WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, November 11, 2010

ความรุนแรงในอาร์เมเนีย-ไทย: สาเหตุเดียวกัน จุดจบ(น่าจะ)เหมือนกัน

ที่มา ประชาไท

ชื่อบทความเดิม: ความรุนแรงในประเทศอาร์เมเนียและไทย: สาเหตุเดียวกัน เหตุการณ์แบบเดียวกัน ข้อสรุปก็น่าจะเหมือนกัน
ภาพการประท้วงที่กรุงเยเรวานต่อการคุมขังอย่างต่อเนื่องของผู้ที่ถูกจับกุมตัวเมื่อสองปีที่แล้ว
ประเทศ ประชาธิปไตยที่ไหนก็สามารถและ มักจะเกิดความผิดพลาดได้ อาร์เมเนียเป็นหนึ่งในประเทศเก่าแก่สุดในโลก ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ได้ถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต (USSR) และกลายเป็นหนึ่งในสาธารณรัฐโซเวียต ก่อนหน้านั้นก็เคยถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิออตโตมัน อาร์เมเนียมีประวัติซึ่งเป็นเต็มไปด้วยสงครามและการปกครองของชนชาติอื่น ซึ่งส่งผลให้เกิดการสังหารล้างเผ่าพันธุ์ระหว่างปี ค.ศ.1912-1922 โดยชาวเติร์ก และเป็นเหตุให้ชาวอาร์เมเนีย 1.5 ล้านคนเสียชีวิต และอีกครึ่งล้านหลบหนีไปสมทบกับผู้ที่เคยอพยพจากภัยพิบัติอื่นๆ ออกไปก่อนหน้านี้
ภาย หลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ประเทศอาร์เมเนียยุคใหม่มีสถานะเป็นประเทศเอกราชเมื่อปี 2534 และต้องเผชิญกับกับดักทุกชนิดตามแบบประเทศประชาธิปไตย ประธานาธิบดีคนแรกเป็นนักวิชาการที่ชื่อ Levon Ter-Petrossian เขาได้รับเลือกตั้งอีกครั้งในปี 2539 แต่ภายหลังเมื่อเลือกแนวทางตรงข้ามกับรัฐ เขาได้ลาออกเมื่อปี 2541 ในช่วงที่ประเทศเกิดสภาวะตีบตันทางการเมือง ในช่วงสิบปีต่อมา อาร์เมเนียเลือกเสถียรภาพมากกว่าเสรีภาพ แต่ก็เป็นเสถียรภาพที่ทำให้เกิดความชะงักงัน ระบอบทุนนิยมเติบโตขึ้นท่ามกลางความไม่เท่าเทียมด้านทรัพย์สิน และในขณะที่ความยากจนในชนบทยังดำเนินต่อไปเหมือนที่เคยเป็นมา เสถียรภาพเช่นนั้นจึงดำรงอยู่ได้ด้วยฉากหน้าจอมปลอมของประชาธิปไตย อย่างการมีประธานาธิบดีที่มาจากการเลือกตั้งและรัฐสภา รัฐธรรมนูญซึ่งคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ตรวจการรัฐสภา การให้สัตยาบันต่อสนธิสัญญาสิทธิมนุษยชนหลายฉบับขององค์การสหประชาชาติ มากยิ่งกว่าที่ประเทศไทยให้สัตยาบันเสียอีก1. แต่สถานการณ์จริงในประเทศนี้คล้ายคลึงอย่างยิ่งกับของไทย “ประชาธิปไตยหมายถึงการที่ประชาชนมีโอกาสแสดงออกอย่างเสรี การที่คุณห้ามไปเสียทุกอย่าง ห้ามคิด เรียกร้องให้พวกเขาคิดเหมือนที่คุณคิด แบบนั้นเรียกว่าเป็นระบอบเบ็ดเสร็จ”2. ในเมืองไทย มีการซื้อสิทธิขายเสียงในการเลือกตั้ง แต่ที่อาร์เมเนีย พวกเขาใช้วิธีปลอมแปลงคะแนน
ในเดือนกันยายน 2550 ประธานาธิบดีคนแรกคือนาย Leron Ter-Petrosian ได้ปรากฏตัวขึ้นมาอีกหลังจากหายหน้าไปนับสิบปี เขาออกมาพูดโจมตีการใช้อำนาจอย่างฉ้อฉล และประกาศจะลงรับสมัครเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีซึ่งจะมีขึ้น
ในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2551 การเลือกตั้งครั้งนั้นก็เต็มไปด้วยการทุจริตอีก ระบอบทหารซึ่งเลือกถือหางนาย Sersh Sarzoyan ก็หาทางทำให้เขาเป็นผู้ชนะในการเลือกตั้ง
