ที่มา Thai E-News
พอมาถึงตอนนี้ที่เราได้รัฐบาลใหม่มาปีกว่าๆ ผมไม่คิดเหี้ยอะไรเลยนะเกี่ยวกับอนาคตประเทศ โอเคแม่งมีแหละภาพประเทศแบบที่เราหวัง แต่ผมว่าผมแม่งคงฝันเปียก เป็นประเทศอื่นฝ่ายประชาชนฝ่ายประชาธิปไตยแม่งชนะเลือกตั้งถล่มทลายแบบนี้ แม่งประเทศคงเปลี่ยนฉิบหายเลยนะ กฏหมงกฏหมายอะไรที่แม่งไม่เป็นประชาธิปไตย รัฐธรรมนูญใต้อุ้งตีนทหารแม่งคงโดนเปลี่ยนหมด เพราะถือว่าอำนาจอยู่ในมือประชาชน แต่พอเป็นเมืองไทย ทุกอย่างแม่งนิ่งสนิท ไม่รู้ติดเหี้ยอะไร..?-น้าปรวยฯ
โดยทีมข่าวไทยอีนิวส์
19 ตุลาคม 2555
หมายเหตุไทยอีนิวส์:เราได้สัมภาษณ์ผู้ลี้ภัยการเมืองคดีมาตรา 112 ไปยังต่างประเทศ 3 รายคือคุณเล็ก-จรรยา ยิ้มประเสริฐ นักกิจกรรมด้านแรงงาน , น้าปรวย ซ้อลตี้เฮด นักสร้างภาพยนตร์โฆษณา และคุณสมชาย(นามสมมุติ)นักกิจกรรมการเมือง ทั้งสามเลือกหนทางลี้ภัยไปสู่เสรีภาพ ไม่ยอมสยบตกเป็นเหยื่อมาตรา112 และัชีวิตของพวกเขาเป็นอย่างไรหลังจากตัดสินใจแบบนั้น มากกว่านั้นคือเขามองเข้ามาในประเทศนี้อย่างไร...
คุณได้ลี้ภัยการเมืองออกไปนอกราชอาณาจักรเมื่อใด และจากเหตุการณ์ใด
เล็ก จรรยา ยิ้มประเสริฐ
จรรยา: เราออกเดินทางเมื่อ 24 เมษายน 2553 เพื่อมานำเสนอปัญหาแรงงานเก็บเบอร์รี่และนำข้อเรียกร้องของคนงานมานำเสนอต่อ รัฐบาลสวีเดน ฟินแลนด์ และไปพูดคุยปัญหาการค้าแรงงานไทยที่โปร์แลนด์ กับองค์กรแรงงานที่นั่น แต่เหตุการณ์การปราบปรามคนเสื้อแดงเมื่อเดือนพฤษภาคมที่รุนแรงและป่าเถื่อน ทำให้เราคิดว่า มันคงเลี่ยงที่ไม่พูดตรงๆ ถึงสถาบันกษัตริย์กับการเมืองไทยไม่ได้ และช่วงนั้นคดีมาตรา 112 ก็รุนแรงมากขึ้น ทำให้ตัดสินใจอยู่ที่ต่างประเทศเพื่อทำงานการเมืองไทยโดยไม่ต้องเซ็นเซอร์ และโดยไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับมาตรา 112
ปรวย: มันเป็นเหตุการณ์ต่อเนื่องหลังจากการสลายการชุมนุมที่ราชประสงค์ ปลายเดือนพฤษภาปีเดียวกันนั่นเอง เจ้าหน้าที่ DSI ก็เข้าจับกุมตัวผมไปสอบสวนในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ โดยพยายามถามผมถึงความเกี่ยวโยงกับคนเสื้อแดง มีขนาดถามน้องสาวผมว่าผมมีเสื้อแดงมั้ย (ฮา) ภายหลังจากถูกจับกุมผมมาคิดได้ทีหลังว่า ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะช่วงนั่นกระแส ผังล้มเจ้า กำลังมาแรง เจ้าหน้าที่ที่มาจับกุมผม เลยถามประหนึ่งว่าผมเป็นหนึ่งในขบวนการ แม้เขาจะบอกว่าเขาติดตามผมมานานแล้ว
สมชาย (ชื่อสมมุติ): ผมเดินทางออกจากประเทศไทยตั้งแต่ปลายปี 2553 เนื่องจากถูกดำเนินคดีตามมาตรา 112 และมาตราอื่น
ทำไมคุณไม่อยู่ต่อสู้คดีในประเทศไทย(รวมทั้งว่าในเวลานี้พรรคการเมืองแบบ เพื่อไทยได้เป็นรัฐบาลแล้ว ประเทศเป็นประชาธิปไตยแล้วทำไมไม่กลับมาสู้คดี?)
