่ในแผนโครงการ จึงชวนเพื่อนบ้านที่จะมีส่วนได้ส่วนเสียกับโครงการมาเข้าร่วมรับฟัง เพราะกังวลเรื่องผลกระทบ หากโครงการนี้ผ่านเขตพื้นที่นาของตนเกรงว่าจะสูญเสียที่ดินที่นาจากการขุด ลอกขยาย
 
นายทองหล่อกล่าวด้วยว่า ส่วนตัวเห็นด้วยถ้าเป็นการจัดการน้ำเพื่อการเกษตรจริง แต่จะต้องมีการประชาสัมพันธ์ให้ชาวบ้านรู้ก่อน ว่าจะขุดเท่าใด หากเกิดผลกระทบจะมีการชดเชยการสูญเสียอย่างไร แต่ที่ผ่านมาแทบไม่รู้ข้อมูลอะไรเลย
 
“ต้องบอกรายละเอียดให้ชัด ว่าจะทำอย่างไรขุดลอกลำน้ำกว้างลึกเท่าไหร่ ผลกระทบต่อที่นาจะเป็นอย่างไร ไม่ใช่จะทำแต่ฝ่ายรัฐอย่างเดียว ชาวบ้านต้องมีส่วนร่วมคิดและตัดสินใจด้วย ชาวบ้านกลัวเสียที่นาที่ทำกินจากการขุดลอก เพราะเคยเห็นผลกระทบจากโครงการโขง ชี มูล และที่ลำน้ำพะเนียง จ.หนองบัวลำภูมาแล้ว” นายทองหล่อกล่าว

ธำรงศักดิ์: แนวทางฟื้น ‘เสรีไทย’ ในโลกสมัยใหม่ ชูสันติภาพ+ปชต.+ตั้งคำถามได้

ที่มา ประชาไท

 

 

เนื่องในวาระครบรอบ 67 ปี วันสันติภาพไทย มีการจัดงานเสวนาวิชาการเรื่อง “การหลอมความหลากหลายเพื่อจุดหมายเดียวกันของขบวนการเสรีภาพไทย” ที่ห้องสัญญา ธรรมศักดิ์ มีผู้เข้าร่วมฟังประมาณ 30 คน โดยส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ และผู้ที่มีความเกี่ยวพันกับประวัติศาสตร์ของเสรีไทย
วิทยากรคนหนึ่งที่น่าสนใจคือ ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์คนสำคัญ
เขากล่าวว่า เรื่องของเสรีไทยและสงครามโลกครั้งที่สองนั้น ความทรงจำหลักของผู้คน โดยเฉพาะนักศึกษาของเขาคือ ไทยอยู่ข้างสหรัฐอเมริกา ทั้งที่ในแง่ของข้อเท็จจริง ไทยเป็นฝ่ายตรงข้ามกับสหรัฐและอังกฤษ ในนามของประเทศชาติ เราประกาศสงครามกับประเทศเหล่านั้น ในตำราเรียนบอกเล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์ในช่วงนี้ไว้เพียงสั้นๆ ไม่มีการอธิบาย ดังนั้นเมื่อปล่อยให้ความทรงจำเรื่องประเทศไทยประกาศสงครามร่วมกับสหรัฐ อเมริกาอังกฤษผ่านเลยไปได้ ขบวนการเสรีไทยก็แทบไม่เหลือค่าอะไร  เพราะไม่มีคู่ตรงข้าม ไม่เหลือความตื่นเต้น และสุดท้ายมันก็ถูกผ่านเลยไปด้วยเช่นกัน
“ตอนนี้ก็ยังมีคนถามมากมายว่าเสรีไทยทำอะไรบ้าง มันสะท้อนว่าเสรีไทยไม่มีตัวตนทางสังคมเลย”
ธำรงศักดิ์ กล่าวว่า หลายคนบอกว่าเหตุที่เสรีไทยไม่มีตัวตนในสังคม เพราะเสรีไทยทำให้ประเทศไม่ถูกปลดอาวุธ เหมือนกับเยอรมัน อิตาลี ญี่ปุ่น ซึ่งเพื่อแพ้สงครามถูกทำลายกองทัพจนสิ้นซาก ในรอบ 60 ปีประเทศเหล่านั้นไม่เกิดแนวคิดที่จะให้กองทัพเข้ามาแทรกแซงการเมืองอีกเลย ในขณะที่ไทยมีรัฐประหารซ้ำแล้วซ้ำเล่า นั่นเป็นความภาคภูมิใจในฐานะคนไม่ถูกปลดอาวุธ  หรือแท้จริงแล้วเราพลาดที่คิดว่าการถูกปลดอาวุธคือการทำร้ายเอกราช ในที่สุดกองทัพที่ไม่ถูกปลดอาวุธนั้นเองก็ได้เข้ายึดอำนาจอีกครั้ง หลังจากประกาศให้การเข้าร่วมสงครามเป็นโมฆะได้ 2 ปี
“กองทัพไม่อาจให้เรื่องราวของเสรีไทยดำรงอยู่ในความทรงจำได้ เพราะเป็นคู่ตรงกันข้าม หากมีเสรีไทยย่อมไม่มีกองทัพไทย หากมีกองทัพย่อมไม่มีเสรีไทย” ธำรงศักดิ์สรุปถึงคำตอบว่าทำไมเสรีไทยจึงไม่มีตัวตนในสังคมไทย
เขากล่าวต่อว่า นอกเหนือจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สถาบันปรีดี พนมยงค์แล้ว ก็ดูเหมือนไม่มีใครพยายามบอกเล่าเรื่องราวของเสรีไทยอีกในสังคมไทย
“แม้แต่ประติมากรรมเสรีไทยหน้าหอประชุมใหญ่ ธรรมศาสตร์ มันก็มินิมาก ในขณะที่จอมพล ป.สร้างอนุเสาวรีย์ชัยสมรภูมิกลางเมืองเลย ความทรงจำมันมินิเหลือเกิน แล้วมันจะเหลืออะไรในการต่อสู้ทางความทรงจำ”
ธำรงศักดิ์ กล่าวว่า อาจมีความพยายามจะฟื้นความจำเกี่ยวกับเสรีไทยบ้าง เช่นกรณีนายเตียง ศิริขันธ์ ที่สกลนคร แต่ก็เพิ่งสิบปีมานี้เองที่ท้องถิ่นสามารถปลุกเร้าเรื่องราวของนายเตียงขึ้น มาจนสร้างอนุเสาวรีย์ได้ แต่ถึงที่สุดเราก็จะเห็นว่า ไม่มีการรวบรวม ไม่มีการดูแล ปล่อยสมาชิกขบวนการไปตามยถากรรม ใครโชคดีมีชื่อเสียงหน่อยก็ยังเป็นที่รับรู้ต่อมา
“คงไม่ใช่ภารกิจของพวกผมที่จะเล่าเรื่องนี้ต่อ เพราะยังต้องต่อสู้อีกหลายเรื่องข้างหน้า คำถามจึงคือว่า ยังจำเป็นต้องเก็บเสรีไทยไว้ไหม เรื่องราวเสรีไทยจะมีประโยชน์อะไรสำหรับอนาคต”
“ชื่อดูดี แต่ในการกล่าวถึงวันสันติภาพ แทบไม่มีเนื้อหาเลยว่ามันคือการต่อสู้ในเรื่องอะไร จุดนี้สำคัญ ถ้าเป้าหมายของเสรีไทยคือเอกราชของชาติ ในอนาคตที่กำลังเดินไป รัฐกำลังไร้พรมแดนในนามของอาเซียน ในนามของโลกาภิวัตน์ แล้วการต่อสู้เรื่องเอกราชจะเหลืออะไรกับโลกที่กำลังไร้พรมแดน” ธำรงศักดิ์ตั้งคำถาม
เขากล่าวว่า ถึงที่สุดเขาก็พอมีคำตอบในใจว่า เรื่องเสรีไทยยังเดินต่อได้ โดยสิ่งสำคัญที่ต้องชูคือ สันติภาพ  เพราะโลกไร้พรมแดนด้านการค้า แม้ความมุ่งหวังอยู่ที่ความมั่งคั่ง แต่สิ่งเหล่านั้นเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าบริบทภูมิภาคเหล่านี้ไม่มีคำว่าสันติภาพ แต่เรื่องเอกราชและอำนาจอธิปไตยของประเทศอาจมีปัญหาต่อโลกในอนาคต เพราะเอกราชและอธิปไตย มีแนวโน้มทำให้คนรักชาติจนคลั่งชาติ ดังเช่นปัญหาปัจจุบันของไทยเรื่องข้อพิพาททางด้านเขตแดน ซึ่งเรามีปัญหากับทุกประเทศไม่เฉพาะกัมพูชา นอกจากนี้ยังต้องขับเน้นเรื่องของประชาธิปไตยด้วย ซึ่งเป็นสิ่งต่อเนื่องจากคณะราษฎร ดังจะเห็นได้จากรูปธรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในห้วงเวลานั้น เช่น การมีรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด การเรียงชื่อสมาชิกสภาตามลำดับอักษร ไม่ใช่ยศถาบรรดาศักดิ์ การส่งเสริมความเท่าเทียมของหญิงชาย เป็นต้น
เขากล่าวว่า โจทย์สำคัญคือ จะทำอย่างไรให้ ‘สันติภาพ’ ของเสรีไทย กลายมาเป็นแก่นหลัก ซึ่งจะทำให้เรื่องราวของเสรีไทยดำเนินต่อไปได้ในโลกปัจจุบันและอนาคต  ขณะเดียวกันก็ควรจะให้พื้นที่ต่างจังหวัดมีบทบาทในการบอกเล่าประวัติศาสตร์ เรื่องนี้  ไม่ผูกขาดเฉพาะมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เท่านั้น
“เรามีรายละเอียดจำนวนมากว่าเขตไหนมีการฝึก ใครเข้าร่วมกระบวนการ ถ้าทำให้จังหวัดต่างๆ ได้รับรู้เรื่องราวเหล่านี้..เราจะทำให้เรื่องราวของเสรีไทย ถูกพูดถึงนอกเหนือจากการเป็นเรื่องระดับชาติได้ไหม เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นคือ เสรีไทย ได้รับชัยชนะในบทเรียนแต่ไม่ได้รับความทรงจำทางสังคม”
ธำรงศักดิ์ กล่าวว่า เขายังไม่มีคำตอบชัดเจนว่า ในเชิงการดำเนินการ ใคร ควรจะเป็นหน่วยหลัก แต่คาดว่าหากจะผลักดันเรื่องนี้คงต้องเป็นวาระขนาดใหญ่ และที่สำคัญคือ ไม่ทำให้ผู้ที่ไม่ใช่เสรีไทยรู้สึกหงุดหงิดกับการฟื้นฟูเรื่องราวของเสรีไทย ด้วยเช่นกัน เพราะเมื่อเข้าสู่รายละเอียดของเรื่องราวก็ย่อมมีแง่มุมน่าตั้งคำถามได้มาก มาย
“มันต้องมีคำถามแน่ๆ ต้องยอมรับให้มีการตั้งคำถาม ถ้าห้ามเด็กๆ ตั้งคำถามเหมือนเรื่องราวหลายๆ เรื่อง ก็จะทำให้เรื่องราวมันตาย การตั้งคำถามอาจเสี่ยงต่อการศักดิ์สิทธิ์ที่จะลดลง แต่เสรีไทยไม่ต้องการความศักดิ์สิทธิ์อยู่แล้วในความทรงจำ”
“เราน่าจะทำเสรีไทยให้กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของเรา เป็นความรักที่เราวิพากษ์วิจารณ์ได้”
เขากล่าวด้วยว่า ในทางวิชาการ ประวัติศาสตร์มีไว้เพื่อให้นักศึกษาได้ตั้งคำถาม มิใช่เชื่ออย่างงมงาย ถ้าเราทำให้เรื่องราวของประวัติศาสตร์ไม่อาจตั้งคำถามได้ มันก็เป็นเพียงความเชื่อ ไม่ใช่ประวัติศาสตร์ ในสังคมไทยปัจจุบันเราตั้งคำถามไม่ได้กับแทบทุกเรื่องในแง่ประวัติศาสตร์ ดังนั้นสิ่งที่อยู่กับเราก็คือ ความเชื่อ