ใน วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2551 ผู้ประท้วงหลายพันคนเริ่มรวมตัวที่จัตุรัสเสรีภาพ ซึ่งเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ใจกลางเมืองหลวง ณ ขณะนั้นมีสภาพเหมือนกับสิ่งที่เกิดขึ้นที่กรุงเทพฯ ในอีกสองปีต่อมา ในช่วงหลายวันต่อมา ประชาชนที่มาชุมนุมเพิ่มจำนวนเป็นหลายหมื่นคน จนถึงหลายแสนคน พวกเขาหลับนอนบนถนน กลับไปบ้านและก็กลับมายังที่ชุมนุมอีกด้วยจำนวนเพิ่มขึ้น พวกเขาตะโกนร้องว่า “เราชนะแล้ว” และไม่ยอมหยุดการชุมนุม เจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร และกลุ่มจัดตั้งลึกลับเริ่มคุกคามผู้ชุมนุม แน่นอนว่าการชุมนุมส่งผลให้การดำเนินชีวิตและการค้าขายต้องยุติลง อาร์เมเนียเป็นประเทศเล็ก มีประชากรเพียง 3.28 ล้านคน ส่วนที่เยเรวานมีประชากร 1.1 ล้านคน การมีผู้ชุมนุมประท้วงมากถึงแสนคนจึงนับเป็นเรื่องสำคัญ
ก่อน รุ่งสางวันที่ 1 มีนาคม ตำรวจเริ่มเข้าสลายการชุมนุม ในเวลาต่อมาตำรวจอ้างว่าการเคลื่อนกำลังพลเข้าไปครั้งแรกก็เพื่อตรวจสอบตาม ข่าวกรองที่ได้รับมาว่าผู้ชุมนุมมีอาวุธ ทั้งที่ในความเป็นจริงตำรวจได้เตรียมแผนสลายการชุมนุมไว้ก่อนนั้นแล้ว กำลังตำรวจได้รับการสนับสนุนจากหน่วยทหาร แม้ว่ารัฐธรรมนูญอาร์เมเนียจะห้ามใช้กำลังทหารต่อพลเมืองของตนเอง ในตอนค่ำมีผู้ถูกสังหาร 10 คน เป็นพลเรือนแปดคน ตำรวจสองคน และมีผู้ได้รับบาดเจ็บกว่า 200 รัฐบาลประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน และอ้างว่าที่ต้องใช้ความรุนแรงถึงขั้นชีวิตเพราะผู้ชุมนุมมีอาวุธ ตำรวจนายหนึ่งเสียชีวิตเพราะระเบิดขว้าง แต่จากการชันสูตรพลิกศพและจากการพิจารณาความรุนแรงของบาดแผล มีความเป็นไปได้ว่าเขาเสียชีวิตจากระเบิดที่นำมาเอง ไม่ใช่เป็นระเบิดที่ถูกขว้างจากผู้ประท้วง ตำรวจอีกนายหนึ่งถูกยิงเสียชีวิตจากจุดที่อยู่ห่างจากสถานที่ชุมนุมมาก และในช่วงนั้นเขาอยู่ในท่ามกลางวงล้อมของตำรวจด้วยกันเอง และดูเหมือนว่าจะมีเจ้าหน้าที่นอกแถวเป็นผู้สั่งการให้ยิงเอง
ใน ช่วงหลายวันต่อมา ประชาชนพยายามจะกลับมารวมตัวอีกครั้ง แต่เนื่องจากมีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน เจ้าหน้าที่จึงทำการจับกุมตัวบุคคลทั่วทั้งเมืองหลวง โดยเฉพาะนักการเมืองในฝ่ายค้าน นาย Leron Ter-Petrosian ถูกกักบริเวณในบ้าน ในวันที่ 8 มีนาคม ศาลรัฐธรรมนูญรับรองผลการเลือกตั้ง และมีการยกเลิกสถานการณ์ฉุกเฉินเมื่อวันที่ 21 มีนาคม สำหรับหน่วยงานต่าง ๆ ของอาร์เมเนีย พวกเขาเห็นด้วยกับการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเฉพาะในช่วงซึ่งมีพฤติการณ์แห่ง ความรุนแรงเท่านั้น
ประธานาธิบดี คนใหม่เข้ารับตำแหน่งใน วันที่ 9 เมษายน จากการปราบปรามในเดือนมีนาคมส่งผลให้มีนักโทษการเมือง 120 คน ในการไต่สวนของศาลซึ่งไม่มีการอนุญาตพยานที่เป็นพลเรือนเลย และศาลก็พึ่งแต่พยานหลักฐานจากตำรวจเพียงคนเดียว หรือแม้จะไม่มีพยานหลักฐาน ศาลก็ยังสั่งลงโทษ มีอยู่คดีหนึ่ง ตำรวจซึ่งเป็นประจักษ์พยานกล่าวว่า จำเลยเป็นบุคคลเดียวที่ไม่ได้ถือหินหรือไม้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเขาได้ขว้างสิ่งของเหล่านั้นใส่ตำรวจไปแล้ว รัฐบาลใช้ทรัพยากรต่าง ๆ เพื่อตามล่าผู้ประท้วงและครอบครัว มีการเรียกตรวจภาษีผู้ต้องสงสัย และไล่ออกจากงาน ทำให้ชาวบ้านเกิดความหวาดกลัวไม่ต้อนรับญาติของผู้ต้องขัง การเซ็นเซอร์ก็รุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ “ทุกวันนี้ในอาร์เมเนียมีเรื่องที่ต้องห้ามไม่ให้พูดคุยหลายเรื่อง”