น้าปรวย ซ้อลตี้เฮด
ปรวย: ถ้าตอบสั้นๆ ก็ต้องถามกลับไปว่า มีใครสู้กับคดีนี้ได้เหรอ ?! ส่วนมากปลายทางคดีนี้ถ้าถูกคุมขังก็ต้องโดนบีบให้รับสารภาพ ประมาณว่า “กราบร้องขอเมตตาจากฉันซิแล้วฉันจะให้อภัย” ซึ่งคงเป็นสิ่งที่รับไม่ได้ หรือถ้าเขาเมตตาไม่เอาไปคุมขัง ก็คงหมดอิสระที่จะพูดจาในสิ่งที่เราคิดได้อยู่ดี ถ้าเลือกว่าอิสระเสรีภาพ เป็นสิ่งสำคัญสูงสุดในชีวิต การเลือกอยู่ในประเทศในขณะที่โดนคดีหมิ่นฯก็ไม่ใช่คำตอบสำหรับผม
สมชาย (นามสมมุติ)
สมชาย : ตอนที่ผมเดินทางออกจากประเทศไทยยังเป็นช่วงรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์อยู่ อย่างไรก็ตามผมคิดว่าไม่ว่าภายใต้รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์หรือรัฐบาลพรรค เพื่อไทย การต่อสู้คดี 112 และมาตราอื่นที่เกี่ยวข้องกับสถาบันกษัตริย์มีโอกาสชนะน้อยมาก ยกเว้นแต่กรณีที่ผู้ถูกดำเนินคดีจะ "แสดงตัว" ชัดเจนว่าเป็น royalist และการ "แสดงตัว" ที่สำคัญสำหรับกรณีนี้ก็คือการมีส่วนร่วมกับขบวนการทางการเมืองที่อิงอยู่ กับสถาบันกษัตริย์ ซึ่งผมไม่ได้เข้าข่ายกรณียกเว้นอันนั้น
และผมไม่คิดว่าการที่พรรคเพื่อไทยได้ เป็นรัฐบาลไม่ได้หมายความว่าประเทศไทยจะกลายเป็นสังคมประชาธิปไตย เพราะในสังคมที่เป็นประชาธิปไตยจริงๆจะต้องไม่มีกฎหมายเผด็จการอย่างเช่น ม.112 และพรรคเพื่อไทยเอง หรือหากจะให้ชัดเจนขึ้นก็ต้องมองย้อนไปถึงสมัยเป็นพรรคพลังประชาชนและพรรค ไทยรักไทย ก็จะเห็นได้ว่าไม่ได้สนใจหรือมองว่าเรื่องนี้เป็นปัญหา หรือในบางครั้งอาจจะแสดงจุดยืนที่ออกไปในทิศทางตรงข้ามด้วยซ้ำไป
รูปธรรมอีกอย่างที่อาจจะทำให้เห็นจุดยืนของ พรรคเพื่อไทยต่อเรื่องนี้ชัดเจนขึ้นก็คือ แม้แต่นักการเมืองในพรรคเพื่อไทยเองที่สนใจ/กล้าแตะกล้าพูดเรื่อง ม.112 และสถาบันกษัตริย์ (ซึ่งก็มีอยู่ไม่มาก) ก็ดูเหมือนจะถูกลดบทบาทหรือไม่ได้รับการสนับสนุนจากพรรคเท่าที่ควร
จรรยา: มาตรา 112 ยังไม่ถูกยกเลิก ก็เท่ากับความเสี่ยงที่จะต้องเจอกับกฎหมายเถื่อนนี้ยังอยู่ และจากบทเรียนที่เห็นๆ กัน คนโดนมาตรานี้ต้องเผชิญความวุ่นวายกันทุกคน และถ้าถูกจับเข้าคุกแล้ว โอกาสได้รับการประกันตัวสู้คดีไม่มีเลย จะออกจากคุกได้ก็มีแค่ติดคุกตามจำนวนคำตัดสิน ตาย หรือรับผิดเพื่อขอพระราชทานอภัยโทษ ซึ่งเราคิดว่ามันรุนแรงมากและขัดกับกติกากฎหมายสากลในทุกระบบ
การใช้ชีวิตอยู่เมืองนอกและนำเสนอปัญหาเมือง ไทยอย่างต่อเนื่องน่าจะเป็นประโยชน์กว่าการกลับไทยและต้องวิตกกังวลเรื่อง คดี เรื่องคุกด้วยมาตรา 112 จนอาจจะไม่สามารถทำงานได้อย่างอิสระเช่นที่ทำอยู่ตอนนี้
สถานะทางคดีที่คุณพอจะเปิดเผยได้ และสถานะผู้ลี้ภัยที่คุณเผชิญอยู่ในเวลานี้
สมชาย: มีคดีหนึ่งที่ยุติไปแล้ว แต่เท่าที่ทราบผมยังมีคดีอื่นด้วย และคิดว่าอาจจะมีคดีที่ยังไม่ทราบด้วย
ผมได้ทำเรื่องขอลี้ภัยต่อ UNHCR ไปตั้งแต่ช่วงแรกๆที่ออกมาจากประเทศไทย ตอนนี้ก็เป็นช่วงรอทาง UNHCR พิจารณา ซึ่งเท่าที่ทราบจะใช้เวลาค่อยข้างนาน (หลายปี) ที่ผ่านมาเขาสัมภาษณ์ผมไปแล้ว 2 ครั้ง
สถานะของผมตอนนี้ก็คือผู้แสวงหาที่ลี้ภัย ซึ่งก็คือยังไม่ได้เป็นผู้ลี้ภัย สิทธิหลายๆอย่างจึงไม่เท่ากับคนที่ได้รับสถานะผู้ลี้ภัยไปแล้ว
สิทธิที่สำคัญตอนนี้ก็คือผมสามารถพักอยู่ ที่นี่ได้แม้จะหมดวีซ่าไปแล้ว และจะไม่ถูกส่งกลับประเทศไทย ไม่ว่าจากเรื่องวีซ่าหมดอายุหรือจากคดีการเมืองในประเทศไทย