Friday, August 17, 2012

ช่างภาพทีวีเบิกความคดี ‘ลุงบุญมี’ เหยื่อสลายชุมนุม พ.ค.53

ที่มา ประชาไท

 

แสดงหลักฐานภาพถ่ายขณะ ‘ลุงบุญมี’ ถูกยิงโดยทหาร แจงเพื่อนนักข่าวเตือนทหารใช้กระสุนจริง ทนายญาติผู้ตายเผย คดีนี้ไต่สวนทุกพุธถึงต้นปีหน้า
15 ส.ค.55 - เวลาประมาณ 9.00 น. ที่ห้องพิจารณาคดีที่ 402 ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลออกนั่งบัลลังก์ไต่สวนคำร้อง คดีหมายเลขดำที่ ช. 7/2555  ที่พนักงานอัยการ จากสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 4  ขอให้ศาลไต่สวนชันสูตรการเสียชีวิต ของนายบุญมี เริ่มสุข อายุ  71 ปี ซึ่งถูกยิงที่ย่านบ่อนไก่ บริเวณท้องด้านซ้ายกระสุนตัดลำไส้เล็กขาดตอน เมื่อวันที่ 14 พ.ค.53 และเสียชีวิตเมื่อ วันที่ 28 ก.ค.53 ขณะถูกยิงเป็นช่วงที่มีการสลายการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้าน เผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี โดยพนักงานอัยการ ได้นำช่างภาพสถานีโทรทัศน์หลักแห่งหนึ่ง มาเบิกความในฐานะพยานที่ได้บันทึกภาพเหตุการณ์ช่วงเวลาขณะเกิดเหตุได้
ช่างภาพที่เดินทางมาเป็นพยานได้เบิกความต่อศาลว่า ในวันเกิดเหตุ 14 พ.ค.53 ได้เข้าไปปฏิบัติหน้าที่ในบริเวณที่เกิดเหตุบริเวณหน้าสนามมวยลุมพินี ถนนพระราม 4 เพื่อเก็บภาพ ต่อมาเวลาประมาณ 13.00 น. ได้มีการตอบโต้กันระหว่างผู้ชุมนุมกับเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นเหตุให้ผู้ชุมนุม ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตบริเวณหน้าปั๊มน้ำมันปตท. และพยานได้ถ่ายภาพผู้ถูกยิงได้รับบาดเจ็บ แต่ไม่ทราบว่าผู้ที่ถูกยิงได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตบริเวณดังกล่าวคือใคร จนกระทั่งพนักงานสอบสวนในคดีนี้ได้นำภาพถ่ายที่พยานได้ถ่ายไว้ให้ดู และไม่ทราบว่า หลังจากนั้น ผู้ตายไปรักษาพยาบาลใดและเสียชีวิตเมื่อใด
พยานเบิกความต่ออีกว่า ในวันเกิดเหตุต่อมา เจ้าหน้าที่ทหารได้เข้าจับกุมกลุ่มผู้ชุมนุมบริเวณดังกล่าว นอกจากนี้ นักข่าวที่ปฏิบัติหน้าที่ร่วมกับพยานได้เตือนให้ระวังตัวด้วยเนื่องจากเจ้า หน้าที่ทหารจะมีการใช้กระสุนจริง ขณะที่ถ่ายภาพยังมีเสียงระเบิดดังขึ้นมาจากฝั่งผู้ชุมนุมด้วย ส่วนพลุที่กลุ่มผู้ชุมนุมยิงมาใส่ฝั่งทหารนั้นไม่เป็นเหตุให้ทหารได้รับบาด เจ็บ ขณะบันทึกภาพมีกลุ่มผู้ชุมนุมถือไม้กระบองและขว้างก้อนหิน
นายณัฐพล ปัญญาสูง ทีมทนายจากมูลนิธิไทยรักไทย ในฐานะทนายญาติผู้เสียชีวิตสอบถามพยานถึงสาเหตุที่ทหารปฏิบัติการในบริเวณ นั้นจนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตว่าเป็นไปเพื่ออะไร พยานตอบว่าเพื่อที่จะสลายการชุมนุม ตามคำสั่งของคณะรัฐมนตรี (ในขณะนั้น) และขณะที่ถ่ายภาพในวันเกิดเหตุมีรถพยาบาลมารับผู้บาดเจ็บตลอดทั้งวันอีกด้วย
ภาพนายบุญมี เริ่มสุข ขณะรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลตำรวจ 
 