อาร์เมเนียเป็นหนึ่งในสมาชิก 47 รัฐของสภายุโรป (Council of Europe) ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ตั้งแต่ชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกถึงแปซิฟิก คั่นตรงกลางด้วยเทือกเขาคอร์เคซัสซึ่งรายล้อมกรุงเยเรวาน สภายุโรปมีแผนการด้านสิทธิมนุษยชนที่เข้มแข็ง และเริ่มไต่สวนพฤติการณ์ของรัฐบาลอาร์เมเนียโดยทันที จากการกดดันของสภายุโรป ส่งผลให้รัฐบาลออกกฎหมายนิรโทษกรรมเพื่อปล่อยตัวนักโทษการเมืองเกือบทั้งหมด มีอยู่สองคนที่ได้รับการปล่อยตัวออกมาก่อนเพราะได้ร้องขออภัยโทษ จนถึงปัจจุบัน ยังมีผู้ถูกคุมขังอีก 15 คน พวกเขาปฏิเสธที่จะยอมรับความผิดที่ไม่ได้เป็นผู้ก่อ
แม้ จะมีระดับความรุนแรงที่แตกต่างกัน รวมทั้งความแตกต่างด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและที่ตั้งของทั้งสองประเทศ การก่อตัวของเหตุการณ์ในเดือนมีนาคม 2551 ในอาร์เมนีย และเมษายน-พฤษภาคม 2553 ในไทย มีความคล้ายคลึงกันมาก เมื่อเปรียบเทียบสาเหตุของทั้งสองเหตุการณ์ก็จะเห็นความคล้ายคลึงกันเช่นกัน ผู้ตรวจการรัฐสภาอาร์เมเนียสรุปว่า “ความ เหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ-สังคม การที่ประชาชนไม่ไว้วางใจหน่วยงานของรัฐ โดยเฉพาะศาล การขาดการตรวจสอบและสมดุลอำนาจระหว่างสาขาต่าง ๆ ของรัฐบาล การขาดการคุ้มครองสิทธิทางพลเรือนและสิทธิมนุษยชน และการเติบโตขึ้นของกลุ่มชนชั้นนำทางการเมืองและเศรษฐกิจกลุ่มเล็ก ๆ ที่ปกครองประเทศ ต่างเป็นสาเหตุสำคัญที่นำไปสู่ความไม่พอใจที่ขยายตัวมากขึ้น...”3. ถ้าจะมีรายงานไต่สวนกรณีของไทยก็คงมีถ้อยคำเริ่มต้นที่ไม่ต่างกันมากนัก แต่มีความแตกต่างที่สำคัญอย่างหนึ่งในกรณีของอาร์เมเนีย กล่าวคือบทบาทของสภายุโรปที่เข้ามาแทรกแซง ในขณะที่อาเซียนกลับแทบไม่ได้ส่งเสียงอะไรเลย ทั้ง ๆ ที่เป็นกลุ่มระดับภูมิภาคซึ่งไทยเป็นสมาชิก ที่ผ่านมามีการแสดงข้อกังวลจากเลขาธิการองค์การสหประชาชาติและจากประธานสภา สิทธิมนุษยชนแห่งองค์การสหประชาชาติ (UN Human Rights Council) แต่รัฐบาลไทยซึ่งตระหนักดีถึงความสามารถที่จะไม่รับผิดและความเพิกเฉยต่อ หลักศีลธรรม จึงไม่ได้สนใจการแทรกแซงเหล่านี้ ความแตกต่างด้านทัศนคติระหว่างประเทศทั้งสองก็มีอยู่บ้าง อาร์เมเนียอยู่รอดมาในช่วงหลายพันปีด้วยการยอมโอนอ่อนผ่อนปรน การประนีประนอมและการต่อต้าน โดยตระหนักดีถึงข้อจำกัดของตนเอง และทราบว่าข้อจำกัดเหล่านี้อาจเป็นข้อได้เปรียบในการขอความช่วยเหลือที่ต้อง การ แต่เมื่อถึงจุดที่จำเป็นต้องจัดให้มีการสอบสวนที่น่าเชื่อถือ ครอบคลุมและโปร่งใส รัฐบาลก็ตระหนักถึงการขาดประสบการณ์ของตนเอง และได้ร้องขอและได้รับความช่วยเหลือจากผู้ชำนาญการภายนอก เพื่อเข้ามากำหนดประเด็นของการสอบสวน แต่ในขณะเดียวกันประเทศไทยซึ่งมีสถานการณ์ไม่ต่างกันมากนัก กลับใช้ช่วงเวลาหกเดือนภายหลังการสังหารหมู่ไปกับการพูดตะกุกตะกัก ยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่าจะกำหนดประเด็นการสอบสวนอย่างไร มีเพียงการอ้างถึงการจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อความปรองดองในลักษณะที่ “พูดแล้วก็เลิกกันไป” รวมทั้งการเข้าไปแต่งโน่นทำนี่ในการสอบสวนครั้งต่าง ๆ และอื่น ๆ