ปรวย: ไม่ทราบเลย ตอนแรกว่าจะให้ทนายไปติดตามความคืบหน้าคดีนี้ แต่ตอนหลังก็ไม่ได้สนใจ เพราะว่าตัวเราเองก็ไม่ยอมรับกับกฏหมายข้อนี้ อันนี้ไม่เฉพาะตัวเรา หลายองค์กรที่ทำงานเรื่องสิทธิมุนษยชนก็บอกแล้วว่า กฏหมายหมิ่นฯ ขัดกับหลักสิทธินุษยชน จริงๆ ไม่ต้องอ้างหลักอะไรเลย แค่คอมมอนเซ้นส์มนุษย์ธรรมดาๆ ก็น่าจะพูดได้ว่า กฏหมายบ้าอะไร แค่พูดจาหมิ่นประมาทหมายถึงถ้าพูดหมิ่นจริงๆ จะติดคุกตั้งสิบยี่สิบปี ดูกรณีอางกงเป็นตัวอย่าง เอาปลายเส้นผมคิดก็น่าจะคิดออก ถ้าคิดไม่ออกผมว่าคนๆนั้น ต่อมความยุติธรรมบกพร่องแล้วล่ะ
จรรยา: แม้จะถูกขู่ฟ้องว่าจะดำเนินคดีม. 112 กับจรรยา แต่เท่าที่ทราบตอนนี้ ยังไม่มีคดีความใดๆ ซึ่งเราก็ได้ประกาศตลอดมาว่า ปฏิเสธความชอบธรรมของกฎหมายมาตรา 112 เพราะมันเป็นกฎหมายรัฐประหาร ที่ป่าเถื่อน หลงยุคหลงสมัย ขัดกับหลักการสิทธิมนุษยชนและหลักนิติธรรมสากล และจะต้องถูกยกเลิก
การตัดสินใจอยู่ที่ฟินแลนด์ ่ไม่ได้อยู่ในฐานะผู้ลี้ภัยทางการเมือง และก็ขอวีซ่าอยู่ในประเทศฟินแลนด์ในฐานะพลเมืองโลกคนหนึ่งตามปกติ ไม่ได้ใช้สิทธิพิเศษอะไรทั้งนั้น
คุณต้องเผชิญหน้ากับอะไรบ้าง ทั้งด้านหลังที่คุณต้่องหนีมา(การงาน ครอบครัว ทรัพย์สินฯลฯ) สถานการณ์ที่เผชิญอยู่ในเวลานี้ (ชีวิต ความเป็นอยู่ การงาน การดำรงชีพ การเงิน สถานะทางสังคม ความปลอดภัย) และอนาคตข้างหน้า(คุณได้สิทธิเป็นผู้พำนักในประเทศปลายทางในฐานะผู้ลี้ภัย หรือยัง และมีปัญหาอะไรบ้าง และคุณคาดหวังอย่างไร)
ปรวย: เยอะล่ะ ตอบง่ายๆว่า ฉิบหาย หมดทั้งชีวิตแหละ เหลือแต่อิสระภาพในการไปไหนมาไหน ในการพูดจาอย่างที่คิดได้ นอกนั้นฉิบหายหมด คือมนุษย์เราปกตินี่เวลาเราดำเนินชีวิต เราก็คิดว่าเราวางแผนชีวิตได้ในระดับหนึ่ง ทำงานหนักเท่านี้ จะซื้อบ้านแบบนี้ ผ่อนเท่านี้ แล้วเราก็จะมีชีวิตแบบนี้ แต่พออยู่ในประเทศที่มีกฏหมายแบบนี้ แล้วเราเสือกโดนกฏหมายนี้เล่นงาน แม่งตัดวงจรชีวิตเราฉิบหายหมดเลยนะ พอต้องหนีออกมา ก็ต้องทิ้งงาน งานยังไม่มีทำ พอไม่มีงาน ไม่มีเงิน แม่งก็เอฟเฟคไปหมดล่ะ ไอ้อนาคตที่ฝันๆไว้ก็ฉิบหายไปหมด มีรถขายรถ มีบ้านขายบ้าน ขายไม่ได้แม่งก็โดนยึด
พอออกมานี่เราคิดได้อย่างนึง กว่าคนๆนึงแม่งจะยืนขึ้นได้ในสังคม มีความมั่นคงในชีวิตแม่งต้องใช้เวลาสั่งสมประสบการณ์ การรู้จักผู้คน การเรียนรู้ที่จะทำงานกับคนในสังคมนั้นๆ พอเปลี่ยนสังคมนี่แม่งเริ่มใหม่หมดเลยนะ สักพักแหละกว่าจะยืนได้อย่างมั่นคงเหมือนเดิม ยิ่งยังไม่มีสถานะที่อยู่เป็นพลเมืองอย่างถูกต้องแม่งยิ่งยากกว่าเดิมอีก ตอนนี้ผมยังไม่ได้สถานะผู้ลี้ภัยที่ไหนแต่ทำเรื่องอยู่กับ UNHCR และก็บางประเทศ แต่ก็เหมือนซื้อหวยนั่นแหละไม่ได้คิดว่ามันจะถูกเท่าไหร่ ห้าสิบห้าสิบ
สมชาย:ตอนออก มาผมออกมาค่อนข้างฉุกละหุก ตัดสินใจว่าจะออกมาแค่ไม่กี่วันก่อนวันเดินทางจริง ก็เลยมีเวลาจัดการเรื่องต่างๆไม่มาก อันไหนที่มันยังไม่เรียบร้อยก็ต้องฝากให้เพื่อนๆช่วยจัดการต่อ เรื่องครอบครัวไม่มีปัญหาอะไรมากเพราะผมไม่ได้ส่งเสียครอบครัว (อาจจะมีบ้างที่ตรงที่ผู้เฒ่าผู้แก่สงสัยว่าทำไมผมถึงไม่กลับบ้านช่วง เทศกาล)
ส่วนความเป็นอยู่ตอนนี้ก็พออยู่ได้ไม่ได้ลำบากมาก แม้จะมีปัญหาเล็กๆน้อยๆบ้าง
สถานะของผมตอนนี้คือผู้แสวงหาที่ลี้ภัย ซึ่งไม่สามารถไปสมัครงานแบบบริษัทห้างร้านอะไรแบบนั้นได้ แต่เอาเข้าจริงถึงทำได้ก็คงเป็นไปได้ยากที่จะไปทำ เพราะที่นี่ค่าแรงถูก และนายจ้างก็คงจะอยากจ้างคนท้องถิ่นที่มีความคล่องตัวมากกว่าในหลายๆเรื่อง ผมก็เลยต้องทำอย่างอื่นที่มันไม่ได้อยู่ในรูปแบบทางการแบบนั้น