หลังจากไต่สวนเสร็จ นายณัฐพล เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า นายบุญมี เป็นผู้เสียชีวิตจากการสลายการชุมนุม วันที่ 14 พ.ค.53 ที่บริเวณหน้าสนามมวยลุมพินี แถวบ่อนไก่ ซึ่งในวันนี้ ช่างภาพคนดังกล่าวที่เป็นพยาน ซึ่งปฏิบัติงานในบริเวณที่เกี่ยวข้องตั้งแต่วันที่ 11 - 19 พ.ค.53 ได้นำหลักฐานมาเสนอต่อศาลเพิ่มเติมเพื่อให้พิจารณาถึงลำดับเหตุการณ์ที่เกิด ขึ้น โดยได้นำภาพถ่ายของตนเองที่เกี่ยวกับเหตุการณ์นั้นที่แสดงถึงการปฏิบัติการ ของทหารที่ใช้อาวุธยิงเข้าใส่ผู้ชุมนุม และแผ่น VCD ที่ถ่ายขณะเกิดเหตุว่ามีทหารเริ่มปฏิบัติการเพื่อสลายการชุมนุม รวมถึงภาพถ่ายเห็นผู้ชุมนุมถูกฝ่ายทหารยิงบริเวณบ่อนไก่ ซึ่งทราบภายหลังว่าเป็นลุงบุญมี (ผู้เสียชีวิตในคดีนี้) มาเสนอต่อศาลด้วย
 
นายณัฐพล กล่าวว่า ลุงบุญมีไม่ได้เป็นผู้ชุมนุมแต่เป็นประชาชนที่อยู่ในที่เกิดเหตุมานั่งรอรับหลานและถูกยิง
 
ทนายญาติผู้เสียชีวิต เปิดเผยว่า ในวันนี้ ( 15 ส.ค. 55) เดิมอัยการจะเรียกทหารที่ปฏิบัติการในวันนั้นมาไต่สวน อย่างไรก็ตาม ทางทหารได้ขอเลื่อนจึงได้นำพยานปากนี้มาแทน ซึ่งคาดว่าทหารจะเข้าเบิกความในวันพุธหน้า โดยคดีนี้จะมีการไต่สวนทุกวันพุธ ไปจนจบประมาณต้นปีหน้า
 

“พงศ์จรัส รวยร่ำ” นักกฎหมายด้านสิทธิฯ คว้า “รางวัลสันติประชาธรรม” คนแรก

ที่มา ประชาไท

 
มอบรางวัลเกียรติยศ “สันติประชาธรรม” สำหรับบุคคลที่อุทิศตนเพื่อสังคม ตามแนวทางของนายป๋วย อึ๊งภากรณ์ แก่ “พงศ์จรัส รวยร่ำ” ในงานครบรอบ 67 ปี วันสันติภาพไทย
 
 
วันนี้ (16 ส.ค.55) มูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป จัดพิธีมอบรางวัลสันติประชาธรรม ครั้งแรก แก่พงศ์จรัส รวยร่ำ นักกฎหมายประเด็นสิทธิมนุษยชนในภาคใต้ อดีตอนุกรรมการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษากองทัพภาค 2 และที่ปรึกษาอธิบดีอัยการฝ่ายคดีอาญา ศาลอาญาธนบุรี สำหรับบุคคลที่อุทิศตนเพื่อสังคมตามแนวทางของ นายป๋วย อึ๋งภากรณ์ เพื่อให้สังคมเกิดความยุติธรรม เสมอภาค ไม่มีความเอารัดเอาเปรียบซึ่งกันและกัน และใช้เหตุผลแก้ปัญหาให้เกิดสังคมสันติประชาธรรมอย่างแท้จริง
 
ทั้งนี้ คณะกรรมการหาทุนและเลือกสรรบุคคล ระบุว่า รางวัลเกียรติยศสันติประชาธรรมจะทำการมอบให้บุคคลที่ทำคุณแก่สังคมเป็นประจำ ทุกปีต่อไป โดยในปีนี้มอบรางวัลเป็นเงิน 5 แสน และคำประกาศกิติคุณ นอกจากนี้ การมอบรางวัลในวันสันติภาพไทยนั้นถือเป็นวันที่เหมาะสม เนื่องจากเป็นวันที่เสรีไทยได้มอบคืนอาวุธที่ใช้ในการเคลื่อนไหวคืนให้ พันธมิตร หลังทำหน้าที่ตามที่ปฏิญาณไว้ โดยไม่ได้หวังลาภยศสรรเสริญ
 
ด้านพงศ์จรัส ในฐานะผู้เคลื่อนไหวประเด็นสิทธิมนุษยชนในภาคใต้กล่าวว่า การที่รัฐใช้เงินไปโถมเพื่อการแก้ปัญหายิ่งเป็นการทำลายทำลาย เพราะเงินถือเป็นตัวปัญหา หากอยากให้คนพุทธและมุสลิมกลับไปอยู่ร่วมกันได้ ต้องหยุดการแก้ปัญหาอย่างที่เคยทำมาอย่างการใช้ความรุนแรง เพราะหากจะฆ่า ก็ฆ่าเท่าไหร่ไม่หมด และคนเหล่านั้นเขาไม่กลัวการใช้กำลัง แต่กลัวบาปตามหลักการศาสนา
 
พงศ์จรัส กล่าวด้วยว่า สำหรับเงินที่ได้รับจะไม่นำไปใช้ส่วนตัว แต่จะเอาไปใช้ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของ นายสุลักษณ์ ศิวรักษ์ นายป๋วย อึ๋งภากรณ์ และผู้มอบรางวัลนี้
 
 
 
 
คำประกาศเกียรติคุณรางวัลเกียรติยศ สันติประชาธรรม 
สำหรับบุคคลที่อุทิศตนเพื่อสังคม ตามแนวทางของนายป๋วย อึ๊งภากรณ์
 
นายพงศ์จรัส รวยร่ำ ปัจจุบันอายุ ๕๖ ปี เกิดวันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๙ ชาวจังหวัดสุราษฎร์ธานี สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดนครศรีธรรมราช ปริญญาตรีทางนิติศาสตร์และมหาบัณฑิตทางรัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง และประกาศนียบัตรหลักสูตรการจัดการความขัดแย้งจากสถาบันพระปกเกล้า
 
เส้นทางการทำงานในวิชาชีพกฎหมายมีความหลากหลายอย่างเชื่อมโยงกัน เริ่มต้นจากการเป็นทนายความของสำนักงานกฎหมายเสนีย์ ปราโมช เข้าทำงานในวงการศึกษาในฐานะเป็นเลขานุการของ รศ.ดร.สมศักดิ์ สิงหพันธุ์ อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง และทำงานการเมืองสมัยพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งจากประสบการณ์ดังกล่าวหล่อหลอมให้นายพงศ์จรัส รวยร่ำเป็นนักกฎหมายที่มีความรอบรู้อย่างกว้างขวาง ล้ำเลิศในข้อกฎหมาย เจนจัดในข้อเท็จจริง และที่สำคัญมีสมัครพรรคพวกแทบทุกวงการ อีกทั้งอุปนิสัยรักการใฝ่หาความรู้ ชอบอ่านหนังสือแนวปรัชญาและตั้งวงสนทนาวิสาสะกับมิตรสหายอย่างออกรส จึงทำให้ทนายความผู้นี้ก้าวข้ามนักนิติอักษรศาสตร์ไปสู่แก่นสาระของกฎหมายใน ฐานะนักยุติธรรม
 