ในขณะที่รัฐบาลอาร์เมเนียกลับกระตือรือร้นที่จะขอคำปรึกษาจากผู้ชำนาญการด้านขีปนศาสตร์ (ballistics) ทั้งในสหรัฐอเมริกา รัสเซีย และไอร์แลนด์ โดยไม่ได้อ้างว่าจะกระทบต่ออธิปไตยของตนแต่อย่างใด แม้ว่ารัฐบาลไทยจะยอมรับเป็นการส่วนตัวถึงความจำเป็นที่ต้องมีการปรึกษา หารือ แต่ก็พยายามแข็งขืนต่อต้านไม่ให้หน่วยงานภายนอกประเทศเข้ามามีส่วนร่วมในการ สอบสวน ทำราวกับจะส่งผลกระทบต่อพรมจรรย์ของประเทศ ในบทต่อไป จะว่าด้วยประสบการณ์ของคณะกรรมการไต่สวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นช่วงเดือน มีนาคม 2551 ที่อาร์เมเนีย ซึ่งจะเป็นบทเรียนที่มีคุณค่าถ้ารัฐบาลไทยสัญญาจะให้มีการไต่สวนแบบเดียวกัน ที่ผ่านมาคำสัญญาที่จะแสวงหาความยุติธรรมในอนาคต มักมีจุดประสงค์เพียงเบี่ยงเบนความสนใจ และปล่อยให้เวลาที่ผ่านไปทำลายอดีตไปด้วยตัวของมันเอง
คณะกรรมาธิการไต่สวนของอาร์เมเนีย
แหล่งข้อมูลสำคัญสุดเกี่ยวกับผลการทำงานของคณะกรรมาธิการไต่สวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเดือนมีนาคม ปี 2551 ที่อาร์เมเนีย ได้แก่ “ข้อ สังเกตที่มาจากบทสรุปของ” คณะกรรมาธิการชั่วคราวของรัฐสภาแห่งอาร์เมเนียที่ไต่สวนเหตุการณ์วันที่ 1 และ 2 มีนาคม 2551 และ “เหตุผลที่เกี่ยวเนื่อง””4. โดยข้อสังเกตดังกล่าวมีที่มาจาก “คณะกรรมการตรวจสอบการปฏิบัติตามพันธกิจของรัฐภาคีของสภายุโรป (Committee on the Honouring of Obligations and Commitments by Member States of the Council of Europe - Monitoring Committee) ซึ่งชื่อของคณะกรรมการชุดนี้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงความจริงจังด้านสิทธิ มนุษยชนของประชาคมในสภายุโรป โดยคำวิจารณ์มีพื้นฐานมาจากข้อมูลของรายงานของคณะกรรมการชั่วคราวของรัฐสภา เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2552 โดยรายงานฉบับแปลนั้นไม่ได้เป็นที่เผยแพร่โดยทั่วไป แต่ในหมายเหตุประกอบด้วยข้อสรุปโดยสังเขปและบทวิเคราะห์ของรายงาน ข้อมูลสำคัญอีกส่วนหนึ่งได้แก่ความเห็นของสมาชิกพรรคฝ่ายค้าน (Armenian National Congress) เกี่ยวกับการไต่สวนเหตุการณ์วันที่ 1 มีนาคม 2551 รวมทั้งเหตุผลที่เกี่ยวเนื่อง ผู้ประท้วงชาวอาร์เมเนียเป็นผู้มอบบันทึกความเห็นเหล่านี้ให้กับตัวผู้เขียน โดยตรง
ในช่วงที่เกิดเหตุการณ์เดือนมีนาคม ทางคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนของสภายุโรปได้บอกกับรัฐบาลอาร์เมเนียอย่างชัดเจนว่า “จะ ต้องจัดให้มีการไต่สวนอย่างครอบคลุม เป็นอิสระและโปร่งใส” โดยต้องเป็นข้อมูลที่ “น่าเชื่อถือสำหรับประชาชนทั้งมวลของอาร์เมเนีย” คณะกรรมการชั่วคราวของรัฐสภา ซึ่งก็มีสมาชิกพรรคฝ่ายค้านอยู่ด้วย แต่ส่วนใหญ่จะมาจากพรรคของรัฐบาล เป็นคณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐสภา แต่กลุ่มจากพรรคฝ่ายค้านหลักอันได้แก่พรรค Armenian National Congress ซึ่งสนับสนุนนาย Leron Ter-Petrosian ได้คว่ำบาตรไม่ยอมเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของคณะกรรมการชั่วคราวชุดนี้ นับแต่เริ่มต้น พวกเขาเรียกร้องให้มีตัวแทนเท่า