WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, November 10, 2010

ถ้าท่านไม่"บริสุทธิ์ยุติธรรม" แค่ "วีออส" ก็พอ

ที่มา มติชน

http://www.matichon.co.th/online/2010/11/12893576881289357859l.jpg



การ ประชุมวิชาการ สถาบันพระปกเกล้า เมื่อไม่นานมานี้ มีการเปิดเผยผลการสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อศาล และองค์กรอิสระ ครั้งล่าสุด มีข้อมูลที่น่าสนใจ คือ ในกลุ่มศาลด้วยกัน ศาลรัฐธรรมนูญได้อัตราต่ำสุดที่ 65.1% ศาลยุติธรรมได้ 71.3% รองลงมาคือศาลปกครองได้ 67.3%

ความเชื่อมั่นต่อศาลรัฐธรรมนูญที่ต่ำลง ท่ามกลางกระแสข่าวคลิบฉาวที่ออกมาเป็นระลอก

ขณะที่ศาลรัฐธรรมนูญกำลังตัดสินคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ พรรคเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งมีอายุกว่า 64 ปี

ปัญหาคือ ไม่ว่าศาลรัฐธรรมนูญจะตัดสินยุบหรือไม่ยุบ ถามว่า ใครจะเชื่อถือ ?

กลางกระแส วิกฤตศรัทธาที่มีต่อศาลรัฐธรรมนูญ ได้มีข้อเสนอให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไขก๊อก ลาออกไปยกชุด แล้วสรรหาตุลาการชุดใหม่มาตัดสินคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ ยังจะดีเสียกว่า แม้ว่าจะล่าช้าไปบ้าง แต่ว่ายังรักษาศาลรัฐธรรมนูญไว้ได้

นักวิชาการส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับการยุบศาลรัฐธรรมนูญ เพราะเห็นว่า ความเสื่อมเป็นเรื่อง "ตัวบุคคล" มากกว่า

นอกจากผลสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อศาลแล้ว ยังมีผลสำรวจองค์กรอิสระอีกด้วย

ผล สำรวจครั้งนี้ ปรากฏว่า สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) มีอัตราความเชื่อมั่นลดลงจากเดิมมากที่สุด โดยปัจจุบันความเชื่อมั่นของประชาชนอยู่ที่ 46.8% ขณะที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนได้รับความเชื่อมั่นอยู่ที่ 41.8% และที่มีความเชื่อมั่นที่น้อยที่สุดคือสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจฯที่ 38.8%

ความ เชื่อมั่นของ สตง.ที่ลดลง เข้าใจได้ไม่ยาก เพราะนายเก่ากับนายใหม่ เปิดศึกสู้รบ สาวไส้ กันขนาดนั้น ถ้าความเชื่อมั่นยังดีเหมือนเดิมก็แปลก

แต่ ข้อมูลที่ชาวบ้านได้รับรู้จากศาลรัฐธรรมนูญ ถึง สตง. และองค์กรอิสระอื่น ๆ ที่มีการเปิดโปงกันออกมาก็คือ บรรดาท่านทั้งหลาย มีบริวารมากกว่า ทั้งเลขานุการส่วนตัว ที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญ คนขับรถประจำตัว

ไม่นับห้องทำงานที่หรูหรา รถยนต์ประจำตำแหน่งที่นิยมใช้ยี่ห้อเบนซ์ คันละ 3 ล้านกว่า

องค์กรอิสระบางแห่ง เช่ารถ BMW ซีรีส์ 7 ให้แก่กรรมการทุกคน เท่าที่ทราบ ค่าเช่าแพงมาก

ยัง ไม่รวมสิทธิพิเศษมากมาย โดยเฉพาะตั๋วเครื่องบินฟรี สิทธิของบางท่านก็เลื้อยไปถึงลูกเมีย นี่ยังไม่นับรวมเงินเดือนและค่าตอบแทนพิเศษที่เฉียดแสนต่อเดือน รวม ๆ แล้วต้นทุนของแต่ละท่านสูงมาก

ส่วน "องคาพยพ" ของท่านหนึ่ง ประกอบด้วย ที่ปรึกษา 1 คน เงินเดือนรวม 69,910 บาท เลขานุการ 1 คน เงินเดือน 47,100 บาท ผู้เชี่ยวชาญ 3 คน เงินเดือน 30,000 บาท ผู้ช่วยเลขานุการ 1 คน เงินเดือนตามวุฒิการศึกษาตั้งแต่ 16,000-22,000 บาท คนขับรถ 1 คน เงินเดือน 11,300 บาท เป็นต้น

คำนวณ แล้ว จะต้องจ่ายเงินเดือนให้แก่ที่ปรึกษา เลขานุการ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ช่วยเลขานุการ คนขับรถ ประจำท่านคนเดียวต่อเดือนกว่า 229,000 บาท

ต้นทุนที่ประชาชนต้องจ่ายให้แก่ท่านทั้งหลาย...แพงมาก แต่ถามว่าคุ้มค่าไหม ! ยังน่าสงสัย

เพื่อน อาจารย์ท่านหนึ่งที่ติดตามผลงานของท่านทั้งหลายยืนยันว่า รถประจำตำแหน่งของท่าน เมื่อเทียบกับผลงาน แค่โตโยต้า วีออส ก็พอเพียงแล้ว

ผมแย้งว่า ขนาดผู้ว่าราชการจังหวัด ยังโตโยต้า คัมรี่ เลย (ครับ) แค่วีออสอาจเป็นการเปรียบเปรยที่สุดโต่งไป

แต่ ประเด็นของผมคือ ท่านจะใช้คัมรี่หรือเบนซ์ หรือ BMW ซีรีส์ 7 ผมไม่ว่าเลย ขออย่างเดียวให้ท่านตัดสินคดีความ ด้วยความบริสุทธิ์ยุติธรรม จริง ๆ

อย่างที่ตุลาการผู้ใหญ่รุ่นครูท่านกล่าวว่า "ถ้าตัวตรง ไม่ต้องกลัวเงาคด ถ้าหัวตรง ไม่ต้องกลัวเท้าเอียง"

แต่ถ้าทำไม่ได้ ผมว่าลาออกไปเสียดีกว่า !


ขุนสำราญภักดี

10 พ.ย.2553