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมานายพงศ์จรัส รวยร่ำ เป็นทนายความที่มีอุดมการณ์ในการทำงานมุ่งมั่นช่วยเหลือประชาชนที่ด้อยโอกาส ด้วยความเห็นใจในความทุกข์ยากและลำบากของเพื่อนมนุษย์ หรือผู้ที่ถูกเอาเปรียบทางสังคม ด้วยเด่นชัดในบุคลิกภาพที่โผงผาง กล้าพูดอย่างตรงไปตรงมา และไม่สยบยอมกับอำนาจที่ไม่เป็นธรรม บุคลิกภาพเช่นนี้คือมิตรแท้ที่จริงใจสำหรับผู้ที่รักความเป็นธรรมหรือถูก ระบบรังแก ยิ่งเป็นผู้ด้อยโอกาสด้วยแล้ว นายพงศ์จรัส รวยร่ำเป็นดั่งความหวังและที่พึ่งสุดท้ายของผู้ทุกข์ทน จึงไม่แปลกใจเลยที่พุทธศาสนิกชนศิษย์สำนักสวนโมกขพลารามผู้นี้จะผ่านการคัด สรร และได้รับการประทานโอกาสจากองค์อัลลอฮ์ให้มีศรัทธาร่วมกับพี่น้องมุสลิมใน สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในการต่อสู้จากความอยุติธรรมทั้งปวง เช่น การต่อสู้ทางคดีให้เปิดสอนโรงเรียนอิสลามบูรพา ภายหลังจากถูกทางการกล่าวหาว่าเป็นแหล่งก่อการร้ายและสั่งปิด การต่อสู้เพื่อพิทักษ์มรดกทางวิถีประชาราษฎร์ (ผลักดันให้มีการจัดการสอนภาษาอาหรับผ่านระบบการศึกษาทางไกลกับมหาวิทยาลัย นานาชาติมาดีนะฮ์และคัดค้านนโยบายปิดโรงเรียนปอเนาะ) ช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ผู้ต้องหาในคดีก่อการร้าย หรือ การเรียกร้องสิทธิขั้นพื้นฐานให้แก่พี่น้องมลายู ฯลฯ นอกจากประเภทงานร้อนแล้วเขาได้พยายามกระชับพื้นที่ประสานความไว้เนื้อเชื่อ ใจระหว่างเพื่อนฝ่ายรัฐ (การเมือง กองทัพ ฝ่ายปกครอง) กับผู้นำศาสนาอย่างแยบคาย ทั้งนี้ ไม่นับน้องๆ เยาวชนคนรุ่นใหม่ที่เขาให้การอุดหนุนทางการศึกษาและประกอบอาชีพซึ่งไม่น่าจะ น้อยกว่าหลักพันคน
 
เมื่อครั้ง นายพงศ์จรัส รวยร่ำเป็นอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ก็ได้อุทิศตนเพื่อช่วยเหลือผู้อื่นในหลายเรื่อง และเป็นผู้ริเริ่มโครงการฝึกอาชีพและปรับทัศนคติให้กับผู้ต้องสงสัยในคดีก่อ ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้โดยแลกเปลี่ยนกับการไม่ถูกดำเนินคดีจาก ทางการ แม้โครงการนี้จะส่งผลกระทบต่อตัวเขาก็ตาม แต่เป็นการตอกย้ำให้เห็นถึงจุดยืนที่มั่นคงและความกล้าหาญทางจริยธรรมที่ เห็นแก่ประโยชน์ของผู้อื่นสำคัญกว่าตนเอง 
 
ปัจจุบันนายพงศ์จรัส รวยร่ำได้รับเชิญให้เป็นที่ปรึกษาของกองทัพภาคที่ ๒ และที่ปรึกษาอธิบดีอัยการฝ่ายคดีอาญา  ศาลอาญาธนบุรี และเป็นอาจารย์พิเศษในหลายสถาบันการศึกษา จึงเป็นเครื่องรับรองคุณภาพได้เป็นอย่างดี
 
จากปฏิปทาที่ผ่านมาทำให้เชื่อว่า นายพงศ์จรัส รวยร่ำ ไม่ใคร่ใส่ใจต่อลาภ เกียรติยศ และการสรรเสริญ แต่ท่ามกลางวิกฤตศรัทธาต่อวงการกฎหมายไทยในปัจจุบัน ยิ่งประจักษ์ว่า นักกฎหมายที่มีอุดมการณ์และจิตวิญญาณเพื่อสาธารณะเช่นนายพงศ์จรัส รวยร่ำนั้น นับเป็นแบบอย่างของ “นักนิติสามัญสำนึกศาสตร์” ที่มีคุณค่าต่อสังคมไทยประดุจแสงไฟเพื่อส่องทางให้แก่ประชาราษฎร์ผู้ทุกข์ ระทม จึงสมควรได้รับการยกย่องเชิดชูเป็น ผู้ที่เหมาะสมกับการประกาศเกียรติคุณรางวัลเกียรติยศสันติประชาธรรมสำหรับ บุคคลที่อุทิศตนเพื่อสังคมตามแนวทางของนายป๋วย อึ๊งภากรณ์ ยิ่งนัก 
 
ที่มา: Sulak Sivaraksa 
 
 

ผบ.ทบ.ยัน พ.ค. 53 ไม่มีสไนเปอร์-มีแต่ปืนติดลำกล้อง

ที่มา ประชาไท

 
แถมปืนและกล้องติดปืนก็ไม่ใช่สไนเปอร์ เป็นเพียงกล้องที่ติดสำหรับการระวังป้องกัน-ซึ่งที่ตลาดนัดมีขาย ส่วนกระสุนที่เบิกมา เมื่อเหลือก็จะส่งคืน นอกจากนั้นก็ใช้ฝึกหัดและจำหน่ายต่อไป ส่วนเรื่องทหารเอาปืนไปยิงคน ถามลูกน้องแล้ว ลูกน้องบอกว่าไม่ได้ยิงใครสักคน มีแต่โดนยิง


ที่มาของคลิป: springnews/youtube.com
กรณีที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ออกมาเปิดเผยผลการสอบสวนคดีการสลายการชุมนุมเมื่อปี 2553 ว่า การเสียชีวิตของประชาชนเกิดการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐนั้น เมื่อวานนี้ (16 ส.ค.) นสพ.ไทยรัฐ รายงาน ว่า วันที่ 16 ส.ค. ที่สโมสรทหารบก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่าทุกอย่างเป็นเรื่องของกระบวนการยุติธรรม ถ้ายังไม่ยุติก็ไม่สมควรออกมาพูดจา ซึ่งได้ขอร้องผ่าน นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ ไปแล้ว ซึ่งท่านรับปากว่าจะดูให้ และท่านได้ขอโทษ รวมถึงบอกว่าจะไปบอก พ.ต.อ.ประเวศน์ มูลประมุข รองอธิบดีดีเอสไอ ให้ ซึ่งทางรัฐบาลตอบกลับมาว่าจะให้ลดเรื่องนี้ลงไป
โดย พล.อ.ประยุทธ์ขอให้ทุกฝ่ายหยุดพูดเพราะคดียังไม่สิ้นสุด และขอความเห็นใจเนื่องจากต้องดูแลผู้ใต้บังคับบัญชา ถ้าจะพูดขอให้พูดทั้ง 2 ทาง ขอให้พูดในส่วนของเจ้าหน้าที่ด้วยว่าเขาบาดเจ็บและเสียชีวิตจากใคร ตนไม่อยากไปรื้อฟื้น เพราะตนเป็นผู้บังคับบัญชา รู้ว่า อะไรควรพูด อะไรไม่ควรพูด
เมื่อถามถึงกรณีที่ทางดีเอสไอจะเรียกทหารสไนเปอร์ ที่อยู่ในคลิปมาให้ปากคำ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวย้อนถามว่า สไนเปอร์อะไร ใครเป็นคนใช้สไนเปอร์ แล้วรู้หรือไม่ว่า สไนเปอร์เป็นใคร ซึ่งในรูปที่ปรากฏเป็นทหารที่เขาติดกล้องเฉยๆ และกล้องตัวนั้นและปืนตัวนั้นไม่ใช่แบบสไนเปอร์ ถ้าพูดแล้วไม่รู้ อย่าพูดดีกว่า แต่สิ่งที่ใช้เพื่อใช้ระวังป้องกัน ซึ่งในตลาดนัดก็มีขายที่ใช้สำหรับยิงนก ไม่ใช่สไนเปอร์ อย่าพูดเรื่อยเปื่อย
ส่วนที่คณะกรรมาธิการทหาร สภาผู้แทนราษฎร ระบุว่า ในปี 53 มีการเบิกกระสุนมา 3 พันนัด ใช้ไป 800 นัด มีผู้ถาม พล.อ.ประยุทธ์ว่า กระสุนที่เหลือหายไปไหน พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า กระสุนที่เขาเบิกมา เมื่อเหลือเขาก็จะส่งคืน นอกเหนือจากนั้นใช้ฝึกหัด และจำหน่ายต่อไป ไม่เห็นว่าจะต้องไปยิง อยากถามว่า ถ้าเขาเบิกไป 3 พันนัด ยิงไป 300 นัด ขาดไป 2,700 นัด แสดงว่าต้องมีคนตาย 2,700 คนหรือไม่ ถามว่าคนตายอยู่ที่ไหน มีใครบอกว่า ทหารเอาปืนไปยิงคน สื่อไปเอามาจากไหน ต้องไปถามข้อมูลจากคณะกรรมาธิการทหาร เพราะตนถามลูกน้อง เขาบอกว่าไม่ได้ยิงใครสักคน มีแต่โดนยิง



