WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, November 10, 2010

ความกล้าหาญของนักนิติศาสตร์ไทยในคดีฉีกบัตรเลือกตั้ง

ที่มา มติชน



โดย เข็มทอง ต้นสกุลรุ่งเรือง คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

"กฎหมายที่แท้จริง คือเหตุผลที่ถูกต้อง” ซิเซโร


ธรรมดา นั้นเมื่อศาลมีคำพิพากษาออกมาแล้วย่อมเป็นที่สุด ไม่ว่าผู้แพ้หรือชนะย่อมเคารพในคำตัดสินและหลีกเลี่ยงที่จะวิจารณ์ แต่เมื่อศาลแขวงพระโขนงได้ตัดสินยกฟ้องคดีฉีกบัตรเลือกตั้ง เมื่อวันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๓ ที่ผ่านมา

ผู้เขียนเห็นว่า คำ พิพากษานี้มีปัญหาอย่างยิ่ง สมควรที่จะหยิบยกขึ้นมาวิจารณ์ให้กระจ่าง โดยเมื่อตั้งสมมติฐานไว้แล้วว่า การตัดสินนั้น ตุลาการได้ดำรงความเที่ยงธรรมเป็นกลาง ปราศจากอคติทั้งปวง สิ่งที่จะหยิบยกมาพิจารณาจึงเหลือแต่วิธีการให้เหตุผลดังนี้


๑.แบบพิมพ์บัตรเลือกตั้ง

เนื่อง จากการเลือกตั้งวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๔๙ นั้น มีคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ ๙ /๒๕๔๙ ว่าไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ด้วยเหตุว่าผู้มีอำนาจหน้าที่จัดการเลือกตั้งนั้น ปฏิบัติหน้าที่ไม่เที่ยงธรรม สิ่งที่จำเลยฉีกไปจึงมิใช่บัตรเลือกตั้ง แต่เป็นเพียงแบบพิมพ์บัตรเลือกตั้ง ไม่มีความผิดตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งแต่อย่างใด


ถ้า การเลือกตั้งไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญแล้วเกิดผลข้างต้นขึ้น การกระทำผิดทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งก็ไม่ควรจะผิดได้เลย เพราะเมื่อไม่ใช่การเลือกตั้งเสียแล้ว การซื้อเสียงครั้งนั้นจึงไม่ใช่การซื้อเสียง เป็นเพียงการแสดงท่าทางการซื้อเสียงเท่านั้น


จน ถึงที่สุด ถ้าใช้ตรรกกะเช่นนี้ พรรคไทยรักไทยก็ไม่ควรถูกยุบ เพราะการเลือกตั้งครั้งนี้มิชอบด้วยรัฐธรรมนูญและสิ้นผลไปแล้ว การจ้างพรรคเล็กลงสมัครจึงไม่เป็นความผิด


๒. สันติวิธีและการได้มาซึ่งอำนาจโดยวิธีทางนอกรัฐธรรมนูญ


รัฐ ธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทศักราช ๒๕๔๐ มาตรา ๖๕ ซึ่งให้สิทธิประชาชนชาวไทยที่จะ “ต่อต้านโดยสันติวิธีซึ่งการกระทำใดๆ ที่เป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็น ไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้” ได้ถูกนำมาอ้างเป็นฐานในการต่อสู้คดี และศาลชั้นต้นก็ได้ใช้สิทธิตามมาตราดังกล่าวมายกเว้นความผิดฐานทำให้เสีย ทรัพย์ไป


ในเหตุผลข้อนี้ต้องวิเคราะห์ในสองประเด็น คือ การต่อต้านโดยสันติวิธีและการกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ โดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ

๒.๑ การต่อต้านโดยสันติวิธี


คำถาม คือ สันติวิธีนั้นสามารถผิดกฎหมายได้หรือไม่


แน่ นอนว่า การกระทำผิดกฎหมายที่ก่อความรำคาญหรือเดือดร้อนเสียหายแก่ผู้อื่นไม่ใช่ สันติวิธี อาทิ การยิงลูกระเบิด การชุมนุมปิดสนามบิน หรือแม้กระทั่งการขับรถแท๊กซี่ชนรถถังของคณะรัฐประหาร


