ที่มา Thai E-News
ปัดเจรจาโจรใต้ แม้วโต้ ปชป. แต่เห็นด้วยให้คุย
ไทยรัฐออนไลน์ รายงานวันนี้ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โต้เดือดพรรคประชาธิปัตย์ โวย กล่าวหาไม่มีมูล ยืนยัน ไม่เคยไปเจรจากับกลุ่มโจรใต้ อ้างเป็นแค่คนตกงาน แต่เห็นด้วยให้มีการพูดคุยแต่ต้องไม่ใช่รัฐบาลโดยตรง ชี้สงครามจบลงบนโต๊ะเจรจา...
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ขณะอยู่ที่เกาะฮ่องกง ตอบโต้อย่างรุนแรง ต่อกรณีที่ นายถาวร เสนเนียม ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวหาว่า ตนเองไปพบกับตัวแทน 18 คน ของกลุ่มก่อความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ ที่ประเทศเพื่อนบ้านเมื่อเร็วๆ นี้ โดยยืนยันว่า ตนเอง ไม่เคยไปพูดคุยกับกลุ่มก่อการร้ายดังกล่าว เพราะตนเองไม่ได้อยู่ในสถานะที่จะทำเช่นนั้นได้ เพราะในเวลานี้เป็นแต่เพียงคนตกงาน
ส่วนกรณี นายประเสริฐ พงษ์สุวรรณศิริ ส.ส.ยะลา พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวหาว่า เคยเห็นรูปที่อดีตนายกรัฐมนตรี ไปพบกับหัวหน้ากลุ่มพูโลนั้น พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวว่า เป็นเรื่องที่ไม่มีมูลความจริงแต่อย่างใด เพราะเป็นไปไม่ได้ที่ตนเองจะไปติดต่อกับกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ รวมทั้งหัวหน้ากลุ่มพูโล
ทั้งนี้ หากจะมีการเจรจาใดๆ ก็ควรจะเป็นการหารือกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อป้องกันไม่ให้ถูกใช้เป็นสถานที่หลบซ่อนตัวของกลุ่มก่อความไม่สงบ ซึ่ง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่เดินทางไปเยือนประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ก็มีหัวข้อไปหารือในเรื่องดังกล่าวเช่นกัน
อย่างไรก็ดี พ.ต.ท.ทักษิณ เห็นด้วย หากจะให้มีการพูดคุยกับกลุ่มก่อความไม่สงบ โดยให้เหตุผลว่า สงครามมักจะจบลงด้วยการเจรจาบนโต๊ะ ไม่ใช่ในสนามรบ อย่างไรก็ดี การพูดคุยดังกล่าวจะต้องไม่ได้มาจากฝ่ายรัฐบาลโดยตรง
เผยที่มาภาพลับอดีตส.ส.นราธิวาสกับแกนนำโจรใต้
ก่อนหน้านี้ผู้เขียนใช้นามปากกาว่า ปาแด งา มูกอ ได้เขียนบทความเรื่อง"แผน7ขั้นปั้นหมาให้เป็นเสือ"เผยแพร่ทางไทยอีนิวส์ เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2554 พร้อมกับเผยภาพลับแกนนำโจรใต้ที่อยู่ระหว่างหลบหนีถ่ายภาพกับนายนัจมุดดีน อูมา อดีตส.ส.นราธิวาส ปัจจุบันสังกัดพรรคมาตุภูมิ ของพลเอกสนธิ บุณยะรัตกลิน ดังต่อไปนี้