พ.อ.สรรเสริญชี้แจงคลิปพลแม่นปืนเมื่อ 16 พ.ค. 53 โดยใช้คำเรียกว่า "เจ้าหน้าที่พลแม่นปืนระวังป้องกัน" หรือ sharpshooter
อนึ่งก่อนหน้านี้ในช่วงสลายการชุมนุมที่แยกราชประสงค์ ถนนราชปรารภ และถนนพระรามสี่ พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกกองทัพบก ปฏิบัติหน้าที่โฆษก ศอฉ. ขณะนั้นเคยชี้แจง เมื่อ 16 พ.ค. 53 ว่าทหารที่จับปืนเอ็ม 16 ติดลำกล้องเล็งอยู่บนที่สูงนั้นเรียกว่า “เจ้าหน้าที่พลแม่นปืนระวังป้องกัน” มีหน้าที่คอยระวังภัยให้กับทหารในหน่วยที่ปฏิบัติการด้านล่าง ตรวจสอบบุคคลที่ถืออาวุธจะทำร้ายเจ้าหน้าที่ และจะยิงคุ้มครอง โดยอาวุธที่ใช้ปืนทราโว่ และปืนเอ็ม 16 แบบติดกล้องเล็ง จะมีเจ้าหน้าที่ทหารอีก 1 คนตรวจสอบพื้นที่มุมกว้างให้ "ไม่ได้ยิงตามอำเภอใจ เขายิงเมื่อเห็นเป้าหมายเท่านั้น"

อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาชี้หญิงหมิ่นเบื้องสูง แม้ป่วยทางจิตก็มีสิทธิ์ติดคุก

ที่มา ประชาไท

 

 
16 ส.ค. 55 - ASTV ผู้จัดการออนไลน์รายงาน ว่านายทวี ประจวบลาภ อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา กล่าวถึง การดำเนินคดีกับนางฐิตินันท์ (ประชาไทขอสงวนนามสกุล) อายุ 63 ปี ที่ก่อเหตุไม่เหมาะสมต่อพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หน้าศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 13 ก.ค.ที่ผ่านมา ข้อหาหมิ่นสถาบันเบื้องสูง มาตรา 112 ว่า กรณีที่ผู้ต้องหาหรือผู้ถูกกล่าวหาอ้างในชั้นพนักงานสอบสวนว่ามีความบกพร่อง ทางจิตนั้น พนักงานสอบสวนจะต้องส่งไปตรวจสภาพจิตกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญให้ได้ข้อสรุปว่า ผู้ต้องหาป่วยเป็นโรคจิตหรือวิกลจริตจริงดังที่กล่าวอ้างหรือไม่ โดยเป็นหน้าที่ของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะต้องตรวจพิสูจน์ตามขั้นตอนกระบวนการ เช่น ทำแบบทดสอบสภาพจิต หรือหาข้อมูลว่าเคยมีประวัติรักษาอาการทางจิตหรือไม่ เพื่อให้ข้อสรุปว่า ผู้ต้องหาป่วยเป็นโรคจิตถาวร หรือชั่วคราว แต่ยังพูดคุยรู้เรื่อง รู้สึกผิดชอบอยู่บ้าง
       
เนื่องจากจะมีผลต่อการพิจารณาคดีในชั้นศาล คือ หากผู้ต้องหาเป็นโรคจิตถาวร ก่อเหตุและกระทำผิดไปโดยไม่สามารถบังคับตัวเองได้ ก็อาจจะเข้าข่ายไม่ต้องรับโทษ แต่ถ้าผู้ต้องหามีอาการทางจิตชั่วครั้งชั่วคราว หรือสามารถพูดคุยรู้เรื่องบ้าง ก็อาจจะถูกลงโทษน้อยกว่าอัตราโทษที่ระบุไว้ เพราะประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 65 ระบุไว้ว่า ผู้ใดกระทำความผิดในขณะไม่สามารถรู้ผิดชอบ หรือไม่สามารถบังคับตนเองได้เพราะมีจิตบกพร่อง โรคจิต หรือจิตฟั่นเฟือน ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษสำหรับความผิดนั้น แต่ถ้าผู้กระทำความผิดยังสามารถรู้ผิดชอบอยู่บ้าง หรือยังสามารถบังคับตนเองได้บ้าง ผู้นั้นต้องรับโทษสำหรับความผิดนั้น แต่ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิด นั้นเพียงใดก็ได้
       
ทั้งนี้ ความผิดมาตรา 112 นั้นมีอัตราโทษจำคุก ตั้งแต่ 3-15 ปี ดังนั้นหากผลตรวจของแพทย์ได้ข้อสรุปว่า ผู้ต้องหามีอาการทางจิต แต่รู้สึกผิดชอบ หรือบังคับตัวเองได้บ้าง ศาลก็อาจจะใช้ดุลพินิจลงโทษจำคุกน้อยกว่าที่กำหนดไว้ เช่น จำคุก 1 ปี หรือจำคุก 2 ปี
       
อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญากล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่พนักงานสอบสวนหรือศาลเห็นว่าผู้ต้องหาหรือจำเลย เป็นผู้วิกลจริตและไม่สามารถต่อสู้คดีได้ กฎหมายให้งดการสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณาคดีไว้ก่อน และให้ส่งตัวผู้นั้นไปรักษายังโรงพยาบาลโรคจิตตามแต่สมควรหรือจนกว่าจะ สามารถต่อสู้คดีได้
       
“คดีที่ป่วยทางจิตจะดูไม่ยาก เพราะส่วนใหญ่จะมีประวัติการป่วยและการรักษา อย่างเช่น คดีคนร้ายกราดยิงผู้ชมหนังแบทแมนที่โรงภาพยนตร์ในสหรัฐอเมริกาเมื่อเร็วๆ นี้ มีผู้เสียชีวิต 12 ศพ ก็พบว่าคนร้ายเคยมีประวัติการรักษาอาการทางจิตมาก่อน ซึ่งกรณีเดียวที่ทำผิดแล้วไม่ต้องรับโทษ คือต้องป่วยเป็นโรคจิตจริงๆ เท่านั้น เชื่อว่าไม่สามารถแกล้งป่วยกันได้”

"ฐิติมา" แจง "ยิ่งลักษณ์" ไปอินเดียแพงกว่า "อภิสิทธิ์" เพราะเป็นแขก "เกียรติยศ"

ที่มา ประชาไท

 