ๆ กันระหว่างภาครัฐกับฝ่ายค้าน รวมทั้งให้มีสัดส่วนของผู้ชำนาญการจากระหว่างประเทศด้วย เพื่อให้เกิดความสมดุล สภายุโรปได้มีข้อเสนอแนะว่า ให้มีการแต่งตั้งกลุ่มผู้ชำนาญการอิสระซึ่งมีชื่อว่า กลุ่มแสวงหาความจริง (Fact Finding Group - FFG) ซึ่งมีหน้าที่อย่างชัดเจนที่จะแสวงหาความจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ในวันที่ 1 และ 2 มีนาคม คณะ กรรมการชุดนี้มีตัวแทนจากรัฐบาลและฝ่ายค้านอย่างละสองคน และมีสมาชิกหนึ่งคนเป็นผู้ตรวจการรัฐสภาด้านสิทธิมนุษยชน คณะกรรมการชั่วคราวของรัฐสภาก็เขียนข้อสรุปโดยอ้างอิงข้อเท็จจริงที่เกิดจาก คณะกรรมการแสวงหาความจริงชุดนี้
กิจกรรม ของกลุ่มแสวงหาความจริงนับว่า น่าสนใจมากสุด ในช่วงเจ็ดเดือน (พฤศจิกายน 2551-พฤษภาคม 2552) พวกเขาได้ส่งจดหมาย 160 ฉบับเพื่อขอข้อมูลจากหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์เดือนมีนาคม มีการสอบปากคำเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจ 70 นาย พยานหลักฐานที่กลุ่มแสวงหาความจริงได้รับประกอบด้วยการบันทึกวีดิโอการสอบ ปากคำเป็นความยาว 80 ชั่วโมง วีดิโอความยาวกว่า 100 ชั่วโมงซึ่งเป็นการบันทึกของประจักษ์พยาน และเอกสารที่เป็นคำถามและคำตอบของเจ้าหน้าที่หนา 2,600 หน้า
อย่าง ไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ระดับสูงปฏิเสธที่จะมาให้การ กระทรวงกลาโหมปฏิเสธที่จะตอบคำถามเกี่ยวกับหน่วยทหารที่เข้าร่วมปฏิบัติการ หน่วยความมั่นคงแห่งชาติ (National Security Service) ปฏิเสธไม่ยอมให้คณะกรรมการเข้าถึงวีดิโอที่บันทึกไว้ในวันที่ 1 มีนาคม ตำรวจหน่วยแม่นปืนไม่ยอมให้สัมภาษณ์ รวมทั้งกลุ่มแสวงหาความจริงยังไม่สามารถเข้าถึงรายงานการวิเคราะห์การใช้ อาวุธของตำรวจได้ คำปฏิเสธและอุปสรรคต่าง ๆ ทำให้การสอบสวนไม่สามารถกระทำได้อย่างรอบด้าน ทั้งไม่มีความโปร่งใส ตัวแทนรัฐบาลสองคนได้ลาออก ในขณะที่ตัวแทนพรรคฝ่ายค้านยังคงเดินหน้าสอบสวนต่อไป ต่อมามีการออกพระราชกฤษฎีกาโดยประธานาธิบดีให้ยุบกลุ่มแสวงหาความจริงนี้ เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน คณะกรรมการชั่วคราวของรัฐสภาจึงสามารถใช้ข้อมูลเพียงบางส่วนจากการสอบสวนของ กลุ่มแสวงหาความจริง รวมทั้งข้อมูลจากแถลงการณ์และประกาศของรัฐบาลในช่วงก่อนและหลังเหตุการณ์ เดือนมีนาคม
กล่าวโดยสรุป รายงานขั้นสุดท้ายของรัฐสภายืนยันว่า ปฏิบัติการของตำรวจสอดคล้องกับตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยแม้จะแก้เกี้ยวว่า “ตำรวจ ขาดความเป็นมืออาชีพและทักษะในเชิงจัดตั้ง” แต่ก็ประณามผู้จัดการประท้วงซึ่งต่อต้านตำรวจ โดยกล่าวหาว่าไม่ยอมป้องกันความรุนแรง มีการระบุว่า “มีการใช้ความรุนแรงที่ไม่อาจยอมรับได้ต่อตำรวจ” และตัดสินว่าการปฏิบัติของตำรวจ “โดยรวมแล้วชอบด้วยกฎหมายและมีสัดส่วนเหมาะสม” ในขณะที่หน่วยงานของรัฐอ้างเช่นนี้ แต่คณะกรรมการก็มีข้อสรุปยอมรับว่ามีการใช้พลซุ่มยิงของตำรวจ แต่ก็น่าจะเป็นการยิงขึ้นท้องฟ้า! ในรายงานแทบไม่ได้ให้ความใส่ใจต่อข้อค้นพบของกลุ่มแสวงหาความจริงเลย จากการเสียชีวิตสองในห้าด้วยอาการบาดเจ็บจากกระสุนปืน คณะกรรมการไม่มีสามารถนำปลอกกระสุนมาเป็นหลักฐานได้ สำหรับผู้เสียชีวิตอีกสามคนจากกระสุนที่มาจากอาวุธที่ใช้เป็นปรกติของตำรวจ แต่คณะกรรมการกลับบอกว่าไม่สามารถค้นหาแหล่งที่มาของอาวุธเหล่านี้ได้