ผมเปลี่ยนงานมา 3-4 อย่างแล้ว เพราะก่อนหน้านี้รายได้ไม่พอใช้จ่าย ตอนมาที่นี่ก็แทบไม่มีข้อมูลอะไรเลย คิดว่าอะไรน่าจะไปได้ก็ลองทำทำ ทำแล้วไม่เวิร์คก็เปลี่ยน ลองผิดลองถูกเอา
รายได้ตอนนี้ก็พออยู่ได้แบบเดือนชนเดือน แต่ดีตรงที่อยู่ที่นี่ค่่าครองชีพต่ำ แล้วก็ทำอาหารกินเองก็ช่วยประหยัดไปได้เยอะ (นอกจากเรื่องประหยัดกว่าแล้วยังมีเหตุผลเรื่องรสชาติด้วย)
สถานะผู้แสวงหาที่ลี้ภัยและความเป็นคนต่าง ชาติก็มีปัญหาสำหรับคนที่นี่ โดยเฉพาะในชนบท เพราะคนส่วนหนึ่งเขาไม่เข้าใจว่าผู้แสวงหาที่ลี้ภัยคืออะไร และที่ประเทศนี้ก็ค่อนข้างอ่อนไหวเรื่องการก่อการร้ายอยุ่พอสมควร
สำหรับอนาคต ผมคิดว่าไม่ง่ายที่จะได้สถานะผู้ลี้ภัยจาก UNHCR เพราะจนถึงตอนนี้ก็ยังไม่มีใครที่มีปัญหาเรื่อง ม.112 ได้สถานะเลย
ตอนนี้ผมหวังอยู่ 2 อย่าง อันแรกก็คือหวังว่าจะได้สถานะผู้ลี้ภัย อีกอันก็คือหวังว่าประเทศไทยจะเป็นประชาธิปไตยมากขึ้นกว่านี้ ถ้าประเทศไทยเป็นประชาธิปไตยมากขึ้นสถานะผู้ลี้ภัยก็ไม่จำใช่สิ่งที่จำเป็น และผมหวังว่าผมยังพอจะสามารถทำอะไรได้บ้างเพื่อร่วมผลักดันให้ประเทศไทยเป็น ประชาธิปไตยมากขึ้น
จรรยา: ขอนำคำตอบที่ตอบหน้าเฟซบุ๊คมาตอบที่นี่เลยแล้วกันนะ
ต้องบอกสองปีมานี้หนี้ท่วมหัวเลย จนบ้านก็ถูกหมายยึดแล้ว ....ฮา (ทั้งหนี้เก่าและหนี้ใหม่ เพราะค่าครองชีพที่ฟินแลนด์ก็แพงเหลือแสน และเราก็ไม่ได้ขอรับบริจาคจากทุนใหญ่คนใด) ถือว่าทั้งชีวิตทำงานกิจกรรมเพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม จึงไม่ได้รู้สึกว่ามันเป็นความยากลำบากอะไร และมองมันเป็นความท้าท้าย
และถือโอกาสนี้ ใช้เวลาลุยงานเขียน จัดกิจกรรม และสร้างความตื่นรู้เรื่องการเมืองไทยอย่างเดียวเลย เช่นที่หลายคนตามงานเล็กมาเห็นๆ กันอยู่
ก็อยู่ได้ด้วยการเกาะ เพื่อน เกาะฝูง เกาะสหายทั้งชาวไทยและต่างประเทศที่รู้จักเล็กเพราะงานการเมืองช่วงนี้ หรือที่เคยทำงานร่วมกันในระดับนานาชาติมาก่อน (ทั้งให้เงินอุดหนุน หรือให้ยืมตังส์เป็นช่วงๆ)
และก็รับงานแปลเป็นบ้างครั้ง ที่มีคนส่งมาให้ทำ
ไม่ ได้ขอรับสวัสดิการใดๆ ทั้งสิ้นจากรัฐบาลฟินแลนด์ ไม่เคยเสียภาษีให้ประเทศนี้ จะมาเกาะประเทศเขากินก็กระไรอยู่ เขาให้วีซ่าให้เราอยู่ในประเทศเขาได้ และก็ไม่เคยคุกคามเสรีภาพเราเลยแม้แต่ครั้งเดียว ก็ขอบคุณยิ่งนักแล้ว
ยาม จำเป็นจะต้องใช้เงิน ก็หาทางแลกเปลี่ยนเอา อาทิ เร็วๆ นี้ต้องหาหมอฟัน ก็มีพี่ทางเมืองไทยที่ดูแลกันมาตลอด ช่วยขายหนังสือล๊อตใหญ่ให้คนที่สนับสนุนงานเพื่อแลกเงินค่าหมอ...ซาบซึ้งมาก จริงๆ
และตั้งแต่กลางปีนี้ ก็เริ่มได้รายได้จากการขายหนังสือมาบ้าง (แรงงานอุ้มชาติ ณ ตอนนี้) หวังเป็นอย่างย่ิงว่าหนังสือจะนำรายได้มาให้ได้มากขึ้น เพื่อจะได้อยู่ได้อย่างไม่ลำบากนักและไม่ต้องขอความช่วยเหลือจากใคร
ช่วง นี้ ถ้าอยากจะทำกิจกรรมอะไร ถ้าไม่มีเงินตัวเอง ก็ขอรับบริจากคนที่เข้าใจงานและอุดมการณ์เดียวกันเรื่องยกเลิก 112 เป็นครั้งๆ ไป ครั้งละ 100 หรือ 200 ยูโรเท่าที่จำเป็นจริงๆ
โชคดี ฮะ ที่เป็นลูกชาวนา ชินกับความลำบากและการพึ่งตัวเองมาตั้งแต่เด็ก และเป็นคนทำอาหารเก่งพอใช้ได้ (พวกมั่วเก่ง) จึงปรับตัวเข้ากับความลำบากได้ เลยไม่รู้สึกเดือดร้อนมากเท่าไร
รู้สึกตัวเองโ่ชคดีที่เลือกการใช้ชีวิตได้...