ฐิติมา ฉายแสง กมธ.วิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯ พรรคเพื่อไทย ชี้แจงว่า นายกมีความจำเป็นต้องเดินทางไปสร้างภาพลักษณ์ให้ประเทศไทยต่อสายนานาชาติ การเดินทางไปประเทศอินเดียดังกล่าวถือว่ามีคุ้มค่ามาก ระบุไม่อยากมานั่งเปรียบเทียบกันให้เกิดปัญหา และที่สำคัญนายกฯอภิสิทธิ์เวลานั้นไม่ใช่แขกเกียรติยศของประเทศอินเดีย
 
16 ส.ค. 55 - หลังจากที่มีการเผยแพร่ข้อมูลการใช้งบประมาณเดินทางต่างประเทศโดยมีการ เปรียบเทียบระหว่างรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในการเดินทางเยือนสาธารณรัฐอินเดียอย่างเป็นทางการและการเดินทางไปประชุม World Economic Forum ที่ประเทศสวิตเซอแลนด์ ในโลกออนไลน์ โดยมีการเทียบเคียงที่รัฐบาลนายอภิสิทธิ์และคณะได้เดินทางในลักษณะเที่ยวบิน โดยสารทั่วไป รวมค่าใช้จ่ายทั้งคณะไปกลับอยู่ที่ 5,253,000 บาท แต่ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ที่มีการเดินทางในเส้นทางเดียวกัน แต่ใช้งบประมาณในการเดินทางแบบเที่ยวบินพิเศษเหมาลำทั้งสิ้น 13,000,000 บาท ใช้งบประมาณมากกว่าถึง 7,747,000 บาท นั้น
 
ที่มา: http://www.facebook.com/photo.php?fbid=272340256211920&set=a.241428875969725.51821.241066436005969
 
ในวันนี้ประเด็นดังกล่าวถูกนำไปอภิปรายในรัฐสภา โดยเว็บไซต์โพสต์ทูเดย์รายงาน ว่า เมื่อเวลา 12.30 น. นายบุญยอด สุขถิ่นไทย  สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์  ในฐานะคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณร่ายจ่ายประจำปีงบ ประมาณ พ.ศ. 2556 ได้อภิปรายว่า ตนติดใจ คือ 1.กรณีสถานีวิทยุแห่งประเทศไทย ในรายการ “จัตุรัสข่าว” ที่ออกอากาศประจำวันจันทร์ ถึง วันศุกร์ เป็นรายการของคนภายนอกที่ทำสัญญา คือบริษัท เวิลด์เอ็นเตอร์เทนเม้นท์เน็ทเวิร์ค จำกัด ซึ่งในรายละเอียดมีข้อสงสัย และส่วนที่ต้องซักถาม เนื่องจากไม่ตรงตามนโยบาย เพราะเป็นรายการทางการเมืองอย่างแท้จริง  เพราะตามสัญญา ข้อ 13 ระบุว่า “ห้ามไม่ให้ผู้เช่าเวลาเกี่ยวกับการเมือง หากผู้เช่าเวลาฝ่าฝืนและเป็นเหตุให้เกิดความเสียหาย ผู้ให้เช่ามีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากผู้เช่าอีกด้วย” ซึ่งรายการนี้มีผู้จัดรายการคือ คอลัมน์นิสต์นักหนังสือพิมพ์ ครั้งหนึ่งเคยมีการออกอากาศ ในชื่อตอน “รัฐประหาร โดยศาลรัฐธรรมนูญ” เป็นการวิพากษ์วิจารณ์ว่า ศาลมีอำนาจรับการแก้ไขรัฐธรรมนูญได้หรือไม่
 
นายบุญยอด กล่าวอีกว่า และ 2. รายการชนักปักหลังพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งในรายการมีการพาดพิงถึงส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ดังนั้นตนอยากถามว่า ได้มีการตักเตือนรายการเหล่านี้หรือไม่ และยังพบความไม่ชอบมาพากล เนื่องจากรายการเหล่านี้เป็นรายการต้องเช่าเวลา แต่สัญญาฉบับนี้มีการลดราคาให้เหลือ 10เปอร์เซ็นต์ โดยค่าเช่าเวลาอยู่ที่ 250,000 บาท ได้เวลาโฆษณา 7 นาที เดือนละอย่างน้อย 20 ตอน เฉลี่ยเป็นเงิน 1.4 ล้านบาท  ซึ่งกรมประชาสัมพันธ์ได้เคยชี้แจง เพียงว่า  ต้องการผู้เชี่ยวชาญ ทั้งนี้ขอตั้งข้อสังเกตว่า ตามนโยบายของรัฐบาล ต้องไม่ก้าวก่าย และให้เสรีภาพแก่สื่อมวลชน และขอปรับลดงบประมาณในส่วนนี้ 5 เปอร์เซ็นต์
 
ทั้งนี้น.ส.ยิ่งลักษณ์ มีปัญหาในการใช้เงินในส่วนของสำนักนายกรัฐมนตรีเกี่ยวกับการเดินทาง โดยพบว่าเมื่อเทียบการเดินทางไปต่างประเทศระหว่างน.ส.ยิ่งลักษณ์ และ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เมื่อเป็นนายกรัฐมนตรี นับว่ามีความแตกต่างกันมาก อย่างในกรณีของน.ส.ยิ่งลักษณ์ได้เดินทางด้วยสายการบินไทยแบบเช่าเหมาลำไป ประชุมการประชุมเวิลด์ อโคโนมิก ฟอรั่ม เมืองดาวอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ พร้อมกับไปปฏิบัติภารกิจที่อินเดียในคราวเดียวเมื่อเดือนม.ค.2555
 
"การเช่าเหมาลำถือว่าแพงมากไม่ทราบเดินทางไปด้วยกี่คนไม่มีรายละเอียด แต่พบว่ามีการใช้งบประมาณถึง 13 ล้านบาท เทียบเคียงกับสมัยนายกฯอภิสิทธิ์เมื่อเดือนม.ค.ปี 2554 พบว่านั่งเครื่องบินชั้น1เดินทางไปกลับกทม.และกรุงซูริก สวิตเซอร์แลนด์ จำนวน16คน ใช้เงินประมาณ 2 ล้านบาท ชั้นธุรกิจ 6 คนเป็นเงินประมาณ 8.4 แสนบาท และชั้นประหยัด 21 คนประมาณ 1 ล้านบาท ที่สำคัญถ้าเดินไปทางอินเดียจะพบว่าเที่ยวบินระหว่างกทม.นิวเดลีชั้นที่1 เพียง4.5 หมื่นบาทต่อคน ชั้นธุรกิจ 3.5 หมื่นคนต่อคน และ ชั้นประหยัด2.3 หมื่นคน รวมตัวเลขทั้งสวิตเซอร์แลนด์และอินเดียเพียง 5 ล้านบาทเท่านั้น" นายบุญยอด กล่าว
 
นอกจากนี้ ยังพบว่าการเดินทางไปปฏิบัติภารกิจที่ออสเตรเลียก็เป็นการเดินทางเช่าเหมาลำ ด้วยกันแต่นักธุรกิจและภาคเอกชนที่ร่วมเดินทางไปด้วยได้เดินทางโดยไม่ต้อง เสียค่าใช้จ่ายในการโดยสารเครื่องบิน ทั้งที่การติดต่อธุรกิจในออสเตรเลียเป็นผลประโยชน์ของภาคเอกชนเท่านั้น ถึงเวลาต้องปรับปรุงแก้ไข
 