แผน7ขั้นปั้นหมาให้เป็นเสือ
ผู้ต้องสงสัย?-นายมะแซ อุเซ็ง หรือ อุสตาซแซ(ภาพบน)แกนนำกองกำลังBRN Co-ordinate ภาพซ้ายเป็นภาพเก่าที่ทางการไทยออกหมายจับ ส่วนภาพด้านขวาเป็นรูปในปัจจุบัน (ภาพล่าง)โดยภาพล่าสุดนั้นขยายจากภาพถ่ายร่วมกับนายนัจมูดดิน อูมา ส.ส.นราธิวาส ภาพนี้เชื่อกันว่าถ่ายในมาเลเซีย
แผนปฏิวัติ 7 ขั้นตอน นับเป็นแผนแม่บทที่ระดับนำขององค์กรกู้ชาติรัฐปัตตานี นำไปเผยแพร่ ชี้นำ ให้กับสมาชิกระดับสำคัญขององค์กรทราบ เป็นระยะ ๆ ตลอดมา โดยตั้งเป้าจะปฏิวัติสำเร็จในปี 50 แต่ที่มท.3 (นายถาวร เสนเนียม รมช.มหาดไทยในเวลานั้น-ไทยอีนิวส์)ให้ สัมภาษณ์ว่า ปี 54 นี้ เป็นการก่อเหตุในขั้นบันได ขั้น 6 ขั้น 7 พูดยังกับว่า ท่าน มท.3 เป็นคนขยายเวลาแผนขั้นบันได 7 ขั้นให้กับกลุ่มก่อการร้ายเสียเอง
อ่านข่าวการให้สัมภาษณ์ของ มท.3 แล้ว นึกห่วงเหตุการณ์ชายแดนใต้จริงๆ แบบนี้เข้าลักษณะเอาน้ำมันไปราดกองไฟ ให้ขี้เถ้าที่มันกำลังจะมอดไปแล้วกลับลุกเป็นไฟขึ้นมาใหม่
นี่แหล่ะที่โบราณเขาบอกว่า “ปั้นหมาให้เป็นเสือ”
คำสัมภาษณ์ของ มท.3 (ถาวร เสนเนียม) ที่ว่า
“...ซึ่งจริงๆ แล้ว ก็ทราบดีว่า ในช่วง ปี 54 ปีนี้ เป็นการก่อเหตุในขั้นบันได ขั้น 6 ขั้น 7 ของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ ทางเจ้าหน้าที่ทุกภาคส่วน ก็ระมัดระวัง งานการข่าวก็เป็นที่เชื่อถือได้ งานการป้องกันก็ระวังกันอย่างเต็มที่ แต่การที่กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบได้แทรกเข้ามาก่อเหตุในช่วงระยะเวลาไม่ถึง 10 วัน เกิดขึ้น 2 ครั้ง ทุกฝ่ายต้องกลับมาทบทวนการปฏิบัติงานร่วมกัน ระหว่างพลเรือน ตำรวจ และ ทหาร สำหรับการเกิดเหตุคาร์บอมบ์ และเหตุระเบิดหลายต่อหลายครั้งในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คาดว่า น่าจะเป็นการเชื่อมโยงกันของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ และ เป็นการดำรงความมุ่งหมายไปแนวทางเดียวกัน...”
ขอประทานโทษน่ะครับ ท่าน มท.3 ถ้าไม่รู้จริง ช่วยกรุณาสงบปากไว้หน่อย ไหว้เหอะ อายเขาครับ และมันจะเข้าตำราโบราณที่ว่า “อาศัยเสือจนเป็นหมา”
ไอ้ที่ว่า ปี 54 ปีนี้ เป็นการก่อเหตุในขั้นบันได ขั้น 6 ขั้น 7 ของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ นั้น บันไดที่ไหนครับ บันไดบ้านท่าน หรือบันไดที่กระทรวงมหาดไทย