การปฏิเสธไม่ยอมระบุถึงความผิดของผู้นำรัฐบาล ตำรวจหรือทหาร เป็นสิ่งที่คาดหมายกัน “มัน ก็ต้องเป็นแบบนี้แหละ” อย่างไรก็ตาม ในข้อเสนอแนะของรายงานเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดโศกนาฏกรรมเช่นนี้ คณะกรรมการชั่วคราวได้เปิดเผยโฉมหน้าและสิ่งที่พวกเขาทำ และรู้ว่าควรจะประณามใคร คณะกรรมการวิจารณ์อย่างหนักต่อความผิดพลาดของตำรวจในการไต่สวนความตายของ ทั้งสิบคน แต่สุดท้ายก็มีบทสรุปยอมรับว่า ทางอัยการสูงสุดได้ปฏิบัติหน้าที่ในการไต่สวนอย่างถูกต้องและเป็นมืออาชีพ แล้ว
มีข้อ เสนอแนะหลายประการเกี่ยวกับความ จำเป็นที่จะต้องปฏิรูปกำลังตำรวจ โดยการขอให้รัฐบาลทบทวนการปฏิบัติตามกฎหมายของตำรวจ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการว่าด้วยการใช้กำลังและอาวุธปืนขององค์การสหประชา ชาติ “ชุดของข้อเสนอแนะที่ครอบคลุม แสดงให้เห็นว่า คณะกรรมการได้ทำการวิเคราะห์เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 และ 2 มีนาคม 2551 อย่างลึกซึ้ง มากกว่าเนื้อหาส่วนอื่นของรายงาน ความเห็นแย้งเช่นนี้ ประกอบกับการเน้นย้ำบางประเด็นหรือหลีกเลี่ยงบางประเด็น แสดงให้เห็นว่าคณะกรรมการพยายามหลีกเลี่ยงการวิจารณ์คำอธิบายถึงเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นของรัฐ และไม่ยอมวิพากษ์วิจารณ์หน่วยงานของรัฐอย่างรุนแรง “การเซ็นเซอร์ตัวเอง” เช่นนี้ เป็นเรื่องน่าเสียใจ และทำลายความน่าเชื่อถือของกระบวนการไต่สวนโดยรวม 5.
ข้อ บกพร่องอีกประการหนึ่งของรายงาน คือการไม่วิเคราะห์ถึงเหตุการณ์ก่อนหน้าที่นำไปสู่การประท้วงในเดือนมีนาคม อย่างเช่น การจับกุมและฟ้องร้องคดีผู้สนับสนุนของฝ่ายค้านจำนวนมาก
กลุ่ม ฝ่ายค้านได้คว่ำบาตรคณะกรรมการ ชั่วคราวที่ถูกครอบงำโดยสมาชิกที่มาจากรัฐเป็นส่วนใหญ่ และได้เข้าร่วมงานกับกลุ่มแสวงหาความจริง แต่ก็โทษการขัดขวางของรัฐบาลอันเป็นเหตุนำไปสู่การยุบกลุ่มดังกล่าวในที่สุด มีการกล่าวหาว่าเจ้าหน้าที่ปั้นแต่งข้อมูลจากการสอบสวนการเสียชีวิตของเจ้า หน้าที่ตำรวจสองคน เพื่อชี้นิ้วกล่าวหาว่าผู้ประท้วงเป็นคนทำ คณะกรรมาธิการยังปฏิเสธไม่กล่าวถึงการโกงเลือกตั้งที่เกิดขึ้นอย่างกว้าง ขวางในช่วงการเลือกตั้งประธานาธิบดี อันเป็นชนวนเหตุให้เกิดการประท้วงอย่างสันติและมีการจัดการเป็นอย่างดี รวมทั้งการที่ตำรวจเข้ามาทำลายเครื่องเสียงก็เพื่อจะทำให้การประท้วงอยู่ใน สภาพสับสนและไร้การนำ การปล้นสะดมและการเผารถที่เกิดขึ้นในเวลาต่อมาก็ ถูกอ้างว่าเป็นผลงานของผู้ประท้วง โดยไม่มีการไต่สวนว่ากลุ่มที่ปล้นสะดมเกี่ยวข้องกับกลุ่มผู้ประท้วงอย่างไร ทางกลุ่มแสวงหาความจริงได้ค้นพบบันทึกวีดิโอที่เป็นภาพการเผารถและการปล้น สะดม ซึ่งเกิดขึ้นต่อหน้าต่อตาตำรวจที่พากันยืนเฉย ๆ และไม่ได้เข้าไปแทรกแซงอะไร กลุ่มผู้ประท้วงจึงเห็นว่าการสอบสวนที่เกิดขึ้นไม่เป็นกลางและไม่น่าเชื่อ ถือ และเห็นว่าการสอบสวนต้องทำโดยคณะกรรมการที่มีตัวแทนอย่างเท่าเทียมระหว่าง รัฐบาลกับฝ่ายค้าน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งควรมีผู้ชำนาญการระหว่างประเทศเข้าร่วมด้วย
เหตุการณ์ในประเทศไทย