แน่นอนว่า การแสดงออกซึ่งความไม่เห็นด้วยโดยไม่ผิดกฎหมายและไม่สร้างความเดือดร้อนเสีย หายแก่บุคคลอื่น ย่อมเป็นการกระทำโดยสันติวิธี เช่น การอดข้าวประท้วง การชูป้ายข้อความ


แล้วารกระทำที่ผิดกฎหมาย แต่ไม่สร้างความเสียหายแก่บุคคลใดโดยเฉพาะ นอกจากความสงบเรียบร้อยของรัฐและความมั่นคงในกฎหมาย เป็นการกระทำโดยสันติวิธีหรือไม่


ในความเห็นผู้เขียนแล้ว “สันติวิธี” ของรัฐธรรมนูญนั้น ต้องเป็นสันติที่คู่ไปกับความชอบด้วยกฎหมาย ไม่สามารถตีความแยกออกจากกันได้ มิเช่นนั้นคงเป็นการตีความที่ให้ผลประหลาดและทำลายตัวของมันเอง


รัฐ ธรรมนูญคงมิได้มีเจตนารมณ์ จะให้คนทำผิดกฎหมายกระมัง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อคำนึงถึงหลักนิติธรรมที่ประเทศประชาธิปไตยพึงมีแล้ว การกระทำไม่ว่าจะของรัฐหรือเอกชน ล้วนแต่ต้องชอบด้วยกฎหมายทั้งสิ้น

๒.๒ การกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ


โชค ดีเป็นอย่างยิ่งที่คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ ๙/๒๕๔๙ เห็นว่า การเลือกตั้งครั้งนั้นไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เพราะไม่สุจริตเที่ยงธรรม และคำวินิจฉัยคณะตุลาการรัฐธรรรมนูญที่ ๓-๕/๒๕๕๐ เห็นว่า การกระทำของพรรคไทยรักไทย เป็นการกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้ เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ทำให้ศาลสามารถอ้างว่า การกระทำดังกล่าวเป็นการใช้สิทธิต่อต้านตามมาตรา ๖๕ ได้อย่างมั่นใจ


แต่กระนั้นก็ดี มีข้อโต้แย้งดังนี้


ประเด็นที่หนึ่ง ถ้าไม่มีการส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญตัดสิน การเลือกตั้งครั้งนี้ย่อมไม่เสียไปตามกฎหมาย ถ้าเป็นเช่นนี้ ศาลจะตัดสินอย่างไร แสดงว่า จำเลยคดีนี้โชคดีใช่หรือไม่ ในขณะที่คนที่ฉีกบัตรในการเลือกตั้งครั้งอื่นไม่โชคดีเท่านี้ ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง การฉีกบัตรก็ไม่ต่างจาการพนัน ว่า หลังจากฉีกแล้วจะมีคนนำคดีขึ้นสู่ศาลหรือไม่


ประเด็นที่สอง การได้มาซึ่งอำนาจโดยไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญนั้น ที่จริงต้องมีลักษณะเช่นใด


ประเด็น นี้สำคัญอย่างยิ่ง เพราะการตีความเรื่องนี้เป็นอัตวิสัยสูง การทุจริตเลือกตั้ง ไม่ว่า จะด้วยเหตุเล็กน้อยเพียงใด รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มาตรา ๒๓๗ ล้วนถือเป็นการกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่ง มิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญทั้งสิ้น


ถ้า ยึดตามการให้เหตุผลเช่นนี้ ในการเลือกตั้งครั้งต่อไป ถ้ามีคนฉีกบัตรเลือกตั้งเพื่อประท้วงการทุจริตเลือกตั้ง ซึ่งแน่นอนอยู่แล้วว่า ต้องมีในการเลือกตั้งทุกครั้งไป บุคคลผู้นั้นจะอ้างเหตุผลนี้ได้หรือไม่


นอกจากนี้ ศาลพึงสังวรด้วยว่า ลำพังการทุจริตการเลือกตั้งอาจจะมิใช่วิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่ บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญอีกต่อไปแล้ว เพราะปัจจุบันได้มีการถกเถียงกันอย่างมากเรื่องการแก้ไขมาตรา ๒๓๗ ให้เป็นธรรมยิ่งขึ้น เนื่องจากเห็นว่าเป็นการบัญญัติที่รุนแรงและไม่เป็นธรรมมากเกินไป