ถ้าอยากทราบความจริง จะอธิบายให้ฟัง ไอ้เรื่องบันได หรือ บรรลัย
เอาขั้นที่ 6 ขั้น 7 ตามที่ให้สัมภาษณ์ก่อน หลังจากนั้นจะได้ให้ท่านผู้อ่านได้รับทราบบันไดทั้ง 7 ขั้นเลยครับ
ขั้นที่ ๖ “เตรียมพร้อมปฏิวัติ” ความหมาย เป็นการก่อเหตุร้ายทุกรูปแบบในพื้นที่ จชต. เหมือนกับการแตก/กระจาย ของดอกไม้ไฟ “จุดดอกไม้ไฟแห่งการปฏิวัติ” โดยกำหนดให้ปฏิบัติในปี ๒๕๔๗ คล้ายกับ “วันเสียงปืนแตก” ของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยในอดีต
ทั้งนี้ยังมีคำกล่าว ที่คล้ายคลึงอีกว่า “ ในปี ๔๗ จะเป็นปีที่ดอกลองกองผลิดอกออกพร้อมกัน ”
ซึ่งข้อเท็จจริงที่ปรากฏและพิสูจน์ได้ เช่น กรณีเกิดเหตุการณ์มากมายใน ปี ๔๗ จนถึงปัจจุบัน สอดคล้องกับข้อความข้างต้น (แต่มันก็ได้ผ่านพ้นมาแล้ว ย่างเข้าปีที่ 7 ในปี 2554 )
ขั้นที่ ๗ “จัดตั้งการปฏิวัติ” หรือ “ก่อการปฏิวัติ” เป็น แผนงานที่เดิมกำหนดจะกระทำในปี ๒๕๔๘ แต่ด้วยความไม่พร้อมของจำนวนกองกำลัง และจำนวนแนวร่วม ซึ่งอาจจะหมายรวมถึงอาวุธยุทโธปกรณ์ จึงไม่สามารถดำเนินการได้ตามแผน และมีความเป็นไปได้ว่าขยายไปอีก ๒ ปี ข้างหน้า
กล่าวคือ จะก่อการปฏิวัติในปี ๒๕๕๐ (มันก็ผ่านมาแล้ว 3 ปี) กรณีกำหนดปี ๔๘ เป็นปีก่อการปฏิวัติ มีหลักฐานค่อนข้างชัดเจนจากเอกสารที่ยึดได้จากปอเนาะญีฮาด ในครั้งการบรรยายของ อุสตาซอาหมัด เมื่อ ๗ ธ.ค.๔๑ ภาพก่อการปฏิวัติที่จะเกิดขึ้นนั้นจะเป็นภาพการต่อสู้ของนักต่อสู้เพื่อรัฐ ปัตตานี ที่ทำการโจมตีด้วยกองกำลังต่อกลไกรัฐเต็มพื้นที่ จชต. ซึ่งขณะโจมตีจะติดตั้งธงรัฐปัตตานีควบคู่ไปด้วย เพื่อให้สื่อมวลชนแพร่กระจายข่าวไปทั่วโลก และหวังผลต่อการเข้ามาแก้ปัญหาดังกล่าวโดย UN เช่น ติมอร์ตะวันออก หรือประเทศอื่นๆ จนท้ายสุดเป็นการลงประชามติของประชาชนว่า จะเป็นประชาชนของฝ่ายใด
ซึ่งประเด็นสำคัญสุดท้ายนี่เอง ที่กลุ่มก่อความไม่สงบประเมินแล้ว ความไม่พร้อมของมวลชนที่ซึ่งเป็นปัจจัยชี้ขาด จึงต้องขยายเวลาการก่อการปฏิวัติไปอีก ๒ ปี คือปี 2550
แผนปฏิวัติ 7 ขั้นตอน นับเป็นแผนแม่บทที่ระดับนำขององค์กรกู้ชาติรัฐปัตตานี นำไปเผยแพร่ ชี้นำ ให้กับสมาชิกระดับสำคัญขององค์กรทราบ เป็นระยะ ๆ ตลอดมา จึงนับ ได้ว่าเป็นข้อมูลสำคัญที่ทุกหน่วยงานของรัฐ ต้องศึกษาวิเคราะห์ เพื่อนำไปสู่การกำหนดแนวคิด/แนวทางปฏิบัติสำหรับตอบโต้ทำลายแผนดังกล่าว มิให้ขับเคลื่อนไปได้อย่างเป็นรูปธรรม.