สรุป คือ ดีใจที่มีสองปีนี้ ที่ได้เบรคจากงานบริหารองค์กร และสามารถทำงานเขียนที่คั่งค้างและงานเขียนทางการเมืองและทำงานรณรงค์เรื่อง เมืองไทย โดยเฉพาะรณรงค์ปล่อยนักโทษการเมืองและยกเลิก 112 ได้ต่อเนื่อง โดยไม่ต้องวุ่นวายเรื่องหางบประมาณทำงาน หรือต้องเขียนรายงานกิจกรรม
เรียกได้ว่า แม้ลำบากกาย แต่ใจเปี่ยมเสรีภาพ ที่เงินพันล้านก็แลกไม่ได้ ... ฮา!!!!
คุณอยากให้คนไทย,ขบวนเคลื่อนไหวประชาธิปไตยและโลกได้รับรู้อะไรเกี่ยวกับคุณมากที่สุดในฐานะผู้ลี้ภัยการเมือง
ปรวย: จริงๆไม่ต้องรู้อะไรเกี่ยวกับผมก็ได้นะ แค่รู้ว่ากฏหมายข้อนี้มันแย่อย่างไร มันผิดปกติอย่างไร แล้วเราจะแก้ปัญหามันอย่างไร แค่นี้ก็จะเป็นประโยชน์กับทุกคนนะไม่ใช่เฉพาะแค่ผมคนเดียว ผมแค่คนๆหนึ่งที่ได้รับผลกระทบ แต่จริงๆกฏหมายข้อนี้มันสร้างผลกระทบไปทั่ว ไปไล่ดูเถอะ เอาแค่สมมุติถ้ารัฐบาลจะทำนโยบายอะไรขัดกับพระราชดำรัส แม่งก็ไปไม่เป็นแล้วใช่มั้ย มีใครจะกล้าวิพากษ์วิจารณ์ นี่แหละผมถึงบอกว่ามันไม่ได้มีผลกระทบกับผมคนเดียว มันลามไปทั่วผมแค่คนเล็กๆคนนึงเอง
จรรยา: สิ่งที่ทำมาตลอดนับตั้งแต่ตัดสินใจไม่กลับเมืองไทย เริ่มด้วยการเผยแพร่บทความ “ทำไมถึงไม่รักในหลวง” เมื่อสิงหาคม 2553 และตามมาอีกหลายบทความและหลายเล่ม ตลอดสองปีที่ผ่านมา พร้อมกับการรณรงค์ต่อเนื่องในหลายรูปแบบ เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลไทยตั้งแต่สมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ จนมาสู่สมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ปล่อยตัวนักโทษการเมืองและยกเลิกมาตรา 112 ทันที
ซึ่งเรื่องรณรงค์ปล่อยนักโทษการเมือง เป็นอะไรที่เจ็บปวดมาก เมื่อต้องทนเห็นนักโทษมาตรา 112 เช่นอากง ต้องเสียชีวิตและเห็นหลายคนต้องทนกล้ำกลืนยอมรับผิดเพื่อขอพระราชทานอภัยโทษ เพื่อจะได้หลุดออกมาจากความโหดร้ายของชีวิตในคุกไทย
และก็เศร้าสะเทือนใจที่สุด ที่จนบัดนี้หลายคนก็ยังไม่ได้รับการปล่อยตัว
กระนั้นในประเด็นเรื่องการพูดเรื่องที่เคย ต้องเซนเซอร์กันอย่างหนัก มันก็เริ่มมีการความผ่อนคลายกันมากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องมาตรา 112 ที่ในช่วงปี 2553 ยังไม่ค่อยกล้าพูดคำว่า “ยกเลิก 112” เลย แต่ขณะนี้คำนี้สามารถพูดได้สบาย หรือคำว่า “ทำไมถึงไม่รักในหลวง” ที่ช่วงแรกคำว่า “ในหลวง” ถูกเซนเซอร์ตลอด แต่ตอนนี้ เราสามารถเอ่ยหรือเขียนคำนี้ได้มากขึ้นโดยไม่ต้องเซ็นเซอร์
ในระดับนานาชาติ เราก็เห็นความสนใจมากขึ้นของนานาชาติต่อประเด็นเรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์ ไทย และมีการพูดถึงกันมากขึ้นในสื่อยักษ์ใหญ่ระดับโลกหลายสำนัก
สมชาย: อยากจะบอกว่าผมยังสู้อยู่ การหนีหรือการขอลี้ภัยไม่ได้เท่ากับการยอมแพ้ แต่ตรงกันข้ามบางทีมันอาจจะดีกว่าและที่สำคัญมันอาจจะทำอะไรได้มากกว่าการ ยอมติดคุกแล้วสู้จากในคุก ตอนนี้ผมพยายามทำกิจกรรมทางการเมืองเท่าที่ความสามารถและสถานการณ์จะเอื้อ อำนวย ถ้าใครหรือองค์กรไหนมีช่องทางที่คิดว่าจะหนุนเสริมกันได้ก็อยากให้ติดต่อมา ครับ แต่จะทำอะไรตรงไหนได้บ้างก็ต้องมาดูรายละเอียดกันอีกที
คุณต้องการการหนุนช่วยอย่างไรบ้างไหมกับสถานการณ์ที่ต้องเผชิญอยู่และอนาคตข้างหน้า