ความ คล้ายคลึงของประสบการณ์ที่ประเทศ อาร์เมเนียกับไทยเป็นเรื่องน่าประหลาดใจ ยังไม่รวมถึงบทบาทของอดีตผู้นำประเทศทั้งสองคนซึ่งต่างก็มีความเป็นมาที่ทำ ให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ แน่นอนว่าย่อมมีความแตกต่างอยู่บ้าง การประท้วงที่กรุงเยเรวานมีลักษณะทางวัฒนธรรมแตกต่างมากจากการประท้วงในไทย แต่ถึงจะมีความแตกต่างทางวัฒนธรรมเช่นนั้น องค์ประกอบพื้นฐานหลายประการก็เหมือนกัน กล่าวคือ การที่ประชาชนชั้นล่างรวมตัวกันเพื่อคุ้มครองผู้นำซึ่งถึงแม้จะมีความผิด พลาดอยู่บ้าง แต่ก็แสดงถึงภาวะผู้นำที่เหนือกว่าระบอบปกครองที่ไม่น่าสนับสนุนเช่นนี้ ความอึดอัดคับข้องใจนำไปสู่การกระทำที่เกินขอบเขตไปบ้าง และเป็นเหตุให้รัฐบาลใช้เป็นเหตุผลเพื่อสนับสนุนการใช้ความรุนแรงในการปราบ ปราม ในทั้งสองประเทศฝ่ายรัฐได้กล่าวหาว่าผู้ชุมนุมมีอาวุธ ทั้ง ๆ ที่ไม่มีหลักฐานที่แท้จริงมาสนับสนุน แต่ก็ถูกใช้เป็นเหตุผลเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับการใช้อาวุธเข้าปราบปราม ทั้งสองเหตุการณ์นำไปสู่การสูญเสียชีวิตและการบาดเจ็บ ซึ่งคงเป็นสิ่งที่ไม่มีคำอธิบายใด ๆ ทั้งนี้เพราะไม่มีการเก็บรวบรวมพยานหลักฐานทางนิติเวชก่อนที่จะปล่อยให้เจ้า หน้าที่เข้ามาทำความสะอาดและเคลื่อนย้ายศพออกไป ในโอกาสต่อไปคงมีการออกรายงานปัดความรับผิดชอบในไทย เช่นเดียวกับกรณีของอาร์เมเนีย ซึ่งเป็นผลมาจากการควบคุมการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารอย่างเบ็ดเสร็จของรัฐ ความหวังอันเรือนลางเท่าที่มีอยู่ในตอนนี้ ไม่ได้ช่วยทำให้มั่นใจเลยว่า จะเกิดการปฏิรูปโครงสร้างของรัฐบาลอย่างแท้จริง
รัฐบาล ชุดปัจจุบันของไทยมีอำนาจอย่าง จำกัด ทั้งดูเหมือนจะไม่ตระหนักถึงความรุนแรงของการบาดเจ็บและเสียชีวิตที่เกิดจาก คำสั่งการของตน รัฐบาลยังคงทำทุกอย่างเพื่อให้อยู่รอดโดยการโป้ปดและโฆษณาชวนเชื่อ เอาแต่พร่ำพูดถึงสิ่งที่ไม่ใช่สาระอย่างแท้จริง ปัญหาอยู่ที่การไม่มีมาตรฐานสิทธิมนุษยชนที่จะทำให้สามารถปฏิเสธความจริงแบบ ครึ่ง ๆ กลาง ๆ ได้อย่างเต็มที่ รวมทั้งยังมีความพยายามที่จะไม่ตอบคำถามใด ๆ คณะกรรมการไต่สวนความจริงของไทยจำเป็นจะต้องขอให้ต่างประเทศเข้ามามีส่วน ร่วม โดยอาจเป็นไปได้ว่าจะมาจากในแวดวงอาเซียน หรือจนกระทั่งหน่วยงานระหว่างประเทศอื่น ๆ ที่มีความเชี่ยวชาญด้านความขัดแย้ง และมีทักษะเฉพาะในการสอบสวนและด้านนิติเวช การสอบสวนต้องดำเนินไปโดยให้สื่อมวลชนที่เป็นอิสระอย่างแท้จริงสามารถตรวจ สอบได้ และเป็นที่พอใจสำหรับประชาชนคนไทย และประชาชนต้องมีเสรีภาพที่จะพิจารณาและวิพากษ์วิจารณ์ผลการสอบสวนที่เกิด ขึ้น ในปัจจุบัน การที่ยังคงประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินและการเซ็นเซอร์สื่อมวลชนอิสระอย่างกว้าง ขวาง ทำให้การพูดคุยอย่างเป็นอิสระไม่อาจเกิดขึ้นได้