มท.3 ตาสว่างขึ้นรียังครับ แล้วดันไปเอาข้อมูลของลูกน้องตัวไหนที่บอกให้ท่านมาสัมภาษณ์ว่า ปี 54 ปีนี้ เป็นการก่อเหตุในขั้นบันได ขั้น 6 ขั้น 7 ของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ
พูดยังกับว่า ท่าน มท.3 หรือลูกน้องท่านเป็นคนขยายเวลาแผนขั้นบันได 7 ขั้นให้กับกลุ่มก่อการร้ายเสียเอง จริงไหมครับท่านผู้อ่าน
เอาล่ะครับที่นี้สำหรับท่านผู้อ่านโดยเฉพาะครับ (มท.3 ไม่เกี่ยว)
แผนบันได 7 ขั้น
ตรวจพบครั้งแรกเมื่อ 1 พฤษภาคม 2546 หลังเจ้าหน้าที่เข้าตรวจค้นบ้านพักนายมะแซ อุเซ็ง อาจารย์ สอนศาสนาโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม “สัมพันธ์วิทยา” บ้านเจาะเกาะ ตำบลบูกิต อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่สามารถตรวจยึดเอกสาร “แผนปฏิวัติ 7 ขั้นตอน” ได้อีกหลายครั้ง ล่าสุดยึดได้จากโรงเรียน “ปอเนาะญีฮาด” หรือ โรงเรียนญีฮาดวิทยา บ้านท่าด่าน ตำบลตะโล๊ะกาโปร์ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2548
กลุ่มก่อความไม่สงบ โดยเฉพาะ BRN Coordinate ซึ่งสมาชิกระดับแกนนำส่วนใหญ่เป็นกลุ่มบุคคลที่มีสถานภาพเป็นผู้นำศาสนาใน ทุกระดับในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้ดำเนินการทางลับโดยการใช้แผนสู่ความสำเร็จ (บันได 7 ขั้น) มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2535 โดยการชักชวนเยาวชนทั้งในและนอกโรงเรียนเข้าร่วมงานได้เป็นจำนวนมาก และเรียกตัวเองว่า “Pejuang” (เปอยูแว/ยูแว) แปลว่า “นักต่อสู้ของกลุ่มเยาวชนกู้ชาติปัตตานี” (Pemuda Merdeka Patani) ขององค์กรกู้ชาติปัตตานี (Pejuangan Merdeka Patani)
กลุ่มนักสู้เหล่านี้เป้นนักต่อสู้รุ่นใหม่ที่ผ่านการฝึกอบรมบ่มเพาะ สร้างจิตสำนึกให้เคียดแค้นชิงชังคนต่างศาสนา มีอดุมการณ์การต่อสู้เพื่อชาติ ศาสนา มาตุภูมิ เคร่งครัดศาสนา เป็นที่ยอมรับของสังคม และมีความกระหายที่จะต่อสู้ตามแนวทางศาสนา (ญีฮาด) และอิสรภาพอันชอบธรรมเพื่อรัฐปัตตานี
ทั้งนี้องค์กรกู้ชาติปัตตานีได้ขับเคลื่อนตามแผนการปฏิวัติ 7 ขั้นตอน (บันได 7 ขั้น) เป็นยุทธศาสตร์สำคัญสำหรับการเตรียมคน จังตั้งองค์กรควบคุม ขยายเครือข่ายและสมาชิก พร้อมทั้งได้กำหนดห้วงปีที่จะปฏิบัติอย่างชัดเจน
ความหมายของแผนปฏิวัติ 7 ขั้นตอน (แผนบันได 7 ขั้น)