ปรวย: จริงก็ไม่ได้นึกถึงการช่วยเหลือจากที่อื่นเท่าไหร่นะ เพราะคิดว่าพอช่วยตัวเองได้ แต่ตอนนี้ที่มันยังไม่สะดวกก็เพราะอย่างที่บอก กว่าคนๆ นึงแม่งจะยืนขึ้นได้ในสังคม มีความมั่นคงในชีวิตแม่งต้องใช้เวลาสั่งสมประสบการณ์ การรู้จักผู้คน การเรียนรู้ที่จะทำงานกับคนในสังคมนั้นๆ พอเปลี่ยนสังคมนี่แม่งเริ่มใหม่หมดเลยนะ ตอนผมอยู่เมืองไทยผมมีอาชีพทำหนังโฆษณา พอออกมานี่มันก็ต้องเริ่มเข้าหาวงการในที่ๆตัวเองอยู่ ก็ค่อยๆคืบคลานเข้าไป ก็ต้องใช้เวลา แต่ถ้ามีใครในเมืองไทยอยากทำหนังอะไรที่ไม่ต้องทำในประเทศบอกได้นะ ยินดีรับทำ เพราะคนทำเข้าประเทศไม่ได้ (ฮา) แต่จริงๆหนังมันทำที่ไหนก็ทำได้นะ เพราะเดี๋ยวนี้อุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือมันก็ไม่ได้แพงพิสดารเหมือนแต่ ก่อน
จรรยา: ตอนนี้ที่กังวลที่สุดคือบ้านเปิดใจที่ถูกหมายยึดจากธนาคารแล้ว และจะต้องมีเงินไปเอาออกมาจากธนาคาร ซึ่งก็พยายามจะหาเงินตรงนี้ด้วยการออกหนังสือ “แรงงานอุ้มชาติ” มาขายตั้งแต่กลางปีนี้ แต่ตอนนี้ก็ยังไม่แน่ใจว่าหนังสือจะขายได้หมดทันเวลารักษาบ้านไว้หรือไม่
แต่ ก็ไม่มีวิธีการอื่นที่จะหาเงิน นอกจากขายความคิดและงานเขียนที่วิเคราะห์ปัญหาของประเทศไทย โดยเอาประชาชนคนถูกขูดรีดและถูกเอาเปรียบเป็นแก่นกลางขอการความห่วงใย ไม่ใช่เอาสถาบันกษัตริย์เป็นแกนกลางของการสักการะบูชา
จริงๆ สิ่งหนึ่งที่คิดว่าน่าเสียดาย ที่พวกเราหลายคนมีศักยภาพที่จะทำการเคลื่อนไหวกับนานาชาติเรื่องปัญหาการคุก คามสิทธิเสรีภาพของประชาชน โดยเฉพาะจากมาตรา 112 ได้มากกว่าคนที่อยู่เมืองไทย แต่สองปีที่ผ่านมา พวกเราทั้งหลายต้องดิ้นรนเพื่อการดำรงชีวิต โดยไม่ได้ได้รับการสนับสนุนมากนัก ไม่ต้องฝันไปไกลถึงงบประมาณให้ได้ทำงานรณรงค์ต่อเนื่องในเรื่องนี้
น่าจะมีการเชื่อมประสานและส่งเสริมให้พวกเรา ได้ทำหน้าที่เหล่านี้ที่ต่างประเทศเพื่อเป็นพลังกดดันคู่ขนานไปกับขบวนการ เคลื่อนไหวในประเทศไทย
สมชาย: อย่างที่ตอบไปแล้วก็คือเรื่องของความร่วมมือหนุนเสริมกันทำกิจกรรม
สถานะของผมตอนนี้ทำให้ผมมีเวลามากกว่าเมื่อ ก่อน (ความจริงแล้วตอนนี้ผมก็ยังติดต่อและทำกิจกรรมอยู่กับกลุ่มเพื่อนๆในประเทศ ไทย แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังมีเวลาว่างอยู่ดี) และคิดว่าการอยู่ข้างนอกน่าจะทำให้มีเงื่อนไขบางอย่างลดลงกว่าการอยู่ใน ประเทศ ซึ่งก็น่าจะทำอะไรที่คนในประเทศทำไม่ได้หรือทำได้ไม่สะดวก ดังนั้นจึงอยากให้กลุ่มองค์กรที่แนวทางคล้ายๆกันช่วยติดต่อมาคุยรายละเอียด กันดู
ส่วนความช่วยเหลือเรื่องการเงิน สำหรับผมตอนนี้ก็พออยู่ได้แล้ว เว้นแต่จะมีกรณีฉุกเฉิน เช่น เรื่องอุบัติเหตุ เรื่องสุขภาพ หรือปัญหาจากเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น (แม้สถานะผู้แสวงที่ลี้ภัยจะทำให้สามารถพักอาศัยอยู่ที่นี่ได้ แต่มันอยู่ภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งเจ้าหน้าที่/ข้าราชการท้องถิ่นมักจะไม่มีความรู้เรื่องนี้ และเมื่อเกิดปัญหาก็จะต้องใช้ทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายในการจัดการ)
ดังนั้นผมคิดว่ามันน่าจะดีถ้าจะมีการตั้ง คล้ายๆกองทุนเป็นเงินสำรองเอาไว้สำหรับผู้แสวงหาที่ลี้ภัยที่มีปัญหาฉุกเฉิน เพราะพอมันเป็นเรื่องฉุกเฉินการจะระดมเงินหรือแม้แต่หยิบยืมกันให้ทันท่วงที มันก็ลำบาก