เพราะ ฉะนั้น การกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไป ตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้อาจควรจำกัดเฉพาะการกระทำที่เห็นได้ ชัดว่าไม่อยู่ในรัฐธรรมนูญเลย เช่น การรัฐประหาร ซึ่งก็น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่ง หากเกิดขึ้นจริงแล้วก็ไม่มีกฎหมายให้สิทธิประชาชนไปต่อต้านอยู่ดี มากกว่าการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญที่ไม่สุจริตเที่ยงธรรม เพราะเราจะรู้ได้อย่างไรว่า ในการเลือกตั้งครั้งไหนบ้างที่คนโกงจะถูกจับได้และจะมีคำพิพากษายุบพรรคการเมืองออกมาอีก


๓. ทรัพย์ที่ฉีกมีราคาเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น


คำ ถามประการเดียว ณ ที่นี้ คือ ศาลมีอำนาจพิจารณาด้วย หรือว่าถ้าทรัพย์มีราคาเล็กน้อยแล้วยกฟ้องได้ มีกฎหมายให้อำนาจศาลไว้ตรงนี้หรือไม่


ทั้งสามประเด็นที่หยิบยก ขึ้นมาพิจารณานั้น มิใช่มุ่งหมายร้องให้นำตัวจำเลยกลับมาลงโทษ ซึ่งจำเลยเองก็พร้อมจะยอมรับโทษทัณฑ์อันพึงมีหากศาลตัดสิน และผู้เขียนก็นับถือในความเป็นคนจริงของท่านยิ่งนัก


แต่แท้จริง ทั้งสามประเด็นนี้ล้วนมุ่งไปที่เหตุผลของศาลเองทั้งสิ้น เพราะพิจารณาแล้วเห็นว่า ศาลน่าจะเข้าใจเจตนารมณ์ของกฎหมายคลาดเคลื่อน เหตุผลบางประการไม่สมเหตุสมผล หรือเหตุผลที่ให้นั้นขาดกฎหมายรองรับ


จริงอยู่ที่คำพิพากษานี้ เป็นเพียงคำพิพากษาศาลชั้นต้น มิใช่คำพิพากษาศาลฎีกา ซึ่งจะเป็นบรรทัดฐานในวงการนิติศาสตร์ไทย

แต่ ไม่ว่าจะศาลชั้นไหนก็ไม่ควรมีข้อผิดพลาดเช่น นี้ เพราะในสังคมไทย ไม่ใช่ทุกคดีจะขึ้นสู่ศาลฎีกา มิเช่นนั้น ความยุติธรรมจะเกิดได้อย่างไร


น่า เสียดายที่ด้วยระยะเวลาอันจำกัด ผู้เขียนจึงไม่อาจค้นหาคำพิพากษาฉบับเต็มได้ และไม่สามารถค้นหาได้ว่า ในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา หรือการลงประชามติรับรองรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มีคนฉีกบัตรแล้วโดนลงโทษไปมากน้อยเท่าใด


ในบางครั้งตุลาการอาจ ได้รับคำแนะนำจากสังคมให้คำนึงถึง “ความเหมาะสม” “หลักรัฐศาสตร์” หรือ “ความเป็นธรรมเฉพาะคดี” บ้าง แต่ไม่ว่าอย่างไร หลักก็คือหลัก หน้าที่คือหน้าที่ โดยเฉพาะในยามนี้ที่บ้านเมืองวุ่นวายมิใช่เพราะทุกคนทิ้งหน้าที่ ทิ้งหลัก ปล่อยให้ตัวเองไปตามกระแสความรู้สึกอันเชี่ยวกรากมิใช่หรือ

เพราะ ฉะนั้น ตุลาการ ผู้ธำรงระบบกฎหมาย ซึ่งเป็นเสาค้ำจุนรัฐไทยอยู่ จึงยิ่งสมควรมั่นคงในหลักการแห่งวิชาชีพและวิชาการของตนมากยิ่งกว่าช่วงเวลา ไหน ๆ ในประวัติศาสตร์


มิเช่นนั้น อาจจะถึงเวลาที่เราต้องหยุดเรียกร้องหา “ความกล้าหาญ” ของนักนิติศาสตร์ไทยเสีย เพราะเมื่อความกล้าหาญถูกสำแดง มันกลับทำลายความน่าเชื่อถือแห่งวงการนิติศาตร์ไทยเอง