ผลการแปลเอกสารภาษามาลายู และอาหรับโดยผู้รู้เกี่ยวกับภาษาระบุว่าแผนปฏิวัติ 7 ขั้นตอนถูกกำหนดมาตั้งแต่ ปี ค.ศ.1992 (พ.ศ.2535) โดยมุ่งใช้เยาวชนเป็นกลุ่มปฏิบัติการทั้งทางทหาร ประชาสัมพันธ์ และโฆษณาชวนเชื่อ โดยแผนดังกล่าวแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
ส่วนที่ 1 ขั้นที่ 1 ถึงขั้นที่ 5 เป็นห้วงของการจัดตั้งและดำเนินงาน เพื่อสร้างความพร้อมของคน องค์กร และอุดมการณ์
ส่วนที่ 2 ขั้นที่ 6 ถึงขั้นที่ 7 เป็นขั้นการปฏิวัติ เพื่อความสำเร็จของการกู้ชาติปัตตานี
ขั้นที่ 1 การสร้างจิตสำนึกมวลชน
เป็นการปลุกระดมมวลชนให้สำนึกถึงความเป็นชาวมลายู ความยึดมั่นในศาสนาอิสลาม และเน้นความเป็นชาติ/รัฐปัตตานีในอดีตที่จะต้องต่อสู้เอาดินแดนคืนโดยมักจะ ยกเป็นประ เด็นการกวาดต้อนชาวมลายูไปยังกรุงเทพ และบังคับให้ใช้มือเปล่าขุดคลองแสนแสบ รวมทั้งอ้างคำสอนในคัมภัร์อัลกุรอ่านมาประกอบ
ขั้นที่ 2 การจัดตั้งมวลชน
เป็นการจัดตั้งแนวร่วม ซึ่งมักดำเนินการระหว่างสอนศาสนาต่อเยาวชน เยาวชนในที่นี้หมายถึงผู้ที่มีอายุในระหว่าง 18-35 ปี และประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะในช่วงการอ่าน “คุปตะเบาะห์” ในวันศุกร์ หรือ “ละหมาดใหญ่” ตามมัสยิด ส่วนในโรงเรียนตาดีกา โรงเรียนเด็กเล็กก่อนวัยเรียน/อนุบาล ปอเนาะและโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม จะมอบให้ครูสอนศาสนาที่ผ่านการบ่มเพาะมาในระดับหนึ่งแล้วเป็นผู้ดำเนินการ
จากนั้นจะพัฒนาให้นักเรียน/นักศึกษาเหล่านี้ผู้ปฏิบัติ โดยอาจให้ทุนการศึกษาไปเรียนต่อต่างประเทศ (ที่ปรากฎหลักฐานคือการไปศึกษา ณ มหาวิทยาลัยในเมือง บันดุง เมดาน ยอร์คจาร์กาตาร์ ประเทศอินโดนีเซีย) ซึ่งนักศึกษาเหล่านี้นอกจากจบการศึกษาทางวิชาการแล้วยังได้ผ่านการฝึกหลัก สูตรด้านการทหารมาอีกด้วย
จากนั้นจะส่งมวลชนจัดตั้งเข้าเป็นคณะกรรมการต่างๆเช่น คณะกรมมการอิสลามประจำจังหวัด คณะกรรมการมัสยิด คณะกรรมการหมู่บ้าน และสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล รวมทั้งเข้าครอบงำสหกรณ์ที่ภาครัฐส่งเสริมให้ประชาชนได้รวมกลุ่มดำเนิน กิจการเพื่อพึ่ง ตนเอง เช่น สหกรณ์หมู่บ้าน ซึ่งจะมีการเก็บเงินรายได้ส่วนหนึ่งเข้าขบวนการอันเป็นการสร้างเศรษฐกิจ ระดับรากหญ้า ควบคู่กันไป ส่วนสมาคมหรือชมรม (รวมถึงด้านกีฬา) ก็เป็นอีกเป้าหมายหนึ่งที่ต้องการเข้าครอบงำด้วย
ขั้นที่ 3 การจัดตั้งองค์กร