อีกเรื่องที่อยากเสนอไว้เผื่อคนอื่นๆในอนาคต (ผมคิดว่าผมผ่านช่วงเวลานั้นมากแล้ว) ก็คือน่าจะมีเงินกองทุนสำหรับผู้แสวงหาที่ลี้ภัยที่เพิ่งออกมาใหม่ๆ เพราะ คนที่เพิ่งออกมาโดยเฉพาะคนที่อาจจะไม่ค่อยมีโอกาสเดินทางไปต่างประเทศมากนัก จะมีปัญหาเรื่องขาดแคลนข้อมูลมากๆ ซึ่งมันทำให้ค่าใช้จ่ายเราสูงมากๆ เพราะเราจะไม่รู้ว่าจะต้องอยู่อย่างไร ซื้ออะไรที่ไหนแล้วประหยัดเงิน หรือการพยายามประกอบอาชีพ พอเราไม่มีข้อมูลเราก็ต้องทำแบบลองผิดลองถูก ซึ่งมันก็มักจะผิดซะมากกว่าถูกด้วย แล้วในการลองมันก็มีทั้งเงินที่ต้องลงทุนไป และระหว่างนั้นเราก็ยังต้องกินต้องใช้ด้วย ดังนั้นถ้ามีการสนับสนุนคนที่ออกมาใหม่จนพอที่จะดูแลตัวเองได้ก็น่าจะดี
คุณมีจุดมุ่งหมายปลายทางในชีวิตอย่างไร และคุณอยากเห็นประเทศไทยเดินไปอย่างไร
ปรวย: ว่าตรงๆนะ พอมาถึงตอนนี้ที่เราได้รัฐบาลใหม่มาปีกว่าๆ ผมไม่คิดเหี้ยอะไรเลยนะเกี่ยวกับอนาคตประเทศ โอเคแม่งมีแหละภาพประเทศแบบที่เราหวัง แต่ผมว่าผมแม่งคงฝันเปียก เป็นประเทศอื่นฝ่ายประชาชนฝ่ายประชาธิปไตยแม่งชนะเลือกตั้งถล่มทลายแบบนี้ แม่งประเทศคงเปลี่ยนฉิบหายเลยนะ กฏหมงกฏหมายอะไรที่แม่งไม่เป็นประชาธิปไตย รัฐธรรมนูญใต้อุ้งตีนทหารแม่งคงโดนเปลี่ยนหมด เพราะถือว่าอำนาจอยู่ในมือประชาชน แต่พอเป็นเมืองไทย ทุกอย่างแม่งนิ่งสนิท ไม่รู้ติดเหี้ยอะไรทำไม่ได้ผมถึงบอกว่าผมไม่คิดฝันอะไรอีกแล้วนะ อยู่กับความจริงแม่งนี่แหละ แล้วคอยดูว่าแม่งจะจริงไปแบบไหน หลังๆผมถึงพูดอะไรเกี่ยวกับการเมืองน้อยมาก เพราะผมว่า 5-6 ปีมานี้ปัญหาทุกอย่างแม่งถูกพูดไปหมดแล้วนะ คือถ้าพูดอีกแม่งก็ซ้ำไปซ้ำมาแม่งจะกลายเป็นว่าเราเป็นควายไปซีสอให้คนดูฟัง
คือประเทศนี้เรียกว่าถ้าเป็นคนป่วย หมอแม่งลงความเห็นวินิจฉัยโรคไปเสร็จสรรพแล้วล่ะว่ามึงต้องผ่าตัด คราวนี้ผมคิดว่าตัวผมแม่งไม่ได้เป็นหมอนะ ตอนนี้ผมก็ได้แต่นั่งดูว่าเอ้ามึงจะผ่าหรือไม่ผ่า
ส่วนตัวผมก็ดำเนิน ชีวิตไปตามปกติ จะให้ฝันจะให้วางแผนชีวิตแบบเดิมก่อนโดนคดีนี้แม่งก็คงไม่ฝันแล้วล่ะ ก็คงหาโอกาสทำงานที่ตัวเองอยากทำต่อไป ทั้งทำหนัง ถ่ายรูป อ้อแล้วก็มีเขียนหนังสือ ไอ้การเขียนหนังสือนี่ผมมาได้ทำตอนลี้ภัยออกมานี่แหละ เพราะมันเป็นช่องทางหนึ่งทีเราได้เล่าเรื่องเล่าความคิดเราได้ แล้วผมก็พบว่ามันก็สนุกนะแถมทำได้เลย ไม่ต้องอาศัยเครื่องมือมากเท่าการทำหนัง
จริงๆจะว่าไปก่อนหน้านี้ผมก็ เป็นแบบนี้นะหมายถึงก็เป็นคนปกติธรรมดาเหมือนคนในประเทศอื่นที่เขามีเสรีกัน ใช่มั้ย ทำงานไปพอมีเหตุการณ์ในบ้านเมืองก็วิพากษ์วิจารณ์กันบ้าง แต่ทีนี้ประเทศเราเสือกแปลกกว่าประเทศอื่น พอกูพูดเสือกจับกูซะนี่ มันคงมีบางอย่างที่เราไม่เหมือนประเทศอื่นๆที่เราวิจารณ์ไม่ได้
สมชาย: อาจจะพูดได้ว่าผมมีชีวิตอยู่เพื่อทำกิจกรรมทางการเมือง ผมไม่ได้คาดหวังอะไรชัดเจนนักเกี่ยวกับความมั่นคงทางชีวิตในอนาคต ผมหวังแค่มีอาชีพที่มีรายได้พออยู่ได้แล้วมีเวลาทำกิจกรรมทางการเมืองก็พอ ประเภททุ่มเทเวลา-พลังงานทั้งหมดให้กับการประกอบอาชีพผมคงไม่ทำ
ผมอยาก ให้สังคมไทยและสังคมโลกเป็นสังคมที่มีประชาธิปไตยทั้งทางเศรษฐกิจและการ เมือง นี่อาจจะอุดมคติไปบ้าง และคิดว่าชีวิตนี้คงไม่มีโอกาสได้เห็น แต่อย่างน้อยเราก็น่าจะได้ทำอะไรบ้างเพื่อผลักดันสังคมไปตามเส้นทางนั้น ถึงมันจะไม่ถึงเป้าหมายในเร็ววันนี้ แต่ถ้าเราสามารถทำให้มันเขยื่อนเข้าใกล้เป้าหมายเข้าไปอีกหน่อยมันก็จะเป็น ภาระของคนรุ่นหลังน้อยลง และที่สำคัญเราสามารถตอบตัวเองได้ว่าเราได้ทำมันแล้ว
