WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, November 5, 2012

ภาคภูมิ แสงกนกกุล: การรักษาเป็นสินค้าและความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับคนไข้ในฐานะผู้บริโภค

ที่มา ประชาไท



ภายในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาระบบสาธารณสุขไทยเป็นระยะเปลี่ยนผ่าน การเปลี่ยนแปลงต่างๆเพื่อให้เข้ากับสภาพการเปลี่ยนแปลงโลก เปลี่ยนสถานภาพของแพทย์ในประเทศไทยที่มีสถานะเป็นที่ยอมรับในสังคมในฐานะผู้ เสียสละเพื่อรักษาชีวิตของสังคมเป็นผู้ให้บริการ นอกจากนี้การเติบโตของธุรกิจการแพทย์ทำให้ภาพของแพทย์บางส่วนที่ผู้ป่วยมอง ว่าเป็นผู้มีพระคุณกลายเป็นพ่อค้า และเปลี่ยนความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์และคนไข้จากเดิมที่ดีกลายเป็นภาพขัดแย้ง ไม่เข้าใจมากขึ้น และมีการฟ้องร้องมากขึ้น [1] ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญจนฝ่ายนโยบายสาธารณสุขเช่นสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ หามาตรการเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างแพทย์คนไข้  [2]
ความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์และคนไข้ 4 แบบ 
ความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์และคนไข้ในปัจจุบันสามารถแบ่งได้เป็น 4 แบบคือ [3]
• ความสัมพันธ์แบบพ่อปกครองลูก (parternalistic model) เป็นความสัมพันธ์ที่แพทย์มีลักษณะเหมือนผู้ปกครองผูกขาดการตัดสินเพียงผู้ เดียวในการเลือกการรักษาให้กับคนไข้ เพราะผู้ป่วยเป็นผู้ที่ไม่รู้อะไรเลยในการรักษา แพทย์เป็นผู้รู้ดีและเต็มไปด้วยปราถนาที่ต้องการให้ผู้ป่วยหายจากการป่วยและ จะเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้คนไข้ ผู้ป่วยต้องทำตามที่แพทย์สั่งโดยห้ามขัดขืน
• ความสัมพันธ์แบบกึ่งเสรี (deliberative model) เป็นความสัมพันธ์ที่แพทย์เสมือนครูหรือเพื่อนที่หวังดีกับคนไข้แพทย์มี หน้าที่ให้ข้อมูลข่าวสารและชักชวนให้ผู้ป่วยเลือกการรักษาที่แพทย์คิดว่า เป็นสิ่งที่ดีที่สุดของคนไข้ สิ่งที่แตกต่างจากแบบแรกคือ ผู้ป่วยมีการตัดสินใจเองว่าจะทำหรือไม่ทำตามที่แพทย์พูด
• ความสัมพันธ์แบบการแปล (interpretative) เป็นความสัมพันธ์ที่แพทย์เปรียบเสมือนเป็นที่ปรึกษาของคนไข้ โดยคนไข้เป็นผู้มีความรู้และสามารถเรียนรู้วิทยาศาสตร์การแพทย์และข้อมูลที่ ซับซ้อนได้ เพียงแต่ต้องอาศัยการอธิบายจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อแปลสารที่เข้าใจยากให้ เข้าใจง่ายให้แก่ผู้ป่วย
• ความสัมพันธ์แบบให้ข้อมูลข่าวสาร (informative model) เป็นความสัมพันธ์ที่แพทย์มีลักษณะเป็นช่างเทคนิคที่เชี่ยวชาญการรักษาและมี หน้าที่ให้ข้อมูลข่าวสารทุกอย่างทั้งข้อดีข้อเสียของการรักษาทุกชนิดและ สร้างตัวเลือกต่างๆให้กับผู้ป่วยซึ่งอยู่ในสถานะผู้บริโภค มื่อได้รับข้อมูลแล้วก็สามารถไตร่ตรองได้เองว่าจะเลือกการรักษาในฐานะเป็น สินค้าชนิดหนึ่งที่เหมาะสมกับสภาพร่างกายตัวเองดีที่สุด
ความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์และคนไข้ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์จวบจน ศตวรรษที่แล้วเป็นความสัมพันธ์ลักษณะพ่อปกครองลูก ที่แพทย์ผูกขาดการตัดสินใจจากคนไข้หมด การรักษาที่ดีจึงขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างแพทย์และคนไข้ คือถ้ามีความสัมพันธ์ดีก็มีโอกาสที่แพทย์จะทุ่มเทการรักษาอย่างเต็มที่ และต้องอาศัยจริยธรรมส่วนตัวของแพทย์ สาเหตุที่ความสัมพันธ์เป็นแบบพ่อปกครองลูกเพราะ ความไม่สมมาตรด้านข้อมูลระหว่างแพทย์และคนไข้ การเข้าถึงข้อมูลอย่างยากลำบากของคนไข้ ความซับซ้อนของความรู้ด้านการแพทย์ ความสัมพันธ์ของคนไข้และแพทย์แบบเก่าจึงวางอยู่บนความไม่เสมอภาค โดยที่คนไข้ได้สูญเสียอธิปไตยในการตัดสินใจไปให้กับแพทย์และอยู่ในรูปแบบของ การมอบอำนาจให้แพทย์ตัดสินใจ « Tutelle médicale »  [5]
อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงของโลกอย่างรวดเร็วและการเติบโตของธุรกิจการ แพทย์ เปิดโอกาสให้แพทย์สามารถหากำไรได้จากความไม่เท่าเทียมกันของข้อมูลและอำนาจ ตัดสินใจผูกขาดที่อาจเลือกการรักษาที่ไม่จำเป็นให้คนไข้เพื่อเพิ่มรายได้กับ ตนเองและอาจสร้างความไม่ไว้วางใจระหว่างแพทย์คนไข้ สภาพการณ์ปัจจุบันจริยธรรมของแพทย์เพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอและต้อง อาศัยการเพิ่มอำนาจต่อรองให้กับคนไข้ ด้วยผลดีของเทคโนโลยีปัจจุบันส่งผลให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงข้อมูลมากขึ้นผู้ ป่วยสามารถหาข้อมูลที่มีความสลับซับซ้อนได้มากขึ้นและทั่วถึงกับประชาชน ทำให้ผู้ป่วยมีอำนาจทางข้อมูลมากขึ้นและสามารถมีอำนาจต่อรองกับแพทย์และดึง อำนาจตัดสินใจจากแพทย์มาสู่ตนเองอีกครั้ง
ผู้ป่วยจากเดิมที่มีลักษณะตั้งรับ (passive) กลายมาเป็นผู้ป่วยที่มีความอิสระ (autonomy) พวกเขาไม่ใช่ผู้ป่วยที่เชื่อง ต้องเชื่อฟังคำสั่งทุกอย่างจากแพทย์โดยไม่รู้ว่าแพทย์ทำสิ่งที่ดีหรือแย่กับ ตน แต่ผู้ป่วยเป็นผู้ป่วยที่รับรู้ เรียนรู้ได้ ว่าการรักษาใดที่ดีสำหรับตน ตัดสินใจได้ด้วยตัวเองและมีแขนขาสามารถทำกิจกรรมต่างๆได้ถึงแม้ตนเองจะป่วย อยู่ก็ตาม
แนวโน้มของความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์และคนไข้ทั่วโลกค่อนข้างจะเปลี่ยนจาก ระบบพ่อปกครองลูกเปลี่ยนเป็นความสัมพันธ์ในลักษณะผู้ป่วยเป็นผู้บริโภค อย่างไรก็ตามก็มีการโต้แย้งกับแนวความคิดดังกล่าว [6]  โดย เห็นว่าการรักษาไม่ควรเป็นสินค้าแต่ควรเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ทุกคนมีสิทธิ เข้าถึง และอาจมองว่าโมเดลผู้ป่วยเป็นผู้บริโภคจะเป็นการบั่นทอนความสัมพันธ์อันดี ระหว่างแพทย์และคนไข้
ข้อโต้แย้งดังกล่าวเป็นสิ่งที่น่าคิด แต่ควรแยกออกจากกันก่อนว่า การแพทย์เชิงพาณิชย์ที่ลดทอนสิทธิการเข้าถึงการรักษาของผู้ป่วยและโมเดลผู้ ป่วยเป็นผู้บริโภคเป็นคนละเรื่องกัน ในประเทศฝรั่งเศสที่จัดหาการบริการสาธารณสุขอย่างทั่วถึงให้กับประชาชนทุกคน หรือแม้แต่ชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ถึงแม้บางรายไม่ได้เป็นผู้เสียภาษีเลยก็ ตาม ต่างก็เปลี่ยนเป็นโมเดลผู้บริโภค โดยมองว่าเป็นการเพิ่มอำนาจและสิทธิของผู้ป่วยและเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวน การประชาธิปไตยในระบบสาธารณสุข สมาคมคุ้มครองผู้บริโภคมีความแข็งแกร่งและสามารถเป็นปากเป็นเสียงให้กับคน ไข้ที่เดือดร้อนจากการรักษาที่ผิดพลาดของแพทย์ได้

เชิงอรรถ
[1] http://www.doctor.or.th/clinic/detail/7043
[2] มติและข้อเสนอจากสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๕๑
[3] http://www.med.yale.edu/intmed/resources/docs/Emanuel.pdf
[4] http://www.who.int/genomics/public/patientrights/en/
[5] Claude Le Pen, « Patient » ou « personne malade » ? Les nouvelles figures du consommateur de soins, Revue économique-vol.60, N°2 mars 2009, p.258.
[6] http://www.mat.or.th/file_attach/22Mar201205-AttachFile1332376445.pdf