เป็นการจัดตั้งองค์กรอำพรางในการปฏิบัติ ทั้งเพื่อการควบคุมมวลชนและแหล่งเงินทุน เช่น การจัดตั้งชมรมตาดีกา โดยในพื้นที่จังหวัดนราธิวาสใช้ชื่อว่า “PUSAKA” (Pusat Kebajkan Tadika) พื้นที่จังหวัดปัตตานีใช้ชื่อว่า “PUSTAKA” พื้นที่จังหวัดยะลาใช้ชื่อว่า “PERTIWI” พื้นที่จังหวัดสงขลาใช้ชื่อว่า “PUTRA” และพื้นที่จังหวัดสตูล ใช้ชื่อว่า “PANTAS” เพื่อควบคุมโรงเรียนตาดีการที่ยินยอมเข้ามาอยู่ในองค์กร
ซึ่งการควบคุมองค์กรเหล่านี้จะอำนวยประโยชน์ทางการเมืองต่อระดับแกนนำใน พื้นที่เหล่านั้นด้วย นอกจากนี้ ยังมีการจัดตั้งองค์กรบังหน้าอื่นๆอีกหลายรูปแบบ เช่น จัดตั้งสหกรณ์เพื่อเป็นแหล่งเงินทุน เป็นต้น
ขั้นที่ 4 การจัดตั้งกองกำลัง
ในขั้นนี้มี 3 ระดับ ได้แก่ ระดับเยาวชน เป็นกองกำลังที่อยู่ประจำหมู่บ้านตามภูมิลำเนาโดยเฉพาะในหมู่บ้านสีแดง (ประมาณ 257 หมู่บ้าน) โดยมีเป้าหมายที่จะจัดตั้งกองกำลังดังกล่าวให้ได้ 30,000 คน
ระดับเยาวชนคอมมานโดเป็นผู้ที่ถูกคัดเลือกจากลุ่มเยาวชนทหารนำไปฝึกยุทธวิธี หน่วย ทหารขนาดเล็ก (Runda Kumpulan Kecil/RKK) และยุทธวิธีด้านอื่นๆเพิ่มเติม สมาชิกระดับคอมมานโดจะได้รับมอบภารกิจด้านการก่อเหตุร้าย ซึ่งทั้งการลอบยิง ลอบวางระเบิด และลอบโจมตี โดยมีเป้าหมายที่จะจัดตั้งให้ได้ 3,000 คน กระจายอยู่ในเขตปกครองใหม่ 3 เขต (เขตการปกครองขององค์กรกู้ชาติปัตตานี) เขตงานละ 1,000 คน
และ ระดับกองกำลังระดับผู้เชี่ยวชาญ เป็นผู้ควบคุมและครูฝึกกองกำลังคอมมานโด กลุ่มเหล่านี้บางคนผ่านการฝึกมาจากต่างประเทศ มีขีดความสามารถค่อนข้างสูง เคยผ่านการปฏิบัติจริงมาแล้วและมีจิตใจต่อสู่เพื่อองค์กรที่แน่วแน่ โดยมีเป้าหมายกำหนดไว้ 300 คน คัดเลือกจากเยาวชนคอมมานโดและผู้ที่ผ่านการฝึกจากต่างประเทศแล้ว
ขั้นที่ 5 การสร้างอุดมการณ์ชาตินิยม
การปฏิบัติขั้นนี้ มุ่งเน้นการสร้างอุดมการณ์ความเป็นชาติพันธุ์เดียวกัน (ความเป็นมาลายู)ที่จะต้องร่วมกันต่อสู้เพื่อให้ได้รัฐปัตตานีคืนมาโดยการ ผนึกกำลังของชนชาติพันธุ์มาลายูที่เป็นชาวไทยมุสลิมทุกสถานะ/อาชีพ ซึ่งรวมถึงข้าราชการพลเรือน ตำรวจทหารที่เป็นมุสลิม และชาวมาเลเซีย ที่สำคัญผู้ที่ได้รับการปลุกฝังอุดมการณ์ชาตินิยมแล้วจะต้องเคยผ่านการ ปฏิบัติจริง (การก่อเหตุร้ายไม่ว่าในลักษณะใดตามเงื่อนไขและระดับความรับผิดชอบ)
ขั้นที่ 6 การเตรียมพร้อมปฏิวัติ