จรรยา : เพื่อเป้าหมายที่จะเห็นประเทศไทยมีความยุติธรรมมาตรฐานเดียว มีเสรีภาพ และมีความเท่าเทียมกันในสังคม มีสวัสดิการดูแลประชาชนอย่างครอบคลุม ในระบอบประชาธิปไตยประชาชน
การทำงานทั้งหมดที่ทำอยู่ในช่วงสองปีที่ ผ่านมา คือการโฟกัสไปที่การนำเสนอปัญหาเมืองไทยที่คาราคาซังยืดเยื้อมานานเพราะการ “พูดความจริงไม่ได้” หรือ “ไม่พูดความจริง” และการเมืองประนีประนอมหลักการกับสถาบันกษัตริย์และทหาร และการเมืองฃอรวมศูนย์อำนาจตลอด 80 ปีประชาธิปไตยแบบไทยๆ
ในขณะที่เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่การ เมืองนิ่งแล้ว ไม่ได้หมายความว่าความตื่นตัวของภาคประชาชนจะหมดไป เพราะมันยังมีระดับของปัญหาให้แก้อีกมากมาย ตามระดับของพัฒนาการการของระบอบประชาธิปไตยของประเทศนั้นๆ
- ทั้งปัญหาเรื่องการจัดสรรค์สวัสดิการและงบประมาณให้เข้าถึงกลุ่ม 80 หรือ 99%
- การสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการขจัดปัญหาคอรัปชั่นในทุกวงการ
- การจัดการกับปัญหาความรุนแรงในชาติด้วยกระบวนการสันติภาพและสันติวิธี โดยเอาประชาชนที่ได้รับผลกระทบเป็นศูนย์กลาง
- การทำให้ทุกสถาบันในประเทศเคารพกติกาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและสิทธิการมีส่วนร่วมทางการเมืองของพลเรือน
- และที่สำคัญการทัดทานหรือสร้างชุด ข้อมูลจากล่างเพื่อทัดทานกระแสเสรีนิยมใหม่ที่ไหล่เข้ามาเพื่อกดดันให้แปร ทุกทรัพยากรในประเทศเป็นสินค้า ยังไม่นับเรื่องการต่อสู้เพื่อให้สังคมยอมรับสิทธิความเท่าเทียมไม่ใช่ ระหว่างเพศเท่านั้น แต่สิทธิในการเลือกวิถีเพศด้วย และก็อีกมากมาย
จะเห็นว่าถ้าไทยเรายังไม่ปลดล๊อคในประเด็น ที่เป็นแกนกลางของปัญหาและการถกเถียงทั้งในห้องลับและในเวทีสาธารณะ (มากขึ้นเรื่อยๆ) ตลอดสี่ห้าปีที่ผ่านมา เกี่ยวกับตำแหน่งแห่งที่ของสถาบันกษัตริย์ในฐานะสถาบันประมุขของชาติ ว่า กษัตริย์ควรจะอยู่ใต้รัฐธรรมนูญ และไม่ควรปิดกันเสรีภาพของประชาชนในการวิพากษ์วิจารณ์ เช่นที่สามารถกระทำได้กับสถาบันอื่นๆ
เราก็จะไม่สามารถขยับนโยบายที่ก้าวหน้าได้ และสิทธิและเสรีภาพและการมีส่วนร่วมของประชาชนในปัญหาอื่นๆ ของชาติก็จะถูกปิดกั้นและถูกทำให้ไม่มีความชอบธรรมไปด้วยเช่นกัน
ประเทศไทยจะไม่สามารถเดินหน้าได้ในหลายๆ เรื่อง ถ้ายังปกคลุมด้วยบรรยากาศการเมืองและสังคมอยู่เช่นนี้
ความฝันสูงสุด คือ เห็นรัฐบาลดำเนินนโยบายที่เอา “สิทธิและเสรีภาพของประชาชนเป็นหัวใจ” ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในกระบวนการการเมืองและการดัดสินใจใน นโยบายของประเทศ เคารพสิทธิรวมตัวต่อรองของประชาชนทุกกลุ่ม ทุกสาขาอาชีพ และเสรีภาพในการแสดงออก”
*************
หมายเหตุ ไทยอีนิวส์:ไทยอีนิวส์ขอเชิญชวนหนุึนช่วยการต่อสู้ของผู้ประสบภัยม.112ที่ ต้องลี้ภัยในต่างแดน โดยโอนเงินผ่านชื่อบัญชี ประเวศ ประภานุกูล ธนาคารกสิกรไทย สาขาบิ๊กซี รามอินทรา เลขที่บัญชี 864-2-07040-2 โดยระบุว่า "สมทบกองทุนผู้ลี้ภัย 112" พร้อมอีเมล์แจ้ง (ถ้าสามารถทำได้) ไปที่ ACT4DEM@gmail.com