"การเดินทางแบบเช่าเหมาลำอาจทำให้เกิดความคล่องแคล่วโดยไม่ต้องรอผู้ โดยสารคนอื่น แต่รัฐบาลชุดนี้แสดงความไม่ประหยัดออกมาทั้งที่รัฐบาลกำลังเตรียมการกู้เงิน อีกจำนวนมาก จึงเห็นว่าไม่มีวินัยการเงินการคลัง" นายบุญยอด กล่าว
นายบุญยอด กล่าวอีกว่า เช่นเดียวกับการใช้งบประมาณสร้างภาพลักษณ์ประเทศไทยจำนวน 500 ล้านบาท สอบถามส่วนราชการแล้วพบว่าจะใช้ซื้อโฆษณาทั้งนอกและในประเทศ โดยขอเสนอให้ซื้อโฆษณาเฉพาะต่างประเทศเท่านั้นไม่ควรเอามาอุดหนุนสื่อใน ประเทศเพราะอาจจะเป็นการแทรกแซงสื่อมวลชนในประเทศทางหนึ่งเช่นกัน
จากนั้น จ.ส.ต.ประสิทธิ์ ไชยศรีษะ สส.สุรินทร์ พรรคเพื่อไทย ลุกขึ้นประท้วงว่า เรื่องเล็กๆน้อยๆเช่นนี้ไม่น่าใส่ใจ ไม่น่าใส่ใจ ไม่ใช่ลูกผู้ชาย เขาถึงเรียก “เจ๊ยอด” เพราะนายกฯเขาทำงาน คนที่เดินทางไปมีเยอะ ก็ต้องใช้เงินเยอะ และรัฐบาลที่ใช้เงิน 6 พันล้านบาทฆ่าคน จากนั้นนายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 ทำหน้าที่ประธานการประชุม ได้ตัดบทสั่งห้ามจ.ส.ต.ประสิทธิ์  พูดต่อ
ขณะที่นายกุลเดช พัวพัฒนกุล สส.อุทัยธานี พรรคประชาธิปัตย์ ลุกขึ้นประท้วง ขอให้ถอนคำพูด ที่เรียกนายบุญยอด ว่า “เจ๊ยอด”  จึงทำให้นายบุญยอด ลุกขึ้นชี้แจงว่า เรื่อง 13 ล้านบาท โดยระบุว่าไม่ติดใจกรณีที่จ.ส.ต.ประสิทธิ์ ในฐานะอดีตตำรวจประท้วง และจะลุกขึ้นประท้วงกี่ครั้งเชิญตามสบาย และไม่ประท้วงซ้อนท่านเลยถ้าไม่เกี่ยวกับตน แต่ถ้าทำการใดให้ฝ่ายค้านทำงานไม่ได้ ก็ต้องมีวิธีการอื่นในการดำเนินการต่อที่ประชุมนี้ และอยากให้สมาชิกเพื่อไทยเข้าใจว่า ถ้าสิ่งต่างๆที่จะเกิดขึ้นจากนี้ไปในการประชุมที่เหลือ 2-3 วันนี้ ก็เกิดขึ้นจากจ.ส.ต.ประสิทธิ์ และผู้ที่ประท้วงร่วมโดยไม่มีเหตุผล
ทั้งนี้ อยากชี้แจงว่า กรณีที่จ.ส.ต.ประสิทธิ์ ระบุว่า เรื่องงบประมาณนายกฯเป็นเรื่องเล็ก ทำไมต้องมองเรื่องเหล่านี้ เพราะเงินจำนวน 13 ล้านบาท หากถามคนสุรินทร์ว่าเงินดัลกล่าวเป็นเรื่องเล็กๆหรือไม่ จะเป็นข้าวได้กี่มื้อ และจะเป็นเงินผู้สูงอายุ 500 บาทได้กี่ปี ทำไมไม่เรียกร้องให้นายกฯใช้เงินดังกล่าวอย่างประหยัดและสมเหตุผลมี ประสิทธิภาพ  และการพาดพิงตนไม่ใช่ลูกผู้ชาย ก็คงไม่จำเป็นต้องไปเทียบความเป็นลูกผู้ชาย หรือเดินไปชกหน้า และไม่อยากตอบโต้อีกแล้ว อยากให้จบเท่านี้ แต่ถ้าไม่จบก็แล่วแต่ และพร้อมท้าทุกเวที
ขณะที่ประสิทธิ์ ชี้แจงว่า ตนได้รับเลือกตั้งเป็นสส.ทำหน้าที่แทนประชาชนในสภา และการที่ตนใช้สิทธิตามข้อบังคับพาดพิงล่วงเกินไม่สุภาพ หากประธานให้ถอนก็พร้อมถอน วันนี้ (16ส.ค.) นายบุญยอดกินยาผิดขวดหรือไม่ ที่ท้าตนชกต่อย หรือเกิดมีอะไรขึ้นในสภาแล้วโทษตน เหมือนเป็นนักเลงท้าตนชกต่อย จากนั้น นายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 ได้ตัดบทเนื่องจากบรรยากาศในการประชุมเริ่มเป็นไปอย่างตรึงเครียด
อย่างไรก็ตาม นายกุลเดช ได้ย้ำให้จ.ส.ต.ประสิทธิ์ ถอนคำพูด ทำให้จ.ส.ต.ประสิทธิ์ ยอมถอนคำพูด โดยระบุว่า ตนเป็นลูกผู้ชายพอ ถ้าพูดอะไรเกินเลยก็ขอถอน ขณะที่นายอรรถพร พลบุตร สส.เพชรบุรี พรรคประชาธิปัตย์ ได้เรียกร้องให้ประธานฯ ได้ควบคุมการประชุม อย่าให้องค์รักษ์ หัวโขนออกมาประท้วง จากนั้นจึงเข้าสู่การประชุมต่อไป พร้อมสั่งให้จ.ส.ต.ประสิทธิ์นั่งลง พร้อมให้ถอนคำพูด
ด้าน นางฐิติมา ฉายแสง กมธ.วิสามัญพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณฯจากพรรคเพื่อไทย ชี้แจงว่า นายกฯมีความจำเป็นต้องเดินทางไปสร้างภาพลักษณ์ให้ประเทศไทยต่อสายนานาชาติ การเดินทางไปประเทศอินเดียดังกล่าวถือว่ามีคุ้มค่ามาก
"อินเดียมีประชากรถึง 1.1 พันล้านคน ถ้าเอาหารกับราคาเช่าเครื่องบินเหมาลำ 13 ล้านบาทจะคิดเป็น 1.2 สตางค์ต่อหัวเท่านั้น ดังนั้น การใช้งบประมาณถือว่าคุ้มมากๆกับการสร้างชื่อเสียงให้ประเทศ อยากให้เข้าใจว่าเวลาที่กมธ.ได้คิดประเด็นนี้ก็ได้คิดละเอียดเช่นกัน ไม่อยากมานั่งเปรียบเทียบกันให้เกิดปัญหา และที่สำคัญนายกฯอภิสิทธิ์เวลานั้นไม่ใช่แขกเกียรติยศของประเทศอินเดีย" นางฐิติมากล่าว
นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวเสริมว่า นับตั้งแต่น.ส.ยิ่งลักษณ์ เข้ามารับตำแหน่งนายกฯต้องเดินทางไปทั่วโลกเพื่อประชาสัมพันธ์ให้กับประเทศ ไทย ไม่มีเวลาท่องเที่ยวหรือพักผ่อน ถือเป็นความภาคภูมิใจของชาติ โครงการสร้างภาพลักษณ์ของประเทศไทยได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อเดือน พ.ค.ที่ผ่านมาโดยมีคณะกรรมการขึ้นมาหนึ่งชุดมีภารกิจสร้างภาพลักษณ์ให้ ประเทศครอบคลุมการค้าการลงทุนเพื่อให้ต่างประเทศเห็นถึงศักยภาพของประเทศไทย ให้ต่างชาติได้รับทราบ ซึ่งรัฐบาลในอดีตก็มีงบประมาณลักษณะเช่นนี้กันแต่ในอดีตจะให้น้ำหนักในการ ประชาสัมพันธ์ตัวรัฐบาลมากกว่าประเทศไทย

ศาลพิพากษาให้สองเยาวชนได้รับเงิน คนละหนึ่งแสนบาทเหตุโดนทหารทำร้ายระหว่างตรวจค้น

ที่มา ประชาไท

 

 
16 ส.ค. 55 - มูลนิธิผสานวัฒนธรรมและมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิมแจ้งข่าวว่าเมื่อวันที่ 9  สิงหาคม 2555  ศาลปกครองสงขลาได้มีคำพิพากษาให้สำนักนายกรัฐมนตรี  ในฐานะต้นสังกัดของ กอ.รมน.ภาค 4 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน แก่นายมะเซาฟี แขวงบู อายุ  20 ปี และเด็กชายอาดิล  สาแม  อายุ  14  ปี  สองเยาวชนที่ฟ้องเรียกค่าเสียหายเนื่องจากถูกเจ้าหน้าที่ทหารทำร้ายร่างกาย ในระหว่างการลาดตระเวนและตรวจค้นตัว   โดยใช้อำนาจตามกฎอัยการศึก  เหตุเกิดเมื่อวันที่ 11 พ.ค. 52  บริเวณถนนริมแม่น้ำปัตตานี  ตำบลสะเตง อำเภอเมือง  จังหวัดยะลา
 
ศาลได้พิพากษาว่า แม้กฎอัยการศึกจะให้อำนาจเจ้าหน้าที่ทหารในการตรวจค้นบุคคลและยานพาหนะ  แต่ในระหว่างตรวจค้นได้มีการทำร้ายเยาวชนทั้งสองจนได้รับบาดเจ็บ  จึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นการกระทำละเมิด  เมื่อเป็นเจ้าหน้าที่ทหารในสังกัดของกอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดของสำนักนายกรัฐมนตรี  สำนักนายกรัฐมนตรีจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนทางละเมิดให้ นายมะเซาฟี  แขวงบู  เป็นค่าขาดแรงงานในครัวเรือนและประโยชน์จากการทำงาน ตามอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในจังหวัดยะลา วันละ 250 บาท และแพทย์มีความเห็นให้หยุดพัก 5 วัน จึงคิดค่าเสียหายในส่วนนี้เป็นเงิน 1,200 บาท ส่วนเด็กชายอาดิล  สาแม  กำลังศึกษาอยู่ จึงไม่มีค่าเสียหายในส่วนนี้  และค่าเยียวยาความเสียหายต่อสิทธิและเสรีภาพในร่างกาย อนามัย และจิตใจ เนื่องจากเจ้าหน้าที่ทหารได้กระทำการที่กระทบต่อสิทธิและเสรีภาพในร่างกาย และจิตใจของบุคคลทั้งสอง ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ม. 32 อันเป็นกฎหมายสูงสุดที่ประกันสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย และศาลมีอำนาจกำหนดค่าสินไหมทดแทนในส่วนนี้ เพื่อเยียวยาความเสียหายตาม ว.5 จึงกำหนดให้คนละ 100,000 บาท
 
เหตุคดีนี้ เกิดเมื่อวันที่ 11 พ.ค. 52  เจ้าหน้าที่ทหารได้ทำร้ายร่างกายนายมะเซาฟี และด.ช.อาดิล โดยการเตะ ตบ ใช้ด้ามปืนตีที่ศีรษะ และตบที่กกหู และท้ายทอย  จนทำให้ผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บ  โดยต่อมาพนักงานอัยการศาลจังหวัดทหารบกปัตตานีได้ยื่นฟ้องเจ้าหน้าที่ทหาร ดังกล่าวเป็นคดีอาญา  ข้อหาทำร้ายร่างกายจนทำให้ผู้อื่นได้รับบาดเจ็บ  และวันที่ 26 เม.ย. 53  จำเลยให้การรับสารภาพตลอดข้อกล่าวหา  ศาลจังหวัดทหารบกปัตตานี  ได้มีคำพิพากษาจำคุกจำเลย 6 เดือน ปรับ 2,000 บาท จำเลยไม่เคยกระทำความผิดมาก่อน และมีความประพฤติดี โทษจำคุกจึงให้รอการลงโทษ 2 ปี ให้บังคับโทษปรับ  คดีอาญาดังกล่าวเป็นอันถึงที่สุด  และนำมาสู่การฟ้องเรียกค่าเสียหายทางละเมิดในคดีนี้
 
 
หมายเหตุ:
 
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

มาตรา 32  บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย

การทรมาน ทารุณกรรม หรือการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรม จะกระทำมิได้แต่การลงโทษตามคำพิพากษาของศาลหรือตามที่กฎหมายบัญญัติไม่ถือ ว่าเป็นการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรมตามความในวรรคนี้

การจับและการคุมขังบุคคล จะกระทำมิได้ เว้นแต่มีคำสั่งหรือหมายของศาลหรือมีเหตุอย่างอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ

การค้นตัวบุคคลหรือการกระทำใดอันกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพตามวรรคหนึ่ง จะกระทำมิได้เว้นแต่มีเหตุตามที่กฎหมายบัญญัติ

ในกรณีที่มีการกระทำซึ่งกระทบ ต่อสิทธิและเสรีภาพตามวรรคหนึ่ง ผู้เสียหาย พนักงานอัยการหรือบุคคลอื่นใดเพื่อประโยชน์ของผู้เสียหาย มีสิทธิร้องต่อศาลเพื่อให้สั่งระงับหรือเพิกถอนการกระทำเช่นว่านั้น รวมทั้งจะกำหนดวิธีการตามสมควรหรือการเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นด้วยก็ ได้

เสวนาวิชาการ "แท็บเล็ตลดช่องว่างทางสังคมได้อย่างไร?"

ที่มา thaifreenews



วิชัย เด็กเชื้อชาติพม่า "ชอบใช้Tablet เรียนวิชาเลข / Photo by แมวอ้วนอ้วน
วันที่ 16 สิงหาคม 2555 ณ โรงเรียนบ้านวังใหญ่ สังกัด สพป.กาญจนบุรี เขต 3 ดร.เบญจลักษณ์ น้ำฟ้า รองเลขาธิการ กพฐ. เป็นประธานเปิดการเสวนาวิชาการภายใต้หัวข้อ “แท็บเล็ตลดช่องว่างทางสังคมอย่างไร” โดย สพฐ. ตามโครงการแท็บเล็ตพีซีเพื่อการศึกษาไทย จึงมีความประสงค์ในการออกสังเกตการณ์การใช้แท็บเล็ตพีซีเป็นเครื่องมือในการ จัดการเรียนการสอน 

โดยโรงเรียนบ้านวังใหญ่ จังหวัดกาญจนบุรีเป็นสถานที่แห่งที่สองของการสัญจรและเป็นสถานที่แรกของการ สัญจรต่างจังหวัด เป็นโรงเรียนที่อยู่ห่างไกล ใกล้บริเวณชายแดนโดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นโรงเรียนที่มีเด็กนักเรียนชั้น ป.1 กลุ่มชาติพันธุ์ศึกษาอยู่มากมาย ตรงตามวัตถุประสงค์ของการจัดโครงการที่ต้องการลดช่องว่างทางสังคมด้วยการใช้ Computer for Education แท็บเล็ตจึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนให้เด็กชั้น ป.1 กลุ่มชาติพันธุ์ ได้อ่านออกเขียนได้พูดไทยชัด

โดยมี นายอธิวัฒน์ พันธ์ประชา ผอ.สพป.กาญจนบุรี เขต 3 เป็นผู้กล่าวรายงาน และเสวนาโดย ดร.สุชิน เพ็ชรักษ์ นักวิชาการศึกษาตามอัธยาศัยภาคเหนือ (ทวิภาษา) ดร.ซินเทีย หม่อง ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาการเรียนรู้เพื่อเด็กด้อยโอกาส C.D.C. (Children’s Development Centre) และ มร.ไมเคิล อัลเบิร์ต ผู้จัดการองค์กรไรท์ทูเพลย์ประจำประเทศไทย ในการนี้ ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการ สพฐ. ได้ให้เกียรติมอบนโยบายและกล่าวปิดการเสวนาในครั้งนี้ พร้อมเยี่ยมชมการเรียนการสอนโดยใช้แท็บเล็ตของครูและนักเรียน หลังจากนั้นได้เดินทางมายัง สพป.กาญจนบุรี เขต 3 เพื่อเยี่ยมชมบรรยากาศการทำงานและสภาพภูมิทัศน์ของสำนักงาน / ThaiFreeNews

ข้อมูลเพิ่มเติม @ThaiFarmer_Son และ @thomasFATCAT
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.490304114331530.124599.268479133180697&type=1