เป็นขั้นตอนการก่อเหตุร้ายทุกรูปแบบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้เหมือน การแตกกระจายของดอกไม้ไฟ หรือเรียกว่า “การจุดดอกไม้ไฟแห่งการปฏิวัติ” เพื่อการเคลื่อนไหวใหญ่
ขั้นที่ 7 การจัดตั้งการปฏิวัติ หรือ การก่อการปฏิวัติ
เป็นการต่อสู้ขั้นสุดท้ายและใช้การโจมตีประกอบด้วยกองกำลังต่อกลไลรัฐเต็ม พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งขณะโจมตีจะติดตั้งธงรัฐปัตตานีควบคู่ไปด้วย เพื่อให้สื่อมวลชนแพร่กระจายไปทั่วโลก และหวังผลให้ประชาคมระหว่างประเทศโดยเฉพาะองค์การสหประชาติหรือองค์กรมุสลิม ในระดับโลกเข้ามาแสดงบทบาทในการแก้ปัญหาดังกล่าว จนนำไปสู่การลงประชามติของประชาชนเพื่อแยกตัวเป็นเอกราชและจัดตั้งรัฐ ปัตตานีขึ้นในที่สุด
ซึ่งตามแผนการเดิมขั้นตอนนี้กำหนดจะกระทำในปี พ.ศ.2548 แต่ด้วยความไม่พร้อมของจำนวนกองกำลังแนวร่วมและอาวุธยุทโธปกรณ์ จึงยังไม่สามารถดำเนินการได้ตามแผน และต้องขยายแผนนี้ออกไปอีกระยะหนึ่ง
จากเอกสารดังกล่าวข้างต้น จนกระทั่งทุกวันนี้ ผมก็ยังไม่ปักใจเชื่อหรือหลงกลเชื่อว่า เอกสารที่ว่าค้นพบในบ้านพักนายมะแซ อุเซ็ง นั้น จะเป็นเอกสารที่อาจเรียกได้ว่า “โคตรของโคตรความลับ” ท่านมะแซ จะสะเพร่าวางไว้จนเจ้าหน้าที่ค้นพบได้เชียวหรือ
หรือว่า เจ้าหน้าที่เขียนเอง ร่างเอง ฮั่นแน่เสียวหลังวูบเข้าแล้วไหมล่ะ แต่หากจะให้ผมเชื่อหรือท่านผู้อ่านเชื่อ ก็ต้องรอให้ท่านมะแซ อุเซ็ง มาเขียนให้ดูหน่อยว่าบันไดที่ท่านเขียนนั้น มันเป็นบันไดจริงหรือบันไดลิง ตรงกับต้นฉบับจริงรึเปล่า
มะแซ อุเซ็ง ทราบแล้วโปรดตอบรับด้วย จะเป็นพระคุณอย่างสูง
แนวร่วม การสนับสนุน
ผู้ที่ให้การสนับสนุน ต่อกองกำลังติดอาวุธ ที่เคลื่อนไหว ในเขตไทย ส่วนใหญ่ เป็นเครือญาติ ที่มีผลประโยชน์ ร่วมกัน หรือถูกบังคับ การสนับสนุน ต่อกองกำลัง ติดอาวุธ เพื่ออุดมการณ์
มีเพียงส่วนน้อย ที่จะได้รับ การสนับสนุน จากต่างประเทศ เดิมมีหลายประเทศ ที่ให้การสนับสนุน แต่ปัจจุบันเหลือน้อยมาก และ เป็นการสนับสนุน ของบุคคล ที่ไม่เกี่ยวข้อง กับภาครัฐ ผู้มีอิทธิพล และกลุ่มแอบอ้าง ทางการเมือง และศาสนา
จากการก่อการร้าย และความไม่สงบ ในพื้นที่ จังหวัด ชายแดน ภาคใต้ เมื่อตรวจสอบ ข้อเท็จจริง แล้วพบว่า ผู้ที่อยู่ เบื้องหลัง หรือผู้ที่บงการ มักจะเป็นผู้กว้างขวาง หรือผู้มีอิทธิพล ในพื้นที่ ซึ่งอาจจะมีส่วนร่วม กับนักการเมือง และ ข้าราชการบางคน