ไทย เป็นประเทศซึ่งมีความวุ่นวายมากสุด ในเอเชีย เรามีการปฏิวัติรัฐประหารมากกว่าประเทศใด ๆ ในขณะที่รัฐบาลพลเรือนก็มีพัฒนาการน้อยกว่าประเทศอื่น รัฐบาลปัจจุบันต้องพึ่งพาพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ซึ่งผ่านเป็นกฎหมายในสมัยรัฐบาลที่มาจากการแต่งตั้งของทหาร และยังกำหนดให้ทหารเป็นหน่วยงานบัญชาการอย่างถาวร หรือกลายเป็นภัยคุกคามถาวรได้ ประกอบกับการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินซึ่งลิดรอนสิทธิทางพลเรือนเป็นส่วนใหญ่ ส่วนนายกรัฐมนตรีก็ต้องหาที่พึ่งภายในค่ายทหาร สถานการณ์เช่นนี้ไม่อาจดำเนินต่อไปได้ ไม่เช่นนั้น จะทำให้เกิดความล่มสลาย แม้ว่าความล่มสลายเช่นนั้นอาจล่าช้าไปบ้าง เนื่องจากมาตรการควบคุมอย่างเบ็ดเสร็จที่มีอยู่ในปัจจุบัน และน่าจะมีเพิ่มขึ้นอีก รัฐบาลเอาแต่โหมโฆษณาถึงสัญญาณการกลับคืนสู่ภาวะปรกติที่ไม่เป็นจริง จัดงานท่องเที่ยวและซื้อข้าวของตามท้องถนน ในขณะที่สื่อมวลชนให้ความสำคัญกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่กรุงเทพฯ แต่ปัญหาสำคัญที่ท้าทายนิสัยการแก้ปัญหาแบบไทย ๆ ยังคงดำเนินต่อไปในภาคใต้ รัฐบาลเริ่มยอมอ่อนข้อบ้าง และประกาศจะปล่อยตัวนักโทษการเมือง แต่ในขณะเดียวกันก็ยังต้องพึ่งพาความช่วยเหลือจากทหารและการปราบปรามด้วย ความรุนแรง การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินและมาตรการที่คล้ายคลึงกัน รวมทั้งมาตรการด้านกฎหมายที่ถูกใช้เพื่อควบคุมประชาชน การปกครองโดยพลเรือนในไทยประสบความล้มเหลว การขยายเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งหมายถึงการมอบอำนาจให้ทหารปกครองประเทศ เป็นสัญญาณแห่งความถดถอย มีการใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและกฎหมายเซ็นเซอร์ที่ให้อำนาจรัฐ อย่างกว้างขวาง ทั้งนี้เพื่อความพยายามควบคุมความคิดของสังคม ทั้ง ๆ ที่มาตรการที่ประสบความล้มเหลว เรากำลังไปทางไหนกัน เราควรพิจารณาพัฒนาการที่เกิดขึ้นในประเทศแฝดอย่างสาธารณรัฐอาร์เมเนียอย่าง ตั้งใจ และพยายามศึกษาถึงความล้มเหลวในการสอบสวนการปราบปรามอย่างรุนแรงที่เกิดขึ้น การสอบสวนอย่างจริงใจเท่านั้นจะเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลง และจะเป็นพื้นฐานของการปฏิรูปที่กล่าวอ้าง
เชิงอรรถ
1.ประเทศ ที่มีสถิติสิทธิมนุษยชนเลวร้ายมักเลือกที่จะให้สัตยาบันต่อสนธิสัญญาในอัตรา ที่สูงกว่าประเทศซึ่งมีสถิติดีกว่า” .” Professor Oona Hathaway, Gerard C. and Bernice Latrobe Smith Professor of International Law at the Yale Law School. Yale Law Journal, Vol. 111, 2002
Boston Univ. School of Law Working Paper No. 02-03
2. Anahit Karikosyan นักร้องชาวอาร์เมเนียผู้มีชื่อเสียงระดับโลก
3. ความ เห็นของพรรคฝ่ายค้าน Armenian National Congress ที่มีต่อการไต่สวนเหตุการณ์วันที่ 1 มีนาคม 2551 และพฤติการณ์การเสียชีวิตของประชาชน 10 คน และเป็นข้อมูลที่อยู่ในข้อสรุปของคณะกรรมาธิการชั่วคราวของรัฐสภาแห่งอาร์เม เนียที่ไต่สวนเหตุการณ์วันที่ 1 และ 2 มีนาคม 2551 และ “เหตุผลที่เกี่ยวเนื่อง” บทที่ 9 โปรดดูเชิงอรรถที่ 4
4. Co-rapporteurs John Prescott and George Colombier
Comments of the Armenian National Congress on the investigation into 1 March 2008 events and circumstances of 10 deaths and Information note on the conclusions of the Ad Hoc Commission of the National Assembly of Armenia on the events of 1 and 2 March 2008 and “the reasons thereof”.
Council of Europe, amondoc38r2_2009
5. Colombier and Prescott, op. cit., Section 41