ในขณะเดียวกัน กลุ่มผู้กระทำ หรือผู้ก่อเหตุ ส่วนใหญ่ เป็นผู้ต้องคดี ผู้ติดยาเสพย์ติด แนวร่วม จกร. หรือ กองกำลัง ติดอาวุธ ของ จกร. ซึ่งเบื้องหลัง ของกลุ่มบุคคล ดังกล่าวนี้ มักมีความสัมพันธ์ ทางใด ทางหนึ่ง ประกอบกับ เกิดปัญหา ความขัดแย้ง ด้านแนวทาง ในการปฏิรูป แนวทาง ศาสนา ของกลุ่มบุคคล หรือผู้นำ ศาสนา ในบางพื้นที่ รวมทั้ง ปัญหา ความขัดแย้ง ทางด้านการเมือง ปัญหาดังกล่าว ผสมผสาน เป็นความ ไม่สงบ เรียบร้อย ความไม่ปลอดภัย ในชีวิต และทรัพย์สิน
กลุ่มโจร มิจฉาชีพ มีการจัดตั้งกลุ่ม เช่น กลุ่มมูจาฮีดีน อิสลาม ปัตตานี เคลื่อนไหว ก่อเหตุร้าย ก่อกวน สร้างความ ไม่สงบ หลายครั้ง เพื่อยกระดับ กลุ่มโจร มิจฉาชีพ ให้ จกร. ยอมรับว่า มีอุดมการณ์ แบ่งแยก ดินแดน เช่นเดียวกัน นอกจากนั้น ยังมีกลุ่ม มือปืนรับจ้าง และผู้หลบหนี คดีอาญา มาก่อเหตุร้าย หรือข่มขู่ กรรโชกทรัพย์ เพื่อแสวงหาผลประโยชน์
สถานการณ์ในพื้นที่
เหตุร้ายที่เกิดขึ้นในพื้นที่ มีทั้งจากการ ปะทะจากโจรก่อการร้าย โจรมิจฉาชีพ กลุ่มผลประโยชน์ และ เรื่องส่วนตัว แต่ลักษณะการก่อเหตุร้าย จะคล้ายกัน จึงทำให้เข้าใจว่า เป็นคนร้าย กลุ่มเดียวกันทำ หรือที่ที่เหตุร้าย จะกระจาย ไปใน หลายพื้นที่ ไม่เน้นหนัก ในพื้นที่ใด พื้นที่หนึ่ง ส่วนใหญ่ จะเกิด นอกเขตชุมชน รองลงมา ในเขตเทศบาล ของพื้นที่ จังหวัดนราธิวาส ยะลา ปัตตานี ส่วนสงขลา และสตูล มีเหตุการณ์น้อยมาก
แนวโน้ม สถานการณ์ ก่อความไม่สงบ
โดยเฉพาะ การก่อเหตุร้าย จะยังคงมีต่อไป แต่ด้วยการปฏิบัติการ ทางยุทธการ ของฝ่ายเจ้าหน้าที่ ทำให้ฝ่าย จกร. ระดับกองกำลัง ติดอาวุธ หลายคน ต้องสูญเสีย จากการปะทะ และถูกจับกุม เป็นผลให้ จกร. ได้มีการพัฒนา และเปลี่ยนรูปแบบ ในด้านการดำเนินการใหม่
โดยระยะหลัง ได้เน้นหนัก ทางด้าน สังคมจิตวิทยา และการข่าว ซึ่งบางครั้ง อาศัย สถานการณ์ ที่เกิดขึ้น ปล่อยข่าว ให้ฝ่ายเจ้าหน้าที่ เกิดความสับสน และสร้างความแตกแยก ให้เกิดขึ้น ระหว่าง หน่วยงาน ของรัฐ เพื่อเป็นการ ดำรง รักษา สภาพ จกร. เอาไว้ และขยาย แนวร่วม เพื่อให้ความสนับสนุน
สำหรับ การก่อการร้าย สร้างผลงาน แสดงอิทธิพล แสวงผลประโยชน์ นอกจากนั้น ยังมีกลุ่มอื่น สถานการณ์ เพื่อก่อเหตุร้าย เพื่อรักษา ผลประโยชน์ ของบุคคล หรือของกลุ่มตน
***********
เรื่องเกี่ยวเนื่อง: